วารสารสวัสดีแม่เมาะ เดือนมิถุนายน 2560

Page 1

สวัสดี แม่เมาะ วารสาร

วารสารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ รายเดือน ฉบับที่ 6 ปีที่ 7

ประจ�ำเดือน มิถุนายน 2560

ทุกเสียงมีความหมาย ขอขอบคุณชาวแม่เมาะที่ให้ความสนใจ เข้าร่วมรับฟังและเสนอแนะความคิดเห็น กว่า อย่างคึกคัก

2,500 คน

13-16 มิถุนายนนี้

เดินหน้าลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ค.2

ณ ที่ท�ำการ อบต. และที่ว่าการอ�ำเภอแม่เมาะ ใกล้บ้านท่าน

คืบหน้าโครงการอพยพราษฎร

หน้า 4-5

ค�ำต่อค�ำ เวที ค.1

หน้า 12-13

ทีมคริกเก็ต รร.บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ สู่การแข่งขันระดับชาติ

หน้า 8-9

ล�ำปางวัลเลย์ ที่พักใหม่ในบรรยากาศธรรมชาติสุดฟิน

หน้า 15


สวัสดี

2

ความตื่นตัวในการเข้ามาร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น ในเวที ค.1 ของโครงการขยาย ก�ำลังการผลิตโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ของชาวแม่เมาะ และ จ.ล�ำปาง ซึ่งมี จ�ำนวนกว่า 2,500 คนนั้น นับเป็นสัญญาณที่ดี ต่อการพัฒนาพื้นที่ อ.แม่เมาะ ในอนาคต เนื่องจาก ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมนั้น เป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการพัฒนา ซึ่งการเข้าร่วมรับฟัง ในเวที ค.1 ครั้งนี้ นอกจากจะท�ำให้ผู้เข้าร่วมเวทีทราบถึงการด�ำเนินโครงการของ กฟผ.แล้ว ยังท�ำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนได้ทราบถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และแนวทางการพัฒนาอันเป็นประโยชน์อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากหลากหลายความคิดเห็นที่ อยากให้การใช้งบประมาณที่มีอยู่มากในพื้นที่นั้น เป็นไปเพื่อการพัฒนาประโยชน์สาธารณะ และสามารถสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง สวัสดีแม่เมาะ ฉบับนี้ ได้รวบรวม ส่วนหนึง่ ของความคิดเห็นจากผูเ้ ข้าร่วมเวทีมาน�ำเสนอในรายงานพิเศษหน้า 12-13 อีกด้วย

บทบรรณาธิการ Editor’s note

สวัสดีครับ

ผลตรวจวัด

คุณภาพอากาศ อ.แม่เมาะ ประจ�ำเดือน เมษายน 2560

ค่าสูงสุดที่ตรวจวัดได้จริง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

SO2

NO2

29

117

ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (24 ชั่วโมง)

ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (24 ชั่วโมง)

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) (24 ชั่วโมง)

ฝุ่นละอองรวม (TSP) (24 ชั่วโมง)

(ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

NO2

SO2

300

114

ค่ามาตรฐานก�ำหนดของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

- เปรียบเทียบกับ -

แผนกสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ กฟผ.

แม่เมาะ เก็บข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพ อากาศต่อเนือ่ งทุกวัน จากบริเวณพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน บ้านพักผู้ปฏิบัติงาน และชุมชนโดยรอบ กฟผ. แม่เมาะ จ�ำนวน 11 สถานี พบว่า ในเดื อ นเมษายน ค่ า เฉลี่ ย ความเข้ ม ข้ น ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง ค่ า เฉลี่ ย ความเข้ ม ข้ น ของก๊ า ซไนโตรเจนได ออกไซด์ ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในเวลา 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองรวม (TSP) ในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่วน ผลการตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศ โดยรวม ในอ�ำเภอแม่เมาะ (AQI) จังหวัดล�ำปาง พบว่า มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี - ปานกลาง ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (1ชั่วโมง)

192

320

ก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (1ชั่วโมง)

330

ฝุ่นละอองรวม (TSP) (24 ชั่วโมง)

120

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) (24 ชั่วโมง)

คุณภาพน�้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ประจ�ำเดือน เมษายน 2560 การวัดคุณภาพน�้ำ ทิ้งจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

คุณภาพน�้ำที่ผ่านการบ�ำบัด มาตรฐานน�้ำทิ้งกรมโรงงาน แล้วก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน�้ำ อุตสาหกรรม การตรวจสอบ สาธารณะ

ผล

ความเป็นกรด-ด่างของน�้ำ

7.87

5.5-9.0

อุณหภูมิของน�้ำ (องศาเซลเซียส)

29.5

ไม่เกิน 40 ํC

ค่าไขมันและน�้ำมันในน�้ำ (มก./ล.)

0.5

ไม่เกิน 5.0

ค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อย สลายจุลินทรีย์ ; BOD (มก./ล.)

0.70

ไม่เกิน 20

ค่าออกซิเจนที่ละลายในน�้ำ ; DO (มก./ล.)

5.35

ไม่ได้ก�ำหนด


แม่เมาะ

ฝายชะลอน�้ำล�ำห้วยป๋วย ธารน�้ำใจที่ไหลรวมกันเป็นหนึ่ง

http://maemoh.egat.com

ธรรมชาติ ป่า น�้ำ และสิ่งมีชีวิต เป็นส่วนประกอบในระบบนิเวศ ที่ ม นุ ษ ย์ ทุ ก คนต้ อ งรั ก ษาให้ ส มบู ร ณ์ การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ และหน่วยงานในพื้นที่ ได้เห็นความ ส�ำคัญของการดูแลทรัพยากรในพืน้ ที่ อ.แม่เมาะ มาอย่างต่อเนือ่ ง ใน ปัจจุบันมีกิจกรรมทั้งการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ท�ำเหมือง การสร้าง ฝายชะลอน�้ำกว่า 1,607 ฝาย และรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

3

กฟผ. แม่เมาะร่วมกับทหารจากค่ายฝึกการรบพิเศษที่ 3 ประตูผา ก�ำนันผูใ้ หญ่บา้ น และสมาชิกในชุมชน บ.ปางป๋วย ต.นาสัก รวมกว่า 200 คน สร้างฝายชะลอน�้ำผสมผสานแบบลวดตาข่าย จ�ำนวน 3 ฝาย บริเวณล�ำห้วยป๋วย ซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำส�ำคัญของชุมชนที่เชื่อมต่อกับ แม่นำ�้ แม่จางสายหลักของชาวแม่เมาะ เพือ่ ใช้ในการดักตะกอน ชะลอ การไหลของน�ำ้ ทีก่ ำ� ลังจะมาถึงในช่วงฤดูนำ�้ หลากและยังเป็นการรักษา ความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่ป่าโดยรอบ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ณ ล�ำห้วยป๋วย บ.ปางป๋วย ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง

กฟผ.แม่เมาะ ลงพื้นที่ชุมชน

สาธิตการท�ำสารชีวภาพ ตามแนวทางชีววิถี เกษตรกรรมตามแนวทางชีววิถี กฟผ. นั้น เน้นถึงวิธีการสร้างผลผลิตทางการเกษตรโดย ไม่ได้ทำ� ลายสภาพแวดล้อม และเป็นการสร้างให้ชมุ ชนเกิดคุณภาพชีวติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ี โดย การน�ำความรูเ้ กษตรอินทรีย์ ลงพืน้ ทีช่ มุ ชน เพือ่ ให้เกษตรกรรูจ้ กั การท�ำเกษตรแบบธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี และการน�ำวัตถุดิบทางการเกษตรที่เหลือใช้มาก่อให้เกิดประโยชน์อีกทาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ โดยแผนกส่งเสริมอาชีพและสนับสนุน ชุมชน กองชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ น�ำผู้ปฏิบัติงานใน ศูนย์ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.แม่เมาะ ลงพื้นที่สาธิตการท�ำจุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพ (EM) การท�ำฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนจากน�ำ้ หมักผลไม้ และสารไล่แมลง แก่สมาชิก เกษตรกรในพื้นที่ 5 ต�ำบล อ.แม่เมาะ ตามโครงการ กฟผ. ตามรอยปณิธานพ่อ สานต่อชีววิถี สูช่ มุ ชน โดยผูท้ ลี่ งทะเบียนเข้าร่วมโครงการจะได้รว่ มทดลองท�ำสารชีวภาพดังกล่าว ไปขยาย ผลเพื่อใช้งานได้จริงในการท�ำเกษตร นอกจากนี้เกษตรกรจะประหยัดรายจ่ายในการซื้อ สารเคมี และยังช่วยให้มสี ขุ ภาพดีทงั้ ผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภคในระยะยาวอันเป็นแนวทางการพัฒนา สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน


สวัสดี

4

คืบหน้าโครงการอพยพราษฎร อ.แม่เมาะ ครั้งที่ 7

เดินหน้าก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองเนื้อที่ 160 ไร่

ออป.เหนือบน เร่งท�ำไม้ 1,164 ต้นออกจากพื้นทีค่ าดแล้วเสร็จปลายเดือน พ.ค. ขณะทีช่ ลประทานฯ ล�ำปาง วางแผน 7 เดือนสร้างอ่างเก็บน�้ำปริมาณกักเก็บ 1.1 ล้านลบ.ม. พร้อมอาคารประกอบ ตั้งเป้า พ.ย. เริ่มกักเก็บน�้ำ ด้านนายก อบต.บ้านดง พอใจคืบหน้าเร่งสร้างอ่างเก็บน�้ำ ผังสรุปหลังจากที่ลงพื้นที่หารือกับผู้ใหม่ 4 หมู่บ้าน

บ้านห้วยฝายหมู่ 1 บ้านห้วยฝายหล่ายทุ่ง หมู่ 8 บ้านสวนป่าแม่เมาะหมู่ 7 บ้านดง หมู่ 2 บ้านท่าสี ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง

ความคืบหน้าโครงการอพยพราษฎร อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง ครั้งที่ 7 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ซึ่งเป็น การร้องขออพยพของราษฎรจ�ำนวน 1,458 ครัวเรือน จาก 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 2 ต�ำบล คือ บ้านดง หมู่ 2 , บ้านหัวฝาย หมู่ 1,บ้านหัวฝาย หล่ายทุ่ง หมู่ 8 และบ้านสวนป่าแม่เมาะ หมู่ 7 ต.บ้านดง จ�ำนวน 982 ครัวเรือน พื้นที่ 1,387 ไร่ และ บ้านห้วยคิง ต.แม่เมาะ จ�ำนวน 476 ครัวเรือน พื้นที่ 590 ไร่ ล่าสุด เมือ่ วันที่ 25 เมษายน 2560 นายบุญเทียร ค�ำภิระปาวงศ์ ผูช้ ว่ ยหัวหน้าโครงการจัดการทีด่ นิ และอพยพเหมืองแม่เมาะ (ช.หก-มม.) พร้ อ มด้ ว ย นายศุ ก ร์ ไทยธนสุ ก านต์ นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลบ้ า นดง (อบต.บ้ า นดง) อ.แม่ เ มาะ จ.ล� ำ ปาง, นายสายันต์ กลิน่ โลกัย หัวหน้างานสวนป่าแม่เมาะ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน (ออป.เหนือบน) , นายศราวุธ โลหะโชติ วิศวกร ช�ำนาญการ ส�ำนักงานชลประทานที่ 2 ล�ำปาง (สชป. 2) , ก�ำนันและผู้ใหญ่บ้าน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำ ห้วยแม่เฟือง ในการจัดหาแหล่งน�้ำสนับสนุนพื้นที่รองรับการอพยพของราษฎรดังกล่าว

ออป.เหนือบน ระดมคน-เครือ่ งจักร-ช้างเร่งท�ำไม้ออก 1,164 ต้น นายสายันต์ กลิ่นโลกัย หัวหน้างานสวนป่าแม่เมาะ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน (ออป.เหนือ บน) เปิดเผยว่า พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองเนื้อที่จ�ำนวน 160 ไร่ หลังจากกรมป่าไม้ ได้ออกประกาศ ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เมาะ ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองในการจัดหาแหล่งน�้ำสนับสนุนพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรต�ำบลบ้านดง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 ก็ได้ด�ำเนินการส�ำรวจและจัดท�ำบัญชีไม้ที่จะต้องท�ำออกซึ่งมีจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,164 ต้น แบ่งเป็น ไม้สัก 1,047 ต้น และไม้กระยาเลย จ�ำนวน 117 ต้น จากนั้น ได้เสนอให้จังหวัดล�ำปางพิจารณาอนุมัติให้ท�ำไม้ออก ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วย หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่เป็นสถานที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐ ภายใน เขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2548 ซึ่งได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการด�ำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ที่ได้ทยอยน�ำไม้ออกโดยแบ่งการท�ำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ บริเวณสันเขื่อน เนื้อที่ ประมาณ 30 ไร่ ได้ตัดโค่นต้นไม้เรียบร้อยหมดแล้ว อยู่ในขั้นตอนการเตรียมลากขนไปพักไว้ที่หมอนไม้บริเวณสวนป่าแม่เมาะ ส�ำหรับส่วนที่ เหลือเนื้อที่ 130 ไร่ พื้นที่รองรับน�้ำ อยู่ในขั้นตอนหมายวัด ตัดทอน และลากไม้ออก “ก�ำลังเจ้าหน้าที่ที่ใช้ปฏิบัติงานมีทั้งหมด 7 นาย เครื่องจักรกล 3 คัน คือ รถหกล้อจ�ำนวน 1 คัน รถแทรกเตอร์จ�ำนวน 2 คัน พร้อมกับช้าง อีก 1 เชือก ตัดโค่นต้นไม้และท�ำไม้ออกเฉลี่ยวันละ 50 ต้น คาดว่าจะสามารถด�ำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมดได้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2560”


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

5

สชป. 2 ตั้งเป้า พ.ย. 2560 เริ่มกักเก็บน�้ำได้ ด้าน นายศราวุธ โลหะโชติ วิศวกรช�ำนาญการ ส�ำนักงานชลประทานที่ 2 ล�ำปาง (สชป.2) กล่าวว่า ส�ำหรับ อ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองพร้อมอาคารประกอบ ขนาดของท�ำนบกว้าง 8 เมตร สูง 23 เมตร และมี ความยาว 256 เมตร ปริมาณกักเก็บน�้ำ 1,100,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งส�ำนักงานชลประทานที่ 2 ได้เริ่มด�ำเนิน การก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงฐานรากโดยการฝังท่อกรุ อัดฉีด น�้ำปูนสร้างความมั่นคงให้กับฐานราก เพื่อไม่ให้น�้ำลอดซึมใต้ฐานราก “การด�ำเนินงานคืบหน้าไปแล้ว 20 % หลังจากนัน้ จะด�ำเนินการบดอัดร่องแกนด้วยดินเหนียวคาดว่าจะใช้ปริมาณดินถมราวๆ 250,000 ลูกบาศก์ เมตร โดยขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาด�ำเนินการประมาณ 7 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ และจะเริ่มกักเก็บน�้ำได้ประมาณเดือน พฤศจิกายน 2560”

นายก อบต.บ้านดง พอใจคืบหน้าสร้างอ่างเก็บน�้ำ อุ่นใจทุกฝ่ายเร่งรัดการท�ำงาน นายศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบ้านดง (อบต.บ้านดง) อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่และคณะกรรมการเร่งรัดติดตามโครงการอพยพ กล่าวว่า จากการติดตามการ ด�ำเนินงานเห็นสภาพพื้นที่ การเตรียมก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟือง ก็รู้สึกอุ่นใจที่มีการเร่งรัดท�ำงาน เพื่อให้ อ่างเก็บน�้ำทันต่อการรองรับน�้ำฝนในปีนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้คณะท�ำงานมีการขยายแผนการท�ำงานมาแล้ว 1 ครั้ง “ทีผ่ า่ นมาทางผมก็ได้ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความก้าวหน้าของโครงการอพยพฯ เช่น การวางผังหมูบ่ า้ น การก่อสร้างอ่างเก็บน�ำ้ การน�ำ ไม้ออกของ ออป. ให้ชาวบ้านผูอ้ พยพได้รบั ทราบมาอย่างต่อเนือ่ ง แต่ทยี่ งั ไม่มคี วามชัดเจนและทีช่ าวบ้านสอบถามมาตลอด คือ เรือ่ งการจ่าย ค่าทดแทนทรัพย์สินและที่ดินว่าจะเริ่มด�ำเนินการได้เมื่อไหร่ อย่างไรก็ตาม เมื่อเห็นความคืบหน้าก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองครั้งนี้ถือว่า เป็นที่น่าพอใจ”

กฟผ.แม่เมาะ ประสานความร่วมมือหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเร่งด�ำเนินการแต่ละส่วน ขณะที่ นายบุญเทียร ค�ำภิระปาวงศ์ ผูช้ ว่ ยหัวหน้าโครงการจัดการทีด่ นิ และอพยพเหมืองแม่เมาะ (ช.หก-มม.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการอพยพราษฎรอ�ำเภอแม่เมาะครั้งที่ 7 ว่า ได้แบ่งการด�ำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1. พื้นที่รองรับการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง แปลงที่ 1 เนื้อที่ 590 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติใช้พื้นที่ ส่วนที่ 2. พื้นที่รองรับการอพยพราษฎรต�ำบลบ้านดง แปลงที่ 2 เนื้อที่ 1,387 ไร่ หลังจากได้รับอนุมัติให้ท�ำไม้ออกตามระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการใช้พื้นที่ปฏิบัติการหรือประโยชน์อย่างอื่นของส่วนราชการหรือองค์การของรัฐ ภายในเขตป่าสงวน แห่งชาติ พ.ศ. 2548 ได้จัดท�ำบัญชีไม้ออกแบ่งเป็น 2 งวด โดยงวดที่ 1 ด�ำเนินการแล้วเสร็จ 100% จ�ำนวนไม้ทั้งสิ้น 3,529 ต้น ส่วนงวด ที่ 2 เริม่ ด�ำเนินการท�ำไม้ออกเมือ่ วันที่ 7 มีนาคม 2560 ตอนนีค้ บื หน้าไปแล้วกว่า 66.47% จากจ�ำนวนต้นไม้ทงั้ หมด 2,589 ต้น ขณะเดียวกัน ส�ำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดล�ำปาง ก็ได้ด�ำเนินการท�ำแนวถนนและปรับผังหมู่บ้านตามสภาพพื้นที่จริง พร้อมจัดท�ำผังบริเวณที่ ตั้งสาธารณูปโภคควบคู่กัน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวผู้น�ำชุมชนก็ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย สุดท้าย ส่วนที่ 3. พื้นที่รองรับการก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟือง แปลงที่ 3 เนื้อที่ 160 ไร่ กรมป่าไม้ ได้ออกประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เรื่องการก�ำหนดบริเวณพื้นที่ให้ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐเข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2560 ให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เมาะ ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำห้วยแม่เฟืองในการจัดหาแหล่งน�้ำสนับสนุนพื้นที่รองรับการอพยพราษฎร เนื้อที่ 160 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2590 ขณะนี้อยู่ระหว่างการท�ำไม้ออก “กฟผ.แม่เมาะ ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งด�ำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบให้มีความคืบหน้าในแต่ละส่วน งานมากที่สุด”


เกษตรริมรั้ว

6

สวัสดี

ชวนปลูก “ผักกูด” สร้างรายได้ช่วงหน้าฝน

อุดหนุนไม้กวาดคุณภาพดี งานฝีมือชุมชน บ.สบเมาะ ผักกูด เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ดีมากในช่วง ฤดูฝน ล�ำต้นและยอดสามารถน�ำมาประกอบอาหารมื้อ อร่อยได้หลากหลายเมนู เป็นที่ต้องการของตลาดมาก เกษตรริมรัว้ ฉบับนี้ ขอแนะน�ำวิธกี ารปลูกผักกูดทีแ่ สนง่าย เผื่อจะปลูกไว้รับประทานกันที่บ้าน หรือส่งขายในตลาด ก็ได้ราคาสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

วัสดุ-อุปกรณ์ 1. ต้นพันธุ์ผักกูด หาได้จากบริเวณใกล้แหล่งน�้ำธรรมชาติ หรือที่ๆมีความชื้นสูงๆ หรือตามแหล่งซื้อขายต่างๆ 2. พลั่ว จอบ เสียม 3. ปุ๋ยคอก 4. กระถาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 7 นิ้วขึ้นไป (จ�ำนวนขึ้นอยู่กับความต้องการ)

วิธีท�ำ 1. น�ำกระถางที่เตรียมไว้ใส่ดินปลูกลงไปประมาณสามส่วนของ

กระถาง จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกลงไปประมาณ 1 ก�ำมือ 2. คัดแยกต้นพันธุ์ผักกูดออกเป็นกระถางละ 2-3 กอ 3. น�ำผักกูดทีแ่ ยกไว้ลงปลูกและกลบดินในกระถาง โดยหมัน่ รดน�ำ้ ให้ชุ่มอยู่เสมอ ควรวางกระถางปลูกไว้ในที่ที่มีความชุ่มชื้น มีรม่ ร�ำไร เนือ่ งจากผักกูดชอบน�ำ้ และทีอ่ ากาศเย็น อาจปลูกใกล้ ต้นไม้ใหญ่หรือมีการพรางแสงให้อากาศเย็นท�ำให้ผกั กูดสามารถ เจริญเติบโตได้ดี เมือ่ ปลูกได้ 6 เดือนก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้ โดยเก็บ 3 วันต่อครั้ง และยิ่งเก็บยอดก็จะยิ่งแตกออกมา ควบคู่ กับการตัดแต่งกิ่งแก่ออกเพื่อให้มีการแตกยอดเพิ่มขึ้น ข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความวิจัย ดร.ประทุมพร ยิ่งธงชัย “การปลูกผักกูดเพื่อเป็นผักสวนครัวและประดับบ้าน” http://stri.cmu.ac.th/article_detail.php?id=42

แม่ บ ้ า นทั้ ง หลายโปรดฟั ง ทางนี้ สถานี อ าชี พ ขอแนะน�ำให้รู้จักกลุ่มถักไม้กวาด บ.สบเมาะ ต.สบป้าด อ.แม่ เ มาะ จ.ล� ำ ปาง ผู ้ ผ ลิ ต ไม้ ก วาดทุ ก ชนิ ด ด้ ว ย มาตรฐานและคุณภาพที่กล้าการันตีได้ว่าซื้อไปแล้วไม่ ผิดหวัง ไม่มีหลุดลุ่ยให้ร�ำคาญใจแก่ผู้ใช้งานแน่นอน กลุ่มวิสาหกิจถักไม้กวาด บ.สบเมาะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 โดย นางปิยฉัตร ชูเรืองฤทธิ์ หรือ พี่กระถิน และ สมาชิกในชุมชนกว่า 20 คน ด้วยใจรักในงานฝีมือ ประกอบกั บ ความรู ้ ที่ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดมาจาก บรรพบุรุษ จึงเริ่มน�ำมายึดเป็นอาชีพหลัก จนปัจจุบัน สามารถผลิตไม้กวาดได้หลากหลายชนิด ตามความ ต้องการของลูกค้า มีทั้งไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาด ดอกหญ้า ซึง่ เคยน�ำดอกอ้อ และดอกแขมในอ่างเก็บน�ำ้ แม่เมาะมาเป็นวัตถุดิบหลัก พบว่านุ่มกว่าดอกหญ้า ทั่วไป ทางกลุ่มใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต เพราะเน้น ยึดหลัก ว่าท�ำใช้เอง แจกพีแ่ จกน้อง และยังจ�ำหน่ายใน ราคาย่อมเยาว์ ไม้กวาดทุกชนิดหากสัง่ จ�ำนวน 10 ด้าม ขึ้นไป จะได้ราคาขายส่งด้ามละ 35 บาท ผลิตภัณฑ์ ขายดี มีออเดอร์จากทั้งในโรงไฟฟ้า ศูนย์ฝึกอบรม กฟผ.แม่เมาะ และคนในชุมชนต่างก็พากันสัง่ ไม่ขาดสาย หากสนใจเรี ย นการถั ก ไม้ ก วาด หรื อ สั่ ง สิ น ค้ า สามารถติดต่อได้ที่ โทร.08-9951-0357


แม่เมาะ

7

http://maemoh.egat.com

ปั่นพิชิตผาแมว

เทศบาลต�ำบลแม่เมาะ ร่วมกับชมรมจักรยานแม่เมาะ และชมรมจักรยานเพือ่ สุขภาพ กฟผ.แม่เมาะ เชิญชวนผู้รักในกิจกรรมปั่นจักรยานร่วมกิจกรรมปั่น จักรยานพิชิตเนินผาแมว ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560 ค่าลงทะเบียนเพียง ท่านละ 100 บาท ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร เส้นทางปั่นจักรยาน ปล่อย ตัว ณ เทศบาลต�ำบลแม่เมาะ - ผ่านบ้านหัวเสือ - ผ่านบ้านดอนมูล - แวะพักรถ จักรยาน บริการน�้ำดื่ม ณ โรงเรียนบ้านผาแมว - ผ่านแยกเข้าบ้านผาแมว - ผ่าน บ้านห้วยรากไม้ - สิน้ สุดเส้นทาง ณ ถ�ำ้ ดอยน้อย (บ้านเมาะหลวง) ร่วมรับประทาน อาหารกลางวัน และท�ำกิจกรรมร่วมกัน ท่านทีส่ นใจสามารถสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมหรือแจ้งชื่อได้ที่ คุณตา เบอร์โทรศัพท์ 08-5716-0699 รับสมัครตั้งแต่ วันนี้ - วันที่ 10 มิถุนายน 2560

มอบเกียรติบัตรโครงการผู้สูงอายุยิ้ม

สมาคมพัฒนาแม่เมาะ องค์กรพัฒนาเอกชนภายใต้การสนับสนุนงบประมาณของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย น�ำโดยนางสาวพนิดา ทักษิณาพิมุข นายกสมาคมพัฒนา แม่เมาะฯ พร้อมคณะ ร่วมพิธีมอบเกียรติบัตรโครงการผู้สูงอายุยิ้ม (โรงเรียนผู้สูงอายุต�ำบล แม่เมาะ) รุ่นที่ 2 ที่ส�ำเร็จการอบรมตามหลักสูตร จ�ำนวน 50 คน เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจและ ส่งเสริมกิจกรรมการมีสว่ นร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุตอ่ ไป ณ หอประชุมโรงเรียน อนุบาลแม่เมาะ โดยมีนายชูศกั ดิ์ รูย้ งิ่ นายอ�ำเภอแม่เมาะ เป็นประธานในพิธมี อบเกียรติบตั ร

ความก้าวหน้างานโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7

82.80%

ความคืบหน้า โครงการในภาพรวม

1. ก�ำหนดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ค.2 วันที่ 13-16 มิถนุ ายน 2560 2. Internal PPA ส�ำหรับประกอบการขอใบอนุญาต ก�ำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถนุ ายน 3. อค-สช. ทดสอบจ่ายไฟฟ้า 115kv จากสถานีโรงไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 3 ถึง Take off Structure บริเวณลานไกไฟฟ้า โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนฯ แล้วเสร็จ เมือ่ วันที่ 10 เมษายน 4. งานด้านความปลอดภัย เริม่ นับสถิตคิ วามปลอดภัยในการท�ำงานสะสมใหม่ได้ 1,942,325 ชัว่ โมง ท�ำงานโดยมีการฝึกอบรมให้ความรูเ้ กีย่ วกับการท�ำงานบนทีส่ งุ ควบคุมการด�ำเนินงานตาม EHIA

ซักค�ำบ๋อ ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ยายแก้ว : โอ๊ยๆๆๆ ปากเป็น ขาง เจ็บปาดโทะ น้องนิ่ม : ยายเป็นอะหยัง ตาแค่ไปงานร�ำวงที่วัดบ่าดายโละ ขางอะหยังปะล�้ำปะเหลือ ยายแก้ว : บ่าแม่นขางจะอั้น ข้ากิ๋นทุเรียนนัก ปากข้าก็เลยเป็น ขาง (คือมันเป็นร้อนใน) น้องนิ่ม : อ๋อ น้องก็นึกว่ายายขางตา ยายแก้ว หัวเราะ : โคะ คนเฒ่าแล้ว ข้าจะไป ขาง (คือหึงหวง) มันยะหยังงง


สวัสดี

8

คริกเก็ตโรงเรียนบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ อ.แม่เมาะ หนึ่งเดียวของจังหวัดล�ำปาง กีฬาคริกเก็ตมีตน้ ก�ำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ ถูกจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อกั ษร ตัง้ แต่ 300 ปีทผี่ า่ นมา เป็นทีแ่ พร่หลาย และนิยมกันในประเทศเครือจักรภพของอังกฤษ เช่น ออสเตรเลีย ศรีลงั กา บังคลาเทศ และอินเดีย ตลอดจนกลุม่ ประเทศยุโรปและ ทวีปอืน่ ๆ ซึง่ ในประเทศไทยแม้คริกเก็ตยังไม่เป็นทีน่ ยิ มแพร่หลาย แต่ได้ถกู น�ำเข้ามาเล่นเป็นครัง้ แรกตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปี ค.ศ. 1890 ต่อมาในปี ค.ศ. 1971 เริม่ มีการแข่งขันคริกเก็ตขึน้ มาในกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบนั มีสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทย ซึง่ เป็นสมาชิกประเภท Associate Member ของ International Cricket Council Members (ICC) เป็นหน่วยงานก�ำกับดูแลกีฬา คริกเก็ต มีประเทศเป็นสมาชิกถึง 105 ประเทศ โดยสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทยได้สง่ เสริม เผยแพร่ความรูก้ ฬ ี าคริกเก็ตภายในประเทศ ของดีตบี้ า้ นเฮาวันนี้ จะพาคุณผูอ้ า่ นไปรูจ้ กั กับน้องๆ เยาวชนคนเก่งของโรงเรียนบ้านใหม่รตั นโกสินทร์ ต.นาสัก อ.แม่เมาะ ทีเ่ ป็นตัวแทน หนึง่ เดียวของจังหวัดล�ำปาง ไปแข่งขันคริกเก็ตระดับประเทศ ส่วนเรือ่ งราวจะเป็นอย่างไรนัน้ โปรดติดตาม

จุดเริ่มต้นของการเล่นกีฬาคริกเก็ต นายวัฒนา บุญละคร ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนบ้านใหม่รตั นโกสินทร์ (ผอ.) หรือประธานสโมสร กีฬาคริกเก็ตจังหวัดล�ำปาง เล่าให้เราฟังว่า เริ่มต้นจากที่ได้มีโอกาสได้ร่วมงานกับสเปเชียลโอลิมปิก แห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลเรื่องกีฬาที่เหมาะส�ำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางปัญญา โดยกีฬาคริกเก็ต เป็นหนึ่งในกีฬาที่เหมาะส�ำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางปัญญา สามารถช่วยในการพัฒนาการของ เด็กได้ จึงคิดต่อยอดการพัฒนาศักยภาพของเด็กปกติ ท�ำการศึกษาข้อมูลของคริกเก็ตร่วมกับสมาคม คริกเก็ตแห่งประเทศไทย มองเห็นโอกาสที่จะท�ำให้เด็กๆของ อ.แม่เมาะ ได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับ ประเทศ จึงน�ำกีฬาชนิดนีเ้ ข้ามาฝึกทีโ่ รงเรียน พร้อมประสานกับสมาคมกีฬาคริกเก็ตแห่งประเทศไทย ในการอนุเคราะห์อุปกรณ์กีฬา ส่งผู้ฝึกสอนระดับประเทศมาร่วมฝึกนักเรียน สร้างความพร้อมเพิ่ม ความมั่นใจให้แก่นักกีฬาของเรามากยิ่งขึ้น นายวีรพงศ์ หล้าวงศา ผู้ฝึกสอน ได้เล่าเสริมให้เราฟังว่า กีฬาคริกเก็ตยังเป็นกีฬาที่ไม่แพร่หลาย โดย ปัจจุบันภาคเหนือมี 3 ทีม คือ เชียงใหม่ ล�ำพูน ล�ำปาง ซึ่งเราที่ก�ำลังเริ่มเล่นคริกเก็ตได้เป็นปีที่ 2 ถือว่ายังมี ทักษะและความช�ำนาญไม่มาก แต่ผมได้มีโอกาสไปฝึกอบรมเป็นเวลา 1 เทอม และน�ำกลับมาฝึกซ้อมนักเรียน ที่มีความสนใจ จนปัจจุบันได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศคือ คริกเก็ตเยาวชนชิงชนะเลิศระดับประเทศ รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ที่จังหวัดจันทบุรี ถือเป็นการแข่งขันรายการแรกของเรา ท�ำให้เด็กๆได้เรียนรู้จุดบกพร่อง ของตนเองและได้ประสบการณ์ที่มีค่ากลับมา อีกทั้งนักเรียนของเรา 2 คน ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมการคัดเลือก เป็นตัวทีมชาติที่ผ่านมาอีกด้วย


แม่เมาะ

9

http://maemoh.egat.com

การฝึกซ้อมก่อนลงสนามจริง ผู้ฝึกสอน : เราต้องคัดเลือกนักกีฬาที่พอมีแวว สามารถตีบอลได้ โยนบอลได้ และมีความสนใจในคริกเก็ตมาฝึกซ้อม โดยก่อนลงแข่งขันทุกคนต้องฝึกให้หนักทุกวัน ในช่วงปิดเทอม เพื่อเตรียมพร้อมไปแข่งระดับประเทศ โดยตัวโค้ชเอง ได้น�ำประสบการณ์จากการฝึกกับนักกีฬาทีมชาติ และจากโค้ชทีมชาติ มาถ่ายทอดและพัฒนาศักยภาพน้องๆในทีม

อุปสรรคและปัญหาของการฝ่าฟันไปให้ถึงฝัน ผอ. : แม้เรามีสนามฝึกซ้อมที่ยังไม่สมบูรณ์ มีอุปกรณ์ที่ยังไม่พร้อมเพียง ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆของคริกเก็ตถือได้ว่ามีราคา สูง ท�ำให้เวลาเด็กๆ ฝึกซ้อม จะตีได้ไม่เต็มก�ำลัง อุปกรณ์ป้องกันของเราก็ยังไม่เพียงพอ เด็กๆจึงต้องใช้เวลาในการผลัด เปลี่ยนกันใส่อุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากกีฬาคริกเก็ตจ�ำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการฝึกซ้อมเสมือนจริงในการลงแข่ง เพื่อให้ เด็กๆได้รู้น�้ำหนักของอุปกรณ์เพื่อความสมดุลของการออกแรงส่ง แรงตี โดยอุปกรณ์ต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทย สมาคมพัฒนาแม่เมาะ และกฟผ.แม่เมาะ ถึงแม้สนามฝึกซ้อม อุปกรณ์ตา่ งๆของเด็กๆ จะไม่พร้อม แต่เด็กๆมีใจสูท้ จี่ ะมาฝึกซ้อมอย่างหนักกันทุกวันเพือ่ ลงแข่งขัน เพราะอย่างน้อยเด็กได้รสู้ กึ ว่าตนรับหน้าที่ เป็นตัวแทนของจังหวัดเพื่อเข้าแข่งขันระดับประเทศ

อนาคตของคริกเก็ตที่บ้านเรา ผอ. : ผมจะพยายามผลักดันทีมคริกเก็ตหนึ่งเดียวในจังหวัดล�ำปางของเราให้มีศักยภาพเทียบเท่ากับจังหวัดอื่นๆ ในการแข่งขันระดับประเทศ โดยปลูกฝังให้พวกเค้ารูค้ ณ ุ ค่าของการเป็นนักกีฬาทีม่ ธี งชาติไทยติดหน้าอก จะต้องเตรียมตัวอย่างไร มีพนื้ ฐาน มีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจ และทุม่ เทอย่างหนัก สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือโค้ช เป็นตัวหลัก คอยฝึกซ้อมเด็กๆให้ทมี มีความแข็งแกร่งมากยิง่ ขึน้ โดยเด็กๆทีมในปัจจุบนั นี้ เราก็จะต่อยอดให้เค้าเป็นตัวแทนใน รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี ต่อไป โดยอาจจะท�ำทีมคริกเก็ตหญิงขึ้นมาอีกทีมนึง เพราะจากการส�ำรวจแล้วพบว่า เด็กๆผู้หญิงในโรงเรียนก็มีความสนใจใน คริกเก็ตจ�ำนวนไม่น้อย เมื่อทีมชายของเราได้ไปเห็นการแข่งระดับประเทศกลับมา สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ทีมหญิงที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นได้ ผมมองว่าใน อนาคตคริกเก็ตจะเป็นหนึง่ ในกีฬาทีเ่ ป็นทีน่ ยิ ม เพราะปัจจุบนั กรมพลศึกษาได้บรรจุเป็นกีฬาของนักเรียน ท�ำให้มกี ารแข่งขันในระดับต่างๆเพิม่ มากขึน้ นักเรียนของเราก็จะมีประสบการณ์จากการแข่งขันในระดับภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสมาคมคริกเก็ตแห่งประเทศไทย ยังได้ผลักดันให้นกั กีฬาคริกเก็ต ให้มโี อกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทีม่ หาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพือ่ น�ำกีฬาคริกเก็ตไปเผยแพร่ในระดับอุดมศึกษา ต่อไป ถือเป็นโอกาสที่ดีของกีฬาคริกเก็ตและน้องๆ ท�ำให้คริกเก็ตได้เป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งทีมแม่เมาะของเราได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่างๆในพื้นที่เช่น สมาคมพัฒนาแม่เมาะฯ และ กฟผ.แม่เมาะ เป็นโอกาสที่ดีที่ท�ำให้เราสามารถพัฒนาให้ไปถึงระดับทีมชาติได้ ผู้ฝึกสอน: ส�ำหรับในรุ่นต่อๆไป เราก็จะฝึกเด็กๆตั้งแต่ประถม ให้พัฒนาขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง อยากให้คริกเก็ตของเราที่เป็นหนึ่งเดียวใน จังหวัดล�ำปาง ได้สร้างชือ่ เสียงให้คนบ้านเราได้ภาคภูมใิ จ ในอนาคตผมอยากท�ำทีมให้แข็งแกร่งมากขึน้ อยากเห็นเด็กๆของจังหวัดล�ำปางได้ตดิ ธงชาติไทย ในอนาคต น้องเจมส์ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 2 รร.บ้านใหม่รตั นโกสินทร์ : ความฝันของผมคืออยากติดทีมชาติ อยากสร้างความ ภูมใิ จให้แก่โรงเรียน และจังหวัดล�ำปาง แต่จากการทีไ่ ด้ไปเห็นการแข่งขันระดับประเทศ ผมคิดว่าทีมเรายังมีจดุ บกพร่อง ในหลายๆด้าน เราต้องพัฒนาข้อบกพร่องนั้นเพื่อให้ทีมของเราได้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นต่อไป น้องตี๋ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รร.บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ : ตอนแรกผมไม่ได้สนใจคริกเก็ต แต่พอได้มาลองเล่นก็ เกิดความสนใจและหลงรักในกีฬาคริกเก็ตมากยิ่งขึ้น พอมาถึงวันนี้ที่ได้รู้เป้าหมายของตัวเองที่อยากจะเป็นนักกีฬาทีม ชาติ ท�ำให้ผมมีความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อผมและเพื่อนๆจะได้เป็นตัวแทนของจังหวัดล�ำปางไปแข่งขัน ในระดับประเทศต่อไป กีฬาคริกเก็ตดูเหมือนจะคล้ายเบสบอล แต่ก็ต่างกันที่ไม้ตี ขนาดของสนาม จ�ำนวนผู้เล่น และวิธีการตี ลูก ผู้เล่นในทีมคริกเก็ต มี 11 คน ในแต่ละทีม และจะลงมารอแข่งในสนามกันทั้งหมด โดยการแข่งขันนั้น หากแบ่งเป็นทีม ก และทีม ข ทีม ข ก็จะจัด Blower หรือ ผู้ขว้างลูก มาขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนาม สามอัน ไม้เหล่านั้นเขาเรียกกันว่า Wickets ซึ่งทีม ข จะต้องส่ง Batsman หรือคนรักษา Wickets ซึ่ง เป็นผู้ถือไม้ Bat มาเฝ้าที่ไม้ดังกล่าว ถ้า Batsman ตีลูกถูก ก็จะวิ่งวนเพื่อให้ได้คะแนน เรียกว่า Runs จนกว่า Fielders ของทีม ก ซึ่งก็คือ พวกที่คอยท�ำหน้าที่วิ่งเก็บลูก น�ำกลับเข้ามาในสนาม เพื่อหยุดการ วิ่งเก็บคะแนนของฝ่ายตรงข้าม ข้อมูลคริกเก็ต : http://wp27.rsl.ac.th http://sameaf.mfa.go.th


10

รักษ์ โลก

รูเ้ ท่าทัน สารปนเปือ้ นในน�ำ้

สวัสดี

น�้ำ เป็นสิ่งส�ำคัญในการด�ำรงชีวิตของมนุษย์ไม่แพ้อากาศ เพราะร่างกายมนุษย์เรานั้นมากกว่าครึ่งหนึ่งประกอบด้วยน�้ำ และเรายังใช้นำ�้ ในการบริโภคอุปโภคเข้าสูร่ า่ งกายทัง้ ทางตรงและทางอ้อมในทุกๆ วันอีกด้วย วันนีร้ กั ษ์โลก จะพาเราไปรูจ้ กั กับประเภท และภัยอันตรายของสารปนเปื้อนในน�้ำ เพื่อให้เรารู้เท่าทัน สามารถสอดส่องและป้องกันด้วยตัวเองกัน สารปนเปื้อนในน�้ำ อาจเกิดได้ทั้งจากกระบวนการของธรรมชาติและการกระท�ำของมนุษย์ โดยสารปนเปื้อนที่เป็นปัญหาในน�้ำ อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ดังนี้

สารเคมี

เราใช้สารเคมี ทั้งในชีวิตประจ�ำวัน การเกษตร และในภาคอุตสาหกรรมอย่าง แพร่หลาย หากไม่มีการป้องกันและบ�ำบัดที่ดีก็จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนใน แหล่งน�้ำได้ โดยสามารถแบ่งประเภทสารเคมีได้ดังนี้ สารก่อมะเร็ง จะกระตุ้นให้เกิดการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายมนุษย์และสัตว์ สารเคมีที่มีผลกระทบต่อฮอร์โมน พบได้บ่อยในภาพเกษตรกรรม เช่น สารฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง ซึ่งจะส่งผลต่อระบบสืบพันธ์ุ ระบบเผาผลาญอาหารของมนุษย์ เป็นต้น สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการต่างๆ ของโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น คลอรีน ฟลูออไรด์ ฯลฯ ซึง่ หากเกิดการรัว่ ไหล หรือไม่ได้รบั การบ�ำบัด น�้ำที่ดีก่อนปล่อยลงแหล่งน�้ำสาธารณะก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้

โลหะหนัก

ส่วนใหญ่มคี ณ ุ สมบัตทิ างกายภาพคล้ายคลึงกัน แต่มคี ณ ุ สมบัตทิ างเคมีตา่ งกันตามชนิดของโลหะ เรามีความเสี่ยงได้รับโลหะหนักผ่านการบริโภคอาหาร โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ ตะกั่ว เป็นโลหะหนักที่พบปนเปื้นในอาหารและน�้ำมากที่สุด หากร่างกายได้รับสะสม มากเกินไป จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อโลหิต ปรอท เราใช้ปรอทเป็นส่วนประกอบของสารอมัลกัมที่ใช้อุดฟัน ในสีทาบ้าน แบตเตอรี่ อุตสาหกรรมสกัดแร่เงินและทอง อีกทัง้ ปรอทยังพบได้บอ่ ยในปลาทะเลทีม่ วี งจรชีวติ ยาว เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคคอเรล ปลาฉลามเป็นต้น โดยปรอทจะสะสมที่มันสมองของ มนุษย์ เป็นอันตรายต่อระบบประสาท โดยเฉพาะทารกในครรภ์และเด็กเล็ก การก�ำจัดสารเคมีและโลหะหนักออกจากน�้ำ มีหลายวิธีและขั้นตอน ขึ้นอยู่กับสภาพของ น�ำ้ เสียงและวัตถุประสงค์ในการบ�ำบัด โดยโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ทีไ่ ด้รบั มาตรฐานการ รับรอง จะมีการบ�ำบัดน�้ำเสียพร้อมถูกตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้น้�ำได้มาตรฐาน อยู่สม�่ำเสมอ อย่างไรก็ดีการลดการใช้สารเคมีจากต้นทาง เช่น การงดการใช้สารฆ่าหญ้า งดใช้ DDT จะช่วยป้องกันและลดการกระจายของสารเคมีในแหล่งน�้ำธรรมชาติได้ดีที่สุด

ค.1 ผ่านไป แล้ว ค. 2 ล่ะ คืออะไร ?? ในกระบวนการศึกษาและจัดท�ำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ หรือ EHIA ของโครงการขยายก�ำลังการผลิต โรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครือ่ งที่ 4-7 ด้านการมีสว่ นร่วมของประชาชนนัน้ เป็นไปตามแนวทางของส�ำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด�ำเนินตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีกิจกรรมการมีส่วนร่วม ของประชาชน 3 ครั้ง หรือ ที่เราเรียกกันว่า ค.1, ค.2, ค.3 ซึ่งหลังจากที่โครงการฯ ได้จัดท�ำ ค.1 ไปเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ ผ่านมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดท�ำ ค.2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อน�ำเสนอรายละเอียดโครงการและข้อมูลในด้านต่างๆ และ แนวทางการประเมินผลกระทบและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนส�ำรวจและรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน โดย ค.2 นี้ จะแตกต่างกับ ค.1 ตรงที่เป็นการลงพื้นที่จัดเวทีภายในชุมชนหรือสถานที่ๆกลุ่มผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียนั้นๆ อยู่อาศัย โดยจะมีการสัมภาษณ์รายบุคคล สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูลอีกด้วย ซึ่งการจัด ค.2 ของโครงการขยายก�ำลังผลิตโรงไฟฟ้าทดแทนฯ นี้ จะจัดขึน้ ในวันที่ 13-16 มิถนุ ายน 2560 นี้ ผูส้ นใจเข้าร่วมสามารถติดต่อ สอบถามผู้น�ำชุมชน และดูก�ำหนดการได้จากท้ายเล่มของสวัสดีแม่เมาะเล่มนี้ได้เลย


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

กฟผ.แม่เมาะ ร่วมสืบสาน ประเพณีสรงน�้ำพระธาตุดอยจู้

11

ผูป้ ฏิบตั งิ านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ส่วนราชการ อ.แม่เมาะ ร่วมสืบสานประเพณีสรงน�ำ้ พระธาตุดอยจู้ ซึง่ ตรง กับวันแรม 8 ค�ำ่ เดือน 8 ตามปฏิทนิ ล้านนาหรือวันอัฏฐมีบชู า ภายในงานมีพธิ ที างพระพุทธศาสนา สวดเจริญภาวนา สรงน�ำ้ พระธาตุ ถวาย ผ้าป่า และการจุดบัง้ ไฟของสมาชิกในชุมชนบ้านวังตม โดยมีนายประดุลย์ ใจคะนอง ผูใ้ หญ่บา้ นวังตม และสมาชิกชุมชนให้การต้อนรับ เมือ่ วัน ที่ 18 พฤษภาคม 2560 ณ ณ บริเวณพระธาตุดอยจู้ ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง

งานท่องเที่ยวแผ่นดินหวิด

และสรงน�้ำพระธาตุขอุปค�ำ บ.ปงชัย คึกคัก นายพินิจ จันทรสุรินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานท่องเที่ยวแผ่นดินหวิดสรงน�้ำพระธาตุ ขอุปค�ำ ที่เทศบาลต�ำบลแม่เมาะ จัดขึ้น ภายใต้การสนับสนุนการจัดงาน โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. แม่เมาะ) และกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพือ่ สืบสานประเพณีสนับสนุนการท่องเทีย่ วภายใน ชุมชน โดยมีนายธานี วงศ์พลกานันท์ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดการโรง ไฟฟ้าแม่เมาะ-สื่อสารองค์การและชุมชนสัมพันธ์ พร้อมด้วย กองจิตอาสา กองวิศวกรรมธรณีเหมืองแม่เมาะ เข้าร่วมงานพร้อมร่วมท�ำบุญ สรงน�ำ้ พระ ธาตุขอุปค�ำและสักการะรอยพระพุทธบาท ภายในงานปีนี้มีกิจกรรมเด่น ได้แก่ การแสดงจากกลุ่มแม่บ้าน และผู้สูงอายุบ้านปงชัย การประกวดการ ถ่ายภาพ การแข่งขันพูดเล่าขานต�ำนานแผ่นดินหวิด การแข่งขันชกมวย เวที ร� ำ วง โดยมี ป ระชาชนและนั ก ท่ อ งเที่ ย วเข้ า ร่ ว มงานจ� ำ นวนมาก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ณ บ้านปงชัย ต.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง


12

...ค�ำต่อค�ำ… ส่วนหนึ่งจากเสียงผู้เข้าร่วมเวทีแสดงความคิดเห็น

สวัสดี

โครงการขยายก�ำลังการผลิตโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ผ่านไปแล้ว ส�ำหรับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ค.1 เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีชาวแม่เมาะ และประชาชนทั่วไป สนใจเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในเวทีดงั กล่าวกว่า 2,500 คน สวัสดีแม่เมาะ ฉบับนี้ ขอน�ำส่วนหนึง่ ของความคิดเห็นจาก ผู้แสดงความคิดเห็นกว่า 50 ท่าน มาให้ผู้อ่านได้รับทราบถึงแนวคิดของคนแม่เมาะ ที่มีต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน ตลอดจน การพัฒนาในพื้นที่กัน พระใบฎีกานพฤทธิ์ เลขาธิการเจ้าคณะอ�ำเภอแม่เมาะ แน่นอนว่าของใหม่ยอ่ มดีกว่าของเก่า แต่ทงั้ นีต้ อ้ งตระหนัก ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งดีและเสีย อยากให้ทุกคนช่วยกันคิดถึงการพัฒนาเอกลักษณ์และของดีในชุมชนของตนเองให้ โดดเด่น เป็นสิ่งถาวร และอยากให้การพัฒนาต่างๆ ครอบคลุมถึงการดูแลกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ ในพื้นที่ด้วย

นายสมโภช ปานถม เกษตรกร ต.สบป้าด เห็นด้วยที่สร้างโรงไฟฟ้าทดแทน เพราะถ้าเราไม่สร้างเมื่อโรงเก่าหมด

อายุไปในอนาคตจะเอาไฟฟ้าที่ ไหนใช้ ผมอยากฝากทั้ง กฟผ.และ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ว่า ตอนนี้ประชาชน มีความสับสน เงินงบประมาณมีจ�ำนวนมาก แต่มันกระจุกไม่กระจาย อยากให้ชาวบ้านทั่วไปได้ลืมตาอ้าปากบ้าง

นายจ�ำรัส พรมวิชัย ต.นาสัก เมื่อสร้างแล้ว เกิดผลกระทบแล้ว จะท�ำยังไงให้ ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่าลืม สิ่งที่เคยรับปากว่าจะด�ำเนินการไว้ ใน ค.1 ขอให้ปฏิบัติตามด้วย จ่าสิบเอก จารุเดช อินตา หน่วยสัสดี อ�ำเภอแม่เมาะ เห็นด้วยที่จะก่อสร้างต่อไป แต่ต้องท�ำให้ถูกต้อง กฟผ. ต้องจริงใจ ดูแลรักษาคนแม่เมาะอย่างจริงจัง ชุดจิตอาสามวลชนสัมพันธ์ ต้องดูแลให้ทั่วถึงทุกครอบครัว อย่าดูแลแต่ผู้น�ำหรือผู้มีปากเสียง ขอให้เร่งรัดการแก้ปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยในพื้นที่ อ.แม่เมาะ และขอฝากความจริงใจ กับผู้บริหารทุกระดับด้วย นายสมมุติ หาลือ บ้านห้วยคิง ต.แม่เมาะ คนแม่เมาะ ตื่นตัวหรือยัง กับงบประมาณที่เข้ามาผ่านทั้งกองทุน อบต. สมาคมพัฒนาแม่เมาะ ฯลฯ ท่านต้องศึกษาและติดตามด้วยตัวเอง ไม่ใช่เชื่อแค่ผู้น�ำเพียงอย่างเดียว อยากเห็น คนแม่เมาะ หันหน้าเข้าหากัน อะไรท�ำได้ ให้ช่วยกันท�ำ หาทางแก้ ไข ช่วยเหลือ บูรณาการความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อคนแม่เมาะทุกคน นายประทีป ดีประสิทธิ์ ต.แม่เมาะ หากมองย้อนไป 20-30 ปี แม่เมาะเป็นอย่างไร คนที่เคยผ่านมาคงรู้สภาพ พอมี การไฟฟ้าฯเข้ามา ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ดังนั้น การไฟฟ้าคงต้องอยู่และสร้างต่อไป และหากเรามี ปัญหาอะไร ขอให้นำ� เสนอกับผูบ้ ริหารทีเ่ กีย่ วข้อง ขอฝากในการให้งบประมาณ ควรให้อย่างจริงใจ และมีการตรวจสอบ ไม่ปล่อยงบประมาณทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ นายณรงค์ มะโนปิน ผู้น�ำชุมชน ต.จางเหนือ การด�ำเนินงานหากไม่ ได้มาตรฐานอาจก่อให้เกิดอันตรายกับ ชุมชนได้ ควรตรวจสอบขั้นตอนในการจัดการปัญหาต่างๆ ให้ดี หาก กฟผ. มีความจริงใจในการจัดการปัญหาและ สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านได้จะดีมาก และขอให้ กฟผ. ตลอดจนกระทรวงพลังงาน พิจารณาเรื่องการส่งเสริม พลังงานทดแทน เช่น โซลาร์เซลล์ ในพื้นที่ด้วย นายคมสันต์ ปอกเครือ เยาวชน ต.นาสัก ขอขอบคุณ กฟผ. ที่ใส่ใจเยาวชนคนแม่เมาะ และด�ำเนินการจัดการ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเช่นเรื่องเพลี้ยไฟ ขอเสนอให้ กฟผ. ดูแลเรื่องถนนเส้นโรงโม่หินไปถึงทุ่งเลางาม และ อยากให้ กฟผ. มีการจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บ่อยขึ้น เพราะผู้สูงอายุในชุมชนมีเยอะการเดินทางเข้าเมืองล�ำบาก ขอให้โรงไฟฟ้ากับชาวบ้านอยู่ร่วมกันไปตลอด รวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่ขัดแย้งกัน นายจิรพิพัฒน์ วงศ์เปี้ย สจ.ล�ำปาง เขต 1 อยากฝากเรื่องถนนหนทาง ที่พังและช�ำรุด ส่วนหนึ่งก็มากจาก รถบรรทุกที่วิ่งเข้ามาใน กฟผ. เป็นไปได้หรือไม่ที่ กฟผ. จะน�ำส่วนหนึ่งของรายได้ที่ ได้จากการขายเถ้าลอย ไปอุดหนุน ส่วนราชการให้ท�ำถนนให้ดี มี ไฟฟ้าแสงสว่างต่อเนื่อง รวมถึงเส้นที่เชื่อมระหว่างต�ำบลด้วย นอกจากนี้ในช่วงการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน ขอให้ กฟผ.ดูแลเรื่องแรงงานต่างถิ่นที่เข้ามาท�ำงานก่อสร้างด้วย


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

นายนพรัตน์ จันทร์เขียว ต.สบป้าด ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียในตัว อยากเสนอให้รับคนในพื้นที่เข้าท�ำงาน มากกว่านี้ มีการดูแลลูกจ้าง กฟผ. ให้ดีด้วย ผมก็สนับสนุนโรงไฟฟ้า น�้ำ พึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เช่นเดียวกับ การไฟฟ้าต้องพึ่งคนในพื้นที่ และคนในพื้นที่ก็ต้องพึ่งการไฟฟ้า นายสุรชัย ศรีสุวรรณ รองนายก อบต.นาสัก ผมสนับสนุนในการสร้าง แต่ กฟผ. ต้องแก้ ไขผลกระทบของ ราษฎร ผมอยากจะให้มกี ารส่งเสริมอาชีพของราษฎรให้มคี วามยัง่ ยืนและถาวร ขอฝากว่าเมือ่ สร้างโรงไฟฟ้าเสร็จแล้ว ขอให้มกี ารจัดตัง้ คณะกรรมการสิง่ แวดล้อม ทีม่ ผี แู้ ทนจากทุกหมูบ่ า้ นเข้าร่วมตรวจสอบ พร้อมให้ความรูแ้ ก่ประชาชน อย่างทั่วถึง นายสนั่น ใจงาม ต.แม่เมาะ ผมอยู่กับโรงไฟฟ้ามา 42 ปี ตั้งแต่โรงแรก ไฟฟ้ามีความส�ำคัญกับชีวิตของคน เราตลอดเวลา การน�ำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทดแทน เป็นสิ่งสุดยอด ที่จะท�ำให้เราทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตอบสนองความต้องการไฟฟ้าและการพัฒนาของประเทศ นายศักดิ์สกล เมฆแสน บ้านเวียงหงส์ล้านนา ต.แม่เมาะ ผมอยากให้มีเวทีพบปะ มีเวลา มีพื้นที่ ให้ กฟผ. ได้มีเวลาพูดคุยกับชาวบ้านและผู้น�ำชุมชน ว่าที่ผ่านมา กฟผ.มีการด�ำเนินการอย่างไร มีผลกระทบอะไรบ้าง เพื่อชาว บ้านจะได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น นางบัวผัด ลุนจุม่ อาสาสมัครดูแลผูส้ งู อายุและผูด้ อ้ ยโอกาส ต.จางเหนือ แหล่งเงินทุน เช่น กองทุนพัฒนา ไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เงินสนับสนุนจาก กฟผ. ที่ให้ ไป อยากให้ กฟผ.ไปติดตามบ้าง และอยากให้มีคณะกรรมการ ตรวจสอบการใช้งบประมาณกองทุนฯ เพื่อให้งบประมาณไปสู่ชาวบ้านอย่างทั่วถึง นายสุขเกษม สุริยา นายก อบต.สบป้าด อยากให้ทบทวนเกี่ยวกับการดูแลพี่น้องประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตร เป็นพิเศษ และขอให้ผู้บริหารได้เล็งเห็นปัญหาในพื้นที่ ขอให้เข้าใจ เข้าถึงพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ ให้มีกองจิตอาสา ดูแลชุมชนต่อไปไม่ห่างหาย มีผู้บริหารมองเห็นถึงบริบทและความส�ำคัญของคนแม่เมาะด้วย นางสาวชยากร วงค์อะถะ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลแม่เมาะ ในส่วนของผู้บริหารแต่ละยุคแต่ละ สมัยของ กฟผ. ทีจ่ ะเข้ามาท�ำงานกับชุมชน อยากให้มคี วามจริงใจและสานต่องานกัน ผูบ้ ริหารอาจจะมาท�ำหน้าทีห่ นึง่ ปี แต่ชุมชนอยู่ที่นี่ตลอดเวลา ถ้าหากนโยบายเปลี่ยน การท�ำงานก็อาจจะไม่ยั่งยืน จึงขอให้ กฟผ. ร่วมพัฒนากับชุมชน ทุกภาคส่วนในระยะยาวด้วย นางจันทร์เพ็ญ จิว๋ บาง ต.แม่เมาะ ขอเสนอแนะในรูปของอ�ำเภอแม่เมาะในภาพรวม ควรมีการก่อสร้างสนามกีฬา ที่ ได้มาตรฐานและครบวงจรให้กับเด็กและเยาวชน และควรให้ประชาชนทุกต�ำบลเข้ามามีส่วนร่วมในด้านสิ่งแวดล้อม เช่นการตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมระดับต�ำบล ระดับอ�ำเภอ เป็นต้น นายธนูศักดิ์ ศรีสว่าง บ้านเวียงสวรรค์ ต.แม่เมาะ อยากให้พิจารณา เอาความถูกต้องเป็นหลัก อย่าเอา เงินมาเป็นที่ตั้ง อยากให้คนแม่เมาะ คิดถึงความอยู่ดีกินดีในระยะยาว เช่นการสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีหมอ พยาบาล และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ รองรับคนแม่เมาะได้โดยไม่ต้องไปหาหมอไกลในเมือง ตลอดจนสาธารณูป โภคอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม นายกฤตวิทย์ ใจค�ำลือ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนสบป้าดวิทยา ขอขอบคุณที่เห็นความส�ำคัญทางด้าน การศึกษา ผ่านการสนับสนุนงบประมาณทั้งทางตรงและทางอ้อม อยากให้การพัฒนาค�ำนึงถึงด้านการศึกษาและ เยาวชน เช่น การก่อสร้างห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ที่ ได้มาตรฐาน สร้างศูนย์ฝึก สนามกีฬา ให้เยาวชนในพื้นที่ ได้เห็น ได้ฝึกกับของจริง ขอฝากว่าการพัฒนาใดๆ ก็ตาม พัฒนาคนเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด นางอริสสรา เครือบุญมา ผู้ใหญ่บา้ นใหม่นาแขม ต.แม่เมาะ จะเกิดอะไรขึน้ ในวันหน้าหากถ่านในเหมืองลิกไนต์ หมด และกฟผ.ไม่ได้ดำ� เนินการที่ อ.แม่เมาะ ควรมีการสร้างกิจการขนาดใหญ่ในพืน้ ทีเ่ พือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืน ตลอดจน ผลักดันให้เกิดศูนย์รวมทางเศรษฐกิจในพื่นที่ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถยืนด้วยตนเองได้

13


14

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

โรคกระดู ก เป็ น ภาวะที่ ป ริ ม าณแร่ ธ าตุ ที่ ส� ำ คั ญ คื อ แคลเซี ย ม ในกระดู ก ลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างภายในกระดูก ท�ำให้เนื้อหรือมวล กระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยบริเวณที่พบการหักของ กระดูกได้บ่อย คือ ข้อมือ สะโพก และสันหลัง โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจ�ำเดือน อาการของโรคจะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า มัก ทราบตอนที่เกิดกระดูกหักแล้ว ถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบรุนแรงอโรคาพาสุขฉบับนี้ จะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุกัน

กระดูกพรุน

ปัจจัยการเกิดโรค

สวัสดี

กระดูกปกติ

การป้องกัน

การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา

ออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ

การขยับร่างกายน้อย

รับแสงแดดยามเช้า ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี งดดื่มสุราและสูบบุหรี่

มีโรคประจ�ำตัว ใช้ยาหลายชนิด เครื่องดื่มจ�ำพวกคาเฟอีน อยู่ในกาแฟ ชา น�้ำอัดลม บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ สาเหตุจากกรรมพันธุ์

ไม่บริโภคอาหารประเภทโปรตีน หรือเนื้อสัตว์มากเกินไป ไม่กินอาหารเค็มจัดหรือ อาหารที่มีโซเดียมสูง เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมในทุกมื้อ

การใช้ยาส�ำหรับโรคบางอย่างที่น�ำสู่ การลดความหนาแน่นของกระดูก

อาหารที่มีแคลเซียม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเชียว กุ้ง หอย ปู ปลา งาด�ำ ทีม่ า : https://www.facebook.com/InfographicMOVE http://www.si.mahidol.ac.th https://www.doctor.or.th

กองการแพทย์ แ ละอนามัยโรงไฟฟ้า แม่เมาะ

แจ้ง ก�ำ หนดออกหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ เดือ นมิถุน ายน 2560 ในพื้น ที่ อ.แม่เมาะ จ�ำนวน 5 ครั้งดังนี้

วันที่ 1 บ้านห้วยรากไม้/บ้านใหม่ห้วยรากไม้ ต.สบป้าด, วันที่ 8 บ้านหางฮุง ต.แม่เมาะ, แม่เมาะ วันที่ 15 บ้านกอรวก/จางเหนือพัฒนา ต.จางเหนือ วันที่ 22 บ้านท่าสี ต.บ้านดง และวันที่ 27 บ้านสวนป่าแม่จาง ต.สบป้าด ทัง้ นีใ้ นเดือนพฤษภาคม 2560 ทีผ่ า่ นมา กองการแพทย์และอนามัยโรงไฟฟ้า แม่เมาะ ได้ออกให้บริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ มีผู้เข้ารับการตรวจรักษาได้แก่ ณ หมูบ่ า้ นห้วยเป็ด ต.แม่เมาะ จ�ำนวน 44 ราย, ณ หมูบ่ า้ นนาสัก ต.นาสัก จ�ำนวน 221 ราย, ณ หมู่บ้านหัวฝาย/หล่ายทุ่ง ต.บ้านดง จ�ำนวน 261 ราย เป็นต้น


แม่เมาะ

15

http://maemoh.egat.com

ล� ำ ปางวั ล เลย์ เสน่ห์ธรรมชาติ ริมผาสูง GPS

ลำ�ปางวัลเลย์ รีสอร์ท

เชือ่ ไหมถ้าเช็คอินแม่เมาะ จะบอกว่า ทีพ่ กั และบรรยากาศของ ล�ำปางวัลเลย์ รีสอร์ทแห่งใหม่ ทีเ่ ราจะพาไปนี้ สวยเป็นอันดับต้นๆ ของ อ.แม่เมาะ เลยแหละ เพราะนอกจากทีแ่ ห่งนีจ้ ะอยูท่ า่ มกลาง ธรรมชาติ ที่สงบมีทั้งหุบเขาที่งดงามของดอยผาก้านและล�ำธาร เล็กๆ ไหลผ่าน ห้องพักของทีน่ ก่ี ย็ งั ถูกออกแบบอย่างสวยงามและ สะอาดสะอ้านอีกด้วย พีอ่ ารีย์ วัฒนจรัส อดีตข้าราชการครู รร.พระบาท ซึง่ เพิง่ เกษียณ อายุมาไม่นาน บอกกับเราว่า เลือกมาท�ำรีสอร์ท ทีบ่ า้ นท่าสี ต.บ้านดง แห่ง นี้ ก็เพราะว่าประทับใจและชืน่ ชอบแนวดอยผาก้าน ทีท่ อดเป็นแนวยาว ซึง่ ตอนแรกตนก็ได้สร้างบ้านอยูอ่ าศัย พร้อมกับวางแผนว่าจะท�ำร้าน กาแฟเล็กๆ ริมทาง ต่อมาหลังจากมาอยูอ่ าศัย จึงได้ขยับขยายต่อเติม จนพัฒนากลายเป็นบ้านพักหลังเล็กๆ จ�ำนวน 2 หลัง 3 ห้องนอน ทีต่ นเองออกแบบกับมือ พร้อมกับพัฒนาพืน้ ทีส่ วน ให้มคี วามสวยงาม

น่าชม ด้วยต้นไม้หลากหลายพันธ์ุ โดยห้องพักทีน่ ี่ มีชอื่ เรียกตามจุดเด่น ได้แก่ ห้องคชสาร ทีภ่ ายในและภายนอกบ้านตกแต่งด้วยงานแกะสลัก ช้างจากไม้ ส่วนบ้านโพธิท์ ะเล และบ้านแคนา ตัง้ ตามชือ่ ต้นไม้ใหญ่ที่ ปลูกหน้าบ้าน ส�ำหรับห้องพัก ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครือ่ งท�ำน�ำ้ อุน่ ให้พร้อมสรรพ สามารถรองรับการมาพักทัง้ แบบเป็นคู่ หรือแบบกลุม่ เล็กๆ ไม่เกิน 10 คนได้ การเดินทางมาล�ำปางวัลเลย์ไม่ยาก ทีพ่ กั อยูต่ ดิ ถนนสายล�ำปางงาว ฝั่งขาออกไป อ.งาว ขับเลยหมู่บ้านท่าสีมาไม่นาน สังเกตเสา สัญญาณโทรศํพท์สขี าวแดง แล้วเตรียมตัวเลีย้ วได้เลยเพราะอยูต่ รงทาง เข้าพอดี สนนราคาทีพ่ กั รวมอาหารเช้า 700 บาท ต่อคืน สามารถโทร ส�ำรองทีพ่ กั ล่วงหน้าได้ทเี่ บอร์ 06-1989-2826 คุณสมชาย และเบอร์ 06-2653-6945 คุณอารีย์

“ครัวผัวหลง”

ห้องอาหารท่ามกลางธรรมชาติ บรรยากาศสุดชิล GPS ครัวผัวหลง

ฤดูฝน มาพร้อมกับวัตถุดบิ ประกอบอาหารอันโอชะ นายอ้วนชวนกินฉบับนี้ ชวนทุกท่านทีผ่ า่ นไปมาทาง ถนนเส้นล�ำปาง-งาว แวะรับประทานมือ้ อร่อยทีค่ รัวผัวหลง ร้านอาหารริมทางรสชาติดี แถมมีววิ สวยกัน แค่ชอ่ื ก็สะกิดให้ชวนแวะ ส�ำหรับ “ครัวผัวหลง” เปิดครัง้ แรกเมือ่ ปลายปี 2559 โดย นายวันชัย ค�ำบุญทา หรือพีเ่ อีย๊ ด อดีตเคยเปิดร้านอาหารอยูใ่ นตัวเมืองล�ำปาง แต่พอได้เห็นท�ำเลของร้านนีแ้ ล้วก็ เกิดติดใจในวิวทิวทัศน์อนั งดงามของดอยผาก้าน หน้าผาหินปูนขนาดใหญ่มหึมา จนท�ำให้คดิ เปิดเป็นร้าน อาหาร ให้ผทู้ สี่ ญั จรผ่านไปมาบริเวณ บ.ท่าสี ต.บ้านดง ได้แวะลิม้ รสชาติ พร้อมชมบรรยากาศชิลๆไปด้วย ส�ำหรับเมนูเด็ดของทีน่ ่ี คือ ไก่นงึ่ สมุนไพร ทีค่ ดิ สูตรเอง ผสานด้วยขมิน้ และสมุนไพรหลากชนิด เนือ้ ไก่ จึงนุม่ ลิน้ ทานได้ทงั้ ตัว เมนูปลาก็แปลกใหม่ไม่ซำ�้ ใคร อาทิ ปลาหลงครก ปลาสองใจ อันนีต้ อ้ งลองเองแล้ว จะรูว้ า่ ท�ำไมปลาถึงได้เจ้าชูข้ นาดนี้ ฮิว้ ววว นอกจากนีย้ งั มีเมนูอาหารป่าตามฤดูกาล เมนูอาหารตามสัง่ ต้มผัดย�ำแกงทอด พ่อครัวก็จัดให้ได้หมด แม้วิวที่นี่จะหลักล้าน แต่ราคาอาหารไม่ได้แพงอย่างที่คิด เริม่ ต้นตัง้ แต่ 40 – 200 บาท ขึน้ อยูก่ บั ปริมาณคนทีท่ าน ร้านเปิดตัง้ แต่ 09.00 – 22.00 น. แนะน�ำว่า ควรโทรสัง่ อาหารก่อนล่วงหน้า ทีเ่ บอร์โทร.09-6305-4080 ร้านอยูบ่ นถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ล�ำปาง-งาว ฝัง่ ขาออก เลยปากทางเข้าหมูบ่ า้ นท่าสี ต.บ้านดง ก่อนถึงสถานีทอ่ งเทีย่ วบ้านท่าสี


ก�ำหนดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ค.2) ในขั้นตอนการประเมินและจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (ค.2)

โครงการขยายก�ำลังผลิตโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ประชาชน ต.จางเหนือ ประชาชน ต.นาสัก กลุ่มสาธารณสุข หน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายสุขภาพ ประชาชน ต.สบป้าด ประชาชน ต.แม่เมาะ ประชาชน ต.บ้านดง

ที่ปรึกษา

นายบรรพต ธีระวาส นายอมรพันธ์ ลีลาภรณ์

อังคารที่ 13 มิถุนายน 2560 เวลา 8.30-12.00 น. อังคารที่ 13 มิถุนายน 2560 เวลา 13.00-16.30 น. พุธที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30-12.00 น. พุธที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 13.00-16.30 น.

ห้องประชุม อบต.จางเหนือ ห้องประชุม อบต.นาสัก ที่ว่าการอ�ำเภอแม่เมาะ (ห้องประชุมเล็ก) ที่ว่าการอ�ำเภอแม่เมาะ (ห้องประชุมเล็ก)

พฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30-12.00 น. ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก ทีท่ ำ� การ อบต.สบป้าด พฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560 เวลา 13.00-16.30 น. ทีว่ ่าการอ�ำเภอแม่เมาะ (ห้องประชุมใหญ่) ศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 เวลา 08.30-12.00 น. ห้องประชุม อบต.บ้านดง

ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2

0-5425-4111

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเหมืองแม่เมาะ

บรรณาธิการบริหาร

ว่าที่ ร.ต. ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ติดต่อเรา :

หัวหน้าแผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 800 หมู่ที่ 6 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220 เหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 801 หมู่ที่ 6 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220

บรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แผนกประชาสัมพันธ์เหมืองแม่เมาะ

ออกแบบและจัดท�ำ

แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โทรศัพท์ 0-5425-6086 อีเมล์ CSRmaemoh@egat.co.th ร้านกล้าคิดก�ำลังดี โทรศัพท์ 08-1881-2109 อีเมล์ gumlangdee@gmail.com

http:// maemoh.egat.com แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ tel : 0-5425-6085 fax : 0-5425-6088 แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ tel : 0-5425-2730 fax : 0-5425-2731 แผนกประชาสัมพันธ์เหมืองแม่เมาะ tel : 0-5425-4054 fax : 0-5425-4052 สนามกอล์ฟ กฟผ.แม่เมาะ tel : 0-5425-4970 พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษาฯ (เหมืองแม่เมาะ) tel : 0-5425-4930


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.