BP โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

Page 1

ผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประเภท สถานศึกษายอดเยี่ยม ด้าน วิชาการ

 บริหารจัดการ  นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

1. ขื่อผลงาน BP การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพ 5 วิชาหลัก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม)

2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP

นางสาวสายหยุด ห้าวเจริญ

2.2 โรงเรียน

บ้านโป่งหวาย

เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ ศรีสวัสดิ์ 1 2.3 โทรศัพท์ 08 9918 3657 e-mail : khu_saiyud@hotmail.com

3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 3.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 วิชาหลัก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม) 3.2 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยใช้ โครงงานมาเป็นเครื่องมือในการบูรณาการการจัด กิจกรรมการเรียนรู้

4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเวลาเริ่มต้นพัฒนา และระยะเวลาที่ใช้ในการ พัฒนา BP) ปีการศึกษา 2555 ถึง ปีการศึกษา 2556

5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพม./สพฐ./ สถานศึกษา มีความสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2556) ได้แก่ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ข้อ 1 คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้ มาตรฐานระดับสากล โดยตัวบ่งบ่งชี้และค่าเป้าหมาย คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการ ทดสอบระดับชาติมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 เป้าหมายและยุทธศาสตร์ข้อ 3 คนไทยใฝ่ดี มี คุณธรรมพื้น ฐาน มีจิ ต ส านึ กและค่านิ ยมที่พึงประสงค์เห็ นแก่ป ระโยชน์ส่ ว นรวม มีจิต สาธารณะ มี


วัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยตัวบ่งบ่งชี้และค่าเป้าหมาย คือ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ากว่าร้อยละ 75 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมือง มีความสั มพัน ธ์เชื่อมโยงกับ การดาเนินงานของส านักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 มีเป้าหมายให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้น พื้นฐาน จึงดาเนินการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพของนักเรียน ให้เป็นพลเมืองคุณภาพและเปี่ยมคุณธรรมให้แก่ประเทศ โดยการพัฒนาครูและผู้บริหารให้มีสมรรถนะ ตามวิชาชีพ มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านโป่งหวาย เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียน ดีศรีตาบล รุ่นที่ 3 ซึ่งในการพัฒนาโรงเรียนดีศรีตาบลมีเป้าหมายสุดท้ายที่โรงเรียนดีศรีตาบลจะเป็น โรงเรียนที่มีชื่อเสียง มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศใน 5 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้เรียนมี คุณลักษณะทีพึงประสงค์ 8 ประการ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง พอเพียง มุ่งมั่นการทางาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ ผู้เรียนมีสมรรถนะสาคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิตและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโป่งหวายได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการกอง ทุนการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชประสงค์ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียน ดังนั้นในการกาหนดวิสัย ทัศน์ โรงเรียนบ้านโป่งหวายจึงมีความสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัดที่ เกี่ยวข้อง โดยกาหนดวิสัยทัศน์ คือ “ มุ่งปลูกฝังจิตสานึกให้ผู้เรียนมีความรัก ความภาคภูมิใจในชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม คิด เป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” ดังนั้น เป้าหมายในการดาเนินงาน คือ 1. ผู้เรียนร้อยละ 90 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความพอเพียง 2. ผู้เรียนร้อยละ 90 ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ 3. ผู้เรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นในทุกปีการศึกษา 4. ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบ ระดับชาติมีคะแนนค่าเฉลี่ยไม่ต่ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศใน 5 วิชา ภายใน 4 ปี (2555-2558) จากที่กล่าวมาสามารถสรุปแผนภาพการดาเนินงานที่มีผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียน บ้านโป่งหวายที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


นโยบายโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป้ าหมายและยุ ทธศาสตร์ ข้อ 1 คนไทยและ การศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับ สากล ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรี ย นในวิ ช าหลั ก จากการทดสอบระดั บ ชาติ มี คะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50

เป้าหมายและยุทธศาสตร์ข้อ 3 คนไทยใฝ่ดี มี คุ ณ ธรรมพื้ น ฐาน มี จิ ต ส านึ ก และค่ า นิ ย มที่ พึ ง ประสงค์ เ ห็ น แก่ ป ระโยชน์ ส่ ว นรวม มี จิ ต สาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ตัว บ่ งชี้ แ ละค่ า เป้ า หมาย คื อ ผู้ เ รี ย นทุ กระดั บ การศึ ก ษาไม่ ต่ ากว่ า ร้ อ ยละ 75 มี คุ ณ ธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมือง

สานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 ผู้ เ รี ย นได้ รั บ ทุ ก คนได้ รั บ การศึกษาที่มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน ยกระดับคุณภาพ ของผู้เรียนให้เป็นพลเมือง คุ ณ ภ า พ แ ล ะ เ ปี่ ย ม คุ ณ ธรรมให้ แ ก่ ป ระเทศ โดยการพั ฒ นาครู แ ละ ผู้ บ ริ ห ารให้ มี ส มรรถนะ ต า ม วิ ช า ชี พ มี ความสามารถในการจั ด กิ จ ก ร รม ก า ร เรี ย น รู้ ที่ ส่ ง ผลต่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท าง เรียนของนักเรียน

ในโรงเรียน

โรงเรียนบ้านโป่งหวาย -ผู้เรียนร้อยละ 90 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความ พอเพียง - ผู้เรียนร้อยละ 90 คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ - ผู้เรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นใน ทุกปีการศึกษา - ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติมี คะแนนค่าเฉลี่ยไม่ต่ากว่าค่าเฉลี่ยของประเทศใน 5 วิชา ภายใน 4 ปี (2555-2558)

นโยบายโรงเรียนดีศรีตาบล รุ่นที่ 3 - มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศใน 5 วิชาหลัก - ผู้เรียนมีคุณลักษณะทีพึงประสงค์ 8 ประการ - ผู้เรียนมีสมรรถนะสาคัญ 5 ประการ


6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP แนวคิดการปฏิรูปการศึกษา การศึกษาเป็นกระบวนการสาคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข โดยในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561) กาหนดหลักการพัฒนา การศึ ก ษาทั้ ง ด้ า นคุ ณ ภาพ โอกาสและการมี ส่ ว นร่ ว ม ด้ ว ยการก าหนดกรอบและสาระส าคั ญ ของ การศึกษาและการเรียนรู้ที่ต้องการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน 4 ประการหลัก คือ 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหา ความรู้อย่างต่อเนื่อง มีความสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม 2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ที่เป็นผู้เอื้ออานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ที่มุ่งเน้นการกระจายอานาจและเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ดังนั้น โรงเรียนบ้านโป่งหวาย ได้ยึดกรอบการดาเนินงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ด้วยการ กาหนดเป้าหมายในการดาเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษา ภายใต้สภาพปัญหา ความจาเป็นของสถานศึกษา แนวคิดคุณธรรมนาความรู้ พระราชบั ญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 มาตรา 6 ก าหนดหลั ก การในการจั ด การศึ ก ษาเพื่ อ พั ฒ นาคนไทยให้ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ ทั้ ง ร่ า งกาย จิ ต ใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง มีความสุข “การศึกษา” เป็นเครื่องมือสาคัญในการสร้างและพัฒนาหล่อหลอมคนให้เป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณภาพและการจะบรรลุเป้าหมายเช่นนั้นได้ จะต้องได้รับการศึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพแวดล้อมทุกส่วนของสังคม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นความสาคัญในการจัดการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนาความรู้มาเป็นหลักในการพัฒนาทุกด้าน โดยโครงการคุณธรรมนาความรู้เป็นแนวทางเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาที่เกิดจาก แนวคิดของอดีตรัฐมนตรีการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน โดยมี ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา (2550) ดาเนินงานคุณธรรมนาความรู้ โดยใช้ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณา การคุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยเชื่อว่ามีมนุษย์มี กระบวนการเรียนรู้ ที่เริ่มต้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากนั้นจะบันทึกข้อมูลลงไปในจิตใต้สานึกเป็นประสบการณ์ ความทรงจา และเพื่อที่จะได้เข้าใจและรับรู้ข้อมูลที่ประสาทสัมผัสได้รับเข้ามาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ร่างกาย จึงต้องมีการตีความ โดยการตีความจะอาศัยประสบการณ์ในอดีตที่มนุษย์บันทึกไว้ในความทรง


จา ความเข้าใจของมนุษย์จึงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีต เมื่อจิตสานึกได้รับสัญญาณที่ผ่าน การตีความออกมาอย่างมีวิจารณญาณ จะทาให้มนุษย์รับรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัย หากคิดดี พูดดี ทาดี ชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี เมื่อจิตใจสงบก็จะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มีสมาธิและจะนาไป สัมผัสกับจิตเหนือสานึก หรือจิตบริสุทธิ์ ที่ความรู้ปัญญาสูงสุดจะเกิดขึ้น ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (อ้างใน อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, 2550, หน้า 33) กล่าวว่า ปัจจัยโดยตรงที่ทาให้เกิดอุปนิสัยที่ดีงามและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการทีดี คือ บรรยากาศ ในขณะเดียวกัน การบริหารภายในห้องเรียนก็จะส่งผลไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเช่ นเดียวกัน ดังนั้น บรรยากาศที่จะ ช่วยยกระดับจิตใจของนักเรียนได้ดีที่สุด คือ บรรยากาศโรงเรียนที่ควรเต็มไปด้วยความสงบ ความรัก ความเมตตา เพราะเมื่อนักเรียนได้สัมผัสกับบรรยากาศนี้ก็จะสงบและมีความสุข การเปลี่ยนแปลงก็จะ เกิดขึ้นได้ง่าย ดังแผนภาพ

ปัจจัยต้นเหตุ

บรรยากาศของโรงเรียน

ผลลัพธ์ปลายเหตุ อุปนิสัยที่ดีงาม (EQ,MQ)

การบริหาร ภายในห้องเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ (IQ)

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุปนิสัยที่ดีงามและผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการที่ได้จากการศึกษาเชิงประจักษ์


โรงเรียนบ้านโป่งหวายจึงถือเป็นเป็นภารกิจสาคัญที่ต้องทาหน้าที่พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มี คุณธรรมและมีความรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน และผู้บริหารสถานศึกษา ต้องกระตุ้นให้ครูทาหน้าที่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ ผู้เรียนมีคุณธรรมนาความรู้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ การบู รณาการ หมายถึง การนาศาสตร์ส าขาวิช าต่าง ๆ ทื่มีความสั มพันธ์เกี่ยวข้องกันมา ผสมผสานเข้าด้วยกัน สาเหตุที่ต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอน คือ 1. ในชีวิตของคนเรามีเรื่องราวต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่อง ๆ 2. เมื่อมีการบู ร ณาการเข้ากับชีวิตจริงด้ว ยการเรียนรู้ในสิ่ งที่ใกล้ ตัว แล้ ว ขยายกว้างออกไป ผู้เรียนจะเรียนรู้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมาย 3. เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนามาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เรียนรู้อย่างมี ความหมาย ลดความซ้าซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา ลดเวลา แบ่งเบาภาระของครู 4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย โรงเรียนที่สนับสนุนให้มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมีลักษณะ ดังนี้ 1. มีการจัดการเรียนการสอนเป็นหน่วย 2. เชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ท้องถิ่น 3. จัดตารางการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น 4. นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและมีการประเมินผลตามสภาพจริง 5. ใช้กิจกรรมเชื่อมโยงสู่การฝึกทักษะและเนื้อหาสาระวิชาต่าง ๆ 6. การเรียนรู้แบบบูรณาการเชื้อมดยงสู่การประเมินทุกรายวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ 7. สร้างการทางานเป็นทีม เพราะต้องอาศัยครูเจ้าของวิชาหลายวิชาร่วมกันวางแผนและทาการ สอน ประเภทของการบูรณาการ มีดังนี้ 1. บูร ณาการภายในวิชา เช่น ภาษาไทย จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทักษะฟัง ดู พูด อ่าน เขียน หลักภาษา และการใช้ภาษา 2. บูรณาการเชื่อมโยงกับกลุ่มประสบการณ์หรือวิชาอื่น ๆ ทาได้ 2 ลักษณะ คือ


2.1 ผู้สอนคนเดียว สอนหลายเรื่อง สามารถนาเนื้อหาสาระที่คล้ายกัน หรือเหมือนกันมา บูรณาการด้วยกัน 2.2 ผู้สอนหลายคน สอนในเนื้อหาวิชาที่สัมพันธ์กัน แต่มีชั่วโมงสอนต่างกัน สามารถช่วยกัน จัดทาหน่วยการสอนโดยบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน 2. บูรณาการเชื่อมโยงและสอนเป็นคณะ คือ การที่ครูผู้สอนในวิชาหรือกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกัน กาหนดเรื่องเป็นหน่วย กาหนดหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องย่อย ประเด็น ในการสอน กาหนดกิจกรรม และ ร่วมกันจัดกิจกรรม ตลอดจนร่วมกันประเมินผล อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารโรงเรียนสัตยาไสใช้หลักการ “การเรียนรู้โดยนักเรียนเป็น ศูนย์กลาง” และ “การเรียนรู้แบบบูรณาการ” เช่น ให้นักเรียน(เริ่มแต่ชั้นอนุบาล) ร่วมกาหนดหัวข้อที่ จะเรียนรู้ แล้วครูเป็นผู้เอื้ออานวย(ไม่ใช่สอน) ให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้จากการได้ปฏิบัติ ได้เห็นได้ฟัง ได้สัมผัส ได้ทดลอง ได้คิด อย่างเหมาะสม ทาให้เด็กเป็นคนเก่งคนดี ในส่วนของการเรียนรู้ อย่างบูรณาการจะเริ่มต้นด้วยการนั่งสมาธิ แล้วแบ่งกลุ่ม แยกย้ายไปเรียนตามฐานการเรียนรู้ กลับมา รวมกันในช่วงท้าย แต่ละกลุ่มนาเสนอผลการเรียนรู้จากแต่ละฐานพร้อมอภิปราย และจบลงด้วยการนั่ง สมาธิ แผ่เมตตาและทาความเคารพ ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่บรรลุจุดประสงค์ตามหลักสูตรและความต้องการของ ผู้เรียน โรงเรียนบ้านโป่งหวายจึงตระหนักถึงความสาคัญและความจาเป็นในการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึด ผู้เรี ย นเป็ น ศูน ย์ กลาง ด้ว ยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อช่ว ยให้ ผู้ เรียนตระหนักถึง ความสาคัญและความเชื่อมโยงของแต่ละวิชาที่มีต่อกัน ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนสามารถสรุปองค์รวมความรู้ได้ การจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือ ปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจอย่างเป็นกระบวนการ มีพื้นฐานจากการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่ง ผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทางานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทางานหรือการแก้ปัญหาอย่าง เป็นระบบ จนการดาเนินการสาเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่าง หลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่าสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการดาเนินงานต่างๆ ได้ วิธีการสอนโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวิธีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นาองค์ความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทาโครงงานซึ่งการใช้การสอนวิธีนี้ครูจะต้องใช้คาถามนาความคิด ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจ และเห็นกระบวนการ และครูจะต้องใจเย็นและใส่ใจอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ การสอนโครงงานในครั้งแรก


เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเกิดการพัฒนาการทางานอย่างเป็นขั้นตอน ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นขั้นตอนและ เกิดขึ้นงานจากการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1. ขั้นกาหนดปัญหา หรือสารวจความสนใจ ผู้สอนเสนอสถานการณ์หรือตัวอย่างที่เป็นปัญหา และกระตุ้นให้ผู้เรียนหาวิธีการแก้ปัญหาหรือยุยั่วให้ผู้เรียนมีความต้องการใคร่เรียนใคร่รู้ ในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง 2. ขั้นกาหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน ผู้สอนแนะนาให้ผู้เรียนกาหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่า เรียนเพื่ออะไร จะทาโครงงานนั้นเพื่อแก้ปัญหาอะไร ซึ่งทาให้ผู้เรียนกาหนดโครงงานแนวทางในการ ดาเนินงานได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย 3. ขั้นวางแผนและวิเคราะห์โครงงาน ให้ผู้เรียนวางแผนแก้ปัญหาซึ่งเป็นโครงงานเดี่ยวหรือกลุ่ ม ก็ได้ แล้ วเสนอแผนการดาเนิน งานให้ ผู้ส อนพิจารณา ให้ คาแนะนาช่ว ยเหลื อและข้อเสนอแนะการ วางแผนโครงงานของผู้เรียน ผู้เรียนเขียนโครงงานตามหัวข้อซึ่งมีหัวข้อสาคัญ ( ชื่อโครงงาน หลักการ และเหตุผลวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาโครงการ เครื่องมือที่ ใช้ ผลที่คาดว่า จะได้รับ ) 4. ขั้นลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหาตามแผนการที่กาหนดไว้ โดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา คอยสังเกต ติดตาม แนะนาให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล บันทึก ผลดาเนินงานด้วยความมานะอดทน มีการประชุมอภิปราย ปรึกษาหารือกันเป็นระยะ ๆ ผู้สอนจะเข้าไป เกี่ยวข้องเท่าที่จาเป็น ผู้เรียนเป็นผู้ที่ใช้ความคิด ความรู้ ในการวางแผนและตัดสินใจทาด้วยตนเอง 5. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน ผู้สอนแนะนาให้นักเรียนรู้จักประเมินผลก่อนดาเนินการ ระหว่างดาเนินการและหลังดาเนินการ คือรู้จักพิจารณาว่าก่อนที่จะดาเนินการมีสภาพเป็นอย่างไร มี ปัญหาอย่างไรระหว่างที่ดาเนินงานตามโครงงานนั้น ยังมีสิ่งใดที่ผิดพลาดหรือเป็นข้อบกพร่องอยู่ ต้อง แก้ไขอะไรอีกบ้าง มีวิธีแก้ไขอย่างไร เมื่อดาเนินการไปแล้วผู้เรียนมีแนวคิดอย่างไร มีความพึงพอใจ หรือไม่ ผลของการดาเนินงานตามโครงการ ผู้เรียนได้ความรู้อะไร ได้ประโยชน์อย่างไร และสามารถนา ความรู้นั้นไปพัฒนาปรับปรุงงานได้อย่างดียิ่งขึ้น หรือนาความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตได้อย่างไรโดยผู้เรียน ประเมินโครงงานของตนเองหรือผู้ร่วมประเมิน จากนั้นผู้สอนจึงประเมินผลโครงงานตามแบบประเมิน ซึ่งผู้ปกครองอาจจะมีส่วนร่วมในการประเมินด้วยก็ได้ 6. ขั้นสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน เมือผู้เรียนทางานตามแผนละเก็บข้อมูลแล้วต้องทา การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปและเขียนรายงานเพื่อนาเสนอผลงาน ซึ่งนอกเหนือจากรายงานเอกสารแล้ว


อาจมีแผนภูมิ แผนภาพ กราฟ แบบจาลอง หรือของจริงในการประกอบการนาเสนอ อาจจัดได้ หลายรูปแบบ เช่น นิทรรศการ การแสดงละคร ฯลฯ สุชาติ วงศ์สุวรรณ (2542) การจัด การเรียนรู้ที่จาทาให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข มีจิตสานึกรับผิดชอบต่อสังคมได้นั้น จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่เสริ มสร้างพลังความสามารถที่มีอยู่ในตัว ของผู้เรียนแต่ละคนให้ได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพแล้วนาศักยภาพเหล่านั้นมา พัฒนาตนและสังคมได้อย่างเหมะสมกับความสามารถที่มีอยู่ ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกระตุ้น การเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสามารถและวีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งการ เรียนรู้โดยโครงงาน เป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเป็นการเสริมสร้าง ศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนให้รับการพัฒนาได้เต็มขีดความสามารถอย่างแท้จริง ดังนั้น โรงเรียนบ้านโป่งหวายจึงกาหนดให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงานเพื่อให้ เป็นไปตามทีท่ ี่กระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่มีวิสัยทัศน์ ให้คนไทยได้เรียนรู้ ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยยึดหลักแนวคิดคุณธรรมนาความรู้ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน โรงเรียนบ้านโป่งหวายกาหนด ภารกิจที่จาเป็นและเร่งด่วนในการดาเนินการพัฒนาผู้เรียนตามจุดเน้นในระดับสถานศึกษาและระดับ ห้องเรียน อันจะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนให้สูงขึ้น โดยมีกรอบแนวคิดในการ ปฏิบัติงาน ดังนี้


กรอบแนวคิดวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ด้านวิชาการยอดเยี่ยม โรงเรียนบ้านโป่งหวาย การปฏิรปู การศึกษา

คุณธรรมนาความรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการบูรณาการ

การเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน

การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพ 5 วิชา (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม)

วิธีปฏิบัติ 1. วิเคราะห์สภาพปัญหา 2. กาหนดแนวคิด/วิธีการ

การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใน รูปแบบโครงงาน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการ

- คุณธรรมนาความรู้

- การบูรณาการ

- การเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน 3. กาหนดรูปแบบการปฏิบัติ

การเรียนรู้แบบโครงงาน  

4. ปฏิบัติและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน

5.สรุปบทเรียน แก้ปัญหาให้สาเร็จ

6. สรุ ป รายงานผล และเผยแพร่ ผ ลงาน

เนื้อหา (ภายในวิชา/เชื่อมโยงวิชาอื่นๆ) สอนคนเดียว /สอนเป็นทีม /ภูมิปญ ั ญา โครงงานแบบสารวจ โครงงานแบบทดลอง โครงงานสิ่งประดิษฐ์ โครงงานทฤษฎี

เป้าหมาย

-ผู้เรียนร้อยละ 90 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความ พอเพียง - ผู้เรียนร้อยละ 90 คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ - ผู้เรียนร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ในทุกปีการศึกษา - ผู้ เ รี ย นระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 มี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติมี คะแนนค่ า เฉลี่ ย ไม่ ต่ ากว่ า ค่ า เฉลี่ ย ของประเทศใน 5 วิชาหลัก ภายใน 4 ปีการศึกษา (2555-2558)


7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมาย กลุม่ เป้าหมายต้นแบบ - ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้นแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - ครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้นแบบ ได้แก่ ครูผู้ สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รายวิช าภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มเป้าหมายเครือข่ายขยายผล - ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายเครือข่ายขยายผล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 - คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-5 7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา)


การดาเนินงานด้านวิชาการยอดเยี่ยมของโรงเรียนบ้านโป่งหวาย การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโครงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 5 กลุ่มสาระ



การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน 5 วิชาหลัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

วิชาภาษาไทย - การเรียนรู้เกี่ยวกับสัมผัสบังคับ (นอก ใน) ระหว่างวรรคตอน - คาคล้องจอง สระ วรรณยุกต์ ของบทเพลง เหย่อย

วิชาวิทยาศาสตร์ - สารวจทรัพยากรและวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น - ชนิดและประเภทของวัสดุที่เหลือใช้ - ปริมาณ

- วิเคราะห์การผลิตของส่วนประกอบนั้นๆ - แนวทางการแปรรูปวัสดุที่เหลือใช้

วิชาภาษาอังกฤษ - การเรียนรู้เกี่ยวกับ คาศัพท์ประเภท คานาม คาคุณศัพท์ ไวยากรณ์

วิชาสังคมศึกษา - บทบาทของผู้ผลิต - ความหมายและความสาคัญของผู้ผลิต - คุณสมบัติของผู้บริโภคที่ดี - บทบาทของผู้บริโภค

วิชาคณิตศาสตร์ การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม - ทบทวนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม - หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ - การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมีเส้น ทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉาก - หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่สร้างวัสดุเหลือ ใช้ หาปริมาณกล่องนมที่ใช้สร้างรูปสี่เหลี่ยม แต่ละรูปและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

ประวัติเพลงพื้นบ้าน - ค้นคว้าประวัติจากชุมชน

รูปแบบฉันทลักษณ์ของ เพลงเหย่อย

แบ่งกลุ่มนักเรียน

- ค้นคว้าจาก Internet

- สัมผัสบังคับ (นอก ใน ระหว่างวรรคตอน

- ค้นคว้าข้อมูลโรงเรียน และปราชญ์ชุมชน

- วัตถุประสงค์ของการแต่ง เพลง

- คาคล้องจอง สระ วรรณยุกต์

- แต่งเพลงตามกลุ่มที่จัด ไว้

นาเสนอการแสดง บทเพลงเหย่อย

จัดทาโครงงาน

- จัดทารูปเล่มโครงงาน - นาเสนอโครงงานเหย่อย คุณธรรม

สรุปการดาเนินงาน

- สรุปและบันทึกผลโดยการจัดทาเป็น รูปเล่ม

โครงงานเหย่อยคุณธรรม สัญจร -จัดกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยการแสดงบทเพลง เหย่อย


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

Talking about Karnjanaburi province - searching about culture and history. - objective about Yery song. -

Presentation

( Yery song)

Vocabulary/Gram mar - Noun - Adjective - present tense - past tense

Project group - Doing project. - Presentation Yery song project.

Conclude - Conclude an activity.

Groups - Compose a song ( Yery song) - Searching for philosopher.

Exhibitions - Presentation Yery song.


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

สารวจทรัพยากรและวัสดุ เหลือใช้ในท้องถิ่น - ชนิดและประเภทของวัสดุที่ เหลือใช้

เลือกชนิดของทรัพยากร กลับมาใช้ประโยชน์ - วิเคราะห์การผลิตของ ส่วนประกอบนั้นๆ

แนวทางการแปรรูปวัสดุ ที่เหลือใช้ - รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ นามาแปรรูป

- ปริมาณ

การแปรรูปวัสดุที่เหลือใช้ - รวมรวมวัสดุ -ล้างทาความสะอาด - แปรรูปผลิตภัณฑ์

จัดทาโครงงาน - รูปเล่มโครงงาน - นาเสนอผลงาน

สรุปผล - ประโยชน์ - ความคงทน -ความประหยัด และ พอเพียง


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

บอกคุณสมบัติของเส้นทแยงมุม ของรูปสี่เหลี่ยม - ทบทวนรูปสี่เหลี่ยมแต่ละชนิด เช่น สี่เหลี่ยม ด้านขนาน ขนมเปียกปูน สี่เหลี่ยมจัตุรัส ผืน ผ้า คางหมู รูปว่าว ด้านขนาน

ทบทวนการสร้างสี่เหลี่ยม - ทบทวนสร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านต่างๆ เมื่อกาหนด ความยาวและขนาดของมุม หรือเส้น ทแยงมุม - สร้างรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆจากวัสดุ เหลือใช้

การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม - ทบทวนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม - หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ - การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมีเส้นทแยง มุมตัดกันเป็นมุมฉาก - หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมที่สร้างวัสดุเหลือใช้ - หาปริมาณกล่องนมที่ใช้สร้างรูปสี่เหลี่ยมแต่ ละรูป

การแก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ - การคาดคะเนพื้นที่ของรูป สี่เหลี่ยม - นาเสนอโครงงาน


การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาสังคมศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งหวาย

เศรษฐศาสตร์ (เศรษฐกิจพอเพียง)

ผู้ผลิตและผู้บริโภค

ความหมาย บทบาทของผู้ผลิต

ผู้ผลิตที่มี คุณธรรม

และความสาคัญ ของผู้ผลิต

ทัศนคติในการใช้ ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของ ผู้บริโภคที่ดี

คุณค่าและ ประโยชน์ ของ ผู้บริโภคที่ รู้เท่าทัน

บทบาทของ ผู้บริโภค

พฤติกรรม บกพร่องของ ผู้บริโภค


7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) การตรวจสอบคุณภาพของ BP มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ - ประชุมระดมความคิดครูผู้ใช้ BP ทดลองใช้ BP และวิเคราะห์ผลการทดลองใช้ พร้อมสรุป บทเรียนเพื่อปรับปรุงพัฒนาแก้ปัญหาให้สาเร็จต่อไป - นา BP ไปใช้จริง - ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน - ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติ - ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน - ประชุมระดมความคิดครูผู้ใช้ BP วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน และสรุปบทเรียนเพื่อปรับปรุง พัฒนาแก้ปัญหาให้สาเร็จในทุกภาคเรียน พร้อมวางแผนพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ ขั้นตอนที่ 1 นาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้ น ตอนที่ 2 ขยายผลการใช้ ไ ปสู่ ก ารจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ วิ ช า ภาษาไทย คณิ ต ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ขั้นตอนที่ 3 ขยายผลสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกสาระและทุกระดับชั้นภายในโรงเรียนต่อไป ขั้นตอนที่ 4 เผยแพร่ผลงานความสาเร็จสู่เครือข่ายครูนอกสถานศึกษา

8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 วิชาหลัก ระดับสถานศึกษา ของนักเรีย นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 - ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติ 5 วิชาหลัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 - ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณธรรมจริยธรรม มีความพอเพียง - ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน


8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ ผลงานความสาเร็จจากการประเมินตนเอง - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 วิชาหลัก ในระดับสถานศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น - การบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงานทาให้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณธรรม จริยธรรม มีความพอเพียง คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน - ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งหวาย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจการการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านโป่งหวาย มีผู้ปกครองนอกเขตบริการการศึกษาพานักเรียนมาเข้า เรียนเพิ่มขึ้น - ครูและนักเรียนในโรงเรียนบ้านโป่งหวาย ได้รับการขยายผลจากต้นแบบการจัดกิจกรรมการ เรี ย นรู้ ใ นรู ป แบบโครงงาน ท าให้ ก ลุ่ ม เป้ าหมายเครื อข่ า ยขยายผลครู แ ละนัก เรี ย นมี คุณ ธรรมตาม เป้าหมาย จากการนาโครงงานมาเป็นเครื่องมือบูรณาการจัดการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน - โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ดีและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามแนวทางคุณธรรมนา ความรู้ ผลงานความสาเร็จและความภาคภูมิใจจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโป่งหวายผ่านการประเมินโรงเรียนดีศรีตาบล รุ่นที่ 3 - ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโป่งหวายผ่านการรับรองจากสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง - ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านโป่งหวายผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก สถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 3 จากสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การหมาชน) - ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านโป่งหวายได้รับการประกาศจากสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น ธนาคารออมสินร่วมกับ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP (ระบุค่าความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องและวิธี การที่มา เกี่ยวข้องกับข้อมูลความพึงพอใจ)


- จากการประเมินความพึงพอใจ และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มป้าหมายต้นแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของ BP และทุกคน มีความพึงพอใจต่อการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน - จากผลการสังเกตพฤติกรรม สัมภาษณ์ และใช้แบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียน กลุ่มเป้าหมายเครือข่ายขยายผล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ที่ได้รับการเรียนรู้ในรูปแบบ โครงงานที่สอดแทรกคุณธรรม มีคุณธรรม 3 ประการ ตามเป้าหมายของโรงเรียน และมีความพึงพอใจ ต่อการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน - ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งหวาย และผู้เกี่ยวข้ องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจการบูรณา การการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน และมีผู้ปกครองนอกเขตบริการการศึกษาพานักเรียน มาเข้าเรียนในโรงเรียนบ้านโป่งหวายเพิ่มขึ้น ทาให้จานวนนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งหวายเพิ่มขึ้น และมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีการศึกษา

9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า - จัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน 8 กลุ่มสาระ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - กาหนดเป้ าหมายในการบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 วิช าหลั ก ในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-5 - ขยายผลการจั ดกิ จ กรรมบู รณาการการเรีย นรู้ในรูปแบบโครงงานทุกวิ ช า ทุกระดับชั้น ทั้ ง โรงเรียน 9.2 ผลการตรวจซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP - การสังเกตพฤติกรรม การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับสถานศึกษา ระดับชาติ การสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม นักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบต่อ การเรียนดีขึ้น - การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนในการประชุมผู้ปกครองนักเรียนทุกภาค เรี ย น พบว่า ผู้ ป กครองมีความพึงพอใจที่นักเรีย นมีผ ลการเรี ยนที่ดี ขึ้น มี คุณธรรม 3 ประการตาม เป้าหมายของโรงเรียน - การสรุปบทเรียน ระดมความคิด วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของครู พบว่า ครูผู้รับผิดชอบจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 5 วิชาหลัก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรมีการบูรณการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงการให้ครบ 8 วิชา และมีมติให้ปรับตารางเรียนให้มีความยืดหยุ่น เปิด โอกาสให้ครูจัดกิจกรรมเป็นทีม และมีความคิดเห็น ที่ตรงกันว่า ควรขยายผล BP ทั้งโรงเรียน เพื่อให้


นักเรีย นเป็น คนดี มีคุณธรรม จริ ยธรรม มีความพอเพียง เป็น คนเก่ง ใฝ่ รู้ ใฝ่ เรียน คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข ดังนั้น จากการลงมือปฏิบัติในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ที่เริ่มต้นจากการบูรณาการการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงาน 5 วิชาหลัก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นาไปสู่การลงมือ ปฏิบัติการขยายผลการเรียนรู้สู่นักเรียนทั้งโรงเรียนในรูปแบบโครงงานคุณธรรม และในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2556 ลงมื อขยายผลการเรีย นรู้ สู่ ชุม ชน และขยายผลสู่ ชั้น เรีย นอื่น ผลการพั ฒ นาและ ปรับปรุง พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งหวายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น มีคุณธรรมตามเป้าหมาย มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของคณะครูโรงเรียนบ้านโป่งหวาย และที่สาคัญผู้ปกครอง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของนักเรียน ครู ผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งหวาย ทาให้คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งหวายต่าง เล็งเห็นความสาคัญและความจาเป็นที่ต้องบูรณาการการจั ดการเรียนรู้ในรูปแบบโครงงานที่สอดแทรก คุณธรรมทุกวิชาและทุกชั้นเรียน โดยกาหนดแผนการดาเนินงานร่วมกันในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ให้ มีความเป็ นรู ปธรรมที่ชัดเจนทุกฝ่ ายร่วมกันลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งระบบอย่าง แท้จริง

10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง (ระบุวัน เวลา และรูปแบบ/วิธีการประสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผล) 1. จัดทาสารประชาสัมพันธ์จากโรงเรียนถึงบ้าน เดือนละ 1 ฉบับ 2. เผยแพร่ผลงานดาเนินงานของโรงเรียนในเว็ปไซต์ของโรงเรียนบ้านโป่งหวาย http://school.obec.go.th./bpongwai/ 3. แจ้งผลงานความสาเร็จแก่ผู้ปกครองนักเรียนในการประชุมผู้ปกครองนักเรียนภาคเรียน ละ 1 ครั้ง 4. เผยแพร่การดาเนินงานโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและรายงานความก้าวหน้าในการ ดาเนิ น งานโครงการจิตอาสาพัฒ นาชุมชน ระยะที่ 1 โครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดนครนายก ระหว่างวันที่ 23-25 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 5. รับการตรวจเยี่ยมจากคณะทางานโครงการกองทุนการศึกษา สานักราชเลขาธิการ (ทาเนียบ องคมนตรี) สานักผู้ตรวจการแผ่นดินและศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) วันที่ 5 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 6. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานความสาเร็จ และการแสดงเพลงเหย่อยคุณธรรมบ้านโป่งหวาย ในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 25-26 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ณ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร


7. รับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับ ธนาคารออมสิน ในระดับกลุ่มจังหวัด วันที่ 7 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 8. รับการตรวจเยี่ยมจากคณะกรรมการโครงการกองทุนการศึกษา วันที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 9. รั บ การตรวจเยี่ ย มจากผู้ ต รวจราชการ นางผานิ ต ย์ มี สุ น ทร ผู้ ต รวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 14 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 10. ผู้บริหารและคณะครูกลุ่มโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนในโครงการกอง ทุนการศึกษา ศึกษาดูงาน วันที่ 23 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 11. เผยแพร่การดาเนินงานโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและรายงานความก้าวหน้าใน การดาเนิ นงานโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชน ระยะที่ 2 โครงการกองทุนการศึกษา ณ คุ้มพญาซอ จังหวัดสมุทรสมคราม ระหว่างวันที่ 30 เดือนสิงหาคม ถึง 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 12. จัดนิทรรศการแสดงผลงาน Coaching and Mentoring ณ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 วันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ***************************************





เน










การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับ ธนาคารออมสิน ในระดับกลุ่มจังหวัด


การตรวจเยี่ยมจากคณะกรรมการ โครงการกองทุนการศึกษา


การตรวจเยี่ยมจากผู้ตรวจราชการ นางผานิตย์ มีสุนทร ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ


ผู้บริหารและคณะครูกลุ่มโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา ศึกษาดูงาน




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.