Creativity : ความสร้างสรรค์ ความคิดเชิงสร้างสรรค์

Page 1

ความสร้างสรรค์ Creativity

“การไม่มีทางเดิน ไม่ได้หมายความว่าให้เราหยุดเดิน แต่จงสร้างทางใหม่ขึ้นมา แล้วย่างก้าวเดินด้วยความ สร้างสรรค์และยั่งยืน...” ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

2

ความสร้างสรรค์ (Creativity) การดาเนินชีวิตในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่หมุนเวียน เปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลาทั้งการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปรุงแต่ง จากฝีมือของมนุษย์ การมีสติสัมปชัญญะ เพื่อให้สามารถเอาชนะ ฟันฝ่าต่อแรงกดดัน ที่ โหมกระหน่ าเข้ า มาในชี วิ ต การด าเนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยความระมั ด ระวั ง ไม่ ป ระมาท คิดไตร่ตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบคอบ มองโลกในแง่ดี มีจิตใจที่ดีงาม เป็นปัจจัย ที่จะนาพาชีวิตให้อยู่รอดในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีความสุข ความคิดคือ พื้นฐานที่ สาคัญสาหรับมนุษย์ เพราะความคิดเปรี ยบเสมือนกระดุมเม็ดแรก ดั่งที่มีคนกล่าวว่า การกระทานามาจากความคิด หรือจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว เพราะไม่ว่าจะเป็นการ ตัดสินใจ การกระทา หรือพฤติกรรมในการแสดงออกใด ๆ ล้วนเกิดจากความคิดแทบ ทั้งสิ้น ถ้าคิดดี ทาดีก็จะนาพาแต่สิ่งดีงาม ถ้าคิดไม่ดี ก็จะนาไปสู่การพูด และการ กระทาที่ไม่ดี สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น แม้ความคิดจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับ ต้องได้แต่ก็มีพลังทรงอานุภาพ อยู่ที่ว่าจะคิดร้าย คิดดีงามหรือคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่ง มนุษย์ทุกคนนั้นล้วนมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ บ้าน ที่ทางาน การเลี้ยงดู สภาพสังคมทั่วไปหรือปัจจัยอื่น ๆ จะ เอื้ออานวย พลังแห่งความคิดเชิงสร้างสรรค์จะมีพื้นฐานมาจากการมองโลกในแง่ดี การคิดเชิงบวก ผู้ใดมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ย่อมคิดดี พูดดี ทาดีทั้งต่อตนเองและต่อ คนอื่น การกระทาที่ดีงาม ด้วยแนวทางที่ชาญฉลาด ก่อให้เกิดประโยชน์และมูลค่า เรียกว่า ความสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้าใจขอบเขต เนื้อหา รายละเอียดเกี่ยวกับความ สร้างสรรค์ และความคิดเชิงสร้างสรรค์ ผู้เขียนได้รวบรวม เรียบเรียงเนื้อหาเพื่อให้ เกิดความกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

3

ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ในยุคเขตการค้าเสรี ซึ่งกาลัง จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) การคิดแบบรวม พลั ง เพื่ อ ความเป็ น ปึ ก แผ่ น น าไปสู่ เป้ า หมายและทิ ศ ทางเดี ย วกั น เป็ น สิ่ ง ที่ ท้ า ทาย ความสามารถของผู้ น า การหลอมรวมเศรษฐกิ จ การเมื อ ง ประเพณี วั ฒ นธรรม การศึกษา ที่สลับซับซ้อนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเข้าเป็นปึกแผ่นเดียวกันเรียกว่ากลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซี่ยนเป็นสิ่งที่ตั้งคาถามอยู่ในใจประชาชนว่า จะสามารถกระท าได้ หรือไม่ ในขณะที่ประเทศสมาชิกพยายามที่ จะเสริมความเหมือนและสร้างความแตกต่าง เพื่ อให้ เกิ ดความได้เปรียบในการเจรจา ต่อ รอง และสิ่ งที่ แตกต่ างนั่ น คื อความคิ ดเชิ ง สร้างสรรค์ ซึ่งคนส่วนมากคิดว่าจะเกี่ยวข้องกับคนที่ทางานด้านศิลปะอย่างเดียว แต่ใน ความเป็นจริงแล้วงานศิลปะเป็นเพียงแขนงหนึ่งของความคิดเชิงสร้างสรรค์ คนบางคน คิดว่าเป็นความคิดแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ คือทาอะไรให้แปลก ๆ แหวกแนวเข้าไว้ แต่ใน ความเป็นจริงแล้วนอกจากความแปลกใหม่ ก็ควรจะมีมูลค่าด้วย บางคนคิดว่าความคิด สร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์ที่ติดมากับตัวตั้งแต่กาเนิด แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ทั้งหมด คนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์จะเกิดจากพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทุก คนควรค่าแก่การเรียนรู้และแสวงหาเพื่อที่จะให้ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและยั่งยืน ความคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่แปลกใหม่ แหวกแนว นอกกรอบออกไป จากความคิดเดิม ๆ ในบางครั้งเป็นความคิดที่บูรณาการจากสิ่งเดิม ๆ ที่มีอยู่แล้วนาไปสู่ สิ่งที่แปลกใหม่ หรือเป็นความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยอาศัยการได้รับโอกาส ความ ท้าทาย และความเป็นไปได้ ซึ่งเป็นหัวใจที่จะนาไปสู่ความคิดเชิงสร้างสรรค์ นักการศึกษา ทั้งหลายได้ให้ความหมายไว้ตามบริบทและแนวคิดของแต่ละคนดังที่จะกล่าวถึงต่อไป

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

4

ชาญณรงค์ พรรุ่ ง โรจน์ ปั จ จุ บั น ด ารงต าแหน่ ง ผู้ อ านวยการส านั ก งานรั บ รอง มาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา เป็ น ศาสตราจารย์ แ ละอาจารย์ ส อนที่ #1 จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ ท าการศึ ก ษาค้ น คว้ า และท าวิ จั ย เกี่ ย วกั บ ความคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ ให้ ค วามหมายความคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ ไว้ ว่ า เป็ น ความสามารถของสมองที่คิดได้กว้างไกล หลายแง่มุม ความคิดที่ทาให้เกิด ชาญณรงค์ พรรุง่ โรจน์ ความคิ ด แปลกใหม่ แ ตกต่ า งไปจากเดิ ม เป็ น ความสามารถในการมองเห็ น ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ทาให้เกิดการเรียนรู้ รับรู้ จนเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง อย่ างรวดเร็วท าให้ เกิ ด ความคิ ด เชิ งจิน ตนาการ ให้ ทั ศ นะเกี่ ยวกั บ คุ ณ ลั กษณะคนที่ มี ความคิดเชิงสร้างสรรค์ว่า จะมีบุคลิก ลักษณะเป็นคนมองตัวเองในแง่บวก มีแรงจูง ใจใน การพัฒนาตนเอง ยอมรับนับถือตระหนัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอิสระ มีผลงานด้านงานเขียนมากมายและ #2 เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดให้ ด ารงต าแหน่ ง นั ก วิ ช าการอาวุ โส (Senior Fellow) ศู น ย์ ศึ ก ษาธุ ร กิ จ และ รัฐบาล (นักวิชาการอาคันตุกะมหาวิทยาลัยอ็ อกฟอร์ด ) เป็น ศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์ ประจามหาวิทยาลัยรีเจนท์ ผู้แต่งหนังสือชุด“ผู้ชนะ 10 คิด” ได้ให้ความหมาย เจริญวงศ์ศักดิ์ ความคิ ด เชิ งสร้ า งสรรค์ ไว้ ว่ า เป็ น การขยายขอบเขตของความคิ ด ออกไปจากกรอบ ความคิดเดิมที่มีอยู่แล้วสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อค้นหาคาตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และได้กาหนดองค์ประกอบความคิดเชิงสร้างสรรค์ไว้ ว่าประกอบ ไปด้วย 1) บุคลิกลักษณะและทัศนคติ 2) ความสามารถด้านสติปัญญา 3) ด้านความรู้ 4) สภาพแวดล้อม 5) แรงจูงใจ และ 6) รูปแบบการคิด

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

5

เอลลีส พอล ทอร์เรนซ์ (Ellis Paul Torrence) บุคคลที่ได้รับเกียรติให้เป็น ”บิดา แห่งความคิดเชิงสร้างสรรค์ ” ได้อุทิศทั้งชีวิตให้กับงานวิจัยและการสอน ด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้ความหมายไว้ว่าเป็น กระบวนการที่บุคคลไว ต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไปหรือสิ่งที่ไม่ Torrence ประสานกั น และไวต่ อการแยกแยะสิ่ งต่ างๆ ไวต่อ การค้ น หาวิธีการแก้ ไข ปัญหา ไวต่อการคาดเดาหรือการตั้งสมมติฐานที่เกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดลองและทดสอบ ตามสมมติฐาน จนในที่สุดก็สามารถนาเอาผลลัพท์ไปแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นได้ และได้ สร้างกระบวนการที่ก่อเกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1) ข้อเท็จจริง (Fact) เริ่มจาก ความรู้ สึ ก กั ง วล แต่ ยั ง ไม่ ส ามารถหาสาเหตุ ไ ด้ ว่ า เกิ ด จากอะไร 2) การค้ น พบ ปัญหา (Problem) เมื่อคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบจนเข้าใจแล้วจะสามารถบอกได้ว่าต้น ตอของปั ญ หาที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ อะไร 3) ความคิ ด (Ideal) เป็ น การคิ ด และตั้ ง สมมติ ฐ าน ตลอดจนรวบรวมข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ เพื่ อ ทดสอบตามสมมติ ฐ านที่ ตั้ ง ไว้ 4) แนวทาง (Solution) ทดลอง ทดสอบสมมติ ฐ านจนพบค าตอบที่ ชั ด เจน และ 5) การยอมรั บ (Acceptance) เป็ น การยอมรับ ค าตอบที่ ค้ น พบและคิ ด ต่ อไปว่าการค้น พบจะน าไปสู่ แนวทางที่เกิดความคิดใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ โฮเวิ ร์ ด การ์ ด เนอร์ (Howard Gardner) ชาวอเมริ กั น คนแรกที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล #4 LouisVille Grawenmayer Award สาขาการศึกษา เป็นศาสตราจารย์ด้าน การศึกษา นักจิตวิทยาและพัฒนาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของ ทฤษฏีพ หุปัญ ญา ทั้ ง 9 ด้านที่เน้นการพั ฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่ง ประกอบไปด้วย 1) ความฉลาดทางด้านภาษา ความสามารถในการเข้าใจ Gardner และการใช้ ภ าษา พู ด เขี ย น การเรี ย นรู้ ภ าษาเพื่ อ สื่ อ สารให้ ได้ ผ ลตามเป้ าหมาย สื่ อ อารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่น รับรู้และเข้าใจ 2) ความฉลาดทางด้านตรรกะ ความสามารถ #3

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

6

ทางด้ านคณิ ต ศาสตร์ เป็ น เรื่อ งของเหตุ แ ละผล การคิ ด วิเคราะห์ ในเชิ งวิท ยาศาสตร์ 3) ความฉลาดทางด้านดนตรี ความสามารถในการเข้าใจจังหวะและสร้างสรรค์ดนตรี 4) ความฉลาดทางด้านมิติ ความสามารถในการสร้างภาพตามจินตนาการ 5) ความฉลาด ทางด้ านการเคลื่อนไหวร่างกาย 6) ความฉลาดในการเป็นผู้น า ความสามารถในการ เข้าใจ จูงใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น 7) ความฉลาดภายในตน ความสามารถในการ เข้ า อกเข้ า ใจตนเองและคนรอบข้ า ง 8) ความเฉลี ย วฉลาดทางด้ า นธรรมชาติ ความสามารถในการเรีย นรู้ เรื่ อ งธรรมชาติ 9) ความฉลาดในการคิ ด ไตร่ต รอง ได้ ให้ ความหมายความคิ ด เชิ งสร้างสรรค์ ไว้ว่าเป็ น ความคิ ด ใหม่ ที่ แ ตกต่ างไปจากเดิ ม เป็ น ความคิดที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง และได้รับการยอมรับเป็นอย่างยิ่ง เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward De Bono) บิดาเป็นศาสตราจารย์ทางการแพทย์ #5 มารดาเป็นนักเขียนบทความที่มีชื่อเสียง เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้อานวยการคนแรก ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นชาวสหราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ รู้จักกันทั่วโลก เป็นแพทย์ นักคิด นักจิตวิทยา และนักปรัชญาในคนเดียวกัน Bono ท าให้ มี วิ ถี คิ ด และมองโลกหลากหลายมิ ติ ได้ รั บ ขนานนามว่ า “สุ ด ยอด ปรมาจารย์แห่งความคิดเชิงสร้างสรรค์ ” มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและโด่งดังทั่วโลกใน ด้ า นการพั ฒ นาความคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ ให้ ทั ศ นะไว้ ว่ า ความคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ คื อ ความสามารถในการมองหาทางเลือกที่หลายทิศทาง โดยการคิดอย่างครอบคลุมทั้งใน แนวกว้างและแนวลึก ตลอดจนสามารถสร้างแนวคิดใหม่ที่แตกต่างโดยเฉพาะการคิด นอกกรอบ นอกจากนั้นยังเป็นเจ้าของทฤษฏีวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ซึ่งเป็นวิธีคิดที่เกิดจากการเชื่อว่า การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ฝึกฝนและพัฒนาได้ โดยทฤษฏีดังกล่าวจะช่วยให้มนุษย์เราเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุ ผล มีขั้นตอน สามารถคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ได้อย่างชาญฉลาด และเจ้าของทฤษฏีคิดแนวข้าง ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

7

กิลฟอร์ด (Guilford) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เจ้าของทฤษฏีเชาว์นปัญญา ได้ให้ ทัศนะเกี่ยวกับความคิดเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า เป็นลักษณะความคิดเชิงอเนกนัย (Divergent Thinking) คือความคิดที่หลากหลายทิ ศทาง หลายแง่ หลายมุม คิดกว้างไกล นาไปสู่ ความคิ ด ใหม่ ๆ ซึ่ งจะเป็ น การคิ ด ริเริ่ ม สิ่ งใหม่ ๆ โดยไม่ ก ลั วการถู ก วิพ ากษ์ วิจ ารณ์ ความคิดแบบมีอิสระในการคิดและตัดสินใจ คิดหาคาตอบได้โดยไม่จากัด ไร้ขอบเขต จากทั ศ นะของ นั ก บริ ห ารการศึ ก ษา นั ก ปรั ช ญา นั ก จิ ต วิ ท ยา สามารถสรุ ป ความหมายความคิดเชิงสร้างสรรค์ได้ว่าคือความคิดที่แปลกใหม่ นอกกรอบอย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามหรือมีคุณค่าเพิ่มขึ้นหรือเป็นความคิดที่เกิดจากการหลอมรวม มาจากความคิด หลายแง่ หลายมุม หลายมิติ ทั้งความคิด เห็น ที่ตรงกันและไม่ตรงกัน นามาบูรณาการก่อให้เกิดเป็นความคิดใหม่ที่ท้าทายและสร้างสรรค์

คุณสมบัติบุคคลที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ คนที่กล้านาความเปลี่ยนแปลง กล้ าคิด กล้าทา กล้าตัดสินใจ กล้า เสนอแนวคิด และวิธีการที่แปลกใหม่ คิดในสิ่งที่คนอื่นไม่คิด มองในสิ่งที่คนอื่นไม่มอง ทาในสิ่งที่คนอื่น ไม่ท า เป็นคนอารมณ์ ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีสติสัมปชัญ ญะแม้จะตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ กดดันและเลวร้ายแค่ไหน ก็สามารถมองโลกในแง่ดีได้ สามารถฟันฝ่าอุปสรรค นานัปการ มองวิกฤตเป็น โอกาสเสมอ คือ ลัก ษณะของบุค คลที่ มีค วามคิด เชิงสร้างสรรค์ ผู้ เขีย น สามารถสรุปคุณสมบัตทิ ี่เด่นชัดได้ดังต่อไปนี้ 1. มี ค วามคิ ด ริ เริ่ ม (Originality) เป็ น บุ ค คลที่ มี ค วามคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์ สิ่ ง ที่ แปลกใหม่ มี ค วามกระตื อ รือ ร้น อยากรู้ อยากเห็ น ชอบกระท าในสิ่ งที่ ส ลั บซับ ซ้ อ น กล้าแสดงออก เชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง จะกล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าท้าทายต่อปัญหา และกล้ายืดอกยอมรับความผิดพลาด ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

8

2. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการคิดหาคาตอบ ได้หลายแง่มุม ปรับเปลี่ยนความคิด การกระทา และวิธีการตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างชาญฉลาด เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 3. มีความคิดคล่อง (Fluency) สามารถคิดหาคาตอบได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ในระยะเวลาที่ จากัด สามารถตัด สินใจได้อ ย่างถูกต้ องแม่ นยา ทั นท่ วงที แม้จะอยู่ใน สถานการณ์ที่คับขัน มีความฉับไวในการตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม 4. มี ค วามคิ ด ละเอี ย ดลออ (Elaboration) เป็ น บุ ค คลที่ ส ามารถคิ ด ได้ อ ย่ า ง ละเอียดลออ สุขุมรอบคอบ มีเหตุผล ตระหนักรู้ ตระหนักคิดไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ไม่ม องข้ามรายละเอีย ดเล็ก ๆ น้อ ย ๆ ที่ ค นอื่น มองข้ าม เป็น บุคคลที่ มีค วามประณี ต พิถีพิถันมองทุกรายละเอียด 5. มีความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) เป็นบุคคลที่มีความคิดที่หลากหลาย มิ ติ มองเห็ น โอกาสในวิ ก ฤติ เสมอ มองตนเองและคนรอบข้ า งในแง่ดี สดชื่ น ร่ า เริ ง ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์ขันแม้ จะตกอยู่ในบรรยากาศที่ตึงเครียด กดดัน ชอบคิดบวกกับ ทุก ๆ สิ่ง และกับ ทุ ก ๆ คน มองความผิด พลาดและความบกพร่องเป็น เรื่องธรรมดา เล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นได้กับสามัญชนทั่วไปได้เสมอ ความคิด เชิงบวก ความคิด ความคิด ความคิด ริเริ่ม เชิงสร้างสรรค์ ยืดหยุ่น ความคิด ละเอียดลออ

ความ คิดคล่อง

ลักษณะคนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ คุณสมบัติบุคคลที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

9

ปัจจัยที่นาไปสู่ความคิดเชิงสร้างสรรค์ การเป็นคนที่มีความเรียบง่ายในการดารงชีวิตเป็นพื้นฐานที่สาคัญที่จะนาไปสู่การมี ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงพลังและมีอานุภาพในขณะเดียวกัน การเป็นคนอารมณ์ ดี มีความสุขุมลุ่มลึก ก็เป็นปัจจัยที่นาไปสู่ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสรุป ปัจจัยได้ ดังต่อไปนี้ 1. การเปิ ด ใจกว้ าง รั บ รู้ แ ละเรี ย นรู้ สิ่ ง ใหม่ ๆ ด้ วยการแสวงหาความรู้ ใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักปราชญ์ การไม่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ กฎระเบียบข้อบังคับหรือ อิทธิพลใด ๆ การเปิดหู เปิดตา เหมือนกับการเปิดประสาทสัมผัสแห่งการรับรู้ทุกส่วนจะ ท าให้ ตื่ น ตา ตื่ น ใจ ท าให้ เกิ ด มโนภาพและจิ น ตนาการ ก่ อ เกิ ด พลั ง แห่ ง ความคิ ด เชิงสร้างสรรค์ 2. การเลี้ยงดู การมีครอบครัวที่ให้ความรัก ความอบอุ่น มีบรรยากาศแบบมีส่วน ร่วมในการคิด การสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่เผด็จการด้านความคิด ให้อิสระ และเป็นประชาธิปไตย เมื่ อทาผิดพลาดหรือบกพร่องก็ให้โอกาส ไม่ทาโทษหรือดุด่า ถ้า พ่อแม่ รู้จักให้อภัยลูก อยู่เสมอ ก็จะบ่มเพาะให้ลูกรู้จักให้อภัยคนอื่นที่ทาผิดพลาดกับ ตัวเอง การมีระเบียบ กฎเกณฑ์ เงื่อนไขในการเลี้ยงดูที่จริงจังกับชีวิตมากเกินไป จะทาให้ ชีวิตขาดความสุข สนุกสนาน และขาดพัฒนาการที่ ก่อเกิดความสร้างสรรค์อันที่ควรจะ เกิดขึ้น ถ้ามีผู้ปกครองที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีสติ ปลอบใจตนเองและคนในครอบครัว ให้มีกาลังใจทั้งยามทุ กข์และยามสุข รู้จักปล่อยวาง มองทุก ๆ อย่างเป็นเรื่องธรรมดา ก็จะส่งผลให้ลูกมีความสุขและมีความคิดเชิงสร้างสรรค์

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

10

3. สภาพแวดล้ อ ม ทั้ ง ที่ บ้ า น ที่ ท างาน และบรรยากาศรอบ ๆ ตั ว ถ้ า เป็ น บรรยากาศที่ เงีย บสงบจะท าให้ มีสติ มีส มาธิ การสร้างบรรยากาศแห่ งความไว้วางใจ จริงใจ ให้ อิ ส ระ เสรี ภ าพในการคิ ด การพู ด และการท า การอยู่ ในสภาพแวดล้ อ มที่ ห้อมล้อมไปด้วยบุคคลที่ประสบความสาเร็จหรือมีความคิดที่สร้างสรรค์แปลกใหม่ ซึ่งจะ เป็นแรงกระตุ้นให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ 4. ประสบการณ์ หมายความรวมทั้งประสบการณ์ ทางตรงที่เกิดกับตัวเอง และ ประสบการณ์ทางอ้อมที่เกิดกับสังคมและคนรอบข้าง ประสบการณ์ทั้งเรื่องดีและร้าย ทั้ง จากการได้รับรู้ สัมผัส และจากการได้ยิน ได้ฟั ง จากนั้นนามาผสม ผสาน บูรณาการ ไตร่ตรองอย่างมีสติ รอบคอบและชาญฉลาด นาไปสู่ความคิดใหม่ ๆ

ความสร้างสรรค์ (Creativity) การด ารงชี วิ ต ในโลกปั จ จุ บั น และอนาคตที่ มี ค วามหลากหลาย ทวี ค วาม สลับซับซ้อน ทุกคนต้องมีความสามารถในความสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาอย่างเต็ม ศักยภาพ การส่งเสริมและสนับสนุนให้คนมีความสร้างสรรค์เพื่อรองรับและเป็นส่วนหนึ่ง ของความสลับซับซ้อน ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน คิดและทาในสิ่งที่แตกต่าง ทาในสิ่งที่ คนอื่นไม่ทา ความสร้างสรรค์เป็นการต่อยอดจากความคิดนามาดัดแปลง หรือก่อให้เกิด เป็นรูปร่าง สร้างสิ่งของที่แปลกใหม่ มีมูลค่า การให้ความหมายความสร้างสรรค์ท้ายที่สุด แล้วจะมองที่ผลงานหรือผลผลิตที่สร้างสรรค์ มีมูลค่า เป็ นสิ่งแปลกใหม่และผู้คนให้การ ยอมรับ ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเราอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาและ ผลิตผลงานในเชิงสร้างสรรค์

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

11

จอย พอล กิล ฟอร์ด (Joy Paul Guilford) นั ก จิต วิท ยาชาวอเมริกั น กล่าวไว้ว่า #6 ความสร้ างสรรค์ จะสั ม พั น ธ์กั บ โครงสร้างสติ ปั ญ ญา โดยกิ ล ฟอร์ ด เชื่ อ ว่า สติปัญญาเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกันของกระบวนการคิด เนื้อหากับผลลัพธ์ของการ คิ ด แต่ ก็ มี นั ก วิ ช าการบางกลุ่ ม ที่ เห็ น ไม่ ต รงกั น เพราะเชื่ อ มั่ น ว่ า คนที่ มี สติปัญญาน้อยนิด ก็สามารถมีความสร้างสรรค์สูงได้เพียงแต่มีความกล้า กล้ า Guilford เสี่ยง กล้าคิดนอกกรอบ ในมุมตรงกันข้าม คนที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ อาจจะไม่ใช่คนที่มี ความคิดเชิงสร้างสรรค์เพราะคนเหล่านั้นอาจจะเก่งท่องจา หรือมีแต่ความจาที่เป็นเลิศ แต่ไม่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ มาร์ค เอ รันโก้ (Mark A Runco) ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่ง #7 รัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันดารงตาแหน่งผู้อานวยการศูนย์ความสร้างสรรค์ ทอร์เรนซ์แห่งมหาวิทยาลัย จอร์เจียได้ค้น พบว่าคนส่วนมากมองเห็นแต่ ปัญหา ไม่เห็นทางออกหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา คนที่มีความสามารถ มองเห็นทั้งปัญหาและทางออก คือคนที่มีความสร้างสรรค์ ยังพบว่าคนที่มี Runco ความคิดเชิงสร้างสรรค์จะเชื่อมั่นในอนาคต เชื่อว่าตนมีความสามารถใน การแก้ไขปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ เพียงใดก็ตาม ศาสตราจารย์รันโก้ ได้ สรุป เกี่ยวกับ ความสร้างสรรค์ไว้ว่า บุคคลที่ มี ความสร้างสรรค์จะเป็น บุคคลที่ สามารถ มองเห็ น ปั ญ หาและค้ น พบแนวทางหรื อ วิ ธี ก ารในการแก้ ปั ญ หาอย่ า งเฉลี ย วฉลาด สอดคล้องกับทัศนะของเชลลีย์ คาร์สัน (Shelley Carson) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ณ #8 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับความสร้างสรรค์ ให้ทัศนะ ไว้ว่าความสร้างสรรค์ไม่ใช่แค่ความคิดหรือจินตนาการเท่านั้น แต่จะต้อง เป็นสิ่งที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาด หลายแง่ หลายมุม ที่สาคัญต้องมีประโยชน์และเกิดมูลค่าสูงขึ้น Carson ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

12

จากทัศนะ แนวความคิดของนักวิชาการ และนักจิตวิทยา สามารถสรุ ปได้ว่าความ สร้างสรรค์ ห มายถึ ง กระบวนการในการสร้ างสรรค์ ผ ลผลิ ต สิ่ งแปลกใหม่ ขึ้ น มาจาก แนวทาง วิธีการใหม่ ที่หลากหลายมิติ โดยสิ่งนั้นจะต้องมีประโยชน์และมีมูลค่า อีกทั้งยัง สร้างความสมดุลระหว่างความเชี่ยวชาญเชิงลึกและแนวทางที่กว้างไกลเข้าด้วยกันอย่าง เฉลียวฉลาด

คุณลักษณะบุคคลที่มีความสร้างสรรค์ คนที่มีความสร้างสรรค์ จะเป็นคนที่ชอบสงสัย กล้าเสี่ยง กล้าทา กล้าตัดสินใจ และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เสมอ บางครั้งอาจจะบูรณาการความคิด หรืองานของคน อื่นมาดัดแปลงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้มีคุณค่า ประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีความเป็นอิสระ (Freedom) ซึ่งเป็นอิสระทั้งในการคิด การกระทา และการ ตั ด สิ น ใจ มี ค วามสามารถในการตอบสนองต่ อ สิ่ งเร้าต่ าง ๆ ด้ วยจิน ตนาการได้ อ ย่ าง รวดเร็ว ไม่ชอบกฎระเบียบและความแน่นอน ไม่ ชอบการจากัดด้วยกรอบเวลาในการ ท างานและไม่ ชอบท างานตามแผนงาน สามารถท างานและแก้ ปัญ หาต่ าง ๆ ได้ ดี ใน สถานการณ์ที่ชัดเจนและคลุมเครือ 2. มีความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) รู้สึกว่าตนเองมีคุณ ค่าไม่ว่ายามแพ้ หรือชนะ ไม่ว่าจะเป็นยามสุขหรือยามทุกข์ มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อตัวเองและต่อ ผู้อื่น มองโลกในแง่ดีว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ทุก ๆ สิ่งมีสองด้านเช่น ในที่มืดย่อมมี แสงสว่าง เป็นคนใจกว้าง รู้จักให้อภัย ให้โอกาสตนเองและคนอื่นอยู่เสมอ สามารถทาใจ ได้ว่ามนุษย์เรามีความแตกต่างและมีความบกพร่องได้ 3. กล้ า เสี่ ย ง (Risk) เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาที่ มี ค วามสลั บ ซั บ ซ้ อ น หรื อ ใน สถานการณ์ที่มีความกดดันสูงจะมีความกล้าที่จะเสี่ยงในการตัดสินใจและการกระทาโดย ไม่กลัวความผิดพลาดหรือเมื่อทาผิดพลาดแล้วก็กล้าที่จะยืดอกยอมรับผิดในสิ่งที่กระทา ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

13

4. มีเป้าหมายที่สูง (High Goal) คนที่มีความสร้างสรรค์จะมีเป้าหมายที่ ชัดเจน และมีความยิ่งใหญ่ จะยึดมั่นในเป้าหมายอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ เมื่อเกิดปัญหาในการ ทางานจะหาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล มีความกระตือรือร้นและสร้างแรง บันดาลใจ ให้ตัวเองเสมอ จะไม่ยอมแพ้ ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง #9

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ค์

ความสร้างสรรค์ (Creativity)

14

ความแตกต่างระหว่างความคิดเชิงสร้างสรรค์และความสร้างสรรค์ คนที่ มี ค วามคิ ด เชิ ง สร้ า งสรรค์ ส่ วนมากจะเป็ น คนที่ มี ค วามสร้ า งสรรค์ ไปโดย อัตโนมัติ แต่ในทางตรงกันข้ามคนที่ มีความสร้างสรรค์อาจจะไม่ได้คิดสร้างสรรค์ก็ได้ เพราะผลงานหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นมาใหม่ อาจจะเกิดจากการนาความคิดของคนอื่นมา ประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่ได้เกิดจากความคิดของตนเอง   

เป็นรูปธรรม วัตถุ สิ่งของ เป็นการกระทาสิ่งใหม่ ๆ เป็นผลผลิตที่มคี ุณค่า แปลกใหม่ ไม่เคยมีมา ก่อน

 เป็นนามธรรม

ไม่สามารถจับต้องได้  เป็นการคิดสิ่งใหม่ ๆ  เป็นความคิดที่แปลกใหม่

#10

ความคิดเชิงสร้างสรรค์

#11

ความสร้างสรรค์

ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

15

บทสรุป การบรูณาการความคิดและทาในสิ่งที่แตกต่างอย่างบวก บวก เป็นความสร้างสรรค์ การมองความบกพร่อ งและความผิ ด พลาดเป็ น เรื่อ งธรรมดา เล็ ก น้ อ ย มองว่า ทุ ก คน สามารถบกพร่องกันได้ จะเป็นปัจจัยให้นาไปสู่ความสร้างสรรค์ ช่วงชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก ฉะนั้นไม่ควรจะเสียเวลากับความคิดและการกระทาที่ติดลบเพราะจะทาให้ตัวเอง เพื่อน ร่วมงานตึงเครียดและเป็นทุกข์ เปลี่ยนเป็นมาคิดและทาอย่างสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี สร้างบรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนาน สร้างความเชื่อถือไว้วางใจ มั่นใจซึ่งกันและกัน อันจะนาไปสู่การมีความสร้างสรรค์และความสุขในชีวิตได้ บรรณานุกรม เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ทอย เฮนรี่. (2554). นิสัยแห่งความสาเร็จ. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว. ทากาฮาชิ มาโกโต๊ะ. (2551). เทคนิคการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). นุชนาฏ เนตรประเสริฐ. (2553). คิด ! ทลายกรอบคิดเดิม เพิม่ พลังคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊ค. เพ็นพรทัย. (2555). คิดดี ไม่มีแพ้. กรุงเทพฯ: พรพิชชา พับลิชชิง. วิทยา นาควัชระ. (2555). อยู่อย่างสง่า. พิมพ์ครั้งที่ 26. กรุงเทพฯ: ปรีชาธร อินเตอร์พรินท์. Amabile, T. M. (1996). Creativity in context. Westview Press. De Bono, E. (1970). Lateral Thinking: Creativity Step by Step. New York: Harper & Row. ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


ความสร้างสรรค์ (Creativity)

16

Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. NewYork. McGraw Hill, Gardner, H. (1995). Leading Minds. New York: Basic Book. 286. Runco, M. (2007). Creativity theories and themes: research, development and practice. Burlington, MA. Elsevier Academic Press. Shelley, C. (2013). Creativity. Online Resource [cited 2013 Feb 19]. Abalilable from http://www.shelleycarson.com/ Sternberg, R. J. (2007). Handbook of Creativity. Cambridge University Press. ISBN 0521572851. Torrance, E. P. (1974). Torrance Tests of Creative Thinking. Personnel Press. Torrance, E. P. (1980). “Creativity and Futurism in Education: Retooling” Education.100 (4).

อ้างอิงภาพ ที่ #1 #2 #3 #4 #5 #6 #7 #8 #9 #10 #11

หน้า 3 4 4 5 6 10 10 11 12 13 13

แหล่งอ้างอิง http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/home/index.php http://drkriengsak.blogspot.com/ http://www2.mercer.edu/Education/Alumni/default.htm http://www.gse.harvard.edu/news/features/gardner10012003.html http://www.amf.org.au/dredwarddebono_ed1_2012/ http://www.coe.uga.edu/torrance/about/faculty-staff/ http://www.psichi.org/awards/winners/hunt_reports/hogan.aspx http://www.shelleycarson.com/ http://kit.kvc.ac.th http://www.gotoknow.org/posts/355806view=article&id=64&Itemid=81 http://ict4.moph.go.th/mophaccess/index.php?option=com_content& ภาวะผู้นาเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสาหรับทุกคนในอนาคต


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.