BEST PRACTICE นางวิชญาณี บุญทวี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก สพป.กาญจนบุรี เขต ๑

Page 1

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม “การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสูค่ ณ ุ ภาพนักเรียน” ***************************************************************************** ๑. ชื่อผลงาน BP “การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน” ด้าน ( ) วิชาการ (/) บริหารจัดการศึกษา ( ) นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพือ่ การเรียนการสอน ๒. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP ๒.๑ ชื่อผู้พัฒนา BP นางวิชญาณี บุญทวี ผู้อานวยการโรงเรียน ระดับ โรงเรียนขนาดกลาง ๒.๒ โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” สานักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต ๑ ๒.๓ โทรศัพท์ ๐๘๑-๙๔๒๐๐๑๐. E-mail ttj๙๔๒๐๐๑๐@hotmail.com ๓. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP ๓.๑ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ๓.๒ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ๓.๓ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้มสี ่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งนา นางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ๔. ระยะเวลาในการพัฒนา BP - (ปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘) ๕. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพฐ./สถานศึกษา จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกาหนดกลยุทธ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ จานวน ๕ กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ กลยุ ทธ์ที่ ๑ พั ฒ นาคุณ ภาพและมาตรฐานการศึก ษาทุ ก ระดับ ตามหลัก สูตร และส่ง เสริ ม ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและห่างไกลยาเสพติด กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนา เต็มตามศักยภาพ และลดอัตราการออกกลางคันให้เป็นศูนย์ โดยระบบดูแบช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนได้อย่างมีคุณภาพ กลยุ ท ธ์ที่ ๕ พั ฒ นาประสิท ธิภาพการบริห ารจัดการตามแนวทางการกระจายอานาจทาง การศึกษา หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา


๒ จุดเน้นด้านการบริหารจัดการของสพฐ. ๑. สถานศึกษาและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วม และมี ความรับผิดชอบต่อผลการดาเนินงาน (Participation and Accountability) ๑.๑ สถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก และที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนต่ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ได้รับการแก้ไข แทรกแซง ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตาม เพื่อยกระดับ คุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทาหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและเป็นผู้ ประสานงานหลัก เพื่อให้สถานศึกษา ทาแผนพัฒนาเป็นรายโรงร่วมกับผู้ปกครองชุมชน และ องค์กร อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๑.๒ สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบต่อผลการดาเนินงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม ๑.๓ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล อย่างเข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อผลการดาเนินงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและสังคม ๑.๔ องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาดาเนินการ และติดตามประเมินผลการ ดาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์สูงสุด คือ คุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อนักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ๒. สถานศึก ษาและส านัก งานเขตพื้นที่ ก ารศึก ษา จั ดการศึก ษาอย่างมี คุ ณภาพตามระดั บ มาตรฐาน (Management with Quality and Standards) ๒.๑ สถานศึกษา จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียบเคียงกับ ประเทศผู้นาด้านคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน ๒.๒ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้มี การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตาม ระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น เทียงเคียงกับประเทศผู้นา ด้านคุณภาพการศึกษา ในภูมิภาคอาเซียน โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”มีจุดเน้นการดาเนินการที่สอดคล้องเชื่อมโยง กับสานักงานเขตพื้นที่ และสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ วิสัยทัศน์ โรงเรียนบ้านทุ่ง นานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัม ภ์”มุ่งพัฒนานักเรียนให้มี ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนาหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โดยมี มีชุม ชนร่วมประสาน บริห ารจัดการศึก ษาอย่างมี คุณภาพ นิยามวิสัยทัศน์ หมายถึง นักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนาความรู้ มาใช้พัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม และปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและคุณลักษณะ อันพึง ประสงค์ ของโรงเรียนและดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิ จ พอเพียง ครูและบุคลากร ทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มศักยภาพโดย ชุมชนประสาน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ส่งผลให้โรงเรียนเกิด ความเข้มแข็ง


๓ พันธกิจ ๑. พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องและบรรลุมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีคุณภาพ ๒. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณธรรม น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๓. จัดการศึกษาให้เด็กวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่อนุบาลจนจบ การศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพทั่วถึง ๔. ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน มีมาตรฐานวิชาชีพและสามารถจัดการเรียนรู้ตาม หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕. ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย ๑. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณธรรม และดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๓. นัก เรียนทุ กคนได้รับ โอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเที ยม ทั่วถึง และตรงตาม ศักยภาพ ๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ ๕. โรงเรียนมีความเข้มแข็ง ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา - โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม นิย ามเอกลักษณ์ หมายถึง การปลูก ฝัง ให้นัก เรียนประพฤติป ฏิบัติ คุณงามความดี ตาม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นให้ผู้เรียนประพฤติดี ทั้งทางกาย วาจา ใจมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา “มารยาทดี มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ” นิยามของอัตลักษณ์ มารยาทดี หมายถึง การแสดงออกที่ดีงามมีการประพฤติปฏิบัติให้สามารถอยู่ร่วมกัน อย่างมี ความสุข เช่น เคารพรุ่นพี่เป็นน้องที่ ดี แสดงความเคารพต่อครู แสดงความเคารพผู้ปกครอง/ ผู้ใหญ่ และกล่าวคาว่าสวัสดี ขอโทษ ขอบคุณ ได้เหมาะสม มีความรับผิดชอบ หมายถึง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ช่วยเหลือสังคม ไม่ ทาให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความเสียหาย เช่น ช่วยเหลืองานบ้าน ทาเวรอย่างสม่าเสมอ ทา การบ้านทุกครั้ง และทางานที่ได้รับมอบหมายได้สาเร็จ


๔ มีจิตสาธารณะ หมายถึง การร่วมแรงร่วมใจร่วมมือในการทาประโยชน์เพื่อสังคมและ ส่วนรวม เช่น ช่วยเหลืองานครู/ผู้ปกครอง แบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น ดูแลรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม และร่วมกิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ๑. ด้านผู้เรียน ดาเนินการพัฒนานักเรียนมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้น พื้นฐาน และนาความรู้มาใช้พัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม ควบคู่เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ที่พึงประสงค์ การมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ดารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มี ความยั่งยืน มีก ารขยายผลส าเร็จ สู่ครอบครัวและชุม ชน และเน้นการนาความรู้ที่ ได้จ ากระบบ โรงเรียนไปใช้ในชีวิตประจาวันของผู้เรียน ๒. ด้านครูผู้สอน เน้นให้มีการพัฒนาตนเองอย่างสม่าเสมอ ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ของทักษะในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมา ใช้อย่างจริงจัง เป็นระบบให้เต็ม ศักยภาพ และดารงชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มี ความยั่งยืน ๓. สถานศึกษา พัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนให้เข้ามามีบทบาท และมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการในรูปคณะกรรมการบริ หาร มีบทบาทในการกาหนดทิศทางการพัฒนาและ บริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพอย่างเต็มศักยภาพ กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา กลยุ ทธ์ที่ ๑ พั ฒ นาคุณภาพและมาตรฐานการศึก ษาทุ ก ระดับ ตามหลัก สูตรและส่ง เสริม ความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ ๒ ปลูกฝังคุณธรรม ความสานึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง ครอบคลุม ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนา เต็มตามศักยภาพ กลยุทธ์ที่ ๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้สามารถจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีคุณภาพ กลยุทธ์ที่ ๕ พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สรุปสภาพปัญหา จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจากการวิเคราะห์ปัญหาและ ความต้องการในการพัฒนาโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สภาพปัญหา สถานศึกษาส่งเสริม และพัฒนาการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จัดการเรียนการสอนโดยยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้บริบท และแหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา ควรมีการ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม บริเวณที่เป็นอันตรายต่อผู้เรียนให้เหมาะสม นอกจากนี้ควรจัดหาสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอกับจานวนผู้เรียน รวมถึงการจัดหาหนังสือเพิ่มเติมในห้องสมุด เพื่อ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้


๕ จุดเด่น - ชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษาด้านการใช้แรงงานพัฒนาสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อ ต่อการเรียนรู้ มีป่าธรรมชาติ เชิงเขา ไร่อ้อย สนามกอล์ฟ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่ า ประสาทเมืองสิงห์ และ สานักสงฆ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี - ผู้เรียนทั้งระดับปฐมวัยและประถมศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ มี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ และบ าเพ็ญ ประโยชน์ต่อส่วนรวม มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มี สุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา และมีทักษะในการทางาน สามารถทางาน ร่วมกับผู้อื่นได้ - ครูทั้งระดับปฐมวัยและประถมศึกษา มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสาคัญ มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ - ผู้บ ริห ารมุ่ ง มั่ นพั ฒ นาโรงเรียนทั้ ง ด้ านวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ วัส ดุ อุป กรณ์ และ นักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ควบคู่กัน และมีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือ กับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา จุดที่ควรพัฒนา - ผู้เ รียนส่ว นหนึ่ง ควรได้ รับ การพัฒ นาด้านความมี วินัยในตนเอง ความสามารในการคิ ด สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รวมทั้งการพัฒนา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ด้านทั ก ษะในการแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ในตนเองการพัฒ นางานให้มี ประสิทธิภาพ ด้านสุขนิสัยที่ดี และมีสุนทรียภาพทางดนตรี - ครูควรได้รับ การส่งเสริม ให้เ ข้ารับ การอบรมพัฒ นาความรู้ความสามารถอย่า งต่อเนื่อง โดยเฉพาะทักษะด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ - ผู้ บ ริห าร การจัดกิ จ กรรมส่ ง เสริม และตอบสนองความถนั ดทางวิช าการและความคิ ด สร้างสรรค์ของผู้เรียน ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพฐ./สถานศึกษา จุดเน้นของ สพป./สพฐ./สถานศึกษา เป้าเหมาย BP - พั ฒ นาประสิท ธิ ภาพการบริ ห ารจั ดการตาม - รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม แนวทางการกระจายอ านาจทางการศึ ก ษา โดยใช้ โ รงเรี ย นเป็ น ฐานมุ่ ง สู่ คุ ณ ภาพนั ก เรี ย น หลักธรรมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมจาก ทุก โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ภาคส่วนและความร่ว มมื อ กั บ องค์ก รปกครอง ส่วนท้ อ งถิ่น เพื่ อ ส่ง เสริม และสนับ สนุนการจัด การศึกษา


๖ ๖. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ๖.๑. การจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แนวคิ ด เรื่ อ งการบริ ห ารโดยใช้ โ รงเรี ย นเป็น ฐานนั้ น ได้ รั บ อิ ท ธิ พลมาจากกระแส การ เปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอุตสาหกรรมที่ประสบความสาเร็จจาก หลักการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการทา ให้องค์การมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพ สร้างกาไรและสร้างความพึง พอใจแก่ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องยิ่งขึ้นความสาเร็จดังกล่าวนี้ทาให้ ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นนั้น ต้องปรับกระบวนการ และวิธีการที่เคยเน้นแต่เรื่องการเรียนการ สอนปรับไปสู่การบริหารโดยการกระจายอานาจไปยัง โรงเรียนที่เป็นหน่วยปฏิบัติและให้มีส่ วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา อย่างแท้จริง หลักการ หลักการสาคัญในการบริหารแบบ (School-Based Management) โดยทั่วไป ได้แก่ ๑) หลักการกระจายอานาจ (Decentralization) ซึ่งเป็นการกระจายอานาจการจัดการ ศึกษา จากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุด โดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็น หน่วยสาคัญใน การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาเด็ก ๒) หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) เปิดโอกาส ให้ ผู้เกี่ ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่ว นร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้ งครู ผู้ป กครองตัวแทนศิษย์เ ก่ าและตั วแทนนัก เรียนการที่ บุคคลมี ส่วนร่วมในการจัดการศึก ษา จะเกิ ด ความรู้สึกเป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการจัดการศึกษามากขึ้น ๓) หลักการคืนอานาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) ในอดีตการ จัดการศึก ษาจะทาหลากหลายทั้ งวัดและองค์ก รในท้องถิ่นเป็นผู้ดาเนินการ ต่อมามี การร่วมการจัด การศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐาน ทางการศึกษา แต่เมื่อประชากร เพิ่มขึ้น ความเจริญต่าง ๆ ก้าวไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษา โดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจากัดเกิดความ ล่าช้าและไม่สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน อย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอานาจให้ท้องถิ่น และประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง ๔) หลั กการบริห ารตนเอง (Self-managing) ในระบบการศึก ษาทั่ วไป มั ก จะก าหนด ให้ โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มี อานาจอย่างแท้จ ริง ส าหรับ การ บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นไม่ได้ป ฏิเ สธเรื่องการท างานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของ ส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทางานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทาได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทาหน้าที่ เพียงกาหนดนโยบายและเป้าหมายแล้วปล่อยให้โรงเรียนมีระบบ การบริหารด้วยตนเอง โดยให้โรงเรียน มีอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดาเนินงาน ซึ่งอาจดาเนินการได้หลากหลายด้วยวิธีการที่ แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ ของโรงเรียนผลที่ได้น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมที่ ทุกอย่างกาหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ๕) หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ส่วนกลางมีหน้าที่กาหนด นโยบาย และควบคุม มาตรฐาน มีอ งค์กรอิ สระทาหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการบริห ารและ การจัดการศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามก าหนดและมาตรฐานเป็นไปตามกาหนด และเป็นไปตาม นโยบายของชาติ จากหลักการดังกล่าวทาให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จะ เป็นการบริหารงานที่ทาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษา ที่ผ่านมา


๗ ๖.๒. การบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค ๕ ขั้นตอน และ ๕ ร่วม คือ การร่วมคิด การร่วม วางแผน การร่วมปฏิบัติ การร่วมประเมินผล ทฤษฎีที่นามาใช้ ในการพัฒนา BP ได้แ ก่ - ทฤษฎี y (Theory y) ของแมคเกรเกอร์ (Mc Gregor ๑๙๖๐) ที่มีแนวคิดว่าผู้บริหารที่ มีป ระสิทธิภาพ จะต้อ งพยายามสนับ สนุนและพัฒนาการทางานของผู้ร่วมงาน ให้เ ข้ามามีส่วนร่วม ตัดสินใจในส่วนที่มีผลกับตัวเขา เพิ่มโอกาสด้านความพึงพอใจทางสังคม เพิ่มความรับผิดชอบ เพื่อให้ เห็นว่าเขาเป็นบุคคลคนส าคัญ และเชื่อมั่ นในความสามารถ และเพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจ กรรมของ องค์การ - ทฤษฎี ล าดั บ ขั้ น ความต้ อ งการ (Need Hirachy Theory) และทฤษฎี ส องปั จ จั ย (Motivation Hygien Theory) ของอับบราฮั ม มาสโลว์ (Abraham Maslow) และเฟรเดอริ ค เฮิรซ์เบอร์ก (Frederick Herzberg) ซึ่งกล่าวไว้สอดคล้องกันว่า งานขั้นแรกของผู้บริหาร คือ การทา ให้ อ งค์ ก ารท าหน้ า ที่ ใ ห้ บ รรลุ เ ป้า หมายที่ ก าหนดไว้ ซึ่ ง การที่ จ ะท าเช่ น นั้ น ได้ ผู้ บ ริ ห ารจะต้ อ งใช้ ความสามารถทุ ก วิถีท างที่ จ ะท าให้ ผู้ร่วมงานได้ป ฏิบั ติง านอย่ างมี ป ระสิท ธิภาพ ก่ อให้เ กิ ดผลดีต่ อ สถานศึกษา วิธีหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถนามาใช้ได้อย่างดี คือ การจูงใจบุคลากรในโรงเรียนทางาน นั่นคื อ ผู้บริหารต้องรู้และเข้าใจลาดับขั้นความต้องการของผู้ร่วมงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานให้บรรลุผลสาเร็จ ๗. กระบวนการพัฒนา BP ๗.๑. กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ - นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”จานวน ๑๔๗ คน - คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน ๑๑ คน - คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน จานวน ๒๕๐ คน ๗.๒. ขั้นตอนการพัฒนา BP การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียน บ้านทุ่ ง นานางหรอก “เพ็ ญ ชาติอุ ป ถั ม ภ์ ” ได้ด าเนิน การในรูป คณะกรรมการ ซึ ่ง ประกอบด้ว ย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นาชุมชน ผู้ปกครอง คณะครูโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญ ชาติอุปถัมภ์” และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งการดาเนินงานออกเป็น ๕ ขั้นตอน และ ๕ ร่วม ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ ร่วมคิด: ศึกษาบริบท รับรู้สภาพปัญหาของโรงเรียน ขั้นตอนที่ ๒ ร่วมวางแผน: วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนา ขั้นตอนที่ ๓ ร่วมปฏิบัติ: พิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนที่ ๔ ร่วมประเมินผล: ประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน ขั้นตอนที่ ๕ ร่วมชื่นชม: ขยายผลและเผยแพร่ผลงาน


รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียน

ศึกษาบริบท รับรู้สภาพปัญหา ของโรงเรียน

ร่วมคิด วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนา

ร่วมวางแผน พิจารณาและเลือกทางเลือกในการ แก้ปัญหา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ร่วมปฏิบัติ ประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน

ร่วมประเมินผล ขยายผล และเผยแพร่ผลงาน

ร่วมชื่นชม

คุณภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”


๙ ๗.๓. การตรวจสอบคุณภาพ BP - มีการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียน เป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” โดยผู้มีประสบการณ์ ด้านการบริห ารที่ ประสบความสาเร็จ เป็นผู้ท รงคุณวุฒิ จานวน ๓ ท่าน ให้ข้อเสนอแนะ และความ คิดเห็น - ผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา แบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติ อุปถัมภ์” เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับสถานศึกษา มีกระบวนการที่ครบถ้วน ใช้เทคนิควิธีการที่ดี สามารถนาไปใช้ได้ ๗.๔. แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ ๗.๔.๑ สิ่งที่ทาและดาเนินการ โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”จัดทาแนวทางการดาเนินงาน และนาไปใช้ ตามกระบวนการ ๕ ขั้นตอน และ เทคนิค ๕ ร่วม ตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ๗.๔.๒ วิธีการปฏิบัติ โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”ได้ดาเนินการตามวิธีการและกระบวนการ ดังนี้ ๑) การร่วมคิด ได้แก่ ศึกษาบริบท เพื่อรับรู้สภาพปัญหาของโรงเรียน โดยการรับข้อมูล รับ ฟังข้อคิดเห็นจากครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยการสอบถาม ให้โอกาสในการแสดงความเห็น ถึงปัญหาและความต้องการ ๒) การร่วมวางแผน นาข้อมูลที่ไดรับจากทุกฝ่ายมาวิเคราะห์สภาพปัญหาที่พบ ทั้งจากอดีต ปัจจุบัน และทิศทางในอนาคต เพื่อนาไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหา ๓) การร่วมปฏิบัติ โดยพิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมไปสู่การตัดสินใจในการ ปฏิบัติงานของโรงเรียน โดยใช้กระบวนการ PDCA นาข้อมูลที่ได้รับเข้าประชุมชี้แจง ระดม ความคิด เน้นให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมกันในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นของสถานศึกษา โดยการจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจาปี เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุ ตาม เป้าหมายที่โรงเรียนกาหนด จัดท ารายงานโครงการ ประชุมสรุปผลการดาเนินงาน กาหนดแนวทาง พัฒนาในปีการศึกษาต่อไป และรายงานผลการดาเนินงานให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ ๔) การร่วมประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน และประเมินกระบวนการ ปฏิบัติงานอย่างสม่าเสมอ มีการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และประเมินความพึง พอใจของนักเรียนและผู้เกี่ ยวข้อ ง เช่น ผู้ป กครอง คณะกรรมการสถานศึก ษา ชุม ชน เพื่อนาผลไป วิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้ตรงกับความต้องการ และเพื่อพัฒนางานต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ๕) ร่วมชื่ นชม ขยายผล และเผยแพร่ผลงาน ความภาคภูมิ ในในความส าเร็จ ทุก ด้าน ให้ ผู้ป กครอง ชุม ชน คณะกรรมการสถานศึก ษา และต่อโรงเรียนต่าง ๆ ที่ จัดการศึก ษาขั้นพื้นฐานใน เครือ ข่ายและนอกเครือ ข่าย รวมทั้ ง รายงานผลการพัฒ นาการจัดการศึ ก ษาเขตพื้ นที่ ใ ห้รับ ทราบ ความสาเร็จ เมื่อสิ้นปีการศึกษา


๑๐

๘. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) ๘.๑. ผลสาเร็จเชิงปริมาณ (๑) นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ทุกคนมีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒) ครู ร้อ ยละ ๑๐๐ มี ความรู้ ความสามารถ และทัก ษะในการจัดการเรียนรู้และพัฒ นา ตนเองอย่างต่อเนื่อง (๓) โรงเรียนให้การบริการทางการศึกษาทีม่ ีประสิทธิภาพ (๔) โรงเรียนได้รับการยอมรับ และรับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กร ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือในการพัฒนานักเรียนและโรงเรียน ๘.๒. ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ - นักเรียนทุก คนได้รับการเอาใจใส่ และรับการช่วยเหลือในทุ กเรื่องที่เกี่ ยวข้อง ได้รับ การ บริการทางการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ ได้รับการส่งเสริมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม นาการดารงชีวิต ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษา กาหนด - บุคลากรทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน และมีความสามัคคี ให้ ความร่วมมือกั บสถานศึกษาในการพัฒนานักเรียน พัฒนาตนเองและพั ฒ นางานอยู่เสมอและมีความ ภาคภูมิใจในความสาเร็จของสถานศึกษาร่วมกัน - คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และร่วมดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนอย่างทั่วถึง - ชุมชนมีความเข้าใจในแนวทางการบริหารสถานศึก ษา สนับสนุนและพึงพอใจในผลการ บริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนและชื่นชมความสาเร็จของสถานศึกษา ผลสาเร็จเชิงประจักษ์ในเรื่องคุณภาพทางการศึกษาที่ชัดเจน - จากผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการประเมิน NT ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เปรียบเทียบกับปีการศึกษา ๒๕๕๖ ด้าน ความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านการคานวณ ความสามารถด้านเหตุผล ค่าเฉลี่ยความสามารถ ๓ ด้าน

๒๕๕๖ ๔๒.๕๐ ๒๗.๙๒ ๓๓.๕๔ ๓๔.๖๕

๒๕๕๗ ๓๙.๑๗ ๒๘.๒๓ ๓๗.๖๖ ๓๕.๐๑

หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา ๒๕๕๗ สูงกว่า ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา ๒๕๕๖

เพิ่มขึ้น/ลดลง -๓.๓๓ ๐.๓๑ ๔.๑๒ ๐.๓๖


๑๑

วิชา

ระดับโรงเรียน ระดับสังกัด ระดับประเทศ ภาษาไทย ๓๘.๔๓ ๔๓.๒๗ ๔๔.๘๘ สังคม ๔๖.๘๖ ๔๘.๑๖ ๕๐.๖๗ อังกฤษ ๓๑.๖๑ ๓๐.๕๗ ๓๖.๐๒ คณิตศาสตร์ ๒๘.๒๑ ๓๕.๘๕ ๓๘.๐๖ วิทยาศาสตร์ ๔๒.๖๑ ๔๐.๑๐ ๔๒.๑๓ สุขศึกษา ๕๐.๘๖ ๕๐.๘๓ ๕๒.๒๐ ศิลปะ ๔๘.๕๗ ๔๓.๗๒ ๔๕.๖๑ การงาน ๕๕.๗๑ ๕๕.๑๑ ๕๖.๓๒ - จากผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการประเมิน O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย ระดับสังกัด และระดับประเทศ หมายเหตุ : - ค่าเฉลีย่ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ รายวิชากลุ่มสาระอังกฤษ, วิทยาศาสตร์, สุขศึกษา, ศิลปะ และการงานฯ สูงกว่า ระดับเขตพื้นที่ ฯ - มี ๒ กลุ่มสาระ คือ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระศิลปะ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ระดับประเทศ - จากผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการประเมิน O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๗ เปรียบเทียบกับ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ คะแนน O-NET ชั้น ป.๖ เฉลี่ย ๘ กลุ่มสาระ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบ ๒ ปี (ระหว่างปีการศึกษาท้ายสุดกับปีทผี่ ่านมา) ที่การพัฒนาเพิม่ ขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา วิชา ภาษาไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปะ การงาน สรุปค่าเฉลี่ย ๘ กลุ่มสาระ

ปี ๒๕๕๖ ๓๖.๕๐ ๒๙.๕๘ ๓๓.๒๕ ๓๓.๕๐ ๕๓.๐๐ ๓๗.๐๘ ๔๖.๓๓ ๓๐.๒๑ ๓๗.๔๓

ปี ๒๕๕๗ ๓๘.๔๓ ๒๘.๒๑ ๔๒.๖๑ ๔๖.๘๖ ๕๐.๘๖ ๔๘.๕๗ ๕๕.๗๑ ๓๑.๖๑ ๔๒.๘๖

เพิ่มขึ้น/ลดลง ๑.๙๓ -๑.๓๗ ๙.๓๖ ๑๓.๓๖ -๒.๑๔ ๑๑.๔๙ ๙.๓๘ ๑.๔๐ ๕.๔๓

หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา ๒๕๕๗ สูงกว่า ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา ๒๕๕๖

เพิ่มขึ้น

๕.๔๓


๑๒

- พิจารณาจากเกียรติบัตรรางวัลด้านคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษา บริหาร ครู นักเรียน ประเภท

ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ

หน่วยงานที่มอบรางวัล

สถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอปุ ถัมภ์”

๑. โรงเรียนพระราชทาน ปี ๒๕๕๓ ๒. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง ปี ๒๕๕๗ ๓. ผ่านการรับรองมาตรฐาน การศึกษา รอบสาม (พ.ศ.๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ๔. การประเมินโครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ระดับดี ๕. สถานศึกษาแบบอย่างการจัด กระบวนการเรียนการสอนและ การบริหารจัดการตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “สถานศึกษาพอเพียง ๒๕๕๖” ๖. โรงเรียนรางวัลเสมา ป.ป.ส. ระดับดีเด่น ณ ๑๔ พ.ค.๒๕๕๗

กระทรวงศึกษาธิการ

ผู้บริหาร(ระบุชื่อ) นางวิชญาณี บุญทวี

๑. รางวัลผู้บริหารสถานศึกษา ยอดเยี่ยม ด้านวิชาการ ๒. รางวัลผู้บริหารสถานศึกษา ยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการ ๓. ประกาศเกียรติคุณ ผูบ้ ริหาร โรงเรียนทีม่ ีผลคะแนนค่าเฉลี่ยสูง กว่าระดับประเทศ ทั้ง ๘ วิชา การ สอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปี ๒๕๕๖ ๔. รางวัลหนึ่งแสนครูดี ๕. รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBC AWARDS) ผู้อานวยการสถานศึกษา ยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษา ขนาดเล็ก ด้านบริหารจัดการ

กรมอนามัย สมศ สพป.กจ ๑ สพฐ.

กระทรวงศึกษาธิการ

สพป.กจ ๑

สพฐ.


๑๓ ประเภท

ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ เหรียญทอง ระดับภาคกลางและ ภาคตะวันออก ปีการศึกษา ๒๕๕๗

นางณัฎฐิมา แคนสังข์ นางลออ เดชสมบูรณ์รัตน์ นางไปรยา เย็นสรง นายพิษณุ สุวรรณฉิม นางจาเนียน ชมสกุณี นางนวพรรณ มาชวญานนท์

๑. รางวัลเหรียญเงินครูผู้สอน ยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการ ระดับภาค ปี ๒๕๕๗ ๒. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันการสร้างสรรค์ภาพด้วย การปะติด ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๗ ๓. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุง่ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๗ ๔. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันจักสานไม้ไผ่ ระดับเหรียญ ทอง ปี ๒๕๕๗ ๕. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันศิลป์สร้างสรรค์ ระดับ เหรียญทอง ปี ๒๕๕๘ ๖. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุง่ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๘ ๗. รางวัลครูผฝู้ ึกสอนนักเรียน แข่งขันพานพุ่มสักการะ ระดับ เหรียญทอง ปี ๒๕๕๘ ๘. รางวัลโล่เกียรติคุณ ครูดีไม่มี อบายมุข ปี ๒๕๕๘

หน่วยงานที่มอบรางวัล

สพฐ. สพป.กจ ๑ กระทรวงศึกษาธิการ


๑๔ ประเภท นักเรียน

ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ

หน่วยงานที่มอบรางวัล

- ระดับเหรียญทอง ๑. รางวัลการแข่งขันการ สร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๗ ๓. รางวัลการแข่งขันขับร้องเพลง ไทยลูกทุง่ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๗ ๔. รางวัลการแข่งขันจักสานไม้ไผ่ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๗ ๕. รางวัลการแข่งขันศิลป์ สร้างสรรค์ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๘ ๖. รางวัลการแข่งขันขับร้องเพลง ไทยลูกทุง่ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๘ ๗. รางวัลการแข่งขันพานพุ่ม สักการะ ระดับเหรียญทอง ปี ๒๕๕๘

สพป.กจ ๑

๘.๓. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP - ประเมิ นผลและตรวจสอบการดาเนินงานและการบริห ารโรงเรียนบ้านทุ่ ง นานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” จากการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”โดยการใช้แบบประเมินความพึง พอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการศึกษา ได้แก่นัก เรียน ครู ผู้ป กครอง คณะกรรมการ สถานศึกษา พบว่า มีความพึงพอใจในการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ๘.๔. ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ ความสาเร็จของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างมีคุณภาพ เกิด จากปัจจัย ดังนี้ ๘.๔.๑ สถานศึกษามีการกาหนดเป้าหมายที่ชัดเจน พร้อมทั้งบุคลากรมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ๘.๔.๒ มีข้อมูลในการพัฒนาที่ได้มาจากการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนด้วยวิธี SWOT โดยการ มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ๘.๔.๓ นาหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) โดยมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการกาหนดทิศทางสู่เป้าหมายการบริหารโรงเรียนให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ


๑๕ ๘.๔.๔ ผู้บริหาร ต้องกล้าคิดนอกกรอบ เป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลง กล้าทา กล้าตัดสินใจ กล้า เปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นา มีความมุ่งมั่นในการทางาน มีเครือข่ายในการทางาน มีการทางานเป็นทีม และ มีคุณธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๘.๔.๕ ครูและบุคลากรในโรงเรียน มีการทางานแบบมีส่วนร่วม โดยร่วมคิด ร่วมประสาน ร่วม ทาจนทาให้งานสาเร็จบรรลุ วัตถุประสงค์และมีคุณภาพ ๘.๔.๖ ชุมชน ประกอบด้วยผู้ปกครอง ผู้นาชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้การยอมรับ มีความศรัทธาและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียน ๘.๔.๗ บรรยากาศภายในโรงเรียนที่เอือ้ ต่อความสาเร็จ จากการใช้ Best Practice “รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียน เป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”” ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรม ใหม่ขององค์กร ที่ ทุก ฝ่ายรักและผูกพันต่อโรงเรียนให้ความร่วมมือมุ่ งมั่น ทุ่ม เทในการปฏิบัติงาน มี บรรยากาศที่ดี รักสามัคคีกัน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนให้ความร่วมมือ ยอมรับ และศรัทธาต่อโรงเรียน นาบุตรหลานเข้าเรียนส่งผลให้โรงเรียนมีจานวนนักเรียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทาให้ผู้บริหารโรงเรียนเกิด ความรู้ ความเข้ าใจเกี่ยวกับ รูป แบบการบริหาร แนวคิดทฤษฏี หลัก การบริหารกระบวนการบริหาร สถานศึกษาเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๙. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง ๙.๑. วิธีการตรวจสอบซ้า BP - ดาเนินงานการบริหารโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”ด้วยรูปแบบการ บริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนา นาง หรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การบริหารจัดการศึกษา ได้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา แล้วนาผลการประเมิน มาใช้ปรับปรุงพัฒนางานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในปีการศึกษาต่อไป ๙.๒. ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP - มี ก ารพั ฒ นากระบวนการจัด การศึก ษาแบบมี ส่วนร่วม โดยใช้โ รงเรียนเป็นฐานอย่างมี คุณภาพมุ่งสู่คุณภาพโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”อย่างต่อเนื่อง และมีการรายงาน ผลให้ต้นสังกัดและสาธารณะชนทราบต่อไป ๑๐. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ๑๐.๑ ขยายผล โดยนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างมี คุณภาพมุ่งสู่คุณภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ต่อโรงเรียนต่าง ๆ ที่จัด การศึกษาขั้นพื้นฐานในเครือข่ายและนอกเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านเก่า ๑๐.๒ ทางกลุม่ OBEC AWARDS ช่องการจัดการความรู้ กลุม่ บริหารงานบุคคล สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ ๑๐.๓ เอกสารอิ เ ลคทรอนิ ค ส์ ทางFacebook และเว็ บ ไซต์ ส านั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ ๑๐.๔ Facebookโรงเรียนบ้านทุ่ง นานางหรอก “เพ็ญ ชาติอุปถัม ภ์” สารสัมพันธ์ และเว็บ ไซต์ โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”


๑๖

(นางวิชญาณี บุญทวี) ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”


๑๗

ภาพประกอบที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมประเมินผล ผู้บริหารประชุมร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมประเมินผล กับคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ผู้นาชุมชน และหน่วยงานภายนอก


๑๘

ภาพประกอบที่เกี่ยวข้อง ร่วมปฏิบัติและพัฒนา


๑๙

ภาพประกอบที่เกี่ยวข้อง ร่วมปฏิบัติและพัฒนา รับการสนับสนุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ


๒๐

ภาพประกอบที่เกี่ยวข้อง ร่วมปฏิบัติและพัฒนา รับการสนับสนุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ


๒๑

ภาพประกอบที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์ความสาเร็จ


๒๒

รับรองเอกสาร ขอรับรองว่าข้อมูลในเล่มเอกสารนี้ โรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์” ได้ดาเนินการจริงทุกประการ

นางวิชญาณี บุญทวี ผู้อานวยการโรงเรียนบ้านทุ่งนานางหรอก “เพ็ญชาติอุปถัมภ์”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.