บูรณาการงานวิจัย

Page 1

สถาบันพระปกเกล้า

บูรณาการงานวิจัย นักการเมืองถิ่น และ พฤติกรรมการเลือกตั้ง 2550



บูรณาการงานวิจัย

นักการเมืองถิ่น และ พฤติกรรมการเลือกตั้ง 2550

อภินันทนาการ จาก สถาบันพระปกเกล้า


บูรณาการงานวิจัย : นักการเมืองถิ่นและพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2550

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สถาบันพระปกเกล้า. บูรณาการงานวิจยั : นักการเมืองถิน่ และพฤติกรรมการเลือกตัง้ 2550.-- กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2553. 148 หน้า. 1. นักการเมือง. 2. การเลือกตั้ง. I. ชื่อเรื่อง. 324.2092 ISBN 978-974-449-558-7 รหัสสิ่งพิมพ์ของสถาบันพระปกเกล้า สวพ. 53-41-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-558-7 ราคา -- บาท พิมพ์ครั้งที่ 1

กันยายน 2554

จำนวนพิมพ์

500 เล่ม

ลิขสิทธิ์

สถาบันพระปกเกล้า

กองบรรณาธิการ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และนางสาวณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า

II

จัดพิมพ์โดย

สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th

พิมพ์ที่

บริษัทธรรมดาเพรส จำกัด 86 ซอย 50/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 โทรศัพท์ 02-883-0342-4 โทรสาร 02-435-6960 E-mail : thammada@hotmail.com


คำนำ การเสวนา “บูรณาการงานวิจัย” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้จาก ผลการศึ ก ษาวิ จั ย ของโครงการต่ า งๆ ของสำนั ก วิ จั ย และพั ฒ นา สถาบันพระปกเกล้า ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และ ได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ไว้เป็นจำนวนมาก การเสวนา “บูรณาการงานวิจัย 2552” เป็นเวทีแรกที่จัดให้มี ขึ้ น ภายใต้ ก ารดำเนิ น งานของโครงการบู ร ณาการงานวิ จั ย โดยได้ คัดเลือกรายงานวิจัยจากโครงการ “สำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการ เมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ต่ า งๆ” จำนวน 13 ฉบั บ /จั ง หวั ด และ โครงการ “ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550” จำนวน 12 ฉบับ/จังหวัด มาร่วม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาวิจัยในประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สถาบั น พระปกเกล้ า โดยสำนั ก วิ จั ย และพั ฒ นา ได้ ท ำการ รวบรวมบทคั ด ย่ อ และบทสรุ ป จากการแลกเปลี่ ย นองค์ ค วามรู้ ข อง นั ก วิ จั ย จากสองโครงการดั ง กล่ า ว เป็ น เอกสารสรุ ป การเสวนา “บู ร ณาการงานวิ จั ย 2552” ภายใต้ ชื่ อ “บู ร ณาการงานวิ จั ย : นักการเมืองถิ่นและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550” III


บูรณาการงานวิจัย

สถาบันพระปกเกล้า ขอขอบคุณวิทยากรนำการเสวนาและนักวิจัย

ทุกท่านที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และมุมมองอันเป็น ประโยชน์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการบูรณาการความรู้ในครั้งนี้จะให้ข้อมูล อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ของไทยต่อไป

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น แ ล ะ พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

สถาบันพระปกเกล้า

IV


บูรณาการงานวิจัย

สารบัญ หน้า

การเสวนาบูรณาการงานวิจัย 2552 บทที่ 1 บูรณาการงานวิจัย เรื่อง “นักการเมืองถิ่น” รายละเอียดโครงการ บทคัดย่อรายงานวิจัย 1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดตาก 2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. นักการเมืองถิน่ จังหวัดเชียงใหม่ 4. นักการเมืองถิน่ จังหวัดบุรีรัมย์ 5. นักการเมืองถิน่ จังหวัดเลย 6. นักการเมืองถิน่ จังหวัดสุรินทร์ 7. นักการเมืองถิน่ จังหวัดสงขลา 8. นักการเมืองถิน่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9. นักการเมืองถิน่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 10. นักการเมืองถิน่ จังหวัดชลบุรี 11. นักการเมืองถิน่ จังหวัดนนทบุรี 12. นักการเมืองถิน่ จังหวัดสมุทรปราการ 13. นักการเมืองถิน่ จังหวัดปทุมธานี ผลการบูรณาการงานวิจยั เรื่อง “นักการเมืองถิ่น”

III 3 13 15 19 21 23 25 27 29 33 36 38 40 42 44 46 48 51

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น แ ล ะ พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

คำนำ


บูรณาการงานวิจัย

สารบัญ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น แ ล ะ พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

หน้า

VI

บทที่ 2 บูรณาการงานวิจัย เรื่อง “พฤติกรรมการเลือกตั้ง 63 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550” รายละเอียดโครงการ 65 บทคัดย่อรายงานวิจัย 71 1. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ 73 2. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดลำปาง 76 3. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดแพร่ 80 4. พฤติกรรมการเลือกตัง้ ส.ส. 2550 จังหวัดพิษณุโลก 86 5. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดเชียงราย 90 6. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดตาก 94 7. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ 98 8. พฤติกรรมการเลือกตัง้ ส.ส. 2550 จังหวัดขอนแก่น 108 9. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดพัทลุง 112 10. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 จังหวัดชุมพร 119 11. พฤติกรรมการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 124 จังหวัดนครศรีธรรมราช 12. พฤติกรรมการเลือกตัง้ ส.ส. 2550 กรุงเทพมหานคร 126 ผลการบูรณาการงานวิจัย เรื่อง 135 “พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550”


1

การเสวนา “บูรณาการงานวิจัย 2552” วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552

ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร



บูรณาการงานวิจัย

การเสวนา “บูรณาการงานวิจัย 2552” วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

สำนักวิจัยและพัฒนา หน่วยงานหนึ่งของสถาบันพระปกเกล้า ได้จัดทำ โครงการวิจัยต่างๆมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีตามหนึ่งในพันธกิจของ สถาบันพระปกเกล้า คือ “การศึกษาวิจัยทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ และสะท้ อ นการแก้ ไ ขปั ญ หาเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาการเมื อ งการปกครอง

ในระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงเป็ น ประมุ ข และ

พระปกเกล้าศึกษาอย่างเป็นระบบ” และได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และน่ า สนใจไว้ เ ป็ น จำนวนมาก โครงการวิ จั ย ดั ง กล่ า วมี อ าทิ โครงการ “สำรวจเพื่ อ ประมวลข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ต่ า งๆ” และ “ความเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและพฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภา

ผู้แทนราษฎร 2550” เพื่อสังเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับจากผลการศึกษาวิจัย ในโครงการต่ า งๆ สำนั ก วิ จั ย และพั ฒ นาจึ ง ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการ “บู ร ณาการ

งานวิจัย” ขึ้นและได้จัดการเสวนา “บูรณาการงานวิจัย” ให้เป็นเวทีวิชาการ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และบูรณาการผลการศึกษาวิจัยที่ได้จากงาน วิจัยโครงการต่างๆ ของสำนักวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่อันจะ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองไทยต่อไป

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

1. หลักการและเหตุผล


บูรณาการงานวิจัย

2. วัตถุประสงค์

1) เพื่ อ จั ด การเสวนา แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ สั ง เคราะห์ และถอด บทเรียนเกี่ยวกับชุดงานวิจัยที่ได้ดำเนินการมา

2) เพื่ อ รวบรวมองค์ ค วามรู้ ที่ ไ ด้ จ ากชุ ด งานวิ จั ย และจั ด ทำเป็ น เอกสารสรุปผล

3. รูปแบบการเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเคราะห์ และถอดบทเรียน ระหว่างกลุ่มนักวิจัย ของแต่ละโครงการ

4. กำหนดการและสถานที่

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

กำหนดจัดการเสวนาในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 ณ ห้อง บุษบงกช A ชั้น 2 โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

5. ผู้เข้าร่วมเสวนา 1) นักวิจัย จากโครงการ “สำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมือง ถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ” จำนวน 10-15 ท่าน 2) นั ก วิ จั ย จากโครงการ “ความเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและ พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550” จำนวน 10-15 ท่าน


บูรณาการงานวิจัย

กำหนดการ

การเสวนา “บูรณาการงานวิจัย” วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2552 ณ ห้องบุษบงกช A ชั้น 2 โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร 8.30 - 9.30 น. ลงทะเบียน

9.40 - 12.00 น. เสวนาเพือ่ ถอดบทเรียนและสังเคราะห์งานวิจยั ในโครงการ “สำรวจเพื่ อ ประมวลข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จังหวัดต่างๆ” นำการเสวนาโดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และ ผศ.ทศพล สมพงษ์ 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 15.30 น. เสวนาเพือ่ ถอดบทเรียนและสังเคราะห์งานวิจยั ในโครงการ “ความเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและพฤติ ก รรมการ

เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550” นำการเสวนาโดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และ ผศ.ทศพล สมพงษ์

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

9.30 - 9.40 น. กล่าวเปิดการเสวนาบูรณาการงานวิจัย โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา


บูรณาการงานวิจัย

ประเด็นในการถอดบทเรียน และสังเคราะห์งานวิจัยในโครงการ “สำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ”

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

การเสวนาเพื่อบูรณาการผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “นักการเมืองถิ่น” เป็นการถอดบทเรียนและสังเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย โดยการอภิปรายและ แลกเปลี่ ย นองค์ ค วามรู้ จ ากนั ก วิ จั ย ของโครงการฯ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ต่ า งๆ 13 จังหวัด จำแนกภูมิภาคได้ดังนี้

1. ภาคเหนือ - เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน

3 จังหวัด

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - บุรีรัมย์ เลย สุรินทร์

3 จังหวัด

3. ภาคใต้ 3 จังหวัด - สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

4. ปริมณฑล 3 จังหวัด - นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี

5. ภาคตะวันออก - ชลบุรี

1 จังหวัด


บูรณาการงานวิจัย

ประเด็นในการสังเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย

เลือก

ภาพรวมทางการเมื อ งของจั ง หวั ด ตั้ ง แต่ อ ดี ต (พ.ศ. 2475 – - นิยมพรรคหรือตัวบุคคล - นิยมพรรคที่มีแนวโน้มจะได้จัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ - การขายเสียง - มีการผูกขาด ครองพื้นที่ของพรรคใดพรรคหนึ่ง ตระกูลใด ตระกูลหนึ่ง หรือกลุ่มอิทธิพลมาเป็นเวลานานหรือไม่

2. ลักษณะของนักการเมืองถิ่นที่ได้รับเลือกและปัจจัยที่ทำให้ได้รับ (ประเภท ส.ส. และ ส.ว. มีความแตกต่างกันอย่างไร) - บุคลิกส่วนตัว / นิสัยใจคอ - ภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะ - ภูมิลำเนา (เป็นคนในพื้นที่โดยกำเนิดหรือไม่) - พื้นฐานครอบครัว - ระดับการศึกษา - สถานภาพทางสังคม - สถานภาพทางเศรษฐกิจ - อาชีพก่อนเข้าสู่วงการเมือง - อุดมการณ์ทางการเมือง - ประสบการณ์ทำงาน (ภาครัฐ / เอกชน / ฯลฯ) - การช่วยเหลือสังคม - อื่นๆ (เพศ อายุ ฯลฯ)

3. การเข้าสู่วงการเมืองของนักการเมืองถิ่น - ทาบทามจากพรรคการเมือง / สืบทอดทางเครือญาติ ฯลฯ - การข้ามถิ่นมาลงสมัคร

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

1. ปัจจุบัน)


บูรณาการงานวิจัย

4. วิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่น - วิธีการหาเสียงที่นิยมใช้ (ลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน / รถขยายเสี ย ง / ปราศรั ย / สื่ อ กระแสหลั ก / สื่ อ วิ ท ยุ ชุ ม ชน / เคเบิ้ลทีวี / ร่วมงานบุญ ฯลฯ) - ชูนโยบายพรรค หัวหน้าพรรค หรือตัวผู้สมัครเอง - ใช้ทรัพยากรที่หลากหลาย เช่น เงินและอื่นๆ 5. ฐานเสียงและหัวคะแนนของนักการเมืองถิ่น - ฐานเสี ย ง (ลั ก ษณะของกลุ่ ม สนั บ สนุ น เป็ น กลุ่ ม อิ ท ธิ พ ล กลุ่ ม ธุ ร กิ จ หรื อ เครื อ ข่ า ยญาติ มิ ต รและประชาชนที่ ใ ห้ ก าร สนับสนุนเป็นกลุ่มใด ได้มาอย่างไร) - หัวคะแนน (ลักษณะของหัวคะแนนเป็นกลุ่มใด กลุ่มอิทธิพล กลุ่มธุรกิจ หรือเครือข่ายญาติมิตร ได้มาอย่างไร)

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

6. การแข่งขันระหว่างนักการเมืองถิ่นในจังหวัด - ก ลุ่ ม ที่ เ ป็ น คู่ แ ข่ ง ทางการเมื อ งรวมตั ว กั น เป็ น กลุ่ ม ใหญ่ ๆ ไม่กี่กลุ่ม หรือมีกลุ่มย่อยมากมาย

7. ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองถิ่นในจังหวัด - มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเฉพาะในกลุ่มหรือทั้งจังหวัด 8. ความเปลี่ยนแปลงภาพรวมทางการเมืองในจังหวัด - ทัศนคติของประชาชนต่อการเมืองและการเลือกตั้ง - ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อการเมืองและการเลือกตั้ง - การเสื่อมอำนาจของกลุ่มอิทธิพล 9. ลักษณะเฉพาะของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดที่ท่านศึกษา (จุดเด่น จุดด้อย) 10. แนวโน้มและทิศทางการเมืองของจังหวัด


บูรณาการงานวิจัย

ประเด็นในการถอดบทเรียน

1. จากการทำงานในโครงการนักการเมืองถิ่นฯ ท่านได้เรียนรู้อะไร บ้าง มีสิ่งใดที่ท่านประทับใจ สิ่งใดที่ท่านคิดว่าเป็นเรื่องท้าทาย ในการศึกษาครั้งนี้ และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุง

2. ปัญหาจากการทำงานกับสถาบันพระปกเกล้า และความพึงพอใจ ที่มีต่อการทำงานของสถาบันพระปกเกล้า

3. ข้อเสนอแนะต่อสถาบันพระปกเกล้าในการสนับสนุนการวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่น

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2


บูรณาการงานวิจัย

ประเด็นในการถอดบทเรียน และสังเคราะห์งานวิจัยในโครงการ “ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550”

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

การเสวนาเพือ่ บูรณาการผลการศึกษาวิจยั เรือ่ ง “พฤติกรรมการเลือกตัง้ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550” เป็ น การถอดบทเรี ย นและสั ง เคราะห์ ผลการศึกษาวิจัย โดยการอภิปรายและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากนักวิจัยของ โครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ 12 จังหวัด จำแนกภูมิภาคได้ดังนี้

10

1. ภาคเหนือ 6 จังหวัด - เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เชียงราย และตาก

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - บุรีรัมย์ และขอนแก่น

2 จังหวัด

3. ภาคใต้ - พัทลุง ชุมพร และนครศรีธรรมราช

3 จังหวัด

4. กรุงเทพมหานคร

ประเด็นในการสังเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย การออกเสียงประชามติเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญฉบับถาวร

1. บรรยากาศทั่วไป

2. ความรู้ความเข้าใจของประชาชน


บูรณาการงานวิจัย

3. ความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่างๆ - ประชาชน - คณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับต่างๆ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - พรรคการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่ - องค์กรเอกชน - องค์กรของรัฐ - องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกสียง

4. บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับต่างๆ - บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับ ต่างๆ - ปัญหาและอุปสรรค - การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น - การบริหารจัดการ

1. บรรยากาศทั่ ว ไปในช่ ว งการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550

2. บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่างๆ - ความพร้อมของการจัดเตรียมการเลือกตั้ง - การประชาสัมพันธ์ / ให้ความรู้ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง - ปัญหาและอุปสรรค - การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น / การร้องเรียน - การร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ - การจัดทำเอกสารแนะนำผู้สมัคร - การใช้เวลาในการประกาศผลการเลือกตั้ง

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550

11


บูรณาการงานวิจัย

ก า ร เ ส ว น า บู ร ณ า ก า ร ง า น วิ จั ย 2 5 5 2

12

3. ความเคลือ่ นไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผูส้ มัครรับเลือกตัง้ - เหตุผลของผู้สมัครรับเลือกตั้งในการลงสมัครในระบบนั้นๆ (แบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน) และการสังกัดพรรค - แนวคิดของผู้สมัครสุภาพสตรี - พรรคต่างๆ ให้ความสำคัญกับผู้สมัครที่เป็นผู้หญิงอย่างไร - กิจกรรมต่างๆ - การใช้เงิน การหาเสียง

4. บทบาทของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง - หน่วยงานภาครัฐ - บริษัทเอกชน - องค์กรสาธารณะ - องค์กรอื่นๆ

5. พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน

6. แนวทางการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเลือกตั้งให้เข้มแข็งและ ยั่งยืน

ประเด็นในการถอดบทเรียน

1. จากการทำงานในโครงการพฤติกรรมการเลือกตั้งฯ ท่านได้เรียนรู้ อะไรบ้ า ง มี สิ่ ง ใดที่ ท่ า นประทั บ ใจ สิ่ ง ใดที่ ท่ า นคิ ด ว่ า เป็ น เรื่ อ ง ท้าทายในการศึกษาครั้งนี้ และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุง

2. ปัญหาจากการทำงานกับสถาบันพระปกเกล้า และความพึงพอใจ ที่มีต่อการทำงานของสถาบันพระปกเกล้า

3. ข้อเสนอแนะต่อสถาบันพระปกเกล้าในการสนับสนุนการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้งในครั้งต่อไป


บ ท ที ่ บูรณาการงานวิจัย เรื่อง “นักการเมืองถิ่น”

1



บูรณาการงานวิจัย

รายละเอียดโครงการ

สำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ

ความเป็นมาและสภาพปัญหา

อย่างไรก็ตาม คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาการเมืองการปกครอง ไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไป ของภาคการเมื อ งที่ ศึ ก ษากั น อยู่ ก็ คื อ สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “การเมื อ งถิ่ น ” หรื อ “การเมืองท้องถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้นในอาณา บริเวณของท้องถิ่นที่เป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติอีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวที การเมือง ณ ศูนย์กลางของประเทศกำลังเข้มข้นด้วยการชิงไหวชิงพริบของ นักการเมืองในสภา และพรรคการเมืองต่างๆ อีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัครพรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กำลังดำเนินกิจกรรมเพื่อ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ได้ ส ร้ า งระบบการเมื อ งแบบที่ ป ระชาชนเลื อ กผู้ แ ทนของตนเข้ า ไป ทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะแทนตนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ที่ ผ่ า นมาในระดั บ ชาติ ป ระเทศไทยจั ด ให้ มี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎรขึ้ น ทั้ ง ทางตรงและทางอ้ อ มรวม 20 ครั้ ง มี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก พฤฒิ ส ภาทางอ้ อ ม 1 ครั้ ง ในปี พ.ศ. 2489 และมี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก

วุ ฒิ ส ภาโดยตรงครั้ ง แรกไปเมื่ อ วั น ที่ 4 มี น าคม พ.ศ. 2543 ในขณะที่ ใ น ระดับท้องถิ่นก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในหลายรูปแบบพัฒนาขึ้นตามลำดับ

15


บูรณาการงานวิจัย

รักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน และทันทีที่ภารกิจที่ส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบปะประชาชนตามสถานที่และงานบุญงานประเพณีต่างๆ เป็น สิ่งที่นักการเมืองผู้หวังชัยชนะในการเลือกตั้งมิอาจขาดตกบกพร่องได้ ภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลายสิ่งหลายอย่าง ของการเมืองไทยที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานในแง่มุมที่จะไม่สามารถพบได้ เลยในการเมืองระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงเป็น เรื่องที่น่าสนใจแก่การศึกษามิใช่น้อย เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดหาย และหากนำสิ่งที่ได้ค้นพบนี้มาพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็น่าจะทำให้สามารถเข้าใจ การเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้นในมุมมองที่แตกต่างจากการมองแบบเดิมๆ

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดที่ทำการ ศึกษา 2. เพื่ อ ทราบถึ ง เครื อ ข่ า ยและความสั ม พั น ธ์ ข องนั ก การเมื อ งใน จังหวัดที่ทำการศึกษา 3. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มี ส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

4. เพื่ อ ทราบบทบาทและความสั ม พั น ธ์ ข องพรรคการเมื อ งกั บ นักการเมืองในจังหวัด

16

5. เพื่ อ ทราบถึ ง วิ ธี ก ารหาเสี ย งในการเลื อ กตั้ ง ของนั ก การเมื อ ง ในจังหวัด


บูรณาการงานวิจัย

ขอบเขตของการศึกษา ศึ ก ษาการเมื อ งของนั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป ครั้ ง แรกจนถึ ง การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรครั้ ง ล่ า สุ ด ในจั ง หวั ด ที่ทำการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการ เมือง บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการต่างๆ บทบาท และความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองภายในจังหวัด ตลอดจน รูปแบบ วิธีการ และกลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

วิธีการศึกษา อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา ได้แก่ 1. การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ 2. การสัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึงนักการเมือง คนต่างๆ ในพื้นที่ได้ (รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา ที่ยังมีชีวิตอยู่ ญาติพี่น้อง และเครือข่ายต่างๆ)

ระยะเวลาที่ทำการศึกษา 8 เดือน

1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดที่ทำการศึกษา ตั้งแต่มีการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งล่าสุดในจังหวัดที่ทำการศึกษา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

17


บูรณาการงานวิจัย

2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมามีนักการเมือง คนใดในจังหวัดที่ทำการศึกษาได้รับการเลือกตั้งบ้าง และชัยชนะ ของนักการเมืองเหล่านี้มีสาเหตุและปัจจัยอะไรสนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็น ทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อการเมืองใน ท้องถิ่นที่ทำการศึกษา 4. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด 5. ได้ทราบรูปแบบ วิธีการ และกลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ในการ เลือกตั้ง 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมือง ถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมือง การปกครองไทยต่อไป

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

18


บทคั บ ดทย่ทีอ่ รายงานวิจัย



บูรณาการงานวิจัย

1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดตาก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาคภูมิ ฤกขะเมธ

ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดตากมี 2 กลุ่ม ตระกูลใหญ่ ที่ ว างรากฐานการเมื อ ง ได้ แ ก่ ตระกู ล ไชยนั น ทน์ นั บ ตั้ ง แต่ นายเที ย ม นายเทอดพงษ์ และนายธนิ ต พล ไชยนั น ทน์ รวมทั้ ง นายแพทย์ เ ธี ย รชั ย สุวรรณเพ็ญ และหากจัดกลุ่มที่มาจากเครือข่ายนักการเมืองบ้านจีน นายหมัง สายชุ่มอินทร์ และนายเฉลียว วัชรพุกก์ ก็จะรวมอยู่ในกลุ่มนี้ ขณะที่ตระกูล ตันติสุนทร เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นนักธุรกิจพ่อค้าในจังหวัด ได้แก่ นายอุดร นายรักษ์ และนายธนญ ตันติสุนทร และหากแบ่งกลุ่มทางภูมิศาสตร์จะพบว่า ทั้ ง หมดเป็ น นั ก การเมื อ งถิ่ น ในฝั่ ง ตะวั น ออก สำหรั บ นั ก การเมื อ งถิ่ น ในฝั่ ง

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ตาก เป็ น การศึ ก ษาเพื่ อ รวบรวมข้อมูลนักการเมืองระดับ ชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การเลื อ กตั้ ง เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ตั้งแต่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น ปัจจัยในการได้รับ เลือกตั้ง บทบาทของเครือข่าย กลุ่มผลประโยชน์ และพรรคการเมืองในการ สนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ตลอดจนวิเคราะห์กลไกการเมืองใน จังหวัด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิค การเชื่อมโยงบุคคลต่อบุคคล (Snowball technique) ตลอดจนสังเกตการณ์ ในพื้นที่

21


บูรณาการงานวิจัย

ตะวั น ตก ได้ แ ก่ นายชั ย วุ ฒิ บรรณวั ฒ น์ และนายแพทย์ ถ าวร กาสมสั น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรทั้ ง หมดที่ ก ล่ า วมานี้ สั ง กั ด พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ซึ่ ง ผู ก ขาดการเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด ยกเว้ น นายอุ ด ร ตั น ติ สุ น ทร นายเฉลี ย ว วัชรพุกก์ และนายหมัง สายชุ่มอินทร์

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

กลวิธีในการหาเสียงมีความใกล้เคียงกันคือ ใช้บัตรแนะนำตัว แผ่นพับ ใบปลิว การโฆษณา ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถขยายเสียง การปราศรัย สาเหตุ ที่ทำให้ได้รับเลือกเกิดจากการเข้าถึงประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ความจริงใจ ความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ รวมถึงบุคลิกลักษณะที่อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว ประกอบกับมีความพร้อมทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจ ทางการ ศึกษา และหากเป็นนักการเมืองอาชีพ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนก็เป็นสิ่ง สนับสนุนทำให้ได้รับการเลือกตั้ง สำหรับกรณีสมาชิกวุฒิสภาต้องมีความ สำเร็ จ ทางวิ ช าชี พ และเป็ น ที่ ย อมรั บ จากภายนอก ทั้ ง นี้ ส่ ว นใหญ่ มี วุ ฒิ ก าร ศึกษาที่ดี อย่างไรก็ตามหากสามารถสร้างเครือข่ายให้เกิดการยอมรับและ ศรัทธาจากประชาชนในระยะสั้นได้ ก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้รับ เลือกตั้ง และด้วยโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ทำให้ประชาชนชาวตากยึดถือตัวบุคคล ดังนั้นไม่ว่านโยบายพรรคจะดีเพียงใด ก็จะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดตาก

22


บูรณาการงานวิจัย

2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน

อาจารย์วีระ เลิศสมพร

จากการศึ ก ษาพบว่ า “ภู มิ ห ลั ง ด้ า นอาชี พ การงาน” ถื อ เป็ น ปั จ จั ย หนุนเสริมต่อความเป็นเครือข่ายและความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ โดยจำแนก ได้ดังนี้คือ แพทย์ นักกฎหมาย อดีตข้าราชการในการบริหารราชการส่วน ภู มิ ภ าค อดี ต ข้ า ราชการในองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น บุ ค ลากรทางการ ศึกษา นักธุรกิจ พนักงานธนาคาร บุคคลที่มีตำแหน่งในสมาคม/ชมรม และ อดีตนักการเมืองระดับชาติ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองชายทั้งหมด โดยในจำนวนนี้มีความสัมพันธ์เป็นญาติกัน 1 คู่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการเลือกตั้งมากสมัยที่สุด (4 สมัย) คือ นายบุญเลิศ สว่างกุล และ นายปัญญา จีนาคำ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการศึกษา และรวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ ง ระดับชาติที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด แม่ ฮ่ อ งสอน ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึ ง การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป พ.ศ. 2550 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น ปัจจัยในการได้รับเลือกตั้ง บทบาทของเครือข่าย กลุ่มผลประโยชน์ และพรรคการเมืองในการสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมือง ตลอดจนวิเคราะห์กลไกการเมืองในจังหวัด โดย ใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และการสังเกตการณ์ใน พื้นที่ของผู้วิจัย ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาประมวล จัดระบบ วิเคราะห์ แล้วนำมา เสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์

23


บูรณาการงานวิจัย

บทบาทและความสั ม พั น ธ์ ข องกลุ่ ม ผลประโยชน์ แ ละกลุ่ ม ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ลูกหา ลูกค้า ฯลฯ ถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนบทบาทและความสัมพันธ์ของ พรรคการเมื อ งกั บ นั ก การเมื อ งในจั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอนเกิ ด ขึ้ น ในช่ ว ง พ.ศ. 2500-2550 จากการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ที่ 7-22 เป็ น ไปด้ ว ยดี โดยไม่ มี ค วาม ขัดแย้งที่รุนแรง วิ ธี ก ารและกลวิ ธี ก ารหาเสี ย งในการเลื อ กตั้ ง ของนั ก การเมื อ งถิ่ น

ในจั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอนที่ มี ส่ ว นช่ ว ยให้ ไ ด้ รั บ การเลื อ กตั้ ง มี ห ลายรู ป แบบ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ศาลาวัดเป็นกองบัญชาการในการหาเสียง การเคาะ ประตูบ้าน การหาเสียงแบบสุภาพ ไม่โจมตีคู่แข่ง การหาเสียงที่เน้นการมี ส่ ว นร่ ว มของชาวบ้ า น การพยายามพู ด จาภาษาเดี ย วกั น กั บ ชาวบ้ า น การปราศรัยที่เน้นใช้หลักเหตุผลและความมีหลักการเป็นสำคัญ การให้ความ สำคัญกับรูปแบบการนำเสนอภาพลักษณ์ของตนเอง เป็นต้น

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

24


บูรณาการงานวิจัย

3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ์ และอาจารย์วีระ เลิศสมพร

ผลการศึกษาพบว่า สามารถจำแนกนักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ได้ ดั ง นี้ คื อ อดี ต ข้ า ราชการในองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น บุ ค ลากรทาง การศึกษา นักธุรกิจ บุคคลที่มีตำแหน่งในสมาคม/ชมรม อดีตข้าราชการ ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค นักกฎหมาย และบุคลากรด้านสื่อสาร มวลชน ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองชาย มีนักการเมือง หญิ ง เพีย ง 4 คน โดยในจำนวนนี้มี ความสัม พั นธ์ กับนั กการเมื องคือ เป็ น

คู่สมรส 2 คน และญาติ 1 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่ง 7 สมัย คือ นายไกรสร ตันติพงศ์ รองลงมา 6 สมัย ได้แก่ นายทองดี อิสราชีวิน นายเจริญ เชาวน์ประยูร และนายสุรพันธ์ ชินวัตร

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาและ รวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ตั้ ง แต่ ก าร เลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึ ง การ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ทราบถึงเครือข่ายและกลวิธีการหาเสียงของนักการเมือง วิธีการศึกษาใช้การ ศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์

25


บูรณาการงานวิจัย

ความนิยมพรรคการเมืองของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จนถึ ง ปี พ.ศ. 2539 พรรคการเมื อ งที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มจาก ประชาชน และได้ที่นั่ง ส.ส. จากจังหวัดเชียงใหม่ค่อนข้างสม่ำเสมอมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ยกเว้น ในการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ที่ 15 (24 กรกฎาคม 2531) การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ที่ 18 (2 กรกฎาคม 2538) และในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 ซึ่งกระแสความนิยม ของพรรคไทยรักไทยในจังหวัดเชียงใหม่มีสูง วิ ธี ก ารและกลวิ ธี ก ารหาเสี ย งในการเลื อ กตั้ ง ของนั ก การเมื อ งถิ่ น

ในจังหวัดเชียงใหม่มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่ โดดเด่ น การหาเสี ย งแบบเข้ า ถึ ง ชาวบ้ า น การแจกใบปลิ ว และการใช้

เครือข่าย ส่วนบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ ไม่เป็นทางการ พบว่าครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ ลูกค้า รวมทั้งภูมิลำเนาเดิม ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่ นักการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ให้ได้รับการเลือกตั้ง

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

26


บูรณาการงานวิจัย

4. นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์

ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองที่โดดเด่นในยุคแรก พ.ศ. 2476 2500 ได้ แ ก่ นายเสรี อิ ศ รางกู ร ณ อยุ ธ ยา (บิ ด าของพลเอกธรรมรั ก ษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และเป็นรัฐมนตรีคนแรกของบุรีรัมย์) และนายสอิ้ง มารั ง กู ล (นั ก การเมื อ งหั ว ก้ า วหน้ า ในยุ ค แรก) ในยุ ค ที่ 2 (พ.ศ. 2512 2519) นักการเมืองที่โดดเด่นคือ นายสวัสดิ์ คชเสนีย์ และนายประเสริฐ เลิ ศ ยะโส (ผู้ ส มั ค รพรรคสั ง คมนิ ย มแห่ ง ประเทศไทย) เป็ น นั ก การเมื อ ง หัวก้าวหน้าที่ได้รับเลือกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในยุคที่สาม (พ.ศ. 2522 - 2535) นั ก การเมื อ งที่ โ ดดเด่ น คื อ นายอนุ ว รรตน์ วั ฒ นพงศ์ ศิ ริ (อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย) และนายการุณ ใสงาม นักการเมืองหัวก้าวหน้า ในยุ ค ที่ สี่ (พ.ศ. 2535 - 2540) นั ก การเมื อ งที่ โ ดดเด่ น คื อ นายพรเทพ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาและ รวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึ ง การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัด บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองในจังหวัด บทบาทและ ความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัด และวิธีการหาเสียง เลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัด โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ

27


บูรณาการงานวิจัย

เตชะไพบู ล ย์ (อดี ต รั ฐ มนตรี ห ลายสมั ย ) ในยุ ค ปั จ จุ บั น (พ.ศ. 2540 2548) นักการเมืองบุรีรัมย์ที่โดดเด่นคือ นายเนวิน ชิดชอบ (รัฐมนตรีหลาย สมัย) นายโสภณ เพชรสว่าง (อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร) และ พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (รัฐมนตรีหลายสมัย) สำหรับเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองในจังหวัด พบว่า นั ก การเมื อ งบุ รี รั ม ย์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น ผ่ า นการทำธุ ร กิ จ และการแบ่ ง ปั น

ผลประโยชน์ งบประมาณพัฒนาที่ลงมาในพื้นที่เลือกตั้ง มีความสัมพันธ์เชิง เครือญาติกันบ้าง และสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์กรกู้ภัย เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างนักการ เมืองกับพรรคการเมืองจะสัมพันธ์ผ่านมุ้งการเมืองที่ตนสังกัดอยู่

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

ในด้านวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้ง มีพัฒนาการมาตั้งแต่การเคาะ ประตูบ้าน จัดมหรสพแล้วปราศรัยหาเสียง ทำโปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณา มาจนถึงการแจกสิ่งของ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า จนแจกเงินในท้ายที่สุด และรูปแบบการจัดตั้งหัวคะแนนเริ่มจากง่ายๆ อาศัยผู้นำท้องถิ่น มาเป็นการ วางเครือข่ายคล้ายธุรกิจขายตรง มีสัดส่วนหัวคะแนนต่อผู้ใช้สิทธิเล็กลง และ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการหาเสียงโดยจัดตั้งกองทุนให้กลุ่มชาวบ้าน การอบรม และพาไปศึกษาดูงาน การจัดเลี้ยง การแจกเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น

28


บูรณาการงานวิจัย

5. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด เลย เป็ น การศึ ก ษาและ รวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย ตั้งแต่ การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เครื อ ข่ า ยทางการเมื อ งและความสั ม พั น ธ์ ข องนั ก การเมื อ งกั บ ประชาชน ในแต่ละช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง เพื่อศึกษารูปแบบการหาเสียง วิธีการสร้าง คะแนนนิยมและเพื่อศึกษาบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทาง การอื่นๆ ที่มีส่วนสนับสนุนนักการเมือง โดยการใช้เทคนิควิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยการศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เ อกสาร การสั ม ภาษณ์ แ บบไม่ มี โ ครงสร้ า ง และการสั ม ภาษณ์ แ บบมี โ ครงสร้ า ง โดยการค้ น หาข้ อ มู ล จากบุ ค คลผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล สำคั ญ (Key Informant) ซึ่ ง

คัดเลือกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญอย่างเจาะจงและตรวจสอบความถูกต้องด้วย วิ ธี ก ารตรวจสอบสามเส้ า ด้ า นวิ ธี ก ารรวบรวมข้ อ มู ล (Methodological Triangulation) นำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) และ วิเคราะห์โดยการจัดจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ตามแนวคิด การจัดจำแนกของ ลอฟแลนด์ (Lofland) ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ถึงการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 21

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

29


บูรณาการงานวิจัย

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยทั้งสิ้น 25 คน เป็ น ชาย 21 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 84 ในขณะที่ เ ป็ น หญิ ง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 16 อาชีพก่อนเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนใหญ่มี อาชี พ ธุ ร กิ จ รองลงมาได้ แ ก่ รั บ ราชการ ผู้ ที่ ด ำรงตำแหน่ ง ทางการเมื อ ง ยาวนานมากที่สุด คือ นายทศพล สังขทรัพย์ จำนวน 9 สมัย ระยะเวลา 18 ปี 3 เดื อ น 25 วั น ในขณะที่ ผู้ ด ำรงตำแหน่ ง สั้ น ที่ สุ ด คื อ นายบั ว พั น ไชยแสง 1 สมัย ระยะเวลา 6 เดือน 18 วัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ย้าย พรรคมากที่สุด คือนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข จำนวน 4 พรรค มีภูมิลำเนา โดยการเกิดในจังหวัดเลย 12 คน คิดเป็นร้อยละ 48

30

เครื อ ข่ า ยทางการเมื อ งที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น นั ก การเมื อ งและความ สัมพันธ์ของนักการเมืองกับประชาชนในช่วงการเลือกตั้งระหว่าง พ.ศ. 2476 ถึ ง พ.ศ. 2500 ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ความสั ม พั น ธ์ แ บบเครื อ ญาติ ทั้ ง ในแบบ เครือญาติตระกูลและเครือญาติเกื้อกูล การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 เป็นยุค แรกที่นักธุรกิจเข้ามาสู่การเมืองระดับชาติ โดยมีความสัมพันธ์เครือข่ายธุรกิจ ระหว่ า งจั ง หวั ด ได้ รั บ การช่ ว ยเหลื อ จากกลุ่ ม ธุ ร กิ จ ค้ า ไม้ แ ละสมาชิ ก สภา จังหวัดเลยที่มาจากภาคตะวันออก เริ่มมีการใช้เงินซื้อเสียงการใช้อิทธิพลข่มขู่ หัวคะแนนและการสร้างระบบอุปถัมภ์กับหัวคะแนน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งช่วงปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2535 เป็นช่วงการเมืองสองสภาพโดยนักการเมืองถิ่น ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมทางการเมืองเชิงอุดมการณ์ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็น แบบธนกิจการเมือง (Political Finance) การเลือกตั้งหลังจากปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา นักการเมืองถิ่นกลุ่มคุณภาพยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตย พ่ายแพ้ การเลือกตั้งและไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกเลย ในขณะ ที่นักการเมืองกลุ่มธนกิจการเมืองเข้ามามีบทบาทและประสบความสำเร็จ ทางการเมื อ งทุ ก เขตเลื อ กตั้ ง ในส่ ว นการจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ยทางการเมื อ งไม่ ปรากฏขั้วการแข่งขันทางการเมืองที่เด่นชัด แม้การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 จะมีกลุม่ ทีม่ คี วามเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ 3 ตระกูล คือ ตระกูลแสงเจริญรัตน์ ตระกูลเร่งสมบูรณ์สุข และตระกูลทิมสุวรรณ โดยทุกตระกูลมีอาชีพธุรกิจ


บูรณาการงานวิจัย

การรั บ เหมาก่ อ สร้ า งและการสั ม ปทานแร่ ธ าตุ แต่ ไ ด้ จั ด แบ่ ง ขอบเขตพื้ น ที่ ทางการเมืองอย่างประนีประนอม อิงประโยชน์ทางธุรกิจและจัดสรรอำนาจ ทางการเมืองอย่างลงตัว ทำให้ยังคงมีบทบาท มีอิทธิพลทางการเมืองอย่าง ต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2548 ทำให้ไม่เกิดสภาพการแข่งขันในตลาดการเมือง อย่างแท้จริง

บทบาทของกลุ่ ม ผลประโยชน์ กั บ การเมื อ งก่ อ นปี พ.ศ. 2500 ไม่ปรากฏเด่นชัด เริ่มมีบทบาท และมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองถิ่นอย่าง เด่นชัดนับจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 คือ กลุ่มสัมปทานป่าไม้ และ กลุ่ ม ค้ า ส่ ง ค้ า ปลี ก ต่ อ จากนั้ น เป็ น กลุ่ ม ธุ ร กิ จ รั บ เหมาก่ อ สร้ า งเริ่ ม เข้ า สู่ การเมืองในปี พ.ศ. 2529 ในบางเขตเลือกตั้ง และกลุ่มธุรกิจสัมปทานแร่

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

รูปแบบการหาเสียงและวิธีการสร้างคะแนนนิยมของนักการเมืองถิ่น ในช่ ว งระหว่ า งปี พ.ศ. 2476 ถึ ง พ.ศ. 2500 ใช้ ก ารเดิ น หาเสี ย งกั บ ประชาชนในหมู่บ้าน มีใบปลิว โปสเตอร์หาเสียง ฉายภาพยนตร์ มีจัดเลี้ยง สุราอาหาร แจกสิง่ ของหลายประเภท เช่น น้ำปลา ปลาทูเค็ม ปลาร้า ไม้ขดี ไฟ น้ำตาล รองเท้า บางคนมีการปราศรัยโดยชูนโยบายการพัฒนาพื้นที่ให้เจริญ และชูภาพลักษณ์หัวหน้าพรรคหรือหัวหน้ากลุ่มการเมือง มีการปล่อยข่าวลือ โจมตีว่าร้ายคู่แข่งขันทางการเมือง การเลือกตั้งจากปี พ.ศ. 2518 เริ่มมีการ ใช้เงินซื้อเสียง การจัดเลี้ยง และการจัดตั้งระบบเครือข่ายหัวคะแนนในพื้นที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นนักธุรกิจปราศรัยหาเสียงน้อย การสร้างคะแนนนิยม จะอาศั ย การจ่ า ยเงิ น และอุ ป ถั ม ภ์ หั ว คะแนนการเลื อ กตั้ ง นั บ จากปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมามีการนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงธุรกิจมาใช้ในการสร้าง ฐานคะแนนเสียงทางการเมือง ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดเลย เพื่อควบคุม และใช้ประโยชน์จากกลไก ราชการ ในขณะเดียวกันนักการเมืองจะอยู่ในการควบคุมการช่วยเหลือของ หัวหน้ากลุ่ม (มุ้ง) การเมืองเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอำนาจการเมือง และ รองรับการกระจายผลประโยชน์

31


บูรณาการงานวิจัย

และรับเหมาก่อสร้าง เข้ายึดพื้นที่ทางการเมืองจังหวัดเลย ทุกเขตเลือกตั้งมา ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2548 และมีเครือข่ายธุรกิจรับ เหมาระหว่างจังหวัด ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีบทบาทสำคัญในการช่วย เหลื อ นั ก การเมื อ งถิ่ น ได้ แ ก่ กลุ่ ม อสม. (อาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ประจำ หมู่ บ้ า น) กลุ่ ม สตรี เครื อ ข่ า ยกำนั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น และสมาชิ ก สภาองค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เงินค่าตอบแทน และระบบอุปถัมภ์ทางการเงิน เป็นเครื่องมือหลัก ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จทางการเมืองแตกต่างกันตาม ช่ ว งเวลาก่ อ นการเลื อ กตั้ ง พ.ศ. 2476 ถึ ง พ.ศ. 2522 ปั จ จั ย สถานภาพ บุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รองลงมาเป็นวิธีการหาเสียงจากปี พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2535 เป็นปัจจัยสถานภาพบุคคล และการจัดตั้งเครือข่ายหัวคะแนน โดยใช้เงินตอบแทน นับจากปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2548 ระบบอุปถัมภ์ และเงินเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่นำไปสู่ความสำเร็จทางการเมือง ส่วนปัจจัยที่ นำไปสู่ความไม่สำเร็จทางการเมืองของนักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย จะเกิดจาก ข้อจำกัดด้านความสามารถเชิงเศรษฐกิจ วิธีการบริหารจัดการหัวคะแนน ข่าวลือและพฤติกรรมของนักการเมือง ทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่ง และ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

32


บูรณาการงานวิจัย

6. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุรินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล

ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการทางการเมืองถิ่นสุรินทร์มีความสัมพันธ์ กับการเมืองระดับชาติตงั้ แต่แรกมีการเลือกตัง้ ทัว่ ไปเมือ่ พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา โดยแบ่งช่วงเวลาอย่างกว้างๆ ได้เป็น 2 ยุค คือ การเมืองยุคเก่านับตั้งแต่ แรกมีการเลือกตั้งจนถึงการเลือกตั้งในปี 2518 จัดเป็นการเมืองแบบเดิมที่ นักการเมืองใช้รูปแบบและกลวิธีในการหาเสียงโดยใช้ความสามารถเฉพาะตัว ซึ่งมีคุณลักษณะหรืออัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นในด้านของความเป็นคนที่มีความ รู้ดี มีคุณธรรมและศีลธรรมอันดี มีความใกล้ชิดกับประชาชน และมีความ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่ อ ประมวล ข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ เป็ น การศึ ก ษา และรวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ ง ระดับชาติที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด สุรินทร์ ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไป ครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึ ง การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป พ.ศ. 2550 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ระดับชาติของจังหวัดสุรินทร์ ศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ของนักการเมือง ระดับชาติกับประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาผลงานของนักการ เมืองที่มีต่อท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีวิทยา (Methodology) การวิจัย เชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ซึ่ ง เน้ น การศึ ก ษาจากหลั ก ฐานประเภทเอกสารชั้ น ต้ น (Primary Source) เป็นหลักและอาศัยเอกสารชั้นรอง (Secondary Source) ประกอบ รวมทัง้ วิธวี ทิ ยาการวิจยั เชิงคุณภาพ โดยวิธกี ารสัมภาษณ์นกั การเมือง ที่เป็นกรณีศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองถิ่นจังหวัด สุรินทร์

33


บูรณาการงานวิจัย

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

เสี ย สละเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า นที่ มี ค วามเดื อ ดร้ อ นด้ ว ยความจริ ง ใจ นั ก การเมื อ งถิ่ น รุ่ น เก่ า ที่ ช าวบ้ า นกล่ า วถึ ง ในคุ ณ งามความดี อ ยู่ เ สมอ คื อ นายญาติ ไหวดี นายเหลือ่ ม พันธ์ฤกษ์ และนายสุธี ภูวพันธุ์ ส่วนนักการเมือง ที่มีอุดมการณ์สูงที่ชาวบ้านชื่นชมและกล่าวขวัญถึงเสมอ ได้แก่ นายเปลื้อง วรรณศรี

34

ยุ ค ต่ อ มาเป็ น การเมื อ งแบบใหม่ นั บ ตั้ ง แต่ มี ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปในปี 2522 เป็นต้นมา นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุรินทร์ยุคนี้มีหลายกลุ่ม คือ กลุ่ม พ่ อ ค้ า ที่ มี บ ทบาทและมี อิ ท ธิ พ ลทางธุ ร กิ จ การค้ า ในจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ ได้ แ ก่ ตระกูลศรีสุรินทร์ ตระกูลเรืองกาญนเศรษฐ์ ตระกูลรุ่งธนเกียรติ และตระกูล มุ่ ง เจริ ญ พร ตระกู ล นั ก ปกครองของเมื อ งสุ ริ น ทร์ ดั้ ง เดิ ม ได้ แ ก่ ตระกู ล

มูลศาสตร์ และมูลศาสตร์สาธร และกลุ่มนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ นายวิชัย จันทร์เจริญ และนายเสกสรร แสนภูมิ ในด้านกระบวนการ หาเสียงเลือกตั้งได้มีการวางรูปแบบโดยการจัดตั้งผู้นำที่เป็นกลุ่มพวกพ้อง กลุ่ ม เครื อ ญาติ กลุ่ ม เครื อ ข่ า ยวิ ช าชี พ ต่ า งๆ (ครู นั ก ปกครองท้ อ งถิ่ น และ ท้องที่ และ อสม.) และกลุ่มหัวคะแนนหรือแกนนำในหมู่บ้านกับนักการเมือง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์และมีการใช้เงินเป็นหลักในการหา เสียงเลือกตั้ง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการเลือกตั้งในช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้น มา รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของพรรคการเมืองระหว่างนักการเมืองถิ่นกับ หั ว คะแนนและกลุ่ ม ต่ า งๆ ในแต่ ล ะหมู่ บ้ า นของจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ เช่ น นักปกครองท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) นักปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น (นายก อบต. สมาชิ ก อบต. นายกเทศมนตรี สมาชิ ก สภา เทศบาล และ อสม.) และแกนนำระดับชาวบ้าน การสร้างเครือข่ายดังกล่าว จำเป็นต้องมีการต่อท่อน้ำเลี้ยง (ทุนที่เป็นเงิน) อย่างเข้มข้นและสม่ำเสมอไป ยังเครือข่ายต่างๆ อย่างเป็นระบบโดยมีผู้ตรวจสอบระดับสูงกว่านักการเมือง ถิ่น (รัฐมนตรีหรือกรรมการบริหารพรรคที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบพื้นที่ แต่ละกลุ่มจังหวัด) การเลือกตั้งในปัจจุบันจึงขึ้นอยู่กับการจัดตั้งเครือข่าย หัวคะแนนและแกนนำที่ต้องลงทุนสูงมาก จึงเป็นการยากและลำบากอย่างยิ่ง


บูรณาการงานวิจัย

สำหรั บ นั ก การเมื อ งหน้ า ใหม่ ที่ จ ะได้ รั บ เลื อ กตั้ ง ถ้ า ขาดการสนั บ สนุ น ทาง การเงินจากพรรคการเมืองและขาดการจัดตั้งเครือข่ายในหมู่บ้านหรือชุมชน อย่างเป็นระบบและทั่วถึงในทุกพื้นที่

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

35


บูรณาการงานวิจัย

7. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภิญโญ ตันพิทยคุปต์

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป็ น การศึ ก ษาและรวบรวมข้ อ มู ล นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จั ง หวั ด สงขลา ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่วไปครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้ รับเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา เครือข่ายและความสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ ทั้ ง ที่ เ ป็ น ทางการและไม่ เ ป็ น ทางการ ตลอดจนกลวิ ธี ก ารหาเสี ย งของ นักการเมืองถิ่นสงขลา โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และ การสังเกตในพื้นที่ของผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลมาประมวล จัดระบบ วิเคราะห์ และนำเสนอโดยพรรณนาวิเคราะห์

36

จากการศึกษาพบว่านักการเมืองถิ่นสงขลา หากจำแนกตามภูมิหลัง แล้ ว จะแบ่ ง ได้ เ ป็ น 4 กลุ่ ม คื อ กลุ่ ม นั ก กฎหมาย กลุ่ ม อดี ต ข้ า ราชการ กลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มผู้กว้างขวาง หากจำแนกโดยเครือข่ายสายสัมพันธ์จะ เป็นคู่บิดา - บุตร 2 คู่ คู่พี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คู่ เป็นญาติสกุลเดียวกัน 1 คู่ และนับแต่การเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งครั้ง ล่ า สุ ด 6 ก.พ. 2548 นั ก การเมื อ งจาก 7 พรรคได้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็ น ผู้ แ ทน ราษฎรของจังหวัดสงขลา แต่นับแต่นายชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์ก็ผูกขาดการเมืองถิ่นสงขลา ผู้ ส มั ค รของพรรคชนะการเลื อ กตั้ ง ในทุ ก เขตและทุ ก ครั้ ง ของการเลื อ กตั้ ง


บูรณาการงานวิจัย

นักการเมืองคนสำคัญที่เป็นเสมือนผู้วางฐานรากแห่งความศรัทธาในพรรค ประชาธิ ปั ต ย์ ใ นจิ ต ใจของชาวสงขลาคื อ นายคล้ า ย ละอองมณี กลุ่ ม ผลประโยชน์ที่มีบทบาทต่อการเมืองถิ่นสงขลามีทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและ กลุ่ ม ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการ กลุ่ ม ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด คื อ พรรคประชาธิ ปั ต ย์ บุ ค คลที่ มี บทบาทสูงยิ่งคือ นายชวน หลีกภัย และกลวิธีสำคัญในการหาเสียงซึ่งเป็น กลวิธีสำคัญในการรักษาฐานเสียงด้วย ได้แก่ การลงพื้นที่พบปะประชาชน การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมทางสั ง คมในชุ ม ชน การปราศรั ย และการให้ ค วาม อุปถัมภ์ช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ และในทัศนะของนักการเมืองถิ่นปัจจุบัน กลุ่มสตรีแม่บ้านเป็นคะแนนเสียงสำคัญและเชื่อถือได้มากในการเมืองถิ่น สงขลา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

37


บูรณาการงานวิจัย

8. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อาจารย์รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นั ก การเมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เป็ น การศึ ก ษาและ รวบรวมข้อมูลนักการเมืองระดับชาติ ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของนักการเมืองถิ่น เครือข่ายของนักการเมืองถิ่น บทบาทและความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่น กับพรรคการเมือง และกลวิธีการหาเสียง โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ทางสังคมศาสตร์ เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาเอกสารที่ เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์นักการเมืองถิ่น ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ นักการเมืองถิ่นและประชาชนทั่วไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

38

จากการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มี ภู มิ ห ลั ง มาจากการเป็ น นั ก การเมื อ งท้ อ งถิ่ น ของพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ซึ่ ง

เป็ น พรรคเก่ า แก่ มี ก ารจั ด ตั้ ง มานาน และมี ค วามชั ด เจนทางการเมื อ ง นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพรรคพวก มีบริวาร เป็นตัวแทนของ ประชาชนเมื่ อ ประชาชนเดื อ ดร้ อ น ในด้ า นเครื อ ข่ า ย และความสั ม พั น ธ์ นั ก การเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี มี เ ครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ใ นลั ก ษณะ ทายาททางการเมือง เครือญาติ หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์


บูรณาการงานวิจัย

นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเครือข่ายกระจายอยู่ทุกพื้นที่ มีการจัดตั้งหัวคะแนน มีตัวแทนทำงานในพื้นที่ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีฐาน คะแนนเสียงค่อนข้างมั่นคง ในด้านกลวิธีการหาเสียง นักการเมืองถิ่นจังหวัด สุราษฎร์ธานีมีกลวิธีการหาเสียงเหมือนๆ กัน คือการลงพื้นที่พบปะประชาชน ด้วยตนเองทั้งในช่วงที่มีและไม่มีการเลือกตั้ง การขยันลงพื้นที่ การไปร่วม กิจกรรม งานบุญประเพณีต่างๆ การร่วมกิจกรรมทางสังคม การปราศรัย ใหญ่เพื่อแถลงนโยบายของพรรคในส่วนกลางของจังหวัด ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงมีความผูกพันอยู่กับพรรค ประชาธิ ปั ต ย์ ม าทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย บุ ค คลที่ จ ะเป็ น นั ก การเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ต้ อ งเป็ น ตั ว แทนพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ซึ่ ง จะหมายถึ ง การเป็ น ตัวแทนประชาชนด้วย (พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค) นักการเมืองถิน่ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เ มื่ อ ย้ า ยออกจากพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ปอยู่ พ รรคอื่ น

จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่พอย้ายกลับมาอยู่ที่พรรคก็จะได้รับการเลือกตั้ง เช่ น เดิ ม พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ด้ รั บ ความไว้ ว างใจและความเชื่ อ ถื อ จาก ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรืออาจกล่าวได้ว่าประชาชนในจังหวัด สุราษฎร์ธานีมีความผูกพันกับนักการเมืองถิ่นผ่านทางพรรคมากกว่าตัวบุคคล พรรคประชาธิปัตย์จึงครองที่นั่งของนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมา ตลอดระยะเวลายาวนานหลายยุคหลายสมัย

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

39


บูรณาการงานวิจัย

9. นักการเมืองถิน่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ดร.ณรงค์ บุญสวยขวัญ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการ เมื อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักการเมือง ระดั บ ชาติ ที่ ไ ด้ รั บ การเลื อ กตั้ ง เป็ น สมาชิ ก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนักการเมืองระดับชาติ ในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช 2) เพื่ อ ศึ ก ษาถึ ง เครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ข อง นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ใ นจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชกั บ ประชาชนในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช โดยใช้ วิ ธี วิ ท ยาการวิ จั ย แบบคุ ณ ภาพเน้ น การศึ ก ษาจาก เอกสารและสั ม ภาษณ์ นั ก การเมื อ งและบุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ งหรื อ รั บ รู้ ปรากฏการณ์ทางการเมือง

40

ผลการวิจัยพบว่า ปฏิบัติการทางการเมืองนครศรีธรรมราชนั้นสัมพันธ์ กับบริบทการเมืองระดับชาติและบริบทสังคมวิทยาการเมืองแบบดั้งเดิมตาม วิธขี องชาวนครศรีธรรมราช โดยแบ่งช่วงเวลาการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ออกเป็นสามช่วง โดยมีคุณลักษณะของแต่ละช่วงต่างกันไป ประกอบด้วย ช่ ว งแรก พ.ศ. 2475 - 2500 ยุ ค เทคนิ ค วิ ธี ก ารหาเสี ย งช่ ว งที่ ส อง พ.ศ. 2500-2535 ยุคสถาปนาพรรคประชาธิปัตย์เน้นการปราศรัย อภิปรายด้วย ลีลาดุดัน กลายเป็นดาวสภาหางบประมาณลงสู่เขต ต่อสู้กับลัทธิและอิทธิพล เพื่อประชาธิปไตย ช่วงที่สามหลัง พ.ศ. 2535 ยุคการจรรโลงประชาธิปไตย และยุคจรรโลงความเป็นประชาธิปัตย์ในนครศรีธรรมราช ดังนั้นการกล่าวถึง


บูรณาการงานวิจัย

การเมืองนครศรีธรรมราชต้องเพ่งพินจิ ไปทีน่ กั การเมืองจากพรรคประชาธิปตั ย์ เพราะความต่อเนื่องในการชนะเลือกตั้ง โดยมีลักษณะพัฒนาการจากระบบ แบบเดิมหรือสังคมการเมืองไทยแบบโบราณที่มีตัวแทนแบบอำนาจนิยมที่มี สายใยทางศาสนาไปสูก่ ารเมืองระบบตัวแทนในระบบประชาธิปไตยอย่างเข้มข้น ที่มีการใช้ศาสนาเป็นกลไกในการสร้างอุดมการณ์ในการช่วยขับเคลื่อนให้เกิด อุ ด มการณ์ ข องการเมื อ งประชาธิ ป ไตยตั ว แทนโดยนั ก การเมื อ งและ พรรคการเมือง การเมืองแบบใหม่ที่เน้นความสำคัญต่อระบบตัวแทนจึงสำเร็จ ในนครศรีธรรมราชสูงมาก ส่งผลให้ประชาชนกลายเป็นผู้รับอุปถัมภ์ โดยมี ผู้ให้อุปถัมภ์รายใหม่ คือนักการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง

กระบวนการสร้างเครือข่ายการหาเสียง ในช่วงแรกมีการใช้พรรคพวก ญาติ เครือข่ายวิชาชีพครู เครือข่ายสถาบันการศึกษาหรือชมรมศิษย์เก่าของ สถาบันการศึกษา ในช่วงการจรรโลงประชาธิปัตย์นั้นมีการใช้เครือข่ายสตรีซึ่ง เป็ น กลุ่ ม ที่ ต่ อ ยอดกลุ่ ม ทางสั ง คมที่ ท างราชการสร้ า งขึ้ น มา การใช้ ก ลไก ศาสนามาเป็นกลไกสร้างความเป็นนักการเมืองแบบประชาธิปัตย์ จากนั้น ก็สร้างอุดมการณ์แบบประชาธิปัตย์ขึ้นมา และนักการเมืองท้องถิ่นที่พยายาม สร้างความเป็นประชาธิปัตย์นี้คือมาตรฐานทางการเมืองถิ่นนครศรีธรรมราช ที่สามารถจรรโลงอำนาจทางการเมืองด้วยการชนะการเลือกตั้งตลอดมา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

อัตลักษณ์ทางการเมืองของนักการเมืองถิ่น คือมีความรู้สูงหรือมีการ ศึ ก ษาค้ น คว้ า อยู่ ต ลอด พร้ อ มกั บ มี ค วามใกล้ ชิ ด ประชาชนอย่ า งมาก การอุ ป ถั ม ภ์ ด้ ว ยการสร้ า งโครงการพั ฒ นาทางกายภาพ สร้ า งวาทกรรม ทางการเมือง ความกล้าหาญที่ชี้นำประชาชนให้เห็นถึงความไม่ถูกต้อง ความ ไม่เหมาะสมของราชการและคู่ต่อสู้ทางการเมืองอย่างไม่เกรงกลัว จึงเน้น กลวิธีการหาเสียงมากกว่าการเมืองเชิงนโยบาย อย่างไรก็ตามนักการเมืองถิ่น ในนครศรีธรรมราชจะมีการแย่งชิงการนำระหว่างกันภายในจังหวัดเพื่อหวัง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชและประเทศ แม้ ว่ า ทุ ก กลุ่ ม การเมืองแย่งชิงการนำกันแต่ไม่ยอมพ่ายแพ้ออกจากความเป็นประชาธิปัตย์

41


บูรณาการงานวิจัย

10. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่อประมวล ข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่ จั ง หวั ด ชลบุ รี เป็ น การศึ ก ษา และรวบรวมข้อมูลนักการเมือง ระดับชาติที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 และการเลื อ กตั้ ง ซ่ อ มที่ จั ง หวั ด ชลบุ รี เ มื่ อ

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 ในประเด็น ความเป็นมาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจั ง หวั ด ชลบุ รี เครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ของนักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนทางการเมือง บทบาทของพรรคการเมือง และยุทธวิธีที่ใช้ในการหาเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี โดยใช้ วิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น รวมถึงผู้รู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในจังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผลการวิจัย พบว่า

42

1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) จะเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มชนชั้นนำของจังหวัด มีสถานภาพทาง เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัด โดยมีพื้นฐานสำคัญจาก การเป็นผู้นำในท้องถิ่น และเคยร่วมทำงานอยู่ในกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมาก่อน


บูรณาการงานวิจัย

ซึ่งเป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในกลุ่มเครือญาติ และคนรู้จักที่มีความ สนิทสนมกัน 2. ลักษณะการเมืองในจังหวัดชลบุรี จะมีการแข่งขันกันอยู่ 2 กลุ่ม ชั ด เจน ระหว่ า งกลุ่ ม เรารั ก ชลบุ รี ที่ มี ต ระกู ล คุ ณ ปลื้ ม เป็ น แกนนำสำคั ญ มีฐานคะแนนอยู่ที่กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่ ว นจั ง หวั ด (ส.จ.) สมาชิ ก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตำบล (อบต.) และผู้ น ำ ท้ อ งถิ่ น กำนั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น กั บ กลุ่ ม การเมื อ งที่ สั ง กั ด พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ปัจจุบัน ที่มีฐานคะแนนจากกลุ่มประชาชนทั่วไป และอาศัยกระแสพรรคเป็น สำคัญ 3. ในการสังกัดพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ชลบุรี จะส่งผลต่อคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก ที่จะเลือกสังกัดพรรคขนาด ใหญ่ มีกระแสที่ดี ซึ่งประชาชนจังหวัดชลบุรีมีความนิยมที่จะเลือกลงคะแนน ตามกระแสของพรรค ที่มีแนวโน้มจะได้จัดตั้งรัฐบาล และหัวหน้าพรรคจะได้ เป็นนายกรัฐมนตรี

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

4. วิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี จะเน้นที่การลงพื้นที่พบปะกับประชาชนเป็นสำคัญ มีการปราศรัยย่อยในพื้นที่ การปราศรัยใหญ่บนเวที การใช้สื่อต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ เช่น ป้ายหา เสียง แผ่นพับแนะนำตัว รถปิ๊กอัพติดเครื่องขยายเสียงใช้วิ่งในพื้นที่ การใช้ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น และการใช้หัวคะแนน จากความสัมพันธ์ ส่วนตัวของผู้สมัครเอง

43


บูรณาการงานวิจัย

11. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการ เมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เป็นการศึกษา และรวบรวมข้อมูลนักการเมืองระดับชาติที่ได้ รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป ครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ . ศ . 2 5 5 0 แ ล ะ ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง ซ่ อ ม ที่ จั ง ห วั ด น น ท บุ รี เ มื่ อ วั น ที่ 2 5 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ รู้ จั ก นั ก การเมื อ งที่ เ คยได้ รั บ การเลื อ กตั้ ง ในจั ง หวั ด นนทบุรี เครือข่ายของนักการเมือง บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ ไม่เป็นทางการในการสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง บทบาทของ พรรคการเมือง และวิธีการหาเสียง โดยศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์

44

ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส. ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2552 มีจำนวน 26 คน เมื่อพิจารณาจากภูมิหลัง พบว่า ส.ส. จังหวัดนนทบุรีมักได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนอาชีพเดิม พบว่าส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการ อดีตนักการเมืองท้องถิ่น วิธีการหาเสียง ในการเลือกตั้งหลัก คือ การสร้างมวลชน การใช้ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน


บูรณาการงานวิจัย

การใช้รถประชาสัมพันธ์ และการเดินหาเสียงแบบเข้าถึงประชาชน ปัจจัยที่ สนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ ฐานเสียงจากเครือญาติ การสนับสนุน ของนั ก การเมื อ งท้ อ งถิ่ น การรวมกลุ่ ม ทางการเมื อ ง ผู้ ส นั บ สนุ น หรื อ หัวคะแนน และความนิยมในตัวผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองที่สังกัด การ วิจัยในอนาคตควรศึกษาเปรียบเทียบความเจริญของจังหวัดระหว่างจังหวัดที่มี ส.ส. ได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องกับจังหวัดที่ไม่มีความต่อเนื่องของ ส.ส.

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

45


บูรณาการงานวิจัย

12. นักการเมืองถิน ่ จังหวัดสมุทรปราการ

รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา

ก า ร ส ำ ร ว จ เ พื่ อ ประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็ น การศึ ก ษาและรวบรวม ข้อมูลนักการเมืองระดับชาติที่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด สมุทรปราการ ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือก ตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 ในประเด็นความเป็นมาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจั ง หวั ด สมุ ท รปราการ เครื อ ข่ า ยความสั ม พั น ธ์ ข องนั ก การเมื อ งกั บ กลุ่ ม ผลประโยชน์ ต่ า งๆ ที่ มี ส่ ว นช่ ว ยสนั บ สนุ น ทางการเมื อ ง บทบาทของ พรรคการเมือง และกลวิธีที่ใช้ในการหาเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น รวมถึ ง ผู้ รู้ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเมื อ งในจั ง หวั ด สมุทรปราการ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

จากการศึกษานักการเมืองถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า

46

1. นั ก การเมื อ งถิ่ น ส่ ว นใหญ่ มี ก ารศึ ก ษาที่ ดี มี ส ถานภาพทาง เศรษฐกิจและสังคมที่ดี เอื้ออำนวยต่อการเป็นนักการเมือง 2. นักการเมืองถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการสามารถจำแนกออกได้ เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนายวัฒนา อัศวเหม กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย


บูรณาการงานวิจัย

3. ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการ มี น้ อ ย ยกเว้ น แต่ ก ลุ่ ม นายวั ฒ นา อั ศ วเหม ที่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ ต่ อ ระบบ เครือญาติ 4. การหาเสี ย งของนั ก การเมื อ งถิ่ น ของกลุ่ ม นายวั ฒ นา อั ศ วเหม ให้ ค วามสำคั ญ กั บ ตั ว บุ ค คลมากกว่ า พรรคการเมื อ ง ส่ ว นนั ก การเมื อ งถิ่ น

ในกลุ่มพรรคไทยรักไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ จะให้ความสำคัญต่อนโยบาย ของพรรคการเมืองหรือความสำคัญของหัวหน้าพรรค 5. กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์น้อยกับสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรกลุ่มต่างๆ ในการเลือกตั้ง แต่ตัวแปรที่สำคัญต่อการเลือกตั้ง

คือระบบราชการ 6. กลุ่มการเมืองที่มีอิทธิพลในท้องถิ่น (Local elite) คือกลุ่มของ นายวั ฒ นา อั ศ วเหม ส่ ว นกลุ่ ม อื่ น หรื อ บุ ค คลอื่ น อาศั ย กระแสจากพรรค การเมืองเป็นหลัก

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

7. การพ่ายแพ้ของกลุ่มนายวัฒนา อัศวเหม ในการเลือกตั้ง ถือว่า เป็นการพ่ายแพ้ต่อชนชั้นนำในระดับชาติ (National elite)

47


บูรณาการงานวิจัย

13. นักการเมืองถิ่นจังหวัดปทุมธานี

รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

48

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลนักการเมืองระดับชาติที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด ปทุ ม ธานี ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป ครั้งแรก พ.ศ. 2476 จนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 ในประเด็นความ เป็ น มาของสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรในจั ง หวั ด ปทุ ม ธานี เครื อ ข่ า ยความ สัมพันธ์ของนักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุน ทางการเมือง บทบาทของพรรคการเมือง และกลวิธีที่ใช้ในการหาเสียงของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์สมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรทั้ ง ในอดี ต และปั จ จุ บั น รวมถึ ง ผู้ รู้ ที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเมืองในจังหวัดปทุมธานี


บูรณาการงานวิจัย

จากการศึกษาเรื่องนักการเมืองถิ่นในจังหวัดปทุมธานี พบว่า 1. นักการเมืองถิ่นส่วนใหญ่มีภูมิหลังทางการศึกษาที่ดีมีสถานภาพ ทางเศรษฐกิจ และสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นนักการเมือง 2. นั ก การเมื อ งถิ่ น ส่ ว นใหญ่ ใ นจั ง หวั ด จะอยู่ ใ นกลุ่ ม ของตระกู ล

หาญสวัสดิ์ นอกนั้นจะได้รับเลือกตั้งเฉพาะชื่อเสียงของตนเอง 3. ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งนั ก การเมื อ งถิ่ น ภายในจั ง หวั ด ปทุ ม ธานี

มีน้อย 4. การหาเสียงของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบัน

มีความสำคัญกับพรรคการเมืองและนโยบายของพรรค 5. กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์น้อยกับผู้แทนราษฎร 6. การรวมตั ว ของกลุ่ ม ตระกู ล หาญสวั ส ดิ์ กั บ พรรคไทยรั ก ไทย ถือว่าการรวมกันระหว่างอิทธิพลท้องถิ่นกับอิทธิพลระดับชาติ

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

49



ผลการบูรณาการงานวิ บ ท จทีัย ่ เรื่อง “นักการเมืองถิ่น” สรุปการเสวนาโดย นายวิศิษฎ ชัชวาลทิพากร สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า



บูรณาการงานวิจัย

ภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ เลย และสุรินทร์ ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

การเสวนาเพื่อบูรณาการผลการศึกษาวิจัยจาก โครงการสำรวจเพื่อ ประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้สังเคราะห์และถอด บทเรียนจากผลการศึกษาวิจัยในจังหวัดต่างๆ 13 จังหวัด จำแนกตามภูมิภาค ได้ดังนี้

53


บูรณาการงานวิจัย

การดำเนินโครงการนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ทางการเมื อ งของนั ก การเมื อ งในแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น อั น ได้ แ ก่ ภู มิ ห ลั ง ของ นั ก การเมื อ งถิ่ น ปั จ จั ย ในการได้ รั บ เลื อ กตั้ ง บทบาทของเครื อ ข่ า ย กลุ่ ม

ผลประโยชน์ และพรรคการเมื อ งในการสนั บ สนุ น ทางการเมื อ งแก่

นักการเมือง ตลอดจนวิเคราะห์กลไกการเมืองในจังหวัด ขอบเขตด้านเนื้อหา คื อ ศึ ก ษาข้ อ มู ล ทางการเมื อ งตั้ ง แต่ มี ก ารเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปครั้ ง แรกจนถึ ง การ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดในจังหวัดที่ทำการศึกษา เมื่ อ จั ด ทำโครงการขึ้ น ในระยะหนึ่ ง จึ ง จั ด ให้ มี ก ารเสวนาขึ้ น เพื่ อ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำสรุปเปรียบเทียบการเมืองถิ่นขึ้น ซึ่งการเสวนา ครั้งนี้ มีนักวิจัยที่รวบรวมข้อมูลนักการเมืองถิ่นใน 13 จังหวัด ดังที่กล่าวแล้ว ข้างต้นเข้าร่วมบูรณาการความรู้ สามารถสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเสวนาได้ดังต่อไปนี้

1. ประเด็นที่มาของนักการเมืองถิ่น

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

ในประเด็นนี้ที่ประชุม ได้มีการแลกเปลี่ยนกันและแยกออกเป็น สองประเด็นคือ ในช่วงยุคอดีต และปัจจุบัน

54

ที่มาของนักการเมืองในระยะแรก พบว่านักการเมืองถิ่นในอดีต ส่วนมากมักจะเป็นผู้มีความรู้ เช่น เป็นครู เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ หรือเป็นทนายความ และมักเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือประชาชนเป็นที่รู้จักของ บุ ค คลทั่ ว ไป และมั ก เป็ น คนที่ โ ดดเด่ น มี ฝี ป ากกล้ า มี ว าทศิ ล ป์ ใ นการพู ด เรียกได้ว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล เช่นกรณี จั ง หวั ด สงขลา มี นั ก การเมื อ งที่ เ ป็ น ต้ น แบบของประชาธิ ปั ต ย์

ในสงขลา คือ คุณคล้าย ละอองมณี ซึ่งเป็นทนายความ


บูรณาการงานวิจัย

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีครูฉ่ำ จำรัสเนตร เป็นคนที่ชาวบ้าน ชื่ น ชอบในการหาเสี ย ง มี ฝี ป ากและมี ก ลยุ ท ธ์ ใ นการวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ แ ละ การพูดคุย จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ มี ส.ส. คื อ ทนายที่ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น ทนายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึ่งเป็นบิดา ของ พล.อ.ธรรมรั ก ษ์ อิ ศ รางกู ร ณ อยุ ธ ยา และอยู่ ใ นกลุ่ ม เสรี ไ ทย หรื อ นายโต๊ะ แก้วเสมา ซึ่งเป็นครูประถม จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ มี ส.ส. คื อ รองอำมาตย์ ต รี ขุ น รั ก ษ์ รั ษ ฎากร (จาบ ไมยรั ต น์ ) เป็ น ข้ า ราชการเก่ า มี น ายญาติ ไหวดี เป็ น นั ก กฎหมาย มีนายเหลื่อม พันธ์ฤกษ์ เป็นครูเป็นศึกษาธิการ จั ง หวั ด นนทบุ รี มี ท นายอาสา มาเป็ น ส.ส. ในยุ ค แรกคื อ นายทนง นิยมะสินธุ

ที่ ม าของนั ก การเมื อ งในระยะหลั ง เมื่ อ ผ่ า นพ้ น จากช่ ว งนั ก

การเมืองถิ่น ที่มีความโดดเด่นหรือมีผลงานเป็นรายบุคคล ซึ่งส่วนมากมักจะ เป็ น ผู้ มี ค วามรู้ เช่ น เป็ น ครู เป็ น ผู้ ด ำรงตำแหน่ ง ข้ า ราชการ หรื อ เป็ น ทนายความ และมักเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว นักการเมืองถิ่นในช่วง ต่อมาเริ่มเปลี่ยนกลุ่มครอบครัวของนักธุรกิจ หรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ แทน รวมถึ ง ผู้ น ำท้ อ งถิ่ น มากกว่ า กลุ่ ม ข้ า ราชการเหมื อ นดั ง เช่ น ในอดี ต ยกตัวอย่างเช่น

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

แต่ในบางกรณี นักการเมืองถิ่นในบางจังหวัดได้เริ่มอาชีพมาจาก ความเป็นพ่อค้า เป็นคหบดีเก่าด้วย เช่นในกรณีจังหวัดตาก นักการเมืองถิ่น ในอดีตเป็นนักธุรกิจ คณบดีพ่อค้าเชื้อสายจีน ที่เรียกว่าตรอกบ้านจีน โดย ตรอกบ้านจีนเป็นกลุ่มของคหบดีในอดีตสมัยก่อนที่อยู่รวมกัน โดยมีนายริต อยู่สวัสดิ์ ซึ่งเป็นคหบดีที่มีชื่อเสียง และร่ำรวยมาก เป็นที่รู้จักดีในจังหวัดตาก แล้วมีนักการเมืองถิ่นคือนายเทียม ไชยนันทน์ ซึ่งลูกเขยของนายริต

55


บูรณาการงานวิจัย

จังหวัดสุรินทร์ ในช่วงปี 2518 เริ่มมีนักการเมืองจากฝ่ายธุรกิจ และการปกครอง ตระกูลธุรกิจการเมือง คือตระกูลเรืองกาญจนเศรษฐ์ มี นางจินตนา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ตระกูลนักปกครอง มีตระกูลมูลศาสตรสาทร หรื อ ในกรณี จั ง หวั ด เลย นั ก การเมื อ งถิ่ น ในช่ ว งหลั ง จะเป็ น ครอบครัวประกอบธุรกิจสัมปทาน และเกี่ยวข้องกับเรื่องสัมปทานโรงโม่หิน เป็นส่วนใหญ่

2. ประเด็นเรื่องความนิยมของประชาชน

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

ในระยะแรกโดยเฉพาะช่วงก่อนการมีพรรคการเมืองเด่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนจะเลือกนักการเมืองถิ่นจังหวัดต่างๆ โดยมี ความนิยมยึดติดกับตัวบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับภูมิหลังที่มาของนักการเมืองที่ ในช่วงแรกเริ่มที่ให้มีการเลือกตั้ง ความเป็นสถาบันทางการเมืองและการรวม กลุ่มทางการเมืองยังไม่เด่นชัด บทบาทของนักการเมืองถิ่นที่มักได้รับเลือกตั้ง จึงต้องเป็นบทบาทที่โดดเด่นเป็นไปตามความนิยมของชาวบ้าน เช่น การชอบ ช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า น เป็ น คนสู้ ค น เป็ น คนมี ค วามรู้ เป็ น คนมี ฐ านะ หรื อ มี ตำแหน่งอยู่เดิม

56

แต่ ต่ อ มาในช่ ว งหลั ง เมื่ อ เริ่ ม มี ร ะบบพรรคการเมื อ ง และ ประชาชนมีความนิยมในพรรคการเมือง จะพบว่าในหลายจังหวัดโดยเฉพาะ ในภาคใต้ ช่ ว งภายหลั ง ปี พ.ศ. 2532 ประชาชนเริ่ ม เปลี่ ย นไปยึ ด ติ ด พรรคการเมื อ งแทนบุ ค คลผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง เช่ น ในกรณี ข องจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี สงขลา และนครศรี ธ รรมราช นั ก การเมื อ งถิ่ น ผู้ ส มั ค รรั บ

เลือกตั้งจะอิงกระแสของพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้าพรรค คือ นายชวน หลีกภัย หรือในกรณีจังหวัดเลย ในช่วงหลังปี 2544 เมื่อมีพรรคไทยรักไทย นั ก การเมื อ งถิ่ น ก็ จ ะอิ ง การหาเสี ย งภายใต้ ก ระแสพรรคไทยรั ก ไทย และ หัวหน้าพรรคคือ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมุ่งเน้นการชูหัวหน้าพรรค


บูรณาการงานวิจัย

และแนวนโยบายของพรรคเป็นหลัก พร้อมเสนอตัวแทนพรรคเป็นผู้สมัครรับ เลือกตั้งในจังหวัดนั้นๆ

3. ประเด็นเรื่องความการผูกขาดในการเลือกตั้ง ในหลายจังหวัดมีลักษณะผูกขาดโดยกลุ่มตระกูล ทั้งนี้มักจะเกิด ขึ้นในกลุ่มตระกูลที่มีรากฐานทางธุรกิจที่แผ่ขยายอาณาจักรในจังหวัด โดย นักการเมืองอาจจะเป็นเครือญาติในกลุ่มตระกูล หรือเป็นบุคคลที่ได้รับการ สนับสนุนก็ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้และอีสาน แต่ในกรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าไม่มีการผูกขาด มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ยกตัวอย่างกรณี

จังหวัดตาก จะมีการผูกขาดของกลุ่ม ตระกูลตันติสุนทร และ ตระกูลไชยนันทน์ จั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ ปั จ จุ บั น ก็ มี อ ยู่ 3 ตระกู ล ที่ ยั ง คงอยู่ คื อ มุ่งเจริญพร, รุ่งธนเกียรติ และเรืองกาญจนเศรษฐ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีกลุ่มของ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

จังหวัดสุราษฏร์ธานี จะเป็นกลุ่มของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

จังหวัดบุรีรัมย์ จะเป็น ตระกูลชิดชอบ ที่ผูกขาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.

4. ประเด็นเรื่องการหาเสียง รูปแบบการหาเสียงของนักการเมืองถิ่น เรียกได้ว่ามีลักษณะเป็น วิวัฒนาการที่คล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันบ้างในบางพื้นที่ แต่โดยรวมแล้ว จะเริ่มจากการหาเสียงด้วยการแนะนำตัว สร้างบารมีส่วนตัว การเคาะประตู

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

2530

57


บูรณาการงานวิจัย

บ้ า น เข้ า ถึ ง ชาวบ้ า น เยี่ ย มเยี ย น ลงพื้ น ที่ รวมไปถึ ง การปราศรั ย หาเสี ย ง ช่วงหนึ่ง เมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น จะเริ่มมีการจัดงานมหรสพ การจัดเลี้ยง อาหาร การแจกสิ่งของ จุดเปลี่ยนของรูปแบบการหาเสียงจะเริ่มในปี พ.ศ. 2520 เมื่อมี การซื้อเสียงที่เด่นชัด และเป็นต้นแบบ จนถูกเรียกว่าโรคร้อยเอ็ด นับจากนั้น การแจกเงินซื้อเสียงก็ยังมีมาจนมาถึงยุคปัจจุบัน ส่วนในยุคปัจจุบันนี้ รูปแบบการหาเสียงจะเป็นเรื่องของการดูแล อย่างเป็นระบบ เช่น การดูแลการเดินทาง การศึกษาบุตรหลาน งานบุญ ต่ า งๆ การช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า น เช่ น การซ่ อ มแซมสาธารณู ป โภค ผู ก ใจ เครือญาติ โดยเป็นการดำเนินการระยะยาว ไม่เฉพาะในเวลาเลือกตั้งเท่านั้น เพราะนักการเมืองมักจะสามารถช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนได้รวดเร็ว กว่าระบบราชการ

5. บุคลิกส่วนตัวของนักการเมืองถิ่น

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

ในส่วนเรื่องของบุคลิกส่วนบุคคลนั้น ในทุกๆ จังหวัดจะมีแนวโน้ม ความนิยมในนักการเมืองที่มีการศึกษา อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว มีความ สัมพันธ์กับชาวบ้าน ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้ที่มีฝีปากดี กล้าปราศรัย กล้าหาเสียง แต่มีความแตกต่างกันในเชิงภูมิภาค

58

นักการเมืองถิ่นกลุ่มจังหวัดภาคใต้ นอกจากจะเป็นต้องเป็นผู้ที่ ความรู้แล้ว จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในเชิงการพูด อาจเรียกได้ว่าต้อง เป็นผู้ที่มีฝีปากกล้า วาจาคม พูดเก่ง ปราศรัยเก่ง และยังต้องมีใจนักเลง เป็นคนกล้า พูดจริงทำจริง อ่อนน้อมถ่อมตน เข้าหาประชาชน ภาพลักษณ์ เป็นบุคคลสาธารณะ ไปในกิจกรรมสังคมต่างๆ งานบวช งานบุญ งานศพ งานแต่ ง โดยจะเห็ น ได้ ใ นจั ง หวั ด สงขลา นครศรี ธ รรมราช สุ ร าษฎร์ ธ านี เป็นต้น


บูรณาการงานวิจัย

ในขณะที่นักการเมืองถิ่นในจังหวัดเลย จะต้องมีบุคลิกลักษณะ ภาพรวมในการพูดจาดี มีศีลธรรม ไม่ก้าวร้าว เน้นการแต่งกายที่ภูมิฐาน มีรถ มีผู้ห้อมล้อม และดูมีบารมี

6. ประเด็นเรื่องฐานเสียง จากการศึ ก ษาในหลายภู มิ ภ าค พบว่ า ฐานเสี ย งที่ เ หนี ย วแน่ น

ส่วนมากจะเป็นกลุม่ แม่บา้ นในท้องถิน่ โดยเป็นกลุม่ ทีผ่ กู พันกับนักการเมืองถิน่ และผนวกเข้าไปกับการหาเสียงในรูปแบบใหม่คือ การดูแลในระยะยาวอย่าง เป็ น ระบบ ทำให้ เ กิ ด ฐานเสี ย งที่ มี ค วามจงรั ก ภั ก ดี ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม แม่ บ้ า นใน ท้ อ งถิ่ น นั่ น เอง โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในกลุ่ ม จั ง หวั ด ภาคใต้ เช่ น สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น ส่วนฐานเสียงอีกประเภทหนึ่ง คือฐานเสียงที่อาศัยหัวคะแนน ที่ผูกพันกับระบบการปกครองท้องถิ่น เช่นฐานเสียงระดับ อบต. เทศบาล ซึ่งจะมีหัวคะแนนคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา

ในอดีตนั้น นักการเมืองถิ่นที่เข้ามาในวงการเมืองมักจะมีแรงจูงใจ จากความต้ อ งการประสบความสำเร็ จ ส่ ว นบุ ค คล เช่ น กลุ่ ม ข้ า ราชการ ที่ทำงานราชการจนเต็มที่แล้วอยากจะเข้ามาดำเนินงานทางการเมือง เพื่อ ทำงานตอบแทนประเทศชาติหรือเพื่อเป็นการสร้างความสำเร็จในชีวิตตนเอง อย่างในกรณีจังหวัดตาก นักการเมืองถิ่นที่มีพื้นฐานจากการเป็นข้าราชการ เช่ น นายเที ย ม ไชยนั น ทน์ ซึ่ ง เคยเป็ น ปลั ด อำเภอ นายเฉลี ย ว วั ช รพุ ก ก์ เป็ น อธิ บ ดี ก รมทางหลวง นายแพทย์ ถ าวร กาสมสั น เป็ น ผู้ อ ำนวยการ โรงพยาบาลแม่สอด

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

7. ประเด็นเรื่องแรงจูงใจ

59


บูรณาการงานวิจัย

แต่ ต่ อ มาในภายหลั ง ต่ อ เนื่ อ งมาถึ ง ในปั จ จุ บั น พบว่ า แรงจู ง ใจ ในการเข้าสู่วงการเมืองของนักการเมืองถิ่น มักมาจากความต้องการสืบทอด การดำเนินงานของกลุ่มทางธุรกิจที่ผูกพันเข้ากับการเมืองมากขึ้นนั่นเอง

8. ประเด็นเรื่องการแข่งขันในพื้นที่ นักการเมืองถิ่นในหลายๆ พื้นที่ ที่มีการสืบทอดการดำเนินการ ทางธุรกิจ มีการผูกขาดโดยกลุ่มตระกูล หรือมีฐานเสียงที่แน่นหนา จะไม่มี การแข่ ง ขั น กั น สู ง มากนั ก หรื อ อาจใช้ วิ ธี แ บ่ ง เขตพื้ น ที่ ถ้ า หากอยู่ ค นละ พรรคการเมือง ยกตัวอย่างเช่น นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช เลย บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน โดยจังหวัดที่มีการแข่งขันกันสูง มักเป็นจังหวัดที่มีนักการเมือง หน้าใหม่ข้ามเขตมาลงเลือกตั้งอยู่เสมอ เช่น จังหวัดเชียงใหม่

9. ประเด็นเรื่องในเรื่องของนโยบาย

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

จากการศึ ก ษาในหลายๆ จั ง หวั ด พบว่ า ปั จ จั ย ในการเลื อ ก นักการเมืองถิ่นนั้นมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับนโยบายของพรรคการเมือง อย่ า งในกรณี จั ง หวั ด ภาคใต้ จะนิ ย มพรรคและหั ว หน้ า พรรคโดยไม่ ส นใจ นโยบายของพรรค ในขณะที่ในภูมิภาคอื่นๆ ยังไม่มีความชัดเจนในประเด็น

ดังกล่าว

60

แต่ภายหลังจากปี พ.ศ. 2544 เมื่อเริ่มมีพรรคไทยรักไทย และ การอาศั ย กลยุ ท ธ์ ใ นการชู น โยบายเพื่ อ หาเสี ย งเลื อ กตั้ ง กั บ ประชาชน เริ่มปรากฏว่า นโยบายหลายๆ นโยบายกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจ เลือกนักการเมืองถิ่นด้วย ยกตัวอย่างในกรณีจังหวัดเลย ก่อนปี พ.ศ. 2544 นักการเมืองถิ่นจะชูนโยบายของตัวผู้สมัครเองก่อนเป็นหลัก แต่หลังปี พ.ศ.


บูรณาการงานวิจัย

2544 ก็ จ ะมี ก ารชู หั ว หน้ า พรรคและนโยบายพรรค คื อ หั ว หน้ า พรรคคื อ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนนโยบายพรรคคือ นโยบายประชานิยมตามที่ทราบกัน

10. ข้อเสนอแนะต่อสถาบันพระปกเกล้า เสนอให้ศึกษาให้ครบทุกจังหวัดในประเทศไทย ด้วยมาตรฐาน เดียวกันคือศึกษานักการเมืองระดับชาติตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา

นั ก ก า ร เ มื อ ง ถิ่ น

เสนอให้มีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ ในเรื่องขององค์ประกอบ และรู ป แบบระหว่ า งนั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ กั บ นั ก การเมื อ งระดั บ ท้ อ งถิ่ น ว่าการหาเสียงในระดับ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศบาล มีความเกี่ยวโยง กันในรูปแบบ วิธีคิด และเครือข่ายอย่างไร รวมไปถึงการสนับสนุนในทาง ธุรกิจอย่างไร

61



บ ท ที ่ บูรณาการงานวิจัย เรื่อง “พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550”

2



บูรณาการงานวิจัย

รายละเอียดโครงการ

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและ พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550

ความเป็นมาและสภาพปัญหา

กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 180 วัน นับแต่ วันเปิดประชุมสภาฯ ครั้งแรก หลังจากนั้นต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการออกเสียงประชามติ จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียง ข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และ ไม่ช้ากว่า 30 วันนับแต่วันที่เผยแพร่ดังกล่าว การออกเสี ย งประชามติ เ พื่ อ พิ จ ารณาเห็ น ชอบหรื อ ไม่ เ ห็ น ชอบ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยฉบั บ ถาวรที่ จั ด ทำขึ้ น โดยสภาร่ า ง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ภายหลั ง เหตุ ก ารณ์ รั ฐ ประหาร ในวั น ที่ 19 กั น ยายน 2549 และ การยกเลิ ก รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั ก ราช 2540 โดย คณะปฎิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ขึ้นเพื่อ ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการบริหารประเทศ และมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้ า ที่ แ ทนสภาผู้ แ ทนราษฎรและวุ ฒิ ส ภา รวมถึ ง มี ก ารจั ด ตั้ ง สภาร่ า ง รัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับถาวรต่อไป

65


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

รั ฐ ธรรมนู ญ นั บ เป็ น ปรากฏการณ์ ท างการเมื อ งการปกครองที่ ส ำคั ญ ของ ประเทศไทย ทั้งนี้เป็นเพราะการออกเสียงประชามติดังกล่าวถือเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย ที่กำหนดให้ประชาชนมาใช้สิทธิ ในการออกเสียงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยฉบั บ ถาวร ซึ่ ง ถื อ เป็ น กฎหมายสู ง สุ ด ในการปกครองประเทศ รวมถึ ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยที่คาดว่าจะมีขึ้นภายใน ปี พ.ศ. 2550 ก็จะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติครั้งแรก หลังจากมีการทำรัฐประหาร ของคณะปฏิ รู ป การปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์

ทรงเป็นประมุข (คปค.) จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำการศึกษาความเคลื่อนไหว ต่ า งๆ ทางการเมื อ งการปกครอง โดยเฉพาะในประเด็ น ที่ เ กี่ ย วกั บ ความรู้ ความเข้ า ใจ และความเคลื่ อ นไหวในการรณรงค์ เ กี่ ย วกั บ การออกเสี ย ง ประชามติเพื่อพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้น ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมและความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กร และ กลุ่มการเมืองต่างๆ โดยในการศึกษาจะมุ่งทดสอบประเด็นต่างๆ ของแนวคิด ประชาธิปไตยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน มุ่งศึกษาความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่ อ นไหวในการรณรงค์ เ กี่ ย วกั บ การออกเสี ย งประชามติ เ พื่ อ พิจารณารัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยอาศัยการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพเป็นหลักใน การรวบรวมข้อมูล

66

ความคาดหวังต่อประเด็นทั้งหลายเหล่านี้จะได้รับการตอบสนองจาก ผู้เกี่ยวข้องทั้งในฝ่ายผู้รับผิดชอบในการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจในการออก เสียงประชามติ และการจัดการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานหรือ องค์กรในภาคส่วนอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงและมี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง มากน้ อ ยเพี ย งใด และจะมี แ นวทางที่ จ ะนำไปสู่ ก ารพั ฒ นา ปรับปรุงให้เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย ของประเทศต่อไป


บูรณาการงานวิจัย

ดังนั้นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความ เคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับพื้นที่ และการทำความเข้าใจถึงพฤติกรรม ทางการเมืองของประชาชนอย่างลึกซึ้งจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อ ศึ ก ษาบรรยากาศทั่ ว ไป ความรู้ ค วามเข้ า ใจ และความ เคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พรรคการเมื อ งและนั ก การเมื อ งในพื้ น ที่ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึง องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติเพื่อพิจารณา รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

3. เพื่อศึกษาบทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระดับต่างๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการบริหารจัดการการออกเสียงประชามติ และการจัดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4. เพื่ อ ศึ ก ษาความเคลื่ อ นไหว และพฤติ ก รรมทางการเมื อ งของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5. เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กร สาธารณะ และองค์ ก รอื่ น ๆ ที่ เ ข้ า มามี บ ทบาทเกี่ ย วข้ อ งกั บ การออกเสียงประชามติ และการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2. เพื่อทราบบรรยากาศทั่วไปในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในเดือนธันวาคม 2550 ในภาคและจังหวัดที่ทำการศึกษา

67


บูรณาการงานวิจัย

6. เพื่อทราบแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนโดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการออกเสียง ประชามติ และการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรให้ เ ป็ น กระบวนการที่ ส่ ง เสริ ม ระบอบประชาธิ ป ไตยของประเทศให้ มี ความเข้มแข็งและยั่งยืน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ขอบเขตของการศึกษา

68

ขอบเขตการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษา บรรยากาศทั่ ว ไป ความรู้ ค วามเข้ า ใจ และความเคลื่ อ นไหวของประชาชน คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมืองและ นักการเมืองในพื้นที่ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึ ง องค์ ก รอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การออกเสี ย งประชามติ เ พื่ อ พิ จ ารณา ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ถาวร หลั ง จากมี ป ระกาศสภาร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ เรื่ อ ง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียง ประชามติ พ.ศ. 2550 ลงวั น ที่ 16 มี น าคม 2550 ไปจนถึ ง ช่ ว งที่ มี ก าร กำหนด “วันเผยแพร่” ร่างรัฐธรรมนูญ และ “วันออกเสียง” ประชามติ ตามประกาศของสภาร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ตลอดจนหลั ง จากมี ก ารออกเสี ย ง ประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้งประมาณ 3 เดือน ช่วงระหว่างการมีพระราชกฤษฎีการกำหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือนภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับ รองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดที่ทำการศึกษา โดยให้ความ สำคั ญ กั บ การศึ ก ษาติ ด ตาม บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง พฤติกรรมของผู้สมัครรับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ


บูรณาการงานวิจัย

บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชนและองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาท เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และ พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง ของประชาชน โดยเป็ น การศึ ก ษา/วิ เ คราะห์ เ ชิ ง

เปรียบเทียบในทุกประเด็น เช่น การเลือกตั้งครั้งนี้เหมือนหรือแตกต่างจาก การเลื อ กตั้ ง ที่ เ คยมี ม าในพื้ น ที่ ก่ อ นหน้ า นี้ ห รื อ ไม่ ประเด็ น ใดบ้ า ง มี ก าร เปลี่ ย นแปลงที่ ส ำคั ญ ในเรื่ อ งใด เพราะอะไร และส่ ง ผลต่ อ การพั ฒ นา ประชาธิ ป ไตยของประเทศอย่ า งไร รวมถึ ง เรื่ อ งการแข่ ง ขั น ทางการเมื อ ง ทั้งด้านสว่าง เช่น การรณรงค์หาเสียง กลยุทธ์/วิธีการ การนำเสนอนโยบาย ฯลฯ และด้ า นมื ด เช่ น อิ ท ธิ พ ล การซื้ อ เสี ย ง ฯลฯ ตลอดจนอาจรวมถึ ง บทบาทของทหาร/ฝ่ายความมัน่ คงด้วยว่ามีการเข้ามาเกีย่ วข้อง สนับสนุน หรือ แทรกแซงหรือไม่อย่างไร

วิธีการศึกษา

1. การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ

2. การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกบุคคลในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง

3. การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม

ระยะเวลาทำการศึกษา 10 เดือน (พฤษภาคม 2550 – กุมภาพันธ์ 2551)

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา ได้แก่

69


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

70

1. ได้ ท ราบถึ ง บรรยากาศทั่ ว ไป ความรู้ ค วามเข้ า ใจ และความ เคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พรรคการเมื อ งและนั ก การเมื อ งในพื้ น ที่ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึง องค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติเพื่อพิจารณา รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

2. ทราบถึงบรรยากาศทั่วไปในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรในเดือนธันวาคม 2550 ในภาคและจังหวัดที่ทำการศึกษา

3. ทราบถึงบทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ระดับต่างๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการบริหารจัดการการออกเสียงประชามติ และการจัดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

4. ทราบถึงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร

5. ทราบถึ ง บทบาทของหน่ ว ยงานภาครั ฐ บริ ษั ท เอกชน องค์ ก ร สาธารณะ และองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการ ออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

6. ทราบถึ ง แบบแผนพฤติ ก รรมทางการเมื อ งของประชาชน โดยเฉพาะทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกเสียงประชามติ และการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

7. ได้ข้อเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการออกเสียง ประชามติ และการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรให้ เ ป็ น กระบวนการที่ ส่ ง เสริ ม ระบอบประชาธิ ป ไตยของประเทศให้ มี ความเข้มแข็งและยั่งยืน


บทคั บ ดทย่ทีอ่ รายงานวิจัย



บูรณาการงานวิจัย

1. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ์

การออกเสี ย งประชามติ เมื่ อ วั น ที่ 19 สิ ง หาคม 2550 จั ง หวั ด เชียงใหม่มีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจำนวน 1,168,032 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 818,180 คน คิดเป็นร้อยละ 70.04 ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่า มีผู้เห็นชอบ 344,219 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ไม่เห็นชอบ 451,309 คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 และบัตรเสีย 22,650 บัตร คิดเป็นร้อยละ 3 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ดำเนินการในการออกเสียงประชามติ โดยมี ก ารเตรี ย มการในด้ า นต่ า งๆ ได้ แ ก่ การจั ด ตั้ ง ศู น ย์ อ ำนวยการและ ประสานการออกเสี ย งประชามติ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ การแต่ ง ตั้ ง คณะ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ความ เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษา จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ” เป็ น การศึ ก ษา เชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความเคลื่อนไหวทางการเมือง ในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่างลึกซึ้ง โดยใช้ ระเบี ย บวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ทำการเก็ บ ข้ อ มู ล โดยศึ ก ษาเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า

73


บูรณาการงานวิจัย

อนุกรรมการการออกเสียงประชามติประจำอำเภอ การเตรียมการด้านสถานที่ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการลงประชามติ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การรณรงค์ส่วนใหญ่เป็นบทบาทของภาครัฐ ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์ และ อบรมสัมมนา ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกไป ลงประชามติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จังหวัดเชียงใหม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,149,338 คน มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจำนวน 11 คน แบ่งออกเป็น 4 เขตเลือกตั้งโดยใช้ระบบรวมเขตเรียง เบอร์ (Block vote systems) เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 และเขต เลือกตั้งที่ 3 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ 3 คน ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 4 มี ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจำนวน 2 คน มี ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง จาก พรรคการเมืองต่างๆ จำนวน 107 คน ซึ่งมาจากหลายสาขาอาชีพ และใน จำนวนนี้ มีผู้สมัครกลุ่มหนึ่งที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับชาติและ ระดับท้องถิ่น บรรยากาศในการแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในภาพรวมการจัดการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

74

วิธีการหาเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้มากที่สุดคือ การเดินหาเสียง เคาะประตูบ้าน พบปะพูดคุยกับประชาชน และยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ผู้สมัคร หลายคนได้ใช้วิธีการหาเสียงแบบตัวคนเดียวมากกว่าหาเสียงเป็นทีม มีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 956,207 คน คิดเป็นร้อยละ 83.20 มี บั ต รดี จ ำนวน 863,003 บั ต ร คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 91 มี บั ต รเสี ย จำนวน 32,049 บั ต ร คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 3.0 และจำนวนบั ต รไม่ ป ระสงค์ ล งคะแนน 61,115 บัตร คิดเป็นร้อยละ 6


บูรณาการงานวิจัย

ผลการเลื อ กตั้ ง ปรากฏว่ า ผู้ ส มั ค รจากพรรคพลั ง ประชาชนได้ รั บ เลือกตั้งจำนวน 9 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้รับเลือกตั้งพรรคละ 1 คน ในการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีบัตรดีจำนวน 863,740 บั ต ร คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 90 มี บั ต รเสี ย จำนวน 58,689 บั ต ร

คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 6 และจำนวนบั ต รไม่ ป ระสงค์ ล งคะแนน 33,778 บั ต ร คิดเป็นร้อยละ 3 และพรรคพลังประชาชนได้คะแนนมากกว่าพรรคอื่นๆ

ส่วนแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการออกเสียงประชามติ และเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมระบอบ ประชาธิ ป ไตยของประเทศ ให้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง และยั่ ง ยื น นั้ น ควรส่ ง เสริ ม

การเรี ย นรู้ ท างการเมื อ งแก่ ป ระชาชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง สื่ อ มวลชนในจั ง หวั ด เชียงใหม่ควรนำเสนอความเคลื่อนไหว บทบาทและการทำหน้าที่ของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเชียงใหม่แก่ประชาชน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ มี ส่ ว นในการรณรงค์ ใ ห้ ป ระชาชนใช้ สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง และ ไม่ ข ายเสี ย ง โดยวิ ธี ก ารติ ด ป้ า ยประชาสั ม พั น ธ์ การเดิ น รณรงค์ การจั ด กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วงของการรณรงค์หาเสียง เลื อ กตั้ ง ได้ มี ก ระแสของการใช้ เ งิ น ในการเลื อ กตั้ ง ผ่ า นการพู ด คุ ย กั น ของ ประชาชน และปรากฏเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์อยู่เป็นระยะๆ

75


บูรณาการงานวิจัย

2. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สายฝน น้อยหีด

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

76

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความ เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและ พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษาจั ง หวั ด ลำปาง” เป็ น การ ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียง ประชามติ และความเคลื่ อ นไหว ทางการเมืองในจังหวัดลำปางในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพือ่ ความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่างลึกซึง้ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง การบริหารจัดการในการลงประชามติ ทั้งการวางแผน การบริหาร และการ ประชาสัมพันธ์ประสบปัญหา เนื่องจากงบประมาณล่าช้าและไม่มีความชัดเจน ประกอบกับความไม่ชัดเจนในเรื่องแนวทางการดำเนินงาน ส่วนการดำเนิน การบริหารจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งครั้งนี้มีการ ร้องเรียนเรื่องการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครเขตการเลือกตั้งที่ 1 ทำให้จังหวัดลำปางมีการเลือกตั้งใหม่ เฉพาะในเขตเลือกตั้งที่ 1 ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551


บูรณาการงานวิจัย

3. พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัคร การแข่งขันทางการเมืองใน จั ง หวั ด ลำปางเป็ น การแข่ ง ขั น ของผู้ ส มั ค รระหว่ า งพรรคการเมื อ งใหญ่ สองพรรคคือ พรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ การจับผิดคู่แข่ง กลายเป็ น แบบแผนพฤติ ก รรมทางการเมื อ งของผู้ ส มั ค ร การหาเสี ย งของ ผู้สมัคร มีทั้งการปราศรัยบนเวที การเดินตามบ้านเรือนเพื่อพบปะประชาชน การแจกแผ่นพับ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และการใช้หัวคะแนน รูปแบบ การหาเสี ย งที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มในหลายพรรค คื อ การเจาะกลุ่ ม เป้ า หมาย เป็นกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มลูกจ้างในโรงงานเซรามิก โดยเฉพาะโรงงาน เซรามิกขนาดใหญ่ ซึ่งมีแรงงานจำนวนมาก ถือเป็นการเข้าถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผ่านเครือข่ายอาชีพ ผ่านการประสานงานของคนใกล้ชิดผู้สมัครซึ่งส่วนใหญ่

มีการวางเครือข่ายทางสังคม วิธีการหาเสียงของผู้สมัครแตกต่างจากครั้งที่ ผ่านมาคือ บรรยากาศในการหาเสียงเปลี่ยนจากการใส่ร้ายป้ายสี หรือด่าทอ ผู้ ส มั ค รฝ่ า ยตรงกั น ข้ า ม เป็ น การหาเสี ย งแบบเสนอแนวนโยบายของ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2. บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรต่างๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการออกเสียงประชามติและการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การสนับสนุนช่วยเหลือในการดำเนินงาน ในการลงประชามติและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของหน่วยงาน ต่างๆ ในจังหวัดลำปาง ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภาครัฐหรือองค์กร ของรัฐที่เข้าร่วมในการจัดการการเลือกตั้ง ได้แก่ อำเภอ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น อำเภอทำหน้าที่เป็นกลไก หลักในการจัดการเลือกตั้งระดับพื้นที่ ส่วนองค์กรและภาคเอกชนที่มีบทบาท เด่นในจังหวัดลำปางมีอยู่ 5 องค์กร คือ สภาทนายความ กลุ่มวิทยุอาสา สมัคร เครือข่ายภาคพลเมืองจังหวัดลำปาง ชมรมอาสาการเลือกตั้ง และ หอการค้าจังหวัด องค์กรเอกชนทั้ง 5 องค์กรเหล่านี้นับเป็นองค์กรกลางที่เข้า มามีบทบาทในการตรวจสอบ สังเกตการณ์ และประชาสัมพันธ์ให้เกิดความ ตื่นตัวทางการเมือง บทบาทของสถาบันการศึกษา มีบทบาทในการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน บทบาทในการรณรงค์ให้ออกมาใช้สิทธิ

77


บูรณาการงานวิจัย

ผู้สมัคร วุฒิการศึกษา นำเสนอความสามารถ และนำเสนอประสบการณ์ เพื่อใช้ในการต่อสู้ในเวทีหาเสียง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

4. แบบแผนทางการเมืองของประชาชน พบว่า ประชาชนจังหวัด ลำปางมี ส่ ว นร่ ว มในการลงประชามติ แ ละการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎรสูงมากกว่าที่ผ่านมา ประชาชนใช้สิทธิการลงประชามติรัฐธรรมนูญ สู ง ถึ ง ร้ อ ยละ 67.70 ของผู้ มี สิ ท ธิ ทั้ ง หมด ถื อ เป็ น ลำดั บ ที่ 4 ของประเทศ ส่วนการใช้สิทธิในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสูงถึงร้อยละ 83.53 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จัดเป็นลำดับ 8 ของประเทศ และเป็นอันดับ 4 ของ ภาคเหนื อ ส่ ว นการมี ส่ ว นร่ ว มในการแสดงความคิ ด เห็ น ทางการเมื อ ง ประชาชนจังหวัดลำปางมีส่วนร่วมในการเสนอประเด็นเนื้อหารัฐธรรมนูญ เข้าร่วมเวทีละไม่เกิน 150 คนเท่านั้น ส่วนการแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหา สาระของร่างรัฐธรรมนูญและการรับฟังการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่อง รัฐธรรมนูญนั้นมีประชาชนเข้าร่วมในแต่ละเวทีจำนวนมากและให้ความสนใจ ซักถามในประเด็นที่กระทบกับการเลือกตั้ง เรื่องสิทธิของความเป็นพลเมือง การปกครองท้ อ งถิ่ น การจั ด ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสถาบั น ทางการเมื อ ง เป็นต้น

78

5. ข้อเสนอแนะ ด้านการบริหารจัดการเลือกตั้ง คณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัด และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ควรจัดให้มีการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งอย่างเข้มข้นแก่ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการในพื้นที่และมักได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง ให้ เ ป็ น กรรมการประจำหน่ ว ยเลื อ กตั้ ง เป็ น ประจำไม่ ว่ า จะ เป็ น การเลื อ กตั้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น หรื อ ระดั บ ชาติ การอบรมให้ ค วามรู้ จ ะ เป็ น การสร้ า งคนในกระบวนการจั ด การเลื อ กตั้ ง ที่ ยั่ ง ยื น ด้ า นการพั ฒ นา ประชาธิปไตย เปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบทางตรง มากขึ้ น เพื่ อ สร้ า งจิ ต สำนึ ก ความเป็ น พลเมื อ ง พั ฒ นาในด้ า นจริ ย ธรรม คุณธรรม และวินัยของประชาชน ผู้สมัคร และคณะทำงานในการบริหาร


บูรณาการงานวิจัย

จัดการเลือกตั้ง รวมทั้งการให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชนถึงระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตย ด้านกฎหมายเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัครได้ทั้งที่มาในนามพรรคการเมืองและในนาม ของบุคคลที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

79


บูรณาการงานวิจัย

3. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดแพร่ อาจารย์รุ่งนภา เทพภาพ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

80

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความ เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและ พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึกษาจังหวัดแพร่” เป็นการศึกษา เชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความเคลื่อนไหวทางการเมืองใน จังหวัดแพร่ ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อ ความเข้ า ใจถึ ง พฤติ ก รรมทางการเมื อ งของประชาชนอย่ า งลึ ก ซึ้ ง โดยใช้ ระเบี ย บวิ ธี วิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ได้ แ ก่ การศึ ก ษาจากเอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การสั ม ภาษณ์ บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ ง การประชุ ม กลุ่ ม ย่ อ ย (Focus group) การสั ง เกตการณ์ ก ารเลื อ กตั้ ง และการเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ความ เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ ง และทั ศ นคติ ข องประชาชนจั ง หวั ด แพร่ ต่ อ การ เลือกตั้ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จำนวนทั้งสิ้น 120 ชุด เพื่อให้ได้ ข้อมูลเชิงสถิติประกอบการอธิบาย ผลการศึกษาสรุปดังนี้ บรรยากาศทัว่ ไปในช่วงเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร พ.ศ. 2550 มีความเข้มข้นในการแข่งขันของผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พลังประชาชน และประชาธิปัตย์ ประชาชนมีความตื่นตัวเป็นอันมาก และ มีส่วนร่วมในระดับสูง (ร้อยละ 79.94) นอกจากนี้ ภาคส่วนอื่นๆ ก็ได้เข้ามา


มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างหลากหลายเช่นกัน อาทิเช่น เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ครู อาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ส่วนบทบาทหน้าที่และการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถดำเนิน การจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี การประชาสัมพันธ์/การให้ความ รู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งของสำนักงาน กกต. จังหวัดแพร่ ได้ดำเนินโครงการ/ กิ จ กรรมในหลากหลายรู ป แบบ เช่ น การจั ด โครงการ การทำป้ า ย ประชาสัมพันธ์ การจัดทำสื่อวีดิทัศน์ (VCD) การจัดจ้างสถานีวิทยุ สวท. แพร่ ให้รายงานสถานการณ์การเลือกตั้ง การจัดเวทีกลางให้ผู้สมัครหาเสียง ปัญหาอุปสรรคสำคัญของการจัดการเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย (1) การไม่มี สำนักงานในการปฏิบัติหน้าที่อย่างถาวรของ กกต. เขต (2) ปัญหาอันเนื่อง มาจากมีการเปลี่ยนแปลงคณะทำงานใหม่ในทุกครั้ง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อ ประสิทธิภาพการทำงาน (3) ปัญหาความไม่คล่องตัวของงบประมาณในการ ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (4) ข้อจำกัดอันเนื่องมาจากการกำหนดวันเลือก ตั้งเป็นไปอย่างกระชั้น การสร้างความร่วมมือกับองค์กร/หน่วยงานอื่นในการ ดำเนินงาน ประกอบด้วยการสร้างความร่วมมือกับจังหวัดแพร่ ในการตั้ง

งบประมาณ เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิใช้เสียง การสร้างความร่วมมือกับอำเภอ โดยให้อำนาจและมอบหมายให้อำเภอทำ หน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งประจำอำเภอ การสร้างความร่วมมือ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรณรงค์การเลือกตั้ง การสร้างความ ร่วมมือกับพรรคการเมืองในการส่งตัวแทนพรรคในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ส่วนในเรื่องของการร้องเรียนว่ามีปฏิบัติผิดกฎหมายการเลือกตั้ง พบว่ามีการ ร้องเรียน 3 เรื่องหลัก คือ 1) มีการแจกเงิน 2) ร้องเรียนเรื่องผู้สมัครรับ เลือกตั้งมีพฤติกรรมที่ส่อเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง เช่น การเดิน ทางไปวางพวงรี ด ในงานศพ 3) การแจกวิ ดี ทั ศ น์ หรื อ VCD ที่ มี เ นื้ อ หา เกี่ยวข้องกับ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

บูรณาการงานวิจัย

81


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2550 จังหวัดแพร่ พบว่า เหตุผลของการสมัครรับเลือกตั้งและ การสังกัดพรรคการเมืองของผู้สมัครสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่นั้นมี เหตุผลหลักสำคัญ คือ 1) เพื่อสืบทอดอำนาจทางการเมืองของตระกูล หรือ ของกลุ่มอำนาจของตนเอง และ 2) เหตุผลเกี่ยวกับการเติบโตทางอาชีพ หรือการสะสมอำนาจทางการเมืองจากการเป็นนักการเมืองในระดับท้องถิ่นไป สู่ ก ารเป็ น นั ก การเมื อ งในระดั บ ชาติ ในส่ ว นของผู้ ส นั บ สนุ น ผู้ ส มั ค รและ พรรคการเมื อ งต่ า งๆ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด แพร่ นั้ น จำแนกได้ 4 กลุ่ ม คื อ พรรคการเมือง ครอบครัว นักการเมืองท้องถิ่น และสื่อมวลชน วิธีการหา เสียงที่ทางผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ให้ความสำคัญ คือ การ หาเสียงแบบยกทีม การลงพื้นที่แบบเคาะประตูบ้าน การขึ้นเวทีปราศรัยที่ทาง กกต. จั ด ให้ การแจกเอกสารแผ่ น พั บ ใบปลิ ว ประชาสั ม พั น ธ์ การใช้ ร ถ ประชาสัมพันธ์ ส่วนความสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งกับภาคส่วนต่างๆ พบว่า ผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่างๆ ดังนี้ (1) ความสัมพันธ์ของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งกับข้าราชการ (2) ความสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กับพรรคการเมือง (3) ความสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งกับนักการเมือง ท้องถิ่น (4) ความสัมพันธ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งกับนักการเมืองระดับชาติ

82

ปัจจัยที่นำมาสู่การได้รับเลือกตั้ง ประกอบด้วย (1) ปัจจัยเกี่ยวกับ การสังกัดพรรคพลังประชาชน (2) ปัจจัยเกี่ยวกับการที่พรรคคู่แข่ง (พรรค ประชาธิปัตย์) ถูกสังคมประทับตราว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการเสียชีวิตของ นายแพทย์ชาญชัย ศิลปอวยชัย (3) ปัจจัยเกี่ยวกับการมีผลงานที่โดดเด่นใน การช่วยเหลือประชาชนของผู้สมัครและหรือการมาจากตระกูลทางการเมือง ที่มีบทบาทของผู้สมัคร (4) ปัจจัยเกี่ยวกับการมีทุนทรัพย์ซึ่งเป็นงบประมาณ ในการหาเสียงของตนเองอย่างเพียงพอ (5) ปัจจัยเกี่ยวกับการมีเครือข่าย ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ นั ก การเมื อ งท้ อ งถิ่ น ประเด็ น เกี่ ย วกั บ บทบาทของ หัวคะแนนในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า การออกมาแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ใครอยู่พรรคใดของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ล้วนไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะข้างใด


บูรณาการงานวิจัย

พรรคใด หรือจะเป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัครจากพรรคการเมืองใด เพราะ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับผู้สมัคร รับเลือกตั้งหญิงกับการเลือกตั้ง พบว่า ผู้สมัครหญิงได้รับการสนับสนุนจาก พรรคการเมืองไม่แตกต่างกับผู้สมัครชาย สัดส่วนของผู้สมัครหญิงต่อผู้สมัคร ชายในสนามเลือกตั้งจังหวัดแพร่ คิดเป็นร้อยละ 26.1 หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด

แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ประชาชนจังหวัด แพร่มีความตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นอันมาก ปัจจัยที่ทำให้ ประชาชนไปใช้สิทธิประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ คือ (1) ปัจจัยเกี่ยวกับการ กระตุ้นของหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ (2) ปัจจัยเกี่ยวกับบริบททางการเมือง ของจั ง หวั ด แพร่ (3) ปั จ จั ย เกี่ ย วกั บ ความต้ อ งการกลั บ สู่ ภ าวะการเมื อ ง การปกครองแบบประชาธิ ป ไตย หรื อ กลั บ เข้ า สู่ ภ าวะปกติ ข องประชาชน (4) ปัจจัยเกี่ยวกับความต้องการให้อดีตนายกทักษิณ กลับเข้ามายังประเทศ ไทย และ (5) ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ คือ การต้องการ “เอาคืน” และ “ตอกย้ำ” ความพ่ายแพ้ของพรรคคู่แข่งของพรรคพลังประชาชน ส่วนการ ขายสิ ท ธิ ข ายเสี ย งนั้ น พบว่ า มี อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ แ ต่ ไ ม่ มี ห ลั ก ฐานหรื อ มี ผู้ ยื น ยั น ที่ ชัดเจน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

หน่ ว ยงาน/องค์ ก รต่ า งๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน องค์กรเอกชนตรวจสอบ การเลื อ กตั้ ง และสื่ อ หนั ง สื อ พิ ม พ์ ท้ อ งถิ่ น ได้ มี บ ทบาทต่ อ การเลื อ กตั้ ง ทั้ ง บทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การรณรงค์ให้ออกมาใช้สิทธิใช้เสียง การรณรงค์ ไ ม่ ใ ห้ ข ายสิ ท ธิ ข ายเสี ย ง และบทบาทในลั ก ษณะที่ ไ ม่ เ ป็ น กลาง เป็ น ต้ น ว่ า การชี้ น ำการเลื อ กตั้ ง รวมทั้ ง บทบาทในลั ก ษณะของการเป็ น

หัวคะแนน

83


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ผลการเลือกตั้ง พบว่าผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 คื อ ผู้ ส มั ค รจากพรรคพลั ง ประชาชน ได้ แ ก่ ห มายเลข 4 นายวรวั จ น์ เอื้ อ อภิ ญ ญกุ ล หมายเลข 5 นางปานหทั ย เสรี รั ก ษ์ และ หมายเลข 6 นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล รูปแบบการลงคะแนน มี 3 รูปแบบ ใหญ่ คื อ 1) การเลื อ กแบบยกพรรค แบ่ ง ออกเป็ น 2 รู ป แบบย่ อ ย คื อ การเลื อ กผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ของพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ย กที ม และการเลื อ ก ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชาชนแบบยกทีม 2) การเลือกผู้สมัคร แบบไม่ ย กที ม แบ่ ง ออกเป็ น 2 รู ป แบบย่ อ ย คื อ การเลื อ กผู้ ส มั ค รจาก ต่างพรรคผสมกัน และการเลือกผู้สมัครหมายเลขใดหมายเลขหนึ่ง 3) การ ไม่ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดเลย หรือการลงคะแนนในช่อง ไม่ประสงค์จะลงคะแนน

84

ข้ อ เสนอแนะสำคั ญ เพื่ อ พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย 1) ข้อเสนอแนะต่อการ วางรากฐานของกระบวนการส่ ง เสริ ม ระบอบประชาธิ ป ไตย การให้ ค วาม สำคัญอย่างยิ่งกับการทำงานกับเด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นอนาคต ของจั ง หวั ด และสั ง คม เพื่ อ เปลี่ ย นความคิ ด และค่ า นิ ย มทางการเมื อ ง คณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงาน จะต้องมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และ แผนงาน/โครงการที่ชัดเจนในเรื่องนี้ เพื่อปลูกจิตสำนึกความเป็นพลเมืองใน กลุ่มเด็กและเยาวชน 2) ข้อเสนอแนะต่อการจัดการเลือกตั้ง กกต. ในฐานะ ผู้ ก ำกั บ ดู แ ล ควบคุ ม การจั ด การเลื อ กตั้ ง หลั ก จะต้ อ งมี “เวที ” ในการ พู ด คุ ย และร่ ว มกั น แก้ ไ ข หรื อ หาทางออกของปั ญ หาร่ ว มกั บ กกต. เขต ตลอดจนคณะอนุ ก รรมการการเลือ กตั้ ง เพื่อ สรุ ปบทเรีย นจากการทำงาน พร้อมทั้งร่วมกันเสนอทางออก มีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรที่ผู้อื่น สามารถเรียนรู้ได้ อันเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาระบบการจัดการ เลื อ กตั้ ง ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพยิ่ ง ๆ ขึ้ น ไปในอนาคต 3) ข้ อ เสนอแนะต่ อ การ ตรวจสอบการเลือกตั้งทาง กกต. ต้องลงมาช่วยเหลือสนับสนุนให้มีการแก้ไข ปั ญ หาที่ เ ป็ น อุ ป สรรค จะต้ อ งมี ก ารสร้ า งให้ เ กิ ด “ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ” ของ


บูรณาการงานวิจัย

กระบวนการตรวจสอบการเลือกตั้ง นอกจากนี้ทาง กกต. จักต้องหาแนวทาง ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครตรวจ สอบการเลื อ กตั้ ง ให้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น ทั้ ง ในเรื่ อ งของการสร้ า งแรงจู ง ใจด้ า น ค่าตอบแทน และการสร้างแรงจูงใจในเชิงการยกย่องให้คุณค่ากับผู้ทำงาน เสียสละตรงจุดนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน และควร มีการพูดคุย ประสานงาน และหารือร่วมกันกับองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ถึงแนวทางในการพัฒนาระบบงานนี้ให้มีความชัดเจน และเป็นระบบยิ่งขึ้น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

85


บูรณาการงานวิจัย

4. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดพิษณุโลก

ดร.ยรรยง เฉลิมแสน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

86

ก า ร ศึ ก ษ า วิ จั ย เ รื่ อ ง “ความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษาจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก” เป็ น การศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก เกี่ ย วกั บ การออกเสี ย งประชามติ และ ความเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ ง ในจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก ในช่ ว งการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่ อ ความเข้ า ใจถึ ง พฤติ ก รรมทางการเมื อ งของ ประชาชนอย่ า งลึ ก ซึ้ ง โดยใช้ วิ ธี การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า บรรยากาศโดยทั่วไปคึกคักพอสมควรโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดพิษณุโลกเร่งกิจกรรมการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการออกมา รณรงค์ ข องสถาบั น การศึ ก ษา หน่ ว ยงานภาครั ฐ เอกชน สื่ อ มวลชน ฯลฯ และโดยเฉพาะการประกาศให้วันที่ 24 ธันวาคม 2550 เป็นวันหยุดราชการ


บูรณาการงานวิจัย

รูปแบบการลงคะแนน ปรากฏว่าประชาชนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนของ จังหวัดพิษณุโลกลงคะแนนให้ 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชาชน โดยมีผลการลงคะแนนคิดเป็นร้อยละ 54.03 และ 33.33 ตามลำดับ ในขณะที่ผลการลงคะแนนแบบแบ่งเขต ประชาชนผู้มีสิทธิ เลื อ กตั้ ง จั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลกลงคะแนนให้ ผู้ ส มั ค รจากพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ทั้ ง 2 เขตเลื อ กตั้ ง 445,935 คะแนน (ร้ อ ยละ 55.26) และลงคะแนนให้ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนทั้ง 5 คน จาก 2 เขตเลือกตั้ง 361,027 คะแนน (ร้อยละ 44.74) จากการวิเคราะห์คะแนนของพรรคการเมืองและ ผู้สมัครทำให้ทราบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ พรรคการเมือง และตัวบุคคล ส่วนการหาเสียงไม่มีผลมากนัก โดยเฉพาะผลของคะแนนที่ได้ รับของพรรคใหญ่ 2 พรรค ที่เป็นผลของตัวบุคคลมากกว่า แต่เมื่อพิจารณา ในพรรคที่ได้คะแนนรองลงมา คือพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย นั้นเป็นผลจากการหาเสียงในลักษณะบุคคลมากกว่าหาเสียงทั้งพรรค ส่วน การซื้อเสียงพบว่าไม่มีผลต่อรูปแบบการลงคะแนน เพราะการเมืองในจังหวัด พิษณุโลกมีทิศทางที่ชัดเจน คือเลือกพรรคแล้วเลือกคน ดังนั้น สำหรับฐาน การเมืองนั้น นักการเมืองต้องสร้างฐานทางการเมืองไว้ก่อนที่จะลงสมัครรับ เลื อ กตั้ ง ซึ่ ง สามารถสรุ ป ได้ เ ป็ น ทางพรรคการเมื อ ง ทางสั ง คม และทาง ทายาททางการเมือง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ต่อเนื่องจากในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทำให้บรรยากาศการเลือกตั้งคึกคัก ขึ้นมาก โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปลงชื่อเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นจำนวน มาก และเนื่องด้วยเป็นการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายหลัง จากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550 กระแสความตื่นตัวทางการเมือง จึงปรากฏเห็นได้ชัดในจังหวัดพิษณุโลก ดังจะเห็นได้จากการเข้าไปมีส่วนร่วม ทางการเมืองในรูปแบบและระดับต่างๆ และการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 มีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้รวมทั้งจังหวัดสูงถึงร้อยละ 73.64 และ คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดพิษณุโลกสามารถประกาศผลการเลือกตั้ง อย่างไม่เป็นทางการได้ในเวลา 7.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมงในการนับบัตรเลือกตั้งทั้งหมด

87


บูรณาการงานวิจัย

การเลือกตั้งครั้งนี้ มีระยะเวลาในการหาเสียงโฆษณาประชาสัมพันธ์ น้อย ผู้สมัครรับเลือกตั้งหน้าเก่าที่มีเครือข่าย กลุ่มผู้สนับสนุนและหัวคะแนน เป็ น ทุ น เดิ ม อยู่ แ ล้ ว ได้ เ ปรี ย บผู้ ส มั ค รหน้ า ใหม่ โดยสั ง เกตได้ จ ากผลการ เลือกตั้งครั้งนี้ที่ไม่มีผู้สมัครหน้าใหม่ได้รับการเลือกตั้งเลย ในการเลือกตั้ง

ครั้ ง นี้ ไ ม่ ป รากฏว่ า มี ผู้ ส มั ค รรายใดทำผิ ด กฎหมายการเลื อ กตั้ ง รวมทั้ ง

ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนด้วย จากการที่มี ผู้ สมั ค รรั บเลือ กตั้ง ที่ เป็ นผู้ ห ญิง อาสาเข้ ามาเป็ นตั ว แทน ผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง และประชาคมชาวพิ ษ ณุ โ ลกจำนวน 5 คน จากผู้ ส มั ค ร รั บ เลื อ กตั้ ง ทั้ ง หมด 41 คน แต่ ไ ม่ ไ ด้ ท ำให้ บ รรยากาศการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกคึกคัก หรือตื่นเต้นมากขึ้น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลือกตั้ง พบว่ามีปัญหาในการจัดการ เลื อ กตั้ ง ล่ ว งหน้ า นอกเขตจั ง หวั ด เพราะมี ผู้ ไ ปใช้ สิ ท ธิ เ ป็ น จำนวนมาก นอกจากนี้ ยั ง มี ปั ญ หาในการหาเสี ย งของผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง เนื่ อ งมาจาก ระเบียบว่าด้วยการหาเสียง

88

ผู้วิจัยจึงขอเสนอว่า ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งอย่าง พอเพียง ควรสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยในสังคมไทย แทนการรณรงค์การ เลื อ กตั้ ง หรื อ รณรงค์ ป ระชาธิ ป ไตยทุ ก ครั้ ง เมื่ อ มี ก ารเลื อ กตั้ ง ควรสร้ า ง บรรยากาศประชาธิ ป ไตยในชี วิ ต ประจำวั น ตั้ ง แต่ ค รอบครั ว ไปจนถึ ง การ บริหารองค์กร รวมทั้งให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ ของการเป็นสมาชิกในสังคม ในชุมชน รวมทั้งสิทธิในการใช้ทรัพยากรใน ท้องถิ่นอย่างเท่าเทียม เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสของบางคนที่แอบอ้างสิทธิ ในทรั พ ยากรนั้ น ๆ แล้ ว นำไปใช้ ส ร้ า งรายได้ แ ละอิ ท ธิ พ ลในท้ อ งถิ่ น ในเวลา ต่อมา ให้ประชาชนทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้งด้วยจิตสำนึก ประชาธิปไตย และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายบริหารงานภาครัฐ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นในลักษณะกรรมการที่ปรึกษาหรือ


บูรณาการงานวิจัย

กรรมการติดตามและประเมินผล เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วม รับผิดชอบในสังคม ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีหน้าที่ในการจัดการ เลื อ กตั้ ง ให้ เ ป็ น ไปอย่ า งยุ ติ ธ รรมเพี ย งอย่ า งเดี ย ว ส่ ว นบทบาทการ ประชาสั ม พั น ธ์ การสอบสวน อำนาจการตั ด สิ ท ธิ ผู้ ส มั ค ร การลงโทษ ผู้สนับสนุนที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานเฉพาะ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

89


บูรณาการงานวิจัย

5. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดเชียงราย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

อาจารย์วรสฤษฎิ์ ปิงเมือง

90

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย” เป็นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความเคลื่อนไหว ทางการเมืองในจังหวัดเชียงราย ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่าง ลึ ก ซึ้ ง โดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ได้ แ ก่ การศึ ก ษาเอกสาร การสั ม ภาษณ์ ก ลุ่ ม ผู้ น ำ นั ก การเมื อ ง และองค์ ก รต่ า งๆ รวมทั้ ง การออก สั ง เกตการณ์ พ ฤติ ก รรมและการเคลื่ อ นไหวกิ จ กรรมทางการเมื อ งต่ า งๆ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ในการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็น จังหวัดเชียงราย มีบทบาทสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนและ หน่วยงานองค์กรต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย และรณรงค์การออกไปใช้สิทธิใน


บูรณาการงานวิจัย

การลงประชามติร่วมกับการจัดการลงประชามติของสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้พบว่ามีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้น โดยผลการลงประชามติ 19 สิงหาคม 2550 พบว่า จำนวนผู้ มี สิ ท ธิ อ อกเสี ย ง 833,079 คน มี ผู้ ม าใช้ สิ ท ธิ 536,983 คน (ร้อยละ 61.88) มีผู้เห็นชอบ 188,697 คน (ร้อยละ 35.23) และไม่เห็น ชอบ 332,890 คน (ร้อยละ 61.90) ในขณะที่ภาพรวมของทั้งประเทศพบว่า มี จ ำนวนผู้ เ ห็ น ชอบมากกว่ า จึ ง ทำให้ รั ฐ ธรรมนู ญ 2550 ประกาศใช้ เ ป็ น กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศได้ โดยพบว่าปัจจัยของการเห็นชอบ เน้นหนักที่ต้องแก้ไขปัญหาการเมืองให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว และรัฐธรรมนูญ มีประเด็นที่ทำเพื่อประโยชน์กับประชาชนโดยตรง และในส่วนที่ไม่เห็นชอบ เพราะไม่สนับสนุนรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร และมีกระแสว่าหาก รั บ รั ฐ ธรรมนู ญ แล้ ว จะมี ก ารยกเลิ ก โครงการที่ มี ลั ก ษณะของประชานิ ย ม ทั้งหมด นอกจากนี้บางกลุ่มต้องการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 มากกว่า

ในเขตเลื อ กตั้ ง ที่ 1 อั น ประกอบด้ ว ย อำเภอเมื อ งเชี ย งราย อำเภอ เวี ย งชั ย อำเภอแม่ ล าว อำเภอแม่ ส รวย อำเภอเวี ย งป่ า เป้ า มี ผู้ มี สิ ท ธิ ออกเสียงเลือกตั้ง 305,877 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 245,891 คน (ร้อยละ 80.39) ในเขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย อำเภอพาน อำเภอป่าแดด อำเภอ เทิง อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชี ย งของ และอำเภอเวี ย งแก่ น ซึ่ ง มี ผู้ มี สิ ท ธิ อ อกเสี ย งเลื อ กตั้ ง 340,847 คน จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 255,858 คน (ร้อยละ 75.06) ในเขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอ แม่สาย และอำเภอเชียงแสน มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 172,716 คน ผู้มา

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

และเมื่อมีการกำหนดวันเลือกตั้งทั้งประเทศเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พบว่าในจังหวัดมีการเตรียมการเลือกตั้ง โดยมีผู้สมัครเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจำนวน 89 คน ใน 3 เขตเลือกตั้ง มีหน่วยเลือกตั้งเพียง 1,863 หน่วย โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 8 คน

91


บูรณาการงานวิจัย

ใช้สิทธิเลือกตั้ง 131,460 คน (ร้อยละ 76.11) โดยผลจากการเลือกตั้ง คือ ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนทั้งหมด ทั้ ง นี้ จ ากการประมวลภาพการเมื อ งเชี ย งรายในการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ พบว่ามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ประกอบกับการจับตาจากฝ่ายรักษาความ มั่นคงอย่างเข้มงวด และที่สำคัญพบว่าเป็นการเลือกตั้งที่มีประชาชนออกมาใช้ สิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 77.27 อันเป็นการแสดงถึงความตื่นตัวทางการเมือง ของประชาชนภายหลังการปฏิวัติยึดอำนาจ และเป็นการแสดงถึงสิทธิหน้าที่ ของประชาชนที่พึงมีต่อระบอบประชาธิปไตย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ผลการเลื อ กตั้ ง ดั ง กล่ า วพบว่ า มาจากปั จ จั ย ในการสนั บ สนุ น แนว นโยบายประชานิ ย มที่ เ คยใช้ ใ นรั ฐ บาลชุ ด พ.ต.ท. ดร. ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ประชาชนจึงให้ความเชื่อมั่นในพรรคพลังประชาชนที่แสดงแนวทางในการ ต่อยอดจากนโยบายของพรรคไทยรักไทย รวมทั้งมีการสร้างกระแสแรงหนุน จากอดี ต นายกรั ฐ มนตรี จึ ง ช่ ว ยหนุ น ให้ ป ระชาชนเชื่ อ มั่ น ในพรรคพลั ง ประชาชน ทั้งที่พรรคอื่นๆ ก็มีนโยบายประชานิยมไม่แตกต่างกัน ซึ่งสะท้อน ให้ เ ห็ น วิ ธี คิ ด ของประชาชนในการเลื อ กตั้ ง ที่ เ น้ น การเลื อ กพรรคมากกว่ า

การเลือกคน

92

ในส่วนของผู้สมัคร ส.ส. หญิง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้หญิงลงสมัคร เพียง 13 คน และได้รับเลือกตั้งจำนวน 2 คน โดยแรงสนับสนุนของคะแนน เสียงไม่แตกต่างจากผู้สมัครชาย เพราะต่างได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียง เดิมของกลุ่มตนเองในพื้นที่อยู่แล้ว ด้ า นการทุ จ ริ ต หรื อ การทำผิ ด กฎหมายการเลื อ กตั้ ง พบว่ า จากการ แจ้งความหลายสิบเรื่องรวมทั้งกระแสการทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง ทั้งการ แจกเงิน หรือการซื้อสิทธิ ขายเสียงยังคงมีอยู่และมีการดำเนินการที่ซับซ้อน มากขึ้น ที่สำคัญคือการหาหลักฐานจากการกระทำผิดเป็นไปอย่างยากลำบาก


บูรณาการงานวิจัย

เพราะจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ทาง กกต. จังหวัดเชียงราย สามารถรวบรวม ข้อมูลหลักฐานที่เป็นคดีความเพียง 5 คดีเท่านั้น สถานการณ์ทางการเมืองในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะกระบวนการ มี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งของประชาชนมี ก ารเปลี่ ย นแปลงโดยไม่ ยึ ด ติ ด กั บ

การเลือกบุคคลอีกต่อไป ประชาชนมีการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมือง และสามารถเลือกพรรคและบุคคลที่เหมาะสมที่สามารถมาแก้ไขปัญหาและ พั ฒ นาสิ่ ง ที่ ป ระชาชนต้ อ งการได้ และจากการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ควรมี ก าร สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ทั้งการแสดงความ คิ ด เห็ น รวมทั้ ง กิ จ กรรมที่ จ ะพั ฒ นาระบอบการเมื อ งไทยให้ ก้ า วหน้ า ตาม วิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และส่วนที่น่าสนใจทำการศึกษาและ ส่ ง เสริ ม ต่ อ ไป คื อ ระบบการตรวจสอบหรื อ พั ฒ นากลไกในการเสนอแนะ โครงการของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการ เรี ย นรู้ ข องประชาชน กั บ การพั ฒ นาบทบาทการมี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นา ทางการเมืองและพัฒนาท้องถิ่น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

93


บูรณาการงานวิจัย

6. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดตาก ดร.ทนงศักดิ์ ยาทะเล

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

94

การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ความเคลื่ อ นไหวทางการ เมื อ งและพฤติ ก รรมการ เลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษา จั ง หวั ด ตาก” เป็ น การศึ ก ษา เชิ ง ลึ ก เกี่ ย วกั บ ความเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งในจั ง หวั ด ตาก ในช่ ว งการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรม ทางการเมื อ งของประชาชนอย่ า งลึ ก ซึ้ ง โดยใช้ ร ะเบี ย บวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต และการสัมภาษณ์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร พ.ศ. 2550 ของ จังหวัดตาก ปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงเป็นอันดับหนึ่งคือ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์ 142,068 คะแนน รองลงมาคือ นายเธียรชัย สุ ว รรณเพ็ ญ พรรคประชาธิ ปั ต ย์ 112,607 คะแนน และนายธนิ ต พล ไชยนั น ทน์ พรรคประชาธิ ปั ต ย์ 124,845 คะแนน ส่ ว นผลการเลื อ กตั้ ง ส.ส. แบบสัดส่วน พรรคการเมืองที่ได้คะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งคือ พรรค ประชาธิปัตย์ ได้คะแนนรวม 141,034 คะแนน ถึงแม้ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจะเป็นชายทั้งหมด แต่หากเทียบสัดส่วนคะแนนของผู้สมัคร


บูรณาการงานวิจัย

รับเลือกตั้งที่เป็นผู้ชายและผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นผู้หญิงของในแต่ละอำเภอ ของจังหวัดตาก พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

3. บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับ ต่างๆ มีการเตรียมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง เป็นเวลานานพอสมควร ในวันเลือกตั้ง สถานที่และวัสดุอุปกรณ์มีความพร้อม มาก รวมไปถึ ง บุ ค ลากรฝ่ า ยต่ า งๆ ด้ ว ย การประชาสั ม พั น ธ์ / ให้ ค วามรู้ เกี่ ย วกั บ การเลื อ กตั้ ง ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ เช่ น การติ ด ป้ า ยขนาดใหญ่ เ พื่ อ ประชาสัมพันธ์วันเลือกตั้งตามสถานที่ที่มองเห็นได้ง่าย การใช้รถประกาศ วิ่งประกาศตามหมู่บ้าน และมีการประชาสัมพันธ์โดยการใช้เสียงตามสายของ หมู่ บ้ า น นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารแจกใบปลิ ว ตามสถานที่ ต่ า งๆ ปั ญ หาและ อุปสรรคของการจัดการเลือกตั้ง คือ สถานที่เลือกตั้งมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดินทางมาเลือกตั้งพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และผู้สูงอายุ

ยังไม่เข้าใจวิธีการลงคะแนน การจัดทำเอกสารสำหรับแนะนำตัวผู้สมัครนั้น ประชาชนที่ อ ยู่ ใ นตั ว จั ง หวั ด จะได้ รั บ เอกสาร แต่ ที่ อ ยู่ ใ นชนบทจะไม่ ไ ด้ รั บ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2. บรรยากาศทั่วไปในการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนตามหมู่บ้าน ในเขตเลือกตั้งต่างๆ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งเป็น จำนวนมาก (ระหว่าง 9.30 - 12.30 น.) ความเข้มข้นในการแข่งขันของ ผู้สมัคร มีการแจกใบปลิวและติดป้ายขนาดต่างๆ ตามพื้นที่ชุมชนและสถานที่ ทั่ ว ไปโดยระบุ คุ ณ สมบั ติ ข องผู้ ส มั ค รและเบอร์ รวมทั้ ง มี ก ารใช้ ร ถติ ด ป้ า ย โฆษณาหาเสียง และการพบปะพูดคุยกับประชาชน การประชาสัมพันธ์ของ คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง มี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ป ระชาชนทราบถึ ง วั น เวลา สถานที่ มี ก ารติ ด เอกสารแนะนำตั ว อย่ า งการลงคะแนนในบั ต ร เลือกตัง้ ทัง้ แบบแบ่งเขต และแบบสัดส่วน แต่คอ่ นข้างจะมีการประชาสัมพันธ์ชา้ ความร่วมมือและการสนับสนุนขององค์กรเอกชน (NGOs) พบว่ามีส่วนร่วม มาก การรวมตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการทำงานร่วมกันระหว่าง ประชาชนกับภาครัฐ

95


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

เอกสาร มีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยตรวจสอบดูแลความเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา โดยปฏิบัติหน้าที่จนกระทั่งหมดเวลาลงคะแนนเลือกตั้งและการนับคะแนน เสร็จสิ้น โดยการนับคะแนนเสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 20.25 น. และมีการ เขียนคะแนนติดประกาศเพื่อให้ผู้ที่สนใจการนับคะแนนได้รับทราบผลการ เลือกตั้ง

96

4. พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยมากแล้ว เป็นมติของพรรคว่าจะให้ผู้สมัครคนใดลงสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตหรือ แบบสั ด ส่ ว น ผู้ ส มั ค รแบบแบ่ ง เขตส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น บุ ค คลที่ คุ้ น เคยกั บ ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ละพรรคมีวิธีการหาเสียงแตกต่างกัน ออกไป โดยพรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคประชาธิปัตย์ใช้การลงพื้นที่ การใช้ รถประกาศ มีการหาเสียงทุกวันนับตั้งแต่มีการประกาศวันเลือกตั้ง และยิ่งใน ช่วงใกล้ถึงวันเลือกตั้งก็ยิ่งคึกคักมากเป็นพิเศษ มีความสัมพันธ์ของผู้สมัคร รับเลือกตั้งกับข้าราชการ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการหาเสียงในพื้นที่ ราชการ มี ก ารนำนโยบายพรรคมาหาเสี ย ง ส่ ว นการสนั บ สนุ น ของ พรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองใหญ่จะได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดเล็ก เพราะมีเงินในการให้การสนับสนุนมากกว่า เพราะพรรคการเมืองใดมีการ ประชาสัมพันธ์หรือลงพื้นที่หาเสียงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ นั้ น ให้ ค วามสนใจเป็ น พิ เ ศษ ปั จ จั ย ที่ น ำมาสู่ ก ารได้ รั บ เลื อ กตั้ ง /ไม่ ไ ด้ รั บ

เลื อ กตั้ ง ของผู้ ส มั ค ร คื อ หากเคยได้ รั บ การเลื อ กตั้ ง แล้ ว แต่ ไ ม่ เ คยได้ ท ำ ผลงานใดๆ ให้แก่ประชาชนเลย มีกิริยาที่ไม่น่าเคารพนับถือ คำพูดเชื่อถือ ไม่ได้ และไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่พูดไว้ ก็จะไม่ได้รับเลือกตั้งอีก บทบาท ของหัวคะแนน มีหน้าที่คอยเชิญชวน ชักจูงให้ประชาชนหรือชาวบ้านเลือก เบอร์ที่ตนเป็นหัวคะแนนให้หรือสังกัดอยู่ให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีอยู่ในบางท้องที่ ตามแถบชนบท 5. บทบาทขององค์ ก ร/หน่ ว ยงานต่ า งๆ มี ก ารให้ ค วามรู้ แ ละ คำแนะนำแก่ประชาชนในหมู่บ้านของตนเองว่าการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง


บูรณาการงานวิจัย

มีประโยชน์อย่างไร หากไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งจะทำให้เสียสิทธิอะไรบ้าง และได้มี การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับขั้นตอนหรือวิธีการในการเลือกตั้งเพื่อให้ทราบถึง ขั้นตอนต่างๆ ในการลงคะแนน ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เข้าใจเป็น อย่างดีว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญต่อตนเองและประเทศชาติอย่างไร

7. ผู้หญิงกับการเลือกตั้ง มีผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร 3 ท่ า นจาก 2 พรรคการเมื อ ง ได้ แ ก่ คุ ณ สุ กั ล ยา โชคบำรุ ง และ คุณพรรณทิพย์ ไชยชนะ จากพรรคเพื่อแผ่น และคุณนิภา ไชยะกุล จาก พรรคประชามติ อาจสรุปในภาพรวมได้ว่าประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต่างมี ความสนใจมาใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนมาก รวมทั้งทุกภาคส่วนได้มีการตระหนักถึงความสำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้โดย ร่วมมือกันรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ออกมาใช้สิทธิของตน ทั้งนี้ ได้ มี ก ารจั ด เตรี ย มความพร้ อ มล่ ว งหน้ า ไม่ ว่ า จะเป็ น สถานที่ บั ญ ชี ร ายชื่ อ เจ้ า หน้ า ที่ และการประชาสั ม พั น ธ์ เ พื่ อ ให้ ก ารเลื อ กตั้ ง เป็ น ไปอย่ า งโปร่ ง ใส บริสุทธิ์ยุติธรรม ตามหลักของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

6. การไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน มีจำนวนมากพอสมควร จากจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองจำนวน 64,063 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 51,372 คน ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิ คือ การมีจิตสำนึกเล็งเห็นว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะทำให้กระบวนการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ ต้องการจะใช้สิทธิของตนเอง เลือกผู้สมัครที่ตนชื่นชอบและต้องการให้คะแนนเสียงของตนทำให้ผู้สมัครที่ เลื อ กนั้ น ชนะการเลื อ กตั้ ง ตามที่ ห วั ง ไว้ และไม่ ต้ อ งการถู ก ตั ด สิ ท ธิ ท าง การเมืองหากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การขายสิทธิขายเสียง ประชาชนไม่กล้า ตอบคำถามนี้ การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการติดตามตรวจสอบ ให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริต พบว่า มีการตรวจสอบกันอย่างเคร่งครัด ในการเลือกตั้งครั้งนี้

97


บูรณาการงานวิจัย

7. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนันต์ ลิขิตประเสริฐ ดร.ผยุงชาติ ยังดี

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

98

การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ความเคลื่อนไหวทางการ เมื อ งและพฤติ ก รรมการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร 2550 กรณีศึกษา จั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ ” เป็ น การ ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความเคลื่อนไหวทางการ เมืองในจังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่างลึกซึ้ง ระเบียบวิธีการศึกษาจำแนกเป็น 5 วิธีการศึกษาคือ การศึกษาเอกสารที่ เกีย่ วข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุม่ การสังเกตแบบมีสว่ นร่วม และไม่มีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจและ ความเคลื่อนไหวของประชาชนก่อนมีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ผลการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองและ การลงประชามตินั้น จากการศึกษาพบว่าประชาชนร้อยละ 68.3 ได้อ่าน รัฐธรรมนูญ ไม่ได้อ่านร้อยละ 28.9 ร้อยละ 99.8 รู้วันออกเสียงประชามติ โดยแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. (ร้อยละ 33.7) วิทยุ (ร้อยละ 20.9) มีผู้คาดว่าจะไปลงประชามติร้อยละ 89.8 ผู้ที่มีอิทธิพล


บูรณาการงานวิจัย

ผลการศึกษาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม ทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งและความเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังการ เลือกตั้ง ผลการศึกษาพบว่า บรรยากาศก่อนการเลือกตั้งมีการแข่งขันกันสูง มากขึ้ น เนื่ อ งจากเขตเลื อ กตั้ ง ใหญ่ ขึ้ น ต้ อ งใช้ ง บประมาณในการหาเสี ย ง มากขึ้น เขตเลือกตั้งมีหลายอำเภอบางเขตมีถึง 9 อำเภอ ประชาชนมีความ ตื่ น ตั ว มากกว่ า การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ใดๆ เนื่ อ งจากมี ก ารแจกซี ดี ที่ พ.ต.ท. ดร.ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร กล่ า วกระตุ้ น ให้ ป ระชาชนออกมาใช้ สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง เลื อ กพรรคพลั ง ประชาชนเพื่ อ ต่ อ ยอดโครงการต่ า งๆ ที่ พ รรคไทยรั ก ไทย ได้ทำไว้ และมีกระบวนการให้เงินก้อนผ่านกลุ่มชาวบ้าน เช่น อสม. ผ่าน กลไกของระบบราชการ อีกประการหนึ่ง มีการมาใช้สิทธิในเขตเทศบาลเมือง ที่ต้องการเห็นการเมืองแบบใหม่ นอกจากนี้ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านการส่ง หนังสือเชิญชวนให้คนไปเลือกตั้ง ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำ หมู่ บ้ า น และวิ ท ยุ ชุ ม ชน และให้ นั ก เรี ย นเดิ น รณรงค์ ใ นเขตเทศบาลให้ ประชาชนไปใช้สิทธิ ความร่วมมือและการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) มีไม่มากนัก ส่วนองค์กรเอกชนที่สังเกตการณ์เลือกตั้งมีบทบาทเพียงไปพูด คุยกับแกนนำชาวบ้าน โดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้าน และแจกเอกสารเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง ซึ่งการแพร่กระจายของข้อมูลดังกล่าวมักจะไปกองที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน และไม่ ส ามารถทำงานได้ ค รอบคลุ ม พื้ น ที่ ไ ด้ ทั้ ง หมด เพราะพื้ น ที่ บุ รี รั ม ย์

มีประมาณ 189 ตำบล

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ ก ส.ส. คนใดพรรคใดส่ ว นใหญ่ ต อบว่ า ตั ด สิ น ใจเอง รองลงมาคือคนในครอบครัวหรือเครือญาติ ผลการลงประชามติ มีผู้มาใช้ สิทธิร้อยละ 51.96 เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 53.99 ไม่เห็นชอบ ร้ อ ยละ 43.87 ผู้ เ ห็ น ชอบอยู่ เ ขตอำเภอเมื อ งและอำเภอประโคนชั ย เป็ น ส่วนใหญ่

99


บูรณาการงานวิจัย

การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง พบว่า ภาคประชา สังคม และเครือข่ายการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เดินรณรงค์ให้ ประชาชนไปออกเสียงประชามติและออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ ปราบปรามการทุจริตเลือกตั้ง เพื่อกู้ภาพลักษณ์จังหวัดบุรีรัมย์

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

การรวมตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความสัมพันธ์ ใกล้ ชิ ด กั บ ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง และนั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ใ นลั ก ษณะ ผลประโยชน์ต่างตอบแทนทั้งทางตรง เช่น การได้รับการสนับสนุนทางการ เงินช่วยเหลือเป็นกรรมการบริหาร กรรมการสภา อปท. ส่วนการช่วยเหลือ ทางอ้อมโดยการเป็นผู้รับเหมาในการรับเหมาช่วงงาน รวมทั้งงบประมาณ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด แบบ CEO ที่ ต้ อ งแบ่ ง ให้ กั บ ส.ส. เป็ น งบพั ฒ นาพื้ น ที่ ที่เป็นเขตเลือกตั้งของตนเอง

100

บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เด่นชัด คือ การประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการ รณรงค์ผ่านสถานศึกษาที่มีผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป การส่งจดหมาย เชิญชวน การเผยแพร่ เ อกสารเกี่ ย วกั บ การเลื อ กตั้ ง ผ่ า นไปรษณี ย์ และการติ ด ตาม ตรวจสอบการทุ จ ริ ต เลื อ กตั้ ง มี ห น่ ว ยหาข่ า วสื บ สวนและปราบปราม การ ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ 4.30 ชั่วโมงหลังการเลือกตั้ง เสร็ จ สิ้ น และประกาศผลอย่ า งเป็ น ทางการ 11 ชั่ ว โมงหลั ง การเลื อ กตั้ ง

เสร็จสิ้น ปัญหาอุปสรรคในการจัดการเลือกตั้ง ได้แก่ 1) การซื้อสิทธิขายเสียง มี รู ป แบบหลากหลายมากขึ้ น เช่ น การเติ ม เงิ น ให้ แ บบออนไลน์ มื อ ถื อ การจ่ า ยเงิ น ผ่ า นหั ว คะแนนก่ อ นการเลื อ กตั้ ง 2 - 3 สั ป ดาห์ การแจกเงิ น วันมาฟังการปราศรัยหาเสียง การซื้อเสียงผ่านตัวแทนชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ ที่ ไปรวมตัวกันทำงานในเขตโรงงาน ไร่กาแฟ ไร่อ้อย ลูกจ้างประมง เป็นต้น 2) การประชาสัมพันธ์เชิญชวนโดยส่งเอกสารทางไปรษณีย์ในชนบท เอกสาร ดั ง กล่ า วจะไปสิ้ น สุ ด ลงที่ บ้ า นผู้ ใ หญ่ บ้ า น ไม่ ส ามารถกระจายได้ ทั่ ว ถึ ง


บูรณาการงานวิจัย

พฤติ ก รรมทางการเมื อ งของผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ส่ ว นใหญ่ อ ยาก สมัครพรรคใหญ่ โดยเฉพาะพรรคที่มีนโยบายพรรคแบบต่อยอดประชานิยม พรรคใหญ่ ใ ห้ เ งิ น สนั บ สนุ น เขตเลื อ กตั้ ง ละ 5-10 ล้ า นบาท ส่ ว นพรรคเล็ ก ได้เงินสนับสนุนประมาณ 50,000 - 100,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน วิธีการหาเสียง มีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้มากคือ การหาเสียงผ่าน หัวคะแนน/ญาติพี่น้อง การจัดเวทีพูดคุยในเขตตำบล เขตเทศบาล การเดิน พบปะและแทรกตัวไปหาเสียงในที่ประชุม สภา อปท. การให้เงินเป็นก้อน ผ่านหน่วยงานราชการไปยังกลุ่มองค์กรชาวบ้าน เช่น อสม. วิสาหกิจชุมชน การให้สิ่งของแล้วให้หน่วยราชการชี้แจงชาวบ้านว่าได้งบประมาณหรือสิ่งของ จากผู้สมัครคนใด ซึ่งเป็นการหาเสียงอย่างต่อเนื่องก่อนมีพระราชกฤษฎีกา การเลือกตั้ง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

3) คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ทำหน้าที่อย่างจริงจัง 4) มีการขน คนไปเลือกตั้ง 5) ผู้สูงอายุไม่เข้าใจบัตรเลือกตั้งเนื่องจากมี 2 ใบ คือแบบ สั ด ส่ ว นและแบบแบ่ ง เขต 6) กระทรวงมหาดไทยตั้ ง เป้ า ให้ มี ผู้ ม าใช้ สิ ท ธิ

เลือกตั้งไว้สูง ทำให้จังหวัดไปลดยอดผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ค่าร้อยละของผู้มา ใช้สิทธิเลือกตั้งสูงขึ้น 7) ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการ เลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อเสียง เพราะไม่แน่ใจว่าจะเอาผิดกับคนที่ กระทำผิดการเลือกตั้งได้ 8) ความเกรงกลัวอิทธิพลทางการเมือง ข้าราชการ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง จึงไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา 9) สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม บางคนมีส่วนช่วยเหลือผู้สมัครเลือกตั้ง เนื่องจากผลประโยชน์จะได้จากโครงการต่างๆ ของจังหวัดและโครงการของ นักการเมือง 10) การนำมวลชน (โดยหลอกว่ามาถวายความจงรักภักดีแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ) มากดดัน กกต. จังหวัดให้ ลาออก เพราะตัดสินให้ใบแดงในเขตเลือกตั้งที่ 1 แต่มวลชนที่เดินขบวนเป็น ชาวบ้านที่อยู่คนละเขตเลือกตั้งกับเขตที่ได้รับใบแดง

101


บูรณาการงานวิจัย

ความสั ม พั น ธ์ ข องผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง กั บ ภาคส่ ว นต่ า งๆ พบว่ า ผู้ ส มั ค ร ส.ส. มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ข้ า ราชการที่ เ ป็ น หั ว หน้ า ส่ ว นราชการ ทั้งหน่วยราชการที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนและหน่วยราชการที่มีหน้าที่ บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล นอกจากนี้ ผู้สมัคร ส.ส. ยังมี ความสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่น (ผู้บริหาร อปท.) อย่างใกล้ชิด มีการ สนับสนุนเงินให้แก่นักการเมืองท้องถิ่นในการหาเสียงเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การตัดงบประมาณการพัฒนาผ่านหน่วยงานราชการและ อบจ. มาลงในเขต พื้นที่รับผิดชอบของ อบต. และเทศบาล การจัดสรรงบประมาณลงหมู่บ้าน ที่ อบต. เทศบาลนั้นๆ รับผิดชอบ โดยมีพันธะสัญญาว่าเป็นงบประมาณที ่

ผู้สมัคร ส.ส. ให้การสนับสนุน การขอเครื่องจักรกลจาก อบจ. ไปลงพัฒนา พื้นที่ที่เป็นเขตเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส. ซึ่งเป็นการหาเสียงอย่างต่อเนื่อง ก่อนมีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ความสั ม พั น ธ์ ข องผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง กั บ นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ

ผู้ ส มั ค ร ส.ส. มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ใ นลั ก ษณะเป็ น กลุ่มก๊วน โดยผู้สมัคร ส.ส. ส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมา และได้ประโยชน์จาก การรับเหมาก่อสร้าง

102

ปัจจัยที่นำไปสู่การได้รับการเลือกตั้ง คือ ปัจจัยเรื่องเงิน ปัจจัยด้าน นโยบายประชานิยมของพรรคที่ให้เงินอุดหนุนกับชาวบ้านในทุกๆ เรื่อง และ บุ ค ลิ ก ส่ ว นตั ว ของผู้ ส มั ค ร ส.ส. ที่ เ ป็ น คนไม่ ถื อ ตั ว เป็ น กั น เอง เข้ า ใจ วัฒนธรรมของชาวบ้าน บุคลิกถึงลูกถึงคน การมีหัวคะแนน 10 - 15 คนใน ทุ ก หมู่ บ้ า น และการมี เ ครื อ ข่ า ยทั้ ง ที่ เ ป็ น ข้ า ราชการ นั ก ธุ ร กิ จ ผู้ รั บ เหมา สื่อมวลชน หัวคะแนน ผู้บริหาร และสภา อปท. ฯลฯ เป็นลักษณะทั้งเป็น ผู้ให้และผู้รับ (win–win relationship) แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ประชาชน ชาวบุรีรัมย์ไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 67.94 ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนไปใช้สิทธิ เลือกตั้งเพราะ 1) เกรงว่าจะผิดกฎหมายและถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง 2) เพื่อ


บูรณาการงานวิจัย

ตอบแทนบุ ญ คุ ณ 3) ชื่ น ชอบนโยบายประชานิ ย ม 4) เพื่ อ ป้ อ งกั น ผู้ ม า แอบอ้างใช้สิทธิแทนตน และ 5) ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์

- ด้ า นการรณรงค์ ป ระชาสั ม พั น ธ์ การให้ ค วามรู้ แ ก่ ป ระชาชน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และกระบวนการชักชวนให้ประชาชนมาใช้ สิทธิเลือกตั้ง พบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับรายละเอียดดังกล่าว ไม่ครบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ไม่ค่อยมีโอกาสรู้ ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้ง

- ด้านการจัดการเลือกตั้ง พบว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ควรมีระยะ เวลาเพียงวันเดียว จำนวนหน่วยเลือกตั้งไม่ควรกำหนดหน่วยละ 800 คน/หน่วย เพื่อความสะดวกในการมาใช้สิทธิ

- ด้ า นการทุ จ ริ ต เลื อ กตั้ ง มี ก ารสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง พรรคการเมือง นักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติ กับสื่อมวลชนท้องถิ่น นักธุรกิจท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดย ช่วยเหลือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันในระบบอุปถัมภ์ จนทำให้ ส.ส. ได้ รั บ ชั ย ชนะจากการเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง เป็ น ที่ ย อมรั บ ว่ า การ เลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่มีการทุจริตเลือกตั้ง และมีการซื้อเสียงโดยหัวคะแนนมีบทบาทสำคัญ เป็นเครือข่าย กลุ่มผลประโยชน์ทั้งทางอ้อม (ได้รับโครงการก่อสร้างโครงการ พั ฒ นาหมู่ บ้ า น ฯลฯ) และผลประโยชน์ ท างตรงได้ รั บ เงิ น จาก ผู้ ส มั ค ร ส.ส. ในช่ ว งเลื อ กตั้ ง และได้ รั บ การสนั บ สนุ น อย่ า ง ต่อเนื่องภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น

- ด้ า นการร้ อ งเรี ย น การตรวจสอบผลการร้ อ งเรี ย น และการ ตัดสินเรื่องราวที่ร้องเรียน จังหวัดบุรีรัมย์มีการร้องเรียนทั้งแบบ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ปัญหา/อุปสรรคที่พบจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2550 สรุปได้ดังนี้

103


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

เป็นทางการ โดยการส่งหนังสือร้องเรียน กกต. มาจังหวัดถึง 22 สำนวน ซึ่งยังไม่รับการร้องเรียนอย่างเป็นทางการ รวมทั้งการ เดิ น ขบวนมากดดั น กกต. เขต และ กกต. จั ง หวั ด หลายครั้ ง เมือ่ กกต. จังหวัดส่งผลสำนวนการร้องเรียนและข้อวินจิ ฉัยเบือ้ งต้น ไปให้ กกต. กลางทราบเรื่ อ งกลั บ เงี ย บหายไม่ เ ป็ น ข่ า ว และ ไม่ วิ นิ จ ฉั ย ตั ด สิ น เรื่ อ งราวที่ ร้ อ งเรี ย น โดยยั ง ติ ด อยู่ ที่ ขั้ น ตอน การพิ จ ารณาของ กกต. กลางและคำพิ พ ากษาของศาล ซึ่งกระบวนการพิจารณาค่อนข้างล่าช้า

104

แนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หาอุ ป สรรคที่ พ บจากการเลื อ กตั้ ง สามารถ ประมวลแนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หาอุ ป สรรคจากการเลื อ กตั้ ง ต่ อ ไปนี้ คื อ 1) บัญชีเลือกตั้ง ควรยกเลิกจัดทำบัญชีเลือกตั้งโดยกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้ ประชาชน โดยให้ประชาชนที่มีสิทธิเลือกหน่วยเลือกตั้งใดก็ได้ เพียงแสดง บั ต รประจำตั ว ประชาชนและหลั ก ฐาน โดยทุ ก หน่ ว ยเลื อ กตั้ ง มี ก ารถ่ า ย เอกสารเก็ บ ไว้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น การขนคนมาลงคะแนน และป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ หั ว คะแนนสามารถประเมิ น ผลคะแนนที่ ต้ อ งการ 2) ระยะเวลาในการ เลือกตั้งไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียว เพื่อไม่จำเป็นต้องเตรียมเครื่องปั่นไฟ และ เงื่อนไขต่างๆ 3) มีหน่วยเคลื่อนที่นำรถมารับบริการการเลือกตั้ง 4) ระบบ บัตรเลือกตั้งควรใช้การ์ดแข็ง และระบบหมายเลขซึ่งต้องพัฒนาคู่กับระบบ พรรคการเมือง คือทุกพรรคการเมืองต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ครบทุกเขต และใช้หมายเลขเดียวกันทุกเขตเลือกตั้ง 5) การแก้ไขปัญหาการซื้อเสียง เลือกตั้งที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เน้นที่ การให้ความรู้แก่ผู้นำศาสนา ให้ความรู้แก่ทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 16 ปี ขึ้ น ไป โดยบรรจุ เ นื้ อ หาเรื่ อ งระบบพรรคการเมื อ ง กลุ่ ม ผลประโยชน์ ท าง การเมื อ ง การซื้ อ เสี ย งเลื อ กตั้ ง และผลเสี ย จากการขายสิ ท ธิ ข ายเสี ย งใน หลักสูตรการศึกษา 6) การสร้างความโปร่งใส่ในการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์และ ยุติธรรม ควรย้ายข้าราชการที่ถูกการเมืองครอบงำออกนอกพื้นที่ 7) ควรมี หน่วยงานที่เป็นกลางทางการเมืองที่ไม่ใช่องค์กรของราชการ คณะกรรมการ


บูรณาการงานวิจัย

ประจำหน่วยเลือกตั้งควรเป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่เป็นกลางทำหน้าที่ใน การควบคุมการเลือกตั้ง การติดตามตรวจสอบ สืบสวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ และยุติธรรม 8) สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการเลือกตั้งทุกขั้นตอนตั้งแต่การรณรงค์ให้เข้าใจการเมืองระบอบ ประชาธิปไตย บทบาทหน้าที่ของ ส.ส. การควบคุม ติดตามตรวจสอบการ เลือกตั้ง เป็นต้น 9) สร้างเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน พันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย องค์กรรักบ้านเกิด องค์กรการเมืองใสสะอาด ฯลฯ ที่สร้าง สำนึก การพัฒนาการเมืองภาคประชาชน และ 10) สื่อมวลชนโดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง วิ ท ยุ ชุ ม ชนควรเปิ ด โอกาสให้ มี ก ารเผยแพร่ ร ณรงค์ ป ระชาธิ ป ไตย ความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่รณรงค์เฉพาะช่วงฤดูการ เลือกตั้งเท่านั้น

1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเลือกตั้งทุกภาค ส่ ว น ควรมี ก ารจั ด การให้ ค วามรู้ แ ก่ ผู้ บ ริ ห ารและสภาหน่ ว ยงานองค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ นักธุรกิจท้องถิ่น ภาค ประชาสังคมจังหวัด ให้มีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรอย่างแท้จริง ซึ่งต้องเน้นเรื่องจริยธรรม คุณธรรมทางการเมือง ธรรมาภิบาล โดยการสัมมนาอบรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดเวทีชาวบ้าน เวที ประชาคม และควรส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาคมหมู่ บ้ า น สภาผู้ น ำองค์ ก รชุ ม ชน มีความเข้มแข็ง โดยให้ความรู้ด้านการเมืองและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ทางการเมืองเข้าไปในวิถีชีวิตชุมชนและกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ของชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2) ตรวจสอบงบอุ ด หนุ น ขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รวมถึ ง งบพัฒนาจังหวัด และงบประมาณของหน่วยราชการที่นำมาพัฒนาในพื้นที่ จังหวัด และโครงการขนาดใหญ่ว่ามีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร และควร พิจารณางบพัฒนาที่ส่งเสริมความรู้ ความเท่าทันการเมืองให้กับชุมชน โดย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

105


บูรณาการงานวิจัย

เน้นความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน สภาผู้นำชุมชน โดยสื่อมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ควรมีส่วนร่วมในการพิจารณาโครงการต่างๆ ดังกล่าว ตั้งแต่การเสนอโครงการ ร่วมวิเคราะห์ผลดี ผลเสียของโครงการ การดำเนิน งานโครงการ การติดตามประเมินผล และตรวจสอบโครงการอย่างต่อเนื่อง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

3) ในส่วน กกต. ควรมีมาตรการและระบบกลไก เครือข่ายองค์กร ชุมชนในการตรวจสอบ ศึกษาหาข้อมูล หลักฐานต่างๆ ให้เท่าทันการซื้อเสียง ในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ควรเพียงแค่พิจารณาจากเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ส่งมาพิจารณาจากข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งเท่านั้น และ กกต. ควรเสริ ม ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ องค์ ก รชุ ม ชนภาคประชาสั ง คม การเมื อ ง ภาคพลเมือง องค์กรสาธารณกุศลเพื่อตรวจสอบการดำเนินงาน ตรวจสอบ หลั ก ฐานและข้ อ ร้ อ งเรี ย นให้ เ ป็ น ไปอย่ า งบริ สุ ท ธิ์ ยุ ติ ธ รรม เพราะลำพั ง เจ้าหน้าที่ของ กกต. ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานให้เข้าถึงชุมชนเป็นพันๆ หมู่บ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงาน ที่เป็นอิสระ และองค์กรพัฒนาเอกชนควรให้งบพัฒนาแก่องค์กรภาคประชา สังคม และให้งบวิจัยและพัฒนาแก่การเมืองภาคประชาชนอย่างจริงจังและ ต่อเนื่อง เพราะการเลือกตั้งเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทน แต่ภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ อย่างแท้จริง เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบการบริหารหลังการเลือกตั้ง

106

ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค ควรให้ ป ระชาชนเข้ า ร่ ว มฟั ง การพิ จ ารณาโครงการ งบประมาณรายจ่ า ย เงินอุดหนุน เงินกู้ ฯลฯ การดำเนินงานโครงการพัฒนาและรายงานผลการ ดำเนินงานแก่ตัวแทนประชาชนทราบ ซึ่งอาจเป็นภาคประชาสังคม (ตัวจริง) สภาองค์กรชุมชน (ตัวจริง) นักวิชาการท้องถิ่น ซึ่งเป็นการติดตามตรวจสอบ โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและการพัฒนาท้องถิ่น และควรให้สภา ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคมได้เสนอความต้องการของชุมชน และควรคำนึง โครงการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ควรเน้นโครงการก่อสร้าง


บูรณาการงานวิจัย

รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้สภาองค์กรชุมชน ภาคประชา สังคมได้มีส่วนร่วมการคัดเลือกบุคคลทำงานในหน่วยงานของ อปท. การจัด ซื้อจัดจ้างของ อบต. เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใสหรือมีธรรมาภิบาล และ โครงการทุกโครงการควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านสังคมและ ด้านกายภาพด้วย ข้อเสนอแนะต่อองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชน ควรมี กลไกเข้าไปร่วมพิจารณางบประมาณการเสนอโครงการ การติดตามผลการ ดำเนินงาน การตรวจสอบผลการดำเนินงาน การรับทราบผลการดำเนินงาน รวมทั้งมีกลไกวิธีการตรวจสอบการเลือกตั้งซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทุจริต และมีผลต่อการถอนทุนคืนของ ส.ส. ที่ใช้เงินในการซื้อเสียงเลือกตั้ง

ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองและนักการเมือง ควรส่งเสริมการ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร พัฒนาชาวบ้านให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ส. บทบาท หน้าที่ของรัฐบาล มีเครือข่ายกิจกรรมทางการเมืองในการศึกษาความรู้ใน ระบอบประชาธิ ป ไตย จริ ย ธรรม คุ ณ ธรรมทางการเมื อ งและบทบาทของ การเมืองภาคพลเมืองอย่างต่อเนื่องแก่ประชาชนในพื้นที่

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ข้อเสนอแนะต่อสื่อมวลชน ควรเสนอข่าวและให้ความรู้แก่ประชาชน ไม่ใช่รายงานข่าวเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนรับทราบนโยบายการดำเนินงาน เท่านั้น ควรให้ประชาชนได้ทราบถึงผลการเลือกตั้งและผลการปฏิบัติงานของ ส.ส. และรัฐบาล ประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อประเทศ และชุมชน โดยการเสนอข่าวอย่างเกาะติดและต่อเนื่อง เพราะพบเสมอว่า สื่อมวลชนมักจะเล่นข่าวตามช่วงเวลาไม่ได้ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผล ให้ผู้ทำผิดหรือทุจริต ยืดเวลาหรือเบี่ยงเบนข่าวไปเรื่องอื่นๆ ทำให้ผู้คนใน สังคมลืมข่าวเดิมซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ

107


บูรณาการงานวิจัย

8. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดขอนแก่น อาจารย์สมพันธ์ เตชะอธิก

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

108

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความ เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและ พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษา จังหวัดขอนแก่น” เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การออกเสี ย งประชามติ และความ เคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดขอนแก่น ในช่ ว งการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่ อ ความเข้ า ใจถึ ง พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่าง ลึ ก ซึ้ ง โดยใช้ ร ะเบี ย บวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ทำการเก็ บ ข้ อ มู ล โดยศึ ก ษาเอกสารที่ เกี่ ย วข้ อ ง การสั ง เกต และการสั ม ภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงการลงประชามติ พฤติกรรมทางการเมือง มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ตนเรียกร้องและอุดมการณ์ ทางการเมื อ งแต่ ล ะกลุ่ ม โดยสิ่ ง ที่ แ สดงออกดั ง กล่ า วมี ภู มิ ห ลั ง มาจาก สถานภาพทางสังคม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางการเมือง และผลประโยชน์ กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายต่างๆ ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการบรรจุกฎหมายที่เอื้อ


บูรณาการงานวิจัย

ประโยชน์ต่อกลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายของตน ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวมีการนิยาม ถึงกลุ่มประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก การ เรี ย กร้ อ งดั ง กล่ า วมั ก มาจากประเด็ น ที่ ก ลุ่ ม /องค์ ก ร/เครื อ ข่ า ย เหล่ า นั้ น ขั บ เคลื่ อ นอยู่ ต่ อ มา เมื่ อ ทราบผลการลงประชามติ ว่ า มี ก ารรั บ ร่ า ง รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 การเคลื่อนไหวของกลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย ต่างๆ ลดลง และมุ่งประเด็นความสนใจไปกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

การประชาสั ม พั น ธ์ ข องคณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง มี ก าร ประชาสั ม พั น ธ์ รณรงค์ ใ ห้ ป ระชาชนไปใช้ สิ ท ธิ ผ่ า นสื่ อ ต่ า งๆ มี ก ารจั ด เวที ประชาพิ จ ารณ์ โ ดยเชิ ญ ตั ว แทนภาครั ฐ เอกชน ประชาชนเข้ า ร่ ว มประชา พิจารณ์การแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดขอนแก่น ช่วงการแข่งขันของผู้สมัครเลือกตั้ง ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นไม่ได้ ยึดติดกับการเลือกตัวบุคคล แต่ให้น้ำหนักไปกับพรรคการเมืองและผู้บริหาร พรรค รวมถึ ง ลั ก ษณะความเป็ น ตั ว แทนของขั้ ว อำนาจฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง ที่สามารถให้ผลประโยชน์กับตนได้ ส่วนแรงจูงใจอื่นในการออกไปใช้สิทธิของ ประชาชน คือความต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในวันลงคะแนน การใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขต จังหวัดขอนแก่น จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น มีทั้งสิ้น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ในช่วงการเลือกตั้ง บรรยากาศทั่วไปในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎร พ.ศ. 2550 ในจั ง หวั ด ขอนแก่ น ความเข้ ม ข้ น ในการ แข่งขันของผู้สมัคร การแข่งขันมีความเข้มข้นสูง เนื่องจากจังหวัดขอนแก่น

มี ส.ส. ถึง 11 คน มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 140 คน เป็นชาย 117 คน เป็น หญิ ง 23 คน เหตุ ผ ลในการสั ง กั ด พรรคการเมื อ งของผู้ รั บ สมั ค รเลื อ กตั้ ง มีการให้ความสำคัญกับนโยบายของพรรคการเมือง หัวหน้าพรรค ลักษณะ เฉพาะของพรรคการเมืองซึ่งได้แก่ ความเก่าแก่ของพรรค ประวัติความเป็น มาและอุดมการณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาถึงฐานเสียงของ พรรคและระบบสนับสนุน

109


บูรณาการงานวิจัย

1,275,709 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 906,043 คน (ร้อยละ 71.02) มีบัตร เสีย 15,573 บัตร (ร้อยละ 1.72) และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 32,811 บัตร (ร้อยละ 3.62) ผลการนับคะแนนในจังหวัดขอนแก่นปรากฏว่า จาก 4 เขตเลือกตั้ง ซึ่ ง มี ผู้ แ ทนได้ 11 คน (เขต 1-3 เขตละ 3 คน เขต 4 มี ผู้ แ ทนได้ 1 คน) ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งทุกเขตทั้ง 11 ที่นั่ง สำหรับผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยภูมิ และขอนแก่น จำนวนประชากรในกลุ่มจังหวัดรวม 7,897,563 คน ผลการเลือกตั้งแบบสัดส่วนปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้ ส.ส. จำนวน 5 คน (1,717,141 คะแนน) พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ด้ ส.ส. จำนวน 3 คน (1,251,995 คะแนน) พรรคเพื่อแผ่นดินได้ ส.ส. 1 คน (237,357 คะแนน) และพรรคชาติไทยได้ ส.ส. 1 คน (188,473 คะแนน)

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ผลการเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น พรรคพลังประชาชน ประสบความ สำเร็จในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ผลสำเร็จเกิดจากกระแสทักษิณ ที่ได้รับ ความนิยมอย่างมากในภาคอีสาน

110

พรรคพลังประชาชนประสบความสำเร็จมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ในระบบแบ่งเขตทั้ง 11 คน และได้รับเลือกในระบบ สัดส่วน 5 คนจาก 10 คน เมื่อวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งพบว่าปัจจัยที่ทำให้ พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกคือ 1. กระแสพรรคพลังประชาชนที่มีมาต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทย มีนโยบายประชานิยมที่ประชาชนโดยเฉพาะในชนบทชื่นชอบ 2. กระแสการหาเสียงโดยใช้ความนิยมในตัว พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชิ น วั ต ร ในการหาเสี ย งของพรรคพลั ง ประชาชน มี ก ารประกาศว่ า จะพา


บูรณาการงานวิจัย

พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาประเทศไทย รวมถึงการลงพื้นที่หาเสียง ของนายพานทองแท้ ชิ น วั ต ร เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ยื น ยั น ความเป็ น ตั ว แทนของ พรรคไทยรักไทยและ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร 3. ผู้ลงสมัครของพรรคประชาชนส่วนใหญ่มีพ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง สามี มีผลงานทางการเมือง และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับพรรคไทยรักไทย ที่เคยได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนอย่างมาก

สำหรั บ ข้ อ เสนอแนะจากการศึ ก ษา ทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งควรเสริ ม กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกลไกต่างๆ ให้ประชาชนได้มีส่วน ในการพัฒนากลไก เครื่องมือ และใช้อำนาจตรวจสอบในกระบวนการเลือก ตั้งตลอดจนกระบวนการต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยพรรคการเมือง ควรเป็นแกนนำสำคัญในการจัดกิจกรรมทางการเมืองในลักษณะให้ความรู้กับ ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการนำเสนอ ข่าวและการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของชาติ ประชาชน ที่ได้รับจากนโยบาย สื่อควรนำเสนอและรณรงค์ในเชิงการให้ความรู้ ให้การศึกษาว่าการเลือกตั้ง เป็นกระบวนการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่จุดสิ้นสุดบทบาทของ ประชาชน ประชาชนยังมีบทบาทในการเข้าไปตรวจสอบ เสนอแนวทางการ ดำเนินงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สำหรั บ ประชาชนควรติ ด ตามข้ อ มู ล ข่ า วสารจากสื่ อ มวลชนอย่ า ง สม่ำเสมอ วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย และทางเลือกที่ดีในด้านนโยบาย สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนมากกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าเฉพาะตนเอง ประชาชนต้องคำนึงถึงและช่วยกันสร้างจิตสำนึกที่คำนึงถึงผลประโยชน์ชาติ มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงระบบอุปถัมภ์ที่ตนพึ่งพิงอยู่ อย่างเดียว

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

4. ระบบพรรค และหัวคะแนน ที่มีการอุปถัมภ์ และมีความสัมพันธ์ กับประชาชนในพื้นที่มายาวนาน

111


บูรณาการงานวิจัย

9. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดพัทลุง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

112

อาจารย์วีระ แสงเพชร

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 กรณีศึกษาจังหวัดพัทลุง” เป็ น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การออกเสี ย งประชามติ และความเคลื่ อ นไหวทาง การเมืองในจังหวัดพัทลุง ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนอย่างลึกซึ้ง โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า บรรยากาศการลงประชามติ ใ นจั ง หวั ด พั ท ลุ ง ไม่ คึ ก คั ก ประชาชน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อย คนพัทลุงส่วนใหญ่ยังเชื่อว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ กระทบกับตนเอง และยังเชื่อว่าไม่มีโอกาสได้ใช้รัฐธรรมนูญ มากเท่ากลุ่ม นั ก การเมื อ ง ข้ า ราชการ และคนที่ ต้ อ งทำงานติ ด ต่ อ กั บ ภาครั ฐ เท่ า นั้ น คนธรรมดาโดยทั่วไปมีโอกาสได้ใช้รัฐธรรมนูญน้อยมาก


บูรณาการงานวิจัย

การทำประชาพิจารณ์รัฐธรรมนูญจะมีการพูดในประเด็นของสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในประเด็นต่างๆ เช่น วุฒิการศึกษา จำนวนที่ได้มา เป็นต้น ในเรื่องอื่นๆ ที่ใกล้ตัว เช่น เรื่องทรัพยากร ไม่มีใคร พูดถึง ทั้งที่จังหวัดพัทลุงก็มีปัญหาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ใช่น้อย การจั ด เวที ข องภาคประชาชนร่ ว มกั บ สำนั ก งานคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดพัทลุงได้ลงไปจัดเวทีในระดับตำบลและหมู่บ้าน โดยแบ่งโซนภูเขา ที่ราบและพื้นที่ใกล้ทะเลสาบ พื้นที่โซนภูเขาซึ่งเดิมเป็นเขต การเคลื่ อ นไหวของพรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ แ ห่ ง ประเทศไทย กลุ่ ม คนจะเข้ า ใจ เนื้อหาและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ส่วนชาวบ้านในโซนที่ราบ ที่เป็นพื้นที่เขตเมืองและชาวบ้านในพื้นที่ใกล้ทะเลสาบจะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และปรับตัวเองไปตามกระแสที่จะเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวก เพราะ ปัจจุบันไม่สามารถพึ่งตนเองได้เหมือนคนรอบทะเลสาบสมัยอดีตที่ไม่ต้องรอ หน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาช่วยเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เป็นเวลา แรมเดือนในช่วงฤดูฝน

จังหวัดพัทลุงมีผู้รับร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 233,866 เสียง (ร้อยละ 64.24) และไม่รับ 21,156 เสียง (ร้อยละ 9.05) มีบัตรเสีย 3,383 บัตร เหตุผลสำคัญที่ทำให้ภาคใต้และจังหวัดพัทลุงลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะพรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกโรงสนับสนุนให้ มีการรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงทำให้เกิดกระแสยอมรับมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เป็นปัญหาและควรปรับปรุงในการลงประชามติครั้งต่อไป 1. ควรจัดส่งเอกสารให้ถึงผู้รับให้เร็วกว่าเดิม หากทำไม่ได้ควรขยาย เวลา

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ผลการลงประชามติทั้งประเทศเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลคือ มีผู้มาลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 14,727,306 เสียง และไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10,747,441 เสียง

113


บูรณาการงานวิจัย

2. ควรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะลงประชามติหรือจะเป็นเรื่องที่ต้อง ประชาพิจารณ์ให้คนเข้าใจจนพอที่จะตัดสินได้ว่าเขาควรจะเลือกทางใดบน พื้ น ฐานของประโยชน์ ส่ ว นรวม และควรพิ จ ารณาว่ า จะใช้ ภ าครั ฐ หรื อ ภาค ประชาชนตามความเหมาะสมของจังหวัดนั้นๆ แต่จังหวัดที่มีภาคประชาชน เข็มแข็งควรให้ภาคประชาชนเป็นผู้จัดเวทีเรียนรู้จะดีกว่า เพราะการแลก เปลี่ยนจะเป็นกันเองและราบรื่นดีกว่า 3. การเลื อ กเวลาการให้ ค วามรู้ ข องภาครั ฐ ยั ง ไม่ เ หมาะสม เช่ น รายการรัฐสภาพบประชาชนจัดช่วง 10 โมงเช้า ซึ่งคนภาคใต้กรีดยางยังไม่ เสร็ จ ภารกิ จ จึ ง ควรใช้ เ วลาช่ ว งบ่ า ยหรื อ ช่ ว งค่ ำ หรื อ ควรใช้ วิ ท ยุ ชุ ม ชนใน จั ง หวั ด นั้ น ๆ หรื อ ให้ ผู้ จั ด รายการที่ มี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ผู้ ช่ ว ยนำเสนอในรู ป แบบ บทความสั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการฟังและเข้าใจได้ง่าย และหากใช้ภาษาถิ่นยิ่ง ทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น มิติใหม่ที่เกิดขึ้นกับรัฐธรรมนูญปี 2550 1. จัดให้มีการลงประชามติซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของไทย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2. มี ก ลุ่ ม คนสองฝ่ า ยชั ด เจนคื อ ฝ่ า ยหาเสี ย งให้ รั บ ร่ า งฯ กั บ ฝ่ า ยที ่

หาเสียงให้ไม่รับร่างฯ

114

3. อนุญาตให้สามารถขนคนไปลงประชามติได้ 4. การจัดเวทีให้ฝ่ายที่เห็นด้วยกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยได้มานำเสนอ เหตุ ผ ลอย่ า งเปิ ด เผยและมี ก ารถ่ า ยทอดสดให้ ป ระชาชนทั่ ว ประเทศได้ ฟั ง แต่ระยะเวลาในการจัดอาจจะน้อยเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นที่จังหวัดพัทลุงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ มีกลุ่มคนที่ประกาศตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะได้ช่วยกันจัดเวทีเรียนรู้ เรื่ อ งรั ฐ ธรรมนู ญ ให้ กั บ ประชาชนถึ ง 8 อำเภอ ในจำนวน 11 อำเภอของ


บูรณาการงานวิจัย

จังหวัดพัทลุง บุคคลเหล่านี้ประกอบด้วยบุคลากรจากภาครัฐ เช่น กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) กลุ่มคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดเวทีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ และเป็นผู้ที่มีความสนิทสนมกับคนในพื้นที่ การใช้ภาษาสื่อความก็ใช้ภาษาถิ่น ใต้ซึ่งสามารถสื่อสารกับผู้เข้าร่วมได้เป็นอย่างดี ความคาดหวังของชาวพัทลุงที่มีต่อรัฐธรรมนูญ 1. ประเด็ น สิ ท ธิ เ สรี ภ าพ ต้ อ งการให้ ส ามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง ทั้ ง ใน ระดับบุคคลและชุมชน ให้รัฐสร้างกลไกและกระบวนการที่ประชาชนเข้าถึง สิทธิได้ง่ายและรวดเร็ว 2. แนวนโยบายแห่งรัฐ ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รัฐต้องจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ตามสิทธิอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

ถ้ า เราสามารถทำให้ ป ระชาชนส่ ว นใหญ่ ข องประเทศมี ค วามรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของรัฐธรรมนูญว่าเป็นยาหม้อใหญ่ที่แก้ สรรพโรคได้จริงและสามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นจริงย่อมทำให้ เห็นคุณค่าและคงไม่ยอมให้ใครมาทำการปฏิวัติเพื่อฉีกรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง ปี 2550 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 นักการเมืองเตรียมตัวลง สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนต่างเตรียมพร้อมว่าจะต้องไปพบใครใน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

3. ประเด็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญ ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ของ จังหวัดพัทลุงยังมีความรู้ความเข้าใจน้อยหรือยังไม่เข้าใจเลย จึงควรให้การ เผยแพร่และสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างเพียงพอเพื่อสามารถให้ใช้ วิจารณญาณในการลงประชามติได้อย่างเหมาะสมในโอกาสต่อไป

115


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

พื้ น ที่ นั้ น ๆ เพื่ อ จะทำให้ ต นเองได้ ค ะแนนเสี ย ง จั ง หวั ด พั ท ลุ ง มี ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง จำนวน 30 คน จาก 10 พรรคการเมื อ ง พรรคการเมื อ งที่ เ ป็ น ที่ จับตามองของคนจังหวัดพัทลุงอันดับ 1 คือพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 คือ พรรคพลังประชาชน อันดับ 3 คือพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่วนพรรคอื่นๆ คง ไม่ใช่คู่แข่งทางการเมือง พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ถือได้ว่ามีคะแนนนิยม ดีที่สุดเพราะชนะเลือกตั้งหลายสมัย และมีคะแนนนิยมนำคู่แข่งขาดลอยทุก ครั้ง การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ชนะขาดและยึดที่นั่ง ในสภาได้ ทั้ ง 3 ที่ นั่ ง คื อ นายนิ พิ ฏ ฐ์ อิ น ทรสมบั ติ ได้ ค ะแนน 202,630 คะแนน นางสาวสุพชั รี ธรรมเพชร 196,068 คะแนน และนายนริศ ขำนุรกั ษ์ 194,494 คะแนน ส่วนพรรคคู่แข่งที่สำคัญได้คะแนนเพียงหลักหมื่น และ พรรคการเมืองขนาดเล็กนั้นได้คะแนนเพียงหลักพันและหลักร้อยเท่านั้น

116

การหาเสียงของแต่ละพรรคจะมีหัวคะแนนใหญ่ในพื้นที่คอยเป็นกำลัง สำคัญโดยการหาพรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นเครือข่ายในการเชื่อมต่อกับคนใน ชุมชน ผู้สมัครโดยเฉพาะของจังหวัดพัทลุงต้องใช้วิธีการหาเสียงแบบวิธีการ ตามวัฒนธรรมของคนภาคใต้สมัยโบราณคือ การผูกดองผูกเกลอไว้ทั้งจังหวัด พั ท ลุ ง การมี ญ าติ พี่ น้ อ งจำนวนมากอยู่ ใ นพื้ น ที่ ต่ า งถิ่ น และได้ แ ต่ ง งานกั บ

คนต่างถิ่น เครือข่ายในการหาเสียงจะยิ่งขยายวงกว้าง ที่สำคัญคือเครือข่าย จะให้การช่วยเหลืออย่างจริงจัง แม้กระทั่งคอยหุงหาอาหารให้คนที่ไปหาเสียง และภรรยาผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ต้ อ งมี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ กลุ่ ม แม่ บ้ า นใน ชุมชนต่างๆ และมีการไปร่วมงานกับกลุ่มเป็นระยะ วิธีการดังกล่าวยังใช้ได้ดี มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นักการเมืองยังต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่ม การเมืองท้องถิ่น ทั้งที่เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาชิก องค์การบริหารส่วนตำบล และนักการเมืองจะต้องไปร่วมงานกับชุมชนโดย เฉพาะงานศพ ผู้สมัครพรรคอื่นๆ มักจะเสียเปรียบเพราะจะทำกิจกรรมใน ช่วงการหาเสียงเท่านั้น ส่วนผู้ที่เป็น ส.ส. ยังปฏิบัติตนได้เหมือนเดิม เพราะ มีปัจจัยด้านเงินทุนดีกว่า


บูรณาการงานวิจัย

ความสำเร็จของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งในจังหวัดพัทลุง 1. คนพั ท ลุ ง เชื่ อ มั่ น ในพรรคประชาธิ ปั ต ย์ เ พราะเป็ น พรรคเก่ า แก่ มาตั้งแต่อดีต หรือจะเรียกว่าเป็นพรรครุ่นแรกก็ว่าได้ 2. พรรคประชาธิ ปั ต ย์ เ ป็ น พรรคที่ มี โ ครงสร้ า งทางการเมื อ งที่ ทุ ก คนในพรรคสามารถเติบโตเป็นหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริการพรรคได้ ตามความสามารถของตน ซึ่งพรรคอื่นไม่มี

4. การหาเสียงของขุนพลพรรคประชาธิปัตย์ ใช้วิธีการหาเสียงแบบ ศิลปินพื้นบ้านของภาคใต้คือมีการนำเสนอเนื้อหาและการพูดตลกโปกฮาตาม แบบฉบับ นักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์มีลีลาการพูดดีทุกคนและมี การนำเสนอที่ถูกใจคนใต้ และพรรคจะนำขุนพลที่เป็นที่ชื่นชอบของคนภาคใต้ ลงไปช่วยลูกพรรคในการปราศรัยใหญ่ ในทุกจังหวัดจึงเห็นภาพคนมาฟังการ ปราศรัยใหญ่กันเป็นจำนวนมาก เพื่อมาฟังการปราศรัยของนายชวน หลีกภัย และ ส.ส. ของพรรค และในโปสเตอร์หาเสียงของผู้สมัครในภาคใต้ก็จะมีรูป นายชวน หลีกภัย ถ่ายคู่กับผู้สมัครทุกจังหวัดของภาคใต้ ปัญหาที่ยังคงอยู่คู่กับการเลือกตั้งในจังหวัดพัทลุงทุกยุคทุกสมัย 1. ยังมีคนอีกหลายหมื่นคนที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สำหรับครั้งที่ผ่าน มามีจำนวน 53,581 คน จึงควรจะมีการตรวจสอบว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ไปใช้ สิทธิ เพื่อหาวิธีการแก้ไขในโอกาสต่อไป 2. ยั ง มี บั ต รเสี ย อี ก 5,087 บั ต ร เพราะการกากบาทที่ มี ปั ญ หา จึงควรหาทางแก้ไข

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

3. ยุคที่นายชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรค มีบุคลิกที่เชื่อได้ว่าเป็น คนมือสะอาด รอบคอบ ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ดีไปด้วย และทำให้กระแสพรรคเป็นที่นิยมสูงสุดในภาคใต้

117


บูรณาการงานวิจัย

3. มีผู้ใช้สิทธิไม่ประสงค์ลงคะแนนถึง 10,032 บัตร อาจดูเหมือน เป็นเรื่องดี แต่น่าจะมีการพิจารณาว่าเหมาะสมจริงหรือควรปรับเปลี่ยน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

โดยสรุ ป การเลื อ กตั้ ง ของจั ง หวั ด พั ท ลุ ง ยั ง คงเป็ น ชั ย ชนะของพรรค ประชาธิปัตย์ เพราะได้เปรียบในเรื่องเป็นพรรคที่มีชื่อเสียง โดยมีที่ปรึกษา พรรค หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารของพรรคที่ยังเป็นที่น่าเชื่อถือของ คนพัทลุงและคนภาคใต้ โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัย ยังเป็นที่ยอมรับมาก และยังใช้เป็นจุดขายสำคัญของพรรคได้ไปอีกนาน และยิ่งพรรคการเมืองอื่นๆ บทบาทของพรรคยังไม่เด่นพอ กิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชนยังน้อย และเมื่อ หมดเทศกาลการเลือกตั้ง ผู้สมัครมักไปอาศัยอยู่ที่อื่น หรือไปประกอบอาชีพ ที่ อื่ น จึ ง ทำให้ ค วามรู้ สึ ก ระหว่ า งคนในพื้ น ที่ กั บ ผู้ ส มั ค รห่ า งเหิ น กั น มาก ซึ่งเหล่านี้ผู้สมัครใหม่ควรคำนึงและผู้ที่มาลงสมัครของพรรคอื่นๆ บทบาททาง ด้านสังคมหรือด้านอื่นๆ ไม่มีชื่อเสียงเด่นพอ แต่ถ้ามีบทบาทเด่นมากพอจน เป็นที่ยอมรับของคนพัทลุงก็ย่อมสมารถช่วงชิงเก้าอี้มาได้บ้าง เหมือนกับบาง ช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องสูญเสียพื้นที่ทางการเมืองไปบ้างในบางเวลาให้ กับพรรคการเมืองอื่น แต่ก็สามารถกลับมาครองพื้นที่ได้จนปัจจุบัน

118


บูรณาการงานวิจัย

10. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดชุมพร อาจารย์วัชระ ศิลป์เสวตร์

1) บรรยากาศทั่วไปในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 ความเข้มข้นในการแข่งขันของผู้สมัครมีน้อยมาก ประชาชนมีความ ตื่ น ตั ว มาก การประชาสั ม พั น ธ์ ข องคณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง ยั ง ถื อ ว่ า

น้ อ ยมาก ขาดความร่ ว มมื อ และการสนั บ สนุ น ขององค์ ก รพั ฒ นาเอกชน (NGOs) เช่น มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (PNET) ส่วนการมีส่วน ร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ มีพอสมควร และมีการรวมตัวกันของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง ซึ่งเป็นที่นิยมของคนภาคใต้

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง “ความ เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษา จังหวัดชุมพร” เป็นการศึกษาเชิงลึก เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดชุมพร ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความเข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของ ประชาชน วิ ธี ก ารศึ ก ษาเป็ น การศึ ก ษาในเชิ ง คุ ณ ภาพ โดยใช้ ก ารศึ ก ษา เอกสารที่ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า งๆ การสั ม ภาษณ์ เ จาะลึ ก บุ ค คลในทุ ก ประเด็ น ที่ เกี่ยวข้อง และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า

119


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2) บทบาทและการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับ ต่างๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหาร จัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 พบว่าความพร้อมของ การจัดเตรียมการเลือกตั้งมีความพร้อมดี มีการร่วมมือระหว่างคณะกรรมการ การเลือกตัง้ และองค์กร/หน่วยงานอืน่ ๆ ในการจัดทำเอกสารแนะนำตัวผูส้ มัคร เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรับทราบข้อมูล และคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด ชุ ม พรได้ ด ำเนิ น การจั ด ทำเอกสารแนะนำการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎรส่ ง ให้ กั บ ประชาชนและผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง ตามทะเบี ย นราษฎร์ ส่ ว น ปั ญ หาและอุ ป สรรคของการจั ด การเลื อ กตั้ ง พบว่ า มี ก ารใช้ ร ายชื่ อ คณะ กรรมการประจำหน่วยบางรายที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยไม่มีการชำระรายชื่อเก่า ออกไปก่อน หรือใช้กรรมการที่อายุมากจนเกินไปแต่ถูกเสนอชื่อเข้าไปโดยไม่ ได้ แ จ้ ง ให้ ท ราบล่ ว งหน้ า ตลอดจนปั ญ หาผู้ อ ำนวยการหน่ ว ยเลื อ กตั้ ง และ กรรมการประจำหน่วยขาดความเชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายเลือกตั้ง สำหรับ การแก้ปัญหาการเลือกตั้ง/ร้องเรียน ใช้วิธีการนัดประชุมเพื่อซักซ้อมความ เข้าใจและแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนในเรื่องของการร้องเรียน มีการร้องเรียน ไปยั ง คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง จั ง หวั ด ชุ ม พรเกี่ ย วกั บ การทำหน้ า ที่ ข อง ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง และคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง บางหน่วย

120

3) พฤติ ก รรมทางการเมื อ งของผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภา

ผู้แทนราษฎร การสมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตหรือระบบสัดส่วนนั้น เป็นมติของคณะกรรมการบริหารพรรค ส่วนเหตุผลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการพัฒนาบ้านเกิด รวมถึงตรงใจกับ นโยบายของพรรค โดยผู้สนับสนุนส่วนใหญ่เป็นเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง และ กลุ่ ม ผู้ น ำในชุ ม ชนต่ า งๆ และยั ง มี ก ลุ่ ม สมาชิ ก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกเทศบาลต่างๆ ตลอดจนจะมีกลุ่ม ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ซึ่งวิธีการหาเสียงของผู้สมัครมีความแตกต่างกันออกไป โดยผู้สมัครที่สังกัดพรรคใหญ่จะหาเสียงโดยการใช้รถบรรทุกดัดแปลงเป็นเวที


บูรณาการงานวิจัย

4) บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทรับผิดชอบในเรื่องการ ประสานไปยั ง องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด เทศบาลทุ ก เทศบาล องค์ ก าร บริ ห ารส่ ว นตำบลทุ ก ตำบลในจั ง หวั ด ชุ ม พร ให้ ด ำเนิ น การจั ด ทำป้ า ย ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง การรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรณรงค์ไม่ให้มีการทุจริตการเลือกตั้ง ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง และ ให้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง จั ง หวั ด ชุ ม พรในทุ ก ด้ า นที่

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ชั่ ว คราว และใช้ ร ถกระบะติ ด ลำโพงรอบทิ ศ ทางบนหลั ง คา และใช้ ร ถคั น ดั ง กล่ า วปราศรั ย หาเสี ย ง การใช้ จ่ า ยเงิ น ในการเลื อ กตั้ ง คณะกรรมการ การเลือกตั้งกำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรแบบแบ่งเขตแต่ละคนใช้จ่ายในการเลือกตั้งได้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท สำหรับผู้สมัครแบบสัดส่วนนั้น พรรคการเมืองจะใช้จ่ายได้ไม่เกินเขตเลือกตั้ง ในกลุ่มจังหวัดละไม่เกิน 15 ล้านบาท ซึ่งผู้สมัครมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การทำหน้ า ที่ ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร และการเคารพกฎกติ ก าในการ เลื อ กตั้ ง เป็ น อย่ า งดี ความสั ม พั น ธ์ ข องผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง กั บ ข้ า ราชการ พบว่ า ความสั ม พั น ธ์ ข องผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง กั บ ข้ า ราชการเป็ น แบบไม่ เ ป็ น ทางการ เพราะส่วนใหญ่เกรงกลัวในเรื่องการผิดวินัยขององค์กรตนเองในการ วางตัวไม่เป็นกลาง ส่วนความสัมพันธ์ของผู้สมัครกับพรรคการเมือง ความ สัมพันธ์ของผู้สมัครกับนักการเมืองท้องถิ่น และความสัมพันธ์ของผู้สมัคร กับนักการเมืองระดับชาติ ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ปัจจัยที่นำ มาสู่การได้รับเลือกตั้ง/ไม่ได้รับเลือกตั้งของผู้สมัคร มาจากฐานคะแนน และ ไม่พบเห็นหรือมีข่าวเกี่ยวกับการร้องเรียนการซื้อสิทธิขายเสียงของผู้สมัคร ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้หัวคะแนนไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก เนื่องจากเป็นการ แข่งขันของพรรคการเมืองเพียงสองพรรค คือพรรคประชาธิปัตย์ และพรรค พลังประชาชน

121


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งขอความร่วมมือ ส่วนหน่วยราชการ มีบทบาทในการนำนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ไปปฏิ บั ติ เช่ น การร่ ว มขบวนรณรงค์ ใ ห้ ป ระชาชนออกมาใช้ สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง ต่อต้านการซื้อสิทธิ-ขายเสียง ด้านของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบล พบว่าไม่ค่อยมีบทบาทในการเลือกตั้งครั้งนี้ บทบาทของ ผู้ อ ำนวยการเขตการเลื อ กตั้ ง คื อ รั บ สมั ค รเลื อ กตั้ ง พิ จ ารณาคุ ณ สมบั ติ ผู้สมัคร เป็นธุรการของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เป็น ผู้รวบรวมคะแนน และเป็นผู้อบรมครูเพื่อที่จะไปเป็นวิทยากรการเลือกตั้ง

122

5) แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน การไปใช้สิทธิ เลื อ กตั้ ง ของประชาชนพบว่ า ประชาชนจั ง หวั ด ชุ ม พรออกไปใช้ สิ ท ธิ อ ยู่ ใ น อันดับ 18 ของประเทศ ซึ่งจัดว่าอยู่ในอันดับสูง ด้านปัจจัยที่ทำให้ประชาชน ไปใช้สิทธิ เนื่องจากประชาชนคาดหวังว่าหากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะทำให้ ร ะบบเศรษฐกิ จ ดี ขึ้ น อี ก ประการหนึ่ ง คื อ ประชาชนอยากได้ ประชาธิปไตยกลับคืน ด้านการขายสิทธิ ขายเสียง ไม่พบว่ามีข่าวที่เกี่ยวข้อง กั บ กรณี ดั ง กล่ า ว ด้ า นการให้ ค วามร่ ว มมื อ และช่ ว ยเหลื อ ในการติ ด ตาม

ตรวจสอบให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริต พบว่ามีหน่วยงานของภาครัฐ ได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ ในการติดตามตรวจสอบให้การเลือกตั้งเป็น ไปอย่างสุจริตเป็นอย่างดี ส่วนประเด็นผู้หญิงกับการเลือกตั้ง พบว่ามีผู้สมัคร ที่เป็นผู้หญิงเพียง 2 ราย จากพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับผู้สมัครชายพบว่า พรรคจะให้ความสำคัญผู้สมัครที่เป็นผู้หญิงน้อย และ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพียงบางส่วน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นผู้ชายกับผู้หญิง พบว่าผู้สมัครทั้งสิ้น จำนวน 24 คน มี ผู้ ห ญิ ง ลงสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง เพี ย ง 2 คน ดั ง นั้ น มี สั ด ส่ ว นของผู้ ส มั ค รรั บ เลือกตั้งที่เป็นผู้ชายกับผู้หญิง คือ 92 : 8


บูรณาการงานวิจัย

ในการทำศึกษาครั้งต่อไป ควรมีแนวทางในการเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจเพื่อให้ประชาชนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความ เคลื่อนไหวและการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้กับผู้เกี่ยวข้องใน การเลือกตั้ง สนับสนุนให้การเมืองภาคประชาชนหรือภาคพลเมืองภายใน จังหวัดมีความเข้มแข็ง สนับสนุนกิจกรรมการอบรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การเลือกตั้งให้กับวิทยากร และสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) มีส่วนร่วมโดยตรงต่อการตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้ง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

123


บูรณาการงานวิจัย

11. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 จังหวัดนครศรีธรรมราช ดร.ณรงค์ บุญสวยขวัญ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ก า ร ศึ ก ษ า วิ จั ย เ รื่ อ ง “ ค ว า ม เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและพฤติ ก รรม การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2 5 5 0 ก ร ณี ศึ ก ษ า จั ง ห วั ด นครศรี ธ รรมราช” เป็ น การศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ และความ เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง ก า ร เ มื อ ง ใ น จั ง ห วั ด นครศรีธรรมราช ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่อความ เข้าใจถึงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน โดยมีวิธีวิทยาการศึกษาที่เน้น การเก็ บ ข้ อ มู ล จากเอกสารของราชการและสื่ อ หนั ง สื อ พิ ม พ์ แ ละสั ม ภาษณ์ พร้อมๆ กับสังเกตการณ์ในบางโอกาส การศึกษาครั้งนี้พบว่า

124

การออกเสียงประชามติในครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และ เป็นสถานการณ์ไม่ปกติของระบบการเมืองไทยที่มีการเกณฑ์หรือการระดม ทรั พ ยากรจากรั ฐ ในการผลั ก ดั น พลั ง มวลชน ทำให้ เ ป็ น การเรี ย นรู้ ประชาธิปไตยที่เกี่ยวข้องกับประชามติ ซึ่งมีคุณค่าในแง่ที่เป็นการเคลื่อนไหว ทางการเมื อ งในมิ ติ ข องการจั ด การโดยรั ฐ จากการพิ จ ารณาข้ อ มู ล ของ ประชาชนที่ เ ข้ า ร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น เวที ต่ า งๆ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช พบว่ า ประชาชนมี ค วามตื่ น ตั ว ต่ ำ แม้ ว่ า เนื้ อ หาของ รั ฐ ธรรมนู ญ ค่ อ นข้ า งจะสอดรั บ หรื อ ไปด้ ว ยกั น กั บ กระแสสั ง คมอั น เป็ น


บูรณาการงานวิจัย

การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไปในธั น วาคม 2550 นั้ น ในส่ ว นของผู้ ส มั ค รรั บ เลือกตั้ง ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มบรรยากาศการแข่งขันของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เปิดให้มีผู้สมัครหน้าใหม่จำนวนมากมาแข่งขันกับผู้สมัครหน้าเก่า อย่างไร ก็ดี ความสนใจและการติดตามของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลาง ของนครศรี ธ รรมราช อยู่ ที่ ว่ า ใครจะได้ ล งสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ในนามพรรค ประชาธิ ปั ต ย์ ใ นบางเขตเลื อ กตั้ ง มากกว่ า เพราะค่ อ นข้ า งเป็ น ที่ ย อมรั บ ว่ า การได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ คือการได้ตำแหน่ง ส.ส. นครศรีธรรมราช ส่วนรูปแบบการหาเสียงที่มีการเปิดเวทีปราศรัยถือเป็นการ นำกระบวนการการเมื อ งที่ ป ระชาชนชื่ น ชอบให้ ฟื้ น ขึ้ น มาใหม่ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง แม้ว่านักการเมืองจะเน้นกระบวนการแข่งขันมากกว่าการสร้างสรรค์นโยบาย ก็ตาม สำหรับสื่อมวลชน ทั้งสื่อกระแสหลักของรัฐคือวิทยุและโทรทัศน์ และ สื่อท้องถิ่นคือวิทยุชุมชนและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นนั้น เป็นตัวแสดงทางการ เมืองอีกตัวหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทสำคัญและเป็นกลไกในระดับพื้นที่ที่ช่วยเพิ่ม บรรยากาศทางการเมือง ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบบทบาทที่ว่านี้จาก สื่อมวลชนเสมอในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง แม้ว่าจะเป็นการรณรงค์เพื่อให้ ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าการรณรงค์เชิงคุณภาพของการเมืองและ นักการเมืองก็ตาม แต่ถือว่าเป็นตัวแสดงที่เริ่มมีบทบาทในกระบวนการพัฒนา ประชาธิปไตยของไทย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ภาพใหญ่ ข องประเทศ ดั ง นั้ น การที่ ผ ลการออกเสี ย งประชามติ ป รากฏว่ า

ร่างรัฐธรรมนูญฯ ได้รับคะแนนเสียงผ่านการยอมรับในระดับสูงซึ่งเป็นไปตาม ความปรารถนาของรัฐ ในขณะที่ความสนใจของประชาชนในกระบวนการรับ ฟังความคิดเห็นและวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในระดับต่ำ จึงอาจเรียกได้ว่า เป็นการเมืองที่จัดการโดยรัฐหรือ “การเมืองของรัฐ”

125


บูรณาการงานวิจัย

12. พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550 กรุงเทพมหานคร

รองศาสตราจารย์ฐปนรรต พรหมอินทร์

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

126

ก า ร ศึ ก ษ า วิ จั ย เ รื่ อ ง “ ค ว า ม เคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรม การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2550 กรณี ศึ ก ษากรุ ง เทพมหานคร” เป็ น การศึ ก ษาเชิ ง ลึ ก เกี่ ย วกั บ ความ เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง ก า ร เ มื อ ง ใ น กรุ ง เทพมหานคร ในช่ ว งการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร พ.ศ. 2550 เพื่ อ ความเข้ า ใจถึ ง พฤติ ก รรมทางการ เมื อ งของประชาชน โดยอาศั ย การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพเป็ น เครื่ อ งมื อ สำคั ญ ได้ แ ก่ การศึ ก ษาจากเอกสาร การสั ม ภาษณ์ และการสังเกตการณ์ สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1. การกำหนดเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น กำหนดเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตออกเป็น 12 เขตเลือกตั้ง เขตละ 3 คน มีจำนวนรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 36 คน สำหรับการเลือกตั้งแบบสัดส่วนนั้นกรุงเทพมหานครอยู่ในกลุ่มที่ 6 ซึง่ ประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ


บูรณาการงานวิจัย

2. การเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด มีประชาชนมาลงทะเบียนใช้สิทธิ เลือกตั้งนอกเขตจังหวัดจำนวน 906,211 คน 3. การสมัครรับเลือกตั้ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ใช้อาคารกีฬา เวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนไทย - ญี่ปุ่น ดินแดง เป็นสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้ง ได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของการรับสมัคร การสนับสนุนและ กองเชี ย ร์ ข องพรรคการเมื อ ง ตลอดจนเรื่ อ งของการรั ก ษาความปลอดภั ย โดยหมายเลขของผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ของแต่ ล ะพรรคนั้ น ใช้ วิ ธี จั บ สลาก หมายเลขในแต่ ล ะเขตเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง ทำให้ ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ของแต่ ล ะ พรรคการเมืองในแต่ละเขตเลือกตั้งได้รับหมายเลขที่แตกต่างกันออกไป

5. การรณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกับพื้นที่เลือกตั้งอื่นๆ ที่มีการรณรงค์เผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง โดยมีการจัดขึ้นทั้งในส่วนของคณะกรรมการ การเลือกตั้ง และในระดับเขตเลือกตั้ง โดยมีบุคคลจากหลากหลายอาชีพ

เข้ามามีส่วนร่วม ส่ ว นสื่ อ ประกอบการเลื อ กตั้ ง นั้ น มี ก ารจั ด ทำสื่ อ ของคณะ กรรมการการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยสื่อที่จัดทำ ขึ้นมีทั้งสื่อ VCD หนังสือ แผ่นพับ แผ่นปลิว รวมถึงที่มีการจัดทำในลักษณะ เป็นเล่มเอกสาร 6. การประมวลผลคะแนนเลื อ กตั้ ง ได้ มี ก ารเตรี ย มพร้ อ ม และ ซักซ้อมถึงการประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศาลาว่าการ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

4. การกระทำผิ ด กฎหมายเลื อ กตั้ ง แม้ จ ะมี ก ารบั ญ ญั ติ ถึ ง การ กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งทั้งในส่วนที่เป็นข้อห้ามในการเลือกตั้งและบท ลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครก็มีผู้กระทำความผิดด้วย การฉีกบัตรเลือกตั้ง มีการนำบัตรเลือกตั้งออกจากหน่วยเลือกตั้ง มีรถแท็กซี่ ติดสติ๊กเกอร์หาเสียงของพรรคการเมืองทั่วบนท้องถนน

127


บูรณาการงานวิจัย

กรุงเทพมหานคร และในเขตต่างๆ อีก 12 เขต ประกอบด้วย เขตสัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ลาดพร้ า ว พญาไท บางเขน คลองสามวา มี น บุ รี ประเวศ ธนบุรี บางขุนเทียน ภาษีเจริญ และทวีวัฒนา 7. การปราศรัย คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดจุดปราศรัยซึ่งเป็นเวทีกลางไว้ทั้งหมด 12 แห่ง สำหรับเขตเลือกตั้ง ทั้ง 12 เขต อย่างไรก็ตาม บรรยากาศของการปราศรัยนั้นมีผู้ให้ความสนใจ รับฟังน้อย ส่วนการปราศรัยที่พรรคการเมืองจัดขึ้นนั้น ทาง กกต. กทม. ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ติดตามดู 8. การเตรียมการเลือกตั้ง การอำนวยความสะดวกให้ลูกจ้างไปใช้ สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง ในการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรได้ ก ำหนดให้ บั ต ร เลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้งเป็นสีเหลือง ขณะที่การเลือกตั้งในระบบสัดส่วน จะมีบัตรเลือกตั้งในสีที่แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มจังหวัด

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

สำหรับการใช้สิทธิเลือกตั้งของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างนั้นได้มีการ ประกาศให้ น ายจ้ า งหรื อ เจ้ า ของสถานประกอบกิ จ การอนุ ญ าตให้ ลู ก จ้ า ง เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมกำหนดให้วันที่ 24 ธันวาคม 2550 หยุด งานได้โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุด

128

ส่ ว นการแก้ ไ ขปั ญ หารายชื่ อ ของผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง และการไปใช้ สิ ท ธิ เลือกตั้ง ปัญหารายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถใช้สิทธิของตนได้นับ ตั้งแต่ครั้งการลงประชามติก็ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องมาถึงการเลือกตั้งด้วย แต่ก็ พบว่าประชาชนมีความตื่นตัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมพบว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ กรุงเทพมหานครได้มีการเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น โดยมี การประสานงานกับกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานเขต ต่างๆ ส่วนการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง กกต. กทม. จะทำหน้าที่เจาะลึก


บูรณาการงานวิจัย

9. การตรวจสอบการเลือกตั้ง มีองค์กรที่เข้ามาร่วมตรวจสอบการ เลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครรวม 5 องค์กร คือ มูลนิธิธรรมศาสตร์ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ชมรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่าย การมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชน กลุ่มออมทรัพย์บางซื่อพัฒนา และ องค์ ก รเครื อ ข่ า ยการเลื อ กตั้ ง ภาคพลเมื อ ง โดยองค์ ก รเหล่ า นี้ มี บ ทบาทใน การตรวจสอบการเลื อ กตั้ ง และได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากคณะกรรมการ การเลื อ กตั้ ง เป็ น สำคั ญ บุ ค คลที่ เ ข้ า มาทำหน้ า ที่ ดั ง กล่ า วจะเป็ น ไปตาม คุณสมบัติที่กำหนดไว้ ปัญหาที่พบที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ ประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ทราบถึงการมาทำงานขององค์กรตรวจสอบ การจัด หน่วยเลือกตั้ง การขานบัตรไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นต้น 10. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งและผลการเลือกตั้ง 10.1 ข้อมูลผู้สมัครเลือกตั้ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด 357 คน โดยส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เพศชาย 332 คน (ร้ อ ยละ 85.7) กลุ่ ม ที่ มี จำนวนมากที่สุด คือ การศึกษาในระดับปริญญาโท 132 คน (ร้อยละ 34.1) มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี จำนวน 136 คน (ร้อยละ 35.1)

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ในพื้นที่โดยทั้งสำนักงานเขตดำเนินการเอง และการประสานกับมหาวิทยาลัย และโรงเรียน ขณะเดียวกันก็มีการประสานกับองค์กรตรวจสอบการเลือกตั้ง ด้วย โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ฯลฯ ในการตรวจสอบการเลือกตั้งนั้น องค์ ก รที่ ท ำหน้ า ที่ ดั ง กล่ า วส่ ว นใหญ่ จ ะมี ป ระสบการณ์ ใ นการทำหน้ า ที่ ตรวจสอบการเลือกตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญคือ การส่งรายชื่อผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว ถึ ง เขตล่ า ช้ า การเลื อ กตั้ ง ในพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานครมี ก ารร้ อ งเรี ย นอยู่ บ้ า ง ซึ่งจะเกี่ยวกับการติดป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งและเป็นการร้องเรียนกันเอง สำหรั บ ปั ญ หาอุ ป สรรคในการดำเนิ น การจั ด การเลื อ กตั้ ง ที่ ส ำคั ญ คื อ เวลา ดำเนิ น การกระชั้ น ชิ ด งบประมาณล่ า ช้ า และไม่ เ พี ย งพอ รวมถึ ง ปั ญ หา เจ้าหน้าที่ไม่พอเพียงต่อการทำหน้าที่อันเนื่องมาจากคุณสมบัติที่กำหนดไว้

129


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

10.2 การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 17 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อแผ่นดิน ประชาธิปัตย์ มัชฌิมาธิ ป ไตย ชาติ ไ ทย พลั ง ประชาชน ประชากรไทย ประชาราช ประชามติ รวมใจไทยชาติ พั ฒ นา ไทยร่ ำ รวย ความหวั ง ใหม่ พลั ง แผ่ น ดิ น ไท สั ง คมประชาธิปไตย กฤษไทยมั่นคง คุณธรรม ประชาชาติ และพรรคสยาม โดย พรรคการเมื อ งที่ ส่ ง ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ครบ 3 คน ทั้ ง 12 เขตเลื อ กตั้ ง มี 8 พรรค คื อ พรรคเพื่ อ แผ่ น ดิ น ประชาธิ ปั ต ย์ มั ช ฌิ ม าธิ ป ไตย ชาติ ไ ทย พลังประชาชน ประชากรไทย รวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคไทยร่ำรวย

130

10.3 ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขต เลือกตั้ง พบว่า มีพรรคการเมืองเพียง 2 พรรคเท่านั้นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ พรรค ประชาธิ ปั ต ย์ จำนวน 26 คน และพรรคพลั ง ประชาชน จำนวน 10 คน ซึ่ ง พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง แบบยกเขตในพื้ น ที่ เ ขตเลื อ กตั้ ง ที่ 1 (ดุ สิ ต พระนคร ป้ อ มปราบศั ต รู พ่ า ย สั ม พั น ธวงศ์ บางรั ก ปทุ ม วั น และ ราชเทวี) 2 (สาทร บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย วัฒนา) 3 (ดินแดง ห้ ว ยขวาง วั ง ทองหลาง และลาดพร้ า ว) 4 (บางซื่ อ หลั ก สี่ จตุ จั ก ร และ พญาไท) 8 (สวนหลวง ประเวศ บางนา และพระโขนง) 9 (ธนบุ รี คลองสาน บางกอกใหญ่ และจอมทอง) และ 12 (บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน และทวีวัฒนา) ขณะที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งแบบยกทีม เพียง 1 เขต คือ เขตเลือกตั้งที่ 5 (บางเขน สายไหม และดอนเมือง) ขณะ ที่เขตอื่นๆ จะเป็นพื้นที่ที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชาชนต่างก็มี ส่วนแบ่งจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่ ว นผลการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรแบบสั ด ส่ ว น จำนวน 10 คน นั้ น พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ด้ รั บ เลื อ กจำนวน 5 คน พรรค พลังประชาชนได้รับเลือก จำนวน 4 คน และพรรคเพื่อแผ่นดินได้รับเลือก จำนวน 1 คน


บูรณาการงานวิจัย

10.4 ผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งพบว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งในครั้งนี้มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,139,894 คน มาใช้สิทธิ เลื อ กตั้ ง 2,866,028 คน (ร้ อ ยละ 69.23) เขตเลื อ กตั้ ง ที่ มี ผู้ ม าใช้ สิ ท ธิ

เลื อ กตั้ ง สู ง สุ ด คื อ เขตเลื อ กตั้ ง ที่ 6 คลองสามวา คั น นายาว บึ ง กุ่ ม หนองจอก มีผู้มาใช้สิทธิจำนวน 262,829 คน (ร้อยละ 72.77) เขตเลือกตั้ง ที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตเลือกตั้งที่ 9 คลองสาน จอมทอง ธนบุรี บางกอกใหญ่ มีผู้มาใช้สิทธิ 215,358 คน (ร้อยละ 63.10)

10.6 ผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน พบว่า ในกลุ่มที่ 6 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ นั้น มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 5,694,468 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 4,035,649 คน (ร้อยละ 70.87) โดยจังหวัดนนทบุรี มี ผู้ ม าใช้ สิ ท ธิ เ ลื อกตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรในระบบสั ด ส่ ว นสู ง สุ ด คื อ คิดเป็นร้อยละ 74.81 รองลงมาคือ จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 73.67 ขณะที่กรุงเทพมหานครมีผู้มาใช้สิทธิในระบบสัดส่วนต่ำที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 69.61 10.7 บั ต รดี บั ต รเสี ย และบั ต รไม่ ป ระสงค์ ล งคะแนนแบบ สัดส่วน พบว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนในพื้นที่ กรุ ง เทพมหานครนั้ น มี จ ำนวนบั ต รดี ทั้ ง สิ้ น 2,679,746 บั ต ร (ร้ อ ยละ 92.99) บั ต รเสี ย 83,667 บั ต ร (ร้ อ ยละ 2.96) และมี บั ต รไม่ ป ระสงค์

ลงคะแนนอีกจำนวน 118,375 บัตร (ร้อยละ 4.11)

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

10.5 บั ต รดี บั ต รเสี ย และบั ต รไม่ ป ระสงค์ ล งคะแนนแบบ

แบ่ ง เขตเลื อ กตั้ ง พบว่ า ในการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรแบบ แบ่ ง เขตเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ มี จ ำนวนบั ต รดี ทั้ ง สิ้ น 2,642,104 บั ต ร (ร้ อ ยละ 92.19) บั ต รเสี ย 39,882 บั ต ร (ร้ อ ยละ 1.39) และมี บั ต รไม่ ป ระสงค์ ลงคะแนนอีกจำนวน 184,042 บัตร (ร้อยละ 6.42)

131


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

การอภิปรายผล

132

1. การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จากการที่ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติในเรื่องจำนวนสมาชิก สภาผู้แทนไว้ทั้งสิ้น 480 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และมาจากการเลื อ กตั้ ง แบบสั ด ส่ ว น 80 คน ซึ่ ง ในพื้ น ที่ กรุงเทพมหานครนั้นได้มีการกำหนดเขตเลือกตั้งจากเขตปกครองทั้งหมด 50 เขต โดยแบ่งออกเป็น 12 เขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรได้จำนวนเท่ากัน คือ เขตเลือกตั้งละ 3 คน ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ดั ง กล่ า วไม่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ผลการเลื อ กตั้ ง โดยการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ ก็ มี พรรคการเมื อ งเพี ย ง 2 พรรคที่ ผ่ า นการเลื อ กตั้ ง ของประชาชนคื อ พรรค ประชาธิ ปั ต ย์ และพรรคพลั ง ประชาชน จากผลการวิ จั ย ครั้ ง นี้ พ บว่ า พื้ น ที่ กรุ ง เทพมหานครยั ง เป็ น ฐานคะแนนเสี ย งของพรรคประชาธิ ปั ต ย์ ซึ่ ง ได้ รั บ เลือกตั้งมากถึง 26 คน ขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 10 คน เป็นผู้สมัครในนาม ของพรรคพลั ง ประชาชน ขณะเดี ย วกั น หากดู ผ ลการเลื อ กตั้ ง แบบสั ด ส่ ว น ซึ่งกรุงเทพมหานครอยู่ในกลุ่มที่ 6 ร่วมกับจังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ผลก็ยังพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้รับคะแนนนิยมมากกว่า โดยได้รับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง (5 คน) โดยพรรคพลังประชาชนได้รับเลือกจำนวน 4 คน และพรรคเพื่อ แผ่ น ดิ น ได้ รั บ เลื อ กเข้ า มาอี ก 1 คน ซึ่ ง หากวิ เ คราะห์ ไ ปถึ ง จำนวนผู้ ไ ด้ รั บ

เลื อ กตั้ ง ในจั ง หวั ด นนทบุ รี แ ล้ ว ก็ จ ะพบว่ า จำนวนสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 6 คน จากเขตเลื อ กตั้ ง ทั้ ง 2 เขต ในพื้ น ที่ เ ขตเลื อ กตั้ ง ที่ 1 พรรคพลั ง ประชาชนได้รับเลือกทั้ง 3 คน ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์ได้ รั บ เลื อ กตั้ ง 2 คน และพรรคพลั ง ประชาชน 1 คน ส่ ว นที่ จั ง หวั ด สมุทรปราการ จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 7 คน ผู้ที่ได้รับ เลื อ กตั้ ง ก็ เ ป็ น ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ในนามของพรรคพลั ง ประชาชนทั้ ง หมด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเมื่อประชาชนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบเขตในนาม พรรคใดแล้ว ก็จะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วนพรรคนั้น

เช่ น เดี ย วกั น โดยพรรคประชาธิ ปั ต ย์ จ ะได้ รั บ ความนิ ย มในพื้ น ที่ ข อง


บูรณาการงานวิจัย

กรุ ง เทพมหานคร และบางส่ ว นของจั ง หวั ด นนทบุ รี ขณะที่ พ รรค พลังประชาชนจะได้รับความนิยมในส่วนของจังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ในส่วนของการปราศรัยหาเสียงที่คณะกรรมการการ เลือกตั้งจัดขึ้นมานั้นก็ไม่ได้รับความสนใจจากพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงที่เป็น ที่สนใจของประชาชน ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจที่ จะมารับฟังการปราศรัยหาเสียง ทำให้การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวไม่บรรลุผล ที่วางไว้ ขณะเดียวกันยังพบปัญหาในเรื่องของรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ นับตั้งแต่การลงประชามติ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ก็ ยั ง เป็ น ปั ญ หาที่ ไ ม่ ส ามารถแก้ ไ ขได้ ทั น ในการเลื อ กตั้ ง ในวั น ที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดในการจัดการการเลือกตั้ง ในส่วนของการตรวจสอบการเลือกตั้งนั้น มีองค์กรต่างๆ ที่เข้ามา มี ส่ ว นร่ ว มในการทำหน้ า ที่ ใ นการตรวจสอบการเลื อ กตั้ ง 5 องค์ ก ร โดย องค์กรทั้งหมดมีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ดังกล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

2. การจัดการเลือกตั้ง โดยภาพรวมของการจัดการเลือกตั้งมีดำเนิน การและประสานงานกับองค์กรต่างๆ พร้อมทั้งได้มีการเตรียมความพร้อมใน ประเด็นต่างๆ แต่ก็ยังพบว่ามีปัญหาในบางประเด็น เช่น การจัดการเลือกตั้ง นอกเขตจั ง หวั ด ที่ มี ผู้ ม าขอใช้ สิ ท ธิ เ ป็ น จำนวนมากจนทำให้ ต้ อ งมี ก าร เปลี่ยนแปลงสถานที่เลือกตั้งในบางแห่ง ขณะเดียวกันในส่วนของหมายเลข ผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งนั้น เนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆ ไม่ ไ ด้ ส่ ง ผู้ ส มั ค รรับ เลื อ กตั้ ง ในทุ ก เขตเลื อ กตั้ ง ทำให้ ห มายเลขของผู้ ส มั ค ร รับเลือกตั้งในแต่ละเขตจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนนี้แม้จะมีการจัดทำ ข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งแจกจ่ายให้กับประชาชน แต่โดยข้อเท็จจริงก็พบว่า บางครัวเรือนก็มิได้รับข้อมูลแนะนำผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของตน หากจะได้ รั บ เพี ย งเอกสารแนะนำตั ว ของผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง หรื อ พรรคการเมืองที่จัดทำขึ้นมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เท่านั้น

133


บูรณาการงานวิจัย

ปัญหาที่พบคือ ความล่าช้าในการแจ้งรายชื่อผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลไปยัง หน่วยเลือกตัง้ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานขององค์กรตรวจสอบการเลือกตัง้ และจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งก็พบปัญหาการ ปฏิบัติงานของหน่วยเลือกตั้งที่มีลักษณะลักลั่น เช่น ในเรื่องของการขานบัตร ไม่ เ ป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ซึ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข อง คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งในส่วนของการนับคะแนนนั้น ยังมีความ แตกต่ า งกั น อยู่ ซึ่ ง อาจจะเนื่ อ งมาจากมี ก ารใช้ ดุ ล ยพิ นิ จ ในกรณี ที่ ก ารทำ เครื่องหมายไม่ชัดเจน หรือมีลักษณะที่แตกต่างไปจากตัวอย่างที่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะ

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

1. ภาครั ฐ องค์ ก รภาคประชาชน ฯลฯ ควรส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองให้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในฐานะผู้ตรวจ สอบการทำงานของนั ก การเมื อ ง โดยการเข้ า ชื่ อ ถอดถอนผู้ ด ำรงตำแหน่ ง ทางการเมืองที่มีความประพฤติที่ส่อให้เห็นถึงว่าได้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรื อ แม้ ก ระทั่ ง อาจเข้ า ชื่ อ เพื่ อ เสนอกฎหมายต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและเป็ น ประโยชน์ต่อสังคมโดยส่วนรวม

134

2. คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง ควรต้ อ งเพิ่ ม การประชาสั ม พั น ธ์ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งที่ยังเกิดขึ้นกับประชาชนบางส่วนอยู่ การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งที่ยังไม่ครอบคลุม รวมตลอดถึงการปราศรัย หาเสี ย งที่ ป ระชาชนส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ ใ ห้ ค วามสนใจ โดยการประชาสั ม พั น ธ์ เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ นั้นควรเน้นให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ หรื อ ผู้ ที่ ยั ง ขาดความเข้ า ใจในเรื่ อ งของการเลื อ กตั้ ง การเพิ่ ม จำนวนสื่ อ ประชาสัมพันธ์ที่แจกจ่ายไปยังครัวเรือนต่างๆ รวมถึงการปรับรูปแบบเวที ปราศรัยที่จะดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาร่วมรับฟัง โดยการจัดกิจกรรมอื่นๆ ประกอบพร้อมทั้งกระตุ้นให้พรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะพรรคที่เป็นที่ นิ ย มชมชอบของประชาชนได้ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ การปราศรั ย หาเสี ย งที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดขึ้น


ผลการบูรณาการงานวิ บ ท จทีัย ่ เรื่อง “พฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2550”

สรุปการเสวนาโดย นางสาวปัทมา สูบกำปัง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า



การเสวนาเพื่ อ บู ร ณาการผลการศึ ก ษาวิ จั ย จาก โครงการความ เคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งและพฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทน ราษฎร 2550 มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ แ ละถอดบทเรี ย นการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนับเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 22 เมื่ อ วั น ที่ 23 ธั น วาคม 2550 นั้ น ในการนี้ เครื อ ข่ า ยนั ก วิ ช าการในพื้ น ที่ ต่างๆ รวมจำนวน 12 จังหวัด ได้นำเสนอผลการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด จำแนกตามภูมิภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เชียงราย และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ และขอนแก่น ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ชุมพร และนครศรีธรรมราช และ กรุงเทพมหานคร

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

บูรณาการงานวิจัย

137


บูรณาการงานวิจัย

จากข้ อ มู ล ที่ เ ครื อ ข่ า ยนั ก วิ ช าการนำเสนอในงานเสวนาดั ง กล่ า ว มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ประการแรก กลไกและกระบวนการในการจั ด การเลื อ กตั้ ง ยั ง ไม่ สามารถควบคุ ม ดู แ ล และจั ด การให้ เ ลื อ กตั้ ง เป็ น ไปด้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ยุติธรรมได้ แม้จะจัดตั้ง “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” โดยกำหนดให้เป็น องค์กรอิสระที่ปลอดจากการแทรกแซงจากฝ่ายต่างๆ แต่ยังคงไม่สามารถ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังจะเห็นได้จากผลการศึกษาที่พบว่าการจัด เวทีรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้น ไม่ได้รับความสนใจ และเข้าร่วมทั้งในส่วนของประชาชน ผู้สมัครและพรรคการเมือง ทำให้จุด มุ่งหมายที่ต้องการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการหาเสียงไม่เกิดขึ้น อีกทั้งต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากโดยเปล่าประโยชน์

138

บทบาทในการควบคุ ม ตรวจสอบการเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง คณะกรรมการ การเลือกตั้งมิอาจดำเนินการโดยลำพังด้วยมีข้อจำกัดมากมาย ควรจะหา เครือข่ายที่เข้มแข็งเข้ามาช่วยเหลือ แต่ก็มิได้ดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถ จัดการกับผู้ทุจริตหรือทำผิดกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ได้ ซึ่ ง การที่ ไ ม่ ส ามารถทำให้ ก ารเลื อ กตั้ ง บริ สุ ท ธิ์ ยุ ติ ธ รรมได้ เ ช่ น นี้ ส่ ง ผล กระทบร้ายแรงต่อระบบการเมืองการปกครองของไทย กล่าวคือ นอกจาก ระบบการเลือกตั้งไม่สามารถคัดสรรผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม กับบทบาทอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้แล้ว ยังทำให้ได้ผู้แทนที่ทั้งทุจริตและทำ ผิดกฎหมาย เช่นนี้แล้วเรายังจะคาดหวังให้ผู้แทนทำหน้าที่เพื่อประชาชนและ ประเทศชาติได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ตัวแสดงในระบบการเลือกตั้งอื่นๆ ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมไปถึงประชาชนและหรือภาคส่วนต่างๆ ของสังคม แม้ว่าจะมีการปรับตัว เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย และกฎระเบียบที่กำหนดขึ้น แต่ทั้งหมดยึดประโยชน์เฉพาะส่วนตนเป็นหลัก


บูรณาการงานวิจัย

มิ ไ ด้ ค ำนึ ง ถึ ง ประโยชน์ โ ดยรวม หรื อ แม้ แ ต่ สิ่ ง ที่ ค วรทำเพื่ อ การพั ฒ นา ประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายต่างนำมากล่าวอ้างกันตลอดเวลา ประการที่สอง ในระบบการเมืองไทยมีระบบอุปถัมภ์ที่ส่งผลกระทบ ต่อการเลือกตั้งอย่างมาก ระบบเครือญาติก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ ในขณะเดี ย วกั น ระบบอุ ป ถั ม ภ์ ก็ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของระบบเครื อ ญาติ ทั้ ง สอง ระบบนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างที่แยกออกจากกันได้ยาก “ระบบอุปถัมภ์” และ “ระบบเครือญาติ” เป็นคำที่สังคมไทย และ คนไทยได้ยิน ได้รับรู้และรับทราบว่ามีอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานยิ่งกว่า “การเลือกตั้ง” ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคัดสรรผู้แทนเพื่อให้ใช้ อำนาจหน้าที่แทนประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ตามระบอบการปกครอง ที่เรียกว่าประชาธิปไตย

ทั้งระบบอุปถัมภ์และระบบเครือญาติได้ฝังรากลึกและสืบทอดจากรุ่น

สู่รุ่นมาตลอดช่วงเวลา 77 ปี และเมื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงระบบอุปถัมภ์ใน สังคมการเมืองไทย ผู้เขียนขอนำเสนอข้อสรุปเป็น 4 ประการ ดังนี้

1. ระบบอุ ป ถั ม ภ์ ท ำให้ เ กิ ด “ทายาททางการเมื อ ง” และทำให้ ทายาททางการเมื อ งได้ รั บ ชั ย ชนะในการเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง มี ผ ลให้ อำนาจทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ถูกผูกขาดอยู่ เพียงไม่กี่กลุ่มการเมืองหรือตระกูลเท่านั้น

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

ทั้งระบบอุปถัมภ์ ระบบเครือญาติ และการเลือกตั้ง หากดูผิวเผินแล้ว อาจเข้าใจว่าไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด เพราะส่วนแรกเป็นสิ่งที่เป็นค่านิยม ที่ถูกปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของไทยแท้ๆ แต่การเลือกตั้ง นั้นเป็นสิ่งที่เรารับเข้ามาพร้อมๆ กับระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งใหม่ที่เรา ไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตาม เมื่อสองสิ่งนี้มาอยู่รวมกัน ทำให้เรามีประชาธิปไตย แบบไทยๆ ที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากประเทศแม่แบบประชาธิปไตยทั่วไป

139


บูรณาการงานวิจัย

2. ทายาททางการเมืองมี 2 ประเภท คือ ทายาทซึ่งเป็นบุคคลที่สืบ เชื้อสายเดียวกัน และทายาทซึ่งเป็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากสืบ เชื้ อ สายเดี ย วกั น ซึ่ ง ทายาททั้ ง สองประเภทดั ง กล่ า ว มี ค วาม สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งในส่วนตัวและในหน้าที่การงานในฐานะ เป็น “ผู้แทน” ของประชาชน

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

3. การพิ จ ารณาตั ด สิ น ใจเลื อ ก “ผู้ แ ทน” ของประชาชนผู้ มี สิ ท ธิ เลือกตั้งยึดระบบอุปถัมภ์เป็นหลัก โดยที่ส่วนใหญ่ผู้มีสิทธิเลือก ตั้งจะรับบทเป็นผู้รับการอุปถัมภ์มากกว่า ส่วนผู้แทนเป็นได้ทั้ง ผู้อุปถัมภ์และบางครั้งเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ด้วย โดยที่ผู้มีสิทธิ เลื อ กตั้ ง มี ก ารตอบแทนผู้ อุ ป ถั ม ภ์ โ ดยการลงคะแนนเสี ย งให้ อีกทั้งยังชักชวนแนะนำผู้ใกล้ชิดให้ลงคะแนนให้ด้วย เนื่องจาก ผู้ เ ลื อ กตั้ ง ส่ ว นใหญ่ ใ ห้ คุ ณ ค่ า กั บ ความซื่ อ สั ต ย์ ห รื อ บุ ญ คุ ณ ของ ผู้อุปถัมภ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ไม่มีความตระหนักว่าระบบอุปถัมภ์ เป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง ไม่ ค วรทำ และควรขจั ด ให้ ห มดสิ้ น ไปจาก ระบบเลือกตั้ง

140

ทั้งนี้ รูปแบบการอุปถัมภ์มีหลากหลาย ถูกพัฒนาและปรับ รู ป แบบให้ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลในแต่ ล ะยุ ค แต่ ล ะสมั ย อาจเป็ น การ อุปถัมภ์โดยตรงหรือโดยอ้อม เป็นการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใด หรือแม้แต่การจัดทำนโยบายเพื่อประโยชน์ของผู้มีสิทธิ เลือกตั้งก็ตาม ส่วนทรัพย์สินที่ใช้ในเครือข่ายระบบอุปถัมภ์นั้น อาจเป็ น ของผู้ อุ ป ถั ม ภ์ แ ละกลุ่ ม ผู้ ส นั บ สนุ น ผู้ อุ ป ถั ม ภ์ หรื อ เป็ น ทรั พ ย์ สิ น ของแผ่ น ดิ น ที่ ถู ก นำมาใช้ ใ นระบบอุ ป ถั ม ภ์ ไ ด้ หาก ผู้อุปถัมภ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทน และมีเสียงข้างมากได้ร่วม เป็นรัฐบาล 4. การพิ จ ารณาตั ด สิ น ใจเลื อ ก “ผู้ แ ทน” ของผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง ส่วนใหญ่พิจารณาจากบทบาทอำนาจหน้าที่ที่ควรจะเป็นตามที่


บูรณาการงานวิจัย

รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดน้อยมาก กล่าวคือ แทนที่จะ เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถใน การทำหน้าที่พิจารณาออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในสังคม หรือทำ หน้าที่ควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมถึงเจ้าหน้าที ่

ผู้ใช้อำนาจรัฐอื่นด้วย กลับเลือกโดยพิจารณาจากผลประโยชน์ที่ ได้ รั บ เป็ น การเฉพาะหน้ า หรื อ ชั่ ว ครั้ ง ชั่ ว คราว ภายใต้ ค วาม สัมพันธ์ที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันผู้แทนก็ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่ดังกล่าวมากนัก แต่เน้นหนักไปใน การทำประโยชน์หรือช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่เขต เลือกตั้งเป็นหลัก

จากบทสรุป 4 ประการดังกล่าวข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะ เหตุใดในช่วงเวลา 77 ปี ประเทศไทยจึงเกิดปฏิวัติรัฐประหารและกบฏรวม 25 ครั้ง มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ซึ่งอาจเพิ่มเป็น 19 ฉบับในเร็ววันนี้ และมี การเลือกตั้งทั่วไป 22 ครั้ง ซึ่งตัวเลขในเชิงปริมาณนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจในสิ่งที่มีคนกล่าวไว้ว่าประชาชน เป็นเช่นไร ผู้แทนก็เป็นอย่างนั้น หรืออีกนัยหนึ่งผู้แทนเป็นเงาสะท้อนของ ประชาชนนั่ น เอง ซึ่ ง ประเทศไทยคงไม่ ส ามารถทำให้ เ กิ ด การพั ฒ นา ประชาธิปไตยทางผู้แทนให้สมบูรณ์ได้ หากทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบของระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อระบบการเลือกตั้ง

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

สาเหตุของปรากฏการณ์ตามข้อ 3 และ 4 นั้น อาจเกิดจากการที่ผู้มี สิทธิเลือกตั้งและผู้แทนยังขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง หรือขาดความ ตระหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิบกว่าปีที่ ผ่ า นมานี้ มี แ นวโน้ ม ว่ า ผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ ง ตั ด สิ น ใจเลื อ กโดยพิ จ ารณาจาก นโยบายของพรรคการเมือง แต่ยังคงจำกัดอยู่เฉพาะนโยบายที่มีลักษณะเป็น นโยบายประชานิยมมากกว่าลักษณะอื่นๆ

141


บูรณาการงานวิจัย

พ ฤ ติ ก ร ร ม ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง 2 5 5 0

24 มิถุนายน 2552 ครบรอบ 77 ปี ของประชาธิปไตยไทย ผู้เขียน ขอไว้อาลัยแก่ประชาธิปไตยไทยภายใต้ระบบอุปถัมภ์ และคิดว่าคงไม่สาย เกินไปที่ “เรา” จะมาเริ่มทำความรู้จักและเรียนรู้ “ระบบอุปถัมภ์” กันอย่าง จริงจัง และเราต้องช่วยกันรณรงค์ให้สังคมวงกว้างปฏิเสธและไม่ยอมรับให้ เกิดการอุปถัมภ์ในแวดวงการเมืองอีกต่อไป ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ เลือกตั้งนั้น ควรเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ โดยเริ่มที่ตัวเรา ครอบครัวและชุมชน ของเรา จากนั้นจะขยายไปสู่เรื่องระดับชาติโดยปริยาย ในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องยึดหลักการว่าเป็นการเลือกผู้แทน เพื่อให้ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย และควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเหมาะสมอื่นๆ เป็นองค์ประกอบหลัก มิใช่การเลือก ผู้อุปถัมภ์และหรือทายาททางการเมืองของผู้ใด หากประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย (ตามหลักการ) ทำได้เช่นนี้แล้วประชาชนจะกลายเป็นผู้ที่มี อำนาจ (ในความเป็ น จริ ง ) มี ผ ลให้ ฝ่ า ยอื่ น ๆ ทั้ ง ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง และ พรรคการเมืองต้องปรับตัวตามประชาชน อย่างไรก็ตาม กลไกหลักทีร่ บั ผิดชอบ กระบวนการเลือกตั้ง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องปรับบทบาทอำนาจ หน้ า ที่ ใ นทางปฏิ บั ติ เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพในการควบคุ ม ดู แ ล และจั ด การ เลือกตั้งให้บรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอีกทางหนึ่ง โดยที่มี เป้ า หมายทำให้ ร ะบบเลื อ กตั้ ง เป็ น ระบบที่ ท ำให้ ค นดี ไ ด้ ป กครองบ้ า นเมื อ ง นั่นเอง

142



สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 เว็บไซต์ www.kpi.ac.th

บูรณาการงานวิจัยนักการเมืองถิ่นฯ ISBN : 978-974-449-558-7

ราคา บาท

สวพ.53-41-500.0


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.