10 วันเปลี่ยนชีวิต Preview

Page 1


สิบวัน เปลี่ยนชีวิต


ชุดสังคม/ชีวิต ------------------

สิบวันเปลี่ยนชีวิต ลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย © สำ�นักพิมพ์สวนเงินมีมา ๒๕๕๘ เขียน เรือรบ รูปเล่ม แกะการเลย์ ออกแบบปก สุชา สนิทวงศ์ พิสูจน์อักษร สุธิดา วงศ์อนันต์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ข้อมูลทางบรรณานุกรม เรือรบ. สิบวันเปลี่ยนชีวิต.-- พิมพ์ครั้งที่ 2.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2558. 208 หน้า. 1. รวมเรื่อง. I. อรัทย กุศลรุ่งรัตน์, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. 089.95911 ISBN 978-616-7368-63-4

ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ ฝ่ายสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ ฝ่ายขาย จัดพิมพ์ อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจำ�หน่าย ราคา

ฮันส์ แวน วิลเลียนส์วาร์ด วัลลภา แวน วิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ สมภพ บุญชุม บริษัท สวนเงินมีมา จำ�กัด ๗๗, ๗๙ ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๒ ๒๔๙๕-๖, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕, ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๖๖ โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘ publishers@suan-spirit.com www.suan-spirit.com www.facebook.com/suan2001, www.facebook.com/SuanNguenMeeMaPublishers หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๗๙ ๙๑๕๔-๖ สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๕ ๙๕๓๖-๔๐ ๑๙๐ บาท


สิบวัน เปลี่ยนชีวิต

กระบวนการสุนทรียสนทนา

เรือรบ


คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา ๑. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ๒. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ๓. นายสมเกียรติ์ อภิญญาชน ๔. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ๕. นายสัจจา รัตนโฉมศรี ๖. นายอนันต์ วิริยะพินิจ ๗. นายฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด ๘. นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด รายนามผู้ถือหุ้น ๑. นายธีรพล นิยม ๒. นายวินัย ชาติอนันต์ ๓. นายวิศิษฐ์ วังวิญญู ๔. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ๕. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ๖. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ ๗. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท ๘. นายมาซากิ ซาโต้ ๙. นายบารมี ชัยรัตน์ ๑๐. นายปรีดา เรืองวิชาธร

ประธานกิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ ๑๑. นายศิโรช อังสุวัฒนะ ๑๒. นายเลิศ ตันติสุกฤต ๑๓. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ ๑๔. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ ๑๕. บริษัทแพรนด้า โฮลดิ้ง จำ�กัด ๑๖. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ ๑๗. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา ๑๘. นางดารณี เรียนศรีวิไล ๑๙. นางสุวรรณา หลั่งน้ำ�สังข์ ๒๐. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ

สำ�นักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท สวนเงินมีมา จำ�กัด อันเป็นองค์กรธุรกิจอย่าง ใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคมและนักธุรกิจ ทีต่ ระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิง่ แวดล้อม และศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อดำ�เนินงานทั้งด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่า นิยมอย่างใหม่ที่มิได้หวังกำ�ไรเป็นที่ตั้ง และผลกำ�ไรที่มีขึ้นจะนำ�กลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กร พัฒนาสังคมและชุมชนเป็นหลัก



จ าก ส ํ านั ก พิ ม พ์

เรื่องราวเรียบง่าย อ่านได้สบายๆ แต่แฝงความหมาย ลึกซึ้งในมิติของการแสวงหาและเรียนรู้คุณค่าของชีวิต เนื้อหา ของ สิบวันเปลีย่ นชีวติ เป็นการเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ สนุกสนาน และน่าประทับใจ ที่สำาคัญไม่ได้ละทิ้งแก่นสาระ ของเรื่องที่พยายามจะอธิบายขัน้ ตอนและวิธกี ารทำางานของเหล่า “กระบวนกร” ให้เห็นถึงทีม่ าทีไ่ ปของแนวคิดและความพยายาม ที่จะทำาให้ผู้คนได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่วิถีทางแห่งความสุข ในชีวิต สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรและครอบครัว โดย เฉพาะกับลูก เพือ่ ให้เขามีพฒั นาการทีเ่ หมาะสมตามวัย เติบโต อย่างมีความสุขและรู้จักตัวเอง “เรือรบ” มีพรสวรรค์ในการเรียงร้อยเรื่องราวได้น่าสนใจ และมีความเป็นตัวของตัวเอง ผนวกกับแนวคิดที่ได้รับจาก //


การเรียนรู้ชีวิตและการทำ�งานในชุมชน “ขวัญเมือง” ของ คุณวิศิษฐ์ วังวิญญู ซึ่งเน้นให้ทุกคนค้นหาศักยภาพภายใน ตัวเอง ยิ่งทำ�ให้ผลงานเล่มนี้มีเสน่ห์ทั้งในแง่ศาสตร์และศิลป์ สำ�นักพิมพ์สวนเงินมีมามีความยินดีที่ได้นำ�เสนอเรื่องราวการ เดินทางของ “วัยแสวงหา” ผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนา ในหนังสือเล่มนี้ ซึง่ เป็นหนึง่ ในอีกหลายๆ เล่มในหมวดกระบวนทัศน์ใหม่ที่ได้นำ�เสนอไปแล้ว เพื่อให้ผู้อ่านและสังคมไทยได้ ตระหนักถึงคุณค่าของการ “เปิดใจรับฟัง” ตลอดจนการ “เรียนรู้ชีวิต” มิติใหม่ๆ อันจะนำ�ไปสู่ความสุขในการอยู่ ร่วมกันอย่าง “สงบเย็น“ และ “เป็นประโยชน์”

หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขกับการอ่านหนังสือเล่มนี้

/7/


อุ นเ ครื่ อ ง

บันทึกเรือ่ งราวทีม่ าจากชีวติ จริงของเด็กหนุม่ นาม เรือรบ ผู้เติบโตมาจากสังคมเมืองที่เชื่อว่าวัตถุนิยมและความร่ำารวย เป็นความสำาเร็จในชีวติ ใช้ชวี ติ ตามกระแสสังคมอันเชีย่ วกราก โดยไม่เคยมีคำาถามว่า “ชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร” ต่อมา มี โอกาสได้ไปพักอยู่เชียงราย ๑๐ วันกับชุมชนขวัญเมือง ซึ่ง นำาโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู หนึ่งในสมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์ ผู้สร้าง เครือข่ายครอบครัวที่ร่วมกันทำากระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยน กระบวนทัศน์ความคิดของมนุษย์ในยุคนี้ จากสภาวะจิตแห่ง ความเร่งรีบบีบคัน้ มุง่ เน้นแต่เอาชนะในการแข่งขันอันคับแคบ ให้พลิกไปสู่ภาวะจิตใหญ่ หรือจิตสาธารณะ ที่กว้างขวาง เอื้อเฟือสู่ภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดความสงบสันติในจิตใจของเรา ในฐานะปัจเจกชน มีผลพวงอันเอื้อออกไปให้เป็นครอบครัวที่ //


อบอุ่นและสู่สังคมภายนอกในที่สุด แม้จะเป็นการเรียนรู้ในระยะเวลาอันสั้น แต่กลับเปลี่ยน อนาคตทางความคิดของชายหนุ่มคนนี้ไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผล ให้เขาตัดสินใจเข้าร่วมเป็นกระบวนกรเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกนี้ ด้วยตนเอง และได้บันทึกเรื่องราวการเติบโตภายในนี้ไว้ เป็น ของขวัญฝากให้คนรุ่นใหม่ได้พินิจพิจารณา บ่มเพาะความคิด เพื่อเปลี่ยนชีวิตในวิถีทางของตนเอง เรื่องราวที่ท่านผู้อ่านจะได้สัมผัสต่อไปนี้ มีลักษณะเป็น เรื่องเล่ากึ่งวิชาการที่ชวนติดตาม เน้นให้เกิดอารมณ์ร่วม อีกทั้งผู้เขียนยังได้รวบรวมองค์ความรู้จากหลากหลายแขนง ทั้งเรื่องการศึกษา จิตวิทยา วิทยาศาสตร์สมอง และธรรมะ ผสมผสานสอดแทรกอยู่อย่างกลมกลืน เปรียบเสมือนการ เรียนรู้ที่มีอยู่ในชีวิตจริง ซึ่งมิได้แบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา

/9/


ความในใจจากผู ้ เ ขี ย น

เคยถามตัวเองไหมครับว่า การเดินทางและวิถีชีวิตของ แต่ละคนที่แตกต่างหลากหลายนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร และ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราควรดำาเนินชีวิตอย่างไรดี อะไรคือ เปาหมายในชีวติ บางคนแทบไม่เคยสนใจตัง้ คำาถามนีก้ บั ตัวเอง เลย แต่ถ้าลองตั้งคำาถามนี้กับคนเดินถนนโดยทั่วไป เราอาจ จะจำาลองคนออกมาได้เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกก็อาจเหมาตอบเอาง่ายๆ ว่า เราก็ใช้ชีวิตไป ตามสิ่งที่ศึกษาเล่าเรียนมา สิ่งที่สังคมบอกว่าดี สิ่งที่ใครๆ ก็ทำากัน ไม่เห็นจะต้องมานั่งคิดคำานึงให้เปลืองสมอง และแล้ว พวกเขาก็ดำาเนินชีวิตไปตามนั้น ศึกษาในสถาบันที่มีชื่อเสียง ได้การงานทีด่ ี และทุม่ เทให้กบั งานนัน้ อย่างหนักติดต่อกันเป็น เวลาหลายปีเพื่อสร้างฐานะ ล่วงเลยจนหมดวัยทำางาน สิ่งที่ได้ / 1 /


มาคือโรคเรื้อรัง ด้วยไม่มีเวลาใส่ใจสุขภาพกับเงินเก็บสะสม จำานวนหนึ่งที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบาย แต่ครัน้ เมือ่ ถึงเวลาหนึง่ บางคนกลับเสียดายชีวติ เสียดาย เวลาที่ผ่านมาเหลือเกิน ตอนนี้ลูกก็เกเร เพราะไม่เคยมีเวลา อบรมเลี้ยงดู ส่วนคู่ชีวิตก็หย่าขาดจากกันไป เพราะไม่เคยได้ เอาใจใส่กนั เลย เริม่ มองเห็นความผิดพลาดในอดีตมากมาย ก็ ใครจะไปรู้เล่า เราก็ทำาตามที่สังคมว่าดีมาตลอด แต่ทำาไมถึง ได้ลงเอยแบบนี้ บางครั้งการใช้ชีวิตที่เราหลงเข้าใจมาตลอดว่า เป็นคนเลือก แต่สุดท้ายกลายเป็นว่า ‘ถูกทำาให้เลือก’ โดยไม่ รู้ตัวเสียมากกว่า แต่สำาหรับกับคนอีกกลุ่ม คำาถามเหล่านี้กลับเป็นทั้งชีวิต ของพวกเขาเลยทีเดียว คนกลุ่มนี้ยอมทุ่มเทเสียสละเวลาช่วง ต้นของชีวิตเพื่อค้นหาคำาตอบ พวกเขาออกเดินทางใช้ชีวิตไป เรื่อยๆ ประสบการณ์ดีร้ายผ่านมามากมาย ย่างเข้าวัยทำางาน ก็ยังทำาอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอันนัก บางครั้งอาจดูเหมือนไม่ กระตือรือร้นในชีวิตสักเท่าไร แต่พวกเขาเฝาถามตัวเองอยู่ / 11 /


เสมอ รอคอยคำ�ตอบที่เหมาะเจาะ จำ�เพาะสำ�หรับตนเอง ครั้นเมื่อได้พบคำ�ตอบนั้น ก็แทบไม่เสียดายวันเวลาที่ผ่านมา เลย เพราะพูดได้เต็มปากว่า จะใช้ชีวิตที่เหลือจากนี้ไปจนถึง ลมหายใจสุดท้ายอย่างไร ทันใดนั้น พวกเขาเริ่มใช้ชีวิตอย่าง มีความหมายและมีบั้นปลายที่มีความสุขอยู่ทุกขณะ เพราะ เส้นทางทีเ่ ดินไปนีเ้ ป็นสิง่ ทีต่ วั เขาค้นพบด้วยตนเอง และเลือกเอง หนังสือเล่มนี้ เขียนขึน้ มาสำ�หรับคนทัง้ สองกลุม่ ทีก่ ล่าวมา เป็นบันทึกการเดินทางที่จะพาท่านไปพบกับคำ�ตอบในบางแง่ มุมของชีวิต และขอรับประกันว่า ท่านจะไม่เจอมันในหน้า สุดท้าย แต่จะได้เจอระหว่างการเดินทาง กึ่งกลางบรรทัดที่ ว่างนั่นแหละครับ เรื่องราวของผมอาจเป็นแค่เพียงตัวอย่าง เล็กๆ อันหนึ่ง ซึ่งอยากฝากไว้ให้ท่านผู้อ่านได้พินิจพิจารณา ค้นหาสิง่ ทีม่ คี วามหมายในชีวติ ของท่าน บ่มเพาะความคิดเพือ่ เปลี่ยนชีวิตให้ได้ในวิถีทางที่ท่าน ‘เลือก’ เอง...

/ 12 /


คู่ มื อ ก า รอ่ า น : (โปรดอาน ถาตองการไดประโยชน คุมคาจากหนังสือเลมนี้)

คําเตือน : หนังสือเล่มนีไ้ ม่เหมาะกับคนทีใ่ ช้ชวี ติ เร่งร้อน รวดเร็ว และอ่านรวดเดียวจบ เพราะจะไม่ได้อะไรเลย และไม่เหมาะกับ การเปิดพลิกผ่าน อ่านแบบข้ามบท เพราะจะไม่รู้เรื่องเช่น เดียวกัน... คําแนะนํา : โปรดอ่านแค่วันละบทสองบท เพื่อให้ท่านได้พบ คำาตอบที่ซ่อนไว้ระหว่างบรรทัด ควรหาสถานที่เงียบสงบ ผ่อนคลายร่างกายให้สบาย ทำาจิตใจ ให้ผ่องใสก่อนอ่านทุกครั้ง ควรอ่านเรียงบทไปตามลำาดับ เพราะบทแรกจะปูพื้นฐานไปสู่ บทต่อไป และต่อไป... / 1 /


คํ า อธิ บ ายวิ ธ ี ก ารใช้ ง าน

บันทึกการเดินทางเล่มนี้ อธิบายยากว่าผมเขียนเกี่ยวกับ อะไร เขียนให้ใครอ่าน บางคนบอกว่าเป็นแนวปรัชญา การ ศึกษา จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ และศาสนารวมกัน บางคนก็วา่ อ่านสนุกเหมือนนวนิยาย นั่นก็เพราะมันเป็นความรู้องค์รวม ที่กลั่นกรองร้อยเรียงเรื่องเล่าออกมาจากประสบการณ์เฉพาะ ตัว กับเรื่องราวการเดินทางด้านในของผม ผ่านการตั้งคำาถาม กับตัวเอง และค้นหาคำาตอบให้ชีวิต ถ้าอยากรู้คำาตอบของผม เร็วๆ ก็เชิญพลิกไปอ่านหน้าสุดท้าย มันก็ไม่ได้สาำ คัญอะไรนัก หรอกครับ ผมคิดว่า คำาตอบของตัวผูอ้ า่ นเองนัน่ แหละทีผ่ มให้ ความสำาคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด... ดังนัน้ ถ้าอยากสัมผัสการเดินทางจริงๆ ต้องค่อยๆ ก้าว ไปด้วยกันครับ เริ่มตั้งแต่หน้าต่อไปนี้ ไปช้าๆ เรื่อยๆ แบบ / 1 /


สบายๆ ถ้ารู้สึกล้าก็พักสักนิด หายเหนื่อยแล้วค่อยเดินต่อ ระหว่างทางกลางบรรทัดทีว่ า่ งนัน่ แหละครับ ท่านจะได้คน้ พบ อะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นคำ�ตอบเฉพาะสำ�หรับตัวท่านเอง ว่า ท่านจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่จวบจนลมหายใจสุดท้ายนี้อย่างไร...

/ 15 /


ส าร บั ญ

ภาคหนึ่ง : กาวแรกสู่ชุมชนกระบวนกร

๑๘

ปฐมบท : แรกเริ่มเดิมที

๒๐

บทที่ ๑ ก้าวแรกกับสุนทรียสนทนา

๒๘

บทที่ ๒ เข้าพบมาสเตอร์โยดา

๓๔

บทที่ ๓ ประชุมสภาเจได

๔๒

บทที่ ๔ เกาะติดวิถีชีวิตโยดา

๕๐

บทที่ ๕ ภารกิจแรกของเหล่าพัดดาวัน

๕๘

บทที่ ๖ ภารกิจแรกของเหล่าพัดดาวัน (ต่อ)

๖๘

บทที่ ๗ กองบัญชาการแห่งการดูแล

๗๘

บทที่ ๘ วาระแห่งชาติประกาศที่บ้าน

๘๘


บทที่ ๙ โฮมสคูล ปฏิวัติยุคพ่อแม่ครองอำ�นาจ

๑๐๐

บทที่ ๑๐ ชีวิตที่ชายขอบ วิถีแห่งกระบวนกร

๑๑๒

ภาคสอง : เด็กฝึกหัด-พัดดาวันจอมซ่าส์

๑๒๒

บทที่ ๑๑ คู่หูขวัญกรุง

๑๒๔

บทที่ ๑๒ โอ้อวดอย่างถ่อมตน

๑๓๖

บทที่ ๑๓ เด็กน้อยลงสนาม

๑๔๘

บทที่ ๑๔ สนทนากับเสียงภายในตน

๑๖๒

บทที่ ๑๕ คลื่นสมอง ขุมพลังแห่งปัญญา

๑๗๖

ปัจฉิมบท : ใช้ชีวิตอย่างสงบเย็นและเป็นประโยชน์

๑๙๔

๙ ปีต่อมา...

๒๐๒


ภาคหนึ่ง :

ก ้ าว แ ร กสู่ ชุ ม ช นกระบวนก ร



ปฐมบท : แรกเริ่ ม เดิ ม ที


บันทึกการเดินทางนี้เป็นงานเขียนชิ้นแรกในชีวิตของผม โดยได้รบั แรงบันดาลใจจาก อาจารย์ วิศษิ ฐ์ วังวิญญู จัดทำ�ขึน้ เพือ่ แบ่งปันคุณค่า และการเรียนรูข้ องผมตัง้ แต่แรกเริม่ ย่างก้าว เข้าสู่โลกแห่งจิตสำ�นึกใหม่ จากกรุงเทพฯ สู่สถาบันขวัญเมือง เชียงราย ซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ ทางตอนเหนือของเรา ข่ายใย แห่งครอบครัวทีร่ ว่ มกันแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ศึกษาในวิทยาศาสตร์ กระบวนทัศน์ใหม่ ควอนตัมฟิสิกส์ สุนทรียสนทนา ซึ่งเป็น กระบวนการและองค์ความรู้ใหม่ล่าสุดเรื่องหนึ่งของโลก ชุมชนแห่งนี้มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการสร้างโลกแห่ง สันติสุข ซึ่งจะเริ่มจากการทำ�งานกับตัวตนภายในให้บริบูรณ์ และผลิผลออกสู่คนรอบข้าง ไปจนถึงสังคมภายนอก ร่วมกัน ยกระดับจิตวิญญาณให้พ้นจากจิตปัจเจก ให้เป็นจิตใหญ่ หรือ จิตสาธารณะ ซึง่ ศ. นพ. ประเวศ วะสี กล่าวเรียกอีกนัยหนึง่ ว่า จิตวิวัฒน์ (Spiritual Revolution) นั่นเอง ผมเองได้รับโอกาสให้ไปร่วมใช้ชีวิตแบบคลุกวงในอยู่ ๑๐ วัน ได้พานพบความจริงที่โลกลืม ซึ่งจะขอนำ�เสนอใน ปฐมบท / 21


รูปแบบการบอกเล่าบนพื้นฐานชุดภาษา กับแนวความคิดและ ความเข้าใจของผมเอง เหมาะสำ�หรับผู้สนใจงานของสถาบัน ขวัญเมือง ซึ่งมีบทความมากมายและหาอ่านได้ในเว็บไซต์วง น้ำ�ชา (www.wongnamcha.com) หรืออาจเป็นผู้ที่เพิ่งเข้า มาเยี่ยมชมในเว็บบอร์ดใหม่ๆ หากแม้เข้ามาอ่านแล้วแต่ยังงงกับข้อเขียนและภาษาที่ ใช้ในกระทู้ และอยากรู้ที่มาที่ไปของชุมชนขวัญเมืองแบบแฉ หมดเปลือก ชนิดเจาะใจและลึกถึงลูกถึงคน ได้เข้าถึงเหมือน จับเข่าคุย ซึ่งอาจเป็นข่าวเด่นประเด็นร้อนในยุคสมัยนี้ หาก ท่านผู้อ่านเริ่มน้ำ�ลายไหลด้วยรสความอยากรู้แล้วล่ะก็ กรุณา สวมรองเท้าที่ใส่สบายแล้วค่อยๆ เดินตามผมมาเลยครับ ผมเองนั้นชื่อนายเรือรบ ซึ่งหลายท่านพอได้ยินชื่อนี้ก็คง เดาว่าเป็นนายทหารเรือ ใช่แล้วครับ ขณะนี้ผมรับราชการอยู่ที่ กองทัพเรือ ยศเรือโท การศึกษาที่ผ่านมาเรียนจบปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์จากโรงเรียนนายเรือ ขณะนีเ้ ป็น นักศึกษาปริญญาโทปีสุดท้าย สาขาการจัดการทั่วไป วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผมเองมีความสนใจเป็นพิเศษในวิชาภาวะผู้นำ�และการ บริหารจัดการ ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักเรียนทหาร เมื่อรู้จัก ยุทธวิธีของทหารแล้วก็ให้อยากรู้กลวิธีทางธุรกิจบ้าง จึงได้ สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 22


ลาเรียน ๒ ปีเพือ่ มาศึกษาต่อปริญญาโท และลองทำ�กิจการ เล็กๆ ควบคู่ไปด้วย ก็นับว่าไปได้ดีพอประมาณ ทั้งที่ศึกษาปริญญาโทก็ยังรู้สึกถึงกลิ่นอายของทหารอยู่ นั่นคือ วิถีการบริหารจัดการในรูปแบบการบังคับบัญชาและ ควบคุม (Command and Control) โดยมีเป้าหมายของ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ชัยชนะ ผลกำ�ไรสูงสุด อันจะนำ� มาซึ่งระเบียบ แบบแผน สูตรสำ�เร็จ และคำ�ตอบที่ดีที่สุดเป็น คำ�ตอบสุดท้าย มองคนในองค์กรเป็นกลไก จักรเฟืองในการ ขับเคลื่อน เมื่อเสียก็ต้องซ่อม เมื่อการแข่งขันยากขึ้นก็ต้องให้ เฟืองหมุนเร็วขึ้น ถ้าเกิดเฟืองตัวนั้นเริ่มเสื่อมสภาพใช้การไม่ได้ต้องโละทิ้ง เอาของดีกว่า ราคาถูกกว่ามาทดแทน เอาเหตุผลมาคุย ไม่ใช่ ทำ�ตามอารมณ์ ต้องมีขอ้ มูลมากพอในการประเมินสถานการณ์ เพื่อการตัดสินใจ ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกภายใน ในประเด็นนี้ผมจึง สรุปเอาเองคร่าวๆ ว่า นี่เป็นการประยุกต์องค์ความรู้ร่วมกัน ระหว่างภาคราชการกับภาคธุรกิจในยุคนี้ ผมเคยได้ยินมาก่อนว่า องค์กรธุรกิจที่เจริญเติบโตมาได้ ทุกวันนี้ ก็เพราะเอาหลักการและทฤษฎีของการรบการทหาร มาประยุกต์ใช้ แม้แต่ระบบอินเทอร์เน็ตที่สร้างปรากฏการณ์ ชีวิตแห่งโลกยุคดิจิตอลไลฟ์ ก็ไม่แคล้วเริ่มต้นจากไอเดียการ ปฐมบท / 23


ส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างกันให้รวดเร็วในค่ายทหารนั่นเอง จุดเปลี่ยนจุดหนึ่งของชีวิตผม ไม่น่าเชื่อว่าจะมาจาก น้องชายผมเอง จะขอเรียกว่า หมอโอเปิ้น ผู้สำ�เร็จการศึกษา ปริญญาตรีแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชที่ รพ. รามาธิบดี ทำ�ให้เราได้มาอยูด่ ว้ ยกันอีกครัง้ หลังจากทีต่ า่ งแยกย้ายกันไป เรียน ไม่ได้เจอกันเลยกว่า ๗ ปี ที่ว่าเปลี่ยนเพราะเมื่อเรามานอนห้องเดียวกัน ผมเริ่ม สังเกตว่าเราคุยกันไม่รู้เรื่อง แน่นอนว่าเราคุยภาษาไทยกัน แต่คนละมุมมอง ผมมีมุมมองไปทางทุนนิยม ผมเริ่มศึกษา และออมเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยตนเองมาตั้งแต่ เป็นนักเรียนปี ๑ แล้ว มีความใฝ่ฝันอยากทำ�ธุรกิจส่วนตัว อยากซิ่งรถเบนซ์อีคลาส มีคอนโดหรูริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา นิยมความสำ�เร็จ ความเป็นหนึ่ง พูดง่ายๆ คือ ความรวยและมีชื่อเสียง ซึ่งผมคิดเอาเอง ว่า มันจะตามมาด้วยการได้รบั การยอมรับและความสุขในทีส่ ดุ ในที่นี้คือทั้งต่อตัวเราเองและเป็นหน้าตาให้ครอบครัวและวงศ์ตระกูลของเราได้อีกด้วย แต่มุมมองของน้องชายกลับต่างออก ไปแทบจะ ๑๘๐ องศา มีเงินเขาชอบเอาไปทำ�บุญ มีเวลาว่าง ก็ไปอ่านหนังสือให้คนตาบอดฟัง ชอบทำ�งานอาสาสมัคร บอก สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 24


อีกว่าเรียนจบจะไปรักษาชาวเขาที่เชียงราย วันดีคืนดีช่วงเหตุ การณ์สึนามิก็หายไปเป็นเดือน บินไปช่วยเขาขนศพซะงั้น เห็นหมอโอเปิ้นนั่งอ่านหนังสือของกลุ่มจิตวิวัฒน์ จำ�ได้ เป็นเค้าลางว่า หนังสือเล่มนั้นจะชื่อ จิตผลิบาน แรกๆ เขาก็ แนะนำ�ว่าดีนะ ไม่อ่านดูหน่อยเหรอ ผมไม่คิดจะอ่าน กลัวโดน ล้างสมอง ก็เห็นๆ กันอยู่ว่าความคิดเห็นในหลายๆ เรื่องของ เราสองคนมักจะสวนทางกัน ผมชอบความแน่นอน ยิงตรงเข้า ประเด็น สั้นกระชับ ตัดสินใจเร็ว และหาข้อสรุปหาคำ�ตอบให้ กับทุกคำ�ถามหรือข้อสงสัย เพื่อนำ�ไปใช้ได้ทันที ส่วนน้องชาย กลับชอบอยู่กับความไม่แน่นอน พูดช้า ไม่สรุปความคิดใดๆ มีคำ�ลงท้ายว่า มั้งบ้าง รึเปล่าบ้าง คลุมเครือ ไม่ชัดเจนหรือ ฟันธงกันเรื่องใดๆ สักเรื่อง ดูแล้วกลุ้มเลยครับ ขณะทีผ่ มกำ�ลังหาทางจัดการแก้ไขความคิดน้องชายอยูน่ น้ั เป็นช่วงที่ธุรกิจกำ�ลังอยู่ในช่วงขาลง ยอดขายตก ผมเลยต้อง ปล่อยน้องชายไปก่อน ง่วนอยู่กับการทำ�งานตั้งแต่เช้าจนค่ำ� หงุดหงิดมาก อารมณ์เสียบ่อย ไม่ค่อยได้คุยกับครอบครัว แต่น้องกลับดูเข้ากับสมาชิกในครอบครัวได้ดี รู้สึกว่าเขาใส่ใจ ทุกคนมาก ไปๆ มาๆ เขากลับรู้เรื่องคนในบ้านมากกว่าผม ทั้งๆ ทีก่ ลับมาไม่ถงึ เดือน ทุกคนรอบตัวดูมคี วามสุขขึน้ เรือ่ ยๆ ขณะทีผ่ มนั้นกลับทุกข์ลงเรื่อยๆ ปฐมบท / 25


ก่อนที่ทุกอย่างจะพังทลาย ผมกลั้นใจหันกลับมา เบรค ตัวเองดังเอี๊ยด ลองเปิดใจถามน้องชายในสิ่งที่เขากำ�ลังเดิน ทางค้นคว้าอยู่ ยอมหยิบหนังสือ จิตผลิบาน มาอ่าน แล้วให้ สะดุดใจกับคำ�แปลกใหม่หลายๆ คำ� เช่น จิตใหญ่ สุนทรียสนทนา องค์กรจัดการตนเอง วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ และควอนตัมฟิสิกส์ ผู้ที่เขียนบทความก็ล้วนเป็นดอกเตอร์ และปราชญ์ชั้นแนวหน้าของเมืองไทยทั้งนั้น “อา... ผมง่วนอยู่แต่กับโลกธุรกิจจนไม่ได้มองออกไป รอบๆ ตัวเลยว่า นี่มันมีโลกใบใหม่อีกใบแล้วหรืออย่างไร ผม ไปอยู่ไหนมานะ” ผมรำ�พึงกับตัวเอง และใช้เวลาพอสมควร กว่าจะเริ่มเข้าใจคำ�ศัพท์ใหม่ๆ เหล่านี้ ด้วยความสนใจเรื่อง การจัดการเป็นทุนเดิม ผมเริ่มมองเห็นแสงสว่างรำ�ไรของการ จัดการในแบบกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งอาจฉีกองค์ความรู้ใน ปริญญาโทของผมทิ้งไปเลย แต่ ยังไม่อาจบอกตัวเองได้ว่า เพียงการอ่านอย่างเดียว ผมจะเข้าใจองค์ความรู้ใหม่นี้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเส้น ทางการเดินทางสายใหม่ของผม

สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 26



บทที่ ๑ ก้ า วแรกกั บ สุ น ทรี ยสน ทนา


หมอโอเปิ้นซึ่งตอนนี้คงเรียกได้ว่าเป็นพี่ชายของผมใน กระบวนทัศน์ใหม่นี้ ได้แนะนำ�เว็บไซต์วงน้ำ�ชา ของสถาบัน ขวัญเมือง เชียงราย อันทำ�ให้ผมอึง้ อีกครากับภาษาแปลกใหม่ และบทความภาษาไทยแท้ๆ แต่ผมกลับอ่านไม่รู้เรื่องแม้แต่ กระผีกเดียว ‘อา... นี่มันอะไรกัน’ ผมบ่นงึมงำ� ไม่รู้แน่ชัดกับ ความรู้ที่ได้มาใหม่นี้นัก แต่สิ่งที่อาจบอกได้ว่า นำ�พาผมให้ สนใจในกระบวนการนี้คือ สุนทรียสนทนา (Dialogue) ซึ่ง น้องชายจัดขึ้นที่ห้องนอนของเราเอง สุนทรียสนทนาก็ดเู หมือนจะง่ายๆ แค่ผลัดกันพูดทีละคน คนที่เหลือก็ตั้งใจฟังคนที่กำ�ลังพูด ฟังให้เหมือนเราดูหนังสัก เรื่อง แต่สิ่งสำ�คัญคือต้องไม่รีบด่วนตัดสินผิดถูก ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ที่ยากหน่อยก็คือ ฟังจนเขาพูดจบโดยไม่แทรกสอด แล้วเราถึงจะยกมือขึ้นแล้วพูดบ้าง เดิมทีผมไม่คิดว่ามันจะสร้างความแตกต่างไปกว่าการ สนทนาธรรมดา ดูออกจะน่ารำ�คาญด้วยซ้ำ�ที่ต้องรอจนใคร สักคนพูดจบ ก็คนเราทุกวันนี้มันชอบพูดเยิ่นเย้อกันจะตาย ก้าวแรกกับสุนทรียสนทนา / 29


พูดสรุปกันก็ไม่ค่อยเป็น ส่วนน้องผมเองก็ชอบคิดนานๆ กว่า จะหลุดออกมาสักคำ� ผมหลีกเลี่ยงที่จะพาตัวเองไปอยู่ใน สถานการณ์ที่ควบคุมอะไรไม่ได้เช่นนั้น หมอโอเปิ้นก็ไม่ยอมลดละ รู้จริตผมอีก ไปเอาเอกสารที่ นพ. วิธาน ฐานะวุฑฒ์ เขียนถึงเรื่องไดอะล็อคมาให้อ่าน มี อ้างอิงถึงเดวิด โบห์ม ซึ่งผมเองก็ไม่ได้รู้จักอะไรหรอก แต่มัน ดูน่าเชื่อถือดีแฮะ มีหลักฐานอ้างอิงด้วย เลยยอมที่จะให้ทำ� ไดอะล็อคในห้องนอนของเรา ผลลัพธ์ทเ่ี กิดขึน้ เหรอครับ ไม่นา่ เชือ่ เลยว่ากระบวนการ พูดคุยเพียง ๒ ชัว่ โมง ผม โอเปิน้ และกิบ๊ ก๊าบน้องสาวอีกคน ซึง่ ตอนนีก้ �ำ ลังอยูใ่ นช่วงวัยรุน่ ทีแ่ ทบไม่เคยคุยกันเลยในระยะ หลัง กลับนั่งคุยกันได้อย่างลึกซึ้ง รู้สึกได้เลยว่ามันช้อนเอา ความสัมพันธ์ในวัยเด็กของเรากลับมาแล้วเชื่อมกันอีกครั้ง เราสามคนทั้งหัวเราะและร้องไห้กันในวงไดอะล็อคครั้งนั้น ท่านผู้ที่ไม่เคยเข้าอาจสงสัยว่าจริงหรือ แต่ผมยืนยันว่าเรา ร้องไห้กันจริงๆ ครับ ‘อา...มันสุนทรียะขนาดนี้นี่เอง’ ผม รำ�พึงอย่างอิ่มเอมใจ ไม่ใช่ครั้งนั้นครั้งเดียว แต่ทุกครั้งที่เราทำ� ได้มีรสชาติ อารมณ์ใหม่ๆ ไม่ซ้ำ�กันเลย พอผ่านครั้งที่ ๓ ไป เราเริ่มวาง แผนกันว่าจะขยายวงโดยชวนสมาชิกในบ้านมาเพิ่ม อยากให้ สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 30


วงมันใหญ่ขึ้นอีก คงสนุกและมีอะไรแปลกใหม่มากยิ่งขึ้น ไม่นานนักผมก็ได้มโี อกาสไปร่วมวงไดอะล็อคที่ รพ. รามาฯ ซึ่งหมอโอเปิ้นริเริ่มไปจัดกับอาจารย์และเพื่อนแพทย์ที่เรียนอยู่ ด้วยกัน ซึง่ ผมก็ได้มติ รภาพใหม่ๆ และได้เห็นหมอในอีกรูปแบบ หนึ่ง หมอที่มีอารมณ์ดิบๆ ของมนุษย์  หมอที่เปิดเผยให้เห็น ความเปราะบางของพวกเขา ทำ�ให้ผมมองผูค้ งแก่เรียนในโลกนี้ เปลีย่ นไปอย่างสิน้ เชิง นีค่ งเป็นเหตุผลเข้าท่าทีผ่ มบอกตัวเองว่า “แล้วถ้าได้เข้าวงสุนทรีย-สนทนากับต้นตำ�รับเลยล่ะ จะเป็น อย่างไร” ผมรบเร้าพี่ชายผู้อายุน้อยกว่าว่าทำ�อย่างไรผมจะได้ไป ฝึกวิชาที่เชียงรายบ้าง ทางโน้นเขาต้อนรับคนใหม่ๆ บ้างไหม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ดูจากงานเขียนในเว็บ แล้ว เป็นชุมชนของนักปราชญ์ก็ว่าได้ แล้วจะคุยกับเขารู้เรื่อง ไหม ถ้าเข้าไปแบบเปิน่ ๆ แบบนีเ้ ราคงดูเป็นไอ้งง่ั แน่เลย เหล่านี้ เป็นคำ�ถามที่พรั่งพรูออกมาเมื่อตัดสินใจว่าจะไป (ทั้งๆ ที่ยัง ไม่รู้ว่าเขาจะรับ) นั่งจิตตกอยู่ไม่ทันไร โอเปิ้นวางสายโทรศัพท์ แล้วบอกผมว่า “พีค่ รับ อาจารย์ วิศษิ ฐ์ หรืออาใหญ่ทเ่ี ป็นผูอ้ าวุโส ที่นั่นอนุญาตแล้ว ไปได้เลย จะไปเมื่อไร อยู่กี่วันก็โทรไปแจ้ง เขาด้วย นี่ครับเบอร์โทร...”

“อ้าว ง่ายๆ อย่างนี้เลยเรอะ” ผมถามกึ่งสงสัย ระคน ก้าวแรกกับสุนทรียสนทนา / 31


แปลกใจ โอเปิ้นนิ่งแล้วพูดว่า “พี่ลองไว้วางใจชีวิตดู แล้วไป ทั้งๆ ที่ไม่รู้อะไรแบบนี้แหละ อะไรจะเกิดก็ค่อยไปว่ากันอีกที” ผมเองไม่คุ้นเคยเรื่องทำ�นองนี้เลย แล้วผมจะวางแผนได้ อย่างไรกันล่ะเนี่ย หลักสูตรระยะสั้นเขาเคยมีไหม จริงๆ แล้ว ต้องใช้เวลาเท่าไรถึงจะเพียงพอล่ะ แล้วสิ่งที่ผมได้มันจะคุ้มกับ ค่าตั๋วเครื่องบิน กับเวลาอีก ๑๐ วันที่จะเสียไปไหม แล้วเขาอยู่ กันกี่คน มีใครบ้าง นิสัยเป็นอย่างไร เราควรวางตัวอย่างไรดี เดี๋ยวก่อน... เมื่อกี้พูดว่าอะไรนะ เอ่อ ไว้วางใจชีวิตเหรอ โอเคๆ ลองดูก็ได้ สักครั้งในชีวิตที่ไม่ต้องมีเป้าหมายที่จะต้อง ทำ�อะไร แต่ครั้งเดียวเท่านั้นนะ ผมพล่ามเสียงระงมในหัว พอคิดได้ก็เลยเข้าเว็บ ซื้อตั๋วเครื่องบินขาไปเที่ยวเดียว เพราะไม่รู้ว่าจะถูกไล่กลับหรือหนีกลับก่อน หรืออาจจะอยาก อยู่ต่อก็เป็นได้ มุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงราย ไปยังที่ที่ผมไม่รู้จัก ไปพบคนที่ผมไม่คุ้นเคย กับความรู้ที่ผมยังไม่อาจเข้าใจบน ฐานความรู้แบบเดิม มา ณ ตอนนี้ก็เห็นได้ว่าตนเองเริ่มอยู่ได้ กับความไม่แน่นอน และสามารถไว้วางใจในชีวิต อืม...จะว่าไปความรู้สึกแบบนี้มันก็ผ่อนคลายดีนะ ผม สงบขึ้นขณะก้าวเท้าขึ้นเหยียบนกเหล็กตัวใหญ่ ที่จะสยายปีก พาผมเหินเวหาไปถึงเชียงรายภายในอีก ๑ ชั่วโมงกว่าๆ ข้าง หน้านี้ เอ... ถ้าเทียบเป็นเวลานี่รู้สึกว่าจะเร็วกว่าการเดินทาง สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 32


บนถนนจากบ้านเราที่ถนนสุทธิสารไปมาบุญครองอีก คิดไป มันก็ขำ�ๆ ดีเหมือนกันนะ ผมยิ้มเล็กๆ ให้กับตัวเอง ก่อนปรับ เบาะ และเอนหลังพิงเก้าอี้นุ่มๆ แล้วหลับไป

ก้าวแรกกับสุนทรียสนทนา / 33


บทที่ ๒ เข้ า พ บมา สเต อ ร์ โยด า


โดยที่ไม่ได้ขอให้ใครมารับ เนื่องจากไม่อยากให้ตัวเอง เป็นภาระมากเกินไป ผมจึงขอแผนทีจ่ ากตำ�รวจท่องเทีย่ ว แล้ว ดัน้ ด้นจากสนามบินเชียงรายมาจนถึง ‘ร้านหนังสือห้องนัง่ เล่น’ ซึ่งรู้มาคร่าวๆ ว่าอยู่หลังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ก็ภูมิใจลึกๆ ว่า มั่วๆ มาก็ถูกแฮะ เมืองไทยนี่น่าไว้ใจในการ เดินทางพอสมควรทีเดียว ที่นี่เป็นบ้านสองชั้น หาได้ง่ายเพราะรอบข้างขนาบด้วย โรงแรมและอพาร์ตเมนท์สูงใหญ่ แต่ร้านนี้อยู่ตรงกลางพอดี และดูร่มรื่นที่สุด ดูแล้วน่าอยู่และน่าสบายดีไม่น้อย แม้ตอนนี้ อากาศจะร้อน แต่ถา้ เป็นช่วงหน้าหนาวบรรยากาศคงจะเหมือน อยู่เมืองนอกทีเดียว ผมสูดอากาศเข้าเต็มปอดสองสามทีให้ ผ่อนคลายจากการเดินทาง แล้วโทรหาอาจารย์ วิศิษฐ์ บอกว่า ผมมาถึงแล้ว ครู่เดียว ชายวัยกลางคน ผิวขาว ท่าทางใจดี มีแอบ ทันสมัย ย้อมผมสีน�ำ้ ตาลอ่อนด้วย แต่งกายบ่งบอกความเป็น ชาวเหนือ เสื้อผ้าป่านทอมือแขนยาวสีขาว กางเกงม่อฮ่อม เข้าพบมาสเตอร์โยดา / 35


สามส่วน สะพายย่าม เดินมาเปิดประตูให้ ผมรีบยกมือไหว้ เราแนะนำ�ตัวซึ่งกันและกัน ท่านคือ อาจารย์มนตรี ทองเพียร เรานั่งลงคุยกันถึงเหตุผลที่ผมมา ข้างหน้ามูลนิธิจัดเป็นเก้าอี้ นัง่ ล้อมวงเกือบ ๑๐ ที่ มีโต๊ะตรงกลาง มีชดุ น้�ำ ชาวางอยู่ เหมือน ดั่งเป็นที่นั่งสนทนาวิสาสะกันอยู่เป็นประจำ� ดูอาจารย์มนตรี ให้ความสนใจกับเรื่องที่ผมเล่า และเป็นกันเองมาก ยังกับว่า คุยเรื่องสำ�คัญธุรกิจโปรเจคร้อยล้านก็ไม่ปาน ชุมชนขวัญเมืองใช้ห้องนั่งเล่นนี้เป็นสถานที่มาจัดอบรม พบปะและพักผ่อนหย่อนใจ ชั้นล่างเป็นห้องสมุด มีหนังสือ แปลกตามากมาย ท่าทางน่าอ่านทั้งนั้น ที่สำ�คัญอ่านฟรี ถ้า เกิดหิวขึ้นมาที่ร้านจะมีเมนูอาหารสุขภาพ ซึ่งใช้วัตถุดิบชั้นดี เน้นจำ�พวกปลาและอาหารทะเล เมนูสลัดก็เป็นพืชผักปลอด สารพิษ และเมนูเด็ดคือน้ำ�ผลไม้ปั่นตามฤดูกาล ส่วนชั้นบน ก็เป็นที่ทำ�การหรือออฟฟิศของมูลนิธิสังคมวิวัฒน์ ไว้ใช้สอย ด้านธุรการ คุยกันได้สกั พักอาจารย์กถ็ ามว่า “จะมาอยู่ ๑๐ วันใช่ไหม งั้นให้เรือรบพักที่มูลนิธินี่แหละ ห้องเราจัดไว้ให้แล้วชั้นบน เอา ของไปเก็บก่อน แล้วเดีย๋ วจะพาไปพบ อาจารย์ วิศษิ ฐ์” อาจารย์ มนตรี เผยมือชี้ทางขึ้นชั้น ๒ ของตัวบ้าน ผมกล่าวขอบคุณ แล้วถือของเดินขึ้นห้อง “โอ้โฮ... ได้มีห้องส่วนตัว ให้พักได้ตั้ง สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 36


๑๐ วัน นี่เราโชคดีมีบุญ หรือที่นี่เขาใจดี ใจบุญกันแน่นะ” ผมคิด ข้างบนผมได้พบสมาชิกอีกคนคือ แอน เป็นหลานสาว อาจารย์มนตรี เพิง่ ย้ายมาพร้อมลูกชายอายุราว ๖ ขวบ ชือ่ น้องฟิวส์ ทัง้ สองมาถึงก่อนผมได้ ๒ อาทิตย์ แอนเล่าว่ามาช่วย งานด้านธุรการ ดูเหมือนมีรอ่ งรอยของความโศกเศร้าปรากฏอยู่ ในดวงตาของเธอ ผมไม่แน่ใจนักแต่เดาว่าคงเป็นเหตุผลหนึ่ง ในหลายๆ เหตุผลที่เธอย้ายมาอยู่ที่นี่ ผมเชื่อว่าไม่นานเธอคง ได้รับการเยียวยาให้ดีขึ้น เพราะดูท่าทางเธอเป็นคนเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยวทีเดียว แล้วก็ได้พบ โอ วัยรุ่นร่างใหญ่ หนวดเคราหนาครึ้ม แต่ สังเกตเห็นแววตาอ่อนโยน โอมาอยูท่ น่ี เ่ี พือ่ เรียนด้านคอมพิวเตอร์ เขาบอกผมว่าที่นี่เป็นที่ที่อนุญาตให้เขาได้เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างเดียวได้เต็มที่ ไม่ต้องเรียนวิชาอื่นที่เขาไม่อยากเรียนให้ รกสมอง เอ... ผมเองก็เคยคิดอย่างโอนะ เรียนไปทำ�ไมมากมาย เรียนมาตั้งแต่อนุบาลจนจบปริญญาโทนี่ก็ ๒๑ ปีเข้าไปแล้ว บางวิชาที่เราไม่ชอบมันก็ดูรกสมองจริงๆ ด้วย ที่สำ�คัญมันก็ ลืมไปเกือบหมดแล้วด้วยสิ แล้วที่ผ่านมาเราเรียนอะไรไปบ้าง หว่า มันจะอยู่ถึงครึ่งไหม แล้วมันได้ใช้สักเท่าไรกัน โอคงจะมี เข้าพบมาสเตอร์โยดา / 37


เวลาเต็มที่ให้กับสิ่งที่เขาอยากเรียน เวลาที่คนอื่นนั่งทนเรียน ในบางวิชา โอกลับว่างและใช้เวลานั้นฝึกฝนเฉพาะในสิ่งที่เขา สนใจ นี่คงเป็นที่ที่เขาเรียกว่าโฮมสคูลสินะ ผมครุ่นคิด ราว ๑๕ นาทีจากมูลนิธิ อาจารย์มนตรี ก็พาผมมาถึง บ้าน อาจารย์ วิศษิ ฐ์ วังวิญญู ทีห่ ลายๆ คนเรียกกันว่า อาใหญ่ ผู้ก่อตั้งสถาบันขวัญเมือง มูลนิธิสังคมวิวัฒน์ นักคิด นักเขียน ผู้คร่ำ�หวอดในวงการ และเป็นแนวหน้าคนหนึ่งในศาสตร์แห่ง กระบวนทัศน์ใหม่ มีผลงานเขียนและแปลมากมาย ซึ่งผม จินตนาการไว้ว่า คงเป็นชายแก่ร่างใหญ่ ผิวคล้ำ� ดุดัน ฝีปาก กล้า ผู้ปลีกกายซ่อนเร้นอยู่ในภูผาแห่งความลึกลับ ซ่องสุมขุม กำ�ลังเพื่อก่อการอะไรบางอย่างอยู่ ก่อนที่ความคิดจะเลยเถิดไปกว่านั้น พลันเจ้าสี่ขาขนฟู ตัวจ้อยวิ่งกระดิกหางเข้ามาทักทายอย่างอารมณ์ดี นี่คงเป็น เต้าหู้ เพื่อนน้อยตัวโปรดของพี่เม ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนคู่ชีวิตของ อาใหญ่ เขาว่ากันว่า นิสัยสัตว์เลี้ยงจะบ่งบอกได้ถึงจิตใจของ เจ้าของ ผมสบายใจที่เต้าหู้ดูร่าเริง และเป็นมิตร มิได้เห่า กรรโชกใส่ผู้ผ่านไปมาเหมือนหมาในซอยแถวบ้าน อาใหญ่นั่งรอผมอยู่ในบ้าน อาจกล่าวอย่างไม่เกรงใจว่า ดูเผินๆ ท่านเป็นเพียงอาแปะธรรมดาคนหนึ่ง ปล่อยผมสีขาว ตามวัย แต่แม้จะอายุ ๕๕ ปีแล้ว หน้าตาผิวพรรณก็ยงั ดูหนุม่ สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 38


กว่าคนวัยเดียวกันอยู่มาก ผิวขาวอย่างชาวจีน ร่างกะทัดรัด แต่งกายลำ�ลองด้วยเสื้อยืด กางเกงขาสั้นสบายๆ ไม่ต้องมี พิธีรีตองอะไรนัก แววตาอบอุ่นเป็นมิตร รอยยิ้มปรากฏชัด บนใบหน้า ประหนึ่งว่าท่านยิ้มเป็นอาชีพ ไม่มีรังสีแห่งการใช้ อำ�นาจ หรือถือตัวในความขลังของภูมิปัญญาใดๆ ท่านวางตัว สบายๆ ผายมือเชื้อเชิญให้นั่ง เปิดพื้นที่ให้ผู้มาเยือนอย่างผม ผ่อนคลายอย่างบอกไม่ถูก ชาร้อนๆ หอมกรุ่น ถูกนำ�มาเสิร์ฟ โดยภรรยาในชุดพื้นเมืองสบายๆ เช่นกัน พี่เม ในวัย ๔๐ ต้นๆ ถ้าไม่บอกมาก่อนก็เดาอายุไม่ออก เช่นกัน ผิวสีแทนเหมือนผมเลย ทราบว่าชอบว่ายน้ำ� ดูเป็น นักคิด พูดน้อย สุขุม ไม่เหมือนนามเต้าหู้ในกระทู้ที่ดูสดใส พูดเป็นต่อยหอย ออกแนวขี้เล่นนิดๆ หรือพี่เมอาจเป็นคน เช่นนั้นจริงๆ ก็ได้ ถ้าผมสนิทกับเธอมากขึ้นกว่านี้ เงียบ... ไม่มีคำ�ถามใดๆ ถึงจุดประสงค์การมาของผม จากปากอาใหญ่ ผมเลยต้องเล่าออกมาเอง ท่านได้แต่ยม้ิ แล้ว รำ�พึง ดี ดี ก่อนขยับตัวลุกไปที่ชั้นหนังสือข้างหลัง ค้นหยิบ หนังสือมา ๒-๓ เล่ม เล่มหนึง่ หนาราว ๓๐๐ หน้า “ลองใช้ เวลากับมันดู น่าจะเป็นด้านการจัดการอย่างที่สนใจ แต่ไม่ ต้องอ่านทั้งหมดก็ได้ อ่านเฉพาะบทที่ดูแล้วสนใจอยากอ่าน แล้ววันที่ ๑๗-๑๙ นี้จะมีจัดเวิร์คชอปที่นครสวรรค์ จะไปดู ไหม” ผมยิ้มแล้วบอกว่า “ผมมาเรียนรู้อย่างไม่มีเงื่อนไข เข้าพบมาสเตอร์โยดา / 39


ให้ไปไหน ทำ�อะไรก็ไปหมดล่ะครับ” อาใหญ่ร�ำ พึง “ดี... ดีมาก” แล้วกดโทรศัพท์นัดใคร ๒-๓ คนแล้วหันไปหาสหายเก่า “มนตรี... ผมว่าเย็นนี้ช่วยนัดทุกคนมาเจอเรือรบหน่อย เจอกันที่เดิมร้านกาแฟ ๕ โมงเย็น” หันมาหาผม “งั้นเดี๋ยว ไว้เราค่อยเจอกันใหม่นะ ตอนนี้ขอตัวไปพักก่อน” อ่า... แล้วไงเนี่ย ผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับที่นี่ หรือว่างาน ของอาใหญ่เลยนะ แล้ว ๑๐ วันนี้ผมต้องทำ�อะไรบ้างล่ะ ผม ได้แต่เก็บความสงสัยไว้ก่อน เพราะอย่างน้อยผมก็ได้หนังสือ มาบู๊ถึง ๓ เล่ม คงต้องใช้เวลาทีเดียว แต่เริ่มรู้คร่าวๆ ว่า เวิรค์ ชอปทีจ่ ดั ให้ผสู้ นใจ ในกระทูท้ เ่ี ว็บจะเรียกว่า กระบวนการ ผู้จัดหรือวิทยากรจะเรียกว่า กระบวนกร เรียกเป็นคำ�แสลง คือ เจได ก็เปรียบดังเช่น อัศวินที่ใช้พลังจิตในการต่อสู้มีดาบ เลเซอร์คู่กายในมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่อง สตาร์วอร์ส ส่วน อาใหญ่จะเป็นผู้ฝึกฝนเจได จึงเรียกว่า โยดา ส่วนคนที่ได้รับ คัดเลือกเข้ามาฝึกฝนตนเองให้เป็นเจได เรียก พัดดาวัน เหตุที่ เรียกเช่นนี้คงมีอะไรบางอย่างเกี่ยวข้องกับในหนัง สิ่งที่สลับซับซ้อนนักผมคงมิอาจมาอธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ได้ ก็คงมีอะไรให้ผมเรียนรู้อีกเยอะใน ๑๐ วันนี้ ผมเริ่มรู้สึก ตื่นเต้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

สิบวันเปลี่ยนชีวิต / 40



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.