คู่มือลดโลกร้อน

Page 1


คู่มือ ลดโลกร้อน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


hคำนำ

h

กรมอนามัยตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องอาศัย ความร่วมมือจากภาคีภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน จึงได้จัดทำคู่มือ โลกร้อนขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโลกร้อน ผลกระทบที่ จะเกิดขึ้น และแนวทางในการลดโลกร้อน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้หน่วยงาน ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งได้ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางปฏิ บ ั ต ิ โดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง สถานบริ ก าร สาธารณสุข และบุคลากรสาธารณสุข ควรจะได้เป็นผู้นำในการลดโลกร้อน ในหน่วยงานสาธารณสุข ขยายผลสู่ชุมชน และประชาชนต่อไป คณะผู้จัดทำ


h

hสารบั ญ

บทที่ 1 บทนำ

หน้า

1.1 ภาวะโลกร้อน 1.2 ภาวะเรือนกระจก 1.3 ก๊าซเรือนกระจก

2 2 4

2.1 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม 2.2 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม 2.3 ผลกระทบต่อสุขภาพ

10 18 21

3.1 การใช้พลังงาน 3.2 การใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3.4 ลดการใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบ ของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs)

25 40 42 53

5.1 โครงการธนาคารขยะไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน โรงพยาบาลลำปาง

72

บทที่ 2 ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

บทที่ 3 หลักการและแนวทางการลดภาวะโลกร้อน

บทที่ 4 99 วิธีหยุดโลกร้อน 55 บทที่ 5 กรณีตัวอย่าง หน่วยงาน รณรงค์ลดโลกร้อน


h สารบัญ (ต่อ)

h

หน้า 5.2 โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์ 76 โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 5.3 โครงการส่งเสริมการใช้กระเป๋าผ้าใส่ยา ลดภาวะ 80 โลกร้อน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา เอกสารอ้างอิง 84 คณะผู้จัดทำ 87


..... .....

บทนำ

โลกมี ช ั ้ น บรรยากาศบางๆห่ อ หุ ้ ม อยู ่ บรรยากาศส่ ว นใหญ่ ม ี ลักษณะโปร่งแสงเป็นฝ้าบางๆ ที่ขอบของโลก และมีกลุ่มเมฆสีขาวซึ่งเกิด จากน้ำในบรรยากาศรวมอยู่ด้วย เมื่อเปรียบเทียบความหนาของบรรยากาศ เพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร กับรัศมีของโลกซึ่งยาวถึง 6,400 กิโลเมตร (The LESA Project, 2007) จะเห็นว่าบรรยากาศของโลกนั้นบางมาก และเกิดสภาพ ภูมิอากาศแปรปรวนได้ง่าย เช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิด การระเบิดที่ก่อให้ เกิดก๊าซ ควัน และเถ้าถ่านจำนวนมหาศาลลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ อาจลอย ขึ้นไปได้สูงมาก ปกคลุมและแผ่กระจายไปทั่วโลก และคงอยู่ในชั้นบรรยากาศ ได้นานหลายเดือนหรืออาจเป็นปี อนุภาคเหล่านี้เป็นตัวการทำให้พลังงาน จากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังผิวโลกลดลง เกิดเป็นภาวะอากาศหนาวเย็น ผิดปกติ ดังตัวอย่าง ในปี 2358 มีการระเบิดของภูเขาไฟ Tambora ใน ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้ในปีต่อมา เกิดอากาศหนาวเย็นผิดปกติใน สหรัฐอเมริกา จนได้ชื่อว่า “ปีที่ไม่มีฤดูร้อน” นอกจากนี้ การที่มนุษย์ได้มีการ ใช้พลังงานจำนวนมหาศาลในการอุตสาหกรรม การเผาไหม้ การใช้สารเคมี เพื่อการเกษตร ฯลฯ ทำให้เกิดก๊าซจำนวนมากลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อดวงอาทิตย์แผ่ความร้อนมายังผิวโลก ทำให้ความร้อนนั้นไม่สามารถ สะท้อน ออกไปนอกโลกได้ และมีการสะสมความร้อนของผิวโลก เป็น ปรากฏการณ์เรือนกระจก ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน

h


..... .....

บรรยากาศของโลกเมื่อมองดูจากอวกาศ

1.1 ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เกิดจาก “ปรากฏการณ์เรือน กระจก” (Greenhouse Effect) เป็นกลไกของฉนวนห่อหุ้มชั้นบรรยากาศโลก ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถลอยออกไปจากโลกได้ ผิวโลกจึงร้อน ขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลก ร้อนด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง การตัดไม้ทำลายป่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงเพื่อให้ได้พลังงาน การใช้สารเคมีสังเคราะห์ใน กระบวนการอุตสาหกรรม การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของประชากร และ อื่นๆอีกหลากหลายประการ

1.2 ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)

ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัว เสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสี


..... ..... คลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคาย พลั ง งานความร้ อ นให้ ก ระจายอยู ่ ภ ายในชั ้ น บรรยากาศและพื ้ น ผิ ว โลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลก ในอดีตโลกมีภาวะสมดุลทาง 2 อุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบาง ชนิดสะสมอยู่ใѸѠนชัѯёјѧ ้นบรรยากาศมากเกิ ก๊าซเหล่ѝาѥіѯзєѨ นี้สามารถดู ดกลืน Ѳь дѥіѯяѥяјѥрѯнѪ кѯёѪѷѠѲўҖѳчҖёјѤนкสมดุ кѥьล дѥіѲнҖ ѝѤкѯзіѥѣўҙ діѣэњьдѥіѠѫ шѝѥўдііє дѥіѯёѧѷєлѼѥьњьѠѕҕ ѥкіњчѯіѶ รังสีคลื่นยาวช่ วงอินฟราเรดและคายพลั งงานความร้ อนได้њดеѠкюіѣнѥді ี พื้นผิวโลกและѰјѣ ѠѪѷьѵѠѨ ўјѥдўјѥѕюіѣдѥі ชั้นдบรรยากาศจึ งมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของ โลกและสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกอย่างมากมาย ดังรูป Long wave Short wave Atmosphere

การเกิดสภาพเรือนกระจกของโลก

дѥіѯдѧчѝѓѥёѯіѪѠьдіѣлдеѠкѱјд 1.3 дҗѥоѯіѪѠьдіѣлд (Greenhouse Gases) ѲьнѤѸьэііѕѥдѥћеѠкѱјдюіѣдѠэчҖњѕдҗѥошҕѥкѵўјѥѕньѧч


..... ..... เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศบนโลก โดยเฉพาะการเกิดฝน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแห้งแล้ง หรือน้ำท่วมในบางพื้นที่อย่างรุนแรง นอกจากนี้เมื่อโลกร้อนขึ้นจะทำให้ภูเขา น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลมีระดับสูงขึ้น และพื้นที่บางแห่ง จะถูกน้ำท่วมมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” ทำให้ฤดูหนาวสั้นขึ้น และมีความชื้นมาก ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้น อาจทำ ให้แผ่นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย และในเขตร้อนอาจจะมีพายุ บ่อยครั้งและรุนแรง บริเวณขั้วโลก ความร้อนทำให้หิมะละลายและปริมาณ น้ำในทะเลเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบ ต่อสัตว์และพืช เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ปากใบปิดไม่สามารถรับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำได้ การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิด อาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้ สูญพันธุ์ได้ในที่สุด

1.3 ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)

ในชั ้ น บรรยากาศของโลกประกอบด้ ว ยก๊ า ซต่ า งๆหลายชนิ ด แต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงตามคุณสมบัติทางเคมีของ ก๊าซแต่ละชนิด ซึ่งก๊าซหลายชนิดสามารถสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นาน หลายร้อยปี บางชนิดสะสมอยู่ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปีก็สลายไป แต่ในปัจจุบัน ชั้นบรรยากาศของโลกมีปริมาณก๊าซบางชนิดมากเกินสมดุลของธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) และก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็น ต้ น ก๊ า ซเหล่ านี้มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถดู ด กลื น และคายรั ง สี คลื่น ยาวช่ ว งอิ นฟราเรดได้ดีมาก จึงทำให้มีค วามร้ อ นสะสมอยู ่ บ ริ เ วณ


..... ..... พื้นผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น พื้นผิวโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เราเรียกก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะแบบนี้เรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)” ก๊าซเรือนกระจกนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ของพื้นผิวโลกโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยทางอ้อมด้วย กล่าวคือ ก๊าซ กลุ่มดังกล่าวจะทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซอื่นๆและเกิดเป็นก๊าซเรือนกระจก ชนิดใหม่ขึ้นมา หรือก๊าซเรือนกระจกบางชนิดอาจรวมตัวกับโอโซน ทำให้ โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง ส่งผลให้รังสีคลื่นสั้นที่ส่องผ่านชั้นโอโซน ลงมายังพื้นผิวโลกได้มากขึ้น รวมทั้งปล่อยให้รังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และ สิ่งมีชีวิตส่องผ่านลงมาทำอันตรายกับสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ด้วย ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊ า ซไนตรั ส ออกไซด์ (N 2O) ก๊ า ซไฮโดรฟลู อ อโรคาร์ บ อน (HFC) ก๊ า ซ เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) “พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal)” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุ เป้ า หมายสู ง สุ ด ที ่ ร ะบุ ใ นมาตรา 2 ว่ า ด้ ว ยวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องอนุ ส ั ญ ญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ เพื่อให้บรรลุถึง การรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ อยู่ใน ระดั บ ที ่ ป ลอดภั ย จากการแทรกแซงของมนุ ษ ย์ ท ี ่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ ระบบ ภูมิอากาศ การรักษาระดับดังกล่าวต้องดำเนินการในระยะเวลาเพียงพอที่จะ ให้ระบบนิเวศปรับตัว โดยไม่คุกคามต่อการผลิตอาหารของมนุษย์ ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFCs หรือ Chlorofluorocarbons) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและ


..... ..... ใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสาร ที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว (“พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วย สารทำลายชั้นโอโซน (Montreal Protocal on Substances that Deplete the Ozone Layer)” มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดมาตรการระหว่างประเทศในการ ลดและเลิ ก ใช้ ส ารทำลายชั ้ น บรรยากาศโอโซน จำนวน 9 ชนิ ด ได้ แ ก่ สารซีเอฟซี สารฮาลอน สารซีเอซีชนิดที่ถูกแทนที่ด้วยสารฮาโลเจนอย่างอื่นๆ สารคาร์บอนเตตระคลอไรด์สาร 1,1,1-ไตรคลอโรอีเทน(เมธิลคลอโรฟอร์ม) สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน สารเมธิลโบรไมด์ และสารโบรโมคลอ โรมีเทน โดยการควบคุมการผลิตและการใช้ของประเทศภาคีสมาชิก)

กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก คือ 1) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เกิดจากธรรมชาติ

และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรม ต่ า งๆ การเผาผลาญน้ ำ มั น ดิ บ (Fossil Fuel) ให้ เ ป็ น พลั ง งานในการ ขับเคลื่อนยานยนต์ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือ การเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านับว่าเป็นตัวการ สำคั ญ ที ่ ส ุ ด ในการปลดปล่ อ ยคาร์ บ อนไดออกไซด์ ข ึ ้ น สู ่ ช ั ้ น บรรยากาศ ทั ้ ง นี ้ เ นื ่ อ งจากต้ น ไม้ แ ละป่ า ไม้ ม ี ค ุ ณ สมบั ต ิ ท ี ่ ด ี ค ื อ สามารถดู ด ซั บ ก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่า ลดน้ อ ยลงปริ ม าณก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ จ ึ ง ขึ ้ น ไปสะสมอยู ่ ใ นชั ้ น บรรยากาศได้มากขึ้น


..... ..... 2) ก๊าซมีเทน (NH4) แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีอยู่มากมายทั้งในธรรมชาติ และ ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น จากแหล่งนาข้าว จากการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้ เ ชื ้ อ เพลิ ง ประเภทถ่ า นหิ น น้ ำ มั น และก๊ า ซธรรมชาติ โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ต่างๆสามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึง 20% ของก๊าซมีเทน ในชั้นบรรยากาศทั้งหมด 3) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ แหล่งกำเนิดก๊าซไนตรัสออกไซด์คืออุตสาหกรรมที่ใช้กรด ไนตริคในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แม้ว่าก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติจะมีอยู่มากในภาวะปกติก็ตาม แต่อัตรา การเพิ่มปริมาณดังกล่าวก็จัดอยู่ในภาวะที่สมดุลในธรรมชาติ ส่วนก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลก นับตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 4) สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอน มีแหล่ง กำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ต่างๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ น้ำยาดับเพลิง น้ำยาซักแห้ง และใช้เป็น ก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ ประเทศไทยมีการนำเข้าก๊าซนี้ทุกประเภท ไม่มี การผลิตในประเทศ แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลง 40% เมื่อเทียบ


..... ..... กั บ สิ บ กว่ า ปี ก ่ อ นหน้ า นี ้ ต ามมาตรการควบคุ ม โดยพิ ธ ี ส ารมอนทรี อ อล แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดย ฝีมือมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลก ประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบทางอ้อมของ ก๊ า ซชนิ ด นี ้ ทำให้ เ กิ ด อั น ตรายต่ อ บรรยากาศ และสิ ่ ง มี ช ี ว ิ ต บนพื ้ น โลก มากมาย กล่าวคือ ก๊าซประเภทนี้สามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนอันเป็น สาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกส่องผ่านลงมายัง พื้นโลกได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกในสัดส่วน ที่มากเกินภาวะสมดุล นับเป็นการทำให้ผิวโลกและบรรยากาศร้อนขึ้นโดย ทางอ้อม ต่อมาได้มีการยกเลิกการใช้สาร CFCs โดยหันมาใช้สารกลุ่ม ไฮโดรฟลู อ อโรคาร์ บ อน (HFCs) ซึ ่ ง เป็ น สารที ่ ไ ม่ ท ำลายชั ้ น โอโซนแทน แต่ HFCs นี้กลับมีคุณสมบัติดูดกลืนและแผ่ความร้อนในบรรยากาศได้ดี จึงถูกจัดเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งด้วย การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้ชั้นบรรยากาศกักเก็บ รังสีความร้อนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศ ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ก๊าซแต่ละชนิดมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential : GWP) ที่แตกต่างกัน ค่าศักยภาพในการทำให้ เกิดภาวะเรือนกระจกนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของ โมเลกุล และอายุของก๊าซนั้นๆในบรรยากาศ โดยจะคิดเทียบกับการแผ่รังสี ความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ค่า GWP ของ ก๊าซเรือนกระจกในช่วงเวลา 100 ปี แสดงดังตารางที่ 1


6

іѤкѝѨзњѥєіҖѠьеѠкдҗѥозѥіҙэѠьѳчѠѠдѳочҙѲьнҕњкіѣѕѣѯњјѥўьѩѷк зҕѥ GWP еѠкдҗѥоѯіѪѠьдіѣлдѲьнҕњкѯњјѥ 100 юҍ ѰѝчкчѤкшѥіѥкъѨѷ 1 ..... .....

ตารางที ่ 1ѷ 1 ћѤศักдยภาพในการทำให้ กิดѯภาวะโลกร้ อนของก๊ าซเรือนกระจก шѥіѥкъѨ ѕѓѥёѲьдѥіъѼ ѥเѲўҖ дѧ ч ѓѥњѣѱјдіҖ Ѡ ьеѠкдҗ ѥ оѯіѪ Ѡ ь діѣлдньѧчшҕѥชนิ кѵดต่างๆ

อายุในชั้น บรรยากาศ (ปี)

ศักยภาพในการทำให้เกิด ภาวะโลกร้อน (เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์)

200-450

1

¤¸Á (CH4)

9-15

23

Å ¦´­°° Å r (N2O)

120

296

CFC-12 (CCl2F2)

100

10,600

Á ¦³¢¨¼°°Ã¦¤¸Á (CF4)

50,000

5,700

´¨Á¢°¦rÁ± ³¢¨¼°°Å¦ r (SF6)

3,200

22,200

ก๊าซเรือนกระจก

µ¦r ° Å °° Å r (CO2)

ъѨѷєѥ : Intergovernmental Panel on Climate Change , IPCC Second Assessment Report ; Climate

ที่มา : Intergovernmental Panel on Climate Change , IPCC Second Assessment Change 1995. (access dated : 15th May 2008) Report ; Climate Change 1995. (access dated : 15th May 2008)

¢² 2 Ú w Ý } w ݬ w i Ù Ú w Ý } w Ý ¢² ¤Ø ¥ ¡x |¬ w ¥|x£³Ù }Ùw ª ¢² Ù« | Ü ¥ ¡ w ¬ w Ù ªÙÞ² | } w ¡« Ýw¡}w x | Ù¤ Ð }wh ­ iªw¡ ݬ w i Ùx£³Ù h|Ú w Ý ­Ù Ý ¬ w« Ý Ý ¥ ¡ z ³| | i Ùw ª ¢² Ù« | Ü« i ª w¡}« Ý |z « Ý i Ù ¤x Üx | Ý Ù 2.1 w ª ¢² Ù« | Ü« i ¤ Ø ¥ ¡ x |¬ w ¥ | x£³ Ù h | Ú ­ i ª w¡ w ª ¢² Ù« |x | Ü« i « Ý Ü ¥ ¡ w |}ݪ ±Ù® i­Ù ݪ ª hÙ 1) Ù³· «x±|« Ý ¡ Ý Ý


.....10.....

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน h ผลกระทบจากภาวะที ่ อ ุ ณ หภู ม ิ ข องโลกสู ง ขึ ้ น และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อันเนื่องมาจากธรรมชาติและกิจกรรม ของมนุษย์ ส่งผลกระทบในระดับโลกและระดับภูมิภาคทั้งทางด้านการ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม และด้านสุขภาพของ ประชาชน

2.1 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ส่งผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และสภาพภู ม ิ อ ากาศ ดั ง จะเห็ น ได้ ใ น หลายประเทศ เช่น 1) น้ำแข็งและหิมะละลาย (1) น้ำแข็งขั้วโลกละลาย สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายอย่าง รวดเร็วทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดน้ำท่วมเกาะและ ชายฝั ่ ง เมื ่ อ พื ้ น ที ่ น ้ ำ แข็ ง ลดลง การสะท้ อ นความร้ อ นสู ่ ช ั ้ น บรรยากาศ ก็ลดลง ขณะที่น้ำทะเลกลับดูดซับความร้อนส่วนใหญ่เอาไว้ ทำให้น้ำทะเล มีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งยิ่งละลายเร็วขึ้นเช่นกัน


.....11..... จากสถานการณ์ หิ้งน้ำแข็ง (Wilkins ice shelf) ขนาดใหญ่ที่ ขั้วโลกใต้ ได้แตกตัวออกจากแผ่นใหญ่ มีรายงานล่าสุดได้รายงานว่ายังมี ชั้นน้ำแข็งขนาดบางที่ติดอยู่กับเกาะ Charcot ในขั้วโลกใต้ที่ยังยึดแผ่นน้ำแข็ง นี้ไว้ได้กำลังค่อยๆ พังลง การที่น้ำแข็งบริเวณรอยต่อนั้นแตกไปทำให้ครึ่งบน ของ Wilkins ได้แตกออกจากเกาะและลอยอยู่ในทะเล ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 1,400 ตารางไมล์ นับว่าเป็นเสมือนภูเขาน้ำแข็งกลางทะเล และการแตกของ หิ้งน้ำแข็ง Wilkins นั้นไม่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นโดยทันที แต่เป็น สั ญ ญาณในการบ่ ง บอกถึ ง การเปลี ่ ย นแปลงสภาวะอากาศของโลกใน ปัจจุบัน เมื่อปี 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้ทำนายว่า ในศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิจะสูงขึ้น ประมาณ 1.1 - 6.4 องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือจะละลาย หมดในฤดูร้อน ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 60 เซนติเมตร น้ำทะเล จะคุกคามบริเวณชายฝั่งทั่วโลก ประชาชนในทวีปเอเชียเกือบ 100 ล้านคน จะประสบปัญหาน้ำท่วมไร้ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม จีน และญี่ปุ่น (2) หิมะบนยอดเขาละลาย แหล่งน้ำจืดที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ร้อยละ 75 สะสม อยู่ในรูปของน้ำแข็ง เพราะธารน้ำแข็งบนยอดเขาหลายแห่งทั่วโลก เป็นต้น กำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสาย น้ำแข็งมีความสำคัญกับระบบนิเวศ อย่างมาก โดยทำหน้าที่คล้าย “ป่า” ในเขตหนาว หากป่าเปรียบเสมือน ฟองน้ำที่คอยอุ้มน้ำ แล้วค่อยๆ ปล่อยน้ำออกมา “น้ำแข็ง” ก็เป็นเสมือน ฟองน้ำที่ชะลอการไหลบ่าของกระแสน้ำด้วยความเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง และเมื่อถึงฤดูร้อน น้ำแข็งก็ละลายเป็นน้ำ ไหลไปรวมเป็นลำธารและแม่น้ำ


.....12..... สายต่างๆ หล่อเลี้ยงผู้คนทั่วโลก ปริมาณน้ำที่ไหลลงแม่น้ำจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณน้ำแข็งที่มีการสะสมไว้ในฤดูหนาว ดังนั้นการที่น้ำต้นทุนบนยอดเขา จะมีปริมาณมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับหิมะที่ตกในฤดูหนาวมีสะสมมากหรือ น้อย หากในอนาคตฤดูหนาวมีระยะสั้นลง หิมะก็อาจจะตกน้อยลง น้ำแข็ง ที่สะสมบนยอดเขาก็น้อยลงไปด้วย ส่งผลให้น้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำน้อยลง ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก ต้องเผชิญปัญหาการขาดแคลน น้ำจืด อย่างรุนแรง ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย 2) สภาพอากาศรุนแรง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศที่ร้อนขึ้นและ ความชื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า พายุไต้ฝุ่น โซนร้อน น้ำท่วม และการพังทลายของชั้นดิน เป็นต้น (1) การเกิดพายุถล่มและน้ำท่วม เมื่ออุณหภูมิบนพื้นโลกสูงขึ้น ทำให้เกิดการระเหยของ น้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร และ ทะเลสาบเพิ่มมากขึ้น ยิ่งจะทำให้ฝนตก มากขึ้น มีการกระจุกตัวอยู่ในบางบริเวณ ทำให้เกิดอุทกภัยเฉียบพลัน ในพื้นที่นั้นๆ และเกิดฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้ง ฝนไม่ตก ตามฤดู ก าล โดยเฉพาะภาคใต้ ข อง ประเทศไทยซึ่งเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่าน จะทำให้เกิดพายุบ่อยครั้ง และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความ รุนแรงเพิ่มมากขึ้น นอกจากภาวะน้ำท่วมแล้ว ยังมีพายุหมุนในทะเลที่เกิดบ่อย ครั้งและรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพายุเฮอริเคน ไซโคลน และพายุไต้ฝุ่น ชุมชนและ เมืองที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของพายุบ่อยครั้ง


.....13..... นอกจากนี ้ ย ั ง ทำให้ เ กิ ด พายุฝนต่อเนื่องรวมทั้งแผ่นดินถล่ม เป็นเหตุให้โคลน หิน ดิน และทราย จากภูเขาถล่มลงสู่พื้นที่เพาะปลูกของ เกษตรกร รวมถึงแนวโน้มของการเกิด อุ ท กภั ย แบบฉั บ พลั น ด้ ว ยเช่ น กั น ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากไร้ที่อยู่ อาศัย และก่อให้เกิดความเสียหาย กับระบบนิเวศ

(2) ภาวะแห้งแล้งและไฟป่า บางฤดูกาลปริมาณน้ำฝนลดลง การระเหยของน้ำที่เพิ่ม มากขึ ้ น เกิ ด การขยายตั ว ของภาวะแห้ ง แล้ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี ย หาย อย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ ความแห้งแล้งยังก่อให้เกิด ไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงทั่วโลก ทำให้พื้นป่าเสียหายเป็นจำนวนมาก และจาก คลื่นความร้อน (Heat Wave) ที่แผ่กระจายไปทั่วโลกอย่างรุนแรง ทำให้มี ผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า อย่างรุนแรงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการ แปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศใน เขตภู ม ิ ภ าคอาเซี ย น และทำลาย สุ ข ภาพของประชาชนที ่ อ าศั ย อยู ่ ใ น บริ เ วณนั ้ น ตลอดจนมี ผ ลกระทบ อย่ า งรุ น แรงต่ อ อุ ต สาหกรรมการ


.....14..... ท่องเที่ยว ปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ในหลายบริเวณ เนื่องจากไฟป่าจะเผาผลาญไปเป็นบริเวณกว้าง ตัวอย่าง เช่น - ในช่ ว งกลางปี 2533 การเปลี ่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ ซึ่งประเทศไทยต้อง ประสบกับความแห้งแล้งอย่างรุนแรง - ระดับน้ำในลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ลดต่ำลง อย่างมากในหน้าแล้ง ทำให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหารลดน้อยลง ซึ่งคาดว่า ความแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (3) ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็ง ที่ขั้วโลก และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้น้ำทะเลขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผล กระทบต่อการสูญเสียที่ดิน การกัดเซาะและการพังทลายของชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ย่อมส่งผลรุนแรงต่อการดำรง ชี ว ิ ต ของพื ช สั ต ว์ รวมทั ้ ง มนุ ษ ย์ ด ้ ว ย ซึ ่ ง จะต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ อ ยู ่ ไ ด้ ใ น สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่ แต่การปรับตัวของพืชและสัตว์ จะต้องใช้เวลา ยาวนานในการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น อย่างมาก ดังนั้นจึงเกิดการสูญพันธุ์ขึ้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ชายฝั่ง เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน ซึ ่ ง เป็ น แหล่ ง ที ่ อ ยู ่ อ าศั ย ของสั ต ว์ น ้ ำ นานาชนิด เกิดภาวะการณ์ขาดแคลน น้ำจืด และจากการที่น้ำทะเลหนุนจะ ยังทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและท่วมบ้าน


.....15..... เรือนอีกด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ราบลุ่มจะเกิดอุทกภัยบ่อยขึ้นและรุนแรง ยิ่งขึ้น - ผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่ง ประเทศไทยมีพื้นที่ชายฝั่ง หลายแบบ เช่น พื้นที่ชายฝั่งที่เป็นหน้าผา อาจมีการยุบตัวเกิดขึ้น หากก้อนหิน ไม่แข็งตัวพอ แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เช่น ที่ชายหาดจาก เพชรบุรีถึงสงขลา ซึ่งมีลักษณะชายฝั่งที่แคบจะหายไป และชายหาดจะ ถูกร่นเข้ามาถึงพื้นที่ราบริมทะเล - ผลกระทบต่อพื้นที่ป่าชายเลน จะมีความหนาแน่น ของพรรณไม้ลดลง เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้พืชตาย แอ่งน้ำ เค็มลดลงและถูกแทนที่ด้วยหาดเลน ในขณะที่ปากแม่น้ำจะจมลงใต้น้ำ ทำให้เกิดการชะล้าง พังทลายของพื้นที่ลุ่มน้ำ เช่น ทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็น แหล่งน้ำชายฝั่งจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นและอาจมีน้ำเค็มรุกเข้ามามากขึ้น (4) ระบบนิ เ วศเปลี่ ย นแปลงและความหลากหลาย

ทางชีวภาพ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม นำมาซึ่งผลกระทบต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพ คือเกิดการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไป โดยมีทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และสภาพภูมิประเทศในปัจจุบัน


.....16..... - ป่าไม้และทรัพยากรน้ำ ประสบกั บ อั ต ราเสี ่ ย งในระดั บ สู ง ป่ า ไม้ ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของ ไทยมี โ อกาสที ่ จ ะประสบความแห้ ง แล้ ง ซึ่งสอดคล้องกับการพยากรณ์ปริมาณน้ำ ฝนที่น้อยลง แต่ฝนจะตกเพิ่มขึ้นในภาคใต้ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของ ประเภทป่าไม้ของประเทศและการคุกคาม ต่อระบบนิเวศ - รูปแบบของฝนและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วัฏจักรของน้ำเปลี่ยนแปลง ลักษณะการไหลของระบบน้ำผิวดินและ ระดับน้ำใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ทั้งพืชและสัตว์ จึงต้องปรับสภาพตน ให้สามารถอยู่ในระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป ลักษณะความหลากหลายทาง ชีวภาพก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย - การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ อาจส่ ง ผลกระทบต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงชนิด และการแพร่กระจาย รวมถึงความสมบูรณ์ ของป่าไม้ไทยในอนาคตด้วย ตัวอย่างเช่น ป่าแล้งเขตร้อน มีแนวโน้มว่าจะลุกเข้าไปใน ป่าชื้นใกล้เขตร้อน นั่นคือ พื้นที่ป่าชื้นมี แนวโน้มลดลง และพื้นที่ป่าแล้งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น - ระบบนิเวศทางทะเล นับเป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่ จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และ


.....17..... อุณหภูมิผิวน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึง การเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน - การแตกตาดอกและตาใบของพื ช รวมทั ้ ง การ ผลัดใบมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผลกระทบจากการแตกตาดอกและ ใบเร็วขึ้นของต้นไม้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือวัฏจักรการดำรง ชีวิต การแตกตาใบจะทำให้มีใบอ่อน ซึ่งเป็นอาหารของนกและสัตว์อื่นๆ มาเร็วกว่าปกติ แต่กระบวนการย้ายถิ่นฐานของสัตว์ต่างถิ่นที่ต้องอพยพมา อาศัยอาหารเหล่านี้ในการเลี้ยงชีวิต ยังไม่สามารถปรับตัวตามได้ ดังนั้น เมื่อสัตว์อพยพมาตามเวลาปกติที่ใบอ่อน ดอก ผล ของพืชเคยผลิดอก ออกผล ก็จะไม่มีอาหารเหลืออยู่ ซึ่งก็จะกลายเป็นปัญหาห่วงโซ่อาหารที่อาจ ไม่เพียงพอในอนาคตให้กับสัตว์ต่างๆ ซึ่งผลกระทบนี้จะส่งต่อเป็นทอดๆ ไปยังพืช สัตว์และสภาพแวดล้อมโดยรวมอีกด้วย - การไหลของแม่น้ำสายหลัก พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญ โดยประมาณ 1 ใน 3 ในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา แม่น้ำ สายหลักเหล่านี้ เป็นเสมือนแหล่งน้ำสำคัญต่อภูมิภาคนั้นๆ ที่แม่น้ำไหลผ่าน มีการไหลเป็นรูปกรวยน้อยลงตลอดลำน้ำทั้งสาย เมื่อความต้องการใช้น้ำ ของประชากรเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่แนวโน้มการไหลของน้ำในแหล่งน้ำ ลดลงจึงกลายเป็นปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำขึ้น - ปะการังฟอกสี สีสันที่สวยงามของปะการังนั้นมา จากสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่พึ่งพา อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง หาก อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมา จากภาวะโลกร้อน เพียง 2-3 องศาเซลเซียส สาหร่ า ยนั ้ น จะตายไป เมื ่ อ ปะการั ง ไม่ ม ี อาหาร ปะการั ง ก็ จ ะตายและกลายเป็ น


.....18..... สีขาว ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ปะการังฟอกสี หรือการเปลี่ยนสีของปะการัง ซึ่งเป็นการทำลายเผ่าพันธุ์ของปะการังและห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใน ทะเลด้วย

2.2 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยจะเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด เนื ่ อ งจากประเทศกำลั ง พั ฒ นาโดยเฉพาะประเทศเกษตรกรรม ผลผลิ ต ทางการเกษตรที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน และส่งผลกระทบรุนแรง ต่อปริมาณอาหารสำรอง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องพึ่งพา การส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นหลัก ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งใน ประเทศกำลังพัฒนา ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลกเช่นเดียวกัน ด้วยอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้น้ำในแม่น้ำต่างๆ มีปริมาณลดลง ร้อยละ 25 ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและประมง ทำให้ผู้คนไม่มีอาหาร พอเลี้ยงชีพ สัตว์ป่าหลายชนิดขาดแคลนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และอาจ ส่งผลให้สัตว์ป่าสูญพันธุ์ 1) ด้านการเกษตร ก า ร เ ป ล ี ่ ย น แ ป ล ง สภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์กับ ปริมาณน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาค การเกษตรของประเทศไทย เพราะมี แนวโน้ ม ว่ า การเปลี ่ ย นแปลงสภาพ


.....19..... ภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10%) ซึ่งจะมีผลต่อ ผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่ต้องอาศัย ปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิ เฉลี่ยที่พอเหมาะ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น จะทำให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลของที่ราบ ลุ่มภาคกลางช้าลง รวมถึงการรุกของน้ำทะเลเข้ามาในแม่น้ำ จะทำให้ ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การป้องกันอาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และ ประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการ ป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การปรับตัวโดยการเปลี่ยนพืช หรือทิ้งพื้นที่ทำกินในบริเวณที่ให้ผลผลิตต่ำ จึงเป็นทางออกที่คาดว่าจะ เกิดขึ้น นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสีย พื ้ น ที ่ เ กษตรกรรมที ่ ส ำคั ญ ตามแนวชายฝั ่ ง ที ่ ย ุ บ ตั ว ภั ย ธรรมชาติ และ ความเสียหายที่เกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผล ทางการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พื้นที่ ที่คุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับ การป้ อ งกั น ล่ ว งหน้ า เช่ น นิ ค มอุ ต สาหกรรมมาบตาพุ ด จำเป็ น ต้ อ งมี โครงสร้ า งป้ อ งกั น กระแสคลื ่ น ซึ ่ ง จะรุ น แรงขึ ้ น เมื ่ อ น้ ำ ทะเลสู ง ขึ ้ น หรื อ การสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลหรือเขื่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำการเกษตร และการทำนาเกลือ เป็นต้น การป้ อ งกั น ดั ง กล่ า ว จะต้ อ งใช้ ง บประมาณจำนวนมหาศาล ดั ง นั ้ น ในพื ้ น ที ่ ท ี ่ ไ ม่ ค ุ ้ ม ค่ า ที ่ จ ะป้ อ งกั น ในเชิ ง เศรษฐกิ จ จะถู ก ละทิ ้ ง ไป ในส่ ว นนี ้ จ ะเป็ น ส่ ว นที ่ เ กิ ด ปั ญ หาเศรษฐกิ จ และสั ง คมมากที ่ ส ุ ด เช่ น การช่วยเหลือชาวนา ซึ่งจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ในที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลรุก เป็นต้น


.....20.....

2) ด้านการประมง

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการทำประมง คือแหล่งน้ำที่เคย อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี เช่น แม่น้ำสายเล็กๆ ทะเลสาบ และห้วย หนอง คลอง บึง อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล จะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้จำนวนและความหลากหลาย ของสัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ความหลากหลายทาง ชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ำแถบลุ่มแม่น้ำโขงในภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ของไทยจะลดลงอย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง หากการเปลี ่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป 3) ด้านความมั่นคง ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั้น ไม่เพียงแต่ส่งกระทบที่รุนแรงต่อประเทศไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศชาติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพื้นที่ชายฝั่ง ภูมิอากาศ แปรปรวน โรคระบาดรุ น แรง และผลกระทบอื ่ น ๆ ส่ ง ผลให้ ม ี ป ระชากร บาดเจ็บล้มตาย ทิ้งที่ทำกิน และไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มที่ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะระหว่ า งภาวะน้ ำ ท่ ว ม และความเสี ย หายที ่ เ กิ ด กั บ ระบบ สาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งโดยมากผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็น ประชาชนที่มีความยากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะป้องกันผลกระทบของ ภาวะโลกร้อนได้ ตัวอย่างเช่น การป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในพื้นที่ทำกิน อาจทำได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูน้ำป้องกันน้ำเค็ม แต่วิธีการนี้ต้อง ลงทุนสูง ดังนั้น ชาวนาจึงไม่สามารถลงทุนได้


.....21..... จากผลกระทบต่อความมั่นคงดังกล่าว ทำให้เกิดการแข่งขันทาง ทรัพยากรระหว่างประเทศ การอพยพของผู้คนจำนวนมหาศาลจากพื้นที่ที่ได้ รับผลกระทบหนักสุด ความท้าทายต่อการรวมตัวกันของประเทศสำคัญที่ ประสบปัญหาระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และจากผลกระทบต่อเนื่องของปัจจัย ต่างๆ ดังกล่าว จึงเกิดความเสี่ยงต่อการใช้อาวุธในการสู้รบกัน รวมทั้ง ความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางอาวุธนิวเคลียร์

2.3 ผลกระทบต่อสุขภาพ

เมื่ออุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น การเกิดเหตุการณ์ ทางธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม การที่อุณภูมิสูงขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่น เกิดความเครียด เจ็บป่วย พิการ ตายจากคลื่นความร้อน (Heat Wave) และ ภาวะน้ำท่วม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกระทบต่อกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัย นำมาซึ่งปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ กับประเทศในเขตร้อนชื้น แนวโน้ ม ของผลผลิ ต ทางการ เกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ร่างกายมี ภู ม ิ ต ้ า นทานต่ ำ โดยเฉพาะในเด็ ก และ คนชรา ภาวะโลกร้ อ นไม่ เ พี ย งทำให้ ระบบนิ เ วศเปลี ่ ย นแปลงไป แต่ จ ะสร้ า ง


.....22..... สภาวะที่พอเหมาะให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นโรคติดต่อใน อนมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นกัน เขตร้ โดยเฉพาะไข้ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ซึ่งมียุงเป็นพาหะ เนื่องจากการขยาย พั นธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนขึ้น และฤดูกาลที่ไม่แน่นอน อี กโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น คือ ไข้ส่า (Dengue fever) ปัจจุบัน การระบาดของไข้ส่าในประเทศไทย มีความรุนแรงและมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่ม มากขึ้นกว่า 8 - 10 เท่า นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มการเกิดโรคระบาดที่สัมพันธ์ กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่มสูงขึ้น โดยภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วม ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง อหิวาตกโรค และโรคอาหารเป็นพิษ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น จะลดปริมาณน้ำสำรอง และเพิ่มปริมาณจุลชีพเล็กๆในอาหารและน้ำ ภาวะโลกร้ อ นยั ง ทำให้ เ กิ ด ปั ญ หาโรคติ ด เชื ้ อ อุ บ ั ต ิ ใ หม่ และ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำขึ้นด้วย กล่าวคือ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging or new infectious disease; EID, NID) คือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นโรคที่รู้จักดี อยู่แล้ว แต่เกิดการระบาดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคมาก่อน โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Remerging or resurgent infectious disease; RID) คือ โรคที่กลับมาระบาดใหม่หลังจากที่ได้ควบคุมโรคแล้ว หรือพบหลังจากที่ไม่ เคยมีการระบาดในพื้นที่เดิมมาเป็นเวลานาน รวมถึงภาวะที่เชื้อโรคดื้อยา ด้วย นอกจากนี้ทั้งโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำจะต้องเป็นโรคที่สามารถ ติดต่อครอบคลุมในบริเวณกว้าง แพร่ข้ามสายพันธุ์ในสัตว์ต่างๆหรือแพร่ข้าม มายั ง คน และก่ อ ให้ เ กิ ด ความรุ น แรงหรื อ ผลกระทบในวงกว้ า งต่ อ ชี ว ิ ต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ ลั ก ษณะสำคั ญ เฉพาะตั ว ของโรคอุ บ ั ต ิ ใ หม่ แ ละโรคอุ บ ั ต ิ ซ ้ ำ จะต้องมีการทะลักล้นจากแหล่งรังโรค เช่น การทะลักล้นจากแหล่งรังโรค ในสัตว์ อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อโดยตรงในคน หรือเชื้อจากแหล่งรังโรคจะ


.....23..... ฟักตัวในสัตว์อีกชนิดหนึ่งซึ่งปฏิบัติตัวเป็นแหล่งเพาะโรค จนทำให้เชื้อมี ปริมาณสูงขึ้น จากนั้นตัวนำโรคจะนำเชื้อมายังคนอีกต่อหนึ่ง ทำให้สามารถ ก่อให้เกิดโรคในคนได้ และในที่สุดสามารถติดต่อจากคนสู่คนจนกระทั่งแพร่ ระบาดไปทั่วโลก การเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำทั้งที่พบในคนและสัตว์ เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากการพัฒนาสังคมมนุษย์ โดยมีสาเหตุหลักคือ จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและภาวะโลกร้อน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของ การเกิ ด โรคเป็ น ผลมาจากสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ เ ปลี ่ ย นแปลงอั น เนื ่ อ งมาจาก พฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การทำลายสภาพ แวดล้อมอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และการบริโภคสัตว์ป่า เป็นต้น โรคจากสัตว์สู่คนที่อุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ต้องเฝ้าระวังใน ประเทศไทย 1. กาฬโรค (Plague) 2. โรคฉี่หนู (Leptospirosis) 3. มิวรีนทัยฟัส (Murinetythus) 4. พยาธิทริคิเนลโลซิ (Trichinellosis) 5. ฮันตาไวรัส (Hantavirus) 6. พิษสุนัขบ้า (Ratbies) 7. ไข้หนูกัด (Ratbite fever) 8. มาลาเรีย (Malaria) 9. ไข้เลือดออก (Hemorrhagic fever) 10. โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) 11. ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) 12. อหิวาตกโรค (Cholera) 13. ไข้หวัดนก (Avian influenza หรือ bird flu) 14. วัณโรค (Mycobacterium tuberculosis)


.....24.....

15. ซาร์ส (Sars) 16. ไข้เลือดออกอีโบลา (Ebola En:hemorrhagic fever)

ที่มา: สพ.ญ.ดร.วราภรณ์ พิมพ์ประไพ (www.dld.go.th)

จากสภาพภู ม ิ อ ากาศที ่ เ ปลี ่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว จนน่ า วิ ต ก นำไปสู่การเกิด “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตโดยรวม


.....25.....

หลักการและแนวทาง การลดภาวะโลกร้อน h การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มีความผันแปรสูง โลกต้องเผชิญ กับความแปรปรวนของธรรมชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ภัยทางธรรมชาติ ทั้งพายุกระหน่ำ ลูกเห็บตก ภาวะน้ำท่วมเฉียบพลัน เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว ล้วนก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน แทบทั้งสิ้น สาเหตุหลักที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ ้ น คื อ ก๊ า ซเรื อ นกระจก ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และครัวเรือน ได้แก่ การใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลือง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า การดำเนินการเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งหลักการและ แนวทางการลดโลกร้อนสามารถทำได้ ดังนี้

3.1 การใช้พลังงาน

ปั จ จุ บ ั น การพั ฒ นาด้ า นอุ ต สาหกรรมกั บ การขยายตั ว ด้ า น เศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการใช้พลังงานมากขึ้น เป็นเหตุให้โลกต้อง เผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งมีชีวิตและมวล มนุษยชาติมากขึ้นทุกที สำหรับประเทศไทยมีองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญในการลดการใช้พลังงาน มีการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ


.....26..... ทดลอง และพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อม สำหรับการลดการใช้พลังงานและนำพลังงานทดแทนมาใช้ เพื่อการประหยัด ทรัพยากรธรรมชาติ 1) พลังงานทดแทน พลั ง งานทดแทน หมายถึ ง พลั ง งานที ่ น ำมาใช้ แ ทน น้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่มาได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. พลั ง งานที ่ ใ ช้ แ ล้ ว หมดไป (Alternative Energy) เป็ น พลั ง งานสิ ้ น เปลื อ งที ่ ม าจากแหล่ ง ต่ า งๆ ได้ แ ก่ ถ่ า นหิ น ก๊ า ซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น 2. พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นพลังงาน ทดแทนจากแหล่งพลังงานที่ใช้แล้ว สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น พลังงานประเภทนี้เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศ มีประสิทธิภาพ ประหยัดทั้งทรัพยากร แรงงานและค่าใช้จ่าย และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงาน ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ ประเภทของพลังงานทดแทน (1) พลังงานแสงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลก พลังงาน จากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาด ไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ อันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็น สิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจาก สามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่


.....27..... เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 22% ประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ใน เกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50% ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) เกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ (เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณ ที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือใต้ ในประเทศไทยมีการนำ พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ 2 รูปแบบ คือ 1. ผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ เช่น โรงงานผลิตเซลล์ แสงอาทิตย์​ โรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทเอกรัฐโซล่าร์จำกัด โรงงานผลิตเซลล์แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน


.....28..... 2. ผลิตความร้อนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 3.016 กิโลวัตต์ ตำบลบ่อผุ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เครื่องอบแห้ง เช่น กล้วย ปลา

เครื่องสกัดสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

(2) พลังงานน้ำ พื้นผิวโลกถึง 70% ปกคลุมด้วยน้ำ มีความสำคัญ ยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย น้ำเหล่านี้มีการเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนอยู่ ตลอดเวลาระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า วัฏจักร ของน้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก และมนุษย์รู้จักนำ พลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันน้ำ ปั จ จุ บ ั น มี ก ารนำพลั ง งานน้ ำ ไปหมุ น กั ง หั น ของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า เราสามารถสร้างเขื่อน กั ก เก็ บ น้ ำ ไว้ ใ นที ่ สู ง ปล่ อ ยให้ น ้ ำ ไหลลงมาตามท่ อ เข้ า สู ่ เ ครื ่ อ งกั ง หั น น้ ำ ผลักดันใบพัดเพื่อให้กังหันน้ำหมุนเพลาของเครื่องกังหันน้ำ ที่ต่อเข้ากับเพลา ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จะหมุนตาม เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิด ไฟฟ้า ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ อาจจะ ผลิตจากเขื่อนขนาดใหญ่ เขื่อนขนาดกลาง หรือเขื่อนขนาดเล็กเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้า สำหรับใช้ในชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งปี 2547 โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 2,973 เมกกะวัตต์


.....29.....

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์

กังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าบริเวณประตู ระบายน้ำ คลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ

(3) พลังงานลม พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความ แตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไป จากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลม มาใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ พลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลก ทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้า มาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพล ต่อสภาพลมฟ้าอากาศ ในบางพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามัน และด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะ พลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ มีความเร็วอยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มของพลังงานลมที่ประเมินได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อ ตารางเมตร เช่น กังหันลมแบบแกนดิ่ง ติดตั้งทดสอบบริเวณสถานีพลังน้ำ


.....30..... ทดแทนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กังหันลมแบบแกนดิ่ง และ กังหันลมแบบแกนแนวนอน (แบบล้อจักรยาน) ติดตั้งทดสอบบริเวณบ้าน อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น กังกันลมแบบแกนดิ่ง ติดตั้งทดสอบบริเวณสถานีพลังน้ำทดแทนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

กังหันลมแบบแกนแนวนอน (แบบล้อจักรยาน) ติดตั้งทดสอบบริเวณบ้านอ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

กังหันลมแบบแกนดิ่ง ติดตั้งทดสอบบริเวณ บ้านอ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


.....31..... (4) พลังงานชีวมวล เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิต เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตรเหล่านี้ ใช้เผา ให้ความร้อนได้ และความร้อนนี้สามารถนำไปปั่นไฟ นอกจากนี้ ยังรวมถึง มูลสัตว์และของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรด จากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมันที่เอามาหมัก และผลิ ต เป็ น ก๊ า ซชี ว ภาพ โดยเหตุ ท ี ่ ป ระเทศไทยทำการเกษตรอย่ า ง กว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว (เทียบได้กับน้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) จึงควรนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ กรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆใน ประเทศ ในลั ก ษณะของการผลิ ต ร่ ว ม (Co-generation) ซึ ่ ง มี ใ ช้ อ ยู ่ แ ล้ ว หลายแห่ ง ในต่ า งประเทศ โดยวิ ธ ี ด ั ง กล่ า วแล้ ว จะช่ ว ยให้ ส ามารถใช้ ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจรวมถึ ง การใช้ ไ ม้ ฟ ื น จากโครงการปลู ก ไม้ โ ตเร็ ว ในพื ้ น ที ่ น ั บ ล้ า นไร่ ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย เพื่อ แก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับ ผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่น ที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน (Gasifier) ก๊าซจากการหมัก เศษวัสดุเหลือ จากการเกษตรไบโอแก๊ส และขยะ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน


.....32..... (5) พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลั ง งานความร้ อ นใต้ พ ิ ภ พ เป็ น พลั ง งานตาม ธรรมชาติที่เกิดและเก็บสะสม อยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติอุณหภูมิภายใต้ ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือ ยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิจะยิ่ง สูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental Crust) หรือที่ความลึก ประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิ อาจสูงถึง 3500 - 4500 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับน้ำมันดิบปิโตรเลียม หากแต่ว่าแหล่งพลังงานเหล่านี้ เก็บอยู่ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน มักพบในบริเวณที่เรียกว่า Hot Spots คือ บริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อนจากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (Geothermal Gradient) มากกว่าปกติ ประมาณ 1.5 - 5 เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และ ค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้น ก็จะ มีน้ำบางส่วนไหลซึมลงไปภายใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำนั้นจะ ไปสะสมตัวและรับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็น น้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะพยายามแทรกตัวตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้น มาบนผิวดิน และปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือด เป็นต้น ในประเทศไทยมีปรากฏการณ์ธรรมชาติในลักษณะ น้ำพุร้อนกว่า 60 แห่งตามแนวเหนือ-ใต้ แถบชายแดนตะวันตกของประเทศ (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) การพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพและการใช้ ประโยชน์ เช่น แหล่งน้ำพุร้อน อำเภอฝาง เป็นโครงการเอนกประสงค์


.....33..... พลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งเดียวในประเทศไทย ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่ ง ประเทศไทยได้ พ ั ฒ นาผลิ ต กระแสไฟฟ้ า และใช้ ป ระโยชน์ โ ดยตรง นอกจากนี้ ยังใช้ในการอบแห้งห้องเย็น เพื่อรักษาผลผลิตทางการเกษตร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย

น้ำพุร้อนและโรงไฟฟ้าน้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่


.....34..... (6) พลังงานไบโอดีเซล ไบโอดีเซล คือ การนำน้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์ หรือแม้แต่น้ำมันที่ใช้แล้ว อย่างน้ำมันที่ทอดไก่ หรือปาท่องโก๋ มาใช้เป็น เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจแบ่งไบโอดีเซลตามประเภทของน้ำมัน ที่นำมาใช้ ได้ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ น้ำมันพืชแท้ๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันจากไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู สามารถนำมาใช้ได้เลยกับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ต้องผสม หรือเติมสารเคมี อื่นใด หรือไม่ต้องนำมาเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันให้เปลืองเวลา เปลืองทรัพยากรอีก 2. ไบโอดีเซลแบบลูกผสม ชนิดนี้เป็นลูกผสมระหว่างน้ำมันพืชหรือสัตว์ กับน้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล เพื่อให้ไบโอดีเซลที่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำมันดีเซลให้มากที่สุด เช่น โคโคดีเซล (coco-diesel) ที่อำเภอทับสะแก จั ง หวั ด ประจวบคี ร ี ข ั น ธ์ ซึ ่ ง เป็ น การผสมกั น ระหว่ า งน้ ำ มั น มะพร้ า วกั บ น้ำมันก๊าด หรือปาล์มดีเซล (palm-diesel) เป็นการผสมระหว่างน้ำมันปาล์ม กับน้ำมันดีเซล 3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ชนิดนี้เป็นความหมายของไบโอดีเซลที่แท้จริงที่ ใช้กันทั่วไปในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ดังนั้น “ไบโอดีเซล” ในความหมายของสากล หมายถึง ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ซึ ่ ง จะต้ อ งผ่ า นกระบวนการแปรรู ป ด้ ว ยกระบวนการทางเคมี ท ี ่ เ รี ย กว่ า ทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) นั่นคือ การนำเอาน้ำมันพืชหรือ


.....35..... สัตว์ที่มีกรดไขมันไปทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ โดยใช้กรดหรือด่างเป็น ตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เอสเทอร์ โดยจะเรียกชนิดของไบโอดีเซลแบบ เอสเทอร์ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ไบโอดีเซลชนิด เอสเทอร์นี้มีคุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด ทำให้ไม่มีปัญหากับ เครื่องยนต์ สามารถนำมาใช้กับรถยนต์ได้ แต่ปัญหาก็คือมีต้นทุนการผลิต ที่แพง ข้ อ ดี ข องไบโอดี เ ซลในเชิ ง เศรษฐศาสตร์ ก ็ ค ื อ ราคาถู ก ช่ ว ยพยุ ง ราคาพื ช ผลทางการเกษตรของไทย ลดการนำเข้ า น้ ำ มั น จาก ต่างประเทศ ข้อดีในด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตก็คือ ช่วยลดมลพิษ ในอากาศ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับมลพิษจาก อากาศ เป็นต้น (7) พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นมาจาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ หรือกระบวนการนิวเคลียร์ หลักการพื้นฐานของการเกิด หรือสร้างพลังงานนิวเคลียร์ คือ หลักการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสสาร และพลังงานจากทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ตามสมการ E = mc2 เมื่อสสารมีมวล m สูญหายไป จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน E มีขนาด mc2 โดยที่ c เป็นค่าความเร็วของแสงในสุญญากาศ คือประมาณ 186.000 ไมล์ ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่รู้จักกันใน ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น และปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น 1. ปฏิ กิ ริ ย านิ ว เคลี ย ร์ ฟิ ช ชั่ น อะตอมของธาตุ ที ่ ห นั ก เช่ น ยู เ รเนี ย มถู ก ยิ ง ด้ ว ยอนุ ภ าคนิ ว ตรอน แล้ ว แตกตั ว เป็ น ธาตุ ที่เบากว่า จากกระบวนการแตกตัวนี้ก็เกิดมีมวลสารส่วนหนึ่งของอะตอม ยูเรเนียมหายไป และมวลของยูเรเนียมที่หายไปนี้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานที่


.....36..... เรียกว่า พลังงานอะตอม หรือพลังงานนิวเคลียร์ เพราะปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องนี้ เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในระดับนิวเคลียสของอะตอม 2. ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เกิด จากการรวมตัวของอะตอมของธาตุที่เบา เช่น อะตอมไฮโดรเจน เกิดเป็น อะตอมของธาตุที่หนักกว่าคือ อะตอมฮีเลียม แล้วเกิดมีมวลสารส่วนหนึ่ง ของอะตอมไฮโดรเจนหายไป เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน พลังงานนิวเคลียร์ ที่รู้จักกันดีในรูปของอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายร้ายแรงคือระเบิด อะตอม ซึ่งอาศัยหลักการของกระบวนการนิวเคลียร์ฟิชชั่น และระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งอาศัยกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่น พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิชชั่นและฟิวชั่น ออกมาในรูปของความร้อนและกัมมันตภาพรังสี ประกอบด้วยอนุภาคนิวตรอน และอนุภาคอัลฟา เบตาและรังสีแกมมา หลั ก การใหญ่ ข องการใช้ ป ระโยชน์ ข องเชื ้ อ เพลิ ง นิ ว เคลี ย ร์ คื อ อาศั ย ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งคล้ายกับการใช้ ความร้อนจากเชื้อเพลิงรูปอื่นๆ นั่นคือ ต้องการความร้อนที่เกิดขึ้นไปต้มน้ำ หรือไปทำให้ก๊าซร้อนแล้วอาศัยไอน้ำร้อนหรือก๊าซร้อนที่ขยายตัวไปทำให้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน ข้อดีของพลังงานนิวเคลียร์ ที่สำคัญ คือ อาศัย เชื้อเพลิง เช่น ยูเรเนียมในปริมาณน้อย ก็ได้พลังงานนิวเคลียร์ไปใช้งานใน ปริมาณมากและนาน เนื่องจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะสลายตัวช้ามากตาม ธรรมชาติของมันเอง เช่น ยูเรเนียม -235 มีค่าของครึ่งอายุถึง 7.1 คูณ 108 ปี นั่นคือ ยูเรเนียม -235 ปริมาณหนึ่งจะสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ก็กินเวลานานถึง 7.1 คูณ 108 ปีทีเดียว


.....37..... ข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์ฟิชชั่น คือ สภาพความ เป็นกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เก็บรักษายากและยังหายากอีกด้วย และกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือสิ่งที่ สัมผัสกับพลังงานนิวเคลียร์แล้ว เช่น น้ำหรือก๊าซที่กำจัดยากกว่าเชื้อเพลิง ชนิดอื่นๆ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อม (8) พลังงานไฮโดรเจน ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและเป็นองค์ประกอบ ของน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก เป็นโมเลกุลที่มีอยู่ทั่วไป ตามธรรมชาติ ชั้นบรรยากาศของโลกมีก็าซไฮโดรเจนประมาณ 0.1 ppm. มีความแข็งแรงในการยึดโมเลกุล เท่ากับ 436 kJ/mol (104 kcal/mol) ดังนั้น เมื่อต้องการให้ไฮโดรเจนโมเลกุลทำปฏิกิริยา จึงต้องใช้พลังงานเพื่อทำลาย ความแข็งแรงในการยึดโมเลกุลดังกล่าว เช่น เพิ่มอุณหภูมิ โดยใช้สารเร่ง ปฏิกิริยา เป็นต้น ในปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนผลิตได้จากวัตถุดิบ 2 แหล่ง หลัก คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล จําพวกก๊าซธรรมชาติ ถ่านน้ำมัน และเชื้อเพลิง จากพลั ง งานหมุ น เวี ย น เช่ น ชี ว มวล และน้ ำ เทคโนโลยี ใ นการผลิ ต ก๊ า ซ ไฮโดรเจนแบ่งได้เป็น 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ Thermal Processes Electrolytic Processes และ Photolytic Processes ดังนี้ 1. Thermal Process เป็นการใช้ความร้อนกับแหล่ง พลังงาน เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ชีวมวล เชื้อเพลิงเหลว เป็นต้น เพื่อให้ ได้ผลิตภัณฑ์ไฮโดรเจน เช่น Reforming Gasification Partial Oxidation High-temperature Water Splitting


.....38..... 2. Electrolytic Process เป็นการใช้ไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำออก เป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทางอากาศ แต่ขึ้นกับแหล่งในการผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานทดแทน หรือพลังงานหมุนเวียน (Renewable sources) 3. Photolytic Process หรือ Biophotolysis เป็นการใช้ พลังงานแสงเพื่อแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน เช่น Photobiological Water Splitting Photoelectrochemical Water Splitting ปัจจุบันการผลิตก๊าซ ไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์ จะผลิตจากก๊าซธรรมชาติโดยวิธี Strean Reforming เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ถูกที่สุด แนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย ในอนาคต คาดว่า อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6% ในขณะที่สัดส่วนการ ใช้น้ำมันจะลดลงจาก 49% เหลือ 45% และสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ จะเพิ่มจาก 35% เป็น 38% ภายในปี 2563 ทั้งนี้ทรัพยากรพลังงานหลักที่ ผลิตในประเทศ คือ ก๊าซธรรมชาติ จะใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแส ไฟฟ้า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราการจัดหาก๊าซธรรมชาติวันละ 3,200 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต โดยผลิตในประเทศไทย 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งประมาณ 70% ของก๊าซธรรมชาตินำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลือถูกนำ ไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงแยกก๊าซ โรงงานอุตสาหกรรมและผลิตเป็น NGV จะเห็ น ได้ ว ่ า สั ด ส่ ว นการใช้ ท รั พ ยากรพลั ง งานโดยรวมของ ประเทศ จะเป็นการใช้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติประมาณ 80% แสดงว่า ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น จึงต้องมีการจัดหา พลังงานที่ถูกต้อง เหมาะสม โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนให้มีการนำทรัพยากร พลังงานชนิดอื่นมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น ทั้งถ่านหิน หินน้ำมัน และ


.....39..... พลั ง งานทดแทนต่ า งๆ เช่ น พลั ง งานน้ ำ ลม แสงอาทิ ต ย์ ไบโอดี เ ซล ก๊าซโซฮอล์ ชีวมวล รวมถึงพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอย่างพลังงาน นิวเคลียร์และไฮโดรเจน 2) การลดการใช้พลังงาน การลดการใช้พลังงาน เพื่อช่วยคลายภาวะโลกร้อน การ ประหยัดพลังงานต้องทำด้วยตนเอง โดยใช้อย่างถูกวิธี ใช้อย่างรู้คุณค่า ใช้อย่างประหยัดและประหยัดมากขึ้นด้วย 3 วิธีง่ายๆ ในการใช้พลังงาน อย่างประหยัด คือ (1) ลด ชั่วโมงการใช้พลังงานไฟฟ้า (2) ละ เว้นการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น (3) เลิก พฤติกรรมการใช้พลังงานแบบสิ้นเปลือง นอกจากนี้ การลดภาวะโลกร้อน ยังมีหลักการและแนวทาง อีกหลายวิธีที่สามารถช่วยได้ เช่น หลักการ 3 Rs และการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นต้น หลักการ 3 Rs คือ 1. Reduce ใช้น้อย ใช้ประหยัด หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของหรือ บรรจุภัณฑ์ที่สร้างปัญหาก่อให้เกิดขยะ เลือกใช้สินค้าที่ส่งคืนบรรจุภัณฑ์ สู่ผู้ผลิตได้ 2. Reuse ใช้ซ้ำ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง หรือ ใช้อย่างคุ้มค่า เช่น แบตเตอรี่ ที่บรรจุไฟฟ้าได้ใหม่ ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า การบำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้อีก การนำวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ ก ลั บ มาใช้ ใ หม่ เช่ น ถุ ง ผ้ า กล่ อ งกระดาษ หรื อ การดัดแปลงสิ่งของให้ใช้ได้อีก เช่น ยางรถยนต์ดัดแปลงเป็นเก้าอี้ /ถังขยะ ขวดพลาสติกดัดแปลงเป็นแจกัน เป็นต้น


.....40..... 3. Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีวิธีการ 4 ขั้นตอน คือ การเก็บรวบรวม การแยกประเภทวัสดุ ผ่านกระบวนการผลิตหรือปรับปรุง และการนำมาใช้ประโยชน์

3.2 การใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ลดการใช้ทรัพยากร : ไม่ก่อให้เกิดขยะ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ ห ั ว ทรงมี พ ระราชดำรั ส เกี ่ ย วกั บ “ภาวะเรือนกระจก” ที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนมานานกว่า 20 ปีแล้ว ทรงห่วงใยปัญหาสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากการครอบครองและใช้ทรัพยากร อย่างเกินจำเป็น และทำลายความเป็นธรรมชาติจะนำหายนะมาสู่แผ่นดิน และราษฎรจะเดือดร้อน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ทรงมีพระราชดำริให้ สังคมใช้เป็นหลักประยุกต์ในการดำเนินชีวิตและดำเนินงานต่างๆจนได้รับ ความชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติที่ได้น้อมนำไปเผยแพร่ยังนานา ประเทศ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง หมายถึง การทำอะไร ที่ยึดองค์ประกอบ 3 ประเด็น คือ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและ บริโภคในระดับพอประมาณ คือการร่วมมือร่วมใจในการประหยัดพลังงาน เพื่อลดโลกร้อน ถือเป็นส่วนที่มีการรณรงค์มากที่สุดในปัจจุบัน สามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ถุงผ้า การใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น การเดินหรือ ใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์ รู้จักใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น แต่รู้จักความ พอประมาณไม่ทำให้ตนเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน ฯลฯ


.....41..... 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความ พอเพี ย ง จะต้ อ งเป็ น ไปอย่ า งมี เ หตุ ผ ล โดยพิ จ ารณาจากเหตุ ป ั จ จั ย ที ่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่าง รอบคอบ คื อ การรู้จักคิดถึงผลกระทบที่จะเกิด ขึ ้ น จากการกระทำต่ า งๆ ของเรา เช่น การรู้จักประหยัดพลังงาน โดยรู้จักความพอดี มีเหตุผล ทำใน สิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่เกินกำลัง เช่น ประหยัดไฟ คือการลดการใช้ไฟฟ้าแต่ ไม่ใช่การไม่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 3. การมีภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อม รั บ ผลกระทบและการเปลี ่ ย นแปลงด้ า นต่ า งๆที ่ จ ะเกิ ด ขึ ้ น โดยคำนึ ง ถึ ง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งใกล้และไกล เช่น การยอมรับต่อภัยพิบัติที่มีผลกระทบจากภาวะโลกร้อนหรือสภาพเศรษฐกิจที่ อาจถดถอยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้น และ 2 เงื่อนไข คือ การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบ คือ 1. เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที ่ เ กี ่ ย งข้ อ ง อย่ า งรอบด้ า น ความรอบคอบที ่ จ ะนำความรู ้ เ หล่ า นั ้ น มา พิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังใน ขั้นตอนปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง คือ ต้องมีความ ตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียรและ ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ปัญหาของโลก คือ ประเทศส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรและพลังงาน ในลักษณะที่เป็นการซ้ำเติมธรรมชาติ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน


.....42..... เริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ จนสั่งสมปัญหา ถึงขั ้ น วิ ก ฤติ ใ นขณะนี้ ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ ด้ ว ยการปรั บ จิ ต สำนึ ก ยึดหลัก “พอเพียง” เช่น การประหยัดพลังงานอย่างมีสติ เลือกใช้วิธีการที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเท่าที่จำเป็น ตระหนักถึงประโยชน์ของส่วนรวม เป็นที่ตั้ง หลักนี้สามารถนำมาใช้ได้ในทุกระดับ ทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว กิจการธุรกิจ รวมไปถึงการบริหารหน่วยงานระดับประเทศ ดังนั้น เราจึง สามารถร่วมมือกันเพื่อยับยั้งวิกฤตการณ์ของโลกได้ ด้วยการรู้จักตนเอง รู้จักความพอเพียง พอประมาณ ซึ่งนอกจากจะทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ แล้วนั้น ยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

3.3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียว

พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่ซึ่งมีสภาพเป็นธรรมชาติควรแก่ การอนุรักษ์ เช่น พื้นที่ป่า ป่าชุมชน อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวน พฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ แหล่งธรรมชาติควรแก่การอนุรักษ์ของท้องถิ่น ชุมชนโบราณ สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมโบราณ พื้นที่ริ้วสีเขียว เช่น ต้นไม้ ริมถนน ต้นไม้ริมแม่น้ำลำคลอง พื้นที่โล่งว่างรอบเมือง เช่น พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่โล่งว่างในเมือง เช่น สวนสาธารณะ สวนหย่อม สนามกีฬา สนามเด็กเล่น รวมถึงสถานที่นันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ ที่ดำเนินการโดยเอกชน และพื้นที่โล่งอื่นๆที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ หรือเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของเมือง (สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2546)


.....43..... 1) ประเภทของพื้ น ที่ สี เ ขี ย ว พื ้ น ที ่ ส ี เ ขี ย ว แบ่ ง ได้ เ ป็ น 5 ประเภทตามสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ (1) พื้ น ที่ ธ รรมชาติ หมายถึ ง พื ้ น ที ่ ส ี เ ขี ย วที ่ ม ี อ ยู ่ ต าม ธรรมชาติ เป็นแหล่งรวมของระบบนิเวศ ที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ใน สภาพสมบูรณ์ โดยมีการจัดการที่เหมาะสม เช่น ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร คลอง ทะเลสาบ พรุ และพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น (2) พื้นที่สีเขียวเพื่อการบริการ หมายถึง พื้นที่สีเขียวที่ ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และ เสริมสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับเมือง เช่น สวนสาธารณะ สวนละแวก บ้าน สนามกีฬากลางแจ้ง สนามเด็กเล่น สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ และสวนสัตว์ เป็นต้น (3) พื้นที่สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม หมายถึง พื้นที่สีเขียวที่ เสริมสร้างด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มก๊าซออกซิเจน หรือลดอุณหภูมิ ความร้อนในเมือง เป็นเสมือนปอดของชุมชนเมือง เช่น สวนไม้ผลยืนต้น สวนป่า สวนในบ้าน พื้นที่สีเขียวในโรงเรียน หน่วยงานราชการ ศาสนสถาน สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ และสนามกอล์ฟ เป็นต้น (4) พื้นที่สีเขียวริมเส้นทางสัญจร หมายถึง พื้นที่สีเขียว ที่อยู่ในแนวทางสัญจรสาธารณะ ช่วยเสริมสร้างด้านสิ่งแวดล้อมและบริการ ได้แก่ พื้นที่แนวถนน เกาะกลางถนน ทางเดิน แนวถอยร่นริมแม่น้ำ ริมทาง รถไฟ เส้นทางทิวทัศน์ เป็นต้น (5) พื้นที่สีเขียวเพื่อเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน หมายถึง พื้นที่ สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ เช่น สวนไม้ผลยืนต้น สวนป่าเศรษฐกิจ พื้นที่ว่างในบริเวณสถานประกอบการ


.....44..... 2) คุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อสภาวะแวดล้อม ต้นไม้นับเป็นสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีความสำคัญ ต่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา ภูมิทัศน์เมือง ต้นไม้มีคุณค่าต่อสภาพแวดล้อมของเมืองมากมายหลายด้าน ดังนี้ (1) คุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมของเมือง ทางนิเวศวิทยา 1. การลดความร้อน การบรรเทาภูมิอากาศ การลด แสงสะท้อน ต้นไม้ขนาดใหญ่และจำนวนมากจะช่วยลดความรุนแรงของ อุณหภูมิอากาศในเวลากลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสังเคราะห์ แสงของต้นไม้ (ดูดน้ำจากดินแล้วแปลงสภาพเป็นไอน้ำ) จะใช้พลังงาน ความร้ อ นประมาณ 2.3 เมกะจู ล (2,200 บี ท ี ยู ) เพื ่ อ ทำให้ น ้ ำ 1 ลิ ต ร เปลี่ยนเป็นไอ ดังนั้น ประมาณได้ว่าในช่วงเวลากลางวัน (12 ชั่วโมง) ต้นไม้ ขนาดใหญ่ 1 ต้น สามารถดูดน้ำจากดินแล้วแปลงสภาพเป็นไอ ในอัตรา ประมาณ 65 ลิตรต่อวัน ต้นไม้ต้นนั้นจะมีความสามารถในการลดความร้อน ให้ก ั บ สภาพแวดล้อมเทียบเท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตั น หรื อ ประมาณ 12.66 เมกะจูลต่อชั่วโมง (12,200 บีทียูต่อชั่วโมง) นอกจากนี้ การจัดระบบพื้นที่ว่างด้วยการปลูกต้นไม้ คลุ ม บริ เ วณ จะช่ ว ยลดความร้ อ นและแสงสะท้ อ น ลดเนื ้ อ ที ่ ก ระจาย ความร้อน ช่วยรักษาสภาพพื้นดิน ช่วยให้เกิดความร่มเย็น หากมีต้นไม้ ปกคลุมครึ้มจะได้อุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณที่เป็นชุมชน 1.5 – 3 องศาเซลเซียส ผิ ว พื ้ น ดิ น ในบริ เ วณโล่ง แจ้ งจะมีอ ุ ณ หภู ม ิ ส ะสมที ่ ผ ิ ว ถึ ง 50 - 67 องศา เซลเซียส แต่หากมีร่มเงากำบังอุณหภูมิจะลดลงเหลือ 28 องศาเซลเซียส


.....45..... อุณหภูมิของห้องน้ำในบ้านที่ไม่มีฉนวนกันความร้อน และได้รับแสงแดดโดยตรง จะสะสมความร้อนอบอ้าว 40 องศาเซลเซียส ถ้ามีการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุมบ้านทั้งหลัง อุณหภูมิจะลดลงเหลือ 11 องศาเซลเซียส และต้นไม้ ไม้พุ่ม และไม้คลุมดินต่างๆ ช่วยลดการ สะท้อนแสงเข้าสู่อาคารได้ 25 - 32 % 2. การบรรเทาปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island) 3. การกรองฝุ่นและมลพิษในอากาศ โดยพบว่า ต้นไม้ ที่มีพุ่มหนาแน่นสามารถกรองฝุ่นละอองในอากาศได้มาก และทำให้ปริมาณ ฝุ่นละอองลดลงเหลือ 1 ใน 100 ถึง 1 ใน 4 จากปริมาณเดิม และ ดร. B.C. Wolver ton จากสถาบันวิจัยอวกาศนาซา ซึ่งทำการวิจัยมากว่า 25 ปี ได้ เ ขี ย นหนั ง สื อ ไม้ ป ระดั บ ที ่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ ่ ง แวดล้ อ ม แนะนำไม้ ป ระดั บ 50 ชนิ ด ที ่ ม ี ค วามสามารถในการดู ด ไอพิ ษ จากอากาศ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ฟอร์มาดีไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน และไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ 4. การดู ด สารพิ ษ ประเภทโลหะหนั ก พบว่ า ต้ น ไม้ ขนาดใหญ่สามารถดูดสารที่เป็นโลหะหนักจากอากาศเข้าทางปากใบได้เป็น จำนวนมาก ทดลองใช้ ต ้ น ซู ก าร์ เ มเปิ ล เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลางลำต้ น 30 เซนติเมตร มีความสามารถดูดโลหะหนักดังนี้ แคดเมียม 60 มิลลิกรัม/ปี นิเกิล 820 มิลลิกรัม/ปี โครเมียม 140 มิลลิกรัม/ปี และตะกั่ว 5200 มิลลิกรัม/ปี 5. การลดหรือเพิ่มความเร็วลม 6. การลดเสียงรบกวน 7. การควบคุ ม การชะล้ า งการพั ง ทลายของดิ น และ ชะลอการไหลของน้ำ 8. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและเสริมสร้าง ระบบนิเวศและที่อยู่อาศัยของสัตว์


.....46..... (2) คุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมของเมือง ทางเศรษฐศาสตร์ 1. การประหยัดพลังงาน 2. การเพิ่มมูลค่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ (3) คุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมของเมือง ทางสุนทรียภาพ ต้นไม้จะช่วยให้เกิดสุนทรียภาพ ช่วยบดบังสภาพที่ ไม่น่าดู ช่วยให้เกิดบริเวณส่วนตัว ช่วยให้ร่มเงา และเป็นการเพิ่มค่าให้ แก่งานสถาปัตยกรรม การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถกระทำได้โดย 1. การจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างสวนสาธารณะ สวนป่า สวนขนาดเล็ก 2. การปลูกป่าริมทางเดินหรือถนน เพื่อช่วยลดเสียง กรองฝุ่นละออง ลดแสงสะท้อน ช่วยเพิ่มออกซิเจนและดูดก๊าซพิษในอากาศ 3. การดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ให้มีการเจริญเติบโตอย่าง ปกติ เพื่อช่วยรักษาปริมาณพื้นที่สีเขียวให้คงไว้ 4. การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเขียวและ การสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนในชุมชน ให้เห็นความสำคัญของต้นไม้และ มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3) ผลกระทบของเมืองที่มีต่อพื้นที่สีเขียว (1) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง การตั ้ ง ถิ ่ น ฐานของชุ ม ชนจะยึ ด ติ ด กั บ ธรรมชาติ วิ ถ ี ชีวิต วัฒนธรรม ตลอดจนการทำกินที่อยู่บนพื้นที่ธรรมชาติบนพื้นฐาน ด้านการเกษตร ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการอุตสาหกรรม อัตราการใช้พื้นที่มีมากขึ้นตามสัดส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจเมือง ทำให้


.....47..... พื้นที่ว่างและพื้นที่ธรรมชาติลดน้อยลง ก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน เช่น ปัญหาความหนาแน่นในพื้นที่ ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาการ บริการพื้นฐาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และปัญหาคุณภาพชีวิต (2) การสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศเขตเมือง มนุษย์จำเป็นต้องอยู่ในในสภาพแวดล้ อ มที ่ ส มบู ร ณ์ เ พื ่ อ คุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองจำเป็นต้อง พึ่งพากันและกัน หากเมืองสามารถพัฒนาหรือขยายตัว โดยไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อพื้นที่ธรรมชาติและระบบนิเวศโดยรอบ เมืองจะสามารถอยู่ ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน จะคงอยู่เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อ มนุษย์ต่อไป การเสียสมดุลของระบบนิเวศเขตเมือง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมักเริ่มต้นจากการขาดสมดุลระหว่างการใช้ที่ดินกับ การรักษาพื้นที่ธรรมชาติของเมือง (3) การขยายตัวของเมืองอย่างไร้รูปแบบ และการเผาผลาญ พลังงานในบริเวณโดยรอบเขตเมือง เมื ่ อ พื ้ น ที ่ ว ่ า งและพื ้ น ที ่ ธ รรมชาติ ถู ก ใช้ ป ระโยชน์ แ ละ ลดปริมาณจนเสียความสมดุล ทำให้บริเวณพื้นที่โดยรอบมีสภาพอากาศ ที่ร้อนกว่าบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างเบาบาง ความหนาทึบของกลุ่มอาคารมีผล โดยตรงต่อการคายความร้อนออกสู่บรรยากาศโดยรอบ (Heat Transpiration) หากแก้ปัญหาโดยการติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร จะเกิดการคาย ความร้อนออกสู่บริเวณโดยรอบและเป็นการใช้พลังงานเกินความจำเป็น การใช้รถยนต์ก่อให้เกิดการเผาผลาญพลังงาน และปล่อยก๊าซคาร์บอน มอนอกไซด์ (CO) ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ และเป็นอันตรายต่อ ระบบทางเดินหายใจ


.....48..... (4) สภาพความแออัดของเมืองส่งผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียว จากการบุ ก รุ ก พื ้ น ที ่ ว ่ า ง รกร้ า ง พื ้ น ที ่ ร ิ ม คลอง พื ้ น ที ่ สาธารณะ พื้นที่ปราศจากเจ้าของ ฯลฯ จากกลุ่มชุมชนด้อยโอกาสเพื่อเป็นที่ อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดการทำลายทัศนียภาพและ เกิดความเสื่อมโทรมของภูมิทัศน์เมือง (5) การทำลายพื้นที่ธรรมชาติขอบเมือง การทำลายพื ้ น ที ่ ธ รรมชาติ ข อบเมื อ ง (Urban Fringe Deterioration) เกิดจากการขยายพื้นที่อุตสาหกรรม การขยายตัวของพื้นที่พัก อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรม ก่อให้เกิดการใช้พื้นที่รอบนอกเมือง ขยาย เมืองออกสู่พื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ธรรมชาติ นอกจากนี้การปล่อยให้ที่ดิน รกร้าง ขาดการดูแลที่ดี จนเกิดสภาพเสื่อมโทรม ถือเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการ สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ขอบเมือง 4) การพั ฒ นาพื้ น ที่ สี เ ขี ย วยั่ ง ยื น ด้ ว ยพิ ธี ส ารเกี ย วโต

(Kyoto Protocol)

ตามพิ ธ ี ส ารเกี ย วโต (Kyoto Protocol) ของอนุ ส ั ญ ญา สหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กำหนดกลไก ยืดหยุ่น (Flexibility Mechanism) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ที่เชื่อว่าเกิดจากภาวะเรือนกระจก ไว้ 3 กลไก ดังนี้ (1) การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading, ET) การถ่ายถอนสิทธิ์ในการคายคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรม โดย ไม่เกินสัดส่วนที่ถูกกำหนดให้ (2) การดำเนิ น การรวม (Joint Implementation, JI) การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมร่วมกัน เพื่อประหยัดทรัพยากรต้นทุน


.....49..... (3) กลไกพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism, CDM) เป็นกระบวนการดูแลทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของโลกโดยตรง กลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) มีหลักสำคัญ 3 ประการ เพื่อ เป็ น แนวทางปฎิบัติให้แก่กลุ่มประเทศสมาชิ ก ลั ก ษณะการดำเนิ น โครงการมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงาน (Energy Efficiency) ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน (2) การผลิตพลังงานหมุนเวียนขึ้นมาใช้ใหม่ (Renewable Energy Generation) กระบวนการสร้างเสริมพลังงานทดแทน โดยใช้พลังงาน หมุนเวียนเพื่อการประหยัดพลังงาน (3) การเก็ บ กั ก คาร์ บ อนในรู ป ของการปลู ก ป่ า (Carbon Sequestration on Afforestation and Reforestation) เพื ่ อ สร้ า งสมดุ ล ด้านการดูดซับและตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วยป่าไม้ หรือ ไม้ ย ื น ต้ น และเป็ น แหล่ ง ดู ด ซั บ ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ แ ละแหล่ ง ผลิ ต ออกซิเจนให้แก่บรรยากาศของโลก กลไกพัฒนาสะอาดนี้ เป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาและกำลัง พัฒนา โดยเห็นความสำคัญของการเพิ่มพื้นที่ธรรมชาติ เพื่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เป็นการสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ปลูกสร้างกับพื้นที่ ธรรมชาติ เพื่อระบบนิเวศเขตเมืองที่เหมาะสม ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาพื้นที่ สีเขียวที่ยั่งยืน ได้ดังนี้ (1) Green and clean Process ขั้นตอนการดำเนินการที่ บริสุทธิ์ สะอาด นับตั้งแต่กระบวนการคิดในการพัฒนาพื้นที่ที่ต้องให้ความ สำคัญกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


.....50..... (2) ธรรมชาติ Green and clean Built หมายถึงการดำเนิน การพัฒนาที่ให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกที่บริสุทธิ์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเคารพตัวตน และเอกลักษณ์ของพื้นที่ การสร้างความกลมกลืนทั้งด้าน รูปลักษณ์ และสัณฐานที่เหมาะสมกลมกลืนกับเอกลักษณ์และตัวตนของ พื้นที่ รวมถึงการนำใช้วัสดุที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่และการ อนุรักษ์พลังงาน โดยมาตรการด้านการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน (3) Green and clean Benefit หมายถึง การพัฒนาที่นำ ไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน ที่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องโดยรวม ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือทั้งผู้ประกอบการและประชาชนโดยรอบได้รับผล ประโยชน์จากโครงการเช่นเดียวกัน 5) เกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณ (1) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรในเขตเทศบาล เกณฑ์มาตรฐานของพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยให้ยึดถือ เกณฑ์ ม าตรฐานของ WHO เป็ น เกณฑ์ ต ่ ำ สุ ด และเกณฑ์ ข ององค์ ก าร สหประชาชาติเป็นเกณฑ์สูงสุด ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2550) ได้นำมาคิดค่าเฉลี่ยของจำนวนประชากรในแต่ละเขตเทศบาล และกำหนด เป็นเกณฑ์ ดังนี้ 1. เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียว 10 ตารางเมตร/คน 2. เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียว 15 ตารางเมตร/คน 3. เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียว 30 ตารางเมตร/คน (2) สัดส่วนพื้นที่สีเขียวเพื่อบริการสาธารณะต่อจำนวน ประชากร มาตรการทางผังเมือง ถือเป็นแนวทางในการพัฒนา เมืองให้เป็นระเบียบ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมให้ดีขึ้น มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้ 3 ประเภท ดังนี้


.....51..... 1. ประเภทที่อยู่อาศัย มีการกำหนดการกระจายตัว ของพื ้ น ที ่ ส ี เ ขี ย วเพื่อบริการสาธารณะ โดยพิจ ารณาจากอั ต ราส่ ว นของ จำนวนประชากร ดังนี้ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง • เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 7 • เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 5 • เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 3 ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย • เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 5 • เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 4 • เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 2 ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก • เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 5 • เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 4 • เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 2 2. ประเภทพาณิชยกรรม เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุด เพื่อให้เกิดความพอเพียงของพื้นที่ สีเขียว จึงให้มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียว ดังนี้ • เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 7 • เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 5 • เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 3


.....52..... 3. ประเภทอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยง กับปัจจัยเฉพาะด้าน เช่น แหล่งแรงงาน แหล่งวัตถุดิบ แหล่งตลาดและราคา ที่ดิน และพบว่าเป็นแหล่งที่มักทำให้เกิดปัญหาหลายๆด้าน เช่น ปัญหา สิ่งแวดล้อม ทั้งจากมลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหามลพิษ ทางเสียง และกระบวนการผลิตในโรงงาน ล้วนส่งผลกระทบต่อประชาชนใน พื้นที่จึงได้มีการกำหนดพื้นที่สีเขียวเพื่อบริการต่อการใช้ประเภทอุตสาหกรรม และคลังสินค้า ไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจทางแรงงานดังนี้ • เทศบาลนคร ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 2 • เทศบาลเมือง ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อนละ 1 • เทศบาลตำบล ควรมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 0.5

การปลูกไม้ยืนต้นในหน่วยงาน


.....53.....

3.4 ลดการใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) เป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น CFCs ที่ประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เป็นสารที่ ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหล่อเย็น และใช้ในการผลิตสเปรย์ โดย มีชื่อทางการค้าว่า ฟรีออน (Freon) มีคุณสมบัติสลายตัวได้ยาก ระเหยเป็น ไอได้ง่าย และไม่ติดไฟ มี 3 ชนิด คือ 1) CFC 11 (CFC13) ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก โฟม ที่มี ความยืดหยุ่น ซึ่งใช้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 2) CFC 12 (CF2C12) ใช้ เ ป็ น ตั ว ทำความเย็ น ในตู ้ เ ย็ น และ เครื่องปรับอากาศ 3) CFC 13 (C2F3C13) ใช้ ท ำความสะอาดแผงวงจรไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการใช้ CFCs จะทำให้สารนี้แพร่กระจายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ชั้นสูง ๆ ของโลกและเข้าทำปฏิกิริยา โดยอะตอมของคลอรีนใน CFCs เป็น ตัวการสำคัญในการทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน แต่ละอะตอมของคลอรีน สามารถทำลายก๊าซโอโซนได้มากถึง 100,000 โมเลกุล ดังนั้นถ้าหากมีการใช้ CFCs มากเท่าใด ก๊าซโอโซนก็ยิ่งถูกทำลายมากตามไปด้วย ปกติแล้วโอโซนมีหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีที่เป็นอันตรายจาก อวกาศ และปัจจุบันชั้นโอโซนได้ถูกทำลายเป็นรูโหว่กว้างหลายกิโลเมตร โลกจึงได้รับรังสีและความร้อนโดยตรง เพราะการเกิดรูโหว่ในชั้นโอโซนจะ ทำให้ ความร้อนเข้ามาสู่โลกโดยตรง


.....54..... จากการสำรวจพบรูโหว่ของชั้นโอโซนที่แอนตาร์กติก เมื่อปี 2528 จึงเกิดการตื่นตัวในระดับนานาชาติถึงปัญหาในเรื่องนี้ และร่วมมือกันจัดทำ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ เรียกว่า “พิธีสารมอนทรีออล” (Montreal Protocol) ขึ้นในปี 2530 เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้สาร CFCs โดย เฉพาะ การลดการใช้ ส าร CFCs ทำได้ ไ ม่ ย าก โดยการใช้ ตู ้ เ ย็ น หรื อ เครื่องทำความเย็นที่มีฉลาก Non-CFCs หรือ CFC Free และลดการใช้สเปรย์ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์น้ำหอม สีสเปรย์ หรือยาฆ่าแมลงแบบสเปรย์ ลดการใช้โฟม และถุงพลาสติก เนื่องจากกระบวนการผลิตจะหลงเหลือ สาร CFCs ซึ่งทำลายได้ยาก


.....55.....

99 วิธีหยุดโลกร้อน

h

รายงานฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ซึ ่ ง เป็ น รายงานที ่ ร วบรวมงานวิ จ ั ย ของ นักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 30 ประเทศ และใช้เวลาในการวิจัยถึง 6 ปี ระบุไว้ว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90% ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และมนุษย์เองเป็นตัวการสำคัญของ ปัญหาโลกร้อน หากมนุษย์ไม่ร่วมกันในการหยุดยั้งการเกิดโลกร้อน ณ วันนี้ พรุ่งนี้โลกจะเป็นอย่างไร

99 วิธีหยุดโลกร้อน ไม่ว่าใครก็สามารถช่วยลดความร้อนให้กับโลก ได้ตั้ง 99 ช่องทาง...

ภาคประชาชนทั่วไป

ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง สามารถช่ ว ยลดโลกร้ อ นด้ ว ยการ ดำเนิ น วิ ถ ี ช ี ว ิ ต แบบพอเพี ย ง โดยการลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกใน บ้านเรือน ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้พลังงาน ดังนี้ 1) ลดการใช้พลังงาน ด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 455 กิโลกรัมต่อปี


.....56..... 2) ปิ ด โหมดสแตนด์ บ าย เครื ่ อ งเสี ย งระบบไฮไฟ โทรทั ศ น์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมา ด้วย การดึงปลั๊กออกหรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง 3) ใช้เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) จะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และ มีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปี 4) ใช้ ไ ฟแบบหลอด LED จะได้ ไ ฟที ่ ส ว่ า งและประหยั ด กว่ า หลอดปกติ 40 เท่า การเปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดไฟแบบ LED จะช่วย ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 68 กิโลกรัมต่อปี 5) ออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงให้สามารถรับแสง จากธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและ พลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ 6) เลือกใช้หรือทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน ช่วยลดการดูดซับ ความร้อน 7) เปิดหน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ จะช่วยลดการ ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 780 กิโลกรัมต่อปี 8) หากจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ตั้งเครื่องปรับอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส จะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 10 % 9) ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนแผ่นกรองเครื่องปรับอากาศ เพื่อ ลดความสกปรกที่ขดลวดน้ำเย็น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องส่งลมเย็น ทำให้คุณภาพอากาศในห้องดีขึ้น และประหยัดไฟฟ้าได้ 5 - 7 %


.....57..... 10) ไม่นำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน ความร้อนจากอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำให้เครื่อง ปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น 11) ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้ แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า 12) เครื่องซักผ้า ควรใส่จำนวนผ้าที่จะซักให้เป็นไปตามกำลัง ของเครื่อง อย่าใส่มากหรือน้อยจนเกินไป การซักผ้าครั้งละ 2 - 3 ชิ้น สิ้นเปลืองน้ำและไฟฟ้าเท่ากับซักผ้า 20 ชิ้น 13) รีดผ้าครั้งละมากๆ แทนการรีดทีละตัว เพื่อการประหยัดการ ใช้ไฟฟ้า 14) เลิกใช้ตู้เย็นรุ่นเก่า ที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพราะใช้ไฟฟ้า มากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟ และ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี 15) ยืดอายุการใช้ตู้เย็น และประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นโดยไม่นำ อาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น จะทำให้ ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร 16) ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็น เพราะทำให้ตู้เย็นกินไฟมากขึ้น และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์ 17) ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด ระบบการผลิตน้ำประปา ต้องใช้ พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด และดำเนินการจัดส่งไปยัง อาคารบ้านเรือน


.....58..... 18) ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำๆ จะสิ้นเปลืองน้ำ น้อยลง และไม่ปรับอุณหภูมิเกิน 50 องศา จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 250 กิโลกรัมต่อปี 19) ติ ด ตั ้ ง เครื ่ อ งตั ด กระแสไฟฟ้ า อั ต โนมั ต ิ จะช่ ว ยประหยั ด พลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น 20) ใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ท ี ่ ม ี ส ั ญ ลั ก ษณ์ ช ่ ว ยรั ก ษาสิ ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้า เกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้น จะต้องมีการประเมินสินค้า ตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ 21) เลือกซื้อของที่มีการหีบห่อน้อย สินค้าบางอย่างมีหีบห่อ หลายชั้น การซื้อของที่มีการห่อน้อยจะสามารถลดขยะได้ถึง 10% และ ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 47.45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี 22) ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้า ปิ่นโต หรือ กล่องใส่อาหารแทน เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตาม ธรรมชาติ หากคิดว่า ถุงผ้า 1 ใบ ใช้แทนถุงพลาสติก 12 ใบต่อเดือน คิดเป็น น้ำหนัก 168 กรัมต่อเดือน ขยะ 1 กิโลกรัม ฝังกลบเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 1.3 กิโลกรัม ดังนั้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 0.22 กิโลกรัมต่อเดือน หรือ 2.62 กิโลกรัมต่อปี 23) เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะบรรจุที่เมื่อใช้สินค้าหมดแล้ว สามารถหาซื้อเฉพาะตัวสินค้ามาเติมในบรรจุภัณฑ์เดิมได้ ช่วยลดขยะจาก หีบห่อของบรรจุภัณฑ์


.....59..... 24) ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่นทำมาจาก ต้นไม้ ดังนั้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัด ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือนำมาเช็ดกระจกก็ได้ 25) เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล จะช่วยลดขั้นตอนหลายขั้นตอน ในกระบวนการผลิตกระดาษ แม้จะมีราคาแพงกว่าแต่ถ้ามีความต้องการ จากผู้บริโภคจำนวนมาก กลไกการตลาดก็จะทำให้ราคาถูกลง ช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2.3 กิโลกรัมต่อกระดาษ 1 รีม 26) ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ต ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช้อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะประหยัด น้ำมัน และอาหารสดทุกอย่างในซุปเปอร์มักมีการห่อหุ้มด้วยพลาสติกและ โฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก 27) เลือกซื้อพืชผักให้หลากหลายและปลูกตามฤดูกาลในท้องถิ่น เป็นการลดการปลูกพืชผักนอกฤดูกาล สนับสนุนสินค้าและผลิตผลจาก เกษตรกรในท้องถิ่นใกล้บ้าน ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่ต้องขนส่งผลิตผลให้ พ่อค้าคนกลางนำไปขายในพื้นที่ไกลๆ 28) ทานสเต๊กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ๆ ให้น้อยลง เพราะ อุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติ ผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18% สาเหตุหลัก คือก๊าซไนตรัสออกไซด์จากมูลวัวและก๊าซมีเทน ซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาจาก ลักษณะทางธรรมชาติของวัวที่ย่อยอาหารได้ช้า (มีกระเพาะอาหาร 4 ตอน) มี เ ทนเป็ น ก๊ า ซเรื อ นกระจกที ่ ท ำให้ เ กิ ด ปฏิ ก ิ ร ิ ย าเรื อ นกระจกได้ ม ากกว่ า คาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า ในขณะที่ไนตรัสออกไซด์ก่อผลได้มากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ 296 เท่า


.....60..... 29). พยายามรับประทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารที่เหลือ ทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคน รวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก 30) ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะ อินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ หากนำไปใช้ประโยชน์ ต่อได้เป็นดีที่สุด เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ นำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ 31) ขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ นำไปขายหรือนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ใหม่ เช่น ขวดแก้ว นำมาทำเป็นแจกัน หรือใส่น้ำดื่มได้ สามารถ ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 455 กิโลกรัมต่อปี 32) ตั้งเป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วน หรือ มากกว่า จะช่วยประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวน มาก 33) ใช้รถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยาน ใช้รถ โดยสารประจำทาง หรือใช้การเดิน เมื่อต้องไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน เพราะการขับรถยนต์น้อยลง หมายถึงการใช้น้ำมันลดลง และลดการ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย น้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 9 กิโลกรัม 34) ไปร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มี บ้านอาศัยใกล้ๆ กัน นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมัน และ ยังช่วยลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 400 กิโลกรัมต่อปี


.....61..... 35) หากจะเลือกซื้อรถยนต์ ให้คำนึงถึงขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณา รุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด การขับรถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมาก และตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถเป็นสิ่งไม่ จำเป็น เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับรถทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน 36) ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถถ่ายเท ความร้อนได้ดี หากติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นประมาณ 10 กิโลกรัม วิ่งเป็น ระยะทาง 25 กิโลกรัม ทำเช่นนี้ 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 28 ลิตร คิดเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ 56 กิโลกรัม/ปี/คัน 37) ไม่บรรทุกสิ่งที่ไม่จำเป็น ควรเก็บของที่ไม่ใช้ลงจากรถบ้าง รถที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะทำให้เปลืองน้ำมันมากขึ้น 38) ดับเครื่องยนต์เมื่อจอดรถรอนาน หรือเติมน้ำมัน อย่าสตาร์ท รถทิ้งไว้ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน รถยนต์ 1 คัน ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ รอนาน 5 นาที ประหยัดน้ำมัน 0.1 ลิตร ลดคาร์บอนไดออกไซด์ 0.2 กิโลกรัม 39) ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วย ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20% หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1,000 กิโลกรัมต่อรถยนต์ แต่ละคันที่ใช้งานราว 30,000 กิโลเมตรต่อปี 40) หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรอง อากาศ ตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วยให้ประหยัดน้ำมัน ถ้าละเลยให้ไส้กรอง อากาศรถยนต์อุดตัน 6 เดือนใน 1 ปี สิ้นเปลืองน้ำมัน 11.7 ลิตร คิดเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ 23.4 กิโลกรัมต่อปีต่อคัน


.....62..... 41) ตรวจ เช็คลมยางเป็นประจำ ปรับลมยางให้อยู่ในระดับ มาตรฐานกำหนด ไม่น้อยหรือไม่มากเกินไป การขับรถที่ยางลมมีน้อย ทำให้เปลืองน้ำมัน หากความดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์/ตารางนิ้ว สิ้นเปลืองน้ำมัน 2% ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 57.6 กิโลกรัม ต่อปีต่อคัน 42) หันมาใช้พลังงานทดแทน เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น 43) ปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน ต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ในอากาศ และทำให้อากาศที่เราหายใจสะอาดขึ้น ต้นไม้ 1 ต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 9 กิโลกรัมต่อปี 44) ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี 45) ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ ช่วยลดความร้อนในตัวอาคารหรือบ้าน พักอาศัย สามารถลดการใช้เครื่องปรับอากาศ และช่วยลดการใช้ไฟฟ้า 46) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน ให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจาก ธรรมชาติแทน โดยอาจทำขึ้นเองด้วยการหมักเศษพืช เศษผักผลไม้ 47) เลื อ กใช้ บ ริ ก ารโรงแรมที ่ ม ี ส ั ญ ลั ก ษณ์ ส ิ ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น โรงแรมใบไม้สีเขียวซึ่งมีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบ จัดการของเสีย 48) อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ซื้อให้น้อยลง แบ่งปันให้ มากขึ้น ตามพระราชดำรัสของในหลวง


.....63..... 49) ชั กชวนคนอื่นๆ รอบข้างให้ช่วยกั น ดู แ ลสิ ่ ง แวดล้ อ มและ ลดปั ญ หาภาวะโลกร้ อ น ให้ ค วามรู ้ ความเข้ า ใจและชั ก ชวนคนใกล้ ต ั ว รวมถึงเพื่อนบ้าน เพื่อขยายเครือข่ายผู้ร่วมหยุดโลกร้อนให้กว้างขวางขึ้น 50) ร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้และกระตุ้นให้เกิดการร่วมมือ เพื่อให้เกิดการทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ที่ต่อเนื่อง และส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานบริการสาธารณสุข

สถานบริ ก ารสาธารณสุ ข เช่ น โรงพยาบาล สถานี อ นามั ย เป็นสถานที่ที่ให้บริการในการรักษาพยาบาล จึงมีประชาชนเข้ามาใช้บริการ จำนวนมาก การที่สถานบริการสาธารณสุขเป็นต้นแบบในการลดโลกร้อน โดยการปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง ถือเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ เป็นอย่างดี 51) เป็นต้นแบบสถานบริการสาธารณสุขด้านการลดพลังงาน เช่ น เปิ ด ไฟเฉพาะที ่ จ ำเป็ น ปิ ด คอมพิ ว เตอร์ ห ากหยุ ด พั ก การใช้ ง าน ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ เป็นต้น การปิดเมื่อเลิกใช้ เปิดเมื่อจำเป็น ช่วยประหยัดไฟได้ 1 - 5 % 52) เลือกใช้อุปกรณ์สำนักงานที่มีสัญลักษณ์ประหยัดไฟ และ ตรวจสอบว่าระบบประหยัดพลังงานได้จริง อุปกรณ์สำนักงานประหยัด ไฟเบอร์ 5 สามารถประหยัดไฟกว่าอุปกรณ์ทั่วไป เช่น คอมพิวเตอร์ 39% เครื่องพิมพ์เลเซอร์ 55% เครื่องโทรสารเลเซอร์ 53% เครื่องถ่ายเอกสาร 12%


.....64..... 53) เลือกซื้อ เลือกใช้รถยนต์ เมื่อต้องซื้อรถยนต์ประจำสถาน บริการ ให้เลือกซื้อรถประหยัดพลังงาน 54) สร้างนโยบาย 3Rs Reduce (ลดปริมาณขยะ) Reuse (ใช้ซ้ำ) Recycle (นำกลับมา ใช้ใหม่) ในสถานบริการ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด 55) ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคาร เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด หรือ การนำขยะอินทรีย์มาผลิตแก๊สชีวภาพ ใช้ในการหุงต้มอาหาร การทำปุ๋ย หมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 56) แหล่งเรียนรู้ สถานบริการสาธารณสุขที่มีการดำเนินการลด โลกร้อน ควรจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานอื่น หรือชุมชนใกล้เคียง เพื่อขยายเครือข่ายในการดำเนิน 57) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ให้ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับปัญหา ภาวะโลกร้อน และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมต่อการลดภาวะโลกร้อน

ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและบริการ

58) การปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งานให้ติดเป็นนิสัย แม้แต่ช่วงพักกลางวัน หรือช่วงพักเบรก ถ้าพนักงาน 10 ล้านคน ปิดไฟที่ ไม่ใช้วันละ 30 นาที ก็เพียงพอสำหรับเก็บพลังงานดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ สำนักงานแห่งอื่นๆ อีก 50 ล้านตารางฟุต


.....65..... 59) กดปุ่มปิดหน้าจอมอนิเตอร์หรือจอคอมพิวเตอร์ หรือปิด เครื่องเมื่อไม่ใช้งาน 60) ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงาน ยังได้บริหารร่างกายไปด้วย 61) เลือกใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เอกสารภายในสำนักงาน ที่ไม่ค่อยเป็นทางการนัก หากจำเป็นต้องพิมพ์ควรใช้กระดาษที่ใช้แล้ว (รีไซเคิล) และเปลี่ยนโหมดเครื่องพิมพ์ให้เป็นแบบขาวดำ การใช้หมึกพิมพ์ ขาวดำจะช่ ว ยลดการใช้ น ้ ำ ยาปรั บ สี กรณี ท ี ่ จ ะพิ ม พ์ เ อกสารเหมื อ นกั น หลายชุด ควรใช้วิธีถ่ายสำเนาแทน 62) ลดการเดินทาง บางครั้งการทำงานนอกสถานที่ หรือบางอาชีพ เช่น นักเขียนที่สามารถนั่งทำงานอยู่ในบ้านได้จะช่วยลดการใช้รถใช้ถนน นอกจากนี้อาจใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนการเดินทาง หรือเลือกใช้บริการ รถโดยสารสาธารณะ หรือรถไฟฟ้าก็จะลดปัญหาโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง 63) เลือกซื้อวัสดุสิ่งของที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล เวลาเลือกซื้อสินค้า ควรตรวจดูสินค้านั้นๆ ผลิตจากวัสดุใช้แล้วกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าของชิ้นนั้นมีวัสดุ ที่ใช้แล้วมากถึง 100% ก็เท่ากับว่าเราไม่ได้ซื้อสินค้าที่โรงงานผลิตต้องนำ วั ส ดุ ใ หม่ ม าเป็ น ส่ ว นประกอบ รวมถึ ง การเลื อ กซื ้ อ กระดาษที ่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ สารคลอรีนฟอก จะช่วยลดการก่อมลภาวะได้มากกว่ากระดาษทั่วไป 64) ลดการใช้ของฟุ่มเฟือย หลีกเลี่ยงการใช้แก้วกระดาษ ให้ใช้ แก้วที่ล้างแล้วสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก


.....66..... 65) จัดเส้นทางรถรับส่งพนักงาน ถ้าในหน่วยงานมีพนักงาน จำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่ง พนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร 66) นำก๊าซมีเทนจากกองขยะมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วย การลงทุนพัฒนาให้เป็นพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพ แต่มีต้นทุนต่ำ 67) สนับสนุนงานวิจัยในองค์กร ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล 68) เป็นผู้นำของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หากยังไม่มีใครเริ่มต้นโครงการที่ช่วยหยุดปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง ก็จง เป็นผู้นำเสียเอง 69) สร้างแบรนด์องค์กร ที่เน้นการดูแลและใส่ใจโลก โดยการ สร้างภาพลักษณ์ภายนอก แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความรับผิดชอบ ที่มาจากภายในองค์กร

ภาคการเกษตร

70) ลดการเผาป่าหญ้า ไม้ริมทุ่ง และต้นไม้ชายป่า เพื่อกำจัด วัชพืชและเปิดพื้นที่ทำการเกษตร เพราะเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู ่ บ รรยากาศจำนวนมาก นอกจากนี ้ ก ารตั ด และเผาทำลายป่ า ยั ง เป็นการทำลายแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญ


.....67..... 71) ปลูกพืชผักให้หลากหลายและปลูกตามฤดูกาลในท้องถิ่น เป็นการลดการปลูกพืชผักนอกฤดูกาล ที่ต้องใช้พลังงานเพื่อถนอมอาหาร และผ่านกระบวนการบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง 72) รวมกลุ่มสร้างตลาดผู้บริโภค-ผู้ผลิตโดยตรงในท้องถิ่น เพื่อ ลดกระบวนการขนส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่ต้องใช้พลังงานและน้ำมันในการ คมนาคมขนส่งพืชผักผลไม้ไปยังตลาด 73) ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ นอกจาก จะเป็นการลดปัญหาการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลกแล้ว ในระยะยาวยั ง เป็ น การลดต้ น ทุ น การผลิ ต และทำให้ ค ุ ณ ภาพชี ว ิ ต ของ เกษตรกรดีขึ้น ให้ปรึกษาและเรียนรู้จากกลุ่มเกษตรกรทางเลือกที่มีอยู่เป็น จำนวนมากในประเทศไทย 74) บำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่ใช้ในการเกษตรและการประมงให้มี สภาพสมบูรณ์ จะช่วยประหยัดการใช้น้ำมัน

สถาปนิกและนักออกแบบ

75) ออกแบบพิมพ์เขียวบ้านพักอาศัยที่สามารถช่วย “ลดโลก ร้อน” การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยคิดถึงการติดตั้งระบบการใช้ พลังงานที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูงๆ แต่ใช้งานได้จริง เช่น การดู ทิศทางลม การดูทิศทางการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ อาจช่วยลดค่าใช้จ่าย เรื่องพลังงานในบ้านได้ถึง 40% 76) ช่วยออกแบบสร้างบ้านหลังเล็ก บ้านหลังเล็กใช้พลังงาน น้อยกว่าบ้านหลังใหญ่ และใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างน้อยกว่า


.....68.....

สถาบันการศึกษา

77) ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน 78) ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม ชมรมที่เกี่ยวกับการลดโลกร้อน เช่น การลดปริมาณขยะ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้เทคนิคการ เรี ย นรู ้ ห ลากหลายจากกิ จ กรรมเป็ น สื ่ อ ในการปลู ก จิ ต สำนึ ก แก่ น ั ก เรี ย น นักศึกษา 79) ขยายความรู้สู่ผู้ปกครอง ชุมชนข้างเคียง ให้เกิดการปฏิบัติ เพื่อลดโลกร้อน ขยายการมีส่วนร่วมสู่ชุมชน

สื่อมวลชน

80) ให้สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่ให้ความรู้ และสร้างความตระหนัก กับสาธารณชน เกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและนำไปเป็นประเด็นปัญหาของท้องถิ่น ที่ต้องช่วยกันลด ภาวะโลกร้อน 81) สร้างความสนใจกับสาธารณชน เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนให้ อยู่ในความสนใจของสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง 82) เป็นผู้นำกระแสของสังคมเรื่องชีวิตที่พอเพียง สาเหตุหนึ่ง ของปั ญ หาโลกร้ อ นก็ ค ื อ กระแสการบริ โ ภคทรั พ ยากรจำนวนมหาศาล การยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นหนทางป้องกันและลดปัญหา โลกร้อนได้


.....69..... 83) ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบงานโฆษณา ที่สอดแทรก ประเด็นปัญหาของภาวะโลกร้อน

นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร

84) ค้นคว้า วิจัย หาแนวทางและเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 85) ศึกษาและทำวิจัยในระดับพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย 86) ประสานและทำงานร่วมกับสื่อมวลชน เพื่อแปลงข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ไปสู่การรับรู้และเข้าใจของประชาชนในสังคมวงกว้าง

นักการเมือง ผู้ว่าราชการฯ และรัฐบาล

87) วางแผนการจัดหาพลังงานในอนาคต รัฐจำเป็นต้องมีการ วิเคราะห์ทางเลือก เพื่อมุ่งจัดการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มองไปข้างหน้า 88) สนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งการ สนับสนุนงบประมาณในการวิจัย และการพัฒนาระบบให้มีต้นทุนต่ำและ คุ้มค่าในการใช้งาน 89) สนับสนุนกลไกต่างๆ สำหรับพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้าง แรงจูงใจในการปรับปรุงเทคโนโลยีและการลดต้นทุน


.....70..... 90) สนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้เกิด การลงทุนของภาคเอกชน รัฐบาลควรหามาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุน อุตสาหกรรมหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมพลังงานอื่นๆ ที่ใช้พลังงาน จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สู่บรรยากาศ 91) มี น โยบายทางการเมื อ งที ่ ช ั ด เจน ในการสนั บ สนุ น การ “หยุดภาวะโลกร้อน” เสนอต่อประชาชน 92) สนับสนุนโครงสร้างทางกายภาพ ให้ประชาชนตระหนักและ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น จัดการให้มี โครงการเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในเมืองสามารถขับขี่ จักรยาน ลดการใช้รถยนต์ 93) ลดจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลบนถนนกรุงเทพมหานครอย่าง จริงจัง ด้วยการสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ 94) ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรทางเลือก ด้วยการลด และเลิ ก การใช้ ส ารเคมี ท ี ่ ท ำให้ เ กิ ด การปลดปล่ อ ยก๊ า ซไนตรั ส ออกไซด์ สู่บรรยากาศโลก และหันมาใช้เกษตรอินทรีย์ 95) ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรทางเลือก ซึ่งการส่งเสริมการตลาดสีเขียว ด้วยการสร้างเครือข่ายการตลาดที่กระจาย ศูนย์ไปสู่กลุ่มจังหวัดหรือภูมิภาค จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวนการขนส่งผลผลิตไปยังตลาดไกลๆ อีกด้วย


.....71..... 96) พิ จ ารณาใช้ ก ฎหมายการเก็ บ ภาษี เป็ น เครื ่ อ งมื อ ในการ ควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) สำหรับภาคอุตสาหกรรม 97) เปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บภาษี โดยการสร้างระบบการ จั ด เก็ บ ภาษี ท ี ่ ส ามารถสะท้ อ นให้ เ ห็ น ต้ น ทุ น ทางอ้ อ มจากกิ จ กรรมทาง เศรษฐกิจตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทำให้สังคมต้องแบกรับภาระนั้นอย่างชัดเจน เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากถ่านหิน ก็จะต้องรวมถึงต้นทุนในการดูแลรักษาสุขภาพที่ จะต้องเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษ และต้นทุนความเสียหายจากสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป 98) ปฏิรูปภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นก้าวต่อไปที่ท้าทายของนักการเมือง และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในการปรับเปลี่ยนและสร้างจิตสำนึกใหม่ ให้ ส ั ง คม การเพิ ่ ม การจั ด เก็ บ ภาษี ส ำหรั บ กิ จ กรรมที ่ ม ี ผ ลทำลายสภาพ แวดล้อมให้สูงขึ้นเป็นการชดเชย เช่น การเก็บภาษีจากกิจกรรมที่มีการ ปล่อยคาร์บอน ภาษีจากกองขยะ 99) กำหนดทิศทางประเทศให้มุ่งสู่แนวทางของการดำเนินชีวิต อย่างพอเพียง โดยยึดหลักเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแกนหลักของการพัฒนาประเทศ


.....72..... ตัวอย่าง กรณี

หน่วยงาน รณรงค์ลดโลกร้อน h

ปัจจุบันทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญ และเกิดการตื่นตัวในการ มีส่วนในการลดภาวะโลกร้อน ในที่นี้ จะขอหยิบยกหน่วยงานสาธารณสุขที่มี ส่วนในการช่วยลดภาวะโลกร้อน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

5.1 โครงการธนาคารขยะรี ไซเคิลเพื่อลดโลกร้อนโรงพยาบาลลำปาง โดย : ทพญ.วงศ์นภา ชื่นใจชน

โรงพยาบาลลำปาง

“คนหนึ่งคนจะสร้างขยะเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อวัน สามารถ เปลี่ยนเป็นเงิน โดยเฉลี่ย 8 บาทต่อขยะ 1 กิโลกรัม ประชากรใน โรงพยาบาลลำปางมีมากถึง 2,000 คน จะสร้างขยะ 2,000 กิโลกรัม เท่ า กั บ มู ล ค่ า ขยะมากถึ ง 16,000 บาทต่ อ วั น หากทิ้ ง ขยะโดยไม่ คัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก็เท่ากับว่าเรา กำลังทิ้งเงินลงถังขยะ” โรงพยาบาลลำปางมีขยะมูลฝอยจากการให้บริการ ทางการแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข แบ่ ง ออกเป็ น 4 ประเภท ได้ แ ก่ ขยะ ย่อยสลายได้ ขยะติดเชื้อ ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ และขยะรีไซเคิล


.....73..... หากไม่ ม ี ร ะบบการจั ด การที ่ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ จะส่ ง ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพ อนามัยประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวมได้ ทำให้ทางโรงพยาบาลลำปาง โดยคณะกรรมการดำเนินงานก่อตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล จึงมีแนวคิดที่จะ ก่อตั้ง “ธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน” ขึ้น เพื่อให้ดำเนินการ บริหารจัดการขยะ ด้วยวิธีการรีไซเคิลคัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน และประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาล ส่งเสริมการออมเงินของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ สร้างรายได้จากการนำขยะกลับมารีไซเคิล และขยายผล การจัดการลงสู่ชุมชนโดยรอบโรงพยาบาลอีกด้วย “ธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน” เริ่มดำเนินการรับฝาก ขยะรีไซเคิลมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ปี 2552 ที่ผ่านมา โดยใช้โรงเก็บ ขยะของโรงพยาบาลเป็นสถานที่ทำการธนาคารขยะ และดำเนินการโดยให้ หน่วยงาน เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกเป็นสมาชิกของธนาคาร และ นำขยะรีไซเคิลมาฝาก เจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการคัดแยกประเภทและ ชั่งน้ำหนักแล้วคำนวณเป็นจำนวนเงิน จากนั้นบันทึกลงสมุดฝาก โดยใช้ ราคาที่ทางโรงพยาบาลประสานกับร้านรับซื้อของเก่าเป็นเกณฑ์ ซึ่งในแต่ละ วันสามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลได้ถึง 1 ใน 3 ของปริมาณขยะทั้งหมด และ สามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าตัว จากใน ปี 2551 (คิดเป็นเงิน 5,228 บาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็น 50,286 บาทต่อเดือน หลังเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2552) คิดเป็นยอดรายรับที่ได้จากการ ขายขยะรีไซเคิลในช่วง 4 เดือน สูงถึงเกือบ 2 แสนบาท (197,144.90 บาท)


.....74..... ซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล เพื่อลดโลกร้อนโรงพยาบาลลำปาง เกิดจากการที่ผู้อำนวยการและคณะ บริ ห ารโรงพยาบาลให้ ค วามสำคั ญ กั บ ปั ญ หาขยะในโรงพยาบาล และ เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอกมีส่วนร่วม และเชื่อมโยงถึงชุมชน รอบ ๆ โรงพยาบาล โดยใช้ ISO.14000 เป็ น แนวทางการปฏิ บ ั ต ิ ด ้ า น สิ่งแวดล้อมและมีการคิดหาทางพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุดคือ “คณะกรรมการธนาคารขยะฯ ทุกคนมีความสุขจากการจิตอาสาเข้า มาทำโครงการ” จากการที่มี “ธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน” ทำให้ สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลลำปางดีขึ้น มีรายได้เพื่อใช้เป็นกองทุน สนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังทำให้เจ้าหน้าที่เห็นคุณค่า ของวัสดุบางประเภทว่าสามารถนำกลับมาใช้ได้หลายครั้ง และสามารถ เปลี่ยนเป็นเงินได้ เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ของครอบครัวอีกทางหนึ่ง แต่สิ่งที่ สำคัญที่สุดคือ “ช่วยลดความสิ้นเปลืองของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด และ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้”


.....75.....

ผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ ธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน โรงพยาบาลลำปาง

โรงเก็บขยะที่ใช้เป็นสถานที่ทำการ ธนาคารขยะรีไซเคิลเพื่อลดโลกร้อน โรงพยาบาลลำปาง

ขบวนพาเหรดและผู้เข้าร่วมประกวดแต่งแฟนซี วันเปิดธนาคาร


.....76.....

5.2 โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพ และน้ำยาเอนกประสงค์ โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุร ี

โดย : ปองปรีดา คงดั่น โรงพยาบาลไทรน้อย

การดำเนินงานโดยหน่วยงานหลักคือ กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน เป็นผู้ผลิตน้ำหมักชีวภาพและน้ำยาเอนกประสงค์ ซึ่งได้รับการอบรมจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนตั้งแต่ปี 2550 จากนั้นโรงพยาบาลได้ดำเนินการต่ออย่างจริงจัง สามารถผลิตและนำมาใช้ในทุกแผนกของโรงพยาบาล อาทิ ใช้ทำความ สะอาดพื ้ น และบริ เ วณที ่ ส กปรก มี ก ลิ ่ น เหม็ น เช่ น บริ เ วณที ่ เ ก็ บ ขยะ ห้องส้วม ห้องครัว นอกจากนี้ยังใช้ล้างมือ ล้างรถ ซักผ้าเช็ดมือ แช่กระป๋อง ปัสสาวะ ฯลฯ จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบันโรงพยาบาลได้ใช้ น้ำยาดังกล่าวแทนการใช้สารเคมีในเกือบทุกแผนก ยกเว้นหน่วยจ่ายกลางที่ ยังจำเป็นต้องใช้สารเคมีบางส่วน ทั้งนี้ได้มีการบริหารจัดการ โดยให้ฝ่าย บริหารดูแลการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบ และกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชนเป็น ผู้ผลิตสนับสนุนให้กับทุกแผนก และยังสนับสนุนให้กับชุมชนและผู้สนใจใน ราคาย่อมเยา ในการทำน้ำหมักชีวภาพของโรงพยาบาล ได้ผลิตเป็น 2 แบบ คือ


.....77..... 1. น้ำหมักชีวภาพ ประกอบด้วย หัวเชื้อ EM และกากน้ำตาล หมักทิ้งไว้ 5 วัน ใช้สำหรับล้างทำความสะอาดพื้น โดยฉีดหรือพ่นทิ้งไว้ ประมาณ 5-10 นาที จากนั้นจึงล้างด้วยน้ำ ทำความสะอาดตามปกติ 2. น้ำยาเอนกประสงค์ ประกอบด้วย หัวเชื้อ EM น้ำตาล ทรายแดง เปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (แยกแต่ละชนิด) เช่น ส้ม สับปะรด ส้มโอ มะนาว ฯลฯ N70 (ผงหนืด) และเกลือแกง หมักทิ้งไว้ 15 วัน อาจเติม สีผสมอาหาร และหัวน้ำหอมได้ตามใจชอบ หากใช้ล้างจาน ควรแช่จานใน น้ำยาเอนกประสงค์ผสมน้ำ (สัดส่วนน้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน) แช่ทิ้งไว้ ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจนแน่ใจว่าสะอาด จากนั ้ น ควรตากจานให้ แ ห้ ง ก่ อ นนำไปใช้ เพื ่ อ ป้ อ งกั น การตกค้ า งของ จุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน หมายเหตุ หลังจากหมักทำน้ำยาแล้ว กากที่เหลือสามารถนำมาทำปุ๋ยได้


.....78.....

โรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

น้ำหมักชีวภาพ


.....79.....

ใช้น้ำหมักชีวภาพฉีด ล้างที่พักขยะ


.....80.....

5.3 โครงการส่งเสริมการใช้กระเป๋าผ้าใส่ยา ลดภาวะโลกร้อน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : ที่มารับบริการที่ศูนย์บริการ สาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา โดย : ภญ. อำไพ อักษรศิริ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา

จากการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ ได้ให้ บริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2541 ได้ประสบกับปัญหาการใช้ยา ไม่ถูกต้องในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สำคัญ 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ ท างศู น ย์ บ ริ ก ารสาธารณสุ ข เทศบาลเมื อ งบ้ า นพรุ มี ค วามจำเป็ น ที่จะต้องติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว และให้มารับการรักษา อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโดย ไม่รู้ตัว เช่น สมองขาดเลือด อัมพฤต อัมพาธ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะจากข้อมูล ที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยที่รับยาจะได้ถุงหูหิ้วพลาสติกอย่างน้อยคนละ 1 ใบ ถ้าในปีหนึ่งจะมีคนไข้มารับบริการประมาณ 50,000 ครั้ง เท่ากับว่า ปีหนึ่งๆ เราจะเพิ่มขยะพลาสติกให้กับโลกประมาณ 50,000 ชิ้น สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ที่มารับยาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 500 ราย จำเป็นต้องมารับยาประจำทุกเดือนก็จะนำถุงหูหิ้วพลาสติกใส่ยา อย่างน้อยคนละ 1 ใบ กลับบ้านทุกเดือน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ออกเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยเรื้อรังก็จะพบถุงหูหิ้วใส่ยา และมียาอยู่ในนั้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพบว่า


.....81..... ในบ้านของผู้ป่วยเรื้อรังนั้นส่วนมากจะมียาเหลืออยู่ สอบถามคนไข้จะบอก ว่าทานยาเป็นประจำไม่รู้ว่ายาเหลือได้อย่างไร และบางครั้งที่ผู้ป่วยมีความ จำเป็นต้องเดินทางไปรับยาที่สถานบริการอื่น ก็มักจะไม่นำยาที่ทานอยู่ ประจำไปด้วย ทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าวศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ เห็นว่าเป็นเหตุให้เกิดการรับประทานยาที่ไม่ต่อเนื่อง เพิ่มขยะพลาสติกโดย ไม่จำเป็น มียาส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่บ้านผู้ป่วย จึงได้ร่วมมือกับกองทุน หลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองบ้านพรุ เพื่อจะช่วยกันลดค่าใช้จ่ายในการ จัดซื้อถุงพลาสติกและช่วยกันลดภาวะโลกร้อน และได้นำแนวคิดในการนำ กระเป๋าผ้ามาใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่ศูนย์บริการ สาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ จนเกิดเป็นโครงการส่งเสริมการใช้กระเป๋า ผ้าใส่ยา ลดภาวะโลกร้อนขึ้น โดยศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุ ได้ดำเนินการ ขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองบ้านพรุ เพื่อจัดทำกระเป๋าผ้าใส่ยาฯ แล้วแจกกระเป๋าผ้าฯฟรีให้กับผู้ป่วยเรื้อรัง มีการ ลงทะเบียนรายชื่อผู้ที่ได้รับกระเป๋าผ้าฯ พร้อมทั้งทำสัญลักษณ์ไว้ในประวัติ ผู้ป่วย เพื่อไว้ติดตามข้อมูลว่าผู้ป่วยได้นำกระเป๋ามาหรือไม่เมื่อมารับบริการ ครั้งต่อไป โดยมีเงื่อนไขว่าต้องนำมารับยาด้วยทุกครั้ง หากมียาเหลือที่บ้าน ก็ต้องนำยาใส่กระเป๋าผ้าฯมาให้เภสัชกรดูด้วย นอกจากนี้ได้มีการประสาน ทีมงานที่ให้บริการผู้ป่วยว่าในเวลาจ่ายยาไม่ต้องใส่ถุงหูหิ้วพลาสติกให้คนไข้ เรื้อรังที่เคยได้รับกระเป๋าผ้าฯ เภสัชกรจะดูยาที่คนไข้ใส่กระเป๋าผ้าฯ มาด้วย พร้อมให้คำแนะนำในการรับประทานยาที่ถูกต้อง หลังจากนั้นจะดำเนินการ


.....82..... ติดตามว่าผู้ป่วยมาตามนัดหรือไม่ นำยาที่เหลือใส่มาในกระเป๋าผ้าฯ ทุกครั้ง ที่มารับบริการหรือไม่ เป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากรับกระเป๋าผ้าฯ โดยใน ระยะแรกของการดำเนินงานจะต้องใช้เวลานานในการอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ และข้อตกลงหากไม่นำกระเป๋าผ้าฯ มาในการ รับยาครั้งต่อไป ทำให้ผู้รับบริการคนอื่นต้องรอรับยานานขึ้น และมีผู้รับ บริการบางส่วนไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ในการมอบกระเป๋าผ้าฯ จึงอยากได้ ด้วย จึงใช้เวลานานในการอธิบาย ทำให้ผู้รับบริการคนอื่นต้องรอรับยา นานขึ้น จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับ บริการตามนัด และนำยาที่เหลือกลับมาด้วยทุกครั้ง อีกทั้งยังช่วยให้ทีม แพทย์และเภสัชกรสามารถให้คำแนะนำและติดตามการทานยาของผู้ป่วยได้ โดยสะดวก และเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น สมองขาดเลือด อัมพฤต อัมพาธ เป็นต้น นอกจาก นี้ยังช่วยประหยัดงบประมาณ สำหรับซื้อถุงพลาสติกใส่ยากลับบ้านให้กับ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบ้านพรุพร้อมทั้งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะ ช่วยลดภาวะโลกร้อน และช่วยรณรงค์สร้างจิตสำนึกของประชาชนในการ รักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งความสำเร็จของโครงการนี้ เกิดจากการได้รับการสนับสนุน จากผู้บริหารได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ และทีมงานของศูนย์บริการ สาธารณสุขฯ ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ เช่น ช่วยกันออกแบบ รูปแบบกระเป๋าผ้าฯให้มีรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน สวยงาม และ น่าใช้ และติดตามการใช้กระเป๋าผ้าฯ อย่างจริงจัง และที่สำคัญที่สุดก็คือ


.....83..... “ผู้มารับบริการให้ความสำคัญในการใช้กระเป๋าผ้าฯ เพื่อลดภาวะโลกร้อน และนำมาเมื่อมารับยาทุกครั้ง”

แบบกระเป๋าผ้าใส่ยาลดภาวะโลกร้อน ผู้ป่วยรับกระเป๋าผ้าใส่ยาลดภาวะโลกร้อน


.....84.....

เอกสารอ้างอิง

กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม. หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง, 2550. กรมส่ ง เสริ ม การปกครองท้ อ งถิ ่ น กระทรวงมหาดไทย. มาตรฐานการ วางผังเมือง, กรุงเทพฯ, ไม่ระบุปีที่พิมพ์. สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. โครงการจัด ทำเกณฑ์มาตรฐานพื้นที่สีเขียว เพื่อเมืองน่าอยู่, กรุงเทพฯ, 2550 สำนั ก พั ฒ นามาตรฐานผั ง เมื อ ง กรมการผั ง เมื อ ง กระทรวงมหาดไทย. เกณฑ์และมาตรฐานการวางผังเมืองรวม, กรุงเทพฯ, 2544. สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. คู่มือลดโลกร้อน Public Guideline To Reduce Global Warming. Intergovernmental Panel on Climate Change, IPCC Second Assessment Report ; Climate Change 1995. The LESA Project 2004-2007, Global Warming, 2007. World Health Organization. WHO News and activities : Ultraviolet radiation. Bulletin of the World Health Organization.1994, http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=klaijai&month=28-10-2009& group=5&gblog=5, สืบค้นเมื่อ 28/12/2552. http://chemphybio.multiply.com/journal/item/2/2, สืบค้นเมื่อ 18/12/2552. http://www.deqp.go.th/Greenhouse/thaieffectb626.php, สืบค้นเมื่อ 18/12/2552.


.....85..... http://elearning.nectec.or.th/index.php?mod=Courses&op=showcontent& cid=58&qid=&lid=443&sid=&page, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.energy.go.th/moen/Index.aspx?MenuID=76, สืบค้นเมื่อ 4/01/2553. http://www.energy.go.th/moen/Index.aspx?MenuID=20, สืบค้นเมื่อ 19/12/2552. http://www.eqplusonline.com/knowledge.php?id=55&pw=0, สืบค้นเมื่อ 12/2552. http://www.greenpeace.org/seasia/th/solargen/climate-change/impacts/ impacts-thailand, สืบค้นเมื่อ 12/2552. http://hilight.kapook.com, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.ipcc.ch/index.htm, สืบค้นเมื่อ 19/05/2550. http://www.kklanamai.com/index.php?mo=3&art=262833, สืบค้นเมื่อ18/12/2552. http://km.reru.ac.th/?p=12 http://www.konmun.com/Article, สืบค้นเมื่อ18/12/2552. http://www.kts-chon.ac.th/ST_Project/01_saveEarth/page_3.htm, สืบค้นเมื่อ 12/2552. http://www1.mod.go.th/opsd/dedweb/energy/about/meaning%20and% 20type/meaning.htm, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.lakkai.com, สืบค้นเมื่อเมื่อ 17/12/ 2552. http://oatato.exteen.com/20070510/entry, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.onep.go.th/CDM/cmc.html , 2551, สืบค้นเมื่อเมื่อ 17/12/2552. http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/, สืบค้นเมื่อ 18/12/2552.


.....86..... http://pirun.ku.ac.th/~b5002151/page2.html, สืบค้นเมื่อ 18/12/2552. http://www.sarakadee.com/web/modules.php, สืบค้นเมื่อ เมื่อ 28/12/2552. http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=gundam&jnId= 2655, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.thaihealthcomm.org/goodhealth/?q=node/281 สืบค้นเมื่อ 28/12/2552. http://www.thaihotzone.com/, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://th.wikipedia.org/wiki/, สืบค้นเมื่อ 17/12/2552. http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=86&i2=5, สืบค้นเมื่อ 28/12/2552. http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1980, สืบค้นเมื่อ 12/2552.


.....87.....

คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา

ดร.นายแพทย์สมยศ นายแพทย์สุวัช นายพิษณุ นางฉันทนา

ผู้เรียบเรียง

ดีรัศมี เซียศิริวัฒนา แสนประเสริฐ ลิ้มนิรันดร์กุล

อธิบดีกรมอนามัย รองอธิบดีกรมอนามัย ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มพัฒนาอนามัย สิ่งแวดล้อมชุมชนและเมือง

วิเศษสมบัติ เจริญพรกิจวัฒนา ใหม่เจริญศรี ประดับวงษ์ อินลี อมรยุทธ์ ใจห้าว ขันทราม

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข

นางวิมลศิริ นางอโนชา นางสาวปรียนิตย์ นางสาวอารยา นายนิสิต นายศุภวิทย์ นางสาวกัญญาณัฐ นางสาวสุภาพร

กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมชุมชนและเมือง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ : 02 590 4255 . 02 590 4253 โทรสาร : 02 590 4255

ข้อมูลเพิ่มเติม



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.