คู่มือหลักสูตรอบรม HIA ระดับท้องถิ่น

Page 1


คู่มือ หลักสูตรอบรมการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ระดับท้องถิ่น พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2552 พิมพ์ที่ สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก จำนวนพิมพ์ 9,000 เล่ม


คู่มือหลักสูตร อบรมการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ระดับท้องถิ่น



คำนำ

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นกระบวนการที่ ให้ความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกคนที่มีความพร้อม และสามารถที่จะเลือกแนวทางการพัฒนาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยสาธารณะ ซึ่งมุ่งเน้นสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่างๆพร้อมกับ ลดภั ย คุ ก คามต่ อ สุ ข ภาพทั้ ง ในระดั บ ประเทศ นโยบาย โครงการ กิจกรรม ท้องถิ่น และระดับชุมชน โดยการใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชา การอย่างมีจริยธรรม หลั ก สู ต รอบรม การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ระดั บ ท้ อ งถิ่ น เป็ น หลั ก สู ต รที่ เ น้ น ในเรื่ อ งการพั ฒ นาบุ ค ลากรของ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ให้ มี ค วามรู้ ความเข้ า ใจในการนำ กระบวนการ HIA ไปใช้เป็นเครื่องมือหามาตรการลดผลกระทบต่อ สุขภาพทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวกที่เกิดจากการดำเนินการ โครงการ กิ จ กรรมพั ฒ นาในท้ อ งถิ่ น เพื่ อ การคุ้ ม ครอง ส่ ง เสริ ม สุขภาพอนามัยของประชาชน ให้อยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัยในฐานะองค์กรหลักด้านการส่งเสริมสุขภาพและ อนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดให้มี โครงการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น โดยกรมอนามัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสาร คู่มือ การอบรม เล่มนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ทำการประเมินผลกระทบต่อ สุขภาพ หากมีข้อเสนอแนะ ทางกรมอนามัยยินดีรับฟัง เพื่อปรับปรุง เอกสารให้เหมาะสมและทันสมัย ในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พฤษภาคม 2552



กิตติกรรมประกาศ

เอกสารหลั ก สู ต รอบรม การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุขภาพ (HIA) ระดับท้องถิ่นเล่มนี้ ได้จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ ได้เอกสารที่เป็นประโยชน์ และเหมาะสม กั บ การดำเนิ น งานประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพระดั บ ท้ อ งถิ่ น จากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้แทน ศู น ย์ อ นามั ย กรมอนามั ย ผู้ แ ทนกรมส่ ง เสริ ม การปกครอง ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ที่ ได้ นำหลักสูตรนี้ ไปทดลองดำเนินการอบรม เพื่อนำข้อเสนอแนะจาก ผู้เข้ารับการอบรมมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะผู้จัดทำจึง ขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นและทุ ก หน่ ว ยงาน ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำ พฤษภาคม 2552



สารบั ญ

บทที่ 1 ความรู้และแนวคิดพื้นฐาน

หน้า

1-24 ของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 1. ความหมายและความสำคัญของ HIA 1 1.1 ความหมายของสุขภาพและระบบสุขภาพ 1 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง การพัฒนา 3 สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพ 1.3 ความหมายของปัจจัยกำหนดสุขภาพ 5 1.4 ความหมาย แนวคิดและวัตถุประสงค์ของ HIA 11 2. ความจำเป็นของการทำ HIA 14 3. ประเภทของ HIA 15 4. กระบวนการและขั้นตอนของ HIA 18 5. ความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง 21 ของ HIA กับ EIA และ SIA 6. HIA กับบทบาท อำนาจ หน้าที่ 24 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บทที่ 2 กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ 25-57 ที่เกี่ยวข้องกับ HIA 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 26 2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 29 3. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 31 4. พระราชบัญญัติส่งเสริมและ 35 รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)


สารบัญ (ต่อ)

หน้า 5. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและ 45 ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 6. กฎบัตรกรุงเทพฯ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 52 7. กฎบัตรและปฏิญญากรุงเทพฯ 53 ด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม 8. แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) 56 บทที่ 3 กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ 59-94 ของการดำเนินงาน HIA 1. การกลั่นกรอง (Screening) 59 2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scoping) 65 3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Appraisal) 69 4. การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ 84 (Reporting and Recommendation) 5. การติดตามตรวจสอบและประเมินผล 86 (Monitoring and Evaluation) บทที่ 4 แนวทางการประยุกต์ ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น 95-115 และกรณีศึกษา การประยุกต์ ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น 1. ความจำเป็น และความสำคัญ 95 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงาน HIA 2. การประยุกต์กระบวนการ HIA 96 ในกระบวนการตัดสินใจ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น


สารบัญ (ต่อ) หน้า 2.1 การประยุกต์ ใช้ HIA ในกระบวนการ 96 จัดทำแผนชุมชน 2.2 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA 100 ในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2.3 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA 108 ในกระบวนการออกข้อกำหนดของท้องถิ่น 2.4 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA 111 ในการตรวจสอบเหตุรำคาญ

ภาพกิจกรรมการดำเนินงานการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก

117 126

ภาคผนวก ก. ตัวอย่าง เครื่องมือ กลั่นกรอง 135 ในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ภาคผนวก ข. ข้อมูลหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน HIA 141 ในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ


สารบัญภาพ

หน้า

ภาพที่ 1 ผลของการพัฒนาต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัย 3 กำหนดสุขภาพและผลกระทบต่อสุขภาพ ภาพที่ 2 The DPSEEA Model of Health-Environment 4 Interlinks ภาพที่ 3 ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 5 ภาพที่ 4 ปัจจัยกำหนดสุขภาพ 10 ภาพที่ 5 ขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 20 ภาพที่ 6 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดทำรายงาน HIA 22 ภาพที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง HIA, EIA และ SIA 23 ภาพที่ 8 แสดงเจตนารมณ์ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ 33 พรบ. การสาธารณสุข 2535 ภาพที่ 9 หลักเกณฑ์การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 41 ทางสังคมแบบมีส่วนร่วม ภาพที่ 10 ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ 43 สิ่งแวดล้อม ภาพที่ 11 แบบเช็ครายการสำหรับขั้นตอนการกลั่นกรองเบื้องต้น 63 ภาพที่ 12 รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาด 76 ภาพที่ 13 รูปแบบวิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ 78 ภาพที่ 14 รูปแบบการศึกษาเชิงทดลอง 79 ภาพที่ 15 แสดงกรอบแนวคิดการบูรณาการแผนชุมชน 99 ภาพที่ 16 กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 103 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่ ภาพที่

สารบัญภาพ (ต่อ)

17 แนวทางการบูรณาการแผนในระดับพื้นที่ 18 แนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 19 แนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น 20 แนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการตรวจสอบเหตุรำคาญ

หน้า 104 107 110 114


1. ความหมายและความสำคั ญ ของการประเมิ น ผล กระทบต่อสุขภาพ

1

1.1 ความหมายของสุขภาพ และระบบสุขภาพ สุ ข ภาพ (Health) มี ค วามหมาย ครอบคลุ ม ถึ ง นอกจากการที่มนุษย์ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือพิการแล้ว ยังรวมถึงการที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ ในสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังความหมายที่ ให้ ไว้ โดยองค์การอนามัยโลก และพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ดังนี้ องค์การอนามัยโลก ได้ ให้ความหมายของสุขภาพ หมายถึง สุขภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม และจิตใจ มิได้หมายเฉพาะการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือความ พิการเท่านั้น [Health is a state of complete physical, mental and social wellbeing and not merely the absence of disease or infirmity (WHO Constitution, 1946).] นอกจากนี้ สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำ ภาคพื้นยุโรป ได้ ให้ความหมายของสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสถิติ สาธารณสุขและบุคลากรด้านสาธารณสุข ในการนำความหมายนี้

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

ความรู้ และแนวคิดพื้นฐานของ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

บทที่

บทที ่ 1


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

ไปใช้ ป ระกอบเพื่ อ การกำหนดนโยบายและวางแผนด้ า นสุ ข ภาพ ดังนี้ สุขภาพ หมายถึง การลดลงของอัตราการตาย อัตรา การป่วย และความพิการ จากโรคภัยไข้เจ็บหรือความพิการ และ การเพิ่มขึ้นของสุขภาวะของมนุษย์ [Health is the reduction in mortality, morbidity and disability due to detectable disease or disorder, and an increase in the perceived level of health (European Centre for Health Policy, WHO Regional Office for Europe, 1999).] พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ให้ความหมายของสุขภาพ ดังนี้ “สุ ข ภาพ” หมายความว่ า ภาวะของมนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็น องค์รวมอย่างสมดุล “ปั ญ ญา” หมายความว่ า ความรู้ ทั่ ว รู้ เ ท่ า ทั น และ ความเข้ า ใจอย่ า งแยกแยะได้ ในเหตุ ผ ลแห่ ง ความดี ความชั่ ว ความมีประโยชน์และความมี โทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ “ระบบสุขภาพ” หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้ง มวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ


การพัฒนา นโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การเปลี่ยนแปลงปัจจัย ทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงปัจจัย สิ่งคุกคามสุขภาพ สิ่งที่สร้างเสริมสุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงปัจจัย ความไวต่อการเกิดโรค

การเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงต่อสุขภาพ สุขภาวะส่วนบุคคล ครอบครัวชุมชน

1

การเปลี่ยนแปลงการรับสัมผัส ต่อสิ่งคุกคามสุขภาพ

ภาพที่ 1 ผลของการพัฒนาต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกำหนด สุขภาพ และผลกระทบต่อสุขภาพ ที่มา : ปรับปรุงจาก Furu, 2007

บทที่

การเปลี่ยนแปลงปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

1.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง การพัฒนา สิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพ การพัฒนาด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การคมนาคม การเกษตร แหล่งน้ำ การค้าและการลงทุน ฯลฯ ก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงต่ อ ปั จ จั ย กำหนดสุ ข ภาพ (Health Determinants) ทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางสังคม ส่ ง ผลต่ อ การเปลี่ ย นแปลงของสิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพ (Health Hazards) การเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรม และส่ ง ผลกระทบต่ อ สุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ดังภาพที่ 1


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

DPSEEA Model อธิ บ ายความสั ม พั น ธ์ ข องสุ ข ภาพ และ สิ่ ง แวดล้ อ ม แสดงให้ เ ห็ น ความเชื่ อ มโยง ตั้ ง แต่ แ รงผลั ก ดั น (Driving Forces) ที่จำเป็นต้องเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาอุสาหกรรม ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทาง กายภาพ เคมี ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม (Pressures) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพหรือสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ทุกๆด้าน (State) เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับสัมผัสต่อสิ่งคุกคาม สุขภาพของมนุษย์ (Exposure) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพส่วนบุคคล ชุมชน และสังคม (Effects) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนิน การเพื่อควบคุมปัจจัยต่างๆในวงจรดังกล่าวเพื่อป้องกันและแก้ ไข ผลกระทบต่อสุขภาพ (Actions) ดังภาพที่ 2 Driving Forces Pressures ปัจจุบัน Actions State Exposure Effects ภาพที ่ 2 The DPSEEA model of health-environment interlinks ที ่มา : ปรับปรุงจาก WHO Regional Office for Europe, 1997.


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

ιϗϧσϔ: νυϓμνυϚΩΪϔΣ WHO Regional for1.3 ความหมายของปั Office Europe, 1997.จจัยกำหนดสุขภาพ 1.3 ΦωϔσύσϔτΤϏΩνΛΪΪϓτΣϬϔύλζόϚΤςϔπ Τςϔπ ข(Health Determinants) νΛΪ ΪϓτΣϬ ϔύλζόϚ ปั จ จั ย กำหนดสุ ภาพ (Health Determinants) ύσϔτθϘ Ω ΤϏμϟΤηνΛ λμϚ Φ Φχสั งόϓคมΩ Φσ ϟϊυϋβΣϖ Ϊ Ϡχϒ หมายถึ ง ขอบเขตปัΪจΪϓจัτย ด้ζΖาϔนบุ ค คล เศรษฐกิ จ และ όϖϧΩϠωζχΖ Ϗσ อέϘมϧΩϟνΝ ϔύλζόθϔλϒόϚ ΤςϔπΤϏΩμϚ ΦΦχύυϙ Ϗ สิ่ ง แวดล้ ซึ่ งλ เป็ηϓนωตัΣϬว กำหนดสถานะสุ ข ภาพของบุ ค คลหรื อ νυϒάϔΣυ (National forHealth Health Clinical ประชากร (National Institute Institute for andand Clinical Excellence; 2006) Excellence; NIHCE, NIHCE, 2006) Σ υηΕกรต่ ϔ Ωϥ ϋϔϠχϒΣϬ ϔ ύλζ λϓ Σ ωϖ ά ϔΣϔυΤϏΩϏΩΦΙ นักวิชาการขององค์ างๆ ϣζΖ ได้ศϊึกϘ Σษาและกำหนด ΤςϔπϣωΖ χϔτϏΩΦΙก รΣυในที Ϣλιϗ ϧλϗϨΤϏΣχΕ νΛΪΪϓτปัΣϬจϔจัύλζόϚ ย กำหนดสุ ข ภาพไว้ύ ห ลายองค์ ่ นี้ ข อกล่ า วถึ งϔปัωθϘ จ จั ยΩνΛΪΪϓτ ΣϬϔύλζόϚΤςϔπ ζϓΩλϗϨ กำหนดสุขภาพ ดังนี้ Dahlgren and Whitehead (1991) ϣζΖΪϬϔϠλΣ Dahlgren and Whitehead (1991) ได้ จ ำแนก νΛΪΪϓτΣϬϔύλζόϚΤςϔπϟνΝλ 5 ΣχϚΕσ ϣζΖϠΣΕ 1) νΛΪΪϓτόΕωλμϚΦΦχ ขภาพเป็ น 5 กลุ่มϔυΩάϗ ได้แก่ωϖη1) 3) ปัจϟΦυϙ จัยส่วϏนบุ คล 2) ΩΦσ 2) νΛΪปัΪϓจจัτยζΖกำหนดสุ ϔλπφηϖ ΣυυσΣϔυζϬ ΤΕϔคτιϔΩόϓ ยด้า4) นพฤติ วิตϧτωΣϓ 3) μเครื อข่ายทางสั งคมและ ϠχϒάϚปัσจจัάλ νΛΪกΪϓรรมการดำรงชี τϠωζχΖϏσϟΣϗ ΦωϔσϟνΝ λϏτϛ Ε Ϡχϒόςϔπ ชุ ม ชน 4) ปั จ จั ย แวดล้ อ มเกี ่ ย วกั บ ความเป็ น อยู ่ และสภาพ ΣϔυιϬ ϔΩϔλ Ϡχϒ 5) νΛΪΪϓτ ζΖϔλϟϊυϋβΣϖ Ϊ όϓΩΦσ ωϓδλκυυσ ปัจจัϧย3ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ Ϡχϒόϖการทำงาน ϧΩϠωζχΖϏσและζϓΩ5) ςϔπιϗ สิ่งแวดล้อม ดังภาพที่ 3 ς ϔ π ιϗϧ 3 ภาพที่ 3 ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ที่มา : Dahlgren and Whitehead, 1991

G H Σ

ι ό θ ϟ

τ ν Τ

η ν ό ν


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

Ministry of Public Works and Government Services Canada (1991) อ้างถึงใน Health Canada (2004) ได้ศึกษาและกำหนดปัจจัยกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย 12 ปัจจัย ดังนี้ 1) รายได้และสถานะทางสังคม (Income and Social Status) การศึกษาวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ว่า รายได้และสถานะ ทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสถานะสุขภาพคน ที่ มี ร ายได้ สู ง มั ก มี สุ ข ภาพดี ก ว่ า คนที่ มี ร ายได้ ต่ ำ ถึ ง แม้ ว่ า จะอยู่ ภายใต้ระบบบริการสุขภาพที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันก็ตาม นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารศึ ก ษาจำนวนมากที่ แ สดงให้ เห็นว่า ยิ่งสังคมมีการกระจายรายได้ที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น ประชาชนในสังคมนั้นก็จะยิ่งมีสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้ โดยมิได้ขึ้นอยู่กับ รายจ่ายด้านบริการสุขภาพของแต่ละประเทศเลย 2) เครือข่ายการช่วยเหลือทางสังคม (Social Support Networks) ครอบครั ว เพื่ อ น และการช่ ว ยเหลื อ กั น ในสั ง คม มี ผ ลต่ อ สุ ข ภาพที่ ดี ขึ้ น ช่ ว ยลดความเครี ย ดและแก้ ปั ญ หาหลาย ประการ จากการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดี จะมีอัตราการตายก่อนวัยอันสมควรน้อยกว่าคนที่มีปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมน้อยอย่างชัดเจน


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

บทที่

1

3) การศึกษา (Education and Literacy) ระดั บ การศึ ก ษามี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ สถานะทาง สุ ข ภาพ เพราะระดั บ การศึ ก ษามี ผ ลต่ อ การจ้ า งงาน รายได้ ความมั่นคงและความพึงพอใจต่อการทำงาน การมีทักษะที่จำเป็น ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีการศึกษาจะสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูล ข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ดีกว่า 4) การมีงานทำและสภาพการทำงาน (Employment/ Working Conditions) การมี ง านทำและการว่ า งงานมี ผ ลมากต่ อ สถานะ ทางสุขภาพ คนว่างงานจะเผชิญกับภาวะความเครียด มีความวิตก กังวล อัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สู ง กว่ า ผู้ ที่ มี ง านทำ แต่ ส ภาพการทำงานก็ มี ผ ลต่ อ สุ ข ภาพ เช่ น งานที่มีความเครียด งานที่ ไม่มีความก้าวหน้าหรือมั่นคง ความ เสี่ยงจากการบาดเจ็บและโรคจากการทำงาน 5) สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environments) ความสำคัญของการสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม จะขยายสู่ชุมชนที่กว้างขวาง เครือข่ายที่เข้มแข็งจะส่งผลถึงความมี ชี วิ ต ชี ว าของสั ง คม โดยจะสะท้ อ นถึ ง สถาบั น องค์ ก ร หรื อ การปฏิบัติการที่ชุมชนสร้างความสัมพันธ์และใช้ทรัพยากรร่วมกัน สังคมที่เข้มแข็งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

6) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environments) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ น้ำ อาหาร และที่ พั ก อาศั ย เป็ น ปั จ จั ย พื้ น ฐานของสุ ข ภาพ การกระทำของ มนุ ษ ย์ มี ผ ลทำให้ เ กิ ด มลพิ ษ สิ่ ง แวดล้ อ ม และเป็ น สาเหตุ ข อง การเจ็บป่วย ทำให้เกิดการบาดเจ็บ และการตายก่อนวัยอันสมควร เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน 7) พฤติกรรมสุขภาพและทักษะชีวิต (Personal Health Practices and Coping Skills) การมีพฤติกรรมสุขภาพและทักษะชีวิตที่ดีจะทำให้ สุขภาพดี แข็งแรง เช่น การรับประทานอาหารที่สมดุล การออก กำลังกายเป็นประจำ ในขณะที่การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด การดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด ทำให้เกิดโรคหลายชนิด 8) พัฒนาการที่ดี ในวัยเด็ก (Healthy Child Development) หลั ก ฐานจำนวนมากบ่ ง ชี้ ว่ า ช่ ว งชี วิ ต ก่ อ นคลอด จนถึงช่วงในวัยเด็ก มีผลต่อสถานะสุขภาพคุณภาพชีวิต ทักษะชีวิต และความสามารถต่างๆ เด็กนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ ใหญ่ เช่น เด็กที่ เมื่อแรกคลอดมีน้ำหนักน้อย จะมีความเสี่ยงต่อการตาย ความผิด ปกติทางสมอง ความพิการแต่กำเนิดและพัฒนาการช้ากว่าเด็กที่มี น้ำหนักปกติ นอกจากนี้ การดูแลในวัยเด็กยังมีผลต่อความสมบูรณ์ ของจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคม เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่นและ ผู้ ใหญ่ด้วย


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

บทที่

1

9) ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม (Biology and Genetic Endowment) ปัจจัยและกลไกทางชีวภาพของร่างกายมนุษย์ เช่น การเจริ ญ เติ บ โต การชราภาพ เพศชาย เพศหญิ ง ตลอดจน พันธุกรรม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพและทำให้การเกิดโรค ของแต่ ล ะคนแตกต่ า งกั น สารเคมี ห ลายอย่ า งในปั จ จุ บั น มี ผ ล กระทบทำให้สารพันธุกรรมของคนเปลี่ยนแปลง 10) บริการสุขภาพ (Health Service) บริ ก ารสุ ข ภาพที่ เ น้ น ด้ า นการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพและ การป้องกันโรค มีผลต่อสถานะสุขภาพของประชาชนในทางที่ดี บริการเหล่านี้ ได้แก่ บริการอนามัยแม่และเด็ก การดูแลก่อนคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรก การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และทางเลือกต่างๆ เพื่อสุขภาพดี 11) เพศ (Gender) เพศจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงสถานภาพ บทบาท ทัศนคติ พฤติกรรม คุณค่า อำนาจ และอิทธิพลที่มีต่อสังคม เพศยังมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ลำดั บ ความสำคั ญ และการปฏิ บั ติ ใ นระบบสุ ข ภาพ ประเด็ น สุ ข ภาพหลายชนิ ด เป็ น บทบาทหน้ า ที่ แ ยกตามเพศและ สถานภาพ


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

10

12) วัฒนธรรม (Culture) บุคคลหรือชุมชนอาจได้รับความเสี่ยงสุขภาพจาก สภาพแวดล้ อมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ ง บ่ ง ชี้ โดยคุ ณ ค่ า ทาง วัฒนธรรมที่มีผลต่อสถานภาพที่ถูกโดดเดี่ยว หรือสูญเสีย หรือ ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่เหมาะสมดังภาพที่ 4 1 รายได้และ วัฒนธรรม 12 สถานะทางสังคม เครือข่ายการ 2 ช่วยเหลื อทางสังคม เพศ 11 การศึกษา 3 บริการสุขภาพ 10 4 การมีงานทำและ สุ ข ภาพ = สุ ข ภาวะ สภาพการทำงาน ปัจจัยทาง 9 ชีววิทยา และพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม 5 ทางสังคม 8 พัฒนาการที่ดี ในวัยเด็ก 7 6 สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมสุขภาพ ทางกายภาพ และทักษะชีวิต ภาพที่ 4 ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ที่มา: ปรับปรุงจาก Minister of Public Works and Government Services Canada, 1999.


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

11

บทที่

1

1.4 ความหมาย แนวคิด และวัตถุประสงค์ ของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 1.4.1 ความหมายของการประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุขภาพ องค์การอนามัยโลก (European Centre for Health Policy, WHO Regional Office for Europe, 1999) ได้ ให้คำจำกัดความของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment; HIA) ใน ข้ อ ตกลง Gothenburg (Gothenburg Consensus Paper on HIA) ไว้ว่า “กระบวนการ วิ ธี ก าร และเครื่ อ งมื อ หลายชนิด ที่ ใช้เพื่อการคาดการณ์ผลกระทบและการกระจายของ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนิน นโยบาย แผนงาน หรือโครงการ” “A combination of procedure, methods and tools by which a policy, program or project may be judged as to the effects it may have on the health of a population, and the distribution of those effects within the population.” สำหรั บ ประเทศไทย สถาบั น วิ จั ย ระบบสาธารณสุ ข (2546) ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ “เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม เพื่อให้ทุกฝ่าย ได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว หรือ คาดว่ า จะเกิ ด ขึ้ น ในประชาชนกลุ่ ม ใดกลุ่ ม หนึ่ ง อั น เนื่ อ งมาจาก การดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่ อ สนั บ สนุ น การตั ด สิ น ใจในทางเลื อ กที่ ดี ที่ สุ ด สำหรั บ การ สร้างเสริมและคุ้มครองสุขภาพของทุกคนในสังคม”


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

12

1.4.2 แนวคิด และวัตถุประสงค์ของการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ 1) แนวคิดเกี่ยวกับ HIA การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ เป็นกระบวนการที่ ให้ความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมจาก ทุ ก ภาคส่ ว น เพื่ อ การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาวะของชุ ม ชน และให้ ความสำคั ญ กั บ การเปลี่ ย นแปลงของปั จ จั ย กำหนดสุ ข ภาพ อย่างรอบด้าน โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่างๆ พร้อมกับลดภัยคุกคามต่อสุขภาพ ทั้งในระดับนโยบาย โครงการ กิ จ กรรม ท้ อ งถิ่ น และชุ ม ชน โดยการใช้ วิ ธี ก ารและเครื่ อ งมื อ หลายชนิ ด ร่ ว มกั น รวมทั้ ง ข้ อ มู ล หลั ก ฐานทางวิ ช าการอย่ า งมี จริยธรรม เพื่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิ และสุขภาพของประชาชน เป็นการป้องกันและลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อ ให้ ได้ ข้ อ เสนอแนะที่ น ำไปสู่ ก ารกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่ อ สุขภาพ 2) ความสำคัญและคุณค่าของ HIA ตามข้อตกลง Gothenburg ได้ชี้ ให้เห็น ถึงความสำคัญและคุณค่าของ HIA ดังนี้ (1) ใช้หลักการประชาธิปไตย (Democracy) โดยเน้ น ถึ ง สิ ท ธิ ข องประชาชนในการมี ส่ ว นร่ ว มในกระบวนการ ตั ด สิ น ใจนโยบายโครงการหรื อ กิ จ กรรม ที่ อ าจส่ ง ผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และกระบวนการ มีส่วนร่วม ต้องอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส (2) คำนึ ง ถึ ง ความเท่ า เที ย มกั น (Equity) HIA ควรมุ่งเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

13

บทที่

1

ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการมีสุขภาพและสังคมที่ดี ทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว HIA จึงให้ความสำคัญกับ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่ม ผู้ มี ค วามเสี่ ย งสู ง ที่ จ ะได้ รั บ ผลกระทบทางลบต่ อ สุ ข ภาพ (Vulnerable Groups) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า โครงการหรือ กิจกรรมพัฒนานั้น จะเอื้อประโยชน์หรือเกิดผลกระทบทางบวก ต่อประชาชนกลุ่มเหล่านี้ ให้มากที่สุด และข้อเสนอแนะมาตรการ ลดผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถป้องกันหรือลดผล กระทบทางลบให้เหลือน้อยที่สุด (3) ค ำ นึ ง ถึ ง ห ลั ก ก า ร พั ฒ น า ที่ ยั่ ง ยื น (Sustainable Development) HIA เน้น เป้าหมายทางสุขภาพให้ ทุ ก คนมี ค วามพร้ อ มและสามารถเลื อ กแนวทางการพั ฒ นาและ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถของตนเองได้ ต ามศั ก ยภาพที่ มี อ ยู่ และ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ทั้งในปัจจุบันและอนาคต (4) การใช้ข้อมูลหลักฐานทางวิชาการอย่างมี จริยธรรม (Ethical use of evidence) HIA ประยุกต์ ใช้ข้อมูล และหลักฐานที่ ได้จากวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หลายวิธี การร่วมกัน โดยนักวิชาการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องหลากหลาย สาขา (5) ความครอบคลุ ม ด้ า นสุ ข ภาพแบบ องค์รวม (Comprehensive approach to health) HIA คำนึงถึง สุขภาพทั้งกาย จิต สังคม และพิจารณาปัจจัยกำหนดสุขภาพ อย่างรอบด้าน 3) วัตถุประสงค์ของ HIA การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ มี เป้าหมายเพื่อระบุว่านโยบาย โครงการพัฒนา หรือกิจกรรมต่างๆ


2. ความจำเป็นของการทำ HIA

ในปี พ.ศ. 2543 องค์ ก ารอนามั ย โลกได้ ก ำหนด ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงและสภาวะสุขภาพ ที่สำคัญไว้ 2 ประการ คือ 1) การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวกับ การเกิดโรค และภัยคุกคามต่อสุขภาพไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยทาง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรม และ 2) การนำมิติ สุขภาพเข้าไว้ ในนโยบายสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา ซึ่ง HIA เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส ำคั ญ อั น หนึ่ ง ในการผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด นโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ โดยได้ ให้เหตุผลของการดำเนินการ HIA ไว้ดังนี้ 2.1 ความเสื่ อ มโทรมทางสิ่ ง แวดล้ อ มมี ผ ลกระทบต่ อ สุขภาพ 2.2 ผลกระทบต่อสุขภาพจำเป็นต้องได้รับการดูแล และ ดำเนินการโดยสาธารณะ รวมทั้งภาครัฐ อย่างทันท่วงที

บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

14

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ และก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพอย่างไร โดย HIA จะช่วยให้การ กำหนดมาตรการและแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงที่เป็นภัยคุกคาม ต่อสุขภาพ รวมถึงสนับสนุนโอกาสในการสร้างเสริมสุขภาพจาก การพัฒนา ดังนั้น HIA จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้เพื่อ ระบุ คาดการณ์ และพิ จ ารณาถึ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพจาก นโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว กับประชากรทุกๆกลุ่ม และนำเสนอข้อมูลแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ


1

การแบ่งประเภทของ HIA ตามขนาดของการดำเนินงาน (WHO, 2005) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 3.1 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบเร่งด่วน (Rapid HIA) การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพแบบเร่ ง ด่ ว น มั ก ใช้ ส ำหรั บ การพิ จ ารณานโยบายหรื อ โครงการขนาดเล็ ก ที่มีความซับซ้อนของผลกระทบทางสุขภาพไม่มากนัก หรือใช้ ใน กรณีที่มีความจำเป็นจะต้องได้รับทราบผลการประเมิน ผลกระทบ อย่าง เร่งด่วน เพื่อให้สามารถนำเสนอผลการประเมินดังกล่าวได้ ทันกับกระบวนการตัดสินใจที่กำลังจะเกิดขึ้น การประเมินแบบเร่ง ด่วนจึงใช้ระยะเวลาอันสั้นและเน้นการมีส่วนร่วมและประสบการณ์ ที่ผ่านมาเป็นหลัก

บทที่

3. ประเภทของ HIA

15

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

2.3 การป้องกันมีประสิทธิผลดีกว่าการรักษาหรือฟื้นฟู 2.4 ผลลั พ ธ์ ทั้ ง ทางสิ่ ง แวดล้ อ ม สั ง คม และสุ ข ภาพ สามารถแก้ ไขให้ดีขึ้นได้ 2.5 มี ก ารระบุ ไ ว้ ในกฎหมายหลายฉบั บ ว่ า ด้ ว ยการ ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณา จักรไทย พ.ศ. 2550 และ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 2.6 การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพสามารถผนวก เข้าไว้กับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 2.7 การรวมประเด็นทางสุขภาพเข้าไว้ ในการพิจารณา ผลกระทบอย่างเป็นระบบ จะช่วยเสริมความแม่นยำและความชอบ ธรรมของการตัดสินใจ และการดำเนินการต่างๆในภายหลัง


บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

16

ข้ อ มู ล ที่ ใช้ ในการประเมิ น ผลกระทบทางสุ ข ภาพในรู ป แบบนี้มักได้มาจาก 1) ความรู้ แ ละการรั บ รู้ ข องผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง และ ผู้ประเมิน 2) ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่แล้ว 3) ประสบการณ์ความรู้ที่ ได้จากการประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพของนโยบายหรือโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน 3.2 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบรอบด้าน (Comprehensive or Full-scale HIA) การประเมินผลกระทบ แบบรอบด้ า นมั ก ใช้ ส ำหรั บ การพิ จ ารณานโยบายหรื อ โครงการ ขนาดใหญ่ ซึ่ ง มี ค วามซั บ ซ้ อ นของผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพสู ง มี ความต่อเนื่องยาวนานทางนโยบายหรือการดำเนินโครงการ และ มีผลกระทบต่อสุขภาพกับประชาชนในวงกว้าง รวมถึงมีความพร้อม ในเชิงทรัพยากร และไม่มีเหตุที่ต้องเร่งรัดในการตัดสินใจ ข้อมูลที่นำมาใช้ ในการประเมินในรูปแบบนี้มักได้มาจาก 1) ความรู้ แ ละการรั บ รู้ ข องผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 2) ทบทวนวรรณกรรม หลักฐานทางวิชาการที่มีอยู่ โดย ผู้ประเมิน 3) ทบทวนผลงานการประเมิน ผลกระทบทางสุ ข ภาพ ในโครงการอื่ น ๆ ที่ มี ลั ก ษณะของโครงการที่ ใกล้เคียงกัน


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

17

บทที่

1

4) การเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม และการทำการศึกษา วิจัยเพิ่มเติมในประเด็นเฉพาะ รวมถึงอาจมีการวาง ระบบการติดตามและเก็บข้อมูลระยะยาว 3.3 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพแบบปานกลาง (Intermediate HIA) ข้อมูลที่ ใช้ ในการประเมิน เช่นเดียวกับการ ประเมินแบบรอบด้าน แต่ระยะเวลาที่ ใช้ ในการประเมินสั้นกว่า เนื่องจากอาจมีความซับซ้อนของปัญหาน้อยกว่า มีความพร้อมใน ทางทรัพยากรน้อยกว่า หรือมีข้อจำกัดของเวลาในการนำเสนอผล การประเมินเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ ข้อมูลที่นำมาใช้ ในการประเมินในรูปแบบนี้ มักได้มาจาก 1) ความรู้ แ ละการรั บ รู้ ข องผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ 2) ทบทวนวรรณกรรม หลักฐานทางวิชาการที่มีอยู่ โดย ผู้ประเมิน 3) ทบทวนผลงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในโครงการอื่ น ๆ ที่ มี ลั ก ษณะของโครงการที่ ใกล้เคียงกัน 4) การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม และการทำการ ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นเฉพาะ


4. กระบวนการและขั้นตอนของ HIA

บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

18

การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน ดังนี้ 4.1 การกลั่นกรองเบื้องต้น (Screening) เป็นขั้นตอนแรกของการคัดเลือก นโยบาย โครงการ กิจกรรม ว่าเข้าข่ายต้องทำ HIA หรือไม่ โดยดูจากความรุนแรง ของผลกระทบขนาดของผลกระทบ จำนวนประชากรที่ ได้ รั บ ผลกระทบและผลกระทบนั้ น กระทบกั บ กลุ่ ม ผู้ ด้ อ ยโอกาสหรื อ กลุ่มเสี่ยงหรือไม่ 4.2 การกำหนดขอบเขต (Scoping) เป็ น การกำหนดขอบเขตทั้ ง ในเชิ ง ภู มิ ศ าสตร์ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา และการบ่งชี้ผลกระทบต่อ สุขภาพต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น 4.3 การประเมินผลกระทบ (Appraisal) เป็นการประเมินผลกระทบที่ ได้ระบุไว้ ในขั้นตอนการ กำหนดขอบเขต โดยวิเคราะห์ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ เพื่อที่จะนำ มากำหนดข้ อ เสนอแนะในการปรั บ ปรุ ง แก้ ไขผลกระทบที่ มี ต่ อ สุขภาพ 4.4 การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommendations) เป็นการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะสำหรับการ ปรั บ ปรุ ง รายละเอี ย ดการดำเนิ น งานตามนโยบาย โครงการ


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

19

บทที่

1

กิจกรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพ 4.5 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) หลังจากที่ดำเนินนโยบาย โครงการ กิจกรรมไปแล้ว จะต้องมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งเฝ้าระวัง ผลกระทบต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตลอดจนการปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตาม คำแนะนำในการลดผลกระทบ


รายละเอียดของขั้นตอนต่างๆ ดังแสดงในภาพที่ 5 ขั้นตอนการประเมินลกระทบต่อสุขภาพ

σ ϟπϙϧ Ϗ 20 Τςϔπ σϖ λ ξ χ ζϬϔϟλϖλ ηϖζηϔσ μηΕϔΩϥ ϒλϬϔϢλ

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scoping)

3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Appraisal)

4. การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommendation)

เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ โดยพิจารณาถึง - ความรุนแรงของผลกระทบ - ขนาดของผลกระทบ - กลุ่มด้อยโอกาส/กลุ่มเสี่ยง - จำนวนประชากรที่ ได้รับผลกระทบ - ข้อมูลที่มีอยู่ โดยการทบทวนเอกสารที่ เกี่ยวข้อง ระบุประเด็นสุขภาพที่จะทำการประเมินผลกระทบ ต่ อ สุ ข ภาพ และเครื่ อ งมื อ ในการประเมิ น ผล กระทบรวมทั้งระยะเวลาการดำเนินงาน - ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ - ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง - จัดประชุมระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ใช้ เ ครื่ อ งมื อ ประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ทั้งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทางสังคม และ เศรษฐศาสตร์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - จัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการ - นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

บทที่

1

λςϔπ

1. การกลั่นกรอง (Screening)

5. การติดตามประเมินผล (Monitoring and Evaluation)

โดยคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลในระดับ พื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2551. ιϗσϧ ทีϔ:่มา: กรมอนามั ΣυσϏλϔσϓτย, ,2551. 5. ΦωϔσϟΣϗϧτωΤΖϏΩϟάϙϧϏσϡτΩ ΤϏΩ HIA Σϓμ EIA Ϡχϒ SIA υϒμμΣϔυωϖ ϟ ΦυϔϒύΙξ χΣυϒιμόϖϧ ΩϠωζχΖ Ϗσ ϟνΝλ ΣχϣΣ ιϔΩΣΰύσϔτιϗϧϢάΖϢλΣϔυΦϚΖσΦυϏΩόϖϧΩϠωζχΖϏσΤϏΩνυϒάϔάλ


5. ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง ของ HIA กับ EIA และ SIA

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

21

บทที่

1

ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกทาง กฎหมายที่ ใช้ ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประชาชนจากการ ดำเนิ น โครงการต่ า งๆ ซึ่ ง ได้ มี ป ระกาศกระทรวงทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดประเภทและขนาดหรือกิจการ ที่ต้องจัดทำรายงาน EIA (รายละเอียดในภาคผนวก ก.) และ หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงาน EIA การจั ด ทำรายงาน EIA จะพิ จ ารณาองค์ ป ระกอบ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม 4 ด้ า น ได้ แ ก่ สิ่ ง แวดล้ อ มทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และ คุณค่าของคุณภาพชีวิต ซึ่งในองค์ประกอบด้านคุณค่าต่อคุณภาพ ชี วิ ต ได้ ค รอบคลุ ม ประเด็ น ด้ า นสาธารณสุ ข และอาชี ว อนามั ย นอกจากนี้ ยังครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม ประวัติศาสตร์ และ สุนทรียภาพไว้ด้วย ดังแสดงในภาพที่ 6 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Impact Assessment; SIA) เป็ น การศึ ก ษาและคาดการณ์ ผลกระทบทางสังคมของโครงการที่จะเกิดขึ้นกับคน ชุมชนและ วิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ของคนในชุมชนนั้นๆ พร้อมทั้งนำเสนอมาตรการลดผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้น การศึกษา SIA ในกระบวนการ EIA เน้นศึกษาในประเด็น สำคั ญ ๆ และเป็ น ประเด็ น ที่ ป ระชาชนแสดงความกั ง วลห่ ว งใย มากกว่าการให้ข้อมูลและการประเมินผลกระทบทางสังคมทั่วๆไป


ϔϊΣυϒιυωΩ νυϒϟςιϠχϒ 22 τχϒϟϏϗτζϢλ μναϖμϓηϖϠχϒ

บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

νυϒΣϏμζΖϔλ ϔΩΣϔτςϔπ λΙΤϏΩσλϚϋτΙ ϔλΦϚεΦΕϔηΕϏ εόϚΤϠχϒϏϔάϗ βΣϖ Ϊ όϓ Ω Φσ λςϔπιϗϧ 6 Φσ (Social χϒΦϔζΣϔυεΙ μΦλ άϚσάλ υσ νυϒϟπεϗ λϏσϔηυΣϔυ ΣυϒμωλΣϔυ λνυϒϟζϦ λ ιϗϧ EIA ϢύΖ ΤΖϏσϛχϠχϒ

คุณค่าการใช้ คุณค่าต่อคุณภาพ ทรัพยากร ทรัพยากรสิ่ง สิ่งแวดล้อมทาง แวดล้อมทาง ประโยชน์ของมนุษย์ ชีวิต กายภาพ ชีวภาพ - ภูมิสัณฐาน - สัตว์/พืช - น้ำดื่ม/น้ำใช้ - ประวัติศาสตร์ - ดิน - สิ่งมีชีวิตที่ - การขนส่ง - สุนทรียภาพ - ธรณีวิทยา หายาก - ไฟฟ้ า และ - การสาธารณสุข - ทรัพยากร พลังงาน - อาชีวอนามัย - น้ ำ ผิ ว ดิ น / - การควบคุ ม สุขภาพ น้ำใต้ดิน น้ำท่วม - น้ำทะเล /การระบายน้ำ - การเกษตรกรรม - อากาศ - เสียง - การอุตสาหกรรม - เหมืองแร่ - สันทนาการ - การใช้ที่ดิน - เศรษฐกิจสังคม ςϔπιϗϧ 6 ϏΩΦΙνυϒΣϏμζΖϔλόϖϧΩϠωζχΖϏσϢλΣϔυΪϓζιϬϔυϔτΩϔλ ιϗσϧ ϔ: όϬϔλϓΣωϖϟΦυϔϒύΙξχΣυϒιμόϖϧΩϠωζχΖϏσ, ภาพที่ 6 องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดทำรายงาน EIA 2550. ที่มา : สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, 2550.

ΪϔΣςϔπιϗϧ 6 ΪϒϟύϦλϣζΖωΕϔϏΩΦΙνυϒΣϏμζΖϔλόϖϧΩϠωζχΖϏσ ϢλΣϔυΪϓζιϬϔυϔτΩϔλ EIA ΦυϏμΦχϚσνΛΪΪϓτΣϬϔύλζόϚΤςϔπιϚΣ ΦϙϏΣϔυ ζΖϔλ ύϔΣπϖΪϔυεϔϡζτϢάΖύχϓΣΣϔυΤϏΩ HIA


ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

23

บทที่

1

จากภาพที่ 6 จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ในการจัดทำรายงาน EIA ครอบคลุมปัจจัยกำหนดสุขภาพทุกด้าน หากพิ จ ารณาโดยใช้ ห ลั ก การของ HIA คื อ การคาดการณ์ ว่ า โครงการจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกำหนดสุขภาพ และ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพของประชาชนที่ ได้ รับผลกระทบอย่างไร จะพบว่า หากการจัดทำรายงาน EIA ใน ส่วนองค์ประกอบคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ได้อย่างครอบคลุมแล้ว HIA และ SIA จะถูกบูรณาการอยู่ ใน EIA การจัดทำรายงาน EIA เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบ ในระดับโครงการ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาที่กำหนดไว้ตาม พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้มีการจัดทำ รายงาน EIA เพื่อการขออนุญาตก่อนดำเนินโครงการ ส่วน HIA และ SIA นอกจากจะดำเนิ น การในโครงการที่ ท ำ EIA แล้ ว ยังสามารถดำเนินการประเมินผลกระทบในระดับนโยบาย แผนงาน และกิจกรรม ความสัมพันธ์ระหว่าง HIA, EIA และ SIA สรุปได้ดัง ภาพที่ 7 HIA EIA SIA ภาพที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง HIA, EIA และ SIA ที่มา: ปรับปรุงจาก Bos, 2007.


6. HIA กับบทบาท อำนาจ หน้าที่ ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น

จากความสำคัญ แนวคิด วัตถุประสงค์ และความจำเป็น ที่ต้องดำเนินการ HIA ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความ สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับบทบาท อำนาจ หน้าที่ ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เนื่องจาก อปท. มีหน้าที่ โดยตรงใน การดูแลความเป็นอยู่ และสุขภาพของประชาชน โดยมีการจัดทำ แผนพัฒนาท้องถิ่นและดำเนินการตามโครงการต่างๆในแผนพัฒนา ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการจัดบริการสาธารณะ การพัฒนาคุณภาพ ชีวิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการทำนุ บำรุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรม หรื อ กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง คื อ การดำเนิ น การ โครงการต่างๆ โดย อปท. ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย กำหนดสุ ข ภาพด้ า นต่ า งๆ อาจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ทั้งทางบวกและทางลบ นอกจากนี้การดำเนินการของโครงการอื่นๆ หรือกิจกรรมต่างๆในชุมชนนอกเหนือจากโครงการที่รับผิดชอบโดย อปท.เอง ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้เช่นกัน ดังนั้น อปท. จึงควรมีการดำเนินการ HIA ในส่วนของ แผนงาน โครงการ ที่รับผิดชอบโดยอปท. เอง และการประยุกต์ ใช้ กระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือ ของ HIA ในการดำเนินงาน เพื่อการปกป้องคุ้มครองและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดแนวทางการดำเนินงาน HIA ในระดับ ท้องถิ่นในบทที่ 4 ต่อไป

บทที่

1

ความรู้และแนวคิดพื้นฐานของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

24


กฎหมาย ข้ อ กำหนด และแนวทาง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

2

กฎหมาย ข้อกำหนดและแนวทางต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ บทบาท ภารกิจ อำนาจ และหน้าที่ของ อปท. ทั้งโดยตรงและ โดยอ้ อ ม ณ ปั จ จุ บั น ประกอบด้ ว ยกฎหมาย ข้ อ กำหนดและ แนวทางที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 3. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 4. พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ส่ ง เ ส ริ ม แ ล ะ รั ก ษ า คุ ณ ภ า พ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) 5. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 6. กฎบัตรกรุงเทพฯ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 7. กฎบั ต รและปฏิ ญ ญากรุ ง เทพฯ ด้ า นอนามั ย และ สิ่งแวดล้อม 8. แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ในที่นี้จะกล่าวถึงสาระสำคัญ ของกฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ HIA และบทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

25

บทที่

บทที่ 2


1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

26

1.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA มาตรา 57 “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และ เหตุผลจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามั ย คุ ณ ภาพชี วิ ต หรื อ ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย อื่ น ใดที่ เ กี่ ย วกั บ ตน หรื อ ชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น และมี สิ ท ธิ แ สดงความคิ ด เห็ น ของตนต่ อ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ นำไปประกอบการพิ จ ารณาในเรื่ อ ง ดังกล่าว” “การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ วั ฒ นธรรม การเวนคื น อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ การวางผั ง เมื อ ง การกำหนดเขตการใช้ ป ระโยชน์ ในที่ ดิ น การออกกฎที่ อ าจมี ผ ล กระทบต่ อ ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย สำคั ญ ของประชาชน ให้ รั ฐ จั ด ให้ มี กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างทั่วถึงก่อน” มาตรา 67 (วรรคสอง) “การดำเนินโครงการหรือกิจการ ที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งรุ น แรงทั้ ง ทางด้ า น คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำ มิ ไ ด้ เ ว้ น แต่ จ ะได้ ศึ ก ษาและประเมิ น ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพ สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพของประชาชนในชุ ม ชน และจั ด ให้ มี กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วน เสียก่อน


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

27

บทที่

2

รวมทั้งให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนองค์การ เอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่ จั ด การศึ ก ษาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ห รื อ ด้ า น สุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” 1.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ ในการจัด บริการสาธารณสุขให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อส่งเสริม การดำรงชีวิตที่ดีและสุขภาวะของประชาชน โดย อปท. จะต้อง จั ด ทำแผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง การดำเนิ น การตามโครงการ และกิ จ กรรมต่ า งๆ ในแผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น จะส่ ง ผลให้ เ กิ ด การ เปลี่ ย นแปลงของปั จ จั ย กำหนดสุ ข ภาพ และเกิ ด ผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในทาง บวกและทางลบ ดังนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 57 อปท. จึงมีความจำเป็นต้องเปิดรับฟัง ความคิ ด เห็ น ของประชาชนในกระบวนการจั ด ทำแผนพั ฒ นา พัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนรับทราบ และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ และกิจกรรมต่างๆที่จะดำเนิน การในชุมชน ซึ่ง อปท. สามารถนำเอากระบวนการ HIA มา ประยุ ก ต์ ใช้ ในกระบวนการจั ด ทำแผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น เพื่ อ ให้ ได้ ข้ อ เสนอแนะที่ ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนทุ ก กลุ่ ม ในชุ ม ชน และอปท. ได้นำไปปรับปรุงโครงการ หรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความต้องการของชุมชนยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถป้องกันหรือลดผล


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

28

กระทบทางลบต่ อ สุ ข ภาพให้ น้ อ ยที่ สุ ด และเกิ ด ผลประโยชน์ ต่อสุขภาพจากการดำเนินการตามแผนพัฒนาให้มากที่สุด สำหรับ โครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่จะต้องได้รับการ อนุญาตจาก อปท. ก่อนการดำเนินโครงการ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบ ต่ อ สุ ข ภาพ และวิ ถี ค วามเป็ น อยู่ ข องประชาชนในท้ อ งถิ่ น เช่ น โรงแรม หอพัก เป็นต้น ก่อนที่ อปท. จะอนุญาตโครงการดังกล่าว จะต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนในท้องถิ่นรับทราบ และแสดงความคิดเห็นด้วย นอกจากนี้ โครงการหรื อ กิ จ การที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ผล กระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งยังอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) จะต้องทำ HIA และจั ดให้มีกระบวนการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ดังนั้น ในลักษณะโครงการหรือกิจการกลุ่มนี้ อปท. ก็มีบทบาท อำนาจ หน้าที่ ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กล่าวคือร่วมให้ข้อมูล และข้อคิดเห็นในกระบวนการ HIA รวมทั้งติดตาม/เฝ้าระวังผล กระทบต่อสุขภาพของประชาชน และติดตามตรวจสอบมาตรการ ป้ อ งกั น และลดผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ภายหลั ง จากโครงการได้ ดำเนินการแล้ว


2. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

29

บทที่

2

2.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA พระราชบั ญ ญั ติ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2550 มี เจตนารมณ์ ที่ ต้ อ งการให้ ก ารประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพเป็ น กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ ร่ ว มกั น พิ จ ารณาถึ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น กั บ ประชาชนกลุ่ ม ใดกลุ่ ม หนึ่ ง อั น เนื่ อ งมาจากการดำเนิ น นโยบาย การพั ฒ นา หรื อ กิ จ กรรมอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง โดยหวั ง ผลเพื่ อ สนับสนุนการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างเสริม และคุ้ ม ครองสุ ข ภาพของทุ ก คนในสั ง คม ซึ่ ง HIA เป็ น ทั้ ง กระบวนการและเครื่องมือทางสังคมที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมพัฒนา นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ตาม พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับ HIA ดังนี้ มาตรา 5 บุคคลมีสิทธิ ในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงาน ของรัฐในการดำเนินการให้เกิดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อสุขภาพ มาตรา 10 เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้ อ งเปิ ด เผยข้ อ มู ล นั้ น และวิ ธี ป้ อ งกั น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพให้ ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้ โดยเร็ว และการเปิดเผยข้อมูล ต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็น การเฉพาะ


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

30

มาตรา 11 บุคคลหรือคณะบุคคล มีสิทธิร้องขอให้มีการ ประเมินผลและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้าน สุขภาพจากนโยบายสาธารณะ และมีสิทธิ ได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนิน โครงการ หรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือ ของชุมชนและแสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว มาตรา 25 (5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการ ติ ด ตามและประเมิ น ผลเกี่ ย วกั บ ระบบสุ ข ภาพแห่ ง ชาติ แ ละ ผลกระทบด้ า นสุ ข ภาพที่ เ กิ ด จากนโยบายสาธารณะทั้ ง ระดั บ นโยบายและระดับปฏิบัติการ 2.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จากสาระสำคั ญ ของพระราชบั ญ ญั ติ สุ ข ภาพ แห่ ง ชาติ พ.ศ. 2550 เมื่ อ มี ก รณี ที่ จ ะมี ผ ลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ของประชาชน ประชาชนมีสิทธิที่จะร้องขอข้อมูลจาก อปท. ซึ่งเป็น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับประชาชน ดังนั้น อปท. จึงมี ความจำเป็นที่ต้องประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการดำเนินการ เพื่อให้ ได้ข้อมูลที่จะต้องเปิดเผยต่อประชาชนผู้ร้องเรียนหรือผู้ ได้รับ ผลกระทบ นอกจากนี้ จ ะเห็ น ว่ า สาระสำคั ญ ส่ ว นใหญ่ ต าม พระราชบั ญ ญั ติ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2550 สอดคล้ อ งกั บ สาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550


3. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

บทที่

2

3.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มี เจตนารมณ์ เ พื่ อ ปกป้ อ งคุ้ ม ครองสุ ข ภาพของประชาชนจาก สิ่งคุกคามสุขภาพ ที่เป็นจุลินทรีย์ก่อโรค และมลพิษสิ่งแวดล้อม ที่อาจมีสาเหตุจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ในชุมชน โดยให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการออกข้อ กำหนดของท้องถิ่น การพิจารณาอนุญาต การตรวจตราดูแล และ ออกคำสั่งให้ปรับปรุง /แก้ ไข พักใช้/หยุด เพิกถอน เจ้าพนักงาน ท้ อ งถิ่ น มี อ ำนาจและหน้ า ที่ ในการห้ า มบุ ค คลหนึ่ ง บุ ค คลใดไม่ ให้ ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่ของเอกชน รวม ทั้งในกรณีที่การดำเนินการใดก่อเหตุรำคาญในชุมชน ให้อำนาจ เจ้ า พนั ก งานท้ อ งถิ่ น ดำเนิ น การเพื่ อ ระงั บ เหตุ ร ำคาญที่ จ ะส่ ง ผล กระทบต่ อ สุ ข ภาพของประชาชน ตาม พรบ. การสาธารณสุ ข พ.ศ. 2535 มีมาตราต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านอนามัย สิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ในหมวด ต่างๆ ดังนี้

31 กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

ดังนั้น บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องของ อปท. จึงมีบทบาท อำนาจ หน้าที่ เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ ในบทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ข้อ 1.2)


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

32

หมวด 3 การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร หมวด 5 เหตุรำคาญ หมวด 6 การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ หมวด 7 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หมวด 8 สถานที่ จ ำหน่ า ยอาหารและสถานที่ ส ะสม อาหาร หมวด 9 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ หมวด 10 อำนาจหน้ า ที่ ข องเจ้ า พนั ก งานท้ อ งถิ่ น และ เจ้าพนักงานสาธารณสุข โดยสรุป พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีเป้าหมาย เพื่ อ คุ้ ม ครองประชาชนด้ า นสาธารณสุ ข สิ่ ง แวดล้ อ ม และ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด สภาวะความเป็ น อยู่ ที่ เ หมาะสมกั บ การดำรงชีพของประชาชน ดังภาพที่ 8


เป้าหมาย

คุ้มครองประชาชน ผู้ประกอบกิจการ คนงาน/ผู้ปฏิบัติ ด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม

การสุขาภิบาล การอนามัย การอาชีว การสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม อนามัย อาหาร

บทที่

2

เพื่อให้เกิดสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

ชุมชน

33

ภาพที่ 8 แสดงเจตนารมณ์ เป้ า หมายและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่มา : เฉลิมชาติ แจ่มจรรยา และคณะ, 2541.


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

34

3.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่ อ มี ก ารกระทำใดที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด เหตุ ร ำคาญในชุ ม ชน ตามพรบ. การสาธารณสุ ข พ.ศ. 2535 หมวดเหตุ ร ำคาญ ประชาชนมีสิทธิที่จะร้องขอให้ อปท. ตรวจสอบเพื่อแก้ ไขปัญหา เหตุ ร ำคาญ ดั ง นั้ น อปท. จึ ง มี ค วามจำเป็ น ที่ ต้ อ งประยุ ก ต์ ใช้ กระบวนการ HIA ในการดำเนิ น การเพื่ อ ให้ ได้ ข้ อ มู ล ที่ จ ะต้ อ ง เปิ ด เผยต่ อ ประชาชนผู้ร้องเรียนหรือผู้ ได้ รั บ ผลกระทบ รวมทั้ ง ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ในการระงับเหตุรำคาญหรือผลกระทบ ต่ อ สุ ข ภาพของประชาชนต่ อ ไป ดั ง รายละเอี ย ดแนวทางการ ประยุ ก ต์ ใช้ HIA ในการตรวจสอบ แก้ ไขปั ญ หาเหตุ ร ำคาญ ในบทที่ 4 นอกจากนี้ ตาม พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อปท. มีบทบาท อำนาจ หน้าที่ ในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น การพิ จ ารณาอนุ ญ าต การตรวจตราดู แ ล และออกคำสั่ ง ให้ ปรับปรุง/แก้ ไข พักใช้/หยุด เพิกถอน กิจการต่างๆที่อาจเป็นแหล่ง กำเนิดของสิ่งคุกคามสุขภาพในชุมชน เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพ ของประชาชนจากสิ่งคุกคามสุขภาพ ดังนั้น อปท. สามารถนำ กระบวนการ/วิธีการ ของ HIA ไปประยุกต์ ใช้ ในการดำเนินงาน ดังกล่าว โดยข้อมูลจากรายงาน HIA จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการ ออกข้อกำหนดของท้องถิ่น และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังรายละเอียดแนวทางการประยุกต์ ใช้ HIA ในการออกข้อกำหนด ของท้องถิ่น ในบทที่ 4


35

บทที่

2

4.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีมาตราที่เกี่ยวข้องกับระบบการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ดังนี้ มาตรา 18 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อาจ แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการผู้ ช ำนาญการหรื อ คณะอนุ ก รรมการ เพื่ อ พิ จ ารณาหรื อ ปฏิ บั ติ ก ารอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง ตามที่ ค ณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะมอบหมาย มาตรา 44 (3) และมาตรา 45 กำหนดประเภท/ขนาด โครงการจัดทำ EIA/IEE ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม มาตรา 46 กำหนดประเภท/ขนาดโครงการจัดทำ EIA หลักเกณฑ์ ในการจัดทำรายงาน EIA นอกจากนี้ ยังมีมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรา 47, 48, 49, 50 และ 51 กำหนดขั้นตอนการจัดทำรายงาน EIA กำหนดระยะเวลาการพิจารณารายงาน EIA และหลักเกณฑ์การ ขออนุญาตเป็นผู้ชำนาญการในการจัดทำรายงาน EIA

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

4. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

36

นอกจากนี้ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ในยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นา บนฐานรากความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคง ของฐานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม กำหนดไว้ดังนี้ “ในการพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารจั ด การ โดย ผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด ระบบประเมิ น สิ่ ง แวดล้ อ ม ระดั บ ยุ ท ธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment; SEA) ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนการกำหนดนโยบาย แผน และการพั ฒ นาระดั บ พื้ น ที่ อย่างสอดคล้องกับศักยภาพในการรองรับและบริหารจัดการมลพิษ ของพื้ น ที่ รวมทั้ ง จั ด ให้ มี ร ะบบกลไกและตั ว ชี้ วั ด ผลกระทบทาง สุขภาพจากสิ่งแวดล้อม (Health Impact Assessment; HIA) และการประเมิ น ผลกระทบทางสั ง คม (Social Impact Assessment; SIA) ในรายงานการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบ สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ด้วย” สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ HIA ภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้มีการพัฒนาระบบการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25502554 ได้ ให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพด้วย เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2550 สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

37

บทที่

2

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ “แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงาน การวิ เคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย” เพื่ อเป็น แนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ โดยมีแนวคิดว่าในการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะให้ความสำคัญกับประเด็นทางด้านสุขภาพ ได้มากขึ้นอย่างไร และผู้เกี่ยวข้องจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ รายละเอี ย ดของแนวทางดั ง กล่ า ว ได้ ก ล่ า วถึ ง ความ จำเป็นที่ต้องพัฒนาการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในรายงาน EIA แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ การบูรณาการ HIA ใน EIA ตาม ขั้นตอนต่างๆของ EIA (ไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้) นอกจากนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ของ EIA กับการประเมิน ผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment; SIA) ในปี พ.ศ. 2549 สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้ อ ม สำนั ก งาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ “แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน และการประเมินผล กระทบ สิ่ ง แวดล้ อ มทางสั ง คม ในกระบวนการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบ สิ่งแวดล้อม” ในที่นี้ขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA ดังนี้ 1) หลักเกณฑ์การจัดการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณี โครงการที่ ต้ อ งทำรายงานการประเมิ น ผล กระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Evaluation; IEE) เจ้าของโครงการจะต้องดำเนินการมีส่วนร่วมของประชาชน


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

38

โดยอย่างน้อยที่สุดต้องมีการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนและ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ และต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่และ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งให้ ค วามเห็ น ในประเด็ น ที่ เ ป็ น ข้ อ ห่ ว งกั ง วล โดยผลที่ ได้จากการรับฟังความคิดเห็น เจ้าของโครงการจะต้อง ระบุไว้ ในรายงาน และต้องนำไปประกอบการตัดสินใจในการดำเนิน โครงการ รวมทั้ ง จะต้ อ งกำหนดมาตรการป้ อ งกั น และแก้ ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมเปิดเผยให้ประชาชนทราบด้วย และ ภายหลังจากที่ โครงการผ่านการอนุมัติแล้ว กับประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังต้องให้ข้อมูลและรับฟัง ความคิดเห็นตลอดการก่อสร้างโครงการ กรณี โครงการที่ ต้ อ งทำรายงานการวิ เ คราะห์ ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม เจ้ า ของโครงการจะต้ อ งดำเนิ น การ ตามกระบวนการ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างน้อย 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งแรก ในระหว่างเริ่มต้นโครงการ โดยรับฟังความคิด เห็นต่อร่างข้อเสนอโครงการและขอบเขตการศึกษา เพื่อเป็นการให้ ข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับโครงการที่จะ เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบ รวมทั้ง ขอบเขตการศึกษา


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

39

บทที่

2

ครั้งที่สอง ในระหว่างการเตรียมจัดทำรายงาน และ มาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชน มีความมั่นใจในรายงานและมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ข้อคิดเห็นที่ ได้จากการรับฟังความคิดเห็นในครั้งที่สอง จะต้องผนวกไว้ ในรายงาน สำหรับโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อน อาจจำเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นในวงกว้าง การทำประชา พิ จ ารณ์ และ/หรื อ ใช้ เ ทคนิ ค การมี ส่ ว นร่ ว มอื่ น ๆที่ เ หมาะสม ภายหลั ง จากที่ โครงการผ่ า นการอนุ มั ติ แ ล้ ว เจ้ า ของโครงการ จะต้องให้ข้อมูลรายงานที่ผ่านการอนุมัติแล้วกับประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ต้องให้ข้อมูลและรับฟัง ความคิดเห็นตลอดการก่อสร้างโครงการ 2) หลั ก เกณฑ์ ก ารประเมิ น ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม ทางสังคม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม เน้นศึกษา ในประเด็นสำคัญๆ และเป็นประเด็นที่ประชาชนแสดงความกังวล ห่วงใย มากกว่าการให้ข้อมูลและการประเมินผลกระทบทางสังคม ทั่วๆไป ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมนั้นยังไม่มี การตั้ ง มาตรฐานขอบเขตที่ ชั ด เจนแน่ น อน ฉะนั้ น การจะวั ด ว่ า ประเด็ น ใดเป็ น ประเด็ น ที่ ส ำคั ญ นั้ น จะกำหนดได้ โดยการใช้ กระบวนการหารือเพื่อให้ ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายอย่างแท้จริงกับ


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

40

ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในทุ ก กลุ่ ม หรื อ จากการสรุ ป บทเรี ย นของ โครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่มี ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ ง อาจยึ ด ตามหลั ก เกณฑ์ ก ารศึ ก ษาผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มทาง สังคมแบบมีส่วนร่วม ดังภาพที่ 9


มีการโยกย้ายถิ่นฐาน/รอนสิทธิ์ ที่ ดิ น ประชาชนมาก หรื อ มี ผ ล กระทบต่อการประกอบอาชีพ/ รายได้ ข องชุ ม ชนดั้ ง เดิ ม หรื อ ชุมชนด้อยโอกาสหรือไม่

มีผลกระทบต่อ การคมนาคมขนส่ง

มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุนทรียธรรม ฯลฯ

กรณี มี ก ารโยกย้ า ยถิ่ น ฐานและ การเวนคืน/การโอนสิทธิ์

มีผลกระทบ ที่สำคัญ ทางสังคม

มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

มีผลกระทบต่อชุมชนทั่วไป โดยเฉพาะชุมชนดั้งเดิมและ กลุ่มคนด้อยโอกาส

ตัวอย่างผลกระทบทางสังคมที่สำคัญ

จัดทำแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานใหม่ และการกำหนดค่าชดเชยหรือกรอบการ ดำเนินการตั้งถิ่นฐานใหม่และการกำหนด ค่าชดเชย (RCAP) ไม่ ใช่ จัดทำแผนปฏิบัติการอย่างย่อ (RCAP อย่างย่อ)

ใช่

ศึกษารายละเอียดด้านการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบ

ศึกษารายละเอียดตามประเด็นที่ประชาชนกังวล รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบ

ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบ

ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบ

บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

ภาพที่ 9 หลักเกณฑ์การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบมีส่วนร่วม จัดทำกรอบนโยบายการดำเนินงานเกี่ยว ที่มา: สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, 2549. ไม่ชัดเจน กับการตั้งถิ่นฐาน (RCAP)

จัดทำมาตรการการป้องกันและแก้ ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม

ไม่มีผลกระทบที่สำคัญทางสังคม

ประเมิ น ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มทางสั ง คม แบบมีส่วนร่วมเบื้องต้น

การจัดทำ EIA ส่วนที่ 3 คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ส่วนที่ 4 คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต

41


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

42

4.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น 4.2.1 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรั บ ประเภท/ขนาดโครงการ ที่ ก ฎหมาย กำหนดให้มีการจัดทำรายงาน EIA ซึ่งจะต้องทำ HIA ด้วย หาก โครงการดังกล่าวอยู่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ อปท. ซึ่ง อปท. จะเกี่ ย วข้ อ งในฐานะหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งในพื้ น ที่ จึ ง มี บ ทบาท หน้าที่เข้าร่วมในกรณีที่เจ้าของโครงการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ในกระบวนการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม ตามแนวทางที่กำหนดโดยสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่ อ ให้ ข้ อ คิ ด เห็ น ต่ อ ขอบเขตการศึ ก ษา และร่ า งรายงาน EIA นอกจากนี้เมื่อโครงการนั้นผ่านการพิจารณารายงาน EIA และได้ รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการแล้ว อปท. ก็มีบทบาทในการร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตาม เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชนจากโครงการนั้น นอกจากนี้ รายงาน EIA ของโครงการบางประเภท ที่จัดให้มีการพิจารณาในระดับจังหวัด และตั้งอยู่ ในเขตพื้นที่รับผิด ชอบของ อปท. ผู้แทนจาก อปท. อาจได้รับการแต่งตั้งให้ร่วมอยู่ ในคณะผู้ชำนาญการ เพื่อพิจารณารายงาน EIA และเมื่อโครงการ ดำเนินการแล้ว อปท. ก็มีบทบาทหน้าที่ ในการติดตามตรวจสอบ การดำเนิ น งานของเจ้ า ของโครงการว่ า มี ก ารดำเนิ น การตาม


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

43

บทที่

2

มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพทางลบ ที่กำหนดไว้ ในรายงาน หรื อ ไม่ อย่ า งไร ซึ่ ง ผู้ มี ส่ ว นร่ ว มในกระบวนการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สรุปได้ ดังภาพที่ 10 เจ้าของโครงการ หน่วยงานอนุญาต นิติบุคคลผู้ทำรายงานฯ รายงาน EIA สำนักวิเคราะห์ผลกระทบฯ ประชาชน/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้ชำนาญการ การอนุญาต กำกับ/ติดตาม ก่อสร้าง/ดำเนินโครงการ ตรวจสอบ ภาพที่ 10 ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม 4.2.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานอนุญาต โครงการบางประเภท ซึ่งต้องจัดทำรายงาน EIA ก่อนการขออนุญาตโครงการ เช่น โครงการด้านที่พักอาศัย อปท.


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

44

ก็มีบทบาทในฐานะหน่วยงานอนุญาต ดังนั้นก่อนการอนุญาตจะต้อง ตรวจสอบก่อนว่า โครงการนั้นๆ ได้จัดทำรายงาน EIA หรือไม่ และรายงาน EIA ผ่านการพิจารณาหรือไม่ หลังจากโครงการ ผ่านการอนุญาตและดำเนินการแล้ว อปท. จะต้องมีบทบาทหน้าที่ ในการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าของโครงการว่าได้ ดำเนินการตามมาตรการต่างๆที่ ได้กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร 4.2.3 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในฐานะเจ้าของโครงการที่ต้องจัดทำรายงาน EIA โครงการบางโครงการ ซึ่ ง อปท. เป็ น เจ้ า ของ โครงการ และกฎหมายกำหนดให้ จั ด ทำรายงาน EIA เช่ น ทางหลวงหรือถนน ที่ตัดผ่าน พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขต ห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ท่าเทียบเรือ เป็นต้น อปท. มีความ จำเป็นต้องว่าจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำรายงาน EIA ซึ่งต้องจัดทำ HIA ด้วย โดยที่ปรึกษาจะต้องเป็นบริษัทที่ปรึกษา หรือสถาบัน การศึกษา ที่ ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต จากสำนักวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม ให้เป็นผู้จัดทำรายงาน EIA ดังนั้น อปท. ที่จะทำการว่าจ้างที่ปรึกษา จำเป็นต้อง มี ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การจั ด ทำรายละเอี ย ดข้ อ กำหนดงาน (Terms of Reference; TOR) และจัดทำ TOR เพื่อประกอบการ ว่าจ้างที่ปรึกษา ในการจัดทำรายงาน EIA ทั้งนี้ อปท. สามารถ ศึกษารายละเอียดแนวทางการจัดทำ TOR และขอรับคำปรึกษา ได้จากสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร


ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค หรือ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

5. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

บทที่

2

5.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA พระราชบั ญ ญั ติ ก ำหนดแผนและขั้ น ตอนการกระจาย อำนาจให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พ.ศ. 2542 มี ส าระ สำคัญในการกำหนดอำนาจหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะ ระหว่างรัฐกับ อปท. และระหว่าง อปท.ด้วยกันเอง โดยได้กำหนด อำนาจหน้าที่ของ อปท. ไว้ ในมาตรา 16, 17, 18, 19, 20 และ 21 ดังนี้ มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ 1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจั ด ให้ มี แ ละบำรุ ง รั ก ษาทางบก ทางน้ ำ และ ทางระบายน้ำ 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

45


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

46

2

บทที่

5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสั ง คมสงเคราะห์ และการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ ชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น 12. การปรั บ ปรุ ง แหล่ ง ชุ ม ชนแออั ด และการจั ด การ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิป ไตย ความเสมอภาค และ สิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่ ง เสริ ม การมี ส่ ว นร่ ว มของราษฎรในการพั ฒ นา ท้องถิ่น 17. การรั ก ษาความสะอาดและความเป็ น ระเบี ย บ เรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19. การสาธารณสุ ข การอนามั ย ครอบครั ว และ การรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

47

บทที่

2

22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรั ก ษาความปลอดภั ย ความเป็ น ระเบี ย บ เรียบร้อย และการอนามัยโรงเรี ย น โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรั ก ษาความสงบเรี ย บร้ อ ย การส่ ง เสริ ม และ การสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สิน 31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้อง ถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ 1. การจั ด ทำแผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ของตนเอง และ ประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด 2. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการ พัฒนาท้องถิ่นอื่น


48 กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

บทที่

2

3. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 5. การคุ้ ม ครอง ดู แ ล การบำรุ ง รั ก ษาป่ า ไม้ ที่ ดิ น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. การจัดการศึกษา 7. การส่งเสริมประชาธิปไตยและความเสมอภาค และ สิทธิเสรีภาพของประชาชน 8. ส่ ง เสริ ม การมี ส่ ว นร่ ว มของราษฎรในการพั ฒ นา ท้องถิ่น 9. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 10. การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม 11. การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 12. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ 13. การจัดการดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ 14. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 15. การพาณิชย์ การส่ง เสริมการลงทุ น และการทำ กิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ 16. การสร้ า งและบำรุ ง รั ก ษาทางบกและทางน้ ำ ที่ เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 17. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

49

2

18. การส่งเสริมกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอัน ดีงามของท้องถิ่น 19. การจัดให้มี โรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 20. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ 21. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร 22. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 23. การจัดให้มีระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยใน จังหวัด 24. จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ ในเขต และกิจการนั้น เป็ น การสมควรให้ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น อื่ น ร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 25. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือ องค์ กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นอื่น 26. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 27. การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 28. จั ด ทำกิ จ การอื่ น ใดตามที่ ก ำหนดไว้ ในพระราช บัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและ หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทที่


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

50

29. กิ จ การอื่ น ใดที่ เ ป็ น ผลประโยชน์ ข องประชาชนใน ท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา 18 ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจและหน้าที่ ใน การจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้อง ถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 และมาตรา 17 มาตรา 19 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไม่เต็มพื้นที่ จังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเต็มพื้นที่จังหวัด มีอำนาจและ หน้าที่ ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 และมาตรา 17 มาตรา 20 ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะ อย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนด ว่ า องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี อ ำนาจและหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบใน ส่วนใด มาตรา 21 บรรดาอำนาจและหน้าที่ที่อยู่ ในความรับผิด ชอบของรัฐตามกฎหมาย รัฐอาจมอบอำนาจและหน้าที่ ให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแทนได้


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

51

บทที่

2

ในการดำเนินงานตามอำนาจและหน้าที่ที่ระบุไว้ ในมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 19 องค์ ก รปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น อาจร่ ว มมื อ กั น ดำเนิ น การหรื อ อาจร้ อ งขอให้ รั ฐ หรื อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการแทนได้ มาตรา 22 องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น อาจมอบให้ เอกชนดำเนิ น การตามอำนาจและหน้ า ที่ แ ทนได้ ทั้ ง นี้ ตาม หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 5.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จากสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและ ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า บทบาท อำนาจ และหน้าที่ ของ อปท. เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนทุกกลุ่ม และ การดำเนินงานของ อปท. ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทางตรงและทางอ้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น จึงมีความจำเป็นที่ อปท. จะต้องดำเนินการ HIA หรือประยุกต์ ใช้ HIA ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ อำนาจ บทบาทและหน้าที่ ของ อปท.


6. กฎบัตรกรุงเทพฯ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 6.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA จากการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 วันที่ 7-11 สิงหาคม 2548 ณ กรุงเทพมหานคร ได้เกิดกฎบัตรร่วมกัน คือ กฎบัตรกรุงเทพฯ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ [Bangkok Charter on Health Promotion (2005)] ระบุไว้ ดังนี้ “การส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพเป็ น บทบาทหน้ า ที่ ข องหน่ ว ยงาน ภาครัฐทุกฝ่าย การกำหนดนโยบาย แผนงานใดๆ ต้องคำนึงใน เรื่ อ งสุ ข ภาพด้ ว ย โดยใช้ ก ารประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว” 6.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จากสาระสำคัญของกฎบัตรกรุงเทพฯเพื่อการส่งเสริม สุขภาพ สนับสนุนส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำ HIA ไปประยุกต์ ใช้ ในกระบวนการ กำหนดนโยบาย และแผนงานต่างๆ ดังนั้น อปท. จึงควรนำ HIA ไปประยุ ก ต์ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ประกอบกระบวนการตั ด สิ น ใจ ดั ง รายละเอี ย ดแนวทางการประยุ ก ต์ ใช้ HIA ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ในบทที่ 4

บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

52


7. กฎบัตรและปฏิญญากรุงเทพฯ ด้านอนามัยและ สิ่งแวดล้อม

บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

53 7.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA จากการประชุ ม รั ฐ มนตรี แ ละเจ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โ ส ด้ า นอนามั ย และสิ่ ง แวดล้ อ ม จาก 14 ประเทศ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ และเอเชี ย ตะวั น ออก ครั้ ง ที่ 1 เมื่ อ วั น ที่ 9 สิงหาคม 2550 ณ กรุงเทพมหานคร ได้เกิดกฎบัตรและปฏิญญา ร่ ว มกั น คื อ กฎบั ต รและปฏิ ญ ญากรุ ง เทพฯ ด้ า นอนามั ย และ สิ่ ง แวดล้ อ ม [Charter and Bangkok Declaration on Environment and Health (2007)] ระบุไว้ ดังนี้ 7.1.1 ก ฎ บั ต ร ก รุ ง เ ท พ ฯ ด้ า น อ น า มั ย แ ล ะ สิ่งแวดล้อม ข้อ 2.6 สิทธิและหน้าที่ ประชาชนทุกคน มีสิทธิที่จะอยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ ทำให้เขาบรรลุคุณภาพชีวิตสูงสุด การเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วม ในทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ ทุ ก ภาคส่ ว น ทั้ ง รั ฐ บาล องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน สื่ อ มวลชน ปั จ เจกชน ภาคธุ ร กิ จ เอกชน หรื อ องค์ ก รภาคี ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ ต้องประเมินผลกิจกรรมและปฏิบัติ ในลักษณะที่เป็นไปเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนและ ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศวิทยา ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการ


บทที่

2

กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

54

คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ทั้งในระดับประเทศและ ท้ อ งถิ่ น เป็ น หน้ า ที่ ข องหน่ ว ยงานและองค์ ก รภาครั ฐ ในการ คุ้ ม ครองสุ ข ภาพของประชาชนในพื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ และทำให้ ประชาชนสามารถปกป้ อ งคุ้ ม ครองตนเองได้ หน่ ว ยงานองค์ ก ร เหล่านี้ต้องมีความรับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยงด้านอนามัย สิ่งแวดล้อมและระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ และ เลือกใช้มาตรการที่มีความคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้ ในพื้นที่ ไม่มี ผลเสี ย ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพอนามั ย ในพื้ น ที่ นั้ น ๆ พื้ น ที่ อื่ น ประเทศอื่น หรือภูมิภาคและต่อโลก ข้อ 2.7 ยุทธศาสตร์ ส่งเสริมให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีและ สุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี โดยใช้การสื่อสารความเสี่ยง การให้ ความรู้และมาตรการอื่นๆที่มีประสิทธิภาพ ต้องผนวกเรื่องความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพ เข้าไว้ ในระบบประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควรศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและ สุ ข ภาพ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศและภู มิ ภ าค เพื่ อ เป็ น ฐานของการ กำหนดนโยบาย และการปฏิบัติการ


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

55

บทที่

2

7.1.2 ปฏิ ญ ญากรุ ง เทพฯ ด้ า น อ น า มั ย แ ล ะ สิ่งแวดล้อม ยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมที่เราอาศั ย อยู่ มี ผ ลกระทบ อย่ า งมากและมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ สุ ข ภาพของเรา และเห็ น คุ ณ ค่ า ของ การทำให้ เ กิ ด ความมั่ น ใจในการคุ้ ม ครองสุ ข ภาพของมนุ ษ ย์ แ ละ สิ่งแวดล้อม เข้ า ใจว่ า เด็ ก ผู้ สู ง อายุ ผู้ ย ากจนเป็ น กลุ่ ม คนที่ อ่อนไหว (Vulnerable Groups) และได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ตระหนักว่าสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยสามารถ ข้ า มพรมแดนได้ และโลกาภิ วั ต น์ ท ำให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มโยงของ ประเทศชาติ ชุมชนและปัจเจกชนเข้าด้วยกัน ย อ ม รั บ ก ล วิ ธี ก า ร ป้ อ ง กั น ก่ อ น เ กิ ด ปั ญ ห า (Precautionary Approach) และหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle) และค่านิยมของการบริหารจัดการที่ดี (ธรรมาภิ บ าล) ประกอบด้ ว ย การให้ ป ระชาชนมี พั น ธะสั ญ ญา และมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพ เสมอภาค โปร่งใส และมีความ รับผิดชอบ 7.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จากกฎบัตรกรุงเทพฯด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ระบุ สิ ท ธิ ก ารมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในทุ ก ขั้ น ตอนของกระบวนการ


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

56

ตั ด สิ น ใจ และหน่ ว ยงานของรั ฐ ซึ่ ง รวมทั้ ง องค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นด้วย ต้องมีความรับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยง ด้ า นอนามั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและระบบควบคุ ม สิ่ ง แวดล้ อ มในพื้ น ที่ รับผิดชอบ และเลือกใช้มาตรการที่มีความคุ้มค่าและมีความเป็นไป ได้ ในพื้นที่ ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยในพื้นที่ นั้นๆ ดังนั้น อปท. จึงควร ประยุกต์ ใช้ HIA ในกระบวนการ ตัดสินใจ และประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ บรรลุตามกฎบัตรดังกล่าว นอกจากนี้ ตามปฏิญญากรุงเทพฯด้านอนามัยและ สิ่งแวดล้อม จะเห็นว่า สอดคล้องกับหลักการของ HIA กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่อ่อนไหวหรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การได้รับผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ และหลักการป้องกันก่อน เกิดปัญหา รวมทั้งค่านิยมการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้น อปท. จึงสามารถประยุกต์ ใช้ HIA ในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน เพื่อให้บรรลุตามปฏิญญาดังกล่าว

8. แผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)

บทที่

2

8.1 สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ HIA ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและลดผลกระทบ จากภัยคุกคามต่าง ๆ กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้


กฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ

57

บทที่

2

• สร้างกลไกและกระบวนการนโยบายสาธารณะที่เอื้อ ต่ อ สุ ข ภาพควบคู่ ไปกั บ การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ต่ อ นโยบายและแผนงานอย่างพอเพียง • สร้างเสริมศักยภาพระบบการเฝ้าระวัง การควบคุม ป้องกัน การรักษาพยาบาล โรคอุบัติ ใหม่ อุบัติซ้ำ และควบคุม ปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาพ 8.2 บทบาท อำนาจ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ตามยุ ท ธศาสตร์ ที่ 3 ของแผนพั ฒ นาสุ ข ภาพ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) สนับสนุนให้ ใช้ กระบวนการ HIA ในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ดังนั้น อปท. ในฐานะ ที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ในท้องถิ่น จึงสามารถ ประยุกต์ ใช้ HIA ในการเป็นเครื่องมือ พั ฒ นานโยบายสาธารณะเพื่ อ สุ ข ภาพหรื อ นโยบายที่ ค ำนึ ง ถึ ง สุ ข ภาพระดั บ ท้ อ งถิ่ น อั น จะส่ ง ผลให้ ส ามารถปกป้ อ งคุ้ ม ครอง สุ ข ภาพประชาชนจากสิ่งคุกคามสุขภาพต่างๆ เช่ น การพั ฒ นา นโยบายสาธารณะด้านการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรโดย การประยุ ก ต์ ใช้ HIA เป็ น ต้ น ดั ง รายละเอี ย ด ตั ว อย่ า งกรณี ศึกษาในบทที่ 4


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

1. การกลั่นกรอง (Screening)

3

กระบวนการ ของการดำเนินงาน HIA ประกอบด้วย ขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกลั่นกรอง (Screening) ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scoping) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Appraisal) ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommendation) ขั้นตอนที่ 5 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) การดำเนินงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในขั้นตอน ต่างๆ มีวัตถุประสงค์ ผู้มีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง วิธีการ และ ผลลัพธ์ที่ ได้จากขั้นตอนต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

59

1.1 วัตถุประสงค์ของการกลั่นกรอง การกลั่นกรองเป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินงาน HIA เพื่ อ พิ จ ารณาและตั ด สิ น ใจว่ า นโยบายแผนงาน และ โครงการนั้น จะดำเนินการ HIA หรือไม่ โดยพิจารณาทบทวนถึง

บทที่

บทที่ 3


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

60

ผลกระทบต่อสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ขนาดและความสำคัญ ของผลกระทบ รวมทั้งความพร้อมของทรัพยากรด้านต่างๆ ในการ ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 1.2 ผู้ที่มีส่วนร่วมในขั้นตอนการกลั่นกรอง การดำเนิ น งาน กลั่ น กรอง นโยบาย แผนงาน โครงการเพื่อทำ HIA ควรประกอบด้วยผู้ร่วมดำเนินงาน ซึ่งเป็นผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ดังนี้ 1.2.1 ผู้แทนจากองค์กรที่เป็นเจ้าของ หรือผู้รับผิดชอบ นโยบาย แผนงาน โครงการที่จะทำการกลั่นกรอง 1.2.2 ผู้แทนของกลุ่มประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผล กระทบต่อสุขภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการนั้น ทั้งกลุ่มที่ คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางบวก และกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผล กระทบทางลบ 1.2.3 บุคลากรจากหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการ ที่ มี ค วามรู้ แ ละประสบการณ์ เ กี่ ย วกั บ ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพจาก นโยบาย แผนงาน โครงการนั้นๆ


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

61

บทที่

3

1.3 วิธีการกลั่นกรอง วิธีการกลั่นกรอง มีแนวทางในการดำเนินการตาม ขั้นตอน ดังนี้ 1.3.1 การศึกษารายละเอียดของนโยบาย แผนงาน โครงการ เพื่ อ ให้ ท ราบหลั ก การ เหตุ ผ ล เป้ า หมาย และ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่จะได้จากนโยบาย แผนงาน โครงการ 1.3.2 การกลั่นกรอง สามารถดำเนินการโดยการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Screening Workshop) ผู้เข้าร่วม ประชุม ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบาย แผนงาน โครงการ (ดั ง รายละเอียดในข้อ 1.2) โดยใช้ วิ ธี ก ารกลั่ น กรอง เบื้องต้นด้วยแบบเช็ครายการ (Checklist) ที่ประกอบด้วยคำถาม เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ดังรายละเอียดในภาพที่ 11 นอกจากนี้ สามารถนำเครื่องมือการกลั่นกรอง (HIA Screening Tool) มาใช้ ในการประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร ดั ง ราย ละเอียดตัวอย่างเครื่องมือการกลั่นกรอง ในภาคผนวก ง. 1.3.3 การให้ ข้ อ เสนอแนะจากผลการกลั่ น กรอง (Screening Recommendations) ผลจากการดำเนิ น การตามขั้ น ตอนที่ 1.3.1 และ 1.3.2 จะได้ข้อเสนอแนะ หรือข้อสรุปจากผลการกลั่นกรอง ดังนี้ 1) ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งทำการประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุขภาพ เนื่องจาก (1) มีผลกระทบต่อสุขภาพน้อยมาก (2) ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพที่ ค าดว่ า จะเกิ ด ขึ้ น เป็นที่ทราบกันดีแล้ว มีแนวทางในการป้องกันและลดผลกระทบต่อ


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

62

สุขภาพที่เป็นที่ประจักษ์และเอกสารที่สามารถอ้างอิงได้ชัดเจนแล้ว สามารถให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบาย แผนงาน โครงการ เพื่อเพิ่มประโยชน์ต่อสุขภาพและลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ 2) ทำการประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ เพื่ อ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจ และเสนอแนะแนวทาง การป้ อ งกั น และลดผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการ


มีผลกระทบต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Health Determinats) หรือไม่ (วิถีชีวิต/สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ / สังคม / เศรษฐกิจ) ไม่มี

มี

63

ได้

ไม่ ได้

มีผลกระทบทางลบเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือไม่ ไม่มี

มี

เกิดผลกระทบที่รุนแรงในเชิงพื้นที่และประชากรหรือไม่ ไม่ ใช่

ใช่

การประเมินผลกระทบสามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายโครงการได้หรือไม่ ได้

มีระยะเวลา งบประมาณสนับสนุนและผู้เชี่ยวชาญในการทำ HIA หรือไม่ ไม่มี

มี ทำ HIA ในขั้นตอนต่อไป

ภาพที่ 11 แบบเช็ครายการสำหรับขั้นตอนการกลั่นกรองเบื้องต้น

บทที่

3

ไม่ ได้

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถแก้ ไขได้หรือไม่


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

64

1.4 ผลลัพธ์จากขั้นตอนการกลั่นกรอง เมื่ อ ดำเนิ น การกลั่ น กรองตามขั้ น ตอนข้ า งต้ น แล้ ว ควรจัดทำรายงานผลการกลั่นกรอง ซึ่งประกอบด้วยประเด็นที่ สำคัญ ดังนี้ 1.4.1 สรุปภาพรวมของนโยบาย แผนงาน โครงการ ที่ทำการกลั่นกรอง ได้แก่ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ พื้นที่ ระยะเวลา ประชาชนที่ ได้รับผลประโยชน์ เป็นต้น 1.4.2 ผลกระทบต่อสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และ ประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ ทั้งทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ผลกระทบที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น กั บ กลุ่ ม เสี่ ย งและกลุ่ ม ผู้ ด้ อ ย โอกาส (Vulnerable Groups) โดยการพิ จ ารณาจากเอกสาร วิ ช าการ และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง รวมทั้ ง ความคิ ด เห็ น และ ประสบการณ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าร่วมดำเนินการการ กลั่นกรอง 1.4.3 ทรั พ ยากรที่ จ ำเป็ น ในการดำเนิ น งาน HIA ขั้นตอนต่อไป เช่น บุคลากร งบประมาณ เป็นต้น 1.4.4 ความเป็ น ไปได้ ที่ ผ ลจากการทำ HIA จะ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญในกระบวนการตัดสินใจในการ ดำเนินการหรือปรับปรุงนโยบาย แผนงานโครงการ 1.4.5 ข้ อ เสนอแนะจากผลการกลั่ น กรอง ดั ง ราย ละเอียดในข้อ 1.3.3


2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scoping)

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

65

บทที่

3

2.1 วัตถุประสงค์ของการกำหนดขอบเขตการศึกษา 2.1.1 เพื่อกำหนด ขอบเขต หรือประเด็นต่างๆ ใน การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ตามข้ อ มู ล หลั ก ฐาน และ ข้อห่วงใยต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.1.2 เพื่ อ กำหนดแนวทางและวิ ธี ก ารในการ วิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพในด้านต่างๆ 2.1.3 เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการ การประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ และจัดแบ่งความรับผิดชอบของคณะทำงาน 2.2 ผู้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการศึกษา เมื่อผลจากขั้นตอนการกลั่นกรอง สรุปว่า ทำการ ประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพก่ อ นดำเนิ น การกำหนดขอบเขต การศึ ก ษา ควรจั ด ตั้ ง คณะกรรมการกำกั บ ติ ด ตาม (Steering Committee) โดยคณะกรรมการกำกั บ ติ ด ตามมี ห น้ า ที่ ในการ กำหนดขอบเขตการศึกษา และติดตามตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะ แก่คณะทำงาน ตลอดจนดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ของ HIA คณะกรรมการกำกับติดตาม ควรประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องต่อไปนี้ 2.2.1 มี ค วามรู้ ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ นโยบาย แผนงาน โครงการที่จะดำเนินการ HIA และสามารถให้คำแนะนำ แนวทางในการวิเคราะห์นโยบาย


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

66

2.2.2 มีทักษะและประสบการณ์ ในการวิเคราะห์ผล กระทบต่อสุขภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการ 2.2.3 มีความเป็นผู้นำ สามารถผลักดันการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบในกระบวนการ ตัดสินใจของชุมชนท้องถิ่น 2.2.4 มี ป ระสบการณ์ ในการจั ด กระบวนการมี ส่วนร่วมของประชาชนและการให้คำปรึกษาแก่ประชาชน 2.3 วิธีการกำหนดขอบเขตการศึกษา การกำหนดขอบเขตการศึ ก ษา มี แ นวทางในการ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 2.3.1 จั ด ตั้ ง คณะกรรมการกำกั บ ติ ด ตาม ซึ่ ง เป็ น คณะกรรมการที่รับผิดชอบในการกำหนดขอบเขตการศึกษา และ กำกับติดตาม ตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะแก่คณะทำงาน HIA 2.3.2 พิ จ ารณาคั ด เลื อ กประเภทของ HIA ที่ จ ะ ดำเนินการ โดยอาจใช้แนวทางการพิจารณาเลือกประเภทของ HIA ดังตารางที่ 1


ตารางที่ 1 รายการตรวจสอบเกี่ ย วกั บ รู ป แบบการประเมิ น ผล กระทบทางสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับแต่ละนโยบาย และโครงการ

ใช่ ใช่ ใช่

มีเวลาจำกัดในการทำ HIA ไม่ ใช่หรือไม่ ระยะเวลาสำหรับการตัดสินใจ ไม่ กำหนดโดยปัจจัยภายนอกที่ท่าน ไม่สามารถควบคุมใช่หรือไม่ งบประมาณในการทำ HIA ไม่ มีจำกัดใช่หรือไม่

ที่มา: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2546.

3

2.3.3 พิจารณากำหนดขอบเขตของการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ 1) แนวโน้ ม การเปลี่ ย นแปลงของปั จ จั ย กำหนดสุขภาพ 2) ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในมิติ ต่างๆ และในระดับต่างๆ 3) ข้อห่วงใยของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) ขอบเขตเชิ ง พื้ น ที่ กำหนดพื้ น ที่ ศึ ก ษาที่ ชัดเจน

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

ประเด็นต่างๆ ในการพิจารณา เท่าที่ท่านทราบ

67

บทที่

คำตอบที่ค่อนไป ทางทำ HIA แบบเร่งด่วน

คำตอบที่ค่อนไป ทางทำ HIA แบบปานกลาง หรือรอบด้าน


2.3.4 กำหนดแนวทาง และวิ ธี ก ารที่ ใช้ ในการ ประเมิน (Method of Appraisal) 2.3.5 กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลักษณะ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ 2.3.6 การเตรียมการสำหรับการบริหารจัดการใน การดำเนินการขั้นตอนต่อไป ดังนี้ 1) แต่ ง ตั้ ง ผู้ ด ำเนิ น การประเมิ น หรื อ ที ม ผู้ประเมิน (HIA Project Team) ควรประกอบด้วยบุคคลทั้งจาก ภายในและภายนอกองค์กร 2) จั ด ทำแผนปฏิ บั ติ ก าร กำหนดบทบาท หน้าที่และผู้รับผิดชอบ 3) แหล่ ง ทุ น หรื อ งบประมาณสำหรั บ การ ดำเนินงาน

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

68

5) ขอบเขตเชิงเวลา กำหนดระยะเวลาที่ทำ HIA 6) ขอบเขตประชากร กำหนดกลุ่มประชากร ที่ศึกษา 7) กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ต้องได้ รับความสนใจเป็นพิเศษ 8) เกณฑ์ ในการจัดลำดับความสำคัญของผล กระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้น


3

3.1 วัตถุประสงค์ของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นการ วิเคราะห์เพื่อระบุหรือบ่งชี้ผลกระทบต่อสุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการดำเนิ น งานตามนโยบาย แผนงาน โครงการเกี่ ย วกั บ ลักษณะของผลกระทบ กลุ่มประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ โดยเน้น กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส 3.2 ผู้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อ

สุขภาพ ในขั้ น ตอนการประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ จะ ดำเนินงานโดยทีมผู้ประเมิน ซึ่งคณะกรรมการกำกับติดตามได้ กำหนดไว้ ในขั้ น ตอนการกำหนดขอบเขตการศึ ก ษา สำหรั บ การดำเนินงาน HIA โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทีมผู้ประเมิน ควรประกอบด้วย บุคลากรของ อปท. นักวิชาการจากภายนอก

บทที่

3 การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Appraisal)

69

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

2.3 ผลลัพธ์จากขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการศึกษา เมื่อดำเนินการกำหนดขอบเขตการศึกษาตามขั้นตอน ดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการกำกับติดตามจะต้อง จัดทำรายละเอียดข้อกำหนดงาน (Terms of Reference) ซึ่ง ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆ ที่กล่าวไว้ ในข้อ 2.3.2 – 2.3.6 เพื่อให้ทีมผู้ดำเนินการประเมินใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานต่อไป


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

70

เช่ น สถาบั น การศึ ก ษา ศู น ย์ วิ ช าการที่ เ กี่ ย วข้ อ ง สำนั ก งาน สาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น และผู้แทนจากกลุ่มประชาชนที่คาดว่า จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการ ที่ทำการประเมิน 3.3 วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถ ใช้ วิ ธี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล และวิ ธี ก ารในการคาดการณ์ ผ ลกระทบต่ อ สุขภาพหลากหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการตาม ขั้นตอน ดังนี้ 3.3.1 การวิเคราะห์นโยบาย แผนงาน โครงการ เป็นการพิจารณาบริบท กลไก และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจาก นโยบาย แผนงานโครงการ ควรวิเคราะห์ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้ แ ก่ เนื้ อ หา คุ ณ ค่ า หรื อ การให้ ค วามสำคั ญ เป้ า หมายและ วัตถุประสงค์ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ความสัมพันธ์กับนโยบาย อื่นๆ ข้อจำกัดของการนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล ทั้งนี้ ผลจาก การวิเคราะห์นโยบาย แผนงาน โครงการ จะช่วยให้เกิดความ เข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น และแนวทาง การเสนอแนะการจัดการป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพ 3.3.2 วิธีการเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลเพื่อนำมา วิ เ คราะห์ ค าดการณ์ ผ ลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ใช้ วิ ธี ก ารเก็ บ ข้ อ มู ล แบ่งตามลักษณะของข้อมูล เป็น 2 วิธี ดังนี้ 1) วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ (1) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) เช่น


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

71

บทที่

3

- การสั ม ภาษณ์ เ จาะลึ ก กลุ่ ม ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว น เสียที่เกี่ยวข้อง ความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้อง กับผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการที่ทำการ ประเมิน - การสั ม ภาษณ์ เ จาะลึ ก ความคิ ด เห็ น ของ ผู้เชี่ยวชาญ (2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นวิธีการเชิงคุณภาพโดยจัดให้มีการสนทนาพูดคุยกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรือกลุ่มผู้ ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ครั้งละ 10-12 คน โดยผู้ประเมินเป็นผู้ดำเนินการสนทนา มีการบันทึกเทป การสนทนาและผู้จดบันทึก เพื่อให้ ได้ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้มีส่วน ได้ ส่ ว นเสี ย และผู้ ที่ ค าดว่ า จะได้ รั บ ผลกระทบจากนโยบาย แผนงาน โครงการ (3) การใช้แบบเช็ครายการ (Checklist) โดยทีม ผู้ ท ำการประเมิ น เช็ ค รายการเกี่ ย วกั บ ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ ด้านต่างๆ 2) วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ (1) การเก็ บ ข้ อ มู ล ด้ ว ยแบบสอบถามหรื อ แบบ สัมภาษณ์ (Questionnaire) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งอาจใช้หลักการทางสถิติในการสุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูล (2) การเก็บข้อมูลด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์บ่งชี้ลักษณะของผลกระทบต่อสุขภาพที่คาดว่า จะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงต่อ สุขภาพ (Health Risk Assessment; HRA) และวิธีการทาง ระบาดวิทยา (Epidemiological Method) ซึ่งวิธีการด้านนี้ จำเป็น


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

72

ต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์เฉพาะ ร่วมเป็นทีมประเมิน ด้วย ทั้ ง นี้ ลั ก ษณะของข้ อ มู ล ที่ เ ก็ บ เพื่ อ การวิ เ คราะห์ ผลกระทบต่อสุขภาพ จะต้องเก็บทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ด้วยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เช่น หลักฐานที่ ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ทั้งในส่วนที่มี การตีพิมพ์ ในวารสารและไม่ ได้ตีพิมพ์เอกสารรายงานต่างๆ แบบ รายงานโรคและสถิติการเกิดโรคในพื้นที่ศึกษา เป็นต้น 3.3.3 ก ารศึ ก ษาข้ อ มู ล ประชากรที่ ได้ รั บ ผล กระทบ การศึ ก ษารวบรวมข้ อ มู ล ประชากรที่ ค าดว่ า จะได้ รั บ ผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบาย แผนงาน โครงการ จะเป็นข้อมูล พื้นฐานที่ ใช้ ในการเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการรวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบ ต่อสุขภาพในอนาคตด้วย ข้ อ มู ล ประชากรที่ ค วรทำการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ได้แก่ 1) ลักษณะประชากร - จำนวนประชากร - โครงสร้างประชากรจำแนกตามอายุ และเพศ - กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ข องประชากร และมิ ติ ท าง ประวัติศาสตร์ - ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม - ประชากรกลุ่ ม ด้ อ ยโอกาส กลุ่ ม เสี่ ย งและ กลุ่มคนชายขอบ


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

73

บทที่

3

2) สถานะทางสุ ข ภาพของประชากร กลุ่ ม ด้ อ ย โอกาส กลุ่มเสี่ยง - อัตราการตายตามสาเหตุและกลุ่มเพศอายุ ต่างๆ - อั ต ราการเจ็ บ ป่ ว ย ตามสาเหตุ แ ละกลุ่ ม ประชากรต่างๆ - สถานะสุขภาพ และปัญหาทางสุขภาพตาม การรับรู้ของประชากร 3) พฤติกรรมทางสุขภาพของประชากร กลุ่มด้อย โอกาส กลุ่มเสี่ยง เช่น พฤติกรรมการบริโภค อัตราการสูบบุหรี่ การใช้เวลาอยู่กับครอบครัว 4) วิถีชีวิตของประชากร กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเสี่ยง - การใช้ ที่ ดิ น และการพึ่ ง พิ ง ทรั พ ยากร ธรรมชาติ - วิถีการผลิต และความสัมพันธ์ ในการผลิต - ความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และมิติ ทางประวัติศาสตร์ 5) สภาวะทางสิ่งแวดล้อม - คุณภาพน้ำ อากาศ ดิน - ลักษณะท้องถิ่นที่สำคัญ 6) การเข้าถึงบริการสาธารณสุข และบริการทาง สังคมอื่นๆ 7) ความคาดหวังต่อการพัฒนา


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

74

3.3.4 การบ่งชี้และแจกแจงลักษณะผลกระทบ ต่อสุขภาพ การบ่งชี้และแจกแจงผลกระทบต่อสุขภาพ จะต้อง พิจารณาทั้งผลกระทบทางบวกและลบ จากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ โดยผู้ประเมินจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ กับปัจจัยกำหนดสุขภาพ และผลกระทบต่อ สุขภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประชากร ประเด็นที่ควรแจกแจงผลกระทบต่อสุขภาพ ในการบ่ ง ชี้ แ ละแจกแจงลั ก ษณะผลกระทบต่ อ สุขภาพ ควรแจกแจงประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพในแต่ละด้าน ดังนี้ (1) ลักษณะของผลกระทบ (2) กิจกรรมหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบ หรือมี ผลให้ผลกระทบมากขึ้นหรือลดลง (3) ขนาดและความรุนแรงของผลกระทบ (4) ความถี่ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (อุบัติการณ์/ อัตราชุก) (5) ระยะเวลาที่เกิดขึ้น (ระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว) (6) พื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบ (ระยะทางจากแหล่งที่ เกิดผลเสียหรือผลดี) (7) โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบ


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

75

บทที่

3

3.3.5 การใช้หลักวิทยาการระบาดในการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ 1) ความหมายของวิทยาการระบาด วิ ท ยาการระบาด (Epidemiology) หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของเหตุการณ์หรือปัญหา สุขภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเหตุการณ์หรือปัญหานั้น ในกลุ่ ม ประชากรแต่ละกลุ่มหรือเฉพาะกลุ่ม แล้ ว นำวิ ท ยาการนี้ ไปประยุกต์ ใช้ ในการควบคุมปัญหาสุขภาพนั้น วิทยาการระบาด จะศึกษาการกระจาย ของโรคหรือปัญหาสุขภาพ ในด้านที่เกี่ยวกับบุคคล (Person) เช่น โรคนั้นเกิดในกลุ่มบุคคล อายุ เพศ และฐานะอย่างใด สถานที่ เกิดโรค (Place) การเกิดโรคนั้นมากน้อยแตกต่างกันอย่างไรใน แต่ละพื้นที่ และเวลา (Time) การเกิดโรค เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน ไปตามฤดูกาลที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ในแต่ละโรคหรือปัญหาสุขภาพที่ ศึกษา ก็จะศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Host) สิ่งที่ทำให้เกิด โรค (Agent) และสิ่งแวดล้อม (Environment) 2) วิธีการศึกษาทางวิทยาการระบาด การศึ ก ษาทางวิ ท ยาการระบาด มี วิ ธี ก าร ศึกษาแบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) วิทยาการระบาดเชิงสังเกต (Observational Epidemiology) (2) วิทยาการระบาดเชิงทดลอง (Experimental Epidemiology) ดังรายละเอียดในภาพที่ 12


แบบศึกษาทางวิทยาการระบาด (Epidemiological Methods) วิทยาการระบาดเชิงสังเกต (Observation Epidemiology)

แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (With comparison group)

การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)

การศึกษาย้อนหลัง

วิทยาการระบาดเชิงทดลอง (Experimental Epidemiology)

แบบไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ การศึกษาในคลินิก (No comparison group) (Clinical Trials)

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Study)

การศึกษาในสนาม (Field Trials)

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง (Case-Control Study) การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดระยะสั้น ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Study) การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า (Cohort or Prospective Study)

การศึกษาระยะสั้น ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

76

ภาพที่ 12 รูปแบบการศึกษาทางวิทยาการระบาด ที่มา: เลิศชัย เจริญธัญรักษ์, 2541.


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

77

บทที่

3

(1) วิ ท ยาการระบาดเชิ ง สั ง เกต เป็ น การศึ ก ษา รวบรวมข้ อ มู ล โดยกลุ่ ม ศึ ก ษาได้ รั บ ปั จ จั ย ตามปกติ ผู้ ศึ ก ษา สังเกตการณ์ สภาพการณ์ โดยไม่ ได้ ให้หรือกำหนดปัจจัยใดใดแก่ กลุ่มศึกษา วิทยาการระบาดเชิงสังเกต แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ - วิทยาการระบาดเชิงพรรณนาหรือเชิงบรรยาย (Descriptive Epidemiology) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและ ข้อเท็จจริงต่างๆ มาพรรณนาหรือบรรยายเกี่ยวกับลักษณะการเกิด การกระจายของโรค และแนวโน้มของโรคในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูล เบื้องต้นในการตั้งสมมติฐานนำไปสู่การศึกษาหาสาเหตุ หรือปัจจัย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การเกิ ด โรค โดยใช้ วิ ธี ก ารวิ ท ยาการระบาด เชิงวิเคราะห์ หรือเชิงทดลองต่อไป - วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Epidemiology) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรค และ สาเหตุ ห รื อ ปั จ จั ย ต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การเกิ ด โรค ว่ า มี ค วาม สัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร เพื่อประโยชน์ ในการวางแผนการควบคุม และป้องกันโรค วิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ (ดังภาพที่ 13) ดังนี้ • การศึ ก ษาเริ่ ม ต้ น จากเหตุ ไ ปหาผล หรื อ การศึกษาชนิดไปข้างหน้าหรือการศึกษาระยะยาว (Prospective Study, Cohort Study, Follow-Up Study, Incidence Study, Forward-Looking Study, Longitudinal Study) • การศึกษาย้อนหลังจากผลไปหาเหตุ หรือการ ศึ ก ษาชนิ ด ย้ อ นหลั ง (Retrospective Study, Case-Control Study, Case-Historical Study)


• การศึกษาเหตุ และผลไปพร้อมๆ กัน หรือ การศึกษาระยะสั้น ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Study) 78

บทที่

ปัจจุบัน

อนาคต

ทิศทางการศึกษาหาสาเหตุ ทิศทางการศึกษาหาผล เหตุ ผล เหตุ ผล การศึกษาชนิดย้อนหลัง การศึกษาชนิดไปข้างหน้า เหตุ-ผล-เหตุ-ผล พร้อมๆ กัน การศึกษาระยะสั้น ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

อดีต

ภาพที่ 13 รูปแบบวิทยาการระบาดเชิงวิเคราะห์ ที่มา: เลิศชัย เจริญธัญรักษ์, 2541.


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

79

บทที่

3

(2) วิทยาการระบาดเชิงทดลอง เป็นการศึกษาเพื่อ พิสูจน์สมมติฐาน เกี่ยวกับปัจจัยหรือสาเหตุของโรคหรือปัญหา สุ ข ภาพหรื อ ศึ ก ษาทดลองวิ ธี ก าร เช่ น วิ ธี ก ารรั ก ษา วิ ธี ก ารให้ สุขศึกษา เป็นต้น โดยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ ได้รับปัจจัย ที่ ก ำหนดให้ ว่ า เกิ ด ผลหรื อ ไม่ เ กิ ด ผลแตกต่ า งจากกลุ่ ม ที่ ไม่ ได้ รั บ ปั จ จั ย นั้ น หรื อ ไม่ อย่ า งไร รู ป แบบการศึ ก ษาวิ ท ยาการระบาด เชิงทดลอง จะคล้ายคลึงกับรูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดไป ข้างหน้า แต่การศึกษาเชิงทดลองผู้ศึกษาเป็นผู้กำหนดปัจจัยหรือ สิ่งที่ต้องการทดสอบ ดังภาพที่ 14 กลุ่มทดลอง วัดผล กำหนดให้ ได้รับปัจจัย เปรียบเทียบผลที่ ได้ ประชากรทั่วไป สุ่มประชากรตัวอย่าง กลุ่มควบคุม วัดผล กำหนดให้ ไม่ ได้รับปัจจัย ภาพที่ 14 รูปแบบการศึกษาเชิงทดลอง ที่มา: เลิศชัย เจริญธัญรักษ์, 2541.


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

80

3.3.6 การใช้ ห ลั ก การประเมิ น ความเสี่ ย งต่ อ สุขภาพในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 1) ความหมายของการประเมินความเสี่ยง ความเสี่ ย ง หมายถึ ง ลั ก ษณะของ สถานการณ์หรือการกระทำใด ๆ ที่มีผลลัพธ์ ได้มากกว่า 2 อย่าง ผลลัพธ์ที่ว่านี้เราไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ และ อย่างน้อยหนึ่งในผลลัพธ์นั้นไม่พึงประสงค์ ความเสี่ยงต่อสุขภาพ หมายถึง ความน่า จะเป็นหรือโอกาสของการได้รับหรือสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพหนึ่งๆ การประเมิ น ความเสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพ (Health Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการศึกษาอย่าง เป็ น ระบบเพื่ อ พรรณนาและวั ด ความเสี่ ย งที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ สิ่งคุกคามสุขภาพ กระบวนการ การกระทำ หรือเหตุการณ์ ใดๆ การประเมิ น ความเสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังถึงการรับสัมผัสและผลกระทบ ต่ อ สุ ข ภาพที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น หรื อ ยั ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น ในปั จ จุ บั น หากผล กระทบนั้นยังไม่เกิดขึ้น การประเมินความเสี่ยงก็เป็นการคาดการณ์ ถึงความน่าจะเป็นของการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพนั้น การประเมิ น ความเสี่ ย งต่ อ สุ ข ภาพ แบ่งลักษณะการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ก า ร ป ร ะ เ มิ น เ ชิ ง คุ ณ ภ า พ (Qualitative Assessment) เป็ น การศึ ก ษาเพื่ อ อธิ บ าย ปรากฏการณ์เชิงสังคมและมานุษยวิทยา โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ เช่น การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม ซึ่งไม่เน้น การเก็บข้อมูลด้วยการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์หรือการใช้สถิติใน การวิเคราะห์ข้อมูล


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ แบ่ง เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ การรับรู้ความเสี่ยง (Risk Perception) การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) และการจัดการ 81 ความเสี่ยง (Risk Management) (2) ก า ร ป ร ะ เ มิ น เ ชิ ง ป ริ ม า ณ (Quantitative Assessment) เป็นการศึกษาที่ ใช้หลักการทาง วิทยาศาสตร์ มีการตรวจวัดค่าตัวแปรต่างๆเป็นตัวเลข รวมทั้ง การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ สามารถอธิบายผลได้ด้วย เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การประเมินความเสี่ยง ในทางปฏิ บั ติ อาจไม่สามารถกำหนดเป็นตัว เลขได้ อ ย่ า งชั ด เจน เพียงบอกได้ ในรูปความน่าจะเป็นในเชิงคุณภาพ เช่น สูง ปานกลาง ต่ำ เป็นต้น 2) วิธีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีขั้นตอน ดังนี้ (1) การประเมิ น สิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพ (Hazard Identification)การประเมิ น สิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพ เป็ น การศึกษาเพื่อที่จะตอบคำถามว่าสิ่งคุกคามสุขภาพที่สนใจมีผลเสีย ต่อสุขภาพหรือไม่ โดยวิธีการ ดังนี้ - การศึกษาทางวิทยาการระบาด (Epidemiological Studies) - การศึกษาในสัตว์ทดลอง (In Vivo Animal Bioassays)


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

82

- การศึ ก ษาจากการเพาะเลี้ ย ง เ ซ ล ล์ ห รื อ เ นื้ อ เ ยื่ อ ใ น ห ล อ ด ทดลอง (Short-Term In Vitro Cell and Tissue Culture Test) - การวิเคราะห์ โครงสร้างทางเคมี (Structure-Activity Relationship Analyses) (2) ก า ร ป ร ะ เ มิ น ก า ร รั บ สั ม ผั ส (Exposure Assessment) การประเมินการรับสัมผัส เป็นการ ค้ น หาสิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพที่ ม นุ ษ ย์ ได้ รั บ คำนวณปริ ม าณที่ ได้ รั บ ได้รับด้วยวิธี ใด เป็นเวลานานเท่าใด และภายใต้สภาพการณ์ ใด วิ ธี ก า ร ป ร ะ เ มิ น ก า ร รั บ สั ม ผั ส แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ - ก า ร เ ฝ้ า คุ ม ก า ร รั บ สั ม ผั ส (Exposure Monitoring) เป็นการค้นหาว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จะได้ รั บ สิ่ ง คุ ก คามสุ ข ภาพเข้ า สู่ ร่ า งกายมากน้ อ ยเพี ย งใด โดย การเฝ้าคุมที่ตัวบุคคล (Personal Exposure Monitoring) ด้วย วิธีการ 1) วัดความเข้มข้นของสิ่งคุกคามสุขภาพ ที่คนในกลุ่มเสี่ยง ได้รับ เช่น การเก็บตัวอย่างอากาศที่คนสูดหายใจ ตัวอย่างน้ำที่ คนดื่ม หรือการใช้แถบวัดปริมาณรังสีประจำกาย 2) การเฝ้าคุม ทางชีวภาพ (Biological Monitoring) โดยการเก็บตัวอย่างจาก ร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ สารคัดหลั่ง และ 3) การเฝ้าคุมที่ ตัวกลางหรือสถานที่ (Ambient Monitoring) โดยการเก็บตัวอย่าง อากาศ น้ำ หรือดิน เพื่อตรวจหาสิ่งคุกคามสุขภาพ หรือมลสารใน สิ่งแวดล้อม


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

- การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Exposure Modeling) ประเมินการรับสัมผัส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ผลกระทบที่ ไม่ ใช่มะเร็ง (Non-carcinogenic Effects) คือ Average Daily Dose (ADD) และ 2) ผลกระทบที่เป็นมะเร็ง 83 (Carcinogenic Effects) คือ Lifetime Average Daily Dose (LADD) (3) การประเมิ น การรั บ สั ม ผั ส กั บ การ ตอบสนอง (Dose-Response Assessment) เป็นการหาความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการรั บ สั ม ผั ส กั บ โอกาสของการเกิ ด ผลเสี ย ต่ อ สุขภาพ เพื่อนำผลไปใช้ ในการหาค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยในมนุษย์ (4) การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง (Risk Characterization) การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง เป็นการพรรณนาลักษณะทางธรรมชาติ และขนาดของความเสี่ยง ในมนุ ษ ย์ ซึ่ ง จะต้ อ งรวมเอาความไม่ แ น่ น อน (Uncertainties) เข้าด้วย โดยสรุปเพื่อตอบคำถามว่า สิ่งคุกคามสุขภาพใดๆ จะก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์มากน้อยเพียงใด โดยอาศัย องค์ความรู้จาก 3 ขั้นตอน ดังกล่าวข้างต้น การอธิ บ ายลั ก ษณะของความเสี่ ย ง มีขั้นตอน ดังนี้ - รวบรวมข้ อ มู ล ต่ า งๆที่ ได้ จ ากการ ประเมิน ใน 3 ขั้นตอนแรก - ประเมินคุณภาพในภาพรวมและระดับ

ความเชื่อมั่นของผู้ประเมิน - อธิบายความเสี่ยง ให้กับกลุ่มประชากร ทั้งขนาด และความรุนแรง - รายงานผลการศึกษาให้กับผู้มีอำนาจ ในการตัดสินใจ


4. การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommendation)

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

84

การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและ ข้อเสนอแนะ เป็นการรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการร่างข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง นโยบาย แผนงาน โครงการ ให้ เ พิ่ ม โอกาสในการสร้ า งเสริ ม สุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาพ มีแนวทางในการดำเนิน การตามขั้นตอน ดังนี้ 4.1 ทีมผู้ประเมิน จัดทำร่างรายงาน HIA ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 4.1.1 ความเป็นมาของนโยบาย แผนงาน โครงการ ความจำเป็นและความสำคัญที่ต้องทำ HIA 4.1.2 ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ศึกษา สถานะสุขภาพ ของประชาชนในพื้นที่ศึกษา 4.1.3 วิ ธี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล การบ่ ง ชี้ แ ละ แจกแจงผลกระทบต่อสุขภาพ 4.1.4 ผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 4.1.5 ข้ อ เสนอแนะในการจั ด การผลกระทบต่ อ สุขภาพด้านต่างๆ และผู้รับผิดชอบ ข้อเสนอแนะจากการทำ HIA จะประกอบด้วยข้อ เสนอแนะด้านต่างๆ ดังนี้


กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

85

บทที่

3

1) ข้ อ เสนอแนะ มาตรการในการป้ อ งกั น หรื อ ลดผลกระทบต่อสุขภาพ ในกรณีที่คาดว่าจะมีผลกระทบทางลบ ต่อสุขภาพของประชาชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มต่างๆ 2) ข้อเสนอแนะ มาตรการในการติดตามเฝ้าระวัง ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3) ข้อเสนอแนะ มาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพ หรือมาตรการในการเพิ่มประโยชน์ที่ ได้รับต่อสุขภาพของประชาชน จากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ ทั้งนี้ การจัดทำข้อเสนอแนะควรพิจารณาจากข้อมูล ที่ทีมผู้ประเมินได้ดำเนินการเก็บอย่างครอบคลุม รวมทั้ง ข้อมูลจาก การทบทวนเอกสารหรือหลักฐานทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง รายงาน HIA ของโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน 4.2 คณะกรรมการกำกับติดตาม ตรวจสอบความ ครบถ้วนและคุณภาพของรายงาน HIA โดยพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บกั บ รายละเอี ย ดในข้ อ กำหนดงาน ซึ่งได้กำหนดไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการ ศึกษา 4.3 ทีมผู้ประเมินร่วมกับ อปท. จัดการประชุมเพื่อรับ ฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงาน HIA และรวบรวมข้อเสนอแนะเพิ่ม เติมจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้รับผิด ชอบนโยบาย แผนงาน โครงการนั้นๆ นักวิชาการจากหน่วยงานที่


5 การติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Monitoring and Evaluation)

5.1 วัตถุประสงค์ของการติดตามตรวจสอบและ ประเมินผล 5.1.1 เพื่อติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพที่ เกิ ด ขึ้ น จริ ง ภายหลั ง จากการดำเนิ น การตามนโยบาย แผนงาน โครงการ ว่าตรงกับที่คาดการณ์ ไว้หรือไม่ อย่างไร 5.1.2 เพื่อติดตามว่าผู้รับผิดชอบมาตรการป้องกัน หรื อ ลดผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ .และมาตรการในการสร้ า งเสริ ม สุขภาพตามที่ ได้กำหนดไว้ ในรายงาน HIA มีการดำเนินการตามข้อ เสนอแนะหรือไม่ 5.1.3 เพื่อนำผลการติดตามตรวจสอบไปเสนอแนะ ในการปรั บ ปรุ ง แก้ ไข การดำเนิ น การตามนโยบาย แผนงาน โครงการต่อไป 5.1.4 เพื่อเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์สำหรับ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในครั้งต่อๆ ไป

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

86

เกี่ยวข้อง ผู้แทนกลุ่มประชาชนที่ ได้รับผลกระทบทั้งกลุ่มที่ ได้รับผล กระทบทางลบ และกลุ่มที่ ได้รับผลกระทบทางบวก 4.4 ทีมผู้ประเมิน รวบรวมข้อคิดเห็นจากการประชุม เพื่อรับฟังความคิดเห็น นำมาปรับปรุงรายงาน และจัดทำรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจต่อไป


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

5.2 ผู้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการติดตามและประเมินผล การติดตามและประเมินผล ควรประกอบด้วยผู้รับ ผิดชอบ คือ คณะกรรมการกำกับติดตาม ทีมผู้ประเมินและผู้แทน 87 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ อาจเชิญผู้ประเมินภายนอกร่วม ในการติดตามและประเมินผลด้วย 5.3 รูปแบบและวิธีการติดตามตรวจสอบและ ประเมินผล การติดตามตรวจสอบและประเมินผล แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 5.3.1 การประเมินผลกระบวนการ (Process Evaluation) การประเมินผลกระบวนการเป็นการติดตามว่าการ ดำเนินการ HIA โครงการนั้นๆ มีการดำเนินการตามหลักการมาก น้อยเพียงใด ในการดำเนินการมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร โดยการ ประเมินผลกระบวนการ คณะกรรมการกำกับติดตามสามารถ ติ ด ตามกำกั บ ดู แ ลในระหว่ า งขั้ น ตอนต่ า งๆ ของการทำ HIA ผลสรุปจากการประเมินผลกระบวนการ จะเป็นประโยชน์สำหรับ การเป็ น บทเรี ย นหรือองค์ความรู้ที่จะนำไปเป็ น ประโยชน์ ในการ ดำเนินการ HIA โครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

88

5.3.2 การประเมินผลลัพธ์ (Outcome Evaluation) การประเมิ น ผลลั พ ธ์ เป็ น การติ ด ตามและ วิ เ คราะห์ ตั ว ชี้ วั ด ต่ า งๆ และผลลั พ ธ์ ท างสุ ข ภาพว่ า มี ก าร เปลี่ยนแปลงของสถานะสุขภาพหรือไม่ ทั้งในประเด็นที่คาดการณ์ ไว้และไม่ ได้คาดการณ์ ไว้ การประเมินผลลัพธ์จึงเป็นการทดสอบ ผลการคาดการณ์ เพื่อบ่งชี้ ให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการติดตามดูว่าผลจากการดำเนินการตามข้อ เสนอแนะที่ระบุในรายงาน HIA สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพ บรรลุผลตามที่ต้องการหรือไม่ วิ ธี ก ารในการประเมิ น ผลลั พ ธ์ สามารถ ประยุ ก ต์ วิ ธี ก ารทางวิ ท ยาระบาด วิ ธี ก ารประเมิ น ความเสี่ ย ง ต่อสุขภาพ และวิธีการอื่นๆ เช่นเดียวกับวิธีการของขั้นตอนการ ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การเฝ้าคุมการรับสัมผัสสาร ตะกั่ ว ของประชาชนกลุ่ ม เสี่ ย งที่ อ าศั ย อยู่ ในพื้ น ที่ ซึ่ ง ได้ รั บ การ ปนเปื้อนตะกั่วจากโรงงานถลุงตะกั่ว โดยการเฝ้าคุมที่ตัวบุคคล ด้ ว ยวิ ธี ก ารเฝ้ า คุ ม ทางชี ว ภาพ โดยการเก็ บ ตั ว อย่ า งเลื อ ดของ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตรวจหาปริมาณตะกั่วในเลือด และการเฝ้าคุม ที่ตัวกลาง โดยการเก็บตัวอย่าง น้ำ ดิน พืช ผัก และสัตว์น้ำที่เป็น แหล่งอาหารของประชากรกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจหาปริมาณสารตะกั่ว แล้วนำผลการตรวจวัดเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน โดยสรุป หลังจากทีมผู้ประเมินได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนทุกขั้นตอนแล้ว ผลลัพธ์ที่ ได้ควรสามารถตอบคำถาม หรือสรุปผลการประเมิน ดังตัวอย่างตารางที่ 2 โดยรายละเอียด ของตาราง ไม่ มี รู ป แบบที่ ก ำหนดแน่ น อน สามารถปรั บ ปรุ ง ให้


89

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

เหมาะสมได้ตามขอบเขตการประเมิน และวัตถุประสงค์ของการนำ ผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ ตั ว อย่ า งตารางสรุ ป ผลการประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุขภาพจากการดำเนินโครงการ ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การ บริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง ดังตาราง ที่ 3 และตารางที่ 4


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

ลำดับ กลุ่มประชาชน สิ่งคุกคามสุขภาพ/ ปัจจัยกำหนด สุขภาพ ที่ ที่ ได้รับผล สิ่งที่สร้างเสริม กระทบ ที่เกีย่ วข้อง สุขภาพ บวก

ลบ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

มาตรการ มาตรการติดตาม มาตรการ ป้องกันหรือลด เฝ้าระวังผล ในการ ผู้รับผิดชอบ กระทบ ผลกระทบ สร้างเสริม ต่อสุขภาพ ต่อสุขภาพ สุขภาพ

ข้อเสนอแนะ

ตารางที่ 2 ตัวอย่าง ตารางสรุปผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ นโยบาย/แผนงาน/โครงการ............................................

90


บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

ข้อเสนอแนะ

ผู้รับผิดชอบ ในการดำเนิ น ลำดับ กลุ่มประชาชน สิ่งคุกคามสุขภาพ/ ปัจจัยกำหนด มาตรการ มาตรการติดตาม มาตรการ การมาตรการ บวก ลบ สุขภาพ สิ่งที่สร้างเสริม ที่ ที่ ได้รับผล ป้องกันหรือลด เฝ้าระวังผล ในการ กระทบ ผลกระทบ สร้ างเสริม ต่างๆ ตาม กระทบ ที่เกี่ยวข้อง สุขภาพ ต่อสุขภาพ ต่อสุขภาพ สุขภาพ ข้อเสนอแนะ 1. ประชาชนที่อาศัย 1. ฝุ่นละออง ในระหว่าง - 1. อัตรา 1. อบต. ควร - 2. จัด 1. ผู้รับเหมา อยู่ โดยรอบ 2. เสียงดัง การก่อสร้าง ป่วยด้วย กำหนดและ โครงการ โดย อบต. บริเวณก่อสร้าง 3. อุบัติเหตุ 1. เกิดฝุ่นละออง โรคระบบ ควบคุมให้ รณรงค์ขับขี่ ควบคุม ถนน ในชุมชนมากขึ้น ทางเดิน ผู้รับเหมา ปลอดภัย กำกับ 2. ผู้รับเหมาก่อสร้าง หายใจของ ดำเนินการ 2. อบต. จัดวางป้ายเตือน ประชาชน ดังนี้ ร่วมกับ สูงขึ้น 1.1 จัดทำ สถานี ไม่ชัดเจน 3. ผู้ขับขี่รถจักร 2. การเกิด ป้ายเตือน อนามัย ยานยนต์ ขับขี่เร็ว อุบัติเหตุ ผู้สัญจร หรือประมาท สูงขึ้น ไปมาให้ชัดเจน 4. เสียงดังจาก 1.2 รดน้ำ เครื่องจักรกล พื้นถนน รบกวนชุมชน 1. ป้องกันฝุ่น ละออง

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ตารางที่ 3 ตัวอย่าง ตารางสรุปผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โครงการก่อสร้างถนนภายในหมู่บ้าน

91


3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

2. คนงานก่อสร้าง 1. อุบัติเหตุจากการ 1. คนงานขาด ถนน ทำงาน ความรู้ และความ ตระหนักในเรื่อง ความปลอดภัยใน การทำงาน 2. คนงานไม่มีการ ใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล 3. ผู้รับเหมาไม่มี การจัดหาอุปกรณ์ ป้องกันอันตรายให้ แก่คนงานและไม่มี การควบคุมดูแลใน เรื่องความปลอดภัย ในการทำงาน

ลำดับ กลุ่มประชาชน สิ่งคุกคามสุขภาพ/ ปัจจัยกำหนด สุขภาพ ที่ ที่ ได้รับผล สิ่งที่สร้างเสริม กระทบ ที่เกีย่ วข้อง สุขภาพ

คนงานมี คนงานได้ 1. อบต. ควร งานทำ รับอุบัติเหตุ กำหนดให้ มีรายได้ จากการ ผู้รับเหมา ความเครียด ทำงาน จัดหาอุปกรณ์ ลดลง ป้องกัน อันตรายส่วน บุคคลที่ จำเป็นให้กับ คนงาน เช่น หมวกนิรภัย เป็นต้น

บวก

ผลกระทบต่อสุขภาพ

2. อบต. ควรเน้น ให้คนงานและ ผู้รับเหมา บันทึก สถิติการเกิด อุบัติเหตุจาก การทำงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูล สร้างความ ตระหนักในการ ป้องกันอันตราย จากการทำงาน

ข้อเสนอแนะ

3. ให้ความรู้ และสร้าง ความ ตระหนัก ด้านความ ปลอดภัยใน การทำงาน

1. ผู้รับเหมา โดย อบต. ควบคุม กำกับ 2. อบต. ร่วมกับ สถานี อนามัยและ ผู้รับเหมา 3. อบต. ร่วมกับ สถานี อนามัย

ผู้รับผิดชอบ ในการดำเนิน มาตรการ มาตรการติดตาม มาตรการ การมาตรการ ลบ ป้องกันหรือลด เฝ้าระวังผล ในการ กระทบ ผลกระทบ สร้างเสริม ต่างๆ ตาม ต่อสุขภาพ ต่อสุขภาพ สุขภาพ ข้อเสนอแนะ

ตารางที่ 3 ตัวอย่าง ตารางสรุปผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โครงการก่อสร้างถนนภายในหมู่บ้าน (ต่อ)

บทที่ 92


บวก

ลบ

ข้อเสนอแนะ

บทที่

3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

มาตรการ มาตรการติดตาม ป้องกันหรือลด เฝ้าระวังผล กระทบ ผลกระทบ ต่อสุขภาพ ต่อสุขภาพ 1. ประชาชนที่ 1. พยาธิใบไม้ ในตับ 1. มีแหล่งอาหาร - มีผู้ป่วย 1. ให้ความรู้ 2. ตรวจอุจจาระ รับประทาน ปลามากขึ้น ด้วยโรค เกี่ยวกับ ประชาชนกลุ่ม ปลาดิบ อาจมีประชาชน พยาธิใบไม้ พฤติกรรม เสี่ยงเพื่อคัดกรอง รับประทานปลาดิบ ในตับมาก การบริโภค ผู้ติดโรคพยาธิ มากขึ้น ขึ้น ปลาที่ถูก ใบไม้ ในตับ 2. ประชาชนขาด สุขลักษณะ ความรู้และความ และอันตราย ตระหนักเกี่ยวกับ จากโรคพยาธิ การป้องกันพยาธิ ใบไม้ ในตับ ใบไม้ ในตับ 2. ประชาชนผู้ ใช้ - 1. มีน้ำอุปโภค 1. ปัญหา - - ศึกษา วิเคราะห์ ประโยชน์จาก บริโภค อย่างเพียง โรคผิวหนัง แนวโน้มอัตรา แหล่งน้ำ พอตลอดปี และอุจจาระ ป่วยด้วยโรค 2. มีรายได้เสริม ร่วงลดลง ผิวหนังและ มากขึ้น จากการ อุจจาระร่วง ทำการเกษตร เช่น เลี้ยงปลา

ลำดับ กลุ่มประชาชน สิ่งคุกคามสุขภาพ/ ปัจจัยกำหนด สุขภาพ ที่ ที่ ได้รับผล สิ่งที่สร้างเสริม กระทบ ที่เกีย่ วข้อง สุขภาพ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ผู้รับผิดชอบ ในการดำเนิน มาตรการ การมาตรการ ในการ สร้างเสริม ต่างๆ ตาม สุขภาพ ข้อเสนอแนะ 3. ให้ความรู้ 1, 2, 3, เกี่ยวกับ และ 4 แนวทางการ อบต. ร่วม ป้องกันโรค กับสถานี 4. รณรงค์ อนามัย การจัดการ สิ่งปฏิกูล ที่ถูก สุขลักษณะ อบต. ร่วม - กับสถานี อนามัย

ตารางที่ 4 ตัวอย่าง ตารางสรุปผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน

93


3

กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการ ของการดำเนินงาน HIA

2. 3.

ประชาชนผู้ ใช้ - ประโยชน์จาก แหล่งน้ำ เด็ก อุบัติเหตุจากการจม น้ำเสียชีวิต

3. มีผลผลิต ทางการเกษตร มากขึ้น มีรายได้ สูงขึ้น 4. มีแหล่งพัก ผ่อนหย่อนใจ มากขึ้น 1. การลงเล่ น น้ ำ ของเด็กโดยลำพัง 2. ขาดการ ประชาสัมพันธ์ ตักเตือน ด้านความ ปลอดภัยใน การลงเล่นน้ำ

ลำดับ กลุ่มประชาชน สิ่งคุกคามสุขภาพ/ ปัจจัยกำหนด สุขภาพ ที่ ที่ ได้รับผล สิ่งที่สร้างเสริม กระทบ ที่เกีย่ วข้อง สุขภาพ

ข้อเสนอแนะ

ผู้รับผิดชอบ ในการดำเนิน มาตรการ มาตรการติดตาม มาตรการ การมาตรการ บวก ลบ ป้องกันหรือลด เฝ้าระวังผล ในการ กระทบ ผลกระทบ สร้างเสริม ต่างๆ ตาม ต่อสุขภาพ ต่อสุขภาพ สุขภาพ ข้อเสนอแนะ 2. มีแหล่ง - - - ให้ความรู้ อบต. ร่วม อาหารจาก และสร้าง กับชุมชน สัตว์น้ำ ความ และผลผลิต ตระหนัก ทางการ เกี่ยวกับการ เกษตรมาก ป้องกัน ขึ้น มลพิษใน แหล่งน้ำ - มีเด็กจมน้ำ ประชาสัมพันธ์ - - อบต. ร่วม เสียชีวิต ห้ามเด็ก กับชุมชน มากขึ้น เล่นน้ำโดย ลำพัง ควรอยู่ ใน ความควบคุม ดูแลของ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ตารางที่ 4 ตัวอย่าง ตารางสรุปผลการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชน (ต่อ)

บทที่ 94


บทที่ 4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ใน ระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการ ประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

95

บทที่

4

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญอย่างยิ่งใน การเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทภารกิจ ในการจัดบริการสาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิต และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นเพื่อให้ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขภาวะที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนั้น HIA จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญเครื่องมือหนึ่ง ที่ อปท. สามารถนำมาใช้ ในกระบวนการตั ด สิ น ใจที่ จ ะดำเนิ น นโยบาย แผนงาน โครงการ เพื่ อ ให้ ได้ ข้ อ เสนอแนะเพื่ อ การ ป้องกันหรือลดผลกระทบทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวกให้ มากที่สุด ในการดำเนินงาน HIA ของ อปท. ตามที่กำหนดไว้ ใน กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า อปท. มีส่วน เกี่ยวข้องทั้งในฐานะเป็นองค์กรที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การทำ HIA ของแผนงาน โครงการ ที่ อปท. เป็ น เจ้ า ของ โครงการ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพจาก การดำเนินงานของโครงการดังกล่าว สำหรับโครงการที่กฎหมาย กำหนดว่าต้องทำ EIA และโครงการที่กำหนดว่ามีผลกระทบต่อ สุขภาพอย่างรุนแรง ต้องทำ HIA อปท. ก็เป็นองค์กรที่สำคัญ

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

1. ความจำเป็น และความสำคัญ ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงาน HIA


96

อย่างยิ่งที่ต้องส่งผู้แทนเข้าร่วมกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอน การนำเสนอขอบเขตการศึกษา และร่วมในขั้นตอนรับฟังความคิด เห็นต่อร่างรายงาน EIA และ HIA ด้วย รวมทั้งมีส่วนร่วมใน การติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพหลังจากโครงการได้ ดำเนินการแล้ว

2. การประยุ ก ต์ ก ระบวนการ HIA ในกระบวนการ ตัดสินใจ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

จากบทบาท อำนาจหน้าที่ ของ อปท. ตามกฎหมาย ข้อกำหนด และแนวทางที่ ได้กล่าวไว้ ในบทที่ 2 อปท. สามารถใช้ แนวทางการประยุกต์กระบวนการ HIA ในกระบวนการตัดสินใจ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ดังนี้ 2.1 การประยุกต์ ใช้ HIA ในกระบวนการจัดทำแผน ชุมชน แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจาก คนในชุมชนที่มีการรวมตัวกัน เพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทาง ในการพั ฒ นาชุ ม ชนหรื อ ท้ อ งถิ่ น ของตนเอง ให้ เ ป็ น ไปตามความ ต้ อ งการและสามารถแก้ ไขปั ญ หาที่ ชุ ม ชนเผชิ ญ อยู่ ร่ ว มกั น ได้ โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด ร่วมกำหนดแนวทางและกิจกรรม การพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิง ภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมที่


แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

97

บทที่

4

ชุ ม ชนไม่ ส ามารถทำเองได้ ก็ ส ามารถขอรั บ การสนั บ สนุ น จาก หน่วยงานภายนอกได้ โดยชุมชนเสนอแผนชุมชนเข้าเป็นแผน พั ฒ นาขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น หรื อ แผนงาน/ โครงการของส่วนราชการได้ แผนชุมชนมีชื่อเรียกแตกต่างกันตาม ความเข้าใจของแต่ละท้องถิ่น อาทิ แผนแม่บทชุมชน แผนชุมชนพึ่ง ตนเอง แผนชีวิต เป็นต้น การบูรณาการแผนชุมชน หมายถึง วิธีการร่วมมือกัน ทำงานของหน่ ว ยงานสนั บ สนุ น การพั ฒ นาภายนอกชุ ม ชนทุ ก ภาคส่วน โดยยึดหลักการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของเรื่อง โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็น เครื่องมือดำเนินกิจกรรมพัฒนา ให้เป็นไปตามความต้องการของ ชุมชน มากกว่าวัตถุประสงค์ของหน่วยงานสนับสนุน การบูรณาการ มีทั้งบูรณาการด้านกลไก บุคลากร กระบวนการและเครื่องมือ แผนงาน และงบประมาณ วัตถุประสงค์ของการบูรณาการแผนชุมชน 1) เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาขีด ความสามารถของชุมชนในการจัดการพัฒนาและแก้ ไขปัญหาใน ท้องถิ่นของตนเองในทุกๆด้าน ตามความต้องการของชุมชน โดยใช้ กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือ นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเอง 2) เพื่ อ บู ร ณาการการทำงานในแนวดิ่ ง และแนวราบ ระดับพื้นที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่าย องค์กรชุมชน ในการสนับสนุนการบูรณาการแผนชุมชนเพื่อความ


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

98

เข้มแข็งของชุมชน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลางและ คนในชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาและแก้ ไขปัญหาของตนเอง 3) เพื่ อ ประสานเชื่ อ มโยงความต้ อ งการของชุ ม ชน ภายใต้แผนชุมชนกับแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอำเภอ และ แผนพัฒนาจังหวัด การบู ร ณาการแผนชุ ม ชนกั บ แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น แผนพั ฒ นาอำเภอ และแผนพั ฒ นาจั ง หวั ด สรุ ป กรอบแนวคิ ด ดังภาพที่ 15


ΣϔυμϛυεϔΣϔυϠξλάϚσάλΣϓμϠξλπϓδλϔιΖϏΩθϖϧλ ϠξλπϓδλϔϏϬϔϟςϏ ϠχϒϠξλπϓδλϔΪϓΩύωϓζόυϚνΣυϏμϠλωΦϖζ ζϓΩςϔπιϗϧ 15

แนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงพึ่งตนเอง ทุนทางสังคม/ วัฒนธรรม/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรมตาม ความต้องการ ของชุมชน

กิจกรรมช่วย เหลือคนจน ผู้ด้อยโอกาส

ชุมชนทำเอง

สร้างอาชีพ พัฒนา คุณภาพชีวิต

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ วิสาหกิจ ชุมชน ฯลฯ

สนับสนุนจากภายนอก

สร้างความมั่นคงเศรษฐกิจฐานรากชุมชน เข็มแข็งพึ่งตนเอง

Ϊ ϠξλάϚσάληΕϏ ζϓΩ99 λϓϨλ ύϔΣ Ϗ ϣννυϒτϚΣηΙϢά ΣυϒηϚΖλϢύΖάϚσ ϡΦυΩΣϔυιϗϧ Φ πϖΪϔυεϔμυυΪ νυϒϡτάλΙ ηΕ Ϗ ηΖϏΩΣϔυΤϏΩά ΤϏΩάϚ σ άλ λ όλϓ μ όλϚ λ Ϣύ ΣϔυϟσϙϏΩιϗϧζϗζ 2.2 Σ ΣυϒμωλΣϔυΪ υϒϟμϗ τ ϠξλπϓδλϔΤ ΣϬϔύλζϢύΖ Ϗ ϠξλτϚικϊϔό υϒτϒτϔω Ϡχϒ Ϊϓ ζ ιϬ ϔ ιϚ Σ ν΍ Ϡ 2551 ΪϓζιϬϔϠ แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

กระบวนการ เรียนรู้ ของชุมชน

• แหล่งเรียนรู้ แผนชุมชน

• •

แผน อปท. แผนปฏิบัติ ราชการ จังหวัด ฯลฯ

4

สำรวจข้อมูล ศึกษาดูงาน วิเคราะห์/ สังเคราะห์ กิจกรรม

ภาพที่ 15 แสดงกรอบแนวคิดการบูรณาการแผนชุมชน ที่มา: ปรับปรุงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2546.

บทที่

• • • •

ς ϠξλάϚσ ι πϓδλϔϟ


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

100

จากรูปที่ 15 จะเห็นได้ว่าชุมชนสามารถเสนอแผนชุมชน ต่ออปท. เพื่อบรรจุให้เป็นแผนพัฒนาท้องถิ่นได้ ดังนั้น หาก อปท. สนับสนุนให้ชุมชนนำกระบวนการ HIA ไปประยุกต์ ใช้ ในระหว่าง การจั ด ทำแผนชุ ม ชน ก็ จ ะเป็ น การกระตุ้ น ให้ ชุ ม ชนเกิ ด ความ ตระหนักต่อสุขภาพ มีการจัดทำโครงการที่คำนึงถึงผลกระทบต่อ สุขภาพ เสนอเข้าสู่การพิจารณาบรรจุเข้าในแผนพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ อปท. ทำให้ ได้ โครงการที่เกิดจาก ความต้องการของชุมชนที่แท้จริงและผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชน นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าว ยังเป็นการสนับสนุน ให้ อปท. บรรลุเป้าหมายของการบริหารจัดการเมืองที่ดีด้วย 2.2 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ใน กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผน พัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ได้กำหนดให้ อปท. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์ การพั ฒ นา ซึ่ ง เป็ น แผนระยะปานกลางถึ ง ระยะยาว และ แผนพัฒนาสามปี (ระยะ 3 ปี โดย อปท. มีการจัดทำทุกปี และ มีการปรับปรุงให้เหมาะสม เช่น ปี พ.ศ. 2551 จัดทำแผนพัฒนา สามปี พ.ศ. 2552-2554 ปี พ.ศ. 2552 จัดทำแผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2553-2555) มีขั้นตอน ดำเนินการดังนี้


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

ขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 1) คณะกรรมการพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น จั ด ประชุ ม ประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อ แจ้ ง แนวทางพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น รั บ ทราบปั ญ หา ความต้ อ งการ 101 ประเด็นการพัฒนา และประเด็นที่เกี่ยวข้องตลอดจนความช่วย เหลือทางวิชาการ และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆ และข้อมูล ในแผนชุ ม ชนมาพิ จ ารณาประกอบการจั ด ทำแผนยุ ท ธศาสตร์ การพัฒนา 2) คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา ท้ อ งถิ่ น รวบรวมแนวทางและข้ อ มู ล นำมาวิ เ คราะห์ เ พื่ อ จั ด ทำ ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนา ท้องถิ่น 3) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พิจารณาร่างแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น 4) ผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น พิ จ ารณาอนุ มั ติ ร่ า งแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนา และประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ผู้บริหารท้องถิ่น เสนอร่ า งแผนยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาต่ อ สภาองค์ ก ารบริ ห าร ส่ ว นตำบลเพื่ อ ให้ ค วามเห็ น ชอบก่ อ น แล้ ว ผู้ บ ริ ห ารท้ อ งถิ่ น จึ ง พิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

102

ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 1) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับประชาคม ท้องถิ่น กำหนดประเด็นหลักการพัฒนาให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พั น ธกิ จ และจุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ การพั ฒ นาในแผนยุ ท ธศาสตร์ การพั ฒ นา รวมทั้ ง สอดคล้ อ งกั บ ปั ญ หา ความต้ อ งการของ ประชาชนและชุ ม ชน โดยให้ น ำข้ อ มู ล พื้ น ฐานในการพั ฒ นาจาก หน่ ว ยงานต่ า งๆ และข้ อ มู ล ในแผนชุ ม ชนมาพิ จ ารณาประกอบ การจัดทำแผนพัฒนาสามปี 2) คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา ท้องถิ่นรวบรวมประเด็นหลัก การพัฒนา ปัญหา ความต้องการ และข้ อ มู ล นำมาจั ด ทำร่ า งแผนพั ฒ นาสามปี แล้ ว เสนอคณะ กรรมการพัฒนาท้องถิ่น 3) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นพิจารณาร่างแผน พัฒนาสามปี เพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น 4) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติร่างแผนพัฒนา สามปี และประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลให้ผู้บริหารท้องถิ่น เสนอร่างแผนพัฒนาสามปีต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้ ความเห็นชอบก่อน แล้วผู้บริหารท้องถิ่นจึงพิจารณาอนุมัติและ ประกาศใช้ แ ผนพั ฒ นาสามปี ต่ อ ไป สรุ ป ขั้ น ตอนการจั ด ทำแผน พัฒนาท้องถิ่น ดังภาพที่ 16


ผู้เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. คณะกรรมการสนับสนุนการ จัดทำแผน และประชาคมหมู่บ้าน

2. รวบรวมจัดทำร่างแผน พัฒนาสามปี

2. คณะกรรมการสนับสนุน การจัดทำแผน

3. ตรวจสอบแผนพัฒนา

3. คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

4. ผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติ (สำหรับ อบต.นำเสนอสภา อบต.เพื่อลงความเห็นชอบ)

4. ผู้บริหารท้องถิ่น (สำหรับ อบต. สมาชิกสภา อบต. ให้ความเห็นชอบ

103

4

ภาพที่ 16 กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

1. เก็บรวบรวมข้อมูลปัญหา และความต้องการของชุมชน

บทที่

ขั้นตอน


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

104

นอกจากนี้ อปท. ยั ง สามารถบู ร ณาการแผนพั ฒ นา ในระดั บ พื้ น ที่ เข้ า กั บ แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจำปี ข องจั ง หวั ด ดังภาพที่ 17 ѰьњъѥкдѥіэѬіц ѥдѥіѰяьѲьіѣчѤэёѪьъѨѸ ѷ บพื้นที่ แนวทางการบู รณาการแผนในระดั ¨Å ьѱѕэѥѕ/ ъѧћъѥкдѥіёѤхьѥіѣчѤэнѥшѧ ¦³ ´ µ · ( . . .) ¨Å ¦° ¥» «µ­ ¦r ¦³ ´ µ¦¡´ µ ´ ®ª´ ´ ®ª´ 1 . .– . . ( . . .)

¨Å ¦³ ´  ª µ µ¦ °ÎµÁ£° ¡´ µ°ÎµÁ£° ( . .°.)

Á«¦¬ · / ­´ ¤ / ªµ¤¤´É / ¦·®µ¦² / ¦´¡¥µ ¦

 ¡´ µ ´ ®ª´  · ´ ·¦µ µ¦ ´ Áª ¸¦´ ¢{ ªµ¤ · Á®È ¦³ ε e ° ´ ®ª´ ¦nµ  ¡´ µ ´ ®ª´ . .– . . 5

1 à ¦ µ¦ ¸ÉÁ­ ° ° ¤. µ ­nª ¦µ µ¦ 2 à ¦ µ¦ ¸ÁÉ ­ ° ° ¤. ´ ®ª´ 3 à ¦ µ¦ ¸É ° . ­ ´ ­ » µ¤ ¥» «µ­ ¦r µ¦¡´ µ ´ ®ª´ ( o° ·É )

Ã¥ µ¥Â¨³ ¦³¤µ

¦³ ª µ¦ ¨´ É ¦° Á«¦¬ · / ­´ ¤ / ªµ¤¤´É / ¦·®µ¦² / ¦´¡¥µ ¦  / { ®µ ªµ¤ o° µ¦ 4 ¤·.¥.– .¥. 1 à ¦ µ¦ ¸ÉÁ­ ° ° ¤. µ ­nª ¦µ µ¦ (Function) ° ¦³ µ µ °ÎµÁ£° 2 à ¦ µ¦ ¸ÉÁ­ ° ° ¤. ´ ®ª´ 3 à ¦ µ¦ ¸É ° . ­ ´ ­ » µ¤ ¥» «µ­ ¦r µ¦¡´ µ ´ ®ª´ ( o° ·É )

¤.

Á¤.¥.– ¡. . -à ¦ µ¦Á¦¸¥ µ¤¨Îµ ´ ªµ¤­Îµ ´ - ¦³¤µ /®¨n ¸É¤µ εÁ · µ¦ - ε µ¤ ¨ ¨· 5 oµ

. ¦³­µ  o° ·É ¦³ ´ °ÎµÁ£°

 ¡´ µ ®¤¼n oµ / »¤

¨Å ¦³ ´ »¤ ( .¤.) ª  »¤ ¦³ ª µ¦ »¤ 2 ¤. .– ¤¸. .

. ¦³­µ  o° ·É ¦³ ´ ´ ®ª´

¼¦ µ µ¦Ã ¦ µ¦ ° ° .Ä ¦³ ´ °ÎµÁ£° Á¤.¥.– ¡. .

 ¥» «µ­ ¦r¡´ µ°ÎµÁ£° 3

 ¡´ µ (3 e) ° . ¡. .- ¤·.¥.

3

 ° . (Á « µ¨/ ε ¨) Á¤.¥. 1 ­° ¨o° ´  ¡´ µ ´ ®ª´ 2 ­° ¨o° ´ { ®µ/ ªµ¤ o° µ¦ »¤ 3 ­° ¨o° ´ Ã¥ µ¥ o° ·É

ภาพที่ 17 แนวทางการบูรณาการแผนในระดับพื้นที่ ที่มา : ปรับปรุงจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2552 ςϔπιϗϧ 17 ϠλωιϔΩΣϔυμϛυεϔΣϔυϠξλϢλυϒζϓμπϙλϨ ιϗϧ ιϗσϧ ϔ: νυϓμνυϚΩΪϔΣ ΣυσόΕΩϟόυϖσΣϔυνΣΦυϏΩιΖϏΩθϖλϧ , 2552.


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

แผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นแผนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของปั จ จั ย กำหนดสุ ข ภาพ และส่ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพของ ประชาชนทั้งทางบวกและทางลบ โดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น อปท. ซึ่ ง รั บ ผิ ด ชอบในการจั ด ทำแผนดั ง กล่ า ว จึ ง ควรนำเอา 105 กระบวนการ วิ ธี ก าร และเครื่ อ งมื อ HIA มาบู ร ณาการหรื อ ประยุ ก ต์ ใช้ ในกระบวนการจั ด ทำแผน เพื่ อ ให้ ได้ แ ผนที่ ผ่ า น กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งข้อเสนอ แนะในการป้องกันหรือลดผลกระทบทางลบ และแนวทางการสร้าง เสริ ม สุ ข ภาพประชาชนให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น โดยอาจใช้ แนวทางดังนี้ 1) เมื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ และร่างแผนพัฒนา สามปี เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ควรจั ด การประชุ ม เชิงปฏิบัติการ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ แบบมี ส่ ว นร่ ว ม โดยเชิ ญ กลุ่ ม ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในชุมชน ครอบคลุมทุกกลุ่ม และนักวิชาการจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาคาดการณ์ ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ และ เสนอข้อเสนอแนะในการป้องกัน/แก้ ไขผลกระทบ ทางลบ 2) อปท. จัดทำรายงาน HIA (ผลจากข้อ 1) นำเสนอ ต่ อ คณะกรรมการพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ร่ ว มกั บ ร่ า งแผน พัฒนาท้องถิ่น เพื่อเสนอต่อผู้บริหารท้องถิ่น โดยมี ข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพประกอบการพิจารณา ตัดสินใจเห็นชอบแผน และจั ด ลำดั บ ความสำคั ญ ของโครงการต่างๆที่บรรจุในแผนพัฒนา อันจะส่ง


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

106

ผลให้ อปท. ได้แผนพัฒนาที่คำนึงถึงสุขภาพ หรือ แผนพัฒนาที่เอื้อต่อสุขภาพ 3) ในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตามแนวทางของ กระทรวงมหาดไทย ในทางปฏิบัติ อปท. ส่วนใหญ่ ได้ จั ด ให้ มี ก ระบวนการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของ ประชาชนต่อร่างแผนพัฒนา ก่อนที่จะนำเสนอเพื่อ พิจารณาเห็นชอบ ดังนั้น อปท. ควรนำเสนอผลการ ทำ HIA แก่ประชาชนที่เข้าร่วมการรับฟังความคิด เห็นด้วย ก็จะเป็นการพัฒนาศักยภาพชองประชาชน ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งคุกคามสุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพของชุมชน และผลกระทบต่อ สุขภาพทั้งทางบวกและทางลบ เป็นการกระตุ้นให้ เกิดความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการสร้าง เสริมสุขภาพของชุมชน สรุ ป แนวทางการประยุ ก ต์ ก ระบวนการ HIA ใน กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ดังภาพที่ 18


2. รวบรวมจัดทำร่างแผนพัฒนา

3. ตรวจสอบแผนพัฒนา

จัดประชุม รับฟังความ คิดเห็นต่อแผน

1. การกลั่นกรอง คณะทำงานศึกษาข้อมูล: - รายละเอียดของแผนพัฒนา - ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกี่ยวข้อง - กลุ่มประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ ทั้งทางบวกและลบ

107

2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา - กำหนดกลุ่ ม ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย นั ก วิ ช าการและผู้ แ ทนหน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องที่จะร่วมทำ HIA แบบเร่งด่วน - จัดเตรียมเครื่องมือการทำ HIA แบบเร่งด่วน - เตรี ย มการจั ด การประชุ ม เชิ ง ปฏิบัติการเพื่อทำ HIA แบบเร่งด่วน 3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อ ทำ HIA แบบเร่งด่วน

4. นำเสนอเพื่อลงความเห็นชอบ

5. เสนอขออนุมัติ แผนพัฒนา

5. การติดตามตรวจสอบและ ประเมินผล - ติดตามผลการนำข้อเสนอแนะจาก รายงาน HIA ไปใช้ ในการจั ด ลำดั บ ความสำคัญของโครงการในแผนพัฒนา การปรั บ ปรุ ง โครงการ และการเพิ่ ม โครงการที่เป็นมาตรการป้องกัน/ลดผล กระทบทางลบ

ภาพที่ 18 แนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 1

4

4. การจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ - นำเสนอรายงาน HIA

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

1. เก็บรวมรวมข้อมูลปัญหา และความต้องการของชุมชน

กระบวนการ HIA

บทที่

กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

108

2.3 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ใน กระบวนการออกข้อกำหนดของท้องถิ่น ข้อกำหนดของท้องถิ่น หมายถึง ข้อบังคับหรือกฎหมาย ที่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น เป็ น ผู้ อ อก โดยอาศั ย อำนาจ แห่งกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่า ขั้นตอนการยกร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้ 1) สำรวจและประเมินปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 2) ตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 3) เสนอให้ เ จ้ า พนั ก งานท้ อ งถิ่ น ให้ ค วามเห็ น ชอบใน การยกร่างฯ เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ 4) แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่าง 5) จั ด ให้ มี ก ระบวนการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น หรื อ กระบวนการประชาพิจารณ์ 6) เมื่อยกร่างฯแล้วเสนอผ่านเจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าสู่ การพิจารณาของสภาท้องถิ่น 7) เมื่อสภาท้องถิ่นเห็นชอบให้ติดประกาศฯ เพื่อบังคับ ใช้ต่อไป ตามขั้นตอนข้างต้น มีแนวทางในการประยุกต์กระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือของ HIA ดังนี้ 1. การกลั่ น กรอง ขั้ น ตอนการสำรวจและประเมิ น ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดย ผู้ร่วมดำเนินการประกอบด้วย ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย หรื อ ผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การแก้ ไขปั ญ หานั้ น ได้แก่ บุคลากรของ อปท. หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ผู้แทน ภาคประชาชน ผู้แทนเจ้าของหรือผู้ประกอบการ ผู้แทนหน่วยงาน


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

ทางวิชาการ (สถาบันการศึกษา หรือ ศูนย์วิชาการที่เกี่ยวข้อง) และผู้ เ กี่ ย วข้ อ งอื่ น ๆ เพื่ อ ให้ ได้ ข้ อ มู ล สภาพปั ญ หา สิ่ ง คุ ก คาม สุขภาพ ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น 2. การกำหนดขอบเขตการศึ ก ษา จั ด การประชุ ม 109 กำหนดขอบเขตการศึ ก ษา เพื่ อ เตรี ย มการ จั ด การประชุ ม เชิ ง ปฏิบัติการทำ HIA แบบเร่งด่วน หากพบปัญหาที่มีความรุนแรง มาก อปท. อาจเสนอให้มีการทำ HIA แบบรอบด้าน 3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ จัดการประชุม เชิงปฏิบัติการ ทำ HIA แบบเร่งด่วน 4. จัดทำรายงาน HIA ซึ่งประกอบด้วย สรุปสภาพ ปัญหา (สิ่งคุกคามสุขภาพ และปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกี่ยวข้อง) และแนวทางแก้ ไขปัญหาหรือป้องกัน/ลดผลกระทบต่อสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และนำเสนอรายงานต่อคณะผู้บริหาร อปท. เพื่อเป็นข้อมูลแก่คณะกรรมการยกร่างข้อกำหนดใช้ ในการยกร่าง ข้อกำหนดท้องถิ่น เมื่ อ ยกร่ า งข้ อ กำหนดเรี ย บร้ อ ยแล้ ว การจั ด กระบวนการรับฟังความคิดเห็น ควรนำเสนอ ข้อมูลจากรายงาน HIA เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อผล กระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีการออกข้อกำหนดของ ท้ อ งถิ่ น เพื่ อ เป็ น กลไกในการป้ อ งกั น ควบคุ ม ปั ญ หาด้ า นอนามั ย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งขั้นตอนเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ความเห็น ชอบในการยกร่างฯ ควรนำรายงาน HIA เสนอต่อเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการเห็นชอบร่างข้อกำหนด 5. ติดตามตรวจสอบผลการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่น สรุปแนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ใน การการออกข้อกำหนดท้องถิ่น ดังภาพที่ 19


ϏμυΕ ϔ Ω

กระบวนการออกข้อกำหนดท้องถิ่น กระบวนการ HIA

ΣϬϔύλζ HIA

1. สำรวจและประเมินปัญหา ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

110

3. เสนอยกร่างข้อกำหนดและ แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่าง

4. จัดกระบวนการรับฟัง ความคิดเห็น

5. เสนอเข้าสู่กระบวนการ พิจารณาของสภาท้องถิ่น

2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา - กำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ร่วมทำ HIA แบบเร่งด่วน - จัดเตรียมเครื่องมือในการทำ HIA แบบเร่งด่วน - เตรียมการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อ ทำ HIA แบบเร่งด่วน 3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำ HIA แบบเร่งด่วน 4. การจัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะ - นำเสนอรายงาน HIA เพื่อเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ใช้ประกอบการยกร่างข้อกำหนด ท้องถิ่น - นำเสนอรายงาน HIA ในการประชุมรับฟัง ความคิดเห็นต่อร่างข้อกำหนดท้องถิ่น

บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

2. ตรวจสอบบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย

1. การกลั่นกรอง - ศึกษาปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ เกี่ยวข้อง - กลุ่มประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ

6. ติดประกาศเพื่อบังคับใช้

5. การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล - ติดตามผลการบังคับใช้ข้อกำหนดท้องถิ่นใน การแก้ ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ภาพที แนวทางการประยุกต์ΣηΙใช้ϢกάΖระบวนการ HIA ςϔπιϗ ϧ 19่ 19 ϠλωιϔΩΣϔυνυϒτϚ ΣυϒμωλΣϔυ HIA ϢλΣϔυϏϏΣΤΖ ในการออกข้ϏอΣϬกำหนดท้ ϔύλζιΖอϏงถิ Ωθϖ่นϧλ


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

2.4 การประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการตรวจสอบเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ใน 111 มาตรา 25 ได้กล่าวถึงกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ ผู้ อ ยู่ อ าศั ย ในบริ เ วณใกล้ เ คี ย งหรื อ ผู้ ที่ ต้ อ งประสบกั บ เหตุ นั้ น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ 1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ ใส่ มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มี การสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้ง สิ่ง ใดเป็น เหตุ ให้ มี กลิ่นเหม็น หรือละอองเป็นพิษ หรือเป็น หรือน่าจะเป็น ที่เพาะพันธุ์ พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพ 2) การเลี้ยงสัตว์ ในที่หรือโดยวิธี ใด หรือมีจำนวนเกิน สมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงาน หรือ สถานประกอบการใด ไม่ มี ก ารระบายอากาศ การระบายน้ ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ ไม่มีการ ควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอ เพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิด กลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ 5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจา นุเบกษา


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

112

เมื่อมีการร้องเรียนเหตุรำคาญจากประชาชนในท้องถิ่น หรือในเขตรับผิดชอบของอปท.ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้อง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมตรวจสอบเหตุรำคาญ ตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ - ที่ตั้ง และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง แผนผังของแหล่ง กำเนิดปัญหาและชุมชนที่ ได้รับผลกระทบ - ใบอนุญาตประกอบกิจการ - กระบวนการ/ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ สารเคมี ที่ ใช้ และจุดที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ - ระบบบำบัดมลพิษต่างๆ - การตรวจสอบสารมลพิษหรือการเก็บตัวอย่าง ตามความจำเป็นและเหมาะสม - การสอบถามข้อมูลจากประชาชนที่อยู่ ในบริเวณ ใกล้ เ คี ย ง และบริ เ วณที่ ได้ รั บ ผลกระทบจาก ปัญหา 2) ให้คำแนะนำ ปรับปรุง แก้ ไขด้านวิชาการแก่เจ้าของ กิจการเป็นลายลักษณ์อักษร 3) จัดทำสรุป วิเคราะห์ และรายงานผลการตรวจสอบ ปัญหา พร้อมทั้งทำหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าของ กิจการ 4) ติ ด ตามผลการแก้ ไขและตรวจสอบซ้ ำ เพื่ อ ทราบ ความคื บ หน้ า ในการแก้ ไขปั ญ หา รวมทั้ ง การเฝ้ า ระวั ง คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อมบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในบางกรณี


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

จากขั้นตอนการตรวจสอบเหตุรำคาญ อปท. จะต้องเป็น องค์ ก รหลั ก ในที ม งานตรวจสอบเพื่ อ แก้ ไขเหตุ ร ำคาญที่ ส่ ง ผล กระทบต่ อ สุ ข ภาพของประชาชน ซึ่ ง การตรวจสอบเหตุ ร ำคาญ 113 เป็นการบ่งชี้ว่า • สิ่งคุกคามสุขภาพคืออะไร • มีสาเหตุจากอะไร • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบคืออะไร • มีข้อเสนอแนะวิธีการแก้ ไขหรือลดผลกระทบอย่างไร • และแนวทางการป้องกันต่อไปอย่างไร เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจสอบมีการจัดทำรายงานเสนอผู้มี อำนาจตัดสินใจ (เจ้าพนักงานท้องถิ่น) เพื่อออกคำสั่งให้ผู้ก่อเหตุ รำคาญปรั บ ปรุ งแก้ ไข หลังจากนั้นมีการติด ตามตรวจสอบว่ า มี การดำเนินการแก้ ไขหรือไม่อย่างไร จะเห็ น ได้ ว่ า การตรวจสอบเหตุ ร ำคาญ สอดคล้ อ งกั บ กระบวนการ HIA กล่าวคือ มีขั้นตอนการเดินสำรวจ การเก็บ ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ครบทุกขั้นตอนของ กระบวนการ HIA ตั้งแต่ การกลั่นกรอง (Screening) จนถึงการ ติดตามตรวจสอบ (Monitoring) ดังนั้น อปท. จึงสามารถประยุกต์ วิธีการ และเครื่องมือ HIA มาใช้ ในการตรวจสอบเหตุรำคาญ เพื่อให้ ได้ข้อเสนอแนะที่สามารถแก้ ไขปัญหาเหตุรำคาญได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สรุปแนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการ ตรวจสอบเหตุรำคาญ ดังภาพที่ 20


กระบวนการตรวจสอบเหตุรำคาญ

บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

114

1. ตรวจสอบ ข้อเท็จจริง

2. ให้คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ ไขแก่ เจ้าของกิจการเป็น ลายลักษณ์อักษร

3. จัดทำรายงาน การตรวจสอบเหตุ รำคาญ

4. ติดตามผลการ แก้ ไข และ ตรวจสอบซ้ำ

1.

กระบวนการ HIA

การกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น : - ข้อมูลการร้องเรียน - ที่ตั้ง แผนผังของแหล่งกำเนิดปัญหาและ กลุ่มประชาชนที่ ได้รับผลกระทบ - สำรวจข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งกำเนิดปัญหา

2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา - ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนด ขอบเขต พื้นที่ ระยะเวลา และวิธีการตรวจสอบเหตุ รำคาญโดยละเอียด - ศึกษาทบทวนหลักการทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุม และแก้ ไขปัญหาเหตุรำคาญนั้น 3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ - การตรวจสอบกระบวนการผลิต วัตถุดิบ สารเคมี และระบบบำบัดมลพิษของ แหล่งกำเนิดปัญหา - การตรวจสอบสารพิษ ณ จุดกำเนิดหรือ การเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม - การสอบถามข้อมูลจากประชาชนบริเวณ ที่ ได้รับผลกระทบ และบริเวณใกล้เคียง 4. การจัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะ - จัดทำสรุปวิเคราะห์และรายงานผลการตรวจสอบ เหตุรำคาญแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ เจ้าของกิจการ 5. การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล - เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของประชาชน ในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ

ภาพที่ 20 แนวทางการประยุกต์ ใช้กระบวนการ HIA ในการตรวจสอบเหตุรำคาญ

ςϔπ ηυωΪ

Συϒμ ζϓΩΣχ ζϓΩλ ωϖ ά ϔΣ ιΖϏΩθ λϏΣ όθϔμ ϟάϖΩν Res πϙϨλι ιϔΩύ

ϟΣϗϧτω όλϓμ


บทที่

4

แนวทางการประยุกต์ใช้ HIA ในระดับท้องถิ่น และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ HIA ระดับท้องถิ่น

จากแนวทางการประยุ ก ต์ ก ระบวนการ HIA ใน กระบวนการตัดสินใจ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ของ อปท. ดังกล่าวข้างต้น เนื่องจาก HIA ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับ อปท. ดั ง นั้ น จึ ง มี ค วามจำเป็ น หรื อ ความต้ อ งการ การสนั บ สนุ น ทาง 115 วิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบัน การศึกษาในท้องถิ่น เพื่อการเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการ HIA โดย อปท. นอกจากนี้ หากหน่ ว ยงานที่ ส นั บ สนุ น ทางวิ ช าการ หรื อ สถาบั น การศึ ก ษา ที่มีการดำเนินการ HIA ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีบุคลากรของ อปท. เป็นนักวิจัยร่วมในพื้นที่ ก็จะเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ของ อปท. ได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ อปท. สามารถขอรับคำปรึกษาได้จากหน่วยงานที่ เกี่ ย วข้ อ ง ตามรายชื่อ ที่อยู่ และบทบาทหน้ า ที่ ข องหน่ ว ยงาน สนับสนุนการดำเนินงาน HIA


117

การดำเนินงานการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ

ภาพกิจกรรม

ภาพกิจกรรม


ภาพกิจกรรม 118


ภาพกิจกรรม

119

ภาพกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อกลั่นกรองแผนพัฒนาตำบลบึงเนียม ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (วันที่ 14 กันยายน 2549)


ภาพกิจกรรม

120

ภาพกิจกรรมการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหมู่บ้านต่างๆ เรื่อง “ผลกระทบต่อสุขภาพจากแผนพัฒนาตำบลบึงเนียม” (วันที่ 20 −28 ตุลาคม 2549)


ภาพกิจกรรม

121

ภาพการประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดขอบเขตการประเมินผล กระทบทางสุขภาพ จากแผนพัฒนาตำบลบึงเนียม (วันที่ 15 ตุลาคม 2549)


ภาพกิจกรรม

122

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จากแผนพัฒนาตำบลบึงเนียม (วันที่ 15 ธันวาคม 2549)


ภาพถ่ายกิจกรรม ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ 123

การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากแผนพัฒนา อบต.

ภาพกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกลั่นกรองแผนงาน/โครงการ

การประชุมรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่างรายงาน HIA การนำเสนอรายงาน HIA ต่อที่ประชุมสภา อบต.


ภาพถ่ายกิจกรรม ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี 124

ภาพกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกลั่นกรองแผนงาน/โครง

การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากแผนพัฒนา

การนำเสนอรายงาน HIA ต่อที่ประชุมสภา อบต.


ภาพถ่ายกิจกรรม ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเม็ง 125

การประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากแผนพัฒนา

ภาพกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกลั่นกรองแผนงาน/โครง

การประชุมรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่างรายงาน HIA การนำเสนอรายงาน HIA ต่อที่ประชุมสภา อบต.


เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง

126

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. แนวทางการบูรณาการ แผนในระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย; 2552. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดการเหตุ รำคาญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2546. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 สาระน่ารู้สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก; 2547. กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. HIA ทางเลือกใหม่ของท้องถิ่น. นนทบุรี: กองสุ ข าภิ บ าลชุ ม ชนและประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2551. กองสุ ข าภิ บ าลชุ ม ชนและประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ. สรุปการเสวนาวิชาการ เรื่อง “บทบาทท้องถิ่นกับการประเมินผลกระทบ ต่ อ สุ ข ภาพ: ความท้ า ทายของสั ง คมไทยในปั จ จุ บั น ”. นนทบุ รี : กองสุ ข าภิ บ าลชุ ม ชนและประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ กรมอนามั ย กระทรวงสาธารณสุข; 2551. กองสุ ข าภิ บ าลชุ ม ชนและประเมิ น ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ. บทวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ในประเทศไทย. นนทบุรี: กองสุขาภิบาลชุมชน และประเมินผลกระทบต่อ สุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2551. กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการ จัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2548; 2548.


เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพสำหรับชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการ โรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก; 2551. เฉลิมชาติ แจ่มจรรยา, ศุมล ศรีสุขวัฒนา และสมชาย ตู้แก้ว. 127 คู่มือ (เล่ม 1) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2541. พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ Health Risk Assessment. กรุงเทพฯ: บริษัท ไวเบอร์เพรส จำกัด; 2547. เลิ ศ ชั ย เจริ ญ ธั ญ รั ก ษ์ . วิ ท ยาการระบาดสิ่ ง แวดล้ อ ม Environmental Epidemiology. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2541. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม. คู่มือการปฏิบัติงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ ม. ปทุ ม ธานี : ศู น ย์ วิ จั ย และฝึ ก อบรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม; 2550. สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. แผนชุมชนพึ่งตนเองแบบชาวบ้าน ความหมาย ความเข้าใจ และข้อควรรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อ สังคม; 2541. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. คู่ มื อ วิ ท ยากรกระบวนการ “กระบวนการจั ด ทำแผนชุ ม ชน” เอกสาร ประกอบการอบรมวิทยากรกระบวนการภายใต้ โครงการบูรณาการแผน ชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2546. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ


เอกสารอ้างอิง

128

เพื่อสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข; 2546. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติ สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2550. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 4. นนทบุ รี : สำนั ก งาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2551. ส ำ นั ก โ ร ค จ า ก ก า ร ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินความเสี่ยง จากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550. สำนักวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม. แนวทางการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชน และ การประเมิ น ผลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มทางสั ง คมในกระบวนการวิ เ คราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนั ก วิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม สำนั ก งานนโยบาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม; 2549. สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. แนวทางการประเมินผล กระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนั ก วิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ ม สำนั ก งานนโยบาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม; 2551. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สำหรับเจ้า หน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2551.


เอกสารอ้างอิง

อุไรวรรณ อินทร์ม่วงและเลิศชัย เจริญธัญรักษ์, Furu P. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 25502552) ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุข ศาสตร์ 2551; ฉบับพิเศษ 60 ปี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย 129 มหิดล: 79-90. อุ ไ รวรรณ อิ น ทร์ ม่ ว ง, ภาณี ฤทธิ์ ม ากม วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์. กระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งด้านการควบคุมกิจการที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเม็ง. วารสาร วิจัย มข. 2551; 13 (7): 829-837. Bos R. Principles of HIA. A manual of pre-conference training course on principles and practice of health impact assessment: screening procedures and tools, 27th Annual Conference of International Association for Impact Assessment; 3-9 June 2007; COEX Convention Center, Seoul, Korea; 2007. Dahlgren G, Whitehead M. Policies and strategies to promote social equity in health. Stockholm: Institute for Future Studies; 1991. European Centre for Health Policy, WHO Regional Office for Europe. Gothenburg Consensus Paper on Health impact assessment: main concepts and suggested approach. Brussels: WHO Regional Office for Europe; 1999. Furu P. Health in Development. A manual of pre-conference training course on principles and practice of health impact assessment: screening procedures and tools, 27th Annual Conference of International Association for Impact Assessment; 3-9 June 2007; COEX Convention Center, Seoul, Korea; 2007.


เอกสารอ้างอิง

130

Harris P, Harris-Roxas B, Harris A, Kemp L. Health Impact Assessment: A Practical Guide. Sydney: Centre for Health Equity Training, Research and Evaluation (CHETRE), Part of the University of New South Wales Research Centre for Primary Health Care and Equity, University of New South Wales, Australia; 2007. Health Canada. Canadian Handbook on Health Impact Assessment Volume I: The Basic. Ottawa: Health Canada; 2004. Kemm J, Parry J. What is HIA? Introduction and overview, In: Kemm J, Parry J, Palmer S, editor. Health Impact Assessment. Oxford: Oxford University Press; 2004. p. 1-13. Mittelmark MB. Promoting social responsibility for health: health impact assessment and healthy public policy at the community level. Health promotion international 2001; 16 (3): 269-274. Menzies T. Reflection on ways HIA can be made most useful to Local Government in NSW. Sydney: Centre for Primary Health Care and Equity, University of New South Wales, Australia; 2007. The Health Promotion Division, National Assembly for Wales. Developing health impact assessment in Wales. Wales: The Health Promotion Division, National Assembly for Wales; 1999. World Health Organization. Glossary of terms used [online] 2005 [cited 2006 January 4]. Available from: http:// www.who.int/hia/about/glos/en/print.html


เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. What is the WHO definition of health? [online] 2006 [cited 2006 April 10]. Available from: http://wwwlive.who.ch/suggestions/faq/en/ index.html WHO Regional Office for Europe. The DPSEEA 131 model of health-environment interlinks [online] 1997[cited 2008 June 20]. Available from: http://www.euro. who.int/ EHindicators/Indicators/20030527_2


133

ภาคผนวก ก.

ภาคผนวก


ภาคผนวก ก. 134


135

ตัวอย่าง เครื่องมือ กลั่นกรอง ในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

(Screening Tool for Helaht Impact Assessement)

ภาคผนวก ก.

ภาคผนวก ก.


136

´ª°¥nµ Á ¦ºÉ° ¤º° ¨´É ¦° Ä µ¦ ¦³Á¤· ¨ ¦³ n°­» £µ¡ (Screening Tool for Health Impact Assessment) 1. ºÉ° Ã¥ µ¥ ®¦º°  µ ®¦º°Ã ¦ µ¦ 2. ¦®´­ 3. ¦µ¥¨³Á°¸¥ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦Ã ¥­¦»

4. ¦³Á£ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ 5. { ´¥ ε® ­» £µ¡ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ¸É ³ εÁ · µ¦¤¸ ¨ ¦³ n° { ´¥ ε® ­» £µ¡ ´ n°Å ¸Ê®¦º°Å¤n? µ¦ ε¦ ¸ª· ¦³ εª´ ¨ ¦³ ¨ ¦³ Ťn¤¸ Á · ª Á · ¨ ¨ ¦³ °µ®µ¦

n°­» £µ¡ ent)

µ¦°° ε¨´ µ¥®¦º° · ¦¦¤ µ ¦nµ µ¥ ° ªµ¤ ¨° £´¥ · ¦¦¤ µ Á¡« ­µ¦Á­¡ · Á®¨oµ »®¦¸É °ºÉ Ç oµ¤¸ ¨ ¦³ Á · ª ®¦º° ¨ Á · ¹Ê ¨ ¦³ Á®¨nµ ´Ê º°°³Å¦ Ä®o¦³ »

ภาคผนวก ก.

­·É ª ¨o°¤ µ µ¥£µ¡ °µ µ« ¸É · ¨³­·É ¨¼ ­¦oµ Á­¸¥ ¦ ª Êε °ºÉ Ç

¨ ¦³ Á · ª

¨ ¦³ Á · ¨

Ťn¤¸ ¨ ¦³


oµ¤¸ ¨ ¦³ Á · ª ®¦º° ¨ Á · ¹Ê ¨ ¦³ Á®¨nµ ´Ê º°°³Å¦ Ä®o¦³ »

µ¦Á · µ

137

à ¦ ¦¦¤

Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n°Ã ¦ ¦¦¤ ®¦º° Á · ªµ¤®ªµ ¨´ª ®¦º°Å¤n? µ¦«¹ ¬µ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n°Ã° µ­ µ µ¦«¹ ¬µ®¦º°Å¤n? µ¦ oµ µ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n° -ð µ­ µ¦ oµ µ ? -­·É ª ¨o°¤Ä µ¦ ε µ ? ªµ¤Ä ¨o · ° Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ ¦° ¦´ª n° ªµ¤­´¤¡´ r ° ­¤µ · Ä ¦° ¦´ª? ¸É¡´ °µ«´¥ Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n°Ã° µ­Ä µ¦°µ«´¥°¥¼nÄ ¸É¡´ ¸ÉÁ­ºÉ°¤ à ¦¤¨ ? ¦µ¥Å o Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n°¦³ ´ ªµ¤¥µ ? µ¦¡´ n° ®¥n° Ä Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n° · ¦¦¤ µ¦¡´ n° ®¥n° Ä Á n µ¦ °° ε¨´ µ¥ · ¦¦¤ª´ ¦¦¤ ° »¤ ­´¤¡´ £µ¡Ä Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ ­´ ¤ n° ·­´¤¡´ r ° »¤ ?

¨ ¦³ Á · ª

¨ ¦³ Á · ¨

Ťn¤¸ ¨ ¦³

°ºÉ Ç oµ¤¸ ¨ ¦³ Á ·

6. ¦· µ¦­» £µ¡

µ¦Á oµ ¹ ¦· µ¦­ oµ¤¸ ¨ ¦³ Á ·

ภาคผนวก ก.

­·É ª ¨o°¤ µ Á«¦¬ · ¨³­´ ¤


138

Ťn¤¸ ¨ ¦³

Ã¥ µ¥/ µ /à ¦ µ¦ ³Á · ¨ ¦³ n°: -¦³ ´ ¤¨¡·¬? -¦³ ´ µ¦°° ε¨´ µ¥? -¦³ ´ µ¦Á · °» ´ ·Á® »?

°ºÉ Ç oµ¤¸ ¨ ¦³ Á · ª ®¦º° ¨ Á · ¹Ê ¨ ¦³ Á®¨nµ ´Ê º°°³Å¦ Ä®o¦³ »

6. ¦· µ¦­» £µ¡

¨ ¦³ Á · ª

µ¦Á oµ ¹ ¦· µ¦­» £µ¡ oµ¤¸ ¨ ¦³ Á · ª ®¦º° ¨ Á · ¹Ê ¨ ¦³ Á®¨nµ ´Ê º°°³Å¦ Ä®o¦³ »

ภาคผนวก ก.

µ¦Á · µ

¨ ¦³ Á · ¨

Ťn¤¸ ¨ ¦³


8. o°Á­ °Â ³ ¨ ¦³ ¸É¦³ » oµ Ä n

139

ŤnÄ n ( µ¦ ´ ­· Ä ¸Ê ¹Ê ° »¤ ) oµ ŤnÄ n ¦³ »Á® » ®¤µ¥Á® » Á® » ¨ - ¨ - µ - Áª¨ - µ

ภาคผนวก ก.

7. ¨ ¦³ n° ¦³ µ ¦ ¡· µ¦ µ ¨ ¦³ ¸ÉÁ · ¹Ê oµ o ¨³¦³ » ¨ ¦³ ´Ê Á · ¹Ê n° ¦³ µ ¦ oµ Ä ? ¦³ µ ¦ ´Ê ®¤ ¨ ¦³ ¨ ¦³ Ťn¤¸ Á · ª Á · ¨ ¨ ¦³ Ä n ¨»n¤ ¦³ µ ¦ ¨»n¤Á È Â¨³Á¥µª [0-18 e] ¨»n¤­¼ °µ¥» ¨»n¤¤¸­ µ £µ¡­¤¦­ ¨»n¤°» µ¦³Á¨¸Ê¥ ¼ » ¦ ¨³ ¼o°µ«´¥ ¨»n¤ ªµ¤ · Á®È oµ µ¦Á¤º° ¨»n¤ ªµ¤Á ºÉ°«µ­ µ ¨»n¤ ¼o iª¥Á¦ºÊ°¦´ ¨»n¤ o°¥Ã° µ­ µ Á«¦¬ · ¨»n¤Á¡« [¦³ » µ¥/® · ]…… ¨»n¤ Á¦n¦n° Ťn¤¸ oµ ¡´ °µ«´¥ ¨»n¤ ° ¤¸Á¡«­´¤¡´ r ¨»n¤ ¡· µ¦ ¨»n¤ µ ·¡´ »r ¨»n¤ ¨»n¤ ªnµ µ ®¤µ¥Á® » °µ ¤¸ ¨»n¤ ¦³ µ ¦ ¸É°µ Å o¦´ ¨ ¦³ ¸É¤·Å o¦³ »Åªo ­µ¤µ¦ Á¡·É¤ o°¤¼¨Ä­n ª¨ Å Ä µ¦µ Å o oµ¤¸ ¨ ¦³ Á · ª ®¦º° ¨ Á · ¹Ê ¨ ¦³ Á®¨nµ ´Ê º°°³Å¦ Ä®o¦³ »


¦³ ¨

Ťn¤¸ 140 ¨ ¦³

ภาคผนวก ก.

¨ Å Ä µ¦µ Å o

8. o°Á­ °Â ³ ¨ ¦³ ¸É¦³ » oµ o ¤¸ Êε® ´ Á¡¸¥ ¡° ª¦ ¸É ³ ε µ¦«¹ ¬µ µ¦ ¦³Á¤· ¨ ¦³ n°­» £µ¡®¦º°Å¤n Ä n ŤnÄ n ( µ¦ ´ ­· Ä ¸Ê ¹Ê °¥¼n ´ o°¡· µ¦ µÂ¨³®¨´ µ ° »¤ ´Ê ¦ª¤ ´Ê ¼o¤¸­nª Å oÁ­¸¥Â¨³ » ¨­Îµ ´ ° »¤ ) oµ ŤnÄ n ¦³ »Á® » ¨ ¸ÉŤn ª¦ ε µ¦«¹ ¬µ µ¦ ¦³Á¤· ¨ ¦³ n°­» £µ¡? ®¤µ¥Á® » Á® » ¨ ´ ¨nµª°µ ¦³ ° oª¥ - ¨ ¦³ n°­» £µ¡Å¤n­Îµ ´ - µ ®¨´ µ ¸É­ ¨ ¦³ n°­» £µ¡ - Áª¨µÅ¤nÁ¡¸¥ ¡° ¸É ³Á­ ° ªµ¤Á®È Ä µ¦¡· µ¦ µ o°Á­ ° Ã¥ µ¥/ nµ /à ¦ µ¦ ´Ê - µ ¦´¡¥µ ¦Ä µ¦ ε µ¦«¹ ¬µ µ¦ ¦³Á¤· ¨ ¦³ n°­» £µ¡

¸É¤µ: ¦´ ¦» µ The Institute of Public Health in Ireland, 2006.


141

ภาคผนวก ข.

ภาคผนวก ข.

ข้อมูลหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน HIA


ข้อมูลหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน HIA

ภาคผนวก ข.

142

หน่วยงาน/ที่อยู่

บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 88/22 ถ.ติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์: 02-5904190, 02-5904349 โทรสาร: 02-5904343, 02-5904356 Website: http://san.anamai.moph.go.th/ ศูนย์อนามัยที่ 1-12 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข • ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ 24/29 ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : 02-5213064, 02-5213056 โทรสาร : 02-5210226 • ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี เลขที่ 1 หมู่ 11 ต. บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี 18130 โทรศัพท์ : 036-300830-32 โทรสาร : 036-300829

1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา องค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านการสุขาภิบาลชุมชนและระบบ ประเมินความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพ 2. พัฒนา และจัดทำเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนกลไกการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการ สาธารณสุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. ให้คำปรึกษา แนะนำทางวิชาการ ด้านการสุขาภิบาลชุมชนและ การควบคุมผลกระทบต่อสุขภาพ 4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุน การปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่นที่ เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย - ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น กลไกการ ดำเนินงาน ให้คำปรึกษา แนะนำทางวิชา การด้ า นการสุ ข าภิ บ าลชุ ม ชนและ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพให้เป็น ไปตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


หน่วยงาน/ที่อยู่ • ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี หมู่ 7 ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โทรศัพท์ 038-148165-9 โทรสาร 038-148170 • ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี เลขที่ 429 ถ.ศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ : 032-310368-71 โทรสาร: 032-323311 • ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เลขที่ 177 หมู่ 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280 โทรศัพท์ : 044-291505, 044-305131, โทรสาร : 044-291506 • ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น เลขที่ 195 อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์: 043-235902-5 โทรสาร: 043-243416 • ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี 45 ม.4 ต.ธาตุ ถ.สถลมาร์ค ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์/โทรสาร: 0-4528-8586-8 • ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ เลขที่ 157 ม.1 ถ.พหลโยธิน ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 โทรศัพท์: 0-5632-5093-5 โทรสาร: 0-5625-5403

บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

143

ภาคผนวก ข.


ภาคผนวก ข.

144

หน่วยงาน/ที่อยู่ • ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก เลขที่ 21 หมู่ 4 ต.มะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์: 055-299280-2 โทรสาร: 0-55-299285 • ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ถนนประชาสัมพันธ์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์/โทรสาร: 053-274038, 053-277029 053-277045, • ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช 99 ม.2 ต.บางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80330 โทรศัพท์: 075-399460-4 โทรสาร: 075-399124 • ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 95 เทศบาล 1 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 โทรศัพท์: 0-7321-2862, 0-7321-4200 โทรสาร: 0-7321-3747 สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 Website: http://occ.ddc.moph.go.th

บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ประสาน เครือข่ายและถ่ายทอดองค์ ความรู้ เทคโนโลยี ด้านการป้องกัน ควบคุมโรค จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ที่ได้มาตรฐานและประยุกต์ใช้ได้ อย่างมี ประสิทธิภาพ ให้แก่ประชาชนและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


หน่วยงาน/ที่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ชั้น 2 อาคาร 88/37 ถนนติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์: 02-5902304 โทรสาร: 02-5902311 Website: www.nationalhealth.or.th มูลนิธินโยบายสุขภาวะ 126 สถาบันบำราศนราดูร (ตึก 10 ชั้น) ชั้น 4 ห้อง 405 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์: 02-9510616, 02-9510683, โทรสาร 02-9511482 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอน ด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและ ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 1. ให้คำปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะต่อ คณะรั ฐ มนตรี หน่ ว ยราชการ องค์ ก ร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ ่ น ตลอดจนองค์ ก ร ชุมชนต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิด สุขภาพหรือ “สุขภาวะ” ของประชาชน ทั่วทั้งประเทศ 2. สนั บ สนุ น การจั ด สมั ช ชาสุ ข ภาพทั ้ ง ในระดับพื้นที่ เฉพาะประเด็น และระดับชาติ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ระบวนการพั ฒ นานโยบาย สาธารณะเพื ่ อ สุ ข ภาพแบบมี ส ่ ว นร่ ว ม อันจะนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง 3. สนับสนุนการประเมินผลกระทบต่อ สุขภาพ ที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดย เฉพาะภาคประชาชน เพื่อเป็นกระบวนการ ปกป้องสุขภาวะของคนในชาติก่อนเกิด ปัญหา และแก้ไขปัญหาที่เกิดแล้ว 1. ศึกษาวิจัย เทคนิค วิชาการ ที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินผลกระทบต่อสุภาพ 2. บริการให้คำปรึกษา และจัดการอบรม หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ 1. จัดการเรียนการสอนด้านการประเมิน ผลกระทบต่อสุภาพ และด้านการสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับ ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา 2. ศึกษาวิจัย เทคนิค วิชาการ ที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินผลกระทบต่อสุภาพ และ ร่วมดำเนินการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. บริการให้คำปรึกษาและ/หรือจัดการ อบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ผลกระทบต่อสุขภาพ

145

ภาคผนวก ข.


ภาคผนวก ข.

146

รายชื่อสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สถาบัน

คณะ/ภาควิชา

ที่อยู่

มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 1.1 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ อนามัยสิ่งแวดล้อม 1.2 ภาควิชาระบาดวิทยา 2. คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน 3. คณะเภสัชศาสตร์ 1. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 2. คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ 3. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะ/ภาควิชา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ. ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์: 043-347057, 043-362076 โทรสาร: 043-347058 Website: http://ph.kku.ac.th/ โทรศัพท์/โทรสาร : 043-202265, 043-363253 http://commed1.md.kku.ac.th/ โทรศัพท์/โทรสาร: 043-20 2378, 043-20 2379 Website: http://pharm.kku.ac.th/ 420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร: 02-3548543 Website: ttp://www.ph.mahidol. ac.th/ 999 ถนนพุทธมณฑล พุทธมณฑล ศาลายา นครปฐม 73170 โทรศัพท์: 02-4415000 โทรสาร: 02-4419509-10 Website: http://www.en.mahidol. ac.th 420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 02- 3549100-19, โทรสาร: 02-3549139 Website: http://www.tm.mahidol. ac.th


คณะ/ภาควิชา 1. คณะแพทยศาสตร์ 2. คณะพยาบาลศาสตร์ 1. คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ 2. คณะสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์

ที่อยู่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 110 ถ.อินทวโรรส ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์/โทรสาร: 053-945271, 053-945276 Website: www.med.cmu.ac.th 110 ถนนอินทวโรรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์: 053-945024 โทรสาร: 053-946081 Website: www.nurse.cmu.ac.th 269/2 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ /โทรสาร: 043-742135 Website: http://www.env.msu. ac.th 41/20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์/โทรสาร: 043 – 754353 http://www4.msu.ac.th/public_ health/ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์: 044-224072 โทรสาร: 044-224070 http://www.sut.ac.th/im/ medicine

147

ภาคผนวก ข.

สถาบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี


ภาคผนวก ข.

148

สถาบัน มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะ/ภาควิชา

ที่อยู่

คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาล สาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถนนลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี โทรศัพท์/โทรสาร: 038-390041 Website: http://www.ph.buu. ac.th/ ตู้ ป.ณ. 50 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 โทรศัพท์: 0-74286800 โทรสาร: 0-74429758 Website: http://www.envi.psu. ac.th/ 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์: 074-455000, โทรสาร: 074-212900, 074-212903 Website: http://medinfo.psu. ac.th 15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทรศัพท์: 074-286571 โทรสาร: 074-286421 Website: http://www.nur.psu. ac.th อาคารปิยชาติ ชั้น 10 คลองหลวง รังสิต ปทุมธานี 12121 โทรศัพท์: 02-9869213-9 ต่อ 7400-1 โทรสาร: 02-5162704 Website: http://fph.tu.ac.th จังหวัดนครปฐม 73000 โทรศัพท์: 034-219146 โทรสาร: 034-219146 http://www.envi.sc.su.ac.th/ main.php


ที่ปรึกษา

คณะผู้จัดทำ

นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย นายสุคนธ์ เจียสกุล นักวิชาการสาธารณสุข 10 ชช. ดร.ทวีสุข พันธุ์เพ็ง นักวิชาการสาธารณสุข 10 ชช. นางสาวธีชัช บุญญะการกุล นักวิชาการสาธารณสุข 9 ชช. นายธนา ยันตรโกวิท ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วม กระทรวงมหาดไทย

บรรณาธิการ

นางสาวสิริวรรณ จันทนจุลกะ

คณะทำงาน

รศ.ดร.อุไรวรรณ อินทร์ม่วง นายสุรพล แสงรัตนชัย นางสาวเกศินี ปิติเสรี นางสาวลัดดา อุดมผล ศู นย์อนามัยที่ 1-12

พิสูจน์อักษรและออกแบบรูปเล่ม นางสาวอนงค์ ทองอ่วมใหญ่

ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาลชุมชน และประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการื นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน

149



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.