“เขมราฐ” ดินแดนแห่งความเกษมสุข
“รถบัสสีชมพู คู่ชีวิตนิสิต มมส”
อ่านต่อหน้า 10
อ่านต่อหน้า 7
หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ประจำ�เดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ราคา 10 บาท
แม่พิ ม พ์ที่ บิ ด เบี้ ย ว จัดระเบียบ : เทศบาลต�ำบลท่าขอนยาง เร่งแก้ไขแผงกั้นกลางถนน
เทศบาลท่าขอนยางชู2วิธี แก้ไ ขปัญ หาแผงกั้ น ถนน
พฤติกรรมชู้สาวอาจารย์–ลูกศิษย์
เทศบาลต�ำ บลท่ า ขอนยางชงแผน ปรั บ แก้ แ บบโครงการแผงกั้ น ถนนบริ เ วณ ท่าขอนยาง เหตุมีชาวบ้านร้องเรียนปัญหา ความไม่สะดวก ชู 2 วิธีแก้ไข ได้แก่ ท�ำแผง กั้นกลางถนนให้ต�่ำลง และสร้างเกาะกลาง ถนนในบริเวณการจราจรหนาแน่น ชี้ขณะนี้ อยู ่ ใ นขั้ น ตอนการพิ จ ารณาเนื่ อ งจากต้ อ ง หารือหลายฝ่าย นายกฤษณะ ทรงเจริญ นายช่างโยธา เทศบาลต� ำ บลท่ า ขอนยาง อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า การด�ำเนินโครงการ แผงกั้นถนนมีการจัดท�ำโครงการล่วงหน้า 3 ปี ตัง้ แต่โครงการขยายถนนและโครงการแผงกัน้ ถนน เพื่อจัดระเบียบการจราจร อ่านต่อหน้า 15
มมส เล็ ง ใช้ง บ 235 ล้า นบาท ปรับเงินเดือนพนักงานในปี 60 หลั ง อั้ น มานานมากกว่า 3 ปี รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและวิจยั มมส เผยเตรียมใช้งบ 235 ล้านบาท ปรับเงิน เดือนพนักงานมหาวิทยาลัย หลังจากไม่ปรับ เงิ น เดื อ นตามมติ ครม. มากว่ า 3 ปี ชี้ มหาวิทยาลัยจะต้องเก็บเงินไว้ในกรณีฉกุ เฉิน ไม่สามารถปรับเงินค่าจ้าง 4% ภายในปี พ.ศ. 2560 พร้อมกันได้ แจงทยอยจ่าย 3 รอบ ตามทีค่ ณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ปรับ เพิ่มเงินเดือนแก่พนักงานมหาวิทยาลัย (มมส) แต่ กลับพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2556-2559 มหาวิทยาลัย มหาสารคามยังไม่ด�ำเนินการตามมติ ครม. อ่านต่อหน้า 15
“ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้ อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี” ค�ำร้องท่อนหนึ่งที่คุ้นหูในบทเพลงพระคุณที่สาม บวก กับท่วงท�ำนองที่คล้องจอง จับใจ และสะท้อนความสัมพันธ์ของผู้เป็นครูกับศิษย์ได้อย่างแนบแน่น แต่หากเมื่อใดที่ความสัมพันธ์แปร เปลี่ยนเป็นชู้สาว “ครู” ค�ำนี้ยังควรค่าแก่การเทิดทูนและเคารพหรือไม่ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ส�ำรวจพบว่ามีอาจารย์บางส่วนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ได้ประพฤติผิดศีลธรรมและจรรยาบรรณต่อนิสิต ทั้งในทางวาจา ความประพฤติ หรือการคบหาเชิงชู้สาว ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในมหาวิทยาลัย
อ่านต่อหน้า 14
เทศบาลสารคามเล็ ง เปลี่ ย นขยะเป็น เชื้ อ เพลิ ง นั ก วิ ช าการแนะวิ ธี ดี ที่ สุ ด คื อ การคั ด แยกขยะ เทศบาลเมื อ งมหาสารคามชู นโยบายแปรสภาพขยะเป็นเชือ้ เพลิงในการ ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือ RDF เร่งแก้ไขปัญหา ขยะ แต่ติดปัญหาเหตุ สตง. ชี้ว่าขยะคือ ทรัพย์สนิ ของราชการ ไม่สามารถซือ้ ขายแลก เปลีย่ นได้ ขณะทีเ่ ทศบาลต�ำบลท่าขอนยาง แจงในอนาคตต้องมีบ่อขยะเป็นของตัวเอง วิกฤต : บ่อขยะหนองปลิงบ่อสุดท้ายใกล้เต็ม เทศบาลฯเร่งแก้ปัญหา
เพือ่ รองรับหลังบ่อขยะหนองปลิงปิด ด้านนัก วิชาการสิง่ แวดล้อมแย้ง RDF เป็นก�ำจัดขยะที่ ไม่ถูกต้อง แนะวิธีจัดการได้ดีที่สุดคือการคัด แยกขยะ จากกรณีทเี่ ทศบาลเมืองมหาสารคามได้ ใช้ พื้ น ที่ บ ้ า นหนองปลิ ง ต.หนองปลิ ง อ.เมื อ ง จ.มหาสารคาม เป็นพื้นที่รองรับขยะ ก่อตั้งเมื่อปี
พ.ศ.2542 มีทงั้ หมด 4 บ่อ บ่อละ 3 ชัน้ ชัน้ ละ 2 ม. จนขณะนี้มีจ�ำนวนขยะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่ง ผลให้บ่อขยะที่สามารถรองรับขยะได้ถึง 20 ปี สามารถรองรับได้เพียง 17 ปีเศษเท่านั้น ทาง เทศบาลเมืองมหาสารคามจึงมีแนวโน้มที่จะท�ำ โครงการแปรสภาพขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต กระแสไฟฟ้าหรือ RDF เพือ่ แก้ปญ ั หาขยะล้นเมือง อ่านต่อหน้า 2
หน้า 2
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
สิ่งแวดล้อม
อบต.เขาหลวง จั ด ประชุ ม ลั บ ต่อ อายุ เ หมื อ งแร่เ มื อ งเลย จากกรณีเหมืองแร่ทองค�ำจังหวัดเลย ที่ บริษัท ทุ่งค�ำ จ�ำกัด ได้รับอนุญาตสัมปทานบัตร การท�ำเหมืองแร่จากกระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อ พ.ศ.2545 ในบริเวณภูทับฟ้า ซึ่งส�ำนักงานปฏิรูป ที่ดินจังหวัดเลย มีหนังสือยินยอมให้บริษัท ทุ่งค�ำ จ�ำกัด ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อใช้ในกิจการ เหมืองแร่ทองค�ำ เลขที่ 1-4/2546 บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย เนื้อที่ รวม 369 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา มีก�ำหนด 10 ปี ซึ่งออกให้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2546 และ ได้หมดอายุลงใน พ.ศ.2556 (ข้อมูลจาก ThaiPublica.org) ทั้ ง นี้ ในช่ ว งเช้ า วั น ที่ 16 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.2559 สมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบลเขา หลวง (ส.อบต.เขาหลวง) อ.วังสะพุง จ.เลย ได้เปิด ประชุมลับ เพือ่ ลงมติในวาระการขอต่ออายุการใช้ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคกภูเหล็ก บนภูทับฟ้า หมูท่ ี่ 3 บ.นาหนองบง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ในการประกอบกิจการเหมืองแร่ โดยมีเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจ เจ้าหน้าที่อาสาทั้งในเครื่องแบบและนอก เครือ่ งแบบ รวมถึงเจ้าหน้าทีท่ หารคอยกีดกันไม่ให้ ชาวบ้านเข้าร่วมในการประชุม โดยแจ้งว่าชาวบ้าน ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติการท�ำเหมืองทองค�ำต่อ ในพื้นที่หรือไม่ ขณะที่ด้านชาวบ้านมีการชุมนุม อย่างสงบและปราศจากอาวุธ นางพรทิพย์ หงชัย ตัวแทนสมาชิกกลุ่ม ฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน อ.วังสะพุง จ.เลย ให้ขอ้ มูลว่า การทีช่ าวบ้านรวมตัวกันคัดค้านไม่ให้ เหมื อ งแร่ ต ่ อ อายุ สั ม ปทานบั ต รนั้ น เนื่ อ งจาก บริ เ วณที่ ใ ช้ ท� ำ เหมื อ งแร่ คื อ แหล่ ง ต้ น น�้ ำ และ ทรัพยากรหลักที่ใช้ในการด�ำรงชีพ หากกิจการ เหมืองแร่ทองค�ำได้รับการต่ออายุสัมปทานอีก จะ เกิดผลกระทบในระยะยาว อีกทั้งเหมืองได้มีการ ยื่นสัมปทานบัตรบริเวณภูเหล็ก ซึ่งติดกับภูทับฟ้า จึงเป็นที่น่าจับตามองที่สุด เพราะภูเหล็กเป็นต้น ต่อจากหน้า 1
ขยะล้นเมือง นางสาวเบญจวรรณ เหล่ า สี ย งค์ นักวิชาการสุขาภิบาล เทศบาลเมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า รัฐบาลได้จัดท�ำผังขั้น ตอนการบริหารประเทศหรือโรดแมป (Road map) ซึ่ ง หนึ่ ง ในนโยบายของโรดแมปคื อ มี น โยบาย จัดการขยะซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศ ทางเทศบาล เมืองมหาสารคามก็ได้มีการจัดการขยะ โดยการ รณรงค์ลดขยะจากต้นทาง และให้ประชาชนลด การทิง้ ขยะ รวมถึงแยกขยะเพือ่ ลดปริมาณขยะใน บ่อ ซึ่งการจัดการขยะตั้งแต่เริ่มต้นเป็นการแก้ ปัญหาที่ต้นทาง เพราะหากสามารถลดปริมาณ ขยะในส่วนนี้ได้ก็จะท�ำให้การก�ำจัดขยะง่ายขึ้น เพราะขณะนี้บ่อขยะหนองปลิงเต็มไป 3 บ่อ ตอน นี้อยู่บ่อที่ 4 ซึ่งเป็นบ่อสุดท้าย ถ้าประชาชนยังคง ไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะก็จะ ท�ำให้ขยะในบ่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นางสาวเบญจวรรณ กล่ า วต่ อ ว่ า เทศบาลเมื อ งมหาสารคามมี โ ครงการที่ จ ะน� ำ พลาสติกทีไ่ ม่ใช้แล้วจากสถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอย มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง แต่ยังไม่สามารถรู้ได้แน่ชัด ว่าจะท�ำได้ส�ำเร็จหรือไม่ เพราะกรณีดังกล่าวยัง เป็ น ข้ อ ถกเถี ย งกั บ ส� ำ นั ก งานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าขยะคือทรัพย์สนิ ของราชการ ไม่สามารถ ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ ด้านนายปัญญา ศรีธรณ์ นิตกิ ร องค์การ บริหารส่วนต�ำบลหนองปลิง (อบต.หนองปลิง) จ.มหาสารคาม เผยว่า ปัจจุบนั นีบ้ อ่ ขยะรับได้เพียง 100 ตัน/วัน แต่ไม่นานมานี้ได้ท�ำบันทึกข้อตกลง
น�้ำชั้น 1A (บริเวณต้นน�ำ้ ทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์ทาง ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย) นางพรทิ พ ย์ กล่ า วเพิ่ ม เติ ม ว่ า การที่ บริษทั ทุง่ ค�ำจะขอต่ออายุสมั ปทานในการประกอบ กิจการเหมืองแร่ ทางบริษทั ไม่มกี ารเข้ามาชีแ้ จงกับ ชาวบ้านให้รับทราบถึงรายละเอียดทีี่จะขอเปิด ท�ำการเหมืองแร่ ทราบข่าวว่าจะมีการเปิดประชุม ลับของ ส.อบต.เขาหลวง จึงรวมกลุม่ กันเพือ่ เข้าฟัง ข้อคิดเห็นเกีย่ วกับการประชุม เพราะชาวบ้านมอง ว่าการเข้าร่วมฟังการประชุมนั้น เป็นการใช้สิทธิ อย่างชอบธรรมเป็นไปตามหลักของสิทธิชุมชน อย่างไรก็ตาม หากจะเปรียบเทียบผล กระทบให้เห็นชัดเจน ควรถอดบทเรียนจากเหมือง ทองค�ำ จ.พิจิตร เพราะเห็นผลกระทบได้เด่นชัด ทีส่ ดุ ในเรือ่ งของสิง่ แวดล้อมและประชาชนในรอบ บริเวณเหมืองทองค�ำ จ.พิจิตร ทั้งนี้ส�ำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดเลยได้ลงพืน้ ทีต่ รวจสอบสารปน เปื้อนในแหล่งน�้ำ พบว่า มีจ�ำนวนสารโลหะหนัก ประเภทตะกั่ว แมงกานีส ก�ำมะถัน สารหนู ฯลฯ นอกจากนี้ ผลการตรวจเลือดของคนในหมูบ่ า้ นยัง พบว่ามีสารหนูปนเปื้อนในร่างกายสูงเกินกว่าค่า มาตรฐานคือ เกินกว่า 0.01 มก. จากการส�ำรวจ เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ.2557 ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชือ้ นักวิชาการด้าน สิ่งแวดล้อม และอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ขอ้ มูล ว่ า ปั จ จุ บั น นี้ ผ ลกระทบจากเหมื อ งทองค� ำ ใน ประเด็นสุขภาพได้ขยายวงกว้างมากขึ้นเนื่องจาก ล�ำห้วยเหล็กได้กลายมาเป็นล�ำห้วยมรณะ เมือ่ สาร พิษและโลหะหนักได้ปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร “ในวันทีผ่ มลงพืน้ ที่ ชาวบ้านได้พาผมเข้า ส�ำรวจห้วยเหล็ก พบว่าในล�ำห้วย ซึง่ แต่เดิมเต็มไป ด้วยสัตว์น�้ำและพืชน�้ำที่เป็นอาหารของชาวบ้าน เช่น หอยขม หอยปรัง ปลาต่างๆ และเทา ได้หาย ไปจากล�ำห้วยหมดแล้ว ขณะที่ผักหนาม ผักกูด เป็นทั้งอาหาร และแหล่งรายได้ทางเศรษฐกิจของ ชาวบ้านก็หงิกงอ ใบไหม้เกรียม” ดร.ไชยณรงค์ กล่าว
ดร.ไชยณรงค์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ส.อบต.เขาหลวง ไม่รักษาผลประโยชน์ของชาว บ้าน จะเห็นได้จาก 2 กรณีคือ หากมีประชามติ ส.อบต. จะต้องชี้แจงว่าหากมีเหมืองเกิดขึ้นใน บริเวณชุมชนจะส่งผลกระทบอย่างไรกับชุมชนบ้าง ซึ่งค�ำตอบก็คือ ท�ำให้เกิดการจ้างงานในชุมชน กระทัง่ ชาวบ้านถามกลับว่าแล้วประโยชน์อย่างอืน่ มีไหม ซึ่ง ส.อบต. ส่วนใหญ่ก็ยังคงให้ค�ำตอบกับ ชาวบ้านไม่ได้ ดร.ไชยณรงค์ ให้ขอ้ มูลเพิม่ เติมว่า ต่อมา ส.อบต.เขาหลวง จึงมีมติให้มีการประชุมลับเรื่อง การอนุญาตให้เหมืองท�ำการต่อ โดยหลักกฎหมาย แล้วสามารถท�ำได้ แต่ตามหลักธรรมาภิบาลไม่ สามารถท�ำได้เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องของส่วนรวม และสาธารณประโยชน์ ฉะนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์
กับ 15 เครือข่าย โดยให้หน่วยงานบริหารจัดการ ขยะเอง แต่ผ่อนปรนให้เฉพาะ 4 หน่วยงาน ได้แก่ อบต.เกิง้ เทศบาลต�ำบลท่าขอนยาง มหาวิทยาลัย ราชภั ฏ มหาสารคาม และมหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม โดยให้นำ� มาทิง้ ได้วนั เว้นวัน วันละไม่ เกิน 2 ตัน ซึ่งในส่วนของบ่อขยะนั้นเป็นเขตรับผิด ชอบของเทศบาลเมืองมหาสารคาม แต่มาทิ้งใน พืน้ ทีข่ อง อบต.หนองปลิง แต่ทาง อบต. หนองปลิง อยากให้ขนขยะออกไปเพื่อลดปริมาณลง แต่ติดที่ ว่า สตง. ชี้ว่าขยะเป็นทรัพย์สินราชการไม่สามารถ ขนย้ายออกจากพื้นที่ได้ นายปัญญา กล่าวเพิม่ เติมว่า ผลกระทบ หลักส่วนใหญ่จะมาตามฤดูกาล เช่น ฤดูฝนจะมี ผลกระทบในเรื่องน�้ำเสียที่มีค่าความเป็นกรดสูง ท�ำให้ขา้ วทีป่ ลูกในบริเวณรอบบ่อขยะเสียหายและ ยืนต้นตายอันเนื่องมาจากกรดที่มากับขยะ ส่วน ฤดูร้อนและฤดูหนาวก็จะมีผลกระทบเรื่องกลิ่น เหม็ น ที่ ก ระจายออกมาและมี แ มลงวั น อี ก ด้ ว ย ส่ ว นจ่ า เอกประวิ ท ย์ คิ ด ตะเสน นักวิชาการสุขาภิบาล เทศบาลต�ำบลท่าขอนยาง อ.กันทรวิชยั จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบ ข้อมูลการประชุมองค์กรว่าไม่ให้เทศบาลต�ำบล ท่าขอนยางทิ้งขยะในบ่อหนองปลิง แต่ได้รับแจ้ง แค่ว่าให้ลดปริมาณการทิ้งขยะเหลือเพียงวันละ 1 ตันเท่านั้น หากมีก�ำหนดว่าให้เลิกทิ้งที่บ่อขยะ หนองปลิงจริง คงต้องขอกับทางเทศบาลเมือง มหาสารคามให้ ทิ้ ง ที่ บ ่ อ ขยะหนองปลิ ง ไปก่ อ น เพราะเทศบาลต�ำบลท่าขอนยางไม่มีบ่อขยะเป็น ของตัวเอง “ในอนาคตต้องมีบ่อขยะเป็นของตัวเอง แต่ มี ป ั ญ หาในการหาพื้ น ที่ ค ่ อ นข้ า งล� ำ บาก เนื่ อ งจากประชาชนยั ง ไม่ ย อมรั บ ต่ อ ให้ มี
งบประมาณการท� ำ บ่ อ ขยะก็ ไ ม่ ส ามารถผ่ า น ประชามติ ไ ปได้ แต่ ถึ ง ยั ง ไงเทศบาลต� ำ บล ท่าขอนยางก็ต้องหาทางให้ได้ เพราะหากบ่อขยะ หนองปลิงรับขยะเต็มบ่อแล้วก็คงต้องปิดบ่ออย่าง ถาวร” จ่าเอกประวิทย์ กล่าว นางสาวนุชนาฏ ภูวงษ์การ หัวหน้าฝ่าย บริ ห ารสาธารณสุ ข เทศบาลต� ำ บลขามเรี ย ง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เผยว่า รูปแบบการ ก�ำจัดขยะของเทศบาลต�ำบลขามเรียงนัน้ มีสองรูป แบบ คือในส่วนของพื้นที่ชุมชนดั้งเดิมที่ไม่ใช่เขต เมือง จะมีการคัดแยกขยะของชาวบ้าน มีการ จั ด การการทิ้ ง ขยะเอง เพราะเทศบาลต� ำ บล ขามเรียงไม่ได้เก็บขยะในหมู่บ้านแล้ว ไม่ได้รับค�ำ ร้องเรียนว่าเกิดปัญหาการจัดการขยะแต่อย่างใด เนื่องจากปัญหาขยะส่วนมากจะเกิดขึ้นในบริเวณ สังคมเมือง มีกิจการร้านค้าและหอพักเป็นจ�ำนวน มาก แต่ในส่วนของผูป้ ระกอบการหอพักเองนัน้ ไม่ ค่ อ ยมี ป ั ญ หามากให้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ เทศบาล ต�ำบลขามเรียงเป็นอย่างดี ด้านผู้ประกอบการบ้านพักให้เช่าในเขต ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เผยว่า การจัดการขยะของหมูบ่ า้ น ได้มกี ารทิง้ ขยะไว้เป็น จุด เพือ่ ให้สะดวกต่อการน�ำไปก�ำจัด แต่ผลกระทบ ที่ตามมา มักจะเป็นเรื่องของกลิ่นและน�้ำเน่าเสีย ที่เกิดจากขยะสะสม เพราะเทศบาลต�ำบลท่าขอน ยางมาเก็บขยะเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้น แนวทางแก้ปัญหาของผู้ประกอบการคือ แจ้งให้ นิสติ ทีอ่ าศัยอยูค่ ดั แยกขยะเพือ่ ไม่ให้สง่ กลิน่ เหม็น และเกิดน�้ำเน่าเสีย ด้านการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย มหาสารคาม นายปัญญา ศรีธรณ์ นิติกร องค์การ บริหารส่วนต�ำบลหนองปลิง (อบต.หนองปลิง)
เช่นนี้ก็ชี้ชัดได้ว่า ส.อบต.เขาหลวง ปกครองท้อง ถิ่นแบบไม่มีธรรมาภิบาล “ฉะนั้ น แล้ ว ทางออกของปั ญ หานี้ คื อ ส.อบต.เขาหลวง ต้องฟังเสียงจากชาวบ้านเพราะ ส.อบต. มาจากการเลือกตั้งของชาวบ้าน เข้ามา ท�ำงานเพือ่ ปกป้องดูแลชาวบ้าน เพราะฉะนัน้ ต้อง ตัดสินใจในเรือ่ งนีบ้ นผลประโยชน์ของชุมชน ไม่ใช่ ผลประโยชน์ส่วนตัวหรือผลประโยชน์อื่นใดนอก เหนือจากชุมชน เพราะชุมชนเองก็มีกฎหมายใน ส่วนของสิทธิชุมชนควบคุมดูแลอยู่ พื้นที่ตรงนั้นมี ทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ อยูใ่ นพืน้ ทีข่ องรัฐบาลก็จริง แต่ทรัพยากรเหล่านั้นควรจะตกเป็นของชุมชน หากรั ฐ บาลยั ง ปล่ อ ยให้ ค นภายนอกเข้ า มา สัมปทานก็นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิชุมชนด้วย เหมือนกัน” ดร.ไชยณรงค์ กล่าวทิ้งท้าย
สภาพภูทับฟ้าหลังบริษัท ทุ่งค�ำ จ�ำกัด ท�ำการระเบิดหน้าดินเพื่อขุดสินแร่ทองค�ำ อ.วังสะพุง จ.เลย
อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า มหาวิทยาลัย ม ห า ส า ร ค า ม แ ล ะ ม ห า วิ ท ย า ลั ย ร า ช ภั ฎ มหาสารคาม เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย 2 แห่ ง ใน มหาสารคามที่เทศบาลฯ อนุญาตให้มีการน�ำขยะ ไปทิ้งที่บ่อขยะหนองปลิง แต่ทางมหาวิทยาลัย มหาสารคามมีการจัดการขยะภายในคือ มีโรงคัด แยกขยะภายในมหาวิทยาลัยเฉลี่ย 5 ตันต่อวัน ช่วยลดภาระการทิ้งขยะในบ่อหนองปลิงได้ส่วน หนึ่ง แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชือ้ นักวิชาการด้าน สิ่งแวดล้อม และอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผย ว่า การแปรสภาพขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต กระแสไฟฟ้า หรือ RDF เป็นการก�ำจัดขยะที่ไม่ถูก ต้อง เพราะกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นจะ ต้องมีการเผาขยะ แน่นอนว่าในขัน้ ตอนการเผาจะ เกิดมลพิษทางอากาศและกระจายไปในวงกว้าง อีกทั้งขยะหลายชนิดที่เป็นจ�ำพวกพลาสติก เมื่อ ผ่านการเผาไหม้แล้วจะท�ำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เป็นอันตรายต่อชาวบ้านโดยรอบอย่างมาก อีกทั้ง ผลกระทบในขั้นตอนการตากขยะยังจะก่อให้เกิด มลภาวะทางกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วย “วิธีการก�ำจัดและลดปริมาณขยะได้ดี ที่สุดคือเทศบาลเมืองมหาสารคามต้องมีการท�ำ เรื่องถึงร้านค้าร้านอาหารต่างๆ ที่ใช้วัสดุประเภท โฟมให้มีการลดจ�ำนวนหรือเลิกใช้วัสดุเหล่านั้น ตามทีจ่ งั หวัดอืน่ ๆ เช่น เชียงใหม่ ทีม่ กี ารลดละเลิก การใช้โฟมบรรจุห่อหุ้มอาหาร และอีกวิธีคือการ แยกขยะซึ่ ง เป็ น วิ ธี ที่ ง ่ า ยและคนทั่ ว ไปสามารถ ท� ำ ได้ หากกระท� ำ ตามขั้ น ตอนดั ง กล่ า วได้ จ.มหาสารคาม จะไม่มปี ญ ั หาทางด้านขยะเกิดขึน้ เลย” ดร.ไชยณรงค์ กล่าว
รายงานพิเศษ
ถนนหน้า ป้า ย ความปลอดภัยโรยหน้า
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) วิทยาเขตขามเรียง หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม ม.ใหม่ ขึ้ น ชื่ อ เรื่ อ งถนนที่ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด อุบตั เิ หตุสงู ทัง้ หลุม ฝุน่ ควัน และน�ำ้ ท่วมขัง จน กลายเป็นปัญหาเรื้อรังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ ใช้รถบนถนน โดยเฉพาะนิสติ ทีเ่ ข้ามาศึกษาใน สถาบันแห่งนี้ มมส ได้มกี ารวางแผนพัฒนาถนน ตั้ ง แต่ พ.ศ.2557 โดยอดี ต รั ก ษาการแทน อธิการบดี รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต ได้วางแผน ติดตามความคืบหน้าในการร่างขอบเขตของ งาน (Terms of Reference : TOR) เพื่อด�ำเนิน ก า ร ก ่ อ ส ร ้ า ง แ ล ะ ป รั บ ป รุ ง ถ น น ถ น น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม – บ้านดอนยม (ถนน หน้าป้าย) ซึง่ มีขนาดความกว้าง 13 ม. ไหล่ทาง ข้างละ 2 ม. ความยาว 1.9 กม. เพือ่ ให้เกิดความ ปลอดภัยกับนิสิตและประชาชนทั่วไปแต่เมื่อ ระยะเวลาผ่านไปกว่า 2 ปี ถนนหน้าป้ายสาย นี้ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาตามที่ ว างแผนไว้
จนเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ ยื่ น หนั ง สื อ ถึ ง องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด มหาสารคาม (อบจ.มหาสารคาม) เรื่องขอ ความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณในการ ปรับปรุงถนนหน้าป้าย แม้วา่ ถนนสายนีจ้ ะเป็น ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยก็ตาม ต่อมา นายกองโท ดร.คมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามได้ด�ำเนินการ สร้างถนนอย่างเร่งด่วนในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2559 และแล้ ว เสร็ จ วั น ที่ 19 มี น าคม พ.ศ.2559 รวมระยะเวลาเพียง 8 วัน ใช้งบ ประมาณโดยรวมทั้งสิ้นกว่า 12.85 ล้านบาท ดร.คมคาย กล่าวต่อว่า ด้วยเวลา ที่กระชั้นชิดท�ำให้ถนนอาจมีอายุการใช้งาน น้อยกว่าปกติ เพราะสภาพถนนหน้าป้ายมีน�้ำ ท่ ว มขั ง ทั้ ง สองข้ า งทางเป็ น เวลาหลายปี เนื่ อ งจากจะต้ อ งใช้ ใ นการรั บ เสด็ จ สมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการ ศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวัน อังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2559 ทีผ่ า่ นมา จึงเร่ง ด� ำ เนิ น งานให้ แ ล้ ว เสร็ จ นอกจากนี้ อบจ. มหาสารคาม ได้ด�ำเนินการติดตั้งไฟข้างถนน และกล้องวงจรปิดตลอดเส้นทางเพื่อป้องกัน อุ บั ติ เ หตุ แ ละปั ญ หามิ จ ฉาชี พ ที่ พ บบ่ อ ยใน บริเวณนี้
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 3
สารคามแดนฝัน (ฝุ่น) “สารคามแดนฝ่นุ ” ชือ่ นีค้ งติดหูประชาชน จังหวัดมหาสารคามเป็นที่เรียบร้อย โดยเฉพาะ บริ เ วณรอบมหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม (มมส) วิทยาเขตขามเรียง เดิมทีแล้วเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า “ ป่าโคกหนองไผ่ ” ต.ขามเรี ย ง อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 1,300 ไร่ ในขณะ นั้น ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคามคนแรก (พ.ศ.25382546) และได้ด�ำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2539 และด�ำเนินการเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน ดังนั้น คงไม่ต้องสงสัยว่าเม็ดฝุ่นที่ซัด สาดฟุง้ กระทบทุกอณูรขู มุ ขนประชาชนนัน้ มาจาก ทีใ่ ด เนือ่ งจากภูมศิ าสตร์ดงั้ เดิมเป็นทีด่ นิ ผืนป่าโคก อันแห้ ง แล้ ง กั นดาร และฝุ ่ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ กิ ดจากแค่ สภาพพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ การก่อสร้างต่าง ๆ ก็ถอื เป็นส่วน ส�ำคัญที่น�ำพาเจ้าฝุ่นเม็ดจิ๋วให้โคจรมาเจอกับเรา ด้ ว ย หลั ง จากที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ ก ่ อ ตั้ ง ขึ้ น มา ก็ น� ำ พาความเจริ ญ มาสู ่ ดิ น แดนแห่ ง นี้ มี ก าร ก่อสร้างตึกรามบ้านช่อง หอพัก และถนนหนทาง ต่างๆ ตามมาอย่างไม่ขาดสาย แต่ด้วยพื้นที่และ ทรัพยากรมีอย่างจ�ำกัดจ�ำเขี่ย ท�ำให้การพัฒนา ผ่านไปอย่างล่าช้า หากยามใดทีล่ มพัดมาอย่างรุนแรงโดยที่ นิสติ และประชาชนยังไม่ทนั ตัง้ ตัว ลองนึกภาพพายุ ทะเลทรายโหมกระหน�่ ำ มี ผู ้ ค นขี่ อู ฐ กลางทะเล ทราย หากแต่เปลี่ยนเป็นนิสิตขับรถเครื่องสองล้อ ฝ่าพายุฝนุ่ บ้างปิดปาก บ้างปิดจมูก อีกมือหนึง่ บิด คันเร่ง ซึ่งเสี่ยงกับการเกิดอุบัติเหตุไม่น้อย ข้ อ มู ล จากกรมอนามั ย กระทรวง สาธารณสุข ประกาศไว้ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 ว่า อนุภาคของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (particulate matter: PM 10) จะก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งโรค ระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอด เลือด เป็นต้น หากสวมเสื้ อ นิ สิ ต สี ข าวขณะขั บ รถ จักรยานยนต์โดยไม่สวมเสื้อแขนยาวคลุมไว้ เสื้อ ขาวอาจเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลแดงก็ได้ ดังนั้น นิสิต มมส จะมีอาวุธประจ�ำกายติดตัวตลอดเวลา ไม่วา่ จะเป็น แว่นกันแดด เสือ้ แขนยาว หน้ากากอนามัย และหมวก ซึ่งจ�ำเป็นต่อการเดินทางทั้งสิ้น นายไพรัตน์ ทัศน์ศรี ผูอ้ ำ� นวยการกองช่าง เทศบาลต� ำ บลท่ า ขอนยาง อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์สอื่ มวลชน
สภาพถนนที่ก�ำลังก่อสร้างบริเวณบ้านท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม อันเป็นสาเหตุของปัญหาฝุ่นละออง
ว่า ในการก่อสร้างถนนนั้นแน่นอนอยู่แล้วว่าต้อง ท�ำให้เกิดฝุน่ จ�ำนวนมาก ซึง่ ในช่วงเวลาทีผ่ รู้ บั เหมา ก�ำลังด�ำเนินงาน ทางเทศบาลต�ำบลท่าขอนยางจะ ไม่ได้เข้าไปท�ำความสะอาด แต่เมื่อก่อสร้างถนน เสร็จ เทศบาลฯจะจัดหน่วยงานออกไปท�ำความ สะอาดถนนให้ และการันตีเลยว่าถนนเส้นนี้จะไร้ ฝุน่ อย่างแน่นอน แต่ช่วงเวลาในการก่อสร้างนี้ อยากขอให้นิสิตหลีกเลี่ยงการใช้ถนนบริเวณนี้ไป ก่อนเพือ่ ความปลอดภัยในการขับขีร่ ถยนต์และรถ จักรยานยนต์ เนื่องจากฝุ่นละอองเป็นปัญหาเรื้อรังมา อย่างยาวนานดังที่กล่าวมาข้างต้น ผศ.ดร.ประยูร วงศ์จนั ทรา คณะสิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เปิดเผยว่า ฝุ่นรอบมหาวิทยาลัยเกิดจากการ ก่อสร้างหลายประเภท ทั้งถนนหนทาง ตึกหอพัก ทีต่ อ้ งใช้ดนิ เป็นส่วนประกอบหลัก เมือ่ มีการขนดิน ถมดิ น อยู ่ ป ระจ� ำ จึ ง ท� ำ ให้ ดิ น ฟุ ้ ง กระจายและ เกิดเป็นภาวะมลพิษฝุน่ ละออง ซึง่ ส่งผลกระทบต่อ ระบบสัญจร ภูมิทัศน์ วิถีชีวิตประจ�ำวันของผู้คน ทัง้ ยังเสีย่ งต่อการเป็นโรคปอดติดเชือ้ หากต้องการ แก้ไขควรน�ำกฎหมายเข้ามาบังคับใช้หรือจัดท�ำ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เพราะ ปัจจุบนั ผูป้ ระกอบการต่างๆ มักง่าย และหลีกเลีย่ ง ข้อบังคับ แต่ช้าก่อนเราไม่ได้มีแค่ฝุ่นเท่านั้นที่เป็น จุ ด ขายหลั ก เมื่ อ ฤดู ฝ นมาเยี่ ย มเยื อ น เราก็ มี เทศกาลว่ายน�้ำกลางถนน กางเปลอาบแดดริม ชายหาด เรียกได้ว่าสามารถเอาเจ๊ทสกีมาขับได้ สบาย แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยกันอยู่มาก ในเมื่อแม่น�้ำ ชีกอ็ ยูห่ า่ งจากตัวชุมชน แต่ทำ� ไมน�ำ้ ถึงท่วมได้หนอ แล้วระบบการระบายน�้ำล่ะ
ทัง้ ทีม่ กี ารวางแผนพัฒนาอยูห่ ลายปี แต่ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีแม้แต่ร่องรอยการด�ำเนิน งาน โดยเฉพาะถนนบ้านดอนยม-มมส ที่เพิ่งสร้าง เสร็จหมาดๆ นั้น หากมีน�้ำท่วมขังอย่างเช่นเคย ก็ อาจเปื่อยยุ่ยหลุดลุ่ยคืนสภาพกลายเป็นถนนบน ดาวอังคารเช่นเดิม นายศักดิ์ราม สุรภีร์ หัวหน้าควบคุมการ ก่อสร้าง โครงการพัฒนาเมืองในพื้นที่ชุมชนบ้าน ขามเรี ย ง จ.มหาสารคาม กรมโยธาธิ ก ารและ ผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงความ คืบหน้าของโครงการวางท่อบริเวณรอบ มมส ว่า ภายหลังจากการด�ำเนินโครงการมาแล้วกว่า 10 เดือน จากก�ำหนดการระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 และต้องแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ด้วยงบ ประมาณในการก่อสร้าง 215 ล้านบาท (ที่มา www.suemuanchon.com) จ . ม ห า ส า ร ค า ม แ ห ่ ง นี้ ส า ม า ร ถ เปลี่ยนแปลงภูมิประเทศได้ตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งชาว มมส ไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ล่วงหน้า เมื่อฤดูร้อนมาถึงก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ เปรียบเสมือนเป็นเศรษฐีบ่อน�้ำมันอยู่ที่อาบูดาบี ขี่อูฐกลางทะเลทราย มีมหาวิทยาลัยที่เป็นดั่งตึก เอทิฮัดทาวเวอร์ ตั้งตระหง่ า นไกลสุดลูกหูลูกตา ปัญหาเหล่านี้ ใช่วา่ เพิ่งจะเกิด แต่เป็น ปัญหาเรือ้ รังมาอย่างยาวนานหลายปี เกิดอันตราย ต่อนิสติ ก็บอ่ ยครัง้ โดยเฉพาะน้องใหม่เฟรชชีว่ ยั ใส ที่ไม่คุ้นชินถนนหนทาง ผู้รับผิดชอบต่างปัดภาระ หน้าที่เสมือนตีลูกปิงปองโต้กันไปมา สุดท้ายพวก เราชาว มมส คงได้แต่รอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเล็งเห็น ความส�ำคัญและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังเสียที
ในเมื่ อ มมส เป็นเจ้า ของถนน เหตุ ใ ดกลั บ ต้ อ งรอให้ ห น่ ว ยงานอื่ น เข้ า มา ด�ำเนินการแทน กลายเป็นถนนโรยผักชี ที่ไม่รู้ ว่าเมื่อไหร่จะได้รับการดูแลอย่างจริงจัง หรือ ถนนเส้นหน้าป้ายยังคงเป็นเพียงโครงการใน แผ่ น กระดาษ แล้ ว เมื่ อ ไหร่ เ ราจะได้ รั บ การ พัฒนาที่ยั่งยืนจริงจังเสียที
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน เป็นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของนิสิตเอกวารสารศาสตร์ เจ้าของ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โทรศั พ ท์ 043-754312-40 ต่อ 5245 บรรณาธิ ก ารผู ้ พิ ม พ์ ผู ้ โ ฆษณา อ.สุ รี วัลย์ บุ ตรชานนท์ , อ.สุ น ทรี อมรเพชรสถาพร บรรณาธิ ก ารบริ ห าร สุ ว พั น ธุ ์ วงษ์ ค� ำ อุ ด บรรณาธิการข่าว กิตติกานต์ บุญเหลี่ยม บรรณาธิการบทความ วัชรพงษ์ อินแสง บรรณาธิการฝ่ายจัดการ รติตา มาตรพร บรรณาธิการภาพ กรกนก เกียรติสมวงศ์ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ วรางคณา พงษ์สพัง กองบรรณาธิการ ณัฐปรียา เพชรศร, ธิดา เขียวน้อย, สุภาวดี ครุฑสิงห์, จิรวัฒน์ บรรจง, วาสนา เพิ่มสมบูรณ์, สุดปรารถนา เที่ยงนา, จิราภรณ์ พอกพูล, รัตสมา ค�ำแพง, พิมภินันท์ เคี่ยนบุ้น, อภิญญา พวงมณี, ปิยณัฐ แสนมานิตย์, อัษฎางค์ อินแป้น, ดวงกมล งามเมืองปัก, ปรินดา ปัตตานี, วริยา กระแจ่ม, ฌาณิตา ไพสาร, รัตน์มณี ชิมโภคลัง, อภัสรา เการัมย์, พรรณพิลาส เทียมลม, อนุศักดิ์ พรมดี พิสูจน์อักษร พชรพร อาศรัยผล, ศุภชัย แก้วขอนยาง, ทนงศักดิ์ เพ็งพารา, ชุติกาญจน์ บ�ำรุง, สิริพร ประสานเวช
หน้า 4
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
การศึกษา
นักกฎหมายเตือนไม่ช�ำระหนี้ กยศ.
ระวังอนาคต เสี่ยงติดเครดิตบูโร นั ก กฎหมายเผยหากไม่ ช� ำ ระหนี้ กยศ. เสี่ยงติดเครดิตบูโร ด้าน มมส เผยปีนี้ นิสิตคืนเงินให้ กยศ. เพิ่มขึ้น ชี้มหาวิทยาลัย ควบคุมได้เพียงนิสิตที่ศึกษาอยู่ แนะวิธีแก้ ปัญหาที่ดีคือปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรม นายเสริมศักดิ์ วิลาศรี ทนายความอิสระ เปิดเผยว่า ผู้ที่ไม่คืนเงินให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา หรือ กยศ. เป็นความผิดตามพระราช บัญญัตกิ ารประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น เนื่องจาก กยศ. เป็ น กองทุ น เพื่ อ การศึ ก ษาไม่ ใ ช่ ส ถาบั น ทางการเงิน การผิดนัดไม่ช�ำระหนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญาซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ หากผู้กู้ยืมน�ำเงินมาช�ำระจะท�ำให้คดีอาญาถูก ระงับไป เป็นแนวคิดจะใช้ด�ำเนินการความผิดการ เสียเครดิตบูโร โดยเป็นการเสียเครดิตในการมีสทิ ธิ์ ผ่อนผัน บ้าน คอนโด รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ตา่ งๆ ทั้งนี้ การผ่อนช�ำระหนี้ไม่ครบตามก�ำหนดหรือหนี หนี้ ถื อ เป็ น คดี แ พ่ ง ไม่ มี โ ทษจ� ำ คุ ก แต่ เ ป็ น บท ลงโทษเฉพาะเจ้าหนี้ที่ที่เป็นสถาบันการเงิน นายเสริมศักดิ์ เผยต่อว่า ก่อนหน้านีท้ าง กยศ. มีสิทธิ์ในการบังคับคดี สามารถยึดทรัพย์ เพราะมีการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องที่ทุกคน ต้ อ งปฏิ บั ติ ขณะนี้ ก ารน� ำ พระราชบั ญ ญั ติ ก าร ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 มาใช้ เป็น เพียงแนวคิดการสร้างพฤติกรรมทางอ้อมในการ
รับผิดชอบการช�ำระเงินที่นิสิตได้กู้ยืม ถือเป็นเรื่อง ดีที่จะสร้างจิตส�ำนึกให้นิสิตช�ำระเงินตามระยะ เวลา นางบุญชู อันบุรี หัวหน้างานกองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) เปิดเผยว่า หลักเกณฑ์ในการกู้ยืมเพื่อการ ศึกษาส�ำหรับบุคคลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รายได้ ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี ผลการเรียนใน พ.ศ. 2557 ไม่ต�่ำกว่า 2.00 และใน พ.ศ.2558 ได้เพิ่ม หลักเกณฑ์ขึ้นมาคือ นิสิตต้องเข้าร่วมโครงการจิต อาสารวม 18 ชั่วโมง หมายถึง 1 ปี จะรวมทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่นิสิตต้องปฏิบัติตามไม่ เช่นนัน้ จะไม่มสี ทิ ธิก์ ยู้ มื ได้ มีผลบังคับใช้แล้วตัง้ แต่ พ.ศ.2558 “โดยมหาวิทยาลัยจะจัดสรรงบประมาณ ต่ า งๆ ให้ นิ สิ ต กู ้ ยื ม โดยท� ำ สั ญ ญาส่ ง ให้ ท าง ธนาคาร และโอนเงินให้แก่นิสิตที่กู้ยืม กยศ. การ ท�ำงานก็จะเก็บเอกสารต่างๆ ไว้ส่วนกลาง เมื่อมี ปัญหายืมแล้วไม่คืน ทาง กยศ. ก็จะมีกลยุทธ์และ แผนการส� ำ รองไว้ ในส่ ว นของมหาวิ ท ยาลั ย ก็ ควบคุมได้เพียงนิสิตที่ยังศึกษาอยู่ นิสิตที่จบการ ศึกษาไปแล้ว ต้องเป็นหน้าที่ของ กยศ. ในการ ติดตามควบคุม” นางบุญชู กล่าว ด้านนางสาวอนงค์ ปะทะนัง พนักงาน การศึกษา รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานบริการและ สวั ส ดิ ภ าพนิ สิ ต มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม
กล่าวว่า กฎหมายถือเป็นวินยั ทีท่ ำ� ให้สงั คมมีความ เป็นระเบียบกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายทีเ่ คร่งครัด ทุกคนต้องปฏิบตั ิ เพราะผูก้ ยู้ มื กยศ. จบการศึกษา ครบก�ำหนดช่วงเวลาต้องช�ำระเงิน หากผูก้ ไู้ ม่ชำ� ระ หนีท้ างหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบจะด�ำเนินการอะไรไม่ ได้และอาจน�ำไปสูภ่ าวะความขัดแย้ง แนวทางแก้ ปัญหาทีด่ กี ค็ อื ต้องปลูกฝังเรือ่ งคุณธรรมจริยธรรมที่ จะเกิดในอนาคต ซึง่ การจัดกิจกรรมดังกล่าวให้นสิ ติ เข้าร่วมผ่านกิจกรรมสาธารณะถือเป็นเรือ่ งทีด่ ที จี่ ะ ช่วยกันส่งเสริมให้นสิ ติ มีกจิ กรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ ต่อมหาวิทยาลัยเช่นกัน
นางสาวเบญจวรรณ ฉายาภักดี นิสติ ชัน้ ปีที่ 3 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัย มหาสารคาม เผยว่า ครอบครัวส่งให้ตนและน้อง เรียนพร้อมกัน ท�ำให้เงินไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ค่าเล่าเรียน ตนจึงตัดสินใจกู้ยืมเงิน กยศ. เพราะ สามารถช่วยครอบครัวได้ เมื่อจบการศึกษาตนจะ คืนเงิน กยศ. อย่างแน่นอน เพราะเพื่อให้รุ่นน้องปี ถัดไปได้กู้ยืมเงิน กยศ. เช่นตน ส่วนคนที่กู้ยืมแล้ว ไม่คนื เงินนัน้ มองว่าเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตนแต่ไม่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
สพป.มหาสารคาม เขต 1 ชี้ การเพิ่มข้อสอบอัตนัย ช่วยให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่หวั่นคะแนนไม่แม่นยำ� ปีการศึกษา 2559 กระทรวงศึกษาธิการ เตรี ย มเพิ่ ม ข้ อ สอบอั ต นั ย ทุ ก วิ ช าในการจั ด สอบรูปแบบต่างๆ เชือ่ วัดผลทางการศึกษาได้ มากกว่า ชี้ข้อสอบปรนัยท�ำให้เด็กขาดทักษะ ในการเขี ย น หวั่ น เกิ ด ปั ญ หาในการตรวจ ข้ อ สอบ แจงคะแนนข้ อ สอบอั ต นั ย อาจไม่ แม่นย�ำ ขึน้ อยูก่ บั เกณฑ์การให้คะแนน ด้านครู ช�ำนาญการพิเศษเตรียมพร้อมสอนการเขียน รองรับปีแรกที่จะเพิ่มข้อสอบอัตนัยในการ สอบโอเน็ต จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบ หมายให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พื้นฐาน (สพฐ.) ปรับปรุงข้อสอบ โดยเพิ่มข้อสอบ อัตนัยไม่น้อยกว่า 20% ในทุกวิชาของการจัดสอบ ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต เนื่องจากข้อสอบ ของไทยยังไม่มีคุณภาพเทียบเท่าสากล จึงควรมุ่ง เน้นข้อสอบทีเ่ น้นกระบวนการคิดวิเคราะห์มากขึ้ น โดยจะเริ่มใช้ปีการศึกษา 2559 ทั้งนี้ สพฐ. ได้เริ่ม ด�ำเนินการแล้วในการสอบวิชาภาษาไทย และจะ เพิ่มข้อสอบอัตนัยให้ครอบคลุมทุกวิชา ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา ผู้อ�ำนวย การส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1 จ.มหาสารคาม (สพป. มหาสารคาม เขต 1) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาข้อสอบ ปรนัยไม่สามารถวัดผลการศึกษาของเด็กไทยได้ ครบทุกด้าน ปัจจุบันเด็กจึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทาง สทศ. และ สพฐ. จึงเล็งเห็นว่า ข้อสอบปรนัย ท�ำให้เด็กขาดทักษะในการเขียน ดังนั้น จึงคิดเห็น ตรงกันว่า ควรจะมีการเพิ่มข้อสอบอัตนัย เพราะ สามารถวัดผลทางการศึกษาได้มากกว่าข้อสอบ ปรนัย ในเรือ่ งของการคิดวิเคราะห์ จับใจความ และ น�ำไปใช้ ว่าทีร่ อ้ ยตรี ดร.ธนุ กล่าวต่อว่า สิง่ ทีก่ งั วล
คือ การตรวจข้อสอบ เนื่องจากลายมือบางคน อ่านยาก ท�ำให้อาจเกิดปัญหาในการตรวจ ข้อสอบได้ อีกทั้งข้อสอบอัตนัยคะแนนมักไม่ แม่นย�ำ อยู่ที่การเขียนตอบของเด็ก หากเด็ก บางคนเขียนตอบสั้น กระชับ และถูกต้องก็จะ มีเกณฑ์ในการให้คะแนนอีกแบบหนึง่ หากตอบ มีรายละเอียดแต่ไม่มีใจความส�ำคัญอยู่เลย คะแนนก็ออกมาอีกแบบหนึ่งเช่นกัน การสอบ ในระดับคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ไป จึงยังคงเป็นข้อสอบปรนัยอยู่ เพราะตรวจ ได้สะดวกกว่า และมีความเที่ยงตรงสูง ด้านนางอุษา ทันพรม ครูชำ� นาญการ พิเศษกลุ่มสาระภาษาไทย โรงเรียนหลักเมือง มหาสารคาม จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า วิชา ภาษาไทยใช้การสอนแบบบูรณาการทั้งความ รู้ ความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ จับใจความส�ำคัญ โดยเสริมเพิ่มเติมจากตัวชี้วัดที่มีในหลักสูตร ข้อสอบโอเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นการคิดวิเคราะห์ และสรุปใจความส�ำคัญ จึงต้องเน้นในเรื่อง เทคนิ ค การท� ำ ข้ อ สอบให้ กั บ เด็ ก การคิ ด วิเคราะห์สว่ นใหญ่เด็กจะท�ำผิดพลาด แต่ความ โดดเด่นของข้อสอบอัตนัยอยู่ที่ความรู้ของเด็ก ว่าเด็กจะคิดวิเคราะห์อย่างไร เนือ่ งจากปีนเี้ ป็น ปีแรกที่จะมีการเพิ่มข้อสอบอัตนัยในการสอบ โอเน็ต จึงได้มีการสอนให้เด็กเขียนเรียงความ เล่าเรื่องจากภาพมากขึ้น เพื่อฝึกการเขียนให้ กับเด็ก นางศิ ริ น ทร รอดทั บ ทิ ม ผู ้ บ ริ ห าร โรงเรียนกวดวิชาบ้านรักเรียน จ.มหาสารคาม กล่ า วว่ า เด็ ก ที่ มี โ อกาสติ ว กั บ ติ ว เตอร์ ก็ จ ะ สามารถท�ำข้อสอบทีพ่ ลิกแพลง หรือนอกเหนือ จากเนื้อหาที่ครูสอนในห้องเรียนได้ ข้อสอบ อัตนัยเป็นการท�ำความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็น ข้อสอบปลายเปิดทีต่ อบอย่างไรก็เหมือนจะได้ คะแนน แต่อยู่ที่ว่าค�ำตอบใดจะถูกใจผู้ตรวจ
สังคม
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 5
ชาวบ้านต�ำบลเลิงแฝกร้อง DSI ขอนแก่น เหตุกลุ่มฌาปนกิจไม่โปร่งใส ตัวแทนชาวบ้าน ต.เลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม ร้องศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ ภาค 4 (ขอนแก่น) ให้สอบสวนกลุม่ ฌาปนกิจ ต.เลิงแฝก เหตุพบการบริหารงานไม่โปร่งใส ด้านรองประธานกลุ่มฌาปนกิจ ต.เลิงแฝก แจ้งไม่ได้โกงเพราะจ่ายเงินทุกศพ นายประดิษฐ์ ล�ำเหลือ อดีตสมาชิกกลุม่ ฌาปนกิจ ต.เลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ชาว ต.เลิงแฝก ได้ไปร้องทุกข์ที่ศูนย์ ด�ำรงธรรมจังหวัดมหาสารคาม หลังจากพบการ ด�ำเนินงานที่ไม่โปร่งใสของกลุ่มฌาปนกิจ ต.เลิง แฝก แต่เจ้าหน้าที่กลับบอกว่า “ผมไม่มีหน้าที่ ตรวจสอบและไม่มเี วลา” ดังนัน้ จึงได้มกี ารยืน่ เรือ่ ง ต่อศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 4 (ขอนแก่น) (หน่วยงานภายใต้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI) เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2559 โดยมี ตัวแทนชาวบ้าน 3 หมู่บ้าน จากต�ำบลเลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม นายประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า เดิมทีก่อนจะ มาเป็นกลุม่ ฌาปนกิจได้กอ่ ตัง้ กลุม่ สตรีเข้มแข็งใน พ.ศ.2548 ส่งเสริมการฝึกอาชีพแก่ชาวบ้านใน ชุมชน ต่อมา พ.ศ.2549 ก็มกี ารตัง้ ชมรมฌาปนกิจ (แบบสัจจะ) แทรกในกลุ่มสตรีเข้มแข็ง โดยมีจุด ประสงค์ช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต มีสมาชิก กรรมการ 7 คน ค่าสมัครเข้าร่วม 50 บาท และเก็บ เงินจ�ำนวน 100 บาท ทุกครั้งที่สมาชิกเสียชีวิต นายประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สร้าง ความสงสัยแก่ชาวบ้านคือ 1. ไม่มกี ารท�ำทะเบียน รายชือ่ สมาชิกแต่ละหมูบ่ า้ นให้ชดั เจน 2. ไม่มกี าร ประชุมชี้แจงข้อมูลความเคลื่อนไหวภายในกลุ่ม
ฌาปนกิจ 3. ไม่มีกฎระเบียบที่แน่ชัดภายในกลุ่ม ฌาปนกิจ 4. กรรมการกลุ่มฌาปนกิจใช้เงินที่ หมุ น เวี ย นในกลุ ่ ม ปล่ อ ยให้ กู ้ แ บบผิ ด กฎหมาย 5. ชาวบ้านได้รบั ผลกระทบจากกลุม่ ฌาปนกิจ เช่น ครอบครัวสมาชิกบางคนทีเ่ สียชีวติ ไม่ได้รบั เงินเต็ม จ�ำนวนที่กลุ่มฌาปนกิจตั้งไว้ “ตั้งแต่ก่อตั้งชมรมมีการประชุมแค่ครั้ง เดียวเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2558 ชาวบ้านที่ เป็ น สมาชิ ก จึ ง ขอตรวจสอบการท� ำ งาน บั ญ ชี รายรั บ รายจ่ า ย ยอดเงิ น คงเหลื อ ทางชมรมไม่ สามารถแจกแจงรายละเอียดต่างๆ ได้ โดยก่อน หน้ า นี้ ช าวบ้ า นเรี ย กร้ อ งให้ เ ปิ ด การประชุ ม
แต่กรรมการกลุ่มปฏิเสธโดยอ้างว่าสมาชิกไม่มี สิทธิ์ ชาวบ้านจึงคาดว่ากรรมการบริหารงานไม่มี ความโปร่งใส ซึง่ มีสมาชิกอยู่ 1,900 คน แต่รายชือ่ จ่ายเงินให้คนตายมีแค่ 1,100 คน แล้วอีก 800 คน ไปไหน (จะต้องเป็นเงิน 190,000บาท แต่จ่ายไป แค่ 110,000 บาท)” นายประดิษฐ์ กล่าวเสริม นางราตรี ค�ำสา สมาชิกกลุ่มฌาปนกิจ ต.เลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า มีการ จ่ายเงินตามที่แจ้งทุกครั้ง แต่วันที่ไปเรียกร้องการ ตรวจสอบข้อมูลที่ศูนย์ด�ำรงธรรมกลับพบว่าไม่มี ชื่อของตนอยู่ในรายชื่อสมาชิก จึงเกิดข้อสงสัยว่า ถ้ า ตนเสี ย ชี วิ ต ไปครอบครั ว จะได้ เ งิ น หรื อ ไม่
นางทองค�ำ จิณรักษ์ รองประธานกลุ่ม ฌาปนกิจ ต.เลิงแฝก อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม กล่าวว่า กลุม่ ฌาปนกิจนีจ้ ดั ตัง้ ขึน้ ได้ 10 ปีแล้ว แต่ ไม่ได้มีการจดทะเบียน มีการท�ำบัญชีแบบไม่เป็น ระบบ โดยใช้สจั จะ การท�ำงานของกลุม่ คือ แต่งตัง้ คณะกรรมการและประธานชมรมขึน้ มาหมูบ่ า้ นละ 15 คน รวมประธานด้วย “เราไม่ได้โกง ทางกลุม่ จ่ายเงินทุกศพ แต่ เขายืนยันทีจ่ ะให้ประชุมเพราะต้องการให้เราชีแ้ จง รายละเอียด” นางทองค�ำ กล่าว นางทองค�ำ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2558 เป็นวันที่มีการเปิดประชุม ชาว บ้านได้สอบถามถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น สมาชิก มีกี่คน แต่ละศพจ่ายศพละเท่าไหร่ เงินเหลือเท่า ไหร่ แต่ท างคณะกรรมการไม่ส ามารถตอบได้ เพราะไม่ได้เตรียมเอกสารมาชี้แจง ชาวบ้านจึง โวยวายว่ากลุ่มฌาปนกิจไม่โปร่งใส ต่อมาชาว บ้านไปร้องเรียนที่ศูนย์ด�ำรงธรรม จ.มหาสารคาม หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จึงเข้ามาตรวจสอบ บอกว่า กลุ่มฌาปนกิจไม่โปร่งใส ไม่ชี้แจงรายละเอียด ร.ต.ท.ปรัชญา ดวงไกรแฝง เจ้าหน้าที่ ช� ำ นาญการ ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารคดี พิ เ ศษภาค 4 (ขอนแก่น) กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2559 ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารคดี พิ เ ศษภาค 4 (ขอนแก่น) ได้รับการจัดตั้งทีมสืบสวน และจะเข้า ตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 เดือน โดยตรวจสอบ ว่ากลุ่มฌาปนกิจเข้าข่ายคดีอาญาหรือไม่ ถ้าเป็น คดีอาญาแบบไม่ซับซ้อนจะส่งเรื่องให้ต�ำรวจ แต่ หากเป็นคดีอาญาแบบศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษ ภาค 4 (ขอนแก่น) จะพิจารณาเอง
เทศบาลต�ำบลท่าขอนยางทุ่มงบ 144 ล้าน ผุดโครงการโรงบ�ำบัดน�ำ้ เสีย เร่งแก้ไขปัญหา
4 จุด คือ วัดมหาผล วัดบ้านใคร่นุ่น วัดบ้านดอน เวียงจันทร์ วัดบ้านหัวขัว เพื่อรับฟังประชาชนว่า ต้องการให้มกี ารจัดตัง้ หรือไม่ ปัญหาของประชาชน เป็ น อย่ า งไร โดยวั ด จากแบบสอบถามจาก ประชาชนในพื้นที่ท่าขอนยางเป็นหลัก ขณะนี้ โครงการบ�ำบัดน�้ำเสียอยู่ในขั้นตอนของการสรุป แบบสอบถามข้อมูลจากประชาชนและจัดหาทีด่ นิ คาดว่าโครงการจะเป็นรูปเป็นร่างใน พ.ศ.2561” นางสุดา กล่าว นางสมบูรณ์ หมอเมือง ชาวบ้านบ้าน กุ ด น�้ ำ ใส ม.4 ต.ท่ า ขอนยาง อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า หากมีการจัดสร้างโรง บ�ำบัดน�้ำเสียคงดีไม่น้อย ดีกว่าไม่มีการแก้ปัญหา เพราะมีหอพักเป็นจ�ำนวนมาก น�้ำเสียที่ถูกปล่อย มาก็ลงมาทีน่ าปรังของชาวบ้าน อีกทัง้ น�ำ้ ยังมีสดี ำ� มีฟอง และมียุงชุกชุมมาก
นางพิสมัย สุวรรณภักดี ผู้ดูแลหอพัก แห่งหนึ่ง ในเขตต�ำบลท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า น�้ำที่นิสิตใช้จะปล่อยลง ตามท่อระบายน�ำ้ ของหอพักลงสูบ่ อ่ กักเก็บทีฝ่ งั อยู่ ใต้ดิน 2-3 บ่อ พอเต็มแล้วก็จะให้รถดูดส้วมมา ดูดออก ถ้าเป็นน�้ำซักผ้าจะปล่อยลงอีกท่อต่อตรง กับท่อระบายน�้ำของเทศบาล ซึ่งไม่ทราบว่าน�้ำมัน ไหลไปไหน แต่ก็คงเชื่อมกันหมด นางสมนึก พรสิงห์ ผูด้ แู ลหอพักฉัตรรินทร์ อพาร์ทเม้นท์ ซึง่ อยูใ่ กล้บริเวณน�ำ้ เสีย วัดป่ากูแ่ ก้ว อ.กันทรวิชยั จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ปกติบริเวณ นี้จะมีกลิ่นเหม็น หากวันไหนฝนตกจะไม่ค่อยมี กลิ่ น เหม็ น เพราะน�้ ำ เสี ย จะไหลไปตามน�้ ำ ฝน ช่วงหน้าแล้งจะมีกลิ่นเหม็นแต่ก็ไม่ได้แรงมากนัก และทีผ่ า่ นก็ยงั ไม่เคยเห็นชาวบ้านออกมาร้องเรียน ในเรื่องนี้
เทศบาลต�ำบลท่าขอนยางทุม่ งบ 144 ล้านบาท เตรียมผุดโครงการก่อสร้างโรงบ�ำบัด น�้ำเสีย เพื่อแก้ปัญหาน�้ำเน่าเสียที่เกิดจาก ชุมชน หอพัก ไหลลงสู่แม่น�้ำชีและที่นาชาว บ้าน คาดแล้วเสร็จ พ.ศ.2560-2561 จากเอกสารโครงการก่ อ สร้ า งระบบ รวบรวมและบ�ำบัดน�้ำเสีย เทศบาลต�ำบลท่าขอน ยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ระบุว่า ปัญหา น�ำ้ เสียส่วนมากมาจากการปล่อยน�ำ้ เสียของหอพัก ต่ า งๆ ภายในบริ เ วณรอบมหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม ซึ่ ง มี จ� ำ นวน 342 หอพั ก และมี แนวโน้มทีจ่ ะเพิม่ มากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยมีอตั รา การใช้น�้ำเฉลี่ย 149 ลิตรต่อคน/วัน มีปริมาณน�้ำ เสียจากแหล่งก�ำเนิดจ�ำนวน 2,649 ลูกบาศก์เมตร/ วัน โดยน�้ำเสียที่เกิดจากชุมชนหอพักจะไหลไป ตามท่ อ ระบายน�้ ำ สู ่ จุ ด ปล่ อ ยน�้ ำ เสี ย ธรรมชาติ จุดหลักๆ คือ บ้านกุดน�้ำใส ม.4 ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม และแม่น�้ำชี ดังนั้น เทศบาลต�ำบลท่าขอนยางจึงได้ ด�ำเนินโครงการศึกษาและก่อสร้างโรงบ�ำบัดน�้ำ เสียเพือ่ เป็นแนวทางในการก�ำจัดน�ำ้ เสียให้มคี วาม ถูกต้องเหมาะสม มีระบบบริหารจัดการน�้ำที่ถูก ต้องตามหลักวิชาการ และเพือ่ ให้ประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากน�้ำเสียในพื้นที่เกษตรกรรม ล�ำน�้ำ สาธารณะและสุขภาพลดลง โดยโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและ บ� ำ บั ด น�้ ำ เสี ย ของเทศบาลต� ำ บลท่ า ขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เกิดขึ้นจากปริมาณ น�้ำเสียที่ไหลลงสู่แม่น�้ำชีมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผล กระทบต่อชีวติ ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านในบริเวณ ใกล้เคียง
ทัง้ นี้ โครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและ บ�ำบัดน�้ำเสีย ณ บ้านกุดน�้ำใส ม.4 ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม อยู่ในขั้นตอนการยื่น เรื่องขออนุมัติโครงการตามแผนราชการจังหวัด มหาสารคาม งบประมาณการก่อสร้างโรงบ�ำบัด น�้ำเสีย ได้รับงบสนับสนุนตามรายระเอียดแบบ แปลน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับอนุมัติวงเงิน จ�ำนวน 131.18 ล้านบาท และเทศบาลต�ำบล ท่าขอนยางสมทบตามระเบียบส�ำนักนโยบายและ แผนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เป็นเงิน 13.12 ล้านบาท ระยะเวลาด�ำเนินการ สร้างคาดใช้เวลา 2 ปี ในการด�ำเนินการให้แล้ว เสร็จประมาณ พ.ศ.2560-2561 นางสุดา เหล่าโพน ผู้อ�ำนวยการกอง สาธารณสุ ข เทศบาลต� ำ บลท่ า ขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า โครงการ ก่อสร้างโรงบ�ำบัดน�ำ้ เสียมีผลมาจากการทีแ่ ม่นำ�้ ชี เริ่ ม เน่ า เสี ย มากขึ้ น เพราะน�้ ำ ที่ ใ ช้ อ ยู ่ ใ น ชี วิ ต ประจ� ำ วั น มาจากการผลิ ต จากแม่นำ�้ ชี และอีกประเด็นคือปัญหาการเกษตรที่น�้ำเสียไหล เข้ า สู ่ ที่ น า ท� ำ ให้ ห อยเชอรี่ แ ละสิ่ ง มี ชี วิ ต เล็ ก ๆ ตาย ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ปัจจัยส�ำคัญ มาจากปริมาณนิสติ และหอพักทีเ่ พิม่ ขึน้ อีกทัง้ ก่อน หน้ า นี้ ห อพั ก ไม่ เ คยมี ก ารบ� ำ บั ด น�้ ำ เสี ย มาก่ อ น ห รื อ ถ ้ า มี ก็ น ้ อ ย ม า ก ที่ จ ะ มี ก า ร บ� ำ บั ด น�้ ำ ก่อนปล่อยออกมา “การจัดตั้งโรงบ�ำบัดน�้ำเสียนั้นต้องฟัง เสี ย งจากประชาชน โดยการเปิ ด โอกาสให้ ประชาชนมารั บ ข้ อ มู ล และแสดงความคิ ด เห็ น ต่อการด�ำเนินงานของเทศบาล การจัดเวทีรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชน มีการจัดขึ้น 4 ครั้ง
หน้า 6
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
การเมือง
รั ก ษาการแทนอธิ ก ารบดี มมส คนใหม่
ชู 3 นโยบายหลั ก เร่ง พั ฒ นา วอนให้ม องศั ก ยภาพการท�ำงาน อีกประเด็นที่จะพัฒนาต่อยอดคือ Green University หรือมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึง่ จะมีการพัฒนาไม่ หยุดยั้ง ท�ำอย่างไรจึงจะลดการใช้มลพิษลง เช่น ลดมลพิษจากยานพาหนะ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นิสิตเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ในความฝัน หรือความ คิดของตน อาจจะมีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทีไ่ ม่มขี อ้ บกพร่อง ทางมหาวิทยาลัยอาจจะช่วยในเรือ่ งของ ระบบชาร์จไฟ โดยท�ำลักษณะคล้ายมือถือ ทุกคน ที่เข้ามาเรียนสามารถผ่อนซื้อได้ ราคาไม่แพง พอ เรียนจบสามารถขายคืนได้ เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าทาง มหาวิทยาลัยจะด�ำเนินการในรูปแบบนี้มากยิ่งขึ้น ส่ ว นในเรื่ อ งของพลั ง งาน พบว่ า ค่ า ไฟภายใน มหาวิทยาลัยมีจ�ำนวนสูงกว่า 100 ล้านบาท อาจ จะเพิม่ เติมแผนในการท�ำพลังงานแสงอาทิตย์แบบ เชือ่ มต่อ (Solar Energy) ด้านการลงทุนพบว่าค่อน ข้างแพง อาจจะมีการขอความร่วมมือจากรัฐบาล ตนต้องศึกษาเพิ่มวางแผนด�ำเนินการ ก่อสร้างและรักษาถนนหน้าป้าย
ผู้น�ำคนใหม่ : ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สภาคณาจารย์หวั่นรักษาการแทน อธิการบดีอาจเป็นเงาของ “ศุภชัย” แนะหาก ต้องการหลุดพ้นข้อครหา ต้องพิสูจน์ว่าไม่ ฝักใฝ่ฝา่ ยใด ด้าน “สัมพันธ์” แจงตนเป็นกลาง ขอให้มองศักยภาพการท�ำงาน ยันพร้อมรับใช้ มหาวิ ท ยาลั ย อย่ า งเต็ ม ที่ แ ละโปร่ ง ใส ชู 3 นโยบายหลักเร่งพัฒนา มมส ได้แก่ พัฒนา ด้ า นการเรี ย นการสอน บุ ค ลากร และสิ่ ง แวดล้อม จากกรณีทคี่ ณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำ� สัง่ ที่ 19/2558 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้นายศุภชัย สมัปปิโต ผู้รักษาการ แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ้นจาก ต� ำ แหน่ ง เมื่ อ วั น ที่ 25 มิ ถุ น ายน พ.ศ.2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) จึงได้มีการแต่ง ตั้งรักษาการแทนอธิการบดีคนใหม่ ด�ำรงต�ำแหน่ง โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อดีต คณบดี ค ณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ที่ผ่าน มา (ข้อมูลจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา) ทั้ ง นี้ รศ.ดร.ศุ ภ ชั ย สมั ป ปิ โ ต อยู ่ ใ น ต�ำแหน่งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมา 2 ปี ซึ่งขัด กับระเบียบทีใ่ ห้เพียงแค่ 6 เดือน จนมีคำ� สัง่ พ้นจาก ต�ำแหน่งในทีส่ ดุ นัน้ อาจมีสาเหตุมาจากกรณีทจุ ริต ต่างๆ เช่น การก่อสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทีไ่ ด้รบั งบประมาณจาก โครงการไทยเข้มแข็ง และงบประมาณเงินรายได้ ของมหาวิทยาลัยร่วม 220 ล้านบาท ซึ่งมีระยะ เวลาการก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ.2553-2555 แต่มกี ารยกเลิกสัญญา เนือ่ งจากผูร้ บั เหมาทิง้ งาน จากการถูกรวบงวดงานให้เหลือเพียง 10 งวด จาก 20 งวด โดยก่อนเลิกสัญญาได้มกี ารจ่ายค่าจ้างให้ กับผู้รับเหมาเป็นจ�ำนวนเงินกว่า 50 ล้านบาท ซึ่ง เกินผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบไปกว่า 7 ล้านบาท และกรณีการใช้ผลงานวิชาการ เพื่อประกอบการ ยื่นเรื่องขอต�ำแหน่งทางวิชาการ โดยเอาผลงาน วิชาการที่มีชื่อว่า Analysis of Anthocyanin,Flavonoids,and Phenolic Acid in Tropical Bignay Berries ให้เป็นของตัวเอง และขณะนี้ทางวารสาร ระดับชาติที่ตีพิมพ์ผลงานดังกล่าว ได้ถอนการตี พิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่งตั้งรักษาการแทนอธิการบดีคนใหม่
ผศ.ดร.วิ รั ติ ปานศิ ล า ประธานสภา คณาจารย์ ชุดที่ 11 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิด เผยว่า ถึงแม้จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่ก็ยังมาจาก ระบบเดิม เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยเป็นคณะ กรรมการชุดเดิม “ทางประชาคมมองว่าเป็นสภาฯ เกาหลัง มีการเลือกข้าง เช่น โหวตรับรอง รศ.ดร.ศุภชัยให้ เป็นอธิการบดี 2 รอบต่อกัน ทัง้ ทีม่ คี ดีลอกงานวิจยั และคดีโกงเงินมหาวิทยาลัย ซึ่งผมมองว่ามันไม่ โปร่งใสถ้ายังใช้สภาฯ ชุดเดิมอยู่” ประธานสภา คณาจารย์ กล่าว ผศ.ดร.วิ รั ติ กล่ า วต่ อ ว่ า หาก ศ.ดร. สัมพันธ์ ต้องการหลุดพ้นจากข้อครหาต่างๆ ที่ กล่าวหา เช่น การเป็นตัวแทน รศ.ดร.ศุภชัย ท่าน ต้องพิสจู น์ตนเองว่าท่านไม่ได้ฝกั ใฝ่ฝา่ ยใด หรืออยู่ ในการบริหารของมหาวิทยาลัยชุดเดิม แสดงความ เป็นผูน้ ำ� แสดงผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ใช้ความ สามารถของตั ว เองแสดงศั ก ยภาพ ถ้ า ศ.ดร. สัมพันธ์ มีความตั้งใจจริง ตนก็พร้อมจะให้ความ ร่วมมือ ด้านของ ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช รักษา การแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชีแ้ จงว่า ตนไม่ได้เลือกข้าง อยากให้มองทีศ่ กั ยภาพ ในการท� ำ งานมากกว่ า ตนพร้ อ มจะรั บ ใช้ มหาวิทยาลัยอย่างเต็มทีแ่ ละโปร่งใส ทัง้ นีต้ นได้ตงั้ ทีมบริหารด้วยตนเองไม่ขึ้นอยู่กับใคร และดึงมา เฉพาะผู้ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะท�ำงาน อยากให้ พิสูจน์ที่ตัวงาน ตนพยายามบอกเสมอว่าไม่มีฝ่าย ไม่มีข้าง เคารพทุกข้าง และไม่ปิดกั้นสิทธิใคร แต่ ต้องอยู่ในครรลองของจริยธรรม และจรรยาบรรณ รวมถึงต้องอยู่ในกติกาเดียวกันหมด ศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนที่มอง ว่าตนเป็นตัวแทน รศ.ดร.ศุภชัย ตนไม่ได้เป็นเช่น นั้น ตนชื่นชม และเคารพผลงานของท่านในฐานะ อธิการบดีอยู่เสมอ “ส่วนเรือ่ งมีทศั นคติอย่างไรกับอธิการบดี คนเก่า ผมมองว่าผมไม่ได้เกลียดใครในเรือ่ งทีท่ า่ น ท�ำไว้ดีแล้ว ผมก็ควรให้เกียรติท่าน ผมไม่อยากตั้ง แง่กับใคร เพราะผมก็ไม่รู้ว่าจะท�ำออกมาดีมาก น้อยแต่ไหน” รักษาการแทนอธิการบดี กล่าว
ชู น โยบายพั ฒ นาภายใต้ว าระ 4 ปี
ศ.ดร.สั ม พั น ธ์ กล่ า วถึ ง นโยบายการ พัฒนามหาวิทยาลัยว่า ในฐานะรักษาการแทน อธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตนพร้อม ปฏิบตั ติ ามวิสยั ทัศน์ทไี่ ด้แสดงไว้กบั คณะกรรมการ สรรหาและสภามหาวิทยาลัย ภายใต้ 3 นโยบาย หลัก 7 ยุทธศาสตร์ คือ พัฒนาด้านการเรียนการ สอน พัฒนาด้านบุคลากร และพัฒนาด้านสภาพ สิ่งแวดล้อม ส่วนของการเรียนการสอนจะเน้นการ เรียนรู้แบบ Problem-based Learning (PBL)คือ การเรียนรู้บนฐานปัญหาจริง มีทั้งการเรียนการ สอนในห้ อ งและได้ ล งมื อ ปฏิ บั ติ ง านจริ ง เพื่ อ อนาคตข้างหน้านิสติ จะสามารถปรับใช้ในชีวติ จริง ได้ดียิ่งขึ้น “นอกจากจะพัฒนาตัวนิสติ เองแล้วก็ควร จะพัฒนาด้านคณาจารย์ให้มคี วามรูค้ วามสามารถ ให้ ทั ด เที ย มโลกปั จ จุ บั น ด้ ว ย เช่ น การวิ จั ย ใน ห้องเรียน วิจยั เชิงทฤษฎี และวิจยั เชิงประยุกต์ เพือ่ สร้างสรรค์ และพัฒนาหลักสูตรการสอนทีท่ นั สมัย ทั้ ง ยั ง มี ก ารจั ด การประชุ ม แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ (Roadshow) ระหว่ า งผู ้ บ ริ ห ารกั บ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณาจารย์ คณะต่างๆ พบว่ายังขาดการรับประกันคุณภาพ จากส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในต�ำแหน่งวิชาการของบุคลากรทางสาย อาจารย์ในระดับสูงไม่มากพอ ต้องมีตำ� แหน่งด้าน วิชาการ จบปริญญาเอก มีผลงานวิจัย นี่คือสิ่งที่ คิดว่าจะท�ำก่อนหมดวาระ 4 ปี คือการยกระดับ อาจารย์แต่ละคณะมีตำ� แหน่งวิชาการ เช่น อาจจะ สร้าง star ของแต่ละคณะก่อน หลังจากนัน้ ก็จะผูก star กับทีมงาน คืออาจารย์ทุกสาขาในคณะนั้นๆ โดย star ที่เป็นศาสตราจารย์ต้องช่วยอาจารย์คน อื่นๆ ให้เป็นศาสตราจารย์ต้องท�ำอย่างไร และน�ำ เอา star แต่ละสาขามา Road-show ในลักษณะ พี่ดูแลน้อง คาดว่าผลที่ตามมาคือ ผู้ปกครองก็ อยากจะส่งลูกมาเรียน ต่อให้ค่าเทอมแพง หาก อาจารย์ที่สอนมีการรับประกันคุณภาพ ก็พร้อม สนับสนุนให้มาเรียน ซึง่ อาจจะไม่มอี าจารย์ครบทุก สาขาวิชา แต่จะเป็นสาขาโดดเด่นในแต่ละคณะ” ศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว รักษาการแทนอธิการบดี กล่าวต่อว่า
ทัง้ นี้ ล่าสุดเมือ่ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2559 ได้ มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ร ะหว่ า งผูู ้ บ ริ ห าร คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาการสารสนเทศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมกับ สถาบันวิจัย วลัยรุกขเวช มมส น�ำโดย ศ.ดร. สั ม พั น ธ์ ฤทธิ เ ดช รั ก ษาการแทนอธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม และผู ้ บ ริ ห าร มหาวิทยาลัย ชี้แจงถึงแผนการด�ำเนินงานว่า ใน ส่วนของถนนบ้านดอนยม-มมส หรือถนนหน้าป้าย มหาวิ ท ยาลั ย เบื้ อ งต้ น จะด� ำ เนิ น การติ ด ป้ า ย ประกาศชีแ้ จงการ ใช้ถนน และด�ำเนินการให้มปี อ้ ม ยามเพื่อไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้ามาได้ หาก จะเข้ามาในเขตมหาวิทยาลัยจะต้องท�ำค�ำร้อง และ หากถนนได้รบั ความเสียหายต้องพร้อมรับผิดชอบ เนื่องจากรถบรรทุกเข้ามาใช้ถนน อาจเป็นหนึ่งใน สาเหตุการช�ำรุดของถนนได้ ในส่วนของการก่อสร้างถนน และท่อ ระบายน�้ำเพิ่มเติมนั้น ทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งงบ ประจ�ำปี พ.ศ.2559 ไว้ 48 ล้านบาท และได้มีการ ประกวดราคาแก่ผู้รับเหมาแล้ว แต่เนื่องจากผู้รับ เหมาไม่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะด�ำเนินงาน จึงต้อง ชะลอโครงการไว้ โดยมอบหมายให้ อาจารย์ สันทนา ภิรมย์เกียรติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอาคาร สถานที่ ออกแบบซุ้มประตูเพิ่มเติม และดูแลเรื่อง ไฟข้างถนนที่ยังไม่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จ ซึ่งในการ วางท่อนั้น จ�ำเป็นต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน ฤดูฝนจะมาถึง เนื่องจากปัญหาน�้ำท่วมขังอาจ ท�ำให้ถนนช�ำรุดได้ เดินหน้าพัฒนาตลาดน้อย
ในส่วนของตลาดน้อยนั้น ภายในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559 จะต้องปรับราคาอาหารลง ห้ามการใช้บรรจุภณ ั ฑ์ทที่ ำ� จากโฟม โดยให้ใช้วสั ดุ ที่ท�ำจากธรรมชาติ ย่อยสลายง่าย เช่น กล่องชาน อ้อย และกล่องกระดาษ เป็นต้น หากผู้ประกอบ การสามารถยอมรั บ เงื่ อ นไขได้ ก็ ส ามารถต่ อ สัญญาได้ โดยตัวสัญญาจะเปลีย่ นจากการประมูล มาเป็ น การประเมิ น และลดค่ า เช่ า 25% แทน เนือ่ งจากการประมูลนัน้ มีราคาสูง เช่น ร้านข้าวแกง มีราคาถึง 5 แสนบาท/ปี ร้านส้มต�ำ 3 แสนบาท/ปี ซึ่ง ท�ำให้ราคาอาหารแพงขึ้น ส่วนการประเมินนั้นจะ สามารถควบคุ ม มาตรฐาน คุ ณ ภาพและ สุขลักษณะของอาหารได้ โดยการสุ่มตรวจจาก คณะแพทยศาสตร์ มมส อี ก ทั้ ง ยั ง มี น โยบาย ปรั บ ปรุ ง สถานที่ เช่ น ยกระดั บ พื้ น ดิ น และปู กระเบือ้ งเพือ่ ป้องกันปัญหาฝุน่ ควันและน�ำ้ ท่วมขัง ตามฤดูกาล และยกระดับห้องน�้ำให้ทัดเทียมกับ ห้างสรรพสินค้า
สารคดีเชิงข่าว
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 7
“รถบัสสีชมพู คู่ชีวิตนิสิต มมส”
รถโดยสารประจ� ำ ทางของบริ ษั ท ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม รถบัสสีชมพู ด้วยเอกลักษณ์สีชมพูของสีรถโดด เด่นสะดุดตา ถูกใช้บริการอย่างล้นหลามจากนิสติ ที่เดินทางไปกลับบ้านและมหาวิทยาลัย ในเส้น ทางอุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ทุก วันศุกร์ของ ทุกสัปดาห์จะเห็นได้ว่าการใช้บริการ เป็นไปอย่างหนาแน่นและด้วยการบริการทีส่ ะดวก รวดเร็ ว ทั น ใจ ทั้ ง ซื้ อ ใจนิ สิ ต ด้ ว ยค่ า รถที่ ร าคา ประหยัด อีกทัง้ ยังรับความนิยมอย่างต่อเนือ่ งจาก นิสิตในหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่ ง เมื่ อ เดื อ นมี น าคมที่ ผ ่ า นมา ได้เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงขึ้น เมื่อรถบัสสีชมพู ประสบอุบัติเหตุพลิกคว�่ำ น�ำมาซึ่งการแก้ปัญหา ของบริษัท ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด ถึงแนว มาตรการป้องกันและเยียวยา จ�ำเป็น หรื อ จ�ำใจโดยสารไปกั บ รถบั ส สีชมพู
นางสาวรติ ม า รั ช ชุ ศิ ริ อายุ 22 ปี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ผู้ใช้บริการรถบริษัท ขอนแก่นชนะชัย ขนส่ง จ�ำกัด เล่าว่า “ใช้บริการสัปดาห์ละ 1 ครัง้ ทัง้ ไปและกลับ รูส้ กึ ตกใจกับอุบตั เิ หตุทเี่ กิดขึน้ เพราะ เป็นรถที่เราต้องนั่งตลอด แต่จ�ำเป็นต้องใช้บริการ เพราะมีแค่สายเดียว ควรจะแก้ไขด้วยการอบรม ให้พนักงานมีวินัยในการขับขี่ ไม่ขับรถเร็วเกิน ก�ำหนด ส่วนตัวเคยเจอพนักงานขับรถเร็วมาก ชอบแซง หากวันไหนมีอารมณ์ฉนุ เฉียว ก็จะขับเร็ว กว่าปกติ อีกเรื่องหนึ่งคือการจอดรถเติมแก๊ส เช้า ก็เติม เย็นก็เติม ตามหลักแล้วการเติมแก๊สควรเติม ในตอนค�่ำ แต่เหมือนเขาส่งรถกันและไม่ไปเติม แก๊ส ท�ำให้วันต่อไปต้องไปเติม เราจึงเสียเวลากับ ตรงนี้มาก ในส่วนของการอัดผู้โดยสารก็เคยเจอ อาจเป็นเพราะมีรถแค่สายเดียว” นางสาวนฤมล ภูเนตร อายุ 22 ปี คณะ การท่ อ งเที่ ย วและการโรงแรม มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม ผูใ้ ช้บริการรถบริษทั ขอนแก่นชนะภัย
ขนส่ง จ�ำกัด เล่าว่า “ตั้งแต่มาเรียนที่มหาสารคาม เป็นเวลา 3 ปีแล้ว ยังไม่เคยใช้บริการรถของบริษทั อืน่ นัง่ รถชมพูกลับบ้านทุกวันศุกร์เป็นประจ�ำ หลัง จากทราบข่าวอุบตั เิ หตุ รูส้ กึ กังวลต่อการใช้บริการ ครั้งต่อไป แต่ก็จ�ำเป็นต้องใช้เพราะมีสายเดียว แต่ เมื่อลองใช้บริการดู ก็พบว่าหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ทางบริษัทค่อนข้างที่จะระมัดระวังมากขึ้น เพราะ ก่อนหน้านี้ที่เคยเจอคือ มีรถขับมาตัดหน้า เบรก กะทันหัน แต่ไม่ถงึ ขัน้ บาดเจ็บ การแก้ปญ ั หาขึน้ อยู่ กับทางบริษทั ว่าจะควบคุมพนักงานขับรถให้มวี นิ ยั แต่เส้นทางบนถนนบางครั้งอาจมีส่วน เพราะค่อน ข้างขรุขระ”
เดือน ซึง่ ตนมองว่ายังขาดประสบการณ์และความ เข้าใจในระบบยานยนต์ของรถประจ�ำทางด้วย วัวหายล้อมคอก
หากจะกล่าวถึงอุบัติเหตุ ที่ก�ำลังเป็นจุด สนใจของนิสิตชาวมหาสารคามขณะนี้ คงหนีไม่ พ้นเหตุสะเทือนขวัญ เมื่อรถโดยสารประจ�ำทาง สาย 534 อุดรธานี-ร้อยเอ็ด ทะเบียน 10-7995 ขอนแก่น ของ บริษทั ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด วิ่งมาด้วยความเร็วสูง ก่อนเสียหลักหลุดโค้ง ปีน เกาะกลางถนนพลิกคว�่ำอยู่ริมถนนทางหลวงสาย 12 สายขอนแก่น-ยางตลาด ช่วงถนนเชียงยืนขอนแก่น ที่ กม. 576 หน้าร้านวิโรจน์คอนกรีต บ.ชนะชั ย ขนส่ง หนึ่ ง เดี ย วบนเส้น ทาง บ้านหนองสะพรั่ง หมู่ 8 ต.เสือเฒ่า อ.เชียงยืน อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด จ.มหาสารคาม ท�ำให้ผู้โดยสารที่นั่งมาเสียชีวิต นายธีรเดช อานันนพสกุล กรรมการผู้ ทันที 2 ราย เป็นครูสาวท้อง 5 เดือนกับพระสงฆ์ จัดการบริษัท ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด ชี้แจง บาดเจ็บกว่า 20 ราย ส่วนพนักงานขับรถประจ�ำ ว่า เนื่องจากบริษัทเราถือเป็นอันดับต้นๆ ของภาค ทาง นายกล้าณรงค์ เรืองศรี และนางสาวบัวไข อีสาน ก็มีบ้างที่บริษัทอื่นอาจจะอิจฉา ต้องเข้ามา ทะนามศรี พนักงานประจ�ำรถ ได้หลบหนีไปหลัง วิ่งในสายนี้ แต่ทางเราได้ดูแล้วว่ามีศักยภาพเพียง จากเกิดอุบัติเหตุ ขณะนี้ทางต�ำรวจก�ำลังด�ำเนิน พอที่จะบริการได้ อย่างรถของเรารับประกันว่าคือ การประกาศจับอย่างต่อเนื่อง รถใหม่ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยน�ำเข้ามาจากประเทศ นายธีรเดช อานันนพสกุล กรรมการผู้ จีน มาตรการการตรวจสอบรถ ทางบริษัทมีอู่และ จัดการบริษัท ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด ชี้แจง ช่างประจ� ำ ก่ อนออกบริ การจะน� ำ รถเข้ า ตรวจ ว่า ผู้บาดเจ็บกว่า 20 ราย ขณะนี้เยียวยาไปแล้ว สภาพ หากมีการช�ำรุดจะให้ชา่ งประจ�ำอูซ่ อ่ มแซม 17 ราย ค่าชดเชยผูบ้ าดเจ็บแต่ละราย 10,000 บาท นายธีรเดช กล่าวต่อว่า การรับสมัคร ขึ้นไป เหลือ 4 รายที่ก�ำลังอยู่ระหว่างด�ำเนินการ พนักงานมีมาตรการคัดกรองพนักงานอย่างชัดเจน ส่วนพระสงฆ์ ชดใช้ค่าเสียหายตามประกันชดเชย ประกาศจากกรมการขนส่ ง ทางบกระบุ ไ ว้ ว ่ า 200,000 บาท ทางบริษัทให้เพิ่มอีก 70,000 บาท รถโดยสารต้องจ�ำกัดความเร็วที่ 90 กม./ชม. และ เป็นอันเรียบร้อยแล้ว เหลือผูเ้ สียชีวติ อีก 1 ราย ทัง้ นี้ ต้องเดินรถด้านซ้ายเท่านั้น โดยมีข้อห้ามอยู่ 5 ข้อ การชดเชยจะท�ำตามที่กฎหมายบังคับ แต่ด้วย คือ 1. ห้ามใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายก�ำหนด 2. ห้ามใช้ช่องทางเดินรถด้านขวา 3. ห้ามฝ่าฝืน สั ญ ญาณไฟจราจร 4. ห้ า มแต่ ง กายไม่ สุ ภ าพ 5. ห้ามพูดจาไม่สภุ าพ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับครัง้ ละ ไม่เกิน 1,000 บาท นายสงกรานต์ สมบูรณ์ พนักงานขับรถ ประจ�ำทาง บริษัท ขอนแก่นชนะชัยขนส่ง จ�ำกัด กล่ า วว่ า พนั ก งานทุ ก คนต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามกฎ ระเบียบของบริษทั และกรมการขนส่งทางบกอย่าง เคร่งครัด ตนมองว่าการทีเ่ กิดอุบตั เิ หตุบอ่ ยครัง้ นัน้ สาเหตุเกิดจากพนักงานที่ขาดการช�ำนาญงาน เพราะล่าสุดทีเ่ กิดเหตุไป เป็นเพราะนายกล้านรงค์ ที่ได้หลบหนีไปนั้น เพิ่งเข้ามาท�ำงานได้เพียงสอง
จิ ต ส� ำ นึ ก ทางบริ ษั ท จึ ง ให้ เ พิ่ ม จากที่ ก ฎหมาย ก�ำหนด เช่น หากประกันให้ 100,000 บาท ทาง บริษัทจะให้เพิ่มอีก 100,000 บาท “อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเหตุสุดวิสัย เกิดจากคนขับ และถนน เพราะถนนเส้นนี้มักเกิด อุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง หากจะโทษว่าเกิดจากรถมัน ก็ไม่ใช่ คนขับรถก็มีส่วน เรื่องนี้เราบังคับไม่ได้ เพราะอุบตั เิ หตุกม็ อี ยูท่ วั่ ประเทศ การจะมาเพ่งเล็ง ว่าบริษัทไม่ดูแล คิดว่าไม่ใช่ เพราะเรามีการดูแล อย่างใกล้ชิด และอยู่ใกล้กับชุมชนของนิสิตจึง กลายเป็นข่าวดัง ส่วนตัวคิดว่ามีการจงใจกระจาย ข่าว” นายธีรเดช กล่าว นายบรรจบ เนาวสาร รองผู้อ�ำนวยการ แขวงการฝ่ายวิศวกรรม แขวงการทางขอนแก่นที่ 1 ส�ำนักทางหลวงที่ 5 (ขอนแก่น) กรมทางหลวง แนะว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนในแต่ละครั้ง สาเหตุ ส่ ว นใหญ่ ม าจากผู ้ ขั บ ขี่ ส่ ว นปั จ จั ย อื่ น ๆ เช่ น ภูมิอากาศหรือสภาพถนนนั้น ตนมองว่าเป็นแค่ สาเหตุ ร องเท่ า นั้ น จะสร้ า งถนนที่ ป ลอดภั ย ได้ มาตรฐานแค่ไหน แต่สาเหตุของอุบัติเหตุก็เกิดมา จากผู้ใช้รถใช้ถนนอยู่ดี แสดงให้เห็นถึงการขับขี่ที่ ไร้วินัยของผู้ใช้ถนนเอง ควรแก้ปัญหาที่ตัวผู้ขับขี่ เอง และระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะ ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะที่ต้องรับผิดชอบ บทเรียนครัง้ นีน้ บั ว่าเป็นอุทาหรณ์ให้ หลายบริษทั ทีใ่ ห้บริการโดยสารทัง้ ประจ�ำทาง และไม่ประจ�ำทางได้ตระหนักและระมัดระวัง การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากขึ้น เพราะ มีหลายปัจจัยที่ท�ำให้ประชาชนไม่สามารถ หลี ก เลี่ ย งการใช้ ร ถโดยสารประจ� ำ ทางได้
หน้า 8
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
เกษตร
สารคามแล้งหนักในรอบ 5 ปี รั ฐ สั่ ง เกษตรกรงดปลู ก ข้า วนาปรั ง หวั่ น น�้ ำ ไม่พ อใช้ใ นฤดู ร ้อ นนี้
ปัญหาภัยแล้งของจังหวัดมหาสารคาม เป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวไร่และชาวนาเผชิญมา ในทุกๆ ปี โดยปีนี้เกษตรกรได้ประสบวิกฤตฝน ทิ้งช่วงอีกครั้งในรอบ 5 ปี หลังประสบภัยแล้งหนัก สุดใน พ.ศ.2554 ท�ำให้ลำ� ห้วยเริม่ แห้งขอด สายน�ำ้ หลั ก อย่ า งแม่ น�้ ำ ชี ที่ ห ล่ อ เลี้ ย งเกษตรกรก็ เ ริ่ ม หยุดนิง่ ท�ำให้สง่ ผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภค และการท� ำ เกษตรกรรมของ จ.มหาสารคาม อย่างยิ่ง แนวโน้ม ปัญ หาภั ย แล้ง ปี 2559 ปัญหาภัยแล้งเป็นภัยทางธรรมชาติทสี่ ง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเกษตร ทั้งการ ขาดแคลนน�ำ้ สภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน โรคพืชและ ศั ต รู พื ช นั บ เป็ น ปั ญ หาของเกษตรกรที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบโดยตรง ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ เริม่ ประสบปัญหาหน้าดินแห้ง ฝนทิง้ ช่วงเป็น เวลานาน ท�ำให้พชื ผลทางการเกษตรเกิดความเสีย หาย จ.มหาสารคาม เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบ ภัยแล้ง โดยขยายเป็นวงกว้างใน 4 อ�ำเภอ ได้แก่ เชียงยืน โกสุมพิสัย กันทรวิชัย และชื่นชม นายปราโมทย์ วั ฒ นะ หั ว หน้ า กลุ ่ ม ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาเกษตรกรส�ำ นั ก งานเกษตร จั ง หวั ด มหาสารคาม ให้ ข ้ อ มู ล ว่ า ปั จ จุ บั น สถานการณ์ภัยแล้งของ จ.มหาสารคาม โดยภาพ รวมในขณะนี้มี 13 อ�ำเภอที่ประสบปัญหาหลักๆ คือ เรือ่ งน�ำ้ เพือ่ การท�ำการเกษตร โดยเฉพาะเขือ่ น อุบลรัตน์ ซึง่ เป็นแหล่งน�ำ้ ต้นทุนมีนำ�้ ในเขือ่ นอยูใ่ น ขั้นวิกฤต มีปริมาณการกักเก็บน�้ำน้อยมาก “การปล่ อ ยน�้ ำ ของเขื่ อ นอุ บ ลรั ต น์ จ.ขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ให้ใช้น�้ำท�ำการเกษตร โดยปล่อยน�้ำ 500,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน แต่ทุก วันนี้ภาครัฐมีมาตรการควบคุมการใช้น�้ำส�ำหรับ อุปโภค-บริโภค เพื่อผลิตน�้ำประปาให้กับชาวบ้าน ที่อาศัยตลอดลุ่มน�้ำชี จึงมีผลกระทบต่อเกษตรกร ในหลายอ�ำเภอของ จ.มหาสารคาม ทีม่ กี ารท�ำนาปี ละ 44,000 ไร่ ซึ่งปีนี้ทางส�ำนักงานเกษตรจังหวัด ได้มกี ารประกาศไม่ให้ทำ� นาปรัง แต่กย็ งั มีเกษตรกร ที่ฝืนปลูกข้าวนาปรังในขณะนี้อยู่กว่า 1 หมื่นไร่ หลักๆ อยู่ที่อ�ำเภอเมือง โกสุมพิสัย และกันทรวิชัย “หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องมีความกังวลว่าน�ำ้ ทีเ่ หลืออยูจ่ ะใช้ได้ไม่ถงึ เดือนมีนาคม หากฝนไม่ตก ตามฤดูกาล ท�ำให้มปี ริมาณน�ำ้ ฝนไม่เพียงพอ ก็จะ มีมาตรการเอาน�้ำก้นอ่างมาใช้แทน ซึ่งอาจส่งผล
หนองน�้ำแห้งขอด : หนองน�้ำบ้านโพนทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ที่ชาวบ้านใช้ปลูกข้าวแห้งเหือดจนเนินทรายโผล่
กระทบต่อปีถัดไป และส่งผลกระทบในอีกหลาย จังหวัดทีใ่ ช้นำ�้ จากแม่นำ�้ ชีตอ่ จาก จ.มหาสารคาม” นายปราโมทย์ กล่าว ฉะนั้น แนวทางการป้องกันเบื้องต้นใน ฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย โดย ส� ำ นั ก งานเกษตรจั ง หวั ด มหาสารคามได้ มี ก าร เสนอโครงการแก้ ป ั ญ หาภั ย แล้ ง ซึ่ ง ถู ก อนุ มั ติ 24 โครงการจาก 200 กว่าโครงการ โครงการส่วน ใหญ่จะเป็นโครงการแบบรวมกลุ่มของชุมชนและ เกษตรกรที่ปลูกพืชต่างๆ เช่น ผัก มะลิ ดอกไม้ แตงโมอินทรีย์ บร๊อคโคลี่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ถัว่ ลิสง ข้าวโพดข้าวเหนียว ฯลฯ และมีเงินด�ำเนินโครงการ เป็นเงินทั้งหมด 7,807,655 บาท ซึ่งในจ�ำนวนนี้ ต้องแบ่งเป็นค่าจ้างแรงงานไม่ต�่ำกว่า 150% ตาม เงื่อนไข “นอกจากนี้ทุกคนต้องเข้าใจบริบทของ จ.มหาสารคาม ว่าอยู่นอกเขตชลประทาน ส่วน ใหญ่เกษตรกรไม่ได้ปลูกพืชตลอดทั้งปีอยู่แล้ว ซึ่ง ทุกคนมองว่ามหาสารคามมีภูมิประเทศเป็นแบบ แห้งแล้ง แต่หน่วยงานภาครัฐเองก็ไม่นิ่งนอนใจ มี การประชุมและวางแผนข้างต้น ทั้งยังมีมาตรการ รองรับในทุกๆปี ”นายปราโมทย์ กล่าวปิดท้าย
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพ อากาศที่แปรปรวนแดดจัดสลับกับฝนตก ท�ำให้ อากาศและหน้าดินแห้งแล้ง ซึง่ ส่งผลกระทบต่อพืช สวนพืชไร่ พร้อมกันนี้ ส�ำนักงานเกษตรจังหวัด มหาสารคามได้ประกาศให้เกษตรกรงดปลูกข้าว นาปรั ง เนื่ อ งจากอาจประสบปั ญ หาภาวะ ขาดแคลนน�้ำจากภัยแล้ง โดยเป็นประกาศเชิงขอ ความร่วมมือ เพราะการปลูกข้าวต้องใช้นำ�้ จ�ำนวน มาก และขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชน�้ำน้อย แทน น า ย โ ส คิ ด บุ ญ ศ รี หั ว ห น ้ า ก ลุ ่ ม ยุ ท ธศาสตร์ แ ละสารสนเทศ ส� ำ นั ก งานเกษตร จังหวัดมหาสารคาม เผยว่า เกษตรกรมีการปรับตัว หันมาปลูกพืชทีใ่ ช้นำ�้ น้อย และทนกับสภาพอากาศ แห้งแล้งได้ดี อาทิ ถั่วลิสง แตงโม ข้าวโพด มันแกว และพริก ฯลฯ แทนการปลูกข้าวและพืชไร่แต่การ ปลูกพืชเหล่านี้ก็ยังมีศัตรูพืชมารบกวนท�ำให้เกิด ความเสียหาย เนื่องจากช่วงนี้มีสภาพอากาศเย็น และร้อนจัด โรคในพืชอย่าง เชื้อรา แมลง เพลี้ย โรคใบไหม้ เริ่มระบาดในพื้นที่ท�ำการเกษตรของ ชาวบ้ า นและทางหน่ ว ยงานมี ม าตรการเตรี ย ม พร้ อ มส� ำ หรั บ การรั บ มื อ กั บ ปั ญ หาโรคในพื ช ดังกล่าวแล้ว
เตื อ นภั ย เกษตร/งดปลู ก ข้า วนาปรั ง
สถานการณ์น�้ำปี 2559 ด้านกรมชลประทาน ได้มกี ารประกาศให้ ความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินภาคตะวันออกเฉียง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไ ด้ อ อก หนั ง สื อ เตื อ นภั ย เกษตรฉบั บ เมื่ อ วั น ที่ 17–23
เ ห นื อ ใ น เ ข ต พื้ น ที่ ป ร ะ ส บ ภั ย แ ล ้ ง ซึ่ ง มี จ.นครราชสีมา (10 อ�ำเภอ) นครพนม (2 อ�ำเภอ) บุรีรัมย์ (2 อ�ำเภอ) และ จ.มหาสารคามมีพื้นที่ ประสบภั ย แล้ ง อย่ า งหนั ก ในเขต อ.เชี ย งยื น โกสุมพิสัย กันทรวิชัย และชื่นชม นับเป็น 4 อ�ำเภอ ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ ทัง้ นีก้ รมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไ ด ้ เ ข ้ า ม า ใ ห ้ ค ว า ม ช ่ ว ย เ ห ลื อ ห ลั ง จ า ก ที่ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น�้ำฤดูแล้งปี 2558/2559 เมื่ อ วั น เสาร์ ที่ 13 กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.2559 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึง เตรียมเครือ่ งสูบน�ำ้ เคลือ่ นทีจ่ ำ� นวน 14 เครือ่ ง เพือ่ ช่วยเหลือพื้นที่นาปี-นาปรัง พืชไร่ รวมทั้งการ อุ ป โภคบริ โ ภค ในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ 3 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา (1 อ�ำเภอ) บุรีรัมย์ (4 อ�ำเภอ) หนองคาย (9 อ�ำเภอ) ปัจจุบันได้มีการ ติดตัง้ เครือ่ งสูบน�ำ้ เพือ่ ช่วยเหลือตามพืน้ ที่ จ�ำนวน 53 เครื่องในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งยังไม่มีการให้ความ ช่วยเหลือใน จ.มหาสารคาม เงินชดเชยภัยแล้ง ในแต่ละปีจะมีโครงการของภาครัฐที่ให้ ความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งในเบื้องต้น แก่เกษตรกร โดยจะได้รับค่าชดเชยไร่ละ1,000 บาท แต่การที่เกษตรกรจะได้รับเงินค่าชดเชยภัย แล้ ง ต้ อ งมี ก ารท� ำ ประกั น กั บ ธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เท่านัน้ แต่ ช ดเชยให้ สู ง สุ ด เพี ย ง 15 ไร่ แม้ จ ะได้ รั บ ผลกระทบกี่ไร่ก็ตาม นายสั ง คม ใคร่ ค รวญ เกษตรกร ต.หนองซอน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม เล่าว่า น�ำ้ ส�ำหรับท�ำไร่นาไม่เพียงพอ ผลผลิตที่ได้ลดลงครึ่ง ต่อครึ่ง จากที่เคยปลูกข้าว 9 ไร่ได้ผลผลิต 65–70 กระสอบ ปีนี้ผ ลผลิต ลดลงเหลือ 30 กระสอบ ซึ่งเป็นการปลูกข้าวในสภาวะฝนขาดช่วง ตนได้ จ้างบริษัทเอกชนมาขุดเจาะบ่อบาดาล เนื่องจาก รอให้เ จ้า หน้า ที่ภ าครัฐ เข้า มาช่ว ยเหลือ ไม่ไหว เพราะข้าวแห้งตายจากการขาดน�้ำเป็นเวลานาน ทัง้ นี้ ภัยแล้งเป็นอีกหนึง่ ปัญหาทีไ่ ม่ได้รบั การแก้ ไ ขอย่ า งจริ ง จั ง ในทุ ก ๆ ปี นโยบายของ ภาครัฐ เป็น การแก้ไขเฉพาะหน้า โดยไม่มีการ วางแผนการป้องกันและรับมือปัญหาภัยแล้งใน ระยะยาวแต่อย่างใด มีเพียงประกาศให้เกษตรกร เตรี ย มรั บ มื อ กั บ ภั ย แล้ ง อย่ า งเช่ น ทุ ก ปี และ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้งเท่านั้น
อยู่ดีมีแฮง
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 9
หน้า 10 หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
ไม้ไผ่ที่ถูกเหลาให้เรียวเล็กกระชับจับ ถนัดมือปลายผูกด้วยถุงพลาสติกคล้ายพู่ ถูกโบก สะบัดบนทางหลวงหมายเลข 12 เพื่อเชื้อเชิญ ผู ้ สั ญ จรผ่ า นไปมาให้ ลิ้ ม ลองรสข้ า วโพด พันธุ์ข้าวเหนียวอันขึ้นชื่อของชาวบ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น เราก็เป็นอีก กลุม่ หนึง่ ทีถ่ กู สะกดด้วยปลายพูท่ โี่ บกสะบัดขึน้ -ลง “เอาข้าวโพดแบบได๋ดีจ้า” เสียงทักทาย ด้วยส�ำเนียงอีสานจากหญิงวัยกลางคนปลุกให้เรา ตื่นจากภวังค์ ภาพเบื้องหน้าคือรอยยิ้มอย่างเป็น มิ ต รจากแม่ ค ้ า ขายข้ า วโพด เราตั ด สิ น ใจสั่ ง ข้ า วโพดเพื่ อ ลองลิ้ ม รส แม่ ค ้ า เจ้ า ของรอยยิ้ ม จั ด แจงเอาข้ า วโพดลงถุ ง อย่ า งทะมั ด ทะแมง ระหว่างนั้นเราก็พูดคุยถามไถ่กัน ว่าเหตุใดจึงเป็น ของขึ้นชื่อ คุณป้าไม่รอช้ารีบเล่าให้ฟังถึงที่มาของ ข้าวโพดประจ�ำหมู่บ้านแห่งนี้ การจั ด ตั้ ง กลุ ่ ม ผู ้ ป ลู ก ข้ า วโพดบ้ า น หนองบัวเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2541 เพื่อจัดระเบียบ และดูแลสมาชิกในกลุ่มได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบันมี สมาชิกทั้งหมด 76 ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนอย่าง เป็นทางการ ส่วนพืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดของสมาชิกใน กลุ่มคิดเป็นจ�ำนวน 385 ไร่ แต่จ�ำนวนการปลูก ข้าวโพดจริง ๆ รวมชาวบ้านทีไ่ ม่ได้ขนึ้ ทะเบียนเป็น สมาชิกกลุ่มด้วย จะอยู่ที่ประมาณ 500-600 ไร่
อยู่ดีมีแฮง
บนเป็นไม้ คาดว่าน่าจะเป็นร้านค้าประจ�ำหมูบ่ า้ น ด้วยความสังเกตของพวกเราพบว่ามี แผ่นไม้สเี่ หลีย่ มทีถ่ กู ตอกด้วยตะปูตดิ อยูเ่ สากลาง บ้าน ไม้แผ่นนั้นมีอยู่ทุกหลังคาเรือน เป็นไม้ที่ระบุ ชื่อเจ้าบ้านพร้อมบ้านเลขที่ของบ้านแต่ละหลัง และแผ่ น ไม้ ที่ อ ยู ่ ด ้ า นหน้ า ระบุ ชื่ อ เจ้ า บ้ า นว่ า “สมหมาย สีดาคุณ” ซึ่งเป็นบ้านของบุคคลที่เรา หยุดรถและคาดว่าน่าจะทราบเรื่องข้าวโพดเป็น อย่างดี เรารีบก้าวลงจากรถเข้าไปแนะน�ำตัวกับ ชายสูงวัยรูปร่างสันทัดที่ก�ำลังยิ้มต้อนรับพวกเรา อย่างใจดีพร้อมเอ่ยแทนตัวเองว่า “พ่อสมหมาย” เราพู ด คุ ย ทั ก ทายแบบเป็ น กั น เอง ก่ อ นเริ่ ม บท
สนทนาถึงอาชีพการปลูกข้าวโพด “ข้าวโพดก็ปลูกอยู่ท่ัวหมู่บ้านนั่นแหละ เดีย๋ วพ่อจะพาไปดู อยูใ่ กล้ ๆ ก็ม”ี พ่อสมหมาย ชาย สูงวัย หัวหน้ากลุม่ ผูป้ ลูกข้าวโพดบ้านหนองบัวเอ่ย ปาก ก่อนขึ้นรถมาพร้อมกับพวกเรา ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที รถคันเล็กสีด�ำก็จอดเทียบกับไร่ข้าวโพดสี เขียวยาวสุดลูกหูลูกตา “ข้ า วโพดเหล่ า นี้ เ ป็ น พั น ธุ ์ ที่ ช าวบ้ า น หนองบัวปลูกกันมาตัง้ แต่รนุ่ พ่อรุน่ แม่ นับเป็นเวลา ยาวนานหลายปี ถือได้ว่าเมื่อก่อนข้าวโพดเป็น อาหารหลั กของคนหนองบัว เพราะชาวบ้า นมี ฐานะยากจน ต้องอดข้าวอดน�้ำ กินข้าวโพดแทน ข้ า วเป็ น อาหารหลั ก มากกว่ า เผื อ ก มั น กลอย
ข้าวโพด เงินล้าน
บนทางหลวงหมายเลข12
ข้าวโพดสัญลักษณ์บ้านหนองบัว
ด้วยความอยากรูอ้ ยากเห็นเรือ่ งข้าวโพด เราตัดสินใจเดินทางไปภายในบ้านหนองบัว ซึง่ อยู่ ไม่ไกลจากซุ้มขายข้าวโพดมากนัก ไม่นานรถก็ แล่นมาจอดหน้าบ้าน มองจากในรถเป็นร้านค้า ขนาดใหญ่หลังหนึง่ ทีม่ ลี กั ษณะชัน้ ล่างเป็นปูน ชัน้
อยู่ดีมีแฮงตามฉบับชาวบ้านหนองบัว
ข้าวโพดพันธุ์นี้จึงถือเป็นอัตลักษณ์ของคนที่นี่ไป โดยปริยาย” พ่อสมหมายพูดขณะก้าวลงจากรถ ข้าวโพดโอทอประดับ 3 ดาว
พ่ อ สมหมาย เล่ า ต่ อ ถึ ง ที่ ม าว่ า เมื่ อ พ.ศ.2547 มีนโยบายจากรัฐบาล ให้จดั ตัง้ โครงการ หนึ่ ง ต� ำ บลหนึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรื อ เรี ย กย่ อ ๆ ว่ า โอทอป (OTOP) เป็นโครงการกระตุ้นธุรกิจของ ผู้ประกอบการในท้องถิ่น “ข้าวโพดเป็นผลผลิตเพียงอย่างเดียวที่ เรามี ชนะการประกวดโอทอปทุกปี ตั้งแต่ปี 2547 เพราะมีลักษณะที่แตกต่างจากข้าวโพดพันธุ์อื่น รสชาติหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม กินง่ายไม่ติดฟัน ต้อง เก็บมาต้มทันที น่าเสียดายทีม่ าไม่ทนั ช่วงเช้าทีช่ าว บ้านเขาเก็บข้าวโพดมาต้มกัน ต้มกันสด ๆ ตรงนี้ เลย เก็บแล้วก็เอามาต้มขาย” พ่อสมหมายยิม้ กว้าง ขณะบรรยายให้ ฟ ั ง ระหว่ า งพาเราลงส� ำ รวจไร่ ข้าวโพดกัน เมื่อพูดถึงปัญหาการส่งเข้าประกวด สินค้าโอทอป สีหน้าของพ่อก็เปลี่ยนไปอย่างเห็น ได้ชัด พ่อสมหมาย เล่าต่อด้วยสีหน้าภูมิใจว่า “ข้าวโพดของเราได้โอทอป 3 ดาว ไม่สามารถไปถึง 5 ดาวได้ เพราะการประกวดต้องส่งเข้าไปประกวด ทีก่ รุงเทพฯ ระหว่างการขนส่งอาจจะท�ำให้ขา้ วโพด ของเราเกิดความเสียหาย ข้าวโพดเป็นอาหารสด ที่ต้องต้มกินสดๆ ถึงจะได้รสชาติที่หวาน อร่อย แล้วถ้าเอาฝักดิบไปต้มที่กรุงเทพฯ รสชาติของ ข้าวโพดก็จะเปลี่ยนไป ไม่คงรสชาติเดิม ชาวบ้าน จึงคุยกันว่าเอาแค่ 3 ดาวก็พอจึงหยุดการส่งเข้า ประกวดไว้แค่นั้น เราก็ขายกันตามปกติที่เป็นมา ไม่ได้หาตลาดรองรับเพิ่ม ถ้าช่วงที่ข้าวโพดล้น ตลาดเราก็จะขายให้เกษตรกร เอาไปเป็นอาหาร สัตว์ในหมู่บ้าน”
ข้าวโพดม่วงแต้ม สินค้าโอทอปจากบ้านหนองบัวๆ จากไร่
การต้มข้าวโพดสดๆ จากไร่
เคล็ด (ไม่) ลับความอร่อย
เคล็ดลับความอร่อยของข้าวโพดบ้านหนองบัว ไม่ใช่แค่เพราะดินทีน่ เี่ ป็นดินร่วนปนทรายที่ เหมาะแก่การปลูกข้าวโพดเท่านั้น แต่คนที่ปลูกข้าวโพดต้องใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินให้ ร่วนซุย เวลาฝนตกน�้ำไม่สามารถท่วมขังได้ การหว่านเมล็ดก็จะหว่านแถวเดียว มีระยะห่างกัน ประมาณ 25 ซม. แต่ไม่เกิน 30 ซม. ส�ำหรับ 1 เมล็ด และในระยะห่างทางเดินจะเว้นไว้ 80 ซม. หากหยอด 2 เมล็ดระยะห่างจะประมาณ 50 ซม. และในปัจจุบันมีการพัฒนาปลูกแบบฟันปลาเพื่อ ให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าราว 90-95 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เก็บเกี่ยวข้าวโพดสด ๆ จากไร่
อยู่ดีมีแฮง
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 11
สายใย : เด็กๆ ทานข้าวโพดด้วยความเอร็ดอร่อย
“การปลูกข้าวโพดก็เหมือนการเลี้ยงลูก เราจะรู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หากไม่ดูแลเอาใจใส่ก็คงไม่ได้ผลผลิตที่ดี” การเข้ามาของบริษัทเอกชน
อย่างไรก็ตาม มีชาวบ้านบางส่วนประสบ ปัญหาเมล็ดพันธุข์ า้ วโพดข้าวเหนียวหนองบัวเป็น โรค เช่น ฝักลีบ แมลงเจาะ ฝักไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากมีการปลูกข้าวโพดเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อ เกิดปัญหานี้ท�ำให้บริษัทเอกชนหลายแห่งยื่นมือ เข้ามาให้ความช่วยเหลือในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ ข้าวโพด แต่มบี ริษทั เอกชนแห่งหนึง่ ทีเ่ ข้ามาเป็นผู้ พั ฒ นาเมล็ ด พั น ธุ ์ ข ้ า วโพดนี้ ใ ห้ มี ค วามแข็ ง แรง สามารถต้านทานโรคได้ดี แต่ยงั แฝงรสชาติดงั้ เดิม คงไว้อยู่ และสิง่ ทีไ่ ด้เพิม่ เติมมาจากการพัฒนาสาย พันธุ์คือสีสันที่แปลกใหม่ จนชาวบ้านพากันเรียก ว่า “พันธุล์ กู ผสม” เมือ่ ประสบความส�ำเร็จจากการ ปรับปรุงพันธุ์แล้ว บริษัทเอกชนแห่งนี้จึงได้น�ำ เมล็ ด พั น ธุ ์ ม าจ� ำ หน่ า ยแก่ ช าวบ้ า น ในราคา ถุงละ 500 บาท บรรจุ 6,000 เม็ด “หนึ่งถุงสามารถน�ำไปปลูกได้ประมาณ 1 ไร่ ท�ำผลผลิตได้ถึง 6,000 ฝักต่อไร่ แต่ก็ขึ้นอยู่ กับความสามารถในการบริหารจัดการของชาว บ้านว่าท�ำได้ดถี งึ 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ ผลผลิตที่ เสียส่วนมากจะอยู่ในลักษณะของการดูแลที่ไม่ดี
หนูแทะ หนอนกินและระยะห่างในการปลูกไม่มี ระบบ อาจท�ำให้ต้นข้าวโพดถี่เบียดกันได้ ” พ่อสม หมายอธิบายด้วยใบหน้าจริงจัง พร้อมยืน่ ถุงเมล็ด พันธุ์ข้าวโพดให้พวกเราดู แตกไลน์จัดจ�ำหน่ายขึ้นท็อปส์ มาร์เก็ต
ในส่ ว นของการจั ด จ� ำ หน่ า ย มี ศู น ย์ จ�ำหน่ายสินค้าท็อปส์ มาร์เก็ต (TOPSMARKET) ที่กรุงเทพฯ ได้เข้ามาสนับสนุนเปิดตลาดให้กับ ชุมชน โดยการเข้ามารับซื้อผลผลิตข้าวโพดฝักดิบ ของชาวบ้าน พ่อสมหมายอธิบายให้เราเห็นภาพชัดขึน้ ว่า “เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา มีการขยายตลาดขึ้น ท็อปส์ มาร์เก็ตที่เข้ามาซื้อผลผลิตจากเราสัปดาห์ ละครั้ง ครั้งละ 3,000–5,000 ฝัก โดยมีคนเข้ามา รับเองถึงที่ ซึ่งบางครั้งผลผลิตที่มีในชุมชนก็ไม่ เพียงพอตามออเดอร์ทเี่ ขาสัง่ ซือ้ เพราะทุกฝักทีถ่ กู ส่งออกไปล้วนถูกคัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี เป็น ผลผลิตเกรดพรีเมียมที่ชาวบ้านมี เขาจะมารับทุก วันพุธ ราคาขายเป็นราคาส่งต่อตันได้ก�ำไรไม่มาก เมื่อเทียบกับการขายที่ซุ้มข้างถนนบนทางหลวง หมายเลข 12” พ่อสมหมายเล่าให้พวกเราฟัง
รายได้หลักล้านจากการปลูกข้าวโพด
แม้ ช าวบ้ า นหนองบั ว จะนิ ย มปลู ก ข้าวโพดขายกันเป็นจ�ำนวนมาก แต่นี่เป็นเพียง อาชีพรองของพวกเขาเหล่านั้น เพราะอาชีพหลัก คือการเป็นเกษตรกรท�ำไร่ท�ำนาเป็นหลัก ซึ่งน่า แปลกว่าอาชีพรองดังกล่าว กลับเป็นตัวสร้างราย ได้จ�ำนวนมากให้พวกเขาได้กินดีอยู่ดีหรือที่ภาษา อีสานเรียกว่าอยู่ดีมีแฮง “ หากพูดถึงรายได้พอ่ คงไม่สามารถตอบ เป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ แต่จากกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพด นั้นมีเงินหมุนเวียนไม่ต�่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง ไม่รวมกับชาวบ้านนอกกลุ่ม นับว่าเม็ดเงินเหล่านี้ เป็นเม็ดเงินจ�ำนวนมหาศาลส�ำหรับอาชีพรองของ คนที่นี่” พ่อสมหมายย�้ำ เมือ่ ได้ฟงั เราก็รสู้ กึ ประหลาดใจกับตัวเลข
รายได้ที่พ่อสมหมายบอก เพราะไม่คิดว่าข้าวโพด จะสามารถสร้างรายได้มหาศาลเช่นนี้ เราจึงพูดที เล่ น ที จ ริ ง ว่ า “หากเรี ย นจบแล้ ว ไม่ มี ง านท� ำ พวกหนูคงต้องมาปลูกข้าวโพดกับคุณพ่อแล้วล่ะ” พ่อสมหมายได้ยินอย่างนั้นก็หัวเราะเสียงดังออก มาทันที “การปลูกข้าวโพดก็เหมือนการเลี้ยงลูก เราจะรู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หากไม่ดูแล เอาใจใส่ก็คงไม่ได้ผลผลิตที่ดี” พ่อสมหมายเล่า แม้ข้าวโพดเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ มหาศาลให้กบั ชาวบ้านหนองบัว แต่ชาวบ้านยังคง ปลูกข้าวโพดด้วยความสุขและดูแลเอาใจใส่เป็น อย่างดี ไม่ใช่ปลูกเพื่อมุ่งเน้นผลผลิตทางการค้า เพราะข้าวโพดเป็นอัตลักษณ์ประจ�ำหมู่บ้านที่ เปรี ย บเสมื อ นลมหายใจของคนที่ นี่ ไ ปเสี ย แล้ ว
“กลุ ่ม ผู ้ป ลู ก ข้า วโพดมี เ งิ น หมุ น เวี ย น ไม่ต�่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี”
หน้า 12 หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
กระเป๋าเดินทาง
วิถีชีวิตแสนเรียบง่ายของคนลุ่มน�้ำโขง ระหว่างทางหาดทรายสูงและหาดชมดาว อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
“เขมราฐ” หลายคนได้ยินแล้วอาจจะยังไม่คุ้นหูกันนัก รวมทั้งฉันและเพื่อนเมื่อได้ยินชื่อนี้เป็น ครัง้ แรกกลับนึกถึงสถานทีท่ เี่ กีย่ วข้องกับเขมร แต่แท้จริงแล้ว เขมราฐ แปลว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข เป็นอ�ำเภอเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น�้ำโขง เมืองที่ซ่อนตัวอยู่ใน จ.อุบลราชธานี ดินแดนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ศิลปะ และวัฒนธรรม เมือ่ ปักธงกันมัน่ เหมาะแล้วว่าเราจะไปเยือนเขมราฐสักครัง้ ทริปนีจ้ งึ เริม่ ต้นขึน้ เราออกเดินทาง จาก จ.มหาสารคาม ตัง้ แต่เช้ามืด สองข้างทางเต็มไปด้วยดอกหญ้าสีเหลืองอร่ามปลิวไหวไปตามสายลม ที่พัดผ่าน ครึ่งวันผ่านไปเราก็เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี และมาถึง อ.เขมราฐ ในช่วงบ่ายพร้อมกับแสง ตะวันสีส้มอมทอง ลมร้อนที่พัดผ่านมาทักทายผิวกาย แม้สัมผัสได้ถึงความร้อนแต่กลับรู้สึกสดชื่นอย่าง บอกไม่ถูก อีกหลายชั่วโมงกว่าตะวันจะลับขอบฟ้า เราจึงเดินเรียบริมฝั่งโขงไปเรื่อยๆ ไอร้อนก็ค่อยๆจาง ลงไปเพราะลมที่พัดพาจากแม่น�้ำโขง เขมราฐในช่วงกลางวัน ไม่มีกิจกรรมอะไรให้ท�ำมากนัก เหมาะแก่ การพักผ่อนหรือมาใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์เสียมากกว่า ส่วนช่วงเวลากลางคืนของสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน จะมีถนนคนเดินตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งจะมีวัฒนธรรมร่วมสมัยต่างๆ ไม่ว่าจะตุ้มโฮมพาเเลง เดินแบบผ้าโบราณ เต้นบั๊ดสะหลบ ที่ถือเป็นวิถี ชีวติ ของคนในท้องถิน่ แห่งนี้ รวมไปถึงลักษณะบ้านไม้ของชาวเขมราฐทีโ่ ดดเด่น และยังคงสถาปัตยกรรม แบบเดิมไว้ ไม่มีโทนสีฉูดฉาด ดูแล้วสบายตา เหมือนได้มาเดินอยู่ในยุคที่ฝั่งโขงเจริญรุ่งเรืองใหม่ๆ นอกจากบ้านไม้เก่าแก่ทอี่ ยูใ่ นตัวเมืองแล้ว ชาวเขมราฐแนะน�ำว่าไม่ไกลออกไปนัก มีหาดทราย สูงเหมาะส�ำหรับไปพักผ่อนหย่อนใจ หลังจากเดินชมทิวทัศน์รอบๆ ได้พักใหญ่ เราก็ออกเดินทางต่อไป ยั ง หาดทรายสู ง ซึ่ ง เป็ น หาดทรายน�้ ำ จื ด ริ ม แม่ น�้ ำ โขง อยู ่ ห ่ า งออกจากตั ว อ.เขมราฐ ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ที่บ้านลาดเจริญ ต.นาแวง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ เมื่อน�้ำโขงลดระดับลง เราก็จะพบหาดทรายที่เกิดจากการสะสมของทรายและการพัดพาของ น�้ำกับลม ที่ทอดยาวริมฝั่งโขงระยะทางยาวกว่า 200 ม.และไปบรรจบกับโขดหินในโค้งของล�ำน�้ำโขง จนท�ำให้กลายเป็นหาดทรายสูง ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงหน้าแล้ง หรือช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
“เขมราฐ”
ดิ น แ ด น แ ห่ ง ค ว า ม เ ก ษ ม สุ ข เมื่อรอยเท้าของพวกเราได้สัมผัสกับพื้นทรายละเอียดสีน้�ำตาลอ่อน ลาดลงไปยังริมน�้ำโขง ไม่นานลมก็จะพัดน�ำทรายมากลบเป็นริ้วดังเดิม ท�ำให้แต่ละครั้งหาดทรายจะมีลักษณะทรายเป็นริ้ว สูง เป็นแนวยาวและมีลักษณะต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับทิศทางของลม โค้งสุดลูกหูลูกตาจนเห็นท้องฟ้าสี ครามตัดกับพื้นทรายสีขาว เมื่อมองไปฝั่งตรงข้ามหาดทรายสูงก็จะเป็นเมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต สปป.ลาว สองประเทศบ้านพี่เมืองน้องที่มีเพียงล�ำน�้ำโขงกั้นไว้เท่านั้น บริเวณหาดจะมีแพไว้บริการนักท่องเที่ยว ส�ำหรับคนที่อยากสัมผัสบรรยากาศริมฝั่งแม่น�้ำโขง อย่างใกล้ชิดธรรมชาติ อีกทั้งยังมีบริการล่องเรือชมหาด เรือหางยาวพาเราไปท�ำความรู้จักบริเวณหาด ทรายสูงอีกแห่ง ที่เรียกกันว่า หาดชมดาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายสามพันโบก พบโขดหินเรียงซ้อนกันสูงกว่า 3 ม. สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่พวกเรายิ่งนัก ระหว่างการล่องเรือ ยังได้เห็นวิถชี วี ติ ของคนลุม่ แม่นำ�้ โขง ชาวบ้านทีน่ อี่ ยูก่ นั แบบเรียบง่าย เรา โบกมือทักทายเรือที่ออกหาปลา เจ้าของเรือทักทายกลับด้วยการโชว์ปลาที่จับได้พร้อมกับรอยยิ้ม พวกเราตืน่ เต้นกับปลาตัวใหญ่ของคุณลุง มันสะท้อนให้เห็นว่าเขมราฐยังคงอุดมสมบูรณ์ไม่เปลีย่ นแปลง หลังจากนั่งเรือชมหาดเสร็จ เราเดินทางกลับไปยังตัวเมืองเขมราฐในช่วงเวลาโพล้เพล้ แสงสี ทองอร่ามของพระอาทิตย์ที่ทอดยาวตามสายน�้ำโขง ส่งให้เมืองเขมราฐดูอบอุ่นและงดงาม การมาเยือน เมืองเก่าครั้งนี้เราสัมผัสได้ถึงมิตรภาพชาวเขมราฐและชาวลาวที่อยู่ด้วยกันมาอย่างยาวนานของสอง ฟากฝัง่ แม่นำ�้ โขง ผูค้ นเป็นกันเอง และมีรอยยิม้ สดใส ก่อนจะสิน้ สุดการเดินทางของกระเป๋าเดินทางฉบับ นี้ เราสูดอากาศยามเย็นเข้าเต็มปอดอีกครั้ง นับเป็นความทรงจ�ำที่ดีที่ยากจะลืมเลือน
บริเวณรอบหาดทรายสูง
ถนนคนเดินเขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ยามไร้ผู้คน
จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวสโลว์ไลฟ์
เรือน�ำเที่ยวรอบหาดทรายสูง
บันเทิง
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
หน้า 13
นะโม โอเวอร์เลิฟ ละคอนเวที ส ะท้ อ นสั ง คม
ละคอนเวทีนิเทศศาสตร์ เปรียบเสมือนสื่ออีกรูปแบบหนึ่งท�ำหน้าที่สะท้อนประเด็นทางสังคม หยิบยกเรื่องราวที่ใกล้ชิดกับผู้ชม โดยถูกน�ำเสนอผ่านตัวละครที่โลดแล่นอยู่บนเวทีอย่างแนบเนียน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของละคอนเวทีนิเทศศาสตร์ไปแล้ว เห็นได้จากผลงานของรุ่นพี่ที่ผ่านมา ดังเช่น ละคอนเวทีเรือ่ งนางสาวโคมเขียว สิงห์กลุ า เกิดจากเธอ และอีกหลายเรือ่ งเรียกได้วา่ ครองใจนิสติ ชาว มมส ไปแล้ว ค่าของคนถูกวัดด้วยการศึกษา สิ่งเดียวที่ศรัทธาคือความดี “นะโม โอเวอร์เลิฟ” ละคอนเวที น้องใหม่ ประจ�ำปี 2559 ละคอนแนวพีเรียดประยุกต์ ไม่อิงประวัติศาสตร์ จงใจสอดแทรกแนวคิดเรื่อง การศึกษาของสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผ่านตัวละครเอก ชื่อ “นะโม” ที่มีฐานะยากจน และถูก ชุบเลี้ยงโดยพระ และอาศัยภายในวัด เด็กหนุ่มใฝ่ฝันอยากครองรักกับ “ยี่เข่ง” หญิงสาวผู้เปี่ยมล้นด้วย ความงาม ดีกรีลกู สาวเจ้าเมือง แต่ดว้ ยอุปสรรคเรือ่ งชนชัน้ จึงเกิดจุดเปลีย่ นครัง้ ส�ำคัญในชีวติ ของนะโม อีกสิ่งหนึ่งที่ท�ำให้ละคอนเวทีเรื่องนี้มีความโดดเด่น คือการสร้างคาแรคเตอร์ให้อยู่ในบทบาท ของนักแสดงได้อย่างลงตัว สะท้อนบุคลิกผ่านตัวละคอน อาทิเช่น หลวงตารวย บุคลิกสอนธรรมมะผ่าน เสียงหัวเราะ ทั้งยังมีลูกศิษย์วัด เป็นพระเอกของเรื่อง มองวัดเปรียบเสมือนบ้านและเห็นหลวงตาเป็น เหมือนพ่ออีกคน ไม่เคยอายที่เป็นเพียงแค่ “เด็กวัด” ละคอนเวทีในปีนจี้ งึ ถือว่าจิกกัดสังคมได้อย่างถึงพริกถึงขิง ซึง่ ถือเป็นละคอนอันดีเยีย่ มอีกเรือ่ ง หนึ่ง รวมถึงการเข้าถึงบทบาทของนักแสดงน�ำหลายคนก็เรียกได้ว่าสอบผ่านแบบฉลุย ทุกชีวิตที่ โลดแล่นอยูบ่ นเวที จะน�ำผูช้ มทุกท่านเข้าไปดูและสัมผัสความเป็นละคอนเวทีอย่างแท้จริง ในวันที่ 24-25 เมษายนนี้ ณ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ จ�ำหน่ายบัตรแล้วที่ ตลาดน้อย ตัง้ แต่วนั นีถ้ งึ 23 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
ต่อลมหายใจหมอล�ำ...เสียงอิสาน รวมพลั ง สู ้วิ ก ฤต รั บ คิ ว งานแน่น จุดเริ่มต้นของคณะเสียงอิสาน แต่เดิม เจ้ า ของวงดนตรี คื อ นายสมั ย ฉิ ม หลวง หรื อ พ่อหลอด ที่ท�ำวงอยู่ในขณะนั้น ภายหลังยุบวง เนือ่ งจากขาดทุน ต่อมาพ่อหลอดจึงเปิดวงขึน้ อีกครัง้ เป็นหมอล�ำกลอนแสดงถึงเช้า จนได้รบั ความนิยม จากคนดูเรือ่ ยมา กระทัง่ ได้มาติดต่อกับแม่นกน้อย อุไรพร ไปท�ำการแสดงร่วมกันซึง่ รับบทเป็นนางเอก นักร้องน�ำ และได้เล่นคู่กับพ่อแหลมและพ่อใหญ่ ยงค์ หลงทีป ก่อนจะเติบโตมาเป็นคณะหมอล�ำเสีย งอิสานในทีส่ ดุ นายพชร เมธาวงศ์ ผู้จัดการคณะเสียง อิสานคนปัจจุบนั กล่าวว่า จุดเด่นของวงคือช่วงโชว์ ตลกทีม่ ที งั้ มุขและความเป็นธรรมชาติในการแสดง สามารถเรียกเสียงหัวเราะจากแฟนๆ ได้เป็นอย่างดี
และการโชว์ผลงานเพลงบวกกับแสงสี แดนเซอร์ทมี่ ี อยูม่ ากมายบนเวที การแสดงสดล�ำเรือ่ งต่อกลอน จะใช้งบประมาณในการสร้างงานแสดงโชว์ให้ อลังการทุกครัง้ เพือ่ ให้ได้รบั ชมกัน “การทุ่มเงินสรรสร้างผลงานในแต่ละปี นั้น ทางคณะได้มีเงินทุนเพิ่มให้ทุกปี โดยในแต่ละ ปีจะมีงบประมาณในการสร้างมากหรือน้อยขึน้ อยู่ กับแต่ละชุดการแสดงโชว์ ทางคณะเราได้มีการ ปรับเปลีย่ นการแสดงในทุกปี เพือ่ ให้มคี วามแปลก ใหม่และท�ำให้ท่านผู้ชมไม่เกิดความเบื่อหน่าย ตลอดการชมการแสดง” นายพชร เล่า แม้ในช่วงทีผ่ า่ นมา เสียงอิสานจะประสบ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจจนมีข่าวลือว่าจะยุบวง นั้น นายพชร แจงว่า มีช่วงหนึ่งที่ทางคณะเป็นหนี้
เพราะรายได้น้อยกว่ารายจ่าย มีงานแสดงที่โทร เข้ามาติดต่องานน้อยมาก บางที 2-3 งาน/เดือน หรือบางเดือนไม่มงี านติดต่อเข้ามาเลย แต่รายจ่าย ในคณะก็มตี ลอด ทัง้ จ่ายเงินเดือน ทัง้ ค่าเบีย้ เลีย้ ง ในการซ้ อ ม ส่ ง ผลให้ ค ณะขาดทุ น จนกระทั่ ง มีงานเข้ามาก็เหมือนท�ำงานปลดหนี้เพื่อให้คณะ อยู่รอดต่อไปได้ หลั ง จากผ่ า นพ้ น ช่ ว งวิ ก ฤตเมื่ อ ปี พ.ศ.2553 ทีผ่ า่ นมา เสียงอิสานได้ปรับเปลีย่ นการ แสดงให้ดูสนุกสนานน่าติดตามมากยิ่งขึ้น และมี เสียงตอบรับจากแฟนๆ อย่างท่วมท้น มีเจ้าภาพ ติดต่อให้ไปแสดง มีงานแสดงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีสมาชิกในวงเพิม่ ขึน้ ถึง 100-200 ชีวติ ทุกคน ท�ำงานกันอย่างเต็มที่ โดยมีคา่ แรงขัน้ ต�ำ่ เริม่ ต้นวัน
ละ 300-320 บาท ไปจนถึงเงินเดือนระดับสูงขึ้น ตามต�ำแหน่งหน้าที่ในการท�ำงาน “ที่มาถึงจุดนี้ได้ก็ต้องขอบคุณสมาชิก ภายในวงที่สู้ด้วยกันมาและขอบคุณแฟนเพลง แฟนหมอล� ำ ที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น มาโดยตลอด” นายพชร กล่าว กว่าคณะหมอล�ำเสียงอิสานจะมาถึงจุด นี้ได้ พวกเขาได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ผ่านช่วง วิกฤตเศรษฐกิจที่ตกต�่ำ จนพลิกผันขึ้นมาสู่วงการ หมอล�ำที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มอี ก ครั้ ง ในระดั บ ต้ น ๆ ของประเทศ การฟื้นขึ้นมาของเสียงอิสานในครั้ง นี้อาจจะช่วยต่อลมหายใจของชาวคณะหมอล�ำ ที่ประกอบเป็นอาชีพ ถือว่าเป็นมรดกของภาค อีสานควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบไป
หน้า 14 หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ต่อจากหน้า 1
เรือจ้างที่หลงทิศ ผู ้ สื่ อ ข่ า วติ ด ต่ อ ขอสั ม ภาษณ์ ไ ปยั ง นางสาวเอ (นามสมมุติ) ได้ความว่า “เมื่อปี พ.ศ. 2555 ตนเข้ า ศึ ก ษาชั้ น ปี 1 มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม ในช่วงสอบสัมภาษณ์ อาจารย์บี (นามสมมุติ) เป็นผู้สอบสัมภาษณ์ในคณะและ สาขาทีต่ นจะเข้าศึกษาต่อ โดยอาจารย์นำ� เบอร์ตน มาจากข้อมูลในเอกสารสัมภาษณ์ และโทรมาคุย ในเชิงชู้สาว เวลาผ่านไปจนหมดเทอม 1 หลังจาก โทรศัพท์คุยได้สักพัก เริ่มมีการนัดทานข้าวในครั้ง แรกและซื้ อ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ให้ เมื่ อ เปิ ด เทอม อาจารย์มกี ารชักชวนให้ไปหาทีห่ อ้ งพักอาจารย์ ใน ตอนนั้นมีเพื่อนเล่าว่าอาจารย์บีชอบหลีสาว เจ้าชู้ กับนิสิต จะคบกับนิสิตชั้นปีที่ 1 ประมาณ 3-4 คน เราเริ่มมีความรู้สึกกลัวจึงต้องคุยกับอาจารย์ต่อ จากนั้นเขาเริ่มโทรมาบ่อยขึ้น ให้ไปหาบ่อยๆ แต่ ตนไม่เคยไป เพราะมีแฟนอยู่แล้ว เวลาผ่านไปอีก เทอม 2 พยายามไม่รบั โทรศัพท์ แต่มอี ยูช่ ว่ งหนึง่ ที่ ตนบอกให้อาจารย์เลิกติดต่อ จากนัน้ จึงไม่โทรมา” นางสาวเอ เล่าต่ออีกว่า ตนได้โพสต์ ระบายความรู้สึกผ่านเฟซบุ๊ค รุ่นพี่เห็นจึงทักมา ถาม ตนได้ระบายให้รุ่นพี่ฟัง ขณะเดียวกันเพื่อน ของรุน่ พีม่ เี รือ่ งทะเลาะกับอาจารย์บี จึงตัง้ สถานะ ในเฟซบุ๊คยั่วอารมณ์อาจารย์ ท�ำนองว่า “รู้นะว่า เบือ้ งหลังท�ำอะไร อย่าให้แฉ” หลังจากนัน้ อาจารย์ จึงมาเล่าให้ตนฟังว่ามีคนจงใจใส่รา้ ยเรือ่ งมีความ สัมพันธ์ลึกซึ้ง และพยายามย�้ำว่าในเฟซบุ๊คที่มี นิสิตเขียนถึงไม่ใช่เขา หากเรื่องนี้มีใครได้ยินหรือ ตนไปพูดต่อถือเป็นความผิด อีกทัง้ อาจโดนนิสติ ปี 3 โกรธ เพราะอาจารย์เป็นที่รักของนิสิตมาก “ จะไม่อยู่แล้ว อึ ด อั ด กั บ ที่ นี่ ” นีค่ อื ค� ำ พู ด ของนางสาวเอที่ บ อกเล่ า ต่ อ รุ ่ น พี่ หลัง จากที่ตนเริ่มไม่ไปเรียน เพื่อนก็เข้าใจผิดว่าตนท�ำ ผิดจริง ขณะเดียวกันก็ได้ทราบความจริงว่าแท้จริง แล้ว รุ่นพี่ก็โดนเช่นกัน ตนกับรุ่นพี่จึงน�ำเรื่องไป ปรึกษากับอาจารย์ท่านหนึ่ง พบว่ามีอีก 3 คน ที่ โดนเช่นเดียวกับตน อาจารย์จึงแนะน�ำให้เขียน จดหมายยื่นค�ำร้องไปที่ส�ำนักอธิการบดีเพื่อให้ สอบสวนเรื่องพฤติกรรมของอาจารย์บี ซึ่งมีผู้ถูก กระท�ำรวมแล้ว 4 คน แต่ทงั้ หมดเรียนจบแล้ว และ ในช่วงยื่นหนังสือสอบสวนถือเป็นความลับ “การด�ำเนินการยืน่ เรือ่ งสอบสวนใช้เวลา นานมาก พบว่าผูด้ ำ� เนินการสอบสวนยังเป็นเพือ่ น กั บ อาจารย์ บี ช่ ว งนั้ น เกิ ด เรื่ อ งการทุ จ ริ ต ของ อธิการบดี (รศ.ดร.ศุภชัย สมิปปิโต) การด�ำเนินการ สอบสวนก็หายเงียบไป ตนจึงไม่ไปเรียนสักระยะ ผลการเรี ย นติ ด เอฟในหลายรายวิชา อาจารย์ ประจ�ำวิชาเห็นว่าตนยังพอเรียนได้แม้เกรดจะไม่ สูงมากนัก จึงกลับมาเรียนอีกครั้ง พบว่าต้องเรียน วิ ช าเอกบั ง คั บ กั บ อาจารย์ บี ซึ่ ง มี ป ั ญ หากั น อยู ่ สุดท้ายจึงติดเอฟวิชานี้ ท�ำให้พ้นสภาพการเป็น นิสิต ปัจจุบันหลังออกจากมหาวิทยาลัยตนได้ เรียนมหาวิทยาลัยเปิดจนจบ และประกอบอาชีพ อยู่ในกรุงเทพฯ” นางสาวเอ เล่า ผูส้ อื่ ข่าวได้สบื ต่อไปยังหลายคณะ จึงได้ พบกั บ นางสาวต้ อ ย (นามสมมุ ติ ) นิ สิ ต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวที่ เกิดขึน้ เมือ่ สองปีทแี่ ล้วว่า เหตุเกิดขึน้ เมือ่ เพือ่ นชาย ของตนได้พาเพื่อนไปส่งงานที่บ้านอาจารย์ ขณะ นั้นอาจารย์นั่งดื่มสังสรรค์กับนิสิตหลายคน และ พยายามมอมเหล้าเพื่อนตน โดยหาเรื่องให้เพื่อน ที่ไปด้วยกันออกไปข้างนอก เพื่อที่จะใช้โอกาสนี้ ล่วงละเมิด โดยล่อให้เพื่อนตนเข้าห้องและท�ำการ ล่วงละเมิด ขณะนั้นยังมีสติจึงแอบโทรเรียกเพื่อน อีกคนให้รบี มารับ โชคดีทเี่ พือ่ นตนยังไม่โดนกระท�ำ เกินเลยถึงขั้นมีเพศสัมพันธ์ นางสาวต่าย ( นามสมมุติ ) เล่าว่า เพือ่ น สนิทของตนเคยโดนในลักษณะเชิงชู้สาว แต่ตน เคยเจอในลักษณะที่เข้ามาใกล้ชิด ขณะนั้นตกใจ และถอยหลังออกทันที การเข้าหาของอาจารย์คือ จะมาในลักษณะการเรียนการสอน เพราะวิชาที่ เรียนกับอาจารย์เป็นภาคปฏิบัติ เมื่อพบเพื่อนที่ โดนหลายคน จึงมีการรวบรวมรายชือ่ โดยนิสติ ทีม่ ี ความเห็นตรงกัน ปัจจุบันเอกสารการรวบรวม
สารคดีเชิงข่าว
่ แม่ พ ม ิ พ์ ท บี ิดเบี้ยว” “
พฤติกรรมชู้สาวอาจารย์–ลูกศิษย์
ภาพสถานการณ์จ�ำลอง : อาจารย์ที่มีพฤติกรรมชู้สาว ล่วงละเมิดต่อนิสิต (ใช้เฉพาะประกอบสารคดีเชิงข่าวเท่านั้น)
รายชือ่ หาไม่พบ และมีการขอคืนก็ได้รบั ค�ำตอบว่า เอกสารมีการโละทิ้ง เพราะผ่านมานานแล้ว นายต๊ อ บ (นามสมมุ ติ ) นิ สิ ต ชั้ น ปี 4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เล่าว่า อาจารย์ในคณะ ตนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมถึง 3 คน มีการเปิดเผย แบบคบกันจริงจังแต่เปลี่ยนบ่อย ตั้งแต่เข้ามาปี 1 จะให้รุ่นพี่ตั้งชื่อรุ่นน้อง แต่ถ้าอาจารย์เล็งใครไว้ อาจารย์จะเป็นคนตั้งชื่อเอง อาจารย์จะโทรหาให้ มาช่วยงาน ติดต่อทางเพื่อน ติดต่อให้มาเรียนเอก ตัวเอง และเริ่มหนักขึ้นโดยการพาไปกินข้าว เริ่ม ต้นจะเข้าหาทางเพื่อนก่อน และซื้อโทรศัพท์ให้ หลังๆ จะชวนให้มาหาที่ห้อง จากนั้นจะมีค่ายไป ต่างจังหวัดรวมทุกชั้นปีตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 4 ในค่ายมี การกินเลี้ยงสังสรรค์ เมื่ออาจารย์เมาจึงเผลอตัว ตะโกนเรียกหาเพือ่ ให้มานวดให้ตน แต่นสิ ติ ไม่ยอม ไปเพราะรู้ประวัติอาจารย์คนนี้พอสมควร เพื่อน ของตนคุยกับอาจารย์ประมาณ 1 ปีครึ่ง จึงเริ่ม ห่างๆ กัน เพราะทราบว่าอาจารย์มีครอบครัวแล้ว แสงจากประภาคาร ผศ.ดร.วิ รั ติ ปานศิ ล า ประธานสภา คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2555 มีนิสิตบางส่วนที่มาร้องเรียน และ จากการตรวจสอบพบว่าหลังจากเรียนจบ อาจารย์ กับนิสิตก็แต่งงานด้วยกัน ในหลายกรณีมีการ ตรวจสอบ และทางสภาคณาจารย์ได้สง่ เรือ่ งไปยัง ส�ำนักงานอธิการบดี จากนั้นเรื่องก็เงียบหายไป ส่วนใหญ่เรื่องที่พบจากการร้องเรียนมายังสภา คณาจารย์คือ อาจารย์กับนิสิตในเชิงชู้สาว แต่ ปั ญ หาเหล่ า นี้ ต ้ อ งขึ้ น อยู ่ กั บ ผู ้ บ ริ ห ารคณะที่ อาจารย์นั้นสังกัดอยู่ ทางสภาคณาจารย์มีหน้าที่ เพียงรับเรือ่ งร้องเรียนและด�ำเนินการสอบเบือ้ งต้น เท่านั้น รศ.ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ คณบดีคณะ ศิ ล ปกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม กล่าวว่า ก่อนจะได้รับการด�ำรงต�ำแหน่งคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์นับว่ามีความแตกแยกสูง มาก ส่งผลไม่ดีต่อลูกศิษย์จึงสร้างเกณฑ์เข้ามา ช่วย ให้มกี ารประเมินบทบาทและทิศทางประเมิน อาจารย์ก่อนเข้ามาท�ำงาน โดยใช้วิธีการขั้นเด็ด ขาดในการดูแลอาจารย์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมกั บ นิ สิ ต การลงโทษคื อ การพ้ น จาก ต�ำแหน่งอาจารย์ผู้สอน เพราะเรื่องลักษณะนี้ถือ เป็นเรื่องร้ายแรงมาก ทางคณะจะไม่มีทางปล่อย ให้อาจารย์ที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาท�ำเช่นนี้เด็ด ขาด แต่กพ็ บว่ามีกรณีทอี่ าจารย์ใช้ชวี ติ ร่วมกันกับ ลูกศิษย์ ให้ลูกศิษย์ช่วยตรวจงาน นับว่าช่วงนั้น เป็นสภาวะทีแ่ ย่พอสมควร แย่จนเคยมีคำ� สัง่ จะให้ ยุบคณะศิลปกรรมศาสตร์ทิ้งในช่วงวิกฤตครั้งนั้น
แต่ขณะนี้คาดว่าไม่มีปัญหาเหล่านี้แล้ว ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับทิศทางของหัวหน้าคณะนั้นๆ ซึ่งตอนนี้ ยืนยันได้ว่าไม่มี 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีสายตรง ถึงทางคณบดีอยู่ตลอด ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศริ สิ ริ คณบดีคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผย ว่า อาจารย์ควรมีการวางตัวที่เหมาะสมต่อนิสิต การจัดการเรื่องความประพฤติอาจารย์ขึ้นอยู่กับ ระบบของแต่ละคณะ การดูแลโดยอาศัยความไว้ วางใจซึ่ ง กั น และกั น ส� ำ หรั บ อาจารย์ ที่ มี ค วาม ประพฤติไม่เหมาะสม จะน�ำเข้าสูก่ ระบวนการตาม ระเบียบข้อก�ำหนดมหาวิทยาลัย ส�ำหรับทางคณะ ศึกษาศาสตร์มกี ารจัดสัมนาเรือ่ งจริยธรรมส�ำหรับ อาจารย์เสมอ เพราะต้องสอนนิสติ ให้เป็นแม่พมิ พ์ ที่ดีในอนาคต “ความรักในความเป็นจริงไม่มใี ครผิด” ผศ.ดร.พชรวิทย์ กล่าวเพื่อสะท้อนมุมมองส่วนตัว และคิดว่าอาจารย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับ นิสิตในเชิงชู้สาว หรือการมีความรักต่อกัน ถือว่า ผิดในเชิงคุณธรรมจริยธรรมและผิดระเบียบ แต่ที่ ส�ำคัญเรือ่ งมันจะไม่เกิดถ้าอาจารย์มจี รรยาบรรณ และตระหนักถึงผลทีจ่ ะตามมาในอนาคต สุดท้าย ก็อยูท่ จี่ ติ ส�ำนึกของคนสองคน ในกรณีทคี่ บกันเปิด เผย เมื่อจบการศึกษาอาจแต่งงานกัน ก็ถือว่า เหมาะสม แต่ถ้าในระหว่างการคบหามีหวังผล ประโยชน์ต่อกันก็ผิดจรรยาบรรณอย่างสมบูรณ์ ทัง้ หมดขึน้ อยูก่ บั อาจารย์และนิสติ หากมีคณ ุ ธรรม จริยธรรมปัญหาก็จะไม่เกิด สร้างสมดุลให้เรือแข็งแรง ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช รักษาการแทน อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยมีการก�ำหนดจรรยาบรรณของ อาจารย์ผู้สอนไว้อย่างชัดเจน หากพบอาจารย์ที่มี พฤติกรรมไม่เหมาะสมทั้งเชิงชู้สาวหรือการใช้ อ�ำนาจในทางมิชอบกับนิสติ จริง เบือ้ งต้นทางคณะ ทีอ่ าจารย์ทา่ นนัน้ สังกัดจัดการได้โดยกฎหมาย แต่ ต้องขึ้นอยู่กับคณะมีโจทก์และจ�ำเลย ด�ำเนินการ ตามกระบวนการจากผู้ร้องเรียนไปยังคณะนั้นๆ ตามล�ำดับ ส่วนอาจารย์ที่เคยได้รับการพิจารณา ให้ออก และกลับมาด�ำเนินการสอนอีกครั้ง ขึ้นอยู่ กับทางคณะต้นสังกัด โดยตามบทลงโทษสูงสุดคือ ตักเตือนจนถึงไล่ออกตามกฎระเบียบ ในกรณีที่มี ผู ้ ร ้ อ งทุ ก ข์ ต ้ อ งการออกมาเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ์ ทาง มหาวิทยาลัยยินดีและพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือ และต้องมีหลักฐานชัดเจนเพื่อสามารถด�ำเนินคดี ตามกฎหมายได้ ศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัย มหาสารคามได้มแี นวทางประเมินอาจารย์ทเี่ ข้ามา
สอน ในเรื่องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และ คุณภาพของอาจารย์ต้องได้รับการฝึกฝน ตั้งแต่ คณะคัดเลือกเข้ามาท�ำงาน ไม่ใช่วา่ จะเอาแต่เกรด ดี เ ข้ า มาเป็ น อาจารย์ แ ละต้ อ งดู ห ลายๆ เรื่ อ ง จรรยาบรรณส�ำคัญมากกว่ากฎหมาย ถ้าคนเรามี จรรยาบรรณจะไม่ท�ำผิดกฎหมาย และในส่วนนี้ ทางคณะต่างๆ ก็ต้องให้ความส�ำคัญด้วย ดร.มลฤดี เชาวรัตน์ รองอธิการบดีฝ่าย พัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ในส่วนของนิสิตเป็นข้อบังคับใช้ร่วมกันในคนหมู่ มาก เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิต เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่เหมาะสมหากพบการ กระท�ำระหว่างอาจารย์กับนิสิตในเชิงคู่รัก เพราะ อาจารย์คือแบบอย่างของนิสิต ทั้งนี้นิสิตต้องเข้ม แข็งไม่คล้อยตาม ปฏิเสธ ห้ามสร้างโอกาสหรือ ความเป็นใจให้อาจารย์ ห้ามอยู่กันโดยล�ำพัง ต้อง มีเพื่อนและพาตัวเองออกมาจากสถานการณ์สุ่ม เสี่ยง อย่าหวังคะแนนโดยเอาตัวเองไปลงทุน นางสาวสุ ธ าลิ นี ร่ ว มใจ นิ สิ ต คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดง ความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า การที่อาจารย์พยายาม ยั ด เยี ย ดความสั ม พั น ธ์ ที่ นิ สิ ต ไม่ ต ้ อ งการหรื อ พยายามที่จะล่วงละเมิด ส่วนตัวคิดว่าผิดจรรยาบรรณการเป็นอาจารย์ พึ่งรู้ในบทบาทและหน้าที่ เรือ่ งความรักระหว่างอาจารย์กบั นิสติ ไม่เหมาะอยู่ แล้ว เพราะพ่อแม่ของเด็กนิสิตก็ไว้ใจ คาดหวังใน ตัวอาจารย์จะเป็นพ่อแม่คนทีส่ องช่วยให้ความรูใ้ ห้ กับลูกของตัวเอง ให้ความหวังดี ดีกว่าการรักด้วย ความเสน่ห์หา นางสาวชาลิสา ผะกาแดง นิสติ วิทยาลัย การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงความคิดเห็นว่า ไม่เหมาะสมเพราะสถานะ ของอาจารย์มีความชัดเจน ในเรื่องชู้สาวมีความ ผิดทางวินัย ระเบียบหรือแม้แต่ผิดศีลธรรมทาง สังคม ไม่ควรน�ำมาเป็นแบบอย่างในฐานะอาจารย์ อุดรอยรั่วเรือจ้าง พ.ต.ต.สมพร เหล่ า สมบั ติ สารวั ต ร ส อ บ ส ว น ส ภ . เ ข ว า ใ ห ญ ่ อ . กั น ท ร วิ ชั ย จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นความผิดทางอาญา ในทางความผิดแบ่งย่อย เป็นยอมความได้ เช่น ไม่มีผลกระทบต่อสังคมใน วงกว้าง ไม่กระทบต่อคนสองคน เมื่อยอมความ กันได้คดีจะยุตทิ สี่ ถานีตำ� รวจ เพราะทางกฎหมาย มองว่าเป็นเรื่องของคนสองคน และยอมความไม่ ได้ ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น คดี ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ผู ้ อื่ น กฎหมายจะช่วยคุ้มครองผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทาง เพศซึ่งต้องดูที่ความรุนแรง เพราะก่อนที่จะยอม ความกันอาจจะมีการตกลงกันนอกรอบ ด้วยการ ชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ เรื่อง จะถูกส่งด�ำเนินการโดยศาล ดังนั้น คดีเกี่ยวกับ เพศจะมีบางลักษณะที่ยอมความกันได้ ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับผู้เสียหายจะด�ำเนินคดีหรือไม่ การด�ำเนิน การตามกฎหมายของความผิดทางเพศมีหลาย ระดับ ทั้งนี้ หากอายุมากกว่า 18 ปี จะเรียกว่า ข่มขืน แต่ตำ�่ กว่า 18 ปีจะเรียกว่าการกระท�ำช�ำเรา โดยอ�ำนาจในการตัดสินโทษขึ้นอยู่ที่ศาล สุดท้ายนี้ไม่ใช่เวลาที่จะหาเหตุผลว่า อะไรที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมอันมิชอบ ถามหาคน ผิ ด หรื อ แม้ แ ต่ ตั้ ง ค� ำ ถามเพื่ อ หาข้ อ ยุ ติ แ ละบท ลงโทษ เพราะค� ำ ตอบจะเป็ น อย่ า งไร คงไม่ ส�ำคัญ หากวันนี้แม่พิมพ์ที่บิดเบี้ยวไม่สามารถ กลับมาเป็นต้นแบบให้แก่ศิษย์ได้ ครูถือเป็นผู้ ขัดเกลาศิษย์ให้เติบโตในสังคมที่ดี บัดนี้ถึงเวลา แล้วที่สังคมจะหันมาหล่อหลอมให้แม่พิมพ์แท่น นี้กลับมาสมบูรณ์แบบเช่นเดิม ศิษย์ผู้แสวงหา วิชา หากมัวถล�ำลึกเล่นกับไฟ ไฟนั้นจะย้อนมา แผดเผาให้แสบร้อนจนเกิดแผลเป็นในใจ
ต่อจากหน้า 1
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
ต่อจากหน้า 1
ปรับเงินเดือนพนักงาน ส่งผลให้พนักงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคามไม่ได้ รับการปรับเงินเดือนตามที่ควรจะเป็น ทัง้ นี้ จากการประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2559 วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2559 ระเบียบวาระที่ 3 การ ปรับค่าจ้างและการปรับค่าจ้างเพิ่มร้อยละ 4 ของ พนักงานมหาวิทยาลัย โดยในทีป่ ระชุมได้นำ� เสนอ ข้อมูลแหล่งงบประมาณและเสนอแนวทางการ ด�ำเนินการ ดังนี้ เห็นควรแบ่งจ่ายเป็นรอบ ตามรอบ ปีงบประมาณ จ�ำนวน 3 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 จ่าย ปรับค่าจ้าง (23 เดือน) ระยะเวลา 1 มกราคม พ.ศ. 2556-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 รอบที่ 2 จ่ายปรับ ค่าจ้างและปรับเงินค่าจ้างเพิม่ ร้อยละ 4 (10 เดือน) ระยะเวลา 1 ธันวาคม พ.ศ.2557-30 กันยายน พ.ศ. 2558 และรอบที่ 3 จ่ายปรับค่าจ้าง (12 เดือน) ระยะเวลา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558-30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมงบประมาณทั้งสิ้น (45 เดือน) ประมาณ 235 ล้านบาท ส� ำ หรั บ วิ ธี ก ารด� ำ เนิ น การ เพื่ อ ให้ สอดคล้องตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (กรณีการปรับเงินเดือนร้อยละ 4 ให้กบั พนักงานมหาวิทยาลัย ตัง้ แต่วนั ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557) มมส ได้พิจารณาปรับค่าจ้าง ดังนี้ เสนอให้ ปรับค่าจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อนวัน ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2557 ในอัตราร้อยละ 4 เฉพาะ พนักงาน มหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.พนักงาน วิชาการ ต�ำแหน่งอาจารย์ 2. พนักงานปฏิบัติการ ประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชีย่ วชาญเฉพาะ ระดับ ปฏิบัติการและระดับช�ำนาญการ 3. พนักงาน ปฏิบัติการ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงานและ ระดับช�ำนาญงานต่อเรื่องนี้ รศ.ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล รองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยมีการจ้างพนักงาน 2 แบบ ได้แก่ พนักงานจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่ง รัฐบาลจะเป็นคนจ่ายเงินเดือนให้ และพนักงาน จากเงินรายได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นคนจ่ายเงิน เดือนพนักงาน หลังจากมีมติ ครม. ให้ปรับฐานเงิน เดือน แต่รัฐบาลไม่ให้เงินและส�ำนักงบประมาณก็ ไม่ได้จดั สรรเงินมาให้พนักงานทีเ่ ป็นเงินรายได้ ทาง มหาวิทยาลัยจึงยังปรับไม่ได้ รศ.ดร.ประยุกต์ เปิดเผยต่อว่าเนือ่ งจาก จะเกิดข้อเปรียบเทียบระหว่างพนักงานทั้ง 2 แบบ เพราะจากรายได้ของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่จ�ำกัด มี ภารกิจต้องใช้เงินในการเรียนการสอน แต่ลา่ สุดใน ปี พ.ศ.2559 นี้ ทางมหาวิ ท ยาลั ย ได้ มี ม ติ ถึ ง กรรมการบริ ห ารในการใช้ เ งิ น รายได้ ข อง มหาวิทยาลัยในการปรับฐานเงินเดือน รวมถึงเงิน รายได้ 4% ในปี พ.ศ.2560 รศ.ดร.ประยุกต์ เผยอีกว่า ส�ำหรับการ ปรับฐานเงินเดือนและเงินรายได้ 4% ย้อนหลัง ตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ.2556 ถึ ง ปี พ.ศ.2559 ทาง มหาวิทยาลัยต้องใช้เงินถึง 235 ล้านบาท แต่ทาง มหาวิทยาลัยจะต้องเก็บเงินไว้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ค่าการปรับปรุงอาคารในกรณีตา่ งๆ จึงไม่สามารถ ปรับฐานเงินเดือนและเงินรายได้ 4% ในปี พ.ศ. 2560 พร้อมกันได้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะทยอย จ่ายในส่วนของปรับฐานเงินเดือนก่อน แบ่งจ่ายทัง้ สิ้น 3 รอบ โดยใช้งบประมาณรอบแรกประมาณ 80 ล้านบาท รอบที่ 2 ประมาณ 68 ล้านบาท และ รอบที่ 3 ประมาณ 86 ล้านบาท “การหารายได้ของมหาวิทยาลัยได้มา จากค่าหน่วยกิตของนิสิตเป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยมาจากพื้นที่สาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ทรี่ าชพัสดุ จึงไม่สามารถกระท�ำการหารายได้ อย่างเต็มรูปแบบได้ เช่น เปิดพื้นที่ให้เช่าบริการ หรื อ กระท� ำ การค้ า ต่ า งๆ” รศ.ดร.ประยุ ก ต์ กล่าวเสริม
ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก ที่ปรึกษา สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผย ว่า การปรับฐานเงินเดือนและการเพิม่ เงินรายได้แก่ คณาจารย์และบุคลากร เมื่อถึงเวลาที่ควรท�ำแต่ มหาวิทยาลัยไม่สามารถกระท�ำตามมติ ครม. ได้ อาจบ่งบอกคุณภาพของผูบ้ ริหาร ปัจจุบนั ค่าครอง ชีพสูงขึน้ ถ้าเงินเดือนน้อยต้องอยูแ่ บบประหยัด กิน แต่ละมื้อต้องมีการค�ำนวนค่าใช้จ่าย อาจส่งผลให้ ชี วิ ต การท� ำ งานลดประสิ ท ธิ ภ าพลง และอาจ กระทบต่อการพัฒนานิสิตด้วย “มมส ไม่ ค วรหาเงิ น จากการเก็ บ ค่ า หน่วยกิตจากนิสติ อยูฝ่ า่ ยเดียว พืน้ ทีม่ หาวิทยาลัย มีจ�ำนวนกว้างขวางควรใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้พนื้ ทีข่ องตัวเองในการ หารายได้มาพัฒนามหาวิทยาลัย เช่น สยามสแควร์ และมาบุญครอง” ผศ.ดร.พัฒนพงษ์ กล่าว ผศ.ธีระพล ศิระบูชา รองคณบดีฝ่าย พัฒนานิสติ และอาคารสถานที่ คณะการบัญชีและ การจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า มหาวิทยาลัยควรใช้นโยบาย ลดต้นทุนต�่ำ แต่ ประสิทธิภาพสูง คือให้แต่ละคณะรับนิสติ เพิม่ มาก ขึ้น ใช้พนักงานและคณาจารย์ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด เช่น จากเดิมอัตราอาจารย์กับนิสิต 1 : 40 เพิ่มเป็น 1 : 60 หรือตามความเหมาะสม คณะจะ ได้เงินจากจุดนีเ้ พิม่ ขึน้ แต่พนักงานและคณาจารย์ ก็ตอ้ งมีความรูค้ วามสามารถ ความรับผิดชอบ และ การเป็นแบบอย่างทีด่ แี ก่นสิ ติ ส่วนสิง่ อ�ำนวยความ สะดวกก็ต้องมีความพร้อม เช่น ต�ำราเรียน สถาน ทีเ่ รียน รวมถึงสวัสดิการของบุคลากรและอาจารย์ ก็ต้อ งมีความเหมาะสมเพื่ อประโยชน์สูง สุ ดทั้ง อาจารย์ พนักงาน และนิสิต ผศ.ชญานุ ช วี ร สาร อาจารย์ ค ณะ วิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิ ด เผยว่ า เรื่ อ งการไม่ ป รั บ ฐานเงิ น เดื อ นของ พนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคามสะท้อนให้เห็น ถึงความไม่ชอบมาพากลของการบริหารงานและ การบริหารเงินของมหาวิทยาลัย โดยไม่มีการแจ้ง ให้พนักงานมหาวิทยาลัยทราบถึงสาเหตุของการ ไม่สามารถท�ำตามมติ ครม. ได้ เป็นข้อกังขาของ พนักงานทุกคนจนลือกันไปต่างๆ นานาโดยไม่รวู้ า่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร หากทางมหาวิทยาลัยมี ความจริงใจ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ควรท�ำการ ชีแ้ จงแถลงการณ์ตงั้ แต่ปแี รก ไม่ใช่ปล่อยให้ยดื เยือ้ มาจนถึงปัจจุบนั โดยปราศจากค�ำอธิบายอย่างเป็น ทางการใดๆ จากผู ้ บ ริ ห ารทั้ ง ชุ ด เก่ า และชุ ด ปัจจุบัน “ไม่ ใ ช่ แ ค่ อ าจารย์ แต่ เ ป็ น พนั ก งาน มหาวิทยาลัยทุกคน ต่างได้รบั ผลกระทบจากค่าใช้ จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น หากได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นก็จะ เป็นการสร้างขวัญก�ำลังใจในการท�ำงาน หาก ปัญหานี้ยืดเยื้อต่อไป พนักงานมองไม่เห็นอนาคต จากทีน่ ี่ อาจเกิดการโยกย้ายสถานทีท่ ำ� งาน ส่งผล ให้มหาวิทยาลัยขาดแคลนบุคลากร หวังว่าจะได้
รับสิทธิ์อันชอบธรรมในการรับรู้เรื่องราวที่เกิด ขึ้น ถ้าเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ก็จะรอการชี้แจง แต่ ห ากไม่ ส มเหตุ ส มผล ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ ง ก็ ค วรแสดงความรั บ ผิ ด ชอบมากกว่ า นี้ ” ผศ.ชญานุช กล่าว ต่อจากหน้า 1
แผงกัน ้ ถนน ซึซึ่ ง่ งเทศบาลต� เทศบาลต�ำ บลท่ า ขอนยางเป็ ขอนยางเป็นนผูผู้ ้ ออกแบบแผงกั ออกแบบแผงกัน้ ้นถนน ถนนโดยมี โดยมี สำ� สนั�ำกนังานโยธาธิ กงานโยธาธิ การและ การ ผัและผั งเมืองจั งเมืงหวั องจั ดมหาสารคาม งหวัดมหาสารคาม และส�ำนัและส� กงานทางหลวง ำนักงาน ชนบทจั ทางหลวงชนบทจั งหวัดมหาสารคาม งหวัดมหาสารคาม มาเป็นผู้ตรวจสอบแบบ มาเป็นผู้ และให้ ตรวจสอบแบบและให้ ค� ำ แนะน� ำ ในการออกแบบ ค�ำแนะน�ำในการออกแบบ และได้ ท� ำ ประชาคมของแต่ และได้ท�ำประชาคมของแต่ ล ะหมู ่ บ ้ าลนะหมูจากนั ่บ้าน้ นจากนั จึ ง เบิ้นกจึงบ ง ประมาณมาจั เบิกงบประมาณมาจั ดท�ำโครงการตามระเบี ดท�ำโครงการตามระเบี ยบของกอง ยบ พัของกองพั สดุเป็นจ�ำสนวน ดุเป็น36จ�ำล้นวน านบาท 36 ล้และได้ านบาทมและได้ ีการจัดมซืกี ้อาร จัด จ้จัาดงประมู ซื้อจัดลจ้งานเพื างประมู ่อหาผู ลงานเพื ้รับเหมาเข้ ่อหาผูา้รมาสร้ ับเหมาเข้ างแผงกั ามา้น ถนน สร้างแผงกั้นถนน นายกฤษณะ นายกฤษณะ กล่าวต่อว่า โครงการเริ โครงการเริ่ม่ม ด�ด�ำำเนิเนินนไปจนมี ไปจนมีกการร้ อ งเรียนจากชาวบ้ นจากชาวบ้าานเกิ นเกิดดขึขึ้น้ น เพราะชาวบ้ เพราะชาวบ้าานมองว่ นมองว่าแผงกั้นถนนสูงเกินไป อีอีกกทัทัง้ ้ง การข้ การข้าามถนนต้ มถนนต้องไปข้ามยังจุดข้ามถนนที มถนนทีจ่ ่จดั ัดไว้ไว้ททกุ ุก ระยะ ระยะ250 250เมตร ม. ทางเทศบาลต� ทางเทศบาลต�ำำบลท่ บลท่าาขอนยางจึ ขอนยางจึงงมีมี การเสนอแผนกั การเสนอแผนกับบทางจั ทางจังงหวั หวัดดเพืเพือ่ อ่ ปรั ปรับบแก้ แก้แแบบ บบโดยมี โดย วิมีธวีแิธก้ีแไก้ขดั ไขดังนีง้นีคื้คอือ1.ท� 1.ท�ำำแผงกั แผงกั้น้นกลางถนนให้ กลางถนนให้ตต�่ำ�่ำลงลง 2.ด้ 2.ด้าานถนนที นถนนที่กก่ ารจราจรหนาแน่ ารจราจรหนาแน่นจะสร้ จะสร้าางเป็ งเป็นนเกาะ เกาะ กลางถนนแทน กลางถนนแทน จึงต้องรอผลสรุปจากทางจั จากทางจังงหวั หวัดด ส�ส�ำำหรัหรับบการอนุ การอนุมมตั ัตใิ ห้ิให้สสามารถแก้ ามารถแก้แแบบได้ บบได้ซึง่ ซึขณะนี ่งขณะนีย้ งั ้ อยู ยัง่ใอยู นขั่ใ้นนขั ตอนยื ้นตอนยื ่นเรื่อ่นงเนื เรื่อ่องเนื งจากต้ ่องจากต้ องหารื องหารื อกับหลาย อกับ ฝ่หลายฝ่ าย าย ทัทั้ง้งนีนี้ หลั ้ หลังจากการประชุ งจากการประชุ มแก้ มแก้ ไขปัไขปั ญหาแผง ญหา กัแผงกั ้นถนนเบื น้ ถนนเบื ้องต้นอ้ งต้ เทศบาลต� น เทศบาลต� ำบลท่ ำบลท่ าขอนยางได้ าขอนยางได้ มอบ หมายให้ มอบหมายให้ ฝ่ายการโยธาเป็ ฝ่ายการโยธาเป็ นผู้รับนผิผูด้รชอบแก้ ับผิดชอบแก้ ไข ไข ด้ด้าานนายปกครอง นนายปกครองไชยธานี ไชยธานีหัหัววหน้ หน้าาฝ่ฝ่าายย
หน้า 15
การโยธา การโยธา เทศบาลต�ำบลท่าขอนยาง อ.กั อ.กันนทรวิ ทรวิชชัยัย จ.มหาสารคาม จ.มหาสารคาม กล่าวว่า การด� การด�ำำเนิ เนินนการสร้ การสร้าางจะมี งจะมี ต่ต่ออ เพราะมีการปรับแก้ไขแบบ โดยจะลดความสู โดยจะลดความสูงง ของแผงกั ของแผงกัน้ น้ ถนนให้ ถนนให้เหลื เหลืออความสู ความสูงงอยู อยูท่ ท่ ี่ 20 ี่ 20เซนติ ซม. เจาก มตร จากเดิ เดิ ม ที่มทีี คม่ วามสู คี วามสู ง ทีง่ ที80 ่ 80 ซม. เซนติสาเหตุ เมตร สาเหตุ ที่ ล ่ า ทช้ลี่ าา่นัช้้ นา นัเนื้น่อเนื งจากมี ่องจากมี การปรั การปรั บแก้บดแก้ ้านงบประมาณให้ ด้านงบประมาณให้ เข้ากัเข้บา กัแบบแผงกั บแบบแผงกั ้นถนนที ้นถนนที ่ถูก่ถปรั ูกปรับบแก้แก้อีอีกกทัทั้ง้งยัยังงต้ต้อองต่ งต่ออ สัสัญญญาว่ ญาว่าาจ้จ้างของผู้รับเหมาใหม่ เนื เนือ่ ่องจากสั งจากสัญญญา ญา ว่ว่าาจ้จ้าางเดิ งเดิมมนันั้นน้ หมดไปตั หมดไปตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม ทีทีผ่ ่ผา่ ่านน มา มา “ส่ “ส่ววนแผงกัน้ ถนนส่วนทีส่ องนัน้ จะท�ำำเป็ เป็นน แบบเกาะกลางถนน แบบเกาะกลางถนนมีกมีารปลู การปลู กหญ้กหญ้ าตรงกลาง าตรงกลาง ระยะ ทางตั ระยะทางตั ง้ แต่บริ้งเแต่ วณตลาดนั บริเวณตลาดนั ดคลองถมยาวไปจนถึ ดคลองถมยาวไป งวง เวีจนถึ ยนบริ งวงเวี เวณยนบริ มมสเซึวณ ง่ ตัวมมส แบบแก้ ซึ่งไตัขเสร็ วแบบแก้ จแล้วไหากต่ ขเสร็จอ สัแล้ญวญาการว่ หากต่อสัาจ้ญาญาการว่ งเรียบร้อายคาดว่ จ้างเรียาบร้ จะสร้ อยคาดว่ างแผงกั าจะ้น ถนนเสร็ สร้างแผงกั จใน้น3ถนนเสร็ เดือน จหรืในอประมาณ 3 เดือน หรื 97วัอนประมาณ ซึ่งขณะ นี97วั ้ยังไม่ น สซึรุ่งปขณะนี ผลว่า้ยจะต่ ังไม่อสสัรุญ ปผลว่ ญาการจั าจะต่ดอสร้ สัญางทั ญาการ ้งหมด กีจั่วดันสร้” หัางทั วหน้ ้งหมดกี าฝ่ายการโยธา ่วัน” หัวหน้กล่ าฝ่าาวยการโยธา กล่าว นายธั นายธันนวา วา มหาวงค์ ผูผูร้ ้รอ้ ้องเรี งเรียยนและได้ นและได้รรบั ับ ผลกระทบจากโครงการแผงกั ผลกระทบจากโครงการแผงกั้นถนน กล่าวว่า แผง แผง กักั้น้นถนนช่ ถนนช่วยในเรื่องการจราจร ท�ำให้ ให้รรถบนถนน ถบนถนน สามารถวิ สามารถวิง่ ่งได้ได้โดยลดการเกิ โดยลดการเกิดอุดบอุตั บเิ ัตหตุ ิเหตุ และเรื และเรื อ่ งที่องที ค่ น่ ข้คนข้ ามถนนอย่ ามถนนอย่ างไม่ารงไม่ ะวังรด้ะวัานข้ ง ด้อาเสีนข้ยท�อำเสีให้ยดท�ไู ำม่ให้เหมาะ ดูไม่ สม เหมาะสม ถ้าจะให้ ถ้าดจะให้ ีควรเป็ ดคี นวรเป็ เกาะกลางถนนที นเกาะกลางถนนที ่ปลูกต้ป่ นลูไม้ ก หรื ต้นอไม้ ดอกไม้ หรือดอกไม้ ที่ท�ำให้ทดี่ทูส�ำวยขึ ให้ด้นูสอีวยขึ กทั้น้งทางข้ อีกทั้งาทางข้ มอยู่ไากล ม เกิอยูนไ่ ไป กลเกิ เพราะมี นไป เพราะมี ชาวบ้านสองฝั ชาวบ้านสองฝั ่งที่ไปมาหาสู ง่ ทีไ่ ปมาหาสู ่กัน ควร่ มีกัทนางข้ ควรมี ามให้ ทางข้ มากกว่ ามให้ามนีากกว่ ้ และมี านีช้ และมี ่องว่างมากพอที ชอ่ งว่างมาก ่จะ ให้ พอที คนสามารถยื จ่ ะให้คนสามารถยื นตรงกลางเพื นตรงกลางเพื ่อข้ามถนนได้ อ่ ข้ามถนนได้ “มี “มีชชาวบ้ าวบ้านออกมาเรียกร้องให้มีกการรื ารรื้อ้อ ถอนแผงกั ถอนแผงกั้นน้ ออก ออก แต่การท�ำงานนั งานนัน้ ้นต้ต้อองเป็ งเป็นนไปตาม ไปตาม ขัขั้น้นตอน ตอน ซึ่งตอนนี้มีการชะลอการสร้างตั้งแต่ แต่ชช่ว่วงง เดืเดืออนธั นธันนวาคม วาคม พ.ศ.2558 และมีการไปยื ารไปยืน่ ่นเรืเรือ่ ่องทาง งทาง ศาลปกครองให้ ศาลปกครองให้ระงับไว้ ชาวบ้าานต้ นต้อองรอค� งรอค�ำำสัสัง่ ่งศาล ศาล เพราะการรื เพราะการรื้อ้ ถอนเองไม่สามารถท�ำได้” นายธั นายธันนวา วา กล่ กล่าาว ว นางสาววิ นางสาววิลัยพรรณ บุญหล้า ผูผู้ป้ประกอบ ระกอบ การร้ การร้านค้าบริเวณ ต.ท่าขอนยาง อ.กั อ.กันนทรวิ ทรวิชชัยัย จ.มหาสารคาม จ.มหาสารคาม เผยว่ า ตนเพิ่ ง ย้ าายมาอยู ยมาอยู่ ท่ ที่ ี่ จ.มหาสารคามเมื จ.มหาสารคามเมือ่ ่อเดืเดืออนมกราคม นมกราคมปัญ ปัญ หาที หาที เ่ จอก็ ่เจอก็ จะ มีจะมี บา้ งเวลาข้ บ้างเวลาข้ ามถนนและการขนส่ ามถนนและการขนส่ ง ท�ำให้ ง ท�การจราจร ำให้การ ติจราจรติ ดขัด และยั ดขัดงและยั ท�ำให้ถงท�นนทรุ ำให้ถดนนทรุ พัง เป็ดนพัหลุ ง เป็ มเป็ นหลุ นบ่มอ อยากให้ เป็นบ่อ แอยากให้ ก้ปญ ั หาแโดยท� ก้ปัญหา ำแผงกั โดยท� น้ ถนนในระดั ำแผงกั้นถนนใน บทีต่ ำ�่ กว่ ระดัานีบ้เทีพื่ต่อ�่ำให้กว่ขา้ นีมไปยั ้เพื่อให้ งอีขก้าฝัมไปยั ่งได้ งอีกฝั่งได้ นางสาวอริ นางสาวอริ สา ธงภัคดีสานิธงภั สิตชัค้นดีปีนิทสี่ 1ติ ชัคณะการท่ น้ ปีที่ 1 คณะ อง เที การท่ ่ยวและการโรงแรม อ งเที่ ย วและการโรงแรม มหาวิทยาลัมหาวิ ยมหาสารคาม ท ยาลั ย กล่ มหาสารคาม าวว่า หลังมีกล่การสร้ าวว่าาหลั งแผงกั งมีการสร้ ้นถนนท� างแผงกั ำให้กน้ ารเดิ ถนนน ทางล� ท�ำให้ำกบาก ารเดินเสีทางล� ยเวลาำบาก ซึ่งปกติ เสียแเวลา ล้วจะสามารถเลี ซึ่งปกติแล้วจะ ้ยว กลั สามารถเลี บรถได้เลย ย้ วกลั แต่ขบณะนี รถได้ต้ เลย อ้ งไปเลี แต่ขณะนี ย้ วตรงส่ ต้ อ้ วงไปเลี นทีย่ งั ย้ ไม่ ว สร้ ตรงส่ าง วหรืนทีอวั่ยนังไหนรี ไม่สร้บางก็ตหรื้องขั อวับนรถย้ ไหนรี อนศร บก็ต้อเพราะตั งขับรถ้ง ตรงไฟแดงบริ ย้อนศร เพราะตั เวณนั ้งตรงไฟแดงบริ ้นรถยนต์จะขั เวณนั บเบี้นยรถยนต์ ดกัน บาง จะ ครั ขับง้ เบี เกิยดดกั อุบนตั เิ บางครั หตุ รถยนต์ ้งเกิดขอุบั บแบบเร่ ัติเหตุงรถยนต์ รีบ ต่างฝ่ขับายต่ แบบ าง ไม่ เร่งได้รีบดู หากจะสร้ ต่างฝ่ายต่าางต่ งไม่ อก็ได้ควรขยายถนน ดู หากจะสร้าหรื งต่ออหากไม่ ก็ควร ขยายถนนก็ ขยายถนน คหรืวรรื อหากไม่ ้อแผงกัขนยายถนนก็ ถนนออก ควรรื้อแผงกัน ถนนออก
แผงกั้นถนนบริเวณ ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
หน้า 16 หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
สิทธิเด็ก
ว ธ . เ ร่ ง จั ด โ ซ น นิ่ ง สื ่ อ สิ ่ ง พิ ม พ์ 1 8 +
นักวิชาการหวั่นเด็กและเยาวชนเลียนแบบ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดโซนนิง่ แก้ไขปัญหาหนังสือการ์ตนู ทีป่ ระกอบด้วยเนือ้ หา และภาพโป๊ 18+ นักวิชาการหวั่นกระทบต่อ เยาวชนมีพฤติกรรมเลียนแบบส่วนร้านหนังสือ แจงไม่มกี ารจัดเรตติง้ สิง่ พิมพ์ประเภทการ์ตนู โป๊ การ์ตนู เนือ้ หา รุนแรง เช่น การต่อสู้ หรือข้อความทีส่ ง่ เสริมให้เกิด การยั่วยุทางอารมณ์ รวมไปถึงนิยาย 18+ ที่มี เนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศ นิตยสารวาบหวิว เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย มาตรฐาน ของแผงหนังสือการ์ตูนในร้านสะดวกซื้อ แผงลอย และร้ า นเช่ า หนั ง สื อ ไม่ มี ก ฎหมายออกมาจั ด ระเบียบอย่างชัดเจน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรมได้ส่งหนังสือขอความร่วมมือ ไปยังสมาคมผูจ้ ัดพิมพ์และผูจ้ �ำหน่ายหนังสือแห่ง ประเทศไทย เพื่ อ ขอให้ ผู ้ จ� ำ หน่ า ยสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ทั่วประเทศ มีการจัดโซนนิ่งสิ่งพิมพ์ทุกประเภทให้ เหมาะสม โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ดังนั้น ร้ า นหนั ง สื อ ทุ ก ร้ า นจะต้ อ งมี ก ารจั ด โซนนิ่ ง ให้ ถูกต้องตามทีก่ ระทรวงก�ำหนด (ข้อมูลจากวารสาร หนังสือ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จ�ำหน่ายหนังสือ แห่งประเทศไทย http://www.pubat.or.th/) ผูส้ อื่ ข่าวหนังสือพิมพ์สอื่ มวลชนลงพืน้ ที่ ส� ำ รวจในเขต อ.เมื อ ง และ อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม พบว่ า ร้ า นหนั ง สื อ ประเภท แผงลอย ร้านสะดวกซือ้ ร้านหนังสือมือสอง มักจัด วางหนั ง สื อ การ์ ตู น ที่ มี เ นื้ อ หาสอดแทรกความ สัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ และนิตยสารวาบหวิวไว้ชั้น ล่าง หรือด้านหน้าของชัน้ วาง เพือ่ ดึงดูดลูกค้า ไม่มี การจัดเรทติ้งหนังสือให้เหมาะแก่ผู้อ่าน ดร.วนิดา พรมหล้า วิทยาลัยการเมือง การปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า
ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 (พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์) ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการ คุ้มครองผู้บริโภคจากสิ่งพิมพ์ที่ไม่เหมาะสม ไม่ ระบุ ชั ด เจนในเรื่ อ งของสื่ อ ลามก ส่ ง ผลให้ เ ด็ ก สามารถเข้าถึงได้งา่ ย หากจะป้องกันการเข้าถึงสิง่ พิมพ์จากร้านแผงลอย มีเพียงประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 287 ห้ามการค้า การแจกจ่าย การแสดงอวด การท�ำ การผลิต การมีไว้ น�ำเข้า หรือ ส่งออก หรือส่งเสริมให้เกิดการน�ำเข้า ส่งออกสื่อ ลามกทุกรูปแบบ รวมทั้งห้ามประกอบการค้าหรือ เผยแพร่สื่อลามกต่างๆ โดยผู้ฝ่าฝืนมีโทษจ�ำคุกไม่ เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท สามารถน�ำ มาประยุกต์ใช้บังคับผู้จ�ำหน่ายสื่อลามก โดยการ ด�ำเนินคดีทางอาญา ซึ่งการด�ำเนินคดีอาญา หาก เป็นความผิดส่วนตัวต้องมีเจ้าทุกข์เข้ามาร้องทุกข์ จึงจะสามารถด�ำเนินคดี เพื่อน�ำตัวผู้กระท�ำผิดมา ลงโทษ แต่หากกรณีเป็นความผิดอาญาแผ่นดินแม้ ไม่มีผู้ร้องทุกข์ก็สามารถด�ำเนินคดีได้ ดร.วนิดา กล่าวต่ออีกว่า “กรณีสื่อสิ่ง พิมพ์ที่ไม่ถึงกับเป็นสื่อลามกอนาจาร แต่มีความ คาบเกี่ยวกัน เนื้อหามีความสุ่มเสี่ยงต่อพฤติกรรม และจิตใจของเยาวชน ประมวลกฎหมายอาญายัง ใช้จัดการแบบเด็ดขาดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตหรือ ทางส� ำ นั ก พิ ม พ์ ว ่ า จะให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การ แสวงหาก� ำ ไรหรื อ จรรยาบรรณการท� ำ หนั ง สื อ คุณภาพให้เด็กอ่าน ถึงแม้มีประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 287 ควบคุมสือ่ แต่กย็ งั คงมีภาพโป๊ วางขายให้เห็นอยู่ตามแผงหนังสือ ฉะนั้นต่อให้มี อีกกี่กฎหมายก็จัดระเบียบอะไรไม่ได้ ถ้าไม่จัด ระเบียบจิตส�ำนึกคนท�ำสื่อ และพ่อค้าแม่ค้าให้ เรียบร้อยเสียก่อน แต่หากห้ามไม่ให้ผลิต สิ่งที่ตอ้ ง ค�ำนึงถึงก็คือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบ เศรษฐกิจของสังคมส่วนรวม”
แผงหนังสือ : แผงหนังสือสิ่งพิมพ์วาบหวิว ณ ตลาดโต้งรุ้ง จ.มหาสารคาม ขาดการจัดระเบียบ หวั่นเด็กและเยาวชนเข้าถึงง่าย
ด้าน ผศ.วรพจน์ พรหมสัตยพรต อาจารย์ ค ณ ะ ส า ธ า ร ณ สุ ข ศ า ส ต ร ์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย มหาสารคาม กล่าวว่า กรณีท่ีเด็กอ่านหนังสือที่มี เนือ้ หาความรักแบบชูส้ าวของผูใ้ หญ่ หรือมีเนือ้ หา รุนแรง หากมีผู้แนะน�ำที่ดี ก็จะไม่เกิดปัญหา แต่ หากขาดผู้แนะน�ำ เด็กก็จะเข้าใจว่าตนเองแฝง เข้าไปในตัวการ์ตูนตัวนั้น และรับอารมณ์ที่รุนแรง นั้นออกมา เมื่อโตขึ้นจะแสดงออกมาเป็นคนอีก แบบหนึง่ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ว่าเด็กโตขึน้ ไปอยูใ่ นสังคม แบบใด หากเขาอยู่สังคมที่ดี แนวโน้มที่จะปรับ เปลี่ยนก็เป็นไปได้ ผู้ปกครองควรตักเตือนให้เด็ก เกิดเข้าใจต่อการเลือกรับสื่อให้เหมาะสมแก่วัย โดยเริ่มจากการเปิดใจ พูดคุยกันอย่างตรงไปตรง มา สอนให้ใช้เหตุผลพูดคุยกัน สร้างความไว้ใจ โดยการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก นางสาวเนื้อทิพย์ ด�ำรงไชย เจ้าของร้าน หนั ง สื อ Read ME ต.ขามเรี ย ง อ.กั น ทรวิ ชั ย จ.มหาสารคาม กล่ า วว่ า เปิ ด ทั้ ง ขายและเช่ า ประเภทหนังสือ คือการ์ตนู ญีป่ นุ่ นวนิยาย ปรัชญา ชีวประวัติ พ็อคเก็ตบุ๊คทั่วไป รูปแบบการจัดวาง หนังสือ คือการ์ตูนแบ่งตามส�ำนักพิมพ์ นวนิยาย แยกตามอักษร และผู้เขียน ทางร้านไม่จัดเรทติ้ง หนังสือ สามารถเลือกหาหนังสือได้ตามใจชอบ
ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป นายสอาด ปฏิสมถิถาวงศ์ เจ้าของร้านหนังสือ มือสอง ภายในตลาดโต้รง่ ุ อ.เมือง จ.มหาสารคาม เล่าว่า “หนังสือภายในร้านมีตงั้ แต่การ์ตนู ไปจนถึงนิตยสารผูใ้ หญ่ เน้นให้ผใ้ ู หญ่อา่ น ไม่มกี ารจัดหมวดหมูห่ รือเรทหนังสือ เพราะไม่มกี ฎระเบียบให้จดั เรทหนังสือ ต�ำรวจในพืน้ ที่ ไม่มกี ารตรวจหรือค�ำสัง่ ให้จดั เรท สามารถเลือกได้ ตามใจชอบ เด็กอายุ 13 ปีขนึ้ ไป ส่วนใหญ่ชอบอ่านการ์ตนู ผี นิยายผูใ้ หญ่ ในส่วนของนิตยสารวาบหวิว มีบา้ งทีเ่ ด็ก มายืนดู แต่ไม่กล้าตัดสินใจซือ้ ” เด็ ก หญิ ง รั ต นาภรณ์ สนามน้ อ ย อายุ 11 ปี กล่าวว่า ตนชอบอ่านหนังสือการ์ตนู เรือ่ งราว เกีย่ วกับผี การ์ตนู ญีป่ นุ่ ทีม่ ภี าพประกอบ ปกติในกลุม่ เพือ่ นจะสนใจหนังสือแตกต่างกัน บางคนชอบอ่าน การ์ตนู วิทยาศาสตร์ ขายหัวเราะ มักหาซือ้ ตามร้าน หนังสือมือสองทีต่ งั้ ขายตามตลาดนัด เพราะใกล้บา้ น และมีให้เลือกหลายแบบคละกัน ไม่มกี ารจัดหมวด หมู่ หากถูกใจเล่มไหน สามารถเลือกซือ้ ได้ตามใจชอบ เด็กชายกระจ่าง แก้วเงิน อายุ 11 ปี เผยว่า ตนชอบอ่านหนังสือแนวสืบสวนสอบสวน การ์ตนู ต่อสู้ บางครัง้ เคยอ่านนิตยสารเซ็กซี่ หาซือ้ ได้ตามร้าน หนังสือมือสองในตลาดสดปกติไม่ชอบอ่านแต่ชอบดูภาพ ประกอบ
สิทธิเด็ก
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
“ไซต์ก่อสร้าง” คือบ้านของหนู
แสงแดดจ้ายามบ่าย สาดลงมายังพื้น เบื้องล่าง กว่าร้อยชีวิตผู้อยู่เบื้องหลังตึกสูงก�ำลัง สูดรับไอร้อนจากดวงอาทิตย์ สองมือจับค้อนตอก ตะปู เสียงเหล็กกระทบพื้นดังระงม หลายชีวิต ดิน้ รนเพือ่ ปากท้อง จนบางครัง้ อาจหลงลืมหนูนอ้ ย ที่ติดสอยห้อยตามมากับครอบครัว โดยอาศัยอยู่ ในแคมป์คนงาน มีเพียงสังกะสีและไม้อัดที่ใช้ ประกอบให้เป็นที่พักอาศัย ด้วยสภาพแวดล้อมที่ แออัด ส่งผลให้เกิดปัญหาพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ และสุขภาพ ทั้งขาดโอกาสในการเรียนรู้ สังคม เด็กยังคงเสีย่ งต่ออุบตั เิ หตุทมี่ าจากไซต์งาน ก่อสร้าง ไร้ซึ่งพื้นที่ปลอดภัย
“ตึกนี้สูงใหญ่ มือไผเล่าสร้าง ทั่วทุกเส้น ทาง ไผสร้างไผเฮ็ดถนน นัง่ นอนซ�ำบาย ฮูบ้ ไ่ ผหนอ ทุกข์ทน” ค�ำร้องท่อนหนึ่งในเพลง ผู้อยู่เบื้องหลัง ขับร้องโดย ไมค์ ภิรมย์พร เสียงเพลงจากวิทยุ เป็น เหมือนดั่งเพื่อนที่รู้ใจของนายศักดิ์ (นามสมมุติ) ชายวัยกลางคน อายุ 55 ปี ผู้ดูแลคนงานกว่า 20 คน เสียงเพลงถูกกลบด้วยเสียงหัวเราะของ เพือ่ นๆ คนงาน บรรยากาศหลังเลิกงานเต็มไปด้วย รอยยิ้ม หลายคนเริ่มจับกลุ่มท�ำกับข้าวมื้อเย็น ทีเด็ดของมื้อนี้คือ ต้มไก่บ้านรสแซบ ชายกลางคน บอกเมนูเด็ดด้วยรอยยิม้ ขณะเดียวกันพี่ ๆ คนงาน ต่างก็ขยับกายเพื่อให้เราได้นั่งอย่างสบาย ก่อนที่ นายศักดิจ์ ะเริม่ บอกเล่าถึงสาเหตุทตี่ อ้ งย้ายหลาน มาอยู่ในแคมป์คนงานแห่งนี้ นายศักดิ์ เปิดฉากเล่าว่า ตนนั้นมีศักดิ์ เป็นปูข่ องน้องเจมส์ (นามสมมุต)ิ สาเหตุทตี่ อ้ งย้าย หลานมาอยู่ในแคมป์คนงาน เนื่องจากพ่อของ เจมส์ อ าศั ย อยู ่ จ.นครราชสี ม า กั บ แม่ เ ลี้ ย ง จึงตัดสินใจให้หลานมาพักอยูก่ บั ตน เพือ่ ตัดปัญหา อื่นๆ ที่จะตามมา ในตอนแรกน้องเจมส์เรียนชั้น อนุบาล 2 ที่พัทยา จ.ชลบุรี และช่วงชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1-2 ย้ายไป จ.หนองคาย เพื่อกลับมา เรียนทีบ่ า้ นเกิด ล่าสุดย้ายมาเรียน จ.มหาสารคาม ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งนี้หลานจะต้องย้ายไปตาม ที่ท�ำงานของตนเสมอ น้องเจมส์ เด็กชายวัย 11 ปี ผิวสีแทน นัยน์ตามีความซุกซนซ่อนอยูต่ ามประสาเด็ก ก�ำลัง จดจ่อตัง้ ใจฟังบรรดาผูใ้ หญ่สนทนา เด็กชายเล่าว่า การที่ย้ายโรงเรียนบ่อย ท�ำให้เรียนไม่ทันเพื่อน
โรคในไซต์งานก่อสร้าง
ผศ.วรพจน์ พรหมสัตยพรต รองคณบดี ฝ่ายพัฒนายุทธศาสตร์ อาจารย์คณะสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า โรคที่ อาจเกิดต่อเด็กภายในแคมป์งานก่อสร้าง มักจะ เป็นโรคมือเท้าปาก โดยในส่วนของสุขภาวะทีไ่ ม่ดี สกปรก โอกาสที่จะเกิดสูงขึ้น ตามด้วยโรคผิวหนัง เพราะรอบแคมป์คนงาน ถือเป็นแหล่งเพาะเชื้อ อย่างหนึง่ ทัง้ นีจ้ ะมีโรคทีเ่ กิดจากการไม่ได้รบั วัคซีน เช่ น โรคคอตี บ บาดทะยั ก ไอกรน แต่ โ อกาส เกิดน้อย หากเกิดขึ้นมาแล้วก็จะกระจายไปหมด และอีกอย่างหนึ่งคือโรคขาดสารอาหาร “กรณีที่เด็กไม่มีเพื่อน อาจส่งผลต่อเด็ก ในหลายๆ ด้ า น เด็ ก เคยอยู ่ อ ย่ า งไรก็ จ ะอยู ่ อย่างนั้น เพราะไม่มีโอกาสเรียนรู้การอยู่กับเพื่อน เมื่อออกมาอยู่คนเดียว อาจเกิดอาการซึมเศร้า ใน ส่ ว นที่ เ ด็ ก เข้ า สั ง คมยาก เข้ า กั บ เพื่ อ นไม่ ไ ด้ หรือเข้ากันยาก ต้องใช้เวลา เพราะว่าเขาเพิ่ง เจอกัน การที่เราจะมีเพื่อนสนิทเปิดใจคุยกันทุก เรื่องได้ ต้องใช้เวลาต้องให้สนิทใจ” ผศ.วรพจน์ กล่าวทิ้งท้าย กฎหมายคุ้มครองเด็ก
โดดเดี่ยวเพราะผมเป็นเด็กคนเดียว ในไซต์งาน
ไซต์ก่อสร้าง : แคมป์งานก่อสร้างจังหวัดมหาสารคามที่มีเด็กอาศัยอยู่
ปรั บ ตั ว เข้ า กั บ เพื่ อ นยาก เข้ า กั บ เพื่ อ นไม่ ไ ด้ เมื่อกลับมาที่พักก็ไม่มีเพื่อน เพราะเป็นเด็กคน เดียว ส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใหญ่ ความเป็นอยู่ของที่นี่ รู้สึกว่าไม่ล�ำบาก เพราะอยู่แบบนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ย่าของเจมส์เองก็เป็นห่วงอนาคตของ หลานอย่างมาก เพราะการที่เด็กต้องย้ายตามที่ ท�ำงานของปู่บ่อย ท�ำให้หลานเรียนไม่ทัน ปรับตัว เข้ากับเพือ่ นยาก ในกรณีทเี่ ด็กไม่เข้าใจในบทเรียน อยากฝากให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องการเรียนของ เด็ก เพราะกลัวว่าเมื่อเรียนไม่ทันเพื่อน เด็กจะมี ความรู้สึกไม่อยากไปเรียน บ้านของผมเคลื่อนที่ได้
ในเวลาย�่ำค�่ำ เรามีโอกาสได้เดินทางไป ยังแคมป์คนงานก่อสร้างอีกแห่งหนึ่ง แผ่นสังกะสี ถูกน�ำมาต่อกันเป็นเพิง ซึ่งสร้างอยู่ท่ามกลางเขต ก่อสร้าง ภายนอกเต็มไปด้วยขยะที่หมักหมมเป็น เวลานาน เห็นเพียงแสงจากไฟนีออนที่เล็ดลอด ผ่ า นช่ อ งประตู ภายในมี เ บาะนอนส� ำ หรั บ อยู ่ ชั่วคราว พื้นที่ไม่กี่ตารางวา สามารถใช้เป็นแหล่ง พักพิงแก่ครอบครัวของเด็กชายเก่ง (นามสมมุติ) วัย 13 ปี สัญชาติกัมพูชา ร่างผอมบาง ผิวคล�้ำ ดวงตากลมโตถูกปกคลุมด้วยขนตาอันเรียวหนา เก่งได้ บอกเล่ าถึ งอดี ตก่ อนที่ ตนจะเข้ ามาอยู ่ที่ จ.มหาสารคาม “ผมเกิดที่ประเทศกัมพูชา แต่มาโตที่ ประเทศไทย จ�ำความได้เข้ามาตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เริ่มต้นอาศัยที่พัทยา จ.ชลบุรี จะต้องย้ายไปตาม
ไซต์งานก่อสร้างที่พ่อแม่ท�ำเสมอ ในช่วงแรกไม่ได้ เรียนหนังสือ ต่อมาเมื่อย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ จึงมี โอกาสได้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ในย่าน สายไหม กรุงเทพฯ แต่ว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไม่ได้เรียน จึงได้มาเริ่มเรียนอีกทีในชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่ จ.มหาสารคาม” เก่งบอกเล่าด้วย สีหน้าเฉยชาไม่บอกความรู้สึกใดๆ เก่ง เล่าต่ออีกว่า ตนมีโอกาสได้เรียน หนังสือ เพราะมีพอ่ เป็นคนไทย แม่เป็นชาวกัมพูชา พ่อเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียน ทั้งนี้ตนมีบัตรที่ คล้ายกับบัตรประชาชน ซึ่งในทางกฎหมายเป็น เรื่องของคนถือบัตรเลข 0 หรือที่มีชื่ออย่างเป็น ทางการว่า “บัตรประจ�ำตัวบุคคลไม่มีสถานะทาง ทะเบียน” แต่บัตรสามารถใช้ในงานด้านเอกสาร ทางการเรียน หรือเอกสารหนังสือได้ตามปกติ รวม ทั้งสิทธิต่างๆ ก็ได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยความ ที่ตนอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เด็ก จึงค่อนข้างพูด ภาษาไทยคล่องแคล่วกว่าภาษากัมพูชา ในส่วน ของที่พักอาศัยตนพอใจ เพราะที่นี่ถือว่าดีกว่า แคมป์คนงานที่ตนเคยอยู่มา ทั้งนี้อีกไม่กี่เดือนตน ก็ต้องย้ายออกตามพ่อแม่ไปไซต์งานก่อสร้างที่ จังหวัดอื่นต่อไป นายปาน (นามสมมุต)ิ ผูร้ บั เหมาโครงการ ก่อสร้าง กล่าวถึงความเป็นอยูท่ จี่ ดั ให้แก่คนงานว่า “ทีพ่ กั ค่อนข้างใกล้เขตก่อสร้างแต่ยงั คงไม่มกี ารจัดพืน้ ทีป่ ลอดภัย ให้แก่เด็ก และส่วนตัวคิดว่าสามารถดูแลจัดการกันเองได้ หากเด็กเข้ามาในเขตก่อสร้างอาจมีการกล่าวตักเตือนตาม ระเบียบ พยายามดูแลทุกส่วนอยู่เสมอ”
หน้า 17
ดร.วนิดา พรมหล้า วิทยาลัยการเมือง การปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า กรณีที่พ่อแม่พาเด็กเข้ามาท�ำงานก่อสร้างในเขต ก่อสร้าง หากเป็นเด็กจะให้ความส�ำคัญเท่าเทียม กั น เพราะว่ า ประเทศไทย ให้ ค� ำ สั ญ ญาตาม อ นุ สั ญ ญ า ว ่ า ด ้ ว ย สิ ท ธิ เ ด็ ก พ . ศ . 2 5 3 2 และพระราชบั ญ ญั ติ คุ ้ ม ครองเด็ ก พ.ศ.2546 ในกรณี ที่ เ ด็ ก อาศั ย อยู ่ ใ นเขตก่ อ สร้ า งสถานที่ ท�ำงานของพ่อแม่ ต้องพึงระลึกอยูเ่ สมอว่าสถานที่ ก่อสร้าง ซึง่ ถือว่าเป็นสถานทีท่ อี่ นั ตราย ซึง่ ไม่ดตี อ่ สวั ส ดิ ภ าพของเด็ ก ถื อ ว่ า เป็ น การกระท� ำ ที่ ไม่ถกู ต้อง ขณะนีม้ กี ารควบคุมดูแล ผูร้ บั เหมาต้อง ดูแลให้ความส�ำคัญกับพื้นที่ปลอดภัยส�ำหรับเด็ก หรื อ มี ก ารจั ด พื้ น ที่ ใ ห้ เ ด็ ก อย่ า งเช่ น อเมริ ก า ออสเตรเลีย จะมีเซฟตี้โซน (Child’s Safe Play Areas หรือพื้นที่ปลอดภัย) ส�ำหรับเด็กโดยเฉพาะ คือไม่ให้เด็กเข้าไป เพราะว่าอาจจะก่อให้เกิด อันตรายได้ ในกรณีประเทศไทยเรายังไม่มเี รือ่ งของ เซฟตี้โซน “โดยมุ ม มองส่ ว นตั ว แล้ ว คิ ด ว่ า ประเทศไทยควรจะแก้ ไ ขปั ญ หานี้ อ ย่ า งจริ ง จั ง และให้ ค วามส� ำ คั ญ ในการคุ ้ ม ครองเด็ ก ยกตัวอย่าง เช่น ออสเตรเลีย เขาจะมีกฎหมาย ห้ามไม่ให้พ่อแม่ตีลูก ห้ามให้เด็กท�ำงาน แม้ว่า ประเทศไทยจะเห็นว่าการใช้แรงงานเด็กเป็นเรื่อง ผิดกฎหมาย แต่การบังคับใช้กฏหมายก็ยังมีข้อ บกพร่องอยู่ อีกอย่างคือด้านกฎหมายของเรายัง ไม่เด็ดขาดพอในเรื่องของการบังคับใช้” ดร.วนิดา กล่าวทิ้งท้าย แม้ปัจจุบันหลายฝ่ายจะตระหนักและ มองเห็นความส�ำคัญของเด็กมากขึน้ แต่ถงึ อย่างไร ในอนาคตข้างหน้า เราอาจจะต้องพูดถึงเรือ่ งนีเ้ ช่น เดิม แต่จะพูดในมุมไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนใน สั ง คมจะหั น มาให้ ค วามส� ำ คั ญ และไม่ ม องว่ า ปัญหาเหล่านี้คือเรื่องปกติ
หน้า 18 หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
เทคโนโลยี
“สายย่อ ”เทรนด์ใ หม่วั ย รุ ่น โชว์ห วื อ หวาว่อ นโซเชี ย ล นักวิชาการแนะหยุดไลค์ หยุดแชร์ ชีใ้ ห้เห็นคุณค่าตัวเอง
สาวสายย่อ : เทรนด์ใหม่วัยรุ่น เต้นโชว์เนินอกในโซเชียลมีเดีย นักวิชาการแนะสังคมหยุดสนใจ
“สายย่อ” เทรนด์ใหม่วัยรุ่น โชว์เต้น หวื อ หวา เห็ น เนิ น อก ว่ อ นโซเชี ย ลมี เ ดี ย ทั้งเฟซบุ๊ค ยูทูบ ทวิตเตอร์ ย�้ำเป็นความชอบ ส่ ว นตั ว ไม่ ท� ำ ให้ ใ ครเดื อ ดร้ อ น ด้ า นนั ก วิชาการเผยปัจจัยหลักต้องการความสนใจ จากคนอื่น แนะทางออกสังคมหยุดไลค์ หยุด แชร์ ขณะที่ครอบครัวต้องสร้างภูมิคุ้มกันทาง จิตใจ ให้ความรักความเอาใจใส่ และชีใ้ ห้เห็น คุณค่าตัวเอง นางสาวเปรมสิริ บุญชู อายุ 23 ปี บุคคล ที่ เ รี ย กตั ว เองว่ า สายย่ อ เปิ ด เผยว่ า ค� ำ ว่ า “สายย่อ” ในความคิดก็ดูสนุก เวลาเที่ยวหรือเต้น ในผับจะแทนตัวเองว่าสายย่อ ดีหรือไม่ดี ขึน้ อยูก่ บั คนจะมอง ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้เสียหายอะไร เป็นแค่ ค�ำที่ใครๆ ก็พูดถึง และเป็นคนชอบถ่ายภาพ ถ่าย คลิป แนวเซ็กซี่มานานแล้ว ส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่อง ธรรมดาที่ผู้หญิงถ่ายภาพโชว์เนินอก “ ในเมือ่ เรามีเนินอกหรือท�ำศัลยกรรมมา ก็ต้องโชว์ เป็นคนไม่สนใจค�ำพูดใครอยู่แล้ว ถ้า ชอบก็ดู ไม่ชอบก็อย่าดู ส่วนตัวรู้สึกดีที่มีคนมา กดไลค์ในเฟซบุ๊ค ขั้นต�่ำ 1,000 – 3,000 ไลค์ขึ้นไป มีโรคจิตทีม่ าคอมเม้นเยอะมาก บางคนทักแชทส่ง ภาพอวัยวะเพศตัวเองมาให้ หลีกเลี่ยงด้วยการไม่
ตอบโต้ ภาพทีโ่ พสต์มนั เป็นเพียงรูปภาพรูปหนึง่ แค่ นั้ น เอง ไม่ ต ้ อ งการเรี ย กร้ อ งให้ ใ ครมาสนใจ” นางสาวเปรมสิริ กล่าว นางสาวปภาวดี เลื่อนศิริ อายุ 23 ปี เป็น อีกหนึง่ คนทีเ่ รียกตัวเองว่าสายย่อ เผยว่า “สายย่อ เป็นเหมือนค�ำทีใ่ ช้เรียกวัยรุน่ ทีเ่ ทีย่ วกลางคืนจนคน อื่นคุ้นหน้า ปกติเป็นคนชอบแต่งตัวถ่ายรูป และมี สังคมในโลกโซเชียล ภาพทีเ่ ลือกโชว์ หวือหวา เห็น เนิ น อกมากพอสมควร แต่ ก็ ไ ม่ ถึ ง กั บ โป๊ หรื อ อนาจาร แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน คนเราคิด ต่างมองต่าง เราไม่สามารถท�ำให้ทุกคนมาคิดมา มองเหมือนเราได้ ผลตอบรับอย่างต�่ำ 1,000 ไลค์ ก็มคี นชอบบ้างไม่ชอบบ้าง เราก็ไม่แคร์ คือไม่ทำ� ให้ ใครเดือดร้อนก็พอ” นางสาวปภาวดี เล่าต่ออีกว่า สิง่ ทีต่ นเจอ บ่ อ ยคื อ การแสดงความคิ ด เห็ น ที่ ส ่ อ ไปในทาง อนาจาร ต้องการขอร่วมเพศ แต่เลือกมองผ่าน เพราะหากยิ่งตอบโต้ด้วยค�ำหยาบคาย เขาก็ยิ่ง ชอบ หลายคนอาจมองว่าการโพสต์ภาพลักษณะ นี้คือการเรียกร้องความสนใจ ส�ำหรับตนคิดว่า ไม่ใช่ เพราะทุกรูป มักมีความทรงจ�ำ การเขียนหรือ โพสต์ทกุ อย่างลงไปในเฟซบุค๊ ก็เหมือนการบันทึก อัลบั้มรูปภาพ เมื่อคิดถึงก็ย้อนกลับมาดูอีกครั้ง
นายอดิศักดิ์ น้อยแจ่ม แอดมินเพจ ReviewHere (เพจทีร่ วี วิ ทุกเรือ่ งทีก่ ำ� ลังเป็นกระแสใน สังคม) กล่าวว่า ความจริงแล้ว สายย่อคือวลีเรียก วัยรุน่ ทีช่ อบเพลงแนวสไตล์ Hip Hop, Trap, Twerk จะโยกหัวไปตามจังหวะทีด่ รอปลงมา ไม่ใช่สายย่อ ที่ต้องย่อเอวเต้นยั่ว เปิดเพลงเต้นทั่วไป และออก มาโชว์หวือหวา ส่วนตัวคิดว่าคงอยากโชว์หุ่นและ เรียกเรตติ้ง รวมถึงอยากดัง จริงอยู่หลายคนที่เต้น ในคลิปบอกว่าเป็นความชอบส่วนตัว เพื่อปฏิเสธ ในสิ่งที่ท�ำ แต่ถึงกระนั้นขึ้นชื่อว่าคน ย่อมอยากให้ สิ่งที่ตัวเองท�ำมันดัง ยิ่งสมัยนี้มีคนอยากดังอยู่ จ�ำนวนมาก นายอดิศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ในมุมมองที่ ตนเป็นวัยรุ่นเหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับสิทธิส่วน บุ ค คล เขาคิ ด ว่ า อยากเต้ น อยากท� ำ อะไรใน โซเชียลก็ได้ แต่นั่นไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะมีจ�ำนวน ไม่นอ้ ยทีม่ องเขาเป็นอย่างอืน่ และแสดงพฤติกรรม ไม่เหมาะสม หน�ำซ�้ำยังท�ำให้คุณค่าในตัวเขาหาย ไป ตัววัยรุ่นที่โชว์หวือหวา บางคนอาจจะท�ำข�ำๆ บางคนอาจจะท�ำจริงจัง เพราะอาจโดนปลูกฝังว่า ถ้าอยากดังต้องโชว์ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ ในส่วน ของคนเข้ า มาดู จ ะเข้ า มาตามประสานั ก เลง คียบ์ อร์ด มีทงั้ คนดีและคนทีห่ ยาบคายหรือพวกหืน่ แต่ขนึ้ ชือ่ ว่าคนย่อมมองเห็นสิง่ ทีม่ นั ดีตอ่ ตัวเองอยู่ แล้ว ไม่มีใครมองสิ่งไม่ดี นางสมพร เมตตาริกานนท์ วัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มหาสารคาม (สวจ.มค.) กล่าวว่า การที่เด็กออก มาโชว์หวือหวา เราไม่อาจตัดสินได้ เพราะเด็กอาจ มีเหตุผลที่ต้องท�ำ ไม่ทราบเบื้องหลัง และคาด การณ์ไม่ได้ ทัง้ นีไ้ ม่ได้ฟนั ธงว่าสิง่ ทีก่ ระท�ำนัน้ ดีหรือ ไม่ดี สิ่งที่ห่วงใยคือคนที่เลือกรับสื่อจะเข้าใจจุด ประสงค์ของคนโพสต์หรือไม่ว่าต้องการสื่อสาร อะไร โดยเฉพาะการเลือกรับสือ่ ของเด็กวัยประถม ศึกษาและมัธยมศึกษาที่เริ่มคล้อยตามสื่อ ไม่ใช่ เฉพาะแค่สื่อลามก แต่บางครั้งก็มีสื่อวิชาการด้วย นายอมร จ�ำรัส อายุ 44 ปี อาชีพรับจ้าง จ.มหาสารคาม ในฐานะผู้ปกครองที่มีบุตรหลาน อยูใ่ นช่วงวัยรุน่ กล่าวว่า สิง่ ทีเ่ ป็นห่วงก็คอื เยาวชน จะเข้าใจและหลงเชือ่ ในสิง่ ผิดๆ และท�ำตาม เพราะ คิดว่าสิง่ ทีเ่ ห็นเป็นสิง่ ดี ซึง่ อันตรายมาก ผูป้ กครอง
ควรสั่งสอนให้เยาวชนเสพสื่อและรับสารอย่างถูก วิธี ค่านิยมใหม่นี้จึงจะหมดไปได้ ดร.อารยา ปิยะกุล ภาควิชาจิตวิทยาการ ศึ ก ษาและการแนะแนว คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า ปัจจัยทีท่ ำ� ให้วยั รุ่นหญิงชอบโชว์หวือหวาทางเน็ต มีหลายสาเหตุ ด้วยกัน เช่น กลุ่มเพื่อน เศรษฐกิจ การได้รับการ ยอมรับ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วการโชว์ของวัยรุน่ จะ มีสาเหตุหรือปัจจัยหลักมาจากความต้องการที่จะ ได้รับความสนใจจากบุคคลอื่น ต้องการเป็นคน ส�ำคัญ เมื่อโชว์แล้วมีคนกล่าวถึง มีคนแชร์ ก็ เป็นการได้รับการตอบสนองความต้องการ ซึ่ง เปรียบเสมือนการได้รับรางวัล หรือเมื่อเห็นคนอื่น โชว์แล้วได้รบั การกล่าวถึง มีการแชร์กนั ได้รบั ความ สนใจให้เป็นคนส�ำคัญของสังคมในกลุ่ม วัยรุ่นจึง เห็นเป็นแบบอย่าง อยากเลียนแบบ เพื่อจะได้รับ ความสนใจเช่นเดียวกัน ดร.อารยา กล่าวต่อว่า บางคนต้องการ สร้างคุณค่าให้กบั ตนเอง ต้องการได้รบั ความสนใจ แต่บางคนอาจจะมีอาการป่วยทางจิตเวช ที่เรียก ว่ า Exhibitionism หรื อ การแสดงอนาจาร (การชอบโชว์หรืออวดอวัยวะเพศ) ซึ่งต้องดูจาก พฤติกรรมที่โชว์ว่าเกิดจากความต้องการความ สนใจ เมื่อมีผู้ให้ความสนใจ จะรู้สึกพึงพอใจ อาจ มีผลกระทบต่อวัยรุ่น เพราะทุกอย่างที่อยู่ในสื่อ ออนไลน์เมื่อถูกแชร์ออกไป จะไม่สามารถควบคุม ค� ำ วิ จ ารณ์ ห รื อ ความคิ ด เห็ น ของผู ้ ค นบนสื่ อ ออนไลน์ได้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อจิตใจในเชิงลบ มาก ส่งผลต่อสุขภาพจิต ก่อให้เกิดความเครียด ความโศกเศร้า และความเสียใจ “แนวทางป้องกันคือคนในสังคมต้องไม่ แชร์ ไม่กดไลค์ ไม่ให้ความสนใจ ครอบครัวต้อง สร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น ทางจิ ต ใจ ด้ ว ยการให้ ค วามรั ก ความเอาใจใส่ในการพัฒนาให้บุตรหลาน รู้จักรัก และเคารพตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง มีความเข้ม แข็งทางจิตใจ สถาบันการศึกษาต้องเสริมสร้างการ คิดอย่างมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะ มีเหตุมีผล สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีความเข้ม แข็งทั้งด้านปัญญาและจิตใจ ผ่านการสอดแทรก ในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมที่เสริมภูมิคุ้มกัน ทางปัญญาและจิตใจ” ดร.อารยา กล่าว
กีฬา
หนังสือพิมพ์สื่อมวลชน ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
ความคื บ หน้า คดี ทุ จ ริ ต ศู น ย์กี ฬ า
มมส รอศาลพิพากษา
โครงการก่อสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะผู้รับเหมาทิ้งงานจนต้องฟ้องศาล
โครงการสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) มีก�ำหนดแล้ว เสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 แต่การก่อสร้างต้องหยุด ชะงักลง ซึ่งขณะนั้น รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต ด�ำรง ต�ำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.25532555 ซึง่ ได้รบั งบประมาณมาจากโครงการไทยเข้ม แข็งจ�ำนวน 190 ล้านบาท ด�ำเนินการก่อสร้างสอง แห่ง ได้แก่ ศูนย์กีฬาและนันทนาการ และสนาม ฟุตบอล ทั้งนี้ สนามฟุตบอลได้ด�ำเนินการสร้าง เสร็จแล้ว แต่ยังไม่เปิดให้ใช้บริการเพราะยังไม่ได้ รั บ มอบจากผู ้ รั บ เหมา และยั ง ขาดการติ ด ตั้ ง อุปกรณ์กีฬาบางอย่าง เช่น ป้ายนับคะแนนระบบ ดิจทิ ลั ฯลฯ โดยอุปกรณ์ดงั กล่าวถูกเก็บรักษาทีก่ อง กิจการนิสิต มมส ดังนั้น มมส จึงฟ้องร้องบริษัท ผู้รับเหมา เนื่องจากทิ้งงาน ความคืบหน้าในขณะนี้รูปคดีส่วนที่ 1 ที่ มมส สูญงบประมาณไปราว 50 ล้านบาท ยังอยู ่ ในขัน้ ตอนการตรวจสอบทางกฎหมาย ซึง่ หากคณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส�ำนักงานตรวจเงินแผ่น ดินภูมภิ าคที่ 7 ขอนแก่น (สตง.ขอนแก่น) ตรวจสอบ พบว่ามีการผิดสัญญาว่าจ า้ ง ก็จะถูกส่งไปให ศ้ าล ประจ�ำ จ. มหาสารคาม เพือ่ ด�ำเนินการฟ้องร้องใน
ศาลชั้นต้นเป็นล�ำดับต่อไป ส่วนคดีส่วนที่ 2 ที่ มหาวิทยาลัยได้ต่อสัญญากับผู้รับเหมารายใหม่ เป็นจ�ำนวนเงิน 139 ล้านบาท แต่จนถึงปัจจุบันก็ ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ เนือ่ งจากต้องรอการพิพากษา จากศาลในส่วนของคดีส่วนที่ 1 ดร.วนิ ด า พรมหล้ า นั ก วิ ช าการด้ า น กฎหมาย และอาจารย์ วิ ท ยาลั ย การเมื อ งการ ปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า การด�ำเนินการสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการจะ ต้องมีผวู้ า่ จ้าง คือ มหาวิทยาลัย และต้องมีผรู้ บั จ้าง คือผู้รับเหมา โดยก่อนที่จะด�ำเนินการสร้างศูนย์ กีฬาและนันทนาการได้จะต้องท�ำสัญญาเสียก่อน ซึ่ ง มหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ผู ้ อ อกแบบสั ญ ญาว่ า จะ ด�ำเนินการสร้างเป็นเวลากี่ปี ก�ำหนดการจ่ายเงิน ต่อผู้รับจ้าง อาจจะสร้าง 50% ถึงจะจ่ายเงิน สร้าง เสร็จแล้วค่อยจ่ายหรืออืน่ ๆ ตามทีไ่ ด้ตกลงกันก่อน ที่จะด�ำเนินการสร้าง ดร.วนิดา กล่าวต่อว่า ในด้านที่เป็นคดี มีแนวโน้มที่จะผิดสัญญาได้ทั้งสองฝ่าย หากฝ่าย ผู้รับเหมาด�ำเนินการล่าช้ากว่าก�ำหนด เบิกเงินไม่ ตรงตามทีส่ ญ ั ญาว่าไว้ หรือทิง้ งานไม่มาด�ำเนินการ ต่อเลย ก็จะถือว่าผิดสัญญา และทางมหาวิทยาลัย ก็สามารถฟ้องได้ ถ้าทางมหาวิทยาลัยไม่เบิกจ่าย เงินตามที่ระบุในใบสัญญา หรือจ่ายเงินล่าช้าทาง ผู้รับเหมาก็สามารถฟ้องได้เช่นกัน
“ในกระบวนการฟ้องร้องนั้นจะต้องฟ้อง ศาลประจ�ำจังหวัด เพราะเป็นคดีแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นเรือ่ งของนิตกิ รรมสัญญา ซึง่ ต�ำรวจไม่มสี ว่ น เกีย่ วข้องในเรือ่ งนี้ โดยการฟ้องร้องจะแบ่งเป็นสาม ขั้น คือ ศาลชั้นต้น หากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจในค�ำตัดสินก็สามารถ ยืน่ ค�ำร้องต่อศาลอุทธรณ์ในขัน้ ทีส่ องต่อไปได้ และ หากยังไม่สนิ้ สุดก็ตอ้ งด�ำเนินการ ต่อทีศ่ าลฎีกา ซึง่ ถือเป็นที่สิ้นสุด หากศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ฝ่าย ผิดก็ต้องยอมคืนเงินสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีการท�ำ สัญญาไว้ หรือต้องด�ำเนินการตามที่ผู้ฟ้องร้องได้ ก�ำหนดไว้ ซึ่งระยะเวลาในการฟ้องมีอายุเวลา 10 ปี” ดร.วนิดา กล่าว ขณะที่ แ หล่ ง ข่ า วจากส� ำ นั ก งานตรวจ สอบเงินแผ่นดิน จ. มหาสารคาม ชี้แจงว่า ไม่ สามารถที่จะเปิดเผยข้อมูลในส่วนของการตรวจ สอบงบประมาณโครงการสร้ า งศู น ย์ กี ฬ าและ นันทนาการได้ โดยให้เหตุผลว่า ข้อมูลการตรวจ สอบงบประมาณถือเป็นความลับของหน่วยงาน ด้านรักษาการอธิการบดีคนใหม่ ศ.ดร. สัมพันธ์ ฤทธิเดช กล่าวว่า ตนไม่สามารถให้ข้อมูล การก่อสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ เนื่องจาก เพิ่งรับต�ำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี ทั้งนี้ รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อดีตรักษา การแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปฏิเสธการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสร้างศูนย์ กีฬาและนันทนาการ โดยให้เหตุผลว่า ตนไม่ได้มี อ� ำ นาจในการเปิ ดเผยข้อ มูล เพราะไม่ได้อ ยู่ใน ต�ำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดีแล้ว ส�ำหรับความคืบหน้าของการด�ำเนินการ สร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ ขณะนี้ มมส ได้ตั้ง งบประมาณต่อเนื่องในเฟส 3 ไว้จ�ำนวน 90 ล้าน บาท พร้อมด�ำเนินการประเมินมูลค่างานที่เหลือ และวางแผนติ ด ตามความคื บ หน้ า ในการร่ า ง ขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) ใหม่ทั้งหมด สุ ด ท้ า ยทางออกของเรื่ อ งนี้ จ ะเป็ น อย่างไรคงต้องรอผลการพิจารณาจากศาล เพราะ คดีที่เกิดขึ้นนั้นเป็นทั้งคดีแพ่งและพาณิชย์คงต้อง ใช้เวลาไต่สวนคดีนานพอสมควร อย่างไรก็ตาม หวังว่า มมส จะชนะคดี และได้งบประมาณคืนมา ด�ำเนินการสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการให้แล้ว เสร็จ พร้อมด�ำเนินงานต่ออย่างโปร่งใส
หน้า 19
โค้ชพันธ์ปรับปูพิฆาต
หวังเข้ารอบ 64 ทีม โตโยต้าลีก จั ง หวั ด มหาสารคามผุ ด ที ม ฟุ ต บอล จั ง ห วั ด ม ห า ส า ร ค า ม ผุ ด ที ม ประจ� ำ จั ง หวั ดชุำดจัใหม่ ชื่อภมหาสารคาม ฟุตบอลประจ� งหวัภดายใต้ ชุดใหม่ ายใต้ชื่อ อาร์ - แอร์ ไ ลน์ อาร์ โดยการดู แ ลภายใต้ มหาสารคาม -แอร์ไลน์ โดยการดูสแโมสร ล ฟุภายใต้ ตบอล สเลยซิ ต ้ ี ด้ า นโค้ ช พั น ธ์ เ ผยเล็ ง สร้ า โมสรฟุตบอล เลยซิตี้ ด้านโค้ชงทีม เผยเล็งสร้่อาขึงที้นมมาทดแทนที ผู้เล่นเยาวชนเพื ่อขึ้น ผูพั ้เล่นนธ์เยาวชนเพื มชุดใหญ่ มาทดแทนที นายสัมมชุพัดนธ์ใหญ่ เอีย่ มวิไล หรือโค้ชพันธ์ กุนซือ ใหญ่ ฆิ าต มหาสารคาม แอร์อไโค้ลน์ชพัเปินดธ์เผย ทมี ปูพนายสั มพันธ์ เอี่ยมวิอาร์ ไล -หรื ว่ากุนขณะนี มทีมหาสารคาม มปูพิฆาตขึ้นอาร์ มาใหม่ ซือใหญ่้กท�ำลัีมงปูฟอร์ พิฆาต -แอร์โดย อาศั ม เสริม้กที�ำมลัด้งวฟอร์ ยนักมเตะชุ ไลน์ยนัเปิกเตะชุ ดเผยว่ดเดิ า ขณะนี ทีมปูดพใหม่ ิฆาตเพือ่ มาใหม่ สร้ขึาน้ งที มให้สโดยอาศั มบูรณ์ ยนักเตะชุดเดิม เสริมทีมด้วย ดใหม่ สร้าองทีว่ามให้ นักเตะชุโค้ ชพันเพื ธ์ ่อเผยต่ ส�ำสหรัมบูบทิรณ์ศทางของทีม ในปั ำให้ทอีว่มากลัส�บำไปสู จจุบัน โค้อยากจะท� ชพันธ์ เผยต่ หรับ่โทิตโยต้ ศทางาลีก คลัของที บอีกมครัในปั ง้ และอาจเป็ นเครือ่ งมืำอให้พิสทจู ีมน์กลั ในการสร้ จจุบัน อยากจะท� บไปสู่ าง ทีโตโยต้ มใหม่วาา่ ลีสามารถลุ ในโตโยต้นาเครื ลีกคลั กคลับอีกน้ ครัแชมป์ ้ง และอาจเป็ ่องมืบอและ พิสจู ภน์ูมในการสร้ ใหม่าไปแข่ วา่ สามารถลุ แชมป์ ิภาค เพืา่องที ผ่ามนเข้ งขันในลีน้ กแชมป์ ดิวิชั่น 1 กคลั และแชมป์ ภิ าคางที เพืมอ่ อคาเดมี ผ่าน ่ ต่อในโตโยต้ ไป ทั้งนีา้ตลีนยั งมีบความตั ้งใจทีภ่จมู ะสร้ เข้าไปแข่งขันในลีกดิวิชั่น 1 ต่อไป ทั้งนี้ตนยังมี หรืความตั อทีมผู้ง้เล่ใจที นเยาวชนเพื ขึ้นมาทดแทนในที ่จะสร้างที่อมให้ อคาเดมี ่ หรือทีมผู้เล่นมชุด ใหญ่ เยาวชนเพื่อให้ขึ้นมาทดแทนในทีมชุดใหญ่ “การพัฒนาเยาวชน เราก็มีอคาเดมี่ของ โดยมี“การพั นาเยาวชน เราก็มีอบคาเดมี ่ สโมสร โรงเรียฒนมหาชั ยพิทยาคารรั ผิดชอบใน โดยมี่ และมี โรงเรีเยด็นมหาชั พิทงหวั ยาคารรั เรืของสโมสร อ่ งของอคาเดมี กจากต่ายงจั ดมาคับดตัว ผิดชอบในเรือ่ งของอคาเดมี่ และมีเด็กจากต่าง เพืจัอ่ งเป็ อ จันทบุ่ขร ีองสโมสร นครราชสีมา หวันดอคาเดมี มาคัดตัข่ วองสโมสร เพื่อเป็นคือคาเดมี และจั เคียง โดยจะมี การฝึงหวั กซ้ดอใกล้ มร่วเมกั คือ จังนหวัทบุดใกล้ รี นครราชสี มา และจั คียบง ทีม ชุดโดยจะมี ใหญ่ เพืกอ่ ารฝึ ให้รกจู้ ซ้กั อระบบที โค้ชพัเพืน่อธ์ให้ กล่าว มร่วมกัมบมากขึ ทีมชุน้ด”ใหญ่ โค้อชว่พัานการเสริ ธ์ กล่าวมทีมในครัง้ นี้ รู้จักระบบที โค้ชมพัมากขึ นธ์ กล่้นา”วต่ เป็นการปรับโครงสร้างใหม่ทงั้ หมด เพราะได้คดั เลือก โค้ชพันธ์ กล่าวต่อว่า การเสริมทีมใน นัครั กเตะมาเสริ มทัพบกัโครงสร้ บชุดเก่าางใหม่ เพื่อให้ทงั้ เข้หมด ากับเพราะ ทีมระบบ ง้ นีเ้ ป็นการปรั และยั เตะสั ญชาติแคมมารู ม่ เติม ได้คดังมีเลืนอกั กนั กเตะมาเสริ มทัพกับนชุ3ดคน เก่ามาเพิ เพือ่ ให้ ส่วเข้นที ในการสร้ างทีมญครัชาติ ้งนี้ยแังคม ต้องมี ากั่ขบาดหายไป ทีมระบบ แต่ และยั งมีนักเตะสั มารูนบ3ปรุคน การปรั งอีกมาเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไป แต่ ในการสร้ส�าำงทีหมรัครับ้งผนีล้ยังงต้าอนงมีทีก่ ผารปรั ่ า นบมปรุางอีกโ ค ้ ช ส�ำหรับผลงานที่ผ่านมา โค้ชพันธ์ได้ ตั้งเป ้าไว ว้ า่ โตโยต า้ ลีกคลับจะต อ้ งเข า้ รอบ 64 พัทีม เพราะไดร้ ับสิทธิ์จบั ฉลากถึง 2 ครั้ง บางครั้ง น ธ แข่งแมตซ์เดี์ ยวเข า้ รอบ ไ64 ทีม แต่เราต ด อ้ งแข่ง ้ ง้ เราชนะกาฬสิ ด์ ว้ บยการเตะจุ โทษ และ ตั้ง2เปครั้าไว ว้ า่ โตโยต า้ ลีนกธุคลั จะต อ้ งเข ดา้ รอบ 64 ทีม ชนะยโสธร เพราะได ร้ ับสิ5-0 ทธิ์จบั ฉลา “ผมมักเน น้ ลูกทีมเสมอว่าสปริตเป น็ กถึหลัง ก2ของที ครั้ง มบางครั ้งแข่้ รูงจแมตซ์ 64น ทีม รู จ้ กั แพ ้ กั ชนะเดีรูยจ้ วเข กั ใหา้ อ้รอบ ภัย เล่ แต่อย่เราต อ้ งแข่ง 2 ครัถ้งา้ เราชนะกาฬสิ นธุด์ ว้ ยการเตะ างขาวสะอาด ชนะแบบไม่ใสสะอาดจะ จุดท�โทษ 5-0 ำให ล้และชนะยโสธร ูกทีมติดนิสัย และสอนถึ งอนาคตข า้ ง ช้ พันธ์กเนกล่น้ าลูวทิ า้ ย าสปริตเป น็ หลัก หน า้ ” โค“ผมมั กที้งทมเสมอว่ ของทีม รู จ้ กั แพ ้ รู จ้ กั ชนะ รู จ้ กั ให อ้ ภัย เล่นอย่างขาว สะอาด ถ า้ ชนะแบบไม่ใสสะอาดจะท�ำให ล้ กู ทีมติด