Occupational Analysis

Page 1

การวิเคราะห์อาชีพ (Occupational Analysis) เอกสารเผยแพร่ตามตัวชี้วัดรายบุคคล กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก

7/16/2012

นายคมธัช รัตนคช ผู้จัดทํา /ผู้เรียบเรียง


1

เรื่องที่3 การวิเคราะห์อาชีพ (Occupational Analysis) การพัฒนาฝีมือแรงงานและจัดการฝึกอบรมเทคนิคในอาชีพต่างๆ ที่ทําให้ ประชาชนและผู้รับการฝึกสามารถมีงานทําและประกอบอาชีพได้ นั้น จะต้อง ทราบถึงความคาดหวังหรือความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการเลือกประกอบ อาชี พ นั้ นๆ ก่ อน โดยที่ เ ราต้อ งทราบรายละเอี ย ดของภารกิ จ (Task) หรื อ ลักษณะการปฏิบัติงานที่บุคคลนั้นๆ จะต้องปฏิบัติในงาน ภารกิจ(Task) ในที่นี้ หมายถึง กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติหรืองานที่สามารถทําให้ สําเร็จได้โดยบุคคลตามลําพัง โดยเป็นกิจกรรมที่มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดลง ซึ่ง กระบวนการในการแยกแยะภารกิจเหล่านี้ เรียกว่า การวิเคราะห์อาชีพ (Occupational Analysis: OA) นั่นเอง คําที่ใช้กับการวิเคราะห์อาชีพ ก่ อนที่จะเริ่ มดํ า เนิน การวิ เคราะห์ อาชี พ (OA) จําเป็นต้องคุ้นเคยกับคําศัพท์ที่นํามาใช้โดยทั่วไป ก่อน โดยคําว่า งาน (Job) เป็นคําที่นํามาใช้ บ่อยครั้ง และมีความเชื่อมโยงกับคําว่า อาชีพ (Occupation) ดังนั้นในบางครั้งก็จะเรียก การ วิเคราะห์อาชีพ (OA) ว่าเป็น การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกัน คําว่า กลุ่มอาชีพ (Occupational Cluster) ถือเป็นกลุ่มของอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของ หรื อ ผู้ ถื อ ครองวั ส ดุ ป ระเภทต่ า งๆ ตลอดจนอุ ป กรณ์ ที่ นํ า มาใช้ รวมทั้ ง ความรู้ และทั ก ษะตามที่ กํ า หนด ตัวอย่างเช่น นักกายภายบําบัด รังสีแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล และอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับกลุ่มอาชีพด้านการ ดูแลรักษาสุขภาพ คําว่า อาชีพ (Occupation) เป็นชุดของบทบาทหน้าที่ และภารกิจ ซึ่งทําให้เกิดขอบเขตของงาน โดยรวมของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทําหน้าที่ในประเภทงานคล้ายคลึงกัน และมีตําแหน่งทางอาชีพในลักษณะเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อาชีพผู้ช่วยพยาบาล ช่างไฟฟ้า และช่างเชื่อม


2

และคําว่า บทบาทหน้าที่ (Duty) ก็คือชุดของภารกิจหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกัน ซึ่ง โดยทั่วไปจะใช้กับประเด็นทั่วไปที่แสดงถึงความรับผิดชอบ โดยมีคําในเชิงปฏิบัติที่ขึ้นต้นด้วย “การ” หรือ “การ ดําเนินการ” หรือ “กําลังดําเนินการ” ตัวอย่างเช่น บทบาทหน้าที่ในลักษณะจําเพาะของช่างเชื่อมส่วนโค้งก็คือ “การเตรียมการชิ้นโลหะสําหรับการเชื่อม” ดังนั้น คําว่า ภารกิจ (Task) ในที่นี้ จึงเป็นกิจกรรมงานที่มีค่า และมีความหมาย ที่ปฏิบัติโดย ผู้ปฏิบัติงานนั้นแต่เพียงลําพัง ภายในกรอบระยะเวลาตามที่กําหนดไว้ โดยภารกิจจําเป็นต้องประสบความสําเร็จ หรือสร้างสัมฤทธิ์ผลเฉพาะของผลผลิต และผลลัพธ์นั้นๆ และจะเป็นกิจกรรมที่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ภายใต้บทบาทหน้าที่ การเตรียมการชิ้นโลหะสําหรับการเชื่อม ช่างเชื่อมอาจจะปฏิบัติภารกิจใน ลักษณะเฉพาะในการทําความสะอาดพื้นผิวของวัสดุแผ่นโลหะที่จะใช้เชื่อม ส่วนคําว่า ขั้นตอน (Step) ถือเป็นการปฏิบัติในลักษณะหนึ่งๆ จากการปฏิบัติในหลายๆ ลักษณะ ซึ่ง จะทําให้ภารกิจงานนั้นสําเร็จลุล่วงไปได้ ตัวอย่างเช่น ขั้นตอนแรกในการทําความสะอาดพื้นผิวของวัสดุแผ่น โลหะที่จะใช้เชื่อม ก็คือ การตรวจสอบภาพโครงร่างของชิ้นงาน และดูคําแนะนําในการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์อาชีพ(Occupational Analysis: OA) คืออะไร การวิเคราะห์อาชีพ (OA) ถือเป็นวิธีการจัดเก็บ ข้ อมู ล อย่ างเป็ นระบบ โดยเป็ น การปฏิ บั ติ ต าม ข้อกําหนดในการปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีพ ในลั ก ษณะจํ า เพาะ ผลผลิ ต ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการ วิเคราะห์อาชีพ ก็คือบัญชีรายการบทบาทหน้าที่ และภารกิจ ซึ่งแสดงให้เห็น เนื้อหาและขอบเขต ของการปฏิ บั ติ ง านในอาชี พ นั้ น ๆ ดั ง ที่ แ สดง ตัวอย่างไว้ใน ภาคผนวก ก และในส่วนของการ วิเคราะห์ภารกิจ (Task Analysis) ก็จะจําแนก ทักษะ ความรู้ และทัศนคติ (Skills, Knowledge and Attitudes: SKA) ซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการประกอบอาชีพ หรือการทําให้งานนั้นๆ สําเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่ง ในส่วนของทักษะ ความรู้ และทัศนคติ (SKA) ที่จําแนกได้นี้ก็คือ เนื้อหาของการฝึกอบรมนั่นเอง การดําเนินการวิเคราะห์อาชีพ ก่อนที่จะเริ่มการวิเคราะห์อาชีพ (OA) จําเป็นต้องกําหนดลักษณะอาชีพให้ชัดเจนก่อน โดยสามารถ ประมวล หรือรวบรวมข้อมูลสําคัญๆ จากการประเมินความต้องการของตําแหน่งงานในวิชาชีพนั้นๆ ตลอดจน ข้อกําหนดเกี่บวกับบทบาทหน้าที่หลักๆ และข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงาน การดําเนินการวิเคราะห์ทาง วิชาชีพหรืออาชีพ (OA) นั้นสามารถดําเนินการได้โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้


3

 การรวมรวมสื่อวัสดุที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชัพนั้นๆ มาใช้ศึกษา และประมวลเกี่ยวกับ ลักษณะคําอธิบายเกี่ยวกับอาชีพ บทบาทหน้าที่ และภารกิจ  การเตรียมการถ้อยคําอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะของอาชีพ บทบาทหน้าที่ และภารกิจ  การจัดการ ปรับปรุง และทํารายการคําอธิบายเกี่ยวกับภารกิจ ที่อยู่ภายในบทบาทหน้าที่แต่ในแต่ละ ด้าน และ  การปรึกษาที่ปรึกษาด้านเนื้อหา เพื่อยืนยันว่า บัญชีรายการภารกิจนั้นๆ สมบูรณ์แบบและถูกต้อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพตามที่ปรากฎอยู่ ยังสามารถหาได้โดยการใช้วิธีการต่างๆ ผสมผสานกัน ตาม ตัวอย่างด้านล่างนี้  การสืบค้นทางวรรณกรรม  การสังเกตการณ์โดยตรง  การสัมภาษณ์  การทําแบบสอบถาม และ  การประชุมสัมมนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆ ขอบเขตและเนื้อหาในเชิงรายละเอียดที่จะต้องจัดเก็บนั้นขึ้นอยู่กับความซับซ้อน และความสําคัญของ อาชีพที่ต้องการวิเคราะห์ โดยทั่ วไปแล้ ว นั กวิ เ คราะห์ ก็ มั กจะเริ่ มต้ นด้ วยการศึ กษาทบทวนวรรณกรรมอย่ างละเอี ย ด เพื่ อ ตรวจสอบว่า การวิเคราะห์ในส่วนของวิชาชีพนั้นๆ มีอยู่บ้างแล้ว ในขณะที่ก็อาจจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพิ่มเติม เพื่อการวิเคราะห์ทางอาชีพนั้น ในส่วนที่เป็นการขยายความพร้อมกับการขยายเพิ่มเติม ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับลักษณะอาชีพที่มีความคล้ายคลึง และเกี่ยวข้องกัน มักจะหาได้จากสิ่งตีพิมพ์ ทั้งในท้องถิ่น และในต่างประเทศ กล่าวคือ  มาตรฐานของทั กษะตามที่ ใช้ อยู่ ในประเทศที่ พั ฒนาแล้ ว อาทิ ออสเตรเลี ย แคนาดา สหราช อาณาจักร และสหรัฐอเมริกา  ลักษณะการจํ าแนก คํ าศั พท์ และความหมายของมาตรฐานอาชี พตามลั กษณะมาตรฐาน (ทั้ง ภายในประเทศ และในต่างประเทศ)  การวิเคราะห์ทางอาชีพจากแหล่งข้อมูลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับต่างประเทศ และ  แนวทางหลักสูตร เอกสารตํารา และสื่อการฝึกอบรมในลักษณะอื่นๆ ที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งใน ระดับท้องถิ่น และระดับต่างประเทศ


4

ทั้งนี้สําหรับลักษณะอาชีพที่กําหนดขึ้นใหม่ หรืออยู่ระหว่างการกําหนด ก็อาจจะยังมามีข้อมูลการ วิเคราะห์ทางอาชีพ และผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์มากนัก ในกรณีเช่นนี้อาจจะใช้รวบรวมข้อมูลผ่านทาง วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้  การตรวจสอบจากคู่มือการฝึกอบรม และคําแนะนําต่างๆ ที่ผู้ประกอบการอุปกรณ์หรือระบบใหม่ๆ นั้นจัดทําขึ้นมา และ  การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวมีทั้งค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ตลอดจนเหตุผลต่างๆ ใน เชิงการปฏิบัติ ทําให้องค์กรโดยส่วนใหญ่พยายามหลีกเลี่ยงแนวการดําเนินงานที่ใช้ระยะเวลายาวนานและซ้ําซาก จําเจ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็ต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีทักษะเฉพาะทางมาสนับสนุนงานดังกล่าว ดังนั้นการพิจารณา แนวทางในการดําเนินการที่เป็นมิตรต่อการปฏิบัติงาน และสามารถขับเคลื่อนหรือสร้างความร่วมมือร่วมของ ประชาชนที่เกี่ยวข้องในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการฝึกอบรม และการศึกษาทางอาชีพและเทคนิค (TVET) ผู้พัฒนาหลักสูตร นักการศึกษา ผู้ฝึกอบรม และผู้แทนภาคอุตสาหกรรม ตารางดังต่อไปนี้ จะแสดงให้เห็นข้อเปรียบเทียบส่วนคุณสมบัติทั้งในแง่ดี (ข้อได้เปรียบ) และข้อเสีย (ข้อจํากัด) ของการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางอาชีพในบางส่วน ดังนั้นจึงต้องพิจารณาเลือกเทคนิคที่เหมาะสม มากที่สุดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรของท่าน เทคนิค การ สังเกตการณ์ ผู้ปฏิบัติงานใน การปฏิบัติงาน

ข้อดี (ข้อได้เปรียบ)

ข้อเสีย (ข้อจํากัด)

 ทําให้สามารถค้นหาสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงาน สามารถทําได้จริง มิใช่กล่าวเพียงลอยๆ ว่าเขาได้ทํา หรือทําได้โดยวาจาเท่านั้น  มีคนที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก  มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางอาชีพนั้นๆ ค่อนข้างน้อย  มีความน่าเชื่อถือได้  ตรวจสอบได้ มีความถูกต้อง  มีความเหมาะสมสําหรับการเป็นคู่มือ ภารกิจ (ซึ่งควรมีระยะเวลาการดําเนินการ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง)

 สามารถสังเกตการณ์/ติดตามได้ เฉพาะตัวอย่างของภารกิจทั้งหมด  ใช้งบประมาณ และระยะเวลา ค่อนข้างมาก  ผูส้ ังเกตการณ์อาจสร้างความตึงเครียด และอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน  ผูส้ ังเกตการณ์ตอ้ งผ่านการฝึกอบรม และมีความสามารถในการจดจําได้ เป็นอย่างดี  มีการเปรียบเทียบกับผู้สังเกตการณ์อื่นๆ ที่มีทักษะ และความสามารถ


5

เทคนิค

การสัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน และหัวหน้าผู้ ควบคุมการ ปฏิบัติงาน

การสัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน และหัวหน้าผู้ ควบคุมผ่านทาง โทรศัพท์ การสัมภาษณ์ ผู้ปฏิบัติงาน และหัวหน้าผู้ ควบคุมการโดย ให้กรอก แบบสอบถาม

ข้อดี (ข้อได้เปรียบ)  มีอัตราการตอบสนองค่อนข้างสูง  บุคคลโดยทั่วไปจะขอพูดมากกว่าการเติม หรือกรอบแบบสอบถาม  คําถามที่ไม่ชัดเจน อาจจะมีการขยายความ เพิ่มเติมได้  จะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่รดั กุม ชัดเจน และมีความสมบูรณ์แบบ  เหมาะสําหรับผูป้ ฏิบัติงานที่มีปัญหาด้าน การสื่อสารและทําความเข้าใจภาษา  สามารถบันทึกการโต้ตอบไว้ในเอกสาร หรือ เครื่องบันทึกเสียง เพื่อนํามาใช้ในการ ทบทวนและตรวจสอบต่อไป  มีอัตราการตอบสนองที่ค่อนข้างสูง จาก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เลือกให้ทําการสัมภาษณ์  ค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธีการอื่นๆ  การเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะเวลาสั้นๆ  สามารถทําการสํารวจประชากรผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มใหญ่ๆ ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก หากใช้การสัมภาษณ์โดยส่งตามไปรษณีย์  การเก็บรวบรวมข้อมูลจํานวนมาก และทํา ได้ในระยะเวลาสั้นๆ  คําตอบที่ได้รับสามารถนํามาวิเคราะห์ ปรับ แสดงเป็นตาราง และสถิตติ ่างๆ ได้

ข้อเสีย (ข้อจํากัด)  ไม่เหมาะกับลักษณะงานที่มีความ ซับซ้อนและใช้ระยะเวลายาวนาน  ใช้งบประมาณ และระยะเวลา ค่อนข้างมาก  ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กบั ความร่วมมือของผู้ให้ สัมภาษณ์  อาจจะส่งผลต่อการแทรกแซงกิจกรรม การประกอบอาชีพได้  จําเป็นต้องอาศัยผูส้ ัมภาษณ์ที่มีทักษะ และมีบุคลิกลักษณะที่น่าสนใจ และ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากการ ขัดขวาง หรือขัดจังหวะ และเป็นไป อย่างสบาย  มีความอ่อนไหวน้อยกว่าการสัมภาษณ์ แบบเผชิญหน้าโดยตรง  จําเป็นต้องใช้ผสู้ ัมภาษณ์ที่ผ่านการ ฝึกอบรม และมีมารยาทในการสื่อสาร ทางโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดี  จําเป็นต้องมีทักษะในการพัฒนา แบบสอบถาม และการรวบรวมข้อมูล  มีแบบสอบถามที่มีรายละเอียด และใช้ เวลาค่อนข้างมาก  มีอัตราการตอบสนองที่ค่อนข้างต่ํา  ผู้ตอบแบบสอบถามต้องมีความรู้ ความสามารถในการทําความเข้าใจ ภาษาได้ในระดับดี และมีคําถามในบาง ข้อที่อาจจะไม่สามารถเข้าใจได้ หรือทํา ให้เกิดความเข้าใจผิด  การตอบแบบสอบถามจะขึ้นอยู่กับ ความทรงจําของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก สําคัญ


6

เทคนิค

ข้อดี (ข้อได้เปรียบ)

ข้อเสีย (ข้อจํากัด)

การประชุมของ กลุ่มคนที่เกีย่ วข้อง โดยเป็นผูเ้ ชี่ยวชาญ ตามประเด็นเฉพาะ ผู้ปฏิบัติงาน และ หัวหน้าผู้ควบคุม (โดยทั่วไปนิยมนํา เทคนิคดาคัม (DACUM) มาใช้ ซึ่งจะอธิบายไว้ใน ส่วนถัดไป)

 เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และมี ค่าใช้จ่ายน้อยมาก  สามารถรวบรวมจัดเก็บข้อมูล และ ตรวจสอบได้ในระยะเวลาสั้นๆ  มีประชาชน หรือผู้ที่เกีย่ วข้องจํานวน ไม่มากนัก

 จําเป็นต้องมีข้อตกลง หรือผูกมัดแบบ เต็มเวลา และอาจจะต้องผละจาก งานมาชั่วขณะ  ต้องใช้ผู้นํากระบวนการทีผ่ ่านการ ฝึกอบรมมาแล้ว มีทักษะการสือ่ สาร ระหว่างบุคคลที่ดี ตอลดจนมีผทู้ ี่ทํา หน้าที่จดบันทึกต่างๆ  ต้องใช้ผเู้ ชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และผู้ปฏิบัติงานที่สามารถสื่อสารได้ อย่างชัดเจน และให้ความร่วมมือ ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มพวกได้

การเตรียมการอธิบายทางอาชีพ และบัญชีรายการภารกิจ ด้วยลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานี้ ทําให้สามารถจัดเตรียมรายการคําอธิบายเกี่ยวกับ อาชีพนั้นๆ ได้ครอบคลุมกับความรับผิดชอบ หรือบทบาทหน้าที่ตามที่มีอยู่ได้มากที่สุด ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ ในการดําเนินภารกิจที่แตกต่างหลากหลายภายใต้บทบาทหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกัน การจัดเตรียมคําอธิบายเกี่ยวกับ อาชีพทําให้เกิดการเน้น หรือพิจารณาถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือบทบาทหน้าที่ของอาชีพนั้นๆ ได้มาก ยิ่งขึ้น ส่วนของร่างเนื้อหาบัญชีรายการภารกิจนั้นประมวลจากการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ และรายการภารกิจ ที่อยู่ในบทบาทหน้าที่แต่ละด้าน โดยจะต้องมีการตรวจสอบ ปรับปรุง และจัดประเภทของภารกิจต่างๆ ให้อยู่ใน กลุ่มบทบาทหน้าที่ซึ่งสอดคล้องเหมาะสมกันในเชิงตรรกะและเหตุผล ตัวอย่างของบัญชีภารกิจได้แสดงไว้ใน ภาคผนวก ก. แล้ว ดังนั้นในระหว่างที่มีการจัดทําบัญชีภารกิจ ขอให้พึงระลึกถึงปัจจัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้  ความสําคัญ-ให้พิจารณว่า หากมีการปฏิบัติภารกิจนั้นๆ ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีการ ปฏิบัติภารกิจนั้นๆ เลย จะก่อให้เกิดสิ่งใดบ้าง ขอให้ระบุความสําคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง อื่นๆ  ความถี่-การปฏิบัติภารกิจนี้จะต้องดําเนินการเป็นประจําทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน  ความยาก-ให้พิจารณาถึง ลักษณะความยากง่ายในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว โดยหากมีการ ประเมินแล้วว่า การปฏิบัติภารกิจดังกล่าวทําได้ไม่ยากนัก ก็อาจจะไม่จําเป็น หริอมีการจัดการ ฝึกอบรมย่อยๆ เท่านั้นๆ ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาถึงปัจจัยองค์ประกอบเหล่านี้ภายหลังจากที่มกี ารเลือกภารกิจสําหรับการ ฝึกอบรมแล้ว ซึ่งในตารางข้างล่างนี้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเขียนคําอธิบายภารกิจของอาชีพนั้นๆ ให้ดี หรือได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น


7

แนวทาง ใช้คําที่สามารถทําความเข้าใจได้ ง่าย ใช้คํากริยาที่แสดงปฏิบัติการที่ ชัดเจน กระชับ ชัดเจน

คําอธิบายภารกิจที่ไม่ค่อยดี การเตรียมการรูปแบบที่สามารถใช้ กํ า กั บ การปฏิ บั ติ ง านของงานที่ มี ความแตกต่างของเครื่องมือ หรื อ อุปกรณ์ มีความรับผิดชอบสําหรับผู้เข้ารับ การฝึกอบรมในส่วนแผนกการซ่อม บํารุงไฟฟ้า รวบรวม และแยกเอกสารสําคัญ ตามระบบการจัดแฟ้มข้อมูล

พยายามหลีกเลีย่ งการใช้คําว่า “และ” ซึ่งจะแสดงเงื่อนไขว่าเป็น สองอย่าง

การเดินเครื่อง และซ่อมบํารุงเกจ สุญญากาศ

พยายามให้ถ้อยคําเต็มรูปประโยค และหลีกเลี่ยงการใช้คําย่อ

การคํานวณ rpm สําหรับการ สับเปลี่ยนการปฏิบัติงาน

ขอให้เพลิดเพลินกับการใช้ พยายามอย่านําภารกิจที่ไม่สามารถ โปรแกรมสําเร็จรูปเวิร์ดโพรเซสสิ้ง ตรวจวัดได้มารวมไว้ (Word Processing) อย่านํากระบวนการเรียนรู้มารวม การเรียนรู้การเก็บเอกสาร ขั้นตอน ไว้ วิธีการจัดแฟ้มข้อมูล การใช้สรรพนาม “ข้าพเจ้า” หรือ คุณซ่อมชุดเครือ่ งรับสัญญาณ “คุณ” เป็นที่รับรู้ เข้าใจ และ โทรทัศน์หลอดไดโอดที่เปล่งแสง สามารถละไว้ในฐานที่เข้าใจได้ ซึ่งมีสภาพชํารุดได้

คําอธิบายภารกิจที่ปรับปรุงแล้ว การเตรี ย มความพร้ อ มลํ า ดั บ การ ปฏิ บั ติ ก ารสํ า หรั บ ที่ จ ะใช้ กั บ การ ประเมินโดยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ ให้ควบคุมดูแลสําหรับผูเ้ ข้ารับการ ฝึกอบรมในส่วนแผนกการซ่อมบํารุง ไฟฟ้า ให้จัดแฟ้มเอกสารตามระบบการจัด แฟ้มข้อมูล การซ่อมบํารุงเกจสุญญากาศ การคํานวณรอบต่อนาที (Revolutions per Minute) สําหรับ สับเปลี่ยนการปฏิบัติงาน การจัดทําเอกสารโดยใช้โปรแกรม สําเร็จรูปเวิรด์ โพรเซสสิ้ง (Word Processing) การจัดแฟ้มเอกสารตามขั้นตอนวิธี ซ่อมชุดเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ หลอดไดโอดที่เปล่งแสง ซึ่งมีสภาพ ชํารุดได้

ดาคัม (DACUM) จากการประชุมร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่กี่ยวกับเทคนิคการจ้างงาน มีการนําเทคนิคที่เรียกว่า การพัฒนาหลักสูตรหรือเรียกว่า ดาคัม ( Developing A Curriculum: DACUM) มา ใช้พัฒนาบัญชีรายการบทบทบาทหน้าที่ และภารกิจตามรายละเอียดสําหรับการวิเคราะห์ลักษณะอาชีพ โดยใช้ ระยะเวลาการปฏิบัติเพียงแค่ 2 วัน ดาคัม (DACUM) จึงเป็นวิธีการที่นํามาใช้ในการพิจารณารายละเอียด ดังกล่าวอย่างรวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ํา โดยรายการภารกิจเหล่านี้จัดทําขึ้นสําหรับให้ผู้ปฏิบัติงานตาม ตําแหน่งดังกล่าวต้องถือปฏิบัติ แนวทางดาคัมจึงเป็นประโยชน์ในการออกแบบ และจัดทําบัญชีรายการภารกิจ ทั้งสําหรับอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ หรือกําลังจะเกิดขึ้นก็ตาม ในขณะที่คุณลักษณะสําคัญของผังภูมิดาคัมก็คือ การ เป็นเอกสารเพียงแผ่นเดียวที่จะทําให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจในอาชีพนั้นๆ ทั้งหมด


8

องค์ประกอบสําหรับการประชุมหารือโดยใช้เทคนิควิธีดาคัม (DACUM) จะมีผู้ทรงคุณวุฒิในหลักวิชา นั้นๆ จํานวน 6-12 คน ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นๆ ในลักษณะที่เข้าใจการปฎิบัติงานเป็น อย่างดี ในขณะที่หากมีผู้ปฏิบัติงานชํานาญการเกี่ยวกับลักษณะอาชีพนั้นๆ ก็จะยิ่งสามารถอธิบายถึงลักษณะงาน ที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ต้องปฏิบัติอยู่ ได้ดีกว่าบุคคลอื่นๆ ระยะเวลาที่จะใช้ดําเนินการโดยทั่วไปครอบคลุม 2 เดือน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของหลักสูตร ที่ต้องนํา เทคนิคดาคัม (DACUM) มาใช้ในการออกแบบ โดยได้แสดงตัวอย่างแผนการปฎิบัติงานตามที่วางแผนไว้สําหรับ การเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยเทคนิคดาคัม (DACUM) ไว้ในภาคผนวก ข ข้างท้าย โดยการเตรียมการ ครอบคลุมถึง การประสานงานคณะผู้ทรงคุณวุฒิ สถานที่ ผู้เอื้ออํานวยกระบวนการ อุปกรณ์ เอกสารที่ต้องใช้ และเครื่องดื่ม อาหารว่างสําหรับการประชุม การประชุมเชิงปฎิบัติการแบบดาคัม (DACUM) จะเริ่มต้นโดยผู้เอื้ออํานวยกระบวนการ ซึ่งทําหน้าที่ เตรียมความพร้อม แนะนําผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่เข้าร่วมการประชุมกับขั้นตอนวิธีการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กติกา หรือวิธีการแสดงปฏิสัมพันธ์ การให้คําจํากัดความ และตัวอย่างของบทบาทหน้าที่ และภารกิจต่างๆ ตลอดจนการเขียน หรือแสดงคําอธิบายภารกิจต่างๆ อย่างชัดเจน โดยในกระบวนการแนะนํา และเตรียมความพร้อมที่ดําเนินการโดย ผู้เอื้ออํานวยกระบวนการ ก็จะทําให้ ที่ประชุมมีความชัดเจนในส่วนของความรับผิดชอบตามภาระงานโดยทั่วไป ตลอดจนลักษณะภารกิจจําเพาะของ บทบาทหน้าที่แต่ละประเภท ตลอดจนมีการทบทวนและปรับปรุงคําอธิบายบทบาทหน้าที่ และภารกิจที่กําหนด ไว้แล้ว นอกจากนั้นยังเป็นการดําเนินการที่จะช่วยให้กระบวนการดําเนินการประชุมเป็นไปอย่างชัดเจน และมี ระบบมากยิ่งขึ้น ในการประชุมจะมีการบันทึกเนื้อหาการอภิปราย ลักษณะประโยค หรือถ้อยคําที่แสดงคําอธิบาย ของบทบาทหน้าที่และภารกิจในบัตรคําขนาดใหญ่ แล้วติดแสดงไว้ที่แผ่นป้าย หรือผนังห้องประชุม เพื่อให้ทุกคน สามารถทบทวนข้อหารือต่างๆ ได้ ทั้งนี้อาจจะมีการนําแผ่นคํานี้เวียนให้กับคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการ ประชุมให้พิจารณา และให้ความเห็น ซึ่งเป็นลักษณะของการระดมสมองนั่นเอง ในอีกวิธีหนึ่ง อาจจะมีการใช้ อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องฉายภาพสไลด์ เพื่อนําเสนอข้อมูลที่ได้จากการระดมดังกล่าวให้กับที่ ประชุมได้ติดตามร่วมกัน คุณสมบัติของผู้เอื้ออํานวยกระบวนการที่ดี ประกอบด้วย  การมีความคุ้นเคยกับกระบวนวิธีการวิเคราะห์อาชีพ  การมีความคุ้นเคนกับกระบวนการดาคัม (DACUM)  การมี ความสามารถในการรั กษาบทบาทความเป็นกลาง และรักษาบทบาทในฐานะที่เป็ น ผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการ  การมีความสามารถในการขับเคลื่อน กระตุ้น และให้คําแนะนํากลุ่มบุคคลที่ไม่มีความคุ้นเคย หรือไม่รู้จักมาก่อน  การมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นที่น่าชื่นชม  การมีทักษะการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลที่ดี


9

    

การเป็นผู้รับฟังที่ดี การมีความสามารถในการสนับสนุน หรือส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิด และมีความเห็นร่วมกัน การมีความสามารถในการบริหารจัดการความขัดแย้ง การมีความสามารถในการสร้างคําสั่งเป็นภาษาที่ดี การมีทักษะการเป็นนักบริหารจัดการที่ดี

ทั้งนี้ มิจําเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในส่วนของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการประชุม เนื่องจากแต่ละคนล้วนมีความชํานาญการ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานนั้นๆ มากพอแล้ว ในขณะที่ผู้ ควบคุม หรือผู้ดูแลผู้ปฏิบัติงานในตําแหน่งงานที่กําลังจะวิเคราะห์รายละเอียดอาจจะเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ด้วย แต่ก็มิใช่สัดส่วนสําคัญแต่อย่างใด เนื่องจากโดยลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ เน้นที่การขอข้อมูล จากผู้ปฏิบัติ หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานนั้นๆ โดยตรง ซึ่งจะมาจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่ง หากมี การเชิ ญผู้ ฝึกอบรมเข้าร่ วมการประชุ มครั้งนี้ ด้วย ก็จะมี บทบาทเป็นเพียงผู้ ร่วมสั งเกตการณ์มากกว่ า ผู้เข้าร่วมการประชุม วิธีการวิเคราะห์อาชีพแบบรวดเร็ว (Rapid Occupational Analysis Method: ROAM) ในสถานการณ์ที่มีลักษณะชัดเจน หรือความเป็นไปได้ที่จะได้รับข้อมูลจากเอกสาร หรือแหล่งข้อมูลทุติย ภูมิต่างๆ และ/หรือกรณีที่ผู้แทนที่เป็นผู้ชํานาญการในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมเพื่อ ระดมความคิดเห็น หรือประสบการณ์ ในช่วงการประชุมเชิงปฎิบัติการ 2 วัน ก็จะมีการนําวิธีการวิเคราะห์อาชีพ แบบเร็ว (Rapid Occupational Analysis Method: ROAM) มาปรับใช้ โดยวิธีการดําเนินการสามารถ ดําเนินการได้แล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน ในขณะที่การวิเคราะห์แบบดาคัม (DACUM) จะเริ่มต้นจากการค้นหา แต่วิธีการวิเคราะห์อาชีพแบบเร็ว (ROAM) จะเริ่มจากการพิจารณาผังบัญชีรายละเอียดของบทบาทหน้าที่และภารกิจที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยผังดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับผังของดาคัม (DACUM) นั่นเอง ลักษณะของผังที่เตรียมการนี้จะสะท้อนให้ เห็ นถึ งลั กษณะของข้ อมู ลที่ สามารถสื บค้ นได้ จากแหล่ งข้ อมู ลที่ มีอยู่ ทั้ งจากภายในและนอกประเทศ อาทิ คําอธิบายคุณลักษณะของอาชีพ การวิเคราะห์อาชีพ มาตรฐานทางทักษะ และคู่มือสําหรับการฝึกอบรม โดยผู้ เอื้ออํานวยกระบวนการก็จะขอให้ผู้เข้าร่วมการประชุมพิจารณาทบทวน เพิ่มเติม ลบ หรือปรับปรุงเนื้อหาที่ ปรากฎในแผนผังดังกล่าวออกตามความเหมาะสมกับคุณลักษณะของอาชีพนั้นๆ ซึ่งกระบวนการ และขั้นตอนวิธี อื่นๆ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประชุมแบบดาคัม (DACUM) นั่นเอง การตรวจสอบภารกิจ หลั งจากที่ ได้ ผลลั พธ์ จากการประชุ มเป็ นบั ญชี รายการภารกิ จของอาชี พนั้ นๆ แล้ ว ก็ จะเริ่ มมี การ ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมของภารกิจต่างๆ โดยรายละเอียด ซึ่งในกระบวนการนี้จะระดมความเห็นจาก กลุ่มผู้ปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญกับการทบทวน ปรับปรุง ยืนยัน หรือตัดทอนคําอธิบายภารกิจนั้นๆ ออก โดยที่ ผู้ทําหน้าที่ทบทวนจะเลือกมาจากผู้ปฏิบัติงานที่กําลังทําหน้าที่นั้นๆ อยู่ ตลอดจนผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติหน้าที่


10

นั้นๆ โดยตรง ซึ่งหากเป็นไปได้ ควรเป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้ความสนใจกับผลลัพธ์ ของบัญชีรายการภารกิจต่างๆ ด้วย ส่วนแบบสอบถามบัญชีรายการภารกิจจะเป็นส่วนที่ออกแบบมา เพื่อเก็บข้อมูลตามที่วางแผนเอาไว้ โดย แบบสอบถามที่ออกแบบมานี้จะมีลักษณะที่ครอบคลุมข้อคําถามในแบบสอบถามเดิมๆ ที่มีอยู่ด้วย โดยสรุปแล้ว จะครอบคลุ มถึ งการคั ดเลือกองค์ กร และบุคคลที่ เกี่ ยวข้อง ตลอดจนขนาดของกลุ่มตั วอย่ าง วั ตถุ ประสงค์ เป้าหมายของการสํารวจ รายละเอียดของบุคคลเพื่อการติดต่อสอบถามขอ้มูลเพิ่มเติมในส่วนที่กี่ยวกับการสํารวจ หรือทําแบบสอบถาม โดยขอบเขตที่นํามาใช้โดยทั่วไปจะพิจารณาหลักการใหญ่ๆ คือ ความสําคัญ ความยาก และความถี่ ซึ่งได้แสดงรายละเอียดไว้ตามตารางด้านล่างนี้ ทั้งนี้ควรมีการเว้นช่องว่าง หรือมีพื้นที่เพิ่มเติมให้ สําหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่อาจจะมีข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวภารกิจอื่นๆ ตามการ พิจารณาคุณลักษณะของอาชีพนั้นๆ ด้วย บทบาทหน้าที่ B การบริหารจัดการ สํานักงาน

ภารกิจ B1 การตอบโต้โทรศัพท์ I 1 2 3 D 1 2 3 F 1 2 3

B2 การอํานวยความสะดวก ให้กับผู้ที่มาติดต่อ I 1 2 3 D 1 2 3 F 1 2 3

B3

ให้ทําวงกลมล้อมรอบตัวเลขที่ท่านเห็นว่าเหมาะสม

หลักเกณฑ์การให้คะแนน I ~ มีความสําคัญ(Importance) 1 ไม่สําคัญ ระดับความสําคัญของภารกิจกับ ลักษณะงาน D ~ มีความยุ่งยาก (Difficulty) 1 ไม่ยาก มีความยุ่งยากในการปฏิบัติ อย่างไร F~ มีความถี่ (Frequency) 1 ไม่ถ ่ี

2 สําคัญ

3 สําคัญมาก

2 ยาก

3 ยากมาก

2 ถี่

3 ถี่มาก


11

มีการปฏิบัติมากน้อย (ถี่) แค่ ไหน

เดือนละหนึ่งครั้ง หรือน้อย อย่างน้อยสัปดาห์ละ กว่านั้น หนึ่งครั้ง

ทุกวัน

การตรววจสอบความชัดเจน หรือความถูกต้องเป็นขั้นตอนที่แสดงการยืนยันต่อผู้ที่พัฒนาหลักสูตรว่า ภารกิจงานนั้นๆ เกี่ยวข้องการปฏิบัติงานในสถานที่นั้นๆ โดยข้อค้นพบจะแสดงให้เห็นว่า ภารกิจงานนั้นๆ เป็น ส่วนสําคัญ ในขณะที่ในส่วนที่ไม่สําคัญก็จะได้รับการออกแบบ หรือจัดลําดับความสําคัญไว้ในการฝึกอบรมไว้ใน ลําดับหลังๆ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะสร้างความเกี่ยวพัน หรือเกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น ในลักษณะการเปิดพื้นที่ สําหรับการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญประเด็นเนื้อหา และสนับสุนนให้ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการ ฝึกอบรมได้โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยเหตุแห่งเพศสภาพ หรืออื่นๆ โดยให้เป็นไปตามหลักสูตรการฝึกอบรมที่ ออกแบบจากลักษณะของรายการภารกิจที่จัดทําขึ้นจากการวิเคราะห์ดังกล่าว บทสรุ ป โดยสรุปแล้ว การวิเคราะห์ทางวิชาชีพหรืออาชีพ (OA) จัดเป็นแนวทางการกําหนดเนื้อหาของงานและ ขอบเขตของการประกอบอาชีพอย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ทางวิชาชีพหรืออาชีพ (OA) ก็คือ บัญชีรายการภารกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่นิยมนําแนวทางของดาคัม (DACUM) มาใช้ในการวิเคราะห์ทางวิชาชีพหรือ อาชีพ (OA) ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติ ตามความชํานาญการของผู้ปฏิบัติงานที่ประสบการณ์การปฏิบัติงานนั้นๆ โดยตรง วิธีการเช่นนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลัก จากนั้นก็จะนําภารกิจเหล่านั้นมาวิเคราะห์กําหนดทักษะ ความรู้ และทัศนคติ (SKA) และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานนั้นๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หลักๆ ในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม นั้นๆ ได้ ซึ่งในบทต่อไปเป็นจะนําเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภารกิจงาน


12

ภาคผนวก ก การวิเคราะห์ภารกิจ ชื่ออาชีพ/ตําแหน่งงาน: ___________________ ชื่อภารกิจ: ______________________ ที่

ขั้นตอน

มาตรฐานการปฏิบัติ

ความรู้

เครื่องมือและ อุปกรณ์

ทัศนคติ และความ ปลอดภัย

เอกสารและสิ่งอ้างอิง Temasek foundation. (2012). เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง Developing and Managing of Modern Technical and Vocational Education and Training Institutions for the Department of Skill Development,Ministry of Labour, Thailand. Singapore Polytechnic. (2 -10 July 2012 Bangkok.Thailand.)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.