Best Practice นายจำเนียร ศรีเหรา ช่างไม้ 4 ร.ร.บ้านท่ามะนาว

Page 1

Best Practice ๑. ชื่อผลงาน BP ห้องสมุดพลังแห่งศรัทธา ๒. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP ๒.๑ ชื่อผู้พัฒนา BP

นายจาเนียร ศรีเหรา

๒.๒ โรงเรียน

บ้านท่ามะนาว

เครือข่าย ๒.๓ โทรศัพท์

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังด้ง – ช่องสะเดา 0861657284

e-mail ……….-………..

๓. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP โรงเรียนมีห้องสมุดหลังใหม่ที่เหมาะสม ทันสมัย น่าใช้ ได้มาตรฐาน ชื่อ “ห้องสมุดพลังแห่งศรัทธา” ๔. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเริ่มต้นการพัฒนา และระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา BP ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา เดือนเมษายน ๒๕๕๕ จนถึงปัจจุบัน ๕. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป. สพม. สพฐ. สถานศึกษา เชื่อมโยงกับเป้าหมาย และ จุดเน้น ดังนี้ - สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๘. สร้าง - นโยบาย ข้อ ๘. สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทางาน เร่งรัดการกระจายอานาจและความรับผิดชอบ ปรับปรุงระบบของโรงเรียน ให้เป็นแบบร่วมคิดร่วมทาการมีส่วนร่วม และการประสานงาน สามารถใช้ เครือข่ายการพัฒนาการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพกลุ่ม บุคคล องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรสังคมอื่นยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากร ทางการศึกษา - เป้าประสงค์ ที่ 3 ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีทักษะที่เหมาะสมและมี วัฒนธรรมการทางานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ - โรงเรียนบ้านท่ามะนาว ดังนี้ กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ๖. แนวคิด หลักการ ทฤษฏีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ในการจัดทา BP ในครั้งนี้ ยึดแนวคิด หลักการ ทฤษฎี - คุณธรรมสาหรับการครองงาน คือ หลักอิทธิบาท ๔ - คุณธรรมสาหรับยึดเหนี่ยวจิตใจคน คือ สังคหวัตถุ ๔ - หลักการมีส่วนร่วม


๗. กระบวนการพัฒนา BP ๗.๑ กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและจานวนกลุ่มเป้าหมาย) โรงเรียนบ้านท่ามะนาว ครู ๘ คน นักเรียน ๘๕ คน ผู้ปกครองและชุมชน ๑๐๐ คน ๗.๒ ขั้นตอนการพัฒนา BP (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา)

ขั้นการวางแผน ขั้นดาเนินการตามแผน

ขั้นวิเคราะห์ การดาเนินงาน

ขั้นตรวจสอบผลการดาเนินงาน

ขั้นเผยแพร่ ผลงาน ขั้นวางแผน ได้ดาเนินการโดยเข้าร่วมประชุมกับคณะครู และกรรมการสถานศึกษาเพื่อวางแผนการ ทางาน โดยกาหนดระยะเวลา การใช้งบประมาณ ติดต่อหาช่างมาช่วยงานทั้งโดยจิตอาสาและจ้างวานตามแต่ ลักษณะของงาน กาหนดแบบของห้องสมุดเป็นขนาด 6 x 12 มีมุขยื่นตรงกลางด้านหน้าขนาด 3.5 x 4 เมตร และดาเนินการเป็นระยะตตามงบประมาณที่มีอยู่ ดังนี้ ระยะที่ 1 ให้ดาเนินการเทคานตั้งเสา ระยะที่ 2 ขึ้นโครงหลังคาเหล็ก มุงกระเบื้อง และก่อผนังโดยรอบสูงประมาณ 0.80 เมตร ระยะที่ 3 ลงลูกรังและปรับพื้นให้ได้ตามความสูงที่ต้องการ อัดให้แน่น ระยะที่ 4 เทพื้น และ ติดตั้งวงกบ บานประตู และหน้าต่าง ระยะที่ 5 ก่อผนังโดยรอบและฉาบ ระยะที่ 6 ปูพื้นกระเบื้อง ตีฝ้าเพดานทั้งด้านในและด้านนอก ระยะที่ 7 ทาสีทั้งภายในและภายนอก


ระยะที่ 8 ติดบานประตูและหน้าต่าง ระยะที่ 9 เดินไฟฟ้าภายในอาคาร และเชื่อมต่อกับหม้อแปลง ระยะที่ 10 ติดเหล็กดัด บานประตูและหน้าต่าง ผ้าม่าน ขั้นดาเนินการตามแผน เริ่มลงมือปฏิบัติตามแผน โดยข้าพเจ้าได้ติดต่อนักการภารโรงจากโรงเรียนต่างต ที่อยู่ใกล้เคียงและเป็นผู้มีฝีมือที่ดีมาช่วยงานโดยขอจ่ายค่าแรงแบบประหยัด ได้มา 1 คน คือ นายวิรัตน์ และคณะ มาช่วยเทคานตั้งเสา ขึ้นโครงหลังคาเหล็กและมุงกระเบื้อง ใช้เวลาในการดาเนินงานประมาณ 2 เดือน แล้ว ข้าพเจ้าก่อผนังโดยรอบสูงประมาณ 1 เมตร โดยมี ร.ต.บุญธรรม บาตรโพธิ์ สามีของผู้อานวยการ มีจิตอาสามา ช่วยทาด้วย หลังจากนั้นก็ติดต่อขอหินคลุกจากโรงโม่ 10 คันรถมาถมและอัดพื้นให้แน่น โดยขอรถคุณรัชนี รุ่งกรุด ในการขนส่ง ทั้งสองรายการ มีค่าใช้จ่ายเพียงค่าคนงานขึ้นหินและค่าน้ามันรถเท่านั้น ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มากพอสมควร แล้วต้องพักการก่อสร้างไว้ระยะหนึ่งเพราะงบประมาณหมด เมื่อมีงบประมาณแล้วจึงเริ่มดาเนินการต่อไปเรื่อยโดยมีข้าพเจ้า, ร.ต.บุญธรรม บาตรโพธิ์ ทางานร่วมกัน โดยไม่มีการจ่ายค่าแรง เพื่อให้งานสามารถดาเนินไปได้ทันตามเวลามีการจ้างเพิ่มเติมในบางส่วน คือ ร.ต.ศุภชัย ภักดีแก้ว และ ช่างไข่ จนแล้วเสร็จ ขั้นวิเคราะห์การดาเนินงาน มีการวิเคราะห์การทางานอยู่ตลอดเวลาเพื่อแก้ปัญหาที่มักจะเกิดอยู่เป็น ประจา ทั้งโดยผู้บริหารและคณะทางานด้วยกัน ขั้นตรวจสอบผลการดาเนินงาน มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา ขั้นเผยแพร่ผลงาน มีการเผยแพร่โดยการชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมการโรงเรียน และผู้บริหารนา ผลงานลงเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต เฟสต์บุ๊ค ๗.๓ การตรวจสอบคุณภาพ BP (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) - สังเกต - สัมภาษณ์ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน - ภาพถ่าย เอกสารหลักฐานต่างตที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนา ๗.๔ แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ - ใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สาหรับครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน - ส่งเสริมให้ครู นักเรียน และชุมชนมีนิสัยรักการอ่าน ๘. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP ) ๘.๑ ผลสาเร็จเชิงปริมาณ - โรงเรียนมีห้องสมุดใหม่ ๑ หลัง ชื่อ “ห้องสมุดพลังแห่งศรัทธา” ขนาด กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ๘.๒ ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ


- ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีความรัก สามัคคีและเสียสละเพื่อส่วนรวม - โรงเรียนมีห้องสมุดใหม่ที่เหมาะสม ทันสมัย น่าใช้ ได้มาตรฐาน ๘.๓ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP (ระบุค่าร้อยละของความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องและวิธีการได้มา เกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ) - ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการสร้างและพัฒนาห้องสมุด ร้อยละ ๑๐๐ โดยการประชุม สรุปผลการพัฒนา และการสอบถามความพึงพอใจ - เสียงสะท้อนกลับจาก ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนที่แสดงถึงความชื่นชมต่อการพัฒนา และความสาเร็จ ๘.๔ ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP มีดังต่อไปนี้ - กล้าคิด กล้าทา กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบ - การประสานสัมพันธ์ที่ดีแสดงถึงความตั้งใจ ความจริงใจต่อการพัฒนา - ความรัก สามัคคีในหมู่คณะ ความเสียสละเพื่อส่วนรวม - การใช้ความคิดและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ การดาเนินงาน ปัญหา แนวทางแก้ไข ทุกขั้นตอน โดย กระบวนการมีส่วนร่วม ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ มีดังนี้ - หลักธรรมในการครองใจคน และ ครองงาน - การทางานเป็นทีม ความรัก สามัคคีในหมู่คณะ - ความอดทน อดกลั้น เสียสละ ๙. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง ๙.๑ วิธีการตรวจสอบซ้า BP - การสังเกต - เปรียบเทียบคุณภาพและการบริการ กับมาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี ๙.๒ ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP - ต้องพัฒนาให้ได้ตามมาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี ในระดับเหรียญทอง ในส่วนของอาคารสถานที่ ๑๐. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง (ระบุวันเวลา และรูปแบบ/ วิธีการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผล) - รายงานความก้าวหน้าในที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนตามควรแก่โอกาส


- ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการพัฒนาผ่านทาง อินเตอร์เนต (facebook) - การจัดงานฉลอง “ห้องสมุดพลังแห่งศรัทธา”

ภาพถ่าย














Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.