นักการเมืองถิ่นนนทบุรี

Page 1

¹Ñ¡¡ÒÃàÁ×ͧ¶Ôè¹ ¨Ñ§ËÇÑ´¹¹·ºØÃÕ ´Ã.»ÃÐàÊÃÔ° ÊÔ·¸Ô¨ÔþѲ¹

ʶҺѹ¾Ãл¡à¡ÅŒÒ

ªØ´ÊÓÃǨà¾×èÍ»ÃÐÁÇÅ¢ŒÍÁÙŹѡ¡ÒÃàÁ×ͧ¶Ôè¹ àÅ‹Á·Õè 20




นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี โดย ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ ลิขสิทธิ์ สถาบันพระปกเกล้า รหัสสิ่งพิมพ์ของสถาบันพระปกเกล้า สวพ. 53-25-1000.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-557-0 พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2553 จำนวนพิมพ์ : 1,000 เล่ม ราคา 125 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์. กการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี.--กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2553. นั180 หน้า. 1. นักการเมือง--นนทบุรี--วิจัย. 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--นนทบุรี--วิจัย.

I. สถาบันพระปกเกล้า. สำนักวิจัยและพัฒนา. II. ชื่อเรื่อง. 324.2092 ISBN 978-974-449-557-0 ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ผู้แต่ง ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ ผู้ประสานงาน ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพ์ที่ บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด โทร. 02-883-0343-4 E-mail : thammada@hotmail.com


นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุร ี

ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์

อภินันทนาการ จาก สถาบัน พระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า


คำนำผู้แต่ง

รายงานวิจัยเรือ่ งการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิน่

จั ง หวั ด นนทบุ รี ได้ ด ำเนิ น การรวบรวมข้ อ มู ล จากเอกสาร และ สัมภาษณ์นักการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอภูมิหลังและ บทบาทพฤติกรรมของนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี รวมทั้งสภาพ ความเป็นไปทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ นำเสนอนักการเมืองท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในจังหวัด นนทบุรีเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจัยฉบับนี้ด้วย การวิจัยครั้งนี้ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากบุคคลหลาย ฝ่าย ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน รวมทั้งทายาท และผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ที่ได้สนับสนุนทุนวิจัย

ผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณไว้เป็นอย่างสูง หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าได้ไม่มากก็น้อย ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์


บทคัดย่อ

การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด นนทบุรี เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมือง บทบาทและ ความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ ที่มีส่วน ในการสนั บ สนุ น ทางการเมื อ งแก่ นั ก การเมื อ ง บทบาทและความ สัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมือง และวิธีการหาเสียงในการ เลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี โดยศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส. ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2552 มีจำนวน 26 คน เมื่อพิจารณาจากภูมิหลัง พบว่า ส.ส. จังหวัดนนทบุรมี กั ได้รบั การเลือกตัง้ กลับเข้ามาอย่างต่อเนือ่ ง

ส่วนอาชีพเดิม พบว่าส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการ อดีตนักการเมือง ท้องถิ่น วิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งหลัก คือ การสร้างมวลชน การใช้ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน การใช้รถประชาสัมพันธ์ และการ เดินหาเสียงแบบเข้าถึงประชาชน ปัจจัยทีส่ นับสนุนให้ได้รบั การเลือกตัง้ ได้แก่ ฐานเสียงจากเครือญาติ การสนับสนุนของนักการเมืองท้องถิ่น การรวมกลุ่มทางการเมือง ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน และความนิยม ในตัวผู้สมัครและ/หรือพรรคการเมืองที่สังกัด การวิ จั ยในอนาคตควรศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บความเจริ ญ ของ จังหวัดต่างๆ ระหว่างจังหวัดที่มี ส.ส. คนเดิมได้รับเลือกตั้งอย่าง

ต่อเนื่องกับจังหวัดที่มีการเปลี่ยน ส.ส. อยู่เสมอๆ ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างอย่างไรในการพัฒนาจังหวัด


Abstract

The purpose of this study was to examine data about Nontaburi Province politicians who have been elected to parliament. The data collection consisted of semi-structured interview with politicians, review of relevant documents, interviews and observation. The interviews examined personal histories, attitude to political issues, relationships and campaigners, as well as political history in the province. Data were collected through review of relevant documents, interviews and observation. Data were analyzed quantitatively and qualitatively and organized into thematic patterns. Findings showed 26 Nontaburi Province politicians who have been Members of Parliament (M.P.), between B.E. 2476 (1933) and B.E. 2552 (2009). Concerning with the occupational background, the majority of them used to be former state officers and local governors. The popular campaign for election is comprised of mass movement, campaign’s representatives, campaign vehicle, and knock the door campaign. There were many important factors influencing who would be elected, such as their family networks, political coalition and politicians’ political party. According to findings, it is recommended that the future researcher would conduct the comparative study of the province development between province having continuing M.P. and that of non-continuing M.P.


สารบัญ

คำนำผู้แต่ง บทคัดย่อ Abstract บทที่ 1 บทนำ เกริ่นนำ การศึกษา “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จังหวัดนนทบุรี บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีในอดีต จังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน ประชากร การปกครอง การเมือง บทที่ 4 การเลือกตั้งและนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีตจนถึงปัจจุบัน ภูมิหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี ประวัตินักการเมือง จังหวัดนนทบุรี 1. ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย 2. ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร

หน้า

1 1 3 5 19 19 21 23 26 27 29 29 63 75 75 77


3. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 79 4. นายถวิล จันทร์ประสงค์ 89 5. นางพิมพา จันทร์ประสงค์ 93 6. นายอุดมเดช รัตนเสถียร 96 7. นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ 101 8. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ 102 9. นายฉลอง เรี่ยวแรง 107 10. นายนิทัศน์ ศรีนนท์ 110 11. พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย 113 12. นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ 116 13. นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ 121 14. นายทศพล เพ็งส้ม 122 15. นายณรงค์ จันทนดิษฐ 123 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ 127 สรุปผลการวิจัย 127 วิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย 137 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย 141 บรรณานุกรม 143 ภาคผนวก 149 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ 149 ภาคผนวก ข ภาพนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2476-2552 151 ภาคผนวก ค นักการเมืองท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดนนทบุรี 157 ประวัติผู้วิจัย 167


สารบัญตาราง

หน้า

µÒÃÒ§·Õè 1 ¨ÓนÇน»ÃะªÒ¡Ã á¡àพÈ ÃÒÂÍÓàÀÍ 25 áÅะ¨ÓนÇนคÃÑÇàÃืÍน µÒÃÒ§·Õè 2 ¡ÒÃáº่งࢵ¡Òû¡คÃͧ¨Ñ§ËÇÑ´นน·ºØÃÕ 27 µÒÃÒ§·Õè 3 ¢้ÍÁÙÅ·ÑèÇ仢ͧÊÁÒªÔ¡ÊÀÒผÙ้á·นÃÒɮà 33 พ.È. 2475-2552 µÒÃÒ§·Õè 4 ÃÒªืèÍÊÁÒªÔ¡ÊÀÒผÙ้á·นÃÒɮèѧËÇÑ´นน·ºØÃÕ 36 ¨Óáน¡µÒÁการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่างๆ (พ.ศ. 2476-2550)



บทที่ 1

บทนำ

เกริ่นนำ

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2475 ได้สร้างระบบการเมืองแบบที่ประชาชนเลือกผู้แทน ของตนเข้าไปทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะแทนตนทั้งในระดับ ชาติ แ ละระดั บ ท้ อ งถิ่ น ที่ ผ่ า นมาในระดั บ ชาติ ป ระเทศไทยจั ดให้ มี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 23 ครั้ ง มี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก พฤฒิ ส ภาทางอ้ อ ม 1 ครั้ ง ในปี

พ.ศ. 2489 มี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก วุ ฒิ ส ภาโดยตรงครั้ ง แรกเมื่ อ

วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2549 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2551 ในขณะที่ในระดับท้องถิ่นก็

ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นในหลายรูปแบบพัฒนาขึ้นตามลำดับ อย่ า งไรก็ ต าม คงปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า การศึ ก ษาการเมื อ งการ ปกครองไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ สิ่ ง ที่ ข าดหายไปของภาคการเมื อ งที่ ศึ ก ษากั น อยู่ ก็ คื อ สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “การเมืองถิ่น” หรือ “การเมืองท้องถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของ การเมืองที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของท้องถิ่นที่เป็นจังหวัดต่างๆ ใน ประเทศไทยซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมือง ระดับชาติอีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมือง ณ ศูนย์กลาง 1

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ของประเทศกำลังเข้มข้นด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองใน สภา พรรคการเมืองต่างๆ อีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัคร พรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กำลังดำเนินกิจกรรมเพื่อรักษา ฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน และทันทีที่ภารกิจส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบปะประชาชนตามสถานที่และงานบุญ งานประเพณี ต่างๆ เป็นสิ่งที่นักการเมืองผู้หวังชัยชนะในการเลือกตั้งมิอาจขาดตก บกพร่องได้ ภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลายสิ่ง หลายอย่างของการเมืองไทยที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนาน ในแง่มุมที่ จะไม่สามารถพบได้เลยในการเมืองระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจทำการศึกษามิใช่น้อย เพื่อ เติ ม เต็ ม องค์ ค วามรู้ ที่ ยั ง ขาดหาย และหากนำสิ่ ง ที่ ไ ด้ ค้ น พบนี้ ม า พิจารณาอย่างลึกซึ้งก็น่าจะทำให้สามารถเข้าใจการเมืองไทยได้ชัดเจน ขึ้นในมุมมองที่แตกต่างจากการมองแบบเดิมๆ เรื่องราวเหตุการณ์และพฤติกรรมของการเมืองถิ่นในพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ยังไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลและ ศึกษาค้นคว้ากันมากนัก ซึ่งข้อมูลที่พอจะดำเนินการศึกษาได้ จะมีอยู่ บ้ า งก็ เ ป็ น คำบอกเล่ า สื บ ต่ อ กั น มา หรื อ มี ก ารบั น ทึ ก อยู่ ใ นประวั ติ นักการเมืองบางคนเท่านั้น มิได้มีการศึกษาวิเคราะห์ในบริบทของ นักการเมืองถิน่ อย่างแท้จริง การสำรวจเพือ่ ประมูลข้อมูลนักการเมืองถิน่

ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลของนักการ เมื อ งระดั บ ชาติ ที่ ม าจากการเลื อ กตั้ งในพื้ น ที่ จั ง หวั ด นนทบุ รี คื อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและสมาชิกวุฒิสภา ที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ตามรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย

2

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พุทธศักราช 2540 ผลของการศึกษาจะสามารถให้รายละเอียดข้อมูล แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ที่ทั้งบทบาทของนักการเมืองและพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่ และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ ชื่ อ มโยงไปสู่ ภ าพรวมของการเมื อ งไทยที่

กว้างขวางและชัดเจนยิ่งขึ้น

การศึกษา “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จังหวัดนนทบุรี

รายงานวิจัยเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี จัดทำขึ้นโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความรู้จักและศึกษาภูมิหลังของนักการเมือง

ที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนนทบุรี

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อทราบถึงความเป็นมา บทบาท และ เครือข่ายของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี ทราบถึงวิธีการหาเสียง ในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อเชื่อมโยง ภาพการเมืองระดับชาติในจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากหนังสือเล่มนี้ ได้แก่ ทำให้รู้ถึงความเป็น มา บทบาท และเครือข่ายของนักการเมือง รวมถึงวิธีการหาเสียง เลือกตั้งของนักการเมือง และสามารถเชื่อมโยงภาพการเมืองระดับ ชาติในจังหวัดนนทบุรีได้อย่างไม่ขาดตอน ขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ของนักการเมืองจังหวัดนนทบุรีที่เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก

สภาผู้ แ ทนราษฎรในอดี ต ตั้ ง แต่ มี ก ารเลื อ กตั้ ง จนถึ ง การเลื อ กตั้ ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2552 ตาม ประเด็นต่อไปนี้ 1) ประวัติส่วนบุคคล รวมถึงภูมิหลัง 2) มูลเหตุ จูงใจในการสมัครรับเลือกตั้ง 3) เครือข่ายความสัมพันธ์กับบุคคลใน 3

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ท้องถิ่น และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกัน 4) กลวิธีในการหาเสียง และ 5) บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนนทบุรี

ทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้อาศัยการศึกษาจากเอกสาร

ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ หนังสือ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ รวมทั้ง การสั ม ภาษณ์ บุคคลที่ส ามารถให้ข้อมูลในประเด็นที่ต้องการศึกษา

ที่สามารถโยงใยไปถึงนักการเมืองในพื้นที่ได้ ผู้วิจัยมีความคิดว่า หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เป็นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัด นนทบุรี ตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งได้ ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองท่านใดใน จังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการเลือกตั้งบ้าง และชัยชนะของนักการเมือง เหล่านี้มีสาเหตุและปัจจัยอะไรสนับสนุน รวมทั้งทำให้ทราบถึงความ สำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี ความ สำคัญของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน จังหวัด รวมไปถึงรูปแบบวิธีการและกลวิธีต่างๆ ที่นักการเมืองใช้ใน การเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังได้ทราบเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองไทยต่อไป

4

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย

ที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงาน วิจัยของ Hofstede (1980, 2003) และ สุนทรี โคมินทร์ (1990) Niffenegger, Kulviwat, and Engchanil (2006) และงานเขียนที่ เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ Hofstede (2003) ได้ศึกษาวิจัยลักษณะทางวัฒนธรรมของ ชาติต่างพบมิติทางวัฒนธรรม 5 ประการ คือ (1) ระยะของอำนาจ (Power Distance) ระดับที่สังคม คาดหวังมีความแตกต่างในระดับของอำนาจ คะแนนที่สูงแสดงให้เห็น ว่ามีความคาดหวังที่บุคคลบางคนใช้อำนาจมากกว่าบุคคลอื่น คะแนน ที่ต่ำสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ผู้คนเห็นว่าควรมีสิทธิ์เท่าๆ กัน ความ แตกต่ า งในระดั บ ของอำนาจ หรื อ ความเหลื่ อ มล้ ำ ของอำนาจ

ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป แม้แต่ ในประเทศเดียวกันก็ตาม ในองค์กรที่แตกต่างกันก็จะมีตัวเลขของ ดัชนีที่ต่างกันไปด้วย ทหารจะมีตัวเลขที่สูงกว่าข้าราชการทั่วไป ส่วน ในบริษัทที่เป็นเพื่อนๆ กันมาร่วมทุนกันทำกิจการก็จะมีตัวเลขดัชนีที่ ต่ำกว่า ทั้งนี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ตัวเลขทั้งหมดจากงานวิจัยครั้งนี้ เป็นแค่ตัวเลขเฉลี่ยเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเชื่อถือได้ 100% 5 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็จะหมายถึง อัตราการยอมรับ ในตัวผู้บังคับบัญชา เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของคน หากมี ตัวเลขที่สูงแสดงว่าวัฒนธรรมนั้นผู้นำมีอำนาจมาก การตัดสินใจอาจ จะอยู่ที่ผู้นำแต่เพียงผู้เดียว ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาก็เพียงแต่ปฏิบัติตาม คำสั่งเท่านั้น สายการบังคับบัญชายาว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือระบบ ทหารหรือระบบราชการ ข้อดีของแบบนี้คือ การกระทำต่างๆ จะมี

ขั้นตอนที่แน่นอน มีระเบียบบังคับและสามารถคาดเดาสิ่งต่างๆได้ แต่ ข้ อ เสี ย คื อ ความล่ า ช้ า และไม่ มี ค วามเห็ น จากระดั บ ล่ า ง ดั ง นั้ น

การตัดสินใจต่างๆ จึงไม่ดีเข้าที่ควร ส่วนในทางตรงกันข้าม หากมีตัวเลขของดัชนีต่ำจะหมายถึงมี ความเท่าเทียมกันมาก สมาชิกขององค์กรจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง การตัดสินใจต่างๆ จะทำร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกน้อง สายการบังคับบัญชาสั้น ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง คล่องตัวและได้ ความเห็นจากสมาชิกทุกคน แต่ข้อเสียก็คือความไม่แน่นอนจะมีสูง ธุรกิจสมัยใหม่มักจะให้มีระบบการบังคับบัญชาที่เป็นแนวราบแบบนี้ ความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมกับการดัชนี Power Distance นี้ก็คือเราจะรู้ได้ว่าประเทศไหนมีวัฒนธรรมอย่างไร เราจะได้รับมือได้ ถู ก ต้ อ ง ตั ว อย่ า งประเทศเยอรมนี ที่ มี ตั ว เลขดั ช นี อ ยู่ ที่ 35 ส่ ว น ประเทศในกลุ่มอาหรับจะอยู่ที่เฉลี่ย 80 และออสเตรียอยู่ที่ 11 ซึ่ง ต่ำมาก สามารถอธิบายได้ว่าคนเยอรมันไม่ค่อยมีความแตกต่างของ ความรวยและความจนมากนัก เชือ่ มัน่ ในความเท่าเทียมกันของผูค้ นสูง แต่ในประเทศกลุ่มอาหรับจะมีตัวเลขที่สูง ช่องว่างของคนรวยคนจน ผู้มีอำนาจและผู้อยู่ใต้อำนาจจะสูงกว่าเยอรมนีมาก โอกาสในการ พัฒนาประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีของเยอรมนีจะดีกว่าในประเทศ กลุ่มอาหรับประเทศไทยมีตัวเลขอยู่ที่ 64 ถือว่าอยู่กลางๆ 6 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


(2) การหลี ก เลี่ ย งความไม่ แ น่ น อน (Uncertainty avoidance) สะท้อนให้เห็นความมากน้อยที่สังคมหนึ่งๆ ยอมรับ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (3) ปั จ เจกนิ ย มกั บ คติ ร วมหมู่ (Individualism vs. Collectivism) ปัจเจกนิยม (Individualism) ตรงข้ามกับคติรวมหมู่ (Collectivism) และโยงถึงความมากน้อยที่ผู้คนคาดหวังที่จะยอมให้ ได้สำหรับตนเอง หรือจะยอมเป็นส่วนขององค์การ อย่างไรก็ดี มีการ วิจัยที่แสดงให้เห็นว่าความเป็นปัจเจกนิยมอาจไม่ใช่ตัวการที่ทำให้คติ รวมหมู่ ล ดน้ อ ยลง หรื อ กลั บ กั น งานวิ จั ย ระบุ ว่ า แนวคิ ด ทั้ ง สองนี้ จริงๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน บางคนและบางวัฒนธรรมมีทั้งความ เป็นทั้งปัจเจกนิยมและคติรวมหมู่สูงทั้งคู่ เช่น บางคนที่มีค่านิยม

ในหน้าที่สูงต่อกลุ่มของตนไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องให้อิสรภาพส่วน บุคคลและความพอเพียงของตนเองลดน้อยลง (4) ความเป็นชายกับความเป็นหญิง (Masculinity vs. Femininity) หมายถึง คุณค่าที่ให้แก่ค่านิยมตามประเพณีของชาย หรือหญิง ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของชายรวมถึงการแข่งขัน การยืนยัน ที่หนักแน่น ความทะเยอทะยาน และการสะสมเพื่อความมั่งคั่งและ ความเป็นวัตถุนิยม (5) การมองระยะยาว กับ การมองระยะสั้น อธิบายถึง “เส้นชั้นแห่งเวลา” หรือความสำคัญที่ผูกติดไว้กับอนาคต กับ ความ สำคัญที่ผูกติดกับอดีต ในสังคมที่มองระยะยาว ความมัธยัสถ์และ ความวิริยะอุตสาหะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า สังคมที่มองระยะสั้น ความ เคารพนั บ ถื อในประเพณี นิ ย มและการให้ ข องขวั ญ และความชอบ

ส่วนตัวตอบแทนระหว่างกันจะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า ประเทศทาง 7

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ตะวั น ออกมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะให้ ค ะแนนด้ า นนี้ สู งในขณะที่ ป ระเทศ

ตะวันตกให้คะแนนต่ำกว่าและประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าให้คะแนนต่ำ กว่ามาก จีนให้คะแนนสูงที่สุด ในขณะที่ปากีสถานให้คะแนนต่ำสุด งานศึกษาวิจัยของสุนทรี โคมินทร์ (1990) ตรวจสอบค่านิยม ของคนไทยปี 1990 พบค่านิยมที่สำคัญสามารถจัดแบ่งได้ออกเป็น

9 กลุ่ม ที่สามารถช่วยในการอธิบายลักษณะ โดยเรียงลำดับความ สำคัญดังต่อไปนี้ 1. มุ่งที่ตนเอง (Ego Orientation) กล่าวคือ คนไทยส่วน ใหญ่จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับค่านิยมที่เกี่ยวกับตัวเองเป็นอันดับแรก และสูงสุด โดยจะเน้นความเป็นตัวของตัวเอง การรักษาเกียรติยศ และศักดิ์ศรี คนไทยไม่สามารถทนให้ใครดูหมิ่น ลบหลู่ตัวเอง หรือ ครอบครัวญาติพี่น้องโดยเฉพาะบิดาและมารดา ดังนั้น คนไทยจะมี การสร้างกระบวนการการป้องกัน (Avoidance Mechanism) เพื่อ ลดความขัดแย้งหรือการปะทะระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิด ค่านิยมหลายอย่างๆ ขึ้นมา เช่น การรักษาหน้า (Face-saving) บุ ค คลอื่ น ในที่ ส าธารณชน การหลี ก เลี่ ย งการวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ (Criticism Avoidance) บุคคลในระดับต่างๆ และทัศนคติเกี่ยวกับ ความเกรงใจ การหลีกเลี่ยงทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกอึดอัด 2. ด้ า นความกตั ญ ญู รู้ คุ ณ (Grateful Relationship Orientation) คนไทยให้ความสำคัญค่านิยม “ความกตัญญูรู้คุณ” เป็ น อั น ดั บ สอง เพราะคนไทยผู ก พั น ความสั ม พั น ธ์ ใ นลั ก ษณะ

แลกเปลี่ยนอย่างลึกซึ้ง จริงใจ ค่านิยมเกี่ยวกับบุญคุณหรือการรู้สึก เป็นหนี้บุญคุณเป็นการผูกพันทางจิตใจระหว่างบุคคลคนหนึ่งที่เป็น

ผู้ให้กับบุคคลอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้รับ ผู้รับจะจดจำความดีงามที่อีกฝ่าย 8

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ได้ ท ำให้ แ ละพร้ อ มที่ จ ะทดแทนบุ ญ คุ ณ บุ ค คลนั้ น ๆ เมื่ อ มี โ อกาส

ค่านิยมเกี่ยวกับบุญคุณนั้นอยู่บนพื้นฐานของความกตัญญูรู้คุณซึ่งเด็ก ไทยจะผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคมในค่าเกี่ยวกับบุญคุณใน

2 ลักษณะ คือ การรู้ตระหนักถึงบุญคุณ และการตอบแทนบุญคุณ ในงานวิจัยของสุนทรี (1990) พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มาจาก ต่างจังหวัดจะมีการเลือกค่านิยมนี้เป็นอันดับแรก ในขณะที่คนใน กรุงเทพมหานครเลือกเป็นอันดับที่ 4 3. ด้านการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างราบรื่น (Smooth Interpersonal Relationship Orientation) เป็น

ค่านิยมอันดับที่สาม คือ การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่าง ราบรื่น ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของคนไทยอย่างชัดเจนที่จะมี กิริยานุ่มนวล สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และค่อนข้างจะเป็นกันเอง เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ราบรื่น กลุ่มค่านิยม ย่ อ ย ๆ ใ น ห ม ว ด นี้ คื อ ก า ร รั ก ษ า น้ ำใ จ กั น ( C a r i n g a n d Considerate) ความมี น้ ำใจเมตตาอารี (Kind and Helpful)

การปรับตัวให้เขากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม (Responsive to Situations and Opportunities) การควบคุมตนเอง หรือ ความ อดทนต่อทุกอย่าง (Self-Controlled or Tolerant-Restrained) ความสุภาพ ถ่อมตน (Polite and Humble) การมีอารมณ์สงบและ ความสำรวม (Calm and Cautious) การประมาณตน (Contented) และการมีความสัมพันธ์ในสังคม (Social Relation) สุนทรี (1990) ได้ให้ข้อสังเกตว่าค่านิยมย่อย 5 ประการ ได้ แ ก่ การรั ก ษาน้ ำใจกั น การปรั บ ตั วให้ เ ข้ า กั บ สถานการณ์ แ ละ

สิ่งแวดล้อม การมีอารมณ์สงบและความสำรวม การประมาณตน 9

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


และการมีความสัมพันธ์ในสังคม ไม่ปรากฏอยู่ในรายการค่านิยมของ ชาวอเมริกันที่ Milton Rokeach (1968) ได้จัดทำไว้ นอกจากนี้ สุนทรียังพบว่า ค่านิยมย่อยในด้านการรักษาน้ำใจกัน และการปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์อย่างมากกับ ระบบค่านิยมของคนไทย และค่านิยมเปลี่ยนแปลงน้อย 4. ด้ า นความยื ดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adjustment Orientation) ค่านิยมลำดับที่ 4 เกี่ยวกับแนวทาง ความยืดหยุ่นและการปรับตัว ซึ่งเป็นค่านิยมที่จะช่วยทำให้เราเข้าใจ ในระบบการเมืองของไทย การปฏิบัติงานของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ ควบคุมกฎหมายและความยากในการกำจัดคอรัปชั่น สุนทรี (1990) กล่าวว่าจากค่านิยมดังกล่าวนี้ จึงทำให้คนไทยมักจะมีลักษณะพร้อมที่ จะปรับตัวตามสถานการณ์ (Situation-Oriented) มากกว่าการทำ ตามหลักการ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมาย (Principle, IdeologicallyOriented, System-Oriented, or Law-Oriented) นอกจากนี้

คนไทยยังรู้จักอะลุ้มอล่วย ยืดหยุ่นมากกว่าการแสดงความชื่อสัตย์ อย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากประโยคที่ติดปากคนไทยเวลาประสบ ปัญหา คือ มันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย หรือ ทุกอย่างแก้ไขได้ 5. ด้ า นจิ ต วิ ญ ญาณและศาสนา (Religio-Psychical Orientation) ค่ า นิ ย มที่ เ กี่ ย วกั บ จิ ต วิ ญ ญาณและศาสนานี้ ไ ด้ รั บ อิทธิพลมาจากการที่คนไทยนับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาท ซึ่งเป็น ศาสนาประจำชาติของคนไทย สุนทรี (1990) กล่าวว่า การมีหลัก ธรรมและศาสนาเป็นที่พึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในจิตใจของคนไทย เป็ น อย่ า งมากถึ ง แม้ ว่ าในปัจจุบัน ความคิดแบบนี้จะลดน้ อ ยลงใน

ชาวกรุงเทพมหานคร นิสิตนักศึกษา และคนที่มีระดับการศึกษาสูง ก็ ต าม ในชี วิ ต ประจำวั น คนไทยมั ก จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การทำบุ ญ

10

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


(Merit Making) และพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และแนวคิดด้านนี้ เกี่ยวข้องเกือบทุกสถานการณ์ของคนไทยไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ ในชุมชนใดก็ตาม เช่น ในงานวันเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การเปิด บริษัทใหม่ การสร้างตึกใหม่ การฉลองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 6. ด้ า นการศึ ก ษาและความสามารถ (Education and Competence Orientation) ค่านิยมที่ถูกเลือกมากเป็นอันดับที่ 6 คือ แนวทางที่เกี่ยวกับการศึกษาและความสามารถ งานวิจัยของ สุนทรี (1990) พบว่า คนไทยมักจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษา และความสามารถโดยมองว่าการศึกษาเป็นทางที่ช่วยให้บุคคลเลื่อน สถานภาพทางสังคมของบุคคล หรือเพื่อเพิ่มเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของ บุคคลหรือเป็นการเพิ่มระดับเงินเดือน การที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากต่อตนเอง หน้าตาและ ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คม จึ ง ทำให้ สุ น ทรี ตั้ ง ข้ อ สั ง เกต 3 ประการ ประการแรก คือ คนไทยมักจะมองแค่เปลือกของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก กว่าเนื้อแท้หรือคุณค่าของสิ่งนั้นๆ (Form over Content) เพื่อจะ ช่ ว ยยกสถานภาพของตนเองให้ ดู ดี ไ ว้ ก่ อ นหรื อ เพื่ อ ที่ จ ะให้ ค นอื่ น ยอมรับนับถือ พวกเขาจึงมักจะตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหรือ มีของใช้ราคาแพง หรือชอบที่จะมียศถาบรรดาศักดิ์นำหน้าชื่อ ตลอด จนการเรียนต่อให้ได้ปริญญาในระดับสูง ประการที่สอง คนไทยมักจะ ให้คุณค่ากับการครอบครองของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือวัตถุนิยม (Form and Material Possession) โดยมักจะแสดงออกจากการซื้อเสื้อผ้า ราคาแพง หรือเสื้อผ้าที่มียี่ห้อ ประการสุดท้าย คนไทยมักจะมอง ว่าการครอบครองของเหล่านี้เป็นการแสดงถึงความเจริญ และทัน สมัย (Form and Perception of Development) แม้แต่เจ้าหน้าที่ ของรัฐก็มักจะติดกับสิ่งเหล่านี้ ดังจะเห็นได้จากการที่จะพัฒนาชุมชน 11

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


โดยเน้นทางวัตถุมากกว่าจิตใจ เช่น การทำถนนคอนกรีต การนำ ไฟฟ้ า ไปสู่ ชุ ม ชน รวมทั้ ง การที่ ค นชนบทพยายามหาเงิ น ซื้ อ มอเตอร์ไซค์ หรือตู้เย็นมาใช้ที่บ้าน สุนทรีกล่าวว่าค่านิยมเหล่านี้ ปรากฏในคนไทยทุกชนซั้นในสังคม ทำให้ปัญหาเรื่องความจนและ การเป็นหนี้ไม่หมดสิ้น 7. ด้ า น ก า ร พึ่ ง พ า อ า ศั ย กั น ( I n t e r d e p e n d e n c e Orientation) แนวทางการพึ่งพาอาศัย หมายถึง ความร่วมมือกันใน ชุมชน และจิตวิญญาณที่จะช่วยเหลือพึ่งพากัน ค่านิยมนี้ถูกจัดว่า สำคัญในกลุ่มตัวอย่างที่มาจากต่างจังหวัดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ใน เมื อ ง การพึ่ ง พาอาศั ย กั นในกลุ่ ม ชุ ม ชนเกษตรกรรม ค่ า นิ ย มการ

ช่ ว ยเหลื อ กั น นี้ เ ป็ น ตั ว กระตุ้ นให้ เ กิ ด พฤติ ก รรมร่ ว มมื อ กั นในชุ ม ชน และส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกการมีมิตรจิตมิตรใจ 8. ด้ า นความสนุ ก สนาน และความพึ ง พอใจ (FunPleasure Orientation) กล่าวว่า คนไทยเป็นผู้เชี่ยวชาญในการมี ศิลปะของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยการเป็นคนง่ายๆ สบายๆ มี ค วามสุ ข ไร้ กั ง วล ไม่ปล่อยให้ปัญหาอะไรมากระทบจิ ตใจง่ า ยๆ และมองของชีวิตเหมือนบางสิ่งบางอย่างเพื่อความสนุก คนไทยจะไม่ ทำอะไรที่ไม่สนุกเพราะพวกเขาเบื่อง่าย ค่านิยมนี้จึงนำไปสู่การขาด ความจริงจังในการให้คำมั่นสัญญา และพวกเขายังให้ความสำคัญกับ การทำงานมากกว่าการพักผ่อนหย่อนใจ และความสุข ซึ่งตรงกันข้าม กับคนกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พึงพอใจการพักผ่อน หย่อนใจมากกว่าการทำงาน ผลทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า และขาด ประสิทธิภาพ 12

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


9. ด้านการมุ่งความสำเร็จในงาน (Achievement-task Orientation) สุนทรี (1990) พบว่า ค่านิยมเกี่ยวกับแรงผลักดัน ภายในที่จะตั้งเป้าหมายความสำเร็จในชีวิตอย่างสูง และทำงานอย่าง หนักเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายถูกเลือกเป็นอันดับสุดท้ายเป็นส่วนใหญ่ ในกลุ่มตัวอย่างอาชีพต่างๆ ในทุกช่วงเวลาที่สุนทรีได้ทำการศึกษา ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน และกลุ่มนักธุรกิจ สุนทรี กล่าวว่า คำว่า “Achievement and Ambition” ในภาษาอังกฤษ เมื่ อ แปลเป็ น ภาษาไทยว่ า การประสบความสำเร็ จ และความ ทะเยอทะยานเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการค่อนข้างมีความหมายทางลบกับ ความรู้สึกของคนไทย

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2549) ได้ศึกษา เรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักการเมืองถิ่น จั ง หวั ด สมุ ท รปราการส่ ว นใหญ่ มี ก ารศึ ก ษาและสถานภาพทาง เศรษฐกิจที่ดี เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในจังหวัด ในการหาเสียงจะใช้ ชื่ อ เสี ย งและบารมี ข องตั ว บุ ค คลมากกว่ า พรรคการเมื อ ง กลุ่ ม ผล ประโยชน์ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์น้อยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน การเลือกตั้ง บูฆอรี ยีหมะ (2549) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัด ปัตตานี พบว่า การเมืองถิ่นจังหวัดปัตตานีแบ่งออกเป็น 3 ยุค ยุค แรกระหว่างปี พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2528 เป็นการต่อสู้ช่วงชิง ทางการเมืองระหว่างตระกูลอดีตเจ้าเมืองกับตระกูลนักการศาสนา และเครือข่าย ยุคที่สองระหว่างปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2547 มีการ ก่อตั้งกลุ่มการเมืองเพื่อเป็นกลไกในการต่อรองกับพรรคการเมือง ยุค ปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง ปัจจุบัน การเกิดวิกฤติความรุนแรง 13

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจของคนใน พื้ น ที่ แ ละปฏิ เ สธแนวทางการแก้ ไ ขปั ญ หาของรั ฐ บาล เกิ ด การ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปจากอดีตโดยผู้สมัครจากฝ่ายค้านที่ไม่เป็น ที่รู้จักกลับได้รับการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง (2550) ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงรายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ ม ได้ แ ก่ กลุ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ กลุ่ ม นั ก กฎหมาย และกลุ่ ม อดี ต ข้ า ราชการ ประชาชนจั ง หวั ด เชี ย งรายไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามนิ ย มต่ อ พรรคการเมื อ งพรรคใดพรรคหนึ่ ง ดั ง นั้ น ผู้ ส มั ค รส่ ว นใหญ่ จึ ง ย้ า ย พรรคที่สังกัดเสมอ นอกจากนี้การอาศัยความสัมพันธ์เป็นเครือญาติก็ มีไม่มากนัก กลวิธีหาเสียงจะใช้การพบปะประชาชนอย่างสม่ำเสมอ การปราศรัย แจกสิ่งของ การจัดเลี้ยง การพาไปทัศนศึกษา การซื้อ บัตรประชาชน เป็นต้น สานิตย์ เพชรกาฬ (2550) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่น จังหวัดพัทลุง พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุงส่วนใหญ่มาจาก อดีตข้าราชการครู โดยนับตั้งแต่แรกมีการเลือกตั้งจนถึงการเลือกตั้ง ในปี 2518 ประชาชนนิยมลงคะแนนเลือกตั้งจากความนิยมในตัว บุคคลมากกว่าอิทธิพลของพรรคการเมือง ช่วงที่สองระหว่าง พ.ศ. 2519-2535 อิทธิพลของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญควบคู่ไปกับ ศักยภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และช่วงที่สามตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 13 กันยายน 2535 เป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์สามารถยึด พื้นที่จังหวัดพัทลุงได้ทั้งหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความนิยมในพรรค ประชาธิปัตย์และความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อนายชวน หลีกภัย ส่วน ความนิยมในตัวผู้สมัครเป็นปัจจัยรองลงมา 14

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พรชัย เทพปัญญา (2552) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่น จังหวัดชลบุรี พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรีจะเป็นบุคคลที่อยู่ ในกลุ่มชนชั้นนำของจังหวัด มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี โดยมีพื้นฐานสำคัญจากการเป็นผู้นำในท้องถิ่นและเคยร่วมทำงานอยู่ ในกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมาก่อน เป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมือง ในกลุ่มเครือญาติและคนรู้จักที่สนิทสนมกัน ในการหาเสียงจะเน้น การลงพื้นที่ การปราศรัย และการใช้หัวคะแนน ประชาชนในจังหวัด ชลบุรีนิยมที่จะเลือกลงคะแนนตามกระแสของพรรคที่มีแนวโน้มจะได้ จัดตั้งรัฐบาลและหัวหน้าพรรคจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่น จังหวัดเลย พบว่า การเมืองถิ่นจังหวัดเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2500 ส่วนใหญ่มีลักษณะเครือญาติตระกูลและเครือญาติเกื้อกูล การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 เป็นยุคแรกที่นักธุรกิจเข้ามาสู่การเมือง ระดับชาติ เริ่มมีการใช้เงินซื้อเสียง การใช้อิทธิพลข่มขู่หัวคะแนน และการสร้างระบบอุปถัมภ์กับหัวคะแนน ช่วงปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2535 เป็นช่วงการเมืองสองสภาพ โดยนักการเมืองส่วนหนึ่งมี พฤติกรรมการเมืองเชิงอุดมการณ์ ขณะที่อีกกลุ่มเป็นแบบธนกิจการ เมือง หลังจากปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมานักการเมืองกลุ่มอุดมการณ์ ประชาธิปไตยพ่ายแพ้การเลือกตั้งและไม่ได้รับเลือกอีกเลย พิชญ์ สมพอง (2551) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัด ยโสธร พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ หนึ่งกลุ่มนักสื่อสารมวลชน สองกลุ่มครู อาจารย์ ข้าราชการ เก่ า และนั ก กฎหมาย สามกลุ่ ม นั ก การเมื อ งท้ อ งถิ่ น และนั ก ธุ ร กิ จ พรรคการเมืองมีบทบาทสูงต่อนักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร นักการ เมืองถิ่นจังหวัดยโสธรมีการเปลี่ยนแปลงสังกัดพรรคตามวาระของ 15

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รัฐบาล กลวิธีในการหาเสียง ได้แก่ การลงพื้นที่พบประชาชนอย่าง สม่ำเสมอ การให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ รักฏา เมธีโภคพงษ์ และวีระ เลิศสมพร (2551) ได้ศึกษา เรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัด เชี ย งใหม่ ส่ ว นใหญ่ มี ภู มิ ล ำเนาเดิ ม อยู่ ใ นจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ปั จ จั ย สนับสนุนให้ได้รับคะแนนเสียงมาจากพื้นฐานวงศ์ตระกูลที่ดีมีชื่อเสียง ความสัมพันธ์ของเพื่อนฝูง ลูกศิษย์ลูกหา ลูกค้า จากอาชีพการงาน หรือองค์กรต่างๆ และกระแสความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง

ในขณะนั้น รุ จ น์ จ าลั ก ษณ์ ร ายา คณานุ รั ก ษ์ (2552) ได้ ศึ ก ษาเรื่ อ ง นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัด สุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่มาจากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นของพรรค ประชาธิปัตย์ มีเครือข่ายความสัมพันธ์ในลักษณะทายาททางการเมือง หรือเครือญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ นักการเมือง ถิ่นมีเครือข่ายกระจายอยู่ทุกพื้นที่ มีการจัดตั้งหัวคะแนน มีตัวแทน ทำงานในพื้นที่ กลวิธีในการหาสียง คือ การลงพื้นที่พบปะประชาชน ด้วยตนเอง ร่วมกิจกรรมงานบุญประเพณีต่างๆ การร่วมกิจกรรมทาง สังคม มีการปราศรัยใหญ่เพื่อแถลงนโยบายของพรรค ประชาชนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความผูกพันกับนักการเมืองถิ่นผ่านทางพรรค มากกว่าตัวบุคคล นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อย้ายออก จากพรรคประชาธิปัตย์ไปอยู่พรรคอื่นจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่เมื่อ ย้ายกลับมาก็จะได้รับการเลือกตั้งเช่นเดิม วี ร ะ เลิ ศ สมพร (2552) ได้ ศึ ก ษาเรื่ อ ง นั ก การเมื อ งถิ่ น จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า นักการเมืองถิ่นส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิม 16

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


มาจากจังหวัดอื่น แต่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน มี เครือข่ายและความสัมพันธ์ที่กว้างขวางในพื้นที่ ประชาชนในจังหวัด แม่ ฮ่ อ งสอนพิ จ ารณาเลือกตัวบุคคลประกอบกับกระแสความนิ ย ม พรรคการเมืองในแต่ละยุคสมัย นักการเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนมักใช้ ศาลาวัดเป็นกองบัญชาการในการหาเสียง โดยใช้การหาเสียงแบบ สุภาพ ไม่โจมตีคู่แข่ง พยายามพูดจาภาษาเดียวกันกับชาวบ้าน และ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับชาวบ้าน นำของที่ชาวบ้านต้องการไปฝาก ภาคภูมิ ฤกขะเมธ (2552) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่น จังหวัดตาก พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดตากมี 2 กลุ่ม คือ ตระกูล ไชยนันทน์ และตระกูลตันติสนุ ทร ปัจจัยทีส่ นับสนุนให้ได้รบั การเลือกตัง้ คือ ผู้สมัครต้องเข้าถึงประชาชนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมที่จะให้ความ ช่วยเหลือ มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว และต้องมีความ พร้อมทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจ ทางการศึกษา ประชาชนจังหวัด ตากยึดถือตัวบุคคลเป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่านโยบายพรรคจะดีเพียงใด

ก็ไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง แต่ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ ผูกขาดการเมืองถิ่นในจังหวัดตาก ไพฑูรย์ มีกุศล (2552) ได้ศึกษาเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัด สุรินทร์ พบว่า การเมืองถิ่นในจังหวัดสุรินทร์แบ่งเป็น 2 ยุค คือ การเมื อ งยุ ค เก่ า นั บ ตั้ ง แต่ แ รกมี ก ารเลื อ กตั้ ง จนถึ ง การเลื อ กตั้ งในปี 2518 ยุคนี้นักการเมืองจะใช้ความสามารถเฉพาะตัว ความเป็นคนมี ความรู้ดี มีคุณธรรมและศีลธรรมอันดี มีความใกล้ชิดประชาชน และ มีความเสียสละเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความเดือดร้อน ยุคต่อมา เป็นการเมืองแบบใหม่นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2522 เป็นต้น มา นักการเมืองถิ่นมาจากกลุ่มพ่อค้าที่มีบทบาทและอิทธิพลทางธุรกิจ ในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตระกูลนักปกครองจังหวัดสุรินทร์ดั้งเดิม และ 17

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


กลุ่มนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ยุคนี้นักการเมืองจะจัดตั้งผู้นำที่ เป็นกลุ่มพวกพ้อง กลุ่มเครือญาติ กลุ่มเครือข่ายวิชาชีพต่างๆ และ กลุ่ ม หั ว คะแนนหรื อ แกนนำในหมู่ บ้ า น ซึ่ ง เป็ น ความสั ม พั น ธ์ แ บบ ระบบอุปถัมภ์และมีการใช้เงินเป็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้ง การสร้ า งเครื อ ข่ า ยของพรรคการเมื อ งระหว่ า งนั ก การเมื อ งถิ่ น กั บ

หัวคะแนนและกลุ่มต่างๆ ในหมู่บ้านของจังหวัดสุรินทร์

18

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บทที่ 3

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดนนทบุรี

1. จังหวัดนนทบุรีในอดีต

จังหวัดนนทบุรี เป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็ น ราชธานี ตำบลที่ ตั้ ง เมื อ งนนทบุ รี ขึ้ น มาครั้ ง แรกนั้ น มี ชื่ อ ว่ า

บ้านตลาดขวัญ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ตัวเมืองนนทบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระสอในปัจ จุบัน โดยมีวัดหัวเมือง (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ทางราชการใช้เป็นสถานที่สร้าง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) เป็นเขตเหนือและมีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้ พ.ศ. 2307 ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ได้มี เหตุการณ์สงครามเกี่ยวข้องกับจังหวัดนนทบุรี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเพียงเล็กน้อย คือ เมื่อมังมหานรธา เป็ น แม่ ทั พ พม่ า ยกทั พ เข้ า ตี เ มื อ งทวาย เมื อ งตะนาวศรี ไ ด้ แ ล้ ว ยก ติดตามตีพวกมอญ มาจนถึงเมืองชุมพรได้โดยสะดวก จึงมีความ กำเริ บ คิ ด ยกเข้ า มาตี ก รุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา มั ง มหานรธาเดิ น ทั พ มุ่ ง เข้ า ตี

กรุงศรีอยุธยาโดยลำดับ จนถึงเมืองนนทบุรี ซึ่งก็ถูกมังมหานรธา

ตีแตกเช่นเดียวกับเมืองรายทางอื่นๆ 19

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เมื่อพม่าตีได้เมืองนนทบุรีแล้ว จึงตั้งค่ายอยู่บริเวณวัดเขมา ขณะนั้นมีเรือกำปั่นอังกฤษเข้ามาค้าขายที่ธนบุรี จึงรับอาสาช่วยรบ พม่ า พม่ า เอาปื นใหญ่ ตั้ ง บนป้ อ มวิ ช าเยนทร์ ยิ งโต้ ต อบกั บ กำปั่ น

ในที่สุดกำปั่นถอนสมอหนีไปอยู่ที่เมืองนนท์ เมืองนนทบุรีจึงเป็นยุทธภูมิ ระหว่างเรือกำปั่นอังกฤษกับพม่า จนกรุงศรีอยุธยาแตก ชาวเมือง ต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้ามแม่น้ำไปหลบซ่อนอยู่ในสวนบางกรวย และบางใหญ่ เ พื่ อ หนี ภั ย สงคราม (พระราชพงศาวดารกรุ ง สยาม

จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม, 2507) เมื่อบ้านเมืองได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติในสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ชาวเมืองจึงค่อยๆ ย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พร้อม กับที่ได้มีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาในพื้นที่ด้วยได้แก่ ชาวมอญ อพยพเข้า มาในรั ช สมั ย สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชและพระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานี อพยพเข้ามาใน รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช และ

ชาวไทยมุสลิมเมืองไทรบุรี อพยพเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่ อ มาในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลีย่ นสร้อยชือ่ เมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรี ศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรศี รีมหาอุทยาน และต่อมาเปลีย่ นเป็น เมื อ งนนทบุ รี ศ รี เ กษตราราม ซึ่ งในสมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น นี้ เมืองนนทบุรมี ฐี านะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่างๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค โดย เมืองนนทบุรี จัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเป็น 4 อำเภอ 20

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และ อำเภอปากเกร็ด ส่วนศาลากลางเมืองนั้น โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจาก ปากคลองอ้อมมาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง จนถึงใน รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว จึ ง ได้ ย้ า ยไปตั้ ง ที่ โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดหลังเก่า)

2. จังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2486 ได้มีการตัดถนนเชื่อมการคมนาคมระหว่าง จั ง หวั ด นนทบุ รี กั บ จั ง หวั ด พระนครขึ้ น เป็ น สายแรก คื อ ถนน ประชาราษฎร์ และต่ อ มาจึ งได้ ตั ด ถนนพิ บู ล สงครามเลี ย บแม่ น้ ำ เจ้าพระยาในตำบลสวนใหญ่ขึ้นเป็นสายที่สอง ในช่วงปี พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2489 ทางราชการได้ยุบจังหวัด นนทบุ รี ล งเนื่ อ งจากสภาวะเศรษฐกิ จ ตกต่ ำ โดยโอนอำเภอ เมื อ งนนทบุ รี แ ละอำเภอปากเกร็ ดไปขึ้ น กั บ จั ง หวั ด พระนคร ส่ ว น อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองถูกโอนไปขึ้น กับจังหวัดธนบุรี จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด อีกครั้ง (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัด นนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489) อำเภอต่างๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทย ได้ ย กกิ่ ง อำเภอไทรน้ อ ย

(ซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491) ให้มีฐานะเป็นอำเภอ

21

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยได้ ย้ า ยศาลากลาง จั ง หวั ด นนทบุ รี ไ ปตั้ ง อยู่ ที่ ศู น ย์ ร าชการนนทบุ รี ถนนรั ต นาธิ เ บศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้ จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งใน ห้ า จั ง หวั ด ปริ ม ณฑลของกรุ ง เทพฯ อั น ประกอบด้ ว ย นนทบุ รี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร และปทุมธานี โดยจังหวัด นนทบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 20 กิโลเมตร จังหวัดนนทบุรีนั้น ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาแบ่งพื้นที่ของ จังหวัดออกเป็นสองส่วน คือ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุ นี้พื้นที่ส่วนใหญ่ของนนทบุรีจึงเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองทั้งที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติและคูคลองที่ขุดขึ้นในยุคสมัยต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งคลองแต่ละสายก็สามารถเชื่อมต่อกัน และสามารถใช้เป็นเส้นทาง สัญจรไปมาหาสู่ และติดต่อกันระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และจังหวัด ทำให้ เ กิ ด เป็ น ย่ า นชุ ม ชนหนาแน่ น ขึ้ น ตามริ ม น้ ำ เจ้ า พระยาและริ ม คลองสายต่างๆ ชาวนนทบุรีจึงดูจะเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่คุ้นเคย กับสายน้ำมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ของจังหวัดในบาง อำเภอ ซึ่งเคยเป็นสวนผลไม้และมีเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนที่ได้ย้ายถิ่นมาจากทุกภาค ของประเทศ นอกจากนี้พื้นที่ในบางอำเภอของจังหวัดนนทบุรียังเป็นที่ รองรับการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจจากกรุงเทพฯ โดย เฉพาะพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ และบางบัวทอง ทำให้มีการจัดสรรพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น นนทบุรีจึง เป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ป ริ ม าณการเจริ ญ เติ บโตทางด้ า นเศรษฐกิ จ และ เทคโนโลยีสูงอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย 22

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


3. ประชากร

ตามฐานข้อมูลจำนวนประชากรของกรมการปกครอง เมื่อต้น เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 จังหวัดนนทบุรีมีประชากร 1,004,919 คน เป็นชาย 476,500 คน และหญิง 528,419 คน ประกอบด้วยหลาย เชื้อชาติทั้งไทยซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ที่สุดของจังหวัด แต่เดิมอยู่ที่ใดมา จากไหน ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด รองลงไปเป็นเชื้อสายจีนซึ่งไม่ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่เมื่อใด สันนิษฐานว่าเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นอก

จากนี้ยังมีชนชาติที่อพยพเข้ามาภายหลักอีกสองเชื้อชาติ คือ ชาวไทย เชื้ อ สายมอญ และชาวไทยเชื้ อ สายมลายู อพยพมาอยู่ ใ นจั ง หวั ด นนทบุ รี ตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา สมั ย กรุ ง ธนบุ รี ตลอดจนสมั ย

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังปรากฏหลักฐานในหนังสืออักขรานุกรม ภูมิศาสตร์ไทย (2507, น. 548) ดังนี้ “… ในจังหวัดนี้มีชาวไทยที่สืบ เชื้อสายมาจากมอญ อยู่มาแถวอำเภอปากเกร็ด ตั้งแต่ปากคลองบาง ตลาดฝั่ ง เหนื อ ลำแม่ น้ ำ เจ้ า พระยา ด้ า นตะวั น ออกและตะวั น ตก ตำบลอ้ อ มเกร็ ด เหนื อ เมื อ งนนทบุ รี ขึ้ นไป รวมทั้ ง เกาะเกร็ ด ด้ ว ย

มี ช าวไทยที่ สื บ เชื้ อ สายมาจากมอญ ซึ่ ง อพยพเข้ า มาพึ่ ง บรมโพธิ สมภารในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2317 คราวหนึ่ง กับเมื่อ พ.ศ. 2358 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 อีกคราวหนึ่ง เรียกว่า มอญใหม่โปรดให้แบ่งครอบครัวไปอยู่เมืองปทุมธานีบ้าง เมืองนนทบุรี บ้าง และเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งบัดนี้เป็นอำเภอพระประแดง ขึ้นกับ จังหวัดสมุทรปราการบ้าง” ไทยอิสลามที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางกระสอและที่บ้าน ตลาดแก้ว ในตำบลบางตะนาวศรี อำเภอเมืองนนทบุรี มีเชื้อสาย เป็ น ชาวปั ต ตานี มาอยู่ ตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เฉพาะตำบล

23

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บางกระสอต้ น ตระกู ล ได้ เ ป็ น แม่ ทั พ นายกองคนสำคั ญ ของไทย

หลายคน ส่วนไทยอิสลามทีต่ ำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด เป็นเชือ้ สาย ชาวเมืองไทรบุรี เข้ามาอยู่ในรัชกาลที่ 3 ไทยชาวเมืองตะนาวศรีมีรายงานอำเภอสอบสวนได้ความว่า ได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบลบางตะนาวศรี อำเภอเมืองนนทบุรี ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ พ.ศ. 2302 ครั้งทัพไทย ตั้งรวมพล อยู่ที่แก่งตูม นอกเขตไทยต้นแม่น้ำตะนาวศรี พม่ายกทัพ จะมาตีชาวตะนาวศรีก็หนีเข้ามา….” (อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2507, น. 548) ปัจจุบันผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีนั้น เป็นคนไทยที่อพยพ มาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากนนทบุรีเป็นจังหวัด หนึ่งที่มีปริมาณการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงและด้วยเหตุที่เป็น หนึ่ งในจั ง หวั ด ปริ ม ณฑลของกรุ ง เทพฯ ซึ่ ง นอกจากจะอยู่ ใ กล้ กั บ กรุงเทพฯแล้ว ก็ยังคงความเป็นสังคมเมืองกึ่งชนบทอยู่ ชาวไทยทั่ว ทุกภูมิภาคจึงจะมาพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อความสะดวก

ในการเดิ น ทางเข้ าไปทำงานในกรุ ง เทพฯ ดั ง นั้ น ความพลุ ก พล่ า น ความหนาแน่นทั้งของประชากร และยวดยานพาหนะภายในจังหวัด นนทบุรี จึงไม่ต่างจากกรุงเทพฯ มากนักโดยเฉพาะอำเภอที่อยู่ติดกับ กรุงเทพฯ ประชากรจังหวัดนนทบุรีร้อยละ 89.75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.91 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนา คริสต์ และร้อยละ 2.15 นับถือศาสนาอื่นๆ 24

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ตารางที่ 1 จำนวนประชากร แยกเพศ รายอำเภอ และ จำนวนครัวเรือน ปี พ.ศ. อำเภอ เมือง บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อย ปากเกร็ด ยอดรวม ทั้งหมด

ชาย 168,242 44,493 40,245 97,997 25,659 97,154

2549 หญิง รวม 183,259 351,501 50,198 94,691 45,176 85,421 110,895 208,892 27,410 53,069 108,329 205,483

ครัวเรือน 137,593 38,732 41,147 102,132 20,232 109,364

ชาย 168,244 45,578 42,541 101,204 25,945 98,075

2550 หญิง รวม 184,364 352,608 51,487 97,065 47,921 90,462 114,801 216,005 27,623 53,568 109,458 207,533

ครัวเรือน 140,283 40,210 43,217 106,809 20,553 111,598

473,790 525,267 999,057 449,200 481,587 535,654 1,017,241 462,670

ที่มา: ที่ทำการปกครองจังหวัดนนทบุรี, 2550

อาชีพประชากร

จากสภาพภู มิ ป ระเทศของจั ง หวั ด ที่ ตั้ ง อยู่ ริ ม ฝั่ ง แม่ น้ ำ เจ้าพระยา ซึ่งมีสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ประชากรของ จังหวัดส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว

การเพาะปลูก มะพร้าว มะม่วง มังคุด และผลไม้ที่ทำชื่อเสียงให้กับ จังหวัด คือ ทุเรียนเมืองนนท์ นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพ

ทางด้านปศุสัตว์และประมงน้ำจืด ตลอดจนมีการทำอุตสาหกรรม

หลายชนิด อาทิ อุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่อง นุ่ ง ห่ ม อุ ต สาหกรรมแปรรู ป ไม้ และอุ ต สาหกรรมในครั ว เรื อ น

จำพวกเครื่องจักสานและเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม

ความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมก็ได้ขยายตัวอย่าง รวดเร็ ว อั น เนื่ อ งมาจากการขยายตั ว ของธุ ร กิ จในเขตกรุ ง เทพฯ

ซึ่ ง เป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ที่ ท ำให้ พื้ น ที่ เ พื่ อ การเกษตรของจั ง หวั ด นนทบุ รี

25

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ลดน้อยลง โดยในปัจจุบันนนทบุรีมีพื้นที่ทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 39 ของพื้นที่จังหวัด

รายได้ประชากร

ประชากรจังหวัดนนทบุรี มีรายได้เฉลี่ย 113,713 บาทต่อปี โดยรายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาอุตสาหกรรม รองลงมาเป็นสาขา การก่อสร้าง สาขาบริการ สาขาการค้าส่งและค้าปลีก และสาขา ธนาคาร ประกั น ภั ย และธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ส่ ว นสาขา เกษตรกรรม ทำรายได้เป็นอันดับที่หกของจังหวัด

4. การปกครอง

จั ง หวั ด นนทบุ รี แบ่ ง เขตการปกครองออกเป็ น 6 อำเภอ

52 ตำบล 325 หมูบ่ า้ น 10 เทศบาล (2 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 5 เทศบาลตำบล) และ 33 อบต. การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 309 หมู่บ้าน ส่วนการปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 1 องค์การ บริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด 10 เทศบาล (เทศบาลนคร 2 แห่ ง ได้ แ ก่ เทศบาลนครนนทบุ รี และเทศบาลนครปากเกร็ ด เทศบาลเมื อ ง

3 แห่ง และเทศบาลตำบล 5 แห่ง) และ 33 องค์การบริหารส่วน ตำบล โดยอำเภอทั้ง 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี มีรายชื่อดังนี้ 1. อำเภอเมืองนนทบุรี 2. อำเภอบางกรวย 3. อำเภอบางใหญ่ 4. อำเภอบางบัวทอง 26

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


5. อำเภอไทรน้อย 6. อำเภอปากเกร็ด

ตารางที่ 2 การแบ่งเขตการปกครองจังหวัดนนทบุรี อำเภอ เมือง บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง ไทรน้อย ปากเกร็ด รวม 6 อำเภอ

ตำบล 10 9 6 8 7 12 52

จำนวน เทศบาล หมู่บ้าน เทศบาล นคร เมือง 26 1 1 41 - 1 66 - - 73 - 1 68 - - 51 1 - 325 2 3

เทศบาล ตำบล 1 1 2 - 1 - 5

ขนาดพื้นที่ (ตาราง อบต. กิโลเมตร) 3 4 6 7 6 7 33

77.02 57.41 96.40 116.44 186.02 89.02 622.31

ที่มา: ที่ทำการปกครองจังหวัดนนทบุรี, 2550

5. การเมือง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แบ่งออกเป็น 2 เขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรจำนวน 6 คน เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย 1. อำเภอบางกรวย 2. อำเภอบางใหญ่ 3. อำเภอเมืองนนทบุรี (ยกเว้นเทศบาลตำบลไทรม้าและตำบลบางรักน้อย) 27

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย 4. อำเภอไทรน้อย 5. อำเภอปากเกร็ด 6. อำเภอบางบัวทอง 7. อำเภอเมืองนนทบุรี (ยกเว้นเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลเมืองบาศรีเมือง ตำบลบางไผ่ และตำบลบางกร่าง)

28

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บทที่ 4

การเลือกตั้งและนักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีตจนถึง ปัจจุบัน

สภาผู้ แ ทนราษฎรเป็ น สถาบั น การเมื อ งอี ก สถาบั น หนึ่ ง ที่

ยื น หยั ด อยู่ กั บ การเมื อ งไทยมายาวนาน นั บ ตั้ ง แต่ ธ รรมนู ญ การ

ปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (ฉบับที่ 1) ซึ่ ง เป็ น รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ที่ 1 ประกาศใช้ เ มื่ อ วั น ที่ 27 มิ ถุ น ายน

พ.ศ. 2475 กำหนดให้รัฐสภามีสภาผู้แทนราษฎร โดยให้คณะราษฎร ซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทนจัดตั้งผู้แทน ราษฎรชั่วคราวขึ้น จำนวน 70 คน ส่งผลให้ประเทศไทยมีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก สภาผู้แทนราษฎรชุดแรกของประเทศ เริ่มทำการประชุมขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 เวลา 14.00 น. ณ พระที่นั่ง อนันตสมาคม โดยใช้ห้องโถงชั้นบนเป็นที่ประชุม จัดโต๊ะเก้าอี้เป็นรูป ครึ่งวงกลม ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันเป็นการชั่วคราว การประชุ ม สภาผู้ แ ทนราษฎรครั้ ง แรกได้ น ำข้ อ บั ง คั บ การ ประชุมของสภาองคมนตรีมาใช้แทนชัว่ คราว โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม 29

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


(นายปรีดี พนมยงค์) ได้ขอให้สมาชิกทุกคนในที่ประชุมยืนกล่าวคำ ปฏิญาณตนโดยพร้อมเพรียงกัน ในการนี้ เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้อญ ั เชิญ พระราชกระแสรั บ สั่ ง ของพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รัชกาลที่ 7 มาเปิดประชุมในเวลา 14.00 น. ความว่า “วันนี้สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นการ สำคัญอันหนึ่งในประวัติศาสตร์การณ์ของประเทศอันเป็นที่รักของเรา ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะตั้งใจรักษาความอิสรภาพของไทยไว้ ชั่วฟ้าและดิน ข้าพเจ้าขออำนวยพรแก่บรรดาผู้แทนราษฎรทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา เพื่อจะได้ช่วยกันทำการให้ สำเร็จตามความประสงค์ของเราและของท่าน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอัน เดียวกันทุกประการเทอญ” (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2536) หลั ง การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง แนวความคิ ด เกี่ ย วกั บ

การเลือกตัง้ อาจแบ่งตามรูปแบบของการเลือกตัง้ ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การเลื อ กตั้ ง แบบโดยอ้ อ ม (การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง แรกใน

พ.ศ. 2476) ภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีแนวคิดหลัก การเลือกตั้งแบบโดยอ้อม เพราะประชาชนทั่วไปมีการศึกษาน้อย แนวความคิ ด เกี่ ย วกั บ การเลื อ กตั้ ง ตามพระราชบั ญ ญั ติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับชั่วคราว ได้ออกแบบการ เลือกตัง้ แบบทางอ้อม โดยประกอบด้วยขัน้ ตอนต่างๆ รวม 3 ขัน้ ตอน คือ 30 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


1) ขั้นตอนการเลือกตั้งตัวแทนระดับหมู่บ้าน 2) ขั้นตอนการเลือกตั้งตัวแทนระดับตำบล 3) ขั้นตอนการเลือกผู้แทนราษฎรในระดับจังหวัด การแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนเช่นนี้ ยังไม่เคยพบเห็นว่ามีใช้ที่ ใดในโลก จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของระบบดังกล่าวว่า คิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ตามความเป็นจริงของ สั ง คมไทย แต่ ร ะบบดั ง กล่ า วกลั บ มิ ไ ด้ น ำมาใช้ เนื่ อ งจากได้ มี ก าร พระราชทานรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รสยาม ฉบั บ ลงวั น ที่

10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มาแทนเสียก่อน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่สอง) มีแนวความคิดเกี่ยวกับ การวางเกณฑ์ ใ นการเลื อ กตั้ ง แต่ มิ ไ ด้ ก ำหนดรายละเอี ย ดไว้ ใ น รัฐธรรมนูญ หากแต่บัญญัติให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติในการกำหนด รายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ อีกชั้นหนึ่ง กฎหมายเลือกตั้งซึ่งตราขึ้นในปี พ.ศ. 2476 นั้น กลับมิได้ ทำตามกรอบแนวคิ ด ของพระราชบั ญ ญั ติ ธ รรมนู ญ การปกครอง

แผ่นดินสยามฉบับชัว่ คราว ได้ลดขัน้ ตอนของการเลือกตัง้ จาก 3 ขัน้ ตอน เหลือเพียง 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุด

ออกไป

31

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2. การเลือกตั้ งแบบโดยตรง (ตั้ งแต่ พ.ศ. 24802552)

2.1 การเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่ง คน (พ.ศ. 2480-2489) ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่ง คน เป็นระบบที่ใช้ในประเทศอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ กลับปรากฏว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมากจนกลายมาเป็นเหตุผล หนึ่งของการก่อเหตุรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2490 2.2 การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใหญ่ (พ.ศ. 2491-2512) จากข้อกล่าวหาว่าระบบการเลือกตั้งแบบเดิมทำให้มีการซื้อ สิทธิขายเสียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากในเขตของการเลือกตั้งแบบเดิม เป็นเขตเลือกตั้งเล็ก ทำให้การซื้อสิทธิขายเสียงกระทำได้ง่าย จึง เปลี่ยนเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด โดยกำหนดให้จังหวัดเป็น หนึ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เสียงข้างมาก เขตหนึ่งมีผู้แทนได้หลายคน บทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการเลือกตั้งของไทย และมีผลต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 กล่าว คือ ได้มีการนำเอาแนวคิดในการบังคับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องสังกัดพรรคการเมืองมาใช้เป็นครั้งแรก และใช้ระบบผสม คือ แบ่งเขตจังหวัดออก หากจังหวัดใดมีผู้แทนได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน นั บ ตั้ ง แต่ ห ลั ง การเปลี่ ย นแปลงการปกครองจนถึ ง ปั จ จุ บั น (พ.ศ. 2552) ระบบการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยของไทย

มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วจำนวน 23 ชุด ดังรายละเอียดต่อ ไปนี้ 32 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ตารางที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2475-2552 ชุดที่ องค์ประกอบ จำนวน (คน)

สมัยนายกรัฐมนตรี

1 ผู้แทนราษฎร 70 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ชั่วคราว พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา 2* สมาชิก 78 พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ประเภทที่ 1 สมาชิก 78 ประเภทที่ 2 3 สมาชิก 91 พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ประเภทที่ 1 สมาชิก

91 ประเภทที่ 2 4 สมาชิก 91 พ.อ. หลวง พิบูลสงคราม ประเภทที่ 1 พ.ต. ควง อภัยวงศ์ สมาชิก

91 นายทวี บุณยเกตุ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ประเภทที่ 2 5** สมาชิก 96 พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ประเภทที่ 1 (178) นายปรีดี พนมยงค์ สมาชิก

96 พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ ์ ประเภทที่ 2 6*** สมาชิก 99 พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ประเภทที่ 1 (120) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

สมาชิก

99 ประเภทที่ 2 7 สมาชิก 123 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประเภทที่ 1

สมาชิก

123 ประเภทที่ 2 8 สมาชิก 160 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประเภทที่ 1

สมาชิก

123 ประเภทที่ 2

ระยะดำรง ตำแหน่ง (พ.ศ.)

เหตุแห่งการสิ้นสุด

2475-2476 สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ 2476-2480 สิ้นสุดตามวาระ

2480-2481 ยุบสภา

2481-2488 ยุบสภา

2489-2490 ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 และรัฐประหาร โดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ 2490-2494 ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 และรัฐประหาร โดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ 2494-2500 สิ้นสุดตามวาระ

2500

รัฐประหาร โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

33

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ชุดที่ องค์ประกอบ จำนวน (คน) 9 สมาชิก ประเภทที่ 1 สมาชิก ประเภทที่ 2 10 สมาชิกสภา

ผู้แทน

สมัยนายกรัฐมนตรี

ระยะดำรง ตำแหน่ง (พ.ศ.)

เหตุแห่งการสิ้นสุด

160 นายพจน์ สารสิน

จอมพลถนอม กิตติขจร 121

2500-2501 รัฐประหาร โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

219 จอมพลถนอม กิตติขจร

2511-2514 รัฐประหาร โดย จอมพลถนอม กิตติขจร

11 สมาชิกสภา 269 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผู้แทนราษฎร ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

2518-2519 ยุบสภา

12 สมาชิกสภา 279 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ผู้แทนราษฎร

2519

รัฐประหาร โดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่

13 สมาชิกสภา 301 พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2522-2526 ยุบสภา ผู้แทนราษฎร พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ 14 สมาชิกสภา 324 พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ผู้แทนราษฎร

2526-2529 ยุบสภา

15 สมาชิกสภา 347 พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ผู้แทนราษฎร

2529-2531 ยุบสภา

16 สมาชิกสภา 357 พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ปันยารชุน

2531-2534 รัฐประหาร โดย รสช.

17 สมาชิกสภา 360 พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้แทนราษฎร นายอานันท์ ปันยารชุน

2535

18 สมาชิกสภา 360 นายชวน หลีกภัย ผู้แทนราษฎร

2535-2538 ยุบสภา

19 สมาชิกสภา 391 นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้แทนราษฎร

2538-2539 ยุบสภา

20 สมาชิกสภา 393 พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัย

2539-2543 ยุบสภา

21 สมาชิกสภา 500 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผู้แทนราษฎร

2544-2548 สิ้นสุดตามวาระ

34

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

ยุบสภา


ชุดที่ องค์ประกอบ จำนวน (คน)

สมัยนายกรัฐมนตรี

22 สมาชิกสภา 500 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภา 500 - ผู้แทนราษฎร

ระยะดำรง ตำแหน่ง (พ.ศ.)

เหตุแห่งการสิ้นสุด

2548-2549 ยุบสภา 2549

23 สมาชิกสภา 480 นายสมัคร สุนทรเวช*****

2550ผู้แทนราษฎร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์****** ปัจจุบัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

การเลือกตั้งเป็นโมฆะ****

ที ่มา : https://politic.myfirstinfo.com/represent.aspx

หมายเหตุ : * สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้น โดยถือจำนวนราษฎรสองแสน คนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน (แต่การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้ง ทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนตำบลก่อน และผู้แทนตำบลเป็นผู้เลือกผู้แทนราษฎรอีก ต่อหนึ่ง) สมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งขึ้น มีจำนวนเท่ากับสมาชิก ประเภทที่ 1 ** สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 5 เริ่มแรกมีสมาชิกอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภท ที่ 1 และ 2 แต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 สมาชิกประเภทที่ 2 ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพ เนื่องจากเกิดพฤฒสภา แต่สมาชิกประเภทที่ 1 ยังอยู่ใน ตำแหน่งต่อไป และได้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เพิ่มเติมจำนวน 82 คน รวมเป็น 178 คนก่อนจะสิน้ สุดสมาชิกภาพลงเพราะการรัฐประหารโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ *** วันที่ 5 มิถุนายน 2492 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเพิ่มอีก 21 คน ทำให้ สภาผู้แทนมีสมาชิกเป็น 120 คน **** เนื่ อ งจากตุ ล าการศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ตั ด สิ น ให้ ก ารเลื อ กตั้ ง เป็ นโมฆะ ทำให้

ไม่สามารถนับ ส.ส. ชุดนี้เป็นชุดที่ 23 ได้ ดังนั้น ส.ส. ชุดที่ 23 ที่เป็นทางการ คือ ส.ส. ชุดที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่มีจำนวน 480 คน

35

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


***** ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ****** ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

สำหรั บ ข้ อ มู ล ของสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุ รี

มีปรากฏตามตารางที่ 4 ดังนี้

ตารางที่ 4 รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่างๆ (พ.ศ. 2476-2550) ครั้งที่

วันที่เลือกตั้ง

ชื่อ-สกุล

พรรค

เขต หมายเหตุ

1

15 พฤศจิกายน 2476 หลวงศรีเขตนคร

(ปลื้ม สวนะปรีดี)

2 3 4 5 6 7 8 9

7 พฤศจิกายน 2480 12 พฤศจิกายน 2481 6 มกราคม 2489 29 มกราคม 2491 26 กุมภาพันธ์ 2495 26 กุมภาพันธ์ 2500/1 15 ธันวาคม 2500/2 10 กุมภาพันธ์ 2512

ร.ต.อ. ฟุ้ง ระงับภัย นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม นายกุหลาบ แก้ววิมล พันตรี หลวงราชเวชชพิศาล นายทนง นิยมะสินธุ นายทนง นิยมะสินธุ นายเติม ทับทิมทอง นายประยูร จอประยูร

- - - - - ธรรมาธิปัตย์ สหภูมิ สหประชาไทย ประชาธิปัตย์

- - - - - - - -

10

26 มกราคม 2518

นายแสวง ศรีมาเสริม นายประยูร จอประยูร

ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์

-

11

4 เมษายน 2519

นายประยูร จอประยูร ร.อ. ชะโลม รัตนเสถียร

ประชาธิปัตย์ กิจสังคม

12

22 เมษายน 2522

นายถวิล จันทร์ประสงค์ ร.อ. ชะโลม รัตนเสถียร

ประชาธิปัตย์ ชาติประชาธิปไตย

-

13

18 เมษายน 2526

นายประยูร จอประยูร ร.อ. ชะโลม รัตนเสถียร นายถวิล จันทร์ประสงค์

ประชากรไทย ประชากรไทย ประชาธิปัตย์

-

36

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

-

-


ครั้งที่

วันที่เลือกตั้ง

ชื่อ-สกุล

พรรค

เขต

หมายเหตุ

14 27 กรกฎาคม 2529 นายประยูร จอประยูร ร.อ. ชะโลม รัตนเสถียร นายประชุม รัตนเพียร

ประชากรไทย ประชากรไทย ประชากรไทย

-

15 24 กรกฎาคม 2531 นายประกอบ สังข์โต นายสนม เปียร์นนท์ นายประชุม รัตนเพียร นายถวิล จันทร์ประสงค์

ประชากรไทย ประชากรไทย ประชากรไทย

ชาติไทย

1 1

2

2

16 22 มีนาคม 2535 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร นายถวิล จันทร์ประสงค์

1 1

2 2

17 13 กันยายน 2535 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร นายถวิล จันทร์ประสงค์

ความหวังใหม่ พลังธรรม พลังธรรม พลังธรรม

1 1

2 2

18 2 กรกฎาคม 2538 นายประกอบ สังข์โต นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ นายถวิล จันทร์ประสงค์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร

ประชากรไทย ประชากรไทย พลังธรรม พลังธรรม พลังธรรม

1 1 1 2 2

19 17 พฤศจิกายน 2539 นางพิมพา จันทร์ประสงค์ นายประกอบ สังข์โต นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ นายฉลอง เรี่ยวแรง นายสุชาติ บรรดาศักดิ์

ความหวังใหม่

ประชากรไทย ประชากรไทย

ประชากรไทย ประชากรไทย

1 1 1 2 2

20 6 มกราคม 2544 นายอุดมเดช รัตนเสถียร นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พ.อ. ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสุชาติ บรรดาศักดิ์

ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ชาติพัฒนา ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย

1 2 3 3 3 4 5

ได้รับใบเหลือง

เลือกตั้งแทน, ถึงแก่กรรม เลือกตั้งแทน

37

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ครั้งที่

วันที่เลือกตั้ง

ชื่อ-สกุล

พรรค

เขต

หมายเหตุ

21 6 กุมภาพันธ์ 2548 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ นายฉลอง เรี่ยวแรง

ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย

1 2 3 4 5 6

22 2 เมษายน 2549 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสุชาติ บรรดาศักดิ์

ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย ไทยรักไทย

1 2 3 4 5

23 23 ธันวาคม 2550 นายอุดมเดช รัตนเสถียร นายนิทัศน์ ศรีนนท์ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ นายทศพล เพ็งส้ม นายณรงค์ จันทนดิษฐ

พลังประชาชน พลังประชาชน พลังประชาชน พลังประชาชน ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์ ประชาธิปัตย์

1 1 1 2 2 2 2

การเลือกตั้ง

เป็นโมฆะ

ถึงแก่กรรม

เลือกตั้งแทน

เรียบเรียงจาก: ข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

รายละเอียดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2550

การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปัจจุบัน มีเหตุผล วิธีการจัดการเลือกตั้งและมีผู้สนใจสมัครรับเลือก ตั้งจำนวนมาก สำหรับการศึกษารวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับนักการ เมืองถิ่น ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง โดยมี รายละเอียดภูมิหลังของการเลือกตั้ง ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในจังหวัดนนทบุรี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 38

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนของประเทศไทย เกิดขึ้นครั้ง แรกในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากมีการประกาศ ใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยที่ ป ระกาศใช้ ใ นวั น ที่ 10 ธั น วาคม 2475 ที่ ไ ด้ บั ญ ญั ติ ใ นมาตรา 16 รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง

ราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็น ระบบสภาเดียว (Single Cameral) เรียกว่า “สภาผู้แทนราษฎร” และสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภท ที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และประเภทที่สองมาจาก การแต่ ง ตั้ งโดยพระบรมราชโองการ ให้ จั ง หวั ด หนึ่ ง มี ส มาชิ ก สภา

ผู้แทนได้หนึ่งคน แต่ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่าสองแสนคน ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกๆ จำนวนราษฎร สองแสนคน สมาชิ ก ทั้ ง สองประเภทมี จ ำนวนเท่ า กั น และอยู่ ใ น ตำแหน่งคราวละ 4 ปีเท่ากัน การเลือกตั้งจึงเลือกเฉพาะสมาชิก ประเภทที่หนึ่งเท่านั้น ได้ผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 78 คน (รวมกั บ สมาชิ ก ประเภทที่ ส องเป็ น 156 คน) สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนในครั้งนี้ จังหวัดนนทบุรีมีผู้ที่ได้ รับเลือกตัง้ เป็นสมาชิกสภาผูแ้ ทนคือ หลวงศรีเขตนคร (ปลืม้ สวนะปรีด)ี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่งชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2480 เนื่องจากครบวาระตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548, น.11) การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 เป็ น การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรประเภทที่ ห นึ่ ง ซึ่ ง นั บ เป็นการเลือกตัง้ ทางตรงครัง้ แรกของไทย ได้ผแู้ ทนราษฎรจำนวน 91 คน สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้จังหวัดนนทบุรีมี ส.ส. จำนวน 1 คน ชื่อ ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย 39 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรประเภทหนึ่ ง ชุ ด นี้ สิ้ น สุ ด เมื่ อ วั น ที่

11 กันยายน 2481 โดยพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ถือ เป็นการยุบสภาครั้งแรกของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลแพ้มติของ สภาฯ กรณี นายถวิล อดุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เสนอญัตติให้สภาฯ พิจารณาและขอแก้ไขข้อบังคับการประชุมและ การปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับวิธีการเสนอร่างพระราชบั ญ ญั ติ ง บประมาณประจำปี ภายหลั ง เมื่ อ มี ก ารลงมติ ใ นญั ต ติ นั้ น

ส่งผลให้ พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจกราบ บังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่งต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ยอมรับใบลาออก โดยให้ เหตุผลว่าสถานการณ์ขณะนั้นล่อแหลมต่อภาวะสงคราม ประกอบกับ คณะรัฐมนตรีจะต้องเตรียมการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่จะเสด็จกลับสู่พระนคร รัฐบาลควรอยู่บริหารราชการต่อไป ทำให้ พระยาพหลพลพยุหเสนาตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และ ได้กำหนดให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง ขึ้นใหม่ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง จำนวน 91 คน เป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อวันที่

15 กรกฎาคม 2488 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่ม อี ก 4 คน รวมเป็ น 95 คน เนื่ อ งจากไทยได้ ดิ น แดนเพิ่ ม ขึ้ น

4 จั ง หวั ด ได้ แ ก่ นครจำปาศั ก ดิ์ จั ง หวั ด พระตะบอง จั ง หวั ด

พิบูลสงคราม และจังหวัดลานช้าง (ปัจจุบันไม่มี 4 จังหวัดนี้แล้ว) ในการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ จั ง หวั ด นนทบุ รี มี ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จำนวน 1 คน ชื่อ นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม 40

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สมาชิ ก ประเภทที่ ห นึ่ ง ชุ ด นี้ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร ะหว่ า งวั น ที่

12 พฤศจิกายน 2481 - 15 ตุลาคม 2488 ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 ที่ เ กิ ด ขึ้ นในปี พ.ศ. 2484 ซึ่ ง สถานการณ์ ระหว่ า งประเทศที่ ส่ ง ผลต่ อ ประเทศไทย ทำให้ ใ นปี พ.ศ. 2485

ซึ่ ง เป็ น ปี ที่ ส ภาผู้ แ ทนราษฎรชุ ด ที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง วั น ที่ 12 พฤศจิกายน 2481 จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่สถานการณ์ ของประเทศยั งไม่ ส งบเรี ย บร้ อ ย รั ฐ บาลจึ งได้ เ สนอร่ า งพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาในการดำรงตำแหน่งของสภาผู้แทนราษฎร ออกไปอีกไม่เกิน 2 ปี ซึ่งรัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ ทำให้สภาผู้แทน ราษฎรชุดนี้มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี และในวันที่ 14 กันยายน 2487 ได้มีการขอขยายเวลาดำรงตำแหน่งออกไปอีก 2 ปี เนื่องจาก สถานการณ์สงครามยังไม่สิ้นสุด ทำให้สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้มีวาระ ดำรงตำแหน่งรวมทั้งสิ้น 8 ปี จากการต่ออายุของรัฐสภาที่เกิดขึ้น เพราะสถานการณ์บ้านเมืองไม่สงบสุข เมื่อสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาล โดย “หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมทย์” เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ได้ดำรง ตำแหน่งมานานมากแล้ว จึงได้มีการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2488 เพื่อให้ประชาชนได้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ในวันที่ 6 มกราคม 2489 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 4 ในวันที่ 6 มกราคม 2489 มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง จำนวน 96 คน รั ฐ สภาชุ ด นี้ มี ส ภาเดี ย ว คื อ สภาผู้ แ ทนราษฎร ส่ ว นสมาชิ ก สภา

ผู้แทนราษฎรชุดนี้ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จังหวัดนนทบุรีมีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรได้ 1 คนคือ นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม 41

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ส่วนสมาชิกประเภทที่สอง ยังเป็นสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อ เนือ่ งมาจากชุดทีแ่ ล้ว จำนวน 95 คน และได้แต่งตัง้ เพิม่ จำนวน 1 คน ในวันที่ 30 มกราคม 2489 เพื่อให้มีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ หนึ่ง (96 คน) แต่สมาชิกประเภทที่สอง ต้องสิ้นสุดสมาชิกภาพลง เมื่ อ วั น ที่ 10 พฤษภาคม 2589 เนื่ อ งจากมี ก ารประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งกำหนดให้ มีสมาชิกพฤฒิสภาขึ้นแทน โดยสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ยังคงปฏิบัติ หน้ า ที่ ต่ อ ไปในฐานะสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร และผลจากการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ทำให้มีการร่างพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2489 ขึ้นมาประกาศใช้ และ พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ ไ ด้ ก ำหนดเกณฑ์ จ ำนวนประชากรต่ อ ผู้ แ ทน ราษฎรหนึ่งคนลดลงจาก 200,000 คนเป็น 150,000 คน ทำให้มี จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น รัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี จึงจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม 2489 ผล จากการเลือกตั้งทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกับผู้แทนราษฎร ที่มีอยู่เดิม 96 คน เพิ่มขึ้นอีก 82 คน เป็น 178 คน สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรชุ ด นี้ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ตั้ ง แต่ วั น ที่

6 มกราคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490 ก็สิ้นสุดสมาชิกภาพลง เนื่องจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดย “คณะทหารของชาติ” ภายใต้การนำของ พลโท ผิน ชุณหะวัณ ซึ่งถือเป็นการรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการ ยึดอำนาจแล้วมีการยกเลิกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็นผลให้สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง ในวั น ที่ 9 พฤศจิ ก ายน 2490 ได้ มี ก ารประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย (ฉบั บ ชั่ ว คราว) พุ ท ธศั ก ราช 42

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2490 และมี ก ารยกเลิ ก รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย

พุทธศักราช 2489 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติให้รัฐสภาประกอบ ด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ในบทเฉพาะกาลได้บัญญัติให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนขึ้นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศ ใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ ดั ง นั้ น จึ งได้ มี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนขึ้ น

(การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 สำหรับ การเลือกตั้งครั้งนี้จังหวัดนนทบุรีมี ส.ส. จำนวน 1 คน ชื่อ นาย กุหลาบ แก้ววิมล เมื่ อ มี ก ารประกาศใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย

พ.ศ. 2492 แทนรั ฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับ ชั่ ว คราว)

พุทธศักราช 2490 จึงมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ โดยจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2492 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 21 คน (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548, น. 22) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากการคณะ บริหารประเทศชั่วคราว ภายใต้การนำของ พลเอก ผิน ชุณหะวัน ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2492 และนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 และรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 มาบังคับ

ใช้ใหม่ เป็นเหตุให้รัฐสภาไทยกลับไปสู่สภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้ ว ยสมาชิ ก 2 ประเภทคื อ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร ประเภทที่หนึ่ง มาจากการเลือกตั้งจากราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทน 43

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ราษฎรประเภทที่ ส อง ซึ่ ง มาจากการแต่ ง ตั้ งโดยพระมหากษั ต ริ ย์

ดังนั้น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 จึงมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรประเภทที่หนึ่ง (การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 6) เป็นการ เลือกตั้งทางตรง แบบรวมเขต ซึ่งจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดจำนวน 123 คน สำหรับการเลือก ตั้ ง ครั้ ง นี้ จั ง หวั ด นนทบุ รี มี ส.ส. จำนวน 1 คน ชื่อ พันตรี หลวง

ราชเวชชพิศาล (โต๊ะ ราชเวชชพิศาล) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทหนึ่ง ชุดนี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500 เนื่องจากครบวาระในการดำรงตำแหน่งตามที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 กันยายน 2498 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. พรรคการเมืองต่อสภา โดยให้เหตุผล ว่า ระบอบประชาธิปไตยได้ดำเนินมากว่า 20 ปีแล้ว ควรแก่เวลาที่ จะให้ มี ก ารก่ อ ตั้ ง พรรคการเมื อ งขึ้ น สภาเห็ น ชอบด้ ว ยและลงมติ ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2498 แต่นั้นมาจึงได้ มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค ทำให้ การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่ สังกัดพรรคการเมือง การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบ รวมเขต ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 160 คน ซึ่งจังหวัด นนทบุรี มี ส.ส. จำนวน 1 คน ชื่อ นายทนง นิยมะสินธุ สังกัด พรรคธรรมาธิปัตย์ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรชุ ด นี้ สิ้ น สุ ดโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ส่งผลให้มีการประกาศกฎอัยการศึกยุบสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ 44

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สภาผู้ แ ทนราษฎรและคณะรั ฐ มนตรี สิ้ น สุ ด ลง และในวั น ที่ 18 กันยายน 2500 ได้มีพระบรมราชโองการเรื่อง การใช้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย โดยที่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2475แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ต่อไป และ กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศนั้น ดังนั้น ในวันที่ 15 ธันวาคม 2500 จึงได้ จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่หนึ่ง (การ เลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 8) ขึ้นอีกครั้ง เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบ รวมเขต มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้จำนวน 160 คน จังหวัด นนทบุรี มี ส.ส. จำนวน 1 คน ชื่อ นายทนง นิยมะสินธุ สังกัด พรรคสหภูมิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไข เพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 บทเฉพาะกาลได้บัญญัติว่า ถ้าผู้มีสิทธิ เลือกตั้งในจังหวัดใดได้รับการศึกษาอบรมจบชั้นประถมศึกษาตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ เลือกตั้งทั้งหมดในจังหวัดนั้น ก็ให้สมาชิกประเภทที่สอง ออกจาก ตำแหน่งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีการเลือกตั้ง ในจังหวัดนั้น และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่หนึ่งเพิ่มขึ้น มี จำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกประเภทที่สองที่จะออกจากตำแหน่ง จึง มีการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรประเภททีห่ นึง่ จำนวน 26 คน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2501 ใน 5 จังหวัดคือ จังหวัดพระนคร จั ง หวั ด ธนบุ รี จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ์ จั ง หวั ด ร้ อ ยเอ็ ด และจั ง หวั ด อุบลราชธานี แทนสมาชิกประเภทที่สอง ที่ต้องจับฉลากออกจาก ตำแหน่ง การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบรวมเขต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดโดยคณะปฏิวัติประกาศ 45

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ยึดอำนาจการปกครองประเทศ นำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่ อ วั น ที่ 20 ตุ ล าคม 2501 ทำให้ มี ก ารยกเลิ ก รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง

ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 โดยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

พุทธศักราช 2502 บังคับใช้แทนเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้มีการกำหนด ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้น ซึ่งใช้ เวลาถึง 9 ปีจึงแล้วเสร็จ และได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติให้รัฐสภามี 2 สภา คือวุฒิสภา และ สภาผู้ แ ทนราษฎร ประกอบเป็ น รั ฐ สภา และต้ อ งมี ก ารเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรภายใน 240 วั น นั บ แต่ วั น ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ จึงจัดให้มี การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 9 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบรวมเขต มีจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 219 คน และจังหวัดนนทบุรีมี ส.ส. จำนวน 2 คน ชื่อ นายเติม ทับทิมทอง สังกัดพรรคสหประชาไทย และ นายประยูร จอประยูร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 คณะปฏิวัตินำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองและให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี สิ้นสุดลงพร้อมรัฐธรรมนูญ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้จึงสิ้นสุดสมาชิกภาพ ต่อมาได้มีการประกาศใช้ ธรรมนู ญ การปกครองราชอาณาจั ก ร พ.ศ. 2515 บั ง คั บใช้ แ ทน เป็นการชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ นิติบัญญัติในฐานะรัฐสภา รวมทั้งได้กำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ขึ้น ในช่วงนั้นนักศึกษาและประชาชนได้มีการเดินขบวน เรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยเร็ว ทำให้ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ จนแล้วเสร็จและได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 46

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พุทธศักราช 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับ นี้ได้กำหนดให้รัฐสภามีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร และได้จัดให้มี การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 10 ในวันที่ 26 มกราคม 2518 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ เป็นการเลือกตั้ง ทางตรง แบบผสมระหว่างแบ่งเขตกับรวมเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขต เลื อ กตั้ ง ในแต่ ล ะเขตเลื อ กตั้ ง มี ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรไม่ เ กิ น

3 คนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (รวมเขต) ถ้าจังหวัดใดมีการ เลือกตั้งสภาผู้แทนได้เกินกว่า 3 คนให้แบ่งเขตเลือกตั้ง (แบ่งเขต) โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน และเขตที่เหลือต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 2 คน ในกรณีที่จังหวัดใดมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 4 คนให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต เขตละ 2 คน ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดจำนวน 269 คน ทำให้จังหวัดนนทบุรีมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 คน คือ นายแสวง ศรีมาเสริม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และ นายประยูร จอประยู ร ซึ่ ง สั ง กั ด พรรคประชาธิ ปั ต ย์ เ ช่ น กั น (กองการ ประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดจากการที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศยุบสภาผู้แทน ราษฎรในวันที่ 12 มกราคม 2519 โดยมีสาเหตุจากความขัดแย้ง ภายในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุปสรรคในการบริหาร ราชการแผ่นดิน และกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และ ได้มีการจัดให้มี การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 11 วันที่ 4 เมษายน 2519 ขึ้น ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบผสม ระหว่างแบบรวมเขตและแบ่งเขต ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจาก 47

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


การเลือกตั้งทั่วไป จำนวน 279 คน จังหวัดนนทบุรมี ี ส.ส. จำนวน 2 คน คือ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร สังกัดพรรคกิจสังคม และ นาย ประยูร จอประยูร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน นำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ประกาศ

ยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จาก เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ ส่งผลให้มีการยกเลิก การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เป็นผล ให้ รั ฐ สภาและรั ฐ บาลตามรั ฐ ธรรมนู ญ ถู ก ยกเลิ กไป และต่ อ มาได้ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 โดยได้กำหนดให้มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำการ ยึ ด อำนาจการปกครองประเทศขึ้นอี กครั้ง และได้ประกาศยกเลิ ก รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยพุ ท ธศั ก ราช 2519 โดยให้ ใ ช้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 บังคับใช้ แทนเป็นการชั่วคราว ซึ่งได้กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทำ หน้าที่นิติบัญญัติและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น เมื่อร่างเสร็จแล้ว ได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 โดยกำหนดให้รัฐสภามีสองสภา คือวุฒิสภา และสภาผู้แทน ราษฎร ซึ่งในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นภายในปี พ.ศ. 2521 แต่ถ้าไม่ อาจดำเนินการได้ก็ให้ขยายเวลาดำเนินการเลือกตั้งออกไป แต่ต้องไม่ เกิน 120 วันนับแต่วันสิ้นปี 2521 ดังนั้น จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ทั่วไป ครั้งที่ 12 ในวันที่ 22 เมษายน 2522 เป็นการเลือกตั้ง

ทางตรงแบบผสม ทั้งแบ่งเขตและรวมเขต เขตเลือกตั้งหนึ่งมีสมาชิก 48

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คน และไม่น้อยกว่า 2 คน ได้สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจำนวน 301 คน และ จังหวัดนนทบุรี มี ส.ส. จำนวน 2 คน คือ นายถวิล จันทร์ประสงค์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย (รัฐสภาสาร, 2524, น. 201-212; กรมการปกครอง กระทรวง มหาดไทย) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดโดยพระราชกฤษฎีกายุบ สภาผูแ้ ทน เมือ่ วันที่ 19 มีนาคม 2526 โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งมีสาเหตุจากรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีบัญญัติเกี่ยวกับการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่า ให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเป็นแบบรวมเขตและให้เลือกเป็นพรรคการเมือง นั่นคือ ให้ จั ง หวั ด เป็ น เขตเลื อ กตั้ ง เพี ย งเขตเดี ย ว และให้ ผู้ ส มั ค รสั ง กั ด พรรคการเมือง เวลาสมัครให้มีหมายเลขเดียวกันทั้งพรรค ประชาชน เลื อ กพรรคใด ก็ จ ะได้ ส มาชิ ก พรรคนั้ นไปทั้ ง หมด หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า

รวมเขต เบอร์เดียว แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้มีบทเฉพาะกาลให้มี การเลือกตั้งแบบผสมระหว่างแบบรวมเขตและแบ่งเขต โดยมีกำหนด เป็นระยะเวลา 4 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยต้องการให้ขยายเวลา การใช้บังคับบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกไปอีก 4 ปี แต่ ที่ประชุมรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว ซึ่งพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เห็นว่าถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ตามวิธีการใหม่ของรัฐธรรมนูญ 2521 นี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งและ ความรุ น แรงทางการเมื อ งได้ จึ ง ได้ ตั ด สิ นใจยุ บ สภาและจั ดให้ มี

การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 ในวันที่ 18 เมษายน 2526 เป็นการ เลือกตั้งทางตรง แบบผสม ทั้งแบ่งเขตและรวมเขต ได้สมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรจำนวน 324 คน ในส่วนของจังหวัดนนทบุรี มีเขตการ 49

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เลือกตั้งทั้งหมด 1 เขต มี ส.ส. ได้ 3 คน ประกอบด้วย นายประยูร จอประยูร สังกัดพรรคประชากรไทย ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร สังกัด พรรคประชากรไทย และ นายถวิล จันทร์ประสงค์ สังกัดพรรค ประชาธิ ปั ต ย์ (กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิ การสภา

ผู้แทนราษฎร, 2537) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดโดยพระราชกฤษฎีกา

ยุบสภาผู้แทน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากคณะรัฐมนตรี ได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับเพื่อปรับเปลี่ยนอัตราภาษีรถยนต์ใหม่ แต่ที่ ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้ สาเหตุเกิด จากการที่ พ รรคร่ ว มรั ฐ บาลบางกลุ่ ม ร่ ว มมื อ กั บ พรรคฝ่ า ยค้ า นเพื่ อ คัดค้านพระราชกำหนดนี้ ทำให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เห็นว่า ความแตกแยกที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการ แผ่นดินและกระทบถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ จึงได้ตัดสินใจ ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 14 ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 เป็ น การเลื อ กตั้ ง ทางตรงแบบแบ่ ง เขตกั บ

รวมเขต ถื อ เขตจั ง หวั ด เป็ น เขตเลื อ กตั้ ง ในแต่ ล ะเขตเลื อ กตั้ ง

มี ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรไม่ เ กิ น 3 คนและไม่ น้ อ ยกว่ า 2 คน

ถื อ เกณฑ์ ร าษฎรหนึ่ ง แสนห้ า หมื่ น คนคนต่ อ ผู้ แ ทนราษฎรหนึ่ ง คน

ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 324 คน เช่นเดียวกับการเลือก ตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 จังหวัดนนทบุรี มี ส.ส. จำนวน

3 คน ชื่อ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร สังกัดพรรคประชากรไทย นาย ประชุม รัตนเพียร พรรคประชากรไทย และ นายประยูร จอประยูร สั ง กั ด พรรคประชากรไทย (กองการประชาสั ม พั น ธ์ สำนั ก งาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537) 50

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดโดยพระราชกฤษฎีกายุบ สภาผู้แทน ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากพรรคการเมือง ต่างๆ หลายพรรคไม่สามารถจะดำเนินการในระบบพรรคการเมืองได้ อย่างมีเอกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคการเมืองยัง ไม่ยอมรับรู้ความคิดเห็นหรือมติของสมาชิกฝ่ายข้างมากในพรรคของ ตนอันเป็นการขัดต่อวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนา ประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 29 เมษายน 2531 (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) รัฐบาลได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 15 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบแบ่งเขตกับรวมเขต ทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 357 คน และในส่วนของ จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขตเลือกตั้ง มี ส.ส. จำนวน 4 คน ประกอบด้วย เขต 1 นายประกอบ สังข์โต พรรค ประชากรไทย นายสนม เปียร์นนท์ พรรคประชากรไทย เขต 2 นายถวิล จันทร์ประสงค์ พรรคชาติไทย นายประชุม รัตนเพียร พรรคประชากรไทย (กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร, 2537) สมาชิกภาพของผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยึด อำนาจการปกครองแผ่นดิน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่ง ชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ในวันที่ 23 กันยายน 2534 และได้มีการประกาศยกเลิกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 เป็นผลให้รัฐบาลต้องพ้น ไปตามรัฐธรรมนูญ (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) 51

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ต่อมาได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุ ท ธศั ก ราช 2534 ใช้ บั ง คั บ เป็ น การชั่ ว คราว ซึ่ งได้ ก ำหนดให้ มี

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญและพิจารณาร่าง

พระราชบัญญัติ เมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ได้ประกาศใช้เป็น รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั ก ราช 2534 ในวั น ที่

9 ธันวาคม 2534 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ภายใน 120 วัน นับแต่วันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 16 ในวันที่ 22 มี น า ค ม 2 5 3 5 ซึ่ ง ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง ค รั้ ง นี้ มี ส ม า ชิ ก ส ภ า

ผู้แทนราษฎรจำนวน 360 คน เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบผสม ระหว่างรวมเขตกับแบ่งเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ในแต่ละ เขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คนและไม่น้อยกว่า 2 คน จากการเลือกตั้งในครั้งนี้ จังหวัดนนทบุรี มีเขตการเลือกตั้ง ทั้งหมด 2 เขต มี ส.ส. ได้ 4 คน ประกอบด้วย เขต 1 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พรรคความหวังใหม่ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรค พลังธรรม เขต 2 นายถวิล จันทร์ประสงค์ พรรคพลังธรรม นาย อุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร พรรคพลั ง ธรรม (กองการประชาสั ม พั น ธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดโดยพระราชกฤษฎีกายุบ สภาผู้แทน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากได้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง จากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 (พฤษภาทมิฬ) ที่มีกระแส

ต่อต้านและเรียกร้องให้ พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออกจากการ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก พลเอกสุจินดา ไม่ได้เป็นสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎร และยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการสืบทอดอำนาจของ 52

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งได้ยึดอำนาจการ ปกครองแผ่ น ดิ น มาในปี 2535 จนกระทั่ ง พลเอกสุ จิ น ดา

คราประยูร ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่ อ มาได้ มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ แต่ ง ตั้ ง

นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีการจัดตั้งคณะ รั ฐ มนตรี เ ป็ น การเฉพาะกิ จ ในขณะที่ ป ระเทศอยู่ ใ นภาวะวิ ก ฤต ทางการเมือง เพื่อจะได้ใช้กระบวนการทางรัฐสภาและรัฐธรรมนูญคืน อำนาจการตั ด สิ น ใจทางการเมื อ งกลั บ ไปให้ ป ระชาชน ซึ่ ง

นายอานันท์ ปันยารชุน เห็นว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ของประเทศได้มีการพัฒนาเป็นปกติต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีความ สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแล้ว ประกอบกับเหตุการณ์ ไม่สงบเรียบร้อยต่างๆ ในขณะนั้ นได้ เ ข้ า สู่ ภ าวะปกติ แ ล้ ว จึ งได้ ตั ด สิ นใจประกาศยุ บ สภา

ผู้แทนราษฎรในวันที่ 30 มิถุนายน 2535 (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป ครั้ ง ที่ 17 ได้ จั ดให้ มี ขึ้ นในวั น ที่ 13 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบผสมระหว่างแบ่งเขต กับรวมเขต การเลือกตั้งครั้งนี้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 360 คน และพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุด จึงได้ เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสม ในส่วนของจังหวัดนนทบุรี มีเขต การเลือกตั้งทัง้ หมด 2 เขต มี ส.ส. ได้ 4 คน ประกอบด้วย เขต 1 พล.อ.ชวลิ ต ยงใจยุ ท ธ พรรคความหวั ง ใหม่ นางพิ ม พา

จันทร์ประสงค์ พรรคพลังธรรม เขต 2 นายถวิล จันทร์ประสงค์ พรรคพลั ง ธรรม นายอุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร พรรคพลั ง ธรรม 53

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎี ก ายุ บ สภาผู้ แ ทนราษฎรในวั น ที่ 19 พฤษภาคม 2538 เนื่องจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้เสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณี ก ารออกเอกสารสิ ท ธิ สปก. 4-01 ซึ่ ง หลั ง จากการอภิ ป ราย พรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนตัวจากการ เป็ น พรรคร่ ว มรั ฐ บาล ส่ งผลให้รัฐ บาลมี เสี ยงน้ อ ยกว่า กึ่ง หนึ่ ง ของ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็น นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตัดสินใจให้มีการยุบสภา ส่งผลให้วาระ การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) การเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป ครั้ ง ที่ 18 ได้ จั ด ให้ มี ขึ้ น ในวั น ที่ 2 กรกฎาคม 2538 ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นทางตรงแบบผสมระหว่าง รวมเขตและแบ่งเขต มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 391 คน สำหรับ การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ ใ นส่ ว นของจั ง หวั ด นนทบุ รี มี เ ขตการเลื อ กตั้ ง ทั้งหมด 2 เขต มี ส.ส. ได้ 5 คน ประกอบด้วย เขตการเลือกตั้งที่ 1 นายประกอบ สังข์โต พรรคประชากรไทย นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคประชากรไทย นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรคพลังธรรม เขตการเลื อ กตั้ งที่ 2 นายถวิล จันทร์ประสงค์ พรรคพลั งธรรม

นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคพลังธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 กันยายน 2539 อันเนื่อง มาจากการที่รัฐบาลประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้ รัฐบาลต้องประสบปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง ร่วมรัฐบาล โดยมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีถึง 5 ครั้งและมีการ ถอนตัวของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลหลายครั้งทำให้เสถียรภาพของ 54

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รัฐบาลไม่มั่นคง อีกทั้งพรรคฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี โดยมี พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 21 - 23 (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน พ.ศ. 2539 ในการอภิปรายครั้งนี้ได้มุ่งโจมตี นายบรรหาร ศิลปอาชา ในประเด็นของการบริหารประเทศโดยไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นตาม นโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ทางด้านเศรษฐกิจได้สร้าง ความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างมาก และประสบความล้มเหลวใน การแก้ไขปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม การเมือง และการบริ ห ารได้ ป ระสบความล้ ม เหลวในการรั ก ษาความสงบ เรี ย บร้ อ ยและความสงบสุ ข ของประชาชน ตลอดจนลิ ด รอนสิ ท ธิ เสรี ภ าพของประชาชนและสื่ อ มวลชนที่ พึ ง จะมี ใ นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 ก่อนที่จะมีการลงมติในญัตติ

ดังกล่าวพรรคร่วมรัฐบาลส่วนหนึ่งซึ่งประกอบด้วยพรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทยและพรรคมวลชน ได้ประชุมสมาชิกพรรคและมีมติให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ลาออกก่อนมีการลงมติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองรุนแรงมาก หากนายบรรหารไม่ ยอมลาออก พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน จะขอถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เมื่อแต่ละพรรคการเมืองได้ประกาศ จุ ดยืน ของตนเองต่อ สื่ อมวลชนแล้ว จึงมีการประชุมหารือ กันของ หั ว หน้ า พรรคร่ ว มรั ฐ บาลต่ า งๆ กั บ นายกรั ฐ มนตรี โดยสรุ ป ว่ า

นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี จะลาออกภายใน 7 วัน จากนั้นจะพิจารณาบุคคลที่มีความเหมาะสมใน 6 พรรคร่วมรัฐบาล เดิมมาดำรงตำแหน่ง 55

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 นายบรรหารได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 แทน เพื่อคืน อำนาจการตัดสินใจทางการเมืองไปให้กับประชาชนพิจารณาโดยการ เลือกตั้งใหม่ และมีแถลงการณ์ในการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่สำคัญว่า ตนต้องการจะลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ แต่การดำเนินการไม่อาจเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเชื่อว่า การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐบาลผสมหลายพรรคจะนำไปสู่ความ ขัดแย้งและปัญหาทางการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรง หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นชนวนให้เกิดปัญหาความไม่น่าเชื่อมั่นในระบบ และกลไกของรัฐ อันเป็นอันตรายต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ในระบอบรัฐสภาในที่สุด (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 19 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ในส่วนของจังหวัดนนทบุรี มีเขตการเลือกตั้งทั้งหมด 2 เขต มี ส.ส. ได้ 5 คน ประกอบด้วย เขต 1 นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรค ความหวั งใหม่ นายประกอบ สั ง ข์ โ ต พรรคประชากรไทย นาย สำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคประชากรไทย เขต 2 นายฉลอง เรี่ ย วแรง พรรคประชากรไทย นายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ พรรค ประชากรไทย ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่มีสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎรได้ รั บ เลื อ กตั้ ง มากที่ สุ ด ได้ เ ข้ า ดำรงตำแหน่ ง นายกรัฐมนตรี และประกาศว่าจะขออยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี เมื่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกาศใช้ และได้ดำเนินการออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญครบถ้วน จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการปฏิรูปการเมืองเต็มรูปแบบตาม 56

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่รัฐบาลก็ ต้องประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้น นายชวน หลีกภัย หัวหน้า พรรคประชาธิ ปัตย์ได้รับการสนับสนุนให้เข้าดำรงตำแหน่ งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนว่าจะเข้า มากอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของชาติ ปรากฏว่าตลอดระยะเวลาที่บริหาร ราชการแผ่นดินรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทำให้เกิด การเรียกร้องจากฝ่ายต่างๆ ให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ประกอบ กั บ สมาชิ ก พรรคฝ่ า ยค้ า นได้ ท ยอยกั น ลาออกจนเกื อ บหมด กดดั น รัฐบาลให้รีบยุบสภาผู้แทนราษฎรคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อให้มีการ ปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่ รั ฐ บาลให้ เ หตุผลว่า ต้อ งดำเนิน การออกกฎหมายว่ า ด้ ว ย

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไป เป็นไปโดยเรียบร้อย รวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม และก่อนที่สภา ผู้แทนราษฎรชุดนี้จะครบวาระในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 จึงได้มี พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543 เพื่อให้มีการเลือก ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ (ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 20 ในวันที่ 6 มกราคม 2544 มี จำนวนสมาชิก 500 คน ซึ่งในส่วนของจังหวัดนนทบุรี มีเขตการ เลื อ กตั้ ง ทั้ ง หมด 5 เขต ประกอบด้ ว ย เขต 1 นายอุ ด มเดช

รัตนเสถียร พรรคไทยรักไทย เขต 2 นายนิทศั น์ ศรีนนท์ พรรคไทยรักไทย เขต 3 นางพิ ม พา จั น ทร์ ป ระสงค์ พรรคไทยรั ก ไทย เขต 4 พ.อ.ดร.อภิ วั น ท์ วิ ริ ย ะชัย พรรคไทยรักไทย เขต 5 นายสุ ช าติ บรรดาศักดิ์ พรรคไทยรักไทย 57

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


การเลือกตั้งครั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้ง 5 เขต แต่ต่อมา กกต. ให้

ใบเหลืองย้อนหลังแก่ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ส.ส. เขต 3 จึงมี การเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 3 มีนาคม 2545 ซึ่งผลการเลือกตั้งซ่อม กกต. ได้ประกาศรับรอง นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ สังกัดพรรค ชาติพัฒนา เป็น ส.ส. เขต 3 แต่ต่อมานายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2546 จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ซ่อมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคม 2546 ซึ่งผลการเลือกตั้งซ่อม นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกการตั้งให้เป็น ส.ส. เขต 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากครบวาระ การดำรงตำแหน่ ง 4 ปี ต ามที่ รั ฐ ธรรมนู ญ กำหนด และได้ มี ก าร กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า หากสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงด้วยการ ครบวาระ ให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วันนับจากวันที่ครบ วาระการดำรงตำแหน่ง การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 21 มีขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 โดยพรรคไทยรักไทยของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่รวม พรรคต่ า งๆ เช่ น พรรคความหวั งใหม่ พรรคชาติ พั ฒ นา พรรค กิ จ สั ง คม พรรคเสรี ธ รรม และพรรคเอกภาพซึ่ ง ได้ เ ข้ า ร่ ว มกั บ

ไทยรักไทยก่อนหน้านั้น ได้เบอร์ 9 ใช้สโลแกนหาเสียงว่า “4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง” ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้ 377 ที่นั่ง จากจำนวน ทั้งหมด 500 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคชาติไทยซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ได้เบอร์ 1 หาเสียงด้วยสโลแกน “สัจจะนิยม” ได้ 26 ทีน่ งั่ ต่อมาภาย หลังได้เป็นฝ่ายค้าน ส่วนฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ได้เบอร์ 4 58

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


หาเสียงด้วยสโลแกน “ทวงคืนประเทศไทย” ได้ 96 ที่นั่ง แต่พื้นที่ ภาคใต้ได้ถึง 52 ที่นั่ง จากทั้งหมด 54 ที่นั่ง และพรรคมหาชน ได้ เบอร์ 11 ซึง่ เพิง่ ก่อตัง้ ก่อนหน้าการเลือกตัง้ ได้เพียง 2 ทีน่ งั่ ในส่วนจังหวัดนนทบุรี มีการเลือกตั้งทั้งหมด 6 เขตเลือกตั้ง ผู้ได้รับเลือกตั้งประกอบด้วย เขต 1 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรค

ไทยรักไทย เขต 2 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคไทยรักไทย เขต 3 นางพิ ม พา จั น ทร์ ป ระสงค์ พรรคไทยรั กไทย เขต 4 พ.อ.ดร.

อภิวันท์ วิริยะชัย พรรคไทยรักไทย เขต 5 นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ พรรคไทยรักไทย เขต 6 นายฉลอง เรี่ยวแรง พรรคไทยรักไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลง เพราะรัฐบาลพบกับ วิกฤตทางการเมืองเนื่องจากมีประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงตัดสินใจ ยุบสภาผู้แทนราษฎร สาเหตุของการยุบสภาเนื่องจากมีกลุ่มบุคคล บางกลุ่มไม่พอใจ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยกล่าว หาว่ามีการใช้อำนาจเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัวตนเอง แทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ การขายหุ้นบริษัทให้กับต่าง ชาติ จึงได้มีการชุมนุมเรียกร้องกดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่ง และนับวันได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางส่อเขาว่าจะมีการ เผชิญหน้าและอาจมีการปะทะกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย และอาจมีการ ฉวยโอกาสจากผู้ไม่ประสงค์ดีต่อบ้านเมือง และอาจลุกลามถึงขั้น ก่อการจลาจลวุ่นวายสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แม้ รัฐบาลจะได้ดำเนินการขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของ รัฐสภาโดยไม่มีการลงมติในวันแรกที่มีการเปิดประชุมรัฐสภาสมัย สามัญทั่วไปในวันที่ 8-9 มีนาคม 2549 แต่ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาดัง กล่าวได้ 59

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผูแ้ ทนราษฎร พ.ศ. 2549 เพื่อให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ โดยกำหนดให้มีการเลือก ตั้งทั่วไป ครั้งที่ 22 ขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2549 สร้างความตกใจ ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งตัวอดีต ส.ส. ของพรรคไทยรักไทยเอง และอดีต ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันมา ตลอดว่าจะไม่ยุบสภา ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่สามารถเตรียมตัวได้ ทัน อดีตพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้น คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรค ชาติไทย และพรรคมหาชน จึงได้ปฏิเสธที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือก ตั้ง เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม อีกทั้งคณะ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็แสดงออกให้เห็นในหลายวาระว่าไม่มี ความเป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทยอยู่เสมอ เมื่อ เป็ น เช่ น นี้ พรรคไทยรั กไทยจึ ง จั บ มื อ กั บ พรรคการเมื อ งขนาดเล็ ก

ส่ ง ผู้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง โดยไม่ ส นใจการบอยคอตของอดี ต 3 พรรคการเมืองฝ่ายค้าน การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคไทยรักไทยจึงไม่มี

คู่แข่งจากพรรคการเมืองอื่น หากแต่ต้องแข่งกับความศรัทราของ ประชาชน เพื่อให้ได้คะแนนเสียงสูงกว่าเกณฑ์ 20% ในเขตที่พรรค ส่งคนลงสมัครเพียงคนเดียว นอกจากนี้ในส่วนของการเลือกตั้งแบบ บัญชีรายชื่อก็มีปัญหาเช่นกัน เมื่อ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ผู้สมัคร จากพรรคไทยรักไทย ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ทำให้หมด สมาชิกภาพ พรรคไทยรักไทยจึงเหลือผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เพียง 99 คน เท่านั้น เมื่อการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 สิ้นสุดลง ปรากฏว่า มีถึง 40 เขตเลือกตั้ง ที่พรรคไทยรักไทยลงสมัครเพียงพรรคเดียว แต่ไม่สามารถผ่านเกณฑ์ 20% ได้ กกต. จึงจัดการเลือกตั้งใหม่ใน

วันที่ 23 เมษายน 2549 ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีบางเขตที่ผู้สมัคร 60

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พรรคเล็กย้ายเขตเลือกตั้งมาประกบกับพรรคไทยรักไทย เพื่อที่ไม่ต้อง ใช้เกณฑ์ 20% ตัดสินแต่ก็ยังมีบางเขตที่พรรคไทยรักไทยต้องส่ง

ผู้สมัครเพียงคนเดียว ภายหลังการเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน ก็ยังคง มีอีก 14 เขตการเลือกตั้ง ใน 9 จังหวัดที่ยังไม่มีผู้ชนะ กกต. จึงต้อง ประกาศให้จัดการเลือกตั้งอีกเป็นรอบที่ 3 ในวันที่ 29 เมษายน 2549 แต่ยังไม่ทันถึงวันเลือกตั้ง ในวันที่ 28 เมษายน ศาลปกครองก็ มีคำสั่งให้ระงับการเลือกตั้งในวันที่ 29 เมษายนไว้ชั่วคราว เนื่องจาก มี ผู้ ร้ อ งเรี ย นว่ า การเลื อ กตั้ งในวั น ที่ 2 และ 23 เมษายน 2549

ไม่ ช อบด้ ว ยกฎหมาย จากนั้ นในวั น ที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาล รัฐธรรมนูญจึงมีมีมติด้วยคะแนน 8 ต่อ 6 เสียง เห็นว่าการเลือกตั้ง ส.ส. ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นต้นมา ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจัดการ การเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้งทั้งหมด (โมฆะ) และมี คะแนน 9 ต่อ 5 เสียง ให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมี มติ เ ช่ น นี้ จึ ง ถื อ ว่ า ผู้ ที่ ช นะการเลื อ กตั้ ง ทั้ ง หมดไม่ ไ ด้ เ ป็ น ส.ส.

(ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ, 2543) อย่ า งไรก็ ดี ผลการเลื อ กตั้ ง อย่ า งเป็ น ทางการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 มีดงั นี้ เขต 1 นายนิทศั น์ ศรีนนท์ พรรคไทยรักไทย เขต 2 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคไทยรักไทย เขต 3 นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรคไทยรักไทย เขต 4 พ.อ.ดร. อภิวนั ท์ วิริยะชัย พรรคไทยรักไทย เขต 5 นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ พรรคไทยรักไทย ตามรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทยฉบั บ ปั จ จุ บั น พ.ศ. 2550 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 480 คน โดยแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อหรือแบบสัดส่วน มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน 61

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ราษฎร 80 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเขตเลือกตั้งอีก 400 คน มี ส.ส. ในเขตเลือกตั้งเขตละไม่เกิน 3 คน และเป็นการ กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรของไทยมีจำนวนคงที่คือ 480 คน มี วาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตเลือกตั้งนั้น มีที่มา จากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงในเขตเลือกตั้งนั้น โดยแบ่งเขต เลือกตั้งออกเป็น 400 เขต เขตเลือกตั้งละ 1 คน ใช้ระบบการเลือก ตั้งแบบเสียงข้างมาก ผู้ใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง มากที่สุด ผู้นั้นได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เกิดจากการจัดทำ บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต่างๆ เรียงตามลำดับตั้งแต่ 1-100 และเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสัดส่วนคะแนนที่ได้รับจาก

ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยเขตเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน ระบบนี้ ใ ช้ ป ระเทศเป็ น เขตเลื อ กตั้ ง และหากบั ญ ชี ร ายชื่ อ ของ พรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่ถึงร้อยละ 5 ของผู้มาใช้ สิทธิเลือกตั้งให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีนั้นได้รับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 23 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จังหวัดนนทบุรี แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต แต่ละเขตมีจำนวน ส.ส. เขตละ 3 คน ผู้ได้รับเลือกตั้งมีดังนี้ เขต 1 นายอุดมเดช

รั ต นเสถี ย ร พรรคพลั ง ประชาชน นายนิ ทั ศ น์ ศรี น นท์ พรรค

พลังประชาชน นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ พรรคพลังประชาชน

เขต 2 นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ นายทศพล

เพ็ ง ส้ ม พรรคประชาธิ ปั ต ย์ พ.อ.ดร. อภิ วั น ท์ วิ ริ ย ะชั ย พรรค

พลังประชาชน (http://www.politics.myfirstinfo.com/viewnews, 2550.) 62 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


แต่ต่อมานายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมขึ้นอีกครั้งในวันที่ 25 มกราคม 2552 ซึ่งผลการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. วันที่ 25 มกราคม 2552 นายณรงค์ จันทนดิษฐ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกการตั้ง ให้เป็น ส.ส. เขต 2

ภูมิหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นนทบุรี

ในส่วนนี้จะเป็นการนำเสนอภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นใน จังหวัดนนทบุรี เครือข่าย รวมทั้งวิธีการหาเสียง เพื่อที่จะฉายภาพให้ เห็นภาพการเมืองในจังหวัดนี้ โดยคนแรกที่จะกล่าวถึง คือ นายทนง นิยมะสินธุ เดิมนายทนงเป็นชาวสวน มีอาชีพทนายความ และได้ใช้วิชา ความรู้ ข องตนช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า นเป็ น ทนายอาสา โดยไม่ ห วั ง ค่ า ตอบแทน จนเป็นที่นับถือชาวบ้าน เมื่อตัดสินใจลงเล่นการเมืองก็ อาศัยการขายทรัพย์สินมาเป็นทุนรอนในการหาเสียง ลงพื้นที่พูดคุย กับชาวบ้าน ในสมัยนั้นจะไม่ใช้การแจกเงินหรือสิ่งของแต่จะเป็นการ เข้าไปพูดคุย ดื่มสุรา ทำให้เป็นที่รู้จักของบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลต่อการกำหนดความคิดของชาวบ้านในพื้นที่มาก นายทนงได้รับเลือกเข้ามาเป็น ส.ส. 2 สมัย แต่สุดท้ายนายทนงก็ เบื่อหน่ายการเมือง เพราะมีการยุบสภาบ่อย โดยเป็น ส.ส. สมัยแรก เพียง 7 เดือน สมัยที่ 2 เพียง 10 เดือน เนื่องจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศทั้ง 2 ครั้ง ประกอบกับ ต้องใช้จ่ายในการหาเสียงแต่ละครั้งมาก 63

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


หลังจากเหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครองประเทศในวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้มีการยกเลิก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 และมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้น ซึ่ง ใช้เวลาถึง 9 ปี จนมีการเลือกตั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 จังหวัดนนทบุรไี ด้ ส.ส. 2 คน คือ นายประยูร จอประยูร และนายเติม ทั บ ทิ ม ทอง ในส่ ว นของ นายประยู ร จอประยู ร นั้ น เป็ น ชาว ไทรน้อย ทำงานเป็นทนายอาสาเช่นเดียวกับนายทนง นิยมะสินธุ มี ชื่ อ เสี ย งมากแถบ อำเภอไทรน้ อ ย ประกอบกั บได้ แ กนนำพรรค ประชาธิปัตย์ คือ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี มาช่วยปราศรัยหาเสียง ส่วน นายเติม ทับทิมทอง เป็นคหบดีในจังหวัดนนทบุรี เป็นเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยว “ทิมแลนด์” ในช่วงเลือกตั้งนายเติม ต้องใช้จ่ายเงิน เป็นจำนวนมาก เปิดให้คนไทยเข้าไปเที่ยวในทิมแลนด์ฟรี (ปกติเก็บ ค่าผ่านประตูคนละ 100 บาท) มีอาหารเลี้ยง จนในที่สุดก็เลิกเล่น การเมื อ งและไปตั้ ง รกรากใหม่ ที่ ป ระเทศสหรั ฐ อเมริ ก า (สมนึ ก

ธนเดชากุล, สัมภาษณ์, มกราคม 2552) นายประยูร ยังทำงานการเมืองในพื้นที่ เป็นขวัญใจคนจนมา ตลอด โดยเฉพาะแถบอำเภอไทรน้อย เป็นฐานเสียงที่เหนียวแน่น ของนายประยูร จนแทบจะกล่าวได้ว่า ชาวไทรน้อยกาเลือกเบอร์ เดียว จนได้เป็น ส.ส. ในครั้งต่อๆ มาอีก 2 ครั้ง (พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2519) หลังจากนั้นก็ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้ เป็น ส.ส. อีก 2 สมัย (พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2529) ในการเลือก ตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 นอกจากนายประยูร จะได้รับเลือก ตั้งแล้ว ยังได้ ส.ส. หน้าใหม่อีกหนึ่งคน คือ นายแสวง ศรีมาเสริม ซึ่งป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2510-2514 เมื่ อ เกษี ย ณอายุ ร าชการ บุ ต รชายนายแสวงก็ ม าขอให้ น ายสมนึ ก

ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนนทบุรี (สมัยนั้น) และ 64

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


กลุ่มพลังหนุ่ม ให้การสนับสนุน จนได้เป็น ส.ส. นนทบุรี แต่ภายหลัง การเลือกตั้งก็เกิดความขัดแย้งกัน นายสมนึกและกลุ่มพลังหนุ่มก็เลิก ให้การสนับสนุน นายแสวงจึงเลิกเล่นการเมืองไป ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 จังหวัดนนทบุรีได้ ส.ส. หน้าใหม่คู่กับนายประยูร คือ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร หากจะ ว่าไปแล้ว ร.อ.ชะโลม ก็มิใช่นักการเมืองหน้าใหม่ในจังหวัดนนทบุรี ร.อ.ชะโลม เคยรับราชการในกรมยุทธโยธาทหารบก ภายหลังลาออก จากราชการมาทำงานที่ ธ นาคารกรุ ง เทพพาณิ ช ยการ จนได้ เ ป็ น

ผู้จัดการธนาคาร ทำให้ได้รู้จักคนมากมายทั้งพ่อค้า นักธุรกิจ จนมี เพื่อนฝูงชักชวนให้มาเล่นการเมืองท้องถิ่น จนได้รับเลือกเป็นสมาชิก สภาเทศบาล และได้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2517 ร.อ.ชะโลม มีกลุ่มการเมืองท้องถิ่นของตนเองที่เข้มแข็ง กลุ่มหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ร.อ.ชะโลม เคยลงสมัครครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกในครั้งนั้น จากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2519 ซึ่งในขณะนั้นมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคม และนายกรัฐมนตรี และก็ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ หลังจากนั้น ร.อ.ชะโลม ก็ย้ายไปสังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย และได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง การเมืองในจังหวัดนนทบุรีมีลักษณะคล้ายกับกรุงเทพฯ กล่าว คือ หากกระแสคนกรุงเทพฯ ให้ความนิยมบุคคล/พรรคการเมืองใด คนในจังหวัดนนทบุรีก็จะรู้สึกเช่นเดียวกันกับคนกรุงเทพฯ ตัวอย่างที่ เห็นได้ชัดเจน คือในปี พ.ศ. 2522 เกิดกระแสความนิยมในตัว นาย สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย กระแสความนิยมนี้ก็ แผ่มาถึงจังหวัดนนทบุรีด้วย ทำให้ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดนนทบุรีที่ 65

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ประสบความสำเร็จมักจะสังกัดพรรคประชากรไทย ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ร.อ.ชะโลม และ นายประยูร ได้ย้าย มาสั ง กั ด พรรคประชากรไทย ในช่ ว งนั้ น ร.อ.ชะโลม ได้ รั บ การ สนับสนุนจากเทศบาลเมืองนนทบุรีและเทศบาลบางบัวทอง และที่ เป็นฐานเสียงสำคัญ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพราะเป็นคนที่เข้าไป คลุกคลีกับคนในพื้นที่ (สมนึก ธนเดชากุล, สัมภาษณ์, กุมภาพันธ์ 2552) หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2529 นายประชุม รัตนเพียร ซึ่งเคย เป็น ส.ส. กรุงเทพฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ย้ายมาลงสมัครในจังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย แม้ว่า จะไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่นายประชุม สามารถเข้าถึงกลุ่มนักการเมือง

ท้ อ งถิ่ น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี จึ ง ได้ รั บ การเลื อ กตั้ ง ติ ด ต่ อ กั น ถึ ง 2 ครั้ ง

(พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531) โดยการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ วั น ที่ 27 กรกฎาคม 2529 ผู้สมัครจากพรรคประชากรไทย ได้แก่ นายประยูร จอประยูร ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร และนายประชุม รัตนเพียร ได้รับ การเลื อ กตั้ ง ยกที ม แต่ ภ ายหลั ง นายประยู ร ประสบอุ บั ติ เ หตุ ท าง รถยนต์ คนขับรถเสียชีวติ ส่วนนายประยูร บาดเจ็บสาหัสถึงขัน้ ทุพพลภาพ จึงเลิกเล่นการเมืองในที่สุด ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 มีผู้สมัครหน้า ใหม่ ในสังกัดพรรคประชากรไทยอีกหนึ่งคนที่ได้รับการเลือก คือ นายสนม เปียร์นนท์ เดิมนายสนมเคยเป็นกำนันมาก่อน นายสนม สำเร็จการศึกษาเพียงชั้นประถมปีที่ 4 (เดิมกฎหมายไม่ได้กำหนด

คุณวุฒิของผู้สมัคร) แต่มีพี่ชายชื่อ นายสนั่น เปียร์นนท์ เป็นนายก สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดนนทบุรี ทำให้มีเครือข่ายในจังหวัด นนทบุรีมาก ในการเลือกตั้งครั้งนี้นอกจากนายสนมแล้วก็ยังมี นาย 66

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ประกอบ สังข์โต อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองนนทบุรี ปี พ.ศ. 2527-28 ที่ได้รับเลือกด้วย ทั้งนายสนมและนายประกอบ จะลงหา เสียงด้วยกัน แต่ภายหลังทั้งคู่ก็มีเหตุขัดแย้งกัน นายสนมหมดเงินไป กับงานการเมืองมาก จึงไม่สนใจที่จะเล่นการเมืองไป หากย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2522 มีนักการเมืองคนสำคัญของ จังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการเลือกตั้ง คือ นายถวิล จันทร์ประสงค์ แม้ นายถวิลจะไม่ใช่คนพื้นเพจังหวัดนนทบุรี แต่มีภรรยา (นางพิมพา จั น ทร์ ป ระสงค์ ) เป็ น คนในพื้นที่ ประกอบกับเคยเป็นสมาชิ ก สภา เทศบาลธนบุรี และประธานลูกเสือชาวบ้านมาก่อน ทำให้มีทักษะ และเครือข่ายทางการเมืองมากพอสมควร นายถวิลเคยลงสมัครเลือก ตั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จมาก่อน จนได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2522 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับ เลือกอีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในวันที่ 18 เมษายน 2526

หลังจากนั้นนายถวิล ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกใน วันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ด้วยกระแสความนิยมในพรรคพลังธรรม ทำให้นายถวิลย้ายไปสังกัดพรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยพรรคพลังธรรมได้ร่วมรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ส่วนนายถวิลได้ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และได้เป็น ส.ส. มาตลอด จนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 นายถวิลได้ย้ายพรรคอีกครั้งมาลงสมัครในนาม พรรคความหวังใหม่ เนื่องจากกระแสความนิยมในพรรคพลังธรรม ตกต่ ำ แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ รั บ เลื อ กตั้ ง ต่ อ มานายถวิ ล ประสบอุ บั ติ เ หตุ ท าง รถยนต์ หลั ง จากนั้ น จึ ง เบนเข็ ม ไปสมั ค รเป็ น สมาชิ ก วุ ฒิ ส ภาแทน (ถวิล จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551)

67

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 จังหวัดนนทบุรีก็ มี ส.ส. หน้าใหม่ ซึ่งได้สั่งสมประสบการณ์จนสามารถยืนหยัดเป็น ส.ส. จนถึงปัจจุบันนี้ คือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ซึ่งเป็นบุตรชาย ของ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร หลังจากที่ ร.อ.ชะโลม มีปัญหาสุขภาพ ทางผู้สนับสนุนจึงขอให้นายอุดมเดช มาลงสมัคร โดยในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 นายอุดมเดช ลงสมัครในสังกัดพรรค ชาติ ไ ทย แต่ ด้ ว ยความที่ เ ป็ น ผู้ ส มั ค รหน้ าใหม่ และสั ง กั ด พรรค

ชาติไทยซึ่งไม่เป็นที่นิยมมากนักในจังหวัดนนทบุรี จึงพ่ายแพ้ต่อการ เลือกตั้ง จนกระทั่งในการเลือกครั้งต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรคพลัง ธรรม และลงทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับการเลือกตั้ง ติดต่อมาจนกระทั่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 นายอุดมเดช กลับสอบตก เนื่องจากเป็นช่วงที่พรรคพลังธรรมเสื่อม ความนิยมลง มีเพียงนางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ เพียงคนเดียวที่ได้รับ การเลื อ กตั้ ง หลั ง จากที่ พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ก่ อ ตั้ ง พรรค

ไทยรักไทย นายอุดมเดช ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย เนื่องจาก มี ค วามสนิ ท สนมกั บ นางสุ ด ารั ต น์ สมั ย ที่ เ คยอยู่ พ รรคพลั ง ธรรม

ด้ ว ยกั น จนกระทั่ งในการเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ต่ อ มาในวั น ที่ 6 มกราคม 2544 นายอุดมเดช จึงได้รับการเลือกกลับมาอีกครั้ง และได้รับการ เลือกตั้งอย่างต่อเนื่องมาจนถึงการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2550 โดยในปี พ.ศ. 2551 นายอุ ด มเดช ได้ รั บ แต่ ง ตั้ งให้ เ ป็ น รั ฐ มนตรี ว่ า การ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในสมัยรัฐบาล นายสมชาย วงศ์ ส วั ส ดิ์ (อุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร, สั ม ภาษณ์ , กรกฎาคม. 2551) สำหรับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ยังมี

ผู้ ส มั ค รที่ ไ ด้ รั บ ความสนใจอย่ า งมากอี ก หนึ่ ง คน คื อ พล.อ.ชวลิ ต

ยงใจยุทธ ที่ยอมทิ้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการ

68

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งดูไม่เป็นการยากที่จะเข้ามาเป็น ส.ส. โดย มีนายทหารและข้าราชการที่ใกล้ชิดให้การสนับสนุนเต็มที่ โดยเฉพาะ พ.อ.ดร.อภิ วั น ท์ วิ ริ ย ะชั ย ที่ ย อมลาออกจากราชการมาช่ ว ยงาน มวลชนให้ พล.อ.ชวลิต อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศผลการ เลือกตั้งดูเหมือนพรรคความหวังใหม่จะไม่สามารถครองใจชาวจังหวัด นนทบุ รี ไ ด้ ม ากนั ก เพราะแม้ ก ระทั่ ง อดี ต ผู้ ว่ า ฯ จั ง หวั ด นนทบุ รี

(ดร.สุกิจ จุลละนันท์) ที่ลงสมัครทีมเดียวกับ พล.อ.ชวลิต ก็สอบตก ทำให้ พล.อ.ชวลิต ต้องกลับมาตั้งหลักวางแผนใหม่ เพื่อไปให้ถึงจุด หมาย คือ การเป็นนายกรัฐมนตรี จึงต้องเบนเข็มไปสมัครเป็น ส.ส. ในภาคอี ส าน (จั ง หวั ด นครพนม) ในการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ วั น ที่

2 กรกฎาคม 2538 (ณพทศ ทศิธร, สัมภาษณ์, ธันวาคม 2551) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2531 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ก่อตั้ง พรรคพลังธรรมขึ้น กระแสความนิยมในตัว พล.ต.จำลองในฐานะ นักการเมืองผู้สมถะ พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นกระแส “จำลอง ฟี เ วอร์ ” นั้ น พล.ต.จำลองได้ ผั น ตั ว เองจากตำแหน่ ง ผู้ ว่ า กรุงเทพมหานคร ลงสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติ ในการเลือกตั้งเมื่อ

วันที่ 22 มีนาคม 2535 พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมสูงสุดใน พื้นที่กรุงเทพฯ ได้ถึง 32 ที่นั่งจาก 35 ที่นั่ง กระแสความนิยมนี้

ก็เป็นเช่นเดียวกับพื้นที่ในจังหวัดนนทบุรี พล.ต.จำลองได้มาชักชวน นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี เข้าร่วม เป็นสมาชิกพรรค เมื่อนายสมนึกตอบรับ พล.ต.จำลอง จึงได้มอบ หมายให้ นายสมนึก เป็นผู้คัดเลือกผู้สมัครในนามพรรคพลังธรรมใน จังหวัดนนทบุรี เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดย

นายสมนึ ก ได้ ว างตั ว ดร.สุ กิ จ จุ ล ละนั น ท์ (อดี ต ผู้ ว่ า ฯ นนทบุ รี ระหว่าง พ.ศ. 2526-30) แต่แล้ว ดร.สุกิจ ได้ขอถอนตัว เพื่อไปลง สมัครในนามพรรคความหวังใหม่ นายสมนึกจึงเปลี่ยนแผนไปชักชวน 69

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นางพิมพา จันทร์ประสงค์ มาลงแทน ผลปรากฏว่า นางพิมพาได้รับ การเลือกเป็น ส.ส. สมัยแรก พร้อมกับ นายถวิล จันทร์ประสงค์ และนายอุดมเดช รัตนเสถียร ในนามพรรคพลังธรรม การชนะเลือกตั้งหนนี้จึงเป็นเหตุการณ์สนับสนุนกระแสความ นิยมพรรคพลังธรรมเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับพรรคประชากรไทย มาแล้ว อย่างไรก็ตาม นางพิมพา ก็มิใช่บุคคลที่ชาวบ้านไม่เคยรู้จัก เพราะนางพิมพาได้ช่วยสามี (นายถวิล จันทร์ประสงค์) ร่วมกิจกรรม ทางการเมื อ งมาโดยตลอด จึงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของชาวจั ง หวั ด นนทบุรีอยู่แล้ว และนางพิมพาก็ได้รับเลือกอีกครั้ง ในนามพรรค

พลังธรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 และได้ย้ายมาสังกัดพรรค ความหวั งใหม่ ใ นการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ วั น ที่ 17 พฤศจิ ก ายน 2539

หลังจากนั้นนางพิมพา ได้ย้ายมาอยู่พรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 นางพิมพา ชนะการเลือกตั้ง แต่ กกต. ให้ใบเหลือง และจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 3 มีนาคม 2545 โดยนายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ ชนะเลือกตั้ง แต่นายสำเร็จ เสีย ชีวิตลง จึงต้องกลับมาเลือกตั้งซ่อมอีกครั้งในวันที่ 7 กันยายน 2546 โดยนางพิมพา สามารถกลับมาทวงตำแหน่งคืนได้ แต่นางพิมพา

ก็ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีในฐานะกรรมการบริหารพรรค ไทยรักไทย หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค (สมนึก ธนเดชากุล, สัมภาษณ์, กุมภาพันธ์ 2552) หลังจากการยุติบทบาททางการเมืองของ พล.ต.จำลอง ทำให้ กระแสความนิยมในพรรคพลังธรรมลดลงไปด้วย ซึ่งรวมถึงในจังหวัด นนทบุรีเช่นกัน แม้จะมีสมาชิกพรรคผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาเป็นหัวหน้า พรรคพลั ง ธรรมแทน ก็ ไ ม่ ส ามารถฉุ ด กระแสขึ้ น มาได้ เ หมื อ นเดิ ม ทำให้พรรคประชากรไทยกลับมาเป็นที่นิยมของชาวจังหวัดนนทบุรี

70

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


อี ก ครั้ ง โดยในการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ วั น ที่ 2 กรกฎาคม 2538 พรรค ประชากรไทยสามารถกลั บ มายึ ด ที่ นั่ ง ส.ส. คื นได้ 2 ที่ นั่ ง จาก

นายประกอบ สังข์โต ซึ่งพ่ายแพ้การเลือกตั้งไปใน 2 ครั้งที่ผ่านมา และนายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ อดีตประธานสภาจังหวัดนนทบุรี และในการเลือกตั้งครั้งต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 พรรคประชากรไทย สามารถกวาดที่นั่ง ส.ส. มาได้ 4 ที่นั่ง จาก

นายประกอบ สังข์โต นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ และ 2 ส.ส. หน้าใหม่ คือ นายฉลอง เรี่ยวแรง อดีตสมาชิกสภาเทศบาล และ นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ อดีตประธานสภาจังหวัดนนทบุรี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2540 ได้เกิดเหตุการณ์ ซึ่งเรียกว่า “กลุ่มงูเห่า” ขึ้น โดยสมาชิกพรรคประชากรไทย 12 คน หันไป สนับสนุน นายชวน หลีกภัย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ซึ่ง ขัดต่อความเห็นของ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค โดย 3 ใน 12 คนนั้น คือ นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ และนายฉลอง เรี่ยวแรง หลังเหตุการณ์ดังกล่าวกระแสความนิยมใน พรรคประชากรไทยก็ ล ดลงในกรุ ง เทพฯ และในจั ง หวั ด นนทบุ รี สมาชิกกลุ่มงูเห่าได้ย้ายไปสังกัดพรรคราษฎร หลังจากนั้นนายสุชาติ ย้ า ยไปสั ง กั ด พรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งในครั้ ง ต่ อ มา

(6 มกราคม 2544) ส่ ว นนายสำเร็ จ และนายฉลอง ไม่ ไ ด้ รั บ

เลือกตั้ง จนกระทั่งการเลือกตั้งซ่อมแทนนางพิมพา จันทร์ประสงค์

ที่ได้รับใบเหลือง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2545 นายสำเร็จย้ายไปอยู่ พรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ก็มีปัญหาสุขภาพ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนนายฉลอง เมื่อย้ายไปสังกัดพรรค

ไทยรักไทยก็ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็น ส.ส. อีกครั้ง แต่หลังจากที่ นายเสนาะ เที ย นทอง ขั ด แย้ ง กั บ พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ นายเสนาะ

71

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


จึงลาออกจากพรรคไทยรักไทย พร้อมคนสนิท ซึ่งรวมถึงนายฉลอง และนายสุชาติ โดยนายเสนาะ ไปตั้งพรรคประชาราช ซึ่งเป็นพรรค เกิดใหม่ที่ไม่ได้รับความนิยมนัก ส่งผลให้นายฉลองและนายสุชาติไม่ ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาอีก (สุชาติ บรรดาศักดิ์, สัมภาษณ์, พฤศจิกายน 2551) เมื่อกล่าวถึงพรรคไทยรักไทย ซึ่งกลายเป็นพรรคยอดนิยม เมื่ อ ครั้ ง การเลื อ กตั้ ง วั น ที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรั ก ไทย สามารถกวาดที่ นั่ ง ส.ส. ในจั ง หวั ด นนทบุ รี ได้ ย กที ม โดยมี

นายนิทัศน์ ศรีนนท์ และ พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย ได้เป็น ส.ส. สมัยแรก โดยนายนิทัศน์ เคยเป็นเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี

นายนิ ทั ศ น์ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากนายสมนึ ก ธนเดชากุ ล นายก เทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี ในการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรค

ไทยรั กไทย แข่ ง กั บ นายเสนาะ เที ย นทอง ที่ เ สนอนายประกอบ

สังข์โต แต่สุดท้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เลือกนายนิทัศน์ ส่วน พ.อ.ดร.อภิวันท์ นั้น เมื่อเข้ามาทำงานการเมืองครั้งแรกได้ช่วยงาน มวลชนให้กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และพรรคความหวังใหม่ จน กระทั่งเมื่อ พล.อ.ชวลิต ย้ายไปสมัคร ส.ส. ในจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2538 แล้ว จึงได้วางตัว พ.อ.ดร.อภิวันท์ เป็นทายาททางการ เมืองในจังหวัดนนทบุรี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งย้ายมา สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นคนสนิทของนายเสนาะ เทียนทอง ในสมัยที่เป็นประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย จึงได้รับการเลือกตั้ง เป็น ส.ส. สมัยแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 และได้รับเลือกตั้ง เรื่อยมาจนถึงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พ.อ.ดร.อภิวันท์ ได้รับ ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551 (ณพทศ ทศิธร, สัมภาษณ์, ธันวาคม 2551) 72

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


หลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค กรรมการบริหารพรรค 111 คน ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี พรรคไทยรักไทยจึงมีมติส่ง ส.ส. เก่า สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน เพื่อลงรับเลือกตั้งใน วันที่ 23 ธันวาคม 2550 และในการเลือกตั้งครั้งนี้มี ส.ส. หน้าใหม่ ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กถึ ง 3 คน คื อ นายมานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์

นายสมบั ติ สิ ท ธิ ก รวงศ์ และนายทศพล เพ็ ง ส้ ม สำหรั บ

นายมานะศั ก ดิ์ นั้ น เป็ น บุ ต รชายของ นายถวิ ล และนางพิ ม พา

จันทร์ประสงค์ เมื่อบิดาเลิกเล่นการเมืองแล้ว มารดาก็เป็น 1 ใน 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง 5 ปี ครอบครัวจันทร์ประสงค์ จึงสนับสนุนบุตรชายมาลงเลือกตั้งใน สั ง กั ด พรรคพลั ง ประชาชน โดยอยู่ ร่ ว มที ม เดี ย วกั บ นายอุ ด มเดช

รัตนเสถียร และนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งรายอื่น แต่ต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบ พรรค สมาชิ ก พรรคส่ ว นใหญ่ ย้ า ยเข้ าไปสั ง กั ด พรรคเพื่ อไทย แต่

นายมานะศักดิไ์ ด้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยและยกมือสนับสนุนนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สำหรับนายสมบัติ และนายทศพล ถือเป็นผู้สมัครที่สามารถ นำชื่อพรรคประชาธิปัตย์กลับมาที่จังหวัดนนทบุรีอีกครั้งหลังจากชื่อ ประชาธิปัตย์ได้หายไปจากจังหวัดนี้นานกว่า 20 ปี จากข้อมูลการ สัมภาษณ์ทำให้สามารถประมวลเหตุผลสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์ สามารถกลับมาได้ที่นั่ง ส.ส. ในจังหวัดนนทบุรี ดังนี้ 1. ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาประชาชนในจังหวัดนนทบุรีนิยมเลือก

ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่อยู่ในกระแสสังคม โดยเฉพาะกระแส ความนิยมของชาวกรุงเทพฯ (เจริญ ทองทวี, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552) 73 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2. ปั จ จุ บั น จั ง หวั ด นนทบุ รี มี ก ารพั ฒ นาเมื อ งอย่ า งรวดเร็ ว

มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งทำเลที่ตั้งอยู่ติด กับกรุงเทพฯ เหตุนี้เองทำให้ชาวกรุงเทพฯ เข้าไปซื้อบ้านพักอาศัย เป็นจำนวนมาก จนทำให้ปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีประชากรมากถึง 1,700,000 คน คนเหล่ า นี้ ก็ ยิ่ ง ตอกย้ ำ กระแสความนิ ย มของคน กรุงเทพฯ ยิ่งขึ้น (มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552) 3. พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ถื อ ว่ า เป็ น พรรคที่ มี ฐ านเสี ย งอย่ า ง เหนี ย วแน่ น ในจั ง หวั ด นนทบุ รี ม าตั้ ง แต่ พ.ศ. 2512 สมั ย ที่

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี มาเปิดปราศรัยช่วยผู้สมัครหาเสียง (สมนึก ธนเดชากุล, สัมภาษณ, กุมภาพันธ์ 2552) 4. สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อีกประการคือตัวบุคคล จะสังเกตได้ว่า ส.ส. ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เคยผ่านงานการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน สิ่งนี้เป็นองค์ประกอบสนับสนุนในเรื่องฐานเสียงได้เป็นอย่างดี (ณรงค์ จันทนดิษฐ, สัมภาษณ์, พฤษภาคม 2552) ภายหลังการเสียชีวิตของนายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ เมื่อวันที่ 15 ธั น วาคม 2551 พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ได้ เ ลื อ กนายณรงค์

จันทนดิษฐ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีและ อดี ต ประธานสภาจั ง หวั ด นนทบุ รี ลงเลื อ กตั้ ง ซ่ อ ม โดยสามารถ เอาชนะคู่แข่งอย่างนายสุชาติ บรรดาศักดิ์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อดีต ส.ส. นนทบุรี 4 สมัย และนายฉลอง เรี่ยวแรง ผู้สมัครจาก พรรคประชาราช อดีต ส.ส. นนทบุรี 2 สมัย ล้วนเป็นสิ่งยืนยัน พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ ง ของชาวจั ง หวั ด นนทบุ รี ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี ซึ่ ง ประเด็ น พฤติ ก รรมการเลื อ กตั้ งในจั ง หวั ด นี้ จ ะเป็ น เรื่ อ งที่ น่ า สนใจ ติดตามต่อไป 74 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ประวัตินักการเมือง จังหวัดนนทบุรี

1. ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2480 ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2448 ที่ ตำบลบางรักน้อย ในคลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนที่ 7 ของขุ น ระงั บโจรกรรม (สอน ระงับภัย) และนางระงับโจรกรรม (ทอง ระงับภัย) สมรสกับนางสาวมณี รัตนพฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2480 มีธิดา 1 คน และมีบุตรกับนางวลัย อีก 3 คน ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2406 รวม อายุได้ 58 ปี ทางด้ า นการศึ ก ษา ร.ต.อ.ฟุ้ ง ระงั บ ภั ย สำเร็ จ การศึ ก ษา ประโยคมั ธ ยมจากโรงเรี ย นวั ด เบญจมบพิ ต ร หลั ง จากนั้ นในวั น ที่

1 พฤษภาคม 2468 ได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ (จังหวัดนครปฐม) กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ใช้เวลา 3 ปี สอบไล่ได้ชั้นสูงสุดของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2475 ท่านได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และสอบไล่ได้ปริญญาตรีในเดือนมกราคม 2478 หลั ง จากท่ า นสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้ อ ยตำรวจ ก็ ไ ด้ เ ป็ น นั ก เรี ย นทำการนายร้ อ ยตำรวจจั ง หวั ด จั น ทบุ รี ใ นวั น ที่

1 พฤศจิ ก ายน 2471 เป็ น ว่ า ที่ น ายร้ อ ยตำรวจตรี เ มื่ อ วั น ที่

1 พฤษภาคม 2472 และเป็ น นายร้ อ ยตำรวจตรี เ มื่ อ วั น ที่

8 พฤศจิ ก ายน 2472 หลั ง จากนั้ น จึ ง ย้ า ยมาประจำกองตำรวจ

75

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สั น ติ บ าลที่ 2 ในวั น ที่ 1 มี น าคม 2475 และติ ด ยศเป็ น

นายร้อยตำรวจโท ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2478 เป็นนายร้อยตำรวจ เอก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2480 แล้วในวันที่ 10 มกราคม 2480 ท่านได้ลาออกจากราชการโดยได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร จังหวัด นนทบุรี แต่ก็เกิดการยุบสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากรัฐบาลแพ้มติ ของสภาผู้ แ ทนราษฎร ทำให้ ต้ อ งสิ้ น สุ ด สมาชิ ก ภาพ ในวั น ที่ 11 กันยายน 2481 ในวันที่ 1 มกราคม 2481 ท่านขอกลับเข้ารับราชการใน ตำแหน่งผู้บังคับกองตำรวจสันติบาลกองที่ 1 แล้วโอนไปรับราชการ ในกรมศุ ล กากร กองสารวั ต ร ตำแหน่ ง สารวั ต ร ในวั น ที่

1 กรกฎาคม 2482 จนกระทั่งท่านสามารถสอบคัดเลือกข้าราชการ พลเรือนสามัญชั้นเอกได้ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 จึงได้ดำรง ตำแหน่งสารวัตรศุลกากรเอก และได้ดำรงตำแหน่งนายด่านศุลกากร เอก ด่ า นศุ ล กากรอรั ญ ประเทศ จั ง หวั ด ปราจี น บุ รี เมื่ อ วั น ที่

1 มี น าคม 2506 ซึ่ ง เป็ น ตำแหน่ ง สุ ด ท้ า ยก่ อ นที่ ท่ า นจะเสี ย ชี วิ ต (อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย, 2506)

76

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2. ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 4 สมั ย

พ.ศ. 2519, 2522, 2526 และ 2529 ร.อ.ชะโลม รั ต นเสถี ย ร สมรสกั บ นางพรรณี รั ต นเสถี ย ร

มี บุ ต ร 4 คน คื อ นางสาววาณี รั ต นเสถี ย ร นางสาวสุ ม นี

รัตนเสถียร นายอุดมเดช รัตนเสถียร และนายสุรรัตน์ รัตนเสถียร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 การเข้ามาสู่การเมือง ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร รับราชการใน กองทัพเรือ ในตำแหน่งนายช่างตรี แล้วโอนย้ายมาที่กรมยุทธโยธา ทหารบก แต่ ด้ ว ยความเบื่ อ หน่ า ยที่ ต้ อ งย้ า ยไปต่ า งจั ง หวั ด บ่ อ ยๆ ประกอบกับอยากกลับมาอยู่ใกล้บ้านท่านจึงลาออกจากราชการ แล้ว มาสมั ค รเข้ า ทำงานที่ ธ นาคารกรุ ง เทพพาณิ ช ยการ สาขาจั ง หวั ด นนทบุรี ด้วยความที่สาขาธนาคารต่างๆ ในจังหวัดนนทบุรีสมัยนั้นยัง มี น้ อ ย ทำให้ ท่ า นได้ รู้ จั ก สนิ ท สนมกั บ พ่ อ ค้ า นั ก ธุ ร กิ จ จำนวนมาก

ประกอบกับ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไมตรีและมีรูป ร่าง หน้าตา บุคลิกดี พูดจาไพเราะ ตรงไปตรงมา จึงทำให้ได้รับการ ชักชวนให้ลงเล่นการเมืองท้องถิ่น และได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาล และหลั ง จากนั้ น ได้ เ ป็ น นายกเทศมนตรี เทศบาลเมื อ งนนทบุ รี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมัยเดียวกันกับ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และท่ า นเป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี

4 สมัย ตามลำดับ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร มีความนิยมนับถือในตัว นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำพรรคฝ่ายค้าน เป็นการส่วนตัว จึงลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้รับการคัดเลือก จนท่านย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม 77

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ท่านจึงได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร สมัยแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 และได้รับเลือกติดต่อ กันมา 4 สมัย (พ.ศ. 2519, 2522, 2526 และ 2531) นายอุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร บุ ต รชายของ ร.อ.ชะโลม

รัตนเสถียร เล่าถึงอุปนิสัยของบิดาว่า “คุณพ่อเป็นผู้ที่มีความตั้งใจ ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและพรรคการเมืองที่ตนสังกัด หากเห็น คนในพรรคที่มีความรู้ความสามารถก็จะสนับสนุนให้ได้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ขณะเดียวกันก็ตั้งใจทำประโยชน์ให้ประชาชนในพื้นที่ โ ด ย พ ย า ย า ม ป ร ะ ส า น ง า น กั บ ห น่ ว ย ร า ช ก า ร พั ฒ น า พื้ น ที ่ ครั้งหนึ่งสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี เคยขัดแย้งกับผู้ว่า ราชการจั ง หวั ด จากสาเหตุ ที่ มี ค วามคิ ด เห็ น ขั ด แย้ งในการใช้ ง บ ประมาณพัฒนาจังหวัด เพราะท่านต้องการนำงบประมาณไปติดตั้ง ไฟฟ้าให้กับประชาชนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะ ประชาชนไม่ มี ไ ฟฟ้ าใช้ ต้ อ งอาศั ย จุ ด ตะเกี ย งยามค่ ำ แต่ ผู้ ว่ า ฯ ต้องการนำงบประมาณไปสร้างถนน ความขัดแย้งครั้งนี้ทำให้ท่านต้อง ลาออกจากตำแหน่งนายกสภาจังหวัด แต่หลังจากที่ผู้ว่าฯ ท่านนี้ย้าย ไปแล้ว ท่านจึงกลับมาเป็นนายกสภาจังหวัดอีกครั้ง และผลักดัน ให้การติดตั้งไฟฟ้าสำเร็จลุล่วง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ท่านได้รับความ ชื่ น ชมจากสมาชิ ก สภาจั ง หวั ด ฝั่ ง ตะวั น ตกของแม่ น้ ำ เจ้ า พระยา

อย่างมาก” นายอุดมเดช ยังเล่าถึงวิธีการหาเสียงของบิดาว่า “คุณพ่อมัก กล่าวเสมอว่าท่านเป็นคนจน ถ้าจะต้องใช้จ่ายเงินเพื่อเล่นการเมือง จำนวนมากคงไม่มี จึงต้องยอมเหน็ดเหนื่อยใช้แรงกายตนเข้าแลก วิธี การหาเสียงที่คุณพ่อนิยมใช้ คือ วิธีไปร่วมงานต่างๆ มีที่มีคนมาเชิญ เนื่องจากเห็นว่าการได้รับเชิญแสดงว่าผู้เชิญอยากพบ การไปร่วมงาน 78

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


แต่ละแห่งก็จะได้รับทราบทุกข์สุข ความคิดเห็น และความต้องการ ของประชาชนด้วย บางครั้งผู้ที่ไปร่วมงานก็จะเชิญไปร่วมงานของตน ต่อ ทำให้ท่านได้รับเชิญไปร่วมงานต่างๆ มากมาย ซึ่งท่านมองว่านี่ คือการทำงานเชิงรุก ไม่ต้องให้ชาวบ้านลำบากเดินทางมาพบที่บ้าน ดังนั้น ถ้าใครมีเรื่องเดือดร้อนหรือต้องการให้ช่วยเหลือก็จะมาพบตาม งานต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งวิธีการนี้จะต้องมีผู้สนับสนุนคอยประสานงาน ว่ามีงานอะไร ที่ใดบ้าง ผู้สนับสนุนจึงมีความสำคัญต่อการหาเสียงใน สมัยนั้นมาก นอกจากนี้คุณพ่อจะมีผู้สนับสนุนเป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแม้แต่ผู้นำครอบครัว ในสมัยนั้นผู้คนจะเชื่อฟังหัวหน้าชุมชนและ หัวหน้าครอบครัวมาก ถ้าสนับสนุนผู้สมัครรายใดลูกบ้านหรือคนใน ครอบครัวก็จะเลือกตาม ดังนั้น ท่านจึงต้องหมั่นเข้าไปพบผู้นำชุมชน หรือหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ เพื่อพบปะ พูดคุย ประกอบกับในสมัย นั้นจำนวนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งยังมี น้อย ดังนั้น การใช้วิธีการหาเสียงแบบนี้จึงได้ผลเป็นอย่างดี สำหรับ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์นั้นมีน้อยมาก สื่อหลักๆ ก็ได้แก่ โปสเตอร์ ขาวดำ ป้ า ยผ้ า ป้ า ยขนาดใหญ่ จ ะติ ดไว้ ต ามสี่ แ ยก สมั ย นั้ น ถนน หนทางยังมีน้อย ส่วนการใช้รถประชาสัมพันธ์ยังมีน้อย ใช้รถเพียง

คันเดียวในระยะแรกแล้วมาเพิ่มเป็น 3-5 คัน นอกจากนี้ก็มีการใช้ การ์ ด ขนาดเล็ ก มี รู ป และเบอร์ ผู้ ส มั ค ร ส่ ว นด้ า นหลั ง เป็ น ยั น ต์ อุณาโลม มีข้อความเกี่ยวกับฤกษ์ยามต่างๆ เพื่อให้ผู้รับอยากเก็บไว้” (อุดมเดช รัตนเสถียร, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551)

3. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2535/1 และ 2535/2 สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2527, 2530 อดีตนายกรัฐมนตรี

79

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของ ร.อ.ชั้น และนางสุรีย์ศรี (ละมุน) ยงใจยุทธ สมรสครั้งแรกกับนางวิภา มีบุตร 3 คน คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม) และพ.ต.ท.(ญ.) ศรีสุภางค์ โสม กุล และสมรสอีกครั้งกับ คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) พล.อ.ชวลิ ต ยงใจยุท ธ สำเร็จ ชั้น มั ธ ยมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร จากนั้นไปเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยหวังจะสอบเข้าแพทย์ตามความปรารถนาของมารดา แต่ก็เรียนได้เพียงเทอมเดียวก็ตัดสินใจลาออกมาสมัครเข้าศึกษาที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเรื่องนี้นางสุรีย์ศรี ยงใจยุทธ เล่าว่า “ตอนนั้นเขาเรียนเตรียมจุฬาฯ ไม่ถึงเทอม เข้าพร้อมกับน้อง ชายของเขา คือ น.พ.สมศักดิ์ วรคามิน อดีตอธิบดีกรมอนามัย หาก เขาไม่เข้าโรงเรียนนายร้อยฯ ป่านนี้ก็คงเป็นนายแพทย์ไปแล้ว” จน สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2496 เดินทางไปศึกษาหลักสูตรการซ่อม เครื่ อ งไมโครเวฟ ที่ โ รงเรี ย นสื่ อ สารกองทั พ บก ฟอร์ ต บอนมั ธ ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรฝึกงานการประกอบซ่อมเครื่องมือ สื่อสาร ที่กองทัพน้อยที่ 9 เกาะริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หลั ก สู ต รผู้ บั ง คั บ กองพั น โรงเรี ย นทหารสื่ อ สาร ประเทศไทย

โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2507 สำเร็จ หลั ก สู ต รเสนาธิ ก ารกิ จ ที่ โ รงเรี ย นเสนาธิ ก ารทหารบก ประเทศ สหรัฐอเมริกา และสำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่

รุ่นที่ 2 ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2512 หลังจากสำเร็จการศึกษาจาก 80

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็มีความ เจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการมาโดยลำดับ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2503 ท่านได้รับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุงเขตหลัง กรมการทหาร สื่อสาร ปี พ.ศ. 2511 เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม

กรมยุทธการทหารบก จนได้ตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในปี พ.ศ. 2524 และได้ตำแหน่งผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 และ ในปี พ.ศ. 2530 ท่านก็ได้ควบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ชวลิต ยงใจยุทธ, ม.ป.ป.) การเข้าไปสัมผัสกับงานการเมืองของ พล.อ.ชวลิต เริ่มต้นจาก การได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น นายทหารคนสนิ ท รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง กลาโหม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) ในปี พ.ศ. 2522 ทำให้ท่านมี โอกาสสัมผัสกับนักการเมือง เรียนรู้วิธีคิด การเดินหมากทางการ เมื อ งของนั ก การเมื อ ง จนกระทั่ งในปี พ.ศ. 2526 ท่ า นได้ เ ลื่ อ น ตำแหน่งเป็นรองเสนาธิการทหารบกและได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิก จนกระทัง่ ได้ตำแหน่งผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก แทน พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ในปี พ.ศ. 2529 และ ในปี พ.ศ. 2530 ท่านก็ได้ควบตำแหน่ง

ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด จน กระทั่งในปี พ.ศ. 2533 ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งก่อนเกษียณ ทั้งๆ ที่ตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจกำหนดทิศทางการเมืองในขณะนั้นได้มาก ทีเดียว ซึ่งนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่า “แทนที่จะนั่งอยู่ทั้งในฝ่ายทหารแล้วก็มาเล่นการเมืองด้วย ซึ่งอาจจะ มีเครื่องทุ่นแรงมาก แต่ท่านไม่ทำ” หลั ง จากลาออกจากราชการท่ า นก็ เ ข้ า สู่ ถ นนการเมื อ งใน รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงกลาโหม ซึ่ ง ทำให้ สื่ อ ทั้ ง ในและ

81

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ต่ า งประเทศต่ า งมองว่ า ท่ า นเป็ น ทายาทของ พล.อ.ชาติ ช ายใน ตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทยและนายกรัฐมนตรี แต่ท่านได้ลาออก จากตำแหน่งทั้งสอง หลังจากอยู่ในตำแหน่งเพียง 74 วัน เนื่องจากมี ปัญหาขัดแย้งกับรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล รวมทั้งการคอรัปชั่นในรัฐบาล กรณีการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับหรือโฮปเวลล์ ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม 2533 พล.อ.ชวลิต ยื่นใบลาออก จากตำแหน่ ง สมาชิ ก วุ ฒิ ส ภา โดยให้ เ หตุ ผ ลว่ า เพื่ อ จะไปจั ด ตั้ ง พรรคการเมื อ ง ครั้ น วั น ที่ 11 ตุ ล าคม 2533 พล.อ.ชวลิ ต

ได้จดทะเบียนขอจัดตั้งพรรคความหวังใหม่ร่วมกับนักการเมืองและ อดี ต ข้ า ราชการมากมาย เช่ น น.ต.ประสงค์ สุ่ น สิ ริ นายพิ ศ าล

มูลศาสตร์สาธร นายวีระ มุสิกพงษ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา โดยได้รับการสนับสนุนทางความคิดและ เงินทุนก่อตั้งพรรคจากนายอำนวย วีรวรรณ ซึ่งได้เล่าถึงที่มาของเงิน ทุนว่า “ช่วงเวลานั้น ผมมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการลงทุน ร่วมกับ พล.อ.ชวลิต พล.ต.ศรชัย และเพื่อนรุ่นน้องอีกจำนวนหนึ่ง

ได้รวบรวมเงินซื้อที่ดินแปลงใหญ่กว่า 1,400 ไร่ เพื่อนำมาพัฒนา เป็นสนามกอล์ฟและบ้านจัดสรร แต่หลังจากซื้อที่ดินได้แล้ว ต่างเห็น พ้องกันว่า ผู้ร่วมทุนทุกคนไม่มีเวลาและไม่สันทัดที่จะทำโครงการนี้ จึงตัดสินใจขายที่ดินไปพร้อมกับได้กำไรมาก้อนหนึ่ง ผมได้เสนอให้ จัดสรรเงินประมาณครึ่งหนึ่งของผลกำไรจากการขายที่ดินเป็นทุน

ประเดิ ม ให้ พ รรคความหวั ง ใหม่ โดยผู้ ร่ ว มทุ น ทุ ก คนเห็ น ด้ ว ย”

(บุญกรม ดงบังสถาน, 2547) หลังจากการปฏิวัติของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พรรคความหวั งใหม่ ถู ก จั บ ตาว่ า ได้ รั บ การเอื้ อ ประโยชน์ เนื่องจาก พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ประธาน รสช. เป็นเพื่อนสนิท 82

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ของ พล.อ.ชวลิ ต ส่ ว นแกนนำคนอื่ น ๆ เช่ น พล.อ.สุ จิ น ดา

คราประยูร พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ล้วนเป็นทหารรุ่นน้องที่ร่วมงาน มาอย่ า งแนบแน่ น และเคยประกาศสนั บ สนุ น พล.อ.ชวลิ ต ใน ทางการเมืองไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร อย่างไรก็ตาม พล.อ.ชวลิต ได้แสดงจุดยืนทางการเมืองในการแสดงบทบาทสำคัญในการเรียกร้อง ประชาธิปไตย เป็นการแสดงจุดยืนอยู่ฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจนกับ กลุ่มทหารรุ่น 0143 ที่มี พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นแกนนำ ซึ่ง ไม่เพียงแต่ทำตัวเป็นศัตรูกับ รสช. เท่านั้น แต่ทำให้ความสัมพันธ์ ระหว่าง พล.อ.ชวลิต กับ พล.อ.สุจินดา พังทลายลงด้วย สำหรับพรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 พล.อ.ชวลิต ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. นนทบุ รี สมั ย แรก ส่ ว นพรรคความหวั ง ใหม่ เ ป็ น ฝ่ า ยค้ า น

และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี พ.ศ. 2535

ในเหตุ ก ารณ์ ค รั้ ง นี้ พล.อ.ชวลิ ต เป็ น ผู้ ห นึ่ ง ที่ ป ราศรั ย ขั บ ไล่

พล.อ.สุจินดา ที่ท้องสนามหลวง หลังจากทีร่ ฐั บาล พล.อ.สุจนิ ดา ถูกสังเวยเหตุการณ์ “พฤษภา ทมิฬ” ต้องลงจากอำนาจ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานรัฐสภา ได้ นำชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง รั ฐ บาลนายอานั น ท์ เ ป็ น รั ฐ บาลเฉพาะกิ จ เข้ า มาแก้ ปั ญ หาความ แตกแยกของคนในชาติและเตรียมการเลือกตั้ง รัฐบาลได้ยุบสภาและ จัดเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ผลการเลือกตั้งปรากฏ ว่า พล.อ.ชวลิต ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นนทบุรี อีกครั้ง ส่วนพรรค ความหวังใหม่ได้รับเลือก 51 ที่นั่ง โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ 79 ที่ นั่ง มี ส.ส. มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล 83 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รัฐบาลประกอบด้วย 5 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรค ความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคกิจสังคม และพรรคเอกภาพ มี นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และพล.อ.ชวลิต เป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของท่านที่มาจากการ เลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดนนทบุรี แตกต่างจากการเข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เพราะไม่ได้เป็น ส.ส. หลั ง จากนั้ น พรรคความหวั งใหม่ มี ปั ญ หาขั ด แย้ ง กั บ พรรค ประชาธิปัตย์เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 198-199 เรื่อง การกระจายอำนาจบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องถอนตัวออก จากการร่วมรัฐบาล พรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาลแทน แต่หลัง จากนั้นไม่นานก็มีปัญหา สปก. 4-01 ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาล และก่อนจะมีการลงมติไม่ไว้วางใจเพียงไม่กี่ชั่วโมง พรรค

พลังธรรมก็ได้ถอนตัวออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เป็นเหตุให้ นายชวน หลี ก ภั ย นายกรั ฐ มนตรี ตั ด สิ น ใจยุ บ สภา เมื่ อ วั น ที่

19 พฤษภาคม 2538 ให้มกี ารเลือกตัง้ ทัว่ ไปในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ในการเลื อ กตั้ ง ครั้งนี้ พล.อ.ชวลิตได้ย้ายจากนนทบุ รี ไ ปลง สมัครในพื้นที่จังหวัดนครพนมซึ่งถือเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ทางการเมือง เพราะอีสานถือเป็นพื้นที่ชี้ขาด มี ส.ส.มากที่สุด พรรคใดสามารถ เอาชนะในพื้ น ที่ อี ส านได้ พ รรคนั้ น ก็ มี โ อกาสชนะกุ ม อำนาจรั ฐ ได้

นายจาตุ ร นต์ ฉายแสง อดี ต รองนายกรั ฐ มนตรี กล่ า วว่ า “การ วางแผนยึดพื้นที่อีสาน เปลี่ยนจากการเป็น ส.ส.นนทบุรี ไปเป็น ส.ส.นครพนม ชูเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนภาคอีสาน ชูเรื่อง อี ส านเขี ย ว ถ้ า พู ด กั น ตามกติ ก าถื อ ว่ า เป็ น การวางหมากทาง ยุ ท ธศาสตร์ ที่ สู ง มาก” ส่ ว นสาเหตุ ที่ พล.อ.ชวลิ ต เลื อ กจั ง หวั ด 84

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นครพนม เนื่องจากบิดาของท่านคือ ร.อ.ชั้น ยงใจยุทธ เคยเป็น นายกเทศมนตรี จังหวัดนครพนม สมัยเป็นเด็ก พล.อ.ชวลิต ก็เคยมา อยู่กับบิดาพักหนึ่ง (เรือง วิทยาคม, 2532) นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับข้าราชการ ระดับสูงมากมาย ซึ่งมีส่วนสนับสนุนทางการเมืองอย่างมาก เช่น นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง เล่าว่า “เริ่ม

คุ้นเคยกับ พล.อ.ชวลิต ราวปี 2535 สมัยเป็นรองผู้ว่าฯ นนทบุรี พล.อ.ชวลิต ได้แนะนำวิธีการทำงาน ให้ทั้งความรู้และความเอ็นดู เสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาและพ่อบังเกิดเกล้า เป็นรองผู้ว่าฯ นนทบุรี 3 ปีร่วมงานใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต มาตลอด ทั้งเรื่องการงานและส่วน ตัว จนกระทั่งปี 2536 พล.อ.ชวลิต เป็น มท.1 ท่านได้บอกว่าปีนี้ได้ เป็นผู้ว่าฯ แน่นอน แต่ไม่บอกว่าเป็นที่ไหน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าฯ นครพนม ซึ่งขณะนั้น พล.อ.ชวลิต ยังไม่ได้เป็น ส.ส. นครพนม แต่ทราบว่าได้วางแผนที่จะไปสมัคร ส.ส. ที่นั่นและท่านไป นครพนมบ่ อ ย จึ ง ได้ ท ำงานรั บ ใช้ อ อกเยี่ ย มประชาชนด้ ว ยกั น ”

(บุญกรม ดงบังสถาน, 2547) ซึ่งผลการเลือกตั้งวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ปรากฏว่า พรรค ความหวั งใหม่ ไ ด้ ส.ส. 57 ที่ นั่ ง มากเป็ น อั น ดั บ 3 ส่ ว นพรรค

ชาติไทยซึ่งได้ ส.ส. 92 ที่นั่ง ได้จัดตั้งรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็ น นายกรั ฐ มนตรี พรรคความหวั ง ใหม่ ไ ด้ ร่ ว มรั ฐ บาล โดย พล.อ.ชวลิต ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม รั ฐ บาลบรรหารต้ อ งเผชิ ญ ปั ญ หาความขั ด แย้ ง ภายใน

พรรคชาติไทยและระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจ 85

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ในที่ สุ ด เมื่ อ ถู ก ฝ่ า ยค้ า นอภิ ป รายไม่ ไ ว้ ว างใจและพรรคร่ ว มรั ฐ บาล กดดัน นายบรรหารจึงตัดสินใจยุบสภาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 หลังจากการยุบสภามีนักการเมืองจากพรรคอื่นเข้ามาร่วมกับ พรรคความหวังใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะนายเสนาะ เทียนทอง และ สมาชิกกลุ่มวังน้ำเย็นอีกจำนวนมากได้ออกจากพรรคชาติไทยเข้าร่วม กั บ พรรคความหวั ง ใหม่ และผลการเลื อ กตั้ ง ปรากฏว่ า พรรค

ความหวังใหม่ได้ ส.ส. 125 ที่นั่งมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้เป็นแกนนำ ตั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลประกอบด้วย พรรคชาติพัฒนา พรรค กิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคเสรีธรรม และพรรคมวลชน และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย แต่ ภายหลังก็ต้องลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ในปี พ.ศ. 2540 ที่ทำให้ประเทศไทยล้มละลายและขยายผลไปสู่ ประเทศเพื่ อ นบ้ า นโดยรอบ ด้ ว ยการนำเงิ น คงคลั ง ทั้ ง หมดของ ประเทศเข้าไปพยุงค่าเงินบาท จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงิน บาทและส่ ง ผลให้ ค วามนิ ย มในพรรคความหวั งใหม่ ล ดลงจนต้ อ ง เปลี่ยนสถานะไปเป็นพรรคฝ่ายค้านระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ภ า ย ห ลั ง ก า ร เ ลื อ ก ตั้ ง เ มื่ อ วั น ที่ 6 ม ก ร า ค ม 2 5 4 4 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ของประเทศไทย พรรคความหวังใหม่ก็ได้ เข้าร่วมรัฐบาล หลังจากนั้นไม่นานก็มีการควบรวมพรรคความหวังใหม่ เข้ากับพรรคไทยรักไทย โดยสมาชิกพรรคความหวังใหม่ส่วนใหญ่รวม ทั้ง พล.อ.ชวลิต ก็โอนเข้าไปร่วมกับพรรคไทยรักไทย และท่านได้รับ 86

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัย แรกด้วย หลั ง เหตุ ก ารณ์ รั ฐ ประหารในวั น ที่ 19 กั น ยายน 2549 พล.อ.ชวลิ ต ถู ก มองว่ า อยู่ เ บื้ อ งหลั ง เหตุ ก ารณ์ ร ะเบิ ด 11 จุ ดใน กรุงเทพฯ ช่วงปีใหม่ แต่ภายหลังก็มีการไกล่เกลี่ยกันได้ ช่วงการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พล.อ.ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัว

ไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มที่ขับไล่กับกลุ่มที่สนับสนุน พ.ต.ท. ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ให้ ส มานฉั น ท์ กั น โดยเรี ย กบทบาทตั ว เองว่ า

“โซ่ข้อกลาง” รวมทั้งมีข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค

พลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่ ง ก็ ไ ด้ รั บ เลื อ กให้ เ ป็ น นายกรั ฐ มนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม พล.อ.ชวลิต ก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้ง เมื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลพิพากษาว่าขาดคุณสมบัติ ต้องยุติ บทบาทในตำแหน่งลง โดยพรรคพลังประชาชนได้เลือก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศไทย และ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ ก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ หลังเกิดเหตุการณ์ สลายผู้ชุมนุม “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” หน้า รัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (http://th.wikipedia.org/ wiki/ 98)

87

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


4. นายถวิล จันทร์ประสงค์

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 6 สมั ย พ.ศ. 2522, 2526, 2531, 2535/1, 2535/2 และ 2538 สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543-2549 อดี ต รั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ นายถวิล จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2475 เป็นบุตรของนายสายันต์ และนางหยวก จันทร์ประสงค์ สมรสกับ นางพิมพา (นามเมือง) จันทร์ประสงค์ มีบุตร 6 คน คือ นายธรรม ศั ก ดิ์ จั น ท ร์ ป ร ะ ส ง ค์ น า ง ส า ว จิ ต ร า จั น ท ร์ ป ร ะ ส ง ค์

นางสาวสุ ภ าวดี จั น ทร์ ป ระสงค์ นายมานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์ นางสาวทิ ว ลิ ป จั น ทร์ ป ระสงค์ และนายวั น ชนะ จั น ทร์ ป ระสงค์

(ถึงแก่กรรม) ท่านสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิ ท ยาลั ย เกษมบั ณ ฑิ ต ปริ ญ ญาโท สาขารั ฐ ศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยเกริก ก่ อ นมาเป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี

นายถวิล จันทร์ประสงค์ ประกอบอาชีพจัดสรรที่ดิน จนอายุได้ 42 ปี จึงมาทำงานสาธารณะประโยชน์ โดยได้รับเลือกให้เป็นประธาน

ลูกเสือชาวบ้าน และสมาชิกสภาเทศบาลธนบุรี ซึ่งก็ทำให้มีโอกาสได้ รู้จักและให้ความช่วยเหลือชาวบ้านจำนวนมาก จนมีความสนิทสนม คุ้นเคยกับชาวบ้าน ประกอบกับ นายถวิล มีภรรยา คือ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี ท่านจึงคิดว่าน่าจะลองสมัคร เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายถวิลให้ความเห็นว่า “สมัยก่อน คนเป็นนักการเมือง พวกข้าราชการประจำจะเกรงใจ เราก็เป็นปาก เป็ น เสี ย งให้ สมมติ ค ลองตื้ น เขิ น เราก็ ไ ปกระทรวงเกษตรฯ 88

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


กรมชลประทาน เขาจะจั ด เรื อ ลอกคลองให้ เ รา” หลั ง จากได้ รั บ

การเลือกตั้งท่านได้ทำงานเป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวจังหวัดนนทบุรี อย่ า งมาก ไม่ ว่ า จะเป็ นตัวแทนชาวบ้านร้องทุกข์ต่างๆ การเสนอ

ของบประมาณก่ อ สร้ า งถนน ปรั บ ปรุ ง ที่ ส าธารณะ และจั ด สร้ า ง สาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงการร่วมกิจกรรมงานบุญงานกุศลต่างๆ ของชาวจังหวัดนนทบุรี ด้วยผลงานที่ได้สร้างไว้มากมายนี้ทำให้ท่าน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี รวมทั้ง สิ้นถึง 6 สมัย (พ.ศ. 2522, 2526, 2531, 2535/1, 2535/2 และ 2538) ได้ รั บ ตำแหน่ ง รั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 สมั ย รั ฐ บาลนายชวน หลี ก ภั ย (ถวิ ล จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551) ภายหลังจากที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากหัวหน้า พรรคพลังธรรม และยุติบทบาททางการเมืองในปี พ.ศ. 2535 ทำให้ บทบาทของพรรคพลั ง ธรรมลดลงในเวที ก ารเมื อ ง นายถวิ ล

จันทร์ประสงค์ จึงได้ย้ายมาลงสมัครในนามพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2539 แต่ก็พลาดหวัง กลายเป็น ส.ส. สอบตก ซึ่งนายถวิลเล่า ว่า “การเลือกตั้งครั้งนั้นมีการซื้อเสียงรุนแรงมาก” หลังจากนั้นท่านก็ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องหยุดพักรักษาตัวระยะหนึ่ง จนใน ที่สุดก็ตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนนทบุรี ผล ปรากฏว่าท่านสอบตกอีกครั้ง โดยเล่าว่า “ผมมาลงสมัคร ส.ว. แข่ง กับภรรยา เสธ.หนั่น (นางฉวีวรรณ ขจรประศาสน์) ครั้งแรกแพ้ ตอนนั้น เสธ.หนั่นเป็น มท.1 แต่ กกต. ให้เลือกตั้งใหม่ ผมก็ว่าจะไม่ ลงแข่ง เสียค่าโปสเตอร์ไปหลายแสนแล้ว สุดท้ายก็ลง และชนะ เลือกตั้ง” ท่านจึงได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนนทบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2543-2549 ขณะเดียวกัน นายถวิลก็ให้การสนับสนุนภรรยา คือ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เข้ามาสู่แวดวงการเมือง ซึ่งก็ได้รับ 89

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


การตอบรับอย่างดียิ่งจากชาวจังหวัดนนทบุรี โดยได้รับเลือกตั้งเข้ามา เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี ส มั ย แรกในปี พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกมาถึง 7 สมัย (พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548 และ 2549) เมื่อถึงจุดอิ่มตัวแล้ว นายถวิลจึงได้ วางมือทางการเมือง ปัจจุบันท่านยังทำธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นายถวิลยังได้ให้การสนับสนุนบุตรชาย คือ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ในการลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ. 2550 โดยได้ให้ข้อคิดว่า “ถ้าไม่ไปเยี่ยมชาวบ้าน ไม่ไปทำบุญร่วมกับ เขา ไม่ไปขุดคลองไม่ทำสะพานให้เขา อย่าไปสมัครเลย ไม่ได้หรอก จะมีพ่อเป็นนายพัน นายพล มันแข่งกับลูก ส.ส. ไม่ได้หรอก เพราะ ส.ส. มั น เข้ า ถึ ง ประชาชนมากกว่ า ตอนนั้ น มานะศั ก ดิ์ ก ำลั ง เรี ย น ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเกริก ผมเลยบอกให้ลงสมัครเลือกตั้งก่อน ตอนที่ไปหาเสียง บางทีก็เจอคนเก่าแก่ที่เคยช่วยผมหาเสียง” และยัง ได้สอนบุตรชายว่า “ถ้ามีงานอย่าให้ขาด รับปากแล้วต้องไป” นายถวิลมักจะใช้วิธีหาเสียงโดยการไปพูดตามงานประเพณี ต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน ฯลฯ โดยให้ข้อมูลว่า “ตาม หมู่บ้านเวลามีงานแต่งงาน งานวัด มีคนเป็นร้อยๆ ก็ขึ้นปราศรัย” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นายถวิลต้องออกไปพบปะชาวบ้านและร่วมงาน ต่างๆ เป็นประจำ ท่านจึงให้ข้อคิดว่า “ถ้าเป็นนักการเมืองต้องมี อาชีพหลัก กินเงินเดือนอย่างเดียวไม่พอ เพราะวันหนึ่งๆ บางทีมี งาน 4-5 งาน งานหนึ่งก็ต้องใส่ซอง 1,000 บาท เดือนหนึ่งก็เป็น แสนแล้ว ของผมทำจัดสรรหมู่บ้านมาก่อน” ข้ อ มู ล ที่ น่ า สนใจอย่ า งหนึ่ ง คื อ ในช่ ว งก่ อ นรั ฐ ธรรมนู ญ

พ.ศ. 2540 ส.ส. จะได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัดคนละ 20 ล้าน 90

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บาท ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเป็นข้อได้เปรียบของ ส.ส. ที่จะลงสมัครเลือก ตั้งในครั้งต่อไป นายถวิลเล่าว่า “สมัยก่อนเขาให้งบฯ ส.ส. คนละ 20 ล้านบาท แต่ไม่ได้ให้ทันที ต้องเสนอโครงการเข้าไป ถ้าเขาอนุมัติก็จะ ส่ ง โครงการมาให้ จั ง หวั ด แล้ ว จั ง หวั ด จะจั ด ประมู ล กั น เอง

พอโครงการเสร็ จ เราก็ เ อาป้ า ยไปติ ด ว่ า นายถวิ ล จั น ทร์ ป ระสงค์

เป็นผู้ของบประมาณสร้างสะพานนี้” ในส่วนของการจัดเวทีปราศรัยนั้นจะมีเพียงพรรคประชาธิปัตย์ ที่ ยั งใช้ อ ยู่ บ้ า ง นายถวิ ลให้ ค วามเห็ น ว่ า “ตอนผมสมั ค รสมาชิ ก

วุฒิสภา ทาง กกต. ก็จัดให้มีการปราศรัย แต่แทบไม่มีคนฟัง มีแต่ พวกที่ลงสมัครกับคนขับรถมานั่งฟัง” ส่วนการใช้รถแห่จะเป็นวิธีการ หาเสี ย งที่ นิ ย มมาก โดยใช้ ร ถกระบะแห่ ผู้ ส มั ค รไปเรื่ อ ยๆ ขณะ เดียวกันก็ให้ผู้สมัครปราศรัยแนะนำตัวไปด้วย “ตอนที่อยู่พลังธรรม เวลาขึ้นรถหาเสียง รถจะวิ่งไปเรื่อยๆ ก็ปราศรัยไปเรื่อยๆ ใช้รถ กระบะเล็กๆ แห่ไปตามตรอกซอกซอย ถ้าไม่ทำเลยชาวบ้านก็ไม่รู้ว่า เราเป็นใคร อยู่พรรคไหน” นอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีหัวคะแนนหรือ ผู้สนับสนุนที่ไว้ใจได้ โดยนายถวิลเล่าถึงการทำความรู้จักหัวคะแนน ว่า “เมื่อก่อนเราไปรู้จักเขา พอรู้จักกันก็ทำผลประโยชน์ให้ชุมชนเขา ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ก็ทำให้สนิทสนมกัน รักกัน นับถือกัน เขาก็ สนับสนุน ทุกระดับ หัวหน้าชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” แต่การมี

หัวคะแนนนั้นตัวผู้สมัครเองก็ต้องทำประโยชน์ให้ชุมชนด้วย จึงจะ

ใช้วิธีนี้ได้ผล “เราต้องทำความดีให้เขาเห็นว่าเราดีจริง เขาถึงช่วยเรา ได้ ถ้าเรารู้จักเขาแต่ไม่เคยทำความดี เขาก็ไม่รู้จะไปพูดกับคนอื่น แบบไหนให้คนอื่นเชื่อกัน” นายถวิลกล่าวสรุปว่า “ถ้าสมัครผู้แทน แล้ วไม่ มี หั ว คะแนนก็ อ ย่ าไปสมั ค รเลย มี หั ว คะแนนต้ อ งชั ว ร์ ด้ ว ย

ไม่งั้นถูกหลอกกินฟรี” 91

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ส่วนการใช้เงินซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็ยังมีปรากฏ ให้เห็น ดังจะเห็นได้จากการแจกใบเหลือง ใบแดง ให้แก่ผู้สมัคร หรื อ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ ก โดยเฉพาะในปั จ จุ บั น กฎหมายกำหนดให้ มี

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คอยดูแลความเรียบร้อยในการ เลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งผู้สมัคร ไปร่วม

งานบุ ญ แล้ ว จะร่ ว มบริ จ าคเงิ น ก็ ท ำไม่ ไ ด้ เนื่ อ งจากอาจถู ก มองว่ า เป็ น การซื้ อ เสี ย งได้ รวมถึ ง การร่ ว มงานเลี้ ย งต่ า งๆ ปั จ จุ บั น จึ งใช้

หัวคะแนนหรือผู้สนับสนุนเป็นวิธีหลักในการหาเสียง นายถวิลให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งในปัจจุบันว่า เป็นอุปสรรคต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน “เดี๋ยวนี้รัฐธรรมนูญห้ามไปยุ่ง เกี่ยวกับประชาชน กับกระทรวง ทบวง กรม คนมาขอให้ช่วยก็ช่วย ไม่ได้ คำว่า ส.ส. หรือ ส.ว. คือ ตัวแทนประชาชน แต่ช่วยเขาไม่ ได้ . ..ในช่ ว งเลื อ กตั้ ง แม้ แ ต่ ไ ปทำบุ ญ ที่ วั ด บริ จ าคห้ า ร้ อ ยพั น นึ ง ประกาศว่า นายถวิล จันทร์ประสงค์ ทำบุญหนึ่งพันบาทยังไม่ได้เลย ห้ามทำบุญ ห้ามกินเลี้ยง ได้รับเลือกแล้วยังเลี้ยงไม่ได้เลย” นอกจาก นี้ยังกล่าวถึงงบประมาณการหาเสียงว่า “สมัยนี้การหาเสียงไม่ใช่เรื่อง ง่าย เขาจำกัดงบประมาณการหาเสียงไม่เกินล้านห้า แค่พิมพ์แผ่นพับ ทำโปสเตอร์ ก็ต้องใช้เงินหลายแสนแล้ว ไหนจะต้องจ้างคนแจกอีก ค่าใช้จ่ายอื่นอีกจิปาถะ” (ถวิล จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551)

92

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


5. นางพิมพา จันทร์ประสงค์

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 7 สมั ย พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548 และ 2549 อดีต รั ฐ มนตรี ป ระจำสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี และรั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การ กระทรวงคมนาคม นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรนายชม และนางพูน นามเมือง มีภูมิลำเนาอยู่ที่ตำบล บางคูเรียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ท่านสมรสกับนายถวิล จันทร์ประสงค์ มีบุตร 6 คน คือ นายธรรมศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวจิ ต รา จั น ทร์ ป ระสงค์ นางสาวสุ ภ าวดี จั น ทร์ ป ระสงค์

นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ นางสาวทิวลิป จันทร์ประสงค์ และ นายวันชนะ จันทร์ประสงค์ (ถึงแก่กรรม) ท่านสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกริก ก่อนเข้ามาสู่การเมือง นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ทำธุรกิจ ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับสามี (นายถวิล จันทร์ประสงค์) จน กระทั่งสามีของท่านเริ่มเข้าสู่การเมือง ในปี พ.ศ. 2512 โดยมีท่าน คอยให้ ก ารสนั บ สนุ น มาโดยตลอด ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ น ายมานะศั ก ดิ์

จันทร์ประสงค์ บุตรชายให้ข้อมูลว่า “คุณพ่อเริ่มเล่นการเมืองมาตั้ง แต่ พ.ศ. 2512 เริ่มได้เป็น ส.ส. ตั้งแต่ปี 2522 ระหว่างนั้นคุณแม่ก็ ทำงานด้ า นนี้ ม าโดยตลอด แต่ ว่ า ก็ ค อยเป็ น ผู้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น กั บ

คุณพ่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานในพื้นที่ การประสานงานกัน สมัยนั้น ชาวบ้า นมี ปั ญหาคุ ณ แม่ก็จะเป็นคนตัดสินใจ จะสามารถตั ด สิ นใจ แทนคุณพ่อได้ ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อนเรื่องถนนหนทาง อะไร ต่ า งๆ ระหว่ า งนั้ น คุ ณ แม่ ก็ ท ำธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ ขายบ้ า น ทำหมู่ บ้ า น จัดสรร” 93 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


จนกระทั่ งในการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ ปี พ.ศ. 2535 นางพิ ม พา

จันทร์ประสงค์ ได้เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับการเลือกเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี เป็นสมัยแรก ซึ่งเรื่องนี้ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ เล่าว่า “เท่าที่ผมทราบ ก่อนหน้านั้น จังหวัดนนทบุรี มี ส.ส. 3 คน มีเขตเดียวทั้งจังหวัด พอสมัยที่คุณแม่ เริ่มเล่นการเมืองมันแบ่งเป็น 2 เขต เขตละ 2 คน คุณพ่อลงสมัคร

เขต 1 ส่วนเขต 1 ไม่มีคนลงสมัคร คุณแม่ก็เลยอาสาเข้ามาทำงาน ให้กับประชาชนในพื้นที่เขต 1 เป็นสิ่งที่ท่านปรารถนาจะเข้ามาช่วย เหลือสังคม” นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ยังคงได้รับการเลือกเข้ามาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกันอีกถึง 6 สมัย ซึ่งถือเป็นสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรที่ ไ ด้ รับการเลือกตั้งเข้ามามากครั้งที่สุด ซึ่ ง นาย มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ วิเคราะห์ว่า “ต้องเข้าใจก่อนครับว่าบ้าน ของผมเล่นการเมืองมายาวนาน จึงทำให้เป็นที่รู้จักของชาวบ้านเป็น อย่างดี เรายึดติดกับพื้นที่ ไม่เคยห่างหายไปไหน ให้ความช่วยเหลือ ชาวบ้าน มีผลงานมาตลอด” นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสำคัญอีกประการ คือ กระแสความนิยมพรรคการเมือง “การเลือกตั้งครั้งแรก (ปี พ.ศ. 2535) คะแนนเสียงของคุณแม่แพ้ พล.อ.ชวลิต ไปไม่เท่าไหร่ ต้อง บอกตรงๆ ว่าหลักๆ เลยมาจากกระแสความนิยมในพรรคพลังธรรม เพราะว่ากวาด กทม. มาเกือบหมด เพราะฉะนั้นกระแสก็เลยหลุดมา ถึงนนทบุรี พอสมัยที่ 3 (ปี พ.ศ. 2538) หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไปแล้ว กระแสพรรคพลังธรรมในกรุงเทพฯ ตก แต่ในนนท์ยังไม่ตก ตาม เพราะฉะนั้นคะแนนของคุณแม่ก็เลยเบียดกับ พล.อ.ชวลิต มา ครั้งที่ 4 (ปี พ.ศ. 2539) ตอนนั้นคุณแม่ย้ายมาอยู่พรรคความหวังใหม่ ประชาชนเห็นผลงานมาตลอดอยู่แล้ว ถึงขนาดอยู่พรรคความหวังใหม่ 94

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ไม่ต้องใช้กระแสพรรคก็ยังได้รับเลือก” (มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552) ในการลงพื้นที่หาเสียงนั้น นางพิมพา จันทร์ประสงค์ มิได้ กระทำเฉพาะช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นกิจกรรมที่ต้อง กระทำตลอด ดังที่นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ให้ข้อมูลว่า “ความ เป็นอาชีพนักการเมือง รัฐธรรมนูญกำหนดให้ดูแลคนในพื้นที่ ปัญหา ความเดือดร้อนเป็นอย่างไรบ้าง แน่นอนว่านักการเมืองก็ต้องลงพื้นที่ แล้วเราจะลงพื้นที่แบบไหน ถ้าไม่ใช่ไปตามงานบุญ งานกุศลต่างๆ งานอะไรก็ แ ล้ ว แต่ ถ้ า เราไม่ ล งไป เราก็ จ ะไม่ รู้ ข้ อ มู ล ของชาวบ้ า น

จะให้ชาวบ้านเข้ามาหาชาวบ้านบางคนก็ไม่กล้ามาหาเรา นักการเมือง จึงต้องลงไปหาราษฎรเอง” เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้เส้นทางชีวิตทางการ เมื อ งของนางพิ ม พา จั น ทร์ ป ระสงค์ ต้ อ งสะดุ ด หยุ ด ลงมาจาก เหตุการณ์การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรค

ไทยรักไทย ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ 20% จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการ เมื อ งกรรมการบริ ห ารพรรคเป็ น เวลา 5 ปี ซึ่ ง นางพิ ม พา

จันทร์ประสงค์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ทำให้ ท่ า นต้ อ งยุ ติ บ ทบาททางการเมื อ งลง แต่ ทุ ก วั น นี้ น างพิ ม พา จันทร์ประสงค์ ก็ยังคงให้ความช่วยเหลือประชาชนอยู่ รวมทั้งร่วม งานทางสั ง คมอย่ า งสม่ำเสมอ “ท่านก็ยังดำเนินการด้านสั ง คมอยู่ คอยลงพื้นที่ รับฟังปัญหาชาวบ้าน เพราะท่านเดินทางการเมืองมา นานมากกว่า 10 ปี ความผูกพันอย่างนี้มันเข้าไปในสายเลือดแล้ว 95

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ทุกวันนี้ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็ยังออกมารับฟังปัญหาอยู่บ้าง ก็ไม่ได้ ห่างหายไปไหน ถึงคุณแม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่เขาไม่ได้ห้าม ท่านออกงานสังคม ด้วยความที่ท่านเป็นนักการเมืองมานาน ทำให้ รู้จักชอบพอกับข้าราชการมากมาย บางครั้งชาวบ้านมาขอความช่วย เหลือจากท่าน ท่านก็ประสานไปยังหน่วยงานอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่ว่าวันนี้ เราถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี เราไม่ช่วยเหลืออะไรเลย ตัดขาด จากโลกภายนอกอย่ า งนี้ ไ ม่ ไ ด้ ” (มานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์ , สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552)

6. นายอุดมเดช รัตนเสถียร

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 7 สมั ย

พ.ศ. 2535/1, 2535/2, 2538, 2544, 2548, 2549 และ 2550

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของ ร.อ.ชะโลม และนางพรรณี รัตนเสถียร สมรส กับนางพัชรา รัตนเสถียร มีบุตร 2 คน เด็กชายภัทร รัตนเสถียร และเด็กชายภัทรัตน์ รัตนเสถียร ท่านสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทาง บริ ห ารธุ ร กิ จ สาขาการเงิ น มหาวิ ท ยาลั ย หอการค้ า ไทย ประกาศนี ย บั ต รชั้ น สู ง หลั ก สู ต รการเมื อ งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า ก่ อ นเข้ า สู่ ก ารเมื อ ง ได้ เ ข้ า ทำงานเป็ น พนั ก งานธนาคาร ประมาณ 3-4 ปี ได้ รู้ จั ก ลู ก ค้ า มากพอสมควร นายอุ ด มเดช

รั ต นเสถี ย ร เล่ า ว่ า “ก่ อ นหน้ า นี้ ก็ ไ ม่ เ คยคิ ด จะเล่ น การเมื อ ง

96

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เดิมคุณพ่อผมเป็น ส.ส. ของจังหวัดนนทบุรีแบบรวมเขต เป็นเขต ใหญ่ทั้งจังหวัด พอปี 2531 จังหวัดนนทบุรี ได้ ส.ส. เพิ่มเป็น 4 คน โดยกติกาต้องแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต จึงตกลงกับอดีต ส.ส. แบ่งกันดูแลคนละเขต จึงมาคิดว่าจะทำอย่างไร จะดูแลผู้สนับสนุน อย่างไร ส.ส. เดิม ก็บอกว่าถ้าเป็นคนใหม่เข้ามา อาจจะดูแลไม่ดี ควรเป็นทายาทหรือคนคุ้นเคย จึงจะให้การสนับสนุน เลยมาชวนผม ลงสมัคร” นายอุ ด มเดช ลงสมั ค รเลื อ กตั้ ง ครั้ ง แรกเมื่ อ วั น ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ในนามพรรคชาติไทย แต่ก็พ่ายแพ้ในการ เลือกตั้งครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม นายอุดมเดชได้แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ ไม่ยอมย่อท้อต่อความพ่ายแพ้และพร้อมที่จะลุกขึ้นสู้ต่อไปโดยเล่าว่า “ลงครั้งแรกปี 2531 ได้คะแนนมาสองหมื่นกว่า แต่ไม่ได้ แพ้ไปไม่กี่ พัน ได้ที่สาม ก็เลยรู้สึกว่าคะแนนที่ได้มาจากทีมงานเป็นส่วนใหญ่ เพราะคนไม่ ค่ อ ยรู้ จั ก เรา จึ งใช้ โ อกาสนี้ อ อกไปขอบคุ ณ ตระเวน ทำความคุ้นเคยกับคนที่ลงคะแนนให้ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักเรา จึงคิดว่าไหนๆ ก็จะลงอีกที” หลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สภาพการเมืองของประเทศไทยอยู่ใน

ภาวะสูญญากาศ จนมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 นายอุดมเดชได้ลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคพลังธรรม ซึ่งใน การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับแรงสนับสนุนจาก นายถวิล จันทร์ประสงค์ อีกทางหนึ่งด้วย นายอุดมเดช เล่าว่า “พอแบ่งเขตเลือกตั้งแล้วก็ต้อง ไปลงในเขตเลือกตั้งเดียวกับท่าน ทางการเมืองก็ถือว่าท่านมีบุญคุณ กับผม เป็นผู้แนะนำ ชักจูงเข้าสู่การเมือง ตอนนั้นท่านเป็น ส.ส.” ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคพลังธรรมได้รับการเลือก 97

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ถึง 3 คน คือ นายถวิล จันทร์ประสงค์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร และนางพิมพา จันทร์ประสงค์ โดยอีก 1 ที่นั่งเป็นของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุ ท ธ จากพรรคความหวั งใหม่ ซึ่ ง การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง นี้ ส ร้ า ง ปรากฏการณ์ใหม่ให้จังหวัดนนทบุรี คือ มี ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้ง สมัยแรกถึง 3 คน คือ นายอุดมเดช นางพิมพา และ พล.อ.ชวลิต และที่ พ รรคพลั ง ธรรมนี้ เ อง ทำให้ ท่ า นได้ รู้ จั ก กั บ นางสุ ด ารั ต น์

เกยุราพันธ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม กระแสความนิยมใน พรรคพลังธรรมก็ลดลงตามไปด้วย จนกระทั่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ผู้สมัครจากพรรคพลังธรรมได้รับเลือกตั้ง เพียงคนเดียวคือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ โดยนายอุดมเดชก็ไม่ได้ รับเลือกตั้งหนนั้นด้วย เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปตั้งพรรคไทยรักไทย ก็ได้ชักชวนนาย อุดมเดชเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค และลงสมัครเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ในนามพรรคไทยรักไทย และก็ได้กลับมาเป็น ส.ส. อีกครั้ง และในการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้ได้รู้จักผู้สมัครหน้าใหม่ คือ นายนิทัศน์ ศรีนนท์ อดีตเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรีที่ลาออกมา ลงสมัคร ส.ส. เป็นครั้งแรกในนามพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากนายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี นายอุ ด มเดช เล่ า ว่ า “ได้ รู้ จั ก ส.ส.นิ ทั ศ น์ เพิ่ ง เข้ า มาปี 2544

อยู่คนละเขต แต่เขตติดต่อกัน ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ขยายเขต ทำให้มาอยู่ในเขตเดียวกัน ก็มีการปรึกษาหารือกัน กิจกรรมงานการ เมื อ งทำไปด้ ว ยกั น ในพื้ น ที่ มี อ ะไรต้ อ งทำ ปั ญ หาอะไรต้ อ งทำ”

หลั ง จากนั้ น เป็ น ต้ น มาทั้ ง นายอุ ด มเดชและนายนิ ทั ศ น์ ก็ ไ ด้ รั บ การ

เลือกตั้งติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (อุดมเดช รัตนเสถียร, สัมภาษณ์, กรกฎาคม. 2551) 98

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ในอดีต นายอุดมเดช รัตนเสถียร ได้ช่วยบิดา คือ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร หาเสียงมาตั้งแต่เด็ก จึงทำให้ได้เรียนรู้แนวคิดและกลวิธี ในการหาเสียงจากบิดามาโดยตลอด นายอุดมเดช เล่าว่า “คุณพ่อผม เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด และนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองนนทบุรีมาก่อน ผมเลยต้องช่วยพ่อหาเสียงมาตลอด เช่น ผลิตโปสเตอร์ พิมพ์ใบปลิว ถือถังแป้งเปียก นั่งรถหาเสียง ค่อยๆ เริ่มจากติดไปกับรถประชาสัมพันธ์ เราพูดอยู่ในรถ แต่หลัง เลือกตั้งเสร็จก็ไปเรียนหนังสือ ไปทำงาน” สำหรับวิธีการหาเสียงนายอุดมเดช ให้ความเห็นว่า “การ ปราศรัยบนเวทีหาเสียงแทบจะเป็นสูตรสำเร็จของการเลือกตั้ง แต่ สำหรับในเขตพื้นที่ของผม การจัดเวทีปราศรัยมีคนสนใจฟังไม่มาก พอคนฟังไม่มากก็ต้องไปจัดตั้งคนมาฟังเอง ประโยชน์ที่จะได้ก็น้อย เพราะคนที่เราพามาได้เขาเลือกเราอยู่แล้ว เราอยากได้คนที่เราสัมผัส ไม่ถึงมาฟังเราแล้วมาเลือกเรา ขณะเดียวกันวิธีนี้ใช้งบฯ สูง แต่ผล ตอบกลับน้อย พอคนฟังน้อยเราก็ใจเสีย” วิธีหาเสียงที่นายอุดมเดชนิยมใช้ คือ การตระเวนไปกับรถ ประชาสัมพันธ์ ปราศรัยไปเรื่อยๆ บริเวณใดมีคนสนใจมากก็จะใช้ เวลาปราศรัยนโยบายจนจบ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาทีต่อ จุด วิธีการหาเสียงที่ได้ผลก็คือการเข้าสร้างมวลชน เข้าร่วมงานเลี้ยง งานบุญ งานกุศลต่างๆ ที่มีผู้เชิญไปร่วมงาน ออกไปพบปะชาวบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้ก็จะมี

ผู้สนับสนุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน เช่น สมาชิกสภาเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการชุมชน เป็นต้น และผู้นำโดยธรรมชาติ (ผู้ที่คนให้การนับถือ) แต่ในปัจจุบันผู้สนับสนุนลดความสำคัญลงไป 99

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


มาก เพราะพื้นที่กว้างขวางขึ้น ผู้คนมีการศึกษามากขึ้น หากผู้สมัคร ไม่มีผลงานดีพอการใช้ผู้สนับสนุนก็ช่วยอะไรได้ไม่มาก บทบาทของผู้ สนับสนุนในปัจจุบันจะทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามาร่วม กิจกรรมกับ ส.ส. หรือผู้สมัคร เช่น การแจกสื่อ ส่งข่าวให้ประชาชน มาร่วมกิจกรรม การสัมมนาให้ความรู้ต่างๆ โดยมากผู้สนับสนุนจะมี ความภักดีต่อผู้ที่ตนสนับสนุน เพราะถ้าเปลี่ยนใจไปช่วยคนอื่นเขาจะ ต้องตอบคำถามว่าทำไมไม่ช่วยผู้สมัครรายเดิมต่อไป ยกเว้นกรณีที่ผู้ที่ ตนสนับสนุนไม่สนใจจะเล่นการเมืองต่อไป สำหรับสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ใช้ได้แก่ PC Board Banner ป้ายที่ ติดตามชายคา รวมทั้งแผ่นพับ ซึ่งนายอุดมเดช ใช้บอกเทคนิคของ ตนว่า “แผ่นพับต้องเน้นสวยงาม อ่านง่าย ทำให้คนรับไปแล้วอยาก อ่าน ไม่ใช่รับไปทิ้ง ในนั้นต้องมีสาระ แล้วอยากเลือก อีกเรื่องคือคน แจก ต้องพยายามใช้นักศึกษาให้คนเอ็นดู อยากจะรับ ถ้าเอาคนแก่ แจกคนไม่อยากรับ” นายอุดมเดช ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะหาผู้สืบทอดงานการเมือง แทนตน เพราะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรีมาถึง 15 ปีแล้ว หากมีโอกาสก็จะหันไปสมัครเป็นวุฒิสมาชิก เพื่อเปิดทาง ให้ ค นรุ่ น ใหม่ เ ข้ า มาทำงานนี้ แ ทนตน (อุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551) นายอุ ด มเดช ถื อ ว่ า เป็ น คนใกล้ ชิ ด ของ คุ ณ หญิ ง สุ ด ารั ต น์

เกยุราพันธ์ หัวหน้ากลุ่ม กทม. อันประกอบไปด้วย ส.ส. บางส่วนใน กรุ ง เทพฯ และนนทบุ รี ซึ่ ง มี ส่ ว นผลั ก ดั นให้ ไ ด้ ต ำแหน่ ง รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ใน รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของ ประเทศไทย (http://www.politicalbase.in.th/index.php/A1.)

100

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


แต่ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค พลั ง ประชาชน และตั ด สิ ท ธิ ท างการเมื อ งกรรมการบริ ห ารพรรค

พลังประชาชนเป็นเวลา 5 ปี อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้ง ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน โ ด ย ก า ร ยุ บ พ ร ร ค ค รั้ ง นี้ ส่ ง ผ ลใ ห้ น า ย ส ม ช า ย ว ง ศ์ ส วั ส ดิ์

รองหัวหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายอุดมเดชและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ สิ้นสุดลงโดยปริยาย

7. นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 3 สมั ย

พ.ศ. 2538, 2539 และ 2545 เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2485 เป็นบุตรนายชิงคอย – นาง เงิ น แซ่ ไ หล มี พี่ น้ อ งทั้ ง สิ้ น 10 คน สมรสกั บ นางวไลพร

อัจฉริยะประสิทธิ์ (แซ่เตียว) มีบุตรธิดารวม 3 คน คือ นายสิทธิพล อัจฉริยะประสิทธิ์ นางสาวทัศนีย์ อัจฉริยะประสิทธิ์ และนายสิทธิพร อัจฉริยะประสิทธิ์ ท่านล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2546 อายุ 61 ปี นายสำเร็จ อั จ ฉริ ย ะประสิ ท ธิ์ สำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ มั ธ ยมปลายที่ โ รงเรี ย น

สตรีนนทบุรี จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญา โท สาขาบริหารรัฐกิจ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนเข้าสู่การเมืองนายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ มีกิจการ 101

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ร้ า นถ่ า ยรู ป และกิ จ การค้ า ไม้ หลั ง จากนั้ น จึ ง มาเปิ ด สำนั ก งาน ทนายความสำเร็ จ และเพื่ อ น ในส่ ว นของงานการเมื อ งนั้ น

นายสิทธิพร อัจฉริยะประสิทธิ์ บุตรชายนายสำเร็จ เล่าว่า “คุณพ่อ เคยเป็นสารวัตรกำนันมาก่อนจึงทำให้มีเพื่อนฝูงชวนเข้ามาสมัครเป็น ส.จ. ก็ได้รับเลือก 2 สมัย หลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็ชวนมาลงการเมือง” นายสำเร็จลงรับสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่ได้รับเลือก ในการเลือกตั้งครั้งต่อมานายสำเร็จ ย้ายมาลง สมัครพรรคประชากรไทย ซึ่งครั้งนี้ได้รับเลือกเข้ามาเป็นสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎรในสั ง กั ด พรรคประชากรไทย 2 สมั ย คื อ ในการ

เลือกตั้ง วันที่ 2 กรกฎาคม 2538 และ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 และสมัยที่ 3 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งซ่อม เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2545 จนกระทั่งท่านถึงแก่กรรม นายสิทธิพร เล่าว่า “คุณพ่อจะใช้วิธีการปราศรัยเป็นจุดๆ ส่ ว นมากขึ้ น รถไปเอง ปราศรั ย ตามหมู่ บ้ า น 5 นาที แจกใบปลิ ว

แผ่นพับแนะนำตัวและนโยบายหาเสียง” ประกอบกับนายสำเร็จมี ฐานเสี ย งเดิ ม สมั ย ที่ เ ป็ น ประธานสภาจั ง หวั ด นนทบุ รี จากกำนั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น และสมาชิ กสภาเทศบาลให้การสนับสนุน นอกจากนี้ นายสิ ท ธิ พ ร ยั งให้ ข้ อ มู ล ว่ า “คุ ณ พ่ อ ยั งได้ จั ด ตั้ ง กลุ่ ม แม่ บ้ า นเอง

มีสมาชิกในเขตบางกรวยร่วมหมื่น” จึงเป็นฐานเสียงสนับสนุนให้ท่าน อีกทางหนึ่ง (สิทธิพร อัจฉริยะประสิทธิ์, สัมภาษณ์, สิงหาคม 2551)

8. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 4 สมั ย

พ.ศ. 2539, 2544, 2548 และ 2549 102

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2498 เป็นบุตรนายไว อดีตกำนันตำบลบ้านใหม่ และนางเอม บรรดาศักดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน (ชาย 5 คน หญิง 2 คน เป็นบุตรคนที่ 3) สมรสกับนางวัชรินทร์ บรรดาศักดิ์ (เจียกใจ) ปัจจุบันรับราชการที่ อำเภอปากเกร็ด มีบุตร 2 คน (ชาย 1 คน หญิง 1 คน) ท่าน สำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย นวั ด เขมาภิ ร ตาราม ปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต ก่ อ นเข้ า สู่ ก ารเมื อ งนายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ ทำงานเป็ น ซุปเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายขาย บริษัท โฟร์โมสต์อาหารนม กรุงเทพ จำกัด หลังจากนั้นมาทำงานเป็นพนักงานฝ่ายบุคคล ของบริษัทไทยลี พิมพ์ย้อม จำกัด และทำธุรกิจส่วนตัวควบคู่ไปด้วย ท่านเริ่มเข้าสู่การเมืองท้อง ถิ่นโดยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสุขาภิบาล อำเภอปากเกร็ด ในปี พ.ศ. 2526 หลังจากนั้นก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนนทบุรี และในระหว่างที่เป็นสมาชิกสภาจังหวัดนนทบุรีสมัยที่ 2 นายสุชาติ ก็ ไ ด้ ด ำรงตำแหน่ ง ประธานสภาจั ง หวั ด นนทบุ รี นายสุ ช าติ เ ล่ า ถึ ง สาเหตุการเข้ามาสู่การเมืองระดับชาติว่า “ครั้งหนึ่งมีการประชุมสภา จั ง หวั ด โดยมี ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด เป็ น ประธานในการประชุ ม (เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด) ปรากฏว่า มีนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามดึงสมาชิกสภาจังหวัดไม่ให้เข้าประชุม เพื่อ ล้มการประชุม ทำให้ผมไม่ค่อยพอใจในเรื่องการเมืองระดับประเทศ มายุ่ ง กั บ การเมื อ งท้ อ งถิ่ น ทำให้ คิ ด ว่ า ครั้ ง หน้ า จะลงสมั ค ร ส.ส.”

จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 นาย

สุ ช าติ จึ ง ลาออกจากสมาชิ ก สภาจั ง หวั ด เพื่ อ ลงสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง

นายสุชาติเล่าถึงการเลือกทีมผู้สมัครฯ ว่า “คุณสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ 103

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เป็น ส.ส. มาก่อนมาบอกว่าครั้งนี้ผมต้องลง แต่แรกจะลงคู่กับคุณ ฉัตรชัย เปล่งพานิช แต่คุณฉัตรชัยบอกไม่ค่อยมีเวลา ผมเลยไปชวน คุณฉลอง เรี่ยวแรง ซึ่งตอนนั้นเป็นสมาชิกสภาเทศบาลอยู่แต่คุณ ฉลองไม่ ไ ด้ ต อบตกลงทั น ที ขอปรึ ก ษาผู้ ใ หญ่ (คุ ณ ชั ย วั ฒ น์

กิจดำรงกุลชัย) ก่อน เสร็จแล้วผู้ใหญ่ท่านนั้นก็ให้ผมทำแผนไปให้ดู แต่มีแผนอย่างเดียวเขาอาจไม่เชื่อ จึงนำรายชื่อกลุ่มคนที่สนับสนุน เช่น นายกฯ ปากเกร็ด นายกฯ บางบัวทอง คนที่มี power รวมทั้ง พวกครูด้วย” สำหรับการวางแผนการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสุชาติเล่าว่า “การเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคประชากรไทยเป็นเจ้าของพื้นที่ ได้เป็น แชมป์เขต 1 และเขต 2 มีคนนิยมคุณสมัคร สุนทรเวช หัวหน้า พรรคประชากรไทยมาก ขณะนั้นมีคุณประกอบ สังข์โต เป็นแกนนำ มาจับมือกับคุณสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ ทางคุณสำเร็จมาดึงผมลง ประชากรไทย คุณสำเร็จ กับคุณประกอบ ลงเขต 1 ผมกับคุณฉลอง ลงเขต 2 ก็ชนะการเลือกตั้งทั้ง 2 เขต” เนื่องจากนายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นมา ก่อน ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาวจังหวัดนนทบุรีอย่างมาก จึงมี ฐานเสี ย งค่ อ นข้ า งมากโดยเฉพาะบรรดาผู้ น ำชุ ม ชนในเขตอำเภอ ปากเกร็ด ประกอบกับมีพี่ชาย คือนายวิชัย บรรดาศักดิ์ เป็นนายก เทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด จึงมีส่วนเอื้อต่อการสนับสนุนฐาน เสี ย งได้ อี ก ทางหนึ่ ง ดั ง ที่ ท่ า นให้ ข้ อ มู ล ว่ า “ผมมี พี่ เ ป็ น นายกฯ ปากเกร็ ด ฐานเสี ย งผมอยู่ ใ นเทศบาลปากเกร็ ด ทำให้ แ น่ น ใน ปากเกร็ด และพื้นที่รอบๆ บางส่วน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีพันกว่าคน ผู้สูงอายุมีพันกว่าคน กองทุนหมู่บ้านมีเป็นหมื่น แทบ จะทุ ก คนรู้ จั ก ผม” ระหว่ า งการหาเสี ย ง นายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์

จะติดป้ายหาเสียงเช่นเดียวกับผู้สมัครฯ รายอื่นแต่จะมีเอกลักษณ์ ประจำตัว คือ การใช้คำขวัญ คำกลอน “สื่อที่ใช้ผมติดป้ายในเขต 104

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ปากเกร็ด ผมจะนำคำขวัญ คำกลอน คำคม คำขวัญดีๆ มีข้อคิดไป ติด ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นอะไรฮิต แต่งเองบ้าง เอามาดัดแปลงบ้าง เช่น อนุรักษ์ป่าไม้ เรื่องเยาวชน ผู้สูงอายุ การกีฬา อะไรที่โดนใจ ชาวบ้าน มีประมาณ 100 กว่าเรื่อง ทำให้คนรู้จักผม กลายเป็นโลโก้ ประจำตัว” (สุชาติ บรรดาศักดิ์, สัมภาษณ์, สิงหาคม 2551) นายสุชาติได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาถึง 4 สมัย (พ.ศ. 2539, 2544, 2548 และ 2549) แต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เส้น ทางการเมื อ งของนายสุ ช าติ พ ลิ ก ผั น จากเหตุ ค วามขั ด แย้ ง ระหว่ า ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กับ นายเสนาะ เทียนทอง ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย และ หัวหน้ากลุ่มวังน้ำเย็น เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นสมาชิก พรรคการเมืองต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน ทำให้ใน ที่สุดนายเสนาะ เทียนทอง และสมาชิกในกลุ่มวังน้ำเย็น (รวมทั้ง นายสุชาติ) ตัดสินใจลาออกจากพรรคไทยรักไทย และต่อมาภายหลัง นายเสนาะ เทียนทอง ได้ก่อตั้งพรรคประชาราช โดยมอบตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคให้แก่นายสุชาติ หลังจากที่มีการกำหนดวันเลือกตั้ง ครั้งใหม่ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านาย สุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ พ่ า ยแพ้ ต่ อ การเลื อ กตั้ ง นายสุ ช าติ เ ล่ า ว่ า

“ในนนทบุรี บารมีของป๋าเหนาะมีน้อย ถ้าทิ้งท่านไปตอนนั้น เหมือน คนไม่ดี ผมไม่ทิ้งท่าน เหมือนซื้อใจกัน หลังจากนี้คงต้องเรียนป๋าแล้ว ว่าผมต้องเลือกทางเดินของตัวเอง คงต้องเลือกทีมลงสมัคร และ พรรคการเมือง ถ้าทีมไม่ดีก็คงทำอะไรไม่ได้” ซึ่งนายสุชาติวิเคราะห์ ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า “พรรคประชาธิปัตย์สามารถเจาะสนามเลือกตั้ง ของนนทบุรีได้มา 2 ที่นั่ง หลังจากที่ไม่สามารถเจาะสนามนนทบุรีมา เป็ น เวลา 20 ปี แ ล้ ว เนื่ อ งจากแชมป์ เ ก่ า คื อ ผมกั บ คุ ณ ฉลอง เรี่ยวแรง ย้ายมาอยู่พรรคเล็ก ทำให้ไม่ได้รับเลือก เพราะการย้าย 105

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พรรคเข้ามาอยู่ในพรรคเล็ก ส่งผลต่อการได้รับเลือก ทำให้คะแนนที่มี ต่อพรรคลดลง คุณสมบัติ สิทธิกรวงศ์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นมา ก่อน เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) มาก่อน ทำให้มีฐานเสียง มากพอสมควร ซึ่ ง ผม คุ ณ สมบั ติ สิ ท ธิ ก รวงศ์ แ ละ พ.ต.อ.ธงชั ย

เย็นประเสริฐ (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด) เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดเขมาฯ ผมไม่ได้อยู่พรรคใหญ่เลยมองว่าถ้าจะ แพ้เลือกตั้ง ก็ขอให้แพ้ให้กับเพื่อน (คุณสมบัติ) อีกทั้งประชาชน

ไม่นิยมพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้เข็นอย่างไรก็ไม่ขึ้นแล้ว ซึ่งคุณสมบัติก็ได้ฐานเสียงสนับสนุนมาจากนายก อบจ. ทำให้ชนะ การเลือกตั้ง” นายสุชาติ แสดงทรรศนะต่ออนาคตทางการเมืองของตนเอง ว่ า “ผมเองหลั ง จากแพ้ ก ารเลื อ กตั้ ง ก็ ชิ ง ที่ จ ะลาออกจากพรรค

ประชาราชมาก่อน ถ้าไม่ลาออกมา ก็จะติดกับเป็นคนสุดท้ายอยู่กับ พรรคอีก ไม่ได้บอกป๋านะ ทำหนังสือลาออกจากพรรคไป ซึ่งกว่าจะ เซ็นได้ก็นานพอสมควร ลาออกมาเพื่อที่จะอยู่ตรงกลาง วันนี้ไปช่วย พวกในยามที่ เ ขาต้ อ งการกำลั ง ต้ อ งการความคิ ด ก็ ไ ปช่ ว ยกั น การเมืองตอนนี้เราต้องเลือกข้าง ต้องอยู่พรรคใหญ่ การเมืองที่ผ่าน มาเราต้องเลือกทีม ตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันต้องดูที่ทีมแล้ว เหตุที่เรา แพ้เยอะเกิดขึ้นเพราะอะไร ถ้าผมลงคู่นาย ก. หรือนาย ข. ผมต้อง คิ ด ว่ า ทำไมต้ อ งมี ค นนี้ ผมรู้ ว่ า จะส่ ง ผลให้ แ พ้ ที ม ตั ว ผู้ ส มั ค รเป็ น ประเด็ น ไม่ ใ ช่ ที ม หาเสี ย ง เนื่ อ งจากประชาชนส่ ว นหนึ่ ง รั บไม่ ไ ด้ เพราะเขามีคนในใจแล้ว ถ้าไปบางบัวทองก็คาดว่าเป็นอย่างนี้ เขา เลือกคุณอภิวันท์ ซึ่งเป็น ส.ส. อยู่แล้ว อีกคนจะเลือกใคร อีกคนคือ คุณสมบัติ ซึ่งมี อบจ. เชียร์อยู่ มีคุณฉลองซึ่งเป็นคนในพื้นที่ แล้วจะ มีสุชาติได้อย่างไร” (สุชาติ บรรดาศักดิ์, สัมภาษณ์, พฤศจิกายน 2551) 106

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ภายหลั ง จากลาออกจากพรรคประชาราชแล้ ว นายสุ ช าติ สมัครเข้าพรรคเพื่อไทย และได้รับคัดเลือกให้ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม แทนนายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ (ถึงแก่กรรม) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2552 แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ให้แก่นายณรงค์ จันทนดิษฐ ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์

9. นายฉลอง เรี่ยวแรง

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 2 สมั ย พ.ศ. 2539 และ 2548 นายฉลอง เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2498 เป็ น บุ ต รของ นายศิ ริ และ นางเฉลี ย ว เรี่ ย วแรง สมรสกั บ

นางเจริญ ทองทวี มีธิดา 2 คน คือ นางสาวจิรวรรณ และเด็กหญิง ปารมี เรี่ ย วแรง ท่ า นสำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ส าขา

ครุศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิต และปริญญาโทจากคณะ พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก่ อ นมาเป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุ รี

นายฉลอง เรี่ยวแรง เคยรับราชการเป็นผู้คุม ในทัณฑสถานกลาง บางขวาง หลังจากนั้นท่านได้ลาออกจากราชการมาทำงานที่บริษัท ไทยเอ็นจิ้น จำกัด จนได้มารู้จักกับนายประกอบ สังข์โต และนาย รั ต นา เพี ย รเจริ ญ ทรั พ ย์ จึ งได้ ชั ก ชวนให้ ม าลงสมั ค รสมาชิ ก สภา เทศบาลนนทบุรี เมื่อได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเทศบาลฯ ได้ไม่ถึงปี (พ.ศ. 2538-2539) นายประกอบ สังข์โต ก็มาชวนท่านลงสมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี ในสังกัดพรรคประชากรไทย 107

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


และได้รับการเลือกตั้งในครั้งแรกที่ลงสมัคร ซึ่งนางเจริญ ทองทวี ภรรยานายฉลอง เรี่ยวแรง ให้ข้อมูลว่า “ในช่วงแรกที่เข้าไปทำการ เมืองท้องถิ่นได้ไม่ถึงปี ฐานเสียงยังมีไม่มาก แต่บังเอิญท่านมีเพื่อน เยอะ ท่านเคยทำงานในกรมราชทัณฑ์บางขวาง มีนักโทษที่พ้นโทษ ทำงานอยู่แถวนี้รู้จักกัน และท่านเป็นคนพื้นเพจังหวัดนนท์ (ข้าง เรือนจำบางขวาง เทศบาลนนทบุรี) มีเพื่อนเยอะ” ในระหว่างการหา เสียงเลือกตั้ง นายฉลอง เรี่ยวแรง มักใช้วิธีการเคาะประตูตามบ้าน เป็นหลัก แต่เนื่องจากพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2 (แถบอำเภอบางบัวทอง และไทรน้อย) ไม่ใช่พื้นที่ที่ท่านคุ้นเคย จึงต้องอาศัยเพื่อนๆ พาไป รู้จักชาวบ้าน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคประชากรไทย เช่น นายประกอบ สังข์โต นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ และ นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ แนะนำให้รู้จักบุคคลสำคัญต่างๆ ในพื้นที่

หาเสียง ซึ่งก็จะอาศัยคนเหล่านี้พาไปรู้จักชาวบ้าน ในที่สุดท่านก็ได้ รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี สมัยแรกในการ เลื อ กตั้ ง ครั้ ง นั้ น (พ.ศ. 2539) ผู้ ส มั ค รจากพรรคประชากรไทย

ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาถึง 4 ที่นั่ง มีนางพิมพา จันทร์ประสงค์ จาก พรรคความหวังใหม่ เพียงคนเดียวที่สอดแทรกเข้ามาได้ เมื่อได้รับ เลือกตั้งเข้ามาแล้วท่านก็ได้ผลักดันงบประมาณมาพัฒนาความเจริญ ให้กับพื้นที่ ซึ่งท่านพบปัญหาในระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง ดังที่ภรรยา ของนายฉลอง (นางเจริ ญ ทองทวี ) เล่ า ว่ า “สมั ย นั้ น ไทรน้ อ ย บางบั ว ทอง มั นไม่ เ จริ ญ ไปหาเสียงกับท่านยังแปลกใจว่ า จั ง หวั ด นนทบุรีมีพื้นที่อย่างนี้ด้วยหรือ เหมือนต่างจังหวัด ถนนหนทางไกล มาก น่ากลัว” (สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552) ภายหลังจากหมดวาระสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายฉลอง เรี่ยวแรง ได้ลงสมัครอีกครั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่ปรากฏว่า กลั บไม่ ไ ด้ รั บ เลื อ กในครั้ ง นี้ (พ.ศ. 2544) ซึ่ ง นางเจริ ญ ทองทวี 108

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


วิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดนนทบุรีว่า “จังหวัดนนทบุรีสมัยนั้นกระแสการเมืองพรรคไทยรักไทยแรงมาก ตอนนั้นเราอยู่ชาติพัฒนา ซึ่งเหมือนเราเริ่มนับหนึ่งใหม่ คนเมือง นนท์ก็เลือกตามกระแสเหมือนกับคนกรุงเทพฯ เป็นคนที่ทำงานใน กรุงเทพฯ แต่มาซื้อหมู่บ้านอยู่นนท์ ตัวไม่ได้อยู่ บางบ้านก็ให้คนเช่า เวลาเลือกตั้งทีคนจะมาจากกรุงเทพฯ ทำให้รู้สึกว่าคนในพื้นที่ไม่ใช่คน นนท์จริงๆ เวลาเลือกก็เลือกตามกระแส เป็นกระแสว่าพรรคไหนที่ กระแสดีในช่วงนั้น ถ้าเราอยู่พรรคนั้นก็จะมีเปอร์เซ็นต์ได้มากกว่า” จนกระทั่งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อมา (พ.ศ. 2548) นายฉลอง เรี่ ย วแรง ก็ ไ ด้ รั บ การชั ก ชวนให้ ย้ า ยมาลงสมั ค รเป็ น สมาชิ ก พรรค

ไทยรักไทย และได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย เขต 6 จังหวัดนนทบุรี และชนะการเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง แต่นาย ฉลองก็อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ถึงปี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นก็ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เส้นทางชีวิตทางการเมืองของนายฉลอง เรี่ยวแรง มีความ คล้ายคลึงกับนายสุชาติ บรรดาศักดิ์ กล่าวคือ เมื่อย้ายมาสังกัดพรรค ไทยรั ก ไทย นายฉลองได้ เ ข้ า ร่ ว มเป็ น สมาชิ ก กลุ่ ม วั ง น้ ำ เย็ น ของ

นายเสนาะ เทียนทอง ภายหลังเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง นายเสนาะ เทียนทอง กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้นายเสนาะ และกลุ่มวังน้ำเย็นลาออกจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งรวมถึงนายฉลอง ด้วย จนกระทั่งนายเสนาะไปก่อตั้งพรรคประชาราช และชื่อของนาย ฉลองก็ปรากฏอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมแทนนายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ (ถึงแก่กรรม) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2552 ในสังกัดพรรคประชาราช แต่ ก็ ไ ด้ ค ะแนนเสี ย งมาเป็ น อั น ดั บ สุ ด ท้ า ย พ่ า ยแพ้ ก ารเลื อ กตั้ ง

ซึ่งนางเจริญ ทองทวี ให้ความเห็นว่า “ถ้าเป็นพรรคชื่อใหม่ๆ ก็หา คะแนนเสียงยาก ถ้าเป็นพรรคกระแสแรงๆ อย่างประชาธิปัตย์ หรือ 109

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ไทยรักไทยสมัยก่อนจะมีกระแสเป็นคะแนนพื้นฐานอยู่” (สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552)

10. นายนิทัศน์ ศรีนนท์

สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี 3 สมั ย พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2550 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2500 เป็น บุตรของ นายชูสิทธิ์ และ นางตังกวย ศรีนนท์ สมรสกับนางขนิษฐา ศรีนนท์ (ห้องสำเริง) มีบุตร 2 คน คือ นายณัฐดนัย ศรีนนท์ และ เด็กหญิงสุพิชชา ศรีนนท์ ในด้านการศึกษา นายนิทัศน์สำเร็จการ ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี สาขานิ ติ ศ าสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศรี ป ทุ ม

เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นายนิทัศน์ ศรีนนท์ เป็นคนพื้นเพในจังหวัดนนทบุรี ก่อนเข้า สู่ ก ารเมื อ งท่ า นช่ ว ยงานธุรกิจของครอบครัว หลังจากนั้น จึ ง มาตั้ ง สำนักงานทนายความนิทัศน์ ศรีนนท์ และเพื่อน จากนั้นได้รับการ ชั ก ชวนจากนายสมนึ ก ธนเดชากุ ล นายกเทศมนตรี น ครนนทบุ รี

ให้เข้ามาลงสมัครเลือกตั้งซ่อมเทศมนตรีในปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่ ได้รับเลื อ กเป็นเทศมนตรีก็มีโอกาสได้ทำงานสร้างประโยชน์ ให้กับ ประชาชนในพื้นที่ จนกระทั่งลาออกในปี พ.ศ. 2543 เพื่อเตรียมลง สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2544 การเข้ า สู่ ส นามการเมื อ งใหญ่ข องนายนิ ทั ศ น์ เ ป็ น เรื่ อ งที่ น่ า สนใจ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นภาพของนักการเมืองท้องถิ่นที่ก้าว 110

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ไปสู่การเป็นนักการเมืองระดับชาติได้ดี นายนิทัศน์ เล่าว่า “แต่ก่อน ท่านอุดมเดช รัตนเสถียร เคยอยู่พรรคพลังธรรม กับท่านสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และท่านนายกฯ ทักษิณ มาก่อน พอท่านนายกฯ ทักษิณ มาตั้งพรรคไทยรักไทย ตอนนั้นยังเป็นพรรคใหม่ การที่จะส่งใครลง สมัคร ส.ส. จะมีแผนอยู่แล้ว ท่านอุดมเดชก็มาหานายกเทศมนตรี สมนึก ธนเดชากุล เพราะเคยช่วยท่านก่อนเป็น ส.ส. ให้ช่วยเลือก คนมาลงสมั ค รในนามไทยรั กไทย จากการซาวเสี ย งคนที่ ท ำงาน การเมือง มีการคุยกับมวลชนเยอะ แล้วทีมงานท่านสุดารัตน์ก็มา ติดต่อผม” แต่เดิมการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นแบบรวมเขต จนกระทั่งเมื่อมี การปฏิ รู ป การเมื อ งตามรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย

พุทธศักราช 2540 มีการกำหนดให้การเลือก ส.ส. เป็นแบบเขตเดียว เบอร์เดียว และมีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 เขตเลื อ กตั้ ง ของนายนิ ทั ศ น์ (เขต 2) นั้ น ครอบคลุม 3 ตำบล จาก 5 ตำบลของเขตเทศบาลนครนนทบุรี จึง เป็นข้อได้เปรียบของท่านในแง่ฐานเสียง ประชาชนก็รู้จักคุ้นเคยอยู่ แล้ว เนื่องจากท่านทำงานการเมืองท้องถิ่นในเขตนี้มานานถึง 12 ปี สำหรับการเลือกตั้งในแต่ละครั้งนั้น นายนิทัศน์ให้ความเห็น ว่าสร้างปัญหาให้ต้องมีการขบคิดกลยุทธ์ในการหาเสียงมาก ท่านเล่า ว่า “การเลือกตั้งทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมามีลักษณะไม่เหมือนกันเลย การ เลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 เขตเลือกตั้งของผมมี 3 ตำบล ซึ่งอยู่ในเขต เทศบาลนครนนทบุ รี แต่ ก ารเลื อ กตั้ งในปี พ.ศ. 2548 พื้ น ที่ มั น เปลี่ยน จำนวนประชากรมากขึ้น เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น จึงมีการแบ่ง เขตเลือกตั้งใหม่ ทำให้มีตำบลเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบลในเขตเลือกตั้งของ ผม คือ ตำบลบางไผ่ ซึ่งผมไม่มีฐานเสียงเลย ตอนนั้นตำบลบางไผ่ 111

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และผมทราบมาโดยบังเอิญว่า ตัวนายก อบต. ไม่ได้สนับสนุนผม แต่นายก อบต. ก็อยู่คนละขั้วกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็เลยเป็นช่องทางให้ผมเข้าไปสร้างมวลชนได้มาก พอสมควร พอการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ใหม่ เขตเลื อ กตั้ ง ของผมประกอบด้ ว ยอำเภอบางกรวย อำเภอ บางใหญ่ และอำเภอเมืองนนทบุรี มี ส.ส. ในเขตได้ 3 คน ซึ่งเป็น เขตใหญ่มาก ก็เลยต้องมีหัวหน้าทีมที่สามารถดูแลทีมได้ ก็ได้ท่าน

อุดมเดช มาเป็นหัวหน้าทีม เพราะท่านเคยลงทั้งจังหวัดมาแล้ว ท่าน เป็น ส.ส. มา 6 สมัยแล้ว เวลาลงพื้นที่หาเสียงก็ไปพร้อมกันทั้ง 3 คน คือ ท่านอุดมเดช ท่านมานะศักดิ์ และผม ส่วนใหญ่ก็ต้องเข้าไป หาท้องถิ่นก่อน ถ้าท้องถิ่นไม่ช่วยก็ไปหากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือไม่ก็ แกนนำชุมชน คือในทางการเมืองต้องรูว้ า่ ใครอยูต่ า่ งขัว้ หรือขัว้ เดียวกับเรา” ในด้ า นความสั ม พั น ธ์ ท างการเมื อ งระหว่ า งนายอุ ด มศั ก ดิ์

รั ต นเสถี ย ร กั บ นายนิ ทั ศ น์ นั้ น นายนิ ทั ศ น์ เล่ า ว่ า “ตอนที่ ท่ า น

อุดมเดช ลงสมัคร ส.ส. เราก็ช่วยท่าน พวกเราเป็นทีมเดียวกับท่าน เพราะพ่อท่านก็เคยเป็นนายกเทศมนตรี และท่านก็เป็นคนที่อยู่ในเขต เทศบาล ทุกครั้งที่ท่านลงสมัคร ส.ส. หรือจะเป็นใครก็แล้ว แต่ถ้า เป็นทีมงานของท่านอุดมเดช เราก็จะช่วย” นอกจากนี้นายนิทัศน์ยัง ชื่นชมนายอุดมเดชว่า “ท่านเป็นเบอร์หนึ่งของจังหวัดนนทบุรี ท่าน ขยันลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนมาก ช่วงที่เราสัมภาษณ์กันอยู่ ท่านอาจจะกำลังเข้าไปพบพี่น้องในชุมชนอยู่ก็ได้” น า ย นิ ทั ศ น์ ใ ห้ ท ร ร ศ น ะ เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม ส ำ คั ญ ข อ ง พรรคการเมืองในจังหวัดนนทบุรีว่า “มีความสำคัญมากพอสมควร แต่ เ ดิ ม คนเมื อ งนนท์ จ ะนิ ย มพรรคประชากรไทย พรรคพลั ง ธรรม ต่อมาก็เป็นพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ดูอย่างกรณี 112

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ของท่านฉลองกับท่านสุชาติ พอท่านย้ายออกจากพรรคไทยรักไทยไป อยู่พรรคประชาราชท่านก็เลยสอบตก ถ้าผมย้ายออกจากไทยรักไทยก็ อาจจะสอบตกก็ได้ สมมติว่าคุณมีคะแนนเสียงในมือ 30% คุณจะได้ คะแนนเสียงอีก 10% จากพรรค ถ้าใครหน้าใหม่เข้ามาไม่มีทางสอบ ได้หรอก” (สัมภาษณ์, มกราคม 2552) สำหรั บ วิ ธี ที่ ใ ช้ ใ นการหาเสี ย งนั้ น เนื่ อ งจาก นายนิ ทั ศ น์

ศรีนนท์ เป็นสมาชิกสภาเทศบาลมากว่า 10 ปี ทำให้รู้จักคนในพื้นที่ มาก จึงใช้ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ รับฟัง ปัญหาของประชาชน และเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับ ส.ส. ท่ า นไม่ ใ ช้ วิ ธี ก ารปราศรัย เพราะในเขตเทศบาลเมื อ งนนทบุ รี เ ป็ น ชุมชนเมือง ทำให้การเกณฑ์คนมาฟังปราศรัยเป็นเรื่องยาก แต่จะใช้ การเข้าไปพูดนโยบายตามงานประชุมหรือสัมมนาต่างๆ ที่ได้รับเชิญ การลงพื้นที่ไปพบปะชาวบ้านบ่อยๆ ก็จะทำให้รู้จักคนมากขึ้น ก็จะ

ถูกเชิญไปร่วมงานต่างๆ ที่สำคัญท่านจะไม่ใช้เงินซื้อเสียงเด็ดขาด โดยเฉพาะประชาชนในเขตเทศบาลเป็นชุมชนเมืองที่มีการศึกษาดี (นิทัศน์ ศรีนนท์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551)

11. พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2544, 2548, 2549 และ 2550 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2492 เป็ น บุ ต รของนายฟู ม และนางซิ ว หง วิ ริ ย ะชั ย สมรสกั บ

นางรัชนี วิรยิ ะชัย (อยูญ ่ าติวงศ์) มีบตุ รี 1 คน คือนางวันทนี วิรยิ ะชัย 113

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พ.อ.ดร.อภิ วั น ท์ วิ ริ ย ะชั ย เป็ น คนฝั่ ง ธนบุ รี โ ดยกำเนิ ด ครอบครั ว มี อ าชี พ ทำสวน ท่ า นสำเร็ จ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น จาก โรงเรียนวัดนวลนรดิศ หลังจากนั้นเพื่อนๆ ก็ชวนไปสอบเข้าโรงเรียน เตรียมทหาร ซึ่งนักเรียนที่มาสมัครสอบส่วนใหญ่จะจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 หรือปีที่ 5 (ปัจจุบัน คือ ม.5 หรือ ม.6) แต่ท่านก็สามารถ สอบเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 ได้ หลังจากนั้นจึงเข้า ศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุน่ ที่ 19 พ.อ.ดร.อภิวนั ท์ เล่าว่า “สมัยที่เรียนโรงเรียนเตรียมทหารต้องกลับมาช่วยครอบครัวหา รายได้โดยการขี่จักรยานส่งไข่ไก่ให้ร้านค้า ผมมีความคิดว่าสิ่งที่จะ พัฒนาชีวิตได้ คือ ความสามารถทางการศึกษา ดังนั้น เมื่อเข้าศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ จึงมีความอุตสาหะในการศึกษาอย่างมากจนทำให้ มีผลการเรียนดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าตอน และได้รับ

เงิ น เดื อ น เดื อ นละ 120 บาท” นอกจากจะมีผลการเรี ย นดี แ ล้ ว พ.อ.ดร.อภิวันท์ ยังสนใจกิจกรรมกีฬาและดนตรีของสถาบันด้วย ท่าน เ ล่ น กี ฬ า ทุ ก ป ร ะ เ ภ ท แ ล ะไ ด้ รั บ ก า ร คั ด เ ลื อ ก เ ป็ น นั ก ด น ต รี

วงดุริยางค์ทหารและโรงเรียนนายร้อยฯ ซึ่ง พ.อ.ดร.อภิวันท์ เชื่อว่า “กีฬาทำให้ผมเป็นคนมีความรับผิดชอบและดนตรีกล่อมเกลาให้ผม

มีความละเอียดอ่อน เข้าใจชีวิตมากขึ้น” เมื่อสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยฯ ท่านสามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับ 1 ซึ่งใน ขณะนั้ นโรงเรี ย นนายร้ อ ยฯ มี นโยบายจะรั บ นั ก เรี ย นนายร้ อ ยที่ มี

ผลการเรียนยอดเยี่ยม 4 คนเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยฯ ทำให้ พ.อ.ดร.อภิวันท์ ต้องรับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยฯ มา โดยตลอด โดยเลือกเหล่าทหารช่าง เพราะต้องเป็นอาจารย์กองวิชา วิศวกรรมโยธา (อภิวันท์ วิริยะชัย, สัมภาษณ์, เมษายน 2551) หลั ง จากจบการศึ ก ษามา 4-5 ปี จึ ง ไปสอบเข้ า เรี ย นต่ อ ปริญญาโท สาขา Computer Science ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 114

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


จนกระทั่ ง เรี ย น Course Work จบ แต่ ใ นระหว่ า งที่ ก ำลั ง ทำ วิทยานิพนธ์นั้น พ.อ.ดร.อภิวันท์ ก็ได้รับทุนการศึกษาจากกองทัพบก ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่ง พ.อ.ดร.อภิวันท์ คิดว่า “ไปเรียนต่อ

ต่ า งประเทศ 2 ปี แล้ ว จึ ง ค่ อ ยกลั บ มาเรี ย นต่ อ ที่ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัยให้จบ ผมจึงลาพักการศึกษาและเดินทางไปเรียนต่อต่าง ประเทศในสาขาวิ ศ วกรรมโยธา ที่ Illinois Institute of Technology ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า” ระหว่ า งที่ ศึ ก ษาอยู่ ท าง สถาบันฯ เห็นว่า พ.อ.ดร.อภิวันท์ มีผลการศึกษาที่ผ่านมาดีจึงได้ เสนอทุนให้เป็นผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) หลังจากสำเร็จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโทก็ ไ ด้ รั บ ทุ น การศึ ก ษาจากองค์ ก ารรถไฟ สหรัฐอเมริกา จึงได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกใน สาขาวิศวกรรมโยธาจากสถาบันเดิม หลังจากนั้น พ.อ.ดร.อภิวันท์ จึง ขออนุญาตกองทัพบกทำงานหาประสบการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ปี ในบริษัท Sargent & Lundy ในตำแหน่งวิศวกร ทำหน้าที่ วิเคราะห์ระบบ Piping System งานออกแบบโรงงานผลิตกระแส ไฟฟ้าด้วยพลังนิวเคลียร์ หลังจากกลับเมืองไทยก็กลับมาเป็นอาจารย์ สอนอยู่ในโรงเรียนนายร้อยฯ และทำงานตามวิชาชีพควบคู่ไปด้วย จนกระทั่งได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานรุ่นด้วย พ.อ.ดร.อภิวันท์ เล่าว่า “ในระหว่างที่รับราชการเป็นอาจารย์ โรงเรี ย นนายร้ อ ยฯ ผมไม่ มี ค วามคิ ด ที่ จ ะลาออกจากราชการเลย

จนกระทั่งเข้าเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และมีโอกาสได้พบ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ จึงได้ชักชวนให้เข้ามาช่วยงานการเมือง ของพรรคความหวังใหม่ ซึ่งผมมีความศรัทธาความรู้ความสามารถ ของ พล.อ.ชวลิต จึงลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2533” พ.อ.ดร.

อภิวันท์ ได้เข้ามาทำงานมวลชนให้ พล.อ.ชวลิตในสมัยที่สมัครรับ

115

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เลื อ กตั้ ง เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุ รี จนกระทั่ ง พล.อ.ชวลิต ย้ายไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2538 ท่านจึงกลายเป็นทายาททางการ เมื อ งของ พล.อ.ชวลิ ต ในจั ง หวั ด นนทบุ รี นั บ แต่ นั้ น มา (อภิ วั น ท์ วิริยะชัย, สัมภาษณ์, เมษายน 2551) นอกจากนั้น พ.อ.ดร.อภิวันท์ ยังเป็นคนสนิทของ นายเสนาะ เที ย นทอง ในสมั ย ที่ นายเสนาะ เป็ น ประธานที่ ป รึ ก ษาพรรค

ไทยรักไทย ภายหลังเมื่อมีการสลายกลุ่มในพรรคไทยรักไทย นาย เสนาะลาออกจากพรรค พ.อ.ดร.อภิวันท์ จึงไปอยู่ใกล้ชิดกลุ่มคนสนิท ของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่สำคัญคือสร้างชื่อจากการเป็นแกน นำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) และถูกจำคุกจาก การนำม็ อ บบุ ก บ้ า นสี่ เ สาเทเวศร์ รวมทั้ ง เป็ น ผู้ ตั้ ง ฉายาบ้ า น

สี่เสาเทเวศร์ว่าเป็นวิมานสีม่วง เข้าสู่ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทน ราษฎร คนที่ 2 ด้วยแรงผลักดันจากแกนนำ นปก. หลายคนในพรรค พลังประชาชน (http://th.wikipedia.org/wiki/A2)

12. นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2550 นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2521 เป็นบุตรของนายถวิล และนางพิมพา จันทร์ประสงค์ สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด จากเมือง Bradford ประเทศอังกฤษ และปริญญาโท สาขา Computer Engineering Management จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) 116

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ครอบครัวจันทร์ประสงค์เป็นครอบครัวนักการเมืองสำคัญใน จังหวัดนนทบุรี กล่าวคือ บิดาของนายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ (นายถวิ ล จั น ทร์ ป ระสงค์ ) เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุรี 6 สมัย และเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนนทบุรี ส่วนมารดา (นางพิมพา จันทร์ประสงค์) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นนทบุรี 7 สมัย ก่อนเข้าสู่การเมืองท่านช่วยดูแลกิจการของครอบครัวเกี่ยวกับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาจกล่าวได้ว่าชีวิตของนายมานะศักดิ์มีความ ผูกพันกับการเมืองไทยมาตั้งแต่เกิด เนื่องจากบิดาของท่าน ได้รับ เลื อ กตั้ ง เป็ น ส.ส. สมั ย แรกหลั ง จากท่ า นเกิ ด มาได้ ห นึ่ ง ปี (พ.ศ. 2522) และมารดาของท่าน ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ด้ ว ยเหตุ นี้ ท่ า นจึ งได้ เ ห็ น การทำงานทางการเมื อ งของทั้ ง บิ ด าและ มารดามาโดยตลอด นายมานะศักดิ์ เล่าว่า “ได้เห็นการทำงานของ พ่อแม่ ตั้งแต่เกิดมาชีวิตอยู่กับการเมืองตลอด และมีความใฝ่ฝันมา นานแล้ว ผมเริ่มเข้าไปในสภาฯ ตอนอายุ 13 เริ่มเห็นระบบการ ทำงาน” เมื่อบิดาของท่านก้าวขึ้นมาสู่จุดสูงสุดทางการเมือง คือ การ เป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ก็วางมือทางการเมือง ปล่อยให้มารดาของ ท่านดำเนินงานการเมืองต่อไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 คณะ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคไทยรักไทย และเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน เป็น เวลา 5 ปี ซึ่งมารดาของท่านเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคฯ ทำให้ต้องยุติบทบาททางการเมือง เมื่อรัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ครั้งใหม่ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ครอบครัวจันทร์ประสงค์จึงส่ง ท่านลงสนามเลือกตั้ง นายมานะศักดิ์ เล่าว่า “พ่อแม่เป็นนักการ เมืองอยู่แล้ว จริงๆ พ่อแม่ไม่ได้เล่นระดับท้องถิ่น พ่อเป็น ส.ส. ก่อน แม่เห็นก็อยากช่วยชาวบ้าน ก็เลยอาศัยพ่อขึ้นมา เมื่อแม่ติดอยู่ใน 117

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


111 คน พอดีพ่อถึงจุดสูงสุดทางการเมือง คือ เป็น ส.ว. ถ้าจะกลับ มาเล่น ส.ส. ก็จะยังไงๆ เลยส่งผมไปเป็นตัวแทน” ในส่วนของการ สนับสนุนจากบิดาและมารดานั้น นายมานะศักดิ์ เล่าว่า “คุณแม่จะ ให้คำปรึกษา คอยดูว่าจุดไหนน่าจะไปดู ไปหาเสียง คุณพ่อจะให้ กำลังใจและช่วยดูคนเก่าแก่ที่จะช่วย” ในขณะที่ ห าเสี ย งเลื อ กตั้ ง นั้ น เนื่ อ งจาก นายมานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์ เป็ น ผู้ ส มั ค รหน้ าใหม่ ทำให้ ไ ม่ ค่ อ ยเป็ น ที่ รู้ จั ก ของ ประชาชนมากนั ก ดั ง นั้ น การใช้ วิ ธี ก ารปราศรั ย ย่ อ ยตามที่

คณะกรรมการการเลื อ กตั้ ง (กกต.) จั ดให้ จึ ง ไม่ ค่ อ ยได้ ผ ลนั ก

นายมานะศักดิ์ ให้ความเห็นว่า “ถ้าเป็นคนมีชื่อเสียงแล้วเน้นการ ปราศรัยจะดีกว่า เพราะเดินได้ไม่ทั่วถึง แต่ผมหน้าใหม่ ไม่มีใครรู้จัก และเขตพื้นที่ก็กว้างมาก จะใช้แค่ปราศรัยไม่ได้ อย่างมากก็ขึ้นรถแห่ เข้ า ไปตามชุ ม ชน ผมจะเน้ น ตามถนนใหญ่ ตลาด และหมู่ บ้ า น เพราะเมืองนนท์มีการเปลี่ยนแปลงมาก เขตบางใหญ่ บางกรวย จะ เป็นหมู่บ้านปิด การเมืองระดับท้องถิ่นยังเข้าไปไม่ได้” นอกจากนี้นาย มานะศั ก ดิ์ ยั ง ให้ ข้ อ มู ล ถึ ง วิ ธี ก ารหาเสี ย งวิ ธี อื่ น อี ก ว่ า “ผมไม่ มี

หัวคะแนนแต่เป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้นำกลุ่ม ชุมชน ส่วนมากเป็นผู้นำ ชุมชนท้องถิ่น ไม่ใช่นักการเมืองท้องถิ่น ก็เป็นคนที่เคยสนับสนุน

คุณพ่อคุณแม่ ซึ่งคนเหล่านี้จะไม่หนีไปไหน ของผมมีคะแนนของ พรรคมาด้วย กระแสของพรรคมีส่วนช่วยด้วย” วิธีการเดินหาเสียงที่ นายมานะศักดิ์ใช้ไม่ว่าจะเป็น การแจกแผ่นพับแนะนำตัว และขึ้นรถ ตระเวนหาเสียงตามแหล่งชุมชนต่างๆ จะทำร่วมกับทีมผู้สมัครฯ จาก พรรคพลังประชาชน คือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร และนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ซึ่งนายมานะศักดิ์ให้ข้อมูลว่า “ท่านอุดมเดชและท่านนิทัศน์ มาช่วยที่บางกรวย เวลาออกงานก็ไปด้วยกัน ใครมีปัญหาจะช่วยกัน” โดยเฉพาะนายอุ ด มเดช เคยร่ ว มทำงานการเมื อ งมากั บ บิ ด าและ 118

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


มารดาของนายมานะศักดิ์มาตั้งแต่สมัยสังกัดพรรคพลังธรรมและ

ไทยรั กไทย รวมทั้ ง นายอุ ด มเดชและนายนิ ทั ศ น์ ต่ า งก็ เ ป็ น ส.ส. เจ้ า ของพื้ น ที่ ทั้ ง คู่ จึ ง เป็ น ปั จ จั ย สนั บ สนุ น คะแนนเสี ย งให้ แ ก่ น าย

มานะศักดิ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นทำให้สามารถ ชนะการเลือกตั้งได้ยกทีม และนายมานะศักดิ์ก็ได้เป็นสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎร จั ง หวั ด นนทบุ รี สมั ย แรกในครั้ ง นี้ (มานะศั ก ดิ์

จันทร์ประสงค์, สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2551) นายมานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์ ให้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ลั ก ษณะ ประชากรของจังหวัดนนทบุรีที่มีผลต่อการเลือกตั้งว่า “บางตำบล เช่น ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว มีประชากร หนึ่งหมื่นคน ปัจจุบันมีประชากรสามหมื่นคน สองหมื่นกว่าคนที่เพิ่ม ขึ้ น มานั้ น มาจากกรุ ง เทพฯ และจั ง หวั ด อื่ น ๆ ทุ ก ภาค การเมื อ ง นนทบุรีในอนาคตจะไปว่ากันเรื่องของพรรคใหญ่เท่านั้น เป็นพรรคที่ สังคมในเมืองสร้างกระแสขึ้นมา ถ้าพูดถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นมีคนไป ใช้สิทธิแทบไม่ถึง 5% แต่ถ้าเป็นการเมืองระดับใหญ่ คนเหล่านี้จะ ออกมาใช้สิทธิ 70 – 80% แต่คนเหล่านี้เขารู้อย่างเดียวว่าคุณอยู่ พรรคนี้เขาเลือกคุณ” และได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมการลง คะแนนเสียงของประชาชนจังหวัดนนทบุรีที่น่าสนใจว่า “ในนนท์ คน กรุงเทพฯ ย้ายมาเยอะมาก ทำให้กระแสต่างๆ ย้ายไปอยู่ที่เมืองนนท์ ด้วย หมู่บ้านเกิดใหม่เยอะมาก โดยเฉพาะบางกรวย บางใหญ่ พวกนี้ เป็นหมู่บ้านระดับกลางขึ้นไป เป็นหมู่บ้านปิด เขาไม่อนุญาตให้เข้าไป หาเสียง คนที่มีชื่อเสียงจริงๆ จึงจะได้คะแนนเสียง เนื่องจากหาเสียง ไม่ได้ ทำให้กระแสพรรคต่างๆ มีส่วนสำคัญ คนในหมู่บ้านเหล่านี้ เหมือนคนที่มาพักอาศัยในจังหวัดนนท์ มาซื้อบ้าน ซื้อที่ดินจัดสรร เขาไม่ได้มาอยู่จริง เขามาอาศัยคือที่หลับนอน ตื่นขึ้นมาก็ไปทำงานใน กรุ ง เทพฯ เย็ น กลั บ มานอน เขาไม่ เ คยมาเจอะเจอนั ก การเมื อ ง

119

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


คนเหล่านี้เวลาเขาไปทำงานในกรุงเทพฯ เขาก็จะไปนำกระแสใน กรุงเทพฯ กลับเข้ามา ส่วนชาวบ้านที่เป็นท้องถิ่นเดิม เขาจะยึดติด กั บ ตั ว บุ ค คลมากกว่ า นี้ ” (มานะศั ก ดิ์ จั น ทร์ ป ระสงค์ , สั ม ภาษณ์ , กรกฎาคม 2552) หากพิจารณาถึงปัจจัยที่สนับสนุนคะแนนเสียงที่ ส.ส. ได้รับ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า “กรณี ท่ า นอุ ด มเดชและท่ า นนิ ทั ศ น์ จะมี ก ลุ่ ม พลั ง หนุ่ ม คอยสนั บ สนุ น นายกฯ สมนึก (นายสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร นนทบุรี) สนับสนุน อีกอย่างเขตนั้นเป็นเขตเทศบาลอยู่แล้ว เทศบาล เขามีกลไกทุกอย่าง มีงบประมาณ มีคน มีประธานชุมชน และตอนที่ ผมไปหาเสียง ส.ส. อุดมเดชได้เครือข่ายตรงนั้นหมดเลย เป็นเครือ ข่ายของประธานชุมชน ส่วนกรณีของท่านณรงค์นั้น ท่านมาลงให้

ประชาธิ ปั ต ย์ ทาง อบจ. ให้ ก ารสนั บ สนุ น ท่ า นเพราะ อบจ. สนับสนุนประชาธิปัตย์ และท่านณรงค์เคยเป็นประธานสภาจังหวัด ท่านธงชัย (พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี) จึงสนับสนุนเต็มที่” (สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552) เส้นทางการเมืองของนายมานะศักดิ์ ต้องพบกับการตัดสินใจ ครั้งสำคัญหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 สมาชิกพรรคเกือบทั้งหมดได้ย้ายเข้าไป สั ง กั ด พรรคเพื่ อ ไทย ขณะที่ น ายมานะศั ก ดิ์ ย้ า ยไปสั ง กั ด พรรค

ภูมิใจไทยในวันที่ 15 ธันวาคม 2551 และท่านเป็นหนึ่งในสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรที่ ย กมื อ สนั บ สนุ น ให้ น ายอภิ สิ ท ธิ์ เวชชาชี ว ะ หั ว หน้ า พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ขึ้ น เป็ น นายกรั ฐ มนตรี คนที่ 27

ของประเทศไทย โดยนายมานะศักดิ์ให้เหตุผลว่า “สถานการณ์ขณะ นั้ น เกิ ด ความวุ่ น วายทางการเมื อ งมาก หากพรรคเพื่ อไทยได้ เ ป็ น 120

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รั ฐ บาลก็ อ าจเกิ ด การประท้ ว งเหมื อ นกั บ ช่ ว งที่ ไ ทยรั ก ไทยหรื อ

พลังประชาชนเป็นรัฐบาล บ้านเมืองไม่สงบก็อาจนำไปสู่การปฏิวัติ รั ฐ ประหารได้ ผมจึ ง ตั ด สิ น ใจยกมื อ สนั บ สนุ น ท่ า นอภิ สิ ท ธิ์ ” (สัมภาษณ์, กรกฎาคม 2552)

13. นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2550 นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2499 บุ ต รนายไท้ เ สง แซ่ อึ้ ง และนางสำรวย แซ่ เ ตี ย ง สมรสกั บ

นางพวงทิพย์ สิทธิกรวงศ์ (พึ่งรัตน์) มีบุตร 1 คน คือ นายเนติรักษ์ สิ ท ธิ ก รวงศ์ นายสมบั ติ ล้ ม ป่ ว ย และถึ ง แก่ ก รรม เมื่ อ วั น ที่ 15 ธันวาคม 2551 อายุ 52 ปี นายสมบัติ สำเร็จมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ปริ ญ ญาตรี ส าขานิ ติ ศ าสตร์ จากมหาวิ ท ยาลั ย รามคำแหง และ ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้ ว่ า นายสมบั ติ จ ะเป็ น นั ก การเมื อ งระดั บ ชาติ ห น้ า ใหม่

แต่ถือว่าเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในการเมืองระดับท้องถิ่น โดยท่านได้รับ เลื อ กตั้ ง เป็ น สมาชิ ก สภาองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด 2 สมั ย

เป็ น นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด นนทบุ รี ในปี พ.ศ. 2545

เป็ น เลขานุ ก าร นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด นนทบุ รี ในปี

พ.ศ. 2548 และเป็นผู้ช่วยสมาชิกวุฒิสภา นายสมบัติเล่าว่า “ผมเข้า มาสู่การเมืองระดับชาติได้โดยมี ส.ส. และนายก อบจ. (พ.ต.อ.ธงชัย

121

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เย็นประเสริฐ) ให้การสนับสนุนอย่างมาก เพราะมีความสัมพันธ์เป็น เพื่อนรักกันมาก” (สมบัติ สิทธิกรวงศ์, สัมภาษณ์, มิถุนายน 2551) ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านได้รับการสนับสนุนจากทั้งนักการเมืองท้องถิ่นและ นักการเมืองระดับชาติ นอกจากนี้ยังมีฐานเสียงเดิมจากบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการหาเสียงที่ได้ผลดี สำหรับบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้ นายสมบัติยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหาเสียงของตนเองว่า “ผมใช้วิธี เข้าหาผู้นำท้องถิ่นต่างๆ และแจกใบประชาสัมพันธ์ของพรรค การ เข้าหาท้องถิ่นและกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด เพราะเป็น หัวคะแนน หาคะแนนเสียงได้ดีที่สุด บางครั้งตัว ส.ส. เองอาจพบ ประชาชนไม่ทั่วถึง จึงยังต้องใช้หัวคะแนน” (สมบัติ สิทธิกรวงศ์, สัมภาษณ์, สิงหาคม 2551)

14. นายทศพล เพ็งส้ม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2550 เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 1 เมษายน 2505 เป็ น บุ ต ร ร.ต.ต.ธวั ต ร์

เพ็ ง ส้ ม และนางปราณี เพ็ ง ส้ ม สมรสกั บ นางภั ท ธมน เพ็ ง ส้ ม

มีบุตร 2 คน คือ นางสาวโชติกา เพ็งส้ม และเด็กชายปิยะ เพ็งส้ม นายทศพล เพ็ ง ส้ ม สำเร็ จ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาจากโรงเรี ย น รั ต นาธิ เ บศร์ จ.นนทบุ รี ปริ ญ ญาตรี ส าขานิ ติ ศ าสตร์ จาก มหาวิ ท ยาลั ย รามคำแหง และปริ ญ ญาโทศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาการบริ ห ารงานยุ ติ ธ รรม มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และ ประกาศนี ย บั ต ร สาขากฎหมายมหาชน รุ่ น 15 มหาวิ ท ยาลั ย 122

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ธรรมศาสตร์ นายทศพลมีอาชีพเป็นทนายความ ทำงานที่สำนักงาน บางบัวทองทนายความและบัญชี เคยเป็นประธานสภาเทศบาลเมือง บางบัวทอง 4 สมัย และประธานสภาทนายความจังหวัดนนทบุรี 3 สมั ย ได้ รั บ มอบหมายให้ เ ป็ น คณะทำงานด้ า นกฎหมายของพรรค ประชาธิปัตย์

15. นายณรงค์ จันทนดิษฐ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2552 นายณรงค์ จั น ทนดิ ษ ฐ เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 9 มกราคม 2495

เป็นบุตรของนายสุดใจ และนางสาคร จันทนดิษฐ สมรสกับนาง วาสนา จันทนดิษฐ (ดีวุ่น) มีบุตร 2 คน คือ นายชัยรัตน์ จันทนดิษฐ นายกอบโชค จั น ทนดิ ษ ฐ และนางสาวอั จ ฉราภรณ์ จั น ทนดิ ษ ฐ

ท่ า นสำเร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี สาขาพั ฒ นาชุ ม ชน จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ก่ อ นเข้ า มาสู่ ก ารเมื อ ง ท่ า นมี อ าชี พ รั บ เหมาก่ อ สร้ า งและ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จนกระทั่งมีการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นให้ มีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนันประสาน จั่นมุกดา ซึ่งเป็น ญาติได้มาชักชวนให้ลงสมัครเป็นสมาชิก อบต. ไทรม้า หลังจากดำรง ตำแหน่งได้เพียงครึ่งสมัย นายพิเศษ รวมทรัพย์ สมาชิกสภาจังหวัด นนทบุรีในขณะนั้น ได้มาชักชวนให้ลงสมัครสมาชิกสภาจังหวัด ใน สังกัดพรรคพลังธรรม จนกระทั่งได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัด นนทบุรี หลังจากนั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานสภา จังหวัดนนทบุรี หลังจากหมดวาระได้ลงสมัครอีกครั้งแต่ย้ายมาสังกัด กลุ่มประชากรนนท์ และได้รับเลือกกลับเข้ามาอีกครั้ง โดยครั้งนี้

123

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาจังหวัดจนกระทั่งหมดวาระ 4 ปี ใน ปี พ.ศ. 2547 ท่านลงสมัครในสังกัดกลุ่มผึ้งหลวงและก็ได้กลับมาเป็น ประธานสภาจังหวัดนนทบุรีเป็นสมัยที่ 2 โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้มี การแก้กฎหมายให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทาง ตรง ท่านได้ไปชักชวน พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ มาลงสมัคร ซึ่ง ประสบความสำเร็จได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี เป็นสมัยแรก และสมัยที่สองในปี พ.ศ. 2550 แต่ นายณรงค์ จันทนดิษฐ ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด ในครั้ ง นี้ เนื่ อ งจากกฎหมายห้ า มมิ ใ ห้ บุ ค คลดำรงตำแหน่ ง นายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด ติ ด ต่ อ กั น 2 สมั ย ท่ า นได้ ห ารื อ กั บ พ.ต.อ.ธงชัยว่าท่านจะมารับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี แล้วจะมาสมัครเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นนทบุรีหลังจากที่ พ.ต.อ.ธงชัย อยู่ในตำแหน่งครบวาระที่ 2 แต่นายณรงค์ อยู่ในตำแหน่งได้เพียงปีเดียวก็เกิดอุบัติเหตุ ทางการเมื อ งขึ้ น กล่ า วคือ นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ สมาชิ ก สภา

ผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี เขต 2 เสียชีวิตลง จึงมีการหารือกัน ว่าจะต้องหาผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อม โดยนายณรงค์ จันทนดิษฐ ให้ ข้อมูลว่า “ท่านสมบัติเป็น ส.ส. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ก็เหมือน ตัวแทนของผึ้งหลวง ตัวแทนของพวกเรานี่ละ” ท่านอธิบายเพิ่มว่า “เราไม่เคยเอาการเมืองใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้อง สมัยก่อตั้งกลุ่มผึ้งหลวง เราก็ก่อตั้งกันเอง ในนนท์ที่รู้จักผึ้งหลวงในนาม พ.ต.อ.ธงชัย ท่าน เป็นผู้ก่อตั้ง เพียงแต่ว่านายกฯ ธงชัย นิยมพรรคประชาธิปัตย์ เชียร์ ประชาธิ ปั ต ย์ แต่ ไ ม่ ไ ด้ แ สดงตน และคนที่ เ ขาจะสนั บ สนุ น ต้ อ ง

ประชาธิปัตย์ พรรคอื่นก็ไม่เอา” (ณรงค์ จันทนดิษฐ, สัมภาษณ์, พฤษภาคม 2552) 124

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายณรงค์ จันทนดิษฐ เล่าถึงสาเหตุที่ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ว่า “วันที่ท่านสมบัติเสียประมาณตี 4-5 ท่านธงชัยก็โทรมาหาผม แล้วถามผมว่าผมสมัครเป็นสมาชิกพรรคครบหรือยัง ผมตอบว่าเป็น มาตั้งนานแล้ว พองานศพเสร็จเขาก็มาเรียกประชุมกัน เขาก็บอกว่า ถ้าผมไม่ลงประชาธิปัตย์อาจจะเสียที่นั่งไปเลย เพราะว่าฉลอง สุชาติ ลง เบรกไม่อยู่ มติที่ประชุมเลยให้ผมลง เราก็ได้ทีมงานจากท่าน ธงชั ย ที ม งานจากประชาธิ ปั ต ย์ ม าช่ ว ย” ซึ่ ง ผลการเลื อ กตั้ ง ซ่ อ ม ปรากฏว่า นายณรงค์ จันทนดิษฐ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี สามารถเอาชนะคู่แข่ง คือ นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ (อดีต ส.ส. 4 สมัย) และนายฉลอง เรี่ยวแรง (อดีต ส.ส. 2 สมัย) ได้ ซึ่งเรื่องนี้นายณรงค์ ให้ความเห็นว่า “ผมทำงาน ท้องถิ่นที่นี่มานาน ผมรู้จักกับนายก อบต. แทบจะทั้งหมด สมัยเป็น ประธานสภาฯ เป็นรองนายกฯ ผมลงพื้นที่มาโดยตลอด ค่อนข้างรู้จัก คนเยอะ นอกจากนี้ในนนท์ในเขตเลือกตั้งของผมมีหมู่บ้านจัดสรรเกิด ขึ้นเยอะ พวกนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเมืองท้องถิ่น แต่สนใจ การเมืองระดับชาติ ตรงนี้มีส่วนว่าต้องเป็นประชาธิปัตย์เท่านั้น ก็ ต้ อ งยอมรั บ ว่ า เป็ น คะแนนส่ ว นหนึ่ ง ที่ มี อ ยู่ ใครก็ ต ามที่ ใ ส่ เ สื้ อ

ประชาธิปัตย์จะมีคะแนนส่วนหนึ่งแล้ว” นอกจากนี้ นายณรงค์ จันทนดิษฐ ยังเล่าวิธีการหาเสียงของ ตนว่า “ผมลงพื้นที่ทุกวันตั้งแต่วันลงสมัคร ป้ายเสร็จ รถเสร็จ ผมก็ ลงพื้นที่ตลอด ขณะเดียวกันที่ อบต. เทศบาล สมาชิกที่เรารู้จักก็ช่วย เราอีกแรง ระยะเวลาหาเสียงมันสั้นมาก แค่เดือนเดียว ผมทำงาน คนเดี ย ว 3 อำเภอกั บ 2 ตำบล ตั้ ง แต่ บ างเลน จ.นครปฐมถึ ง เมืองทองธานี เขตติดต่อกับบางเขน ความกว้างตั้งแต่ ถ.รัตนาธิเบศร์ ถึงอยุธยา ผมไม่ได้ลงเคาะประตูบ้าน ผมขึ้นหลังคารถทุกวัน ถ้าวัน ธรรมดาก็เช้า-เย็น เสาร์-อาทิตย์เต็มวัน ติดโปสเตอร์ตามสภาตำบล 125

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ต่างๆ ตรงไหนเป็นชุมชน ผมจะให้ทีมงานขึ้นหลังคารถปราศรัย ตาม ตลาด ท่ารถ ผมไปเองบ้างแล้วก็มีทีมงานของผมไปพูดบ้าง ส่วนใน หมู่บ้านจัดสรรเราไม่ค่อยได้เข้าไป เพราะหมู่บ้านจะมีระเบียบของเขา ไม่ให้เราเข้าไปหาเสียง ติดป้ายอะไรทั้งนั้น ในเขตที่ผมอยู่มีคนอิสลาม เยอะ มี มั ส ยิ ด ประมาณ 15 แห่ ง คนอิ ส ลามส่ ว นมากจะนิ ย ม

ไทยรักไทย มีประชาธิปัตย์บางส่วน ผมก็อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว กับพวกอิหม่าม มีผลกับเรามาก เพราะเขาจะชักนำกันได้ในสมาชิก ของเขา อิหม่ามจึงมีส่วนสำคัญมาก” (สัมภาษณ์, พฤษภาคม 2552) นายณรงค์ จั น ทนดิ ษ ฐ ได้ แ สดงความเห็ น เกี่ ย วกั บ พรรค ประชาธิปัตย์ว่า “ประชาธิปัตย์ไม่ได้ตกไปไหนหรอก เพียงแต่ว่าใน ช่วงหนึ่งที่ไทยรักไทยบูมมาก และทำเรื่องประชานิยมเข้าถึงทุกครัว เรือน รักษา 30 บาท เงินกองทุนหมู่บ้านทั้งๆ ที่เดิมมันมีอยู่แล้ว แต่ เขาหยิบตรงนี้ขึ้นมาทำ เขาจี้ได้ถูกจุด ไปเอาคนระดับรากหญ้ามาเป็น ฐาน พอคนระดับรากหญ้าได้เขาจะฝังติดเลย เขตผมนี่เป็นเขตสีแดง เลย ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าบารมีของท่านธงชัยมีมากในเขต จ.นนท์ หลังจากที่ท่านเข้ามาเป็นนายกฯ อบจ. พอเขาทำงานมันมีส่วนถึงราก หญ้าหมด ถึงสังคมทุกสังคม” สำหรั บ อนาคตทางการเมื อ งนั้ น นายณรงค์ จั น ทนดิ ษ ฐ วางแผนไว้ว่า “ก็มาอย่างนี้ก็คงอยู่อย่างนี้แหละ แล้วกฎหมายนายก อบจ. ก็โดนแก้ นายก อบจ. เป็นได้ตลอด นายกฯ ธงชัยก็ไม่มีใครมา ลบเขาได้ง่ายๆ ผลงานเขาผมคุยได้เต็มปากว่าอันดับหนึ่งของเมืองไทย ให้การศึกษามาเป็นอันดับแรก งบประมาณเกินครึ่งทุ่มไปที่การศึกษา รองลงมาเป็ น สิ่ ง แวดล้ อ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ” (ณรงค์ จั น ทนดิ ษ ฐ, สัมภาษณ์, พฤษภาคม 2552) 126

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บทที่ 5

สรุป อภิปรายผลการวิจัย

และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย

จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ สามารถ ประมวลข้อค้นพบ ดังนี้ 1. การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุ ร ี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) ลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่พบ คือ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้า มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีแล้วมักจะได้รับการ เลือกกลับเข้ามาอีกในสมัยหน้า จากข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด นนทบุ รี ตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น (พ.ศ. 2552) พบว่า จังหวัดนนทบุรี มี ส.ส. มาแล้วทั้งหมด 26 คน มี ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ - ผู้ที่เป็น ส.ส. สูงสุด 7 สมัย มี 2 คน คือ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ และนายอุดมเดช รัตนเสถียร - ผู้ที่เป็น ส.ส. 6 สมัย มี 1 คน คือ นายถวิล จันทร์ประสงค์ 127 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


- ผู้ ที่ เป็ น ส.ส. 5 สมั ย มี 1 คน คื อ นายประยู ร

จอประยูร - ผู้ ที่ เป็ น ส.ส. 4 สมั ย มี 4 คน คื อ ร.อ.ชะโลม

รั ต นเสถี ย ร นายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ นายนิ ทั ศ น์ ศรี น นท์ และ พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย - ผู้ที่ เป็น ส.ส. 3 สมัย มี 2 คน คือ นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ และนายประกอบ สังข์โต - ผู้ที่ เป็น ส.ส. 2 สมัย มี 5 คน คือ นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม นายทนง นิยมสินธุ นายประชุม รัตนเพียร พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และนายฉลอง เรี่ยวแรง - ผู้ที่ได้เป็น ส.ส. เพียงสมัยเดียวมี 11 คน คือ หลวงศรีเขตนคร (ปลื้ม สวนะปรีดี) ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย นายกุหลาบ แก้ววิมล พ.ต.หลวงราชเวชชพิ ศ าล นายเติ ม ทั บ ทิ ม ทอง นายแสวง

ศรีมาเสริม นายสนม เปียร์นนท์ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์

นายสมบั ติ สิ ท ธิ ก รวงศ์ นายทศพล เพ็ ง ส้ ม และนายณรงค์

จันทนดิษฐ ซึ่งในจำนวนนี้มี ส.ส. รายสุดท้ายที่เพิ่งได้รับเลือกจาก การจัดการเลือกตั้งซ่อมครั้งล่าสุด (วันที่ 25 มกราคม 2552) เป็น สมัยแรก ข้ อ มู ล ข้ า งต้ น สะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า ผู้ มี สิ ท ธิ เ ลื อ กตั้ งในจั ง หวั ด นนทบุรีมีความยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นต่อ ส.ส. ที่ตนเองเคยเลือก

128

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2. ภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี เมื่ อ พิ จ ารณาภู มิ ห ลั ง ของนั ก การเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด นนทบุ รี สามารถพิจารณาได้ ดังนี้ 2.1 พื้นฐานทางอาชีพ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่จะเคยเป็นนักการ เมืองท้องถิ่นมาก่อน เช่น ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร เคยเป็นนายก เทศมนตรี นายถวิล จันทร์ประสงค์ เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เคยเป็นประธานสภาจังหวัด นายนิทัศน์ ศรีนนท์ เคย เป็นเทศมนตรี นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ เคยเป็นนายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด เป็นต้น ตำแหน่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อ การสร้ า งฐานเสี ย ง เพราะมีทีมผู้สนับสนุน และการพิสู จ น์ ค วาม สามารถในการสร้างประโยชน์ต่อสาธารณะ นอกจากนี้ อาชีพข้าราชการก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ส่งผลต่อ

การเลือกตั้ง เช่น นายแสวง ศรีมาเสริม เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยเป็นผู้บัญชาการทหารบกและ รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย เคยรับ ราชการกรมยุทธโยธาทหารบก ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า พื้นฐานทางอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพ นักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการมีส่วนสนับสนุนการปูรากฐานไปสู่ การเมืองระดับชาติได้ทางหนึ่ง

129

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2.2 พื้นฐานทางครอบครัว ในบรรดา ส.ส. จังหวัดนนทบุรี มีข้อมูลพื้นฐานทางครอบครัว

ที่น่าสนใจ 4 ครอบครัว คือ ครอบครัวจันทร์ประสงค์ ตั้งแต่นายถวิล จันทร์ประสงค์ เริ่ม เข้ามาบุกเบิกทำงานการเมืองในจังหวัดนนทบุรีอย่างยาวนานและต่อ เนื่อง ส่งผลให้มีฐานเสียงที่เป็นปึกแผ่น ภายหลังได้ให้การสนับสนุน นางพิมพา จันทร์ประสงค์ เข้ามาทำงานการเมือง ด้วยความสามารถ ของนางพิมพาและการสนับสนุนของนายถวิลทำให้นางพิมพาครอง ตำแหน่ง ส.ส. ได้ถึง 7 สมัย ภายหลังจากนายถวิลดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาจนครบวาระแล้วก็ถึงจุดอิ่มตัวจึงเลิกเล่นการเมือง ส่วนนางพิมพาถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ในปี พ.ศ. 2550 จาก กรณีเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ทั้งสองจึงสนับสนุนให้นาย มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ บุตรชายมาทำงานการเมืองต่อ ครอบครัวรัตนเสถียร ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร ได้เข้ามาสร้าง คุ ณ ประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ ส าธารณะตั้ ง แต่ ท ำงานการเมื อ งท้ อ งถิ่ น ใน ตำแหน่งนายกเทศมนตรี แม้จะไม่ได้รับการเลือกตั้งในการลงสมัคร ครั้งแรก แต่ก็ได้รับการเลือกในครั้งต่อมาและเป็น ส.ส. ติดต่อกันถึง 4 สมัย ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งแต่ละครั้งก็ได้ฝึกฝนลูกชาย คือ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ให้รู้จักวิธีการหาเสียง จนเป็นที่ยอมรับ ของทีมงานผู้สนับสนุนให้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ทางการเมืองของ ร.อ.ชะโลม จนได้รับความไว้วางใจจากชาวจังหวัดนนทบุรีเลือกให้เป็น ส.ส. ถึง 7 สมัย ครอบครัวบรรดาศักดิ์ นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เป็นผู้บุกเบิก ทางการเมืองท้องถิ่นจนสามารถก้าวขึ้นไปสู่การเป็นนักการเมืองระดับ 130

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ชาติ นายสุชาติเป็น ส.ส. จังหวัดนนทบุรีถึง 4 สมัย โดยส่วนหนึ่งได้ รับการสนับสนุนฐานเสียงจากพี่ชาย คือ นายวิชัย บรรดาศักดิ์ ซึ่ง เป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด อีกทางหนึ่งด้วย ครอบครัวเรี่ยวแรง นายฉลอง เรี่ยวแรง อดีต ส.ส. จังหวัด นนทบุ รี 2 สมั ย มี ภ รรยา คื อ นางเจริ ญ ทองทวี ปั จ จุ บั น เป็ น สจ.นนทบุรี และมีน้องชาย คือ นายศรีชาติ เรี่ยวแรง ปัจจุบันเป็น รองประธานสภาจังหวัดนนทบุรี จึงสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า หากมีบุคคลในครอบครัวทำงาน การเมืองไม่ว่าจะระดับชาติหรือท้องถิ่นล้วนมีส่วนสนับสนุนต่อการได้ รับคะแนนเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3. วิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี การหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งจะมีกลวิธีที่หลาก หลาย ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนที่จะนำเอาศักยภาพที่มีอยู่ มาใช้ จากการประมวลข้อมูลจากเอกสารและคำสัมภาษณ์ พบว่ามีวิธี การหาเสียงที่ใช้กัน ดังนี้ 3.1 การปราศรัย ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า การปราศรัยเป็นวิธีการหา เสียงที่ไม่เป็นที่นิยมนักของผู้สมัครในจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากการ ปราศรัยแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณสูง และหากผู้ที่มาปราศรัยไม่ใช่ คนสำคัญของพรรคระดับแกนนำหรือหัวหน้าพรรคมักพบว่าไม่ค่อยได้ รับความสนใจจากประชาชนมากนัก ทำให้ต้องอาศัยการเกณฑ์คนมา ฟังปราศรัย 131

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


3.2 การเดินหาเสียงแบบเข้าถึงประชาชน การหาเสียงด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมของผู้สมัครส่วนใหญ่ เพราะ สามารถเข้าถึงประชาชน สร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์ที่ดีกับ ประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน รวมทั้งยังทำให้ได้รับทราบปัญหา ต่างๆ ที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ช่วยเหลือ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่าน หนึ่ง คือ นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ให้ข้อมูลว่า ช่วงหาเสียง เลือกตั้งต้องเดินหาเสียงตั้งแต่ 7 โมงเช้าจน 2 ทุ่ม พักเที่ยงเพียง ชั่วโมงเดียว 3.3 การใช้รถประชาสัมพันธ์ แม้ว่าการเดินหาเสียงเป็นสิ่งที่ผู้สมัครนิยมใช้กันมาก แต่ก็มี ข้อจำกัดว่าผู้สมัครไม่สามารถเข้าไปแนะนำตัวได้อย่างทั่วถึงในเวลา จำกัด ดังนั้น การใช้รถประชาสัมพันธ์ จึงเป็นทางเลือกยอดนิยมอีก ทางเลือกหนึ่งของผู้สมัคร เพราะสามารถแนะนำตัวเองผ่านเครื่อง ขยายเสียง สามารถกระจายเสียงไปได้ไกล เข้าไปถึงประชาชนได้เป็น อย่างดี ไม่เสียเวลามาก ไม่ทำให้ผู้สมัครเหนื่อยมากนัก โดยเฉพาะใน รายผู้สมัครที่มีอายุมาก 3.4 การใช้สื่อในประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ โปสเตอร์ ใบปลิว และบัตรแนะนำตัว เพราะสื่อสิ่งพิมพ์จะทำให้ประชาชนรู้รายละเอียดของผู้สมัครมากขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือ รู้ว่าผู้สมัครคนนั้นเบอร์อะไร สื่อสิ่งพิมพ์มักจะเป็น รูปของผู้สมัคร บางครั้งก็เป็นรูปถ่ายคู่กับหัวหน้าพรรค รวมทั้งรูปการ ร่ ว มกิ จ กรรมสาธารณประโยชน์ ทั้ ง หลายของผู้ ส มั ค ร นอกจากนี้

ผู้สมัครบางคนก็จะพิมพ์คำขวัญของพรรคลงในสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย คำ ขวัญหรือสโลแกนเป็นเรื่องสำคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและ 132

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รวมทั้ง สะท้อนถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาเหล่านั้น เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2526 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาและให้เลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วัน ทำให้มีเวลาในการ หาเสียงไม่กี่วัน เหตุการณ์นั้นทำให้ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคมไม่พอใจ จึงแสดงออกผ่านสโลแกนว่า “ไม่มี เวลาคิด เลือกกิจสังคม” เป็นสโลแกนง่ายๆ แสดงให้เห็นถึงเงื่อน เวลาที่น้อยมากในการหาเสียงเลือกตั้ง ประชาชนไม่ต้องคิดอะไรมาก พรรคการเมืองก็ไม่มีเวลาคิดนโยบายใหม่ๆ ออกมา เมื่อครั้งพรรคไทยรักไทยตั้งขึ้นมาใหม่ และการเลือกตั้งครั้ง แรกก็ใช้สโลแกนที่ออกมาในแนวใหม่ว่า “คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุก คน” เมื่ อ ปี พ.ศ. 2538 นายบรรหาร ศิ ล ปอาชา เป็ น นายกรัฐมนตรี ภายหลังบริหารประเทศมาได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาความ

ขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล จนทำให้พรรคพลังธรรมถอนตัวออก จากการร่วมรัฐบาล และในที่สุดนายกรัฐมนตรีก็ตัดสินใจยุบสภา โดย จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งในการ เลื อ กตั้ ง ครั้ ง นั้ น พรรคพลั ง ธรรมก็ ใ ช้ ค ำขวั ญ ว่ า “ไม่ แ ยกขั้ ว

ไม่แยกภาค ไม่แยกเชื้อชาติ แต่เราแยกชั่วดี” นอกจากนี้ผู้สมัครบางคนก็มีการคิดสโลแกนของตนเอง เช่น นายวิทูร กรุณา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี ในนามพรรคชาติไทย ก็ใช้สโลแกนว่า “รู้งานในพื้นที่ 133

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


รู้หน้าที่ในสภา รู้ปัญหาประชาชน” หรือนายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ใช้สโลแกนว่า “รู้จักแล้วจะรักเอง” 3.5 ความนิยมต่อพรรคการเมือง มีคำกล่าวว่า “ขอให้มาจากพรรคไทยรักไทย จะเป็นตอไม้คน ก็เลือก” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระแสความนิยมของประชาชนที่มีต่อ พรรคการเมื อ ง ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากผลการเลื อ กตั้ ง ในวั น ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นั้น พรรคไทยรักไทยได้รับความไว้วางใจจาก ประชาชน โดยได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น คือ ได้คะแนนทั้งการ เลือกตั้งแบบแบ่งเขต และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ รวม 375 เสียง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศไทย ที่สามารถ จัดตั้งรัฐบาลเดียวได้ ทั้งนี้ ด้วยการบริหารและการจัดการทางด้าน การตลาดของหัวหน้าพรรคและแกนนำของพรรค ทำให้ประชาชนมี ความนิยมพรรคไทยรักไทยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นบุคคลที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ซึ่งแตกต่างจาก หัวหน้าพรรคอื่นๆ ที่มีการบริหารซึ่งยึดติดอยู่กับระบบราชการ ทำให้ ประชาชนเบื่อหน่ายกับระบบเดิมๆ เมื่อพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็น พรรคที่เพิ่งก่อตั้งมา มีอายุเพียง 8 ปี แต่สามารถยึดที่นั่งในสภา

ผู้แทนราษฎรได้เป็นอันดับหนึ่ง โดยในจังหวัดนนทบุรีนั้นผู้สมัครจาก พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งถึง 5 เขตเลือกตั้ง ยกเว้นเขตเลือก ตั้งที่ 3 นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ จากพรรคชาติพัฒนาสามารถ แทรกตัวเข้ามาได้เพียงคนเดียว หรือกรณีนายสุชาติ บรรดาศักดิ์ (ส.ส. 4 สมัย) ที่เคยสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่หลังจากเกิดความ

ขัดแย้งระหว่างกลุ่มวังน้ำเย็นกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงลาออก จากพรรคไทยรักไทยมาสังกัดพรรคประชาราช ส่งผลให้พ่ายแพ้การ เลื อ กตั้ ง ครั้ ง ต่ อ มาให้ แ ก่ ผู้ ส มั ค รหน้ า ใหม่ อ ย่ า ง นายมานะศั ก ดิ์

จันทร์ประสงค์ จากพรรคพลังประชาชน 134 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


3.6 ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหาเสียง โดยมักจะเลือกจากบุคคลที่มีพื้นฐานทางการเมือง หรือผู้นำชุมชนโดย ตำแหน่ง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน หัวหน้าคุ้ม หรือผู้นำชุมชน เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นที่นับหน้าถือตาของประชาชน ในชุมชน ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนบางคนยังทำหน้าที่เป็นสะพาน เชื่อมระหว่างนักการเมืองกับประชาชนในหลายๆ เรื่อง เช่น แจ้ง ความเดือดร้อนที่ประชาชนต้องการให้ช่วยเหลือ การแจ้งข่าวการจัด กิจกรรมหรืองานประเพณีต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ภารกิจสำคัญของผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนในระหว่างที่มีการเลือกตั้ง คือ การจูงใจ การสร้างทัศนคติที่ดีเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้แก่ผู้สมัคร และหาข่าวสารของผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม โดยปกติผู้สนับสนุนหรือ

หั ว คะแนนเหล่ า นี้ จ ะมี ค วามภั ก ดี ต่ อ ผู้ ส มั ค รที่ ต นให้ ก ารสนั บ สนุ น เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนในพื้นที่มองตนว่าเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ 3.7 การสร้างมวลชน ถือเป็นวิธีการหาเสียงหลักของผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จใน จังหวัดนนทบุรี การสร้างมวลชน คือ การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น งานเลี้ยงในเทศกาลต่างๆ งานบุญงานกุศล รวมถึงบริจาคเงิน ให้องค์กรสาธารณะ วัดหรือมัสยิด ช่วยสร้าง ซ่อมแซม หรือให้เงิน สร้าง ซ่อมแซม สิ่งสาธารณะในหมู่บ้าน ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ผู้ให้ สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะ ได้รับเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้เมื่อสำรวจภูมิหลังของผู้ให้สัมภาษณ์ก็พบว่า หลาย คนเคยมีประสบการณ์การเมืองท้องถิ่น เช่น นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เคยเป็นประธานสภาจังหวัดนนทบุรี นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ เคยเป็น 135

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี นายนิทัศน์ ศรีนนท์ เคย เป็นเทศมนตรี เทศบาลเมืองนนทบุรี เป็นต้น คนเหล่านี้ล้วนเคยทำ ประโยชน์ให้ท้องถิ่น ผลงานที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ เมื่อประชาชนรู้ ว่าบุคคลนั้นลงรับสมัครเลือกตั้ง ก็ตัดสินใจเลือกบุคคลนั้น นอกจากนี้ บางคนก็ มี ญ าติ พี่ น้ อ งทำงานการเมื อ งท้ อ งถิ่ น เช่ น นายสุ ช าติ บรรดาศักดิ์ มีพี่ชาย คือ นายวิชัย บรรดาศักดิ์ เป็นนายกเทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด ก็สามารถให้การสนับสนุนได้เป็นอย่างดี 3.8 การรวมกลุ่มทางการเมือง จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่า มีการรวมกลุ่มทางการ เมืองที่น่าสนใจ คือ กลุ่มของนายถวิล จันทร์ประสงค์ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ และนายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ซึ่งเป็นครอบครัว นักการเมืองสำคัญของจังหวัดนนทบุรี หรือกลุ่มของนายอุดมเดช รัตนเสถียร (ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายถวิล จันทร์ประสงค์ ด้วยเช่นกัน) และนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ซึ่งทำงานร่วมกันมาตั้งแต่มี การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 หรือกลุ่มของนายสุชาติ บรรดาศักดิ์ และนายฉลอง เรี่ยวแรง ซึ่งอยู่ในกลุ่มวังน้ำเย็นด้วยกัน หรือกลุ่มของนายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ และนายทศพล เพ็งส้ม ซึ่ง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ละกลุ่มจะมีการทำงานร่วมกันในการหา เสียงเลือกตั้ง การแก้ปัญหาต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ ซึ่ง สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มทางการเมืองในจังหวัดนนทบุรีมีความเข้มแข็ง มากทีเดียว 3.9 การหาเสียงด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาของธวัชชัย ยาหิรัญ (2540) พบว่า ในการ เลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 มีการหาเสียงด้วยวิธีการที่ ไม่ เ หมาะสมหลายวิ ธี เช่ น การโจมตี ฝ่ า ยตรงข้ า ม แจกเงิ น ทอง 136

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สิ่งของ ซื้อเสียง ให้สินบน รวมทั้งการให้หัวคะแนนจดชื่อผู้มีสิทธิ เลือกตั้งหรือจดหมายเลขบัตรประชาชน ซึ่งจากข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

วิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย

ผลการศึ ก ษาข้ อ มู ล การเมื อ งถิ่ นในจั ง หวั ด นนทบุ รี โ ดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี และการ ศึกษาจากเอกสารต่างๆ สามารถวิเคราะห์และประมวลภาพการเมือง ถิ่นในจังหวัดนนทบุรีได้ดังต่อไปนี้ การได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี พบว่ามาจากสาเหตุหลัก 2 ประการคือ (1) คุณสมบัติส่วนตัวของ นักการเมืองเอง (2) กระแสความนิยมของพรรคการเมืองที่นักการ เมืองสังกัด ในประเด็นแรกนั้นข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ร.อ.ชโลม รั ต นเสถี ย ร นายถวิ ล จั น ทร์ ป ระสงค์ นายอุ ด มเดช

รั ต นเสถี ย ร นายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ นายนิ ทั ศ น์ ศรี น นท์ และ

นางพิมพา จันทรประสงค์ บุคคลเหล่านี้แต่ละท่านได้รับเลือกเป็น ส.ส. เพราะคุณสมบัติส่วนตัว การสร้างบารมี และการเข้าถึงผู้นำใน ชุมชน ทั้งนี้เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีทั้ง 6 ท่าน ข้างต้นได้รับเลือกเป็น ส.ส. หลายสมัยติดต่อกันไม่ว่าจะสังกัดพรรค ใดก็ตาม 137

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นนทบุรี 4 สมัย ในแต่ละสมัยจะสังกัดพรรคที่แตกต่างกันไป คือ พรรคกิจสังคม ชาติประชาธิปไตย และประชากรไทย ท่านกล่าวว่า ท่านใช้วิธีไปร่วมงานต่างๆ ที่มีคนมาเชิญ เนื่องจากเห็นว่าการได้รับ เชิญแสดงว่าผู้เชิญอยากพบ การไปร่วมงานแต่ละแห่งก็จะได้รับทราบ ทุกข์สุข ความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนด้วย บางครั้ง ผู้ที่ไปร่วมงานก็จะเชิญไปร่วมงานของตนต่อ ทำให้ท่านได้รับเชิญไป ร่วมงานต่างๆ มากมาย ซึ่งท่านมองว่านี่คือการทำงานเชิงรุก ไม่ต้อง ให้ชาวบ้านลำบากเดินทางมาพบที่บ้าน ดังนั้น ถ้าใครมีเรื่องเดือดร้อน หรื อ ต้ อ งการให้ ช่ ว ยเหลื อ ก็ จ ะมาพบตามงานต่ า งๆ นอกจากนี้

ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร จะมีผู้สนับสนุนเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ แม้ แ ต่ ผู้ น ำครอบครั ว ผู้ ค นจะเชื่ อ ฟั ง หั ว หน้ า ชุ ม ชนและหั ว หน้ า ครอบครัวมาก ถ้าสนับสนุนผู้สมัครรายใดลูกบ้านหรือคนในครอบครัว ก็ จ ะเลื อ กตาม ดั ง นั้ น ท่ า นจึ ง ต้ อ งหมั่ น เข้ าไปพบผู้ น ำชุ ม ชนหรื อ หัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ เพื่อพบปะพูดคุย นายถวิ ล จั น ทร์ ป ระสงค์ เป็ น สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี 6 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย และ

พลังธรรม ทำงานเป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวจังหวัดนนทบุรีอย่าง มาก ไม่ ว่ า จะเป็ น ตั ว แทนชาวบ้ า นร้ อ งทุ ก ข์ ต่ า งๆ การเสนอขอ

งบประมาณก่ อ สร้ า งถนน ปรั บ ปรุ ง ที่ ส าธารณะ และจั ด สร้ า ง สาธารณูปโภคต่างๆ รวมถึงการร่วมกิจกรรมงานบุญงานกุศลต่างๆ ของชาวบ้านในจังหวัดนนทบุรี ประกอบกับท่านมีภรรยา (นางพิมพา จันทร์ประสงค์) เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี ทำให้ได้รับการสนับสนุน อย่างมาก เมื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรีสมัยแรกในปี พ.ศ. 2522 138

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายอุดมเดช รัตนเสถียร ได้รับเลือกติดต่อกันมา 7 สมัย สมัยที่ 1 ถึงสมัย 3 สังกัดพรรคพลังธรรม สมัยที่ 4 ถึงสมัยที่ 6 สังกัดพรรคไทยรักไทย สมัยที่ 7 สังกัดพรรคพลังประชาชน นอกจาก จะได้รับการสนับสนุนจาก นายถวิล จันทร์ประสงค์ การสร้างมวลชน เข้าร่วมงานเลี้ยง งานบุญ งานกุศลต่างๆ ที่มีผู้เชิญไปร่วมงาน ออก ไปพบปะชาวบ้าน ยังเป็นวิธีที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้นายอุดมเดชยังมีผู้สนับสนุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชน เช่ น สมาชิ ก สภาเทศบาล กำนั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า น กรรมการชุ ม ชน เป็นต้น และผู้นำที่ผู้คนให้การนับถือ นายสุ ช าติ บรรดาศั ก ดิ์ ได้ รั บ เลื อ กติ ด ต่ อ กั น มา 2 สมั ย แต่ ล ะสมั ย จะสั ง กั ด พรรคที่แตกต่างกันไปคือ พรรคประชากรไทย และพรรคไทยรักไทย ท่านเริ่มเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นโดยได้รับเลือกให้ เป็นกรรมการสุขาภิบาล อำเภอปากเกร็ด การเป็นนักการเมืองท้อง ถิ่นมาก่อนทำให้ได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาวจังหวัดนนทบุรี จึงมี ฐานเสี ย งค่ อ นข้ า งมากโดยเฉพาะบรรดาผู้ น ำชุ ม ชนในเขตอำเภอ ปากเกร็ด ประกอบกับมีพี่ชาย คือ นายวิชัย บรรดาศักดิ์ เป็นนายก เทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด จึงมีส่วนเอื้อต่อการสนับสนุนฐาน เสียงได้อีกทาง นายนิทัศน์ ศรีนนท์ ได้รับเลือกติดต่อกันมา 4 สมัย สังกัด พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน ได้รับการชักชวนจาก นายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุ รี ใ ห้ ล งสมั ค รเลื อ กตั้ ง ซ่ อ ม เทศมนตรีในปี พ.ศ. 2531 หลังจากที่ได้รับเลือกเป็นเทศมนตรีก็มี โอกาสได้ ท ำงานสร้ า งประโยชน์ ใ ห้ กั บ ประชาชนในพื้ น ที่ การเป็ น สมาชิกสภาเทศบาลมากว่า 10 ปี ทำให้รู้จักคนในพื้นที่มาก จึงใช้

ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ รับฟังปัญหาของ ประชาชน และเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับ ส.ส. 139 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นางพิมพา จันทร์ประสงค์ได้รับเลือกต่อเนื่องมาถึง 7 สมัย สังกัดพรรคพลังธรรม พรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย

การเข้าสู่แวดวงการเมือง ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากชาวจังหวัด นนทบุรี ทั้งนี้เพราะสามีของท่านคือ นายถวิล จันทร์ประสงค์ เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีมาก่อนและท่านก็คอยทำงาน สนับสนุนช่วยเหลือสามีเกี่ยวกับงานทางการเมืองจึงเป็นที่รู้จักของ ชาวบ้ า นอย่ า งกว้ า งขวาง จึ งได้ รั บ เลื อ กตั้ ง เข้ า มาเป็ น สมาชิ ก สภา

ผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรีตั้งแต่สมัยแรกที่ลงสมัคร ภาพการเมื อ งถิ่ นในจั ง หวั ด นนทบุ รี แ สดงให้ เ ห็ นโครงสร้ า ง สังคมชนบท ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย ได้แก่ การ ร่วมกลุ่มแบบอรูปนัย (informal) ของกลุ่มปฐมภูมิ (primary group) มี ก ารติ ด ต่ อ กั น แบบตั ว ถึ ง ตั ว สภาพแวดล้ อ มของท้ อ งถิ่ น และ วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาท ของสมาชิ กในสั ง คมไม่ แ ตกต่ า งกั น มากนั ก มี ก ารรวมตั ว กั น อย่ า ง เหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่าง ราบรื่น โดยมีระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ มีการนับถืออาวุโส มีความเห็นอกเห็นใจกัน สถานภาพจะมีลักษณะจำเพาะของตัวบุคคล เอง เช่น อายุ ความสามารถ และคุณความดี ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้ เป็นผู้นำในสังคมชนบทมักได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นักการเมือง

ท้องถิ่นและผู้อาวุโสที่ชาวบ้านเคารพนับถือ อีกทั้งการเมืองจังหวัด นนทบุรียังแสดงให้เห็นระบบอุปถัมภ์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมไทยมาช้า นานแล้ว กล่าวคือ ชาวบ้านมักแสวงหาคนที่จะพึ่งพาได้ เพื่อให้ ปลอดภัย มั่นใจว่าสิ่งที่ทำจะได้รับความร่วมมือและสนับสนุน และ ประสบความสำเร็จ ตลอดเวลาก็แลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากมีใครเดือดร้อนก็ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ใครมีพระคุณก็ได้รับการ เคารพ มีคนอยู่ในอาณัติ มีคนฟังความเห็น และมีคนตอบแทน การ 140

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ที่ลักษณะโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมของนนทบุรีมีแนวโน้มเป็น แบบคติรวมหมู่ (collectivism) ซึ่งเป็นคุณลักษณะสังคมชนบทไทย โดยทั่วไป แม้ว่าโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมของนนทบุรีจะมีความ ผสมผสานความเป็นเมืองและชนบทก็ตาม ลักษณะนี้ทำให้เมื่อกลุ่ม บุคคลส่วนใหญ่นิยมชมชอบหรือศรัทธาใครก็จะมีอิทธิพลต่อกลุ่มที่ เหลือด้วย ค่านิยมความกตัญญูรู้คุณ ซึ่งเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ในเชิง แลกเปลี่ยนเพราะคนไทยผูกพันความสัมพันธ์ในลักษณะแลกเปลี่ยน อย่างลึกซึ้ง จริงใจ ค่านิยมเกี่ยวกับบุญคุณหรือการรู้สึกเป็นหนี้บุญ คุณเป็นการผูกพันทางจิตใจระหว่างบุคคลคนหนึ่งที่เป็นผู้ให้ กับบุคคล อีกคนหนึ่งที่เป็นผู้รับ ผู้รับจะจดจำความดีงามที่อีกฝ่ายได้ทำให้และ พร้อมที่จะทดแทนบุญคุณบุคคลนั้นๆ เมื่อมีโอกาส ปรากฏว่าเป็นค่า นิ ย มที่ มี อิ ท ธิ พ ลที่ ท ำให้ นั ก การเมื อ งนนทบุ รี ไ ด้ รั บ เลื อ กเป็ น ส.ส.

หลายสมัยติดต่อกัน โดยการที่ ส.ส. นนทบุรีเหล่านี้พยายามสร้าง

คุณานุประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับชาวนนทบุรีจนได้ครองใจคนนนทบุรีส่วน ใหญ่ เมื่อถึงคราวมีการเลือกตั้ง ชาวบ้านจึงถือเป็นโอกาสตอบแทน คุณความดีแก่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ที่เคยทำคุณประโยชน์แก่ บุคคลหรือชุมชุน

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย

ข้อสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในจังหวัดที่มี ส.ส. ได้รับ การเลือกตั้งติดต่อกันหลายสมัยจะมีการพัฒนาความเจริญต่างๆ ค่อน ข้างมาก ประเด็นนี้จึงมีความน่าสนใจที่จะนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับ จั ง หวั ด ที่ มี ก ารเปลี่ ย นหน้ า ส.ส. บ่ อ ยๆ ว่ า มี ค วามเหมื อ นหรื อ

141

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


แตกต่างในการพัฒนาจังหวัด หรืออาจจะเปรียบเทียบเพียงระดับเขต เลือกตั้งในจังหวัดเดียวกันก็ได้ ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาที่เกิดจากการแบ่งเขต เลือกตั้ง เป็นประเด็นที่ ส.ส. หลายคนหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นปัญหาใน การหาเสียง เมื่อเขตพื้นที่การเลือกตั้งใหญ่ขึ้นทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ หาเสียงได้ทั่วถึง ส่งผลต่อคะแนนเสียงที่ได้รับ จึงเป็นประเด็นที่น่า ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เลือกตั้งมีผลต่อผู้สมัครฯ เพียงใด

142

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


บรรณานุกรม

กนก วงษ์ตระหง่าน. การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527. กมล ทองธรรมชาติ, สมบูรณ์, สุขสำราญ และปรีชา หงษ์ไกรเลิศ. การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์เพลส, 2531. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา

ผู้ แ ทนราษฎร 17 พฤศจิ ก ายน 2539. กรุ ง เทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2539. กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2475-2535. กรุงเทพฯ: กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2537. โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักและมิติใหม่ในอนาคต. มูลนิธิส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น, สิงหาคม 2542. _______. การเลือกตั้ง พรรคการเมือง รัฐสภา และคณะทหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2524. จำนง เฉลิมฉัตร. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. 16 (9) : 13-35; ส.ค. 2511. จำนง หนูนมิ่ . ประวัตเิ มืองนนทบุร.ี พระนคร: โรงพิมพ์ประเสริฐศิร,ิ 2512. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. 8 เดือนแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการปกครอง. (ออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.thaisiamnews.com/ ชนะ สอาดเอี่ยม. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2519. รัฐสภาสาร. 24(3): 75-88; มี.ค. 2519. ชมพู โกติรัมย์. การเลือกตั้งและพรรคการเมืองของประชาชนเพื่อประชาชนโดย ประชาชนจะเป็นจริงได้อย่างไร. ม.ป.ท., ม.ป.ป.. ชวลิ ต ยงใจยุ ท ธ. ชี วิ ต และผลงานพลเอกชวลิ ต ยงใจยุ ท ธ ขงเบ้ ง แห่ ง กองทั พ . กรุงเทพฯ: เม็ดทรายคอมพิวเตอร์กราฟิก. ม.ป.ป. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2539. ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์. นักการเมืองถิ่น จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์. 2551.

143

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ณฐพร วรปัญญาตระกูล. การเลือกตั้ง. รัฐสภาสาร. 53 (1): 41-50; ม.ค. 2548. ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ. ปัญหาทางกฎหมายการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย. รัฐสภาสาร. 48 (12): 1-67; ธ.ค. 2543. ที่ทำการปกครองจังหวัดนนทบุรี. ข้อมูลประชากรปี 2550. กันยายน 2550. เทพมนตรี ลิมปพะยอม. 93 ปี จอมพลถนอม กิตติขจรกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ต้องปรับเปลี่ยน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประวัติศาสตร์, 2547. ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ และเทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนชั้นกลาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2542. ธวัชชัย ยาหิรัญ. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือก ตั้ ง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 17 พฤศจิ ก ายน 2539 เขตเลื อ กตั้ ง ที่ 2 จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540. นคร พจนวรพงษ์ และอุ ก ฤษ พจนวรพงษ์ . ข้ อ มู ล ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารเมื อ งไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542. นรนิติ เศรษฐบุตร. การเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปีแห่งการครองศิริราชสมบัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550. บุญกรม ดงบังสถาน. โลกสีขาว ของ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2, นนทบุร:ี บริษทั ออฟเซ็ท เพรส จำกัด, 2547. บุญเรือง บูรภักดิ์ และ บังอร มาลาศรี. บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. รัฐสภาสาร. 34 (11) พฤศจิกายน 2529. บูฆอรี ยีหมะ. นักการเมืองถิ่นจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2549. ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง. นักการเมื อ งถิ่ นจั งหวั ด เชี ยงราย. กรุ งเทพฯ: สำนักพิมพ์

คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 2550. ประวัติศาสตร์จังหวัดนนทบุรี. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.dpt.go.th/Subweb/itdb/history/ Nonthaburi.doc. ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. รัฐสภาไทยในรอบสี่ สิ บ สองปี (2475-2517). กรุงเทพฯ:

ห้างหุ้นส่วนจำกัดชุมนุมช่าง, 2517. _______. การเลือกตั้งผู้แทนปวงชนชาวไทย. รัฐสภาสาร. 16(12): 9-27; พ.ย. 2511. ประหยัด หงษ์ทองคำ. การเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548. รัฐสภาสาร. 53(9): 1-11; ก.ย. 2548. ปัญญา อุดชาชน. การแนะนำตัวผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา. รัฐสภาสาร. 54(4): 7-24; เม.ย. 2549.

144

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ผลการเลือกตั้ง. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.politics.myfirstinfo.com/ viewnews, 2550. พรชัย เทพปัญญา. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: หจก.ธรรกมลการพิมพ์. 2552. พรชั ย เทพปั ญ ญา และพงษ์ ยุ ท ธ สี ฟ้ า . นั ก การเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง. 2549. พรรณพร สินสวัสดิ์. ประวัติการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาไทย/สำนักงานเลขาธิการสภา

ผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2548. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และพลศักดิ์ จิรไกรศิริ. วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และสุจิต บุญบงการ. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคน ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527. พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. รัฐสภาสาร. 48 (9): 1-18; ก.ย. 2543. พระราชพงศาวดารสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม. พระนคร: สำนักพิมพ์ ก้าวหน้า, 2507. พิชญ์ สมพอง. นักการเมืองถิ่น จังหวัดยโสธร. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์. 2551. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. ชนชั้นกับการเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา, 2541. พิษณุ กล้าการนา. หลักการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทางการเมือง (Principle of election campaigning). รัฐสภาสาร. 48(12) : 191-204; ธ.ค. 2543. พุทธชาติ เชื้อไทย. พฤติกรรมการลงคะแนนเสี ย งเลื อ กตั้ งในองค์ ก รปกครองส่วน

ท้องถิ่น: ศึกษากรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบางปู จังหวัด สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย บูรพา, 2547. ไพฑูรย์ มีกุศล. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เอกสารประกอบการสัมมนา การเมืองการปกครองไทย (ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2552. ไพโรจน์ โตเทศ และสัมฤทธิ์ แก้วอาจ. รัฐสภาไทย. รัฐสภาสาร. 31(4) : 27-48; เม.ย. 2526. ภาคภูมิ ฤกขะเมธ. นักการเมืองถิ่นจังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: หจก. ธรรกมลการพิมพ์. 2552. รักฏา เมธีโภคพงษ์ และวีระ เลิศสมพร. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์. 2551. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์. นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. เอกสารประกอบ ก า ร สั ม ม น า ก า ร เ มื อ ง ก า ร ป ก ค ร อ ง ไ ท ย ( ค รั้ ง ที่ 3 ) . น น ท บุ รี :

สถาบันพระปกเกล้า, 2552.

145

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เรือง วิทยาคม. หนทางข้างหน้า-หลังของบิ๊กจิ๋ว. วารสารอรุณสวัสดิ์ ประจำเดือน ตุลาคม, 2532. เรืองโรจน์ จอมสืบ. แนวทางใหม่ในการหาเสียง เลือกตั้ง ส.ส. 50 (ร่าง). กรุงเทพฯ : 2550. ลิขิต ธีรเวคินทร์. การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538. รัฐสภาสาร. 44(3): 1-9; มี.ค. 2538. วัชรา ไชยสาร. ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทยยุคใหม่. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2541. ________. การปฏิ รู ป การเมื อ งไทยกั บ ระบบการเลื อ กตั้ ง . รั ฐ สภาสาร. 45(12): ธ.ค. 2512. วีระ เลิศสมพร. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เอกสารประกอบการสัมมนา การเมืองการปกครองไทย (ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2552. สมคิด ศึกขันเงิน. การเลือกตั้ง. เอกสารข่าวสารงานวิจัยและพัฒนา. 5(43): 22-26; มี.ค. 2549. สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). จดหมายเหตุรายวันการเดินทางไปสู่ประเทศสยาม ในปี คศ. 1685 และ 1686. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2550. ________. จดหมายเหตุ ลา ลู แ บร์ ราชอาณาจั ก รสยาม. นนทบุ รี :

ศรีปัญญา, 2548. สานิ ต ย์ เพชรกาฬ. นั ก การเมื อ งถิ่ น จั ง หวั ด พั ท ลุ ง . กรุ ง เทพฯ: สำนั ก พิ ม พ์

คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 2550. สารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ

ปี 2550. กรุงเทพฯ: 2550. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. กรุงเทพ: ซี. ดับเบิ้ลยู. แอนด์ เอส. โปรดักส์ จำกัด, 2548. สำนั ก งานเลขาธิ ก ารสภาผู้ แ ทนราษฎร. ทำเนี ย บสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2538. กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2538. ________. ทำเนี ย บสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร 2544. กรุ ง เทพฯ:

กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544. สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคน ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527. สุทธิภรณ์ แผ่นสำริต. ทัศนคติทางการเมืองของเยาวชน อายุ 18-19 ปี ที่มีสิทธิ

เลือกตั้ง: ศึกษาเฉพาะกรณีเยาวชนนอกเขตเทศบาลตำบลปากเกร็ดในอำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก, 2538. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. การโฆษณาหาเสียงกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง. มูลนิธิเพื่อการ ศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: 2533.

146

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


หนั ง สื อ ที่ ร ะลึ ก งานพระราชทานเพลิ ง ศพ นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์. นนทบุรี:

สหมิตรพริน้ ติง้ , 2547. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย. พระนคร: โรงพิมพ์

ชวนพิมพ์, 2506. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2507, หน้า 48. อภิวันท์ วิริยะชัย (พ.อ.). เจาะชีวิตนักการเมือง. สถานีวิทยุ MCOT Radio ความถี่ FM 100.5 Mhz. วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2551 (สัมภาษณ์). อเนก เหล่ า ธรรมทั ศ น์ . การเมื อ งของพลเมื อ ง : สู่ ส หั ส วรรษใหม่ . กรุ ง เทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2543. เอกพล แสงจันทร์. ประชาชนกับการเลือกตั้ง ส.ส.. รัฐสภาสาร. 36(6): 13-20; มิ.ย. 2531. Hofstede, G. (1980). Culture’s Consequences: International Differences in Work Related Values. Sage: Beverly Hills, CA. _____. (2003). Culture’s Consequences: Comparing Values, Behaviors, Institutions and Organizations across Nations.

CA: Sage. Komin, S. (1990). Culture and Work-Related Values in Thai Organizations. International Journal of Psychology, 25, 681-704. Niffenegger, P., Kulviwat, S., & Engchanil, N. (2006). Conflicting Cultural Imperatives in Modern Thailand: Global Perspectives.

Asia Pacific Business Review, 12(4), 403-420. Rokeach, M. (1968). Beliefs, attitudes, and values: A theory of organization and change. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

147

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี



ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์

1. นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ 2. มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ 3. นายอุดมเดช รัตนเสถียร 4. นายนิทัศน์ ศรีนนท์ 5. นายถวิล จันทร์ประสงค์ 6. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์

อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 22 มิถุนายน 2551 และ

8 สิงหาคม 2551 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 2 กรกฎาคม 2551 และ

3 กรกฎาคม 2552 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 9 กรกฎาคม 2551 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 9 กรกฎาคม 2551 และ

13 มกราคม 2552 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 17 กรกฎาคม 2551 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 15 สิงหาคม 2551 และ

25 พฤศจิกายน 2551

7. นายสิทธิพร อัจฉริยะประสิทธิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 25 สิงหาคม 2551 8. นายณพทศ ทศิธร ข้าราชการบำนาญ อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ 24 ธันวาคม 2551

149

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


9. นายสมนึก ธนเดชากุล 10. พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ 11. นายณรงค์ จันทนดิษฐ 12. นางเจริญ ทองทวี

150

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

นายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 22 มกราคม 2552 และ

13 กุมภาพันธ์ 2552 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 7 เมษายน 2552 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 29 พฤษภาคม 2552 สมาชิกสภาจังหวัดนนทบุรี สัมภาษณ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2552


ภาคผนวก ข

ภาพนักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2476–2552 หลวงศรีเขตนคร (ปลื้ม สวนะปรีดี) 15 พฤศจิกายน 2476

ร.ต.อ. ฟุ้ง ระงับภัย 7 พฤศจิกายน 2480

นายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม 12 พฤศจิกายน 2481 6 มกราคม 2489

นายกุหลาบ แก้ววิมล 29 มกราคม 2491

พันตรี หลวงราชเวชชพิศาล (โต๊ะ ราชเวชชพิศาล) 26 กุมภาพันธ์ 2495

151

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายทนง นิยมะสินธุ พรรคธรรมาธิปัตย์ 26 กุมภาพันธ์ 2500/1 พรรคสหภูมิ

15 ธันวาคม 2500/2 นายเติม ทับทิมทอง พรรคสหประชาไทย 10 กุมภาพันธ์ 2512

นายประยูร จอประยูร พรรคประชาธิปัตย์ 10 กุมภาพันธ์ 2512 26 มกราคม 2518 4 เมษายน 2519 พรรคประชากรไทย 18 เมษายน 2526 27 กรกฎาคม 2529 นายแสวง ศรีมาเสริม พรรคประชาธิปัตย์ 26 มกราคม 2518

152

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

ร.อ. ชะโลม รัตนเสถียร พรรคกิจสังคม 4 เมษายน 2519 พรรคชาติประชาธิปไตย 22 เมษายน 2522 พรรคประชากรไทย 18 เมษายน 2526 27 กรกฎาคม 2529


นายถวิล จันทร์ประสงค์ พรรคประชาธิปัตย์ 22 เมษายน 2522 18 เมษายน 2526 พรรคชาติไทย 24 กรกฎาคม 2531 พรรคพลังธรรม 22 มีนาคม 2535 13 กันยายน 2535 2 กรกฎาคม 2538

นายประชุม รัตนเพียร พรรคประชากรไทย 27 กรกฎาคม 2529 24 กรกฎาคม 2531

นายประกอบ สังข์โต พรรคประชากรไทย 24 กรกฎาคม 2531 2 กรกฎาคม 2538 17 พฤศจิกายน 2539

นายสนม เปียร์นนท์ พรรคประชากรไทย 24 กรกฎาคม 2531

พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ พรรคความหวังใหม่ 22 มีนาคม 2535 13 กันยายน 2535

153

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


154

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

นางพิมพา จันทร์ประสงค์ พรรคพลังธรรม 22 มีนาคม 2535 13 กันยายน 2535 2 กรกฎาคม 2538 พรรคความหวังใหม่ 17 พฤศจิกายน 2539 พรรคไทยรักไทย 6 มกราคม 2544 7 ก.ย. 2546 (เลือกตั้งแทน นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ ที่ถึงแก่กรรม) 2 เมษายน 2549 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคพลังธรรม 22 มีนาคม 2535 13 กันยายน 2535 2 กรกฎาคม 2538 พรรคไทยรักไทย 6 มกราคม 2544 6 กุมภาพันธ์ 2548 2 เมษายน 2549 พรรคพลังประชาชน 23 ธันวาคม 2550 นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคประชากรไทย 2 กรกฎาคม 2538 17 พฤศจิกายน 2539 พรรคชาติพัฒนา 3 มีนาคม 2545 (เลือกตัง้ แทนนางพิมพา จันทร์ประสงค์ ที่ได้ใบเหลือง)


นายฉลอง เรี่ยวแรง พรรคประชากรไทย 17 พฤศจิกายน 2539 พรรคไทยรักไทย 6 กุมภาพันธ์ 2548 นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ พรรคประชากรไทย 17 พฤศจิกายน 2539 พรรคไทยรักไทย 6 มกราคม 2544 6 กุมภาพันธ์ 2548 2 เมษายน 2549 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคไทยรักไทย 6 มกราคม 2544 6 กุมภาพันธ์ 2548 2 เมษายน 2549 พรรคพลังประชาชน 23 ธันวาคม 2550 พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย พรรคไทยรักไทย 6 มกราคม 2544 6 กุมภาพันธ์ 2548 2 เมษายน 2549 พรรคพลังประชาชน 23 ธันวาคม 2550 นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ พรรคพลังประชาชน 23 ธันวาคม 2550

155

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ 23 ธันวาคม 2550

นายทศพล เพ็งส้ม พรรคประชาธิปัตย์ 23 ธันวาคม 2550

156

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี

นายณรงค์ จันทนดิษฐ พรรคประชาธิปัตย์ 25 มกราคม 2552 (เลือกตั้งแทนนายสมบัติ สิทธิกรวงศ์ ที่ถึงแก่กรรม)


ภาคผนวก ค นักการเมืองท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดนนทบุรี

1. นายสมนึก ธนเดชากุล

นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนนทบุรี 7 สมัย (พ.ศ. 2527, 2531, 2533, 2538, 2543, 2547 และ 2551) ประวัติทางการเมืองท้องถิ่นของนายสมนึก ธนเดชากุล เป็นที่ น่าสนใจศึกษาอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จใน ทางการเมืองท้องถิ่น และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันสนับสนุน นักการเมืองระดับชาติในจังหวัดนนทบุรี นายสมนึก ธนเดชากุล เกิด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2488 สมรสกับนางจิตรา ธนเดชากุล สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ก่ อ นที่ จ ะเข้ า มาสู่ ก ารเมื อ งท้ อ งถิ่ น นายสมนึ ก รั บ ราชการ ในกรมชลประทาน จนในปี พ.ศ. 2516 จึ ง ลาออกมาช่ ว ยธุ ร กิ จ ค้าขายของครอบครัว ด้วยความเป็นคนมีนิสัยใจคอกว้างขวาง ชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น จึงทำให้มีเพื่อนฝูงมากมาย ท่านเป็นคนที่ชอบกีฬา ชกมวย เคยเป็นนักกีฬาชกมวยของโรงเรียนและได้รู้จักยอดมวยไทย ในยุคนั้น คือ วิชาญน้อย พรทวี เส้นทางการเมืองท้องถิ่นของนาย สมนึก เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2517 เมื่อได้รู้จักกับ นายบุญเยี่ยม โสภณ ส.ส.จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มาชักชวนให้ลงสมัครสมาชิกสภาเทศบาล ท่าน จึงชักชวนเพื่อนๆ มาตั้ง “กลุ่มพลังหนุ่ม” ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งใน ครั้งนั้นทีมที่ลงสมัครล้วนแล้วแต่เป็นทีมที่น่ากลัวทั้งสิ้น เช่น ทีมของ ร.อ.ชะโลม รัตนเสถียร นายกเทศมนตรีสมัยนั้น ทีมของรัฐมนตรี ประกอบ สังข์โต และทีมเทศมนตรี สมาน สุขมาก โดยแต่ละทีมส่ง 157 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ผู้สมัครเต็มจำนวน 18 คน แต่กลุ่มพลังหนุ่มมีผู้สมัครเพียง 6 คน ด้วยคำแนะนำที่ได้รับจาก ส.ส. บุญเยี่ยม และบิดามารดาของท่านก็ เป็นคนจังหวัดนนทบุรีที่ได้รับการเคารพนับถือ ประกอบกับชื่อเสียง ของวิชาญน้อย พรทวี ทำให้กลุ่มพลังหนุ่มได้รับการเลือกตั้งเข้ามา 2 คน เมื่อเข้าไปทำงานในฐานะฝ่ายค้านของเทศบาล ท่านก็ได้แสดง

ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ในการเลือกตั้งเทศมนตรีในปี พ.ศ. 2523 กลุ่มพลังหนุ่มได้รับการเลือกตั้งถึง 17 คน จากนั้นมากลุ่มพลังหนุ่ม ก็ได้รับเลือกมาโดยตลอด ในการเข้ าไปสั ม ผั ส กั บ การเมื อ งระดั บ ชาติ นั้ น ท่ า นเล่ า ว่ า

“ในปี พ.ศ. 2518 พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พอในปี พ.ศ. 2519 คุณหญิงมด (ม.ร.ว.

ระย้าทิพย์ อินทรทูต) หลานสาวของ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ให้คนมาเชื้อเชิญให้เข้าร่วมพรรคกิจสังคม แต่ท่านได้ตอบปฏิเสธ ไป” ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในการเข้าไปสัมผัสการเมือง ระดับชาติ จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2528 นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ได้ส่งตัวแทนพรรค เข้าร่วมแข่งขัน โดยนายสมัคร มาปราศรัยช่วยลูกพรรคด้วยตนเอง ทำให้ในการเลือกตั้งครั้งนั้นสมาชิกกลุ่มพลังหนุ่มได้รับการเลือกตั้ง เพียง 6 คน ทีมคู่แข่งได้ 12 คน ท่านจึงกลับมาทบทวนว่ากลุ่มพลัง หนุ่ ม ต้ อ งมี พ รรคการเมื อ งให้ ก ารสนั บ สนุ น ในปี พ.ศ. 2531 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก่อตั้งพรรคพลังธรรมขึ้น ได้มาชักชวนท่านเข้า เป็นสมาชิกพรรค แต่เมื่อ พล.ต.จำลอง กลับไปหารือกับสมาชิกพรรค กลับถูกต่อต้าน แต่ในที่สุด น.พ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ก็กลับมา ชักชวนท่านอีกครั้ง ท่านจึงตัดสินใจเข้าร่วมพรรคพลังธรรม และที่นี่ ทำให้ท่านได้รู้จักกับ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานการเมืองร่วมกับทั้งสองท่านนี้ ในเวลาต่อมา (สมนึก ธนเดชากุล, สัมภาษณ์, มกราคม 2552) 158 นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


หลังจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากพรรคพลังธรรม บทบาทของพรรคพลังธรรมในเวทีการเมืองระดับประเทศก็ถดถอยลง เรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 พรรคพลังธรรมมี ส.ส. ที่ได้รับ เลือกเพียงคนเดียว คือ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ได้ ก่ อ ตั้ งพรรคไทยรั กไทยขึ้ น ทำให้ นายสมนึกเข้ามามีบทบาทสำคัญทางการเมืองระดับชาติใน จังหวัดนนทบุรี บทบาทของกลุ่มพลังหนุ่มและนายสมนึก ธนเดชากุล ในการ สนับสนุนผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ การสนับสนุนฐานเสียง การเสนอชื่อผู้สมัครในนามพรรคการเมือง หรือการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สมัครในด้านต่างๆ นายสมนึก เล่า ว่า “สมัยก่อนช่วงที่มีการเลือกตั้ง ตอนนั้นผมยังโสด ก็ยกบ้านให้ เป็ น กองบั ญ ชาการเลื อ กตั้ ง กิ น นอนกั น ที่ นั่ น ช่ ว ยกั น วางแผนหา เสียง” ในช่วงที่พรรคไทยรักไทยเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 มีการคัดเลือกผู้สมัครในนามไทยรักไทยเพื่อลงศึกเลือกตั้ง ในจังหวัดนนทบุรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค จึงได้หารือ กับนายสมนึก ซึ่งท่านได้เสนอชื่อนายนิทัศน์ ศรีนนท์ โดยนายสมนึก ให้เหตุผลว่า “นายนิทัศน์ ศรีนนท์ ซึ่งเป็นเทศมนตรีอยู่ เป็นคนที่มี ความรู้ ความสามารถ มีทักษะ อ่อนน้อม จริงใจ ทำงานในพื้นที่นี้มา นาน” แต่ นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรค สนับสนุนนาย ประกอบ สังข์โต ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ เลือกนายนิทัศน์ เป็นผู้สมัครในนามพรรคไทยรักไทย ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ เป็นที่ผิดหวัง นายนิทัศน์ได้เป็น ส.ส. สมัยแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้รับเลือกติดต่อมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นายสมนึก ยัง กล่าวว่า “กลุ่มพลังหนุ่มมีฐานเสียงในนนทบุรีเป็นหมื่นคน ถ้าจะ 159

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


สนับสนุนใครเราก็เรียกประชุมกันได้ทันที” นี่เป็นการสะท้อนให้เห็น ถึงบทบาทสำคัญของนักการเมืองท้องถิ่น นอกเหนื อ จากนั ก การเมื อ งท้ อ งถิ่ น แล้ ว นายสมนึ ก ยั งให้ ทรรศนะว่ า “พรรคการเมื อ งก็ มี ผ ลต่ อ คะแนนเสี ย ง พรรค

ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีฐานเสียงหนาแน่นในสมัยก่อน แต่ก็ถูก กระแสของนายสมั ค ร สุ น ทรเวช หั ว หน้ า พรรคประชากรไทย

ครองใจชาวนนทบุรีอยู่ช่วงหนึ่ง พอนายสมัคร ลงจากหัวหน้าพรรค ความนิยมในพรรคประชากรไทยก็ลดลง ต่อมาก็มีพรรคพลังธรรม ความหวังใหม่ ไทยรักไทย แล้วก็พลังประชาชน” สำหรับอำนาจรัฐ (ผู้ว่าราชการจังหวัด) นั้นมีผลไม่มากนัก โดยท่านให้เหตุผลว่า “ผู้ว่าฯ นั้นมีผลในการให้คุณให้โทษแก่นักการ เมือง เพราะถ้าใครขึ้นมาเป็นผู้ว่าฯ ก็ต้องคอยระมัดระวังตัว เพราะ ท่านเป็นผู้ใหญ่มัวแต่คิดจะช่วยนักการเมืองคนโน้นคนนี้ใครจะไปชอบ เดี๋ยวพอเปลี่ยน มท.1 ทีก็ย้ายที ส่วนผู้สมัครฯ ที่ไปหาเสียงตาม

วัด ก็ได้ผลบ้างแต่ไม่มากนัก มีแต่พวกรุ่นเก่าๆ ที่ยังใช้วิธีนี้” นาย

สมนึก ยังเล่าเสริมว่า “สมัยก่อนผู้ว่าฯ แสวง ศรีมาเสริม ลูกชาย ของท่านเป็นผู้จัดการแบงค์ มาขอให้พวกผมช่วยหาเสียง จนท่านได้ เป็น ส.ส.” อีกเหตุการณ์หนึ่งที่สนับสนุนทรรศนะของท่านคือ “ตอน ปี 2535 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม มอบให้ ผมเป็นคนคัดคนลงสมัคร ส.ส. ผู้ว่าฯ สุกิจ จุลละนันท์ จะลงสมัคร ในนามพรรคพลังธรรม แต่เกิดเปลี่ยนใจไปลงพรรคความหวังใหม่ แทน ผมเลยไปจูงมือคุณพิมพา จันทร์ประสงค์ มาลงในนามพลัง ธรรมแทน ปีนั้นคุณพิมพาเลยได้เป็น ส.ส. สมัยแรก ส่วนผู้ว่าฯ สุกิจ สอบตก ความหวังใหม่ได้ พล.อ.ชวลิต คนเดียว” ต่อมา กกต. ได้มี บทบาทมาควบคุมการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและท้องถิ่น และบุคคลใน 160

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


พรรคการเมืองไม่สามารถมาสนับสนุนการเมืองท้องถิ่นได้ นายสมนึก จึงได้ลาออกจากพรรคการเมือง (สมนึก ธนเดชากุล, สัมภาษณ์, กุมภาพันธ์ 2552) ตลอดระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา นายสมนึก ธนเดชากุล เป็น นักการเมืองท้องถิ่นที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายสมัย ซึ่งบนถนน การเมืองท้องถิ่นท่านได้ปรับปรุงเทศบาลเมืองนนทบุรี มีการขยาย เทศบาลฯ จากพื้นที่ 2.5 ตารางกิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็น พื้นที่ 38.9 ตารางกิโลเมตร โดยเพิ่มตำบลในเขตเทศบาลขึ้นเป็น 5 ตำบล และยกฐานะจากเทศบาลเมืองนนทบุรี ซึ่งมีงบประมาณ 10 กว่ า ล้ า นบาท พั ฒ นามาเป็ น เทศบาลนครนนทบุ รี มี ง บประมาณ 1,000 กว่ า ล้ า นบาท จนถึ ง ปั จ จุ บั น มี ป ระชากรในเขตเทศบาลฯ จำนวน 270,000 คน ซึ่งถือได้ว่าท่านเป็นบุคคลที่ได้สร้างคุณูปการให้ แก่ชาวจังหวัดนนทบุรีอย่างมากมาย มีการพัฒนาความเป็นอยู่ของ ประชาชนและนำความเจริญมาสู่จังหวัดนนทบุรี จึงส่งผลให้ท่านได้มี ผลงานและได้รับรางวัลต่างๆ กว่า 10 รางวัล เช่น รางวัลเกียรติคุณ (แท่งแก้วจารึกเกียรติคุณ) Mayor’s Asia Pacific Environmental Summit (MAPES) 2003 รางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผล งานดี เ ด่ น ระดั บ จั ง หวั ดในการเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพชุ ม ชนด้ า นการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รางวัลผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นดีเด่นด้านการศึกษา พ.ศ. 2549 เป็นต้น และรางวัลที่ได้รับ ล่ า สุ ด คื อ ร า ง วั ล ผู้ บ ริ ห า ร ท้ อ ง ถิ่ น ดี เ ด่ น ด้ า น ก ารอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำปี พ.ศ. 2552

161

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


2. พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2 สมัย (25472551 และ 2551 ถึง ปัจจุบัน (2552)) พ.ต.อ.ธงชั ย เย็ น ประเสริ ฐ เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 20 กุ ม ภาพั น ธ์ 2498 เป็นบุตรของนายเชื้อ และนางจุ๊ย เย็นประเสริฐ มีพี่น้อง ทั้งหมด 9 คน สมรสกับนางอมรวรรณ เย็นประเสริฐ (สว่างเนตร) มีธิดา 3 คน คือ นางสาวนวรัตน์ เย็นประเสริฐ นางสาวนันทพร เย็นประเสริฐ และนางสาวนุชสุดา เย็นประเสริฐ พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ สำเร็จมัธยมจากโรงเรียนเขมา-

ภิรตาราม ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากสำเร็จการศึกษาท่านได้สอบเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ พิเศษรุ่นที่ 9 เริ่มรับราชการในตำแหน่งลูกแถว โรงเรียนนายร้อย ตำรวจสามพราน เมื่ อ ปี พ.ศ. 2520 ชี วิ ต ทางราชการของ พ.ต.อ.ธงชั ย เย็ น ประเสริ ฐ เจริ ญ ก้ า วหน้ า มาโดยลำดั บ ได้

เลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ 9 ครั้ง/อายุราชการ 25 ปี ตำแหน่ง สุดท้าย คือ ผู้กำกับการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นได้ลาออกจากราชการ พ.ต.อ.ธงชัย เล่าสาเหตุของการลาออกจากราชการว่า “ผมเห็นว่า ตอนอยู่ก็ทำงานเรื่องยาเสพติด และผมก็สนใจเรื่องการศึกษาเป็น พิเศษ ผมมองว่าประเทศที่เจริญแล้วจะสนใจเรื่องการศึกษาลูกหลาน เป็นหลัก แล้วของเราที่ผ่านมารัฐบาลแต่ละรัฐบาลก็ไม่สนใจเลย ที่ ตั้งใจมาลงตรงนี้ (การเมืองท้องถิ่น) เพราะตั้งใจมาทำงานด้านการ ศึกษา” ท่านยังเล่าเสริมว่า “พ่อผมเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน แกอยากให้ ผมติดยศนายพล เดินทางมาขอร้องให้ผมรับราชการต่อวันละ 3-4 162

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เที่ยว แต่ผมคิดว่าอยู่ตรงนี้ (การเมืองท้องถิ่น) สามารถทำประโยชน์ ให้ลูกหลานได้มากกว่า” (ธงชัย เย็นประเสริฐ, สัมภาษณ์, เมษายน 2552) เส้นทางการเมืองท้องถิ่นของ พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ เริ่ม ขึ้นจากการที่บรรดาเพื่อนฝูงที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติ ในจั ง หวั ด นนทบุ รี ส มั ย นั้ น มาชั ก ชวนให้ ล งสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ท่านเล่าว่า “ตอนที่จะทำงาน การเมือง พรรคพวกที่เป็น ส.ส. ฉลอง (นายฉลอง เรี่ยวแรง) สุชาติ (นายสุชาติ บรรดาศักดิ์) พิมพา (นางพิมพา จันทร์ประสงค์) ก็เรียก ไปคุยกัน ขอให้ผมลง ผมบอกว่าถ้าผมลง ห้ามยุ่งกับผม เอาโครงการ นั้นนี้ลงไม่ได้ ผมต้องอิสระ เขาก็บอกรับได้ ตั้งแต่ลงมาเขาก็ไม่เคยยุ่ง กับผมเลย ขอก็ไม่เคยขอ โครงการอะไรไม่เคย แล้วก็ไม่ได้ผูกพันด้วย ว่าต้องช่วยเขา ตอนนั้น กลุ่ม ส.จ. ด้วยกันก็พยายามขอร้องให้ผมลง เพราะว่าถ้าต้องแข่งกับฝ่ายป๋านึก (นายสมนึก ธนเดชากุล) ซึ่งทาง ป๋านึกเข้าส่งให้เกษมสุขลง (นายเกษมสุข ทรงวัชราภรณ์) ในทั้งหมด นั้นไม่มีใครสู้ได้ เว้นแต่ผม ผมรับราชการอยู่บางบัวทอง ปากเกร็ด แน่นมากๆ เป็นฐานใหญ่ ผมไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุนอิสระล้วนๆ แล้วผมก็ยังไม่อยากยุ่งการเมืองด้วย เพราะถ้าผมไปยุ่งกับพรรคหนึ่ง ผมก็เสียคะแนนอีกพรรค ผมมั่นใจว่าศักยภาพตัวเอง ผมมีฐานเสียง เดิมของผม เพราะผมทำงานยาเสพติดของอำเภอ เดิมก่อนทำงานยา เสพติดผมก็มีมวลชนของผมอยู่พอสมควร เป็นคนที่กว้างขวางพอ สมควร พูดง่ายๆ พรรคพวกเพื่อนฝูงเยอะ มีอะไรช่วยใครได้ช่วยมา ตลอด ไม่ มี ผ ลตอบแทนอะไรใครทั้ ง นั้ น มี แ ต่ จ่ า ยให้ เ ขา แล้ ว ก็ ระหว่างทำงานด้านยาเสพติด ทั้งปากเกร็ด ทั้งบางบัวทอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขาขอให้ผมไปอบรมยาเสพติด กับลูกหลาน ไปอบรมเลิก กินนอนอยู่ที่วัด” หลังจากตัดสินใจเข้าสู่การเมืองระดับท้องถิ่นท่านได้ 163

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


เล่าถึงวิธีการหาเสียงว่า “ผมใช้แสดงผลงาน พิมพ์ผลงานแจกว่าผล งานในการรับราชการมีอะไรบ้าง ผมได้เป็นผู้กำกับป้องกันยาเสพติดดี เด่นของกรมตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวนดีเด่นของกรมตำรวจ เมื่อ เทียบกับคู่แข่ง ซึ่งอายุก็ 50 แก่กว่าผม ด้านการศึกษาก็ด้อยกว่า ถ้า คนดู เดิ ม ถ้ า ดู ก ระแสในเมื อ งเขาเหนื อ ผม 20-30% แต่ พ อแจก ใบปลิวหมดแล้วกระแสผมตีกลับสู้กับเขา” (ธงชัย เย็นประเสริฐ, สัมภาษณ์, เมษายน 2552) หลังจากที่ พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ ได้รับเลือกเข้ามาเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สมัยแรกใน ปี พ.ศ. 2547 ท่านได้ทุ่มเท มุ่งมั่น และเอาจริงเอาจังต่อการศึกษาของเด็กและ เยาวชนอย่างมาก ทำให้คุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1 และเขต 2 ซึ่งเคยอยู่ในอันดับ 10-15 ของประเทศ (จาก 175 เขตพื้นที่การศึกษา) เลื่อนขึ้นมาสู่ 5 อันดับแรกของ ประเทศ จากผลงานดี เ ด่ น ด้ า นการบริ ห ารการศึ ก ษา จึ ง ทำให้ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ ธนบุ รี ม อบปริ ญ ญาครุ ศ าสตรดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่ง พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ ก็ได้รับ การเลือกเข้ามาเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551 พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ ได้วิเคราะห์การเมืองระดับชาติใน อนาคตของจังหวัดนนทบุรีไว้ว่า “ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) จังหวัด นนทบุ รี ก็ มี 2 พรรคเท่ า นั้ น เพื่ อ ไทย ประชาธิ ปั ต ย์ ตอนนี้

ประชาธิ ปั ต ย์ อ าจจะได้ เ ปรี ย บหน่ อ ย เพื่ อ ไทยอาจจะเสี ย เปรี ย บ

นิดหนึ่ง เว้นแต่ปรับทางหัวหน้าพรรคใหม่ เพราะว่าตอนนี้ เพื่อไทย หั ว ก็ ไ ม่ มี อะไรก็ ไ ม่ มี มั น ก็ ล ำบาก กระแสในบ้ า นจั ด สรรจะไม่ รั บ

164

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี


ถ้ า รากหญ้ า ก็ พ อได้ อาจจะได้ บ างส่ ว น และถ้ า ยั ง เป็ น อย่ า งนี้ อ ยู่

ข้ า งหน้ า ลำบาก ครั้ ง หน้ า ประชาธิ ปั ต ย์ ก็ ยั ง มา อาจจะมาหมด

ด้วยซ้ำไป ถ้าตามความรู้สึกผมอย่างในพื้นที่นนท์ ผมก็เห็นว่าอย่าง ท่ า นอุ ด มเดช (นายอุ ด มเดช รั ต นเสถี ย ร) หรื อ พ.อ. อภิ วั น ท์ (พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย) แทนที่จะรอดกัน 2 คน ผมว่าจะไม่รอด ถ้ า กระแสยั ง เป็ น อยู่ อ ย่ า งปั จ จุ บั น นี้ คราวที่ แ ล้ ว ที่ แ ข่ ง กั บ สมบั ติ

(นายสมบัติ สิทธิกรวงศ์) เขายังเป็นที่สามเลย แล้วครั้งนั้น กระแส พลังประชาชนยังดีกว่าเพื่อไทยครั้งนี้นะ เพราะอย่างที่ผมบอก มันอิง กระแส จังหวัดนนท์ บ้านจัดสรรเยอะ แล้วบ้านจัดสรรเขามีความรู้ จะไปใช้ เ งิ น หรื อ ปั จ จั ย อื่ น ชี้ น ำไม่ ไ ด้ ห รอก เขามี ค วามคิ ด เป็ น ของ

ตัวเอง พ.ต.อ.ธงชัย เย็นประเสริฐ กล่าวถึงอนาคตทางการเมืองว่า “ผมไม่เล่นการเมืองระดับชาติ ไม่อยากเล่น เราไม่สามารถเอาความ คิ ด เราไปใส่ ไ ด้ อย่ า งผมอยู่ ต รงนี้ ท ำงบประมาณด้ า นการศึ ก ษา

งบประมาณ 1,000 ล้ า น ผมก็ ใ ส่ ไ ปเลยการศึ ก ษา 600 ล้ า น โรงเรียนวัด โรงเรียนมัสยิด มีครูต่างประเทศหมด ครูช่วยสอนของ นนทบุ รี ปั จ จุ บั น นี้ 1,300 อั ต รา รั บ เงิ น เดื อ น อบจ. อุ ป กรณ์ คอมพิวเตอร์ ผมแจกไปแล้ว 7,500 กว่าเครื่อง ทุกโรงเรียนเด็กได้ เรียนหมด เครื่องดนตรีไทย ดนตรีสากล วงโยธวาทิตพร้อมหมดทุก โรงเรียน ไปดูได้ ให้เด็กพร้อมทุกอย่าง เอาการศึกษาไว้เป็นหลัก คือ ต้องการเตรียมความพร้อมให้ลูกหลาน มองไปอีก 20-30 ปีข้างหน้า ถ้าเราเป็น ส.ส. ตัวกระจิ๋ว เสนออะไรไป พรรคเขาก็ไม่เอา เขาจะ มาฟั ง อะไรเรา เราไม่ ไ ด้ เ ป็ น กรรมการบริ ห ารพรรค เป็ น อะไรใน พรรค” (ธงชัย เย็นประเสริฐ, สัมภาษณ์, เมษายน 2552)

165

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี



ประวั ติผู้วิจัย

ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ Email: psitthijirapat@hotmail.com

การศึกษา ปริญญาตรี ศศ.บ. (บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท พบ.ม. (บริหารงานบุคคล) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปริญญาเอก Ph.D. (Human Resource Management), Newcastle Business School, University of Northumbria at Newcastle, The U.K. ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ประสานงานหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท วิทยากรบรรยายพิเศษ - โครงการสัมมนาผู้บริหาร เรื่อง “การเขียนคำบรรยายลักษณะงาน”

มีนาคม 2540 จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม - โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร MiNi HRM เรื่อง “กลยุทธ์

การพัฒนาบุคคลสู่มาตรฐานสากล” วันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ณ มหาวิทยาลัย ศรีปทุม วิทยาคารพญาไท จัดโดย ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม งานวิจัย - Sitthijirapat, P. (2003). Role Behaviour: A study of In-role and Extra-role Behaviour in the Actor’s View. In M. Hodson &

A. Money (Eds.), Salford Papers in Sociology. University of Salford. - งานวิจัยเรื่อง “การจัดทำผลผลิตและตัวชี้วัดสำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา พ.ศ. 2550” ในฐานะนักวิจัยของศูนย์บริการวิชาการ

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2550 - งานวิจัยเรื่อง “การสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ พ.ศ. 2552-2553” ในฐานะ นักวิจัยของโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมกับสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2552

167

นักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี




ʶҺѹ¾Ãл¡à¡ÅŒÒ

Èٹ ÃÒª¡ÒÃà©ÅÔÁ¾ÃÐà¡ÕÂÃµÔ 80 ¾ÃÃÉÒÏ ÍÒ¤ÒÃºÕ ªÑé¹ 5 (⫹·ÔÈ㵌) àÅ¢·Õè 120 ËÁÙ‹ 3 ¶¹¹á¨Œ§ÇѲ¹Ð á¢Ç§·Ø‹§Êͧˌͧ ࢵËÅÑ¡ÊÕè ¡ÃØ§à·¾Ï 10210 â·ÃÈѾ· 02-141-9607 â·ÃÊÒà 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th ÊǾ. 53-25-1000.0

¹Ñ¡¡ÒÃàÁ×ͧ¶Ô蹨ѧËÇÑ´¹¹·ºØÃÕ ISBN 978-974-449-557-0 ÃÒ¤Ò 125 ºÒ·


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.