Best Practice การจัดประสบการณ์กจิ กรรมการเรียนรู้บรู ณาการปฐมวัย ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
โดย นางสาวจีเรียง บุญสม ครู โรงเรียนบ้านทุง่ มะขามเฒ่า
เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษากลอนโด สานักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
แบบฟอร์มผลงานนวัตกรรม Best Practice การจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการปฐมวัยด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปฐมวัย ด้าน วิชาการ 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP นางสาวจีเรียง บุญสม 2.2 โรงเรียน บ้านทุ่งมะขามเฒ่า เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับ ปฐมวัย (เครือข่าย ฯกลอนโด) 2.3 โทรศัพท์ 081 - 8807741 e-mail a.tungmakam@gmail.com 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการทากิจกรรม 2. เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ของเด็กปฐมวัยให้กับเพื่อนครู ปฐมวัยและผู้สนใจ 4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเริ่มต้นการพัฒนา และระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา BP) เริ่มพัฒนาเดือนเมษายน 2555 .ใช้จริงเดือนมิถุนายน 2555 - เดือนมกราคม 2556 นาเสนอเดือน กุมภาพันธ์ 2556 รวมระยะเวลาที่ใช้ 7 เดือน (เดือนตุลาคมปิดภาคเรียน) 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพม./สพฐ./ สถานศึกษา ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์เป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริม ความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ จุดเน้น 10 ประการ ของ สพฐ. ประจาปี 2555 ข้อ 2. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient) และ ข้อ 5. เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์(Excel to excellence) 1. ชื่อผลงาน BP
6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Theory of Cognitive Development : Piaget) เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้น ตอนหรือ กระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการ ไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลาดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจาก พัฒ นาการจากขั้นหนึ่ง ไปสู่ อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทาให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจั ดประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกาลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสาคัญของการเข้า ใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก มากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้ โดยลาดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม แนวคิดของเพียเจต์ (Jean Piaget) •
เด็กที่ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความรู้ และ ความคิด เด็กเรียนรู้โลกภายนอกรอบตัว และ พัฒนาความคิดไปตามลาดับขั้นตอน • ความฉลาด คือ ความสามารถในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม (Biological adaptation) • มนุษย์เกิดมามีความพร้อมที่จะปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ลาดับขั้นทางสติปัญญา 1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การ เคลื่ อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เ ด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามี สติปัญญาด้วยการ กระทา เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคาพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะ ปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิด ในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่าง กล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทาอะไรซ้าบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหา แบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและ สามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวั ยนี้ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขัน้ นีเ้ ริม่ ตัง้ แต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้น ย่อยอีก 2 ขั้น คือ 2.1 ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล(Preconceptual Thought) เป็น ขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็ก วัยนี้ยังมีขอบเขตจากัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริง นัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อ เหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็ก วัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่ พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 2.2 ขั้นพัฒนาการใกล้เกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผล(Intuitive Thought) เป็นขั้น พัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จัก แยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจานวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนา ความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนาเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่ วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจาก ภายนอก 3. ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม(Concrete Operation Stage) ขัน้ นีจ้ ะเริม่ จากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็ก วัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้ สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจานวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยน รูปร่างไปก็ยังมีน้าหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจา ของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับ บุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี 4. ขั้นพัฒนาการเกิดความคิดรวบยอดอย่างใช้เหตุผลเป็นนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของ เด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะ สามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์
สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สาคัญเท่ากับ ความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้าง ทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็น นามธรรม การนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรคานึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กดังต่อไปนี้ ผู้เรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควร เปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับ พัฒนาการของเขา เด็กแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ - ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กแต่ละคนได้ ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง - ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อ เด็กได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้คือ - เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้ มากที่สุด - เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ - เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ - เน้นกิจกรรมการสารวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน - ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น นอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดาเนินการดังต่อไปนี้ - ถามคาถามมากกว่าการให้คาตอบ - ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น - ควรให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ - เมื่อเด็กให้เหตุผลผิด ควรถามคาถามหรือจัดประสบการณ์ให้ใหม่ เพื่อเด็กจะได้แก้ไข ข้อผิดพลาดด้วยตนเอง - ยอมรับความจริงที่ว่า เด็กแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน - ผู้สอนต้องเข้าใจว่าเด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
- ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจามากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) ในขั้นประเมินผล ควรดาเนินการสอนต่อไปนี้ - พยายามให้เด็กแสดงเหตุผลในการตอนคาถามนั้น ๆ - ต้องช่วยเหลือเด็กทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ากว่าเพื่อนร่วมชั้น ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอรุ์ (Bruner) บรูเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญา ต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจาก กระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สาคัญ ๆ ของ บรูเนอร์ มีดังนี้ (Bruner,1963:1-54) แนวคิดพื้นฐาน • การเรียนรู้เกิดเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสารวจ สิ่งแวดล้อม • การรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือก หรือ สิ่งรับรู้ขึ้นกับความใส่ใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้นๆ • การเรียนรู้เกิดจากการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ เกิดพฤติกรรมสภาพสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบขึ้น ขั้นพัฒนาการของ Bruner 1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทา (Enactive Stage) : แรกเกิด- 3 ปี - เด็กลงมือกระทาเอง และ เรียนรู้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม - เด็กบรรยายและอธิบายสิ่งต่างๆจากการที่เด็กลงมือทาเอง เช่น จับต้องด้วยมือ ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้สิ่งแวดล้อม 2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) : อายุ 3-8 ปี - เด็กสร้างจินตนาการหรือมโนภาพได้ - เรียนรู้โดยใช้รูปภาพแทนของจริงได้ โดยไม่จาเป็นต้องสัมผัสของจริง - เด็กตัดสินจากสิ่งที่รับรู้ ไม่ใช่เหตุผล
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) : อายุ 8 ปีขึ้นไป - เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือความคิดรวบยอดที่ซับซ้อน - สามารถสร้างสมมติฐานและพิสูจน์ว่าสมมติฐานถูกหรือผิดได้ การนาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน • ครูต้องเข้าใจว่า กระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ • เน้นความสาคัญของผู้เรียน ครูมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ให้โอกาส เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม • การสอนเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือ ใกล้ตัวก่อน ไปหาประสบการณ์ไกลตัว
กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสาหรับ ผู้เรียน การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จาเป็นที่ต้องทา ก่อนการสอน การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิด รวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้ เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจาเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจาเป็น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ได้ดี (http://www.baanjomyut.com/library_2/intellectual_development_theory/02.html)
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Instruction) การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ระดับสูง การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเป็นสิ่งที่สาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งใน สังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจากัด การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการ พัฒนาประเทศต้องพึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งการดาเนินชีวิตของมนุษย์จะเกี่ยวข้อง กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิด สิ่งที่ ติดตัวนักเรียนไปคือวิธีการคิด กระบวนการคิ ด กระบวนการแสวงหาความรู้ ความสามารถใน การกล้ า คิ ด กล้ า ทา กล้ า แสดงออก ซึ่ ง คุณลั กษณะเหล่านี้จ ะกลายเป็นลั กษณะนิสัยของ ผู้ เ รียนที่จ บการศึก ษาแล้ ว จะเป็น “บุค คลที่คิ ดเป็น รั กการเรี ยนรู้ ตลอดชี วิ ต ” ที่สาคัญที่สุดก็คือ การพัฒนาปลูกฝังให้ “เด็กคิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาเป็น ” กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) สาหรับเด็กปฐมวัย สสวท. (2551) ได้กล่าวถึงการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไว้ดังนี้ การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคาถามที่สงสัยเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ เด็กเป็นเหมือนนักวิทยาศาสตร์ ตัวน้อยๆ ที่มีความสงสัยใคร่รู้มีคาถามเกี่ยวกับโลกธรรมชาติรอบตัว และเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวผ่าน ประสบการณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา การกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กด้วยกระบวนการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นการตอบสนองตอธรรมชาติของการเรียนรู้ ของเด็ก กิจกรรมที่เด็กในระดับปฐมวัยควรจะได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่ายๆ ่ (2) การทาการสารวจตรวจสอบเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกต สารวจ สืบค้น หรือ ทดลอง และบันทึกผลการสารวจตรวจสอบด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับวัย (3) การตอบคาถามที่ตั้งขึ้นโดยใช้ ผลจากการสารวจตรวจสอบมาสร้างคาอธิบายที่มีเหตุผล (4) การนาเสนอผลการสารวจตรวจสอบให้ผู้อื่นด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ การให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ ปฐมวัย จะส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะและลักษณะนิสัยของบุคคลที่ ช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกรอบตัวและช่วยในการแก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้สาหรับเด็กปฐมวัย สามารถสรุปขั้นตอนได้ดังแผนภาพ
ตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์
นาเสนอผลการสารวจ ตรวจสอบ
สารวจตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล
ตอบคาถาม อ้างอิงข้อมูล สร้างคาอธิบายอย่างมีเหตุผล
7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทและจานวน กลุ่มเป้าหมาย) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2555 จานวน 34 คน จาแนกเป็น นักเรียนชั้น อนุบาล 1 จานวน 9 คน นักเรียนชั้นอนุบาล 2 จานวน 25 คน
7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา) การจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการปฐมวัย ด้วยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ ได้ใช้กระบวนการ PDCA ในการพัฒนา ดังนี้ Plan
วางแผนการดาเนินงาน เขียนโครงการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ ครูปฐมวัยและครูพี่เลี้ยงประชุมวางแผนการการจัด ประสบการณ์
Do
ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เขียนกาหนดการจัดประสบการณ์ เขียนแผนการจัดประสบการณ์ เตรียมสื่ออุปกรณ์ สภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ดาเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
Check
ประเมินผล ประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานของ สพฐ. และ สมศ. ใช้แบบสอบถามผู้ปกครอง นักเรียน และครู ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รายงานผลการดาเนินโครงการ ตรวจสอบ /ปรับปรุง
Action
ข้อมูล ย้อนกลับ
ตรวจสอบผลกับเป้าหมายที่วางไว้ วิเคราะห์หาจุดที่ทาให้ เกิดผลสาเร็จ/ไม่สาเร็จ นาผลไปปรับปรุง วางแผนการจัดทาโครงการปีต่อไป
7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) 7.3.1.สังเกตเด็กปฐมวัยในการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการทากิจกรรม โดยใช้ แบบสังเกตพฤติกรรม พบว่า เด็กปฐมวัยสามารถใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการทา กิจกรรมได้ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 91.18 7.3.2. ประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยในมาตรฐานที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยใช้แบบประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ผลที่ได้พบว่าระดับคุณภาพตาม มาตรฐานที่ 4 ด้านสติปัญญาได้คะแนน 4.53 ซึ่งอยู่ในระดับดีเยี่ยม 7.3.3 เผยแพร่ความรู้การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ของเด็กปฐมวัยให้กับเพื่อนครู ปฐมวัยและผู้สนใจ โดย สสวท. ร่วมกับทรูคอเปอร์เรชั่น ได้ถ่ายทาการจัดการเรียนการสอนของครู และนักเรียนปฐมวัยโรงเรียนบ้านทุ่งมะขามเฒ่าในรายการ “เพื่อนครู” เมื่อวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2556และเผยแพร่ ทางช่องทรูปลูกปัญญา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2556 และนา link มาเผยแพร่ใน facebook พบว่า คณะอาจารย์จาก สสวท. เพื่อนครูปฐมวัยและผู้สนใจเข้าร่วมชมได้เขียนข้อความ แสดงความชื่นชมครูและนักเรียน ในการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้อย่างดียิ่ง 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ 7.4.1. ครูผู้สอนชั้นอนุบาล มีแนวทางในการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการปฐมวัย ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7.4.2 พัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและมีความพร้อมในการเรียนระดับระถมศึกษา 7.4.3 เด็กสามารถรู้ เข้าใจสาระสาคัญในเนื้อหาสาระที่เรียน และสามารถสืบเสาะหาความรู้ใหม่ ในเนื้อหาสาระอื่นๆ ได้อย่างไม่จากัด 8. ผลสาเร็จทีเ่ กิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการทากิจกรรม 2. เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านสติปัญญา 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้ของเด็กปฐมวัยให้กับเพื่อนครู ปฐมวัยและผู้สนใจ 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ 8.1.1 เด็กปฐมวัยสามารถใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการทากิจกรรมได้ในระดับ ดีขึ้นไป ร้อยละ 91.18
8.1.2 เด็กปฐมวัยมีผลการประเมินมาตรฐานที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาตามผล การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย ผลที่ได้พบว่าระดับคุณภาพด้านสติปัญญา ได้คะแนน 4.53 อยู่ในระดับดีเยี่ยม 8.1.3 ครูปฐมวัยและผู้สนใจเข้าร่วมชมวีดิทัศน์ รายการเพื่อนครูทาง http://www.trueplookpanya.com/new/tv_program_detail/127/1423/เพื่อนครู-:-กาญจนบุรี/ จานวน 68 view (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556) และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้เข้าชมมากขึ้น เรื่อย ๆ 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ 8.2.1 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม มีการวางแผน การทางานร่วมกัน และมีผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้น และมีผลการประเมินคุณภาพภายใน มาตรฐานที่ 4 ในระดับดีเยี่ยม 8.2.2 ครูปฐมวัยและผู้สนใจเข้าร่วมชมวีดิทัศน์ ได้แสดงความคิดเห็น ผ่านทาง facebook โดยชื่นชมครูและนักเรียนเป็นอย่างดียิ่ง 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP (ระบุค่าร้อยละของความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้อง และวิธีการได้มาเกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ) 8.3.1 ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับการจัดการเรียนการ สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียน (ข้อมูลจากจานวนนักเรียน และแบบสอบถามผู้ปกครอง) 8.3.2 ครูปฐมวัยร้อยละ 100 มีความภาคภูมิใจต่อผลการปฏิบัติงาน (แบบสอบถาม) 8.3.3 ผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 100 มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานของครู โดย กล่าวชื่นชมครูปฐมวัยในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ (การสังเกต) 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 8.4.1. ผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้นาในการเปลี่ยนแปลง เห็นความสาคัญใน การจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนทั้งในและนอกโรงเรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้เข้ารับการ ประชุม อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน ให้ขวัญกาลังใจ ให้ข้อเสนอแนะเป็นที่ปรึกษา และกากับ ติดตามดูแลสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างทั่วถึง 8.4.2. คณะครูทุกท่าน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็ก ร่วมวางแผนให้แนวคิด ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมสู่ความสาเร็จ 8.4.3. ผู้ปกครอง เห็นความสาคัญในการจัดกิจกรรม สนับสนุนสื่อที่ใช้ในการจัด กิจกรรม ช่วยดูแล สนใจให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเสมอ รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนอย่างสม่าเสมอ 8.4. 4. เด็กปฐมวัยมีความกระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม รู้จักการ ทางานร่วมกัน อย่างเป็นตามขั้นตอนของการจัดกิจกรรมแบบโครงการ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหา ความรู้
9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP 9.1.1 รายงานผลการปฏิบัติงานให้ ผู้อานวยการสถานศึกษาทราบ 9.1.2 นาเสนอต่อคณะผู้ประเมินภายนอก (สมศ.) 9.1.3 ส่งผลงานเข้าประกวดผลงาน BP 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP 9.2.1 ผู้อานวยการสถานศึกษา พึงพอใจในพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สูงขึ้นของเด็ก ปฐมวัย 9.2.2 ผู้ประเมินภายนอก (สมศ.) ชมเชยการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย และผลปรากฏ ว่ารับรองการประเมิน 9.2.3 ผลงานที่ส่งเข้าประกวดผลงาน BP ได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผล ในวงกว้าง (ระบุวันเวลา และรูปแบบ/วิธีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผล) 10.1 ขยายผลการจัดกิจกรรม โดยนากิจกรรมการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ต่อโรงเรียนต่าง ๆ ที่จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยในกลุ่มเครือข่าย ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรทางการศึกษาเครือข่ายกลอนโด 10.2. เผยแพร่ทางสื่อสาธารณะโดย สสวท. ร่วมกับทรูคอเปอร์เรชั่นได้มาบันทึกการจัด ประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเผยแพร่ทางช่องทรูปลูกปัญญา ในวันที่ 6 ตุลาคาม 2556 ใน รายการเพื่อนครู และสามารถชมได้ทาง http://www.trueplookpanya.com/new/tv_program_detail/127/1423/เพื่อนครู-:กาญจนบุรี/ 10.3. เป็นทีมวิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้แก่คณะครู ในสพป.กาญจนบุรี เขต 1 ในเรื่อง ของการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ของเด็กปฐมวัย วันที่ 19 กรกฎาคม 2556
ผู้ส่งผลงาน จีเรียง บุญสม (นางสาวจีเรียง บุญสม)
ภาคผนวก
ภาพประกอบการจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการปฐมวัยด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โครงการ “ความลับของดอกไม้” ของเด็กชั้นอนุบาล 1- 2
คณะอาจารย์จากสสวท. และทรูคอเปอร์เรชั่นบันทึกวีดีทัศน์การจัดประสบการณ์ดว้ ยกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อออกอากาศในรายการ “เพื่อนครู” ทางช่องทรูปลูกปัญญาในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ร่วมกับคณะอาจารย์จากสสวท. และทรูคอเปอร์เรชั่น พิจารณาการถ่ายทา ตัดต่อการบันทึกวีดที ัศน์เพื่อ ออกอากาศรายการ “เพื่อนครู” ทางช่องทรูปลูกปัญญา
เป็นทีมวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ให้แก่คณะครูปฐมวัย สพป.กาญจนบุรี เขต 1