การพัฒนาผลสัมฤทธิท์ างการเรียนและความสามารถในการทํางานรวมกับผูอื่นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 โดยใชการเรียนแบบรวมมือในวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุของพืชดอก Developing Achievement and Cooperative Skills of Matayomsuksa 5 Students Using Cooperative Learning in Teaching Reproduction of Flowering Plants ศศิเทพ ปติพรเทพิน1 นฤมล ยุตาคม2 และ มลิวัลย สุทธิประสิทธิ3์ Sasithep Pitiporntapin Naruemon Yutakom and Maliwan Suttiprasit
บทคัดยอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการทํางานรวมกับ ผูอื่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 โดยใชการเรียนแบบรวมมือ ในวิชาชีววิทยาเรื่อง การสืบพันธุของพืช ดอก ระหวางเรียนผูวิจัยใหนักเรียนทําแบบทดสอบกอนและหลังเรียน ประเมินการปฏิบัติการทดลองและการ นําเสนอผลงานหนาชั้นเรียน ทําแบบทดสอบยอยในแตละหัวขอ สัมภาษณอยางไมเปนทางการ นักเรียนประเมิน ตนเองและเพื่อนในการทํางานเปนกลุม และทําสังคมมิติเกี่ยวกับการทํางานกลุมกอนและหลังการเรียนแบบ รวมมือ ผลการวิจัยพบวา นักเรียนที่มีคะแนนหลังเรียนผานเกณฑรอยละ 50 มีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก 8 คนเปน 43 คน แตกตางจากคะแนนกอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีทักษะปฏิบัติการ ทักษะการ นําเสนอผลงานหนาชั้นเรียน และมีคะแนนทดสอบทายคาบเรียนที่เพิ่มมากขึ้นอยางตอเนื่อง นักเรียนสวนใหญ พอใจกับการสอนรูปแบบนี้ มีการชวยเหลือกลุม ความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น การรับฟงความคิดเห็น หลังการเรียนแบบรวมมือโดยเฉลี่ยสูงขึ้น และนักเรียนมีความสัมพันธภายในหองเรียนเพิ่มขึ้น
ABSTRACT The purpose of this research was to develop the achievement and cooperative skills of Matayomsuksa 5 students using cooperative learning in the teaching of the unit ‘the reproduction of flowering plants’. Students were given a pre-post test, completed assessed practical work and presentations, took an achievement test after each lesson, had informal interviews, completed questionnaires on group work and produced a sociogram. The results of the study were as follows: the number of students who reached a post-test score of more than 50% increased from 8 to 43. There was a .01 significant difference between pretest and posttest. In addition, they developed their practical and presentation skills, and increased the scores in post-lesson achievement tests continuously. Most students appreciated this learning method. They increased their participation in group work, had more responsibility, they shared ideas and accepted ideas from others. This also gave rise to better relationships among students. Key words: cooperative learning, achievement, cooperative skills S. Pitiporntapin: g4986066@ku.ac.th. 1 นิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูวิทยาศาสตร สาขาการสอนวิทยาศาสตร ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร Diploma degree of teaching science profession, Faculty of Education, Kasetsart University. 2 ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University. 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี Nawamintharachinuthit horwang nonthaburi school.
คํานํา เนื่องจากผูวิจัยรับผิดชอบการสอนวิชาวิทยาศาสตรเพิ่มเติมชีววิทยา (ว 40244) ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร- คณิตศาสตร-เทคโนโลยี ของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญแหงหนึ่งในจังหวัด นนทบุรี ในชวง 1 เดือนแรก พบวาเมื่อใหนักเรียนจัดกลุมกลุมละ 5 คน นักเรียนจะเลือกอยูกลุมเดียวกับเพื่อนที่ตนเอง สนิท ขาดปฏิสัมพันธกับเพื่อนคนอื่นๆในหอง เมื่อมอบหมายงานใหนักเรียนแตละกลุมทํางาน พบวานักเรียน ขาดการวางแผนการทํางาน นักเรียนบางคนจึงไมทราบบทบาทและหนาที่ของตนอยางชัดเจน ภาระงานจึงตก อยู ที่ นั ก เรี ย นบางคนในกลุ ม เท า นั้ น ทํ า ให ส ง งานไม ทั น ตามกํ า หนด และผลงานยั ง มี ข อ บกพร อ ง แต เ มื่ อ มอบหมายงานใหนักเรียนทําคนเดียว ผลงานของนักเรียนสวนใหญจะมีขอบกพรองนอยกวาผลงานของกลุม แสดงใหเห็นวานักเรียนยังขาดพฤติกรรมการทํางานรวมกับผูอื่น ซึ่งทําใหผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ํา กวาที่ควรจะไดรับ การเรียนแบบรวมมือ (Cooperative Learning) เปนวิธีเรียนที่ชวยใหนักเรียนไดมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทํา ใหนักเรียนมีสัมพันธภาพอันดีกับผูอื่น มีการปรึกษากันอยางใกลชิด สมาชิกแตละคนทราบบทบาทหนาที่และ ความรับผิดชอบของตน เปดโอกาสใหผูเรียนประเมินการทํางานของสมาชิกในกลุม ใหกําลังใจซึ่งกันและกัน และ หาทางปรับปรุงวิธีการทํางานของกลุมใหดีขึ้นเพื่อบรรลุเปาหมายรวมกัน (วรรณทิพา, 2538; Johnson, Johnson and Hobulec, 1991; Slavin, 1995) นอกจากนี้การเรียนแบบรวมมือยังเปดโอกาสใหผูเรียนแสดงความสามารถของ ตนอยางเต็มที่ สมาชิกที่ออนในกลุมจะไดรับความชวยเหลือจากเพื่อนสมาชิกในกลุม เพื่อนําไปสูความสําเร็จ รวมกันและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียนใหสูงขึ้นได (ดาวคลี่, 2543; แพรวพรรณ, 2544; Back,1993 อางถึงใน สุวิมล, 2542; Theodora De Baz, 2001) ผู วิ จั ย จึ ง ประสงค ที่ จ ะพั ฒ นาพฤติ ก รรมการทํ า งานร ว มกั บ ผู อื่ น ซึ่ ง เป น คุ ณ ลั ก ษณะที่ สํ า คั ญ ตาม จุดประสงคการสอนวิทยาศาสตรใหเกิดกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 ในการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุของพืชดอก โดยการเรียนแบบรวมมือ
วัตถุประสงค เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความสามารถในการทํางานรวมกับผูอื่นของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปที่ 5 โดยใชการเรียนแบบรวมมือในวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุของพืชดอก
ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุมที่ศึกษาเปนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 แผนการเรียน วิทยาศาสตร- คณิตศาสตร-เทคโนโลยี ของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญแหงหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี 2. ตัวแปรที่ศึกษาประกอบดวย ตัวแปรตน คือ การเรียนแบบรวมมือ ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน และความสามารถในการทํางานรวมกับผูอื่น 3. วิชาวิทยาศาสตรเพิ่มเติมชีววิทยา (ว 40244) เรื่อง การสืบพันธุของพืชดอก ใชเวลาเรียน 9 คาบ ประกอบดวย 6 หัวขอดังนี้ 1) โครงสรางของดอก 2) การสรางเซลลสืบพันธุของพืชดอก 3) การเกิดผล 4) เมล็ด 5) การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุและการวัดการเจริญเติบโตของพืช 6) การสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศของ พืชดอก
นิยามศัพท ผลสัม ฤทธิ ์ท างการเรีย น หมายถึง ความสามารถในการเรีย นของนัก เรีย น ในวิช าชีว วิท ยาเรื่ อ ง การสืบพันธุของพืชดอก ซึ่งวัดไดจากคะแนนจากการทําแบบทดสอบกอนและหลังเรียน แบบทดสอบยอยในแต ละหัวขอ แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง และแบบประเมินการนําเสนอผลงานหนาชั้นเรียน ความสามารถในการทํ า งานร ว มกับ ผู อื่ นได หมายถึ ง พฤติก รรมการเรี ย นในการทํา งานกลุม ได แ ก การชวยเหลือกลุม มีความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น รับฟงความคิดเห็น และสามารถระบุบทบาทหนาที่ ของตนเองในการทํางานรวมกับเพื่อนในกลุมได ตั้งแตวางแผนการทํางาน การดําเนินตามแผนที่วางไว ตลอดจน การนําเสนอผลงาน ซึ่งสามารถตรวจสอบได โดยการสัมภาษณ แบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมในการ ทํางานเปนกลุม และแผนภาพสังคมมิติ การเรียนแบบรวมมือ หมายถึง วิธีการเรียนที่สงเสริมนักเรียนไดรวมมือกันในการเรียนเพื่อชวยใหเกิด การเรียนรูและสามารถทํางานรวมกับผูอื่นอยางมีความสุข โดยเนนรูปแบบการตอบทเรียน (Jigsaw) และ การศึกษาคนควาเปนกลุม (Group Investigation) ที่มีการประเมินทั้งดานปริมาณและคุณภาพ โดยใหผูเรียนมี สวนรวมในการประเมินดวย
วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เปนการวิจัยในชั้นเรียน
กลุมที่ศึกษา กลุมที่ศึกษาเปนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 แผนการเรียน วิทยาศาสตร-คณิตศาสตร-เทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2548 ของโรงเรียนรัฐบาลขนาดใหญแหงหนึ่งในจังหวัด นนทบุรี จํานวน 1 หองเรียน มีนักเรียนจํานวน 43 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจยั เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบดวย 1) แผนการจัดการเรียนรูเรื่อง การสืบพันธุของพืชดอก ที่ใชวิธี เรียนแบบรวมมือ โดยใชเวลาเรียน 3 คาบตอสัปดาห เปนเวลา 3 สัปดาห รวมจํานวน 9 คาบ (คาบละ 50 นาที) 2) แบบทดสอบกอนและหลังเรียน เรื่องการสืบพันธุของพืชดอก แบบเลือกตอบจํานวน 20 ขอ 3) แบบทดสอบ ย อ ยแบบเลื อ กตอบในแต ล ะหั ว ข อ เรื่ อ งการสื บ พั น ธุ ข องพื ช ดอก จํ า นวนทั้ ง สิ้ น 6 ชุ ด 4) แบบประเมิ น การ ปฏิบัติการทดลองของนักเรียน 5) แบบประเมินการนําเสนอผลงานหนาชั้นเรียนของนักเรียน 6) การสัมภาษณ อยางไมเปนทางการ 7) แบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมในการทํางานเปนกลุม 8) แผนภาพสังคมมิติ ซึ่ง เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช ใ นการวิ จั ย ทั้ ง หมดผ า นการตรวจความตรงจากนั ก วิ ท ยาศาสตร ศึ ก ษา คณะศึ ก ษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร และครูผูมีประสบการณในการสอนวิชาชีววิทยา
การเก็บรวบรวมขอมูล 1. กอนการวิจัย ใหนักเรียนแตละคนเขียนชื่อเพื่อนที่นักเรียนอยากทํางานรวมดวย 3 คน ลงในกระดาษ ที่ผูวิจัยแจก เพื่อทําแผนภาพสังคมมิติ ศึกษาความสัมพันธของนักเรียนในหองเรียนกอนการเรียนแบบรวมมือ 2. นักเรียนประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมเดิมกอนการเรียนแบบรวมมือ ในแบบประเมินการทํางาน กลุม ซึ่งแบงเปน 4 ดาน ไดแก การชวยเหลือกลุม ความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น และการรับฟงความ คิดเห็น โดยผูที่ไดคะแนนเฉลี่ยในชวง 18-20 คะแนน ถือวา มีสวนรวมในการทํางานกลุมดีมาก ผูที่ไดคะแนนรวม เฉลี่ยในชวง 15-17 คะแนน ถือวา มีสวนรวมในการทํางานกลุมดี และผูที่ไดคะแนนรวมเฉลี่ยในชวง 12-14 คะแนน
ถือวา มีสวนรวมในการทํางานกลุมพอใช และผูที่ไดคะแนนรวมเฉลี่ยในชวง 9-11 คะแนน ถือวา ควรปรับปรุงการมี สวนรวมในการทํางานกลุม (ดัดแปลงจาก วรรณทิพา, 2538) 3. นักเรียนทําแบบทดสอบกอนเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก จํานวน 20 ขอใชเวลา 15 นาที 4. ผูวิจัยดําเนินการสอนตามขั้นตอนตอไปนี้ 4.1 จัดทําคะแนนฐานของนักเรียนแตละคน โดยเปนคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในการสอบกลาง ภาค การสอบยอยกอนกลางภาค ที่ผานมา แลวแบงกลุมนักเรียนกลุมละ 5 คน แบบคละเพศ และความสามารถ 4.2 จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู ที่ใชเทคนิคการเรียนแบบรวมมือโดยเนน รูปแบบการตอบทเรียน (Jigsaw) และการศึกษาคนควาเปนกลุม (Group Investigation) โดยชี้แจงใหกลุมเขาใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการทํางาน เกณฑการประเมินผลงาน และใหนักเรียนบอกถึงความสําคัญและวิธีการทํางาน รวมกัน 4.3 ในแตละหัวขอใหนักเรียนปฏิบัติการทดลอง เขียนรายงานการทดลอง และนําเสนอผลการ ทดลองหนาชั้นเรียนทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่งมีคะแนนรวมในแตละครั้ง 10 คะแนน หลังจากนักเรียนแตละกลุมนําเสนอ งานหนาชั้นเรียนผูวิจัยใหคําแนะนําเพิ่มเติม และนําอภิปรายเพื่อใหนักเรียนสรุปความรูจากการทํากิจกรรม 5. เมื่อสอนจบในแตละหัวขอ ใหนักเรียนทําแบบทดสอบยอยทายคาบ 10 นาที ซึ่งแตละหัวขอคะแนน เต็ม 10 คะแนน และนําคะแนนของนักเรียนที่ไดมาเทียบเปนคะแนนพัฒนาการ (Improvement Points) ของแต ละคน ซึ่งหาไดจากความแตกตางระหวางคะแนนฐาน กับคะแนนที่นักเรียนสอบไดในการทดสอบยอย (ถาต่ํากวา คะแนนฐานมากกวา 3 คะแนน จะไดคะแนนพัฒนาการ 0 คะแนน ถาต่ํากวาคะแนนฐานตั้งแต 1-3 คะแนนจะได คะแนนพัฒนาการ 10 คะแนน ถาไดเทาคะแนนฐาน ถึง มากกวาคะแนนฐานตั้งแต 1-3 คะแนนจะไดคะแนน พัฒนาการ 20 คะแนน ถาไดมากกวาคะแนนฐาน 3 คะแนนขึ้นไปจะไดคะแนนพัฒนาการ 30 คะแนน ถาได คะแนนเต็มโดยไมพิจารณาคะแนนฐาน จะไดคะแนนพัฒนาการ 30 คะแนน) สวนคะแนนของกลุม ไดจากการ รวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุมเขาดวยกันแลวหาคาเฉลี่ย (ดัดแปลงจาก วรรณทิพา, 2538) 6. สุมสัมภาษณนักเรียนแตละกลุมอยางไมเปนทางการเกี่ยวกับการเรียน และการทํางานกลุม สัปดาห ละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง และบันทึกการสัมภาษณลงในแบบบันทึกการสัมภาษณทันที 7. หลังจากผูวิจัยสอนครบทุกหัวขอ นักเรียนทําแบบทดสอบหลังเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก ซึ่งเปนแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบกอนเรียน ใชเวลา 15 นาที 8. ผูวิจัยใหนักเรียนกลับไปยังกลุมเดิมกอนการเรียนแบบรวมมือ และทํางานรวมกันประมาณ 1 สัปดาห หลังจากนั้นผูวิจัยใหนักเรียนประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมในแบบประเมินการทํางานกลุมหลังการเรียนแบบ รวมมือ และใหนักเรียนแตละคนเขียนชื่อเพื่อนที่นักเรียนอยากทํางานรวมดวยมากที่สุด 3 คน ลงในกระดาษที่ แจกให เพื่อนํามาเขียนแผนภาพสังคมมิติหลังการเรียนแบบรวมมือตอไป
การวิเคราะหขอมูล 1. ดานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการสอบกอนและหลังเรียนจะพิจารณาวาจํานวนนักเรียนผาน เกณฑรอยละ 50 ของจํานวนขอสอบทั้งหมดมีจํานวนเพิ่มขึ้นหรือไม และวิเคราะหคาความแตกตางระหวางกอน และหลังการเรียนแบบรวมมือดวยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS โดยการหาคาที (t-test)
2. การปฏิบัติ การทดลองและการนําเสนอผลงานหน าชั้นของนักเรียน จะพิจารณาคะแนนรวมของ นักเรียนแตละกลุมวามีคะแนนสูงขึ้นหรือไม 3. การทดสอบยอยในแตละคาบเรียน ใชคะแนนพัฒนาการของนักเรียนแตละคนเฉลี่ยเปนคะแนนของ กลุมวามีคะแนนสูงขึ้นหรือไม 4. ดานความสามารถในการทํางานรวมกับผูอื่น โดยการสัมภาษณอยางไมเปนทางการ ขอมูลที่ไดเปน ขอมูลเชิงคุณภาพ ผูวิจัยอานขอความที่บันทึกไวแลวจัดกลุมคําตอบ 5. ขอมูลที่ไดจากแบบประเมินการมีสวนรวมในการทํางานกลุมกอนและหลังการเรียนแบบรวมมือ ผูวิจัย หาคะแนนเฉลี่ยรวมของนักเรียนทุกคนในแตละดาน แลวนําคะแนนที่ไดมาพิจารณาในแตละดานวามีคะแนน สูงขึ้นหรือไม 6. ข อ มู ล การเลื อ กเพื่ อ น 3 คน เพื่ อ ทํ า งานด ว ยทั้ ง ก อ นและหลั ง การเรี ย นแบบร ว มมื อ นํ า มาเขี ย น แผนภาพสังคมมิติ เพื่อวิเคราะหความสัมพันธระหวางนักเรียนในหองเรียนกอนและหลังการเรียนแบบรวมมือ
ผลและวิจารณ 1. ผลการวิจัยดานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผูวิจัยแบงการนําเสนอผลการวิจัยดานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอกออกเปน 3 สวน ดังนี้ 1) คะแนนกอนและหลังเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก 2) คะแนนการปฏิบัติการทดลองและการ นําเสนอผลงานหนาชั้นเรียน 3) คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยจากการทดสอบยอยนักเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก
1.1 คะแนนกอนและหลังเรียนเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก Table 1 : Comparison of pretest and posttest scores on “Reproduction of Flowering Plants” Range of Below scores 50%
5059%
6069%
7079%
80% Up
Total
X
S.D.
Pretest
35
2
3
3
0
43
8.05
2.61
Posttest
0
1
18
18
6
43
13.26
2.28
t
-11.52**
** P < .01 จากตารางที่ 1 แสดงใหเห็นวา นักเรียนไดคะแนนทดสอบกอนเรียนโดยเฉลี่ย 8.05 คะแนน และคะแนน ทดสอบหลังเรียนโดยเฉลี่ย 13.26 คะแนน โดยมีจํานวนนักเรียนผานเกณฑรอยละ 50 จํานวนเพิ่มขึ้นกวากอน เรียนจาก 8 คนเปน 43 คน ซึ่งคะแนนกอนและหลังเรียนแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
1.2 คะแนนปฏิบัติการทดลองและการนําเสนอผลงานของนักเรียน จากการปฏิบัติการทดลองและการนําเสนอผลงานของนักเรียนเฉลี่ยทายคาบเรียน 6 ครั้ง ซึ่งในแตละ ครั้งมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแบงเปนคะแนนจากการปฏิบัติการทดลอง 5 คะแนน และคะแนนจากการ นําเสนองานหนาชั้นเรียน 5 คะแนน พบวานักเรียนไดคะแนนในแตละครั้งสูงขึ้นตามลําดับดังนี้ 7.89, 8.55, 8.67, 9.00, 9.00, และ9.56 ผูวิจัยพบวาจากการประกาศคะแนนปฏิบัติการทดลองและการนําเสนอผลงานหนาชั้นให นักเรียนทราบ พรอมกับใหคําชมเชยกับกลุมที่มีคะแนนสูงสุด จึงทําใหนักเรียนมีการวางแผนการทํางานรวมกันใน กลุมมากขึ้น ซึ่งสังเกตไดจาก การปฏิบัติการทดลองในแตละคาบ นักเรียนแตละกลุมปฏิบัติตามคําชี้แจงได
ถูกตอง ใชเครื่องมือไดอยางมีประสิทธิภาพ และจัดเก็บอุปกรณไดอยางถูกวิธี บันทึกผลการทดลอง และการ นําเสนอขอมูล ดวยความพิถีพิถัน การวิเคราะหผลการทดลองและตีความหมายขอมูล ดวยความมั่นใจและ นําไปสูขอสรุปที่เที่ยงตรง มีทักษะการเขียนรายงานที่ดีขึ้น โดยจัดลําดับหัวขอรายงานดวยความเปนระเบียบ และ นักเรียนก็สามารถนําประเด็นสําคัญๆ มานําเสนอผลงานหนาชั้นเรียนไดอยางครบถวนและพัฒนาขึ้นตามลําดับ
1.3 คะแนนการทดสอบยอยเรื่องการสืบพันธุของพืชดอก จากการสอบยอยเรื่องการสืบพันธุของพืชดอกทั้ง 6 ครั้ง ซึ่งแตละครั้งจะมีคะแนนเต็ม 30 คะแนน พบวา คะแนนพัฒนาการของทุกกลุมเฉลี่ยเทากับ 19.33, 19.00, 18.78, 19.22, 17.50 และ20.17 ตามลําดับ ผูวิจัย พบวาการประกาศคะแนนทดสอบยอยในแตละครั้งใหนักเรียนทราบ และหากนักเรียนไดคะแนนนอยก็จะมีผลตอ คะแนนของกลุมดวย ทําใหนักเรียนมีความกระตือรือรนในการเรียนในหองเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสังเกตไดจากการ ซักถามขอสงสัยในชั้นเรียนมากขึ้น การศึกษาคนควาหาขอมูลมาลวงหนา การรวมมือกันปฏิบัติการทดลองและ รายงานผลการทดลอง นอกจากนี้เมื่อมีการนําเสนอผลงานหนาชั้นเรียนนักเรียนจะตั้งใจฟงเพื่อน ใหขอเสนอแนะ ตางๆ ที่เปนประโยชนกับเพื่อนๆ ในหอง และตั้งประเด็นอภิปรายที่ตนสงสัย จึงทําใหนักเรียนมีคะแนนทดสอบใน แตละหัวขอโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นตามลําดับ
2. ผลการวิจยั ดานการทํางานรวมกับผูอ ื่น ผูวิจัยแบงการนําเสนอผลการวิจัยดานการทํางานรวมกับผูอื่นออกเปน 3 ดานดังนี้ 1) สังคมมิติของ นักเรียนกอนวิจัยและหลังการวิจัย 2) ผลการประเมินตนเองและเพื่อนในการทํางานเปนกลุม 3) ผลการสํารวจ เจตคติตอการเรียนแบบรวมมือโดยการสัมภาษณ
2.1 สังคมมิตขิ องนักเรียนกอนและหลังการเรียนแบบรวมมือ จากการเขี ยนแผนภาพสังคมมิติแสดงการเลือ กเพื่อ นทํางานดว ยกอนการเรียนแบบรว มมือ พบว า โครงสรางทางสังคมในหองนี้แบงเปนกลุมยอย 9 กลุม มีลักษณะคลายกับการนั่งเรียนในหองเรียนตามกลุมเพื่อน ที่ตนสนิท จากการสัมภาษณอยางไมเปนทางการพบวา ผูที่มีเพื่อนนิยมมากจะเปนนักเรียนที่มีผลการเรียนอยูใน ระดับดีมาก มีมนุษยสัมพันธดี เขากับคนอื่นไดงาย และชวยเหลือกิจกรรมของชั้นเรียนอยูเสมอ สวนนักเรียนที่ไม ถูกผูอื่นเลือกเลยจํานวน 1 คนนั้นเปนนักเรียนที่เพิ่งยายมาเรียนใหม และถูกผูปกครองบังคับใหเรียนในสาขาที่ตน ไมชอบจึงขาดเรียนบอย ไมคอยมีความรับผิดชอบตองานที่ไดรับมอบหมาย และไมคอยพูดคุยกับเพื่อนในหอง สวนแผนภาพสังคมมิติแสดงการเลือกเพื่อนทํางานดวยหลังการเรียนแบบรวมมือ พบวา โครงสรางทาง สังคมในหองนี้มีความสัมพันธกันดีขึ้นกวากอนการเรียนแบบรวมมือ เนื่องจากมีลักษณะการเลือกเพื่อนมีลักษณะ กระจาย ซึ่งมีการเลือกเพื่อนตางกลุมมาทําการทดลองมากขึ้น ไมใชมีลักษณะเลือกกลุมเพื่อนสนิทเหมือนกอน การเรียนแบบรวมมือ แสดงวานักเรียนเรียนรูที่จะทํางานรวมกับผูอื่นไดดีขึ้น แตถึงอยางไรก็ยังมีผูไมถูกเพื่อนเลือก เลยมีจํานวน 3 คน เนื่องจากผูที่ไมถูกเลือกในครั้งนี้ ถูกจัดกลุมแยกกับเพื่อนที่ตนสนิท และไมสามารถปรับตัวเขา กับเพื่อนกลุมใหมและวิธีการเรียนแบบรวมมือได แตโดยรวมนักเรียนในหองนี้มีความสัมพันธกันดีขึ้น ทั้งเพศชาย และเพศหญิงสามารถทํางานรวมกันได และมีผูที่ไดรับความนิยมจากเพื่อนมากมีจํานวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักเรียน มีความสามารถในการปรับตัวเขากับผูอื่นไดดี จึงสรางความประทับใจใหเพื่อนรวมงานที่ตนไมเคยสนิทมากอน จึง ไดรับความนิยมมากยิ่งขึ้น สวนผูไมถูกเลือกเลยจากครั้งกอนการเรียนแบบรวมมือนั้น สามารถปรับตัวและทํางาน รวมกับผูอื่นไดมากยิ่งขึ้น เพื่อนจึงเลือกใหเขาทํางานกลุมในที่สุด
2.2 ผลการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมในการทํางานเปนกลุม Table 2 : Comparison of pretest and posttest scores of self and peer evaluation in working groups
scores Pretest Posttest
Participation ( 5 points) X
4.69 4.99
S.D. 0.82 4.26
Responsibility ( 5 points) X
4.60 4.96
S.D. 0.84 9.00
Sharing the Acceptance of ideas altogether ideas of others ( 5 points) ( 5 points) S.D. S.D. X X 4.70 0.75 4.67 0.75 4.97 5.88 4.99 5.16
Total ( 20 points) X
18.65 19.91
S.D. 3.09 19.47
จากตารางที่ 2 แสดงใหเห็นวากอนการเรียนแบบรวมมือนักเรียนมีคะแนนรวมจากการประเมินตนเอง และเพื่อนในกลุมทุกๆดานเฉลี่ยเทากับ 18.65 และหลังจากเรียนแบบรวมมือแลวกลับไปทํางานรวมกับเพื่อนกลุม เดิมพบวา นักเรียนมีคะแนนรวมจากการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุมทุกๆดานเฉลี่ยเทากับ 19.91 ซึ่งเพิ่มขึ้น ในทุกๆดาน แสดงวานักเรียนไดเรียนรูการทํางานรวมกับผูอื่นจากเพื่อนกลุมใหมที่ผูวิจัยจัดให และนํามาปรับใช กับการทํางานรวมกับเพื่อนกลุมเดิมไดดีขึ้นและอยูในเกณฑดีมาก
2.3 ผลการสํารวจเจตคติตอการเรียนแบบรวมมือโดยการสัมภาษณ จากการสุมสัมภาษณนักเรียนแตละกลุมอยางไมเปนทางการ พบวานักเรียนพอใจกับวิธีการเรียนแบบ รวมมือ ซึ่งมีกิจกรรมที่สนุกมากกวาการเรียนแบบเดิมตามหนังสือ หากไมเขาใจเนื้อหาตรงไหนก็สามารถสอบถาม จากเพื่อนผูรู และไดคําตอบที่เขาใจงาย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทายคาบเรียน ถาไมตั้งใจเรียนก็จะทําให คะแนนของกลุมไมดี การเรียนแบบนี้ยังชวยใหการทํางานตางๆเปนไปอยางมีระบบ คือ มีการมอบหมายงานที่ ชัดเจนมากขึ้นทําใหงานในกลุมสําเร็จตามเวลาที่กําหนด และเปนการสอนที่ฝกทักษะการทํางานรวมกับผูอื่น และ การแกไขปญหาเฉพาะหนาไดเปนอยางดี แตถึงอยางไรนักเรียนบางคน ยังคงชอบการจัดการเรียนการสอน แบบเดิม เพราะคิดวาการเรียนแบบรวมมือนั้นใชเวลามาก สวนการเรียนแบบเดิมนั้นอาจารยจะคอยอธิบาย ประเด็นสําคัญๆ ทําใหไดรับเนื้อหาครบถวนและถูกตองกวา สรุป จากผลการวิจัยดังกลาวสามารถสรุปไดวา การจัดการเรียนแบบรวมมือสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุของพืชดอก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 สอดคลองกับงานวิจัย ของดาวคลี่ (2543) ที่ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บการเรี ย นรูวิ ช าวิ ท ยาศาสตร ของนั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาป ที่ 1 ใน กรุงเทพมหานคร ที่เรียนจากการประยุกตรูปแบบการเรียนแบบรวมมือกับการเรียนแบบปกติ พบวา นักเรียนมี ทักษะกระบวนการคิด มีความรับผิดชอบ มีทักษะกระบวนการกลุม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกวาการเรียน แบบปกติ สวนแพรวพรรณ (2544) ไดศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร ทักษะความรวมมือในการ ทํางาน และสภาพแวดลอมในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่3 ในจังหวัดนครราชสีมา ที่สอนดวยการ เรียนแบบรวมมือพบวานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีเจตคติตอเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตรสูงกวากอนเรียน และสอบผานเกณฑที่กําหนดจํานวนมากกวากอนเรียน Back (1993 อางถึงใน สุวิมล, 2542) ที่สังเคราะห งานวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนแบบรวมมือจํานวน 73 เรื่อง พบวาการเรียนแบบรวมมือชวยเพิ่มผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน และมีประสิทธิภาพมากในวิชาวิทยาศาสตร สวน Theodora De Baz (2001) ไดศึกษา ผลของการเรียนแบบรวมมือรูปแบบการตอบทเรียน (Jigsaw) ตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติทาง วิทยาศาสตรโดยเปรียบเทียบกับการสอนแบบดั้งเดิมของนักเรียนโรงเรียนหญิงลวนเกรด 7 ในประเทศจอรแดน เรื่องสิ่งมีชีวิต พบวานักเรียนที่เรียนแบบรวมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกวานักเรียนที่เรียนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้การเรียนแบบรวมมือยังเปนวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มทักษะการทํางานรวมกับผูอื่น โดยกระตุนให นักเรียนมีการชวยเหลือกลุมอยางเต็มความสามารถ มีความรับผิดชอบตอหนาที่ที่ไดรับมอบหมาย แสดงความ คิ ด เห็ น ที่ เ ป น ประโยชน ต อ กลุ ม ด ว ยเหตุ ผ ล และรั บ ฟ ง ความคิ ด เห็ น ด ว ยใจที่ เ ป น กลางดี ขึ้ น อย า งเห็ น ได ชั ด สอดคลองกับวรรณทิพา (2538); Johnson, Johnson and Hobulec (1991); Slavin (1995) ที่พบวาการเรียนแบบ รวมมือ สามารถกระตุนใหนักเรียนมีปฏิสัมพันธซึ่งกันและกัน และพัฒนาทักษะทางสังคมและทักษะการรวมมือใน ชวยกันทํางานจนงานสําเร็จ
ขอเสนอแนะสําหรับครูผูสอน 1. ผูสอนควรอธิบายขั้นตอนตางๆ ในการจัดการเรียนแบบรวมมือใหชัดเจนกอนใหนักเรียนลงมือทํา เพื่อ นักเรียนจะไดวางแผนการทํางานในกลุมไดอยางมีประสิทธิภาพ 2. ผูสอนควรควบคุมการจัดการเรียนการสอนใหอยูในเวลาที่กําหนด 3. ผูสอนควรกระตุนใหนักเรียนศึกษาคนควาเนื้อหามากอนลวงหนา เพื่อที่จะทําความเขาใจเนื้อหาที่เรียน ในหองไดงายขึ้น
เอกสารอางอิง ดาวคลี่ ศิริวาลย. 2543. ผลการเรียนรูของนักเรียนมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่เรียนจากการประยุกตรูปแบบการ เรียนแบบรวมมือ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. แพรวพรรณ พฤกษศรีรัตน. 2544.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร ศึกษาความรวมมือใน การทํางาน และสภาพแวดลอมในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ที่สอนดวยการเรียนแบบ รวมมือ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. วรรณทิพา รอดแรงคา. 2538. การเรียนแบบรวมมือ. สาระการศึกษา. กองทุนศาสตราจารย ดร.อุบล เรียง สุวรรณ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. สุวิมล เขี้ยวแกว สุเทพ สันติวรานนท และอุสมาน สารี. 2542. ผลของการเรียนแบบรวมมือตอผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ย นวิ ช าเคมี ข องนั ก เรี ย นในโรงเรี ย นรั ฐ บาลและโรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนา อิ ส ลามในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต . วารสารสงขลานคริ น ทร ฉบั บ สั ง คมศาสตร แ ละ มนุษยศาสตร 5 (1) : 76-93. Johnson, D.W., Johnson, R.T. and Hobulec, E.J. 1991. Cooperation in Classroom. Minnesota : Interaction Book Company. Slavin, R.E. 1985. Cooperative Learning Theory, Research and Pratice. 2 nd ed. Massachusetts : A Simon & Schuster Company. Theodora De Baz. 2001. The Effectiveness of the Jigsaw Cooperative Learning on Students’Achievement and Attitudes toward Science. Science Education International 12 (4) 6-11