คนทำนาข้าวอินทรีย์

Page 1

นทานา

ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการ ปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

จัดทำโดย


2

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

ข้าวอินทรีย์ และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว ข้าวอินทรีย์ (Organic rice) เป็นข้าวทีไ่ ด้จากการผลิตแบบเกษตร อินทรีย์ (Organic agriculture หรือ Organic Farming) ซึ่งเป็นวิธีการ ผลิตทีห่ ลีกเลีย่ งการใช้สารเคมี หรือสารสังเคราะห์ตา่ งๆ แต่จะใช้วสั ดุจาก ธรรมชาติและสารสกัดจากพืช ที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้าง ปนเปือ้ นในผลิตผลในดินและในน้ำ ข้าวอินทรียท์ ผ่ี ลิตได้สว่ นใหญ่จะส่งไป จำหน่ายยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป ราคาข้าวเปลือก อินทรีย์จะสูงกว่าราคาข้าวเปลือกโดยทั่วไปประมาณร้อยละ 10 และ ในส่วนที่เป็นข้าวสารบรรจุถุงวางจำหน่ายในประเทศ จะมีราคาสูงกว่า ข้าวสารทั่วไปประมาณร้อยละ 20


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

ารผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวทีไ่ ม่ใช้ สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด อาทิเช่น ปุย๋ เคมี สารควบคุม การเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกัน กำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รม เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าว อินทรียเ์ ป็นการผลิตทีไ่ ด้ขา้ วคุณภาพสูง ราคาขายมากกว่า ช่วยลดต้นทุนการผลิต ชาวนาปลอดภัยจากสารพิษ มีสขุ ภาพ ร่างกายดี อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

ข้

าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่ เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ความอุดมสมบูรณ์ รักษาสมดุล และการใช้ประโยชน์จาก ธรรมชาติเพือ่ การผลิตอย่างยัง่ ยืน เช่น ปรับปรุงความอุดม สมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปยุ๋ อินทรีย์ ในไร่นาหรือจากแหล่งอืน่ ควบคุมโรคแมลงและศัตรูขา้ วโดย วิธผี สมผสานทีไ่ ม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พนั ธุข์ า้ วทีเ่ หมาะสม มีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ เป็นต้น การปฏิบตั เิ ช่นนีส้ ามารถ ทำให้ตน้ ข้าวทีป่ ลูกให้ผลผลิตสูงในระดับทีน่ า่ พอใจ

3


4

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

ขั้นตอนการผลิต

ข้าวอินทรีย์ 1. การเลือกพื้นที่ปลูก เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยธรรมชาติคอ่ นข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารทีจ่ ำเป็นต่อการเจริญเติบโต ของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มี การใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของ สารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร สำหรับเกษตรกร รายย่อยที่มีพื้นที่ถือครองไม่มาก และอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ควรรวมกลุ่ม กันเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ 2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มีความอุดม สมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรง กับความต้องการของผูบ้ ริโภคข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรียใ์ นปัจจุบนั ส่วน ใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่ให้คุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ 3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว เลือกใช้เมล็ดพันธุข์ า้ วทีไ่ ด้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุข์ า้ ว


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

แบบเกษตรอินทรียท์ ไ่ี ด้รบั การดูแลอย่างดี มีความงอกแรง ผ่านการเก็บรักษา โดยไม่ใช้สารเคมีสงั เคราะห์ ปราศจากโรค แมลง และเมล็ดวัชพืช หากจำเป็น ต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก 4. การเตรียมดิน วัตถุประสงค์หลักคือสร้างสภาพทีเ่ หมาะสมต่อการ ปลูก และการเจริญ เติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด 5. วิธีปลูก การปลูกข้าวแบบปักดำ จะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์

5


6

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

เพราะการเตรียมดิน ทำเทือกควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืช ได้ และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้น กล้าทีใ่ ช้ปกั ดำควรมีอายุประมาณ 30 วัน เลือกต้นกล้าทีเ่ จริญเติบโตแข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงทำลาย ในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ สารสังเคราะห์ทกุ ชนิดโดยเฉพาะปุย๋ เคมี จึงควรปลูกถีก่ ว่าระยะสำหรับปลูกข้าว โดยทั่วไปคือ ระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 20 ซ.ม. จำนวนต้นกล้า 3-5 ต้น ต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านีห้ ากดินมีความอุดมสมบูรณ์คอ่ นข้าง ต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าช้าจากช่วงเวลาที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ควร เปลีย่ นไปปลูกวิธอี น่ื ทีเ่ หมาะสม เช่น หว่านข้าวแห้งหรือหว่านน้ำตม 6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี การเลือก พื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ได้ เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยัง


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

ต้องรู้จักการจัดการดินที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของ ดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ คำแนะนำมีดังนี้ 1) การจัดการดิน - ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็น การทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ - ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละน้อย - ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าวและหลังจากการ เก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยเฉพาะพืช ตระกูลถั่วเช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน - ควรวิเคราะห์ดนิ นาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรด-ด่างของดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว (ประมาณ 5.5 – 6.5) ถ้าพบว่า ดินมีความเป็นกรดสูงให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้ปรับสภาพดิน 2) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ จึงต้องใช้ใน ปริมาณที่สูงมาก และอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์และหาก มีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงแนะนำให้ใช้ หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใส่ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำ เสมอเป็นประจำ” ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่ - ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก หรือจัดการผลิต ขึ้นในบริเวณไร่นา โดยหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว มักจะปล่อยให้เป็นที่ เลี้ยงสัตว์ โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้า มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปนกับเศษ ซากพืช ก็จะเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในนาอีกทางหนึ่ง

7


8

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

- ปุ๋ยหมัก ควรทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่ไม่ห่างจากแปลงนา เพื่อ ความสะดวกในการใช้ และควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักเพื่อให้ย่อย สลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร - ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และปลูก ก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร เพือ่ ให้ตน้ ปุย๋ พืชสดมีชว่ งการเจริญ เติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสด และไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าว - ปุย๋ น้ำหมักหรือน้ำสกัดชีวภาพ ควรทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ น้ำสกัดจากสัตว์ ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา เศษปลา หรือเศษเนื้อ น้ำสกัดจากพืช ได้แก่ผัก และ พืชสมุนไพรต่างๆ และ น้ำสกัด จากผลไม้ ได้แก่ เศษผลไม้ต่างๆ จากครัวเรือน 3) การใช้อินทรีย์วัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี สามารถนำอินทรียว์ ตั ถุจากธรรมชาติตอ่ ไปนี้ ทดแทนปุย๋ เคมีบางชนิด - แหล่งธาตุไนโตรเจน เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา และเลือดสัตว์แห้ง เป็นต้น - แหล่งธาตุฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืชขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น - แหล่งธาตุโพแทสเซียม เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด - แหล่งธาตุแคลเซียม เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยและกระดูกป่น 7. ระบบการปลูกพืช ปลูกข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับ ข้าวแต่ละพันธุ์ และปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วก่อนและหลัง การปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

8. การควบคุมวัชพืช ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนา ทีล่ ดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุมวัชพืช การใช้วสั ดุคลุมดิน การถอน ด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่างๆ การใช้เครื่องมือ และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น 9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช หลักการสำคัญมีดังนี้ - ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน - การปฏิบตั ดิ า้ นเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลง กำหนดช่วงเวลาปลูก ที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อ ตัดวงจรการระบาดของโรค แมลง และสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดม สมบูรณ์ของดินและสมดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำเพือ่ ให้ตน้ ข้าวเจริญ เติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง

9


10

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

- จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาด เช่น การกำจัด วัชพืช การกำจัดเศษซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว - รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของ แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และศัตรูธรรมชาติ - ปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา เช่น ตะไคร้หอม - หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม และใบแคฝรั่ง เป็นต้น - ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก และใช้กาวเหนียว - หากใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่น นำไปผสมกับเหยือ่ ล่อในกับดักแมลง หรือใช้สารพิษกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัด ระวัง และต้องกำจัดสารเคมีที่เหลือรวมทั้งศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษ อย่างถูกวิธีหลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว 10. การจัดการน้ำ ในระยะปักดำจนถึงแตกกอถ้าระดับน้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อ หนีนำ้ ทำให้ตน้ อ่อนแอและล้มง่าย ระยะนีค้ วรรักษาระดับน้ำไว้่ 5 ซ.ม. แต่ถา้ ต้นข้าวขาดน้ำจะทำให้วัชพืชโตแข่งต้นข้าว ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมตลอด ฤดูปลูกควรอยูท่ ่ี 5-15 ซ.ม. จนถึงระยะก่อนเก็บเกีย่ ว 7-10 วัน จึงระบายน้ำ ออกเพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นที่นาแห้งเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น เก็บเกีย่ วข้าวหลังจากออกดอก ประมาณ 28-30 วัน สังเกตจากเมล็ด ในรวงข้าวสุกแก่เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า ระยะพลับพลึง - การเกี่ยวโดยใช้เคียว ต้องตากฟ่อนข้าวในนาประมาณ 2-3 แดด แล้วจึงรวมกองทำการนวดต่อไป - การเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวนวด เมล็ดข้าวยังมีความชื้นสูงต้องตาก บนลาน ในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน พลิกกลับเมล็ดข้าววันละ 3-4 ครั้ง ให้ความชื้นเหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการ เก็บรักษา และทำให้มีคุณภาพการสีดี 12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก เมื่อลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปเก็บ รักษาในยุ้งฉางหรือใส่ในภาชนะที่แยกต่างหากจากข้าวที่ผลิตโดยวิธีอื่น 13. การสี ต้องแยกสีตา่ งหากจากข้าวทัว่ ไป โดยใช้ขา้ วเปลือกอินทรียส์ ลี า้ งเครือ่ ง

11


12

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

การปลูกข้าว

ปั กเดี่ยว

ระบบการปลูกข้าวต้นเดียว ได้รับการพัฒนาโดยบาทหลวง อองรี เดอ โลลานี ชาวฝรัง่ เศส ในขณะทีท่ ำงานเพือ่ ปรับปรุงผลผลิตข้าวในประเทศ มาดากัสการ์ระหว่างปีพ.ศ. 2504 - 2538 เริม่ จากหลักปรัชญาทีว่ า่ “ต้นข้าว ต้องได้รับความเคารพและจุนเจือประหนึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพ ซึ่งศักยภาพ นี้จะเปล่งออกมาก็ต่อเมื่อเราอำนวยสภาวะที่ดีที่สุดที่เอื้อต่อการเติบโตของ พืช หากเราช่วยให้พืชเจริญเติบโตด้วยหนทางใหม่ที่ดีกว่า พืชก็จะตอบแทน ความพยายามนัน้ กลับคืนเป็นหลายเท่า เราจะไม่ปฏิบตั ติ อ่ พืชเยีย่ งเครือ่ งจักร น้อยๆ ที่ถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของตนเอง วิธีการทำนาที่เกษตรกร ทั่วโลกปฏิบัติกันมานับร้อยๆ ปีได้ทำให้ศักยภาพตามธรรมชาติของต้นข้าว ลดลง วิธี SRI นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติเดิมๆ เพื่อนำศักยภาพสำคัญ ในต้นข้าวออกมาใช้เพิ่มผลผลิต” ระบบดังกล่าวนี้เน้นหลักการจัดการสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ของต้นข้าว ให้เกือ้ หนุนซึง่ กันและกันจนแสดงออก ซึง่ ศักยภาพอย่างเต็มที่ งานวิจยั ในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นว่า การปลูก ข้าวโดยการปลูกต้นเดียวหรือวิธี SRI ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 1,680 กก. ต่อไร่ ในขณะที่วิธีการปักดำแบบเดิมให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 624 กก. ต่อไร่ การทดลอง ปลูกข้าวแบบปักเดีย่ วในพืน้ ที่ 2 ไร่ โดยปักต้นกล้าประมาณ 500 ต้น ได้ผลผลิตเฉลีย่ 720 กก. ต่อไร่ โดยต้นกล้า 1 ต้น แตกกอได้ถงึ 40 ต้น ขณะทีข่ า้ ว นาดำทัว่ ไปแตกกอได้ 5-10 ต้น และข้าวจากการปักเดีย่ วหนึง่ รวงมีเมล็ดข้าว ประมาณ 230 เมล็ด ขณะทีข่ า้ วทีใ่ ช้ปยุ๋ เคมีจะมี 170-180 เมล็ด ต่อหนึง่ รวง


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

ข้อควรคำนึงของวิธีการปลูกข้าวปักเดี่ยวหรือเอสอาร์ไอ (SRI) 1. เหมาะสมสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก 2. เหมาะสมสำหรับระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก 3. เพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่สูง เพื่อลดการขาดแคลนข้าว 4. เหมาะสมสำหรับแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์คัด และพันธุ์หลัก 5. ข้าวปักเดีย่ วจะมีวชั พืชค่อนข้างมากจากการจัดการน้ำให้แห้งสลับเปียก วิธีการปลูกข้าวปักเดี่ยวหรือเอสอาร์ไอ (SRI) 1. เพื่อให้ต้นข้าวแสดงศักยภาพในการออกรวงได้เต็มที่ เริ่มต้นด้วยการ เตรียมดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเช่นเดียวกับการปลูกข้าวอินทรีย์ จากนั้นสูบน้ำเข้านาพอให้ดินเป็นโคลน แล้วจึงไถและคราดให้เรียบ เสมอกันทั้งแปลง ทิ้งไว้ 1 คืน

13


14

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

2. เช้าวันรุ่งขึ้นให้นำต้นกล้าอายุ 8 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 2 ใบ ซึ่งเป็น ช่วงที่ข้าวสามารถฟื้นตัว แตกกอ และเจริญเติบโตต่อไปได้ดีที่สุดที่ เตรียมไว้มาปักดำทีละต้น โดยปลูก ห่างกันทีร่ ะยะ 40X40 ซ.ม. เวลา ย้ายต้นกล้ามาลงแปลงต้องแซะ อย่างประณีต และต้องให้มีดินติด รากมาด้วย และต้องปลูกให้หมด ภายใน 20 นาที ก่อนทีก่ ล้าจะ เหีย่ วและควรปักดำทีละต้น โดย รากต้องอยู่ลึกไม่เกิน 1 ซ.ม. และ จัดเรียงรากให้แผ่ไปตามแนวนอน ในทิศทางเดียวกัน 3. หลังการปลูกควรจัดการน้ำโดยทำให้ดนิ นาข้าวแห้งและเปียกสลับกัน เพือ่ ให้รากข้าวได้รับออกซิเจนมากขึ้น จนถึงช่วงออกดอก จากการทดลองของชาวนาไทยในตำบลสำโรง อำเภอท่าตูม จังหวัด สุรนิ ทร์ ทีอ่ ำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และทีค่ ณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ สรุปผลว่าต้นข้าวที่ปลูกแบบปักเดี่ยวเจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวทั่วไป คือ ตั้งต้นได้ภายใน 3 วันหลังจากปักดำ นอกจากนี้ยังแตกเป็นกอใหญ่ ออก รวงเยอะ ลำต้นใหญ่ แข็งแรง บางต้นสูงกว่า 2 เมตร รากแผ่ขยายเป็นวงกว้าง ทำให้สามารถหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นได้มากกว่า และให้ผลผลิตสูงอย่างเห็น


ข้าวอินทรีย์และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว

ได้ชดั จริง แม้ยงั ไม่มากถึง 1,200 กก. ต่อไร่ อย่างทีบ่ นั ทึกเอาไว้ ทัง้ นีอ้ าจเป็น เพราะดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์และไม่เรียบสม่ำเสมอ การทำนายังต้องพึ่งพา น้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ไม่สามารถจัดการน้ำในนาได้ นอกจากนี้เกษตรกรไม่มี เวลาดูแลนาและกำจัดวัชพืชได้เต็มที่ เพราะต้องทำนาอินทรียค์ วบคูก่ นั ไปด้วย แต่ผลผลิตระดับ 700 กว่ากิโลกรัมถือว่าเป็นที่พอใจ และน่าจะถือเป็นความ สำเร็จขั้นต้น สำหรับความพยายามที่จะต่อยอดการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ในแง่ของการเพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย หรือใช้สารเคมีที่เป็นภัย ต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ SRI อาจเป็นหนทางในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่ชาวนามี โอกาสเป็นผูท้ ดลองและเลือกใช้เอง โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาเทคโนโลยีราคาแพง ของบริษัทข้ามชาติ อย่างการดัดแปลงพันธุกรรมที่กำลังจู่โจมประเทศ เกษตรกรรมอย่างหนักอยู่ในวันนี้

แหล่งที่มาของข้อมูล • http://www.ricethailand.go.th • http://www.thai.net/oardk/techno/organic_rice.html

15


ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ 71 หมู่ 8 ต.ห้วยยาง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น 40170 ผู้ประสานงาน นายทินกร ปาโท โทรศัพท์ : 089-5758201 อีเมล์ : hinghoy-007@hotmail.com แผนงานผักปลอดภัยจากสารพิษ จ.ขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์/โทรสาร : 0-4334-8660 เวปไซด์ : http://www.healthinfo-ne.org

รูปเล่มโดย : ศิริพร พรศิริธิเวช และเริงฤทธิ์ คงเมือง

สนับสนุนโดย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.