NAKARA Chiangrai

Page 1

สีสันเชียงรายหลากหลายวัฒนธรรม เมืองแห่งอารยธรรมโบราณ ขุนเขา สายน้ำ� และความหลากหลายของเผ่าพันธุ์

นครา

เชียงราย


นครา

เชียงราย

1


ดอยนางนอน

2


3


4


สารบั ญ สวัสดี... เชียงราย

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด ประวัติศาสตร์ เมืองเชียงราย ท่องวัฒนธรรมเที่ยวธรรมชาติ ที่เชียงราย อำ�เภอเมือง อำ�เภอเวียงชัย อำ�เภอเชียงของ อำ�เภอเทิง อำ�เภอพาน อำ�เภอป่าแดด อำ�เภอแม่จัน อำ�เภอเชียงแสน อำ�เภอแม่สาย อำ�เภอแม่สรวย อำ�เภอเวียงป่าเป้า อำ�เภอพญาเม็งราย อำ�เภอเวียงแก่น อำ�เภอขุนตาล อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง อำ�เภอแม่ลาว อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง อำ�เภอดอยหลวง ศิลปะ ประเพณี และวิถีชีวิต ทำ�เนียบบุคคลสำ�คัญ ด้านวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย งานประเพณีวิถีเชียงราย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า อาหาร ที่พัก ช็อปปิ้ง เที่ยวเชียงรายอย่างวางใจ

7 8 10 10 16 16 18 37 40 46 50 56 57 60 66 72 76 82 84 87 89 95 98 101 102 112 112 114 124 132 139 148 154

5


6


สวัสดี... เชียงราย เชียงรายเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย มี ประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ด้ ว ยตั้ ง อยู่ บ นเทื อ กเขาสู ง มี ทิ ว เขาสลั บ ซั บ ซ้ อ น ยอดดอยสู ง ตระหง่าน ถ้�ำ น้�ำ ตก และป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้รับฉายาว่า เป็น “ดินแดนแห่งขุนเขา” ทั้งยังมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เชี ย งรายยั ง เป็ น จั ง หวั ด เหนื อ สุ ด ของ ประเทศไทยทีม่ อี าณาเขตทางธรรมชาติเชือ่ มต่อกับประเทศเพือ่ น บ้านทั้งลาวและพม่า จึงมีการติ ด ต่อสั มพั น ธ์ ระหว่า งประเทศ ค่อนข้างมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ รวมไปถึงกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยอยู่ ตามชายขอบประเทศไทย ก็ได้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ตาม พื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดเป็นจำ�นวนมาก ด้วยความหลากหลาย ชาติพันธุ์ นำ�มาซึ่งความแตกต่างของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และ ประเพณี ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์หนึ่ง ของจังหวัด เป็นความโดดเด่นทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ จนทำ�ให้ จังหวัดเชียงรายได้สมญานามว่าเป็น “ดินแดนแห่งชนเผ่า” อีกนาม หนึ่งด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จังหวัดเชียงรายยังเป็นอูว่ ฒ ั นธรรมล้าน นา และเป็นพื้นที่กำ�เนิดของเมืองโบราณน้อยใหญ่มากมายกว่า 27 เมืองที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยมาถึงปัจจุบัน มีโบราณสถาน โบราณวัตถุอนั มีคา่ จำ�นวนมาก บ่งบอกถึงประวัตศิ าสตร์ความเป็น มาอันยาวนานนับตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 12 ความเป็นเชียงรายนัน้ จึงโดดเด่น น่าสนใจ เป็นหมุดหมายของการ ท่องเที่ยว สมดังคำ�ขวัญจังหวัดที่ว่า “เหนือสุดในสยาม ชายแดน สามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำ�ค่าพระธาตุดอยตุง”

7


ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด อาณาเขตจังหวัดเชียงราย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ

ติดต่อกับสหภาพพม่า ติดต่อกับจังหวัดพะเยา ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่

ฤดูรอ้ น ประมาณกลางเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมนัน้ จะร้อนอบอ้าวและแห้งแล้ง อุณหภูมิสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือน เมษายนอาจจะมีพายุฝนฟ้าคะนองในกลางฤดูร้อนได้ ฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม จะมี ฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนซึ่งจะทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมฉับพลัน ขึ้นได้ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงรายคือฝนตกหนัก ดินสไลด์ ถนนลื่น เนื่องจากเป็นเขตภูเขาสูง จึงเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่ายและบ่อยครั้ง ฤดูหนาว ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศ ในจังหวัดจะหนาวจัดโดยเฉพาะในเขตภูเขา อุณหภูมอิ าจจะลดต่�ำ ลงเกือบถึง

8


จุดเยือกแข็ง แต่ก็เพิ่มเสน่ห์ให้แก่การท่องเที่ยวเชียงรายเป็นอย่างมาก

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

เชียงรายเป็นเมืองชายแดนที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งขุนเขา เช่น เดียวกับเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เนื่องจากมีสภาพธรรมชาติเป็น เทือกเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ประมาณกว่า 90% เป็นภูเขาสูง พื้นที่ส่วน ใหญ่มีความสูงถึง 1,500-2,000 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง โดยเฉพาะตามแนวเทือกเขาผีปันน้ำ�ที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า เทื อ กเขาสลั บ ซั บ ซ้ อ นเหล่ า นี้ ทำ � ให้ เชี ย งรายเต็ ม ไปด้ ว ย ธรรมชาติสวยงาม ป่าไม้ พืชพรรณ และสัตว์ป่ายังคงความสมบูรณ์ ตามยอดดอยสูงมีจุดชมวิวและทะเลหมอกที่งดงาม เป็นแหล่งต้นน้ำ� จุดกำ�เนิดของธารน้ำ�ตกที่สวยงามหลายแห่ง เชียงรายเป็นจุดแรกที่แม่นำ้�โขงไหลผ่านประเทศไทย เริ่มต้น จากพรมแดนไทย-ลาว-พม่า บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ�ผ่านอำ�เภอ เชียงแสนและอำ�เภอเชียงของ ก่อนไหลสู่ประเทศลาวอีกครั้งที่อำ�เภอ เวียงแก่น รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร ทั้งนี้ ภายในจังหวัดยังมีแม่น�้ำ สายสำ�คัญ ได้แก่ แม่น้ำ�กก แม่น้ำ�อิง แม่น้ำ�คำ� แม่น้ำ�ลาว และแม่น้ำ� สายเล็กสายน้อยที่ไหลหล่อเลี้ยงชุมชมและพื้นที่เกษตรกรรม

9


ประวัติศาสตร์ เมืองเชียงราย

10


ยุคอาณาจักรโยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร

ย้อนไปในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 ในบริเวณทีร่ าบลุม่ แม่น�้ำ โขง “พญาสิงหนวัติ” ได้สถาปนาเมือง “โยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร” ขึ้นมา โดยรวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครอง สร้างอาณาจักร ให้เจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปไพศาล จนผ่านเวลามาสี่ร้อยกว่าปี ในรัชสมัยของพะเจ้ามหาชัยชนะได้เกิดน้�ำ ท่วมใหญ่ฉับพลัน ทำ�ให้ทั้ง เมืองจมหายกลายเป็นหนองน้ำ�ใหญ่ อันเป็นที่มาของตำ�นานแม่ม่าย ผู้ที่ไม่ได้กินปลาไหลเผือกซึ่งชาวบ้านจับมาแบ่งกันกิน จนเกิดน้ำ�ท่วม ใหญ่เหลือเพียงบ้านแม่มา่ ยกลายเป็นเกาะกลางน้�ำ ปัจจุบนั สันนิษฐาน กันว่า หนองน้ำ�ที่เมืองถล่มลงไปนั้นคือทะเลสาบเชียงแสน หรือเรียก อีกชื่อหนึ่งว่า เวียงหนองล่ม น้ำ�ท่วมใหญ่ทำ�ให้กลุ่มผู้ปกครองเมืองเสียชีวิตลงทั้งหมด ชาวบ้านทีร่ อดชีวติ จึงประชุมปรึกษาเพือ่ หาผูด้ แู ล ซึง่ ได้ “ขุนแต่งเมือง” มาเป็น กลุ่มผู้ป กครอง และเรีย กเมื องใหม่ ที่ สร้ า งขึ้ น มาในบริ เวณ ทีช่ าวบ้านมาประชุมกันนัน้ ว่า “เวียงปรึกษา” ซึง่ ก็ลม่ สลายลงเนือ่ งจาก เกิดแผ่นดินไหวในอีก 94 ปีถัดมา

11


ยุคอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น มีกษัตริย์ชื่อว่า “ลวจังกราช” ซึ่งเป็นปฐม กษัตริย์ของราชวงศ์ลวจังกราช ก่อตั้ง “อาณาจักรหิรัญนครเงินยาง” ขึ้นมาใน บริเวณดอยตุงและแม่น�้ำ สาย และขยายเมืองไปตัง้ อยูท่ รี่ มิ แม่น�้ำ โขง สันนิษฐาน ว่าตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน หรืออาจะเป็นเมืองเดียวกันก็ได้ อาณาจักรหิรัญนครเงินยางขยายอาณาเขตไปกว้างไกลโดยมีเชื้อสาย ของลวจังกราชไปครองเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงสมัยกษัตริย์ลาวเม็ง องค์ที่ 24 ทรงมีพระชายาคือนางเทพคำ�ขยาย ธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ได้ให้กำ�เนิดพระโอรสชื่อ “พญามังราย” ผู้จะกลายเป็นกษัตริย์ที่ ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา

ยุคเมืองเชียงราย

พญามังรายขึน้ เป็นกษัตริยแ์ ห่งหิรญ ั นครเงินยาง องค์ที่ 25 ในปี พ.ศ. 1802 ทรงมีพระปรีชาสามารถแผ่ขยายพระราชอำ�นาจไปยังแว่นแคว้นน้อย ใหญ่ใกล้เคียง และย้ายมาสร้างราชธานีใหม่ที่ริมฝั่งแม่น�้ำ กกในปี พ.ศ. 1805 ตั้งชื่อว่า “เมืองเชียงราย” อันหมายถึง “เมืองของพญามังราย” หลังจากนั้นทรงรวบรวมหัวเมืองในเครือลวจังกราช แล้วแผ่อ�ำ นาจไป ถึงเมืองฝาง เข้าตีเมืองหริภุญไชยสำ�เร็จในปี พ.ศ. 1835 จากนั้นทรงไปสร้าง

12


เวียงกุมกามในบริเวณลุ่มแม่น้ำ�ปิง แต่เนื่องจากเกิดน้ำ�ท่วมใหญ่จึงทรง ย้ายมาสร้างเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ในปี พ.ศ. 1839 ก่อ ตั้ง “ราชวงศ์มังราย” ขึ้นมา จากนั้นทรงขยายอาณาเขต และสถาปนาเป็น “อาณาจักรล้านนา” ครองราชย์อยู่เชียงใหม่ตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากพญามังรายสิ้นพระชนม์ พญาไชยสงครามซึ่งเป็นพระ โอรสสืบราชสมบัติเมืองเชียงใหม่อยู่ไม่นานก็ย้ายมาครองเมืองเชียงราย และให้พญาแสนภูซงึ่ เป็นพระนัดดาของพญามังรายครองเมืองเชียงใหม่ตอ่ แต่เมื่อพญาไชยสงครามสิ้นลง พญาแสนภูทรงยกเมืองเชียงใหม่ให้พญา คำ�ฟูซึ่งเป็นพระโอรสปกครอง และทรงกลับมาครองเมืองเชียงราย ในปีถัด มาพญาแสนภูทรงสร้างเมืองใหม่ในบริเวณซึง่ เคยเป็นหิรญ ั นครเงินยางเดิม ให้ชื่อเมืองว่า “หิรัญนครเงินยางเชียงแสน” ช่วงเวลาสองร้อยกว่าปีที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง ทั้งเมือง เชียงแสนและเชียงรายต่างมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของเชียงใหม่ จนกระทัง่ ในปี พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองตีอาณาจักรล้านนาได้ส�ำ เร็จ จึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของพม่ายาวนาน 216 ปี โดยมีช่วงเวลาหนึ่งที่พม่า ได้ฟื้นฟูเมืองเชียงแสนให้เป็นหัวเมืองป้องกันการรุกรานจากกรุงศรีอยุธยา และใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงในการศึกสงคราม

13


พ.ศ. 2310 อยุธยาเสียกรุงให้พม่า เพียงไม่ก่ีเดือนต่อมาสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีกู้อยุธยาและหลาย ๆ เมืองรวมทั้งเชียงใหม่กลับคืนมาจากพม่าได้สำ�เร็จ จึงโปรดให้เจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำ�ปางเพือ่ ต่อต้านพม่า ยึดครองดินแดนส่วนอืน่ ๆ คืน จากนัน้ พระเจ้ากาวิละทรงฟืน้ ฟูบา้ นเมืองด้วยนโยบายเก็บผักใส่ซา้ เก็บข้าใส่เมือง เมืองเชียงแสนซึ่งถูกพม่าปกครองอยู่ก็ถูกพระเจ้ากาวิละยกทัพมาตีและกวาดต้อน ผู้คนไปยังเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2347 จึงทำ�ให้เมืองเชียงแสนและเชียงรายกลายเป็น เมืองร้างไป

14


ยุคเมืองพันธุมติรัตนอาณาเขต

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2386 ได้มีการตั้งเมืองเชียงรายให้กลับฟื้น คืนอีกครั้ง เพื่อเป็นเมืองบริวารทำ�หน้าที่ป้องกันเชียงใหม่จากการรุกรานของพม่า โดย มีเชือ้ พระวงศ์ชนั้ ผูใ้ หญ่เป็นผูป้ กครองเมือง ได้มกี ารก่อสร้างกำ�แพงสร้างประตูเมืองเพิ่ม เติมในส่วนที่เป็นเมืองเก่ามาแต่สมัยพญามังราย ให้เป็นเมือง “พันธุมติรัตนอาณาเขต” ต่ อ มาในสมั ย รั ช กาลที่ 5 ทรงดำ � เนิ น นโยบายสร้ า งความเป็ น เอกภาพ ทางการเมือง ประกาศจัดตั้งมณฑลพายัพขึ้นในปี พ.ศ. 2437 และยกเลิกหัวเมือง ประเทศราชล้านนาไทย เมืองเชียงรายจึงถูกจัดเป็นเมืองจัตวารวมอยูใ่ นมณฑลพายัพใน ปี พ.ศ. 2453 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เชียงรายจึงถูกจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา 15


ท่องวัฒนธรรมเที่ยวธรรมชาติ ที่เชียงราย 16


อ ย่ า ง ที่ ท ร า บ กั น ว่ า เชี ย งรายเป็ น เมื อ ง ท่องเที่ยวที่มีสีสันหลากหลาย นักท่องเที่ยวจึงสามารถเลือก เที่ยวได้ทั้งท่องธรรมชาติดอย สู ง และลำ � น้ำ � ใหญ่ ที่ แ บ่ ง กั้ น พรมแดนสามประเทศ เลื อ ก ชมความงามทางวั ฒ นธรรม ของผู้คนหลากชาติพันธุ์ เลือก เที่ ย วตามรอยประวั ติ ศ าสตร์ เมื อ งโบราณ รวมทั้ ง ค้ น หา แรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของผู้คนที่อาศัยในอาณาจักร ล้ า นนา รวมถึ ง อาณาจั ก ร โบราณก่อนหน้านับพันปี ควร ค่าแก่การศึกษาประวัติศาสตร์ สักการะบูชา และชื่นชมคุณค่า พุทธศิลป์ ทัง้ นี้ เชียงรายยังเป็น เมืองแห่งศิลปิน จึงเป็นกำ�ไรให้ ผู้มาเยือนได้มีโอกาสไปเยี่ยม บ้านศิลปิน ชมความงามของ ศิลปะร่วมสมัยอย่างเต็มอิม่ คุม้ ค่าแก่การมาเยือน ในทีน่ ไี้ ด้แนะนำ�แหล่ง ท่ อ งเที่ ย วต่ า ง ๆ ในจั ง หวั ด เชี ย งรายแยกเป็ น เส้ น ทางใน แต่ละอำ�เภอ เพื่อความสะดวก แก่ ก ารศึ ก ษาสำ � หรั บ วางแผน การท่องเที่ยว ทั้งยังมีเส้นทาง ไหว้พระทำ�บุญที่ชาวเชียงราย มักจะแนะนำ�กัลยาณมิตรให้ได้ไปสักการะ “พระธาตุเก้าจอม” อันได้แก่ พระธาตุ ดอยจอมทอง พระธาตุ จ อมสั ก พระธาตุ จ อมหมอกแก้ ว พระธาตุ จ อมแจ้ ง พระธาตุ จอมผ่อ พระธาตุจอมแว่ พระธาตุ จ อมจ้ อ พระธาตุ จ อมกิ ต ติ และ พระธาตุจอมจันทร์ ให้ครบภายในหนึง่ วัน เพือ่ ความเป็นมงคลแก่ชวี ติ รวมทัง้ ยังมีเส้น ทางท่องเที่ยววัฒนธรรมชนเผ่าเด่น ๆ ที่ได้แนะนำ�ไว้ในบทถัดไปอีกด้วย

17


อำ�เภอเมือง

วัดร่องขุ่น

วัดร่องขุ่นเป็นวัดเก่าแก่ที่อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปิน แห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ชาวเชียงราย ได้เริ่มบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2540 สร้างงานพุทธศิลป์โดยใช้ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริยเ์ ป็น แรงบันดาลใจ ปรารถนาจะสร้างวัดร่องขุ่นให้เป็นดั่งสวรรค์ที่มนุษย์สามารถ สัมผัสได้ จึงใช้สถาปัตยกรรมสีขาวเป็นหลัก พร้อมประดับด้วยกระจกสร้าง ความแวววาวงดงาม สร้างผลงานประติมากรรมปูนปั้นด้วยศิลปะไทยที่ อ่อนช้อยวิจิตร อีกทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถยังเป็นผล งานการวาดของอาจารย์เฉลิมชัยเอง ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท ทำ�ให้วัดร่องขุ่นโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ แก่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นที่รู้จักกันในนาม White Temple หรือวัดขาว นอกจากสถาปัตยกรรมและงานพุทธศิลป์อันทรงคุณค่าแล้ว ภายในวัดยังมีหอ้ งแสดงภาพจิตรกรรมผลงานอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพฒ ั น์ ศิลปินแห่งชาติ ให้ได้ชม

18

สถานทีต่ งั้ : หมูบ่ า้ นร่องขุน่ ตำ�บลป่าอ้อดอนชัย อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย เวลาทำ�การ : วัด-เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6:30-18:00 น. ห้องแสดง ภาพ-เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ 8:00-17:30 น. ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 8:00-18:00 น.


พิพิธภัณฑ์บ้านดำ�

พิพธิ ภัณฑ์แสดงผลงานศิลปะของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ชาวเชียงรายโดยกำ�เนิด เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวที่ออกแบบให้ เป็นบ้านไม้สถาปัตยกรรมล้านนากว่า 40 หลัง ทุกหลังทาด้วยสีด�ำ ซึง่ เป็นสีโปรดของ ศิลปิน ร่มรื่นด้วยต้นไม้จำ�นวนมาก โดดเด่นด้วยการประดับตกแต่งงานไม้แกะสลัก ลวดลายงดงาม เขาสัตว์ และกระดูกสัตว์ ทั้งนี้ งานสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง อาคารทุกหลังภายในพิพิธภัณฑ์นั้น ล้วนแล้วแต่มีที่มาและเกิดจากแรงบันดาลใจ ของศิลปินจึงมีความหมายที่แตกต่างกันทั้งสิ้น ดังนั้นควรศึกษาข้อมูลล่วงหน้าก่อน การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่เว็บไซต์ www.thawan-duchanee.com สถานที่ตั้ง : บ้านดู่ ตำ�บลนางแล อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย เวลาทำ�การ : 09:00-12:00 น. และ 13:00-17:00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร. 0 5377 6333, 08 1673 1155

19


หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ

หอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรตินี้ เป็นหอนาฬิกาประจำ�เมืองเรือนใหม่ ที่เพิ่งสร้างขึ้นแทนที่หอนาฬิกาเดิมเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพฒ ั น์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงรายเป็นผูอ้ อกแบบ มีลกั ษณะศิลปะอัน อ่อนช้อยคล้ายที่วัดร่องขุ่น ในเวลา 19:00 น. 20:00 น. และ 21:00 น. หอนาฬิกาจะแสดงแสงสีเสียงประกอบเพลงเชียงรายรำ�ลึกโดยอัตโนมัติ เป็น เวลาประมาณ 10 นาทีเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ จึงมีผู้คนมายืนรอชมการแสดง โดยรอบบริเวณเป็นจำ�นวนมาก จนกลายสีสนั ของการท่องเทีย่ วเชียงรายทีไ่ ม่ ควรพลาด หอนาฬิกาเรือนเดิมเองก็นบั เป็นความทรงจำ�ดี ๆ ของชาวเชียงราย เพราะสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงถูกย้ายไปตั้งอยู่ที่สามแยกโรงรับจำ�นำ� ในตลาดสดเทศบาลไม่ไกลจากที่เดิมนัก

20

สถานที่ตั้ง : ถนนบรรพปราการ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย


ไร่บุญรอด

ด้วยพื้นที่ปลูกพืชกว้างใหญ่กว่าพันไร่ ทำ�ให้ภายในไร่บุญรอดของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำ�กัด เต็มไปด้วยพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นชาอู่หลง พุทรา ไต้หวัน มะเฟือง มัลเบอรี่ ราสเบอรี่ เมลอน ข้าวบาร์เลย์ และดอกไม้เมืองหนาว นานาพันธุ์ จากแนวคิดการทำ�การเกษตรร่วมกับธรรมชาติและชุมชนอย่างสมดุล ยั่ ง ยื น ทำ � ให้ ไร่ บุ ญ รอดจั ด การปั น น้ำ � ให้ แ ก่ เ กษตรกรเพื่ อ ปลู ก ข้ า วในหน้ า แล้ ง นอกจากจะทำ�เกษตรทีเ่ อือ้ เฟือ้ แก่ชมุ ชนโดยรอบแล้ว ยังเปิดบริการให้นกั ท่องเทีย่ ว ได้เข้าชมเพื่อเป็นการพักผ่อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 อีกด้วย ภายในไร่มีร้านอาหารภูภิรมย์ซึ่งสามารถชมวิว 360 องศา มีร้านกาแฟ และร้านจำ�หน่ายของที่ระลึกตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับรูปปั้นสิงห์ยักษ์สีทองสัญลักษณ์ ของไร่บญ ุ รอดบริเวณทางเข้า การเข้าชมจะต้องนัง่ รถชมฟาร์ม โดยให้จอดรถทีล่ าน ด้านหน้า ลงทะเบียนเข้าชมที่บริเวณร้านกาแฟ รถแต่ละรอบจะรับนักท่องเที่ยวได้ 24 คน มีบริการทุก ๆ 30-60 นาที ใช้เวลารอบละ 1-1.30 ชั่วโมงโดยประมาณ ในช่วงฤดูหนาวไร่บุญรอดจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ จึงควรวางแผนการ ท่องเที่ยวให้ดีก่อนการเดินทาง สถานที่ตั้ง : ตำ�บลแม่กรณ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร. 0 5317 2870

21


ไร่แม่ฟ้าหลวง/อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง

พื้นที่ 150 ไร่ที่รู้จักกันในนาม ไร่แม่ฟ้าหลวง เดิมเป็นที่ทำ�การมูลนิธิผลผลิต ชาวเขาไทยในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งในปี พ.ศ. 2522 ได้ดำ�เนินโครงการผู้นำ�เยาวชนชาวเขา โดยนำ�เยาวชนชาวเขามาอยู่รวมกัน เป็นครอบครัวเพื่อเรียนรู้การดำ�รงชีวิตและฝึกอาชีพ เมื่อเติบโตจึงได้แยกย้ายกลับ ภูมิลำ�เนา กอรปกับในทุกพื้นที่ห่างไกลมีโรงเรียนอย่างทั่วถึงแล้วโครงการจึงสิ้นสุดลง จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น อุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง เพื่ออนุรักษ์งานพุทธศิลป์ โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรมล้านนา งานไม้แกะสลัก และให้ความรู้เกี่ยวกับล้านนา ภายใต้แนวคิดอุทยานแห่งความสวยงามอย่างล้านนา มีสถาปัตยกรรมที่สำ�คัญ ได้แก่ หอคำ� หอคำ�น้อย หอแก้ว และลานพระรูปแม่ฟา้ หลวง ทัง้ นีย้ งั เป็นทีจ่ ดั แสดงงานศิลป วัฒนธรรม ดนตรี ละคร และจัดงานเลี้ยงรับรองรูปแบบต่าง ๆ สถานที่ตั้ง : ตำ�บลรอบเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร. 0 5371 6605-7 โทรสาร 0 5371 2429

22


อนุสาวรียพ์ อ่ ขุนเม็งรายหรืออนุสาวรีย์ พญามังราย

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายเป็น สถานที่ซึ่งคนเชียงรายให้ความเคารพ เลื่อมใส ก่อนหน้านี้ ชาวเชียงรายนิยม เรียกพญามังรายว่า พ่อขุนเม็งราย แต่มี การรณรงค์ให้เรียกชือ่ ทีถ่ กู ต้องตามหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงวาระครบ รอบ 750 ปีเมืองเชียงรายไม่นานมา นี้เอง ชื่อพ่อขุนเม็งรายจึงยังคงติดปาก คนเชียงรายกันอยู่มาก จากตำ�นานพื้นเมืองเชียงใหม่ เล่าว่า พญามังราย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราช แห่งหิรัญ นครเงินยางซึ่งอยู่ในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน เป็นโอรสของกษัตริย์ลาวเม็ง และพระนางเทพคำ�ขยายซึ่งเป็นชาว ไทลือ้ จากเมืองเชียงรุง่ บิดาของพระนาง ชื่อท้าวรุ่งแก่นชาย เมื่อพระโอรสถือ กำ�เนิดจึงนำ�ชื่อพ่อ แม่ และตามาผสม กัน ทำ�ให้ได้ชื่อว่า มังราย พญามั ง รายเป็ น กษั ต ริ ย์ ที่ แข็งแกร่งและมีพระปรีชาสามารถมาก หลังจากครองราชย์หิรัญนครเงินยาง ไม่นานก็ทรงแผ่พระราชอำ�นาจและตั้ง เมื อ งเชี ย งรายขึ้ น มา จากนั้ น ทรงยึ ด ครองอาณาจักรหริภุญไชย สร้างเวียง กุ ม กามและเมื อ งเชี ย งใหม่ เป็ น ปฐม กษั ต ริ ย์ ร าชวงศ์ มั ง รายของเชี ย งใหม่ และทรงรวบรวมแว่นแคว้นน้อยใหญ่ให้ กลายเป็นอาณาจักรล้านนาที่ยิ่งใหญ่ สถานที่ ตั้ ง : ห้ า แยกพ่ อ ขุ น เม็ ง ราย ตำ�บลรอบเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย

23


โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย

โบสถ์ 100 ปี แ ห่ ง นี้ ถื อ เป็ น ศาสนสถานสำ � คั ญ อั น เต็ ม ไปด้ ว ยคุ ณ ค่ า ทาง ประวัติศาสตร์ของศริสต์ศาสนิกชนชาวเชียงราย ย้อนไปตั้งแต่ครั้งที่คณะมิชชันนารี อเมริกันเพรสไบทีเรียนได้มาตั้งมิชชันขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2411 จากนั้นมี การเดินทางมาสำ�รวจพื้นที่ในจังหวัดเชียงรายโดยหมอแมคกิลวารี ศาสนาจารย์ หลาย ปีตอ่ มานายแพทย์วลิ เลีย่ ม เอ บริกส์ มิชชันนารีคนสำ�คัญจึงได้เดินทางมาเชียงรายเพือ่ อำ�นวยการสร้างโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย ด้วยเงินบริจาคของคณะอเมริกัน เพรสไบทีเรียน ในปี พ.ศ. 2457 ตัวโบสถ์เป็นอาคารทีง่ ดงาม มีรปู แบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ใช้เทคนิคการ ก่อสร้างใกล้เคียงกับอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลโอเวอร์บรูค๊ ซึง่ อำ�นวยการสร้างโดย นายแพทย์วิลเลี่ยม เอ บริกส์ เช่นกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงรายถูกยึดเพื่อใช้ เป็นเขตทหารญี่ปุ่น เหล่ามิชชันนารีถูกขับออกนอกประเทศ เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง โบสถ์หลังนี้จึงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เพื่อฟื้นฟูส่วนที่ชำ�รุดทรุดโทรม พร้อมการกลับ เข้ามาอีกครั้งของเหล่ามิชชันนารี

24

สถานที่ตั้ง : บริเวณประตูสลี ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย


วัดพระแก้ว

วัดสำ�คัญที่ค้นพบพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นวัด โบราณที่แต่เดิมมีชื่อว่าวัดญรุกขวนารามหรือวัดป่าญะ เนื่องจากบริเวณวัดมีไม้ญะ ซึ่งเป็นไม้ใผ่ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 1977 พระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าพังทลายลง พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งอยู่ภายในจึงอัญเชิญไปประดิษฐานในพระวิหาร ต่อมาเมื่อด้านนอกกะเทาะออกจึงทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหยกทั้งองค์หรือ คือ พระแก้วมรกต และถูกอัญเชิญไปไว้ที่จังหวัดลำ�ปาง เชียงใหม่ เวียงจันทร์ กรุงธนบุรี และกรุงเทพมหานครตามลำ�ดับ หลังจากได้พบพระแก้วมรกตผู้คนจึงเรียกวัดป่าญะว่า วัดพระแก้ว ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดในปี พ.ศ. 2420 และได้รับการยกฐานะ เป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2521 ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น พระเจดีย์ร้างที่ ถูกฟ้าผ่า หอพระหยก พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว เป็นต้น สถานที่ตั้ง : ถนนไตรรัตน์ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

25


วัดพระสิงห์

วัดโบราณเก่าแก่ซึ่งได้รับการสันนิษฐานว่า สร้างราวปี พ.ศ. 1928 ช่วงที่ พระเจ้ามหาพรหมครองเมืองเชียงราย ที่ได้ชื่อว่า วัดพระสิงห์ เพราะครั้งหนึ่งวัดนี้เคย เป็นที่ประดิษฐาน พระสิงห์หรือพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำ�ริดปิดทองปางมารวิชัย ศิลปะแบบล้านนาพุทธลักษณะสง่างามประดิษฐานอยู่ในบุษบก อันเป็นพระพุทธรูป สำ�คัญที่พุทธศาสนิกชนในลุ่มน้ำ�โขงเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลให้เกิด ความสงบร่มเย็นในบ้านเมือง วัดพระสิงห์ยังคงเป็นวัดสำ�คัญของจังหวัดเชียงรายเรื่อยมา เดิมเป็นสถานที่ ประกอบพิธีถือน้ำ�พิพัฒน์สัตยา และได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จ�ำ ลอง รอยพระพุทธบาทจำ�ลองบนแผ่นศิลา ซึง่ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญามังราย มีบานประตูวหิ ารบอกเล่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับดิน น้ำ� ลม ไฟ ซึ่งได้รับการออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ และแกะสลัก โดยสล่าอำ�นวย บัวงาม สถานที่ตั้ง : บ้านพระสิงห์ ถนนสิงหไคล ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

พื้นที่ศาลากลางหลังเก่าซึ่งถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รวบรวมข้อมูล ความเป็นมาของจังหวัดเชียงรายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 6 หัวข้อตามห้องต่าง ๆ ได้แก่ พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงราย ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาและ วรรณกรรม วัฒนธรรม 5 เชียง และสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สถานที่ตั้ง : ถนนสิงหไคล ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย เวลาทำ�การ : เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น. ไม่มีค่าธรรมเนียม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 26 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย โทร. 0 5317 5335


วัดพระธาตุดอยจอมทองและเสาสะดือเมือง 108 หลัก

วัดพระธาตุดอยจอมทองนี้ เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พญา มังรายจะสร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 มีพิธีสรงน้ำ�พระธาตุทุกวันขึ้น 15 ค่ำ� เดือน 3 มาแต่อดีต เป็นวัดสำ�คัญอันเป็นทีต่ งั้ ของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ทีป่ ระชาชน ชาวเชียงรายร่วมใจสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติของพญามังรายและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสาสะดือเมือง 108 หลัก สร้างจากจักรวาลคติของล้านนา ด้านหน้าหันไปทาง ทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยคูน�้ำ คือขอบจักรวาล รอบใน ยกขึ้นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกในกามภูมิ ยกขึ้นอีกสามชั้นหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ โดยชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน ตัวเสาสะดือเมืองเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐาน สามเหลี่ยมหมายถึงตรีกูฏบรรพตหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น อันหมายถึงสิ่ง สำ�คัญในจักรวาล และล้อมรอบด้วยร่องน้�ำ ห้าร่องคือปัญจมหานทีลดหลัน่ เป็นชัน้ ไหลลง สู่พื้นดิน สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

27


วัดดอยงำ�เมือง

เ ป็ น ที่ ตั้ ง ข อ ง สถู ป บรรจุ พ ระอั ฐิ ข อง พญามังราย มีประวัติว่า หลังจากที่พญามังรายได้ สวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.1860 พญา ไชยสงครามผู้ เ ป็ น โอรส ได้ ก ลั บ มาครองเมื อ ง เชียงรายพร้อมทัง้ อัญเชิญ พระอั ฐิ ข องพญามั ง ราย มาประดิษฐาน ณ ดอย แห่งนี้ ต่อมา พ.ศ. 2030 พระยาศรรั ช ฎาเงิ น ทอง ได้มาบูรณะและสร้างวัด ขึ้น ให้ชื่อว่า วัดงำ�เมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2220 เจ้าฟ้ายอดงำ�เมืองโอรส เจ้าผู้ครองนครเชียงแสน ได้บูรณะเพิ่มเติมรวมทั้ง สร้างวิหารและเสนาสนะ ในวัดเสียใหม่ สถานที่ ตั้ ง : ถนนอาจ อำ � นวย บ้ า นฮ่ อ มดอย ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

28


วัดมิ่งเมือง

วัดไทใหญ่ซงึ่ แต่เดิมเรียก ว่า วัดเงี้ยวหรือวัดช้างมูบ เพราะ ในอดีตบริเวณนี้มีชุมชนไทใหญ่ อาศัยอยูโ่ ดยรอบ การบูรณะเจดีย์ โบราณของวัดทำ�ให้พบแผ่นเงิน จารึกเป็นภาษาพม่า แปลออกมา เป็นชื่อผู้สร้างวัดชื่อ ตะละแม่ศรี ซึ่งเป็นชาวพม่า หากอ้างอิงตาม จารึกนีว้ ดั มิง่ เมืองจะมีอายุเท่ากับ เมืองเชียงราย โดยมีหลักฐานที่ สำ�คัญหลายชิ้นที่แสดงว่าเป็นวัด เก่ า แก่ ซึ่ ง ชาวพม่ า สร้ า งมาเป็ น เวลานานแล้ว วั ด มิ่ ง เ มื อ ง มี บ่ อ น้ำ � โบราณศิลปะแบบไทยใหญ่มีซุ้ม ครอบไว้บนหลังช้างหมอบ ชาว บ้านจึงเรียกว่า บ่อน้ำ�ช้างมูบ จึง เป็นทีม่ าของชือ่ วัดช้างมูบ นัน่ เอง สถานที่ตั้ง : ถนนไตรรัตน์ ตำ�บล เวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

29


สวนตุง

สวนสาธารณะกลางเมื อ งเชี ย งราย เดิ ม คื อ เรื อ นจำ � กลางจังหวัดเชียงรายที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ต่อมาเมื่อจำ�นวน นักโทษเพิ่มจำ�นวนขึ้นอีกทั้งตั้งอยู่กลางเมืองจึงเกิดการรณรงค์ ย้ายเรือนจำ�ออกนอกเมือง และปรับปรุงให้โปร่งโล่งโดยรื้อถอน กำ�แพงทั้ง 4 ด้านออก ประดับประดาด้วยไม้ดอกไม้ประดับ สวยงาม โดยออกแบบพืน้ ทีใ่ ห้มที งั้ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สระ บัว และสวนตุงที่สวยงาม นอกจากนี้ยังคงเก็บรักษาอาคารอำ�นวยการไว้ทำ�เป็น ศูนย์ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว และบูรณะอาคารไม้ซึ่งเคยเป็นเรือน จำ�ที่คุมขังนักโทษหญิงให้มาเป็นอาคารแสดงศิลปะการแต่งกาย 30 ชนเผ่า แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแต่งกายของ ชาวล้านนาและชนเผ่าต่าง ๆ ด้วยหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าคนจริงดูน่า สนใจ จุดเด่นอีกอย่างของสวนตุงคือ ตุงเฉลิมพระเกียรติเนือ่ ง ในวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ฉลองสิรริ าช สมบัติครบ 60 ปี มีความสูง 36 เมตร กรอบตุงมีลวดลาย 12 นักษัตร และโคมล้านนาสีเหลืองทอง สถานทีต่ งั้ : ถนนธนาลัย ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

พิพิธภัณฑ์อูบคำ�

แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์อูบคำ�ของอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย เริ่มจากการที่เห็นว่า ชาวต่างชาติเข้ามากว้านซื้อของเก่าในจังหวัดเชียงราย โดย เฉพาะในเขตอำ�เภอแม่สายเป็นจำ�นวนมาก ทัง้ เครือ่ งเขิน ผ้าโบราณ และวัตถุโบราณ อื่น ๆ จึงคิดว่าหากไม่มีใครเก็บรักษาสมบัติเหล่านี้ ต่อไปคงจะหมดไปจากประเทศ ลูกหลานคงจะไม่รู้จักและไม่มีแหล่งเรียนรู้รากเหง้าศิลปวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ จึง เริ่มต้นเก็บสะสมของใช้ในล้านนาและเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา ตั้งชื่อตามอูบทองคำ� ที่ได้รับเป็นมรดกจากบิดาซึ่งสืบเชื้อสายจากพระยาสุลวะฤาชัยหรือหนานทิพย์ช้าง ผู้ เป็นต้นกำ�เนิดของเจ้าเชื้อเจ็ดตนจากเมืองลำ�ปาง เพื่อจัดเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกทาง วัฒนธรรมของล้านนา เก็บรักษาเครื่องใช้ในราชสำ�นักจากคุ้มเจ้าล้านนาและโบราณ วัตถุ เช่น พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ผ้าโบราณ ผ้าทอในราชสำ�นัก เป็นต้น ทั้งยัง ให้บริการจัดงานขันโตก งานแต่งงาน ถ่ายภาพแบบล้านนาอีกด้วย

30

สถานที่ตั้ง : ถนนหน้าค่ายเม็งรายมหาราช ตำ�บลรอบเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย เวลาทำ�การ : ทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00-18:00 น.


วัดพระธาตุจอมสัก

เป็นพระธาตุส�ำ คัญของเมืองเชียงราย หนึง่ ในพระธาตุเก้าจอม สร้างขึน้ ในสมัยโยนก ไชยบุรศี รีเชียงแสน ต่อมาในสมัยพระเจ้าพังคราชได้มพี ระเถระรูปหนึง่ จากเมืองสุธรรมวดีน�ำ เอาพระบรมสารีรกิ ธาตุจากประเทศลังกามาถวายจำ�นวน 16 องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรด ให้แบ่งพระธาตุออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง อีกส่วน หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุจอมกิตติ และอีกส่วนสุดท้ายนำ�มาประดิษฐานที่พระธาตุดอย บ้านยาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ครูบาคำ�หล้า สังวโรได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุ โดยสร้างองค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น พระธาตุจอมสัก สถานที่ตั้ง : ตำ�บลบ้านดู่ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

31


หอศิลป์ ไตยวน

ฉลอง พินิจสุวรรณ ศิลปินอิสระชาวเชียงรายโดยกำ�เนิด ผูส้ ร้างงานศิลปะมากมาย โดยเฉพาะผลงานสร้างสรรค์จากปากกา ลูกลืน่ ทีส่ วยงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขา เคยเป็น อาจารย์สอนในสถาบันการศึกษาจังหวัดเชียงรายมาก่อน เป็นที่ รูจ้ กั ในแวดวงงานศิลปกรรม ปัจจุบนั เป็นเจ้าของหอศิลป์เล็ก ๆ ใช้ ชือ่ ว่า หอศิลป์ไตยวน อันหมายถึง หอศิลป์ของคนเมือง ผูค้ นส่วน ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในล้านนา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง สถานที่ตั้ง : ถนนราชโยธา ตำ�บลรอบเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5371 2137 หรือ 08 9631 9438

32


บ้านดอยดินแดง เครื่องปั้นดินเผา

บ้านดอยดิน แดงเป็น หอศิ ลป์ ข อง สมลั ก ษณ์ ปั น ติ บุญ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงด้านงานประติมากรรม ทำ�งานศิลปะเกี่ยวกับ เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก ผสมผสานแนวคิดของดิน น้�ำ ลม ไฟ จนมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ มีชอื่ เสียงทัง้ ในและ ต่างประเทศ สถานที่ตั้ง : บ้านป่าอ้อ ถนนพหลโยธิน ตำ�บลนางแล อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5370 5291 โทรสาร 0 5370 6128

33


หอศิ ล ป์ ข องธี ร ยุ ท ธอรพิน สืบทิม

ธี ร ยุ ท ธ แ ล ะ อรพิน สืบทิม เป็นศิลปิน คู่ ส ามี ภ รรยาผู้ เ ป็ น แรง บันดาลใจในการสร้างผล งานศิ ล ปะให้ แ ก่ กั น และ กัน โดยธีรยุทธรักการวาด ภาพสี น้ำ � ในแนวเหมื อ น จริง ขณะที่อรพินมีความ สุขกับการถ่ายทอดความ ง า ม ข อ ง อิ ส ต รี ด้ ว ย สี อะคริลิค สถานที่ตั้ง : บ้านป่าห้า ตำ�บลนางแล อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 08 1784 5592, 08 6185 2271

34


หอศิลป์ของชัยวิชิต สิทธิวงศ์

ชัยวิชิต สิทธิวงค์ ศิลปินรุ่นใหม่ชาวเชียงรายที่นำ�เสนอผลงาน จิตรกรรมในรูปแบบอิมเพรสชันนิสม์ ถ่ายทอดความประทับใจต่อธรรมชาติ ด้วยจิตรกรรมภาพธรรมชาติรอบตัว ทั้งทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ� ดอกไม้ และ ทุ่งหญ้า สถานที่ตั้ง : บ้านป่าซาง ตำ�บลบ้านดู่ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5370 2647, 08 6670 9581

35


น้ำ�ตกขุนกรณ์

ชาวบ้านมักเรียกว่า น้ำ�ตก ตาดหมอก มีความสูงประมาณ 70 เมตร เป็ น แหล่ ง ต้ น น้ำ � แม่ ก รณ์ ถื อ เป็ น น้ำ � ตกที่ มี ชื่ อ เสี ย งของเชี ย งราย อยู่ ห่ า งจากตั ว เมื อ งประมาณ 3334 กิโลเมตร ในพื้นที่เขตป่าสงวน แห่งชาติแม่ลาวฝั่งซ้ายและป่าแม่กก ฝั่งขวาจึงร่มรื่นและอุดมสมบูรณ์ ใน ระหว่างการเดินเท้าไปยังน้ำ�ตกจะพบ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่าหลายชนิด เหมาะ กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อศึกษา ธรรมชาติ ทั้งนี้ ทางวนอุทยานไม่มี ทีพ่ กั ให้บริการแต่นกั ท่องเทีย่ วสามารถ นำ�เต็นท์มาพักแรมเองได้ โดยติดต่อผู้ ดูแลวนอุทยานน้ำ�ตกขุนกรณ์และเสีย ค่าเช่าพื้นที่กางเต็นท์ สถานที่ ตั้ ง : บนเทื อ กเขาดอยช้ า ง ตำ�บลแม่กรณ์ อำ�เภอเมือง จังหวัด เชียงราย

ถ้ำ�ผาตอง

ถ้ำ � ที่ ส วยงามแห่ ง หนึ่ ง อยู่ ห่างจากตัวเมืองเชียงรายแค่ประมาณ 19 กิโลเมตร นอกจากถ้�ำ ผาตองแล้ว ในบริเวณใกล้เคียงยังมีถ�้ำ สายธาร ถ้ำ� แม่ครัว และจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจใน หมูบ่ า้ นทีบ่ า้ นสล่าคำ�จันทร์ ยาโน ช่าง แกะสลักงานไม้ชิ้นเล็ก เช่น กระบวย หนังสติ๊ก แต่เต็มไปด้วยกลไกทำ�ให้ ชิ้ น งานสามารถเคลื่ อ นไหวได้ อ ย่ า ง น่าสนใจ จึงเหมาะสำ�หรับศึกษาเรียน รู้และซื้อหาเป็นของที่ระลึก

36

สถานที่ตั้ง : บ้านถ้ำ�ผาตอง ตำ�บล ท่าสุด อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย


อำ�เภอเวียงชัย โบราณสถานพระเจ้ากือนา

ตามตำ�นานเล่าว่า พญากือนา กษัตริย์ลำ�ดับที่ 6 ของราชวงศ์มังรายได้เสด็จ มายังเมืองเชียงแสน เมื่อมาถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำ�กกจึงได้สร้างเวียงกือนาขึ้นในปี พ.ศ. 1928 ต่อมาเมื่ออาณาจักรล้านนาตกอยู่ใต้อำ�นาจพม่าเวียงกือนาเองก็เสื่อมลงกลาย เป็นสถานที่รกร้าง เหลือเพียงหลวงพ่อใหญ่หรือพระเจ้าเวียงกือนาอยู่องค์เดียว ปัจจุบัน มีรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุมพระเจ้าเวียงกือนาจนเกือบมิด โพธิ์ขนาดใหญ่ต้นนั้นจึงคือ หมุดหมายของโบราณสถานซึง่ ชาวบ้านเชือ่ ว่าเป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ในช่วงเดือนเมษายน จึงมีประเพณีสรงน้ำ�พระเจ้ากือนาและพระพุทธรูปโบราณเวียงเดิมเป็นประจำ�ทุกปี สถานที่ตั้ง : บริเวณริมแม่น้ำ�กก บ้านไตรแก้ว ตำ�บลเวียงเหนือ อำ�เภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

37


วัดโบราณเวียงเดิม

แต่เดิมชาวบ้านไม่ทราบว่าบริเวณทีต่ งั้ วัดเป็นโบราณสถาน เพราะเป็นเพียงป่า ละเมาะทีม่ แี ต่ตน้ ไผ่และซากอิฐกระจัดกระจาย กระทัง่ ปี พ.ศ. 2515 เมือ่ ชาวบ้านไปขุด ดินจอมปลวกในบริเวณดังกล่าวมาถมถนนทีเ่ ป็นหลุมเป็นบ่อ ได้ขดุ พบเศียรพระพุทธรูป จึงช่วยกันขุดต่อจนสำ�เร็จ พบพระพุทธรูปองค์สมบูรณ์สร้างด้วยอิฐถือปูน พุทธลักษณะ คล้ายพระสิงห์ปางมารวิชัย ความกว้างหน้าตัก 73 นิ้ว สูง 82 นิ้ว เมื่อกรมศิลปากรทราบและมาตรวจสอบพบว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 19 อายุไม่ต�่ำ กว่า 600 ปี เมื่อสำ�รวจพื้นที่โดยรอบพบซากกำ�แพง อิฐ เก่า และซุ้มประตูโบราณ ชาวบ้านจึงเกิดความศรัทธาช่วยกันสร้างวัดขึ้นมาใหม่โดยตั้ง ชื่อว่า วัดโบราณเวียงเดิม เก็บรักษาของที่ถูกค้นพบจากโบราณสถาน เช่น พระพุทธรูป ของใช้โบราณ เศียรพระพุทธรูปหินทราย เป็นต้น สถานที่ตั้ง : บ้านเวียงเดิม ตำ�บลเวียงเหนือ อำ�เภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ถ้ำ�พระผางาม

ถ้ำ�พระผางามเป็นภูเขาเล็ก ๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ผาคอก เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียง สงบ ร่มรื่น เหมาะสำ�หรับการพักผ่อนหย่อนใจ ใกล้กันนั้นเป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำ�พระผาคอก สถานที่ตั้ง : บ้านผางาม ตำ�บลผางาม อำ�เภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

38


หอศิลป์บ้านนายพรมมา

คำ � กล่ า วในหมู่ ศิ ล ปิ น เชี ย งรายที่ ว่ า “ช้างเผือกอยู่ในป่าฉันใด งานของพรมมาอยู่ ที่ เ วี ย งชั ย ฉั น นั้ น ” เป็ น คำ � ยกย่ อ งแก่ พรมา อินยาศรี ศิลปินชาวเวียงชัยแต่กำ�เนิด ผู้นิยม สร้างงานจิตรกรรมถ่ายทอดเรื่องราวของรอย พระพุทธบาท ช้าง พญานาค สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่ศิลปินตั้งใจแต่งแต้มอย่างวิจิตรบรรจง สถานที่ตั้ง : หมู่ 10 ตำ�บลเวียงเหนือ อำ�เภอ เวียงชัย จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วง หน้า โทร. 08 9563 3325

39


อำ�เภอเชียงของ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชือ่ มต่อระหว่างบ้านดอนมหาวัน อำ�เภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย กับบ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำ�โขงที่อยู่ในแผนการพัฒนาเส้นทาง R3A ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างจีน-ลาว-ไทย สะพานมิตรภาพไทย-ลาว มีระยะทาง 2.48 กิโลเมตร ตัวสะพานสร้างเสร็จ ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็นสะพานสองเลน แต่ละเลนกว้าง 3.5 เมตร เป็นเส้นทาง เชือ่ มไทย-ลาวแห่งล่าสุดทีท่ �ำ ให้การคมนาคมสัญจรระหว่างประเทศเป็นไปอย่างสะดวก นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการสร้างถนนเข้าไปในเขตห้วยทรายอีกประมาณ 6 กิโลเมตร รวมถึงการสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง

40

สถานที่ตั้ง : บ้านดอนมหาวัน ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย


คูเมืองและกำ�แพงเมืองเก่า

เชียงของเป็นเมืองโบราณมาก่อนจึงปรากฏร่องรอยของแนวคูเมืองเก่า และแนวกำ�แพงเมืองหลงเหลืออยู่ให้เห็น ในปัจจุบันนี้มีการปรับปรุงแนวคูเมืองและ กำ�แพงเมืองเก่าให้มสี ภาพใหม่ แต่คงการสร้างแบบเดิมและใช้ศลิ าแลง สร้างซุม้ ประตู และแนวทางเดินรอบ ๆ ซึ่งสามารถมองเห็นคูเมืองเก่าได้อย่างชัดเจน อีกทั้งด้านทิศ ตะวันออกยังสามารถเดินทะลุไปถึงแนวทางเดินริมแม่น้ำ�โขง นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนที่น่าสนใจ เหมาะแก่การเที่ยวชม สถานที่ตั้ง : บ้านเวียงแก้ว ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

41


ผ้าทอไทลื้อบ้านศรีดอนชัย

หลังจากล้านนาพ้นจากอำ�นาจของพม่าซึ่งยึดครองอาณาจักรมานานกว่า สองร้อยปี พระเจ้ากาวิละเห็นว่าทุกเมืองตกอยู่ในสภาพเมืองร้างร่วงโรยเนื่องจาก ผู้คนหนีหายล้มตาย จึงทรงทำ�การเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง กวาดต้อนผู้คนจาก เมืองต่าง ๆ ตามรายทางตั้งแต่พม่าไปจนถึงตอนใต้ของจีนให้ลงมาตั้งรกรากอยู่ ในล้านนา เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้จังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อรวมทั้ง ชาติพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำ�นวนมาก ผ้าทอไทลือ้ บ้านดอนไชยนับเป็นงานหัตถกรรมเลือ่ งชือ่ ของอำ�เภอเชียงของ เพราะชาวบ้านที่นี่ทอผ้าได้อย่างงดงามมีเอกลักษณ์ไทลื้อ มีประวัติการย้ายถิ่นฐาน ของชุมชนเล่าว่า ก่อนหน้านีพ้ วกเขาเคยตัง้ รกรากอยูท่ อี่ �ำ เภอเวียงแก่น ย้ายมาอยูท่ ี่ ตำ�บลศรีดอนชัย อำ�เภอเชียงของ ตั้งแต่ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ซึ่งก็เมื่อประมาณ 50-60 ปีที่ผ่านมานี้

42

สถานที่ตั้ง : บ้านศรีดอนชัย ตำ�บลศรีดอนชัย อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย


พิพิธภัณฑ์จักรยานThe Hub

พิพิธภัณฑ์จักรยานที่สร้างขึ้นโดย Alan Bate นักปั่นจักรยานทางไกลชาว อังกฤษผู้หลงรักเมืองไทยและเคยปั่นจักรยานรอบโลกเพื่อถวายแด่ในหลวงมาแล้ว ปัจจุบันมาลงหลักปักฐานอยู่ที่อำ�เภอเชียงของ ได้เช่าบ้านไม้สองชั้นเพื่อสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์ โดยนำ�จักรยานที่สะสมไว้ทั้งจักรยานโบราณ จักรยานเสือหมอบ จักรยาน แปลก ๆ จำ�นวนมาก รวมถึงข้าวของทีเ่ กีย่ วข้องกับจักรยาน เช่น เสือ้ ทีใ่ ช้ในการแข่งขัน โปสเตอร์การแข่งขันสนามต่าง ๆ หนังสือ และแสตมป์มากมายมาจัดแสดง ด้วยความ ตั้งใจอยากแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับจักรยานที่ตนรักแก่ผู้ที่สนใจอื่น ๆ สถานที่ตั้ง : บ้านเวียงแก้ว ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เวลาทำ�การ : ตั้งแต่เวลา 10:00-18:00 น. หยุดทุกวันพุธ

43


ชาวเขาเผ่าม้งบ้านทุ่งนาน้อย

บ้ า นทุ่ ง นาน้ อ ยเป็ น หมู่ บ้ า นชาวม้ ง ที่ ยั ง คงรั ก ษาขนบธรรมเนี ย มและ วิถีชีวิตดั้งเดิมที่กลมกลืนกับธรรมชาติไว้ได้เป็นอย่างดี เหมาะสำ�หรับผู้ที่รักการ ท่องเที่ยวธรรมชาติและสนใจเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยมากแล้วนักท่องเที่ยว มักจะวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยวหมู่บ้านทุ่งนาน้อยแล้วต่อไปยังน้ำ�ตกห้วยตอง ซึ่งอยู่ห่างออกไป 3 กิโลเมตร ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยวคือตั้งแต่เดือน ตุลาคมไปจนถึงเดือนมีนาคม ไม่แนะนำ�ให้ไปเที่ยวในหน้าฝนเพราะถึงแม้ระยะทาง จากตัวอำ�เภอเชียงของไปยังหมู่บ้านจะเพียง 9 กิโลเมตรแต่ค่อนข้างสมบุกสมบัน เนื่องจากยังเป็นถนนลูกรัง สถานที่ตั้ง : บ้านทุ่งนาน้อย ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

วนอุทยานห้วยทรายมาน

44

วนอุทยานห้วยทรายมานอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่โขงฝั่งขวา มีเนื้อที่ ประมาณ 4,000 ไร่ มีลกั ษณะทัว่ ไปเป็นเขาสูงชัน มีระดับความสูงจากระดับน้�ำ ทะเล ปานกลางตัง้ แต่ 400-700 เมตร เป็นป่าเบญจพรรณ มีสตั ว์ปา่ ชนิดต่าง ๆ ไม่วา่ จะ เป็นอีเห็น หมูป่า อ้น ตุ่น ไก่ป่า และนกกรงหัวจุกอาศัยอยู่ เป็นแหล่งต้นน้�ำ สำ�คัญ


ที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ การเดินทางจากอำ�เภอเมืองสามารถใช้เส้นทางไปอำ�เภอแม่จันเชียงแสน-เชียงของ ระยะทางประมาณ 112 กิโลเมตร สถานที่ตั้ง : ตำ�บลริมโขง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

น้ำ�ตกห้วยเม็ง

เป็นน้ำ�ตกที่สวยงามตั้งอยู่ในภูเขาดอยหลวง สามารถเลือกเดินเที่ยวน้ำ�ตกทั้งสอง ฝั่งซ้ายขวา การเดินทางใช้เส้นทางอำ�เภอเชียงของ-เชียงแสน เลี้ยวเข้าหมู่บ้านห้วยเม็ง โดย จากปากทางถึงน้ำ�ตกระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร เมื่อถึงหมู่บ้านจะมองเห็นภูเขาสูง ใหญ่เป็นจุดสังเกต สองข้างทางร่มรื่นด้วยสวนส้มเขียวหวานของชาวบ้าน สถานที่ตั้ง : บ้านห้วยเม็ง ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

45


อำ�เภอเทิง

พระธาตุจอมจ้อ

พระธาตุสำ�คัญหนึ่งในพระธาตุเก้าจอม เป็นพระธาตุคู่เมืองเทิงมาตั้งแต่ โบราณ มีตำ�นานว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าพักอยู่ใต้ต้นอโศกใกล้แม่น้ำ�อิงได้มี พญานาคตนหนึ่งไปเข้าเฝ้า โดยนำ�ช่อทองคำ� 3 ผืนและช่อแก้ว 3 ผืนถวายแด่ พระพุทธองค์ เมื่อพระอานนท์ทูลขอพระธาตุเพื่อมอบให้แก่พญานาคตนนั้น พระพุทธองค์จึงทรงลูบพระเศียร ได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่งมอบแก่ให้พญานาค พญานาคจึงไปทูลเจ้าเมืองเทิงให้สร้างพระธาตุเพือ่ บรรจุพระเกศาธาตุไว้กลางดอย ที่พระพุทธเจ้าประทับ โดยให้ชื่อว่า พระธาตุจอมจ้อ สถานที่ตั้ง : บ้านเวียงจอมจ้อ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเทิง จังหวัดเชียงราย

46


วนอุทยานภูชี้ฟ้า

ผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบผจญภัยมักปรารถนาจะได้ไปเยือนวนอุทยาน ภูชี้ฟ้า โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่อากาศหนาวเย็นและเต็มไปด้วยทะเลหมอกได้สร้าง บรรยากาศงดงามให้เกิดขึน้ ราวกับยืนอยูบ่ นท้องฟ้า เดือนกุมภาพันธ์ถงึ เดือนมีนาคม ดอกเสีย้ วหรือชงโคป่าจะผลิดอกบานเต็มที่ สร้างความงามน่าประทับใจ นักท่องเทีย่ ว จึงนิยมไปพักแรมบริเวณเชิงเขาซึง่ ห่างจากยอดภูประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมือ่ ใกล้รงุ่ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นพากันจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด วนอุทยานภูชฟี้ า้ ตัง้ อยูใ่ นเขตป่าสงวนแห่งชาติปา่ แม่องิ ฝัง่ ขวาและป่าแม่งาว ฟ้าทอง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ เป็นยอดเขาส่วนหนึ่งในเทือกเขาดอยผาหม่น อยูร่ ะหว่างรอยต่อชายแดนไทย-ลาว มีความสูงประมาณ 1,200-1,628 เมตรเหนือ ระดับน้ำ�ทะเล มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณ ปลายสุดของหน้าผาจะแหลมยื่นออกไป จึงเป็นที่มาของชื่อ ภูชี้ฟ้า ด้านล่างของ หน้าผาเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยะบุรี ประเทศลาว

47


ทางวนอุ ท ยานไม่ มี บ้ า นพั ก ให้ บ ริ ก าร มี เ พี ย งสถานที่ ก างเต็ น ท์ พ ร้ อ ม ห้ อ งสุ ข าจั ด เตรี ย มไว้ ใ ห้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสามารถนำ � เต็ น ท์ ไ ปกางพั ก แรมได้ แ ต่ ต้องเตรียมอาหารไปเอง โดยต้องติดต่อขออนุญาตใช้สถานทีก่ บั เจ้าหน้าทีว่ นอุทยาน โดยตรง นอกจากนีบ้ ริเวณรอบๆ ภูชฟี้ า้ ก็จะมีทพี่ กั ของเอกชนให้บริการด้วยเช่นกัน สถานที่ตั้ง : ตำ�บลตับเต่า อำ�เภอเทิง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : สำ�นักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัด เชียงราย โทร. 0 5371 4914

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากภูชี้ฟ้า ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมและ ส่งเสริมการเกษตรด้านการปลูกพืชเมืองหนาว สิ่งที่น่าสนใจคือ ดอกไม้เมืองหนาว ต่าง ๆ เช่น ดอกทิวลิป ลิลลี่ ดอกซัลเวีย และต้นคริสต์มาสสีแดง ฤดูหนาวซึ่ง จะมีการจัดงานเทศกาลดอกทิวลิปบานเป็นประจำ�ทุกปี ดอกไม้ต่าง ๆ จะผลิดอก ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นสร้างความสวยงามให้กับสถานที่เป็นอย่างมาก ที่ศูนย์ฯ มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวจำ�นวน 3 หลัง พักได้หลังละ 10-15 คน ราคา 1,200 บาทต่อหลัง แต่ไม่มีร้านจำ�หน่ายอาหาร จึงต้องจัดเตรียมอาหาร มาเองหรือสั่งจองล่วงหน้า สถานที่ตั้ง : ดอยผาหม่น อำ�เภอเทิง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : องค์การบริหารส่วนตำ�บลตับเต่า โทร. 08 1724 0052

48


ภูชมดาว

ภูชมดาวอยู่บนเทือกเขาดอยผาหม่น จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า ผาหม่นน้อย ห่างจากภูชี้ฟ้าออกไปเพียง 7 กิโลเมตร มีความสูงเหนือ ระดับน้ำ�ทะเลราว 1,600 เมตร สามารถชมวิวประเทศลาวและทะเล หมอกได้คล้ายทีภ่ ชู ฟี้ า้ ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวสองข้างทางทีเ่ ดินขึน้ ไปบนยอดดอยจะมีพรรณไม้นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นดอกกาสะลองคำ� ดอกกระเจียว ดอกบัวตอง หรือดอกนางพญาเสือโคร่งผลิบาน อีกทั้ง ยังมีพชื พรรณลักษณะป่าดิบชืน้ คล้ายดอยอินทนนท์ในจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่เป็นจำ�นวนมากให้ได้ชม ปัจจุบันนี้ เส้นทางขึ้นไปภูชมดาวยังเป็นถนนลูกรัง การเดิน ทางขึน้ ภูจะต้องใช้รถขับเคลือ่ นสีล่ อ้ เท่านัน้ ทัง้ นี้ ในฤดูฝนจะไม่สามารถ เดินทางขึ้นไปได้รวมทั้งบริเวณภูชมดาวไม่มีที่พักแรม ร้านอาหาร หรือ ห้องน้ำ�ไว้ให้บริการ นักท่องเที่ยวจึงต้องศึกษาและเตรียมตัวในการเดิน ทางให้ดี ต้องคำ�นึงถึงสมรรถนะของยานพาหนะ และหากต้องการพัก แรมจะต้องลงมาพักบริเวณบ้านพิทักษ์ไทยหรือบ้านร่มฟ้าไทย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลตับเต่า อำ�เภอเทิง จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : องค์การบริหารส่วนตำ�บลตับเต่า โทร. 08 1724 0052

49


อำ�เภอพาน พระธาตุจอมแว่

เป็ น พระธาตุ คู่ บ้ า นคู่ เ มื อ ง หนึง่ ในพระธาตุเก้าจอม เชือ่ กันว่าสร้าง โดยพญางำ�เมืองกษัตริยแ์ ห่งอาณาจักร ภูกามยาวหรือพะเยา ประมาณปี พ.ศ. 1837 พระองค์ได้เสด็จขึน้ ดอยซางคำ� ซึ่งเป็นชื่อเดิมของดอยแว่เพื่อสำ�รวจ ดูบ้านเมืองและไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ เมื่ อ เสด็ จ กลั บ ภู ก ามยาวจึ ง โปรดให้ เหล่ า เสนาอำ � มาตย์ ไ ปสร้ า งพระธาตุ จอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ� โดยได้บรรจุ พระเกศาธาตุ แก้วแหวนเงินทองของ มีค่าต่าง ๆ ไว้ในองค์พระธาตุด้วย ใน ยุคสมัยถัดมาบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาว บ้ า นจึ ง อพยพไปอยู่ เ มื อ งอื่ น ทำ � ให้ พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมลง มาได้รับ การบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในอีกหลาย ร้อยปีต่อมา สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเมืองพาน อำ�เภอ พาน จังหวัดเชียงราย

50


วัดพระธาตุสามดวง

ภ า ย ใ น วั ด มี พ ร ะ ธ า ตุ ประดิษฐานอยู่ 3 องค์ แต่ละองค์ ตั้ ง อยู่ บ นเนิ น สู ง ที่ ล ดหลั่ น กั น ไป โดยตั้งอยู่ห่างกัน 100-200 เมตร มีตำ�นานเล่าว่า พระธาตุ 3 องค์นี้ สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1829 และมีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2476 บนวั ด พระธาตุ ส ามดวง สามารถมองเห็ น ทิ ว ทั ศ น์ อำ � เภอ พานได้อย่างชัดเจน สถานทีต่ งั้ : ระหว่างบ้านป่าหุง่ และ บ้านศาลาเหมืองหิน ตำ�บลป่าหุ่ง อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย

51


หอศิลป์ของนายพานทอง แสนจันทร์

พานทอง แสนจันทร์ เป็นศิลปินชาวอำ�เภอพาน ผู้สร้างงานพุทธ ศิลป์ถ่ายทอดเรื่องราวของความศรัทธาในพุทธศาสนาผ่านภาพจิตรกรรม เกี่ยวกับพระพุทธรูปและวัดวาอาราม โดยเน้นแสงเงาทำ�ให้ภาพเกิดมิติอัน เข้มขรึม สถานที่ตั้ง : บ้านป่าตึง ตำ�บลดอยงาม อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5318 6157, 08 1289 7536

52


อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

อุทยานแห่งชาติดอยหลวงมีพนื้ ทีค่ รอบคลุม 3 จังหวัดคือ เชียงราย ลำ�ปาง และพะเยา มีพื้นที่ 731,250 ไร่ แต่เดิมเป็นวนอุทยาน 4 แห่งที่มีพื้นที่เชื่อมต่อ กัน คือ วนอุทยานน้ำ�ตกจำ�ปาทอง วนอุทยานน้�ำ ตกผาเกล็ดนาค วนอุทยานน้�ำ ตก ปูแกง และวนอุทยานน้�ำ ตกวังแก้ว ต่อมาได้รวมพื้นที่วนอุทยานทั้ง 4 นี้เข้าด้วยกัน และยกฐานะเป็น อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานลำ�ดับที่ 61 ของประเทศ นับ เป็นอุทยานขนาดใหญ่ทมี่ แี หล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติหลากหลาย โดยเฉพาะน้�ำ ตก หลายแห่งภายในอุทยาน สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ ใต้ มีจุดสูงสุดคือยอดดอยหลวง มีความสูงประมาณ 1,694 เหนือระดับน้ำ�ทะเล เป็นป่าต้นน้ำ�แม่น้ำ�วังและกว๊านพะเยา มีป่าหลายประเภท ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่า เต็งรัง ป่าดิบชืน้ ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา จึงทำ�ให้มพี ชื พันธุห์ ลากหลายรวมถึงสัตว์ ป่าหลายชนิด สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้พฤกษศาสตร์และธรรมชาติวิทยาได้ดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : อุทยานแห่งชาติดอยหลวง โทร. 0 5316 3363, 0 5360 9042, 08 1960 2456 โทรสาร 0 5316 3363

53


54


ถ้ำ�ผายาว

ลักษณะของถ้ำ�มีความเป็นเอกลักษณ์เพราะมีทั้งความลึกและกว้าง มาก การเที่ยวชมจะต้องเดินเท้าเข้าไปถึงปากทางเข้าถ้�ำ ซึ่งอยู่บนยอดเขา เมื่อ เข้าไปภายในถ้ำ�จะต้องลอดเข้าถ้ำ�ลึกประมาณ 10 เมตร จากนั้นจึงจะพบโถง กว้างใหญ่ ภายในถ้�ำ มีหนิ งอกหินย้อยสวยงาม เป็นอีกหนึง่ ทีเ่ ทีย่ วธรรมชาติซงึ่ เหมาะสำ�หรับผู้รักธรรมชาติและการผจญภัย สถานที่ตั้ง : บ้านดงเจริญ ตำ�บลม่วงคำ� อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : องค์การบริหารส่วนตำ�บลม่วงคำ� โทร. 0 5363 5227-8

น้ำ�ตกถ้�ำ ผาโขงและถ้ำ�น้�ำ ลอด

ถ้ำ�ผาโขงซ่อนอยู่ในป่ามาเป็นเวลานานโดยไม่มีใครรู้ จนกระทั่งมีคน หาของป่าไปพบถ้ำ�หินปูนที่สวยงามเข้าโดยบังเอิญ เมื่อเข้าไปดูพบว่าภายใน ถ้ำ�กว้างขวางใหญ่โต มีหินงอกหินย้อยงดงาม และสามารถมองทะลุผ่านไปอีก ด้านหนึง่ ได้ เมือ่ มีคนเริม่ รูจ้ กั ถ้�ำ แห่งนีม้ ากขึน้ จึงมีผเู้ ชีย่ วชาญมาตรวจสอบ โดย ให้ชอื่ ว่า ถ้�ำ ผาโขง เพราะเป็นถ้�ำ ทีม่ หี น้าผาสูงชันและมีน�้ำ ไหลผ่านจากยอดดอย ตลอดทั้งปีเปรียบได้ดังแม่น้ำ�โขง สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าหุ่ง อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม : องค์การบริหารส่วนตำ�บลป่าหุง่ โทร. 0 5367 6468

น้ำ�ตกปูแกง

น้ำ�ตกที่มีชื่อเสียงของอำ�เภอพาน เป็นน้ำ�ตกภูเขาหินปูนสูง 9 ชั้นมี ความสวยงามอย่างมาก เป็นน้ำ�ตกหนึ่งในสี่ที่เคยเป็นวนอุทยานมาก่อนที่จะ ถูกรวมกับวนอุทยานอืน่ อีก 3 แห่งแล้วยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติดอยหลวง พื้นที่โดยรอบน้ำ�ตกปูแกงเป็นผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ จึงมีพืชพรรณธรรมชาติ และสัตว์ป่าหลากหลายชนิด มีน้ำ�ตกไหลรินตลอดทั้งปี ร่มรื่นน่าพักผ่อน มี เส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติสองข้างทางที่จะขึ้นไปยังน้�ำ ตกถึงสองเส้น ทางให้เลือก นอกจากนี้ ทางอุทยานยังมีบ้านพักและพื้นที่กางเต็นท์ให้บริการ สำ�หรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมในบริเวณน้ำ�ตกอีกด้วย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลแม่เย็น อำ�เภอพาน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : อุทยานแห่งชาติดอยหลวง โทร. 0 5316 3363, 0 5360 9042, 08 1960 2456 โทรสาร 0 5316 3363

55


อำ�เภอป่าแดด

พระธาตุจอมคีรี

เป็นพระธาตุที่ประดิษฐานอยู่เพียงองค์เดียวบนยอดเขาเตี้ย ๆ ไม่มีพื้นที่ วัดหรือพระสงฆ์อาศัยอยู่ มีตำ�นานเล่าว่า ในอดีตพื้นที่บริเวณนี้เป็นวัดร้างมีเจดีย์ เก่าอยู่ก่อนแล้ว โดยเจ้าหลวงคำ�ลือพระโอรสของพญาคำ�แดงกษัตริย์แห่งอาณาจักร ภูกามยาวหรือพะเยาเป็นผู้สร้างเจดีย์ และอัญเชิญพระเกศาธาตุบรรจุไว้ข้างในองค์ พระธาตุ ทำ�ให้เป็นที่เลื่อมใสของผู้คนสืบมา จากลักษณะของพระพุทธรูปหินทรายและพระธาตุองค์เดิมที่เป็นหินทราย ทำ�ให้มีการสันนิษฐานว่า พระธาตุจอมคีรีน่าจะมีอายุมากกว่าพันปี กอรปกับไม่มี แหล่งหินทรายในพื้นที่ทำ�ให้เชื่อว่า น่าจะนำ�มาจากพะเยาหรือเวียงลอ ดังนั้นพื้นที่ อำ�เภอป่าแดดจึงน่าจะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองพะเยาในสมัยโบราณ ทางด้านกรมศิลปากรสันนิษฐานว่า พระธาตุจอมคีรีน่าจะมีอายุมากกว่า 700 ปี เพราะตรงกับช่วงเวลาที่พญาคำ�แดงปกครองอาณาจักรภูกามยาว ต่อมาใน ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25 มีการค้นพบพระเจดีย์และได้บูรณะขึ้นมา จากนั้นถึงได้ มีการบูรณะอีกครั้งในอีกเกือบยี่สิบปีให้หลัง ก่อนที่พระครูศิริปัญญาจารย์ เจ้าอาวาส วัดศรีประชุมประชา เจ้าคณะอำ�เภอป่าแดด จะได้รว่ มกับชาวบ้านก่ออิฐฉาบปูนครอบ พระธาตุองค์เดิมไว้ และมีพิธีสักการะพระธาตุในวันวิสาขะบูชาของทุกปี สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าแดด อำ�เภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

56


อำ�เภอแม่จัน

พระธาตุจอมจันทร์

เป็นหนึ่งในพระธาตุเก้าจอมที่สำ�คัญของจังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458 โดยครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว อีกเกือบร้อยปีถดั มาได้มกี ารสร้างวิหาร กุฏิ และศาลาเพิ่มเติม ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 เกิดไฟป่าไหม้ลุกลามมายังศาลาและ กุฏิ เหลือแต่องค์พระเจดีย์และวิหาร ชาวบ้านจึงสร้างวัดใหม่ห่างจากวัดเดิมประมาณ 300 เมตร ตัววัดพระธาตุจอมจันทร์ถูกปล่อยทิ้งร้าง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 จึงถูก บูรณะขึ้นมาใหม่ สถานที่ตั้ง : ตำ�บลสันทราย อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

สำ�นักปฏิบัติธรรมถ้ำ�ป่าอาชาทอง

จุดเด่นของสำ�นักปฏิบัติธรรมซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาแห่งนี้คือ การใช้ม้าในการเดิน ทางและออกบิณฑบาตทุกเช้า ภายในสถานปฏิบัติธรรมมีลานพระแก้วที่พระสงฆ์จะ ออกมาบิณฑบาตตั้งแต่เวลา 07:00-07:30 น. มีร้านขายดอกไม้ สังฆทาน และของ ใส่บาตรจำ�หน่ายโดยรอบ ด้านหลังสำ�นักปฏิบัติธรรมมีโรงเลี้ยงม้า ซึ่งพระทุกรูปจะมี ม้าส่วนตัวสำ�หรับเดินทางสัญจรเพื่อไปเผยแผ่ศาสนาในพื้นที่บนภูเขาห่างไกล การเดินทางสามารถใช้ 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเชียงราย-แม่จัน เป็นเส้น ทางทีส่ ภาพถนนเข้าหมูบ่ า้ นยังไม่สะดวกนักจึงควรใช้รถขับเคลือ่ นสีล่ อ้ เท่านัน้ และเส้น ทางทีเ่ ข้าจากถนนข้างวัดแม่ค�ำ หลวงซึง่ จะมีปา้ ยบอกทางไปตลอดทาง มีทางขึน้ เขาค่อน ข้างชันอยู่นิดหน่อย สามารถใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสองล้อเดินทางได้อย่างสะดวก สถานที่ตั้ง : ตำ�บลศรีค้ำ� อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

57


หมู่บ้านชาวอาข่าหล่อชา

อาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงซึ่งอพยพมาจากทางตอนใต้ของจีน หมูบ่ า้ นอาข่าหล่อชาเป็นหมูบ่ า้ นนำ�ร่องของโครงการหมูบ่ า้ นท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับการสนับสนุนโครงการจากสมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน (PDA-Chiangrai) จึงสามารถจัดการการท่องเที่ยวชุมชนได้อย่างเป็น ระบบ โดยยังคงรักษาความเป็นตัวตน ชุมชน และวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่าง เข้มแข็ง นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวอาข่าที่แท้จริงได้โดยไม่มี การดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อตอบรับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ระหว่างทางขึ้นดอยแม่สลอง จึงแนะนำ�ให้ วางแผนการท่องเที่ยวให้อยู่ในทริปเดียวกัน การเยี่ยมชมหมู่บ้านจะต้องเสียค่า ธรรมเนียมคนละ 40 บาท เพื่อนำ�เงินรายได้ไปใช้ในการดำ�เนินโครงการต่อไป สถานที่ตั้ง : หมู่บ้านชาวอาข่าหล่อชา ริมถนนสายท่าตอน-แม่จัน อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

58


หอศิลป์ของทรงเดช ทิพย์ทอง

ทรงเดช ทิพย์ทอง เป็นศิลปินชาวแม่จัน ผู้เติบโตมาในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและ ผูกพันกับพุทธศาสนาของท้องถิ่นล้านนา ผลงานของทรงเดชจึงถ่ายทอดความอิ่มเอมปิติ และความซาบซึ้งในธรรมะด้วยองค์ประกอบภาพที่เรียบง่ายแต่งดงาม สถานที่ตั้ง : บ้านแม่คำ�สบเปิน ตำ�บลแม่คำ� อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5377 9494, 08 9555 0758

หอศิลป์ของอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์

ศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ชาวตาก ผูห้ ลงรักทิวเขาบนดอยแม่สลองและใช้ชวี ติ ทีน่ นั่ กว่า สิบปี ก่อนที่จะย้ายลงมาสร้างบ้านหลังใหม่ที่แม่จัน ภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่ของเขาจึงมักจะ เป็นภาพทุง่ ดอกหญ้าพลิว้ ไหวอยูท่ า่ มกลางอากาศสดใสของยอดดอยสูง ดูงดงามเสมือนจริง สถานที่ตั้ง : บ้านใหม่พัฒนา ตำ�บลป่าซาง อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 08 1603 2758

59


อำ�เภอเชียงแสน โบราณสถานเมืองโบราณเชียงแสน

ตามหลักฐานการสร้างเวียงเชียงแสนเชื่อว่า พญาแสนภู นัดดาของพญา มังรายเป็นผูส้ ร้างเวียงเชียงแสนทับบริเวณทีเ่ คยเป็นเมืองหิรญ ั นครเงินยางซึง่ ลวจังกราช ปกครองมาก่อน เวียงเชียงแสนจึงเป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดีอยู่มากมาย มีโบราณสถานสำ�คัญ ได้แก่ วัดพระธาตุเจดีย์หลวง วัดป่าสัก กำ�แพงเมืองคูเมือง และอื่น ๆ หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ทัง้ นี้ เวียงเชียงแสนก็ยงั เป็นเมืองโบราณทีม่ ตี �ำ นานเกีย่ วเนือ่ งกับอีกหลายเมือง ในยุคตำ�นานเดียวกัน ไม่วา่ จะเป็นแคว้นสุวรรณโคมคำ� โยนกนาคพันธุ์ และเวียงปรึกษา อีกด้วย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง

เป็นวัดประจำ�เมืองเชียงแสนซึ่งเชื่อว่าสร้างโดย พญาแสนภู ในช่วงต้นของ การสร้างเมือง ภายในวัดมีเจดีย์ประธานอยู่กลาง เจดีย์รายล้อมรอบ 4 มุม และมีพระ อุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ เจดีย์ประธานเป็นทรงระฆังแบบล้านนา สูง 88 เมตร ฐานกว้าง 24 เมตร นับว่ามีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในเวียงเชียงแสน จึงได้ชื่อว่า วัดเจดีย์หลวง เพราะคำ�ว่า หลวง ในภาษาล้านนาหมายถึง ใหญ่ เมื่อต่อมามีสภาพ ทรุดโทรมตามกาลเวลา ในปี พ.ศ. 2058 จึงมีการก่อเจดีย์ขึ้นมาใหม่บนฐานเดิม

60 สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย


วัดป่าสัก

พบร่องรอยฐานอาคารโบราณสถานสร้างด้วยอิฐอยู่ 7 แห่ง ภายในวัด สิ่งเดียวที่ยังคงสมบูรณ์ที่สุดคือ เจดีย์ประธานทรงปราสาท ยอดทรงระฆังแบบห้ายอด มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม เจดีย์นี้สร้าง โดยพญาแสนภู เมื่อ พ.ศ. 1883 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อัญเชิญมาจากอินเดีย หลังจากสร้างวัดได้ปลูก ต้นสักล้อมรอบกำ�แพงจำ�นวน 300 ต้น จึงได้ชื่อว่า วัดป่าสัก ตั้งอยู่ติด กับกำ�แพงเมืองโบราณเชียงแสนด้านนอกฝั่งทิศตะวันตก พื้นที่วัดกว้าง ขวาง วางขนานไปกับคูเมือง สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

พระธาตุจอมกิตติ

พระธาตุเก่าแก่หนึ่งในพระธาตุเก้าจอม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 ในสมัยพระเจ้าพังคราช เพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้รับมาพร้อมกับ พระธาตุดอยตุงและพระธาตุดอยจอมทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2030 เจ้าเมืองเชียงแสนได้สร้างองค์พระธาตุใหม่แทนองค์เดิมที่ทรุดโทรมลง องค์พระธาตุสร้างเป็นแบบทรงปราสาทยอดระฆัง หลังคารูปบัวคว่�ำ ฐาน สี่เหลี่ยมจตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเรือนธาตุ มีซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ บริเวณวัดยังสามารถ มองลงมาเห็นวิวแม่น้ำ�โขงที่สวยงามอีกด้วย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วัดพระธาตุผาเงา

เมื่อวัดสบคำ�ได้ถูกฝั่งน้ำ�โขงเซาะจนพังทลายลงเกือบหมดวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ชาวบ้านจึงได้แผ้วถางปรับปรุงพื้นที่สร้างวัด ใหม่บนเนินเขาซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม พบซากโบราณสถานและโบราณ วัตถุกระจายอยู่ทั่วบริเวณจึงทราบว่าเป็นวัดร้างโบราณ พบพระพุทธรูป องค์ใหญ่เป็นพระประธานภายในวัด อีกทั้งยังพบว่าที่ด้านหน้าของฐาน พระประธานมีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกจึงได้พบพระพุทธรูป ที่มีลักษณะงดงามมากองค์หนึ่งฝังอยู่ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้ มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี และวัดร้างนี้น่าจะเป็นวัดสำ�คัญในอดีต จากนัน้ ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นวี้ า่ หลวงพ่อผาเงา อันเป็นทีม่ า ของชื่อวัดในเวลาต่อมา สถานที่ตั้ง : บ้านสบคำ� ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 61


พระพุทธเจ้าล้านตื้อ สามเหลี่ยมทองคำ�

ชาวบ้ า นแถบลุ่ ม น้ำ � โขงเล่ า ขานตำ � นานเกี่ ย วกั บ พระพุ ท ธรู ป ขนาด มโหฬารซึ่งโผล่ขึ้นมาจากกลางน้ำ� ประมาณขนาดพระพุทธรูปกันว่า ใหญ่นับ ล้านตื้อ อันเป็นหน่วยสูงสุดของการนับจำ�นวนของล้านนา ต่อจากจำ�นวน ล้านและโกฏิ คือ ตื้อ หลังจากนั้นจึงมีการพยายามค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ กลางแม่น้ำ�โขงอีกหลายครั้งแต่ก็เกิดอุปสรรคทางธรรมชาติต่าง ๆ นานา จึงไม่ พบพระเจ้าล้านตื้ออย่างที่เล่าลือกันมา จากตำ�นานพระเจ้าล้านตื้อทำ �ให้ชาวเชียงแสนร่วมใจกันสร้างเป็น พระพุทธนวล้านตื้อองค์จำ�ลอง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุษราคัม น้ำ�หนักมากถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 เมตร สูง 15.99 เมตร ประทับ นั่งบนเรือแก้วกุศลธรรมขนาดใหญ่ ประดิษฐานไว้บริเวณริมแม่น้ำ�โขงที่อำ�เภอ เชียงแสน บริเวณใกล้กับป้ายสามเหลี่ยมทองคำ� สถานที่ตั้ง : อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

62


สามเหลี่ยมทองคำ�

บริเวณที่แม่น้ำ�โขงและแม่น้ำ�รวกมาบรรจบกันนี้เรียกว่า สบรวก มี ลักษณะเป็นพืน้ ทีส่ ามเหลีย่ มบรรจบกัน กัน้ แบ่งพรมแดนระหว่างประเทศไทยลาว-พม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งขนถ่ายสินค้าที่สำ�คัญแห่งหนึ่งของไทย ทิวทัศน์แม่น้ำ�โขงในบริเวณนี้มีความงดงามและน่าสนใจเพราะสามารถมอง เห็นทั้งฝั่งพม่าและลาวได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือเที่ยวชมบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ� ค่าเช่าเรือประมาณ 400-600 บาท นั่งได้ 6 คน มีบริการเรือชมทิวทัศน์ สองฝั่งโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ และล่องเรือไปเที่ยวทางตอนใต้ ของประเทศจีน หากต้องการชมวิวมุมกว้างของสามเหลีย่ มทองคำ�ให้ขนึ้ ไปชม จากบนดอยเชียงเมีย่ งซึง่ อยูเ่ หนือเมืองเชียงแสนขึน้ ไปประมาณ 10 กิโลเมตร สถานที่ตั้ง : บ้านสบรวก ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

63


พิพิธภัณฑ์หอฝิ่น

สามเหลี่ยมทองคำ�เป็นดินแดนรอยต่อระหว่างสามประเทศซึ่ง เป็นจุดที่สามารถลักลอบขนถ่ายสินค้าทางน้ำ�ได้ ในอดีตจึงขึ้นชื่อเรื่อง เป็นแหล่งยาเสพติด ทั้งฝิ่นและเฮโรฮีน ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นเพื่อ ฟื้นคืนผืนป่าและฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน โดยหยุดการสูบและ ปลูกฝิ่น หลังจากนั้นได้ทรงริเริ่มโครงการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยว กับประวัติของฝิ่นในสามเหลี่ยมทองคำ�และทั่วโลก เพื่อชี้ให้เห็นโทษภัย ของยาเสพติด จึงเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์หอฝิ่น อันเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับ ยาเสพติดทีใ่ หญ่และสมบูรณ์ในระดับโลก ดำ�เนินงานโดยมูลนิธแิ ม่ฟา้ หลวง สถานที่ต้ัง : ภายในบริเวณโรงแรมเกรทเธอร์แม่โขงฯ อำ�เภอเชียงแสน

64


จังหวัดเชียงราย

ทะเลสาบเชียงแสน

แหล่งน้ำ�จืดขนาดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเมืองเชียงแสนนับตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบนั แต่เดิมเป็นหนองน้�ำ ขนาดเล็กล้อมรอบด้วยเนินเขาเตีย้ ๆ เป็นแอ่งรองรับ น้ำ�ฝนตามธรรมชาติที่ชาวบ้านเรียกว่า หนองบงคาย ต่อมาทางราชการได้สร้าง เขื่อนน้�ำ ล้นเพื่อกักเก็บน้ำ� จึงทำ�ให้หนองน้ำ�มีขนาดใหญ่ขึ้น กินพื้นที่ 2,711 ไร่ จึงถูกเรียกว่า ทะเลสาบเชียงแสน อีกชื่อหนึ่ง เนื่องจากในฤดูหนาวมีนกเป็ดน้ำ� อพยพมาอาศัยเป็นจำ�นวนมาก จากตำ�นานและลักษณะหนองน้ำ�เดิมนั้น ทำ�ให้ได้รับการสันนิษฐาน ว่ า บริ เวณทะเลสาบเชี ย งแสนปั จ จุ บั น อาจจะเป็ น บริ เวณเมื อ งเก่ า ในตำ � นาน เวียงหนองล่มก็เป็นได้ มีต�ำ นานหนึง่ เล่าว่า เจ้าเมืองเชียงแสนจับปลาไหลเผือกได้ และนำ�มาแจกจ่าย ชาวเมืองจึงนำ�มาแกงกินกัน ยกเว้นแม่มา่ ยคนหนึง่ ทีช่ าวเมือง ไม่ได้แบ่งให้ คืนนั้นมีฝนตกฟ้าคะนองน้ำ�ท่วมใหญ่จนจมหายไปทั้งเมือง ยกเว้น บ้านของแม่มา่ ยเพียงหลังเดียวทีเ่ หลืออยูเ่ ป็น เกาะแม่มา่ ย ว่ากันว่าปลาไหลเผือก นั้นคือบริวารของพญานาคซึ่งปกปักษ์เมืองในแถบลุ่มแม่น้ำ�โขง เมื่อชาวเมืองกิน พญานาคจึงโกรธและทำ�ให้เมืองล่ม สถานที่ตั้ง : ตำ�บลโยนก ตำ�บลป่าสัก อำ�เภอเชียงแสน และตำ�บลจันจว้า อำ�เภอ แม่จัน จังหวัดเชียงราย

65


อำ�เภอแม่สาย

วัดพระธาตุดอยเวา

วั ด ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระธาตุ ด อยเวา ซึ่ ง ตั้ ง อยู่ บ นดอยเวา เชื่ อ กั น ว่ า องค์พระธาตุมีอายุเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง เนื่องจากสร้างขึ้นในรัชสมัย ของพระองค์เวา กษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ปกครองนครโยนก นาคพันธุ์ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ ไพชยนต์ปราสาทที่ประดิษฐานพระแก้ว มรกตจำ�ลอง พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จุดชมวิวฝั่งไทยและ พม่า ทัง้ นีย้ งั มีรปู ปัน้ แมงป่องยักษ์ ซึง่ สร้างไว้เป็นสัญลักษณ์ของวัด เนือ่ งจากคำ�ว่า เวา เป็นภาษาล้านนาแปลว่า แมงป่อง นั่นเอง นอกจากนี้ ในทุกปีจะมีประเพณีสักการะพระธาตุในวันมาฆบูชา และ ประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุในวันสงกรานต์อีกด้วย สถานที่ตั้ง : ถนนพหลโยธิน ตำ�บลเวียงพางคำ� อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

66


ตลาดดอยเวา

แหล่งซื้อขายของฝากฝั่งไทยที่สามารถเดินทะลุมาจากตลาดแม่สาย ได้ ตั้งอยู่ที่บริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยเวา ติดด่านผ่านแดนริมน้ำ�แม่สายรอยต่อ ระหว่างประเทศไทยและพม่า แต่เดิมนักท่องเทีย่ วต้องข้ามชายแดนไปซือ้ ของยังฝัง่ ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า เพราะมีสินค้ามากกว่าทางฝั่งไทย ต่อมาทางวัดพระธาตุ ดอยเวาได้สร้างอาคารชั้นเดียวขึ้นที่บริเวณหน้าวัดเพื่อจัดสรรให้พ่อค้าแม่ค้าได้ ขายสินค้าของฝาก โดยนำ�เงินค่าเช่าที่ได้ไปบูรณปฏิสังขรณ์วัด ปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้สวยงาม รวมทั้งเป็นค่าใช่จ่ายในการดูแลบริเวณให้สะอาดเรียบร้อย สินค้าที่ขายในตลาดดอยเวาส่วนใหญ่จะผลิตจากจีน ราคาถูก ได้แก่ เครือ่ งใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ ของเล่น เสือ้ ผ้ากันหนาว เสือ้ ผ้าแฟชัน่ ผ้าห่ม พรม ขนมจากประเทศจีน เป็นต้น ด้านของกินขึ้นชื่อ ได้แก่ เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวซอยตัด เกาลัดคั่ว เป็นต้น สถานที่ตั้ง : ถนนพหลโยธิน ตำ�บลเวียงพางคำ� อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

67


พระธาตุดอยตุง

พระธาตุประจำ�ปีของผูท้ เี่ กิดปีกนุ ประดิษฐานอยูท่ วี่ ดั พระมหาชินธาตุเจ้า หรือทีเ่ รียกกันว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตัง้ อยูบ่ ริเวณส่วนหน้าอกของดอยนางนอน นับเป็นโบราณสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ แต่เดิมพระธาตุดอยตุงมีเพียง องค์เดียว สร้างด้วยรูปแบบศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสอง ตามตำ�นานเล่าว่า สร้างเมือ่ พ.ศ.1454 โดยพระเจ้าอุชตุ ราช เจ้าผูค้ รองนครโยนกนาคพันธ์ รัชกาล ที่ 3 แห่งราชวงศ์สงิ หนวัติ ซึง่ ได้รบั พระบรมสารีรกิ ธาตุพระรากขวัญเบือ้ งซ้ายของ พระพุทธเจ้ามาจากพระมหากัสสะปะเถระ จากนัน้ จึงนำ�มาไว้บนดอยดินแดง โดย ทำ�ตุงหรือธงที่มีความยาว 1,000 วา ปักไว้บนยอดเขา กำ�หนดตำ�แหน่งที่ชายธง ปลิวไปถึงให้เป็นฐานของพระเจดีย์ อันเป็นที่มาของชื่อ พระธาตุดอยตุง ในสมัยของพญามังรายได้มีการสร้างพระธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่งใกล้ ๆ กัน ทำ�ให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์นบั แต่นนั้ พ.ศ.2470 ครูบาศรีวชิ ยั พร้อมด้วยคณะ ศรัทธาได้ทำ�การบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ พระวิหาร และองค์พระประธาน ภายในวัด สถานที่ตั้ง : ตำ�บลห้วยไคร้ อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

68


ถ้ำ�ปุ่ม ถ้ำ�ปลา ถ้ำ�เสาหินพญานาค

อาณาบริเวณดอยจ้องเป็นภูเขาหินปูน จึงเกิดเป็นถ้ำ�ต่าง ๆ มีหินงอก หินย้อยและทางน้ำ�ไหลต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นถ้�ำ ปุ่ม ถ้�ำ ปลา ถ้ำ�เสาหินพญานาค ถ้ำ�เปลวปล่องฟ้า ถ้ำ�น้อย ถ้ำ�เงิบ ถ้ำ�แก้ว และถ้ำ�ตุ๊ปู่ เป็นต้น ถ้ำ�ปลา อยู่ที่ตำ�บลโป่งผา ภายในมีพระพุทธรูปศิลปะพม่าประดิษฐานอยู่ และมีทางน้ำ�ไหลด้านในจึงมีปลาน้อยใหญ่ว่ายออกมาให้เห็น และมีตำ�นานเล่าถึง ปลาหีบหนีบปิ้งว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาตามเชิงเขาจนถึงถ้ำ�ลอดเปลวปล่อง ฟ้าแถบเมืองโยนก มีชาวบ้านนำ�ปลาปิง้ ใส่ไม้หนีบมาถวาย พระพุทธเจ้าจึงปล่อยปลา ลงน้ำ�ให้กลับคืนชีวิต แต่ยังคงรอยไม้หนีบไว้ดังเดิม ซึ่งปัจจุบันไม่มีใครเห็นปลาชนิด นี้มาเป็นเวลานานแล้ว ถ้�ำ ปุม่ อยูท่ ตี่ �ำ บลโป่งงาม เป็นถ้�ำ ทีอ่ ยูบ่ นหน้าผาสูง ภายในถ้�ำ มีหนิ งอกเป็น ปุ่ม มีรูปปั้นสิงห์อยู่เหนือทางเดินเข้าถ้ำ� สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 200 ปี ชาว บ้านบริเวณนี้สืบทอดประเพณีทำ�บุญถ้ำ�ปุ่ม-ถ้ำ�ปลา ในวันแรม 9 ค่ำ� เดือน 6 ของ ทุกปี มาเป็นเวลานาน ถ้�ำ เสาหินพญานาค อยูท่ ตี่ �ำ บลโป่งผา ในอดีตจะต้องพายเรือเข้าไปชมความ งามของถ้�ำ แต่ปจั จุบนั มีการสร้างทางเดินเชือ่ มจากถ้�ำ ปลามาถึง ให้มคี วามสะดวกใน การท่องเที่ยวยิ่งขึ้น สถานที่ตั้ง : ตำ�บลโป่งผาและตำ�บลโป่งงาม อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

69


วนอุทยานแห่งชาติถ้ำ�หลวง-ขุนน้�ำ นางนอน

วนอุทยานที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ซึ่งมีเนื้อที่ ประมาณ 5,000 ไร่ เป็นวนอุทยานทีเ่ หมาะกับการท่องเทีย่ วเชิงศึกษาธรรมชาติ และการผจญภัยเป็นอย่างมาก เพราะมีเส้นทางเดินป่าให้ผมู้ วี ยั และพละกำ�ลังที่ แตกต่างกันได้เลือกถึง 3 เส้นทาง มีความยาวและความยากลำ�บากที่แตกต่าง กันไป โดยมีพื้นที่ให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่สองส่วนคือ วนอุทยานถ้ำ�หลวง ซึ่ง เป็นหุบเขาทีถ่ กู ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง มีถ�้ำ ซึง่ มีหนิ งอกหินย้อยจำ�นวนมาก และมี พืน้ ลาดเอียงขรุขระจึงเดินค่อนข้างลำ�บากและต้องคอยระวังความปลอดภัย อีก ส่วนหนึ่งคือ บริเวณขุนน้ำ�นางนอน ซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขา มีน้ำ�ซึมผ่านรอยแยก ของหินจนรวมเป็นแอ่งน้ำ�ขนาดใหญ่ที่สวยงาม

70


นักท่องเทีย่ วนิยมมากันมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ภายในวนอุทยาน มีบริการร้านอาหารแต่ยงั ไม่มบี า้ นพักไว้ให้บริการ สามารถนำ�เต็นท์ไปกางพักแรมได้ โดย ต้องติดต่อขออนุญาตจากหัวหน้าวนอุทยานโดยตรง สถานที่ตั้ง : ตำ�บลโป่งผา อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

71


อำ�เภอแม่สรวย วัดพระธาตุจอมแจ้ง

หนึ่งในวัดพระธาตุเก้าจอมอันเป็นที่เคารพของชาวเชียงราย ภายในวัด ประดิษฐานหลวงพ่อทองทิพย์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าหากได้มากราบไหว้ ทุกสิ่งที่หวังไว้จะสมดังใจปรารถนา และเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมแจ้งอันมี ตำ�นานว่า มีพระเถระรูปหนึ่งเดินทางไกลมาเทศนาผู้คนจนมาถึงบริเวณนี้ตอน ใกล้รุ่ง ได้ขอให้อุบาสกชราไปตักน้ำ�ที่แม่น้ำ�ซ่วยมาล้างหน้า ก่อนที่พระเถระจะ ออกเดินทางต่อก็ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุให้อุบาสกชราผู้นั้นนำ�ไปบรรจุลงใน พระธาตุ โดยทำ�นายว่าต่อไปชาวบ้านจะเรียกพระธาตุองค์นวี้ า่ พระธาตุจอมแจ้ง ส่วนแม่น้ำ�ซ่วยจะถูกเรียกใหม่ว่า แม่น้ำ�สรวย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลแม่สรวย อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

72


ศาลพระนเรศวรมหาราช

สถานที่สักการะดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ผู้ ยิ่งใหญ่ของไทยแห่งนี้ ดูขรึมขลังแต่ก็กว้างขวางและร่มรื่นด้วยแมกไม้ เชื่อกันว่า ที่ตั้ง ศาลนี้เป็นบริเวณที่สมเด็จพระนเรศวรได้เคยพักทัพ เมื่อครั้งเสด็จกรีธาทัพหลวงออก จากกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปตีกรุงอังวะ ส่วนรูปปั้นช้างศึก 2 เชือกที่ตั้งอยู่บริเวณริมถนน ทางเข้าศาลคือ ช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพและช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร ซึ่งเป็นช้าง ทรงของพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ นอกจากนี้ ทีน่ ยี่ งั มีหอประวัตศิ าสตร์การเดินทัพของพระนเรศวร ซึง่ เป็นศูนย์ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการกอบกู้เอกราชของพระองค์ จัดแสดงนิทรรศการ ในห้องแสดงภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส ซึ่งให้บริการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี จะมีประเพณีบวงสรวงศาลสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เพื่อรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในการกอบกู้เอกราชจากพม่า สถานที่ตั้ง : บนถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ บริเวณตำ�บลแม่พริก อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

73


ดอยวาวี

ดอยวาวีมีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกชาและ กาแฟที่ดี มีดอกนางพญาเสือโคร่งนับแสนต้นที่จะพร้อมใจออกดอกสีชมพูพราวทั่ว ป่าในหน้าหนาว และเป็นที่อาศัยของชนเผ่าหลากวัฒนธรรม จึงมีนักท่องเที่ยวเป็น จำ�นวนมากให้ความสนใจ ทัง้ ยังมีเส้นทางท่องเทีย่ วต่อไปได้อกี หลายที่ ทัง้ ดอยเลาลี ดอยกาดผี ดอยช้าง และชุมชนชาวเขาตามทางผ่าน ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูบ่ นดอยวาวีมอี าชีพทำ�เกษตร นิยมปลูกชาเป็นหลัก รอง ลงมาคือกาแฟ จึงมีทวิ ทัศน์ไร่ชาและไร่กาแฟปลูกลดหลัน่ ตามไหล่เขาดูนา่ ชม บริเวณ นี้สามารถปลูกชาพันธุ์ดีได้หลายสายพันธุ์ ทั้งชาอัสสัมและชาไต้หวัน อีกทั้งยังเป็น พืน้ ทีป่ ลูกชาอูห่ ลงแห่งแรกของประเทศไทย มีตน้ ชาพันปีซงึ่ มีขนาดลำ�ต้นใหญ่โตเป็น พิเศษที่บ้านใหม่พัฒนา นอกจากนี้ กาแฟจากดอยวาวียังมีเมล็ดสมบูรณ์ คั่วได้กลิ่น หอมและรสดี ถือว่ามีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งด้วย บนดอยวาวีมีผู้คนอาศัยอยู่รวมกันถึง 13 ชนเผ่า ทั้งอาข่า ลาหู่ ลีซู เมี่ยน ปกาเกอะญอ และจีนฮ่อ เป็นต้น การมาเที่ยวที่นี่จึงเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมชนเผ่า ทีแ่ ตกต่างหลากหลาย หากได้มาเทีย่ วตรงกับช่วงเทศกาลประจำ�เผ่า ก็ยงิ่ จะได้สมั ผัส สีสันทางวัฒนธรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกด้วย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลวาวี อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

74


ดอยช้าง

ดอยช้างเป็นยอดดอยย่อยลูกหนึ่งของดอย วาวี มีชนเผ่าม้ง ลีซู และอาข่าอาศัยอยู่ ที่เรียกกัน ชือ่ นีเ้ พราะมีภเู ขารูปร่างคล้ายช้างแม่ลกู สองเชือกหัน หน้าไปทางจังหวัดเชียงราย มีผาหัวช้างเป็นยอดสูงซึง่ เป็นจุดชมวิว อากาศเย็นสบายตลอดปี มีศนู ย์วจิ ยั และ พัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี) ทำ�การวิจัยและ ปลูกพืชเมืองหนาวหลายชนิด เช่น แมคคาเดเมีย ท้อ บ๊วย สตรอเบอร์รี่ พลับ และไม้ดอกเมืองหนาวต่าง ๆ รวมถึงกาแฟพันธุอ์ ะราบิกา้ รสดีทคี่ อกาแฟต่างยอบรับ ก็ปลูกทีน่ ี่ ในช่วงฤดูหนาวจะมีดอกนางพญาเสือโคร่ง บานสะพรั่งทั่วดอย สถานที่ ตั้ ง : ตำ � บลวาวี อำ � เภอแม่ ส รวย จั ง หวั ด เชียงราย

75


อำ�เภอเวียงป่าเป้า

โบราณสถานเวียงกาหลง

เวียงกาหลงเป็นเมืองโบราณตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยหลวง มีความเกี่ยวพันกับ ตำ�นานแม่กาเผือก มารดาของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ลักษณะผังเมืองมีรูปร่างยาวรี แสดงให้เห็นถึงอายุของการสร้างเมืองว่าน่าจะเป็นเมืองโบราณในยุคแรก นักโบราณคดี บางท่านได้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.1500-1600 โดยสัมพันธ์กับ ประวัติการสร้างพระธาตุแม่เจดีย์ เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อแห่งพุกาม ได้ยกทัพไปทำ� ศึกเพื่อทวงขอพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก และพระแก้วมรกตคืนจากกัมพูชา ได้ มาหยุดทัพบริเวณนี้ จึงสร้างเมืองและขุดคูล้อมรอบเมืองเพื่อสร้างเป็นป้อมปราการ ป้องกันข้าศึกศัตรูและสัตว์ร้าย รวมทั้งได้สร้างพระธาตุแม่เจดีย์ขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ปัจจุบันนี้ ภายในโบราณสถานเวียงกาหลงยังหลงเหลือร่องรอยของคูน้ำ� คันดินบางส่วนให้เห็น ภายในโบราณสถานมีวัดเวียงกาหลง ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างใหม่ที่เกิด ขึ้นในภายหลังจำ�นวนมาก มีสิ่งที่น่าสนใจคือ โรงจัดแสดงเคลือบดินเผาโบราณเวียง กาหลงที่อยู่ภายในวัด เนื่องจากในอดีตเวียงโบราณแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบ ดินเผาแหล่งสำ�คัญของล้านนา มีการค้นพบเตาเผาหลายเตากระจายอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 15 ตารางกิโลเมตร จึงถูกเรียกว่า แหล่งเตาเวียงกาหลง

76

สถานที่ตั้ง : บ้านป่าส้าน ตำ�บลเวียงกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย


คูเมืองโบราณเวียงกาหลง

ด้วยความตั้งใจในการออกแบบแนวกำ�แพงดินและคูน้ำ�ที่ล้อม รอบตัวเมืองโบราณแห่งนี้ให้มีความซับซ้อนเพื่อป้องกันศัตรูและสัตว์ป่า ผู้ที่ไม่ชำ�นาญทางจะหลงวนเวียนไปมาหาทางออกไม่ได้ จึงเป็นที่มาของ ชื่อเมืองว่า เวียงกาหลง โดยมีแนวกำ�แพงดินและคูน้ำ�ของเมืองเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างยาว โดยมีความยาวประมาณ 2,000 เมตร กำ�แพงหนา 5 เมตร ระหว่างกลางของด้านยาว มีกำ�แพงรูปปีก 2 ชั้น ทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบนั นีค้ นู �้ำ คันดินโบราณทีย่ งั หลงเหลืออยูก่ ลายเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนที่สำ�คัญของชาวเวียงกาหลง และเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกด้วย สถานที่ตั้ง : บ้านป่าส้าน ตำ�บลเวียงกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัด เชียงราย

77


เตาเผาสล่าทัน

เมื่อปี พ.ศ. 2526 สล่าทัน ธิจิตตัง ได้เริ่มสนใจงานด้านเครื่องปันดิน เผาขึ้นมา หลังจากที่มีชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เครือ่ งปัน้ ดินเผาในเวียงกาหลง ทำ�ให้ชาวบ้านให้หนั มาขุดหาเครือ่ งปัน้ ดินเผาตาม แหล่งเตาเผาโบราณต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปขายให้แก่พ่อค้าวัตถุโบราณ สล่าทันรู้สึก ตระหนกกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มเกิดความหวงแหนในศิลปหัตถกรรม ภูมิปัญญา ศิลปวิทยาการที่บรรพบุรุษได้สร้างมา จึงเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ความ เป็นมาของเวียงกาหลง รวมทั้งทดลองกรรมวิธีผลิตเครื่องเคลือบดินเผาตามแบบ โบราณ ทั้งรูปทรง เอกลักษณ์ ลวดลาย กรรมวิธีในการปั้น และวิธีเผาตามแบบ โบราณ จากนั้นก็ได้ทดลองพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีการผลิตมาด้วยตนเอง จน ได้รับคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว ในปี พ.ศ. 2546 สถานที่ตั้ง : หมู่ 3 ตำ�บลเวียงกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

78


เตาเผาโบราณทุ่งม่าน

เตาเผาโบราณทีผ่ ลิตเครือ่ งเคลือบดินเผาเวียงกาหลงมาตัง้ แต่ตน้ พุทธศตวรรษที่ 21 แห่งนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า เตาอุย๊ ทา ปัจจุบนั จัดตัง้ เป็นศูนย์ศกึ ษาโครงการโบราณคดี เครือ่ งเคลือบดินเผาเวียงกาหลงบ้านทุง่ ม่าน เป็นเตาเผาทรงประทุน ทีม่ ขี นาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 3.80 เมตร โครงสร้างทุกส่วนก่อพอกด้วยดินเหนียวเป็นผนังหนาเชื่อมต่อกัน ตลอด ปล่องเตาแคบและสูง มีความลาดเอียงของพื้นเตาประมาณ 10 องศา ห้องไฟยาว เกือบครึ่งหนึ่งของความยาวตัวเตาทั้งหมด สถานที่ตั้ง : หมู่ 3 ตำ�บลเวียงกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

พระธาตุจอมผ่อ

หนึ่งในพระธาตุเก้าจอม เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2263 โดย เชือ่ กันว่าหากใครได้สกั การะกราบไหว้และตัง้ จิตอธิษฐานต่อองค์พระธาตุแล้วชีวติ จะดีและ รุ่งเรือง เปรียบได้ดั่งการ “ลืมตาผ่อ” หรือ “ลืมตามอง” เห็นแสงสว่างในชีวิตนั่นเอง ในวัน ขึ้น 15 ค่�ำ เดือน 4 ของทุกปีจึงมีผู้คนหลั่งไหลมาร่วมงานประเพณีสรงน้�ำ พระธาตุจอม ผ่อ เพื่อเป็นการสักการะองค์พระธาตุอย่างเนืองแน่น สถานที่ตั้ง : บ้านดง-หล่ายหน้า ตำ�บลเวียง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

79


หอศิลป์ของสมพล ยารังสี

สมพล ยารั ง สี ศิ ล ปิ น ชาวเชี ย งรายที่ มี สไตล์ ก ารวาดภาพแนว เหมือนจริง ผู้นิยมวาดภาพ ดอกไม้ในแต่ละฤดูกาลท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติขุนเขา งดงามราวกับฉากและ บรรยากาศจริงของเชียงราย นอกจากศิลปินจะตัง้ ใจสือ่ ความหมายเรือ่ งความงามและความ อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติแล้ว ยังซ่อนนัยของวัฏฏะสังขารของชีวิต การเวียนว่ายตายเกิด และการมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นมาทดแทนสิ่งที่ขาดหายไป สถานที่ตั้ง : บ้านสันมะเค็ด ตำ�บลเวียงกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5395 2026, 08 9835 5690

สวนศิลป์หลากสีของ นิตยา ตามวงศ์

นิ ต ยา ตามวงศ์ ศิ ล ปิ น หญิ ง ชาวเวี ย งป่ า เป้ า ผู้ กำ � ลั ง สร้ า งสวนดอกไม้ แ ละอาณาจั ก ร งานศิ ล ปะของเธอเองที่ บ้ า นเกิ ด ด้ ว ยสายตาของศิ ล ปิ น หญิ ง เธอ จึงมักจะรังสรรค์ผลงานจิตรกรรม ภาพดอกไม้ในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อ ถ่ า ยทอดทั ศ นะที่ มี ต่ อ ชี วิ ต และ สังคมอย่างงดงามอ่อนช้อย

80

สถานที่ ตั้ ง : ตำ � บลเวี ย งกาหลง อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม : นัดหมายล่วงหน้า โทร. 0 5370 4124, 08 1602 6219


น้�ำ พุร้อนแม่ขะจาน

น้ำ�พุร้อนแห่งนี้เป็นทั้งจุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติและจุดพักรถระหว่าง เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่และทางไปพะเยา แต่เดิมนั้นมีน้ำ�พุร้อนธรรมชาติอยู่ ทางด้านฝั่งตะวันออกที่เดียว ชาวบ้านเรียกกันว่า โป่งน้ำ�ร้อน และจะมีสัตว์ป่า น้อยใหญ่ลงมากินดินโป่งบริเวณรอบ ๆ เป็นประจำ� ต่อมามีการขยายพื้นที่น้ำ�พุ ร้อนโดยการต่อท่อน้�ำ มายังบ่อทีอ่ ยูฝ่ งั่ ถนนทางด้านทิศตะวันตก เพือ่ ให้รถนักท่อง เที่ยวจอดแวะได้โดยสะดวกทั้งสองฝั่ง กิจกรรมยอดนิยมของการมาเที่ยวน้�ำ พุร้อนคือ การต้มไข่ ซึ่งจะมีแม่ค้า เตรียมไข่ไก่และไข่นกกระทาใส่ชะลอมไม้ไผ่ขายให้แก่นักท่องเที่ยว ให้นำ�ไข่ไปแช่ ต้มในบ่อน้ำ�พุร้อน นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านจำ�หน่ายของ ที่ระลึกบริการ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ไม่ต้องดั้นด้นเข้าไปไกล ถือว่าอยู่ใกล้ทางสัญจรมากที่สุด สถานที่ตั้ง : ตำ�บลแม่เจดีย์ใหม่ อำ�เภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

81


อำ�เภอพญาเม็งราย 82


คุ้มพญาเม็งราย

พญามัง ราย หรือ ที่ช าวเชี ยงรายนิ ยมเรี ย กกั น ติ ด ปาก ว่าพญาเม็งรายหรือพ่อขุนเม็งรายนั้น เป็นกษัตริย์ลำ�ดับที่ 25 ของราชวงศ์ลวจังกราชแห่งหิรัญนครเงินยางผู้ปรีชาสามารถ ทั้ง รวบรวมเมืองน้อยใหญ่ก่อนจะสร้างเมืองเชียงราย เชียงใหม่ ก่อตั้ง ราชวงค์มงั ราย และรวบรวมดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จนกลายมา เป็นอาณาจักรล้านนาที่ยิ่งใหญ่ มีต�ำ นานเล่าถึงครัง้ ทีพ่ ญามังรายได้น�ำ ทัพจะไปตีเมืองผา แดงหรืออำ�เภอเชียงของในปัจจุบันว่า ทรงมาหยุดพักกองทัพอยู่ บริเวณป่าละเมาะซึง่ เป็นเนินเตีย้ ๆ และทรงเสด็จไปตัง้ ไก่ปา่ หรือต่อ ไก่ที่สันกลางนา บริเวณนั้นจึงถูกเรียกว่าซุ้มตั้งไก่พญาเม็งราย ชาว บ้านให้ความเชื่อถือในตำ�นานดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อ อำ�เภอ พญาเม็งราย และการตัง้ คุม้ พญาเม็งรายขึน้ ตรงจุดทีต่ �ำ นานอ้างถึง ภายในคุม้ มีอนุสาวรียป์ ระทับนัง่ ของพญามังรายผูเ้ กรียงไกร โดยใน วันที่ 18 เมษายนของทุกปีจะมีประเพณีไหว้สาพญาเม็งรายที่คุ้ม แห่งนี้ สถานที่ตั้ง : บ้านสันป่าสัก ตำ�บลเม็งราย อำ�เภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

วนอุทยานน้�ำ ตกตาดควัน

วนอุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 2,100 ไร่ ในพื้นที่เขตป่า สงวนแห่งชาติปา่ ดอยหลวง ป่าน้�ำ ยาว และป่าน้�ำ ซ้อ ภายในมีน�้ำ ตก ตาดควันอันแสนร่มรืน่ เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เหมาะสำ�หรับการพักผ่อนหย่อนใจ จึงเป็นทีน่ ยิ มของของชาวอำ�เภอ พญาเม็งรายและผู้คนในอำ�เภอใกล้เคียง สถานที่ตั้ง : ตำ�บลตาดควัน อำ�เภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

83


อำ�เภอเวียงแก่น

จุดชมวิวแม่น้ำ�โขง บ้านห้วยเอียน

ทัศนียภาพของลำ�น้ำ�โขงสายใหญ่ที่สะท้อนแดดเช้าสายบ่ายค่ำ� งดงามด้วยเกาะ แก่งต่าง ๆ ที่ไหลเรื่อยคดโค้งตามธรรมชาติรวมทั้งไหลกั้นแบ่งพรมแดนไทย-ลาว เป็นภาพ ที่หลายคนอยากสัมผัส บริเวณริมทางหมู่บ้านห้วยเอียน ห่างจากที่ว่าการอำ�เภอเวียงแก่น ออกไปประมาณ 5 กิโลเมตรจึงกลายหนึ่งในความสนใจของนักท่องเที่ยวและผู้คนผ่านทาง เพราะเป็นจุดจอดพักรถซึ่งมีศาลาที่พักสำ�หรับนั่งพักผ่อน ทั้งยังสามารถชมวิวแม่น้ำ�โขงและ ฝั่งลาวได้งดงาม กว้างไกล และชัดเจน สถานที่ตั้ง : บ้านห้วยเอียน ตำ�บลหล่ายงาว อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

84


โบราณสถานดงเวียงแก่น

เมืองโบราณทีส่ นั นิษฐาน ว่า น่าจะสร้างขึ้นยุคของเจ้าหลวง เวียงแก่น มีพนื้ ทีท่ งั้ หมดประมาณ สองร้ อ ยกว่ า ไร่ มี อ ายุ ม ากกว่ า 700 ปี น่าจะมีชวี ติ อยูร่ าวยุคสมัย สุโขทัยและเชียงรายตอนต้น ยัง คงเหลือร่องรอยของซากโบราณ สถานต่ า ง ๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น ซุ้ ม กำ�แพงแก้ว กำ�แพงเมืองโบราณ ซากเจดีย์ ฯลฯ ระบุได้ว่า ตัวเมือง มีรูปทรงเป็นวงรี ตั้งอยู่บนเนินสูง มีกำ�แพงคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น คล้ายกับลักษณะการสร้างคูเมือง ของเมืองโบราณหลายแห่ง โดย คูเมืองด้านนอกจะตื้นกว่าคูเมือง ด้านใน และมีคูเมืองล้อมรอบตัว เมื อ งอยู่ 3 ด้ า น คื อ ทางด้ า น ทิศใต้ ทิศเหนือ และทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกมีลำ�น้ำ�งาวเป็น ปราการป้องกันตามธรรมชาติ ทัง้ นี้ ยังพบโบราณสถานบริเวณนอกกำ�แพงเมือง เช่น สระน้�ำ ขนาดใหญ่ที่ เรียกว่า หนองคัน มีซากเจดียเ์ ก่าตัง้ อยู่ และพบว่ารอบโบราณสถานดงเวียงแก่นนัน้ มี เมืองต่าง ๆ ล้อมรอบ ไม่วา่ จะเป็นเมืองเวียงกอย เมืองเวียงดึงส์ เมืองเวียงดงปันฟ้า เมืองเวียงดงเมือง เมืองเวียงดอยธาตุ เมืองเวียงบง เมืองแจมป๋อง เมืองเวียงแก้ว เป็นต้น สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 3 บ้านม่วง ตำ�บลม่วงยาย อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

85


ดอยผาตั้ง

จากดอยผาตัง้ จะสามารถมองเห็นทิวทัศน์แม่น�้ำ โขง บ้านเรือนสองฝัง่ ไทย-ลาว และยอดภูชฟี้ า้ ตัง้ ตระหง่าน ดอยผาตัง้ เป็นหนึง่ ในยอดดอยแห่งเทือกเขาหลวงพระบางสันปันน้ำ� เป็นจุดแบ่งอาณาเขตระหว่างประเทศไทย-ลาว มีความสูงจากระดับน้�ำ ทะเล ถึง 1,800 เมตร ในช่วงเช้าจะปกคลุมด้วยทะเลหมอกที่ยอดเนิน 103 บนยอดดอย ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขนึ้ และตกทีส่ วยงามแห่งหนึง่ นักท่องเทีย่ วนิยมไปชม ทะเลหมอกทีภ่ ูชฟี้ า้ ในช่วงเช้ามืดจากนัน้ จึงค่อยต่อมายังดอยผาตั้งซึง่ อยูห่ ่างเพียง 25 กิโลเมตร ทั้งยังสามารถเดินทางต่อไปในอำ�เภอเชียงของ เชียงแสน และแม่สายได้ใน เส้นทางเดียวกันอีกด้วย

86 สถานที่ตั้ง : บ้านผาตั้ง ตำ�บลปอ อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย


อำ�เภอขุนตาล

พระธาตุขุนตาล

พระธาตุขุนตาลเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่เคยอยู่ในเขตอำ�เภอเทิงมาก่อน ต่อมา เมื่อมีการก่อตั้งอำ�เภอใหม่ จึงได้ใช้ชื่อพระธาตุซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์ รวมใจผู้คนในท้องมาเป็นชื่อของอำ�เภอ แต่เดิมองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง ชื่อว่าวัดดอยคำ� ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ครูบาคำ�หล้า สังวโร ได้มาบูรณะใหม่โดยก่ออิฐถือปูนครอบองค์พระธาตุเดิม ไว้ให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น ระหว่างก่อสร้างมีการพบพระเครื่องจำ�นวนมาก จึงนำ�กลับ ไปบรรจุเก็บไว้ทเี่ ดิมเพือ่ ให้ผคู้ นได้สกั การะ อีกทัง้ ยังจัดให้มปี ระเพณีไหว้สาพระธาตุขนุ ตาลในวันมาฆบูชาเป็นประจำ�ทุกปี สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าตาล อำ�เภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

87


พระธาตุม่อนศิลาอาสน์

เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดม่อนกองหิน เนื่องจากมีก้อนหินและ ก้อนอิฐกองเกลือ่ นกระจายอยูภ่ ายในบริเวณเป็นจำ�นวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ครูบา อินหลัน จิตตธัมโม ได้มาจำ�พรรษาทีว่ ดั ร้างแห่งนีจ้ งึ ได้ชกั ชวนชาวบ้านให้รว่ มกันสร้างองค์ พระธาตุขนึ้ เป็นทีเ่ คารพสักการะ ชาวบ้านได้พากันนำ�เอาข้าวของมีคา่ ทัง้ แก้วแหวนเงินทอง และพระพุทธรูปต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุ และทำ�พิธยี กยอดฉัตรพระธาตุใน ปี พ.ศ. 2508 สถานที่ตั้ง : บ้านพระเนตร ตำ�บลต้า อำ�เภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

ภูหลงถัง

สระน้ำ�ธรรมชาติซึ่งตั้งอยู่กลางยอดเนินสูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล บนดอยพญาพิภักดิ์หรือวนอุทยานพญาพิภักดิ์ ห่างจากถนนสายเทิง-ขุนตาลเพียง 6 กิโลเมตร ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นสมรภูมิสู้รบระหว่างรัฐบาลไทยและพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ในเวลานั้น ทางรัฐบาลไทยได้กองกำ�ลังทหารจีนคณะชาติกองพล 93 ซึ่งอพยพมาอยู่บริเวณดอยแม่สลองมาช่วยรบกับคอมมิวนิสต์ ทหารจีนจึงตั้งชื่อสระน้ำ�นี้ เป็นภาษาจีนกลางว่า ภูหลงถัง อันหมายถึง สระน้ำ�มังกร ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สู้รบเริ่มสงบลง ในปี พ.ศ. 2525 ทำ�ให้ความขัดแย้งยุติลง ภูหลงถังจึงได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวนับแต่นั้น

88

สถานที่ตั้ง : ตำ�บลยางฮอม อำ�เภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย


อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง ดอยแม่สลอง

ความโดดเด่นของดอยแม่ละลองหรือดอยสันติคีรี คงจะหนีไม่พ้น หมู่บ้านชาวจีนจากกองพล 93 ที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และ ตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านสันติคีรีจนถึงปัจจุบัน ทำ�ให้สภาพบ้านเรือน วิถีชีวิต วัฒนธรรม อาหารการกิน และการแต่งกายของผู้คนดูแปลกตาคล้ายเป็น เสี้ยวหนึ่งของเมืองยูนนาน ประเทศจีน นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาชิมชา ขา หมูหมั่นโถว และอาหารจีนรสดีหลากหลายเมนู ผูค้ นบนดอยแม่ละสลองส่วนใหญ่ท�ำ อาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผัก และดอกไม้เมืองหนาว รวมทัง้ ทำ�ไร่ชา ทิวทัศน์ไร่ชาเขียวขจีสดุ ลูกหูลกู ตาจึง เป็นอีกสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่แพ้การมาชมดอกนางพญาเสือโคร่งหรือ ซากุระเมืองไทยออกดูสีชมพูพราวสะพรั่งทั่วดงดอยในช่วงต้นปี นอกจาก นี้ยังมีอนุสรณ์สถานวีรชนอดีตทหารจีนคณะชาติ พระบรมธาตุเจดีย์ศรี นครินทร์ฯ ให้เยี่ยมชมอีกด้วย สถานที่ตั้ง : หมู่บ้านสันติคิรี ตำ�บลแม่สลองนอก อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

89


พิพิธภัณฑ์วีรชนอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย

อาคารรูปทรงสถาปัตยกรรมจีนซึง่ ตัง้ โดดเด่นอยูท่ หี่ มูบ่ า้ นสันติครี ี บน ดอยแม่สลอง เป็นพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีคุณค่าในฐานะที่เป็นสถานที่บันทึกเศษเสี้ยว เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ชว่ งสงครามเย็นทีม่ คี วามเกีย่ วพันกับชีวติ ผูค้ นในภาคพืน้ เอเชีย ภายในพิพธิ ภัณฑ์จดั แสดงนิทรรศการ บอกเล่าเรือ่ งการต่อส้ของทหารจีน คณะชาติตามลำ�ดับเหตุการณ์ และส่วนที่เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อรำ�ลึกถึงวีรชน อดีตทหารจีนคณะชาติ กองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง) ได้ตั้งของป้ายวิญญาณผู้ที่ล่วง ลับในการต่อสู้ไว้เป็นเกียรติ ทหารจีนคณะชาติ กองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง) เป็นกองทัพของรัฐบาล จีนที่จอมพลเจียงไคเช็คส่งมารักษาชายแดนจีน-พม่า แต่ต่อมาเมื่อรัฐบาลจีน พ่ายแพ้ต่อกองทัพทหารคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุง เจียงไคเช็คได้หนีไปอยู่ ไต้หวัน ทำ�ให้กองพล 93 กลายเป็นกองทหารไร้สังกัด ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ ตามกวาดล้างจึงจำ�ต้องหนีรน่ มาตัง้ หลักอยูใ่ นเขตพม่า ภายหลังนายพลหลี่ หมี สามารถบัญชาการกองทัพจัดตั้งได้ 5 กองทัพ เนื่องจากมีครอบครัวและอาสา

90


สมัครลีภ้ ยั ออกมาสมทบกับกองทัพทีอ่ ยูใ่ นเขตพม่าอีกเป็นจำ�นวนมาก แต่ในปี พ.ศ. 2504 เมื่อรัฐบาลพม่ามีนโยบายปราบปรามอย่างจริงจัง กองทัพทหารจีนพลัดถิ่น จึงพ่ายแพ้ ทำ�ให้กองทัพที่ 1, 2 และ 4 ถูกจับส่งตัวไปไต้หวัน ส่วนทีเ่ หลือไหวตัวทันจึงได้น�ำ กำ�ลังหลบหนีเข้ามาในไทย กองทัพที่ 3 ของ นายพลหลี่ เหวิน ฝาน ไปอยู่ที่อ�ำ เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกองทัพที่ 5 ของ นายพลต้วน ซี เหวิน หนีมาอยู่ที่ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย รัฐบาลไทยอนุญาต ให้อยู่ในประเทศได้ในฐานะผู้อพยพ ให้เป็นกองกำ�ลังกันชนตามแนวชายแดน เพื่อ ป้องกันการแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ กองทัพที่ 5 ซึ่งอยู่บนดอยแม่สลองจึงตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า หมู่บ้านสันติคีรี ช่วงปี พ.ศ. 2514-2528 ได้เข้ามาเป็นกองกำ�ลัง ทหารที่อาสาช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้ปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ดอยหลวง ดอยขาว และดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย รวมไปถึงพื้นที่เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกด้วย สถานทีต่ งั้ : หมูบ่ า้ นสันติคริ ี ตำ�บลแม่สลองนอก อำ�เภอแม่ฟา้ หลวง จังหวัดเชียงราย

91


พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี

องค์พระธาตุประดิษฐานอยู่บนยอดดอยสูงสุดของดอยแม่ สลอง ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรเหนือระดับน้�ำ ทะเล จึงมีความ งดงามโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539 ภายในบริเวณมีวิหารแบบล้านนาประยุกต์ซึ่งมีความงามเด่นสง่า อีก ทัง้ ยังเป็นจุดทีส่ ามารมองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนได้กว้างไกลสวยงาม แต่ทางขึน้ พระธาตุมคี วามสูงชันมากจึงควรใช้รถทีม่ สี มรรถนะดี ผูข้ บั ขี่ ที่มีความชำ�นาญ และความระมัดระวัง สถานที่ตั้ง : อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

92


พระตำ�หนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง

พระตำ�หนักดอยตุงสร้างขึน้ เพือ่ เป็นทีป่ ระทับแปรพระราชฐานของสมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี เป็นเรือนไม้ 2 ชั้นบนเนินต่างระดับซึ่งได้รับการออกแบบให้ มีสถาปัตยกรรมรูปทรงศิลปะล้านนาผสมชาเลย์แบบสวิสเซอร์แลนด์ มีไม้แกะสลักจาก ช่างล้านนาฝีมือปราณีตประดับตกแต่งรอบอาคาร บริเวณโดยรอบและสวนแม่ฟ้าหลวง ด้านหน้าพระตำ�หนักประดับประดาด้วยสวนดอกไม้เมืองเหนือนานาพันธุ์ ออกแบบสวน เป็นรูปลายผ้าพื้นเมืองสีสันสวยงามบนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ กลางสวนโดดเด่นด้วย ประติมากรรมผลงานของศิลปินชื่อดัง มีเซียม ยิบอินซอย โดยสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระราชทานชื่อผลงานว่า ความต่อเนื่อง (Continuity) สื่อความหมายถึงการทำ�งาน ใดๆ จะสำ�เร็จได้ต้องอาศัยการทำ�อย่างต่อเนื่อง ในบริเวณยังมี หอแห่งแรงบันดาลใจ ซึง่ เป็นอาคารแสดงพระราชประวัตสิ มเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ ในส่วนของร้านค้าซึ่งคอยให้บริการแก่ นักท่องเที่ยว ได้แก่ คาเฟ่ดอยตุง กาดดอยตุง และร้านจำ�หน่ายของที่ระลึกผลิตภัณฑ์ โครงการหลวง นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางการท่องเที่ยวดอยตุงอีกหลายจุด ซึ่งสามารถเข้า ชมรายละเอียดเพื่อวางแผนการเดินทางได้ที่เว็บไซต์ www.doitung.org สถานที่ตั้ง : อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เวลาทำ�การ : เปิดให้เข้าชมทุกวัน สวนแม่ฟ้าหลวง เวลา 06:30-18:00 น. หอแห่งแรง บันดาลใจ เวลา 08:00-17:00 น.

93


ทุ่งดอกบัวตองดอยหัวแม่คำ�

เมือ่ ฤดูหนาวมาเยือน พืน้ ทีท่ งุ่ ดอกบัวตองบริเวณเขตวนอุทยานดอยหัวแม่ค�ำ ซึง่ ติดกับชุมชนชาวอาข่าและลาหูจ่ ะออกดอกเบ่งบาน เปลีย่ นทัศนียภาพสีเขียวเจนตา ให้เป็นสีเหลืองสดใสทัว่ ท้องทุง่ งดงามไม่แพ้ทงุ่ ดอกบัวตองในจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน และ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะมีการจัดงาน เทศกาลดอกบัวตองบาน ณ ดอย หัวแม่คำ� โดยจะมีการแสดงวัฒนธรรมชนเผ่าจากชุมชนรอบ ๆ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สถานที่ตั้ง : บ้านหัวแม่คำ� ตำ�บลแม่สลองใน อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ดอยหัวแม่คำ�

วนอุทยานดอยหัวแม่ค�ำ มีทงั้ น้�ำ ตก ทุง่ บัวตอง และหมูบ่ า้ นชนเผ่าซึง่ สร้างสีสนั ให้แก่การท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี วนอุทยานฯ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำ�ทะเล 1,400 เมตร มียอดเขาสูงสุดเป็นจุดแบ่งพรมแดนพม่า เป็นภูเขาที่มีดินอยู่ชั้นบนและ มีหินโผล่ขึ้นมาเป็นแห่ง ๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูงจึงทำ�ให้น้ำ�ตกซึ่งเป็นห้วยสาขาของ น้ำ�แม่คำ�มีน้ำ�ไหลตลอดปี บริเวณน้ำ�ตกจะมีหินหลายขนาดซ้อนทับกันอย่างสวยงาม บริเวณห้วยโป่งหลีมีน้ำ�ตก 2 ชั้น สูงชั้นละ 5-10 เมตร และบริเวณห้วยแม่คำ�มีน้ำ�ตก ตามลำ�ห้วยสูงประมาณ 1-5 เมตร ร่วม 20 จุด น่าลงเล่นน้ำ�และเดินศึกษาธรรมชาติ อีกทั้งในช่วงฤดูหนาวจะมีทุ่งดอกบัวตองที่ออกดอกล้อมรอบหมู่บ้านชาวเขาและทั่ว ท้องทุ่ง สวยงามยิ่ง มีชาวชนเผ่าทั้งลีซู อาข่า ม้ง และลาหู่อาศัยอยู่เป็นจำ�นวนมาก จึงมีศูนย์ ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยหัวแม่คำ�ซึ่งดำ�เนินการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเมืองหนาว และมีที่ทำ�การวนอุทยานดอยหัวแม่คำ�ตั้งอยู่ มีบ้านพักและพื้นที่กางเต็นท์ให้บริการ แก่นกั ท่องเทีย่ ว การเดินทางไปดอยหัวแม่ค�ำ ใช้เวลาหลายชัว่ โมงเนือ่ งจากเป็นเส้นทาง ลูกรังลัดเลาะไปตามแนวเขา ควรใช้รถขับเคลือ่ นสีล่ อ้ และเช็คสมรรถนะของรถก่อนการ เดินทาง

94 สถานที่ตั้ง : ตำ�บลแม่สลองใน อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย


อำ�เภอแม่ลาว พระธาตุจอมหมอกแก้ว

หนึง่ ในพระธาตุเก้าจอมอันเป็นทีเ่ ลือ่ มใสของชาวเชียงราย เชือ่ กันว่าหากผู้ ใดได้สักการะพระธาตุจอมหมอกแก้วจะประสบความสำ�เร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง อุปสรรค ที่มีจะเลือนหายคล้ายหมอกแก้วเบาบางลง เชื่อกันว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่แต่ก็ไม่พบ หลักฐานชัดเจนว่าสร้างตัง้ แต่ในสมัยใด มีประวัตวิ า่ เมือ่ ประมาณร้อยกว่าปีทผี่ า่ นมา ชาวบ้านได้เข้าไปหาของป่าและพบจอมปลวกทีม่ ลี กั ษณะคล้ายพระธาตุตงั้ อยูบ่ นเนิน ดินเตีย้ ๆ มีเศษเครือ่ งปัน้ ดินเผากระจัดกระจายอยูท่ วั่ บริเวณ ชาวบ้านจึงเชือ่ ว่าจอม ปลวกได้ขนึ้ คลุมทีบ่ รรจุอฐั ขิ องกษัตริยใ์ นสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าองค์เจดียพ์ ระธาตุ จอมหมอกแก้วอาจสร้างขึ้นมาครอบจอมปลวกดังกล่าวในภายหลัง สถานที่ตั้ง : บ้านดงมะเฟือง ตำ�บลจอมหมอกแก้ว อำ�เภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

95


พระธาตุดอยจ้องสลับแสง

ชาวบ้านเรียกภูเขาเล็ก ๆ ลูกนี้ว่า ดอยจ้อง ที่แปลว่า ร่ม เนื่องจากเคยมีต้น ประดูข่ นาดใหญ่แผ่กงิ่ ก้านสาขาเป็นพุม่ สวยงามคล้ายกำ�ลังกางร่ม ทัง้ ยังมีเรือ่ งอัศจรรย์ ในคืนวันที่มีความสำ�คัญทางพระพุทธศาสนาหรือใกล้วันพระวันโกน ชาวบ้านเล่ากัน ว่า จะเห็นดวงแก้วหรือพระธาตุเปล่งรัศมีเป็นดวงสว่างและค่อย ๆ ลอยตัวขึ้นสูงจาก ต้นประดู่ใหญ่ มองเห็นชัดเจนแม้จากหมู่บ้านซึ่งอยู่ไกลออกไป บ้างเชื่อว่าในวันพระ ข้างขึ้น ข้างแรมจะสลับสีแสงออกมาแตกต่างกันไป จึงเป็นที่มาให้คณะศรัทธาวัด ห้วยส้านพลับพลาได้ช่วยกันสร้าง พระธาตุดอยจ้องสลับแสง ขึ้นมา สถานที่ตั้ง : บ้านห้วยส้านพลับพลา ตำ�บลโป่งแพร่ อำ�เภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

ไร่สุวิรุฬห์ชาไทย

นักท่องเทีย่ วสามารถแวะชิมชาหอมกรุน่ ในทัศนียภาพไร่ชาอันงดงามบนพืน้ ที่ กว่า 1,400 ไร่ ซึ่งได้รับเลือกเป็นไร่ชาอินทรีย์ตัวอย่างของจังหวัดเชียงราย ปลูกชา หลากหลายสายพันธุ์ดี ทั้งชาอู่หลง ชาเขียว ชาดำ� และชาสมุนไพร

96

สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าก่อดำ� อำ�เภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม : ห้างหุน้ ส่วนจำ�กัดสุวริ ฬุ ห์ชาไทย โทร. 0 5371 2007, 08 6922 4008


สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่ลาว

ด้วยพืน้ ทีข่ องหน่วยจัดการต้นน้�ำ แม่สา้ นมีสภาพป่าอุดมสบูรณ์ มีทรี่ าบกว้าง ขวางสำ�หรับสัตว์กนิ หญ้า และมีแหล่งน้�ำ ธรรมชาติเพียงพอเหมาะสมในการจัดตัง้ สถานี เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่ลาว เพื่อดำ�เนินการเพาะเลี้ยงสัตว์และให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ เป็นธรรมชาติภายในสถานีฯ โดยไม่รบกวนประชาชนหรือสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่มาก่อน ขณะนี้ทางสถานีฯ มีสัตว์ป่าเพาะเลี้ยง 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม เช่น กวางป่า อีเก้ง เสือลายเมฆ เสือปลา หมีความ หมีขอ อีเห็น ชะนี ธรรมดา ลิง ค่างแว่นถิ่นเหนือ และเม่นใหญ่ ประเภทสัตว์ป่า เช่น นกยูง ไก่ฟ้า นก เป็ดแดง นกกาฮัง นกแก็ก และนกแก้ว ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูเหลือม งูหลาม เต่าเหลือง ฯลฯ เหมาะสำ�หรับท่องเที่ยวเชิงศึกษาธรรมชาติวิทยา นิเวศวิทยา และ สัตววิทยาเป็นอย่างมาก สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าก่อดำ� อำ�เภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแม่ลาว หรือ องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลจอมหมอกแก้ว โทร. 0 5 3184 1012

97


อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง

โบราณสถานเวียงเชียงรุ้ง

โบราณสถานเวียงเชียงรุ้ง หรือที่ชาวบ้านออกเสียงท้องถิ่นว่า เวียงฮุ้ง ค้น พบเมื่อปี พ.ศ. 2523 ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ�ลาว มีลักษณะเป็นเนินสูงอยู่กลางทุ่งนา สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่าพันปี มีคเู มืองสามชัน้ โดยปรากฏร่องรอยของเมืองโบราณ อยู่อย่างชัดเจน มีทั้งป้อมปราการ ประตู หอรบ พบซากเจดีย์ พระพุทธรูปหิน กองอิฐ โอ่ง ไห่ ถ้วยชาม เสาหิน และใบเสมา จึงได้ขนึ้ ทะเบียนจากกรมศิลปากรเป็น วนอุทยาน ประวัติศาสตร์เวียงเชียงรุ้ง กำ�หนดเขตอนุรักษ์ไว้ทั้งหมด 508 ไร่ ในเวลาต่อมา มีการค้นพบศิลาจารึกแผ่นยาวบางสลักจากหินทราย มีเนื้อหา กล่าวถึงการสร้างศิลาจารึกในสมัยพระเจ้าติโลกราช และกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์ของ เวียงเชียงรุ้งว่า เป็นเมืองท่าที่มีกำ�แพงล้อมรอบสองชั้น ติดอยู่กับแม่น้ำ�ลาว ผู้คนใช้ ประโยชน์จากการขนส่งทางน้ำ�เชื่อมโยงไปถึงเมืองใหญ่ ๆ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช มี การแลกเปลี่ยนสินค้าจากอาณาจักรจีนที่ล่องเรือมาตามแม่น้ำ�โขงทางทิศใต้และเชื่อม ต่อไปถึงเวียงกาหลง ปัจจุบัน ภายในเขตโบราณสถานมี วัดเวียงเชียงรุ้ง ถูกยกฐานะขึ้นมาจาก วัดร้างเป็นวัดทีม่ พี ระสงฆ์จ�ำ พรรษาอยู่ ภายในวัดยังมีพพิ ธิ ภัณฑ์ทสี่ ร้างขึน้ เพือ่ เก็บสะสม วัตถุโบราณ ถ้วยโถโอชามโบราณทีค่ น้ พบราว 1,000 ชิน้ นับเป็นแหล่งศึกษาโบราณคดี และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง

98

สถานที่ตั้ง : บ้านห้วยเคียน หมู่ 10 ตำ�บลทุ่งก่อ อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย


ดอยพระพุทธบาททุ่งก่อ

ดอยพระพุทธบาททุ่งก่อถือเป็นศาสนสถานสำ�คัญของอำ�เภอ เพราะมี ทั้งพระธาตุทุ่งก่อ รอยพระพุทธบาทเหนือ และรอยพระพุทธบาทใต้ประดิษฐาน อยู่ เชื่อกันว่า พระธาตุทุ่งก่อบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ภายใน แต่ไม่ เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่ในสมัยใด ปรากฏหลักฐานเพียงในปี พ.ศ. 2039 พญาเมืองแก้ว กษัตริยเ์ ชียงใหม่ในราชวงศ์มงั รายได้มาบูรณะพระธาตุรวมทัง้ สร้าง รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง 2 แห่ง โดยรอยพระพุทธบาทเหนือสลักบนหน้าผาตั้งเอียง 70 องศา ต่ำ�กว่า ฐานพระธาตุ 3 เมตร เป็นรอยพระพุทธบาทด้านซ้าย ห่างออกไป 3 กิโลเมตร เป็นรอยพระบาทใต้ ซึ่งสลักบนแท่งหินที่ย่ืนออกไปจากยอดดอย การเดินทางไป สักการะรอยพระพุทธบาทเหนือจะทำ�ได้ง่ายกว่ารอยพระพุทธบาทใต้ เมื่อถึงวัน วิสาขะบูชาของทุกปี ชาวบ้านจะนำ�ด้ายสายสิญจน์ไปผูกโยงรอยพระพุทธบาททั้ง สองไว้แล้วทำ�พิธี เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาททั้งคู่ไปพร้อมกัน สถานที่ตั้ง : ตำ�บลทุ่งก่อ อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

99


วนอุทยานน้ำ�ตกห้วยแม่สัก

วนอุทยานฯ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสักและป่าแม่กกฝั่งขวา เป็น วนอุทยานที่ป่ากำ�ลังอยู่ในสภาพฟื้นตัวเนื่องจากป่าบางส่วนเคยถูกบุกรุกมาก่อน มี เนื้อที่ 2,800 ไร่ เป็นพื้นที่ภูเขาซึ่งวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียง เหนือ มีความสูงเหนือระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง 460-493 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำ� ของน้�ำ ตกห้วยป่าสัก จุดเด่นของพืน้ ทีค่ อื ผืนป่าเบญจพรรณบริเวณน้�ำ ตกทีย่ งั คงรักษา ความอุดมสมบูรณ์ไว้ได้ มีพนั ธุไ์ ม้และสัตว์ปา่ หลากชนิด น้�ำ ตกห้วยแม่สกั เป็นน้�ำ ตกชัน้ เดียวขนาดเล็กสูง 15 เมตร มีแอ่งน้�ำ ใสสะอาด เหมาะสำ�หรับลงเล่นน้ำ� การเดินทาง ก็ค่อนข้างสะดวก สถานที่ตั้ง : บ้านน้ำ�ตกพัฒนา ตำ�บลทุ่งก่อ อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

น้ำ�ตกตาดสายรุ้ง

น้ำ�ตกชั้นเดียวที่มีน้ำ�ตกจากที่สูง 30 เมตรลงมายังแอ่งด้านล่าง สะท้อน แสงแดดเป็นประกายสายรุ้งที่สวยงามและมีความโดดเด่นทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ใน เขตวนอุทยานน้ำ�ตกตาดสายรุ้ง เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยสักและป่าแม่กกฝั่งขวา บริเวณป่าโดยรอบจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ตัวน้�ำ ตกมีความร่มรื่น มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และมีน้ำ�ไหลตลอดปี เหมาะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากแหล่ง ชุมชนจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งและ เทศกาลสงกรานต์จะมีผู้คนแวะเวียนมาพักผ่อนเล่นน้ำ�เป็นจำ�นวนมาก สถานที่ตั้ง : ตำ�บลป่าซาง อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

100


ทุ่งทานตะวัน

ทุ่ ง ทานตะวั น ที่ อำ � เภอเวี ย งเชี ย งรุ้ ง จะบานสวยเหลื อ งสดใสเข้ า กั บ บรรยากาศท่องเทีย่ วในฤดูหนาว โดยจะมีเทศกาล งานทานตะวันบานทีเ่ วียงเชียง รุ้ง ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปี สถานที่ตั้ง : บ้านโป่ง ตำ�บลทุ่งก่อ อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

อำ�เภอดอยหลวง น้ำ�ตกห้วยดีหมี ห้วยผาตูบ และห้วยเครือเขา

ในพืน้ ทีอ่ �ำ เภอดอยหลวงมีน�้ำ ตกขนาดเล็กทีอ่ ยูใ่ นบริเวณชุมชนอยูห่ ลาย แห่ง น้�ำ ตกเหล่านีม้ คี วามร่มรืน่ มีน�้ำ ไหลตลอดปี ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากแหล่ง น้ำ�เพื่อทำ�การเกษตร รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในหมู่บ้านและ คนในละแวกใกล้เคียง มีน้ำ�ตกที่น่าสนใจ ได้แก่ น้ำ�ตกห้วยดีหมีในบริเวณบ้าน ห้วยสัก น้�ำ ตกห้วยผาตูบในหมูบ่ า้ นศรีบญ ุ เรือง น้�ำ ตกห้วยเครือเขาในเขตบ้านใหม่ พัฒนา เนือ่ งจากส่วนใหญ่เป็นน้�ำ ตกทีอ่ ยูใ่ นเขตชุมชน ชาวบ้านจึงได้ชว่ ยกันดูแล ทั้งบริเวณน้ำ�ตกและป่าโดยรอบให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์และสะอาดปลอดภัย สถานที่ตั้ง : ตำ�บลหนองป่าก่อ อำ�เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

101


ศิลปะ ประเพณี และวิถีชีวิต

102


เมืองแห่งชาติพันธุ์ที่หลากหลาย

เชียงรายนับเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจใน ด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็น พืน้ ทีช่ ายแดนติดต่อกับประเทศเพือ่ นบ้าน และมีลกั ษณะเป็นเทือก เขาสูง จึงเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงหลากหลาย กลุ่ม ทั้งอาข่า ม้ง เมี่ยน ลาหู่ ลีซู และปกาเกอะญอ บนพื้นที่ราบ เองก็มกี ลุม่ คนไทยวน ไทลือ้ ไทเขิน และไทใหญ่ ซึง่ ทัง้ ถูกกวาดต้อน และอพยพเข้ามาตามช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัตศิ าสตร์ มาตัง้ รกราก อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ�สายต่าง ๆ นานหลายร้อยปี นอกจากนี้ ยังมีชนชาติอื่น ๆ อพยพเข้ามาและได้รับ อนุญาตให้อาศัยอยู่ในเขตประเทศไทย เช่น กลุ่มชาวลาวที่อำ�เภอ ดอยหลวง กลุม่ ผูพ้ ลัดถิน่ ชาวพม่าหลายเชือ้ ชาติทกี่ ระจัดกระจายอยู่ ตามพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มชาวจีนกองกำ�ลัง 93 ที่ลี้ภัยสงคราม มาอาศัยอยู่บนดอยแม่สลอง เป็นต้น

103


104


แต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุล์ ว้ นมีวถิ ชี วี ติ และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รวมเป็นความ หลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ในท่ามกลางความแตกต่าง กลับพบว่า แม้จะเป็นผู้คน ต่างชาติพันธุ์พวกเขาก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในหมู่บ้านเดียวกัน บนดอยเดียวกัน ใน พืน้ ทีใ่ กล้เคียงกัน และต่างพึง่ พาอาศัยกันได้อย่างกลมเกลียว เป็นสิง่ ทีย่ งิ่ ขับเน้นความ โดดเด่นของเชียงรายให้นา่ สนใจ น่าลงไปทำ�ความรูจ้ กั และลองสัมผัสดินแดนแห่งขุนเขา ที่ผู้คนหลากหลายต่างอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสุขสงบแห่งนี้

กลุ่มชาติพันธุ์ ไทยวน

ไทยวน (ไท-ยวน) เป็น ชาติพัน ธุ์ไ ทกลุ่ม หนึ่ งที่ ตั้ งถิ่ น ฐานในล้ า นนาหรื อ ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย นับเป็นผู้คนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัด เชียงราย นิยมตั้งหมู่บ้านตามที่ราบลุ่มแม่น�้ำ ทำ�อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก นับถือผี และพุทธศาสนา รับประทานข้าวเหนียว มีการแต่งกายเฉพาะตัว มีภาษาเขียนเรียกว่า อักษรธรรมหรือตั๋วเมือง ภาษาพูดจึงเรียกคำ�เมือง ในอดีตคนไทยวนมีคำ�เรียกตนเอง หลายอย่าง เช่น ยวน ไต ไท และคนเมือง เพื่อแยกตัวให้ต่างจากคนใต้หรือชาวสยาม กระทั่งในปัจจุบันนี้คนไทยวนรวมทั้งคนไทอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในล้านนา มีวัฒนธรรม ภาษาใกล้เคียงกัน ได้เกิดความรู้สึกกลมกลืน และเรียกตนเองว่า “คนเมือง” สะท้อน สำ�นึกและอัตลักษณ์ของชาวล้านนาไว้ในคำ�นี้

กลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ

ชาวไทลื้อในล้านนาถูกกวาดต้อนมาจากสิบสองปันนา เมืองอูเหนือ อูใต้ ซึ่ง เป็นพื้นที่ชายแดนระหว่างจีนและลาว ในยุคที่พระเจ้ากาวิละทำ�การฟื้นฟูล้านนา หลัง พ้นจากอำ�นาจการปกครองของพม่า ด้วยนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เมื่อ ประมาณสองร้อยปีที่ผ่านมา เป็นกลุ่มคนไทที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมประจำ�ชาติพันธุ์ ของตนเองไว้ได้อย่างดี ทั้งการแต่งกาย ภาษา อาหาร รวมทั้งฝีมือการทอผ้าอันเลื่อง ชื่อ ทั้งนี้ ยังมีประเพณีที่สำ�คัญ ได้แก่ ประเพณีตานข้าวใหม่เดือน 3 ประเพณีตั้งธรรม หลวง ประเพณีสงกรานต์เดือน 6 และประเพณีท�ำ บุญเสาหลักเมือง ที่ยังคงถือปฏิบัติ จนถึงทุกวันนี้

105


กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า

อาข่าหรืออีกอ้ เป็นชนเผ่าทีย่ งั ไม่ทราบแน่ชดั ว่าสืบเชือ้ สายมาจากไหน แต่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เชียงตุงในรัฐฉานของ ประเทศพม่า และแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของจีน อาข่าในจังหวัดเชียงราย ตั้งรกรากครั้งแรกที่หมู่บ้านพญาไพร ใกล้กับหมู่บ้านหัวแม่คำ� ตำ�บลเทิดไทย อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จากนั้นได้มีการอพยพอีกหลายระลอกเพื่อไปตั้งรกรากใน พื้นที่ต่าง ๆ ของเชียงรายรวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ชาวอาข่ามีความเชื่อดั้งเดิมที่เคร่งครัด มีธรรมเนียมการตั้งชื่อลูกโดย ใช้พยางค์สุดท้ายของชื่อพ่อมาเป็นพยางค์แรกในชื่อลูก มีความเชื่อเรื่องผี มี เทศกาลปีใหม่ไข่แดง พิธีโล้ชิงช้า การทำ�บ่อน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ แต่เนื่องจากการที่จะ ต้องเคร่งครัดในพิธีกรรม ต้องใช้สัตว์ต่าง ๆ เป็นจำ�นวนมากในพิธีเซ่นไหว้ เป็น เหตุท�ำ ให้อาข่าบางพืน้ ทีจ่ �ำ เป็นต้องทิง้ ความเชือ่ ดัง้ เดิม แล้วหันไปนับถือศาสนา คริสต์และอิสลาม

106


กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

ว่ากันว่ากลุ่มชาติพันธุ์ บนพืน้ ทีส่ งู ซึง่ มีการกระจายตัวมาก ที่สุดคือ ชาวม้ง เพราะอาศัยอยู่ ทั้งในประเทศจีน พม่า ลาว และ ไทย มีตน้ กำ�เนิดจากมณฑลไกวเจา ฮุ น หนำ � กวงสี และยูน นานของ ประเทศจีน ช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 มีการอพยพผ่านประเทศ ลาวเข้าสู่ประเทศไทยทางจังหวัด เลย น่าน และเชียงราย ในจังหวัด เชียงรายมีชาวม้งอาศัยอยู่ใน 8 อำ�เภอ 12 ตำ�บล 50 หมูบ่ า้ น เช่น ที่ตำ�บลแม่เปาและตำ�บลตาดควัน ในอำ�เภอพญาเม็งราย เป็นต้น ก ลุ่ ม ช า ติ พั น ธุ์ ม้ ง จั ด อยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ชาวม้งใน ประเทศไทยแบ่ ง ออกเป็ น สอง กลุ่ม คือ ม้งน้�ำ เงิน หรือที่เรียกว่า ม้งลาย ม้งดำ� และม้งดอก อีกกลุ่ม หนึ่งคือ ม้งขาว โดยแบ่งจากความ แตกต่างทางภาษา เครื่องแต่งกาย และชื่อที่ใช้เรียกตัวเอง ชาวม้งมี ความเชื่อเรื่องผี นับถือผี 2 ชนิด คือ ผีฟ้า ผู้สร้างแผ่นดิน มนุษย์ และสัตว์ มีอำ�นาจบันดาลให้เกิด และตายได้ อี ก ชนิ ด คื อ ผี เรื อ น วิ ญ ญาณบรรพบุ รุ ษ ซึ่ ง ทำ � หน้ า ที่ ปกปักษ์รักษาคนในครอบครัวให้มี ความสุข ในขณะเดียวกัน หากทำ� ไม่ดกี อ็ าจจะบันดาลความเจ็บป่วย หรือความทุกข์ยากให้ได้เช่นกัน

107


กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน

เมี่ยน เป็นคำ�เรียกตนเองซึ่งแปลว่า มนุษย์ แต่คนไทยมักจะเรียกว่า เย้า มี ถิ่นฐานเดิมอยู่ในมณฑลกวางสี หูหนาน และกุ้ยโจว เมื่อราว 150 ปีที่ผ่านมานี้มี ชาวเมี่ยนกลุ่มแรกได้อพยพผ่านแขวงหลวงน้ำ�ทา ประเทศลาว เข้ามาอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน ในจังหวัดเชียงรายมีชาวเมี่ยนอาศัย อยู่ในหลายอำ�เภอ เช่น บ้านใหม่พัฒนา ตำ�บลยางฮอม อำ�เภอขุนตาล เป็นต้น

108


หนังสือเดินทางที่บรรพบุรุษชาวเย้าถือติดตัวมา เมื่อครั้งเดินทางอพยพจากประเทศจีนมาตั้งหลักแหล่ง ในประเทศไทย

ชาวเมี่ยนหรือเย้ามีรากเหง้าผูกพันกับวัฒนธรรมจีนมาก่อน จึงใช้ภาษาในตระกูล จีน-ทิเบต สาขาแม้ว-เย้า นำ�เอาภาษาฮั่นมาใช้เป็นภาษาเขียน นิยมกินข้าวสวยใส่ถ้วยพร้อม ตะเกียบ ตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาสูง 1,000-1,500 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเล นิยมปลูกบ้าน คร่อมดินโดยใช้พนื้ ดินเป็นพืน้ บ้าน ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ทุกคนเคารพเชือ่ ฟังหัวหน้า ครอบครัว ถือกันตามศักดิ์อาวุโสและการนับญาติทางฝ่ายชาย เมื่อแต่งงานภรรยาจะมาอยู่ บ้านพ่อแม่สามี ชาวเย้าส่วนใหญ่นับถือผีและเทพยดา ทุกบ้านจะมีหิ้งบูชาไว้เป็นที่สิงสถิต ของวิญญาณบรรพบุรุษ เชื่อเรื่องโชคลาง การนับวันเดือนปี และการทำ�นาย

109


110


กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู

ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต หรือผู้มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง คนไทยมักออกเสียงว่า ลีซอ มีถิ่นกำ�เนิดจาก เขตเหนือของหุบเขาสาละวิน มณฑลยูนนาน และรัฐคะฉิ่นของประเทศพม่า ต่อมาได้ อพยพมาตามแนวภูเขาพรมแดนพม่า-จีน กระจายออกไปยังแม่น�้ำ โขง ประเทศลาว และอพยพเข้าสู่ประเทศไทย กระจายตัวอยู่ใน 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำ�แพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำ�ปาง โดยกลุ่มแรก ที่เข้ามาในจังหวัดเชียงรายราวปี พ.ศ. 2464 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำ�เภอ เมือง จากนัน้ ได้มกี ารแยกกลุม่ ไปอาศัยอยูห่ มูบ่ า้ นดอยช้าง ตำ�บลวาวี อำ�เภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ชาวลีซูนิยมตั้งหมู่บ้านใกล้น้ำ�ตก ใช้ไม้ไผ่ต่อเป็นท่อลำ�เลียงน้ำ�ส่งไปทั่วทุก หลังคาเรือนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะปลูกบ้านติดพื้นดิน สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ มีห้อง รับแขกทีใ่ ช้นงั่ และนอน มีประตูบา้ นเพียงประตูเดียวเรียกว่า ประตูผอี อก ชาวลีซยู �ำ เกรง ต่อผีหลวงประจำ�ยอดเขา เชือ่ ว่าเวลาโกรธผีหลวงจะโยนหินก้อนใหญ่ลงมา บันดาลให้ เกิดฟ้าร้องฟ้าผ่า จึงสร้างศาลเจ้าพร้อมปักธงหางว่าวมีรั้วล้อมรอบ และสร้างศาลบน เนินเขานอกหมู่บ้านสำ�หรับผีเมือง เพราะเชื่อว่าเป็นผีดีที่จะคอยปกปักรักษาคนใน หมู่บ้าน

กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่

ลาหู่ เป็นคำ�เรียกตนเองซึ่งแปลว่า คน ส่วนคำ�เรียก มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำ�นาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ เป็นกลุ่มชน ที่มีเชื้อสายมาจากกลุ่มโลโล เคยปกครองตนเองได้อย่างอิสระบริเวณตอนกลางและ ตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ก่อนทีช่ นชาติไทใหญ่และจีนจะเข้าไปครอบครอง จึงอพยพ ย้ายถิ่นไปในแถบประเทศจีน พม่า ลาว และเข้ามายังประเทศไทย อาศัยอยู่ตามแนว ชายแดนไทย-พม่า และกระจายตัวอยูต่ ามจังหวัดเชียงราย แม่ฮอ่ งสอน เชียงใหม่ ตาก กำ�แพงเพชร ลำ�ปาง น่าน และเพชรบูรณ์ ลาหู่หรือมูเซอแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยตามความแตกต่างของพิธีกรรม ศาสนา และการแต่งกาย ได้แก่ ลาหู่ด�ำ ลาหู่แดง ลาหู่ฌี และลาหู่เฌเล โดยลาหู่แดงเป็นเผ่า ใหญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทย ชนเผ่าลาหูใ่ ช้ภาษาธิเบต- พม่า ทำ�เกษตรกรรมเพือ่ การยังชีพ นิยมปลูกบ้านไม้ไผ่อยู่บนดอยสูงระดับ 4,000 ฟุตจากระดับน้�ำ ทะเล เนื่องจากถือว่า ผู้อยู่พื้นที่สูงจะเหนือกว่าผู้อยู่พื้นที่ต่ำ� นับถือผีเป็นศาสนาดั้งเดิม โดยมีโตโบหรือผู้น�ำ ทางศาสนาเป็นผู้มีอำ�นาจสูงสุด ในหมู่บ้านจะมีลานขนาดใหญ่เป็นที่ส�ำ หรับเต้นรำ�ใน ช่วงงานปีใหม่และพิธีทำ�บุญต่าง ๆ

111


ทำ�เนียบบุคคลสำ�คัญ ด้านวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย 1.นายถวัลย์ ดัชนี ศิลปินที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับทั้งในและ ต่างประเทศ ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2544 เจ้าของพิพิธภัณฑ์บ้านดำ�อันเลื่องชื่อ

112


2.นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพฒ ั น์ ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ ปี พ.ศ. 2547 และรางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี พ.ศ. 2554 ผูบ้ รู ณะ และออกแบบวัดร่องขุ่น รวมทั้งหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ จนกลายเป็นสถานที่อัน โดดเด่นและมีชื่อเสียงของจังหวัด 3.หลวงพ่อใหญ่ดวงจันทร์ กนตสีโล พระสงฆ์ผู้เป็นบุคคลสำ�คัญในการ บูรณะวัดเม็งรายมหาราชจนเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน 4.พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) พระนักวิชาการ นักคิด และนัก เขียน ผู้มีผลงานการเขียนรวมทั้งการเผยแพร่ธรรมะจนเป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใส ทั่วประเทศ 5.นายสิน ดินดิบ ผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีเชียงรายในปี พ.ศ. 2549 สาขา ศาสนาประเพณีและพิธีกรรม เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประเพณีพื้นบ้านและงานพิธีสืบ ชะตา 6.นายเลื่อน ธนะแพทย์ อดีตประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ประธานศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ผู้สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น และริเริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการแต่งกายแบบเชียงราย 7.นายชรินทร์ แจ่มจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านและเขียนอักษรธรรม ล้านนา ผลิตหนังสือพิมพ์รายเดือนชื่อ นิตยสารล้านนาถิ่นนิยมไชยนารายณ์ 8.นางบังอร ทิศกุล ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำ�อาหาร แต่งตำ�ราอาหาร พื้ น เมื อ งแก่ ส ภาวั ฒ นธรรมจั ง หวั ด เชี ย งราย ได้ รั บ ปริ ญ ญาบั ต รกิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ จ าก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายในปี พ.ศ. 2540 9.นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญศิลปะการแสดงพืน้ บ้าน โดยเฉพาะ การฟ้อนสาวไหม ซึ่งได้รับสืบทอดจากพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ผู้เป็นบิดา ถือเป็นต้น ตำ�รับฟ้อนสาวไหมที่แพร่หลายไปทั่วประเทศ 10.นายอินสม มูลต๊ะ ผู้รู้ด้านภาษาล้านนา จัดทำ�หนังสือ คนเจ็ดยอด เพื่อ รวบรวมบทความด้านประเพณีวฒ ั นธรรมไว้ และยังได้เขียนบทความด้านวัฒนธรรม ให้แก่วารสารเชียงรายอย่างต่อเนื่อง 11.นายบุญผาย สลีสองสม ผู้รู้ด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นอดีตประธานสภา วัฒนธรรมอำ�เภอแม่ลาวและตำ�บลบัวสลี รวมทั้งเคยได้รับรางวัลกำ�นันยอดเยี่ยม ของจังหวัดเชียงราย 12.นายอินทร์ สุใจ ปราชญ์ชาวบ้านด้านประวัติศาสตร์ สามารถอ่าน ศิลาจารึก เอกสารโบราณล้านนา รวมถึงอักษรไทลื้อได้ ทำ�งานศึกษาค้นคว้าด้าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านรายการ วิทยุมาเป็นเวลานาน 13.นายทัน ธิจติ ตัง ช่างฝีมอื ผูพ้ ลิกฟืน้ ภูมปิ ญ ั ญาการผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผา โบราณเวียงกาหลง มีชอื่ เสียงและได้รบั ยกย่องให้เป็นปราชญ์ผญาดีศรีลา้ นนา ประจำ� ปี พ.ศ. 2553 จากสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

113


งานประเพณีวิถีเชียงราย

114


115


พิธีตานหาแม่ฟ้าหลวง

ด้ ว ยความสำ � นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของแม่ ฟ้ า หลวงหรื อ สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ชาวเชี ย งรายจึ ง ได้ นำ � เอาการทำ � บุ ญ อุ ทิ ศ ส่ ว น บุญส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านมาจัดให้ยิ่งใหญ่ เป็นงาน พิธีตานหาแม่ฟ้าหลวง ในวันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งจะจัดพิธี ขึ้ น หลายแห่ ง ได้ แ ก่ พิ ธี ถ วายพวงมาลาสั ก การะขึ้ น ที่ พ ระราชานุ ส าวรี ย์ ส มเด็ จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พิธี ถวายเครื่ อ งสั ก การะที่ ไร่ แ ม่ ฟ้ า หลวง ซึ่ ง จะจั ด ขบวนถวายเครื่ อ งสั ก การะแบบ ล้ า นนา และพิ ธี บำ � เพ็ ญ กุ ศ ลน้ อ มเกล้ า ถวายสมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราช ชนนี ณ ท้องพระโรง พระตำ�หนักดอยตุง นิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทำ�พิธีสวด พระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน และข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์

116

สถานทีจ่ ดั : สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไร่แม่ฟา้ หลวง และพระตำ�หนัก ดอยตุง จังหวัดเชียงราย


พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พญามังราย

พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พญามังราย กษัตริย์ ผู้สร้างเมืองเชียงรายและผู้ก่อตั้งอาณาจักรล้านนา จะ จัดขึน้ ทีบ่ ริเวณอนุสาวรียพ์ ญามังรายเป็นประจำ�ทุกปีใน วันที่ 26 มกราคม ซึ่งเชื่อว่าตรงกับวันที่พญามังรายได้ สร้างเมืองเชียงรายขึ้นมาในปี พ.ศ. 1805 ภายในวัน งานจะมีการสืบชะตา การบวงสรวง และการฟ้อนถวาย พญามังรายอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ สถานที่จัด : อนุสาวรีย์พญามังราย ตำ�บลเวียง อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

พิธีเคารพผีส้าวบ้าน

ทุกวันนี้ชาวบ้านทุ่งโค้ง อำ�เภอเวียงชัย ยังคง มีวถิ ชี วี ติ ดัง้ เดิมและยึดถือจารีตประเพณีทสี่ บื ทอดมาแต่ สมัยบรรพบุรษุ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พิธเี คารพผีสา้ วบ้าน เพราะเชื่อว่าผีส้าวบ้านจะช่วยปกปักรักษาทุกคนใน หมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยจะทำ�พิธีปีละ 2 ครั้ง ใน ช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนกันยายนของทุกปี ก่อน ถึงวันทำ�พิธี 1 สัปดาห์ ทุกหลังคาเรือนจะนำ�ข้าวสาร มารวมกันเพื่อหมักไว้ทำ�สุรา เมื่อถึงวันงานแต่ละบ้าน จะต้องเตรียมไก่และข้าวไปยังสถานทีป่ ระกอบพิธกี รรม ซึ่งจะมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมพิธี ผู้หญิงจึงต้องอยู่เฝ้าบ้าน ผู้ประกอบพิธีซึ่ง เรียกว่า ขังคู จะต้มสุราที่หมักไว้ เมื่อเสร็จพิธี ข้าว ไก่ และสุราจะถูกแจกจ่ายกลับไปยัง แก่ผู้มาร่วมงาน ให้นำ�กลับไปรับประทานกับครอบครัวที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล สถานที่จัด : หมู่บ้านทุ่งโค้ง ตำ�บลเวียงชัย อำ�เภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

ประเพณี ไหว้สาพญามังราย

ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี ชาวอำ�เภอเม็งรายจะร่วมใจกันจัดงานประเพณี ไหว้สาพญามังราย ณ คุม้ พญาเม็งราย ซึง่ เป็นบริเวณทีเ่ ชือ่ กันว่า พญามังรายได้มาหยุด พักกองทัพเพือ่ หาเสบียงอาหาร และสอดแนมหาข่าวเกีย่ วกับกำ�ลังข้าศึกก่อนเข้าตีเมือง เชียงของ สถานที่จัด : คุ้มพญาเม็งราย บ้านสันป่าสัก ตำ�บลเม็งราย อำ�เภอพญาเม็งราย จังหวัด เชียงราย

117


ประเพณีปีใหม่เมี่ยน

ชาวเมี่ยนหรือเย้ามีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมจีนมาแต่บรรพบุรุษและใช้ วิธีนับวันเดือนปีแบบจีน จึงฉลองปีใหม่ตรงกับชาวจีนในวันตรุษจีน ซึ่งภาษาเมี่ยน เรียกว่า เจี๋ยฮยั๋ง ก่อนที่จะถึงพิธีแต่ละครัวเรือนจะเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว และของใช้ในครัวเรือนให้เรียบร้อย เพราะในวันขึ้นปีใหม่จะมีจารีตเคร่งครัด และ ข้อห้ามปฏิบัติหลายอย่าง สถานที่ จั ด : บ้ า นตาดควั น ตำ � บลป่ า ซาง อำ � เภอเวี ย งเชี ย งรุ้ ง จั ง หวั ด เชียงราย

ประเพณีสี่เผ่าจาวดอย

เป็นประเพณีเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม สร้างสามัคคี และสร้างความ เข้าใจอันดีระหว่างผู้คนต่างชาติพันธุ์ ซึ่งทางอำ�เภอดอยหลวงจัดขึ้นเป็นประจำ� ทุกปี ในระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม จนถือเป็นงานประจำ�ปีของกลุ่มชาติพันธุ์ ลาว ปกาเกอะญอ เมี่ยน และไทยวนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยจะมีการแสดงและ การละเล่นตลอด 3 วัน

118 สถานที่จัด : ที่ว่าการอำ�เภอดอยหลวง อำ�เภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย


ประเพณีแข่งเรือเชียงของ

ในทุกปีอ�ำ เภอเชียงของจะจัดงานเทศกาลสงกรานต์รมิ แม่น�้ำ โขง มีทงั้ การทำ�บุญ เลีย้ งพระ การประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงบนเวที และทีจ่ ดั ประเพณีแข่งเรือพาย ซึง่ แต่ละปีจะมีทมี ฝีพายดีมาเข้าแข่งขันอย่างคับคัง่ สงกรานต์ทเี่ ชียงของจึงคึกคักเต็มไปด้วย คนมาร่วมงานประเพณีและนักท่องเที่ยวเป็นจำ�นวนมาก สถานที่จัด : ท่าเรือเชียงของ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

พิธีบวงสรวงปลาบึก

ในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ที่บ้านหาดไคร้ซึ่งอยู่ติดริมลำ�น้ำ�โขง จะจัดพิธบี วงสรวงปลาบึกขึน้ เป็นประจำ�ทุกปี เนือ่ งจากปลาบึกหรือราชินแี ห่งแม่น�้ำ โขงนี้ เป็นปลาน้ำ�จืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งชาวประมงนักล่าปลาบึกต่างมีความเชื่อว่า ปลา บึกเป็นปลาที่มีเทพเจ้าคอยคุ้มครองอยู่ หากไม่ทำ�การบวงสรวงไหว้ขอจากเทพเจ้า และ ไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือให้มีอานุภาพแกร่งกล้า ก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำ�เร็จ การทำ� พิธีบวงสรวงนี้จึงกลายเป็นประเพณีท้องถิ่น เป็นจารีตที่แฝงนัยของความเคารพยำ�เกรง ในธรรมชาติ ที่ผู้คนริมฝั่งโขงมีต่อแม่น้ำ�สายใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตมาช้านาน สถานที่จัด : บ้านหาดไคร้ ตำ�บลเวียง อำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

119


ประเพณีฮ้องขวัญนกเป็ดน้�ำ

ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี จะมีฝงู นกเป็ดน้�ำ อพยพหนีหนาวจาก ตอนกลางของทวีปเอเชีย มาหากินในบริเวณทะเลสาบเชียงแสนหรือเขต ห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคายเป็นจำ�นวนมาก จึงเกิดประเพณีฮ้องขวัญ นกเป็ดน้ำ�หรือพิธีเรียกขวัญนกเป็ดน้ำ�ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ปี เพื่อสื่อความหมายของการอนุรักษ์นกเป็ดน้ำ� และการอยู่ร่วมกันใน ธรรมชาติระหว่างคนกับสัตว์ สถานที่จัด : ทะเลสาบเชียงแสน ตำ�บลโยนก อำ�เภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย

ประเพณีแข่งเรือเมืองเชียงแสน

หลังเทศกาลสงกรานต์ ในวันที่ 16-18 เมษายนของทุกปี ที่ อำ�เภอเชียงแสนจะจัดงานประเพณีแข่งเรือเมืองเชียงแสนขึ้น ในงานมี ขบวนแห่และสรงน้�ำ พระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และมหรสพพื้นเมือง อันเป็นที่สนใจของชาวเชียงแสนและนักท่องเที่ยวที่มาเยือน สถานทีจ่ ดั : ริมฝัง่ แม่น�้ำ โขง บริเวณหน้าทีว่ า่ การอำ�เภอเชียงแสน อำ�เภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ประเพณีผีตาโขน

ประเพณีผีตาโขนของชาวลัวะเรียกว่า อายก จะจัดในเดือน ยี่ ขึ้น 1 ค่ำ� ถึง 15 ค่ำ� หรือในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยจะมี การเชิญชาวลัวะในพื้นที่อื่น ๆ มาร่วมงานด้วย เชื่อกันว่าวิญญาณ บรรพบุรษุ นัน้ ชืน่ ชอบการเซ่นสรวงบูชาโดยการแสดงเต้นผีตาโขน ดังนัน้ เพื่อเป็นการสักการะดวงวิญญาณและขอให้ช่วยปกปักรักษาให้อยู่เย็น เป็นสุข ชาวบ้านจึงร่วมใจกันจัดพิธีกรรมการแสดง โดยใช้เวลาในเตรียม งานอย่างน้อย 2 วัน เพราะมีหน้ากาก อุปกรณ์การแสดง และเครื่อง แต่งกายที่ต้องใช้เวลาในการทำ� นิยมใช้ฟางข้าว ผ้าห่ม ฟูก ที่นอน และ ผ้ามุ้งที่ไม่ใช้แล้วมานุ่งห่ม นำ�ไม้ไผ่มามัดไขว้ผูกติดลำ�ตัว ใช้กิ่งไม้ปักเป็น แขนและศีรษะ และจะช่วยกันออกแบบตกแต่งหน้ากากด้วยสีสันสดใส ในวันงานบรรดาผีตาโขนจะออกมาเต้นไปตามจังหวะกลองในขบวนแห่ อย่างคึกคักสนุกสนาน สถานทีจ่ ดั : วัดห้วยน้�ำ ขุน่ ตำ�บลแม่ฟา้ หลวง อำ�เภอแม่ฟา้ หลวง จังหวัด เชียงราย

120


ประเพณีโล้ชิงช้า

ชาวอาข่าจะจัดประเพณีโล้ชิงช้าขึ้นในช่วง ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ของทุกปี เป็นช่วงที่ผลผลิตในไร่กำ�ลังงอกงาม และ พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน เพื่อเป็นการเฉลิม ฉลองทีพ่ ชื พันธุซ์ งึ่ ปลูกลงไปนัน้ พร้อมทีจ่ ะให้ผลผลิต ไว้บริโภคในปีถัดไป แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ชีวิต ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่าและเกี่ยวข้องกับ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ในพิธีจะมีการตั้งเสาชิงช้า โดยให้ผู้หญิงที่แต่งกายชุดประจำ�เผ่าสวยงามขึ้นไป โล้ชิงช้า ร้องเพลง ทั้งนี้ ในแต่ละหมู่บ้านจะจัดพิธี ไม่ตรงกัน แล้วแต่จะกำ�หนดกันเองภายในหมู่บ้าน

121


122


เทศกาลชิมชา ชมดอกซากุระบาน

ชาวจีนอดีตกองทัพ 93 ได้อพยพมาตั้งรกรากบนดอยแม่สลองที่หมู่บ้าน สันติครี มี าเป็นเวลานานหลายสิบปี ด้วยภูมปิ ระเทศภูเขาสูงจึงทำ�ให้ชาวจีนเหล่านีท้ �ำ ไร่ชาเป็นอาชีพหลัก ในขณะเดียวกัน บนดอยแม่สลองยังมีดอกนางพญาเสือโคร่งที่ ได้รับการขนานนามว่า ซากุระเมืองไทย ออกดอกเบ่งบานเต็มดอยในฤดูหนาว จึง เป็นที่มาของ เทศกาลชิมชา ชมดอกซากุระบาน ที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี โดยมีกจิ กรรมภายในงานทัง้ การออกร้านจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ชมุ ชน นิทรรศการ ลาน วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ 7 ชนเผ่า และการประกวดอาหารชนเผ่า เป็นต้น สถานทีจ่ ดั : หมูบ่ า้ นสันติคริ ี ตำ�บลแม่สลองนอก อำ�เภอแม่ฟา้ หลวง จังหวัดเชียงราย

เทศกาลดอกบัวตองบาน ณ ดอยหัวแม่ค�ำ

ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม บนดอยหัวแม่ค�ำ จะ เต็มไปด้วยดอกบัวตองสีเหลืองออกดอกบานล้อมรอบหมูบ่ า้ นชาวเขาและทัว่ ท้องทุง่ จึงเป็นทีม่ าของงาน เทศกาลดอกบัวตองบาน ณ ดอยหัวแม่ค�ำ ในเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ภายในงานมีการแสดงวัฒนธรรมจากชนเผ่าต่าง ๆ ให้ได้ชม สถานที่จัด : บ้านหัวแม่คำ� ตำ�บลแม่สลองใน อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

เทศกาลทานตะวันบานที่เวียงเชียงรุ้ง

ดอกทานตะวันที่เวียงเชียงรุ้งจะบานในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงกลาง เดือนมกราคม จึงมีเทศกาลทานตะวันบานที่เวียงเชียงรุ้งในช่วงเวลาดังกล่าวทุกปี สถานที่จัด : บ้านโป่ง ตำ�บลทุ่งก่อ อำ�เภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

123


การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า “ดินแดนแห่งชนเผ่า” เป็นหนึ่งในสมญานามของจังหวัดเชียงราย เนื่องจาก เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ทั้งตามที่ราบและบนดอยสูง โดยแต่ละกลุ่มชนจะมีศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไปตามแต่วถิ ดี งั้ เดิมของบรรพบุรษุ ทัง้ นี้ ศูนย์บริการข้อมูล ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย ระบุถึงชนเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดดังต่อไปนี้

124


คนเมือง ไทยวน เป็นชาติพนั ธุก์ ลุม่ ใหญ่ ของเชียงราย ผู้ชายมีรูปร่างโปร่งบาง ส่วนผู้หญิง มีรูปร่างหน้าตางดงาม ชาวไทยวนพูดคำ�เมือง มี ภาษาเขียนเป็นของตัวเองเรียกว่า อักษรธรรม อาศัยอยูเ่ รือนไม้ยกใต้ถนุ สูง ทำ�การเกษตร มีฝมี อื ทางการช่างและการหัตถกรรม ไทลื้อ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ บริเวณตอนใต้ของจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำ�โขง และ ตอนกลางของแขวงไชยะบุรี ประเทศลาว สร้าง บ้านเรือนไม้ใต้ถนุ สูงอยูต่ ดิ ริมน้�ำ มีครัวไฟบนบ้าน เลี้ยงสัตว์ที่ใต้ถุน บ้านเรือนสะอาดร่มรื่น มีสวน ครัวและแปลงดอกไม้รอบ ๆ บ้าน รวมทั้งมีชื่อ เสียงด้านการทอผ้า ไทเขิน ไทขึน หรือไทขิ่น เป็นกลุ่มชนที่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�ขิ่น รัฐฉานของ พม่า อพยพมาอาศัยบริเวณดอยแม่สลอง ไทใหญ่ เรียกตัวเองว่า ไต คนเมืองเรียก ว่า เงี้ยว ชาวพม่าเรียกว่า ฉาน เพราะมีถิ่นฐาน เดิมอยู่ในรัฐฉาน ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่ ผู้หญิงมี ผิวคล้ำ� มีภาษาเขียนของตนเอง ภาษาพูดแตก ต่างจากคนเมืองเล็กน้อย ทำ�เกษตรและค้าขาย มี ฝีมือทางหัตถกรรม ทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา และ แกะสลัก อาข่าหรืออีก้อ มีรูปร่างเล็กแต่แข็งแรง ล่ำ�สัน ผิวสีน้ำ�ตาลอ่อน หยาบกร้าน มีภาษาพูด คล้ายภาษามูเซอและลีซอ ไม่มีตัวอักษรใช้ ผู้ หญิงนิยมไว้ผมยาวแต่รวบผมไว้แล้วใส่หมวกทับ มีเครื่องประดับสวมคอ ใส่เสื้อผ้าสีดำ� ผู้ชายโกนหัวไว้ผมเปีย ชาวอาข่านิยมตั้ง บ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำ�ทะเล 1200 เมตรขึ้นไป มีอาชีพทำ�ไร่ นับถือผี มี เสาชิงช้าอยู่หน้าหมู่บ้าน ลาหู่หรือมูเซอ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน�้ำ ตาลอ่อน ชอบกินหมาก มีภาษา พูดเฉพาะแต่ไม่มีตัวอักษรใช้ แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่มตามลักษณะ การแต่งกายของผู้หญิง ส่วนผู้ชายมูเซอไม่มีเครื่องแต่งกายประจำ�เผ่า อาศัยบน ภูเขาสูง อยูบ่ า้ นยกพืน้ สูง เป็นชนเผ่าทีท่ �ำ ไร่และชำ�นาญการล่าสัตว์เป็นอย่างมาก ลีซูหรือลีซอ ยังชีพด้วยการปลูกพืชไร่และชำ�นาญการล่าสัตว์ แต่งกาย ด้วยเสือ้ ผ้าสีสนั ฉูดฉาดกว่าเผ่าอืน่ นับถือผีและบรรพชน ประเพณีส�ำ คัญคือ งาน ฉลองปีใหม่

125


ม้งหรือแม้ว รับอิทธิพลการปฏิบัติตามแบบชาวจีนเช่นเดียวกับเผ่าเมี่ยน ผู้ชายมี สถานภาพสูงกว่าผู้หญิงเสมอ ปกาเกอะญอหรือกะเหรีย่ ง ชนเผ่าทีม่ คี วามสามารถด้านการเกษตร หาของป่า ปลูก พืชระบบหมุนเวียน ปลูกบ้านอยู่ตามหุบเขาค่อนข้างถาวร ฮ้อ เป็นชนเผ่าที่นับถือผีและบรรพบุรุษ ั นธรรม มี เมีย่ นหรือเย้า รับอิทธิพลจากจีนทัง้ ภาษาพูดและเขียนรวมทัง้ ประเพณีวฒ นิสัยขยัน อดทน จึงมีความเป็นอยู่ค่อนข้างดีกว่าเผ่าอื่น ๆ ประเพณีที่โดดเด่นคือ พิธีลุยไฟ ในงานประเพณีปีใหม่ ขมุ หนึ่งในชนเผ่ากลุ่มเล็กที่สุด นับถือผีและปฏิบัติตามศาสนาผีอย่างเคร่งครัด นับ ว่าความหลากหลายทางชาติพนั ธุเ์ ป็นสีสนั อย่างหนึง่ ของการท่องเทีย่ วจังหวัดเชียงราย ซึง่ ใน ที่นี้ขอแนะนำ�ตัวอย่าง 4 เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า ดังนี้

ม้ง : บ้านร่มฟ้าไทย

ในเขตอำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายนั้นมีชนเผ่าม้งอาศัยอยู่เป็นประชากรส่วน ใหญ่ โดยเฉพาะในเขตตำ�บลปอ ได้แก่ บ้านเจดียท์ อง บ้านทรายทอง บ้านห้วยหาน และบ้าน ร่มฟ้าไทย บ้านร่มฟ้าไทยเป็นหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวชายแดนไทย-ลาว ก่อตั้ง จากราษฎรอาสาจำ�นวน 50 ครอบครัว ทหารปลดประจำ�การ 35 ครอบครัว ม้งในพื้นที่ 10 ครอบครัว และเกษตรกร 5 ครอบครัว เป็นหมู่บ้านในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ หมู่บ้านตั้งอยู่บนที่สูงลาดชันแนวตะเข็บชายแดนไทย-ลาว บนเทือกเขาแดนลาว ติดกับแม่น้ำ�โขง จึงสามารถชมวิวทิวเขาสลับซับซ้อนในเขตประเทศลาวได้ ยามเช้าจะมีทะเล หมอกทีส่ วยงาม จากหมูบ่ า้ นสามารถขึน้ ไปชมพระอาทิตย์ขนึ้ ทีภ่ ชู ฟี้ า้ จากนัน้ ต่อไปชมความ อุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เขตหนาวและเรื่องราวของบังเกอร์ประวัติศาสตร์ที่ภูชมดาวในช่วง สาย กลับลงมารับประทานอาหารม้งที่หมู่บ้าน เที่ยวชมศูนย์วัฒนธรรมม้ง บ้านม้งโบราณ การตำ�ข้าว การโม่แป้ง การทำ�ขนมตุ๊บตั๊บ การทอผ้าใยกันชง และชมเอกลักษณ์การแต่งกาย ซึ่งมีการปักผ้าแฝงอักษรม้งสื่อสารผ่านลายผ้า หากมาเที่ยวตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ� เดือน 2 ซึ่งเป็นวันประเพณีปีใหม่ม้ง จะเป็นวัน รวมญาติ มีการกินเลีย้ ง ทำ�พิธกี รรมประจำ�เผ่า และมีกจิ กรรมการละเล่น เช่น การโยนลูกช่วง การตีลูกข่าง การตีลูกขนไก่ และการแข่งขันชนวัวให้ได้สัมผัส หากมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีงานเทศกาลดอกเสี้ยวบาน มีการประกวดธิดาดอย ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนจะ เหมาะกับการเดินป่า เที่ยวถ้ำ� หากต้องการพักโฮมสเตย์ศึกษาวิถีชีวิตในหมู่บ้านสามารถ สอบถามชาวบ้านได้ สถานที่ตั้ง : บ้านร่มฟ้าไทย ตำ�บลปอ อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงราย ใช้เส้นทางเชียงราย-เชียงคำ� หมายเลขทางหลวง 1020 ก่อนถึงอำ�เภอภูซาง แยกไปทางซ้ายสู่บ้านร่มฟ้าไทย

126


127


อาข่า : บ้านสองแควพัฒนา

หมู่ บ้ า นสองแควพั ฒ นาเป็ น หมู่ บ้ า นบริ ว ารที่ อ ยู่ ใ นความปกครองของบ้ า น ห้วยขมนอก เป็นชุมชนชาวอาข่าที่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ทั้งการนับถือศาสนาและ วัฒนธรรมประเพณีซึ่งเหลือไม่กี่หมู่บ้านในตำ�บลแม่ยาว เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ ชาวบ้านได้ใช้ฐานต้นทุนทางวัฒนธรรมและสังคมของ ชุมชนในการขับเคลือ่ นและพัฒนาหมูบ่ า้ น สร้างเป็นชุมชนท่องเทีย่ วและแหล่งเรียนรูท้ าง วัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตอาข่า กิจกรรมการท่องเทีย่ วทีน่ า่ สนใจภายหมูบ่ า้ น ได้แก่ การชมศูนย์วฒ ั นธรรมอาข่า ซึ่งเป็นจุดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จัดแสดงข้าวของต่าง ๆ อันบ่งบอกถึงวิถีชีวิต พิธีกรรม ประเพณี และเรือ่ งราวความเป็นมาของชุมชน จากนัน้ สามารถไปดืม่ น้�ำ ชาโบราณ ชมการ ตีมดี และอุปกรณ์เกษตรแบบดัง้ เดิม ชมการจักสาน เรียนรูว้ ธิ ดี กั สัตว์ปา่ แบบอาข่า ชมสวน สมุนไพร ชมการแสดงวัฒนธรรม รับประทานอาหารอาข่า เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ การพึง่ พาตนเอง สัมผัสความสดชื่นของน้ำ�ตกสองแควซึ่งเป็นทั้งที่พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้การ ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้�ำ ทีช่ าวบ้านในพืน้ ทีใ่ ช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน หากต้องการพัก โฮมสเตย์สามารถสอบถามชาวบ้านได้ สถานที่ตั้ง : บ้านสองแควพัฒนา ตำ�บลแม่ยาว อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

128


ปกาเกอะญอ : บ้านรวมมิตร

ปกาเกอะญอเป็นหนึง่ ในกลุม่ ชาวกะเหรีย่ งทีม่ วี ฒ ั นธรรมประเพณีอนั เป็นเอกลักษณ์ มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานานในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีเขตชายแดนไทย-พม่า เป็น ชนเผ่าที่อยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 100-200 ปี

129


บ้านรวมมิตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ�กกฝั่งซ้ายในเขตตำ�บลแม่ยาว นอกจากชาว ปกาเกอะญอแล้วยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่ในละแวกใกล้เคียง เป็น หมู่บ้านท่องเที่ยวชุมชนปกาเกอะญอที่มีจุดเด่นคือ มีช้างนำ�เที่ยว และปัจจุบันยังถูก จัดตั้งเป็นศูนย์กลางชาวเขาในแถบอำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส�ำ คัญ ได้แก่ กิจกรรมนั่งช้าง นั่งเกวียน ชมวิถีชีวิต ชนเผ่า ทิวทัศน์ พันธุไ์ ม้ตา่ ง ๆ สามารถนัง่ ช้างไปยังน้�ำ ตกห้วยแม่ซา้ ย เดินป่า ชมร้าน จำ�หน่ายของที่ระลึกจากฝีมือชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ชมการแสดงวัฒนธรรมชนเผ่า และ พักโฮมสเตย์ในหมู่บ้าน การนัง่ ช้างจะเริม่ ตัง้ แต่เวลา 08:00-16:00 น. โดยช้าง 1 เชือกนัง่ ได้ 2 คน เส้นทางท่องเที่ยวบนหลังช้างจะพาไปยังหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งปกาเกอะญอ อาข่า ลาหู่ เย้า โดยมีหลายเส้นทางให้เลือก เส้นทางปกติคือ เส้นทางไปบ้านจะทอ ของลาหู่ ขากลับพาล่องน้ำ�กกกลับมายังแคมป์ช้าง ใช้เวลาตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมง ราคาตั้งแต่ 200-700 บาท/เชือก/2 ท่าน สถานที่ตั้ง : บ้านรวมมิตร ตำ�บลแม่ยาว อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงราย

130


การเดินทาง : รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมุ่งหน้าไปทาง อำ�เภอแม่จัน ข้ามสะพานแม่น้ำ�กกให้เลี้ยวซ้าย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1207 มีป้ายบอกทางไปน้ำ�ตกห้วยแม่ซ้าย ขับไปตามทาง เมื่อผ่าน หลักกิโลเมตรที่ 7 ให้เลี้ยวซ้ายตรงสามแยก ตรงไปบ้านทรายมูล ผ่าน บ้านริมกก สวนเขื่อนแก้วริมกก ระยะทาง 6 กิโลเมตร ทั้งนี้สามารถ ใช้บริการรถประจำ�ทาง สายเชียงราย-แม่ยาว หรือเหมารถสองแถว ละแวกตลาดสดเทศบาล หากต้องการชมธรรมชาติริมสองฝั่งกกให้ขึ้น เรือหางยาวที่เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ชมรมช้างบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรทัวร์ หรือ อบต. แม่ยาว โทร. 0 5373 7359-11 หากมาเป็นหมู่คณะต้อง แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 3 วัน

ไทยอง : บ้านสันทางหลวง

ชาวไทยองหรือชาวเมืองยอง เป็นกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน พม่ า เขตสิ บ สองปั น นาในมณฑลยู น นานของจี น ช่ ว งสมั ย รั ช กาล ที่ 1 ได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งบ้านเรือนในจังหวัดลำ�พูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ภายใต้กุศโลบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ของพระเจ้ากาวิละ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนาภายหลังการยึดครอง ของพม่า ในสมัยนั้น ผู้คนที่มาอยู่ร่วมกันในล้านนาจะเรียกคนที่มาจากอีกเมือง หนึ่งตามชื่อเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำ�ปาง คนเมืองน่าน คน เมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น เมื่อเวลาผ่านไป คำ�ว่า เมือง ได้หาย ไป คงเหลือคำ�ว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ โดยเมื่อวิเคราะห์จาก พัฒนาการประวัติศาสตร์ของเมืองยอง ชาวไทยองก็คือชาวไทลื้อนั่นเอง บ้านสันทางหลวงเป็นหมู่บ้านชาวไทยองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยวชุมชน นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการท่องเที่ยวโดยเริ่มต้นค้นหา ชาติพันธุ์ไทยองที่ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชย์ในโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม จากนั้น แวะไปนมัสการพระเจ้าห้าพระองค์ที่วัดป่ากุ๊กเพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อยังบ้าน โบราณไทยองทีบ่ า้ นสันทางหลวง ซึง่ สามารถชมการปูลกผักปลอดสารพิษ การผลิต เมล็ดพันธุผ์ กั การทำ�น้�ำ ส้มควันไม้ การทำ�ไม้กวาดทางมะพร้าว การทำ�กระบวยตัก น้�ำ จากกะลามะพร้าว การจักสานเครื่องใช้จากไม้ไผ่ การทอผ้าไทยอง การถนอม อาหารจากถั่วเน่า การทำ�น้ำ�ผัก การสืบชะตารับขวัญ และรับชมศิลปะการแสดง ไทยองได้ที่นี่ สถานที่ตั้ง : บ้านสันทางหลวง ตำ�บลจันจว้า อำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 131


อาหาร

อำ�เภอเมือง

ขัวศิลปะ อาหารแนะนำ� : อาหารไทย อาหารนานาชาติ ภายในร้านมี พืน้ ทีข่ องแกลลอรีแสดงศิลปะของศิลปินในจังหวัดเชียงราย ที่ตั้ง : อยู่ตรงข้ามแมคโคร ถัดจากวัดขัวแคร่ เบอร์โทร : 0 5316 6623, 08 8418 5431, 09 5448 9551 ภูแล อาหารแนะนำ� : อาหารพื้นเมือง อาหารไทย ที่ตั้ง : 123/1 ถนนพหลโยธิน (สายใน) อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 0500 ภูภิรมย์ อาหารแนะนำ� : จำ�หน่ายอาหารไทย อาหารนานาชาติ ที่ตั้ง : ภายในไร่บุญรอด อยู่ที่ ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 2629, 09 1576 0371 ติดดอยติดดิน อาหารแนะนำ� : อาหารอิตาเลี่ยน กาแฟ อาหารไทย ที่ตั้ง : บนถนนพหลโยธิน อยู่เลยทางเข้ามหาวิทยาลัยแม่ ฟ้าหลวง ติดทางเข้าโรงแรมภูวารี ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5391 2111 ลาบสนามกีฬา อาหารแนะนำ� : อาหารพื้นเมือง ลาบพื้นเมือง ที่ตั้ง : อยู่บนถนนหน้าสนามกีฬาจังหวัด ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 8 7173 2498 ร้านกาแฟมโนรมย์ อาหารแนะนำ� : กาแฟ เครื่องดื่ม ขนมหวาน เบเกอรี่ ที่ตั้ง : อยู่บ้านร่องเสือเต้น ซอย 5 ต.บ้านดู่ อ.เมือง เชียงราย เบอร์โทร : 09 2373 7666

132


ห้องอาหารทับทิมหลวง อาหารแนะนำ� : อาหารไทย โดยเฉพาะเมนูอาหารปลา ทีต่ งั้ : อยูบ่ นถนนเจ้าฟ้า ใกล้สนาม ร.ด. ติดกับสนามเด็กเล่น ดอยทอง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 1950 3017, 0 5360 1755 ร้านกาแฟ Cimelio (ซิเมลิโอ้) อาหารแนะนำ� : กาแฟ เครื่องดื่ม ขนมหวาน เบเกอรี่ ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกทางไปบ้านป่างิ้ว อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 2383 5899, 08 7716 7703 Tomato Japanese Restaurant อาหารแนะนำ� : อาหารญี่ปุ่น บุฟเฟ่ต์สุกี้ ชาบู ที่ตั้ง : ถนนพหลโยธิน ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำ�กก ร้านอยู่ด้านขวา ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 9028 ข้าวซอยพอใจ อาหารแนะนำ� : ข้าวซอย ที่ตั้ง : ถนนเจ็ดยอด ด้านข้างโรงแรมวังคำ� ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร :บ้านกลางเวียง อาหารแนะนำ� : สเต็ก เค้ก เบเกอรี่ ที่ตั้ง : อยู่ฝั่งเดียวกันกับโรงเรียนดำ�รงราษฎร์สงเคราะห์ ตรงแยกวัดกลางเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5374 4389 Le Petit Cafe อาหารแนะนำ� : เค้ก เบเกอรี่ เครื่องดื่ม ไวน์บาร์ ที่ตั้ง : ถนนสันโค้งน้อย ซอย 1 อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5375 6761 กาแฟวาวี อาหารแนะนำ� :กาแฟ เบเกอรี่ ที่ตั้ง : บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย ถนนสิงหไคล

133


ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : จ.เจริญชัย อาหารแนะนำ� : มะเขือเสวย, พะโล้รวมไส้ ที่ตั้ง : ถนนสนามบิน ตรงข้ามกับโรงแรมกรุงทอง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 2731 ชีวิตธรรมดา อาหารแนะนำ� : ชากาแฟ เบเกอรี่ ที่ตั้ง : ถนน พหลโยธิน ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5316 6967 น้ำ�เงี้ยวป้าสุข สันโค้งน้อย อาหารแนะนำ� : ขนมจีนน้ำ�เงี้ยว ข้าวเงี้ยว ที่ตั้ง : ถนนสันคอกช้าง ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5375 2471, 08 9794 4584 ร้านอิ่มอร่อยกุ้งเผา อาหารแนะนำ� :กุ้งเผา อาหารซีฟู้ด ที่ตั้ง : ทางเข้าสนามบินเชียงราย อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : สลุงคำ� อาหารแนะนำ� : เห็ดหอมอบซอส, ไส้อั่ว, วุ้นเส้นผัดไข่เค็ม, อาหารพื้นเมือง ที่ตั้ง : 834/3 ถนนพหลโยธิน อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 7192, 0 5360 2155 โลโม่ คาเฟ่ อาหารแนะนำ� : กาแฟ เค้ก เบเกอรี่ ที่ตั้ง : ถนนพหลโยธิน ปากทางสนามบินแม่ฟ้าหลวง ขาออก ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 6673 4718

134

ลาบไก่-ลาบปลาลุงอี๊ด (ห้าแยกพ่อขุน) อาหารแนะนำ� : อาหารพื้นเมือง ลาบไก่ ลาบปลา


ที่ตั้ง : ห้าแยกพ่อขุน อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 6920 8664

อำ�เภอแม่จัน

ร้านพาราโบล่า อาหารแนะนำ� : อาหารจานเดียว เค้ก เบเกอรี่ กาแฟ ที่ตั้ง : ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงราย-แม่สาย) ต.แม่จัน อ.แม่จัน All About Sweet อาหารแนะนำ� : อาหารอิตาเลี่ยน, สปาเกตตี้ปลาสลิด, แกงเขียวหวานโรตี ที่ตั้ง : 209 หมู่ 11 ถนนพหลโยธิน บ้านปงอ้อ อ.แม่จัน เบอร์โทร : 08 3179 5352 เดอะราษี อาหารแนะนำ� : อาหารอิตาเลี่ยน, สลัด, สเต็ก ที่ตั้ง : 289 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5377 2100, 08 8418 6954 สวัสดีเชียงราย อาหารแนะนำ� : สเต็ก สลัด อาหารอิตาเลี่ยน เค้ก ที่ตั้ง : ถนนพหลโยธิน (ทางไปแม่สาย) อ.แม่จัน เบอร์โทร : 08 1973 7749 อ.เชียงของ (1) ไร่แสงอรุณ ไร่แสงอรุณรีสอร์ท อาหารแนะนำ� : ปลาทอดกะเทียม น้ำ�พริกอ่อง ที่ตั้ง : 2 หมู่ 3 บ้านผากุบ (บ้านผากุบ เชียงของ) ต.ริมโขง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 4066 3824, 08 1900 4300

อำ�เภอเชียงแสน

เกี๊ยวเซี่ยงไฮ้ อาหารแนะนำ� : เกีย๊ วเซีย่ งไฮ้, เสีย่ วหลงเปา, ปลาบูน่ งึ่ เต้าซี่ ที่ตั้ง : 42 ถนนริมโขง ต.เวียง อ.เชียงแสน

135


เบอร์โทร : 0 5365 0983 ร้านริมโขงยามเย็น อาหารแนะนำ� : ปลาช่อนกระบอก, ปลานิลเผาเกลือ ที่ตั้ง : บริเวณหน้าที่ว่าการอำ�เภอ ตลอดแนวริมฝั่งโขง เบอร์โทร : ร้านมองดูน�้ำ อาหารแนะนำ� : กาแฟ เบเกอรี่ กรีนทีมูสเค้ก ที่ตั้ง : เบอร์โทร : ร้านเย็นซุ้ย อาหารแนะนำ� : อาหารตามสั่ง อาหารพื้นเมือง ที่ตั้ง : ถนนหนองมูด ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 08 1030 2970 เฮือนสะบายดี อาหารแนะนำ� : อาหารเวียตนาม ที่ตั้ง : ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 08 1026 7067, 08 9435 5930 บ้านไม้ในสวน อาหารแนะนำ� : ลาบปลาทอด ไข่เยี่ยวม้ากะเพรากรอบ ต้มยำ�ปลาบึก ที่ตั้ง : ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 08 1530 0708 สถานีโขงวิว (Khongview Station) อาหารแนะนำ� : ปลากระพงทอดน้ำ�ปลา กาแฟ เครื่องดื่ม ซูชิ ที่ ตั้ ง : 1290 (ห่ า งจากที่ ทำ � การอ.เชี ย งแสนมาทาง สามเหลี่ยมทองคำ� 1 กม.) ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 08 1881 7301

อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง

136

สวีทแม่สลอง อาหารแนะนำ� : เครื่องดื่ม เค้ก เบเกอรี่ ที่ตั้ง : 41/3 หมู่ 1 ตรงข้ามที่พักบ้านหอมหมื่นลี้ ต.แม่สล องนอก อ.แม่ฟ้าหลวง


เบอร์โทร : 08 1855 4000, 08 3096 7777 อิ่มโภชนา เจ้าเก่า อาหารแนะนำ� : อาหารจีนยูนนาน ไก่ดำ�ผัดเครื่องเทศ ไก่ดำ�ตุ๋นตังกุย เห็ดหอมซีอี๊ว ที่ตั้ง : ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง เบอร์โทร : 08 9637 5290, 0 5376 5297, 08 0500 0910

อำ�เภอแม่สรวย

สวนจริณ แม่สรวย เชียงราย อาหารแนะนำ� : เบเกอรี่ เค้ก กาแฟ อาหารฟิวชั่น ที่ตั้ง : 118 ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ด้านหน้าสวนจริณ รีสอร์ท อ.แม่สรวย เบอร์โทร : 0 5391 8628, 08 9370 4885, 0 5371 7272

อำ�เภอแม่สาย

จันกะผัก อาหารแนะนำ� : บุฟเฟ่ต์สลัด ไอศกรีม ขนมปัง แหนมเนืองผักออร์กานิค ที่ตั้ง : ถนน พหลโยธิน ร้านอยู่ก่อนถึงตัวอำ�เภอ ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5373 3734 หยิงปิงยูนนาน อาหารแนะนำ� : ปลาฟุหยง (ปลากระพงนึ่งกับไข่ขาว) ผัดหน่อไม้น้ำ� มาฟูโตฟู (เต้าหู้ทรงเครื่องรสเผ็ด) เขาหยก (หมูสามชั้นพะโล้) ที่ตั้ง : 95 หมู่ 6 อ.แม่สาย (อยู่ซอยตรงข้าม อำ�เภอ แม่สาย) เบอร์โทร : 08 1681 1771, 08 9755 7790 ร้านหนมเค้ก อาหารแนะนำ� : ขนมเค้ก ผัดมักกะโรนีกุ้ง สปาเก็ตตี้ ชา กาแฟ ไอศกรีม ที่ตั้ง : ป่าเหมือดซอย1 ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย เบอร์โทร : 08 5036 0307

137


อำ�เภอเวียงป่าเป้า

Full House Coffee&Resort อาหารแนะนำ� : แกงป่าปลาคัง, ปลาคังผัดฉ่ากระทะร้อน, ยำ�กุ้งฟู ที่ตั้ง : ถนนทางหลวงชนบท ซอยรพช.ป่างิ้ว (เข้าซอยข้าง โรงเรียนป่างิ้ว) ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 08 0502 4506, 08 0502 4508 ก๋วยเตี๋ยวอดทน ลุงศรีเวียงกาหลง อาหารแนะนำ� : ก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอย ข้าวมันไก่ ส้มตำ� ที่ตั้ง : 118 ถนนเชียงใหม่-เชียงราย บ ริเวณจุดชมวิวอ.เวียงป่าเป้า ต.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : sweet memory valley อาหารแนะนำ� : เค้ก สเต็ก ชาไข่มุก ที่ตั้ง : 118 กิโลเมตรที่ 85 ถ.เชียงใหม่-เชียงราย ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 08 2390 9394 เค้กคุณหมอ อาหารแนะนำ� : เค้ก เบเกอรี่ ที่ตั้ง : 118 (ถนนสายเชียงราย เชียงใหม่ ใกล้ก๋วยเตี๋ยว อดทน) ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : -

138


โรงแรมเวียงอินทร์ ที่ตั้ง: 893 ถนนพหลโยธิน อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 1533 ลิตเติ้ลดั๊กโฮเต็ล ที่ตั้ง: 199 ถนนพหลโยธิน ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 5620

ที่พัก

อำ�เภอเมืองเชียงราย

โรงแรมวังคำ� ที่ตั้ง: 869/90 ถนนพิมาวิพัท อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 1800, 0 5371 3841-8, เอ็ม เรสซิเดนท์ แอนด์ โฮเทล ที่ตั้ง: 181/18 หมู่ 13 ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 1111 ลาลูน่า โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท ที่ตั้ง: 160 ถนนสนามบิน อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : .0 5375 6442 เลเจนด์ เชียงราย บูติค ริเวอร์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 124/15 ถนนเกาะลอย อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5391 0400 โรงแรมเอส.บี.เชียงราย ที่ตั้ง: 225 หมู่ 4 ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 9422-5 ดุสิต ไอซ์แลนด์ รีสอร์ท เชียงราย ที่ตั้ง: 1129 ถนนไกรสรสิทธิ์ ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 7999 แอท เชียงราย รีสอร์ท ที่ตั้ง: 138/11 หมู่ 1 ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5315 1061 , 08 6756 3163

139


ม่อนฟ้าใส โฮม รีสอร์ท ที่ตั้ง: 114 หมู่ 8 ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5377 6129 อัมรินทร์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 179/1 หมู่ 20 ถนนกกโท้ง ต.รอบเมือง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5374 8785-6 โรงแรม อินคำ� ทีต่ งั้ : 176/2 ถนนราษฎร์บ�ำ รุง ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 7850 ภูแล อินน์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 238 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5315 1635-6 , 08 1883 8684 , 08 5106 8099 วนาศรม รีสอร์ท ที่ตั้ง: 333 หมู่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 3600 โรงแรม ลาวีออง โรส ที่ ตั้ ง : 92/9 ถนนราชโยธา ต.เวี ย ง อ.เมื อ งเชี ย งราย จ.เชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 1331 ริมกกรีสอร์ท ที่ตั้ง: 6 หมู่ 4 ถนนเชียงราย-ท่าตอน ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 6445-48 โรงแรม เดอะ ปาล์ม การ์เด้น ที่ตั้ง: 375/1 หมู่ 19 ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5374 2252

140

ภูฟ้า วารี เชียงราย เรสซิเดนซ์ ที่ตั้ง: 888 หมู่ 1 ถนนพหลโยธิน ต.ท่าสุด อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5391 2333 , 08 5724 8844


โกลเด้นท์ ไพน์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 291 หมู่ 4 บ้านม่วงคำ� ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5370 6270-9 ทีค การ์เด้นท์ สปา รีสอร์ท ที่ตั้ง: 299 ถนนเชียงรายอินเตอร์เนชั่นเเนล แอร์พอร์ต ต.บันดู อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5379 3333 ดิ อิมพิเรียล ริเวอร์ เฮ้าส์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 482 หมู่ 4 ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5375 0830-34 โพธิ์วดล รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 183 หมู่ 3 ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5371 8600 ลักษวรรณ รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 499 หมู่ 4 ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5375 0855-6 , 08 5029 9444 บ้านเคียงดาว ภูปลายฟ้า ที่ตั้ง: 389 บ้านสวนดอก ต.แม่กรณ์ อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 1831 8864 , 08 7814 3881 เลอ เมอริเดียน เชียงราย รีสอร์ท ที่ตั้ง: 221/2 หมู่ 20 ถนนแควหวาย ต.รอบเวียง อ.เมือง เชียงราย เบอร์โทร : 053 603 333 นิ่มซี่เส็ง เชียงราย ที่ตั้ง: 930/14 ถนนพหลโยธิน ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5360 0421-2

อำ�เภอเชียงของ

เชียงของ ทีค การ์เด้น ที่ตั้ง: 666 หมู่ 8 ต.เวียง อ.เชียงของ เบอร์โทร: 0 5379 2008-9

141


ภูน้ำ�ใสรีสอร์ท ที่ตั้ง: 256 อ่างเก็บน้�ำ บ้านเนินสมบูรณ์ ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 9954 9109 ,08 9557 6080 สวัสดีโฮมสเตย์ ที่ตั้ง: 526 หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 8454 5454, 08 6089 2369 บ้านฝ้ายเกสท์เฮ้าส์ ที่ตั้ง: 108 หมู่ที่ 8 ถ.สายกลาง ต.เวียง อ.เชียงของ 51740 เบรอ์โทร : 053 791 394 , 086 192 9207 เชียงของโฮเต็ล ที่ตั้ง: 68/1 ต.เวียง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 0 5379 1182 , 0 5379 1242 , 08 1783 3122 โรงแรมเชียงของ พาเลซ ที่ตั้ง: 555 หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 0 5365 5647-9, 08 6913 6216 ไร่แสงอรุณ ที่ตั้ง: 2 หมู่ 3 บ้านผากุบ ต.ริมโขง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 7690 7610

อำ�เภอเชียงแสน

สยามไทรแองเกิ้ล ที่ตั้ง: 267 หมู่ 9 ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5365 1115-17 เกรทเธอร์ แม่โขง ลอด์จ ที่ตั้ง: หมู่ 1 บ้านสบรวก ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5378 4450 -2

142


โรงแรม ซีรีน แอท เชียงราย ที่ตั้ง: 569 หมู่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5378 4500 โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล พาราไดซ์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 235 หมู่ 1 ถนนเชียงแสน-แม่สาย อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5365 2111-5 อิมพีเรียล โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล รีสอร์ท ที่ตั้ง: 222 โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5378 4001-5, 09 0520 0688

อำ�เภอเทิง

รีสอร์ท ภูฟ้าสวรรค์ ที่ตั้ง: 2/2 หมู่ 19 หมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง(เลาเจอ) ต.ตับเต่า อ.เทิง เบอร์โทร : 08 9895 3094, 08 1845 8649, 08 1485 9350 พลอยชมพู รีสอร์ท ที่ตั้ง: 207/1 หมู่ 2 ต.งิ้ว อ.เทิง เบอร์โทร : 08 6116 4400 ไร่ร่มโพธิ์ทอง รีสอร์ท ที่ตั้ง: 56 หมู่ที่ 19 ต.ตับเต่า อ.เทิง เบอร์โทร : 08 7189 1099 , 08 1998 8009 บ้านอรพันธ์ ที่ตั้ง: 133/1-2 บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ ต.เวียง อ.เทิง เบอร์โทร : 09 7928 9448 , 08 6195 7165 , 0 5379 6955 ลักษณ์บริการภูชี้ฟ้า ที่ตั้ง: 5 บ้านร่มฟ้าไทย ต.ตับเต่า อ.เทิง เบอร์โทร : 08 5723 9139, 08 9759 1691, 08 1673 1216

143


เฮือนดอกเสี้ยว ที่ตั้ง: ภูชี้ฟ้า ต.ตับเต่า อ.เทิง เบอร์โทร : 08 9851 8447, 08 9852 5144 กู้ดวิว รีสอร์ท ที่ตั้ง: 33 ม.1 บ้านปี้ ต.หงาว อ. เทิง เบอร์โทร : 0 5369 6459 , 08 8417 9893

อำ�เภอพาน

คุ้มไทลื้อ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 251 หมู่ 1 ติดถนนพหลโยธินสายหลัก ต.ม่วงคำ� อ.พาน เบอร์โทร : 08 6979 6727 โรงแรม เชียงรุ่ง ที่ตั้ง: 1265 ถ.พหลโยธิน อ.พาน เบอร์โทร : 0 5372 2322

อำ�เภอแม่จัน

ปุณยมันตรา รีสอร์ท ที่ตั้ง: 316 หมู่ 7 ถนนพระตำ�หนัก ดอยตุง (กม.2) ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5376 3111 คาทิลิยา เมาน์เทน รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 388/1 หมู่ 4 ต.ป่าซาง อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5360 3000 แม่สลอง วิลล่า ที่ตั้ง: 52 อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5376 5114-9, 08 1883 4875 เชียงรายวัลเล่ย์รีสอร์ท แอด ดอยห่มฟ้า ที่ตั้ง: 23 หมู่ 9 บ้านป่าเมี้ยง ต.ป่าตึง อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5391 8440

144


อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง

ดอยตุง ลอดจ์ ทีต่ งั้ : โครงการพัฒนาดอยตุงแม่ฟา้ หลวง อ.แม่ฟา้ หลวง เบอร์โทร : 0 5376 7015-7

อำ�เภอแม่ลาว

จินดารีสอร์ท ที่ตั้ง: 189 หมู่ 7 เทศบาล ต.ป่าก่อดำ� อ.แม่ลาว (หลัก กม.ที่ 809-810) เบอร์โทร : 0 5366 6375, 08 4949 2296 ภูชมดาว รีสอร์ท ที่ตั้ง: 346 ม.5 ต.โป่งแพร่ อ.แม่ลาว เบอร์โทร : 0 5318 4700, 08 9968 4928

อำ�เภอแม่สรวย

สวนทิพย์วนา รีสอร์ท ที่ตั้ง: 49 ถนนเชียงใหม่-เชียงราย ต.ท่ากก อ.แม่สรวย เบอร์โทร : 0 5372 4228 ม่อนไม้หอม รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 125 หมู่ 22 ถนนเชียงใหม่-เชียงราย ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย เบอร์โทร : 0 5395 0089 , 08 1843 7901 บาลโคนี ฮิลล์ รีสอร์ท ที่ตั้ง: 193 ถนนแม่สรวย-ฝาง ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย เบอร์โทร : 0 5378 6481-2

อำ�เภอแม่สาย

โรงแรม เแม่โขง เดลต้า บูติค โฮเทล เชียงราย ที่ตั้ง: 230/5-6 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5364 2517-9, 08 6307 3098

145


บ้านกองคำ� ที่ตั้ง: 221/1 หมู่ 7 ชุมชนเกาะทราย ต.แม่สาย อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5373 4388 ดูดอยสวย รีสอร์ท ที่ตั้ง: 399 หมู่ 12 ถนนพหลโยธิน ต.โป่งงาม อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5370 9800 ศิลามณี รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่ตั้ง: 251 หมู่ 2 ต.ศรีเมืองชุม อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5366 8301 , 08 3614 1980 บ้านดิน ลากูน่า รีสอร์ท ที่ตั้ง: 333 หมู่ 5 ถนนแม่สาย-เชียงแสน ต.ศรีเมืองชุม อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5366 8100 คุ้มเจ้ารีสอร์ท ที่ตั้ง: 20 หมู่ 11 ซอยน้ำ�จำ� 5 ต.โป่งผา อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5364 6644

อำ�เภอเวียงแก่น

ร่มฟ้าสยามฮิลล์ (ดอยผาหม่น/ภูผาหม่น) ที่ตั้ง: 33 หมู่ 15 บ้านร่มฟ้าผาหม่น (ถนนภูชี้ฟ้า-ผาตั้ง) ต.ปอ อ.เวียงแก่น เบอร์โทร : 08 9851 8743

อำ�เภอเวียงชัย

บ้านสวนปิรามิด ที่ตั้ง: 250 ม.6 ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 1289 9207, 08 9953 3169 เฮือนลุงนึก ที่ตั้ง: 143 หมู่18 บ้านด้ายท่าล้อ ต.เวียงชัย อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 6527 1401

146


บ้านพักกรีนเฮาส์ ที่ตั้ง: 394 หมู่11 บ้านเหล่าเจริญราษฎร์ ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง เบอร์โทร : 09 0760 8139, 08 3153 4745, 08 2904 8451

อำ�เภอเวียงป่าเป้า

ภูฟ้า ธารา รีสอร์ท ที่ตั้ง: 112/1 หมู่ 6 ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 0 5367 9055 , 0 5367 9054 , 08 1318 2334

147


ช็อปปิ้ง

แหล่งชอปปิ้ง

ตลาดแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ถนนพหลโยธิน อ.แม่สาย ตลาดไนท์บาซาร์เชียงราย ถนนพหลโยธิน อ.เมือง ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย 99/3 หมู่ 13 ถนน ช้างคลาน ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย โทร 0 5202 0999 กาดเจียงฮายรำ�ลึก หรือ ถนนคนเดินเชียงราย ถนนธนาลัย ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย

ของฝาก อำ�เภอเมืองเชียงราย

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด บ้านผลไม้ สถานที่ตั้ง: 232/75 หมู่ 8 ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 08 1672 1513 , 08 1885 3459 สินค้าแนะนำ� : ผลไม้รวมอบแห้ง, ผักและผลไม้อบแห้ง กลุ่มศูนย์ปั้นแต่ง สถานที่ตั้ง: 766/4 หมู่ 99 ถนนหนองบัว ต.เวียง อ.เมือง เชียงราย เบอร์โทร : 08 9999 9957 สินค้าแนะนำ� : ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร หมู่5 สถานที่ตั้ง: 336 หมู่ 5 บ้านป่ายางมนใหม่ ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5374 2663 สินค้าแนะนำ� : กล้วยฉาบอบเนย สวนเห็ดรัตนะ สถานที่ตั้ง: 244 หนองหม้อ หมู่ 9 เด่นห้า-ดงมะดะ ต.ป่า อ้อดอนชัย อ.เมืองเชียงราย เบอร์โทร : 0 5372 6698, 08 1603 6314 สินค้าแนะนำ� : เห็ดหอมแปรรูป น้�ำ พริกนรกเห็ดหอม ข้าว เกรียบเห็ดหอม น้ำ�พริกเผาเห็ดหอม

148


อำ�เภอเชียงแสน

หยกงามจิวเวอร์รี่ สถานที่ตั้ง: 212 หมู่ 1 พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น ถนนแม่สาย-เชียงแสน ต.เวียง อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5378 4065 สินค้าแนะนำ� : หยกแกะสลักเป็นพระพุทธรูปบูชา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอยจำ�ปี (สมุนไพรสามรส) สถานที่ตั้ง: 270 หมู่ 7 ต.ป่าสัก อ.เชียงแสน เบอร์โทร : 0 5395 5658 , 08 9557 2360 สินค้าแนะนำ� : เครื่องดื่มสมุนไพรสามรส ชาหม่อนดอยจำ�ปี

อำ�เภอขุนตาล

กลุ่มสตรีทอผ้ายางฮอมรักษ์ฝ้ายไทย สถานที่ตั้ง: 237 หมู่ 12 บ้านยางฮอมใหม่ ซอย3 ถนนเทิง - เชียงของ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล เบอร์โทร : 08 5272 7652 สินค้าแนะนำ� : ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อผ้า กระโปรง กลุ่มเชียงรายอโลเวร่า สถานที่ตั้ง: 263 หมู่ 15 บ้านห้วยสัก ถนนเทิง-เชียงของ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล เบอร์โทร : 0 5360 6499, 08 9838 3699 สินค้าแนะนำ� : ใยบวบขัดผิว สบู่ใยบัว วิสาหกิจชุมชนไม้กวาด ตราแสงจันทร์ สถานที่ตั้ง: 263 บ้านห้วยสัก หมู่ 15 ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล เบอร์โทร : 0 5360 6499, 08 9838 3699 สินค้าแนะนำ� : ผลิตภัณฑ์ไม้กวาด

อำ�เภอเชียงของ

กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านหาดบ้าย สถานที่ตั้ง: 84/1 หมู่ 1 ต.ริมโขง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 9555 7644 สินค้าแนะนำ� : ผ้าพื้นเมือง ผ้าปัก ผ้าซิ่น

149


กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหาดไคร้ สถานที่ตั้ง: 209/1 หมู่ 7 ต.เวียง อ.เชียงของ เบอร์โทร : 08 3704 5658 สินค้าแนะนำ� : ผลิตภัณฑ์ไกแปรรูป สาหร่ายน้ำ�จืดทรง เครือ่ ง(ไก) น้�ำ พริกสาหร่ายน้�ำ จืดแปรรูป สาหร่ายน้�ำ จืดป่น

อำ�เภอแม่จัน

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่าบงหลวง (แคบหมูบัวตอง) สถานทีต่ งั้ : 144 ป่าบงหลวง หมู่ 3 ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จนั เบอร์โทร : 08 9951 6271, 08 6420 2084 สินค้าแนะนำ� : ไส้อั่วบัวตอง แคบหมู วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ สถานที่ตั้ง: 112 กิ่วพร้าว หมู่ 4 ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน เบอร์โทร : 08 7179 2617 สินค้าแนะนำ� : แหนมหมูวันเพ็ญ กลุ่มผ้าปักด้วยมือบ้านสันกอง สถานที่ตั้ง: 109 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน บ้านสันกอง ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5366 7719, 08 1568 9385 สินค้าแนะนำ� : ผ้าปักลายอาข่า กระเป๋าใส่แว่นตา ชุดผ้า ปูโต๊ะ กระเป๋า บริษัทดอยคำ�ผลิตภัณฑ์อาหาร จำ�กัด สถานที่ตั้ง: 117 หมู่ที่ 6 ต.ป่าซาง อ.แม่จัน เบอร์โทร : 0 5377 1064, 08 9637 5505 สินค้าแนะนำ� : น้ำ�บ๊วยเข้มข้น

อำ�เภอพาน

กลุ่มตีมีดบ้านสักใต้ สถานทีต่ งั้ : 143 หมู่ 6 บ้านป่าสักใต้ ต.ทานตะวัน อ.พาน เบอร์โทร : 08 7198 7231, 08 9757 5855 สินค้าแนะนำ� : มีดเครื่องมือทำ�การเกษตร มีดประกอบ อาหาร

150

กลุ่มพัฒนาสตรีเย็บผ้า ปักผ้าพื้นเมือง สถานที่ตั้ง: 224 หมู่ 5 บ้านห้วยทรายขาว


ต.ทรายขาว อ.พาน เบอร์โทร : 08 1594 6466 สินค้าแนะนำ� : กระเป๋าเครื่องสำ�อาง เสื้อผ้าปัก ซองใส่ โทรศัพท์ รองเท้าผ้าปัก ปลอกหมอน กระเป๋าคาดเอว กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำ�บลสันติสุข สถานที่ตั้ง: 153 หมู่ 5 ซอย 2 ต.สันติสุข อ.พาน เบอร์โทร : 0 5365 9442, 08 6193 7707 สินค้าแนะนำ� : ลำ�ไยกวน ลำ�ไยอบแห้ง ลำ�ไยสีทอง ลำ�ไย แห้ง ขิงกวน

อำ�เภอแม่ฟ้าหลวง

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สถานที่ตั้ง: หมู่ 7 ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง เบอร์โทร : 0 5376 7016 สินค้าแนะนำ� : ผ้าคลุมเตียง กลุ่มสวนชาดอยตุง สถานที่ตั้ง: 176/2 ห้วยน้ำ�ขุ่น หมู่ 17 ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง เบอร์โทร : 0 5376 3349, 08 6911 2589 สินค้าแนะนำ� : ชา, ชาหอมหมืน่ ลี,้ ชาเขียวอูหลงเบอร์ 12 สำ�นักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรง งาน)อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สถานที่ตั้ง: 920 หมู่ 7 ต.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ฟ้าหลวง เบอร์โทร : 0 5376 7016 สินค้าแนะนำ� : ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อผ้า คุ๊กกี้แมค คาเดเมียนัท กาแฟดอยตุง

อำ�เภอแม่ลาว

กลุ่มเย็บผ้าห่มบ้านร่องศาลา สถานที่ตั้ง: 204 ร่องศาลา หมู่ 3 ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว เบอร์โทร : 08 1472 8694 สินค้าแนะนำ� : ผ้าห่มนวม

151


อำ�เภอแม่สรวย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ผลิตและแปรรูปกาแฟดอยช้าง” สถานที่ตั้ง: 51 ดอยช้าง หมู่ 3 ต.วาวี อ.แม่สรวย เบอร์โทร : 08 9838 1022 สินค้าแนะนำ� : กาแฟคั่วแปรรูป กาแฟสด

อำ�เภอแม่สาย

กลุ่มแกะสลักหินสวยงาม สถานทีต่ งั้ : 70 หมู่ 8 บ้านป่าเหมือด ต.เวียงพางคำ� อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5364 7013 , 08 9632 5548 สินค้าแนะนำ� : หินแกะสลัก พระพุทธรูปหินแกะสลัก พรรษชลไหมไทย สถานที่ ตั้ ง : 3/1-3 หมู่ 10 ถนนเหมื อ งแดง ต.แม่ ส าย อ.แม่สาย เบอร์โทร : 0 5373 1735, 08 1530 2956 สินค้าแนะนำ� : กล่องผ้าไหม สมุดผ้าไหม กล่องเอนกประสงค์

อำ�เภอเวียงชัย

กลุ่มพัฒนาเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สถานที่ตั้ง: 198 ดอยมูล หมู่ 10 ถนนเวียงชัย-หนองหลวง ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 1960 3360 สินค้าแนะนำ� : น้ำ�ผึ้งเกษรดอกลำ�ไย น้ำ�ผึ้งเดือนห้า มลภัสร์ฝ้ายคำ� สถานที่ตั้ง: 13 หมู่ 11 บ้านใหม่เมืองชุม ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 1961 6690 สินค้าแนะนำ� : กระเป๋าผ้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ บ้านสมานมิตร สถานที่ตั้ง: 182 ม.1 ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 1595 2882 , 08 6338 3550 สินค้าแนะนำ� : ข้าวกล้องสามกษัตริย์อินทรีย์ ตราไร่ทินกร

152


วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ทำ�มือบ้านจงเจริญ สถานที่ ตั้ ง : 3 บ้ า นจงเจริ ญ หมู่ 12 ต.ดอนศิ ล า อ.เวียงชัย เบอร์โทร : 08 6198 1698 สินค้าแนะนำ� : ตุ๊กตาไหมพรม พวงกุญแจ

อำ�เภอเวียงป่าเป้า

กลุ่มงานไม้ไผ่ สถานที่ตั้ง: 160 โป่งป่าตอง หมู่ 14 ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 08 9881 0119 สินค้าแนะนำ� : ผลิตภัณฑ์งานไม้ไผ่แปรรูป กลุ่มเครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง สถานที่ตั้ง: 97 ทุ่งม่าน หมู่ 3 4 ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 0 5370 4349, 08 9838 5874 สินค้าแนะนำ� : เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง กลุ่มทอผ้าบ้านโป่งเทวี สถานที่ ตั้ ง : 124 โป่ ง เทวี หมู่ 5 ต.บ้ า นโป่ ง อ.เวียงป่าเป้า เบอร์โทร : 0 5378 1883 สินค้าแนะนำ� : ผ้ายกดอกสี่ตะกรอ ผ้าทอลายขิตผสม ลายน้ำ�ไหล ผ้าทอพื้นเมืองลายน้ำ�ไหล

153


เที่ยวเชียงรายอย่างวางใจ บริการรถพยาบาล สายด่วนตำ�รวจ ศูนย์ดับเพลิงเชียงราย ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ สำ�นักงาน ททท. ภาคใต้ เขต 2 ด่านตรวจคนเข้าเมือง เชียงของ เชียงแสน แม่สาย

สำ�นักงานการท่องเที่ยว

สถานีตำ�รวจทางหลวง บริการข้อมูลข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำ�นักงานข่าวสารการท่องเที่ยว สถานีตำ�รวจท่องเที่ยว ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

สถานีตำ�รวจ

สถานีตำ�รวจภูธรบุญเรือง สถานีตำ�รวจภูธรเชียงของ สถานีตำ�รวจภูธรเชียงแสน สถานีตำ�รวจภูธรดอยหลวง สถานีตำ�รวจภูธรขุนตาล สถานีตำ�รวจภูธรเกาะช้าง สถานีตำ�รวจภูธรแม่อ้อ สถานีตำ�รวจภูธรแม่จัน สถานีตำ�รวจภูธรแม่เจดีย์ สถานีตำ�รวจภูธรแม่ฟ้าหลวง สถานีตำ�รวจภูธรแม่ลาว สถานีตำ�รวจภูธรแม่สาย สถานีตำ�รวจภูธรแม่สรวย สถานีตำ�รวจภูธรแม่ยาว สถานีตำ�รวจภูธรเมืองเชียงราย

154

1669 191 199 1192 0 5374 467 0 5379 1663 0 5374 0249 0 5373 1008 0 5374 2441 1672 0 5371 7433 0 5371 7779 1155 0 5378 3445 0 5379 1426 0 5377 7111 0 5379 0090 0 5370 8016 0 5367 5694 0 5367 1600 0 5377 1444 0 5378 9508 0 5376 7109 0 5377 8191 0 5373 1444 0 5378 6004 0 5373 7191 0 5371 1444


สถานีตำ�รวจภูธรป่าแดด สถานีตำ�รวจภูธรพาน สถานีตำ�รวจภูธรพญาเม็งราย สถานีตำ�รวจภูธรเทิง สถานีตำ�รวจภูธรเวียงชัย สถานีตำ�รวจภูธรเวียงเชียงรุ้ง สถานีตำ�รวจภูธรเวียงแก่น สถานีตำ�รวจภูธรเวียงป่าเป้า

โรงพยาบาล

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ ศรีบุรินทร์ โรงพยาบาลขุนตาล โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลแม่ลาว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลแม่สรวย โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค โรงพยาบาลป่าแดด โรงพยาบาลอำ�เภอพญาเม็งราย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง โรงพยาบาลเวียงแก่น โรงพยาบาลเวียงป่าเป้า

0 5376 1012 0 5372 1515 0 5379 9113 0 5379 5406 0 5376 9236 0 5395 3155 0 5360 8081 0 5378 1466 0 5391 0600 0 5377 7317 0 5371 7649 0 5391 0999 0 5360 6221 0 5391 7563 0 5360 3100 0 5379 1206 0 5360 3123 0 5373 1300 0 5378 6017 0 5371 1366 0 5365 4479 0 5379 9033 0 5395 3137 0 5360 3140 0 5378 1342

ข้อมูลการเดินทาง

รถโดยสารประจำ�ทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงราย สยามเฟิสท์ทัวร์ บริษัท ขนส่ง จำ�กัด (บขส.)

ข้อมูลสนามบิน

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

0 5371 1369 0 5371 1882 1490 0 5379 8000

155


ที่มา : เรียบเรียงข้อมูลจาก 1. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงราย : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำ�นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ 2. สุดฟ้าล้านนาตะวันออก : สำ�นักงานวัฒนธรรมเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน 3. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล

156

ผลิตโดย หสน. มหานทีแมกกาซีน โทร. 053 - 223522


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.