ฺBest Practice น.ส.เนตรดาว ทศพร รร.เขาดินวิทยาคาร

Page 1


คานา เอกสารฉบับนี้จัดทาขึ้นเพื่อเสนอขอรับการประเมินรับรางวัล ทรงคุณค่า OBEC AWARDS ครูผู้สอน ยอดเยี่ยม ประเภทบุคคลากรยอดเยี่ยม ด้าน บริหารจัดการ ยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ของ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้จัดทาได้รวบรวม สรุปผลงานตามหัวข้อการประเมินที่ กาหนด พร้อมแนบหลักฐาน เอกสารอ้างอิงไว้ด้วยแล้ว เอกสารประกอบเพื่อขอรับการประเมินฉบับนี้เสร็จ สมบูรณ์ได้ด้วยความร่วมมือของนักเรียน บุคลากรโรงเรียน เขาดินวิทยาคาร ที่ได้ช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทา ให้สะดวกต่อการจัดทารายงานฉบับนี้ หวังว่าเอกสารฉบับนี้คงจะอานวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมการการ ประเมินในการพิจารณา ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอขอรับการประเมินต่อไป

นางเนตรดาว ทศพร

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


สารบัญ เรื่อง

หน้า

คานา ผลงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP ระยะเวลาในการพัฒนา BP ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับ เป้าหมาย/จุดเน้น สพป./สพฐ./สถานศึกษา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP กระบวนการพัฒนา BP ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP กระบวนการตรวจสอบซ้า เพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ขยายผลในวงกว้าง ประวัติผู้จัดทา ภาคผนวก ภาพถ่ายกิจกรรม

ก 1 1 1 1 1 2 8 10 10 10 12 13 14

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


1

ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice 1. ชื่อผลงาน Best Practice : “การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิก ” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านบริหารจัดการยอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice 2.1 ชื่อผู้พัฒนา Best Practice นางเนตรดาว ทศพร 2.2 โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาหนองขาวท่าล้อ 2.3 โทรศัพท์ 08-1981-0647 e-mail : netdao12@gmail.com 3. วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice 1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการ คิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ วิทยาศาสตร์ โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิกในการจัดการเรียนรู้ 2. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

3

ที่เรียนวิชา

4. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice ระยะเวลาที่เริ่มการพัฒนาวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2557 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพฐ./สถานศึกษา กลยุทธ์ของ สพฐ. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้าน เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ จุดเน้นที่ 4 เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ จุดเน้นที่ 5 นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความ พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม โดยการพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ด้านผู้เรียน

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


2

มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิด สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จาเป็นในการเรียนรู้ตามหลักสูตร มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 9 ผู้เรียนมีทักษะในการทางาน รักการทางาน สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติ ที่ดีต่ออาชีพสุจริต จุดเน้นของสถานศึกษาคือ การที่นักเรียนทุกระดับชั้นมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์จากสิ่งที่ได้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือแบบเรียน หนังสือพิมพ์ หนังสืออ่านนอกเวลา บทความ นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งสื่ออินโฟกราฟฟิก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับการประเมินใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น O – net, NT, PISA เป็นต้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนจึงเป็นสิ่งสาคัญในการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น จึงทาให้เกิดแนวคิดในการจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิกในรายวิชาวิทยาศาสตร์ขึ้น แล้วจึงนาไปสู่ กระบวนการจัดทาเป็น Best Practice ขึ้น 6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP คือ วิธีการสอนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์จากสื่ออินโฟกราฟฟิก ซึง่ ทฤษฎีการสอนคิดวิเคราะห์สามารถอธิบายได้ดังนี้ แนวคิดและทฤษฎีของทักษะการคิดวิเคราะห์ 6.1 ความหมายของการคิดวิเคราะห์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 251, 2071) ได้ให้ความหมายของคาว่า “คิด ” หมายถึง ก. ทาให้ปรากฏเป็นรูปหรือประกอบให้เป็นรูปหรือเป็นเรื่องขึ้นในใจใคร่ครวญ ไตร่ตรอง คาดคะเน คานวณ มุ่ง จงใจ ตั้งใจ นึก และให้ความหมายของคาว่า “วิเคราะห์ ” หมายถึง ใคร่ครวญ แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ มาร์ซาโน (อ้างถึงใน ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2552 : 14) ได้ให้ความหมายการคิดวิเคราะห์ไว้ว่า การ วิเคราะห์ ( Analysis) ตามแนวคิดใหม่นี้เป็นความสามารถในการใช้เหตุผล และความละเอียดถี่ถ้วนในการ จาแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ ซึ่งมีกระบวนการย่อยๆ 5 ประการได้แก่ 1) การจาแนก 2) การจัดหมวดหมู่ 3) การ วิเคราะห์ข้อเหตุผล 4) การประยุกต์ใช้ และ 5) การทานาย บลูม (อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2553 : 68) ได้ให้ความหมายของการคิดวิเคราะห์ว่า เป็น ความสามารถ ในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราว หรือเนื้อหาต่างๆประกอบด้วยอะไร มี สาระความสาคัญอย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล และเป็นอย่างนั้นอาศัยหลักการอะไร

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


3

กู๊ด (อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2553 : 68) ได้ให้ความหมายของการคิดวิเคราะห์หมายถึง การ คิดอย่างรอบคอบตามหลักของการประเมินและมีหลักฐานอ้างอิงเพื่อหาข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้ ตลอดจน พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใช้กระบวนการตรรกวิทยาได้อย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล 6.2 ความสาคัญของการคิดวิเคราะห์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547 : 1) ได้กล่าวถึงความสาคัญของการคิดเชิงวิเคราะห์ว่า การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานให้กับความคิดในมิติอื่น ๆ ดังนี้ 1. การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นตัวที่ทาหน้าที่เป็นตัวหลักในการคิดมิติอื่นไม่ว่าจะเป็นการคิดเชิงวิพากย์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงบูรณาการ การคิดเชิงอนาคต เป็นต้น การคิดเชิงวิเคราะห์ จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดมุมมองเชิงลึกและครบถ้วยในเรื่องนั้นอันจะนาไปสู่การตัดสินใจและการแก้ปัญหาได้ บรรลุวัตถุประสงค์การคิด 2. ช่วยในการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการจาแนกแยกแยะองค์ประกอบ ต่าง ๆ และ การทาความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อพบปัญหาใดๆ จะสามารถวิเคราะห์ปัญหานั้นได้ว่า มีองค์ประกอบอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งจะนาไปสู่การแก้ปัญหาได้ตรงกับประเด็นของปัญหานั้น 3. ช่วยในการประเมินและการตัดสินใจ การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้มองเห็นโอกาสความเป็นไปได้ ของสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ช่วยให้เกิดการคาดการณ์ในอนาคต และหากปฏิบัติตามนั้นโอกาสความสาเร็จย่อมมีความ เป็นไปได้ 4. ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์สมเหตุสมผล การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้การคิดต่าง ๆ อยู่บนรากฐาน ของตรรกะและความน่าจะเป็นไปได้ อย่างมีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์ ส่งผลให้เมื่อคิดจินตนาการหรือสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ จะได้รับการตรวจสอบว่า ความคิดใหม่นั้นใช้ได้จริงหรือไม่ 5. ช่วยให้เข้าใจ แจ่ม กระจ่าง การคิดเชิงวิเคราะห์ช่วยให้เราประเมินและสรุปผล สิ่งต่าง ๆ ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ไม่ใช่สรุปตามอารมณ์ความรู้สึก ทาให้เรารับรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ที่สาคัญยังช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจถ่องแท้มากขึ้น เพราะการคิดเชิง วิเคราะห์ทาให้สิ่งที่คลุมเครือเกิดความกระจ่างมากขึ้น สุวิทย์ มูลคา ( 2547 : 39) ได้กล่าวถึงความสาคัญของการคิดวิเคราะห์ไว้ดังนี้ 1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของ เหตุการณ์ต่าง ๆ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างทาให้เราได้ข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ในการนาไปใช้ในการ ตัดสินใจแก้ปัญหา การประเมินและการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง 2. ช่วยให้เราสมเหตุสมผลของข้อมูลที่ปรากฏและไม่ด่วนสรุปตามอารมณ์ความรู้สึกหรืออคติ แต่ สืบค้นตามหลักเหตุผลและข้อมูลที่เป็นจริง 3. ช่วยให้เราไม่ด่วนสรุปสิ่งใดง่าย ๆ แต่สื่อสารตามความเป็นจริง ขณะเดียวกันจะช่วยให้เราไม่ หลงเชื่อข้ออ้างที่เกิดจากตัวอย่างเพียงอย่างเดียว แต่พิจารณาเหตุผลและปัจจัยเฉพาะในแต่ละกรณีได้ 4. ช่วยให้การพิจารณาสาระสาคัญอื่น ๆ ที่ถูกบิดเบือนไปจากความประทับใจในครั้งแรก ทาให้เรา มองอย่างครบถ้วนในแง่มุมอื่น ๆ ที่มีอยู่ 5. ช่วยพัฒนาความเป็นคนช่างสังเกต การหาความแตกต่างของสิ่งที่ปรากฏตามความสมเหตุสมผล ของสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจสรุปสิ่งใดลงไป 6. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ณ เวลานั้น โดยไม่พึ่งพิงอคติที่ก่อตัว อยู่ในความทรงจา ทาให้เราสามารถประเมินสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสมจริงสมจัง เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


4

7. ช่วยประมาณการความน่าจะเป็น โดยสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานที่เรามีวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัย อื่น ๆ ของสถานการณ์ ณ เวลานั้น อันจะช่วยเราคาดการณ์ความน่าจะเป็นได้สมเหตุสมผลมากกว่า จากแนวคิดของนักการศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่า การคิดวิเคราะห์มีความสาคัญและมีประโยชน์เป็น อย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้และผู้เรียน เพราะสภาพทางสังคมในยุคปัจจุบันที่ล้อมรอบตัวเราอยู่ มีสิ่งต่าง ๆ ที่ มีการวิวัฒนาการขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านบวกและด้านลบ ผู้เรียนจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ สิ่งต่างๆ รอบตัว และเลือกที่จะนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและสังคม 6.3 องค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547 : 26) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการเป็นผู้มีความคิดวิเคราะห์ลง ไปอีกว่า องค์ประกอบของความคิดเชิงวิเคราะห์สามารถแจกแจงได้ดังนี้ 1. ความสามารถในด้านการตีความ เราจะไม่สามารถวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้หากไม่เริ่มต้นด้วยความ เข้าใจข้อมูลที่ปรากฏ เริ่มแรกเราจึงจาเป็นต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้รับอะไรเป็นอะไรด้วยการตีความ การตีความ หมายถึง การพยายามทาความเข้าใจและให้เหตุผลแก่สิ่งที่เราจะวิเคราะห์เพื่อแปลความหมายที่ไม่ปรากฏ โดยตรงสิ่งนั้น เป็นการสร้างความเข้าใจต่อสิ่งที่ต้องการจะวิเคราะห์ โดยสิ่งนั้นไม่ได้ปรากฏโดยตรงคือ ตัวข้อมูล ไม่ได้บอกโดยตรง แต่เป็นการสร้างความเข้าใจที่เกินกว่าสิ่งที่ปรากฏ อันเป็นการสร้างความเข้าใจบนพื้นฐาน ของสิ่งที่ปรากฏในข้อมูลที่นามาวิเคราะห์ เกณฑ์ที่แต่ละคนมาใช้เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ ย่อยแตกต่างกัน ไปตามความรู้ประสบการณ์ และค่านิยมแต่ละบุคคล เช่น การตีความจากความรู้ การตีความจากประการณ์การ ตีความจากการเขียน 2. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ เราจะวิเคราะห์ได้ดีนั้นจาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ เพราะความรู้จะช่วยในการกาหนดขอบเขตของการวิเคราะห์ แจกแจง และจาแนกได้ว่า เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร มีองค์ประกอบย่อยๆ อะไรบ้าง มีกี่หมวดหมู่จัดลาดับความสาคัญอย่างไร และรู้ว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดอะไร การวิเคราะห์ของเราในเรื่องนั้นๆ จะไม่สมเหตุสมผลเลยหากเราไม่มีความรู้ความ เข้าใจในเรื่องนั้น เราจาเป็นต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการคิด ถ้าเราขาดความรู้เราอาจ ไม่สามารถวิเคราะห์หาตุผลได้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น 3. ความช่างสังเกต ช่างสังเกตและช่างถาม นักคิดวิเคราะห์จะต้องมีองค์ประกอบนี้รวมอยู่ด้วย คือ ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต สามารถค้นพบความผิดปกติท่ามกลางสิ่งที่ดูอย่างผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ต้อง เป็นคนช่างสงสัย เมื่อเห็นความผิดปกติแล้วไม่ละเลยไป แต่หยุดพิจารณาขบคิดไตร่ตรอง และต้องเป็นคนช่าง ถามชอบตั้งคาถามกับตัวเองและรอบข้างกับสิ่งที่เกิดขึ้น 4. ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล นักคิดเชิงวิเคราะห์จะต้องเป็นผู้ที่มี ความสามารถในการใช้เหตุผล จาแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งใดเป็นความจริง สิ่งใดเป็นความเท็จ สิ่งใดมี องค์ประกอบรายละเอียดเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร สุวิทย์ มูลคา ( 2549 : 53) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการคิดไว้ดังนี้ 1. สิ่งเร้า เป็นสื่อและองค์ประกอบแรกที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดการรับรู้ สิ่งเร้าทาให้เกิดปัญหา ความสงสัยหรือความขัดแย้งจะก่อให้เกิดการคิด อาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ ภาพ เสียง ข้อมูล สัญลักษณ์ กิจกรรมหรือสถานการณ์ 2. การรับรู้ บุคคลสามารถรับรู้ได้โดยโดยประสาททั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง ระดับการ รับรู้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพของสิ่งเร้า และความสามารถรับรู้ของแต่ละบุคคลเมื่อรับรู้แล้วเกิด ปัญหา หรือ ข้อสงสัยที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิด เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


5

3. จุดมุ่งหมายของการคิด ผู้คิดจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในการคิดแต่ละครั้งว่า ต้องการ เหตุผลเพื่ออะไร เช่น เพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ หรือสร้างสิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น จะช่วยให้เลือกใช้วิธีคิดได้ถูกต้องและ ได้ผลตรงกับความต้องการ 4. วิธีคิด การคิดแต่ละครั้งจะต้องเลือกวิธีที่ตรงกับจุดมุ่งหมายในการคิดนั้นๆ เช่น คิดเพื่อตัดสินใจ ควรใช้วิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา ควรใช้วิธีคิดแบบแก้ปัญหา 5. ข้อมูลหรือเนื้อหา ข้อมูลหรือเนื้อหาจะใช้ประกอบความคิดใดอาจจะเป็นความรู้หรือ ประสบการณ์เดิม หรือข้อมูลการรู้ใหม่ที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 6. ผลของการคิด เป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติงานทางสมองหรือกระบวนการคิดของสมอง จากแนวคิดของนักการศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์เป็นปัจจัย ที่สาคัญ ที่จะทาให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ คือ ความรู้ลึกซึ้ง หรือรู้จริงในเรื่องนั้นๆ เพราะถ้าผู้เรียนมีความรู้ ลึกซึ้งแม่นยาในเรื่องนั้น ย่อมสามารถนาความรู้ที่มีไปประกอบการวิเคราะห์ แยกแยะเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมี ประสิทธิภาพ 6.4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับอินโฟกราฟฟิก ความหมายของอินโฟกราฟฟิก (Infographic) Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียกว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตามอง ซึ่งเหมาะ สาหรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจากัด (เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและ จดจาภาพสวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน) และในปัจจุบันกาลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผนภาพสวย ๆ นี้ สามารถทาให้คน ทั่ว ๆ ไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริมาณมาก ๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรองมา เป็นอย่างดีทาให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนาเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราว เล็ก ๆ ไปจนถึงเรื่องราวใหญ่โตมานาเสนอในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ 1. ข่าวเด่น ประเด็นร้อน และสถานการณ์วิกฤต เป็น Infographics ที่ได้รับการแชร์มาก ๆ มักจะเป็น ประเด็นใหญ่ระดับประเทศ เช่น ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2. สอน ฮาวทู บอกเล่ากลยุทธ์ต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น เล่าถึงกลยุทธ์การออมเงิน ที่ใคร ๆ ก็ มักมองข้าม 3. ให้ความรู้ในรูปแบบของ Did You Know หรือ สถิติสาคัญทางประชากรต่างๆตลอดจนการ ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่น่าเบื่อ ให้มีสีสัน สนุก และ น่าติดตาม 4. บอกเล่าตานานหรือวิวัฒนาการ เรื่องราวบางอย่างอาจต้องถ่ายทอดผ่านตาราหนา ๆ แต่ด้วย Infographics จะช่วยทาให้ตานานเหล่านั้นบรรจุอยู่ในพื้นที่ ๆ จากัดได้อย่างน่าทึ่ง 5. อธิบายผลสารวจ และ งานวิจัย Infographics เหมาะที่สุดที่จะถ่ายทอดงานวิจัยที่ดูยุ่งเหยิงไปด้วย ตัวเลขและข้อมูลมหาศาลออกมาเป็นแผนภาพสวย ๆ และทรงพลัง มีหลายบริษัทเริ่มใช้เครื่องมือนี้ เพื่อทาให้ งานวิจัยของตัวเองเข้าถึงคนหมู่มาก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


6

6. กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ภัยของการสูบบุรี่ที่มีต่อคนสูบและคนที่ไม่ได้สูบแต่ ต้องได้รับผลกระสูบจากการสูบบุรี่ด้วย ข้อเท็จจริงเหล่านี้ล้วนมุ่งหวังให้คนอ่านเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของคนในสังคมให้ดีขึ้น หากได้รับการแชร์มาก ๆ ในโลกออนไลน์ก็อาจสร้างกระแสจนถึงขั้นนาพาไปสู่การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกออนไลน์ในที่สุด 7. โปรโมทสินค้าและบริการ ตัวอย่างการใช้ Infographic ในการ โปรโมทสินค้า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความพึงพอใจเป็นปัจจัยสาคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสาเร็จของงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่าง มีประสิทธิภาพ อันเป็นผลเนื่องมาจากการได้รับการตอบสนองต่อแรงจูงใจหรือความต้องการขอ งแต่ละบุคคล ในแนวทางที่เขาประสงค์ซงึ่ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของความพึงพอใจและมีผู้ให้ความหมาย ของความพึงพอใจไว้ในด้านต่าง ๆ กัน พอสรุปไดดังนี้ กูด (Good. 1973, p.320) ให้ความหมายของความพึงพอใจ หมายถึง คุณภาพหรือ ระดับความพึงพอใจซึ่งเป็น ผลจากความสนใจต่างๆ และทัศนคติของบุคคลกิจกรรม ขนิษฐา นาคน้อย(2550 , น. 25) ให้ความหมายของ ความพึงพอใจว่ าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก และทัศนคติของบุคคลอัน เนื่องมาจากสิ่งเร้าและ แรงจูงใจ ซึ่งปรากฏออกมาทางพฤติกรรม และเป็นองค์ประกอบที่สาคัญในการทา กิจกรรมต่าง ๆ ของ บุคคลากรที่บุคคลจะเกิดความพึงพอใจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมากระตุ้นให้เกิดความรักหรือมีเจตคติที่ดี ต่อสิ่งนั้น ๆ บุคคลจะเกิดความพึงพอใจนั้นจะต้องมี การจูงใจให้เ กิดขึ้น วอลเลอร์ส เตน (Wallerstein, 1971, p. 256) ให้ความหมายว่ า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับผลสาเร็จตามความมุ่งหมาย และอธิบายว่าความพึงพอใจเป็นกระบวนการทาง จิตวิทยาไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่สามารถคาดคะเนได้ ว่ามีหรือไม่มีจากการสังเกตพฤติกรรมของคนเท่านั้นการที่จะทาให้ เกิดความพึงพอใจจะต้องศึกษาปัจจัยและ องค์ประกอบที่เป็นสาเหตุแห่งความพึงพอใจนั้นโวลแมน ( Wolman,1979, p. 283)ได้ ให้ความหมายของความ พึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจ (Satifaction) คือ สภาพความรู้สึกของบุคคลที่มีความสุขความอิ่มเอมใจเมื่อความ ต้องการหรือแรงจูงใจของตนได้รับการตอบสนอง จากความหมายของความพึงพอใจข้ างต้นสรุปได้ว่าความพึง พอใจคือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ความรู้สึก และทัศนคติของบุคคลเนื่องจากสิ่งเร้าและแรงจูงใจ ซึ่งแสดง ออกมาทางด้านพฤติกรรม และเป็นองค์ประกอบที่สาคัญในการทากิจกรรมต่าง ๆ ของบุคลากร และบุคคลจะ เกิดความพึงพอใจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างมากระตุ้นให้เกิดความรักหรือมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น ๆ บุคคลจะ เกิดความพึงพอใจนั้นจะต้องมีการจูงใจให้เกิดขึ้น ความต้องการพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบให้บุคคลเกิดความพึงพอใจมนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการที่ จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น แต่ความต้องการของมนุษย์นั้นมีมากมาย ซึ่งมาสโลว์ (Maslow, 1970 ,p.35-51)ได้จัดลาดับความต้องการของมนุษย์จากขั้นต่าสุดไปสู่ขั้นสูงสุดเป็น 5 ขั้น 1. ความต้องการทางด้านสรีวิทยา ( Phisiological Needs) ไดแก่ ความต้องการอาหาร น้า และ อากาศ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จาเป็นสาหรับชีวิต ถ้ามนุษย์ไม่ได้รับการสนองตอบในขั้นนั้นจะไม่มีความต้องการในขั้น ถัดไป

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


7

2. ความต้องการความปลอดภัย ( Safety Needs) มนุษย์จะรู้สึกปลอดภัย เมื่อสิ่งเร้านั้นเป็นสิ่งที่รู้จัก มักคุ้น และจะกลัวสิ่งแปลกไปจากเดิม 3. ความต้องการความรัก ( Love and Belonging Needs) คนทุกคนอยากได้ความรักจากคนอื่น อยากเป็นเจ้าของ และในขณะเดียวกันอยากให้ตนเป็นที่รักและเป็นของใครสักคน บุคคลจะรู้สึกเหงาและหว้ า เหว่ และขาดถ้ารู้สึกว่าไม่มีใครรักหรือไม่รู้ว่าจะรักใคร ความต้องการชนิดนี้คนที่ขาดมากยิ่งต้องการมากเพื่อ ชดเชย 4. ความต้องการเห็นตนเองมีค่า ( Esteem Needs) เป็นความต้องการยอมรับจากผู้อื่นและความ ต้องการภาคภูมิใจในตนเองด้วยแต่ถ้าความต้องการนี้ไม่ได้รับการตอบสนองจะก่อให้เกิดความรู้สึกต่าต้อย ไร้ค่า อ่อนแอ หมดหวัง ไม่มีความหมายในสายตาผู้อื่น 5. ความต้องการที่จะทาความเข้าใจตนเอง ( Needs for self-Actualization) เป็นความต้องการที่จะ เข้าใจตนเองตรงตามสภาพที่ตนเองเป็นอยู่จริงยอมรับในส่วนที่เป็นจุดอ่อน และจุดบกพร่องของตนเองต้องการ ที่จะเป็นคนชนิดที่เราเป็นไปได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง ทาให้มีความสุขและทางานได้เต็มความสามารถการศึกษาถึงความต้องการขั้นพื้นฐานดังกล่าวของบุคคล นับว่ า เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทาให้เข้าใจเหตุผลในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลและช่วยให้มองเห็นแนวทางที่ จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความรู้สึกความเข้าใจและพฤติกรรมของบุคคลได้ดีที่สุดความพึงพอใจเป็นสิ่งที่ทุกคน ควรได้รับจากการกระทาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งความต้องการของมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปคนส่วน ใหญ่ล้วนมีความต้องการด้านสรีระวิทยาความปลอดภัยความรัก การเห็นตนเองมีคุณค่า และความต้องการที่จะ ทาความเข้ าใจตนเองมีความมั่นใจและความภูมิใจส่วนตัวซึ่ งทั้งหมดนี้จะทาให้มนุษย์ใช้ชีวิตในสังคมอย่างมี ความสุข วิธีการสร้างความพึงพอใจในการเรียน มีการศึกษาในด้านความสัมพันธ์เชิงเหตุผลและผล ระหว่างสภาพจิตใจกับผลการเรียนจุดที่น่าสนใจ จุดหนึ่งคือการสร้างความพอใจในการเรียนตั้งแต่เริ่มต้น ผลตอบแทนที่ได้รับ

ความพึงพอใจ

แรงจูงใจ

ของผู้ปฏิบัติงาน

การปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพ

ภาพที่ 1 แสดงความพึงพอใจนาไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ จากแนวคิดดังกล่าว ครูผู้สอนที่ต้องการให้กิจกรรมการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางบรรลุผล สาเร็จจึงต้องคานึงถึงการจัดบรรยากาศและสถานการณ์รวมทั้ง สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่เอื้ออานวยต่อ การเรียน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของนักเรียน ให้มีแรงจูงใจในการทา กิจกรรมจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ของหลักสูตรผลของการปฏิบัติงานนาไปสู่ความพอใจ และผลการปฏิบัติงานจะถูกเชื่อมโยงโดยปัจจัยอื่นๆ ผล การปฏิบัติงานที่ดีจะนาไปสู่ผลตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่ งในที่สุดจะนาไปสู่การตอบสนองความพึงพอใจ ผลการ ปฏิบัติงานย่อมได้รับการตอบสนองในรูปของรางวัล หรือ ผลตอบแทน ซึ่งแบ่งออกเป็นผลตอบแทนภายใน

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


8

(Intrinsic Rewards) และผลตอบแทนภายนอก (Extrinsic Rewards) โดยผ่านการรับรู้เกี่ยวกับความยุติธรรม ของผลตอบแทน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ปริมาณของผลตอบแทนที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับนั่นคือความพึงพอใจในงานของ ผู้ปฏิบัติงานจะถูกกาหนดโดยความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง และการรับรู้เรื่องเกี่ยวกับความ ยุติธรรมของผลตอบแทนที่รับรู้แล้ว ความพึงพอใจย่อมเกิดขึ้นจากแนวคิดพื้นฐานดังกล่าวเมื่อนามาใช้ใ นการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ผลตอบแทนภายในหรือรางวัลภายใน เป็นผลด้านความรู้สึกของนักเรียนที่เกิดแก่ ตัวนักเรียนเอง เช่น ความรู้สึกต่อความสาเร็จที่เกิดขึ้นเมื่อสามารถเอาชนะความยุ่งยากต่าง ๆ และสามารถ ดาเนินงานภายใต้ความยุ่งยากทั้งหลายได้สาเร็จ ทาให้เกิดความภาคภูมิใจ ความมั่นใจ ตลอดจนได้รับการ ยกย่องจากบุคคลอื่น ส่งผลตอบแทนภายนอก เป็นรางวัลที่ผู้อื่นจัดหาให้มากกว่ าที่ตนเองให้ตนเอง เช่น การได้ รับคายกย่องชมเชยจากครูผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือแม้แต่การได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่ น่าพอใจจากแนวคิดพื้นฐานดังกล่าวเมื่อนามาใ ช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลตอบแทนภายในหรือ รางวัลภายใน เป็นผลด้านความรู้สึกของนักเรียนที่เกิดแก่ตัวนักเรียนเอง เช่น ความรู้สึกต่อความสาเร็จที่เกิดขึ้น เมื่อสามารถเอาชนะความยุ่งยากต่างๆ และสามารถดา เนินงานภายใต้ความยุ่งยากทั้งหลายได้สาเร็จ ทาให้เกิด ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจ ตลอดจนได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น ส่งผลตอบแทนภายนอก เป็นรางวัลที่ผู้อื่น จัดหาให้มากกว่าที่ตนเองให้ตนเอง เช่น การได้รับคายกย่องชมเชยจากครูผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ การได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่น่าพอใจ สรุปได้ว่าความพึงพอใจในการเรียนและผลการเรียนจะมีความสัมพันธ์กันในทางบวกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า กิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัตินั้น ทาให้นักเรียนได้รับการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่ง เป็นส่วนสาคัญที่จะทาให้เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตมากน้อยเพียงใดนั่นคือ สิ่งที่ครูผู้สอนจะคานึงถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ในการเสริมสร้างความพึงพอใจในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน 7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร จานวน 31 คน 7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP ขั้นตอนการพัฒนา Best Practice

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


9

P

D

PDCA C

A ย้อนกลับ

1. กาหนดเป้าหมาย วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล 2. กาหนดปัญหา กาหนดปัญหาของผู้เรียน 3. กาหนดแนวทางการดาเนินงาน กาหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด วิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิกในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นม3 4. กาหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน 2557 5. จัดทาเอกสาร จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ชุดแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 6. ส่งเสริม/สนับสนุน จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าดู จัดสิ่งอานวยความสะดวก 7. ดาเนินการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่อ อินโฟกราฟฟิกในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ม. 3 8. วางกรอบการประเมิน ตามแนวทางการประเมิน 9. จัดหาหรือจัดทาเครื่องมือ แบบประเมินผล แบบทดสอบความพึงพอใจ 10. เก็บข้อมูล บันทึกคะแนนก่อนเรียน บันทึกคะแนนหลังเรียน บันทึกคะแนนแบบประเมินผล บันทึกคะแนนแบบสอบถามความพึงพอใจ 11. วิเคราะห์ข้อมูล โปรแกรม Exel โปรแกรม spss 12. แปลความหมาย นาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาแปลความหมาย 13. ตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 14. ปรับปรุงการปฏิบัติงาน แก้ไขจุดบกพร่อง ปรับปรุงตามคาเสนอแนะ 15. จัดทาข้อมูลสารสนเทศ จัดทาเอกสารรูปเล่มและไฟล์งาน เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์ เผยแพร่ผลงานทางสื่อสังคมออนไลน์

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


10

7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP วิธีการตรวจสอบคุณภาพ BP โดยใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ - แบบประเมินผล - แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน - แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และนาผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ปรับปรุงเพื่อดูคุณภาพของ BP 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ - นาไปใช้พัฒนานักเรียนชั้นอื่น ๆ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ - สามารถนาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้ - เป็นแนวทางในการจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนท่านอื่นและผู้ที่สนใจได้ 8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ80 สามารถคิดวิเคราะห์ได้ 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องที่อ่านได้ 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP นักเรียนร้อยละ 95 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และเสนอแนะให้จัดกิจกรรมที่ หลากหลายในการสอนเพื่อความสนุกสนานในการเรียนการสอน 9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP ตรวจสอบปัญหาเพื่อหาสาเหตุข้อบกพร่องแต่ละขั้นแล้วนามาปรับปรุงแก้ไขแล้วนากลับมาใช้ซ้า 9.2 ผลการตรวจสอบซ้า เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP นักเรียนสามารถ ทากิจกรรมที่ดาเนินการพัฒนา ด้วยตัวเองและสามารถนา ไปใช้ ในการคิดวิเคราะห์ เนื้อหาที่มีความยากเพิ่มขึ้น 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ขยายผลในวงกว้าง การเผยแพร่ผลงานโดยการนาวิธี การ ขั้นตอน และสื่อที่ผลิตขั้นไปใช้ให้ความรู้ใน โรงเรียน และได้ นาไปเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.kan1.go.th/ , www.krubannok.com/ www.facebook.com/NongporThosaporn/

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


11

ลงชื่อ

ผู้ขอรับการประเมิน (นางเนตรดาว ทศพร) ตาแหน่ง ครู ค.ศ. 2

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


12

ประวัติผู้จัดทา

ชื่อ นางเนตรดาว ทศพร เกิดวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2519 การศึกษา ปริญญาตรี วท.บ. สาขาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปริญญาโท วท.ม. สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 63/2 หมู่ 4 ตาบลท่ามะขาม อาเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ทางาน โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร หมู่ 3 ตาบลท่าล้อ อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


ภาคผนวก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


14

ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


ภาพผลงานนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่ออินโฟกราฟฟิก

เอกสารประกอบการประเมินรางวัล OBEC AWARDS ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านบริหารจัดการการยอดเยี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร นางเนตรดาว ทศพร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.