CBT Model

Page 1

โมเดลการฝึกตามความสามารถ Competency Based Training: CBT 9/20/2011 โดย คมธัช รัตนคช ผูเขียน


เน


คํานํา การพัฒนาทักษะฝีมือภาคแรงงานของประเทศถือเป็นหัวใจสําคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ อย่ า งประเทศที่ กํ า ลั ง พั ฒ นาอย่ า งประเทศไทย ซึ่ ง มี ผู้ ใ ช้ แ รงงานในภาคส่ ว นต่ า งๆ ทั้ ง ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจบริการ ซึ่งแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มคนที่สําคัญที่จะขับเคลื่อน ให้ภาคอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้า และส่งเสริม สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อแก้ปัญหา ด้านทักษะฝีมือของแรงงานให้สามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างทันเหตุการณ์ และให้ แรงงานมี ม าตรฐานในการปฏิบั ติ ง าน สามารถตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของตลาดแรงงานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก มีหน้าที่คิดค้น และพัฒนา ระบบ รูปแบบและวิธีการฝึกทักษะที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านแรงงาน มีมาตรฐานฝีมือแรงงานและ มาตรฐานการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพต่างๆ ที่สถานประกอบกิจการและภาคอุตสาหกรรมต้องการ กลุ่ ม งานพั ฒ นาระบบและรู ป แบบการฝึ ก กรมพั ฒ นาฝี มื อ แรงงาน จึ ง ได้ จั ด ทํ า รู ป แบบการฝึ ก ความสามารถ(Competency-based Training Model) เพื่อให้หน่วยฝึกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็น แนวทางในการฝึกทักษะฝีมือโดยใช้รูปแบบตามความสามารถ และให้บุคลากร เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้ใช้เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถของผู้รับการฝึกให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการฝึกทักษะฝีมือแรงงาน และมีมาตรฐานสมรรถนะสอดคล้องกับงานและอาชีพต่างๆ ที่สถานประกอบกิจการและภาคอุตสาหกรรมมี ความต้องการ ต่อไป

กลุ่มงานพัฒนาระบบและรูปแบบการฝึก สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


รูปแบบการฝึกตามความสามารถ (CBT: Competency-based Training) โมเดลที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการฝึกตามความสามารถ (CBT) ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย ๑๐ ขั้นตอน ดังนี้ กรอบงาน ๑. Plan (วางแผน)

ADDIE โมเดล Analyses training needs (วิเคราะห์)

ขั้นตอนและรายละเอียด ๑. กําหนดอาชีพและ ตําแหน่งงานเป้าหมาย

ผลลัพธ์(outcomes) ได้อาชีพที่สอดคล้องกับ ความต้องการของ ตลาดแรงงาน และความ จําเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs) ๒. การวิเคราะห์งานหรือ ได้งานหลักและงานย่อย อาชีพและตําแหน่งงาน และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ งานและอาชีพ

Design training and assessment programme (ออกแบบ)

๓. กําหนดความสามารถ ได้ความรู้(K) ทักษะ ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน (S)และคุณลักษณะ(A)ที่ จําเป็นในการปฏิบัติงาน รวมถึงขอบเขต และ เงื่อนในการปฏิบัติงาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ จําเป็นต่างๆในการ ปฏิบัติงานและเกณฑ์ใน การปฏิบัติงานนั้นๆ ๔. การกําหนด -ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คาดหวัง(LO) และผลลัพธ์การเรียนรู้ -วัตถุประสงค์ในการฝึก (LO: Learning -รายการความสามารถที่ Outcomes) ต้องการ -โครงสร้าง ลักษณะของ หลักสูตร/โมดุลการฝึก -วิธีการประเมินการฝึก -รูปแบบเครื่องมือ ประเมินผลการฝึก


๕ กรอบงาน

ADDIE Model

ขั้นตอนและรายละเอียด

๒. DO (จัดทํา)

๕. การพัฒนาหลักสูตร Develop training and assessment material (พัฒนา) การฝึกและโมดุลการฝึก

ผลลัพธ์(outcomes)

-หลักสูตรและโมดุลการ ฝึก -คู่มือการใช้งาน ๖. การพัฒนาชุดการฝึก -ชุดการฝึกและสื่อการ และสื่อประกอบการฝึก ฝึก -คู่มือการใช้งาน -แบบประเมินผลการฝึก -แบบทดสอบภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

Implement training and assessment materials (นําไปใช้งาน/ทดลองใช้งาน)

๗. การทดลองใช้งาน

-รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ หลักสูตรและชุดการฝึก หรือสื่อการฝึกกับกลุ่ม ตัวอย่าง -ได้แนวทางแก้ไขปัญหา

Evaluate training and assessment programme (ประเมินผล)

๘. การประเมินเพื่อ ปรับปรุง

-ได้หลักสูตรและโมดุล การฝึกที่ได้รับการ ปรับปรุงปัญหาต่างๆ -ได้สื่อและชุดการฝึกที่ ได้รับการปรับแก้ไขแล้ว -ได้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง กับผู้เข้ารับการฝึก -ได้แนวทางแก้ไขปัญหา

๓. Check (ตรวจสอบ)

๙. การนําไปใช้งานจริง ๔. (Act) นําไปใช้งาน ๑๐. การปรับปรุงให้ ทันสมัย

ได้หลักสูตรและสื่อ/ชุดการ ฝึกที่มีความทันสมัย (Update)


๖ มีรายละเอียดดังนี้ ๑. ขั้นตอนการพิจารณาและกําหนดอาชีพและตําแหน่งงานเป้าหมาย - พิจารณาจากตําแหน่งงานในแต่ละอาชีพในภาคอุตสาหกรรม - พิจารณาจากหลักสูตรการฝึกอาชีพที่หน่วยงาน (สพภ./ศพจ.) ดําเนินการฝึก เพื่อกําหนดกลุ่มอาชีพหรือตําแหน่งงานที่จะพัฒนาฝีมือแรงงาน ๒. ขั้นตอนการวิเคราะห์งานหรืออาชีพและตําแหน่งงาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัตงิ าน(K) ทักษะที่จําเป็นต้องใช้ ในการทํางาน(S) และคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานนั้น (A) ขอบเขตการปฏิบัติงาน และเงื่อนไขการปฏิบัติงาน เช่น เครื่องมือที่ใช้ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ จุดเน้น ข้อควรระวังและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพื่อวิเคราะห์หาความสามารถ(Competency) ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน ๓. ขั้นตอนการกําหนด ทักษะ(Skills) ,ความรู้(Know ledges) และคุณลักษณะที่จําเป็น ของผู้ปฏิบัติงานนั้น (Attributes) และขอบเขตการปฏิบัติงาน พร้อมระบุเงื่อนไขการปฏิบัติงาน และผล การปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน (Performance Standard : PS) เพื่อกําหนดทักษะ(skills), ความรู้(know ledges) และคุณลักษณะ(Attribute)ที่จําเป็นใน การปฏิบัติงาน ๔. ขั้นตอนการกําหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้(LO: Learning Outcomes) เป็นขั้นตอนการกําหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(LO: Learning Outcomes) และวัตถุประสงค์ การฝึกจากมาตรฐานการปฏิบัติ (PS) เพื่อนํามากําหนดเป็นเกณฑ์การประเมินการฝึกของผู้รับการฝึกตาม ความสามารถ (Performance Criteria) กําหนดเกณฑ์การประเมิน (Assessment Criteria) และวิธีการ ประเมิน (Assessment Method) ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้สําคัญมากและต้องมีการกําหนดอยู่ในหลักสูตร เหมือนกัน เพื่อนํามากําหนดเป็นรายการความสามารถหรือผลลัพธ์เรียนที่ต้องการ(LO) สําหรับนําไป วิเคราะห์เกณฑ์การประเมินและเนื้อหาสาระที่จะฝึกอบรม ๕. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรการฝึก โดยจัดทําเป็นโมดุลการฝึก(Modules of Training) ซึ่ง รายละเอียดของโครงสร้างหลักสูตร และโมดุลการฝึกอาจจะแตกต่างกันไปไปแต่ส่วนใหญ่จะเหมือนกัน เช่น โครงสร้างของสูตรตามความสามารถ (Competency Based Curriculum) ประกอบด้วยรายละเอียดในโมดุลการฝึก เช่น  ชื่อหลักสูตร (Course Title)  คําอธิบาย/รายละเอียดโมดุลการฝึก (Module Description)  ประเภท/ระดับของใบรับรองความสามารถ(Level of Certificate)  ชื่อโมดุลการฝึก(Module Title)  คําอธิบายโดยสรุปของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(Summary of Learning Outcomes)  เกณฑ์การประเมิน(Assessment Criteria)


๗   

เนื้อหา/ประเด็นการฝึก(Content) เงื่อนไขการฝึก/เงื่อนไขการประเมิน(Condition) วิธีการประเมินการฝึก(Assessment Method)

วิธีการได้มาของหลักสูตรอาจจะแตกต่างกันไปหลากหลายวิธีแต่สิ่งที่เหมือนกันคือต้องเป็นการแปลง จากหน่วยความสามารถ (Units of Competency) ให้มาเป็นโมดุลการฝึก (Modules of Training) หรือ หลักสูตรการฝึกตามความสามารถ เช่น กรอบการพัฒนาหน่วยความสามารถเป็นหลักสูตรการฝึก หรือโมดุล การฝึก Competency Standard

Competency –based Curriculum

หน่วยความสามารถ

ชื่อหลักสูตร

คําอธิบายหน่วยความสามารถ

คําอธิบายของเขตหลักสูตร ระดับความสามารถในหลักสูตร

ความสามารถย่อย เกณฑ์การปฏิบัติงาน ขอบเขต/เงื่อนไข การปฏิบัติงาน

ชื่อโมดุลการฝึก ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์การประเมิน เนื้อหาสาระที่ใช้ฝึกครอบคลุม(K,S,A)

หลักฐาน/ผลการปฏิบัติงาน

เงื่อนไขการฝึก/เงื่อนไขการประเมิน วิธีการประเมิน

แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยความสามารถและหลักสูตรการฝึกตามความสามารถ (CBT) ๖. ขั้นตอนการพัฒนาชุดการฝึก และสื่อประกอบการฝึก โดยมีการกําหนดสิ่งจําเป็นทีจ่ ะใช้ในการ ฝึก เช่น - เครื่องมือและอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการฝึก - กิจกรรมการฝึก ใบงาน ใบความรู้ แบบประเมิน (ก่อนการฝึกและหลังการฝึก) - ชุดการฝึกและสื่อการฝึกรวมถึงเอกสารประกอบการฝึกต่างๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการพัฒนาหรือวิธีการพัฒนาหลายรูปแบบแต่ได้ให้คําแนะนําว่า ควรใช้ รูปแบบการพัฒนาชุดการฝึกที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ ADB และที่ประชุมย่อยได้พิจารณามี ๑๑ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. วิเคราะห์งาน ๒. กําหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓. จัดทําแบบทดสอบ


๘ ๔. จัดทําคลังข้อมูลการผลิต ๕. กําหนดคุณสมบัติผู้รับการฝึก ๖. จัดทํารูปแบบและเรียงลําดับการนําเสนอ ๖.๑ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้รับการฝึก ๖.๒ ออกแบบการนําเสนอ ๗. ตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ๘. จัดทํากระบวนการฝึกอบรม ๙. จัดทําต้นแบบของชุดการฝึก (Proto Type) ๑๐. ทดลองและปรับปรุง ๑๑. ปรับปรุงให้ทันสมัย แต่มีวิธีการอื่นๆ หรือรูปแบบการพัฒนาชุดการฝึกอบรมละสื่อการฝึกอีกหลายวิธีที่มีประสิทธิภาพและ ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ๗. ขั้นตอนการนําหลักสูตรหรือโมดุลการฝึกและชุดการฝึกรวมถึงสื่อการฝึกไปทดลองใช้งาน มีการนําไปทดลองใช้งานก่อนใช้จริง ซึ่งมีวิธีการทดลองใช้ที่เหมือนกัน เช่น ทดลองใช้กับผูร้ ับการฝึก ๒ ถึง ๓ ครั้ง โดยกลุ่มทดลอง มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ดังนี้ - ทดลองกับผู้รับการฝึกที่ไม่มีพื้นฐานเลย จํานวน ๖ – ๑๐ (Small Group) - ทดลองกับผู้รับการฝึกที่มีพ้นื ฐานบ้างแล้ว จํานวน ๖ – ๑๐ (Small Group) ๘. ขั้นตอนการประเมินเพื่อปรับปรุง หลักการนําไปทดลองใช้งานกับกลุ่มผู้รับการฝึก นําผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ค้นพบใน ด้านต่างๆ แล้วนําไปใช้งานจริง ๙. ขั้นตอนการนําไปใช้งานฝึกจริง ในการเริ่มใช้งานจริงๆ ในระยะแรกๆ ครูฝกึ ต้องคอยดูแลและคอยช่วยเหลือให้คําแนะนํา อย่างใกล้ชิด สําหรับผู้รับการฝึกบางคนที่มคี วามสามารถด้อยกว่าคนอื่นๆ ๑๐. ขัน้ ตอนการปรับปรุงให้ทันสมัย ปรับปรุงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน


๙ แนวทางการนําระบบการฝึกแบบ Competency Based Training (CBT) ไปใช้ เนื่องจากการฝึกอาชีพมีความแตกต่างจากการศึกษาสายสามัญอย่างยิ่ง เพราะการ ฝึกเป็นการสร้างทักษะฝีมือเพื่อสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในเวลารวดเร็ว จึงได้มีความพยายาม ที่จะสร้างระบบการฝึกแบบ Competency Based Training (CBT) ขึ้น เพื่อใช้ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะ เมื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานมีวัตถุประสงค์สําคัญในการสร้างทักษะฝีมือ และนิสัยอุตสาหกรรมแก่ แรงงาน เพื่อไปประกอบอาชีพ การแนะแนวอาชีพและแนะแนวการฝึก จึงเป็นจุดเริ่มต้นสําคัญของระบบการ ฝึกรูปแบบนี้ ผู้จะเข้าฝึกจะได้รับการทดสอบความถนัด ความสามารถ ความสนใจและความรู้ พื้นฐานทาง อาชีพ ตลอดจนได้รับข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพ เมื่อผู้รับการฝึกสนใจที่จะพัฒนาฝีมือของตนเอง ผู้รับการฝึกสามารถ เลือกรายการความสามารถ หรือรายการสมรรถนะที่จําเป็นต่ออาชีพ (ซึ่งถูกกําหนดขึ้นจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรม) หรือโมดุล การฝึกที่กําหนดขึ้น แล้วผู้ที่จะรับการฝึกก็กําหนดเป็นแผนการฝึกของตนเองได้ หรือฝึกตามแผนการฝึกที่ ร่วมกับครูฝึกวางแผนก็ได้ โดยแต่ละคนจะมีแผนการฝึกแตกต่างกัน เนื่องจากผู้รับการฝึกมีความต้องการฝึกทักษะฝีมือต่างกัน ใช้ระยะเวลาการฝึกก็ไม่เท่ากัน รวมทั้ง ความสามารถของผู้รับการฝึกแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน การฝึกรูปแบบนี้ จึงเปิดโอกาสให้ผู้รับการฝึก แต่ละคน สามารถฝึกเมื่อใดก็ได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการเปิดให้บริการของ สถาบันฯ หรือ ศูนย์ฯ) และ ผู้รับการ ฝึกแต่ละคน สามารถฝึกจบเร็ว ช้าตามความสามารถของแต่ละคนได้ เพื่ อ ให้ ค รู ฝึ ก บุ ค ลากรของหน่ ว ยฝึ ก หรื อ ผู้ รั บ การฝึ ก เองสามารถติ ด ตาม ความก้าวหน้าในการฝึกของผู้รับการฝึกแต่ละคน จึงต้องมี แบบรายงานความก้าวหน้า (Sign-up sheet) หรือ สมุดบันทึกความก้าวหน้าในการฝึกรายบุคคล เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยติดตามผลการฝึกของแต่ละคน ในระบบการฝึ ก แบบ Competency Based Training (CBT) จะเน้นให้ผู้รับการฝึก เรียนรู้ด้วยตนเอง ครูฝึกจึงมีหน้าที่ ออกแบบสื่อการฝึกอย่างง่าย ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้ง จัดเป็นชุดเล็กๆ สอดคล้องตามรายการความสามารถหรือรายการสมรรถนะ และในกลุ่มรายการสมรรถนะที่ กําหนดขึ้น ซึ่งในการนําร่องฯ ได้นําสื่อสิ่งพิมพ์ หรือแบบกระดาษให้ผู้รับการฝึกได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สอดคล้อง ตามรายการสมรรถนะที่กําหนดขึ้น สื่อการฝึกที่ใช้อาจเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ประกอบด้วยรูปภาพพร้อมคําอธิบายสั้นๆ อาจจะเป็น VDOที่มีคุณภาพปานกลาง หุ่นจําลอง สื่อแบบโต้ตอบบรรจุใน CD-ROM หรือสื่อการฝึกบน อินเทอร์เน็ต ก็ได้ โดย สื่อการฝึกจะถูกรวบรวมและจัดวางเป็นหมวดหมู่ ที่แหล่งเก็บรวบรวมสื่อการฝึก (resource center) ให้ง่ายต่อการนํามาใช้ในการฝึกและผู้รับการฝึกสามารถเข้าใช้งานได้ง่ายด้วยตัวเอง ระบบการฝึกรูปแบบ Competency Based Training (CBT) ผู้รับการฝึกแต่ละคนจะ ทํากิจกรรมที่แตกต่างกัน ในช่ว งเวลาเดียวกัน ได้ ดัง นั้น ในโรงฝึกงานจะต้อ งมีการออกแบบการจัด วาง เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การฝึก ให้สะดวกต่อกิจกรรมการฝึกที่หลากหลาย เมื่อผู้รับการฝึกได้ทดสอบผ่านรายการสมรรถนะ หรือรายการความสามารถตามที่ ผู้ รั บ การฝึ ก แต่ ล ะคนได้ ว างแผนไว้ ห รื อ วางแผนร่ ว มกั บ ครู ฝึ ก ก็ จ ะได้ รั บ วุ ฒิ บั ต รแบบ Competency Based Training (CBT)


๑๐ จะเห็นได้ว่าระบบการฝึกรูปแบบนี้ เป็นระบบการฝึกที่ประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบ หลายประการที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน การรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆ ซึ่งในอนาคตเรา สามารถจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยอํานวยความสะดวก ในการบันทึกผลการฝึก เชื่อมโยง ไปยังสื่อการฝึก ข้อสอบ วัสดุฝกึ ต้นทุนการฝึก และอื่นๆ ดังนั้น ในการนําระบบการฝึกรูปแบบ Competency Based Training (CBT) ไปใช้ใน การฝึก ควรตรวจสอบความพร้อมของส่วนประกอบของระบบการฝึกรูปแบบดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย สิ่งต่างๆ สรุปได้ ดังนี้ ๑) เจ้าหน้าที่แนะแนวการฝึกหรือแนะแนวอาชีพ ๒) หลักสูตรที่เป็นกลุ่มรายการสมรรถนะหรือรายการความสามารถย่อย (หลักสูตรที่อิงฐานสมรรถนะ) ๓) แผนการฝึกของแต่ละคน ๔) แบบบันทึกความก้าวหน้าในการฝึกรายบุคคล (sign-up sheet) ๕) สื่อการฝึกที่สนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล ที่ทําเป็นชุดการฝึก ๖) มีแหล่งจัดเก็บและบริหารจัดการสื่อการฝึก ๗) มีการจัดวางเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงฝึกงาน ๘) มีการให้วุฒิบัตรแบบ (Competency Based Training) ๙) มีระบบคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บและบริหารข้อมูลและสื่อ การฝึกแบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึก (Computer-based Training) ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นขั้นตอนและผังดําเนินงาน (Flow Chart) การนํารูปแบบการฝึก ดังกล่าวใช้งาน ได้ดังนี้ มีขนั้ ตอนการฝึก ดังนี้ ขั้นที่ ๑ ระบบการแนะแนว (Career Guidance) ขั้นที่ ๒ การลงทะเบียนการฝึก ขั้นที่ ๓ แนะนําวิธีการฝึก (Training Guidance) ขั้นที่ ๔ การฝึกวิชาพื้นฐานหรือทักษะพื้นฐาน ขั้นที่ ๕ กระบวนการฝึกCBT ขั้นที่ ๖ การฝากฝึกและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ขั้นที่ ๗ การจบหลักสูตร ขั้นที่ ๘ การติดตามและประเมินผลการฝึก เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงสรุปออกมาเป็นกระบวนงานการนํารูปแบบการฝึกไปใช้ดําเนินการ ฝึกอย่างย่อๆ ได้ตาม Flowchart ดังต่อไปนี้


๑๑ แนวทางการนํารูปแบบการฝึก CBT: Competency-based Training ไปใช้ฝึกโดยสรุป การแนะแนวการฝึก / อาชีพ

เลือก รายการความสามารถ /หลักสูตร

วางแผนการฝึก

ลงทะเบียนเข้ารับการฝึก

เข้ารับการฝึกตามแผนการฝึก แต่ละคน(โมดุลการฝึก)

ประเมินความสามารถ

ตามมาตรฐาน ความสามารถที่ กําหนด

ไม่ผ่าน

ผ่าน

ลาออกก่อน กําหนด ฝึกในโมดุลถัดไปจนครบตามที่ หลักสูตรกําหนด

ใบรับรองการฝึกราย สมรรถนะ วุฒิบัตรรับรองสมรรถนะ

ที่มา : เอกสารเผยแพร่โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน ๒๕๔๐-๒๕๔๔ .สํานักงานบริหารโครงการเงินกู้ ADB


๑๒ ในการนํารูปแบบการฝึกที่อิงฐานสมรรถนะไปใช้ฝึกพบว่า บทบาทหน้าที่ของผูร้ ับการฝึกในระบบ การฝึกแบบอิงฐานสมรรถนะ Competency Based Training (CBT) มีความสอดคล้องกับแนวทางที่โครงการ ปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน (๒๕๔๓) ได้ให้ไว้ สรุปได้ดังนี้ ๑) ผู้รับการฝึกไปพบเจ้าหน้าที่ แนะแนวอาชีพ เพื่อทดสอบ ความสามารถ ความสนใจในงานอาชีพ และรับทราบข้อมูลตลาดแรงงานของอาชีพนั้น ๒) ผู้รับการฝึกตัดสินใจจากข้อมูลที่ได้จากเจ้าหน้าที่ เพื่อเลือก สมรรถนะที่ต้องการในแต่ละอาชีพ ๓) ผู้รับการฝึกทําแผนการฝึกของตนเอง ตามรายการสมรรถนะที่ ต้องการ แผนการฝึกประกอบด้วยรายการสมรรถนะ ที่จําเป็นต่ออาชีพนั้น เท่านั้น ๔) ผู้รับการฝึกลงทะเบียนเข้ารับการฝึก ๕) ผู้รับการฝึกทําความเข้าใจวิธีใช้ใบบันทึกความก้าวหน้า ๖) ผู้รับการฝึกเข้าฝึกตามแผนการฝึกที่กําหนดโดยฝึกตามรายกการ สมรรถนะย่อยๆ ตามลําดับที่กําหนดไว้ไม่เกิน ๕ รายการสมรรถนะ ๗) ผู้รับการฝึกใช้สื่อประกอบการฝึกที่ครูฝึกได้จัดเตรียมไว้ ๘) ผู้รับการฝึกสามารถขอคําแนะนํา และขอความช่วยเหลือจากครู ฝึก หรือรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ ๙) ผู้รับการฝึกลงบันทึกความก้าวหน้าในการฝึกรายบุคคล เมื่อฝึก ผ่านแต่ละรายการความสามารถ ๑๐) ผู้รับการฝึกพร้อมรับการประเมินสมรรถนะต่อครูฝกึ เป็นรายบุคคล โดยครูฝึกจะบันทึกรายการความสามารถนั้นๆ ในสมุดบันทึกฯ ตามเกณฑ์สมรรถนะที่กําหนด หากไม่ผ่าน เกณฑ์ที่กําหนด ต้องกลับไปฝึกซ้ําหรือฝึกทบทวน จนกว่าจะผ่าน ๑๑) ผู้รับการฝึกในสมรรถนะหรือโมดุลการฝึกต่อไปจนครบ ตามแผนการฝึกที่กําหนด ๑๑) รับใบวุฒิบัตรรับรองรายการความสามารถ หรือรับรอง ความสามารถ


๑๓ แนวทางการให้การฝึกอบรม (Training Delivery) นอกจากหลักพื้นฐาน 10 อย่าง ของการฝึกรูปแบบฐานสมรรถนะ ที่ให้การฝึก TVET แล้ว ยังมีวิธีการให้การฝึกภายใต้ระบบการฝึกฐานสมรรถนะ ซึงเป็นไปตามรูปแบบการให้การฝึกอบรมทั้ง สองประการ ได้แก่ On The Job และ Off the Job Training ซึ่งเป็นการให้การฝึกอบรมที่ดําเนินตาม มาตรฐานสมรรถนะ/ความสามารถ ที่กําหนดขึ้นโดยภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบกิจการ โดยมีรูปแบบ การให้การฝึกอบรมหรือรูปแบบการฝึก (Training Modalities) ซึ่งออกแบบตามโปรแกรมการฝึก ได้ดังนี้ - วิธีการฝึกแบบควบคู่ หรือ ระบบโรงเรียน-โรงงาน (DTS: Dual Training System) - การฝึกแบบโมดุล (Modular)หรือ การเรียนรู้ด้วยตนเองแบบรายบุคคล(Self-paced learning) ซึ่ง เป็นการฝึกอบรมฐานสมรรถนะ(CBT) ซึ่งผู้เรียนต้องทําตามกระบวนการที่กําหนดในชุดการฝึก โดยครู ฝึกจะต้องอํานวยความสะดวกในการฝึกอบรม - สอนงาน (Peer teaching) หรือ ระบบพี่เลี้ยง(mentoring) เป็นรูปแบบการฝึกที่ให้ผู้เรียนที่ เรียนรู้ได้เร็วและเปิดโอกาสได้ช่วยเหลือให้กับผู้ที่เรียนรู้ได้ช้า - การสอนหน้างาน(Supervised industry training) หรือ การฝึกแบบ On The Job Training ซึ่ง เป็นวิธีการฝึกที่ถูกออกแบบ ให้เกิดความรู้และทักษะแก่ผู้เข้ารับการฝึกให้เกิดประสบการณ์ในงานที่ ต้องการทักษะเฉพาะด้าน - การเรียนรู้ทางไกล(Distance learning) เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่จัดขึ้นกับการศึกษาปกติ ซึ่ง เป็นหลักการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถอยู่ในสถานที่เดียวกัน การเรียน การสอนทางไกลจึงสามารถตอบสนองได้ดี โดยใช้สื่อเสียง สื่อภาพวีดิทัศน์ หรือ ใช้เทคโนโลยีทาง คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร - การเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-based Instruction)เป็นรูปแบบการเรียนการสอน หรือ กลวิธีในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งต้องมีการวางแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และการประเมิน โครงงานทีจ่ ัดขึ้น ซึ่งประยุกต์การปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงๆ


๑๔ บทสรุป โมเดลการฝึกตามความสามารถ(CBT: Competency-based Training) ถูกพัฒนาขึ้นสําหรับใช้ใน การฝึกระบบCBT/CBST โดยใช้หลักการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design: ISD) ด้วยโมเดลต้นแบบ (ID Standard Model) ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง อย่าง ADDIE Model โมเดลการฝึกCBT ซึ่งมี ๑๐ ขั้นตอน เป็นโมเดลต้นแบบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สําหรับให้หน่วย ปฏิบัตินําไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกทักษะฝีมือแรงงานภายใต้ระบบการฝึก CBT/CBST ร่วมกับ กระบวนการอื่ น ๆ ที่ ถู ก พั ฒ นาขึ้ น เช่ น กรอบและแนวทางการพั ฒ นาหลั ก สู ต รตามความสามารถ (Competency-based Curriculum: CBC) และกรอบและแนวทางการพัฒนาสื่อและชุดการฝึกตาม ความสามารถ สําหรับพัฒนาหลักสูตรCBC และชุดการฝึกCBT รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่จําเป็น จึงจะทําให้ ระบบการฝึก CBT เกิดประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ADDIE Model

Analyze

Implement

Evaluate

Design

Develop

โมเดลต้นแบบที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการฝึกตามความสามารถ(CBT) รวมถึงกระบวนการพัฒนา หลักสูตร สื่อและชุดการฝึกCBT



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.