การแนะแนวอาชีพ

Page 1

2010

การแนะแนวอาชีพ(Career Guidance)

นายคมธัช รัตนคชและนายดนุพล คลอวุฒินันท กลุมงานพัฒนาระบบการฝก 21/10/2010


บทนํา การพัฒนาทักษะฝมือภาคแรงงานของประเทศถือเปนหัวใจสําคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอยางประเทศที่กําลังพัฒนาอยางประเทศไทย ซึ่งมีผูใชแรงงานในภาคสวนตางๆ ทั้ง ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจบริการ ซึ่งแรงงานที่อยูในภาคอุตสาหกรรมเปนกลุมคนที่ สําคัญที่จะขับเคลื่อนใหภาคอุตสาหกรรมเจริญกาวหนา และสงเสริม สนับสนุนใหเศรษฐกิจของประเทศ กาวไปขางหนาอยางยั่งยืน กรมพัฒนาฝมือแรงงาน เปนหนวยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาฝมือแรงงาน เพื่อ แกปญหาดานทักษะฝมือของแรงงานใหสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยางทัน เหตุการณ และใหแรงงานมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองตอความตองการของ ตลาดแรงงานไดอยางมีประสิทธิภาพ กรมพัฒนาฝมือแรงงาน โดยสํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก มีหนาที่คิดคน และพัฒนา ระบบ รูปแบบและวิธีการฝกทักษะที่ตอบสนองตอ ความตองการดานแรงงาน มี มาตรฐานฝมือแรงงานและมาตรฐานการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพตางๆ ที่สถานประกอบกิจการและ ภาคอุตสาหกรรมตองการ กลุมงานพัฒนาระบบการฝก กรมพัฒนาฝมือแรงงาน ไดจัดทํา เอกสารทางวิชาการขึ้น เพื่อเผยแพร องคความรู และเผยแพรขอมูลขาวสารทางวิชาการที่เกี่ยวของกับการพัฒนาทักษะฝมือของผูรับการฝกใน สถาบันพัฒนาฝมือแรงงานภาค และศูนยพัฒนาฝมือแรงงานจังหวัด เพื่อให บุคลากร เจาหนาที่และผูที่ เกี่ยวของกับการพัฒนาทักษะฝมือแรงงานไดใชเพื่อการศึกษา คนควา และเปนแนวทางในการพัฒนาทักษะ ฝมือแรงงาน เพื่อประโยชนในการพัฒนาความสามารถของผูรับการฝกให บรรลุวัตถุประสงคในการฝก ทักษะฝมือแรงงานและมีมาตรฐานสมรรถนะสอดคลองกับงานและอาชีพตางๆ ที่สถานประกอบกิจการและ ภาคอุตสาหกรรมมีความตองการ ตอไป

กลุมงานพัฒนาระบบการฝก สํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก กรมพัฒนาฝมือแรงงาน


สารบัญ หนา บทที่6 การแนะแนวอาชีพ (Career Guidance) จุดมุงหมายของการแนะแนว การดําเนินการแนะแนวอาชีพ ขอพิจารณาของการเลือกอาชีพสําหรับบุคคลตางๆ ในการเสริมสรางบุคลิกภาพที่ดี ตองการพื้นฐานในการสงเสริมอยางไร สรุป

1 1 6 9 10 13


1

บทที่ 6 การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวอาชีพเปนเรื่องสําคัญยิ่ง ถือวาสวนหนึ่งของระบบการศึกษา นั่นหมายความวาในการ ใหการศึกษาแกเยาวชนในทุกระดับ ตั้งแตระดับประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา มีความมุงหมายใหเขาไดเปน คนโดยสมบูรณ คือนอกจากจะมีพลานามัยดี มีทักษะพื้นฐานในการดํารงชีวิตแลวเขายังตองเตรียมตัวที่จะมี อาชี พและเปน สมาชิ ก ของสัง คมที่ มี ป ระโยชน การแนะแนวไดมี ม านานแลว จนกลายเป น ศาสตร ห นึ่ ง ปจจุ บันไดรับ การรับ รองวา เปน สิ่งประดิษฐ อยางหนึ่ ง ใช คําว า “Social Invention” เปน สิ่งที่ มนุษ ยไ ด กลั่นกรองคิดคนขึ้นมาเพื่อจะชวยมนุษยดวยกัน และเปนเครื่องมือที่จะแกปญหาในเรื่องของการเลือ กเรียน เพื่อจะเตรียมตัวไปสูอาชีพ การแนะแนวอาชีพ จะตองคอ ย ๆ ทําไปเพื่อความสํา เร็จในอนาคต (วชิร ญา บัวศรี) 2528 ,21) งานแนะแนวเปนการชวยเหลือ บุคคลใหส ามารถพัฒนาตนเองใหถึงขีดสูง สุดของความสามารถ กลาวคือเพิ่มใหบุคคลไดเปนหรือไดรับในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเขาใหมากที่สุด การแนะแนวจึงมิใชค วาม พยายามที่จะทําใหบุคคลไดเปนหรือไดรับในสิ่งที่ผูแนะแนวตองการคาดหวัง หรือเห็นวาเหมาะสม ดังนั้น นักแนะแนวจะตองมีการศึกษา พิจารณาและทําความเขาใจในตัวบุคคลรวมทั้งปฏิบัติงานไปในลักษณะที่จะ เอื้ออํานวยใหบุคคลไดเขาใจตนเองและพรอมที่จะพัฒนาตนเองใหถึงขีดสูงสุดของความสามารถของเขา สวัสดิ์ สุวรรณอักษร (2542, 143-144) กลาวถึงการแนะแนวอาชีพวา เปนกระบวนการหนึ่งใน การ 1) ชวยใหบุ คคลรูจักและเข าใจตนเองอยา งลึกซึ้ งทุกด าน คื อ สติ ปญญาความสามารถ ความถนั ด ความสนใจและอุปนิสัยใจคอวาเหมาะกับงานหรือ อาชีพใด 2) ชวยใหบุคคลรูจักและเขาใจโลกของงาน อาชีพตาง ๆ และองคประกอบของงาน เชน ลักษณะของงานอาชีพคุณสมบัติของผูประกอบอาชีพ เงินเดือน หรือ รายไดค วามมั่นคงในงาน โอกาสกาวหนาในงาน สภาพปจจุ บันและแนวโน มของตลาดแรงงานใน อนาคตสําหรับงานอาชีพตาง ๆ เหลานี้ เปนตน 3) ชวยใหบุคคลรูจักเลือกและตัดสินใจเลือกงานอาชีพอยาง ฉลาดถูกตองเหมาะสมกับอัตภาพ 4) ชวยใหบุคคลรูจักตัดสินใจเลือกอยางฉลาดในการเขารับการศึกษาและ ฝกอบรมในวิชาชีพตาง ๆ 5) ชวยใหบุคคลไดมีโอกาสพัฒนาบุคลิกลักษณะของตนใหเหมาะกับงานอาชีพ เชน ความอดทน ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย ความขยันหมั่นเพียร ความตรงตอเวลา ความรวมมือ ใน การทํางาน เปนตน 6) ชวยใหบุคคลไดมีโอกาสสัมผัสกับงานอาชีพตาง ๆ ตามความเหมาะสมกับ วัย และ 7) ชวยใหบุคคลสามารถปรับตนใหเขากับงานอาชีพ จนประสบความสําเร็จและมีความสุขในงานอาชีพของตน จุดมุงหมายของการแนะแนว การแนะแนวเปนกระบวนการชวยเหลือบุคคลที่มีระเบียบแบบแผน โดยใชเทคนิคและกลวิธีตาง ๆ เพื่อชวยใหบุคคลแตละคนบรรลุความสําเร็จสูงสุดที่เหมาะกับความสามารถและความตองการของตัวเขา นัก แนะแนวมิควรมีหนาที่แกปญหาใหกับผูมีปญหา แตควรพยายามหาหนทางชวยใหผูประสบปญหาสามารถ แกป ญหาได ด วยตนเอง ซึ่ งวิ ธีก ารนี้ต รงกั บ ความต อ งการของผู มี ปญ หา กล า วคือ จากการสํ า รวจความ


2 ตองการของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการชวยเหลือที่พึงประสงค พบวา นักศึกษารอ ยละ 76.2 ตองการใหผูชวย ใหเขาสามารถแกปญหาไดดวยตัวเอง นอกจากนี้นักแนะแนวควรชวยใหบุคคลสามารถพัฒนาตัวเองไดอยาง เหมาะสมดวยสําหรับการที่จะทําใหบุค คลแตละคนสามารถพัฒนาตนเองจนถึงขีดสูงสุดนั้น นุช ลี อุป ภัย (2546, 22) กลาววาควรมีการกําหนดจุดมุงหมายของการทํางานที่ชัดเจนเพื่อ จะไดสามารถดําเนินการให เปนไปตามเปาหมายหลักที่วางไว ซึ่งจุดมุงหมายของการแนะแนวควรกําหนดไว ดังนี้ 1. การพยายามทํ า ให บุ ค คลรู จั ก ตนเอง (Self – Understanding) เป น การทํ า ใหบุ ค คลรู ข อ ดี ขอบกพรองของตนเองทั้งทางดานอารมณ สติปญญา ความสามารถและความถนัด เปนตน 2. การพยายามช วยใหบุค คลสามารถตัด สินใจไดดวยตนเอง (Self – Determination) เปนความ พยายามที่จะทําใหบุคคลรูจักหาหนทางตัดสินปญหาและเลือกแนวทางในการแกปญหาไดดวยตัวเอง 3. การชวยใหบุคคลเกิด การปรับตัว (Self – Adjustment) เปนการชวยสนับสนุน ใหบุคคลยอมรับ ตนเองทั้งจุดดีและจุด บกพรอง จนเกิด การตัดสินใจแกปญหาและนําพาตนเองไปสูการพัฒนาที่เหมาะสม ตามลําดับ Ontaril (1984 อางถึงใน ดี.สววต คองเกอร 2546, 12-16) ไดกําหนดคุณลักษณะที่นักเรียนพึงมี จากผลการจัดโปรแกรมแนะแนว กลาวคือ มีทักษะความรูและเจตคติพื้นฐานที่จําเปน ดังตอไปนี้ 1. รูจักและชื่นชมตนเอง 1) บอกจุดเดน คานิยม ความสนใจ ความถนัด และความสําเร็จของตนเองได 2)ใชประสบการณทั้งในและนอกสถานศึกษา กิจกรรมและความสนใจตาง ๆ ของตนใหเปน ประโยชนตอการเรียนรูเกี่ยวกับสมรรถภาพของคนไดมากยิ่งขึ้น 3) พัฒนาทักษะที่เกี่ยวของกับความเปลี่ยนแปลงตาง ๆ ทางรางกายและอารมณ ซึ่งอาจเกิดขึ้น ไดขณะที่นักเรียนพัฒนาจากวัยรุนไปสูวัยผูใหญ 4) บงชี้ อธิบาย และยอมรับความรูสึกตาง ๆ ของตนที่มีตอตนเองและผูอื่นได 5) บอกใหทราบถึงความหวัง ความคาดหวัง และความกลัวหรือความวิตกกังวัลของตนได 2. ปฏิสัมพันธกับผูอื่นไดอยางมีประสิทธิภาพ 1) แสดงทักษะความสามารถที่จําเปนในการติดตอสื่อสารไดอยางมีประสิทธิภาพ 2) บอกคุณลักษณะตาง ๆ ที่ตนแสวงหาจากการมีสัมพันธภาพกับผูอื่นได 3) บอกวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการกับอารมณของตนได 4) บอกวิธีการตาง ๆที่มนุษยปฏิบัติในกลุมและสามารถประเมินผลพฤติกรรมตาง ๆ เหลานี้ได 5) เขาใจความสําคัญของการรับรูความรูสึกและความตองการตาง ๆ ของผูอื่นในกลุมได 6) แสดงความสามารถและทักษะที่จําเปนในการทํางานเปนกลุมอยางไดผล 7) ระบุวิธีก ารอุทิศ ตนเพื่อ มีสวนรวมในงานชุมชนของผูที่ตางกันในดานวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ความสามารถ อายุ และแบบแผนของวิถีชีวิต 8) มี ป ฏิ สั ม พั น ธ ที่ ดี กั บ ผู อื่ น ที่ มี ค วามแตกต า งด า นวั ฒ นธรรม เชื้ อ ชาติ กลุ ม ศาสนา ความสามารถ และอายุ


3 9) เขาใจถึงลักษณะการพึ่งพาอาศัยกันระหวางบุคคลในชุมชน 3. พัฒนาแผนการเรียนไดอยางเหมาะสม 1) คุ น เคยกั บ ข อ เลื อ กหลากหลายทางการศึ ก ษาที่เ ป ด โอกาสให นั ก เรีย นไดเ ลื อ กในแต ล ะ ระดับชั้น 2) รูจักใชแหลงวิทยาการที่มีอ ยูหลากหลาย เชน ปฏิทินงานของสถานศึกษา ระบบขอมูล ทาง คอมพิวเตอร และแบบทดสอบวินิจฉัย 3) ไปทัศนศึกษาตามสถาบันการศึกษาตาง ๆ หลายแหงและรับฟงวิทยากรใหความรูเกี่ยวกับ แนวทางการศึกษาตอ 4) เขาใจความสัมพันธระหวางการศึกษากับการเลือกอาชีพ 5) เลื อ กวิ ช าเรี ยนได ส อดคล อ งกั บ พื้ น ฐานความรูค วามสามารถ ความสนใจ ค านิย ม และ สัมฤทธิผลทางการเรียนของตน 6) ปรับปรุงแผนการเรียนของตนเปนระยะ ๆ ใหเหมาะสมกับขอสนเทศใหม ๆ รอบตัว 7) มีความรูและเจตคติที่พึงมีสําหรับการเลื่อนชั้นเรียนขึ้นไปแตละขั้น 8) เขาใจถึงความสําคัญและแรงเสริมที่จูงใจใหประสบความสําเร็จทางการเรียน 9) รูจักใชแหลงความรูแกไขและเสริมการเรียนของตน 10) รูจักพัฒนาทักษะการเรียนที่เหมาะสมกับระดับการศึกษา 11) รูจักพัฒนาทักษะการบริหารเวลาอยางมีประสิทธิภาพ 4. สํารวจทางเลือกในการประกอบอาชีพ 1) เขาใจความหมายและความสําคัญของคําที่เกี่ยวของกับอาชีพ เชน การหาเลี้ยงอาชีพ (career) การประกอบอาชีพ (occupation) งาน (work) และชิ้นงานหรืองานเหมา (job) เปนตน 2) เขาใจความสําคัญของการวางแผนในแตละชวงของชีวิต คือชวงการเรียน การทํางานและการ ออกจากงาน 3) รูวาประสบการณและการตัดสินใจของตนมีผ ลกระทบอยางไรตอชีวิตในปจจุบันและอาจมี ผลกระทบตออาชีพในอนาคตของตน 4) ตระหนั กถึงสภาพเศรษฐกิ จและสั งคม และแนวโนม ในอนาคตที่ อาจมีผ ลกระทบตอ การ วางแผนอาชีพ 5) รูจักใชกระบวนการตาง ๆ ในการตัดสินใจ 6) แสดงใหเห็นถึงทักษะการตัดสินใจวางแผนอาชีพอยางไดผล 7) ระบุขอมูลหรือขอสนเทศที่จําเปนสําหรับการเลือกแนวทางประกอบอาชีพไดถูกตองตรงกับ ขอเท็จจริง 8) รูจักใชแหลงวิทยาการใหเปนประโยชนตอการสํารวจแนวทางเลือกอาชีพ 9) ใชความรูของตน ใชความสัมพันธกับผูอื่น และใชทัก ษะของตน รวมทั้งแผนการเรียน เพื่อ พัฒนาแผนการเลือกอาชีพใหครอบคลุมจุดหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


4 10) ระบุและรูจักใชแหลงขอสนเทศหลากหลายเกี่ยวกับโอกาสในการทํางาน 11) เขียนจดหมายตาง ๆ และจดหมายสมัครงานไดครบถวนถูกตอง เขียนประวัติยอ และพัฒนา กลวิธีการหางานทํา 12) ผานการทดลองสัมภาษณเพื่อสมัครเขาทํางาน 13) เขาใจความคาดหวังโดยทั่วไปที่นายจางมีตอลูกจาง 14) เขาใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบตามกฎหมายในฐานะที่เปนลูกจาง 15) เขาใจบทบาทของสหภาพแรงงานและสมาคมตาง ๆ ของนายจางหรือลูกจาง 16) เรียนรูเกี่ยวกับโอกาสอันพึงมี และขอดีขอเสียของการประกอบอาชีพอิสระ สวัสดิ์ สุวรรณอักษร (2542, 144) ไดกลาวถึงหลักการแนะแนวอาชีพ ในการจัดบริการแนะแนว อาชีพใหเปนระบบ จําเปนจะตองยึดถือหลักการที่สําคัญ ดังตอไปนี้ 1. จะต องจัด ให เป น กระบวนการต อเนื่ อ งกัน ไปนับ ตั้งแต เด็ก กอ นเขา เรียน ระหวา งเรีย น และ ภายหลังเมื่อเด็กจบการศึกษาไปแลว 2. จะตองจัดเพื่อเด็กทุกคน ไมใชเฉพาะเด็กที่มีปญหาเรื่องอาชีพเทานั้น 3. จะตองถือวาเด็กเปนศูนยกลางสําคัญในการใหบริการแนะแนวอาชีพ โดยคํานึงถึงความแตกตาง ของแตละบุคคลซึ่งมีสติปญญา ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และอุปนิสัยใจคอแตกตางกัน รวมทั้ง ศักยภาพในตนซึ่งอาจแตกตางกัน 4. จะตองถือวาเด็กทุก คนยอมจะมีศักดิ์ศ รีแ หงความเปนคน ซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพที่จะเลือกและ ตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิตในดานการงานอาชีพของตนโดยไมมีการบังคับ และถือวาเด็กจะตอ งรับผิด ชอบ ในการกระทําของตน 5. จะตองจัดบริการแนะแนวอาชีพใหครบทั้ง 5 บริการใหเปนกระบวนการตอ เนื่องกันไปดุจลูก โซ เริ่มตั้งแต 5.1 บริก ารสํ ารวจเด็ ก เป น รายบุ ค คล เพื่ อ ช ว ยให เ ด็ ก รู จั ก และเข าใจตนเองว า มี ส ติ ป ญ ญา ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และอุปนิสัยใจคอหรือบุคลิกภาพเหมาะกับงานอาชีพอะไร 5.2 บริการสนเทศ เพื่อใหขอมูลที่ถูกตองเกี่ยวกับโลกของงานอาชีพตาง ๆ และความตองการ ของตลาดแรงงาน ทั้งนี้เพื่อใหเด็กมีเจตคติที่ดีตองานอาชีพสุจริตทุกชนิดดวย 5.3 บริการใหคําปรึกษาเพื่อชวยเด็กรูจัก ตัดสินใจเลือ กแนวทางประกอบอาชีพอยางฉลาดและ ถูกตองเหมาะสมกับอัตภาพ 5.4 บริการจัดวางตัวบุคคล เพื่อชวยใหเด็กไดมีโอกาสเลือกวิชาชีพเหมาะกับงานอาชีพตาง ๆ ที่ สนใจดวยการฝกงาน ทดลองงานเพื่อหาประสบการณในระหวางศึกษา 5.5 บริการติดตามผลและประเมินผล เพื่อบริการใหความชวยเหลือในระหวางศึกษา ระหวาง ฝกงานหรือลองงานหรือทํางานเพื่อหารายไดพิเศษตลอดจนเมื่อออกไปประกอบอาชีพแลว


5 6. การบริหารงานแนะแนวอาชีพและการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ จะตองประสานสัม พันธแ ละ สอดคลองกับการปฏิบัติงานดานอื่น ๆ ของโรงเรียน เชนการจัดแผนการเรียน การจัดการเรียนการสอนตาม หลักการ 7. จะตอ งมีบุ คลากรหรือ คณะบุค ลากรผู มีค วามศรั ทธาตอ งานนี้ข องผูรับ ผิด ชอบในการกํา หนด นโยบาย วางโครงการและวางแผนปฏิบัติงานแนะแนวอาชีพในโรงเรียน 8. จะตองไดรับความรวมมือและมีการติดตอประสานงานกับหนวยงานและองคกรตาง ๆ ทั้งของรัฐ และเอกชนในชุมชนหรือภายนอกโรงเรียน เพื่อรับและใหบริการ ทั้งเพื่อสงเสริมสนับสนุนใหงานแนะแนว อาชีพดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพและอยางเปนระบบครบถวนตามหลักการแนะแนว 9. ในการแนะแนวอาชีพแตละระดับ จะตองคํานึงถึงวัยและความพรอมของเด็กเปนสําคัญ กลาวคือ ในระดับประถมศึกษาเด็กยังไมถึงวัยที่จะเลือกอาชีพหรือทํางาน ทั้งยังไมสนใจในเรื่องอาชีพมากนัก แตเปน วัยที่ควรปลูกฝงเจตคติที่ดีตออาชีพตาง ๆ ควรใหเด็กรักการทํางานและมีกิจนิสัยในการทํางาน 10. ผูจัด บริก ารแนะแนวอาชีพ จะต องมีค วามรูก วา งขวางเกี่ ยวกับ โลกของงานอาชีพ เชน ความ ตองการของตลาดแรงงานทั้งในปจจุบันและอนาคต ลักษณะของงานอาชีพตาง ๆ สภาพสิ่งแวดลอมเกี่ยวกับ งานคุณสมบัติตาง ๆ ของผูทํางาน ระเบียบการรับสมั ครงาน เงินเดือ น หรือคาจาง สวั สดิก ารและโอกาส กาวหนาในอาชีพประเภทของอาชีพตาง ๆ 11. จะตองมีเครื่อ งมือและอุป กรณตาง ๆที่จําเปนตามสมควร เชน แบบทดสอบความถนัด แบบ สํารวจความสนใจ ความสามารถและบุค ลิก ภาพที่พอเชื่อ ถือ ได เพื่ อชวยให เด็ก รูจัก ตนเองอยา งถูก ตอ ง จะตองมีแฟมประวัติของเด็ก หรือระเบียบสะสมสําหรับประมวลขอ มูลเกี่ยวกับตัวเด็กเพื่อ ความสะดวกใน การใหบริการแนะแนวอาชีพไดถูกตอง 12. จะตอ งจั ด ระบบการให ข อ มู ล ขา วสารความรูเ กี่ย วกั บ อาชี พ ต า ง ๆ และความต อ งการด า น ตลาดแรงงานอยางเพียงพอและมีประสิท ธิภาพในรูปแบบตาง ๆ เชน เอกสาร สิ่งพิมพ โปสเตอร สไลด วีดิโอเทป ภาพยนตร เปนตน เพื่อกระตุนความสนใจเจตคติที่ดีและคานิยมที่ถูกตองในอาชีพตาง ๆ 13. จะตองพยายามใหเด็ก ผูปกครองและทรัพยากรตาง ๆ ในชุมชนเขามามีสวนรวมมากที่สุดเทาที่ จะทําไดในโครงการและกิจกรรมตาง ๆ ของการแนะแนวอาชีพ ทั้งจะตองประชาสัมพันธเผยแพรใหเด็ก ครู ผูปกครอง และชุมชน ทราบและมองเห็นความสําคัญ การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance) เปนการชวยเหลือบุคคลในการเลือกอาชีพ การเตรียม ตัวเพื่อประกอบอาชีพ และการปฏิบัติงานอยางมีประสิทธิภาพเพื่อความกาวหนาในวิช าชีพ ซึ่งถือเปนการ แนะแนวในระยะยาวและเปนการแนะแนวอยางตอเนื่อง Skolnik (1995 อางใน นุชลี อุปภัย 2546, 164) ไดเสนอแผนงานที่จะทําใหเด็กเกิดความรูเกี่ยวกับ งานอาชีพ ต า ง ๆ และคุ น เคยกับ ลั กษณะของการทํ า งาน เพื่อ จะได เ กิ ด ความคิ ด ที่เ ป นประโยชน ตอ การ วางแผนเลือกแนวทางการศึกษาตอและการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งการดําเนินแผนงานดังกลาวจะมีทงั้ การใหขอมูลขาวสาร การใหคําปรึกษา การจัดวางตัวบุคคล และการติดตามผลในตัว ถึงแมเด็ก ๆ จะขาด ความรูดานอาชีพ แตสวนใหญจะมีแผนการหรือความฝนสําหรับอนาคตของตนเอง เชน ความตองการ


6 ชวยเหลือผูอื่น ความตองการปกปอ งสิ่งแวดลอม ความตองการมีเงินและใชเงินอยางสนุกสนาน การได ตอสูกับอาชญากรรม รวมทั้งไดผจญภัยในโลกกวาง เปนตน อยางไรก็ตาม การทําใหความฝนเปนจริงเมื่อ เติบโตขึ้ นคอนขางจะทํา ไดยาก ซึ่งการที่จะทํา ใหสิ่งที่ป รารถนานั้นเปน จริงในอนาคตได จะตอ งเริ่มต น วางแผนตั้งแตในวัยเด็ก แตสิ่งที่เด็กยังขาดคือ เขาไมมีความรูเกี่ยวกับโลกแหงความเปนจริงของการทํางาน จึงทําใหฝนของเขาขาดพื้นฐานที่มั่นคงและชัดเจน อีก ทั้งยังขาดขอมูลที่จะชวยทําใหฝนนั้นกลมกลืนกั บ สภาพความเปนจริงในชีวิตและในสังคมปจจุบัน ตัวอยางเชน เด็กที่มีความฝนที่จะปกปอง การดําเนินการแนะแนวอาชีพ ในการจัด บริก ารแนะแนวอาชี พ ในสถานการศึ ก ษาทุ ก ระดั บ ไม วา จะเป น ระดับ ประถมศึ ก ษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา ผูดําเนินการจัดหรือผูรับผิดชอบจําเปนตองมีหลักการที่สําคัญ ๆ ที่ควรยึดถือเพือ่ ใช ป ระกอบการพิจารณาในการจั ดบริ ก ารแนะแนวอาชี พ ให มี ป ระสิ ท ธิภ าพซึ่ ง ดร. สํ าเนาว ขจรศิ ล ป (2529,78) รวบรวมไวดังนี้ 1. การแนะแนวอาชี พ เปน กระบวนการที่ ตอ เนื่ อ ง การที่ บุ คคลจะเลือ กประกอบอาชี พได อ ย า ง เหมาะสมนั้น ขึ้นอยูกับปจจัยที่สําคัญสามประการคือ 1.1 บุ ค คลจะต อ งรู จั ก ตั ว เองในด า นต า ง ๆ เช น ในด า นที่ เ กี่ ย วกั บ ความสนใจในอาชี พ ความสามารถ ความถนัด และคานิยม เปนตน 1.2 บุ คคลต อ งมีค วามรู เกี่ ยวกั บโลกของงาน คื อรู วา ในสัง คมที่ ต นอาศัย อยูมีอ าชี พอะไรบ า ง บุคคลจะตองมีความรูอยางละเอียดถี่ถวนกับอาชีพตาง ๆ ที่ตนเองสนใจและนอกจากนั้นก็จะตองมีความรู เกี่ยวกับตลาดแรงงานอีกดวย 1.3 บุคคลจะตอ งมีระดับวุฒิภาวะที่สูงพอที่จะสามารถวิเคราะหตนเอง และวิ เคราะหอาชีพ ได อยางดี และสามารถใชวิจารณญาณตัด สินใจเลือกอาชีพ โดยใชหลักการวิเ คราะหตนเองและการวิเคราะห อาชีพประกอบกัน การที่บุคคลจะมีปจจัยทั้งสามประการดังกลาวไดจึงตองอาศัยเวลาในการพัฒนา การเลือ กอาชีพ ของบุคคลจึงตองใชเวลาอันยาวนาน ฉะนั้นการจัดบริการแนะแนวอาชีพจึงตองกระทําเปนโครงการระยะ ยาวที่ตอเนื่อง โดยเริ่มตั้งแตประถมศึกษาเพื่อใหเด็กไดมีความรูความเขาใจถึงความสําคัญของการประกอบ อาชีพและเพื่อปลูกฝงเจตคติที่ดีตอ อาชีพตาง ๆ ในระดับมัธ ยมศึกษาตอนตน ควรเนนในเรื่องการสํารวจ ตนเองและการสํารวจอาชีพตาง ๆ ที่มีอยูในสังคมและในระดับมัธยมปลายควรเนนการตัดสินใจเลือ กอาชีพ ของนักเรียน ในระดับอุดมศึกษาการแนะแนวอาชีพ จะเนนในเรื่องการตัดสินใจเลือกอาชีพ เพื่อชวยเหลือ นักศึกษาที่คิดวาไมสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพไดถูกตอง การจัดบริการแนะแนวอาชีพจึงตองทําตอเนือ่ งอยู ตลอดเวลาทุกปและทุกระดับการศึกษา 2. การจัดบริการแนะแนวอาชีพนั้น ผูใหบริการจําเปนตองเขาใจผูรับบริการและตองใหผูรับบริการ เขาใจตนเองลึกซึ้ง


7 ในการใหบ ริการแนะแนวอาชีพนั้น จํ าเปนตอ งมีแบบทดสอบและแบบสํารวจชนิดต าง ๆ ที่ มี คุณภาพดีไวใชทดสอบหรือสํารวจบุคลิก ภาพของผูรับบริการ เพื่อ ใหผูใหคําปรึก ษาไดทราบและเขาใจผู ขอรับบริการ เพื่อใหผูใหคําปรึกษาไดทราบและเขาใจผูข อรับคําปรึกษาไดอยางลึก ซึ้ง และเพื่อใหผูขอรับ คําปรึกษาไดมีค วามรูและความเขาใจในตนเองมากขึ้น การรูจักตนเองอยางดีพอ จะทําใหบุค คลตัดสินใจ เลือกอาชีพไดดียิ่งขึ้น 3. การจัดบริการแนะแนวอาชีพนั้น จําเปนตองมีขอมูลดานการศึกษาและอาชีพที่ทันตอเหตุการณที่ มีปริมาณมากและมีความถูกตองดี บริการแนะแนวอาชีพทุกแหง ควรมีขอมูลเกี่ยวกับสถานที่ศึกษาระดับสูง ขึ้นทั้งในและตางประเทศ 4. การแนะแนวอาชี พ ส ง เสริ ม ให บุ ค คลมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบตอ ตนเอง ควรยึ ด หลั ก ว า บุค คลมี ความสามารถในการใชวิจารณญาณเพื่อตัดสินใจดวยตนเองได 5. การตัดสินใจเลือกอาชีพควรมีความยืดหยุน คือเมื่อบุคคลตัด สินใจเลือกประกอบอาชีพใดอาชีพ หนึ่งแลว ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได ถาสภาพการณตาง ๆ ในสังคมไดเปลี่ยนแปลงไป 6. การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพเปนสิ่งจําเปน เปนการพัฒนาบุค คลทางดานวิช าชีพ สติปญญา สังคม อารมณ รางกายและจิตใจ 7. การแนะแนวอาชีพเปนงานของทุก ฝายในสถาบันการศึกษา ฝายกิจการนักศึกษา กับคณะวิช า ตาง ๆ จะตองมีการประสานงานและมีความรวมมือกันอยางใกลชิด 8. การจัดบริการแนะแนวอาชีพใหมีความสมบูรณ นอกจากหลัก การที่สําคัญตาง ๆ ดังที่ไดก ลาว มาแลว บริการแนะแนวอาชีพจะมีประสิทธิภาพไดจะตองมีบริการและกระบวนการตาง ๆ ดังตอไปนี้ 8.1 บริการสนเทศเกี่ยวกับอาชีพ 8.2 มีการทดสอบ 8.3 มีบริการใหคําปรึกษาทั้งทางดานการศึกษา อาชีพ สวนตัวและสังคม 8.4 มีการเก็บรวบรวมระเบียนสะสมของนักศึกษา 8.5 มีกระบวนการพัฒนาใหมีความพรอมทั้งรางกายและจิตใจ 8.6 มีบริการจัดหางาน 8.7 มีการติดตามประเมินผล 9. ควรมีการประสานงานกับหนวยงานภายนอกสถาบัน เชน ศูนยแนะแนวการศึกษาและอาชีพ กรม แรงงาน ตลอดจนบริษัทหางราน เปนตน แนวโนมของการแนะแนวอาชีพในชวงทศวรรษนี้เปนการเนนเรื่อง Life Career Development คือ การพัฒนาอาชีพ ตลอดชีวิ ต แทนที่จะพั ฒนาอาชี พเฉพาะอยางเดียว จึงตองมีการเตรียมความพรอ มที่จ ะ ทํางาน การหางาน กระทั่งวิธีการที่จะแกไขความเบื่องานและรักษาสุขภาพจิตไว ซึ่งกระบวนการนี้จะตอ ง ทํา เป นระบบ โดยหาความตอ งการของกลุ มว าเปน อย างไร วางเป าหมาย และก็ หาวิท ยากรให แลวจึ ง ประเมินผลโครงการ ซึ่ง นวลศิริ เปาโรหิตย (2528,18) ไดกลาวถึงการแนะแนวอาชีพวา ควรมีการบริการ ที่สําคัญ 5 ประการ คือ


8 1. บริการใหคําปรึกษาดานอาชีพ (Career Counseling) ชวยในการตัดสินใจในการเลือกอาชีพและ ใหความกระจางในเรื่องการแนะแนวอาชีพโดยตรง การใหคําปรึกษาดานอาชีพตามหลักสากลจะมีวิธีการ ดังนี้คื อ ครั้งแรกจะเป นเรื่ องการสั มภาษณ คือหาขอ มูล ทั่ ว ๆ ไปก อนว า เขาเกง อะไร ภูมิหลั งเขาเป น อยางไร การศึกษาเปนอยางไร เขามีทักษะหรือเกงทางใดเพื่อชวยเขาในการหางานไดเหมาะกับเขา และ สุดทายก็เปนเรื่องของการทําแบบทดสอบดานอาชีพ แลวจึงทําการใหคําปรึกษาดวยการพูดคุยกัน เราจะคุย กับเขาเพียง 2-3 ครั้งเขาก็จะเริ่มรูวาตัวเองเกงอะไร และชวยใหเขามีทักษะในการตัดสินใจ 2. การจัดโครงการตาง ๆ (Program Consultation) ไดแก การจัดวันอาชีพ วันนัด พบแรงงาน การ สัมมนาหรืออภิปรายเกี่ยวกับตลาดแรงงาน 3. บริการแบบทดสอบ (Psychometric Service) โดยการจัดหาแบบทดสอบตาง ๆ ไวในหองสมุด อาชีพ เชน แบบทดสอบ SDS (Self Directed Search) หรือแบบทดสอบที่ส รางขึ้นเอง 4. การจัดตั้งหองสมุดอาชีพ (Career Library) ซึ่งควรจะเปนลักษณะของศูนยขอมูลอาชีพ คือมีแฟม อาชีพ สไลดอาชีพ เทปและวีดีโอเกี่ยวกับอาชีพ 5. บริการจัดหางาน (Placement Service) เปนบริการที่เปนหัวใจของการแนะแนวอาชีพมากที่สุด นอกจากนี้นุชลี อุปภัย (2546, 25-27) ไดกลาวถึงวิธีการดําเนินงานและขอตกลงเบื้องตนของการ แนะแนวในการชวยเหลือบุคคล เพื่อใหบรรลุจุดมุงหมายของการแนะแนว นักแนะแนวควรมีหลักในการ ปฏิบัติงานอันเปรียบเสมือนจุดยืนที่บอกย้ําถึงวิธีการดําเนินงานดังตอไปนี้ 1. การแนะแนวจะตองเปนการพัฒนาความเปนบุคคลของแตละคน การแนะแนวถูกกําหนดมาโดยมี ความเชื่อวาในการพัฒนาบุคคลนั้น จะตองเปดโอกาสใหบุคคลไดเรียนรูเกี่ยวกับตัวเองวา ตนเองคือใคร มี คุณสมบัติอยางไร และคุณสมบัติเหลานั้นมีความหมายตอชีวิตในอนาคตของเขาอยางไร 2. การดําเนินการแนะแนวมีจุดมุงหมายเพื่อใหบุคคลไดรูจักตนเองและสิ่งแวดลอม นักแนะแนวจะ ใชกลวิธีตาง ๆ เพื่อทําใหบุคคลไดรูจักและเขาใจลักษณะภายในของตนเอง เชน การใชเทคนิคการสัมภาษณ การใหคําปรึกษา และการใชแบบสอบถาม เปนตน วิธีการดังกลาวจะเปนโอกาสใหบุคคลสามารถสํารวจ ความเปน ตัว ตนของตนเอง รวมทั้ งความหมายของคุณ คาที่ไ ดจ ากประสบการณชี วิต และเนื่อ งจากการ ดําเนินชีวิตของบุคคลประกอบดวย ตัวบุคคลและโลกแหงการรับรูสวนตัวของเขา และเหตุการณภายนอกที่ เขามาสูชีวิตของเขาตามลําดับ 3. การแนะแนวตองยึดหลักความรวมมือกัน มิใชเปนการบังคับ ตองขึ้นอยูกับความพอใจของบุคคล สองฝาย ฝายหนึ่งคือผูชวยเหลือ อีกฝายหนึ่งคือผูรับความชวยเหลือ การแนะแนวเปนเรื่องที่เกี่ยวของกับ แรงจูงใจภายในและความเต็มใจ การไมบังคับและการไมสรางความกดดันใหกับบุคคลจึงถือเปนหลักสําคัญ ของการแนะแนว 4. การแนะแนวจะตองมีความเชื่อเบื้อ งตนวา มนุษยมีความสามารถในตัวที่จะพัฒนาตนเอง ผูให ความชวยเหลือควรยึดความเชื่อที่วามนุษยมีความสามารถภายในตัวที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเอง


9 5. การแนะแนวจะตองคํานึงถึงศักดิ์ศ รีแ ละคุณ คาของมนุษ ย รวมทั้งการยอมรับสิทธิและเสรีภาพ สวนบุคคลในการตัดสินใจ การเห็นความสําคัญในคุณคา และความเทาเทียมกันของมนุษย รวมทั้งเสรีภ าพ สวนบุคคลเปนสิ่งจําเปนในการแนะแนว 6. การแนะแนวเปนกระบวนการศึกษาที่มีความตอเนื่องและเปนขั้นตอน โดยจัดใหบริการตั้งแตใน ระดับประถมไปจนถึงสิ้นสุดการศึกษาและตอเนื่องไปจนตลอดชีวิต ขอพิจารณาในการเลือกอาชีพสําหรับบุคคลตาง ๆ เรื่ อ งเกี่ ยวกั บ การเลื อ กอาชี พ ซึ่ง มี ค วามสํ าคั ญ ผูที่ จะเริ่ม เข า สู อาชี พ ควรจะไดรู ข อ มูล ต า ง ๆ ที่ เกี่ยวกับอาชีพใหมากที่สุดกอนที่จะตัดสินใจเขาสูอาชีพนั้น ๆ เพราะธรรมชาติทําใหคนเรามีอะไรที่แตกตาง กัน มีความสนใจแตกตางกัน มีความสามารถแตกตางกัน มีบุคลิกภาพแตกตางกัน เพราะฉะนั้น จึงประกอบ อาชีพที่แตกตางกัน ดังนั้นจึงมีหลักในการพิจารณาเลือกอาชีพที่ สวัสดิ์ ประทุมราช (2529, 89) เห็นวาสิ่งที่ จําเปนในการพิจารณาอยางคราว ๆ เพื่อประโยชนในการแนะแนว ไดแก 1. ความสนใจในอาชีพ 2. ความถนัดและความสามารถ 3. ความตองการตลาดแรงงาน ทั้งนี้ สวัสดิ์ ประทุมราช (2529, 90 ) ไดจัดอาชีพตาง ๆ เปน 10 อาชีพ และแตละสาขาอาชีพจะมี ลักษณะของงานเปนสามระดับ เปนอยางนอย ประกอบดวย ระดับอาชีพ (professional) ระดับกึ่งอาชีพ (semi professional) และระดับทักษะ (skilled worker) ซึ่งอาชีพตาง ๆ จําแนกได ดังนี้ 1. เรื่องเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ไดแก วิศวกรสาขาตาง ๆ ชางยนต 2. งานเชิงคํานวณ ไดแก นักบัญชี งานสถิติ 3. งานเชิงวิทยาศาสตร ไดแก แพทย นักเคมี 4. งานชักชวนโฆษณา ไดแก งานขายโฆษณา 5. งานศิลปะ ไดแก สถาปนิก นักแสดง ชางภาพ 6. งานวรรณกรรม ไดแก นักประพันธ ทนายความ ผูพิพากษา 7. งานดนตรี ไดแก นักประพันธเพลง นักดนตรี 8. งานบริการสังคม นักสังคมสงเคราะห งานฝายบุคคล 9. งานเสมียน ไดแก งานในสํานักงาน 10. งานนอกสํานักงาน ไดแก เจาหนาที่เกษตร ปาไม ผูบังคับการเรือ กรมการจั ด หางาน กองส ง เสริ ม การมี ง านทํ า ได จั ด ทํ า ข อ มู ล เผยแพร ท างอิ น เทอร เ น็ ต URL:http://doe.go.th/vgnew/guide โดยกลาววา บุคลิกภาพกับ การเลือกอาชีพและการศึกษาใหเหมาะสม กับตัวเอง การเลือกอาชีพและสาขาวิชาที่จะศึกษา ใหเหมาะสมกับตัวเองโดยเนนเรื่องบุคลิกภาพ บุคคลแต ละบุคคลยอมมีบุคลิกภาพที่แตกตางกัน แตละคนจะมีลักษณะที่ชี้เฉพาะตนไมวารูปราง หนาตา ผิวพรรณ หรือนิสัยใจคอ มีนัก วิช าการบางทานไดใหค วามหมายของคําวา “บุค ลิกภาพ” คือ ลักษณะสวนรวมของ


10 บุคคล ซึ่งประกอบดวยสิ่งที่ปรากฏทางรางกาย นิสัยใจคอ ความรูสึกนึกคิด และพฤติกรรมรวมของบุคคล นั้น ซึ่งไดรวมอยูดวยกันอยางผสมกลมกลืนในตัว บุคคลนั้น รวมถึงสิ่งที่เขาชอบและไมช อบ สิ่งที่เขา สนใจและไมสนใจ เปาหมายตาง ๆ ในชีวิตของเขา ความสามารถดานตาง ๆ ของเขา ลักษณะของบุคลิกภาพเฉพาะของแตละคนนั้น หากบุคคลรูจักและเขาใจบุคลิกภาพจนสามารถมอง ตนไดตามสภาพความเปนจริงยอมชวยใหบุคคล ตัดสินใจเลือกแนวทางชีวิต การศึกษา และอาชีพไดอยาง สอดคลองกับตัวเองมากที่สุด บุคลิกภาพนั้นเกี่ยวของกับอะไรบาง 1. ทางกายภาพ หมายถึง รูปรางหนาตาดี ยอมสงผลใหผูสัมภาษณสนใจไดบางและตนเองก็มีค วาม ภูมิใจมั่นใจยิ่งถามีสุขภาพที่แข็งแรงวองไวในการทํางานยิ่งนาประทับใจ 2. ทางสมอง สมองดีไมมีโรคภัยไขเจ็บก็จะทําใหเขามีความทรงจําดี เชาวนปญญาดี แตตอ งเปนผล จากการศึกษาอบรมพื้นฐานดวย 3. ความสามารถ อาศัยประสบการณ และความถนัดจากการฝกฝน 4. ความประพฤติ เปนผูอยูในศีลธรรม สุภาพออนโยน มีมนุษยสัมพันธ ไมเปนปฏิปกษกับสังคม 5. ชอบเขาสังคมมีทัศนคติที่ดีตอผูอื่น การแสดงออกตอเพื่อ นฝูง ไมเห็นแกตัว มีน้ําใจตอ ผูอื่ น ไมอวดตัว 6. อารมณดี ใจเย็น ไมฉุนเฉียว อดกลั้นโทสะได 7. กําลังใจ เปนคนที่จิตใจเขมแข็ง ไมทอถอย ไมเสียขวัญงาย ในการเสริมสรางบุคลิกภาพที่ดีนั้น ตองการพื้นฐานในการสงเสริมอยางไรบาง 1. ตองเอาใจใสสุขภาพ การออกกําลังกาย การทํางาน การกินอาหาร การพักผอนนอนหลับ ตอ ง จัด ใหเ ปนไปตามความเหมาะสมของรางกายโดยถือ ความพอดี ข องแตล ะบุคคลเปน หลัก คือ กินได ถา ย สะดวก และนอนหลับ คุณก็จะปลอดภัยจากการถูกรบกวนดวยอาการออนเพลียจิตใจ หงุดหงิด และปวด ศีรษะ 2. บําเพ็ญตนใหเปนประโยชนแกสังคม ขอนี้เปนขอสําคัญในการควบคุม “พลังใจใฝอํานาจ” มิให แสดงออกมานอกลูนอกทาง ถาไมมีพลังใจใฝสังคมมาถวงคุณไว คุณ จะกลายเปนคนเห็นแกตัว เอาแตใจ ตนเอง ตอตานสังคม 3. ศึกษางานในหนาที่ ความรอบรูทําใหเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง คนที่รูงานในหนาที่ของตนดีและ ทํางานดวยความมั่นใจ ยอมเกิดความภาคภูมิใจวาเปนคนสําคัญคนหนึ่งในบริษัท และการมีความรูสึกเชนนีก้ ็ ยอมจะเสริมสรางบุคลิกลักษณะของเขาใหดีขึ้นได 4. หัดนิสัยใหเปนคนขวนขวาย ความขวนขวายจะเกิดไดก็ตอเมื่อ มีความสนใจ ความรักในหนาที่ ฉะนั้นในขั้นตนจะตองสรางความสนใจขึ้นมากอน พึงสนใจงานในหนาที่ งานของเพื่อนบาน และของสังคม อยาทําตัวเปนคนชอบบนจูจี้จุกจิก และคอยมุงคิดแตวาเมื่อใดจะถึงวันหยุดงาน


11 5. เปนผูฟงที่ดี แตตองเปนการฟงอยางมีศิลปะ คือผูฟงตองชักจูงผูพูดใหพูดในเรื่องที่เขาเรื่อ งและ แสดงใหเห็นวาตนเองฟงคําพูดของเขาดวยความตั้งใจ เมื่อถึงโอกาสที่ควรถามก็ถามแตควรจะคอยใหเขาพูด จนจบเสียกอน นี่คือศิลปะในการฟง 6. มีวาทศิลป ศึกษาปญหาชีวิตของสังคมที่เกิดขึ้นประจําวันโดยการสังเกตการณอานหนังสือพิมพ ชมภาพยนตรบาง ซึ่งจะชวยใหคุณมีความรูหรือมีขอมูลเก็บไวใชในการพูดคุยกับผูอื่นไดมากขึ้น 7. มีความรูพอที่จะพูดคุยกับผูอื่นไดทุกระดับ 8. รูจักถอมตัว หมายถึง การไมยกตนขมทาน ทั้งดานกริยาและคําพูด การถอมตนที่ถูก ตองนั้นตอ ง เกิดจากความรูสึกที่จริงใจวาตนเองแมจะมีความสําคัญในทางใดบาง แตก็มิใชเปนคนสําคัญคนเดียว หากแต ยังมีคนอื่นที่สําคัญเทากัน หรือสําคัญกวา ซึ่งจะทําใหคุณเขาสังคมกับใคร ๆ ไดอยางหนาชื่นตาบาน 9. รัก เพื่ อ นบ า น คุ ณ ควรจะมีก ารวิส าสะกั บ เพื่ อ นบ านบา งสั ม ผัส กั น ตามสมควรแล ว คุ ณ จะได ประโยชนมากมาย 10. อยามุงสรางบุคลิกภาพมากเกินไป ถาคุณวาดภาพอยูในใจอยูเสมอวาบุคลิกภาพของคุณ จะตอ ง เปนอยางนั้นอยางนี้ตามที่คุณเห็นวาดีหรืองามแลว คุณก็พยายามประพฤติตัวใหเปนอยางที่คุณตองการ ภาพ ที่จะสะทอนใหเห็นก็คือคุจะกลายเปนคนที่แข็งทื่อ ฝนธรรมชาติ และกลายเปนคนที่อยูในสภาพหลอกลวง ไป นอกจากขอพึงปฏิบัติเพื่อเสริมสรางบุคลิกภาพแลวยังมีสิ่งที่ค วรหลีก เลี่ยงละทิ้งออกไปจากตัวคุณ ไดแก ก. ความรูสึกต่ําตอย รวมทั้งความหมั่นไสเยาะเยยตนเอง ข. ความอิจฉาริษยา ค. ความไวตัวมากเกินไปซึ่งขอนี้จะทําใหเกิดผลตามมาคือ จะเปนคนโกรธงาย ประสาทออ น ขี้แ ย ถือดีเกินไปหัวสูง และแยกตัวเองออกจากสังคม บุคลิกภาพดีเปนของมีคา ที่ควรยึดไดเปนสมบัติประจําตัวจะทําใหช ีวิตประสบแตความสําเร็จ บุคลิกภาพมีอิทธิพลตอการเลือกอาชีพ โดยบุคคลจะเลือ กอาชีพ ที่เหมาะสมกับบุคลิก ภาพของตน บุ ค ลิก ภาพเฉพาะอย า งมี ค วามสั ม พั น ธ กั บ อาชี พ เฉพาะอย า ง ทฤษฎี ก ารเลื อ กอาชี พ ของ “จอหน แ อล ฮอลแลนด” มีแนวคิดพื้นฐาน 4 ประการ ประการที่ 1 อาชี พ เป น เครื่อ งแสดงออกทางบุ ค ลิ ก ภาพ บุ ค คลจะเลือ กอาชี พ ใดยอ มแสดงว า บุคลิกภาพของเขาจะปรากฏออกมาในทิศ ทางเดียวกัน ประการที่ 2 บุคลิกภาพของแตละบุคคลมีความสัมพันธกับชนิด ของสิ่งแวดลอ มในการทํางานของ บุคคลนั้น ดังนั้น บุคคลจึงมีแนวโนมจะหันเขาหางาน หรืออาชีพที่สอดคลองกับบุคลิกภาพของเขา ประการที่ 3 บุคคลจะคนหาสิ่งแวดลอมที่เอื้ออํานวยใหเขาไดฝกทักษะ และใชความสามารถของเขา ทั้งยังเปดโอกาสใหเขาไดแสดงเจตคติ คานิยม และบทบาทของเขา ประการที่ 4 บุคลิกภาพของสิ่งแวดลอมจะเปนตัวกําหนดพฤติก รรมของแตละบุคคล ดังนั้น เมื่ อ สามารถทราบบุคลิกภาพและสิ่งแวดลอมของบุคคลแลว ก็จะทําใหทราบผลที่จะติดตามมาของบุคคลนัน้ ดวย


12 เชน การเลือกอาชีพ ความสําเร็จในอาชีพ ตลอดจนทั้งพฤติกรรมตาง ๆ ทั้งการศึกษาอาชีพและสังคมดวย ฮอลแลนดไดส รุปทฤษฎีของเขาไว 4 ประการดังนี้ คือ (อางใน สําเนาว ขจรศิลป 2529,38) 1. ในสั งคมของวัฒนธรรมตะวั นตก สามารถแบ ง บุค คลออกตามลั ก ษณะของบุค ลิก ภาพได 6 ประเภท คื อ พวกชอบเกี่ยวขอ งกับ สิ่ง ที่เ ป นรู ปธรรม (Realistic) พวกที่ช อบเกี่ ย วข องกับ กิ จกรรมที่ใ ช ความคิ ด การแก ป ญ หา (Intellectual) พวกชอบเข า สัง คม (Social) พวกชอบระเบี ย บแบบแผน (Conventional) พวกที่มีความทะเยอทะยาน ชอบมีอํานาจ (Enterprising) และพวกชอบศิลปะ (Artistic) 2. บรรดาอาชีพตาง ๆ นั้น สามารถแบงตามลักษณะและสภาพแวดลอมได 6 ชนิด ซึ่งสอดคลองกับ บุคลิกภาพของคนทั้ง 6 ประเภท 3. บุคคลยอมแสวงหาสภาพแวดลอมและอาชีพ ซึ่งเปดโอกาสใหเขาไดใชความสามารถและทัก ษะ เพื่ อ แสดงออกถึ งค านิ ย มและทั ศ นคติ ตลอดจนการมี บ ทบาทที่ เ หมาะสม และหลี ก เลี่ย งบทบาทที่ ไม เหมาะสมกับตนเอง 4. พฤติกรรมของบุคคลสามารถอธิบายไดจากปฏิกิริยาระหวางแบบฉบับแหงพฤติกรรมของเขากับ สภาพแวดลอมของเขา คนเรานั้น มี ค วามถนั ด ในการกระทํ า สิ่ ง ใดสิ่ งหนึ่ง หรื อ หลาย ๆ สิ่ ง ด ว ยกัน ทุ ก คน แต มี ร ะดั บ ความสามารถมากนอยแตกตางกันไป บางคนมีความถนัด ในการทํางานหลาย ๆ ดาน แตบางคนมีค วาม ถนัด ในการทํ างานดานใดดานหนึ่งโดยเฉพาะความถนั ดก็คื อ ระดับ ความสามารถของบุค คล ซึ่ งอาจจะ เกิดขึ้นได โดยที่บุคคลนั้น ๆ ไดรับการฝกอบรม หรือมีประสบการณในงานนั้น ๆ มาคูกัน และสามารถที่จะ นําประสบการณหรือความรูที่ไดจากการฝกอบรมนั้นไปใชใหเปนประโยชน สําหรับ การสํ ารวจตัวทา นเองวาเปน คนอยางไร มีบุค ลิ กภาพอยา งไร ตลอดจนพฤติ กรรมและ ลักษณะที่เปนทั้งขอดีขอเสีย มีความเชี่ยวชาญ ชอบงาน ประเภทใด และมีความถนัดทางดานใด จะชวยให เราสามารถมองภาพที่เปนตัวเองไดทั้งหมด การคัดเลือกอาชีพตามลักษณะบุคลิกภาพและสภาพแวดลอมทางอาชีพของบุคคลตามที่จอหน แอล ฮอลแลนด (อางใน สําเนาว ขจรศิลป 2529,46) ไดแบงเปน 6 ประเภทดังนี้ กลุมที่ 1 บุคลิกภาพแบบจริงจัง ไมคิดฝน นิยมความจริง และสิ่งที่เปนรูปธรรม (Realistic) เชน วิศวกร ชางเทคนิค ฯลฯ กลุมที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ตองใชเชาวปญญาและความคิด (Investigative) เชน แพทย ทันตแพทย ฯลฯ กลุมที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศ ิลปะ (Artistic) มีจินตนาการสูง ชอบอิสรภาพ เชน สถาปนิก จิตรกร นักประพันธ นักดนตรี ฯลฯ กลุมที่ 4 บุคลิกภาพที่ช อบการสมาคม สังคมกับผูอื่น (Social) ชอบชวยเหลือผูอื่น เชน นักสังคม สงเคราะห พยาบาล นักสังคมวิทยา ฯลฯ กลุมที่ 5 บุคลิกภาพแบบมีความทะเยอทะยาน กลาคิดกลาทํา ชอบทํากิจกรรม (Enterprising) เชน นักธุรกิจ เศรษฐศาสตร การเงิน นักการเมือง ฯลฯ


13 กลุมที่ 6 บุคลิกภาพที่ทําตามระเบียบแบบแผน (Conventional) ไมคอยมีความยืดหยุน รอบคอบและ ขยันหมั่นเพียร เชน เลขานุการ บัญชี ฯลฯ นอกจากนี้ เรียม ศรีทอง (2535, 131) ไดกลาวถึงแนวคิดในการแบงกลุมอาชีพ แบบงาย ๆ โดย กลุมนักวิชาการทดสอบของอเมริกา ไดผ สมผสานแนวคิดในการแบงอาชีพตามบุคลิก ภาพของฮอลแลนด และการแบงอาชีพตามลักษณะงานของโรว โดยเรียกวา แผนที่โลกงานอาชีพ ซึ่งแบงงานทุก ชนิดในโลก ออกเปน 4 ประเภทใหญ ๆ ไดแก 1. งานอาชีพที่เกี่ยวของกับตัวเลขหรือขอ มูล (information) หมายถึง งานที่ตองทําเกี่ยวกับตัวเลข จํานวน ขอมูล ทําสถิติ บัญชี วัดผล ไดแก อาชีพ ผูซื้อ-ขาย ผูแ ทนจําหนาย เจาของกิจการ พนักงาน การเงิน บัญชี พนักงานตรวจสอบ 2. งานอาชีพที่เกี่ยวกับความคิด (ideas) หมายถึง งานที่ทําเกี่ยวกับการคิดคนแตง ประดิษฐ รวมทั้ง คํา พู ด ศิล ปะ ดนตรี ไดแ ก อาชี พนั ก วิ ท ยาศาสตร นั ก ดนตรี นั ก ปรัช ญา มั ณ ฑนากร สถาปนิ ก ชางภาพ นักเขียน นักขาว เปนตน 3. งานอาชีพที่เกี่ยวกับบุคคล (people) หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการชวยเหลือผูอื่น ใหความรูบริการ รับใช ชักจูงใจ ใหความบันเทิง ไดแกอ าชีพ นัก ขาย พยาบาล ครู ทัน ตแพทย แมบาน พนักงาน โรงแรม นักสังคมสงเคราะห 4. งานอาชีพที่เกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของ (things) หมายถึง งานที่ตองทํากับเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ และเครื่องมือ หรือเครื่องทุนแรง รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวของกับสิ่งของ ไดแก อาชีพชางเทคนิค วิศวกร พนักงานกอสราง ผูประดิษฐงานทางคหกรรมและหัตถกรรมชาวสวน สรุป การแนะแนวเปนกระบวนการชวยเหลือบุคคลที่มีระเบียบแบบแผน โดยใชเทคนิคและกลวิธีตาง ๆ เพื่อชวยใหบุคคลแตละคนบรรลุความสําเร็จสูงสุดที่เหมาะกับความสามารถและความตองการของตัวเขา ให ผูรับการแนะแนวมีทักษะ ความรู เจตคติที่จะเปน คือ รูจักและชื่นชมตนเอง ปฏิสัมพันธกับผูอื่นไดอยางมี ประสิทธิภาพ พัฒนาแผนการเรียนไดอยางเหมาะสม สํารวจทางเลือกในการประกอบอาชีพ การแนะแนว เปนกระบวนการตอเนื่องที่บุคคลจะตองรูจักตนเองในดานความสนใจอาชีพ ความสามารถ ความถนัดและ คานิยม ตองมีความรูเกี่ยวกับโลกอาชีพ ตองมีระดับวุฒิภาวะที่สูงพอที่จะสามารถวิเคราะหตนเองและอาชีพ ผูใหบริการแนะแนวอาชีพตองเขาใจผูรับบริการ และตองใหผูรับบริการเขาใจตนเองลึกซึ้ง ตองมีขอมูลดาน การศึกษาและอาชีพที่ทันตอเหตุการณ สงเสริมใหบุคคลมีความรับผิดชอบตน เตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ พัฒนาวิช าชีพ สติปญญา สังคม อารมณ รางกายและจิตใจ การใหบริก ารแนะแนวมีก ระบวนการ ดังนี้ บริก ารสนเทศเกี่ ย วกั บ อาชี พ บริ ก ารทดสอบ บริก ารให คํา ปรึ ก ษา เก็ บ รวบรวมระเบี ย นสะสม มี กระบวนการพัฒนาใหมีความพรอมทั้งรางกายและจิตใจ มีบริการจัดหางาน มีการติดตามผล


14 ในการพิจารณาในการเลือกอาชีพนั้น นอกจากตองพิจารณาความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และความตอ งการตลาดแรงงานแล ว บุค ลิก ภาพก็ เปนสิ่งสํ าคัญยิ่งในการเลื อกอาชีพ ซึ่งบุค ลิกภาพนั้ น เกี่ยวของกับ กายภาพรูปรางหนาตา สมองเชาวนปญญา ประสบการณความถนัด ความประพฤติ การ แสดงออกตอสังคม อารมณ กําลังใจ ดังนั้น บุคลิกมีอิทธิพลตอการเลือกอาชีพมาก โดยเราจะตอ งเลือก อาชีพใหเหมาะกับบุคลิกภาพของตน ซึ่งแบงบุคลิกภาพได 6 ประเภท คือ พวกชอบเกี่ยวของกับสิ่งที่เปน รูปธรรม พวกที่ช อบเกี่ยวของกับกิ จกรรมที่ใชความคิด การแกปญหา พวกชอบเขาสังคม พวกชอบ ระเบียบแบบแผน พวกที่มีความทะเยอทะยาน และพวกชอบศิลปะ


คณะดําเนินการ ที่ปรึกษา

๑.นายนคร ศิลปอาชา ๒.นายประพันธ มนทการติวงศ ๓.นายประวิทย เคียงผล ๔.หมอมหลวงปุณฑริก สมิติ ๕.นายสันโดษ เต็มแสวงเลิศ

ผูจัดทํา

๑.นายณรงค ฉ่ําบุญรอต ๒.นายคมธัช รัตนคช ๓.นายดนุพล คลอวุฒนิ ันท

อธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน ผูอํานวยการสํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก

นักวิชาการพัฒนาฝมือแรงงานชํานาญการพิเศษ นักวิชการพัฒนาฝมือแรงงานชํานาญการ นักวิชการพัฒนาฝมือแรงงานปฏิบัติการ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.