วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 256

Page 1



ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.วันชัย  เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช  จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์  เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช  มีเพียร พล.อ.ธวัช  เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์  บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด  เบื้องบน พล.อ.สิริชัย  ธัญญสิริ พล.อ.วินัย  ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต  เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์  เกษโกวิท

ที่ปรึกษา

พล.อ.เสถียร  เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส  รชตะนันทน์ พล.อ.ชาตรี  ทัตติ พล.ร.อ.รุ่งรัตน์  บุณยรัตพันธุ์ ร.น. พล.อ.อ.ไมตรี  โอสถหงษ์ พล.อ.นิพัทธ์  ทองเล็ก พล.อ.พิณภาษณ์  สริวัฒน์ พล.อ.บุณยวัจน์  เครือหงส์ พล.อ.อภิชาติ  ทิมสุวรรณ พล.อ.ชัยรัตน์  ชีระพันธุ์ พล.ท.คณิศ  ทศวัฒน์ พล.ท.สุรศักดิ์  ศรีศักดิ์ พล.ท.สิรวุฒิ  สุคันธนาค พล.ท.วุฒิชัย  สิริสัมพันธ์ พล.ท.ยุทธชัย  พันธุ์งาม พล.ท.เรืองปัญญา  โคปาละสุต พล.ท.ทรงพล  ไพนุพงศ์ พล.ท.กฤษพงศ์  แก้วจินดา พล.ท.อภิชาต  แสงรุ่งเรือง พล.ท.สรศักดิ์  ขาวกระจ่าง พล.ต.วีรศักดิ์  มูลกัน พล.ต.กฤษฎา  เต็มบุญเกียรติ

พล.ต.ชัยพฤกษ์  พูนสวัสดิ์

รองผู้อำ�นวยการ

พ.อ.สุรชาติ  จิตต์แจ้ง  พ.อ.ณภัทร  สุขจิตต์

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ

น.อ.พรหมเมธ  อติแพทย์ ร.น.

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย  รักประยูร

ประจำ�กองจัดการ

พ.อ.สุวเทพ  ศิริสรณ์  พ.ท.ปิยะวัฒน์  ปานเรือง ร.อ.ไพบูลย์  รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.ท.พลพัฒน์  อาขวานนท์

ผู้ช่วยเหรัญญิก

ร.ท.เวช  บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย

น.ท.สุรชัย  สลามเต๊ะ

ฝ่ายพิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ  วรวิศิษฏ์ธำ�รง ร.อ.หญิง กัญญารัตน์  ชูชาติ ร.น. ร.ต.หญิง ประภาพันธ์  มูลละ

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ

พ.อ.คงชีพ  ตันตระวาณิชย์

รองบรรณาธิการ

พ.อ.แรงภูมิ  เหมะทัพพะ  พ.อ.ทวี  สุดจิตร์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

พ.อ.หญิง ใจทิพย์  อุไพพานิช

ประจำ�กองบรรณาธิการ

น.ท.บรรยงค์  หล่อบรรจง น.ท.วัฒนสิน  ปัตพี ร.น พ.ต.ชาตบุตร  ศรธรรม น.ต.ฐิตพร  น้อยรักษ์ ร.น. ร.อ.จิโรตม์  ชินวัตร ร.อ.หญิง สายตา  อุปสิทธิ ์ ร.ท.ศักดิ์ชัย  ทองนุช ร.ท.หญิง ลลิดา  ดรุนัยธร ส.อ.ธีระยุทธ  ขอพึ่งธรรม

น.ท.หญิง รสสุคนธ์  ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์  สมไร่ขิง พ.ต.หญิง สิริณี  ศรประทุม ร.อ.หญิง สมจิตร  พวงโต ร.อ.หญิง ณิชาภา  กุหลาบเพ็ชร์ ร.อ.หญิง ภัทรภรณ์  ศิริสรณ์ ร.ท.ยอดเยี่ยม  สงวนสุข ร.ต.หญิง พุทธพร  โอสถหงส์ จ.ส.อ.หญิง ธิดารัตน์  ทองขจร


บทบรรณาธิการ ับ นร ีตอ ินด ารย ทห เขต

ของสวนยังมี “พระสถูปชางมูบ” ซึ่งเปน กอายุรอยกวาป ตั้งอยูบนกองหินขนาด ะเหมือนชางหมอบดวย จากเสนทางใน เดินตามไหลเขาไปถึงจุดชมวิวที่มีศาลาชื่อ ามแควน” ที่มองเห็นทิวทัศนไดกวางไกล แดนพม า และลาว รวมถึ ง เห็ น ยอดดอย ที่จุดชมวิว “ฐานปฏิบัติการดอยชางมูบ” กขชาติแมฟาหลวงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ทะเลหมอก ชมพระอาทิตยขึ้นและตกที่ กแหงหนึ่ง และสามารถกางเต็นทพักแรม กดวย าง จากตั ว เมื อ งเชี ย งรายใช ถ นนสาย ผานอําเภอแมจัน กอนถึงอําเภอแมสาย โลเมตรที่ ๘๗๐ - ๘๗๑ เลี้ยวทางแยก างหลวงหมายเลข ๑๑๔๙ วิ่งตรงตามทาง กิโลเมตร

ทรงพระเจร�ญ

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง สํ า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ปที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

www.sopsd.mod.go.th

เดือนกรกฎาคมเป็นสัญญาณบอกถึงการเริม่ เข้าสูฤ่ ดูฝน อันเป็นฤดูแห่งความชุม่ ชืน้ ทัว่ ประเทศ เกษตรกรชาวไทยต่างเฝ้ารอเริม่ ต้นเข้าสูฤ่ ดูทำ� นาหรือประกอบอาชีพกสิกรรมต่างๆ และในเดือนนี้ ก็เป็นเดือนที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างปีติยินดีในโอกาสมหามงคลที่ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญ พระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึง่ ในปีนรี้ ฐั บาลและพสกนิกรชาวไทย ทุกหมู่เหล่าต่างร่วมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษดังกล่าวขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นในหลายวาระหลายโอกาสที่ส�ำคัญ อาทิ วันที่ระลึก ครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ ซึ่งเป็นวันที่มีความส�ำคัญและเป็นความ ภาคภูมใิ จยิง่ ของกองทัพอากาศและของประชาชนชาวไทย โดยทางกองทัพอากาศได้มกี ารจัดงาน เฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบดังกล่าวขึน้ และเมือ่ วันที่ ๑๑ มิถนุ ายน ทีผ่ า่ นมา ได้เกิดปรากฏการณ์ ใหม่ขนึ้ ในเรือ่ งของกิจกรรมการท่องเทีย่ วภายในประเทศ โดยกระทรวงกลาโหมได้รว่ มกับกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา จัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาและ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร กล่าวคือ “เขตทหารยินดีต้อนรับ” อันจะเป็นการ ยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่เขตทหารไปสู่การท่องเที่ยวในระดับประเทศและความเป็นสากล มากยิง่ ขึน้ รวมทัง้ เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรทหารออกสูภ่ ายนอก ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตใหม่ของการท่องเที่ยวภายในประเทศ ส�ำหรับเนื้อหาภายในฉบับนี้ยังคงคัดสรรบทความดีๆ ที่น่าสนใจมาน�ำเสนอต่อท่านผู้อ่านให้ได้ ติดตาม และท้ายสุดนี้กองบรรณาธิการวารสารหลักเมืองขอส่งความปรารถนาดีมายังท่านผู้อ่าน ทุกท่าน ในช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยระวังรักษาสุขภาพด้วยครับ สวัสดี

2


ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๕๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ราชินีกับผ้าไทย ๗  ๖๐ พรรษา สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ๑๐  สถาบันศาลไทย กับการ พิทักษ์ความยุติธรรม ๑๖  อนาคตขององค์การ อาเซียนภายใต้กฎบัตร อาเซียน : เรื่องของการ ยืดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยง ความเปลี่ยนแปลง ที่แท้จริง ๒๒  นิมติ ใหม่แห่งการท่องเทีย่ ว ในเขตพื้นที่ทหาร ๒๖  การประท้วงในประเทศ มาเลเซีย เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ ๓๐  ประมวลภาพกิจกรรม

๓๔

หลักการของนายพล แพตตัน (ตอนที่ ๑)

๓๘

โครงการอุปสมบท เฉลิมพระเกียรติถวายเป็น พุทธบูชาและถวายเป็น พระราชกุศล ๔๑  ต�ำนานน�้ำมันดิบ

๔๔

๑๖

๑๐

๒๒

๓๔ ๓๘

๒๖

๔๑

๔๗

๔๔ ๕๙

๕๐

๑๐๐ ปี การบินของ บุพการีทหารอากาศ ๔๗  อากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีระดับโลก จากฝีมือคนไทย ๕๐  ศึกเมืองพิชัย พ.ศ. ๒๓๑๖ ๕๓  โรคข้อเสื่อม Osteoarthritis ๕๖  Military Jokes ๕๘  หาดเจ้าส�ำราญ... วันวานแห่งความสุข ท่องเที่ยวในหน่วยทหาร ๖๒  กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม

๕๓

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร  กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

3


ราชินีกับผ้าไทย นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

4

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


มเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ของศิ ล ป วั ฒ นธรรมไทยเสมอมา ทรงฉลอง พระองค์แบบไทยนับตั้งแต่ทรงเป็นพระคู่หมั้น จนกระทั่ ง ได้ รั บ การบรมราชาภิ เ ษกขึ้ น เป็ น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยใน งานฝี มื อ พื้ น บ้ า น หรื อ ศิ ล ปกรรมพื้ น บ้ า นที่ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคโดยทรงคิดหาหนทางที่ จะเสริมงานฝีมือชาวบ้าน โดยเฉพาะผ้าไทย ด้ ว ยฝี มื อ การถั ก ทอลวดลายงดงามและมี เอกลั ก ษณ์ ข องคนไทยที่ ซุ ก ซ่ อ นอยู ่ ต าม ท้องถิ่นทุรกันดารด้วยการเสด็จออกไปเสาะ แสวงหาด้วยพระองค์เองหรือส่งคนออกไปตาม หาเพื่อน�ำมาอนุรักษ์สืบทอดต่อไปโดยได้ทรง ก�ำชับว่า “แม้ผ้าถูเรือนก็อย่าละเลย” เพราะ อาจได้ พ บลายผ้ า โบราณ ซึ่ ง จะสื บ ไปถึ ง  ช่างทอและเรื่องราวต่างๆ ได้ จากจุดเริ่มต้น ดังกล่าว ได้กลายเป็นการฟื้นชีวิตผ้าทอมือไทย ที่ก�ำลังจะสูญหาย พร้อมกับช่วยพัฒนาฐานะ คุณภาพชีวิตราษฎรไทยทุกภูมิภาคมาจนถึง ปัจจุบัน นั บ ตั้ ง แต่ ป ี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๐๓ ทรงมี พระราชภารกิ จ ในการโดยเสด็ จ พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ไปทรงเยื อ นนานา ประเทศอย่างเป็นทางการ จึงได้มีพระราช เสาวนี ย ์ ใ ห้ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญศึ ก ษาและออกแบบ ฉลองพระองค์ที่เหมาะสมแก่โอกาสต่างๆ เพื่อ แสดงถึ ง เอกลั ก ษณ์ ไ ทย โดยโปรดเกล้ า โปรดกระหม่อมให้มีการศึกษาค้นคว้าเครื่อง แต่งกายสมัยต่างๆ จากพระฉายาลักษณ์ของ เจ้านายฝ่ายในและผูเ้ ชีย่ วชาญทางประวัตศิ าสตร์ แต่ ใ ห้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาให้ เ หมาะสมกั บ กาลสมัยแล้วทรงคัดเลือกมา ๘ แบบ ซึ่งต่อมา เป็นทีน่ ยิ มของสตรีไทยทัว่ ประเทศ จนกลายเป็น เครื่องแต่งกายประจ�ำชาติของสตรีไทย และ ยั ง มี ฉ ลองพระองค์ ชุ ด ไทยแบบผสมผสาน ที่ได้รับการออกแบบขึ้นภายหลังอีกหลายแบบ และฉลองพระองค์แบบตะวันตกที่ตัดเย็บจาก ผ้าทอฝีมือคนไทยทุกภาค ทรงสนับสนุนให้มี การทอผ้ามากขึ้นเปลี่ยนผืนให้ใหญ่ขึ้น จาก นั้ น ตั้ ง เป็ น มู ล นิ ธิ แ ล้ ว เอาผ้ า ที่ รั บ ซื้ อ มาจาก ชาวบ้านออกเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก ชักชวน ผู้คนให้ช่วยกันสนับสนุนฝีมือชาวบ้าน จนเป็น ที่ นิ ย มมากท� ำ ให้ สุ ภ าพบุ รุ ษ สุ ภ าพสตรี ทั้ ง หลาย ซื้ อ มาตั ด ใส่ กั น แล้ ว ก็ แ พร่ ห ลาย ออกไปเรื่ อ ยๆ ทรงใช้ ช ่ า งไทยในการตั ด ฉลองพระองค์ นอกเสี ย จากสมั ย ที่ เ สด็ จ ฯ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ทรงก�ำชับว่า

“แม้ผ้าถูเรือน ก็อย่าละเลย”

เพราะอาจได้พบลายผ้าโบราณ ซึ่งจะสืบไปถึงช่างทอและเรื่องราว ต่างๆ ได้ จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ได้กลายเป็นการฟื้นชีวิต  ผ้าทอมือไทยที่ก�ำลังจะสูญหาย  พร้อมกับช่วยพัฒนาฐานะ คุณภาพชีวิตราษฎรไทย  ทุกภูมิภาคมาจนถึงปัจจุบัน

ต่ า งประเทศ อากาศหนาวต้ อ งใช้ เ สื้ อ แบบ ตะวันตกก็จะมีช่างชาวต่างประเทศมาช่วยใน การออกแบบ ซึ่งนอกจากที่จะให้เขาออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ที่จะเสด็จฯ ไป ยั ง ทรงให้ ช ่ า งออกแบบผู ้ นั้ น ได้ มี โ อกาส มาเลื อ กผ้ า ไหมไทย แล้ ว ก็ เ อาไปออกแบบ ตัดเย็บในห้ องเสื้อ ของเขา ก็ นับว่า เป็ นการ เผยแพร่ผ้าไทยให้ได้มีโอกาสไปอวดโฉมอยู่ ที่ นั่ น ให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น มากขึ้ น นอกจากนั้ น ยังมีผลงานจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ตลอดจนผ้าปัก

ของชาวไทยภูเขาทุกเผ่า ก็ทรงริเริ่มส่งเสริม ให้ชาวไทยแต่ละภูมิภาคน�ำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็ น อาชี พ เสริ ม เพื่ อ ให้ มี ร ายได้ เ ลี้ ย ง ครอบครัวอย่างยั่งยืน พระราชกรณียกิจเหล่า นี้ได้ช่วยอนุรักษ์งานฝีมือผ้าไทยโบราณ เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ แพรวา ผ้าจก ผ้าขิด และอื่นๆ ให้คงอยู่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติไทย ช่วยเชิดชูความงามของผ้าไทยให้เป็นทีป่ ระจักษ์ ไปทั่ ว โลก ช่ ว ยน�ำ รายได้ เ ข้ า สู ่ ป ระเทศไทย ช่วยให้สมาชิกศิลปาชีพมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีความภาคภูมใิ จในคุณค่าแห่งฝีมอื ตนเอง ซึ่ ง ความเป็ น มาของมู ล นิ ธิ ส ่ ง เสริมศิลปาชีพ เกิ ด ขึ้ น จากการที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัวได้เสด็จไปเยี่ยมราษฎรในยามที่เกิดภัย พิบัติได้มีพระราชปรารภเกี่ยวกับหนทางใน การแก้ไขปัญหาความยากจน การขาดรายได้ และอาชีพที่จะมาเลี้ยงดูครอบครัวของราษฎร ว่ า มี วิ ธี ก ารใดบ้ า ง สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชินีนาถได้มีพระราชด�ำริว่าฝีมือ การทอผ้ า ของประชาชนนี้ เ ป็ น เยี่ ย ม และ ลายมัดหมี่ที่ดั้งเดิมเขาน�ำมาถวายเป็นลายที่ สวยงามมาก วิจิตรพิสดารมาก จึงได้ชักชวน ให้ ช าวบ้ า นทอให้ เ พื่ อ ที่ จ ะน� ำ ไปใช้ ซึ่ ง เขาก็ ถามว่าจะเอาไปท�ำไมไม่รู้เหรอว่าที่กรุงเทพฯ มีแต่คนใช้เท่านั้นที่ใช้ผ้ามัดหมี่ ได้ทรงตอบว่า ไม่จริงเลยเดีย๋ วนีค้ นกรุงเทพฯ นิยมน�ำผ้ามัดหมี่ 5


‘โครงการศิลปาชีพที่เป็น  โครงการแรกเกี่ยวกับผ้าไทยคือ โครงการทอผ้าไหมมัดหมี่  จังหวัดนครพนม ซึ่งเริ่มจากการ เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยี่ยม  ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน  จากอุทกภัยที่จังหวัดนครพนม  ได้ทรงสนพระราชหฤทัยใน  ซิ่นไหมมัดหมี่ที่หญิงชาวบ้านนุ่ง  เพราะมีความสวยงามแปลกตา เหมาะที่จะน�ำไปเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากทุกครัวเรือนจะทอใช้  กันอยู่ จึงได้ทรงชักชวนให้  ชาวบ้านเริ่มประกอบอาชีพเสริม  ด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่’

โดยซื้อทุกระดับฝีมือและให้ราคาที่ชาวบ้าน พอใจและทรงรับซื้อผ้าทอประเภทอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทอด้วย ท่ า นผู ้ ห ญิ ง จรุ ง จิ ต ต์ ที ข ะระ รองราช เลขานุ ก ารในพระองค์ ส มเด็ จ พระบรม ราชินีนาถ กล่าวว่า เราถูกส่งออกไปยังถิ่น ทุ ร กั น ดารเพื่ อ หาผ้ า มาถวาย ทรงคลี่ ผ ้ า  ทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองทุกผืน ทรงให้ กลับไปหาเจ้าของเดิมเพื่อขอให้ทอเหมือน เดิม และให้เข้าไปหาอย่างอ่อนน้อมอย่าง  ลูกหลาน ไปขอซือ้ ผ้าจากชาวบ้าน และรับสัง่ ให้นำ� เงินจ่ายล่วงหน้าก่อนแต่ชาวบ้านไม่กล้า รับเงิน เราต้องอ้อนวอนและเพียรซื้อ หลัง เกี่ยวข้าวเสร็จจะมารับผ้าไปถวาย ซึ่งได้บ้าง มาตั ด ใส่ ด ้ ว ยความภาคภู มิ ใ จในงานใหญ่ ๆ ไม่ได้บ้าง เงินซองเก่าคร�่ำคร่าถูกน�ำมาคืน เพราะเชื่อมั่นว่านี่เป็นฝีมือการทอที่สวยงาม บางครอบครัวลูกป่วยก็ไปกูห้ นีย้ มื สิน ไม่ยอม ที่สุด เป็นงานฝีมือที่สวยที่สุดซึ่งชาวต่างชาติ ใช้เงินที่ให้ไว้ ชาวบ้านบอกว่าเป็นเงินของ รับรองและเห็นด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เขา โครงการศิ ล ปาชี พ ที่ เ ป็ น โครงการแรก สัญญาว่าจะทอผ้าให้แต่ท�ำไม่ได้ก็เลยขอคืน เกี่ยวกับผ้าไทยคือโครงการทอผ้าไหมมัดหมี่ เงินให้นี่คือความซื่อสัตย์ ความดีของคนไทย จั ง หวั ด นครพนม ซึ่ ง เริ่ ม จากการเสด็ จ โครงการศิลปาชีพพิเศษนี้ได้มีการส่งเสริม พระราชด� ำ เนิ น ไปทรงเยี่ ย มราษฎรที่ ไ ด้ รั บ งานศิ ล ปะในทุ ก ภาคตามความคุ ้ น เคยของ ความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่จังหวัดนครพนม ประชาชน ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณี แ ละ ได้ ท รงสนพระราชหฤทั ย ในซิ่ น ไหมมั ด หมี่ วัฒนธรรมของแต่ละภาค อาทิเช่นในภาคเหนือ  ที่ ห ญิ ง ชาวบ้ า นนุ ่ ง เพราะมี ค วามสวยงาม มีโครงการทอผ้าไหม ผ้ายก ผ้าตีนจก และ แปลกตาเหมาะที่ จ ะน� ำ ไปเป็ น อาชี พ เสริ ม ผ้าฝ้ายเนื้อหนา รวมทั้งเครื่องแต่งกายของชาว เนื่ อ งจากทุ ก ครั ว เรื อ นจะทอใช้ กั น อยู ่ จึ ง เขาที่มีลวดลายสีสันสวยงาม ทางภาคตะวัน ได้ ท รงชั ก ชวนให้ ช าวบ้ า นเริ่ ม ประกอบ ออกเฉียงเหนือราษฎรนิยมทอผ้ามัดหมี่และ อาชีพเสริมด้วยการทอผ้าไหมมัดหมี่ และมี ผ้าไหมใช้เองอยู่แล้วแต่ขาดแคลนไหมที่ใช้ทอ พระราชกระแสกับชาวบ้านว่าพระองค์จะทรง จึงทรงสนับสนุนการเลี้ยงไหมพันธุ์ พื้นเมือง ใช้ ผ ้ า ที่ พ วกเขาทอซึ่ ง นั บได้ว่าพระราชทาน และการทอซิ่นไหมมัดหมี่โดยการทอจากลาย ก�ำลังใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก และทรง เก่าๆ แบบพื้นเมือง ส่วนทางภาคใต้ เดิมมี รั บ ซื้ อ ผ้ า ที่ ช าวบ้ า นทอทุ ก ผื น โดยส่ ง รวมไป การทอผ้าที่มีลักษณะเฉพาะทางภาคใต้เช่น ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ต่อมาในปี ผ้าลายต่างๆ อาทิ ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร พ.ศ. ๒๕๑๕ ทรงโปรดเกล้าให้ราชเลขานุการ ลายดอกมะลิ ต่ อ มาการทอผ้ า ขาดผู ้ นิ ย ม ในพระองค์ อ อกไปติ ด ต่ อ รั บ ซื้ อ ผ้ า ไหมถึ ง เท่าที่ควร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูการทอผ้า บ้ า นของชาวบ้ า นเริ่ ม จากจั ง หวั ด นครพนม พื้นเมืองให้เป็นที่นิยมสูงขึ้น 6

นอกจากการสนับสนุนให้มีการทอผ้าเพื่อ เป็ น การกระจายรายได้ ใ ห้ แ ก่ ร าษฎรแล้ ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงเล็งเห็นความส�ำคัญ ของผ้าไหมไทยว่าเป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์งดงาม สมควรแก่การอนุรักษ์จึงทรงจัดให้มีการสร้าง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ผ ้ า ในสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยตั้งอยู่ในหอรัษฎากร พิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อใช้เป็น แหล่งความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าไหมของไทย เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เครื่ อ งแต่ ง กายของคนไทยและผ้ า ไทยรวม ทั้งเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงผ้าที่ทรงเก็บ รวบรวมไว้จากฝีมอื ช่างทอทัว่ ประเทศกว่าหนึง่ หมื่นผืน ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบที่ทรงพัฒนา ภายในมี ทั้ ง หมดสี่ ห ้ อ งซึ่ งห้ อ งแรกจั ด แสดง ฉลองพระองค์ชดุ สากลตัดเย็บโดยนักออกแบบ ไทยและต่างชาติ ในห้องทีช่ อื่ ว่า ราชพัตราจาก  ผ้าไทย ส�ำหรับห้องที่สองมีชื่อว่า ไทยพระราช  นิยม ซึง่ รวบรวมฉลองพระองค์ชดุ ไทยพระราช นิ ย มกว่ า ๓๐ องค์ แ ละเครื่ อ งแต่ ง กาย ในราชส� ำ นั ก ในห้ อ งที่ ส ามและสี่ เ ป็ น การ จั ด แสดงพระราชกรณี ย กิ จ ของสมเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการจัดตั้ง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ เพื่อสนับสนุนราษฎร ในท้องถิน่ ทุรกันดารได้ประกอบหัตถกรรมเพือ่ สร้างอาชีพแทนการปลูกฝิ่น ท�ำไร่เลื่อนลอย รวมถึงการอนุรักษ์ลายผ้าโบราณให้คงอยู่เป็น สมบัติของวัฒนธรรมไทย จากพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ผ้ า ไทยนี้ ไ ด้ แ สดงให้ ค นทั้ ง โลกและคนไทย ได้ ต ระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ของเส้ น ไหมทุ ก เส้ น ที่ บรรจงถั ก ทอจนเกิ ด ลวดลายสวยงามด้ ว ย ฝี มื อ อั น ประณี ต ของช่ า งไทยให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก และยอมรับไปทั่วโลกจากผ้าทอธรรมดาน� ำ มาตั ด เย็ บ จนเป็ น ผ้ า ที่ วิ จิ ต รงดงามและสง่ า ไม่แพ้ผ้าชาติอื่นจนเป็นที่ยอมรับสู่สากลด้วย พระมหากรุณาธิคุณ นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


๖๐ พรรษา

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

7


วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ นี้  จะเป็นวันมหามงคลที่พสกนิกรชาวไทยมีความปีติยินดี  และปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยของเราจะได้มีพิธีเฉลิมฉลอง  การเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา แห่ง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร โดยที่พระองค์ทรงด�ำรงพระอิสริยยศ  สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระองค์แรกในสมัยการปกครอง  ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย 8

งค์ ส มเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร เสด็ จ พระ ราชสมภพ เมื่ อ วั น จั น ทร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕ เวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน พระราชวั ง ดุ สิ ต ทรงเป็ น พระราชโอรสพระองค์ เ ดี ย ว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุ ล ยเดช และสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงเป็นพระราชโอรส ที่ ป ระสู ติ ภ ายใต้ เ ศวตฉั ต รตามโบราณราช ประเพณี ในเวลาต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระที่ นั่ ง อั ม พรสถาน พระราชวั ง ดุ สิ ต ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน ๒๔๙๕ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการทหารมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์   โดยได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนิน  ไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่างๆ อยู่เสมอ และจากการที่ได้ทรงศึกษา หลักสูตรวิชาทหารเป็นจ�ำนวนมาก จึงทรงมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้ ถ่ายทอดทักษะให้แก่ทหารหาญ  หลายหน่วยของทุกเหล่าทัพ ยังประโยชน์ให้แก่หน่วยทหารต่างๆ   อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ ได้น�ำมาซึ่งความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่ เหล่าทหารที่มีต่อพระองค์ในพระสถานะสยามมกุฎราชกุมาร  และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ประจ� ำ กรมข่ า วทหารบก และทรงด� ำ รง ราชกุ ม าร ทรงส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาขั้ น ต้ น ต�ำแหน่งทางทหารตามล�ำดับ ดังนี้ วั น ที่ ๖ ตุ ล าคม ๒๕๒๑ ทรงด� ำ รง ในระดับอนุบาลจากโรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ ๒ แล้ ว จึ ง เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปทรงศึ ก ษา ต�ำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ต่ อ ระดั บ ประถมศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย นคิ ง ส์ มี ด รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก แคว้ น ซั ส เซกส์ และระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา รักษาพระองค์ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ทรงด�ำรง ที่ โ รงเรี ย นมิ ล ฟิ ล ด์ แคว้ น ซอมเมอร์ เ ซท สหราชอาณาจั ก ร หลั ง จากนั้ น ทรงศึ ก ษา ต�ำแหน่ง ผูบ้ งั คับกองพันทหารมหาดเล็กรักษา ต่ อ วิ ช าทหารที่ โ รงเรี ย นคิ ง ส์ ส กู ล ซิ ด นี ย ์ พระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษา ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับทรงศึกษาต่อ พระองค์ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ ทรงด�ำรง ระดับปริญญาตรี สาขาอักษรศาสตร์ (ด้าน การทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ต�ำแหน่ง ผูบ้ งั คับการกรมทหารมหาดเล็กรักษา ประเทศออสเตรเลีย หลังจากเสด็จพระราช พระองค์ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ทรงด�ำรง ด�ำเนินกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการ ทหาร และทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการ ต�ำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหาร ทหารบก หลั ก สู ต รหลั ก ประจ� ำ ชุ ด ที่ ๔๖ มหาดเล็กรักษาพระองค์ วั น ที่ ๙ มกราคม ๒๕๓๕ ทรงด� ำ รง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ทั้งยังทรงส� ำเร็จ การศึ ก ษาจากคณะนิ ติ ศ าสตร์ รุ ่ น ที่ ๒ ณ ต� ำ แหน่ ง ผู ้ บั ญ ชาการหน่ ว ยบั ญ ชาการ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช เมื่ อ ปี ถวายความปลอดภั ย รั ก ษาพระองค์ ส� ำ นั ก พุทธศักราช ๒๕๒๕ และหลักสูตรวิทยาลัย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ทรงปฏิบตั ิ ป้องกันราชอาณาจักร จากสหราชอาณาจักร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ นอกจากนี้ ยังทรง หน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๕ ศึ ก ษาหลั ก สู ต รวิ ช าทหารจากต่ า งประเทศ อี/เอฟ นอกจากนี้ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ทรง อีกหลายหลักสูตร ตลอดจนหลักสูตรการบิน ทั้งเครื่องบินปีกหมุน เครื่องบินปีกติดล� ำตัว ปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗และเครื่องบินขับไล่ รวมทั้งทรงเข้ารับการฝึก ๔๐๐ ในเที่ ย วบิ น สายใยรั ก แห่ ง ครอบครั ว หลักสูตรการบินในฐานะนักบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ ๔๐๐ จากบริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) ด้านการแพทย์ ส�ำหรับโรงพยาบาลในจังหวัด และทรงผ่ า นการตรวจสอบจากการขนส่ ง ชายแดนภาคใต้ เที่ยวบินพิเศษที่ TG ๘๘๗๐ ทางอากาศ กั บ ทรงได้ รั บ ใบอนุ ญ าตนั ก บิ น เส้นทาง กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่ และเที่ยวบินที่ TG ๘๘๗๑ เส้นทาง จังหวัด พาณิชย์เอก วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๑๘ ทรงเข้ารับราชการ เชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ทหารเป็ น ครั้ ง แรก ในต� ำ แหน่ ง นายทหาร หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ราชกุ ม าร ทรงเจริ ญ พระราชกรณี ย กิ จ เพื่ อ สร้างคุณูปการและกิจอันเป็นประโยชน์ของ พสกนิกรชาวไทยมากมาย อาทิ ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านศาสนา ด้านการเกษตร และด้านการต่างประเทศ โดย เฉพาะพระราชกรณียกิจด้านการทหาร เนือ่ งด้วย พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการทหาร มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยได้ติดตามพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินไป เยีย่ มทีต่ งั้ กองทหารหน่วยต่างๆ อยูเ่ สมอ และ จากการที่ได้ทรงศึกษาหลักสูตรวิชาทหารเป็น จ�ำนวนมาก จึงทรงมีความรูเ้ ชีย่ วชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้ ถ่ายทอดทักษะ ให้แก่ทหารหาญหลายหน่วยของทุกเหล่าทัพ ทั้ ง ยั ง ทรงด� ำ เนิ น พระราชจริ ย าวั ต รให้ เ ป็ น แบบอย่างอันดีให้แก่บรรดานายทหาร นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัย เอาพระทัยใส่ในชีวิตความ เป็นอยู่ ทุกข์สุข ของผู้ใต้บังคับบัญชาและยัง ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร และยัง ประโยชน์ให้แก่หน่วยทหารต่างๆ อย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ ได้น�ำมาซึ่งความเทิดทูนและความ จงรั ก ภั ก ดี แ ก่ เ หล่ า ทหารที่ มี ต ่ อ พระองค์ ใ น พระสถานะสยามมกุฎราชกุมารและสถาบัน พระมหากษัตริยเ์ ป็นอย่างยิง่ ดั ง นั้ น ในวโรกาสอั น เป็ น มิ่ ง มหามงคล นี้เอง กระทรวงกลาโหมและเหล่าทหารหาญ ทุ ก คนจึ ง พร้ อ มใจกั น ถวายพระพร ขอ พลเอก พลเรื อ เอก พลอากาศเอก สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุ ฎ ราชกุ ม าร ทรงมี พ ระพลานามั ย สมบูรณ์ แข็งแรง สถิตเป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกร และเหล่าทหารหาญสืบไป 9


หากนับย้อนไปในอดีต พัฒนาการของศาลไทย เกิดขึ้นจากปัจจัยของ สังคมที่มีความสลับซับซ้อน รูปแบบของการท�ำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด กรณีพิพาทจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปเป็นอันมาก จนถึงปัจจุบัน ลักษณะและประเภทของศาลที่แตกแขนงออกไป มีการจัดตั้งศาลใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการเติบโตของสังคมอย่างหลากหลาย

10

จุฬาพิช มณีวงค์


สถาบันศาลไทย กับการพิทักษ์ความยุติธรรม

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

11


12

จุฬาพิช มณีวงค์


สถาบันศาลไทย กับการพิทักษ์ความยุติธรรม จุฬาพิช มณีวงค์

นสมั ย สุ โ ขทั ย การปกครองแบบพ่ อ ปกครองลูกไม่มคี วามสลับซับซ้อนมากนัก สถาบันที่ท�ำหน้าที่วินิจฉัย ชี้ขาดกรณี พิ พ าทจึ ง ตกเป็ น ของผู ้ ป กครองแต่ เ พี ย ง ผู ้ เ ดี ย ว เมื่ อ ประชาชนเกิ ด มี ข ้ อ ขั ด แย้ ง หรื อ คดี ค วามขึ้ น ก็ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องประชาชนที่ จะต้องน�ำเรื่องนั้นมาฟ้องร้องต่อผู้ปกครอง ด้ ว ยตนเอง ผู ้ ป กครองจะท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ทั้ ง ผู้พิพากษาและตุลาการ คือเป็นทั้งผู้ท�ำการ ไต่สวนหาพยานหลักฐาน และตัดสินลงโทษ ผู้กระท�ำผิด วิธีการฟ้องร้องก็กระท� ำได้โดย ไม่ต้องมีหลักเกณฑ์อะไรยุ่งยาก เพียงจับตัว ผูก้ ระท�ำผิดหรือผูถ้ กู กล่าวหาไปส่งให้ แจ้งความ หรื อ บุ ค คลที่ ถู ก ก� ำ หนดให้ มี อ� ำ นาจในการ ตั ด สิ น เพื่ อ ท� ำ การไต่ ส วน และตั ด สิ น คดี จะเห็นได้ว่าประชาชนที่มีข้อพิพาทระหว่างกัน จะเป็นผูน้ ำ� เรือ่ งราวหรือข้อพิพาทนัน้ มาฟ้องร้อง ด้วยตนเอง โดยที่รัฐไม่ได้มีหน้าที่เข้าไปมีส่วน เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องคดีแต่อย่างใด แม้จะ เป็นคดีอาญาก็ตาม ต่อมาในสมัยอยุธยา ซึ่งสังคมมีความสลับ ซั บ ซ้ อ นขึ้ น ก็ ส ่ ง ผลถึ ง ระบบกฎหมายและ ระบบศาลมีลักษณะซับซ้อนตาม มีความเป็น ระบบและมีระเบียบแบบแผนชัดเจนมากกว่า ในสมัยสุโขทัย แต่ก็ยังคล้ายคลึงกันในแง่ที่ว่า ประชาชนยังคงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการน�ำคดีที่ ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบต่อแผ่นดินไปฟ้องร้อง ตลอดจนถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ส่วนใน คดีอาญาแผ่นดิน เช่น วางเพลิง เป็นหน้าที่ ของตุลาการนครบาล ในการจับกุมผู้ต้องสงสัย มาส่ ง ให้ ศ าล แต่ ใ นบางกรณี พ นั ก งานผู ้ จั บ อาจจะท�ำหน้าที่เป็นศาลหรือผู้พิพากษาเสีย เองได้โดยไม่ต้องส่งศาล กล่าวคือตุลาการท�ำ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

หน้าที่เป็นศาลหรือผู้พิพากษา มีการก�ำหนด ไว้ในกฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. ๑๘๙๙ มาตรา ๑๐ ว่าหากราษฎรไม่ได้ขึ้นทะเบียน สังกัดมูลนาย ก็จะไม่มสี ทิ ธิมาฟ้องร้องคดีความ ใดๆ นั่นหมายความว่า เฉพาะราษฎรที่มีสังกัด มูลนายเท่านั้น รัฐจึงจะให้การพิทักษ์รักษาใน ชีวิตและทรัพย์สิน กระบวนการพิ จ ารณาคดี ค วามและข้ อ พิพาทในสมัยอยุธยา มีศาลท�ำหน้าที่อยู่หลาย ส่วนด้วยกัน เช่น ศาลกรมวัง พิจารณาคดีสว่ นใหญ่ทเี่ กิดจาก ข้อขัดแย้งระหว่างราษฎรด้วยกัน ศาลกรมเมือง หรือศาลกรมพระนครบาล รับพิจารณาคดีอุกฉกรรจ์ ศาลกรมนา รับพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับ ที่นา และโคกระบือ ศาลกรมคลัง รับพิจารณาคดีทเี่ กีย่ วข้องกับ พระราชทรัพย์ของหลวง และภาษีอากร ศาลกรมท่า รับพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับ คนต่างชาติ เมื่อประชาชนเกิดข้อพิพาทก็ให้น�ำความ ไปฟ้องยังศาลที่เกี่ยวข้องกับศาลกรมนั้น ซึ่ง ถึงแม้จะมีการแบ่งงานกันไปเฉพาะด้านแล้ว แต่ ใ นทางปฏิ บั ติ ก ลั บ เป็ น การก้ า วก่ า ยและ ซ�้ ำ ซ้ อ นกั น เสี ย มากกว่ า แถมในบางกรณี เจ้ า พนั ก งานที่ ท� ำ การจั บ กุ ม อาจมี ข อบเขต อ�ำนาจในการตัดสินคดีโดยไม่ต้องส่งให้ศาล ผู้เกี่ยวข้องคดี เมื่ อ สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถท� ำ การ ปฏิรปู การปกครอง โดยยกเลิกจตุสดมภ์แล้วตัง้ สมุหกลาโหมเป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบ กิจการฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้ควบคุม ดูแลและรับผิดชอบฝ่ายพลเรือนทั่วไป ทั้งสอง

ฝ่ า ยก็ จ ะมี ศ าลท� ำ หน้ า ที่ ร ะงั บ คดี ค วามของ ตนเอง และสมุหกลาโหมกับสมุหนายกต่างก็มี อ�ำนาจในฐานะผูใ้ ช้อำ� นาจตุลาการด้วย ส�ำหรับ หัวเมืองชัน้ นอก จะมีขนุ นางต�ำแหน่งยกกระบัตร ส่งจากราชธานีมาท�ำหน้าทีด่ แู ลการปฏิบตั งิ าน ของเจ้าเมือง รวมถึงการพิจารณาคดี อย่างไรก็ตามอ�ำนาจในการวินิจฉัยคดีสมัย อยุธยานีย้ งั คงเป็นสิทธิข์ าดของพระมหากษัตริย์ แม้จะมีเสนาบดีชว่ ยแบ่งเบาภาระ แต่พระองค์ก็ ยังทรงท�ำหน้าทีค่ วบคุมดูแลและรับการอุทธรณ์ หรือฎีกาจากประชาชนทีไ่ ม่ได้รบั ความยุตธิ รรม ในการตั ด สิ น คดี ค วามจากตุ ล าการ นั่ น คื อ พระมหากษัตริย์ยังทรงไว้ซึ่งอ� ำนาจเด็ดขาด ด้านตุลาการอยู่นั่นเอง

วิธีการฟ้องร้องก็กระท�ำได้  โดยไม่ต้องมีหลักเกณฑ์อะไร  ยุ่งยาก เพียงจับตัวผู้กระท�ำผิด หรือผู้ถูกกล่าวหาไปส่งให้  แจ้งความ หรือบุคคล  ที่ถูกก�ำหนดให้มีอ�ำนาจ  ในการตัดสิน 13


ครั้ น ถึ ง สมั ย ธนบุ รี ในช่ ว งเวลา ๑๕ ปี ที่บ้านเมืองยังอยู่ในสถานการณ์การรบและ ท�ำสงคราม การปกครองจึงเป็นแบบเดียวกับ อยุธยาตอนปลาย กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ จึง ได้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ มี พ ระราชด� ำ ริ ใ ห้ ร วบรวมกฎหมายที่ เ คย ใช้ในสมัยอยุธยาเท่าที่จะท�ำได้ แล้วตราเป็น กฎหมายที่เรียกว่ากฎหมายตราสามดวงในปี พ.ศ. ๒๓๔๑ แต่ก็ยังไม่มีสถาบันใดท�ำหน้าที่ ด้านตุลาการโดยเฉพาะ จนถึงรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ กรมหลวง ราชบุรดี เิ รกฤทธิม์ รี บั สัง่ ว่าการทีไ่ ม่มหี น่วยงานใด รับผิดชอบงานด้านตุลาการโดยตรงได้สร้าง ความสับสนซ�้ำซ้อนและก้าวก่ายกันระหว่าง ศาลต่างๆ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการปฏิรูปการปกครอง ประเทศ รวมถึงจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านตุลาการ และศาล ทรงประกาศให้มีพระบรมราชโองการตั้ง กระทรวงยุตธิ รรมขึน้ เมือ่ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ แบ่งงานในกระทรวงเป็น ๒ ลักษณะ โดยมีเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมท�ำหน้าที่เป็น ประธานและผู ้ รั บ ผิ ด ชอบในการบั ง คั บ และ แก้ไขข้อขัดข้องในกรณีที่มีปัญหา เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกในกระบวนการพิจารณาคดี และ ให้ผพู้ พิ ากษามีอำ� นาจในการพิจารณาพิพากษา คดี ใ ห้ เ ป็ น ไปตามบทบั ญ ญั ติ ข องกฎหมาย อย่างเป็นอิสระ นับเป็นครั้งแรกที่มีการแยก อ�ำนาจตุลาการให้เป็นอิสระจากอ�ำนาจบริหาร นอกจากนีย้ งั มีการลดจ�ำนวนศาลจาก ๑๖ ศาล เหลือเพียง ๗ ศาล มีการตราพระธรรมนูญศาล ยุตธิ รรมขึน้ เมือ่ วันที่ ๑ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๕๑ จัดแบ่งศาลออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดรับผิดชอบต่อ พระมหากษัตริย์โดยตรง ๒. ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพ ได้แก่ ศาล อุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่าง ประเทศ และศาลโปรีสสภา มีขอบเขตอ�ำนาจ ในการพิจารณาอรรถคดีภายในเขตกรุงเทพ อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ๓. ศาลหัวเมือง มีหน้าที่พิจารณาอรรถคดี ในเขตอ�ำนาจศาลตามหัวเมือง อยู่ในสังกัด กระทรวงยุติธรรม ต่ อ มาในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้ มี ป ระกาศ จัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม แบ่ง งานในกระทรวงยุ ติ ธ รรมออกเป็ น ๒ ฝ่ า ย คื อ ฝ่ า ยธุ ร การและฝ่ า ยตุ ล าการ และให้ ศาลฎี ก ามาสั ง กั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ขณะ เดี ย วกั น โปรดเกล้ า ฯ ให้ มี อ ธิ บ ดี ศ าลฎี ก า ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง เป็ น หั ว หน้ า ฝ่ า ยตุ ล าการ เพื่ อ ให้ ร ะบบศาลและกฎหมายไทยมี ค วาม ทันสมัย รวมทัง้ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง 14

ยุติธรรมเป็นผู้ด�ำเนินการช�ำระกฎหมายไทย ในที่สุดประเทศไทยก็ได้รับเอกราชทางศาล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หลังจากชาวต่างประเทศ ที่กระท�ำผิดต้องไปขึ้นศาลไทยตามสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตมาเป็นเวลายาวนาน หลังเปลีย่ นแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ สถาบัน ตุลาการมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาบนพื้นฐาน การแยกอ�ำนาจให้เป็นอิสระจากอ�ำนาจนั้น และเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไป ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมจึงได้มีพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมแบ่งศาลออกเป็น ๓ ชั้น คือ ๑. ศาลชั้นต้น มีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษา คดีทั้งทางแพ่งและอาญา ท�ำหน้าที่พิจารณา คดีเป็นอันดับแรก ๒. ศาลอุ ท ธรณ์ เป็ น ศาลชั้ น กลางที่ จ ะ พิจารณาพิพากษาคดีที่ผ่านการตัดสินมาจาก ศาลชัน้ ต้นแล้ว แต่ทงั้ นีก้ ารอุทธรณ์จะต้องอยูภ่ ายใต้ เงือ่ นไขการอุทธรณ์ไม่ใช่ทกุ คดีจะอุทธรณ์ได้ ๓. ศาลฎีกา เป็นศาลชัน้ สูงสุดทีจ่ ะพิจารณา พิ พ ากษาคดี ที่ ผ ่ า นการพิ พ ากษามาจาก ศาลอุ ท ธรณ์ แ ล้ ว ภายใต้ เ งื่ อ นไขที่ ก� ำ หนด ค�ำพิพากษาศาลฎีกาถือเป็นที่สุด ต่ อ มาเมื่ อ สั ง คมมี ค วามซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น การแบ่งศาลออกเป็น ๓ ระดับ ไม่สามารถอ�ำนวย ความสะดวกแก่ประชาชน และแบ่งเบาภาระ ของศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการ จัดตั้งศาลเพื่อพิจารณาคดีตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพสังคมของประเทศ

โดยเฉพาะเมื่ อ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราช อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มีผลบังคับใช้ มีการบัญญัตเิ กีย่ วกับศาลในหมวด ๘ จ�ำนวน ๔๙ มาตรา ก�ำหนดให้ประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ คือ มีศาลมากกว่า ๑ ระบบ นับเป็นครั้งแรก ที่ ป ระเทศไทยใช้ ร ะบบศาลคู ่ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ก�ำหนด ให้มีระบบศาล ๔ ระบบคือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุ ติ ธ รรม และศาลทหาร มีอ�ำนาจหน้าที่และวิธีการในการพิจารณาของ ศาลในแต่ละระบบแตกต่างกันออกไป ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ท� ำ หน้ า ที่ ค วบคุ ม มิ ใ ห้ กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญ จัดตัง้ ขึน้ ตามมาตรา ๒๕๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มีองค์ประกอบทั้งหมด ๑๕ คน มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา ๕ คน และผู้ทรง คุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ๓ คน โดยประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีวาระในการด�ำรงต�ำแหน่ง ๙ ปี นับตั้งแต่ พระมหากษัตริยท์ รงแต่งตัง้ และด�ำรงต�ำแหน่ง ได้เพียงวาระเดียว การพิ จ ารณาและท� ำ ค� ำ วิ นิ จ ฉั ย ของศาล รั ฐ ธรรมนู ญ ต้ อ งประกอบด้ ว ยตุ ล าการศาล รัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า ๙ คน โดยถือมติเสียง ข้างมาก รวมทั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็เป็น องค์คณะ ทุกคนต้องท�ำค�ำวินิจฉัยในส่วนของ ตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนมี การลงมติ และเมื่อมีค�ำวินิจฉัยตัดสินแล้วให้ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา จุฬาพิช มณีวงค์


ศาลทหาร เป็นศาลที่พิจารณา พิพากษาคดีอาญาทหาร   ซึ่งหมายถึง คดีอาญาที่ทหารเป็น ผู้กระท�ำผิด แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น เหมือนศาลยุติธรรมของพลเรือน ได้แก่ ศาลทหารชั้นต้น   ศาลทหารกลาง และ  ศาลทหารสูงสุด

อ� ำ นาจหน้ า ที่ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ ค่ อ นข้ า ง กว้างขวางและมีความส�ำคัญมากต่อการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นอ�ำนาจ ในการวิ นิ จ ฉั ย ว่ า มติ ห รื อ ข้ อ บั ง คั บ ของ พรรคการเมืองขัดต่อบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนูญ หรื อ ไม่ วิ นิ จ ฉั ย ว่ า มี ก รณี บุ ค คลหรื อ พรรค การเมืองท�ำการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย หรื อ ไม่ ซึ่ ง หากพิ จ ารณาแล้ ว มี ม ติ ว ่ า พรรค การเมืองนั้นมีการกระท�ำที่จะล้มล้างระบอบ ประชาธิ ป ไตย ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ อาจสั่ ง ยุ บ พรรคการเมืองนั้นๆ ได้ พิจารณาค�ำร้องว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ผูใ้ ดขาดสมาชิกภาพ วินจิ ฉัยว่าพระราชบัญญัติ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือกฎหมายใดขัด ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ วินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหา อ�ำนาจหน้าทีข่ ององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ศาลปกครอง เป็นศาลทีก่ ฎหมายก�ำหนดให้ มีอำ� นาจหน้าทีว่ นิ จิ ฉัยชีข้ าดคดีปกครอง ซึง่ เป็น คดีทเี่ ป็นข้อพิพาทหรือโต้แย้งระหว่างเอกชนกับ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าทีข่ องรัฐเกีย่ วกับ การกระท�ำทางปกครองของหน่วยงานของรัฐ แบ่งออกเป็น ๒ ชัน้ ศาลคือ ศาลปกครองสูงสุด กับศาลปกครองชั้นต้น เปิดท�ำการครั้งแรก ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ภายหลังมี พระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครองและวิ ธี พิจารณาคดีศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาล ปกครองมีอำ� นาจหน้าทีใ่ นการพิจารณาพิพากษา คดีพพิ าท การปกครองทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างเอกชน หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ทหารมีหน้าที่รับผิดชอบการปกครองทหารให้ มีระเบียบวินยั ทหารกระท�ำความผิดทางอาญา กั บ หน่ ว ยงานทางปกครอง ซึ่ ง หน่ ว ยงานที่ ย่อมเป็นการกระท�ำผิดต่อวินัยด้วย ฉะนั้น เมื่อ ถูกฟ้องต่อศาลปกครองมี ๗ ประเภท ได้แก่ ทหารกระท�ำผิดทางอาญา ผูบ้ งั คับบัญชาจึงควร หน่วยราชการส่วนกลาง หน่วยราชการส่วน เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุของ ภูมภิ าค หน่วยราชการส่วนท้องถิน่ รัฐวิสาหกิจ การกระท�ำผิดและน�ำไปแก้ไขการทหารให้กลับ หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ส ่ ว นราชการและ มามีระเบียบวินยั ดีขนึ้ และการทีท่ หารมีภารกิจ รั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า องค์ ก ารมหาชน ที่ต้องไปปฏิบัติงานนอกราชอาณาจักร ท�ำให้ หน่วยงานเอกชนทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากรัฐให้ใช้ ไม่สะดวกและไม่เหมาะสมที่จะส่งทหารที่ถูก อ�ำนาจทางการปกครอง และหน่วยงานอิสระตาม กล่าวหาไปพิจารณาพิพากษาคดีในศาลพลเรือน รัฐธรรมนูญ นอกจากนีศ้ าลปกครองยังมีอำ� นาจ การพิจารณาคดีพจิ ารณาถึงการเปลีย่ นแปลงไป ในการพิจารณาข้อพิพาททางการปกครองที่ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และทหาร เกิดขึน้ ระหว่างเอกชนกับเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ เป็นกลุม่ บุคคลทีม่ อี าวุธ ฉะนัน้ หากไม่มอี �ำนาจ ส่วนคดีพิพาทที่เข้าข่ายอยู่ในอ�ำนาจหน้าที่ อะไรที่ เ ด็ ด ขาดอั น จะท�ำ ให้ ท หารเกิ ด ความ ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คดีพิพาทเกี่ยวกับ เกรงกลัว ทหารเหล่านั้นอาจจะใช้อ�ำนาจของ การใช้อำ� นาจกระท�ำทางการปกครองทีไ่ ม่ชอบ ตนกระท� ำ การไม่ เ หมาะสมอั น จะก่ อ ให้ เ กิ ด ด้วยกฎหมาย คดีพพิ าทเกีย่ วกับการทีห่ น่วยงาน ความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นได้ เป็นต้น ทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่รัฐละเลยต่อหน้าที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ตามที่กฎหมายก�ำหนด คดีพิพาทเกี่ยวกับการ ๒๕๔๐ ได้สะท้อนเจตนารมณ์ที่ต้องการให้ กระท�ำละเมิด หรือรับผิดของหน่วยงานทาง คนไทยทุกคนได้รับการประกันความยุติธรรม ปกครอง หรือเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ คดีพพิ าทเกีย่ วกับ ในการพิจารณาคดี ก่อให้เกิดความรวดเร็วใน สัญญาทางปกครอง เป็นต้น การฟ้องร้องและพิจารณาคดีผ่านข้อบัญญัติ ศาลสุดท้ายที่เราจะไปท�ำความรู้จักกันก็คือ ที่ก�ำหนดให้ระบบศาลเป็นแบบศาลคู่ และมี ศาลทหาร เป็นศาลที่พิจารณาพิพากษาคดี ศาล ๔ ประเภท คือ ศาลยุตธิ รรม ศาลปกครอง อาญาทหาร ซึ่งหมายถึง คดีอาญาที่ทหารเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร ซึ่งเวลาที่ผ่าน ผู้กระท�ำผิด แบ่งออกเป็น ๓ ชั้นเหมือนศาล มาทั้ง ๔ ศาล ก็ได้มีโอกาสทบทวนถึงบทบาท ยุติธรรมของพลเรือน ได้แก่ ศาลทหารชั้นต้น หน้าที่และความรับผิดชอบของสิ่งที่ก�ำลังจะ ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด ผ่านไป เพื่อน�ำปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ปั จ จุ บั น แม้ ป ระเทศจะไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นสภาพ มาปรับปรุงแก้ไขต่อไป เพื่อให้สถาบันศาล สงคราม แต่การมีศาลทหารยังมีความจ�ำเป็น คงความยุติธรรม เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดของปวงชน ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ผู้บังคับบัญชา ชาวไทย 15


อนาคตขององค์การอาเซียน

ภายใต้กฎบัตรอาเซียน : เรื่องของการยืดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง สุรพงษ์ ชัยนาม

16

สุรพงษ์ ชัยนาม


มือ่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มพี ธิ ี ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียนโดยประมุข แห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ในโอกาสการ ประชุมสุดยอด ครัง้ ที่ ๑๓ ขององค์การอาเซียน ที่ประเทศสิงค์โปร์ และหลังจากที่ทุกประเทศ สมาชิกได้ให้การสัตยาบันไปแล้ว ก็ได้มีพิธี ฉลองการประกาศให้กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้ บังคับเริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ที่ ท� ำ การส� ำ นั ก งานเลขาธิ ก ารอาเซี ย น กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ๑. ข้อเท็จจริง และความเป็นมา ๑.๑ แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การมี ก ฎบั ต รของ สมาคมอาเซียนไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากมีมา ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ. ๑๙๗๐ แล้ว โดย ผู้น�ำประเทศอาเซียนในยุคนั้นได้เห็นถึงความ จ� ำ เป็ น ที่ ส มาคมอาเซี ย นพึ ง มี ก ฎบั ต รหรื อ รัฐธรรมนูญของอาเซียนไว้เป็นกฎหมายส�ำหรับ ประเทศสมาชิกยืดถือปฏิบัติ ๑.๒ ครัน้ ถึงศตวรรษที่ ๒๑ (ยุคหลังสงคราม เย็น) ที่ประชุมสุดยอดครั้งที่ ๙ ของอาเซียน ได้มีมติร่วมกันให้มีการด�ำเนินการให้อาเซียน เป็นประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยความ เป็นประชาคมด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรม โดยได้มีการยืนยัน ตอกย�ำ้ อีกครัง้ ในการประชุมสุดยอดทีเ่ มืองเซบู ประเทศฟิลปิ ปินส์ ค.ศ. ๒๐๐๗ เรียกร้องให้การ ด�ำเนินการสร้างประชาคมอาเซียนสัมฤทธิผล ภายใน ค.ศ. ๒๐๑๕ ๑.๓ ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปี ที่ ผ ่ า นมา (นับตั้งแต่ปีก่อตั้งองค์การอาเซียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘) อาเซี ย นมี ส ถานะเป็ น องค์ ก ารที่ เลื่อนลอยปราศจากกฎหมายใดรองรับ หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเซียนหาได้มีสภาพเป็น นิติบุคคลไม่ จะเรียกว่าเป็นองค์การเถื่อนที่ เกาะกันมาอย่างหลวมๆ ก็ไม่ผิดข้อเท็จจริง เป็นผลท�ำให้อาเซียนในยุคหลังสงครามเย็น หรือยุคโลกาภิวัตน์ ๑๙ ปีที่ผ่านมาไม่สามารถ ที่จะไปท�ำนิติกรรมที่มีผลผูกพันกับองค์การ ความร่วมมือส่วนภูมิภาคอื่นๆ ได้ เช่น การ ท�ำสัญญาเขตการค้าเสรี หรือความตกลงหรือ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

สนธิสัญญากับประเทศใดหรือกลุ ่ม ประเทศ ใดเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การ ค้า การลงทุน หรือด้านการเมือง ความมั่นคง หรือด้านสังคม-วัฒนธรรม การด�ำเนินการให้ อาเซียนมีสภาพถูกต้องตามกฎหมายมีสถานะ เป็นนิตบิ คุ คลจึงเป็นเหตุผลส�ำคัญท�ำให้รฐั บาล ประเทศสมาชิกเห็นถึงความจ�ำเป็นเร่งด่วนที่ จ�ำต้องท�ำให้อาเซียนมีสภาพเป็นนิตบิ คุ คลด้วย การมีกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้องค์การอาเซียน เป็นประชาคมด้านความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรม ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ภายใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ๒. บทบาทและท่าทีของประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่รัฐบาลไทยได้แสดง ท่ า ที อ ย่ า งหนั ก แน่ น ในหลายโอกาสที่ ผ ่ า น มา ว่าไทยให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งยวดกับการ ด�ำเนินการร่วมกันให้อาเซียนเป็นประชาคม ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมวัฒนธรรม ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยล่าสุดไทย ก็ได้ประกาศยืนยันในนโยบายและท่าทีแน่ชัด ดังกล่าวของไทยต่อทีป่ ระชุมสุดยอดของอาเซียน ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อีกทั้งตอกย�้ำถึงความส�ำคัญและ ความจ�ำเป็นอย่างยิง่ ยวดทีอ่ าเซียนพึงมีกฎบัตร อาเซียนอย่างเป็นทางการและเป็นรูปธรรมเพือ่ ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนยึดเหนีย่ วเป็นเข็มทิศ น� ำ ทางให้ กั บ พั ฒ นาการในด้ า นต่ า งๆ ของ อาเซียนด�ำเนิ น ไปอย่ า งมี ทิ ศ ทางแน่ ชั ด และ เพื่อเป็นกลไกควบคุมความประพฤติและการ ด�ำเนินการของสมาชิกทุกประเทศให้เป็นไป อย่างมีเอกภาพและในทิศทางที่เป็นที่ยอมรับ ของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ตลอดจนเพื่อ ความก้าวหน้าของส่วนรวมเป็นส�ำคัญ ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าการเน้นและให้ความส�ำคัญ กับการมีกฎบัตรอาเซียนที่ยึดมนุษย์เป็นตัวตั้ง หรือเป็นศูนย์กลาง (People centered) และ ตอบสนองความปรารถนาและความหวังสูงสุด ทีจ่ ะมีโอกาสด�ำรงชีวติ เยีย่ งเสรีชนของพลเมือง ของทุกประเทศอาเซียน ดังนัน้ จึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ เร่งด่วนและจ�ำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ทุกประเทศ สมาชิกอาเซียนจ�ำต้องยอมรับและร่วมกันผลักดัน

ให้ ก ฎบั ต รอาเซี ย นสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความ ส�ำคัญของประเด็นดังกล่าวนีอ้ ย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้ง สมาคมอาเซียนและได้มีบทบาทเข้มแข็งเสมอ มา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครัฐบาลชวน ๒) ที่จะผลักดันให้สมาคมอาเซียนปรับ/เปลี่ยน โครงสร้างและการด�ำเนินการให้สอดคล้องกับ เงือ่ นไขและสภาพการณ์ของความเป็นจริงและ ข้อเท็จจริงด้านเศรษฐกิจ-การเมืองที่ปรากฏ ทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกหลังสิ้นสุดยุค สงครามเย็นเป็นต้นมา ทั้งนี้ โดยมีเป้าประสงค์ เพือ่ ความเจริญก้าวหน้า ความมัน่ คง และวัฒนา ถาวรของประชาคมอาเซียนเป็นส�ำคัญ ดังนั้น การให้กฎบัตรอาเซียนมีเนื้อหาและสารัตถะ บ่งบอกแน่ชัดถึงความเป็นสมาคมเพื่อความ ร่ ว มมื อ ระดั บ ภู มิ ภ าคที่ ยึ ด ความมุ ่ ง หวั ง และ ความปรารถนาแน่ ว แน่ ข องประชาชนที่ จ ะ ได้รบั ความเอือ้ อาทร การคุม้ ครองดูแลอย่างทัว่ ถึง และอย่ า งเท่ า เที ย มจากรั ฐ สมาชิ ก สมาคม อาเซี ย นเพื่ อ ความอยู ่ ดี มี สุ ข ของพลเมื อ ง อาเซียน จึงเป็นเรือ่ งทีป่ ระเทศไทยและประเทศ สมาชิกอาเซียนทุกประเทศจ�ำเป็นต้องร่วมมือ กันผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนทีจ่ ะมีขนึ้ มีเนือ้ หา และสารัตถะสอดคล้องตอบสนองความมุ่งหวัง ความต้องการของประชาชนของทุกประเทศ สมาชิก ไม่ใช่มีฐานะเป็นเพียงแผ่นกระดาษ หรือเอกสารเพือ่ ผลทางด้านการประชาสัมพันธ์ เท่านั้น แต่จ�ำต้องมีผลเป็นรูปธรรมในความ เป็นจริง ๓. อุปสรรคและปัญหา ปัญหาและเหตุการณ์ตา่ งๆ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงที่ได้ปรากฏในช่วง ๑๘ ปี ของยุคหลังสงครามเย็นที่ผ่านมา ล้วน เป็นเหตุการณ์ที่ตอกย�้ำยืนยันให้เห็นถึงความ อ่อนแอและไร้เอกภาพของสมาคมอาเซียนใน ยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์ ความ จริงข้อนี้ได้รับการตอกย�ำ้ เด่นชัดขึ้นหลังจากที่ อาเซียนได้รับสมาชิกใหม่เข้ามาอีก ๔ ประเทศ (พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ) ซึ่งปรากฏ ในด้านต่างๆ ของอาเซียนหลังยุคสงครามเย็น เป็นสิง่ ยืนยันชีช้ ดั ให้เป็นทีป่ ระจักษ์ได้วา่ ความ 17


แตกต่างอย่างมากในระบบการเมืองการปกครอง ระหว่ า งประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นเป็ น ปั จ จั ย ชี้ขาดที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจ�ำกัดของอาเซียน และเป็นอุปสรรคมากมายหลายด้านต่อความ พยายามให้พัฒนาการของอาเซียนที่จะก้าว จากความร่วมมือ (Cooperation) ไปสูก่ ารรวม ตัว (Integration) อย่างเช่น สหภาพยุโรปใน ปัจจุบนั นอกจากนัน้ ข้อแตกต่างอย่างมากไม่วา่ จะในด้านปรัชญาการเมืองการปกครอง ด้านค่า นิยมทางการเมืองและด้านระบบการเมืองล้วน เป็นปัจจัยเพิม่ ปัญหาและอุปสรรคต่อความเป็น ปึกแผ่นและการสร้างเอกภาพของอาเซียน เป็น ผลท�ำให้พัฒนาการในด้านต่างๆ ของอาเซียน ต้องสะดุดหยุดชะงักเป็นช่วงๆ ตลอดมา โดย เฉพาะอย่างยิ่งใน ๑๘ ปีที่ผ่านมา ๔๐ ปีของ การด�ำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนยังไม่สามารถ ช่วยลดความหวาดระแวงในหมูป่ ระเทศสมาชิก ดั้งเดิม แถมยังได้รับการซ�้ำเติมจากการเพิ่ม สมาชิกใหม่เข้ามาอีก ๔ ประเทศ ทั้งหมดนี้ พอจะสรุปได้ว่า มีสาเหตุส�ำคัญที่สุดจากการ มีระบบการเมืองที่ยังแตกต่างกันมากในหมู่ ประเทศสมาชิกเป็นส�ำคัญ จึงเป็นที่ประจักษ์ตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมานับ ตัง้ แต่อาเซียนได้รบั ประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน กลุม่ สมาชิก ใหม่เหล่านี้ได้ฉกฉวยโอกาสใช้ช่องว่างจากการ ขาดภาวะผู ้ น� ำ ในหมู ่ ก ลุ ่ ม ประเทศสมาชิ ก ผู ้ ก่อตัง้ สมาคมอาเซียนและความอ่อนแอในภาพ รวมของอาเซียนสืบเนื่องจากผลกระทบจาก วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ และความ ไร้เสถียรภาพทางการเมืองในภูมิภาคโดยรวม สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในอินโดนีเซียและปัญหาเอกราชของติมอร์ ตะวั น ออก และปั ญ หาแบ่ ง แยกดิ น แดนใน อาเจห์ของอินโดนีเซีย ตลอดจนความไร้ทศิ ทาง ของการด�ำเนินการของอาเซียนสืบเนื่องจาก ความพยายามของอาเซียนที่จะหาทางปรับ ทิศทางและการด�ำเนินการให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ระดั บ โลกและระดั บ ภู มิ ภ าคจากผลกระทบ ของพลังโลกาภิวัตน์ อาทิ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศสมาชิกใหม่นำ� มา ใช้เป็นอ�ำนาจต่อรองกับกลุ่มประเทศสมาชิก ผู้ก่อตั้ง รวมทั้งพึ่งและใช้ความไร้เอกภาพใน หมู่ ๕ ประเทศสมาชิกดั้งเดิมให้เป็นประโยชน์ ต่อการรักษาอ�ำนาจต่อรองและเพิม่ อิทธิพลของ กลุ่มสมาชิกใหม่ในอาเซียนอย่างต่อเนื่องโดย มุ่งหวังให้อาเซียนด�ำเนินไปในทิศทางที่กลุ่ม สมาชิกใหม่ประสงค์เป็นส�ำคัญ เหตุผลและ ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุการณ์ ยืนยันและตอกย�ำ้ ให้เห็นถึงความจ�ำเป็นเร่งด่วน ที่กลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนจ�ำต้องร่วมกัน ด�ำเนินการเพือ่ ให้เกิดเอกภาพในกลุม่ และกลับ มามีบทบาทและอิทธิพลก�ำหนดชี้น�ำร่วมกัน 18

ได้ และในประเด็นส�ำคัญนี้ กล่าวได้ว่ากฎบัตร อาเซียนจะมี รู ป แบบเนื้ อ หาและสารั ต ถะใน ขั้นสุดท้ายอย่างใด ย่อมเป็นเครื่องทดสอบ และพิสูจน์ให้เห็นถึงเอกภาพและอิทธิพลชี้นำ� ของกลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ ประการใด ข้ อ ความและเนื้ อ หาทั้ ง หมดที่ ป รากฏใน กฎบัตรอาเซียน (ตั้งแต่มาตรา ๑ - ๕๕) แม้จะ สะท้อนและยืนยันให้เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ อาเซียน ยอมรับและเห็นถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็น เร่งด่วนทีจ่ ำ� ต้องปรับปรุงแก้ไขและปรับเปลีย่ น ทัศนะท่าที ข ององค์ ก ารอาเซี ย น เพื่ อ ความ อยู่รอดและความเป็นองค์การที่มีศักยภาพ มี บทบาท มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความส�ำคัญ ต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความผาสุก ของประชาคมอาเซี ย นเป็ น ส� ำ คั ญ แต่ ข ณะ เดียวกัน เนื้อหาของกฎบัตรอาเซียนก็ยังคง ยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า อาเซียนยังไม่พร้อมที่ จะก้าวออกไปให้พ้นจากกรอบความคิดหรือ กระบวนทัศน์ (paradigm) และพฤติกรรม เดิมๆ ที่ยึดถือปฏิบัติมาตลอด ๔๖ ปีของยุค สงครามเย็น กล่าวคือ อาเซียนยังคงยึดมัน่ อย่าง เคร่งครัดในสิ่งที่เรียกว่า “วิถีแห่งอาเซียน” (The Asean Way) ในการด�ำเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสมาชิก และในการหาทางหลบ เลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่มีขึ้นในภูมิภาคอาเซียน มากกว่าการมุ ่ ง หน้ า ร่ว มกั น แก้ ปั ญ หาอย่ าง แท้จริง ทั้งนี้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นว่า หากไม่เข้าไปยุง่ กับปัญหา หรือหาทางลืมปัญหา ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงก็จะหมดไปเอง โดยสรุ ป “วิ ถี แ ห่ ง อาเซี ย น” คื อ การมี กระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่อาศัยกฎระเบียบ บรรทั ด ฐาน (norms) ที่ เ ป็ น สากล เป็ น บรรทัดฐานในการด�ำเนินความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศสมาชิ ก และในการแก้ ป ั ญ หาที่ มี ระหว่างกัน กล่าวได้ว่า “วิถีแห่งอาเซียน” เป็น

“วิถีแห่งอาเซียน”  คือการมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ที่อาศัยกฎระเบียบ บรรทัดฐาน (norms) ที่เป็นสากล  เป็นบรรทัดฐานในการด�ำเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมาชิก และในการแก้ปัญหา  ที่มีระหว่างกัน

กรอบความคิดที่เป็นนามธรรมมาก ปราศจาก ความแน่ชัด อีกทั้งมีลักษณะของความไม่เป็น ทางการอย่างเด่นชัด องค์ประกอบส� ำคัญที่ รวมกันแล้วเรียกว่า “วิถีแห่งอาเซียน” พอ สรุปได้ดังนี้ ๑. มีระดับการด�ำเนินการทีม่ ลี กั ษณะไม่เป็น ทางการสูง (informality) ๒. ยึดการทูตที่มีลักษณะไม่เป็นข่าว แต่จะ จ�ำกัดอยู่ในวงในของประเทศสมาชิกเท่านั้น (informality) หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการหารือ ภายในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น ๓. ยึดการพูดจาหารือ (dialogue) และหลัก ฉันทามติ (consensus) เป็นปัจจัยชีข้ าดในการ ตัดสินใจ ๔. เน้นเรือ่ งความส�ำคัญของการยับยัง้ ชัง่ ใจ (self-restraint) ๕. เน้ น ความส� ำ คั ญ ของการมี เ อกภาพ (solidarity) ๖. เน้นเรื่องการหลีกเลี่ยงปัญหามากกว่า การหาทางแก้ปัญหา ๗. ยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในหลักการเคารพ อธิปไตยของประเทศและการไม่แทรกแซงใน กิจการภายในของกันและกัน ประเด็นทัง้ ๗ ข้อข้างต้น ถือได้วา่ เป็นหลัก ปฏิบัติที่องค์การอาเซียนได้ยึดถือปฏิบัติอย่าง เคร่งครัดมาโดยตลอด จนกล่าวได้วา่ การด�ำเนิน การตามแนวทางของ “วิถแี ห่งอาเซียน” ตลอด ๔๓ ปีที่ผ่านมาได้มีผลช่วยให้อาเซียนสามารถ เติบโตอย่างมัน่ คง ตลอดจนสามารถพยุงรักษา เอกภาพ ความสมานฉันท์ และความก้าวหน้า ของการเป็ น องค์ ก ารเพื่ อ ความร่ ว มมื อ ส่ ว น ภูมิภาคได้ด้วยดี เนื่องจากสามารถท�ำหน้าที่ เป็นกรอบความร่วมมือทีป่ ระสบความส�ำเร็จใน การถือเอาประเทศต่างๆ ในภูมภิ าคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ทมี่ คี วามขัดแย้งกัน เข้ามาร่วมก่อตัง้ องค์การอาเซียนอย่างเป็นผลส�ำเร็จ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการมีกฎบัตรอาเซียน ท�ำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีความ เป็นเอกภาพ มีกรอบความคิด และการด�ำเนิน การร่วมกันในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนในรูปของ การเป็นประชาคมด้านเศรษฐกิจ ด้านความ มั่นคง และด้านสังคม-วัฒนธรรม แต่อาเซียน ก็ ยั ง คงต้ อ งประสบกั บ อุ ป สรรคและปั ญ หา ส�ำคัญอันเป็นปัญหาที่อยู่มากับอาเซียนตั้งแต่ แรกเริ่มก่อตั้งอาเซียนเมื่อ ๔๓ ปีมาแล้ว เพียง แต่ เ พิ่ ง จะปรากฏให้ เ ป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ชั ด แจ้ ง ช่วง ๑๘ ปีหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นหรือที่ เรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ตัวปัญหาที่ ยังเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในทุกด้านของ อาเซียนหลังการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน แล้ว ที่ส�ำคัญมี ๖ ประการ คือ ๑. กฎบัตรอาเซียนไม่มผี ลบังคับให้ประเทศ สมาชิกต้องปฏิบตั ติ าม เป็นเรือ่ งของความพร้อม และความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก สุรพงษ์ ชัยนาม


ราชอาณาจักรไทย    Thailand

รัฐบรูไนดารุสซาลาม    State of Brunei Darussalam

ราชอาณาจักรกัมพูชา    Kingdom of Cambodia

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย    Republic of Indonesia

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  Lao People’s Democratic   Republic

มาเลเซีย    Malaysia

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์    The Republic of the Union of Myanmar

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์     Republic of the Philippines

สาธารณรัฐสิงคโปร์    Republic of Singapore

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม    Socialist Republic of Vietnam

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

19


20

สุรพงษ์ ชัยนาม


๒. ความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของ ระบบการเมื อ งการปกครองในหมู ่ ป ระเทศ สมาชิก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่าง มากต่อการท�ำให้อาเซียนเป็นประชาคมด้าน ความมัน่ คง (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความมัน่ คงของ มนุษย์และด้านสิทธิมนุษยชน) ๓. การยึดหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตย ของรัฐตามทีก่ ำ� หนดไว้ในสนธิสญ ั ญาเวสฟาเลีย พ.ศ. ๒๑๙๑ (Westphalian concept of sovereignty) และมาตรา ๒ (๗) ว่าด้วยการ ห้ามเข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละ ประเทศสมาชิ ก ขององค์การสหประชาชาติ ทั้งๆ ที่องค์การสหประชาชาติก็ได้เห็นถึงความ จ�ำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทบทวนหลักความ คิดเกีย่ วกับอธิปไตยของรัฐตามระบบเวสฟาเลีย ทีป่ ระชาคมระหว่างประเทศยึดถือปฏิบตั ใิ นการ ด�ำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็น เวลา ๓๖๐ ปีแล้ว เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไข ที่จ�ำเป็นให้สอดคล้องกับบริบทและข้อเท็จจริง ในด้านต่างๆ ของยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในประเด็นเรื่องของความมั่นคงของ มนุษย์และเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นความจ�ำเป็นซึ่งสหประชาชาติจ�ำต้องเข้า แทรกแซงในประเทศสมาชิ ก ที่ มี ก ารละเมิ ด สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าล้างเผ่า พันธุ์ (genocide) การก�ำจัดชาติพันธ์ุ (ethnic cleansing) การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) รวมทั้งการที่ รั ฐ มี น โยบายและการด� ำ เนิ น การเพื่ อ ก� ำ จั ด ประชาชนด้วยเหตุผลทางการเมือง เป็นต้น ทัง้ นี้ สหประชาชาติกย็ อมรับว่าปัญหาความมัน่ คงใน ยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์หาใช่ จ�ำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องของการทหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการ ก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากมุมหนึ่งของ โลก แต่ส่งผลกระทบร้ายแรงและอย่างรวดเร็ว ต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางเช่นกัน ความ ร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศจึงเป็น สิ่ ง จ� ำ เป็ น เพื่ อ สามารถแก้ ไ ขปั ญ หาร้ า ยแรง เหล่านีไ้ ด้ทนั ท่วงที เพราะปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ ถื อ ได้ ว ่ า ส่ ง ผลกระทบโดยตรงต่ อ สั น ติ ภ าพ เสถี ย รภาพและความมั่ น คงของโลกมนุ ษ ย์ หากรัฐผู้เป็นต้นเหตุของปัญหาร้ายแรงไม่ให้ ความร่วมมือกับประชาคมโลก การพิจารณาเข้า แทรกแซงเพื่อระงับปัญหาย่อมเป็นสิ่งจ�ำเป็น หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

๔. กฎบั ต รอาเซี ย นไม่ มี ม าตราใดว่ า ด้ ว ย การระงับ การขับไล่ และการถอดถอนสมาชิก ภาพของประเทศสมาชิกทีม่ พี ฤติกรรมและการ ด�ำเนินการที่จะมีผลท�ำให้อาเซียนได้รับความ เสื่อมเสียในด้านภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และ ความน่าเชื่อถือ (ดังเช่นกรณีประเทศพม่า ซึ่ง ได้มีพฤติกรรมและการด�ำเนินการต่างๆ ที่ได้ น�ำความเสื่อมเสียมาสู่อาเซียนตลอด ๑๑ ปีที่ ผ่านมา) ๕. อาเซี ย นยั ง ไม่ มี อ งค์ ก รดู แ ลด้ า นการ ปกป้องคุม้ ครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ ประชาชาติอาเซียน กฎบัตรอาเซียนเพียงแต่ ระบุข้อความว่าอาเซียนมีความปรารถนาและ เห็นถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเกิดขึน้ แต่ไม่ได้มกี าร ก�ำหนดกรอบเวลาแน่ชัดแต่อย่างใด ๖. การตัดสินใจด้านนโยบายของอาเซียนยัง คงพึง่ หลักฉันทามติ (ซึง่ หมายความว่าหากหนึง่ ในสิบประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยก็เท่ากับไม่เกิด ฉันทามติ อาเซียนก็ไม่สามารถด�ำเนินการตามที่ สมาชิกเสียงข้างมากประสงค์ได้) ดังนั้น ตราบ ใดที่อาเซียนยังไม่ยอมน�ำระบบการลงคะแนน ออกเสียงโดยยึดเสียงข้างมากเป็นปัจจัยชี้ขาด ก็ยากที่อาเซียนจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและ ทันต่อเหตุการณ์ สรุป เป็นที่แน่ชัดและปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้ง สิ้นว่า กฎบัตรอาเซียนมีขึ้นมาได้ไม่ใช่เพราะ รัฐบาลประเทศสมาชิกมีนโยบายและความ มุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะให้มีกฎบัตรอาเซียน (เพราะ หากรั ฐ บาลประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นเห็ น ถึ ง ความส�ำคัญและความเร่งด่วนในเรื่องนี้ ก็คงไม่ รอนานถึง ๔๓ ปี) แต่เป็นเพราะประเทศสมาชิก อาเซียนไม่อาจทนต่อแรงกดดันทีถ่ าโถมมาจาก มิติด้านต่างๆ ของพลังโลกาภิวัตน์ (โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การปฏิบัติการสื่อสารและคมนาคม) ซึ่งพลัง โลกาภิวตั น์เป็นพลังทีส่ ร้างทัง้ ความเหมือนและ ความแตกต่าง ความร่วมมือและความขัดแย้ง ตลอดจนขยายช่องว่างระหว่างประเทศมัง่ มีกบั ประเทศยากจน น�ำไปสู่ความแตกแยก ความ เหลื่อมล�้ำและความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายใน แต่ละประเทศ และระหว่างประเทศ เป็นผล โดยตรงท�ำให้อาเซียนต้องคิดอยู่รอดด้วยการ ปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างที่ล้าหลังของอาเซียน และจัดท�ำกฎบัตรอาเซียนขึ้นมาเพื่อท�ำหน้าที่ เป็นกรอบความคิดและนโยบายชี้น� ำทางให้

การมีกฎบัตรอาเซียน  ถือได้ว่าเป็นเพียงก้าวเล็ก  ที่ส�ำคัญก้าวหนึ่งเท่านั้น  หนทางเดิมของอาเซียน  ยังมีอีกยาวและนานไกล  กว่าจะบรรลุผลตามเป้าประสงค์  ที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน กับการด�ำเนินการของอาเซียน เพื่อไปสู่ความ เป็นประชาคมด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และ สังคม-วัฒนธรรมอย่างแท้จริงและอย่างเป็นรูป ธรรม โดยยึดความปรารถนาและความหวังของ พลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นศูนย์กลาง หรือหัวใจของกฎบัตรอาเซียน เพื่อความผาสุก อยู่ดีกินดีและความก้าวหน้าของพลเมืองของ ประชาคมอาเซียนเป็นส�ำคัญ ทั้ ง หมดดั ง กล่ า วข้ า งต้ น จะบั ง เกิ ด ผลใน ทางเป็นจริงได้ มิได้อยู่ที่รัฐบาลของประเทศ สมาชิกประเทศอาเซียน หากแต่อยู่ที่การเมือง ภาคประชาชนในแต่ละประเทศอาเซียน อยู่ ที่ ค วามเข้ ม แข็ ง ก้ า วหน้ า ของประชาสั ง คม ของแต่ละประเทศอาเซียนว่ามีความเข้มแข็ง และเคลื่ อ นไหวร่ ว มกั น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งอย่ า ง เป็นระบบ เพื่อติดตามตรวจสอบและกดดัน รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลส�ำคัญเพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและ ความยุติธรรม ล้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจ ใฝ่หาและให้ความส�ำคัญอย่างยิง่ รัฐบาลของทุก ประเทศในโลกโดยปกติจะไม่ให้ความสนใจหรือ ความส�ำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ยกเว้นเมื่อถูก ประชาชนกดดัน บีบบังคับให้เข้ามาดูแลจึงจะ ยอมท�ำตามความประสงค์ของฝ่ายประชาชน การมีกฎบัตรอาเซียน (ที่ยังมีข้อบกพร่องที่ ส�ำคัญอยู่มาก) ถือได้ว่าเป็นเพียงก้าวเล็กที่ ส�ำคัญก้าวหนึ่งเท่านั้น หนทางเดิมของอาเซียน ยังมีอีกยาวและนานไกลกว่าจะบรรลุผลตาม เป้าประสงค์ทปี่ ระกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน ทัง้ ความแตกต่างกันอย่างมากในระบบการเมือง การปกครองระหว่างประเทศสมาชิก ถือเป็น ปัญหาและอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดต่อความ เจริญก้าวหน้าของอาเซียน 21


นิมิตใหม่แห่งการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร นาวาโทหญิง ณพร เติมวิเศษ

นวันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ เป็นวันปฐมฤกษ์ของการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร ซึ่งเป็นการ ก้าวเข้าสู่บทบาทส�ำคัญของกระทรวงกลาโหมในอันที่จะยกระดับ การท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหารไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับ ประเทศและความเป็นสากลมากยิง่ ขึน้ ส่งผลต่อการด�ำเนินบทบาทส�ำคัญ ในการพัฒนากิจการท่องเที่ยวของประเทศ และเป็นพลังหลักในการ ขับเคลื่อนการก้าวเดินไปข้างหน้าของกิจการท่องเที่ยวไทยให้บรรลุ เป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการ พัฒนาเศรษฐกิจของชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

22

สืบเนือ่ งจากในวันดังกล่าวนี้ ได้มกี ารลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วย ความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงกลาโหม โดย ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาระดั บ สู ง ของทั้ ง สองส่ ว นราชการคื อ พลเอก เสถี ย ร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา ณ กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา ถนนราชด�ำเนินนอก กรุงเทพมหานคร พร้อมเชิญผู้แทนจาก ส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม, กองบั ญ ชาการกองทั พ ไทย, เหล่ า ทั พ , บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและสื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นเกียรติ ในพิ ธี นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารแสดงวี ดิ ทั ศ น์ แ ละการจั ด นิ ท รรศการ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร ส�ำหรับเป็นข้อมูลให้ สาธารณชนทราบ

นาวาโทหญิง ณพร เติมวิเศษ


ส�ำหรับแนวความคิดในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขต พื้นที่ทหารนี้ ถือเป็นนโยบายในด�ำริของ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ทีต่ ระหนักถึงคุณค่าของแหล่งท่องเทีย่ ว ในหน่วยงานด้านความมั่นคงที่มีศักยภาพมากเพียงพอสามารถยกระดับ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับประเทศและระดับสากลได้ อีกทั้งยังจะ เป็นการผลักดันและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ค�ำนึงถึงคุณค่าของ การท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร ซึ่งจะเป็นกุศโลบายส่งเสริมให้เกิดการ ท่องเทีย่ วภายในประเทศทดแทนการหลัง่ ไหลไปท่องเทีย่ วในต่างประเทศ ของนักท่องเทีย่ วชาวไทย ควบคูไ่ ปกับการดึงดูดนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติ ให้เข้ามาใช้บริการและใช้ประโยชน์ของสถานที่ท่องเที่ยวของไทยอย่าง เป็นรูปธรรม เมือ่ เป็นเช่นนี้ พลเอก ยุทธศักดิฯ์ จึงได้กรุณาอนุมตั ใิ ห้จดั ท�ำ บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ในเขตพืน้ ทีท่ หาร ระหว่างกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬาและกระทรวง กลาโหม จนสัมฤทธิผลและเกิดเป็นพิธีลงนามอย่างสมบูรณ์ดังกล่าว

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ส�ำหรับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดท�ำบันทึกข้อตกลงฯ เพื่อรณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการด้านการ ท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืนและมีคณ ุ ภาพ ด้วยการพัฒนากลไกการบริหารงาน สร้างภาพลักษณ์ทมี่ เี อกภาพขับเคลือ่ นการด�ำเนินงานด้านการท่องเทีย่ ว ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างการท่องเที่ยวและบริการ ในการส่งเสริม และพัฒนามาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวไทยสนับสนุนภาคีเครือข่าย เพื่อ เสริมสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยให้เกิดความภาคภูมิใจในการ เป็นเจ้าของประเทศ และเป็นเจ้าบ้านของแหล่งท่องเที่ยวในทุกๆ ด้าน โดยกระทรวงกลาโหมจะด�ำเนินการปฏิบัติงานส่งเสริมและสนับสนุน ด้วยการเปิดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหารที่กระทรวงกลาโหม ก�ำหนด ส�ำรวจ และปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว อ�ำนวยความสะดวก การ รักษาความปลอดภัย การให้ความรูเ้ พือ่ ให้เกิดความเข้าใจการปฏิบตั งิ าน ของการทหาร แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนอย่างทัว่ ถึง รวมทัง้ เรือ่ งอืน่ ๆ ทีส่ อดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงฯ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

23


ทั้งนี้ พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง การท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหารว่า “...เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ ทหารได้ใกล้ชดิ ประชาชน ซึง่ ในอดีตเป็นพืน้ ทีค่ วบคุมเพือ่ ความมัน่ คง ให้มลี กั ษณะเปิดกว้างให้นกั ท่องเทีย่ วและประชาชนทัว่ ไป ได้มโี อกาส เข้าเยี่ยมชม และด�ำเนินกิจกรรม ทั้งนี้ พื้นที่ทหารหลายแห่งมีความ  น่าสนใจและมีความหลากหลาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การผจญภัย และกิจกรรมต่างๆ  ที่สามารถเสริมสร้างความรัก ความศรัทธา และความเชื่อมั่นของ ประชาชนที่มีต่อทหาร อันจะน�ำไปสู่การกระตุ้นกระแสความรักชาติ ความสามัคคี และความภาคภูมิใจของคนในชาติ...” นอกจากนี้ พลเอก เสถียรฯ รูส้ กึ ยินดีเป็นอย่างยิง่ ทีก่ ระทรวงการท่องเทีย่ ว และกีฬา ตระหนักถึงความส�ำคัญของการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร จนน�ำมาสู่การจัดท�ำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาและ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา และกระทรวงกลาโหม ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีในการขยาย ความร่วมมือในระดับกระทรวงให้เกิดเป็นรูปธรรมก่อประโยชน์โดยตรง ต่อการพัฒนาและการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร และประเทศไทย

24

ความร่วมมือครัง้ ส�ำคัญในครัง้ นีจ้ ะเป็นก้าวย่างทีส่ ำ� คัญในการประสาน ความร่วมมือของส่วนราชการระดับกระทรวงส�ำคัญของประเทศ และจะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความส�ำคัญ ของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง ให้มี ความวัฒนาถาวรมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนในสังคมได้รับรู้ และร่วมกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ของ การท่องเที่ยวในประเทศไทยต่อไปในอนาคต

นาวาโทหญิง ณพร เติมวิเศษ


สถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร จ�ำนวน ๖๓ แห่ง ประกอบด้วย สถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของกองทัพบก ๓๕ แห่ง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก บางปู, หาดเจ้าส�ำราญ, หาดสวนสนประดิพัทธ์, ท่าเสด็จ, ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเหนือ, ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคกลาง, ศูนย์การเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคใต้, ศูนย์ศิลปาชีพดอยแม่ต�๋ำ, ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม, ศูนย์พัฒนาเพื่อความมั่นคงฯ ป่าดงนาทาม, พิพิธภัณฑ์ กองทัพบก เฉลิมพระเกียรติฯ, พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ ๖, พิพิธภัณฑ์ทหารกองทัพภาคที่ ๒, พิพิธภัณฑ์ทหารกองทัพภาคที่ ๓, พิพิธภัณฑ์ทหาร กองทัพภาคที่ ๔ (สงครามเอเชียบูรพา), พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ, พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง, พิพิธภัณฑ์ ๑๐๐ ปี รร.จปร., พิพิธภัณฑ์และโบราณสถาน ทหารปืนใหญ่, พิพิธภัณฑ์อาวุธและการสู้รบ เขาค้อ, อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ, ศาลารอยพระบาท รัชกาลที่ ๙, พิพิธภัณฑ์ บ้านป่องนัก, ห้องเกียรติภูมิ กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์, ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ๒๐๐๐ ปี, ค่ายกิจกรรมนันทนาการ และผจญภัย รร.จปร., ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย อ่างซับเหล็ก, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย ปากช่อง, ค่ายกิจกรรม นันทนาการและผจญภัย แก่งกระจาน, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย บุงตาหลั่ว, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย ห้วยตึงเฒ่า, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย ประตูผา, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย ศูนย์การทหารราบ, ค่ายกิจกรรมนันทนาการและผจญภัย กองพลพัฒนาที่ ๓ สถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๔ แห่ง สวนสมุนไพรมูลนิธกิ ติ ติขจรเภสัชเวทย์, พิพธิ ภัณฑ์และศูนย์การเรียนรูด้ า้ นปิโตรเลียม, อุทยานวีรกรรมเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก, อาคารทีป่ ระทับรับรอง สถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของกองทัพไทย ๔ แห่ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช, พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด, อนุสรณ์สถานแห่งชาติ, ศูนย์การท่องเที่ยวโรงเรียนเตรียมทหาร สถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ ๑๖ แห่ง พระราชวังเดิม, พิพิธภัณฑ์กรมอุทกศาสตร์, ป้อมพระจุลจอมเกล้า, พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง, อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ, พิพิธภัณฑ์ ทหารเรือ, เกาะขาม และอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย, เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ เต่าทะเลกองทัพเรือ, หาดเตยงาม, พิพิธภัณฑ์ทหารนาวิกโยธิน, หาดทรายแก้ว, หาดนางร�ำ, ศูนย์เรียนรู้เต่าทะเลหลากหลายพันธุ์, สนาม กอล์ฟราชนาวีทับละมุ สถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ ๔ แห่ง พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, โรงเรียนการบิน, อ่าวมะนาว, พระมหาธาตุเจดีย์ นภเมทนีดล - นภพลภูมิสิริ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

25


26

นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์


การประท้วง ในประเทศมาเลเซีย เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

เจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้าสกัดกั้น  ด้วยการฉีดน�้ำและแก๊สน�้ำตา  อ้างค�ำสั่งศาลห้ามชุมนุมบริเวณ จัตุรัสประวัติศาสตร์

วามเป็นมา เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๕ กลุ่ม Bersih ๓.๐ (ภาษา มาเลเซียแปลว่าสะอาด ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ มีเครือข่ายใน ๘๕ เมือง ๓๕ ประเทศ ทัว่ โลก) ทีป่ ระกอบด้วย กลุม่ NGO และกลุม่ แนว ร่วมพรรคฝ่ายค้าน จ�ำนวนกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ได้รวมตัวกันออกมาประท้วง ที่บริเวณใกล้ จั ตุ รั ส เมอร์ เ ด-กา (ที่ ป ระกาศอิ ส รภาพจาก ชาติตะวันตก) กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเรียก ร้องให้รัฐบาลปฏิรูประบบเลือกตั้ง ที่ล้วนเอื้อ ประโยชน์ตอ่ พรรคร่วมรัฐบาล ก่อนการเลือกตัง้ ทั่วไปครั้งที่ ๑๓ ในปีหน้า เจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้าสกัดกั้นด้วยการฉีดน�้ำ และแก๊สน�ำ้ ตา อ้างค�ำสัง่ ศาลห้ามชุมนุมบริเวณ จัตรุ สั ประวัตศิ าสตร์ ท�ำให้มผี บู้ าดเจ็บ ๒๒๐ คน หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ถูกจับกุม ๑,๖๐๐ คน แต่ทั้งหมดได้รับการ ปล่อยตัวในเวลาต่อมาหลังการสลายการชุมนุม ในขณะที่กลุ่ม Bersih ในเมืองอื่นในมาเลเซีย และนอกมาเลเซีย รวมทั้งในไทยที่มีจ� ำนวน ประมาณ ๒๐๐ คน ก็มกี ารประท้วงหน้าสถานทูต มาเลเซียในวันดังกล่าวด้วย การประท้วงทางการเมืองที่นับว่ายิ่งใหญ่ มากในรอบ ๑๐ ปี ของมาเลเซียครัง้ นี้ เป็นเรือ่ ง ทีน่ า่ สนใจและติดตามเพือ่ ทราบถึงเหตุปจั จัยที่ จะใช้เป็นกรณีศึกษาส�ำหรับไทย ดังนี้ หากย้อนไปในอดีต มาเลเซียมีการประท้วง มาแล้วหลายครั้ง อาทิเช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ๒๕๕๑ กลุ ่ ม Bersih ๒ ที่ ป ระกอบ ด้วย ชาวอินเดีย มาเลเซีย และกลุ่ม Hindraf กว่ า ๒๐,๐๐๐ คน ท� ำ การประท้ ว งที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพือ่ เรียกร้องความเท่าเทียม ทางสังคม ก่อนการเลือกตัง้ ทัว่ ไปเพียงไม่กเี่ ดือน เมือ่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กลุม่ Bersih ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ก็ออกมาประท้วง รัฐบาลในเรื่องเดียวกับครั้งนี้ 27


ประเด็นที่มีความน่าสนใจของการประท้วง ได้แก่

การชิงความได้เปรียบทาง  การเมือง มาเลเซียมีการปกครอง  ในระบอบประชาธิปไตย  มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ภายใต้รัฐธรรมนูญ  การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลาง ตั้งอยู่  ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์  และรัฐบาลของแต่ละรัฐ ๑๓ รัฐ

๑. การชิ ง ความได้ เ ปรี ย บทางการเมื อ ง มาเลเซียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ประมุ ข ภายใต้ รัฐธรรมนูญ การปกครองเป็นแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลาง ตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และรัฐบาลของแต่ละรัฐ ๑๓ รัฐ รัฐธรรมนูญ ก�ำหนดให้มีการเลือกตั้ง ทุก ๕ ปี หรือหลังยุบ สภาภายใน ๖๐ วัน ซึ่งนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค สังกัดพรรค UMNO หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล มีแนวโน้ม จะยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งภายในเดือน มิถุนายน ศกนี้ ก่อนครบวาระในปี ๒๕๕๖ เพื่อความได้เปรียบทางการเมือง เพราะนอก จากการขึน้ ค่าแรง การด�ำเนินนโยบายประชานิยม แล้ ว ก็ เ ป็ น ช่ ว งเวลาที่ ส มาชิ ก พรรคร่ ว มฝ่ า ย ค้านกว่า ๑๐๐ คน เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค ร่วมรัฐบาล รวมถึงหากปล่อยเวลาเนิ่นนานไป พรรค PJP หนึ่งในพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่น�ำโดย นายอันวาร์ อิบราฮิม ที่ขณะนี้หลุดพ้นจาก ข้อกล่าวหาในคดีล่วงละเมิดทางเพศแล้วเมื่อ ต้นปี ก�ำลังมีคะแนนนิยมเพิม่ มากขึน้ มีแนวโน้ม ว่าจะได้คะแนนเสียงจ�ำนวนมากจากการเลือกตัง้ ส่วนในมุมของนายอันวาร์ ผูน้ ำ� พรรคฝ่ายค้านนัน้ น่าจะเห็นว่า ต้องเรียกคะแนนเสียงด้วยการ ประท้วงโจมตีการท�ำงานของรัฐบาล ซึ่งพบ ว่ า การประท้ ว งก่ อ นการเลื อ กตั้ ง เมื่ อ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลอย่างมาก

พรรคร่วมรัฐบาล (Barisan National : BN) ได้แก่ - United Malays National Organization : UMNO น�ำโดย นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค - Malaysian Chinese Association : MCA - Parti Pesaka Bumiputra Bersatu : PBB

“สึนามิทางการเมือง”

พรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถรักษาเสียงข้างมาก  ในสภา ไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ ๕๐ ปี พรรค Barisan National - ได้ ๑๓๗ ที่นั่ง จากทั้งหมด ๒๒๒ ที่นั่ง (ไม่ถึง ร้อยละ ๖๒ หรือ ๒ ใน ๓ ของสภา) - แพ้การเลือกตั้งท้องถิ่น ๕ รัฐ  กลันตัน ปีนัง สลังงอร์ เคดาห์ และเปรัค 28

พรรคร่วมฝ่ายค้าน (Barisan Alternatif : BA) ได้แก่ - People Justic Party : PJP น�ำโดย นายอันวาร์  อิบราฮิม (Parti Keadilan Rakyat : PKR) - Pan-Malaysian Islamic Party : PAS - Democrat Action Party : DAP

ท� ำ ให้ เกิ ดปรากฏการณ์ ที่เ รียกว่า สึนามิ ทางการเมื อ ง พรรคร่ ว มรั ฐ บาลสู ญ เสี ย คะแนนนิยม ไม่สามารถรักษาเสียงข้างมาก ของสภาไว้ได้ และแพ้การเลือกตั้งถึง ๕ รัฐ พลิกประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของมาเลเซีย กว่า ๕๐ ปี ๒. ความเหลื่อมล�้ำทางสังคม ผู้ที่ออกมา ประท้วงครั้งนี้ ส่วนมากเป็นชาวจีนมาเลเซีย และชาวอินเดียมาเลเซีย ในมาเลเซียประชากร มีความหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวมลายู มาเลเซีย เรียกว่าชาวภูมิบุตร คือบุตรแห่ง แผ่นดิน รองลงมาเป็นชาวจีนมาเลเซีย และ ชาวอินเดียมาเลเซีย มีการก�ำหนดให้ศาสนา อิ ส ลามเป็ น ศาสนาประจ� ำ ชาติ แต่เน้นการ พัฒนาเศรษฐกิจ น�ำหน้าการศาสนา มีโครงการ นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์


มิติการรวมตัวของกลุ่มที่มีแนวคิดเดียวกัน

ในประเทศ – กวนตัน/รัฐปะหัง, อิโปห์/รัฐเปรัค, จอร์จทาวน์/รัฐปีนัง, โกตาคินาบาลู นอกประเทศ – ๘๕ เมืองใน ๓๕ ประเทศ  ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อังกฤษ สวีเดน ไทย

ความเหลื่อมล�้ำทางสังคม

โครงสร้างประชากรในมาเลเซีย - ชาวมลายูมาเลเซีย ร้อยละ ๕๐.๔ เรียกว่า  ชาวภูมิบุตร คือบุตรแห่งแผ่นดิน - ชาวจีนมาเลเซีย (จีนบาบ๋ายาย๋า) ร้อยละ ๒๓.๗ - ชาวอินเดียมาเลเซีย ร้อยละ ๗.๑ ศาสนา - อิสลาม ร้อยละ ๕๕ - พุทธ ร้อยละ ๒๕ - คริสต์ ร้อยละ ๑๓ - ฮินดู ร้อยละ ๗

อย่างยาวนาน โดยไม่สนใจผลลัพธ์มากนัก การ ประท้วงครั้งนี้ผ่านการนัดหมายล่วงหน้ากว่า ๒๐ วัน

ข้อพิจารณา

๑. ประเด็นทีน่ า่ สนใจของการประท้วงข้างต้น อาจน� ำ สู ่ ก ารเปลี่ ย นแปลงทางการเมื อ งใน ที่ เ รี ย กว่ า ภู มิ บุ ต ร ซึ่ ง จะให้ สิ ท ธิ พิ เ ศษกั บ มาเลเซี ย ซึ่ ง อาจส่ ง ผลกระทบต่ อ ไทยและ ชาวมลายูมาเลเซีย อาทิเช่น สิทธิการเข้าท�ำงาน ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากหากพรรค การเข้าเรียนในสถาบันของรัฐ รวมถึงสวัสดิการ ร่วมฝ่ายค้านได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง อีกหลายอย่าง คนกลุ่มนี้ถูกมองว่ามีอภิสิทธิ์ สามารถจัดตั้งรัฐบาล ย่อมท�ำให้พรรคอิสลาม และถูกมองว่าบางส่วนไม่มีความมุมานะใน มาเลเซีย (Parti Islam SeMalaysia : PAS) การท�ำงาน สร้างความโกรธแค้นชิงชังแก่คนจีน หนึ่งในพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีส่วนทางการเมือง มาเลเซียและคนอินเดียมาเลเซีย รวมถึงถูกมอง เพิ่ ม มากขึ้ น และหากมี ค วามเป็ น จริ ง ตาม ว่ า น� ำ มาซึ่ ง ระบบอุ ป ถั ม ภ์ แ ละการคอรั ป ชั่ น ข่าวสารที่ปรากฏว่า พรรค PAS มีนโยบายก่อ ตั้งรัฐอิสลามอันประกอบด้วย เคดาห์, เปรัค, ของภาครัฐ ๓. การปกครองทีเ่ ข้มงวด ประชาชนบางส่วน กลันตัน, ตรังกานู และปัตตานีของไทย ทัง้ นีห้ ากมองในทางร้ายทีส่ ดุ ทีอ่ าจกระทบ รู้สึกว่าถูกจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพ ทั้ง พ.ร.บ.ความ มั่นคง, พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, การจ�ำกัดการเสนอ ต่ออธิปไตยของไทย อาจถึงขัน้ การใช้กำ� ลังต่อกัน ข่าวของสื่อ, การจ�ำกัดสิทธิทางการเมืองของ ทั้งยังอาจลุกลามบานปลายหากทางการจีน นักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่นับว่ามีศักยภาพ ที่มีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นทุนเดิม หาเหตุ ในสังคมปัจจุบนั เนือ่ งจากสามารถสือ่ สารผ่าน เข้าร่วมโจมตีมาเลเซีย ไม่วา่ จะเป็นในรูปแบบหรือ สือ่ สารสนเทศถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน แม้วา่ นอกรูปแบบ (สงครามกองโจรจากคอมมิวนิสต์ นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค พยายามจะแก้ไข มลายู) เพื่อปลดปล่อยชาวจีนมาเลเซียที่ถูก กฎหมายเพือ่ ปฏิรปู ประเทศให้เป็นประชาธิปไตย จ�ำกัดสิทธิมานาน สมควรที่ไทยจะได้ติดตาม ความเคลือ่ นไหวทางการเมืองของมาเลเซียโดย มากขึน้ แต่ประชาชนมองว่ายังไม่เพียงพอ ๔. มิ ติ ก ารนั ด รวมตั ว ของกลุ่มที่มีแนวคิด ใกล้ชดิ เพือ่ ก�ำหนดมาตรการเชิงรุกทีเ่ หมาะสม เดียวกัน ที่มีต้นแบบมาจาก Arab Spring ผ่าน โดยเฉพาะช่ ว งใกล้ ก ารเลื อ กตั้ ง ในมาเลเซี ย สื่อสารสนเทศ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก อาจเกิด ทีอ่ าจเพิม่ การก่อเหตุในจังหวัดชายแดนใต้เพือ่ จากความเบื่อหน่ายคณะรัฐบาลที่ปกครองมา เป็นสัญลักษณ์ในการสนับสนุนพรรค PAS หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

๒. เทคโนโลยีสารสนเทศ ท�ำให้เส้นเขตแดน และระยะทางถูกลดทอนความส�ำคัญลง ผู้คน เรี ย นรู ้ พ ฤติ ก รรมทั้ ง ด้ า นดี แ ละไม่ ดี ข องกั น ไปทัว่ โลก คนรุน่ ใหม่ทสี่ ามารถเข้าถึงเทคโนโลยี จะแสดงบทบาทที่ส� ำคัญมากขึ้น และไม่ว่า ผลการเลือกตั้งในมาเลเซียจะออกมาเช่นไร การชุ ม นุ ม ประท้ ว งก็ ยั ง ไม่ น ่ า จะหมดไป ประเทศในอุ ษ าคเนย์ เ รี ย นรู ้ ป ระชาธิ ป ไตย ไปพร้อมกับวาทกรรม “การเลือกตั้ง” ทั้งนี้ แม้ยังไม่รวมการเลือกตั้งที่ขาดความบริสุทธิ์ ยุติธรรม แท้ที่จริงแล้วการเลือกตั้งกลับเป็น เสมื อ นม่ า นบั ง ตาการพั ฒ นาประชาธิ ป ไตย ที่แต่ละสถาบันมีความเป็นอัตตาธิปไตยแทรก อยู่ การพัฒนาประชาธิปไตยน่าจะเริ่มจากการ ทอนอัตตาธิปไตย ด้วยการร่วมรณรงค์การรับ ฟังความคิดเห็นอย่างพินิจพิเคราะห์ และการ ยอมรับอย่างเต็มใจกับความเห็นไม่พ้อง 29


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ และทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานั น ทมหิ ด ล พระอั ฐ มรามาธิ บ ดิ น ทร โดยมี พลเอก เสถี ย ร เพิ่ ม ทองอิ น ทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เชิงสะพานพระราม ๘ กรุงเทพฯ เมื่อ ๙ มิ.ย.๕๕

พลอากาศเอก สุ ก� ำ พล สุ ว รรณทั ต รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี ต ้ อ นรั บ กกล.ฉก.๙๘๐ ไทย/ดาร์ฟูร์ ผลัดที่ ๒ กลับจากปฏิบัติ ภารกิ จ การรั ก ษาสั น ติ ภ าพผสมระหว่ า ง สหภาพแอฟริกา และสหประชาชาติใน ดาร์ ฟู ร ์ ประเทศซู ดาน ณ หน้าอาคาร กองบัญชาการกองทัพไทย เมือ่ ๑๑ มิ.ย.๕๕

30


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลและเททองหล่อพระพุทธรูป เบญจพุทธปาฏิหาริย์ ส.ธ.รุ่น “พระเทพรักษา” โดยมี พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๕

นาย Peter MacKay รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมแคนาดา และคณะ เข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการกับ พลอากาศเอก สุกำ� พล สุวรรณทัต รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ณ ห้องรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๕

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

31


พลเอก เสถียร เพิม่ ทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ปิดการจ�ำหน่ายสินค้าราคาถูกภายใต้เครือ่ งหมาย “ธงฟ้า” ให้กบั ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ บริเวณด้านหลังศาลเจ้าพ่อหอกลอง ภายในศาลาว่าการ กลาโหม เมือ่ ๒๐ มิ.ย.๕๕

พลเอก เสถี ย ร เพิ่ ม ทองอิ น ทร์ ปลั ด กระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัล เพื่อยกย่องชมเชยข้าราชการที่ เข้ารับการศึกษา และมีผลการศึกษาสูงสุดของหลักสูตรตามแนวทาง การรับราชการ และหลักสูตรการเพิม่ พูนความรูข้ องส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และหน่วยงาน ภายนอกกระทรวงกลาโหม ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลา ว่าการกลาโหม เมือ่ ๗ มิ.ย.๕๕

พลอากาศเอก ไมตรี โอสถหงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ปิดการอบรมเพือ่ การเป็นพิธกี รทางพระพุทธศาสนาส�ำหรับ นายทหารสัญญาบัตร รุน่ ที่ ๑ ณ ห้องสยามปฐพีพทิ กั ษ์ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แจ้งวัฒนะ เมือ่ ๑๑ มิ.ย.๕๕ 32


พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัด กระทรวงกลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี เปิดโครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ปีที่ ๔ จั ด โดย ส� ำ นั ก งานเลขานุ ก ารส�ำ นั ก งาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ณ อาคารนิทรรศน์ รั ต นโกสิ น ทร์ ถนนราชด� ำ เนิ น เมื่ อ ๒๑ มิ.ย.๕๕

ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ สถานี วิ ท ยุ สี ข าวเครื อ ข่ า ยความมั่ น คงของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม ร่วมท�ำกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพือ่ ร่วม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในโอกาสทรงมี พระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา โดยมี พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานใน พิธีเปิดโครงการปลูกป่าที่บ้านพ่อ ซึ่งเป็นการขยายผลจาก โครงการ “สถานีวทิ ยุสขี าวเทิดไท้องค์ราชา” ณ อ�ำเภอวังน�ำ้ เขียว จังหวัดนครราชสีมา เมือ่ ๑๖ มิ.ย.๕๕ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

33


หลักการของนายพลแพตตัน พลตรี เด่นดวง ทิมวัฒนา

34

(ตอนที​ี่ ๑)

พลตรี เด่นดวง ทิมวัฒนา


นยุคปฏิรปู การปกครองทีท่ กุ ฝ่ายเรียกร้อง ความมีคุณธรรม “ความรู้คู่คุณธรรม”  ดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอที่จะเป็นหลัก ของประเทศชาติอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเป็น “คุณธรรมน�ำความรู้” และส�ำหรับคุณธรรม ของทหารอาชีพ

คนเราสามารถเรียนรูจ้ ากกันและกันได้เสมอ

จากหนังสือ PATTON’S PRINCIPLES : A HANDBOOK FOR MANAGERS WHO MEAN IT ! BY PORTER B. WILLIAMSON. PUBLISHED BY SIMON AND SCHUSTER, NEW YORK ๑๙๘๒ แปลและเรียบเรียงโดย พลตรี เด่นดวง ทิมวัฒนา หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ผมเคยท�ำงานร่วมกับนายพล จอร์ช เอส. แพตตัน จูเนียร์ (George S. Patton Jr.) ไม่มีใครท�ำงานโดยถูกกดดันภายใต้ “นายพล แพตตัน” แต่ท่านมักจะท�ำงานร่วมกับพวกเรา ตลอดเวลา ความจริงแล้วผมก็ยงั ท�ำงานร่วมกับ นายพลแพตตั น และท่ า นก็ ยั ง ร่ ว มท� ำ งาน กับผมอยู่ต่อไป ท่านท�ำให้ผมอาบน�้ำเย็นจัด สูดลมหายใจลึก และท่านท�ำให้ผมต้องแขม่วพุง เมือ่ ใดทีผ่ มท�ำงานล้มเหลว ท่านก็จะบอกว่า “สิ่งที่ทดสอบความส�ำเร็จไม่ได้อยู่ที่การ  กระท�ำของคุณขณะทีอ่ ยูบ่ นจุดสูงสุด แต่ความ  ส�ำเร็จคือ การที่คุณจะกลับไปได้สูงเพียงใด เมื่อคุณตกต�่ำที่สุด ต่างหาก” เมื่อผมประสบปัญหาในการตกลงใจ ท่านก็ บอกว่า “ไม่มีการตกลงใจอันใดที่ยาก ถ้าคุณมี  ข้อเท็จจริงครบถ้วน” เมื่อผมตื่นกลัว ท่านจะพูดว่า “อย่าไปฟังค�ำแนะน�ำจากความกลัวของ ตนเอง” ท่านท�ำงานร่วมกับผม เมือ่ แพทย์บอกผมว่า ผมเป็นมะเร็งขั้นร้ายแรง ท่านก็พูดว่า “คุณเคยหยุดคิดบ้างไหมว่า บางทีความ ตายน่ะ มันน่าจะตื่นเต้นกว่าการมีชีวิตอยู่” เมื่อผมกลัวสุดขีด ท่านจะตะคอกว่า “ความกลัว ฆ่าคนมากกว่า ความตาย”

เมื่อผมโกรธจัด และต้องการจะ แก้แค้น ท่านก็เตือนว่า “อย่าลืมว่า การแก้แค้นเป็นเรือ่ ง ของพระเจ้า” ผมจะเล่ า เรื่ อ งหลั ก การของ นายพลแพตตันเท่าที่ผมจ�ำได้ และ จะพยายามแยกแยะข้อเท็จจริงต่างๆ ออกจากต�ำนานที่เล่าขานถึงนายพล แพตตันระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่ ซึ่ง เป็นการยากที่จะแยกแยะระหว่าง บรรดาข้อเท็จจริง และต�ำนานทีเ่ กีย่ ว กับตัวท่าน ด้วยสาเหตุที่ว่ามีต�ำนาน มากมายทีไ่ ด้เล่าขานกันในระหว่างทีท่ า่ นมีชวี ติ อยู่ และอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ต�ำนานเรื่องราวของ นายพลผูน้ ี้ ยังไม่นา่ ทึง่ เท่ากับความส�ำเร็จทีท่ า่ น ได้กระท�ำลงไป นายพลแพตตั น คื อ อั จ ฉริ ย ะ ถ้ า ค� ำ ว่ า อัจฉริยะ หมายถึง ผูท้ มี่ คี วามคิดก้าวไกลไปกว่า ๓๐ ปี ล�้ำหน้าบรรดาผู้น�ำของสังคมขณะนั้น ผมได้พบนายพลแพตตันครัง้ แรก บนสะพาน ข้ามล�ำธารเล็กๆ สายหนึง่ ในมลรัฐแคโรไลนาใต้ (South Carolina) มันเป็นบ่ายวันหนึง่ ซึง่ หนาว จัดในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) สองสามวันก่อนกรณีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) พวกเราอยู่ระหว่างการประลองยุทธ์ กั บ กองทั พ น้ อ ยยานเกราะที่ ๑ ในอี ก สอง สามเดือนข้างหน้ากองทัพน้อยยานเกราะที่ ๑ จะต้องมีกำ� ลังพลมากกว่า ๕๐,๐๐๐ นาย แต่ใน ขณะนั้นหน่วยนี้มีนายทหารสัญญาบัตรเพียง ๑๒ นาย และก�ำลังพลรวมกันแล้วไม่ถงึ ๑๐๐ นาย หน่วยนีไ้ ด้รบั การจัดตัง้ เมือ่ กลางปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) นับตัง้ แต่การจัดตัง้ หน่วยเพียงไม่ กี่เดือน อาวุธยุทโธปกรณ์ยังได้รับจ�ำนวนจ�ำกัด เรามีรถยนต์ประจ�ำต�ำแหน่งฝ่ายเสนาธิการ เหลือเฟือก็เพราะว่ารถเหล่านีม้ ลี กั ษณะเหมือน รถยนต์ของพลเรือนทัว่ ไป แตกต่างทีพ่ น่ สีทหาร เท่านั้น

นายพลแพตตัน คือ อัจฉริยะ   ถ้าค�ำว่า อัจฉริยะ หมายถึง   ผู้ที่มีความคิดก้าวไกลไปกว่า   ๓๐ ปี ล�้ำหน้าบรรดาผู้น�ำของ  สังคมขณะนั้น 35


ระยะแรกของการประลองยุทธ์ กองพล  ยานเกราะที่ ๒ ของนายพลแพตตัน ได้รบั ค�ำสัง่ มา ขึน้ การบังคับบัญชากับกองทัพน้อยยานเกราะที่ ๑ ส� ำ หรั บ นายพลแพตตั น นั้ น มี กิ ต ติ ศั พ ท์ ที่ เลื่องลือมากจนกระทั่ง สธ.๔ (นายทหารส่ง ก�ำลังบ�ำรุง) ของเราท�ำเรื่องขอย้ายตนเองออก ไปจากหน่วย พันเอกประจ�ำการคนนี้มีความ สามารถและได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี แต่ เมื่อเขารู้ว่าจะต้องส่งก�ำลังน�้ำมันเชื้อเพลิงและ เสบียงให้กับกองพลของนายพลแพตตัน เขา พูดว่า “ไม่มที างเป็นไปได้ทจี่ ะส่งสิง่ อุปกรณ์ตา่ งๆ ให้กับกองพล Hell on Wheels เราไม่มี รถยนต์บรรทุก ไม่มถี งั น�ำ้ มัน หรือแม้กระทัง่ คน ผมจะไปจากที่นี้ ผมจะไม่ท�ำให้ตัวเองเหมือน ไอ้งงั่ ในช่วงนีข้ องชีวติ การรับราชการของผม  เด็ดขาด”

“นรกติดล้อ (Hell on Wheels)” คือชื่อ ที่นายพลแพตตันได้ให้สมญานามแก่กองพล ของเขา เพื่อแสดงให้ทราบถึงการเคลื่อนที่ที่ รวดเร็วดุจภูตผีนรก “ถังน�้ำมัน” ก็คือถังน�้ำมัน ขนาด ๕ แกลลอนธรรมดา ซึง่ ปัจจุบนั หาได้งา่ ย ตามร้านค้าขายของประเภทเครื่องใช้สงคราม การเติ ม น�้ ำ มั น ให้ กั บ รถถั ง ในสนามจ� ำ เป็ น ที่ จะต้องใช้คนแบกถัง ๕ แกลลอน รถบรรทุก น�้ำมันไม่สามารถวิ่งไปในสนามฝึกได้ เพราะจะ เป็นการเปิดเผยให้เครื่องบินข้าศึกตรวจการณ์ เห็นได้ น�้ำมันจะบรรจุลงถัง ๕ แกลลอนซึ่ง จะถูกหิ้วไปเป็นระยะทางหลายร้อยหลา รถ บรรทุกขนาดใหญ่ไม่สามารถลุยโคลนในสนาม เหมือนกับรถถัง 36

เนือ่ งจาก สธ. ๔ ของกองทัพน้อยยานเกราะ ได้ย้ายออกไป ภารกิจในการส่งก�ำลังน�้ำมัน เชือ้ เพลิงให้นายพลแพตตันจึงตกมาทีผ่ ม เพราะ เป็นนายทหารคนเดียวที่เหลืออยู่ในสาย ๔ ของกองทัพน้อยยานเกราะที่ ๑ ก็เพราะความ ทีผ่ มเป็นร้อยโท เสนาธิการกองทัพน้อยจึงแนะ ว่า ผมนัน้ สามารถท�ำงานผิดพลาดได้เพราะขาด ประสบการณ์ทางทหาร เนื่องจากผมเองเป็น นายทหารกองหนุนที่มาจากพลเรือน ถึงแม้จะ ขาดประสบการณ์ ผมก็ตดั สินใจทีจ่ ะท�ำงานให้ดี ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ไม่ว่าจะส�ำเร็จหรือไม่ก็ตาม เพราะผมไม่ได้คิดที่จะเป็นทหารอาชีพ เท่าที่ผมทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมา ๓๕ ปี ผมแน่ใจว่า การประลองยุ ท ธ์ เ คโรไลนาเป็น กลยุทธ์อนั หนึง่ เพือ่ จะท�ำการสกัดกัน้ ให้นายพล แพตตั น หมดประสิ ท ธิ ภ าพในการใช้ อ าวุ ธ ชนิดใหม่ ที่เรียกว่า “รถถัง” บรรดาผู้บังคับ หน่วยหัวโบราณไม่ว่าจะเป็นทหารราบ ทหาร ปื น ใหญ่ แ ละทหารม้ า ลาดตระเวน ต่ า งก็ ต้องการชนะสงครามทั้งหมดทุกๆ ครั้ง รถถัง ซึ่งเป็นของใหม่ได้เปลี่ยนทัศนคติทั้งปวง เกีย่ วกับวิธกี ารเอาชนะสงคราม ทหารม้า ลาดตระเวนแม้จะมีชื่อแบบนั้นแต่ไม่ใช้ ม้าแล้ว บรรดาผู้บังคับหน่วยหัวเก่าก็ยัง คิดถึงยุทธวิธีของม้าอยู่นั่นเอง นายพล แพตตันเปรียบเสมือน บิลลี่ มิทเชล ของรถ ถังยานเกราะสมัยใหม่ ทางเดียวที่จะพิสูจน์

“นรกติดล้อ (Hell on Wheels)”   คือชื่อที่นายพลแพตตัน  ได้ให้สมญานามแก่กองพล  ของเขา เพื่อแสดงให้ทราบถึงการ เคลื่อนที่ที่รวดเร็วดุจภูตผีนรก

ความด้อยประสิทธิภาพของรถถังในสงคราม ก็คอื การตัดการส่งก�ำลังน�ำ้ มันเชือ้ เพลิงทีจ่ ะให้ กับนายพลแพตตันนั่นเอง ในฐานะที่ ผ มท�ำ การแทน สธ.๔ ผมจึงมี รถยนต์ประจ�ำต�ำแหน่งฝ่ายเสนาธิการพร้อม ด้ ว ยพลขั บ รถคั น นี้ เ หมื อ นกั บ รถประจ� ำ ต�ำแหน่งของนายพลทุกอย่าง เว้นแต่ไม่มีธง แสดงยศ ก็ น ายร้ อยโทจะมีธง แสดงยศได้อย่างไร! ทีใ่ ห้รถคันนี้ แก่ ผ มก็ ค งเพราะไม่ มี อ ะไร อย่างอื่นที่จะให้แล้ว ผมมี ค วามสั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ เสนาธิ ก ารกองทั พ น้ อ ยยาน เกราะที่ ๑ ซึง่ เป็นนายทหารอาวุโส รองจากแม่ทพั เท่านัน้ พันเอกอาวุโส คนนี้ นี่ เ องที่ แ นะผมว่ า ผมสามารถ ท�ำงานล้มเหลวได้โดยไม่กระทบกระเทือน ประวั ติ ท างทหารของผมเลย ผมได้ พู ด คุ ย กับเสนาธิการกองทัพน้อย เกี่ยวกับอ� ำนาจ หน้าที่ของผมในฐานะท�ำการแทน สธ.๔ ว่าผม สามารถใช้งบประมาณได้จ�ำนวนเท่าไร ขัน้ ตอน การท� ำ งานเป็ น อย่ า งไร หลั ง จากที่ ถู ก หั่ น งบประมาณในการป้ อ งกั น ประเทศมานาน หลายปี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) รัฐสภาต้องให้งบประมาณถึงมือกองทัพบกเร็ว ที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ดังนั้นเราจึงมีเงินเหลือเฟือ มากกว่าทีเ่ คยสามารถจ่ายได้ ด้วยความร่วมมือ ของเสนาธิการกองทัพน้อย ผมได้เก็บรักษา บรรดาเอกสารที่สามารถจ่ายแทนจ�ำนวนเงิน ซึ่งอาจจ�ำเป็นในการจัดหาน�้ำมันเชื้อเพลิงให้ กับกองพลยานเกราะที่ ๒ ของนายพลแพตตัน ด้วยอ�ำนาจหน้าที่ดังกล่าวพร้อมด้วยรถประจ�ำ ต�ำแหน่ง และพลขับ ผมก็พร้อมแล้วที่จะท�ำ ดีที่สุดเท่าที่ผมสามารถท�ำได้ พลตรี เด่นดวง ทิมวัฒนา


น�้ ำ มั น ส� ำ หรั บ การฝึ ก ของเราทั้ ง หมดถู ก บรรทุ ก อยู ่ บ นขบวนรถไฟบรรทุ ก น�้ ำ มั น ใน ตั ว เมื อ ง ซึ่ ง ห่ า งจากพื้ น ที่ ก ารประลองยุ ท ธ์ ประมาณ ๗๐ ไมล์ น�้ำมันจ�ำนวนนี้มีปริมาณ มากพอเพียงทีเดียว แต่มนั อยูห่ า่ งไกลเหลือเกิน เราไม่มรี ถยนต์บรรทุกน�ำ้ มัน หรือรถยนต์บรรทุก ทหารที่สามารถบรรทุกบรรดาน�้ำมันขนาด ๕ แกลลอนเลย จากทัศนะที่ด้อยประสบการณ์ ของผม ผมเห็นว่าค�ำตอบมันง่ายจัง ก็ขนส่ง น�้ำมันเชื้อเพลิงไปตามรางรถไฟซิ ด้วยแผนในสมองดังกล่าว ประกอบกับพลขับ อีก ๑ นาย เราก็มุ่งตรงไปยังที่ตั้งของน�้ำมัน เชื้อเพลิงทันที ผมได้หอบเอาเอกสารทั้งหมด เข้าไปในที่ท�ำการรถไฟ เพื่อเจรจากับพวกเจ้า หน้าที่รถไฟ เดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) ขณะนัน้ สงครามในทวีปยุโรปก�ำลัง รุนแรงทีเดียว บรรดาเจ้าหน้าทีพ่ ลเรือนจึงพร้อม ที่จะช่วยเหลือทุกอย่างในการประลองยุทธ์ ผมได้ร้องขอให้เขาเคลื่อนย้ายรถไฟบรรทุก น�้ำมันเข้าไปในพื้นที่การรบ และจอดในจุดที่ รางรถไฟมีระดับที่สูงกว่าถนนข้างทางรถไฟ จากระดับดังกล่าวเราสามารถใช้วิธีกาลักน�้ำ เติมน�้ำมันใส่ถังน�้ำมันเล็กๆ ได้โดยไม่ต้องใช้ เครือ่ งสูบน�ำ้ มัน ถ้าหากโชคดีกว่านัน้ เราอาจจะ เติมน�้ำมันรถถังได้โดยตรงจากรถไฟบรรทุก น�้ำมันเลยก็ได้ มีปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่ง คื อ วั น นั้ น เป็ น วั น เสาร์ ไ ม่ มี พ นั ก งานรถไฟ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ยังเป็นอุปสรรคอยู่ เช่น การจ่ายเงินค่าล่วงเวลา, การอนุมตั จิ ากเจ้าพนักงานจ่ายรถ และเสมียน พิ ม พ์ ดี ด ที่ จ ะต้ อ งพิ ม พ์ เ อกสารกองเบ้ อ เริ่ ม ผมพิมพ์ดีดเป็นก็เลยพิมพ์เสียเอง ขณะที่เรา รอคอยพนักงานรถไฟอยู่นั้นเราก็ศึกษาแผนที่ เส้นทางรถไฟ ผมก็ได้วงกลมรอบพืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งการ น�้ำมันเชื้อเพลิง ผมได้โทรศัพท์ไปหาเจ้านาย ผมหลายครัง้ ก็ เสธ.ทน.ยก.ที่ ๑ นัน่ แหละ คือ ผมอยากจะแน่ใจว่าการขนส่งน�้ำมันเชื้อเพลิง ผมได้ร้องขอให้เขาเคลื่อนย้าย ทางรถไฟนี ้มันไม่ผิดกฎในการประลองยุทธ์ รถไฟบรรทุกน�้ำมันเข้าไปใน  ซึ่งเจ้านายผมก็ได้ยืนยันในแผนการทั้งหมด พื้นที่การรบ และจอดในจุดที่  ของเรา รางรถไฟมีระดับที่สูงกว่าถนน  ผมไม่ได้ออกจากสถานีรถไฟนั้นจนกระทั่ง พนั กงานรถไฟเคลื่อนรถไฟบรรทุกน�้ำมันออก ข้างทางรถไฟ จากระดับดังกล่าว จากโรงเก็บ รถไฟขบวนอื่นต่างถูกน�ำไปอยู่ใน เราสามารถใช้วิธีกาลักน�้ำ   รางหลีกก่อนเพื่อให้รถไฟบรรทุกน�ำ้ มันผ่านไป เติมน�้ำมันใส่ถังน�้ำมันเล็กๆ ได้  เจ้าหน้าที่รถไฟก็ใจดีที่ไม่ได้คิดเงินเพิ่มส�ำหรับ พนักงานรถไฟพิเศษที่น�ำรถไฟไปอยู่รางหลีก โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน�้ำมัน   ในที่สุดผมและพลขับก็มุ่งหน้าไปยังสถานที่ที่ ถ้าหากโชคดีกว่านั้น เราอาจจะ รถไฟบรรทุกน�้ำมันจะจอด เติมน�้ำมันรถถังได้โดยตรงจาก หลายชั่วโมงต่อมาผมก็พบขบวนรถไฟจอด รถไฟบรรทุกน�้ำมันเลยก็ได้ อยู่ใกล้ๆ กับทางหลวง เราได้จัดการให้ขบวน รถไฟจอดแยกกันแต่ละคันให้ห่างกันประมาณ ๒๐๐ ฟุต เพื่อสะดวกต่อการเข้ามาเติมน�ำ้ มัน ของรถถั ง แต่ ล ะคั น แรงดึ ง ดู ด ของโลกมีพอ เพียงส�ำหรับการไหลของน�้ำมันสู่รถถัง รถยนต์ บรรทุก หรือถังน�้ ำมัน โดยไม่ต้องใช้เครื่อง ประจ�ำการอยู่ ณ ทีท่ ำ� การรถไฟเลย จึงไม่มใี คร สูบเลย ทุกอย่างดูสมบูรณ์แบบไปหมด! แนว ของต้นไม้บริเวณนั้นก็พรางตาการปฏิบัติการ ที่จะขับขบวนรถไฟดังกล่าวไปได้ จากที่ได้สนทนากัน ผมก็ได้เข้าใจท่าทีของ เติมน�้ำมันเป็นอย่างดี ปัญหาใหม่ของผมก็คือ เจ้าหน้าทีก่ ารรถไฟ พวกเขาไม่เชือ่ ว่านายร้อยโท รายงานข่าวนี้ให้กองบัญชาการของแพตตัน หนุ่มคนนี้จะมีอ�ำนาจในการใช้จ่ายเงินจ�ำนวน ทราบได้อย่างไร มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย มากเพื่อใช้ในการนี้ได้ หลังจากโทรศัพท์ ๒-๓ ถ้ากองพลยานเกราะที่ ๒ Hell on Wheels ครั้ง เจ้าหน้าที่การรถไฟก็บอกว่าทุกอย่างจะ ไม่รู้ว่าน�้ำมันเชื้อเพลิงตั้งอยู่ที่ไหน (อ่านต่อฉบับหน้า) เรียบร้อย ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ หลายประการ 37


38

เรือเอกหญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ


โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศล เรือเอกหญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ

ถาบันพระพุทธศาสนาและสถาบัน พระมหากษัตริย์ ได้รับการยกย่อง เทิ ด ทู น ในฐานะที่ เ ป็ น สถาบั น หลั ก คู่ชาติไทยและเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจ เป็น ศูนย์รวมใจของชาติ พุทธศาสนิกชนนั้นอยาก จะช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา โดยรักษา พระธรรมวิ นั ย ให้ เ จริ ญ มั่ น คง เพราะว่ า ถ้ า พระพุทธศาสนา คือค�ำสัง่ สอนของพระพุทธเจ้า ยังด�ำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่ ว ยให้ มี ชี วิ ต ที่ ดี ง าม และสั ง คมที่ ร ่ ม เย็ น เป็นสุขวิธที ดี่ ที สี่ ดุ ในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และ รักษาถ่ายทอดค�ำสัง่ สอนของพระพุทธเจ้าต่อไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้น เมื่อเรียนรู้แล้วประพฤติตาม คือด�ำเนินชีวิต ของเราตามธรรม ก็เท่ากับเอาพระศาสนาเข้า มาไว้ในชีวิตของเรา หรือเอาตัวเราเป็นที่รักษา พระพุทธศาสนา ถ้าท�ำได้อย่างนี้ ตราบใดที่ ชาวพุทธแต่ละคนยังมีชวี ติ อยู่ พระพุทธศาสนาก็ ยังอยู่ อย่างนีแ้ หละเรียกว่า การบวชเป็นการท�ำ หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ การบวช เป็นการสนองพระคุณของบิดามารดา ดังที่เรา ถือกันมาเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญได้กุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชาย ผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของ พระศาสนา การบวชก็เลยมีความหมายเป็นการ ตอบแทนคุณของบิดามารดา

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธ ศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไป เรียนรู้พระธรรมวินัย และ รักษาถ่ายทอดค�ำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าต่อไป หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

39


และเนื่ อ งในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๕ เป็ น วโรกาสมหามงคลของสถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบั น พระมหากษั ต ริ ย ์ กล่ า วคื อ วั น วิสาขบูชาปี ๒๕๕๕ เป็นธรรมาภิสมัยที่สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรูค้ รบ ๒,๖๐๐ ปี ซึง่ ชาวพุทธทัว่ โลกได้กำ� หนดเป็นอภิลกั ขิตสมัย พุ ท ธชยั น ตี และเป็ น ปี ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๕ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชิ นี น าถ ทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา และสมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ในวโรกาสอั น เป็ น มหามงคล ดังกล่าวนี้ วัดเทพศิรินทราวาส ส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม และสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึงได้ร่วม จัดโครงการ “อุปสมบทเฉลิมพระเกียรติถวาย เป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศล” ขึ้น เพื่อให้ข้าราชการในส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม และบุ ค คลภายนอกโดยทั่ ว ไปที่ สนใจ สมัครเข้าร่วมอุปสมบทเป็นพระภิกษุใน โครงการฯ ได้ มี โ อกาสศึ ก ษาและประพฤติ ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และน�ำหลักธรรม ค�ำสอนทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เป็น สิ่งยึดเหนี่ยวทางใจในการด�ำเนินชีวิตภายหลัง ที่ได้ลาสิกขาแล้ว เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและ ถวายเป็นราชสักการะในวโรกาสพิเศษนี้ ส�ำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อ ถวายเป็ น พุ ท ธบู ช าเฉลิ ม ฉลองพุ ท ธชยั น ตี 40

การบวชเป็นการสนองพระคุณ  ของบิดามารดา ดังที่เราถือ  กันมาเป็นประเพณีว่า ถ้าใคร  ได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญได้กุศล มาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะ  ชายผ้าเหลืองไปสวรรค์

๒,๖๐๐ ปี และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อี ก ทั้ ง เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ข ้ า ราชการส� ำ นั ก งาน ปลัดกระทรวงกลาโหมและประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนาเพื่ อ ศึ ก ษาและประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต าม พระธรรมวิ นั ย สื บ ทอดอายุ พ ระพุ ท ธศาสนา

และวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม โดยระยะเวลา อุปสมบทตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ถึง วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ การรับสมัครนั้นจะรับสมัครจากข้าราชการ และครอบครั ว ของข้ า ราชการในส� ำ นั ก งาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม และบุ ค คลทั่ ว ไปที่ สนใจเข้าร่วมอุปสมบทตามโครงการฯ โดย สามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วม โครงการฯ ได้ ที่ ส� ำ นั ก งานอนุ ศ าสนาจารย์ กรมเสมียนตรา ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ภายในศาลาว่าการกลาโหม แขวงพระบรม มหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทัง้ นีผ้ สู้ มัคร ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และส�ำหรับ ข้ า ราชการไม่ ถื อ เป็ น วั น ลาในระหว่ า งการ อุปสมบท ซึ่งก�ำหนดพิธีการอุปสมบทพร้อม กัน ณ พระอุโบสถวัดพระอารามหลวง ๓ แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ได้แก่ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และ พระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และเมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว คณะของพระภิกษุใหม่จะเดินทางไปปฏิบัติ ธรรม ณ ส�ำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรม อ�ำเภอ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จนกระทั่งถึง ก�ำหนดวันลาสิกขาบทพร้อมกัน โดยผูอ้ ปุ สมบท ในโครงการฯ ได้มโี อกาสศึกษาปฏิบตั ธิ รรม และ น้อมน�ำหลักธรรมค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา มาเป็ น หลั ก ในการด�ำ เนิ น ชี วิ ต ภายหลั ง ที่ ไ ด้ ลาสิกขาบทแล้ว เรือเอกหญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ


ต�ำนานน�้ำมันดิบ พลตรี ชัยวิน ผูกพันธุ์

ารสารหลั ก เมื อ งฉบั บ นี้ ผมขอน� ำ เรือ่ งราวเกีย่ วกับน�ำ้ มันดิบ ทีม่ กี ารน�ำมา เข้าสู่กระบวนการกลั่นเป็นผลิตภัณท์ ปิโตรเลียม ซึ่งมนุษย์น�ำมาใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจ�ำวัน และมีความส�ำคัญต่อชีวิตคนเรา อย่างมากในปัจจุบัน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ในอดี ต และท� ำ ไมน�้ ำ สี ด� ำ นี้ ถึ ง ได้ มี คุ ณ ค่ า มหาศาลในโลกของเรา โดยได้รวบรวมข้อมูล เรื่องราวความเป็นมามาเล่าให้ผู้อ่านได้ทราบ เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ครับ น�้ำมันดิบ (Crude Oil) เป็นที่รู้จักมานาน นั บ พั น ๆ ปี แต่ ก ารใช้ ง านยั ง ไม่ แ พร่ ห ลาย ซึ่งในศตวรรษที่ ๑๙ ในทวีปยุโรปยังใช้น�้ำมัน จากไขของปลาวาฬในการจุดไฟให้แสงสว่าง จนกระทัง่ มีการกลัน่ น�ำ้ มันก๊าดจากน�ำ้ มันดิบได้ ส�ำเร็จในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙ ทั้งนี้น�้ำมันที่ ได้มานั้นสามารถใช้งานได้ดีและราคาถูกกว่า น�ำ้ มันจากไขของปลาวาฬ ความต้องการน�ำ้ มัน หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

จึงแพร่หลายกระจายไปทั่วอเมริกา ยุโรป และ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในปี พ.ศ. ๒๓๐๖ บ่อน�้ำมันดิบที่ท�ำเป็นการค้าบ่อแรกของโลก ก็เกิดขึ้นที่โปแลนด์ ส�ำหรับประเทศไทยเรามี การขุดเจาะส�ำรวจหาน�้ำมันดิบตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ โดย พลเอกพระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระก�ำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นการค้นพบ ครัง้ แรกทีบ่ อ่ ต้นขาม อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังมีการขุดเจาะน�้ำมันดิบ ภายใต้การ ก�ำกับดูแลของกรมการพลังงานทหาร ในตะวันออกกลางโดยเฉพาะพื้นที่รอบอ่าว เปอร์เซีย แผ่นดินของชาวอาหรับส่วนใหญ่ เป็ น ทะเลทราย แต่ ลึ ก ลงไปใต้ ผื น ทรายสุ ด ลูกหูลกู ตานัน้ กลับอุดมไปด้วยน�้ำมันดิบปริมาณ มหาศาล แต่ ก ว่ า ที่ น�้ ำ มั น ดิ บ จะท� ำ ให้ ช าติ อาหรับกลายเป็นมหาเศรษฐี พวกเขาต้องผ่าน สถานการณ์ความยากล�ำบากและความขัดแย้ง นานาประการ อังกฤษเป็นชาติแรกที่เข้าไป

ส�ำรวจหาแหล่งน�้ำมันที่ตะวันออกกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยนักส�ำรวจชาวอังกฤษได้ใช้ เวลาในการส�ำรวจหาแหล่งน�้ำมันดิบกว่า ๗ ปี กว่าจะเจอ ซึ่งต้องสูญเสียทรัพย์สินแทบสิ้น เนื้อประดาตัวและใช้ความอดทนในการทุ่มเท แรงกายแรงใจในการฝ่ า ฟั น อุ ป สรรคต่ า งๆ บนแผ่ น ดิ น ที่ ก ว้ า งใหญ่ แ ต่ แ ห้ ง แล้ ง กั น ดาร อุณหภูมิในตอนกลางวันที่สูงถึง ๕๐ องศา บริษทั Anglo Persian Oil Co. ของอังกฤษ เป็นบริษัทแรกที่ได้รับสัมปทานในการขุดเจาะ น�ำ้ มันในประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียและในเวลา ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท BP ในปัจจุบัน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีการแข่งขันของ ชาติตะวันตกหลายชาติที่เข้าไปขุดเจาะน�้ำมัน ในประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียและคาบสมุทร อาระเบีย รวมทั้งใต้ทะเลแคสเบียน ในห้วงปี พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๓๗ นักธรณีวทิ ยาผูม้ ชี อื่ เสียง ชือ่ เอเวอเรตด์ เดโกเยอร์ ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็น 41


42

พลตรี ชัยวิน ผูกพันธุ์


น�้ำมันดิบ (Crude Oil)  เป็นที่รู้จักมานานนับพันๆ ปี  แต่การใช้งานยังไม่แพร่หลาย  ซึ่งในศตวรรษที่ ๑๙ ในทวีปยุโรปยังใช้น�้ำมัน จากไขของปลาวาฬในการจุดไฟให้แสงสว่าง จนกระทั่งมีการกลั่นน�้ำมันก๊าดจากน�้ำมันดิบ  ได้ส�ำเร็จในราวกลางศตวรรษที่ ๑๙

หัวหน้าคณะท�ำงานเพือ่ ศึกษาปริมาณน�ำ้ มันดิบ ที่ตะวันออกกลาง หลังจากใช้เวลาศึกษาและ ส�ำรวจราว ๑ ปี เขามั่นใจว่าตะวันออกกลาง เป็นแหล่งน�ำ้ มันดิบปริมาณมหาศาล โดยเฉพาะ ในประเทศซาอุดอี าระเบียเพียงประเทศเดียวมี น�ำ้ มันราว ๒๐% ของทัง้ หมด ในช่วงนัน้ น�ำ้ มันดิบ ที่ผลิตในตะวันออกกลางคิดเป็นปริมาณเพียง ๕% ของน�้ำมันดิบที่ใช้กันทั่วโลก ขณะที่ส่วน ใหญ่ผลิตในสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็น ๖๐% ของปริมาณการใช้ทวั่ โลก สหรัฐอเมริกาเริม่ คิดถึงการส�ำรองน�ำ้ มันดิบ ใต้ดินไว้ใช้ในประเทศส�ำหรับอนาคตประจวบ กับซาอุดีอาระเบียก็ประสบปัญหารายได้เข้า ประเทศหดหาย เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ และภายหลังสงครามสิ้นสุดลง การผลิตน�้ำมัน ของซาอุดอี าระเบียก็ขยายตัวมากขึน้ เพราะขาย น�้ำมันให้กับกองทัพฝ่ายพันธมิตร รายได้จาก การขายน�้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๐ ล้านดอลลาร์ จากที่ขายได้เพียง ๗ ล้านดอลลาร์ในปีแรกที่ เริ่มมีการผลิตน�้ำมันออกมาขาย ย้อนกลับไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๑) ในยุคนั้น ชาติอาหรับ ต่างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจกันถ้วนหน้า อังกฤษเป็นชาติที่มีบทบาทมากในภูมิภาคนั้น เพราะมีความสัมพันธ์ทดี่ กี บั บรรดาผูค้ า้ อาหรับ ทั้งหลาย ซึ่งมีการโน้มน้าวใจให้ผู้น�ำอาหรับ ทั้งหลายเปิดโอกาสให้นักลงทุนชาวตะวันตก เข้าไปส�ำรวจน�้ำมันในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของ พวกเขาได้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความขัดแย้งขึ้น มาในหมู่ผู้ปกครองอาหรับด้วยกันเอง เพราะ บางคนไม่ ต ้ อ งการให้ แ ผ่ น ดิ น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ถู ก เหยียบย�่ำโดยคนนอกศาสนา ขณะที่บางคน กลับเห็นเป็นโอกาสอันดีทจี่ ะอาศัยขุมทรัพย์สดี ำ� หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

สัมปทาน โดยโอเปค ขอปรับสัญญาระหว่าง ทีพ่ ระเจ้าประทานให้นนั้ เปลีย่ นเป็นเงิน แล้วน�ำ เจ้ า ของบ่ อ กั บ บริ ษั ท ผู ้ รั บ มาพัฒนาประเทศให้เจริญรุง่ เรืองเทียบเท่าชาติ สั ม ปทานเป็ น การถื อ หุ ้ น ในบริ ษั ท ร่ ว มใน ตะวันตก โดยให้ชาวตะวันตกเป็นผู้ลงทุนเอง สั ด ส่ ว นที่ เ ท่ า กั น และฝ่ า ยต่ า งชาติ ต ้ อ งขาย ทั้งหมด ส่วนชาวอาหรับเป็นเจ้าของบ่อน�ำ้ มัน หุ้นส่วนของตนให้กับฝ่ายเจ้าของบ่อทุกปีๆ มีหน้าทีเ่ ก็บค่าสัมปทานและเปอร์เซ็นต์จากการ ไปจนหมด ดังนั้นก่อน พ.ศ. ๒๕๒๕ ประเทศ ขายน�้ำมันแบบสบายๆ เจ้าของบ่อน�้ำมันรอบอ่าวทั้งหมดก็กลายเป็น ในช่ ว งแรกของธุ ร กิ จ น�้ ำ มั น หลั ง จาก เจ้าของบริษัทน�้ำมันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทุกประเทศเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติแล้ว ส่วนต่างชาตินั้นก็เป็นเพียงผู้รับจ้างการผลิต เมื่อเทียบกับผู้เข้าไปลงทุน ประเทศอาหรับ เท่านัน้ ภายหลังโอเปคท�ำหน้าทีก่ ำ� หนดปริมาณ เจ้ า ของบ่ อ น�้ ำ มั น มี ร ายได้ จ ากค่ า ส� ำ รวจค่ า การผลิตน�ำ้ มันเพือ่ ผลก�ำไรสูงสุดแก่ชาติสมาชิก สัมปทาน และส่วนแบ่งจากก�ำไรเพียงเล็กน้อย ท� ำ ให้ ร าคาขายน�้ ำ มั น ในตลาดโลกขึ้ น -ลง เพราะไม่มีก�ำลังต่อรอง ไม่มีความสามารถใน ไปตามปริมาณที่ผลิตออกมา ดังที่เห็นกันอยู่ การขุดเจาะเอง ซึ่งบริษัทที่ได้รับสัมปทานก็ ทุกวันนี้ เอาเปรียบมากด้วยการแบ่งก�ำไรต�่ำๆ เรื่องราวต�ำนานน�้ำมันดิบที่เล่ามาข้างต้น ราวกลางศตวรรษที่ ๒๐ หลังจากข้อมูลเกีย่ ว คงพอท�ำให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงเรื่องราวของ กับปริมาณน�ำ้ มันดิบในผืนทรายของดินแดนนัน้ น�้ำสีด�ำที่มีความส�ำคัญต่อมนุษยชาติบนโลกนี้ ถูกเปิดเผยออกมา ผู้ปกครองประเทศต่างๆ ที่ พอสมควร ซึ่งในอนาคตถ้าเราน�ำน�้ำมันขึ้นมา มีแหล่งน�ำ้ มันซึง่ รวมตัวกันตัง้ องค์กรชือ่ ว่า The ใช้จนหมดไป เราจะอยู่กันอย่างไร สิ่งที่ทำ� ได้ Organization of Petroleum Exporting - ดีที่สุด ณ ขณะนี้คือ การช่วยกันประหยัดการ Countries ( OPEC ) หรือโอเปคทีเ่ ราคุน้ หูกนั ดี ใช้พลังงานจากน�้ำมันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะ ช่วงแรกองค์กรนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความเป็น ท�ำได้ เพื่อลูกหลานจะได้ไม่ต้องล� ำบากเมื่อ หนึ่งในการต่อรองผลประโยชน์กับชาติผู้ได้รับ น�้ำสีด�ำไม่มีบนโลกใบนี้ 43


44


๑๐๐ ปี การบิน

ของบุพการีทหารอากาศ

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

45


๑. เลข ๑๐๐ สื่อถึง วาระเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ นับตั้งแต่บุพการีทหารอากาศได้ขึ้นท�ำการบินเป็นครั้งแรก ๒. เส้นโค้งและภาพเครื่องบิน สื่อถึง การพัฒนาด้านการบินของกองทัพอากาศ เริ่มต้นจาก เครื่องบินเบรเกต์ จนกระทั่งเป็นเครื่องบินไอพ่นอเนกประสงค์แบบกริพเพนที่ทันสมัยใน ปัจจุบัน และเป็นการน้อมร�ำลึกถึงบุพการีทหารอากาศ ทั้ง ๓ ท่าน คือ พลอากาศโทพระยา เฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอกพระยาทะยาน พิฆาต ที่ได้วางรากฐานการบินของประเทศ จนพัฒนาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน ๓. สีทอง สื่อถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า ความมีคุณค่า ๔. สีแดง-ขาว-น�้ำเงิน เป็นสีของธงชาติไทย สื่อถึง ความเป็นประเทศไทย ๕. “๑๙๑๒ - ๒๐๑๒” สื่อถึง การนับห้วงระยะเวลา ๑๐๐ ปี จาก ค.ศ. ๑๙๑๒ ที่บุพการี ทหารอากาศขึ้นท�ำการบินเป็นครั้งแรกถึง ค.ศ. ๒๐๑๒ ๖. Centennial of the RTAF Founding Fathers’ Aviation สื่อความหมาย ภาษาสากล หลวงอาวุธสิขิกร และนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต ของค�ำว่า “๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ” ได้เข้ารับการฝึกบินในโรงเรียนการบินที่ มูร์ เมอลอง เลอกรองด์ การท�ำการบินครั้งแรกของทั้ง ๓ ท่าน เกิด จการบิ น ของไทย ได้ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น มิให้การสงครามมาถึง ท่ามกลางประเทศของ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๕ เมื่อนายพัน ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ เราได้ ทัง้ เป็นประโยชน์ใหญ่ยงิ่ ในการคมนาคม ตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เริ่มฝึกบินกับเครื่องบิน พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลัง เวลาปกติ” เบรเกต์ปีก ๒ ชั้น และนายพันตรีหลวงอาวุธ จากบริ ษั ท การบิ น แห่ ง ตะวั น ออกไกล ได้ จากความส�ำคัญดังกล่าว กระทรวงกลาโหม สิขิกร (ได้รับพระราชทานยศสูงขึ้น) เริ่มฝึกบิน จัดการแสดงการบินโดย นายชาร์ล ว็อง แด็ง ได้คัดเลือกและส่งนายทหารบก จ�ำนวน ๓ คน กับเครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว ส่วนนาย บอร์น นักบินชาวเบลเยียม กับเครื่องบินแบบ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการบิน ร้อยโททิพย์ เกตุทัต เริ่มฝึกบินกับเครื่องบิน อ็องรี ฟาร์ม็อง ๔ ที่สนามม้าสระปทุม (สนาม ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ นายพันตรีหลวง นิเออปอรต์ปกี ชัน้ เดียว เมือ่ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน) ระหว่างวันที่ ๓๑ ศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) นายร้อย ๒๔๕๕ ด้วยเหตุนี้จึงถือให้วันที่ ๒ กรกฎาคม มกราคม ถึง ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๓ เอกหลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) นายร้อยโท ๒๕๕๕ เป็น “วันครบรอบ ๑๐๐ ปีการบินของ ด้ ว ยพระบรมราโชบายในการท�ำ นุ บ� ำ รุ ง ทิพย์ เกตุทัต บุพการีทหารอากาศ” กิจการทหารอย่างจริงจัง และความริเริ่มของ ต่ อ มานายทหารทั้ ง ๓ ท่ า น ได้ รั บ ขณะทีน่ ายทหารทัง้ ๓ ท่าน ศึกษาวิชาการบิน นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า พระราชทานยศและบรรดาศักดิเ์ ป็น พลอากาศโท อยูน่ นั้ กระทรวงกลาโหมได้สงั่ ซือ้ เครือ่ งบินจาก จักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชา พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอกพระยา ประเทศฝรัง่ เศส จ�ำนวน ๗ เครือ่ ง คือ เครือ่ งบิน นารถ เสนาธิการทหารบก และจอมพลพระเจ้า เวหาสยานศิ ล ปสิ ท ธิ์ และนาวาอากาศเอก นิเออปอรต์ปกี ชัน้ เดียว ๔ เครือ่ ง เครือ่ งบินเบรเกต์ บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรม พระยาทะยานพิฆาต (ตามล�ำดับ) และกองทัพ ปี ก ๒ ชั้ น ๓ เครื่ อ ง และเจ้ า พระยาอภั ย หลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวง อากาศได้ยกย่องให้เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) บริจาคซื้อเครื่องบิน กลาโหม ที่ ท รงเห็ น ความส� ำ คั ญ ของก� ำ ลั ง นายทหารทั้ง ๓ ท่าน ได้ออกเดินทางจาก เบรเกต์ปีก ๒ ชั้นให้อีก ๑ เครื่อง รวมเป็น ทางอากาศ และพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๔ ๘ เครื่อง เครื่องบินดังกล่าวถือเป็นเครื่องบิน จ�ำเป็นต้องมีเครือ่ งบินไว้ปอ้ งกันภัยทีจ่ ะเกิดแก่ และถึงประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒ แบบแรกของประเทศไทย ประเทศชาติในอนาคต ดังพระด�ำรัสของ นาย ๒๔๕๔ (ขณะนั้นนับเดือนเมษายนเป็นขึ้นปี จากปณิธานอันแน่วแน่ของบุพการีทหาร พลเอกสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ใหม่) ภายหลังจากการศึกษาภาษาฝรัง่ เศสและ อากาศทั้ง ๓ ท่าน ได้ก่อเกิดประโยชน์ส�ำคัญ ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ (ภาย ผ่านการตรวจร่างกายเรียบร้อยแล้ว นายทหาร เป็นรากฐานให้กิจการบินของไทยทั้งภาคส่วน หลังทรงด�ำรงพระยศทางทหารเป็น “จอมพล”) ทั้ง ๓ ท่าน ได้เข้ารับการฝึกบินโดยนายพันตรี ราชการ เอกชนและการพาณิชย์ ได้เจริญรุด “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” ว่า “ก�ำลังใน หลวงศักดิศ์ ลั ยาวุธ เข้ารับการฝึกบินในโรงเรียน หน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศมาตราบเท่า อากาศเป็นโล่อันแท้จริงอย่างเดียว ที่จะกัน การบินเมืองวิลลา คูเบลย์ ส่วนนายร้อยเอก ทุกวันนี้

กิ

46


เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๖

อากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีระดับโลก จากฝีมือคนไทย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม

ากาศยานไร้คนขับคือระบบเครือ่ งบิน ที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีมนุษย์ควบคุมอยู่ ข้างใน แต่ใช้การควบคุมจากระยะ ไกล หรือการท�ำงานของระบบอัตโนมัติในการ เคลื่อนที่และปฏิบัติภารกิจต่างๆ อากาศยานไร้คนขับเป็นระบบที่ถูกพัฒนา ขึ้ น ในต่ า งประเทศมาหลายสิ บ ปี แ ล้ ว จน สามารถมี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการปฏิ บั ติ ก าร

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

ทางทหารครั้ ง แรกในสงครามอ่ า วเปอร์ เ ซี ย ภายใต้ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Strom) และมี ก ารใช้ ง านเรื่ อ ย มาจนถึ ง สงครามในอั ฟ กานิ ส ถานและ สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง ซึ่งนอกจาก สหรัฐอเมริกาแล้ว อิสราเอลยังเป็นหนึ่งใน ประเทศที่เป็นผู้น�ำด้านอากาศยานไร้คนขับ ท�ำให้อิสราเอลมี ฝู ง บิ น อากาศยานไร้ ค นขั บ

ที่มีประสิทธิภาพสูงจ�ำนวนมาก ซึ่งอิสราเอล สามารถผลิตได้เอง ภารกิจของระบบยานไร้คนขับส่วนใหญ่จะ เน้นไปที่การลาดตระเวน สอดแนม หรือการ หาข่าวกรองในพืน้ ทีท่ อี่ นั ตรายเช่นในพืน้ ทีแ่ นว หลังของข้าศึกซึ่งอากาศยานต้องบินฝ่าแนว ป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึกเข้าไปถ่ายภาพ กลับมา ถ้าหากใช้เครือ่ งบินทีม่ คี นขับนัน้ เมือ่ ถูก 47


ยิงตกนักบินก็อาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้ น ยั ง ใช้ ใ นภารกิ จ ที่ ต ้ อ งบิ น เฝ้ า ตรวจการณ์เป็นระยะเวลานานๆ ในบางกรณี อาจใช้เวลาเป็นวัน เพราะการใช้นักบินนั้นจะ ท�ำการบินได้ไม่นาน แต่การบังคับจากระยะไกล สามารถสลับนักบินที่ควบคุมอยู่บนพื้นเพื่อให้ นักบินพักผ่อนได้ จึงท�ำให้ไม่มีข้อจ�ำกัดของ มนุษย์ที่ต้องการพักผ่อน ปัจจุบนั ยังมีการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับ เพือ่ ติดอาวุธและเข้าโจมตีเป้าหมายทีอ่ นั ตรายได้ เช่น ในการปฏิบตั กิ ารในอัฟกานิสถาน นักบินที่ นัง่ อยูท่ ศี่ นู ย์บญ ั ชาการในสหรัฐฯ สามารถบังคับ อากาศยานไร้คนขับทีบ่ นิ อยูเ่ หนืออัฟกานิสถาน เพือ่ สอดส่ายสายตาหาเป้าหมายทีเ่ ป็นผูก้ อ่ การ ร้าย เมือ่ พบแล้วก็สามารถท�ำการยิงอาวุธเข้าใส่ ได้ โดยทีก่ ำ� ลังฝ่ายเราไม่ได้รบั อันตรายเลย 48

ในภารกิจที่ไม่ใช่การทหารนั้น ปัจจุบันได้มี การใช้อากาศยานไร้คนขับกันเป็นจ�ำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการบินในด้านการเกษตร เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง การตรวจแปลงเกษตร

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ได้ตระหนัก ถึงความส�ำคัญในการพัฒนา เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไทย  มีศักยภาพในการพัฒนาได้

ที่มีบริเวณกว้าง การบินเพื่อการอนุรักษ์ การ ส�ำรวจไฟป่า การส�ำรวจการท�ำลายป่าไม้ การ ตรวจหาสัตว์ป่าเพื่อการวิจัย หรือแม้กระทั่ง การบิ น ตรวจสอบสภาพการจราจรจากมุ ม สูง เป็นต้น ซึ่งภารกิจที่ไม่ใช่ทางทหารของ อากาศยานไร้ ค นขั บ นั้ น ทวี ค วามส�ำ คั ญ มาก ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีการใช้งานกันอย่างกว้าง ขวางและมีจ�ำนวนเที่ยวบินมากกว่าการใช้งาน ทางทหารถึง ๔ เท่า ส�ำหรับประเทศไทยได้มีการน�ำอากาศยาน ไร้ ค นขั บ มาใช้ ตั้ ง แต่ ส มั ย กรณี พิ พ าทบ้ า น ร่มเกล้า ซึง่ เป็นการปะทะระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว โดยมี ก ารจั ด หาจากสหราชอาณาจั ก ร เข้ามาประจ�ำการในกองทัพไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นรุ่น R4D Skyeye จ�ำนวน ๗ ล�ำ ซึ่ง

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม


ปัจจุบันยังมีการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับ เพื่อติดอาวุธและเข้าโจมตีเป้าหมายที่อันตราย ได้ เช่น ในการปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน นักบินที่นั่งอยู่ที่ศูนย์บัญชาการในสหรัฐฯ สามารถบังคับอากาศยานไร้คนขับที่บินอยู่ เหนืออัฟกานิสถานเพื่อสอดส่ายสายตาหา  เป้าหมายที่เป็นผู้ก่อการร้าย เมื่อพบแล้ว  ก็สามารถท�ำการยิงอาวุธเข้าใส่ได้  โดยที่ก�ำลังฝ่ายเราไม่ได้รับอันตรายเลย

ประจ�ำการอยู่ที่ฝูงบิน ๔๐๒ กองบิน ๔ ตาคลี ของกองทัพอากาศ และใช้ชื่อเรียกว่า ยาน RPV (Remotely Pilot Vehicle) มีภารกิจ ตรวจการณ์และถ่ายภาพ โดยร่วมปฏิบัติการ อยู่กับเครื่องบิน Arava แต่ด้วยข้อจ�ำกัดทาง เทคโนโลยีในขณะนัน้ ท�ำให้ยาน RPV ไม่สามารถ ตอบสนองต่ อ ความต้ อ งการของกองทั พ ได้เท่าที่ควร เนื่องจากยาน RPV เหมาะกับการ ใช้งานในทะเลทรายหรือพื้นที่ที่เป็นพื้นที่โล่ง แจ้ง แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในภูมิประเทศ ที่เป็นป่าเขาอย่างประเทศไทยเนื่องจากข้อ จ�ำกัดของระบบสือ่ สารหลังจากนัน้ อากาศยาน ไร้คนขับหรือยูเอวีก็ไม่ได้รับความสนใจจาก กองทัพไทยอีก โดยประเทศไทยได้หนั กลับมาให้ความสนใจ เกิ ด การตื่ น ตั ว และเห็ น ความส� ำ คั ญ ของ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

อากาศยานประเภทนี้ อ ย่ า งชั ด เจนมากขึ้ น คื อ การที่ ก องทั พ บกมี ก ารจั ด หาอากาศยาน ไร้คนขับรุ่น Searcher Mk.1 จากประเทศ อิ ส ราเอลเข้ า มาประจ� ำ การที่ ก องพลทหาร ปืนใหญ่ในภารกิจตรวจการณ์ ชี้เป้า และเป็น ผู้ตรวจการณ์หน้า ในการยิงปืนใหญ่ จนก่อให้ เกิดโครงการวิจัยทางด้านอากาศยานไร้คนขับ อย่างจริงจัง ส�ำหรับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. ได้ตระหนัก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาเทคโนโลยี อากาศยานไร้คนขับ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี ที่ ไ ทยมี ศั ก ยภาพในการพั ฒ นาได้ ปั จ จุ บั น สทป. มีโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน ไร้ ค นขั บ ถึ ง ๒ โครงการคื อ โครงการวิ จั ย อากาศยานไร้คนขับเฉลิมพระเกียรติ (FixedWings UAV) ได้ศกึ ษาวิจยั ร่วมกับกองพลทหาร ปืนใหญ่ กองทัพบก และส�ำนักการบินอนุรักษ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คน ขับขึ้นลงทางดิ่ง (VTOL UAV) ได้ศึกษาวิจัย ร่วมกับกองทัพเรือ บริษทั กษมา เฮลิคอปเตอร์

จ�ำกัด และบริษัท เสรีสรรพกิจ จ�ำกัด เพื่อ พัฒนาอากาศยานไร้คนขับทั้งแบบปีกตรึงที่มี ลักษณะคล้ายเครื่องบินและแบบปีกหมุนที่มี ลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์เพือ่ เข้าประจ�ำการ ในกองทัพไทย รวมถึงเพื่อประยุกต์ใช้ในด้าน พลเรือนและการบินเพื่อการอนุรักษ์ นอกจาก นั้น สทป. ก�ำลังด�ำเนินการร่างแผนแม่บทการ วิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับ (UVS) ที่ ครอบคลุมทัง้ อากาศยานไร้คนขับ เรือไร้คนขับ รถไร้คนขับ จนถึงเรือด�ำน�้ำไร้คนขับอีกด้วย โครงการต่างๆ เหล่านี้ นอกจากจะช่วย ท� ำ ให้ ป ระเทศชาติ ไ ด้ ป ระหยั ด การใช้ จ ่ า ย งบประมาณในการน�ำเข้าอากาศยานไร้คนขับ จากต่างประเทศแล้วยังเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี ของประเทศ และส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม ภาคเอกชนของไทยให้ เ ข้ ม แข็ ง และมี ก าร พัฒนาด้านการส่งออกเพื่อสร้างรายได้ให้กับ ประเทศชาติในอนาคต ทั้งยังสามารถสร้าง อุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ไทยสามารถ พึ่งพาตนเอง และเป็นแรงขับเคลื่อนส�ำคัญ ประการหนึ่งที่สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจไทย ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป 49


50

พลโท ทรงพล ไพนุพงศ์


อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์  ท�ำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๒ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติ ของพระยาพิชัย ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพิชัยในสมัยกรุงธนบุรี ชนะศึกพม่าที่เมืองพิชัย  ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๕ และปีพุทธศักราช ๒๓๑๖

ศึกเมืองพิชัย พ.ศ. ๒๓๑๖

แม้ว่าอาณาจักรกรุงธนบุรีเป็นอาณาจักรใหม่แห่งที่สามของชาวสยาม  แต่พระเจ้ามังระแห่งกรุงอังวะจากราชวงศ์อลองพญายังคงมีความมุ่งมั่น  ที่จะเข้าตีกรุงธนบุรีให้ได้ ทรงขยายอ�ำนาจของอาณาจักรพม่าจาก  เมืองเชียงใหม่หรือล้านนาลงสู่ทางใต้เหมือนเมื่อครั้งที่เข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก  ครั้งที่สอง พุทธศักราช ๒๓๑๐ เมื่อต้องท�ำศึกใหญ่กับกองทัพจีน  จากมณฑลยูนนานเป็นเวลานานสามปีที่พระองค์ ไม่ทรงคิดว่าจะเกิดขึ้น  เป็นโอกาสที่สยามได้สร้างอาณาจักรขึ้นใหม่ในชื่อกรุงธนบุรีอย่างรวดเร็ว  แต่การศึกกับกองทัพพม่ายังคงมีอยู่ซึ่งจะเป็นการรบ  ในพื้นที่ทางภาคเหนือติดต่อกันเป็นเวลานาน บทความนี้กล่าวถึงกองทัพพม่าเข้าตีเมืองพิชัยในปีพุทธศักราช ๒๓๑๕ และปีพุทธศักราช ๒๓๑๖

พลโท ทรงพล ไพนุพงศ์

๑. กล่าวทั่วไป

หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครัง้ ที่ ๒ พุทธศักราช ๒๓๑๐ กองทั พ พม่ า ยั ง คงปกครองเมื อ ง เชียงใหม่หรือล้านนา อาณาจักรกรุงธนบุรีอยู่ ในระหว่างการขยายอาณาจักรและการสร้าง อาณาจักรขึ้นมาใหม่ การสร้างขวัญก�ำลังใจให้ กับชาวสยามว่ากองทัพสยามใหม่แห่งกรุงธนบุรี มี ขี ด ความสามารถและเข้ ม แข็ ง ที่ จ ะท�ำ การ รบกับกองทัพพม่าแห่งกรุงอังวะได้อย่างดียิ่ง กองทัพกรุงธนบุรกี ไ็ ด้รบั ชัยชนะแก่กองทัพพม่า หลายครั้งแม้ว่าจะไม่เป็นศึกใหญ่ก็ตาม ในปี พุทธศักราช ๒๓๑๔ เกิดความขัดแย้งทีล่ า้ นช้าง ระหว่างเจ้าสุริยวงศ์เจ้าเมืองหลวงพระบาง และเจ้าบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าหลวง พระบางยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้า เวียงจันทน์เกรงว่าจะสู้กองทัพเมืองหลวงพระ บางไม่ได้จึงได้ทูลพระเจ้าอังวะขอก�ำลังทหาร มาช่วย ขณะนัน้ กรุงอังวะเสร็จศึกกับกองทัพจีน พระเจ้ า มั ง ระจึ ง ส่ ง กองทั พ มาช่ ว ยโดยให้ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

แม่ทพั ชิดชิงโป่เป็นกองหน้าและแม่ทพั ใหญ่คอื โปสุพลา พร้อมด้วยก�ำลังทหาร ๕,๐๐๐ นาย มาช่วยเจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองหลวงพระบาง สู ้ ไ ม่ ไ ด้ ก็ ย อมอ่ อ นน้ อ มต่ อ กองทั พ กรุ ง อั ง วะ พระเจ้ากรุงอังวะจึงให้กองทัพพม่ามาตัง้ มัน่ อยู่ ที่เมืองเชียงใหม่คอยป้องกันกองทัพกรุงธนบุรี ที่จะยกขึ้นมาตี แม่ทัพใหญ่โปสุพลาจึงต้องเดิน ทัพกลับมาทางเมืองน่านและให้กองทัพหน้ายก กองทัพเข้าสู่เขตแดนของกรุงธนบุรี เข้ายึดได้ เมืองลับแลได้โดยง่ายพร้อมทัง้ ยึดทรัพย์และจับ ผู้คนได้ไม่พอต้องการ จึงยกกองทัพเข้าสู่เมือง พิชัยเมื่อฤดูแล้ง ปลายปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๑๕ เมืองพิชัยมีก�ำลังพลน้อยจึงต้องตั้งรับ ภายในเมืองไม่ท�ำการออกรบและได้มีใบบอก มายังเมืองพิษณุโลก (เมืองชั้นเอก) เจ้าพระยา สุรสีหพ์ ษิ ณุวาธิราชจึงรีบยกกองทัพไปช่วยและ เข้าตีกองทัพพม่า ในที่สุดกองทัพพม่าก็แตก พม่าจึงถอนตัวกลับสู่เมืองเชียงใหม่ 51


๒. ศึกเมืองพิชัย ๒๓๑๖

ต้นปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๑๖ เกิดความ ขั ด แย้ ง ที่ ล ้ า นช้ า งอี ก ครั้ ง หนึ่ ง แม่ ทั พ ใหญ่ โปสุ พ ลาพร้ อ มด้ ว ยกองทั พ พม่ า จากเมื อ ง เชี ย งใหม่ ไ ด้ ม าระงั บ วิ ว าท ค้ า งฤดู ฝ นอยู ่ ที่ เ มื อ งเวี ย งจั น ทน์ เ กิ ด ไม่ ไ ว้ ใ จเจ้ า บุ ญ สาร เจ้าเมืองเวียงจันทน์ จึงบังคับให้ส่งบุตรธิดากับ เสนาบดีผู้ใหญ่ไปเป็นตัวจ�ำน�ำอยู่ที่กรุงอังวะ ครั้ น เมื่ อ สิ้ น ฤดู ฝ นแล้ ว แม่ ทั พ ใหญ่ โ ปสุ พ ลา จึ ง ยกกองทั พ มาจากเมื อ งเวี ย งจั น ทน์ เข้ า สู ่ เ ขตแดนของกรุ ง ธนบุ รี เข้ า ตี เ มื อ ง พิ ชั ย ด้ ว ยเชื่ อ ว่ า กองทั พ ของตนก� ำ ลั ง พลมี ความช�ำนาญในการรบและมีขวัญก� ำลังใจดี เนื่องจากได้รับชัยชนะที่เมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองพิชัยและเจ้าเมืองพิษณุโลกคาดว่า กองทัพพม่าจะเข้ามาตีเมืองพิชัยอีก จึงได้มี การเตรี ย มความพร้ อ มจึงได้ส่งหน่วยทหาร ที่ ค อยลาดตระเวนตามแนวชายแดน เมื่ อ กองทั พ พม่ า เข้ า สู ่ เ ขตแดนของกรุ ง ธนบุ รี กองทั พ ของเจ้ า พระยาสุ ร สี ห ์ พิ ษ ณุ ว าธิ ร าช เจ้าเมืองพิษณุโลกและพระยาพิชยั ได้ใช้ยทุ ธวิธี ซุ ่ ม โจมตี ใ นเส้ น ทางบั ง คั บ ที่ ก องทั พ พม่ า ใช้ เป็นเส้นทางเดินทัพ ณ ที่ชัยภูมิที่ได้เปรียบ กองทัพกรุงธนบุรีเข้าโจมตีกองทัพพม่าเป็น การรบในระยะใกล้ พระยาพิชัยถือดาบสองมือ เข้าท�ำการรบกับทหารพม่าเป็นการรบระยะ ประชิ ด จนเมื่ อ พระยาพิ ชั ย เหยี ย บดิ น ลื่ น เซ จะล้มจึงเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวา พยุ ง ตั ว ไว้ จ นดาบข้ า งขวาหั ก เป็ น สองท่ อ น เป็ น ที่ เ ลื่ อ งลื อ ชื่ อ เสี ย งถึ ง เรี ย กชื่ อ ว่ า พระยา พิชัยดาบหัก ในที่สุดกองทัพพม่าของแม่ทัพ โปสุพลาก็ถูกตีแตกและพ่ายศึกในพื้นที่การ รบเมืองพิชัย ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๗ ค�่ำ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๑๖ (ตรงกับวันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๑๖) พระยาพิชัยเดิม ชื่อจ้อย เกิดในปีพุทธศักราช ๒๒๘๔ ที่บ้าน ห้วยคา เมืองพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพี่น้อง สี่ ค น บิ ด า มารดาไม่ ป รากฏนาม เมื่ อ อายุ ได้ ๑๔ ปี บิดาน�ำไปฝากกับท่านพระครูวัด มหาธาตุ เมืองพิชัย มีความสามารถทางด้าน การชกมวย ต่อมาได้ไปฝึกมวยกับครูเที่ยงที่ วัดบ้านแก่ง แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นชื่อทองดี และได้ไปฝึกมวยกับครูเมฆที่ท่าเสา (ขณะนั้น นายทองดีมีอายุได้ ๑๘ ปี) มีชื่อเสียงโด่งดังใน ฝีมือการชกมวยไปทั่วเมืองทุ่งยั้ง ลับแล พิชัย และเมืองฝาง นายทองดีอยู่กับครูเมฆได้ ๒ ปี ก็ลาไปศึกษาการฟันดาบที่เมืองสวรรคโลก 52

ต่ อ มาได้ เ ดิ น ทางไปที่ เ มื อ งสุ โ ขทั ย และ เมืองตาก ต่ อ มาได้ ถ วายตั ว เป็ น ทหารของ เจ้ า เมื อ งตากและได้ รั บ ยศเป็ น หลวงพิ ชั ย อาสา และได้ ติ ด ตามเจ้ า เมื อ งตาก (ได้ รั บ พระราชทานโปรดเกล้ า ฯ เป็ น พระยาวชิ ร ปราการไปครอง เมื อ งก� ำ แพงเพชร) ไปปฏิ บั ติ ราชการอย่ า งใกล้ ชิ ด และเป็ น เวลาเดี ย วที่ ก องทั พ พม่ า เข้ า ล้ อ มกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา พระยาวชิ ร ปราการพร้ อ มด้ ว ยหลวงพิ ชั ย อาสาและกองทั พ ได้ เ ข้ า ต่ อ สู ้ กั บ ทหารพม่ า เพื่ อ ป้ อ งกั น กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา แต่ ส ถานการณ์ ท าง ทหารขณะนั้ น ยากที่ จ ะป้ อ งกั น รักษาพระนครได้ ประกอบกับมี ความอ่ อ นแอในด้ า นการบั ง คั บ บัญชา พระเจ้าตากและกองทหาร ประมาณ ๕๐๐ นาย ได้ ถ อน ตั ว ออกจากวั ด พิ ชั ย ตี ฝ ่ า ทหาร พม่ า ไปทางตะวั น ออกมุ ่ ง สู ่ เ มื อ ง นครนายก ต่ อ มาได้ ตั้ ง มั่ น ทาง ด้านตะวันออกที่เมืองระยองก่อน ที่จะมากู้กรุงศรีอยุธยาได้ส�ำเร็จ พุทธศักราช ๒๓๑๑ หลวงพิชัย อาสาได้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เมื่อพระเจ้าตากสินปราบก๊กกรม หมื่นเทพพิพิธที่เมืองพิมายได้แล้ว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมืน่ ไวยวรนาถ เป็ น พระยาสี ห ราชเดโช เมื่ อ ทรงปราบก๊ ก เจ้าพระฝางได้แล้วในปีพุทธศักราช ๒๓๑๓ โปรดเกล้าฯ พระยาสีหราชเดโชเป็นพระยา พิชัยให้ครองเมืองพิชัย

พระยาพิชัยถือดาบสองมือเข้า ท�ำการรบกับทหารพม่าเป็นการ รบระยะประชิดจนเมื่อพระยาพิชัย เหยียบดินลื่นเซจะล้มจึงเสียการ ทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัว ไว้จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน เป็นที่เลื่องลือชื่อเสียงถึงเรียกชื่อ ว่าพระยาพิชัยดาบหัก

ภาพลายเส้นของ  เส้นทางเดินทัพของ  กองทัพหน้าพม่าชิดชิงโป่  สู่เมืองพิชัย(ตามลูกศร)  ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๖  เป็นชัยชนะของกองทัพเมือง พิชัยและเมืองพิษณุโลก  แห่งกรุงธนบุรี

๓. บทสรุป

ศึกเมืองพิชยั ทัง้ สองครัง้ ในแผ่นดินกรุงธนบุรี แม้ว่าจะไม่ใช่ศึกใหญ่ แต่เป็นศึกที่ได้แสดง ถึงกองทัพแห่งกรุงธนบุรีมีความเข้มแข็งทาง ทหารพร้อมทั้งแม่ทัพที่มีขีดความสามารถใน การรบ ทัง้ การน�ำทัพและการเข้าด�ำเนินกลยุทธ์ พระยาพิชยั เป็นทหารทีต่ ดิ ตามพระเจ้าตากสิน มาตัง้ แต่เมืองตากสูก่ ารป้องกันพระนคร ต่อมา ต้องถอนตัวไปพร้อมกับพระเจ้าตากสินและ กลับมากู้กรุงศรีอยุธยา มีความก้าวหน้าในการ รับราชการสู่การเป็นเจ้าเมืองพิชัย ต้องรับศึก จากการเข้าตีของกองทัพพม่าทั้งสองครั้งและ ได้รับชัยชนะ ได้สร้างชื่อในการรบที่เลื่องลือ คือพระยาพิชัยดาบหัก พระยาพิชัยนับว่าเป็น แม่ทัพคนส�ำคัญคนหนึ่งของพระเจ้าตากสิน มหาราชแห่งกรุงธนบุรี โดย พลโท ทรงพล ไพนุพงศ์


ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โรคข้อเสื่อม Osteoarthritis พันเอกหญิง อัญชฏา ครุธเวโช และ พันโทหญิง วริตา มุสิกะ

รคข้อเสือ่ มเป็นโรคทีม่ คี วามผิดปกติที่ กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกบริเวณ ใกล้ข้อ โดยจะเกิดการท�ำลายของ กระดูกอ่อนผิวข้ออย่างช้าๆ จนเป็นเหตุ ท�ำให้มกี ารเปลีย่ นแปลงของโครงสร้างของ ข้อ ได้แก่ มีนำ�้ สะสมในข้อเพิม่ ขึน้ กระดูก งอกผิดปกติ กล้ามเนื้ อและเอ็นรอบข้อ หย่อนยาน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะ ท�ำให้เคลื่อนไหวข้อได้จ�ำกัด รวมทั้งท�ำให้ เกิดอาการปวดและบวมทีข่ อ้ ได้

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

53


ต�ำแหน่งที่มักจะเป็นข้อเสื่อม

รคข้ อ เสื่ อ มเป็ น โรคที่ พ บได้ บ ่ อ ยใน ต�ำแหน่งของข้อที่รับน�้ำหนัก แม้ว่าข้อ เสื่อมจะพบในข้อที่ต้องรับน�้ำหนัก แต่ก็ สามารถพบทีข่ อ้ ต่างๆ ทัว่ ร่างกายได้โดยเฉพาะ ข้อที่เคยได้รับบาดเจ็บ มีการติดเชื้อ หรือเคย มีข้ออักเสบมาก่อน ในเมืองไทยจะพบว่าเป็น โรคเข่าเสื่อมมากกว่าทางตะวันตก เนื่องจาก เราใช้ข้อเข่าในชีวิตประจ�ำวันมากกว่า เช่น นั่งพับเพียบ หรือคุกเข่าไหว้พระ จริงๆ แล้ว โรคข้อเสื่อมสามารถพบได้ทุกวัย แต่พบใน ผูส้ งู อายุได้บอ่ ยกว่ามาก อายุทเี่ ริม่ เป็นข้อเสือ่ ม ประมาณ ๔๐ ปีขึ้นไป จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ อายุมากกว่า ๗๐ ปี ตรวจพบลักษณะข้อเสื่อม จากภาพถ่ายรังสีได้ร้อยละ ๗๐ แต่มีเพียงครึ่ง หนึ่งเท่านั้นที่มีอาการผิดปกติ ตามปกติภายในข้อประกอบด้วยเยื่อบุข้อ น�้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนผิวข้อ กระดูกอ่อน ผิวข้อจะท�ำหน้าทีเ่ สมือนตัวดูดซับแรงกดภายใน ข้อและป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูก อ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝัง่ หากกระดูกอ่อน ผิวข้อเหล่านีถ้ กู ท�ำลายไม่วา่ ด้วยสาเหตุใดก็ตาม น�้ำหนักหรือแรงกดที่กระท�ำกับข้อจะส่งผลให้ กระดูกใต้ข้อต่อกระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อถูกยืด เป็นสาเหตุให้ เกิดอาการปวดตามมา ในปัจจุบันยังไม่ทราบ ว่าอะไรเป็นสาเหตุท�ำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูก ท�ำลาย แต่มหี ลายปัจจัยทีน่ า่ จะมีสว่ นร่วมท�ำให้ กระดูกผิวข้อถูกท�ำลาย ส่วนใหญ่อาการปวดของโรคข้อเสือ่ มมักเกิด ในระหว่างทีม่ กี ารใช้งานของข้อและจะดีขนึ้ เมือ่ ได้พัก อาจมีการฝืดตึงข้อช่วงสั้นๆ ไม่นานเกิน กว่าครึ่งชั่วโมงในช่วงเช้า หลังตื่นนอน หรือ ภายหลังอยูใ่ นอิรยิ าบถท่าใดท่าหนึง่ นานๆ เช่น หลังจากขับรถ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม

อายุ อายุมากมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อม มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายก็ไม่พบข้อเสื่อม ปั จ จั ย ทางพั น ธุ ก รรม โดยเฉพาะใน ครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้อ อ่อนแอ 54

คอ,กระดูกสันหลัง

เข่า

โรคทางเมตาบอลิ ก คนไข้ บ างรายมี โรคที่ท�ำให้มีการสะสมสารบางอย่างในกระดูก อ่อน ท�ำให้ความยืดหยุ่นและการท�ำหน้าที่ของ กระดูกอ่อนเสียไปจนเกิดข้อเสื่อมตามมา เช่น โรคเก๊าท์ หรือโรคเก๊าท์เทียม ความอ้วน การมีนำ�้ หนักตัวมากจะส่งผล ให้เกิดแรงกดภายในข้อที่รับน�้ ำหนักเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย การได้ รั บ บาดเจ็ บ ของข้ อ ผู ้ ที่ มี ก าร เคลื่อนไหวของข้อซ�้ำๆ หรือมีน�้ำหนักที่กดทับ ลงบนผิวข้อผิดไปมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้ อาชีพและการด�ำรงชีวิต กิจกรรมบาง อย่างทีส่ ง่ ผลให้ขอ้ ต้องรับแรงกดมากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ

การนั่งคุกเข่า  เป็นเวลานาน

ปัจจัยทางพันธุกรรม

ความอ้วน

พันเอกหญิง อัญชฏา ครุธเวโช และ พันโทหญิง วริตา มุสิกะ


วิธีการทางกายภาพบ�ำบัดมีประสิทธิภาพในการ รักษาโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้เครื่องมือทาง กายภาพบ�ำบัด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ เลเซอร์  การใช้ความร้อนประคบ การออกก�ำลังกายโดย เฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อ การใช้อุปกรณ์ ช่วยพยุง เป็นต้น

นิ้วมือ สะโพก

อาการและอาการแสดงของโรคข้อเสือ่ ม โรคข้อเสื่อมรุนแรงการรักษาด้วยการผ่าตัด

นิ้วหัวแม่เท้า และนิ้วเท้า

ปวดข้อ มักพบเป็นอาการแรกซึง่ สัมพันธ์ กับการใช้งาน และอาการจะดีขนึ้ เมือ่ ได้รบั การ พักข้อ ข้อฝืด เคลื่อนไหวข้อล�ำบาก มักเป็น ช่วงเช้าหรือหลังจากพักข้อนานๆ แต่ไม่เกิน ๓๐ นาที ข้อบวมหรือโตขึ้น มักตรวจพบในข้อที่ อยู่ใกล้ผิวหนัง เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้ว กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบ มีเสียงกรอบแกรบในข้อ มักเกิดขณะ เคลื่อนไหวข้อ สูญเสียการเคลือ่ นไหว ท�ำให้ไม่สามารถ ใช้ชีวิตประจ�ำวันได้อย่างปกติ ข้อผิดรูปหรือพิการ

การวินิจฉัยโรค

ผู้ที่น่าสงสัยว่าน่าจะเป็นโรคข้อเสื่อมคือผู้ที่ มีอาการปวดข้อในขณะที่มีการใช้งาน แพทย์ จะยื น ยั น การวิ นิ จ ฉั ย โดยการตรวจร่ า งกาย ภาพถ่ายรังสีทผี่ ดิ ปกติจะช่วยยืนยันการวินจิ ฉัย ได้แม่นย�ำขึ้น บางรายมีความจ�ำเป็นต้องตรวจ เลือดเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นๆ

การรักษาโรคข้อเสื่อม

การได้รับบาดเจ็บของข้อ

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

เป้าหมายของการรักษาคือลดอาการปวด และรักษาการท�ำงานของข้อให้สามารถใช้งาน ได้ตามปกติ การรักษาจึงไม่เพียงแค่ให้ยาเพื่อ บรรเทาอาการปวดเท่านั้น แต่ต้องรักษาด้วย การท�ำกายภาพบ�ำบัดร่วมด้วย ส�ำหรับผู้ที่เป็น

จะมีบทบาทส�ำคัญเพื่อท�ำให้การท�ำงานของ ข้อดีขึ้นได้

การรักษาทางกายภาพบ�ำบัด

มี ห ลั ก ฐานชั ด เจนว่ า วิ ธี ก ารทางกายภาพ บ�ำบัดมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อม ได้ แ ก่ การใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทางกายภาพบ� ำ บั ด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ เลเซอร์ การใช้ความ ร้อนประคบ การออกก�ำลังกายโดยเฉพาะการ บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อ การใช้อุปกรณ์ช่วย พยุง เป็นต้น ส�ำหรับการบ�ำบัดด้วยการท�ำสปา การนวด หรือการฝังเข็มนั้นพบว่าช่วยบรรเทาอาการ ปวดในระยะสั้นๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อม

การรักษาทางยา

ในปัจจุบันมีทั้งชนิดทาภายนอก ฉีดเข้าข้อ และรับประทาน

การผ่าตัด

แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาผ่าตัดตามอาการ

ในครั้งหน้าพบกับโรคข้อเข่าเสื่อม ที่พบได้ มากในคนวัยกลางคนและผูส้ งู อายุ สร้างปัญหา ความเจ็บปวดและการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน มา รับทราบถึงอาการ วิธกี ารชะลอความเสือ่ มจาก การใช้งานและการออกก�ำลังกายเพื่อป้องกัน และฟื้นฟูข้อเข่าเพื่อให้สามารถด�ำเนินกิจวัตร ประจ�ำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด 55


56

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


Military Jokes พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

ถึ

งคิวมาเรียนภาษาอังกฤษกับมุขตลกๆ ข�ำๆ กันแล้วค่ะ เรามาฟังเรื่องข�ำๆ เกีย่ วกับชีวติ ทหารของเรากันบ้าง แต่ ขอเตือนไว้นะคะว่า ตลกก็คือเรื่องตลก เล่ากัน สนุกๆ แบบสบายๆ คลายเครียด อย่าคิดมาก นะคะ ขออย่างเดียวจ�ำค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไว้ประยุกต์ใช้ในการพูดภาษาอังกฤษบ้างก็ดคี ะ่ ฉบับนี้ขอน�ำเสนอ ๒ เรื่องค่ะ เรื่องแรก

Digging a hole  (ขุดหลุม)

Two privates stationed at Fort Campbell were handed shovels and told to bury a large, dead animal. (พลทหารสองนายประจ�ำอยู่ที่ค่าย แคมป์ เบล ได้รับค�ำสั่งให้ขุดหลุมขนาดใหญ่เพื่อสัตว์ ที่ตายแล้ว) While digging they got into an Soldier Getting Dumped Overseas  argument about what they were burying. (ทหารต่างแดนถูกทิ้ง) (ขณะทีก่ ำ� ลังขุดหลุมอยูน่ นั้ พวกเขาถกเถียง The soldier serving overseas, far from กั น ว่ าพวกเขาก�ำลังฝังสัตว์อะไร) home was annoyed and upset when his “This here’s a big mule!” girl wrote breaking off their engagement (นี่ มั น คื อ ตั ว ล่ อ ตั ว ใหญ่ ใ ช่ ไ หม พลทหาร and asking for her photograph back. (ทหารนายหนึ่งก�ำลังอยู่ในระหว่างปฏิบัติ คนหนึ่งตอบ) “This ain’t no mule, this here’s a หน้าที่ในต่างประเทศซึ่งไกลจากบ้าน เขารู้สึก หงุดหงิดและผิดหวังที่แฟนสาวขอถอนหมั้น donkey.” (ไม่ใช่ลอ่ หรอก มันคือลา ต่างหาก พลทหาร และขอรูปถ่ายคืน) He went out and collected from his อีกคนหนึ่งแย้ง) “Mule!” friends all the unwanted photographs (มันคือ ล่อ...พลทหารคนแรกตอบ) of women that he could find, bundled “Donkey!” them all together and sent them back (มันคือ ลา ต่างหาก...พลทหารอีกคนตอบ) with a note saying... “Regret cannot Well, this went on for a while until remember which one is you -- please keep your photo and return the others.” the camp chaplain came by. “What are (เขาก็ เ ลยไปเก็ บ รวบรวมรู ป ถ่ า ยบรรดา you boys doing?” (การโต้แย้งด�ำเนินไปสักครู่ อนุศาสน์ประจ�ำ สาวๆ ที่เพื่อนๆ ทหารโละทิ้ง และมัดไว้เป็นปึก ค่ า ยก็ เดินผ่านมาถามพลทหารสองคนว่า ก�ำลัง ใหญ่ก่อนที่จะส่งกลับมาให้แฟนสาว โดยเขียน โน้ตว่า “เสียใจด้วยนะ ผมจ�ำไม่ได้แล้วว่าคุณ ท�ำอะไรอยู่) “We’re diggin’ a grave for this mule.” เป็นคนไหนกันแน่ ลองเลือกรูปเอาเองแล้วกัน (เราก�ำลังขุดหลุมฝังล่ออยู่ครับ พลทหาร แล้วส่งที่เหลือให้กับสาวๆ คนอื่นด้วย”) คนแรกกล่าว) ไม่ทราบว่า เรื่องแรกนี้ข�ำหรือเปล่าคะ ถ้า “Donkey, dammit!” เรื่องนี้ไปแทงใจด�ำของทหารหนุ่มท่านใดที่ไป (พลทหารอี ก คนแย้ ง ออกมาทั น ควั น ว่ า ปฏิบัติหน้าที่โพ้นทะเลแล้วแฟนสาวเปลี่ยนใจ เป็น ลา ให้ตายซิ!) ไปรักคนอื่น ก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ เรามา The chaplain cut in, “Boys, this isn’t ศึกษาค�ำศัพท์กันค่ะ either one, it’s an ass.” ๑. serve (v.) = รับราชการ (อนุศาสน์ก็เลยพูดขัดจังหวะว่า หนุ่มๆ เอ๋ย ๒. annoy = ร�ำคาญ มันไม่ใช่เป็นล่อ หรือ ลาธรรมดา หรอก แต่มัน ๓. bundle = ก้อน หรือ ปึก เป็นลาป่า) ๔. engagement = หมั้น An hour later, the camp commander came up and said, “What are you men doing, digging a foxhole?” (ชั่วโมงต่อมา ผู้บังคับบัญชาค่ายมาถึงถาม พลทหารว่า พวกเขาก�ำลังขุดอะไร ขุดหลุมหลบ ภัยเรอะ (ในที่นี้ foxhole แปลว่า หลุมหลบภัย ไม่ได้แปลว่าหลุมฝังสุนัขจิ้งจอกนะคะ)) หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

“No sir. We’re diggin’ an asshole.” (เปล่าครับท่าน เราก�ำลังขุดหลุมฝังไอ้โง่ ครับ) (ค�ำว่า asshole : เป็นค�ำแสลงใช้เป็นค�ำด่าที่ ค่อนข้างรุนแรง แปลว่า ไอ้บ้า ไอ้โง่ เป็นต้น ใน ทีน่ ี้ พลทหารพูดค�ำนีต้ อ่ หน้าผูบ้ งั คับบัญชา ทัง้ ๆ ที่ต้องการจะสื่อสารว่า เป็นการฝังลาป่า แต่ก็ เหมือนกับว่าก�ำลังด่านายว่าเป็นไอ้โง่ นั่นเอง... เดาไม่ออกเลยว่า พลทหารสองคนนี้ จะโดน ลงโทษอย่างไร...) ค�ำศัพท์ ๑. chaplain = อนุศาสน์ ๒. shovel = จอบ ๓. bury = ฝัง ๔. private = พลทหาร ๕. argument = เถียง ค�ำแสลงที่ใช้ในภาษาพูดและใช้ในค�ำสบถมี มากมาย เราคงจะเคยได้ยินในหนังฝรั่งบ่อยๆ เอาเป็นว่าเราเรียนรู้ค�ำด่ากันไว้บ้าง เผื่อว่ามี ฝรั่งด่าเรา... เราจะได้รู้ว่า เขาก�ำลังด่าเราอยู่... Bitch (ใช้ด่าเฉพาะผู้หญิง-ความหมายแรง มาก) ความหมายตรงตัวแปลว่าหมาตัวเมีย แต่ ภาษาพูดแปลว่า นังสารเลว ฆสี SLUTS (ใช้ดา่ เฉพาะผูห้ ญิง-ความหมายแรง มาก) แปลว่า นังแรด, ยัยแรด WHORE (ใช้ด่าเฉพาะผู้หญิง-ความหมาย แรงมาก) แปลว่า คุณโสเภณี, นังแพศยา WIMP หมายถึง พวกอ่อนแอ ปอดแหก SISSY หมายถึง คนขี้ขลาด, หน้าตัวเมีย NERD หมายถึง พวกเรียนเก่งแต่เข้าสังคม ไม่ได้, พวกท�ำตัวเฉิ่ม GEEK หมายถึง พวกเรียนเก่งแต่เข้าสังคม ไม่ได้ มักจะใช้เรียกพวกบ้าเล่นเกมคอมพิวเตอร์ DORK หมายถึ ง พวกเรี ย นอ่ อ นมากๆ ขี้เกียจ PREPS หมายถึง พวกเด็กเรียนดี แต่งตัวดี ประสบความส�ำเร็จในการเรียน แต่นิสัยแย่ ไม่คบเพื่อน JOGS หมายถึง นักกีฬาบึกๆ ที่ชอบหลง ตัวเอง BIMBO, DUMB BLONDE หมายถึง ผูห้ ญิง ผมบลอนด์ที่สวยแต่ไร้สมอง WANNABE หมายถึ ง พวกอยากดั ง แต่ ไม่ดังสักที SLAGGER หมายถึง เจ้าเด็กขี้เกียจ SLEEPY HEAD หมายถึง พวกนอนขีเ้ ซา 57


58

mumui@hotmail.com


หาดเจ้าส�ำราญ... วันวานแห่งความสุข ท่องเที่ยวในหน่วยทหาร mumui@hotmail.com

ากจะกล่ า วถึ ง สถาน ที่ ท ่ อ งเที่ ย วทางทะเล ที่เป็นความประทับใจ ของช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมาแห่ ง หนึ่ ง นั้ น อาจนึ ก ถึ ง หั ว หิ น บางแสน หรื อ ไกลไปถึ ง จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต แต่ หากความจริ ง แล้ ว ยั ง มี ส ถานที่ ท่ อ งเที่ ย วยอดนิ ย ม ซึ่ ง คนไทย ในระยะเวลาประมาณ ๕๐ ปีที่ ผ่านมา ต่างรู้จักกันดีอีกแห่งคือ หาดเจ้ า ส� ำ ราญนั่ น เอง ซึ่ ง หาด เจ้าส�ำราญนี้เคยเป็นสถานที่ท่อง เที่ ย วส� ำ คั ญ โบราณที่ อ ดี ต บุ ร พ กษัตริย์ทรงโปรดปรานถึง ๒ ยุค สมัย คือ ยุ ค กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา มี ป ระวั ติ เล่าสืบต่อกันมาว่า สมเด็จพระ นเรศวรมหาราช พร้ อ มด้ ว ย สมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ธิ ร าช ได้ เ สด็ จ ลงเรื อ พระที่ นั่ ง พร้ อ มเรื อ เหล่ า ทหารประพาส ทะเลบริเวณจังหวัดเพชรบุรีเพื่อ พั ก ผ่ อ นพระราชอิ ริ ย าบถ และ ทรงเบ็ ด โดยเฉพาะในบริ เ วณ ดังกล่าวนี้ทรงพอพระราชหฤทัย ในความงามและทัศนียภาพของ หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

หาดนี้มาก ทรงแปรพระราชฐาน ประทับแรมอยู่เป็นเวลาหลายวัน ท� ำ ให้ ร าษฎรที่ อ าศั ย อยู ่ บ ริ เ วณ หาดและพื้นที่ใกล้เคียงต่างเรียก นามของหาดนี้ว่า หาดเจ้าส�ำราญ ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างค่ายหลวงขึ้นเรียกว่า “ค่าย หลวงบางทะลุ” ตามชือ่ ของต�ำบล บางทะลุ ที่ เ ป็ น ที่ ตั้ ง โดยมี พ ระ ต�ำหนักบริเวณริมหาดแห่งนี้เรียก ว่า “พระต�ำหนักหาดเจ้าส�ำราญ” ภายหลั ง ทรงพระราชทานนาม ต�ำบลบางทะลุใหม่เพื่อความเป็น มงคลว่ า ต� ำ บลหาดเจ้ า ส� ำ ราญ ตามชื่อของหาด แต่ต่อมาทรงได้ ย้ า ยพระต� ำ หนั ก ไปยั ง จุ ด ที่ เ ป็ น พระราชนิ เ วศน์ ม ฤคทายวั น ใน ปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะตั้งอยู่ใกล้ หมู ่ บ ้ า นชาวประมงท� ำ ให้ พ ระ ต�ำหนักแห่งนี้มีแมลงวันชุม และ ขาดแคลนน�้ำจืด จึงโปรดให้ย้าย พระต�ำหนักไปในที่สุด หาดเจ้าส� ำราญนี้ ตั้งอยู่ห่าง จากตัวจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ

๑๕ กิโลเมตร เป็นชายหาดที่มี บรรยากาศเงียบสงบ มีหาดทราย สีขาวยาวสุดลูกหูลูกตา อากาศ เย็ น สบายตลอดปี มี สั ต ว์ ท ะเล ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ ประกอบด้ ว ยปู เสฉวน หอย และแมงกะพรุน จึง

หาดเจ้าส�ำราญนี้  เคยเป็นสถานที่  ท่องเที่ยวส�ำคัญโบราณ  ที่อดีตบุรพกษัตริย์  ทรงโปรดปราน  ถึง ๒ ยุคสมัย

เป็นสถานที่คู่ควรกับการเดินทาง ไปพั ก ผ่ อ นแห่ ง หนึ่ ง ทั้ ง นี้ หาด เจ้าส�ำราญนี้ยังมีสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกทีเ่ พียบพร้อม มีรา้ นสะดวก ซื้ออยู่ใกล้เคียง สามารถลงเล่นน�้ำ ได้ ในบริเวณใกล้เคียงมีหมู่บ้าน ชาวประมง และเนือ่ งจากชายหาด แห่งนี้มีปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่ง ทรายในทะเลถูกพัดทับถมขึ้นมา มากขึ้นเรื่อยๆ จึงท�ำให้มีทรายที่ ละเอียดมากในส่วนบริเวณหาด ทรายของต้นหาด เมื่อพิจารณา จากสภาพแวดล้อมทุกกรณีแล้ว จึงกล่าวได้ว่า หาดเจ้าส�ำราญจึง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ต้องเดิน ทางไกลมาก และมีความสวยงาม มากแห่งหนึ่งของประเทศ 59


หาดเจ้าส�ำราญใช้เป็น สถานที่ส�ำหรับพักผ่อน และพักฟื้นของทหารที่ ได้รับบาดเจ็บหรือพิการ  จากสมรภูมิสงคราม 60

ส� ำ หรั บ สถานที่ ที่ ผู ้ เ ขี ย นขอ น�ำเสนอและแนะน�ำให้ทา่ นผูส้ นใจ เดิ น ทางไปพั ก ผ่ อ นบริ เ วณหาด เจ้าส�ำราญ คือ สถานพักฟื้นและ พั ก ผ่ อ น กองทั พ บก (หาดเจ้ า ส�ำราญ) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ ที่ ก องทั พ บกเปิ ด ให้บริการแก่ก�ำลังพล และบุคคล ทั่ ว ไปที่ ต ้ อ งการความสงบและ

ความปลอดภัยในการพักผ่อนกับ บรรยากาศริมทะเล โดยกองทัพบก ได้ จั ด สร้ า งอาคารที่ พั ก ขึ้ น เมื่ อ ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๙๕ ในสมั ย ของจอมพล ป.พิ บู ล สงคราม ซึ่งในห้วงแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ เ ป็ น สถานที่ ส� ำ หรั บ พั ก ผ่ อ น และพั ก ฟื ้ น ของทหารที่ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ หรื อ พิ ก ารจากสมรภู มิ

สงคราม ต่อมา จึงได้พัฒนาและ ปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ส� ำ หรั บ ก� ำ ลั ง พลและประชาชน ทั่ ว ไปที่ มี ค วามประสงค์ จ ะพั ก ผ่ อ นและดื่ ม ด�่ ำ กั บ บรรยากาศ ธรรมชาติทางทะเล เล่นน�้ำทะเล และประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กั บ ธรรมชาติ โดยสามารถเข้ า พั ก แรมได้ ทั้ ง หน่ ว ยงานหรื อ mumui@hotmail.com


อาคารจอมพล เป็นอาคารทรงไทย ประยุกต์สองชัน้ หันหน้าเข้าสูช่ ายหาด และบริเวณส่วนหน้าอาคารจะสร้าง น�้ำพุเป็นรูปนาคเกี้ยวที่มีความงดงาม

ครอบครัว ซึ่งความโดดเด่นของ สถานพักฟื้นคือ อาคารจอมพล ซึ่ ง เป็ น อาคารทรงไทยประยุ ก ต์ สองชั้ น หั น หน้ า เข้ า สู ่ ช ายหาด และบริ เ วณส่ ว นหน้ า อาคาร จะสร้ า งน�้ ำ พุ เ ป็ น รู ป นาคเกี้ ย ว ที่มีความงดงามมาก ผสมผสาน กั บ หาดทรายขาวสะอาดทอด ลงสู ่ ท ะเล ไม่ ว ่ า ท่ า นจะมอง หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

บรรยากาศในเวลาใดก็ ต ามทั้ ง เวลาเช้า สาย บ่าย เย็น หรือพลบค�ำ่ ท่านก็จะสัมผัสได้กับความงดงาม และชีวิตชีวาแห่งสีสันริมสายชล ที่ไม่รู้จักค�ำว่าเบื่อ หรือเรียกว่า หากท่ า นไปพั ก แล้ ว ท่ า นคงจะ ไม่ อ ยากกลั บ บ้ า น หรื อ ไปแล้ ว ต้องกลับมาอีกเพื่อดื่มด�่ำในความ งดงามที่ไม่รู้ลืม

หากท่านมีความสนใจที่จะเข้า พักแรมหรือใช้บริการทีส่ ถานพักฟืน้ และพั ก ผ่ อ น กองทั พ บก (หาด เจ้าส�ำราญ) ทางสถานพักฟืน้ ฯ ก็มี ห้องพักให้บริการหลายประเภทด้วย เช่นกัน กล่าวคือ บังกะโลปรับอากาศ บังกะโลธรรมดา (ซึ่งบังกะโลนี้อยู่ ริมชายหาด) โดยสามารถส�ำรอง ห้ อ งพั ก ได้ ที่ ๐๓๒-๔๗๘-๑๗๑

และ ๐๓๒-๔๗๘-๒๐๐ ได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ น อ ก จ า ก จ ะ ไ ด ้ ดื่ ม ด�่ ำ กั บ ธรรมชาติทางทะเลของหาดเจ้า ส� ำ ราญแล้ ว ความผู ก พั น ทาง จิตใจทีจ่ ะได้รบั คือ ร่วมกันสัมผัส ลมหายใจแห่งความสุขและความ งดงามในอดี ต ที่ สื บ ทอดต่ อ มา จวบจนปัจจุบนั 61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ พระวั น รั ต (จุ น ท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.๙) แม่กองธรรมสนามหลวง วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ และเจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ ธี ร ญานมุ นี โปรด ประทานวางศิ ล าฤกษ์ ส ร้ า งพระพุ ท ธโสธร องค์ใหญ่ โดยมี พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และ ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและคณะ ร่วมพิธี ณ วัดโบสถ์ จังหวัดปทุมธานี เมื่อ ๔ มิ.ย.๕๕

ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคม ภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม เป็นประธานในการจัดการแข่งขัน กอล์ ฟ การกุ ศ ลสมาคมภริ ย าข้ า ราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ชิงถ้วยรางวัล ทีมชนะเลิศ และทีมรองชนะเลิศ ของ นางสาว ยิง่ ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี, ชิงถ้วยรางวัล OVERALL LOW GROSS ของ พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม, ชิงถ้วย รางวัล OVERALL LOW NET ของผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด, ชิงถ้วยรางวัล ไฟล์ท A ชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับ ๑ ของผู้บัญชาการ ทหารบก, ชิงถ้วยรางวัล ไฟล์ท B ชนะเลิศและ รองชนะเลิศอันดับ ๑ ของผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือ, ชิงถ้วยรางวัล ไฟล์ท C ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ของผู้บัญชาการทหารอากาศและ ชิงถ้วยรางวัล ไฟล์ท D ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ อั น ดั บ ๑ ของผู ้ บั ญ ชาการต� ำ รวจแห่ ง ชาติ ณ สนามกอล์ ฟ ศู น ย์ พั ฒ นากี ฬ ากองทั พ บก ถนนรามอินทรา เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๕ 62

ส�ำนักกิจการพลเรือน ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม


ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคม ภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม รับมอบรางวัล คนดีสงั คมไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๕ สาขาผู ้ ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คม จาก ฯพณฯ พลเอก พิ จิ ต ร กุ ล ละวณิ ช ย์ องคมนตรี ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น ๒ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดี รังสิต เมื่อ ๘ มิ.ย.๕๕

ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคม ภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี ม อบทุ น การ ศึ ก ษาบุ ต ร-ธิ ด า ข้ า ราชการและลู ก จ้ า ง ส�ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม ครั้งที่ ๑ ในส่วนของกรมการพลังงานทหาร ศูนย์การ อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งาน ทหาร จ�ำนวน ๙๐ ทุน ทุนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท โดยสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ ห้องโป่งทรายค�ำ ชั้น ๗ กรมการพลังงาน ทหารฯ เมื่อ ๑๒ มิ.ย.๕๕

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๕

63


ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคม ภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี ม อบทุ น การ ศึกษาบุตร-ธิดา ข้าราชการและลูกจ้างสังกัด ส�ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม ครั้งที่ ๒ ในส่วนของกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การ อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งาน ทหาร จ�ำนวน ๑๔๐ ทุน ทุนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๒๘๐,๐๐๐ บาท โดยสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ อาคารอเนกประสงค์ ชั้ น ๔ กรมการ อุตสาหกรรมทหารฯ เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๕

ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ นายกสมาคม ภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา บุตร-ธิดา ข้าราชการและลูกจ้างส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม ครั้งที่ ๓ ในส่วนของศูนย์ การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงาน ทหาร จ�ำนวน ๙๕ ทุน ทุนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๙๐,๐๐๐ บาท และกรมการ สรรพก�ำลังกลาโหม จ�ำนวน ๗๔ ทุน ทุนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑๔๘,๐๐๐ บาท โดยสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม ณ ห้ อ งราชเสนี พิ ทั ก ษ์ ชัน้ ๑๐ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) เมื่อ ๒๗ มิ.ย.๕๕

64

ส�ำนักกิจการพลเรือน ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.