Best Practice นายอานนท์ เกียรติสาร รอง ผอ.ร.ร.บ้านห้วยน้ำขาว

Page 1

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

นายอานนท์ เกียรติสาร



ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice (BP) รูปแบบการจัดการองค์ความรู้(Knowledge Management) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แบบสรุปผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ Best Practice (BP) ๑. ชื่อ BP.รูปแบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๒. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP ๒.๑ นายอานนท์ เกียรติสาร รองผู้อ้านวยการโรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว สังกัดส้านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ ๓. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ผ่านการรับรองมาตรฐานจากการประเมินภายนอกรอบสองทั้งในระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเมื่ อเดือนมกราคม ๒๕๕๒ สมศ.ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าทิศทางการพัฒนา ในอนาคต ด้านครู ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้ใน ท้องถิ่น เปิดโอกาสในการสร้างงานใหม่จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้มากขึ้น ด้านการบริหาร ด้านวิชาการควร พัฒนาการใช้สื่อและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้มากขึ้น (ส้านักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา ,๒๕๕๒ ) ดังนั้นจึงจ้าเป็นต้องหารูปแบบหรือแนวทางในการบริหารจัดการที่ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและพัฒนาคุณผู้เรียนจึงก้าหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ ๑) เพื่อบริหารจัดการความรู้ความรู้จากภูมปิ ญ ั ญาในท้องถิ่นให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้

โดยน้าเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ ๒) เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค กระบวนการในการจัดการเรียนการสอนของครู โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นและน้าความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๔. ระยะเวลาในการพัฒนา BP ปีการศึกษา ๒๕๕๕ -๒๕๕๖ ๕. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพฐ./สถานศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๔๕มาตรา ๒๙ ให้ สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัด กระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อ ให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาในท้องถิ่น และวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและ ความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนาระหว่างชุมชน รวมทั้ง สอดคล้องกับนโยบาย จุดเน้น และยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สองนั้นให้ความส้าคัญกับการพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและ แหล่งการเรียนรู้ยุคใหม่ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาค

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๑


๖. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP การพัฒนา BPในครั้งนี้ ได้สังเคราะห์แนวคิดการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management, KM) ด้านการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น สรุปได้ ดังนี้ ๑. การด้าเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียนยึดหลักการและแนวคิด การจัดการองค์ความรู้ ด้าน การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นดังนี้ ๑.๑ แนวคิดด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส้าคัญ และการปฏิรูปทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพของ ดังสาระของการจัดกระบวนการเรียนรู้ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ก้าหนดไว้ในหมวด๔ ตามมาตรา ๒๔, ๒๕,๒๙ ผู้พัฒนาจึงได้วิเคราะห์และสรุปองค์ประกอบของการจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส้าคัญ ด้านการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาครั้งนี้ออกเป็น๔ ด้านได้แก่ด้านการจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ด้านการจัดสื่อและแหล่งการ เรียนรู้ด้านการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและด้านความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา ๑.๒ แนวคิดการปฏิรูปทั้งโรงเรียน เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ในการน้าหลักการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยมีขั้นตอนที่ส้าคัญ ๔ ขั้นตอนคือ ๑)การร่วมคิด และสร้างจิตอาสา๒)ร่วมวางแผนใช้แหล่งเรียนรู้และน้าภูมิปัญ ญาท้องถิ่น๓)การร่วมด้าเนินการ ๔)ร่วมประเมิน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ๑.๓ การใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องมือหลักในการด้าเนินการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการ ด้ า เนิ น งานที่ ส้ า คั ญ แบ่ ง กระบวนหลั ก เป็ น ๒ ขั้ น ตอนคื อ ขั้ น ตอนการพั ฒ นา และขั้ น ตอนการวิ จั ย มีการด้าเนินการต่อเนื่องกันไป

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๒


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ท้าให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายใน องค์กร ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) การบ่งชี้ความรู้ – เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เรา จ้าเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร ๒) การสร้างและแสวงหาความรู้ – เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, ก้าจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว ๓) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมส้าหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็น ระบบในอนาคต ๔) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ – เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ๕) การเข้าถึงความรู้ – เป็นการท้าให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ๖) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ – ท้าได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดท้าเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดท้าเป็นระบบ ทีมข้ามสาย งาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น ๗) การเรียนรู้ – ควรท้าให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก สร้างองค์ความรู้> น้า ความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๓


สารวจสภาพ ปัจจุบัน วิ สั ย ทั ศ น์ / เป้าหมาย/กลยุทธ์ ของโรงเรียน

ผลการประเมินของ สมศ.

แบบสารวจความ ต้ อ ง ก า ร พั ฒ น า ข อ ง บุคลากร

(KV) กาหนดแนวทางสร้าง/พัฒนาแหล่งเรียนรู้

การติดตาม ประเมินผล โดย เครื่องมือ AAR

(KM) การบริหารงาน 4 งาน งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร งานบริหารทั่วไป

Best Practice สื่อ – นวัตกรรม (KS) - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร - การแลกเรียนรู้กับภูมิปัญญาชาวบ้าน การนาไปใช้/ปรับปรุง/ต่อยอด/ยกระดับ (KA) การจัดเก็บอย่างเป็นระบบภายใน องค์กร (คลังความรู้)

การขยายผล - การจัดนิทรรศการ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน อ ง ค์ ก ร แ ล ะ น อ ก องค์กร

แผนภาพ รูปแบบการจัดการความรู้โรงเรียนบ้านห้วยน้าขาว โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๔


๗. กระบวนการพัฒนา BP ๗.๑ กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนบ้าน ห้วยน้​้าขาว และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ครู ๒๖ คน นักเรียนจ้านวน ๕๔๘ คน ผู้ปกครองนักเรียนจ้านวน ๕๔๘ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ้านวน ๑๕คน ผู้น้าชุมชน จ้านวน ๑๐ คน รวม ๑,๑๔๗คน ๗.๒ ขั้นตอนการพัฒนา BP รูปแบบการจัดการองค์ความรู้จากการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย ๑) ศึกษาสภาพภาพทั่วไป ส้ารวจ รวบรวม ข้อมูล แหล่งเรียนรู้ ๒) สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านห้วยน้​้า ขาว ๓) น้าเสนอ และทดลองใช้ รูปแบบการจัดการองค์ความรู้ ในการใช้แหล่งเรียนรู้และน้าภูมิ ปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาวมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๗.๓ การตรวจสอบคุณภาพ BP ในขั้นนี้ผู้พัฒนาด้าเนินการตามกระบวนการมีส่วนร่วม ดังนี้ ๑. ประเมินก่อนน้ารูปแบบการจัดการองค์ความรู้มาใช้กับแหล่งเรียนรู้และของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาวมา พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๒. ประชุมปฏิบัติการในการใช้รูปแบบการจัดการองค์ความรู้มาใช้กับแหล่งเรียนรู้และน้าภูมิปัญญา ท้องถิ่นของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาวมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ผู้ปกครองโรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว และผู้น้าชุมชน ๓. ปฏิบัติตามปฏิทินการด้าเนินงานที่วางไว้ ๔. ผู้บริหารและคณะท้างานนิเทศ เพื่อสอบถามติดตาม สอบถามปัญหา และให้การช่วยเหลือ ๕. ประเมิ น หลังเสร็ จสิ้ นการด้า เนิน การกั บ ครู นั กเรียน คณะกรรมการสถานศึก ษาขั้น พื้น ฐาน ผู้ปกครองโรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว และผู้น้าชุมชน ๖.จัดนิทรรศการจากความส้าเร็จในการจัดการองค์ความรู้มาใช้กับแหล่งเรียนรู้และน้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาวมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๗. มอบเกียรติบัตร รางวัล แก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนรวมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดการองค์ ความรู้มาใช้กับแหล่งเรียนรู้และน้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาวมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ๗.๔ แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ ในการน้ารูปแบบการจัดการองค์ความรู้มาใช้กับแหล่งเรียนรู้และน้าภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้านห้วย น้​้าขาวมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไปใช้ประโยชน์ มีแนวทาง ดังนี้ ๑. การร่วมคิดและสร้างจิตอาสาเป็นก้าวแรกที่มีความส้าคัญที่จะท้าให้งานประสบผลส้าเร็จ โดยจะต้อง สร้างความตระหนักให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความส้าคัญ ๒. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมในการด้าเนินงานตั้งแต่ขั้นแรกจนจบสิ้นกระบวนการ ๓. ส่งเสริมการท้างานเป็นทีม เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนและภาคีเครือข่ายในชุมชน

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๕


๔. นิเทศติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์ผลการด้าเนินงาน พร้อมมอบเกียรติบัตรยกย่องผู้ที่มี จิตอาสา เสียสละเพื่อโรงเรียนและชุมชน ๘.ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP ๘.๑ ผลสาเร็จเชิงปริมาณ ๑. นักเรียนและครูร้อยละ ๑๐๐ ได้มีการพัฒนาในด้านวิชาการ นักเรียนมีทักษะ ในการอ่าน การเขียน และด้านคิดค้านวณดีขึ้นมี วิจารณญาณในการแยกแยะกล้า พูดกล้า ถามกล้า ท้า น้า ความรู้ไ ปใช้แก้ ปัญหาใน ชีวิตประจ้าวันได้ มีความคิดสร้างสรรค์ น้าไปสร้างชิ้นงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง มีความเข้าใจในความแตกต่าง วัฒนธรรม และวิธีการด้าเนินงานที่หลากหลายลดลดปัญหาความขัดแย้งลง ให้ความร่วมมือและท้างานร่วมกับ ผู้อื่นได้ดี และภาวะผู้น้าที่สูงขึ้นมีความสามารถในการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ สามารถวิเคราะห์ แยกแยะประมวลความคิดตัดสินใจทางเลือกได้ถูกต้องมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีทักษะอาชีพขั้นพื้นฐานสามารถน้าไปประยุกต์ใช้กับ ชีวิตประจ้าวันได้ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมเปลี่ยนจากเดิมที่ครูเป็นผู้ให้ความรู้มาเป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการ ออกแบบการเรียนรู้ คือ ๑.๑. ออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาโดยมีเป้าประสงค์ คือ มุ่งให้นักเรียนสามารถใช้เหตุผลนักเรียนสามารถใช้การคิดกระบวนระบบ (systems thinking)นักเรียน สามารถใช้วิจารณญาณและตัดสินใจนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้ ๑.๒.ออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือโดยมีเป้าประสงค์ คือ ทักษะใน การสื่อสารอย่างชัดเจนทักษะในการร่วมมือกับผู้อื่น ๑.๓. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดยมีเป้าประสงค์ คือ ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ทักษะในการท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ ๒. นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้านห้วยน้​้าขาว ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ สามารถส่งต่อไปยังคนรุ่นต่อไปในอนาคต ๓. โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมของข้อมูลความรู้จากใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมู่บ้าน ห้วยน้​้าขาวมาใช้ในการด้าเนินงานเพื่อสร้างความเป็นเลิศของสถานศึกษาต่อไป ๔. ครูทุกคนมีแหล่งเรียนรู้ได้รับความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านห้วยน้​้าขาวตลอดจนน้าภูมิปัญญามา ถ่ายทอดสู่ผู้เรียน จากการประเมิ น ความพึ ง พอใจของบุ ค ลากรของโรงเรี ย นบ้ า นห้ ว ยน้​้ า ขาวและผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ประกอบด้วย ครู ๒๖ คน นักเรียน ป.๕ – ม.๓ จ้านวน ๑๐๐ คน ผู้ปกครองนักเรียน จ้านวน ๑๕๐ คน คณะกรรมการสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน จ้ า นวน ๑๕ คน ผู้ น้ า ชุ ม ชน ๑๐ คน รวม ๓๐๑ คน โดยใช้ แบบสอบถาม ภาพรวมมีความคิดเห็นว่า ในระดับมาก ( =๔.๔๐, S.D.=๐.๓๑) กระบวนการตรวจสอบซ้​้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง วิธีการตรวจสอบซ้​้า หลังจากด้าเนินงานพัฒนา BP จนประสบผลส้าเร็จแล้ว ปีการศึกษาต่อมาก็ยังคงด้าเนินการต่อเนื่อง โดยมีการประชุมสรุปบทเรียนที่ได้รับจาการด้าเนินการเพื่อน้าไปพัฒนาในปีต่อไป

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๖


ผลการตรวจสอบซ้​้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP ผลการประเมินพบว่า ๑. ผลการประเมินการน้ารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ มาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จากแบบสอบถามในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ๒. ผลจากการสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้น้าชุมชน อยู่ในระดับดีมาก การประชาสัมพันธ์ผลส้าเร็จ BP และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง ได้น้าผลส้าเร็จดังกล่าวไปประชาสัมพันธ์ และ เผยแพร่ ดังนี้ ๑. ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีของชุมชน และเขตพื้นที่ฯ ๒. โรงเรียนได้น้า BP เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มาจนถึงปัจจุบัน ๓. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ๘.๒ ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ ๑.โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาวได้รับรางวัล ระดับเหรียญเงิน ในงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ด้าเนินโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนระดับชาติประจ้าปี ๒๕๕๖ ส้านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส้านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒. โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาวได้รับ รางวัลที่ ๑ ในการส่งเสริมการสอนจริยธรรมดีเด่นระดับ มัธยมศึกษาตามโครงการพอเพียงแห่งชีวิตประจ้าปี ๒๕๕๔ ๓. โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าชาวได้รับรางวัลชนะเลิศโรงเรียนต้นแบบระดับเขตพื้นที่การศึกษา โครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิต เพื่อโครงการอาหารกลางวัน มหกรรมอาหารกลางวัน “น้องอิ่มท้อง สมองแจ่มใส” ประจ้าปี ๒๕๕๖

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๗


ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านห้วยน้าขาว

ประชุมวางแผนการด้าเนิน และการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว

จัดอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตลอดจนมีความสวยงามคงทนและปลอดภัย

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๘


จัดอาคารสถานที่ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตลอดจนมีความสวยงามคงทนและปลอดภัย

การใช้สื่อเทคโนโลยีควบคู่ไปกับแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๙


กิจกรรมความร่วมมือกับชุมชนและทางศาสนา

พัฒนาที่ดินจังหวัดและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี

หน่วยงานทหารร่วมกันด้าเนินงานเกี่ยวกับระเบียบวินัยของนักเรียน

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๑๐


การนาเสนอผลงานต่อสาธารณะชน

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๑๑


ผลสาเร็จ

โรงเรียนบ้านห้วยน้​้าขาว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต ๑

หน้า ๑๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.