การเขียนวัตถุประสงค์การปฏิบัติงานตาม มาตรฐานความสามารถ(Competency Standard) เอกสารเผยแพร่ตามตัวชี้วัดรายบุคคล
กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก
7/18/2012
นายคมธัช รัตนคช ผู้จัดทํา /ผู้เรียบเรียง
1
เรื่องที่ 4 การเขียนวัตถุประสงค์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานความสามารถ(Competency Standard) ความหมายของวัตถุประสงค์การปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน(Performance Objective: PO) เป็นส่วนของการอธิบายลักษณะที่ผู้ปฏิบัติงาน(operator)หรือผู้ใช้ แรงงาน(workforce)ต้องสามารถปฎิบัติ หรือดําเนินการได้ ในกรณี ที่ มี ก ระบวนการสนั บ สนุ น หรื อ สิ่ ง แวดล้ อ มในการทํ า งานตาม ลักษณะทั่วไป ที่เป็นเงื่อนไขในการผลิต (Work Environment) โดยวัตถุประสงค์เหล่านี้จะจัดทําขึ้นจากการวิเคราะห์ลักษณะการ ปฏิบัติงาน(Task Analysis) โดยทั่วไปแล้ว วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานจะเขียนให้สอดคล้อง กับลักษณะการปฏิบัติในเชิงพฤติกรรม (หรือการปฎิบัติ) โดยต้องสามารถตรวจวัด และสังเกตการณ์ได้ ตัวอย่างของวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน มีดังนี้ การสร้างสไลด์การนําเสนอ ซึ่งครอบคลุมถึงการทําการนําเสนอแบบคลื่อนไหวบนแผ่นสไลด์ โดยใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปที่ทันสมัย การแปลความหมายผังภูมิทางไฟฟ้า สําหรับแบบผังการก่อสร้าง หรืออาคาร ตามที่มีการกําหนดรหัส การปฏิบัติร่วมกันไว้ การอธิบายปรากฎการณ์ หรือเหตการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากไม่มีการปฎิบัติให้สอดคล้อง หรือเป็นไปตาม ข้อบังคับด้านความปลอดภัย และสุขภาพอนามัย ในสถานประกอบการ หรือสถานที่ปฏิบัติงาน การจัดประเภทของวัตถุประสงค์การปฎิบัติ วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปแล้ว จะจําแนกลักษณะ หรือประเด็นหลักๆ ไว้ดังต่อไปนี้ ภาวะของทักษะ (Skill) หรือทักษะพิสัย (Psychomotor) ความรู้ (Knowledge) การรับรู้ หรือพุทธิพิสัย (Cognitive) ทัศนคติ (Attitude) หรืออารมณ์ความรู้สึกหรือจิตพิสัย (Affective)
2
ทักษะปฏิบัติ (Skills) หรือทักษะพิสัย (Psychomotor) ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) หมายรวมถึงพฤติกรรมที่เกิดจากความคุ้นชินทางกายภาพ การ ตอบสนองของกล้ามเนื้อร่างกายด้วยความเคยชิน และทักษะ ต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การประสานงาน ควบคุ ม การสั่ ง การ ตลอดจนการดําเนินการทางโสตประสาทการมองเห็น และการ เคลื่ อ นไหว ผิ ว สั ม ผั ส โดยจะต้ อ งดํ า เนิ น การควบคู่ กั บ การ ประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยี และเทคนิคต่างๆ ทักษะเหล่านี้ เป็นที่ต้องการ และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้จากการฝึกปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะสามารถตรวจวัดได้ทั้งในลักษณะของความเร็ว ความแม่นยํา ปริมาณ หรือจํานวน เทคนิคหรือขั้นตอนวิธีการ
ความรู้ (Knowledge) การรับรู้ หรือ พุทธิพิสัย (Cognitive) ส่วนของการรับรู้ (Cognitive Domain) (Bloom, 1959) ก็ครอบคลุมทั้ง ทั ก ษะในเชิ ง ความรู้ และปฏิ ญ าณไหวพริ บ เชาว์ ปั ญ ญา ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม ของ คุณลักษณะที่จะนํามาใช้ในการทบทวน รื้อฟื้นความทรงจํา หรือเรียกย้อน ข้อเท็จจริง แนวความคิด และขั้นตอนวิธีการปฎิบัติต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะเชาว์ปัญญาที่มีระดับที่สูง มากยิ่งขึ้น ผู้ที่พัฒนาเนื้อหาหลักสูจน์จะนําอนุกรมวิธาน (วิทยาศาสตร์ หรือ เทคนิ ค เกี่ ย วกั บ การแบ่ ง ประเภท) มาใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการเขี ย น วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ สําหรับประเภทของความรู้นั้นๆ ซึ่งส่วนของ ส่ ว นข้ อ มู ล จากการจํ า แนกวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารเรี ย นรู้ ข องบลู ม (Bloom’s Taxonomy) และตัวอย่างต่างๆ ของการประยุกต์ใช้นี้ เป็นส่วนที่แสดงไว้ใน บทอื่นๆ ที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ด้วย ทัศนคติ (Attitude) หรืออารมณ์ความรูส้ ึกหรือจิตพิสัย (Affective) ส่วนของการสร้างอารมณ์ความรู้สึกร้วม (Affective Domain) (Krathwohl, Bloom, Masia, 1973) นั้นครอบคลุม องค์ประกอบ ด้านอารมณ์ อาทิ ความรู้สึก คุณค่า ความ ซาบซึ้ง ความตื่นกระหายใคร่รู้ แรงบันดาลใจ หรือกระตุ้นเตือน และทัศนคติต่อผู้คน สิ่งของ
3
และข้อมูลต่างๆ โดยในส่วนของการฝึกอบรมด้านอาชีพ มุมมองของทัศนคติอาจจะนํามาพิจารณาร่วมกับ ทักษะ และความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบของวัตถุประสงค์ในการปฏิบตั ิงาน วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ 4 ด้าน คือ A B C D
ผู้ฟัง พฤติกรรม หรือการปฏิบัติ เงื่อนไข ระดับ หรือมาตรฐาน
ผู้รับการฝึก หรือ กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึก ส่วนนี้รวมถึง ประชากรกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่ม ผู้ปฏิบัติงาน ตามระดับของหน้าที่ในการปฎิบัติงานที่ กําหนดไว้ เช่น ผู้รับการฝึก นักศึกษา ที่จบ ปวช. นักศึกษาที่จบ ปวส. พนักงานของบริษัท เป็นต้น
พฤติกรรมในการปฎิบัติงาน พฤติ กรรมการปฎิ บั ติ เป็ นส่ วนหนึ่ งในวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการ ปฏิบัติงาน โดยอธิบายถึง ลักษณะที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ จะต้อง สามารถดํ า เนิ น การได้ หรื อ ปฏิ บั ติ ไ ด้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ตัวอย่างเช่น ตรวจวัดส่วนที่มีการดําเนินการ หรือควบคุมเฉพาะ ตรวจสอบระบบทําความร้อน ซ่อมอุปกรณ์คอมเพรสเซอร์ เขียนจดหมายขอบคุณ
4
คํากริยา หรือคําศัพท์ที่แสดงการปฏิบัติงาน(Action Verb) เป็นส่วนที่แสดงออกถึงลักษณะของ พฤติกรรม ซึ่งมีความหมายเฉพาะ และจะต้องสามารสังเกตการณ์ หรือตรวจวัดได้ โดยต้องพยายามหลีกเลี่ยง หรื อไม่ นํ าคํ าศั พท์ ที่ ใช้ กั นโดยทั่ ว ไป มี ความหมายกว้ างๆ และเปิ ดให้ มี การตี ความหมายได้ อย่ างแตกต่ าง หลากหลายมาใช้ อาทิ คําศัพท์ที่บอกว่า “ทํา (Do)” “รู้ (Know) และ “เข้าใจ (Understand)” ส่วนคํากริยาที่แนะนําให้นํามาใช้โดยส่วนใหญ่จะต้องสามารสังเกตการณ์ หรือตรวจวัดได้ ซึ่งได้แสดง ตัวอย่ างส่วนหนึ่ งไว้ใน ภาคผนวก ก. แล้ ว นอกจากนั้ นอาจจะนํ าคํ ากริยาอื่ นๆ ที่ เข้ าใจกันอย่ างชั ดเจนใน ภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ มาใช้ประกอบด้วย เงื่อนไข ส่วนของเงื่อนไขในวัตถุประสงค์ในการปฏิบตั ิงาน สถานการณ์ และบริบท ซึ่ง ผู้ปฏิบัติงานต้องพึงปฏิบัติตามกิจกรรมต่างๆ นั้นรวมถึง ประเภท หรือลักษณะของเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือวัสดุ ที่นํามาใช้ในสถาน ประกอบการ หรือสถานที่ปฏิบัตงิ าน เงื่อนไขในการปฎิบัติงาน สภาพแวดล้อมของการปฎิบัติงาน บุคลากร และ ข้อมูล เกี่ยวกับการปฎิบัติงาน ตัวอย่างของเงื่อนไขมีดังต่อไปนี้ …… การทํางานในสถานที่จํากัด หรือพื้นที่แคบ มีการควบคุม …… การปฎิบัติงานกลางแจ้ง …… อยู่กับสารเคมีหลากหลายชนิด …… การใช้งานโปรแกรมสําเร็จรูปที่มีลักษณะเฉพาะทาง ระดับ หรือมาตรฐาน ในระดับของความรู้ความสามารถ หรือมาตรฐานที่จําเป็นสําหรับ การปฏิบัติงานให้ประสบความสําเร็จ ตามระดับที่กําหนดไว้ ใน สถานประกอบการ หรือสถานที่ทํางาน นั้นกําหนดขึ้นจาก หลักเกณฑ์ หรือเกณฑ์หลายๆ ส่วนเกี่ยวกับผลผลิต หรือ กระบวนการ เช่น คุณภาพของผลผลิต หรือการบริการ
5
ความรวดเร็วของการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามผลผลิต หรือการบริการ ความถูกต้องแม่นยําของผลผลิต ราคา ค่าใช้จ่ายของผลผลิต หรือการบริการ ตัวอย่างของมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวกับผลผลิต และกระบวนการตามภารกิจ (จะกล่าวซ้ําอีกครั้งในส่วนของ สถานที่/พื้นที่งาน หลังจากที่การปฎิบัติงานนั้นๆ เสร็จสิ้นลงแล้ว) แสดงตามตารางด้านล่างนี้ ณ จุดปฏิบัติงานจะต้องมีชิ้นส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน เศษวัสดุ และของเหลวที่เป็น อันตราย เครื่องมือ อุปกรณ์ และจุดปฏิบัติงาน จะต้องทําความสะอาด และดูแลให้อยู่ใน สภาพที่กําหนดไว้ในขั้นตอนวิธีการใช้งานในรูปแบบมาตรฐาน
ผลผลิต กระบวนการ
บทสรุป หลังจากที่ได้ทําการตรวจสอบประเภท ลักษณะของวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานแล้ว โดยมีการฝึก เขียนวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน พร้อมกับการจําแนกความแตกต่างระหว่างรูปแบบการเขียนวัตถุประสงค์ ในการปฏิบัติงานทั้งในตัวอย่างที่ดี และไม่ดีแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็พร้อมที่จะนําความรู้ และทักษะต่างๆ ไปประยุกต์ใช้การเขียนวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงาน เมื่อมีการพัฒนามาตรฐานของความรู้ และทักษะต่อไป
6
ภาคผนวก ก. ตัวอย่างของคํากริยาที่แสดงในเชิงปฎิบัติการ บทบาทหน้าทีใ่ นการควบคุม ดูแล และการบริหารจัดการ วิเคราะห์ ตัดสิน สืบสวน (Analyse) (Determine) (Investigate) อนุมัติ (Approve) วินิจฉัย (Diagnose) ดูแลรักษา สืบค้น (Ascertain) จัดตั้ง (Establish) (Maintain) ประเมิน (Assess) ประมาณการ จัดการ (Manage) มอบหมาย (Assign) (Estimate) ดูแล ติดตาม ประสานความ ประเมิร (Monitor) ร่วมมือ(Co(Evaluate) เจรจาต่อรอง ordinate) พยาการณ์ (Negotiate) เปรียบเทียบ (Forecast) ปฏิบัติ (Perform) วางแผน (Plan) (Compare) ลงมือปฏิบัติ คํานวณ (Implement) (Compute) ตีค่า แปล ความหมาย (Interpret) บทบาทหน้าทีใ่ นการผลิต การติดตั้ง และการดูแล ซ่อมบํารุง ปรับ (Adjust) วินิจฉัย (Diagnose) ติดตาม (Monitor) ประยุกต์ใช้ แยกส่วนประกอบ ปฏิบัติ (Perform) (Apply) (Disassemble) วางแผน (Plan) จัดการ (Arrange) จําหน่าย เตรียมการ ประกอบ (Distribute) (Prepare) แปรรูป ดําเนินการ (Assemble) จัดตั้ง (Establish) (Process) ตรวจหา วัด ทําแฟ้มข้อมูล โครงการ โปรแกรม (Calibrate) (File) (Programme) ทําความสะอาด ติดตั้ง (Install) สร้างใหม่ (Clean) บันทึก จัดเก็บ (Rebuild) ดําเนินการ (Load) ตรวจสอบ (Commission) เครื่องจักร (Rectify) ประกอบ (Machine)
เตรียมพร้อม (Prepare) ดําเนินการ แปรรูป (Process) แนะนํา (Recommend) ทบทวน (Review) กําหนดเวลา หรือ ตาราง (Schedule) ควบคุม ดูแล (Supervise) ตรวจสอบ รับรอง (Verify)
เปลี่ยนใหม่ (Replace) ต่อสายไฟใหม่ จัด เส้นลวดใหม่ (Rewire) สับเปลี่ยน (Rotate) กําหนดเวลา หรือ ตาราง (Schedule) คัดเลือก (Select) บริการ (Service) ติดตั้ง (Set up) จัด แยกประเภท
7
(Compose) ควบคุม (Control) ออกแบบ (Design) พัฒนา (Develop)
ทํา (Make) ดูแล ซ่อมบํารุง (Maintain) ขยาย ปรับเปลี่ยน (Modify)
ถอด เคลื่อนย้าย กําจัด (Remove) ซ่อมแซม (Repair)
(Sort) ทดสอง (Test) ปัญหา ข้อติดขัด (Trouble-shoot)
หมายเหตุ อาจจะพิจารณานําคํากริยาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมมาใช้
เอกสารและสิ่งอ้างอิง Temasek foundation. (2012). เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่อง Developing and Managing of Modern Technical and Vocational Education and Training Institutions for the Department of Skill Development,Ministry of Labour, Thailand. Singapore Polytechnic. (2 -10 July 2012 Bangkok.Thailand.)