July 2010
02-03
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
thin g
Som e
na Say
Wa n
การดูหนังมันต้องอาศัยประสบการณ์
...
เหมือนดูโขนถ้าเราไม่มีประสบการณ์ ก็นั่งหลับ ทำ�ไมยืดยาด ชักช้า เมื่อสั่งสมความเจนจัดเราถึง จะเข้าใจ ตีความออก อ่านหนังสือ ก็เหมือนกัน บางเล่มก็สลับซับซ้อน มันก็ต้องมีพัฒนาการ เราเรียนหนังสือ ก็ต้องไล่จากอนุบาล ประถม มัธยม ไม่ใช่เกิดมาเรียนปริญญาเอกได้เลย อาจจะยกเว้นเด็กบางคนที่ ฉลาดปราดเปร่ื่อง อย่างคนที่ไม่มีประสบการณ์ ดูแต่หนังในกระแส หนังในกระแสคือทำ�ยังไงให้คนสนุก ราบรื่น จบแล้วสบายใจ พอมาดู หนังที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ก็สับสนก็งง หนังอะไรดูไม่รู้เรื่อง อย่างนี้เราก็ไปโทษเขาไม่ได้เพราะการดูหนังต้องอาศัยการสั่งสม ตรง นี้ผมคิดว่าวัฒนธรรมการดูหนังไทยจะมีมุมมองใหม่เกิดขึ้นมาว่า มัน เป็นงานศิลปะ อาจจะท้าทายคนปฏิเสธเจ้ยนะ มันเหมือนกับบรรลุธรรม ถ้าเรามัวไปยึดติดกับอะไรบางอย่างก็จะไม่บรรลุ
UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES สีสันในหนังสือ เรื่อง : สุภาพ พิมพ์ชน
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
04-05
สำาหรับผมแลว ภาพยนตร์ก็คือการระลึกชาติ คือการกลับชาติมาเกิดใหมของ ความทรงจำา - อภิชาติพงศ วีระเศรษฐกุล -
คนที่จะชอบงานของ อภิชาติพงศนาจะมี อยู 2 กลุม คือ พวก ที่แสวงหาสุนทรียภาพ อันสดใหมอยูเสมอ กับพวกที่ไมมีความ คาดหวังตอหนังมา กอนเลย
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
06-07
ย ร ร ดา จ หัศรรม ม ามสนธ ว ค ที่แ
เปนความมหัศจรรยอันหนึ่งที่มีผูกํากับภาพยนตรอยาง อภิชาติพงศ วีระเศรษฐกุล กําเนิดขึ้นในสังคมไทย สังคมที่ขาดความเอาใจใสตอบรรยากาศของการทํางาน สรางสรรคทุกประเภทและยังเต็มไปดวยแรงเสียดทาน ประหลาดมากมาย ความนาอัศจรรยอันดับตอมา คือ สิ่งสามัญธรรมดาในสังคมไทย “ภาพยนตร์คือความ ปจจุบันนั่นเองที่เปนแรงบันดาลใจ และวัตถุดิบใหอภิชาติพงศนํามาใช มหัศจรรย์” สรางสรรคงานภาพยนตรของเขา - อภิชาติพงศ วีระเศรษฐกุล -
ตามปกติแลวหนังโดยทั่วไปซึ่งทําหนาที่ใหความบันเทิงเปนหลัก จะใชโครงสราง ของภาษาที่เขาใจคุนเคยกันเพื่อสื่อสารกับคนในวงกวาง โครงสรางนั้นประกอบดวย วิธีดําเนินเรื่อง ลักษณะตัวละครและการใชสัญลักษณ ความแตกตางของภาษาที่วา จะเปนตัวกําหนดประเภทของหนัง เชน หนังรัก หนังบู หนังตลก หนังผี หนังสารคดี ฯลฯ แตผูกํากับชั้นครูจะสรางภาษาของตัวเองขึ้นมารองรับสิ่งที่ตนตองการสื่อสาร เปนการเฉพาะ บางครั้งก็เปนที่เขาใจไดทั่วไปแตบางครั้งก็ยากจะเขาใจเพราะผิดไปจาก ความคุนเคย บางคนจึงจัดประเภทเปนหนังศิลปะ การสรางสรรคไวยากรณในหนัง ของผูกํากับเหลานี้เปนตนแบบใหคนทําหนังในชั้นหลังหยิบยืมไปใชประกอบปรุงแตง เปนงานของตนบาง เพราะฉะนั้นจึงถือกันเปนครูดวยจิตคารวะ
หากจะถอดไวยากรณในหนัง ของอภิชาติพงศออกมา สวน ผสมสําคัญนาจะประกอบดวย 3 สิ่ง คือ ความธรรมดา ความมหัศจรรย และความใน ใจของเขาเอง
หนังของอภิชาติพงศสะทอนอิทธิพลจาก สุนทรียศาสตรกระแสที่มองหาความงาม ในความเรียบงายธรรมดา เขาพยายามจะ ไมปรุงแตงใหหนังของเขาสวยเกินความ เปนจริง หรือไมก็จะเจตนาปรุงแตงอยาง ซื่อๆ ไมสมจริงใหเห็นชัดวาแตงขึ้นมา ตัว ละครของเขาไมใชดารา หนาตาธรรมดา แสดงเปนธรรมชาติ ไมเราอารมณและมี ความเคอะเขินแบบนักแสดงสมัครเลน การดําเนินเรื่องเปนไปอยางอิสระ บางก็ สมจริงจนจืดชืด บางก็เหนือจริงชวนพิศวง ภาพที่ออกมาจะไมเลนเทคนิคพิเศษเกินไปกวา คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องมือ
เขาถายทอดเรื่องราวผานชีวิตของคนธรรมดา ที่พบเห็นไดทั่วไปในสังคมไทยดวยสายตาที่ออน โยนยิ่งและยังหยิบยืมวัฒนธรรมบันเทิงของ ชนชั้นลางขึ้นมามองใหมและทําใหม อยางให เกียรติ อาจกลาวไดวาสิ่งที่เขามองหาในความ ธรรมดานั้นคือความมหัศจรรย เขาพยายาม มองหาความมหัศจรรยในกระบวนการพื้นฐาน
ของการทําหนัง ซึ่งไมอาจแสดงออกไดดวย สื่อประเภทอื่นนอกจากภาพยนตรเทานั้น เชน เดียวกับความประทับใจ ในลักษณะพิเศษของ การบันทึกผานเครื่องมือแตละประเภท ซึ่งบาง ครั้งไมอาจสัมผัสไดดวยตาเปลา
ความมหัศจรรยนั้นไมไดเปนเพียงภาพแปลกประหลาดที่ปรากฏอยูตรงหนา แต เปนความรูสึกที่สะทอนอยูภายในตัวตนอันมืดดําของผูพบเห็น ซึ่งแมแตเจาตัว เองก็อาจจะ ไมรูมากอนวาตนเปนเชนนั้น ชีวิตมนุษยธรรมดาที่เวียนวายอยู
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
ในวัฏสงสารเปนสิ่งที่นาพิศวงมหัศจรรยสําหรับเขา และแนนอนวาแกนแกนของหนัง แตละเรื่องก็คือความในใจของเขาเอง เชนเดียวกับผูกํากับฯ ที่มีไวยากรณของตัวเอง ทั้งหลาย เขาตองมีความรูสึกนึกคิดที่ชัดเจนเสียกอนจึงจะสามารถกําหนดองคประกอบ ตางๆ ใหไปในทิศทางเดียวกัน จนกลายเปนสวนผสม เฉพาะขึ้นมา ยิ่งเคารพตอความ รูสึกจริงแทของตัวเองมากแคไหน ภาษาหนังก็จะยิ่งชัดเจนเทานั้น มวลแหงความในใจ ของอภิชาติพงศเปนความรูสึกที่เหมือนกับการพยายามควาจับอะไรบางอยางทั้งที่รูทั้ง รูวามันเปนเพียงมายาและสุดทายก็คือความ วางเปลา สิ่งนั้นอาจจะเปนความปรารถนา ของตัวละคร การตกอยูในภวังคของภาพยนตรหรือแมกระทั่งชีวิตของเราเอง
เรื่อง : นราวุธ ไชยชมภู
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล มนุษย์ทดลอง
Special conversation with
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
10-11
ประตูเปิดออก / อภิชาติพงศ์ก้าวเข้า มา/ ร้านกาแฟ/ ซอยอาร/ี หัวเกรียน/ แว่นกันแดด / เสื้อยืดสีขาว สกรีนรูป สุนัข / ยิ้ม / ไหว้ / วางเป / นั่ง / เทปในเครื่องบันทึกเสียงหมุน / หนัง ทดลองมีการนิยามความหมาย หลาย แบบ / แล้วแต่ใครจะมองว่าทดลองคือ อะไร / อิสระเต็มที่ ไม่มีกฎใดๆ ทั้งสิ้น ศิลปะอาจเปนแค่ภาพสะท้อน/ จี้จ�ดให้คนคิดเอง/ แทนที่จะบอกว่าแบบนี้ถูกหรือผิด/ ไม่ใช่ตําราเรียน เปน เรื่องจิตใจ/ ไปไหน แล้ว โห มีความสุขมาก สื่อออกมาเปนภาพยนตร์/ แต่ก่อนยาก คนชอบถามว่าเรื่องนี้ หมายความว่า / จ�ดหมายอาจแค่ถ่ายทอดความรู้สึก/ ศิลปะมีคุณค่า/ ชี้ให้เห็นถึงความเปนมนุษย์ / การ ใช้ชีวิตยุคนี้/ ทุกข์/ สุข / การเมือง / เห็นคุณค่าของชีวิต / แม้เปนภาพไม่สวยงาม/ อาจกระตุ้นต่อม/ หัวเราะ/ นิพพาน ศิลปะเปนหน�่งในสื่อบันเทิง / บันเทิงสมอง / บันเทิงการใช้ชีวิต / ต้มยํากุ้ง / ช้างหายไปไหน ศิลปะ ปองกันตัวของไทยเปนยังไง / ดูจบ ได้แค่นี้ / ฝรั่งชอบ / หนังไทยทําเงิน / อาจมีหนังอีกแบบที่ทําให้รู้ว่า คน ไทยยุคนี้ไม่เกี่ยวกับช้างแล้ว / แต่เกี่ยวกับความจริงที่ทุกคนเจอ / ความรัก / ภาพสะท้อนชีวิตตัวเอง หนังทดลองสมัยก่อนเหมือนดูไม่รู้เรื่อง / อะไรวะตัดภาพเร็วมาก/ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมหนังปจจ�บัน / ฉากนางเอกถูกฆ่าใน psycho / คนสมัยก่อนกรี๊ด / ตอนนี้เฉยๆ / อัลเฟรด ฮิทซ์ค็อก / มองไปข้างหน้า กล้าลอง / ถ้าคิดว่าคนจะกลัว ไม่กล้าดู / ไม่มี psycho / ถ้าเอาหนังบางเรื่องในปจจ�บันไปให้คนดูเมื่อ 50-60 ปที่แล้ว อาจดูไม่รู้เรื่อง / เอ็มทีวี / เกิดจากหนังทดลอง
หนังทดลองคือการมองไปในอนาคต / เพื่อคนรุนตอไป
ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์มักเล่าเรื่องแบบสารคดี ไม่เร้าอารมณ์แบบ อึกทึกครึกโครม อย่างที่ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดนิยมชมชอบ “บางคนอาจเบื่อ แต่ผมรู้สึกว่าการเล่าเรื่องแบบนี้ต่างหากที่เร้าอารมณ์ กว่า มีพลังมากกว่า มันกันคนละแบบ บางคนสนุกกับฮอลลีวู้ด ผม ดู ผมก็สนุก แต่ให้ทําแบบนั้น ผมไม่ทํา ถึงตอนนี้ชอบเล่าเรื่องแบบ สารคดี แต่ปีหน้าอาจเล่าอีกแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสนใจในแต่ละ ช่วง”
“หนังของผมเน้นที่อารมณ์กับสภาวะแวดล้อมมากกว่าโครง เรื่องความจริงก็มีเรื่องอยู่ แต่ไม่ชัด เป็นสิ่งที่แทรกอยู่ใน ชีวิต” เขาหยุดคิดครู่หนึ่ง “ไม่รู้ว่าทําไมถึงทําแบบนี้ คงเพราะชอบนํา
เสนอความจริงหรือ ความสุขบางอย่างที่ไม่มีเรื่อง แล้วหนังไม่ใช่นิยาย ซึ่งสิ่งที่ผมต้องการถ่ายทอดจะเป็นความรู้สึก ถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ ได้ ถ้าเขียนได้ ผมเขียนหนังสือไม่ดีกว่าเหรอ” การตัดต่อมหัศจรรย์มาก พอเปลี่ยนปุ๊บ เอาคัทนี้ชนตรงนี้ แล้วความ หมายเปลี่ยนไปเลย ถ้าหนังต้องการจะเป็นแบบไหน มันจะบอกเอง ส่วนใหญ่ที่ชัดๆ คือตอนตัดต่อ เพราะหนังจะเปลี่ยนจากบทพอสมควร ผมเปิดกว้างตอนตัดต่อ บางทีอาจรื้อใหม่หมด หรือตัดใหม่ให้เป็นคนละ เรื่อง
หนังก็มีชีวิตของมันเอง สิ่งที่หนังทดลองให้คือความอิสระ ออกจากโรงแล้วมีความสุขจัง อยาก หายใจต่อ มีแรงบันดาลใจที่จะทําสิ่งใหม่ๆ ซึ่งบ้านเราต้องการมาก ไม่ใช่แค่หนัง แต่ทุกอย่าง เพราะเราถูกป้อนตลอด ไม่เปิดโอกาสให้ คิด เอง ต้องทําตามกัน อะไรๆ ก็ไม่เร้าใจ (หัวเราะ) การศึกษาไม่ สอนให้คิดหรือวิเคราะห์ มันเกินไป อย่างผมทําหนัง ตอนนี้หนัง ไทยน่าเบื่อมากๆ เพราะคิดให้เสร็จสรรพ ฮอลลีวูดยังมีความคิดมาก กว่า วิธีการทําหนังยังมีความใหม่บ้าง ยังมีพื้นที่สําหรับการสร้างสรรค์ ขณะที่หนังไทยมีน้อยเหลือเกิน ทุกอย่างสําเร็จรูปมากๆ จนผมสงสัย ว่า เอ๊ะ..แล้วความคิดสร้างสรรค์อยู่ตรงไหน ผมไม่มองว่าเป็นหนังขาย หรือไม่ขาย แต่อย่างน้อยควรจะประเทืองปัญญาหน่อย ถ้าหนังเป็น ตัวแทนสังคม ซึ่งผมคิดว่าสังคมด้านอื่นก็เหมือนกัน คือมันยังไม่ มัน ไม่เห็น อะไรที่สร้างสรรค์เกินกว่าความต้องการที่จะขายๆ แล้วรัฐบาล
ก็พยายามผลักดันนโยบายที่เป็นวัตถุนิยมมากๆ น่ากลัวมากๆ
ความสุขง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้เงินถูกละเลยหรือการไม่ สะสมทรัพย์สินมันก็โอเค แต่กระแสสังคมกลับ ไม่โอเค ไม่ได้หมายความว่าต้องไปอยู่ป่า แต่กลัวคนรุ่นใหม่ไม่มี ความคิดตรงนี้ ทีวีทุกช่องก็มีแต่โฆษณา ไม่มี รายการ บันเทิงใจ เอ๊ะ แล้วทีวีคืออะไร แล้วทําไมถึงเป็นแบบ นี้ หนึ่ง-คนทําอยู่ไม่ได้ ต้องพึ่งโฆษณา หรือสอง- คนทํา ตะกละเกินไปหรือเปล่า ผมไม่รู้ว่าข้อไหน แต่มันเป็น แบบนี้ในหลายส่วนของสังคม เด็กเลยไม่รู้จะไปไหน ไป
สวนสาธารณะก็ไม่เร้าใจ มีลําโพง มีการก่อสร้างอะไรใหม่ๆเยอะ เฮ้ย นี่มันสวนนะเว้ย จะสร้างอะไรอีก พื้นที่สีเขียวน้อย ถ้าอย่าง นั้นไปห้างสรรพสินค้าดีกว่า แล้วไปไหนก็มีแต่เสียงดัง ผม
กลัวว่าคนรุ่นใหม่จะกลัวความเงียบ ไม่ว่าไปไหน ทํา อะไร ต้องมีอะไรฟังตลอด ผู้คนซาบซึ้งในความเงียบ น้อยลงทุกวัน ผู้คนไม่อ่านเข้าไปใน จิตใจตัวเอง มัน ยากเหลือเกินที่จะอยู่ในสังคมนี้”
“สิ่งหนึ่งที่ทําให้เด็กไทยไม่กล้าแตกต่างคือระบบการ ศึกษา คนที่จะเป็นครูต้องอยู่ระดับเดียวกับหมอ ไม่ได้ หมายความว่าต้องเรียนเก่ง พ่อผมเคยบอกว่าเป็นคน เรียนไม่เก่งเลย แต่ชอบเรียนหมอเฉยๆ ค่านิยมหนึ่งใน สังคมคือถ้าเรียนเก่ง ต้องเรียนหมอ ทําให้ไม่มีการกระ จายสมองไปสู่งานที่ตัวเองชอบ ถ้าคุณเรียนเก่ง คุณควร เรียนครูดีไหม ถ้าคุณชอบทําอะไรถ้าทําด้วยใจรัก มันจะ มีความสุข ไม่ว่าจะทํางานอะไร ต้องเป็นคนที่รัก อาชีพ นั้น แล้วคุณภาพชีวิตในสังคมจะดี หลายคนชอบสอน อยากเป็นครู แต่พอคิดถึงอนาคต เงินเดือนน้อยจัง เลยท้อ “ตอนผมเรียนก็ต้องท่องสูตรเคมีบ้าบอเต็มไปหมด ซึ่งก็ต้อง ทําตามนำ�ไป แล้วทุกวันนี้ก็ไม่ได้ใช้ แต่ทั้งๆ ที่ไม่มีใครบังคับ ผมกลับจําชื่อผู้กํากับหนังได้หมด ดังนั้นถ้าคนชอบฟิสิกส์ก็ คงจําสูตรได้เอง โดยไม่ต้องบังคับ ทํายังไงระบบการศึกษา ของบ้านเราถึงจะเป็นแบบนี้ได้”
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
12-13
ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “แสงศตวรรษ” ภาพยนตร์ยาวลำ�ดับที่ 5 ของอภิชาติพงศ์
“ตอนดูหนังทดลอง ผมเห็นการก้าวไปข้าง หน้าของมนุษย์ ไม่รู้จะ อธิบายยังไงเหมือนโดน ตีหัว ประหลาดใจอยู่ เรื่อยๆแล้วมีความสุข เฮ้ย..มนุษยชาติไม่สิ้น หวัง”
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010
14-15
03 02
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล กับสิบหนังในดวงใจของเขา จากคอลัมน์ 5X2 นิตยสาร FILMAX ฉบับที่ 14
01
06 05
The Unchanging Sea(1910) ประเทศ: อเมริกา กํากับ: ดี. ดับบลิว. กริฟฟิธ แสดง: อาเธอร์ วี. จอห์นสัน, ลินดา อาร์วิสัน ลูกอีสาน (2525) ประเทศ: ไทย กํากับ: วิจิตร คุณาวุฒิ แสดง: ทองปาน โพนทอง, จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ Women WorkersLeaving the Factory (2005) ประเทศ: ชิลี / หนังสั้นความยาว 21 นาที กํากับ: โจเซ่ หลุยส์ ทอร์เรส เลียว่า แสดง: พอลลีน ชา มอร์ํร, จูเลียตา ฟิเกอร์ โร The Conversation (1974) ประเทศ: อเมริกา กํากับ: ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า แสดง: แฮร์ริสัน ฟอร์ด, ยีน แฮ็คแมน Satan’s Tango (1994) ประเทศ: ฮังการี/ เยอรมัน/ สวิสเซอร์แลนด์ กํากับ : เบล่า ทารร์ แสดง: มิฮาลี่ วิก, พุตยี ฮอร์วาธ Valentin de las Sierras (1971) ประเทศ: อเมริกา/ หนังสั้นความยาว10 นาที กํากับ: บรูซ เบลลี่ย์ Goodbye, Dragon Inn (2003) 08 ประเทศ: ไต้หวัน กํากับ: ไฉ้หมิงเลี่ยง แสดง: หลี่คังเซิง, เฉิงเซียงฉี Love Streams (1984) ประเทศ: อเมริกา กํากับ: จอห์น แคสสาเวตส์ แสดง: จอห์น แคสสาเวตต์, จีน่า โรวแลนด์ Salo, or the 120 Days of Sodom (1975) ประเทศ: อิตาลี/ ฝรั่งเศส กํากับ: ปิแอร์ เปาโล พาโซลินี่ แสดง: เปาโล โบนาเซลล,ี่ จอร์จิโอ คาตาลดี้ Chelsea Girls(1966) ประเทศ: อเมริกา กํากับ: แอนดี้ วอร์ฮอล, พอล มอร์ริสซี่ย์ แสดง: บริดจิด เบอร์ลิน
09
07 04
10
LIGHT HEAVY WEIGHT MAGAZINE July 2010