Creative Leadership : ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์

Page 1

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ Creative Leadership

“ฟ้าหลังฝน สว่าง ไสว ฉันใด ผลงานที่ถูกเจียระไน ย่อมมีคุณค่า และสง่างามฉันนั้น”

ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : ดร. กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

35

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership) ในแต่ละยุคแต่ละสมัยแนวคิดภาวะผู้นาจะไม่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จะมีส่วนที่ เหมื อ นกั น และส่ ง เสริ ม ซึ่ ง กั น และกั น เป็ น ส่ ว นใหญ่ สภาพแวดล้ อ มทางสั ง คมมี ก าร เปลี่ยนแปลงและมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ มักจะใช้ไม่ได้ผล การศึกษาภาวะผู้นามีพัฒนาการมาโดยตลอด ส่วนใหญ่แล้วจะมีมุมมองแบบเดิม ๆ คือ คุณลักษณะ พฤติกรรม สถานการณ์และการบูรณาการซึ่งแม้จะมีความสาคัญและจาเป็น แต่แนวคิดทั้งสี่ก็ไม่เพียงพอที่จะอธิบายเกี่ยวกับภาวะผู้นายุคใหม่และการศึกษาของไทย จึงได้มีความพยายามที่จะพัฒนาภาวะผู้นาที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สอดคล้ อ งกั บ ทั ศ นะของ ศาสตราจารย์ ไ พฑู ร ย์ สิ น ลารั ต น์ ที่ ก ล่ า วว่ า ภาวะผู้ น า เชิงสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการวิจัยทั้งในเชิงแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการเพื่ อฝ่าวงล้อมและขยายขอบเขตของการมองปัญหาทะลวงไป จากแนวทางแบบเดิ ม ๆ จึ ง จะสามารถแก้ ปั ญ หา สร้ า งสิ่ ง ที่ ดี แ ละยั่ ง ยื น ในอนาคต สอดคล้องกับทัศนะของสโตล์และทิมเพอร์เลย์ (Stoll & Temperley) กล่าวว่าภาวะผู้นา เชิงสร้างสรรค์คือการมีปฏิกิริยาตอบสนองเชิงจินตนาการในโลกแห่งอนาคตโดยการคิด ไตร่ตรอง อย่างละเอียด รอบคอบ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีความกดดันและท้าทาย ทุกยุค ทุกสมัย จะมีผู้นาเกิดขึ้นเสมอ ผู้นาที่แสดงออกถึงการนาสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่า และทาให้เกิดประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เรียกได้ว่ามีภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ ปัจจุบันนักวิชาการศึกษาและทุก ๆ คนต่างก็ ให้ความสนใจและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้า ตั้ง สมมติฐาน อธิบาย ตลอดจน วิ เ คราะห์ วิ จั ย เกี่ ย วกั บ บริ บ ทของภาวะผู้ น าเชิ ง สร้ า งสรรค์ โ ดยได้ เ สนอแนวคิ ด และ คานิยามภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้หลากหลายทั้งในลักษณะที่แตกต่างกันและคล้ายคลึง กัน สามารถจาแนกนิยามและแนวคิดดังนี้ 1) กลุ่มที่กล่าวเกี่ยวกับการการนา (leading) ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

36

เป็นความสามารถในการนาด้วยรูปแบบ และวิธีการ ใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และ 2) กลุ่ ม ที่ ก ล่ าวถึ งเรื่อ งเกี่ ย วกั บ การกระตุ้ น หรือ การประสานงาน (connecting) เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์ คานิยามภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ มีคานิยามทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันตามขอบเขต เนื้อหา ทัศนคติ มุมมอง และสถานการณ์ ผู้ เขียนสามารถจาแนกคานิยามของภาวะผู้นา เชิงสร้างสรรค์ได้เป็น 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มแรก ได้ให้คานิยามภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ในลักษณะการสร้างหรือการนา เป็ น ความสามารถในการน าบุ ค คลอื่ น ๆ ผ่ า นกระบวนการ (Process) หรื อ วิ ธี ก าร (Method) ร่ วมกั น ไปสู่ อ นาคตใหม่ ๆ ที่ ริเริ่ม สร้า งสรรค์ อ ย่ างที่ ค นอื่ น คาดไม่ ถึ ง หรื อ ถูกมองข้ามไปและมีปฏิกิริยาตอบสนองเชิงจินตนาการโดยคิดไตร่ตรอง อย่างละเอียด ถี่ถ้วน ในสถานการณ์ และประเด็นต่าง ๆ ที่ท้าทาย และที่สาคัญ คือคนที่มีภาวะผู้นา เชิ ง สร้ า งสรรค์ จ ะต้ อ งสร้ า งสภาพแวดล้ อ ม (Environment) ส าหรั บ ผู้ อื่ น ให้ มี ค วาม สร้างสรรค์ สอดคล้องกับแนวคิดของศาสตราจารย์จอห์น พี คอตเตอร์ (John P. Kotter) #24 ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการพั ฒ นาภาวะผู้ น าและอาจารย์ ส อนที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ฮาร์วาร์ด ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Leading Change ว่า “การนาเท่านั้นที่จะ สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้” กลุ่ ม ที่ ส อง ได้ ให้ ค านิ ย ามเกี่ ย วกั บ ภาวะผู้ น าเชิ งสร้ า งสรรค์ ในเรื่อ ง Kotter เกี่ยวกับการประสานงาน เป็นความสามารถในการติดต่อประสานงาน กับบุคคลต่าง ๆ ที่มี ความคิ ดเห็ น แตกต่ างกัน หรือสอดคล้องกั น เพื่ อให้เกิ ดความสร้างสรรค์ ด้วยการ กระตุ้น (Encourages) ส่งเสริม และสนับสนุน กระบวนการใหม่ ๆ ให้เกิดความสมดุล

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

37

(Balancing) ระหว่างความเร่งรีบ (Emergent) และการเปลี่ยนแปลงแบบช้า ๆ ค่อย เป็น ค่อยไป ทั้งที่อาจจะเกิดขึ้น และที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น เพื่อนาไปสู่เป้าหมายที่กาหนดไว้ จากคานิยามของภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ที่กล่าวมาทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เกี่ยวกับ การนาและกลุ่มที่เกี่ยวกับการประสานงาน ผู้เขียนสามารถบูรณาการคานิยามของทั้งสอง กลุ่มสรุปได้ว่าภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถที่พิเศษในการจูงใจและ นาบุ​ุ ค คลอ่​่ น อย่ างมี วิ สั ย ทั ศ น์ จินตนาการ และความย่ ด หยุ่ น ด้ วยวิธี ก ารหร่ อ แนวทางใหม่ ทีท่ ้าทายและสร้างสรรค์ แนวความคิดภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ จากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นการสังเคราะห์คานิยามของนักวิชาการที่เกี่ยวกับ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้มองเห็น กรอบแนวคิด และเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จึง ขอนาเสนอแนวคิดจากนักวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ ธีระ รุญเจริญ ศาสตราจารย์ด้านการบริหารการศึกษา ปัจจุบันดารงตาแหน่งนายก #25 สภามหาวิ ท ยาลั ย วงษ์ ช วลิ ต กุ ล ได้ ใ ห้ ทั ศนะเกี่ ย วกั บ ภ าวะผู้ น า เชิงสร้างสรรค์ไว้ 2 ประเภทว่าเป็นลักษณะหรือพฤติกรรมในการนาผู้อื่น และประสานงานผู้ อื่น ด้วยการสร้างแรงบัน ดาลใจ สร้างแรงจูงใจ สร้าง บรรยากาศในการคิดนอกกรอบ โดยใช้วิธีการใหม่ ๆ นาไปสู่การสร้างสรรค์ ธีระ รุญเจริญ สิ่งใหม่ ๆ

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

38

มิ น บาซาดั ว ร์ (Min Basadur) ท างาน ณ มหาวิ ท ยาลั ย แม๊ ก มาสเตอร์ เป็ น ศาสตราจารย์ ด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ได้รับการยอมรับระดับโลกใน #26 ความเป็น ผู้เชี่ ยวชาญด้ านความคิ ดเชิ งสร้างสรรค์ ได้ส รุปแนวคิ ดและ สาระส าคั ญ ไว้ ว่ า ภาวะผู้ น าเชิ ง สร้ า งสรรค์ เป็ น การน าบุ ค คลอื่ น ผ่ า น กระบวนการหรื อ วิ ธี ก ารร่ ว มกั น เป็ น การค้ น หาและแก้ ไ ขปั ญ หาด้ ว ย Basadur แนวทางและวิ ธี ก ารใหม่ ๆ เป็ น วิ ธีก ารหรื อ กระบวนการที่ เรี ย บง่าย ไม่ ยุ่งยาก ซับซ้อนแต่มีผลลัพธ์ดีเยี่ยม ธารา จี โคท (Tara G. Coste) ผู้อานวยการสานักวิจัยและสมาคมความสร้างสรรค์ #27 ในสหรัฐ อเมริก าและเป็น ศาสตราจารย์ ด้ านความคิ ด เชิ งสร้างสรรค์ ณ มหาวิท ยาลั ยการจั ดการ ประเทศสิงคโปร์ ได้ เสนอแนวคิด และมิติ ของ ภาวะผู้ น าเชิ ง สร้ า งสรรค์ เพื่ อ การปฏิ บั ติ ที่ มุ่ ง ไปสู่ ก ารพั ฒ นาองค์ ก รใน Coste เชิงสร้างสรรค์ไว้ว่าประกอบไปด้วย ความท้าทายและการมีส่วนร่วม ความ มีอิสระ ความไว้วางใจ การให้เวลาสาหรับการคิด ความสนุกสนาน การลดความขัดแย้ง การสนับสนุนความคิดเห็น การโต้แย้ง การกล้าเสี่ยงกับความท้าทายและกดดัน #28 อั ล มา แฮร์ ริ ส (Alma Harris) ศาสตราจารย์ แ ละผู้ อ านวยการ ส านั ก วิ จั ย ณ มหาวิ ท ยาลั ย วอร์ วิ ค ได้ ให้ แ นวคิ ด เกี่ ย วกั บ ภาวะผู้ น าเชิ ง สร้างสรรค์ว่า เกี่ยวข้องกับการติดต่อประสานงาน กับบุคคลที่มีความคิดเห็น ที่ตรงกัน และแตกต่างกัน ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์จาเป็นต้องอาศัยเวลาและ Harris โอกาสเพื่อที่จะให้มีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามคาตอบที่ได้อาจจะ ไม่ใช่มาจากความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน อาจจะมาจากผลของความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อันจะน า ไปสู่การคิดเชิงสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ก็ต้องกล้าเปลี่ยน ความคิดเดิม ๆ และเผชิญกับความเชื่อมั่นกับวิธีการใหม่ ๆ ที่จะสร้างขึ้นเป็นภาวะผู้นาที่

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

39

พัฒนาสมรรถนะและความสามารถต่าง ๆ ของบุคคลภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความ สร้างสรรค์ในทุกสถานที่และทุกระดับ เพื่อจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมภาวะผู้นา เชิงสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นและที่สาคัญคือ การมีภาวะผู้นาที่ปราศจากการยึดมั่น ถือมั่น ซึ่ง โดยทั่วไปแล้วภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแนวทาง วิธีการใหม่ ๆ และความท้าทายมากกว่าการคงอยู่ในสภาพแบบเดิม ๆ ดังที่เป็นอยู่ การบูรณาการกรอบแนวคิดทั้งสองกลุ่มจากคุณลักษณะและพฤติกรรมในการเป็น ผู้นาความสร้างสรรค์ และผู้กระตุ้นให้ ผู้อื่น เกิด ความสร้างสรรค์ ผู้เขียนสามารถสรุป กรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ได้ว่า เป็นการตอบุสนองเชิงจินตนาการ ต่อสิ่งต่าง โดยการนาและประสานงานบุ​ุคคลอ่​่น ด้วยแนวทางหร่อวิธีการใหม่ อย่ า งท้ า ทายอี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ผู้ ส ร้ า งสภาพแวดล้ อ มเพ่​่ อ ก่ อ ให้ เกิ ด การริ เริ่ ม สิ่ ง ใหม่ สนับุสนุนให้ผู้อ่นได้มีความสร้างสรรค์ องค์ประกอบของภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ จากคานิยาม แนวความคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ ที่มองในมุมการสร้าง การนา การประสาน และการจูงใจ เพื่อให้ผู้ตามยอมทาตามด้วยความสมัครใจ บางครั้ง อาจจะส่งเสริม สนับสนุนให้มีความกล้าในการแสดงออก การกล้าเสี่ยงอย่างมีเหตุผล โดย ไม่กลัวความผิดพลาดหรือผลเสียที่จะเกิดขึ้น เพราะปัญหาหนึ่ง ๆ นั้นมิใช่มีทางแก้ไขเพียง ทางเดียว หากแต่ยังมีหลายวิธีที่จะแก้ไขซึ่งต้องอาศัยการร่วมกันคิด ร่วมกันทา ร่วมกัน ค้น หาวิธีที่ ดีที่ สุด องค์ป ระกอบภาวะผู้น าเชิงสร้างสรรค์ จากการศึกษาแหล่ งความรู้ที่ หลากหลายทัศนะมีดังต่อไปนี้

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

40

#29 ปีเตอร์ เซอร์นิน (Peter Chernin) ผู้อานวยการสถาบันฟ๊อกซ์ (FOX) ในลอสแองเจอร์ ลี ส และท างานในมหาวิ ท ยาลั ย แคลิ ฟ อร์ เนี ย ได้ ส รุ ป องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า เป็นความสามารถ ในการติดต่อประสานงานทั้งเกี่ยวข้องกับตนเองและทีมงาน มีองค์ประกอบ Chernin หลักดังนี้ 1) แรงบันดาลใจ 2) วิสัยทัศน์ และ 3) จินตนาการ วอเร็น เบนนิ ส (Worren Bennis) ผู้ ก่ อ ตั้ งและเป็น ผู้ ท รงคุ ณ วุฒิ ส ถาบั น พั ฒ นา #30 ภาวะผู้นา เป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา ภาวะผู้ น า เป็ น ศาสตราจารย์ กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ ให้ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย เซาท์ เทิ น แคลิ ฟ อร์ เ นี ย เมื อ งซานดิ เ อโก และมหาวิ ท ยาลั ย ฮาร์ ว าร์ ด ได้ ส รุ ป Bennis องค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่าจะเกี่ยวข้องกับคน ซึ่งประกอบ ไปด้วย 1) ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ เป็นความไว้วางใจในการบริหารจัดการเชิง ระบบ 2) วิสัยทัศน์ เป็นการมองอนาคตที่มุ่งสู่ความสาเร็จ และ 3) ความยืดหยุ่น ทั้งใน การคิด การทา และการตัดสินใจ ริ ช าร์ ด เอ คอตเตอร์ ท างาน ในภาควิ ช าภาวะผู้ น าและการเปลี่ ย นแปลง ณ Antioch University ได้ ส รุ ป สาระส าคั ญ เกี่ ย วกั บ องค์ ป ระกอบของภาวะผู้ น า เชิงสร้างสรรค์ว่ามีดังต่อไปนี้ 1) วิสัยทัศน์ 2) จินตนาการ 3) การคิดเชิงวิจารณญาณ และ 4) การปฏิบัติการเชิงสะท้อนผล เดวิด เอ ชัวร์ชา (David A. Sousa) ศาสตราจารย์ด้านการศึกษา #31 ณ มหาวิทยาลัยซีตัน ฮอล์ล ได้สรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นา เชิงสร้างสรรค์ไว้ดังต่อไปนี้ 1) สติปัญญา 2) แรงจูงใจ 3) ความสามารถใน การแก้ปัญหา และ 4) ความยืดหยุ่น

Sousa

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

41

ก๊อตลิบ กูนเทริน (Gottlieb Guntern) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นา และความสร้างสรรค์ ทางานเป็นที่ปรึกษาพิเศษสาหรับผู้บริหารระดับสูง เป็ น ประธานของ International Creando Symposium on Creative Leadership ได้สรุปองค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า ประกอบ Guntern ไปด้ ว ย 1) แรงบั น ดาลใจ 2) วิ สั ย ทั ศ น์ 3) สติ ปั ญ ญา และ 4) ความ น่าเชื่อถือ เจี ย ร์ เน็ ต พี พาร์ ค เกอร์ (Jeanette P. Parker) ศาสตราจารย์ ด้ า นการศึ ก ษา #33 มหาวิทยาลัยหลุยเซียร์น่า สเตรท และผู้อานวยการศูนย์การศึกษาอัจฉริยะ ที่ สาคัญเป็นศิษย์เอกของ อี พอล ทอเรนซ์ (บิดาแห่งความคิดเชิงสร้างสรรค์) และ ลั๊กกี้ จี บิกนาร์ด ผู้อานวยการศูนย์ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการ สอน และเป็ น รองศาสตราจารย์ ใ นมหาวิ ท ยาลั ยหลุ ย เซี ย ร์ น่ า สรุ ป Parker องค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ในหนังสือการพัฒนาภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ ว่า ประกอบไปด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) ความยืดหยุ่น และ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา ซาร่ า ห์ อี แดนเนอร์ (Sarah E. Danner) ปั จ จุ บั น ท างานเป็ น อาจารย์ ณ มหาวิท ยาลัย โอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริก า ซึ่งเป็น มหาวิท ยาลัย อั น ดั บ ต้น ๆที่ ศึ ก ษา เกี่ยวกับภาวะผู้นา ได้สรุปองค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า ประกอบไปด้วย 1) ความยืดหยุ่น และ 2) ความไว้วางใจ ศาสตราจารย์ ห ลุ ย ส์ สโตล (Louise Stoll) ผู้ อ านวยการศู น ย์ ภ าวะผู้ น า ณ #34 มหาวิทยาลัยลอนดอน ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ และ ศาสตราจารย์ จู เ ลี ย ทิ มเพ อเลย์ (Julie Temperley) ได้ สรุ ป องค์ ประกอบของภาวะผู้น าเชิงสร้างสรรค์ไว้ในบทความชื่อ “Creative Leadership: a Challenge of Our Times” ว่ า ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด้ ว ย Stoll 1) จินตนาการ และ 2) การคิดแบบไตร่ตรอง #32

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

42

อั ล มา แฮร์ ริ ส (Alma Harris) ผู้ อ าน วยการศู น ย์ พั ฒ น าภ าวะผู้ น าและ ศาสตราจารย์ สถาบันการศึกษาในมหาวิท ยาลัยลอนดอนให้ทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้น า เชิงสร้างสรรค์ว่าไม่ใช่คุณลักษณะแต่จะเป็นการกระทาที่มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลง และได้สรุปองค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่าประกอบไปด้วย 1) ความยืดหยุ่น และ 2) ความท้าทาย ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นา เชิงสร้างสรรค์ว่าประกอบไปด้วย 1) การคิดเชิงวิเคราะห์ 2) การนาการเปลี่ยนแปลง และ 3) จินตนาการ องค์ประกอบุ นักวิชาการ จินตนาการ หลุยส์ สโตลล์ , ปีเตอร์ เซอร์นิน ริชาร์ด คอตเตอร์, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ความยืดหยุ่น เจียร์เน็ต พี พาร์คเกอร์, อัลมา แฮรีส ซาร่าห์ อี แดนเนอร์, วอเร็น เบนนิส เดวิด เอ ชัวชาร์ วิสัยทัศน์ ก๊อตลิบ กูนเทริน, ปีเตอร์ เซอร์นิน เจียร์เน็ต พี พาร์คเกอร์,วอเร็น เบนนิส ริชาร์ด คอตเตอร์ จากแนวคิดและทัศนะของนักวิชาการและนักจิตวิทยา เห็นได้ว่าองค์ประกอบของ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เกณฑ์พิจารณาจากองค์ประกอบความถี่สูง สรุปได้จานวน 3 องค์ประกอบที่สาคัญ คือจินตนาการ ความยืดหยุ่น และวิสัยทัศน์ แต่ไม่ได้หมายความว่า องค์ประกอบอื่น ๆ ไม่สาคัญ ในอนาคตควรจะมีการศึกษาองค์ประกอบอื่น ๆ โดยเฉพาะ ด้านแรงบันดาลใจ และการคิดแบบไตร่ตรอง ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

43

วิสัยทัศน์ จินตนาการ

ภาวะผู้นา ความยืดหยุ่น เชิงสร้างสรรค์

องค์ประกอบภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ จินตนาการ (Imagination) จินตนาการ เป็นความเชื่อ ความศรัทธา ความคาดหวัง ซึ่งก่อให้เกิดมโนภาพใน จิตใจ ที่สาคัญ ต้องมีความเชื่อมั่นว่ามีความเป็นไปได้ จินตนาการเป็นวิสัยทัศน์ รวมกับ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นพฤติกรรมในการแสดงออกถึงกระบวนการสร้างมโนภาพที่ เด่นชัดไว้ในจิตใจ มีเหตุผล โดยบุคคลที่จะมีคุณสมบัติการมีจินตนาการจะมีพฤติกรรม หรือการแสดงออกดังต่อไปนี้ 1. มีอารมณ์ขัน เป็นคนที่เรียบง่าย รักสนุก ขี้เล่น อันจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ ที่ไม่เคร่งเครียดเกินไป การมีอารมณ์ขันเป็นยาวิเศษที่ทาให้คนเรามีความสุข ผ่อนคลาย จากความตึ ง เครี ย ด รู้ จั ก ปล่ อ ยวาง มองโลกในแง่ ดี ให้ โอกาสให้ อ ภั ย รู้ จั ก การฝึ ก ใช้คาถา “ช่างมัน” บ้างก็จะมีความสุข สอดคล้องกับ ดร.แพตซ์ อดัมส์ (Patch Adams) #35 ผู้อานวยการสถาบันเกซุนด์ไฮต์ ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ในรัฐเวสต์เวรอ์จิเนีย สหรัฐอเมริกาที่เชื่อว่าการมีอารมณ์ขันจะเป็นปัจจัยที่สาคัญด้านสุขภาพ ทา ให้อัตราการเต้นของชีพจรลดลงระดับหนึ่ง มีการหลั่งสารแอนโดร์ฟินส์และ Adams เพิ่มปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด ทาให้มีการปลดปล่อยการสร้ างสรรค์ และกระตุ้ น ทั ก ษะในการคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ สู ง คนที่ มี อ ารมณ์ ขั น จะเสริ ม สร้ า งให้ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

44

บรรยากาศในที่ ท างานให้ มี ค วามสนุ ก สนาน เพลิ ด เพลิ น เป็ น กระบวนการในการ ปลดปล่อยความตึงเครียด แม้แต่ในเมืองบังคาลอร์ (Bangalore) ประเทศอินเดียก็มีการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยหัวเราะ (Laughter University) ขึ้นเพื่อเป็นการฝึกหัวเราะให้เป็ น ธรรมชาติ ไม่ใช่การหัวเราะ หึ หึ ๆ หรือฝืนยิ้มที่ริมฝีปากเล็กน้อย แต่เป็นการหัวเราะ แบบสุด ๆ เพื่อให้มีความสุข รื่นเริง บันเทิงใจ ทาให้เกิดความหรรษาแห่งอารมณ์ ซึ่งสรุป โดยนักจิต วิทยาและนักวิจัยทางการแพทย์ ก็พบว่าคนที่มีอารมณ์ขันจะส่งผลต่อการมี ความสร้างสรรค์ 2. มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ มองโลกในแง่บวก ให้กาลังใจตัวเองเสมอ คิดในสิ่งที่ คนอื่นไม่คาดคิด คิดนอกกรอบ คิดสิ่งใหม่ ๆ มีความสามารถในการบูรณาการทักษะและ ความรู้เพื่ อก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ สร้างสรรค์และบรรยากาศ ที่ จริงใจ ไว้วางใจ ให้ โอกาส ให้ อ ภั ย จะเอื้อ อ านวย สนั บ สนุ น ให้ เกิ ด ความคิ ด ใหม่ ๆ นาไปสู่ความคิดเชิงสร้างสรรค์ได้ 3. มี ส ติ ปั ญ ญาเฉลี ย วฉลาด มี ค วามฉั บ ไวในการตอบสนองต่ อ ปั ญ หาอย่ า ง #36 สร้างสรรค์สอดคล้องกับ ศาสตราจารย์โฮเวริ์ด การ์ดเนอร์ ที่กล่าวว่าการมี สติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นความสามารถอย่างหนึ่งในการแก้ปัญหาอย่าง สร้ า งสรรค์ ข ณะที่ ศาสตราจารย์ เดวิด เปอร์ กิ น ส์ (David Perkins) จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า องค์ประกอบความเฉลียวฉลาดมี 3 อย่าง Perkins คือ ความฉลาดโดยประสาท โดยประสบการณ์ และโดยการคิดไตร่ตรอง

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

45

ความยืดหยุ่น (Flexibility) คนที่มีความสามารถในการคิดและมองปัญ หา พร้อมเห็นทางออกของปัญ หาที่ หลายมุ ม มอง หลายทิ ศ ทาง หลายมิ ติ สามารถปรั บ เปลี่ ย นความคิ ด และวิ ธี ก ารได้ #37 ตลอดเวลาเมื่ อ ได้ รับ ข้ อ มู ล สารสนเทศและข้ อ เท็ จ จริงใหม่ ๆ ที่ น่ าเชื่ อ ถื อ คุณลักษณะดังกล่าวคือคนที่มีความยืดหยุ่น เช่นเดียวกับน้าเมื่ออยู่ในแม่น้าลา ธารที่กว้างใหญ่ ก็จะเย็น ใสสะอาด แต่เมื่ออยู่ในกาน้าร้อนที่กาลังต้มเดือด ก็จะร้อนระอุ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงไว้คือความเป็นน้า คนที่มีความยืดหยุ่นก็จะ วิกรม กรมดิษฐ์ สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่คลุมเคลือ กากวม กดดัน ท้าทาย หรือ มี ความไม่แน่นอนได้อย่างไม่มีปั ญ หา ไม่ยึดตึดกับความรู้หรือกรอบแนวคิดแบบเดิม ๆ สอดคล้องกับทัศนะของ วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ เจ้าของนิคมอุตสาหกรรม ในประเทศไทยและต่ างประเทศ ที่ ก ล่ าวว่าความยื ด หยุ่ น เป็ น ความพอดี พอควร ใน ความคิดและการกระทา ไม่มาก ไม่น้อย เข้าใจ รู้จัก ตัวเองและสภาพแวดล้อม พร้อมที่ จะเปลี่ยนแปลงวิถีคิดและการกระทาตามสถานการณ์โลกโดยมองเป็นเรื่องที่ท้าทายและ สนุกสนาน การจริงจังอย่างมีความสุขไม่หมกหมุ่นและเคร่งเครียดกับงานมากเกินไป ลักษณะบุคคลที่มีความยืดหยุ่นที่พิเศษอีกประการคือเป็นคนที่ไม่ชอบกฎ ระเบียบ แบบ แผน เงื่อ นไขที่ ยุ่ งยาก ละเอี ย ดยิ บ เป็น คนมองโลกในแง่ดี พยายามจั บ ถู ก ไม่ จั บ ผิ ด ถึงแม้ว่าพบการกระทาผิดก็จะมองว่าคนเรามีความแตกต่างกัน ย่อมสามารถกระทาผิดได้ บกพร่องได้ ไม่มีใครดีหรือทาถูกไปหมดทุกอย่าง ความบกพร่องหรือผิดพลาดเป็นเรื่อง ธรรมดาของปุถุชนทั่วไป ไม่ยึดมั่น ถือมั่น กับความคิดหรือแนวทางที่ตั้งไว้แบบสุดโต่ง คิ ด ว่าบางเรื่ อ งถู ก วั น นี้ อ าจจะผิ ด ในวัน ข้ างหน้ า รู้ จั ก ผ่ อ นปรนตนเอง ไม่ จ ริ งจั งและ เคร่งเครี ย ดกั บ สิ่ งที่ ก ระท ามากจนเกิ น ไป เพราะถ้ าตึ งมากก็ จ ะเหมื อ นกั บ สายพิ ณ ที่ ตึงแน่นเกินไป สักวันก็ต้องขาดสะบั้น ความพอเหมาะ พอดีเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา เป็นคน เรีย บง่าย อารมณ์ ดี คนที่ มี ค วามยื ด หยุ่ น จะไม่ เจ็ บ ปวดและทุ ก ข์ ท รมานในเวลาที่ ไม่ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

46

สมหวังหรือผิดหวัง เพราะจะสามารถทาใจได้ว่าคนเราแพ้ได้ ชนะได้ เสมอได้ กล่าวคือ สามารถทาใจให้รู้สึกปล่อยวางได้ ส่วนคนที่ไม่มีความยืดหยุ่น จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ ยอมหักไม่ยอมงอ ยึด ความคิดตนเองเป็น ใหญ่ เช่นถ้าแพ้ห รือล้มเหลวขอไม่มีชีวิตอยู่ ดีกว่า มีทิฐิสูง แม้แต่เพื่อนฝูง ญาติสนิท มิตรสหาย ถ้าทาผิดใจหรือผิดพลาดก็จะไม่ให้ โอกาส ไม่ให้อภัย วิสัยทัศน์ (Vision) การมีวิสัยทัศน์ หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมองภาพในอนาคตอย่าง ชัดเจนนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ คนที่มีวิสัยทัศน์ จะเป็ น คนที่ ม องไกล ใจกว้า ง (ไม่ ม องใกล้ ใจแคบ แอบใส่ ร้ า ย เพื่อน) กล้าที่จะปรับเปลี่ยน เรียนรู้ เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง #38 เปิดใจกว้างเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลง มองภาพรวม ภาพ ใหญ่ ไม่มองภาพเล็ก ไม่คิดเล็ก คิดน้อย ไม่มีอคติ วิสัยทัศน์ไม่ใช่ การเพ้อฝันที่เลื่อนลอย แต่เป็นสิ่งที่ จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งมา จากการเข้าใจองค์การอย่างลึกซึ้งทั้งในอดีตและในอนาคตขององค์กร ผู้นาที่มีวิสัยทัศน์ จะกล้าคิด กล้าฝัน กล้าตัดสินใจ เชื่อมั่นและตั้งมั่นในวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีวิสัยทัศน์รวมไปถึงการสร้างคน สร้างทีมงาน การมีสายตาอันเฉียบคม โดย มองคนในที ม ที่ มี แ วว มี อ นาคตไกล มี ค วามคิ ด ความอ่ า น เพี ย งแต่ อ ายุ น้ อ ย ขาด ประสบการณ์ ผู้นาจะต้องอดทน อดกลั้น รู้จักใช้เวลาในการบ่มเพาะคนให้มีวิสัยทัศน์ ให้ มี ค วามแข็ งแกร่งทั้ งร่างกายและจิต ใจ แต่ ผ ลลั พ ธ์ที่ ได้ นั้ น คุ้ ม ค่ าเสมอ เป็น การคิ ด วางแผนอนาคตของทีมงาน เพื่อจะกาหนดทิศทางและจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อที่จะมุ่งสู่ ความสาเร็จในอนาคต

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

47

บทสรุป บุ ค คลที่ มี บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะหรื อ พฤติ ก รรมในการแสดงออกด้ า นการมี วิสั ย ทั ศ น์ จินตนาการ และความยืดหยุ่น เรียกว่า เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ สาหรับคนที่มีแต่วิสัยทัศน์ แต่ขาดจินตนาการและความยืดหยุ่นก็สามารถพัฒนาและ สร้างได้ เพียงแต่ต้องกล้าที่จะเปิดใจ เรียนรู้ รับรู้ สิ่งใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆ และฝึกเป็นคน ที่มีลักษณะน้าไม่เต็มแก้ว กล่าวคือต้องหมั่นฝึกฝน เรียนรู้ เติมเต็มอยู่ตลอดเวลา หรือคน ที่มี วิสัยทั ศน์ มีจิน ตนาการ แต่ขาดความยืด หยุ่น ควรจะรู้จักรับฟั งความคิดเห็ นและ วิธีการของคนอื่นที่ไม่ตรงกับตนเอง แล้วนามาคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ มีเหตุผล พร้อมที่ จะยอมเปลี่ยนวิธีการไปกับคนอื่นที่เห็นว่าถูกต้อง บรรณานุกรม วิกรม กรมดิษฐ์. (2555). คาถาชีวิต. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ ซิตี้ จากัด. ว. วชิรเมธี (2555). 9 เร่​่องเพ่​่อความก้าวหน้า. นนทบุรี: สานักพิมพ์ปราน. วิทยา นาควัชระ (2555). อยู่อย่างสง่า. พิมพ์ครั้งที่ 26. กรุงเทพฯ: ปรีชาธร อินเตอร์พริ้นท์ จากัด ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบุวนทัศน์ใหม่ และผู้นาใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทอย เฮนรี่. (2554). นิสัยแห่งความสาเร็จ. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว. สุทธิชัย หยุ่น (2556).ชีวจิต. ปีที่ 15 ฉบับ 16 ก.พ. 2556. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด(มหาชน). ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุ​ุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

48

Basadur, M. (2008). Leading Other to Think Innovatively Together: Creative Leadership. Journal of The Leadership Quarterly,15(1),.103–21. Bennis, W. (2002). Creative Leadership. [ABI]. Bangkok: Chulalongkorn University. Harris, A. (2009). Creative leadership.Journal of Management in Education, 9-11. Chernin, P. (2001). Creative leadership: The strength of ideas The power of the imagination. Vital Speeches of the Day, 68(8),245. Coste, T. G. (2009). Creative Leadership & Women. Retrieved September 9, 2011, from http://www.pptsearch.net/ details-creative-leadership-amp-women-349420.html Couto, R. A. (2002). To give their Gifts: Health, community and democracy. Nashville: Vanderbilt University Pr. Danner, S. E. (2008.). Creative Leadership in Art Education: Perspectives of an Art Educator.Thesis Master of Arts (MA), in Art Education (Fine Arts), Ohio University. Guntern, G. (2004). The Challenge of Creative Leadership.[n.p.]: Maya Angelou Press. Harris, A. (2009). Creative leadership. Journal of Management in Education,23(1), 9-11. Parker, J.P.&Begnaud, L.G. (2004). Developing Creative Leadership. Portsmouth, NH.: Teacher Ideas Pr. Stoll, L. &Temperley, J. (2009). Creative leadership: A challenge of our times. School Leadership and Management,29(1), 63-76.

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Leadership)

อ้างอิงรูปภาพ ที่ #24 #25 #26 #27 #28 #29 #30

หน้า 36 37 38 38 38 40 40

#31 #32 #33 #34 #35 #36 #37 #38

40 41 41 41 44 44 45 46

แหล่งอ้างอิง http://www.hbs.edu/faculty/Pages/profile.aspx?facId=6495 http://ednet.kku.ac.th/~ed-admm/person.htm http://www.flcreativity.com/11presenters.htm http://m07.cgpublisher.com/main_speakers.html http://cvb.ehu.es/ikdjendartea/programa.htm http://planetoftheapes.wikia.com/wiki/Peter_Chernin http://woonsocket.patch.com/users/ Richard-couto/photos#photo-10434750 http://www.corwin.com/authors/505118 http://www.invention.ch/associations/g-guntern.php Creative Leadership Development Handbook. http://www.cceam.org/index.php?id=92 http://en.wikipedia.org/wiki/File:080515patch.jpg http://www.uknow.gse.harvard.edu/teaching/TC326.html http://hilight.kapook.com/view/17324 http://smeidea.blogspot.com/2012/05/vision.html

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต

49


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.