แนวคิดและองค์ประกอบของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ตามลักษณะท้องถิ่นในประเทศไทย บัณฑิตวิยาลัย

Page 1

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร แบบเสนอหัวข้อเรื่องและโครงการวิทยานิพนธ์ ข้าพเจ้า กรวรรณ รุ่งสว่าง

นักศึกษาสาขาวิชา/หลักสูตร การออกแบบชุมชนเมือง

ภาควิชา การออกแบบและวางผังชุมชนเมือง

รหัสประจาตัว 58051208

1. ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ (ภาษาไทย)

แนวคิดและองค์ประกอบของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ตามลักษณะท้องถิ่นใน ประเทศไทย

(ภาษาอังกฤษ)

THE CONCEPTS AND COMPONENTS OF CREATIVE URBAN COMMUNITY BASED ON LOCAL CHARACTERISTICS IN THAILAND

2. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา การพัฒนาเมืองในปัจจุบัน เกิดจากประชากรที่อยู่อาศัยภายในเมือง ยิ่งเมืองมีการเติบโตทาง เศรษฐกิจมากเท่าใดก็จะทาให้เมืองนั้นมีการพัฒนาเมืองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งในด้านสาธารณูปโภค / สาธารณูป การ รวมถึงสภาพแวดล้ อมทางกายภาพของเมื อง เป็นต้น และประเทศไทยได้ มี แ ผน นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติที่กล่าวถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยให้ความสาคัญกับ คุณภาพของคนที่อยู่อาศัยจะเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของเมืองได้เป็นอย่างดี การเติบโตของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จาเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้วย และจากการไปศึ ก ษาหนั ง สื อ The Creative City: Place, Creativity & People, Glasgow and Portland ของ Aaron Borchardt ได้ให้ความหมายของเมืองสร้างสรรค์คือ ความเชื่อมต่อระหว่างคน สถานที่และอัตลักษณ์เข้าด้วยกัน (Borchardt, 2013) ความหมายของเมืองสร้างสรรค์ ตามนิยามที่ การประชุ ม สหประชาชาติ ว่ า ด้ ว ยการค้ า และพั ฒ นา (UNCTAD - Conference on Trade and Development) หมายถึง เมืองที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นส่วนสาคัญของเศรษฐกิจ และสังคมของเมืองนั้นๆ และต้องประกอบไปด้วยรากฐานที่ มั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรม มีก าร รวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นของคนที่มี งานสร้างสรรค์และมีสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุนเพราะ ความยั่ งยื น ของสถานที่ ในเชิงวัฒ นธรรมเป็น ตัว ขั บเคลื่ อนความเติบโตของเศรษฐกิจสร้า งสรรค์ (UNCTAD, 2008) 1


ปัจจัยทางด้านประชากร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และกิจกรรมทางด้านศิลปะ/ประเพณี/ วัฒนธรรม เป็นสิ่งสาคัญที่ก่อให้เกิดเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งพื้นที่ ของเมืองจะถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทางวัฒ นธรรมที่มีความสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ นทรัพย์ของแต่ล ะพื้ นที่ อีกทั้งยังมีผู้ ประกอบการที่มี ความคิดสร้างสรรค์จากบุคคลรุ่นใหม่ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความสัมพันธ์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจกับ ระดับของความคิดสร้างสรรค์ยังเป็นตัวแปรหนึ่งที่ก่อให้เกิดเมืองสร้างสรรค์ (Borchardt, 2013) ในปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์ความเป็นท้องถิ่นและกระแสความเปลี่ยนไปของโลกสามารถ เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกันด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชาชนผู้อยู่อาศัย ในพื้นที่ซึ่งมีความเป็นเจ้าของพื้นที่และสะท้อนลักษณะของท้องถิ่นออกมา รวมถึงความเป็นตัวตนของ สังคมนั้นได้ จนกลายเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับเมืองสร้างสรรค์ คือ คน สถานที่ และอัตลักษณ์ โดยลักษณะของท้องถิ่น ซึ่งนาไปสู่การพัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ (Borchardt, 2013) ได้แก่ 1. ประชากร อายุ 16-44 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กาลังมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนาความคิด เหล่ านั้ น ไปพัฒ นาเป็ นนวัตกรรมสร้างสรรค์ต่อไปได้ ซึ่งนาไปสู่ การประกอบอาชีพที่ เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ 2. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสะท้อนลักษณะท้องถิ่นที่นาไปสู่การสร้างเมืองสร้างสรรค์ 3. กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ 4. นวัตกรรมสร้างสรรค์ 5. ตาแหน่งที่ตั้ง 6. ลักษณะทางภูมิประเทศ 7. วิวัฒนาการของเมืองที่สามารถนาไปสู่ความเข้าใจในสถานที่หรืออัตลักษณ์ของชุมชน 8. รูปทรงของเมืองที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เนื่องจากการก่อตัวของเมืองจะทาให้เกิด ถนนสายเศรษฐกิจ แม่น้าสายเศรษฐกิจ และพื้นที่ว่างสาธารณะ เป็นต้น 9. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกวันนี้ให้มีอัตราการเติบโต สูงขึ้น 10. สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 11. ศิลปะ/ประเพณี/วัฒ นธรรม ซึ่งอัตราการเติบโตของเมืองเกิดจากการขับเคลื่ อนโดย นโยบายด้านศิลปะ/ประเพณี/วัฒนธรรม และการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่สินทรัพย์ เดิมหรือเรียกว่า Re-Branding (Borchardt, 2013)

2


Charles Landry ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการประยุกต์ใช้ วัฒนธรรมเพื่อการฟื้นฟูเมือง และผู้เขียนหนังสือ The Creative City กล่าวไว้ว่า ความเป็น อัตลักษณ์ท้องถิ่นที่สื่อสารออกมาทาง ศิลปะรูปแบบต่างๆ และกิจกรรมทางวัฒนธรรมถือว่าเป็นทรัพยากรสร้างสรรค์ของเมือง ดังนั้นเมือง สร้างสรรค์จึงต้องมีองค์ประกอบของคน สถานที่ และอัตลักษณ์ (Landry, 2000) ผู้ เชี่ย วชาญอีกคนหนึ่ งคือ Richard Florida ผู้ ให้ นิยามกลุ่ มมวลชนสร้างสรรค์ (Creative Class) กล่าวไว้ว่า กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างสรรค์มีความสาคัญอย่างยิ่งด้วยเหตุผลดังกล่าว เมืองต่างๆ จึงต้องแข่งขันกันเพื่อดึงดูด รักษา และสร้างกลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ด้วยการพัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง (Florida, 2002) อีกหนึ่งแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะท้องถิ่น นั่นคือ ทฤษฎีอัตลักษณ์ของสถานที่ (Place Identity) ถู ก พู ด ถึ ง ตั้ ง แต่ ป ลายทศวรรษที่ 70 เป็ น บทความที่ ถู ก เขี ย นในวารสาร Environment and Behavior ฉบับที่ 10 โดย Harold Milton Proshansky กล่าวถึงอัตลักษณ์ของ สถานที่เกิดจากแนวคิดของสถานที่และอัตลักษณ์ในมิติของลักษณะทางภูมิประเทศ การวางผังเมือง การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม โดยบุคคลให้ความหมายและความสาคัญต่อสถานที่ สาหรับอยู่อาศัย หรือได้ไปเยือน ซึ่งบุคคลนั้นเกิดความรับรู้และความเข้าใจต่อ สภาพแวดล้อมทาง กายภาพแล้วรู้สึกผูกพัน ซึ่งนั่นหมายถึงความโดดเด่นเฉพาะตัว และความเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ นั้นด้วย (Proshansky, 1978) ประชากร ตาแหน่งที่ตั้ง

คน

ลักษณะทางภูมิ ประเทศ

กลุ่มมวลชน สร้างสรรค์

วิวัฒนาการ ของเมือง

เมืองสร้างสรรค์

รูปทรงของ เมือง

อุตสาหกรรม สร้างสรรค์

การมีส่วนร่วม ของชุมชน

นวัตกรรม สร้างสรรค์

เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สถานที่

อัตลักษณ์

ศิลปะ/ ประเพณี/ วัฒนธรรม

สาธารณูปโภค สาธารณูปการ

แผนภูมิที่ 1-1 องค์ประกอบของแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ 3


นโยบายของประเทศไทยจากสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้กล่าวถึงการพัฒนา และผลั กดัน การเพิ่ มคุ ณ ค่า ของสิ น ค้า และบริ การให้ เ พิ่ มสู ง ขึ้น บนฐานเศรษฐกิจสร้ างสรรค์ ข อง ประเทศด้วยทุนเดิมที่มีอยู่ นั่นคือ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของประเทศไทยที่มีสั่งสมมายาวนาน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) มีนโยบายตอบสนองกับ เศรษฐกิ จ โลกที่ ก าลั ง พั ฒ นาไปในลั ก ษณะที่ มี ห ลายศู น ย์ ก ลางทางเศรษฐกิ จ จนมาถึ ง ปั จ จุ บั น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ดาเนินอยู่ในปัจจุบัน ได้ กาหนดทิศทางการขับ เคลื่ อนประเทศไว้อย่างชัดเจน โดยเน้นการพัฒ นานวัตกรรมที่ส ร้างสรรค์ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวและพักผ่อนของอาเซียน ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่เอื้อต่อการ พัฒนาเมืองสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ต้องดาเนินการควบคู่กันไป ซึ่งประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์และเมืองสร้างสรรค์แต่ยังขาดแนวคิด หลักการและวิธีการในการนาไปสู่ การพัฒนาแนวคิด ชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ด้วยความสาคัญของปัญหาที่เขียนมานี้จึงจาเป็นต้องศึกษาแนวคิดชุมชนเมือง สร้างสรรค์ในประเทศไทย 3. ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.1 ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อนาเสนอแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย ด้วยลักษณะที่สาคัญของท้องถิ่นไทย

3.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษาแนวคิ ด หลั ก การและวิ ธี ก ารในการน าไปสู่ ก ารพั ฒ นาชุ ม ชนเมื อ ง สร้างสรรค์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏีอัตลักษณ์ของสถานที่ (Place Identity) ที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศและต่างประเทศ 3. เพื่อศึกษาลักษณะของท้องถิ่นไทยในการผลักดัน แนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ใน ประเทศไทย 4. ปัญหาการวิจัยและสมมติฐานของการวิจัย 4.1 ปัญหาการวิจัย 1. แนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทยมีแนวคิด หลักการและวิธีการอย่างไร 4


2. แนวคิ ด และทฤษฏี อั ต ลั ก ษณ์ ข องสถานที่ (Place Identity) มี ส่ ว นในการพั ฒ นา ชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ 3. ลักษณะของท้องถิ่นไทย ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ใน ประเทศไทยเป็นอย่างไร 4.2 สมมติฐาน 1. แนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ในประเทศไทยมีห ลั กการและวิธีการที่สัมพันธ์กับ ลักษณะของท้องถิ่นไทย ได้แก่ คน สถานที่ และอัตลักษณ์ 2. แนวคิด ทฤษฏีอัตลักษณ์ของสถานที่ (Place Identity) เกี่ยวข้องกับแนวคิดชุมชน เมืองสร้างสรรค์ในประเทศและต่างประเทศ 3. ลั กษณะของท้ อ งถิ่ นไทย ที่จะส่ งผลการพัฒ นาแนวคิ ดชุมชนเมื องสร้างสรรค์ ใ น ประเทศไทย ได้แก่ ประชากร ตาแหน่งที่ตั้ง ลักษณะทางภูมิประเทศ วิวัฒนาการ ของเมือง รูปทรงของเมือง และประเพณี/วัฒนธรรม 5. ขอบเขตการวิจัย 5.1 ขอบเขตพื้ น ที่ โดยคั ด เลื อ กเมื อ งหรื อ ชุ ม ชนที่ มี ศั ก ยภาพต่ อ การพั ฒ นาชุ ม ชนเมื อ ง สร้างสรรค์ที่เหมาะสม และเป็นเมืองหรือชุมชนที่มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมในกระบวนการศึกษาวิจัย อย่ างน้ อย 3 แห่ ง โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลื อ กคื อ พื้นที่ตาแหน่งที่ตั้ง อยู่ ในภู มิภ าคที่ แตกต่ า งกั น ประเภทของเศรษฐกิจ สร้ างสรรค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเมืองที่คัดเลื อกมานี้ถูกคัดเลื อกจากกระทรวง พาณิชย์ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ทั้งหมด 30 จังหวัด โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกเมืองต้นแบบตามแนวทาง เศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเมืองที่มีต้นทุนและปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาพื้นบ้าน แหล่ง ท่องเที่ยว หรือสินค้าที่มีเอกลักษณ์ และเมืองที่มีอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ ที่ควรได้รับการ ส่งเสริมและสนับสนุน เช่น มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม งานฝีมือ สินค้าเชิงสร้างสรรค์ และการออกแบบ (อาคม โอเคเนชั่น, 2554) แต่ในการศึกษาครั้งนี้ได้คัดเลือกมา 3 จังหวัดเพื่อเป็นพื้นที่นาร่องในการศึกษา ได้แก่ 1) ชลบุรี (ชุมชนบางแสน...เมืองแสนสุข) วิสัยทัศน์เทศบาลเมืองแสนสุข คือ เทศบาลเมืองแสน สุ ข เป็ น เมื อ งน่ า อยู่ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วสวยงามและยั่ ง ยื น รั ก ษาทรั พ ยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีมีสุข ชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้การบริหารท้องถิ่นที่ มีธรรมาภิบาล 2) ราชบุรี (เมืองโอ่งดินสุก และตุ๊กตา) วิสัยทัศน์จังหวัดราชบุรี คือ ผู้นาเกษตรปลอดภัย มุ่งให้ เป็นเมืองน่าอยู่ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 5


3) ขอนแก่น (เมืองแห่งภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม สู่การสร้างนวัตกรรม “ไหม”) โดยกลุ่ม ปราชญ์ชาวบ้านที่สร้างสรรค์งานผ้าไหมอยู่ที่อาเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ซึ่ง วิสัยทัศน์ของ เทศบาลตาบลชนบท คือ มุ่งเน้นพัฒนาเมือง ควบคู่กับการพัฒนา นาพาให้ชนบท ก้าวไป เป็นการเมืองเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว ทางด้านศิลปหัตถกรรม ธรรมชาติที่สวยงาม การพัฒนาเสริมสร้างสังคมให้ชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจแบบ พอเพียง การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่ง ใส ตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมระหว่าง องค์กรภาครัฐ และประชาชนท้องที่ เพื่อให้การพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน 5.2 ขอบเขตเนื้อหา  ศึกษามิติทางด้านเนื้อหาของการวิจัย ได้แก่ 1) ประชากร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ 4) นวัตกรรมสร้างสรรค์ 5) ตาแหน่งที่ตั้ง 6) ลักษณะทางภูมิประเทศ 7) วิวัฒนาการของเมือง 8) รูปทรงของเมือง 9) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 10) สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 11) ศิลปะ/ประเพณี/วัฒนธรรม  ศึกษาค้นคว้า รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเมืองสร้างสรรค์และกรณี ตัวอย่างทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ  ศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาเมือง เพื่อนาไปสู่การเสนอแนะ หลักการออกแบบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ที่เหมาะสมของประเทศไทย 6. ขั้นตอนการวิจัย เมื่อได้กรอบแนวคิดในการวิจัยและการออกแบบการวิจัย จากนั้นนาไปสู่ขั้นตอนการวิจัยซึ่งมี ขั้นตอนดังนี้ 6.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล

6


การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ในส่ ว นของข้ อ มู ล ปฐมภู มิ ซึ่ ง จะได้ จ ากการสั ม ภาษณ์ แ ละการ สังเกตการณ์ประชาชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา 50 คน เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสะท้อน ลักษณะท้องถิ่นที่นาไปสู่การสร้างเมืองสร้างสรรค์ กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ นวัตกรรมสร้างสรรค์ที่มีใน ชุมชน และกิจกรรมทางศิลปะ / ประเพณี / วัฒนธรรม ซึง่ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมีรายละเอียด ชัดเจน นอกจากนั้นได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนของข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับลักษณะท้องถิ่นของ พื้นที่ซึ่งสามารถนามาวิเคราะห์วิวัฒนาการของชุมชนเพื่อนาไปสู่ความเข้าใจในสถานที่หรืออัตลักษณ์ ของชุมชน ได้แก่ ประชากร ตาแหน่งที่ตั้ง ลักษณะทางภูมิประเทศ วิวัฒนาการของเมือง รูปทรงของ เมือง และประเพณี/วัฒนธรรม ทั้งในด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่สาคัญทางการออกแบบชุมชน เมืองสร้างสรรค์ โครงการที่มีความเกี่ย วข้องกับการพัฒนาชุมชนเมืองสร้ างสรรค์ในต่างประเทศที่ สามารถส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทยต่อไป 6.2 การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนการศึกษาและวิเคราะห์ ข้อมูล เป็นไปตามประเด็นคาถามหรือปัญหาการวิจัย ซึ่ง คาตอบในแต่ละประเด็นเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนดังต่อไปนี้ - แนวคิดทฤษฎีของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ที่มีความสาคัญในต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ กรุง โซล เกาหลี และเมืองออสติน รัฐเท็กซัส อเมริกา - ลักษณะของท้องถิ่นไทยของ 3 จังหวัดที่เลือกนามาศึกษา ได้แก่ ชลบุรี ราชบุรี และขอนแก่น ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบชุดข้อมูลของ 3 จังหวัดที่เลือกมาเป็นพื้นที่ ศึกษา และวิพากษ์ชุดข้อมูลที่ได้กับกรอบแนวคิดของ Borchardt, Landry, Florida และอัตลักษณ์ ของสถานที่ (Place Identity) 6.3 การสังเคราะห์และการนาเสนอผลของการศึกษา การสังเคราะห์ข้อมูลเป็น การศึกษาภาพรวมทั้งหมด ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ออกมา นาไปสู่ผลการวิเคราะห์คือการนาเสนอผลการศึกษาทั้งหมดที่มีเนื้อหาในด้านแนวคิด หลักการ และวิธีทางการออกแบบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย รวมถึงลักษณะของท้องถิ่นไทย ที่จะ ส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทยด้วย 6.4 การสรุปผลของการศึกษา การสรุปผลของการศึกษาคือการประมวลผลของการศึกษาทั้งหมด โดยนาเสนอเป็น แนวคิด หลั กการ และวิธีทางการออกแบบชุมชนเมื อ งสร้า งสรรค์ ข องประเทศไทย ที่มีความชัดเจนและ ครอบคลุมคาตอบทุกข้อจากปัญหาการวิจัยในข้างต้น 7


ปัญหาของการวิจัย

-คน -สถานที่ -อัตลักษณ์

ความเป็นมาและ ความสาคัญของปัญหา

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตพื้นที่

รวบรวมลักษณะท้องถิ่นของ พื้นที่ชุมชนใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ราชบุรี ขอนแก่น

ลักษณะท้องถิ่น อัตลักษณ์ของสถานที่

สมมติฐานของการวิจัย

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ชุมชนเมืองสร้างสรรค์ในต่างประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ กรุงโซล, เกาหลี และ เมืองออสติน รัฐเท็กซัส, อเมริกา การเปรียบเทียบชุดข้อมูลของ 3 จังหวัดที่เลือกมาเป็นพื้นที่ศึกษา

ราชบุรี ขอนแก่น

ขอบเขตเนื้อหา

แนวคิด หลักการและวิธกี ารที่ สัมพันธ์กับลักษณะของท้องถิ่น ไทย ลักษณะของท้องถิ่นไทย ที่จะ ส่งผลการพัฒนาแนวคิดชุมชน เมืองสร้างสรรค์

ชลบุรี ตาแหน่งที่ตั้ง

ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ของการวิจัย

แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ใน ต่างประเทศและในประเทศไทยมี แนวคิด และหลักการที่เกี่ยวข้อง กับอัตลักษณ์ของสถานที่

การสัมภาษณ์ / การ สังเกตการณ์ -ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา 50 คน -การมีส่วนร่วมของชุมชน -กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ -นวัตกรรมสร้างสรรค์ -กิจกรรมทางประเพณี / วัฒนธรรม ลักษณะทางภูมิประเทศของพื้นที่ศึกษา

การศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล

วิวัฒนาการพัฒนาของเมือง

การเปรียบเทียบชุดข้อมูลของ 3 ประเทศที่เลือกมาศึกษา

รูปทรงของเมือง

ประชากร

แนวคิด หลักการและวิธี ทางการออกแบบชุมชน เมืองสร้างสรรค์ของ ประเทศไทย แนวคิดชุมชนเมือง สร้างสรรค์ทเี่ หมาะสมของ ประเทศไทย

การมีส่วนร่วมของ ชุมชน

การสังเคราะห์และการนาเสนอ ผลของการศึกษา

ลักษณะของ ท้องถิ่นไทย

กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ นวัตกรรมสร้างสรรค์

ตาแหน่งที่ตั้ง ลักษณะทางภูมปิ ระเทศ

วิวัฒนาการของเมือง

การสรุปผลของการศึกษา

รูปทรงของเมือง อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ

แผนภูมทิ ี่ 1-2 ขั้นตอนการศึกษา

ศิลปะ/ประเพณี/วัฒนธรรม

8


7. เวลาที่ใช้ในการวิจัย ประมาณ 12 เดือน คาดว่าจะเริ่มงานวิจัย ในภาคการศึกษาต้น เดือนกันยายน ปีการศึกษา 2559 และเสนอวิทยานิพนธ์ ในภาคการศึกษาต้น เดือนกันยายน ปีการศึกษา 2560 8. วิธีการศึกษา 8.1 วิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. การศึกษาเบื้องต้น ดาเนิน การทบทวนแนวคิด และสารวจข้อมูลจากเอกสาร เว็บไซต์ และรายงานผลการศึกษาวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรเป้าหมายที่คัดเลือกเป็น กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง ประชากรผู้ อ ยู่ อ าศั ย ในพื้ น ที่ ซึ่ ง ถู ก คั ด เลื อ กน ามาศึ ก ษาชุ ม ชนเมื อ ง สร้างสรรค์ 3. การเก็บ ข้อมูล จากแบบส ารวจทางกายภาพ ใช้วิธีจดบันทึกข้อมูล การสั งเกตการณ์ (Direct Observation) การถ่ายภาพ (Capture) 4. การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Semi-structured Interviews) ตามประเด็นการวิเคราะห์ กับประชาชนผู้ อยู่อาศัย และเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานท้องถิ่น 8.2 วิธีการในการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิที่ได้นามาศึกษาแนวคิดทฤษฎีของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ที่มี ความสาคัญในต่างประเทศ วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาออกแบบชุมชน เมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย และการเปรียบเทียบชุดข้อมูลของ 3 จังหวัดที่เลือกมาเป็นพื้นที่ ศึกษา วิพากษ์ชุดข้อมูลที่ได้กับกรอบแนวคิดของ Borchardt, Landry, Florida เพื่อนามาวิเคราะห์ ข้อมูลและจัดทาฐานข้อมูลการศึกษาการออกแบบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย 8.3 วิธีการในการสังเคราะห์และการนาเสนอผลของการศึกษา การสังเคราะห์ข้อมูลเป็นข้อมูลจากการศึกษาทั้งมหมดที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยผลการ สังเคราะห์ข้อมูลคือการนาเสนอผลการศึกษาซึ่งเป็นคาตอบทั้งหมดที่มีเนื้อหาในด้านแนวคิด หลักการ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทยจากพื้นที่ซึ่งคัดเลือก นามาศึกษา ได้แก่ ชลบุรี ราชบุรี และขอนแก่น รวมถึงลักษณะของท้องถิ่นไทย ที่จะส่งผลต่อการ พัฒนาแนวคิดชุมชนเมืองสร้างสรรค์ที่เหมาะสมของประเทศไทย ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) ประชากร 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) กลุ่มมวลชนสร้างสรรค์ 4) นวัตกรรมสร้างสรรค์ 9


5) ตาแหน่งที่ตั้ง 6) ลักษณะทางภูมิประเทศ 7) วิวัฒนาการของเมือง 8) รูปทรงของเมือง 9) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 10) สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 11) ศิลปะ/ประเพณี/วัฒนธรรม 8.4 วิธีการในการสรุปผลของการศึกษา การสรุปผลการศึกษา โดยการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ มาสรุปผลการ ศึกษาถึงลักษณะของท้องถิ่นไทยในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเสนอแนะแนวคิด หลักการและแนวทางการจัดทา การออกแบบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ที่เหมาะสมของประเทศไทย นาไปใช้เป็นฐานข้อมูลของเมืองหรือ ชุมชนที่มีลักษณะท้องถิ่นรวมถึงศักยภาพในการพัฒนาเมือง ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสาหรับหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. แนวคิด หลักการ วิธีการและรายละเอียดขององค์ประกอบชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ใน ประเทศไทย 2. ฐานข้อมูลของเมืองหรือชุมชนที่มีลักษณะท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสาหรับหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ โดยสามารถประสานงานหรือการ พัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน 3. นาเสนอแนวทางการพัฒนาสาหรับชุมชนเมืองสร้างสรรค์ที่เหมาะสมของประเทศไทย 10. แหล่งข้อมูล หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร และหอสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หน่วยงานที่ เกี่ยวเนื่องกับชุมชนเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย    

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมโยธาธิการและผังเมืองกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ สานักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ

บุคคลที่มีองค์ความรู้ทางด้านการพัฒนาชุมชนเมืองสร้างสรรค์

10


พีรดร แก้วลาย. (2556). เมืองสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาเมืองจากสินทรัพย์สร้างสรรค์ท้องถิ่น ไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 101, 186. สิรินาถ นุชัยเหล็ก. (2554). เมืองและชุมชนสร้างสรรค์. เข้าถึงจาก http://etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2011/menu2011-apr-jun/94-22554-city-community-create?showall= เข้าถึงเมื่อ 01/09/59 อาคม โอเคเนชั่น. (2554). ตามไปดู 10 เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย. Oknation Blog เข้าถึงจาก http://www.oknation.net/blog/akom/2011/05/09/entry-1 เข้าถึง เมื่อ 12/09/59 Borchardt, A. (2013). The Creative City: Place, Creativity & People, Glasgow and Portland. (Research Term), the Mackintosh School of Architecture, the Glasgow School of Art. Carta, M. (2007). Creative cities: a manifesto for the project action Retrieved from http://www1.unipa.it/mcarta/CREATIVECITY/creative_city_book.html Access Date 01/09/16 Creative Thailand. (2554). Creative City เรื่องราวของการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และเมือง. เข้าถึงจาก http://www.tcdc.or.th/articles/designcreativity/5441/#Creative-City-เรื่องราวของการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์-วัฒนธรรมและเมือง เข้าถึงเมื่อ 01/09/59 Florida, R. (2002). The Rise of the Creative Class: New York. Landry, C. (2000). The Creative City: A Toolkit for Urban Innovator: Earthscan. Proshansky, H. M. (1978). The city and self-identity. Environment and Behavior, 10, 147-169. TAT Review. (2550). เศรษฐกิจสร้างสรรค์. เข้าถึงจาก http://etatjournal.com/mobile/index.php/menu-read-tat/menu-2011/menu2011-apr-jun/107-22554-creative-economy เข้าถึงเมื่อ 02/09/59 UNCTAD. (2008). Creative Economy Report 2008. United Nations, 332. Unesco. (2016). Creative Cities Network. Retrieved from http://en.unesco.org/creative-cities/home Access Date 01/09/16 Wikipedia. (2016). Creative city. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Creative_city Access Date 01/09/16 11. อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย 11.1 แบบสัมภาษณ์ 11


11.2 แบบสังเกตการณ์ 11.3 แบบบันทึกข้อมูล 11.4 กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง 12. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการวิจัย 12.1 ค่ากระดาษ / ปากกา 12.2 ค่าเครื่องมือ 12.3 ค่าเดินทาง 12.4 ค่าพิมพ์เล่ม / ทาเล่ม 12.5 ค่าใช้จ่ายในการทาแบบสอบถาม 12.6 ค่าลงสารวจพื้นที่ (ภาคสนาม) รวมทั้งสิ้นโดยประมาณ 50,000 บาท 13. การเสนอผลงาน 13.1 การดาเนินงานศึกษาวิจัยจะใช้การจัดการฐานข้อมูล เพื่อศึกษาและรวบรวมข้ อ มูล ลักษณะท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งกระบวนการดาเนินงานจะนาเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนเมืองสร้างสรรค์ ในประเทศไทยอย่างเหมาะสม 13.2 จัดประชุมเผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยให้ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง สร้างสรรค์ นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเพิ่มเติมข้อมูล และการขยายความคิดเกี่ยวกับการจัดการชุมชนเมืองสร้างสรรค์ไปสู่สังคมในวงกว้างขึ้น

(ลงชื่อ) ........................................................................ (นายกรวรรณ รุ่งสว่าง) ผู้เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ วันที่.......20......./....กันยายน.../......2559... 12


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.