โมดุล5ความรู้พื้นฐานทางช่าง

Page 1

Tec T chnnicaalคววามรู้พนฐาน นื้ นด้านช่ช่าง Lite L eracy

ความ ค มรู้พนฐาน นื้ นด้านนช่าง

โมดู โ ลลที่ 5


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

หน้า ก

คํานํา การฝึกอบรมในชุดการฝึกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ พื้นฐานในการทํางาน ประกอบด้วย กิจกรรมสร้างเสริมนิสัยการทํางาน กฎ ระเบียบ ความปลอดภัยในการ ทํางาน คณิตศาสตร์ช่าง ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทํางาน การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน และการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานและอุปกรณ์สํานักงาน ความรู้ ทั กษะพื้น ฐานเหล่านี้ มีความสําคัญ และมี ความจํ าเป็นอย่ างยิ่ง เพราะสามารถช่วยลด การสูญเสียทรัพยากรและพลังงาน ประหยัดเวลา อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานให้สูงขึ้นอีกด้วย อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

หน้า ข

สารบัญ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

สารบัญ.......................................................................................................................................... ข รายละเอียดของโมดูลการฝึก (Module Outline) ........................................................................ 1 ใบเตรียมการสอน .......................................................................................................................... 2 บทที่ 1 : เครือ่ งมือวัด .................................................................................................................... 2 ใบข้อมูล ........................................................................................................................................ 3 บทที่ 1 : เครือ่ งมือวัด .................................................................................................................... 3 1. เครื่องมือวัดระยะ ......................................................................................................... 3 2. เครื่องมือร่างแบบ....................................................................................................... 12 3. เครื่องมือวัดมุม .......................................................................................................... 18 4. เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์ .................................................................................... 22 .5 การบํารุงรักษาเครื่องมือวัด ......................................................................................... 31 ใบกิจกรรม : เครื่องมือวัด ....................................................................................................... 35 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือวัด ................................................................................................ 36

7. 8. 9. 10.

ใบเตรียมการสอน ........................................................................................................................ 37 บทที่ 2 : เครือ่ งมือตอก ................................................................................................................ 37 ใบข้อมูล ...................................................................................................................................... 38 บทที่ 2 : เครือ่ งมือตอก ................................................................................................................ 38 1. ชนิดของเครื่องมือตอก ............................................................................................... 38 2. ความปลอดภัยในการใช้ค้อน....................................................................................... 42 ใบกิจกรรม : เครื่องมือตอก ..................................................................................................... 43 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือตอก.............................................................................................. 44

11. 12. 13. 14.

ใบเตรียมการสอน ........................................................................................................................ 45 บทที่ 3 : เครือ่ งมือตัด .................................................................................................................. 45 ใบข้อมูล ...................................................................................................................................... 46 บทที่ 3 : เครือ่ งมือตัด (เลื่อย) ...................................................................................................... 46 .1 เลื่อยมือ .................................................................................................................... 46 กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

หน้า ค

2. เลื่อยไฟฟ้า .................................................................................................................... 50 3. เครื่องมือทีใ่ ช้กับเลื่อย................................................................................................. 56 ใบกิจกรรม : เครื่องมือตัด ....................................................................................................... 58 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือตัด................................................................................................ 59 15. 16. 17. 18.

ใบเตรียมการสอน ........................................................................................................................ 60 บทที่ 4 เครื่องมือไขและขัน.......................................................................................................... 60 ใบข้อมูล ...................................................................................................................................... 61 บทที่ 4 เครื่องมือไขและขัน.......................................................................................................... 61 ชนิดของเครื่องมือไขด้วยมือและด้วยไฟฟ้า .......................................................................... 61 2. ไขควงไฟฟ้า (Screwdriver Power) .............................................................................. 66 ชนิดของเครื่องมือขันด้วยมือและด้วยไฟฟ้า ......................................................................... 67 ใบกิจกรรม : เครื่องมือไขและขัน ............................................................................................. 72 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือไขและขัน...................................................................................... 73 ใบเตรียมการสอน .............................................................................................................. 74

19. 20. 21.

บทที่ 5 เครื่องมือเจาะ.................................................................................................................. 74 ใบข้อมูล ...................................................................................................................................... 75 บทที่ 5 เครื่องมือเจาะ.................................................................................................................. 75 1. ชนิดของเครื่องมือเจาะด้วยแรงมือและเครื่องมือเจาะด้วยไฟฟ้า ..................................... 75 2. สว่านและการใช้งาน .................................................................................................. 76 3. ดอกสว่านและการใช้งาน ............................................................................................ 81 4. การแต่งคมเครื่องมือ................................................................................................... 84 ใบกิจกรรม : เครื่องมือเจาะ ..................................................................................................... 87 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือเจาะ ............................................................................................. 88 ใบเตรียมการสอน .............................................................................................................. 89

22. 23. 24.

บทที่ 6 เครื่องมือจับยึด................................................................................................................ 89 ใบข้อมูล ...................................................................................................................................... 90 บทที่ 6 เครื่องมือจับยึด................................................................................................................ 90 กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

หน้า ง

1. ชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานโลหะ............................................................................ 90 4. ชนิดคีมจับยึด ............................................................................................................ 94 5. การเลือกใช้งานเครื่องมือจับยึด ................................................................................... 97 .6 การบํารุงรักษาเครื่องมือจับยึด .................................................................................... 98 ใบกิจกรรม : เครื่องมือจับยึด ................................................................................................... 99 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือจับยึด ......................................................................................... 101 ใบเตรียมการสอน ............................................................................................................ 102 25. 26. 27.

บทที่ 7 เครื่องมือไสและตกแต่ง.................................................................................................. 102 ใบข้อมูล .................................................................................................................................... 103 บทที่ 7 เครื่องมือไสและตกแต่ง.................................................................................................. 103 1. ชนิดของเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยมือ และเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยไฟฟ้า ............. 103 2. สกัด ........................................................................................................................ 108 3. ตะไบ ...................................................................................................................... 110 4. เครื่องเจียร .............................................................................................................. 111 ใบกิจกรรม : เครื่องมือไสและตกแต่ง ..................................................................................... 114 ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือไสและตกแต่ง .............................................................................. 115

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

รายละเอียดของโมดูลการฝึก (Module Outline) 1. ชื่อโมดูลการฝึก : การใช้เครือ่ งมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 2. ระยะเวลาการฝึกอบรม : 24 ชั่วโมง 3. วัตถุประสงค์ของโมดูล (Objective) : ผู้เข้ารับการฝึกต้องมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้ 1) บอกวิธีการใช้เครื่องมือวัดได้ 2) บอกวิธีการใช้เครื่องมือตอกได้ 3) บอกวิธีการใช้เครื่องมือตัดได้ 4) บอกวิธีการใช้เครื่องมือไขและขันได้ 5) บอกวิธีการใช้เครื่องมือเจาะได้ 6) บอกวิธีการใช้เครื่องมือจับยึดได้ 7) บอกวิธีการใช้เครื่องมือไสและตกแต่งได้ 4. พื้นฐานความสามารถของผูร้ ับการฝึก (Prerequisite) : 1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมเข้าทํางาน 2) ผ่านการศึกษาในระดับ ปวช. ทางด้านช่าง 3) มีประสบการณ์ในการทํางานด้านช่างที่เกี่ยวข้อง 5. เกณฑ์การประเมิน (Assessment Criteria) : ผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตามเกณฑ์ที่กําหนด 6. หัวข้อวิชา (Content) : 1) การใช้เครื่องมือวัด 2) การใช้เครื่องมือตอก 3) การใช้เครื่องมือตัด 4) การใช้เครื่องมือไขและขัน 5) การใช้เครื่องมือเจาะ 6) การใช้เครื่องมือจับยึด 7) การใช้เครื่องมือไสและตกแต่ง 7. คู่มือการฝึกและเอกสารอ้างอิง : 1) คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2) คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3) คู่มือครูฝึกหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงาน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

1 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 1 : เครื่องมือวัด ระยะเวลา : 2 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกเครื่องมือวัดระยะ และร่างแบบได้ 2. บอกเครื่องมือวัดมุมได้ 3. บอกเครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4. บอกการบํารุงรักษาเครื่องมือวัดได้ วิธีการสอน : 1. บรรยายและทํากิจกรรม 2. เรียนรู้ด้วยตนเองจากชุดการฝึก หัวข้อวิชา : 1. เครื่องมือวัดระยะ และร่างแบบ 2. เครื่องมือวัดมุม 3. เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. การบํารุงรักษาเครื่องมือวัด อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก : สือ่ การนําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

2 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

3 จาก 113

4.

ใบข้อมูล บทที่ 1 : เครื่องมือวัด 1. เครื่องมือวัดระยะ เครื่องมือวัดความยาวทั้งหลายจําเป็นต้องมีสเกลประกอบอยู่ เครื่องมือวัดประเภทบรรทัดเหล็ก หรือตลับเมตร อาศัยหลักการวัด คือ นําบรรทัดไปทาบกับส่วนที่ต้องการ และใช้สายตาถ่ายทอดขนาดจาก งานจริงลงบนบรรทัด และอ่านค่าตามสเกลจากบรรทัด วิธีนี้เรียกว่า "การวัดโดยใช้สเกลประกอบสายตา" หรือเรียกว่า "วัดโดยตรง"

การวั ด โดยตรงซึ่ ง การวั ด ด้ ว ยวิ ธี นี้ จะละเอี ย ดถู ก ต้ อ งหรื อ ไม่ นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ ตํ า แหน่ ง ที่ ม อง โดยเฉพาะการวัดขนาดของชิ้นงานที่ไม่แบนราบ โอกาสผิดพลาดจากการวัดจะยิ่งมีมาก เช่น การวัดชิ้นงาน กลม เป็นต้น การอ่านขนาดด้วยบรรทัดเหล็ก ถ้าตําแหน่งการอ่านอยู่คนละตําแหน่งแล้ว จะอ่านได้ขนาดที่ ไม่เท่ากัน ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาจะถูกลดลงโดยสิ้นเชิงโดยการวัดด้วยขาวัดสัมผัสผิวงาน และจากนั้นจึงนําไป ทาบกับสเกลของบรรทัดอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออ่านค่าที่ถูกต้อง การวัดเช่นนี้เรียกว่า "การวัดเปรียบเทียบ" ซึ่งเครื่องมือที่ทําหน้าที่ถ่ายทอดขนาดนั้นเรียกว่า "คาลิเปอร์" หรือวงเวียนวัด ดังรูป

เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือสําหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาด ในการกําหนดตําแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุ ชิ้นงาน ฯลฯ เครื่องมือวัดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้งาน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

4 จาก 113

1.1 บรรทัดเหล็ก บรรทัดเหล็ก หรือฟุตเหล็ก (Stainless Steel Ruler) ทําจากเหล็กกล้าไร้สนิม ทนต่อการ สึกหรอ และคราบน้ํามัน ใช้วัดขนาดที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก มีสเกลบอกขนาด 2 ระบบ คือ ระบบเมตริก และระบบอังกฤษ มีหลายขนาด เช่น ขนาด 6 นิ้ว 12 นิ้ว 24 นิ้ว และ 36 นิ้ว เป็นต้น

1.2 เวอร์เนียคาลิเปอร์ (Vernier Caliper) เวอร์เนียร์คาลิเปอร์เป็นเครื่องมือวัดที่ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงมาจากการวัดโดยตรงจาก บรรทัด และการวัดโดยอ้อมจากคาลิเปอร์ ทําให้สามารถอ่านขนาดได้โดยตรงในขณะที่ปากจับชิ้นงานอยู่ มีความละเอียดและเที่ยงตรงสูงใช้วัดงานละเอียดได้ถึง 0.01 มม. หรือ 0.001 นิ้ว วัดได้ทั้งวัดนอก วัดในและวัดความลึก ระยะกว้างสุดวัดได้ถึง 6 นิ้ว หรือ 120 มม. ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในงาน อุตสาหกรรมและงานทั่วๆ ไป เรียกว่าในงานช่างจะขาดเครื่องมือวัดชนิดนี้ไม่ได้เลยทีเดียว สามารถวัด ขนาดความโตภายนอกขนาดความโตภายในรูเจาะ และขนาดความลึกของรูเจาะได้ ดังรูป

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

5 จาก 113

ส่วนประกอบของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ 1) ตัวบรรทัด เป็นชิ้นส่วนหลักเพื่อใช้ในการประกอบเข้ากับส่วนอื่น ๆ บนตัวบรรทัดจะมี สเกลความยาวทั้งระบบอังกฤษ (นิ้ว) โดยทั่วไปจะอยู่ด้านบน และระบบเมตริก (มิลลิเมตร) ซึ่งจะอยู่ ทางด้านล่าง สเกลบนบรรทัดนี้เรียกว่า สเกลหลัก ทําหน้าที่เช่นเดียวกับบรรทัดเหล็ก 2) ปากวัดนอก ปากข้างหนึ่งจะออกแบบให้คงที่ และเป็นส่วนหนึ่งของบรรทัด ส่วนอีก ปากหนึ่งจะอยู่ติดกับสเกลเลื่อน สามารถเลื่อนไปมาได้บนบรรทัด ทําให้ปรับเลื่อนวัดงานได้หลาย ขนาด จึงใช้สําหรับวัดขนาดภายนอกของงานทั่วไป เปรียบเสมือนคาลิเปอร์วัดนอกประกอบสเกล 3) ปากวัดใน จะอยู่ด้านบนของบรรทัดปากข้างหนึ่งคงที่และเป็นส่วนของบรรทัดเช่นกัน อีกข้างหนึ่งจะติดอยู่บนสเกลเลื่อน ใช้วัดขนาดภายในของชิ้นงานทําหน้าที่เสมือนคาลิเปอร์วัดใน ประกอบ เช่น รูเจาะภายในของชิ้นงาน ขนาดความโตภายในท่อ และความโตของร่อง เป็นต้น 4) ก้านวัดลึก จะอยู่ด้านท้ายของเวอร์เนียร์ ก้านวัดลึกนี้จะประกอบติดอยู่กับสเกลเลื่อน จึงสามารถเลื่อนเข้าออกพร้อมกับสเกลเลื่อน ทําให้สามารถวัดความลึกของชิ้นงานได้หลายขนาด 1.3 ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดขนาดเช่นเดียวกับเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ แต่ไมโครมิเตอร์สามารถวัดงานได้ ละเอียดกว่าเวอร์เนียร์ เพราะเครื่องมือชนิดนี้สามารถวัดค่าละเอียดได้โดยอาศัยระยะพิตซ์ของแกน เกลียวเป็นเกณฑ์ ขณะที่แกนวัดหมุนครบหนึ่งรอบ ระยะเคลื่อนที่เท่ากับระยะ พิช (Pitch) ของ เกลียว แกนวัดจะขยับเลื่อนไปได้หนึ่งระยะพิตซ์ของยอดเกลียวของเครื่องมือวัดนั้น ไมโครมิเตอร์มี รูปร่างลักษณะแตกต่างกันตามประโยชน์การใช้งาน มีทั้งชนิดใช้วัดนอก วัดใน วัดสูง และวัดลึก แต่ที่ นิยมใช้กันมาก คือ ไมโครมิเตอร์วัดนอก (Outside Micrometer) ดังรูป

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

6 จาก 113

ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์ 1) โครง (Frame) สําหรับไมโครมิเตอร์วัดนอก มีลักษณะคล้ายตัวซี (C) มีรูปร่างแข็งแรง มั่นคง เป็นส่วนสําคัญที่ใช้ในการประกอบจับยึดกับส่วนอื่น ๆ ลักษณะพิเศษ คือ จะต้องมีน้ําหนักเบา ไม่เปลี่ยนรูป เกิดการขยายตัวหดตัวน้อย เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป 2) แกนรองรับงาน (Anvil) เป็นส่วนที่อยู่กับที่ติดอยู่กับโครงด้วยการสวมอัด จะมีหน้าที่ สัมผัสชิ้นงานอีกด้านหนึ่ง แกนรองรับนี้จะแข็งมากเพื่อทนต่อการสึกหรอ ส่วนมากจะทําจากเหล็ก ผสมสูง (High Alloy Steel) 3) แกนวัด (Spindle) เป็นส่วนเคลื่อนที่เข้าออกเพื่อสัมผัสชิ้นงาน เคลื่อนที่ได้โดยการ หมุนปลอกหมุน (Thimble) ผิวหน้าของแกนวัดจะต้องเรียบ และมีความแข็ง 4) ปลอกสเกลหลัก (Barrel) เป็นปลอกหุ้มโครงแกนเกลียว ปลอกสเกลหลักนี้ ส่วนมาก เรียกกันว่า Barrel หรือ Sleeve ที่ตามแนวปลอกนี้จะมีสเกลหลักแบ่งอยู่ เรียกว่า Barrel Scale 5) ปลอกหมุน (Thimble) เป็นปลอกเกลียวรวมอยู่กับเกลียวของแกนวัดสวมครอบ บาเรลอยู่ เป็นส่วนที่ใช้มือจับหมุนเมื่อวัดชิ้นงาน บริเวณที่จับหมุนจะพิมพ์ลายไว้รอบ ๆ ปลอกหมุน จะมีสเกลอยู่ เรียกว่า Thimble Scale สําหรับอ่านละเอียดในการวัด 6) หัวหมุนวัด (Ratchet) แกนวัดของไมโครมิเตอร์ แรงกดที่เกิดขึ้นจะไม่ทําให้ค่าวัด ผิดพลาดเกิน 0.01 มิลลิเมตร ขนาดของแรงกดวัดจะตั้งไว้ด้วยตัวแรตเซตถ้าแรงกดมากเกินพิกัดตัว แรตเซตจะหมุนฟรี ทําให้มีแรงกดอัดขณะวัดเท่ากันทุกครั้ง 1.4 ฟีลเลอร์เกจ (Feeler gauge) ใช้สําหรับการตั้งระยะห่างของวาล์วไอดี และวาล์วไอเสียเพื่อการปรับแต่งเครื่องยนต์

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

7 จาก 113

1.5 บรรทัดฉาก (เหล็ก) ใช้สําหรับวัดมุมของชิ้นส่วนเพื่อให้ได้ฉาก 90 องศา จะไม่ค่อยนํามาใช้ในงานช่างยนต์มากนัก

1.6 ตลับเมตร (Measurement tape) ใช้สําหรับวัดขนาดหรือกําหนดขนาดอย่างคร่าว ๆ เช่น การวัดขนาดความยาว ความกว้าง ของเครื่องยนต์ วัดฐานของเครื่องยนต์ เป็นต้น

1.7 ไดอัลเกจ (Dial Gauge) ใช้วัดระยะห่างการเคลื่อนที่ โดยยึดฐานของเกจ ไว้กับแท่นที่มั่นคง ปลายไดอัลเกจจะวัด ระยะรุน (End Play) หรือระยะหลวมคลอนต่างๆ ของชิ้นส่วนเครื่องยนต์

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

8 จาก 113

1.8 เครื่องทดสอบหัวฉีด (Injection nozzle tester) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบการทํางานของหัวฉีดน้ํามัน

1.9 เกจความลึก (Depth gage) เป็นเครื่องวัดที่ใช้สําหรับวัดค่าความลึกของชิ้นส่วน เช่น กระบอกสูบ เป็นต้น

1.10 ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer) เป็ นเครื่ องมื อวั ดความถ่วงจํ าเพาะของของเหลว เช่ น ความถ่วงจําเพาะ (ถ.พ.) ของ สารละลายในแบตเตอรี่

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

9 จาก 113

1.11 เกจวัดความดัน (Pressure plate) เป็ น เครื่อ งมื อ ที่ ใ ช้ วัด ความดั น ของก๊ า ซหรื อ ของเหลว เช่น ความดั นลมหรื อความดั น น้ํามันหล่อลื่น

1.12 เครื่องทดสอบหม้อน้ําและฝาหม้อน้ํา (Radiator and Cap tester) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบหม้อน้ําและฝาหม้อน้ําว่ามีการรั่วไหลหรือไม่ และการเปิดปิดของ วาล์วบนฝาหม้อน้ําทํางานถูกต้องหรือไม่

1.13 ระดับน้ํา (Level) ใช้สําหรับวัดพื้นผิวว่าได้ระดับหรือไม่ ทําจากอะลูมิเนียมหรือพลาสติก ยาวประมาณหนึ่ง ศอก มีช่องใสหลายช่อง แต่ละช่องจะมีหลอดแก้ว ที่มีของเหลวที่มีสีอยู่ข้างใน ในของเหลวจะมี ฟองอากาศขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อลองขยับระดับน้ําดู จะสังเกตเห็นว่าฟองอากาศจะเคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งระดับน้ํานั้นมีอยู่หลายขนาด โดยส่วนใหญ่ใช้ขนาด 24 นิ้ว (60 เซนติเมตร) ใช้ขนาด 4 ฟุต (1.2 เมตร) หรือ 6 ฟุต (1.8 เมตร)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

10 จาก 113

1.14 ขอขีดไม้ (Marking Gauge) ขอขีดไม้ เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สําหรับการสร้างรอยขีดที่ขนานกับขอบนชิ้นงาน ซึ่งจะ สามารถนําไปใช้ขีดชิ้นงานอื่น ๆ ให้มีขนาดเท่ากันได้หลายชิ้น

1.15 เกจวัดความหนาโลหะแผ่น และความโตลวด เกจชนิดนี้ทําจากเหล็กกล้าคาร์บอน มีลักษณะกลมปากเป็นร่องรอบตัว เพื่อใช้เทียบวัด ความหนาโลหะ และความโตลวด ตัวเลขบนเกจวัดจะบอกความหนาของแผ่นโลหะเป็นทศนิยม หรือเศษส่วนของนิ้ว ด้านหน้าของเกจจะบอกความหนาเป็นนัมเบอร์ ส่วนด้านหลังจะบอกเป็นทศนิยมของนิ้ว ในช่องที่ตรงกัน โดยมีตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 36 นัมเบอร์มาก ความหนาก็จะลดลง เช่น เบอร์ 28 จะมี ความหนาน้อยกว่าเบอร์ 16 เป็นต้น ดังรูป

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

11 จาก 113

1.16 คาลิเปอร์ (Caliper) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดแบบเก่า ปัจจุบันมีการนํามาใช้งานน้อยมาก เป็นเครื่องมือถ่ายทอดขนาดซึ่งไม่มีสเกลเป็นของตนเอง ถ้าต้องการทราบค่าต้องนําไปเทียบกับ บรรทัด โอกาสที่ได้ค่าผิดพลาดก็มีเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายขนาดออกมาจากชิ้นงาน มี 2 ชนิด คือ 1) คาลิเปอร์วัดนอก ใช้สําหรับวัดขนาดความโตภายนอกของเพลา

2) คาลิเปอร์วัดใน ใช้สําหรับวัดขนาดความโตของรู ภายในชิ้นงาน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

12 จาก 113

2. เครื่องมือร่างแบบ ก่อ นที่ เ ราจะเริ่ ม เขีย นแบบ จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ง ที่ เ ราจะต้ อ งมีค วามรู้ เกี่ ย วกับ อุ ป กรณ์ เครื่ อ งมื อ ตลอดจนวิธีการใช้งานให้ดีเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว และเป็นการประหยัดเวลาใน การทํางาน ตลอดจนการรักษาเครื่องมือให้มีสภาพดีอยู่เสมอ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จําเป็นมีดังต่อไปนี้ 2.1 โต๊ะเขียนแบบ / กระดานรอบแบบ การเขียนแบบทางอุตสาหกรรม จําเป็นต้องใช้โต๊ะในการเขียนแบบ แม้ว่าจะมีรายละเอียด โครงสร้างแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปจะมีความสูงที่เป็นมาตรฐาน หรืออาจเป็นชนิดที่สามารถปรับความสูง และความเอียงของพื้นโต๊ะให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานได้ ส่วนกระดานรองแบบ จะเหมาะสําหรับ งานในสนาม จะทําด้วยไม้สนสีขาว และมีขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งจะมีเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ขนาด 80 × 120 ซม.

2.2 บรรทัดรูปตัวที บรรทัดรูปตัวทีรูปร่างคล้ายตัวทีในภาษาอังกฤษมีสองแบบ คือ ชนิดหัวปรับได้และแบบ หัวปรับไม่ได้มีขนาดความยาวตั้งแต่ 65 – 120 เซนติเมตร สําหรับนักเรียนจะใช้ไม้ทีชนิดปรับหัวไม่ได้ บรรทัดรูปตัวทีนี้อาจจะทําจากไม้ พลาสติกหรือทําจากโลหะก็ได้แต่ส่วนมากจะทําจากไม้ ส่วนมากเป็น ไม้เนื้ออ่อน นอกจากนี้ยังมีบรรทัดอีกชนิดหนึ่งใช้แทนบรรทัดรูปตัวที มีลักษณะเป็นบรรทัดยาวมีเชือก ร้อยบังคับทั้งสองด้านโดยยึดเชือกกับโต๊ะเขียนแบบ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

13 จาก 113

2.3 ฉากสามเหลี่ยม โดยปกติฉากสามเหลี่ยม 1 ชุด จะประกอบด้วย 2 อัน คือ 1) ฉากที่มีมุม 45˚ 45˚ 90˚ 2) ฉากที่มีมม 30˚ 60˚ 90˚

ฉากที่มีมม 45˚ 45˚ 90˚

ฉากที่มีมมุ 30˚ 60˚ 90˚

ฉากที่ปรับองศา

ฉากที่ดีนั้นควรมีมุมที่แน่นอนโดยเฉพาะมุมฉาก ควรจะมีมุมฉาก (90 องศา) จริงๆ ฉาก อาจจะทําจากไม้หรือพลาสติกก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ฉากที่ทําจากพลาสติก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

14 จาก 113

2.4 กระดาษเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบ เป็นวัสดุงานที่ใช้สําหรับบันทึกรูปภาพงานเขียนแบบลงบนผิวกระดาษ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารถ่ายทอดแบบงาน ขนาดมาตรฐาน A0 A1 A2 A3 A4 A5 A6

ขนาดกระดาษ กว้าง x ยาว (มม.) 841 x 1,189 594 x 841 420 x 594 297 x 420 210 x 297 148 x 210 105 x 148

ขนาดพื้นที่เขียนแบบ กว้าง x ยาว (มม.) 831 x 1,179 584 x 831 410 x 584 287 x 410 200 x 287 138 x 200 95 x 138

มาตรฐานขนาดกระดาษเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบมีอยู่หลายขนาด ผู้เขียนสามารถเลือกใช้ขนาดกระดาษแต่ละขนาด ตามความเหมาะสม ตามมาตรฐาน DIN 476 ได้กําหนดขนาดกระดาษหลักไว้ 7 ขนาด คือ A0 A1 A2 A3 A4 A5 และ A6 โดยกระดาษ ขนาด A0 เป็นขนาดกระดาษที่มีขนาดโตที่สุด มีพื้นที่รวม 1 ตารางเมตร ลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสัดส่วนความกว้างต่อความยาวเป็น 1 ต่อ รูท 2

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

2.5

15 จาก 113

ดินสอเขียนแบบ ดินสอแบ่งเป็น 2 ชนิดตามลักษณะการใช้งาน 1) ดินสอเปลือกไม้ 2) ดินสอเปลี่ยนไส้ได้

ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ จะถูกแบ่งออกเป็นเกรดตามความอ่อนแข็งของไส้ดินสอ คือ 1) ดินสอไส้อ่อน เกรดที่ใช้คือ 2B 3B 4B 5B 6B 7B

2) ดินสอไส้ปานกลาง เกรดที่ใช้คือ B HB F H 2H 3H

3) ดินสอไส้แข็ง เกรดที่ใช้คือ 4H 5H 6H 7H 8H 9H

ในการเขียนแบบนั้น ช่างเขียนแบบจะต้องมีดินสอหลายแท่ง แต่สําหรับนักเรียนให้ ใช้ดินสอนไส้ปานกลางเพียงแท่งเดียวก็พอ คือ เกรด HB การจับดินสอควรให้จับดินสอเอียง 60 องศา และควรหมุนดินสอไปด้วยเล็กน้อยขณะที่ขีดเส้น เพื่อเส้นจะได้คมและเสมอกันโดยตลอด

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

16 จาก 113

2.6 ยางลบ ยางลบที่ใช้ในงานเขียนแบบ ควรเป็นยางลบดินสอชนิดอ่อนที่มีคุณภาพดีเพราะจะทําให้ การลบสะอาดและกระดาษเขียนแบบไม่เป็นรอย

2.7

มีดสําหรับเหลาดินสอ มีดที่ใช้สําหรับเหลาดินสอนั้นนักเรียนสามารถซื้อได้ในราคาที่ไม่สูงนัก เมื่อใช้แล้วก็ควรใช้ ผ้าเช็ดส่วนที่เป็นเหล็ก เพื่อไม่ให้เกิดสนิม

2.8

เทปสําหรับติดกระดาษ (Masking tape) ใช้สําหรับติดมุมกระดาษ เพื่อไม่ให้กระดาษเลื่อนและสะดวกในการเขียนแบบ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

2.9

17 จาก 113

วงเวียน วงเวียนมีไว้สําหรับเขียนวงกลมและส่วนของวงกลม เมื่อใช้แล้วควรใช้ผ้าเช็ดส่วนที่เป็น เหล็กและเก็บไว้ในกล่องให้เรียบร้อย

2.10 ผ้าสําหรับทําความสะอาด ใช้ สํ าหรั บทํ าความสะอาดตั้ งแต่ เช็ ดโต๊ ะ เก้ าอี้ ก่ อนที่ นั่ งทํ างาน ตลอดจนทํ าความสะอาด เครื่ องมื อต่ างๆ ทั้ งนี้ เนื่ องจาก กระดาษเขี ยนแบบมี สี ขาว ฝุ่ นผงต่ างๆ ที่ ปลิ วมาหรื อเกิ ดจากการ เหลาดินสอ จะทําให้กระดาษสกปรกเป็นรอยดําได้

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

18 จาก 113

3. เครื่องมือวัดมุม 3.1 ใบวัดมุม ใบวั ด มุ ม เป็ น เครื่ อ งมื อ วั ด มุ ม ที่ ส ามารถใช้ ง านได้ ส ะดวกรวดเร็ ว ให้ ค่ า ความละเอี ย ด พอประมาณ วัดขนาดของมุม 0 องศา ถึง 180 องศา เหมาะสําหรับใช้วัดมุมต่างๆ ของมีดกลึง มีดใส ชิ้นงานที่มีลักษณะทํามุมไม่เกิน 180 องศา และบางครั้งใช้สําหรับการร่างเส้นแบ่งมุมบนโลหะแผ่น สร้างจากเหล็กไร้สนิม จะมีการแบ่งสเกลตัวเลขขององศาออกเป็น 2 วง คือ วงในและวงนอก โดยเริ่ม จากด้านซ้ายและด้านขวา ตั้งแต่ 0 องศา ไปถึง 180 องศา แต่ละช่องสเกล มีค่า 1 การสร้างสเกล ตัวเลขององศา 2 วงดังกล่าวทําให้สามารถอ่านค่ามุมแหลมและมุมป้านได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ จําเป็นต้องนําค่าที่อ่านได้มาลบออกจากมุม 180 องศา

3.2 ฉากผสม (Combination Square) เป็นเครื่องมือวัดที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การวัดหลายชนิด ประกอบอยู่ด้วยกัน มีประโยชน์ อย่างมาก นิยมนํามาใช้ในงานโลหะทั่วไป มีส่วนประกอบจํานวน 4 ชิ้น ดังนี้ 1) หัวหาศูนย์กลาง (Center Head) 2) หัวปรับแบ่งองศา (Protractor Head) 3) หัวฉากและ 45 องศา (Square Head) 4) บรรทัด (Steel Rule)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

19 จาก 113

สามารถใช้หาจุดศูนย์กลางของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นแท่งกลมได้อย่างรวดเร็วใช้วัดขนาด ชิ้นงานวัดมุม 90 องศา 45 องศา วัดระดับน้ําและวัดมุมต่าง ๆ ได้ ดังรูป

3.3 ฉาก (Try-Square) เครื่องมือที่ใช้สําหรับตรวจวัดความฉากของชิ้นงานได้ เรียกว่า "เหล็กฉาก" ซึ่งทําจาก เหล็กกล้าเจียระไนผิวเรียบทุกด้าน ขาด้านสั้น ตั้งฉากกับขาด้านยาว ทั้งด้านนอกและด้านในมี 2 แบบ คือ แบบขาเรียบ และแบบมีขอบประกบ ซึ่งแบบมีขอบประกบนี้สามารถนําไปประกบกับขอบของ ชิ้นงาน เพื่อลากเส้นตั้งฉากกับขอบของงานได้ทันที ทําให้สะดวกในการร่างแบบเป็นอย่างมาก ดังรูป

คุณภาพของผิวงานที่ใช้ในการตรวจวัดความเที่ยงตรงในการตรวจวัดความฉากของชิ้นงาน ด้วยเหล็กฉาก ขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวงาน ถ้าผิวงานหยาบหรือไม่เรียบ ดังรูป (ข) และ (ค) การตีความหมายจะกระทําได้ยาก ชิ้นงานที่จะทําการตรวจวัดความฉากให้ได้ความเที่ยงตรง จะต้องมี ผิวราบเรียบ ดังรูป (ก)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

20 จาก 113

3.4 เกจวัด ในงานเครื่ อ งมื อ กลมี เ กจวั ด ต่ า ง ๆ ซึ่ ง จํ า เป็ น ต้ อ งศึ ก ษาและนํ า ไปใช้ ง านซึ่ ง จะช่ ว ย ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก มีเกจวัดต่างๆ ดังนี้ คือ 1) เกจวัดรัศมี (Radius Gage) เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ซึ่งใช้สําหรับวัดรัศ มีภายนอกและภายในที่มีขนาดเล็ก ช่วยให้สามารถทํางานได้สะดวกและรวดเร็วในการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับส่วนโค้ง เกจวัดรัศมีนี้มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ประกอบกันเป็นชุด มีหลายขนาด ดังรูป

2) เกจวัดเกลียว (Thread Gage) หรือหวีวัดเกลียว เป็นเครื่องมือใช้หา ระยะพิตช์ของเกลียวที่มีอยู่แล้ว มีทั้งระบบอังกฤษและระบบเมตริกอยู่ในชุดเดียวกัน ซึ่งในระบบเมตริกจะบอกให้ทราบว่า ระยะห่างระหว่างยอดฟัน (Pitch) จะห่างกันกี่ มิลลิเมตร ส่วนระบบอังกฤษจะบอกให้ทราบว่า ใน 1 นิ้ว มีจํานวนเกลียวเท่าไร หวีวัด เกลียว 1 ชุด จะประกอบด้วยหวีวัดเกลียวแผ่นบางๆจํานวนหลายแผ่น ในแต่ละแผ่น จะบอกระยะพิตช์หรือจํานวนเกลียวต่อนิ้วกํากับไว้ ดังรูป

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

21 จาก 113

3) เกจวัดมุมหรือเกจหาศูนย์กลาง (Center Gage) เป็นเกจขนาดเล็กทําจาก เหล็กไร้สนิม ตลอดลําตัวจะบากเป็นมุม 60 องศา ซึ่งเท่ากับมุมคมตัดของเครื่องมือตัด ต่างๆ เช่น สกัด มีดกลึง เป็นต้น ใช้สําหรับนําเข้าตรวจสอบมุมของเครื่องมือตัดได้อย่าง รวดเร็ว

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

22 จาก 113

4. เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์ 4.1 มัลติมิเตอร์ (MULTIMETER) มัลติ มิเตอร์ถื อว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จําเป็นสําหรับงานด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็ น เครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น การทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่างๆ ก็จําเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น มัลติมิเตอร์เป็นการรวม Voltmeter Ammeter และ Ohmmeter ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเม้นท์ (Movement) ตัวเดียวจึง เรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter) นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนําไปวัดค่าอื่นได้อีก เช่ น วั ดอัตราการขยายกระแสของ ทรานซิสเตอร์ (hFE) วัดค่าความดัง (Decibel : dB) ฯลฯ ปัจจุบันมัลติมิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ 1) มัลติมิเตอร์แบบเข็มชี้ (ANALOG MULTIMETER) VOM แบบอะนาลอกส่วนมากเป็นแบบขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) เนื่องจาก แบบขดลวดเคลื่อนที่จะมีสเกลเป็นเชิงเส้น (Linear) ขนาดเล็ก น้ําหนักเบา ราคาไม่แพงและมีความไว (Sensitivity) ดี VOM ที่เราพบเห็นและใช้กันมากในปัจจุบันจะเป็น VOM ชนิด Moving Coil ยี่ห้อซันวา (Sanwa) เช่น รุ่น YX – 360 หรือ รุ่น 0 – 361 TR

ส่วนประกอบภายนอกของมัลติมิเตอร์ 1) สกรูปรับเข็มชี้ให้ตรงศูนย์ 3) ขั้วต่อขั้วบวก ใช้ต่อสายวัดสีแดง (+)

2) ย่านการวัดต่างๆ 4) ขั้วต่อขั้วลบ ใช้ต่อสายวัดสีดํา (-)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

5) ขั้วต่อเอาต์พุต เพื่อวัดความดัง (db) 7) สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด

23 จาก 113

6) ปุ่มปรับ 0 โอห์ม 8) เข็มชี้

สเกลหน้าปัด VOM ยี่ห้อ SANWA รุ่น YX-360 TR

1) สเกลของโอห์มมิเตอร์ 2) สเกลใช้สําหรับบอกค่าแรงดันไฟตรง (DC V) และค่ากระแสไฟตรง (DC A) 3) สเกลใช้บอกค่าแรงดันไฟสลับ (AC V) ย่านวัด 10 – 1000 VAC 4) สเกลบอกค่าอัตราขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ (hFE) 5, 6) สเกล LV, LI ใช้บอกค่าแรงดันและกระแสไฟตรง (ตามลําดับโดยใช้ร่วมกับค่าแรงดัน) กระแสที่ได้จากย่านวัดโอห์มิเตอร์ เช่น ย่านวัด R x 10 ใช้แรงดันที่ปลายสายวัด 3V กระแส 15 mA เป็นต้น (สเกล LV มีค่า 0-3 และสเกล LI มีค่า 0-15 มีหน่วยเป็น m A หรือ mA แล้วแต่ตั้งย่านวัด โอห์มมิเตอร์) ซึ่งสเกลทั้งสองนี้มีไว้เพื่อทดสอบคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไดโอด หรือ LED 7) สเกลใช้บอกค่าความดัง (db) 8) กระจกเงาหรือแถบสะท้อนเพื่อให้อ่านค่าด้วยเข็มชี้ถูกต้องที่สุด การอ่านค่าที่ถู กต้อง จะต้องให้เข็มชี้กับเงาเข็มชี้ในกระจกซ้อนกันพอดี

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

24 จาก 113

การวัดแรงดันไฟตรง การอ่านสเกลของดีซีโวลต์มเิ ตอร์ ดีซีโวลต์มิเตอร์ คือ มิเตอร์วัดแรงดันไฟตรง (DC VOLTAGE) ในการใช้ดีซีโวลต์วัด แรงดันไฟตรง จะต้องต่อดีซีโวลต์มิเตอร์วัดคร่อมขนานกับโหลดที่ต้องการวัดแรงดัน ขั้วของดีซีโวลต์ มิเตอร์ที่จะต่อวัดคร่อมโหลด ต้องมีขั้วเหมือนแรงดันที่ตกคร่อมโหลด โดยใช้หลักการวัดดังนี้ใกล้บวก ใส่บวก ใกล้ลบใส่ลบ คือโหลดขาใดรับแรงดันใกล้ขั้วบวก (+) ของแหล่งจ่าย ก็ใช้ขั้วบวกของดีซีโวลท์ (+) โหลดขาใดรับแรงดันใกล้ขั้วลบ (-) ของแหล่งจ่าย ก็ใช้ขั้วลบของดีซีโวลท์ (-) ดีซีโวลท์มิเตอร์ มี ทั้งหมด 7 ย่าน คือ 0.1 V, 0.5V, 2.5V, 10V, 50V, 250V และ 1,000V มี 3 สเกล คือ 0~10, 0~50, 0~250 อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้กระจกเงา

ลําดับขั้นการใช้ดีซีโวลต์มิเตอร์ 1) ต่อดีซีโวลต์ในขณะวัดค่าแรงดันคร่อมขนานกับโหลด 2) ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน DCV 3) ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง ถ้าหากไม่ทราบแรงดันไฟที่จะทําการวัด ให้ตั้งย่านวัดที่ ตําแหน่งสูงสุด (1,000V) ไว้ก่อน แล้วปรับลดย่านให้ต่ําลงทีละย่านจนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่านได้ ง่ายและถูกต้อง 4) ในตําแหน่งที่วัดด้วยดีซีโวลต์มิเตอร์ไม่ขึ้น แต่ขณะแตะสายวัดขั้วบวกเข้าไปหรือขณะดึง สายวัดขั้วบวกออกมา เข็มมิเตอร์จะกระดิกเล็กน้อยเสมอแสดงว่าจุดวัดนั้นเป็นแรงดันไฟสลับ (ACV) 5) การวัดแรงดันไฟตรงในวงจร จะต้องต่อสายวัดให้ถูกต้อง โดยนําสายวัดขั้วลบ (-COM) สี ดําจับที่ขั้วลบของแหล่งจ่าย นําสายวัดขั้วบวกสีแดงของมิเตอร์ไปวัดแรงดันตามจุดต่างๆ (+)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

25 จาก 113

การวัดแรงดันไฟสลับ เอซีโวลต์มิเตอร์ คือมิเตอร์วัดแรงดันไฟสลับ (AC VOLTAGE) หลักการใช้มิเตอร์ชนิดนี้ จะเหมือนกับดีซีโวลต์มิเตอร์ คือในการใช้งานจะต้องนําไปวัดคร่อมขนานกับโหลดที่ต้องการวัดแรงดัน นั้น จะมีส่วนที่แตกต่างจากดีซีโวลต์มิเตอร์ คือในการใช้มิเตอร์วัดคร่อมแรงดันหรือแหล่งจ่ายไฟไม่ จําเป็นต้องคํานึงถึงขั้วมิเตอร์ เพราะแรงดันไฟสลับจะมีขั้วสลับไปสลับมาตลอดเวลา เอซีโวลต์มิเตอร์ มีทั้งหมด 5 ย่าน คือ 0~2.5V, 0~10V, 0~50V, 0~250V และ0~1,000V มี 4 สเกล คือ 0~2.5, 0~10, 0~50, 0~250 อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้กระจกเงา

ลําดับขั้นการใช้เอซีโวลต์มิเตอร์ 1) ต่อเอซีโวลต์ในขณะวัดค่าแรงดันคร่อมขนานกับโหลด 2) ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน ACV 3) ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง หากไม่ทราบค่าที่จะวัดว่าเท่าไร ให้ตั้งย่านวัดที่ ตําแหน่งสูงสุด (1,000V) ไว้ก่อน แล้วจึงปรับลดย่านให้ต่ําลงทีละย่าน จนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่ อ่านได้ง่ายและถูกต้อง 4) ก่อนต่อมิเตอร์วัดแรงดันไฟสูง ๆควรจะปิดสวิตช์ไฟ (OFF) ของวงจรที่จะวัดเสียก่อน 5) อย่าจับสายวัดหรือมิเตอร์ขณะวัดแรงดันไฟสูง เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยควรปิด (OFF) สวิตช์ไฟของวงจรที่ทําการวัดเสียก่อนจึงปลดสายวัดของมิเตอร์ออกจากวงจร

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

26 จาก 113

การอ่านสเกลของเอซีโวลต์มิเตอร์ การวัดกระแสไฟตรง ดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิแอมมิเตอร์ คือมิเตอร์วัดกระแสไฟตรง (DC CURRENT) เพื่อ จะทราบจํานวนกระแสที่ไหลผ่านวงจรว่ามีค่าเท่าไร การใช้ดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิแอมมิเตอร์ วัดกระแสไฟตรงในวงจร จะต้องตัดไฟแหล่งจ่ายออกจากวงจร และนําดีซีแอมมิเตอร์ หรือดีซีมิลลิ แอมมิเตอร์ ต่ออันดับกับวงจร และแหล่งจ่ายไฟ ขั้วของดีซีแอมมิเตอร์ จะต้องต่อให้ถูกต้องมิเช่นนั้น เข็มมิเตอร์จะตีกลับ อาจทําให้มิเตอร์เสียได้ เอซีโวลต์มิเตอร์ มีทั้งหมด 4 ย่าน คือ 50uA, 2.5mA, 25mA และ 0.25 mA มี 3 สเกล แต่นํามาใช้กับการวัดกระแสจะใช้ 2 สเกล คือ 0~50, 0~250 อ่านขีดสเกลที่อยู่ใต้กระจกเงา

ลําดับขั้นการใช้ดีซีมิลลิแอมป์มิเตอร์ 1) การต่อดีซีมิลลิแอมมิเตอร์วัดกระแสในวงจร จะต้องต่ออันดับกับโหลดในวงจร 2) ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ในย่าน DCmA 3) ปรับสวิตช์ตั้งย่านการวัดให้ถูกต้อง ถ้าหากไม่ทราบกระแสที่จะทําการวัด ให้ตั้งย่านวัด ที่ตําแหน่งสูงสุด (0.25A) ไว้ก่อน แล้วปรับลดย่านให้ต่ําลงทีละย่านจนกว่าเข็มมิเตอร์จะชี้ค่าที่อ่านได้ ง่ายและถูกต้อง 4) ก่อนต่อมิเตอร์วัดกระแสไฟสูงๆ ควรจะปิด (OFF) สวิตช์ไฟของวงจรที่จะวัดเสียก่อน 5) เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อยควรปิด (OFF) สวิตช์ไฟ ของวงจร ที่ทําการวัดเสียก่อนจึงปลด สายวัดของมิเตอร์ออกจากวงจร

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

27 จาก 113

การอ่านสเกลของดีซีมิลลิแอมป์มิเตอร์ การวัดความต้านทาน โอห์มมิเตอร์ คือ มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาไว้วัดค่าความต้านทาน ของตัวต้านทาน (R) โดยอ่าน ค่าออกมาเป็นค่าโอห์ม โดยมีย่านการวัดทั้งหมด 5 ย่าน คือ x1, x10, x100, x1k และ x10k อ่านค่า ความต้านทานได้ตั้งแต่ 2 กิโลโอห์ม ถึง 20 เมกกะโอห์ม

ลําดับขั้นตอนการใช้โอห์มมิเตอร์ 1) ตั้งย่านใช้งานของมิเตอร์ที่ย่านโอห์ม 2) ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีดําเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วลบ (-) (COM) 3) ปรับซีเล็กเตอร์สวิตช์ตั้งย่านวัดให้ถูกต้อง 4) ก่อนการนําโอห์มมิเตอร์ไปใช้วัดทุกครั้ง และทุกย่าน จะต้องทําการปรับ 0 โอห์มเสมอ 5) ถ้าจะนําโอห์มมิเตอร์ไปวัดค่าความต้านทานในวงจรต้องแน่ใจว่าปิด (OFF) สวิตช์ไฟ ทุกครั้ง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

28 จาก 113

2) มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (DIGITAL MULTIMETER) มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter : DMM) สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้า ได้หลายประเภท เช่นเดียวกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม นอกจากนี้ยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการ ขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้าและตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย มัลติมิเตอร์แบบ ตัวเลข มีลักษณะดังภาพข้างล่าง

ส่วนประกอบที่สําคัญของมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข 1) จอแสดงผล (Display) 2) สวิตซ์เปิด-ปิด (ON-OFF) 3) สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด (Range Selector Switch) สามารถเลือก การวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้ DCV สําหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด ACV สําหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด DCA สําหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด ACA สําหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด  สําหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด CX สําหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด hFE สําหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ สําหรับตรวจสอบไดโอด 4) ช่องเสียบสายวัดร่วม (COM) ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสําหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการ วัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด) 5) ช่องเสียบสายวัด mA สําหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA 6) ช่องเสียบสายวัด 10 A สําหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10 A 7) ช่องเสียบสําหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ 8) ช่องเสียงสําหรับวัดความจุไฟฟ้า 9) ช่องเสียบสายวัด V

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

29 จาก 113

นอกจากนี้ บนแผงหน้ าของมั ลติ มิ เตอร์ แบบตั วเลข ยั งมี สั ญลั กษณ์ เพื่ อความปลอดภั ย (Safety Symbols) กํากับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลสําหรับเตือนผู้ใช้ให้มีความระมัดระวังในการใช้ เครื่องมือ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เองและให้เครื่องมืออยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้เสมอ ลักษณะเฉพาะบางประการของเครื่องวัด 1) จอแสดงผล (Display) แสดงด้วยตัวเลข 3 ½ หลัก 3 ½ (Digit) เนื่องจากค่าสูงสุดที่สามารถแสดงได้คือ 1999 ตัวเลขหลักที่ 1, 2 และ 3 (นับจากขวาสุดไปทางซ้าย) แปรค่าได้จาก 0 ถึง 9 (เรียกว่า full Digit) ส่ ว นตั ว เลขหลั ก ที่ 4 จะแสดงตั ว เลขได้ เ ฉพาะ 1 เท่ า นั้ น (เรียกว่า Half Digit) 2) สภาพขั้ว (Polarity) ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้าบาง ชนิดเช่นความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยเครื่องวัดที่ใช้เข็มชี้เป็นตัว แสดงผล เมื่อต่อสายวัดผิดขั้ว เข็มของเครื่องวัดจะตีกลับในทิศตรงข้าม ในสภาวะเช่นนี้สําหรับมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขจะปรากฏเครื่องหมาย – บนจอแสดงผล 3) ในการวัดปริมาณใดๆ ที่ตั้งช่วงการวัดต่ํากว่าค่าที่จะวัด จอแสดงผลจะแสดงตัวเลข 1 หรือ -1 เช่น จะวัดความต้านทาน 10 k แต่ตั้งช่วงการวัดไว้ที่ 0-2 k จะปรากฏ 1 แสดงว่าค่าที่จะวัดสูงกว่าช่วงการวัดที่ตั้งไว้ 4) เมื่อแหล่งจ่ายกําลังให้เครื่องวัด คือ แบตเตอรี่ 9V อ่อนกําลัง LO BAT จะปรากฎบน จอเตือนให้ผู้ใช้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ ความแม่น (ACCURACY) ของเครื่องวัด ค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดจะมีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความแม่นของ เครื่องวัด ซึ่งจะระบุไว้ในคู่มือการใช้เครื่องมือนั้นๆ การบอกความแม่นมีวิธีบอกได้หลายแบบ มัลติ มิเตอร์แบบเข็ม ซึ่งเป็นเครื่องวัดที่ใช้การเบี่ยงเบนของเข็มชี้เป็นตัวแสดงผล บอกความแม่นเป็น % fs สําหรับมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขนิยมบอกความแม่นเป็น +/- (% Reading + Number of Digits of Error) เขียนย่อเป็น +/- (% Rdg + No. of Digit) ซึ่งจะมีค่าเปลี่ยนไปสําหรับแต่ละปริมาณที่จะวัด และอาจจะเปลี่ยนไปได้อีกเมื่อเปลี่ยนช่วงการวัด

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

30 จาก 113

ข้อควรระวังและการเตรียมสําหรับการวัด 1) ก่อนการวัดปริมาณใด ต้องแน่ใจว่า 1.1) บิดสวิตซ์เลือกการวัดตรงกับปริมาณที่จะวัด 1.2) สวิตซ์เลือกการวัดอยู่ในช่วงการวัดที่เหมาะสมไม่ต่ํากว่าปริมาณที่จะวัดใน กรณีที่ไม่ทราบปริมาณที่จะวัดมีค่าอยู่ในช่วงการวัดใด ให้ตั้งช่วงการวัดที่มีค่าสูงสุดก่อนแล้วค่อยลด ช่วงการวัดลงมาทีละช่วง 2) เนื่องจากช่องเสียบสายวัด (สีแดง) มีหลายช่อง คือ V -  , mA และ 10 A ต้องแน่ใจ ว่าเสียบสายวัดสีแดงในช่องเสียบตรงกับปริมาณที่จะวัด 3) ในกรณีที่วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 25 VAC หรือ 60 VDC ขึ้นไป ระวังอย่าให้ ส่วนใดของร่างกายแตะวงจรที่กําลังวัดจะเป็นอันตรายได้ 4) ในขณะที่กําลังทําการวัด และต้องการปรับช่วงการวัดให้ต่ําลงหรือสูงขึ้นหรือเลือกการ วัดปริมาณอื่น ให้ดําเนินการดังนี้ 4.1) ยกสายวัดเส้นหนึ่งออกจากวงจรที่กําลังทดสอบ 4.2) ปรับช่วงการวัดหรือเลือกการวัดปริมาณอื่นตามต้องการ 4.3) ทําการวัด 5) การวัดปริมาณกระแสสูง (~10A) ควรใช้เวลาวัดในช่วงสั้นไม่เกิน 30 วินาที 6) เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ให้เลื่อนสวิตซ์ปิด-เปิด มาที่ OFF ถ้าไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน ควรเอา แบตเตอรี่ออกด้วย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

31 จาก 113

5. การบํารุงรักษาเครื่องมือวัด หลักการบํารุงรักษาเครื่องมือ การบํารุงรักษา (Maintenance) เป็นการรวมกันของกิจกรรมต่างๆ เพื่อที่พยายามคงสภาพการทํางานของเครื่องมือให้สามารถทํางานได้ตามที่กําหนดไว้ ให้อยู่ในสภาวะ การทํางานที่ยอมรับได้ การบํารุงรักษามีรายละเอียดขั้นตอน และรูปแบบที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามโดย สรุป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 5.1 การบํารุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เป็นการบํารุงรักษาที่กระทําตามแผนที่วางไว้แล้วก่อนหน้าที่ ตาม Maintenance program เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายของเครื่อง ทั้งนี้ด้วยการใช้การตรวจเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และความ บกพร่องของเครื่องรวมทั้งการปรับตัวการทํางานของเครื่อง และการสอบเทียบ (Calibration) Preventive Maintenance สามารถทําได้ทั้งในขณะที่เครื่องกําลังทํางานให้การบริการอยู่ (Preventive running maintenance) และ/หรือเครื่องไม่สามารถให้การบริการได้ คือ ต้องปิดเครื่องทั้งหมด (Preventive shutdown maintenance) 5.2 การบํารุงรักษาเชิงแก้ไข (Corrective Maintenance) เป็นการบํารุงรักษาที่กระทําเมื่อเครื่องเสีย เพื่อแก้ไขให้เครื่องกลับมาใช้งานในสภาพที่ยอมรับได้ อีกครั้งหนึ่ง หรือเป็นการบํารุงรักษาที่กระทําเมื่อเครื่องมือมีการทํางานที่ผิดปกติไป เช่น ค่าที่ทําการ ปรับเทียบไว้ออกนอกช่วงที่สามารถยอมรับได้ Corrective maintenance จึงสามารถแบ่งแยกออกเป็น Corrective breakdown maintenance และ Corrective shut-down maintenance ตามลําดับ รายละเอียดสามารถแสดงเป็นแผนภูมิภาพได้ดังรูป Maintenance

Preventive Maintenance

Preventive Running Maintenance

Preventive Shut-down Maintenance

Corrective Maintenance

Corrective Breakdown Maintenance

Corrective Shut-down Maintenance

เครื่องมือที่ได้รับการดูแลรักษาอยู่เป็นประจํา จะทําให้เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งาน ดีมีความคงที่และมีอายุการใช้งานนาน การดูแลบํารุงรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องขัดข้องได้ง่าย หรือช่วยป้องกันการขัดข้องไม่ให้เป็นชนิดที่รุนแรงและเสียหายมาก แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบางอย่าง กั บ ครื่ อ งอาจเกิ ด ขึ้ น ได้ ทั น ที หรื อ ไม่ ส ามารถตรวจพบ หรื อ ป้ อ งกั น ได้ โ ดยการดู แ ลบํ า รุ ง รั ก ษา แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นสามารถตรวจพบก่อนที่งานจะผิดปกติไปมากจนลุกลาม เป็นปัญหาใหญ่ 5.3 ผลดีของการทําการบํารุงรักษาเครื่องมือ เมื่ อ หน่ ว ยงานได้ ทํ า การบํ า รุ ง รั ก ษาเครื่ อ งมื อ ตามโปรแกรมที่ ไ ด้ กํ า หนดไว้ อ ย่ า งถู ก จ้ อ ง ครบถ้วน ก็จะทําให้เกิดผลดีหลายประการดังต่อไปนี้ กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

32 จาก 113

ก. ลดค่าใช้จ่าย (Saving) หน่วยงานจะสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยตรง (Direct saving) จากค่า อะไหล่ และค่าซ่อมแซมเครื่องมือ มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเมื่อเครื่องมือที่ได้รับการบํารุงรักษาที่ถูกต้อง และดี รวมทั้งการบํารุงรักษาอย่างสมํ่าเสมอ จะทําให้อัตราการเสียของเครื่องมือดังกล่าวลดน้อยลง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องมือก็น้อยลงด้วย (Reduction of corrective maintenance cost) ซึ่ง สามารถลดน้ อ ยลงถึ ง ปริ ม าณครึ่ ง หนึ่ ง ของการซ่ อ มแซมเครื่ อ งมื อ ที่ ไ ม่ ไ ด้ บํ า รุ ง รั ก ษา เป็ น ต้ น การลดค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect saving) เช่น ในเรื่องของเวลาของผู้ปฏิบัติงานและเวลาของคนไข้ที่ จะต้องสูญเสียไปกับการที่เครื่องทํางานไม่เป็นปกติ หรือเครื่องเสีย และเมื่อเครื่องมือถูกบํารุงรักษาอย่าง ถูกต้อง จะทําให้เครื่องอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดอยู่เสมอ จึงลดความต้องการในการจัดหา จัดซื้อเครื่องมือใหม่ เข้ามาทดแทน ข. เวลาที่เครื่องเสียสั้นลง (Down Time) เครื่องมือที่ได้มีการบํารุงรักษาถูกต้องและต่อเนื่อง เมื่อเกิดการขัดข้องเสียหายต้องการการซ่อมแซม เวลาของการซ่อมเครื่องมือจะใช้เวลาสั้นกว่าเครื่องมือที่ ไม่เคยได้รับการบํารุงรักษาเลย จึงสามารถทําให้เครื่องมีอายุการทํางานได้ยาวนาน อันรวมถึงเวลาที่ เครื่องใช้งานได้ดีก็มีมากตามไปด้วยจึงเป็นการลดเวลาที่สูญเสียไป จากการที่เครื่องมือทํางานไม่ได้ ซึ่งถือว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อผลิตผลของเครื่อง (Reduction of lost production time) อันเป็น ประโยชน์ในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคความทั้งทางด้านเศรษฐกิจด้วย ค. ทําให้เครื่องมือตลอดจนการให้บริการทั้งหมดมีความถูกต้อง นอกจากนี้แล้วยังทําให้เกิด - ความปลอดภัย (safety) ในหน้าที่การทํางานและระบบสัญญาณเตือนต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยในทางไฟฟ้า - ความเป็นไปได้ที่จะนําเครื่องมือนั้นมาใช้งานได้ในเวลาที่ต้องการทันที่ (Availability) โดยที่ไม่ต้องไปตามหาว่าเครื่องมือนี้อยู่ที่หน่วยงานใด หรือเมื่อตามหาพบแล้วก็ไม่สามารถใช้ งานเครื่องได้เนื่องจากเครื่องทํางานไม่ได้ เป็นต้น - ความไว้ใจได้ (Reliability) ของเครื่องมือที่จะหน้าที่นั้นๆ ของมันอย่างถูกต้องตลอด ช่วงภายใต้สภาวะการใช้งานของมัน 5.4 ผลเสียของการไม่ได้ทําการบํารุงรักษา เมื่ อเครื่ องมื อได้ รั บการใช้ งานไปช่ วงเวลาหนึ่ งก็ จะเริ่ มมี การเสื่ อมสภาพ นอกจากนี้ แล้ ว การเสื่อมสภาพของเครื่อง ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกเช่น การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง การเก็บรักษาเครื่องอย่างไม่ ถูกต้อง และไม่เหมาะสม เมื่อไม่มีการบํารุงรักษา จะทําให้อายุการใช้งานสั้น และไม่มีความเที่ยงตรง ในการทํางาน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

33 จาก 113

5.5 การบํารุงรักษาเครื่องมือวัด 1) การบํารุงรักษาตลับเมตร 1. ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก 2. เมื่อปล่อยเส้นเทปกับที่เดิมค่อยๆ ผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายขอที่เกี่ยวจะไป กระทบกับตัวตลับ ซึ่งจะทําให้ขอเกี่ยวหลุดหรือคลาดเคลื่อน และอาจชํารุดเสียหาย 3. การใช้ตลับเมตรที่ถนอมคือต้องไม่ดึงสายวัดออกมาจนสุด 4. ทําความสะอาดหลังเลิกใช้แล้วเก็บให้เป็นระเบียบ 2) การบํารุงรักษาฉากเหล็ก 1. วางฉากลงบนโต๊ะปฏิบัติงานเบาๆ และอย่างระมัดระวังเมื่อนําฉากเหล็กไปใช้ในแต่ละครั้ง 2. ไม่ควรนําฉากเหล็กไปใช้งานลักษณะอื่น ที่นอกเหนือจากการวัด ขีดเส้น ตรวจสอบมุม วัดขนาดความยาวชิ้นงาน 3. ไม่ควรใช้ฉากในการดัน ที่จะเป็นผลให้จุดการยึดใบฉากกับด้ามฉากยึดกันไม่แน่น ยกเว้นเป็นการทําเพื่อดัดฉากให้ได้ 90 องศา 4. ทําความสะอาดฉากให้ปราศจากฝุ่นและทราย ก่อนเช็ดด้วยน้ํามันเครื่อง เพื่อกันสนิม 5. ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน 6. ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้นเพราะจะทําให้ฉากคลาดเคลื่อนจากความเที่ยงตรง 7. เก็บฉากไว้ในที่เรียบ ไม่วางทับซ้อนกับเครื่องมือชนิดอื่น ซึ่งจะมีผลเสียต่อฉากจะบิดงอได้ 8. วางฉากบนผ้า และแยกออกจากเครื่องมือที่มีคม 3) การบํารุงรักษาขอขีดไม้ 1. ควรทําความสะอาดหลังใช้ 2. ทาน้ํามันส่วนที่เป็นโลหะ 3. เก็บให้เรียบร้อย 4) การบํารุงรักษาฉากผสม 1. เลือกใช้หัวฉากให้เหมาะสมกับลักษณะงาน 2. ก่อนที่จะขีดต้องแน่ใจว่าได้ยึดบรรทัดเหล็กไว้แน่นแล้ว 3. ก่อนใช้งานต้องเช็ดทําความสะอาดให้ปราศจากฝุ่น ผง น้ํามัน หรือจาระบี 4. อย่าทําฉากผสมหล่นกระแทกพื้น หรือใช้แทนเครื่องมือชนิดอื่น 5. ขณะปฏิบัติงานเมื่อวัดแล้วควรวางบนผ้า และแยกออกจากเครื่องมือมีคม 6. เลิกใช้งานแล้วต้องทําความสะอาด ทาน้ํามันกับสนิมแล้วเก็บไว้ในที่เก็บ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

34 จาก 113

5) การบํารุงรักษาเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ 1. อย่าทําเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ตกหล่นกระแทกพื้น 2. วางเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์บนผ้า และแยกออกจากเครื่องมือมีคม 3. ควรมีไม้คอร์คสวมไว้ด้านปลายแหลมของปากเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ 4. เมื่อใช้แล้ว ควรเช็ดทําความสะอาดและชะโลมด้วยน้ํามันวาสลินเพียงเบาๆ เก็บไว้ในที่ เก็บให้เรียบร้อย 6) การเก็บและบํารุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า นอกจากการใช้งานที่ถูกต้องแล้วผู้ใช้ต้องรู้จักวิธีการเก็บบํารุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้าที่ถูก ต้องด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องวัดไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น และยังคงอยู่ซึ่ง ประสิทธิภาพของมิเตอร์ต่างๆ เองด้วย สําหรับการเก็บและบํารุงรักษานั้นต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่มีผลกระทบกับตัวเครื่องวัดไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ 1. ความสะอาด นอกจากจะเก็บรักษาในสถานที่ที่มีความสะอาดแล้ว ก่อนเก็บเครื่องมือ วัดไฟฟ้าต้องเช็ดทําความสะอาดก่อน และเก็บในกล่องเก็บเครื่องวัดไฟฟ้าให้ดี 2. ความชื้น ควรเก็บในสถานที่ที่แห้ง ไม่มีความชื้น เนื่องจากความชื้นจะทําให้กลไกต่างๆ ของเครื่องวัดไฟฟ้าเป็นสนิม เมื่อเกิดเป็นสนิมจะทําให้เกิดความเสียหายกับมิเตอร์ได้ 3. อุณหภูมิ ควรเก็บเครื่องวัดไฟฟ้าไว้ในสถานที่อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิไม่สูงเกินไปหรือไม่ ร้อน ประมาณ 25 – 32 องศาเซลเซียส ที่สําคัญต้องไม่ให้มิเตอร์ตากแดดนาน 4. สารเคมี ห้องเก็บเครื่องวัดไฟฟ้าต้องห้ามนําสารเคมี มาเก็บร่วมกันจะทําให้เป็น อันตรายกับทั้งโครงสร้างภายนอก และกลไกโครงสร้างภายในอีกด้วย 5. สนามแม่เหล็ก ผลของสนามแม่เหล็กภายนอกจะมีส่วนทําให้ความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ขึ้นกับเครื่องวัดไฟฟ้า นั่นหมายถึงอาจจะทําให้ CLASS ของเครื่องวัดไฟฟ้าเปลี่ยนไปได้ 6. แรงสั่ นสะเทื อน ในพื้ นที่ ที่ มี แรงสั่ นสะเทื อน ไม่ ควรนํ าเครื่ องมื อวั ดไปวาง หรือเป็นสถานที่ เก็บรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจะมีผลโดยตรงอุปกรณ์ที่แยก เป็นหลายชิ้นส่วน ดังนั้นในมิเตอร์ซึ่งมีส่วนที่เคลื่อนที่ (Moving Part) อยู่ภายในจะทําให้เสียหายได้ 7. ผลกระทบอื่นๆ ผู้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าควรพิจารณาได้ว่าสิ่งใดบ้างที่มีผลกระทบต่อ ความเสียหายของเครื่องวัดไฟฟ้า ซึ่งอาจไม่มากนักแต่ก็มีผลบ้างควรหลีกเลี่ยงด้วย เช่น ฝุ่นละออง แรงเสียดสี แรงกด แรงอัด หรือแม้แต่ความปลอดภัยกับการสูญหาย หรือความปลอดภัยจากการ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ที่มาพบเห็น หรือเก็บให้ห่างจากมือเด็กเล็ก อย่างนี้เป็นต้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

35 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือวัด คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบน กระดาษคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1) เครื่องมือในข้อใดต่อไปนี้ ใช้สําหรับวัดความหลวมคลอนของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่มีการเคลื่อนไหว? ก. ตลับเมตร ข. ไดอัลเกจ ค. ไฮโดรมิเตอร์ ง. ระดับน้ํา 2) เครื่องมือในข้อใดต่อไปนี้ ใช้สําหรับวัดค่าความถ่วงจําเพาะ? ก. ตลับเมตร ข. ไดอัลเกจ ค. ไฮโดรมิเตอร์ ง. ระดับน้ํา 3) เครื่องมือในข้อใดต่อไปนี้ ใช้สําหรับถ่ายทอดขนาดบนชิ้นงาน? ก. ฟิลเลอร์เกจ ข. ขอขีดไม้ ค. คาลิเปอร์ ง. ไฮโดรมิเตอร์ 4) ต้องการวัดค่าความต้านทาน (R) ใช้เครือ่ งมือในข้อใดวัด? ก. Test Lamp ข. DC Voltage ค. AC Voltage ง. Ohm Meter 5) เมื่อหน่วยงานได้ทําการบํารุงรักษาเครื่องมือตามโปรแกรมที่ได้กําหนดไว้อย่างถูกจ้องครบถ้วน ก็จะทําให้เกิดผลดีหลายประการข้อใดไม่ถูกต้อง? ก. สร้างความปลอดภัย ข. เวลาที่เครื่องเสียสั้นลง (Down Time) ค. ทําให้เครื่องมือตลอดจนการให้บริการทั้งหมดมีความถูกต้อง ง . ล ด ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ( Saving)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือวัด 1. ข 2. ค 3. ค 4. ง 5. ก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

36 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 2 : เครื่องมือตอก ระยะเวลา : 1 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือตอกได้ 2. บอกหน้าที่การใช้งานเครื่องมือตอกได้ 3. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือตอกได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือตอก 2. หน้าที่การใช้งานเครื่องมือตอก 3. วิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือตอก อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก: สื่อนําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

37 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

38 จาก 113

ใบข้อมูล บทที่ 2 : เครื่องมือตอก 1. ชนิดของเครื่องมือตอก ค้อน (Hammer) ค้อนนั้นเป็นเครื่องมือสําหรับ เคาะ ตอก ตี ทุบ มีคุณลักษณะนามว่าเป็น เต้า เป็นเครื่องมือ ที่สําคัญในงานช่างแทบทุกแขนง ซึ่งงานในแต่ละแขนงจะใช้ค้อนในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ค้อนที่ใช้ มีหลายแบบ เช่น ค้อนหัวกลม ค้อนหงอน ค้อนไม้ ค้อนยาง เป็นต้น การเลือกค้อนให้ได้คุณภาพดีนั้น ควรเลือกชนิดที่มีน้ําหนักพอเหมาะมือและมีหัวค้อนที่สมดุลกับด้าม อีกทั้งควรเลือกวัสดุของหัวค้อนที่เป็น เหล็กแกร่ง ไม่ยุบง่าย เพื่อที่จะสามารถใช้ในการเคาะ ตอก ได้ดี และมีความทนทานในการใช้งาน

ค้อน แบ่งออกเป็นหลายๆ ชนิดตามรูปร่างและลักษณะที่ใช้งาน เช่น 1. ค้อนหงอน (Hammer tool) 2. ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) 3. ค้อนไม้ (Mallet) 4. ค้อนสําหรับนักธรณีวิทยา (Geological hammer) 5. ค้อนเดินสายไฟ (Electrician Hammer) 6. ค้อนยาง (Rubber Hammer) 7. ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) 8. ค้อนปอนด์ (Heavy Hammer) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 8.1 ค้อนหัวแข็ง 8.2 ค้อนหัวแข็งปานกลาง 8.3 ค้อนหัวอ่อน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

39 จาก 113

1.1 หน้าที่การใช้งานเครื่องมือตอก ค้อนแต่ละชนิด เราจะแบ่งหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1) ค้อนหงอน (Hammer Tool) ค้อนหงอนเป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัวค้อนและ ด้ามค้อน ซึ่งออกแบบมาอย่างเหมาะสมที่จะใช้ในงานไม้ หัวค้อนจะทําด้วยโลหะ หน้าค้อนจะเรียบ สําหรับตอกตะปู ส่วนปลายหรือหางจะมีลักษณะรูปตัววี หรือเป็นหงอนใช้สําหรับดึงหรือถอน ตะปู ด้ามค้อนมักจะทําด้วยไม้หรือเหล็ก ค้อนสําหรับงานช่างไม้เพื่อความสะดวกในการใช้งานจะมี น้ําหนักประมาณ 13 – 20 ออนซ์ ค้อนหงอนที่นิยมใช้กันมีขนาดน้ําหนัก 13 ออนช์

2) ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) เป็นค้อนที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด ลักษณะทั่วไปของค้อนหัวกลมจะมีหน้าเรียบ สามารถ ใช้งานได้ทั้งสองหน้า เราจะใช้ค้อนหัวกลมในงานเคาะ ขึ้นรูป และย้ําหมุดทั่วไป

3) ค้อนไม้ (Mallet) เป็นค้อนที่ทําจากเนื้อไม้แข็ง จึงทําให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็ก เมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใดๆ จึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อยมาก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

40 จาก 113

4) ค้อนสําหรับนักธรณีวิทยา (Geological Hammer) ซึ่งถือเป็นอาวุธประจําตัวของนักธรณี เนื่องจากเวลานักธรณีจะเก็บตัวอย่างหินกลับไป ศึกษา จะต้องใช้ค้อนทุบให้เศษหินแตก ดังนั้นค้อนธรณีจึงต้องทําจากเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรง และทนทานมาก ลักษณะของหัวค้อนธรณี ก็จะมีด้านหนึ่งทู่เพื่อไว้ทุบ และอีกด้านหนึ่งของหัวค้อน จะแบนและแหลมเพื่อใช้ขุด ถาก งัด หรือเจาะ

5) ค้อนเดินสายไฟ (Electrician Hammer) ส่วนใหญ่จะใช้กับงานไฟฟ้าครับ หัวค้อนทําด้วยเหล็ก มีปลายด้านหนึ่งหน้าเรียบตรง และ อีกด้านหนึ่งแบนแหลม สามารถใช้ตอกในที่แคบได้ นอกจากนี้ยังใช้ค้อนเดินสายไฟกับการตอก ตะปูเฟอร์นิเจอร์เล็กๆ ด้วย

6) ค้อนยาง (Rubber Hammer) ค้อนยางใช้สําหรับตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน เช่น ใช้ในการตอกหรือเคาะก้อนบล็อก ให้ได้แนวและระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

41 จาก 113

7) ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) ใช้ตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงานเช่นเดียวกับค้อนยาง เพียงแต่ว่า หัวค้อนจะสามารถถอด เปลี่ยนได้ และยังมีน้ําหนักในการเคาะชิ้นงานได้มากกว่าค้อนยางอีกด้วย

8) ค้อนปอนด์ (Heavy Hammer) เราจะใช้ค้อนปอนด์ในการตอกเสาหลัก หรือการตีเหล็กแต่ถ้าจะให้แบ่งตามวัสดุที่นํามา ผลิตเป็นค้อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) ค้อนหัวแข็ง ค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทําขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรงมาก เช่นพวก เหล็กกล้า ที่นํามาตีขึ้นรูป 2) ค้อนหัวแข็งปานกลาง หัวค้อนก็จะถูกทํามาจากวัสดุที่มีความแข็งพอประมาณ เช่น ทองแดง หรือพลาสติก 3) ค้อนหัวอ่อน ค้อนประเภทนี้ หัวค้อนจะถูกทํามาจากวัสดุที่มีความหยุ่นในตัวเอง เช่น ยางไม้เนื้ออ่อน เป็นต้น

ด้ามค้อนโดยทั่วไปจะทําจาก ไฟเบอร์กล๊าส พร้อมด้ามหุ้มยางกันลื่น และไม้เนื้อแข็งคุณภาพดี เหลาขึ้นรู ปมี รูปทรงที่จับกระชับกับอุ้งมือ และมีความยามพอเหมาะในการเหวี่ ยงค้ อน ให้ มีน้ําหนั ก กระทบชิ้นงานพอเหมาะ สําหรับการจับค้อนนั้น วิธีที่ถูกก็คือควรจับตรงปลายด้าม เพื่อให้มีน้ําหนักในการ ตอกตะปู เวลาตอกควรจับให้หัวค้อนตั้งฉากกับตะปูที่จะตอก หากใช้ตอกงานเบา ให้จับโดยใช้หัวแม่มือ วางอยู่บนด้ามค้อน เพื่อให้ระดับน้ําหนักในการตอกได้ตามต้องการ และควรตอกเพียงเบาๆ ในครั้งแรก เพื่อให้ตะปูปักลงไปในเนื้อไม้ ก่อนจะออกแรงตีเพื่อให้ตะปูมิดลงไปตามปกติ อุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ ค้อนที่มากที่สุดคือ หัวค้อนหลุดจากด้านทําอันตรายต่อเพื่อนร่วมงานหรือวัตถุอื่นที่ใกล้เคียง กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

42 จาก 113

2. ความปลอดภัยในการใช้ค้อน 1) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตานิรภัย 2) ตรวจดูหน้าค้อนจะต้องไม่บิ่น มีน้ํามันหรือจาระบี เพราะจะทําให้เกิดอุบัติเหต ขณะใช้งานได้ 3) ขณะตอกตะปู มือที่ใช้จับตะปูต้องจับให้อยู่ใกล้หัวตะปูมากที่สุด ไม่ควรจับตะปูที่ปลาย ด้านล่าง เพราะถ้าเกิดผิดพลาดค้อนจะกระแทกนิ้วมือได้ 4) การตอกให้ใช้เฉพาะด้านหน้าหัวค้อนตอกเท่านั้นห้ามใช้ด้านข้าง 5) เมื่อต้องการตอกตะปูแรง ๆ ต้องจับด้ามค้อนส่วนปลายและไม่ควรใช้มือจับตะปู เพราะ โอกาสผิดพลาด หรือการลื่นของค้อนขณะตอกเกิดขึ้นได้ง่าย 6) การตอกตะปูเริ่มแรก หัวค้อนควรวางไว้ที่หัวตะปู และให้ด้ามค้อนทํามุม 90 องศากับตะปู 7) ควรตอกตะปูเบาๆ กับชิ้นงานก่อน เพื่อเป็นการตอกนํา เพื่อยึดตะปูให้แน่น ก่อนที่จะลง มือตอกอย่างแรง 8) การตอกตะปูกับชิ้นงานที่แข็งๆ ต้องระมัดระวังตะปูกระเด็น 9) เมื่อตอกตะปูเข้ากับชิ้นงานแล้ว จะมีหัวตะปูโผล่ขึ้นมา ควรหาเหล็กตอกส่งให้หัวตะปูมิด หายลงไปใต้เนื้อไม้ 10) ด้ามค้อนควรมีขนาดเหมาะสมกับมือผู้ใช้ และควรมีที่กันลืน่ ด้วย โดยเฉพาะค้อน ที่ด้าม ทําจากโลหะ 11) การถอนตะปู ควรดัดตะปูให้ตรงก่อน ถ้าตะปูยาวควรหาแท่งไม้มารองเสริม หัวค้อนเพื่อ จะได้ถอนได้สะดวก 12) เมื่อใช้ค้อนไปนานๆ ควรตรวจสอบหัวค้อนกับด้ามค้อนโดยการทดลองโยกหัวค้อน 13) ภายหลังจากใช้ค้อนประจําวัน ควรทําความสะอาดด้ามค้อนและหัวค้อนให้สะอาด 14) ค ว ร มี ที่ เ ก็ บ ค้ อ น โ ด ย เ ฉ พ า ะ อ า จ จ ะ ใ ส่ ก ล่ อ ง ตู้ ห รื อ แ ผ ง เ ค รื่ อ ง มื อ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

43 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือตอก คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบน กระดาษคําตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1) สามารถใช้ดึง หรือถอนตะปูได้ คือค้อนชนิดใด? ก. ค้อนยาง ข. ค้อนไม้ ค. ค้อนหัวหงอน ง. ค้อนนักธรณีวิทยา 2) ใช้สําหรับการเคาะขึ้นรูป และย้ําหมุดทั่วไป คือค้อนชนิดใด? ก. ค้อนหัวหงอน ข. ค้อนหัวกลม ค. ค้อนนักธรณีวิทยา ง. ค้อนเดินสายไฟ 3) ใช้สําหรับการเคาะขึ้นรูป โลหะแผ่นบาง คือค้อนชนิดใด? ก. ค้อนไม้ ข. ค้อนยาง ค. ค้อนพลาสติก ง. ค้อนหัวกลม 4) ใช้สําหรับทุบหินให้แตกเป็นเศษ คือค้อนชนิดใด? ก. ค้อนหัวหงอน ข. ค้อนหัวกลม ค. ค้อนเดินสายไฟ ง. ค้อนนักธรณีวิทยา 5) ใช้สําหรับตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน เช่นตอกหรือเคาะก่อนบล็อกให้ได้แนวและระดับ คือค้อนชนิดใด? ก. ค้อนยาง ข. ค้อนไม้ ค. ค้อนพลาสติก ง. ค้อนหัวกลม

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือตอก 1. ค 2. ข 3. ก 4. ง 5. ก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

44 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 3 : เครื่องมือตัด ระยะเวลา : 3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือตัดด้วยมือและตัดด้วยไฟฟ้าได้ 2. บอกหน้าที่การนําเครื่องมือตัดไปใช้งานได้ 3. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือตัดได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือตัดด้วยมือและตัดด้วยไฟฟ้า 2. หน้าที่การนําเครื่องมือตัดไปใช้งาน 3. วิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือตัด อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก : สือ่ นําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

45 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

46 จาก 113

ใบข้อมูล บทที่ 3 : เครื่องมือตัด (เลื่อย) การเลื่อย เป็นการตัดชิ้นงานที่สูญเสียเนื้อวัสดุ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องศึกษาและฝึกฝนให้เกิดทักษะ ในการปฏิบัติงาน เนื่องจากในงานช่างนั้น มีเครื่องมือในการตัดวัสดุหลากหลายชนิด สิ่งสําคัญที่ควรใส่ใจ คือ วัสดุที่จะตัดและเครื่องมือตัดแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเลื่อยมือ การเลือกใช้งานเลื่อยชนิดต่างๆ เครื่องมือที่ใช้กับเลื่อย การบํารุงรักษา ตลอดจนเทคนิคในการเลื่อยงานด้วยมือในงานทั้งงานไม้และโลหะ โดยสามารถแบ่งเลื่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ เลื่อยมือและเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเลื่อยแต่ละประเภทสามารแบ่ง ออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน คือ 1. เลื่อยมือ มีหลายชนิด ได้แก่ 1.1 เลื่อยเหล็ก เลื่อยเหล็ก เป็นเลื่อยที่เอาไว้ใช้กับงานเหล็กเป็นหลัก หากเราเอาไปใช้เลื่อยไม้ จะเลื่อยได้ ช้ามาก เพราะฟันเลื่อยจะไม่ลึก ละเอียด ตัวโครงของเลื่อยเหล็กจะทํามาจากเหล็ก แต่มีน้ําหนักเบา มีแบบความยาวที่มาตรฐาน และแบบสามารถปรับความยาวได้ตามขนาดของใบเลื่อยได้ เลื่อยเหล็ก สามารถเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เวลาใส่ต้องหันปลายฟันเลื่อยชี้ออกนอกตัวผู้เลื่อยเสมอ

1.2 เลื่อยพับขนาดกระเป๋า เลื่อยพับขนาดกระเป๋าจัดเป็นเลื่อยอเนกประสงค์ที่มีฟันแข็งเป็นพิเศษ สามารถตัดได้ ทั้งไม้ พลาสติก โลหะ หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก คุณสมบัติพิเศษที่สําคัญของเลื่อยพับ ขนาดกระเป๋า คือ สามารถพับเก็บไว้ได้ ทําให้สามารถพกพาได้สะดวก และยังพกพาไว้ใช้ในยาม ฉุกเฉินได้อีกด้วย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

47 จาก 113

1.3 เลื่อยหางหนู เลื่อยหางหนู แบ่งได้ตามขนาดของใบเลื่อยอีกหลากหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานตัด โค้งทั้งภายในและภายนอกชิ้นงาน หรือใช้สําหรับตัดเจาะผนังยิปซั่มก็ยังได้

1.4 เลื่อยหางหมู เลื่อยหางหมู มีใบเลื่อยที่ลักษณะใหญ่ที่โคน และที่ปลายเรียวแหลม เลื่อยหางหมูมีความ กว้างที่หลากหลายขนาด บางรุ่นสามารถถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ เหมาะสําหรับงานตัดโค้งทั้งภายใน และภายนอกชิ้นงาน

1.5 เลื่อยฉลุ เลื่อยฉลุใช้กับงานไม้ เหมาะสําหรับงานตัดโค้ง ทําลวดลาย ตัวกรอบของเลื่อยฉลุทําด้วย โลหะ ใบเลื่อยค่อนข้างเล็กมาก มีความอ่อนตัว สามารถปรับหมุนได้รอบทิศทาง เลื่อยฉลุมี 2 ชนิด คือ ชนิดคอลึก ใช้ตัดเข้าไปในชิ้นงานได้มากกว่า เหมาะสําหรับไม้ที่ไม่หนามากนัก มีฟันที่ละเอียด และชนิดคอตื่น เหมาะสําหรับงานฉลุไม้ที่ชิ้นไม่ใหญ่นัก มีฟันค่อนข้างละเอียด

1.6 เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศรเหมาะสําหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาด ต่างๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ําหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมา เป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

48 จาก 113

1.7 เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา เลื่อยตัดมุมหรือเลื่อยองศา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวใบและแท่นเลื่อย ลักษณะของใบ เลื่อยจะเหมือนเลื่อยบังตอ ส่วนแท่นเลื่อยจะประกอบไปด้วย แป้นบอกองศา โครงจับใบเลื่อย ช่อง บังคับใบเลื่อย และแท่นรองรับใช้กับงานเข้ามุมต่อกันให้สนิท เหมาะกับงานตัดคิ้วบัว หรือการทํา กรอบรูป

1.8 เลื่อยลันดา เป็นเลื่อยที่พบเห็นบ่อยที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างไม้ เลื่อยลันดามี ความยาวที่ 14, 26 เลือกใช้ตามขนาดหน้าตัดของไม้ สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ชนิดฟันตัด มีลักษณะฟันที่ค่อนข้างพี่ ใช้สําหรับตัดขวางเนื้อไม้เพื่อให้เกิดรอยตัดที่เรียบ ไม่เป็นเสี้ยน ชนิดฟัน หยาบ จะมีลักษณะฟันที่หยาบ สามารถตัดได้เร็ว ใช้สําหรับตัดตามแนวยาวของเนื้อไม้ ซึ่งฟันที่ห่างทํา ให้เกิดหน้าตัดที่หยาบ ความยาวทั่วไปคือ 26 ชนิดฟันอเนกประสงค์ จะมีฟันถี่พอสมควร ความยาว 26 ใช้งานได้สะดวกทั้งการตัดขวางและการตัดตามแนวยาว

1.9 เลื่อยบังตอหรือเลื่อยรอ เลื่อยบังตอหรือเลื่อยรอ เหมาะสําหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทําเดือยต่อต่างๆ ด้านสันของใบ เลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทําให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8 - 14 นิ้ว

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

49 จาก 113

1.10 เลื่อยตัดไม้อัด เลื่อยตัดไม้อัด ใช้สําหรับตัดไม้อัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมี ขนาดฟันที่เล็ก ซึ่งช่วยลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ทั้ง 2 ด้าน ที่ปลายจะ เป็นสันโค้งพร้อมมีฟันเลื่อยอยู่ด้วย ใช้สําหรับตัดส่วนอื่นที่ไม่ใช้ขอบไม้อัด โดยไม่ต้องใช้สว่านเจาะรูนําก่อนใบเลื่อย ยาว 11 นิ้ว 1.11 เลื่อยอก เลื่อยอก เป็นเลื่อยที่ใช้ผ่าไม้ โครงเลื่อยส่วนใหญ่จะเป็นไม้ เช่น เลื่อย(รัดเกล้า) อกเลื่อย มือจับ ส่วนที่เป็นเหล็กคือสลักและใบเลื่อย ใบเลื่อยมีทั้งตัดและโกรก วางทํามุมกับเรือนเลื่อย 30 องศา และต้องตรงเสมอ ไม่ปิด

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

50 จาก 113

2. เลื่อยไฟฟ้า 2.1 เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig Saw or Saber Saw) เลื่อยไฟฟ้าชนิดนี้เป็นเลื่อยไฟฟ้าที่เราพบ เห็นได้ง่ายที่สุด และถือได้ว่าเป็นเลื่อยที่ถูกนํามาใช้งาน ตามบ้ า นมากที่ สุ ด ด้ ว ย จนได้ อี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า “เลื่ อ ย อเนกประสงค์” เพราะใช้งานง่ายและมีความคล่องตัวใน การใช้งาน รวมไปถึงการพกพาที่สะดวกด้วย ลักษณะของ เลื่อยชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายเตารีด โดยที่ด้ามถือจะมี ลักษณะเป็นห่วง ทําให้ในขณะใช้งานเราจึงสามารถถือ เลื่อยชนิดนี้ ด้วยมือเพียงข้างเดียว ส่วนมืออีกข้างหนึ่งก็ คอยประคองให้ ตัว เลื่ อ ยเคลื่ อนที่ ไ ปตามแนวที่เ ราต้อ ง การตัดภายในของเลื่อยชนิดนี้ประกอบไปด้วยชุดมอเตอร์ และชุดฟันเฟืองที่ทําหน้าที่ในการขยับใบเลื่อยให้ขึ้นและลงเป็นแนวตรงคล้ายกับจักรเย็บผ้า ที่บริเวณ ฐานของเลื่อยบางรุ่นยังสามารถปรับให้เลื่อยเอียงได้ถึง 45 องศา เพื่อทําการตัดไม้ในมุมเอียงได้ด้วย ในการเลือกใช้ใบเลื่อยนั้น จะต้องเลือกให้ถูกต้องกับชนิดของงาน โดยใบเลื่อยที่ใช้ในการ ตัดไม้จะมีจํานวนฟันประมาณ 3 – 14 ฟันต่อนิ้ว ถ้าฟันมีความถี่มากจะทําให้เวลาในการเลื่อยช้า แต่ ชิ้ น งานที่ ไ ด้ จ ะเรี ย บ ฟั น เลื่ อ ยแบบนี้ เ หมาะกั บ ไม้ เ นื้ อ แข็ ง ในขณะที่ ฟั น หยาบจะใช้ เ วลา ในการเลื่อยเร็ว แต่ผิวชิ้นงานจะไม่ค่อยเรียบ ฟันเลื่อยแบบนี้เหมาะกับไม้เนื้ออ่อน ส่วนใบเลื่อยตัดเหล็ก มีจํานวนฟันประมาณ 14 – 32 ฟันต่อนิ้ว โดยการตัดโลหะนั้นจะต้องให้ฟันเลื่อยอย่างน้อย 2 ซี่ สัมผัสกับ ความหนาของขอบชิ้ นงานทุ กครั้ ง มิ ฉะนั้ นอาจจะทํ าให้ รอยตั ดหยาบและใบอาจหั กขณะเลื่ อยได้ นอกจากนี้ ยั งมี ใบเลื่ อยอี กหลายแบบ เช่ น ใบเลื่ อยชุ บคาร์ ไบด์ เหมาะสํ าหรั บงานตั ดชิ้ นงานที่ เป็ น คอนกรีต กระเบื้องเซรามิก เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และวัสดุอื่นๆ เป็นต้น เทคนิคการใช้เครื่องเลื่อยฉลุ เครื่องเลื่อยฉลุหรือที่เรียกว่าเครื่องเลื่อยจิ๊กซอ นั้นมีความสามารถที่ตัดชิ้นงานได้หลาย ลักษณะ ซึ่งจะต้องมีเทคนิคในการใช้งานที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการใช้เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig Saw or Saber Saw) ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการใช้งานควรทราบถึงส่วนประกอบและหน้าที่ของเครือ่ งก่อนมีดังนี้คอื ฐานรองใบ เลื่อยเป็นตัวบังคับตัวเลื่อยในแนวเดียวกับชิ้นงาน สามารถปรับเอียงได้และมีตัวล็อคใบ ตัวเครื่อง มีมอเตอร์ภายใน มือจับ มีสวิทช์ปิด-เปิดสะดวกในการใช้งาน ใบเลื่อยมีทงั้ แบบละเอียดและหยาบ ขั้นตอนที่ 2 ก่อนการใช้งานต้องตรวจสอบใบให้ล็อคแน่นเรียบร้อย เครื่องเลื่อยฉลุเหมาะสําหรับการ ตัดตามแนวเส้นโค้ง เช่น ลวดลายต่าง ๆ วงกลม และสามารถที่จะตัดแนวเส้นตรงได้ด้วยการใช้

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

51 จาก 113

แนวบังคับการตัด เช่น ท่อนไม้ทําเป็นแนวบังคับ การตัดทั่วไปควรวางแนบฐานรองใบเลื่อยให้ สนิทกับชิ้นงานในขณะตัด เพื่อป้องกันใบเลื่อยดีดหักเข้าตาได้ ขั้นตอนที่ 3 เมื่อตัดรอบช่องจนขาดหมดแล้ว ตัดเข้ามุมโดยตัดด้านใดด้านหนึ่งให้ชนมุมก่อนแล้วยก ใบเลื่อยออกและตั ดเข้ามุมนั้นจากอีกด้านหนึ่งให้ชนมุมพอดี เพื่อความสะดวกสําหรับผู้ที่ไม่ ชํานาญ ในตอนเริ่มต้นควรใช้สว่านเจาะรู ขนาดประมาณ 5 มม. ให้ใบเลื่อยลงได้แล้วค่อยตัด ขั้นตอนที่ 4 เทคนิคการตัดขนาดตามแนวขนาน จะใช้ตัวปรับระยะหรือรั้วตั้งความลึกตามนขาดที่ ต้องการทาบรั้วที่ด้านข้างชิ้นงานแล้วดันตัดไป ขั้นตอนที่ 5 เทคนิคการตัดโลหะบางๆ จะต้องใช้ใบเลื่อยที่มีฟันละเอียดหรือฟันเลื่อยแบบที่มีฟัน อย่างน้อย 3 ซี่ จะสัมผัสกับชิ้นงานเพื่อให้การตัดไม่ทําให้ชิ้นงานเสียหาย ความเร็วในการดันเลื่อย ตัดจะต้องช้ากว่าการตัดไม้ 2.2 เลื่อยวงเดือน (Circular Saw) เลื่อยชนิ ดนี้ เป็นเลื่ อยที่ใช้กับชิ้ นงานที่ มีขนาด ค่อนข้ างจะใหญ่ และมีกําลั งในการตัด ชิ้นงานสูง โดยส่วนใหญ่แล้วเลื่อยวงเดือนจะมีกําลังงานตั้งแต่ 500 - 1,500 วัตต์ เพื่อให้เหมาะกับ งานที่จะใช้ ขนาดของตัวเลื่อยจะกําหนดจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของใบเลื่อย ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 3 3 /8 - 16 5/16 นิ้ว รุ่นที่นิยมใช้มากที่สุดจะเป็นรุ่นขนาด 7 ¼ นิ้ว ซึ่งมีความคล่องตัวในการใช้งานมาก ที่สุด ลักษณะภายนอกของตัวเลื่อยจะประกอบไปด้วย

1) ใบเลื่อย (Blade) จะมี อ ยู่ ห ลายแบบหลายชนิ ด ด้ ว ยกั น ขึ้ น อยู่ กั บ งานที่ จ ะนํ า ไปใช้ ง าน เช่ น ใบเลื่อยผสม จะใช้สําหรับตัดไม้ทางขวางหรือตามเสี้ยนไม้ ใบเลื่อยชนิดนี้จะมีฟันเลื่อย ขนาดใหญ่ ทํ า ให้ ตั ด ไม่ ไ ด้ อ ย่ า งรวดเร็ ว แต่ ข อบจะมี ลั ก ษณะหยาบ ใบเลื่ อ ยตั ด จะใช้สําหรับตัดขวางแนวเสี้ยนไม้ ลักษณะของฟันเลื่อยจะเป็นซี่ละเอียดสลับกับฟันลบ กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

2

3 4

5

52 จาก 113

มุมคม ทําให้ตัดได้นุ่มนวล เหมาะที่จะนําไปตัดไม้อัดและไม้บาง ใบเลื่อยไสใช้สําหรับ ตัดขวางและตัดมุมเอียง ใบเลื่อยซอยออกแบบมาสําหรับตัดตามเสี้ยนไม้ได้อย่าง รวดเร็ว มีร่องฟันเลื่อยที่ลึก จึงทําให้คายเศษชิ้นไม้หรือขี้เลื่อยได้ดี เป็นต้น ในการ ติดตั้งใบเลื่อยจะต้องให้คมของใบเลื่อยหงายขึ้นทุกครั้ง ฝาครอบกันใบเลื่อย (Blade Guard) จะติดตั้งอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นได้ในขณะกําลังเลื่อยชิ้นงานอยู่ โดยจะป้องกันอันตรายจากใบเลื่อยเองและเศษ ขี้เลื่อยที่อาจจะกระเด็นไปถูกผู้ปฏิบัติงาน คันยกครอบกันใบเลื่อยด้านล่าง ใช้ในการโยกให้ฝาครอบกันใบเลื่อยด้านล่าง เลื่อนออกมาจากใบเลื่อยเพื่อให้ สะดวกในการถอดเปลี่ยนใบเลื่อย ฐานเครื่อง มีลักษณะเป็นโลหะชิ้นเดียวกันทั้งแผ่น ใช้ในการรองเลื่อยวงเดือนให้วางอยู่บน ชิ้นงานที่ทําการตัดได้อย่างมั่นคงตัวล็อกฐาน (Tilt Adjustment) ใช้ในการปรับฐาน เครื่องกับตัวเลื่อยให้ทํามุมกับชิ้นงาน โดยสามารถปรับได้สูงสุด 45 องศา กับตัวชิ้นงาน ด้ามจับและไกสวิตซ์ (Handle and Power Switch) ลักษณะของด้ามจับจะมีรูปร่างที่สามารถให้มือสอดเข้าไปจับตัวด้ามจับได้ถนัด และบริเวณด้านในของด้ามจับจะมีไกสวิตซ์ซึ่งทําหน้าที่เป็นตัวเปิดและปิดการทํางาน ของเลื่อย โดยถ้าต้องการให้เลื่อยทํางานก็ให้กดสวิตซ์ลง แต่ถ้าต้องการหยุดการทํางาน ก็ใ ห้ ปล่ อยไกสวิตซ์ ในเลื่อยบางรุ่นจะมีปุ่มกดเพิ่ม ขึ้นมาทางด้านข้างของไกสวิ ตซ์ เมื่อทําการกดปุ่มนี้แล้วไกสวิตซ์ก็จะถูกกดค้างไว้โดยที่เราไม่ต้องทําการกดไกสวิตซ์เลย

ขั้นตอนการใช้งานเลื่อยวงเดือน (Circular Saw) ขั้นตอนที่ 1 วิธีตัดเจาะภายใน ปรับใบให้ออกมามากที่สุดวางตัวเลื่อยให้ใบอยู่ด้านในเส้นที่ขีดไว้ วางตัวเลื่อยโดยให้ส่วนหน้าเครื่องแนบกับชิ้นงานก่อนแล้วค่อยๆ กดตัวเครื่องลง ดันตัดตาม แนวโดยไม่ต้องถึงมุมส่วนมุมใช้เลื่อยมือแต่งมุม ให้ระวังมือด้านที่อยู่ใกล้ใบเลื่อยมากที่สุด ขั้นตอนที่ 2 วิธีตัดไม้มุมเอียง วัดขนาดตามมุมที่ต้องการอาจเป็นฉากที่ปรับมุมได้หรือ วัดขนาด โดยไม่มีองศาจับยึดแนวรั้วด้วยแคล้มป์แล้วตัดตามแนวที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 3 วิธีตัดโดยใช้รั้วเป็นตัวนํา วัดขนาดและขีดเส้นเป็นแนวที่ต้องการตัดไว้ วัดระยะจาก ขอบใบเลื่อยถึงขอบแท่นตัวเลื่อย จากนั้นวัดขนาดจากเส้นที่ขีดไว้บวกด้วยระยะของใบเลื่อย ถึงขอบแท่น วางรั้วเหล็กหรือรั้วไม้ตรงตามแนวจับยึดด้วยแคล้มป์แล้วตัดตามแนว ขั้นตอนที่ 4

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

53 จาก 113

วิธีตัดไม้ให้มีขนาดยาวเท่ากัน ตอกยึดไม้ที่ตรงเพื่อเป็นตัวชนของไม้ที่จะตัดนําไม้ ที่ต้องการตัดมาวางเรียงกันโดยให้ด้านหนึ่งชนแนวไม้ที่ตอกยึดไว้ขีดเส้นระยะที่ต้องการ ตัดลบด้วยระยะจากใบเลื่อยถึงแท่นเพื่อเป็นแนววางรั้ววางรั้วและยึดแน่นด้วยแคล้มป์

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

54 จาก 113

2.3 แท่นเลื่อยวงเดือน (Table Saw) เป็นเลื่อยที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตามโรงเลื่อยต่าง ๆ เพราะเนื่องจาก สามารถตัดแผ่นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างสบาย และนอกจากนั้นยังสามารถตัดไม้ให้มีลักษณะ ต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย เช่น การเซาะร่อง การตัดทําเดือย การบากชิ้นงาน การตัดเฉียง เป็นต้น ลักษณะของเลื่อยชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแท่นตัดผิวเรียบ ด้านล่างติดตั้งมอเตอร์พร้อมใบเลื่อยวงเดือน บริเวณปลายของใบเลื่อยจะโผล่ขึ้นมาจาก แท่นตัดโดยที่จะมีฝาครอบกันใบเลื่อย คอยป้องกันไม่ให้เศษขี้เลื่อยกระเด็นเข้าตาเราได้ ที่ปลายของใบ เลื่อยที่โผล่พ้นมากหรือน้อยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหนาของไม้ นอกจากนั้นใบเลื่อยยังสามารถปรับมุม เอียงได้สูงสุด 45 องศา ลักษณะของใบเลื่อยจะใช้เช่นเดียวกับเลื่อยวงเดือน ที่บริเวณแท่นตัดจะมีคาน บังคับไม้สําหรับยึดไม้ เพื่อป้อนไม้ให้เป็นแนวเส้นตรง

ขั้นตอนการใช้งานแท่นเลื่อยวงเดือน (Table Saw) ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการปรับเปลี่ยนปรับตั้ง ขนาดหรือใบต้องมั่นใจว่าเครื่องปิดอยู่เสมอ และต้อง ตรวจสอบดูว่า แคล้มป์ที่ยึดรั้วแน่นหรือไม่และมีวัสดุอะไรขวางทางใบเลื่อยหรือไม่ ขั้นตอนที่ 2 การยืนควรยืนอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของแนวใบเลื่อย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายหาก ใบเลื่อยหลุดใช้ที่ครอบใบเลื่อยทุกครั้งที่มีการตัด ขั้นตอนที่ 3 ห้ามตัดชิ้นงานแบบอิสระโดยไม่มีอะไรยึ ดเป็นแนวรั้ว เพราะใบเลื่ อยที่หมุนตัดอยู่ อาจขัดกับชิ้นงานและดีดชิ้นงานออกมาโดนผู้ทํางานเป็นอันตรายได้ ขั้นตอนที่ 4 เลือกใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยให้เหมาะสมกับงาน ในกรณีที่ไม่ชํานาญ หรือไม่มั่นใจ ขั้นตอนที่ 5 เมื่อปิดเครื่องแล้วใบเลื่อยยังไม่หยุดห้ามหยุดใบเลื่อยด้วยการนําไม้ไปใส่หรือมือไป สัมผัสใบเลื่อยห้ามทําความสะอาดแท่นเลื่อยด้วยมือเปล่า ควรใช้แปรงปัดหรือลมเป่า

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

55 จาก 113

2.4 เลื่อยตัดปรับมุม (Angle Cutting Saw) เลื่อยชนิดนี้เป็นเลื่อยที่สามารถทําการปรับมุมได้ตั้งแต่ 45 – 90 องศา ได้คงที่ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องทําการปรับตั้งมุมบ่อย ๆ จึงทําให้นิยมนําไปใช้ในการตัดไม้เพื่อทําวงกรอบ คิ้ว บัวหรือ กรอบรูป เป็นต้น

การใช้งาน 1. ศึกษาคู่มือการใช้งาน และปลั๊กไฟต้องไม่เสียบอยู่ ให้ลองขยับและดูการปรับตั้งต่าง ๆ ของเลื่อยดู 2. ทําตามคําแนะนําในคู่มือ หาเศษไม้มาเพื่อทดลองตัด โดยที่ยังไม่เสียบปลั๊กไฟ เพื่อให้เข้าใจก่อนว่าใบเลื่อยจะตัดตรงไหน และตัวครอบจะเคลื่อนที่อย่างไร 3. ก่อนที่จะเสียบปลั๊ก ต้องดูก่อนว่าฐานถูกยึดหรือขันนอตติดไว้กับโต๊ะแล้ว และต้องดู ว่าที่พื้นไม่มีของวางไว้เกะกะ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

56 จาก 113

3. เครื่องมือทีใ่ ช้กับเลื่อย 1) คีมคัดคลองเลื่อย คีมคัดคลองเลื่อย คือ คีมที่ใช้คัดปลายคมเลื่อยให้เบนสลับกันไปมา ปลายที่เลื่อยจะเฉียง สลับไปทางด้านตรงกันข้าม เลื่อยหลังจากใช้ไปชั่วระยะหนึ่งคลองเลื่อยจะถูกบีบทําให้เกิดความฝืด เวลาใช้ต้องคัดคลองเลื่อยโดยหงายฟันเลื่อยขึ้นใส่ปากกาหัวโต๊ะ จับให้แน่น นําคีมคัดคลองเลื่อยมา ปรับความเอนของฟันเลื่อยตามต้องการแล้วล๊อกให้แน่น เริ่มคัดคลองเลื่อยจากซ้ายไปขวาทีละฟัน การคั ดให้ดู ฟัน เดิ ม ที่ เ คยคั ดไปแล้ว จากซ้ า ยไปขวา ระวั ง อย่ าหลงฟัน เลื่ อย และควรกดคี ม ให้ สม่ําเสมอ เมื่อเสร็จด้านหนึ่งแล้วก็สลับข้างคัดอีกด้านหนึ่ง

2) ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบสามเหลี่ยม ลําตัวของตะไบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้ตะไบลับคมใบเลื่อย ให้มีความคมอยู่ตลอดเวลาเพื่อใช้งานได้ดี การแต่งคมฟันเลื่อย หลังจากคัดคลองแล้วก็นําตะไบ 3 เหลี่ยม เลือกขนาดความเอนของฟันเลื่อยให้ตะไบอยู่ในช่องระหว่างฟันเลื่อยพอดี มือซ้ายจับ ปลายกด มือขวาถือด้ามดันตะไบไปข้างหน้าทีละช่อง ระวังแรงกดให้มือซ้ายกดอย่างสม่ําเสมอ จํานวนครั้งที่ดันต้องเท่ากันทุกช่องฟัน

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

57 จาก 113

4. การบํารุงรักษาเครื่องมือตัด ก่อนใช้ 1) ควรเลือกใบเลื่อยให้ถูกต้องกับความหนาและความแข็งของชิ้นงาน 2) ก่อนเลือ่ ยควรตรวจสอบใบเลื่อยดูก่อนว่า ขันใบเลื่อยตึงพอดีหรือไม่ 3) ควรจับยึดชิ้นงานให้ใกล้ปากกาจับงานและแนวเลื่อยอยู่ในแนวดิ่งขณะใช้ ขณะใช้ 1) ควรให้ปลายเลื่อยกดโดยยกส่วนด้าม ขึ้นประมาณ 10 องศา กับแนวระดับเพราะการเลื่อย กดลงจะเที่ยงตรงกว่า 2) ควรชักโครงเลื่อยในการเลื่อยตลอดความยาวของใบเลื่อย เพื่อป้องกันการสึกหรอของใบเลื่อย ไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ใบเลื่อยติดแน่นในร่องเลื่อยและหักได้ 3) ขณะเลื่อยอย่ากระแทกหรือบิดโครงเลื่อยเพราะใบเลื่อยอาจหักได้ 4) ขณะชักโครงเลื่อยกลับไม่ต้องออกแรงกดและไม่ต้องยกเลื่อยขึ้น หลังใช้ 1) เมื่อเลิกใช้งานให้คลายสกรูหางปลาให้ใบเลื่อยคลายอยู่ในสภาพปกติ 2) ทําความสะอาดแล้วหยอดน้ํามันสกรูเล็กน้อย แล้วเก็บเข้าที่

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

58 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือตัด คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบนคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงข้อเดียว 1) ถ้าต้องการตัดงานฝีมือ มีลวดลายคดเคี้ยว ควรเลือกใช้เลื่อยชนิดใด? ก. เลื่อยหางหนู ข. เลื่อยลอ ค. เลื่อยลันดา ง. เลื่อยอก 2) ถ้าต้องการตัดไม้ทั่ว ๆ ไปควรเลือกใช้เลือ่ ยชนิดใด? ก. เลื่อยหางหนู ข. เลื่อยลันดา ค. เลื่อยอก ง. เลื่อยคันศร 3) เลื่อยชนิดใด ที่ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถตัดไม้ได้ทั้ง 2 ทาง? ก. เลื่อยหางหนู ข. เลื่อยลันดา ค. เลื่อยอก ง. เลื่อยคันศร 4) เลื่อยที่ถูกออกแบบมาสําหรับให้ใช้ในงานผ่าไม้โดยเฉพาะ คือเลื่อยชนิดใด? ก. เลื่อยหางหนู ข. เลื่อยลันดา ค. เลื่อยอก ง. เลื่อยคันศร 5) เลื่อยที่สามารถตัดได้รวดเร็ว ที่บริเวณฐานของเลื่อยยังสามารถปรับให้เลื่อยเอียงได้ถึง 45 องศา เพื่อทําการตัดไม้ในมุมเอียงได้ คือเลื่อยชนิดใด? ก. เลื่อยหางหนู ข. เลื่อยลันดา ค. เลื่อยฉลุไฟฟ้า ง. เลื่อยคันศร

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือตัด 1. 2. 3. 4. 5.

ก ข ง ค ค

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

59 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 4 เครื่องมือไขและขัน ระยะเวลา : 3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือไขด้วยมือและด้วยไฟฟ้าได้ 2. บอกชนิดของเครื่องมือขันด้วยมือและด้วยไฟฟ้าได้ 3. บอกวิธีการนําเครื่องมือไขและขันไปใช้งานได้ 4. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือไขและขันได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือไขด้วยมือและด้วยไฟฟ้า 2. ชนิดของเครื่องมือขันด้วยมือและด้วยไฟฟ้า 3. วิธีการนําเครื่องมือไขและขันไปใช้งาน 4. วิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือไขและขัน อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก: สื่อนําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

60 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

61 จาก 113

4.

ใบข้อมูล บทที่ 4 เครื่องมือไขและขัน ชนิดของเครื่องมือไขด้วยมือและด้วยไฟฟ้า 1. ไขควง (Screwdriver) ไขควง คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบมาเพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ไขควงทั่วไป ประกอบด้วยแท่งโลหะส่วนปลายใช้สําหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่างๆ และมีแท่งสําหรับจับคล้ายทรงกระบอกอยู่อีกด้านหนึ่งสําหรับการไขด้วยมือ แต่ไขควงบางชนิดอาจจะหมุน ด้วยมอเตอร์ก็ได้ ไขควงทํางานโดยการส่งทอร์ก (Torque) จากการหมุนไปที่ปลาย ทําให้สกรูหมุนตามเกลียวเข้า หรือออกจากวัสดุอื่น โดยปกติการขันสกรูจะหมุนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ส่วนการคลายสกรูจะหมุน ไปทางซ้ายทวนเข็มนาฬิกา ไขควงเป็นเครื่องมือสําหรับ ขันและคลาย สกรูชนิดหัวผ่า ขนาดและรูปทรงของไขควงถูกออกแบบ ให้เป็นไปตามลักษณะการ ใช้งาน เช่น ไขควงที่ใช้สําหรับงานของช่างอัญมณี (Jeweler's Screw Driver) จะออกแบบมาให้ เ ป็ น ไขควงที่ ใ ช้ สํ า หรั บ งานละเอี ย ดเที่ ย งตรงกว่ า ไขควงที่ ใ ช้ ใ นงานหนั ก ของช่างเครื่องกลจะออกแบบให้ก้านใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ใช้ประแจ หรือ คีมจับขันเพื่อเพิ่มแรง ในการบิดตัวของ ไขควง ให้มากกว่าเดิมได้ไขควงประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ 1. ด้ามไขควง (Handle) 2. ก้านไขควง (Blade or Ferule) 3. ปากไขควง (Tip) ด้ามไขควง ออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้ถนัดมือ และ สามารถบิดไขควงไป-มา ได้แรงมากที่สุด ไขควงจะทําจากวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้ พลาสติ ก หรื อ โลหะบางชนิ ด ตามประเภทการใช้ ง านปากไขควง จะทํ าจากเหล็กล้าเกรดดี ทรงกลมหรือสี่เหลี่ย มจัตุรัส ตีขึ้นรู ปให้ล าดแบน และชุบแข็งด้วยความร้อน ในส่ ว นที่ ไ ม่ ไ ด้ ตี ขึ้ น รู ป จะเป็ น ก้ า นไขควง ถ้ า เป็ น ไขควงที่ ใ ช้ สํ า หรั บ งานเบาจะเป็ น เหล็ ก กล้ า ทรงกลม ถ้าเป็นไขควงสําหรับใช้งานหนักจะเป็นเหล็กกล้าทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อให้สามารถใช้ประแจหรือคีมจับ เพิ่ ม แรงบิ ด งานได้ ก้ า นไขควงส่ ว นที่ ต่ อ กั บ ด้ า มจะตี เ ป็ น เหลี่ ย มลาด เพื่ อ ให้ ส วมได้ ส นิ ท กั บ ด้ า ม เพื่อให้ด้ามจับก้านไขควงได้สนิทและไม่หมุนเมื่อใช้งานไขควง ในปัจจุบันมีการออกแบบให้ก้านไขควงทะลุ ตลอดด้าม ที่เป็นพลาสติกหรือไฟเบอร์และทําเป็นแท่นรับแรงสามารถใช้ค้อนเคาะตอกเพื่อการทํางาน บางประเภท ขนาดความกว้างของปากไขควงจะมีสัดส่วนมาตรฐานสัมพันธ์กับความยาวของขนาดทั้งหมด ของไขควง ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งสําหรับการเลือกใช้ไขควง เพราะแรงบิดที่กระทําต่อตัวสกรูสัมพันธ์กับ ความยาวของไขควง นอกจากนี้ไขควงขนาดยาวจะมีปากที่กว้างกว่าไขควงขนาดสั้น ความหนาของปาก ไขควงจะขึ้นอยู่กับความกว้างของปาก ปากกว้างมากก็จะยิ่งมีความหนามากขึ้น ความหนาของปากไขควง เป็นผลโดยตรงกับการออกแรงบิดตัวสกรู เพราะถ้าขนาดของปากไขควงไม่พอดีกับร่องผ่าของหัวสกรูจะทํา กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

62 จาก 113

ให้การขันพลาด ทําให้หัวสกรูเยินหรือต้องสูญเสียแรงงานส่วนหนึ่งในการประคองปากไขควงให้อยู่บนร่อง หัวสกรูแทนการหมุนสกรู ก่อนการใช้งานไขควง ต้องตรวจสอบสภาพปากไขควงให้พร้อมใช้งาน คือ ปากเรียบ ไม่มีรอยบิด และเมื่อพิจารณาดูจากด้านล่างต้องมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไขควงที่ปากไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเป็น อันตรายต่อการทํางานมากเพราะเมื่อใช้งานปากไขควงจะไม่สัมผัสกับร่องบนหัวสกรูเต็มที่ เมื่อออกแรงบิด จะทําให้พลาดจากร่องจะทําให้หัวสกรูบิ่นหรือลื่นจากหัวสกรู ทําให้ผู้ขันได้รับอันตรายได้ ไขควงแฉก (Phillips) หรือ ไขควงหัวลูกศร เป็นไขควงที่ออกแบบมาสําหรับใช้กับ สกรูชนิดร่อง หัวผ่าไขว้กัน การออกแบบขนาดและการเลือกใช้งานก็เช่นเดียวกับไขควงปากแบนข้อสํ าคัญที่สุดคื อ ต้องเลือกใช้ไขควงที่ปากแนบสนิทกับร่องผ่าบนหัวสกรู จึงใช้งานได้เต็มตามประสิทธิภาพของไขควง ไขควงเยื้องศูนย์ (Offset Screw Driver) เป็นไขควงที่ออกแบบมาสําหรับการงานพิเศษที่ไขควง แบบปกติใช้งานไม่ได้ เช่นตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดพิเศษทําปากไขควงอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน อาจหัน ปากไปในตําแหน่งตามกันหรือเยื้องกันก็ได้ ส่วนก้านใบไขควงอยู่ตรงกลางและทําหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย ประเภทของไขควง 1) ไขควงปากแบนหรือไขควงธรรมดา (Common Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควงทุกแบบสําหรับขันหรือคาย สกรูหรือตะปูควงชนิดต่างๆ 2) ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉกเวลา บิดต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง 3) ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch - Head Screwdriver) เป็นไขควงที่มีใช้เฉพาะกับตะปูควงหรือสกรูสําหรับงานโลหะแผ่น และงานการตกแต่งที่ ต้องการความประณีตสวยงาม ปลายของไขควงจะสวมพอ ดีกับหัวสกรู 4) ไขควงออฟเสท (Offset Screwdriver) ไขควงออฟเสทใช้งานที่อยู่ในที่แคบๆ ยากที่จะใช้ไขควงธรรมดาเข้าไปขันได้สามารถขัน สกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะไขควงหลุดจากร่องสกรูได้ง่ายทําให้หัวสกรูเสีย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

5) ไขควงเยื้องศูนย์ (Offset Screw Driver) เป็นไขควงที่ออกแบบมาสําหรับการงานพิเศษที่ไขควง แบบปกติใช้งานไม่ได้ เช่น ตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดพิเศษ ทําปากไขควงอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านอาจหันปากไปในตําแหน่ง ตามกันหรือเยื้องกันก็ได้ ส่วนก้านใบไขควงอยู่ตรงกลางและทํา หน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย 6) ไขควงสตาร์ทติง (Starting Screw Driver) ไขควงชนิ ด นี้ ใ ช้ สํ า หรั บ เริ่ ม ขั น สกรู ใ นกรณี ที่ ตําแหน่งของจุดขั นอยู่ใ นที่ที่ ไม่สามารถสอดมือเข้าไปจับ สกรูได้ ไขควงชนิดนี้มีที่สําหรับยึดสกรูไว้ เมื่อขันสกรูเข้าที่ แล้วจะต้องใช้ไขควงธรรมดาขันเข้าต่อไปจนแน่น 7) ไขควงตอก (Screwdriver Hammer) ใช้ขันหรือไขสกรูกรณีที่สกรูแน่นเกินไป สามารถใช้ ค้อนตอกที่ปลายด้ามพร้อมๆ กับไขสกรูในเวลาเดียวกันได้ 8) ไขควงวัดไฟฟ้า (Power Screwdriver) เป็นไขควงขนาดเล็ก ใช้สําหรับวัดว่ามีไฟฟ้า บริ เ วณนั้ น หรื อ ไม่ โดยจะมี ห ลอดไฟในตั ว ไขควง ถ้ า นํ า ไขควงไปแตะบริ เ วณที่ มี ไ ฟฟ้ า หลอดไฟจะ สว่าง ใช้ในงานช่างไฟฟ้า โดยไขควงชนิดนี้สามารถ ขันสกรูได้เช่นกัน หลักการของไขควงเช็คไฟนั้นใช้หลักการให้ ไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายผู้ใช้งานลงไปสู่พื้น ซึ่งกระแสที่ ไหลผ่านร่างกายนั้นน้อยมากจนไม่รู้สึก เพราะภายใน ไขควงเช็ คไฟมี ตัว ต้ านทาน 500 กิโ ลโอห์ม ต่อกั บ หลอดนีออนเพื่อแสดงผลอยู่ ดังนั้นกระแสที่ไหลผ่าน มาแค่ แ สดงผลให้ ห ลอดไฟติ ด เท่ า นั้ น ไม่ มี ผ ลต่ อ ร่างกาย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

63 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

64 จาก 113

วิธีใช้ไขควงวัดไฟ 1) ไขควงเช็คไฟนั้นเป็นเครื่องมืออย่างง่ายสําหรับใช้ตรวจสอบวัตถุหรือตัวนําว่า มีไฟฟ้าหรือมี แรงดันไฟฟ้าอยู่หรือไม่ และยังใช้ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่อีกด้วย 2) การทํ างานของไขควงลองไฟแบบธรรมดา ภายในจะประกอบด้ ว ยหลอดนี อ อนต่ อ อยู่ กั บ ความต้านทานค่าสูง โดยความต้านทานมีหน้าที่จํากัดปริมาณกระแสไฟที่จะไหลผ่านหลอดนีออน และร่างกายไม่ให้มีอันตราย หากมีการนําไปแตะสัมผัสกับส่วนที่มีไฟ (ซึ่งจะเป็นการต่อไฟครบวงจร) โดยไฟฟ้าจะไหลจากปลายไขควงผ่านหลอดนีออน ตัวต้านทาน นิ้ว แขน ร่างกาย ลงสู่พื้นที่ยืนอยู่ โดยหลอดนีออนจะสว่างก็ต่อเมื่อแรงดันที่หลอดสูงถึงระดับพิกัดที่หลอดนีออนจะสว่าง 3) การเลือกไขควงเช็คไฟควรเลือกให้เหมาะกับไฟฟ้าที่จะใช้ ทั้งชนิดของไฟฟ้าและขนาดแรงดัน ชนิดของไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้ากระแสตรง DC (ใช้ในรถยนต์) ไฟฟ้ากระแสสลับ AC (ใช้กับ ไฟที่มาจากการไฟฟ้าฯ) ขนาดแรงดันไฟฟ้า ต้องพอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ําเกินไป หากเลือกไขควงมีค่าแรงดันต่ํา อาจใช้ดี แต่ไม่ปลอดภัยนัก คือจะรู้สึกว่ามีไฟรั่วผ่านไขควงมากเวลาแตะสัมผัส เช่น ไฟฟ้า ตามบ้านใช้ไฟ 200 – 250 โวลต์ แต่ใช้ไขควงสําหรับแรงดัน 80 – 125 โวลต์ เป็นต้น 4) ระวังอย่าให้นิ้วแตะสัมผัสไขควงส่วนที่เปลือย ควรใช้ไขควงที่มีการหุ้มฉนวนให้เหลือเฉพาะ ปลายที่จะใช้สัมผัส หากไม่มีอาจต้องใช้วิธีพันให้รอบด้วยเทปพันสายไฟก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดหรือป้องกัน อุบัติเหตุการเกิดลัดวงจรจากการใช้ไขควงที่ไม่ระมัดระวังด้วย

5) ไขควงเช็คไฟทั่วไปที่ใช้ตามบ้าน มักจะมีปุ่มด้านบน หรือเป็นแบบคลิ้ปหนีบปากกา ไว้สําหรับ ให้ใช้นิ้วแตะเพื่อให้ไฟไหลครบวงจรผ่านร่างกาย ไฟนีออนจึงจะติดแดงขึ้นมาได้ 6) การใช้ไขควงเช็คไฟที่ถูกวิธีนั้นให้เอาปลายแตะวัตถุที่จะทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้วแตะปุ่ม ด้านบนหรือตรงคลิ้ปหนีบให้ครบวงจร และต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นฉนวนหรือใส่รองเท้า เพราะไฟอาจจะ ไม่ติดทําให้แปลความหมายผิดว่าไม่มีไฟรั่วก็ได้ 7) ทุกครั้งที่จะใช้ ให้ระมัดระวังและระลึกไว้เสมอว่าอาจมีอันตราย เช่น ไขควงอาจชํารุดหรือ ลัดวงจรภายในได้ จึงต้องแตะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 8) ไขควงเช็คไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานาน ไฟนีออนหรือตัวต้านทานภายในอาจชํารุดใช้งานไม่ได้ (ไฟไม่ติด) หรือหากเป็นแบบดิจิตอลไฟแสดงผลอาจไม่ทํางาน ดังนั้นก่อนใช้งาน ควรทดสอบไขควงว่า ยั ง ใ ช้ ไ ด้ อ ยู่ โ ด ย ท ด ส อ บ กั บ ส่ ว น ที่ มี ไ ฟ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

65 จาก 113

9) เวลาแหย่ไขควงเช็คไฟ ต้องระมัดระวังอย่าให้ไขควงไปแตะส่วนอื่นที่เป็นขั้วไฟคนละขั้วพร้อมกัน เช่น ขั้วไฟต่างเฟสหรื อขั้วมี ไฟแตะกับขั้ วดินหรือนิ วทรัล เป็นต้ น โดยเฉพาะอย่างยิ่ งในที่ แ คบ ๆ เพราะนั่นหมายถึงการทําให้เกิดลัดวงจรและจะมีประกายไฟที่รุนแรงพุ่งเข้าสู่ใบหน้าและดวงตา จนอาจเสียโฉมหรือพิการได้ ดังนั้น ในสถานการณ์ที่มีขั้วไฟฟ้าเปิดโล่ง หรือเปลือย เช่น ตู้แผงสวิตช์ หรือเต้ารับที่เปิดฝาออก ไม่แนะนําให้ผู้ที่ไม่ใช่ช่างไฟฟ้าทํางานโดยเด็ดขาด 10) ห้ามซ่อมหรือดัดแปลงไขควงลองไฟที่ชํารุดเป็นอันขาด เช่น การเปลี่ยนค่าความต้านทาน หรือต่อตรงความต้านทาน เป็นต้น 11) ห้ามนําไขควงเช็คไฟไปใช้ทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดัน หรือไฟฟ้าแรงดันสูง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

66 จาก 113

2. ไขควงไฟฟ้า (Screwdriver Power) สว่านไขควงไฟฟ้าใช้สําหรับเป็นสว่านเจาะ หรือใช้งานร่วมกับดอกหัวไขควงและดอกเจาะต่าง ๆ ที่มีแกนหัวสวมเร็ว มีระบบกระแทกในตัวช่วยผ่อนแรงในการไข เมื่อไขสุดแล้วไม่ทําให้เกลียวหวานและไม่มี การสบัด ใช้งานง่าย มีหัวสวมเร็วสะดวกในการเปลี่ยนดอกรวดเร็ว ตัวสว่านมีไฟฉายในตัวสําหรับส่อง บริเวณที่ต้องการทํางาน สะดวกในซอกตู้ หรือบริเวณนั้นมืดมองไม่เห็น สามารถปรับทิศทางการหมุนขันได้ ทั้งซ้ายและขวา (ตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

67 จาก 113

ชนิดของเครื่องมือขันด้วยมือและด้วยไฟฟ้า ประแจ (Wrench) ที่ใช้ในงานช่างกลมีอยู่หลายชนิด รูปร่างแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน ประแจที่มีคุณภาพส่วนมากจะผลิตจากเหล็กกล้าและขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูป แต่ประแจที่ใช้งานได้ดีที่สุด นั้นจะทําจากเหล็กกล้าผสมโครเมียมและวาเนเดียม ตีขึ้นรูปเช่นเดียวกับประแจที่ปรับขนาดปากได้ เช่น ประแจเลื่อน ประแจจับท่อ จะออกแบบให้มีความยาวสัมพันธ์กับขนาดของปากที่อ้ากว้างที่สุด ส่วนประแจ ปากตาย ประแจแหวน ประแจกระบอกไม่สามารถปรับขนาดของปากได้ จะผลิตขนาดของปากตามมาตรฐาน การผลิตแป้นเกลียวและสลักเกลียว ด้ามของประแจจะมีความยาวตามมาตรฐาน เพราะต้องสัมพันธ์กับแรงบิดที่ทําต่อแป้นเกลียว และสลักเกลียว นอกจากประแจบางแบบที่ใช้สําหรับงานพิเศษจะทําให้มีขนาดยาวกว่าปกติเพื่อเพิ่มแรงขัน เกลียวให้มากขึ้น สําหรับประแจกระบอกซึ่งมีด้ามต่อหลายแบบมาให้เลือกตามสภาพการทํางานก็ต้อง พิจารณาเช่นเดียวกันว่าจะเลือกใช้ด้ามประแจตัวใดกับงานชิ้นใด ประแจแต่ละชนิดผลิตมาเพื่อใช้งานแต่ละ อย่างให้ได้ประสิทธิภาพในการทํางานสูงสุด ดังนั้น จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อความสะดวกและ รวดเร็วในการปฏิบัติงานด้วย ประแจ เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดที่สําคัญ ใช้สําหรับจับ ยึด ขัน หรือคลายหัวสกรู นอต สลักเกลียว และท่อประแจจะมีรูปร่าง ขนาด และความยาวแตกต่างกัน ประแจแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ 1) ประแจชนิดปากปรับได้ (Adjustable Wrenches) ประแจชนิดนี้ สามารถปรับให้ปากประแจเล็กหรือใหญ่ได้ตามความเหมาะสมของงานที่จะ นําไปใช้ เช่น ประแจเลื่อน และประแจจับแป๊ป หรือประแจคอม้า เป็นต้น

ประแจคอม้า (Straight Pipe Wrench) เป็นประแจที่ปรับขนาดได้ สําหรับใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ประแจชนิดนี้ออกแบบให้ฟันของประแจที่หน้าสัมผัส กินเข้าไปในผิวสัมผัสในขณะ ใช้งาน เพื่อให้จับชิ้นงานได้แน่นหนา จึงไม่เหมาะสําหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทําให้หัวน็อตเสียหาย ประแจ ชนิดนี้ออกแบบโดย Daniel C. Stillson เมื่อ ค.ศ. 1869 บางครั้งจึงเรียกว่า ประแจ Stillson

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

68 จาก 113

2) ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ (Non-adjustable Wrenches) ประแจชนิดนี้ปากของประแจจะมีขนาดคงที่ไม่สามารถปรับให้เล็กหรือใหญ่ได้ เช่น ประแจ ปากตาย (Open-end Wrench) ประแจแหวน (Ring or Box Wrenches) และประแจรวม (Combination Wrenches) เป็นต้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

69 จาก 113

ชุดประแจรวมผลิตจากเหล็กเนื้อแข็ง เนื้อเหล็กเป็นอัลลอยด์ชุบโครเมียม ขัดมัน แข็งแรง เหมาะสําหรับเป็นชุดเครื่องมือประจําบ้านไว้ใช้งานซ่อมแซมต่าง ๆ ประแจเป็นปากตาย ปลายอีก ข้างหนึ่งเป็นแหวนเบอร์เดียวกัน โดยมีตั้งแต่เบอร์ 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 19 21 22 และ 24 ซึ่งมีซองหนังสีดําใส่ สามารถพับเก็บได้

3) ประแจชนิดพิเศษ (Special Screw Wrenches) ประแจชนิดนี้ปกติจะออกแบบให้เหมาะสมกับหัวสกรูหรือน๊อตที่มีลักษณะพิเศษ เป็นงาน เฉพาะจุดซึ่งประแจ 2 ชนิดแรกทําไม่ได้หรือไม่สะดวก เช่น ประแจบล็อก (Socket Wrench) และ ประแจแอล (Set Screw Wrenches) เป็นต้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

70 จาก 113

การใช้งาน 1) เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปากและความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้าม ให้ยาวกว่าปกติ 2) ปากของประแจต้องไม่ชํารุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว 3) เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวน๊อตหรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดีและคลุมเต็ม หัวน๊อต 4) การจับประแจสําหรับผู้ถนัดมือขวาให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคงและสมดุล 5) การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อม สําหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย 6) ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจ เหล่านี้ใช้ไม่ได้จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อนแทน 7) การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อนหรือประแจจับแป๊ป ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้ อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ 8) การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวน๊อตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน 9) ปากและด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ํามันหรือจาระบี 10) การขันนอตหรือสกรูที่อยู่ในที่แคบหรือลึก ให้ใช้ประแจบล็อก เพราะปากของประแจบล็อก จะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้ 11) ขณะขันประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวน๊อตหรือหัวสกรู 12) ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวน๊อตหรือสกรูที่จะนํากลับมาใช้อีกเพราะหัวน๊อตหรือ สกรูจะเสียรูป

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

71 จาก 113

1. วิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือไขและขัน 4.1 การบํารุงรักษาเครื่องมือไข 1. เลือกใช้ปากของไขควงให้เหมาะสมกับร่องของหัวสกรู หรือสลักเกลียว เช่น ปากสี่แฉก ร่องของ หัวสกรู ต้องเป็นสี่แฉก ปากแบน ร่องของหัวสกรูต้องเป็นแบบกลม 2. ความหนาของปากไขควงต้องพอดีกับร่องของหัวสกรู 3. การจับไขควงสําหรับผู้ถนัดมือขวาให้ใช้มือขวาจับด้าม ส่วนมือซ้ายจับที่แกนแล้วออกแรงบิดด้วย มือขวา ส่วนมือซ้ายเพียงแต่ประคอง ถ้ากําลังไม่พอให้ใช้ประแจปากตายช่วย 4. ขณะที่ใช้งานไขควงต้องตั้งตรง หรือตั้งฉากกับหัวสกรู เมื่อต้องการคลายสกรูให้บิดไขควงทวนเข็ม นาฬิกา และบิดตามเข็มนาฬิกาเมื่อต้องการขันแน่น 5. ออกแรงบิดไขควงเท่านั้น ไม่ควรออกแรงกดมากเกินไป 6. ไม่ควรถือชิ้นงานไว้ในมือขณะใช้ไขควง เพราะอาจพลาดถูกมือได้ 7. อย่าใช้ไขควงที่ชํารุด เช่น ด้ามแตกหรือร้าว ปากงอหรือบิดงอ 8. การขันสกรูยึดชิ้นงานที่เป็นไม้ควรใช้เหล็กตอกหรือสว่านเจาะนําก่อน 9. ปากไขควงและหัวสกรูต้องไม่มีน้ํามันหรือจาระบี 10. ห้ามใช้ไขควงแทนสกัด เหล็กนําศูนย์ หรือเหล็กงัด 11. ห้ามใช้ค้อนตอกที่ด้ามไขควง ยกเว้นไขควงที่ออกแบบมาให้ใช้ค้อนตอกได้ 12. การใช้ไขควงตรวจไฟตรวจสอบวงจรไฟฟ้า ด้ามของไขควงที่เป็นฉนวนต้องไม่แตกหรือร้าว และไม่ควรใช้ตรวจสอบวงจรที่มีกระแสหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูง 13. ภายหลังใช้งานต้องทําความสะอาดแล้วเก็บไว้ในที่แห้ง ปราศจากน้ํามันหรือจาระบี 4.2 การบํารุงรักษาเครื่องมือขัน 1. การเก็บประแจควรจะมีสถานที่จัดเก็บเฉพาะ ไม่ปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น 2. สถานที่เก็บต้องแห้ง ไม่มีความความชื้น 3. ประแจต้องปราศจากคราบจาระบีหรือน้ํามัน 4. ควรใช้วิธีแขวนไว้กับแผงไม้หรือใส่กล่องเฉพาะ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

72 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือไขและขัน คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบนคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงข้อเดียว 1) ไขควงชนิดใด เวลาไขบิดต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่า เพื่อไม่ให้ปลายไขควงหลุดจากร่อง? ก. ไขควงสตาร์ทติง ข. ไขควงหัวคลัตช์ ค. ไขควงเยื้องศูนย์ ง. ไขควงปากแฉก 2) เป็นไขควงที่ใช้เฉพาะกับตะปูควง หรือสกรูสําหรับงานโลหะแผ่น คือชนิดใด? ก. ไขควงสตาร์ทติง ข. ไขควงหัวคลัตช์ ค. ไขควงเยื้องศูนย์ ง. ไขควงปากแฉก 3) เป็นไขควงที่ใช้สําหรับขันในซอกมุมต่าง ๆที่ไขควงปกติใช้งานไม่ได้ คือชนิดใด? ก. ไขควงสตาร์ทติง ข. ไขควงหัวคลัตช์ ค. ไขควงเยื้องศูนย์ ง. ไขควงปากแฉก 4) ประแจที่สามารถปรับปากประแจให้เล็ก หรือใหญ่ได้ตามความเหมาะสม คือชนิดใด? ก. ประแจบล็อก ข. ประแจแหวน ค. ประแจเลื่อน ง. ประแจปากผสม 5) ประแจชนิดใดต่อไปนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของประแจชนิดพิเศษ? ก. ประแจบล็อก ข. ประแจแหวน ค. ประแจเลื่อน ง. ประแจปากผสม

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือไขและขัน 1. ง 2. ข 3. ค 4. ค 5. ก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

73 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 5 เครื่องมือเจาะ ระยะเวลา : 1 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือเจาะด้วยแรงมือและเครื่องมือเจาะด้วยไฟฟ้าได้ 2. บอกวิธีการใช้งานเครื่องมือเจาะได้ 3. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือเจาะได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือเจาะด้วยแรงมือและเครื่องมือเจาะด้วยไฟฟ้า 2. การเลือกใช้เครื่องมือเจาะ 3. การบํารุงรักษาเครื่องมือเจาะ อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก : สือ่ นําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

74 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

75 จาก 113

ใบข้อมูล บทที่ 5 เครื่องมือเจาะ 1. ชนิดของเครื่องมือเจาะด้วยแรงมือและเครื่องมือเจาะด้วยไฟฟ้า เครื่องมือเจาะ (Drill Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับเจาะชิ้นงานที่เป็นโลหะหรือไม้ เพื่อให้ได้รู ตามที่ ต้ องการ การเจาะรู เล็ กๆ เพื่ อนํ าน๊ อต สกรู หรื อตะปู ยึ ดติ ด อาจจะต้ องใช้ เครื่ องมื อเจาะรู ที่ เรี ยกว่ า “สว่าน” หรือเหล็กตอกรู ถ้าจะเจาะเป็นร่องต่างๆ ต้องใช้สิ่ว เครื่องมือเจาะที่ใช้จะแล้วแต่ชนิดของงานที่ใช้ มีดังต่อไปนี้ 1. สว่านข้อเสือ 2. สว่านมือ 3. เหล็กหมาด 4. บิดหล่า 5. เหล็กตอกรู 6. สิ่ว 7. สว่านมือไฟฟ้า 8. สว่านแท่นตั้งโต๊ะ และตั้งพื้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

76 จาก 113

2. สว่านและการใช้งาน 2.1 สว่านข้อเสือ (Brace drills) ช่างไม้นิยมใช้สว่านเจาะรูปช่วยในการทํารูเดือย ส่วนประกอบของสว่านชนิดนี้มี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่ วนมือจับ (Handle) และที่ ปรับดอกสว่ าน (Chuck) การใช้งานจะหมุนตามเข็ ม นาฬิกา เพื่อยึดให้แน่น แต่ถ้าจะคลายต้องหมุนไปทางซ้าย สามารถใช้งานได้ทั้งแนวราบและแนวตั้ง

2.2 สว่านมือ (Hand drill) สว่านมือหรือสว่านเจาะนํา การเจาะรูชิ้นงานจะเจาะให้เล็กกว่า ¼ นิ้ว สามารถเจาะได้ทั้ง งานเหล็กและงานไม้ ลักษณะแตกต่างกับสว่านข้อเสือ ส่วนที่ใช้หมุนดอกสว่านเพื่อยึดชิ้นงานจะใช้ ส่วนที่เรียกว่า Crank ถ้าใส่ดอกสว่านไม่ดี ดอกสว่านจะหักง่าย สว่านเมื่อสามารถเจาะได้ทั้งแนวราบ และแนวตั้ง

2.3 เหล็กหมาด (Brad awl) รูปร่างคล้ายไขควงเล็ก ๆ ใช้สําหรับเจาะในเวลาที่จะตอกตะปูหรือตะปูเกลียว วิธีใช้จะกดลง ในเนื้อไม้แล้วบิดซ้ายขวา ไม่ควรใช้กับไม้บาง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

77 จาก 113

2.4 บิดหล่า (Gimlet bit) ใช้เจาะรูขนาดเล็ก ๆ ที่ต้องการฝังตะปูควงเข้าไปในเนื้อไม้แข็งมีขนาดตั้งแต่ 1/16” – 3/8”

2.5 เหล็กตอกรู (Hollow punch sets) เหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตู่ ซึ่งเป็นเหล็กกลม มีหลายขนาดปลายแหลมมีรูกลวง ใช้ค้อนตอกสําหรับ เจาะรู สําหรับวัสดุที่ไม่แข็ง เช่น ทองเหลือง (Brass) ทองแดง (Copper) หนัง (Leather) ผ้าใบ (Canvas) และประเก็น (Gasket) ในชุด มีขนาดรู 6 – 38 มม. จะมีแท่นช่วยให้เจาะได้สะดวก รูที่ได้จะออกมา เป็นวงกลม เรียบ

2.6 สิ่ว (Chisels) สิ่ว คือ เครื่องมือในงานไม้ที่เป็นเหล็ก มีความคมจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เมื่อไสไม้ได้ขนาดแล้ว งานที่จะทําต่อไปคือการประกอบไม้เข้าด้วยกันโดยการเจาะ สิ่วจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะมากที่สุด การแบ่งสิ่วตามลักษณะที่สร้างมาในท้องตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) สิ่วที่โคนเรียวแหลมฝังเข้าไปในด้าม เรียกว่า Tang 2) สิ่วที่ด้ามฝังเข้าในโคนสิ่ว เป็นท่อเรียวกลวงข้างใน เรียกว่า Socket แต่ถ้าแบ่งสิ่วตามชนิด และลักษณะของการใช้งาน สามารถแบ่งได้ดังนี้ สิ่วใบหนา (Finer chisel) สิ่วชนิดนี้จะมีใบที่หนาแข็งแรง ใช้งานได้ทั้งหนักและเบาขนาดความกว้างมี ตั้งแต่ 1/8  – 1  (ขนาดสิ่วเรียกตามความกว้าง)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

78 จาก 113

สิ่วปากบาง (Paring chisel) สิ่วชนิดนี้ใบจะบางกว่าชนิดแรก โดยทั่วไป จะใช้สิ่วนี้เซาะไม้ด้วยมือ ไม่นยิ มใช้ตอก ริมของใบสิ่ว จะเอียงลาดลงไปหาอีกด้านหนึ่ง เพื่อทํางานละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 1/8 – 2  สิ่วเข้าโครง (Framing chisel) ตัวสิ่วจะหนักและแข็งแรงมาก ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น การประกอบโครงเรือ สิ่วชนิดนี้จะมีวงแหวนเหล็กทีด่ ้ามเพื่อกันด้ามแตก

สิ่วเดือย (Mortisel chisel) ใช้สําหรับเจาะร่องรับเดือย ลักษณะพิเศษ คือ ตัวสิ่วตั้งแต่ด้ามลงมาที่ตัวสิ่วจะหนา เพราะเวลาเจาะต้องใช้สิ่วงัดเพื่อให้ไม้หลุด ซึ่งใช้กําลังมากกว่าสิ่วธรรมดาที่กล่าวมาแล้ว

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

79 จาก 113

สิ่วทําบัวหรือสิ่วเซาะร่อง เป็นสิ่วที่ใช้ทําบัว เซาะร่อง เจาะรูกลม หรือแต่งไม้ส่วนที่เป็นโค้ง ใบสิ่วมีลักษณะ รูปโค้งเว้า ขนาดใบกว้าง ¼ – 2  มักเรียกสิ่วชนิดนี้ว่า สิ่วเล็บมือ

2.7 สว่านมือไฟฟ้า (ELECTRIC HAND DRILL) เหมาะสําหรับการเจาะไม้ อลูมีเนียม ผนังคอนกรีต และเหล็กที่ไม่หนามาก สว่านแบบนี้มีข้อดี ตรงที่มีระบบการทํางานที่เรียบง่าย มีราคาถูก มีระบบแบบเจาะธรรมดา และระบบเจาะแบบกระแทก โดยในการเจาะคอนกรีตนั้นเราจะเจาะโดยใช้แ ค่การหมุนดอกสว่าน (แบบสว่านปกติ) ไม่ ได้ แต่ ในขณะที่ดอกสว่านหมุนนั้นจะต้องมีการกระแทกร่วมด้วย ในสว่านกระแทกนั้นหัวจับดอกสว่าน (Chuck) จะมีการเคลื่อนที่สลับหน้าหลังไปด้วยอย่างรวดเร็วในขณะที่หมุน โดยเขาจะวัดความเร็วใน การกระแทกเป็น BPM (Blows per minute) แปลว่า การกระแทกกี่ครั้งต่อหนึ่งนาที โดยทั่วไปสว่าน กระแทกจะมีค่าการกระแทกมากกว่า 10,000 BPMs โดยเราสามารถเลือกได้ว่า จะเจาะแบบมีการ กระแทกหรือไม่ก็ได้

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

80 จาก 113

2.8 สว่านแท่นตั้งโต๊ะ และตั้งพื้น )Drill press( เป็นเครื่องมือเจาะแบบเครื่องจักร (Machine Tools) ใช้กําลังขับจากมอเตอร์ไฟฟ้า ที่มีกําลัง ขับสูง เป็นสว่านที่ยึดติดอยู่กับขาตั้ง พื้น หรือโต๊ะทํางาน มีกระทั่งแบบที่มีฐานเป็นแม่เหล็ก สามารถ เคลื่อนย้ายได้ หลักการทํางานคล้ายกับสว่านแบบมือถือ ต่างกันคือ แทนที่จะนําสว่านไปเจาะที่วัสดุ เราจะนําวัสดุมาเจาะที่แท่นสว่านแทน โดยบนตัวเครื่องจะมีคันโยกสําหรับโยกเพื่อกดดอกสว่านลงบน วัสดุที่ต้องการเจาะ สว่านแท่นมีข้อดีกว่าสว่านแบบมือถือ ดังนี้ 1. ใช้แรงน้อยกว่าในการเจาะ เนื่องจากสว่านแท่นมีคันโยกที่ช่วยทุ่นแรง 2. แท่นของสว่านทําให้เราสามารถออกแบบปากกาจับรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยจับ ชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น 3. ดอกสว่านจะทํามุมกับชิ้นงานอย่างคงที่มากกว่ามาก บางรุ่นยังสามารถเอียง แท่นให้ทํามุมกับดอกสว่านในมุมต่างๆ ได้อีกด้วย 4. สว่านแท่นแทบทุกรุ่นมีมอเตอร์ที่ให้กําลังแรงกว่าสว่านแบบมือถือ ทําให้สว่าน แท่นสามารถเจาะด้วยดอกสว่านที่ใหญ่กว่าในวัสดุที่หนากว่าได้ 5. สว่านแท่น มีหัวจับดอกสว่าน (chuck) ที่จับดอกได้ขนาดใหญ่กว่าสว่านมือถือ

สว่า นแท่น ที่ใ ช้กัน ทั่ว ไป จะมีก ารถ่า ยกํา ลัง จากมอเตอร์สู่หัว จับ ดอกสว่า น โดยใช้ระบบสายพานและรอก ซึ่งในหลายรุ่นสามารถปรับความเร็วได้ด้วยการเปลี่ยน ตําแหน่งสายพาน (หลักการเดียวกับการเปลี่ยนเกียร์โซ่จักรยาน) บางรุ่นมีรอกสองชั้น บางรุ่นก็มีรอกสามชั้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

81 จาก 113

3. ดอกสว่านและการใช้งาน อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กับเครื่องมือที่เจาะรูที่กล่าวมาแล้ว ถือว่ามีความสําคัญในการเจาะรูที่จะขาด ไม่ได้ นั่นก็คือ “ดอกสว่าน” เพื่อความเข้าใจในเรื่องการเจาะให้มากขึ้นจะขออธิบายถึงดอกสว่านดังนี้

3.1 ดอกสว่านเจาะ (Drill bit) ใช้กับงานที่ต้องการคว้านเนื้อไม้ภายในวงกลมออก มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นลําตัว และส่วนปลาย ที่เป็นเกลียว ส่วนที่เป็นเกลียวตรงปลายจะแหลมคม เกลียวเล็กๆ ที่ตอนปลายจะฝังและดูดส่วนอื่นให้ เข้าในเนื้อไม้ เกลียวจะมีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ขนาดของดอกสว่านเรียกเป็นเศษส่วน 16 ของนิ้ว เสมอ เช่น ขนาด 3/16  (ขนาดที่กล่าวมานี้หมายถึงขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางรูที่จะเจาะ) ที่ตอนโคน เป็นรูปเรียวเหลี่ยม สําหรับจําปายึดแน่น

3.2 ดอกสว่านขยายหัว (Expansive bit) ลักษณะหัวสามารถขยายหรือลดลงได้โดยเลื่อนตอนปลายของดอกสว่าน ใช้เจาะรูได้ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป สามารถเจาะได้ถึง 4 เหมาะกับงานเจาะรูกุญแจ และงานท่อน้ําผ่าน (บ้านที่มีฝาเป็นไม้)

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

82 จาก 113

3.3 ดอกสว่านรูลึก (Foerstner bit) ลักษณะที่หัวดอกสว่านเป็นสัน มีทั้งที่เป็นเกลียวและไม่เป็นเกลียว ซึ่งจะเจาะได้ลึกเป็นพิเศษ จนถึงเจาะไม่ได้ ใช้เจาะในงานต่างๆ ได้ดี เช่น รูกุญแจ หรือเจาะรูช่องลําโพงวิทยุ เป็นต้น มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ¼ – 2 

3.4 ดอกสว่านเฉพาะงาน (Straight-shank drill) ใช้เจาะรูกลมเล็กๆ ลักษณะของดอกสว่านมีปีก 2 ข้าง เกสรเป็นเกลียว ในแต่ละเกลียวมีร่องสําหรับ เก็บเศษไม้ ขนาดที่มีในท้องตลาดตั้งแต่ 1/16  – ½  (ขนาดจะแบ่งย่อยละเอียดกว่าชนิดอื่นๆ เพื่อการใช้งาน เฉพาะ) ใช้สําหรับเจาะรูเพื่ออุดหัวตะปูในงานเข้ามุมของโต๊ะ เก้าอี้ วงกบ เป็นต้น

3.5 ดอกสว่านอัตโนมัติ (Automatic drill bit) ใช้สําหรับงานเจาะรูเล็ก ๆ เช่นเดียวกับข้อ 3.4 แต่การทํางานจะสะดวกกว่า เมื่อใช้ควบคู่กับ ไขควงอัตโนมัติ คือสามารถใช้มือเพียงข้างเดียวทํางานได้

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

83 จาก 113

การใช้งานของดอกสว่าน เพื่อการเจาะในงานไม้จะทําได้โดยบังคับดอกสว่านด้วยที่บังคับ และปรับความลึกตามที่ต้องการ หรืออาจจะทําที่บังคับใช้เองก็ได้ ดอกสว่านที่นํามาใช้งานต้องเลือกดอกสว่านตามขนาดและชนิดที่เหมาะสม กับงาน ทําเครื่องหมายที่จะเจาะ (เครื่องหมาย +) ไว้แล้วตั้งสว่านให้ได้ฉากกับไม้ที่จะเจาะ เพื่อจะได้แนวตรง ขณะที่เจาะไม้ควรระวังความลึกด้วย เพราะบางครั้งอาจไม่ต้องการเจาะทะลุ เมื่อเจาะได้ความลึกที่ ต้องการแล้ว ให้นําดอกสว่านออกจากรู และเศษผลไม้ต่าง ๆ ออกจากรูให้สะอาดด้วย การเลือกใช้ดอกสว่าน การเจาะรูชิ้นงานที่ เป็นโลหะ เราควรเลือกดอกสว่านที่จะเจาะให้ ถูกชนิดและถู กขนาด โดยมีวิธีการเลือก ดังนี้ 1. ดอกสว่านเจาะโลหะ - ดอกสว่านแบบ HS High Speed ใช้สําหรับเจาะวัตถุ เช่น ไม้ พลาสติก - ดอกสว่านแบบ HSS High Speed Steel ใช้สําหรับเจาะเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กอ่อน เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ มีความแข็งสูงมาก 2. ดอกสว่านเจาะปูน - เลือกขนาดดอกสว่านให้เหมาะสมกับพุก 3. ดอกสว่านเจาะไม้ ดอกสว่านที่ใช้งานจะมีหลายขนาด การนําไปใช้งานต้องคํานึงถึงความเร็วที่จะใช้ เจาะรูด้วย - ดอกสว่าน ขนาดเล็ก ใช้ความเร็วในการเจาะ สูง - ดอกสว่าน ขนาดใหญ่ ใช้ความเร็วในการเจาะ ต่ํา

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

84 จาก 113

4. การแต่งคมเครื่องมือ เครื่องมืองานช่างไม้ที่ดีควรจะต้องพร้อมที่จะใช้งาน ไม่ว่าจะเรื่องความคม การประกอบหรือการใช้ สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ ความคมของเครื่องมือ เพราะส่งผลต่อคุณภาพและความสวยงาม ของชิ้นงาน ดังนั้น การศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องการลับคมของเครื่องมือ จนสามารถปฏิบัติได้ พอสมควรนั้นเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธี การแต่งคมเครื่องมือในงานไม้ที่สําคัญ ๆ ได้แก่ ใบกบ สิ่ว และดอกสว่าน ดังนี้ 4.1 การลับใบกบ ใบสิ่ว เมื่อใบกบ ใบสิ่วไม่คม หรือบิ่น ต้องแต่งและลับให้ได้รูปร่างเช่นเดิมเพื่อให้การทํางานได้สะดวก และถูกต้อง ควรปฏิบัติการลับคมดังนี้ ขั้นตอนที่ 1

ลับด้วยหินลับ สําหรับสิ่วปากบางทั่วไปที่หน้าคมสิ่วตรง การลับโดยการวางสิ่วบน หินลับและดันลับตามทิศทางโดย ออกแรงสม่ําเสมอ การลับลักษณะนี้เหมาะกับสิ่ว ที่มีหน้ากว้าง 1 - 2 นิ้ว

ขั้นตอนที่ 2

สิ่วโค้งหรือสิ่วทําบัว ควรลับในลักษณะให้โค้งไปตามคมสิ่ว คือ ออกแรงดันสิ่วไป ข้ า งหน้ าแล้ วหมุ น คมสิ่ว ตามไปด้ ว ยอย่ า งสม่ํ า เสมอและโค้ ง ด้า นในของสิ่ วที่ ไ ม่ สามารถลับตามแนวราบได้ ควรใช้หินลับที่โค้งเข้ารูปกับคมสิ่ว

ขั้นตอนที่ 3

วางใบกบให้คมตัดแนบกับหินลับตามมุมตัดที่ต้องการ กบล้างมุมตัดประมาณ 45 องศา กบผิวมุมตัดประมาณ 60 องศา ดันใบกบลับกับหินลับโดยออกแรงกดสม่ําเสมอลับ คมให้เอียงอีกประมาณ 5 องศา เพื่อให้คมอยู่ได้นาน

ขั้นตอนที่ 4

ลับด้วยแท่นลับ เพื่อให้ได้มุมตัดของคมนั้นตรงตามต้องการ ควรใช้แท่นจับใบสิ่ว หรือใบกบ ล็อคไว้แล้วลับคมตามปกติ วิธีนี้ควรใช้ หินลับที่หน้าหินเรียบตรงไม่โค้ง หรืออาจจะทําแท่นเองก็ได้ทําจิ๊กแท่นลับขึ้นมาหรือแท่นสําเร็จสําหรับการลับคม ดันตามปกติ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

85 จาก 113

4.2 การลับคมดอกสว่าน เพื่อให้ดอกสว่านที่ใช้เจาะรูไม้มีความคม และเจาะรูไม้เพื่อทํางานได้ง่าย มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

1) เปิ ดสวิ ตช์ เ ครื่ อ งเจี ย ระไนตั้ง โต๊ะ โดยไม่ ยืน อยู่ หน้าล้อหินโดยตรง ต้องยืนอยู่ด้านข้างล้อหินเพราะแรงเหวี่ยง ในการเปิดครั้งแรกมีความแรงมาก และต้องให้หินเจียระไน หมุนนิ่งก่อนจึงทําการเจียระไนลับคมตัด 2) ใช้ มื อ ซ้ า ยจั บ บริ เ วณส่ ว นปลายของดอกสว่ า น ส่ ว นมื อ ขวาประคองอยู่ บ ริ เ วณส่ ว นปลายของดอกสว่ า น โดยที่มือซ้ายวางอยู่บนแท่นรองรับงานหินเจียระไนเมื่อพร้อม จึงเคลื่อนคมตัดของดอกสว่านเข้าหาล้อหินเจียระไนอย่างช้า ๆ 3) เมื่ อ มองจากด้ า นบน ดอกสว่ า นจะทํ า มุ ม กั บ ผิวด้านหน้าของหินเจียระไน 59 องศา (ลับคมทั้ง 2 ข้างให้ คมและเท่ากันก่อน) เคลื่ อนดอกสว่านเข้าสัม ผัส กับล้อหินเจียระไน สังเกตเห็นคมตั ดของดอกสว่านถูกลับจน กระทั้งคมดีแล้ว ให้กระดกปลายคมตัดขึ้นพร้อมกับหมุนบิดดอกสว่านไปตามเข็มนาฬิกา เพื่อเจียระไน ให้เกิดมุมฟรี 8 - 12 องศา

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

86 จาก 113

4) เจียระไนดอกสว่านเอียงทํามุมกับหน้าล้อหิน 59 องศา มุมจิก (Cutting Angle) เป็นมุม รวมที่ปลายดอกสว่าน ซึ่งจะมีขนาดมุมแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่จะนํามาเจาะ เช่น เหล็กเหนียว ทั่วไป จะมีมุมรวม 118 องศา (ครึ่งหนึ่งเท่ากับ 59 องศา) 5) ค่อย ๆ บิดดอกสว่านให้หมุนพร้อมกับออกแรงกดมากขึ้น จะทําให้ได้มุมฟรีด้านหลังคม ตัด ทําเช่นนี้ทั้ง 2 ข้างของคมตัดดอกสว่าน 6) มุมรวมของดอกสว่าน ซึ่งถ้าลับได้มุมที่ถูกต้องความยาวของคมตัดทั้ง 2 ด้านจะต้อง เท่ากัน 7) ขณะลั บต้องนํ าดอกสว่านจุ่มน้ํ าหล่อเย็นบ่อย ๆ เพื่อระบายความร้อน ลั บดอกสว่ าน สลับกันทีละข้าง จนได้ขนาดมุมเท่ากันตามต้องการ

4.3 การบํารุงรักษาเครื่องมือเจาะ วิธีการบํารุงรักษา 1) ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านให้มีสภาพการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ทําความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง 3) ก่อนนําไปเก็บให้ชโลมน้ํามันเครื่องทุกครั้ง 4) มุมฟรีหรือมุมหลบหลังคมตัด ประมาณ 8-12 องศา เป็นมุมที่ลาดเอียงจากด้านหลังของ คมตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวดอกสว่านด้านหลังคมตัดเสียดสีกับงาน 5) มุมคมตัดของดอกสว่านจะมีค่ามุมเป็น 118 องศา เพราะฉะนั้น การทาบคมตัดของดอก สว่านจะต้องวางทาบให้ได้มุม 59 องศากับผิวหน้าของล้อหินเจียระไน แล้วจึงกดดอกสว่านพร้อมกับ หมุนให้ลับช่วงด้านหลังให้เกิดมุมหลบ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

87 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือเจาะ คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบนคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงข้อเดียว 1) ใช้เจาะรูชิ้นงานเล็กกว่า ¼ นิ้ว สามารถเจาะได้ทั้งงานเหล็กและงานไม้ คือสว่านชนิดใด? ก. สว่านมือ ข. สว่านข้อมือ ค. บิดหล่า ง. เหล็กหมาด 2) มีลักษณะใบจะบาง โดยทั่วไปจะใช้เซาะไม้ด้วยมือ ไม่นิยมใช้ตอก ตอนริมของใบสิว่ จะเอียงลาดลงไป หาอีกด้านหนึ่ง เพื่อทํางานละเอียด มีขนาดตั้งแต่ 1/8 – 2  คือสิ่วชนิดใด? ก. สิ่วเดือย ข. สิ่วใบหนา ค. สิ่วเข้าโครง ง. สิ่วปากบาง 3) มีน้ําหนักและแข็งแรงมาก ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น การประกอบโครงเรือ จะมีวงแหวนเหล็กทีด่ ้าม เพื่อกันด้ามแตก คือสิ่วชนิดใด? ก. สิ่วเดือย ข. สิ่วใบหนา ค. สิ่วเข้าโครง ง. สิ่วปากบาง 4) ลักษณะหัวสามารถขยายหรือลดลงได้โดยเลื่อนตอนปลายของดอกสว่าน ใช้เจาะรูได้ตั้งแต่ 1 ขึ้นไป สามารถเจาะได้ถึง 4 เหมาะกับงานเจาะรูกุญแจ และงานท่อน้ําผ่าน คือดอกสว่านชนิดใด? ก. ดอกสว่านเจาะ ข. ดอกสว่านขยายหัว ค. ดอกสว่านเฉพาะงาน ง. ดอกสว่านรูลึก 5) มุมรวมที่ปลายดอกสว่าน ซึ่งจะมีขนาดมุมแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่จะนํามาเจาะถ้าเป็นเหล็ก เหนียวทั่วไป จะใช้มุมรวมเท่าไร? ก. 59 องศา ข. 108 องศา ค. 118 องศา ง. 128 องศา

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือเจาะ 1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ค

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

88 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

ใบเตรียมการสอน บทที่ 6 เครื่องมือจับยึด ระยะเวลา : 3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานโลหะได้ 2. บอกชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานไม้ได้ 3. บอกชนิดเครื่องมือ Clamp Tools สําหรับจับยึดได้ 4. บอกชนิดคีมจับยึดได้ 5. บอกวิธีการเลือกใช้งานเครื่องมือจับยึดได้ 6. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือจับยึดได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานโลหะ 2. ชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานไม้ 3. ชนิดเครื่องมือ Clamp Tools สําหรับจับยึด 4. ชนิดคีมจับยึด 5. การเลือกใช้งานเครื่องมือจับยึด 6. การบํารุงรักษาเครื่องมือจับยึด อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก : สือ่ นําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ 3. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791

89 จาก 113


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

90 จาก 113

ใบข้อมูล บทที่ 6 เครื่องมือจับยึด เครื่องมือที่อํานวยความความสะดวกในการจับยึดชิ้นงาน ได้แก่ ปากกาจับชิ้นงาน (Bench Vise) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปากกาจับงาน เป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งที่ใช้สําหรับประกอบหรือใช้สําหรับงานจับยึด บีบหรืออัดชิ้นงานให้แน่นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานอื่น ๆ เช่น ใช้จับไม้ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ที่ต้องการ ตัด เจาะ ตอก ขัด หรือตะไบ เป็นต้น ปากกาจับชิ้นงานมีหลายชนิด ดังนี้ 1. ชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานโลหะ เป็นปากกาที่ยึดแน่นบนโต๊ะสําหรับใช้งาน ใช้สําหรับจับโลหะให้แน่นเพื่อตัด ขัด เจาะ ตะไบ ลบ คม หรือขันชิ้นงาน ปากกาจับชิ้นงานเป็นเครื่องมือที่จําเป็นอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรรมและงานช่าง เป็ น เครื่ อ งมื อ จั บ ยึ ด ชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง สามารถจั บ ชิ้ น งานได้ อ ย่ า งแน่ น หนาและแข็ ง แรงมากที่ สุ ด มีหลายชนิด ดังนี้ 1) ปากกาช่างกล เป็นปากกาที่มีความแข็งแรงมากกว่าปากกาชนิดอื่น ๆ สามารถทํางานหนักได้ดี ปากกา จะมีปาก 2 ด้าน ด้านหนึ่งจะเป็นปากอยู่กับที่ อีกปากจะเคลื่อนที่มาโดยใช้เกลียว

2) ปากกาจับเจาะ เป็นอุ ป กรณ์ จั บยึ ดที่ ต้อ งทํางานร่ วมกับ แท่น เจาะ ปากกาจับเจาะนี้บ ริเวณปากได้รั บ การออกแบบให้ ส ามารถจั บชิ้นงานกลม และงานเหลี่ยมได้โดยการบากด้านหน้าของปากจั บ ให้มีลักษณะเป็นร่อง มีทั้งแบบธรรมดาและแบบปรับมุมได้ เพื่อใช้สําหรับเจาะรูที่เอียง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

91 จาก 113

3) ปากกาจับท่อแป๊บ ปากกาจับท่อ ก็เหมือนกับปากกาจับของที่ใช้ในโรงงานทั่วไป สามารถเปิดออกได้ โดยมี จุดยึดที่สามารถหมุนได้ มีฟันที่ทําหน้าที่ยึดจับท่อจะทําเป็นร่องรูปตัววีสําหรับใส่ท่อ

2. ชนิดของเครื่องมือจับยึดในงานไม้ ปากกาจั บ ยึ ด ในงานไม้ มี อ ยู่ ห ลากหลายแบบแตกต่ า งกั น ออกไป ขึ้ น อยู่ กั บ ลั ก ษณะของ การใช้งาน เช่น 1) ปากกาหัวโต๊ะ เป็นปากกาที่ยึดแน่นอยู่กับด้านข้างหัวโต๊ะใช้งาน ใช้สําหรับจับไม้ในการตัด

2) ปากกาอัดไม้หรือแม่แรงอัดไม้ เป็นปากกาจับชิ้นงานที่ใช้สําหรับในการอัดไม้เข้าหากันให้แน่น เช่น การอัดพื้น อัดไม้แผ่น อัดประกอบชิ้นงาน มีขนาดความยาวติดเป็นเมตร เช่น 1 เมตร 0.50 เมตร 2.00 เมตร เป็นต้น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

92 จาก 113

3. ชนิดเครื่องมือ Clamp Tools สําหรับจับยึด Clamp Tool แคลมป์ (C, F, G แคลมป์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงานมีขนาด ต่างกันไป ระยะตั้งแต่ 3 นิ้วจนมากกว่า 12 นิ้ว งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว การเข้ามุม ฯลฯ เป็นต้น 1) C - clamp แคลมป์ชนิดนี้มีลักษณะเป็นตัวซี (C) นิยมนํามาใช้งานกัน อย่างแพร่หลายมีหลายขนาด โดยทั่วไปมีมือหมุนเป็นแบบแขน เลื่อนได้ แป้นที่ประกอบติดอยู่บริเวณส่วนปลายของเกลียวจะช่วย ให้แคลมป์สามารถปรับตําแหน่งด้วยตนเอง เมื่อผิวของงานไม่ขนาน และช่วยไม่ให้เกิดการลื่นไถลขณะทําการขันให้แน่น 2) แคลมป์จับไม้ชนิดมือกด แคลมป์จับชิ้นงานชนิดมือกด เป็นแคลมป์จับ ชิ้นงานมีแรงบีบสูงสุด 250 กก. แผ่นรองหน้าสัมผัส เป็ น ยางเพื่ อ ช่ ว ยป้ อ งกั น พื้ น ผิ ว ชิ้ น งานจากแรงบี บ สามารถถอดออกได้ซึ่งมีความสูง 95 มม. เต็มระยะ ความลึกของแคลมป์ แผ่นรองหน้าสัมผัสสามารถปรับ องศาได้ทั้ง 2 ด้าน ตามมุมและรูปร่างของชิ้นงาน 3) แคลมป์จับไม้ชนิดเข้ามุม เป็นแคลมป์เข้ามุมของใช้สําหรับยึดจับชิ้นงาน เพื่อเข้ามุมฉากต่างๆ โครงสร้างทําจากเหล็ก ทําให้ สามารถยึดจับได้แข็งแรง สามารถจับชิ้นงานกว้างไม่ เกิน นิ้ว (57 มม.) 4) F – clamp ทําจากเหล็กอย่างดี เหล็กหนาแข็งแรง ปากสําหรับจับ ชิ้นงานทําจากเหล็กหล่อไม่หลุด ใช้งานทนทานยาวนาน ด้ามจับ ใหญ่ จับถนัดมื อ เกลี่ยวเร่ งขนาดใหญ่ช่วยให้จับยึดชิ้ นงานได้ รวดเร็ว

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

93 จาก 113

5) G – clamp แคลมป์จับชิ้นงาน ผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง แข็งแรงทนทาน ด้ามขันผลิตด้วยความปราณีต เกลียว ละเอี ย ด รองรั บ แรงบี บ อั ด ไม้ ไ ด้ ม หาศาล เหมาะ สําหรับงานไม้และงานโลหะ

6) Toggle clamp (แคลมป์นก) ยึดจับชิ้นงานเพื่อความแม่นยํา และยึดจับชิ้นงานที่ชิ้นเล็ก ๆ เพื่อความปลอดภัย และยัง สามารถจับยึดชิ้นงานเข้าจิ๊ก เพื่อสะดวกในการทํางานที่เร็วขึ้น และลดปัญหาจากตําหนิที่เกิดขึ้น ในขณะถอนตะปูหรือเกลียวปล่อยออกหลังการยึดกับจิ๊กได้อีกด้วย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

94 จาก 113

4. ชนิดคีมจับยึด คีม เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสําหรับจับ ยึด ตัด สิ่งต่าง ๆ เช่น โลหะแผ่นบาง สายไฟฟ้า ท่อ ขนาดเล็กและเส้นลวด เป็นต้น มีการนํามาใช้มากในโรงงานโลหะแผ่น งานซ่อมวิทยุ หรืออิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ คีมมีหลายชนิด แต่ที่สําคัญมีดังนี้ 1) คีมจับท่อแป๊บ ผลิตจากเหล็กหล่อเหนียว คุณภาพสูง โครง I-BEAM ทนต่อแรงบิดได้สูงและน้ําหนักเบา ด้ามจับลักษณะเรียวและใหญ่ด้านท้าย ทําให้จับถนัดมือ ไม่ลื่นหลุดมือขณะทํางาน และป้องกัน การต่อด้ามรูด้านท้าย สามารถแขวนได้อย่างสะดวก ใช้สําหรับจับท่อ

2) คีมคอม้า คีมคอม้า (Straight pipe wrench) เป็นประแจที่ปรับขนาดได้ สําหรับใช้ในงานขันท่อ โลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ประแจชนิดนี้ออกแบบให้ฟันของประแจที่หน้าสัมผัส กินเข้าไปใน ผิวสัมผัสในขณะใช้งาน เพื่อให้จับชิ้นงานได้แน่นหนา จึงไม่เหมาะสําหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทํา ให้หัวน็อตเสียหาย

3) คีมปากขยาย คีมปากขยายที่เปลี่ยนจุดฟัลครัม (จุดหมุนที่จุดอ้า หุบ) ได้หลายขนาด ใช้ได้ทั้งกับของเล็ก หรือเลื่อนจุดหมุนออกมาให้จับของใหญ่ได้

4) คีมตัดข้าง (คีมปากจิ้งจก) คีมปากจิ้งจก ถูกใช้ในงานไฟฟ้าบริเวณที่แคบ ขนาดเล็ก ต่อสายไฟรวม ตัดสายไฟขนาด เล็กได้ด้วย การเลือกใช้คีมปากจิ้งจกควรพิจารณาฉนวนที่ห่อหุ้มด้ามจับของคีมว่ามีความแข็งแรง หนา และปลอดภัย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

95 จาก 113

5) คีมปากยาว เป็นคีมที่ใช้ในการจับชิ้นงานขนาดเล็ก ใช้ในการตัดขาอุปกรณ์ เช่น ขาตัวต้านทาน ขาตัวเก็บ ประจุ เป็นต้น บางทีอาจจะใช้ในการขันน๊อต สกรูที่มีพื้นที่จํากัด ข้อควรระวัง ปากของคีมจับไม่ควรใช้ในการงัดสิ่งของ เพราะจะทําให้ปากของคีมหักเสียหายได้

6) คีมตัด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสายไฟ สายไฟได้

ตัดขาอุปกรณ์ และบางทีสามารถใช้ในการปลอก

7) คีมตัดหัวตะปู ใช้ในการตัดหัวตะปู ปากตัดมีความแข็งแรงมาก

8) คีมตัดปากนกแก้ว คีมตัด (ปากนกแก้ว) ใช้สําหรับ ตัดลวด หรือตะปู ทั้ง เฮดพิน อายส์พิน ที่แข็งจนใช้กรรไกร ตัดไม่ได้ ให้หยอดน้ํามันทุกครั้งหลังใช้แล้วเพื่อไม่ให้สนิมเกาะตรงแถวปากคีม

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

96 จาก 113

9) คีมล็อค คีมล็อคเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ จะให้แรงบีบกว่าหนึ่งตันในอุ้งมือของผู้ใช้ทั้งยังสามารถ ปรับระยะให้บีบวัตถุใด ๆ ตั้งแต่เล็กจิ๋วเรื่อยขึ้นไปถึงขนาด 1 ½ นิ้ว ฟันหยักและแรงบีบมหาศาล ช่วยให้คีมล็อคสามารถจับวัตถุที่มีพื้นผิวไม่สม่ําเสมอหรือหัวน็อตที่เยินสิ้นสภาพไปแล้ว กลไกล็อค จะช่วยให้ฟันหยักบีบวัตถุทิ้งคาไว้ได้โดยผู้ใช้ปล่อยมือไปทํางานอย่างอื่นได้ แรงกดบนด้ามจะส่ง แรงบีบเพิ่มไปหลายเท่าบนฟันหยัก

10) คีมล็อคพลาสติก เครื่องมือประเภทมือจับชนิดหนึ่งมี 2 ขาคล้ายกรรไกร ใช้สําหรับคีบ จับ ตัด ดัด งอโค้ง ของต่าง ๆ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่ทําด้วยเหล็ก หากเป็นคีมชนิดที่ใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีด้ามหุ้ม เป็นพลาสติกที่เป็นฉนวนไฟฟ้า

11) คีมถอดแหวนล็อค ใช้กับงานที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่ ดังนั้น เพื่อให้การเคลื่อนที่เป็นไปด้วยดี โดยไม่ เลื่ อ นหรื อ หลุ ด ออก ซึ่ ง จํ า เป็ น ต้ อ งมี แ หวนล็ อ ค และเพื่ อ ให้ ก ารถอดใส่ ส ะดวกและรวดเร็ ว จึงจําเป็นที่จะต้องใช้คีมในการช่วยถอด

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

97 จาก 113

5. การเลือกใช้งานเครื่องมือจับยึด 1) เลือกใช้อุปกรณ์จับยึดให้ตรงวัตถุประสงค์การใช้งาน 2) เลือกใช้คีมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคีมชนิดนั้น ๆ เช่น คีมตัดไม่เหมาะกับการใช้จับ คีมตัด สายไฟฟ้าไม่เหมาะที่จะใช้ตัดแผ่นโลหะ เป็นต้น 3) ฟันที่ปากของคีมจับต้องไม่สึกหรอ ส่วนปากของคีมตัดต้องไม่ทื่อ 4) การจับคีม ควรให้ด้ามคีมอยู่ที่ปลายนิ้วทั้ง 4 แล้วใช้อุ้งมือและนิ้วหัวแม่มือกดด้ามคีมอีกด้าน จะทําให้มีกําลังในการจับหรือตัด 5) การปอกสายไฟฟ้าควรใช้คีมปอกสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดของรูปเท่ากับขนาด ของสายไฟฟ้าพอดี ส่วนการตัดสายไฟฟ้าหรือเส้นลวดที่ไม่ตอ้ งการให้โผล่จากชิ้นงาน 6) ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่หรือแข็งเกินไป แต่ให้ใช้กรรไกรแทน 7) ไม่ควรใช้คีมขันหรือคลายหัวน๊อต เพราะจะทําให้หัวน๊อตชํารุด 8) ถ้าต้องจับชิ้นงานให้แน่นควรใช้ คีมล็อค 9) ถ้าชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ควรใช้คีมปากขยาย การใช้คีมที่ปากเล็กจะไม่มีกําลังที่จะจับชิ้นงาน ให้แน่น เพราะด้ามของคีมจะถ่างมากไป 10) ถ้าต้องการเก็บคีมไว้นาน ควรหยอดน้ํามันที่จุดหมุนของคีม และควรมีการหยอดน้ํามันเป็นระยะ 11) หลังจากเลิ กใช้งานประจําวัน ควรเช็ดทําความสะอาด แล้วเก็บไว้ ในที่ที่จัดเตรียมไว้หรือ ที่ปลอดภัย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

98 จาก 113

6. การบํารุงรักษาเครื่องมือจับยึด การบํารุงรักษาปากกาจับยึดในงานโลหะ 1) ไม่ควรใช้ปากการองรับเหล็กเพื่อทุบ จะทําให้ปากกาแตกหักได้ง่าย 2) ทําความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน หลังจากทําความสะอาดปากกาจับชิ้นงานเสร็จ ให้ชโลมด้วยน้ํามันเพื่อป้องกันสนิม 3) เมื่อเลิกใช้งานขันปากกาเข้าไปให้มิดชิด การบํารุงรักษาปากกาจับยึดในงานไม้ 1) เมื่อเลิกใช้ให้เลือ่ นปากกาเข้าชิดกัน แล้วขันเกลียวให้ชิด 2) ทําความสะอาดทุกส่วนของปากกาจับชิ้นงาน หลังจากที่ทาํ ความสะอาดปากกาจับชิ้นงาน เสร็จให้ชโลมน้าํ มัน และทาจารบีที่เกลียวของปากกาจับชิ้นงาน 3) เลื่อนหน้าจับไม้ด้านท้ายเข้าหาด้านหน้า แล้วขันเกลียวให้หน้าทั้ง 2 ชิดกัน 4) ไม่ใช้ปากกาอัดไม้เป็นที่รองรับในการทุบเหล็ก หรือทุบตะปู การบํารุงรักษา Clamp Tool 1) หน้าสัมผัสจับงานให้เรียบอยู่เสมอ 2) เกลียวทาจาระบีเสมอ 3) อย่าใช้แรงอัดมากเกินไป อาจทําให้หักได้ 4) ไม่ใช้รองรับในการทุบเหล็กหรือตะปู 5) ต้องคอยทําความสะอาด และหยอดน้ํามันกันเสนิมอยู่เสมอ การบํารุงรักษาคีม 1) ไม่ควรใช้คีมตัดในการตัดวัสดุที่มีความแข็ง ตัวตะปู สกรู หรือสายไฟขนาดใหญ่ เพราะ อาจทําให้คีมหมดสภาพความคม หรือชํารุดเสียหายได้ 2) ปากของคีมจับไม่ควรใช้ในการงัดสิ่งของ เพราะจะทําให้ปากของคีมหักเสียหายได้

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน

99 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือจับยึด คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบนคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงข้อเดียว 1) เป็นอุปกรณ์จับยึดที่ต้องทํางานร่วมกับแท่นเจาะ บริเวณปากได้รับการออกแบบให้สามารถจับ ชิ้นงานกลม และงานเหลี่ยมได้ คือปากกาชนิดใด? ก. ปากกาช่างกล ข. ปากกาจับเจาะ ค. ปากกาจับท่อแป๊บ ง. ปากกาหัวโต๊ะ 2) สามารถหมุนเปิดออกได้ โดยมีจุดยึดที่สามารถหมุนได้ มีฟันที่ทําหน้าที่ยึดจับท่อจะทําเป็นร่อง รูปตัววีสําหรับใส่ท่อ คือปากกาชนิดใด? ก. ปากกาช่างกล ข. ปากกาจับเจาะ ค. ปากกาจับท่อแป๊บ ง. ปากกาหัวโต๊ะ 3) เป็นปากกาจับชิ้นงานที่ใช้ในการอัดไม้เข้าหากันให้แน่น เช่น การอัดพื้น อัดไม้แผ่น อัดประกอบ ชิ้นงาน คือปากกาชนิดใด? ก. ปากกาช่างกล ข. ปากกาจับเจาะ ค. ปากกาจับท่อแป๊บ ง. ปากกาอัดไม้ 4) ใช้ยึดจับชิ้นงานเพื่อต้องการความแม่นยํา และยึดจับชิ้นงานที่ชิ้นเล็กๆ เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ยังสามารถจับยึดชิ้นงานเข้าจิ๊ก เพื่อสะดวกในการทํางานที่เร็วขึ้น คือแคลมป์ชนิดใด? ก. Toggle clamp ข. C - clamp ค. F – clamp ง. G – clamp 5) จะให้แรงบีบกว่าหนึ่งตันในอุ้งมือของผู้ใช้ทั้งยังสามารถปรับระยะให้บีบวัตถุใด ๆ ตั้งแต่เล็กจิ๋วเรื่อย ขึ้นไปถึงขนาด 1 ½ นิ้ว คือคีมชนิดใด? ก. คีมตัดหัวตะปู ข. คีมตัดปากนกแก้ว กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 100 จาก 113

ค. คีมล็อค ง. คีมล็อคพลาสติก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 101 จาก 113

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือจับยึด 1. 2. 3. 4. 5.

ข ค ง ก ค

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 102 จาก 113

ใบเตรียมการสอน บทที่ 7 เครื่องมือไสและตกแต่ง ระยะเวลา : 2 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ : 1. บอกชนิดของเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยมือ และเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยไฟฟ้าได้ 2. บอกวิธีการเลือกใช้งานเครื่องมือไสและตกแต่งได้ 3. บอกวิธีการบํารุงรักษาเครื่องมือไสและตกแต่งได้ วิธีการสอน : 1. บรรยาย 2. ทํากิจกรรมระหว่างฝึกอบรม หัวข้อวิชา : 1. ชนิดของเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยมือ และเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยไฟฟ้า 2. การเลือกใช้งานเครื่องมือไสและตกแต่ง 3. การบํารุงรักษาเครื่องมือไสและตกแต่ง อุปกรณ์ช่วยฝึก : 1. สื่อการฝึก : สือ่ นําเสนอ เอกสารประกอบการสอน ใบกิจกรรม และใบมอบหมายงาน 2. เครื่องมือ อุปกรณ์ : เครื่องฉาย LCD พร้อมอุปกรณ์ประกอบ 3. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง การมอบหมายงาน : ทํากิจกรรมระหว่างการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล : ทําแบบทดสอบภาคทฤษฎีและการทดสอบภาคปฏิบัติ หนังสืออ้างอิง : 1. คู่มือประจําตัวผู้รับการฝึก 2. คู่มือผู้รับการฝึก โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 3. คู่มือครูฝึกหลักสูตรการฝึกยกระดับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 103 จาก 113

ใบข้อมูล บทที่ 7 เครื่องมือไสและตกแต่ง 1. ชนิดของเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยมือ และเครื่องมือไสและตกแต่งด้วยไฟฟ้า เครื่องมือไสและตกแต่ง (Plane tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้สําหรับลดขนาดหรือตกแต่งผิวหน้างาน ให้เรียบ ก่อนที่จะสร้างเป็นชิ้นงาน สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานออกเป็นใช้แรงคนกับใช้ไฟฟ้า 1.1 เครื่องมือไสและตกแต่งด้วยมือ ตามปกติผิวหน้าไม้จะขรุขระ ถึงแม้จะทําการตัดหรือซอยไม้ด้วยเครื่องมือตัดต่าง ๆ ดังนั้น ก่อนการทํางานจึงต้องปรับแต่งผิวไม้ให้เรียบเสียก่อน วิธีการปรับแต่งไม้ให้เรียบนั้นมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายได้ผลและประหยัดก็คือการปรับด้วยกบ กบไสไม้ เป็นเครื่องมือสําหรับปรับผิวของหน้าไม้ให้เรียบเป็นเครื่องมือที่ใช้แต่งผิวไม้ให้เรียบ ได้ขนาดตามความต้องการ ตัวกบอาจทําด้วยไม้หรือด้วยเหล็ก แบ่งออกได้ ดังนี้ 1) กบไม้ ตัวกบ ทําจากไม้เนื้อแข็งที่ไม่ยืดหรือหดตัวเร็ว ไม้ที่นิยมใช้กันคือ ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้แดง หรือไม้พยุง ขนาดความยาว 16 หนาประมาณ 2 ½ มีร่องเจาะด้านหลังเอียง 45˚ เหลือเนื้อไม้ตอนริม ¼ ความกว้างของร่องจากริมหลังถึงริมหน้า 1 ¾ – 2 และที่ด้านหลัง เจาะรูเป็นวงกลมหรือวงรี ขนาดประมาณ ¾ ไว้ใส่ด้ามจับ ใบกบ ทําจากเหล็กกว้าง 1 ¾ หนาประมาณ 3/16 ยาวประมาณ 6 ½ มีคมที่ ส่วนล่างเพื่อใช้ขูดไม่ให้เรียบ เป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของกบ เหล็กประกับใบ หรือเหล็กประกับกบ อยู่ระหว่างใบกบและลิ้นติดกับใบกบ โดยมี น็อตสกรูยึดติดเหล็กประกันใบนี้ ขนาด 1/8 x 1 ¾ x 4 มีหน้าที่เสริมกําลังตอนปลาย ของใบกบไม่ให้อ่อนหรือบิดในเวลาที่ทําการไส และควบคุมการกินของไม้ เพื่อไม่ให้ไม้ย้อน ลิ่ม เป็นแผ่นไม้ชนิดเดียวกับไม้ที่ทําตัวกบคล้ายหัวขวานแต่บางกว่า ใช้ตอกอัดเข้า ร่องเมื่อใส่ในกบ เพื่อให้ใบกบแน่น ก้านหรือมือจับ ยาวประมาณ 9- 10 รูปวงกลมหรือวงรีช่วยให้จับกบได้เหมาะมือ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 104 จาก 113

2) กบเหล็ก ลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างกับกบไม้ การใช้งานง่ายกว่ากบไม้ ผลงานที่ออกจากการ ใช้กบเหล็ก พบว่ากบเหล็กมีประสิทธิภาพดีกว่า ให้ผลที่แน่นอนและเรียบร้อยกว่ากบไม้ การประกอบและการปรับก็ง่ายกว่า แต่ในเมืองไทยไม่ค่อยนิยมใช้ จึงทําให้ไม่คุ้นกับการใช้ กบเหล็ก ซึ่งดูจะซับซ้อน ยุ่งยาก การปรับด้วยกบ ควรแต่งให้กบกินแต่น้อย ลับใบกบให้คมอยู่เสมอ ควรจับชิ้นงาน ให้มั่นคง การจับกบใช้มือทั้ง 2 จับที่หูกบเหยียดมือให้ตรง สุดแขน น้ําหนักทิ้งมาข้างหน้า โดยยื่นขาออกมารับเพื่อผ่อนแรงส่งออกมาจนสุดชิ้นงาน อาจใช้ทั้งกบผิวหรือกบล้างคู่กัน ก็ได้ตามที่ใช้อยู่ แล้วจึงปรับด้วยการขัดละเอียดด้วยกระดาษทรายต่อไป

การใช้กบไม้และกบเหล็กไสไม้ จําเป็นต้องเรียนรู้ให้ดีก่อนที่จะลงมือไสไม้สักชิ้นหนึ่ง การไสกบใช้มือทั้งสองจับที่มือจับให้ หัวแม่มือทั้งสองกดอยู่ที่หลังของตัวกบ นิ้วชี้ทั้งสองข้างเหยียดขนาบบังคับอยู่ที่ข้างตัวกบ ออกแรงกด ตัวกบด้วยฝ่ามือที่จับ แล้วเสือกกบตรงออกไปข้างหน้า นิ้วชี้ที่เหยียดขนาบข้างตัวกบไว้นั้น ต้องทํา หน้าที่คอยคุมตัวกบให้เลื่อนตรงไปตามทิศทางที่ต้องการการไสกบออกไปนั้น ต้องระวังการวางน้ําหนัก มือให้สม่ําเสมอกัน และให้กบเลื่อนออกไปโดยแนบชิดกับผิวไม้ ตลอดไม่ตะแคงหรือกระดก การยืนไสที่ให้แรงที่ดีที่สุดนั้นขาทั้งสองข้างต้องเหยียดตรง เวลาพุ่งกบออกไปเพียงแต่โน้มตัว และย่อขาตามเท่านั้น และเวลาไสออกไปนั้นแขนทั้งสองต้องคงเหยียดตรงอยู่เสมอกัน จึงจะทําให้กบ เดินได้คงที่ การไสไม้นั้นต้องระวังในเรื่องเสี้ยนไม้ ทิศทางที่ไสกบไสไม้ควรไสไปทางเดียวกับทางของเสี้ยนไม้ นอกจากบางกรณีที่ไม้มีเสี้ยนย้อนไปย้อนมามาก ก็จําเป็นต้องใช้วิธีไสช่วงสั้น ๆ กลับไปกลับมาหรือ ทแยงไปตามเสี้ยนไม้ด้วย ซึ่งตามธรรมดาแล้วใช้วิธีไสออกไปเป็นทางยาว ๆ ยิ่งการไสกบผิวด้วยแล้ว ถ้า ทําได้ควรไสครั้งเดียวตลอดแผ่นจะเป็นการดี การไสล้างนั้นต้องให้กบกินไม้มากกว่าการไสแต่งผิว ใน การไสกบผิ ว นั้ น ต้ อ งระวั ง ให้ ก บกิ น เนื้ อ ไม้ น้ อ ยที่ สุ ด ซึ่ ง การไสที่ ดี ขี้ ก บจะเป็ น เยื่ อ บางๆ เท่ า นั้ น

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 105 จาก 113

1.2 เครื่องมือไสและตกแต่งด้วยไฟฟ้า 1) กบไฟฟ้า เป็นเครื่องมือไสไม้ที่ใช้ไฟฟ้ามีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ผ่อนแรงในการ ทํางาน ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในงานไม้ตกแต่งเครื่องเรือน ส่วนประกอบ 1. มาตราส่วนวัดความลึกการไส 2. ปุ่มปรับความลึก 3. ช่องพ่นขี้กบออก 4. ปุ่มล็อคสวิทช์ เปิด-ปิด (ให้ทํางาน และไม่ทํางาน) 5. สวิทช์เปิด-ปิด 6. สกรูยึดฝาครอบสายพาน 7. ฝาครอบสายพาน 8. แผ่นฐานเครื่องไส 9. ร่องรูปตัว V วิธีใช้กบไฟฟ้าไสไม้ • ตรวจสอบใบกบ ตัวกบไฟฟ้า และสายไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานและ ปลอดภัย • ก่อนไสไม้ทุกครั้ง จะต้องตรวจสอบผิวของชิ้นงานให้ปราศจากตะปูหรือเศษปูน เศษดิน ซึ่งจะทําให้ใบกบหรือท้องกบเสียหายได้ • ยึดชิ้นงานให้แน่น การยึดชิ้นงานด้วยเครื่องหนีบหรือแท่นจับจะมั่นคงกว่าการยึดด้วยมือ • ความสูงโต๊ะไสไม้หรือแท่นรองที่จะวางชิ้นงานที่ทําการไสปรับแต่ง ระยะความสูงที่ พอเหมาะอยู่ระหว่าง 80 – 90 เซนติเมตร • พาดสายไฟที่บนบ่า เพื่อป้องกันไม้ให้สายไฟฟ้าเกะกะขณะทําการไสปรับแต่งชิ้นงาน • ที่ส่วนหัวของตัวกบไฟฟ้าจะมีปุ่มดํา ๆ ปุ่มใหญ่อยู่ 1 อัน (หมายเลข 2) ปุ่มนี้ใช้ สําหรับตั้งให้กบกินมากหรือกินน้อยตามต้องการ หากต้องการให้กินมากก็หมุนเข้าตามเข็ม นาฬิกาเรื่อย ๆ จะกินเพิ่มมากขึ้น ถ้าให้น้อยก็หมุนถอยหลังทวนเข็มนาฬิกา • ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มือจับที่ตัวกบให้กระชับแน่น พร้อมที่จะเปิด-ปิดสวิทช์และปุ่ม ล็อคสวิทช์ควบคุมการทํางานของกบไฟฟ้า • ใช้มืออีกข้างจับที่ปุ่มปรับความลึก และตั้งค่าปรับความลึกที่ขีดหมายเลข 0 (หมายเลข 1) แล้วใช้นิ้วชี้กดสวิทช์เปิดและล็อคสวิทช์ (หมายเลข 4) ให้กบไฟฟ้าทํางานพร้อมที่จะทํา การไสไม้ การปลดล็อคสวิทช์โดยการกดปุ่มสวิทช์เปิด – ปิด (หมายเลข 5) อีกครั้งหนึ่ง • วางกบให้ท้องกบแนบกับชิ้นงานแล้วดันไปข้างหน้า และยกส่วนท้ายดึงกลับ เพื่อทดสอบ ใบกบในการกินชิ้นงาน ถ้าปรากฏว่าใบกบยังไม่กินชิ้นงาน ให้ปรับใบกบให้กินลึกที่ปุ่มปรับ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 106 จาก 113

ความลึกตรงส่วนหัวของตัวกบโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้นที่ละขีดหมายเลข แล้วทดสอบ ไสปรับแต่งจนกระทั้งใบกบสัมผัสและเริ่มกินชิ้นงาน • ทําการไสไม้ โดยดันตัวกบไปข้างหน้า และยกส่วนท้ายดึงกลับ ทําเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดพื้นผิวของชิ้นงานที่ต้องการไส แล้วยกหัวกบขึ้นเล็กน้อย เพื่อมิให้ใบกบกินเนื้อไม้ ตรงส่วนปลายของชิ้นงาน หลังจากนั้นให้ดึงตัวกบกลับเข้าหาตัวโดยออกแรงเพียงเล็กน้อย • การดันตัวกบไปข้างหน้าขณะที่ทําการไสไม้ ควรใช้ความเร็วที่พอเหมาะ หากเร็ว เกินไปจะทําให้เกิดรอยใบกบกินผิวชิ้นงานที่หยาบ และไม่เนียน • ตรวจสอบความเรียบร้อยและเนียน โดยยกชิ้นงานเล็งด้วยสายตา ว่ามีรอยลึกหนา ตื้นเพียงใดแล้วดําเนินการแก้ไข ไสปรับแต่งในจุดนั้น ๆ • ขณะไสไม้จะต้องจับตัวกบให้กระชับไม่ให้ตัวกบส่ายไปมาซึ่งจะทําให้ผิวชิ้นงานที่ไสกบ ตกแต่งไม่เรียบ • ปิดสวิทช์ควบคุมการทํางานของกบไฟฟ้า โดยการกดปุ่มสวิทช์ เปิด – ปิด (หมายเลข 5) เป็นอันเสร็จสิ้นการไปรับแต่งชิ้นงาน 1.3 การลับคมใบกบ การลับคมใบกบไฟฟ้า 1. การตั้ ง ใบกบสองคมนั้ น มั น ไม่ ย าก ปกติ จ ะมี แ ผ่ น พลาสติ ก สามเหลี่ยมเป็นตัวตั้ง การตั้งก็คือ หงายท้องกบขึ้นปรับระดับแผ่นด้านหน้า ให้เท่ากับท้องกบก่อน โดยใช้ไม้บรรทัดเหล็ก วางราบไปกับท้องกบ 2. เมื่อระดับด้านหน้ากับด้านท้องกบเท่ากันแล้ว ให้คลายน็อตยึด ใบกบออกใบกบจะเป็นอิสระขยับได้ ให้หันใบกบให้ปลายคมอยู่ด้านบน 3. ใช้แผ่นสามเหลี่ยมกดใบมีดลงทีละด้านขันน็อตยึดเบา ๆ ย้ายมากด อีกข้างให้ใบกบเสมอกับท้องและด้านหลังแบบได้ระดับพอดี ห้ามต่ํากว่าท้อง กบด้านหลัง และห้ามสูงกว่าท้องกบด้านหลัง ต้องเสมอแบบอย่างแนบสนิท 4. ให้ใบกับส่วนที่เป็นคม สูงเสมอกับระดับท้องกบด้านหลัง โดยที่ใบกบ ไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 107 จาก 113

การลับใบกบไม้ 1. นํากบมาถอดใบกบออกโดยใช้ค้อนไม้เคาะที่ท้ายกบ 2. ใช้ไขควงถอดเหล็กประกับออกจากใบกบ 3. วัดมุมฉากของใบกบด้วยฉากตาย ถ้าไม่ได้ฉากหรือ เสียรูปต้องลับด้วยเครื่องหินเจียระไนให้ได้ฉากและมุมของคม ประมาณ 30 – 35 องศา 4. ลับใบกบกับหินลับด้านหยาบก่อน เมื่อคมบางดีแล้ว จึงลับด้วยหินละเอียด 5. ลับหลังใบกบแล้วกรีดหน้าใบกบ 6. ใส่เหล็กประกับเข้ากับใบกบ ถ้าเหล็กประกับไม่สนิท ต้องเจียระไนปรับแต่งให้สนิทเสียก่อน 7. ประกอบกบและทดลองไสไม้ ข้อควรจํา * การถอดและประกอบกบใช้ค้อนไม้เคาะเบา ๆ * เมื่อประกอบเหล็กประกับกับใบกบควรวางไว้กับพื้นโต๊ะ แล้วจึงใช้ไขควงถอดหรือใส่ * ควรระวังมุมของคมเวลาลับให้ได้มุมตามกําหนด งานประกอบและปรับกบ 1. ขั นสกรู ฝาประกั บใบกบให้ แน่ น โดยปลายฝาประกบห่ างคม ใบกบประมาณ 1.5 มม. 2. ใส่ใบกบเข้าในร่องและใส่ลิ่มไม้ โดยอัดลิ่มให้แน่นเล็กน้อย พอใบกบไม่หลุด 3. หงายตัวกบกลับขึ้น แล้วเล็งดูคมกบที่ยื่นเลย ท้องกบตามต้องการ และไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง 4. ปรับให้ได้ตามต้องการแล้วตอกลิ่มไม้ให้แน่น นําไปใช้งานได้ 1.4 การบํารุงรักษาเครื่องมือไสและตกแต่ง 1) ตรวจสอบใบกบ ตัวกบไฟฟ้า และสายไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย 2) ตรวจสอบส่วนหัวของตัวกบไฟฟ้าจะมีปุ่มสีดํา ปุ่มใหญ่อยู่ 1 อัน ปุ่มนี้ใช้สําหรับตั้งให้กบกิน มากหรือกินน้อยตามต้องการ ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ 3) ตรวจสอบสวิทช์ เปิด ปิด และปุ่มล็อคสวิทช์ควบคุมการทํางานของกบไฟฟ้า – ให้พร้อมใช้งาน 4) เวลาลับคมใบกบ ระวังใบกบโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย 5) ขณะใช้งานระวังอย่าให้กบหล่นลงพื้น เพระอาจแตกเสียหายหรือโดนเท้าได้ 6) เมื่อไสกบไม่ควรตอกลิ่มแน่นจนเกินไปเพราะจะทําให้ขื่อกบเสียหายได้และถอดยาก 7) หลังจากเลิกใช้งานแล้วควรทําความสะอาด และทาน้ํามันที่ท้องกบ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 108 จาก 113

2. สกัด เป็นเครื่องมือสําหรับตัดหรือเฉือนชนิดหนึ่งที่นิยมนํามาใช้งาน กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องนํามาใช้ร่วมกับค้อน ปกตินิยมใช้สกัดใน การตัดเศษโลหะส่วนที่เกินบนผิวโลหะ ใช้ตัดน๊อตหรือสลักเกลียวที่ ถอดไม่ออก ตัดรอยเชื่อมส่วนเกิน ตัดแผ่นโลหะและใช้เซาะร่อง สกัด ทํามาจากเหล็ กกล้ าชั้ นดี มี ความแข็ งแรงมากและเหนียวมากกว่ า เหล็กทั่วๆ ไป มีขนาดความยาวประมาณ 4-8 นิ้ว สกัดสามารถแบ่งได้ ตามชนิดของปากได้ 4 แบบ ได้ดังนี้ 1) สกัดปากแบน (Flat) มีลักษณะปากกว้างและโค้งเล็กน้อยหรือแบน ใช้ในการตัดและเฉือนโลหะทั่วไป

2) สกัดปากจิ้งจก (Cape) ลักษณะจะคล้ายกับสกัดปากแบน แต่จะมีปากแคบกว่าและมุมปลายจะโตกว่า

3) สกัดปากมน (Round Nose) ปากจะถูกเฉือนให้อยู่ในลักษณะคล้ายกับวงรี ใช้สําหรับเซาะร่องกลม ครึ่งวงกลม หรือมี ลักษณะโค้ง

4) สกัดปากเฉียง (Diamond Point) ปากจะถูกตัดเฉียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใช้สําหรับลบความคมของขอบภายในปาก ของสกัดนั้นจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ และต้องให้มีมุมที่ถูกต้องด้วย โดยทั่วไปแล้วมุมที่ปากสกัดจะ มีต่าประมาณ 60-70 องศา

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 109 จาก 113

2.1 การใช้งานสกัดในการเฉือนโลหะ 1) ยึดชิ้นงานให้มั่นคงแข็งแรง 2) จับสกัดให้แข็งแรง อย่างให้แน่นจนเกินไป 3) เอียงสกัดด้วยมุมต่าง ๆ กันให้มีความเหมาะสม โดยเริ่มต้นควรทํามุมกับชิ้นงานให้มาก จากนั้นจึงลดมุมลง แต่อย่าให้น้อยเกินไปเพราะอาจเกิดการไถลได้ 4) เวลาใช้ในการตัดให้ดูที่ปากสกัด อย่าดูที่หัวของสกัด 5) ตอกหัวสกัดด้วยค้อน ซึ่งใช้แรงที่เท่ากันโดยจับค้อนตรงบริเวณปลายด้าม 6) ควรเริ่มเฉือนจากขอบชิ้นงานจนเข้ามาบริเวณกลาง ๆ ข้อควรระวังในการใช้งานสกัด 1) สกั ดที่ หัวบานมีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ด ควรจะตกแต่งให้เรียบร้อยก่อนการใช้งาน เพื่อป้อนกันการลื่นไถลเวลาใช้ค้อนตี 2) เช็ดทําความสะอาดสกัดให้เรียบร้อยเวลามีคราบน้ํามันติด เพราะจะทําจับไม่ถนัด 3) ระวังเศษโลหะกระเด็นเข้าตา ควรมีการป้องกันให้เรียบร้อย

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 110 จาก 113

3. ตะไบ ตะไบเป็นเครื่องมือที่ทําจากเหล็กแข็ง ใช้ในการขัดตกแต่งผิวหรือปาดหน้าชิ้นงานที่ต้องการขจัด เนื้อโลหะทิ้งในปริมาณที่ไม่มากนัก ตะไบมีรูปร่างลักษณะหลายแบบและหลายขนาด แต่ส่วนมากจะ พิจารณาจากหน้าตัดของตัวตะไบ 3.1 ชนิดของฟันตะไบ ก่อนที่จะทราบชนิดของฟันตะไบ โดยทั่วไปควร ทราบก่อนว่า “คมตัด” ของตะไบนั้นมี 4 ลักษณะด้วยกัน 1) ลักษณะคมตัดเดี่ยว (Single-cut) จะเป็น ลั ก ษณะร่ อ งฟั น มี แ ถวเดี ย วซึ่ ง จะทํ า มุ ม กั บ แนวยาวของ หน้าตะไบ 2) ลักษณะคมตัดคู่ (Double-cut) จะแตกต่าง กั บลั ก ษณะแรก คือ ร่ อ งฟั น จะตั ด กัน ปลายคมตั ด จะมี ยอดแหลมสามารถตัดเฉือนวัสดุได้ดีกว่า 3) ลักษณะคมตัดหยาบ (Rasp-cut) ลักษณะของฟันจะเป็นยอดแหลมคล้ายฟันของเครื่องมือ สําหรับตกแต่งไม้ ซึ่งเรียกว่า “บุ้ง” ดังนั้นคมตัดชนิดนี้ใช้แต่งวัสดุอ่อน เช่น อลูมิเนียม ฯลฯ เพื่อทํา เป็นรูปร่างของงานที่ต้องการในขั้นต้นได้เป็นอย่างดี 4) ลักษณะคมตัดเป็นรูปโค้ง (Curved-cut) ลักษณะของฟันชนิดนี้จะเป็นรูปโงมีระยะห่าง ระหว่างฟันมากเวลาใช้งานเศษวัสดุจะไม่ติดร่องฟัน ใช้ทํางานตกแต่ง วัสดุนี้มีลักษณะโค้งนูนจะสะดวกกว่า แบบอื่นมาก 3.2 เทคนิคในการตะไบชิ้นงาน การเริ่มการตะไบ สิ่งแรกที่ควรรู้ คือ ตําแหน่งการวางเท้า และจังหวะการเคลื่อนไหวส่วน ต่าง ๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์และถูกต้องจึงช่วยให้การปฏิบัติงานไม่เหนื่อยหรือเมื่อยล้าเร็วเกินไป ท่ายืนขณะปฏิบัติงานตะไปที่ถูกต้อง เท้าทั้งสองควรอยู่ในตําแหน่งเป็นมุมต่อกัน 30-40 องศา เท้าซ้ายอยู่ใกล้ปากกาและให้เท้าขวาทํามุมกับเท้าซ้าย 70-75 องศา การจับตะไปที่ถูกต้องจะต้องจับด้ามตะไบ (ด้วยมือที่ถนัด) ให้ด้ามตะไบอยู่ในอุ้งมือ โดยที่ นิ้วหัวแม่มืออยู่บนด้ามตะไบให้ชี้ไปข้างหน้าและจับปลายตะไบด้วยมืออีกข้างหนึ่งให้นิ้วมือเรียงและ จับอยู่ด้านในของหน้าตะไบ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 111 จาก 113

4. เครื่องเจียร เครื่ อ งเจี ย รหรื อ เครื่ อ งขั ดสํ าหรั บ เจี ย ระไนเป็ น เครื่ อ งมื อ ปรั บ แต่ ง ผิ ว หน้ าชิ้ น งานให้ ผิ ว งาน ละเอียดตามต้องการ สามารถใช้เพื่อเพิ่มความเรียบ ความมันวาวและการลับคมตัดชนิดต่าง ๆ เครื่องเจียร มีหลายชนิด ดังนี้ 1) เครื่องขัดสายพาน (Belt Grinder) ส่วนที่ทําการขัดวัตถุของเครื่องขัดสายพาน คือส่วนของสายพาน นิยมใช้กับการขัดแต่ง ผิวไม้ ลับมีด โดยเครื่องขัดสายพานนั้นมีหลายขนาด และมีหน้าตาที่หลากหลาย

2) มอเตอร์หินเจียร (Bench Grinder) เป็นเครื่องขัดขนาดเล็กกว่าเครื่องขัดสายพานที่ยึดติดกับพื้น มีหินขัดสองข้าง แต่ทั้งสองข้าง จะมีความละเอียดไม่เท่ากัน

3) เครื่องเจียรไนกลม (Cylindrical Grinder) เป็นเครื่องเจียรขนาดใหญ่ที่มีหัวขัดหลายแบบ ใช้สําหรับผลิตชิ้นส่วนทรงกระบอก สามารถ เจียระไนทั้งผิวนอกและผิวภายในของชิ้นงานให้มีความเที่ยงตรง และคุณภาพความละเอียดของผิว ตามที่ต้องการ

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 112 จาก 113

4) เครื่องเจียรราบ (Surface Grinder) มีทั้งแบบอัตโนมัติและไม่อัตโนมัติ โดยขณะทํางาน ชิ้นงานจะถูกยึดอยู่กับโต๊ะงานระหว่างการขัด ส่วนหินขัดตรงส่วนหัวจะถูกเลื่อนให้ลงมาสัมผัสกับชิ้นงาน โดยชิ้นงานจะเคลื่อนที่ซ้ายขวาระหว่างการขัด เครื่องเจียรราบใช้สําหรับลดขนาดชิ้นงานเป็นครั้งสุดท้ายในกระบวนการผลิต โดยการเฉือนเนื้อวัสดุ โดยการไส เครื่องเจียระไนราบแบ่งการทํางานได้ 2 ลักษณะ คือ 1. เครื่องเจียระไนราบเพลาหมุนล้อหินเจียระไนแนวนอน เหมาะสําหรับปฏิบัติงาน เจียระไนชิ้นงานที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม 2. เครื่องเจียระไนราบเพลาหมุนล้อหินเจียระไนแนวดิ่ง เหมาะสําหรับปฏิบัติงาน เจียระไนพื้นผิวงานในแนวราบ

5) เครื่องลับมีดตัดและเครื่องมือ หรือ เครื่องลับคมเอ็นมิล (Tool and Cutter Grinder) ส่วนใหญ่ใช้สําหรับการลับคมเครื่องมือตัด เจาะต่าง ๆ ต้องการความชํานาญในการใช้ เข้าใจ ลักษณะของเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะทําการลับคม

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 113 จาก 113

6) Jig Grinder เหมาะสําหรับงานเจียรไนชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนและต้องการความแม่นยําสูง เช่น การเจียรงาน ที่มีผิวโค้ง ซึ่งทําได้ยากในเครื่องจักรปกติ และต้องการควบคุมความฉากของผิวเจียร ซึ่งบางครั้งเครื่อง เจียรราบไม่สามารถทําได้ นอกจากนี้เครื่อง Jig Grand นั้นมีจุดเด่น คือ ความเที่ยงตรงของการขึ้นลงใน แนวแกนดิ่ง

7) Gear Grinder เป็นเครื่ องมือขัดในช่ วงท้ าย ๆ ของการผลิ ตเกียรหรือเฟือง เป็นการขั ดที่ มีความละเอียดสูง สามารถทํางานที่มีความละเอียดในการขัดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 1000 inch

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 114 จาก 113

ใบกิจกรรม : เครื่องมือไสและตกแต่ง คําชี้แจง : ให้ผู้รับการฝึกทําแบบทดสอบในใบกิจกรรม โดยให้เลือกกากบาท (X) ลงบนคําตอบที่ถูกต้อง ที่สุดเพียงข้อเดียว 1) กบไม้ส่วนใหญ่จะทํามาจากไม้ที่ไม่ยืดหรือหดตัวเร็ว ไม้ที่นิยมนํามาทํากบไม้ ข้อใดไม่ถูกต้อง? ก. ไม้ชิงชัน ข. ไม้ประดู่ ค. ไม้แดง ง. ไม้สัก 2) การใช้งานง่าย การใช้งานมีประสิทธิภาพดีมาก ให้ผลที่แน่นอน และเรียบร้อย การประกอบและการ ปรับก็ง่าย คือกบชนิดใด? ก. กบไม้ ข. กบเหล็ก ค. กบไฟฟ้า ง. กบผิว 3) มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ผ่อนแรงในการทํางาน ปัจจุบันนิยมใช้กันมากในงานไม้ตกแต่ง เครื่องเรือน คือกบชนิดใด? ก. กบไม้ ข. กบเหล็ก ค. กบไฟฟ้า ง. กบผิว 4) มุมคมของใบกบ ใช้ประมาณกี่องศา? ก. 20 – 25 องศา ข. 30 – 35 องศา ค. 40 – 45 องศา ง. 50 – 55 องศา 5) จากภาพที่กําหนดให้ หมายเลข 2 คือส่วนประกอบใด? ก. ปุ่มปรับความลึก ข. ช่องพ่นขี้กบออก ค. ปุ่มล็อคสวิทช์ เปิด-ปิด (ให้ทํางาน และไม่ทํางาน) ง. สวิทช์เปิด-ปิด

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความรู้พื้นฐานด้านช่าง (Technical Literacy) โมดูลที่ 5 การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ทั่วไปในการทํางาน 115 จาก 113

ใบเฉลยกิจกรรม : เครื่องมือไสและตกแต่ง 1. ง 2. ข 3. ค 4. ข 5. ก

กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผูฝ้ ึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทรศัพท์ 0 2245 4360 โทรสาร 0 2245 7791


ความ ค มรู้พนฐาน นื้ นด้านนช่าง โมดู โ ลลการรฝึกที่ 5

ข้อป ปฏิบัตของช่ ขิ างที่ดี

ตรงต่ออเวลา เออาใจใส่หหน้าที่ มีความอดดทน รีบหาความ ห รู้ใหม่ หัดบํารุงรักษาเคครื่องมือ ใฝ่ฝคิดสร้างงสรรค์

รักษาาวินัย สมานนสามัคคี หมั่นฝึกฝนอาาชีพ ใช้วสดุ ัส ประหหยัด ถือกฎฎความปปลอดภัย ยึดมั​ัน่ คุณธรรรม (ภาววนุช)

จัดทําโดย โ กลุ่มงาานพัฒนาระบบการรฝึก สํานั า กพัฒนาาผู้ฝึกและะเทคโนโลลยีการฝึก http://home.dsdd.go.th/te echno/trrainingsyystem www.faccebook.ccom/cbtssystem

O‐2245‐4 4360, 0‐22245‐779 91

กรมมพัฒนาฝีฝีมือแรงงงาน กกระทรวงงแรงงานน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.