การประเมินความต้องการฝึกอบรมทาง เทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) เอกสารเผยแพร่ตามตัวชี้วัดรายบุคคล
กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
5/28/2012
นายคมธัช รัตนคช ผู้จัดทํา /ผู้เรียบเรียง
1
เรื่องที่2 การประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศ โดยเฉพาะการ ฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา(TVET) เพื่อตอบสนองความเจริญทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้า ของเทคโนโลยี และเพื่อให้เกิดรายได้และเพิม่ ผลผลิตในประเทศให้สงู ขึ้น การพัฒนาความสามารถทางอาชีพ มีการลงทุนสูง ต้องมี งบประมาณเพียงพอ ซึ่งผู้ที่ทาํ หนเที่วางแผนการฝึกอบรม จะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการดําเนินงาน ต้องมี เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อพัฒนาความของคน ในประเทศ
การประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการ อาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) จึงเป็น เครื่องมือที่สําคัญ เพื่อทําความเข้าใจพื้นฐานทางทักษะ ฝีมือในอาชีพต่างๆ และสนับสนุนให้ผรู้ ับการฝึกสามารถ พัฒนาตนเองและตอบสนองต่อความต้องการของ นายจ้างต่อไป การประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการ อาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) เป็น กระบวนการเบื้องต้นที่ใช้สร้างความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบโครงการฝึกอบรม (Training Project) เป็น กําหนดวัตถุประสงค์การฝึกอบรม ที่สามารถสนองตอบความต้องการแรงงานของสถานประกอบกิจการหรือ ภาคอุตสาหกรรมอีกทางหนึ่ง
2
ประเด็นสําคัญในการประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) มีดังนี้ ความต้องการทางสังคมที่เกีย่ วข้องกับนโยบายของชาติ ความต้องการที่จะพัฒนาผูท้ จี่ บการศึกษา และแรงงานทัว่ ไปให้เกิดประโยชน์ ความต้องการแรงงานที่มีทักษะฝีมือของภาคอุตสาหกรรม ความต้องการทางสังคม หรือ ความจําเป็นทางสังคม ความต้องการทางสังคม ได้แก่ นโยบายของชาติ นโยบายการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ซึ่งเป็นความต้องการที่สามารถแก้ปัญหา ได้ด้วยการฝึกอบรม
ความต้องการที่จะพัฒนาผู้ทจี่ บการศึกษา และแรงงานทั่วไปให้เกิดประโยชน์ เป็นความต้องการที่จะพัฒนาผู้ที่สําเร็จการศึกษา และแรงงานทัว่ ไปในภาคอุตสาหกรรม ให้เกิด ประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ ซึ่งมักได้รับอิทธิพล มาจากความต้องการทางสังคม เช่น ครอบครัวและ เพื่อนฝูง ซึ่งทําให้เกิดความสนใจในการประกอบ อาชีพ หากปราศจากความสนใจและแรงผลักดันจาก สิ่งเหล่านี้ การฝึกอบรมอาชีพก็อาจทําได้ยาก
3
ความต้องการแรงงานที่มที ักษะฝีมือของภาคอุตสาหกรรม เป็นความต้องการอันเกิดจากความ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแรงงาน ตลอดจน เงื่อนไข หรือข้อกําหนด กฎเกณฑ์ ระเบียบ ต่างๆ ในการฝึกอบรม ซึ่งได้รับผลกระทบหรือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กรและใน ระดับประเทศ เช่น
ในระดับประเทศ มีการจัดทํานโยบาย หรือกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ มีการสนับสนุน ส่งเสริมการลงทุน ในภาคอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ๆ การสนองตอบต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ตอบสนองต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก ในระดับองค์กรและระดับท้องถิ่น มีการปรับ ประยุกต์ใช้และนําอุปกรณ์ใหม่ๆ มาปรับใช้งาน มีการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น มีการผลิต หรือจัดทําผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีการขยายการส่งออกไปยังตลาดแหล่งใหม่ๆ มีการประสบปัญหาการข่ดแคลนแรงงานฝีมอื มีการปรับปรุงศักยภาพ หรือการเพิ่มความสามารถในการผลิต
4
แหล่งข้อมูลและสถิติทางด้านเศรษฐกิจ ที่นํามาใช้ประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการ อาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) ได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับการจัดประเภท อุตสาหกรรมที่เป็นมาตรฐานแห่งชาติ (National Standard Industrial Classification : NSIC) เอกสารเกี่ยวกับการจัดประเภทอาชีพที่ เป็นมาตรฐานแห่งชาติ (การประเมิน ความต้องการ) (National Standard Classification of Occupational : NSOC) เอกสารเกี่ยวกับการสํารวจกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Survey of Economic Activities : SEA) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความต้องการทางด้านทักษะฝีมือแรงงานในแต่ละกลุ่มอุตสหกรรม (Skills Demand Analysis) เป็นต้น การวางแผนเพื่อการประเมินความต้องการฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) มีกิจกรรมหลัก ดังนี้ การกําหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) เป็นการกล่าวถึงเหตุผล หรือความจําเป็นที่จะต้องมีการ ประเมินความต้องการ ซึ่งจะกล่าวถึงเหตุผล หรือสถานการณ์ ปัจจุบันและสิง่ ที่ผู้จัดทําต้องการให้เกิดขึ้น หรืออธิบาย ถึงปัญญหารด้านแรงงานที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจลักษณะ ของโครงการฝึกอบรม และอาจเป็นประโยชน์ในการออกแบบ หลักสูตรการฝึก ต่อไป
5
การนําเสนอข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการประเมินความต้องการของการฝึกอบรมทางเทคนิคและการ อาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) - ประเภทหรือลักษณะข้อมูลทีน่ ําเสนอขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินความ ต้องการนั้นๆ โดยที่จะมีการตรวจสอบลักษณะหรือสภาพปัญหา และประเมินผลลัพธ์ที่ คาดหวัง(LO) สําหรับการออกแบบและจัดทําหลักสูตร โดยข้อมูลดิบที่จัดเก็บได้จะถูก วิเคราะห์และรายงานผลต่อไป ประเภทของข้อมูล เช่น - ข้อมูลทั่วๆ ไป เช่น อายุ เพศ สัญชาติ วุฒิทางการศึกษา และการฝึกอบรม ประสบการณ์ทํางาน เป็นต้น - ข้อมูลด้านแนวคิด หรือการรับรู้ เช่น คุณค่า ทัศนคติความเชื่อ ความคิดเห็น มุมมอง เป็นต้น - ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่น ข้อมูลเฉพาะของบริษัท ได้แก่ ประเภทธุรกิจ จํานวนบุคลากร ผู้ปฏิบัติงาน โครงสร้างอาชีพ/การปฏิบตั ิงานเชิงทักษะ จํานวนพนักงานลูกจ้าง ลักษณะ ความขาดแคลนทักษะ หรือปัญหาปัจจุบัน ความต้องการแรงงานฝีมือในงานประเภท ต่างๆ เป็นต้น การเลือกวิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูล มีวิธีการเก็บข้อมูล ดังนี้ - การสืบค้นข้อมูล งาน วรรณกรรม - การพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย - การอภิปราย หรือประชุมกลุ่ม ย่อย - การสัมภาษณ์รายบุคคล - การสํารวจทางโทรศัพท์ - การสํารวจทางไปรษณีย์ หรือ ไปรษณีญ์อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต - การเฝ้าสังเกตการณ์
6
การกําหนดลําดับความสําคัญและการเสนอกิจกรรมหรือการปฏิบัติงานที่ควรดําเนินการอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมินความต้องการของการฝึกอบรมทางเทคนิคและการ อาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) การวิเคราะห์ขอ้ มูล หลังจากการจัดลําดับความสําคัญและ ระดับความสําคัญของความต้องการ ใน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม แล้ว จะมีการดําเนินการดังต่อไปนี้เป็นลําดับ ถัดไป - การเตรียมความพร้อมของรายการความต้องการหรือความจําเป็นสําหรับต้องการของ การฝึกอบรมทางเทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) - การทบทวนรายการลําดับความสําคัญในระดับที่สูงขึ้น เช่น เชิงนโยบายแห่งชาติ - พิจารณาว่า โครงการตามหลักสูตรดังกล่าว มีการคํานึงถึงปัจจัยหลักๆ ดังต่อไปนี้ หรือไม่ เช่น o ราคา หรือ งบประมาณที่ใช้: เพียงพอ เหมาะสมหรือไม่ o มีการสนับสนุนในการบริหารจัดการหรือไม่ o กลุ่มเป้าหมายของโครงการ : ผู้เรียน หรือผูร้ บั การฝึก เพียงพอ เหมาะสมกับ หลักสูตร หรือไม่ o ผู้ได้รับประโยชน์ : สถานประกอบกิจการ หรือภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนความ คาดหวังของภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้น o จํานวนของสถาบันฝึกอบรม หรือองค์กรที่จะนําหลักสูตรไปใช้งาน รวมถึงความ พร้อมของหน่วยงานที่ทําหน้าที่ฝึกอบรม หลักสูตร สื่อ สิ่งอํานวยความสะดวก บุคลากร วิทยาการ/ครูฝึก เจ้าหน้าที่ต่างๆ และกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น
7
การเขียนรายงานและข้อเสนอแนะ หลังจากดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จะต้องดําเนินการจัดทําเป็นรายงานและการนําเสนอ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจ ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นภาพ ผังภูมิ ตาราง กราฟและ ข้อมูลนําเสนออื่นๆ ในรูปแบบรายงาน หรือรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสื่อความหมายและง่ายต่อการทําความเข้าใจ ซึ่งไม่ต้องมีการตีความหรือใช้ทักษะความเข้าใจทางสถิติ ขั้นสูงแต่อย่างใด
รูปแบบรายงานการนําเสนอข้อมูลความต้องการหรือความจําเป็นสําหรับต้องการของการฝึกอบรมทาง เทคนิคและการอาชีวศึกษา (Needs Assessment for TVET) ได้แก่ 1. บทสรุปสําหรับผู้บริหาร(Executive Summary) : เป็นการนําเสนอภาพรวมของ การวิเคราะห์ขอ้ มูลและข้อค้นพบต่างๆ สําหรับผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจ เพื่อให้ทําหน้าที่ ตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น 2. บทนํา: เป็นการนําเสนอเนื้อหาส่วนหลักๆ ของรายงาน ซึ่งจะครอบคลุมถึงบุคคล หลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความต้องการหรือประเมินความจําเป็น รวมถึง การเขียนรายงาน 3. ความเป็นมา : กล่าวถึงที่มาและความสําคัญของการประเมินความต้องการ 4. วัตถุประสงค์ : จะอธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินความต้องการ 5. วิธีศึกษา/วิธีวิจัย: บอกวิธีการศึกษา หรือบอกวิธีวิจัย เช่น การเฝ้าสังเกตการณ์และ การสํารวจ โดยจะมีการนําเสนอเนื้อหากิจกรรมหลักๆ ไว้ด้วย 6. กลุ่มเป้าหมาย: อธิบายถึงประชากรที่ศึกษา หรือกลุ่มตัวอย่างขององค์กร ต่างๆ ที่ ใช้ในครัง้ นี้ 7. เครื่องมือที่ใช้: บอกวิธีการเก็ยรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะบอกไว้ตอนท้ายของรายงาน 8. ผลลัพธ์: อธิบายถึงข้อค้นพบ ผังภูมิ และแผ่นข้อมูลที่นําเสนอได้ ตามลักษณะที่ เหมาะสม
8
9. ข้อเสนอแนะ: เสนอข้อเสนอแนะตามที่ได้ค้นพบ 10. บทสรุป: นําเสนอบทสรุปของรายงาน 11. เอกสารและสิ่งอ้างอิง: แหล่งข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่อ้างอิงถึงและนําข้อมูลมาใช้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความต้องการ
เอกสารและสิ่งอ้างอิง Temasek foundation. (2012). เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง Developing and Managing of Modern Technical and Vocational Education and Training Institutions for the Department of Skill Development,Ministry of Labour, Thailand. Singapore Polytechnic. (2 -10 July 2012 Bangkok.Thailand.)