BEST PRACTICE ของโรงเรียนวัดท่าน้ำตื้น สพป.กาญจนบุรี เขต ๑

Page 1

ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศของสถานศึกษา ด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม (Best Practice) การบริหารจัดการโดยใช้รปู แบบการบริหารงานแบบ 4D เพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดท่าน้​้าตื้น

โรงเรียนวัดท่าน้​้าตื้น ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ส้านักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศของสถานศึกษา ด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม (Best Practice ) 1.

ชื่อผลงาน BP

การบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบการบริหารงานแบบ 4 D เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน วัดท่าน้​้าตื้น

2.

ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP โรงเรียน วัดท่าน้​้าตื้น ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมกาญจนบุรี เขต 1 ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการศึกษาหนองบัว- แก่งเสี้ยน 2.2 โทรศัพท์ 0๙-2603-7297

3.

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 3.1 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดท่าน้​้าตื้น

4.

ระยะเวลาในการพัฒนา BP ปีการศึกษา 2556- ปีการศึกษา 2558

5.

แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่น้ามาใช้ในการพัฒนา BP วิธีการ/ขั้นตอน/กระบวนการที่ดีของโรงเรียน


แผนภาพที่ 1 รูปแบบการบริหารแบบ 4 D รูปแบบการบริหารงานแบบ 4 D เป็นรูปแบบที่ผู้รายงานสังเคราะห์ขึ้นมาจากหลักการและทฤษฎี การบริหาร การปฎิรูปการศึกษา โดยน้ามาเชื่อมโยงให้มีความสอดคล้องเป็นวงจรเชิงระบบ ซึ่ง ประกอบด้วยการกระจายอ้านาจ(D 1) การพัฒนา(D2) การปฏิบัติ(D3) และการก้ากับติดตาม(D4) โดยที่ ในแต่ละขั้นตอนยังมีองค์ประกอบย่อยที่ท้าให้ขั้นตอนนั้นมีความหมายและสามารถด้าเนินการได้ โดยใช้ หลักการทางบริหารต่างๆเช่น หลักธรรมาภิบาล หลักการสร้างทีมงาน การบริหารจัดการความรู้(KM.) วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง(PDCA) หลักการวางแผน การนิเทศแบบกัลยาณมิตร เทคนิคการรายงาน เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดของขั้นตอนในการใช้รูปแบบการบริหารแบบ 4 D มีดังต่อไปนี้ 1. การกระจายอ้านาจ(Decentralization :D1) เป็นการมอบอ้านาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฎิบัติ หน้าที่ตามภาระงาน เป็นการกระจายอ้านาจตามล้าดับความรับผิดชอบไปสู่บุคลากรเป้าหมายโดยอาศัย หลักธรรมาภิบาล (Good governance) ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมี ส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า และหลักการใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Base Management:SBM) ซึ่งผลผลิตที่ได้รับคือได้ทีมงาน ( Team) ที่มีหลักในการรักษาความคงทนของทีมคือ T:Trus คือความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการปฏิบตั ิงาน E:Empathy คือความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน A:Agreeeement คือ มีข้อตกลงร่วมกัน M:Mutual Benefit คือผลประโยชน์ร่วมกันหรือมีความ รับผิดชอบร่วมกัน 2. การพัฒนา ( Development : D2) เป็นการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการด้าเนิน กิจกรรมตามแผนที่ก้าหนดไว้ให้แก่คณะกรรมการแต่ละชุดด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสัมมนา


การศึกษาดูงาน โดยอาศัยหลักการและกระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Mangement : KM.) 7 ขั้นตอนได้แก่ 2.1. การบ่งชี้ความรู้ คือ การวิเคราะห์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคลากรของโรงเรียนว่า ต้องการรู้อะไร ไม่รู้ อะไร รู้อะไรบ้างแล้ว แล้วน้ามาจ้าแนกออกเป็นกลุ่มส่งเสริม และกลุ่มพัฒนา 2.2. การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การที่แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆทั้งที่เป็นทรัพยากรบุคคล และเอกสารความรู้ที่บุคลากรของโรงเรียนต้องการรู้ อยากเรียนรู้ 2. 3. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การน้าความรู้ที่แสวงหามานั้นกลั่นกรองเลือกสรรความรู้ ที่ทันสมัยไม่เก่าเกินไป และสามารถน้ามาเรียนรู้ได้จริงมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ 2.4. การจัดหมวดหมู่ความรู้ คือการน้าความรู้ที่ได้ประมวลกลั่นกรองแล้วมาจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อ สะดวกต่อการค้นคว้าของบุคลากร 2.5. การเข้าถึงความรู้ คือ การประชาสัมพันธ์ถึงแหล่งเรียนรู้ที่จัดเก็บเข้าเป็นหมวดหมู่แล้ว หรือบอก แหล่งที่จะศึกษาค้นคว้าสามารถเข้าศึกษาได้ง่ายและรวดเร็วเช่น การใช้อินเตอร์เน็ต ระบบ ICT หรือศูนย์ วิชาการ และห้องสมุด เป็นต้น 2.6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การจัดเวทีให้บุคลากรได้มีโอกาสพูดคุยถึงเรื่องที่ได้เรียนรู้ซึ่งเป็นการ แลกเปลี่ยนความรู้และเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการด้าเนินงาน 2.7. การเรียนรู้ คือ การลงมือปฏิบัติตามโครงการหรือกิจกรรมที่ตนเองและคณะรับผิดชอบบน พื้นฐานของความรู้ที่ได้รับ การพัฒนาบุคลากรนี้ ให้เป็นไปตามความต้องการของบุคลากร และที่ส้าคัญต้องมีการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี ด้าน ICT ให้มีสมรรถนะที่สามารถเป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาระ งานที่ปฏิบัติ ซึ่งฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีและนับว่าเป็นสิ่งจ้าเป็นอย่างยิ่งในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการ พัฒนาบุคลากรจนมีความรู้ความสามารถในการที่จะน้าไปพัฒนาภาระงานของตน ตลอดจนทีมงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้ คือ ทีมงานที่มีคุณภาพสูง ( High Quality Team) 3. การปฏิบัติ ( Do : D3) เป็นการที่ทีมงานในแต่ละทีมลงมือปฏิบัติตามโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับ มอบหมาย โดยจะต้องอาศัยหลักการปฏิบัติเชิงคุณภาพตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ( Deming Circle : PDCA ) กระบวนการที่ส้าคัญคือกระบวนการวางแผน ( P : Plan) ซึ่งก้าหนดไว้ 7 ขั้นตอนคือ 3.1 ข้อมูลมากมาย หมายถึง การหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการด้าเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรม เช่น ข้อมูลด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลวันเวลาที่เคยปฏิบัติ ข้อมูลด้าน งบประมาณ ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล ข้อมูลด้านโอกาสและอุปสรรคในการด้าเนินงาน เป็นต้น


3.2 ท้านายอนาคต หมายถึง การน้าข้อมูลที่ได้จากกระบวนการที่ 3.1 วิเคราะห์และคาดการณ์ถึง ความส้าเร็จที่จะเกิดขึ้นควรอยู่ในระดับใด มีโอกาสมากระดับใด หรือมีความเสี่ยงระดับใด ท้านองเดียวกับ การก้าหนดวิสัยทัศน์ 3.3 ก้าหนดเป็นเป้าหมาย หมายถึงการก้าหนดเป็นเป้าหมายของการด้าเนินงานตามโครงการหรือ กิจกรรมโดยอาศัยข้อมูลหลัก ที่ได้จากกระบวนการที่ 3.2 ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์ของ โครงการหรือกิจกรรม โดยที่เป้าหมายนั้นต้องไม่สูงหรือใหญ่เกินไป ควรเป็นเป้าหมายที่มีโอกาสประสบ ความส้าเร็จได้สูง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 3.4 ขยายเป็นวิธีการ หมายถึง น้าเป้าหมายของการด้าเนินการจากกระบวนที่ 3.3 มาก้าหนดเป็น วิธีการในการด้าเนินการเพื่อให้ครอบคลุมและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 3.5 น้างบประมาณมาพิจารณา หมายถึง การน้าวิธีการต่างๆที่ได้จากกระบวนการที่ 3.4 ซึ่งจะต้องมี การใช้วัสดุอุปกรณ์ หรือวิทยากร หรือทรัพยากรด้าน ICT รวมถึงค่าอาหาร ค่ารถ และอื่นๆที่จะน้ามาซึ่ง ค่าใช้จ่าย เพื่อก้าหนดงบประมาณที่จะใช้และต้องค้านึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด 3.6 ก้าหนดเวลาในการปฏิบัติ หมายถึง การก้าหนดช่วงระยะเวลาในการด้าเนินงานที่คาดว่าจะมี อุปสรรคน้อยที่สุด และจะเกิดผลส้าเร็จบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลในระดับสูง 3.7 จัดท้าเป็นเอกสาร หมายถึง การน้าสิ่งต่างๆที่ได้จากกระบวนการที่ 3.1 ถึง 3.6 มาจัดท้าเป็น เอกสารที่เรียกว่า แผนการด้าเนินงาน แผนปฏิบัติการตามโครงการ… ซึ่งทีมงานทุกคน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องรับทราบและยึดถือเป็นต้าราในการปฏิบัติตามโครงการหรือกิจกรรม 3.8 ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม หมายถึง การน้าเอกสารที่ได้จัดท้าในกระบวนการที่ 3.7 มาศึกษาอีก ครั้งแล้วลงมือปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 4. การก้ากับติดตาม ( Direction : D4) เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ภาระงานที่ ทีมงานด้าเนินการอยู่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดโดยอาศัยหลักการและกระบวนการของ ระบบวงจรคุณภาพ P-D-C-A ( Deming Circle) กระบวนการนิเทศ ( Supervision) โดยใช้หลักการ นิเทศแบบกัลยาณมิตร คือ การใช้หลักธรรมกัลยาณมิตร ธรรม 7 ได้แก่ น่าคบหา น่ายกย่อง รู้จักพูดให้ ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ อดทนต่อถ้อยค้า แถลงเรื่องราวล้​้าลึกได้ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย และ น้าไปสู่การนิเทศโดยใช้หลักอริยสัจ ได้แก่ ขั้นทุกข์ คือ การก้าหนดและจัดประเด็นปัญหา ขั้นสมุทัย คือ การร่วมคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและการจัดล้าดับความส้าคัญของปัญหา ขั้นนิโรธ คือ การก้าหนดจุดหมายหรือสภาวะพ้นปัญหา การร่วมคิด วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของ การแก้ปัญหา


ขั้นมรรค คือ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง ในการก้ากับติดตาม ผู้บริหารจะได้ข้อมูลย้อนกลับส่วนหนึ่งที่ทีมงานจะต้องน้ามาพิจารณา ด้าเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาระบบการท้างาน ผลผลิตที่ได้ คืองานที่ดีเลิศ ( Excellent Job ) ทีมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับสูง และในขั้นตอนสุดท้ายคือการรายงานสู่สาธารณชน ด้วย วิธีการที่หลากหลาย เช่น การรายงานผลการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ( SAR) การประชาสัมพันธ์ ทางเว็ปไซต์ของโรงเรียน การจัดท้าเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา การ ประชุมผู้ปกครอง ฯลฯ


7.

ขั้นตอนการพัฒนาBest Practice มีรายละเอียดและขั้นตอนการด้าเนินการพัฒนาดังต่อไปนี้ 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการน้า Best Practie ไปใช้ การบริหารจัดการงานทั้ง 4 ด้านภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2556 - 2558 7.2 ขั้นตอนการพัฒนาBest Practice (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา)

ขั้นตอนการพัฒนาการบริหารจัดการ

แผนภาพที่ 1 รูปแบบการบริหารแบบ 4 D


กรอบแนวคิดและการพัฒนาบริหารจัดการของโรงเรียนวัดท่าน้​้าตื้น

-การบริหารจัดการศึกษา มีคุณภาพ -บุคลากรจัดการเรียนรู้ได้ อย่างมีคุณภาพ -ผู้เรียนมีคุณภาพและ ได้รับการพัฒนาสู่ มาตรฐานการศึกษาขั้น พื้นฐาน

1) การบริหารจัดการงานวิชาการ งานวิชาการเป็นงานหลักที่โรงเรียนได้มีการด้าเนินการให้ครบทุกองค์ประกอบของขอบข่ายงาน โดยมีนางสมหวัง เครื่องประดิษฐ์ ข้าราชการครู วิทยฐานะช้านาญการพิเศษ เป็นหัวหน้างาน มีหน้าที่ ด้าเนินงานตามขอบข่ายของงานได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนงาน วิชาการ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และการด้าเนินการเทียบโอนผลการเรียน การ วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การแนะแนว การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมให้ชุมชนมีความ เข้มแข็งทางวิชาการ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น การส่งเสริม และสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัด การศึกษา การจัดท้าระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยจัดให้มีโครงการต่างๆ ครอบคลุมขอบข่ายงานในการบริหารงานวิชาการ


2) การบริหารจัดการงานบุคคล การบริหารงานบุคคลเป็นงานที่โรงเรียนได้ด้าเนินการครอบคลุมตามขอบข่ายงาน โดยมี นางณภาภัช ภุมภารินทร์ ข้าราชการครู วิทยฐานะ ช้านาญการพิเศษ เป็นหัวหน้างาน และมีการด้าเนินงาน ตามขอบข่ายของงาน ได้แก่ การวางแผนอัตราก้าลัง การจัดสรรอัตราก้าลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การเปลี่ยนต้าแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา การด้าเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน การลาทุกประเภท การประเมินผลการปฏิบัติงาน การ ด้าเนินการทางวินัยและการลงโทษ การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การรายงานการ จัดท้าทะเบียนประวัติ การจัดท้าบัญชีรายชื่อและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการเสนอขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ การส่งเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมส้าหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา การส่งเสริมการขอรับใบอนุญาต การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การด้าเนินการที่ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้นโดยจัดท้าโครงการรองรับครอบคลุม ขอบข่ายการบริหารงานบุคคล

3) การบริหารจัดการงานงบประมาณ โรงเรียนได้มีการด้าเนินงานด้านการบริหารงานงบประมาณตามขอบข่ายงาน โดยมีนาย ปราโมช วงษ์พานิช ข้าราชการครู วิทยฐานะช้านาญการพิเศษ เป็นหัวหน้างาน มีหน้าที่ด้าเนินงานตาม ขอบข่ายของงานดังนี้ การจัดท้าแผนงบประมาณ การจัดท้าแผนปฏิบัติการใช้เงิน การพิจารณาอนุมัติการใช้ จ่ายงบประมาณ การขอโอนและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ การ ตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้งบประมาณ การตรวจสอบติดตามและรายงานการใช้ผลผลิตจาก งบประมาณ การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา งานกองทุนเพื่อการศึกษา การจัดการทรัพยากร เพื่อการศึกษา วางแผนงานพัสดุ การก้าหนดรูปแบบรายการหรือคุณลักษณะของครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง การ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดท้าและจัดหาพัสดุ การจัดหาพัสดุ การควบคุมดูแลบ้ารุงรักษาและ จ้าหน่ายพัสดุ การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการ จ่ายเงิน การน้าเงินส่งคลัง การจัดท้าบัญชีการเงิน การจัดท้ารายงานทางการเงินและงบการเงิน การจัดท้าหรือ จัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียนและรายงาน


4) การบริหารจัดการงานทั่วไป โรงเรียนได้มีการด้าเนินงานด้านการบริหารจัดการงานทั่วไปตามขอบข่ายงาน โดยมี นายกาญจนะ ชูก้าน ข้าราชการครู วิทยฐานะช้านาญการพิเศษ เป็นหัวหน้างาน และมีการด้าเนินการตาม ขอบข่ายของงาน ดังนี้ การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสรสนเทศ การประสานงานและพัฒนาเครือข่าย การศึกษา การวางแผนการบริหารการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน การจัดระบบการบริหาร และพัฒนาองค์กร การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การด้าเนินงานธุรการ ดการดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การจัดท้าส้ามะโนนักเรียน การรับนักเรียน การเสนอขอ ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง ยุบรวมหรือเลิกสถานศึกษา การประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอก ระบบและตามอัธยาศัย การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การทัศนศึกษา งานกิจการนักเรียน การ ประชาสัมพันธ์งานการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา งานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น การ รายงานผลการปฏิบัติงาน การจัดระบบควบคุมภายในโรงเรียน แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน


8.1 ผลส้าเร็จเชิงปริมาณ 1. ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ 1๐๐ 2. ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๓. ผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๔. คณะครู บุคลากรและนักเรียน มีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ ๙๕ ๕. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อนละ ๙0

8.2 ผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ 1. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) จากส้านักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) 2. โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ O-NET อยู่ในกลุ่มสูง 10 อันดับแรกของส้านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 3. โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง 4. โรงเรียนที่มีผลการสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อันดับ 1 ของ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 5. ครูผู้สอนนางณภาภัช ภุมภารินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง OBEC AWARDS กลุ่ม สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ด้านวิชาการ ปี ๒๕๕๖และด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม ปี ๒๕๕๗ ของภาคกลางและภาคตะวันออก และรางวัลเหรียญเงิน OBEC AWARDS ระดับชาติ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ด้านวิชาการ ปี ๒๕๕๖ และด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม ปี ๒๕๕๗ 6. ครูผู้สอนนางสมหวัง เครื่องประดิษฐ์ ได้รับรางวัลคุรุสดุดี และรางวัลครูดีไม่มีอบายมุข 7. ครูผู้สอนนางสมหวัง เครื่องประดิษฐ์ นางวราลักษณ์ ถาวรทัต นางณภาภัช ภุมภารินทร์ นางมุก ดา มงคล นางจิ รพร มาบุ ญ นายกาญจนะ ชูก้ าน นายศรัน ย์ฤ ทธิ์ คงวั ฒน์ และ นางสาวภิรดา ทิพยดี ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดี 8. ครูผู้สอนนายกาญจนะ ชูก้าน ได้รับรางวัลครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีคะแนนผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เป็นอันดับ 1 ของ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 9. ครูผู้สอนนางสาวปาวรีย์ บุณยปรรณานนท์ และนายศรันย์ฤทธิ์ คงวัฒน์ ได้รับรางวัลเหรียญ ทองระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ครูผู้สอนกิจกรรมอาหารจานเดียวประเภทคาวหวาน


10. เด็กหญิงสุดารัตน์ ช้านาญกุล เด็กหญิงแก้ว - และเด็กหญิงวรภรณ์ หอมเย็น ได้รับ รางวัลเหรียญทองกิจกรรมอาหารจานเดียวประเภทคาว-หวาน งานศิลปหัตถกรรมระดับภาคกลางและภาค ตะวันออก 11. เด็กหญิงฟ้าใส ใจซื่อ เด็กหญิงพรนภา สระบัว และเด็กหญิงฉัตฑริกา แซ่อึ้ง ได้รับรางวัล เหรียญเงินโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง งานศิลปหัตถกรรมระดับภาคกลางและภาคตะวันออก

8.3 ปัจจัยความส้าเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการเรียนรู้จากการน้า BPไปใช้ 1. โรงเรียนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา ๒. บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ๓. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจอันดีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ๔. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ความไว้วางใจในการจัดการศึกษา ของโรงเรียน ๕.วัฒนธรรมในองค์กรภายในโรงเรียนมีความเข้มแข็งสามัคคีร่วมกันท้างานเป็นทีม ๖. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

การประชาสัมพันธ์ผลส้าเร็จของ Best Practice และการเผยแพร่ขยายผลในวงกว้าง 1. เผยแพร่ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาของส้านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2.เผยแพร่ ผลงานให้แ ก่ ค ณะครูใ นโรงเรี ยน ในสัง กัดและผู้ มาศึกษาดู ง านของโรงเรี ยนปี การศึกษา 25556 - 2558 ๓. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสาเร็จของ Best Practice งานวิชาการของสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔. เผยแพร่ในเว็ปไซต์ OBEC AWARDS ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต ๑

ลงชื่อ ………………………………….ผู้รายงาน (นางบุษกร ห้าสกุล) ผู้อ้านวยการโรงเรียนวัดท่าน้าตืน้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.