ความเป็นมาของการเพาะเห็ดในประเทศไทย การเพาะเห็ดในประเทศไทยเริ่มต้นจากการค้นคว้าทดลอง ของ อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ริเริ่มการทดลองการเพาะเห็ด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ซึ่งขณะนั้นเห็ดที่คนไทยนิยม บริโภคกันมากคือ เห็ดฟางหรือเห็ดบัว เห็ดโคน เห็ดหู หนู และเห็ดหิ่งห้อย จึงได้ศึกษาทดลองวิธีการเพาะเห็ด ดังกล่าว ในสมัยนั้นมีคนจีนบริเวณตาบลซัง อี้ กรุงเทพมหานครได้เพาะเห็ดบัว โดยอาศัยกองขยะมูล ฝอย คือนาฟางข้าวมาปูทับกองขยะแล้ววางลังไม้ฉาฉาซึ่ง ไม่มีก้นลงบนกองฟาง บางครั้งเห็ดก็ขึ้น แต่ที่ใดที่เห็ดเคย ขึ้นแล้วเห็ดจะไม่ขึ้นอีก นับว่าเป็นการเห็ดโดยอาศัย ธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่า เปลือกบัว ฟางข้าว และกอง ขยะซึ่งให้ความร้อนเป็นสิ่งที่เห็ดบัวชอบ และอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ ก็ได้อาศัยข้อสังเกตดังกล่าวมาใช้ในการค้นคว้า วิธีเพาะเห็ด
ชื่อสามัญ Straw Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง ถิ่นกาเนิด ประเทศจีน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตาม กองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อ หุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกาง ออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่ บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้าน ดอกสีขาว เนือ้ ในแน่น ละเอียด ฤดูกาล ตลอดปี
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทาให้เกิดไข้หวัด ใหญ่ ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและ โรคหัวใจได้ คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม
รูปร่างของเห็ดฟาง (Structure of straw mushroom)
การเพาะเห็ดฟาง สิ่งจาเป็นในการเพาะเห็ดฟาง 1. วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชืน้ หรือขึ้นรามาก่อน 2. อาหารเสริม ได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้น เล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้าได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน 3. เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ 4. สถานที่เพาะเห็ด ควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สาคัญอีกประการ หนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทา ให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้ 5. ไม้แบบ ขนาดของไม้แบบหรือกรอบลังไม้ที่ปกติใช้กันก็คือมีฐานกว้าง 35-40 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 35-40 เซนติเมตร ความยาวของแบบพิมพ์กรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-1.5 เมตร 6. ผ้าพลาสติกเพื่อใช้ในการคลุมกองเห็ด 7. บัวรดน้า
ปัจจัยที่สาคัญในการเพาะเห็ดฟาง 1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ด ฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดี 2. เรื่องความชืน้ ถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของ เห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้น มากเกินไปการระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้น ใยขาดออกซิเจนก็จะทาให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป 3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูก แสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย
อ้างอิง ที่มา www.google.com http://guru.google.co.th/guru/ http://bangphli.samutprakan.do ae.go.th/