วารสารสวัสดีแม่เมาะ ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2560

Page 1

สวัสดี แม่เมาะ วารสาร

วารสารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ รายเดือน ฉบับที่ 11 ปีที่ 7

ประจ�ำเดือน พฤศจิกายน 2560

รั ก พฤกษา รุ ก ขชาติ ที่ ด าษปา่ รั ก ปั ก ษา ร้ อ งกู่ บนสิ ง ขร รั ก อุ ทั ย สว่ า ง กลางอั ม พร รั ก ทั้ ง รั ต - ติ ก ร ในนภดล “เพลง รัก” บทเพลงพระราชนิพนธ์โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เดินหน้างานวิจัยเพื่อชุมชน สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หน้า 4

โครงการอนุรักษ์ป่าห้วยคิงตอนบน

หน้า 11

เครือข่ายธนาคารรักษ์แม่เมาะ

หน้า 8

ดอกบัวตอง ทุ่งปอเทืองบานสะพรั่งรับหน้าหนาว

หน้า 15


สวัสดี

2

บทบรรณาธิการ Editor’s note

ก้าวตามรอยบาทองค์พระราชา.. ผ่านพ้นไปแล้วกับพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่คนไทยทั่วทั้งประเทศ ได้ร่วมถวายอาลัยและ น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช หนึ่งในการแสดงความจงรักภักดีที่ดีที่สุด คือการเจริญรอยตามพระยุคลบาท น้อมน�ำพระบรมราโชวาท พระราชด�ำริ มาปฏิบัติให้เกิดผล ซึ่ง กฟผ. จะน้อมน�ำ แนวทางพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชา มาปฏิบัติ ในการ ร่วมคิด สร้างสรรค์ ร่วมพัฒนาบ้านเมืองและประเทศชาติ ให้รุ่งเรืองสืบไป

สวัสดีครับ

ผลตรวจวัด

คุณภาพอากาศ อ.แม่เมาะ ประจ�ำเดือน กันยายน 2560

ค่าสูงสุดที่ตรวจวัดได้จริง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

SO2

NO2

3

47

ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (24 ชั่วโมง)

ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (24 ชั่วโมง)

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) (24 ชั่วโมง)

ฝุ่นละอองรวม (TSP) (24 ชั่วโมง)

(ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

NO2

SO2

300

39

ค่ามาตรฐานก�ำหนดของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

- เปรียบเทียบกับ -

แผนกสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ กฟผ.

แม่เมาะ เก็บข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพ อากาศต่อเนือ่ งทุกวัน จากบริเวณพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน บ้านพักผู้ปฏิบัติงาน และชุมชนโดยรอบ กฟผ. แม่เมาะ จ�ำนวน 11 สถานี พบว่า ในเดื อ นกั น ยายน ค่ า เฉลี่ ย ความเข้ ม ข้ น ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง ค่ า เฉลี่ ย ความเข้ ม ข้ น ของก๊ า ซไนโตรเจนได ออกไซด์ ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ในเวลา 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองรวม (TSP) ในเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่วน ผลการตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศ โดยรวม ในอ�ำเภอแม่เมาะ (AQI) จังหวัดล�ำปาง พบว่า มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี - ปานกลาง ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (1ชั่วโมง)

77

320

ก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (1ชั่วโมง)

330

ฝุ่นละอองรวม (TSP) (24 ชั่วโมง)

120

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) (24 ชั่วโมง)

คุณภาพน�้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ประจ�ำเดือน กันยายน 2560 การวัดคุณภาพน�้ำ ทิ้งจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

คุณภาพน�้ำที่ผ่านการบ�ำบัด มาตรฐานน�้ำทิ้งกรมโรงงาน แล้วก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน�้ำ อุตสาหกรรม การตรวจสอบ สาธารณะ

ผล

ความเป็นกรด-ด่างของน�้ำ

8.31

5.5-9.0

อุณหภูมิของน�้ำ (องศาเซลเซียส)

33.7

ไม่เกิน 40 ํC

ค่าไขมันและน�้ำมันในน�้ำ (มก./ล.)

2.10

ไม่เกิน 5.0

ค่าปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อย สลายจุลินทรีย์ ; BOD (มก./ล.)

0.75

ไม่เกิน 20

ค่าออกซิเจนที่ละลายในน�้ำ ; DO (มก./ล.)

5.85

ไม่ได้ก�ำหนด


แม่เมาะ

ท�ำความรู้จักกับ

http://maemoh.egat.com

3

ผู้บริหารงานด้าน CSR ท่านใหม่ งานด้านสือ่ สารองค์การและชุมชนสัมพันธ์ (สช.) หรือทีห่ ลายๆคนรูจ้ กั กันในชือ่ งานชุมชน สัมพันธ์(CSR) ของ กฟผ.แม่เมาะ นั้น เปรียบเสมือนโซ่ข้อกลางของ กฟผ.แม่เมาะ ในการ ติดต่อประสานงานตลอดจนร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนในพื้นที่ อ.แม่เมาะ ในโอกาสนี้ วารสารสวัสดีแม่เมาะ ขอแนะน�ำผูบ้ ริหารงานด้านสือ่ สารองค์การและชุมชนสัมพันธ์ทา่ น ใหม่ นายพัฒนพงศ์ ขันทา ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ-สือ่ สารองค์การ และชุมชนสัมพันธ์ (ช.อจม-สช.) ที่เข้ามารับหน้าที่เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมากัน

รู้จักกันมากขึ้น

นายพัฒนพงศ์ หรือพี่ศร เป็นคน อ.เกาะคา จ.ล�ำปาง โดยก�ำเนิด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียน บุญวาทย์วิทยาลัย และระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมเครื่องกล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มท�ำงานครั้งแรกที่ กฟผ.แม่เมาะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ที่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 1-3 จากนั้นได้เติบโตมาตามล�ำดับ ในสายงานด้านบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยมีประสบการณ์ทำ� งานด้านชุมชนจากการท�ำงานกองจิตอาสาและสามารถ ติดต่อประสานงานกับชุมชนได้ดเี นือ่ งจากเป็นคนเหนือเหมือนกัน เคยท�ำงานกองจิตอาสาร่วมกับ บ้านวังตม ต.จางเหนือ และ บ้านสบจาง บ้านแม่จาง บ้านข่วงม่วง ต.นาสัก ก่อนเข้ามารับด�ำรงต�ำแหน่งใหม่

การขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน

จากนโยบายผู้ว่าการ กฟผ. เปลี่ยนวิสัยทัศน์ กฟผ. สู่ “นวัตกรรม พลังงานไฟฟ้า เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” โดยมีพันธกิจ “มุ่งเน้นนวัตกรรมในการผลิตไฟฟ้าให้มีสมรรถนะสูง แข่งขันได้ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียอย่างสมดุล” โดยงานด้าน สช. นั้น เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ กฟผ. ในด้านการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียอย่างสมดุล โดยจะน้อมน�ำแนวทางตามพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ในงานด้าน CSR และการบริหารงานโดยใช้หลัก การเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา

นโยบายการบริหารงาน

นายพัฒนพงศ์ ขันทา ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ สื่อสารองค์การและชุมชนสัมพันธ์

1. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้าน CSR และกองจิตอาสา 2. น�ำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในงาน CSR และการบริหารงาน 3. พัฒนาระบบสารสนเทศงานด้าน CSR เช่น การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิด การพัฒนาที่สะท้อนภาพความเป็นจริง ไม่ซ�้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพสูงสุด 4. งานวิจัยและนวัตกรรมชุมชน โดยจะใช้งานวิจัยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและต่อยอด 5. การบูรณาการและให้ความร่วมมือกันเป็นหนึง่ เดียวในทุกมิตริ ะหว่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองแม่เมาะ

งานส�ำคัญที่มุ่งมั่นจะขับเคลื่อน

นอกจากการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับตัว ปรับงานภายใน ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตแล้ว อีกหนึง่ ในภารกิจส�ำคัญที่ ช.อจม-สช. ต้องการขับเคลือ่ นให้สำ� เร็จก็คอื เรือ่ งของการน�ำเชือ้ เพลิงชีวมวลอัดแท่ง หรือ Biomass Pellets มาเผาไหม้ร่วมกับถ่านหิน (Biomass Co-Firing) ซึ่งการด�ำเนินงานดังกล่าวในเชิงเทคนิค จะช่วยลดการใช้ปริมาณ ถ่านหินลง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และที่ส�ำคัญในอนาคตหากมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ ชุมชน เพือ่ รองรับการปลูกพืชพลังงานเพือ่ น�ำไปสูก่ ารผลิตเป็นแหล่งเชือ้ เพลิงป้อนสูโ่ รงไฟฟ้าได้สำ� เร็จ ก็จะเป็นการสร้างราย ได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ อ.แม่เมาะ และยังช่วยลดการเกิดปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้จาการเกษตรอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงส�ำคัญ ที่ท้าทายงานด้าน CSR ก็คือ การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย พระราชบัญญัติการจัด ซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่ท�ำให้ในปี 2561 การบริหารจัดงานด้านงบประมาณจะมีการ เปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งนี้ เนื่องจากบทบาทของ กฟผ. เป็นหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่ต้องท�ำตามระเบียบและ กฎหมาย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสอดรับกับการตรวจสอบ ดังนั้นการด�ำเนินการหลายๆอย่างจึงยึดตามหลักความ รวดเร็วไม่ได้ แต่ต้องเดินไปตามขั้นตอนและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาในอนาคตนั้น ช.อจม-สช. ยังคง ให้ความส�ำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ การรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชน รวมถึงต้องการขับเคลื่อนการ พัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างรายได้แก่ชุมชนให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงที่ในอนาคตก�ำลังการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.แม่เมาะ ในพื้นที่จะเริ่มทยอยลดลงเรื่อยๆ นั่นเอง


4

สวัสดี

กฟผ.แม่เมาะ Kick off งานวิจัยเพื่อชุมชน พัฒนากลุ่มอาชีพอย่างยั่งยืน

แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 จะท�ำให้ค�ำว่า “วิจัย” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวของเราอีกต่อไป เพราะวิจัยและนวัตกรรมเป็นกุญแจดอกส�ำคัญ ที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนมากยิ่งขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ นอกจากบทบาทส�ำคัญใน การผลิตไฟฟ้า แล้วยังได้ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยในปี 2560 นี้ กฟผ.แม่เมาะ ได้เริม่ ขับเคลือ่ น สองโครงการวิจยั เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของชุมชน พร้อมลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยมีโครงการดังนี้ 1.โครงการโมเดลการพัฒนาอาชีพการปลูกต้นไม้โตเร็วร่วมกับการปลูกพืชอายุสนั้ พืน้ ทีร่ อบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นความร่วม มือระหว่าง กฟผ. และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เพื่อศึกษารูปแบบของการปลูกพืชชนิดอื่นๆร่วมกับการปลูกไม้โตเร็วอย่าง กระถินเทพา เนื่องจากการปลูกไม้โตเร็วต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปีในการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เพื่อน�ำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิต พลังงานทดแทนได้ ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรยังคงสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างรอผลผลิต โครงการวิจัยจึงมุ่งศึกษาการปลูกไม้ โตเร็วควบคู่กับการปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ได้แก่ กล้วยน�้ำว้า และข้าวโพด โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 โมเดล ก�ำหนด พื้นที่วิจัยเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ที่ศูนย์ชีววิถีฯ กฟผ.แม่เมาะ 1 พื้นที่ พื้นที่การเกษตร ต.นาสัก 1 พื้นที่ และที่ ต.สบป้าด 1 พื้นที่ เริ่ม ด�ำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2562 และเมื่อโครงการวิจัยนี้ส�ำเร็จ จะเข้าสู่ระยะการส่งเสริมให้ชุมชนปลูก ต้นกระถินเทพาเพื่อน�ำมาท�ำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellets) ซึ่งมีค่าความร้อนสูง สามารถน�ำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วม (Co-Firing) กับถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะในอนาคต 2.โครงการการพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตบล็อกประสานจากวัตถุพลอยได้ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายนวัตกรรมวัสดุ (ฝนว.) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิต และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยด้วยบล็อกประสาน ซึ่งจะศึกษาการน�ำวัตถุพลอยได้จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อาทิ เถ้าหนัก เถ้าลอย ฯลฯ มาพัฒนาเป็นส่วนผสม ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ผลิตเป็นอิฐบล็อกประสานที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพิ่มมูลค่าและน�ำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โครงการวิจัยดังกล่าวใช้เวลาในการศึกษา 1 ปี 4 เดือน เพื่อเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้จากโรงงานต้นแบบการ ผลิตบล็อกประสาน ทีม่ ขี นาดก�ำลังการผลิต 1,000 ก้อน/วัน และส่งเสริมวิชาชีพช่างก่อสร้างโดยมี วว. เป็นผูใ้ ห้ความรูเ้ รือ่ งการสร้าง อาคารบล็อกประสานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

ชาวบ้านกว่า 1 พันคน จาก 3 ต�ำบล ร่วมตรวจสุขภาพ

5

“โครงการตรวจสุขภาพประชาชนโดยรอบพื้นที่ กฟผ.แม่เมาะ” ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงาน EIA

กฟผ.แม่เมาะ ร่วมกับ คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ โครงการเหมืองแร่ลิกไนต์แม่เมาะ และ ศูนย์เวชศาสตร์ สิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลแม่เมาะ จัดโครงการตรวจสุขภาพ ประชาชนโดยรอบพืน้ ที่ กฟผ.แม่เมาะ ตามมาตรการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายงาน EIA โครงการเหมืองแร่ ลิกไนต์แม่เมาะ ซึ่งก�ำหนดให้จัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพของ ชุมชน ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2560 ในพื้นที่ 3 ต�ำบล ได้แก่ ต�ำบลบ้านเสด็จ ต�ำบลนาสัก และต�ำบลจางเหนือ ตาม ล�ำดับ โดยตลอดระยะเวลาทั้ง 3 วัน มีนางเกษศิรินทร์ แปงเสน หัวหน้ากองสิ่งแวดล้อมเหมือง (กสม-ช.) ร่วมติดตามการด�ำเนิน โครงการดังกล่าว ส�ำหรับการตรวจสุขภาพประชาชนโดยรอบพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะ ตามกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพส�ำหรับโครงการเหมืองแร่ ลิกไนต์ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจสุขภาพ ในครัง้ นีจ้ ะเป็นกลุม่ ผูส้ งู อายุ และกลุม่ ผูส้ นใจทัว่ ไป ทีย่ งั ไม่ได้เข้า

รับการตรวจสุขภาพมาก่อนในปีนี้ โดยมีจำ� นวนผูเ้ ข้ารับการตรวจ สุขภาพรวมทั้งสิ้น 1,086 คน จากต�ำบลบ้านเสด็จ จ�ำนวน 411 คน, ต�ำบลนาสัก จ�ำนวน 312 คน และต�ำบลจางเหนือ จ�ำนวน 363 คน ซึ่งการตรวจดังกล่าวมีการซักประวัติ คัดกรองเบื้องต้น วัดความดัน จับชีพจร อัตราการหายใจ ประเมินความเครียด ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ และ X-ray ทรวงอก ผลการตรวจสุขภาพทีไ่ ด้จะท�ำการเก็บรวบรวมในฐานข้อมูล และน�ำมาจัดท�ำแผนทีช่ มุ ชนเพือ่ เชือ่ มโยงกับข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อมูลโครงการ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน กรณีที่พบผลการ ตรวจสุขภาพที่ผิดปกติของทุกโรค ให้ท�ำเรื่องส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับ การรั ก ษาต่ อ ที่ โ รงพยาบาลแม่ เ มาะ ตามระบบของทาง สาธารณสุข โดยคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ โครงการเหมือง แร่ลิกไนต์แม่เมาะ จะได้มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป


เกษตรริมรั้ว

6

เคล็ ด ลั บ ! ปลูกต้นหอมลอยน�้ำ

สวัสดี

ชิมหลากผลิตภัณฑ์จาก มะขามแก้วดอกแขม

ให้งอกงามได้ต้นอวบอ้วน เกษตรริมรัว้ ฉบับนีช้ วนปลูกต้นหอมลอยน�ำ้ ด้วยวิธแี สนง่าย ไม่ สกปรกเลอะเทอะดินให้กวนใจ และยังเหมาะกับผู้มีพื้นที่จ�ำกัดใน การปลูกพืชผักสวนครัว แถมยังได้ช่วยกันลดโลกร้อนจากการน�ำ วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ประโยชน์มากขึ้นด้วย

วัสดุ-อุปกรณ์

1.ไม้บรรทัด 2.หัวหอมแดง 3.ปากกาเมจิก 4.คัตเตอร์ 5.กล่องข้าวพลาสติก (แบบบาง) พร้อมฝาปิด หรือกะละมังใบเล็กและแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด

วิธีท�ำ

1. น�ำหัวหอมแดงใส่ถงุ แช่ตเู้ ย็นในช่องแช่ผกั เพือ่ กระตุน้ ความงอก 3-4 วัน หรือจนกว่าจะเริ่มมีต้นอ่อนโผล่ออกมา จากนั้นน�ำมา แช่น�้ำทิ้งไว้อีกประมาณ 1-2 คืน 2. น�ำปากกาเมจิกวาดรูปวงกลม โดยประมาณขนาดให้วงกลมไม่ ใหญ่กว่าขนาดของหัวหอมบนฝากล่องพลาสติก หรือแผ่นฟิว เจอร์บอร์ด 3. ใช้คัตเตอร์เจาะรูตามรอยที่วาดไว้บนฝากล่องหรือแผ่นฟิวเจอร์ บอร์ด 4. ใส่น�้ำในตัวกล่องหรือกะละมังจนเกือบเต็มแล้วปิดฝากล่อง พลาสติก หรือวางฟิวเจอร์บอร์ดบนปากกะละมัง 5. วางหัวหอมลงไปตามรูที่เจาะไว้ โดยให้รากแช่อยู่ในน�้ำ 6. ตั้งภาชนะปลูกไว้ในบริเวณที่แสงแดดอ่อนส่องถึง ใช้เวลา ประมาณ 10 วัน จึงน�ำต้นหอมมารับประทานได้ ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=27&s=tblheight

ทีศ่ นู ย์เรียนรูบ้ า้ นใหม่นาแขมมีอกี หนึง่ ผลิตภัณฑ์นอ้ งใหม่มา ให้ทกุ ท่านได้ลองชิมกัน สถานีอาชีพฉบับนีจ้ งึ ไม่รอช้า รีบเข้าไป ขอท�ำความรู้จักกับ กลุ่มแปรรูปและถนอมอาหารมะขามแก้ว ดอกแขม ทีม่ ผี ลิตภัณฑ์เด็ดชวนเปรีย้ วปากอย่างมะขามแก้วกวน มะขามแก้วจี๊ดจ๊าดกันจ้า นางฉันทนา จันทร์ยอด ประธานกลุ่มฯ เล่าให้ฟังว่ากลุ่มได้ รวมตัวกันอย่างจริงจังตัง้ แต่ปี 2558 กับสมาชิกประมาณ 20 คน หลังจากเข้ารับการอบรมจากกรมแรงงานจังหวัดล�ำปาง แรกเริม่ สนใจแปรรูปผลิตภัณฑ์มะขามทีม่ อี ยูใ่ นท้องถิน่ จึงพลิกสูตรสร้าง เอกลักษณ์เฉพาะของทางกลุ่ม เกิดเป็นผลิตภัณฑ์มะขามแก้ว กวนรสชาติต่างๆ อาทิ มะขามแก้วรสขิง รสมะพร้าว รสกล้วย และมะขามบ๊วยจี๊ดจ๊าด ปัจจุบันได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์แต่ยังคง เอกลักษณ์ของมะขาม เป็นคุกกี้มะขาม คุกกี้เชียงดา และคุกกี้ ธัญพืช สินค้าทุกชิ้นได้รับการการันตีความสะอาดและความ ปลอดภัยด้วยมาตรฐานจาก อย. พร้อมบรรจุภณ ั ฑ์ทหี่ ลากหลาย มีให้เลือกทัง้ แบบกระปุกแก้ว แบบกระปุกพลาสติก หรือจะเป็น แบบถุง ราคาเริม่ ต้น 25 บาท (ขึน้ อยูก่ บั ปริมาณทีต่ อ้ งการ) แถม ยังรับจัดเบรค จัดกระเช้า ตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย สนใจโทร.ติดต่อที่ 08-9700-6715 หรือ 08-5708-6441


แม่เมาะ

7

http://maemoh.egat.com

วันที่ 7 ตุลาคม 2560 ช่างฟ้อนจิตอาสา ชาวล�ำปาง ร่วมฟ้อนเทียน ในโครงการ “๙วัน ๙วัดแห่งศรัทธา ก้าวตามรอยมหา ราชาภูมิพล” ณ วัดทุ่งกล้วยโพธาราม อ�ำเภอแม่เมาะ หนึ่งใน 9 วัดของจังหวัด ล�ำปาง เพือ่ ร่วมแสดงความอาลัยและน้อม ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช โดยกิจกรรมดังกล่าวจะ มีการฟ้อนเทียนถวายในวัดส�ำคัญ 9 แห่ง ในจังหวัดล�ำปางพร้อมจัดพิธีสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา เพื่อถวายเป็นพระราช กุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช

ความก้าวหน้างานโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7

93.60%

ความคืบหน้า โครงการในภาพรวม

1. ทีม Commissioning เข้าอบรมหลักสูตร FGD Operation Training ณ ศูนย์ฝึกอบรม กฟผ.แม่เมาะ 2. ทีม Commissioning เข้าอบรมหลักสูตร software PADO เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจติดตาม วิเคราะห์และรายงานผลสมรรถนะของโรงไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ พร้อมกับช่วยปรับแต่งระบบการ เผาไหม้ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุด 3. คณะดูงานจาก วสท.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าเยี่ยมชม โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4-7 โรงไฟฟ้าแม่เมาะ MMRP1

ซักค�ำบ๋อ ณ ร้านขายเสื้อแห่งหนึ่ง ลูกค้า : ปี้เจ้าเสื้อตั๋วนี้ขนาดเต้าใดเจ้า แม่ค้า : น้องลอง ตื๋น ผ่อได้เลยเจ้า ลูกค้า : ห๊ะ อะหยังตื่นๆ เก๊าะเจ้า แม่ค้า : ตื๋น แปลว่า กางออก เจ้า ลูกค้า : อ๋อ ก�ำเดียวน้องลองตื๋นผ่อก่อนเน้อเจ้า


สวัสดี

8

ธนาคารรักษ์แม่เมาะ

สถาบันการเงินภาคประชาชนเพื่อประชาชนชาวแม่เมาะ ถ้าหากจะกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนแล้ว นอกจากวิสัยทัศน์ ความสมัครสมานสามัคคี ความพร้อมทาง ด้านการศึกษาตลอดจนทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้อง สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรื่อง ความเข้มแข็งทางด้านการเงินของคนในชุมชน เอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนในชุมชนจะต้องมีความร�่ำรวยหรือมีเงินจับจ่ายใช้สอยไม่ขาดมือ แต่หมายถึง การที่สมาชิกในชุมชน มีสุขภาพทางการเงินที่ดี มีการอดออม เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ ไม่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ได้รับสวัสดิการที่ดี ตลอดจน มีรายได้จากการลงทุนในระยะยาว สิ่งที่กล่าวมานี้ ไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ระดับประเทศอีกต่อไป วันนี้ ของดีตี้ บ้านเฮา น�ำเรื่องราวของเครือข่ายธนาคารรักษ์แม่เมาะ ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ได้ให้การสนับสนุนก่อ ตั้งขึ้น เมื่อกว่า 12 ปีที่แล้ว จนปัจจุบันธนาคารรักษ์แม่เมาะ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินภาคประชาชน ที่เข้มแข็งและมีเงินทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดล�ำปางมาฝากกัน

จุดเริ่มต้นธนาคารรักษ์แม่เมาะ

เกิดจากการทีก่ ารไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ได้สนับสนุนงบประมาณ ให้ ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานแม่เมาะ หรือ PDA ด�ำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ ประชาชนในพื้นที่ อ.แม่เมาะ โดยหนึ่งในโครงการที่ PDA ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ก็คือ โครงการธนาคารรักษ์แม่เมาะ โดยตั้งขึ้นในลักษณะธนาคารหมู่บ้าน ทั้ง 43 หมู่บ้าน (ในขณะ นั้น ) มีเงินทุนตั้งต้นให้แต่ละหมู่บ้าน โดยจ่ายเป็นระยะ รวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 บาท พร้อม เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการเงินการธนาคาร การออมและการจัดท�ำบัญชี รายรับรายจ่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนเกิดการออม มีเงินทุนหมุนเวียนภายในชุมชน

12 ปีจากวันก่อตั้ง สู่วันนี้ของเครือข่ายธนาคารรักษ์แม่เมาะ

หลังจากการก่อตั้งธนาคารรักษ์แม่เมาะได้ระยะหนึ่ง ในปี 2554 คณะกรรมการธนาคาร และสมาชิก ได้รวมตัวกันเพื่อตั้งเป็นเครือข่ายธนาคารรักษ์แม่เมาะ โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้ หลังจากที่ PDA หมดระยะเวลาด�ำเนินโครงการ เครือข่ายจะต้องสามารถดูแลตัวเองได้ต่อ ไป ซึ่งแรกเริ่มเครือข่ายมีสมาชิก 723 คนจาก 12 หมู่บ้านในต�ำบลแม่เมาะ ส่วนในปัจจุบันนี้ มีสมาชิกรวมกันถึง 3,335 คน โดยมีนายประเทิน จันทร์สวัสดิ์ เป็นประธานเครือข่าย และมี ผู้แทนจากหมู่บ้านสมาชิกหมู่บ้านละ 2 คน เป็นกรรมการเครือข่ายฯ และมีเงินทุนหมุนเวียน ในธนาคารของกลุ่มเครือข่ายฯกว่า 29 ล้านบาท

การด�ำเนินงานของธนาคารรักษ์แม่เมาะ

ธนาคารรักษ์แม่เมาะ มีลักษณะเป็นสถาบันการเงินภาคประชาชน มีการด�ำเนินงานคือการสร้างเงินทุนหมุนเวียนและด�ำเนินงานเพื่อ สาธารณประโยชน์ โดยในแต่ละเดือน ธนาคารจะเปิดท�ำการ 1ครั้ง เพื่อให้สมาชิกธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในหมู่บ้านนั้นๆ ได้ท�ำการฝาก ถอน หรือกู้ยืม ซึ่งการฝากนั้น สามารถฝากได้ตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้ง ส่วนการกู้ยืมไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง (แล้วแต่นโยบายธนาคารแต่ละหมูบ่ า้ น) และมีผลตอบแทนตลอดจนดอกเบีย้ เฉลีย่ ทีด่ กี ว่าธนาคารพาณิชย์โดยทัว่ ไปอีกด้วย โดยรายได้หลัก ของธนาคารรักษ์แม่เมาะ มาจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้แก่สมาชิกกู้ยืม และอีกส่วนหนึ่งมาจากดอกเบี้ยออมทรัพย์จากธนาคารและอื่นๆ ซึ่งใน การให้กู้ยืมนั้นพบว่าเกิดหนี้เสียน้อยมาก เนื่องจากธนาคารรักษ์แม่เมาะ ใช้หลักสัจจะและสังคมเป็นตัวก�ำหนด เช่น ในกรณีการกู้ยืมเมื่อถึง ก�ำหนดที่ต้องจ่ายเงินคืน ผู้กู้ยืมทุกคนต้องเอาเงินมาช�ำระให้ครบก่อน ธนาคารจึงจะปล่อยกู้ต่อ ดังนั้นหากมีคนใดคนหนึ่งไม่ช�ำระหนี้ คณะกรรมการก็จะยังไม่ปล่อยกู้จนกว่าทุกคนที่กู้จะช�ำระครบ ท�ำให้เกิดการติดตามโดยสังคมอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ การที่คณะกรรมการ และสมาชิกในชุมชนมีความใกล้ชดิ และรูจ้ กั กัน ท�ำให้การกูแ้ ต่ละครัง้ มีการคัดกรองและประเมินเบือ้ งต้นเป็นอย่างดี ไม่แพ้ระบบการคัดกรอง แบบธนาคารพาณิชย์เลยทีเดียว


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

เครือข่ายธนาคารรักษ์แม่เมาะ ผสานความร่วมมือสูก่ ารสร้างสาธารณประโยชน์เพือ่ สังคม

การจับมือก้าวไปพร้อมกันย่อมดีกว่าขับเคลือ่ นอย่างโดดเดีย่ ว เช่นเดียวกันกับกลุม่ เครือข่ายฯ ทีน่ อกจาก ผสานความร่วมมือในการก�ำหนดแนวทางและนโยบายธนาคารรักษ์แม่เมาะในแต่ละหมู่บ้านสมาชิกร่วม กัน ยังมีการขับเคลื่อนการด�ำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ และเพื่อสวัสดิการแก่สมาชิก เช่น กอง ทุนฌาปณกิจเพื่อดูแลสมาชิกที่เสียชีวิต โดยจะเก็บเงินจากสมาชิกศพละ 10 บาท เพื่อมอบแก่ครอบครัว ผู้เสียชีวิต 30,000 บาท ส่วนเงินที่เหลือจะใช้เป็นค่าบริหารจัดการของเครือข่าย ตลอดจนน�ำไปเป็นทุน การศึกษาให้แก่สมาชิกเยาวชน เป็นค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน เช่น วันเข้าพรรษา โรงทาน หรือช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติหรือเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น

มากกว่าการออม คือการส่งต่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

อีกหนึ่งแนวคิดและการด�ำเนินงานของธนาคารรักษ์แม่เมาะที่โดดเด่น ก็คือการมองธนาคารในมิติของ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน เนื่องจากบริบทของชุมชนนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ได้ ท�ำให้การกูย้ มื เพือ่ ประกอบอาชีพหรือใช้จา่ ยยามฉุกเฉินท�ำได้ยากและ อาจต้องไปพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูงและท�ำให้เป็นหนี้สินจ�ำนวนมาก โดยธนาคารรักษ์ แม่เมาะ เข้าใจถึงบริบทดังกล่าว และเห็นว่าการอยู่ร่วมกันชุมชนนั้น ย่อมต้องมีทั้งคนที่มีฐานะและผู้ที่ ขัดสนกว่า คนมีฐานะสามารถเข้ามาช่วยเหลือซึง่ กันและกัน โดยการน�ำเงินมาออม เงินเหล่านัน้ ก็จะกลาย เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้เงิน และผู้ออมเงินก็จะได้รับผลตอบแทนในระดับเฉลี่ยสูงถึง 3% ต่อปี ซึ่งที่ผ่านมาเงินจากธนาคารรักษ์แม่เมาะ สามารถช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ มีงาน มีอาชีพ ตลอดจน สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหลายแห่งให้เกิดขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าสมาชิกธนาคารรักษ์แม่เมาะนั้น สามารถเป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับในเวลาเดียวกัน

การด�ำเนินงานของเครือข่ายรักษ์แม่เมาะ ในอนาคต

โจทย์ใหม่ที่ท้าทายของเครือข่ายฯ คือการด�ำเนินงานธนาคาร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิด ขึ้นในอนาคต เช่น หากในอนาคตไม่มี กฟผ.แม่เมาะ อยู่ในพื้นที่ เครือข่ายจะด�ำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่ง ธนาคารรักษ์แม่เมาะ ในปัจจุบนั ด�ำเนินการแบบพึง่ ตนเอง โดยไม่มกี ารของบประมาณสนับสนุนจากแหล่ง เงินทุนใดๆ เพิ่มเติม และจากเงินทุนรวมของธนาคารเครือข่ายในปัจจุบันกว่า 29 ล้านบาท เครือข่ายฯ ยัง คาดหวังให้เงินทุนก้อนนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และพร้อมที่จะขยายเครือข่ายสู่ต�ำบลอื่นๆ ภายใต้นโยบายและ กฎเกณฑ์เดียวกัน โดยจะยังคงระบบการเงินธนาคารแบบให้คนในท้องถิ่นบริหารจัดการร่วมกัน พร้อมๆ ไปกับการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะขึ้นมาสืบทอดงานต่อไป

9


รักษ์ โลก สวัสดี

10

ลดขยะกระทงด้วยหลัก 3 R

วันเพ็ญเดือน 12 น�้ำก็นองเต็มตลิ่ง....... อย่างที่เราทราบกันดีว่าเดือนพฤศจิกายนมีประเพณีที่ส�ำคัญของไทย คือประเพณีลอยกระทง ที่จัดขึ้น เพื่อบูชาและขอขมาต่อพระแม่คงคาโดยใช้ “กระทง” ซึ่งท�ำจากวัสดุต่างๆเป็นตัวแทนสื่อถึงความตั้งใจ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเมื่อจบจากเทศกาล ลอยกระทงทีไร เราจะพบปัญหากระทงล้นแม่น�้ำและปัญหาขยะมากมายทุกที รักษ์โลกฉบับนี้จึงขอชวนเพื่อนๆมายึดหลัก 3R ในการลอยกระทง เพื่อ ให้เทศกาลนี้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกันดีกว่า

หลัก 3R กับประเพณีลอยกระทง

ใช้กระทงให้เหมาะกับชุมชน นอกจากหลัก 3R ทีเ่ ราควรยึดเป็นหัวใจ ส�ำคัญในการลอยกระทงแล้ววัสดุทนี่ ำ� มาใช้ ยังควรค�ำนึงถึงความเหมาะสมกับแหล่งน�้ำ ในชุมชนด้วยนะคะ เช่น

ลด

ใช้ร่วมกัน

(REDUCE)

(REUSE)

ลดขนาด จ�ำนวนชั้นและการ ตกแต่งให้น้อยลงเท่าที่จะท�ำได้ เพราะเท่ากับช่วยลดการใช้วสั ดุ ประหยั ด ทรั พ ยากรและลด ปริมาณการก�ำจัดท�ำลายด้วย

ใ ช ้ ซ�้ ำ แ บ บ ใ ช ้ ร ่ ว ม กั น เป็ น การใช้ ท รั พ ยากรที่ มี อ ยู ่ อย่างจ�ำกัดให้คุ้มค่า เช่น หนึ่ง กระทงหนึ่งครอบครัวหรือหนึ่ง กระทงเพื่อนหนึ่งกลุ่ม ฯลฯ

แปรสภาพและน�ำกลับมาใช้ใหม่

(RECYCLE)

โดยชุมชนและหน่วยงานต่างๆ อาจช่วยกันวางแผนการคิดแยก และน�ำกลับมาใช้ใหม่ เช่น น�ำ กระทงจากวั ส ดุ ธ รรมชาติ ไ ป หมักท�ำปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น

หากในชุมชนมีถังหมัก

สามารถน�ำขยะจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง กาบกล้วย ดอกไม้ มาหมักเป็นปุ๋ยหรือแก๊ส ชีวภาพได้

หากในพื้นที่มีสระน�้ำหรือบึงน�้ำ

ที่ มี ป ลาอาศั ย อยู ่ ชุ ก ชุ ม ก็ ค วรรณรงค์ ใ ห้ ใ ช้ กระทงขนมปัง โดยพยายามจ�ำกัดปริมาณและ ท�ำกระทงให้เล็กบาง เพื่อไม่ให้มีปริมาณมากไป จนท�ำให้น�้ำเน่าเสีย

สรุปว่า วัสดุทนี่ ำ� มาใช้ทำ� กระทงทุกประเภทมีคุณค่าและสามารถ

น�ำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ได้ ไม่มีวัสดุประเภทไหนที่ดีหรือไม่ดีไป ทั้งหมด แต่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของเรากันนะคะ

ที่มา : ลดขยะกระทงด้วยหลัก 3R vcharkarn.com http://www.thaihealth.or.th/sook

การบริหารจัดการและการปล่อยน�้ำจากอ่างเก็บน�้ำแม่จาง ในเดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา จากพายุฝนทีพ่ ดั ผ่านเขตพืน้ ที่ อ.แม่เมาะ และ จ.ล�ำปาง ท�ำให้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนือ่ งและมีนำ�้ ไหลเข้าอ่างเก็บน�ำ้ แม่จางจ�ำนวนมาก จนมีระดับน�ำ้ เกิน ระดับกักเก็บปกติ ปรากฏการณ์ดงั กล่าว ตรงกันข้ามกับในปี 2559 ทีผ่ า่ นมา อ่างเก็บน�ำ้ แม่ จางแห้งแล้งจนสามารถลงไปเดินในใจกลางอ่างได้ สิง่ เหล่านีส้ ว่ นหนึง่ เกิดจากการเปลีย่ นแปลง ของสภาพภูมอิ ากาศโลก ซึง่ ในปีนี้ กฟผ.แม่เมาะ ได้ตดิ ตามสถานการณ์อย่างใกล้ชดิ โดยมี การจัดตัง้ ห้องประชุมติดตามสถานการณ์นำ �้ (War Room) พร้อมทัง้ ปล่อยน�ำ้ ในส่วนทีเ่ กิน จากระดับกักเก็บปกติ ออกจากอ่างเก็บน�ำ้ แม่จาง โดยค�ำนึงถึงความมัน่ คงของอ่างเก็บน�ำ ้ ควบคูก่ บั ป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่พนื้ ทีก่ ารเกษตรและพืน้ ทีช่ มุ ชน พร้อมทัง้ มีการ แจ้งเตือนและรายงานสถานการณ์นำ�้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยล่าสุดเมือ่ วันที่ 22 ตุลาคม 2560 กฟผ.แม่เมาะ ได้ยตุ กิ ารระบายน�ำ้ จากอ่างเก็บน�ำ้ แม่จาง โดยมีระดับน�ำ ้ 352.51 ม.รทก. หรือเต็มระดับกักเก็บปกติ ซึง่ การกักเก็บน�ำ้ ปริมาณมากนี้ จะช่วยให้เกิดความมัน่ คงในการ ผลิตไฟฟ้าและสามารถช่วยเหลือประชาชนยามประสบกับปัญหาภัยแล้งได้เป็นอย่างดี

การปล่อยน�้ำจากอ่างเก็บน�้ำแม่จาง


แม่เมาะ

http://maemoh.egat.com

กฟผ.แม่เมาะ ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ ปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน�้ำห้วยคิงตอนบน

11

สืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

นายนิ มิ ต ร ผดุ ง ศิ ล ป์ ไ พโรจน์ นายอ� ำ เภอแม่ เ มาะ เป็นประธานเปิดกิจกรรมปลูกป่าอ่างเก็บน�้ำห้วยคิงตอนบน เพือ่ ส่งเสริมระบบนิเวศวิทยาและสิง่ แวดล้อม โดยการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ บูรณาการร่วมกับเทศบาล ต�ำบลแม่เมาะและเครือข่ายป่าชุมชนอ�ำเภอแม่เมาะ น�ำโดย นายประเสริฐ พนมเกียรติศักดิ์ วิศวกรระดับ 11 ฝ่ายการผลิต โรงไฟฟ้าแม่เมาะและผูป้ ฏิบตั งิ านจิตอาสา กฟผ.แม่เมาะ พร้อม ด้วยนายชูชีพ บุนนาค นายกเทศมนตรีต�ำบลแม่เมาะ ตลอดจน หน่วยงานภาครัฐ ผู้น�ำชุมชน สมาชิกในชุมชนและเยาวชน จ�ำนวน 190 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้กว่า 1,000 ต้น 12 สายพันธุ์ อาทิ ไผ่ซาง ต้นพฤกษ์ ต้นมะขามไทย ฝรั่ง มะเกี๋ยง เป็นต้น บนพื้นที่ป่าต้นน�้ำบริเวณอ่างเก็บน�้ำห้วยคิงตอนบนเพื่อเป็น การปลูกทดแทนและฟืน้ ฟูอนุรกั ษ์ทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการการท�ำงาน ร่วมกันของทุกภาคส่วนในอ�ำเภอให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมในชุมชน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 ณ อ่างเก็บน�้ำ ห้วยคิงตอนบน บ้านเมาะหลวง อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง

โครงการอนุ รั ก ษ์ แ ละฟื ้ น ฟู ป ่ า ต้ น น�้ ำ ห้ ว ยคิ ง ตอนบน บ้ า นเมาะหลวงเป็ น โครงการที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ฟื ้ น ฟู ป ่ า ต้ น น�้ ำ คื น ความสมดุ ล สู ่ ธ รรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม แก้ ไ ขปั ญ หา การบุ ก รุ ก พื้ น ที่ ป ่ า การตั ด ไม้ ท� ำ ลายป่ า เป็ น การบู ร ณาการ ร่วมกันระหว่างชุมชน และหน่วยงานราชการในพื้นที่ โดย กฟผ.แม่ เ มาะ ได้ ส นั บ สนุ น งบประมาณการด� ำ เนิ น งาน 1,000,000 บาท ซึ่งจะด�ำเนินโครงการปลูกป่าทดแทนป่าที่ถูก ท�ำลายจ�ำนวน 2,500 ต้น การสร้างฝายชะลอน�ำ้ จ�ำนวน 50 ฝาย ตลอดจนสนับสนุนการดูแลของอาสาสมัครพิทักษ์ป่าเพื่อดูแล พืน้ ทีท่ งั้ หมด 5,300 ไร่ ซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ า่ ทีค่ รอบคลุมทัง้ 3 หมูบ่ า้ น ได้แก่ หมู่บ้านเมาะหลวง บ้านเวียงหงส์ล้านนา และบ้านปงชัย เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่สิงหาคม 2559 – ธันวาคม 2560 ซึ่งใน ปัจจุบันได้ด�ำเนินการสร้างป้อมส�ำหรับตรวจการอาสาสมัคร พิทักษ์ป่า ปลูกป่า สร้างฝายชะลอน�้ำ การลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ อาสาสมัครพิทักษ์ป่า การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ไฟป่า ดูแลแนวกันไฟ และการดับไฟป่า เป็นต้น


สวัสดี

12

2 ต.ค. 60 กองจิตอาสากองโยธาและกองฟืน้ ฟูสภาพเหมือง ฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ ร่วยถวายปัจจัยในงานประเพณีตานก๋วยสลาก ณ วัดหัวฝาย ต.บ้านดง

10 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ ส่งมอบดอกไม้จันทน์ จ�ำนวน 5,494 ดอก แก่อ�ำเภอแม่เมาะ เพือ่ ใช้ในพระราชพิธถี วายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมีนายอ�ำเภอแม่เมาะ เป็นผูร้ บั มอบ

13 ต.ค. 60 พสกนิกร อ.แม่เมาะ จ�ำนวนมาก เข้าร่วมพิธีบ�ำเพ็ญกุศล เพื่อถวายเป็นพระราช กุศล ครบรอบ 1 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีการจัดพิธีทางศาสนา พร้อมร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์จ�ำนวน 10 รูป

5 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ ร่วมประเพณีตานก๋วยสลากวัดนาแช่ ต.จางเหนือ พร้อม ถวายเครือ่ งไทยทานและปัจจัย ร่วมท�ำบุญเพือ่ อุทศิ ส่วนกุศลแก่บรรพบุรษุ ผู้ ล่วงลับ ตามความเชื่อของชาวล้านนา

10 ต.ค. 60 กองจิตอาสากองแผนงานและประเมินผล และแผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้า แม่เมาะ ร่วมประเพณีตานก๋วยสลากวัดนาแช่ ต.จางเหนือ พร้อมจัดโรงทาน แจกจ่ายอาหารแก่ผู้ร่วมงาน

15 ต.ค. 60 กองจิตอาสา กองวางแผนและปฏิบัติการเหมืองแม่เมาะ ฝ่ายวางแผนและบริหาร เหมืองแม่เมาะ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ถวายแก่วัดมงคลเกษตร บ้านห้วยเป็ด ต.แม่เมาะ เพื่อท�ำนุบ�ำรุงศาสนา และเป็นปัจจัยในการบูรณะก�ำแพงรั้วของวัด


แม่เมาะ

13

http://maemoh.egat.com

17 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ จัดโครงการส่งเสริมกีฬาฟุตบอลยุวชนและเยาวชน กฟผ. แม่เมาะ ประจ�ำปี 2560 เพื่อฝึกการเล่นอย่างถูกกฎกติกาและเสริมสร้าง น�ำ้ ใจนักกีฬาแก่เยาวชน โดยมีผเู้ ข้าร่วมโครงการจาก อ.แม่เมาะ และพืน้ ที่ ใกล้เคียง 131 คน

18 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์และเครื่องจักรเข้าให้การช่วย เหลือชุมชน บ้านห้วยคิง ต.แม่เมาะ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ แผ่นดินสไลด์และทรุดตัว

19 ต.ค. 60 กฟผ.แม่ เ มาะ มอบงบประมาณจ� ำ นวน 1.6 ล้ า นบาท แก่ น ายสุ พ จน์ พรหมมาโนช ผอู้ ำ� นวยการส�ำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เพือ่ สนับสนุนการด�ำเนิน โครงการศึกษาแหล่งโบราณคดีในพืน้ ที่ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง ปีงบประมาณ 2560

17 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ มอบกระเช้าของขวัญและทุนการศึกษา 5,000 บาท แก่บุตร ธิดาข้าราชการต�ำรวจ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาต�ำรวจแห่งชาติ ประจ�ำปี 2560

18 ต.ค. 60 กฟผ.แม่เมาะ ร่วมพิธีมอบบ้านตามโครงการสร้างบ้านเพื่อความสุขสู่ลูก สพฐ. ประจ�ำปี 2560 แก่ ด.ช.ธนดล เขียวเขียว นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียน แม่ทะวิทยา โดย กฟผ. แม่เมาะ ร่วมสนับสนุนก�ำลังคนและงบประมาณ 50,000 บาท ณ บ้านท่าแหน ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ

20 ต.ค. 60 ฝ่ายบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ถวายแก่วัด สบจาง ต.นาสัก เพื่อบูรณะหลังคาอุโบสถ


สวัสดี

14

6 ข้อควรรู้ก่อนกินยาสมุนไพร ปัจจุบันสมุนไพรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในการรักษาโรคและใช้เป็นอาหารเสริม แต่หากมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจ จะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ ได้ ถึงแม้การใช้พืชสมุนไพรจะดูเป็นวิธีการที่สะดวก ใช้ง่าย แต่ฤทธิ์ของตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรอาจจะไม่คงที่ ในบางครั้ง การออกฤทธิ์อาจจะดี แต่บางครั้งก็ออกฤทธิ์ไม่ดีนัก ทางที่ดีเราจึงควรศึกษาข้อควรระวังก่อนใช้ยาจากพืชสมุนไพรดังนี้

1. ศึกษาให้ดีก่อนใช้ 2. เริ่มทานน้อยๆ 3. ห้ามใช้ยามากเกินไป 4. หมั่นตรวจสอบสรรพคุณ 5. ผลที่ได้ไม่แน่นอน 6. อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป

เช่น ศึกษาผลข้างเคียงของยาสมุนไพรนั้นๆและข้อห้ามใช้ในยา บางชนิด ท�ำให้มีความปลอดภัยในการใช้มากขึ้น ถ้าไม่เคยทานยาสมุนไพรนัน้ ๆมาก่อนให้ลองกินแค่ครึง่ หนึง่ ของ ขนาดที่ก�ำหนดไว้และสังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่

ในคนที่อ่อนเพลียมาก เด็กอ่อน คนชรา เพราะคนเหล่านี้มีภูมิ ต้านทานยาต�่ำอาจเกิดผลข้างเคียงได้ง่าย เมื่อกินยาสมุนไพร 1 วัน แล้วไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนยาหรือไปหา หมอ หรือถ้าเป็นโรคเรื้อรังให้รอดูผล 7 วัน การใช้ยาสมุนไพรนัน้ แตกต่างกันในแต่ละบุคคล คนหนึง่ อาจกิน แล้วดี แต่ไม่ได้บ่งชี้ว่าจะได้ผลแน่นอนกับทุกคน เช่น ยาที่ใช้ต้มกินต่างน�้ำ ไม่ควรใช้วิธีเคี่ยวจนงวดเพราะยาจะ เข้มข้นเกินไป จนท�ำให้เกิดผลเสียได้

ที่มา : http://www.tistr.or.th/ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th https://health.kapook.com

7. ใช้ยาตามที่แพทย์แผนโบราณก�ำหนด 8. ควรหยุดใช้ยา หากพบอาการผิดปกติ 9. ความสะอาดของพืชสมุนไพร

การใช้ยาสมุนไพรไม่ควรดัดแปลงเพือ่ ความสะดวกของผูใ้ ช้ เพราะอาจเป็น อันตรายได้ ควรใช้ยาตามที่แพทย์แผนโบราณก�ำหนด เมือ่ เริม่ ใช้ยาสมุนไพรควรสังเกตอาการ หากพบอาการผิดปกติเกิดขึน้ ควร หยุดใช้ยา และรีบพบแพทย์แผนปัจจุบัน

ควรระมัดระวังในเรือ่ งความสะอาดของสมุนไพร ตลอดจนเครือ่ งมือเครือ่ ง ใช้ เพราะถ้าไม่สะอาดจะท�ำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ สมุนไพรที่เก็บไว้นาน ถ้ามีราขึน้ หรือมีแมลงไม่ควรน�ำมาใช้ เพราะสารส�ำคัญอาจเปลีย่ นแปลงไป ท�ำให้ใช้ไม่ได้ผล และยังอาจได้รับพิษจากแมลงหรือเชื้อราได้อีกด้วย

10. ควรรู้ข้อห้ามใช้ยาสมุนไพร 11. ไม่ควรใช้ยาตัวเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน

ควรรู้พิษของยาก่อนใช้ รู้ข้อห้ามใช้ เพราะยาบางชนิดมีข้อห้ามใช้กับบาง คน บางโรค เมื่อรู้สิ่งเหล่านี้แล้วจะท�ำให้การใช้ยาปลอดภัยมากขึ้น

ไม่ควรกินยาตัวเดียวทุกวันติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่จ�ำเป็น โดยทั่วไปไม่ควรกินยาอะไรติดต่อกันนาน 1 เดือน เพราะจะท�ำให้เกิดพิษ สะสมได้

12. ศึกษาแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานการรับรอง

เนื่องจากใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติจึงมีโอกาสปนเปื้อนโลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม หรือสารเคมี ยาก�ำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงการ ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงอาจได้ยาที่ไม่มีคุณภาพ ควบคุมความชื้นไม่ดี ยา อาจขึ้นราและเกิดสารอะฟลาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นผู้ใช้ยา สมุนไพร ต้องศึกษาข้อมูลจากฉลากข้างขวด เช่น มาตรฐาน GMP หรือ อย. แหล่งผลิต หรือวันหมดอายุเป็นต้น

กองการแพทย์ แ ละอนามัยโรงไฟฟ้า แม่เมาะ แจ้ง ก�ำ หนดออกหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่ เดือ นพฤศจิก ายน 2560 ในพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ�ำนวน 5 ครั้งดังนี้ วันที่ 7 บ้านวังตม ต.จางเหนือ, วันที่ 9 บ้านนาแช่/นาสันติราษฏร์ ต.จางเหนือ, วันที่ 16 บ้านหัวฝาย/หล่ายทุ่ง ต.บ้านดง, วันที่ 23 บ้านท่าสี ต.บ้านดง และ วันที่ 28 บ้านสบป้าด/ปงต้นปิน ต.สบป้าด ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา กองการแพทย์และอนามัยโรงไฟฟ้า แม่เมาะ ได้ออกให้บริการตรวจสุขภาพเคลือ่ นที่ มีผเู้ ข้ารับการตรวจรักษาได้แก่ ณ หมู่บ้านนาสัก ต.นาสัก จ�ำนวน 226 ราย, ณ หมู่บ้านสบเติ๋น ต.สบป้าด จ�ำนวน 142 ราย และ ณ หมู่บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ ต.นาสัก จ�ำนวน 197 ราย เป็นต้น


แม่เมาะ

15

http://maemoh.egat.com

กฟผ.แม่เมาะ

เหลืองสะพรั่งทั่วแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาค ประชาชนในพื้นที่ อ.แม่เมาะ ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี และน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยร่วมปลูกดอกดาวเรืองและต้นปอเทือง ที่ปัจจุบันออกดอกเหลืองบานสะพรั่งทั่วพื้นที่ โดย กฟผ.แม่เมาะ ได้ปลูกดอกดาวเรืองและดอกไม้สีเหลืองเพื่อร่วมแสดงออกถึงความจงรัก ภักดีและน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทัว่ ทุกบริเวณ ภายในพื้นที่กว่า 20,000 ต้น พร้อมทั้งปลูกดอกไม้บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นเลข “๙” ซึ่งแทนความหมายการน้อมร�ำลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยต้นไม้ทปี่ ลูกบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติฯ นัน้ มีทงั้ ต้นดาวเรือง ต้นปอเทือง ตลอด จนมีดอกบัวตองซึ่งจะบานเต็มที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ดอกดาวเรือง เป็นตัวแทนที่สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้าและความสว่างไสว นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แทนในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้ว ยังมีความหมายลึกซึ้งเปรียบเสมือนพระ จริยวัตรที่เรียบง่าย พอเพียง แต่พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า อีกทั้งทรงบ�ำเพ็ญแต่ความ ดีงามประทับไว้ในใจคนไทยตราบเท่านาน

ผัดไทน้องแต๋มเวียงสวรรค์

การันตีสูตรเด็ดโดยเชฟโรงแรมห้าดาว

GPS

ผัดไทน้องแต๋ม

ผัดไทประตูผที วี่ า่ เด็ด อาจจะต้องยอมให้กบั ผัดไทน้องแต๋มเวียงสวรรค์กเ็ ป็นได้ นายอ้วนชวนกิน ฉบับนี้ มีรา้ นใหม่มาแนะน�ำ ไม่ใกล้ไม่ไกลอยูแ่ ถวๆบ้านเวียงสวรรค์ ต.แม่เมาะ นีเ่ อง ร้านนีเ้ ปิดให้ บริการตั้งแต่ปี 2558 โดยน้องแต๋ม เจ้าของร้านและแม่ครัวคนสวยของเรา ที่ได้สูตรมาจาก “เชฟอ้วน” อดีตหัวหน้าพ่อครัวคนดังจากโรงแรมหรูระดับห้าดาวของเมืองไทย มีเคล็ดลับความอร่อย อยูท่ นี่ ำ�้ มะขามส่วนผสมน�ำ้ ปรุงหลัก ท�ำให้เมนูผดั ไทของทางร้านไม่มนั เยิม้ แถมเส้นนุม่ ลิน้ รสชาติ กลมกล่อมลงตัว แม้วา่ ตอนนีท้ รี่ า้ นจะมีเพียงเมนูเดียว คือ ผัดไทหมู เพราะน้องแต๋มท�ำเองเสิรฟ์ เอง ทุกจาน แต่กย็ งั มีเส้นให้เลือกหลากหลาย ทัง้ เส้นจันทน์ทส่ี งั่ ตรงมาจากโรงงานใน จ.น่าน เส้นวุน้ เส้น หรือจะสัง่ เป็นเกาเหลาผัดไทก็ยงั ได้ ราคาแบบธรรมดา จานละ 30 บาท พิเศษ 40 บาท สามารถโทร สัง่ ล่วงหน้าได้ที่ 09-0323-2148 ร้านเปิดตัง้ แต่สบิ โมงเช้า – ช่วงบ่ายสาม หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ การเดินทางหากมาจากเส้นผาลาด-แม่เมาะขาออก ให้เลีย้ วเข้าตรงป้ายหมูบ่ า้ นนาแขมพัฒนาซ้ายมือ จากนัน้ ตรงไปจนสุดถนนแล้วเลีย้ วขวา จะเห็นร้านผัดไทน้องแต๋มอยูห่ วั มุมทางซ้ายมือ


ง ั ย ห ะ เดื อนนี้ มีอ ขอเชิญร่วมท�ำบุญทอดกฐินถวายแก่วัดใน พื้นที่ อ.แม่เมาะ วันที่ 1 พ.ย. วัดกอรวก ต.จางเหนือ วันที่ 2 พ.ย. วัดสบเมาะ ต.สบป้าด วันที่ 3 พ.ย. วัดบ้านดง ต.บ้านดง

19 พ.ย.

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ กฟผ.แม่เมาะ และเทศบาลต�ำบล แม่เมาะ จัดกิจกรรม “สองแรงน่องท่องแม่เมาะ ชมทุ่งบัวตอง” เริ่มต้นเส้นทางจากอนุสาวรีย์เจ้าพ่อทิพย์ช้าง มุ่งหน้าสู่เส้นทาง จักรยาน อ.แม่เมาะ ชมทุ่งบัวตอง กฟผ.แม่เมาะ เป็นระยะ ทางกว่า 40 กม. ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ที่เฟสบุคแฟนเพจ “ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ กฟผ.แม่เมาะ”

28-29 พ.ย. ขอเชิญร่วมอุดหนุนผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าชุมชน อ.แม่เมาะ ในตลาดนัด ชุมชน อ.แม่เมาะ (แม่เมาะกรีนมาร์เก็ต) ณ บริเวณศูนย์อาหารรวม กฟผ.แม่เมาะ

“กฟผ. ชุมชน คนบ้านเดียวกัน” R-Radio Network FM 99.50 MHz สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา และพัฒนาอาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยี และการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ “MCOT RADIO” ทุกวันจันทร์ เวลา 10.00-12.00 น. FM 99.00 MHz สถานีวิทยุ อสมท.ล�ำปาง ทุกวัน ช่วงจิตอาสา เวลา 15.00-17.00 น. จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-11.00 น. ด�ำเนินรายการ วิทยุคนแม่เมาะ FM 90.50 MHz สถานีวิทยุเพื่อคนแม่เมาะ โดย อ.วิเชียร บุญทา และดีเจใหม่ มติมนต์ ค�ำมณี ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-15.00 น. “สบายใจ ไปกับการไฟฟ้า” “กฟผ.แม่เมาะ พบประชาชน” FM 91.50 MHz สถานีวิทยุต�ำรวจภูธรภาค 5 ล�ำปาง FM 97.00 MHz. สถานีวทิ ยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.ล�ำปาง วันเสาร์ เวลา 10.00-11.00 น. โดย อ.วิเชียร บุญทา วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 11.00 น. โดย อ.วิเชียร บุญทา

ชวนฟังรายการวิทยุ

ที่ปรึกษา

นายบรรพต ธีระวาส นายอมรพันธ์ ลีลาภรณ์

ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2

0-5425-4111

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเหมืองแม่เมาะ

บรรณาธิการบริหาร

ว่าที่ ร.ต. ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ติดต่อเรา :

หัวหน้าแผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 800 หมู่ที่ 6 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220 เหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 801 หมู่ที่ 6 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง 52220

บรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ แผนกประชาสัมพันธ์เหมืองแม่เมาะ

ออกแบบและจัดท�ำ

แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โทรศัพท์ 0-5425-6086 อีเมล์ CSRmaemoh@egat.co.th ร้านกล้าคิดก�ำลังดี โทรศัพท์ 08-1881-2109 อีเมล์ gumlangdee@gmail.com

http:// maemoh.egat.com แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ tel : 0-5425-6085 fax : 0-5425-6088 แผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ tel : 0-5425-2730 fax : 0-5425-2731 แผนกประชาสัมพันธ์เหมืองแม่เมาะ tel : 0-5425-4054 fax : 0-5425-4052 สนามกอล์ฟ กฟผ.แม่เมาะ tel : 0-5425-4970 พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษาฯ (เหมืองแม่เมาะ) tel : 0-5425-4930


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.