วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2555

Page 1

วารสารศึกษาศาสตรปริทัศน ปที่ 27 ฉบับที่ 3

รายนามผูท้ รงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Peer Review) ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ดร.คมศร วงษ์รักษา ดร.ประสบโชค โชคเหมาะ ดร.ปานเทพ ลาภเกษร ดร.ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ ดร.วารุณี ลัภนโชคดี ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ดร.สมภพ สุวรรณรัตน์ ดร.สูติเทพ ศิริพิพัฒกุล ผศ.กัณฑิมา เนียมโภคะ ผศ.ดร.กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ ผศ.ดร.กอบกุล สรรพกิจจํานง ผศ.ดร.จินตนา กาญจนวิสุทธิ์ ผศ.ดร.จุฬารัตน์ วัฒนะ ผศ.ดร.ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ ผศ.ดร.ชาตรี ฝ่ายคําตา ผศ.ดร.ทรงชัย อักษรคิด ผศ.ดร.ธีรเดช ชื่นประชานุสรณ์ ผศ.ดร.นงลักษณ์ มโนวลัยเลา ผศ.ดร.นฤมล ยุตาคม ผศ.ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ ผศ.ดร.สุดารัตน์ สารสว่าง

ผศ.ดร.สูติเทพ ศิริพัฒนกุล รศ.จงกล แก่นเพิ่ม รศ.เจษฎา เจียระนัย รศ.ชาญชัย ขันติศิริ รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง รศ.ดร.ณรงค์ สมพงษ์ รศ.ดร.พรทิพย์ ไชยโส รศ.ดร.พีรพงศ์ ทิพย์นาค รศ.ดร.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ รศ.ดร.สิริพร ทิพย์คง รศ.ดร.สุรชัย ประเสริฐสรวย รศ.นันทนา รามาตย์ รศ.ยศ ทรัพย์เย็น รศ.อรจิต ภูแพ ศ.ดร.บุญธรรม จิตต์อนันต์ ศ.ยุพิน พิพิธกุล อาจารย์ ดร.นพวรรณ ฉิมรอยลาภ อาจารย์ ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา อาจารย์ ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน อาจารย์ ดร.อัจฉรา เสาว์เฉลิม


บรรณาธิการแถลง ขอต้อนรับทุกท่านสู่วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับที่สาม ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของปี 2555 (ประจําเดือนกันยายน - ธันวาคม 2555) และดังที่เคยเป็นมา สาระความรู้ในฉบับนี้ อัดแน่นด้วยบทความวิชาการ บทความวิจัยในหลากหลายสาขาวิชา รวมทั้ง Book Review ของผู้เขียน จากทั้งแวดวงวิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจาก สถาบันภายนอกอื่น ๆ เพราะวารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์เป็นเวทีเผยแพร่ความคิด และผลงาน สําหรับนักวิจัย และ นักการศึกษาทั้งรุ่นใหม่และเก่า ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระความรู้จากบทความต่างๆ ที่ลงในฉบับนี้ จะ ยังคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน ตลอดจนต่อแวดวงการศึกษาของไทยเช่นเคยและหวังอย่าง ยิ่งว่าทุกท่านจะยังคงความสนใจ ติดตามอ่าน และส่งบทความมาเผยแพร่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ เราได้ทําหน้าที่บริการเผยแพร่ความรู้ความคิดในรูปผลงานทางวิชาการลงสู่สาธารณชนต่อไป นอกจากนี้ วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ชุดต่อไปของปี 2556 กําลังได้รับการปรับปรุงรูปแบบ การนําเสนอ และวิธีการจัดส่งถึงมือสมาชิกทุกท่าน อย่างที่ไม่ควรพลาดการเป็นเจ้าของ รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ บรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

สื่อสังคม(Social Media): เครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์* บทนํา การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง การค้นคว้าและการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม คุณลักษณะของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาที่สําคัญประการหนึ่ง คือ การเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อการเรียนและมีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างสม่ําเสมอ จากนโยบายการพัฒนา บัณฑิตอุดมคติไทย พ.ศ.2554-2558 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมผลิตบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21 โดยสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. กล่าวว่า การพัฒนาบัณฑิตยุคใหม่จะต้องมีความเป็น พลวัต (dynamic) ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก และ จากกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2564) การประชุมในเวทีระดับชาติ นานาชาติ และการระดมความคิดเห็นจาก เครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย พบว่าองค์ประกอบคุณลักษณะของบัณฑิตอุดมคติไทยที่พึงประสงค์ นั้นควรประกอบด้วยด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านบุคลิกอุปนิสัย ที่มีรายละเอียดแสดงถึงคุณลักษณะของ บัณฑิตที่เป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ เช่น การเป็นผู้มีความสามารถในการหาความรู้เพิ่มเติม มีนิสัยใฝ่รู้ มีความเท่าทัน กับความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าในศาสตร์ที่ศึกษา มีทักษะการเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ มีทักษะในการสืบ หาข้อมูล การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี และการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น (จดหมายข่าวสํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554) ในอดีตการศึกษาค้นคว้าหรือทําวิจัยระดับอุดมศึกษาโดยส่วนใหญ่ใช้แหล่งเรียนรู้จากหนังสือ ตํารา ตลอดจนวารสารทางวิชาการต่าง ๆ ทั้ ง ของไทยและต่ า งประเทศ ที่มาจากการซื้อหรือระบบการยื มของ ห้องสมุดในสถาบันที่ผู้เรียนศึกษา หากต่างสถาบันผู้เรียนต้องเดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้เพื่อได้ข้อมูลที่ต้องการ แต่เมื่อความเจริญของเทคโนโลยีมีมากขึ้น จนมาถึงยุคของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที (Information Communication and Technology: ICT) การสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ในโลก ออนไลน์มีความสะดวกมากขึ้น และจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสารเดิมใช้เทคโนโลยีเว็บ 1.0 ที่เป็นเว็บไซต์ แบบคงที่(static) เน้นการรับข้อมูลโดยผู้ให้บริการนําเสนอข้อมูลแต่ฝ่ายเดียว สู่เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่เป็น เว็บไซต์แบบพลวัต(dynamic) เน้นให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กันด้วยการมีส่วนร่วมกับข้อมูล โดยข้อมูลและโปรแกรม ต่าง ๆ ให้บริการอยู่บนเครือข่าย ด้วยเทคโนโลยีเว็บ 2.0 คําว่า “สื่อสังคม(Social Media)” จึงเกิดขึ้นเพื่อให้ โอกาสแก่ผู้ใช้งานได้สร้างและแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ ด้วยตนเองร่วมกับบุคคล องค์กร ชุมชน สังคมบนเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐานและเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยมีผู้ให้บริการของ เครือข่ายสังคม(social network service) เป็นจํานวนมาก และมีการแบ่งประเภทของสื่อสังคมหลายเกณฑ์ ยกตัวอย่างเกณฑ์จากเว็บไซต์ของวิกิพีเดีย (http://en.wikipedia.org/wiki/Social_media#Leisure_example) ได้ แบ่งประเภทไว้ ดังเช่น *

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ประเภทของสื่อสังคม การสื่อสาร (Communication)

ตัวอย่างผู้ให้บริการ

- บล็อก (blog) Blogger, Drupal, Open Diary, WordPress - ไมโครบล๊อก (microblog) Foursquare, Google Buzz, Twitter - เครือข่ายสังคม (Social Networking) Facebook, Google+, Hi5, Myspace, Ning การสร้างและแก้ไขร่วมกัน (Collaboration/authority building) - วิกิ (Wikis) Wikibooks, Wikia, Wikidot, Wikimedia - โซเชียลบุ๊กมาร์ก (social bookmarking) CiteULike, Delicious, Diigo, Google Reader - ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Drupal, Joomla, Plone, Siteforum, Wordpress Management Systems: CMS) สื่อประสม (Multimedia) - การถ่ายทอดสด (Livecasting) Justin.tv, Livestream, Skype, Youtube - การแบ่งปันภาพและงานศิลป์ (Photography and Flickr, Photobucket, Picasa, SmugMug, Zooomr art sharing) - การแบ่งปันวิดีโอ(Video sharing) YouTube, Dailymotion, Openfilm, Vimeo

ภาพที่ 1 ตัวอย่างของสื่อสังคมที่แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน ที่มา: http://laurelpapworth.com/wp-content/uploads/2008/11/social_media_marketing_campaign.jpg ปั จจุบัน สื่อสัง คมได้รับความนิยมอย่างสูง และมีแ นวโน้ม การเติ บ โตอย่ า งรวดเร็ว จากงานวิจัย ที่ รวบรวมสถิติการใช้งานสื่อสังคมในรอบสามปีที่ผ่านมา(ค.ศ. 2008-2010) ของ Experian Marketing services (2011) ที่สํารวจกลุ่ม ตัว อย่างประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจํานวน 311.8 ล้านคน พบว่า 91% เคยใช้งานสื่อสังคมอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน 30 วันที่ผ่านมา และ 46% ของกลุ่มตัวอย่างใช้สื่อสังคม

2


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ในการสื่อสารกับเพื่อน ซึ่งเพิ่มจากปี 2009 ถึง 32% เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มอายุพบว่าคนกลุ่มอายุ 18-24 ปี มีการ ใช้งานสูงสุดถึง 98% ในปี 2009 และปี 2010 สื่อสังคมที่ได้รับความนิยมมากคือ Facebook เวลาที่ใช้ในการ เข้าเว็บไซต์ Facebook โดยเฉลี่ย 20.46 นาทีต่อครั้ง และ 57% เข้าชมเว็บไซต์ Facebook อย่างน้อย 15 ครั้งใน 30 วันที่ผ่านมา

ภาพที่ 2 สถิติแสดงการใช้สื่อสังคมต่าง ๆ ตามช่วงอายุและความถี่ของการใช้งาน ที่มา: http://www.experian.com/assets/simmons-research/brochures/2011-social-mediaconsumer-report.pdf สําหรับประเทศไทยมีผลสํารวจการใช้สื่อสังคมโดยบริษัท มิลวาร์ด บราวน์ ไฟร์ฟลาย จํากัด (Millward Brown Firefly) พบว่าคนไทยใช้สื่อสังคมเพื่อสร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ใช้สื่อสังคมเป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนภายในกลุ่มและใช้เพื่อตอบสนองความต้องการในการได้รับ การยอมรับและการเห็นด้วย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่ใช้สื่อสังคมเพื่อการแนะนําตนเองหรือแสดง บุคลิกลักษณะเฉพาะ คนไทยเห็นว่าสื่อสังคมอย่าง Facebook เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่จะแบ่งปันความ คิดเห็นและคําวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่า Twitter ที่มีข้อจํากัดด้านจํานวนคําสําหรับ

3


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 สื่อข้อมูลข่าวสาร แบ่งปันความคิดเห็นและความรู้สึก นอกจากนี้ยังมีผลการสํารวจข้อมูลของสื่อสังคม บางประเภท เช่ น จากข้ อ มู ล ของเว็ บ ไซต์ socialbakers ที่ เ ปิ ด เผยข้ อ มู ล ว่ า ประเทศไทยเป็ น สมาชิ ก Facebook อันดับที่ 14 จาก 212 ประเทศ โดยมีสมาชิกทั้งหมด 17,609,460 คน คิดเป็น 26.25% ของ คนทั้งประเทศ ส่วนประเทศสามอันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอินเดีย เมื่อพิจารณาตาม อายุการใช้งานพบว่ากลุ่มคนไทยที่มีการใช้งาน Facebook มากที่สุดสองอันดับแรกคือ กลุ่มอายุ 18-24 ปี และกลุ่มอายุ 25-34 ปี มีการใช้งานสูงสุด 33% และ 29 % ตามลําดับ และเมื่อพิจารณาจํานวน ผู้ใช้งานในรอบสามเดือนที่ผ่านมา(กันยายน-พฤศจิกายน พ.ศ. 2555) พบว่าอัตราการใช้งานสูงเพิ่มขึ้น ทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนอายุ 18-24 ปี

ภาพที่ 3 สถิติการใช้ Facebook ในประเทศไทย ที่มา: http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/thailand

4


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 จากแผนภูมิข้างต้นแสดงจํานวนผู้ใช้งานสื่อสังคมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลุ่มที่ใช้สื่อ สังคมมากที่สุดคือกลุ่มผู้ใช้งานอายุ 18-24 ปี เมื่อพิจารณาเทียบอายุของผู้ใช้ในระบบการศึกษาพบว่า คนกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา หากผู้เรียนสามารถผนวกคุณลักษณะของสื่อสังคมที่ ผู้เรียนมีพฤติกรรมใช้งานกันมากเพื่อการศึกษา การสร้าง การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลเนื้อหา ความรู้ ต่ า ง ๆ ในโลกของเครื อ ข่ า ยออนไลน์ การรู้ จั ก เลื อ กเรี ย นรู้ จ ากแหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ดี และการมี ปฏิสัมพันธ์กันในเชิงวิชาการ พฤติกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างดี ทั้งนี้ผู้สอนควรมีบทบาทสําคัญในการจัดมวลประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ของผู้ เ รี ย นและสร้ า งคุ ณ ลั ก ษณะการเรี ย นรู้ ข องผู้ เ รี ย นดั ง กล่ า วข้ า งต้ น การนํ า สื่ อ สั ง คมมาใช้ จั ด กิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นเครื่องมือทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และ เลือกใช้สื่อสังคมให้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรม ในที่น้ีขอ ยกตัวอย่างสื่อสังคมและตัวอย่างกิจกรรมที่สามารถนําสื่อสังคมไปใช้ ดังนี้ ตัวอย่างสื่อสังคม Facebook

YouTube

Google Doc

SlideShare

Delicious Wikipedia

ประโยชน์/ตัวอย่างกิจกรรม จัดกลุ่มหมู่เรียนให้เป็นสัดส่วน สร้างแฟนเพจรายวิชา ติดต่อสื่อสารนัดหมาย ติ ด ตามการทํ า งาน ส่ ง เสริ ม ถามตอบปั ญ หาในรายวิ ช า แทรกสื่ อ สั ง คม ประเภทอื่นและตั้งประเด็นคําถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ เรียนรู้จากคลังวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา สร้างคลังผลงานที่สนใจติดตาม และสร้างผลงานของตนเองเพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือใน สื่อสังคมอื่น เช่น Facebook, blog เป็นต้น ใช้โปรแกรมจัดการเอกสารโปรแกรมชุด MS.Office แบบออนไลน์ สร้างและ แก้ไขงานเอกสารร่วมกันได้ทันที สะดวกต่อการทํางานกลุ่มรายงานกลุ่มหรือ ใบกิจกรรม สร้างคลังเอกสารประกอบการสอนให้ดาวน์โหลด มีช่องความ คิดเห็นกับเอกสารต่าง ๆ การสร้างแบบสอบถามออนไลน์อย่างง่าย เรียนรู้จากผลงานที่อยู่ในรูปของงานนําเสนอ(presentation) เอกสาร หรือวิดีโอ สร้างคลัง ผลงานที่ติด ตามเรียนรู้ และสร้า งผลงานของตนเองเพื่อ เผยแพร่ แบ่งปันความรู้ที่สนใจ จัดเก็บ URL ของเว็บไซต์ให้เป็นหมวดหมู่ออนไลน์ แลกเปลี่ยนแบ่งปันแหล่ง เรียนรู้ร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะแต่ละเว็บไซต์หรือกลุ่มของเว็บไซต์ ศึกษาเพิ่มเติม สร้างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้/คลังความรู้/แหล่ง อ้ า งอิ ง สื่ อ สั ง คมวิ กิ อื่ น เกี่ ย วกั บ การศึ ก ษาที่ น่ า สนใจเช่ น Wikibooks, Wikimediacommons จัดวิธีสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสอนโดยใช้โครงงานเป็น ฐาน การสอนโดยใช้วิกิเป็นฐาน

5


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตัวอย่างสื่อสังคม Blogger Twitter

Bubbl.us Jing

ประโยชน์/ตัวอย่างกิจกรรม บันทึกสะท้อนความคิด บันทึกผลการวิเคราะห์ที่เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ บันทึกอนุทิน สร้าง Blog ตามความสนใจในเนื้อหาของรายวิชา ติ ด ตามความก้ า วหน้ า ทางวิ ช าการของสถาบั น หรื อ บุ ค คลที่ มี ชื่ อ เสี ย งทาง วิชาการและการประชุมวิชาการต่าง ๆ จัด ทํารายงานความเคลื่อนไหวของ วงการวิชาการในรอบสัปดาห์ สร้าง แลกเปลี่ยน ปรับแก้ ผังความคิด(mind map) แบบออนไลน์ได้ในทันที จับภาพหน้าจอทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว พร้อมแบ่งปัน ใช้ร่วมกับ blog หรือ เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ flickr

สื่อสังคมที่ผู้เรียนใช้งานโดยส่วนใหญ่มักมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อติดต่อสื่อสารหรือเพื่อความ บันเทิง เช่น Facebook YouTube Twitter และ Blog ดังผลสํารวจของ Junco(2011) พบว่าผู้เรียนในระดับ มหาวิทยาลัยใช้เวลากับ Facebook โดยเฉลี่ยหนึ่งชั่วโมงสี่สิบเอ็ดนาที และกิจกรรมบน Facebook สาม อันดับที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ การเขียนข้อคิดเห็น การดูภาพและการติดตามดูกิจกรรมของผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 88% 88% และ 85% ตามลําดับ ด้วยความสนใจของผู้เรียนต่อสื่อสังคม ถ้าผู้สอน นํามาปรับใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้จะเป็นการฝึกให้ผู้เรียนใช้สื่อสังคมให้เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้สอนควรแทรกแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนใช้สื่อสังคมให้เป็น ประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สืบค้น วิเคราะห์ให้ข้อคิดเห็นในเนื้อหาวิชาการต่างๆ ให้มากขึ้น มีวิจารณญาณกลั่นกรองความถูกต้องเหมาะสมของข้อมูล นอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้ ในแวดวงวิชาการเพิ่มเติมแล้ว ส่วนหนึ่งยังเป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยการใฝ่เรียนรู้ รวมทั้งการมีวินัย ในการทํางานให้เป็นไปตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ้สู อนหรือตัวผู้เรียนเองได้กําหนดไว้ ประการหนึ่งที่สื่อสังคมควรนํามาใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาสืบ เนื่องจากการเรียนในระดับอุดมศึกษาผู้เรียนสามารถบริหารจัดการเรียนรู้ของตนเองให้สอดคล้องตาม หลักสูตรที่ตนเองศึกษา การจัดตารางเรียน จัดเวลาการศึกษาสืบค้นเพิ่มเติม การเรียนรู้ร่วมกันกับ เพื่อน การติดต่อซักถามและเข้าพบผู้สอน สื่อสังคมจึงเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันได้เป็นอย่างดี การแสดงสถานะที่เตือนกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนัดหมาย การเสนอและสะท้อนความคิดเห็นต่อกัน การแสดงวันเวลาที่ติดต่อกันและกัน ทําให้มีท้ัง ผู้เรียนและผู้สอนการติดตามการเรียนรู้ได้ โดยผู้สอนควรให้ผลสะท้อนกลับ เช่น การตอบคําถาม การ ชี้แนะแนวทางการทํางาน การให้คําชมหรือข้อควรปรับปรุงแก่ผู้เรียนในเวลาที่เหมาะสมจะส่งเสริม ผู้เรียนให้มีพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

6


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 จากคุณลักษณะของสื่อสังคมและความสามารถของผู้สอนดังกล่าวข้างต้น การเลือกสื่อสังคม เป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาในระดับอุดมศึกษาจะทําให้ผู้เรียน ได้ รั บ ประโยชน์ ท้ัง ด้ า นความรู้ เนื้ อ หาวิ ช าการเพื่ อ ก้ า วทั น ความรู้ ที่ ทั น สมั ย ที่ มี อ ยู่ ม ากมายบนโลก ออนไลน์ ได้ ฝึก ทัก ษะต่ า ง ๆ เช่ น การสื บ ค้ น การสื่อสารและการใช้ เทคโนโลยี ผ่ านสื่อต่างๆ การ แลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ การคิดวิเคราะห์ อภิปราย กลั่นกรองข้อมูลเนื้อหาที่ได้จากการสืบค้น พร้อม กั บ ส่ ง เสริ ม คุ ณ ลั ก ษณะด้ า นบุ ค ลิ ก อุ ป นิ สั ย ให้ ผู้ เ รี ย นมี วิ นั ย มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบและใฝ่ เ รี ย นรู้ อ ย่ า ง สม่ําเสมอ เพื่อผลิตให้เป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาและคุณธรรมสอดรับกับนโยบายการศึกษาของ ประเทศ อันจะเกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไป

บรรณานุกรม “พฤติกรรมของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย” [ออนไลน์ ]. Available from: http://www.newswit.com/it/ 2010-12-24/099684e3f514ec04afa 54d009f874def/ สืบค้น 29 ตุลาคม 2555. สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2554. สกอ.เตรียมพร้อมผลิตบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21. จดหมายข่าวสํานักคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 74 ประจําวันที่ 8 สิงหาคม 2554. Junco, Ray. 2011. “Facebook: student engagement”[Online]. Available from: http://blog.reyjunco.com/wp-content/uploads/2011/10/JuncoFacebookEngagementIGHR.jpg. Retrieved Oct 9, 2012. “Social Media”. [Online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Social_media. Retrieved Nov 10, 2012. “The 2011 Social Media Consumer Trend and Benchmark Report”. [Online]. Available from: http://www.experian.com/assets/simmons-research/brochures/2011-social-mediaconsumer-report.pdf. Retrieved Oct 15, 2012.

7


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การพัฒนาจิตอาสาและการคิดเชิงบวกของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา Developing Graduate Students’ Volunteer Spirit and Positive Thinking by Implementing the Contemplative Education Concept ชลาธิป สมาหิโต* บทคัดย่อ การพั ฒ นาจิ ต อาสาและการคิ ด เชิ ง บวกโดยใช้ แ นวคิ ด จิ ต ตปั ญ ญาศึ ก ษา เป็ น การนํ า แนวคิ ด จิตตปัญญาศึกษามาวิเคราะห์ หารูปแบบของกิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง สัมพันธ์กับเนื้อหาใน รายวิชา รูปแบบของกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ สุนทรียสนทนา สะท้อนความคิด และ จิตอาสา ผลจากการนํา แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาการพัฒนาสมองและสติปัญญาสําหรับเด็ก ปฐมวัยให้กับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจํานวน ๘ คน พบว่าผู้เรียนมีการพัฒนาจิตอาสาและคิดเชิงบวกมากขึ้น คําสําคัญ: แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การคิด เชิงบวก จิตอาสา

Abstract Developing volunteer spirit and positive thinking by implementing the contemplative education concept was led from the analysis and the designation the appropriate activities that aligned to the content areas of subjects. Those activities included dialogues, reflective thinking, and volunteer spirit practices. After applying contemplative education concept in the developing brain and cognitive for young children class for 8 graduate students, they increased volunteer spirit and positive thinking. Keywords: Contemplative Education Concept, Positive Thinking, Volunteer Spirit

บทนํา สภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆด้าน ก่อให้เกิดแรงกดดันในการ ดํารงตนเพื่อความอยู่รอดในสังคม ประกอบกับการยอมรับแนวคิดทางตะวันตก ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การดําเนินชีวิต คนส่วนใหญ่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ยึดวัตถุนิยม ความร่ํารวยเป็นตัวกําหนดคุณค่าทางจริยธรรม เป็นผลสะท้อนให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ สภาพของครอบครัวที่พ่อแม่ต้องออกไปทํางานนอกบ้าน

*

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

9


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ครอบครัวหย่าร้างทําให้เด็กเติบโตมากับพ่อหรือแม่ หรือ ญาติ พี่น้องคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ เป็นเหตุให้ เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดการอบรมเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมถึง การปลูกฝังถ่ายทอดบุคลิกภาพ วัฒนธรรม ค่านิยม จึงเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์

จิตอาสา จิตอาสา เป็นคุณธรรมประการหนึ่งที่มีความสําคัญอย่างมากในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม การที่ สังคมจะมีความเข้มแข็ง มีดุลยภาพ และพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนนั้น ผู้คนในสังคมจะต้องมีความร่วมมือร่วมใจ กัน ช่วยเหลือกัน มีความรัก ความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจกัน พึ่งพาอาศัยกัน เห็นประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าส่วนตน ดัง นั้น จะเห็นว่า คุณธรรมในด้านจิตอาสาจึงได้รับการจั ดให้อยู่ใ นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ แห่งชาติและสังคมฉบับที่ 10 ที่มุ่งเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม มีจิตช่วยเหลือผูอ้ ื่น พระไพศาล วิสาโล (2548) ได้อธิบายไว้ในหนังสือ เมื่อดอกไม้บานสะพรั่งทั้งแผ่นดินว่า จิตอาสา หมายถึงจิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญาเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบ เห็นปัญหาหรือความทุกข์ยาก เกิดขึ้น กับผู้คนเป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทําความดี และ เห็นน้ําตาเปลี่ยน รอยยิ้มเป็นจิตที่เปี่ยมด้วยบุญ คือ ความสงบเย็นและพลังแห่งความดี นอกจากนี้ พระไพศาล วิสาโล ยังกล่าวถึง ข้อดีของการเป็นผู้มีจิตอาสาว่ามีดังต่อไปนี้ 1) เกิดการพัฒนาสภาวะจิตใจและอารมณ์ให้มีความมั่นคงสูงขึ้น ช่วยลดสภาวะความหมกมุ่นต่อ ตนเอง ช่วยลดอาการชอบพูดจาถากถางผูอ้ ื่น แก้อาการซึมเศร้า และอาการหลงตนเอง 2) ทําให้รู้สึกว่าชีวิตตนเองมีค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม ซึ่งเป็นความรู้สึกเชิงบวกต่อตนเอง เป็นการสร้างนิสัยอ่อนโยน นุ่มนวล จิตใจดีงาม และชอบช่วยเหลือผู้คน 3) ได้เรียนรู้ทักษะการทํางานใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มศักยภาพกับอาชีพการงานในอนาคต พัฒนาภาวะ ความเป็นผู้นําให้กับตนเอง และพัฒนาการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ 4) หลุ ด พ้ น จากความซ้ํ า ซากจํ า เจในชี วิ ต ทํ า ให้ ส นุ ก และท้ า ทาย ได้ รู้ จั ก เพื่ อ นใหม่ ๆ มากขึ้ น โดยเฉพาะผู้ท่ีมีความสนใจและใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหาสังคมร่วมกัน ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนและขยายโลก ทัศน์กว้างขึ้น ได้เรียนรู้การให้ความเคารพผูอ้ ื่น มีความเข้าใจในความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ 5) พัฒนาผลการเรียนได้ดีขึ้นในเด็กวัยเรียน จากการสํารวจกลุ่มเยาวชนที่ทํางานอาสาสมัครใน ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า เด็กเหล่านี้มีผลการเรียนดีขึ้นหลังจากการเข้ามาเป็นอาสาสมัคร ซึ่งอาจเป็น เพราะเยาวชนเหล่านี้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ทําให้มีการ จัดแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมให้กับตนเองด้านการศึกษามากยิ่งขึ้นด้วย รายงานการศึกษาจิตอาสาในประเทศแคนาดา (Lasby, 2004) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นผู้ที่มี จิตอาสาคือการที่เคยมีประสบการณ์ในการทํากิจกรรมเพื่อส่วนรวมตั้งแต่วัยเด็ก รวมถึงการที่ ได้มีโอกาส ช่วยเหลือผูอ้ ื่นตั้งแต่ทํากิจกรรมสมัยเรียน นอกจากนี้พบว่าเด็กที่มีผู้ปกครองที่มีจิตอาสามีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ท่ี

10


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 มีจิตอาสาเพราะได้เห็นตัวอย่างและได้ทํากิจกรรมจิตอาสาร่วมกับผู้ปกครอง ผลการศึกษายังระบุอีกด้วยว่า ผู้ ที่มีจิตอาสาต้องการจะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือสังคม ดังนั้นจะเห็นว่า การเรียนรู้ท่ีจะเป็นผู้ให้และช่วยเหลือผู้อื่นจะช่วยทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตัวเอง ที่เป็น ผู้ท่ีมีความรู้ ความสามารถช่วยผู้อื่นได้ ผู้ปกครองและครูจึงควรจะเป็นตัวอย่างและปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน มีจิตอาสาตั้งแต่เด็ก

การคิดเชิงบวก อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่า สังคมในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้า มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม การดําเนินชีวิตของคนในสังคมที่ต้องเผชิญกับอุปสรรค ปัญหาต่างๆมากมายที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความเครียด ความวิตกกังวล ซึมเศร้า ทะเลาะวิวาท ใช้สารเสพติด และอาจจะส่งผลต่อเนื่องทําให้สุขภาพร่างกายและจิตใจไม่เป็นปกติ การส่งเสริมให้เด็ก และ เยาวชนได้กระบวนการคิด แสดงความรู้สึกและการกระทําของตนเองให้เป็นไปในทางบวก จะช่วยทําให้เด็กๆ และเยาวชนเหล่านั้นได้เข้าใจ มีความคิดเป็นระบบ มองสถานการณ์ต่างๆด้วยความเป็นจริง ใช้สติในการ ไตร่ตรองเพื่อนําไปสู่การแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ว. วชิรเมธี (2554) ได้ให้ความหมายของการคิดเชิงบวก ว่าหมายถึง การคิดให้เกิดกุศลธรรม การ คิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ ให้รู้จักหาแง่ดี แง่ที่เป็นประโยชน์ของสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตที่ได้ประสบพบเจอ แล้วพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นให้ได้ การคิดบวก มี 2 ขั้นตอน คือ 1. เป็นขั้นการมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ในขั้นนี้เป็นขั้นที่พยายามแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของ ความเป็นจริงให้ได้อย่างถึงที่สุดก่อน แต่ถ้าหากพยายามทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาได้ ให้ทําขั้นตอนที่ 2 2. เป็นขั้นใช้การคิดเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อพยายามแก้ปัญหาตามความเป็นจริงจนสุด ความรู้ความสามารถแล้ว แต่กลับพบว่าเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคนั้นยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ แทนที่จะยอมแพ้ ยอมรับสภาพและอยู่กับปัญหา จะต้องหาวิธีเผชิญปัญหาด้วยวิธีแบบใหม่ ด้วยมุมมองใหม่ บุญเกียรติ โชควัฒนา (2554) กล่าวเพิ่มเติมว่า “คนคิดเชิงบวกเป็นคนที่คิดช่วยคนอื่น คิดช่วยสังคม คือ Win Win ไม่ใช่คิดบวกแต่เรื่องของตนเอง” ดังนั้นจะเห็นว่าการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดจิตอาสา และ การ คิดบวกนั้นเป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความสุขทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม ในบทความนี้ผู้เขียนในฐานะนักการศึกษาและอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาจะนําเสนอแนวการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตอาสาและการคิดเชิงบวกให้แก่ผู้เรียนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา

จิตตปัญญาศึกษา จิตตปัญญาศึกษาเป็นแนวทางที่ให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ ที่มุ่งเน้นให้เกิดการ เรียนรู้ท่ีไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและพัฒนาทักษะเชิงวิชาชีพเท่านั้น แต่เป็นการ

11


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 พัฒนาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงภายในทั้งความคิด จิตใจที่เชื่อมโยงกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในสังคมปัจจุบัน เป็นการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสืบค้นตนเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง และ การรับฟังด้วยใจ เปิดกว้าง เคารพในความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างหลากหลาย McGonigal (2005) ได้เสนอแนะแนวคิดว่า ในการเรียนการสอนผู้เรียน ครูผู้สอนจําเป็นจะต้องรู้ ความรู้เดิมและมุมมองของผู้เรียนก่อน เมื่อครูผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนมีความรู้เดิมอย่างไรก็สามารถที่จะหารูปแบบ หาวิธีที่เหมาะสมที่จะสอนผู้เรียน วิธีการดําเนินการสอนของครูมีขั้นตอนดังนี้ 1. นําเข้าสู่บทเรียนโดยการกระตุ้นความสนใจ (The Activate Event) ครูผู้สอนจะต้องทําความเข้าใจ ว่ า เด็ ก แต่ ล ะคนมี ค วามรู้ เ ดิ ม มี มุ ม มองความคิ ด ในสิ่ ง ต่ า งๆ อย่ า งไร ซึ่ ง ในขั้ น นี้ อ าจจะทํ า โดยการสั ง เกต พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน หรืออาจจะพิจารณาจากผลงานของผู้เรียน สร้างสถานการณ์ที่มี ความแตกต่างกันเพื่อให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมา สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนประสบความล้มเหลว ไม่สมหวังเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเมื่อพบว่าความรู้ที่มีอยู่เดิมมีไม่เพียงพอ 2. การตั้งสมมติฐาน (Identifying Current Assumption) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งครูผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการตั้งคําถามให้ผู้เรียนอธิบายเหตุผลว่าทําไมจึงคิด เช่นนั้น รวมถึงการให้ผู้เรียนระบุวิธีการแก้ปัญหาจากคําถามที่ท้าทาย นอกจากนี้ครูผู้สอนอาจจะกระตุ้นให้ ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน ทํานายการทดลองว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร 3. การสะท้อนความคิดของตนเอง (Encouraging Critical Reflection) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มี โอกาสทํางานเดี่ยวและทํางานกลุ่มร่วมกันกับเพื่อน หลังจากผู้เรียนได้ทํากิจกรรมในห้องเรียนไปแล้ว ครู อาจจะให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดเห็นอาจจะโดยการแสดงความคิดเห็นของตนเองโดยการพูดคุย ครูเป็นผู้ถาม ความคิดเห็น หรือ เล่าให้เพื่อนฟังในชั้นเรียนหรือโดยการเขียน 4. การอภิปรายเชิงวิพากษ์ (Critical Discourse) เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในรูปแบบของการ สนทนา โดยครูอาจจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างใกล้ชิด การสนทนาอาจจะทําในรู ปแบบของการส่งผ่านจดหมายอิเล็กโทรนิกส์ หรือ อีเ มล์ (E-mail) การวิพ ากษ์ อาจจะมีลักษณะการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ บูรณาการความคิด การอ่าน 5. การนําความรู้หรือมุมมองใหม่ๆ ไปใช้ (Test a New Paradigm or Perspective) ครูควรเปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้ท่ีเรียนมาไปใช้ โดยครูอาจจะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้นําความรู้ไปใช้ แก้ปัญหา โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น บทบาทสมมติ การโต้วาที การเขียนอนุทิน 6. การส่งเสริมการยอมรับความคิดเห็น (Fostering Intellectual Openness) ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริม และกระตุ้นหรือสร้างสถานการณ์ที่ท้าทายให้เกิดการเรียนรู้ มีการจัดสภาพแวดล้อม หรือ ตั้งคําถามที่ส่งเสริม และท้าทายผู้เรียนให้ได้คิดและเกิดการเรียนรู้ เกรียงศักดิ์ ศรีสมบติ (2554) ได้กล่าวว่า ครูผู้สอนสามารถนําแนวคิดจิตตปัญญาไปใช้ในการเรียน การสอนได้โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น

12


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1. สายธารแห่งชีวิตในวัยเยาว์ เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ทบทวนเหตุในอดีตที่ทําให้เราเป็นเราใน ปัจจุบัน และสิ่งที่จะส่งผลให้เป็นเราในอนาคต 2. บอกความดี เป็นกิจกรรมได้บอกข้อดีของเพื่อนเวียนไปจนครบทุกกลุ่ม กิจกรรมนี้จะทําให้แต่ละ คนได้เห็นข้อดีของตนเองและผูอ้ ื่น ทําให้รู้ว่าตนเองมีคุณค่า 3. สุนทรียสนทนา เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นําเสนอแนวคิด ซึ่ง กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเคารพความคิดเห็นของผูอ้ ื่น 4. ครั้งหนึ่งในชีวิต เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ระบายความในใจให้ผู้อื่นได้รับทราบปมในใจที่ทําให้ เกิดทุกข์ เพื่อให้ผอู้ ื่นรับรูเ้ รื่องราวและรับรู้ความเป็นตัวตนมากขึ้น 5. พึ่งพิง เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ต้องพึ่งพากัน รูปแบบกิจกรรมคือให้ผู้เรียนทํางาน เป็นกลุ่ม ต้องมีผู้นํา และ ผู้ตามที่ส่งเสริมกัน การทํางานจึงจะสําเร็จลุล่วง จะเห็นว่า การจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญามีมากมายหลายรูปแบบ ครูผู้สอนสามารถเลือก นําไปใช้เพื่อให้ประสบความสําเร็จในการจัดการเรียนรู้

การนําแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อมาพัฒนาจิตอาสาและการคิดบวก จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิด จิตตปัญญาศึกษา จิตอาสา และ การคิดเชิงบวก และนํามาปรับใช้ ในการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาปฐมวัยศึกษา ในรายวิชาการพัฒนาสมองและ สติปัญญาสําหรับเด็กปฐมวัย โดยในรายวิชาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง พั ฒ นาการสมองและสติ ปั ญ ญาของเด็ ก ปฐมวั ย ตลอดจนได้ รั บ ความรู้ ค วามเข้ า ใจถึ ง ปั จ จั ย ที่ ส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการด้ า นสมองและสติ ปั ญ ญา รวมถึ ง ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้ ก ารทํ า งานของสมองและพั ฒ นาการทาง สติ ปั ญ ญาลดลง และ แนวการจั ด สิ่ ง แวดล้ อ มและประสบการณ์ เ พื่ อ ส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการทางสมองและ สติปัญญาของเด็กปฐมวัย ซึ่งจากประสบการณ์ในการสอนในรายวิชานี้ ผู้เขียนได้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ในทฤษฎีมีการศึกษาค้นคว้าและการนําเสนอรายงาน ศึกษาดูงานในศูนย์กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ ของเด็กปฐมวัย ซึ่งผู้เรียนได้ให้ผลสะท้อนกลับและข้อเสนอแนะว่า ต้องการจะจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการ ของเด็กปฐมวัยเช่นเดียวกันกับที่ได้เรียนในวิชาเรียนผนวกกับประสบการณ์ที่ได้ไปศึกษาดูงานในศูนย์กิจกรรม ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่สนใจจะจัดให้กับเด็กปฐมวัยในกลุ่มด้อยโอกาส ซึ่งนอกจากจะเป็นการได้ นําความรู้ในวิชาที่เรียนไปใช้แล้ว ผู้เรียนยังต้องการจะได้เห็นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในกลุ่มที่ต้องการความ ช่วยเหลือและสภาพแวดล้อมจริงของเด็กเพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการช่วยส่งเสริม ให้ความรักความอบอุ่นกับ เด็กรวมถึงให้คําแนะนํากับผู้เลี้ยงดูเด็กอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้มีแนวคิดที่จะนําจิตตปัญญาศึกษา ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนเคารพในความเป็นมนุษย์ท่ีแตกต่างหลากหลาย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้

13


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผู้เขียนได้ทําการศึกษาแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา การพัฒนาสมองและสติปั ญญาสําหรับเด็กปฐมวัย โดยมีแนวคิดว่า กิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดจิต ต ปัญญานั้น จะประกอบไปด้วย กิจกรรมสุนทรียสนทนา กิจกรรมสะท้อนข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน กิจกรรม สะท้อนความคิด และ กิจกรรมจิตอาสา โดยมีรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมสุนทรียสนทนา เป็นช่วงของการสนทนาเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน ผู้เขียนจะเน้นย้ํา เรื่องกฎระเบียบการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนเพื่อจะได้ร่วมกิจกรรมนั่งสมาธิประมาณ 5 นาที เพื่อให้ ผู้เรียนสงบ ได้มีโอกาสทบทวนตัวเองว่ามีสิ่งใดที่ทําแล้วเป็นสิ่งตนเองพึงพอใจหรือสิ่งใดเป็นสิ่งที่คิดว่าจะต้อง ปรับปรุง แล้วสนทนาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน โดยในสัปดาห์แรกๆ ผู้เรียนจะได้เข้าใจการคิดเชิงบวกเพื่อนําไปสู่ การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ผู้เรียนเป็นผู้เล่าและผู้ฟังรวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติให้คิดเชิงบวกทุกสัปดาห์ ในกิจกรรม สุนทรียสนทนานี้ ผู้เรียนทบทวนข้อมูล ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เรียนในรายวิชานี้และ วิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวหรือข้อมูลความรู้ที่หามาได้ กิจกรรมสะท้อนความคิด เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เขียนแสดงความคิดเห็นและให้สัมภาษณ์กับผู้เขียน เกี่ยวกับความรู้ในเนื้อหา ทฤษฎีและกิจกรรมที่ได้ทําไปในแต่ละสัปดาห์ที่เรียน กิจกรรมจิตอาสา กิ จ กรรมจิ ต อาสาเป็ น กิ จ กรรมที่ ผู้ เ รี ย นเสนอขอจั ด ทํ า โครงการเพื่ อ นํ า ความรู้ ที่ ไ ด้ เ รี ย นไปจั ด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งผู้เรียนได้ข้อสรุปกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่ผู้เรียนจะไปให้ ความรู้ คือ เด็กติดผู้ต้องขัง เนื่องจากหลังจากที่เรียนในวิชานี้แล้วผู้เรียนพบว่า เด็กที่มีผู้ปกครองที่มีพฤติกรรม ก้าวร้าว เคยก่ออาชญากรรม ชอบทะเลาะวิวาท มี โ อกาสเสี่ยงที่จะทําพฤติก รรมเช่นเดีย วกับผู้ปกครอง นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าระดับสติปัญญาของเด็กกลุ่มนี้ต่ํากว่าเด็กปกติ อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ทําให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทํากิจกรรมที่กระตุ้นพัฒนาการและให้ ความรู้กับผู้เลี้ยงดูในสถานเลี้ยงเด็กบ้านบุญญาทร ผู้เขียนมุ่งหวังว่าเมื่อเรียนจบในรายวิชานี้ผู้เรียนจะพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิดให้เป็นผู้ท่ีคิดเชิงบวก คือ คิดในสิ่งที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อเกิดปัญหา จะสามารถตั้งสติได้ มีความคิดจัดการกับปัญหาได้ อีก ทั้งสิ่งที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาขึ้นก็คือคุณธรรมในด้านจิตอาสา ผู้เขียนคาดหวังให้ผู้เรียนได้ แสดงให้เ ห็ น ถึ ง ความพร้อ มที่ จ ะเป็ น ผู้ เ สีย สละเวลา ทุ่ ม เทแรงกาย สติปั ญ ญาในการจั ด ทํ า โครงการเพื่ อ สาธารณประโยชน์ ซึ่ง ในที่สุด ผู้เรียนก็ไ ด้ข้ อ สรุปในจัด ทําโครงการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กติด ผู้ต้องขังซึ่งมีอายุในช่วงปฐมวัย ที่บ้านบุญญาทร เรือนจําคลองเปรม

สิ่งที่ได้จากการนําเอาแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้ในการสอนในรายวิชาการพัฒนา สมองและสติปัญญาสําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาจิตอาสาและการคิดเชิงบวก ผู้เรียนรายงานว่า การที่ผู้เรียนได้นั่งสมาธิ 5 นาที ก่อนเริ่มต้นเรียนรู้นั้นจะช่วยทําให้ผู้เรียนมีสมาธิ มีความพร้อมที่จะรับและเรียนรู้ในความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ในขณะเดียวกันการที่ผู้เขียนและผู้เรียนร่วมกัน สรุปสิ่งที่ได้เรียนไป และ ผู้เรียนได้สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน และ การจัดกิจกรรมแต่ละ

14


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ครั้งหลังการเรียนการสอน ทําให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ท่ีได้เรียนไป ได้คิดวิเคราะห์ถึงการนําไปใช้ ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนรู้และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ท่ีได้เรียนรู้ไปในแต่ละวันได้ สะท้อนความรู้สึกที่มีต่อการเรียน และ ผู้สอน ได้ เช่น “สิ่งที่อยากบอกอาจารย์คือ เรียนกับอาจารย์ได้ความรู้ท่ีหลากหลายดีค่ะ แต่ความรู้ภาษาอังกฤษของ หนูจะอ่อนมากหน่อยนะคะ จะพยายามต่อไปค่ะ” “ผู้เรียนรู้สึกสนุก มีความสุขในการเรียน” ผู้เรียนให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ว่า “การที่ผู้เขียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ ความ เข้าใจของผู้เรียนเป็นระยะๆ ได้ฝึกการประมวลความคิด โดยการบันทึกสะท้อนความคิดเห็นท้ายชั่วโมง และ การทํา Mind Map ประมวลสิ่งที่ตนได้เรียนรู้ในวิชานี้ รวมถึงการคิดประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ ที่หลากหลาย ทั้งโดยการทํากิจกรรมจิตอาสานอกห้องเรียน การจัดกิจกรรมให้นิสิตได้ไปศึกษาดูงาน และ มีโอกาสพูดคุย เรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกัน ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายมากยิ่งขึ้น” ผู้เรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมจิตอาสาว่า “ตลอดเวลานั้น เราเป็นผู้หงายมือขอตลอดเวลา แม้แต่ เวลาอธิษฐาน หรือ ทําบุญ เราก็ยังขอ ถ้าทั้งโลกหรือทุกคนในประเทศไทยเป็นผู้หงายมือหมด แล้วใครล่ะจะ เป็นผู้คว่ํามือ คงจะมีสิ่งประหลาดๆ เกิดขึ้นให้เราเห็นอย่างแน่นอน คนจนหรือคนด้อยโอกาสกว่าก็รองรับ สภาพเป็นเบี้ยล่างร่ําไป ส่วนตัว เคยคิดมาตลอดว่า ลําพังตนเองยังช่วยตนเองไม่ได้ แล้วเราจะไปช่วยใครได้ล่ะ พอมาได้อ่านแล้ว การที่เราคิดที่ช่วยผู้อื่นนั้นไม่จําเป็นว่าเราต้องร่ํารวย อะไรก็ได้แค่เราคิดที่จะเป็นผู้คว่ํามือ เราก็เป็นผู้ให้แล้ว” ผู้เรียนระบุว่า “ตั้งแต่บัดนี้ไป หนูขอเป็นผู้ความคว่ํามือ มากกว่าหงายมือค่ะ” ในการจัดกิจกรรมจิตอาสา ผู้เรียนได้ร่วมกันคิดจัดกิจกรรมเพื่อนําความรู้ท่ีได้จากการเรียนเกี่ยวกับ การพัฒนาสมอง และ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมาจัดให้แก่เด็กๆ ที่ด้อยโอกาส โดยผู้เรียนช่วยกันเลือกกลุ่ม เด็กที่จะจัดกิจกรรม และ สถานที่ที่จัดกิจกรรม ผู้เรียนได้อภิปรายกัน และ ในที่สุดผู้เรียนก็ได้เลือกที่จะจัด กิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เด็กติดผู้ต้องขังที่บ้านบุญญาทร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเรือนจําคลองเปรม ถนน งามวงศ์วาน เนื่องจากผู้เรียนมีความคิดเห็นว่าเด็กในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการการเรียนรู้ช้า และจากการศึกษางานวิจัยทั้งของไทยและต่างประเทศพบว่า เด็กกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรม ก้าวร้าวตามพันธุกรรมและมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิด เมื่อเลือกสถานที่ในการจัด กิจกรรมจิตอาสาเป็นบ้านบุญญาทรแล้ว ผู้เรียนระบุในแบบสะท้อนความคิดเห็นว่า “มี ค วามรู้ สึ ก ดี ใ จ ตื่ น เต้ น อยากจะได้ เ ห็ น เด็ ก ๆว่ า เด็ ก ติ ด ผู้ ต้ อ งขั ง จะมี ลั ก ษณะเป็ น อย่ า งไร มี พัฒนาการการเรียนรู้เป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมกิจกรรมไปช่วยส่งเสริมในพัฒนาการที่เด็กต้องการได้รับ ความช่วยเหลือในการพัฒนา” ผู้เรียนมีการเตรียมตัวโดยการวางแผนก่อนล่วงหน้าขอพบเจ้าหน้าที่ผู้เลี้ยงดูและดูสภาพห้องเรียน และ สถานที่จัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดกิจกรรมได้เหมาะสม ในวันที่ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ นั้น ผู้เรียนได้ เตรียมอาหาร เครื่องดื่มสําหรับเด็ก ของเล่น และ เตรียมกิจกรรมเพื่อไปจัดให้แก่เด็กๆ ผู้เรียนระบุว่า “มี ความสุข มีความพึงพอใจ อิ่มใจ ที่ได้ทํากิจกรรมดีๆ ให้เด็กที่มีโอกาสพบเจอพ่อแม่น้อยครั้ง และ ได้รับโอกาส

15


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ในการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมน้อยกว่าเด็กปกติ” ซึ่งจากการเรียนในวิชานี้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจว่า เด็กในช่วงปฐมวัย (0-6 ปี) เป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้เลี้ยงดู ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ให้ความรู้ และ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับอย่างเต็มที่ เด็กก็สามารถที่จะพัฒนาสมองและ การเรียนรู้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้มีโอกาสไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กติดผู้ต้องขังซึ่งเป็นเด็กด้อย โอกาส ผู้เรียนได้แสดงความรู้ ความเข้าใจและความเห็นใจเด็กเหล่านั้น ผู้เรียนสามารถบอกลักษณะความ แตกต่างของพัฒนาการของเด็ก การตอบสนองการรับรู้ การมีปฎิสัมพันธ์ของเด็กเหล่านี้ กับเด็กปกติในวัย เดียวกันที่ผู้เรียนเคยได้มีโอกาสจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ กล่าวคือ เด็กติดผู้ต้องขังส่วนใหญ่ มีพฤติกรรม ต่างคนต่างเล่น บางคนมีลักษณะเซื่องซึม พัฒนาการทางการพูดช้า รู้คําศัพท์น้อย กลัวคนแปลกหน้า ร้องไห้ เรียกร้องความสนใจ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นว่า “รู้สึกสนุกกับการไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กกลุ่มนี้ เนื่องจากมี ความชอบในการทํากิจกรรมอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นการสังเกตการณ์ เก็บประสบการณ์ และ ฝึกบุคลิกภาพด้าน ต่างๆ ของตัวเอง โดยส่วนตัวไม่ได้เลือกที่จะปฏิบัติต่อเด็กกลุ่มไหน แต่การมาจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นอีกกลุ่ม หนึ่งที่ผมเคยมาพบ ถึงเด็กกลุ่มนี้จะมีพัฒนาช้า แต่ไม่มากนัก การเตรียมอุปกรณ์และกิจกรรมมาเพื่อจัดทํา ครั้งนี้ก็มีความสนุกสนานราบรื่นได้เป็นอย่างดี โดยมีเพื่อนๆ พี่ๆ ในสาขาปฐมวัยมาช่วยจัดกิจกรรมด้วย ในครั้ง นี้ ถึงแม้ว่าช่วงแรกๆ เด็กอาจไม่ค่อยให้ความร่วมมือ อาจจะไม่คุ้นเคย หรือ บางคนกลัว แต่เมื่ออยู่อีกสักพัก หนึ่ง เริ่มสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ถ้ามีโอกาส กระผมจะเข้ามาจัดกิจกรรมในบ้านบุญญาทรอีกอย่างแน่นอน” ผู้ เ รี ย นได้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ว่ า “การที่ ไ ด้ จั ด กิ จ กรรมจิ ต อาสานี้ ทํ า ให้ ไ ด้ มี โ อกาสทํ า งานร่ ว มกั บ เพื่ อ นๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการเลือกสรรกิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของเด็ก วัย ของเด็ก เมื่อได้เสนอความคิดเห็นของตนเองออกไปแล้วเพื่อนๆไม่เห็นด้วย ก็ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน และช่วยคิดและเสนอกิจกรรมที่เหมาะสมกว่า” “ดิฉันคิดว่าดิฉันมีจิตอาสา” “ส่วนตัวกระผมจะมีลักษณะเหล่านั้นอยู่ สังเกตจากการที่เราไปทํากิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ที่ ผ่าน มา รวมถึง การจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเด็กๆ ต่างๆ เมื่อได้ลงมือทําแล้วมีความสุข ใจเบิกบาน และ คิดที่จะ กลับไปทําอีก ความรู้สึกเหล่านี้มันบอกกับตนเองว่า ตนน่าจะมีจิตอาสาอยู่ไม่มากก็น้อย” “กิจ กรรมจิต อาสานี้ส่ง เสริ ม ให้ นิ สิ ต ได้ มี ค วามเข้า ใจและเห็ น อกเห็ น ใจเด็ก ด้อยโอกาส อยากจะ เสียสละเวลามาช่วยพัฒนาให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสทางการเรียนรู้มากขึ้น เมื่อเห็นเด็กๆ ยิ้ม หัวเราะ จากการ ทํากิจกรรม และ ได้รับของเล่น และ ขนม นิสิตมีความสุข อิ่มใจ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าที่ได้ช่วยเหลือเพื่อน มนุษย์ให้มีความสุขได้” “จะนําความรู้ท่ีมีไปช่วยเหลือเด็กในกลุ่มอื่นๆอีก นอกเหนือจากเด็กที่ติดผู้ต้องขังบ้านบุญญาทร โดย จะเป็นเด็กที่อยู่ในชุมชนสลัม พร้อมทั้งเด็กตามสถานสงเคราะห์ หรือ แม้แต่เด็กตามต่างจังหวัด” “วิธีการที่จะให้ความรู้นั้น ถ้าเราลงพื้นที่คนเดียว เราต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงว่าเรามีภูมิความรู้ พอที่ จ ะช่ ว ยเหลื อ เด็ ก กลุ่ ม เหล่ า นั้ น โดยที่ ตั ว เราต้ อ งทํ า หน้ า ที่ ใ นการประสานงานกั บ หน่ ว ยงาน หรื อ

16


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 สถานศึกษาที่ดูแลกลุ่มเด็กว่า เรามีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลืออย่างไร โดยรูปแบบของการให้ความรู้จะเป็น ในลักษณะของการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาของเด็ก กิจกรรมที่จัด อาจจะเป็นศิลปะ เกม การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ โดยให้ผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมด้วย” ในแต่ละสัปดาห์ของการเรียนวิชาการพัฒนาสมองและสติปัญญาสําหรับเด็กปฐมวัยนั้น ผู้เขียนได้มี การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้วิเคราะห์บทความ และ สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน และ นํามาเชื่อมโยงกับแนวคิดจิตตปัญญา ความคิดเชิงบวก และจิตอาสา พบว่า ในสัปดาห์แรกๆ เมื่อผู้เรียนมี ปัญหาต่างๆ เช่น เรียนภาษาอังกฤษแล้วไม่เข้าใจ ทํางานที่ได้รับมอบหมายในวิชาต่างๆ ไม่ทัน ผู้เรียนจะรู้สึก เป็นทุกข์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เมื่อได้มีการสนทนากันในกลุ่ม ช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา หา วิธีการแก้ไขปัญหา ลําดับความสําคัญของปัญหาว่าควรจะเริ่มต้นที่จะแก้ปัญหาใดก่อน-หลัง ในขณะที่เก็บ รวบรวมข้อมูลพบว่าผู้เรียนค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง และ มองปัญหา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นในเชิงบวก จากการที่ผู้เขียนได้นําเอาแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอน ผู้เรียนได้มีการพัฒนา จิตอาสาและการคิดเชิงบวก จิตตปัญญาศึกษาเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตนเองและ ผู้อื่น ทําให้เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อตนเองและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญาและความรักต่อเพื่อน มนุษย์และสรรรพสิ่ง ดังนั้นจึงน่าที่จะได้มีการศึกษาและนําเอาแนวคิดจิตตปัญญาไปประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอนในวิชาอื่ น ๆ และนําไปพัฒ นาเพื่ อ ส่ ง เสริม ให้ผู้ เ รีย นเป็น ผู้ที่เ ห็นความสําคัญของการเป็น พลเมื อ ง พลโลก และนําไปสู่การเป็นพลโลกที่อยู่ร่วมกันอย่างดี มีความสุข

เอกสารอ้างอิง เกรียงศักดิ์ ศรีสมบติ. 2554. การนําจิตตปัญญาไปใช้ในการเรียนการสอน. สถาบันการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด. [OnLine]. http://km.reru.ac.th/?p=1265, December 20, 2012. พระไพศาล วิสาโล. 2548. เมื่อดอกไม้บานสะพรั่งทั้งแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: เครือข่ายพุทธิกา. ว. วชิรเมธี. 2554. Secret. 4, (81): 25-28. Lasby, D. 2004. The Volunteer Spirit in Canada: Motivations and Barriers. Ontario: Canadian Centre for Philanthropy. McGonigal, K. (2005). Teaching for Transformation: From Learning Theory to Teaching Strategies. In Speaking of Teaching: Stanford University Newsletter. 14(2). [On-line]. Available: http://www.stanford.edu/dept/CTL/cgi-bin/docs/newsletter/transformation.pdf, December 20, 2012.

17


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์: มุมมองจากทฤษฏีเชิงวิพากษ์ Science Classroom Action Research: A Critical Theory Perspective ชาตรี ฝ่ายคําตา* บทคัดย่อ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีบทบาทสําคัญมากในการพัฒนาทักษะต่างๆ ของครูวิทยาศาสตร์ โดย การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนถือว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของพัฒนาวิชาชีพที่ครูวิทยาศาสตร์สามารถใช้สืบเสาะและ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการสอนของตน ซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดความเข้าใจและปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น แม้ว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพครูในประเทศไทยมานานเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ มีการปฏิรูปการศึกษา แต่ครูวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาก็ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระเบียบวิธี วิจัย แนวคิด หลักการ และกระบวนการของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ บทความนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อ อธิบายความสําคัญ ความหมายและลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน รวมทั้งระเบียบวิธีวิจัยของการ วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน นอกจากนี้ประเด็นที่อภิปรายในบทความนี้คือทฤษฏีวิพากษ์ที่ถือเป็นมุมมองใหม่ของ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งจะเป็นกรอบให้ครูวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาใช้ในการออกแบบการวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียนในบริบทการสอนของตนต่อไป คําสําคัญ: การวิจัยปฏิบัติการ, วิทยาศาสตร์, การพัฒนาวิชาชีพครู

Abstract Classroom action research plays a crucial role in improving the quality of science teachers’ skills. Action research is a professional development strategy in which science teachers inquire about, and reflect on, their own teaching in order to better understand and improve their teaching practice. Even though action research has been promoted as a tool for science-teacher professional development for more than 10 years since the educational reform, many science teachers and educators struggle with the methodologies concepts, principles and processes involved in the action research. This article therefore aims at explaining the importance, meanings and attributes of classroom action research as well as its methodology. The issue arising from article is also a “critical theory”, a research paradigm of classroom action research which drives teachers and teacher educators to think about alternative approaches to designing action research in their own teaching contexts. Keywords: action research, science, teacher professional development

*

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

19


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หรือ Classroom Action Research ไม่ใช่สิ่งใหม่ในวงการศึกษาทั้งใน ประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งผู้อ่านคงคุ้นเคยและรู้จักคํานี้ เป็น อย่า งดี แต่ อ ย่า งไรก็ต าม จากประสบการณ์ของผู้เขี ยนซึ่ง เคยทํ า หน้า ที่เ ป็น ครูผู้ส อนวิทยาศาสตร์ใ น โรงเรียน อาจารย์นิเทศก์ของนิสิตที่ทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รวมทั้งวิทยากร อบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อทําการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน พบว่ายังมีครู อาจารย์และนิสิตอยู่จํานวนมาก ที่เผชิญปัญหาเกี่ยวกับการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในหลายประเด็น ประเด็นแรกคือ ความไม่มั่นใจในการ ทําวิจัยปฏิบัติการชั้นเรียนของตนเอง บางคนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คําถามวิจัยของตนเองเหมาะสมหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลควรทําอย่างไร ซึ่งปัญหานี้เป็นสิ่งที่สะสมมานาน ประเด็นที่สอง ความรู้สึกเชิงลบต่อการทําวิจัย เพราะเข้าใจว่าทําวิจัยเป็นงานที่นอกเหนือจากงานสอน เป็น ภาระที่ ต้ อ งทํ า เสี ย เวลา บางคนอาจคิ ด ว่ า การทํ า วิ จั ย เป็ น เรื่ อ งของนั ก การศึ ก ษาหรื อ อาจารย์ ใ นระดั บ มหาวิทยาลัย ประเด็นที่สาม ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน บางคนเข้าใจ ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นงานวิจัยที่มีความอ่อนแอและไม่น่าเชื่อถือเท่ากับวิธีวิจัยอื่น และการวิจัย ปฏิบัติการเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล โดยครูเป็นผู้วิจัยเพียงคนเดียว และประการสุดท้าย คือ การขาดตัวอย่างที่ดี ของการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้รวบรวมปัญหาและคําถามที่เกิดขึ้น แล้ว พยายามเรี ย บเรี ย งเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรี ย นในบริ บ ทของการจั ด การเรี ย นการสอน วิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น โดยมุ่ง การนําเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ของการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียนที่จะสามารถทําให้เข้าใจแนวคิดและเห็นตัวอย่างและสามารถนําไปใช้ได้ปฏิบัติได้จริง

ทําไมต้องทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สอนอย่างเดียวมิได้หรือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเข้ามาในระบบการศึกษาของประเทศไทยเป็นเวลานาน แต่ที่เห็นชัดเจน มากที่สุดคือ การที่มีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง 2545) (สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ, 2545) ที่ระบุให้ครูต้องทําวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง ซึ่งในกฎหมายที่ บัญญัติไว้นี้ทําให้เ กิดการเปลี่ยนแปลงมากมายหลังจากการปฏิรูปการศึกษา เช่น คุรุส ภากําหนดการวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียนไว้ในสาระมาตรฐานความรู้และสมรรถนะของครู สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรการผลิต ครู 5 ปี ได้บรรจุรายวิชาวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการได้เน้น และใช้ผลงานที่เกิดจากการวิจัยปฏิบัติการของครูเป็นเกณฑ์ในการตัดสินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ นอกจากนี้ยังมี นักการศึกษาต่างๆ ทําการวิจัยและพัฒนาความรู้ความสามารถในการทําวิจัยปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาประเด็นในการปฎิรูปการศึกษาในไทยแล้ว จะพบว่าการวิจัยปฏิบัติการนั้นเปรียบเหมือน เครื่องมืออย่างหนึ่งจะนํามาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของครูไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยจะเน้นให้ครูมีความ เข้าใจและสามารถปฏิบัติการสอนให้สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) การ วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นเหมือนเฟืองอีกตัวที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้สําเร็จ มีงานวิจัยมากมายที่ สนับสนุนว่าเมื่อครูการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แล้วจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้ (Capobianco & Feldman, 2010; Gore & Zeichner, 1991; Lebak & Tinsley, 2010; Tabachnick & Zeichner, 1999)

20


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1. ทําให้ครูได้องค์ความรู้ใหม่ในการสอน เป้าหมายหลักของการทําวิจัยก็คือการสืบเสาะเพื่อให้ ได้มาซึ่งความรู้ ดังนั้นการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก็เช่นเดียวกันกับการวิจัยทั่วไปที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้มา ซึ่ ง องค์ ค วามรู้ ใ หม่ แต่ สิ่ ง ที่ แ ตกต่ า งก็ คื อ องค์ ค วามรู้ นั้ น จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การจั ด การเรี ย นการสอนและไม่ จําเป็นต้องเป็นองค์ความรู้ใหม่สําหรับคนทั่วไปก็ได้ แต่หากเป็นองค์ความรู้ใหม่สําหรับครูผู้ทําวิจัยเอง ครู สามารถนําองค์ความรู้ใหม่ดังกล่าวไปพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ดังกล่าวกับครูทา่ นอื่นเพื่อเป็นการต่อยอดต่อไปได้ 2. ทําให้ครูเข้าใจตนเองในฐานะผู้ส อนมากขึ้น การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทําให้ครูเกิดความ ชัดเจนในความเชื่อของตนเกี่ยวกับการสอนและความเชื่อนั้นจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น เมื่อครูทํา วิจัยแล้วพบว่าการสอนแบบเดิมไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนมากเท่าที่ควร จึงปรับใช้วิธีการใหม่ และพบว่าการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทําให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาและมีทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ครูจึงปรับเปลี่ยนความเชื่อเดิมของตนเอง ซึ่งการปรับความเชื่อนี้ สําคัญมาก เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในและการปฏิบัติของตนเอง และเกิดแบบยั่งยืนมากกว่าการให้ นักการศึกษาหรือผู้รู้มาบอกเพียงเท่านั้น 3. พัฒนาความรู้ในเนื้อหา (content knowledge) ความรู้ในการสอน (pedagogical knowledge) และ ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน (pedagogical content knowledge) เนื่องจากการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็น การวิ จั ย ที่ มี ค วามเฉพาะเจาะจงในเนื้ อ หาและบริ บ ท ดั ง นั้ น จึ ง ทํ า ให้ ค รู ส ามารถมุ่ ง พิ จ ารณาประเด็ น ที่ เฉพาะเจาะจงในเนื้อหา วิธีสอน และเนื้อหาผนวกวิธีสอนของตนได้ ตัวอย่างเช่น หากครูผู้สอนอยากทราบว่าจะ สอนเนื้อหาสิ่งมีชีวิตอย่างไรเพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เกิดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง นั่นแสดง ว่าครูจะต้องทําการศึกษาเนื้อหาเรื่องสิ่งมีชีวิตให้ลึกซึ้ง ศึกษาธรรมชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ตน กําลังสอน และเรียนรู้วิธีสอนที่จะนํามาใช้สอนเนื้อหาเรื่องสิ่งมีชีวิตด้วย โดยวิธีสอนดังกล่าวถือว่ามีความ เฉพาะเจาะจงเพราะวิธีสอนเนื้อหาเรื่องสิ่งมีชีวิตอาจแตกต่างไปจากเนื้อหาอื่นก็ได้ ดังนั้นหากครูได้ศึกษาและ ทําวิจัยในประเด็นดังกล่าว ก็จะสามารถทําให้ครูได้เรียนรู้เนื้อหาและวิธีสอนโดยอัตโนมัติ รวมทั้งมองเห็น บทบาทของตนเอง และธรรมชาติของนักเรียนและการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้นด้วย 4. ส่งเสริมการทํางานร่วมกันระหว่างครู การทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทําให้เกิดความรู้ในวิชาชีพ ขึ้น เพราะการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ไม่ใช่การทําวิจัยของครูคนหนึ่งในห้องเรียนของตน แต่เป็นการ ทํางานร่วมกันระหว่างครูและเพื่อนครูท่ีพยายามศึกษาประเด็นที่เป็นปัญหาและต้องการพัฒนาการเรียนการ สอนให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นบรรยากาศของการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จึงเป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ทาง สังคม มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนครูด้วยกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ การปฏิบัติ และ ผลการวิจัย ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมบรรยากาศของการทํางาน การเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อ กัน และทําให้เติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกัน 5. ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ การทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนช่วยทําให้ครูมองเห็นว่าการทําวิจัย เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงการทําผลงานเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะเพียงอย่างเดียว หากครูลองทําการ

21


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแล้วจะทําให้ทราบว่าการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะ เป็นการทําวิจัยที่เกิดขึ้นในขณะทํางานและทําการสอน และหากทําต่อเนื่องจะทําให้ครูเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ การสอนของตนเอง การทําวิจัยปฏิบัติการจึงถือว่าเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาวิชาชีพอย่างหนึ่งที่สามารถทําได้ ต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบกับการฟังบรรยายหรือการเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเพียงระยะเวลาสั้นแล้ว การทํา วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษาจะทําให้เกิดความเข้าใจ ลึกซึ้งของการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนย่อมมากกว่า 6. พัฒนาทักษะการทําวิจัย การทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการฝึกทักษะการทําวิจัย เพราะ การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรี ย นเป็ น กระบวนสื บ เสาะหาความรู้ ที่ มี ร ะบบระเบี ย บ ครู จ ะได้ เ รี ย นรู้ ก ารเขี ย น โครงการวิ จั ย การออกแบบการวิ จั ย การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล การสรุ ป และวิ จ ารณ์ ผลการวิจัย รวมทั้งการนําเสนอผลการวิจัย หากครูสามารถพัฒนาทักษะการวิจัยดังกล่าวแล้ว ก็คาดหวังว่าครู จะสามารถทําการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดีและอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทําวิจัยประเภทอื่นๆ ได้ ด้วย

การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคืออะไรและมีลกั ษณะอย่างไร ก่อนจะอธิบายความหมายและกระบวนการดําเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เราควรจะทําความ เข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าปรัชญาและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการดําเนินการวิจัยในชั้นเรียนนั้นเป็นอย่างไร เพราะว่าการรู้และเข้าใจประเด็นเหล่านี้ จะทําให้ครูดําเนินการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ เอกสารและตําราในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะอธิบายการวิจัยปฏิบัติการค่อนข้างแตกต่างจากปรัชญาและ แนวคิดของต่างประเทศที่เป็นรากฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นในหัวข้อนี้จึงขออธิบายในประเด็น ดังกล่าวโดยสังเขปดังนี้ การวิจัยเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ท่ีอยู่บนฐานของความเชื่อเกี่ยวกับปรัชญาของมนุษย์ กลุ่มคนที่มี ปรัชญาแตกต่างกันก็จะนําไปสู่การวิจัยที่แตกต่างกัน ปรัชญาแม่บทที่เกี่ยวข้องและเป็นรากฐานของการวิจัยมี อยู่ด้วยกัน 3 แขนง คือ ภววิทยา (Ontology) ญาณวิทยา (Epistemology) และ ระเบียบวิธี (Methodology) (Cohen, Manion, & Morrison, 2000) 1. ภววิทยาเป็นปรัชญาที่มุ่งถามคําถามเกี่ยวกับความจริง ได้แก่ ธรรมชาติของความจริงคืออะไร 2. ญาณวิทยาเป็นปรัชญาที่พยายามตอบคําถามว่า ความรู้นั้นคืออะไร และความรู้นั้นได้มาอย่างไร และธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างผู้แสวงหาความรู้กับความรู้คืออะไร 3. ระเบียบวิธีมุ่งเพื่อตอบคําถามว่าเราจะทําอย่างไรเพื่อได้มาซึ่งความรู้นั้น ขอยกตัวอย่างและเปรียบเทียบปรัชญาทั้ง 3 แขนง จากกลุ่มความเชื่อที่แตกต่างกัน 3 กลุ่มดังนี้

22


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ปรัชญา ภววิทยา

ปฏิฐานนิยม (Positivism) ค ว า ม จ ริ ง ความจริ ง แท้ มี อ ยู่ จ ริ ง คืออะไร และมี ค วามจริ ง เดี ย ว มีความเป็นเอกเทศ มี ค ว า ม เ ป็ น วั ต ถุ วิ สั ย (objective) สามารถทํา ความเข้าใจได้ทั้งหมด มีความเป็นสากล คําถาม

ญ า ณ ความรู้ คื อ ค ว า ม รู้ เ ป็ น ป ร นั ย วิทยา อะไร ได้ม า ความรู้ กั บ ผู้ แ สวงหา ความรู้เป็นอิสระต่อกัน อย่างไร เ พื่ อ ใ ห้ ส า ม า ร ถ ทํ า ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ไ ด้ โ ด ย ปราศจากอคติ แ ละ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ค วามเป็ น วัตถุวิสัย

วิธีวิทยา

มี วิ ธี ก า ร อ ย่ า ง ไ ร เพื่อให้ได้มา ซึ่งความรู้

การทํ าการทดล อ ง โ ด ย จั ด ก ร ะ ทํ า ห รื อ ค ว บ คุ ม ตั ว แ ป ร ที่ ต้องการศึกษา

คตินิยมแนวการตีความ (Interpretivism) ความจริงแท้มีอยู่จริง แต่ เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ทําให้ ความจริ ง มี ห ลากหลาย มี ค ว า ม เ ป็ น อั ต วิ สั ย (subjective) แต่สามารถทํา ความเข้ า ใจได้ บ างส่ ว น เพื่ อ ให้ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ความ จริงแท้มากที่สุด ความรู้ เ ป็ น อั ต นั ย ความรู้ กั บ ผู้ แ ส ว ง ห า ค ว า ม รู้ มี ปฏิ สั ม พั น ธ์ ซึ่ ง กั น และกั น ต่างก็ส่งอิทธิพลซึ่งกันและ กั น ไ ม่ จํ า เ ป็ น ต้ อ ง ห า แนวทางเพื่ อ ให้ ป ราศจาก อคติ เพราะจิ ต ใจมนุ ษ ย์ ย่อมมีอคติอยู่แล้ว

การปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผู้ แสวงหาความรู้ กั บ สิ่ ง ที่ กํ า ลั ง ถู ก ศึ ก ษาเป็ น สิ่ ง ที่ เลี่ยงไม่ได้ ความสัมพันธ์ที่ดี ส่งผลทําให้สามารถเข้าถึง ข้อมูลที่ดี

ทฤษฏีวิพากษ์ (Critical theory) ความจริ ง แท้ มี อ ยู่ จ ริ ง ส า ม า ร ถ ทํ า ค ว า ม เข้ า ใจได้ และความ จริ ง สร้ า งจากสั ง คม วัฒ นธรรม จริ ย ธรรม ไม่ ส ามารถแยกขาด จากระบบคุณค่า ค ว า ม รู้ เ ป็ น อั ต นั ย ความรู้ กั บ ผู้ แ สวงหา ความรู้ แ ยกออกออก จ า ก กั น ไ ม่ ไ ด้ แ ล ะ ความรู้ เ กิ ด จากการ สนทนาสื่อสารกันและ ขึ้น กับ ค่ า นิ ย ม การนํ า ความรู้ไ ปใช้แก้ปัญหา แ ล ะ ทํ า ใ ห้ เ กิ ด ก า ร เปลี่ยนแปลง ก า ร ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ระหว่ า งผู้ สื บ เสาะหา ความรู้ กั บ สิ่ ง ที่ กํ า ลั ง ถู ก ศึ ก ษ า โ ด ย ก า ร สนทนาสื่อสารกัน

หากผู้วิจัยมีความเชื่อในแต่ละปรัชญาที่แตกต่างกัน ก็จะทําให้มีระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ตอบคําถามวิจัย แตกต่างกันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้วิจัยคนหนึ่งเชื่อว่าความจริงในโลกนี้สามารถสังเกตและมองเห็นได้โดยไม่ จําเป็นต้องมีการลงความเห็นจากสิ่งที่เห็น ซึ่งเป็นมุมมองของกลุ่มปฏิฐานนิยม ดังนั้นกลุ่มนี้ก็จะเชื่อว่าความ จริงที่มีอยู่เป็นความจริงเดี่ยวที่มีอยู่ในโลกนี้แล้ว และความจริงดังกล่าวแยกออกจากกันออกเป็นตัวแปรต่างๆ ทําให้การศึกษาตัวแปรเหล่านั้นย่อมทําได้โดยอิสระ ตัวแปรและกระบวนการสามารถแยกกันศึกษาอย่างอิสระ ดังนั้นผู้วิจัยที่มีความเชื่อในกลุ่มปฏิฐานนิยมส่วนใหญ่แล้วจึงมักจะสนใจหรือถามคําถามเกี่ยวกับผลของตัวแปร

23


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ต้นต่อตัวแปรตาม ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมของครูต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยพฤติกรรมของครูเป็นตัวแปรต้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นตัวแปรตาม เมื่อลงมือทํา การวิจัยดังกล่าวก็จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) เข้ามาใช้โดยการควบคุมตัวแปร ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งแบบแผน กฎ หรือความสัมพันธ์ของตัวแปร แต่อย่างไรก็ตาม นักการศึกษาและผู้วิจัยทางการศึกษาก็มีการถกเถียงกันในเรื่องความเหมาะสมใน การนําวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือระเบียบวิธีวิจัยกลุ่มปฏิฐานนิยมเข้ามาใช้ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยผู้วิจัยกลุ่มตีความ (interpretivist) (Patton, 2000) ได้โต้แย้งว่าความจริงในโลกนี้สามารถเข้าใจได้โดยการ ตีความและสร้างขึ้นจากความคิดภายในของมนุษย์ซ่ึงเป็นผู้สร้างความหมายของสิ่งต่างๆ ปรากฎการณ์ที่ เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นมุมมองจากคนใน (emic) เป้าหมายของงานวิจัยของกลุ่มตีความนี้คือมุ่งที่จะทํา ความเข้าใจในการสร้างความหมายของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นว่าเป็นอย่างไร และมนุษย์ทําความเข้าใจกับโลกและ ประสบการณ์ของตนอย่างไรบ้าง ซึ่งมองว่าการศึกษาดังกล่าวจะทําการศึกษาเพียงตัวแปรเพียงตัวแปรเดียวไม่ เพียงพอที่จะทําให้เข้าใจปรากฏการณ์หรือความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฎการณ์ใน สังคมนั้นมีความซับซ้อนและไม่สามารถที่จะควบคุมได้อย่างสมบูรณ์เหมือนกับสิ่งของหรือสารเคมีในการ ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงได้ทําศึกษาให้ครอบคลุมทั้งหมดเพื่อให้ได้มุมมองรอบด้าน (Holistic view) คํ า ถามที่ ผู้ วิ จั ย เชิ ง ตี ค วามถามจะแตกต่ า งจากผู้ วิ จั ย กลุ่ ม ปฏิ ฐ านนิ ย ม คื อ อย่ า งไร เช่ น นั ก เรี ย นเรี ย นรู้ วิทยาศาสตร์อย่างไร ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งผู้วิจัยจะไม่ทําการจัด กระทํ า กั บ ตั ว แปร แต่ จ ะศึ ก ษาในสภาพจริ ง เพราะมองว่ า ในสภาพจริ ง นั้ น สถานการณ์ ต่ า งๆ สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะควบคุมบริบทหรือกลุ่มที่ศึกษาได้ โดยทั้งบริบทและกลุ่มที่ศึกษาไม่สามารถ แยกออกจากกันได้ เช่น นักเรียนไม่สามารถแบ่งแยกออกจากบริบทของห้องเรียน โรงเรียน หรือชุมชน กลุ่มที่ ศึกษามีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งนี้การอธิบายหรือทําความเข้าใจบริบท ในมุมมองทั้งหมดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ผู้วิจัยจึงไม่เก็บข้อมูลเพียงความมุมมองหรือลักษณะเดียวของ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น แต่จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายมุมมองเพื่อให้ได้ภาพและมุมมองที่สมบูรณ์ จาก แหล่งข้อมูลหลายแหล่งหรือใช้วิธีการที่หลากหลาย แล้วนํามาเปรียบเทียบความสอดคล้องเพื่อให้แน่ชัดว่า หลักฐานที่ได้มานั้นถูกต้อง ครอบคลุม เชื่อถือได้ และให้มุมมองที่ลึกและกว้าง ในทางตรงข้ามกลุ่มปฏิฐานนิยม ส่วนใหญ่มักใช้แบบทดสอบมาตรฐานเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่เครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลสําหรับกลุ่มตีความคือ ผู้วิจัยเอง เป็นผู้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยเองจะ สามารถเก็บรวบรวม ประเมิน และตีความและให้ความหมายของความจริงได้ และนอกจากนี้การใช้คนหรือตัว ผู้วิจัยเองเป็นเครื่องมือนั้นทําให้สามารถผู้วิจัยเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่แท้จริงได้ มีปฏิสัมพันธ์และเข้าใจกลุ่มที่ ศึกษาและบริบทที่ศึกษาอย่างลึกซึ้งและครอบคลุม ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงตีความส่วนใหญ่จะ เป็นการอุปนัย โดยเกิดจากนําข้อมูลที่มีอยู่มีความสร้างความหมาย หรือจัดกลุ่ม เพื่อให้ได้แนวคิด ทฤษฎี หรือ ความคิดในการอธิบายปรากฎการณ์ มากกว่าการที่จะมุ่งวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมติฐานหรือทฤษฏีที่มี อยู่แล้ว

24


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 นักการศึกษาได้วิพากษ์ว่าระเบียบวิธีวิจัยของการวิจัยปฏิบัติการนั้นควรมีระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่าง กับระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์หรือแบบเก่า (traditional-empirical) และชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยควรจะปรับเปลี่ยน ความคิดของตนจากระเบียบวิธีวิจั ยแบบปฏิฐานนิยมมาเป็น ระเบียบวิธีวิจัยตามความเชื่อของกลุ่มทฤษฎี วิพากษ์มากกว่า (Altrichter, 1991; Capobianco & Feldman, 2010; Kemmis, 2010) โดยระเบียบวิธีวิจัยของ กลุ่มทฤษฏีวิพากษ์มีลักษณะบางส่วนคล้ายกับกลุ่มตีความ แต่ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งเน้นการนําความรู้ไปใช้แก้ปัญหาและทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ ด้ า นการเรี ย นการสอน การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารในชั้ น เรี ย นเป็ น การวิ จั ย ทางด้ า นสั ง คมศาสตร์ ที่ แ ตกต่ า งจาก วิทยาศาสตร์ เพราะการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์เป็นไปไม่ได้เลยที่จะควบคุมตัวแปรทั้งหมด แล้วก็ดูผลที่ เกิดขึ้นจากตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม ดังนั้นแทนที่กําจัดตัวแปร ก็นําตัวแปรต่างๆ เหล่านั้น เข้ามาพิจารณาและอธิบายหรือบรรยายออกมาเป็นข้อความเพื่อทําให้เข้าใจในปรากฎการณ์ดังกล่าว การวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียนจึงเป็นเป็นการศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ เจตคติของคน เพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จากความเชื่อดังกล่าว ทําให้นักการศึกษาได้นิยามการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่าเป็นกลยุทธ์ของ กลุ่มครูและบุคคลต่างๆ เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง อาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยในการสะท้อนความคิดอย่าง พินิจพิจารณาเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติของตนเอง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการวิจัยที่ผู้วิจัยคือผู้ที่ถูกวิจัย (Researcher is researched) หรือที่เรียกว่า first-person research (Kemmis, 1991) ทั้งนี้เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และทําความเข้าใจเกี่ยวปรากฎการณ์และบริบทของการสอนของตนเองโดยผ่านการสืบเสาะความรู้และปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นทั้งส่วนบุคคลและความร่วมมือ การวิจัยปฏิบัติการเป็นการสืบเสาะหาความรู้ที่เป็นระบบและมีการวางแผนล่วงหน้า โดยครูเป็น ดําเนินการเพื่อศึกษาเกี่ยวกับงานการสอนและโรงเรียนของตน และการทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมอง ว่าการวิจัยปฏิบัติการเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อเน้นให้เกิดองค์ความรู้ ผ่านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งจะเห็น ว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวางอยู่บนรากฐานของทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองเชิงสังคม (social constructivism) หมายความว่าครูสร้างองค์ความรู้ของตนเองและพัฒนาความเชื่อ โดยผ่านการสร้างคําถาม วางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสะท้อนความคิดเกี่ยวกับ ประสบการณ์และการสอนของตนเอง จะนํ าไปสู่การเรียนรู้แ ละการปฏิบัติการสอนของครู และกิจกรรม ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดและการปฏิบัติการสอนของตนร่วมกับผู้อื่น โดยลักษณะ ของการวิจัยปฏิบัติการ (Kemmis & McTaggart, 1988; McNiff, Lomax, & Whitehead, 2003) มีดังนี้ 1. การวิจัยปฏิบัติการเป็นกลยุทธ์ท่ีมุ่งเพื่อปรับปรุงการศึกษาโดยการปรับเปลี่ยนและเรียนรู้จากสิ่ง ที่เปลี่ยนแปลงนั้น 2. การวิจัยปฏิบัติการเป็นการมีส่วนร่วม โดยมีการทํางานร่วมกันเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของ ตนเอง

25


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 3. การวิจัยปฏิบัติการพัฒนาโดยการสะท้อนความคิดของตนเองในระหว่างการดําเนินการซึ่งเป็น วงจร เช่น การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนความคิด และการวางแผนใหม่ การวิจัย ปฏิบัติการอาจเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่สนใจ และสะท้อนความคิด แล้ววางแผนเพื่อที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลสิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนความคิด และ ปรับปรุงแผน ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ 4. การวิจัยปฏิบัติการมีลักษณะของการร่วมมือ เพราะจะเกี่ยวข้องการกับทํางานเป็นกลุ่มเป็นทีม เพื่อพัฒนาบางสิ่งบางอย่าง โดยกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาหรือมีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาปรับปรุง 5. การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารเป็ น การสร้ า งชุ ม ชนแห่ ง การสะท้ อ นความคิ ด ของตนเอง ซึ่ ง กลุ่ ม บุ ค คล เหล่านั้นจะเข้ามามีส่วนร่วมทุกๆ ระยะของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และ การสะท้อนความคิด จุดประสงค์ก็คือการสร้างกลุ่มคนหรือชุมชนที่มีความต้องการจะพัฒนาตนเอง การ ปฏิบัติของตนเอง และเป็นอิสระในความคิด 6. การวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งเกิดจากกระบวนการพินิจพิจารณา อย่างถี่ถ้วน 7. การวิจัยปฏิบัติการทําให้คนได้เชื่อมโยงทฤษฏีกับการปฏิบัติ 8. การวิจัยปฏิบัติการอยู่ในลักษณะของการเปิดใจกว้างพร้อมยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือหลักฐานที่ เกิดขึ้น การวิจัยปฏิบัติการไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมุ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นให้มากที่สุดเดียว อย่างเดียว 9. การวิจัยปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการเขียนบันทึกอนุทินส่วนตัวของผู้วิจัยซึ่งบันทึกความก้าวหน้าและ สะท้ อ นสิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ จ ากการปฏิ บั ติ ข องตนเอง การปฏิ บั ติ ข องตนพั ฒ นาได้ อ ย่ า งไร และเรี ย นรู้ กระบวนการวิจัยของตนเองด้วย 10. การวิจัยปฏิบัติการเป็นกระบวนการทางการเมืองเพราะว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่มี ผลกระทบกับผูอ้ ื่นด้วย 11. การวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อย่างพินิจพิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ (ทั้งใน ห้องเรียน โรงเรียน และระบบ) โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความคิดและการปฏิบัติ เพราะ บางครั้งหากมีแนวการสอนใหม่หรือแนวปฏิบัติใหม่ อาจทําให้ครูผู้วิจัยเกิดความสับสนหรือต่อต้าน ไม่ยอมรับ สิ่งนั้น ดังนั้นการพินิจพิจารณาการสอนหรือแนวปฏิบัติใหม่ด้วยกระบวนการวิจัยจึงทําให้ครูสามารถเปลี่ยน แนวคิดหรือยืนยันแนวความคิดได้ด้วยตนเอง 12. การวิจัยปฏิบัติการอาจเริ่มต้นง่ายๆ จากตนเองและสามารถขยายไปยังผู้อื่น หรือในองค์กรของ ตนเองได้

26


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 อย่ า งไรก็ ต าม หลายคนยั ง มี ค วามเข้ า ใจคลาดเคลื่ อ นเกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะของการวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก าร ในชั้นเรียนที่ได้กล่าวข้างต้น ซึ่งต้องพึงตระหนักและเข้าใจว่า 1. งานวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่การสอนที่ทําอยู่เป็นกิจวัตร แต่เป็นการสืบเสาะหาความรู้ท่ีเป็นระบบ มีหลักฐานที่ชัดเจน มีการสะท้อนความคิดจากสิ่งที่ทํา และมีการทํางานร่วมกันเป็นกลุ่ม 2. งานวิ จั ย ปฏิบั ติ ก ารไม่ใ ช่ ก ารแก้ ปั ญ หา การวิ จั ย ปฏิ บัติ ก ารเกี่ ย วข้ อ งกั บ การแก้ ปั ญ หาก็ จ ริ ง เพราะจะเกี่ยวข้องกับการตั้งปัญหาหรือคําถามขึ้นมา แต่ไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ปัญหา งานวิจัยปฏิบัติการเป็น มากกว่านั้น ไม่ได้เริ่มต้นจากการมองปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการมองที่จะปรับปรุงและทําความเข้าใจ เกี่ยวกับโลกโดยการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจนั้นและเรียนรู้ที่จะปรับปรุงจากผลกระทบที่เกิดขึ้น 3. การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่การวิจัยที่ศึกษาคนอื่น แต่เป็นการศึกษาตนเองในเรื่องงานของตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้วิจัยที่เป็นผู้ปฏิบัตินั้นปรับปรุงการทํางานของตนเองและความเข้าใจของตนเอง รวมทั้งเข้าใจการ ทํ า งานร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น ด้ ว ย การวิ จั ย ปฏิ บั ติ ก ารเป็ น การวิ จั ย ประเภทหนึ่ ง ที่ ม องว่ า คนเป็ น สิ่ ง ที่ มี ชี วิ ต มี ก าร เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมมีผลกระทบกับชีวิต และมนุษย์ก็ สามารถสร้างความหมายและความเข้าใจด้วยการมีปฏิบัติสัมพันธ์กับกลุ่มคน 4. การวิจัยปฏิบัติการไม่ใช่การนําวิธีทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการสอน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การวิจัยต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific methods) ซึ่งจะเริ่มจากการสังเกต ตั้งปัญหา กําหนด คํ า ถาม ตั้ ง สมมติ ฐ าน ทดลอง และสรุ ป ผลการทดลอง อย่ า งเป็ น ขั้ น ตอนตายตั ว ซึ่ ง เป็ น ความเข้ า ใจ ที่คลาดเคลื่อน เพราะวิธีนี้เป็นเพียงหนึ่งวิธีที่จะได้มาซึ่งความรู้เท่านั้น แม้แต่นักการศึกษาหลายคนก็เกิด ความสับสนและตีความคําว่า การสืบเสาะหาความรู้ (inquiry) กับคําว่า scientific methods ว่าคือสิ่งเดียวกัน โดยแท้จริงแล้วคําว่า inquiry นี้หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้ ไม่จําเป็นต้องเป็นขั้นตอน ตายตัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือกระบวนการที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์และอธิบายปรากฏการณ์นั้น ซึ่งวางอยู่ บนพื้นฐานของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ โดยมักจะเริ่มต้นจากการสังเกต ตั้งคําถาม ค้นคว้าหาความรู้ การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูล ตอบคําถาม อธิบายและสื่อความหมาย ทั้งนี้สิ่ง ที่ สําคัญก็คือหลักฐานจะต้องมีความชัดเจนและสํารวจตรวจสอบได้ 5. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ได้แยกออกจากการสอน โดยครูผู้วิจัยบางคนอาจมุ่งเก็บข้อมูล ของตนเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจการเรียนรู้ของผู้เรียน และมักจะได้ยินบ่อยครั้งว่าไม่มีเวลาสอนเพราะ กําลังวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ ซึ่งความเข้าใจคลาดเคลื่อนนี้เป็นสาเหตุทําให้หลายคนไม่ต้องการทําวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียน นอกจากนี้ครูส่วนใหญ่จะมุ่งพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื่องจาก เข้าใจว่าการทําวิจัยต้องมีเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ดังนั้นจึงต้องพัฒนาและใช้เครื่องมือ โดยแยก เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลออกจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เครื่องมือในการ วิจัยอาจเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน เช่น แบบวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ บันทึกการสอนของครู ที่ทําเป็นกิจวัตรอยู่แล้วก็ได้ เช่น หากครูกําลังศึกษาวิธีสอนของตนเพื่อพัฒนาทักษะการ ทดลองของนักเรียน ในคาบเรียนนั้นครูก็ให้นักเรียนทํากิจกรรมการทดลองและออกแบบการทดลองและบันทึก

27


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผลลงใบงาน ดังนั้นครูจะสามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลายวิธี ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกตการทําการ ทดลองและใบงานก็ได้ และหลังจากที่ครูสอนเสร็จก็สามารถบันทึกหลังสอนเพื่อสะท้อนการสอนของตนเอง ครูไม่จําเป็นต้องสร้างเครื่องมือใหม่ก็ได้ 6. การวิจัยปฏิบัติการอาจแตกต่างจากการวิจัยทั่วไป ครูส่วนใหญ่เริ่มต้นทําวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียนด้วยความไม่มั่นใจ ดังนั้นสิ่งที่ช่วยทําให้มั่นใจก็คือการหาตัวอย่างของงานวิจัยที่ใกล้เคียงกับตนมาศึกษา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วครูจะสืบค้นจากอินเตอร์เนตและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอก ซึ่งงานวิจัยจาก แหล่งข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างแตกต่างจากการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพราะมีระเบียบวิธีวิจัยและประเภทของ การวิจัยที่อาจแตกต่างกัน และโดยเฉพาะงานวิจัยในประเทศไทยนั้นจะเน้นการวิจัยตามความเชื่อปฏิฐานนิยม มากกว่า ดังนั้นหากศึกษางานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจากตัวอย่างเหล่านี้แล้วอาจทําให้การนํามาประยุกต์ใช้ กับการวิจัยในบริบทของตนคลาดเคลื่อนไป

เริ่มต้นทําวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอย่างไรดี จากลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มีลักษณะของการทํางานร่วมกัน (collaborative) ดังนั้นการวิจัยปฏิบัติการต้องอาศัยผู้ปฏิบัติเข้ามาทําร่วมกัน การเริ่มต้นของการวิจัยปฏิบัติการจึงต้องเริ่มด้วย การรวมกลุ่มของบุคคลและร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นการสอนของตน โดย สมาชิกแต่ละคนอธิบายปัญหาหรืออุปสรรคของตนเองในการปฏิบัติ เมื่อทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัญหาของตนแล้ว กลุ่มสมาชิกต้องร่วมกันสรุปสิ่งที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคร่วมกันหรือในลักษณะเดียวกัน (Thematic concern) (Kemmis & McTaggart,1988) และมุ่งเน้นเกี่ยวกับยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหา แต่อย่างไรก็ ตาม ขอให้ระลึกเสมอไว้ว่าการวิจัยนั้นแตกต่างจากการปฏิบัติทั่วไป เพราะต้องทําอย่างรอบคอบ เป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยละเอียด มากกว่าการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน และในการดําเนินการในแต่ละ ขั้นตอนนั้นจะต้องทําในลักษณะร่วมมือกันเป็นทีมตลอดระยะเวลา หากพิจารณาแยกแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. รวมกลุ่มครูผู้วิจัย โดยตัวเราต้องเข้าร่วมในฐานะผู้เรียนเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. เริ่มต้นด้วยเนื้อหาที่จะทําร่วมกันในกลุ่มเล็กๆ โดยมีเนื้อหาที่ง่ายต่อการเข้าใจ 3. เริ่มจากพูดคุยสนทนากันเพื่อหาจุดสนใจหรือสิ่งที่เป็นปัญหาร่วมกัน วางแผนตารางการนัดพบกัน 4. การพูดคุยเริ่มต้นด้วยง่ายๆ คือ การสนทนาเกี่ยวกับห้องเรียนของตนเองเพื่อนําไปสู่ Thematic concern ซึ่งจะทําให้ทุกคนได้มีจุดร่วมเดีวกัน แล้วก็สร้างข้อตกลงของกลุ่มเพื่อจะนําไปสู่งานการพัฒนาของ สมาชิกแต่ละคน 5. สร้างแผนงานเพื่อทําให้ทุกคนได้ลงมือเก็บข้อมูล สะท้อนความคิด และรายงานผล โดยแต่ละคน แยกย้ายทําวงจรของการวางแผน ลงปฏิบัติ สังเกต และสะท้อนความคิด 2 – 3 วงจรก่อน 6. จัดเวลานัดพบกันเพื่อสนทนาอภิปรายเกี่ยวกับผลที่ได้โดยการสนทนาควรอยู่ในรูปของการ รายงานความก้าวหน้าและอยู่ในบรรกาศของการส่งเสริมการเรียนรู้

28


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 7. ติดตามการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าสมาชิกในกลุ่มเกิดการ เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับจริงๆ และควรมีการอภิปรายถึงความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่ได้มา สมาชิก สามารถแสดงความคิดเห็นแย้งหรือเห็นด้วยกับหลักฐานดังกล่าว เพื่อทําให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงได้มากขึ้น 8. วางแผงระยะยาวเพื่อนําไปสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เพื่อทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติใน ห้องเรียนและโครงสร้างของโรงเรียน ต้องระลึกเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเป็นกระบวนบวนการ ทางสังคมที่ต้องใช้เวลา 9. เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยและร่วมแบ่งปันความรับผิดชอบของตน 10. รายงานความก้าวหน้าให้กับกลุ่มฟังทราบ 11. หาเวลาในการร่วมกันเขียนรายงาน เริ่มเขียนเขียนแผน การเก็บรวบรวมข้อมูล และอาจรายงาน โดยปากเปล่า เมื่อมีการเข้าร่วมกลุ่มการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแล้ว สมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบที่จะต้อง ทําการวิจัยในห้องเรียนของตน โดยกระบวนการวิจัยจะเป็นวงจรแบบเกลียวหรือที่เรียกว่าวงจร PAOR เริ่มต้น จาก การวางแผน (plan) การลงมือปฏิบัติ (action) การสังเกต (observe) และการสะท้อนความคิด (Reflect) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การวางแผน เป็นขั้นการสร้างและออกแบบแผนการปฏิบัติว่าจะเป็นอย่างไร ในการวางแผนนั้น ต้องมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะนําไปใช้ในการปฏิบัติ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิด อะไรขึ้น ในขั้นนี้ครูแต่ละคนต้องสํารวจปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของตนที่ทําให้การจัดการเรียนการ สอนไม่ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาอย่างไร ปัญหาต่างๆ นั้นมี ความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ปัญหาใดเป็นปัญหาที่สําคัญ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร แนวทางใน การแก้ไขปัญหานั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น ครูคนหนึ่งพบว่านักเรียนมีความเข้าใจ คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ครูต้องทําก็คือวิเคราะห์ว่าสาเหตุของปัญหานี้คืออะไร เป็นเพราะการสอนของตนหรือไม่ อย่างไร จะใช้วิธีสอนใดให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากขึ้น หากครูพบว่าเป็นเพราะการสอนของตนเองไม่ได้เน้นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เลย จากนั้นครูจึงได้ศึกษา เพิ่มเติมและพบว่าแนวการสอนที่เน้นการสะท้อนความคิดผนวกกับการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วย ให้นักเรียนจะทําให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากขึ้น ครูจึงเริ่มวางแผนการสอนของตนเองและ วางแผนเก็บรวบรวมข้อมูลว่าอะไรคือหลักฐานที่แสดงว่าเมื่อใช้แนวคิดดังกล่าวสามารถนํามาได้ 2. การลงมือปฏิบัติ การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เป็นขั้นตอนที่ครูผู้วิจัยลงมือสอนหรือนําแนวคิดที่ ตนคิดว่าสามารถใช้แก้ปัญหาได้มาปฏิบัติจริงในห้องเรียน เช่น ครูนําแผนการสอนที่เน้นการสะท้อนความคิด ผนวกกับการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สอนนักเรียนในห้องเรียน ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวเนื่องกับ ขั้นตอนต่อไปก็คือการสังเกต ซึ่งจริงๆ แล้วสองขั้นนี้สามารถเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยเมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว ครูก็ ต้องสังเกตเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เกิดขึ้นเพื่อนํามาใช้ประเมินการปฏิบัติของตนเอง อย่างไรก็ตาม

29


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 การปฏิบัติจริงอาจไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมดก็ได้ เพราะสิ่งที่ปฏิบัติเกิดขึ้นในเหตุการณ์ เวลา และสถานที่จริง การปฏิบัติถือว่าเป็นพลวัต 3. การสังเกต คือการรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติและเป็นการมองไปข้างหน้า เช่น ครูต้องสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แนวคิดของนักเรียนเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และที่ สําคัญการปฏิบัติการสอนของตนขณะที่เกิดขึ้นในห้องเรียน คําว่าสังเกตนั้นมีความหมายครอบคลุมไปถึง วิธีการอื่นๆ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลก็ได้ ทั้งนี้การสังเกตจะทําให้ครูใช้ข้อมูลจากการสังเกตเป็นพื้นฐานของการ สะท้อนความคิด การสังเกตอย่างรอบคอบมีความจําเป็นมาก ในขั้นตอนนี้สิ่งที่ต้องการก็คือการเปิดหูเปิดตา เปิดใจให้กว้างเพื่อที่จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และต้องเป็นคนที่ไวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น การสังเกตการมีความ ยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน การสังเกตจะนําไปสู่การสะท้อนความคิดที่มีประสิทธิภาพ 4. การสะท้ อ นความคิ ด เป็ น การย้ อ นคิ ด ถึ ง การปฏิ บั ติ ที่ ไ ด้ สั ง เกตมา การสะท้ อ นความคิ ด มี เป้าหมายคือการทําความเข้าใจกับกระบวนการ ปัญหา ประเด็น และปํญหา ที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทํา การสะท้อนความคิด มีเ ป้าหมายในทํานองหรือในลักษณะคล้ายๆ กับการประเมิน เพื่ อให้ผู้วิจัยได้ชั่งหรื อ ตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือติดสินใจว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งเป็นการเสนอ แนวทางในการปฏิบัติต่อไป เป็นการมองภาพกว้างๆ เพื่อทําให้เห็นมุมมองที่กว้างขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ครูอาจ สะท้อนความคิดของตนว่าการสอนของตนวันนี้เป็นอย่างไร ทําให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ ของวิ ท ยาศาสตร์ ห รื อ ไม่ อย่า งไร วิ ธีก ารใดที่ช่ ว ยให้ นั กเรี ยนเกิด ความเข้า ใจหรื อไม่ เ ข้ า ใจธรรมชาติ ข อง วิทยาศาสตร์ อะไรเป็นปัจจัยที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนในวันนี้ และในคาบ ต่อไปจะปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนของตนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ การสะท้อนความคิดนั้ น ส่ว นใหญ่จ ะเกิ ด ขึ้ น เมื่อมีการอภิปรายร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้วิจัยด้วยกัน เอง การ อภิปรายกลุ่มจะนําไปสู่การสร้างความหมายของเหตุการณ์ทางสังคมและเป็นพื้นฐานให้ปรับปรุงแผนต่อไป การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นกระบวนการต่อเนื่องแบบพลวัต ซึ่ง 4 ขั้นตอนที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็น อิสระในตัวของมันเอง แต่มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกัน ทั้ง 4 ขั้นตอนเป็นขั้นตอนที่ครูแต่ละคนใช้ในการ ดําเนินการวิจัย ซึ่งแสดงออกมาเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่จริงๆ ในกระบวนการดําเนินการวิจัย ครู จะต้องร่วมกับกลุ่มหรือครูคนอื่นๆ ดําเนินการและมีส่วนร่วมทั้ง 4 ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การ ปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนความคิด และขอเน้นย้ําว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ได้อยู่ใน ลักษณะปัจเจกชน แต่เป็นการวิจัยที่บุคลลหลายบุคคลร่วมกันทํา เพราะหากทําคนเดียวแล้วก็จะไม่เกิดการ พินิจวิเคราะห์ การวิจัยมุ่งเพื่อการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เฉพาะตัวบุคคล แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือ องค์กรด้วย ดังนั้นหากการวิจัยที่ทําในลักษณะเชิงเดี่ยว ไม่ถือว่าเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จากขั้นตอนการดําเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนดังกล่าวข้างต้น จะขอยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็น ถึงวงจรที่ทําให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นดังนี้ (Kemmis & McTaggart, 1988)

30


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 รอบที่ 1 1. ขั้น วางแผน นักเรียนของฉันเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คือข้อเท็จจริงเพียงเท่านั้น แต่ไม่เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วย ฉันจะทําอย่างไรให้นักเรียนเข้าใจกระบวนสืบเสาะหา ความรู้ ฉันควรเปลี่ยนหลักสูตรดีไหน หรือเปลี่ยนหนังสือเรียน หรือว่าเปลี่ยนวิธีถามคําถามของฉันเอง หรือว่า เปลี่ยนหนังสือเรียน ในที่สุดฉันก็ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนวิธีและเทคนิคการถามคําถาม 2. วางแผนว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการถามคําถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้สืบเสาะและค้นหาคําตอบ ของคําถามที่เขาตั้งขึ้น ด้วยตัวเขาเอง 3. ในขั้นปฏิบัติและสังเกต ฉันพยายามถามคําถามนักเรียน เพื่อให้อธิบายสิ่งที่เขาเข้าใจหรือสิ่งที่ สนใจ บันทึกคําถามและคําตอบโดยการบันทึกเทปเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น และเขียนบันทึกสิ่งที่ฉันประทับใจลงใน ไดอารี่ 4. การสะท้อนคิดว่าพบว่าการถามคําถามของฉันเพื่อนําไปสู่การสืบเสาะหาความรู้นั้นไม่เป็นไป ตามที่ตั้งใจไว้เพราะว่าคําถามของฉันมุ่งเน้นเพื่อตอบสนองกับความต้องการของตนเองและให้เป็นไปตามความ คาดหวังของตนเองจนเกินไป รอบที่ 2 1. ปรับปรุงแผน โดยการยังคงเป้าหมายเดิมคือการเปลี่ยนวิธีถามคําถามเพื่อให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แต่ลดการบอกหรือการอธิบายที่เป็นไปในลักษณะบังคับหรือโน้มน้าวให้ เป็นไปตามที่ฉันต้องการเพียงอย่างเดียว 2. ขั้นปฏิบัติและสังเกต ลดประโยคหรือคําอธิบายในเชิงควบคุมนักเรียนให้น้อยลง 3. ปฏิบัติและสังเกต ใช้เทปเพื่อบันทึกคําถามและประโยคที่ฉันพูด เขียนบันทึกเกี่ยวกับผลที่เกิด ขึ้นกับนักเรียนลงบนไดอารี่ 4. ขั้นสะท้อนความคิดพบว่านักเรียนมีพัฒนาการด้านการสืบเสาะหาความรู้ได้ดีขึ้น แต่นักเรียนไม่ เป็นระเบียบ ห้องเรียนเกิดความวุ่นวาย ไม่มีระเบียบวินัยขณะทําการสืบเสาะ ฉันจะทําอย่างไรให้เขาทําการ สืบเสาะได้อย่างราบรื่นและให้เขาใจจดจ่อกับงานที่เขากําลังศึกษาอยู่ ฉันควรจะให้เขาฟังเพื่อนคนอื่นดีหรือไม่ หรือติดตามและซักไซ้ไล่เรียงคําถามของเขาเพิ่มเติม วิธีใดจะช่วยได้ รอบที่ 3 4 5 …ทําต่ออย่างต่อเนื่อง โดยมีวงจรเหมือนเดิมคือ วางแผน ลงมือปฏิบัติ สังเกต และ สะท้อนความคิด

31


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

จะมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร สําหรับวิธีวิเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนั้นจะใช้วิธีวิจัยที่หลากหลายเพื่อให้ ได้มาซึ่งมุมมองที่ลุ่มลึกและกว้าง ผู้วิจัยต้องพิจารณาว่าวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้นั้นเหมาะสมกับจุดประสงค์ และคําถามวิจัยมากน้อยเพียงใด วิธีวิจัยที่ใช้และพบบ่อย เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาเอกสาร เป็นต้น 1. การสังเกต ถือว่าเป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียน การสังเกตในกระบวนการวิจัยกับการสังเกตในชีวิตประจําวันนั้นย่อมแตกต่างกัน เนื่องจากเป็นการ สั ง เกตที่ มี เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ ผู้ วิ จั ย มี จุ ด ประสงค์ ห รื อ คํ า ถามวิ จั ย ที่ ชั ด เจน มี ก ารวางแผนและเป็ น ระบบระเบี ย บ จุดประสงค์หลักของการสังเกตคือการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับบริบท กิจกรรม การกระทําหรือพฤติกรรมของ บุคคล รวมทั้งมุมมองของบุคคลนั้นด้วย เช่น พฤติกรรมการสอนของครูเอง พฤติกรรมระหว่างทําการทดลอง พฤติกรรมขณะนําเสนอผลงาน เป็นต้น การสังเกตทําให้ผู้วิจัยสามารถเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามสถานการณ์ จริงได้ การสังเกตทําให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก ในบางกรณี นักเรียนที่ผู้วิจัยกําลังศึกษาได้ไม่ต้องการให้ข้อมูลโดย การสัมภาษณ์หรือพูดคุยด้วย ผู้วิจัยสามารถใช้วิธีการสังเกตแทนเพื่อให้ได้ข้อมูลนั้น 2. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีจุดประสงค์เพื่อเสาะหาว่ามีอะไรในความคิดของ บุคคลและทําให้เข้าใจมุมมองหรือความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ในประเด็นที่ต้องการศึกษา เช่น ความคิดเห็น ของนักเรียนเกี่ยวกับการสอนของครู แนวคิดของนักเรียนเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เมื่อ ผู้วิจัยต้องพยายามล้วงความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ แต่ไม่ใช่การครอบงําความคิดหรือชี้แนวทางในการตอบ คําถาม เพราะหากทําเช่นนั้นแล้วจะได้ข้อมูลไม่ตรงและไม่ใช่ข้อเท็จจริง โดยก่อนสัมภาษณ์ผู้วิจัยต้องพิจารณา ลักษณะการสัมภาษณ์ด้วยว่าจะเป็นในรูปแบบใด ซึ่งได้แก่ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้ า ง และการสัม ภาษณ์แ บบไม่มีโ ครงสร้า ง แต่ ล ะเทคนิค ก็จ ะมีจุ ด เด่ น จุด ด้ อ ยต่ า งกัน สํา หรับ การ สัม ภาษณ์ แ บบมีโ ครงสร้ างคื อการสั ม ภาษณ์ ท่ีใ ช้ แ บบฟอร์ ม คํ า ถามหรื อ แบบสอบถามมาใช้ ป ระกอบการ สัมภาษณ์ ซึ่งมีกลุ่มคําถามหรือประเด็นที่จะเรียบเรียงไว้แล้ว ต้องการให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นหรือ บอกมุมมองตามข้อคําถามนั้น และผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคนจะถูกถามในคําถามเดียวกันคําเดียวกัน รูปแบบ คําถามจะเป็นคําถามที่เกิดจากการตัดสินใจของผู้วิจัยมากกว่า ข้อดีของเทคนิคนี้คือมีความเที่ยงและความตรง มากกว่าเทคนิคอื่น และประหยัดเวลาและง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ข้อเสียคือผู้วิจัยอาจไม่สามารถเข้าถึง ความคิดที่แท้จริงของผู้ถูกสัมภาษณ์และไม่มีความยืดหยุ่น ดังนั้นจึงอาจใช้เทคนิคที่สองมาช่วย คือ เทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างซึ่งมีความยืดหยุ่น มากกว่า โดยผู้วิจัยอาจมีข้อคําถามหรือหัวข้อคร่าวๆ ที่ใช้นําการถามเพื่อให้แน่ใจว่าคําถามที่ถามนั้นมีความ ตรงและสอดคล้องกับคําถามวิจัยหรือไม่ แต่เมื่อดําเนินการสัมภาษณ์คําถามอาจจะไม่จําเป็นต้องเรียงตามที่ วางแผนไว้ก็ถาม ทั้งนี้ขึ้นกับสถานการณ์ที่หรือคําตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่าเป็นอย่างไร เทคนิคนี้เป็นการสร้าง บทสนทนาของผู้ถูกสัมภาษณ์กับผู้วิจัยในหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง หากการสัมภาษณ์เป็นไปในแนวทางเหมือน

32


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 การสนทนามากเท่าใด ก็จะทําให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลที่แท้จริงจากผู้ถูกสัมภาษณ์มากเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามข้อเสีย ก็คืออาจทําให้เสียเวลามากกว่าเทคนิคการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เทคนิคการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างมีลักษณะค่อนข้างเหมือนการสนทนาทั่วไป โดยเทคนิคนี้จะ ถูก ใช้เ มื่อผู้วิจัยไม่ทราบปรากฏการณ์ พฤติกรรม หรือความคิดของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์มาก่อน ผู้วิจัยอาจมี คําถามเพียงคําถามดียวแล้วให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคําถามอย่างอิสระ ระหว่างการสัมภาษณ์ ผู้ถูกสัมภาษณ์ อาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองกําลังถูกสัมภาษณ์อยู่ และการใช้เทคนิคนี้ คําถามที่ใช้ถามอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับจากผู้ถูกสัมภาษณ์จะเป็นสิ่งที่ให้เกิดคําถามต่อไป ข้อเสียของเทคนิคคือต้องใช้เวลาใน การสัมภาษณ์นาน และอาจวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ค่อนข้างยาก เนื่องจากข้อมูลจากผู้ที่ถูก สัมภาษณ์แต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันมาก 3. การรวบรวมวิเคราะห์เอกสาร เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้เพื่อเติมเต็มและแก้ไขข้อจํากัด ของการสังเกตและการสัมภาษณ์ คําว่าเอกสารนั้นหมายรวมถึงวัสดุที่เกิดขึ้นจากการเขียน การบันทึกภาพ หรือเสียงที่สัมพันธ์กับการวิจัย เช่น ไดอารี่ ชีวประวัติ แผนการจัดการเรียนรู้ อนุทิน จดหมาย วิดีทัศน์ บันทึก การเจริญเติบโตของเด็ก เอกสารที่สําคัญและจําเป็นมากอย่างหนึ่งก็คือบันทึกหลังสอน โดยบันทึกหลังสอนจะ เป็นสิ่งที่ใช้สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ความคิดและความรู้สึกของครูขณะและหลังสอน รวมทั้งการประเมินว่าการสอนของตนเป็นอย่างไร และควรจะปรับปรุงอย่างไร เนื่องจากข้อมูลในเอกสารเป็น สิ่งที่บอกถึงการกระทํา ประสบการณ์ ความเชื่อ ทัศนะ และความคิดเกี่ยวกับโลก ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงถือว่า เป็นข้อมูลเชิงอัตนัยที่ผู้วิจัยสามารถศึกษาและตีความและเข้าถึงความคิดของกลุ่มที่ศึกษาได้ ซึ่งสามารถศึกษา ได้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการเลือกเอกสาร เพราะเนื่องจาก ข้อมูลในเอกสารมีมากมาย มีทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การวิจัย ดังนั้นผู้วิจัยต้องพิจารณา และเลือกว่าข้อมูลในเอกสารใดบ้างที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

จะวิเคราะห์อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นกระบวนการสร้างความหมายให้กับข้อมูล เนื่องจากหากไม่มีการวิเคราะห์ ข้อ มู ล ข้ อ มูล ดิ บ ที่ไ ด้ จ ากการเก็ บ รวบรวมมาก็จ ะไม่ มี ค วามหมายต่ อ ผู้ อ่ า นหรื อ ผู้ วิ จั ย คนอื่ น สํ า หรับ การ วิเคราะห์ข้อมูลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพราะเนื่องจากงานวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียนที่กล่าวมาข้างต้นส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการจัดกระทํา ข้อมูล ลดข้อมูลและตีความข้อมูล เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการอุปนัยและ นิรนัย และเป็นกระบวนการที่เป็น พลวัตสามารถย้อนกลับไปมาได้ การวิเคราะห์ข้อมูลควรกระทําในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูล ไม่จําเป็นต้องรอ จนถึงเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างเสร็จ ทั้งนี้การทําเช่นนี้ทําช่วยให้ผู้วิจัยทราบทิศทางในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งข้อสรุปเกิดขึ้น และนอกจากนี้จะช่วยให้ผู้วิจัยทราบถึงประเด็นที่ศึกษาว่าครบถ้วนหรือสมบูรณ์มากน้อย เพียงใด มีส่ิงใดบ้างที่จะต้องเก็บรวบรวมเพิ่มเติมจนกระทั่งข้อมูลตกผลึก ซึ่งหมายความจนกระทั่งได้ข้อมูลที่ ครอบคลุมและลึกซึ้ง

33


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผู้วิจัยสามารถเริ่มจาก 1. ศึกษาข้อมูลดิบและจัดกลุ่มข้อมูล เริ่มต้นจากผู้วิจัยเริ่มอ่านข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกต หรือเอกสาร แล้วหาตัวบ่งชี้ของเหตุการณ์หรือพฤติกรรมแล้วเขียนบันทึกช่วยจําหรือรหัสไว้ในเอกสาร โดย รหัสนี้อาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ รหัสสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2. รวมกลุ่มข้อมูลและลักษณะที่คล้ายกัน ผู้วิจัยอาจเปรียบเทียบเหตุการณ์ใหม่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับ ลักษณะหรือกลุ่มที่ถูกจัดไว้แล้ว และพิจารณาว่าเหตุการณ์ใหม่ดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะหรือกลุ่มที่ถูก จัดไว้แล้วหรือไม่ อย่างไร หากสอดคล้องก็นําเหตุการณ์นั้นจัดเข้ากลุ่ม แต่หากไม่สอดคล้องก็ให้มองหากลุ่ม ข้อมูลอื่น หรืออาจเพิ่มเป็นอีกกลุ่มใหม่ก็ได้ 3. หาลักษณะร่วมกันและปรับปรุงกลุ่มข้อมูล โดยพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ได้จนตกผลึก เชื่อมโยง ข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประเด็น (theme)

จะทราบได้อย่างไรว่างานวิจัยปฏิบัติการมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยจะสะท้อนถึงคุณภาพของงานวิจัย ผู้วิจัยส่วนใหญ่กําหนดตัวบ่งชี้ของ ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย ได้แก่ ความตรงภายใน (internal validity) ความตรงภายนอก (external Validity) ความเที่ยง (reliability) (Feldman, 1994) 1. ความตรงภายใน ในงานวิจัยของกลุ่มปฏิฐ านนิยมจะพิจารณาความตรงภายในโดยเน้น ไปที่ เครื่องมือวิจัยว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นสามารถวัดที่สิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่ ในขณะที่งานวิจัยของกลุ่มตีความและ ทฤษฏีวิพากษ์จะขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของผู้วิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะว่าถือว่าผู้วิจัย เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จึ ง มี ก ารเสนอคํ า ขี้ น ใหม่ คื อ credibility ขึ้ น โดยคํ า นี้ แ สดงถึ ง กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยการที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของงานวิจัยทําได้โดย • ศึก ษาและอยู่ กั บเหตุ ก ารณ์ ห รื อ ปรากฏการณ์ นั้ น ๆ ให้ ม ากพอจนแน่ ใ จว่ า ได้ ข้ อ มู ล ตาม จุดประสงค์ของการวิจัยที่วางไว้ • ตรวจสอบแบบสามเส้าจากแหล่ง ข้อมู ล ที่ห ลากหลาย หรื อ วิ ธีก ารเก็ บรวบรวมข้อมูล ที่ หลากหลาย หรือผู้เก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย • วิเคราะห์และค้นหาความมีอคติของผู้วิจัย 2. ความตรงภายนอก หมายถึงความสามารถของผลการวิจัยหนึ่งในการอ้างอิงไปถึงงานวิจัยอื่น ใน งานวิจัยของกลุ่มตีความและทฤษฏีวิพากษ์จะให้คําว่า transferability หรือ comparability แทน โดย transferability จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะของความเหมือนของบริบทของงานวิจัยที่กําลังศึกษากับ บริบทของงานวิจัยอื่น โดยการที่ผู้วิจัยอธิบายบริบทและกระบวนการวิจัยให้ละเอียดมาก (thick description) จะเป็นการเพิ่ม transferability ของงานวิจัย เพราะว่าจะทําให้ผู้วิจัยหรือผู้อ่านคนอื่นสามารถทราบได้ว่าบริบท

34


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ของตนมีความใกล้เคียงหรือสอดคล้องกับงานวิจัยที่กําลังอ่านอยู่มากน้อยเพียงใด และงานวิจัยสามารถอ้างอิง ไปถึงได้มากน้อยเพียงใด 3. ความเที่ยง หมายถึงความสามารถมากน้อยในการทําซ้ําของผลงานวิจัย ในการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้ น เรี ย นนั้ น เป็ น ไปได้ ย ากมากในกระบวนสื บ เสาะหาความรู้ ที่ จ ะทํ า ซ้ํ า ให้ อ ยู่ ใ นภาวะเดี ย วกั น และได้ ผลการวิจัยเหมือนกัน เนื่องจากบริบททางสังคมที่ศึกษาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา งานวิจัยเชิงปฏิบัติการซึ่งอยู่ ในกลุ่มทฤษฏีวิพากษ์จึงไม่สามารถแสดงความเชื่อมั่นในลักษณะที่เหมือนกับงานวิจัยของกลุ่มปฏิฐานนิยมได้ ดังนั้น นักการศึกษาจึงกําหนดคําว่า dependability หรือ consistency มาใช้แทนซึ่งหมายถึงความสอดคล้องกัน ระหว่างข้อมูลที่เก็บรวบรวมกับผลการวิจัยว่าสอดคล้องกันมากน้อยเพียงใด ในการเพิ่มความสอดคล้องนี้ ผู้วิจัยต้องอธิบายและบรรยายทฤษฎีและสมติฐานที่เป็นพื้นฐานของงานวิจัยที่ตนศึกษา อธิบายกระบวนและ ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลทําอย่างไรบ้าง อธิบายการจัดกลุ่มหรือการวิเคราะห์ข้อมูลทําอย่างไร และ นอกจากนี้ควรมีบุคคลภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้วิจัยด้วย

บทสรุป การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้อย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติหรือครูผู้สอนใช้ ในการศึกษาความเชื่อและการสอนของตนเอง ทั้งนี้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการสอนของตนเองให้ ดีขึ้น และสุดท้ายจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนั้นการวิจัยปฏิบัติการจึงมีความสําคัญมากในการ พัฒนาวิชาชีพครู ความเชื่อที่ส่งผลต่อระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือทฤษฏีวิพากษ์ ซึ่ง แตกต่างจากความเชื่อเดิมที่เชื่อตามกลุ่มปฏิฐานนิยม การปรับความเชื่อนี้ส่งผลทําให้ครูและนักการศึกษาต้อง ทําความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนควร ดําเนินการเพื่อมุ่งอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นการสอนของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน และสิ่ง ที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมาจากการสอนครู ซึ่งจะไม่ได้มุ่งเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและ หลังเพียงเท่านั้น หรือมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล (cause and effect relationship) โดยใช้การ ควบคุมตัวแปรต่างๆ เหมือนกับกระบวนทัศน์ของกลุ่มปฏิฐานนิยม ลักษณะประการหนึ่งที่สําคัญมากและคน ส่วนใหญ่จะละเลยก็คือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนต้องมีลักษณะเป็นการทํางานร่วมกัน (collaborative) ครู ต้องร่วมกันดําเนินการวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การลงมือ ปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนความคิด หากการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนั้นดําเนินการเพียงครูคนเดียว เท่านั้น จะไม่ถือว่าเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอให้ครูและนักการศึกษาใช้การวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ (collaborative action research) ที่จะนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในเกิด ขึ้น กั บตัวครู และกลุ่มเพื่อนร่วมวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสํา หรับการทําวิจัยปฏิบัติของนิสิตฝึก ประสบการณ์วิชาชีพในหลักสูตรการผลิตครูก็เ ช่ น เดี ย วกัน สถาบัน ผลิต ครู ควรสนับสนุนให้มีการทําวิจัย ปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ ในลักษณะของความร่วมมือระหว่างนิสิตกับนิสิต นิสิตกับครูพี่เลี้ยง หรือ นิสิต ครูพี่เลี้ยง กับอาจารย์นิเทศก์ ทั้งนี้บรรยากาศความร่วมมือดังกล่าวจะส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้เกิดการ เรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืนต่อไป

35


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

เอกสารอ้างอิง สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับ ใหม่ 2545). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. Altrichter, H. (1991). Do we need an alternative methodology for doing alternative research?. In O. Zuber-Skerritt. (Ed.), Action research for change and development (pp. 79 - 92). Aldershot/Brookfield: Avebury. Capobianco, B.M. & Feldman, A. (2010). Repositioning teacher action research in science teacher education. Journal of Science Teacher Education, 21(8), 909-915. Cohen, L., L. Manion, & K. Morrison. 2000. Research Method in Education. London: Routledge. Feldman, A. (1994). Erzberger's dilemma: Validity in action research and science teachers' need to know. Science education, 78(1), 83-101. Gore, J. & Zeichner, K. (1991). Action research and reflective teaching in preservice teacher education: A case study from the U.S. Teaching and Teacher Education, 7(2), 119-136. Kemmis, S. (2010). What is to be done? The place of action research. Educational Action Research, 18(4), 417 — 427 Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The action research reader (3rd Eds.). Geelong: Deakin University Press. Lebak, K. & Tinsley, R. (2010). Can inquiry and reflection be contagious? Science teachers, students, and action research. Journal of Science Teacher Education, 21(8), 1-18. McNiff, J., Lomax, P., & Whitehead, J. (2003). You and your action research project. London: Routledge. Patton, M.Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods. Beverly Hills: Sage. Tabachnick, B. R. & Zeichner, K. M. (1999). Idea and action: action research and development of conceptual change teaching of science. Science Education, 82(3), 309-322.

36


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิชาชีพครู ด้วยโมดูลการเรียนรูอ้ ิเล็คทรอนิกส์ Promoting Sufficiency Economy into Teaching Profession by Electronic Learning Modules ศุภฤกษ์ ทานาค* และรศ.ดร.นาตยา ปิลนั ธนานนท์** บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับ นิสิต ในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) ประเมินโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้น วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสํารวจและค้นคว้าหาข้อมูล 2) ขั้นออกแบบ และพัฒนา 3) ขั้นประเมิน และ 4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น และแบบ ประเมินความพึงพอใจในเทคโนโลยีที่ใช้ในการนําเสนอ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยคือ 1) ได้โมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สําหรับนิสิตในระดับ ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ปฐมารัมภบถ เป็นการชี้แจงที่มา จุดประสงค์และเนื้อหา 2) รู้ก่อนผ่อนคลาย เป็นการกล่าวถึงข้อปฏิบัติในการใช้งานโมดูล 3) ผลผลิตคิดสร้างสรรค์ เป็นการแนะนําผู้ผลิตและคณะที่ปรึกษา และ 4) เริ่มเล่น เป็นกิจกรรมการเรียนการ สอนและการประเมินผลหลังเรียน ซึ่งประกอบด้วย 5 โมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลมีรายละเอียดแตกต่างกัน 2) ผล การประเมินโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ในด้านความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น นิสิตส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้นําความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิต ประจําวันได้ และหลังจาก ทดลองใช้โมดูลแล้วนิสิตสามารถมองเห็ นแนวทางในการนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ใ นชีวิต ประจําวันและการ ประกอบอาชีพครูในอนาคตต่อไปได้ ในด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการนําเสนอ พบว่า การออกแบบหน้าจอเข้าใจ ง่าย ไม่ซับซ้อน การเรียงลําดับมีความเหมาะสมดี ภาพที่ใช้นําเสนอ มีความเหมาะสมกับเนื้อหา ระยะเวลา ใน การเล่นเหมาะสมพอดีกับเนื้อหา ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ภาษาที่ใช้มีความชัดเจน พูดชัดถ้อยชัด คํา เข้าใจได้ง่าย การนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนําเสนอ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เพลง วิดิโอ ทําให้ได้เห็น รูปแบบการเสนอที่หลากหลายน่าสนใจ สิ่งที่ดึงดูดให้เข้ามาเล่น คือ ความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น เนื้อหามีความ น่าสนใจ มีประโยชน์มากในสังคมปัจจุบันและรูปแบบการนําเสนอ เน้นการดึงดูดใจด้วยรูปภาพและเสียงดนตรี ประกอบ เกมส์ฯลฯ ทําให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนข้อบกพร่องบางส่วนอาทิ เช่น คุณภาพของสื่อทรัพยากร การเรียนรู้ ถ้ามีการพัฒนาต่อไป จะเป็นสื่อการสอนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีมาก คําสําคัญ: โมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เศรษฐกิจพอเพียง คณะศึกษาศาสตร์

*

นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**

37


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

Abstract The purposes of this research were 1) to create electronic learning modules on Sufficiency Economy for undergraduate students, Faculty of Education, Kasetsart University; and 2) to evaluate the constructed electronic learning modules. The research procedure consisted of four steps which were: 1) survey and data searching, 2) design and development, 3) evaluating, analysis and 4) discussion. The research instruments were Sufficiency Economy experts’ interview, evaluation form on knowledge gained and preference and evaluation form on technology for presentation. The qualitative data were analyzed by content analysis. The findings were as follows; 1) electronic learning modules on Sufficiency Economy for undergraduate students, Faculty of Education, Kasetsart University had been developed. It consisted of four sections, including 1) introduction, 2) using guideline, 3) producers, and 4) play module, which consisted of five modules with different activities and assessment and 2) evaluation results of electronic learning modules divided into two aspects. In the aspect of knowledge gained, most students answered that they could apply it into their daily lives and use it in their teaching profession in the future as well. In the aspect of technology, the results indicated that the screen design was easily understood, not complicated with suitable sequence and the pictures were relevant to the content. The pacing was appropriate. The language was clear, simple and accurate. There were also a variety of music and video clips. What brought them back to use this module again were knowledge gain and content useful in daily lives. The style of technology for presentation focused on pictures, background music and games were very interesting. There were some weak points of the module, such as qualities of media learning resources. If developed, the module will be of great instructional media on Sufficiency Economy. Keywords: Electronic Learning Modules, Sufficiency Economy, Faculty of Education

บทนํา ในสภาพการณ์ปัจจุบันของสังคมไทยนั้นจะเห็นได้ว่ามีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม คุณธรรมและจริยธรรม แต่ปูชนียบุคคลที่เล็งเห็นปัญหาที่กําลังจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยนั้น คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชน ชาวไทยและพระองค์ทรงได้พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะมอบให้ปวงชนชาวไทยน้อมนําไปใช้ ในการปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหา และนําไปใช้ในการดําเนินชีวิต แต่ ใ นปั จ จุ บั น จะพบว่ า มี ป ระชาชนจํ า นวนมากที่ ไ ม่ เ ข้ า ใจถึ ง แนวทางตามพระราชดํ า ริ ใ นเรื่ อ ง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่มุ่งเน้นในการปลูกฝังจิตสํานึกของบุคคลในเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผลและ การมีภูมิคุ้นกันที่ดี แต่การตัดสินใจและการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้พอเพียงนั้นต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และ

38


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 เงื่อนไขคุณธรรมเป็นพื้นฐานสําคัญอย่างถ่องแท้ ซึ่งสอดคล้องกับ การวิจั ยเชิงสํารวจเรื่อง “ทั ศนคติของ ประชาชนต่อเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีตัวอย่างประชาชน 18 จังหวัด” ผลสรุปพบว่าคนส่วนใหญ่มีความรู้ความ เข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหนึ่งแต่ความเข้าใจนั้นอาจมีความแตกต่างกัน ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาขั้นพื้นฐานแต่เป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อความสําเร็จของการประยุกต์ใช้ เศรษฐกิจพอเพียง เพราะการที่ประชาชนมีภาพเศรษฐกิจพอเพียงในใจที่แตกต่างกัน การบรรลุเป้าหมายย่อม เป็นไปได้ยาก (ทีมข่าวเศรษฐกิจ, 2550: 8-9) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีผู้ให้ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นจากทั้ง ทางบุคคลและสื่อต่างๆ แต่ก็จะยังไม่สอดคล้องกันเท่าที่ควรโดยพูดกันไปคนละแนวทางตามแนวความคิดของ ตนเอง และยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมในการที่จะสร้างให้เกิดองค์ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี้อย่าง แท้จริง ดังนั้นในฐานะที่ผู้วิจัยได้ทํางานเป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งยกระดับคุณภาพอุดมศึกษา ไทย เพื่อผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่ีมีคุณภาพ และมีสมรรถนะสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม และ ปรับตัวสําหรับงานที่เกิดขึ้น ตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 10 และประสงค์ที่จะเจริญตามพระราชดําริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ในการที่จะร่วมมือกันสร้างคนเก่งและคนดี จึงมีปณิธาน อย่างแรงกล้าที่จะเป็นตัวจักรส่วนหนึ่ง ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนําไปใช้ให้ เกิดประโยชน์กับนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะนิสิตที่เรียนระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 นั้นยังอยู่ในช่วงของการก้าว เข้าสู่วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยของการปรับตัว ลองผิดลองถูกและเผชิญกับปัญหาทางสังคมหลายอย่าง เป็นกลุ่มที่อยู่ใน ภาวะเสี่ยงที่จะไปในทางดีก็ได้ร้ายก็ได้ จึงต้องการปลูกฝังให้นิสิตมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องเศรษฐกิจ พอเพียงและให้ความรู้แก่นิสิตได้อย่างครบถ้วนมีสื่อการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม เพื่อที่เขาจะได้นําความรู้ ที่ได้รับนําไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยพบว่าการใช้โมดูลการเรียนรู้ช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ (ราตรี, 2546; Riley, 2007) ทักษะการปฏิบัติงาน (สํารวย, 2546; วิเชียร, 2545) และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ (Banyard, 2007) เนื่องจากโมดูลการเรียนรู้มีลักษณะเป็นบทเรียนสําเร็จรูปที่จัดทําขึ้นมาโดยมี ส่วนประกอบเป็นหน่วยการเรียนย่อยๆ ที่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน โดยในแต่ละหน่วยนั้นจะมีองค์ประกอบที่ครบถ้วนเบ็ดเสร็จในตัวเองไม่ว่าจะเป็น จุดประสงค์ กิจกรรม การเรียนการสอน และการประเมินผล ด้ว ยเหตุ นี้ผู้วิจัย จึ ง สนใจที่จ ะสร้ า งโมดูล การเรี ยนรู้อิเล็ กทรอนิ กส์ที่จะเป็น ชุด การสอนสํ าเร็จรู ป ที่สามารถให้ความรู้และพัฒนานิสิตอีกทั้งยังเป็นประโยชน์สําหรับอาจารย์ผู้สอนที่เกี่ยวข้องในระดับอุดมศึกษา จะได้นําไปใช้ในการเรียนการสอนและนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลได้ในชีวิตจริง ซึ่งจะเป็นการวางรากฐาน ที่สําคัญให้มีความยั่งยืนตลอดชีวิตและดํารงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างและประเมิน โมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สําหรับนิสิต ในระดับ ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

39


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วิธีดําเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้มี 3 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินความรู้ที่ได้รับจากการเล่น ซึ่งมีลักษณะเป็นคําถามปลายเปิด จํานวน 4 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจในเทคโนโลยีที่ใช้ในการนําเสนอ ซึ่งมีลักษณะเป็นคําถามปลายเปิดจํานวน 6 ข้อ มีการหาความตรงของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ การดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสํารวจและค้นคว้าหาข้อมูล ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด และหลักการของพระราชปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและบทเรียนโมดูลและโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จาก หนังสือ เว็บไซต์ งานวิจัยและบทความต่างๆ สื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ เป็นต้น จากนั้นสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มี ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทํางานอยู่ในวงการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จํานวน 5 ท่าน เพื่อที่จะได้นํามาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ 2) ขั้นการออกแบบและ ผู้วิจัยพัฒนาโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสม สําหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 3) ขั้นประเมิน ผู้วิจัยให้นิสิต ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่มา จาก 6 สาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2554 ได้แก่ สาขาวิชาการสอน คณิตศาสตร์ สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา สาขาวิชา สุขศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน ทดลองใช้โมดูลการ เรียนรู้ จากนั้นทําการประเมินคุณภาพของโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ โดยให้นิสิตตอบคําถามในแบบ ประเมินความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น และแบบประเมิน ความพึง พอใจในเทคโนโลยีที่ใช้ในการนําเสนอ และ สุดท้าย 4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล นําข้อมูลที่ได้จากการแบบประเมินมาวิเคราะห์และอภิปรายผล ที่ได้รับ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย 1. ได้ โ มดูล การเรี ย นรู้ อิ เ ล็ กทรอนิกส์ ด้านเศรษฐกิจ พอเพียง สําหรั บนิสิตในระดับ ปริญ ญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยออกแบบบนพื้นฐานตัวบ่ง ชี้หรือพฤติกรรมที่แสดงถึง คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นแบบเฉพาะเจาะจงที่เป็นเอกลักษณ์สําหรับคนที่จะเป็นครูในอนาคตที่ได้ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังนี้ การพิจารณาถึงหลักเหตุผล มีศีลธรรม พึ่งตนเองได้ สร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดได้ มีความรู้สึกรัก สามัคคี มีต้นแบบเป็นตัวอย่างในการดําเนินชีวิต สมถะ เรียบง่าย และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) ปฐมารัมภบถ เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับที่มา จุดประสงค์และเนื้อหา 2) รู้ก่อนผ่อนคลาย เป็นการ กล่าวถึงข้อปฏิบัติในการใช้งานโมดูล 3) ผลผลิตคิดสร้างสรรค์ เป็นการแนะนําผู้ผลิตและคณะที่ปรึกษา และ 4) เริ่มเล่น เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลหลังเรียน ซึ่งประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ เกินใช้ แต่ไม่ใช้เกินมี รักคนอื่นเหมือนรักตัวเอง ตัวอย่างดีมีผลกว่าคําสอน ยั้งคําย้ําธรรม และรู้ได้ถ่ายทอดดี ซึ่งแต่ละ โมดูลมีรายละเอียดและเป้าหมายแตกต่างกัน

40


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ภาพที่ 1 ตัวอย่างแผนผังโครงสร้างเมนูหลักของ โมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สําหรับนิสิตในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาพที่ 2 หน้าแรกของ โมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สําหรับนิสิตในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ผลการประเมินคุณภาพของโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็น 2 ดังต่อไปนี้ ด้านที่ 1 ความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น นิสิตส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า บรรลุความคาดหวังว่า จะได้นําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน เพราะได้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับความรู้ใหม่ มีเนื้อหา

41


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 แปลกใหม่น่าสนใจ อีกทั้งยังนําไปใช้ในการประกอบอาชีพเป็นครูในอนาคตต่อไปได้ นอกจากนี้ นิสิตมีความคิด ที่จะนําความรูเ้ รื่องการใช้สื่อไฟล์มัลติมีเดียและโปรแกรมต่างๆ นําไปใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนในอนาคต ด้านที่ 2 ความพึงพอใจในเทคโนโลยีที่ใช้ในการนําเสนอ นิสิตส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า การออกแบบหน้าจอโดยภาพรวมทุกโมดูลนั้น เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน การเรียงลําดับมีความเหมาะสมดี ไม่ขาด ตอน ภาพที่ใช้นําเสนอมีความเหมาะสมกับเนื้อหา ระยะเวลาในการเล่นเหมาะสมดี ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลัก ภาษาไทย ภาษาที่ใช้มีความชัดเจน พูดชัดถ้อยชัดคํา เข้าใจได้ง่าย การนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนําเสนอ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เพลง วิดิโอ ทําให้ได้เห็นรูปแบบ การเสนอที่หลากหลายน่าสนใจ สิ่งที่ดึงดูดให้เข้ามาเล่น คือ ความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น เนื้อหามีความน่าสนใจ มีประโยชน์มากในสังคมปัจจุบันและรูปแบบการนําเสนอ เน้นการดึงดูดใจด้วยรูปภาพและเสียงดนตรีประกอบ เกมส์ ฯลฯ ทําให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนข้อบกพร่องบางส่วนอาทิ เช่น คุณภาพของสื่อทรัพยากรการเรียนรู้

อภิปรายผล ในการสร้างโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสําหรับนิสิตในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น จะพบว่าแต่ละโมดูลมีองค์ประกอบที่สําคัญ 4 ส่วน คือ 1) บทนําหรือคําชี้แจง 2) จุดมุ่งหมาย 3) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผลหลังเรียน ซึ่งจะ สอดคล้องกับที่ Richardson and Bostick (2551) ที่ได้เสนอแนะส่วนประกอบสําคัญที่ควรจะต้องมีในโมดูลการ เรียนรู้ว่าควรประกอบด้วย 1) Introduction เป็นการแนะนําให้ผู้เรียนได้รู้จักโมดูลการเรียนรู้ และข้อคําแนะนํา ในการใช้ ต่ า งๆ เช่ น มี ก ารบอกกล่ า วผู้ เ รี ย นต้ อ งใช้ ทั ก ษะในด้ า นใดบ้ า งในการศึ ก ษาโมดู ล การเรี ย นรู้ นี้ 2) Potential Audiences การสร้างโมดูลการเรียนรู้นั้น ควรสร้างให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียนโดยต้อง เจาะจงลงไปเลยว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ต้องการให้เขาเรียนรู้อะไรเพื่อจะได้สร้างให้ตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้เรียนได้ 3) Constructing Learning Modules หลังจากได้กลุ่มเป้าหมายแล้ว ทําการสร้าง โมดูลการเรียนรู้ โดยมีหัวข้อต่างๆ ตามที่วางแผนไว้แล้วใส่สื่อต่างๆ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนและ เนื้อหาในการเรียน ที่น่าสนใจคือในแต่ละหัวข้อควรมีการ Guided นั่นคือการแนะนําผู้เรียนในการเรียนในแต่ละ ส่วนของโมดูลนี้ เช่น ถ้าจะให้ผู้เรียนทําแบบฝึกหัดก็มีการแนะนําว่าแบบฝึกหัดควรจะทําอย่างไรจะเริ่มตรงไหน ข้อควรระวังเป็นอย่างไรเช่นนี้เป็นต้น 4) Resources Required สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ เช่น เทปอัดเสียง วีดิโอ และอื่นๆ ที่จําเป็น และ 5) Distribution การใช้สื่อที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นการเชื่อม ประสานกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าผู้วิจัยได้สร้างโมดูลที่มีการผสมผสานกันระหว่างสองคําคือ คําว่า โมดูลการ เรียนรู้และอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการประยุกต์ใช้บทเรียนโมดูลผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการสร้างโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์นี้เพื่อให้เป็น ระบบเปิดที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากผู้สร้างโมดูลในอดีตมักมองข้ามคือการกําหนด Distribution นั่นคือ การใช้สื่อที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นการเชื่อมประสานกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเประเด็น นี้น่าสนใจมากเพราะเป็นการทําให้โมดูลจากที่เคยเป็นระบบปิดกลายมาเป็นระบบเปิด ที่สามารถเชื่อมต่อ ความรู้อย่างกว้างขวางได้โดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ โดยสิ่งที่ผู้วิจัยได้นํามาใช้คือ การ

42


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ประยุกต์เว็บไซต์ที่น่าสนใจในอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อให้นิสิตรู้นํามาใช้ในการออกแบบ โมดูลการเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วย จากผลการประเมินโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น พบว่านิสิตส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกัน ว่าได้รับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับความรู้ใหม่ สามารถนําความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นครูในอนาคตต่อไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่ผ่านมาที่พบว่าการใช้โมดูลการเรียนรู้สามารถพัฒนา ความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้ (ราตรี, 2546; สํารวย, 2546; วิเชียร, 2545; Banyard, 2007; Riley, 2007) นอกจากนี้ยังพบว่านิสิตส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า การออกแบบหน้าจอโดยภาพรวมทุกโมดูลนั้น เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน การเรียงลําดับมีความเหมาะสมดี ไม่ขาดตอน ภาพที่ใช้นําเสนอมีความเหมาะสมกับ เนื้อหา ระยะเวลาในการเล่นเหมาะสมดี ใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ภาษาที่ใช้มีความชัดเจน พูดชัด ถ้อยชัดคํา เข้าใจได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยได้กําหนดขอบข่าย (Scope) ให้ชัดเจนและมีการเรียงลําดับการ เรียนรู้ท่ีแตกต่างกัน ได้แก่ การเรียงลําดับหน่วยการเรียนโดยใช้หลักการ เรียนจากง่ายไปหายาก การ เรียงลําดับหน่วยการเรียนโดยใช้หลักการเรียนจากเรื่องใกล้ตัวไปไกลตัว การเรียงลําดับหน่วยการเรียนโดยใช้ หลักการเรียงตามลําดับของกาลเวลา การเรียงลําดับหน่วยการเรียนโดยใช้หลักการจากองค์รวมไปส่วนย่อย การเรียงลําดับหน่วยการเรียนโดยใช้หลักการจากส่วนย่อยไปสู่องค์รวม จะเห็นได้ว่าการออกแบบหน่วยการ เรียนโดยมีหลักการแบบนี้จะทําให้มีความหลากหลายและสามารถต่อยอดความรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง สอดคล้องกับที่ นาตยา ปิลันธนานนท์ (2545) ได้กล่าวถึงเรื่องลําดับการเรียนรู้ไว้ว่า ขั้นการเรียนรู้ท่ีเป็นไป ตามวัย วุฒิภาวะของผู้เรียนสําหรับการจัดประสบการณ์ในหลักสูตรให้สอดคล้องกัน การสั่งสมประสบการณ์ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การขยายจุดเน้น ประเด็นสําคัญ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการสําหรับกระบวนการ จัดทําหลักสูตรของโรงเรียน เกณฑ์ในการจัดลําดับการเรียนรู้ จะแตกต่างกันตามธรรมชาติของแต่ละกลุ่มวิชา เช่นลําดับการเรียนรู้จากง่ายไปยาก จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น การจัดโดยใช้ลําดับ กาลเวลาของการพัฒนาความรู้ในเรื่องต่างๆ การลําดับจากสิ่งใกล้ตัว มีความคุ้นเคย ไปสู่ส่ิงไกลตัว การลําดับ การเรียนรู้จากองค์ความรู้ท่ีแยกส่วน แยกแต่ละองค์ประกอบไปสู่การเรียนรู้ท่ีเป็นองค์รวมหรือในทางกลับกัน ลําดับการเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นองค์รวมก่อนและค่อยแยกในรายละเอียดขององค์รวมแต่ละด้าน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการนําเสนอ เช่น ภาพเคลื่อนไหว เพลง วิดิโอ ทําให้ได้เห็นรูปแบบการเสนอที่หลากหลายน่าสนใจ สิ่งที่ดึงดูดให้เข้ามาเล่น คือ ความรู้ท่ีได้รับจากการเล่น เนื้อหามีความน่าสนใจ มีประโยชน์มากในสังคมปัจจุบันและรูปแบบการนําเสนอ เน้นการดึงดูดใจด้วยรูปภาพ และเสียงดนตรีประกอบ เกมส์ ฯลฯ ทําให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนข้อบกพร่องบางส่วนอาทิ เช่น คุณภาพ ของสื่อทรัพยากรการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ McKenzie (1998) ที่พบว่าการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น ทรัพยากรการเรียนรู้จะช่วยทําให้โมดูลจากที่เคยเป็นระบบปิดกลายมาเป็นระบบเปิดที่สามารถเชื่อมต่อความรู้ ได้ขว้างขวางมากขึ้น และสามารถดึงดูดผู้เรียนได้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ 1. ในการนําโมดูลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ อาจารย์ ผู้ส อนนิสิต นักศึกษา หรื อ วิทยากรฝึกอบรม โดยต้ อ งรู้จักคัดกรองเนื้อหาว่าในรายวิชา หรือเนื้อหาการ ฝึกอบรมนั้น มีอะไรเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ในโมดูลการเรียนรู้อิเล็คทรอนิกส์นี้ โดยสามารถนําไปจัดกิจกรรม สอดแทรกในแผนการสอนหรือการฝึกอบรมได้

43


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2. ในแต่ละโมดูลการเรียนรู้ย่อยทั้ง 5 โมดูลนั้นค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร ผู้นําไปใช้ต้องรู้จักการ บริหารเวลาให้ดี เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ท่ีสูงสุดภายใต้ระยะเวลาอันสั้นที่สุด และควรเตรียมอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้มีความพร้อมสําหรับการใช้งาน 3. การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้อิเล็คทรอนิกส์นั้น ก่อนจะเริ่มพัฒนาควรศึกษาข้อมูลรอบคอบรอบ ด้านและเป็นระบบ ควรมีลําดับขั้นตอนการทํางานที่ชัดเจนตั้งแต่ ศึกษาหาข้อมูล จัดทําโครงสร้างและสตอรี่ บอร์ดให้เสร็จก่อน ขั้นตอนของการสร้างสรรค์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารกับผู้ใช้นั้นควรทําให้ เข้าใจง่าย เข้าถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และระมัดระวังในการใช้ภาษาที่เหมาะสม เมื่อพบปัญหา ต้องรีบแก้ไขจากจุดเล็กก่อนและรู้จักประยุกต์สิ่งที่คนมักมองข้ามหรือสิ่งไม่ดีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ใช้ ทดลองตรวจสอบการใช้ก่อนว่าเข้าง่ายออกง่าย สร้างแรงจูงใจได้หรือไม่ ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรนําโมดูลการเรียนรู้อิเล็คทรอนิกส์เหล่านี้ ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือใช้ในกิจกรรมพัฒนานิสิต โดยมีการติดตามผลที่เกิดขึ้นเช่น วัดคุณลักษณะในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของ นิสิตหลังจากการทดลองใช้ด้วยว่า ใช้ได้ผลดีเพียงใด พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางใด ฯลฯ 2. อาจารย์ในศาสตร์ของศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ควรนําไปวิจัยต่อในเรื่องการพัฒนาโมดูลการ เรียนอิเล็คทรอนิกส์ด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมกับความต้องการ ในแต่ละสาขาวิชา และสร้างจุดเน้นที่ แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้นปี 3. อาจารย์ในระดับอุดมศึกษาในศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางด้านการศึกษา หรือ อาจารย์ ครูผู้สอน นักวิชาการ ผู้ท่ีเกี่ยวข้อง ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรนําไปวิจัยต่อใน สาขาวิชาที่ตนเองเกี่ยวข้อง หรือ การบูรณาการข้ามศาสตร์สาขากันก็สามารถทําได้ 4. อาจารย์ ครูผู้สอน นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ ผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับการเป็นวิทยากรฝึกอบรม ควรทํา การวิจัย การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้อิเล็คทรอนิกส์เพื่อนําไปใช้ ในการฝึกอบรมตามความเชี่ยวชาญในศาสตร์ ของตนเองในลักษณะของ Online Training ซึ่งเป็น การอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพราะโมดูลการเรียนรู้ อิเล็คทรอนิกส์นั้นมีคุณสมบัติตอบสนอง ในเรื่องการใช้ผ่านเครือข่ายแบบ Online ได้ดีพอสมควร เป็นการ อํานวยความสะดวกให้ผู้เข้ารับการอบรมตามความต้องการได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง ทีมข่าวเศรษฐกิจ. 2550. เศรษฐกิจพอเพียงฉบับประชาชน คนไทยเข้าใจความหมายของคํานี้ดีแล้วจริง หรือ. ไทยรัฐ, หน้า 8-9. นาตยา ปิลันธนานนท์. 2545. จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจํากัด. ราตรี ศิริพันธ์. 2546. โมดูลเพื่อใช้ศึกษาด้วยตนเองในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดผู้เรียนเป็น สําคัญ สําหรับอาจารย์ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี. สาขาวิชาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

44


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 วิเชียร ดีฉาย. (2545). การพัฒนาบทเรียนโมดูลเรื่อง “ การปฏิบัติงานกลึง”. สาขาวิชาหลักสูตรและการ สอนอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม., สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพมหานคร. สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ [กปร.]. 2551. หลักการ ทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2554, จาก http://elibrary.rdpb.go.th/ordpb_lib/pdf_book/8125.pdf สํารวย สุขใจ. 2546. การสร้างโมดูลฝึกอบรมสามเณรไทยเพื่อส่งเสริมการทํางานเป็นทีมในกิจวัตร ประจําวัน. สาขาวิชาสังคมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. สมถวิล ธนะโสภณ, นาตยา ปิลันธนานนท์, มธุรส จงชัยกิจ, และวิภารัตน์ แสงจันทร์. 2552. เว็บไซต์สื่อ ทรัพยากรการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันความรุนแรงสําหรับเด็กวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2553, จาก www.wound-why.com Banyard, S. 2007. Central Mississippi teachers' perceptions of effective behaviors of principals trained using the orientation for school leaders training module (OSL) (Online). http://proquest.umi.com/ pqdweb?index=55&did=1390300571&SrchMode=1&sid=8&Fmt=2&VInst=PROD&VType=PQD& RQT=309&VName=PQD&TS=1204257188&clientId=56170, January 12, 2009. Limperis, G. (2005). Webct learning modules. Retrieved January 12, 2009. from http://tutorials.webct. com/exploring/exploring_learningmodule/learningmodule.htm McKenzie, J. 1998. Visual literacy (Online). http://fno.org/PL/vislit.htm, January 12, 2009. Richardson, J. G. and George W. B. (1996). Developing learning modules. Retrieved January 12, 2009 from http://www.ces.ncsu.edu/AboutCES/Factsheets/develop.html Riley, M. 2007. A desiccant technology instructional module (Online). http://proquest.umi.com/pqdweb?index=12&did=1390306491&SrchMode=1&sid=7&Fmt=2&VIns t=PROD&VType=PQD&RQT=309&VName=PQD&TS=1204255813&clientId=56170, January 12, 2009. The Trustees of Indiana University. (n.d). Learning about Congress. Retrieved January 12, 2009. from http://www.centeroncongress.org/learn_about/launcher.htm

45


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การบูรณาการกลยุทธ์การตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง The Integration of Marketing Strategy with the King’s Concept Sufficiency of Economy to Develop Para Rubber Agriculturalists in the Three Southern Border Provinces ศิษฎ์ธวัช มัน่ เศรษฐวิทย์* บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดําเนินการกลยุทธ์ทางการตลาดของ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาดตามแนวพระราชดําริ เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาให้กับกลุ่มเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อศึกษาผลการ ดําเนินการใช้กลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง จากกลุ่มเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์การ ทําสวนยางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ซึ่งเป็นการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่รู้จํานวนแน่นอน ได้เกษตรกร จังหวัดยะลา 90 คน จังหวัดปัตตานี 213 คน และจังหวัดนราธิวาส 41 คน รวมทั้งหมด 344 คน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) สภาพปัญหาการดําเนินการกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้ในด้าน การเพิ่มผลผลิตยางพารา คุณภาพและมาตรฐานยางพารา การปลูกพืชแซมยาง และการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ในสวนยาง 2) การจัดการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรด้าน ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจําหน่าย การส่งเสริมการตลาด และบุคคลากร ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและโรงแรมแกรนยะลา 3) ผลการ ดําเนินการบูรณาการกลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจ พบว่าความพึงพอใจของเกษตรกร ชาวสวนยาง ก่อนการดําเนินการบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อ รายได้ ปริมาณผลผลิตยาง และคุณภาพมาตรฐานยางพารา ระดับน้อย หลัง การบูรณาการกลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีความ พึง พอใจต่อ รายได้ ปริ ม าณผลผลิ ต ยาง และคุ ณ ภาพมาตรฐานยางพารา ระดั บ มากที่ สุ ด จากผลการวิ จั ยดั ง กล่ า ว สามารถสรุปได้ว่า การบูรณาการกลยุทธ์การตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทําให้เกษตรกรมีรายได้ ปริมาณผลผลิตยาง และ คุณภาพมาตรฐานยางพาราเพิ่มขึ้นกว่าเดิม คําสําคัญ: การบูรณาการกลยุทธ์การตลาดเศรษฐกิจพอเพียง

*

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

47


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

Abstract The objectives of this research were: 1) to study the problems in the implementation of marketing strategies among the agriculturalists in the three southern border provinces, 2) to integrate the marketing strategies with the King’s concept of sufficiency economy to develop model agriculturalists in the three southern border provinces, and 3) to study the outcome of employing marketing strategies based on the King’s concept of sufficiency economy for the model agriculturalists in the three southern border provinces .The sample group was para rubber agriculturalists in the three southern border provinces: Yala, Pattani and Narathiwat. Taro Yamane, the method which defined the exact number of sample group, was used to find the random group of 344 people: 90 agriculturalists from Yala, 213 from Patani and 41 from Narathiwat. The findings are as follows: 1) The problems in employing marketing strategies among the agriculturalists in the three southern border provinces were the lack of knowledge to increase para rubber production, the quality and standard of para rubber, planting other plants in the para rubber garden, raising economic animals in para rubber gardens. 2) Agriculturalists were trained in product price place promotion and people at Yala Rajabhat University and the Grand Palace Hotel in Yala, 3) It was found that the satisfaction level of the agriculturalists to increase income rubber production and quality, standard of para rubber before the integration was less . After the integration, the satisfaction level of the agriculturalists to increase income rubber production and quality, standard of para rubber was quite high. The summary of this research were to: The Integration of Marketing Strategy with the King’s Concept Sufficiency Economy to Develop Para Rubber Agriculturalists in the Three Southern Border Provinces to increase income rubber production and quality, standard of para rubber quite high. Key words: Integration of Marketing Strategy, Sufficiency Economy

บทนํา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระราชทาน แนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยใช้เป็นเกราะคุ้มกันแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ลดน้อยและหมดไป โดยทรงเสนอแนวทางที่คนไทยทั้งชาติควรยืดมั่นตามรอย พระยุ ค ลบาทที่ สํา คั ญ คื อ การปฏิบั ติ ต นตามแนวเศรษฐกิ จพอเพีย ง ดั ง พระราชดํ า รัส ความตอนหนึ่ ง ว่ า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพยายามพึ่งพาตัวเอง ช่วยตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อให้พอมี พอกิน โดยเฉพาะอาหารและที่อยู่อาศัย ส่วนที่ไม่สามารถจะผลิตเองได้ก็แลกเปลี่ยนหรือซื้อจากภายนอกบ้าง แต่ควร จะซื้อและใช้จากของที่ผลิตได้ในท้องถิ่นหรือในประเทศให้มากที่สุดพยายามก่อหนี้ให้น้อยที่สุด ควรมีชีวิตความ เป็นอยู่ท่ีเรียบง่ายและพอใจในสิ่งที่ได้รับมาโดยชอบธรรม ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยหรือให้มีรายจ่ายไม่เกินรายรับ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2540) พระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นเสมือนปรัชญาของการดํารงชีวิต ให้ดําเนินไปในทางที่เหมาะสมกับบริบทของความเป็นไทย และถือเป็นระบบเศรษฐกิจที่ประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศสามารถที่จะดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่ได้อย่างอิสระ โดยผู้ผลิตแต่ละคนเป็นผู้ผลิต เพื่อการ บริโภค(กฤษณา วงษาสันต์, 2542)

48


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 แนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านทรงเน้นหลักการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง เพื่อการอยู่ อิ่ม นุ่งอุ่น พอออมและรวมพลังกันสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งโดยต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการพัฒนา ประเทศ ที่คิดว่าทําอย่างไรชุมชนจะสามารถกอบกู้พลังของชุมชนโดยพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีทิศ ทางการพัฒนาที่ชัดเจนจากพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง จึงทําให้รัฐบาลได้กําหนดแนวทางการพัฒนา ประเทศที่ตระหนักถึง การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนระดับรากหญ้าให้สามารถพึ่งพาตนเองการบูรณา การกลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นหัวใจสําคัญของการตลาดที่จะทําให้การ ดําเนินงานของตลาดยางพาราประสบความสําเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เหมาะสมของกล ยุทธ์การตลาด ซึ่งกลยุทธ์การตลาด ถือเป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือ ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อทําให้ธุรกิจยางพาราอยู่รอดได้หรืออาจเรียกได้ว่าการบูรณาการ กลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ถูกใช้เพื่อสนองความ ต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ทําให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดความพึงพอใจ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบ ที่สําคัญ 5ประการ คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านการจัดจําหน่าย 3) ด้านส่งเสริมการตลาด 4) ด้านราคา 5) ด้านบุคลากร ซึ่งตัวแปรทั้ง 5 ตัวนี้ ไม่มีตัวใดสําคัญกว่ากันจะต้องทําการพัฒนาร่วมกันไปเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ การที่จะพัฒนาผลผลิตยางพารา เพื่อให้ตรงกับความต้องการของ ตลาดเป้ า หมายนั้ น จะต้ อ งเลื อ กสายพั น ธุ์ ย างพาราที่ มี คุ ณ ภาพน้ํ า ยางตรงกั บ ความต้ อ งการของตลาด เป้าหมาย 2) ด้านการจัดจําหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางพาราจะดีเพียงใดก็ตาม หากไม่สามารถไปถึงทันเวลาและ สถานที่ ซึ่ง มีความต้อ งการผลิต ภัณ ฑ์ นั้น ๆ ก็จ ะด้อ ยความหมายลงไป การพิ จ ารณาถึง สถานที่ ว่า จะวาง ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ใดที่เหมาะสม จะวางเมื่อไรถึงจะเป็นเวลาที่ตลาดต้องการ เป็นเรื่องที่จะต้องนําปัจจัย เกี่ยวกับการขนส่งเข้ามาพิจารณาควบคู่ด้วย เพราะปกติแล้วการเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์ยางพาราจะไม่ ดําเนินไปด้วยตัวมันเอง แต่จะต้องขึ้นอยู่กับช่องทางการจําหน่ายอื่นๆ เข้ามาช่วย เช่น คนกลาง หรือสถาบันที่ ทําหน้าที่ค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก และนอกจากนั้นยังต้องคํานึงถึงเรื่องการขนส่ง การเก็บ รั ก ษาผลผลิ ต ยางพาราให้ อ ยู่ ใ นสภาพพร้ อ มที่ จ ะนํ า ออกสู่ ต ลาดเป้ า หมายได้ ทั น ท่ ว งที 3) การส่ ง เสริ ม การตลาด เป็นการสื่ อความให้ต ลาดเป้าหมายได้ทราบถึงผลิต ภั ณฑ์ยางพาราที่ต้องการว่าได้มีจํ า หน่า ย ณ ที่ใดในระดับใด ไม่ว่าการส่งเสริมการตลาดนั้นจะผ่านโดยพ่อค้าคนกลาง การขายทั่วไป และการส่งเสริม การขาย ก็ตาม ผู้บริหารการตลาดจะต้องเลือกใช้วิธีต่างๆ เหล่านี้ให้เหมาะสมกับสื่อต่าง ๆ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิว ป้ายโฆษณากลางแจ้ง และอื่น ๆ งานส่งเสริมการตลาดจึงเป็นงานที่สําคัญ ที่จะต้องกําหนดนโยบายส่งเสริมการจําหน่ายให้เหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย 4) ด้านราคา แม้ว่าผลิตภัณฑ์ ยางพาราจะถูกพัฒนาอย่างถูกต้องตามเป้าหมายการตลาด การจัดจําหน่ายในสถานที่และเวลาที่ถูกต้อง การ ส่งเสริมการตลาดถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ยางพาราจะขายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ราคา เป็นกลไกที่สําคัญจะทําให้ลูกค้าสนใจ และยอมรับในผลิตภัณฑ์ยางพาราหรือไม่ การกําหนดราคานั้นจะต้องให้ ถูกต้อง และยุติธรรม ในการกําหนดราคาจะต้องคํานึงถึงเรื่องต้นทุน ลักษณะการแข่งขันในตลาดเป้าหมาย 5) ในด้านบุคลากร ให้ความสําคัญกับบุคลากรทุกฝ่ายจะต้องมีพัฒนาความรู้ ภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆ ให้สามารถใช้ในกิจการได้ ต้องรู้จักความพอ ไม่โลภ ไม่ทําอะไรเกินกําลัง ต้องประหยัดเก็บออม มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และต้องรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรของท้องถิ่นและประเทศ (ประเวศ วะสี, 2542)

49


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางคือมียอดกู้ยืมค้างชําระเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุที่เกษตรกร ไม่สามารถชําระหนี้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรได้ เนื่องจากเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติจากการเกิดภาวะ น้ําท่วม ทําให้พืชผลทางการเกษตรและสวนยางได้รับความเสียหาย ประกอบกับน้ํามันราคาสูงขึ้นส่งผลให้ ปั จ จั ย การผลิ ต ทางการเกษตร เช่ น ปุ๋ ย ยาปราบศั ต รู พื ช ราคาสู ง ขึ้ น ปั ญ หาเกษตรกรขาดความรู้ ด้ า น เศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาเกษตรกรขาดความรู้การทํา ไร่ น าสวนผสม ปัญหาเกษตรกรขาดองค์ความรู้ การเกษตรแบบยั่งยืน ปัญหาสิ่งอํานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานการพัฒนาทางด้านสิ่งอํานวยความสะดวกขั้น พื้นฐานค่อนข้างจะล่าช้าเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การชลประทานยังไม่เพียงพอ เส้นทางคมนาคม ขนส่งภายในจังหวัด ตําบล หมู่บ้าน ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร รวมทั้งไฟฟ้า โทรศัพท์ และน้ําประปามีใช้ไม่ทั่วถึง ปัญหาประชากรและการกระจายรายได้ในภาคใต้ ปัญหาเรื่องตลาดภายในค่อนข้างแคบเพราะมีประชากร น้อย ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในการกรีดยางจําเป็นต้องอาศัยแรงงานจากภาคอื่น ปัญหาการกระจาย ตัวของอุตสาหกรรมยางยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจํานวนประชากร (สถาบันวิจัยยาง, 2553) จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้น้อมนําหลักการสําคัญตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐานการบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตยางพาราเป็นการพัฒนาศักยภาพในการผลิต เพื่อการแข่งขันและพึ่งตนเอง เหมาะสมกับบริบทในสามจังหวัดชายภาคใต้

วิธีการศึกษา การวิจัยเรื่อง การบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่เป็น สมาชิกกองทุนสงเคราะห์การทําในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดําเนินการกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่ม เกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาดตามแนวพระราชดําริ เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อศึกษาผลการ ดําเนินการใช้กลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง จากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวสวนยางที่เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์การทํา สวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส มีจํานวนทั้งหมด 2,467 คน สุ่มตัวอย่าง ตามสูตรของ Taro Yamane เป็นการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่ทราบจํานวนที่แน่นอน (ยุทธพงษ์ กัยวรรณี, 2543) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจํานวน 344 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงโดยพิจารณาคุณสมบัติของ อําเภอที่มีสมาชิกกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางที่จะเข้าร่วมกิจกรรมดําเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ คือ 1) เป็นอําเภอที่มีเกษตรกรมีอาชีพทําสวนยางจํานวนมาก 2) เป็นอําเภอที่ปลอดภัยจากเหตุการณ์ ความไม่สงบ 3) เป็นอําเภอที่ประสบปัญหาผลผลิตยางตกต่ํา 4) เป็นอําเภอที่กลุ่มเกษตรกรพร้อมให้ความ ร่วมมือที่เข้าร่วมกิจกรรม 5) เป็นอําเภอที่มีกลุ่มเกษตรกรเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางเท่านั้น การดําเนินการวิจัยมีขั้นตอนการวิจัยที่สําคัญแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2553 – เดือนกันยายน 2554 รวมการวิจัยประมาณ 1 ปี คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและเตรียมการสําหรับการวิจัยร่วมกับกลุ่มเกษตรกร ระยะที่ 2 การปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มเกษตรกร เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญ หา จุ ด แข็ง จุด อ่อน โอกาส และ

50


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 อุปสรรค ของการทํ าสวนยางพารา ระยะที่ 3 การบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาดตามแนวพระราชดําริ เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกิจกรรมการอบรม 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านผลิตภัณ ฑ์ ได้แ ก่ คุณภาพ และมาตรฐานยางพารา อบรมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่อง คุ ณ ภาพและมาตรฐานยางไม่ มี ก ารปลอมปนน้ํ า เพื่ อ ทํ า ให้ ย างมี น้ํ า หนั ก มาก ให้ ก รองน้ํ า ยางเพื่ อ ป้ อ งกั น สิ่งเจือปน วัดผลจากการตรวจวัดมาตรฐานน้ํายางโดยห้องแลบของศูนย์วิจัยการยางจังหวัดยะลา อบรมให้ เกษตรกรปลูกพืชแซมยางและเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในยาง เช่น ข้าวโพด อ้อย กล้วย ต้นเหลียง แพะ แกะ วัว เป็ด ไก่ ฯลฯ 2. ด้านราคา อบรมส่งเสริมให้เกษตรกรยึดถือคุณธรรมเป็นหลักไม่เอาเปรียบผู้ซื้อ ใช้ราคากลาง ที่เ ป็ น ทางการ จากตลาดกลางขายยางพารา อํ าเภอ หาดใหญ่ จั ง หวัด สงขลา 3. ด้า นช่ อ งทางการจั ด จําหน่าย ส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรนําผลผลิตยางพารามาจําหน่ายกับพ่อค้าคนกลางที่บริเวณตลาด กลางขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด ในแต่ ล ะจั ง หวั ด เพื่ อ ความสะดวกในการเดิ น ทางทั้ ง ผู้ ซื้ อ และผู้ ข าย 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไป ร่ ว ม กิ จ ก ร ร ม ก า ร อ อ ก บู้ เ กี่ ย ว กั บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ย า ง พ า ร า ที่ ง า น แ ส ด ง ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ย า ง พ า ร า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อําเภอหาดใหญ่ จัง หวัด สงขลา และอบรมให้ความรู้เ กี่ยวกับการร่ว มกลุ่ม แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม 5. ด้านบุคลากร อบรมให้ความรู้ในด้าน การจัดการสวนยางแบบยั่งยืนโดยการให้เกษตรกรชาวสวนยางทําไร่นาสวนผสม อบรมให้เกษตรกรชาวสวน ยางรู้จักประหยัดและออม มีความพอเพียง โดยการทําบัญชีครัวเรือนให้มีการตรวจสอบรายรับและรายจ่าย และอบรมให้ความรู้การรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่นไม่ตัดไม้ทําลายป่า ระยะที่ 4 การประเมินผล ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการบูรณาการกลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเ ศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 5 นําเสนอการบูรณาการกลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเกษตรกรใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ.ห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ผลการศึกษา ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการดําเนิน การกลยุทธ์ทางการตลาดของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิเคราะห์สภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ทางการตลาดของ กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ จุดแข็ง ได้แก่ เกษตรกรชาวสวนยางในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้จํานวนมากเป็นเจ้าของสวนยางเอง เกษตรกรส่วนมากมีความรู้เรื่องการจัดเตรียมที่ดิน ก่อนปลูกยาง จุดอ่อน ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้การพึ่งพาตนเองแบบปลูกพืชไร่นาสวนผสมโดยยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรขาดรายได้เสริมจากการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางเช่นแพะ แกะ วัว ไก่ ฯลฯ เกษตรกรขาดรายได้เสริมจากการปลูกพืชแซมยางเช่น ปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย ปลูกมันสําปะหลัง ฯลฯ เกษตรกรขาดการร่วมกลุ่มผู้ผลิตยางพารา และเกษตรกรขาดอาชีพเสริมหลังจากการทําสวนยางพารา โอกาส ได้แก่ การช่วยเหลือของภาครั ฐโดยการสนับเงินทุน สําหรับผู้ปลูกยางพารา การช่วยเหลือของ หน่วยงานภาครัฐในด้านวิชาการเช่น ศูนย์วิจัยการยางช่วยเหลือด้านวิจัยพันธุ์ยางที่มีคุณภาพ อุปสรรค ได้แก่ การขึ้นลงของราคายางไม่แน่นอน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ํา

51


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตอนที่ 2 การบูรณาการกลยุทธ์ทางการตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาให้กับ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยการอบรมทั้ง 5 ด้าน 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านช่องทาง การจัดจําหน่าย 3) ด้านส่งเสริมการตลาด 4) ด้านราคาและ 5) ด้านบุคลากร ตอนที่ 3 ผลการดําเนินการใช้กลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงจากกลุ่ม เกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรก่อนการบูรณาการ กลยุทธ์ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงในด้านผลผลิตได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ปริมาณผลผลิตยาง เฉลี่ยต่อเดือน และยอดขายเฉลี่ยต่อเดือน ความพึงพอใจของเกษตรกรมี ระดับน้อย การประเมินผลความพึง พอใจของเกษตรกรหลังการบูรณาการกลยุทธ์การตลาดแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงในด้านผลผลิต ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ปริมาณผลผลิตยางเฉลี่ยต่อเดือน และยอดขายเฉลี่ยต่อเดือน ความพึงพอใจของ เกษตรกรมี ระดับมากที่สุด

อภิปรายผล สรุป/ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถอธิบายได้ว่า เกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประสบปัญหาเกี่ยวกับขาดความรู้ในด้านเพิ่มผลผลิตยางพารา ขาดความรู้ในด้านการทําให้ยางมีคุณภาพ มาตรฐาน ขาดความรู้ในด้านการปลูกพืชแซมยาง การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางและขาดความรู้ในการทํา ไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับอภิศักดิ์ วงศ์หมัดทอง (2553) เจ้าหน้าที่ สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ปัญหายางพารามีความชื้นเกินเกณฑ์มาตรฐาน ยางแห้งช้า ยางไม่มีคุณภาพมี การปลอมปนยางคุณภาพดีกับยางคุณภาพต่ําเข้าด้วยกันเพื่อให้มีน้ําหนักมาก เช่น น้ํายางคุณภาพชั้นหนึ่งปน กับน้ํายางคุณภาพชั้นสาม ปัญหาเกษตรกรขาดความรู้ในด้านการปลูกพืชแซมยาง การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจใน สวนยาง ร่ว มทั้งการทําไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้เกษตรกรใน 3 จั ง หวัด ชายภาคใต้ยั ง ขาดผู้ นํา ในการร่ว มกลุ่ม มี ผ ลทํ าให้ถู ก กดราคาจากพ่ อ ค้ า ท้อ งถิ่ น คล้า ยกับ สมาคม ยางพาราไทย (2553) รายงานว่า ราคายางพารามีความผันผวนและมีการแข่งขันในด้านราคาสูงเนื่องจาก ปัจจัยด้านฤดูกาล ค่าเงินบาทแข็งค่า ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นเช่น ปุ๋ยเคมี ต้นกล้ายาง เชื้อเพลิง ในการขนส่ง ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้บูรณาการกลยุทธ์การตลาดตามพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง พัฒ นาให้ กับ กลุ่ ม เกษตรกรชาวสวนยางใน 3 จัง หวั ด ชายแดนภาคใต้ โ ดยการอบรมส่ง เสริม ให้ เ กษตรกร ชาวสวนยางในเรื่องการผลิตยางให้มีคุณภาพมาตรฐาน การปลูกพืชเศรษฐกิจแซมในระหว่างล่องยาง การ เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยาง โดยยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเกษตรผสมผสานตามพระราชดําริ เศรษฐกิจพอเพียง การอบรมส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อการรวมตัวกันในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล การอบรมให้ความรู้กันเองภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม การต่อรองราคายาง ฯลฯ เหมือนกับสํานักงาน กองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (2553) มีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางปรับโครงสร้าง การผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรทฤษฎีใหม่ การเกษตรผสมผสานเพื่อเพิ่มรายได้และลด ความเสี่ยงจากการปลูกยางเพียงอย่างเดียว ผลการประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรหลังการบูรณาการ กลยุทธ์การตลาดตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงมีระดับ มากที่สุดในด้านรายได้ ปริมาณผลผลิตยาง คุณภาพยางพารา สอดคล้องกับกรมวิชาการเกษตร (2553) รายงานว่า การเสริมรายได้ให้กับเกษตรกร

52


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ชาวสวนยางด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจแซมยาง และเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจในสวนยางโดยยึดหลักการเกษตร ผสมผสานตามพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรแบบยั่งยืนจากผลการวิจัย ดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การบูรณาการกลยุทธ์การตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทําให้เกษตรกรมีรายได้ ปริมาณผลผลิตยาง และคุณภาพมาตรฐานยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้เกษตรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถยืนอยู่บนลําแข้ง ของตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของการพอมี พอกิน มีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีเรียบง่ายและพอใจ ในสิ่งที่ได้รับโดยชอบธรรม ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยหรือให้มีรายจ่ายไม่เกินรายรับ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป การวิจัย บูรณาการกลยุทธ์การตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ตามแนวพระราชดําริเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งต่อไปควรทําการวิจัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะพื้นที่หรือชุมชนอยู่ห่างไกลจากหน่วยงานราชการที่ดูแลช่วยเหลือเกษตรกร เกี่ยวกับการทําสวนยาง

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการเกษตร. 2553. การเสริมรายได้ในส่วนยางด้วยการปลูกพืชแซม.กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กฤษณา วงษาสันต์. 2542. วิถีไทย. กรุงเทพฯ: เธิร์ฟเวฟเอ็ดดูเคชั่น. เกษตรและสหกรณ์,กระทรวง. 2540. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการพัฒนาเกษตรไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง. ประเวศ วะสี. 2542. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประชาคมตําบลยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงศีลธรรมและสุขภาพ.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณี. 2543. พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. 2553. การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา. กรุงเทพฯ: กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. สมาคมยางพาราไทย. 2553. รายงานปัญหาภาพรวมของธุรกิจยางพารา. กรุงเทพฯ: สมาคมยางพาราไทย. กองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง,สํานักงาน. 2553. นโยบายการดํ า เนิน งานภาคใต้แผนวิสาหกิจ . กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อภิศักดิ์ วงศ์หมัดทอง. 2553. (25 ตุลาคม). เจ้าหน้าฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล. สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ การทําสวนยาง.สัมภาษณ์.

53


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การพัฒนาแบบวัดความจงรักภักดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก The Development of Loyalty to the Nation, the Religion and the Monarch Test for the Non Commissioned Officer Students นัฏฐิกา งามเพราะแต่ง* และ รศ.ดร.พรทิพย์ ไชยโส** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษั ตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดในด้านความ ตรงตามทฤษฎี อํานาจจําแนก และความเที่ยงของแบบวัด 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมาย คะแนนจากแบบวัด 4) เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดที่สร้างขึ้น วิธีการวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ 1) กําหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบวัด 2) ศึกษา แนวคิดทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์เพื่อเป็น แนวทางในการกําหนดนิยามและองค์ประกอบของผู้ท่ีมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 3) สร้างข้อคําถามตามกรอบแนวคิดที่กําหนดและรวบรวมข้อคําถามเข้าชุดแบบวัด 4) ตรวจสอบความตรง ตามทฤษฎีเชิงเหตุผลด้วยผู้เชี่ยวชาญ และเลือกคําถามที่มีความตรงเพื่อจัดเข้าเป็นชุดของแบบวัด 5) นําไป ทดลองใช้เพื่อหาค่าอํานาจจําแนกรายข้อ คัดเลือกและปรับปรุงข้อคําถาม 6) ตรวจสอบความตรงตามทฤษฎี ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ 7) เขียนคู่มือการใช้แบบวัด หาความเที่ยง และสร้างเกณฑ์ปกติสําหรับแปล ความหมายคะแนนโดยนําแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบ ทหารบกไปเก็บข้อมูลกับนักเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียนนายสิบทหารบก รุ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2554 จํานวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนาย สิบทหารบกที่สร้างขึ้น มีจํานวน 72 ข้อ วัด 9 องค์ประกอบคือองค์ประกอบความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ทั้งกาย วาจา และจิตใจ 2) ข้อคําถามมีค่าอํานาจจําแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.34 – 0.67 มีความ ตรงตามทฤษฎี และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 3) เกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนนจาก แบบวัดนําเสนอในรูปคะแนนทีปกติ และตําแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ 4) คู่มือการใช้แบบวัดที่จัดทําขึ้นมีความเป็น ปรนัย

*

นิสิตปริญญาโท สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**

55


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ABSTRACT The objective of this research was to develop the loyalty to the nation, the Religion and the Monarch Test for the non commissioned officer students. There were four specific objectives, including; 1) to construct the Loyalty to the nation, the religion and the monarch test for the non commissioned officer students; 2) to examine the test’s quality on construct validity, discrimination power and internal consistency reliability; 3) to set the norms for interpreting the test score; 4) to construct the test manual. The methodology of this research included: 1) to set the objectives for the test construction; 2) to review theories, documents and research related to loyalty to the nation, the religion and the monarch in order to define and set the factors or person who have Loyalty to the Nation, the Religion and the Monarch to be a conceptual framework for the test construction; 3) to constructed items of the test 4) to examine construct validity using expert’s logical review and select appropriate items for the test; 5) to try out the test and calculate the discrimination power for each item. The items were selected and improved; 6) to examine construct validity by factor analysis; 7) to write the test manual, calculate internal consistency reliability and construct the norms for interpreting the test score by administering the test to 300 of the 15th batch of non commissioned officer students, the academic years 2011. The research findings were; 1) there were 72 items, 9 components of the loyalty to the nation, the religion and the monarch test for behavior in body gesture, speech and mind; 2) the discrimination power were from 0.34 - 0.67. The test had appropriate construct validity and reliability coefficient (r=0.96); 3) the results also included norms for loyalty to the nation, the religion and the monarch test for the non commissioned officer students to be presented in the form of normalized T-score and percentile rank; and 4) the manual for the test had objectivity.

ความสําคัญของปัญหา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติหน้าที่ของชนชาวไทยในหมวดที่ 4 มาตรา 70 ไว้ว่า บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ (สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 2550) ชนชาวไทยหรือ พลเมืองนั้นเป็นกําลังของประเทศ มีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติ ตามสิทธิและหน้าที่พลเมืองคือ การรักษาชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2554) ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งคนไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ให้ความสําคัญกับความจงรักภักดีต่อ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จนเป็นเอกลักษณ์สําคัญของความเป็นคนไทย และมีส่วนสําคัญ อย่างยิ่งต่อการดําเนินชีวิตของคนไทย เพราะชาติไทย คือ แผ่นดินไทย อันเป็นที่อยู่อาศัยของคนไทย ศาสนา

56


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นหลักในการดําเนินชีวิตที่ดีงาม พระมหากษัตริย์ ทรงปกครองแผ่นดิน และทรงปกป้อง คุ้มครองพิทักษ์รักษาชาติบ้านเมืองไว้ทุกยุคทุกสมัย (กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2554) ทางด้านการทหาร ถือว่า ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นอุดมการณ์ทหาร ที่กําลังพลของกองทัพไทยในทุกระดับชั้นยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งอุดมการณ์ทางทหาร คือ การ เป็นทหารที่ดีที่สุดในการอุทิศตนเพื่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ด้วยการแสดงออกถึงความ จงรักภักดี มีความยึดมั่นในเกียรติยศและศักดิ์ศรีของทหาร มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความเสียสละ (กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2554) ดังนั้น ทหารจึงเป็นผู้ท่ีจะต้องยึดถือหลักความจงรักภักดีอย่างเข้มข้น เพราะ ทหารได้ประกาศไว้ในคําสาบานตนต่อธงไชยเฉลิมพล อันเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่ถือว่าเป็นหลักชัยสูงสุดของทหาร (ว.ร.ฤทธาคนี, 2552) โรงเรียนนายสิบทหารบกเป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารบกมีเป้าหมายในการ ผลิตบุคลากรทางการทหารให้แก่กองทัพบก มีการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ และการนําไปใช้งานอย่าง จริงจัง มีการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการฝึกศึกษาของโรงเรียนนายสิบทหารบกให้เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานการศึกษาและสนองตอบนโยบายทางการศึกษาของกองทัพบก มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ตามตําแหน่งของตนอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีคุณสมบัติตามที่กองทัพบกต้องการ เป็นผู้ท่ีมีวินัยที่ ดี มีคุณลักษณะผู้นําที่พึงประสงค์ ตลอดจนเป็นผู้ท่ีมีความจงรักภักดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนนายสิบทหารบก, 2553) ในการอบรม ปลู ก ฝั ง อุ ด มการณ์ ท างทหารในเรื่ อ งความจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ให้กับนักเรียนนายสิบทหารบก ถือได้ว่าเป็นภาระหน้าที่ที่สําคัญของโรงเรียนนายสิบทหารบก ที่ต้องดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของกองทัพบก ซึ่งในการจัดการศึกษาของโรงเรียนนายสิบทหารบก นั้นได้มีการดําเนินการทางด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการสอดแทรกในวิชาเรียน การฝึก การอบรม และ การจัดกิจกรรมส่งเสริม เช่น การไปทัศนะศึกษาในสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ แต่ในส่วนของการวัด ประเมินผลคุณลักษณะทางด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น ยังไม่ไ ด้มีการจัดทํา เครื่องมือในการวัดและประเมินคุณลักษณะผู้เรียนในด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่มี คุณภาพเป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลหลักสูตรการจัดการศึกษาของโรงเรียนนายสิบ ทหารบก โรงเรียนนายสิบทหารบกมีความจําเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในการวัด และประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนนักเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียน นายสิบทหารบก จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับ นักเรียนนายสิบทหารบก เพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก และโรงเรียนนายสิบทหารบกสามารถนําผลการวัดที่ได้เป็นข้อมูลในการ พั ฒ นาหลั ก สู ต รที่ มุ่ ง เน้ น การปลู ก ฝั ง อุ ด มการณ์ ท างทหารในเรื่ อ งความจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต่อไป

57


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. เพื่อ สร้า งแบบวั ด ความจงรักภั กดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สํา หรับ นัก เรีย นนายสิ บ ทหารบก 2. เพื่อศึกษาหาคุณภาพของแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สํ า หรับ นักเรียนนายสิบทหารบก 3. เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก 4. เพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียน นายสิบทหารบก

ขอบเขตของการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียน นายสิบทหารบก โดยยึดกรอบแนวคิดของกองทัพบก ซึ่งประกอบไปด้วย 9 องค์ประกอบ ดังนี้ คือความ จงรักภักดีต่อชาติทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ ความจงรักภักดีต่อศาสนาทางกาย ทางวาจา และทาง จิตใจ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ 2. เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เรียงลําดับการแสดงถึงความรู้สึก ความเชื่อ และการปฏิบัติในการแสดงความจงรักภักดีจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยให้ ผู้ตอบรายงานถึงความรู้สึก ความเชื่อ การปฏิบัติต่อเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ของตนเองเพียงระดับเดียว ตามข้อความที่แสดงถึงความรู้สึก ความเชื่อ และ การปฏิบัติที่เป็นไปในทางที่ดีหรือทางบวก (ข้อความเชิงนิมาน) กับข้อคําถามที่แสดงถึงความรู้สึก ความเชื่อ และการปฏิบัติที่เป็นไปในทางไม่ดีหรือทางลบ (ข้อความเชิงนิเสธ) โดยกําหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 4 3 2 1 ในข้อคําถามที่เป็นไปในทางที่ดีหรือทางบวก (ข้อความเชิงนิมาน) และ เกณฑ์การให้คะแนนเป็น 1 2 3 4 5 ในข้อคําถามที่เป็นไปในทางที่ไม่ดีหรือทางลบ (ข้อความเชิงนิเสธ) 3. แสดงคุณภาพของแบบวัดที่สร้างขึ้นด้วยการตรวจสอบคุณภาพรายข้อในประเด็นอํานาจจําแนก ความตรงตามทฤษฎี และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน 4. สร้างเกณฑ์ปกติของความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยคะแนนทีปกติ และ ตําแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ จากกลุ่มปกติ ซึ่งเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกจํานวน 300 คน ที่ศึกษาในโรงเรียน นายสิบทหารบก รุ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2554 5. จัดทําและตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการใช้แบบวัด โดยการตรวจสอบความเป็นปรนัยของคู่มือ จากตัวแทนผู้ใช้ประกอบด้วย ครู – อาจารย์โรงเรียนนายสิบทหารบก จํานวน 5 ท่าน หัวข้อตรวจสอบ ประกอบไปด้วย จุดมุ่งหมายของแบบวัด โครงสร้างของแบบวัด ประโยชน์ของแบบวัด การสร้างและการ

58


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 พัฒนาแบบวัด คุณภาพของแบบวัด วิธีดําเนินการสอบ เกณฑ์การตรวจให้คะแนน การนํามาผลมาเทียบกับ เกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนน และการนําเสนอผลการวัด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ได้แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก ที่มี คุณภาพ และเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ครู – อาจารย์โรงเรียนนายสิบทหารบก ใช้เป็นเครื่องมือสําหรับตรวจสอบ ประเมิน ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ของนักเรียนนายสิบทหารบก แล้วนําผลจากการวัดไป ประกอบการประเมินคุณลักษณะของนักเรียนนายสิบในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือนําผลจากการวัดไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการปลูกฝังอุดการณ์ทางทหารในเรื่อง ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต่อไป

วิธีดําเนินการวิจัย 1. กําหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก แล้วศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนิยาม และองค์ประกอบของผู้ท่ีมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กําหนดผังโครงสร้างในการสร้าง ข้อคําถามในแต่ละองค์ประกอบ และเลือกรูปแบบของแบบวัดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ สร้างข้อคําถามตามผังโครงสร้างที่กําหนด จัดชุดแบบวัด และนําแบบวัดไปตรวจสอบความตรงตามทฤษฎีเชิง เหตุผล โดยผู้เชี่ยวชาญด้านทางทหาร ด้านผู้เรียน ด้านการสร้างเครื่องมือวัด และด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จํานวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมของการนิยาม ความเหมาะสมของผังโครงสร้างแบบวัด ความชัดเจนและความเหมาะสมของคําชี้แจงในแบบวัด ความ สอดคล้องเหมาะสมของข้อคําถาม และความเหมาะสมของเกณฑ์การให้คะแนนรายข้อ รายองค์ประกอบและ ภาพรวมของแบบวัด แล้วปรับปรุงส่วนต่างๆตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนําแบบวัดไปทดลองใช้กับ นักเรียนนายสิบทหารบก รุ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2554 เพื่อหาค่าอํานาจจําแนก และคัดเลือกข้อคําถามที่มี คุณภาพรายข้อตั้งแต่ .20 ขึ้นไป เพื่อนําไปทดลองใช้และหาคุณภาพเครื่องมือต่อไป 2. รวบรวมข้อคําถามที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อมาจัดเข้าเป็นชุดแบบวัด จํานวน 72 ข้อ จํานวน 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบละ 8 ข้อ แล้วนําไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์คุณภาพรายฉบับ ด้านความ ตรงตามทฤษฎีเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง 3. สร้างเกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายคะแนนโดยนําแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบกไปเก็บข้อมูลกับนักเรียนนายสิบทหารบก โรงเรียนนายสิบ ทหารบก รุ่นที่ 15 ปีการศึกษา 2554 จํานวน 300 คน 4. เขียนคู่มือการแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบ ทหารบก และนําไปทดลองใช้กับครู – อาจารย์ของโรงเรียนนายสิบทหารบกจํานวน 5 คน

59


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์คุณภาพรายข้อ เพื่อวิเคราะห์ค่าอํานาจจําแนกด้วยวิธีการหาสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่ง เป็นการหาสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ โดยตัดคะแนนข้อนั้นๆ ออกจากคะแนนรวม 2. วิเคราะห์ความตรงตามทฤษฎีโดยวิธีเชิงประจักษ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ วิธี Principal component analysis หมุนแกนด้วยวิธี Promax จากนั้นพิจารณาจํานวนองค์ประกอบจากค่า Eigen ที่มีค่า มากกว่า 1 3. วิ เ คราะห์ ค วามเที่ ย งโดยใช้ ก ารตรวจสอบความสอดคล้ อ งภายใน ด้ ว ยการหาสั ม ประสิ ท ธิ์ สหสัมพันธ์แอลฟาตามวิธีของ ครอนบาค

ผลการวิจัย 1. แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบกที่สร้าง ขึ้น มีจํานวน 72 ข้อ วัด 9 องค์ประกอบ องค์ประกอบละ 8 ข้อ 2. แบบวัดฉบับนี้มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อระหว่าง .34 - .67 3. แบบวัดฉบับนี้มีความตรงตามทฤษฎีเชิงเหตุผลด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญด้านทางทหาร ด้านผู้เรียน ด้านการสร้างเครื่องมือวัด และด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จํานวน 5 ท่านเป็นผู้พิจารณาตัดสิน ซึ่งพบว่ากรอบแนวคิดในการนิยามศัพท์ ผังโครงสร้าง คําชี้แจงของแบบ วัด ความหมายของคําตอบใน 5 ระดับของแบบวัด เกณฑ์การให้คะแนนรายข้อ รายองค์ประกอบ และ ภาพรวม เกณฑ์การแปลความหมายคะแนน และข้อคําถามนั้นมีความเหมาะสม สอดคล้อง ครอบคลุม และ เป็นตัวแทนถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความตรงตาม ทฤษฎีเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยพิจารณาจํานวนองค์ประกอบจากค่า Eigen ที่มีค่า มากกว่า 1 ปรากฏว่าได้องค์ประกอบ 14 องค์ประกอบ ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลการ วัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้ร้อยละ 60.974 ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้ง 14 องค์ประกอบ แล้ว พบว่า เป็น องค์ ป ระกอบของพฤติก รรมของความจงรั กภัก ดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษั ตริย์ ทั้ง 14 องค์ประกอบ แต่อาจจะเกิดจากชุดของภาษาในคําถามที่ใช้ เกิดการแทรกซ้อนต่อโครงสร้างของตัวประกอบ ทําให้เกิดเป็นองค์ประกอบใหม่ขึ้นมา 5 องค์ประกอบ อันได้แก่ องค์ประกอบที่ 10 11 12 และ 13 และเมื่อ พิจารณาลงไปที่ตัวแปรแต่ละตัวแปรในองค์ประกอบดังกล่าว ก็พบว่ามีลักษณะของข้อคําถามที่มุ่งวัดในสิ่ง เดียวกัน ดังนี้ องค์ประกอบที่ 9 กับ 10 องค์ประกอบที่ 4 กับ 11 องค์ประกอบที่ 5 กับ 12 องค์ประกอบที่ 6 กับ 13 และองค์ประกอบที่ 7 กับ 14 จึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 14 องค์ประกอบนั้น สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ สําคัญของความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัยศึกษา 4. แบบวัดฉบับนี้มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเป็น .96 องค์ประกอบ อยู่ระหว่าง .81 - .88

และมีค่าความเที่ยงในรายองค์ประกอบ 14

5. เกณฑ์ ป กติ สํ า หรั บ แปลความหมายคะแนนจากแบบวั ด ความจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก นําเสนอในรูปคะแนนทีปกติ และตําแหน่งเปอร์เซ็นไทล์

60


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 6. จากการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือ นั้น พบว่าครู อาจารย์ทุกท่านมีความเข้าใจตรงกัน สามารถดําเนินการสอบและบริหารการสอบได้ถูกต้องตามขั้นตอน สามารถตรวจให้คะแนนได้อย่างถูกต้อง ตามเกณฑ์ที่กําหนด สามารถแปลความหมายคะแนนที่ได้ถูกต้องตามที่ชี้แจงไว้ในคู่มือ นําเสนอผลการวัดได้ อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยได้ปรับปรุงคู่มือฉบับร่างโดยเพิ่มรายละเอียดในส่วนของคุณภาพของแบบวัดเพื่อให้คู่มือมี ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ข้อวิจารณ์ 1. จากการตรวจสอบความตรงตามทฤษฎีเชิงเหตุผลด้วยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 ท่าน โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป พบว่ากรอบแนวคิดในการนิยาม ศัพท์ ผังโครงสร้าง คําชี้แจงของแบบวัด ความหมายของคําตอบใน 5 ระดับของแบบวัด เกณฑ์การให้คะแนน รายข้อ รายองค์ประกอบ และภาพรวม เกณฑ์การแปลความหมายคะแนน และข้อคําถามนั้น ผ่านเกณฑ์การ พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญทุกประเด็น โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 ดังที่ ศิริชัย กาญจนวาสี (2552) ได้ กล่าวว่า ค่า IOC ที่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปแสดงให้เห็นว่ามีคุณภาพด้านความตรงตามทฤษฎีเชิงเหตุผล ดังนั้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้แบบวัดฉบับนี้มีความตรงตามทฤษฏีเชิงเหตุผล และมีความตรงตามทฤษฎีเชิง ประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า จํานวนองค์ประกอบที่มีค่า Eigen มากกว่า 1 สามารถจัด องค์ประกอบได้ 14 องค์ประกอบ แต่มีองค์ประกอบที่ 10 11 12 13 และ 14 เป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจาก 9 องค์ประกอบที่ผู้วิจัยได้ศึกษาและกําหนดไว้ ซึ่ง 5 องค์ประกอบนั้นมีค่า Factor Loading มาก พอ ที่จะจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นมาได้ โดยแสดงจากค่า Eigen ที่มีค่ามากกว่า 1 ผู้วิจัยจึงไม่ตัดองค์ประกอบ เหล่านั้นออกไป อีกทั้งเมื่อผู้วิจัยพิจารณาลงไปที่ตัวแปรแต่ละตัวแปรในองค์ประกอบดังกล่าว พบว่ามีลักษณะ มุ่ ง วัด ในสิ่ ง เดีย วกับ องค์ ป ระกอบที่ 9 ของข้ อ คํ า ถามที่ มุ่ ง วั ด ในสิ่ ง เดี ย วกั น ดั ง นี้ องค์ ป ระกอบที่ 10 องค์ประกอบที่ 11 มุ่งวัดในสิ่งเดียวกับองค์ประกอบที่ 4 องค์ประกอบที่ 12 มุ่งวัดในสิ่งเดียวกับองค์ประกอบที่ 5 องค์ประกอบที่ 13 มุ่งวัดในสิ่งเดียวกับองค์ประกอบที่ 6 และองค์ประกอบที่ 14 มุ่งวัดในสิ่งเดียวกับ องค์ประกอบที่ 7 แต่สาเหตุที่ปรากฏผลในลักษณะเช่นนี้ อาจจะเป็นผลมาจากชุดของภาษาในคําถามที่ใช้เกิด การแทรกซ้อนต่อโครงสร้างของตัวประกอบ ทําให้เกิดเป็นองค์ประกอบใหม่ขึ้นมา ดังนั้นจากเหตุผลที่กล่าวมา ข้างต้นถึงการได้มาซึ่ง 14 องค์ประกอบ สามารถยืนยันได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 14 องค์ประกอบนั้น สอดคล้อง กับองค์ประกอบที่สําคัญของความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ผู้วิจัย ศึกษา และจัดองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นเข้าตามองค์ประกอบตามโครงสร้างเดิมของเครื่องมือที่ กํ า หนด ซึ่ ง ผู้ วิ จั ย จะนํ า ไปพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ ต่ อ ไปด้ ว ยการวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น เพื่ อ ยื น ยั น องค์ประกอบของเครื่องมือที่สร้างต่อไป 2. แบบวัดทั้ง 72 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนกทุกข้อ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง .34 - .67 ซึ่งเป็นผลมาจาก การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญและได้ให้คําแนะนํากับผู้วิจัยในการปรับภาษาให้มีความเหมาะสม ประกอบกับ เมื่อไปทดลองใช้แบบวัดผู้วิจัยได้อธิบายชี้แจงกับนักเรียนให้ทราบถึงประโยชน์ที่นักเรียนจะได้จากการทําแบบ วัด เพื่อให้นักเรียนเลือกตอบข้อที่ตรงกับความต้องการในการปฏิบัติจริงของนักเรียนโดยคําตอบที่นักเรียน เลือกและคะแนนที่ออกมาจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อคะแนนและผลการเรียนของนักเรียน ซึ่งการชี้แจงตรงจุดนี้จึงเป็น ส่วนหนึ่งที่ทําให้นักเรียนตอบความจริง แต่เมื่อพิจารณาค่าอํานาจจําแนกทั้ง 72 ข้อ พบว่ายังมีข้อคําถามบาง

61


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ข้อมีค่าอํานาจจําแนกต่ํากว่า .40 ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อยกระดับจากข้อสอบค่อนข้างดีเป็น ข้อสอบที่ดี ดัง ที่พ รทิพ ย์ ไชยโส (2545) ได้กล่าวถึงเกณฑ์ดัชนีอํา นาจจํ า แนก ดัง นี้ ข้อ สอบที่มีค่าอํา นาจ จําแนก .40 หรือมากกว่าถือเป็นข้อสอบที่ดี ข้อสอบที่มีค่าอํานาจจําแนก .30 ถึง .39 ถือเป็นข้อสอบที่มี อํานาจจําแนกค่อนข้างดีแต่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้น ข้อสอบที่มีค่าอํานาจําแนก .20 ถึง .29 ถือเป็นข้อสอบที่มี อํานาจจําแนกพอใช้ได้แต่ต้องการการปรับปรุงยิ่งขึ้น และข้อสอบที่มีค่าอํานาจจําแนกต่ํากว่า .19 ถือเป็น ข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ต้องการการปรับปรุงมากหรือสามารถตัดทิ้ง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแบบวัดความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบกที่สร้างขึ้นมีค่าอํานาจจําแนกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และค่อนข้างดี มีความเหมาะสมสามารถนําไปใช้วัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของ นักเรียนได้ 3. แบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเป็น .96 โดยแต่ละองค์ประกอบมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .81 - .88 เมื่อพิจารณาจากเครื่องมือวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัยที่มีผู้วิจัยสร้างแล้วนั้นมีค่าความเที่ยงอยู่ ระหว่าง .89 - .97 โดยเครื่องมือวัดของ กันทิมา รัชฎาวรรณพงษ์ (2549) วัดคุณธรรมสัปปุริสธรรม จํานวน 73 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และเครื่องมือของ ณภัทร อัศวถาวร (2553) วัดจริยธรรมด้านการ ปฏิบัติงานของครู ตามหลักอิทธิบาท 4 จํานวน 80 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 จากการตรวจสอบแสดงให้ เห็นว่า แบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีจํานวน 72 ข้อ มีค่าความเที่ยงที่สูงเมื่อเทียบกับแบบวัดที่ผู้วิจัยท่านอื่นได้ สร้างไว้แล้ว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนาย สิบทหารบกที่สร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับที่สามารถนําไปใช้ได้ 4. ผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดในรูปแบบของคะแนนทีปกติ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม ความจงรักภักดีให้เป็นหน่วยเดียวกัน และได้สร้างสมการถดถอยเพื่อขยายขอบเขตของคะแนนดิบ ให้ ครอบคลุมทุกช่วงคะแนนของแบบวัด และทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่าเกณฑ์ปกติที่สร้างขึ้นมีความครอบคลุมทุก ช่ว งของคะแนน และสามารถแปลความหมายของคะแนนเป็ น ระดับ ของความจงรั ก ภัก ดีต่ อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบกโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ ผู้วิจัยจึงนําเกณฑ์ปกติที่สร้างขึ้น ไปทดลองใช้กับนักเรียนนายสิบจํานวน 100 คน ผลปรากฏว่า สามารถนําคะแนนที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์ปกติ และแปลผลเป็นระดับความจงรักภักดีต่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ได้อย่างครอบคลุม ดังที่ พรทิพย์ ไชยโส (2549) ได้กล่าวไว้ว่า ปกติวิสัยที่เหมาะสมต้องมีความเป็น ตัวแทนที่ดี ตรงประเด็น เป็นปัจจุบัน สามารถนํามา เปรียบเทียบได้ และมีความเหมาะสม ดังนี้จึงสรุปได้ว่าเกณฑ์ปกติของแบบวัดควางจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สามารถนําไปใช้ได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อจํากัด คือ สามารถใช้กับนักเรียนนายสิบทหารบก เท่านั้น ไม่ควรนําไปใช้กับนักเรียนกลุ่มอื่น และเมื่อเวลาผ่านไปก็ควรที่จะมีการพัฒนาปรับปรุงให้เกณฑ์ปกติมี ความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 5. จากการที่ผู้วิจัยได้เขียนคู่มือฉบับร่างแล้วนําไปทดลองใช้ในการบริหารการสอบด้วยการให้ครู – อาจารย์ จํานวน 5 ท่าน เป็นผู้ทดลองใช้เพื่อศึกษาความเป็นปรนัยของคู่มือ พบว่าเมื่อครู – อาจารย์ทุกท่านได้ ศึกษาและใช้คู่มือฉบับร่างแล้ว มีความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถบริหารการสอบได้ถูกต้องในทุกขั้นตอนตามที่ได้ ชี้แจงไว้ในคู่มือ สามารถตรวจให้คะแนน นําเสนอผลการวัดได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผลที่ได้จากการนําคู่มือไปใช้นั้น มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้วิจัยได้กําหนดไว้ในเบื้องต้นว่าคุณภาพของคู่มือฉบับนี้ต้องผ่านการทดลองใช้จาก ครู อาจารย์ จํานวน 5 ท่าน และทุกท่านต้องเข้าใจตรงกัน สามารถบริหารการสอบได้อย่างถูกต้องในทุก

62


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ขั้นตอน สามารถตรวจให้คะแนน และนําเสนอผลการวัดได้อย่างถูกต้อง จึงจะถือว่าคู่มือนั้นมีความเป็นปรนัย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าคู่มือการใช้แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์สําหรับนักเรียนนายสิบ ฉบับนี้บรรลุตามมุ่งหมายของการสร้างคู่มือ เป็นคู่มือที่มีคุณภาพ และสามารถนําไปใช้ได้ต่อไป

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะสําหรับการนําแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับ นักเรียนนายสิบทหารบกไปใช้ 1. การนําแบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบก ไปใช้ ผู้บริหารการสอบควรศึกษาคู่มือการใช้แบบวัดให้เข้าใจแล้วปฏิบัติตามซึ่งประกอบด้วย การดําเนินการ สอบ การตรวจให้คะแนน การแปลความหมายคะแนน และการนําเสนอผลการวัด เพื่อให้การบริหารการสอบ ได้มาตรฐานเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน 2. การนําแบบวัดไปใช้กับนักเรียนสิ่งที่สําคัญที่สุดคือการอธิบายและชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึง วัตถุประสงค์ของการวัดผล ควรแจ้งให้นักเรียนทราบถึงประโยชน์ที่นักเรียนจะได้จากการทําแบบวัด เพื่อให้ นักเรียนเลือกตอบข้อที่ตรงกับความเป็นจริงของนักเรียน โดยคําตอบที่นักเรียนเลือกและคะแนนที่ออกมาจะไม่ ส่งผลใดๆ ต่อคะแนนและผลการเรียนของนักเรียน เพื่อให้ผลการวัดนั้นสามารถสะท้อนคุณลักษณะที่แท้จริง ของนักเรียนได้มากที่สุด 3. การใช้เกณฑ์ปกติสําหรับแปลความหมายของคะแนนจากการทําแบบวัดฉบับนี้ต้องคํานึงว่าเป็น เกณฑ์ปกติสําหรับกลุ่มย่อยของโรงเรียนนายสิบทหารบก หากต้องการนําแบบวัดไปใช้กับกลุ่มประชากรอื่น ควรมีการสร้างเกณฑ์ปกติใหม่สําหรับการแปลความหมายคะแนน ข้อ เสนอแนะสํ า หรับ การนํ า ผลการวิจั ย ในการใช้ แ บบวั ด ความจงรั ก ภั ก ดี ต่ อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบทหารบกไปใช้ 1. จากผลการใช้แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบ ทหารบก พบว่าแหล่งเรียนรู้ท่ีทําให้นักเรียนเกิดความรู้สึกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มากที่สุดมาจากโทรทัศน์ จากข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าแหล่งเรียนรู้นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ท่ีสําคัญ ซึ่งสามารถใช้ เป็นช่องทางหนึ่งในการปลูกฝัง ให้ความรู้ หรือรณรงค์ในเรื่องความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เป็นอย่างดี 2. จากผลการใช้แบบวัดความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สําหรับนักเรียนนายสิบ ทหารบก พบว่ากลุ่มวิชาที่ทําให้นักเรียนเกิดความรู้สึกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มาก ที่สุดมาจากกลุ่มวิชาสามัญ ดังนั้นในกลุ่มวิชาสามัญ โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย และประวัติศาสตร์ ทางทหาร ควรมุ่งเน้นและปลูกฝังความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้แก่นักเรียนนายสิบ ทหารบกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ในส่วนของกลุ่มวิชาอื่นๆ ที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็ควรใช้ วิธีการสอดแทรกความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติมลงไปในช่วงก่อนเริ่มชั่วโมงการสอน หรือท้ายชั่วโมงการสอน เป็นต้น

63


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ข้อเสนอแนะสําหรับการทําวิจัยครั้งต่อไป 1. ในการศึกษาความตรงตามทฤษฎีเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจทํา ให้ได้องค์ประกอบ 14 องค์ประกอบที่สําคัญ โดยมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้น 5 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณาแล้วทั้ง 5 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบเดิมที่จัดโครงสร้างไว้ ดังนั้นในการพัฒนาเครื่องมือครั้งต่อไป ผู้วิจัยจะใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อยืนยันองค์ประกอบทั้ง 9 ตามโครงสร้าง และทฤษฎีที่ศึกษา ต่อไป 2. จากผลการวิจัยในการสร้างข้อคําถามในแบบสอบได้สร้างมากกว่าโครงสร้างที่กําหนดเป็น 2 เท่าของจํานวนข้อคําถาม และพบว่าข้อคําถามที่ได้มีค่าอํานาจจําแนกที่ใช้ได้ แต่ถูกตัดออก เนื่องจากมีข้อ คําถามครบตามองค์ประกอบแล้ว ทําให้ผู้วิจัยเกิดแนวทางที่จะพัฒนาแบบวัดต่อไป ซึ่งพัฒนาได้มากกว่า 1 ฉบับ เพื่อนํามาใช้สลับกันในการประเมินผู้เรียนเพื่อป้องกันการจําคําตอบ

เอกสารอ้างอิง กันทิมา รัชฎาวรรณพงษ์. 2549. “การพัฒนาแบบวัดคุณธรรมสัปปุริสธรรมสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4.” วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว 2 (1): 48-56. กรมยุทธศึกษาทหารบก. 2554. คู่มือการปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทหาร. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์. ณภัทร อัศวถาวร. 2553. จริยธรรมด้านการปฏิบัติงานของครูตามหลักอิทธิบาท 4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. นิติกร เบญมาตย์. 2550. “การสร้างแบบวัดจริยธรรมความเอื้ออาทร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ระดับช่วงชั้นที่ 2.” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 9 (2): 81-88. ว.ร.ฤทธาคนี. 2552. “ความจงรักภักดีที่หายไป” ผู้จัดการ (Online). www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000022499, 8 เมษายน 2553 พรทิพย์ ไชยโส. 2549. เอกสารคําสอนวิชา 153522 การสร้างและการพัฒนาแบบสอบมาตรฐาน. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ศิริชัย กาญจนวาสี. 2552. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนายสิบทหารบก. 2553. คู่มือสํานักงานประกันคุณภาพ การศึกษาโรงเรียนนายสิบทหารบกปี. โรงเรียนนายสิบทหารบก. สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. 2550. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (Online).http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf, 12 สิงหาคม 2553.

64


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : แนวทางใหม่ของการพัฒนาวิชาชีพครู Action Research: A New Approach for Teacher Professional Development จีระวรรณ เกษสิงห์* บทคัดย่อ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนําเสนอการวิจัยเชิงปฏิบัติการในแง่การเป็นแนวทางใหม่ของการพัฒนา วิชาชีพครูและเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อแรก ผู้เขียนได้อธิบายภูมิหลังของการ พัฒนาวิชาชีพครูในประเทศไทย จากนั้นตามด้วยความจําเป็นในการค้นหาแนวทางใหม่ของการพัฒนาครูที่ สนับสนุนให้ครูพัฒนาการสอนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึงกล่าวถึงลักษณะที่ต้องการของการพัฒนา วิชาชีพครู ตามด้วยหัวข้อการวิจัยเชิงปฏิบัติการในฐานะแนวทางใหม่ของการพัฒนาวิชาชีพครู นอกจากนี้ บทความฉบับนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ลักษณะสําคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามลําดับ ท้ายที่สุดผู้เขียนขอ เสนอแนะว่าหากเป้าหมายของการพัฒนาวิชาชีพครูคือการที่ครูสามารถพัฒนาวิชาชีพของตนเอง การวิจัยเชิง ปฏิบัติการคือแนวทางที่จะนําไปสู่ความสําเร็จ คําสําคัญ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพครู ครู

Abstract This article aims to present action research as a new approach for teacher professional development and to provide the information regarding an action research. The first section, the author delineates the background of teacher professional development in Thailand. It is followed by the rationale for seeking new approach of teacher professional development that enables teacher to continually develop their teaching profession. After that, desirable features of teacher professional development are clarified. It is followed by the section of action research as a new approach for professional development. In addition, this article provides historical perspective of action research, general description of action research, fundamental features of action research, and action research process, respectively. Finally, the author suggests that if the goal of teacher professional development is to have teachers develop their own teaching profession, action research is the way to success. Keywords: action research, professional development, teacher professional development, teacher * อาจารย์ประจําสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

65


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 Background: Approaches of Teacher Professional Development in Thailand Prior to the enactment of the 1999 National Education Act, the most in-service teacher professional development in Thailand was typically organized by the central agencies such as the supervisory units of the Ministry of Education and the Institutes for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). The professional development was usually held at a central hall or a hotel, which was a high expense for some teachers to attend the program/workshop. In general, the professional development programs were lecture-based programs. Teachers just listened to the talks without practice. In addition, some teachers might leave their classes while attending the program/workshop. The program/workshop was usually held for 2-3 days with no continuous assessment for teacher’s performance or understanding during and after the program/workshop (Pillay, 2002; Puntumasen, 2004). In general, there are three approaches of in-service teacher professional development commonly used in Thailand such as: 1) a workshop, 2) a developing master teacher, and 3) a long distance teacher development (ETV). For the first model, teachers have to attend a workshop to receive new concepts or teaching methods by outside experts. The workshop is usually organized by some university researchers and conducted in a short period of time without any continuing supports from outside experts. In addition, teachers do not share any ideas regarding the design of the workshop (Atagi, 2002; Pillay, 2002). For the second approach, master teachers are trained and committed to be the leaders for training other teachers in their school areas or districts. The “master teachers” refer to the teachers who are expert in the new concept or teaching method that they have learnt from professional development program/workshop (Pillay, 2002). Thus, this approach usually begins with a short-time workshop in order to create master teachers. In some cases, the master teachers and other teachers in schools or local areas form a “learning community” where they could share and exchange the ideas related to the new concepts or methods. Generally, this approach of professional development has continuous supports from the external researchers. Nevertheless, the professional development programs are modulated by the outside experts rather than the participated teachers per se. Therefore, the new concepts or teaching methods may or may not relate to what teachers want to know. For the last approach of professional development, the programs are conducted via a distance education. Teachers learn new concepts or methods by watching master teachers’ teaching on a television. This approach is mostly beneficial for the teachers in rural areas even though it does not allow them to actively engage in the programs.

66


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 Rationale for Seeking New Approach of Teacher Professional Development According to the 1999 National Education Act and Amendments, both constructivist perspectives and learner-centered approach are centralized in Thai basic education (Office of the National Education Commission (ONEC), 2003). The pedagogical practices have been shifted from teacher-centered toward learner-centered pedagogy. The role of teachers has also been changed from a lecturer to a facilitator. Instead of lecturing students, teachers become the facilitators who support students’ learning by designing meaningful activities, posing the questions, giving the advices, and preparing the learning materials (Department of Curriculum and Instruction Development (DCID), 2002). To achieve the new role, teachers need to have more knowledge and skills in teaching (Pillay, 2002). In addition, their teaching professions need to be continuously developed. It is suggested that the teacher professional development that is organized by outside school agencies; relies mainly on the lecture; requires teachers to leave their classes while attending the program; be held in a very short-time period; and does not provide the continuous supports for teachers have to be changed (UNESCO, 1986; Pillay, 2002; Office of the Education Council (OEC), 2004). Since these approaches of professional development are not designed based on teachers’ needs or interests, the programs are unable to foster the teachers’ sense of ownership. They take teachers out of the classroom (UNESCO, 1986). The teachers could not implement these new approaches once they return to their actual classrooms. Although some teachers might want to employ the new approaches in their classes, they could not do this because neither the program nor anyone could provide a long-term support. Moreover, the professional development programs that rely mainly on a lecture do not promote teachers to construct their own knowledge and do not provide an opportunity for teachers to think critically on their practices. These professional development programs are not aligned with the constructivists’ perspective on learning. Therefore, an alternative approach for professional development which allows teachers to play an active role in enriching their teaching profession is urgently required. Desirable Features of Teacher Professional Development According to the National Research Council (1996), professional development that is effective to advance teachers’ knowledge and the use of inquiry should include some features that promote lifelong learning. These features are 1) providing numerous opportunities for teachers to examine and reflect on their instructional practices from both each individual and their colleagues; 2) giving some chances for teachers to receive feedback about their practices and to understand, analyze, and apply the feedback to improve their practices; 3) providing opportunities for teachers to experience various tools and techniques for self-reflection and collegial reflection; 4) promoting the sharing of teacher expertise through the use of mentors, teacher advisors, coaches, lead teachers, and resources teachers; 5) giving chances for

67


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 teachers to access to existing research and empirical knowledge; and 6) providing opportunities for teachers to learn and utilize skills of research to generate new content knowledge and pedagogical content knowledge. In this regard, professional development program is related to teacher’s life in school, provides opportunities for teachers to learn through designing, implementing, and reflecting on their instructional practice. In addition, it is involved teachers to take responsibility for their own professional development and usually extends beyond the boundary of a short-time workshop. Regarding to these features, teachers are able to continually develop their knowledge and practice of inquiry as a result of practicing inquiry in their real contexts. Recently, desirable features of professional development programs in Thailand have been highlighted. The OEC which is a government agency responsible for educational policy and planning has introduced the School-Based Training (SBT) as a new approach for in-service teacher professional development (OEC, 2004; Puntumasen, 2004). There are four projects launched by the OEC in order to study the effectiveness of the SBT approach. The findings from these studies suggest that the SBT is an effective and sustainable approach for developing in-service teachers in their teaching profession which it contributes to the learner-centered approach of Thailand education reform (Puntumasen, 2004). There are a number of principles underpinning this approach including: relating to real situation and actual needs of teachers and schools; taking place in teacher’s actual context; being part of the teacher’s normal practice in school; involving teachers’ willingness to engage in the program; promoting the sharing of teacher expertise of lead teachers; providing opportunities for teachers to plan and carry out the program; providing opportunities for teachers to use various teaching techniques, materials, media and activities; providing opportunities for teachers to have opening communication regarding instructional practice both individually and collaboratively; using the recurrence of planning, doing, checking, and acting cycle; promoting teachers to use outcome or feedback obtained from each cycle to improve their practice of the next cycle; supporting the use of supervision, monitoring and evaluation; and aiming to reach the quality and standard of teaching profession as well as students’ capabilities. Consistently, Atagi (2002) summarizes a lesson-learned from a number of pilot projects for preparing in-service Thai teachers and school administrators to utilize a learner-centered approach. Atagi points out the key success factors of the pilot projects which involved 1) the continuity and sustained efforts, 2) the stakeholder participation and collaboration, and 3) the supportive mechanisms. For the first factor, Atagi claims that the programs must provide continuity and sustained efforts for supporting their participants in implementing the new approach. The program facilitators have to support the participants both in the workshops and once the participants return to their schools. In the second factor, Atagi indicates that it is very important to have all stakeholders participate and collaborate in the projects. For

68


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 him, the participation refers to the inclusion of all stakeholders in providing ideas and joining in implementing efforts. Collaboration means the need for different stakeholders to agree on the certain approaches and work together to implement the approaches. With regard to the last factor, Atagi mentions that the successful projects are required the supports from both central education agencies and on-site facilitation following the training programs. He claims without both supports the participants do not have the confidence to make change. In summary, the new approach of in-service teacher professional development should include the following features: 1) a long-term support for teachers both in groups and individuals, 2) conducting in teacher’s actual classroom, 3) encouraging teachers to change their practices, 4) being a part of the teacher’s regular duty, 5) promoting collaboration between teachers and program facilitator, 6) empowering teachers’ sense of ownership, 7) requiring teachers’ willingness, and 8) working in a friendly atmosphere. Action Research: A New Approach for Professional Development Several effective features of professional development program provided by both the National Research Council (1996) and the OEC (Puntumasen, 2004) are incorporated numerous basic elements of action research (Kemmis and McTaggart, 1988, 2000; Oja and Smulyan, 1989) which include a) focus on practice, b) emphasis on professional development, c) self-reflection, d) democratic project leadership, e) time and support for opening the communication, f) collaboration, and g) recurrence of action-reflection cycle. According to Kemmis and McTaggart (1988), the aim of action research is to change and improve the situation in which the research is carried out. Action research focuses on practitioners’ problems and centers on the classroom or the actions of practitioners in situation (Oja and Smulyan, 1989). Thus, the action research supports teacher’s efforts to make changes, to solve their own problems, and to improve classroom practice (Briscoe and Peters, 1997). In addition, it helps teacher to enrich their teaching profession (Oja and Smulyan, 1989). By doing action research, teachers gain new knowledge which helps them solve immediate problems, broaden their knowledge base as professionals, and learn research skills which can be applied to their teaching (National Research Council, 2000). Hence action research involves teachers into lifelong professional development through the support, collegiality, and collaboration of professional researchers. Many studies consistently reveal that action research is an effective approach for professional development (Zuber-Skerritt, 1991; van Driel, Beijaard, and Verloop, 2001; Balach and Szymanski, 2003; van Zee, Lay, and Roberts, 2003; Jeanpierre, Oberhauser, and Freeman, 2005; Yutakom and Chaiso, 2007). According to Briscoe and Peters (1997), action research increases teachers’ ability to

69


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 analyze and improve classroom practice and it helps to increase job satisfaction. A study by van Zee and her colleagues (2003) has shown that a collaborative partnership between pre-service teachers and their mentor teachers facilitates pre-service teachers’ self-perceptions, teaching science through inquiry, and taking ownership of their own learning. Similarly, Balach and Szymanski (2003) use action research as a tool to support the development of a professional learning community, and to provoke pre-service teachers with an inquiry approach to their practices. These findings indicate that the study helps preservice teachers to develop their intellectual capabilities. It also helps participants at all levels to become aware of how to create a context that supports any change. According to Christensen (2005), action research is a feasible way of changing teacher practice. It helps teachers to promote scientific inquiry in laboratory lessons. In Thai context, Pillay considers action research as a significant component that should be embedded in teacher professional development. He argues action research could enhance teacher’s capability to develop their competencies which is essential for teaching through a student-centered approach. In conclusion, action research stands to be an appropriate form of professional development. Historical Perspective of Action Research Action research is firstly undertaken in the field of education in the mid 1950s by Corey. For Corey (1953), he believes teachers could change and refine their curriculum practice by researching on their own action. Teachers could be able to make better decisions regarding issues happened in their classroom. However, Corey is not the first person who proposes the process of action research. Yet, Lewin is the one (McKerman, 1991; Noffke, 1995; McNiff and Whitehead, 2002). Lewin’s action research process composes of spiral steps. Each step includes a cycle of planning, executing (or action) and factfinding (or reconnaissance) (Lewin, 1946). This process is later known as an action-reflection cycle of planning, acting, observing, and reflecting (Zuber-Skerritt, 1991; McNiff and Whitehead, 2002). Back to Corey, his process of action research draws on Lewin’s process. Corey’s action research process also emphasizes a spiral of cycles which each cycle of research affecting subsequent ones. However, his process of action research different from Lewin’s process in that it stresses on hypothesistesting and involving of stakeholders in action research. Corey (1953) suggests that an action research study should involve all people who present a shared concern of topic being studied or those who are affected by the study. He refers to his action research study as “cooperative action research.” In 1960s and 1970s, action research is declined in U.S. However, it emerges and spread out in U.K. and Australia. For the U.K., Stenhouse is recognized as one of the most influential person on the movement of action research (Cochran-Smith and Lytle, 1992). His work is centered on teacher as researcher. He views teaching and research is closely connected. He believes teacher is the best judge of

70


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 their own practice (McNiff and Whitehead, 2002). Stenhouse’s notion of action research is further extended in the Ford Teaching Project which is viewed as a significant teacher-researcher development project that helps teachers to develop inquiry learning in their classrooms; and set up the distribution work of the Collaborative Action Research Network (CARN) (Kemmis and McTaggart, 1988). In Australia, the work of Kemmis and McTaggart articulate a version of action research in which teachers are involved in the project of human emancipation (Carr and Kemmis, 1986; Kemmis and McTaggart, 1988). Carr and Kemmis’ process of action research involve a self-reflective spiral of planning, acting, observing, reflecting, and re-planning as the basis for understanding how to take action to improve an educational situation (Kemmis and McTaggart, 1988). During the past 60 years, action research has been adopted, rejected, modified, and revised to meet the needs of the educational community. However, since the past 20 years action research in education has gained increasing attention. It is considerably as a practical but systematic research that enables teachers to investigate their own teaching and their students’ learning. The process of action research conceptualized by Lewin (1952) is further adopted and developed by a number of educator, such as Corey (1953), Stenhouse (1975), and Carr and Kemmis (1986). However, the essence of action research stays the same. It involves the spiral of action-reflection cycle in which each cycle composes of four phases: plan, act, observe, and reflect. General Description of Action Research Action research has been defined by many scholars (e.g., Carr and Kemmis, 1986; Kemmis and McTaggart, 1988; Elliott 1991; McNiff and Whitehead, 2002; Stringer, 2007). A simple definition, but the most visualization in practice may be the one provided by Elliott (1991), “a study of social situation that aims to improve quality of action within it”. In this regard, action research is viewed as a way that helps people to change their action within a particular context. McNiff and Whitehead (2002: 15) view action research as a way of “researching your own learning”. Similarly, Stringer (2007: 1) clarifies “action research is a systematic approach to investigation that enables people to find effective solutions to problems they confront in their everyday lives”. Action research, in this sense, is conducted by people who want to research on their own problems. They intend to change and understand their action regarding the problems being investigated. Another clear and well accepted definition is stated by Kemmis and McTaggart (1988: 5). “Action research is a form of collective self-reflective enquiry undertaken by participants in social situations in order to improve the rationality and justice of their own social or education practices, as well as their understanding of these practices and the situation in which these practices are carried out.”

71


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 For Kemmis and McTaggart (1988), collaboration is a basic element of action research. The action research study must be conducted by a group of people who have shared concerns about a topic being researched. The group members must plan action and reflect on their practice together. However, they may act and observe their action as individuals. Whatever the term refers to, whether the definition presents a concrete or an abstract mean, and whether the research is carried out by each individual or group of practitioners, the aim of action research is clearly stated. Action research aims to improve practice, to better understand the practitioners’ own practice, and to make change of the situations in which that practice takes place (Carr and Kemmis, 1986; Kemmis and McTaggart, 1988; Zuber-Skerritt, 1991). Therefore, action research study focuses on a particular problem of practitioners rather than a global issue in education. Fundamental Features of Action Research Several key characteristics of action research have been discussed on the literature (ZuberSkerritt, 1991; McNiff, Lomax, and Whitehead, 1996; Kemmis and McTaggart, 2000; Christensen, 2005). These features are: practitioner research, focus on practice, self-reflection, democratic leadership, professional development, link theory into action, recurrence of action-refection cycle, and collaboration. The detail of each feature is provided below. 1) Practitioner Research: Action research is a practitioner research which means the research is conducted by individuals into their own practice (McNiff et al., 1996). Topics being investigated center on practitioner’s practical problems and concerns (Zuber-Skerritt, 1991) rather than global issue. Action research enables practitioners to explore their experience, to have a better understanding of their practice, and to apply that knowledge to solution of focused problems (Zuber-Skerritt, 1991). Researcher who carries out an action research is viewed as a colleague doing the research with and for practitioners rather than doing an inquiry with subject. 2) Focus on Practice: One of the major aims of action research is to improve practitioners’ practice regarding immediate problems. Therefore, the practitioners’ action is considered as the main focus of action research process. For Elloitt (1991), action research is an inquiry of practitioner who wants to improve his/her own practice. Action research helps to release practitioners from the constraints (e.g., unproductive, unjust, and unsatisfying social structures) that limit their self-development and selfdetermination (Kemmis and McTaggart, 2000). 3) Self-Reflection: One of the key characteristic of action research is self-reflection. In action research, practitioners learn to improve their practice by reflect on their action. They link what they learn

72


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 from reflection to new practice (Kemmis and McTaggart, 1988; Winter, 1996). In doing so, the practitioners are self-reflection and self-evaluation on their own inquiry (Collins, 2004). 4) Democratic Leadership: All people who are involved in an action research are concerned as equal “participants” contributing to the inquiry (Zuber-Skerritt, 1991). No hierarchy is presented in the action research process. A group of people solve problems together in a creative and productive way. They are equity in terms of trying out ideas, presenting their learning, making decision on their own practice, and probably controlling the research process and findings. 5) Professional Development: Action research provides a crucial connection between selfevaluation and professional development by involving reflection among practitioners (Winter, 1996). By reflecting their action with each other, the practitioners gain a greater understanding of their practice and that understanding results in new action. In doing so, action research involves self-developing through inquiring into our own practice. McNiff et al. (1996) view action research as insider research and they believe when conducting action research, all researchers engage in a form of professional development. 6) Link Theory into Practice: Action research process provides a link between theory and practice into a single product, called “ideas in action” (Kemmis and McTaggart, 1988; Winter, 1996). Action research is considered to respond to the growing need for more relevant and practical knowledge in the social sciences (de Zeeuw, 2003). Through the action research process, the practitioners are invited to try out ideas in their practice in order to improve and increase their knowledge (Kemmis and McTaggart, 1988). In this regard, action research helps to bridge a gap between academic research and day-to-day practice. In other words, action research is a research that brings theory into practice. 7) Repetition of Action-Reflection Cycle: In terms of method, a spiral of cycles of planning, acting, observing and reflecting is central to the action research process (Carr and Kemmis, 1986). Practitioners engage in an action-reflection cycle several times in order to create change in their practice. 8) Collaboration: The term “collaboration” is problematic in action research. A number of scholars claim collaboration is a key characteristic of action research (Lewin, 1946; Carr and Kemmis, 1986; Kemmis and McTaggart, 1988; Elliott, 1991). In collaboration, participants of action research project “set common goals, plan the project, collect and analyze data, and report the results” (Christensen, 2005). However, the degree of collaboration can be varied, depending on the involvement of practitioners in the research project. Nevertheless, several scholars argue collaboration is not a key aspect in action research since some types of action research (e.g., classroom action research, self-study) can be done as individuals.

73


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 Action Research Process Action research process consists of four phases: plan, act, observe, and reflect (Carr and Kemmis, 1986; Kemmis and McTaggert, 1998). As Kemmis and McTaggart (1988: 10) clarify, To do action research, a group and its members undertake a) to develop a plan of critically informed action to improve what is already happening; b) to act to implement the plan; c) to observe the effects of the critically informed action in the context in which it occurs, and d) to reflect on these effects as a basis for further planning, subsequent critically informed action research and so on, through a succession of cycles. By following the action-reflection cycle, it leads to the identification of a new problem and therefore, a new cycle of planning, acting, observing, and reflecting. The action-reflection cycle is replicated, and ultimately forms the action-reflection spiral, as display in Figure 1. Zuber-Skerritt (1991) clarifies that these four phases of action-reflection cycle are drew upon a fundamental assumption that people can learn and create knowledge by experiencing; observing and reflecting on that experience; forming abstract concepts and generalizations; and testing the implication of these concepts in new situations. In conclusion, an action research is a new approach for professional development which allows teachers to take responsibility for their own professional development. Teachers are able to continually develop their knowledge and practice of teaching as a result of practicing it in their actual classrooms. Recently, action research is becoming increasingly accepted as an appropriate approach for teacher professional development in Thailand. This approach is consistent with a teacher teaching standards (IPST, 2002). However, this kind of professional development is much different than the conventional approach of most Thai teachers. Therefore, it is a long-term responsibility for the central agencies such as the supervisory units of the Ministry of Education and the Faculty of Education to educate teachers and be their consultants. This article may inspire the university educational staff and the teachers training staff to design professional development programs which are aligned with the key characteristics of action research. Conclusion The article indicates that action research is a new approach for teacher professional development in Thailand. The incorporation of the basic elements of action research into teacher professional development is useful for promoting teachers’ teaching profession in classroom settings. Therefore, if the goal of teacher professional development is to help teachers to continuously enrich their teaching profession, action research is the way to success.

74


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

Figure 1 Action-Reflection Spiral Source: Adapted from Kemmis and McTaggart (1988: 11) References Atagi, R. 2002. The Thailand Educational Reform Project: School Reform Policy. Report to the Office of the National Education Commission. March 2002. Bangkok: Office of the National Education Commission. Balach, C. A. and G. J. Szymanski. 2003. The Growth of a Professional Learning Community through Collaborative Action Research. Paper presented at the 2003 Annual Meeting of the American Educational Research Association, Chicago. Briscoe, C. and J. Peters. 1997. Teacher collaboration across and within schools: Supporting individual change in elementary science teaching. Science Education, 81: 51-65. Carr, W. and S. Kemmis. 1986. Becoming Critical: Education, Knowledge and Action Research. Geelong: Deakin University Press. Christensen, A. J. 2005. Science Teachers' Exploration of Practice through Collaborative Action Research. Doctor of Education Thesis in Teachers College, Columbia University. Collins, S. 2004. Ecology and ethics in participatory collaborative action research: An argument for the authentic participation of students in educational research. Educational Action Research, 12 (3): 347-362. Cochran-Smith, M. and S. L. Lytle. 1992. Inside/Outside: Teacher Researcher and Knowledge. New York: Columbia University. Corey, S. M. 1953. Action Research to Improve School Practices. New York: Columbia University. Department of Curriculum and Instruction Development (DCID). 2002. National Science Curriculum Standards. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand. (in Thai).

75


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 De Zeeuw, G. 2003. Helping others: Project or research? Journal of Community & Applied Social Psychology, 13 (6): 496-503. Elliott, J. 1991. Action Research for Educational Change. England: Open University Press. Jeanpierre, B., K. Oberhauser, and C. Freeman. 2005. Characteristics of professional development that affect change in secondary science teachers' classroom practices. Journal of Research in Science Teaching, 42 (6): 668-690. Kemmis, S. and R. McTaggart. 1988. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press. ______. 2000. Participatory action research. In N. K. Denzin, and E. G. Guba. (eds.), Handbook of Qualitative Research (2nd ed., 567-605). California: Sage Publications. Lewin, K. 1946. Action research and minority problems. Journal of Social Issues, 2 (4): 34-46. McKerman, J. 1991. Curriculum Action Research: A Handbook of Methods and Resources for the Reflective Practitioner. London: Kogan Page Limited. McNiff, J., P. Lomax and J. Whitehead. 1996. You and Your Action Research Project. London: Routledge Falmer. McNiff, J. and J. Whitehead. 2002. Action Research: Principles and Practice. 2nd ed. London: Routledge Falmer. National Research Council. 1996. National Science Education Standards. Washington, DC: National Academy Press. ______. 2000. Inquiry and the National Science Education Standards: A Guide for Teaching and Learning. Washington, DC: National Academy Press. Noffke, S. E. 1995. Action research and democratic schooling: problematics and potentials. In S. E. Noffke, and R. B. Stevenson. (eds.). Educational Action Research. New York: Teachers College Press. . 2004. Guideline for School-Based Training (SBT) for In-service Teacher Development. Bangkok: Office of the Education Council, Ministry of Education.

76


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 Office of the National Education Commission (ONEC). 2003. National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments. Bangkok: Pimdeekarnpim Co., Ltd. Oja, S. N. and L. Smulyan. 1989. Collaborative Action Reserach: A Developmental Approach. New York: Falmer Press. Pillay, H. 2002. Teacher Development for Quality Learning: The Thai Education Reform Project. Report to the Office of the National Education Commission. March, 2002. Bangkok: Office of the National Education Commission, Ministry of Education. Puntumasen, P. 2004. School-Based Training (SBT) for In-service Teacher Development: A Strategy for the Success of Learning Reform in Thailand. Paper presented at the Learner-centered Approach from the Perspectives of Forum Participant, Hong Kong. Stringer, E. 2007. Action Research. 3rd ed. Los Angeles: Sage Publications. The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, 2002. Science and Technology Teacher Teaching Standards. Bangkok: Khurusapha Ladproa. (in Thai). UNESCO. 1986. School-based In-service Training: A Handbook. Bangkok: UNESCO Regional Office for Education in Asia and the Pacific. van Driel, J. H., D. Beijaard, and N. Verloop. 2001. Professional development and reform in science education: The role of teachers' practical knowledge. Journal of Research in Science Teaching, 38 (2): 137-158. van Zee, E., D. Lay, and D. Roberts. 2003. Fostering collaborative inquiries by prospective and practicing elementary and middle school teachers. Science Education, 87 (4): 588-612. Winter, R. 1996. Some principles and procedures for the conduct of action reserach. In O. ZuberSkerritt. (ed.). New Directions in Action Research. London: Falmer Press. Yutakom, N. and P. Chaiso. 2007. In-service Science Teacher Professional Development in Accordance with the National Education Act of B.E. 2542 (1999). Report to the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. September, 2007. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai.). Zuber-Skerritt, O. 1991. Action Research for Change and Development. Aldershot, Hampshire: Gower-Avebury.

77


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มตี ่อการจัดฝึกอบรม การให้บริการแบบที่ปรึกษาของบริษทั แอดวานซ์ คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด The Satisfactions of Call Center’s Staffs for Training Service Consultancy Course in Advance Contact Center Co., Ltd. มุขสุดา จันทกูล* ดร. เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์** และ รศ. สุชาวดี เกษมณี*** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการ จัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา ของบริษัทแอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด โดยศึกษาใน 3 ด้านคือ ด้านกระบวนการจัดการอบรม ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการ ฝึกอบรม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัท แอดวานซ์คอนแท็คเซ็น เตอร์ จํากัด ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา ในปี พ.ศ. 2552 (เฉพาะพนักงานลูกค้าสัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร) ใน 2 รุ่น คือรุ่นที่ 74 จํานวน 52 คน และรุ่นที่ 75 จํานวน 55 คน รวมประชากรที่ใช้ในการศึกษาจํานวน 107 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พนักงานศูนย์ ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ที่เข้ารับการฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา ในปี พ.ศ. 2552 ที่ตอบแบบสอบถามจํานวน 107 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุในช่วง 20 - 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์การทํางานอยู่ในช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 3 ปี ภาพรวมของความพึง พอใจของผู้ต อบแบบสอบถามที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษาใน 3 ด้านคื อ ด้าน กระบวนการจัดการอบรม ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการ ฝึกอบรม พบว่าอยู่ในระดับมาก คําสําคัญ: 1) ความพึงพอใจ 2) การให้บริการแบบที่ปรึกษา 3) การจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา 4) พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 5) บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด

ABSTRACT The purpose of this research was to study satisfactions of Call Center’s staffs for Training Service Consultancy Course in Advance Contact Center Co., Ltd. The study was operated in three *

นิสิตปริญญาโท (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาธุรกิจศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ประจําภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *** อาจารย์ประจําโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจยั และพัฒนาการศึกษา **

79


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 aspects, including 1) training process, 2) content of training program, and 3) training benefit. The research population consisted of 107 staffs of Call Center for Training Service Consultancy Course in Advance Contact Center Co., Ltd. The survey population was include of two group of class of Call Center’s staffs in Advance Contact Center Co., Ltd. (only who operated in Bangkok) who attended the Training Service Consultancy in year 2009, which are class no. 74, population number is 52 staffs and class no. 75, population number is 55 staffs. The total number of population is 107. The instrument for research was questionnaire. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The majority were female, age between 20 – 30 years old. The educated level of Call Center’s staffs was bachelor degree. Their working experience was less than 3 years. The overall satisfactions of Call Center’s staffs for Training Service Consultancy Course in 3 aspects were in high level. The results of this research showed that the level of satisfaction of Call Center for Training Service Consultancy Course in Advance Contact Center Co., Ltd. were in high level for all 3 aspects. Keywords: 1) satisfaction, 2) Service Consultancy, 3) Training Service Consultancy Course, 4) Call Center Staff, 5) Advanced Contact Center Co., Ltd.

ความสําคัญของปัญหา ปัจจุบันองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สนใจในความสําคัญของการพัฒนาบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น โดยการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการแข่งขันควบคู่ไปกับความเจริญเติบโต ขององค์ ก ร การพั ฒ นาบุ ค ลากรให้ มี ค วามรู้ ความสามารถและมี คุ ณ ภาพที่ จ ะปฏิ บั ติ ง านได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางด้านการบริหาร การตลาด การขาย หรือแม้กระทั่งการให้บริการลูกค้า ในส่วนของพนักงานรับโทรศัพท์ของศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 – 2554 กําหนดให้มีการพัฒนา คุณภาพคนเป็นเป้าหมายสําคัญตามแนวคิด “การพัฒนาคุณภาพคนให้มีความพร้อม มีทักษะในการประกอบ อาชีพ มีความมั่นคงในการดํารงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข” (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10, 2550: 52) กล่าวคือ ทรัพยากรมนุษย์ นั้นมีความจําเป็นและความสามารถในการ พัฒนาได้อีกมาก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับตัว และสนองตอบต่อพลวัต และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการตลาด และการแข่งขันที่สูงขึ้น ลูกค้าขององค์กรถือได้ว่า มีความสําคัญ ต่อความสําเร็จของธุรกิจ เครื่องมือหนึ่งที่องค์กรต่าง ๆ ใช้เพื่อรักษาความสัมพันธ์ ลูกค้า คือ การบริหารงาน ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า CRM (ม.ป.ป.: 1) ซึ่งศูนย์บริการ ลูกค้า (Call Center) เป็นระบบหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการทํา CRM ให้มีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรประจํา ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึงถือได้ว่า เป็นการสร้างประโยชน์อย่างสูงต่อองค์กร เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพและความพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันทาง ธุรกิจ

80


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 การให้บริการผ่านศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ทักษะในการ สนทนา ทักษะในการให้บริการด้านข้อมูลสินค้าและบริการ ตลอดจนความรู้ทางด้านระบบงาน การจัดการ และการอํานวยความสะดวกแก่ลูกค้า เป็นสิ่งจําเป็นที่พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ต้องมีควบคู่ไปพร้อมกับการ ใช้ฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ปรัชญาของการฝึกอบรม คือ การฝึกอบรมจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาในการทํางาน อันเนื่องมาจากการขาดความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ จนทําให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานที่หน่วยงาน กําหนดได้ การขาดความรู้ ทักษะ หรือทัศนคตินี้ อาจเป็นเพราะบุคคลนั้นจบการศึกษาในสาขาที่ไม่ตรงกับงาน หรือจบการศึกษาตรงกับงาน แต่ขาดทักษะไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้แล้ว เมื่อองค์กรมีการ เปลี่ยนแปลงภายใน เช่นปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทํางาน หรือนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทําให้บุคคลบางคน หรือบางกลุ่มกลายเป็น ผู้ที่ขาดความรู้ ทักษะ ทัศนคติ องค์กรจึงต้องจัด การฝึก อบรมเพื่อ แก้ปั ญหาทัน ที (สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง, 2550: 8 – 9) ด้วยเหตุนี้ บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด เล็งเห็นถึงความสําคัญของทั้งทรัพยากรบุคคล และความจําเป็นของการฝึกอบรม จึงกําหนดให้พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนา ตนเองอย่างสม่ําเสมอ ตามหลักสูตรที่หน่วยงาน ACC Human Resource Development สรรหามาเพื่อ พัฒ นาการเรี ยนรู้ ข องพนัก งาน และเพื่ อ นํ า ความรู้ ที่ไ ด้ จ ากการฝึ ก อบรมมาใช้ ใ นการปฏิ บัติ ง านในหน้ า ที่ หน่วยงาน ACC Human Resource Development มีการฝึกอบรมหลักสูตรการให้บริการแบบที่ปรึกษาไปทั้งสิ้น 73 รุ่น และปี พ.ศ. 2552 อีก 2 รุ่น คือรุ่นที่ 74 และรุ่นที่ 75 (บริษัท แอดวานซ์คอนแท็คเซ็นเตอร์ จํากัด, 2553) เมื่อติดตามดูผลการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์หลังจากผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการ ให้บริการแบบที่ปรึกษาไปแล้ว พบว่าลูกค้าจํานวนมากยังไม่พึงพอใจในการให้บริการของพนักงานในเรื่องการ ให้คําปรึกษาแก่ลูกค้า เพราะทําให้ลูกค้าไม่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่ไว้วางใจ และมี อคติต่อการให้บริการของพนักงาน ดังนั้น ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ในแผนก ACC Human Resource Development ทําหน้าที่ช่วย ประสานงานในการจั ด ฝึ ก อบรม ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในการให้ บ ริ ก ารของพนั ก งานที่ ส่ ง ผลต่ อ ภาพลักษณ์ขององค์กรเนื่องจากลูกค้าเกิดความไม่ไว้วางใจในการบริการ ไม่มีความเชื่อมั่นในการให้คําปรึกษา ของพนักงาน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรม การให้บริการแบบที่ปรึกษา ว่าพนักงานมีความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในด้านใดของการฝึกอบรม พนักงานมี การนํ าความรู้ท่ีไ ด้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ใ นการให้บริการกับลูกค้ามากน้อยเพียงใดนั้น เกี่ยว เนื่องมาจากความพึงพอใจจากการฝึกอบรมด้วย หากพนักงานไม่พึงพอใจในการฝึกอบรมแล้ว อาจทําให้ไม่ ตั้งใจในการฝึกอบรม และไม่ได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรม และผลการวิจัยนั้นเป็นประโยชน์ในด้านการ ปรับปรุงการจัดฝึกอบรมให้เหมาะสมกับพนักงานและการให้บริการในปัจจุบัน เมื่อพนักงานผ่านการฝึกอบรม การให้บริการแบบที่ปรึกษาไปแล้ว สามารถให้คําปรึกษา ดูแลลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกันได้เป็นอย่าง

81


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ดี เพื่อลดข้อร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงประกอบการพิจารณาวางแผนและ พัฒนาในการจัดฝึกอบรมพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมให้บริการแบบที่ ปรึกษา ของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด

ขอบเขตของการวิจัย การศึกษาค้นคว้าเรื่องความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัด ฝึกอบรมการ ให้บริการแบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ผู้วิจัยได้กําหนดขอบเขตและกรอบ แนวความคิดในการศึกษาไว้ ดังนี้ ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บริษัท แอดวานซ์คอนแท็คเซ็น เตอร์ จํากัด ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา ในปี พ.ศ. 2552 (เฉพาะพนักงานลูกค้า สัมพันธ์ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร) ใน 2 รุ่น คือรุ่นที่ 74 จํานวน 52 คน และรุ่นที่ 75 จํานวน 55 คน รวมประชากรที่ใช้ในการศึกษาจํานวน 107 คน ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะ ความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัด ฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา 3 ด้านคือ ด้านกระบวนการจัดการอบรม ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรม การฝึกอบรม และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย หน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นตอร์ จํากัด นําผล ของการศึกษาไปใช้เป็ นข้อมูลในปรั บปรุง และพัฒนาการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษาสําหรับ พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ต่อไป

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบ อาทิเช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 แบบสอบถาม เกี่ ย วกั บ ความพึ ง พอใจของพนั ก งานศู น ย์ ลู ก ค้ า สั ม พั น ธ์ ที่ มี ต่ อ การจั ด ฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษา ของบริษัท 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกระบวนการจัดการอบรม จํานวน 7 ข้อ ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม จํานวน 6 ข้อ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม จํานวน

82


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 4 ข้อ รวมทั้งสิ้นจํานวน 17 ข้อ มีลักษณะเป็นเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามแบบของ Likert (Likert, 1932) 5 ระดับโดยแบ่งเป็นระดับ 5, 4, 3, 2 และ 1 โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้ 5 ระดับ คือ ระดับความพึงพอใจมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด นําเสนอในรูปตารางประกอบคําบรรยาย เป็นความเรียง ดังนี้ ระดับคะแนน ระดับคะแนน ระดับคะแนน ระดับคะแนน ระดับคะแนน

5 4 3 2 1

หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 เป็นคําถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของพนักงานที่เข้ารับ การฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด

การสร้างเครื่องมือการวิจัย ผู้วิจัยได้ดําเนินการสร้างแบบสอบถามโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้ วิ จั ย ศึ ก ษาค้ น คว้ า แนวคิ ด ทฤษฎี เอกสาร ตํ า รา สิ่ ง พิ ม พ์ ต่ า งๆ และเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรม การศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง ให้ครอบคลุมขอบเขตเนื้อหาของการวิจัย และนํามาสร้างแบบสอบถามเพื่อศึกษาความพึงพอใจของพนักงาน ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ ปรึกษา 2) ผู้ วิ จัย นํ า แบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น เสนอต่ อ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาวิท ยานิ พ นธ์ ห ลัก และอาจารย์ ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจํานวน 3 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านมีความ เชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ได้แ ก่ ด้านวิจัยและประเมินผล ด้านการบริห ารและการจัดองค์กร และด้านการ วางแผน ตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาและความตรงในเนื้อหา (Content Validity) เพื่อตรวจสอบว่า เครื่องมือนั้นครอบคลุมเนื้อหาที่จะวัดได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อมีการปรับปรุงตามข้อแนะนําเรียบร้อย แล้ ว นํ า เสนอต่ อ อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ ห ลั ก อาจารย์ ท่ี ป รึ ก ษาวิ ท ยานิ พ นธ์ ร่ ว ม และผู้ เ ชี่ ย วชาญ ตรวจสอบอีกครั้ง 3) นําแบบสอบถามที่แก้ไขแล้วไปทดลอง (Try Out) กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัท แอดวานซ์ คอนแทคเซ็นตอร์ จํากัด ที่ไม่ใช่ประชากรของการศึกษาครั้งนี้จํานวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 18.69 ของ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นนํามาหาค่าระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) โดยใช้วิธีการหา สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ตามวิธีของครอนบาร์ซ (Cronbach, 1990) ได้ค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งชุดเท่ากับ 0.95 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นนี้มีระดับความเชื่อมั่นสูง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสามารถนําไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลของประชากรที่ในการวิจัยครั้งนี้ได้ (บุญเรียง ขจรศิลป์, 2547) 4) จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์แล้วนําไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชากรจํานวน 107 คน

83


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามและหนังสือขอความร่วมมือในการตอบ แบบสอบถามถึงธุรการแต่ละแผนกทางจดหมายภายใน เพื่อให้ธุรการส่งแบบสอบถามให้พนักงานศูนย์ลูกค้า สั ม พั น ธ์ ที่ เ คยเข้ า รั บ การฝึ ก อบรมในหลั ก สู ต รการให้ บ ริ ก ารแบบที่ ป รึ ก ษาในแผนกของตนและให้ ส่ ง แบบสอบถามกลับถึงผู้วิจัยตามกําหนดทางจดหมายภายใน ผู้วิจัยนําแบบสอบถามที่ได้คืนกลับมา และนํา ข้อมู ล ที่ ได้มาตรวจสอบความครบถ้ว นสมบู รณ์ และดํ าเนิน การวิเ คาระห์ข้อ มูล ต่อ ไป ซึ่ ง ทางผู้ วิ จั ยได้รั บ แบบสอบถามคืนกลับมาจํานวน 107 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากร

การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ทําวิจัยได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาแล้ว ดําเนินการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของ แบบสอบถาม แล้วจึงนํ าข้อมู ลไปบันทึกลงในคอมพิวเตอร์แล้วนําแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ดังนี้ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) เพื่ออธิบายคุณลักษณะทั่วไปของประชากร 2) ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษา ของบริษัทแอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ในด้านกระบวนการจัดการอบรม ด้านเนื้อหาวิชา ของโปรแกรมการฝึกอบรม และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในตอนที่ 2 วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) การแปลความหมายค่าเฉลี่ยของผลการวิเคราะห์ ข้อมูล กําหนดเกณฑ์ตามแนวของ Best (Best, 1981) ดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49

หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด หมายถึง มีความพึงพอใจมาก หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

3) ข้อมูลที่เกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงการจัดฝึกอบรมการ ให้บริการแบบที่ปรึกษาขอบริษัทแอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ผู้วิจัยนํามาสรุปและเขียนผลการวิจัยใน ลักษณะของความเรียงแบบบรรยาย

ผลการวิจัย 1) ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทแอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 107 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุในช่วง 20 -30 ปี การศึกษา ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทํางานน้อยกว่า 3 ปี

84


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2) ข้อมูลความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ ปรึกษา ของบริษัท 3 ด้าน คือ ด้านกระบวนการจัดการอบรม ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม และ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ตารางที่1 ระดับความพึงพอใจภาพรวม 3 ด้าน รายด้าน 1. ด้านกระบวนการจัดการอบรม 2. ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม 3. ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม รวม

μ 3.70 3.93 4.05 3.90

σ 0.48 0.52 0.55 0.47

N = 107 ระดับ มาก มาก มาก มาก

จากตารางที่ 1 ผลการวิจัยพบว่าพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อการ ฝึกอบรมในภาพรวม 3 ด้านในระดับมาก (μ = 3.90, σ = 0.47) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม (μ 4.05, σ = 0.55) รองลงมาคือด้านเนื้อหาวิชาของ โปรแกรมการฝึกอบรม (μ = 3.93, σ = 0.52) และด้านกระบวนการจัดการอบรม (μ = 3.70, σ = 0.48) 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษาขอบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด จาการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 ของแบบสอบถาม เป็นคําถามปลายเปิด ผู้วิจัยได้เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ แบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดฝึกอบรม การให้บริการแบบที่ปรึกษา ปรากฏว่าจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจํานวน 107 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ ตอบคําถามในส่วนนี้ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 9.35 ซึ่งผู้วิจัยได้ รวบรวมประเด็น ต่าง ๆ ที่ผู้ตอบแบบสอบถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้ ด้านกระบวนการจัดการอบรม จากความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะเพื่ อ การปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาการจั ด ฝึ ก อบรมที่ มี ต่ อ ด้ า น กระบวนการจัดการอบรมพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าควรเพิ่มระยะเวลาในการฝึกอบรมให้มาก ขึ้นเนื่องจากระยะเวลาฝึกอบรมในปัจจุบันน้อยเกินไป และควรเพิ่มสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการฝึกอบรมให้ เพียงพอและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดฝึกอบรมที่มีต่อด้านเนื้อหาวิชา ของโปรแกรมการฝึกอบรมพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าและควรจัดฝึกอบรมอย่างสม่ําเสมอ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปจะได้ปรับเนื้อหาของการฝึกอบรมให้ทันต่อสถานการณ์ และเป็นการ ทบทวนความรู้ต่าง ๆ อย่างสม่ําเสมอด้วย

85


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม จากความคิ ด เห็ น และข้ อ เสนอแนะเพื่ อ การปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาการจั ด ฝึ ก อบรมที่ มี ต่ อ ด้ า น กระบวนการจัดการอบรมพบว่าผู้ต อบแบบสอบถามให้ความเห็นว่าการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ ปรึกษาสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับการทํางานในสถานการณ์จริงได้เป็นอย่างดี

ข้อวิจารณ์ การวิจัยเรื่องความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบ ที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ผู้วิจัยได้ทําการวิจารณ์ผลดังนี้ ด้านกระบวนการจัดอบรม จากการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ในด้านกระบวนการจัดอบรมในภาพรวมมีความ พึงพอใจในระดับมาก (μ = 3.79, σ = 0.48) เมื่อพิจารณาจากรายข้อพบว่าหัวข้อวิทยากรเปิดโอกาสให้ ซักถามและแสดงความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.01, σ = 0.66) ทั้งนี้อาจเนื่องจากวิทยากรที่ทําหน้าที่ใน การฝึกอบรมของบริษัทแอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ เป็น ผู้ท่ีมีความรู้และประสบการณ์ในการทํางานเป็น พนั ก งานลู ก ค้ า สั ม พั น ธ์ ม าก่ อ นหลายปี ก่ อ นที่ จ ะได้ รั บ การปรั บ ตํ า แหน่ ง ขึ้ น มาเป็ น วิ ท ยากร จึ ง ได้ ใ ช้ ประสบการณ์จริงมาช่วยในกระบวนการฝึกอบรม ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม จากการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ในด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (μ = 3.93, σ = 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุดคือ การได้รับความรู้ ความเข้าใจ หรือแนวคิดใหม่ ๆ จากการอบรม (μ = 4.09, σ = 0.62) ทั้งนี้อาจเป็น เพราะการอบรมเป็นการเพิ่มพูนสมรรถภาพและประสิทธิภาพของบุคคล ในด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะและ ทัศนคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จึงทําให้สามารถนําสิ่งที่ฝึกอบรมให้นั้นไปปรับใช้ได้กับการปฏิบัติงานจริง ด้านประโยชน์ท่ไี ด้รับจากการฝึกอบรม จากการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ในด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมใน ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (μ = 4.05, σ = 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุดคือ การฝึกอบรมสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน (μ = 4.19, σ = 0.63) ซึ่งผลข้อนี้สอดคล้องกับ วิจิตร อาวะกุล (2540: 41) ที่กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม คือ เพิ่มขีดความสามารถและความ รับผิดชอบในการทํางานของบุคลากร เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นการเพิ่มเติมความรู้ ทักษะต่าง ๆ ของ พนักงานให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทําให้พนักงานเกิดความชํานาญในงานที่ทํา เมื่อเกิด

86


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ความชํานาญในงานแล้วก็ส่งผลให้พนักงานเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน และสามารถรับผิดชอบต่องานใน หน้าที่ได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ใน 3 ด้าน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนํา ผลการวิจัยไปใช้ ดังนี้ ด้านกระบวนการจัดการอบรม ความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการจัดการอบรมอยู่ในระดับมากทางหน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด สามารถนําไปปรับใช้กับหลักสูตรอื่นที่มีการจัดการ ฝึกอบรมและหาแนวทางที่จะสอดแทรกวิธีการฝึกอบรมต่าง ๆ เพื่อให้กระบวนการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ด้านเนื้อหาวิชาของโปรแกรมการฝึกอบรม ความคิ ด เห็ น ต่ อ ด้ า นเนื้ อ หาวิ ช าของโปรแกรมการฝึ ก อบรมอยู่ ใ นระดั บ มากทางหน่ ว ยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด สามารถนําหลักสูตรนี้ไปขยายผล ในการจัดอบรมให้แก่พนักงานในตําแหน่งอื่นหรือพัฒนาหลักสูตรจากระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับสูงขึ้นไป และใช้เป็นต้นแบบในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์หลักสูตรอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานต่อไป ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ความคิด เห็นต่อด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมอยู่ในระดั บมาก ทําให้ทราบว่าพนัก งาน สามารถสามารถนําความรู้ท่ีได้จากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทางหน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด จึงควรมีการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งต่อไป จากผลการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการ แบบที่ปรึกษาของบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ในปี พ.ศ. 2552 ใน 3 ด้าน พบว่า เป็นการวิจัย เรื่องความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการให้บริการแบบที่ปรึกษาของ บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด เท่านั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป ดังนี้ 1) หน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ควรมีการศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบความพึงพอใจของพนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการจัดฝึกอบรมการ ให้บริการแบบที่ปรึกษา ทั้งก่อนการฝึกอบรม ระหว่างการฝึกอบรม และหลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้น เพื่อนํา ผลการวิจัยไปใช้ประกอบการประเมินผลการจัดการฝึกอบรม

87


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2) หน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ควรมีการทําการวิจัยเกี่ยวกับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบถึงผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และยังจะทําให้การฝึกอบรมนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น 3) หน่วยงาน ACC Human Resource Development บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด ควรมีการทําการวิจัยในเรื่องรายละเอียดแต่ละด้านเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่ทําให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการ กระจายของความคิดเห็น

เอกสารและสิ่งอ้างอิง นิรนาม. ม.ป.ป. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM). (Online). www.catadmin.cattelecom.com/training/crm.html#meaning, 7 เมษายน 2555. บริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท แอดวานซ์คอนแทคเซ็นเตอร์ จํากัด. (Online). www.acc-contactcenter.com, 11 กรกฎาคม 2553. บุญเรียง ขจรศิลป์. 2547. การวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for Windows Version 10 – 12. กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์ วิจิตร อาวะกูร. 2540. การฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. 2550. เทคนิคการจัดฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ ส.ส.ท. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี. 2550. แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล. Best, J.W. 1981. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentic hell, Inc. Cronbach, L.J. 1990. Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper & Row. Likert, R. 1932. A Technique for the Measurement of Attitudes. New York: Archives of Psychology.

88


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ผลของการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อการดําเนินงาน ของพนักงาน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) The Effectiveness of the AS400 Program Training on the Controlling System Staffs’ Performance of the AEON Thanasinsap (Thailand) Public Company Limited. อ่อนศรี จันทรศิริ* รศ.ปภัสวดี วีรกิตติ** และผศ.ดร.นงลักษณ์ มโนวลัยเลา*** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบความคิดเห็นของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่ พนักงานแผนกควบคุมระบบได้รับการฝึกอบรม ด้านความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของงานหลักของระบบ 2) ทราบความคิดเห็นของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงานแผนก ควบคุมระบบได้รับการฝึกอบรม ด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนกต่าง ๆ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานแผนกควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ จํานวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นําผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อระดับความสามารถของพนักงานแผนก ควบคุ ม ระบบ บริ ษั ท อิ อ อน ธนสิ น ทรั พ ย์ (ไทยแลนด์ ) จํ า กั ด (มหาชน) ในภาพรวมทั้ ง 2 ด้ า น มี ร ะดั บ ความสามารถอยู่ในระดับมาก (μ =3.79, σ =0.81) โดยความคิดเห็นรายด้าน เป็นดังนี้ 1) ความคิดเห็นด้าน ความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของงานหลักของระบบ พบว่า ในภาพรวม มี ระดับความสามารถอยู่ในระดับมากทั้ง 13 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สามารถแสดงค่าผล ของรายรับ- รายจ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างถูกต้อง สามารถสรุปยอดขายประจําเดือนจากบัตรเครดิต สินค้าเงิน ผ่อน สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเช่าซื้อได้ อย่างถูกต้อง สามารถเรียกดูการติดตามเก็บเงินลูกค้าจากระบบ อัตโนมัติ 2) จากระบบความคิดเห็นด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนกต่าง ๆ พบว่า ในภาพรวม มีระดับความสามารถอยู่ในระดับมาก 14 ข้อ โดยข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สามารถกําหนดการ Closing ของระบบการทํางานในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็ว สามารถสรุปรายงานจากระบบของแต่ละแผนกและสามารถสั่งงาน Print ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และสามารถ กําหนด Password บน Desktop ทุก 1 เดือนได้ตามที่ MIS กําหนด คําสําคัญ: ระบบสารสนเทศ AS400 พนักงานผู้ควบคุมระบบการฝึกอบรม **

นิสิตปริญญาโท (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาธุรกิจศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ประจําภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *** อาจารย์ประจําภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ **

89


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ABSTRACT The purposes of this research were to study the opinions of department officer control staffs 1) on the usage of the AS400 information system. This research aimed to 1) study the employees’ performances on the use of AS400 information system as part of a major system, and 2) the ability to use the AS400 information system as a support system for other departments. The populations employed in this study were 200 department officer control employees who utilized the AS400 information system at the AEON Thanasinsap (Thailand) Public Company Limited. The research instruments employed in this study were questionnaire surveys. The data obtained in this study were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of this study presented that the opinions of the department officer control staffs towards the ability to use the overall system were high (μ = 3.79, σ = 0.81). They rated the highest average mean scores in 13 categories. The top three categories rated the highest in the high level were 1) ability to present monthly incomes and expenses correctly, 2) ability to summarize the credit card’s, installments, personal loans, and leasing correctly, and 3) ability to execute the customers’ collection records from the automatic system in order to reduce bad debts. The ability to use the AS400 information system as a support system for other departments, the staffs rated high in 14 categories. The first three highest mean scores were1) the ability to schedule the day-to-day closing of each working system efficiently, 2) ability to summarize the departments’ reports for each work units. The ability to use the AS400 information system as a support system for other departments, the result showed that overall performance were high in 14 categories. The top three highest mean scores were 1) the ability to schedule the day-to-day closing of each working system efficiently, 2) the ability to summarize each department’s reports and print the reports quickly, and 3) ability to change password on desktops once a month following the MIS regulations. Keyword: AS400 Information System, Employees of Control Department, Effectiveness of training

ความสําคัญของปัญหา บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลัก ในการให้บริการสินเชื่อ รายย่อยแก่ลูกค้าหลายรูปแบบ เช่น สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล นอกเหนือจาก ธุรกิจหลักที่ได้กล่าวถึงแล้ว ปัจจุบันบริษัทได้ให้ความสนใจกับธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์เพื่อบริการลูกค้าเพิ่มอีกหนึ่ง ประเภท เนื่องจากการเจริญเติบโตของธุรกิจรถยนต์ในประเทศ จากผลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปีที่ เหลือของปี 2552 ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ จะมีการปรับตัวดีขึ้น ตามยอดขายจําหน่ายรถยนต์ในประเทศ ซึ่ง ได้รับปัจจัยบวกจากอํานาจซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เพื่อเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นโดย ที่คุณสมบัติหรือความน่าเชื่อถือ ทางการเงินของผู้เช่าซื้อปรับตัวดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์, 2012) ธุรกิจธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ไตรมาส 4 ฟื้นตัว จากการขยายตลาดเช่าซื้อรถยนต์ของประเทศ

90


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ในทวีปเอเซียจํานวน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และสิงค์โปร์ รวมถึงประเทศไทย ทาง บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เล็งเห็น ถึง ความสําคัญในเรื่องการจัดการระบบ สารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถทัดเทียมกับประเทศในทวีปเอเซียต่าง ๆ ดังนั้นจึงได้ว่าจ้างให้ บริษัท JSS System ซึ่งเป็นบริษัท Outsourcing ของประเทศญี่ปุ่น สร้างระบบการทํางานเกี่ยวกับการจัดการ สารสนเทศขึ้นมาชื่อว่า “ระบบสารสนเทศ AS400” ระบบนี้เป็นระบบการทํางานที่พัฒนามาจากประเทศ สิงคโปร์ ซึ่งการทํางานของระบบสารสนเทศ AS400 คือ การสนับสนุนการทํางานของระบบประมวลผลข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลรายวัน ในฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทํางานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ระบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่นสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ และสิ่งที่สําคัญ ที่สุดคือระบบต้องเก็บความลับของข้อมูลพร้อมจํากัดการใช้งานของบุคคลให้ใช้งานได้เฉพาะผู้ท่ีเกี่ยวข้อง เท่านั้น (Etica group, 1997) ระบบสารสนเทศ AS400 ถูกนํามาใช้ในการทํางานทุก ๆ แผนกของ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) คือ แผนกบัญชีและการเงินแผนกการตลาด แผนกธุรการ แผนก ปฎิบัติการ และแผนกการวิเคราะห์ความเสี่ยงเช่าซื้อรถยนต์ไตรมาส 4 ฟื้นตัว. 2 ม.ค.2012.) จากการขยายตลาดเช่าซื้อรถยนต์ของประเทศในทวีปเอเซียจํานวน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว ฮ่ อ งกง ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ และสิ ง ค์ โ ปร์ รวมถึ ง ประเทศไทย ทางบริ ษั ท อิ อ อน ธนสิ น ทรั พ ย์ (ไทยแลนด์ ) จํ า กั ด (มหาชน) เล็งเห็นถึงความสําคัญในเรื่องการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถ ทัดเทียมกับประเทศในทวีปเอเซียต่าง ๆ ดังนั้น จึงได้ว่าจ้างให้บริษัท JSS System ซึ่งเป็นบริษัท Outsourcing ของประเทศญี่ ปุ่ น สร้ า งระบบการทํ า งานเกี่ย วกับ การจัด การสารสนเทศขึ้ น มาชื่อ ว่ า “ระบบสารสนเทศ AS400” ระบบนี้เป็นระบบการทํางานที่พัฒนามาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งการทํางานของระบบสารสนเทศ AS400 คือ การสนับสนุนการทํางานของระบบประมวลผลข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลรายวัน ในฐานข้อมูลที่ถูก รวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทํางานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ระบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่นสามารถ รองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ และสิ่งที่สําคัญที่สุดคือระบบต้องเก็บความลับของ ข้อมูลพร้อมจํากัดการใช้งานของบุคคลให้ใช้งานได้เฉพาะผู้ท่ีเกี่ยวข้องเท่านั้น (Etica group, 1997) ระบบ สารสนเทศ AS400 ถูกนํามาใช้ในการทํางานทุก ๆ แผนกของ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) คือ แผนกบัญชีและการเงิน แผนกการตลาด แผนกธุรการ แผนกปฎิบัติการ และแผนกการวิเคราะห์ ความเสี่ยง ผลของการดําเนินการด้วยระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) พบว่า ผู้จัดการของแต่ละแผนก สามารถตรวจสอบข้อมูลการทํางานที่ควบคุมโดยใช้ระบบ สารสนเทศ AS400 ได้เป็นอย่างดี สามารถตรวจสอบข้อมูลจากสาขาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดําเนินงานให้คล่องตัวขึ้น การประมวลผลของข้อมูลทั้งรายวัน รายเดือน และในส่วนการเชื่อมโยงกับสาขา ต่างๆ ผู้จัดการสาขาสามารถส่งยอดขายของพนักงานการตลาดในแต่ละสาขา มาได้ทันการปิดยอดขาย ประจําเดือนส่งผลให้บริษัทเป็นที่ยอมรับ และมีลูกค้าสมัครใช้บริการเพิ่มขึ้น ดังนั้น การนําระบบสารสนเทศ AS400 มาใช้งานจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการในองค์กรให้มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นสอดคล้อง กับ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2551: 20) ที่กล่าวว่าหากผู้บริหารได้รับผลสรุปต่าง ๆ จากทุกแผนกเพื่อทราบถึง

91


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผลของการทํางานภายในองค์กร เช่น การสรุปยอดขาย การวางแผนทางการตลาด การสร้างจุดขายที่มุ่งเน้น ลูกค้าในด้านต่าง ๆ การลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ การจัดโปรโมชั่นใหม่ ๆ ให้ลูกค้าเพื่อเพิ่มจุดขายและรวมถึง การพัฒนาระบบให้รองรับการใช้บริการให้กับลูกค้าเพื่อเพิ่มความสะดวกมากขึ้นนั้นจะช่วยทําให้องค์กรประสบ ผลสําเร็จในการดําเนินธุรกิจเป็นอย่างดี บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบสารสนเทศ AS400 มากที่สุด คือ พนักงานแผนกควบคุมระบบ เนื่องจากเป็นแผนกหลักที่ทําหน้าที่ในจัดการข้อมูลให้เหมาะสมต่อการใช้งานขององค์กรแต่ละแผนก ดังนั้น เพื่อให้การทํางานของระบบสารสนเทศ AS400 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทย แลนด์) จํากัด (มหาชน) จึงได้กําหนดนโยบายให้จัดการฝึกอบรมพนักงานแผนกควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 เพื่ อ ช่ว ยเพิ่ ม คุ ณ ภาพของระบบการทํ า งานให้ เ หมาะสมกั บ การใช้ ง านขององค์ ก ร เช่ น การทราบ ยอดขายรายวัน สรุปผลยอดเรียกเก็บจากลูกค้าประจําเดือน ยอดค้างชําระโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดภาระ ของผู้บริหารในการ ควบคุมงานทุกแผนกจากปกติที่ต้องใช้เวลามากในการตรวจสอบผลของการทํางานของ พนักงาน ความสามารถของระบบที่เรียกดูข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทําให้การทํางานมีประสิทธิภาพและ ผลของการจัดการฝึกอบรมที่องค์กรจะได้รับ คือ ช่ว ยประหยัด งบประมาณของหน่วยงานในแต่ล ะแผนก เนื่องจากไม่ต้องส่งบุคลากรของแผนกไปฝึกอบรมเป็นจํานวนมาก อีกทั้งพนักงานแผนกควบคุมระบบจะเป็นผู้ แก้ปัญหาหลักหากระบบเกิดความผิดพลาด หรือสามารถปรับการใช้งานของระบบให้สอดคล้องกับการทํางาน ของแต่ละแผนกได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้แผนกต่างๆ สร้างผลงานและการบริการที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ ทําให้ องค์กรมีภาพพจน์ที่ดีในเรื่องการบริการด้านสินเชื่อต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่าซื้อรถยนต์ไตรมาส 4 ฟื้นตัว. 2 ม.ค. 2012) จากการขยายตลาดเช่าซื้อรถยนต์ของประเทศในทวีปเอเซียจํานวน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว ฮ่ อ งกง ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ และสิ ง ค์ โ ปร์ รวมถึ ง ประเทศไทย ทางบริ ษั ท อิ อ อน ธนสิ น ทรั พ ย์ (ไทยแลนด์ ) จํ า กั ด (มหาชน) เล็งเห็นถึงความสําคัญในเรื่องการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถ ทัดเทียมกับประเทศในทวีปเอเซียต่าง ๆ ดังนั้น จึงได้ว่าจ้างให้บริษัท JSS System ซึ่งเป็นบริษัท Outsourcing ของประเทศญี่ ปุ่ น สร้ า งระบบการทํา งานเกี่ย วกับ การจัด การสารสนเทศขึ้ น มาชื่อ ว่ า “ระบบสารสนเทศ AS400” ระบบนี้เป็นระบบการทํางานที่พัฒนามาจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งการทํางานของระบบสารสนเทศ AS400 คือ การสนับสนุนการทํางานของระบบประมวลผลข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลรายวัน ในฐานข้อมูลที่ถูก รวมเข้าด้วยกันและสนับสนุนการทํางานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ระบบดังกล่าวมีความยืดหยุ่นสามารถ รองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ และสิ่งที่สําคัญที่สุดคือระบบต้องเก็บความลับของ ข้อมูลพร้อมจํากัดการใช้งานของบุคคลให้ใช้งานได้เฉพาะผู้ท่ีเกี่ยวข้องเท่านั้น (Etica group, 1997) ระบบ สารสนเทศ AS400 ถูกนํามาใช้ในการทํางานทุก ๆ แผนกของ บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) คือ แผนกบัญชีและการเงิน แผนกการตลาด แผนกธุรการ แผนกปฎิบัติการ และแผนกการวิเคราะห์ ความเสี่ยง

92


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อทราบถึงผลการฝึกอบรมการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อ การดําเนินงานของ พนักงานควบคุมระบบของ บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน)

ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาผลของการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อการดําเนินงานของพนักงาน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) โดยมี ขอบเขตการศึกษาวิจัยดังนี้ 1. ประชากร คือ พนักงานแผนกควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ จํานวน 200 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ วิธีการฝึกอบรมตามความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงานแผนกควบคุมระบบได้รับการฝึกอบรม ด้านความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของงานหลักของระบบ และด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบ สารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนกต่าง ๆ 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงานแผนก ควบคุมระบบได้รับการฝึกอบรม ด้านความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของ งานหลักของระบบ และด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนกต่าง ๆ 3. ขอบเขตด้านเวลา ระยะเวลาในการศึกษาครั้งนี้ใช้เวลา 1 เดือน คือ เดือนธันวาคม 2554

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. เป็นข้อมูลให้แผนกบุคลากรใช้วางแผนปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มระดับความสามารถใน การทํางานของพนักงานแผนกควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) 2. ลดภาระ และเวลา อีกทั้งเพิ่มคุณภาพงาน ของผู้บริหารเนื่องจากสามารถตรวจสอบข้อมูลและ ผลการทํางานของระบบสารสนเทศ AS400 ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการดูแลควบคุมระบบที่ ดีของพนักงานแผนกควบคุมระบบที่ได้รับการฝึกอบรม 3. พนักงานแผนกควบคุมระบบ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบ AS400 และสามารถนํามา ประยุกต์ใช้ในการทํางานของทุกแผนกในองค์กรได้เป็นอย่างดี

93


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยมีลักษณะคําถามเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงานควบคุมระบบได้รับการ ฝึกอบรมโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) ด้านความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ใน ส่วนของงานหลักของระบบที่มีผลต่อแผนก 2) ด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัว ระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนก มีลักษณะคําถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert,1932) ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งเป็น 5 ระดับโดยมีค่าระดับคะแนนตามเกณฑ์ประกอบด้วย 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 = น้อยที่สุด และตอนที่3 สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ ในด้านการควบคุมระบบ และ ด้านสิทธิการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400

การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลโดยขอความอนุเคราะห์แผนกบุคคล ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) แจกแบบสอบถามและรวบรวมแบบสอบถามคืนให้แก่ผู้วิจัยจํานวน 200 ชุด 2. ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมแบบสอบถาม รวมถึงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลใน แบบสอบถามประมาณ 1 เดือน

การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการทางสถิติ ดังนี้ 1. ข้อมูลจากแบบสอบถามของพนักงานประจําที่ควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยมีลักษณะคําถามเป็นแบบเลือกตอบ (Check List) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของพนักงานควบคุมระบบที่ได้รับการฝึกอบรมที่มีต่อการใช้งานระบบ สารสนเทศ AS400 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและโดยมีการแปลความหมายตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1993) คะแนนดังนี้ ตอนที่ 3 ลักษณะคําถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในด้านการควบคุมระบบ และ ด้านสิทธิการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นเทคนิคการวิจัยที่พยายามจะบรรยายเนื้อหาของข้อความหรือเอกสาร

94


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ผลการวิจัยพบว่า ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม N=200 อายุ 20 – 25 ปี 26 – 30 ปี 31 – 35 ปี 36 – 40 ปี 40 ปีขึ้นไป รวม

จํานวน(คน) 28 36 62 50 24 200

ร้อยละ 14 18 31 25 12 100

จากตารางที่ 1 พบว่า พนักงานแผนกควบคุมระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) อยู่ในช่วงอายุ 31 – 35 ปี จํานวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 31 มากที่สุด รองลงมา คือช่วงอายุ 36 – 40 ปี จํานวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ช่วงอายุ 26 – 30 ปี จํานวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 18 ช่วงอายุ 20 – 25 ปี จํานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 14 และผู้ตอบแบบสอบที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป จํานวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ตามลําดับ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงานควบคุมระบบได้รับการฝึกอบรม ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และระดับความสามารถของการใช้ระบบสารสนเทศ AS400 ของบริษัท อิออนธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) N=200 ระดับ ความสามารถของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 μ σ 1. ด้านการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนก 3.95 0.55 มาก 2. ด้านความสามารถใช้งานหรือบริหารจัดการกับตัวระบบสารสนเทศ AS400 3.65 0.99 มาก รวม

3.79 0.81 มาก

จากตารางที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของพนักงานบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ในภาพรวม 2 ด้าน โดยมีความ คิดเห็นอยู่ในระดับมาก (μ = 3.79, σ = 0.81 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี ความสามารถของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ด้านการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อ แผนกในระดับมาก (μ =3.95, σ =0.55 ) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านความสามารถใช้งานหรือบริหารจัดการ กับตัวระบบสารสนเทศ AS400 มีความสามารถในระดับมากเช่นเดียวกัน (μ =3.65, σ =0.99 )

95


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 3 ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และความคิดเห็นที่มีต่อผู้ผ่านการฝึกอบรม ด้านการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ระดับความสามารถ รายการต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ปาน AS400 ดีมาก มาก น้อย กลาง 1. สามารถประเมินความเสี่ยงก่อนให้ 38 126 29 6 เครดิตลูกค้าได้อย่างถูกต้อง (19.0) (63.0) (14.5) (3.0) 122 34 8 2. สามารถตรวจสอบความสามารถใน 36 (18.0) (61.0) (17.0) (4.0) การชําระหนี้ของลูกค้าได้อย่าง ถูกต้อง เพื่อกําหนดเครดิตเทอมกับ ลูกค้าแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม 40 115 37 8 3. สามารถคัดกรองลูกค้า กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (20.0) (57.5) (18.5) (4.0) และมีความถูกต้องเชื่อถือได้ 40 4 สามารถสร้าง Communication 114 38 8 (20.0) (57.0) (19.0) (4.0) Support เป็นการเชื่อมต่อการ ทํางานระหว่างระบบAS400 กับ ระบบอื่นๆ ในเครื่องเดียวกันหรือ ระบบAS400 ด้วยกันได้ 42 112 5 สามารถควบคุมตรวจสอบลูกค้า 38 8 เก่าที่มีปัญหาการจ่ายเงินโดยแบ่ง (21.0) (56.0) (19.0) (4.0) ยอดค้างจ่ายเกิน 1 เดือน / เกิน 2 เดือน และ เกิน 3 เดือนจากระบบ ฐานข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 42 120 6 สามารถเรียกดูการติดตามเก็บเงิน 30 8 ลูกค้าจากระบบอัตโนมัติ จากระบบ (21.0) (60.0) (15.0) (4.0) พนักงานโทรติดตาม โดยสรุป รายงานประจําเดือนได้ถูกต้องเพื่อ ช่วยลดความเสี่ยงของหนี้สูญ 43 111 36 10 7 สามารถเรียกรายชื่อลูกค้าจาก ระบบโดยคัดแยกลูกค้าที่ชําระตรง (21.5) (55.5) (18.0) (5.0) กําหนดเพื่อนําเสนอวงเงินเพิ่ม ให้กับลูกค้า

96

น้อย μ σ ระดับ ที่สุด 1 3.97 0.50 มาก (0.5) 0 3.93 0.54 มาก (0.0)

0 3.94 0.54 (0.0)

มาก

0 3.93 0.55 (0.0)

มาก

0 3.94 0.56 (0.0)

มาก

0 3.98 0.52 (0.0)

มาก

0 3.94 0.59 (0.0)

มาก


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 3 (ต่อ) ระดับความสามารถ ปาน ดีมาก มาก น้อย กลาง สามารถคิดคํานวณอัตรา 43 118 31 8 ดอกเบี้ยได้อย่างถูกต้อง (21.5) (59.0) (15.0) (4.0) 118 30 8 สามารถแสดงค่าผลของรายรับ- 44 (22.0) (59.0) (15.0) (4.0) รายจ่ายในแต่ละเดือนได้อย่าง ถูกต้อง 44 113 35 8 สามารถสรุปยอดขายเป็น (22.0) (56.5) (17.5) (4.0) รายงานประจําเดือนในแต่ละ สาขาได้อย่างถูกต้อง 44 105 41 10 สามารถประมวลตัวเลขต้นทุน (22.0) (52.5) (20.5) (5.0) และกําไรในแต่ละเดือนเพื่อทํา รายงานในรูปแบบกราฟได้ 44 111 37 8 สามารถใช้ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ในระบบ AS400 (22.0) (55.5) (18.5) (4.0) ได้อย่างถูกต้อง ( การสะกดคํา ) 45 115 32 8 สามารถสรุปยอดขาย (22.5) (57.5) (16.0) (4.0) ประจําเดือนจากบัตรเครดิต สินค้าเงินผ่อน สินเชื่อบุคคลและ สินเชื่อเช่าซื้อได้ อย่างถูกต้อง รวม รายการต่าง ๆ ของระบบ สารสนเทศ AS400

8 9

10

11

12

13.

น้อย μ σ ระดับ ที่สุด 0 3.98 0.53 มาก (0.0) 0 3.99 0.53 มาก (0.0) 0 3.97 0.56 (0.0)

มาก

0 3.92 0.62 (0.0)

มาก

0 3.96 0.57 (0.0)

มาก

0 3.99 0.55 (0.0)

มาก

3.95 0.55

มาก

จากตารางที่ 3 พบว่า ความคิดเห็นของพนักงานควบคุมระบบของ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับผลการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อการ ดําเนินงานด้านการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในภาพรวมมีระดับความสามารถอยู่ในระดับมาก และ ทุกหัวข้อมีความสามารถในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ระบบสารสนเทศ AS400 สามารถแสดงค่าผลของรายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือนได้อย่าง ถูกต้อง (μ = 3.99, σ = 0.53) และสามารถสรุปยอดขายประจําเดือนจากบัตรเครดิต สินค้าเงินผ่อน สินเชื่อ บุคคลและสินเชื่อเช่าซื้อได้ อย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (μ = 3.99, σ = 0.55) รองลงมา คือ สามารถเรียกดูการติดตามเก็บเงินลูกค้าจากระบบอัตโนมัติและจากระบบพนักงานโทรติดตามได้ในระบบ โดยสรุปรายงานประจําเดือนได้อย่างถูกต้องเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของหนี้สูญ (μ = 3.98, σ = 0.52)

97


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 4 ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และความคิดเห็นที่มีต่อผู้ผ่านการฝึกอบรม ด้านความสามารถใช้งานหรือบริหารจัดการกับตัวระบบสารสนเทศ AS400 รายการต่าง ๆ ของระบบ สารสนเทศ AS400 14. สามารถใช้ Control Language เป็นชุดคําสั่งต่าง ๆ ที่จะใช้ติดต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว 15. สามารถใช้งาน Share Folder บนหน้า Desktop ได้ 16. สามารถใช้ Data Management เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการกําหนดและการ ใช้แฟ้มข้อมูลในระบบได้ 17. สามารถทราบหากเกิดปัญหา PC Support กับระบบเชื่อมต่อ ของ AS400 ได้อย่างตรงจุด 18. ท่านสามารถแก้ไขตัวอักษร หากเครื่อง Print ไม่สามารถ พิมพ์ภาษาที่ต้องการได้ 19. สามารถใช้งานโดยผ่านระบบ โปรแกรม Shortcut ได้ 20. สามารถปรับแก้ค่า Configuration ของระบบ ปฎิบัติการได้ 21. สามารถตรวจสอบข้อมูลจาก ระบบ โดยผ่านการควบคุม จาก เลขประจําเครื่อง( IP ) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ 22. สามารถกําหนด Password บน Desktop ทุก 1 เดือนได้ ตามที่ MIS กําหนด

41 (20.5)

ระดับความสามารถ ปาน น้อย μ σ ระดับ มาก น้อย กลาง ทีส่ ุด 102 49 8 0 3.88 0.60 มาก (51.0) (24.5) (4.0) (0.0)

45 (22.5) 42 (21.0)

94 50 11 0 3.87 0.68 (47.0) (25.0) (5.5) (0.0) 98 48 12 0 3.85 0.67 (49.0) (24.0) (6.0) (0.0)

มาก

37 (18.5)

104 47 12 0 3.83 0.63 (52.0) (23.5) (6.0) (0.0)

มาก

40 (20.0)

99 48 (49.5) (24.0)

13 0 3.83 0.67 (6.5) (0.0)

มาก

42 (21.0) 93 (19.5)

101 43 14 0 3.86 0.69 (50.5) (21.5) (7.0) (0.0) 104 45 12 0 3.85 0.64 (52.0) (22.5) (6.0) (0.0)

มาก

43 (21.5)

103 44 10 0 3.90 0.63 (51.5) (22.0) (5.0) (0.0)

มาก

44 (22.0)

104 42 (52.0) (21.0)

มาก

ดีมาก

98

10 0 3.91 0.63 (5.0) (0.0)

มาก

มาก


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่4 (ต่อ) รายการต่าง ๆ ของระบบ สารสนเทศ AS400 23. สามารถกําหนดสิทธิใน การใช้งานของ User ใน ระบบAS400 ได้โดย แบ่งเป็นแผนกในการ รับผิดชอบใช้งาน 24. ทํางานบนระบบ AS400 ได้หากเกิดปัญหาไฟฟ้า ขัดข้อง การติดไวรัสบน ระบบฐานข้อมูล 25. สามารถกําหนดการ Closing ของระบบการ ทํางานในแต่ละวันได้ อย่างรวดเร็ว 26. สามารถสรุปรายงาน จากระบบของแต่ละ แผนกและสามารถ สั่งงาน Print ข้อมูลได้ อย่างรวดเร็ว 27. สามารถเข้าระบบ AS400ได้โดยไม่ใส่ User nameและ Password 28. สามารถ Reprint จาก ระบบ AS400 ได้ใน กรณีที่ลูกค้าต้องการ สําเนาเอกสารเพิ่ม 29. สามารถเปลี่ยนแปลง โอนย้ายข้อมูลของลูกค้า ได้ในระบบ AS400

ระดับความสามารถ ปาน ดีมาก มาก น้อย กลาง 105 41 14 40 (20.0) (52.5) (20.5) (7.0)

น้อย ที่สุด 0 (0.0)

4 (2.0)

μ

σ

ระดับ

3.86

0.67

มาก

19 (9.5)

145 (72.5)

17 (8.5)

2.22

0.61

น้อย

113 34 44 (22.0) (56.5) (17.0)

9 (4.5)

0 (0.0)

3.96

0.57

มาก

112 34 44 (22.0) (56.0) (17.0)

10 (5.0)

0 (0.0)

3.95

0.59

มาก

2 (1.0)

39 145 (72.5) (19.5)

1.96

0.51

น้อย

106 42 40 (20.0) (53.0) (21.0)

10 (5.0)

2 (1.0)

3.86

0.68

มาก

38 42 106 (21.0) (53.0) (19.0)

13 (6.5)

1 (0.5)

3.88

0.69

มาก

15 (7.5)

10 (5.0)

4 (2.0)

จากตารางที่ 4 ด้านความสามารถใช้งานหรือบริหารจัดการกับตัวระบบสารสนเทศ AS400 ตอบ แบบสอบถามประเมินตนเองว่ามีความสามารถในระดับมากเช่นเดียวกัน ( Χ =3.65, σ =0.99 ) พิจารณาราย

99


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ข้อในด้านนี้ พบว่า ระดับความสามารถที่มากที่สุด คือ ระบบสารสนเทศ AS400 สามารถกําหนดการ Closing ของระบบการทํางานในแต่ละวันได้อย่างรวดเร็วรองลงมา คือ สามารถสรุปรายงานจากระบบของแต่ละแผนก และสามารถสั่งงาน Print ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถกําหนด Password บน Desktop ทุก 1 เดือนได้ตามที่ MIS กําหนด และสามารถตรวจสอบข้อมูลจากระบบ โดยผ่านการควบคุมจาก เลขประจําเครื่อง (IP) ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ สามารถใช้ Control Language เป็นชุดคําสั่งต่างๆ ที่จะใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้อย่างรวดเร็วสามารถเปลี่ยนแปลงโอนย้ายข้อมูลของลูกค้าได้ในระบบ AS400 ตามลําดับ สําหรับผลการ ฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อการดําเนินงานด้านความสามารถใช้งานหรือบริหาร จัดการนี้มีรายการที่มีความสามารถในระดับน้อย 2 รายการ ได้แก่ สามารถเข้าระบบ AS400 ได้โดยไม่ใส่ User name และ Password และสามารถทํางานบนระบบ AS400 ได้หากเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง การติดไวรัส บนระบบฐานข้อมูล ซึ่งทั้งสองรายการมีระดับความสามารถตามความคิดเห็นของพนักงานน้อยที่สุด ตอนที่ 3 สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในด้านการควบคุมระบบ และ ด้านสิทธิการใช้งานของระบบ สารสนเทศ AS400 จากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจํานวน 200 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ตอบคําถามในตอนที่ 3 นี้ จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2% ข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงพอในการสรุปผลของสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะ

ข้อวิจารณ์ จากการวิจัย เรื่อง ผลของการฝึกอบรมการใช้งาน ระบบสารสนเทศAS400 ที่มีต่อการดําเนินงาน ของพนักงาน บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ผู้วิจัยมีข้อวิจารณ์ ดังนี้ความคิดเห็นต่อ ระดับความสามารถของพนักงานแผนกควบคุมระบบ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) ในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีระดับความสามารถอยู่ในระดับมาก (μ =3.79, σ =0.81) ซึ่งผลที่ได้น้ันสนับสนุน นโยบายของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงานแผนก ควบคุมระบบ ที่มีหน้าที่ในการดูแลและจัดการกับระบบสารสนเทศ AS400 ให้สามารถใช้งานในองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพนักงานสามารถเข้าใจหน้าที่และความสําคัญของงานที่ปฏิบัติได้มากขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ Pang – Lo และคณะ (2004: 971-977) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถในการบริหารการจัดการความรู้ และความสามารถในการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมของ ประเทศไต้หวัน พบว่า ความสามารถในการบริหารจัดการความรู้ท่ีมากขึ้น จะมีผลกระทบอย่างมากในการ แข่งขันได้ผลสรุปเมื่อกิจการมีความสามารถในการบริหารจัดการความรู้มากขึ้นกิจการยิ่งมีศักยภาพในการ แข่งขันมากขึ้นด้วย โดยได้รับการยืนยันทางการวิเคราะห์ทางสถิติของตัวแปรสามด้านคือ ลักษณะเฉพาะของ บริษัท การใช้ข้อดีของเทคโนโลยีและมาตรฐานวัดของบริษัท ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบต่อความสามารถใน การบริหารการจัดการความรู้ทั้งนี้เมื่อบริษัทตัดสินใจที่จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันนั้น จําเป็นต้องปรับปรุง ความสามารถในการบริหารจัดการความรู้เป็นอันดับแรก ประโยชน์คือทําให้กิจการบรรลุเป้าหมาย ทําให้เกิด การกลั่นกรอง การเก็บรักษาและการแบ่งปันความรู้ ทําให้กิจการสามารถสร้างความแข็งแรงต่อการบริหาร การจัดการความรู้ ความคิดเห็นด้านความสามารถของการใช้งานของระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของ

100


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 งานหลักของระบบ พบว่า ในภาพรวม มีระดับความสามารถอยู่ในระดับมากทั้ง 13 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สามารถแสดงค่าผลของรายรับ - รายจ่ายในแต่ละเดือนได้อย่างถูกต้อง สามารถ สรุปยอดขายประจําเดือนจากบัตรเครดิต สินค้าเงินผ่อน สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเช่าซื้อได้ อย่างถูกต้อง สามารถเรียกดูการติดตามเก็บเงินลูกค้าจากระบบอัตโนมัติ จากระบบพนักงานโทรติดตามได้ในระบบโดยสรุป รายงานประจําเดือนได้อย่างถูกต้องเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของหนี้สูญ สามารถคิดคํานวณอัตราดอกเบี้ยได้ อย่างถูกต้อง สามารถประเมินความเสี่ยงก่อนให้เ ครดิตลูกค้าได้อย่างถู กต้อง สามารถสรุปยอดขายเป็ น รายงานประจําเดือนในแต่ละสาขาได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก การที่พนักงานได้รับความรู้เกี่ยวกับ การใช้งานหลักของระบบสารสนเทศ AS400 จึงสามารถสั่งให้โปรแกรมทําการประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ นํามาใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ส่งผลให้องค์กรสามารถนําข้อมูลมาใช้งานพื่อการวางแผนงานของทุก แผนกในของบริษัท และทุกสาขาของบริษัทได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ สูติเทพ ศิริพัฒนกุล (2552:20) ที่ กล่าวไว้ว่า ประโยชน์ของระบบสารสนเทศของธุรกิจมีมากมาย ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ช่วยลดระยะเวลาในการดําเนินงานต่าง ๆ และช่วยลดค่าใช้จ่าย ทําให้งานเสร็จเร็วขึ้น สามารถสร้างความพึง พอใจต่อผู้รับบริการสารสนเทศ เช่น ผู้บริหาร และบุคคลทั่วไป ลูกค้า รวมถึงประสิทธิผลของการทํางานใน ด้านของความคุ้มค่าและช่วยในการทํางานให้ประสบผลสําเร็จด้วยดี ความเหมาะสมกับการต่อยอดทางธุรกิจ ทําให้ผู้บริหาได้รับทราบข้อมูลและนําไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้มีความต่างกับธุรกิจประเภทเดียวกัน ได้เป็นอย่างดี ความคิดเห็ นด้านความสามารถการใช้งานหรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนกต่าง ๆ พบว่า ในภาพรวม มีระดับความสามารถอยู่ในระดับมาก 14 ข้อ โดยข้อที่มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สามารถกําหนดการ Closing ของระบบการทํางานในแต่ละวันได้อย่าง รวดเร็ว สามารถสรุปรายงานจากระบบของแต่ละแผนกและสามารถสั่งงาน Print ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และ สามารถกําหนด Password บน Desktop ทุก 1 เดือนได้ตามที่ MIS กําหนด ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก พนักงานเกิด ความเข้าใจเป็น อย่างดีต่อการใช้ง านระบบสารสนเทศ AS400 จึงสามารถนํามาปรับปรุงระบบที่ส ามารถ เอื้ออํานวยต่อการใช้งานของแต่ละแผนกได้ เพราะแต่ละแผนกนั้นจะมีการทํางานที่แตกต่างกันตามความ รับผิดชอบ รวมถึงการจัดการจํากัดสิทธิผู้ใช้งานในการดูข้อมูล เนื่องจากบางข้อมูลเป็นความลับไม่สามารถ เผยแพร่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องรู้ข้อมูลได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ศิริลักษณ์ โรจน์กิจอํานวย (2553: 12) กล่าวไว้ว่า รูปแบบของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ภายใน และภายนอกองค์กร โดยเป้าหมายในการนําระบบสารสนเทศ เชิงกลยุทธ์มาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน กล่าวคือ เป้าหมายของการนําระบบสารสนเทศ เชิงกลยุทธ์มาใช้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สร้างความได้เปรียบในการทําธุรกิจถีอเป็นความสําคัญ เช่น การวางแผนและการจัดการระบบให้เหมาะสมกับลูกค้า สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและ กลับมาใช้บริการซ้ํา ระบบสารสนเทศที่ใช้งานมีความปลอดภัยสามารถรักษาข้อมูลของลูกค้าให้เป็นความลับได้ ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทําวิจัยในเรื่องความคิดเห็นต่อการใช้งานของระบบสารสนเทศที่องค์กรใช้ กับแผนกต่าง ๆ ขององค์กร นอกเหนือจากแผนกที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับการบริหารจัดการระบบ เพราะจะได้รับข้อมูล ที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อการนํามาปรับปรุงระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น

101


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1. ด้านการศึกษาวิจัย 1.1 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับระดับความสามารถของการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่พนักงาน ควบคุมระบบได้รับจากการฝึกอบรม โดยทําการศึกษา 2 ด้าน คือ 1. ด้านความสามารถของการใช้งานของ ระบบสารสนเทศ AS400 ในส่วนของงานหลักของระบบที่มีผลต่อแผนกและ 2. ด้านความสามารถการใช้งาน หรือการบริหารจัดการด้านตัวระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีผลต่อแผนก สําหรับผู้ท่ีสนใจศึกษาความคิดเห็น ของพนั ก งานที่ผ่ า นการฝึ ก อบรมของระบบสารสนเทศ อาจศึ ก ษาความคิด เห็น ด้ านอื่ น ๆ เช่ น ด้ า นความ สอดคล้องกับแผนพัฒนาองค์กร 1.2 ขอบเขตในการศึกษาวิจัยครั้งนี้กําหนดให้ศึกษาเฉพาะพนักงานบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) สําหรับผู้ท่ีสนใจอาจทําการศึกษาในบริษัทอื่นๆ หรือโครงการอบรมอื่นๆ เพื่อ ความครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรในประเทศต่อไป 2. ด้านการนําไปใช้ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าความคิดเห็น ของพนักงานควบคุมระบบของ บริษัท อิออน ธน สินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จํากัด (มหาชน) เกี่ยวกับผลการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ที่มีต่อ การดําเนินงานด้านความสามารถใช้งานหรือบริหารจัดการกับตัวระบบสารสนเทศ AS400 พบว่าความคิดเห็น เกี่ยวกับสามารถเข้าระบบ AS400 ได้โดยไม่ใส่ User name และ Password และความสามารถทํางานบนระบบ AS400 ได้หากเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง การติดไวรัสบนระบบฐานข้อมูล มีระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด ดังนั้น ในการจัดโครงการอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศ AS400 ควรเน้นการพัฒนาและปรั บปรุง แก้ไ ขเรื่อง ดังกล่าวให้มากกว่านี้

เอกสารอ้างอิง พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. 2553. การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กร. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์ บุ๊คส์. ศิรดา ศรีโสภา. 2540. การหาค่าเฉลี่ย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. 2551. การวิจัยเบื้องต้น, กรุงเทพฯ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล. 2551. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. สมชาติ กิจยรรยง. 2545. สายสัมพันธ์ สร้างสรรค์ทีมงาน. กรุงเทพฯ: มัลติอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี. Etica group. 1997. AS400. http://WWW.expert2you.com/view_question2.php?q_id=13279.

102


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร Participants’ Opinion on the Thai Identity Training Course in the Professional Tourist Guide Association of Thailand under the Professional Field Seeding Project in Bangkok ยุวรรณดา อุนาศรี* ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์** รศ.ดร.วิกร ตัณฑวุฑโฒ*** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดฝึกอบรม หลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ในกรุงเทพมหานครโดยมุ่งศึกษาความคิดเห็น 5 ด้าน คือ 1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร ไปใช้ประโยชน์ 2) ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ 3) ด้านทักษะความสามารถ ทางภาษาและคอมพิวเตอร์ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและการครองตน และ 5) ด้านบุคลิกภาพ ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ มัคคุเทศก์ที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ ความเป็น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร จํานวน 294 คน เก็บ รวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถาม ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่งกลับมา จํานวน 294 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ของจํานวนประชากร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มัคคุเทศก์ที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน ใหญ่คิดว่าในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในรายด้านของแต่ละด้าน ทั้ง 5 ด้าน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการเข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จาก คําตอบ 5 ระดับคือ ระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด คําสําคัญ: หลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย การฝึกอบรม ความคิดเห็น

*

นิสิตปริญญาโท (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาธุรกิจศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ประจําภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *** รองศาสตราจารย์ประจําภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ **

103


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

Abstract The purpose of this research was to study the Participants’ Opinions on the Thai Identity Training Course in the Professional Tourist Guide Association of Thailand under the Professional Field Seeding Project in Bangkok. The current study surveyed in five aspects, including 1) application of fundamental knowledge of the curriculum, 2) application of specialized knowledge of the curriculum, 3) Language and computer skills and abilities, 4) Ethics, and behavior, and 5) Characterties. The research populations were 294 staffs who participated in the Thai Identity Training Course in the Professional Tourist Guide Association of Thailand under the Professional Field Seeding Project in Bangkok. The collecting data instrument was questionnaire that were returned 294 questionnaires (approximately 100 % of research population). The data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. The research results were demonstrated that most staffs who participated in the Thai Identity Training Course in the Professional Tourist Guide Association of Thailand under the Professional Field Seeding Project in Bangkok rated the opinion of the course at ‘high’ level in overall results, and five aspect results Accordzy to each aspect, five aspects were rated at high level from the 5 point rating scales; highest, high, moderate, low, and lowest. Keywords: Thai Identity Course, Training, Opinions

ความสําคัญของปัญหา ในช่วงปี พ.ศ.2551 – 2552 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทําให้การส่งออก และการท่องเที่ยวของประเทศลดลง รัฐบาลจึงให้ความสําคัญกับธุรกิจการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็น อันดับแรก เพราะเป็นกลุ่มที่สามารถส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสังคมและชุมชนได้รวดเร็ว ซึ่งมัคคุเทศก์ถือ ว่ามีบทบาทหน้าที่และมีความสําคัญอย่างยิ่งในการสร้างความประทับใจ และความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวประเทศไทย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้ท่ีใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว และเป็นผู้นํานักท่องเที่ยวชมแหล่ง ท่องเที่ยว และสถานที่ต่าง ๆ ในการที่มัคคุเทศก์จะสร้างความพึงพอใจและความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว นั้น มัคคุเทศก์จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนความภาคภูมิใจในประเทศชาติ ประวัติศาสตร์ และ ความเป็ น ไทยอย่ า งลึ ก ซึ้ ง จึ ง จะสามารถนํ า ความเข้ า ใจดั ง กล่ า วมาสื่ อ สาร ถ่ า ยทอดและนํ า เสนอให้ กั บ นักท่องเที่ยวอย่างมีหลักการและเหมาะสม (สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี, 2552) บทบาทหน้าที่ข องมัคคุ เทศก์จึงไม่ใช่การนํานักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สร้าง ความรู้ ความเข้าใจตลอดจนความเพลิดเพลินให้กับนักท่องเที่ยว ในการเข้าถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย หรืออาจ กล่ าวได้ ว่ าเป็ น ทู ต วั ฒ นธรรมของประเทศ ในขณะเดี ย วกั น ปริ ม าณนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ พิ่ ม ขึ้ น สั ง คมมี ค วาม สลับซับซ้อนมากขึ้น ความต้องการของผู้มาเที่ยวก็มีความหลากหลายยิ่งขึ้น มัคคุเทศก์ต้องมีความรู้ในเรื่อง

104


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ภาวะของโลก และสังคมที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ของมัคคุเทศก์อย่างต่อเนื่อง จึงจําเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นในภาวะวิกฤตหรือภาวะปกติ เพื่อให้การทํางานใน บทบาทหน้าที่ดังกล่าวลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของมัคคุเทศก์ในฐานะ ทูตวัฒนธรรม ดังนั้นสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย เห็นว่า ควรมีการสร้างมัคคุเทศก์ต้นแบบขึ้นเพื่อให้ เกิดการรับรู้ในสัง คม ในภาพลัก ษณ์ ข องมัคคุเทศก์ เช่นเดียวกับที่ก ารท่ อ งเที่ย วแห่ ง ประเทศไทยได้ส ร้ า ง ภาพลักษณ์ให้กับประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก (สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย, 2552) ด้วยเหตุนี้ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ทําหน้าที่ในการพัฒนา จัดอบรม สัมมนา เพิ่มพูนความรู้ด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้กับมัคคุเทศก์ เพื่อให้การ ปฏิบัติงานมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้มัคคุเทศก์ได้มี ความรู้ ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ประเทศชาติ ศาสนา สถาบั น สั ง คม วั ฒ นธรรม ประเพณี ค วามเป็ น ไทย ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ ผ้าไทย อัญมณี และอาหารไทย เพื่อให้มัคคุเทศก์ สามารถนําความรู้ไปประกอบอาชีพได้จริง ดังนั้นรัฐบาลสมัย ฯพณฯ นายก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้จัดให้มีโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน (โครงการต้นกล้าอาชีพ) เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ สนใจ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ มีทักษะเพิ่มขึ้น เพื่อนําไปต่อยอดความรู้ และเพื่อ พัฒนาทักษะความชํานาญเฉพาะทางในวิชาชีพ ในการนําความรู้ไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว ไม่เป็นภาระของสังคม และสามารถนําความรู้ท่ีได้ไปพัฒนาชุมชนของตนเอง อันจะก่อให้เกิด ประโยชน์ ในระยะยาวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติให้มีความก้าวหน้าสู่ระดับสากลได้ ด้ ว ยเหตุ นี้ ผู้ วิ จั ย จึ ง เห็ น ความสํ า คั ญ ที่ จ ะศึ ก ษาความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต ร เอกลั กษณ์ความเป็น ไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ใน กรุง เทพมหานคร เพื่ อให้ท ราบความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการนํ าความรู้ไ ปปรับ ใช้ใ นการ ปฏิบัติงาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและช่วยให้เจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรมสามารถนําไปพัฒนาใน การจัดฝึกอบรมครั้งต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็น ไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ในกรุงเทพมหานคร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1) เพื่อเป็นข้อมูลให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ใช้ประกอบในการวางแผน พัฒนา เพิ่มพูน ทักษะ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

105


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2) เพื่อเป็น ข้อมูลให้สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยที่จัดฝึกอบรมได้ทราบปัญหาและ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุง เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดฝึกอบรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป 3) เพื่อให้มัคคุเทศก์ได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ สามารถนําความรู้ไปปรับใช้ในการ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็น ของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็น ไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ในกรุงเทพมหานครโดยมี ขอบเขตการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ มัคคุเทศก์ที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 จํานวน 201 คน อบรมระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2552 และรุ่นที่ 2 จํานวน 93 คน อบรม ระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 294 คน ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ ความเป็นไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ในการนําความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไป เกี่ ย วกั บ หลั ก สู ต รไปใช้ ป ระโยชน์ 2) ด้ า นการนํ า ความรู้ เ ฉพาะทางเกี่ ย วกั บ หลั ก สู ต รไปใช้ ป ระโยชน์ 3) ด้านทักษะและความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและการครองตน และ 5) ด้านบุคลิกภาพ ตามแนวคิดและทฤษฏี เรื่องสมรรถนะของ David C. McClelland

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ มัคคุเทศก์ที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็น ไทย ของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทยภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ ในกรุงเทพมหานคร แบ่ง ออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 จํานวน 201 คน อบรมระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2552 และรุ่นที่ 2 จํานวน 93 คน อบรมระหว่างวันที่ 1-31 กรกฎาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 294 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่

106


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตอนที่ 1 เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษาสูงสุด รายได้ และการเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรอื่น ๆ ของโครงการต้นกล้าอาชีพ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ตอนที่ 2 เกี่ยวกับ ความคิ ด เห็ น ของผู้เ ข้ารั บ การอบรมในหลัก สูต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร หลักสูตรการ ฝึกอบรมใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ 2) ด้าน การนํ า ความรู้ เ ฉพาะทางเกี่ ย วกั บ หลั ก สู ต รไปใช้ ป ระโยชน์ 3) ด้ า นทั ก ษะความสามารถทางภาษาและ คอมพิวเตอร์ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน และ 5) ด้านบุคลิกภาพ ซึ่งสอดคล้องตามแนวคิด และทฤษฏีของ McClelland ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) โดยมีค่าระดับคะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2539: 99) ระดับความคิดเห็นมากที่สุด ระดับความคิดเห็นมาก ระดับความคิดเห็นปานกลาง ระดับความคิดเห็นน้อย ระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด

5 4 3 2 1

คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน คะแนน

โดยกําหนดความหมายของค่าเฉลี่ย ดังนี้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2544) ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย

4.21-5.00 หมายถึงระดับความคิดเห็นมากที่สุด 3.41-4.20 หมายถึงระดับความคิดเห็นมาก 2.61-3.40 หมายถึงระดับความคิดเห็นปานกลาง 1.81-2.60 หมายถึงระดับความคิดเห็นน้อย 1.00-1.80 หมายถึงระดับความคิดเห็นน้อยที่สุด

ตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดฝึกอบรมของผู้เข้ารับการ อบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้น กล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร โดยทําการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนํามาเขียนในลักษณะ บรรยายความเรียง

ผลการวิจัย 1) ลักษณะข้อมูลทั่วไป ผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศ ไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร มีเพศหญิง 152 คน และเพศชาย 142 คน ส่วนใหญ่ จะมีอายุ 41 ปีขึ้นไป จํานวน 140 คน รองลงมาคือ อายุ 31-40 ปี จํานวน 108 คน และ 21-30 ปี จํานวน 46 คน

107


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ระดับวุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาตรีมีจํานวนมากที่สุด จํานวน 266 คน ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จํานวน 24 คน และปริญญาโท จํานวน 4 คน ส่วนรายได้มากที่สุดคือ 20,001-30,000 บาท จํานวน 127 คน รองลงมาคือ มากกว่า 30,000 บาท จํานวน 119 คน และ 10,001-20,000 บาท จํานวน 48 คน และส่วนใหญ่ ไม่เคยฝึกอบรมในหลักสูตรอื่น ๆ ของโครงการต้นกล้าอาชีพ จํานวน 284 คน และเคยฝึกอบรม จํานวน 10 คน 2) ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยใน 5 ด้าน มีดังนี้ 2.1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านการนําความรู้พื้นฐาน ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) 2.2) ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านการนําความรู้เฉพาะ ทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (μ=4.06, σ=0.70) 2.3) ด้านทักษะความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ ความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านทักษะความสามารถ ทางภาษาและคอมพิวเตอร์ พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) 2.4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน ความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (μ=4.13, σ=0.74) 2.5) ด้านบุคลิกภาพ ความคิ ด เห็ น ของผู้ เ ข้ า รั บ การอบรมในหลั ก สู ต รเอกลั ก ษณ์ ค วามเป็ น ไทยของสมาคม มัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านบุคลิกภาพ พบว่า ในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก (μ=4.20, σ=0.65)

108


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็น ในภาพรวม 5 ด้าน รายด้าน 1. ด้านบุคลิกภาพ 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน 3. ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ 4. ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ 5. ด้านทักษะความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ รวม

μ 4.20 4.13 4.06 4.03 4.03 4.09

σ 0.65 0.74 0.70 0.71 0.71 0.70

(N=294) ระดับ มาก มาก มาก มาก มาก มาก

จากตารางที่ 1 ระดับความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ใน ภาพรวม 5 ด้าน มีความคิดเห็นระดับมาก (μ=4.09, σ=0.70) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้เข้ารับ การอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็ น ไทย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน ได้แ ก่ 1) ด้าน บุคลิกภาพอยู่ในระดับมาก (μ=4.20, σ=0.65) 2) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตนอยู่ในระดับมาก (μ=4.13, σ=0.74) 3) ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (μ=4.06, σ=0.70) 4 ) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ย วกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) และ 5) ด้านทักษะความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย สําหรับข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีดังนี้คือ ผู้เข้า รับการฝึกอบรมคิดว่าเห็นด้วยกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรมเพราะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากความรู้เดิมอยู่แล้ว สามารถนําไปปฏิบัติงานได้จริง แต่ต้องการให้มีการเปิดหลักสูตรฝึกอบรมให้มากยิ่งขึ้นและมีความหลากหลาย และอีก 3 คน ให้ความเห็นว่า หลังจากรับการฝึกอบรมแล้วให้นําความรู้ไปต่อยอดกับความรู้เดิม ศึกษาหา ความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาเพื่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น และมีอีก 2 คน เห็นว่า เมื่อฝึกอบรมแล้วให้นํา ความรู้กลับมาทบทวนและค้นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เข้าใจและสามารถนําไปปฏิบัติงานได้ อย่างถูกต้อง สามารถนํามาใช้เป็นรูปแบบในการนําเที่ยวในแต่ละครั้งอย่างไรและในลักษณะใด เพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่นักท่องเที่ยวมากที่สุด ซึ่งกล่าวโดยสรุปว่า ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เห็นว่าหลักสูตรนี้มีความ เหมาะสม แต่มีบางส่วนต้องการให้ปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาในการสอนให้มากขึ้น เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ มัคคุเทศก์ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อวิจารณ์ จากการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทําการ วิจารณ์ผลดังนี้

109


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ ความเป็นไทย ของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านการนําความรู้ พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ในภาพรวม มีความคิดเห็น ระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) มี สาเหตุมาจาก ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้เดิมอยู่แล้ว สามารถนําความรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ได้ดี เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนําความรู้ในการฝึกอบรมไปปรับใช้ ในการ ปฏิบั ติง าน มี ค่า เฉลี่ ยสูง สุด อาจเกิ ด จาก ผู้เข้ ารับการอบรมสามารถนํา ความรู้ไ ปปฏิบัติง านได้จ ริง และ สามารถนําความรู้ท่ีได้ไปต่อยอดกับความรู้เดิม เพื่อให้ตอบคําถามแก่นักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากนักท่องเที่ยว แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ต่างชาติ ต่างภาษา ดังนั้นมัคคุเทศก์จะต้องมีความรอบรู้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดี ซึ่งสอดคล้องกับ ศุภากาญจน์ เลิศหัสดีรัตน์ (2545) ที่กล่าวว่า หลักสูตรที่เปิดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ สําหรับมัคคุเทศก์ มีการจัดหลักสูตรที่ดี ครบถ้วน และสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง 2) ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านการนําความรู้ เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ในภาพรวม มีความคิดเห็นระดับมาก (μ=4.06, σ=0.70) มีสาเหตุ มาจาก ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว อาทิ มีความรู้ ด้าน สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ด้านดนตรี นาฏศิลป์ และด้านอาหารไทย มีการนําความรู้ใหม่มาต่อยอดความรู้เดิม เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนําชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมี ความเข้าใจที่ชัดเจนในแต่ละสถานที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อาจมีสาเหตุมาจาก ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ด้านการ นําชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นอย่างดี และสามารถนําความรู้ท่ีมีอยู่ไปปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศุภากาญจน์ เลิศหัสดีรัตน์ (2545) มีความเห็นว่าการนําความรู้จากการฝึกอบรมไป ใช้ในการปฏิบัติงานจะช่วยเพิ่มพูนความรู้เดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) ควรเปิดโอกาสให้มัคคุเทศก์และสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการหาแนวทางใน การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานมัคคุเทศก์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 3) ด้านทักษะความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความ เป็นไทย ของ สมาคมมั ค คุ เ ทศก์ อ าชี พ แห่ ง ประเทศไทย ภายใต้ โ ครงการต้ น กล้ า อาชี พ ในกรุ ง เทพมหานคร ด้ า นทั ก ษะ ความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ ในภาพรวม มีความคิดเห็นระดับมาก (μ=4.03, σ=0.71) อาจ เนื่องมาจาก ผู้เข้ารับการอบรมต้องสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อธิบายแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ให้ นักท่องเที่ยวเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องในการสืบค้นข้อมูลใหม่ ๆ ที่ทันสมัย และเป็น ประโยชน์ผ่านการใช้อินเตอร์เน็ต เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

110


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 อย่างถูกต้อง และชัดเจนในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งมีแนวโน้มมาจาก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็น ชาวต่างชาติ ดังนั้นมัคคุเทศก์จะต้องสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนําชมสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ สามารถอธิบายในแต่ละแหล่งการท่องเที่ยวให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง และเพื่อ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ พีระพงษ์ ดวงสนิท (2545) มีความเห็นว่า ความต้องการของนักท่องเที่ยวก่อนเดินทางมา และความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว หลังจากได้รับการบริการแล้ว สิ่งที่เกินความคาดหวังคือ ความสามารถทางด้านภาษาของมัคคุเทศก์ และ หน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการแนะนําในสิ่งที่ดีต่อนักท่องเที่ยว 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม จริยธรรมและการครองตน ในภาพรวม มีความคิดเห็นระดับมาก (μ=4.13, σ=0.74) ซึ่งมีผลมาจาก มัคคุเทศก์จะต้องเป็นผู้ท่ีมีคุณธรรม จริยธรรม มีการวางตัวที่เหมาะสม เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดความ ประทับใจ และอยากกลับมาเที่ยวอีกครั้ง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับ เพื่อนร่วมงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด อาจมีสาเหตุมาจาก ในการปฏิบัติงานร่วมกับ ผู้อื่นของมัคคุเทศก์ และงานเกี่ยวกับการให้บริการนั้น การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่สําคัญ ที่สุด เพราะจะทําให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสุขกับการปฏิบัติงาน แต่พอดูในภาพรวมแล้วในด้านนี้ในแต่ละรายข้อ จะมีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันมากนัก และส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ พีระพงศ์ ดวงสนิท (2545) ที่กล่าวว่า มัคคุเทศก์ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และมีน้ําใจพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ และ ให้ความร่วมมือ กับนักท่องเที่ยวทุกคน 5) ด้านบุคลิกภาพ จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพในกรุงเทพมหานคร ด้านบุคลิกภาพใน ภาพรวม มีความคิดเห็นระดับมาก (μ=4.20, σ=0.65) อาจมีสาเหตุมาจาก มัคคุเทศก์ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี มี การแต่งกายที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีวินัยและตรงต่อ เวลา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อาจเนื่องมาจาก การที่จะนํานักท่องเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ นั้น ผู้นําเที่ยวจะต้อง มีวินัย และตรงต่อเวลา เพราะว่ามัคคุเทศก์ 1 คน จะให้บริการนักท่องเที่ยวหลายคน หรืออาจเป็นหมู่คณะ จะต้ อ งนํ า นั ก ท่ อ งเที่ ย ว เที่ ย วให้ ค รบตามสถานที่ ท่ี กํ า หนดไว้ และให้ ทั น ตามเวลาที่ กํ า หนดไว้ เพื่ อ ให้ นักท่องเที่ยวได้รับประโยชน์มากที่สุด สอดคล้องกับ พีระพงษ์ ดวงสนิท (2545) ที่กล่าวว่า มัคคุเทศก์ต้องมี ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีร่างกายที่แข็งแรง พูดจาสุภาพอ่อนหวาน ไพเราะ และการแต่งกายได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

111


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ใน 5 ด้าน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการนําผลการวิจัยไปใช้ ดังนี้ 1) ด้านการนําความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นว่า ควรให้สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย มีการจัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มเติมเนื้อหารายวิชาใหม่ ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของเศรษฐกิจและสังคม มีการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรอยู่ ตลอดเวลา และควรให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะหลักสูตรการอบรมให้มีความรู้และเป็น ประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการอบรม มีการเสนอแนะด้านอาชีพเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะในการ ประกอบอาชีพ เพื่อจะนําความรู้ใหม่ไปต่อยอดกับความรู้เดิมที่มีอยู่ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการนําความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ ผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็น ว่า ควรให้มีการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมให้มากขึ้นและมีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มี ทางเลือกในการเรียนรู้ และสามารถนํานักท่องเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และสามารถอธิบาย ลักษณะสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง นักท่องเที่ยวก็จะได้ประโยชน์และคุ้มค่ากับการมาเที่ยวในแต่ละครั้ง 3) ด้านทักษะความสามารถทางภาษาและคอมพิวเตอร์ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ควร มีการเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนให้มากขึ้น มีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ ทักษะ ในการสื่อสารเพิ่มขึ้น และสามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้อย่างถูกต้อง 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการครองตน สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ควรมีการ สร้างจิตสํานึกที่ดีให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม มี เ หตุ มี ผ ล มี ค วามเสี ย สละ เห็ น ประโยชน์ ส่ ว นรวมมากกว่ า ประโยชน์ ส่ ว นตั ว และให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ นักท่องเที่ยวทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 5) ด้านบุคลิกภาพ สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ควรมีการส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี มีการ สาธิตการแต่งกายที่เหมาะสม และการไหว้ เพราะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทย ที่จะสร้าง ภาพลักษณ์ให้กับประเทศ อาชีพมัคคุเทศก์จะต้องพบปะกับผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือชาวต่างชาติ ดังนั้น การแต่งกาย และมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น จึงเป็นเรื่องที่สําคัญที่จะทําให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจใน ตัวเรา และอยากกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง

112


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป จากผลการวิจั ยความคิด เห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทยของ สมาคมมั ค คุ เ ทศก์ อ าชี พ แห่ ง ประเทศไทย ภายใต้ โ ครงการต้ น กล้ า อาชี พ ในกรุ ง เทพมหานคร ผู้ วิ จั ย มี ข้อเสนอแนะและแนวทางการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป ดังนี้ 1) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ควรมีการศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ท่ี เข้ารับการอบรมในหลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทั้งก่อนการอบรม ระหว่างการอบรม และหลังการอบรม เพื่อนําผลการวิจัยไปใช้ในการประเมินผล และการจัดฝึกอบรมครั้งต่อไป 2) สมาคมมั ค คุ เ ทศก์ อ าชี พ แห่ ง ประเทศไทย ควรมี ก ารใช้ เ ครื่ อ งมื อ การวิ จั ย แบบต่ า ง ๆ มา ประกอบการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เช่น แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดการปฏิบัติงาน เพื่อ จะได้คําตอบที่กว้างและเป็นประโยชน์มากขึ้น 3) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ควรมีการทําวิจัยในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทราบ ถึงผลที่เกิดขึ้นของผู้เข้ารับการอบรมว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีคุณภาพ มากขึ้น

เอกสารและสิ่งอ้างอิง กัลยา วานิชย์บัญชา. 2546. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: โรง พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. 2543. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. พีระพงษ์ ดวงสนิท. 2545. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการให้บริการของมัคคุเทศก์ ในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย. ม.ป.ป. หลักสูตรเอกลักษณ์ความเป็นไทย. (Online). www.pgathaiguide.com, 20 สิงหาคม 2553. สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี. หลักสูตรฝึกอบรมแยกตามจังหวัดของจุดฝึกอบรม. www.tonkla-archeep.com/download/Course-Province.htm, 14 กรกฎาคม 2553.

(Online).

ศุภากาญจน์ เลิศหัสดีรัตน์. 2545. ทัศนคติของมัคคุเทศก์ภาคเหนือต่อการอบรมเพิ่มพูนความรู้สําหรับ มัคคุเทศก์ หลักสูตรที่ 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Likert, R. 1932. A Techinque for the Measurement of Attitudes. New York: Archives of Psychology. McClelland, D.C. 1961. The Achieving Society. Princeton, NJ: Van Nostrend.

113


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา Causal Model Affecting Academic Achievement of Mandarin Chinese for Vocational Students มุขรินทร์ หวง* และดร.สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์** บทคัดย่อ การวิจัยครั้ง นี้มีวัต ถุประสงค์เ พื่อศึกษารูปแบบความสัมพัน ธ์เ ชิง สาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณรวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็น อาจารย์ ส อนภาษาจี น กลาง จํ า นวน 8 คน โดยการสุ่ ม อย่ า งง่ า ยจากอาจารย์ ที่ มี ป ระสบการณ์ ก ารสอน ภาษาจีน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากนักเรียนจํานวน 436 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิจากนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีท่ี 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตรวจสอบความ สอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน กลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคําถาม สนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสหสั ม พัน ธ์ แ บบเพี ย ร์สั น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยั น การวิ เ คราะห์ โ มเดลสมการ โครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับ อาชีวศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี (χ2=73.63 df =82 p=.73 GFI=0.98 AGFI=0.96 RMR=0.01 RMSEA=0.00) และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาจีนกลาง ประกอบด้วย คุณลักษณะครู สภาพแวดล้อมทางครอบครัว คุณลักษณะเพื่อน คุณภาพการเรียน การสอนและคุณลักษณะของผู้เรียน ปัจจัยทั้งหมดในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลางได้ร้อยละ 40 โดยคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นปัจจัยส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาจีนสูงสุด รองลงมาคือ คุณภาพการเรียนการสอน คุณลักษณะของครู และสภาพแวดล้อมทาง ครอบครัว คําสําคัญ: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง นักเรียนอาชีวศึกษา *

นิสิต ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**

115


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

Abstract The objectives of the research were to analyze and examine causal model affecting academic achievement of Mandarin Chinese for vocational students. The study was correlational research using qualitative data and quantitative data. The samples were eight Chinese teachers collected as a qualitative method and 436 students collected as a quantitative method in vocational schools in 2011 academic year. The research instruments were structured questions for group discussion and questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, means, standard deviations, Pearson’s product moment correlation, confirmatory factor analysis, structural equation model and content analysis. The research results showed that the causal structural relationship model was conformed to empirical data. (χ2=73.63 df =82 p=.73 GFI=0.98 AGFI=0.96 RMR=0.01 RMSEA=0.00) And the causal model revealed 40 percent on the variance of Mandarin Chinese academic achievement. The Mandarin Chinese academic achievement related to the factors as followed; student characteristics, quality of teaching, teacher characteristics, and family status. Keywords: Causal Model, Achievement of Mandarin Chinese, Vocational Students

บทนํา กระแสความนิยมการเรียนการสอนภาษาจีนกลางแพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งประเทศไทยมีครูไ ม่ เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน ในขณะเดียวกัน สถาบันการสอนภาษาจีนกลางสําหรับคนต่างชาติใน ประเทศจีนปัจจุบันยังคงขาดแคลนครูภาษาจีนกลางถึง 5 ล้านคน และ ในปี ค.ศ. 2020 คาดว่าจะขาดแคลน ครูสอนภาษาจีนกลางถึงจํานวน 100 ล้านคนทั่วโลก (Xu Lin, 2549: 10) และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-พ.ศ.2551) รัฐบาลได้ขอกําลังครูจากประเทศจีนมาทําการสอนภาษาจีนกลางในประเทศไทย (Chen Zhi Li, 2005: 5) แต่ปรากฏว่าครูจีนที่เพิ่งมาสอนในประเทศไทยก็ยังสื่อสารกับผู้เรียนซึ่งไม่มีพื้นฐานทางภาษาจีน กลางได้ดี เป็นผลให้นักเรียนเกิดปัญหาในด้านประสิทธิภาพการเรียนรู้ อาชีวศึกษาเป็นการศึกษาเพื่ออาชีพมุ่งเน้นการเตรียมคนให้รู้จักความสามารถของตนและใช้ความสามารถ ของตนเองให้สูงสุด มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ทั้งยังมีเป้าหมายในการผลิตกําลังคนเข้าสู่ อาชีพและเป็นการศึกษาวิชาชีพที่มุ่งฝึกให้คนมีความรู้ความชํานาญในอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและ ความสนใจของผู้เรียน มุ่งเน้นให้สามารถนําไปประกอบอาชีพได้ตามควรแก่วัยและความสามารถ การจัดการ อาชีวศึกษาจึงมุ่งผลิตกําลังคนที่มีทักษะในระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือ และระดับผู้ชํานาญเฉพาะอย่างให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงผลิตแรงงานตามความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ และสืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสําคัญและความจําเป็นของการพัฒนาทั้ง ผู้เรียน เพื่อเข้าสู่อาชีพ และเพื่อสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร จึงได้ทํา แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการและก้าวสู่

116


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ตลอดจนมีทักษะ การฟัง พูด อ่านและเขียน ตลอดจนพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ความสามารถทาง ภาษาจีนไปใช้ในการประกอบอาชีพได้จริง พร้อมทั้งกําหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่การเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษายังไม่บรรลุผลสําเร็จตามจุดมุ่งหมาย ของหลั กสู ตรดั ง จะเห็ น ได้ จ ากงานวิ จั ย ของ อรสา รั ต นอมรภิ ร มย์ (2550) พบว่ า ผลิ ต ผลของนั ก เรี ย น อาชีวศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับความสามารถในการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนภาษาจีนกลางของผู้เรียน โรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 43 แห่ง และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) 19 แห่ง ซึ่งได้ประเมินความรู้ทั้ง 4 ทักษะ โดยนับเป็น “คํา” ได้ผลดังนี้ ระดับ ปวช. 1 ได้ 10-50 คํา ระดับ ปวช. 2 ได้ 51-100 คํา ระดับ ปวช. 3 ได้ 151-200 คํา แสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีพัฒนาการที่สูงขึ้นตามลําดับชั้นเรียน แต่ ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อขึ้นระดับ ปวส. แล้ว แทนที่ความรู้จะต่อยอดสูงขึ้น กลับพบว่า เกิดการถดถอย กล่าวคือ ระดับ ปวส. 1 ได้ 10-50 คํา ระดับ ปวส. 2 ได้ 101-150 คํา เนื่ อ งจากนั ก เรี ย นที่ เ รี ย นภาษาต่ า งประเทศ มี โ อกาสพู ด น้ อ ยมาก เมื่ อ เรี ย นแล้ ว ไม่ ไ ด้ นํา มาใช้ จึ ง ขาดแรงจู ง ใจที่ จ ะใช้ ภ าษานอกห้ อ งเรี ย น ขาดทั ก ษะเชิ ง ภาษาจากการใช้ ภ าษาในชี วิ ต ประจํ า วั น (กรรณิ ก าร์ สงวนนาม, 2546) ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ Schoenberg (2000: 18) ที่ระบุว่าปัญหาของการเรียนภาษาต่างประเทศ คือผู้เรียนอยู่ในภาวะที่ไม่ใช้ภาษา และไม่ สามารถนําความรู้ไปใช้เพื่อการสื่อสารในชีวิตจริงได้ ขาดทักษะเชิงภาษาจากการใช้ภาษาในชีวิตประจําวัน ซึ่ง ส่งผลให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษาจีนกลาง ผลการวิจัยยังพบว่าสถานศึกษาต่างๆ ยังไม่มีนโยบาย รองรับผู้ท่ีเคยมีพื้นฐานภาษาจีนกลางมาบ้างแล้ว โดยเกือบทั้งหมดต้องเริ่มต้นใหม่ มีเพียงส่วนน้อยที่มี มาตรการรองรับเรื่องนี้ จากโรงเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 124 แห่ง ระบุว่าต้องเริ่มต้นเรียนใหม่ถึง 92 แห่ง นอกจากนั้นจุดด้อยที่พบจากการเรียนภาษาจีนกลางในระดับอาชีวศึกษา คือ ตํารายังไม่ต่อเนื่อง มีไม่ ครบตลอดหลักสูตร และขาดคู่มือครู อันจะช่วยให้ผู้สอนที่มีพื้นฐานต่างกัน สามารถสอนในเป้าหมายและ แนวทางเดียวกันได้ (อรสา รัตนอมรภิรมย์, 2550: 3) ดังนั้น การแสวงหาคําตอบถึงแก่นแท้ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนกลางของ นักเรียนระดับอาชีวศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยเชื่อว่าการอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางจะอธิบายจาก สาเหตุที่มาจากปัจจัยด้านคุณลักษณะของครู ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ปัจจัยด้านคุณลักษณะ ของเพื่อน ปัจจัยด้านคุณภาพการเรียนการสอนและปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้เรียน โดยการสร้างกรอบตัวแปรนี้ ได้จากการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขของ กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ (2540) น่าจะมีความ สอดคล้ อ งกั บ สภาพจริ ง ในสั ง คม ทํ า ให้ ผ ลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษาจี น กลางมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ชั ด เจน ตลอดจนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลสําเร็จตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและสามารถนําสิ่ง ที่เ รี ย นไปประกอบอาชี พ หรื อนํ าไปใช้ ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ อ ย่า งเหมาะสม ซึ่ง จะช่ ว ยให้ผู้เ รียนประสบ ความสําเร็จในการเข้าสู่อาชีพมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าต่อไป จากการตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องนํามาสู่การตั้งสมมติฐานในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนอาชีวศึกษาดังต่อไปนี้

117


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

สมมติฐานการวิจัย 1. ตัวแปรคุณลักษณะครู สภาพแวดล้อมทางครอบครัว คุณลักษณะของเพื่อน คุณภาพการเรียน การสอน คุณลักษณะผู้เรียน มีอิทธิพลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง 2. ตัวแปรคุณลักษณะของครูมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านคุณภาพการเรียนการสอน 3. ตัวแปรคุณลักษณะของครูมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านคุณลักษณะผู้เรียน 4. ตัวแปรคุณลักษณะของเพื่อนมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านคุณลักษณะผู้เรียน 5. ตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอนมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านคุณลักษณะผู้เรียน 6. ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัวมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านคุณลักษณะผู้เรียน

วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational Research) โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการวิเคราะห์อิทธิพล (Path Analysis) และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง อีกทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนอาชีวศึกษา 2.สร้างรูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสําหรับอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียน ระดับอาชีวศึกษา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ศึกษาประชากรที่เ ป็น 1)อาจารย์สอนภาษาจีนกลางในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 50 คน และ 2) นักเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 2 จํานวน 1,434 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนในระดับอาชีวศึกษาโดยการสนทนา กลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ อาจารย์สอนภาษาจีนกลาง จํานวน 8 คน (Kitzinger,1995 : 301) ได้จากการสุ่ม อย่างง่าย (Simple Sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตอนการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบ ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ใน โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2554 รวมจํานวน 436 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน (Stratified Proportional Sampling)การกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างนักเรียน เป็นไปตามเกณฑ์ของ Tanaka, 1987: 134-146 ซึ่งระบุว่าควรใช้กลุ่มตัวอย่างขนาด 100 ถึง 200 หน่วย นอกจากนี้ Hair et al. (1998) ได้ แนะนําให้ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมที่ 200 หน่วยเป็นอย่างน้อย

118


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แนวคําถามที่ใช้สนทนากลุ่มอาจารย์ โดยประเด็นการสนทนาสําหรับ กลุ่มอาจารย์เกี่ยวกับ 1) ลักษณะของครู 2) สภาพแวดล้อมทางครอบครัว 3) ลักษณะของเพื่อน 4) คุณภาพการเรียนการสอน และ 5) ลักษณะผู้เรียน 2. แบบสอบถามสําหรับนักเรียน โดยตรวจสอบความตรงเฉพาะหน้า (Face Validity) ของ เครื่องมือเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วย สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Alpha-Coefficient) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยการหาค่า ความเชื่อ มั่ น ในแต่ ล ะด้ า นและหาค่ า ความเชื่ อ มั่น ของแบบสอบถามทั้ง ฉบั บ ได้ค่ า ความเชื่อ มั่ น ของ แบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.90

การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนในระดับอาชีวศึกษาโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ใน การดําเนินการ ทํา Focus Group เพื่อเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาคําถาม และดําเนินการจัดสนทนา กลุ่มด้วยตนเอง หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์และรายงานผลการดําเนินการวิจัย ผู้วิจัยนําข้อสรุปเนื้อหามา สนับสนุนรูปแบบตามสมมติฐาน ทําให้ได้รูปแบบตามสมมติฐานที่สมบูรณ์ขึ้นตลอดจนนํามาสนับสนุนการเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณ 2. ขั้ น ตอนการตรวจสอบความสอดคล้ อ งระหว่ า งรู ป แบบตามสมมติ ฐ านกั บ ข้ อ มู ล เชิ ง ประจักษ์ด้วยวิธีเชิงปริมาณ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ทําหนังสือไปยังโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชนที่สุ่มเลือกตัวอย่างไว้ และส่งแบบสอบถามให้ผู้เกี่ยวข้องของหน่วยงานนั้นๆ ด้วยตนเองและ กําหนดวันรับแบบสอบถามกลับ

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ผู้วิจัยนําข้อมูลที่เป็นมาตรวัดตัวแปรมาคํานวณหาคุณภาพ เครื่องมือวิจัย และวิเคราะห์ลักษณะการกระจายของตัวแปรทั้งหมดโดยใช้สถิติบรรยายได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่งโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นรายคู่ โดยคํานวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ระหว่างตัวแปรทั้งหมด โดยแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรในรูปเมทริกซ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Correlation Matrix) อีกทั้งทดสอบนัยสําคัญของ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าว

119


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 3. การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path Analysis) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและ อิทธิพลรวมของตัวแปรแต่ละตัวในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืน (goodness fit measure) ได้แก่ ค่าไคสแควร์ (Chi square) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (goodness of fit test: GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (adjusted goodness of fit test: AGFI) ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (relative Chi square: χ2/df) ดัชนีรากของค่าเฉลี่ย กําลังสองของเศษหรือความคลาดเคลื่อนจากการประมาณค่า (root mean square residual: RMR) และ ค่า RMSEA (root mean square of approximation) จากนั้น วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling) โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป LISREL

ผลการศึกษาและอภิปรายผล 3.1 ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา โดยใช้เทคนิคกลุ่มสนทนา ประกอบด้วยกลุ่ม ครูผู้สอนภาษาจีนกลางจํานวน 8 คน โดยประเด็นที่นํามาสนทนา มี 8 ประเด็น รายละเอียดการสนทนาสรุปได้ ดังนี้ 1) ปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง กลุ่มสนทนามีความคิดเห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลางขึ้นอยู่กับ 1) คุณลักษณะของนักเรียนที่มีความกระตือรือร้นเอาใจใส่ เห็นคุณค่า และประโยชน์ของการนําภาษาจีนกลางไปใช้ในชีวิตประจําวัน 2) คุณลักษณะของครูท่ีใส่ใจและมีเทคนิคการ สอน 3) สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ การเรี ย นรู้ ได้ แ ก่ สื่ อ อุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ที่ ใ ช้ ใ นการเรี ย นการสอนตลอดจน สภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวกในการเรียนของทางโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุด ห้อง sound lab และ จัดมุมภาษาจีนในห้องเรียน 2) บุ ค ลากรที่ มี บ ทบาทในผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษาจี น กลางของผู้ เ รี ย น ประกอบด้วย ครูผู้สอนภาษาจีน ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้บริหารสถานศึกษา 3) คุณลักษณะของนักเรียนที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย ความขยันและ อดทน ความตั้งใจเรียน การมีเป้าหมาย และความกล้าแสดงออก 4) ลักษณะการปฏิบัติงานสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ครูผู้สอนต้องมีเทคนิค วิธีการถ่ายทอดที่ทําให้นักเรียนเข้าใจได้ ครูมีการวางแผนการสอนมาอย่างดี ครูใช้สื่อการสอนเพื่อให้นักเรียน เข้าใจได้ง่ายขึ้น และครูฝึกทักษะและย้ําบทเรียนเสมอ 5) คุณลักษณะของครูท่ีมีผลต่อการเรียนภาษาจีนกลาง ประกอบด้วย ครูควรเอาใจใส่ นักเรียน เป็นแบบอย่างที่น่าเชื่อถือกับนักเรียน และสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียน 6) ลั ก ษณะการเรี ย นการสอนภาษาจี น กลางที่ สั ม ฤทธิ์ ผ ล ประกอบด้ ว ย นั ก เรี ย นมี ความสามารถในการฟัง พูด อ่านเขียนภาษาจีน นักเรียนสามารถนําความรู้ภาษาจีนที่ได้รับจากห้องเรียนไปใช้

120


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ในชีวิตประจําวันได้ ด้วยตนเองได้

ผู้เรียนได้รับผลการประเมินที่ดี (มีคะแนนสูง) และ นักเรียนสามารถหาความรู้เพิ่มเติม

7) ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน กลาง ประกอบด้วยครอบครัวเป็นส่วนสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนมีกําลังใจในการเรียน นอกจากนั้น สภาพเศรษฐกิจของครอบครัวจะเอื้อต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาและใช้ภาษาจริงในประเทศ จีนได้ 8) ลั ก ษณะของเพื่ อ นที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ต่ อ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษาจี น กลาง ประกอบด้วย พฤติกรรมของเพื่อน ซึ่งถ้านักเรียนอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ตั้งใจเรียน นักเรียนก็จะตั้งใจเรียน ใน ขณะเดียวกันถ้านักเรียนอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ตั้งใจเรียน นักเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่ตั้งใจเรียน และเพื่อนที่นิสัยดี มักจะผลักดันในนักเรียนเข้าเรียนและรับผิดชอบ ผลการศึกษา โดยใช้เทคนิคกลุ่มสนทนาทําให้เกิดความชัดเจนในการนําตัวแปรมาสนับสนุนรูปแบบ ตามสมมติฐาน ทําให้ได้รูปแบบตามสมมติฐานที่สมบูรณ์ขึ้นดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการวิจัย 3.2 ผลการวิจัยรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาจีนกลาง รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ กล่าวคือ ค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 73.63 (χ2=73.63) ที่องศาอิสระเท่ากับ 82 (df=82) มี ความน่าจะเป็นเท่ากับ .73 (p=.73) ซึ่งแสดงว่า ผลการทดสอบค่าไค-สแควร์ ไม่แตกต่างจากศูนย์อย่างมี

121


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 นัยสําคัญทางสถิติ นั่นคือ ยอมรับสมมติฐานว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาจีนกลางมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI=.98) ดัชนีวัดความกลมกลืน ที่ปรับแก้ (AGFI=.96) มีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกําลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR=.01) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ เมื่ อ พิ จ ารณาเส้ น ทางอิ ท ธิ พ ลทางตรงและทางอ้ อ มที่ ส่ ง ผลต่ อ ตั ว แปรผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ภาษาจีนกลาง (ACH) พบว่า ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง (ACH) ได้รับอิทธิพลทางตรงจาก ตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน (STUDENT) สูงสุด โดยมีขนาดอิทธิพลทางบวกค่าเท่ากับ .20 มีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .10 มี นัยสํ าคั ญทางสถิติที่ระดั บ .01 ตั วแปรคุณลักษณะของครูมีค่าอิทธิพลเท่ากั บ .09 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัว (FAMILY) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ .07 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง(ACH) มีตัวแปร เพียงด้านเดียว คือ ตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน(STUDENT) ส่วนอิทธิพลทางอ้อมได้จากตัวแปรคุณภาพ การเรียนการสอน ตัวแปรคุณลักษณะของครู และตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัวดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง

122


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์แยกค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์อิทธิพล ของรูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง ตัวแปรผล

QT

Student

ACH

ตัวแปร TE DE IE TE DE IE TE DE IE สาเหตุ Family - .38** .38** .07** .07** Friend .03 .03 0.00 0.00 Teacher .87** .87** - .44** 0.00 .44** .09** .09** QT - .51** .51** .10** .10** Student .20** .20** ค่าสถิติ ไค-สแควร์ = 73.63, df = 82, p = .73, GFI = .98, AGFI = .96, RMR = .01 ตัวแปร X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 Y1 Y2 Y3 Y4 Y5 Y6 Y7 Y8 Y9 Y10 ความเที่ยง .32 .50 .48 1.00 .42 .47 .66 .35 .49 .45 .50 .62 .16 .58 .10 .40 1.00 สมการโครงสร้างตัวแปร QT Student ACH R SQUARE .78 .66 .40 เมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝง ตัวแปรแฝง QT Student QT 1.00 Student .76** 1.00 ACH .15** .20** Family .67** .72** Friend .50** .50** Teacher .88** .74** ** มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ACH

Family

1.00 .14** .10** .14**

1.00 .65** 1.00 .76** .55**

สัญลักษณ์ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย FAMILY หมายถึง ตัวแปรแฝงสภาพแวดล้อมทางครอบครัว FRIEND หมายถึง ตัวแปรแฝงคุณลักษณะของเพื่อน TEACHER หมายถึง ตัวแปรแฝงคุณลักษณะของครู ACH หมายถึง ตัวแปรแฝงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง QT หมายถึง ตัวแปรแฝงคุณภาพการเรียนการสอน

123

Friend

Teacher

1.00


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 STUDENT หมายถึง ตัวแปรแฝงคุณลักษณะของนักเรียน X1 หมายถึง ตัวแปรเข้าใจศักยภาพของนักเรียน X2 หมายถึง ตัวแปรส่งเสริมความสามารถของนักเรียน X3 หมายถึง ตัวแปรเอาใจใส่ต่อนักเรียน X4 หมายถึง ตัวแปรคุณลักษณะของเพื่อนในกลุ่ม X5 หมายถึง ตัวแปรเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน X6 หมายถึง ตัวแปรทักษะในการสื่อสาร X7 หมายถึง ตัวแปรรักและเอาใจใส่ต่อนักเรียน Y1 หมายถึง ตัวแปรบทเรียนที่สนุกและน่าสนใจ Y2 หมายถึง ตัวแปรบรรยากาศในการเรียนการสอน Y3 หมายถึง ตัวแปรกิจกรรมในการเรียนการสอน Y4 หมายถึง ตัวแปรสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน Y5 หมายถึง ตัวแปรประเมินผลการเรียนการสอน Y6 หมายถึง ตัวแปรสุขภาพของนักเรียน Y7 หมายถึง ตัวแปรพฤติกรรมความตั้งใจเรียน Y8 หมายถึง ตัวแปรอัตมโนทัศน์ของนักเรียน Y9 หมายถึง ตัวแปรรู้สึกที่ดีต่อผูอ้ ื่น Y10 หมายถึง ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนกลาง

อภิปรายผลการวิจัย ผลจากการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาให้ ความสําคัญกับปัจจัยดังนี้ 1) คุณลักษณะของนักเรียน(Student Characteristics) ซึ่งประกอบด้วย สุขภาพของนักเรียน พฤติกรรมความตั้งใจเรียน อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้น ตัวผู้เรียนต้องรู้ รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ของตน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ ทางสังคมของ Bandura (1997: 191-193) พบว่า พฤติกรรมของบุคคลยังเป็นผลมาจากการเรียนรู้ทางสังคม และสอดคล้องกับทฤษฎีการรับรู้ตนเอง Rogers (1978: 429 ) ที่กล่าวว่านักเรียนต้องมีค่านิยมเกี่ยวกับ สั ม ฤทธิ์ ผ ล คื อ ความรู้ สึ ก ต่ อ ตนเองในด้ า นสติ ปั ญ ญา นิ สั ย การเรี ย น แรงจู ง ใจ และการแข่ ง ขั น เกี่ ย วกั บ ความสามารถการเลือกอาชีพ ดังนั้น คุณลักษณะบุคคลจึงเป็นแก่น (Core) ของการบริหารจัดการตนเองซึ่ง ต้องได้รับการเอาใจใส่ว่าตนจะต้องปฏิบัติอะไรและอย่างไร จึงจะสนับสนุนวัตถุประสงค์ของการเรียนภาษาจีน 2) สภาพแวดล้อมทางครอบครัว (Family Model) ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจศักยภาพของนักเรียน พ่อแม่ การส่งเสริมความสามารถของนักเรียน นอกจากนั้น ผู้ปกครองยังต้องเอาใจใส่นักเรียน สอดคล้องกับศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ (2544: 124-141) ที่กล่าวถึงความสัมฤทธิ์ผลของการเรียนเกิดจากการที่เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข กล่าวคือภาวะทางจิตใจ ความรู้สึกนึกคิด พ่อแม่ต้องเข้าใจในศักยภาพของบุตร ครอบครัวจึงจะเป็นส่วน สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนมีกําลังใจในการเรียน 3) คุณลักษณะของครู (Teacher Characteristics)

124


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน โดยเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ท่ีต้องการมีมิตรที่เชื่อใจได้ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดในการสร้างให้นักเรียนเกิดความรักและศรัทธาความมีทักษะ การสื่อสารมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ นอกจากนั้น ครูต้องเป็นบุคคลที่รักและเมื่อครูรักและเอาใจใส่ นักเรียนของตนอย่างสม่ําเสมอ นักเรียนก็จะเกิดความเชื่อใจครู เปิดเผยในสิ่งที่คับข้องใจ และเกิดความสบาย ใจ สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพันธภาพของซัลลิแวน (Sullivan, 1930: 112) ซึ่งมีความเชื่อว่าตลอดเวลาที่มนุษย์ เราดํารงชีวิตอยู่ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน (Interpersonal Relations) เป็นไปในทํานองถ้อยที ถ้อยอาศัยระหว่างบุคคลกับโลกภายนอกและเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพลัง (Dynamicism) ใน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สอดคล้องกับกลุ่มสนทนาอาจารย์ที่เป็นเชิงสนับสนุนว่า การปฏิบัติการสอนของ ครูเป็นสิ่งสําคัญที่จะดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนอยากรู้และตั้งใจเรียน ดังนั้น ลักษณะของครูจึงถือ เป็นการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่อยู่ในกรอบของวิชาชีพ (Professionalism) และจรรยาบรรณวิชาชีพ (Ethics) รับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้น จากผลงานวิจัย จึงเสนอแนวทางการบริหารงานโรงเรียนซึ่งจะทําให้ เกิดสัมฤทธิ์ผล 4) คุณภาพการเรียนการสอน (Quality of Teaching) ซึ่งประกอบด้วย บทเรียนที่สนุกและ น่าสนใจ บรรยากาศในชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล เพื่อ เป็นตัวกําหนดคุณภาพของผู้เรียน จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีคุณภาพ กล่าวคือสร้างเสริม ประสบการณ์และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดในตัวผู้เรียน อันจะนําไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง ดังนั้น ฝ่ายบริหารของโรงเรียนต้องกําหนดนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน ต้องพัฒนาครูให้มีเทคนิควิธีการสอน และมีใจเอื้ออาทรกับผู้เรียนกําหนดคุณภาพทางการเรียนการสอนให้มีบทเรียนที่สนุกสนานน่าสนใจ สื่อและ กิจกรรมที่นักเรียนสามารถเข้าร่วม มีเกณฑ์ที่ยุติธรรมในการวัดและประเมินผล กําหนด ผู้เรียนที่มีความ ต้องการเรียนรู้ภาษาจีนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับกลุ่มสนทนาอาจารย์ที่มีความคิดเห็นเป็นเชิงสนับสนุนว่า ถ้านักเรียนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายก็จะเรียนอย่างกระตือรือร้น ในส่วนของสภาพแวดล้อมทางครอบครัวก็ควร เอาใจใส่และให้กําลังใจผู้เรียนสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กรมวิชาการ, 2545) ซึ่งเน้นความสําคัญทั้งกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านเนื้อหาสาระและ กิจกรรม เอาใจใส่ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแสดงความเมตตาต่อผู้เรียนอย่างทั่วถึง ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากกลุ่ม จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่ปลุกเร้า จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอํานวย ความสะดวกให้ผู้เรียน ครูและผู้เรียนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ตลอดจนประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนให้เต็ม ตามศักยภาพสอดคล้องกับกลุ่มสนทนาอาจารย์ที่กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางเกี่ยวข้อง กับบุคลากรหลายฝ่ายทั้ง ครู นักเรียน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่ เอื้อให้นักเรียนใส่ใจและตั้งใจเรียน ยังผลให้เกิดสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5.) คุณลักษณะของเพื่อน (Friend Characteristics) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางไม่ได้รับอิทธิพลทางตรง จากพฤติกรรมของเพื่อนใน กลุ่มของนักเรียน ทั้งนี้ อาจเนื่องจากนักเรียนในระดับอาชีวศึกษาอยู่ในช่วงวัยรุ่นและเป็นคลื่นลูกใหม่ที่มี ความคิดความอ่านเป็นของตนเอง ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพื่อน ในทางตรงข้าม คุณลักษณะของเพื่อนมีอิทธิพลทางอ้อมในเชิงผกผันต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง โดยผ่าน คุณลักษณะของผู้เรียน แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางได้รับอิทธิพลทางอ้อม จากพฤติกรรม

125


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ของเพื่อนในกลุ่มของนักเรียน กล่าวคือ ถ้าเพื่อนดี ทําให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ไม่ดี หรือ การที่มีเพื่อนไม่ดี นักเรียนก็จะมีผลการเรียนดี ซึ่งอาจเป็นเพราะนักเรียนไม่ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องเพื่อนในกลุ่มนัก เมื่อ นักเรียนเห็นตัวอย่างพฤติกรรมของเพื่อนในกลุ่มที่ไม่ดี และทําให้ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ เรียนได้ คะแนนไม่ดี สอบตกนั้น ทําให้ตัวผู้เรียนเองยิ่งเกิดแรงขับและขยัน ตั้งใจ เอาใจใส่ต่อการเรียน อันจะนําไปสู่ ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษาจี น กลางด้ ว ยสอดคล้ อ งกั บ ตั ว ชี้ วั ด การสร้ า งเสริ ม ศั ก ยภาพเยาวชนไทย (Developmental Asset) (กรมสุขภาพจิต,2552 : 3) ที่กล่าวว่าเยาวชนและวัยรุ่นยุคใหม่มีหัวใจกล่าวคือ วัยรุ่น เป็นวัยที่มีพลังความคิดสร้างสรรค์ รู้จักคิดและตัดสินใจ รู้ดีรู้ชั่วได้ด้วยตัวของเขาเอง ดังนั้น นักเรียน อาชีวศึกษากลุ่มนี้ อาจเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้มีคุณลักษณะตามเพื่อนหรือตามพฤติกรรมของเพื่อนในกลุ่ม

สรุป 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง สรุปผลจากสมมติฐานการวิจัยได้ดังนี้ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรคุณลักษณะของ นักเรียน ส่วนตัวแปรคุณลักษณะของครู ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ตัวแปรคุณลักษณะของเพื่อน ตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอน ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง 1.2 คุณลักษณะครูมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางในทิศ ทางบวก โดยผ่านคุณภาพการเรียนการสอน 1.3 ตัวแปรคุณลักษณะของครูมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน กลางในทิศทางบวก โดยผ่านตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอนและคุณลักษณะของนักเรียน 1.4 ตั ว แปรคุ ณ ลั ก ษณะของเพื่ อ นไม่ มี อิ ท ธิ พ ลทางอ้ อ มต่ อ ตั ว แปรผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ภาษาจีนกลาง โดยผ่าน ตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอนและตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน 1.5 ตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาจีนกลางในทิศทางบวก โดยผ่านตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน 1.6 ตัว แปรสถานภาพทางครอบครั ว มี อิ ท ธิพ ลทางอ้ อ มต่ อ ตั ว แปรผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ภาษาจีนกลางในทิศทางบวก โดยผ่านตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน 2. ปัจจัยที่นําไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง ประกอบด้วย คุณลักษณะของนักเรียน คุณลักษณะของครู คุณภาพการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมทางครอบครัว เมื่อนํารูปแบบที่พัฒนามา วิเคราะห์และตรวจสอบความตรงของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดี กล่าวคือ ค่า ไค-สแควร์ มีค่า เท่ากับ 73.63 (χ2 = 73.63) ที่องศาอิสระเท่ากับ 82 (df=82) มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ

126


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 0.73 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI=.98) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI=.96) มีค่าเข้าใกล้ 1 และ ค่าดัชนีรากกําลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR=.01) มีค่าใกล้ศูนย์ 3. ตัวแปรคุณลักษณะของนักเรียน ตัวแปรคุณภาพการเรียนการสอน ตัวแปรคุณลักษณะของครู ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางครอบครัว เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุ สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลางได้ทั้งหมด ร้อยละ 40 และเส้นทางอิทธิพลในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง พบว่า คุณลักษณะของนักเรียนมีอิทธิพลทางตรง ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง คุณภาพการเรียนการสอน คุณลักษณะของครู และสภาพแวดล้อม ทางครอบครัว มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง โดยผ่านคุณลักษณะของนักเรียน สําหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางในรูปแบบนี้เป็น ตัวแฝงที่ประกอบด้ว ย ลั ก ษณะของครู สภาพแวดล้ อ มทางครอบครั ว คุ ณ ลั ก ษณะของเพื่ อ น คุ ณ ภาพการเรี ย นการสอนและ คุณลักษณะของผู้เรียน

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 1. ผลจากการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาให้ ความสําคัญกับปัจจัยดังนี้ 1) คุณลักษณะของนักเรียน (Student Characteristics) ซึ่งประกอบด้วย สุขภาพของ นักเรียน พฤติกรรมความตั้งใจเรียน อัตมโนทัศน์ และความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้น ตัวผู้เรียนต้องรู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ของตน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ดังนั้น คุณลักษณะบุคคลจึงเป็นแก่น (Core) ของการบริหารจัดการตนเองซึ่งต้องได้รับการเอาใจใส่ว่าตนจะต้องปฏิบัติอะไรและอย่างไร จึงจะสนับสนุน วัตถุประสงค์ของการเรียนภาษาจีน 2) สภาพแวดล้อมทางครอบครัว (Family Model) ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจศักยภาพของ นักเรียน พ่อแม่ การส่งเสริมความสามารถของนักเรียน นอกจากนั้น ผู้ปกครองยังต้องเอาใจใส่นักเรียน พ่อแม่ ต้องเข้าใจในศักยภาพของบุตร ครอบครัวจึงจะเป็นส่วนสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนมีกําลังใจในการเรียน 3) คุณลักษณะของครู (Teacher Characteristics) ซึ่งประกอบด้วย ความเข้าใจธรรมชาติ ของนักเรียน โดยเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ท่ีต้องการมีมิตรที่เชื่อใจได้ ความเป็นกัลยาณมิตรของครูเป็นส่วนที่ สําคัญที่สุดในการสร้างให้นักเรียนเกิดความรักและศรัทธาความมีทักษะการสื่อสาร ครูต้องมีความสามารถใน การสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ นอกจากนั้น ครูต้องเป็นบุคคลที่รักและใส่ใจนักเรียน เมื่อครูรักและเอาใจใส่ นักเรียนของตนอย่างสม่ําเสมอ นักเรียนก็จะเกิดความเชื่อใจครู เปิดเผยในสิ่งที่คับข้องใจ และเกิดความสบาย ใจ ดังนั้น ลักษณะของครูจึงถือเป็นการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่อยู่ในกรอบของวิชาชีพ (Professionalism) และจรรยาบรรณวิชาชีพ (Ethics) รับผิดชอบต่อสังคม 4) คุณภาพการเรียนการสอน (Quality of Teaching) โดยกําหนดคุณภาพการเรียนการ สอน ซึ่งประกอบด้วย บทเรียนที่สนุกและน่าสนใจ บรรยากาศในชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการ

127


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 เรียนการสอน และการวัดประเมินผล เพื่อเป็นตัวกําหนดคุณภาพของผู้เรียน จัดการเรียนการสอนให้นักเรียน ได้เรียนอย่างมีคุณภาพ กล่าวคือสร้างเสริมประสบการณ์และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดในตัวผู้เรียน อันจะนําไปสู่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลาง ดังนั้น ฝ่ายบริหารของโรงเรียนต้องกําหนดนโยบายและแผนงานที่ ชัดเจน ต้องพัฒนาครูให้มีเทคนิควิธีการสอนและมีใจเอื้ออาทรกับผู้เรียน กําหนดคุณภาพทางการเรียนการ สอนให้มีบทเรียนที่สนุกสนานน่าสนใจ สื่อและกิจกรรมที่นักเรียนสามารถเข้าร่วม มีเกณฑ์ที่ยุติธรรมในการวัด และประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเน้นความสําคัญทั้งกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านเนื้อหาสาระและกิจกรรม เอาใจใส่ผู้เรียนเป็น รายบุคคลแสดงความเมตตาต่อผู้เรียนอย่างทั่วถึง ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม จัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่ปลุกเร้า จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอํานวยความสะดวกให้ผู้เรียน ครูและ ผู้เรียนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ ต่าง ๆ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มตาม ศักยภาพยังผลให้เกิดสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ นอกจากข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยโดยตรงแล้ว ภาพรวมเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนดังนี้

มีข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ใน

1. ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนําไปใช้ในการวางแผนจัดการบริหารงานวิชาการ มีประโยชน์ ต่อผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องให้ได้ทราบว่าตัวแปรได้แก่ คุณลักษณะของนักเรียน คุณภาพการเรียนการสอน คุณลักษณะของครู สภาพแวดล้อมทางครอบครัว ตัวแปรใดมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาจีนกลาง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวแปรจัดกระทําตัวแปรที่ตนเกี่ยวข้องเพื่อ ส่งเสริมให้การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2. สร้างจิตสํานึกในความรับผิดชอบ ครูต้องมีความชัดเจนในบทบาทในความเป็นครูและมีความรัก และเอาใจใส่ต่อนักเรียน ตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบในภารกิจที่กําหนดขึ้นตามหลักจรรยาบรรณและ ตามความคาดหวังของสังคม ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของตนอย่างสม่ําเสมอ 3. ฝ่ายบริหารงานวิชาการของโรงเรียนควรตระหนักถึงความสําคัญของการเรียนภาษาจีน และพัฒนา คุณภาพการเรียนการสอนโดย 3.1 คัดเลือกครูที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3.2 พัฒนาทั้งครูจีน เพื่อให้มีทักษะและเทคนิคในการสอน รวมถึงเข้าใจถึงคุณลักษณะนักเรียน ไทยและ วัฒนธรรมไทย 3.3 คัดเลือกนักเรียนที่มีความต้องการเรียนอย่างแท้จริง โดยจัดปฐมนิเทศนักเรียนที่จะเรียน ภาษาจีนให้ทราบถึง ความจําเป็นและหลักการเรียนรู้แนวทางการเรียนภาษาจีน ตลอดจนการนําภาษาจีนไปใช้ ในการประกอบอาชีพ

128


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 3.4 ปฐมนิเทศผู้ปกครอง เกี่ยวกับการดูแลและแนวทางการส่งเสริมบุตรหลานอย่างเหมาะสม พัฒนาระบบควบคุมและตรวจสอบการบริหารให้มีความเหมาะสม และรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างหลักประกัน และความมั่นใจแก่สังคม โดยส่งเสริมให้มีการนํากลยุทธ์ท่ีนําไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนภาษาจีนกลางไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม และสร้างทักษะในอาชีพที่นักเรียนเข้าทํางานเพื่อมุ่งเน้นการ ตอบสนองความต้องการของสังคมด้านคุณภาพ

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยต่อไป 1. ควรมี ก ารนํ า รู ป แบบความสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง สาเหตุ ข องผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นภาษาจี น กลางที่ พัฒนาขึ้นไป ทําวิจัยด้วยการวิเคราะห์กลุ่มพหุ (Multigroup Analysis) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของ รูปแบบ โดยอาจแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ หรือระดับการศึกษา 2. ควรมีการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนกลางโดย ใช้ตัวแปรอื่นร่วมด้วยเช่น ความถนัดและเจตคติการเรียนภาษาจีนร่วมด้วย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาจีนกลางในบริบทอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง กิติยวดี บุญซื่อและคณะ. 2540. “การเรียนรู้อย่างมีความสุข” วารสารครุศาสตร์ 26 (1): 7-22. กรรณิการ์ สงวนนาม. 2546. การศึกษาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศ การศึกษาและพัฒนาหลักสูตร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรมวิชาการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจํากัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภา ลาดพร้าว. กรมสุขภาพจิต. 2552. คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ร.ส.พ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. 2544. เทคนิค IQ EQ AQ 3Q เพื่อความสําเร็จ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสร้างสรรค์ ศักยภาพสมองครีเอตีฟเบรน. อรสา รัตนอมรภิรมย์ . 2550. การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา. รายงาน การวิจัย คณะวิจัยศูนย์จีนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. Bandura, A. 1997. Social Learning Analysis of Aggression. InE. Ribes-Inesta Hillsdale, NJ: Erlbaum.

129


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 Chen, Zhi Li. 2005. China Promoting Chinese language courses for foreign students. Xinhua.10, Available: http://ericac.net/edo/ed 2661.htm, 30 July 2005. Hair, J. F., R. E. Anderson , R. L. Tatham and W. C. Black. 1998. Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prentice-Hall International,Inc. cited K. A. Bollen. 1989. Structural Equations with Latent Variables. New York: Wiley. Kitzinger J. 1995 “Introducing focus groups”, British Medical Journal 311: 299-302 Rogers, C. 1978. Freedom to Learn. London: Merrill. Schoenberg, I. E. 2000. Focus on Grammar : A Basic Course for Reference and Practice. 2nd ed. New York: Pearson Education. Sullivan, H.S. 1930. Conception of Modern Psychiatry. ERIC database. Available: http://ericac.net/edo/ed 216661.htm, August 15,2000. Tanaka, J. 1987. “How big is enough? Sample size and goodness-of-fit in structural equation models with latent variables.” Child Development. 58: 134-146. Xu, Lin. 2006. The Shortage of Chinese Teacher, Xinhua. 10, 22 July 2006.

130


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ในห้องเรียนกับชีวิตประจําวัน จิรนันท์ พึ่งกลั่น* และผศ.ดร.ชานนท์ จันทรา** บทนํา การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ เรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นกลุ่ม โดยใช้ปัญหาที่เ ป็นจริงหรือสถานการณ์ปัญหาที่ส อดคล้อ งกั บ ชีวิตประจําวันของนักเรียนมาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยความ สะดวกในการแก้ปัญหา เป็นผู้ชี้แนะ เสนอแนะแนวทาง และเตรียมแหล่งการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมไว้ให้ การเรียนรู้ ในลักษณะนี้จะช่วยนักเรียนสร้างและขยายความรู้บนพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของตนเอง ช่วยพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ทักษะการให้เหตุผลและการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสารและทักษะ ทางสังคม นอกจากนี้การแก้ปัญหาที่เป็นจริงจะทําให้นักเรียนมองเห็นการเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับ ชีวิตประจําวัน

Introduction Problem Based Learning (PBL) is an instructional model that gives students the opportunity to learn through problem solving when doing collaborative group work by using real world problems or problem situations that correspond to their daily life as the starting point of learning process. Teachers will act as problem solving facilitators who suggest or guide students how to deal with problems and provide appropriate learning resources for learners. The PBL approach could help students to build and expand knowledge on their own basic and previous experience. PBL also helps them to develop their critical thinking and problem solving skills, reasoning and decision making skills, communication skills and social skills. Furthermore, real world problem solving could bring students to see the connection between the knowledge in class and daily life. การจั ด การเรี ย นการสอนคณิ ต ศาสตร์ ใ นยุ ค ปฏิ รู ป การศึ ก ษาควรให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การพั ฒ นา นักเรียนให้มีศักยภาพทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และสอดคล้องกับแนวการ จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 24 ข้อ 2 และ ข้อ 3 ที่ให้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เผชิญกับสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อแก้ปัญหา (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) ซึ่งจากสภาพ ของห้องเรียนคณิตศาสตร์ในระยะเวลาที่ผ่านมาพบว่าการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก โดยครูทํา *

นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

**

131


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 หน้าที่บรรยายและถ่ายทอดความรู้และนักเรียนได้รับความรู้จากการเป็นผู้รับฟัง จดจําและทําความเข้าใจ ทํา ให้นักเรียนมีความรู้เพียงเรื่องที่ครูสอน ไม่สามารถต่อยอด ขยายความรู้ออกไป หรือไม่สามารถนําไปประยุกต์ ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปได้ นักเรียนส่วนใหญ่เมื่อพบกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคยและมีโครงสร้างแตกต่างไป จากโจทย์ตัวอย่างในห้องเรียนก็จะไม่สามารถดําเนินการแก้ปัญหาได้และไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นแก้ปัญหานั้น อย่างไรและพบว่านักเรียนหลายคนเรียนคณิตศาสตร์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสอบเท่านั้นและไม่เห็นคุณค่า ของการนําความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสาเหตุสําคัญประการหนึ่งที่ทํา ให้นักเรียนไม่ประสบความสําเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ ไม่บรรลุเป้าหมายและมองไม่เห็นคุณค่าของการ เรียนคณิตศาสตร์อย่างแท้จริง ดัง นั้นจุด เน้น ที่สําคัญในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบั น จําเป็นต้องปรับเปลี่ยนจากการจดจํา เป็นการทําให้นักเรียนสามารถสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในตนเองได้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานที่เพียงพอในการนําความรู้ไป แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้พัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของนักเรียนเอง คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีรากฐานมาจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม ที่ เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ท่ีมีอยู่เดิมหรือจาก ความรู้ท่ีรับเข้ามาใหม่ ซึ่งถูกนํามาประยุกต์ใช้ครั้งแรกในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ (มัณฑรา ธรรมบุศย์, 2545) และในปัจจุบันรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและขยายไปสู่การสอน ในหลายสาขาวิชารวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์ด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ท่ีเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้จากการ แก้ ปั ญ หาที่ พ บได้ ใ นสถานการณ์ จ ริ ง โดยใช้ ปั ญ หาที่ เ ป็ น จริ ง หรื อ สถานการณ์ ปั ญ หาที่ ส อดคล้ อ งกั บ ชีวิตประจําวันของนักเรียนมาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ปัญหาจึงจัดว่าเป็นสิ่งสําคัญที่สุด เพราะเป็นตัวกระตุ้นหรือนําทางให้นักเรียนไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเองเพื่อจะได้พบคําตอบของ ปัญหานั้น (มัณฑรา ธรรมบุศย์, 2545; ชานนท์ จันทรา, 2549, 2550) ดังนั้นสิ่งที่ครูควรคํานึงถึงในการสร้าง และออกแบบปัญหา คือ ปัญหาต้องเป็นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จริง มีความน่าสนใจและท้าทายความรู้ ความสามารถของนักเรียน ปัญหาควรสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ท่ีต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เป็น ปัญหาที่มีคําตอบหลายคําตอบหรือมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลายและมีความยากง่ายสอดคล้องกับ ความรู้พื้นฐานของนักเรียน ตัวอย่างปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สามารถนํามาใช้ในการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

132


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

สถานการณ์ปัญหา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าจะจัดลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้า ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการลดราคาเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จัดทําขึ้นเพื่อเพิ่มยอดขาย สินค้าของทางร้าน ถ้าร้านค้าในห้างสรรพสินค้าจํานวน 3 ร้าน จําหน่ายเสื้อยืดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเสื้อยืดมี ลักษณะเป็นแบบเดียวกันแต่มีหลายสีและราคาที่ระบุบนป้ายราคาสินค้าของเสื้อยืดยี่ห้อนี้เท่ากัน โดยที่ร้านค้าแต่ละร้านได้จัดลดราคาเสื้อยืดในรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ร้านมุมทอง ได้ติดป้ายโฆษณาไว้ว่า “ซือ้ 3 ตัว แถมฟรี 1 ตัว” รูปแบบที่ 2 ร้านขวัญเรียมแฟชั่น ได้ติดป้ายโฆษณาไว้ว่า “ซือ้ ตัวที่ 2 ลดราคา 50%” รูปแบบที่ 3 ร้านพลอยภูษา ได้ติดป้ายโฆษณาไว้ว่า “ลดราคา 25%” นักเรียนจะเลือกซื้อเสื้อยืดที่จัดลดราคารูปแบบใด เพราะเหตุใด

สําหรับขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ได้แก่ การแบ่งกลุ่มย่อย การนําเสนอปัญหา การพิจารณาปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสํารวจแนวทางที่ เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาตามแนวทางที่เลือกไว้ การนําเสนอผลงาน การสรุปและประเมินผล แต่ ใ นบทความนี้ ผู้ เ ขี ย นขอนํ า เสนอขั้ น ตอนการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ โ ดยใช้ ปั ญ หาเป็ น ฐานในลั ก ษณะที่ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เข้ากลุ่มและนําเสนอปัญหา เป็นขั้นที่ครูผู้สอนแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย และเปิด โอกาสให้นักเรียนได้พูดคุยและกําหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะพบกับ ปัญ หา จากนั้ น ครู จึ ง สนทนากั บนั ก เรี ย นเพื่ อเชื่ อ มโยงเข้ า สู่ ปัญ หาพร้อ มทั้ ง นํ า เสนอสถานการณ์ปั ญ หาที่ สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน

133


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาและเรียนรู้ประเด็นปัญหา ในขั้นนี้นักเรียนร่วมกันทําความเข้าใจปัญหา ระดมความคิดและวิเคราะห์ปัญหาที่พบ สํารวจและทบทวนความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จะนํามาใช้ในการ แก้ปัญหา รวมถึงระบุประเด็นที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่ครูผู้สอน จัดเตรียมไว้ให้ ขั้นที่ 3 แก้ปัญหา เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละคนนําเสนอแนวคิด ข้อความรู้ สํารวจแนวทางการ แก้ปัญหาที่เป็นไปได้ต่อกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายและหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเพื่อ นําไปสู่คําตอบของปัญหา จากนั้นจึงดําเนินการแก้ปัญหาเพื่อหาคําตอบ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง ทบทวนและประเมินคําตอบหรือข้อค้นพบที่ได้เพื่อเตรียมนําเสนอต่อไป ขั้นที่ 4 นําเสนอคําตอบของปัญหา ในขั้นนี้นักเรียนแต่ละกลุ่มจะนําเสนอข้อค้นพบหรือคําตอบ ของปัญหาต่อชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผล เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และช่วยกันสรุป ข้อมูลหรือความรู้ที่แต่ละกลุ่มได้นําเสนออีกครั้ง จากนั้นจึงประเมินผลเพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนําขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นฐานมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรม “สํารวจตัว ฉัน” ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามลําดับขั้นที่ 1 ถึง 5 ที่ได้กล่าวถึง ข้างต้น โดยกิจกรรม “สํารวจตัวฉัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้สํารวจสุขภาพและร่างกายของตนเอง ผ่านการแก้ปัญหา ซึ่งนักเรียนต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องการวัดความสูงและการชั่ง น้ําหนัก การหาอัตราส่วน การประมาณค่า สมการและอสมการ และการอ่านกราฟ มาช่วยในการแก้ปัญหา โดยกิจกรรมนี้เหมาะสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และใช้เวลาในการดําเนินกิจกรรมทั้งหมด 2 คาบ เรียน โดยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อนําเข้าสู่กิจกรรม โดยแนะนําชื่อกิจกรรมรวมทั้งชี้แจงวัตถุประสงค์ของ กิจกรรมว่ากิจกรรมนี้มีชื่อว่า “สํารวจตัวฉัน” ซึ่งจะให้นักเรียนสํารวจเกี่ยวกับสุขภาพและร่างกายของตนเอง จากนั้นดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ ขั้นที่ 1 เข้ากลุ่มและนําเสนอปัญหา 1.1 ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน คละความสามารถกันและให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กําหนดบทบาทหน้าที่ของตนโดยการเลือกประธาน รองประธานและเลขานุการกลุ่ม 1.2 ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ปัญหา โดยครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็น ต่อไปนี้ 1.2.1 นักเรียนทราบหรือไม่ว่า “ภาวะอ้วน” หรือ “โรคอ้วน” เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างไร

134


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1.2.2 นักเรียนคิดว่าอาหารและเครื่องดื่มชนิดใดบ้างที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนได้ 1.2.3 นักเรียนเคยสํารวจตนเองหรือไม่ว่านักเรียนอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดีและ นักเรียนใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณา 1.2.4 ระหว่างน้ําหนักกับส่วนสูง นักเรียนคิดว่าสิ่งใดเปลี่ยนแปลงง่ายกว่ากัน เพราะเหตุใด 1.3 ครูนําเสนอสถานการณ์ปัญหาสําหรับกิจกรรม “สํารวจตัวฉัน” สถานการณ์ปัญหา ความอ้ ว นเป็ น ภาวะที่ มี ก ารสะสมไขมั น ตามส่ ว นต่ า งๆ ของร่ า งกายมากกว่ า ปกติ โดยปกติร่างกายมีไขมันสะสมประมาณร้อยละ 20 ความอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ถ้า ปล่อยให้ร่างกายอ้วนหรือมีน้ําหนักมากเกินไปก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคชนิดต่างๆ เช่น ข้อกระดูกเสื่อม ทําให้ปวดเข่า ปวดสะโพก ระบบหายใจขัดข้อง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิต สูง โรคเบาหวาน โรงมะเร็ง ฯลฯ จากข้อมูลการสํารวจสุขภาพประชาชนระหว่างปี พ.ศ. 2551-2553 พบว่าเด็กไทยอายุ 1-14 ปี มีจํานวน 540,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน และจากการสํารวจ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรที่สํารวจโดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี มีพฤติกรรมการบริโภคขนมกรุบกรอบ เครื่องดื่มประเภทน้ําอัดลม เครื่องดื่มที่มี รสหวานและกลุ่มอาหารที่มีไขมันสูง สูงกว่าประชากรกลุ่มอายุอื่น ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทยสะท้อนความวิตกกังวลว่า เด็กไทยกําลังเผชิญ กับภาวะอ้วนและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคชนิดต่างๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าตนเองและเพื่อนในกลุ่มอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลัง พอดีและจากส่วนสูงของนักเรียนในปัจจุบัน ทําอย่างไรจึงจะทราบว่าน้ําหนักควรจะน้อยที่สุดและ มากที่สุดได้เท่าใด จึงจะทําให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ําหนักพอดีและมีความเสี่ยงต่อโรคในระดับปกติ (สถานการณ์ปัญหานี้ดัดแปลงมาจากกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของอัมพร ม้าคนอง, 2553: 89-90)

1.4 ครูแจกใบกิจกรรมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสําหรับใช้ในการทํากิจกรรมและแนะนําสื่อการเรียนรู้ ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งสื่อการเรียนรู้ประกอบไปด้วย 1) เครื่องชั่งน้ําหนักและเครื่องมือวัดส่วนสูง 2) กราฟ แสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและเพศหญิง อายุ 5-18 ปี ของกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข พ.ศ. 2542 3) จดหมายข่าว สัญญาณสุขภาพ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2554 เรื่อง คนไทย ผจญภัยอ้วน และ 4) ตารางดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)

135


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และเรียนรู้ประเด็นปัญหา 2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านและทําความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาที่กลุ่มของตนได้รับ จากนั้นจึง ร่วมกันระดมความคิดและวิเคราะห์ปัญหาที่พบ 2.2 ครูแนะนําว่าในการวิเคราะห์และเรียนรู้ประเด็นปัญหา เพื่อนําไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหานั้น นักเรียนควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ 2.2.1 สิ่งที่โจทย์ถาม เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องการคําตอบ ได้แก่ 1) นักเรียนจะทราบได้อย่างไร ว่าตนเองและเพื่อนในกลุ่มอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดี และ 2) จากส่วนสูงของนักเรียนในปัจจุบัน ทําอย่างไรจึงจะทราบว่าน้ําหนักควรจะน้อยที่สุดและมากที่สุดได้เท่าใด จึงจะทําให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ําหนักพอดี และมีความเสี่ยงต่อโรคในระดับปกติ 2.2.2 สิ่งที่โจทย์บอก เป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสถานการณ์ปัญหานั้นๆ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอ้วน ข้อมูลการสํารวจสุขภาพประชาชนระหว่างปี พ.ศ. 2551-2553 และข้อมูลพฤติกรรม การบริโภคของเด็กไทยอายุ 6-14 ปี 2.2.3 ประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เป็นข้อมูลที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนํามาใช้ในการ แก้ปัญหา ได้แก่ วิธีการพิจารณาว่านักเรียนอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดี 2.2.4 ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่นํามาใช้ในการแก้ปัญหา ได้แก่ การวัดความสูงและการชั่ง น้ําหนัก การหาอัตราส่วน การประมาณค่า สมการและอสมการ และการอ่านกราฟ 2.3 ในขณะที่นักเรียนทํากิจกรรม ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมีอิสระในการวิเคราะห์ปัญหาและเรียนรู้ ประเด็นปัญหาร่วมกัน แต่ครูควรทําหน้าที่ตรวจสอบความชัดเจนในการทําความเข้าใจปัญหาในแต่ละประเด็น และอาจใช้คําถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงความคิด เห็น ร่ ว มกัน เช่น สถานการณ์ปัญหานี้ เกี่ย วกั บอะไร เมื่ อนั กเรีย นอ่ านและทํ า ความเข้า ใจสถานการณ์ปั ญหาแล้ว นัก เรี ย นทราบข้อ มูล อะไรบ้า ง นักเรียนต้องทราบข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเพื่อนํามาใช้ในการแก้ปัญหาและนักเรียนจะใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่องใดในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 แก้ปัญหา 3.1 หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด วิเคราะห์ปัญหาที่พบ สํารวจและทบทวน ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่จะนํามาใช้ในการแก้ปัญหา รวมถึงระบุประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมแล้ว เลขานุการ กลุ่มทําหน้าที่สรุปประเด็นให้สมาชิกในกลุ่มทราบโดยทั่วกัน เพื่อตรวจสอบว่าครบถ้วนหรือไม่ ต้องเพิ่มเติม ประเด็นใดบ้าง 3.2 สมาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายและหาแนวทางในการแก้ปัญหา จากนั้นจึงเลือกแนวทางในการ แก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดและดําเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางนั้นๆ

136


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 3.3 ครูตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางในการแก้ปัญหาที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกอีกครั้งหนึ่ง หากพบว่ายังไม่สมเหตุสมผลหรือไม่มีทางเป็นไปได้ ครูควรซักถามถึงเหตุผลที่กลุ่มของนักเรียนตัดสินใจเลือก แนวทางนั้ น ๆ ไม่ ควรบอกนั ก เรี ย นโดยตรงว่ า แนวทางนั้ น ไม่ ถู ก ต้ อ ง แต่ ค รู ค วรแนะนํ า ให้ นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิปรายเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาใหม่อีกครั้ง 3.4 ครูสังเกตการทํางานกลุ่มของนักเรียน หากพบว่ากลุ่มใดเกิดปัญหาขึ้นในขณะดําเนินกิจกรรม ครูควรให้คําแนะนําและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งกระตุ้นให้นักเรียนกลุ่มนั้นร่วมกันอภิปรายอีกครั้ง ขั้นที่ 4 นําเสนอคําตอบของปัญหา 4.1 ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอคําตอบของปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาต่อชั้นเรียนและ ในขณะที่แต่ละกลุ่มนําเสนอผลการแก้ปัญหา ครูจดบันทึกสิ่งที่นักเรียนนําเสนอเพื่อใช้เป็นประเด็นในการ อภิปรายสรุปหลังจากที่นักเรียนนําเสนอเสร็จสิ้นแล้ว 4.2 เมื่ อนักเรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอเสร็จ แล้ว ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนกลุ่มอื่น ซัก ถามข้อสงสั ย ประมาณ 2-3 นาที เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และครูอาจซักถามในประเด็นที่ยังไม่ครบถ้วน หรือใช้ คําถามกระตุ้นให้นักเรียนสื่อสารและนําเสนอเพิ่มเติม ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผล 5.1 หลังจากที่นักเรียนทุกกลุ่มนําเสนอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปคําตอบและ แนวทางในการแก้ปัญหาและอภิปรายร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้ 5.1.1 คําตอบของสถานการณ์ปัญหาคืออะไร โดยการยกตัวอย่างน้ําหนักและส่วนสูงของ นักเรียนชายและนักเรียนหญิง จํานวน 2 คน เพื่อพิจารณาว่า 1) นักเรียนอยู่ในข่ายอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดี 2) จากส่วนสูงของนักเรียนในปัจจุบัน น้ําหนักควรจะน้อยที่สุดและมากที่สุดได้เท่าใด จึง จะทําให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ําหนักพอดีและมีความเสี่ยงต่อโรคในระดับปกติ 5.1.2 ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่นํามาใช้ในการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง 5.1.3 แนวทางในการแก้ปัญหาของนักเรียนเป็นอย่างไร 5.1.4 นักเรียนคิดว่าแนวทางในการแก้ปัญหาของกลุ่มใดเหมาะสมที่สุด เพราะเหตุใด 5.2 ครูซักถามนักเรียนว่ายังมีแนวทางในการแก้ปัญหาอื่น ๆ อีกหรือไม่ อย่างไรและครูนํา เสนอ แนวทางในการแก้ปัญหาอื่นๆ (ถ้ามี) นอกเหนือไปจากที่นักเรียนได้นําเสนอ 5.3 ครูสนทนากับนักเรียนว่า เมื่อนักเรียนทราบว่าตนเองนั้นอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดี รวมทั้งทราบช่วงน้ําหนักที่พอดีแล้ว นักเรียนก็จะสามารถควบคุม น้ําหนักให้อยู่ในช่วงดังกล่าวได้โดยการ

137


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ควบคุ ม พฤติ ก รรมการรั บ ประทานอาหารและการออกกํ า ลั ง กายอย่ า งสม่ํ า เสมอ ตลอดจนสามารถให้ คําแนะนําแก่คนรอบข้างในการดูแลรักษาสุขภาพให้ห่างไกลต่อโรคอ้วนได้ 5.4 สําหรับการวัดผลและประเมินผล ครูใช้การสังเกตขณะที่นักเรียนดําเนินกิจกรรมกลุ่ม การถาม ตอบ การทําใบกิจกรรม การอภิปราย และการนําเสนอหน้าชั้นเรียน แนวทางในการแก้ปัญหาสําหรับกิจกรรม “สํารวจตัวฉัน” ในการพิจารณาว่านักเรียนอ้วนเกินไป ผอมเกินไป หรือกําลังพอดีนั้นมี 2 วิธี ได้แก่ 1. พิจารณาจากกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายและเพศหญิง อายุ 5-18 ปี โดยเลือกพิจารณากราฟที่แสดงน้ําหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เช่น ถ้านักเรียนหญิงคนหนึ่ง สูง 156 เซนติเมตร และมีน้ําหนัก 46 กิโลกรัม จากกราฟสามารถอ่านได้ว่า นักเรียนหญิงคนนี้มีรูปร่างสมส่วน 2. การคํานวณหาดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วนําไปแปลความหมายตามตาราง ดัชนีมวลกาย เป็นค่าที่อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างน้ําหนักตัวและส่วนสูงมาเป็นตัวชี้วัดสภาวะของ ร่างกายว่ามีความสมดุลของน้ําหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ดัชนีมวลกายสามารถคํานวณ ได้โดยการหาอัตราส่วนระหว่างน้ําหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) และส่วนสูงกําลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) หรือ คํานวณตามความสัมพันธ์ต่อไปนี้

น้ําหนักเป็นกิโลกรม (ส่วนสูงเป็นเมตร)2

ดัชนีมวลกาย =

การแปลความหมาย ค่า BMI ค่า BMI มาตรฐานสากล มาตรฐานอาเซียน ต่ํากว่า 18.5 ต่ํากว่า 18.5 18.5 - 24.9 18.5 - 22.9 25.0 - 29.9 23.0 - 24.9 30.0 - 34.9 25.0 - 29.9 35.0 - 39.9 30 ขึ้นไป 40 ขึ้นไป

สภาวะร่างกาย น้ําหนักน้อยกว่ามาตรฐาน/ผอม น้ําหนักปกติ อ้วนระดับ 1 น้ําหนักเกิน/รูปร่างท้วม อ้วนระดับ 2 อ้วน อ้วนระดับ 3 อ้วนมาก อ้วนระดับ 4 อ้วนมากที่สุด

ที่มา: กองออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ (ม.ป.ป.)

138

ความเสี่ยงต่อโรค ปานกลาง-สูง ปกติ-ต่ํา มากกว่าปกติ ปานกลาง-สูง สูง สูง-สูงที่สุด


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 การพิจารณาว่า จากส่วนสูงของนักเรียนในปัจจุบัน ทําอย่างไรจึงจะทราบว่าน้ําหนักควรจะน้อยที่สุด และมากที่สุดได้เท่าใด จึงจะทําให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ําหนักพอดีและมีความเสี่ยงต่อโรคในระดับปกติ ซึ่งนักเรียน ต้องใช้ความรูเ้ รื่องสมการหรืออสมการในการหาช่วงน้ําหนักที่เหมาะสม จากตารางการแปลความหมายของดัชนีมวลกายจะพบว่า ค่า BMI มาตรฐานอาเซียนในช่วง 18.5-22.9 เป็นช่วงที่มีน้ําหนักพอดีและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคในระดับปกติ นักเรียนควรเลือกค่า BMI ช่วงนี้มาคํานวณ เช่น ถ้านักเรียนสูง 156 เซนติเมตร จะคํานวณหาช่วงน้ําหนักที่เหมาะสมได้ดงั นี้ วิธีท่ี 1 ใช้ความรู้เรื่องสมการ ให้ x แทน น้ําหนักที่น้อยที่สุด และ y แทน น้ําหนักที่มากที่สุด (กิโลกรัม) จะได้

x 1.56 2

18.5

=

x

= 18.5 X 1.562

x

= 45.0216 ≈ 45

และ 22.9

=

y 1.56 2

1.562

y

= 22.9

y

= 55.72944 ≈ 55.7

ดังนั้น น้ําหนักที่น้อยที่สุดคือ 45 กิโลกรัม และน้ําหนักที่มากที่สุดคือ 55.7 กิโลกรัม วิธีท่ี 2 ใช้ความรู้เรื่องอสมการ ให้ z แทน น้ําหนัก (กิโลกรัม) จะได้ 18.5 ≤

z ≤ 22.9 1.26 2

นํา 1.562 มาคูณทั้งสองข้างของอสมการ จะได้ 18.5x1.562≤ z ≤22.9x1.562 ดังนั้น 45.0216 ≤ z ≤ 55.72944 แต่ 45.0216≈45 และ 55.72944 ≈ 55.7 ดังนั้น นักเรียนคนนี้ควรมีน้ําหนักอยู่ระหว่าง 45-55.7 กิโลกรัม

139


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 จากกิจกรรม “สํ ารวจตั วฉั น ” ที่ผู้ เ ขี ย นได้ นํ าเสนอนี้เ ป็นตั ว อย่างของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิ ต ศาสตร์ โ ดยใช้ ปั ญ หาเป็ น ฐานที่ ใ ห้ นั ก เรี ย นได้ เ รี ย นรู้ จ ากการแก้ ปั ญ หาผ่ า นการทํ า งานเป็ น กลุ่ ม ซึ่ ง สถานการณ์ปัญหาที่นํามาใช้ในกิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างปัญหาในชีวิตจริงที่มีความสัมพันธ์กับนักเรียน ทําให้ นักเรียนมองเห็นการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ในห้องเรียนกับชีวิตประจําวัน ตลอดจนนักเรียนได้พัฒนาทักษะและ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้การที่นักเรียนได้ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มยังทําให้นักเรียนได้พัฒนา ทักษะทางสังคม ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเห็นคุณค่าของการนํา ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน

เอกสารอ้างอิง กองออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ. ม.ป.ป. ค่าดัชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index) (Online). http://dopah.anamai.moph.go.th/bmi.php, 11 กรกฎาคม 2554. ชานนท์ จันทรา. 2549. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: PBL กระบวนการสร้างนักแก้ปัญหา. นิตยสาร คณิตศาสตร์ MYMATHS. 2 (10), 47-50. . 2550. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: PBL กระบวนการสร้างนักแก้ปัญหา ตอนจบ. นิตยสาร คณิตศาสตร์ MYMATHS. 3 (1), 41-45. มัณฑรา ธรรมบุศย์. 2545. การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL. วารสารวิชาการ. 5 (2), 11-17. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด. อัมพร ม้าคนอง. 2553. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

140


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร Development of Electronic Book on the Use of Library Resources for Mathayomsuksa 1 Students, Suansriwittaya School, Changwat Chumphon อุดมศักดิ์ อิสโร* รศ.สุวิช บุตรสุวรรณ**ผศ.ดร.ศศิฉาย ธนะมัย*** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การ ใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จ.ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จ.ชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จํานวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร แบบประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สําหรับผู้เ ชี่ยวชาญ แบบวัดผลสัม ฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลจากการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีท่ี 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/82.56 2) นักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับดี คําสําคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การใช้ห้องสมุด

*

นิสิตปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ *** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ **

141


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ABSTRACT The purposes of the research were 1) to develop and find out the efficiency of electronic book on the Use of Library Resources for Mathayomsuksa 1 students, 2) to study the students’ learning achievement through electronic book, and 3) to study the students’ opinion toward the electronic book. The sample was 32 Mathayomsuksa 1 students who studied in second semester of 2010 academic year at Suansriwittaya school, Changwat Chumphon Cluster random sampling was employed. The research tools were electronic book on the Use of Library Resources for Mathayomsuksa 1 students, electronic book quality evaluation form for experts, learning achievement test, and questionnaire to survey students’ opinion toward electronic book. The Data were analyzed using frequency, mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows :1) The efficiency of electronic book on the Use of Library Resources for Mathayomsuksa 1 students was at 84.44/82.56. 2) The students’ learning achievement scores after learning through electronic book on the Use of Library Resources were statistically higher than the pretest scores at 0.05 level. And 3) the students’ opinion toward electronic book was at good level. Keyword: Electronic Book, Use of Library resources

บทนํา โลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทักษะที่ผู้เรียนจําเป็นต้องมีและเชี่ยวชาญจึงต้องเปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วตามไปด้วย จากการเติบโตของเศรษฐศาสตร์โลก การเพิ่มขึ้นของสังคมหลาก หลายวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทําให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้และใช้ทักษะในการศึกษาและวิชาชีพ ผู้เรียนจําเป็นต้องเรียนเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านทางการพูดและการเขียน ต้องเรียนรู้ในการ ทํางานร่วมกับผู้อื่นและเพื่อหาวิธีการในการแก้ปัญหาและพบกับสิ่งท้าทายในชีวิตประจําวัน และสําคัญที่สุด คือการให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกมีความสุขในการเรียน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีสามารถช่วยให้ผู้เรียนกระหายใน การเรียนรู้เพื่อนําไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้ ระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบันยอมรับกันว่า ห้องสมุดเป็นองค์ประกอบที่สําคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วย ให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ด้วยดี เนื่องจากห้องสมุด คือ แหล่งสารสนเทศที่รวบรวม ทรัพยากร ข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนัง สื อ พิม พ์ จุลสาร หรือบทความทาง วิชาการ ตลอดจนสื่อโสตทัศน์ประเภท CD-ROM, DVD, VCD โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดําเนินงานและ บริหารงานต่างๆ ในห้องสมุดให้จัดเก็บอย่างเป็นระบบหมวดหมู่และเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมี ความสะดวกต่อการใช้งาน (นัยนา มามงคล, 2553) สําหรับผู้ใช้ห้องสมุดหรือนักเรียนต้องมีแนวทางปฏิบัติเพื่อ ความเป็นระเบียบของการใช้บริการ บรรณารักษ์แต่ละห้องสมุดจึงได้วางกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัตินานาประการ

142


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ปัจจุบันได้มีการแปลงสิ่งพิมพ์จากรูปเล่มหนังสือให้เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “e-book” ให้ ข้อมูลได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่นในเล่มเดียวกัน หรือแม้แต่ ไปยังเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตได้ในแต่ละหน้าของเนื้อหา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะบันทึกลงแผ่นซีดีใช้อ่านบน จอมอนิเตอร์หรือดาวน์โหลดออนไลน์อ่านได้ทั้งบนจอมอนิเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ เช่น tablet pc และ palm ด้ ว ยความสํ า คั ญ ของหนั ง สื อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ พื่ อ เป็ น สื่ อ ในการแพร่ กระจายการเรี ย นรู้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดให้มีโครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยัง ครู นักเรียน และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งในรูปแบบแผ่นซีดีและออนไลน์ (กิดานันท์ มลิทอง, 2548) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ตอบสนองการเรียนแบบ e-learning ซึ่งสนับสนุนการศึกษา ด้วยตนเอง ตลอดจนการศึกษาตลอดชีวิต ทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า สามารถใช้เป็น สื่อเสริมหรือสื่อเติมในการเรียนการสอนได้ ในปัจจุบันนักการศึกษาและนักวิจัย ได้มีการนําเอาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์มาใช้ในบทบาทเป็นผู้สอนอย่างกว้างขวาง ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541) พบว่า การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นผู้สอนทําให้ผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีสอนแบบปกติที่ใช้ครูเป็นผู้สอน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักอ่านทั้งหลายโดยเฉพาะในวงการห้องสมุด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนํามาให้บริการใน การจัดการเรียนรู้ท่ีจะทําให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง นําสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาการได้อย่าง แจ่มแจ้งด้วยความรวดเร็วและ ช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้สอนในการอธิบายหรือยกตัวอย่างให้ผู้เรียนมองเห็นภาพพจน์ได้ใกล้เคียงกับ ความเป็นจริงมากที่สุด (สุนทร คําวงส์, 2543: 1-2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของ การอ่านและใช้นําเสนอในลักษณะของสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีความสามารถในการถ่ายทอดทําให้ผู้อ่านตอบสนอง กั บ เนื้ อ หาได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว นอกจากนี้ ห นั ง สื อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ยั ง ใช้ ค อมพิ ว เตอร์ เ ป็ น สื่ อ กลางช่ ว ยในการ ตอบสนองการเรียนรู้แบบ e-learning ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่การนําไปใช้เป็นการเรียนรู้ ภายในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ตลอดจนสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเมื่อนํามาผนวกกับลักษณะ ของบทเรียนโปรแกรมที่นําเสนอเนื้อหาแก่ผู้เรียนเป็นส่วนย่อย ๆ มีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนเป็นช่วงๆ จึงเป็นการ จัดลําดับประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการนําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการศึกษา จึงน่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถ พัฒนาประสิทธิภาพการ เรียนการสอนของผู้เรียนและผู้สอนได้ จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึง ดําเนิน การศึกษาการพัฒ นาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ ห้องสมุด เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา เพื่อเป็น ทางเลื อกหนึ่งที่ครูผู้สอนใช้เป็นสื่อในการสอน และผู้เรียนสามารถใช้เป็น สื่อที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อ เพิ่มพูนความรู้มากยิ่งขึ้น

143


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

สมมติฐานในงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา สูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสวนศรีวิทยา อ.หลังสวน จ.ชุมพร จํานวน 10 ห้องเรียน รวมจํานวนนักเรียนทั้งสิ้น 478 คน ซึ่ง แต่ละห้องเรียนได้จัดนักเรียนแบบคละกัน คือ นักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยวิธีการจับสลากมา 1 ห้องเรียน จํานวนนักเรียน 32 คน

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง การใช้ห้องสมุด จากอาจารย์ประจําวิชา คู่มือการสอน สื่อ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และศึกษาการออกแบบและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ได้แก่ Adobe Photoshop CS3, DeskTop.Author.v 4, SnagIt 8 วิเคราะห์เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่องการใช้ห้องสมุด กําหนด จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ลําดับเนื้อหา ออกแบบบทเรียน เขียนผังงานและบทภาพ เสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา แล้วปรับปรุงแก้ไขผังงานและบทภาพ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามคําแนะนําของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 1.2 สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม DeskTop.Author.v 4 นําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค การผลิต ผลการประเมินพบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาและคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.59 และ 3.93 มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ระดับดี นําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ไปทดลอง

144


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนศรีวิทยา ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีการ ทดลองใช้ 3 ครั้ง (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2533) ดังนี้ ครั้งที่ 1 ใช้กับนักเรียนแบบเดี่ยว ครั้งที่ 2 ใช้กับนักเรียน แบบกลุ่ม ครั้งที่ 3 ใช้กับนักเรียนภาคสนาม จํานวน 30 คน ประสิทธิภาพการทดลองภาคสนามของ แบบฝึกหัดระหว่างเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ 84.44/82.56 2. แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนดังนี้ ศึก ษาวิธี ก ารจัด สร้ า งแบบประเมิ น คุ ณ ภาพหนัง สื อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เพื่อ นํ า มาสร้า งเป็ น แบบ ประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียน นําแบบประเมินคุณภาพของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 3. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีขั้นตอนดังนี้ 3.1 ศึ ก ษาวิ ธี ก ารสร้ า งแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นและเนื้ อ หาบทเรี ย นของหนั ง สื อ อิเล็กทรอนิกส์เรื่อง การใช้ห้องสมุด จากเอกสาร งานวิจัยและหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้าน วัดและประเมินผลตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและความถูกต้องด้าน เนื้อหา ภาษาที่ใช้ 3.2 ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านของความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการวัดจากการพิจารณา ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 คน โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากหนังสือการทดสอบแบบ อิงเกณฑ์ ของบุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2526: 69) คัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาคือ ดัชนีความสอดคล้อง 0.5 ขึ้นไป แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไขด้านภาษาในคําถามและตัวเลือก ข้อสอบที่ผ่าน เกณฑ์การประเมิน IOC เหลือจํานวน 36 ข้อ ไปหาคุณภาพของแบบทดสอบกับนักเรียนที่เคยผ่านการเรียน เรื่อง การใช้ห้องสมุด จํานวน 30 คน นําแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน จากนั้นนําคะแนนมาเรียงจากมากไป หาน้อยแล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้คะแนนสูงและกลุ่มที่ได้คะแนนต่ํา กลุ่มละ 15 คน (อุทุมพร จามรมาน, 2534) ได้ข้อสอบจํานวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.53 – 0.80 และค่าอํานาจ จําแนก อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.53 นําข้อสอบที่ผ่านการคัดเลือก จํานวน 30 ข้อ มาหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบโดยการใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson (ล้วน และอังคณา สายยศ, 2538) ผลจากการ วิเคราะห์ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 นําแบบทดสอบที่ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่น ไปใช้ในการทดสอบก่อน เรียน โดยทําการสลับตัวเลือกเพื่อนําไปใช้เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. แบบสอบถามความคิดเห็น มีขั้นตอนดังนี้ ศึกษาการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น จากเอกสารต่างๆ สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นที่ มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นําแบบสอบถามเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตรวจสอบ

145


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

วิธีการดําเนินการวิจัย ให้กลุ่มตัวอย่างทําแบบทดสอบก่อนเรียน จํานวน 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผู้วิจัยดําเนินการทดลองโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทราบและวิธีการเรียนด้วยหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ แล้วให้กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด โดยใช้เวลาเรียน 2 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที หลังจากเรียนเสร็จให้กลุ่มตัวอย่างทําแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จํานวน 30 ข้อ โดยใช้เวลา 30 นาที จากนั้นให้ทาํ แบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้เวลา 10 นาที

ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์ 1. ผลของการหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด สําหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 84.44/82.56 ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมา จากผู้วิจัยได้ทําการ ออกแบบและสร้ า งหนั ง สื อ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ อ ย่ า งเป็ น ลํ า ดั บ ขั้ น ตอน (ช่ ว งโชติ พั น ธุ เ วช, 2537) คื อ มี การ วิเคราะห์เนื้อหา การออกแบบบทเรียน และการสร้างบทเรียน มีการนําแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การสอนและทฤษฎีด้านจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบบทเรียนและใช้เทคนิคการนําเสนอเนื้อหาบน หน้าจอคอมพิวเตอร์ การจัดองค์ประกอบหน้าจอ การใช้ภาพ กราฟิก เสียง สีและตัวอักษร เพื่อการนําเสนอ เนื้อหาที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการรับรู้ (ไพฑูรย์ ศรีฟ้า, 2551) ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้าง หนังสือโดยศึกษาเนื้อหา เรื่อง การใช้ห้องสมุด จากคู่มือการสอน สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการ ตรวจสอบเนื้ อ หาจากอาจารย์ ป ระจํ า วิ ช า และผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นเนื้ อ หา ในขั้ น ตอนการสร้ า งหนั ง สื อ อิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้โปรแกรม Desktop Author ซึ่งสามารถแทรกข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และ แบบฝึกหัด และยังใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ในการตกแต่งภาพ ภาพพื้นหลังและสร้างตัวอักษร ได้รับ การตรวจสอบคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านการประเมินผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิต ด้าน เนื้อหา และด้านการวัดและประเมินผล โดยคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ประเมินผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคนิคการผลิตและด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.59 และ 3.93 อยู่ในระดับดี แล้วนําไปหาประสิทธิภาพ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านการทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างแต่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ 1. แบบเดี่ยว 2. แบบกลุ่ม 3. ภาคสนาม โดยแต่ละขั้นตอนได้มีการแก้ไขและปรับปรุงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนสอบก่อนเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุด กลุ่มตัวอย่างทําคะแนนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง กว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความรู้และความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สามารถนําเสนอทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์ เสียงบรรยาย การเชื่อมโยงข้อมูลแบบ ปฏิสัมพันธ์ ในรูปแบบมัลติมีเดียรวมอยู่ด้วยกัน ตัวอักษร ภาพพื้นหลังมีสีสันสวยงาม เหมาะสมกับกับนักเรียน นักเรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาแต่ละบทเรียน หรือจะเลือกเรียนซ้ําเพื่อทบทวนทวนได้ สามารถเรียนรู้ด้วย

146


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตนเอง มีเนื้อหาไม่มากจนเกินไป ไม่เกิดความเบื่อหน่าย และสีสันของตัวอักษรและตัวหนังสือที่ดูง่าย สบายตา การใช้ภาพในการสื่อสาร ทําให้มีความเพลิดเพลินในการเรียน อีกทั้งยังมีแบบฝึกหัดให้นักเรียนฝึกทําเพื่อ ทบทวนความรู้ในแต่ละบท 3. ความคิดเห็นโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างมีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.81 อยู่ ในระดับดี เนื่องจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบจากคณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบและให้คําแนะนําในการปรับปรุงในแต่ละด้าน มีขั้นตอนและ กระบวนการที่ละเอียด ทําให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพโดยรวมในระดับดี หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ ที่สามารถเสนอด้วยข้อความ เสียงและภาพ เป็นสื่อประสมทําให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปยังหน้าต่างๆได้ตามต้องการทําให้นักเรียนเกิดการรับรู้ได้ดี เนื้อหาความรู้เรื่อง การใช้ห้องสมุด ที่ผู้วิจัยสร้างเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เป็นเนื้อหาความรู้ขั้นพื้นฐาน มีความน่าสนใจ เป็น เรื่องใกล้ตัวของนักเรียนที่นักเรียนจะต้องนําไปปฏิบัติและนําไปใช้ในการดําเนินชีวิตและการศึกษาในระดับชั้นที่ สูงขึ้นต่อไปในอนาคต

ข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ 1. จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการเรียนการสอนนั้น สามารถลดภาระงานของครูและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียนได้ จึงควรมีการส่งเสริมให้ครูผู้สอน ในโรงเรียนนําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นสื่อหลัก สื่อเสริม สื่อเพิ่มเติม หรือสื่อช่วยสอนในการเรียนการ สอนภายในโรงเรียนให้มากขึ้น 2. ครูผู้สอนในโรงเรียนควรนําเนื้อหาในรายวิชาที่รับผิดชอบมาพัฒนาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาที่สอน 3. ผู้บริหารโรงเรียนควรให้การสนับสนุนการฝึกอบรม การให้ความรู้ในการสร้างและการพัฒนา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้กับครูผู้สอน บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนเพื่อนํามาใช้ในการเรียนการสอนให้มาก ยิ่งขึ้น 4. ควรนําข้อดี จุดเด่นที่เป็นประโยชน์ตามหลักการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปพัฒนาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยในครั้งต่อไป 1. ควรมี ก ารวั ด ความคงทนในการเรียนจากการเรี ย นด้ ว ยหนัง สื อ อิ เ ล็ก ทรอนิก ส์ เรื่อง การใช้ ห้องสมุด เพื่อยืนยันได้ผลการทดลองว่าการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีผลให้นักเรียนมีความคงทนใน การเรียนรู้หรือไม่อย่างไร

147


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2. ควรมีการวิจัย เพื่อหารูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนใน ระดับชั้นต่าง ๆ เพราะผู้เรียนแต่ละช่วงชั้นและแต่ละวัยจะมีความแตกต่างกันในหลายด้าน จึงควรมีการหา รูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนนั้น

เอกสารอ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง. 2548. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์. ช่วงโชติ พันธุเวช. 2535. การออกแบบและการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2533. เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฏีและการวิจัย. กรุงเทพฯ. โอ.เอส.พริ้น ติ้ง เฮ้าส์. นัยนา มามงคล. 2553. ห้องสมุดและการจัดหมวดหมู่หนังสือ (Online). http://www.lib.cru.in.th/crulibejournal/pic/ห้องสมุดและการจัดหมวดหมู่หนังสือ.doc, 8 มิถุนายน 2554. บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. 2526. หนังสือการทดสอบแบบอิงเกณฑ์. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท. ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. 2551. E-Book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์. ถนอมพร เลาจรัสแสง. 2541. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: วงกมลโปรดักชั่นจํากัด. ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. สุนทร คําวงส์. 2543. สภาพปัจจุบันปัญหาความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทาง การศึกษา สังกัดคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยของแก่น. อุทุมพร จามรมาน. 2534. ข้อสอบ : การสร้างและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

148


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ A Study of Students’ Achievement of Rajamangala University of Technology Lanna Nan in Nan province to ward Computer Assisted Instruction for Cell Devision สวาท สายปาระ เพลิฬ สายปาระ* บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้บทเรียนที่มีประสิทธิภาพไปใช้ในการสอน โดยใช้โปรแกรม Authorwaer version 7 ช่วย ในการสร้างบทเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดน่าน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จํานวน 20 คน เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบที (t-test) และหลังจากเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักศึกษามีความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ประมาณค่าเฉลี่ยเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่านักศึกษามี เจตคติ ที่ดีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คําสําคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การแบ่งเซลล์

Abstract The purposes of this research were to construct the Computer Assisted Instruction for Cell Division by using the authoring system called Authorware version 7. This program was intended to increase the efficiency in learning and teaching content. The program was tests on research sample that was consisting of 20 students who were 1 st year of science at faculty of Agriculture science and technology who regist in General biology subject in first semester in academic year 2008 Rajamangala University of Technology Lanna Nan in Nan province. The leaning achievement in the Computer Assisted Instruction for Cell Division was higher than before being done at the .01 level of significance and most students express in the level of good attitude towards the Computer Assisted Instruction for Cell Division. Keywords: Achievement, Students, Computer Assisted Instruction ,Cell devision *

นิสิตปริญญาโท (ภาคพิเศษ) สาขาวิชาธุรกิจศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

149


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

บทนํา การแบ่งเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหาวิชาชีววิทยาทั่วไป และวิชามนุษย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตาม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตและบริหารธุรกิจบัณฑิต หลายสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ได้แก่ สาขาพืชศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาระบบ สารสนเทศ สาขาการจัดการทั่วไป และสาขาการตลาด เป็นต้น ซึ่งขอบเขตของเนื้อหาจะกล่าวถึง “การแบ่ง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ คือ ระยะและขั้นตอนของการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบบไม โทซิส และไมโอซิส ตลอดจนศัพท์เทคนิคทางชีววิทยาเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ ” บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของ คอมพิวเตอร์ในการนําเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิกราฟ ภาพเคลื่อนไหว วีดิ ทัศน์ และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงการสอนจริงในห้องเรียน มากที่สุด คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะนําเสนอเนื้อหาทีละหน้าจอภาพ เนื้อหาความรู้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะ ได้ รั บ การถ่ า ยทอดในลั ก ษณะที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ ธรรมชาติ แ ละโครงสร้ า งของเนื้ อ หา เป้าหมายที่สําคัญก็คือการได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัว ต่อตั ว ซึ่ง ผู้เ รียนเกิดการเรียนรู้จากการปฏิสัม พั นธ์ห รื อการโต้ตอบ พร้ อ มทั้งการได้รับผลป้อ นกลับ อย่า ง สม่ํ า เสมอกั บ เนื้ อ หาและกิ จ กรรมต่ า งๆ ของคอมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอนที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การเรี ย น นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยัง เป็น สื่อที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง สามารถที่ จ ะประเมิ น และตรวจสอบความเข้ า ใจของผู้ เ รี ย นได้ ต ลอดเวลา ดั ง นั้ น ผู้ ส อนจะสามารถนํ า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปช่วยการสอนของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ถนอมพร (ตันติพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง, 2541) จากประสบการณ์ของผู้วิจัยซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้สอนในรายวิชาชีววิทยา ทั่วไป และรายวิชามนุษย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ พบว่า เนื้อหาเรื่องการแบ่งเซลล์ เป็นพื้นฐานที่จําเป็น สําหรับวิชาทางชีววิทยาขั้นสูงขึ้นไป เช่น วิชาพฤกษศาสตร์ วิชาสัตววิทยา วิชาพันธุศาสตร์ และวิชาการ ปรับปรุงพันธุ์พืชและการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เป็นต้น และประกอบกับเนื้อหาโดยรวมค่อนข้างซับซ้อน ยากต่อ ความเข้าใจ มีคําศัพท์ที่ต้องจดจํามาก ซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทําให้ผู้เรียนขาดความสนใจในเนื้อหาดังกล่าว จะทําให้นักศึกษาดังกล่าวไม่ประสบผลสําเร็จในการเรียนวิชาที่ต้องอาศัยเนื้อหาดังกล่าวเป็นพื้นฐาน รวมไปถึง อาจจะไม่ ป ระสบผลสํ า เร็ จ ในวิ ช าชี พ ของตนเองด้ ว ย และประกอบกั บ บทเรี ย นคอมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอนมี เป้าหมายที่สําคัญ คือสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ ในเนื้อหาวิชานั้นๆ ได้ ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยต้องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่ง เซลล์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยมุ่งเน้นสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ การทบทวน ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนให้แก่ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกันได้ โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการใช้สถานการณ์

150


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 จําลองในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นในรูปแบบแผ่นซีดี อีกทั้งยังสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ ตลอดจนศึกษาเจตคติของนักศึกษา ที่เรียนเนื้อหาเรื่องนี้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน โดยทําการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และนําบทเรียนที่ได้ไปตรวจสอบความเหมาะสม ด้านเนื้อหาโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และตรวจสอบความเหมาะสมของการนําเสนอทางด้านสื่อโดย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อการสอน หลังจากนั้นจึงนําไปใช้สอนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาชีววิทยาทั่วไป หลั กสูตรวิทยาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ที่เ ลื อ กมาเป็น ตัวอย่าง จํ า นวน 20 คน โดยทดสอบประมวลความรู้ โ ดยใช้ แ บบทดสอบผลสั ม ฤทธิ์ ท่ี ผู้ วิ จั ย สร้ า งขึ้ น ซึ่ ง ผ่ า นการ ตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมินผล และนําคะแนนสอบที่ได้มาวิเคราะห์เบื้องต้น โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การเรียนโดยใช้บทเรียนดังกล่าว โดยการเปรียบเทียบ คะแนนสอบก่อนและหลังเรียนบทเรียนดังกล่าว โดยใช้สถิติทดสอบที ที่ระดับนัยสําคัญ .01

วิธีการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาชีววิทยาทั่วไป ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาชีววิทยาทั่วไป ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จํานวน 20 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ 2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแบ่งเซลล์ 3. แบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ ขั้นที่ 2 ดําเนินการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบตามขั้นตอนย่อยต่อไปนี้ 1. จัดทําแผนภูมิ ข่ายงาน (Network analysis) ของเนื้อหา เพื่อนํามาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

151


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2. จัดลําดับขั้นตอนแผนการทํางานและแผนการสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4. หาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการนําไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการสอน ประเมินผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นที่ 3 นําแบบเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 1. นําแบบทดสอบก่อนเรียนไปทดสอบก่อนเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง 2. นําบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 3. นําแบบวัดเจตคติต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ กับกลุ่ม ตัวอย่าง 4. นําแบบทดสอบหลังเรียนไปทดสอบหลังเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง (วิรัช รักษาสกุล, 2550)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ เจตคติต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติทดสอบที

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลําดับดังนี้ 1. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ 2. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ 3. ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่เรียนเนื้อหาเรื่องการแบ่งเซลล์ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สามารถแปลความหมายของระดับคะแนนได้ ดังนี้ ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.21-5.00 3.41-4.20 2.61-3.40 1.81-2.60 1.00-1.80

ระดับเจตคติ ดีที่สุด ดี ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

152


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ โดยการเรียบเรียงเนื้อหา และสร้าง โดยใช้โปรแกรม Authorware 7 แล้วบันทึกลงแผ่นซีดี และสร้างคู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ (สราญ ปริสุทธิกุล, 2548) วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ ในการ เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ นักศึกษาจะต้องทําแบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังจากที่เรียนแล้วจะมีการทดสอบ หลังเรียน โดยเทียบกับเกณฑ์ 50% ตามที่ตั้งไว้

ผลการศึกษาวิจัย คะแนนสอบหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะสูงกว่าคะแนน สอบก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือมีนักศึกษาเพียง 1 คนที่มีคะแนนสอบก่อนใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เท่ากับหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเมื่อนําคะแนนสอบก่อนและหลังใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาแสดงดัง รูปที่ 1 คะแนนสอบของกลุ่มตัวอย่างก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ แตกต่าง จากคะแนนสอบหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อ พิจารณาคะแนนสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังตารางที่ 1 และรูปที่ 1 ประกอบ พบว่า คะแนนสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนสามารถสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่ง เซลล์ มีผลทําให้คะแนนสอบเฉลี่ยหลังใช้มากกว่าก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว หรืออีก นัยหนึ่งสามารถสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สูงขึ้น ตารางที่ 1 คะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการ แบ่งเซลล์ คะแนนจากการทดสอบก่อนเรียน (เต็ม 15 คะแนน) ร้อยละ ความถี่ คะแนน ของคะแนน ของคะแนน 1 6.66 1 2 13.33 5 3 20.00 6 4 26.66 4 5 33.33 3 6 40.00 1 หมายเหตุ: คะแนนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 50

คะแนนจากการทดสอบหลังเรียน (เต็ม 15 คะแนน) ร้อยละ ความถี่ คะแนน ของคะแนน ของคะแนน 5 33.33 4 6 40.00 2 7 46.66 5 8 53.33 3 9 60.00 3 10 66.67 3

153


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 จากตารางที่ 1 พบว่าผลการทดสอบก่อนเรียนปรากฏว่า ไม่มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์ ส่วนผลการ ทดสอบหลังเรียนปรากฏว่ามีนั กศึกษาสอบได้มากกว่าเกณฑ์ มีจํานวน 9 คน โดยคิด เป็นร้อยละ 45 ของ นักศึกษาทั้งหมด 12 คะแนนสอบกอนเรีย น คะแนนสอบหลังเรีย น

คะแนนสอบ

10 8 6 4 2 0 1

2

3

4

5

6

7

8

9

10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

นักศึกษา

รูปที่ 1 คะแนนจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ จากรูปที่ 1 พบว่าคะแนนสอบหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักศึกษาส่วนใหญ่จะสูง กว่าคะแนนสอบก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือมีนักศึกษาเพียง 1 คนที่มีคะแนนสอบก่อนใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเมื่อนําคะแนนสอบก่อนและ หลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาแสดงเปรียบเทียบกัน ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบคะแนนสอบของนักศึกษาตัวอย่างก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ ก่อนใช้ชุดการสอน หลังใช้ชุดการสอน p < 0.01

จํานวน 20 20

X

3.3 7.4

S .D.

1.30182 1.72901

สถิติทดสอบ t -8.082**

จากตารางที่ 2 พบว่าคะแนนสอบของนักศึกษาตัวอย่างก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ แตกต่างจากคะแนนสอบหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาคะแนนสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดัง ตารางที่ 1 และรูปที่ 1 ประกอบ พบว่า คะแนนสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนสามารถสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ มีผลทําให้คะแนนสอบเฉลี่ยหลังใช้มากกว่าก่อนการใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งสามารถสรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังกล่าวทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น

154


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ตารางที่ 3 แสดงผลการศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์

ปานกลาง

น้อย

น้อยที่สุด

ด้านเนื้อหา 1. เนื้อหามีความยากง่าย 2. เนื้อหาน่าสนใจ น่าศึกษา ค้นคว้า 3. เนื้อหาท้าทายความคิด และความสามารถของ ผู้เรียน 4. เป็นเนื้อหาที่เรียนแล้วเกิด ทักษะหลากหลาย 5. เนื้อหาสามารถเป็น พื้นฐานในการนําไป ประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย วิชาชีพ ด้านสื่อ 1. สามารถศึกษาค้นคว้าได้ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเข้า ชั้นเรียน 2. น่าสนใจ และทันสมัย เหมาะสําหรับผู้เรียน 3. ขั้นตอนการใช้ยุ่งยาก ซับซ้อน 4. ท้าทายความสามารถของ ผู้เรียน 5. สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้

มาก

รายการประเมิน

ส่วน ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบน ระดับเจตคติ มาตรฐาน

มากที่สุด

จํานวนนักศึกษา

7

12

1

0

0

3.7

.57124

ดี

6

11

3

0

0

4.2

.67082

ดี

5

10

5

0

0

4.0

.72548

ดี

6

10

4

0

0

4.1

.71818

ดี

3

10

4

3

0

3.7

.93330

ดี

6

5

7

1

0

3.8

.95819

ดี

8

5

6

1

0

4.0

.97333

ดี

1

9

5

4

1

3.3

1.01955

ปานกลาง

2

15

2

1

0

3.9

.64072

ดี

4

9

7

0

0

3.9

.74516

ดี

จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่า เจตคติด้านเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อพบว่า ข้อที่มากที่สุดคือ ข้อ 2 เนื้อหาน่าสนใจ น่าศึกษาค้นคว้า รองลงมาคือ ข้อ 4 เป็นเนื้อหาที่เรียนแล้ว

155


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 เกิดทักษะหลากหลาย และข้อที่น้อยที่สุดคือ ข้อ 1 เนื้อหามีความยากง่าย และข้อ 5 เนื้อหาสามารถเป็น พื้นฐานในการนําไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวิชาชีพ ส่วนเจตคติด้านเนื้อสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มากที่สุดคือ ข้อ 2 น่าสนใจ และทันสมัยเหมาะสําหรับผู้เรียน รองลงมาคือ ข้อ 4 ท้าทายความสามารถของผู้เรียน และข้อที่น้อยที่สุดคือ ข้อ 3 ขั้นตอนการใช้ยุ่งยาก ซับซ้อน

สรุปผลการศึกษา สรุปผลการศึกษา 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ ประกอบด้วยเนื้อหาที่สามารถเข้าใจง่าย ซึ่ง ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยการเรียบเรียงเนื้อหา และสร้างโดยใช้โปรแกรม Authorware 7 แล้วบันทึกลงแผ่นซีดี และสร้างคู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น 2. ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย นโดยใช้ บ ทเรี ย นคอมพิ ว เตอร์ ช่ ว ยสอน เรื่ อ งการแบ่ ง เซลล์ พบว่ า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่งเซลล์ หลังได้รับการสอนสูงกว่า ก่อนการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เจตคติของนักศึกษาที่เรียนเนื้อหา โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์ ได้แก่ ด้านเนื้อหา โดยภาพรวมมีเจตคติอยู่ในระดับดี และด้านสื่อ โดยภาพรวมมีเจตคติอยู่ในระดับดี ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การแบ่งเซลล์ ด้านเนื้อหา ที่พบมากที่สุดคือเนื้อหามีน้อยเกินไป รองลงมาคือไม่แสดงความคิดเห็น และน้อย ที่สุด คือ เวลาไม่เข้าใจไม่มีที่ปรึกษา อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ขาดความน่าสนใจ เนื้อหาไม่กระชับทําให้เกิด ความสับสนและตอบไม่ถูก มีสาระ เข้าใจยาก ด้านสื่อ จากการศึกษาพบว่า ที่พบมากที่สุดคือไม่แสดงความคิดเห็น รองลงมาคือเป็นสื่อที่ดีมี สาระ และน้อยที่สุดคือ ไม่มีปัญหา เข้าใจง่าย และไม่เหมาะสําหรับคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การแบ่งเซลล์ ด้านเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า ที่พบมากที่สุดคือควรเพิ่มเนื้อหาให้มากกว่านี้ รองลงมาคือ ไม่แสดงความคิดเห็น และน้อยที่สุดคือ อยากให้แก้ไขเรื่องการตอบคําถาม ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ควรจะ สรุปและกระชับกว่านี้ ด้านสื่อ จากการศึกษาพบว่า ที่พบมากที่สุดคือไม่แสดงความคิดเห็น รองลงมาคือ น่าจะทํา ระบบออนไลน์ และน้อยที่สุดคือ ให้มีมากๆ

156


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

อภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการแบ่ง เซลล์ หลังได้รับการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นเพราะบทเรียนที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีทั้ง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ สามารถเรียนกลับไปกลับมาได้ ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และกระตุ้นให้เกิดความสนใจมากขึ้นส่งผลทําให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนดีขึ้น ดังที่ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541) ระบุเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทําให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และผลที่ได้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศินุพล พิมพ์พก (2550) ที่ได้ทําการวิจัยในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนสูงขึ้นหลังจากได้รับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดังนั้นการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ และเจตคติของนักศึกษาที่เรียนเนื้อหา โดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแบ่งเซลล์โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีซ่ึงส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้นด้วย

ข้อเสนอแนะ 1. ผู้สอนควรเตรียมความพร้อมของผู้เรียนและห้องที่ใช้ในการเรียนการสอน เนื่องจากผู้เรียนบางคน ไม่มีความพร้อมด้านความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ 2. ควรสร้างสื่อที่มีหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อสะดวกแก่การศึกษา 3. ควรมีการทําวิจัยเพื่อสร้างบทเรียนอื่นๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป กิตติกรรมประกาศ งานวิ จั ย เรื่ อ งนี้ ไ ด้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น การทํ า วิ จั ย จากเงิ น งบประมาณของมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา น่าน ผู้วิจัยขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ เอกสารและสิ่งอ้างอิง ถนอมพร (ตันติพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. 2541. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทวงกมลโพรดักชัน จํากัด. วิรัช รักษาสกุล. 2550. การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนช่วยสอน เรื่องสมรรถภาพทางกาย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 1 (1), 89 - 96. สราญ ปริสุทธิกุล. 2548. สร้าง CAI และ E-Learning ด้วย Authorware ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย. ศินุพล พิม พ์พ ก. 2550. ผลการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่สํ าหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 . ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

157


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ผลการเรียนรู้จากการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรี Learning outcomes of using teaching tool through the Internet network for tutoring table tennis course in undergraduate จุฑามาศ บัตรเจริญ* บทคัดย่อ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้จากการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรี และความพึงพอใจต่อการ เรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของนิสิตปริญญาตรี จํานวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วยเครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิล เทนนิสที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น แบบสอบถามความพึงพอใจ และการบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่มคําตอบตามความสอดคล้องของการจัดกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า นิสิตได้รับผลการเรียนรู้เพิ่มเติมด้านความรู้ในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา การ คิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส และเจตคติในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา และจากการนํา เครื่องมือไปใช้ นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมใน รายวิชาเทเบิลเทนนิสภาพรวมในระดับดีมาก คําสําคัญ: ผลการเรียนรู้ เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สอนเสริมในรายวิชา เทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรี

Abstract The purpose of this research were to study the learning outcome of using learning teaching tool through the Internet network for tutoring table tennis course in undergraduate level and to study the satisfaction in teaching through Internet of 52 undergraduate students. Research instruments were learning teaching tool through Internet for tutoring table tennis course in undergraduate which was developed by the researcher, satisfaction questionnaire, and the student learning logs. Data were analyzed by using frequency, percentage, content analysis, and classification based on the consistency of activities. Research results were found that students enhanced their knowledge in exercise and playing sports, critical thinking skills in playing table tennis, and attitudes in exercise and playing sports. *

อาจารย์ประจําสาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

159


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 According to the tools of using students' satisfaction with learning teaching through the Internet network for tutoring table tennis course, this was at very good level. Key words: Learning outcome, the tool of learning teaching through the Internet network, tutoring table tennis course in undergraduate level

บทนํา ครูผู้สอนมีบทบาทที่สําคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการเป็นผู้จัดหาและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ กั บ ผู้ เ รี ย นให้ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาเต็ ม ตามศั ก ยภาพของผู้ เ รี ย น ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ สาระสํ า คั ญ เกี่ ย วกั บ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 9 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ในมาตรา 65 และ 66 ที่ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรกที่ทําได้ อันจะนําไปสู่ การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จะเห็นได้ว่าครูผู้สอนและผู้เรียนจําเป็นจะต้องมี ทักษะในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในปัจจุบัน ในยุค ของสั ง คมเครื อ ข่ า ย ดั ง นั้ น การจั ด การเรี ย นการสอนจึ ง จํ า เป็ น ต้ อ งมุ่ ง เสริ ม สร้ า งให้ ผู้ เ รี ย นมี ค วามรู้ ความสามารถ ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อจะได้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน สามารถขยายขอบเขต ความรู้ได้กว้างขึ้นและมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารสําหรับการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์การเป็นครูผู้สอนพลศึกษาของผู้วิจัย พบว่าครูผู้สอนพลศึกษาที่สอน รายวิชากิจกรรมพลศึกษาทั่วไป กีฬาเทเบิลเทนนิสนั้น ส่วนใหญ่เน้นการเรียนการสอนในชั่วโมงเรียน โดยทํา การสอนทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป มีการมอบหมายงานให้นิสิตได้ทําในห้องเรียนจากเอกสารใบงานและ การทํารายงานค้นคว้าจากนอกชั้นเรียน ในการเรียนการสอนนั้นผู้สอนไม่สามารถสอนนิสิต ได้ครบเวลาเรียน 15 สัปดาห์ ตามที่กําหนดได้ครบถ้วน เนื่องจากบริเวณสถานที่ใช้สอนนั้นไม่ใช่สถานที่สําหรับการเรียนการ สอนเทเบิลเทนนิสแต่เพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติที่ผู้สอนได้อธิบาย สาธิต หรือการมอบหมายงานกับนิสิตนั้น บางครั้งอาจจะอธิบาย สาธิต ไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจนพอ ประกอบกับ นิสิตอาจหลงลืมในสิ่งที่ผู้สอนได้สอน อธิบาย หรือสาธิตได้ นอกจากนั้นการนัดหมายนิสิตนอกเวลาเรียน เป็นไปได้ยาก เนื่องจากนิสิตมีเป็นจํานวนมาก มาจากหลายคณะ และตารางเวลาเรียนไม่ตรงกัน ในทุ ก ปี ก ารศึ ก ษาผู้ วิ จั ย ในฐานะครู ผู้ ส อนพลศึ ก ษา ได้ ส อนนิ สิ ต ทั่ ว ไปที่ ม าจากคณะต่ า งๆ ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทเบิลเทนนิส จํานวน 1 หน่วยกิต เรียน 2 ชั่วโมงต่อ ครั้ง จํานวน 15 สัปดาห์ ซึ่งเป็นรายวิชาเลือกในหมวดการศึกษาทั่วไปของการเรียนการสอนในระดับปริญญา ตรี โดยเป็นการเรียนภาคปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นิสิตได้ออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ สามารถประยุกต์นํา กีฬาไปใช้ในการออกกําลังกายในชีวิตประจําวันหรือในยามว่างได้ สําหรับวัตถุประสงค์ในการเรียนรายวิชาเท เบิลเทนนิสนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเล่นเทเบิลเทนนิสและการแข่งขัน มีทักษะในการเล่นเทเบิล เทนนิสและเป็นผู้เล่น ผู้ดูที่ดี มีเจตคติที่ดีต่อการออกกําลังกาย ประเมินสมรรถภาพทางกายของตนเองได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การแต่งกาย การสนใจ ในชั้นเรียนและการใช้เทคโนโลยีในการเรียน ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสําคัญและปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการ

160


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 สอนวิชาเทเบิลเทนนิส ดังนั้นเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ในสิ่งที่ได้เรียนไป หรือได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในด้าน ความรู้ต่าง ๆ ที่นิสิตควรจะได้รับ จึง ควรหาช่องทางในการสื่อสารหรือระบบการเรียนการสอนในการจัด กิจกรรมเสริมการเรียนให้กับนิสิต ได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนหรือในช่วงที่หยุดเรียน สามารถเรียน ได้ทุกที่ทุกเวลา นอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัย พบว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นมิติแห่งการเรียน แนวใหม่ที่ได้ประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ากับการเรียนการสอน เป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองจากที่ใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึงเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ และสามารถเรียนในเวลาที่ ตนเองสะดวก ทั้งนี้เป็นการเรียนที่อาศัยการศึกษาด้วยตนเองจากโปรแกรมที่สร้างด้วยไฮเปอร์มีเดีย และ กิจกรรมทางการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบให้ผู้เรียนโต้ตอบอภิปรายเพื่อการเรียนรู้ (ใจทิพย์ ณ สงขลา, 2546) นอกจากนั้นแล้วการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web- based Instruction) เป็นการรวมคุณสมบัติของสื่อหลายมิติ (Hypermedia) กับคุณลักษณะของอินเทอร์เน็ตและเวิล์ดไวด์เว็บมาออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุก เวลา โดยมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน ได้แก่ เว็บบอร์ด (Web Board) และห้องสนทนา (Chat room) ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ ดังนั้นผู้สอนจึงให้ความสําคัญกับเรื่อง ดังกล่าวและเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น จึงได้สนใจที่จะศึกษาผลการเรียนรู้จากการใช้เครื่องมือ การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรี เพื่อ เป็นการเสริมการเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์รายวิชาได้อย่างครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้จากการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับ สอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรี ให้นิสิตได้เกิดผลการเรียนรู้เพิ่มเติมด้านความรู้ในการ ออกกําลังกายและเล่นกีฬา การคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส และเจตคติในการออกกําลัง กายและเล่นกีฬา 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับ สอนเสริม ในรายวิชาเทเบิลเทนนิสระดับปริญญาตรี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ครูผู้สอนในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ระดับปริญญาตรีมีเครื่องมือและวิธีการใช้งานเครื่องมือการเรียน การสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับสอนเสริม ใช้เป็นตัวอย่างหรือแนวทางในการพัฒนาผลการเรียนรู้ ของนิสิตระดับปริญญาตรี

161


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ขอบเขตการวิจัย กลุ่ ม เป้ า หมาย ผู้ วิ จั ย ทํ า การศึ ก ษาเฉพาะนิ สิ ต ชาย 28 คนและหญิ ง 24 คน ระดั บ ปริ ญ ญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หมู่เรียน 11 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทเบิลเทนนิส ประจํา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2553 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์2554 จํานวน 52 คน ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาในวิชาเทเบิลเทนนิสที่สร้างเป็นสื่อเสริม ประกอบไปด้วยเนื้อหา ความรู้ใน การออกกําลังกายและเล่นกีฬา การคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส เจตคติในการออกกําลัง กายและเล่นกีฬา

นิยามศัพท์ เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส หมายถึง เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทาง http://www.juthamas.pekaset.com ที่พัฒนาจาก Simple Machines Forum (SMF) ซึ่งเป็นเว็บบอร์ดสําเร็จรูป ใช้สําหรับการเรียนการสอนผ่านเว็บ ที่ออกแบบเป็นเว็บเพื่อการเรียน การสอนเทเบิลเทนนิส โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ ที่สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมี ลักษณะที่นิสิตและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ http://juthamas.pekaset.com หมายถึง ที่อยู่ของเว็บไซต์เครื่องมือการเรียนการสอนที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง นิสิตสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยอาศัย โปรแกรมที่ใช้เปิดเว็บ (Browser) เช่น Internet Explorer หรือ Firefox โดยกําหนดให้นิสิตใช้งานได้ต้องทําการ ลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกก่อน เมื่อนิสิตได้รับการตอบยืนยันจากผู้สอนแล้วจึงจะเข้าไปร่วมทํากิจกรรม ต่างๆ บนเว็บได้ การสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส หมายถึง การจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาเทเบิลเทนนิส นอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ โดยการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางให้มีการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนให้เกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ การเรียนที่นิสิตมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและกิจกรรมที่เตรียมโดยผู้สอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย รวมทั้ง แหล่งของสาระความรู้อื่น ๆ บนเวิล์ดไวด์เว็บ และการเรียนที่นิสิตมีการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกับนิสิต อื่นตามกิจกรรมการเรียนที่ผู้สอนกําหนดให้ ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา หมายถึง ข้อมูลด้านความรู้ในการออก กําลังกายและเล่นกีฬาจากบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต โดยการทํากิจกรรมเสริมความรู้ในการออกกําลังกาย และเล่นกีฬา ผลการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส หมายถึง ข้อมูลด้านการคิด วิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสจากบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต โดยการทํากิจกรรมเสริมการคิด วิเคราะห์ทักษะในการเล่นเทเบิลเทนนิส

162


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ผลการเรียนรู้ด้านเจตคติในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา หมายถึง ข้อมูลด้านเจตคติในการออก กําลังกายและเล่นกีฬาจากบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต โดยการทํากิจกรรมเสริมในการออกกําลังกายและเล่น กีฬา ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับสอนเสริม ในรายวิชาเทเบิล เทนนิส หมายถึง ความรู้สึกในด้านดีและไม่ดีต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับสอนเสริม ในรายวิชาเทเบิลเทนนิส

ระเบียบวิธีวิจัย วิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฎิบัติการในชั้นเรียน

กลุ่มเป้าหมาย นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเทเบิลเทนนิส หมู่เรียน11 ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2553 จํานวน 52 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส โดยผ่านการทดลองใช้จากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 4 ท่าน และนิสิตปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนในหมู่เรียนอื่น จํานวน 15 คน พบว่าเครื่องมือสามารถนําไปใช้ได้จริง ซึ่งมีคุณสมบัติของเว็บที่สามารถนําเสนอข้อมูลได้ทั้ง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (Links) ไปตําแหน่งต่างๆ ได้ และมีช่องทาง การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนไม่จํากัดด้วยสถานที่ 2. แบบบันทึกการเรียนรู้ของนิสิต จากการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้เรียนได้สะท้อน ออกมาโดยการเขียนสิ่งที่ตนเองได้รับและเรียนรู้หลังจากเสร็จสิ้นในแต่ละกิจกรรม โดยใช้กิจกรรมการสอน เสริมที่มอบหมายให้นิสิตทําบนเว็บ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี จากการสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส โดยใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นแบบสอบถามปลายเปิดและแบบมาตรวัดประมาณค่า 4 ระดับ เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเด็นคุณภาพของ เครื่องมือที่ใช้สอน ความรู้ที่ได้รับ การแก้ปัญหาการเรียน และการใช้เทคโนโลยี

การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการดําเนินการเก็บข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลดังนี้ 1. ผู้วิจัยดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและนําเครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่พัฒนาขึ้นไปให้นิสิตได้ศึกษาด้วยตนเอง

163


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 2. รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกการเรียนรู้จากนิสิต ที่ได้มอบหมายให้ทํากิจกรรมเสริมความรู้ใน การออกกําลังกายและเล่นกีฬา กิจกรรมเสริมการคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นเทเบิลเทนนิส กิจกรรมเสริม เจตคติในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา โดยใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ได้ สอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส แล้วมาวิเคราะห์สรุปผลการเรียนรู้ที่นิสิตได้รับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 3. นําเครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปใช้สอนนิสิต โดยอธิบายวิธีการใช้งาน วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนมารยาทในการใช้เทคโนโลยีในสัปดาห์ที่สามของการเรียนการ สอน หลังเสร็จสิ้นการสอนในสัปดาห์สุดท้ายได้ทําการสอบถามความพึงพอใจของนิสิต โดยใช้แบบสอบถาม ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส ในช่วงเทอมปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2554

การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกผลการเรียนรู้ของนิสิต โดยการอ่านคําตอบในบันทึกการเรียนรู้ อย่างละเอียด แล้วจัดกลุ่มคําตอบพร้อมกับความถี่ของคําตอบตามประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ ด้านความรู้ในการ ออกกําลังกายและเล่นกีฬา ด้านการคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส และด้านเจตคติในการ ออกกําลังกายและเล่นกีฬา 2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตจากการสอนเสริมในรายวิชาเทเบิล เทนนิส จากการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ

ผลการวิจัย 1. การศึกษาผลการเรียนรู้จากการทํากิจกรรมที่มอบหมายบนเว็บโดยการบันทึกการเรียนรู้ ในด้าน กิจกรรมเสริมความรู้ในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา พบว่านิสิตส่วนใหญ่ทราบระดับสมรรถภาพทางกาย ของตนเองเมื่อเทียบกับเกณฑ์ทําให้สามารถปรับปรุงสมรรถภาพทางกายให้ดีขึ้นได้ และรู้จักกฎ กติกา กีฬา ประเภทต่างๆ มากขึ้น ด้านกิจกรรมเสริมการคิดวิเคราะห์ทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส พบว่านิสิตส่วน ใหญ่มองด้านความสัมพันธ์ของจังหวะในการตีลูกกับการกระดอนของลูกว่าต้องสอดคล้องกันและสามารถ สรุปได้ว่าการเคลื่อนที่เป็นสิ่งสําคัญในการเล่น ต้องฝึกการเคลื่อนที่ให้ถูกต้อง น้ําหนักในการตีลูกจะต้องไม่ตี ลูกเบาหรือแรงเกินไป ด้านกิจกรรมเสริมเจตคติในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา พบว่านิสิตส่วนใหญ่ที่เข้า ร่วมกิจกรรมทําให้นิสิตสนใจหันมาออกกําลังกายเป็นประจํามากขึ้น ทําให้ร่างกายของตนเองแข็งแรงทําให้มี สุขภาพที่ดี จิตใจแจ่มใส 2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนิสิต พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตสําหรับสอนเสริม ในรายวิชาเทเบิลเทนนิส อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านคุณภาพ ของเครื่องมือที่ใช้สอน นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยเห็นว่าเครื่องมือที่ใช้มีความสมบูรณ์ มีความสะดวก ในการใช้ และมีขั้นตอนในการใช้งานที่ง่าย ด้านความรู้ท่ีได้รับ นิสิตเห็นว่าสามารถสนับสนุนให้นิสิตค้นคว้าหา ความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ด้านการแก้ปัญหาการเรียนนิสิตเห็นว่า มีความเป็นอิสระในการเรียนมากขึ้น ด้าน การใช้เทคโนโลยี นิสิตเห็นว่า มีช่องทางให้ติดต่อสื่อสารกับอาจารย์มากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังพบว่านิสิตส่วน

164


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 น้อยมีความพึงพอใจในระดับน้อยในด้านความรู้ท่ีได้รับ คือช่วยให้ทบทวนเนื้อหาได้มากขึ้น กระตุ้นให้นิสิต เข้าใจและให้ความสําคัญของการออกกําลังกาย ด้านการแก้ปัญหาการเรียน คือ ช่วยให้นิสิตที่ขาดเรียน ทบทวนเนื้อหาที่ไม่ได้เรียนจากกระทู้งานของกลุ่มได้

สรุปและอภิปรายผล 1. การศึกษาผลการเรียนรู้จากการมอบหมายงานและกิจกรรมเสริมให้ทํา จากเครื่องมือการเรียน การสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น พบว่านิสิตได้รับผลการเรียนรู้ด้านความรู้เพิ่มเติม คือ ทราบ ระดับสมรรถภาพทางกายของตนเองและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายให้ดีขึ้น ทําให้นิสิตได้รู้จักกฎ กติกา กีฬา ประเภทต่างๆ มากขึ้น โดยกิจกรรมเสริมการคิดวิเคราะห์ ทักษะในการเล่นเทเบิลเทนนิสนั้น นิสิตได้รับผลการ เรียนรู้เพิ่มเติมน้อยกว่ากิจกรรมเสริมความรู้และกิจกรรมเสริมเจตคติในการออกกําลังกายและเล่นกีฬา อาจ เนื่องมาจากงานการคิดวิเคราะห์เกมการแข่งขัน การคิดวิเคราะห์ทักษะการเล่นของนักกีฬาเทเบิลเทนนิส การ คิดวิเคราะห์จุดบกพร่องของตนเอง และการคิดวิเคราะห์แก้ไขทักษะในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสนั้นมีความ ยาก เพราะหากนิสิตมีทักษะไม่ดี ประกอบกับการขาดประสบการณ์ในการคิดวิเคราะห์ทักษะกีฬา หรือมีพื้น พื้นฐานความรู้ท่ีแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ระดับ คือ ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ระดับ 1 -3 เป็น ระดับขั้นต่ําหรือง่าย ระดับ 4 – 6 จัดเป็นขั้นสูงหรือระดับยาก ประกอบกับนิสิตมาจากหลากหลายคณะ จึงทํา ให้ผลการเรียนรู้เพิ่มเติมด้านการคิดวิเคราะห์ทักษะกีฬาน้อยกว่ากิจกรรมเสริมด้านอื่น ๆ ดังนั้นการสอนทักษะ การคิดวิเคราะห์ทักษะกีฬาให้กับนิสิตได้มีความรู้เข้าใจก่อนจึงมีความจําเป็นสําหรับนิสิต ซึ่งสอดคล้องกับ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2546 ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์ คือ ความสามารถในการ ตีความ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ ความช่างสังเกต ช่างสงสัยและช่างถาม นักคิดวิเคราะห์ จะต้องมีองค์ประกอบทั้งสามนี้ร่วมด้วย 2. การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสําหรับสอน เสริมในรายวิชาเทเบิลเทนนิส พบว่านิสิตที่เรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะด้านคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้สอน มีความสมบูรณ์ มีความสะดวกในการใช้ และมี ขั้นตอนในการใช้งานที่ง่าย สามารถสนับสนุนให้นิสิตค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น มีความเป็นอิสระใน การเรียนมากขึ้น มีช่องทางให้ติดต่อสื่อสารกับอาจารย์มากขึ้น สอดคล้องกับ (ศรากร บุญปถัมภ์, 2549) ได้ ทําวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการจัดแสงในห้องถ่ายภาพ วิชาการถ่ายภาพ สําหรับ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงปีที่ 1 แผนกวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม คณะวิชาศิลปกรรม โดยใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญ และผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสอดคล้องกับ (วรวิทย์ นิเทศศิลป์,2551) ที่กล่าวถึงประโยชน์และความสําคัญของสื่อกับผู้เรียนว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่าง มีประสิทธิภาพ กระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน ช่วยเสริมสร้างลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหา ความรู้ ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนการสอนดียิ่งขึ้น ทําให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ และสอดคล้องกับ (ถนอม พร เลาหจรัสแสง, 2544) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนการสอนบนเว็บว่ามีข้อดีเป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้าชั้นเรียนได้เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่

165


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 บ้าน ที่ทํางาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียงที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่ จําเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาที่กําหนดไว้จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจํากัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษาของผู้เรียนเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีนิสิตที่มีความพึงพอใจต่อการเรียนการ สอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในระดับน้อยในด้านการแก้ปัญหาการเรียน คือช่วยให้นิสิตที่ขาดเรียน ทบทวน เนื้อหาที่ไม่ได้เรียนจากกระทู้งานของกลุ่มได้ 6 % จํานวน 3 คนนั้น เนื่องจากผู้สอนไม่ได้เน้นงานมอบหมาย เป็นรายกลุ่ม แต่เน้นเป็นรายบุคคล หากงานกลุ่มใดทํางานที่ศึกษาค้นคว้ามาได้ละเอียดครบถ้วน และส่งงาน ตรงตามที่กําหนด ก็จะทําให้นิสิตที่ขาดเรียน ทบทวนเนื้อหาที่ไม่ได้เรียนมากขึ้น

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. ในการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สําหรับสอนเสริมในรายวิชาเท เบิลเทนนิสที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้น ผู้สอนควรให้เวลากับนิสิตในการเข้าไปทํากิจกรรมในเว็บ ตามที่ผู้สอน กําหนดตั้งแต่ต้นเทอม สําหรับการศึกษาค้นคว้าได้มากยิ่งขึ้น 2. การให้นิสิตทํากิจกรรมเสริมการคิด วิเคราะห์ทักษะกีฬานั้น ผู้สอนควรเตรียมความรู้พื้นฐานการ คิดวิเคราะห์ทักษะกีฬาให้กับนิสิตได้มีความรู้ ความเข้าใจก่อนทํากิจกรรม 3. ควรมีการมอบหมายกิจกรรมงานกลุ่มให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการทํางานเป็นทีม 4. การบันทึกผลการเรียนรู้ของนิสิตผู้สอนควรให้แนวทางหรือประเด็นการสะท้อนความคิดของ นิสิตอย่างเป็นระบบ

เอกสารอ้างอิง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2546. การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย. ใจทิพย์ ณ สงขลา. 2546. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบเน้นวิจัยผ่านเว็บเพื่อความใฝ่รู้ของนิสิต ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2544. “การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพ การเรียนการสอน.” วารสารศึกษาศาสตร์. 28 (1): 87-94. วรวิทย์ นิเทศศิลป์. 2551. สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์. ศรากร บุญปถัมภ์. 2549. การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการจัดแสงในห้องถ่ายภาพ วิชาการถ่ายภาพ สําหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงปีที่ 1 แผนกวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม คณะ วิชาศิลปกรรม โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วิทยาลัย อาชีวศึกษา เชียงราย.

166


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

การสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผูต้ ัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อรรถกร เวชการ* บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content- validity) โดย การประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน หาค่าความเชื่อถือได้ (reliability) โดยวิธีทดสอบซ้ํา (test-retest) ห่างกัน 1 สัปดาห์ และหาค่าความเป็นปรนัย (objectivity) โดยใช้ผู้ประเมิน (evaluator) 2 คน กับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จํานวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จํานวน 4 ชุด มีดังนี้ 1) การดําเนินการขณะตัดสินและใช้ สัญญาณต่าง ๆ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.92 และมีความเป็นปรนัย 2) การ ตัดสินตามกฎกติกาบทลงโทษและการควบคุมการแข่งขัน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.91 และมีความเป็นปรนัย 3) ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตําแหน่งทิศทางและความรับผิดชอบใน พื้นที่ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.90 และมีความเป็นปรนัย 4)ความสัมพันธ์กับ ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ตัดสินที่ 4 และประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่พื้นที่ มีความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.90 และมีความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.91 สรุปได้ว่า มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคุณภาพ สามารถนําไปใช้ในการวัดและประเมินผู้ตัดสินฟุตบอล ชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้

ABSTRACT The purpose of this study was to construct the competency rating scale the 1st class referee of the Football Association of Thailand under the patronage of His Majesty the King. The content validity of the scale competency rating was evaluated by 5 experts. The test-retest method was applied to determine the reliability in seven days interval and the objectivity by scoring judgment of two evaluators for referee the Football Association of Patronage of His Majesty the King. *

นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

167


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 The results of the competency rating scale were as follow: 1) the process of judgment and sign has validity, reliability of 0.92 and objectivity 2) The rule of judgment and punishment obtain the content validity, reliability of 0.91 and objectivity 3) The strength, the content validity, reliability of 0.90 and objectivity 4) The relationship with the assistant referee, the fourth referee and the effectiveness of the duty , the content validity, reliability of 0.90 and objectivity of 0.91 It was concluded that the competency rating scale possessed satisfactory quality for an application to scale the 1st class referee of the Football Association of Thailand under the Patronage of His Majesty the King. In addition, the competency scale can be used to measure and evaluate the referee the Football Association of Patronage of His Majesty the King Keyword: A Construction of Competency

ที่มาและความสําคัญของปัญหา กีฬ าฟุตบอลเป็ นกีฬาที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทย โดยจะเห็ นได้จากการจัด ให้มีก ารแข่ง ขั น ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ดิวิชั่น 1 และฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 กีฬาฟุตบอลจะเล่นกันให้เกิดความ สนุกสนานเร้าใจ ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้านช่วยส่งเสริม สนับสนุน โดยเฉพาะด้านบุคลากร ดัง ที่ ปรีชา เผือกขวัญดี (2531:1) กล่าวว่าในการที่ประเทศไทยจะพัฒนาให้กีฬาฟุตบอลประสบความสําเร้จนั้นสิ่ง สําคัญที่เป็นองค์ประกอบนั้นคือ นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีม ผูส้ ื่อข่าว ผู้ดูผู้ชม ผู้ตัดสิน วัสดุอุปกรณ์และสิ่ง อํานวยความสะดวกรวมทั้งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรายการแข่งขันในรายการ ที่สําคัญๆ ของประเทศไทยนั้น ผู้ตัดสินถือเป็นองค์กรสําคัญยิ่งที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถ ของนักกีฬา ฟุตบอลเพราะหากผู้ตัดสินทําหน้าที่ตัดสินไม่ทันเกม อาจจะด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้ เรื่องของสมรรถภาพทาง กาย ความยุติธรรม และเรื่องของการตัดสินใจ ผลที่ตามก็จะทําให้นักกีฬาฟุตบอล เมื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ระดับนานชาติแล้วจะเสียเปรียบคู่แข่งขันอย่างมากเป็นผลต่อส่วนรวมต่อไป ผู้ตัดสินฟุตบอลเป็นองค์ประกอบที่สําคัญอย่างหนึ่งที่จะทําให้กีฬาฟุตบอลมีการพัฒนามากขึ้น การที่ ผู้ตัดสินไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีความแม่นยําในกติกา ขาดประสบการณ์ สมรรถภาพทางร่างกายไม่มีความ พร้อม จะทําให้เกิดปัญหาในการแข่งขันครั้งนั้น การที่จะคัดเลือกผู้ตัดสินที่มีคุณภาพลงทําหน้าที่ตัดสินในการ แข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ดิวิชั่น 1 และฟุตบอลลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 จําเป็นต้องมีประสบการณ์ในการ ตัดสินเป็นอย่างดี แต่จากการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการคัดเลือกผู้ตัดสินที่มีคุณภาพ คือ ยัง ขาดมาตรวัดประมาณค่าสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลที่มีความเป็นมาตรฐาน วิริยา บุญชัย (2529: 327) ได้กล่าว ว่าการประเมินค่าทักษะต่าง ๆ ซึ่งข้อทดสอบแต่ละข้อมีรายละเอียดเพิ่มเติมจะช่วยให้การประเมินผลโดยครู มี ความเป็นปรนัยมากขึ้น แบบทดสอบที่กล่าวมาแล้วมีลักษณะเป็นแบบปรนัย ดังนั้นครู (ผู้ทดสอบ) ไม่มีผลต่อ การให้คะแนนนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแตกต่างไปจากการประเมินผลโดยครูอย่างเดียว เพราะการกําหนด หรือ ให้คะแนนไม่แน่นอน การให้คะแนนขึ้นอยู่กับครูเพียงผู้เดียว ถึงแม้การประเมินค่าจะขาดคุณลักษณะต่าง ๆ ไป

168


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 แต่ก็ ยัง มี ค วามจํ าเป็นในการประเมินผลวิชาพลศึกษา เพราะกิจกรรมบางประเภทไม่สามารถวั ด ได้ด้ว ย แบบทดสอบแบบปรนัย กิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ ยิมนาสติก ดังนั้น มาตรวัดประมาณค่า (rating scale) จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนําไปวัดและประเมินผล ใน รู ปแบบของการวั ดสมรรถนะเชิ งคุ ณภาพได้ เพราะมี ความเที่ ยงตรง มี ความเชื่ อมั่ นและมี ความเป็ นปรนั ย มี หลักเกณฑ์การให้คะแนนที่มาตรฐาน ยุติธรรม ไม่ลําเอียง ผู้ทําการทดสอบสามารถตัดสินความสามารถของตัดสิน ฟุตบอลได้ชัดเจน จากความสําคัญและปัญหาดังที่กล่าวมา ในการวัดและประเมินผลสมรรถนะผู้ตัดสินฟุตบอล จึงควรมี การวัดและประเมินในด้านคุณภาพ เช่นเดียวกันกับการวัดและประเมินผลสมรรถนะกีฬาประเภทอื่นๆ นอกจากนั้น จากการค้นคว้าเอกสารไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่ามีการสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอล ขึ้นใช้ในการวัดและประเมินความสามารถของผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ในฐานะผู้วิจัย ปัจจุบันเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติ จึงสนใจที่จะสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรง ความเชื่อถือ และความเป็นปรนัย ในการวัดและประเมินผล เพื่อนําไปใช้ในการคัดเลือกเลื่อนชั้นผู้ตัดสินฟุตบอลนานาชาติ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. ได้มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์ที่มีคุณภาพ 2. เป็นแนวทางให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นํามาตรวัดประมาณค่า สมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลไปใช้คัดเลือกหรือประเมินผู้ท่ีจะเข้ามาเป็นผู้ตัดสินและสอบเลื่อนชั้นผู้ตัดสิน ของสมาคม เพื่อพัฒนาผู้ตัดสินฟุตบอลให้ได้มาตรฐานสากลต่อไป 3. เป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนํามาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลไปใช้วัดและ ประเมินการตัดสินฟุตบอลของนิสิต นักศึกษา ที่เรียนวิชาฟุตบอล 2 4. เป็นแนวทางให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นํามาตรวัดประมาณค่า สมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลไปใช้ในการพัฒนาผู้ตัดสินฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ต่อไป

169


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ ที่ปัจจุบันทําหน้าที่ตัดสินฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2010 จํานวน 75 คน 2. การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วยการประเมิน 4 ชุด ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 การปฏิบัติหน้าที่

การดําเนินการขณะตัดสินและใช้สัญญาณต่าง ๆ การตัดสินตามกฎกติกา บทลงโทษ และการควบคุมการแข่งขัน ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตําแหน่ง ทิศทาง และความรับผิดชอบในพื้นที่ ความสัมพันธ์กับผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ตัดสินที่ 4 และประสิทธิภาพใน

ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ที่ได้สอบผ่านเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 ที่ปัจจุบันยังทําหน้าที่ตัดสินฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ ลีก 2010 จํานวน 75 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จํานวน 4 ชุด 14 รายการ คือ ชุดที่ 1 การดําเนินการขณะตัดสินและใช้สัญญาณต่างๆ 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8

มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ บุคลิกภาพภายนอก มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ บุคลิกภาพภายใน มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การดําเนินการก่อนเริ่มการแข่งขัน มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การควบคุมเวลาในการแข่งขัน มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การดําเนินการเปลี่ยนตัวผู้เล่น มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การควบคุมระยะ 9.15 เมตร (ระยะ 10 หลา) มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การใช้สัญญาณนกหวีด มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การใช้สัญญาณมือ

ชุดที่ 2 การตัดสินตามกฎกติกาบทลงโทษและการควบคุมการแข่งขัน 2.1 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การพิจารณาการละเมิดกฎกติกา บทลงโทษ 2.2 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ การควบคุมการแข่งขัน

170


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ชุดที่ 3 ความสมบูรณ์ของร่างกาย ตําแหน่งทิศทางและความรับผิดชอบในพื้นที่ 3.1 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย 3.2 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ ตําแหน่ง ทิศทาง ความรับผิดชอบในพื้นที่ ชุดที่ 4 ความสัมพันธ์กับผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 ผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ตัดสินที่ 4 และประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติหน้าที่ 4.1 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ ความสัมพันธ์กับผู้ช่วยผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินที่ 4 4.2 มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่

การดําเนินและการเก็บข้อมูล 1. กําหนดประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 ที่ปัจจุบันทําหน้าที่ตัดสินฟุตบอล สปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2010 จํานวน 75 คน 2. หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน 3. หาค่าความเชื่อถือได้ (reliability) โดยวิธีทดสอบซ้ํา (test-retest) ห่างกัน 1 สัปดาห์ และหาค่า ความเป็นปรนัย (objectivity) โดยใช้ผู้ประเมิน (evaluator) 2 คน กับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จํานวน 20 คน 4. ผู้วิจัย เก็บข้อมูล โดยติด ต่ อ นัด หมายผู้ประเมิน ผู้ตัด สิ น เก็ บข้อมู ล ดํ า เนิน การทดสอบโดยผู้ ประเมินผู้ตัดสินกับกลุ่มประชากรจํานวน 55 คน แล้วบันทึกคะแนนลงในใบบันทึกคะแนนร่างมาตรวัดประมาณค่า สมรรถนะผู้ตัดสิน 5. ในการเก็บข้อมูลทําการเก็บข้อมูลกับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 ที่ลงทําหน้าที่ตัดสินฟุตบอลสปอนเซอร์ ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2010 6. ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และแปลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัย มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ค่าความเชื่อถือได้ (reliability) หาค่าความเป็นปรนัย (objectivity) ดังต่อไปนี้ 1. มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินด้านบุคลิกภาพ 1.1 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ต้องการจริง

171


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 1.2 ความเชื่อถือได้ (reliability) เท่ากับ 0.92 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 1.3 มีความเป็นปรนัย (objectivity) อยู่ในเกณฑ์ดี 2. มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินด้านความรู้ ความเข้าใจในกติกาและการนําไปใช้ 2.1 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ต้องการจริง 2.2 ความเชื่อถือได้ (reliability) เท่ากับ 0.91 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2.3 มีความเป็นปรนัย (objectivity) อยู่ในเกณฑ์ดี 3. มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ 3.1 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ต้องการจริง 3.2 ความเชื่อถือได้ (reliability) เท่ากับ 0.91 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 3.3 มีความเป็นปรนัย (objectivity) อยู่ในเกณฑ์ดี 4. ร่างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินด้านการดําเนินการตัดสิน 4.1 มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) สามารถวัดได้ตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ต้องการจริง 4.2 ความเชื่อถือได้ (reliability) เท่ากับ 0.90 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 4.3 มีความเป็นปรนัย (objectivity) อยู่ในเกณฑ์ดี

ข้อวิจารณ์ มาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเชื่อถือได้ และยังมีความยุติธรรมในการให้คะแนน ซึ่งจะเห็นได้จาก การพิจารณาสมรรถนะที่ต้องการวัด มีการกําหนดระดับคะแนนในแต่ละด้านอย่างชัดเจน มีการกําหนด น้ําหนักความยากง่ายในแต่ละด้าน กําหนดวิธีการบันทึกคะแนนในแต่ละด้านไว้อย่างชัดเจน และมีการคิด คะแนนแต่ละรายการย่อยและรวมคะแนน ซึ่งผู้เข้ารับการประเมินมีความสามารถมากจะได้คะแนนสูง ถ้ามี ความสามารถน้อยก็จะได้คะแนนต่ํา นอกจากนี้ แบบมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอล ชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นยังประหยัดเวลาในการประเมิน ซึ่ง วิริยา บุญชัย (2529:27) กล่าวว่า การดําเนินการทดสอบต้องไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเกินไป ควรเลือก แบบทดสอบที่ ไ ม่ ต้ อ งเสี ย ค่ า ใช้ จ่ า ยมาก ไม่ ค วรใช้ เ วลามากเกิ น ไปในการทดสอบ ความสํ า คั ญ ของ แบบทดสอบต้องกระตุ้นให้พยายามชนะตนเอง และสามารถรับรู้ระดับการพัฒนาของตนเอง แบบมาตรวัด ประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้และมีความเป็นปรนัย แสดงว่า สามารถที่จะนําไปใช้ในการ

172


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ประเมินผลสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการสร้างมาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระดับผู้ตัดสินชัน้ อื่นๆ ที่มีการตัดสิน 2. ควรมีการศึกษาเพื่อมีการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนามาตรวัดประมาณค่าสมรรถนะสําหรับผู้ ตัดสินฟุตบอลชั้น 1 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับผู้ตัดสิน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารและสิ่งอ้างอิง บุ ญ ชม ศรี ส ะอาด. 2532. การวิ จั ย เบื้ อ งต้ น . กรุ ง เทพมหานคร: ภาควิ ช าพื้ น ฐานการศึ ก ษา คณะ ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร. ปรีชา เผือกขวัญดี. 2531. คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติตาม ทัศนะคติของนักฟุตบอล ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีมและผู้สื่อข่าวกีฬา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(พล ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิริยา บุญชัย. 2529. การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ ไทยวัฒนาพาณิชย์. สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. 2547ก. ศึกษาวิจัยพัฒนานโยบาย กลไกการพัฒนาและ ประเมินติดตามผลการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐ. รายงานผลการวิจัยสํานักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน. (อัดสําเนา)

173


วารสารศึกษาศาสตร์ปริทศั น์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3

174


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.