ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ทรงพระเจริญ สีหนาทปืนไฟ ความเกรียงไกรแห่งแผ่นดิน
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๘๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
www.lakmuangonline.com
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ
พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์
รองผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์
ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์
กองจัดการ ผู้จัดการ
น.อ.ธวัชชัย รักประยูร
ประจำ�กองจัดการ
น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ น.ท.วิษุวัตร์ แสนคำ� ร.น. พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์
เหรัญญิก
พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์
ที่ปรึกษา พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วยเหรัญญิก
พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น. พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.นพดล ฟักอังกูร พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต พล.ท.ดำ�รงศักดิ์ วรรณกลาง พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.อดุลย์ศักดิ์ บุญวัฒนะกุล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.เดชา บุญญปาล พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ พล.ต.ชวลิต สาลีติ๊ด
ร.ท.เวช บุญหล้า
ฝ่ายกฎหมาย
น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ
ฝ่ายพิสูจน์อักษร
พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำ�รง ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.ท.หญิง ประภาพันธ์ มูลละ
กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ
น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.
รองบรรณาธิการ
พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช
ประจำ�กองบรรณาธิการ
น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต ร.อ.หญิง อัญชลีพร ชัยชาญกุล ร.อ.หญิง ลลิดา ดรุนัยธร ร.ต.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต ร.ต.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม
น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์ ร.อ.ยอดเยี่ยม สงวนสุข ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา กาญจนโรจน์
บทบรรณาธิการ เดื อ นธั น วาคมนั บ เป็ น เดื อ นมหามงคลของปวงชนชาวไทยเนื่ อ งจากในวั น ที่ ๕ ธั น วาคม ๒๕๕๗ เป็ น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ซึ่ ง รั ฐ บาลได้ เ ชิ ญ ชวน ให้ข้าราชการ และประชาชนทุกหมู่เหล่าพร้อมใจกันแต่งกายด้วยเสื้อสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจ�ำวัน พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตลอดเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ โดยพร้อมเพรียงกัน ทั้ ง นี้ ใ นภาพรวมของกระทรวงกลาโหม ได้ จั ด กิ จ กรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ โดยจะมีกิจกรรมของทหารรักษาพระองค์เฉลิมพระเกียรติฯ โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลฯ และโครงการแพทย์ทหารห่วงใยใส่ใจสุขภาพประชาชนถวายเป็น พระราชกุศลฯ วารสารหลักเมืองฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ มีบทความที่น่าสนใจ อาทิ ๙ แผ่นดินของการ ปฏิรูประบบราชการ, แผนที่เส้นประ ๙ เส้น ที่ลากขึ้นเพื่อก�ำหนดอาณาเขตของจีนในทะเลจีนใต้ ซึ่งส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ๖ ประเทศ และติดตามอ่าน ถึงผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ณ นครพุกาม สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา และสุดท้าย...ติดตามอ่านตอนจบของ “หลักการของนายพลแพตตัน” ในฉบับหน้ากันครับ
2
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๘๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
๔
๔
น�้ำพระราชหฤทัย พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาความ ยากจนในประเทศ
เปิดประตูสู่เทคโนโลยี ป้องกันประเทศ (ตอนที่ ๒๓) จรวด DTI-2 กับความ ส�ำเร็จด้วยฝีมือคนไทย
สงครามในสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ๙ แผ่นดินของการ ปฏิรูประบบราชการ (ตอนที่ ๑)
๔๒
๘
๑๒
๑๘
๒๖
๓๔
๓๐
๒๖
แผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น" (nine-dash-line)
๕๐
อาณาจักรตองอูกับ การก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ของอ�ำนาจ ;-) Winking smile
๓๘
๔๖
๔๒
๕๔
โรคอ้วน (Obesity)
๖๓
กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม
๓๐
Ukrain crisis 2014 : Is Crimea gone? “ไครเมีย... ที่ต้องแย่งยื้อ ถือครอง”
๔๖
๕๒
๒๒
เจาะลึกอาเซียน
หลักการของนายพล แพตตัน (ตอนที่ ๒๘) พระบรมราโชบาย ในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ในรัชกาลที่ ๗
๑๘
ผลการประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ASEAN Defence Minister’s Meeting Retreat (ADMM Retreat)
เครื่องบินขนส่งทาง ทหาร ซี-๒๙๕
๓๘
๘
๑๒
๓๔
๕๐
๕๔ ๖๓
ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
3
น�้ำพระราชหฤทัย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ ไขปัญหา ความยากจนในประเทศ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
4
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
“…พระองค์ท่านทรงริเริ่มทั้งหมด ในการดู แ ลประเทศไทย ผมถึ ง บอกว่าประเทศไทยเรามีพระมหา กษั ต ริ ย ์ ที่ มี พ ระคุ ณ อั น ประเสริ ฐ ต่อประเทศไทยมาโดยตลอด ทุก พระองค์ ท� ำ เพื่ อ ประเทศชาติ ม า ตลอด และในวันนี้พระองค์ทรงเป็น พระมหากษัตริย์สมัยใหม่ คือไม่ได้ สู้รบกับข้าศึก แต่สู้กับความยากจน และรบกับธรรมชาติเพื่อให้คนไทย อยู่รอดปลอดภัย ฉะนั้นรัฐบาลต้อง สนองพระราชด� ำ ริ น้ี และด� ำ เนิ น งานต่ อ ตามที่ พ ระองค์ ท ่ า นเริ่ ม ไว้ ไม่ใช่พระองค์ท่านเริ่มไว้แล้วต้องท�ำ เองจนจบ คงไม่ใช่…” หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
5
ค�ำกล่าวข้างต้นคือข้อความบางตอนที่ท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กรุณาให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ในขณะที่ ท ่ า นด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ บั ญ ชาการทหารบก ซึ่ ง เนื้ อ ความที่ ท ่ า น กล่าวในวันนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความ ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ ท รงมี ต ่ อ พสกนิ ก ร ชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องการ แก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนให้ แ ก่ ค นในชาติ อั น เป็ น พระราชปณิ ธ านที่ ต ้ อ งทรงด� ำ เนิ น พระราชกรณี ย กิ จ ตามค� ำ กราบบั ง คมทู ล ของคนไทยทั้ ง ชาติ และเป็น การแสดงออก ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว จะมิ ไ ด้ ทรงทอดทิ้ ง ประชาชนของพระองค์ ท ่ า น ดังพระราชด�ำรัสพระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ หากทุ ก ท่ า นมองย้ อ นไปในอดี ต ภาพที่ ทุกท่านเห็นเป็นประจ�ำจนชินตาคือพระราช กรณียกิจองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6
ทีไ่ ด้เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเยีย่ มราษฎรใน ท้องถิ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ทุรกันดารและ พื้นที่ป่าเขาในทุกภูมิภาคของประเทศอย่าง สม�่ำเสมอนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ภาพในอดีตคงเป็นประจักษ์พยานที่ช่วยยืนยัน ให้สังคมไทยได้เห็นถึงน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรง มีต่อพสกนิกรชาวไทยโดยพระราชกรณียกิจที่ ทรงบ�ำเพ็ญส่วนใหญ่คอื การพัฒนาประเทศ ทัง้ ยังได้พระราชทานพระราชด�ำรัสหรือแนวพระ ราชด�ำริแก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพือ่ น้อมน�ำไปปฏิบตั จิ นส�ำเร็จลุลว่ งและบังเกิด ประโยชน์ สู ง สุ ด ยั ง ความร่ ม เย็ น และบั ง เกิ ด ความผาสุกแก่ปวงเหล่าพสกนิกรเสมอมา ตลอดระยะเวลาที่ พ ระองค์ ท ่ า นด� ำ เนิ น พระราชกรณี ย กิ จ ในลั ก ษณะที่ ใ กล้ ชิ ด กั บ ประชาชนทั่วทุกพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศ ทุ ก ครั้ ง ที่ เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เยี่ ย มเยี ย น ราษฎร พระองค์มิได้ทรงค�ำนึงถึงเส้นทางเสด็จ
พระราชด�ำเนินหรือภยันตรายใด ๆ เลยแม้แต่ น้อย แม้ว่าจะมีระยะทางหลายกิโลเมตร บน เส้นทางที่ขรุขระ บางกรณีต้องขึ้นเขาลงห้วย ต้องบุกป่าฝ่าดงไปในเส้นทางที่ถนนเข้าไปไม่ ถึง แม้ฝนจะตกหนักเต็มไปด้วยน�ำ้ ขังและโคลน ตม หรืออากาศจะหนาวเหน็บหรือร้อนอบอ้าว เพียงใด ก็ไม่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางการ เสด็จพระราชด�ำเนินไปให้ถึงตัวราษฎรที่ทรง ห่วงใย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึง ปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรส่วนใหญ่ ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและได้รับความ เดือดร้อนจากการขาดแคลนน�้ำ ขาดแคลน เครื่องไม้เครื่องมือ และขาดแคลนองค์ความรู้ อันเป็นปัจจัยส�ำคัญเพือ่ การด�ำเนินการทางการ เกษตรกรรมและการด� ำ รงชี วิ ต โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง พสกนิ ก รในท้ อ งถิ่ น ชนบท พื้ น ที่ ทุ ร กั น ดารจนเป็ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด ปั ญ หาความ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ยากจน ขาดเสถียรภาพในการด�ำเนินชีวิต และ อ่อนด้อยในด้านคุณภาพชีวิต จึงทรงก�ำหนด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริต่าง ๆ ขึ้ น และพระราชทานให้ ส ่ ว นราชการหรื อ หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาด�ำเนิน การให้ เ หมาะสมและถู ก ต้ อ งในเชิ ง วิ ช าการ ทั้งในเรื่องการพัฒนาแหล่งน�้ำ การบ�ำรุงและ พัฒนาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การพัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างการเกษตรกรรม พร้ อ มทั้ ง พระราชทานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางหลักในการด�ำเนินชีวิตและ ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างไม่เดือดร้อน แนวทางและโครงการอั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด�ำริต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไข ปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบท ให้ ส ามารถประกอบอาชี พ เลี้ ย งตั ว เองและ ครอบครัวให้มคี วามสุขตามอัตภาพ และยังเป็น หลักคิดในการด�ำเนินชีวิตทั้งของคนในชนบท และในเมื อ งให้ รู ้ จั ก การด� ำ เนิ น ชี วิ ต บนทาง สายกลางโดยไม่ใช้ชีวิตจนเกินสุข และไม่ต้อง ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ยากล�ำเค็ญจนเกินควร หาก ทุกท่านรู้จักกับค�ำว่า พอเพียง สิ่งที่ผู้เขียนได้ เรียบเรียงข้างต้นนีค้ อื กล่องวิเศษพระราชทาน ที่จะช่วยดลบันดาลให้ชีวิตของปวงพสกนิกร ชาวไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะสามารถ ประสบสิ่งสมหวังได้ดังใจปรารถนา ทั้งนี้ ส่วน ราชการหรือหน่วยงาน หรือประชาชน พึงจะ ต้องน้อมน�ำไปประพฤติปฏิบัติ และด�ำเนิน การให้ ป ระสบผลส� ำ เร็ จ ตามความเหมาะ สมด้วยองค์กรเอง หรือตัวเอง เพราะกล่อง วิเศษนี้จะบังเกิดผล ก็ต่อเมื่อท่านได้อธิษฐาน และให้ สั จ จะกั บ ตนเองว่ า จะปฏิ บั ติ ต าม ที่ ท ่ า นปรารถนาตามแนวทางอั น ถู ก ต้ อ ง ชอบธรรม แล้วผลที่เกิดขึ้นจะเป็นผลส�ำเร็จ
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
ตามใจอธิษฐาน โดยทุกสิ่งทุกอย่างจะส�ำเร็จ ด้ ว ยการกระท� ำ ด้ ว ยความมานะ อดทน มีความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยตนเอง เมื่อเป็น เช่นนี้ ปัญหาความยากจน หรือปัญหาต่าง ๆ ก็จะคลี่คลายและลุล่วงไปด้วยดีสมดังความ ปรารถนา และเรื่องที่ส�ำคัญคือขอให้ทุกท่าน พึงตระหนักคือการท�ำงานและด�ำเนินชีวิตบน พื้นฐานของความรัก ความสามัคคี ปรารถนา ดี และปันน�้ำใจต่อกัน แล้ววันนั้นปัญหาความ ยากจนและปัญหาต่าง ๆ จะจางหายไปจาก สังคมไทย ในวั น ที่ ๕ ธั น วาคม ๒๕๕๗ ซึ่ ง เป็ น วั น คล้ายวันพระราชสมภพ ๘๗ พรรษา ขององค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนใคร่ขอ เรี ย นเชิ ญ ทุ ก ท่ า นร่ ว มกั น ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ แ ละ ด�ำเนินชีวิตตามความรับผิดชอบบนพื้นฐาน ของคุ ณ ธรรมและความพอเพี ย ง เพื่ อ ถวาย เป็นพระราชกุศลและถวายพระเกียรติแด่องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ให้ทรงพระเกษม ส�ำราญ มีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญ เป็นร่มโพธิ์ทองของพสกนิกรชาว ไทยตลอดกาลนานเทอญ
7
สงครามในสมัย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ภ
ายหลังจากที่ กรุงอโยธยาศรีราม เทพนครหรือกรุงศรีอยุธยา ต้อง เสี ย ที ใ ห้ แ ก่ พ ม่ า ข้ า ศึ ก ในช่ ว งค�่ ำ ของวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ ท�ำให้เอกราช ของชาติในเวลานั้นต้องสูญสิ้นไป กล่าวได้ว่า สถานการณ์ บ ้ า นเมื อ งในเวลานั้ น อยู ่ ใ นช่ ว ง การจลาจลครั้ ง ใหญ่ ผู ้ ค นหลายครอบครั ว และประชาชนในเมืองต่างต้องกระจัดกระจาย พลัดพรากจากกัน บ้างก็ถูกข้าศึกกวาดต้อนไป เป็นเชลยส�ำหรับใช้แรงงานหรืออื่น ๆ จิปาถะ 8
บ้างก็ต้องหลบหนีกันหัวซุกหัวซุนเพื่อหลบภัย สงคราม เรียกได้ว่าบ้านเมืองสมัยนั้นอยู่ใน สภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ราชอาณาจักร อยุธยานั้นจึงถูกแบ่งออกเป็นก๊ก เป็นชุมนุม ที่น�ำโดยผู้มีอ�ำนาจในพื้นที่ต่าง ๆ และมีความ เป็ น อิ ส ระต่ อ กั น สุ ด แล้ ว แต่ ว ่ า ชุ ม นุ ม ใดจะมี แสนยานุภาพมากกว่ากัน แต่ที่น่าสนใจเป็น อย่างยิ่งคือชุมนุมต่าง ๆ (ยกเว้นชุมนุมพระยา ตาก) กลับมิได้มีความสนใจที่จะกอบกู้บ้าน เมืองอย่างแท้จริง เพียงแต่รักษาฐานอ�ำนาจ
และผลประโยชน์ของตนไว้กับการมองเพียงว่า ข้าศึกมีความเข้มแข็งมากยังไม่ควรเข้าไปต่อสู้ เพราะในเวลานั้นคนไทยต่างเกรงกลัวความ ดุร้ายและดุดันของข้าศึกเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ ง ก็ มี เ พี ย งชุ ม นุ ม ของพระยาตากหรื อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเท่านั้น ที่ยังมี อุดมการณ์อย่างแรงกล้าในอันที่จะรวบรวม กองก� ำ ลั ง เพื่ อ ขั บ ไล่ ก องก� ำ ลั ง ข้ า ศึ ก ที่ ยั ง คง หลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับกอบกู้ เอกราชของชาติ ด้วยการประกาศตนเป็นผู้น�ำ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้ กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม ดังปรากฏ ในข้อความบางตอนตามพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงค�ำพูดของ พระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า “...ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรใน แขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไป กู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัด ท�ำนุบ�ำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่ง อนาถาหาทีพ่ ำ� นักมิได้ให้รม่ เย็นเป็นสุขานุสขุ แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนา การขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็น เจ้าขึน้ ให้คนทัง้ หลายย�ำเกรงจงมาก ซึง่ จะก่อ กู้แผ่นดินจึงจะส�ำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลาย จะเห็นประการใด...” ทั้งนี้พระยาตากได้มีการซ่องสุมก�ำลังและ เตรียมการระดมสรรพก�ำลังส�ำหรับบุกจู่โจม ข้าศึกโดยตั้งแหล่งชุมนุมที่เมืองจันทบุรี ด้วย การฝึ ก ไพร่ พ ลให้ พ ร้ อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ ก ารรบ กอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับ สั่งให้ต่อเรือรบกับรวบรวมเครื่องศัตราวุธและ ยุทธภัณฑ์ภายในเวลา ๓ เดือน ในราวเดือนตุลาคม ๒๓๑๐ ภายหลังจาก สิ้นฤดูมรสุม พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจาก จันทบุรเี ดินทางเลียบอ่าวไทยและเคลือ่ นก�ำลัง พลพร้ อ มยุ ท โธปกรณ์ เ ข้ า มาทางปากแม่ น�้ ำ เจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
เป็นที่แรก และเมื่อยึดเมืองธนบุรีและปราบ นายทองอินผู้ดูแลเมืองได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพ ทั้งทางบกและทางเรือเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่ ง ข้ า ศึ ก ได้ ตั้ ง เป็ น ฐานที่ มั่ น ในขณะนั้ น ซึ่ ง จากการรบอย่างดุเดือดถึงขั้นตะลุมบอนและ ปะทะกันด้วยอาวุธสั้น ในที่สุดกองก�ำลังของ พระยาตากสามารถปราบข้าศึกจนราบคาบ และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่ง ตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐ รวม
เวลาประมาณ ๗ เดือน ภายหลังจากเสียกรุง ศรีอยุธยา ต่อมา พระยาตากได้ปราบดาภิเษก เป็น พระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค�่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๙ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า พระศรีสรร เพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียก ขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จ พระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หลังจากนั้นระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๑๑ – ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรง
9
ปราบปรามบรรดาผู้ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในชุมนุม ต่ า ง ๆ รวม ๔ ชุ ม นุ ม ให้ ร าบคาบ เพื่ อ คง ความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของราช อาณาจักรสยาม ส�ำหรับการปราบปรามชุมนุม นั้นเป็นการด�ำเนินการกับกลุ่มคนไทยผู้มีความ เห็นต่างกันซึ่งผู้เขียนไม่ขอน�ำมาบรรยายใน ครั้งนี้ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ผู ้ เ ขี ย นใคร่ ข อน� ำ เสนอคื อ ราชการสงครามกั บ ข้ า ศึ ก ภายหลั ง ที่ ส มเด็ จ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกูเ้ อกราชแล้ว ซึ่งจากการสืบค้นทราบว่ามีราชการศึกในการ ป้องกันราชอาณาจักรสยามกับพม่าข้าศึก รวม ๙ ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ สงครามครั้งที่ ๑ : รบพม่าที่บางกุ้ง ปลาย พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๐ พระเจ้ า มั ง ระกษั ต ริ ย ์ พม่า ทราบข่าวการตั้งตัวเป็นใหญ่ของสมเด็จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช จึ ง ทรงสั่ ง ให้ เ จ้ า เมืองทวาย คุมก�ำลังมาตรวจตราแผ่นดินไทย มีหน้าที่ปราบปรามผู้ที่ก�ำเริบตั้งตนเป็นใหญ่ ให้ราบคาบโดยมีการรบกันทีเ่ มืองไทรโยค และ เมืองสมุทรสงคราม การรบครั้งนั้นฝ่ายสยาม ชนะศึก สามารถยึดเรือรบ เครื่องศัตราวุธ และ เสบียงอาหารได้เป็นจ�ำนวนมาก
10
สงครามครั้งที่ ๒ : พม่าตีเมืองสวรรคโลก พุทธศักราช ๒๓๑๓ รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมือง สวรรคโลก ทัพสยามสามารถตีแตกไปได้ สงครามครัง้ ที่ ๓ : ตีเมืองเชียงใหม่ครัง้ แรก พุทธศักราช ๒๓๑๔ เป็นการรบกับพม่าเมื่อ ฝ่ายสยามยกกองทัพไปตีนครเชียงใหม่ (ซึ่ง พม่ายึดครองอยู่) เป็นครั้งแรก แต่ไม่ส�ำเร็จ เนื่องจากเสบียงฝ่ายสยามไม่เพียงพอ สงครามครัง้ ที่ ๔ : พม่าตีเมืองพิชยั ครัง้ ที่ ๑ พุทธศักราช ๒๓๑๕ ทัพพม่ายกไปช่วยเมือง เวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง โดยขากลับ ผ่านเมืองพิชัย และยกเข้าตีเมืองแต่ก็ไม่ส�ำเร็จ ปรากฏว่าฝ่ายสยามเป็นฝ่ายชนะ สงครามครัง้ ที่ ๕ : พม่าตีเมืองพิชยั ครัง้ ที่ ๒ พุทธศักราช ๒๓๑๖ พม่ายกมาตีเมืองพิชยั เป็น ครั้งที่ ๒ แต่พม่าตีไม่ส�ำเร็จ และได้เกิดวีรกรรม พระยาพิชัยดาบหักขึ้น สงครามครัง้ ที่ ๖ : ตีเมืองเชียงใหม่ครัง้ ที่ ๒ พุทธศักราช ๒๓๑๗ กองทัพสยามชนะสงคราม สามารถ ยึดนครเชียงใหม่คืนกลับจากพม่าได้ พร้อมกับได้เมือง ล�ำปาง ล�ำพูน และน่าน กลับ คืนมาเป็นของสยาม สงครามครั้งที่ ๗ : รบพม่าที่บางแก้วเมือง ราชบุรี พุทธศักราช ๒๓๑๗ พม่ายกพลตาม พวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปยังเมืองราชบุรี ทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เองโดยตั้งค่าย ล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางล�ำเลียงเสบียง อาหาร จนในที่สุดข้าศึกขอยอมแพ้ ชัยชนะ ในครั้ ง นี้ ส ่ ง ผลให้ ช าวสยามที่ ห ลบซ่ อ นตาม พื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า สงครามครั้งที่ ๘ : อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมือง เหนือ พุทธศักราช ๒๓๑๘ นับเป็นสงคราม ครั้ ง ใหญ่ ที่ สุ ด โดย อะแซหวุ ่ น กี้ เ ป็ น ผู ้ น� ำ ที่ เชีย่ วชาญศึก ในครัง้ นัน้ พม่ายกพลมาประมาณ ๓๕,๐๐๐ คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก และล้อม เมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ
๑๐,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกทัพไปช่วย ในที่สุด อะแซหวุ่นกี้ต้องยก ทัพกลับ เนือ่ งจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่กลับไปไม่ทันจึงถูกกองทัพ สยามจับได้บางส่วน สงครามครัง้ สุดท้าย : พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๓๑๙ ทัพพม่าและมอญประมาณ ๖,๐๐๐ คน ยกมาตี เ ชี ย งใหม่ ในห้ ว งแรก เชียงใหม่ไม่มีก�ำลังพลพอป้องกันเมืองได้ จึง ได้อพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราช จึ ง ทรงพระกรุ ณ า โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมือง เหนือขึ้นไปสมทบกองก�ำลังนครล�ำปาง ยกไป ตีเมืองเชียงใหม่คืนส�ำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้จัดทัพไปราชการที่เขมรและในบาง พื้นที่ ซึ่งฝ่ายสยามก็สามารถเอาชนะศึกได้เป็น ส่วนใหญ่ แต่สว่ นใหญ่มไิ ด้เป็นราชการสงคราม เพือ่ การป้องกันประเทศหรือรักษาเอกราชของ ชาติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งที่ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึงต่อไปนี้คือ พระ ราชนโยบายในการปรับปรุงกิจการทหารให้ เข้มแข็ง ด้วยทรงก�ำหนดวางมาตรการทาง ทหารที่ส�ำคัญไว้ ๓ แนวทาง ดังนี้ ๑. การรวบรวมแม่ทัพนายกอง โดยทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมผู้ที่มีความ สามารถในการรบและกิจการทหารมาร่วมกัน ต่อสู้ศึกและกอบกู้สถานการณ์ โดยทรงแต่งตั้ง ผู ้ มี ค วามรู ้ ค วามสามารถเป็ น แม่ ทั พ สนอง ราชการสงครามทั้งภายในและภายนอกราช อาณาจักรสยาม ซึ่งบุคคลส�ำคัญในราชการ สงครามอาทิ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) พระยาพิชัย (ทองดี) หรือพระยาพิชัยดาบหัก ๒. การบริหารจัดการก�ำลังพล โดยทรง ก�ำหนดให้ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหาร และเข้ า รั บ ราชการทหารตามระยะเวลาที่ ก�ำหนด ด้วยการส�ำรวจก�ำลังพลและท�ำการ
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
และการยกกองก� ำ ลั ง ทางเรื อ ไปตี เ ขมรเมื่ อ ปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ ข้อความข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วน ของพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชในการกอบกู้เอกราชและสร้างความ เป็นปึกแผ่นให้แก่สยามประเทศและรวบรวม ความเป็นชาติให้แก่สยาม ด้วยพระราชวิริยภาพ และพระอัจฉริยภาพเพราะหากพระองค์ มิได้กอบกู้เอกราชได้ในเวลาอันเหมาะสมแล้ว จะมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่าเราจะมีความเป็นชาติ ไทยได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มชนผู้เคย พ่ายแพ้สงครามกับพม่าในอดีตส่วนใหญ่แตก กระจัดพลัดพรายเป็นชนกลุ่มน้อยให้ทุกท่าน เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเวลานั้นมี การตั้งก๊ก ตั้งชุมนุมกันหลายชุมนุมและต่างก็ มีความเกรงกลัวข้าศึกอยู่ด้วยแล้ว ความสุ่ม เสี่ยงที่ชาวสยามจะแตกฉานซ่านเซ็นเป็นชนก ลุ่มน้อยจึงมีความเป็นไปได้สูงมากในเวลานั้น
สั ก ข้ อ มื อ พวกไพร่ แ ละทาสทุ ก คน เพื่ อ ให้ ทราบต้นสังกัดกับชื่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ ทราบจ�ำนวนที่แน่นอนและง่ายต่อการควบคุม บังคับบัญชา ๓. ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้มกี ารแสวงหา อาวุ ธ ที่ มี อ านุ ภ าพสู ง มาใช้ ใ นกองทั พ เป็ น จ�ำนวนมาก ได้รับอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ จากต่าง ประเทศ อาทิ ปืนใหญ่ ปืนคาบศิลา ปืนนกสับ และปืนจ่ารงค์ โดยเฉพาะปืนใหญ่นอกจากที่ ได้รับจากต่างประเทศแล้ว ยังได้หล่อขึ้นใช้เอง ส�ำหรับป้องกันพระนครอีกด้วย ๔. ด้านยุทธศาสตร์ทหาร ได้มีการก�ำหนด เขตสงคราม ออกเป็นเขตหน้าและเขตหลัง เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการรบและการส่ ง ก� ำ ลั ง บ�ำรุง และใช้วิธียกก�ำลังไปสกัดยับยั้งข้าศึก ที่ ม ารุ ก รานที่ บ ริ เ วณชายแดนเพื่ อ ป้ อ งกั น ดินแดนภายในราชอาณาจักรไม่ให้เสียหายจาก ภัยสงครามและไม่เป็นภัยต่อราชธานี ๕. การระดมสรรพก�ำลังด้านยุทโธปกรณ์ เนื่ อ งจากปื น ใหญ่ เ ป็ น ยุ ท โธปกรณ์ ที่ ท รง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
อานุภาพและเพื่อเพิ่มอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างได้ ผล แต่ในเวลานั้น ปืนใหญ่มีอยู่อย่างจ�ำกัดจึง ทรงก�ำหนดนโยบายการใช้ปืนใหญ่ช่วยส่วน รวม ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารพระราช หัตถเลขา ตอนศึกอะแซหวุ่นกี้ในตอนหนึ่งว่า “...ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค�่ำ เดือน ๓ อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กองทัพพม่ากองหนึ่ง มาตั้ง ค่ายตรงวัดจุฬามณีข้างฝั่งตะวันตกสามค่าย แล้วให้อีกกองหนึ่ง ยกลงมาลาดตระเวนทาง ฝั่งตะวันตก ได้รบกับไทยตั้งแต่ค่ายระยะที่ สาม ที่บ้านกระดาษลงมา จนถึงค่ายระยะที่ หนึ่งที่บางทราย ให้กองเกณฑ์หัดคุมปืนใหญ่ รางเกวียน ๓๐ กระบอก ขึ้นไปช่วยรักษา ค่ายที่บางทราย พม่ารบพุ่งอยู่จนค�่ำจึงถอย กลับไป...” ๖. ตั้ ง กองก� ำ ลั ง ทางเรื อ โดยใช้ ก� ำ ลั ง ทางเรือ ในการยกกองทัพไปปฏิบัติราชการ สงครามในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไปมาก อาทิ การยกกองก� ำ ลั ง ทางเรื อ ไปตี เ มื อ ง นครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๒
จึ ง ถื อ ว่ า สยามประเทศโชคดี เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่มีพระราช สมัญญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวั น ที่ ๒๘ ธั น วาคม ๒๕๕๗ นี้ ทาง ราชการได้จัดพิธีถวายราชสักการะในพระมหา กรุ ณ าธิ คุ ณ ขององค์ ส มเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและ ประชาชนชาวไทย ผู้เขียนใคร่ขอเรียนเชิญ ทุ ก ท่ า นได้ ก รุ ณ าน้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและร่วมกันถวาย ราชสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน
11
แผ่นดิน
ของการปฏิรูประบบราชการ
พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชประวัติ พระปรีชาสามารถ ในการบริหารราชการแผ่นดิน (ตอนที่ ๑) ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม 12
ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
บทน�ำ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชพระปฐมบรมราชจั ก รี ว งศ์ ทรง สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๓๕ เจริญรุ่งเรื่องสืบมาถึงพระ มหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๙ รัชสมัยแห่งพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิ ตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินท ราธิราชบรมนาถบพิตรซึ่งด�ำรงสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ รวมเวลา ได้ ๒๒๔ ปี กล่าวได้ว่า ชาวไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ล้วนโชคดี ทีไ่ ด้อยูใ่ นร่มพระบารมีของพระมหา กษัตริย์ที่ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม สมบูรณ์ ด้วยธรรมราชา อันประกอบด้วย จักรวรรดิวตั ร และสังคหวัตถุ ถ้วนทุกพระองค์ พิจารณาประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลปัจจุบันจะเห็นได้ ว่าพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ทรงปฏิบัติ บ�ำเพ็ญพระราชภารกิจอันเป็นนโยบายหลัก ส�ำคัญของบ้านเมือง ในลักษณะสืบสานพระ ราชปณิธานจากรัชกาลหนึ่งสู่รัชกาลหนึ่งอย่าง ต่อเนื่องตลอดมา และเป็นความมหัศจรรย์ ประการหนึ่งที่ทุกพระองค์ทรงเหมาะกับยุค สมัยที่ทรงด�ำรงสิริราชสมบัติ เสมือนก�ำหนด ให้ ท รงจุ ติ ม าประจ� ำ รั ช กาลนั้ น ๆ เพราะ แต่ละพระองค์ทรงมีพระราชบุคลิกลักษณะ และพระอัจฉริยภาพปรีชาญาณในการแก้ไข เหตุ ก ารณ์ บ ้ า นเมื อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น ในรั ช สมั ย ให้ ลุล่วงปลอดภัยอย่างเป็นคุณประโยชน์ รวมทั้ง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
ปกป้องวิกฤตการณ์อันล่อแหลมต่อการสูญ เสียอธิปไตยหลายครั้ง เป็นเกียรติภูมิแก่ชาว ไทยสุดประมาณ ที่ชาติไทยเป็นชาติเดียวใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถธ�ำรงรักษา เอกราชไว้ได้ การจัดระบบบริหารราชการแผ่นดิน หลัง จากกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๐ มีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จ พระรามาธิ บ ดี ศ รี สิ น ทรมหาจั ก รี บ รมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรม ราชจักรีวงศ์ เสด็จปราบดาภิเษก สถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ ทั้ ง นี้ สื บ เนื่ อ งจากรั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระเจ้าตากสินมหาราช (พุทธศักราช ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕ รวม ๑๕ ปี) หลักจากทรงกู้ชาติ สถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นศูนย์กลาง บริหารราชการแผ่นดินแทนกรุงศรีอยุธยาที่ ยั่งยืนมานานกว่า ๔ ศตวรรษ นั้น มีเหตุปัจจัย ยุ่งยากซับซ้อนหลายประการ ที่เป็นอุปสรรค จึ ง ไม่ มี โ อกาสจั ด ระบบการบริ ห ารราชการ ได้เต็ม ที่ สมั ย กรุ ง ธนบุ รี ค งยึ ด ระบบบริ ห าร ราชการแผ่นดินแบบเดียวกับกรุงศรีอยุธยา ต่างแต่ลดขนาดขอบข่าย และจ�ำนวนบุคลากร การทีศ่ นู ย์กลางอ�ำนาจและการบริหารราชการ แผ่ น ดิ น ซึ่ ง เคยรวมอยู ่ ที่ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา กระจายตัวออกเป็นศูนย์อ�ำนาจอิสระย่อย ๆ ตามภูมิภาค ท�ำให้ระยะแรกไม่มีการยอมรับ การรวมศูนย์อำ� นาจของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช จึงทรงใช้เวลาปราบปรามหลายปี เพื่อรวมศูนย์อ�ำนาจและการบริหารราชการ แผ่ น ดิ น กลั บ มาที่ ก รุ ง ธนบุ รี นอกจากนั้ น ภายหลังจากการรุกรานของพม่ายังมีอย่างต่อ เนื่องพระราชภารกิจส่วนใหญ่จึงหมดไปกับ การป้องกันและสร้างความเป็นปึกแผ่นในราช อาณาจักร อีกทั้งข้าราชการในกรุงศรีอยุธยา จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยที่ เ สี ย ชี วิ ต จากภั ย สงคราม และถู ก กวาดต้ อ นไปกรุ ง อั ง วะ ที่ เ หลื อ รอด ต่างกระจัดกระจายไปสังกัดอยู่ในศูนย์กลาง อ�ำนาจที่แตกตัวออกจากรุงศรีอยุธยา กว่าที่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงรวบรวม ข้าราชการให้เพียงพอต่อระบบบริหารราชการ แผ่ น ดิ น ในกรุ ง ธนบุ รี ไ ด้ ก็ เ ป็ น เวลานานมาก กระบวนในการสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพ บุคลากรใหม่ จึงไม่อาจกระท�ำได้เต็มที่ การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกนั้นกล่าวได้ว่า เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับการวางรากฐาน และพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินตลอด ทั้ ง การสร้ า งประสิ ท ธิ ภ าพข้ า ราชการอย่ า ง จริงจัง การศึกษากระบวนการดังกล่าว จ�ำต้อง ศึกษาภูมิหลัง คือ พระราชประวัติเบื้องต้นที่ เป็นพื้นฐานอันส่งผลมาสู่การเป็นนักบริหาร และบทบาทผู้น�ำในการก�ำหนดนโยบาย การ วางรากฐานพั ฒ นาระบบบริ ห ารราชการ แผ่ น ดิ น และการสร้ า งประสิ ท ธิ ภ าพให้ ข้าราชการในยุคสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ 13
พระราชประวัติ พระปรีชาสามารถในการ บริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช พระนามเดิม ทองด้วง เสด็จพระราช สมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา ในตระกูลขุนนางฝ่าย พลเรือน เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระชนกคือ หลวงพินิจ อักษร (ทองดี) “รับราชการเป็นเสมียนตรา กรมมหาดไทย เทียบได้กับนักบริหารระดับ กลางในระบบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน พระมารดาคื อ ท่ า นหยก เป็ น ครอบครั ว ข้าราชการพลเรือน “ผู้มีอันจะกิน”มีฐานะ มั่นคงมั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง ได้สร้างวัดประจ�ำ ตระกูล คือวัดทอง ตรงบริเวณใกล้บ้านในกรุง ศรีอยุธยา และทรงอุปถัมภ์ตลอดมา” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงผนวชเมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๐๐ ณ วัดมหาทลายในกรุงศรีอยุธยาเมื่อทรงลา ผนวชแล้วเข้ารับราชการตามพระชนก อันเป็น รูปแบบของการคัดสรรบุคคลเข้ารับราชการ ในสมัยนั้นโดยถวายตัวเริ่มเข้ารับราชการใน ต� ำแหน่ ง มหาดเล็ ก ในสมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า อุ ทุ ม พร กรมขุ น พรพิ นิ ต พระราชโอรสของสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ช่วงเวลา ๔ ปีนับตั้งแต่ เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ขณะเมื่อ พระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้ทรงสมรสกับท่าน นาค ธิดาในตระกูลคหบดี แห่งบ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อพม่ารุกรานไทย ครั้ ง สงครามเสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาพุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๐ กรมการเมืองราชบุรีไม่อาจต้านทาน กองทัพพม่าได้ หลวงยกกระบัตรจ�ำต้องอพยพ ครอบครัวจากราชบุรีไปซุ่มซ่อนอยู่ในระแวก บ้านของท่านนาคผู้เป็นภริยา ซึ่งพื้นที่บ้าน อัมพวาเป็นสวนผลไม้ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง หลังเสียกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงตัง้ ชุมนุมไพร่พลอยูท่ เี่ มืองจันทบุรี หลวงยกบั ต รเมื อ งราชบุ รี ไ ด้ แ นะน� ำ ให้ น าย สุจินดา (บุญมา) ผู้เป็นน้องให้น�ำพระราชชนนี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งอพยพ หนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปส่งที่ชุมนุม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จันทบุรี ได้ เข้ า ร่ ว มภารกิ จ กอบกู ้ บ ้ า นเมื อ งกั บ สมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น มหาราชด้ ว ย เมื่ อ รวบรวม บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ศูนย์อ�ำนาจแห่งใหม่และปราบดาภิเษกเป็น กษัตริย์หลวงยกกระบัตรได้รับการชักชวนจาก นายสุจินดาให้น�ำครอบครัวย้ายเข้ามาพ�ำนัก ยังกรุงธนบุรีและถวายตัวเข้ารับราชการ ทรง เป็นก�ำลังส�ำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน 14
ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะ เวลาไม่ถงึ ๑๐ ปีได้รบั พระราชทานบรรดาศักดิ์ เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว พระยศเทียบ เสมอเจ้าต่างกรมเริม่ ตัง้ แต่เป็นพระราชวรินทร์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยา จักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกการรับ ราชการของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช สรุปได้ดังนี้ พุทธศักราช ๒๓๐๔ พระชนมายุ ๒๕ ปี ได้ เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ออกไปรับ ราชการส่วนภูมิภาคจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๓๑๑ ถวายตัวกลับเข้ารับ ราชการในสมเด็ จ พระเจ้ า กรุ ง ธนบุ รี ได้ รั บ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ ก�ำกับราชการกรมพระต�ำรวจ ในปีเดียวกันนี้ ได้โดยเสด็จราชการทัพไปปราบเจ้าพิมาย ทรง ตีด่านขุนทดและด่านกระโทก พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๑๒ เสร็ จ ศึ ก เจ้ า พิ มาย แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาอภัย รณฤทธิ์ เป็นแม่ทัพไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้ เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองบันทายเพชร์
พุทธศักราช ๒๓๑๓ ได้รับพระราชทาน เลื่อนเป็นพระยายมราช บัญชาการกรมหมาด ไทย แทนสมุ ห นายก ต่ อ มาเมื่ อเจ้า พระยา จักรี (แขก) ถึงอสัญกรรม จึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาจักรี ไปตีกรุงกัมพูชาอีกครัง้ ได้เมือง พระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และ เมืองบันทายเพชร์ พุทธศักราช ๒๓๑๓ เจ้าพระยาจักรี เป็น แม่ ทั พ ตี เ มื อ งเชี ย งใหม่ กั บ เจ้ า พระยาสุ ร สี ห ์ ผู้น้องต่อมามีทัพพม่ามาตั้งมั่นที่บางแก้วอัน เป็นเขตต่อระหว่างราชบุรีและสมุทรสงคราม เจ้าพระยาจักรีกลับมาบัญชาการรบอีก พุทธศักราช ๒๓๑๘ พม่ายกทัพมาตีเมือง เชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีน�ำทัพขึ้นไป พอได้ ยินข่าวทัพพม่าก็ย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน บังเอิญเป็นเวลาที่อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพเข้าตี เมืองพิษณุโลกทางด่านแม่ละเมา เจ้าพระยา จักรีจงึ ถอยทัพมาตัง้ รับพร้อมด้วยพระยาสุรสีห์ ศึกอะแซหวุ่นกี้ครั้งนี้นับว่าส�ำคัญมาก พม่า ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้หลายด้าน เข้าตีเมือง หลายครัง้ ไม่สามารถตีได้ อะแซหวุน่ กีส้ รรเสริญ ว่า “ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็งอาจสู้รบเรา ผู้เฒ่าได้ จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้ เป็นกษัตริย์แท้” ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
พุทธศักราช ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรี เป็น แม่ ทั พ ไปตี หั ว เมื อ งทางตะวั น ออก เมื อ ง นางรอง จ�ำปาศักดิ์ อัตปือ โขงเจียม สุรินทร์ สังขะและขุขนั ธ์ เสร็จราชการทัพครัง้ นีไ้ ด้เลือ่ น ยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับ พระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม พุทธศักราช ๒๓๒๑ สมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ใน สงครามระหว่างกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนา คนหุต หลวงพระบางและหัวเมืองขึน้ ได้อญ ั เชิญ พระแก้วมรกตกับพระบาง ซึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์ ลงมายังกรุงธนบุรี พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๒๓ สมเด็ จ เจ้ า พระยา มหากษัตริย์ศึก เป็นทัพไปปราบจลาจลที่กรุง กัมพูชายังไม่ทันเสร็จ เกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จึงต้องยกทัพกลับ และปราบดาภิเษกเป็นพระ มหากษัตริย์ จะเห็นได้ว่าราชการที่ทรงรับผิดชอบส่วน ใหญ่คือราชการทัพ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการฝ่าย พลเรือนอย่างดี ในช่วงปฏิบัติราชการในหน้าที่ หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีต้องควบคุมดูแล ข้ า ราชการฝ่ า ยพลเรื อ นด้ ว ยเมื่ อ แรกถวาย ตั ว เข้ า รั บ ราชการในสมเด็ จ พระเจ้ า ตากสิ น หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
มหาราช ได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้า ฯ ให้ ก� ำ กั บ ราชการกรมพระต� ำ รวจดู แ ลความ สงบเรียบร้อยในพระนครซึ่งเป็นราชการฝ่าย พลเรือน ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และการรบทั พ จั บ ศึ ก เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ สนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในราชการของ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นสิ่งที่มิได้ สะสมขึ้นได้ในเวลาอันสั้นในรัชสมัยกรุงธนบุรี เท่ า นั้ น ยั ง ประกอบด้ ว ยพั ฒ นาการที่ สั่ ง สม ขึ้นมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่ง มีพื้นฐานมาจากครอบครัว ท�ำให้สามารถมี พัฒนาการสั่งสมความรู้ ความถนัดและความ สามารถมาตั้งแต่วัยเยาว์ เมือ่ พิจารณาพระราชประวัตกิ ารรับราชการ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช จะเห็ น ว่ า ลั ก ษณะหน้ า ที่ ร าชการ ของพระองค์ท่านในแต่ละช่วง อยู่กึ่งกลาง ระหว่างราชการทหารและพลเรือนมาตลอด ตั้งแต่ต�ำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี เป็นต�ำแหน่งนักบริหารระดับกลาง ที่มีหน้าที่ จัดระเบียบและตรวจตราบัญชีก�ำลังพลของ ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในเมือง นั้น เมื่อรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชวรินทร์
ก�ำกับราชการกรมพระต�ำรวจเป็นงานกึ่ง ๆ ระหว่างทหารและพลเรือนเช่นกัน อย่างไรก็ ดี กล่าวได้ว่าพระปรีชาสามารถทางการทหาร ของพระองค์ มี ค วามโดดเด่ น กว่ า พระปรี ช า สามารถด้านพลเรือน ดังจะเห็นได้จากช่วงที่ ได้รบั พระราชทานเลือ่ นบรรดาศักดิเ์ ป็นพระยา อภัยรณฤทธิ์เมื่อเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมาย เป็ น การก้ า วหน้ า ในราชการจากพระปรี ช า สามารถด้ า นการสงครามเป็ น ล� ำ ดั บ จนถึ ง ระดับสูงสุดที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ครั้นเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกเป็นพระมหา กษัตริย์แล้ว จึงปรากฏชัดเจนว่าพระปรีชา สามารถในราชการฝ่ายพลเรือนนั้น มิได้แตก ต่างกันเลย เพราะในฐานะพระมหากษัตริยาธิ ราชทรงผสานพระปรีชาสามารถทั้งพลเรือน และทหารเข้าด้วยกัน ราชการฝ่ายพลเรือน นั้นดูจะมากกว่าราชการฝ่ายทหารซึ่งมีเฉพาะ ช่วงบ้านเมืองมีศึกสงครามพระปรีชาสามารถ ในราชการฝ่ายพลเรือนเป็นพื้นฐานให้กับพระ ราชกรณียกิจในการวางรากฐานระบบบริหาร ราชการแผ่นดิน และการพัฒนาประสิทธิภาพ ข้าราชการแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวคือพระ ราชกรณียกิจในฐานะพระปฐมบรมราชจักรี วงศ์ หรือที่ทรงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณ ในฐานะ“พระผู้สร้าง” คือ การสถาปนาของ 15
การบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น และศู น ย์ ร วม ความจงรั ก ภั ก ดี ข องข้ า ราชการและอาณา ประชาราษฎร์ การสถาปนาพระมหานคร แห่งใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารพระราช อาณาจักรให้ละม้ายศูนย์กลางเดิมอันรุ่งเรือง มายาวนาน ๔ ศตวรรษ คือ กรุงศรีอยุธยา การสถาปนาพระบรมมหาราชวังและวัดพระ ศรี รั ต นศาสดารามเป็ น ที่ ป ระทั บ ของพระ มหากษัตริย์และศูนย์กลางการบริหารทั้งฝ่าย พุทธจักรและอาณาจักรซึ่งพระราชกรณียกิจ ต่อไปในฐานะ “พระผู้สร้าง” เป็นรากฐาน ส� ำ คั ญ ในพระราชกรณี ย กิ จ ต่ อ ไปในฐานะ “พระผู้ทรงวางรากฐาน” การบริหารราชการ แผ่ น ดิ น และการพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพของ ข้าราชการ
พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชในฐานะ “พระผู้สร้าง” การสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์พระราช นิพนธ์วรรณคดีไทย บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ความตอนหนึ่งว่า “....อันพระนครทั้งหลาย ก็เหมือนกับกายสังขาร กษัตริย์คือจิตวิญญาณ เป็นประธานแก่ร่างอินทรีย์...” พระราชนิพนธ์นี้แสดงถึงแนวทางพระด�ำริ สถานภาพพระมหากษัตริย์ ที่มีความส�ำคัญ ประดุจจิตวิญญาณของมนุษย์ เพราะ “แม้จิต จากกายก็บรรลัย” พระมหากษัตริย์จึงเป็น เสมือนศูนย์กลางของการบริหารการปกครอง ราชอาณาจั ก รทรงเป็ น ประธานในระบบ บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น มี พ ระราชอ� ำ นาจ ก�ำหนดนโยบายสาธารณะและการตัดสินใจ พระราชหฤทัยในกระบวนการบริหารราชการ แผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของ รัฐสืบทอดพระราชอ�ำนาจโดยราชสันตติวงศ์ เสด็ จ ขึ้ น สู ่ อ� ำ นาจเพี ย งพระองค์ เ ดี ย ว โดย ไม่ มีก ารสถาปนาพระราชวงศ์ ไม่ได้ เพราะ การสถาปนาราชวงศ์ มี ค วามจ� ำ เป็ น ในการ สร้างฐานแห่งความชอบธรรมในการปกครอง อาณาจักร เพื่อแสดงให้ปรากฏกับสาธารณชน ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เป็นบุคคล ผู้มีตระกูลวงศ์ ประกอบด้วยเครือญาติร่วม สายโลหิ ต ที่ พ ร้ อ มจะสนั บ สนุ น และสื บ ทอด การปกครองบ้านเมืองของพระองค์ให้สถาวร นอกจากนั้นยังเป็นการก�ำหนดบทบาทและ หน้ า ที่ ข องบุ ค คลที่ เ ป็ น สมาชิ ก ในราชสกุ ล 16
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
ผู้ร่วมสายโลหิตของพระมหากษัตริย์ให้ชัดเจน บทบาทของสมาชิ ก ในราชสกุ ล ทุ ก คนล้ ว น ส�ำคัญในการค�้ำคูณเกื้อหนุนช่วยราชการให้ บ้านเมืองเจริญมั่นคงไพบูลย์ ในความมั่นคง ของราชสกุลของพระมหากษัตริย์ หมายถึง ความมั่นคงและความอยู่รอดของบ้านเมือง ด้วย ยุ ค ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงเป็ น ศู น ย์ ก ลาง และประธานการปกครองและการบริ ห าร ราชการแผ่ น ดิ น นั้ น ราชสกุ ล ของพระองค์ ต้องรับราชการด้วย เป็นระบบบริหารราชการ แผ่นดินที่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสืบธรรมเนียมการสถาปนาพระราชวงศ์ ตามแบบแผนกษัตริย์ไทยครั้งโบราณพระบรม ราชจั ก รี ว งศ์ จึ ง ได้ รั บ การสถาปนาขึ้ น เป็ น ราชวงศ์ของ “พระผู้สร้าง” ราชสกุลรุ่นแรก คือ พระเชษฐภคินี พระอนุชาธิราชร่วมสาย พระโลหิ ต และบรรดาลู ก หลานของท่ า น เหล่านี้ เมื่อได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น พระราชวงศ์แล้ว หลายพระองค์กไ็ ด้รบั ความไว้ วางพระราชหฤทัยให้รับราชการสนองพระเดช พระคุณในระบบบริหารราชการแผ่นดินของ กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ก�ำหนดสถานะ บทบาทที่ ชัดเจนของเจ้านายแต่ละพระองค์ทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
17
ผลการประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ
ASEAN Defence Minister’s Meeting Retreat (ADMM Retreat) ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ นครพุกาม สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา ส�ำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม
18
ส�ำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม
ก
ารประชุม รมว.กห. อาเซียน อย่าง ไม่เป็นทางการทีจ่ ดั ขึน้ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พ.ย.๕๗ ณ นครพุกาม สาธารณรั ฐ สหภาพเมี ย นมา ที่ ผ ่ า นมานี้ มี วัตถุประสงค์เพือ่ รับทราบพัฒนาการและความ คื บ หน้ า ความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง กห.ประเทศ สมาชิกอาเซียน และ ระหว่าง กห. ประเทศ สมาชิกอาเซียนกับ กห. ประเทศคู่เจรจา รวม ทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุม มองเกีย่ วกับสถานการณ์ความมัน่ คงและความ ท้าทายด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน โดยการประชุม รมว.กห.อาเซียนของทั้ง ๑๐ ประเทศสมาชิก ได้มีการพูดคุยถึงปัญหา ความซับซ้อนของสถานการณ์โลก ที่มีความ ท้ า ทายต่ อ อาเซี ย นมากขึ้ น ซึ่ ง ทุ ก ประเทศ สมาชิกต้องมีความร่วมมือกันทุกระดับอย่าง ใกล้ชดิ ขณะเดียวกันความร่วมมือนอกอาเซียน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง กั บ ประเทศมหาอ� ำ นาจ ถื อ ว่ า มี ค วามส� ำ คั ญ ที่ อ าเซี ย นสามารถใช้ โอกาสดังกล่าวเป็นเครื่องมือถ่วงดุลประเทศ มหาอ�ำนาจ เพื่อสร้างเสถียรภาพความมั่นคง ในภูมิภาค และพัฒนาศักยภาพของอาเซียน ในการเผชิ ญ กั บ ความท้ า ทายของภู มิ ภ าคที่ เกิดขึ้น เช่น ความมั่นคงทางทะเล ภัยพิบัติ โรคระบาด การก่อการร้าย ภัยจากสงคราม ไซเบอร์ เป็นต้น ที่ประชุมได้ประณามและ ปฏิเสธการสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่ม ก่อการร้าย ISIS และเห็นว่าเป็นการบิดเบือน ค�ำสอนศาสนา ซึ่งอาเซียนควรต่อต้านแนว ความคิ ด การสร้ า งรั ฐ อิ ส ลามในพื้ น ที่ ต ่ า ง ๆ ของโลกด้วย ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้บทเรียน ที่ส�ำคัญ จากพายุไต้ฝุ่นไห่เยียน ที่ภูมิภาคนี้ สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนากลไก และแนวทางในการสร้างความร่วมมือในการ บริหารจัดการบรรเทาภัยพิบัติ และการฟื้นฟู ร่วมกัน นอกจากนั้นยังเห็นตรงกันว่าช่องแคบ มะละกาและทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางเดินเรือ ที่ส�ำคัญของภูมิภาคและของโลก จึงควรร่วม มือกันลดปัญหาความขัดแย้ง สนับสนุนให้ทุก ฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการ เดินเรือ รวมทั้งยังเห็นว่าความมั่นคงในพื้นที่ ชายแดนนั้นเกิดได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร การฝึกร่วม/ผสม และการพัฒนา ความสัมพันธ์ในทุกระดับ นอกจากนั้น ยังได้ เสนอกลไกและแนวทางร่ ว มมื อ ด้ า นความ มั่นคง เช่น การจัดตั้ง Hot Line ระหว่าง กห.อาเซียน จัดท�ำเอกสารแนวความคิดด้าน การจัดตั้งการประชุม ADMM และ ADMM Plus แผนปฏิบัติงาน ๓ ปีของ ADMM การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนายทหารระดับล่าง ความ ร่วมมือในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทัง้ ความร่วมมือระหว่าง กห. กับภาคประชาสังคม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
19
ท้าทายร่วมกัน โดยญี่ปุ่นให้ความส�ำคัญต่อ ความมั่นคงทางทะเลและเห็นควรยึดหลัก ๓ ประการ คือ ๑. ยึดกฎระหว่างประเทศ ๒. ไม่ ใช้ก�ำลังในการแก้ปัญหา และ ๓. แก้ไขความ ขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยทั้ง ๒ ฝ่ายควรร่วม กันก�ำหนดประเด็นความร่วมมือในอนาคตที่ ชัดเจนขึ้นผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ นอกจากนี้เป็นโอกาสดีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้มี โอกาสหารือทวิภาคีระหว่าง รมว.กห.ประเทศ ต่างๆ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรั ฐ สั ง คมเวี ย ดนาม สาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมา และ มาเลเซี ย ซึ่ ง พล.อ.ประวิตร ฯ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้ ใช้โอกาสนี้สร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ใน ไทย และความจ�ำเป็นต่อการเข้ามาแก้ปัญหา ภายในประเทศของ คสช. และรัฐบาล รวมทั้ง แผนการด�ำเนินงานตาม Road Map ที่จะ ร่ ว มกั น น� ำ พาประเทศไทยไปสู ่ ก ารปฏิ รู ป ที่ประชุมได้ตระหนักถึงความท้าทายจาก โรคระบาด เช่น อีโบล่า ซึ่งเป็นความกังวลของ อาเซียนร่วมกัน โดยในโอกาสนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้เสนอ การจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทหารอาเซียนขึ้นใน ประเทศไทย ในปี ๒๕๕๘ พร้อมทั้งท�ำการฝึก ร่วมด้านการแพทย์ทหารกับด้านการให้ความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัย พิบัติ เพื่อทดสอบศูนย์ฝึกดังกล่าวในปี ๒๕๕๙ ซึ่ ง ได้ ก ารตอบรั บ จากทุ ก ชาติ ส มาชิ ก ด้ ว ยดี พร้อมกับได้ใช้โอกาสนี้ น�ำเสนอนโยบายของ รัฐบาลในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณ ชายแดน จ�ำนวน ๕ พืน้ ที่ และเชิญชวนประเทศ สมาชิกทีม่ ชี ายแดนติดกัน และประเทศสมาชิก อื่น ได้ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการ ลงทุน และการสร้างความมั่นคงแนวชายแดน ร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศสมาชิกเห็นประโยชน์ที่ จะได้รับร่วมกัน การประชุ ม ครั้ ง นี้ ยั ง เป็ น โอกาสส� ำ คั ญ ที่ รมว.อาเซียนทัง้ ๑๐ ประเทศ ได้รว่ มประชุมกับ รมว.กห.ญีป่ นุ่ นาย Akinori Eto ซึง่ ถือเป็นการ เปิ ด ศั ก ราชใหม่ ข องความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง กห.อาเซียน กับ กห.ญี่ปุ่น โดย นรม.ญี่ปุ่นได้ ประกาศนโยบายเสริมสร้างสันติภาพเชิงรุกใน ภูมิภาคอาเซียน (Proactive Contribution To Peace) ซึ่งญี่ปุ่นสามารถมีบทบาทและ ความร่วมมือด้านความมัน่ คงมากขึน้ ในอนาคต เช่น การรักษาสันติภาพ การสนับสนุนด้านการ ส่งก�ำลังบ�ำรุง การช่วยเหลือประชาคมระหว่าง ประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะยังคงเป็นชาติ ที่รักสันติภาพและจะร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในการแสวงหาผลประโยชน์และเผชิญความ 20
ส�ำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม
และการเลือกตั้งได้ตามก�ำหนดเวลา ซึ่งทุก ประเทศมีความเข้าใจเราเป็นอย่างดี เพราะ ได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งของไทยมา เกือบ ๑๐ ปี โดยปัญหาของไทย มีผลกระทบ เชื่ อ มโยงต่ อภู มิ ภ าคร่ ว มกัน ทุก ประเทศได้ แสดงความยินดีต่อการเข้ามาแก้ปัญหาของ รั ฐ บาล พล.อ.ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นรม. พร้ อ มทั้ ง ให้ ก� ำ ลั ง ใจและเวลาในการด� ำ เนิ น งานกับเรา และยินดีให้การสนับสนุนทุกเรื่อง เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคงได้โดยเร็ว โดยเฉพาะ รมว. กห.สิ ง คโปร์ ได้ ใ ช้ โ อกาสการจั ด ประชุ ม Shangri-La Dialogue ซึ่งเป็นการพูดคุยกับ รมว.กห.หลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร โดยแสดงความเห็นว่า ไทยต้องการเวลาในการสร้างเสถียรภาพและ ความมั่นคง รัฐบาลไทยต้องการการสนับสนุน มิใช่การถูกคว�ำ่ บาตร ขณะเดียวกันทุกประเทศ ก็ พ ร้ อ มที่ จ ะร่ ว มกั น พั ฒ นาพื้ น ที่ เ ศรษฐกิ จ
ชายแดนที่ติดกัน เพื่อความมั่นคงและความ เป็นอยู่ที่ดีของประชาชนที่มีชายแดนติดกัน อย่างยั่งยืนต่อไป การแสดงความเข้ า ใจและจริ ง ใจของทุ ก ประเทศสมาชิ ก ต่ อ ไทยครั้ ง นี้ แสดงให้ เ ห็ น ถึงความใกล้ชิดและความเป็นหนึ่งเดียวของ รมว.กห.อาเซียน และกองทัพ ที่ท�ำงานร่วม กันมาด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างต่อเนื่อง ในการที่จะด�ำเนินการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน โดยมุ ่ ง เน้ น ความเป็ น หนึ่ ง เดี ย ว ความเป็ น ศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค การเน้น ที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และความเชื่อมโยง ระหว่างประชาชน เพื่อน�ำพาภูมิภาคอาเซียน ไปสู่ความสงบมั่นคงร่วมกันอย่างยั่งยืน
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
21
22
พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี
เจาะลึกอาเซียน พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี
๑. ย้อนรอยอาเซียน จากอดี ต ในดิ น แดนแห่ ง คาบสมุ ท รของ เอเชียอาคเนย์ ซึ่งขนาบด้วยทะเลจีนใต้และ มหาสมุทรอินเดีย แหล่งอารยธรรมที่สมบูรณ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ป ริ ม าณมหาศาลทั้ ง บน แผ่นดิน และในทะเล ทุกประเทศล้วนผ่านบทเรียนในอดีตที่เจ็บ ปวดจากการยึดครองของชาติตะวันตก การ มีประวัติศาสตร์ที่ร่วมกันและความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศที่ผันเปลี่ยนไป มาสู่ยุคของ การรวมกลุ่มของประเทศเพื่อการต่อรองทาง เศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ท�ำให้เกิดแนวคิดการรวมดินแดนใน แถบนี้เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ที่เรารู้จักกัน ในชื่อ “อาเซียน” ประวัตขิ องอาเซียนเริม่ ตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลปิ ปินส์ และสิงคโปร์ได้ ร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ปี พ.ศ.๒๕๒๗ บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้า มาเป็นสมาชิก ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เวี ย ดนามได้ เ ข้ า มาเป็ น สมาชิก ปี พ.ศ.๒๕๔๐ พม่ า และลาวเข้ า มาเป็ น สมาชิก
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
และปี พ.ศ.๒๕๔๒ ประเทศสุ ด ท้ า ยคื อ กั ม พู ช าเข้ า เป็ น สมาชิ ก ปั จ จุ บั น อาเซี ย นมี ประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศ
๒. ความแตกต่าง ในภูมิภาคนี้มีอะไร? สิ่งที่แตกต่างของประเทศในอาเซียน คือ จ�ำนวนประชากร ขนาดของพื้นที่ ศาสนาและ ภาษา แยกเป็นแต่ละประเทศได้ดังนี้ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) มีประชากร ประมาณ ๔ แสนคน ขนาดพื้นที่ ๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรส่วนใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลาม ภาษาที่ ใ ช้ คื อ บาซาร์ มาเลย์ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มีประชากร ประมาณ ๑๔ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๑๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรส่วน ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือเขมร สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) มีประชากร ประมาณ ๒๔๐ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษา ที่ใช้คือบาซาร์อินโดนีเซีย
23
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) มีประชากร ประมาณ ๖ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๑๓๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือลาว มาเลเซี ย (Malaysia) มี ป ระชากร ประมาณ ๒๘ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๓๒๙,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้คือบาร์ซามาเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) หรือที่เราเรียกว่า พม่า มีประชากร ประมาณ ๕๔ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๖๗๘,๐๐๐ ตาราง กิโลเมตรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ ใช้คือพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) มีประชากร ประมาณ ๙๕ ล้าน คนขนาดพื้นที่ ๒๙๘,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้คือ ตากาล็อกและอังกฤษ สาธารณรั ฐ สิ ง คโปร์ (Republic of Singapore) มีประชากร ประมาณ ๕ ล้าน คนขนาดพื้นที่ ๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรภาษา ที่ใช้คือ อังกฤษและบาร์ซามาเลย์ ราชอาณา จั กร ไทย ( T h a il a n d ) มีประชากร ประมาณ ๖๔ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๕๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือไทย ส า ธ า ร ณ รั ฐ สั ง ค ม นิ ย ม เ วี ย ด น า ม (Socialist Republic of Vietnam) มีประชากรประมาณ ๘๘ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๓๓๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือเวียดนาม ความแตกต่ า งของอาเซี ย นไม่ ไ ด้ เ ป็ น อุปสรรคส�ำคัญในการรวมกลุ่ม แต่กลับเป็น จุดแข็งของอาเซียนซึ่งท�ำให้เกิดจุดแข็งส�ำหรับ การเป็นกลุ่มประเทศที่หลายประเทศรวมทั้ง ประเทศมหาอ�ำนาจสนใจ
๓. ประเทศมหาอ�ำนาจ มองอาเซียนอย่างไร?
มหาอ� ำ นาจส� ำ คั ญ คื อ อ� ำ นาจด้ า นการทหาร สหรั ฐ อเมริ ก ามี พั น ธมิ ต รทางทหารทั่ ว โลก และมีบทบาททางทหารทั่วโลก โดยเฉพาะใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ มีพันธมิตร หลัก ๆ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ พันธมิตรในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ และใน ออสเตรเลีย รัฐบาลสหรัฐฯ ที่มองว่า จีนจะ ขยายอิทธิพลออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งภูมิภาคส�ำคัญ ทีอ่ เมริกาห่วงว่าจีนจะขยายอิทธิพลเข้าครอบง�ำ คืออาเซียน สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มปรับนโยบาย ใหม่ทั้งหมด การประชุมสุดยอดกับอาเซียนครั้งแรก ในปี ๒๐๐๙ การส่งทูตมาประจ�ำที่อาเซียน เข้าร่วม ประชุม ADMM + ๘ เปลี่ยนท่าทีเรื่อง SEANWFZ หรือ เขต ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เปลี่ยนนโยบายต่อพม่าใหม่หมด
๔.จุดแข็งของอาเซียน
ทางกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นจุดแข็งต่าง ๆ ที่ท�ำให้เราได้เปรียบกลุ่มประเทศอื่น ๆ ซึ่ง ประกอบด้วย ๔.๑ คมนาคมสะดวก ไม่ ว ่ า คุ ณ จะเป็ น คนประเทศไหน จากส่วนไหนของโลกที่ต้อง เดินทางไปมาหาสู่กันในกลุ่มประเทศอาเซียน หรื อ ติ ด ต่ อ ค้ า ขาย ขนส่ ง สิ น ค้ า ภายในกลุ ่ ม ก็ตาม สามารถเดินทางไปได้ดว้ ยหลายเส้นทาง ที่ เ ชื่ อ มถึ ง กั น ทั้ ง ทางอากาศที่ มี ส นามบิ น นานาชาติหลากหลายแห่งในประเทศเฉพาะ ในประเทศไทยประเทศเดียวก็มีถึง ๑๑ ท่า อากาศยานแล้ ว ทางบกที่ ส ามารถเดิ น ทาง ได้ ห ลายรู ป แบบ รถไฟที่ มี เ ส้ น ทางระหว่ า ง ประเทศที่สะดวกสบาย หรือทางน�้ำที่ทั้ง ๙ ประเทศสมาชิกมีพื้นที่ติดทะเล และมีท่าเรือ ที่สามารถขนส่งโดยสารและสินค้าได้ ยกเว้น ประเทศลาวประเทศเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล ๓.๒ จีน เลย แต่สามารถออกสู่ทะเลได้ทางแม่น�้ำโขงที่ การก้าวขึ้นมาทางเศรษฐกิจของจีน เป็นสิ่ง ไหลผ่านเวียดนามและกัมพูชา ๔.๒ แรงงานราคาถูก ค่าจ้างแรงงานถือ ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเป็นอย่างมาก ขนาด เป็ น ปั จจัยส�ำคัญในการเลือกลงทุน อาเซียน เศรษฐกิจจีนก�ำลังจะท�ำให้จีนเป็นประเทศที่มี ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก และด้วยเหตุที่ ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีแรงงานราคาถูกและ ประเทศจีนอยู่ใกล้กับภูมิภาคอาเซียนมากกว่า มีคุณภาพแรงงานที่มีความสามารถสูง ตอบ สหรัฐอเมริกา ท�ำให้จีนรุกคืบเข้าหาอาเซียนได้ สนองความต้ อ งการแรงงานได้ ดี พ อสมควร ประชาชนในอาเซี ย นเป็ น แรงงานที่ มี ค วาม เป็นอย่างมาก จีนเจรจา FTA กับอาเซียนมาตั้งแต่ปี สามารถอันหลากหลาย และยังมีฝีมือในเรื่อง ๒๐๐๑ เป็น Strategic Partner ของอาเซียน เทคโนโลยีทที่ นั สมัย ทักษะเรือ่ งภาษาอังกฤษที่ มีคนใช้ภาษาอังกฤษได้มากกว่าด้วย ดังนัน้ การ ลงนามรับรอง TAC ของอาเซียน แถลงจุดยื่นเรื่อง SEANWFZ หรือ เขต จะได้แรงงานที่มีคุณภาพนั้นอาเซียนถือเป็น ตัวเลือกที่น่าสนใจอันดับแรก ๆ ก็ว่าได้ ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ๔.๓ แหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติที่หลาก ลงนามข้ อ ตกลงด้ า นการลงทุ น กั บ อาเซี ย น และตั้ ง กองทุ น ช่ ว ยเหลื อ อาเซี ย น หลาย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศอยู่ในเขต ร้อน ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติจึงมีอยู่หลาก วงเงิน ๒ หมื่นล้านเหรียญ เมื่ อ อยู ่ ท ่ า มกลางการขยายอิ ท ธิ พ ลของ หลายให้สามารถน�ำไปใช้งานได้มาก และพื้นที่ สองอภิมหาอ�ำนาจ อาเซียนจึงต้องวางแนวทาง ในเขตร้อนนี่เองเป็นแหล่งรวมของความหลาก ความสมดุลแห่งสองอ�ำนาจให้ได้ สิ่งที่ท�ำให้ หลายทั้งพันธ์ุพืชและสัตว์มากมาย ความอุดม อาเซียนเนือ้ หอมขนาดนี้ แน่นอนทีส่ ดุ อาเซียน สมบูรณ์ของดินและน�้ำที่มากเพียงพอส�ำหรับ มีข้อได้เปรียบกลุ่มประเทศอื่น ๆ ที่เรียกว่า การเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตร ที่มากขึ้น จากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ “จุดแข็ง”
ประเทศมหาอ� ำ นาจที่ เ ราจะพู ด ถึ ง ใน ปัจจุบัน นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ประเทศ จีนก็เป็นประเทศที่ก�ำลังจะก้าวขึ้นสู่ความเป็น มหาอ�ำนาจในอนาคตอันใกล้นี้ สองประเทศนี้ มองอาเซียนอย่างไร ๓.๑ สหรัฐอเมริกา ภ า ย ห ลั ง ส ห ภ า พ โ ซ เ วี ย ต ล ่ ม ส ล า ย สหรัฐอเมริกาก็เป็นมหาอ�ำนาจเพียงประเทศ เดี ย วในโลกและแน่ น อนที่ สุ ด ความเป็ น 24
พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี
ดั ง นั้ น อาเซี ย นจึ ง กลายเป็ น ผู ้ ผ ลิ ต อาหาร ส�ำหรับโลกไปโดยปริยาย ๔.๔ สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก มีสถานที่ ท่องเที่ยวที่สวยงาม น่าเทียวมากมาย ทั้งทะเล ภูเขา น�้ำตก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ เชิงอนุรักษ์ที่ก�ำลังได้รับความนิยม ทั้งหมดที่ กล่าวมานัน้ ล้วนมีอยูใ่ นหลายประเทศอาเซียน เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย เรียกได้ว่าทุกประเทศ ในอาเซียนนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และน่ า ท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยิ่ ง อากาศในภู มิ ภ าค นี้ค่อนข้างอบอุ่น ผู้คนจากซีกโลกเหนือที่มี อากาศหนาวเย็นจึงนิยมมาเทีย่ วกันทีน่ ี่ รัฐบาล ของประเทศอาเซี ย นนั้ น ส่ ง เสริ ม ธุ ร กิ จ และ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทั้งยังให้ ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวได้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นข้อดี และจุดแข็งของประเทศ อาเซียน ในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ของผู้คนทั่วโลก ๔.๕ แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนนั้นมีมา ยาวนานหลายร้อยปี คนรุ่นเก่าได้ทิ้งมรดกทาง วัฒนธรรมเอาไว้แก่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และ คงรักษาเอาไว้ แต่ละประเทศของอาเซียนนั้น มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในภูมิภาค เดี ย วกั น ก็ ต ามที ท� ำ ให้ เ กิ ด การแลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ประยุกต์ข้อดีของ แต่ ล ะประเทศมาใช่ เ พื่ อ การพั ฒ นาศิ ล ปะที่ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะให้ได้เข้าถึง และ เข้าใจมากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นด้วยสามารถ สร้างรายได้จากความแตกต่างนี้ได้ด้วย ๔.๖ สถาบันการเงินมั่นคง ระบบการเงิน และธนาคารในหลายประเทศค่อนข้างมีความ มั่ น คงและรั ฐ บาลส่ ง เสริ ม ให้ ช าวต่ า งชาติ สามารถหาแหล่งเงินในการระดมทุนได้โดย มี น โยบายลดดอกเบี้ ย ส� ำ หรั บ นั ก ลงทุ น ที่ ต้องการเงินทุนเพื่อท�ำธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศ ในอาเซี ย น และรั ฐ บาลในแต่ ล ะประเทศก็ สนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ อยู่แล้ว ข้อดีแบบ นี้จึงเป็นเหตุผลท�ำให้สามารถดึงดูดเงินทุนจาก ทั่วโลกมาลงในอาเซียน ๔.๗ ผู ้ ค นเป็ น มิ ต ร ในอาเซี ย นนั้ น มี ประชากรอยู ่ ม ากมายและแตกต่ า งในเรื่ อ ง ภาษา วัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี อาชีพ หรืออื่น ๆ แต่มีสิ่งเดียวที่คนในอาเซียนนั้นมี คล้าย ๆ กันนัน่ ก็คอื ความมีนำ�้ ใจและมิตรไมตรี ต้อนรับผู้คนที่หลั่งไหลมาท�ำธุรกิจ นักท่อง เที่ยวที่หอบเงินมาใช้ในภูมิภาคนี้ หรือคนที่ เดินทางมาเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ ต่างชื่นชมใน ความเป็นมิตรของผู้คนในหลากหลายประเทศ ในกลุ่มอาเซียนนี้ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
๔.๘ เทคโนโลยี ล�้ ำ สมั ย หลายประเทศ ในอาเซียนนั้นมีบุคลากร สถาบันการศึกษา และองค์ ค วามรู ้ ม ากมายที่ ส ามารถคิ ด ค้ น สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่าง ๆ มาเพื่อตอบสนอง ผู้คนในประเทศที่ไม่มีสินค้า หรือเทคโนโลยีที่ ทันสมัยเอาไว้ใช้งาน โดยเฉพาะประเทศไทย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ๔.๙ แหล่ ง กระจายสิ น ค้ า ท่ า เรื อ น�้ ำ ลึ ก หลาย ๆ แห่ง สนามบินนานาชาติ และเส้นทาง ติดต่อค้าขายที่ส�ำคัญของโลกก็ผ่านอาเซียน ด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าภายในกลุ่มต้องการ กระจายสินค้าออกไปนอกภูมิภาคนี้ก็สามารถ ท�ำได้งา่ ย และยิง่ มีความสะดวกมากขึน้ เมือ่ การ ร่วมมือกัน เอื้ออ�ำนวยกัน หรือกลุ่มประเทศ อื่น ๆ ต้องการเอาสินค้ามาขายในอาเซียนก็ สามารถกระจายสินค้าของตัวเองสู่ประเทศ ต่าง ๆ ในอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น ๔.๑๐ ฐานการผลิตที่ส�ำคัญ ในประเทศ อาเซี ย นนอกจากสิ น ค้ า เกษตรกรรมที่ มี
มากแล้ว สินค้าต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในโลกนี้ก็ มาตั้งฐานการผลิตในหลายประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ อิเล็กทรอนิกส์ และถ้าเป็นไปตามแผนที่อาเซียนวาง ไว้ ภายหลังปี ๒๐๑๕ เมื่อมีการรวมตัวทาง เศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง การพัฒนาเป็นไป อย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านความร่วมมือด้าน การเมือง ความมั่นคงและสังคมของอาเซียน จะท�ำให้อาเซียนมีการพัฒนาอย่างมั่นคง เป็น ปึกแผ่นเทียบเท่าหรือเหนือกว่า การรวมกลุ่ม ของประเทศใดในโลก
ที่มาของแหล่งข้อมูล : ๑. รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ๒. http://bps.ops.moph.go.th/Statistic/ ๓. www.ประเทศอาเซียน.com เครดิตภาพจาก : ๑. เกร็ดความรู้ .net ๒. www.ประเทศอาเซียน.com 25
แผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น" (nine-dash-line) ต้นก�ำเนิดความขัดแย้ง ในทะเลจีนใต้ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
26
พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
เส้นนั้น ลากมาจนเกือบจะถึงเกาะ "นาทูน่า" (Natuna) ของตน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนล่างของ เส้นดังกล่าวอยู่ในเขตเศรษฐกิจจ�ำเพาะของ อินโดนีเซียไปด้วยโดยปริยาย นอกจากนี้ จี น ยั ง ตอกย�้ ำ ความขั ด แย้ ง ดั ง กล่าวด้วยการใช้แผนที่เส้นประ ๙ เส้นเป็น ส่วนประกอบในการร่างแนวปราการป้องกัน อาณาเขตทางทะเลของตนที่เรียกว่า "แนวห่วง โซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" (First Islands Chain) ที่ลากเส้นประ ๙ เส้นให้ต่อยาวเป็น เส้นทึบ พร้อมกับลากให้ยาวขึ้นไปครอบคลุม จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจีนประกาศว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๓ หรือ ค.ศ.๒๐๒๐ ตนจะสามารถ ใช้ "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" นี้ เป็นแนวปราการสกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐฯ ในทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวัน ออก ซึ่ ง จะท� ำ ให้ พื้ น ที่ ช ายฝั ่ ง ทะเลของจี น บริเวณด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิคมีความ มั่นคงอย่างมาก จี น ไม่ เ พี ย งแต่ ก� ำ หนดยุ ท ธศาสตร์ ล งบน ผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น" (nine- ก็ ส ามารถยึ ด จี น แผ่ น ดิ น ใหญ่ ไ ด้ ใ นปี ต ่ อ มา dash-line) หรือที่บางครั้งเรียกว่า ท�ำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งต้องถอยไปปักหลักอยู่ที่ แผนที่เท่านั้น หากแต่ยังลงมือเสริมสร้างก�ำลัง ทางเรืออย่างขนานใหญ่ พร้อมส่งก�ำลังทางเรือ "เส้น ๙ จุด" (nine-dotted-line) ไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้ คือเส้นที่ลากขึ้นเพื่อก�ำหนดอาณาเขตของจีน เมื่ อ พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ก ่ อ ตั้ ง สาธารณรั ฐ คืบคลานเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ในทะเลจีนใต้ ถือก�ำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ประชาชนจีนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๑ เหมาเจ๋อตุง เพื่อเตรียมการปิดล้อมทะเลต่าง ๆ ตามแนว ๒๔๙๐ หรือตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ก็ประกาศใช้แผนที่ที่มีเส้นประ ๙ เส้นนี้ พร้อม เส้นประ ๙ เส้นและตามแนวห่วงโซ่ปราการ ได้เพียง ๒ ปี จัดท�ำโดยรัฐบาลพรรค "ก๊กมินตัง๋ " กับประกาศว่า ดินแดนต่าง ๆ ในอาณาเขต ของเกาะชั้นแรกดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการ ของจีนคณะชาติซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดิน ทะเลจีนใต้ที่เป็นถุงขนาดใหญ่นี้่คืออาณาเขต ป้องกันมิให้สหรัฐฯ ส่งก�ำลังทางเรือรุกล�้ำเข้า ใหญ่อยู่ในขณะนั้น เส้นดังกล่าวเป็นแนวเส้น ของจีน โดยควบรวมดินแดนทั้งหมู่เกาะพารา มา จนท�ำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับประเทศ ที่ลากลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ "ไหหล�ำ" เซลและหมู่เกาะสแปรตลีอันอุดมสมบูรณ์ไป ต่าง ๆ ที่อยู่ในแนวเส้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง อาจกล่าวได้ว่าแผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น" ของจี น บริ เ วณอ่ าวตั๋ ง เกี๋ ย ขนานกับ ชายฝั่ง ด้วยก๊าซธรรมชาติและน�้ำมันจ�ำนวนมหาศาล เวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียวบริเวณรัฐ เข้าไปด้วย การประกาศดังกล่าวเริ่มกลายเป็น ได้ ส ่ ง ผลให้ จี น เกิ ด ความขั ด แย้ ง กั บ ประเทศ ซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับเลียบชายฝั่ง ประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อเวียดนาม มาเลเซีย ต่ า ง ๆ ในทะเลจี น ใต้ ถึ ง ๖ ประเทศด้ ว ย บรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรงเข้าไปในน่านน�้ำ ฟิลิปปินส์ บรูไนและไต้หวัน ซึ่งมีพื้นที่เขต กั น คื อ เวี ย ดนาม อิ น โดนี เ ซี ย มาเลเซี ย ของฟิลปิ ปินส์ เลาะชายฝัง่ ของจังหวัดปาลาวัน เศรษฐกิ จ จ� ำ เพาะของตนอยู ่ ใ นทะเลจี น ใต้ บรูไน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน รวมทั้งยังสร้าง เรื่อยไปจนถึงเกาะลูซอน แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่ ต่างก็ออกมาคัดค้าน ยิ่งไปกว่านั้นยังท�ำให้ ความกั ง วลอย่ า งมากต่ อ สิ ง คโปร์ ที่ อ าศั ย เกาะไต้หวัน อิ น โดนี เ ซี ย ซึ่ ง แต่ ก ่ อ นไม่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งใน ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า แนวเส้นประ ๙ เส้นนี้ ก่อให้เกิดพื้นที่ท่ีมี พื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีแต่อย่าง ผ่านช่องแคบมะละกา ความขัดแย้งดังกล่าวส่ง ลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ครอบคลุมท้องน�้ำ ใด ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนติดร่างแหไปด้วย ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์การ ของทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่ไพศาล รัฐบาล เนื่องจากบริเวณตอนล่างสุดของเส้นประ ๙ ป้องกันประเทศของกลุม่ ประเทศอาเซียนอย่าง ก๊กมินตั๋งของจีนในขณะนั้นประกาศว่า พื้นที่ ภายในเส้นประ ๙ เส้นทั้งหมดคืออาณาเขต ของจีน โดยมีการส่งหน่วยส�ำรวจแผนที่เดิน ทางเข้าไปในทะเลจีนใต้ พร้อมกับจัดท�ำเส้น เขตแดนลงไปในแผนที่ฉบับใหม่ของตน แต่ก็ ไม่มปี ระเทศใดหยิบยกขึน้ มาเป็นประเด็นสร้าง ความขัดแย้ง เนื่องจากในขณะนั้นสงครามโลก ครั้ ง ที่ ส องเพิ่ ง สิ้ น สุ ด ลง แต่ ล ะประเทศอยู ่ ในสภาวะบอบช�้ำ บ้านแตกสาแหรกจากมหา สงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ประกอบกับรัฐบาล ก๊ ก มิ น ตั๋ ง เองก็ ก� ำ ลั ง สู ้ ร บติ ด พั น ในลั ก ษณะ "เจี ย นอยู ่ เจี ย นไป" กั บ พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ของเหมาเจ๋อตุง จนในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์
แ
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
27
ขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อ รับมือกับภัยคุกคามจากการแผ่ขยายอาณาเขต ของจีนในครั้งนี้ การปรับยุทธศาสตร์ประการแรกคือ การ เสริ ม สร้ า งก� ำ ลั ง ทางเรื อ เพื่ อ รั ก ษาน่ า นน�้ ำ และผลประโยชน์ ใ นพื้ น ที่ ทั บ ซ้ อ นทางทะเล ของตนเองแทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ทางบกที่ด�ำเนินมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนการ ปรับยุทธศาสตร์ประการที่สองนั้น สืบเนื่อง มาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงคราม ในอัฟกานิสถาน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของก�ำลังทางอากาศ ที่มีขีดความสามารถใน การท�ำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นย�ำและเด็ด ขาด ท�ำให้ขนาดความใหญ่โตและจ�ำนวนของ เรือรบไม่ใช่ปัจจัยหลักในการก�ำหนดชัยชนะ อีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและ ระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัว ชี้น�ำอาวุธปล่อยน�ำวิถีและขีปนาวุธทั้งจากพื้น สู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศและอากาศ สูพ่ นื้ ให้พงุ่ เข้าท�ำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นย�ำ ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริม สร้ า งแสนยานุ ภ าพทางอากาศควบคู ่ ไ ปกั บ แสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก เวี ย ดนามเป็ น ตั ว อย่ า งที่ ชั ด เจนของ ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนาน ใหญ่ โดยแต่ เ ดิ ม ในช่ ว งสงครามเย็ น นั้ น เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง บกจนมี ก� ำ ลั ง พลและอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ติ ด อันดับต้น ๆ ของโลก เนือ่ งจากมีภยั คุกคามทาง บกจากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็น กลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนาม มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน ตามนโยบาย "โด๋ย เหม่ย" ก็ท�ำให้เวียดนามว่าง เว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะ 28
เวลาหนึง่ จนกระทัง่ จีนได้เคลือ่ นตัวเข้ามาและ มีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่ ต่าง ๆ ตามแนวเส้นประ ๙ เส้นดังกล่าว อัน เป็นพื้นที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือ ดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน เมื่ อ ภั ย คุ ก คามของเวี ย ดนามได้ เ ปลี่ ย น จากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็น ภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึง ได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเล อย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือ ด�ำน�้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล" (Kilo) จ�ำนวน ๖ ล�ำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก รัสเซีย เรือด�ำน�ำ้ ดังกล่าวนับเป็นเรือด�ำน�ำ้ ทีท่ นั สมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการ เป็น "เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเล" ที่สามารถ ท�ำลายเรือผิวน�้ำ เรือด�ำน�้ำและอากาศยาน เหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรือด�ำน�้ำ สองล�ำแรกคือเรือ "ฮานอย" และ "โฮ จิ มินห์ ซิต"ี้ ได้มกี ารส่งมอบให้กบั กองทัพเรือเวียดนาม ไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ และต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามล�ำดับ รวมทั้งมีก�ำหนดส่งมอบล�ำ ที่สามคือ "ไฮ ฟอง" ในปลายปีนี้ และจะส่ง มอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ๒ ปี ข้างหน้า โดยเรือด�ำน�้ำทั้งหมดจะประจ�ำการที่ ฐานทัพเรืออ่าวคัมรานห์ ซึง่ ท�ำให้มพี นื้ ทีป่ ฏิบตั ิ การครอบคลุมแนวเส้นประที่ ๑ – ๓ ส� ำ หรั บ การเสริ ม สร้ า งแสนยานุ ภ าพทาง อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบิน ขั บ ไล่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ๒ ที่ นั่ ง และ ๒ เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก จ�ำนวน ๑๒ ล�ำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า ๖๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่ง ซื้อมาแล้วสองครั้งจ�ำนวน ๒๐ ล�ำในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ซึ่งท�ำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกัน เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้ง ล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ
๒๕๕๘ เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยน�ำวิถี แบบอากาศสู่พื้นเพื่อมุ่งท�ำลายเรือผิวน�้ำเป็น หลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยน�ำวิถี ต่อต้านเรือแบบ เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เค เอช-๓๕เอ จากรัสเซียจ�ำนวน ๑๐๐ ลูกและ แบบ เอเอส-๑๔ รุ่น เคเอช-๒๙ ที เพื่อน�ำมา ใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่ มีอยู่เดิมอีกด้วย ส� ำ หรั บ อิ น โดนี เ ซี ย นั้ น เป็ น อี ก ประเทศ หนึ่ ง ที่ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นยุ ท ธศาสตร์ ใ นการ ป้องกันประเทศ โดยจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ ได้ รั บ เอกราชในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภั ย คุ ก คาม ของอินโดนีเซียร้อยละ ๖๗ เป็นภัยคุกคาม ในประเทศอันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ที่พยายามแยกตัว ออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัว ตะวันตก อาเจะห์และอิเรียนจายา แต่เมื่อ ปั ญ หาเหล่ า นี้ เ บาบางลงภายหลั ง จากการ แยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอด จนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์ อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ "แนวเส้นประ ๙ เส้น" ของจีนที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจ�ำเพาะ บริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย ท�ำให้มี การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัย คุกคามในทะเลจีนใต้ โดยมีการเสริมสร้างก�ำลัง ทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่ม จ�ำนวนเรือรบให้มถี งึ ๒๕๐ ล�ำในปี พ.ศ.๒๕๖๗ หรือภายในสิบปีข้างหน้า ปัจจุบันกองทัพเรือ อินโดนีเซียมีกองเรือจ�ำนวน ๒ กองเรือคือ กอง เรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และ กองเรือภาคตะวันตกอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมือง หลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะ เพิ่มกองเรือขึ้นอีก ๓ กองเรือ โดยจะขยายกอง เรือภาคตะวันออกขึ้นอีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพ อยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิและเมืองคูปัง ตลอดจนขยายกองเรือภาคตะวันตกเพิม่ ขึน้ อีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองตันจุงปีนัง เมือง นาตันและเมืองเบลาวัน รวมทัง้ ตัง้ กองเรือภาค กลางขึ้นมาใหม่อีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่ เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ อินโดนีเซียได้ สั่งต่อเรือด�ำน�้ำชั้น "ชาง โบโก แบบ ๒๐๙” ระวางขับน�้ำ ๑,๘๐๐ ตันจากบริษัทแดวูของ เกาหลีใต้จ�ำนวน ๓ ล�ำ จากเดิมที่มีประจ�ำ การอยู่แล้ว ๒ ล�ำคือเรือด�ำน�้ำชั้น "จักกรา" (Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือด�ำน�้ำ "ชาง โบโก" จ�ำนวนสองล�ำจะต่อที่อู่ต่อเรือ ในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท แดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย ส่ ว นเรื อ ด� ำ น�้ ำ ล� ำ ที่ ส ามจะต่ อ ในอิ น โดนี เ ซี ย ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้า รั บ ต� ำ แหน่ ง เมื่ อ ปลายเดื อ นตุ ล าคมที่ ผ ่ า น มา ได้เปิดเผยว่าอินโดนีเซียก�ำลังพิจารณา พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
จัดซื้อเรือด�ำน�้ำชั้น "กิโล" รุ่นปรับปรุงใหม่จาก โครงการ ๖๓๖ (Project 636) ของรัสเซีย ซึ่ง เป็นโครงการเดียวกับเรือด�ำน�้ำของเวียดนาม เนื่องจากมีขีดความสามารถในการครองน่าน น�้ำและครองอากาศครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น เรือด�ำน�้ำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น จะมีระบบ โซน่าร์ทที่ นั สมัยกว่าของเวียดนาม โดยเป็นการ พัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค-๔๐๐ อี เป็นรุ่น เอ็ม จีเค-๔๐๐ อีเอ็ม คาดว่าอินโดนีเซียจะสั่งซื้อ เป็นจ�ำนวนถึง ๑๐ ล�ำเลยทีเดียว ส่วนก�ำลังทางอากาศนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ กองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์ โจมตีแบบ เอเอช-๖๔ อี "อาปาเช่" จ�ำนวน ๘ ล� ำ จากสหรั ฐ ฯ มู ล ค่ า กว่ า ๕๐๐ ล้ า น เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีติด อาวุธปล่อยน�ำวิถีแบบอากาศสู่พื้น ที่ประสบ ความส�ำเร็จอย่างมากจากการรบในอิรักและ อัฟกานิสถาน โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะได้รับ เฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดในปี พ.ศ.๒๕๖๐ การสั่ง ซื้อครั้งนี้ท�ำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สอง ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ที่มี เฮลิ ค อปเตอร์ โ จมตี ชั้น สุด ยอดของโลกชนิด นี้ อ ยู ่ ใ นประจ� ำ การ กองทั พ บกอิ น โดนี เ ซี ย วางแผนที่จะน�ำเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่จ�ำนวน ๔ ล�ำ เข้าประจ�ำการที่เกาะ "นาทูน่า" เพื่อ คุ ้ ม ครองเขตเศรษฐกิ จ จ� ำ เพาะของตนจาก แนวเส้นประ ๙ เส้นของจีนนั่นเอง นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเสริมสร้างก�ำลังทางอากาศด้วย การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอย ซู-๓๐ จากรัสเซียเป็นจ�ำนวนถึง ๖๔ ล�ำและเครื่อง แบบขับไล่แบบเอฟ-๑๖ จากสหรัฐฯ จ�ำนวน ๓๒ ล�ำ ในจ�ำนวนนีเ้ ป็นเครือ่ งบินมือสองจ�ำนวน ๒๔ ล�ำที่ได้รับการ "ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า" จากสหรั ฐ ฯ เมื่ อ ครั้ ง ประธานาธิ บ ดี บารั ก โอบาม่า เดินทางเยือนอินโดนีเซียในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ แต่อินโดนีเซียต้องออกค่าใช้จ่ายใน การปรับปรุงสมรรถนะมูลค่ากว่า ๗๕๐ ล้าน เหรียญเอง ทางด้ า นมาเลเซี ย นั้ น ก็ มี ก ารปรั บ ยุทธศาสตร์ให้มีความพร้อมในการรับมือกับ
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
ภัยคุกคามในทะเลจีนใต้ แทนการรับมือภัย คุ ก คามทางบกจากประเทศเพื่ อ นบ้ า นทาง ทิศเหนือและทิศใต้ดังเช่นในอดีต เนื่องจาก มาเลเซียมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่ในแนวเส้นประ ๙ เส้นของจีนด้วยเช่นกัน มาเลเซียเป็นประเทศ แรก ๆ ที่สั่งซื้อเรือด�ำน�้ำสกอร์ปีเน่ จ�ำนวน ๒ ล�ำจากการร่วมผลิตของประเทศฝรั่งเศส และสเปน โดยเรือด�ำน�้ำล�ำแรกคือ เรือด�ำน�้ำ "ตุ น กู อั บ ดุ ล ราห์ ม าน" ได้ เ ข้ า ประจ� ำ การ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ส่วนเรือด�ำน�้ำอีกล�ำหนึ่ง คือเรือด�ำน�้ำ "ตุนกู อับดุล ราซัก" เข้าประจ�ำ การในปีถัดมา เรือด�ำน�้ำทั้งสองล�ำนี้เป็นเรือ ด�ำน�้ำพลังงานดีเซล มีระวางขับน�้ำ ๑,๖๐๐ ตัน ความยาว ๖๖.๔ เมตร ความเร็วขณะ ด�ำน�้ำ ๒๐ น๊อตหรือ ๓๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด�ำน�้ำได้ลึกกว่า ๓๐๐ เมตร ติดตั้งตอร์ปิโด น� ำ วิ ถี แ บบ "แบล็ ค ชาร์ ค " (Blackshark) ขนาด ๒๑ นิ้ว (๕๓๓ มิลลิเมตร) จ�ำนวน ๖ ท่ อ ยิ ง และอาวุ ธ ปล่ อ ยน� ำ วิ ถี จ ากใต้ น�้ ำ ต่ อ ต้านเรือผิวน�้ำแบบ เอกโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙ ของฝรั่งเศส ซึ่งอาวุธปล่อยน�ำวิถีเอกโซเซต์ รุ่นนี้คล้ายกับรุ่นเอ็มเอ็ม ๔๐ (MM40) ซึ่งเป็น อาวุธปล่อยน�ำวิถีต่อต้านเรือหรือแบบพื้นสู่ พื้นที่ติดตั้งบนเรือเร็วโจมตีชั้น "เปอร์ดานา" จ�ำนวน ๔ ล�ำซึ่งมาเลเซียสั่งต่อจากฝรั่งเศส และชั้น "ฮันดาลัน" จ�ำนวน ๔ ล�ำที่สั่งต่อจาก สวีเดน เพียงแต่ถูกออกแบบให้ยิงจากท่อส่งที่ อยู่ภายในเรือด�ำน�้ำเท่านั้น มาเลเซียได้น�ำเรือ ด�ำน�้ำทั้งสองล�ำเข้าประจ�ำการที่ฐานทัพเรือ "เซปังการ์" (Sepanggar) ในรัฐซาบาห์ ซึ่งเป็น ที่ ตั้ ง กองบั ญ ชาการกองเรื อ ภาคที่ ๒ หรื อ "มาวิลล่า ดัว" ฐานทัพนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ของเกาะบอร์เนียว ทอดตัวขนานไปกับแนว เส้นประเส้นที่ ๔ และ ๕ ของจีน ส่งให้เรือด�ำ น�้ำดังกล่าวมีพ้ืนที่ปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ พิพาททั้งหมด ทางด้ า นฟิ ลิ ป ปิ น ส์ นั้ น ก็ เ ช่ น เดี ย วกั บ ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทั้งสามที่กล่าวมา ข้างต้น ที่ปรับยุทธศาสตร์จากการเสริมสร้าง แสนยานุ ภ าพทางบก ซึ่ ง มุ ่ ง เน้ น การรั บ มื อ
กับภัยคุกคามภายในประเทศอันเกิดจากการ ก่อการร้ายของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มแนวร่วม ปลดปล่อยอิสลามโมโร ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ เกาะมินดาเนาแห่งนี้มาตั้งแต่คริสตศตวรรษ ที่ ๑๖ แต่เมื่อมีการลงนามครั้งประวัติศาสตร์ กับกลุ่มดังกล่าวเพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่ ยาวนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ทีผ่ า่ นมา ก็ทำ� ให้ ภัยคุกคามภายในประเทศของฟิลิปปินส์มีแนว โน้มลดลง ในทางกลับกันภัยคุกคามจากจีน ในทะเลจีนใต้กลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เรือ่ ย ๆ ส่งผลให้ฟลิ ปิ ปินส์ตอ้ งปรับยุทธศาสตร์ มาเสริ ม สร้ า งแสนยานุ ภ าพทางทะเลและ ทางอากาศ แม้จะต้องประสบกับภาวะการ ขาดแคลนงบประมาณอย่างมากก็ตาม ก่ อ นหน้ า นี้ ก องทั พ เรื อ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ มี เ รื อ ฟริเกตเพียงล�ำเดียวคือ เรือ "ราชา ฮัมอาบอน" ซึง่ เป็นเรือชัน้ เดียวกับเรือหลวง "ปิน่ เกล้า" ของ ราชนาวีไทยทีม่ อี ายุกว่า ๕๐ ปีและปลดประจ�ำ การไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ แต่เนื่องจาก ความขาดแคลนท� ำ ให้ ฟ ิ ลิ ป ปิ น ส์ ต ้ อ งใช้ เ รื อ ดังกล่าวต่อไป การปรับยุทธศาสตร์เพื่อรับมือ ภั ย คุ ก คามทางทะเลท� ำ ให้ ฟ ิ ลิ ป ปิ น ส์ จั ด หา เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "มือสอง" ชั้น "แฮมิล ตัน" จากหน่วยป้องกันและรักษาฝั่งสหรัฐฯ จ�ำนวน ๒ ล�ำ เพื่อเข้าประจ�ำการในฐานะเรือ ฟริเกต ประกอบด้วยเรือ "เกรโกริโอ เดล พิลาร์" เข้ า ประจ� ำ การเมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๕๔ และเรื อ "รามอน อัลคาราซ" เข้าประจ�ำการในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา รวมทั้งจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์แบบ เอฟ/เอ-๕๐ ซึ่งพัฒนามา จากเครื่องบินฝึกความเร็วเหนือเสียงแบบ ที๕๐ โกลเด้น อีเกิล้ ผลิตโดยบริษทั อุตสาหกรรม การบินของเกาหลีใต้ จ�ำนวน ๑๒ ล�ำมูลค่ากว่า ๔๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการสั่งซื้อ ยุทโธปกรณ์ครั้งส�ำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอีก ครั้งหนึ่งของฟิลิปปินส์ โดยเครื่องบินดังกล่าว ๒ ล�ำแรกจะส่งมอบให้กับฟิลิปปินส์ภายใน สิ้นปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก ส�ำหรับที่เหลืออีก ๑๐ ล�ำ จะทยอยส่งมอบ ครั้งละ ๒ ล�ำในทุก ๆ ๒ เดือน จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างการ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมรับมือกับ ยุทธศาสตร์การแผ่ขยายอาณาเขตของจีนตาม แนวทาง "เส้นประ ๙ เส้น" ซึ่งนับแต่นี้ต่อไป ความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้ จะยิ่งทวีความ เข้มข้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อประเทศต่าง ๆ ได้รับอาวุธยุทโธปรณ์ที่สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว ก็ จะส่งผลให้ "การเผชิญหน้ากับจีน" กลายเป็น สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป 29
Ukrain crisis 2014 : Is Crimea gone?
“ไครเมีย... ที่ต้องแย่งยื้อ ถือครอง” นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
บ
นคาบสมุทรบอลข่าน ประเทศใน แถบทะเลด�ำ ที่เต็มไปด้วยปัญหา สารพั ด ทั้ ง เรื่ อ งศาสนา ดิ น แดน ลัทธิทางการเมืองและเชื้อชาติ เรื่องราวเหล่านี้ ล้ ว นแต่ เ ขย่ า ความมั่ น คงของสั ง คมโลก มาแล้วทั้งสิ้น เอาแค่ใกล้ตัวในเรื่องราวที่พอ จะจ�ำกันได้ ในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ๑๙๑๔ นั้น ความน่ากลัวและโหดร้าย ของเหตุ ก ารณ์ ที่ มี ช นวนมาจากประเทศใน คาบสมุทรนี้ ก็สร้างความพินาศต่อระบบสังคม 30
ไปทั่วทั้งโลก รวมถึงการสูญเสียชีวิตพลเรือน และทหารทั้งสองฝ่ายอีกนับล้าน การสิ้ น สุ ด สงครามโลกครั้ ง ที่ ห นึ่ ง ก็ เ ป็ น เพียงการสิ้นสุดเนื่องจากอ่อนเปลี้ยก�ำลังกัน เท่ า นั้ น แต่ ค วามแค้ น จากรอยแผลเดิ ม ๆ สาเหตุเดิม ๆ ก็ยังอยู่ในใจของชาติที่เป็นอริกัน อยู่ พร้อมกับสร้างเสริมก�ำลังกันอย่างเงียบ ๆ ไปพร้อมกับการฟื้นฟูประเทศ จนกระทั่งมา แตกหั ก รบกั น อี ก รอบในสงครามโลกครั้ ง ที่ สอง ซึ่งเริ่มในปี ๑๙๓๙ และสงครามโลกครั้ง
ที่ ส องนี้ น่ า จะจบบทบาทของสงครามโลก อย่างชัดเจน ไม่น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามอีก แล้ว เนื่องจากทุกประเทศซาบซึ้งถึงหายนะ หลังสงครามที่ร้ายกาจกันอย่างเจ็บปวด อีก ทั้ ง ประชาคมโลกก็ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ขึ้ น ในรู ป ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นองค์กรที่ เกิดขึ้นหลังสงครามสงบ คอยประคับประคอง ประชาชาติไปในทางที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์ สงครามโลกครั้งที่สองปิดฉากลง จากการ เกิดขึ้นของระเบิดนิวเคลียร์ ชาติที่ช�้ำใจที่สุด นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
ก็คือญี่ปุ่น ซึ่งรับไปเต็ม ๆ ถึงสองลูกในเดือน สิงหาคม ๑๙๔๕ คือ Little Boy และ Fat Man จักวรรดิ์ญี่ปุ่นถึงกับจุกเสียดแน่นไปหมด จักรพรรดิญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ ก่อนที่ ชาติจะยับเยินมากกว่านี้ เมื่ อ โลกสงบจากสงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง ประมาณปี ๑๙๔๕ มีประเทศเกิดใหม่และ ประเทศที่ถูกผนวกเข้าไปเป็นสาธารณรัฐอยู่ มากโดยเฉพาะในยุโรปและบริเวณคาบสมุทร บอลข่าน ความขัดแย้งตรงหน้าได้ลดระดับลง ไปใต้ดินเป็นสงครามเย็นที่เผชิญหน้ากันของ สองค่ายลัทธิการปกครองคือประชาธิปไตย อันมีประเทศสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ และฝ่าย ลัทธิคอมมิวนิสต์ทมี่ สี หภาพโซเวียตเป็นแกนน�ำ กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับแนวความคิดในการ เผชิญหน้าก็ลดลงไป ต่างฝ่ายต่างหันมามอง ความผาสุกและความเป็นอยู่ในทางเศรษฐกิจ ของตนเองมากขึ้น สิ่งบอกเหตุอันแรกของการสิ้นสุดสงคราม เย็นคือ ในปี ๑๙๘๙ เกิดการทลายก�ำแพง เบอร์ลิน เพื่อการรวมกันอย่างสันติของคนเชื้อ ชาติเดียวกันคือเยอรมันตะวันออกและตะวัน ตก จนกระทั่งถึงปี ๑๙๙๑ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่สิ้น สุดสงครามเย็นอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตที่ ยิง่ ใหญ่โดยผูน้ ำ� ชือ่ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ภายใต้ นโยบายปฎิ รู ป การเมื อ งและเศรษฐกิ จ ได้ ปล่อยให้ชาติดั่งเดิมในการผนวกภายใต้การ ปกครองเป็นอิสระ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศใน ยุโรปตะวันออก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือยูเครน เมือง หลวงคือกรุงเคียฟ (Kieve)และสาธารณรัฐ ปกครองตนเองไครเมีย (Crimea) เมืองหลวง คือกรุงซิมฟัสโตปอล (Savastopol) หากแต่ ในขณะนั้นไครเมียอยู่ภายใต้ร่มธงของยูเครน เนื่องจากมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ผู้คน ส่ ว นใหญ่ ใ นไครเมี ย เป็ น คนรั ส เซี ย ส่ ว นใน ยูเครนก็เป็นคนยูเครน และยังมีพวกไครเมียหลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
ตาตาร์ เป็นชาวมุสลิมซุนหนี่ ชื่อดูแปลก ๆ เจือปนอยู่บ้าง สรุปแล้วในดินแดนแถบนี้พวกเขามีความ แตกต่ า งกั น ในเรื่ อ งเชื้ อ ชาติ กั น อยู ่ แ ล้ ว ซึ่ ง เป็นที่แน่นอนทางด้านภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ คนยูเครนก็ต้องการที่จะเป็นแบบยุโรปตะวัน ตก คือมีแนวคิดการปกครองและสถานะทาง เศรษฐกิจที่ไปในทางที่เจริญกว่า และมีความ พยายามที่จะผูกตนเองเข้ากับกลุ่มเศรษฐกิจ EU ส�ำหรับไครเมียและบางส่วนของยูเครน ตะวั น ออก ที่ ผู ้ ค นส่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนรั ส เซี ย ก็ ยั ง มี ค วามต้ อ งการลึ ก ๆที่ จ ะอยู ่ กั บ รั ส เซี ย ก็เพื่อความมั่นคงของพวกเขานั่นเอง ขืนอยู่ใน ยูเครนต่อไป สถานะตนเองจะเป็นแค่ชนกลุ่ม น้อยไปโดยปริยาย ในที่ สุ ด แรงแค้ น ภายในยู เ ครนและไคร เมี ย ก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง จุ ด จบหรื อ จุ ด ที่ ค วรจะ เป็น ความตึงเครียดถึงขั้นแตกหักเกิดขึ้นใน
๒๑ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๐๑๔ ซึ่ ง เป็ น วั น สุ ด ท้ า ย ที่รัฐบาลแห่งกรุงเคียฟของยูเครน โดยนาย วิ ค เตอร์ ยู โ นโควิ ช ประธานาธิ บ ดี จ ะต้ อ ง ลงนามกั บ EU (Europian Union) ตาม ข้ อ ตกลงที่ ใ ห้ ไ ว้ กั บ ประชาชน ที่ จ ะน� ำ พา ประเทศเข้าร่วมในกลุ่มประเทศ EU แต่ผู้น�ำ รัฐบาลยูเครนกลับไม่ใส่ใจเอาดื้อ ๆ โดยได้ แสดงที่ท่าอย่างชัดเจนไม่ลงนามในการเข้า ร่วมเป็นกลุ่มสมาชิก EU ตามความต้องการ ของคนยูเครนส่วนใหญ่ รวมถึงไม่ใส่ใจในข้อ เรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาล ยูเครนปฏิรูปรัฐธรรมนูญพร้อมกับจัดให้มีการ เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผิดค�ำมั่น สัญญาและเสียงเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบ สนอง กระแสความไม่ พ อใจถู ก ปลุ ก เร้ า ขึ้ น เรื่อย ๆ ประชาชนแห่กันออกมาประท้วงสร้าง ความวุน่ วายและเกิดความเสียหายต่อชีวติ และ ทรัพย์สินทั้งของรัฐและของเอกชนอย่างหนัก ความวุ่นวายในระดับที่น่ากลัวเหล่านี้กระจาย ไปทั่วทุกหนแห่งในเคียฟรวมไปถึงเมืองใหญ่ ๆ อีกหลายเมืองที่นิยมยุโรปตะวันตก เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มี ค วามต่ อ เนื่ อ งและ จะเลวร้ายลงทุกที นายวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดียูเครน ผู้น�ำที่อยู่ในคาถาของ รัสเซียต้องหนีไปตั้งหลักในรัสเซีย พร้อมกับ ขอความช่ ว ยเหลื อ ทางทหารให้ เ ข้ า ไปช่ ว ย รั ก ษาความสงบหรื อ ทวงคื น อ� ำ นาจของเขา กลับมา รัสเซียซึ่งรอทีท่าอยู่แล้วได้ส่งก�ำลัง ทหารนับหมื่นนายเข้าไปในแหลมไครเมีย โดย อ้างแบบหรู ๆ ตามเชิงทางการทูตว่า เพื่อการ ปกป้องคนรัสเซียไม่ถูกกดขี่ข่มเหง อีกทั้งยัง เสริมก�ำลังทหารจ่อประชิดชายแดนด้านติด กับยูเครน พร้อมบุกเมื่อสั่ง และเพื่อเป็นการ ข่มขู่ด้วย และในขณะเดียวกันนั้นยูเครนได้ตั้ง
31
รัฐบาลรักษาการณ์ซึ่งนิยมยุโรปตะวันตกขึ้น บริหารประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่หลายฝ่าย หวาดวิ ต กกั น มากว่ า สถานการณ์ จ ะไปถึ ง ขั้นนองเลือดรบกันแตกหักนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้น�ำมหาอ�ำนาจทั้งอเมริกาและยุโรป เข้าช่วยไกล่เกลี่ยกับนายปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย แต่ในทีส่ ดุ เรือ่ งของการคับทีอ่ ยูไ่ ด้คบั ใจ อยู่ยากก็เกิดขึ้นของชาวไครเมีย สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียได้จัด ท�ำประชามติในเดือนมีนาคมให้ประชาชนใน แหลมไครเมียเลือกที่จะเป็นอิสระจากยูเครน และเข้าไปอยู่กับรัสเซีย ผลก็เป็นไปตามคาด หมายคือ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะไป อยูก่ บั รัสเซีย ยิง่ ตรงใจรัสเซียมาก เพราะรัสเซีย เองมีความต้องการที่จะรื้อฟื้นสหภาพยูเรเซีย (Eurosia Union) หรือโซเวียต II ให้กลับมา ยิง่ ใหญ่อกี ครัง้ เมือ่ ผลออกมาเป็นเช่นนี้ รัฐสภา ดูมาของรัสเซียถึงกับรีบประกาศผนวกแหลม ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียทันที จากข้อมูลตามประวัตศิ าสตร์ของแหลมไคร เมียนั้น แหลมทองของบอลข่านแห่งทะเลด�ำนี้ เคยเป็นของรัสเซีย แต่ในยุคของนิกติ า้ ครุสชอฟ ผู ้ น� ำ สหภาพโซเวี ย ต ได้ ย กเป็ น รางวั ล ให้ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ ด้วยความผูกพันซื่อสัตย์กันดี ที่ยูเครน ยอมอยูใ่ ต้ธงกับรัสเซียมายาวนานถึงสามร้อยปี การได้แหลมไครเมียอยู่ในการปกครองของ รัสเซีย ท�ำให้รสั เซียมีความมัน่ ใจในยุทธศาสตร์ ตนเองมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียมีกองเรือขนาด ใหญ่ในทะเลด�ำ มีฐานปฏิบัติการที่เมืองซิมฟัส โตปอล (Savastopol) ท� ำ ให้ ไ ม่ ต ้ อ งกั ง วล การปิ ด ล้ อ มของนาโตในภู มิ ภ าคนี้ รั ส เซี ย สามารถทีจ่ ะครองความเป็นเจ้าอากาศและเจ้า ทะเลเหนือคาบสมุทรบอลข่านได้อย่างสบายๆ อย่างไรก็ตามทั้งรัสเซียและยุโรปก็ซดกัน ได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากผลประโยชน์ที่เอื้อกัน มหาศาลของท่อก๊าซจากรัสเซียผ่านดินแดน ยู เ ครนไปยั ง ยุ โ รป ส� ำ หรั บ ศั ก ดิ์ ท างด้ า น เศรษฐกิจของแหลมไครเมียนั้น ไครเมียเป็น แหล่ ง เกษตรกรรมและอุ ต สาหกรรมขนาด ใหญ่ รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าเลี้ยงรัสเซียด้วย และที่ส�ำคัญในเรื่องของเชื้อชาติ รัสเซียเชื่อมั่น ว่าการผนวกดินแดนครั้งนี้ คงไม่สร้างปัญหา ภายในรบกวนรัสเซียอย่างแน่นอน เนื่องจาก เป็นประชามติของประชาชนชาวไครเมียทีผ่ คู้ น ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย เรื่องน่าเศร้าของความขัดแย้งที่สร้างความ หดหู่ให้กับชาวโลกคือ ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ตามเวลาท้ อ งถิ่ น ๑๒๑๕ เครื่ อ งบิ น แบบ Boeing 777-200ER ของ Malaysia Airline พร้อมโดยสารและลูกเรือรวมกัน ๒๘๕ คน เดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ 32
ไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ถูกขีปนาวุธ แบบ BUK ผลิ ต โดยรั ส เซี ย ยิ ง ตกขณะบิ น เหนื อ น่ า นฟ้ า บนแผ่ น ดิ น ที่ เ ป็ น กรณี พิ พ าท ของรัฐบาลยูเครนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยเครื่องบินอยู่สูงถึง ๓๓,๐๐๐ ฟุต หรือ ๑๐ กิ โ ลเมตรซึ่ ง เป็ น ระยะสู ง ที่ ส ายการบิ น พลเรือนท�ำการบินเป็นปกติ ผู้โดยสารและ ลูกเรือทั้งหมดต้องพลัดพรากจากผู้เป็นเป็น ที่รัก ทั้งที่ยังไม่ได้สั่งเสีย เศษซากของเครื่องบินกระจายเป็นบริเวณ กว้ า งถึ ง ๑๕ กิ โ ลเมตรในเขต โดเนตสค์ ทางภาคตะวันออกของยูเครน ติดพรมแดน รั ส เซี ย และนิ ย มรั ส เซี ย สาเหตุ ที่ แ ท้ จ ริ ง ก�ำลังสอบสวน แต่ที่แท้จริงยิ่งกว่าคือ ไม่มี ฝ่ า ยใดออกมาแสดงความรั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง ก่อนหน้านี้ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม เครื่องบิน ของกองทัพยูเครนแบบ แอนโตนอฟ-๒๖ ก็ถูก ฝ่ า ยแบ่ ง แยกดิ น แดนยิ ง ตกมาแล้ ว ผล ความผิ ด พลาดต่ อ เป้ า หมายพลเรื อ นครั้ ง นี้ ท� ำ ให้ ส ายการบิ น พานิ ช ย์ ห ลายสั ญ ชาติ ทบทวนหรื อ หลี ก เลี่ ย งการบิ น ผ่ า นน่ า นฟ้ า มหาภัยนี้ทันที Ukrain Crisis 2014 คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ เวลาในการเจรจากันอีกยาวนาน เนื่องจาก ความซับซ้อนของปัญหาไปพัวพันกันไว้มาก เช่น เชื้อชาติ, ศาสนา, ดินแดน, ผลประโยชน์ และทรัพยากร โดยมีคู่เจรจาหลัก ๆ ตอนนี้ คือ สหรัฐฯ ซึ่งมีลูกคู่คือ EU แต่ออกตัวแรงไม่ ได้มากนัก เนื่องจากมีผลประโยชน์แฝงอยู่มาก หรืออีกนัยยะหนึ่งกลุ่มแรกนี้สามารถเรียกได้ ว่าเป็นกลุ่ม องค์สนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ หรือนาโต (NATO) ก็ได้ อีกสองชาติคือรัสเซีย และยูเครน ซึ่งประเทศหลังนี้ต้องเข้าข้าง EU แน่นอนอยู่แล้ว อีกทั้งผู้น�ำรัฐบาลรักษาการณ์ ของยูเครนเองก็ประกาศชัดเจนว่า ยินดีเจรจา ทุกเรื่องราวแต่จะอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ยอมรับ การผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ซึ่งย่อมท�ำให้ ปัญหายุ่งยากเข้าไปอีก อย่ า งไรก็ ต ามพวกเขาก็ ใ ห้ สั ญ ญากั น ว่ า ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งที่ เ ป็ น ข้ อ ขั ด แย้ ง กั น จะใช้ วิ ถี ท างเจรจาทางการทู ต เป็ น หลั ก แม้ ว ่ า ขณะนี้ ยั ง มี ก ารสู ้ ร บในเขตยู เ ครนตะวั น ออกของกลุ ่ ม แบ่ ง แยกดิ น แดนที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากรั ส เซี ย อย่ า งไม่ เ ปิ ด เผย ก็ตาม ส�ำหรับการต่อสู้ในระดับรัฐสภาราดา (RADA) ของยู เ ครนนั้ น ประธานาธิ บ ดี เปโตร โปโรเซนโก ได้ประกาศยุบสภาและ เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม เพือ่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน และเพื่อสกัดออกสมาชิกรัฐสภาอีก จ�ำนวนมากที่เห็นดีเห็นงามกับกลุ่มกบฏแบ่ง แยกดินแดน ส่วนเรื่องการ Sanstions ของ สหรัฐฯ และ EU ต่อรัสเซียนั้น ก็เป็นเพียงแค่
ยาอ่อนๆ เท่านั้น และต้องระมัดระวังการตอบ กลับของรัสเซียด้วยเช่นเดียวกัน “หยิกเล็บ ก็เจ็บเนื้อ” การต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคือรัฐบาลยูเครน และกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ที่มีฐานที่มั่นคง อยู่ที่เมืองโดเนตสก์และลูฮานสก์ ทางตะวัน ออก ยังเหลือเป้าหมายส�ำคัญที่ยังเผด็จไม่ได้ คือเมืองมาริอูโปลเมืองยุทธศาสตร์ส�ำคัญทาง ทะเลอาซอฟ การต่ อ สู ้ ข องพวกเขาทั้ ง สอง ฝ่ายนั้น ยังไม่ใส่กันเต็มที่นักเพราะว่ายังห่วง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ อยู่ข้อตกลงทางการทูตกันอยู่ ในระหว่างที่ คุมเชิงกันนี้ ตามภาพข่าวต่างประเทศจะเห็น นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
รถถังยานเกราะรัสเซียกระจายอยู่ทั่วไปใกล้ แนวชายแดนทัง้ MD-BTR,T-42 BM และ T-80 กลุ ่ ม นาโตเองก็ ไ ม่ ไ ด้ เ พิ ก เฉยต่ อ พั น ธะ สัญญาที่มีต่อกัน ประกาศเสริมความแข็งแกร่ง ของกองก�ำลังเพื่อช่วยยูเครน แต่ก็ท�ำได้เพียง แค่ขีดจ�ำกัดอันหนึ่งคือ ไม่สามารถตั้งทัพถาวร ตามแนวชายแดนได้ ต ามข้ อ ตกลง NATORUSSIA FOUUDING ACT 1997 ก่อนหน้า นี้นาโตก็เผชิญหน้ากับรัสเซียมาหมาด ๆ คือ ศึ ก โคโซโวปี ๑๙๘๘ และสงครามจอร์ เ จี ย ปี ๒๐๐๘ ครั้นเมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อกันมาห้าเดือน มี ประชาชนทัง้ สองฝ่ายต้องอยูใ่ นสถานะพลัดถิน่ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
เป็นล้านคน ทั้งคนยูเครนเองที่หนีเข้ามาตอน ในและคนยูเครนเชื้อสายรัสเซียที่หนีเข้าไปใน รัสเซีย ยอดผูเ้ สียชีวติ รวมกันสูงถึง ๒.๖ พันราย เข้าไปแล้ว ก่อนจะสาหัสไปมากกว่านี้ ข้อตกลง หยุดยิงอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เกิดขึ้นเมื่อ ๕ กันยายน ๑๕๐๐ ตามเวลา UTC ทีก่ รุงมินสก์ ประเทศเบลารุส โดยมีสักขีพยานคือ องค์กร สนับสนุนความมัน่ คงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE), EU และรัสเซีย แต่ฝ่ายกบฏยังรักษา จุดยืนเดิมคือ จะต้องปลดปล่อยพื้นที่ตะวัน ออกของยูเครนให้เป็นอิสระให้ได้ ในระหว่างนี้ EU ยังห้ามผู้น�ำกบฏเดินทางเข้าออก EU ส่วน การ Sanction รัสเซียแบบหยอก ๆ ของ EU
และสหรั ฐ ฯ ก็ ยั ง มี ผ ลอยู ่ และรั ส เซี ย เองก็ โต้ตอบด้วยขนาดที่พอ ๆ กัน คือสั่งห้ามสินค้า หลายประเภทของ EU เข้ารัสเซีย การประกาศหยุ ด ยิ ง ครั้ ง นี้ นั้ น มี ผ ลมา จากการประชุมกลุ่มประเทศนาโตเมื่อ ๔-๕ กันยายน ที่เวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร (อั ง กฤษ) ซึ่ ง นาโตมี ข ้ อ เรี ย กร้ อ งต่ อ รั ส เซี ย ด้วยว่า ให้ถอนก�ำลังออกจากภาคตะวันออก ของยู เ ครนและยุ ติ ก ารครอบครองไครเมี ย ซึ่งประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย คงไม่ยินดียินร้ายมากนัก
33
ดุลยภาพทางการทหารของประเทศอาเซียน
เครื่องบินขนส่งทางทหาร ซี-๒๙๕ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ก
อ งทั พ อากาศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ (PAF) จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ขนส่ ง ทางทหาร รุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๓ เครื่อง จากประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อจะเพิ่มขีดความ สามารถในการขนส่ ง ทางอากาศ เนื่องจาก ประเทศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ เ ป็ น ประเทศเกาะมี เ กาะ รวมทั้งสิ้น ๗,๑๐๗ เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว ๓๖,๒๘๙ กิโลเมตร ที่ตั้งทางทหารส�ำคัญอยู่ ห่ า งไกลกั น มากดั ง นั้ น การขนส่งทางอากาศ จึ ง มี ค วามส� ำ คั ญ ยิ่ ง เครื่ อ งบิ น ขนส่ ง ขนาด กลางใช้เครื่องยนต์ใบพัดจะมีค่าใช้จ่ายต�่ำกว่า เครื่องยนต์แบบไอพ่น ทั้งค่าใช้จ่ายท�ำการบิน ต่อชั่วโมงบินและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ�ำรุง ตลอดห้วงระยะเวลาอายุการใช้งาน กองทัพ อากาศฟิลปิ ปินส์ (PAF) จะได้รบั มอบเครือ่ งบิน เครื่องแรก เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จะรับ มอบเครื่องบินเครื่องที่สอง เดือนมีนาคม พ.ศ. 34
กองทัพอากาศอินโดนีเซียรับมอบเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ.๒๕๕๕ ประจ�ำการฝูงบิน ๒ ฐานทัพ อากาศฮาลิม (Halim Perdanakusuma International Airport) จังหวัดชวา ตะวันออก พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
กองทัพอากาศอินโดนีเซียรับมอบเครื่องบินชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ประจ�ำการทีฝ่ งู บิน ๒ ฐานทัพอากาศฮาลิม จังหวัดชวาตะวันออก จะทดแทนเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นเก่าที่ก�ำลังจะหมดอายุการใช้งานแบบ เอฟ-๒๗ ฟอร์คเกอร์ (F-27 Fokker) ประจ�ำการ ๖ เครื่อง กองทัพอากาศอินโดนีเซียจัดซื้อตาม โครงการรวม ๙ เครื่อง ๒๕๕๙ และรับมอบเครื่องบินเครื่องที่สามหรือ เครื่องสุดท้าย เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ น�ำ เข้าประจ�ำการกองบิน ๒๒๐ ฐานทัพอากาศ เซบู เครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดกลางแบบ ซี - ๒๙๕ (C-295) ท� ำ การวิ จั ย พั ฒ นาจาก ประเทศสเปน ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ ใช้ในภารกิจขนส่ง ทางทหาร ท�ำการผลิตในปี พ.ศ.๒๕๔๔ มี ข้ อ มู ล ที่ ส� ำ คั ญ คื อ นั ก บิ น ๒ นาย บรรทุ ก ผู ้ โดยสารได้ ๗๑ ที่นั่ง (พลร่มพร้อมสัมภาระ ๔๘ นาย) ขนาดยาว ๒๔.๕๐ เมตร ช่วงปีก ๒๕.๘๑ เมตร พื้นที่ปีก ๕๙ ตารางเมตร สูง ๘.๖๐ เมตร น�ำ้ หนักบินขึน้ สูงสุด ๒๓,๒๐๐ กิโลกรัม น�ำ้ หนัก บรรทุก ๙,๒๕๐ กิโลกรัม เครื่องยนต์ เทอร์โบ พรอพ ขนาด ๒,๖๔๕ แรงม้า (รวม ๒ เครื่อง) ใบพัดชนิดหกกลีบ (เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด ๓.๘๙ เมตร) ความจุเชื้อเพลิง ๗,๗๐๐ ลิตร ความเร็วสูงสุด ๕๗๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย บิน ๑,๓๐๐ กิโลเมตร (น�้ำหนักบรรทุก ๙,๒๕๐ กิโลกรัม) เพดานบินสูง ๙,๑๐๐ เมตร ระยะ ทางบินขึ้นยาว ๖๗๐ เมตร และระยะทางบิน ลงยาว ๓๒๐ เมตร จึงมีความเหมาะสมที่จะ ใช้ปฏิบัติการ ที่สนามบินในเขตหน้าของพื้นที่ การรบ ประจ�ำการกองทัพอากาศสเปนเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ รวม ๑๓ เครื่อง ปัจจุบันเป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาด กลางรุ่นใหม่ของโลก เครื่ อ งบิ น ขนส่ ง ทางทหารแบบซี - ๒๙๕ (C-295) มีการผลิตรวม ๕ รุ่น ประกอบด้วย รุ่นซี-๒๙๕ เอ็ม (C-295M), รุ่นเอ็นซี-๒๙๕ (NC-295/CN-295) ซื้อลิขสิทธิ์ส�ำหรับผลิต ในประเทศอิ น โดนี เ ซี ย , รุ ่ น ซี - ๒๙๕เอ็ ม พี (C-295MP) ภารกิจตรวจการณ์ทางทะเลและ ปราบเรือด�ำน�้ำ ติดตั้งอาวุธภายนอกล�ำตัวได้ หกจุด (ตอร์ปิโด, จรวดน�ำวิถีต่อต้านเรือผิวน�้ำ, หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
และส่งกลับสายแพทย์ เนื่องจากสนามรบใน อัฟกานิสถานส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายขนาด ใหญ่ที่แห้งแล้ง พร้อมทั้งที่ตั้งของประเทศสูง กว่าระดับน�้ำทะเลกว่า ๔,๐๐๐ เมตร และ ไม่มีถนนสายหลักที่จะใช้ขนส่งได้ การขนส่ง ทางอากาศจึงมีความส�ำคัญยิ่ง กองทัพอากาศ โปแลนด์ประจ�ำการด้วยเครื่องบินขนส่งทาง ทหารซี - ๒๙๕ (C-295) ในปี พ.ศ.๒๕๔๖๒๕๕๑ รวม ๘ เครื่อง ต่อมาได้จัดซื้อเพิ่มเติม อีกและได้รับมอบเครื่องบินชุดสุดท้าย เมื่อวัน ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ รวมประจ�ำการ ทั้งสิ้น ๑๗ เครื่อง กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จัด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ขนส่ ง ทางทหารรุ ่ น ใหม่ แ บบ ซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๙ เครื่อง ราคา ๓๒๕
เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ เอ็มพีเอ (C-295MPA) รุ่นลาดตระเวนทาง ทะเลติดตั้งอาวุธได้ ๖ จุด ประจ�ำการกองทัพอากาศโปรตุเกส ๕ เครื่อง และกองทัพ อากาศโอมาน ๕ เครื่อง ทุ่นระเบิด และระเบิดน�้ำลึก), รุ่นซี-๒๙๕ เอ อีดับเบิ้ลยู (C-295 AEW) ภารกิจใช้เตือนภัย ทางอากาศ ในขณะนี้ยังเป็นเครื่องบินต้นแบบ และรุ่นซี-๒๙๕ ดับเบิ้ลยู (C-295W) ท�ำการ ปรับปรุงใหม่ทางด้านเครือ่ งยนต์ และระบบปีก ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เครื่องบิน ซี-๒๙๕ (C-295) มี ยอดการผลิตรวม ๑๑๔ เครื่อง ขณะนี้ประจ�ำ การรวม ๑๗ ประเทศ กองทัพอากาศโปแลนด์น�ำเครื่องบินขนส่ง ทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ปฏิบัติการ สนั บ สนุ น ก� ำ ลั ง ทหารโปแลนด์ ใ นกองก� ำ ลั ง ไอซาฟ (ISAF) ประเทศอัฟกานิสถาน ที่จังหวัด กาซ์นี (Ghazni) มีก�ำลังทหาร ๑,๑๓๐ คน ภารกิจขนส่งสัมภาระ ทิ้งสัมภาระทางอากาศ
ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ทีง่ านแสดงการบินประเทศสิงคโปร์ รับ มอบเครื่องบินชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ต่อมาน�ำเข้าประจ�ำ การฝู ง บิ น ๒ ฐานทั พ อากาศฮาลิ ม (Halim Perdanakusuma International Airport) จังหวัดชวาตะวันออก เพือ่ จะทดแทนเครือ่ งบิน ขนส่งทางทหารรุ่นเก่าที่ได้ประจ�ำการมานาน รวม ๓๕ ปี ก�ำลังจะหมดอายุการใช้งานแบบ เอฟ-๒๗ ฟอร์คเกอร์ (F-27 Fokker) ประจ�ำ การ ๖ เครื่อง เครื่องบินซี-๒๙๕ (C-295) ส่วน หนึ่งจะท�ำการประกอบที่โรงงานผลิตเครื่อง บินในประเทศ (PT Dirgantara Indonesia) รวม ๓ เครื่ อ ง ที่ ตั้ ง โรงงานที่ เ มื อ งบั น ดุ ง 35
เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ภารกิจขนส่งทางทหาร สามารถจะ บรรทุกพลร่มพร้อมสัมภาระได้ ๔๘ นาย เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ขณะท�ำการทิ้งสัมภาระโดยการใช้ ร่มในระดับต�่ำส�ำหรับยุทโธปกรณ์ขนาดหนักที่ส่งลงเพื่อสนับสนุนกองก�ำลังภาคพื้นดิน
(มี เ จ้ า หน้ า ที่ ๓,๗๒๐ คน ปี พ.ศ.๒๕๔๗) จังหวัดชวาตะวันตก เป็นโรงงานผลิตเครือ่ งบิน ใหญ่ทสี่ ดุ ของประเทศกลุม่ อาเซียน จะช่วยเพิม่ ขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศให้มี ความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศ หมู่เกาะ มีเกาะรวม ๑๗,๕๐๘ เกาะ ชายฝั่ง ทะเลยาว ๕๔,๗๑๖ กิโลเมตร พื้นที่ขนาด ใหญ่ ๑,๘๙๐,๗๕๔ ตารางกิโลเมตร อาณาเขต จาก ตะวันออก-ตะวันตก มีความยาว ๕,๑๐๐ กิโลเมตร จาก เหนือ-ใต้ ขนาดยาว ๑,๘๐๐ กิโลเมตร แบ่งโซนเวลาเป็น ๓ โซน นับว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่ ตัง้ ทางทหารอยูห่ า่ งไกลกันมากภายในประเทศ และอิ น โดนี เ ซี ย ยั ง ควบคุ ม จุ ด ยุ ท ธศาสตร์ ทางทหารที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ของโลกคื อ ช่ อ งแคบ มะละกา ที่เรือสินค้าขนาดใหญ่จะต้องแล่น เลียบชายฝั่งทะเลของเกาะสุมาตราเป็นระยะ ทางยาว จึงจะผ่านช่องแคบมะละกาและเข้าสู่ ทะเลจีนใต้ และช่องแคบซุนดาที่เชื่อมระหว่าง เกาะชวากับเกาะสุมาตรา ที่เชื่อมทะเลชวา กับมหาสมุทรอินเดีย (ถ้าจ�ำเป็นจะต้องเลี่ยง ช่องแคบมะละกา) ดังนั้นการขนส่งสัมภาระ ทางอากาศจึงมีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อประเทศ อินโดนีเซีย กองทัพอากาศเวียดนามจัดซื้อเครื่องบิน ขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๓ เครื่อง ราคา ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ กองทัพอากาศเวียดนาม จะรับมอบเครื่องบินชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๘ จะช่ ว ยเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการขนส่ ง ทางอากาศให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก เวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาว ๓,๔๔๔ กิโลเมตร พร้อมทั้งใช้ในการขนส่งทางอากาศที่เชื่อมกับ เกาะในทะเลจีนใต้ของเวียดนาม
เครื่องยนต์ แพร็ตแอนวิทนีย์ (Pratt & Whitney PW 127G) เท อร์ โบพรอพ ขนาด ๒,๖๔๕ แรงม้า รวม ๒ เครื่อง ใบพัดชนิดหก กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๘๙ เมตร
36
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
เครื่องบินขนส่งทางทหารซี-๒๙๕ (C-295) ผลิตรวม ๕ รุ่น มียอดการผลิตรวม ๑๑๔ เครื่อง ขณะนี้ประจ�ำการรวม ๑๗ ประเทศ ที่ส�ำคัญคือ สเปน (๑๓), บราซิล (๑๒), เม็กซิโก (๑๔), โปแลนด์ (๑๗), โปรตุเกส (๑๒), อินโดนีเซีย (๙), เวียดนาม (๓) และ ฟิลิปปินส์ (๓)
ภายในห้องเคบินของเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) มีพื้นที่ ๕๗ ตารางเมตร โดยสามารถบรรทุกพลร่มพร้อม สัมภาระได้ ๔๘ นาย หรือบรรทุกทหารได้ ๗๑ ที่นั่ง
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
37
38
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)
เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (ตอนที่ ๒๓)
จรวด DTI-2 กับความส�ำเร็จ ด้วยฝีมือคนไทย
เ
มื่ อ วั น ที่ ๑๔ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๗ ทีผ่ า่ นมา ถือเป็นอีกหน้าประวัตศิ าสตร์ หนึ่ ง ของสถาบั น เทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. และ แวดวงอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศของ ไทย เนื่องจากทาง สทป. ได้ท�ำการทดสอบ และสาธิตการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตรให้กับนายทหารและนักศึกษาจาก หลักสูตรต่าง ๆ ของกองทัพได้ชมเป็นผลส�ำเร็จ ในวั น รวมอ� ำ นาจการยิ ง ของศู น ย์ ก ารทหาร ปืนใหญ่ ที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การ ทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี DTI-2 เป็นจรวดที่ท�ำขึ้นด้วยฝีมือของคน ไทย ๑๐๐% โดยใช้เทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่ได้ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการ DTI-1 รวมเข้ากับประสบการณ์และเทคโนโลยีของ นักวิจัย สทป. ที่สั่งสมขึ้นมาใช้ในการออกแบบ และทดสอบผลิตจรวด DTI-2 ซึ่งน�ำมาสู่การ ทดสอบการยิงดังกล่าว โดยการยิงนั้นท�ำการ ยิ ง จากเครื่ อ งยิ ง แบบลากจู ง ซึ่ ง สามารถติ ด กระเปาะหรือ Pod ที่บรรจุจรวด DTI-2 ได้ หลายนัด แต่ในวันนั้นบรรจุจ�ำนวน ๒ นัด และ อีกส่วนหนึ่งท�ำการยิงจากรถยิง DTI-1 ที่ติดตั้ง ท่อรองในเพือ่ ท�ำให้สามารถยิงจรวด DTI-2 ทีม่ ี ขนาดเล็กกว่าได้ โดยท�ำการยิง ๔ นัดแบบซัลโว การติดตั้งท่อรองในบนรถยิง DTI-1 จะ ท�ำให้รถยิง DTI-1 ที่ปรกติจะใช้ยิงจรวดขนาด ๓๐๒ มม. ท�ำการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒ มม. เพือ่ ใช้ในการฝึก เนือ่ งจากจรวด DTI-1 นัน้ มีระยะยิงที่ไกลมากและมีราคาแพงกว่า แต่ถ้า ใช้จรวด DTI-2 ทีม่ รี าคาถูกกว่ามากและมีระยะ ยิงที่ใกล้กว่าก็จะท�ำให้ก�ำลังพลสามารถฝึกได้ อย่างต่อเนื่องและสมจริงตามวงรอบการฝึก ของกองทัพบก หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
39
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จรวด DTI-1 ซึ่ง เป็ น จรวดขนาดใหญ่ ที่ มี ร ะยะยิ ง ถึ ง ๑๘๐ กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธการ ส่วน จรวด DTI-1 ที่ มี ร ะยะยิ ง สั้ น กว่ า คื อ ๔๐ กิ โ ลเมตรจะถู ก ใช้ ง านในระดั บ ยุ ท ธวิ ถี ซึ่ ง การพั ฒ นาจรวดทั้ ง สองแบบนี้ น อกจากจะ เป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความ เชี่ยวชาญที่นักวิจัยและนักพัฒนาของ สทป.
40
มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังท�ำให้ สทป. สามารถสนับสนุนกองทัพบกให้มีจรวดทั้งใน ระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการที่สอดคล้อง กับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ได้อีกด้วย ในส่ ว นของเครื่ อ งยิ ง แบบลากจู ง นั้ น ก็ เป็ น การพั ฒ นาโดยนั ก วิ จั ย ของ สถาบั น เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)
กระทรวงกลาโหม เองเช่นกัน ซึ่งแท่นยิงดัง กล่าวสามารถติดตั้งกระเปาะบรรจุจรวด DTI2 จ�ำนวน ๒๐ ล�ำกล้องได้ ๒ กระเปาะ ท�ำให้ รวมแล้วสามารถยิงจรวดได้ถึง ๔๐ ลูกทีเดียว DTI-2 นั้นจะมีระยะยิงทั้งหมด ๓ ระยะ คือ ๑๐ กิโลเมตร ๓๐ กิโลเมตร และ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่ง สทป. ได้ท�ำการพัฒนาทั้งใน ส่วนของดินขับ หัวรบ และชุดพวงหาง และ
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)
ท�ำการผลิตองค์ประกอบของจรวดในประเทศ ทั้งหมด ซึ่งในวันรวมอ�ำนาจการยิงที่ผ่านมา จรวดทั้ง ๖ ลูกสามารถท�ำลายเป้าหมายเป็น พื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป ๔ กิโลเมตรได้ถูกต้อง ตามที่ค�ำนวณเอาไว้ โดยในอนาคต สทป. กับกองทัพบกก�ำลังจะ ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อพัฒนา จรวด DTI-2 และน�ำส่งให้กองทัพบกไปทดลอง ใช้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบท่อรองในที่ใช้งานใน การยิงครั้งนี้ให้กองทัพบกน�ำไปทดลองใช้ การ พัฒนาจรวดระยะยิง ๔๐ กิโลเมตรเพื่อใช้งาน กับจรวดหลายล�ำกล้อง SR-4 ที่กองทัพบกจัด ซื้อจากต่างประเทศ และการติดตั้ง DTI-2 บน รถสายพานล�ำเลียงพล Type-85 ทดแทนจรวด หลายล�ำกล้องขนาด ๑๓๐ มม. ที่มีระยะยิงสั้น กว่าอีกด้วย หลังจากนี้ สทป. จะท�ำการทดสอบและ ปรับปรุงจรวด DTI-2 ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งยังต้อง ท�ำการยิงทดสอบอีกเป็นจ�ำนวนมากก่อนที่ จะพร้อมผลิตเข้าประจ�ำการต่อไป แต่ผลลัพธ์ ที่ได้จากการพัฒนา DTI-2 ด้วยฝีมือคนไทย นั้ น เริ่ ม แสดงให้ เ ห็ น แล้ ว ว่ า ในวั น ที่ ค นไทย สามารถพัฒนาอาวุธเพื่อใช้งานได้เอง ก็จะ ท�ำให้ประเทศลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศ ท�ำให้กองทัพสามารถใช้งานจรวดที่ ผลิตขึน้ ได้ในประเทศโดยไม่ตดิ ข้อจ�ำกัดการน�ำ เข้าอาวุธ สามารถประหยัดงบประมาณที่ต้อง ใช้ในการจัดซื้ออาวุธ และรวมถึงเป็นการสร้าง เทคโนโลยีซึ่งสามารถต่อยอดไปยังการพัฒนา จรวดแบบอื่น ๆ ได้ต่อไป
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
41
หลักการของ
นายพลแพตตัน (ตอนที่ ๒๘) พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา 42
พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา
อย่าให้ความตายมาเยือนถึงเตียง “คนส่วนมากตายบนเตียง มากกว่าตายใน สงคราม!” นายพลแพตตันอธิบาย “การนอนก็เหมือน กับการขุดหลุมบุคคล มันง่ายที่ความตายจะ จับตัวคุณได้ขณะก�ำลังหลับ พระผู้เป็นเจ้าทรง กล่าวไว้ว่า “จงเก็บที่นอน แล้วเดิน!” การอยู่ บนเตียงนอนก็เหมือนกับการนั่งบนเก้าอี้หมุน นาน ๆ สมองจะอุดตันและร่างกายจะเจ็บไข้ ต่อมาคุณก็คงทราบดีว่าจะมีหมอน�ำยามาให้ คุณกิน จนกว่าคุณจะอยู่ในสภาพปกติ เพียง แต่คุณเคลื่อนไหวไปโน่นมานี่ ผมว่ามันจะดี กว่าการที่คุณจะกินยาเป็นก�ำมือ” บรรดาก�ำลังพลได้หัวเราะขึ้น พวกเราที่ เป็นฝ่ายเสนาธิการคิดกันว่านายพลแพตตัน ได้ผลักดันก�ำลังพลจนเกินไป นั่นเป็นปี พ.ศ. ๒๔๘๕ (ค.ศ.๑๙๔๒) หลายปีต่อมาบรรดา นายแพทย์ก็เริ่มที่จะใช้วิธีให้คนไข้ผ่าตัดของ ตน “เก็บที่นอน แล้วก็เดิน” ในวันหรือสอง
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
43
44
พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา
วันหลังการผ่าตัด ด้วยความรู้ของท่านที่ได้ จากคัมภีร์ไบเบิ้ล นายพลแพตตันได้สั่งสอน ข้อปฏิบัติเช่นนี้มามากกว่าสามสิบปี ก่อนที่ผู้ เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะเริ่มใช้วิธีการเดิน เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาพยาบาล ผมไม่ เ คยพอใจผลกระทบจากความ คิ ด ของนายพลแพตตั น จนกระทั่ ง ผมได้ ไ ป เยี่ ย มเยี ย นสถานพยาบาลภายหลั ง สงคราม สถานพยาบาลเหล่านีท้ ำ� ให้ผมนึกถึงค�ำพูดของ นายพลแพตตัน “จงตะลุยไปข้างหน้า และ เผชิญกับความตายในแบบที่คุณต้องการ!” มันใช้เวลาหลายปีทีเดียวก่อนที่สังคมจะคิด กันว่า บางทีประชาชนน่าจะมีสิทธิ์ตายในแบบ ที่พวกเขาต้องการ แทนที่จะถูกรักษาพยาบาล แบบจะตายมิตายแหล่เป็นเวลายี่สิบปีเหมือน กับผักหญ้าต้นหนึง่ ยานอนหลับปริมาณมาก ๆ จะท�ำให้พวกคนแก่เหล่านัน้ เคลือ่ นไหวไม่ได้ยงั กับเป็นต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง ผมจ�ำค�ำกล่าวของนายพลแพตตันได้ “คนส่วนมากจะตายที่อายุสี่สิบ แต่ยังไม่ถูก ฝังจนกระทั่งอีกสามสิบปีต่อมา ผู้คนส่วนมาก ป่วยในระยะสัน้ ๆ แต่ยอมแพ้ และตายไปขณะ มีอายุอยู่ในช่วงต้น ๆ แห่งชีวิต พวกเขาไปหา หมอคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง จนกระทั่งความตาย มาจับตัวพวกเขาถึงเตียงนอน” นายพลแพตตันมักจะสั่งสอนอยู่เสมอว่า ถ้าคุณไม่เคลื่อนไหวไปมาเลือดลมของคุณจะ ไหลเวียนได้ไม่ดี การตายของนายพลแพตตัน ไม่ได้เกิดจากการที่คอของท่านหัก ซึ่งเป็นผล จากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ท่านตายจาก การทีม่ เี ลือดคัง่ ในปอด และหัวใจ เลือดลมของ ท่านไหลเวียนไม่ถกู ต้อง พระเจ้ามีความคิดเห็น พ้องกับผมที่ว่า นายพลแพตตันต้องโมโหแน่ ๆ หากให้ท่านตายบนเตียงนอน วิทยาศาสตร์การแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่าง รวดเร็ว แต่ยังไม่มียาขนานใดที่แรงเท่ากับค�ำ แนะน�ำของนายพลแพตตัน “จงตายในแบบ ที่คุณต้องการ!” ประชาชนจ�ำนวนมากตาย ขณะยั ง หนุ ่ ม และถู ก ฝั ง ตอนแก่ พวกเรา หลายคนกลั ว มากกั บ ความตายซึ่ ง เรายั ง ไม่เคยพบพาน
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
45
พระบรมราโชบายใน การปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในรัชกาลที่ ๗ จุฬาพิช มณีวงศ์
46
จุฬาพิช มณีวงศ์
ก
ารปกครองระบอบประชาธิปไตย มิใช่ผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูปที่ประเทศ ใดประเทศหนึ่งจะสถาปนาขึ้นมา ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเป็นสิ่งที่จะ หยิบยกเอารูปแบบจากประเทศอื่นมาใช้ แต่ ต้ อ งเป็ น กระบวนการที่ พั ฒ นามายาวนาน เพราะนอกจากปั จ จั ย ในการพั ฒ นาสถาบั น การเมืองอันเป็นเรือ่ งทีม่ ปี ญ ั หาในการพิจารณา อยู่มิใช่น้อย แล้วประชาชนซึ่งเป็นรากฐาน ของการปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการ ศึ ก ษา และมี ค วามส� ำ นึ ก ทางการเมื อ งอั น เป็นประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นหลักการของ ประชาธิปไตยทีว่ า่ ด้วยอ�ำนาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชนก็จะเป็นเพียงในนาม เป็นประชาธิปไตย แบบไทยมาจน ๘๐ กว่าปีแล้ว ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงตระหนักถึงความยากล�ำบากใน การหยั่งรากของประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงไป อย่างมั่นคง จึงได้มีพระบรมราโชบายเตรียม การที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นล�ำดับ โดยเริ่ ม จากสร้ า งความส� ำ นึ ก ทางการเมื อ ง ให้ กั บ ประชาชนผ่ า นกระบวนการของการ ปกครองท้องถิ่น ก่อนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
47
ในการปกครองระดับชาติ เพื่อเป็นการฝึกหัด ให้องคมนตรีรู้จักวิธีการประชุมปรึกษาแบบ รัฐสภา มีด�ำริให้ปรับปรุงสภาองคมนตรีใหม่ เรียกว่า กรรมการสภาองคมนตรี ให้ยกร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาถึง ๒ ฉบับ ในตอน ต้นรัชกาลฉบับหนึ่ง และก่อนการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เล็กน้อยอีกฉบับ ทรงมีพระราชด�ำริว่า "ถ้ามีการยอมรับกัน ว่า วันใดวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้ มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในประเทศ สยาม เราจะต้องเตรียมตัวของเราเองอย่าง ค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป เราจะต้ อ งเรี ย นรู ้ แ ละจะ ต้องให้การศึกษาแก่ตัวของเราเอง เราจะต้อง เรียนและทดลอง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ระบอบการ ปกครองแบบรัฐสภาจะด�ำเนินไปได้อย่างไรใน
48
ประเทศสยาม เราต้องพยายามให้การศึกษาแก่ ประชาชนเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความส�ำนึก ทางการเมือง ที่จะตระหนักถึงผลประโยชน์ ที่แท้จริงเหล่านี้ เพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ถูก ชักน�ำไปโดยพวกนักปลุกระดมหรือพวกนักฝัน หวานถึงพระศรีอารย์ ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา เราจะต้ อ งสอนประชาชนว่ า จะออกเสี ย ง อย่างไร และจะเลือกผู้แทนที่จะมีจิตใจฝักใฝ่ กับประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริงอย่างไร" แนวความคิดที่จะให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ในการปกครองประเทศได้มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากค�ำกราบ บังคมทูลความเห็นของเจ้านายและข้าราชการ เมื่อ ร.ศ.๑๐๓ แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำริว่า
สิ่งที่จ�ำเป็นจะต้องท�ำก่อนอื่นมีอยู่ ๒ ประการ คือ การปฏิรปู การบริหาร เพือ่ ทีจ่ ะให้ขา้ ราชการ ทุกกรมมีงานท�ำอย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่การงานของตน และมีการประสาน งานระหว่างกัน อีกประการก็คือ ทรงเห็นว่า จ�ำเป็นจะต้องมีผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งจะต้องเป็น ผู้ตริตรอง ตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งเป็น ผู้พิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องด้วย โดยทรงพระ ราชด�ำริว่า ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่เรียบร้อย การอื่ น ๆ ยากนั ก ที่ จ ะตลอดไปได้ ดั ง นั้ น ค�ำกราบบังคมทูลความเห็นของเจ้านายและ ข้าราชการเมื่อ ร.ศ.๑๐๓ จึงยังไม่ได้รับการ สนองตอบ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว คณะผู ้ ก ่ อ การ ร.ศ.๑๓๐ ได้ คิ ด ท� ำ การปฏิ วั ติ เ พื่ อ เปลี่ ย นแปลงระบอบการ ปกครอง และสถาปนาให้มีรัฐธรรมนูญเป็น หลักในการปกครองประเทศ แต่คณะผู้ก่อการ ได้ถูกจับกุมเสียก่อน ส�ำหรับพระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว มี พ ระราชด� ำ ริ ที่ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พสกนิกรของ พระองค์ตงั้ แต่ตน้ รัชกาล แต่ทรงเห็นว่าคนไทย เราโดยทั่วไปพร้อมอยู่หรือยังที่จะใช้อ�ำนาจ เลือกผู้แทนของตัวเองท�ำการปกครอง มีความ เสียใจที่ยังแลไม่เห็นว่าจะท�ำการเช่นนั้นส�ำเร็จ ได้ เพราะแม้แต่การเลือกกรรมการสุขาภิบาล ประจ� ำ ต� ำ บลซึ่ ง เป็ น ขั้ น แรกแห่ งการเลือกผู้ ปกครองตนเองก็ยังท�ำไม่ได้จริงจัง เจ้าหน้าที่ ฝ่ า ยเทศาภิ บ าลต้ อ งคอยเสี้ ย มสอนอยู ่ ทุ ก แห่งไป การเลือกก�ำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งต�่ำลงไป กว่านั้น และท�ำได้ง่ายกว่าก็ยังท�ำกันเหมือน เล่ น ละครตลก ด้ ว ยเหตุ นี้ พ ระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงระงับพระ ราชด�ำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน จุฬาพิช มณีวงศ์
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ฉบับ เพื่อจะได้ศึกษา พิจารณาว่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือ ไม่เพียงใด ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ผู ้ ด� ำ ริ ที่ จ ะให้ มี ก าร ปกครองระบอบพระมหากษัต ริย์อยู่ภ ายใต้ รัฐธรรมนูญ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเป็น ร่างของพระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟราน ซิสบีแซร์ ซึ่งยกร่างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ส่วน ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ที่ ๒ ยกร่างโดย นาย เรมอนด์ บีสตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการ ต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัด ทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งร่างขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ อนึ่ ง เป็ น ที่ น ่ า สั ง เกตว่ า ทั้ ง นายเรมอนด์ บีสตีเวนส์ และพระยาศรีวสิ ารวาจา ต่างไม่เห็น ด้วยที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดย อ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะคนไทยส่วน ใหญ่ยังไม่เหมาะสมที่จะมีส่วนในการปกครอง เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าสภานิติบัญญัติจะท�ำงาน ได้อย่างน่าพอใจ กรรมการทั้ง ๒ ท่านมีความ เห็นว่า จะต้องให้ประชาชนได้มีประสบการณ์ ในการปกครองตนเองก่ อ น ต่ อ มาทรงท� ำ หนังสือเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญไปถึงที่ประชุม อภิรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๗๔ เพื่อ จะได้ปรึกษากันในที่ประชุมอภิรัฐมนตรี ทรงตั้ ง พระราชหฤทั ย ที่ จ ะพระราชทาน รั ฐ ธรรมนู ญ แก่ ป วงชนชาวไทย ในวั น ที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ อันเป็นวันสถาปนาราชวงศ์ จักรีครบ ๑๕๐ ปี แต่เมื่อถึงวันดังกล่าวก็มิได้ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ต่อ จากนั้นไม่ถึง ๓ เดือน คณะราษฎร์ก็ได้ท�ำการ เปลี่ ย นแปลงการปกครอง แม้ จ ะยั ง ไม่ พ บ หลักฐานแน่ชัด แต่จากค�ำบอกเล่าของบุคคล ต่าง ๆ ในสมัยนั้น ต่างได้ความตรงกันว่าการ งดประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๔ เป็นเพราะอภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วย อย่ า งไรก็ ต ามพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้าอยู่หัวยังทรงยืนยันที่จะให้มีการปกครอง ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการเตรี ย มประชาชนให้ มี ค วามพร้ อ ม ส�ำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ รัฐสภา มีพระบรมราโชวาทในงานประจ�ำปีของ วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๓ เดือน ความตอนหนึ่งว่า “การปกครองที่จะดีนั้นยิ่งเป็นแบบรัฐสภา หรื อ แบบปาลิ เ มนต์ ด ้ ว ยแล้ ว ถ้ า จะดี ไ ด้ ก็ ต้องอาศัยความดีของประชาชน ต้องอาศัย น�้ำใจ และนิสัยประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ถ้า ประเทศใดมีประชาชนมีน�้ำใจดี รู้จักวิธีการที่ จะปกครองตนเองโดยแบบมีรฐั สภาจริง ๆ แล้ว หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
การปกครองนั้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศ เป็นอันมาก” ทรงอธิบายถึงแนวทางที่จะให้ประชาชนมี น�้ำใจดี โดยทรงยกตัวอย่างประเทศอังกฤษว่า อยู่ที่การฝึกฝนตามแบบอย่างโรงเรียนราษฎร ที่เป็นโรงเรียนประจ�ำที่เรียกว่า พับลิกสกูล ซึ่ง มีวิธีการสอนสรุปได้ ๓ ประการคือ ประการ แรก พับลิกสกูลจะสอนให้รักขนบธรรมเนียม ของโรงเรียน และของประเทศ ขนบธรรมเนียม ใดทีม่ มี าแต่เดิม แม้จะคร�ำ่ ครึไม่มปี ระโยชน์ แต่ ถ้าหากไม่เสียหายก็ควรรักษาไว้เพือ่ ให้นกั เรียน ภาคภูมใิ จ ให้นกึ ถึงความรุง่ เรืองของโรงเรียนที่ มีมาแล้วตั้งแต่ในอดีต เมื่อเด็กอังกฤษเติบโต ขึน้ ก็จะมีนำ�้ ใจรักขนบธรรมเนียมของบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง การรักขนบธรรมเนียมไม่ได้ท�ำให้ ประเทศอังกฤษมีความเจริญล้าหลังประเทศ อื่น ๆ เลย แต่ท�ำให้ประเทศอังกฤษสามารถ เปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองได้อย่าง เรียบร้อย ประการที่สอง ในโรงเรียนพับลิก สกูลของอังกฤษมีการปกครองกันเป็นล�ำดับ ชั้น มีการปกครองที่เข้มงวดมากเป็นล�ำดับ ชั้น ตั้งแต่ครู เด็กชั้นผู้ใหญ่ เด็กชั้นเล็ก จะให้ ปกครองกันเป็นล�ำดับชั้น และมีวินัยเคร่งครัด ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ฝึ ก หั ด ให้ รู ้ จั ก ปกครองกั น เองตาม ล�ำดับชั้น ถ้าไม่มีก็ย่อมปกครองกันไม่ได้ ทรง เห็นว่า ถ้าจะให้ประเทศไทยมีการปกครอง ที่ ดี ง ามต่ อ ไป เราต้ อ งฝึ ก หั ด เด็ ก ของเราให้ รู ้ จั ก เคารพนั บ ถื อ ผู ้ ใ หญ่ และให้ รู ้ จั ก รั บ ผิ ด ชอบที่ จ ะปกครองผู ้ น ้ อ ยต่ อ ไปโดยยุ ติ ธ รรม ประการที่สาม ต้องฝึกหัดให้นักเรียนมีน�้ำใจ เป็นนักกีฬาแท้ มีพระราชด�ำริว่า การฝึกหัด น�้ำใจนั้นเป็นของส�ำคัญยิ่ง เราจะปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยก็ยงิ่ ส�ำคัญมากขึน้ ทรงให้ อรรถาธิบายค�ำว่านักกีฬาว่า จะเล่นเกมอะไรก็ ต้องเล่นให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของเกมนั้น ไม่ใช้วธิ โี กงเล็กโกงน้อย ถ้าเกมนัน้ เล่นกันหลาย คนก็ต้องเล่นเพื่อชัยชนะของฝ่ายตน ไม่ใช่เล่น เพื่อแสดงความเก่งของคนคนเดียว ข้อส�ำคัญ คือนักกีฬาแท้ต้องรู้แพ้รู้ชนะ ทรงเห็นว่า หลัก การของความเป็นนักกีฬาแท้นี้เป็นประโยชน์ ทางด้านการเมืองด้วย โดยเฉพาะเมื่อประเทศ ของเราจะปกครองในระบอบรัฐสภา มีพระราชด�ำรัสว่า “การปกครองแบเดโม คราซีนั้น ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปกครองบ้าน เมือง ก็ควรจะต้องนึกถึงน�้ำใจของฝ่ายน้อย ที่แพ้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราชนะแล้วก็หาวิธี กดขี่ข่มเหงผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ต่าง ๆ นานาหาได้ ไม่ ย่อมต้องมุง่ ปกครองเพือ่ ประโยชน์ของคณะ ต่าง ๆ ทั้งหมด ส่วนผู้ที่แพ้ก็เหมือนกัน เมื่อแพ้ แล้วถ้าตั้งกองวิวาทเรื่อย บอกว่าถึงแม้คะแนน โหวตแพ้ ก�ำหมัดยังไม่แพ้เช่นนั้นแล้ว ความ เรียบร้อยจะมีไม่ได้ คงได้เกิดตีกันหัวแตกเต็ม ไป ฝ่ายผู้แพ้ควรต้องนึกว่าคราวนี้เราแพ้แล้ว
ต้องไม่ขัดขวางหรือขัดคอพวกที่ชนะอย่างใด เลย ต้องปล่อยให้เขาด�ำเนินการตามความเห็น ของเขาต่อไป ภายหน้าเราอาจเป็นฝ่ายที่ชนะ ได้เหมือนกัน” จึ ง เห็ น ได้ ว ่ า ประเทศไทยก� ำ ลั ง จะมี รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐ ภายใต้การร่างของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึง่ มี ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน คงไม่อาจ น�ำพาประชาธิปไตยกลับมาสู่ประเทศไทยตาม ความวาดหวังได้ หากตราบใดหัวใจของคนเล่น กติกายังขาดความมีน�้ำใจนักกีฬาเป็นส�ำคัญ แล้วประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ตลอดเวลา ๘๒ ปี ก็คงเสียของเหมือนเดิมอย่าง แน่นอน 49
อาณาจักรตองอูกับการก้าว ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอ�ำนาจ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
อาณาจักรพม่าแห่งพุกามเป็นอาณาจักร พม่ายุคแรกก้าวขึน้ สูอ่ ำ� นาจสูงสุดเหนือแม่นำ�้ อิ ระวดี มีอาณาจักรที่กว้างใหญ่ในสมัยของพระ เจ้าอโนรธามังช่อ (Anawrahta Minsaw) ทรง ครองราชสมบัตริ ะหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ - ๑๖๒๐ ครองราชสมบัตินาน ๓๓ ปี ต่อมาอาณาจักรก็ เริม่ อ่อนแอลง ในทีส่ ดุ ก็ถกู กองทัพมองโกลจาก ทางตอนเหนือโจมตีในปี พ.ศ.๑๘๒๗ กองทัพ พม่าไม่สามารถจะต้านทานกองทัพมองโกลที่ ยิ่งใหญ่ได้ ต่อมาก็พ่ายแพ้ในการรบ และใน ที่สุดอาณาจักรได้ล่มสลายในปี พ.ศ.๑๘๓๐ อาณาจักรพม่าในยุคที่หนึ่งมีอายุยืนนานถึง ๒๔๓ ปี...........บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักร พม่าแห่งกรุงหงสาวดีในยุคที่สองได้ก้าวขึ้น สู่จุดสูงสุดของอ�ำนาจของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung)
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (Shwemawdaw Paya) มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี สร้างขึ้น ในยุคที่มอญเรืองอ�ำนาจได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างฉัตร ถวายเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง (ชาวสยามรู้จักในชื่อเจดีย์ชเวมอดอว่าพระธาตุมุเตา) อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตที่ผ่านมา จาก อาณาจักรต่าง ๆ มีที่ตั้งตามแนวของลุ่มแม่น�้ำ อิระวดี ลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น�้ำโขง ประกอบด้วยเมืองที่ส�ำคัญคือพุกาม ไทใหญ่ ล้านนา อยุธยา ล้านช้าง และมณีปุระ จึงเป็น มหาอ�ำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์
การรบที่ ส� ำ คั ญ ที่ รู ้ จั ก ในชื่ อ การรบ นองโย (Battle of Naungyo) ปี พ.ศ. ๒๐๘๑ พืน้ ทีก่ ารรบอยูท่ บี่ ริเวณทีร่ าบลุม่ ปากแม่น�้ำอิระวดีก่อนจะถึงเมืองแปร
๑. สถานการณ์ทั่วไป ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) แห่ง กรุงหงสาวดีเป็นอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง จึ ง เริ่ ม ต้ น การขยายดิ น แดนไปยังอาณาจัก ร ของเพื่อนบ้านที่อ่อนแอกว่าทีละอาณาจักร จนอาณาจั ก รเริ่ ม มี อ าณาเขตกว้ า งใหญ่ ขึ้ น 50
๒. ราชวงศ์ตองอูก้าวขึ้นสู่ จุดสูงสุดของอ�ำนาจ ๒.๑ อาณาจักรตองอู ราชวงศ์ตองอูก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าเมงจีโย (Mingyinyo) เมืองตองอู พระองค์ทรงครอง ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๕๓ - ๒๐๗๓ เป็นเวลา นาน ๒๐ ปี พระราชโอรสคือพระเจ้าตะเบ็ง ชะเวตี้ (Tabishwehti) ทรงด�ำรงความมุง่ หมาย จะรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นหนึ่งเดียว แม่ทัพ ใหญ่คู่พระทัยคือแม่ทัพบุเรงนองที่ได้สร้างชื่อ จากศึกนองโย (Nauagyo Battle) ปัจจุบัน อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น�้ำอิระวดีก่อนจะ
อาณาจักรหงสาวดีแห่งราชวงศ์ตองอู มีอาณาเขตทีก่ ว้างขวางครอบครองเมือง ที่ส�ำคัญตามแนวแม่น�้ำอิระวดี, แม่น�้ำ เจ้าพระยา และแม่น�้ำโขง มีอาณาเขตที่ กว้างใหญ่ จึงเป็นมหาอ�ำนาจทางทหาร แห่งอุษาคเนย์ (ลูกศรชี้คือเมืองตองอู จุดเริ่มต้นของราชวงศ์ตองอู) พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
พระราชวังของพระเจ้าบุเรงนองที่รัฐบาลพม่าสร้างจ�ำลองขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง อยู่ที่เมืองหงสาวดี ถึงเมืองแปร แต่ความมุ่งหมายของพระองค์ ไม่ส�ำเร็จโดยพระองค์ทรงสวรรคตเสียก่อน พระเจ้าบุเรงนองทรงขึน้ ครองราชย์ปี พ.ศ.๒๐๙๔ โดยการปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์ล�ำดับที่ สามแห่งราชวงศ์ตองอู มีชื่อว่าบะยิ่นเหน่าว มีความหมายว่าพระเชษฐาธิราช มีพระนาม เต็มว่าบะยิน่ เหน่าวจ่อถิน่ หน่อยะถ่า ชาวสยาม จะเรียกว่าบุเรงนองกะยอดินนรธา โดยมีความ หมายว่าพระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภินิหาร แต่ชาวยุโรปจะรู้จักพระองค์ในนามชื่อ บราจิ โนโค (Braginoco) พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะ พระองค์ทรงยกกองทัพพม่าแห่งหงสาวดีไปตี เมืองทางด้านตะวันตกคือเมืองยะไข่ (อาระกัน) ๒.๒ พระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza Thadi Palace) พระเจ้ า บุ เ รงนองทรงสร้ า งพระราชวั ง กัมโพชธานีขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๐๙ ตั้งอยู่ทางตอน ใต้ของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุ มุเตา) หลังจากทรงขึน้ ครองราชย์สมบัตมิ านาน ๑๕ ปี เป็นห้วงที่พระองค์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด ของอ�ำนาจ โดยใช้แรงงานมาจากประเทศราช ต่าง ๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรตองอูแห่งหงสาวดี พระองค์ ท รงใช้ ชื่ อ ประตู เ มื อ งตามชื่ อ ของ แรงงานของเมืองที่สร้างขึ้น เป็นพระราชวัง ที่ มี ข นาดใหญ่ โ ตสมพระเกี ย รติ หลั ง จากที่ พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลงในปี พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๖๕ พรรษา (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔ - ๒๑๒๔ ขณะที่ทรง มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา) อาณาจักรตองอู แห่งหงสาวดีก็เริ่มอ่อนแอลงเพราะขาดความ เข้มแข็ง ประกอบกับเมืองขึ้นหลายเมืองไม่ ยอมรับอ�ำนาจจากศูนย์กลางคือกรุงหงสาวดี การรบใหญ่ จึ ง เกิ ด ขึ้ น อย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
ต่ อ มาถู ก กองทั พ เมื อ งยะไข่ เ ข้ า โจมตี ก รุ ง หงสาวดีและพระราชวังกัมโพชธานีก็ถูกเผา ท�ำลายในปี พ.ศ.๒๑๔๒ พ.ศ.๒๕๓๓ รัฐบาลประเทศพม่าได้สร้าง พระราชวั ง กั ม โพชธานี จ� ำ ลองขึ้ น ใหม่ โดย พระราชวังของเดิมคงเหลือเพียงตอไม้ที่อยู่ บริเวณแนวพื้นดิน บริเวณพระราชวังเดิมมี การขุดพบโบราณวัตถุมากมายและซากไม้ที่ ใช้สร้างพระราชวังในอดีต ไม้แต่ละท่อนมีตัว อักษรจารึกอยู่ว่าเป็นไม้ที่มาจากเมืองใด และ ส่ ว นที่ ส องคื อ บั ล ลั ง ก์ ห รื อ เป็ น พระราชฐาน ชั้นใน ๒.๓ ราชวงศ์ตองอู พระเจ้ า บุ เ รงนอง ทรงมี พ ระราชโอรส และพระราชธิดารวม ๖๘ พระองค์ ประกอบ ด้วยพระราชโอรส ๓๓ พระองค์ และพระราช ธิดา ๓๕ พระองค์ พระมเหสีประกอบด้วย พระอัครมเหสีต�ำหนักใต้ (พระนามเดิมตะขิ่นจี พระพี่ น างในพระเจ้ า ตะเบ็ ง ชะเวตี้ ) , พระ อัครมเหสีต�ำหนักเหนือ (พระนามเดิมสิริโพง ทุต พระธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ), พระอัครมเหสี ต�ำหนักกลาง (พระนามเดิมฉิ่นเทวละหรือเซง ทะเว พระธิดาพระเจ้ากรุงพะโค) และพระ มเหสีเล็ก (พระสุพรรณกัลยา พระธิดาพระ มหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยา ที่ชาวพม่าเรียก ว่าอะเมี้ยวโยง) พร้อมทั้งทรงมีพระสนมรวม ๓๐ พระองค์ พระราชโอรสและพระราชธิดา ที่ส�ำคัญคือ เจ้าชายงาสู่ด่ายะก่ามิน (เจ้าวังหน้า) หรือ เจ้าชายนันทบุเรง พระราชโอรสองค์โต ของ พระนางตะขิ่นจี ต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าบุเรงนอง มี พ ระนามว่ า พระเจ้ า นั น ทบุ เ รง (โนนเตี๊ ย ะ บาเยง)
พระอนุ ส าวรี ย ์ พ ระเจ้ า บุ เ รงนองแห่ ง อาณาจั ก รพม่ า กรุ ง หงสาวดี เป็ น มหาราช (หนึ่งในสามของอาณาจักร พม่ า ) ที่ มี อ ยู ่ ห ลายแห่ ง ในประเทศ เมียนมาร์ พระนางเมงกอสอ พระราชธิดาพระองค์ ใหญ่ของพระนางตะเกงจี ต่อมาทรงอภิเษก กับพระเจ้าตองอู เป็นพระราชมารดาของนัด จินหน่อง (Natshinnaung) หรือพระสังขทัต (ชาวสยามจะรู้จักในชื่อนี้) มีความรอบรู้ทาง ด้านบทกวีและพระไตรปิฎก เจ้าชายมังนรธาสอ พระโอรสของพระมเหสี ราชเทวี พระต� ำ หนั ก กลาง ต่ อ มาพระเจ้ า บุ เ รงนองส่ ง มาปกครองอาณาจั ก รล้ า นนา ปี พ.ศ.๒๑๒๑ รู ้ จั ก ในชื่ อ อโนรธาเมงสอ และเป็นแม่ทัพที่ยกกองทัพพม่าแห่งล้านนา ลงมาตีอยุธยา พ.ศ.๒๑๒๘ หลังจากที่อยุธยา ได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗
๓. บทสรุป อาณาจักรพม่าแห่งตองอูเริ่มต้นการขยาย อ�ำนาจจากอาณาจักรขนาดเล็กสู่อาณาจักร ใกล้เคียง เนื่องจากมีอาวุธใหม่คือปืนคาบศิลา และปืนใหญ่จากโปรตุเกส พระเจ้าบุเรงนอง กษั ต ริ ย ์ นั ก รบที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญในกลศึ ก และท�ำการรบเข้มแข็ง พร้อมทั้งทรงเป็นนัก ปกครองและนักบริหาร ทรงน�ำกองทัพพม่า ในการเข้าตีเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์ อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีจึงเป็นจุดเริ่ม ต้ น ของอาณาจั ก รพม่ า ในยุ ค ที่ ส องเริ่ ม ต้ น สู ่ ความยิ่งใหญ่ 51
;-) Winking smile พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
ด้
วยอิ ท ธิ พ ลของเทคโนโลยี ก าร สื่ อ สารของระบบเครื อ ข่ า ย (Social network) เช่น SMS, Twitter Facebook หรือ Line จนกลาย เป็นภาพชินตาในสังคมไทยไปแล้ว เราคุยกัน น้อยลง และนั่งตั้งหน้าตั้งตาพิมพ์ส่งข้อความ กันทั้งวัน หลายคนเสียมารยาทมากในการส่ง ข้อความในที่ประชุม แถมยังมีเสียงดัง ปริ้ง ปริ้ง ตลอดเวลาโดยผู้ใช้โทรศัพท์ไม่ค�ำนึงถึง มารยาททางสังคมเอาเสียเลย ที่ต้องเขียนใน นี้เพราะทนไม่ไหวจริง ๆ เพราะเห็นหลาย ๆ คนทั้งที่แต่งเครื่องแบบทหาร นั่งประชุม ก็ยัง Chat ไม่หยุด บางคนอ้างว่ามีงานด่วนทีจ่ ะต้อง ติดตาม ทุกคนก็นั่งก้มหน้าไม่ฟังการบรรยาย หรือการประชุม อาจารย์วันดีก็ยอมรับว่าเป็น คนหนึ่งที่ติด Chat เช่นกัน แต่พยายามที่จะ ไม่น�ำโทรศัพท์เข้าไปห้องประชุมเพื่อท�ำให้เรา ไม่มีสมาธิ เคยมีเหตุการณ์ที่ดูแล้วน่าอายมาก เมื่อน�ำนักเรียนทหารไปเข้าฟังการบรรยายที่ เมืองพัทยา ในขณะที่มีการบรรยายต้อนรับ คณะอยู่นั้น นายทหารนักเรียนจ�ำนวนมาก ก้มหน้าเล่น Line กัน จนเราในฐานะเป็นผู้น�ำ คณะรู้สึกอาย แต่จะห้ามตอนนั้นก็ห้ามไม่ได้ เลยต้องใช้วิธีเขียนไปใน Line กลุ่มว่า “ทุกคน คะ เลิกเล่น Line ค่ะ” หลังจากนั้นปฏิกิริยา ที่เห็นก็คือ ทุกคนเก็บโทรศัพท์มือถือทันที ดังนั้นจะพูดว่าระบบการสื่อสารเครือข่าย นั้นไม่มีประโยชน์ก็ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ เทคโนโลยี ใ ห้ ถู ก กาลเทศะแค่ ไ หน ฉบั บ นี้ ขอเอาใจผู ้ สู ง อายุ ทั้ ง หลายที่ มี ไ ฟในการส่ ง ข้อความ SMS ที่จะได้เข้าใจภาษา SMS พร้อม กันกับผู้เขียนนะคะ หรือจะส่ง line มาคุยกัน ก็ได้ค่ะ เช่น ภาษาอารมณ์ ต่อไปนี้
$-(
%-(
%-}
:-)
'-)
*:-)
;-)
:-(
:'-(
52
:-(o) :) :'-) :- ) :- )) 8-) :@ :-@
I spent too much money ใช้เงินเยอะเกินไป Confuse and sad งงและเสียใจ Intoxicated มึนเมา Smile ยิ้ม Winking ขยิบตา Clown ตัวตลก Winking smile ยิ้มขยิบตา Sad face หน้าเศร้า Crying ร้องไห้ Shouting ตะโกน Small smile ยิ้มน้อย ๆ Tear of joy น�้ำตาแห่งความสุข Big smile ยิ้มเต็มที่ Really happy มีความสุขจริง ๆ Drunk laughter ข�ำ Pig หมู Screaming กรี๊ดร้อง
:-/
Skeptical สงสัย :{) I've got a moustache ไว้หนวด :-~) Having a cold เป็นหวัด $-) A surprise smile ยิ้มแปลก ๆ :-7 Cynical laugh หัวเราะแบบเยาะเย้ย :-c Unhappy ไม่มีความสุข :-d Delighted smile ยิ้มแบบดีใจ :p Stick tongue out แลบลิ้นออกมา :-D Laughing หัวเราะ :-o Kiss from me ส่งจูบ :-o zz Bored เบื่อ :-v Talking ก�ำลังคุย :-X Kiss จูบ @ At อยู่ที่ @->;- A rose ดอกกุหลาบ [ ] Hug กอด =:) Bunny กระต่าย พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
>:-( <) B-) (-_-) (-_-!) (T_T) (*_*) :-* I:-O
Very angry โกรธมาก Speak out loud พูดเสียงดัง Wearing sunglasses ใส่แว่นกันแดด Guilty face หน้าแสดงความกังวล Tired face หน้าแสดงอาการเหนื่อย Crying ร้องไห้ Sweet eyes ตาหวาน Ooops อุ๊บส์ No explanation given ไม่มีค�ำอธิบาย
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
#:-o <:-) :-))) :'-( >;-('
((H))) :-S :*(
:-e
Oh, No! โอ ไม่น่ะ For dump questions ค�ำถามงี่เง่า Reeeaaaalllly happy มีความสุขจริง ๆ I am crying ฉันก�ำลังร้องไห้ Iam spitting mad ฉันก�ำลังเป็นบ้า A big hug กอดเน้น ๆ I am confused ฉันรู้สึกสับสน I am crying softly ฉันก�ำลังร้องไห้ I am disappointed ฉันรู้สึกผิดหวัง
(:-... -,- (>_<) ($_$) (x_x) (o_o)
I am heart-broken ฉันอกหัก I am sleepy ฉันง่วง I am furious ฉันโกรธ I am being greedy ฉันตะกละ I may be dead ฉันอาจจะตาย I am shocked ฉันตกใจ
หวังว่าจะท�ำให้การส่งข้อความ SMS ครั้ง ต่อไปท�ำให้เราสื่อสารความหมายกันมากขึ้น นะคะ แต่อย่าส่งผิดคนละ
53
สาระน่ารู้ทางการแพทย์
โรคอ้วน (Obesity) โ
ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ร คอ้ ว นจั ด เป็ น ปั ญ หาหลั ก ทาง สาธารณสุขที่พบมากขึ้นโดยเฉพาะ ในก�ำลังพลส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พบว่ า ก� ำ ลั ง พลที่ มี อ าหารการกิ น อุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน อีกทั้ง ยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบ เนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจ�ำนวนมากที่เข้าใจ ผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้า ท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า "อ้วน" ซึ่งถือว่า เป็ น ความเข้ า ใจผิ ด อย่ า งยิ่ ง เนื่ อ งจากค� ำ ว่ า "อ้วน" ในความหมายของคนทั่วไป กับความ หมายทางวิชาการมีความแตกต่างกันและควร ที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิด ปัญหาว่ามีความคิดวิตกกังวลว่าตนเอง "อ้วน" ทั้งที่จริง ๆ แล้วน�้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในทางวิชาการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่า เป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลก โดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการค�ำนวณ ค่ า น�้ ำ หนั ก ตั ว ปกติ ซึ่ ง ควรอยู ่ ใ นช่ ว ง ๑๘.๕ – ๒๔.๙ และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า BMI มากกว่า ๓๐ ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธี ค�ำนวณค่า BMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองค�ำนวณ หาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่า ร่างกายของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือ ไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลด น�ำ้ หนักลงมากน้อยเพียงใดและเมือ่ ท่าน "อ้วน" มี ป ั จ จั ย เสี่ ย งของโรคใดบ้ า ง และท่ า นควร ปฏิบัติตนอย่างไรในการลดน�้ำหนัก เพื่อช่วย ให้ท่านสามารถลดน�้ำหนักได้ และมีสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวันได้ และมี น�้ ำ หนั ก เหมาะสมกั บ ส่ ว นสู ง และอายุ ข อง ตนเองหรือไม่ ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการน�ำน�้ำหนักตัวและ ส่วนสูงมาค�ำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมัน ในร่างกาย ซึง่ ค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการค�ำนวณ อย่างแพร่หลาย เนื่องจากค�ำนวณง่าย และ สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัยและทุกเชื้อชาติ ดัชนีมวลกาย (BMI) = น�้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม) ความสูง ๒ (หน่วยเมตร ๒) 54
เมื่อค�ำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า ๒๕ ถื อ ว่ า มี น�้ ำ หนั ก ตั ว มากเกิ น (overweight) และถ้ามีค่า BMI มากกว่า ๓๐ ถือว่า "อ้ ว น" (obesity) นอกจากนี้ มี ก ารจ� ำ แนก ประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ของ International Obesity Task Force (IOTF) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดการ เจ็บป่วยเมือ่ มีคา่ BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง
จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน�้ำหนักตัว เกิน (ค่า BMI มากกว่า ๒๕) และผู้ที่เป็นโรค อ้วน (ค่า BMI มากกว่า ๓๐) จะมีความเสี่ยงต่อ การเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัย หนึ่งได้ว่าการที่มีน�้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วน นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผล ต่อระบบการท�ำงานในร่างกายหลายระบบด้วย กัน ได้แก่
ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย (BMI) น�้ำหนักตัวต�่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า ๑๘.๕ ต�่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ) น�้ำหนักตัวปกติ
๑๘.๕ – ๒๔.๙ ปกติ
น�้ำหนักตัวเกิน
๒๕ – ๒๙.๙
เพิ่มกว่าปกติ
โรคอ้วนขั้นที่ ๑
๓๐ – ๓๔.๙
เพิ่มขึ้นอย่างมาก
โรคอ้วนขั้นที่ ๒
๓๕ – ๓๙.๙
ต�่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)
โรคอ้วนขั้นที่ ๓
๔๐ ขึ้นไป
เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง
ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอด เลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันใน เลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี โรคเกี่ ย วกั บ ถุ ง น�้ ำ ดี (gallbladder disease) โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis) มะเร็ง เช่น มะเร็งล�ำไส้ใหญ่ ปากมดลูก เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูกรังไข่ เต้านม ถุงน�้ำดีตับอ่อน โรคทางเดิ น หายใจและปอดหายใจ ล� ำ บากขณะนอนหลั บ นอนกรน (snoring) เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะ ขาดออกซิเจน ท�ำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่ ง ผลให้ ง ่ ว งนอนในเวลากลางวั น บางคน อาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถจนเกิด อุบัติเหตุได้ โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความ ดันโลหิตสูง โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม (Os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณ สะโพกหัวเข่าข้อศอก โรคเก๊าท์ (gout) โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) เส้ น เลื อ ดในสมองแตกหรื อ อุ ด ตั น (stroke) ซึมเศร้า (depression) เส้นเลือดขอด (varicose vein) เหงื่อออกมาก (sweating) การเป็นหมัน (infertility) จากการเสีย่ งต่อสุขภาพของโรคอ้วนทีก่ ล่าว ถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมี การศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่า คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคน รูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า อัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง ๒ – ๑๒ เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้า กลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน�้ำหนักเกินสามารถ ลดน�้ำหนักได้เพียง ๕ – ๑๐% ของน�้ำหนักตัว เริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และ อัตราการตาย (morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมี ความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิด ผลเสียได้มากกว่าผลดี "น�้ำหนัก" ก็เช่นกัน ถ้า มากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความอ้วนลงมาให้ ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะ เกิดขึน้ ได้ แล้วคนทีม่ ี "น�ำ้ หนักเกิน" หรือ "อ้วน" สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความ อ้วนมากเกินไปได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน" มีหลายสาเหตุ บางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียว อ้วนหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
สาเหตุของโรคอ้วน ๑. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่ เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง ๒. รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มี เวลาออกก�ำลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับ จากการรับประทานมากกว่าพลังงานทีใ่ ช้ไปใน การออกก�ำลังกาย เช่น ชอบรับประทานอาหาร ที่มีไขมันและแคลอรี่สูง เช่น หนังไก่ทอด มัน หมู หมูสามชั้น ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่ ยอมหาเวลาว่างออกก�ำลังกายเพื่อให้มีการใช้ พลังงานที่ได้รับเข้ามา ๓. พฤติ ก รรมการใช้ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ที่ ไ ม่ เหมาะสมท�ำให้มีการใช้พลังงานต�่ำ และท�ำให้ เสียโอกาสในการท�ำกิจกรรมหรือออกก�ำลัง กายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การจราจร ติดขัดในกรุงเทพ ท�ำให้คนส่วนใหญ่ต้องนั่ง เฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงาน ที่ต้องนั่งท�ำงานตลอดเวลา พฤติกรรมชอบรับ ประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น ๔. โรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome ซึ่งจะท�ำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อ้วน โดยสาเหตุ ข องโรคนี้ เ กิ ด จากความผิ ด ปกติ ของฮอร์โมนในร่างกาย จนท�ำให้อ้วนบริเวณ ใบหน้า ล�ำตัว ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะ เล็ ก และไม่ มี แ รง ในกรณี นี้ จ ะต้ อ งรั ก ษาที่ ต้ น เหตุ คื อ ฮอร์ โ มนที่ มี ค วามผิ ด ปกติ จึ ง จะ สามารถหายอ้วนได้ ส�ำหรับการรักษาโรคอ้วน นี้ วิธกี ารรักษาทีด่ คี วรต้องมีการผสมผสานการ รักษาหลายวิธีร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร การออกก�ำลังกายเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่วนการรักษาโดย ใช้ยานั้นต้องใช้ในกรณีจ�ำเป็นต่อการรักษาโรค อ้วนจริง ๆ และมักต้องอาศัยการรักษาด้วยยา ร่วมกับวิธีอื่น ๆ หรือถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา ด้วยยาถ้าต้องการลดน�้ำหนักก็ต้องอาศัยทั้ง ๓ วิธีข้างต้นร่วมกันในการรักษาและควบคุม น�้ำหนัก การควบคุมอาหาร (diet) ในการลด น�้ำหนักคนอ้วน คือ ให้พลังงานจากอาหาร
น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึง สลายพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายออกมา ใช้แทน น�้ำหนักก็จะลดลง การควบคุมอาหาร เพื่อให้ประสบความส�ำเร็จในการลดน�้ำหนัก ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของตัวท่าน เองเพราะถ้าท่านยังไม่สามารถตัดใจในเรื่อง อาหารได้ ความส�ำเร็จในการลดน�้ำหนักก็จะ ลดลงด้วย ลองตัง้ ใจเต็ม ๑๐๐% ในการควบคุม อาหาร แล้วท่านก็จะประสบความส�ำเร็จ แต่มี ข้อแนะน�ำว่าท่านไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิด หนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่ยอมรับประทาน อาหารในมื้อนั้น ๆ เพื่อจะลดน�้ำหนักแต่ควร มีการควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับแต่ละมื้อ มากกว่า เพราะถ้างดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง อย่างเด็ดขาดอาจท�ำให้ท่านขาดสารอาหาร ที่จ�ำเป็นต่อร่างกายได้และถ้าท่านไม่ยอมรับ ประทานอาหารในมื้ อ ใดมื้ อ หนึ่ ง อย่ า งเด็ ด ขาด ก็อาจท�ำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร อักเสบได้เช่นกัน การออกก�ำลังกาย (exercise) เป็นวิธีที่ ส�ำคัญในการลดน�้ำหนัก กล่าวคือเป็นส่วนของ การใช้พลังงานที่ถูกสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่ง ถ้าสัดส่วนของการใช้พลังงานมากกว่าสัดส่วน ของพลั ง งานที่ ไ ด้ รั บ เข้ า ไปก็ จ ะสามารถลด น�้ำหนักได้ และวิธีการออกก�ำลังกายนี้สามารถ ลดน�้ำหนักได้ในระยะยาว นอกจากมีผลดีใน การลดน�้ำหนักแล้วยังมีข้อดีอีกหลายประการ ไม่ว่าจะผลดีต่อระบบหายใจท�ำให้การท�ำงาน ของหัวใจและปอดดีขึ้น แล้วยังลดปัญหาด้าน ภูมิแพ้ โดยจะเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกาย ด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้ง ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมักใช้วิธี ออกก�ำลังกายนี้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร การออกก� ำ ลั ง กายที่ เ หมาะสมควรใช้ เ วลา ประมาณ ๓๐ – ๖๐นาทีต่อครั้งสัปดาห์ละ ๓ – ๕ ครั้ง แค่นี้เราก็จะไม่อ้วนกันอีกต่อไป แล้ว 55
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธีมอบทุนและประมูลจัดหาทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ ศิลปะ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ แก่นิสิตนักศึกษาที่มีประวัติการศึกษาดีและความประพฤติดี โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี เมื่อ ๑๙ พ.ย.๕๗ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พร้ อ มด้ ว ย พลเอก ศิ ริ ชั ย ดิ ษ ฐกุ ล ปลั ด กระทรวงกลาโหมและผู ้ น� ำ เหล่ า ทั พ ร่ ว ม บั น ทึ ก เทปโทรทั ศ น์ ถ วายพระพรชั ย มงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๗ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ในนามกระทรวงกลาโหม ณ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อ ๖ พ.ย.๕๗
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ โดยมี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและ ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องบรรยายรวม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถ.วิภาวดีรังสิต เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗ 56
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๗ กองบัญชาการกองทัพไทย
กองทัพอากาศ
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
57
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗ กองทัพบก
กองทัพเรือ
58
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่ ว มงานเลี้ ย งรั บ รองเนื่ อ งในวั น กองทั พ เรื อ ประจ� ำ ปี ๒๕๕๗ ณ หอประชุ ม กองทั พ เรื อ เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานวันราชวัลลภ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ณ กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ เขตพญาไท เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๗
พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม วางพวงมาลาในนามกระทรวงกลาโหมเนือ่ งในวันทีร่ ะลึกทหารอาสาสงครามโลกครัง้ ที่ ๑ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสาฯ บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
59
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ส ร ้ า ง เ ส ริ ม คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต ก� ำ ลั ง พ ล ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดยมี นายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ข องส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมร่ ว มพิ ธี ณ ห้ อ งพิ นิ ต ประชานาถ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗
พลเอก บุ ญ สร้ า ง เนี ย มประดิ ษ ฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการ แผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับฟัง การบรรยายสรุ ป แนวนโยบายและ ยุ ท ธศาสตร์ ข องกระทรวงกลาโหม โดยมี พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง กลาโหมและนายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ข อง ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมร่ ว ม ให้การต้อนรับ ณ ห้องภาณุรังษี ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๗ 60
พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายอาเมียร์ คายน์ (Amir kain) รองปลัดกระทรวงกลาโหม และเจ้ากรมรักษาความปลอดภัยหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศกลาโหมรัฐอิสราเอล ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องกัลยาณไมตรี เมื่อ ๑๓ พ.ย.๕๗
พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักนโยบาย และแผนกลาโหม ให้ ก ารต้ อ นรั บ พ.อ.Desmond D. Walton เจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมสหรัฐอเมริกา ใน โอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้อง ขวัญเมือง ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมือ่ ๑๔ พ.ย.๕๗
หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
61
พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินบริจาคสมทบ "กองทุนกรมเสมียนตรา ๔๐/๕๗" โดยมีนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๔ พ.ย.๕๗
พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีรับมอบทุนการศึกษาประจ�ำปี ๒๕๕๗ จากวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ ให้กับบุตรก�ำลังพลในสังกัดส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๗ 62
กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
นางพรวิ ม ล ดิ ษ ฐกุ ล นายกสมาคมภริ ย า ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ อุปนายกสมาคม ฯ ร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องใน วันกองทัพเรือ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗
นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตก�ำลังพล ส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗
63
คณะกรรมการสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร เขตคลองสาน เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๗
นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็ น ประธานในการประชุ ม ใหญ่ ส ามั ญ ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) เมื่อ ๒๘ ต.ค.๕๗
64
พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทกั ษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ปิดการอบรมสัมมนาสถานีวทิ ยุกระจายเสียงสาธารณะ ด้านความมั่นคงเครือข่ายส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รุ่นที่ ๑ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ ระหว่าง วันที่ ๑๙ - ๒๑ พ.ย.๕๗
บทอาเศียรวาท วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ธ ทรงเป็น เช่นตะวัน ขวัญแห่งชาติ ธ ทรงงาน เพื่อชนชาติ บ�ำราศทุกข์ พระด�ำริ ผลิสาน งานบังเกิด พระด�ำรัส รัฐราษฎร์รอด และปลอดภัย พฤกษ์พันธ์ุแล เขียวชอุ่ม และชุ่มชื้น ทรงด�ำริ ความพอเพียง เลี้ยงชีวา ยามแห้งแล้ง มีฝนหลวง ทรงห่วงหา อุทกพัฒน์ แก้เหตุ สมเจตน์จง พระด�ำรัส การปรองดอง เพื่อผองราษฎร์ สมานฉันท์ น�ำประชา สามัคคี คุณธรรม พระราชทาน สานคุณค่า ใต้ร่มฉัตร สยามสุข ทุกคืนวัน ปวงข้าบาท อัญเชิญพร บวรกวิน เทิดถวาย พระพรชัย ไท้เมลือง
รอยพระบาท จาริกไกล เพื่อไทยสุข ปีติปลุก ทั่วถิ่น แผ่นดินไทย แสนล�้ำเลิศ ทั่วพิภพ สบสมัย น�้ำพระทัย ล้นเยี่ยม เปี่ยมเมตตา ต้นน�้ำฟื้น ทรงปกปัก ทรงรักษา ภูมิปัญญา วิถีไทย จึงได้คง ป้องมหา ชลาหลั่ง ดั่งประสงค์ อีกธ�ำรง ชัยพัฒนา พาชีวี ลดพิพาท ลดห�้ำหั่น สรรสุขี ยื่นไมตรี ปันน�้ำใจ ให้แก่กัน เพื่อประชา ประสบ พบสุขสันต์ ธ มุ่งมั่น ขับเคลื่อนไทย ให้รุ่งเรือง เทพทั่วถิ่น ประสิทธิ์ ฤทธิ์ลือเลื่อง พระเกียรติเฟื่อง พราวเพริศ เลิศนิรันดร์.
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ก�ำลังพลสังกัดกระทรวงกลาโหม (พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)