ฺBest Practice น.ส.จีเรียง บุญสม รร.บ้านทุ่งมะขามเฒ่า

Page 1

การจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยแบบคละชั้น ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปฐมวัย ด้านบริหารจัดการ ปีการศึกษา 2557

ผู้พัฒนา Best Practice

นางสาวจีเรียง บุญสม ครู ชานาญการ โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


1

แบบฟอร์มผลงานนวัตกรรม Best Practice 1. ชื่อผลงาน BP

การจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยแบบคละชั้นด้วยกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปฐมวัย ด้าน บริหารจัดการ 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP นางสาวจีเรียง บุญสม 2.2 โรงเรียน บ้านทุ่งมะขามเฒ่า เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับ ปฐมวัย (เครือข่ายฯ กลอนโด) 2.3 โทรศัพท์ 081 - 8807741 e-mail a.tungmakam@gmail.com 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 1. เพื่อพัฒนาวิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยในชั้นเรียนแบบคละอายุ 2. เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้ านสติปัญญา 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้กับเพื่อน ครูปฐมวัยและผู้สนใจ 4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเริ่มต้นการพัฒนา และระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา BP) เริ่มพัฒนาเดือนเมษายน 2556 ใช้จริงปีการศึกษา 2556 จานวน 1 ปีการศึกษา และพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อมาใช้ในปีการศึกษา 2557 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพม./สพฐ./สถานศึกษา 5.1.1 ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์เป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริม ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ 5.1.2 ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์เป้าหมาย/จุดเน้นของ สพฐ. คือ จุดเน้นที่ 2 เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient) จุดเน้นที่ 5 นักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ทุกคนได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศ (Excel to Excellence) กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ (Teacher Enhancement)


2

6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP 6.1 การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวถึง การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น ไว้ดังนี้ ความหมาย การบริ หารจัด การชั้ นเรียนแบบคละชั้น เป็น การดาเนินการจัดชั้ นเรียนที่นานั กเรียนต่างชั้ น ต่างกลุ่มอายุและต่างความสามารถมาเรียนรู้พร้อมกันในห้องเดียวโดยมีครูคนเดียวจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ แนวคิดหลักการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น/คละอายุ การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีนักเรียนต่างชั้นต่างวัย ต่างความสามารถมา เรียนรู้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้จึงต้องอาศัยแนวคิดหลักการที่สาคัญ ดังนี้ 1. เสริ ม สร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ ใ นการเรี ย นรู้ ร่ ว มกั น การมี นั ก เรี ย นแต่ ละชั้ น จ านวนน้ อ ยท าให้ บรรยากาศในห้องเรียนดูเหงา ๆ ไม่สนุกสนาน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มในบางโอกาสไม่สามารถทาได้ 2. การจัดการเรียนรู้ที่เต็มตามศักยภาพ ห้องเรียนแบบคละชั้นเป็นห้องเรียนแบบธรรมชาติที่ สอดคล้องกับวิถีการดารงชีวิตปกติ และเด็กทุกคนในโรงเรียนก็จะมีครูสอนดูแลได้ตลอดเวลา 3. จัดกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการและระดับความสามารถในการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน 4. จัดประสบการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้จากผู้อื่น การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่นานักเรียนหลายชั้นมาเรียนรู้พร้อมกัน เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรคานึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ 1. การจัดครูเข้าสอน การจัดครูเข้ าสอนสาหรับ ชั้นเรีย นแบบคละชั้น ควรค านึง ถึง ข้ อมู ล พื้นฐาน ภูมิหลังของครูและเหตุผลในการเลือกครูเข้าสอน โดยพิจารณาว่าจะจัดครูเข้าสอนอย่างไร มี เหตุผลใด จึงจัดเช่นนั้น มีข้อดี / ข้อเสีย ของการเลือกครูเข้าสอนนักเรียนแต่ละห้องอย่างไร โดย พิจารณาถึงความรู้ ทักษะและสมรรถนะ ตลอดจนเจตคติของครูในการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 2. การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น ชั้นเรียนแบบคละชั้นเป็นห้องเรียนที่มีเด็กต่างชั้น ต่างกลุ่มย่อย ต่างกลุ่มอายุ ความสามารถต่างกัน แต่นามาจัดการเรียนรู้พร้อมกัน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ หลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมแบบรวมชั้ น การทางานกลุ่มย่อย การทางานแบบคู่ การทางาน รายบุคคล 3. การจัดบรรยากาศห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น การจัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ควรคานึงถึงองค์ประกอบสาคัญ 2 ประการ คือ การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน และการจัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีรายละเอียด แต่ละองค์ประกอบ ดังนี้


3

3.1 การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เป็นการจัดแบ่งพื้นที่ของห้องเรียนสาหรับจัด กิจกรรม โดยคานึงถึงลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งที่เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการเรียนรู้รายบุคคล ดังนั้น ห้องเรียนควรมีมุมหรือศูนย์การจัดกิจกรรม 3.2 ลักษณะของชั้นเรียน เป็นการจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแบบคละชั้น ให้เอื้อต่อการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะพื้นที่ กว้างขวางพอสมควร และมีที่ว่างสาหรับครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้อย่าง ต่อเนื่องและหลากหลาย 3.3 จัดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สาหรับนักเรียนที่มีหลายชั้นมาเรียนรวมในห้องเรียนเดียวกัน ควรคานึงถึง ดังนี้ 3.3.1 นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ 3.3.2 สร้างแรงจูงใจเมื่อเด็กเกิดความสนใจ และมีความพึงพอใจในการเรียน 3.3.3 จัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างของนักเรียน ด้านความพร้อม ความถนัด ความสนใจ ความถนัด ความเชื่อ 3.3.4 ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ 3.3.5 จัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของนักเรียน 3.3.6 ห้องเรียนสะอาด จัดเก็บสื่อ วัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนรู้เป็นหมวดหมู่ สะดวก ต่อการนาไปใช้ 3.3.7 นักเรียนมีความรู้สึกปลอดภัยและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 3.3.8 มีป้ายนิเทศ หรือที่จัดแสดงผลงานของนักเรียนที่เหมาะสม 3.4 การจัดตารางเรียน การจั ด ตารางเรี ย นในชั้ น เรี ย นแบบคละชั้ น สามารถจั ด ให้ ส อดคล้ อ งกั บโครงสร้ า ง หลักสูตรของสถานศึกษาหรือจุดเน้นของสถานศึกษาและสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยเน้นทักษะสาคัญที่เป็นทักษะร่วมในการแสวงหาความรู้ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทางานร่วมกับ ผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น การจัดชั้นเรียนแบบคละชั้น คละอายุ ในระดับปฐมวัย การจัดการชั้นเรียนเป็นกลยุทธ์สาคัญในการพัฒนาเด็ก ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดการชั้นเรียนแบบคละชั้น คละอายุเป็นการจัดการชั้นเรียนอีกรูปแบบหนึ่งทีเ่ ป็นการแก้ปัญหาครูไม่ ครบชั้น การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนปฐมวัยที่มีเด็กคละอายุ (4 – 6 ปี) หลากหลายอายุ มารวมเป็น ห้องเดียวกัน ซึ่งตามปกติแล้วโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นระดับชั้น ในห้องเรียนแบบคละอายุนี้ จะทาให้เด็กเล็ก ได้เรียนรู้ จากเด็กโต และเด็กโตก็จะเรียนรู้จากการสอน เด็กเล็ก ซึ่งเป็นหลักของการอยู่ร่วมกันแบบ ครอบครัว จุดหมาย ในการจัดการเรียนการสอนแบบคละอายุ การใช้ประโยชน์จากความแตกต่างระหว่าง กันภายในกลุ่ม ทาให้เกิดประโยชน์ ในด้านประสบการณ์ทางสังคม ความรู้ และความสามารถของเด็ก ซึ่ง เป็นการเตรียม ให้เด็กที่มีอายุมากกว่าได้มีโอกาสช่วยเหลือ แบ่งปันประสบการณ์ และการเป็นตัวอย่างที่ดี กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า และเด็กที่มีอายุเท่ากัน


4

6.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Theory of Cognitive Development: Piaget) เพี ย เจต์ (Piaget) ได้ ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พั ฒ นาการทางด้ า นความคิ ด ของเด็ ก ว่ า มี ขั้ น ตอนหรื อ กระบวนการอย่างไร ทฤษฎี ของเพียเจต์ตั้ ง อยู่ บนรากฐานของทั้ง องค์ป ระกอบที่ เป็นพั นธุก รรม และ สิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไป ตามวัยต่ าง ๆ เป็น ลาดั บขั้น พั ฒนาการเป็น สิ่ง ที่เป็ นไปตามธรรมชาติ ไม่ ควรที่จะเร่ง เด็ กให้ ข้ามจาก พัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทาให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริม พัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกาลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสาคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้น เด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลาดับระยะพัฒนาทาง ชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม แนวคิดของเพียเจต์ (Jean Piaget) •

เด็กที่ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความรู้ และ ความคิด เด็กเรียนรู้โลกภายนอกรอบตัว และ พัฒนาความคิดไปตามลาดับขั้นตอน • ความฉลาด คือ ความสามารถในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม (Biological adaptation) • มนุษย์เกิดมามีความพร้อมที่จะปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ลาดับขั้นทางสติปัญญา 1. ขัน้ ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การ มอง การดู ในวัยนี้ เด็ กแสดงออกทางด้า นร่ างกายให้ เห็ นว่ ามี สติ ปัญ ญาด้ วยการกระท า เด็ กสามารถ แก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคาพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่ง แวดล้อมด้วย ตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจ ของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้ มักจะทาอะไรซ้าบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะ มีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุ ดมุ่ง หมายและสามารถแก้ปัญ หาโดยการเปลี่ย นวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น


5

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้น ย่อยอีก 2 ขั้น คือ 2.1 ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล(Preconceptual Thought) เป็นขั้น พัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่ง กันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยัง มี ขอบเขตจากัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็น เหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความ เข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่าง เหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็ก เจริญรวดเร็วมาก 2.2 ขั้นพัฒนาการใกล้เกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล(Intuitive Thought) เป็นขั้น พัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยก ประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจานวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนาความรู้ในสิ่งหนึ่ง ไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนาเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน เสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก 3. ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม(Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้าง กฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จัก การแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็ก เข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจานวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้าหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการ คิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจาของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือ จัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี 4. ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผลเป็นนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุด ยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผล นอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สาคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มี ความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิด พิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม


6

การนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรคานึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กดังต่อไปนี้ ผู้เรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบ เด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา เด็กแต่ ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ - ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์ กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง - ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อ เด็กได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม  หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ - เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้ มากที่สุด - เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ - เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ - เน้นกิจกรรมการสารวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน - ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง  การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดาเนินการดังต่อไปนี้ - ถามคาถามมากกว่าการให้คาตอบ - ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น - ควรให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ - เมื่อเด็กให้เหตุผลผิด ควรถามคาถามหรือจัดประสบการณ์ให้ใหม่ เพื่อเด็กจะได้แก้ไข ข้อผิดพลาดด้วยตนเอง - ยอมรับความจริงที่ว่า เด็กแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน - ผู้สอนต้องเข้าใจว่าเด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป - ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจามากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)  ในขั้นประเมินผล ควรดาเนินการสอนต่อไปนี้ - พยายามให้เด็กแสดงเหตุผลในการตอนคาถามนั้น ๆ - ต้องช่วยเหลือเด็กทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ากว่าเพื่อนร่วมชั้น 


7

6.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอรุ์ (Bruner) บรูเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่อง จากเพียเจต์ บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการ ค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สาคัญ ๆ ของ บรูเนอร์ มีดังนี้ (Bruner,1963:1-54) แนวคิดพื้นฐาน • การเรียนรู้เกิดเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสารวจ สิ่งแวดล้อม • การรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือก หรือ สิ่งรับรู้ขึ้นกับความใส่ใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้นๆ • การเรียนรู้เกิดจากการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิด พฤติกรรมสภาพสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบขึ้น ขั้นพัฒนาการของ Bruner 1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทา (Enactive Stage) : แรกเกิด- 3 ปี - เด็กลงมือกระทาเอง และ เรียนรู้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม - เด็กบรรยายและอธิบายสิ่งต่างๆจากการที่เด็กลงมือทาเอง เช่น จับต้องด้วยมือ ใช้ ประสาทสัมผัสเรียนรู้สิ่งแวดล้อม 2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) : อายุ 3-8 ปี - เด็กสร้างจินตนาการหรือมโนภาพได้ - เรียนรู้โดยใช้รูปภาพแทนของจริงได้ โดยไม่จาเป็นต้องสัมผัสของจริง - เด็กตัดสินจากสิ่งที่รับรู้ ไม่ใช่เหตุผล 3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) : อายุ 8 ปีขึ้นไป - เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือความคิดรวบยอดที่ซับซ้อน - สามารถสร้างสมมติฐานและพิสูจน์ว่าสมมติฐานถูกหรือผิดได้ การนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน • ครูต้องเข้าใจว่า กระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ • เน้นความสาคัญของผู้เรียน ครูมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ให้โอกาสเด็ก มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม • การสอนเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือ ใกล้ตัวก่อน ไปหาประสบการณ์ไกลตัว  กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสาหรับผู้เรียน


8 

 

การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จาเป็นที่ต้องทาก่อน การสอน การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบ ยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้น พัฒนาการของผู้เรียน ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจาเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจาเป็น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ดี (http://www.baanjomyut.com/library_2/intellectual_development_theory/02

6.4 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM) อิทธิพงษ์ โลกุตรพล และ ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว (2557 หน้า 1 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สะเต็มศึกษา คือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณกาการวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยเน้นการนา ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการ ดาเนินชีวิตและการทางาน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสี่วิชากับชีวิตจริง การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจาทฤษฏี แต่เป็น การสร้างความเข้าเข้าทฤษฎีเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคาถาม แก้ปัญหา และการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ พร้อมทั้งสามารถนาข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือ บูรณาการกับชีวิตประจาวันได้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีลักษณะสาคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 2) ช่วยผู้เรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาทั้งสี่วิชากับชีวิตประจาวันและการประกอบ อาชีพ 3) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิด การแก้ปัญหา การให้ความร่วมมือ การสื่อสาร เป็นต้น 4) ท้าทายความคิดของผู้เรียน 5) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาทั้ง 4 วิชา


9

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) สาหรับเด็กปฐมวัย สสวท. (2551) ได้กล่าวถึงการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้ การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคาถามที่สงสัยเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ เด็กเป็นเหมือนนักวิทยาศาสตร์ตัว น้อยๆ ที่มีความสงสัยใคร่รู้มีคาถามเกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว และเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวผ่าน ประสบการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา การกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กด้วยกระบวนการสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นการตอบสนองตอธรรมชาติของการเรียนรู้ ของเด็ก กิจกรรมที่เด็กในระดับปฐมวัยควรจะได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ ่ (2) การทาการสารวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกต สารวจ สืบค้น หรือ ทดลอง และบันทึกผลการสารวจตรวจสอบด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัย (3) การตอบคาถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ ผลจากการสารวจตรวจสอบมาสร้างคาอธิบายที่มีเหตุผล (4) การนาเสนอผลการสารวจตรวจสอบให้ผู้อื่นด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้สาหรับเด็กปฐมวัย สามารถสรุปขั้นตอนได้ดังแผนภาพ

ตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์

สารวจตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล

นาเสนอผลการ สารวจตรวจสอบ

ตอบคาถาม อ้างอิงข้อมูล สร้างคาอธิบายอย่างมีเหตุผล

7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและจานวนกลุ่มเป้าหมาย) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2556 จานวน 30 คน จาแนกเป็น นักเรียนชั้น อนุบาล 1 จานวน 20 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 2 จานวน 10 คน


10

7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา) การจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนแบบคละอายุด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตาม แนวทางสะเต็มศึกษา ได้ใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนา ดังนี้ Plan

วางแผนการดาเนินงาน เขียนโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาและพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ ครูปฐมวัยและครูพี่เลี้ยงประชุมวางแผนการการจัด ประสบการณ์ในชั้นเรียนแบบคละอายุโดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้บูรณาการปฐมวัย ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Do

ปฏิบตั ิตามแผนที่วางไว้ เขียนกาหนดการจัดประสบการณ์ ปีการศึกษา 2556 เขียนแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เตรียมสื่ออุปกรณ์ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

Check

ประเมินผล ประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานของ สพฐ. และ สมศ. ใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง นักเรียน และครู ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รายงานผลการดาเนินโครงการ

ข้ อมูล ย้ อนกลับ

ตรวจสอบ /ปรับปรุง Action

ตรวจสอบผลกับเป้าหมายที่วางไว้ วิเคราะห์หาจุดที่ทาให้ เกิดผลสาเร็จ/ไม่สาเร็จ นาผลไปปรับปรุงวางแผนการจัดทาโครงการปีต่อไป/เผยแพร่งาน


11

7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) 7.3.1.ประเมินผลด้วยการใช้แบบสอบถามครูที่จัดประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยแบบคละอายุ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา พบว่า ครูร้อยละ 100 พึงพอใจในการจัด ประสบการณ์ 7.3.2. ประเมินผลพัฒนาการด้านสติปัญญาของ พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีพัฒนาการด้าน สติปัญญาในระดับดี ร้อยละ 95.75 และเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดี ร้อย ละ 91.50 และผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยในมาตรฐานที่ 4 เด็กมี พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยใช้แบบประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ผลที่ได้พบว่า ระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่ 4 ด้านสติปัญญาได้คะแนน 4.83 ซึ่งอยู่ในระดับดีเยี่ยม 7.3.3 เผยแพร่ความรู้การจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยแบบคละอายุ ด้วยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ ให้กับเพื่อนครูปฐมวัยและผู้สนใจ โดย สสวท. ร่วมกับทรู คอเปอร์เรชั่น ได้ถ่ายทาการ จัดการเรียนการสอนแบบคละอายุ ของครูและนักเรียนปฐมวัยโรงเรียนบ้านทุ่ง มะขามเฒ่ าในรายการ “เพื่อนครู” เมื่อวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2556 และเผยแพร่ ทางช่องทรูปลูกปัญญา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556 และนา link มาเผยแพร่ใน facebook พบว่า คณะอาจารย์จาก สสวท. เพื่อนครูปฐมวัยและ ผู้สนใจเข้าร่วมชมได้เขียนข้อความแสดงความชื่นชมครูและนักเรียน ในการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้อย่างดียิ่ง และได้รับเชิญจาก สสวท. ให้ร่วมนาเสนอผลงาน ในการจัดประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” ในวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ 7.4.1. ใช้เป็นแนวทางในการการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนแบบคละอายุ 7.4.2 พัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและมีความพร้อมในการเรียนระดับประถมศึกษา 7.4.3 เด็กสามารถรู้ เข้าใจสาระสาคัญในเนื้อหาสาระที่เรียน และสามารถสืบเสาะหาความรู้ใหม่ใน เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้อย่างไม่จากัด 8. ผลสาเร็จทีเ่ กิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ 8.1.1 ครูร้อยละ 100 สามารถจัดประสบการณ์ให้กบั เด็กปฐมวัยในชั้นเรียนแบบคละอายุ 8.1.2 เด็กปฐมวัยปี การศึกษา 2556 มีผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สูงขึ้น โดย เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดี ร้อยละ 95.75 และเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มี พัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดี ร้อยละ 91.50 และผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ปฐมวัยในมาตรฐานที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้คะแนน 4.83 ซึ่งอยู่ในระดับดีเยี่ยม


12

8.1.3 ครูปฐมวัยและผู้สนใจเข้าร่วมชมวีดิทัศน์ รายการเพื่อนครูทาง http://www.trueplookpanya.com/new/tv_program_detail/127/1423/เพื่อนครู-:-กาญจนบุรี/ จานวน 827 และ view และ https://www.youtube.com/watch?v=XVIdjUa0x8s จานวน 321 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557) 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ 8.2.1 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม มีการวางแผน การทางานร่วมกันและ มีผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้น และมีผลการประเมินคุณภาพภายใน มาตรฐานที่ 4 ใน ระดับดีเยี่ยม 8.2.2 ครูปฐมวัยและผู้สนใจเข้าร่วมชมวีดิทัศน์ ได้แสดงความคิดเห็น ผ่านทาง facebook โดย ชื่นชมครูและนักเรียนเป็นอย่างดียิ่งlv 8.2.3 ครูผู้พัฒนาผลงานได้รับรางวัลเหรียญทอง ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับชาติและได้รับเชิญให้ร่วมนาเสนอผลงาน ในการจัดประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” ของสสวท. ในวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP (ระบุค่าร้อยละของความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องและ วิธีการได้มาเกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ) 8.3.1 ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับการจัดการเรียนการสอน ระดับปฐมวัยของโรงเรียน (ข้อมูลจากจานวนนักเรียน และแบบสอบถามผู้ปกครอง) 8.3.2 ครูปฐมวัยร้อยละ 100 มีความภาคภูมิใจต่อผลการปฏิบัติงาน (แบบสอบถาม) 8.3.3 ผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 100 มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานของครู โดยกล่าว ชื่นชมครูปฐมวัยในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ (การสังเกต/แบบสอบถาม) 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 8.4.1. ผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้นาในการเปลี่ยนแปลง เห็นความสาคัญในการ จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้เข้ารับการ ประชุม อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน ให้ขวัญกาลังใจ ให้ข้อเสนอแนะเป็นที่ปรึกษา และกากับ ติดตามดูแลสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างทั่วถึง 8.4.2. คณะครูทุกท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็ก ร่วมวางแผนให้แนวคิด ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมสู่ความสาเร็จ 8.4.3. ผู้ปกครอง เห็นความสาคัญในการจัดกิจกรรม สนับสนุนสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ช่วยดูแล สนใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเสมอ รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนอย่างสม่าเสมอ 8.4. 4. เด็กปฐมวัยมีความกระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม รู้จักการ ทางานร่วมกัน อย่างเป็นตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ด้วยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้


13

9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP 9.1.1 รายงานผลการปฏิบัติงานให้ ผู้อานวยการสถานศึกษาทราบ 9.1.2 นาเสนอต่อคณะผู้ประเมินภายนอก (สมศ.) 9.1.3 ส่งผลงานเข้าประกวดผลงาน BP 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP 9.2.1 ผู้อานวยการสถานศึกษา พึงพอใจในพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สูงขึ้นของเด็กปฐมวัย 9.2.2 ผู้ประเมินจากสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ชมเชยการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และมีผลรับรองมาตรฐานการศึกษารอบ 3 9.2.3 ผลงาน BP ที่ส่งเข้าประกวดรางวัล Obec Awards ประจาปีการศึกษา 2556 ได้รับ รางวัลชนะเลิศในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ชนะเลิศในระดับภาค และระดับเหรียญทองในระดับชาติ 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผล ในวงกว้าง 10.1 ขยายผลการจัดกิจกรรม โดยนากิจกรรมการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนปฐมวัยด้วย กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ต่อโรงเรียนต่าง ๆ ที่จัดการศึกษาในระดับ ปฐมวัยในกลุ่มเครือข่ายในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรทางการศึกษาเครือข่ายกลอนโด 10.2. เผยแพร่ทางสื่อสาธารณะโดย สสวท. ร่วมกับทรูคอเปอร์เรชั่นได้มาบันทึกการจัด ประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเผยแพร่ทางช่องทรูปลูกปัญญา ในวันที่ 6 ตุลาคาม 2556 ในรายการเพื่อน ครู และสามารถชมได้ ทาง http://www.trueplookpanya.com/new/tv_program_detail/127/1423/เพื่อ นครู -:กาญจนบุรี/ 10.3. เป็นทีมวิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้แก่คณะครู ในสพป.กาญจนบุรี เขต 1 ในเรื่องของ การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของเด็กปฐมวัย วันที่ 19 กรกฎาคม 56 10.4 ได้รับเชิญให้ร่วมนาเสนอผลงาน ในงานประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” จัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร 10.5 ผลงานได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ใน “รวมผลงานการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บรูณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับปฐมวัย ตามแนวทางสะเต็มศึกษา” ของสถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผู้ส่งผลงาน

(นางสาวจีเรียง บุญสม) ครู โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า


ภาคผนวก


ภาพประกอบการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรี ยนรู้บูรณาการปฐมวัยตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM)ด้ วย กระบวนการสืบเสาะหาความรู้


คณะอาจารย์จากสสวท. และทรูคอเปอร์ เรชัน่ บันทึกวีดีทศั น์การจัดประสบการณ์ ในห้ องเรี ยนคละอายุ ด้ วยกิจกรรมการเรี ยนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ร่วมกับคณะอาจารย์จากสสวท. และทรูคอเปอร์เรชั่น พิจารณาการถ่ายทา ตัดต่อการบันทึกวีดีทัศน์ เพื่อออกอากาศรายการ “เพื่อนครู” ทางช่องทรูปลูกปัญญาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556


นาเสนอผลงาน ในการจัดประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” จัดโดย สสวท. ในวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร


เป็ นทีมวิทยากรอบรมให้ ความรู้เรื่ องการจัดกิจกรรมด้ วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ให้ แก่คณะครูปฐมวัย สพป.กาญจนบุรี เขต 1


ผู้พัฒนา Best Practice

นางสาวจีเรียง บุญสม ครู ชานาญการ โรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่า สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.