ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่ โครงการฝนหลวง
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
www.lakmuangonline.com
อาศิรวาท ๑๒ สิงหามหาราชินี ธ ทรงเป็น มิ่งขวัญ รังสรรค์ชาติ ทรงนิยาม สยามรัฐ ชัชวาล กลาโหม ประโคมชัย ในทั่วหล้า นิรมิต ฤทธาฤกษ์ อันเกริกไกร
เกื้อกูลราษฎร์ บ�ำรุงไทย ให้ไพศาล สุขสราญ ทุกทิศา นภาลัย เชิญเทวา พรประพรม สมสมัย น้อมเทิดไท้ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานใน พิธีเปิดหอพระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์ โดยมี นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ข องส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมร่ ว มพิ ธี ณ ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จังหวัดลพบุรี เมื่อ ๑๕ ก.ค.๕๘
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ
พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์
รองผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส พ.อ.ยุทธนินทร์ บุนนาค
ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ
พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ
กองจัดการ ผู้จัดการ
น.อ.ธวัชชัย รักประยูร
ประจำ�กองจัดการ
น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์
เหรัญญิก
พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์
ที่ปรึกษา พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วยเหรัญญิก
พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น. พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.นพดล ฟักอังกูร พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี พล.ท.ดำ�รงศักดิ์ วรรณกลาง พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.เดชา บุญญปาล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ พล.ต.สราวุฒิ รัชตะนาวิน
ร.ท.เวช บุญหล้า
ฝ่ายกฎหมาย
น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ
พิสูจน์อักษร
พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำ�รง
กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ
น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.
รองบรรณาธิการ
พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช
ประจำ�กองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ ร.ท.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง
น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล ร.ท.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม
บทบรรณาธิการ วันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม เป็นอีกวันส�ำคัญของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะ ในวโรกาสมหามงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระปณิธานที่จะจัดกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ เพื่อ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และเป็นการแสดงความสามัคคีร่วมกันของประชาชนชาวไทย ภายใต้ชื่อ “ Bike for mom ปั่นเพื่อแม่” ซึ่งก�ำหนดจัดกิจกรรม ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป และกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมประวัติศาสตร์จัดพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ น�ำขบวนปั่นจักรยาน ด้วยพระองค์เอง ในช่วงระยะเวลาทีผ่ า่ นมา มีหลายกรณีทเี่ ป็นกระแสกวนใจการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อาทิ กรณีคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU) ประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย ในเรือ่ งการท�ำประมง ผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing กรณีกลุ่มนักศึกษาน�ำโดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มดาวดิน ออกมา เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย รวมถึงกรณีการส่งกลับอุยกูร์ ๑๐๙ คน ไปยังสาธารณรัฐประชาชน จีน โดยเฉพาะในกรณีการเรียกร้องประชาธิปไตยและอุยกูร์ ถูกเชื่อมโยงให้น�้ำหนักไปในเรื่องเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน และมีกระแสกดดันจากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันตกที่ไม่เห็นด้วยกับ การด�ำเนินการของรัฐบาล แต่จากบทบาทท่าทีของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ประชาชน เริ่มมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวกับงานความมั่นคง ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชาวอุยกูร์ ทุกประเทศ ในภูมิภาคนี้ก็ถือปฏิบัติในลักษณะเดียวกับประเทศไทย จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติที่ประเทศไทยจะด�ำเนิน การในลักษณะดังกล่าว และก็ถือเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับกระแสกดดันและไม่เห็นด้วย แต่ก็เป็นเรื่อง ที่น่ายินดีที่ประชาชนในประเทศเริ่มมีความเข้าใจ การให้ข้อมูลข่าวสาร การท�ำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และท�ำให้เกิดแนวคิดไปในแนวทางเดียวกัน นับเป็นส่วนส�ำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินให้ประเทศได้ก้าวเดินไปอย่างมั่นคง ยั่งยืน ซึ่งช่องทางที่ท่านผู้อ่านจะได้รับทราบแนวทางการด�ำเนินงานของรัฐบาล อีกช่องท่างหนึ่งคือ จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ผลิตเผยแพร่ทุก ๑๕ วัน เริ่มเผยแพร่ ฉบับแรกตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ทาง www.prd.go.th แต่อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านอย่าลืมที่จะติดตามอ่านวารสารหลักเมืองนะครับ
2
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
๔
๔
อัคราภิรักษศิลปิน... เกริกก้องธรณินสยาม
โครงการจิตส�ำนึก รักเมืองไทย
๕๒ ปี วันคล้ายวัน สถาปนา โรงงาน เภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร
๓๒
Cyber Supremacy “ก�ำลังรบ ที่ไม่เผยตัว”
๓๖
๑๐
๘
๑๖
๑๔
บทบาทอินเดีย ต่อความมั่นคงของไทย
๑๖
ความคืบหน้า การแก้ปัญหา การท�ำ ประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)
๑๘
แสนยานุภาพของชาติ ต่างๆ ในทะเลจีนใต้
๒๒
บทสัมภาษณ์ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เรื่อง กระทรวงกลาโหม หลักประกันความมั่นคง ของชาติ เคียงข้าง ประชาชน
๒๖
โครงการฝนหลวง ส�ำคัญอย่างไร
การอนุรักษ์ช้าง
๓๐
๘
๙ แผ่นดินของการ ปฏิรูประบบราชการ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๒)
๒๘
๒๒
๒๖
๑๘
ดุลยภาพทางการทหาร ของประเทศอาเซียน เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙
๔๐
เทคโนโลยี ระบบไฟฟ้า เครื่องกลจุลภาค (MEMS) กับการใช้งาน ทางทหาร
๓๐ ๔๔
การบริหารอ�ำนาจ
๔๘
การสถาปนาราชธานี กรุงหงสาวดีใหม่ ๒๑๕๖
๓๒
๓๖
๔๐ ๕๒ การใช้บทสนทนาใน ภาษาอังกฤษ
๕๔
๔๘
๕๒
สาระน่ารู้ทางการแพทย์ “สวย-หล่อ ด้วยคอลลาเจน”
๖๒ ๖๒
กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม
ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
3
4
อัคราภิรักษศิลปิน... เกริกก้องธรณินสยาม พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
พระราชกรณี ย กิ จ นานั ป การที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง บ�ำเพ็ญตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังคงจารึก อยู่ในจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดีและ น้อมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพสกนิกร ชาวไทย รวมทั้ง ยังเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา ของชาวโลก ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจทั้งปวง ทรงบ� ำ เพ็ ญ เพื่ อ อ� ำ นวยประโยชน์ แ ละสร้ า ง ความสุขให้เกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศ ชาติทั้งสิ้น อันประกอบด้วย โครงการศิลปาชีพ โครงการป่ารักษ์น�้ำ แนวพระราชด�ำริเพื่อแก้ไข ปั ญ หาความยากจนให้ แ ก่ ป ระชาชน แนว พระราชด�ำริเพือ่ สิทธิสตรี และโครงการ จ�ำนวน หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
มากมายอั น เกิ ด จากพระราชด� ำ ริ แ ละพระ ราชเสาวนีย์ โดยทุกพระราชกรณียกิจล้วน แล้ ว แต่ เ กิ ด จากพระราชปณิ ธ านที่ ท รงมี พระราชประสงค์เพื่อความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ของประเทศและความสุขของประชาชน จึงทรง บ�ำเพ็ญด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และบ่งบอก ให้สังคมไทยรับรู้รับทราบถึงพระราชวิริยภาพ และพระอัจฉริยภาพเป็นอย่างดี แต่ยังมีประชาชนชาวไทยจ�ำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระ ราชกรณียกิจอันส�ำคัญที่ทรงมีต่อประเทศชาติ อีกประการหนึ่งคือ พระราชกรณียกิจในเรื่อง ของศิลปกรรม ซึ่งในระยะเวลาไม่น้อยกว่า
๕๐ ปีที่ผ่านมา พระองค์ทรงให้ความส�ำคัญต่อ ศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาไทย ทรงตระหนัก ในคุณค่าของศิลปะของไทยที่มีความงดงาม มีเอกลักษณ์ มีความประณีต และเป็นสมบัติ อั น ทรงคุ ณ ค่ า เป็ น อย่ า งยิ่ ง ของแผ่ น ดิ น ไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มกี ารท�ำนุบำ� รุง รักษา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ ที่ก�ำลังจะสูญสิ้นไปตามกาลเวลา และก�ำลัง ถู ก คุ ก คามอย่ า งหนั ก จากกระแสวั ฒ นธรรม ที่ถาโถมมาจากภายนอกประเทศ ทั้งจากโลก ตะวั น ตกและประเทศในทวี ป เอเชี ย ให้ ค ง สภาพและในบางส่ ว นที่ ล บเลื อ นหายไป ให้กลับคืนมาเป็นสมบัตแิ ละเป็นศิลปกรรมของ 5
ประเทศและผืนแผ่นดินไทยเพื่อสืบทอดไปยัง อนุชนรุ่นต่อไป สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรม ราชินนี าถ ทรงมีพระราชกุศโลบายในการรักษา และการสืบทอดศิลปกรรมของไทย โดยทรง เริ่มจากการอนุรักษ์งานศิลปะทั้งปวงที่มีอยู่ ทรงโปรดเกล้ า ฯ ให้ มี ก ารสื บ ค้ น สื บ เสาะ แสวงหางานศิ ล ปะท้ อ งถิ่ น และภู มิ ป ั ญ ญา ท้องถิ่นที่ก�ำลังลบเลือนไปจากสังคมไทยและ
6
ของงานศิลปกรรมไทยคือการบริหารจัดการ ทางการตลาดเพื่อน�ำเสนอผลิตภัณฑ์อันเกิด จากภู มิ ป ั ญ ญาไทยให้ แ พร่ ห ลายไปสู ่ ส ากล จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดวางระบบทางการ ตลาดเพื่อสร้างตราผลิตภัณฑ์ (brand) และ ให้ มี ก ารวางแผนการตลาดอย่ า งเป็ น ระบบ เพื่อน�ำสินค้าสู่ผู้บริโภคได้อย่างสะดวกภายใต้ บริบทของระบบการตลาดในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ งานศิลปกรรมที่ทรงส่งเสริมและสนับสนุนที่ ประจักษ์ต่อสาธารณชน ประกอบด้วย งานด้านหัตถศิลป์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้ ประชาชนชาวไทยชนบทมีงานศิลปหัตถกรรม เป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลัก ท�ำให้ ประชาชนมี ร ายได้ เ พิ่ ม พู น มากขึ้ น ดั ง จะ เห็ น ได้ จ ากผ้ า ทอมื อ ของไทยจากผ้ า ไหม ที่ เ ป็ น หั ต ถกรรมที่ ท� ำ ให้ ค นไทยทั้ ง ประเทศ ได้ เ ห็ น ความงดงามและประณี ต ของผ้ า ไทย รวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ ซึ่งมีเทคนิคในการทอที่มีความวิจิตรพิสดาร มี ก ารคิ ด ค้ น พั ฒ นากรรมวิ ธี ใ นการผลิ ต และ สามารถรังสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ สร้ า งสรรค์ ง านศิ ล ปะให้ ส ามารถประยุ ก ต์ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา ผ้าขิด ผ้าจก ผ้ายก ใช้ได้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความ ผ้าปัก สะดวกในการผลิ ต งาน ทรงส่ ง เสริ ม และ งานด้านประณีตศิลป์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สนับสนุนให้มีการสร้างกระบวนการผลิตงาน เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง เครื่องประดับทั้งที่เป็น อย่างเป็นมาตรฐานและเป็นศาสตร์ให้สามารถ งานดินเผา งานเครือ่ งทอง เครือ่ งเงิน เครือ่ งถม ด� ำ เนิ น งานสื บ ต่ อ ไปได้ อ ย่ า งเป็ น ระบบเชิ ง งานลงยา และอืน่ ๆ เครือ่ งจักสานทีต่ า่ งประเทศ วิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งส�ำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่ รู้จักกันดีคือ เครื่องจักสานย่านลิเภา
พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
งานคี ต ศิ ล ป์ ทั้ ง งานศิ ล ปะประเภท ดนตรีไทย นาฏศิลป์ซึ่งเป็นที่ประจักษ์กันดีคือ ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู “โขน” ที่เป็นความงดงาม ทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ ประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ งานศิลปกรรม อาทิ งานสถาปัตยกรรม งาน จิตรกรรม งานประติมากรรม และงานวรรณคดี ให้เป็นมรดกทางปัญญาและมรดกทางศิลปะ ของประเทศให้ ค งอยู ่ รวมทั้ ง พั ฒ นาให้ มี ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งส� ำ หรั บ ถ่ า ยทอดคุ ณ ค่ า ไปยังอนุชนรุ่นต่อๆ ไป
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
พระราชกรณี ย กิ จ ทั้ ง ปวงขององค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ศิ ล ปกรรมอั น บั ง เกิ ด จาก พระราชหฤทัยทีท่ รงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ และ ห่วงใยต่ออาณาประชาราษฎร์ นับเป็นความ ปลาบปลื้มปีติในจิตใจพสกนิกรชาวไทยเป็น อย่างยิ่งและก่อเกิดให้ประชาชนทั่วประเทศ ต่างส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้มีการ ถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระ ราชสมัญ ญานานั ปการ ซึ่ ง ในปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๕ เนื่ อ งในมหามงคลวโรกาสที่ ส มเด็ จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง เจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในการนี้ กระทรวงวั ฒ นธรรม จึ ง ได้ ก ราบบั ง คม
ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ ท่าน คือ อัคราภิรักษศิลปินซึ่งมีความหมายว่า ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักรักษางานศิลปะ เพื่อ น้ อ มส� ำ นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ท รง บ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในการอนุรักษ์ดูแล และส่ ง เสริ ม งานด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมของ ชาติไทย ให้มีความวัฒนาถาวรเป็นอัตลักษณ์ ของชาติไทยอย่างมั่นคง เนื่ อ งในวั น มหามงคล ๑๒ สิ ง หาคม ๒๕๕๘ ซึ่ ง เป็ น วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ขององค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ผู้เขียนใคร่ขอเชิญชวนพสกนิกร ชาวไทยร่วมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมี พระวิริยะอุตสาหะ ตรากตร�ำ บ�ำเพ็ญพระราช กรณียกิจ เพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่ มหาชนชาวไทย สร้างเอกลักษณ์ของความเป็น ไทย และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น ให้แก่ประเทศชาติ ด้วยการบ�ำเพ็ญคุณงาม ความดี เ พื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ล และ น้อมเกล้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความ จงรักภักดี พร้อมกราบอาราธนาคุณพระศรี รัตนตรัย และอานุภาพแห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลประทานพรชัยมงคล ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เจริญด้วย จตุรพิธพรชัย มีพระราชประสงค์จ�ำนงหมาย ในสิ่ ง ใด ขอจงสั ม ฤทธิ์ ดั ง พระราชหฤทั ย ปรารถนา สถิตเป็นองค์มิ่งขวัญของมหาชน ชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์กาลด้วยเทอญ
7
๕๒ ปี วันคล้ายวันสถาปนา โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ห
ลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ประเทศ ไทยเกิดภาวะการขาดแคลนยา และเวชภัณฑ์ กรมแพทย์เหล่าทัพ แก้ ป ั ญ หาโดยท� ำ การผลิ ต และจั ด หาเอง ท�ำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ต่อมากองทัพไทย ได้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ ทางการทหารจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา พันโท Paul F Austin เภสัชกรที่ปรึกษาฝ่ายการแพทย์จัสแม็คไทย ได้ เ สนอแนะให้ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยสิ่ ง อุ ป กรณ์ ส าย แพทย์ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ ร ่ ว ม เพื่ อ แก้ ป ั ญ หา ดังกล่าวกระทรวงกลาโหม จึงได้อนุมตั ใิ ห้จดั ตัง้ โรงงานเภสัชกรรมทหารขึ้น โดยเป็นหน่วย ในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม และได้กระท�ำพิธีเปิดในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ มีทตี่ งั้ ณ ซอยตรีมติ ร ถนนพระราม ๔ กรุ ง เทพมหานคร โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น เงินทุนหมุนเวียนจากกระทรวงการคลัง ตลอด ๕๑ ปีที่ผ่านมา โรงงานเภสัชกรรม ทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ได้มีการพัฒนาและเติบโต อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โรงงานเภสั ช กรรมทหารฯ มีภารกิจในการผลิต รับจ้างผลิต จัดหา วิจัย วิเคราะห์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้และ จ�ำหน่ายส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม ส่ ว นราชการอื่ น และประชาชน ปั จ จุ บั น มี พลตรี อนุมนตรี วัฒนศิริ ผู้อ�ำนวยการโรงงาน เภสัชกรรมทหารฯ เป็นผู้บังคับบัญชา โรงงาน เภสั ช กรรมทหารฯ ได้ มี ก ารพั ฒ นามาตาม ล� ำ ดั บ ปั จ จุ บั น มี เ ภสั ช กรปฏิ บั ติ ง าน ๓๘ นาย มี เ ครื่ อ งจั ก รและอุ ป กรณ์ ที่ ทั น สมั ย มีการวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาสูตรต�ำรับยา อย่างต่อเนือ่ ง ได้รบั การรับรองมาตรฐานการผลิตยา 8
โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
ที่มี GMP จากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมา และก้าวสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น GMP PIC/S พร้อมทั้งได้น�ำระบบสารสนเทศ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ ในการบริหารจัดการการผลิตและจัดจ�ำหน่าย ยาและเวชภั ณ ฑ์ และได้จัด ท�ำเว็บ ไซต์ของ หน่วย “www.dpfthailand.com เพือ่ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิ ธี ก ารบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และการปฏิรปู ระบบบริหารราชการ ภาครั ฐ โรงงานเภสั ช กรรมทหารฯ จึ ง ได้ ปรั บ ระบบปฏิ บั ติ ง านให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ลมุ ่ ง มั่ น ในปณิ ธ าน “ผลิ ต ยา คุณภาพ เพื่อกองทัพ และประชาชน”ภายใต้ วิสัยทัศน์ “เป็นผู้น�ำด้านคุณภาพในการผลิต ยาเพื่อความมั่นคง”“To be the Quality leader in defensive pharmaceutical manufacturing” โดยเป็นศูนย์กลางการผลิต จัดหา วิจัย ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อความมั่นคง ของกระทรวงกลาโหมที่ทันสมัยได้มาตรฐาน สากล สามารถสนับสนุนกองทัพและประเทศ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในยามปกติและ สงคราม การสนั บ สนุ น กิ จ การของกระทรวง กลาโหม โดยการผลิตยาจ�ำเป็นพื้นฐานและ ยาที่ ใ ช้ ใ นการปฏิ บั ติ ก ารตามแผนป้ อ งกั น ประเทศ ค้นคว้า วิจัย ผลิตสารต้านพิษ เช่น ยาฉีดอะโทรปีนซัลเฟต ยาเวชกรรมป้องกันทาง การทหาร เช่น ผงโรยเท้าและโลชั่นทากันยุง การเตรียมแผนการระดมสรรพก�ำลังการส�ำรอง ยาและเวชภัณฑ์คงคลังเพื่อสนับสนุนภารกิจ ของหน่ว ยเหนื อ เช่ น การป้ อ งกั น ประเทศ การก่อความไม่สงบภายใน การสนับสนุนยา และเวชภัณฑ์แก่มิตรประเทศ การเข้าร่วม คณะท�ำงานแพทย์ทหารอาเซียนเพื่อให้การ สนั บ สนุ น ยาและเวชภั ณ ฑ์ ใ นสภาวะฉุ ก เฉิ น กรณีเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น น�้ำท่วม ภัยหนาว การสนับสนุนโครงการพระราชด�ำริและรักษา สันติภาพของสหประชาชาติ การพึ่ ง พาตนเอง โดยใช้ ท รั พ ยากรใน ประเทศเป็นวัตถุดิบในการผลิต เน้นการใช้ สมุ น ไพรทดแทนสารเคมี จ ากต่ า งประเทศ โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ ได้ปรับปรุงอาคาร
ส� ำ หรั บ ผลิ ต ยาสมุ น ไพรจนกระทั่ ง ได้ รั บ มาตรฐานตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก ารที่ ดี ใ นการ ผลิตยา (GMP) ประเภทสมุนไพรจากส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ในปี ๒๕๕๑ รวมถึงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากสมุ น ไพรเพื่ อ รองรั บ ความต้ อ งการของ ผู้บริโภค การให้ความส�ำคัญในการศึกษา ค้นคว้า วิ จั ย และพั ฒ นา โรงงานเภสั ช กรรมทหารฯ ได้แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ของรัฐและองค์การเภสัชกรรมในด้านต่างๆ อาทิ เช่น ร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และกรมแพทย์ทหารบก ในการวิจยั และพัฒนา สารทากันยุง Insect Repellent milky Lotion ความเข้มข้น ๓๓ เปอร์เซ็นต์ ส�ำหรับยุงก้นปล่อง ที่เป็นสาเหตุส�ำคัญของโรคมาเลเรีย ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยมหิดล วิจัย และพัฒนาสูตร ยาต้ า นพิ ษ อาวุ ธ ชี ว เคมี และยาก�ำพร้า และ การวิจัยและพัฒนาสูตรต�ำรับยาใหม่ ร่วมมือ กั บ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ในโครงการ ศึกษาวิจัยชีวสมมูลของยาสามัญใหม่ ร่วมมือ กั บ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรวิ จั ย พั ฒ นาและ วิจัยเภสัชต�ำรับ และร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ในการศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมุ น ไพร รวมทั้ ง การที่ โ รงงานเภสั ช กรรม ทหารฯ อุ ทิ ศ ตนเป็ น แหล่ ง ฝึ ก ศึ ก ษาและ ดูงานของนักศึกษา และบุคลากรจากภาครัฐ และเอกชน จ�ำนวนปีละมากกว่า ๑๐๐ คน นอกจากนี้ นั ก วิ จั ย ของโรงงานเภสั ช กรรม ทหารฯ ยังได้ทำ� การวิจยั สูตรต�ำรับแผ่นปิดแผล ห้ า มเลื อ ดจากไคโตซาน ซึ่ ง เป็ น สารสกั ด จากเปลือกกุ้งปูและแกนปลาหมึกได้เป็นผล ส�ำเร็จ จนถึงขั้นน�ำเข้าสู่สายการผลิตต่อไป ในปัจจุบนั การวิจยั และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทสี่ ำ� คัญ ได้ แ ก่ การวิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อ ขึ้ น ทะเบี ย น ต�ำรับยา Pseudoephedrine HCL จ�ำนวน ๓ ต�ำรับ และการวิจัยและพัฒนายา Morphine Sulfate injection 10 mg/ml เพื่อสนับสนุน ให้ ค ณะกรรมการอาหารและยา กระทรวง สาธารณสุข โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ เป็นสมบัติ ของกองทัพและประชาชน ความภาคภูมิใจ ของหน่ ว ยคื อ การได้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ ความ เชื่ อ มั่ น จากผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและผู ้ รั บ บริ ก าร ปัจจุบันหน่วยมีศักยภาพเพียงพอที่จะสนอง ความต้องการต่อภารกิจของหน่วยเหนือได้ ทุกสถานการณ์ ก�ำลังพลทุกนายพร้อมที่จะ ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท เสียสละ และจะพัฒนา ขีดความสามารถ คุณภาพ มาตรฐานอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ กองทัพ และประชาชนตลอดไป 9
แผ่นดิน
ของการปฏิรูประบบราชการ
พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๒) ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
10
ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
พระราชด�ำริเกี่ยวกับการเศรษฐกิจ
การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เนื่องจากการค้าขายกับต่างประเทศน�ำรายได้ เข้าสู่รัฐจ�ำนวนมาก เป็นสินค้าส่งออกที่ล้วนมา จากส่วยรัฐไม่ต้องลงทุนมาก กิจการค้ากับต่าง ประเทศคึกคักมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกรมหมื่นเจษฎา บดินทร์ทรงก�ำกับ และยิง่ เห็นเด่นชัดในรัชกาล ที่ ๓ โดยเฉพาะการค้ากับจีน เป็นไปในรูปการค้า แบบบรรณาการ เพราะให้ผลประโยชน์เต็มเม็ด เต็ ม หน่ ว ย นอกจากจี น แล้ ว ยั ง มี ป ระเทศ คู่ค้าอื่นๆ อีก คือ สิงคโปร์ ปีนังและมะละกา การทีพ่ ระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงท�ำการค้าขายกับต่างประเทศต่อเนื่องเป็น เวลานาน ทรงเก็บเงินรายได้จากกิจการนี้เป็น เงินพระคลังข้างที่ไว้ในถุงแดง เป็นจ�ำนวนถึง ๔๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อใช้สอยในการแผ่นดิน การที่ทรงยินยอมท�ำสนธิสัญญาเบอร์นี่ กับอังกฤษเมือ่ พุทธศักราช ๒๓๖๙ ท�ำให้การค้า กับต่างประเทศขยายตัวมาก มีเรือสินค้าต่างชาติ เข้ามาค้าขายมากกว่าเดิม คงเป็นผลสืบเนื่อง มาจากนโยบายรัฐ สนับสนุนการค้าขายกับ ต่ า งชาติ อ ย่ า งเสรี ดั ง ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระราชด�ำริตงั้ แต่ตน้ รัชกาลมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนทั่วไป ท�ำการค้าขายให้ได้รับผลประโยชน์ทั่วกัน
ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ขณะเดี ย วกั น รั ฐ ต้ อ งควบคุ ม การ ส่งออกเพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าวภายใน ประเทศ ด้วยการออกกฎหมายควบคุมราคา ข้ า วและห้ า มมิ ใ ห้ น� ำ ข้ า วออกนอกประเทศ ยกเว้นว่าปีนั้นมีข้าวพอกินไป ๓ ปี จึงน�ำข้าว ออกนอกประเทศได้ ทรงออกพระราชก�ำหนด ให้ ย กเลิ ก การบั ง คั บ ซื้ อ ข้ า วส่ ง ฉางหลวงให้ ชาวนาน�ำมาส่งขึ้นฉางหลวงด้วยตนเอง หรือ จะยอมเสียค่าจ้างขนส่งแก่เจ้าพนักงานก็ได้ ใช้ทตี่ วงข้าวตามมาตรฐานทีร่ ฐั ก�ำหนด นอกจากนี้ ทรงมีนโยบายเพิ่มผลผลิตด้วยการส่งเสริมให้ ชาวนาท�ำนาปีละ ๒ ครั้ง หากพื้นที่ใดรกร้าง ก็ให้เจ้าเมือง กรมการเมืองคิดหาทางเพาะปลูก ให้เกิดประโยชน์
ด้ า นอุ ต สาหกรรม พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว มี น โยบายให้ รั ฐ ผลิ ต น�้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดโลกก�ำลัง ต้ อ งการ โดยเฉพาะน�้ ำ ตาลทรายจากไทย มีคุณภาพดีกว่าที่อื่น ทรงส่งเสริมอุตสาหกรรม ต่อเรือ ซึ่งเป็นกิจการที่ท�ำรายได้ให้แก่รัฐอย่าง มากอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานและ ไม้ที่ใช้ต่อเรือมีราคาถูกและยังหาได้ง่ายเช่น เดียวกับอุตสาหกรรมการท�ำเหมืองแร่ เฉพาะ แร่ เ หล็ ก และดี บุ ก เป็ น สิ น ค้ า ออกที่ ส� ำ คั ญ เนือ่ งจากการอุตสาหกรรมในยุโรปก�ำลังเฟือ่ งฟู และต้องการวัตถุดิบ เช่น ดีบุก ไปใช้ในการ ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคหลายรูปแบบ
การส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมอย่าง เด่นชัด เนือ่ งจากข้าวเป็นสินค้าส่งออกทีม่ คี วาม
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
11
ของชาวนาที่ถูกข้าราชการ คือ ข้าหลวงเสนาที่ มีหน้าที่ประเมินการเก็บอากรนาหลังการเก็บ เกี่ยวใช้อ�ำนาจและอภิสิทธิ์แก่ชาวนา ใจความ ส�ำคัญของพระราชก�ำหนดฉบับนี้ คือ ให้ยกเลิก การบังคับซื้อข้าวส่งฉางหลวง แต่ให้ชาวนาน�ำ มาส่งขึ้นฉางหลวงด้วยตนเอง หรือจะยอมเสีย ค่าจ้างขนส่งแก่เจ้าพนักงานก็ได้ โดยให้ใช้ที่ ตวงข้ า วตามมาตรฐานที่ รั ฐก� ำ หนด เพื่อลด ปัญหาการฉ้อโกงของขุนนางและข้าราชการ ยิ่งกว่านั้น ยังทรงให้ข้าราชการที่เคยได้รับการ ยกเว้น ไม่ต้องเสียค่านามาแต่ก่อน ต้องเสีย หางข้าว ค่านาไร่ละ ๒ ถัง เหมือนราษฎรทัว่ ไป การผดุงความยุติธรรมอีกประการหนึ่ง ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทานให้แก่ราษฎร คือ ทรงตั้งกลอง ส�ำหรับให้ราษฎรตีร้องทุกข์พระราชทานชื่อว่า “กลองวินิจฉัยเภรี”
การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศ
การผดุงความยุตธิ รรมและความสงบสุข ผู้ใหญ่ที่มีผู้กล่าวหาว่าพิจารณาคดีไม่ยุติธรรม แก่บ้านเมือง เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงธ� ำ รงความบริ สุ ท ธิ์ ยุ ติ ธ รรมแก่ อ าณา ประชาราษฎร์ ให้ความส�ำคัญกับการปกครอง และทรงเห็นแก่ประโยชน์และความถูกต้อง ของราษฎรเป็นส�ำคัญ หลักฐานที่สนับสนุน พระราชด�ำรินี้ สืบเนื่องจากกรณีการส�ำเร็จ โทษกรมหมื่ น รั ก ษรณเรศ พระราชวงศ์ ชั้ น
12
ไต่สวนและพบว่ากรมหมืน่ รักษรณเรศมีความผิด ตามค�ำกล่าวหา ก็ทรงพิพากษาให้ได้รับโทษ สถานหนักเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง การแสดงถึ ง ความยุ ติ ธ รรมที่ ชั ด เจนอี ก ประการหนึ่ ง คื อ การออกพระราชก� ำ หนด พุทธศักราช ๒๓๖๗ เนื่องจากพระบาทสมเด็จ พระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเห็นใจในความทุกข์ยาก
การติดต่อทางการทูตกับประเทศตะวันตก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นผลจากการ ขยายตัวของตลาดการค้าในเอเชีย หลังจาก ที่อังกฤษท�ำการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ อังกฤษส่ง จอห์น ครอว์ฟอร์ด เข้ามาขอแก้ไขการเก็บภาษี และการค้าขายบางอย่างที่รัฐบาลไทยผูกขาด อยู่ เพื่อดูท่าทีของฝ่ายไทยและหาโอกาสตกลง ในเรื่องดินแดนแหลมมลายู ซึ่งบางส่วนเคย เป็นของไทยแต่การเจรจาต้องล้มเหลว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว อั ง กฤษส่ ง คณะทู ต ที่ มี ร ้ อ ยเอก เฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นหัวหน้า เข้ามาขอเจริญ สัมพันธไมตรี เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๘ อีกครั้ง ผลของการเจรจาเป็ น ที่ ต กลง มี ก ารท� ำ สนธิ สัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ตอ่ กัน เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๙ ประกอบด้ ว ยสนธิ สั ญ ญาทางพระราชไมตรี รวม ๒๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์ ที่แยกออกอีกฉบับหนึ่งรวม ๖ ข้อ นับเป็นสนธิ สัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับ แรกที่ไทยท�ำกับต่างประเทศตะวันตกในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ การท�ำสนธิสัญญากับอังกฤษฉบับนี้ ไทย ไม่เสียผลประโยชน์มากนัก แม้ว่าจะต้องยกเลิก ระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเก็บภาษี จากเรือของพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียว เรียกภาษีปากเรือ ทั้งนี้ เพราะสนธิสัญญาฉบับ นี้มีผลใช้บังคับเฉพาะพ่อค้าอังกฤษและคนใน บังคับของอังกฤษเท่านั้น และเรือส�ำเภาของ พ่อค้าอังกฤษในแต่ละปี ก็เดินทางมาค้าขายน้อย อยูแ่ ล้ว การท�ำสนธิสญ ั ญาจึงน่าจะเป็นผลให้เรือ ของพ่ อ ค้ า อั ง กฤษเข้ า มาค้ า ขายมากกว่ า เดิ ม ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม
นอกจากนี้ การค้ า ทางเรื อ ของรั ฐ บาลและ ขุนนางข้าราชการยังสามารถด�ำเนินต่อไปได้ ด้วย เพราะไม่มกี ำ� หนดห้ามในสัญญา ยิง่ กว่านัน้ การท� ำ สนธิ สั ญ ญายั ง เป็ น ผลให้ รั ฐ บาลมี รายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเก็บภาษี เนื่องจาก รัฐบาลได้ก�ำหนดให้มีการผูกขาดการจัดเก็บ ภาษี อ ากรจากสิ น ค้ า หลั ง จากที่ ไ ด้ มี ก ารท� ำ สนธิสัญญาและตั้งภาษีสินค้าใหม่ ๓๘ อย่าง ดังกล่าวมาแล้ว ที่ส�ำคัญคือการค้ากลับตกอยู่ ในมื อ พระคลั ง ตามเดิ ม เพราะแม้ ว ่ า พ่ อ ค้ า อั ง กฤษจะซื้ อ และขายสิ น ค้ า ใดๆ ต้ อ งแจ้ ง ให้ เ จ้ า พนั ก งานของพระคลั ง ทราบเสี ย ก่ อ น หมายความว่าพระคลังจะเป็นผู้ก�ำหนดราคา สินค้า ท�ำให้รัฐบาลสามารถขึ้นภาษีสินค้าที่ พ่อค้าในประเทศขาย โดยการโอนการเสียภาษี ที่เพิ่มขึ้นให้แก่พ่อค้าต่างชาติ จะเห็นได้ว่า แม้ สนธิสัญญานี้จะท�ำให้อิทธิพลทางการค้าของ พระคลังและข้าราชการลดลงในทางทฤษฎี แต่ ในทางปฏิบัติยังคงมีอยู่
การศาสนา
ศาสนาเป็นสถาบันส�ำคัญที่ช่วยเกื้อหนุน ความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้แก่รัฐ
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี พระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา ทรงรักษาศีลบ�ำเพ็ญทาน ท�ำนุบ�ำรุงคณะสงฆ์ สร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามกว่า ๖๐ วัด ทรงประกอบพระราชกุศลอย่างสม�่ำเสมอใน รัชกาลนี้ มีการรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎก ไว้เป็นหลักฐานไม่น้อยกว่า ๗ เล่ม แม้ว่าจะ ทรงเคร่ ง ครั ด ในพระบวรพุ ท ธศาสนา แต่ ก็ มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่นทรงแสดงพระองค์ อัครศาสนูปถัมภก กล่าวคือ ได้พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้มีการเผยแพร่คริสต์ ศาสนาในเมืองไทย ทัง้ นิกายโรมันคาธอลิกและ โปรเตสแตนท์ อี ก ทั้ ง ยั ง ทรงเปิ ด โอกาสให้ มิชชันนารีสมัยนัน้ ได้ถา่ ยทอดวิทยาการตะวันตก ให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งมีท้ังพระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่รวมอยู่ด้วย รวมทั้งรักษา โรคโดยใช้ยาแผนปัจจุบันให้แก่ผู้มารักษาได้ อย่างเสรี เหตุการณ์ด้านพระพุทธศาสนาใน ประเทศไทยที่แสดงให้เห็นพระราชหฤทัยและ พระราชด�ำริที่กว้างขวางของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเกิดนิกายใหม่ที่ เรียกว่าธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นการปฏิรูปการ
พระศาสนาครั้งใหญ่ โดยพระสมณเจ้า เจ้าฟ้า มงกุฎสมมติวงศ์ ขณะทรงพระผนวชอยู่ ณ วัด บวรนิเวศวิหาร พระสงฆ์นิกายใหม่นี้มีจุดมุ่ง หมายที่จะปฏิบัติพระธรรมเพื่อให้ทั้งตนเอง และผู้อื่นหลุดพ้นจากความทุกข์ ถือสันโดษ และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย จากแนวพระราชด� ำ ริ แ ละพระราช จริ ย วั ต รของพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพระศาสนา ดังกล่าว ท�ำให้สังคมไทยในเวลานั้นอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสมานฉันท์และร่มเย็นเป็นสุข
13
บทบาทอินเดีย ต่อความมั่นคงของไทย ส ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
ภาความมั่ น คงแห่ ง ชาติ ได้ จั ด การอภิ ป รายทางวิ ช าการ เรื่อง “บทบาทอินเดียต่อความ มั่นคงของไทย” เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ ซึ่งมี สาระส�ำคัญ สรุปได้ดังนี้ ๑. บทบาทของสาธารณรัฐอินเดีย ใน กรอบความร่วมมือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล ส� ำ หรั บ ความร่ ว มมื อ หลากหลายสาขาทาง
14
วิ ช าการและเศรษฐกิ จ (Bay of Bengal Initiative for Multi - Sectoral Technical and Economic Cooperation : BIMSTEC) และ กลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและ เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) อันประกอบด้วย สหพันธ์สาธารณรัฐ บราซิ ล สหพั น ธรั ฐ รั ส เซี ย สาธารณรั ฐ อิ น เดี ย สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น และ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (Brazil, Russia, India,
Chaina and South Africa : BRICS) ต่อผล ประโยชน์ด้านความมั่นคงของไทย สรุปได้ว่า อินเดียต้องการเข้ามามีบทบาทในเอเชียมากขึน้ ดังนัน้ การทีส่ าธารณรัฐประชาชนจีนเริม่ แสดง ถึ ง ศั ก ยภาพความเป็ น ผู ้ น� ำ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย จึงท�ำให้อินเดียเข้าร่วมกับองค์การระหว่าง ประเทศ ทั้ ง BIMSTEC และ BRICS เพื่อ ผลักดันหรือสนับสนุนบทบาทของตนในเวที ระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยสามารถใช้
ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม
โอกาสในด้านตลาดที่ใหญ่ของอินเดีย และ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อยอดทางภาค ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ ๒. ความสัมพันธ์และความร่วมมือในเชิง หุน้ ส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - อินเดีย สรุปได้วา่ ไทยและอิ น เดี ย มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ย าวนาน ในหลายด้ า น ได้ แ ก่ การทู ต และการเมื อ ง การทหาร ความมั่นคง การค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว ความเชื่อมโยงทางการคมนาคม วัฒนธรรม ศาสนา และประชาชน การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการกงสุล ซึ่งอินเดียและไทยต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ไทยมีที่ตั้งที่เป็นจุด ยุทธศาสตร์ท�ำให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับ ประเทศต่ า งๆ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก เฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งเอเชียใต้ ส่ ว นอิ น เดี ย ถื อ เป็ น มหาอ� ำ นาจในเอเชี ย ประเทศหนึ่งที่สามารถสร้างดุลยภาพในการ ด�ำเนินนโยบายต่างประเทศในภูมิภาค ดังนั้น จึงควรรักษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับอินเดียที่มีมายาวนาน เพื่อผลประโยชน์ ร่วมกันต่อไป ๓. สถานการณ์ด้านการข่าว ภัยคุกคาม ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย สรุปได้ ว่า อินเดียมีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ไม่มี ประเด็ น ที่ อ าจส่ ง ผลกระทบต่ อ ความมั่ น คง อย่ า งไรก็ ต าม การด� ำ เนิ น นโยบายต่ อ กลุ ่ ม แบ่ ง แยกดิ น แดนของนายนเรนทรา โมดี นายกรั ฐ มนตรี อิ น เดี ย อาจส่ ง ผลให้ ก ลุ ่ ม แบ่งแยกดินแดนเข้ามาเคลื่อนไหวในไทยได้ ส�ำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐ อิสลามปากีสถาน ยังคงติดตามนโยบายของ อินเดียอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ การขาด ดุลการค้ากับไทยเป็นผลให้อินเดียทบทวนการ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ท�ำข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรี (Free-Trade Agreement : FTA) กับไทย และอาจส่งผล กระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยได้ซึ่งที่ผ่าน มาอินเดียได้ห้ามน�ำเข้าสินค้าประเภทอัญมณี จากไทยโดยอ้างแหล่งก�ำเนิดสินค้าที่มาจาก แหล่งเดียวกันเป็นเหตุ เป็นต้น นับได้ว่าอินเดียเป็นประเทศมหาอ�ำนาจ ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ทั้ ง ในด้ า นเศรษฐกิ จ และ ความมั่นคงในภูมิภาคจากการเป็นประเทศที่ มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี สู ง และมี ค วามเข้ ม แข็ ง ทางการ ทหาร สามารถสร้างดุลยภาพและความเจริญ ก้ า วหน้ า ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในภู มิ ภ าคได้ ในขณะที่ ไทยมีจุดแข็งส�ำคัญที่ท�ำให้อินเดียต้องการเข้า
มาปฏิสัมพันธ์ คือ การมีภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็น ศูนย์กลางของภูมิภาคเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค ต่างๆ และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี กั บ อิ น เดี ย มาอย่ า งยาวนาน ไทยจึ ง ควรใช้ จุดแข็งดังกล่าวในการพัฒนาความสัมพันธ์กับ อินเดียให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วม กันโดยการส่งเสริมการค้า การลงทุน และ การเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งร่วมกันแก้ไข ปัญหาด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในเรื่องการ ก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติที่อินเดีย ให้ความส�ำคัญ และอาจส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของไทย
15
ความคืบหน้าการแก้ปัญหา การท�ำ ประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต
ภ
า ยใต้ ข ้ อ จ� ำ กั ด ด้ า นเวลาและ สภาพปั ญ หาความขั ด แย้ ง ภายในประเทศ หลาย ๆ ปัญหา รัฐบาลได้พยายามแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่า ปั ญ หาเหล่ า นั้ น จะมี ม าอย่ า งยาวนานแล้ ว ก็ตาม เช่นเดียวกับปัญหาการท�ำประมงผิด กฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่งในเรื่องนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึง ความคืบหน้าในการแก้ปญ ั หาการท�ำประมงผิด กฎหมายหลังจากที่คณะกรรมาธิการสหภาพ ยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ท รง ลงพระปรมาภิ ไ ธยพระราชบั ญ ญั ติ ป ระมง พุทธศักราช ๒๕๕๘ แล้ว และจะประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในเร็ว ๆ นี้ ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวกับการยกพระราช ก�ำหนด เพื่อมาอุดช่องว่างของกฎหมายบาง 16
ประเด็นที่สหภาพยุโรปต้องการ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ นายกรัฐมนตรี สามารถใช้อำ� นาจตามมาตรา ๔๔ ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันได้ อาทิ การให้อ�ำนาจทหารเรือ ในการตรวจตราเรือทุกล�ำก่อนออกจากท่าเรือ ต้องปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ เช่น หากพบเรือล�ำใด มีอวนลากจะไม่อนุญาตให้ออกเรือเด็ดขาด เพื่ อ ไม่ ใ ห้ มี โ อกาสในการน� ำ อวนลากไปใช้ จั บ ปลา นอกจากนี้ ยั ง ได้ ข อความร่ ว มมื อ สือ่ มวลชนให้นำ� เสนอข่าวในกรณีการแก้ปญ ั หา การท� ำ ประมงผิ ด กฎหมายว่ า รั ฐ บาลก� ำ ลั ง พยายามแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในส่วนของการแก้ปัญหาที่ประชุมได้มี ข้ อ สรุ ป ร่ ว มกั น ว่ า ในเรื่ อ งกฎหมายขณะนี้ พระราชบัญญัตปิ ระมงทีป่ รับปรุงขึน้ ได้ผา่ นการ พิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอการประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะประกาศใน เร็ววันนี้ และจะมีผลบังคับใช้ภายใน ๖๐ วัน อย่ า งไรก็ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ ป ระมงฉบั บ ดั ง กล่ า ว อาจจะมี ร ายละเอี ย ดบางกรณี ที่ จ�ำเป็นต้องเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมได้ก�ำหนดให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งด�ำเนินการ จัดท�ำกฎหมายลูก และอาจรวมถึง พระราช ก�ำหนดเพือ่ ให้ครอบคลุมทุกกฎกติกาทีส่ หภาพ ยุโรปได้ตั้งข้อเรียกร้องไว้ ในส่วนของการจัดท�ำ National Plan of Actions ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ศึกษาและก�ำหนดแผนงานไว้นานแล้ว และ มี ก� ำ หนดจะน� ำ เข้ า สู ่ ก ารพิ จ ารณาของคณะ รัฐมนตรีต่อไป ซึ่งในแผนปฏิบัติการดังกล่าว จะลงรายละเอียดถึงระดับการน�ำข้อกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งการก�ำหนดบทบาท หน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต
อย่างเป็นรูปธรรม ส�ำหรับการจัดระบบเฝ้า ติ ด ตามเรื อ ประมงขณะออกจั บ สั ต ว์ น�้ ำ ต้ อ ง ด�ำเนินการเรือ่ งการแจ้งเข้า - ออกท่าเรือ ซึง่ เรา เริ่มด�ำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ที่ผ่านมา และจะด� ำ เนิ น การให้ แ ล้ ว เสร็ จ ทุ ก จั ง หวั ด ทุกท่าเรือ ภายในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กองทัพเรือ เร่งรัดการติดตั้ง VMS ในเรือประมง ทั้งนี้ ตาม กฎหมายเดิมก�ำหนดให้ติดตั้ง VMS ในเรือ ประมงขนาดมากกว่า ๖๐ ตันกรอสขึ้นไป ซึ่งมี จ�ำนวน ๑,๙๙๖ ล�ำ แต่ในกฎหมายใหม่ก�ำหนด ให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ ๓๐ - ๖๐ ตันกรอส ซึ่ ง มี จ� ำ นวน ๓,๔๖๒ ล� ำ ต้ อ งติ ด ตั้ ง VMS ด้วย โดยแม้ขณะนี้กฎหมายยังไม่ประกาศใช้ อย่างเป็นทางการ แต่ที่ประชุมมีมติเร่งรัดให้ ประชาสัมพันธ์ให้เรือประมงด�ำเนินการติดตั้ง ไปล่วงหน้าแล้ว เพื่อแสดงความมุ่งมั่นต่อการ แก้ไขปัญหา โดยก�ำหนดให้แล้วเสร็จภายใน หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
เดือนมิถนุ ายน การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ สินค้าประมงตั้งแต่ผู้บริโภคปลายทางจนถึง ต้ น ทางของการจั บ สั ต ว์ น�้ ำ เป็ น กรณี ท่ี ต ้ อ ง ด�ำเนินการควบคู่กันไปเพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้บริโภค ซึ่งท�ำให้ตรวจสอบได้ว่าสินค้า นั้นเป็นสินค้าที่ได้จากการท�ำประมงที่ถูกต้อง ตามกฎหมายในทุกขั้นตอน ทั้ ง นี้ รองนายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมได้สั่งการให้ตั้ง Core Team เพื่ อ ก� ำ กั บ การท� ำ งานของทุ ก หน่ ว ย โดยจะประชุมติดตามงานทุก ๒ สัปดาห์ โดย ก� ำ หนดให้ ทุ ก อย่ า ง ต้ อ งแล้ ว เสร็ จ ภายใน ๓ เดื อ น และในขณะที่ ร อการประกาศใช้ กฎหมายอย่ า งเป็ น ทางการ เพื่ อ มิ ใ ห้ เ กิ ด ช่ อ งว่ า งของการท� ำ งานจะมี ก ารจั ด ตั้ ง คณะท� ำ งานชุ ด เฉพาะกิ จ โดยมี ก รมเจ้ า ท่ า เป็นหน่วยหลักและให้ทุกส่วน ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรมประมง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ
สั ง คมร่ ว มกั น จั ด ชุ ด ลงตรวจสอบเรื อ ประมง ทั้ ง หมดให้ ป ฏิ บั ติ ต ามกฎหมายของทุ ก หน่ ว ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง โดยคณะท� ำ งานชุ ด เฉพาะกิ จ จะประจ�ำทุกท่า เพื่อให้เรือทุกล�ำได้รับการ ตรวจสอบ ส� ำ หรั บ ในส่ ว นของกระทรวงการต่ า ง ประเทศได้ อ อกเอกสารและเดิ น สายชี้ แ จง สหภาพยุโรป ถึงรูปธรรมการแก้ไขปัญหาของ ประเทศไทย ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ กระทรวงพาณิชย์ชแี้ จงประเทศคูค่ า้ และบริษทั ที่สั่งซื้อสินค้าประมงของไทย เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยได้ด�ำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการท�ำประมงของ สหภาพยุโรป เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าประมง โดยปกติจะเป็นการท�ำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดังนั้นการสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าดังกล่าว จะท�ำให้ประเทศไทยยังคงรักษาตลาด และ ยอดการจ�ำหน่ายอย่างต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการท�ำ ประมงที่ผิดกฎหมายจะด�ำเนินการได้อย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์จำ� เป็นต้องได้รบั ความร่วมมือ จากผูป้ ระกอบการ โดยจะต้องไม่เอาประโยชน์ ความสะดวกสบาย และการละเลยข้อกฎหมาย ต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นที่ตั้ง แต่ต้องให้ ความร่วมมืออย่างจริงจังกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ ประเทศก้าวผ่านปัญหาครั้งนี้ไปได้ร่วมกัน ข้อมูลจาก : ผลการประชุมคณะอนุกรรมการ การแก้ปัญหาประมงที่ผิดกฎหมาย 17
แสนยานุภาพของ ชาติต่างๆ ในทะเลจีนใต้ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
ปั
จจุบันสถานการณ์ความขัดแย้ง ในน่ า นน�้ ำ ทะเลจี น ใต้ มี ค วาม ร้ อ นแรงมากขึ้ น เรื่ อ ยๆ เพราะ นอกจากจะเป็นพืน้ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ดว้ ยพลังงาน จ�ำนวนมหาศาลแล้ว ยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่ มหาอ�ำนาจและชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟคิ ต่างอ้างถึงกรรมสิทธิค์ วามเป็นเจ้าของ ทั้ ง เหตุ ผ ลจากการประกาศเขตเศรษฐกิ จ จ� ำ เพาะและหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ จนเกิ ด เป็ น ข้ อ พิ พ าทที่ ยั ง ไม่ ส ามารถหาข้ อ ยุตไิ ด้ ท�ำให้ประเทศทีม่ ขี อ้ พิพาทต่างเสริมสร้าง แสนยานุ ภ าพกั น อย่ า งขนานใหญ่ เพื่ อ หวั ง 18
สร้างดุลอ�ำนาจขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว บทความนี้ จะขอน�ำเสนอแสนยานุภาพของแต่ละประเทศ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ข้ อ พิ พ าทในทะเลจี น ใต้ โ ดย สังเขป จีน เป็นประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุด ประเทศหนึง่ ในกรณีขอ้ พิพาทเหนือทะเลจีนใต้ ทั้ ง นี้ จ ากการประกาศแผนที่ "เส้ น ๙ จุ ด " (nine-dotted-line) ที่ แ สดงถึ ง อาณาเขต ของตน โดยลากเส้นลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ "ไหหล�ำ" ของจีนบริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนาน กับชายฝั่งเวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียว บริเวณรัฐซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับ
เลี ย บชายฝั ่ ง บรู ไ น ผ่ า นรั ฐ ซาบาห์ ตั ด ตรง เข้าไปในน่านน�้ำของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่ง ของจังหวัดปาลาวัน เรื่อยไปจนถึงเกาะลูซอน แล้ ว ขึ้ น ไปสิ้ น สุ ด ที่ เ กาะไต้ ห วั น อาณาเขต ดังกล่าวครอบคลุมหมู่เกาะพาราเซลและหมู่ เกาะสแปรตลี อั น อุ ด มสมบู ร ณ์ ไ ปด้ ว ยก๊ า ซ ธรรมชาติ แ ละน�้ ำ มั น จ�ำ นวนมหาศาลเข้ า ไป ด้วย ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนและไต้หวันที่ต่าง อ้างกรรมสิทธิเ์ ช่นกัน ยิง่ ไปกว่านัน้ ยังท�ำให้เกิด พื้นที่ทับซ้อนระหว่างจีนกับอินโดนีเซียบริเวณ หมู่เกาะ "นาทูน่า" (Natuna) อีกด้วย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
นอกจากนีย้ งั ท�ำให้สงิ คโปร์เข้ามาเกีย่ วพัน ในข้ อ พิ พ าทอี ก ประเทศหนึ่ ง เพราะแผนที่ "เส้น ๙ จุด" ของจีน ครอบคลุมเส้นทางเดิน เรือที่ส�ำคัญของโลกที่เดินทางผ่านช่องแคบ มะละกา ซึง่ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์อีกด้วย ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จีน ได้ ท� ำ การดั ด แปลงแนวหิ น โสโครก ซึ่ ง เป็ น พื้ น ที่ พิ พ าทส� ำ คั ญ ในหมู ่ เ กาะสแปรตลี ข อง ทะเลจีนใต้ที่ชื่อ "กางเขนเพลิง" (Fiery Cross Reef) หรือที่จีนเรียกว่า "หยงชู" (Yongshu) ฟิลิปปินส์เรียกว่า "กากิติงงัน" (Kagitingan) ส่ ว นเวี ย ดนามเรี ย กว่ า "ดา ชู ต๊ า ป" (Da Chu Thap) โดยสร้ า งสนามบิ น ที่ มี ท างวิ่ ง ยาว ๓,๐๐๐ เมตร พร้อมท่าเรือขนาดใหญ่ ส�ำหรับแนวหินโสโครก "กางเขนเพลิง" นับเป็น หนึ่ ง ในเจ็ ด แนวหิ น โสโครกที่ ค รอบครอง โดยจีน และถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยฟิลิปปินส์ เวี ย ดนามและไต้ ห วั น เช่ น เดี ย วกั น แต่ จี น ก็ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการก่อสร้างสนามบิน ในหมู่เกาะข้อพิพาทแห่งนี้ ฟิลิปปินส์ก็มีการ ก่อสร้างสนามบินที่มีความยาว ๑,๒๐๐ เมตร ขึ้นที่เกาะ "ปากาซา" (Pagasa) เขตจังหวัด "ปาลาวัน" (Palawan) สามารถรองรับเครือ่ งบิน ขับไล่และเครื่องบินล�ำเลียงแบบ ซี-๑๓๐ ได้ ส่วนมาเลเซียก็ก่อสร้างสนามบินยาว ๑,๐๖๗ เมตรขึ้นที่ "แนวหินนกนางแอ่น" (Swallow Reef) ซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ทางด้านเวียดนามก็มีการ ก่อสร้างสนามบินที่มีความยาว ๖๑๐ เมตร ที่เกาะ "ลากอส" (Lagos) ด้วยเช่นกัน แสนยานุ ภ าพของจี น ในน่ า นน�้ ำ ทะเลจีนใต้ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก คือ เครื่ อ งบิ น รบที่ จ ะถู ก น� ำ มาใช้ ถ ่ ว งดุ ล อ� ำ นาจ กับชาติต่างๆ ในทะเลจีนใต้ นั่นคือ เครื่อง บิ น แบบ เจ-๒๐ “มั ง กรทรงพลั ง ” (J-20 Mighty Dragon) ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุคที่ ๕ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ระวางขับน�้ำ ๒๐,๐๐๐ ตัน สามารถบรรทุก ทหารนาวิกโยธินได้ ๑ กองพันหรือประมาณ ๕๐๐ - ๘๐๐ นาย บรรทุกรถสะเทินน�ำ้ สะเทินบก ได้ ๑๕ - ๒๐ คัน และบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โจมตีแบบ แซด-๘ หรือแซด-๙ (จีนออกเสียงว่า จื่อ-๘ หรือ จื่อ-๙) ได้อีกจ�ำนวน ๔ ล�ำ ปัจจุบัน จีนมีเรือยกพลขึน้ บกชัน้ นีจ้ ำ� นวนทัง้ หมด ๓ ล�ำ ประกอบด้วยเรือ "ฉางไป่ ชาน", เรือ "คุนหลุน ชาน" (Kunlun Shan) และเรือ "จิงกาง ชาน" (Jinggang Shan) โดยเรือทั้งสามล�ำสังกัดใน "กองเรือทะเลใต้" (South Sea Fleet) รับผิด ชอบพื้นที่ทะเลจีนใต้ ประจันหน้ากับไต้หวัน และประเทศที่ มี ข ้ อ พิ พ าทกั บ จี น ในพื้ น ที่ ดังกล่าว นอกจากนี้จีนก�ำลังต่อเรือชั้น "ฉางไป่ ชาน" อีก ๓ ล�ำ โดยคาดว่าจะน�ำเข้าประจ�ำการ th (5 Generation) รุ่นแรกของจีน เครื่องบิน ในกองเรือทะเลตะวันออก (East Sea Fleet) เจ-๒๐ มีขนาดใหญ่ ล�ำตัวยาว รูปทรงของปีกเป็น เพื่อเผชิญหน้ากับญี่ปุ่น ส�ำหรับเรือ "ฉางไป่ รูปสามเหลี่ยม มี ๒ เครื่องยนต์ ใช้เทคโนโลยี ชาน" ของจีน (หมายเลข ๙๘๙) เคยปรากฏโฉม การผลิตขัน้ สูง โลกตะวันตกได้ตรวจพบเครือ่ งบิน พร้อมกับเรือฟริเกต "หวูฮั่น" (Wuhan) และ รุน่ นีจ้ ำ� นวน ๖ ล�ำ ก�ำลังทดสอบการบินครัง้ แรก เรือฟริเกต "ไฮเคา" (Haikou) ในการซ้อมรบ ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๒ โดย ๒ ล�ำสุดท้ายตรวจ ทางทะเลของจีนเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๕๗ บริเวณ พบเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ และใน พื้นที่ใกล้ช่องแคบ "ลอมบอค" (Lombok) ซึ่ง ปี พ.ศ.๒๕๕๔ จีนได้เปิดตัวเครื่องบินรุ่นนี้เพื่อ ตั้งอยู่ระหว่างเกาะบาหลีและเกาะลอมบอค แสดงแสนยานุภาพต่อรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ของอินโดนีเซียมาแล้ว ขณะเดินทางเยือนจีน แหล่งข่าวตะวันตกคาดว่า ปั จ จุ บั น โลกตะวั น ตกได้ มี ก ารจ� ำ ลอง เครือ่ งบินแบบ เจ-๒๐ จะสามารถปฏิบตั กิ ารได้ สถานการณ์ ใ นการส่ ง ก� ำ ลั ง ทหารเข้ า ยึ ด จริงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ หมูเ่ กาะ "สแปรตลี" ของจีน เหมือนทีเ่ คยปฏิบตั ิ เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ นี้เป็นเครื่องบิน กับเวียดนามกรณีหมูเ่ กาะ "พาราเซล" (Paracel ที่มีระยะท�ำการไกล พร้อมเทคโนโลยีล่องหน Islands) ในทะเลจีนใต้มาแล้วในปี พ.ศ.๒๕๑๖ (stealth) มี ร ะบบอาวุ ธ ติ ด ตั้ ง ภายในล� ำ ตั ว และ พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยในสถานการณ์จำ� ลองนีไ้ ด้ เครื่องถึง ๒ ระบบ สามารถติดตั้งได้ทั้งอาวุธ น�ำแนวคิด "การปฏิวัติกิจการด้านการทหาร" ปล่อยน�ำวิธีแบบอากาศสู่อากาศ และอากาศ (RMA : Revolution in Military Affairs) สู่พื้นหรืออาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน�้ำ ส่วน ที่จีนศึกษาแนวคิดและหลักนิยมของสหรัฐฯ หัวของเครื่องมีลักษณะทางอากาศพลศาสตร์ เป็ น ต้ น แบบในการพั ฒ นากองทั พ ของตน ที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั บ เครื่ อ งบิ น แบบ เอฟ-๒๒ จนถึ ง ขนาดที่ เ รี ย กว่ า ".. แปลต� ำ ราของ แรพเตอร์ (F-22 Raptor) ของสหรัฐฯ อย่างมาก สหรัฐฯ ทุกตัวอักษร ..” แนวคิดนีถ้ กู บรรจุไว้ใน ณ เวลานี้โลกตะวันตกยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยุทธศาสตร์ชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ และกลาย เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ ถูกออกแบบมาเพื่อ เป็นหลักนิยมในการยุทธของจีนที่ก�ำหนดว่า ภารกิจใดเป็นหลัก โดยอาจจะมีภารกิจครอง ".. สงครามท้องถิ่นภายใต้สภาวะเทคโนโลยี อากาศหรือภารกิจอเนกประสงค์ที่คล้ายกับ ขั้นสูง ..” ซึ่งหมายถึง กองทัพจีนจะมุ่งท�ำการ เครือ่ งบินรบแบบ เอฟ-๑๕ อีเกิล (F-15 Eagle) รบในพื้นที่ที่จ�ำกัด โดยใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มี แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ เครื่องบินรบรุ่นนี้ถูกผลิต เทคโนโลยีชนั้ สูงเข้าท�ำการรบอย่างรุนแรงและ ขึ้นมาเพื่อเป็นคู่ต่อสู้โดยตรงกับเครื่องบินรบ เด็ดขาด โดยการรบในลักษณะนี้จะจ�ำกัดเวลา แบบ เอฟ-๒๒ แรพเตอร์และแบบ เอฟ-๑๕ จ�ำกัดพื้นที่และจ�ำกัดเป้าหมายทางการเมือง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จีนจะใช้เรือยกพล อีเกิลของสหรัฐฯ ทีส่ งิ คโปร์มใี ช้ในประจ�ำการ ส่วนแสนยานุภาพทางเรือทีส่ ำ� คัญของจีน ขึ้นบกแบบ-๗๑ ชั้น "ฉางไป่ ชาน" ส่งก�ำลัง ในน่านน�้ำทะเลจีนใต้คือ กองเรือยกพลขึ้นบก ทหารนาวิกโยธินจ�ำนวน ๑ - ๒ กองพัน พร้อม ขนาดใหญ่แบบ-๗๑ (Type-71) ชั้น "ฉางไป่ รถสะเทินน�ำ้ สะเทินบก ๒๐ - ๓๐ คัน สนับสนุน ชาน" (Changbai Shan) ที่เพิ่งเข้าประจ�ำการ ด้วยเครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ เข้ายึดครอง เมื่ อ ปี พ.ศ.๒๕๕๕ เรื อ ยกพลขึ้ น บกชั้ น นี้ เกาะใดเกาะหนึ่งในหมู่เกาะ "สแปรตลี" อย่าง เปรียบเสมือนฐานปฏิบตั กิ ารลอยน�ำ้ ขนาดใหญ่ รวดเร็ว จากนั้นจะดัดแปลงที่มั่นบนเกาะเป็น ตัวเรือมีความยาว ๒๑๐ เมตร กว้าง ๒๘ เมตร แนวตั้งรับ พร้อมๆ กับเรือเผินลมของจีนที่มี 19
ที่มั่นอยู่ที่ฐานทัพ บนเกาะ "วู้ดดี้" (Woody) หรือที่จีนเรียกว่า "ยงซิง” (Yongxing) ใน หมู่เกาะพาราเซล จะท�ำหน้าที่ล�ำเลียงยุทธ สัมภาระ อาวุธหนัก อาวุธปล่อยน�ำวิถีต่อสู้ อากาศยาน รวมถึงอาวุธปล่อยน�ำวิถีต่อต้าน เรือผิวน�้ำเข้าไปเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย เพื่ อ ใช้ ใ นการต่ อ ต้ า นการเข้ า ตี ต อบโต้ ข อง ข้าศึกที่มุ่งจะเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวคืนนั่นเอง สหรัฐฯ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่แม้ไม่มี พื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ แต่สหรัฐฯ ก็ถือว่า พื้นที่ในเอเชีย-แปซิฟิคเป็นเขตอิทธิพลดั้งเดิม ของตนมาตั้ ง แต่ ก ่ อ นสงครามโลกครั้ ง ที่ ๒ การเติ บ โตและแผ่ ข ยายอาณาเขตของจี น เข้ามาในทะเลจีนใต้ได้สร้างความกังวลให้กับ สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการคุ้มครอง เรือสินค้าจ�ำนวน ๙๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ ล�ำ ที่ เ ดิ น ทางผ่ า นช่ อ งแคบมะละกาในแต่ ล ะปี ท�ำให้สหรัฐฯ มีการเพิ่มแสนยานุภาพเข้ามาใน ภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อหวังถ่วงดุลอ�ำนาจ กับจีน เช่น การส่งอากาศยานชั้นยอดเข้าไป ประจ�ำการในญี่ปุ่น เช่น อากาศยานไร้นักบิน หรือ ยูเอวี รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดรุ่นหนึ่ง
20
ของจีน เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ทีผ่ า่ นมา ขณะเรือดังกล่าวของสหรัฐฯ ลาดตระเวน ผ่านหมู่เกาะสแปรตลี โดยถูกเรือรบของจีน แล่นตามประกบอยู่ตลอดเวลา แม้ทางเรือ "ยูเอสเอส ฟอร์ต เวิร์ธ" ของสหรัฐฯ จะวิทยุ ไปยังเรือ "หยานเฉิง" ของจีนว่า น่านน�้ำที่ก�ำลัง ปฏิบัติการอยู่นี้เป็นน่านน�้ำสากล แต่เรือรบ ของจีนก็ยังคงแล่นตามอยู่อีกระยะหนึ่ง ก่อนที่ จะแยกออกไปอย่างสงบ เรือโจมตีชายฝัง่ ของสหรัฐฯ ชัน้ "ฟรีดอม" เป็ น เรื อ รบที่ มี เ ทคโนโลยี ล�้ ำ ยุ ค และทั น สมั ย ที่ สุ ด ของสหรั ฐ ฯ รุ ่ น หนึ่ ง มี ร ะวางขั บ น�้ ำ ๓,๙๐๐ ตัน ยาว ๑๑๘ เมตร ความเร็วสูงสุด ๔๕ นอต (๘๓ กิโลเมตรต่อชัว่ โมง) ระยะท�ำการ ๖,๕๐๐ กิโลเมตรที่ความเร็ว ๑๘ นอต มีขีด คือ อาร์คิว-๔ "โกลบอล ฮอว์ค" (RQ-4 Global ความสามารถในการปฏิบตั กิ ารรบในเขตน�ำ้ ตืน้ Hawk) ซึ่ ง สามารถตรวจการณ์ พื้ น ที่ ไ ด้ ถึ ง ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งไปจนถึงทะเลเปิด ซึ่งเป็น ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ภายในเวลาเพียง ลักษณะเฉพาะตัวของทะเลจีนใต้ เนื่องจาก ๑ วัน และเครือ่ งบินขับไล่ทไี่ ด้รบั การยอมรับว่า เป็นทะเลที่เต็มไปแนวหินปะการัง หินโสโครก ดีที่สุดในโลกในยุคปัจจุบัน คือ เอฟ-๓๕ (F-35) โขดหินสลับกับทะเลน�้ำลึกที่เรือพิฆาตทั่วไป เข้าไปประจ�ำการในญี่ปุ่น นอกเหนือไปจาก ไม่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเครื่องบินแบบ วี-๒๒ ออสเพรย์ (V-22 เป็ น ที่ น ่ า สั ง เกตว่ า แม้ ส หรั ฐ ฯ จะยื น ยั น อยู ่ เสมอว่า ตนพร้อมที่จะกลับเข้ามาในภูมิภาค Osprey) ไปเพิ่มเติมอีกเป็นจ�ำนวนมาก เอเชีย-แปซิฟิคตามนโยบาย "ปรับสมดุลย์" สหรัฐฯ ยังมีแผนที่จะส่งเรือโจมตีชายฝั่ง (Rebalancing Policy) ของประธานาธิบดีบารัก (Littoral Combat Ship : LCS) ชัน้ “ฟรีดอม” โอบาม่ า ก็ ต าม แต่ ส ถานการณ์ ที่ ก� ำ ลั ง แปร (Freedom) จ�ำนวน ๔ ล�ำเข้ามาประจ�ำการ เปลี่ยนไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นความปราชัย อยูท่ ฐี่ านทัพเรือ "ชางงี" (Changi Naval Base : ของรัฐบาลอิรักต่อกลุ่มไอเอส แนวโน้มที่เต็ม CNB) ของสิงคโปร์ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓ หลังจาก ไปด้วยอุปสรรคของรัฐบาลอัฟกานิสถานกับ ทีเ่ คยส่งเรือโจมตีชายฝัง่ ชัน้ นีค้ อื เรือ "ยูเอสเอส กลุ ่ ม ตาลี บั น ตลอดจนวิ ก ฤติ ก าลในยู เ ครน ฟรีดอม" (USS Freedom) เข้ามาประจ�ำการ ท�ำให้สหรัฐฯ จ�ำเป็นต้องถอยห่างออกจาก เป็ น เวลา ๖ เดื อ นเพื่ อ เป็ น การชิ ม ลางเมื่ อ ภูมิภาคนี้เรื่อยๆ ปีที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันสหรัฐฯ ส่งเรือโจมตี เวี ย ดนาม เป็ น อี ก ประเทศหนึ่ ง ที่ อ ้ า ง ชายฝั่งชั้นดังกล่าวอีกล�ำหนึ่งคือเรือ "ยูเอส เอส ฟอร์ต เวิร์ธ” (USS Fort Worth) เข้า กรรมสิทธิเ์ หนือหมูเ่ กาะสแปรตลีในทะเลจีนใต้ มาประจ�ำการ และเพิ่งเกิดการเผชิญหน้ากับ โดยเวียดนามเรียกว่าหมู่เกาะนี้ว่า "ควาน เด๋า เรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยน�ำวิถีแบบ ๐๕๔ เอ เตรือง ซา" (Quan Dao Troung Sa) ในขณะที่ (Type 054A) ชื่อ "หยานเฉิง" (Yancheng) จีนเรียกว่า "นาน ชา" (Nan Cha) ปัจจุบัน
พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ
เวี ย ดนามครอบครองเกาะที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด คื อ เกาะ "สแปรตลี" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อของ หมู ่ เ กาะ ความขั ด แย้ ง ที่ ท วี ค วามตึ ง เครี ย ด ขึ้นเรื่อยๆ ท�ำให้เวียดนามมีการสะสมอาวุธ ยุทโธปกรณ์อย่างขนานใหญ่ เช่น สั่งซื้อเรือ ด�ำน�้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล" (Kilo) ที่ทันสมัย ที่สุดชนิดหนึ่งของรัสเซียจ�ำนวน ๖ ล�ำ มูลค่า กว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วย เรือด�ำน�้ำ "ฮานอย" (Hanoi), "โฮ จิ มินห์ซิตี้" (Ho Chi Minh City), "ไฮ ฟอง" (Hai Phong), "ดา นัง" (Da Nang), "คานห์ หัว" (Khanh Hoa) และ "บา เรีย - วัง เทา" (Ba Ria - Vung Tau) ส�ำหรับยุทธศาสตร์ของเวียดนามคือการใช้เรือ ด�ำน�ำ้ เหล่านีท้ ำ� หน้าทีเ่ สมือน "เพชฌฆาตเงียบ" ปฏิ บั ติ ก ารอยู ่ ในบริ เ วณดิ น แดนข้ อ พิ พ าท ใต้ท้องทะเลจีนใต้นั่นเอง เนื่องจากเรือด�ำน�้ำ ชั้น "กิโล" นี้ติดอาวุธปล่อยน�ำวิถีที่มีขีดความ สามารถในการท�ำลายเรือผิวน�้ำ เรือด�ำน�้ำและ อากาศยานของข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส�ำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่อง บิ น ขั บ ไล่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ๒ ที่ นั่ ง และ ๒ เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก จ�ำนวน ๑๒ ล�ำจากรัสเซีย จากเดิมที่เคยสั่งซื้อ มาแล้วจ�ำนวน ๒๐ ล�ำในปี พ.ศ.๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ซึ่งท�ำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกัน เครือ่ งบินทีส่ งั่ ซือ้ ครัง้ ล่าสุดมีการส่ง มอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ พ.ศ.๒๕๕๘ เครือ่ งบิน รุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยน�ำวิถีแบบอากาศสู่พื้น เพื่อมุ่งท�ำลายเรือผิวน�้ำเป็นหลัก โดยเวียดนาม ได้ จั ด ซื้ อ อาวุ ธ ปล่ อ ยน� ำ วิ ถี ต ่ อ ต้ า นเรื อ แบบ เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เคเอช-๓๕เอ จาก รัสเซียจ�ำนวน ๑๐๐ ลูกและแบบ เอเอส-๑๔ รุน่ เคเอช-๒๙ ที เพื่อน�ำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่ แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่มีอยู่เดิมอีกด้วย สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความ กังวลอย่างมากต่อการขยายอิทธิพลของจีนใน ทะเลจีนใต้ เนื่องจากทะเลจีนใต้แห่งนี้ถือเป็น เส้นทางเดินเรือที่ส�ำคัญจากช่องแคบมะละกา หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ซึง่ ถือเป็นอูข่ า้ วอูน่ ำ�้ หล่อเลีย้ งเศรษฐกิจของตน สิงคโปร์จึงมีการเสริมก�ำลังอย่างขนานใหญ่ โดยสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ ลอคฮีด มาร์ติน เอฟ-๓๕ (Lockheed Martin F-35) จากสหรั ฐ ฯ เพื่ อ ถ่ ว งดุ ล อ� ำ นาจกั บ เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ ของจีน ซึ่งเครื่อง บิน รุ่น นี้เป็ น เครื่ อ งบิ น ขั บไล่ ยุ ค ที่ ๕ (Fifth Generation) มีขีดความสามารถหลากหลาย ทั้ ง เป็ น เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ส กั ด กั้ น ทางอากาศ, โจมตีภาคพื้นดินและลาดตระเวนตรวจการณ์ หาข่ า ว อี ก ทั้ ง ยั ง ใช้ เ ทคโนโลยี ล ่ อ งหนหรื อ "สเตลท์" (Stealth) ท�ำให้ยากต่อการตรวจจับ ด้วยเรดาห์อีกด้วย นอกจากนี้ ก องทั พ อากาศสิ ง คโปร์ ยั ง มี เครื่องบิน ขั บไล่ ส มรรถนะสู ง แบบ เอฟ-๑๕ เอสจี สไตรค์ อีเกิล (F-15 SG Strike Eagle) จ�ำนวน ๒๔ ล�ำ โดยสั่งซื้อครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มูลค่ากว่า ๗๔๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมยุทโธปกรณ์ครบชุด เช่น อาวุธปล่อยน�ำ วิถีอากาศสู่อากาศ แบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ แอม แรม (AIM-120 AMRAAM) ซึ่งมีศักยภาพใน การท�ำลายเป้าหมายในทุกสภาพอากาศและ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีความเร็ว เหนือเสียง ๔ มัค, อาวุธปล่อยน�ำวิถีอากาศสู่ อากาศแบบ เอไอเอ็ม–๙ ไซด์ไวน์เดอร์ (AIM9 Sidewinder) น�ำวิถีด้วยระบบอินฟาเรด มี ความเร็ว ๒.๕ มัค และระเบิดน�ำวิถีแบบ เจบียู ๓๘ เจแดม (GBU 38 JDAM) ซึ่งมีบทบาท อย่ า งมากในสมรภู มิ อิ รั ก และอั ฟ กานิ ส ถาน เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๐ สิงคโปร์ได้ สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ชนิดดังกล่าวเพิ่มเติมอีก ๘ ล�ำ และ ๔ ล�ำตามล�ำดับจนครบ ๒๔ ล�ำ เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ มาเลเซี ย เป็ น อี ก ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ข ้ อ พิ พ าทเหนื อ ทะเลจี น ใต้ และส่ ง ก� ำ ลั ง ทาง เรือเข้าไปครอบครองน่านน�้ำบริเวณโขดหิน โสโครกที่อ้างว่าเป็นของตนจ�ำนวน ๓ เกาะ ตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ.๒๕๒๖ และสร้ า งเป็ น สถานี เทียบเรือเรียกว่า "สถานียูนิฟอร์ม" (Uniform
Station) โดยมาเลเซี ย เรี ย กเกาะแนวหิ น ปะการังนี้ว่า "แนวหินนกนางแอ่น" หรือใน ภาษามลายูเรียกว่า "ลายัง ลายัง" (Layang Layang) ส่วนจีนเรียกว่า "ดาน วาน เจียว" (Dan Wan Jiao) โดยมาเลเซียมีการสั่งซื้อเรือ ด�ำน�ำ้ สกอร์ปเี น่ (Scorpene) จ�ำนวน ๒ ล�ำจาก การร่วมผลิตของประเทศฝรั่งเศสและสเปน คือ เรือด�ำน�้ำ "ตุนกู อับดุล ราห์มาน" (Tunku Abdul Rahman) ส่วนเรือด�ำน�้ำอีกล�ำหนึ่งคือ เรือด�ำน�้ำ "ตุนกู อับดุล ราซัก" (Tunku Abdul Razak) เข้าประจ�ำการในปี พ.ศ.๒๕๕๓ เรือทั้ง สองล�ำนี้ติดอาวุธปล่อยน�ำวิถีจากใต้น�้ำต่อต้าน เรือผิวน�ำ้ แบบ เอกโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙ (Exocet SM39) อันทรงอานุภาพของฝรั่งเศส จากที่ ก ล่ า วมาเป็ น เพี ย งตั ว อย่ า งของ ยุทโธปกรณ์บางประเภทเท่านั้น เพราะแต่ละ ประเทศยังมีแสนยานุภาพอื่นๆ อีกมากมาย ที่ใช้ในการถ่วงดุลอ�ำนาจในทะเลจีนใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ยังมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "เกรโกริ โอ เดล พิล่าร์" สิงคโปร์ยังมีกองเรือด�ำน�้ำ "ชาลเลนเจอร์" (Challenger) และชัน้ "อาร์เชอร์" (Archer) ซึ่งเข้าประจ�ำการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ นั บ เป็ น เรื อ ด� ำ น�้ ำ ที่ มี ค วาม ทันสมัยมากทีส่ ดุ รุน่ หนึง่ ในภูมภิ าคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เป็นต้น เพียงเท่าที่กล่าวมาก็จะ เห็นได้ว่ายุทโธปกรณ์ของประเทศต่างๆ เป็น แสนยานุภาพที่มีความใกล้เคียงกันอย่างมาก ท� ำ ให้ เ ป็ น ที่ จั บ ตามองในขณะนี้ ว ่ า บรรดา ประเทศที่มีข้อพิพาทเหล่านี้จะเลือกหนทาง ใดในการยุติข้อขัดแย้งดังกล่าว เพราะต่างก็ เชื่อกันว่าทั้งจีน สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ในอาเซียน ล้วนต่างเป็นประเทศที่ใฝ่สันติ ไม่ ต้ อ งการเลื อ กหนทางที่ รุ น แรงเป็ น ทางออก อย่างแน่นอน หากแต่ความผิดพลาดจากทีอ่ าจ เกิดขึ้นจากการเผชิญหน้าอันตึงเครียด อาจส่ง ผลท�ำให้เกิดผลตามมาอย่างรุนแรงและคาด ไม่ถึงเลยทีเดียว
21
สัมภาษณ์ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เรื่อง กระทรวงกลาโหมหลักประกัน ความมั่นคงของชาติ เคียงข้างประชาชน โดย คุณชลรัศมี งาทวีสุข เป็นผู้ด�ำเนินรายการ ออกอากาศเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
คุ ณ ชลรั ศ มี ฯ บทบาทของกระทรวง กลาโหมในปัจจุบันมีอะไรบ้างคะ พลเอก ศิริชัยฯ
บางท่านอาจยังไม่ทราบว่า นอกเหนือ จากบทบาทหน้ า ที่ ใ นการป้ อ งกั น ประเทศ และการปกป้ อ งสถาบั น ฯ ซึ่ ง เป็ น ความ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก กฎหมายยั ง ได้ ก� ำ หนดให้ กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ครอบคลุมภารกิจ อื่นๆ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาประเทศ การ ป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาจากภั ย พิ บั ติ การ ช่วยเหลือประชาชน รวมไปถึงการสนับสนุน รั ฐ บาลในการแก้ ไ ขปั ญ หาที่ ส� ำคั ญ ของชาติ
22
บทบาทที่ ส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ การรักษาความมั่นคงทางทะเลร่วมกับมิตร ประเทศ กองทัพเรือได้จดั ให้มกี ารลาดตระเวน บริ เ วณเขตแดนทางทะเลร่ ว มกั บ มาเลเซี ย เวียดนาม เมียนมา และอินเดีย ส่งผลให้เกิด ความปลอดภัยในเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้า ซึ่งนับว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทางทะเลที่มีมูลค่ามหาศาล ส� ำ หรั บ การด� ำ เนิ น งานเตรี ย มความ พร้ อ มสู ่ ป ระชาคมอาเซี ย น นั้ น ท่ า น รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหมได้ ใ ห้ ความส� ำ คั ญ เป็ น พิ เ ศษต่ อ การใช้ ก ลไกการ ประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหมอาเซี ย น และการ ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรี กลาโหมประเทศคู ่ เ จรจาอี ก ๘ ประเทศ โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่ ง ก ล ไ ก ดั ง ก ล ่ า ว นั บ ว ่ า มี ค ว า ม ส� ำ คั ญ ความมั่ น คงในมิ ติ ที่ มี ค วามหลากหลายใน อย่ า งยิ่ ง ในการสร้ า งความมั่ น ใจและความ ปัจจุบัน โดยใช้ศักยภาพทั้งปวงของกองทัพ ไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจระหว่ า งกั น ต้ อ งขอเรี ย นว่ า สนับสนุนการด�ำเนินงานทั้งในเรื่องการช่วย ความสั ม พั น ธ์ ท างทหารระหว่ า งไทยกั บ เหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน รวม กองทั พ มิ ต รประเทศ โดยเฉพาะประเทศ ถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน เพื่อนบ้านในสมัยรัฐบาลปัจจุบันนี้ถือได้ว่า ดี ที่ สุ ด ในรอบหลายปี ที่ ผ ่ า นมา ซึ่ ง จะเป็ น ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ คุณชลรัศมีฯ ส�ำหรับความมั่นคงในด้าน รากฐานส�ำคัญในการเสริมสร้างบรรยากาศ ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้างคะ ของภูมภิ าค อันจะน�ำไปสูค่ วามมัน่ คง ปลอดภัย พลเอก ศิริชัยฯ และความอยู่ดีกินดีของประชาชนในภูมิภาค กระทรวงกลาโหมยั ง มี ส ่ ว นในการ อย่างยั่งยืนต่อไป ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบต่ อ เสถี ย รภาพ ความมั่ น คงในภู มิ ภ าคและของ โลก ขอเรียนว่า ที่ผ่านมาเราได้ มี ก ารส่ ง ก� ำ ลั ง สนั บ สนุ น ภารกิ จ รั ก ษาสั น ติ ภ าพภายใต้ ก รอบ สหประชาชาติ และการปฏิบตั กิ าร เพื่อมนุษยธรรมแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘ ภารกิ จ ล่ า สุ ด เมื่ อ เดื อ น เมษายนที่ผ่านมา ยังได้จัดหน่วย ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยแผ่นดินไหว ที่ประเทศเนปาล อีกด้วย
และในฐานะที่ไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นประธานร่วมในคณะท�ำงานผู้เชี่ยวชาญ ด้านการแพทย์ทหาร ได้ก�ำหนดแผนการจัด ตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนขึ้นในประเทศไทย ภายในปลายปีนี้ เพื่อเป็นศูนย์ในการประสาน งานด้านการแพทย์เมือ่ มีเหตุการณ์ภยั พิบตั เิ กิด ขึ้นในภูมิภาค
กลาโหม นอกจากจะให้ความส�ำคัญกับการ รั ก ษาความปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของประชาชนแล้ว ยังให้ความส�ำคัญกับการ น้อมน�ำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” รวมทั้งยึดถือแนวทางสันติ และไม่ใช้ ความรุนแรงในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งท�ำให้ สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นตามล�ำดับ โดยวัดได้ จากสถิ ติ เ หตุ ก ารณ์ แ ละจ� ำ นวนการสู ญ เสี ย ในรอบ ๖ เดือน ที่ลดลงไปกว่าครึ่งเมื่อเปรียบ เทียบกับห้วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และใช้ ก ลไกความร่ ว มมื อ ที่ มี อ ยู ่ แ ล้ ว เช่ น คณะกรรมการชายแดนทั่วไป คณะกรรมการ ชายแดนส่วนภูมภิ าค ชุดประสานงานชายแดน ส่วนท้องถิ่น ในการป้องกันความขัดแย้งกับ ประเทศเพื่อนบ้าน น�ำไปสู่การเสริมสร้าง ความสงบสุ ข ให้ กั บ ประชาชนตามแนว ชายแดน และนอกเหนือจากภารกิจในการ รักษาอธิปไตยแล้วกองก�ำลังเหล่านีย้ งั ท�ำหน้าที่ ในการสกัดกั้นยาเสพติด และแรงงานต่างด้าว โดยในห้วง ๖ เดือนที่ผ่านมา สามารถจับกุม ผู้ลักลอบขนยาเสพติด ยึดยาบ้า และจับกุม แรงงานต่างด้าวได้เป็นจ�ำนวนมาก
เรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมได้กรุณาสั่งการให้ กองทัพด�ำเนินการสนับสนุนรัฐบาลและคณะ รักษาความสงบแห่งชาติในการบริหารราชการ แผ่นดิน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ในทุกมิตอิ ย่างเต็มศักยภาพ รวมทัง้ สนับสนุน การวางรากฐานเพื่อการปฏิรูปประเทศ และ
คุ ณ ชลรั ศ มี ฯ บทบาทของกระทรวง กลาโ หมในการรั ก ษาความมั่ น คง ปลอดภัยให้กับประชาชนภายในประเทศ มีอะไรบ้างคะ คุณชลรัศมีฯ การสนับสนุนรัฐบาลในการ แก้ปัญหาของชาติ ไม่ทราบว่าบทบาท พลเอก ศิริชัยฯ การรั ก ษาอธิ ป ไตยตามแนวชายแดน ของกระทรวงกลาโหม ในการสนับสนุน ถือเป็นความรับผิดชอบหลัก ที่กองทัพไทย รัฐบาลที่ส�ำคัญที่ก�ำลังด�ำเนินการอยู่ใน ได้ให้ความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้จัดกอง ปัจจุบันมีอะไรบ้างคะ ก�ำลังป้องกันชายแดนจ�ำนวน ๘ กองก�ำลัง พลเอก ศิริชัยฯ
การเสริ ม สร้ า งความปรองดองสมานฉั น ท์ ให้กับคนในชาติ โดยเฉพาะในเรื่องที่จะต้องมี การบูรณาการการท�ำงานของหลายหน่วยงาน ยกตั ว อย่ า งเช่ น การแก้ ไ ขปั ญ หาการ ค้ า มนุ ษ ย์ แ ละการท� ำ ประมงผิ ด กฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่ ง รั ฐ บาลก� ำ หนดให้ เ ป็ น “วาระแห่งชาติ”นั้น ได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ บั ญ ชาการแก้ ไ ขปั ญ หาการท� ำ การประมง ผิดกฎหมาย” มีท่านผู้บัญชาการทหารเรือ เป็ น ผู ้ บั ญ ชาการศู น ย์ ฯ และให้ ก องทั พ เรื อ ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการ ทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การแก้ ไ ขปั ญ หาการโยกย้ า ยถิ่ น ฐาน แบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย กระทรวง กลาโหมได้จัดตั้งศูนย์อ�ำนวยการลาดตระเวน และช่ ว ยเหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรมผู ้ โ ยกย้ า ย ถิ่ น ฐานแบบไม่ ป กติ ใ นมหาสมุ ท รอิ น เดี ย มีท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ฯ ท�ำหน้าที่ในการประสานงานกับมิตร ประเทศในการลาดตระเวนทัง้ ทางบก ทะเล และ อากาศ และการให้ความช่วยเหลือผู้โยกย้าย ถิ่นฐานฯ ให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม
คุ ณ ชลรั ศ มี ฯ ส� ำ หรั บ พื้ น ที่ ที่ มี ค วาม น่ า ห่ ว งใยในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ กระทรวงกลาโหมมีบทบาท อย่างไรคะ พลเอก ศิริชัยฯ
ส� ำ หรั บ การรั ก ษาความปลอดภั ย ใน พื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ กระทรวง กลาโหมมีบทบาทในการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ ฝ่ า ยทหาร เข้ า ปฏิ บั ติ ง านในพื้ น ที่ ม าอย่ า ง ต่ อ เนื่ อ งในกรอบของกองอ� ำ นวยการ รั ก ษาความมั่ น คงภายในภาค ๔ ส่ ว นหน้ า ซึ่ ง นโยบายของรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
23
คุณชลรัศมีฯ ในการช่วยเหลือประชาชน ส่วนทีส่ อง เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า กระทรวงกลาโหมได้ มี ก ารด� ำ เนิ น การ ซึ่งก�ำลังด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การ อย่างไรบ้างคะ แจกจ่ายน�้ำส�ำหรับการอุปโภคและบริโภค พลเอก ศิริชัยฯ ให้ กั บ ประชาชนในพื้ น ที่ ที่ ป ระสบภั ย แล้ ง กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งศูนย์บรรเทา สาธารณภัยกระทรวงกลาโหม เพื่อท�ำหน้าที่ เป็ น ศู น ย์ ป ระสานการเตรี ย มความพร้ อ ม ในการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และช่วย เหลื อ ประชาชน โดยท่ า นรั ฐ มนตรี ซึ่ ง เป็ น ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ ฯ ได้ให้นโยบายไว้วา่ “ทหาร จะต้ อ งเป็ น หน่ ว ยงานแรกในการเข้ า ไป ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ” โดยในห้วง ที่ผ่านมาได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ของรัฐบาล ใน ๒ ส่วน ส่วนแรก เป็นเชิงป้องกัน โดยได้ด�ำเนิน การขุดลอกคลองตามโครงการขุดลอกแหล่งน�ำ้ การปลูกต้นไม้ เพื่อรักษาผืนป่าต้นน�้ำ การ สร้างฝายชะลอน�ำ้ การช่วยปรับปรุงสภาพล�ำน�ำ้ รวมทั้งใช้อากาศยานโปรยเมล็ดพันธุ์ไม้ลงใน พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
24
โดยได้แจกจ่ายไปแล้วประมาณ ๔๐ ล้านลิตร การขุ ด บ่ อ บาดาลโดยหน่ ว ยบั ญ ชาการ ทหารพัฒนาของกองบัญชาการกองทัพไทย และหน่วยทหารช่างของกองทัพบก ส�ำหรับ กองทัพอากาศก็ได้จัดเครื่องบิน จ�ำนวน ๖ เครื่อง สนับสนุนโครงการฝนหลวงในพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คุ ณ ชลรั ศ มี ฯ ในห้ ว งเวลาของการ ปฏิรูปประเทศนี้อยากทราบว่ากระทรวง กลาโหมมีการปฏิรูปอย่างไร บ้างคะ พลเอก ศิริชัยฯ
ขอเรียนว่าในเรือ่ งของการปฏิรปู และการ ปรับปรุงโครงสร้างนั้น ในส่วนของกระทรวง กลาโหมเราได้ด�ำเนินการมาโดยตลอด เพื่อ ให้ ทั น ต่ อ สถานการณ์ ภั ย คุ ก คามที่ มี ค วาม หลากหลายมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา และเมื่อรัฐบาลได้สั่งการให้มีการปฏิรูป
การท�ำงานของทุกหน่วยงาน เราจึงได้ก�ำหนด หั ว ข้ อ และ Time line ในการปฏิ รู ป ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยแบ่งการด�ำเนินการ ออกเป็น ๒ ระยะ ในห้วงระยะ ๕ ปีแรกนี้จะมุ่งเน้นการ ด�ำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการปฏิรูป ระบบบริหารจัดการกระทรวงกลาโหม และ การเสริ ม สร้ า งกองทั พ ให้ มี ค วามพร้ อ มทั้ ง ในเรื่ อ งก� ำ ลั ง พล ยุ ท โธปกรณ์ หลั ก นิ ย ม การฝึกศึกษา การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง และการ พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ ป้ อ งกั น ประเทศ การปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ร่ ว มกั บ กองทัพมิตรประเทศและอาเซียน รวมถึงการ สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของชาติ ในมิติต่าง ๆ ในห้วงระยะ ๕ ปีถัดไปจะด�ำเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความสอดรับกับการ บริหารราชการยุคใหม่ที่มุ่งเน้นความคล่องตัว มีความทันสมัย และสามารถปฏิบัติภารกิจที่มี ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
คุณชลรัศมีฯ อีกประเด็นทีอ่ ยูใ่ นความสนใจ ของประชาชน อยากเรียนถามถึงเรื่องการ จัดหาเรือด�ำน�้ำ ของกองทัพเรือค่ะ พลเอก ศิริชัยฯ
ขอเรียนว่า เรือ่ งนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งใหม่ทเี่ พิง่ คิดกัน ในสมัยนี้ แต่เป็นเรื่องที่ได้ก�ำหนดไว้ในแผน พัฒนากองทัพเรือ และมีการเสนอมานานแล้ว ตั้งแต่ปี ๕๓ แต่มีการชะลอการด�ำเนินการไว้ ซึ่งเรือด�ำน�้ำนั้นถือเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ ในการป้องปรามการรุกล�้ำอธิปไตยทางทะเล และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทีม่ มี ลู ค่ามหาศาล ซึง่ หลายประเทศในอาเซียน ตระหนักในเรื่องนี้ดี และได้จัดหาเรือด�ำน�้ำ มาใช้งานในกองทัพของตนแล้ว ส�ำหรับแผนการ จัดหา ที่กองทัพเรือเสนอไม่ได้เป็นการด�ำเนิน การภายในปีเดียวแต่เป็นแผนระยะยาวในห้วง ๗ ถึง ๑๐ ปี เพราะได้ตระหนักดี ถึงปัญหา
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ด้านงบประมาณ ขอเรียนว่าทั้งหมดทั้งปวงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวง กลาโหม ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาในกระทรวง กลาโหมแล้ว ยังต้องน�ำเสนอคณะรัฐมนตรีเพือ่ พิจารณาความเหมาะสมต่อไป
คุณชลรัศมีฯ ท้ายนี้ท่านมีอะไรอยากจะ ฝากไปถึงประชาชนที่รับชมรายการอยู่ ในขณะนี้ พลเอก ศิริชัยฯ
อยากฝากไปถึงพี่น้องประชาชน ขอให้ ท่านมีความเชื่อมั่นในกระทรวงกลาโหม ว่าจะ เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติและอยู่ เคียงข้างประชาชนในทุกสถานการณ์ โดยท่าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด และผูบ้ ญ ั ชาการทหารทัง้ ๓ เหล่าทัพ ทุ ก ท่ า นมี ค วามมุ ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจอย่ า งเต็ ม ที่
ในการปฏิ บั ติ ง านตามนโยบายของรั ฐ บาล โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชน เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ อยูด่ กี นิ ดี มีความปลอดภัยในชีวติ และ ทรัพย์สินแล้ว ก็จะท�ำให้ประเทศชาติมีความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้ในที่สุด
ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม : https://www.youtube.com/ watch?v=1J67lXU5DYg
25
โครงการฝนหลวง ส�ำคัญอย่างไร แผนกเผยแพร่ฯ
“โครงการฝนหลวง”
คื อ โครงการที่ เ กิ ด ขึ้ น จากพระราชด� ำ ริ ส ่ ว น พระองค์ ใ นพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มีวตั ถุประสงค์เพือ่ สร้างฝนเทียม ส�ำหรับบรรเทา ความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร จากพระราช กรณี ย กิ จ ในการเสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น เยี่ ย ม พสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่ เสด็ จ ขึ้ น เถลิ ง ถวั ล ย์ ร าชสมบั ติ ต ราบเท่ า ทุ ก วันนี้ ท�ำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มี แนวโน้มรุนแรงขึ้นตามล�ำดับ เพราะการตัดไม้ ท�ำลายป่า การเผาป่า ฯลฯ เป็นสาเหตุให้ สภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลง 26
อย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความ เสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ ระหว่าง ทางที่เสด็จพระราชด�ำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และ ทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุม ท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิด เป็ น ฝนได้ เป็ น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด ภาวะฝนทิ้ ง ช่ ว ง ระยะยาวทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดว่าน่า จะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้ เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของสภาพอากาศ
และภู มิ ป ระเทศของประเทศไทยซึ่ ง ตั้ ง อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของ ฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ซึ่ ง เป็ น ฤดู ฝ น และเป็ น ฤดู เพาะปลูกประจ�ำปีของประเทศไทย จะสามารถ ดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ การท�ำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธี การเหนี่ยวน�ำน�้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุ สารเคมีขนึ้ ไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชืน้ ของเมฆและสภาพทิ ศ ทางลมประกอบกั น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ฝนคื อ ความร้ อ น ชื้ น ปะทะความเย็ น และมี แ กนกลั่ น ตั ว แผนกเผยแพร่ฯ
ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในปริ ม าณที่ เ หมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้น ขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต�่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หาก อุณหภูมิที่ลดต�่ำลงนั้นมากพอก็จะท�ำให้ไอน�้ำ ในมวลอากาศอิม่ ตัว จะเกิดขบวนการกลัน่ ตัวเอง ของไอน�้ ำ ในมวลอากาศขึ้ น บนแกนกลั่ น ตั ว เกิ ด เป็ น ฝนตกลงมา ฉะนั้ น สารเคมี ที่ ใ ช้ จึงประกอบด้วย “สูตรร้อน” ใช้เพื่อกระตุ้น เร่ ง เร้ า กลไกการหมุ น เวี ยนของบรรยากาศ, “สูตรเย็น” ใช้เพือ่ กระตุน้ กลไกการรวมตัวของ ละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้ เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้ ง นี้ ฝนหลวงไม่ เ พี ย งแต่ จ ะเป็ น ประโยชน์ส�ำหรับแหล่งน�้ำที่จ�ำเป็นต้องใช้ใน การเพาะปลูกส�ำหรับเกษตรกรในสภาวะแห้งแล้ง เท่ า นั้ น แต่ ยั ง รวมถึ ง ปั ญ หาฝนแล้ ง หรื อ ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ปัญหาการขาดแคลนน�้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ภาวะความต้องการ น�้ ำ กิ น น�้ ำ ใช้ ที่ ท วี ค วามรุ น แรงมากในภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เนื่ อ งจากคุ ณ สมบั ติ ของดิ น ในภู มิ ภ าคนี้ เ ป็ น ดิ น ร่ ว นปนทรายไม่ สามารถอุ้มซับน�้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน�้ำ ได้ดีเท่าที่ควร การเสริมสร้างเส้นทางคมนาคม ทางน�้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน�้ำโดยเฉพาะใน บริเวณแม่น�้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้น ทางคมนาคมได้ ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งเพราะน�้ำ ในแม่ น�้ ำ บางสายถื อ เป็ น เส้ น ทางการขนส่ ง หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
สินค้าที่ส�ำคัญ นอกจากนั้นการขนส่งทางน�้ำยัง เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่นอีกด้วย และการ จราจรทางน�้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ส�ำหรับผู้ ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก ที่ นั บ วั น ยิ่ ง ทวี ค วามรุ น แรงมากส� ำ หรั บ การ ป้องกันและบ�ำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม หากน�้ำในแม่น�้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น�้ ำ เค็ ม จากทะเลอ่ า วไทยก็ จ ะไหลหนุ น เนื่ อ ง เข้าไปแทนที่ท�ำให้เกิดน�้ำกร่อย และสร้างความ เสียหายแก่เกษตรกรเป็นจ�ำนวนมาก“ฝนหลวง” จึงได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจาก การระบายน�้ำเสียและขยะมูลฝอยลงสู่แม่น�้ำ เจ้าพระยา ปริมาณน�้ำจากฝนหลวงจะท�ำให้ ภาวะมลพิษจากน�้ำเสียเจือจางลงได้ ส่ ว นด้ า นการเพิ่ ม ปริ ม าณน�้ ำ ในเขื่ อ น ภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า นั้ น บ้ า นเมื อ งเราเริ่ ม ประสบปั ญ หาการ ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมี ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงขึ้น เมื่อ เกิดภาวะวิกฤตโดยระดับน�ำ้ เหนือเขือ่ นมีระดับ ต�่ ำ มากจนไม่ เ พี ย งพอต่ อ การใช้ พ ลั ง งานน�้ ำ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การท�ำฝนหลวงจึงมี ความส�ำคัญในหลายๆ ด้าน การท�ำฝนหลวงเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่ ต่อการรับรูข้ องบุคคลทัว่ ไป และในประเทศไทย ยั ง ไม่ มี นั ก วิ ช าการ หรื อ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นนี้ ในระยะแรกเริ่ ม ของโครงการฯ ดั ง นั้ น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นก�ำลัง
ส�ำคัญ และทรงร่วมในการพัฒนากิจกรรมนี้ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทรงวางแผนการ ทดลองปฏิบัติการการติดตามและประเมินผล ปฏิ บั ติ ก ารทุ ก ครั้ ง อย่ า งใกล้ ชิ ด และรวดเร็ ว ชนิ ด วั น ต่ อ วั น ทรงปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น แบบอย่ า ง ในการประสานงาน ขอความร่ ว มมื อ จาก ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ สนับสนุนกิจกรรม อาทิ เช่น กรมอุตนุ ิยมวิทยา กรมชลประทาน การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย กองบินต�ำรวจ กองการสื่อสาร กรมต� ำ รวจ และกองทั พ อากาศ ในรู ป ของ ศูนย์อ�ำนวยการฝนหลวงพิเศษสวนจิตรลดา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรูปของ คณะกรรมการด�ำเนินการท�ำฝนหลวง ซึง่ การที่ พระองค์ติดตามโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด มาตลอด และได้ ใ ห้ แ นวทางในการปฏิ บั ติ อย่างเป็นรูปธรรม จึงท�ำให้โครงการฝนหลวง พั ฒ นาก้ า วหน้ า อย่ า งรวดเร็ ว เมื่ อ เที ย บกั บ ประเทศอื่นๆ จากประโยชน์ น านั ปการของโครงการ ฝนหลวง อั น เกิ ด จากพระปรี ช าสามารถ และสายพระเนตรอั น ยาวไกลของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงค�ำนึงถึงประโยชน์ ทุ ก ข์ สุ ข ของราษฎรชาวไทยเสมอมานั้ น การขนานนามพระองค์ ว ่ า “พระบิ ด าแห่ ง ฝนหลวง” จึ ง เป็ น การแสดงความร� ำ ลึ ก ใน พระมหากรุณาธิคณ ุ อันยิง่ ใหญ่ ทีจ่ ะคงอยูใ่ นใจ ของปวงชนชาวไทยตลอดไป 27
การอนุรักษ์ช้าง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ช้างเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ประเทศ คือ อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน กับสถาบันหลักของประเทศและมีความผูกพัน มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีลักษณะเด่น คือ ผิวสีออกด�ำ สูงประมาณ ๓ เมตร ใบหูเล็ก กะโหลก กับวิถชี วี ติ ของคนไทยเสมอมา ตัง้ แต่อดีตจนถึง ศีรษะใหญ่มีมันสมองมาก ปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๖ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไ ด้ มี ม ติ เ ลื อ ก ความแตกต่างระหว่างช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา ให้ “ช้างเผือก” เป็นสัญลักษณ์ประจ�ำชาติ เนื่องจากช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้อง ลักษณะ ช้างแอฟริกา ช้างเอเชีย กับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย ซึ่งใน - หลังแอ่น - หลังโค้ง อีก ๓๕ ปีต่อมา ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. - หูใหญ่ - หูเล็ก ๒๕๔๑ มติคณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ ๑๓ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพือ่ ให้คนไทย รูปร่างทั่วไป - มีงาทัง้ เพศผู้และเพศเมีย - มีงาเฉพาะเพศผู้บางตัว และเยาวชนรุ ่ น หลั ง ได้ ร� ำ ลึ ก และตระหนั ก - ตีนหน้ามี ๔ เล็บ - ตีนหน้ามี ๕ เล็บ ถึงคุณค่าและความส�ำคัญของช้างซึ่งเป็นสัตว์ - ตีนหลังมี ๓ เล็บ - ตีนหลังมี ๔ เล็บ ประจ�ำชาติและเพื่อสร้างจิตส�ำนึกรัก หวงแหน เพศผู้ : ๓.๖ เมตร เพศผู้ : ๒.๗ เมตร พร้ อ มใจมี ส ่ ว นร่ ว มในการอนุ รั ก ษ์ ช ้ า งไทย ความสู ง ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย ตราบนานเท่านาน เพศเมีย : ๓ เมตร เพศเมีย : ๒.๓ เมตร ช้างในปัจจุบันมี ๒ สายพันธุ์ ได้แก่ เพศผู้ : ๕.๕ ตัน เพศผู้ : ๓.๕ ตัน ๑. ช้างแอฟริกา (Loxodonta Africana) น�้ำหนัก เพศเมีย : ๔ ตัน เพศเมีย : ๓ ตัน มีลักษณะเด่นคือ ผิวออกสีน�้ำตาล สูงประมาณ ๑ ลอน ๒ ลอน ๓.๕ เมตร ใบหูใหญ่กว่าช้างเอเชีย กะโหลก โหนกหัว ศีรษะเล็ก มีมันสมองน้อย ๒ จะงอย ๑ จะงอย จะงอยปลายงวง ๒. ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ๑๙ คู่ เป็นช้างที่กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ๑๓ จำ�นวนกระดูกซี่โครง ๒๑ คู่ 28
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ช้ า งป่ า มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ต่ อ ระบบนิ เ วศ ธรรมชาติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ต้องการถิ่น อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และกว้างขวางเพื่อตอบ สนองต่อความต้องการพื้นฐานในการด�ำรงชีพ ช้ า งช่ ว ยสร้ า งด่ า นสั ต ว์ เปิ ด แหล่ ง ดิ น โป่ ง หรือแม้แต่ขุดหาแหล่งน�้ำให้สัตว์อื่นๆ ได้ใช้ ประโยชน์ในหน้าแล้งด้วย ฯลฯ พฤติกรรม เหล่านี้ได้เอื้อประโยชน์ต่อสัตว์ป่าเป็นจ�ำนวน มาก ฉะนั้นการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของช้างป่าจึง เป็นการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ในระบบนิเวศด้วย ในปั จ จุ บั น ช้ า งจั ด เป็ น สั ต ว์ ป ่ า ที่ ใ กล้ จะสู ญ พั น ธุ ์ เนื่ อ งจากการบุ ก รุ ก ป่ า และ เปลีย่ นแปลงแหล่งอาศัยของช้างป่า เกิดปัญหา “ช้างติดเกาะ” ผลที่ตามมาคือการล่าและจับ ช้างป่าท�ำได้งา่ ยขึน้ ช้างป่าออกไปท�ำลายพืชไร่ และทรั พ ย์ สิ น ของราษฎรได้ บ ่ อ ยขึ้ น ซึ่ ง จะ น�ำมาทั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตของทั้งคน และช้าง หากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสม และยั่งยืน ดังนั้นการอนุรักษ์ช้างจึงเป็นสิ่งที่ คนไทยทุกคนควรจะได้ร่วมมือร่วมใจกัน ท�ำให้ เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นเพื่อให้ช้างได้รับการดูแล มีสวัสดิภาพที่ดีสมศักดิ์ศรีที่เป็นสัตว์สัญลักษณ์ ประจ�ำชาติและด�ำรงเผ่าพันธุบ์ นผืนแผ่นดินไทย ร่วมกับคนไทยตลอดไป การพิสูจน์งาช้างนั้นหากเป็นการตรวจ สอบทางกายภาพด้วยตาสามารถตรวจแยก ได้เฉพาะ งาช้างแมมมอธกับงาช้างปัจจุบัน (งาช้างเอเชียและงาช้างแอฟริกา) โดยดูจาก มุมของเส้นลายงาที่หน้าตัดขวางของงาช้าง นั้น หากเป็นงาช้างแมมมอธ มุมของเส้นลาย หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
จะเป็นมุมแหลมกว่างาช้างปัจจุบัน ในส่วนของการจ�ำแนกงาช้างแอฟริกา กับ งาช้างเอเชี ย นั้ น ไม่ ส ามารถจ� ำ แนกทาง กายภาพได้ โดยเฉพาะงาช้ า งที่ มี ข นาดไม่ ใหญ่มาก และงาช้างที่น�ำไปท�ำเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ แล้ว เพราะการตรวจจ�ำแนกชนิดต้อง ใช้ วิ ธี ก ารตรวจสอบทางพั น ธุ ก รรม (DNA) โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์งาช้างชิ้นเล็กๆ การ ตรวจสอบอาจท� ำ ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ นั้ น เสี ย หาย เพราะต้องท�ำการบดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อ น�ำมาสกัดสารพันธุกรรม โดยหน่วยปฏิบัติการ นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือ DNP WIFOS เป็น หน่วยงานที่ให้บริการตรวจพิสูจน์พันธุกรรม ของสัตว์ปา่ เพือ่ จ�ำแนกชนิดพันธุแ์ ละชนิดพันธุ์ ย่อยของสัตว์ป่า และซากสัตว์ป่าของกลางใน ชนิดพันธุ์ที่ส�ำคัญ ซึ่งกลุ่มสัตว์ที่สามารถตรวจ พิสูจน์ได้คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป และ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน�้ำ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์งาช้าง สามารถ น�ำมาตรวจพิสูจน์เพื่อระบุชนิดพันธุ์ได้ด้วยวิธี การเนสเดตพีซีอาร์ ( Nested PCR ) โดยชนิด พันธุ์ที่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ ได้แก่ ช้างเอเชีย ช้างทุง่ แอฟริกา ช้างป่าแมมมอธ เพือ่ ประโยชน์ ในการพิจารณาด�ำเนินคดีโดยมีจุดประสงค์ เพื่อใช้แ ก้ปั ญหาอาชญากรรมสั ต ว์ ป่ า และ ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย อย่างยั่งยืน ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๘ ของประเทศ ได้แก่ ไทย จีน มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อูกันตา แทนซาเนีย และเคนย่า ที่อนุสัญญา
ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) จัดให้เป็น ประเทศที่ มี ป ั ญ หาเกี่ ย วกั บ การค้ า งาช้ า งที่ ผิดกฎหมายและถูกกล่าวหาว่าไม่มีมาตรการ ควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ คณะรั ฐ มนตรี จึ ง ได้ มี ม ติ เ มื่ อ วั น ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ ให้ความเห็นชอบแผน ปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย ( Thailand National Ivory Action Plan) ฉบับแก้ไข จ�ำนวน ๕ กิจกรรมดังนี้ ๑. การออกระเบี ย บและกฎหมายที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การครอบครองและการค้ า งาช้าง ๒. การจั ด ท� ำ ระบบทะเบี ย นข้ อ มู ล ผู้ประกอบกิจการค้างาช้างและรายการสินค้า งาช้างข้อมูลการครอบครองงาช้างบ้านและ งาช้างแอฟริกาที่ถูกกฎหมายและข้อมูลงาช้าง ของกลาง ๓. การก� ำ กั บ ดู แ ลและการบั ง คั บ ใช้ กฎหมาย ๔. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับพันธกรณีตามอนุสัญญา CITES ระเบี ย บและกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งและการ ก� ำ กั บ ดู แ ลการค้ า งาช้ า งบ้ า นต่ อ ประชาชน ทั่วไป ผู้ค้างาช้าง เจ้าของช้างและแจ้งเตือน ชาวต่างชาติ ไม่ให้ซื้องาช้างและไม่น�ำออกจาก ประเทศไทย ๕. ติดตามและประเมินผล
ผลิตภัณฑ์งาช้างที่มีขายในท้องตลาด
- งาช้างสมบูรณ์ หรืองาท่อน (รวมถึง งาช้างแกะสลัก) - ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากงาช้ า ง อาทิ เครื่ อ ง ประดับ ของใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งของ ใดๆ ที่ท�ำจากงานช้างหรือมีงาช้างเป็นส่วน ประกอบ
วัสดุทดแทนงาช้าง
- กระดูกสัตว์ แตกต่างจากฟัน เขี้ยว หรืองาสัตว์ คือมีร่องหรือรูขนาดเล็ก ลักษณะ คล้ายกับรอยขูด ขีด กระจายทั่วเนื้อและผิว กระดูกซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พบในฟัน เขี้ยวและ งาของสัตว์ - เรซิ น ถู ก ขึ้ น รู ป หรื อ ใส่ แ บบพิ ม พ์ เพื่ อ เลี ย นแบบงาและผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากงาช้ า ง และมี วิ ธี ก ารท� ำ ให้ เ กิ ด ลายพิ ม พ์ บ นผิ ว บางครัง้ เรซิน่ ก็ถกู น�ำมาผสมกับเศษงาหรือผงงา อีกด้วย แต่ทั้งนี้เรซิ่นจะมีความมันวาวกว่างา และรู ป แบบรายจะไม่ เ ป็ น ธรรมชาติ แ ละ หากถูกความร้อนจะได้กลิ่นของพลาสติก 29
โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย แผนกแผนและโครงการฯ
สื
บเนื่ อ งจากนโยบายการสร้ า ง จิ ต ส� ำ นึ ก ในการป้ อ งกั น ประเทศ และรั ก ษาความมั่ น คงภายใต้ ผลผลิตการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ของคนในชาติ โดยส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมที่ต้องการสร้างความรัก ความสามัคคี ของคนในชาติ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม จึ ง ได้ จั ด “โครงการจิ ต ส� ำ นึ ก รักเมืองไทย” ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เริ่มด�ำเนิน โครงการตั้ ง แต่ ป ี ๒๕๕๒) ด� ำ เนิ น การโดย ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก และการมีส่วนร่วมทางสังคม ตลอดจนความ รับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยมุง่ เน้นไปทีเ่ ยาวชน ของชาติที่เป็ นพลังอันบริสุทธิ์และรอยต่อที่ ส�ำคัญของสังคมไทย โดยจัดเวทีให้กับเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศ ได้ สะท้อนแนวคิดและมุมมองต่อสถานการณ์ทาง สังคมไทยที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนแนวทางที่ควรเป็นไปของสังคมใน 30
แผนกแผนและโครงการฯ
มุมมองของเยาวชนสู่การน�ำเสนอ ผ่านกิจกรรมทีส่ ร้างสรรค์ อาทิเช่น ผลงานจิตรกรรมภาพวาด ในการ จัดการประกวดในปีที่ ๑ ผลงาน ภาพถ่ายและภาพยนตร์สั้นในปีที่ ๒ ผลงานภาพถ่าย สปอตโทรทัศน์ และการประกวดสร้ า งสรรค์ บทเพลง ในปีที่ ๓, ๔, ๕ และใน ปีที่ ๖ เป็นการจัดการประกวด ผลงานโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ สปอตโทรทัศน์ และการประกวด สร้างสรรค์บทเพลง ส� ำ หรั บ ในปี ๒๕๕๘ นี้ เป็ น การด� ำ เนิ น โครงการเข้ า สู ่ ป ี ที่ ๗ ได้ ส านต่ อ แนวความ คิ ด และการด� ำ เนิ น งานของปี ที่ ผ่านมา โดยขยายผลสร้างการมี ส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ของ สังคม และเสริมสร้างการมีส่วน ร่ ว มของหน่ ว ยงานภาครั ฐ และ สถาบันการศึกษาต่างๆ ประกอบ ด้ ว ย ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
กลาโหม โดยส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม สถาบันการศึกษา ทั้ง ภาครั ฐ และเอกชนจากทั่ ว ประเทศ ส� ำ หรั บ ในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกวด เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความน่ า สนใจในกลุ ่ ม เด็ ก และ เยาวชนมากยิ่ ง ขึ้ น โดยให้ เ ยาวชนได้ มี เ วที แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมการประกวดการแสดง ภายใต้ หัวข้อ “Show Time Show Thai” ซึง่ เป็นการ น� ำ ค่ า นิ ย มหลั ก ๑๒ ประการ ของนายก รั ฐ มนตรี แ ละหั ว หน้ า คณะรั ก ษาความสงบ แห่งชาติ ในข้อที่ ๕ คือรักษาวัฒนธรรมประเพณี ไทยอันงดงาม เป็นหัวข้อหลักเพื่อให้เยาวชน ได้ น� ำ เสนอแนวความคิ ด การแสดงออกทาง อารมณ์ ความรู้สึก และการเล่าเรื่องผ่านการ แสดงในเชิงศิลปะการแสดงและดนตรี ผสม ผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทยและความร่วม สมัยของสังคมไทยในปัจจุบัน ซึ่ ง ได้ ก ระท� ำ พิ ธี เ ปิ ด และแถลงข่ า ว โครงการฯ ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓๓๐ ณ ห้ อ งพิ นิ ต ประชานาถ ในศาลาว่ า การ กลาโหม และได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ โครงการ (Roadshow) ในภู มิ ภ าคต่ า งๆ ทัว่ ประเทศ ห้วงเดือนมิถนุ ายน ๒๕๕๘ ประกอบ ด้วย พื้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันพุธที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัด เชียงใหม่, พื้นที่ภาคกลาง-ตะวันตก-ตะวัน ออก เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี, พื้นที่ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เมื่ อ วั น อั ง คารที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่ น เซ็ น เตอร์ จั ง หวั ด ขอนแก่ น และพื้ น ที่ ภ าคใต้ เมื่ อ วั น อั ง คาร ที่ ๓๐ มิ ถุ น ายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมทวิ น โลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ จะมีการ จั ด พิ ธี ป ระกาศผลและมอบรางวั ล โครงการ ในห้วงเดือนกันยายน ๒๕๕๘ ทั้งนี้ สิ่งที่ได้รับจากการด�ำเนินโครงการ ในประการส�ำคัญ คือ การร่วมกันตระหนักถึง ปัญหาทางสังคม และการมีสว่ นร่วมกันสะท้อน แนวคิด/และมุมมองทางสังคม สูก่ ารขับเคลือ่ น การแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกระบวนการร่วมคิด ร่ ว มท� ำ จากการประสานงานกั น ทั้ ง องค์ ก ร ทางการศึ ก ษา และภาคประชาสั ง คม ที่ มี อุดมการณ์ แนวคิด และเป้าประสงค์เดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทย ก้าวเดินไปข้างหน้า อย่างมีความสุข มีรอยยิ้ม และยินดีร่วมสร้าง อนาคต ด้ ว ยการสนั บ สนุ น ให้ เ ยาวชนเกิ ด แนวคิด และแสดงออกถึงความต้องการในการ มีส่วนร่วมในการก�ำหนดวิถีความเป็นอยู่ของ สังคมที่เป็นสุขและมีคุณภาพต่อไป 31
Cyber Supremacy “ก�ำลังรบ ที่ไม่เผยตัว” นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
ความเป็ น ไปของผู ้ ค นในโลกยุ ค ใหม่ มีความเกีย่ วข้องเชือ่ มโยงกันอย่างกลมกลืนกับ เทคโนโลยี ด ้ า นคอมพิ ว เตอร์ สู ง มาก ผู ้ ค น สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ข้อจ�ำกัดหลายอย่างถูก ท�ำลายลงด้วยเทคโนโลยีด้านนี้ ในทุกด้านของ 32
ความเป็นไปในชีวิต ผู้คนแทบจะปรับตัวไม่ทัน กันเลยกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าแบบ ติดจรวดและดูเหมือนมหัศจรรย์ เหลือเชื่อแต่ ก็เป็นไปได้ โลกในทุกยุคจะมีอยู่สองด้านเสมอ คือ ด้านสงบและด้านที่เป็นสงคราม ด้านที่สงบนั้น
ก็ ใ ช่ ว ่ า จะราบรื่ น ไปทุ ก หย่ อ มหญ้า หากแต่ ยังเต็มไปด้วยข้อขัดแย้งที่รอการแตกระเบิด กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลกใบนี้ ปฐมบท ข้อขัดแย้งก็ยังเป็นเรื่องอมตะแบบเดิมๆ คือ ศาสนา เชื้อชาติ ดินแดน ซึ่งดูเหมือนคู่ปรปักษ์ จะมีทั้งที่เป็นทวิภาคีและพหุภาคีซึ่งตามห�้ำหั่น นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
กั นมาแต่ ชาติ ป างก่ อน เกิด สงครามเข่น ฆ่า พยายามท�ำลายล้างกัน ตามวิธีการแต่ละยุค สมัย ตั้งแต่ หอก ดาบ ปืน จรวด เครื่องบิน ขีปนาวุธ ดาวเทียม เลเซอร์ แม้กระทั่งเวทมนต์ คาถา ปั จ จุ บั น ที่ โ ลกยุ ค นี้ มี ศั ก ย์ ส งครามตั ว ใหม่ ซึ่ ง ทุ ก ประเทศก� ำ ลั ง เร่ ง รั ด จั ด ตั้ ง และ พั ฒ นากั น มากคื อ Cyber Warfare นั่ น หมายความว่า Key Element หรือ Domain ของพลั ง อ� ำ นาจแห่ ง สงครามยุ ค ใหม่ จ ะ ประกอบด้วย Air-Sea-Land-Space and Cyber สงครามหรือวิกกฤตต่างๆ ทั่วโลกใน ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ มี Cyber Warfare เข้ามาเกี่ยวข้องกันอย่าง ชัดเจน โดยพวกเขาโจมตีกันทาง Cyber เพื่อ ท�ำลายหรือท�ำให้เป็นอุปสรรคต่อระบบ C3I รวมไปถึงระบบที่เป็นลมหายใจด้านเศรษกิจ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
ของฝ่ายตรงข้ามเช่น ระบบคมนาคม ระบบ ไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรคมนาคมและ กระจายเสียงทีเ่ ป็นสาธารณะ ระบบการจราจร ทางอากาศระบบธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ความชัดเจนที่โดดเด่นของบทบาทของ ศักย์สงครามด้าน Cyber สามารถเรียนรู้ได้ จาก Bosnia and Cosovo Crisis และ Gulf war ประเทศผู ้ ถื อ ใหญ่ ท างเทคโนโลยี ห รื อ ครองความได้เปรียบจาก Cyber Warfare ซึ่งสามารถเรียกระดับของสงคราม ที่มีความ ได้เปรียบด้าน Cyber ในช่วงนี้ ได้วา่ ระดับ Cyber Supremacy เหมือนการท�ำ Air Campaign ของก�ำลังทางอากาศ ทีพ่ วกเขาต้องครองความ เป็นเจ้าอากาศหรือ Air Supremacy ให้ได้ ก่อนเป็นอันดับแรก วิ ก กฤตหรื อ สงคราม Bosnia and Cosovo Crisis และ Gulf war นั้น สหรัฐฯ สามารถท�ำ Cyber Supremacy ได้ส�ำเร็จ ท�ำให้ระบบส�ำคัญหลายอย่างเป็นอัมพาต เปิด การปฎิบัติการทางทหารด้านอื่นได้เกือบจะ เสรี แม้กระทั่งส�ำหรับก�ำลังทางอากาศ และ น�ำไปสู่ชัยชนะในที่สุด และผลของชัยชนะนั้น ไม่ได้สังเวยชีวิตประชาชนหรือทหารมากมาย เหมือนอย่างสงครามในอดีต ทีผ่ คู้ นเป็นเรือนแสน เรื อ นล้ า นที่ ต ้ อ งตายไป บ้ า นเมื อ งยั บ เยิ น ต้องใช้เวลาเกือบชั่วอายุคนในการกู้คืนสภาพ บ้ า นเมื อ งบอบช�้ ำ จากการสงครามอย่ า ง แสนสาหัส ดังตัวอย่างของสงครามใหญ่ในอดีต ที่ใกล้ตัวคือ สงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นเอง ด้วยความส�ำคัญยิง่ ของศักย์ใหญ่สงคราม ด้าน Cyber นี้ ท�ำให้ประเทศเกือบจะทั่วโลก มีความตื่นตัวให้ความส�ำคัญขึ้นมามาก มีการ ศึกษาอย่างจริงจัง ถึงการจัดตั้งองค์กร พัฒนา บุคลากร จัดหาเทคโนโลยี เปิดสถาบันการ ศึกษา การหาพันธมิตร เปลีย่ นแปลงแก้ไขเรือ่ ง วัตถุประสงค์และนโยบายชาติ ก�ำหนดทิศทาง ของ กระทรวงกลาโหมตนเองใหม่ รวมไปถึง ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันทั้งในภูมิภาค ตนเองและระหว่างประเทศ การเริ่มต้นที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญเหนืออื่น ใดในงานด้าน Cyber Warfare ก่อนที่จะไป ถึงขั้นก้าวหน้า ในเชิงรุกหรือรับนั้น ก็คือการ สร้างแนวความคิดที่ถูกต้องและพัฒนาความรู้ ของก�ำลังพลให้ชัดเจนเสียก่อน ในเรื่อง Cyber Warfare ที่เป็นไปได้กับสิ่งแวดล้อมของตนเอง และทิศทางที่ต้องเดินไปในอนาคต เพราะถ้า หากมี แนวความคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Cyber Strategy Concept) ทีผ่ ดิ ฝัง่ ผิดฝาหรือเพีย้ นๆ ตั้งแต่ต้นแล้ว ในกาลข้างหน้าจะเป็นเรื่องที่ แก้ยาก เสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณไป อย่างน่าเสียดาย เพราะเทคโนโลยีด้านนี้เป็น
เรื่องที่หาได้ไม่ง่าย และต้องลงทุนสูงมาก
แนวความคิดยุทธศาสตร์ ไซเบอร์เพื่อ การป้องกันประเทศ Cyber Strategy for National Defense Concept
ก่ อ นการเกิ ด แนวความคิ ด ยุ ท ธศาสตร์ ไซเบอร์ เ พื่ อ การป้ อ งกั น ประเทศของชาติ นั้ น ต้ อ งมองไปถึ ง ภาพที่ ใ หญ่ ก ว่ า ที่ เ ป็ น พื้นฐานในการขับเคลื่อนและไล่ล�ำดับกันลงมา คือ เรือ่ งของรัฐธรรมนูญ ผลประโยชน์แห่งชาติ วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละนโยบายความมั่ น คงชาติ อ�ำนาจหน้าทีข่ องกระทรวงกลาโหม จนกระทัง่ มาถึ ง ระดั บ ของ นโยบาย รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงกลาโหม เป็นต้น ข้อมูลส�ำคัญเหล่านี้ จะเป็นตัวก�ำหนดกรอบทิศทางในการเดินหน้า ของแนวความคิ ด ยุ ท ธศาสตร์ ไ ซเบอร์ เ พื่ อ การป้ อ งกั น ประเทศ ต่ อ ไป ซึ่ ง อาจอธิ บ าย อย่างง่ายๆ โดยใช้ชุดแบบจ�ำลองแนวความ คิดดังนี้
CONCEPT Objective CSNDC DOM CARE AID 33
๑. Objective : หลักวัตถุประสงค์ : ใน ระดับชาติ ได้มีการกล่าวไว้อย่างกว้างๆ และ ครอบคลุ ม แล้ ว คื อ การมี ศั ก ยภาพในการ ป้องกันประเทศ สนับสนุนภารกิจทีไ่ ม่ใช่การรบ และสามารถผนึ ก ก� ำ ลั ง ของกองทั พ และทุ ก ภาคส่วน ในการเผชิญกับภัยคุกคามประเทศใน ทุกรูปแบบ ซึ่งใคร่ครวญอย่างไร Cyber ก็ต้อง เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องแน่ๆ ๒. CSNDC : แนวความคิดยุทธศาสตร์ ไซเบอร์ เ พื่ อ การป้ อ งกั น ประเทศ(Cyber Strategy for National Defense Concept) : เป็นกระบวนการท�ำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ ของชาติ ย่ อ ยสลายให้ ล ะเอี ย ดลงมาอี ก ว่าสุดท้ายแล้วต้องการอะไร ๓. DOM : เป็นผลผลิตจากกระบวนการ 34
ของ CSNDC ท� ำ ให้ เ ราทราบว่ า จะต้ อ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด อะไรขึ้ น มาบ้ า งตามแนวความคิ ด ยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ ๓.๑. D : Defensive : เชิงป้องกัน : ต้อง สามารถรับมือกับภัยคุกคาม Cyber ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ๓.๒. O : Offensive : เชิงรุก : สามารถ เป็นฝ่ายรุกหรือท�ำสงคราม Cyber ได้ ๓.๓. M : Mobilization : การระดม สรรพก� ำ ลั ง : สามารถบู ร ณาการขี ด ความ สามารถด้าน Cyber จากทุกองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งการพัฒนาและร่วมมือกับ มิตรประเทศ ๔. CARE : เป็นชุดความคิดเพื่อพิจารณา ว่า การเกิดขึน้ ของ DOM นัน้ ควรค�ำนึงถึงเรือ่ ง
ราวที่องค์ประกอบส�ำคัญอะไรบ้าง เพื่อท�ำให้ เกิดความเชื่อมั่น หรือเป็นการคิดแบบบริหาร ความเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุปสรรคใน วันข้างหน้า ๔.๑. C : Cyber Technology : คือ กระบวนการบริหารจัดการ ให้ได้มาและใช้งาน ทัง้ Hardware Software และ Peopleware ๔.๒. A : Allied Force : คื อ การ บูรณาการและแสวงหาความร่วมมือกับมิตร ประเทศ ๔.๓. R : Restriction : คือขีดจ�ำกัด ด้ า นงบประมาณ บุ ค ลากร หรื อ แม้ ก ระทั่ ง สถานการณ์เป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้เทคโนโลยีด้าน นี้ ๔.๔. E : Environment : คือภัยคุกคาม นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม
ของไซเบอร์ ที่ ม าในรู ป แบบต่ า งๆ รวมไป ถึ ง กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง กฎหมายในราช อาณาจั ก รและกฎหมายสากล ตลอดไป จนกระทั่ ง ความคาดหวั ง ที่ รั ฐ บาลมอบให้ กระทรวงกลาโหม ในเรือ่ งความมัน่ คงทัง้ ปวง ๕. AID : เป็นผลผลิตสุดท้ายที่เห็นขีด ความสามารถด้านไซเบอร์ที่ชัดเจน เหมือน เป็นการอธิบาย DOM ในอีกมิติหนึ่ง จ�ำกัน ง่ายๆ คือ ป้องกัน ป้องปราม ผนึกก�ำลัง ๕.๑. A : Advantage : มีศักยภาพและ ความพร้ อ ม สามารถชิ ง ความได้ เ ปรี ย บใน ปฎิบัติการไซเบอร์ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
๕.๒. : Integration : สามารถบูรณาขีด ความสามารถได้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไป ถึงประเทศพันธมิตร ๕.๓. D : Disadvantage : สามารถปฎิบตั ิ การเชิงรุก จ�ำกัดเสรีหรือลดขีดความสามารถ ของฝ่ายตรงข้ามได้ โลกในยุ ค ปั จ จุ บั น โอกาสที่ ข ้ อ ขั ด แย้ ง ในภูมิภาคระหว่างประเทศ จะไปไกลถึงขั้น สงครามท�ำลายล้างกันให้สนิ้ ซากนัน้ มีความเป็น ไปได้น้อยมาก เนื่องจากโลกมีความเป็นอารยะ มากขึ้น มีองค์กรระหว่างประเทศคอยพิทักษ์ หรื อ ดู แ ลในเรื่ อ งมนุ ษ ยธรรมอย่ า งเข้ ม แข็ ง
ซาตานที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์อาจมีมาก แต่ ก็มีความเป็นไปได้น้อยที่คนประเภทนี้จะได้ เป็นผู้น�ำประเทศ เหมือนอย่างในอดีตที่ผ่าน มาของโลกใบนี้ หากแต่ ว ่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง ในเรื่ อ งความ ขัดแย้งและบาดหมางยังคงมีอยู่ และมีการ เปลี่ยนวิธีการท�ำลายกัน ตามเทคโนโลยีใน ยุคสมัย โลกในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ต้องหนีไม่ พ้นภัยคุกคามด้าน Cyber ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผลลัพธ์จะมีค่ามหาศาลต่อความสูญเสียของ ระบบเศรษฐกิจของชาติ กระทบต่อความเป็น อยูข่ องประชาชนในวงกว้างและในเกือบจะทุก เรื่องราวของชีวิตประจ�ำวัน เป็นความจ�ำเป็นและส�ำคัญอย่างยิ่งยวด ที่ประเทศต้องมีการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยที่มีภารกิจและที่เป็นผู้น�ำ ในเรือ่ งนี้ ถูกวางไว้ที่ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศกลาโหม (ทสอ.กห.) ซึ่งก�ำลังอยู่ ในขั้ น การพั ฒ นาสร้ า งหรื อ น� ำ แนวความคิ ด ยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ (Cyber Strategy for National Defense Concept) ไปสู่ความเป็นไปได้ ยอมรับได้ ปฎิบัติได้ เชื่อถือได้ และคาดหวังหรือเป็นที่พึ่ง ได้จากรัฐและประชาชน ต่อไป
35
ดุลยภาพทางการทหารของประเทศอาเซียน
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพบกไทย ประจ�ำการที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบกไทยใช้สีเขียวกับ อากาศยาน 36
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ป
ระเทศอิ น โดนี เ ซี ย จั ด ซื้ อ เครื่ อ ง บิ น เฮลิ ค อปเตอร์ รุ ่ น ใหม่ แ บบ เอดั บ เบิ้ ล ยู - ๑๓๙ (AW-139) รวม ๓ เครื่อง จากประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อใช้ในภารกิจทาง ด้านพลเรือนสนับสนุนทางด้านอุตสาหกรรม แก๊สและน�ำ้ มันในทะเล อินโดนีเซียจะได้รบั มอบ เครื่องบินระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ เนื่ อ งจากเป็ น เครื่ อ งบิ น เฮลิ ค อปเตอร์ ช นิ ด สองเครื่ อ งยนต์ จึ ง สามารถปฏิ บั ติ ก ารทาง ทะเลได้ดี เฮลิคอปเตอร์รุ่นเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) พัฒนาร่วมกันระหว่างอิตาลีกับ สหรัฐอเมริกา โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดวาเรเซ (Varese) ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพอากาศอิตาลี น�ำเข้า มีคนงาน ๑๓,๐๕๐ นาย เครือ่ งบินต้นแบบได้ขนึ้ ประจ� ำการ ๒๐ เครื่อง เป็นรุ่นค้นหาและกู้ภัย (SAR) รวม ๑๕ เครื่อง ท�ำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ท�ำการบินทดสอบกว่า ๔,๐๐๐ ชั่วโมง ผ่านการรับรองของสมาพันธ์การบินนานาชาติ (FAA) เป็นเครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางที่ ใช้งานได้หลายภารกิจประกอบด้วย การขนส่ง ทางทหาร (ก�ำลังทหารและ VIP), การส่งกลับ สายแพทย์, การดับไฟป่า, การค้นหาและกู้ภัย (SAR) ทางทะเลและบนบก, การขนส่งบริเวณ ชายฝัง่ ทะเลและการลาดตระเวนทางทะเลเป็น เครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ใช้งานได้ ในภารกิจทางด้านทหารและในภารกิจทางด้าน พลเรือนเครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์แบบ เอดับเบิล้ ยู -๑๓๙ (AW-139) นั ก บิ น ๒ นาย,บรรทุ ก ผู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง,ขนาดยาว ๑๓.๗๗ เมตร, เส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดหลัก ๑๓.๘ เมตร (ใบพัดหลักชนิด ๕ กลีบ และใบพัดหลังชนิด สี่กลีบ), สูง ๓.๗๒ เมตร, กว้าง ๒.๒๖ เมตร น�้ำหนัก ๓,๖๒๒ กิโลกรัม (๗,๙๘๕ ปอนด์), น�ำ้ หนักบินขึน้ สูงสุด ๖,๔๐๐ กิโลกรัม (๑๔,๑๑๐ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) บรรทุกผู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง ปอนด์), เครือ่ งยนต์เทอร์โบชาฟท์ (PT6C-67C) ขนาดยาว ๑๓.๗๗ เมตร, เส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดหลัก ๑๓.๘ เมตร (ใบพัดชนิด ๕ กลีบ), ให้ก�ำลังขนาด ๑,๕๓๑ แรงม้า (๒ เครื่อง), สูง ๓.๗๒ เมตร, กว้าง ๒.๒๖ เมตร, น�้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๖,๔๐๐ กิโลกรัมและความเร็ว อั ต ราสิ้ น เปลื อ งเชื้ อ เพลิ ง ๖๕๐ ลิ ต รต่ อ เดินทาง ๓๐๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ในภาพส�ำหรับใช้งานด้านพลเรือนประเทศมาเลเซีย) ชั่วโมง, ความเร็วสูงสุด ๓๑๐ กิโลเมตรต่อ ชั่ ว โมง, ความเร็ ว เดิ น ทาง ๓๐๖ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, พิสัยบินไกล ๑,๒๕๐ กิโลเมตร และเพดานบินสูง ๖,๐๙๖ เมตร (๒๐,๐๐๐ ฟุ ต ) สามารถจะติ ด ตั้ ง ปื น กลขนาด ๗.๖๒ มิลลิเมตร (FN MAG ได้สองกระบอก ทางด้าน ประตูทั้งสองข้าง) ในภารกิจการค้นหาและ กู้ภัย (SAR) ในพื้นที่การรบท�ำการผลิตขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๕๔๖ กองทั พ อากาศอิ ต าลี น� ำ เครื่ อ งบิ น เฮลิคอปเตอร์เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) เข้า ประจ�ำการใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย (SAR รวม ๑๕ เครือ่ ง) และการขนส่งรวม ๒๐ เครือ่ ง, หน่วยยามฝั่งสเปน (SMSA) ได้ประจ�ำการด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู๑๓๙ (AW-139) รวม ๙ เครื่องขณะปฏิบัติการเหนือทะเล (ในภาพของหน่วยยามฝั่งสเปน) หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
37
กองทั พ อากาศสหรั ฐ อาหรั บ เอมิ เ รตส์ ประจ�ำการ ๒๔ เครื่อง, หน่วยยามฝั่งสเปน (SMSA) ประจ�ำการ ๙ เครือ่ ง, หน่วยยามฝัง่ ญีป่ นุ่ (JCG) ประจ�ำการ ๑๔ เครื่อง (จัดซื้อเพิ่มเติม และรอรับมอบอีก ๑๐ เครื่อง) และกองทัพ อากาศกาต้าร์ประจ�ำการ ๑๘ เครื่อง ประเทศ ที่ ไ ด้ น� ำ เข้ า ประจ� ำ การในกองทั พ รวม ๑๕ ประเทศ (ประเทศในทวีปเอเชียประจ�ำการรวม ๖ ประเทศประกอบด้วยหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น (JCG) รวม ๒๔ เครื่อง, หน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้ (KCG) รวม ๓ เครื่อง (SAR), บังคลาเทศรวม ๒ เครื่อง (SAR), กาต้า รวม ๑๘ เครื่อง (รุ่นใช้ งานทั่วไป), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รวม ๑๕ เครื่อง รอรับมอบอีก ๙ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๘ รวมประจ�ำการทั้งสิ้น ๒๔ เครื่อง และไทย) และใช้งานในภารกิจทางด้านพลเรือนรวม ๑๗ ประเทศ (ประเทศในทวีปเอเชียน�ำเข้าประจ�ำการ ๔ ประเทศ ประกอบด้วยด้วย กาต้าร์รวม ๑๖ เครือ่ ง (ใช้สนับสนุนการขุดเจาะแก็สและบ่อน�้ำมัน), มาเลเซีย, ญีป่ นุ่ (ต�ำรวจและหน่วยงานดับไฟป่า) รวม ๑๙ เครื่อง และอินโดนีเซีย รอการรับ มอบส่วนใหญ่ใช้สนับสนุนในภารกิจสนับสนุน แท่นขุดเจาะแก๊สและบ่อน�้ำมันในทะเล และ การค้นหากู้ภัยทางทะเล) ป ร ะ เ ท ศ ม า เ ล เ ซี ย น� ำ เ ค รื่ อ ง บิ น เฮลิ ค อปเตอร์ แ บบเอดั บ เบิ้ ล ยู - ๑๓๙ (AW139) ปฏิบัติการทางด้านหน่วยงานทางด้าน ความมั่นคงทางทะเล (MMEA) รวม ๓ เครื่อง ได้รับมอบเครื่องบินเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ได้จัดซื้อเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ เป็น เงิน ๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้ในภารกิจค้นหา และกู ้ ภั ย (SAR) ลาดตระเวนชายฝั ่ ง และ ความมั่นคงทางทะเล สามารถปฏิบัติการได้ นาน ๕ ชั่วโมง ๕๖ นาทีหน่วยงานดับไฟป่า และกู้ภัยมาเลเซีย (Malaysian Fire and Rescue Department) ได้จัดซื้อเครื่องบิน 38
หน่วยยามฝัง่ ญีป่ นุ่ (JCG) ประจ�ำการด้วยเครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิล้ ยู-๑๓๙ (AW-139) รวม ๑๔ เครื่อง (รอรับมอบอีก ๑๐ เครื่อง) พร้อมด้วยกว้านที่สามารถจะดึง ผูป้ ระสบภัยขึน้ จากทะเลน�ำขึน้ สูเ่ ครือ่ งบิน หน่วยยามฝัง่ ญีป่ นุ่ (JCG) มีกำ� ลัง ๑๒,๖๐๐ นาย มีเครื่องบิน ๗๓ เครื่อง (แยกเป็นเครื่องบิน ๒๗ เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ ๔๖ เครื่อง)
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) เครื่องยนต์ เทอร์ โบชาฟท์ (P&W PT6C-67C) ให้กำ� ลังขนาด ๑,๕๓๑ แรงม้ารวม ๒ เครือ่ งเส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัด หลัก ๑๓.๘ เมตร (ใบพัดชนิด ๕ กลีบ) อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ๖๕๐ ลิตรต่อชั่วโมง และ ความเร็วสูงสุด ๓๑๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) หน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้(KCG) ใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล (SAR) ประจ�ำการรวม ๓ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๓ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพบกไทย ขณะท�ำการบิน เฮลิ ค อปเตอร์ รุ ่ น ใช้ ง านทางพลเรื อ นแบบ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) รวม ๒ เครื่อง ได้รับมอบเครื่องบินเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และบริษัทการบินภายในประเทศ มาเลเซีย (Weststar Aviation) ที่สนับสนุน การขุดเจาะแก๊สและน�้ำมันในทะเล (ท�ำการ บินไปลงที่แท่นขุดเจาะเพื่อจะส่งเจ้าหน้าที่ ทางเทคนิคไปประจ�ำแท่นขุดเจาะน�้ำมันพร้อม ทั้งน�ำเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคที่พ้นหน้าที่กลับสู่ ฐานปฏิบัติการบริเวณชายฝั่ง, การส่งชุดการ ซ่อมบ�ำรุงแท่นขุดเจาะน�้ำมัน และการขนย้าย ฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคจากแท่นขุดเจาะ น�้ำมันสู่ฐานปฏิบัติการชายฝั่งทะเล) มีใช้งาน ๙ เครื่องและได้จัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๒ เครื่อง ได้รับมอบเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ใช้ในภารกิจขนส่งเจ้าหน้าที่ (VIP) กองทัพบกไทย (RTA) ประจ�ำการด้วย เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) ผลิตจากประเทศอิตาลี รวม ๒ เครื่องได้รับอนุมัติให้จัดซื้อเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ท� ำ การแยกชิ้ น ส่ ว นมาทางเรื อ เดินทางมาถึงประเทศไทยเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ท�ำการประกอบเครื่องบินและทดสอบ ได้รับมอบเข้าประจ�ำการเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ บริเวณลานอเนกประสงค์ภายใน กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
เครื่ อ งบิ น เฮลิ ค อปเตอร์ เอดั บ เบิ้ ล ยู - ๑๓๙ (AW-139) กองทั พ อากาศอั ง กฤษ ขณะท�ำการฝึกกู้ภัยบริเวณชายฝั่งทะเล
39
เปิดประตู
สู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ เทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (MEMS) กับการใช้งานทางทหาร
จ
ากความต้ อ งการอุ ป กรณ์ ที่ มี ข นาดเล็ ก สมรรถนะสู ง และมี ร าคาไม่ สู ง ในหลายๆ อุ ต สาหกรรม ท� ำ ให้ เ ทคโนโลยี ร ะบบไฟฟ้ า เครื่ อ งกลจุ ล ภาค หรื อ Micro-ElectroMechanical System (MEMS) ได้รบั การพัฒนา อย่างกว้างขวาง ซึ่งระบบ MEMS ส่วนใหญ่ จะใช้ ใ นเครื่ อ งมื อ ตรวจจั บ (Sensor) และ 1 Actuator ชนิดต่างๆ เพื่อวัดค่าต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน ความเร่ง เป็นต้น คาดว่าในปี ค.ศ.๒๐๑๗ เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าเครื่องกล จุ ล ภาคจะมี มู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ สู ง ถึ ง หนึ่ ง หมืน่ สองพันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่ ส่วนแบ่งทางการตลาดของอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เครื่องกลจุลภาคสูงสุด เป็นอุปกรณ์ตรวจวัด ทางอุตสาหกรรมและยานยนต์ต่างๆ รองลง มาเป็นอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ดูรูปที่ ๑ ประกอบ) ระบบ MEMS คือ ระบบที่มีขนาดเล็ก (micro-scale) ที่ ป ระกอบด้ ว ยสองส่ ว น หลัก ได้แก่ส่วนที่เป็นระบบเครื่องกล เช่น microgear หรื อ microlever เป็ น ต้ น และส่ ว นที่ เ ป็ น อิ เ ล็ ก โทรนิ ก โดยส่ ว นที่ เป็ น เครื่ อ งกลจะเคลื่ อ นไหวหรื อ เคลื่ อ นที่ เพื่ อ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ ดหน้ า ที่ ห นึ่ ง และระบบ อิ เ ล็ ก โทรนิ ก จะควบคุ ม การเคลื่ อ นไหวของ Actuator คืออุปกรณ์ที่ใช้ส�ำหรับควบคุมการท�ำงานของ วาล์ว เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการควบคุม ซึ่งจุดมุ่งหมาย ของการใช้ Actuator ก็คือความเที่ยงตรงของต�ำแหน่ง การเคลื่อนที่ของวาล์วโดยอาศัยการควบคุมจากสัญญาณ ไฟฟ้า
ระบบเครื่องกล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ของระบบเครื่องกล โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าเครื่องกล จุลภาค จะหมายรวมถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กั บ วั ส ดุ ห รื อ กระบวนการที่ ใ ช้ ใ นการสร้ า ง ชิ้ น ส่ ว น MEMS หรื อ การประกอบรวมชิ้ น ส่วน MEMS ตลอดจนการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ ที่เป็น MEMS นอกจากนี้ ระบบขนาดเล็ก (Microsystem) จ�ำพวก microchemical reactor หรือ microthermal system และ
smart material ซึ่ ง ถู ก ใช้ ใ นลั ก ษณะของ เครื่องตรวจจับ (sensor) หรือแหล่งก�ำเนิด พลังงาน (power source) จะจัดเป็น MEMS ด้วยเช่นกัน ในทางทหารนั้น เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า เครื่องกลจุลภาค มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนา ยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในกองทัพมากมายหลาย ประเภท ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีกระสุน ปัจจุบันเทคโนโลยีกระสุนส่วนใหญ่จะตั้งเป้า ไปที่การพัฒนาให้มีความแม่นย�ำสูง (High-
๑
40
รูปที่ ๑ แนวโน้มอุตสาหกรรม MEMS สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
precision Ammunition) เพื่อให้บรรลุผล ดั ง กล่ า วจะต้ อ งอาศั ย เทคโนโลยี ด ้ า นการ ข่าว (Intelligence) การน�ำวิถี (Guidance) และการควบคุ ม (Terminal Control) 2 Power MEMS Technology สามารถ น�ำมาใช้กับระบบน�ำวิถีและระบบควบคุมของ กระสุนความแม่นย�ำสูง หรือการประยุกต์ใช้ Microthruster ที่อาศัยเทคโนโลยี MEMS ในส่วนควบคุมการน�ำทาง (guidance control) ส�ำหรับอาวุธน�ำวิถี ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมาก ในเรื่ อ งของการขยายระยะยิ ง และในขณะ เดียวกันจะสามารถลดขนาดและน�้ำหนักของ กระสุนและอาวุธน�ำวิถีได้อีกด้วย ระบบ ESA (Electronically Steerable Antenna) ที่ ใ ช้ กั บ ระบบเรดาร์ ท างทหาร เป็ น อี ก หนึ่ ง ระบบที่ ต ้ อ งใช้ MEMS สวิ ท ช์ รูปที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี MEMS (ที่มา Yole Research)
๒ Power MEMS Technology จะหมายถึง เทคโนโลยี ขนาดจุ ล ภาคที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การผลิ ต พลั ง งาน (power generation) และการแปรสภาพพลั ง งาน (energy conversion)
รูปที่ ๓ ระบบกระสุนความแม่นย�ำสูงที่ต้องใช้ Microthruster Chip รูปที่ ๔ Thurster Chip ที่อาศัย เทคโนโลยี MEMS ผลงานวิจัยและ พัฒนาของ DARPA สหรัฐอเมริกา
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
41
รูปที่ ๕ ระบบ ESA ที่ใช้ MEMS switch (ที่มา MEMS Journal)
รูปที่ ๖ ระบบ Land Warrior ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย อาวุธประจ�ำกาย หมวกเหล็ก คอมพิวเตอร์ ระบบสือ่ สารแบบดิจติ อลและเสียง ระบบระบุตำ� แหน่งพิกดั เครือ่ ง แบบพร้อมเครื่องป้องกัน และยุทโธปกรณ์ประจ�ำตัว
42
จ�ำนวนหลายพันอันต่อหนึง่ ระบบ ซึง่ คุณสมบัติ ที่ ส� ำ คั ญ คื อ มี น�้ ำ หนั ก เบา ใช้ พ ลั ง งานน้ อ ย และค่าใช้จ่ายต�่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ Mechanically Gimbaled Antenna ระบบ Land Warrior ซึง่ เป็นระบบทีผ่ นวก รวมอาวุธและยุทโธปกรณ์ประจ�ำกายทหารราบ ทั้ ง หมดเข้ า ด้ ว ยกั น และอาศั ย เทคโนโลยี ที่ ก้าวหน้าเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและ ประสิทธิภาพของทหารเป็นรายบุคคลตั้งแต่ การตระหนักรูถ้ งึ สถานการณ์ ขีดความสามารถ ในการสร้างความเสียหายต่อข้าศึก และความ อยู่รอดในสนามรบ เนื่องจากระบบทั้งหมดจะ เป็นสิง่ ทีอ่ ยูบ่ นตัวของทหาร ขนาดและน�ำ้ หนัก จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญยิง่ เทคโนโลยี MEMS จึงเป็น ส่วนประกอบส�ำคัญของระบบอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เห็นได้ชดั ว่า ระบบ MEMS เป็นเทคโนโลยี แบบ dual use กล่าวคือสามารถใช้งานได้ท้ัง ทางทหารและในเชิงพาณิชย์ และมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นจึงมีระบบ MEMS แบบ ต่างๆ ให้เลือกใช้ในท้องตลาด ดังนั้นการเลือก ใช้ MEMS ในลักษณะ COTS (Commercialof-the-Shelf) จึงเป็นเรื่องปกติในการวิจัย และพั ฒ นาเทคโนโลยี ป ้ อ งกั น ประเทศของ หน่วยงานต่างๆ ทัว่ โลก ซึง่ หมายรวมถึงสถาบัน เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการคอยติดตามสถานภาพ และความก้ า วหน้ า ของเทคโนโลยี MEMS จึงเป็นสิ่งที่ควรด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
รูปที่ ๗ ระบบ Advanced Soldier System ของญี่ปุ่น หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
43
การบริหารอ�ำนาจ
จุฬาพิช มณีวงศ์
อ� ำ นาจเป็ น เครื่ อ งมื อ หลั ก ในการน� ำ และบริหารคน ทีมและระบบ ซึ่งผู้น�ำทุกคน ต้ อ งเข้ า ใจและเรี ย นรู ้ เ พราะไม่ มี ก ารสอน ในหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยใดๆ มีแต่คำ� กล่าว ไว้ว่าอ�ำนาจเป็นสิ่งที่มีคุณมากและโทษก็มาก ด้วยเช่นกัน มันช่วยให้ผู้น�ำท�ำงานได้ส�ำเร็จ ขณะเดี ย วกั น มั น ก็ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การเสพติ ด หลงตน ประมาทและเสียคนมามากนักต่อนัก จากประวัติศาสตร์ท�ำให้เราเรียนรู้ได้อย่างดี ว่าผู้ที่มีอ�ำนาจแล้วไม่รู้จักใช้หรือหลงอ�ำนาจ และใช้อย่างไม่เหมาะสม ล้วนน�ำมาซึ่งหายนะ อ�ำนาจที่ผู้น�ำจะต้องบริหารให้ได้มีองค์ประกอบ หลายประการ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างอ�ำนาจ 44
ในตนเอง อ�ำนาจจากการยอมรับ และอ�ำนาจ สามารถรองรับหรือรักษาไว้ได้ ผู้น�ำที่มีอ�ำนาจ ตามต�ำแหน่ง สัมพันธภาพระหว่างอ�ำนาจที่ มากนั้นใจต้องใหญ่ จิตต้องช�ำนาญ กรรมต้อง ผู้น�ำต้องรับผิดชอบโดยตรง และอ�ำนาจที่ผู้น�ำ สนับสนุน ความสัมพันธ์ต้องเอื้ออ�ำนวยและ ต้องร่วมรับผิดชอบหากผู้น�ำสามารถบริหาร ร่างกายต้องอยูใ่ นการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ระบบเหล่านีไ้ ด้ดว้ ยดี อ�ำนาจจะเป็นเครือ่ งมือที่ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับใจต้องยอดเยี่ยม ทรงประสิทธิภาพของผูน้ ำ� แต่หากบริหารไม่ได้ เพราะเมื่อจิตกับใจท�ำงานร่วมกันเป็นความ นึ ก คิ ด แล้ ว จะมี พ ลั ง บั ง คั บ ความอยากและ อ�ำนาจจะเป็นอาวุธร้ายท�ำลายตัวผู้น�ำเอง หากแบ่งอ�ำนาจออกเป็น ๓ อย่าง คือ ไม่อยาก รวมถึงอารมณ์ที่เป็นตัวก่อได้ทั้งความ อ�ำนาจในตัวเอง อ�ำนาจจากการยอมรับและ สุขและความทุกข์ ส�ำหรับ อ�ำนาจจากการยอมรับ เกิดจาก อ�ำนาจตามต�ำแหน่งแล้ว อ� ำนาจในตั วเอง จะเป็นด่านแรกของการสร้างอ�ำนาจอื่นๆ หาก หลายตัวแปรประกอบกัน อาทิ ความเข้าใจ ใครก็ต ามไม่ มีอ� ำ นาจตรงนี้ จ ะเป็ น เรื่ อ งยาก ผูค้ นในทุกสถานการณ์ การยอมรับทีก่ ว้างขวาง มากที่จะได้รับอ�ำนาจอื่นๆ หรือหากได้มาก็ไม่ การสร้ า งบุ ญ คุ ณ ความเป็ น ผู ้ มี ผ ลงานแห่ ง จุฬาพิช มณีวงศ์
ความส� ำ เร็ จ ชั ด เจน มี ม นุ ษ ยสั ม พั น ธ์ เ ป็ น กั น เองแต่ เ ป็ น อิ ส ระ การเป็ น กุ ญ แจส� ำ คั ญ ทางข้อมูลหรือสายงาน และความมียุทธวิธีที่ เหมาะสมกับทุกฝ่าย ปัญหาใหญ่ของโลกทุกวันนี้ คือความไม่เข้าใจกัน ก่อให้เกิดสิง่ ต่างๆ ต่อเนือ่ ง ตามมามากมาย เช่น การคิดผิด การตัดสินใจ ผิดพลาด การพูดผิด การปฏิบัติการผิดพลาด ความไม่สมานสามัคคี ความไม่ร่วมมือ การ กล่าวหา ความบาดหมาง ความแตกแยก การตัง้ ตนเป็นศัตรูและสงครามนานารูปแบบ หากทุกคน เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเองและหันมาท�ำความ เข้าใจกันและกัน ปัญหาทั้งหลายก็จะหายไป เกิดพลังสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามยังประโยชน์แก่ ทุกฝ่ายได้สมควร ใครก็ตามที่มีความเข้าใจ ผูอ้ นื่ ยิง่ มากเท่าใดก็จะท�ำให้เป็นทีร่ กั มากเท่านัน้ อย่างน้อยๆ ผู้น�ำจะต้องหมั่นเข้าใจผู้อื่นอยู่ เสมอ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนอยาก เป็นคนดีแม้จะยังดีไม่ได้ท้ังหมด มนุษย์ทุกคน อยากเก่งแม้จะเก่งไม่ได้อย่างที่อยากก็ตาม มนุ ษ ย์ ทุ ก คนอยากเป็ น ที่ รั ก แม้ เ ขาจะยั ง รั ก คนอื่นไม่เป็นก็ตาม มนุษย์ทุกคนต้องการการ พัฒนาตนเอง
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
การเป็ น ผู ้ น� ำ ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ อย่ า ง กว้างขวาง มีหลักง่ายๆ อยู่ว่า จงยอมรับผู้อื่น แล้วผู้อื่นจะยอมรับท่าน แต่การยอมรับคน นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องยอมรับทุกสิ่ง ในตัวเขาเพราะธรรมดามนุษย์มที งั้ กิเลสตัณหา ปัญญา คุณธรรมและความโง่กันถ้วนหน้า ใน ฐานะผู้น�ำย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องพาทุกคนไปสู่ สภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งการจะพาใจดวงใดของใครไป สู่สภาวะที่ดีขึ้นได้จะต้องท�ำให้เขายอมรับเรา เชื่อฟังเรา เราจึงจะน�ำเขาได้ เขาจะยอมรับ เราก็เมื่อเรายอมรับเขา หากเราดูหมิ่นเหยียด หยามเขาแล้วก็จะมีแต่เป็นศัตรูท�ำลายล้างกัน และตกต�่ำกันทั้งคู่ แต่ถ้าเรายอมรับเขาและ เขายอมรับเราก็จะเป็นการยกระดับกันและ กัน เป็นประโยชน์สุขกันทุกฝ่าย เมื่อคิดจะเป็น ผูน้ ำ� ให้ยงิ่ ใหญ่ตอ้ งยอมรับชนทุกชัน้ ทุกเพศวัย ทุกระดับการศึกษา ทุกศาสนา ทุกรายได้ นอกจากนี้ ผู้น�ำที่จะได้รับการยอมรับ และมีอ�ำนาจเหนือผู้อื่นจะต้องรู้จักการสร้าง บุญคุณ บุญคุณเป็นหนี้ชนิดหนึ่งซึ่งมักจะต้อง ชดใช้ด้วยกลไกกรรมเพราะคนส่วนใหญ่ยังมี ความเชื่อว่า หากไม่ใช้หนี้บุญคุณจะไม่เจริญ
คนที่เป็นหนี้บุญคุณใครจึงมักจะเกิดส�ำนึกที่ จะทดแทน ดังนั้นหากเลือกท�ำความดีกับคน ที่มีแนวโน้มกตัญญูก่อนจะยังความเจริญแก่ ทุกฝ่าย หากผู้น�ำได้สร้างบุญคุณแก่คนไว้มาก ย่อมมีผู้ยินดีพลีตนเพื่อเขามากและยอมรวม พลังท�ำการใหญ่ได้ ส่วนคนใจแคบไม่สร้างบุญคุณ กั บ คนอื่ น จึ ง ไม่ มี ใ ครยิ น ดี ท� ำ อะไรเพื่ อ เขา สั่งก็แล้ว ให้รางวัลก็แล้ว ไม่มีใครตั้งใจท�ำ หรือ ท�ำก็สักแต่ว่าท�ำอย่างไม่เต็มใจ ผู้น�ำที่ยิ่งใหญ่ ย่อมยินดีช่วยคนยามเดือดร้อนจึงได้บริวารที่ ภักดีโดยง่าย แต่นกั ประจบสอพลอมักพยายาม ช่วยคนเวลาเขาได้ดี พวกนี้เป็นเพียงมิตรเทียม ส่วนพวกดูหมิน่ เหยียดหยามและไร้นำ�้ ใจต่อคน เดือดร้อน ไร้เมตตา ยากที่จะมีโอกาสเป็นผู้น�ำ ทีย่ งิ่ ใหญ่ ผูน้ ำ� ทีก่ ำ� ลังได้ดคี วรรีบใช้โอกาสสร้าง บุญคุณอันยิ่งใหญ่แก่ผองชน การสร้างความส�ำเร็จให้เกิดขึ้นจะเป็น อีกปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการยอมรับอีกประการ หนึ่ง ความส�ำเร็จที่มีคุณค่า มีตั้งแต่การค้นคว้า สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ ความส�ำเร็จ ทีค่ นจ�ำนวนมากปรารถนา ความส�ำเร็จทีส่ ำ� เร็จ ได้ ย ากและความส� ำ เร็ จ ที่ ยั ง ความพึ ง พอใจ
45
ให้กับคนทั้งหลาย ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียกร้อง ให้คนสนใจหรือยอมรับ แต่ให้ก้มหน้าก้มตา สร้างความส�ำเร็จอย่างชาญฉลาด ผู ้ น� ำ ในยุ ค ประชาธิ ป ไตยยั ง ต้ อ งสร้ า ง ความเป็ น กั น เอง ไม่ ถื อ ตั ว ตระหนั ก รู ้ ถึ ง ความต่างของคนทั้งในด้านความเชื่อและต่าง วัฒนธรรม รู้จักจ�ำแนกความนิยม ความเชื่อ ความหลงใหลของแต่ ล ะคนและแต่ ล ะ ชุมชน เพื่อจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสม หลักกว้างๆ คือ การยอมรับความแตกต่าง ประนีประนอมศักดิ์ศรี จรรโลงความดีและ ประสานประโยชน์ทุกฝ่าย ผู้น�ำจะต้องไม่ยึด สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสุดโต่งแต่พร้อมพิจารณา สิ่งใหม่ๆ และกลั่นกรอง ผสมผสานกับสิ่งเก่าๆ ให้ลงตัว อ�ำนาจสุดท้าย คือ อ�ำนาจตามต�ำแหน่ง ซึ่ ง ถื อ เป็ น อ� ำ นาจที่ ม าพร้ อ มกั บ หน้ า ที่ แ ละ ความรับผิดชอบ แต่ละความรับผิดชอบจะถูก ก�ำหนดให้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจ เป็นอ�ำนาจ ตามกฎหมาย หรื อ ข้ อ ตกลงที่ ผู ้ น� ำ ที่ ด� ำ รง ต�ำแหน่งนั้นสามารถใช้ได้ หากไม่ใช้อาจเข้า ข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อ�ำนาจประเภทนี้ มีความชัดเจนตามกฎหมาย ผู้คนจึงพยายาม ไล่ลา่ เพือ่ ให้ได้มา แต่อำ� นาจตามต�ำแหน่งย่อมมี
46
องค์ประกอบของมัน ได้แก่ความเป็นผูม้ คี วามรู้ ความสามารถพิ เ ศษตรงตามต� ำ แหน่ ง การ แสดงบทบาทที่เหมาะสมกับหน้าที่ มีความรับ ผิดชอบ มีความสัมพันธ์อันพอดีกับผู้เกี่ยวข้อง ความเป็นที่เข้าใจได้รับความเห็นชอบ หรือ ฉันทานุมัติจากผู้มีอ�ำนาจ อ�ำนาจที่มนุษย์มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นอ�ำนาจ ในตัวเองทีส่ งั่ สมมา อ�ำนาจจากการยอมรับ หรือ อ�ำนาจจากหน้าที่และต�ำแหน่ง ขึ้นอยู่กับการ รู้จักใช้อย่างชาญฉลาด เพราะเป็นดาบสองคม ใช้ ดี ก็ เ ป็ น สุ ข ถ้ ว นหน้ า หากไม่ ดี ก็ อั น ตราย หันมาท�ำลายตนและครอบครัวได้ ผู้น�ำจึงควร ยึดหลักการใช้อ�ำนาจโดยใช้ตามข้อตกลงแห่ง ความรับผิดชอบ ใช้อย่างไม่มีอารมณ์ ใช้เพื่อ ประโยชน์สุขของทุกฝ่าย ใช้อย่างสอดคล้อง กับกฎระเบียบ และหลักคุณธรรม ใช้อย่างรู้ ชัดในผลต่อเนือ่ ง ใช้อย่างสมดุลระหว่างอ�ำนาจ แต่ละประเภทที่พึงมี ใช้อย่างพอดีในสัมพัทธ์ กับอ�ำนาจของผู้อื่น อย่าใช้อ�ำนาจท�ำให้ผู้อื่น เดือดร้อนโดยไม่จำ� เป็น ใช้อำ� นาจอย่างตระหนัก ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ค นมอบให้ นั่ น หมายความว่ า จงใช้อำ� นาจเพือ่ ประโยชน์ของคนทัง้ หลาย หาก ไม่สามารถควรคืนอ�ำนาจนั้นกลับไป เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ได้มอบอ�ำนาจให้ชั่วคราว
เพื่อกอปรภารกิจที่ยังประโยชน์แก่เขา หาก เขาคิดว่าผู้อื่นจะท�ำให้เขาได้ดีกว่า เขาก็อาจ ทวงอ�ำนาจนั้นไปให้คนอื่นได้เป็นเช่นนี้ทุกยุค ทุกสมัย ดังนั้นการได้มาซึ่งอ�ำนาจ และการ สูญเสียอ�ำนาจ หรือการถ่ายโอนอ�ำนาจจึงเป็น เรื่องปกติธรรมดาที่ผู้น�ำต้องเข้าใจ และท�ำใจ ไม่ได้ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้น�ำก็คือ เมื่อถึงเวลา ควรเปลี่ยนแปลง จงยินดีปรับเปลี่ยนก่อนที่ จะต้ อ งจ� ำ ใจเปลี่ ย น จะเป็ น การฉลาดและ สง่างามกว่า การรั ก ษาอ� ำ นาจเป็ น อี ก ขั้ น ตอนหนึ่ ง ที่ยาก คงเคยได้ยินค�ำกล่าวว่า การได้มาซึ่ง อ�ำนาจนัน้ ยาก แต่การรักษาอ�ำนาจ ยิง่ ยากเสีย กว่า ผูน้ ำ� พึงรูว้ ธิ รี กั ษาอ�ำนาจทุกประเภททีม่ อี ยู่ แล้วใช้ให้มั่นคงและเจริญงอกงามโดยค�ำนึงถึง ความมัน่ คงในระเบียบวินยั ความไม่กระทบตน ไม่กระทบคนอื่นโดยไม่จ�ำเป็น การรักษาไว้ ซึ่งส่วนรวม ความสม�่ำเสมอในการปฏิบัติงาน ความมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ความมี ระบบดุลอ�ำนาจอย่างเหมาะสม ต่อจากนั้น ผู้น�ำยังต้องพัฒนาอ�ำนาจที่มี อยู่เพื่อให้สามารถประกอบภารกิจได้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มความเข้มข้นขององค์ประกอบ แห่งอ�ำนาจ ยังความพึงพอใจในปัจจุบันและ
จุฬาพิช มณีวงศ์
สร้างความหวังที่ชัดเจนในอนาคต ดูดรับพลัง สัมพันธภาพในระบบอ�ำนาจสัมพัทธ์ และการ พัฒนาระบบอ�ำนาจอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะ ทุกอย่างมีเกิดขึ้น เจริญเติบโต เสื่อมสลาย ไปในที่สุด รวมทั้งภาวะอ�ำนาจของผู้น�ำ แต่ ก่อนจะสลาย จุดสูงสุดไปได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับ การพัฒนา ดังนั้นเมื่อมีอ�ำนาจแล้วต้องรู้จัก พัฒนาให้เต็มที่ ให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ยิ่ ง อ� ำ นาจมากเท่ า ใดก็ ยิ่ ง สร้ า งความส� ำ เร็ จ ยิ่งใหญ่ได้มากและง่ายเท่านั้น กล่าวว่าอ�ำนาจ คือเครือ่ งมือในการน�ำ มีอำ� นาจมากก็มเี ครือ่ งมือ พร้อมใช้ มีอ�ำนาจน้อยก็ขาดแคลนอุปกรณ์ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
หน้าทีห่ รือต�ำแหน่ง คุณสมบัตขิ องผูท้ คี่ วรได้รบั อ� ำ นาจชุ ด หนึ่ ง ๆ ขอบเขตความรั บ ผิ ด ชอบ และการตั ด สิ น ใจ ระบบการตรวจสอบ การใช้ อ� ำ นาจ และระยะเวลาแห่ ง การใช้ อ�ำนาจ ที่ส�ำคัญสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ ผู้น�ำ ควรสร้างระบบการสละอ�ำนาจด้วย ตั้งแต่การ สร้างทายาท สืบต่ออ�ำนาจ เพราะผู้น�ำคนหนึ่ง ไม่สามารถสืบทอดอ�ำนาจตลอดไปได้ หากไม่มี ระบบทายาทรองรับไว้ อาจเกิดผลเสียหายต่อ ภารกิจขององค์กรได้ ผู้น�ำที่มีทายาทสืบทอด ที่ดีเท่านั้นจักยิ่งใหญ่และด�ำรงอุดมการณ์ให้ ด�ำเนินสืบไป การสละอ�ำนาจอย่างเหมาะสมก่อนที่มี ความจ�ำเป็นบีบบังคับ จะท�ำให้ผนู้ ำ� ก้าวสูฐ่ านะ ที่เหมาะสม อย่าครองอ�ำนาจในสถานการณ์ การน�ำ ไม่มีอ�ำนาจเลยก็น�ำใครไม่ได้หรือได้ ไม่ เ หมาะสมต่ อ ไป จะสร้ า งความเสี ย หาย ทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะ หมดโอกาสก้าวหน้า เพียงเล็กน้อย ยากจะประสบความส�ำเร็จ ค�ำแนะน�ำจึงมีอยู่ว่า อย่ารังเกียจอ�ำนาจ และอาจพบกับความตกต�่ำ ปิดฉากอย่างไม่ มันเป็นสิง่ จ�ำเป็นต่อผูน้ ำ� แต่อย่าหลงใหลอ�ำนาจ คาดฝันได้ ไม่มีใครอยู่ค้�ำฟ้า ผู้น�ำต้องพร้อมสละ เพราะเครื่องมือมีไว้ให้ใช้ไม่ได้มีไว้ให้หลง อ� ำ นาจ เมื่อสละแล้วก็จะพบกับความเจริญ ขั้นตอนสุดท้ายของผู้น�ำคือ การมีตัวช่วย ร่วมรับผิดชอบ ยิ่งภารกิจใหญ่มากเท่าไรก็ยิ่ง สืบไป ทั้งหมดนี้คือ ศาสตร์แห่งอ�ำนาจ ที่ผู้น�ำ ต้องการคนช่วยและร่วมรับผิดชอบมากเท่านัน้ ในทุ ก ภาคส่วน ควรเรียนรู้และท�ำความเข้าใจ อ�ำนาจเป็นสิ่งที่คนมักแย่งชิงกันอยู่เนืองๆ ใน องค์กรใหญ่ ดังนั้นผู้น�ำต้องมีระบบการมอบ เพื่อให้ได้ชื่อว่า เป็นผู้น�ำที่พึงปรารถนา อ� ำ นาจที่ เ หมาะสมโดยจั ด เป้ า หมายภาระ 47
การสถาปนาราชธานี กรุงหงสาวดีใหม่ ๒๑๕๖ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์ 48
พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
ภาพวาด ฟิลปิ เดอ บริโต นิโคเต ชาวโปรตุเกสเป็นเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ในยุคทีส่ อง ของอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ห้วงปี พ.ศ.๒๑๔๒-๒๑๕๖ นาน ๑๓ ปี เป็นห้วงหนึง่ ของประวัติศาสตร์พม่า ที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าเมือง
อ
าณาจักรพม่าอยู่ในห้วงช่วงชิง ความเป็นใหญ่ ระหว่างราชวงศ์ ตองอู ที่ เ ป็ น เชื้ อ สายพระเจ้ า บุเรงนอง (King Bayinnaung) พระเจ้ากรุง อั ง วะ (Ava) ทรงมี ก องทั พ ขนาดใหญ่ เ มื่ อ ครอบครองเมืองทางด้านเหนือจึงมีก�ำลังทหาร เพิ่มมากขึ้น จึงยกกองทัพลงใต้สู่เมืองสิเรียม ปากแม่นำ�้ อิระวดี เป็นการปิดล้อมเมืองครัง้ ใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง มีการต่อสู้อย่างรุนแรงแต่สามารถ ยึดเมืองสิเรียมได้ส�ำเร็จ อาณาจักรพม่าแห่ง หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
กรุ ง อั ง วะ เริ่ ม ต้ น มี อ� ำ นาจเหนื อ เมื อ งต่ า งๆ แห่ ง ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ อิ ร ะวดี บทความนี้ กล่ า วถึ ง การสถาปนาราชธานีกรุงหงสาวดีใหม่ พ.ศ. ๒๑๕๖
กล่าวทั่วไป
พระเจ้ากรุงอังวะ (Anaukpetlun Min) ทรงยกกองทัพใหญ่ลงมาทางด้านใต้ได้เข้าล้อม เมื อ งสิ เ รี ย ม แต่ ก� ำ แพงเมื อ งสิ เ รี ย มมี ค วาม มั่นคงล้อมเมืองอยู่นานแม้ว่าจะทุ่มก�ำลังทหาร เข้ า ตี ห ลายครั้ ง ก็ ยั ง ไม่ ส ามารถที่ จ ะหั ก เข้ า เมืองได้ ในที่สุดสามารถเข้ายึดได้เมืองสิเรียม เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค�่ำปีฉลู พ.ศ.๒๑๕๖ ทหาร พม่าสามารถจับกุมเจ้าเมืองสิเรียม และเจ้า เมืองตองอู (นัดจินหน่อง) พระเจ้ากรุงอังวะ
แห่ ง พม่ า มี รั บ สั่ ง ให้ ป ระหารชี วิ ต ทั้ ง สองคน เมื่อรบชนะศึกที่เมืองสิเรียม ปี พ.ศ.๒๑๕๖ ได้ รั บ การยกย่ อ งว่ า เป็ น กษั ต ริ ย ์ พ ม่ า แห่ ง ราชวงศ์ตองอูอย่างแท้จริง พระเจ้ากรุงอังวะ (Anaukpetlun Min) มี พ ระอนุ ช ารวม ๒ พระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าทาลุนและ มังรากะยอชวา (เจ้าเมืองอังวะ)
การสถาปนาราชธานี ห งสาวดี ใ หม่ ๒๑๕๖
เมื่ อ ชนะศึ ก เมื อ งสิ เ รี ย ม พ.ศ.๒๑๕๖ พระเจ้ า กรุ ง อั ง วะมี อ� ำ นาจเหนื อ เมื อ งต่ า งๆ แห่ ง ลุ ่ ม แม่ น�้ ำ อิ ร ะวดี พระองค์ ท รงย้ า ย ราชธานีจากกรุงอังวะ กลับมายังกรุงหงสาวดี ราชธานี เ ก่ า ที่ ถู ก ทิ้ ง ร้ า งมาตั้ ง แต่ ส มั ย ของ 49
ภาพวาดพระราชวังหลวงกรุงหงสาวดีห้วงที่อยู่ในยุครุ่งโรจน์ แห่งราชวงศ์ตองอูอาณาจักรพม่าในยุคที่ ๒ พระเจ้านันทบุเรง (Nanda Bayin) ได้เสด็จ ไปประทับที่เมืองตองอูเพื่อจะหนีกองทัพใหญ่ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาที่ มี จ อมทั พ คื อ สมเด็ จ พระ นเรศวร พระราชวังกรุงหงสาวดีถูกกองทัพ เมื อ งยะไข่ เ ผาท� ำ ลายได้ รั บ ความเสี ย หาย อย่างหนักเหลือเพียงแต่ซากเมือง (เมืองถูก ทิ้ ง ร้ า งนาน ๑๔ ปี ) พระเจ้ า กรุ ง อั ง วะ (Anaukpetlun Min) ทรงสร้างได้แต่พลับพลา ที่ประทับแต่ไม่สามารถที่จะบูรณะพระราชวัง ให้เหมือนเดิมอย่างในอดีตได้ (ใช้งบประมาณ ในท้ อ งพระคลั ง เป็ น จ� ำ นวนมากพร้ อ มด้ ว ย ช่างฝีมือเป็นจ�ำนวนมาก แต่ห้วงการรบอัน ยาวนานจึงเป็นข้อจ�ำกัดอย่างมาก) เพื่อให้ กรุงหงสาวดีเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจการปกครอง ของอาณาจักรพม่า พระองค์ทรงเริ่มต้นขยาย อาณาเขตภายในอาณาจักรเพือ่ รวมให้เป็นหนึง่ เดียวเป็นผลให้มีกองทัพขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง ทรงเริ่ ม ต้ น ขยายอาณาจั ก รไปทางหั ว เมื อ ง มอญทางตอนใต้และสามารถรวบรวมมอญทาง 50
ตอนใต้ไว้ในอ�ำนาจ ทรงยกกองทัพพร้อมด้วย ทหาร ๔๐,๐๐๐ นาย เข้าตีเมืองทวายแตกและ ยกกองทัพเข้าตีเมืองตะนาวศรีโดยการปิดล้อม เมือง (เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา) แต่ก็ถูก กองทัพอยุธยาพร้อมด้วยทหารอาสาโปรตุเกส (๔๐ นาย เพื่อต้องการแก้แค้นแทน ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต) ต้านทานไว้ได้และสามารถตี กองทัพพระเจ้าอังวะ ให้ถอยกลับไปได้ กรุงหงสาวดี (Hanthawaddy) ตั้งอยู่ ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำพะโค เป็น ราชธานี ข องมอญมาในอดี ต ก่ อ นที่ จ ะเป็ น ราชธานีของอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ตองอู ในสมัยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ปี พ.ศ.๒๐๘๒ หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้า บุเรงนอง ทรงสร้างพระราชวังมีชื่อเรียกว่า กัมโพชธานีมีขนาดใหญ่มากมีประตูเมืองทาง เข้าออกถึง ๑๐ ประตู โดยใช้ช่างจากเมืองขึ้น (รวมถึ ง อยุ ธ ยาและเชี ย งใหม่ ) มาท� ำ การ ก่อสร้างกรุงหงสาวดีมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองคือ
พระธาตุมุเตา (พระธาตุชเวมอดอ) เมือ่ เดือน ๑๑ พ.ศ.๒๑๕๗ พระเจ้ากรุงอังวะ ทรงยกกองทัพจากเมืองเมาะตะมะขึ้นเหนือ สู่เมืองล้านนา (เชียงใหม่) ที่มีความวุ่นวาย เมื่อกองทัพพม่าเดินทัพถึงเมืองล�ำพูนพระเจ้า เชียงใหม่ สะโดะยอ ทรงทิ้งเมืองเชียงใหม่ กวาดต้อนผูค้ นไปยังเมืองล�ำปาง ต้องท�ำการรบ เป็ น เวลานานในที่ สุ ด พระเจ้ า เชี ย งใหม่ สิ้นพระชนม์ขณะท�ำสงครามขุนนางทั้งปวงจึง ยอมแพ้ พระเจ้ากรุงอังวะ ทรงตั้งพระยาน่าน เป็นพระเจ้าเชียงใหม่แล้วทรงยกกองทัพกลับสู่ กรุงหงสาวดี เมื่อกองทัพพม่ากลับไปแล้วเมือง ล้านนา (เชียงใหม่) ก็กลับมาขึ้นกับอาณาจักร กรุงศรีอยุธยาศูนย์กลางอ�ำนาจการปกครอง อีกครั้งหนึ่ง ปี พ.ศ.๒๑๗๑ พระเจ้ากรุงอังวะ ถูกพระราชโอรสคือมังเรทิป (Minyedeippa) ลอบปลงพระชนม์ พระองค์ ท รงอยู ่ ใ นราช สมบัตินาน ๒๓ ปี (พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๑๗๑) ทรง เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์
บทสรุป
อาณาจักรพม่าหลังสิ้นพระชนม์ ของพระเจ้ า นั น ทบุ เ รงเป็ น ผลให้ มี การแย่ ง ชิ ง ความเป็ น ใหญ่ ร ะหว่ า ง ราชวงศ์ ราชวงศ์ตองอู พระเจ้ากรุงอังวะ (Anaukpetlun Min) ทรงสามารถที่จะ รวบรวมเมืองต่างๆ ภายในอาณาจักร ให้ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย ว ทรงย้ า ยราชธานี มาอยู่ที่กรุงหงสาวดี (Hanthawaddy) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของอ�ำนาจการ ปกครองที่เคยรุ่งโรจน์ในสมัยพระเจ้า บุเรงนองแต่อาณาจักรพม่าไม่เคยกลับ มายิ่งใหญ่อย่างในอดีตอีกเลย
ภาพวาด ฟิ ลิ ป เดอ บริ โ ต นิ โ คเต เจ้ า เมื อ งสิ เ รี ย ม (Syriam) ที่ ถู ก จั บ ได้ เ มื่ อ เมื อ งถู ก ตี แ ตกโดยกองทั พ พม่ า แห่ ง กรุ ง อั ง วะ (Anaukpetlun Min) ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน ขณะมีอายุ ๔๗ ปี หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
51
Is a three–bedroom apartment available? พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
ช่
วงที่ ผู ้ เ ขี ย น เป็ น นั ก ศึ ก ษาทุ น DC หรือ Defence Coopertio ซึ่ ง เรี ย นปริ ญ ญาโทที่ เ ครื อ รั ฐ ออสเตรเลียนั้น ประสบการณ์หนึ่งที่น่าตื่นเต้น ก่ อ นเริ่ ม เรี ย นในมหาวิ ท ยาลั ย คื อ การหา บ้ า นเช่ า ให้ ไ ด้ ก ่ อ นเปิ ด ภาคการเรี ย น และ ด้วยความที่ผู้เขียนเคยชินกับระบบไทยๆ อยู่ กับบ้านตัวเองมาตลอดชีวิต และไม่เคยคิดว่า ตัวเองจะต้องไปหาบ้านเช่าที่มีฝรั่งเป็นเจ้าของ จะต้องสอบถามรายละเอียด เครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน และจะต้องท�ำสัญญาเช่าต่างๆ นาๆ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเจรจาต่อรองและคุย กันให้เข้าใจจริงๆ ก่อนย้ายเข้าไปอยู่ในบ้าน จึงไม่ใช่เรือ่ งง่ายส�ำหรับนักเรียนไทยในต่างแดน วารสารหลั ก เมื อ งฉบั บ นี้ จ ะยกตั ว อย่ า งบท สนทนาในการสอบถามเช่าห้องชุดและแนะน�ำ โครงสร้ า งไวยากรณ์ ที่ นิ ย มใช้ ใ นส� ำ นวนที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ตัวเลขกับค�ำนามที่มีสอง ค�ำนาม ดังนี้ 52
Wandee: Hello, I am Wandee Tosuwan. I saw your advertisement in the classified section of the newspaper. Is a three –bedroom apartment available? สวัสดีคะ่ ดิฉนั วันดี โตสุวรรณ ค่ะ ดิฉนั เห็นประกาศของคุณในหน้าโฆษณา ในหนังสือพิมพ์ คุณมีห้องชุดส�ำหรับห้องนอน ๓ ห้องไหมคะ Manager: Yes, we have three-bedroom apartments available. Do you want an apartment with or without furniture? มีครับ เรามีหอ้ งชุดทีม่ ี 3 ห้องนอนว่าง อยู่ครับ คุณต้องการแบบมีอุปกรณ์เครื่องเรือนพร้อม หรือไม่มีครับ Wandee Well I will be living here only one year. Do you have any apartment that includes appliances like a stove and a refrigerator? คือว่า ดิฉนั จะอยูเ่ พียงปีเดียวนะคะ คุณมีหอ้ งชุดทีร่ วมอุปกรณ์ตา่ งๆ เช่น เตาอบ หรือ ตู้เย็น ไหมคะ Manager: Yes, we do. The apartment rent also includes utilities which are your gas, electricity, water and others. มีครับ ห้องชุดที่ให้เช่าประกอบด้วย ของใช้ที่ใช้ กับเตาแก็ส ไฟฟ้า น�้ำประปา และอื่นๆ อีกครับ Wandee ; Great. I like this district because it is fairly close to my office. But before signing a lease, can I see the apartment this afternoon? เยี่ยมเลย ดิฉันชอบ สถานทีน่ ี้ เพราะอยูใ่ กล้ทที่ ำ� งานมาก แต่กอ่ นทีจ่ ะลงนามในสัญญาเช่า ดิฉนั ขอชมห้องใน บ่ายนี้ได้ไหมคะ พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ
Manager: Surely can. I am glad to show it to you. ได้เลย ผมยินดีที่จะพาคุณชมห้องครับ เรามาศึกษาการผสมค�ำนามทีร่ ะบุถงึ จ�ำนวนกันดีกว่า เช่น ห้องชุด ๓ ห้องนอน ( Three-bedroom apartment) ด้วยการจ�ำง่ายๆ แบบนีค้ ะ่ a/an/the/ + ตัวเลข + ขีด+ ค�ำนาม (ไม่เติม s หรือ es) + ค�ำนาม (ถ้าเป็นค�ำนามเอกพจน์ไม่เติม s หรือ es แต่ค�ำนามพหูพจน์ เติม s หรือ es เช่น a four-year plan (แผนส�ำหรับสีป่ หี นึง่ แผน) แต่ถา้ เป็นแผนส�ำหรับสีป่ หี ลายแผน ก็ตอ้ งเป็น four-year plans. 1. There are several five-lane highways in Houston. มีทางหลวงที่มี ๕ เส้นทางอยู่หลายเส้นในฮุสตัน 2. Sakda works at that thirty-story building. ศักดาท�ำงานที่อาคาร ๓๐ ชั้นนั้น 3. This is a two-hour meeting. นี้คือการประชุมเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง 4. Please me three fifty-baht bills. ขอธนบัตรใบละ ๕๐ บาท ๓ ใบ ครับ 5. We are a part of seven-member group. เราเป็นกลุ่มที่มีสมาชิก ๕ คน 6. I don’t like four –door cars. ฉันไม่ชอบรถยนต์ที่มี ๔ ประตู 7. We are planning to go on a nine-temple tour. เราวางแผนที่จะไปทัวร์วัด ๙ วัด 8. My elder brother has a two-car garage. พี่ชายของฉันมีที่จอดรถส�ำหรับรถได้ ๒ คัน 9. Did you buy a six-bathroom house? คุณซื้อบ้านที่มีห้องน�้ำ ๖ ห้อง เชียวหรือ 10. This is a two-litre bottle. นี้คือขวดน�้ำที่บรรจุได้ ๒ ลิตร 11. John needs two-foot pieces of wood. จอห์นต้องการไม้ความยาว ๒ ฟุต 12. Jinda has a ten-year old daughter. จินดามีลูกสาวอายุ ๑๐ ขวบ ๑ คน 13. He is a four-star general. เขาเป็นนายพล ๔ ดาว
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
53
สาระน่ารู้ทางการแพทย์
“สวย-หล่อ ด้วยคอลลาเจน” ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น หลายคนเป็น ต้องเริม่ ปวดเศียรเวียนเกล้า กับผิวพรรณ ที่เริ่มหย่อนคล้อยไม่เด้งดึ๋งปึ๋งปั๋งเหมือน ก่อน อย่าเพิง่ ท�ำหน้าหงอย น้อยใจในชะตา กรรม เพราะคนเราไม่หยุดสวย หยุดหล่อ กันแน่ๆ สาระหน้ารู้ทางการแพทย์ประจ�ำ เดือนนี้ ส�ำนักงานแพทย์ฯ จึงชวนพวกเรา มาดูกันว่าถ้าอยากให้ผิวเด้งใส ไร้ริ้วรอย ควรทานอาหารชนิดไหนกัน ถ้าให้นกึ ถึงอาหารบ�ำรุงผิว เพือ่ ลดริว้ รอย ชื่อของคอลลาเจน (Collagen) เป็นต้องผุด ขึ้นมาในหัวหลายคนเป็นแน่และถูกต้องอย่าง ที่หลายคนเข้าใจคอลลาเจนคือ สารอาหารที่ ช่วยบ�ำรุงผิวให้มีสุขภาพดีได้จริงและไม่ใช่แค่ คอลลาเจนแบบขวด แบบเม็ด ที่เราคุ้นเคย เท่านัน้ อาหารสดหลายชนิดทีเ่ ราๆ รับประทาน กันอยู่ก็มีคอลลาเจน ที่ส�ำคัญเป็นคอลลาเจนที่ 54
ทรงอานุภาพยิ่งกว่าคอลลาเจนส�ำเร็จรูปอีก จริ ง ๆ แล้ ว คอลลาเจนมี อ ยู ่ ใ นอาหาร ธรรมชาติดว้ ย และคอลลาเจนทีอ่ ยูใ่ นอาหารนัน้ เป็นคอลลาเจนที่ดูดซึมง่าย ให้จ�ำง่ายๆ เลยว่า ถ้าอยากได้คอลลาเจนไม่ใช่แค่รบั ประทานจาก คอลลาเจนแบบขวด หรือแบบเม็ดอย่างเดียว เพราะคอลลาเจนส�ำเร็จรูปเหล่านั้น เมื่อกิน เข้าไปแล้วมันจะถูกร่างกายย่อยแล้วย่อยอีก จนไม่รู้ว่าตกลงแล้วเหลือคอลลาเจนที่ดูดซึม เข้าสู่ร่างกายเท่าไหร่ อาจจะปัสสาวะออกหมด เลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มี คอลลาเจนตามธรรมชาติจะดีกว่า ซุปเปอร์ขาไก่ กินแล้วสวยขอยกตัวอย่าง อาหารที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนว่ามีมากมาย หลายชนิดแต่ต้องรีบเน้นย�้ำกันก่อนว่าส�ำหรับ คอลลาเจนนั้ น ถ้ า จะกิ น ให้ ไ ด้ ป ระโยชน์ จ ริ ง ต้องรับประทานคู่กับวิตามินซี (Vitamin C)
เท่านั้น “อาหารที่มีคอลลาเจน ตามธรรมชาติ มีหลายอย่าง แต่ข้อส�ำคัญคือต้องทานคู่กับ วิ ต ามิ น ซี ด ้ ว ย เพราะวิ ต ามิ น ซี จ ะช่ ว ยดึ ง คอลลาเจนเข้าสู่ร่างกายได้ ตัวอย่างเช่น ต้มย�ำ ขาไก่ หรือถ้าเป็นคอข้าวต้มกุ๊ยจะรู้จักในชื่อ ‘ซุปเปอร์ตนี ไก่’ ซึง่ ตีนไก่ หรือขาไก่ทเี่ ราเห็นว่า เป็นวุน้ ๆ จากเอ็นของมันนีแ่ หละคือ คอลลาเจน อย่างดีเลยและอย่างทีบ่ อกว่าจะมีแค่คอลลาเจน อย่างเดียวไม่พอ มันต้องมีอะไรเปรี้ยวๆ เป็น วิตามินซีด้วย ซึ่งมันก็คือ ต้มย�ำขาไก่, ขาไก่ตุ๋น มะนาวดอง นั่นเอง” นอกจาก ต้ ม ย� ำ ขาไก่ ร สเปรี้ ย วจะถื อ เป็น ‘ซุปสวย’ ที่คุณยกนิ้วเชียร์แล้ว เมนูอื่นๆ ที่เปี่ยมคอลลาเจนไม่แพ้กันก็ยังมี “อาหาร อื่นๆ ที่มีคอลลาเจนยังมีอีกหลายชนิด ถ้าเป็น ฝรั่ง เขาก็รู้จักกินคอลลาเจนมานานแล้วเช่น ช่วงวันคริสต์มาส จะมีเยลลี่หัวหมูพอฆ่าหมู
ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ตัวหนึ่งเขาแทบจะไม่ทิ้งอะไรเลย เมื่อได้เนื้อ ไปแล้วส่วนที่เหลือคือพวกหัวหมู หางหมูนั้น เขาจะเอามาเคี่ยว ท�ำเป็นสตูพอทิ้งไว้จนเย็น มันก็จะกลายเป็นเยลลี่หัวหมู หรือคนจีนก็ท�ำ พวกหมูตั้งพวกนั้นก็มีคอลลาเจนเหมือนกัน กระทั่ ง อาหารบางอย่ า งที่ ส มั ย นี้ เ ขานิ ย มใส่ คอลลาเจนส� ำ เร็ จ รู ป เข้ า ไป เช่ น ส้ ม ต� ำ ใส่ คอลลาเจนส�ำเร็จรูปอย่างนั้นก็ได้คอลลาเจน เหมือนกัน เหมือนเรากินต้มย�ำขาไก่เลยเพียง แต่ว่าอาจจะแพงขึ้นมา เพราะเราต้องไปซื้อ คอลลาเจนมาจากต่างประเทศทัง้ ทีค่ อลลาเจน แบบไทยๆ เราก็มี” อาหารทะเล แหล่งรวมคอลลาเจนชัน้ เลิศ อีกแหล่งหนึ่ง “ปลาฉลามเป็นคอลลาเจนชั้นดี หู ข องมั น ก็ มี ค อลลาเจน แต่ อ าจจะแพงไป หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
สักหน่อย ดังนัน้ เรากินเนือ้ ปลาฉลามก็ได้ อย่างคน สมัยก่อนพอเขาเอาหูฉลามส่งขายภัตตาคาร แล้ว เขาจะเอาเนื้อปลาฉลามมาผัดเผ็ดผัดทั้ง กระดูกเลย สมัยนี้ถ้าไปแถวเยาวราชก็ยังมี ผัดเผ็ดปลาฉลามขายอยู่ ราคาไม่แพงนัก หรือจะ เป็นปลากระเบนก็ได้ คือพวกนีเ้ ป็นสัตว์กระดูก อ่อน ซึ่งกระดูกอ่อน หรือที่ฝรั่งเรียกคาร์ทีเลจ (Cartilage) นี่แหละคือ คอลลาเจนอย่างดีเลย ถึงขัน้ มีฝรัง่ หัวใสเอามาสกัดเป็นชาร์คคาร์ทเี ลจ (Shark Cartilage - กระดูกอ่อนปลาฉลาม) ขายกันราคาแพง ทัง้ ทีจ่ ริงแล้วมันคือ คอลลาเจน กลุ ่ ม เดี ย วกั น เลย”และไม่ ใ ช่ แ ค่ ป ลาใหญ่ อย่างฉลามไปด้วย ปลาเล็กปลาน้อย กระทั่ง ปลาหมึก ก็ ยั ง เปี ่ ย มคอลลาเจนจริ ง ๆ แล้ ว คอลลาเจนที่ดีคือ คอลลาเจนจากพวกอาหาร
ทะเล อย่างเช่น ปลา ปลาหมึก หอยนางรม หรือ อย่างประเทศญี่ปุ่น จะท�ำคอลลาเจนมาจาก ปลาทะเลน�้ ำ ลึ ก ทั้ ง หลายเพราะคอลลาเจน จากอาหารทะเลจะดูดซึมได้ดีกว่าไก่ แต่จริงๆ แล้วเรากินอาหารทะเลธรรมดาก็ได้เหมือนกัน เช่น ต้มย�ำหัวปลากระพงขาวนี่ก็คอลลาเจน ทั้งนั้นแต่การกินคอลลาเจนจากอาหารทะเล จะมีขอ้ เสียนิดนึง เพราะกลัวจะได้ของแถมเป็น พวกสารตะกั่ว สารปรอทหรือโลหะหนักที่ตก อยู ่ ต ามทะเล หลายคนเลยเลื อ กเป็ น พวก คอลลาเจนสกัดซึ่งพวกนี้จะมีข้อดีคือ มันอาจ จะท�ำให้บริสุทธิ์แล้ว ก็อาจจะปลอดภัยหน่อย แต่เราก็จะต้องแลกกับราคาที่สูงขึ้น” น�้ ำ ต้ ม กระดู ก เมนู ส บายกระเป๋ า เปี ่ ย ม ประโยชน์ต่อผิวหลายคนฟังเมนูอาหารทะเล แล้ ว กลั ว สู ้ ร าคาไม่ ไ หว ก็ ไ ม่ ต ้ อ งหวั่ น ใจไป เพราะเรามี เ มนู ร าคาย่ อ มเยากว่ า มาเสนอ ด้วย “ถ้าเกรงว่าปลาฉลามแพงไปหน่อยทาน น�้ำต้มกระดูกไก่ น�้ำต้มหมูก็ยังได้เพราะน�้ำซุป เหล่านี้มักเอากระดูกมาต้มซึ่งตรงข้อกระดูก เหล่านี้ก็มีคอลลาเจนอยู่” ทว่าเข้าใจกันดีว่า หลายคนกลัวอ้วน ห่วงเรือ่ งน�ำ้ หนักเกิน เลยฝาก ทิปส์ง่ายๆ ในการทานอาหารให้ได้คอลลาเจน แต่ไม่อ้วนมาว่า “ถ้ากลัวอ้วนเราอาจจะใช้ วิธีช้อนไขมันที่อยู่ด้านหน้าซุปออกก่อน เช่น หากต้มขาไก่ให้เราคอยช้อนไขมันด้านหน้า ออกระหว่างต้ม แค่นี้น�้ำข้างล่างก็ไขมันน้อย ลงเยอะแล้ว” ทานคอลลาเจนแค่ ไ หน..ถึ ง พอเหมาะ ก่อนปิดท้ายเรือ่ งอาหารชะลอวัย ขอฝากความรู้ เ รื่ อ ง ป ริ ม า ณ ที่ เ ห ม า ะ ส ม ใ น ก า ร ท า น คอลลาเจนมาว่า “ปริมาณการทานคอลลาเจน ถ้าเป็นอาหารสด อย่างเช่น ต้มย�ำขาไก่ ทาน วันละหนึ่งมื้อก็พอ หรือสมมุติทานขาไก่ตุ๋น มะนาวดองสักหนึ่งถ้วยก็พอแล้ว ส่วนผักโดย ทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยมีคอลลาเจน ยกเว้นบาง ประเภทเช่น หัวบุก อาจจะมีบ้างแต่ก็ยังสู้ พวกเนื้อไม่ได้ เนื้อจะมีคอลลาเจนเยอะกว่า แต่อย่างไรก็ตามให้จำ� ไว้เสมอว่าการทานต้องมี วิตามินซีด้วย ไม่อย่างนั้นกินคอลลาเจนเข้าไป ก็ไม่มีประโยชน์เลย อันนี้รวมถึงคอลลาเจนทุก ประเภทครับ ไม่ว่าจะเป็นคอลลาเจนแบบเม็ด แบบฉีดมันต้องมีการเพิ่มวิตามินซีเข้าไปด้วย เสมอ เพราะวิ ต ามิ น ซี จ ะท� ำ ให้ ค อลลาเจน ดู ด ซึ ม ได้ ดี จึ ง เป็ น อี ก หลั ก การว่ า ถ้ า จะซื้ อ คอลลาเจนเป็นอาหารเสริมให้รู้ไว้เลยว่าถ้ามี แค่คอลลาเจนอย่างเดียว มันจะไม่ค่อยดูดซึม พอเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกน�้ำย่อยในตัวเรา ย่ อ ยและขั บออกมาเป็ น ปั ส สาวะเกือบหมด ที่อุตส่าห์ซื้อมาราคาแสนแพงก็ไม่ได้ประโยชน์ อะไรเลย” 55
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานกระบี่ ปริญญาบัตร และเกียรติบัตรแก่ ผู้ส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สถาบันการศึกษาทางทหารต่างประเทศ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ประจ�ำปี ๒๕๕๗ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ หอประชุมนักเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๕๘
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ แทนพระองค์ทอดพระเนตร การแสดง กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๔๒ โดยมี พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง กลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพเฝ้ารับเสด็จ ณ หอประชุ ม ใหญ่ ศู น ย์ วั ฒ นธรรม แห่ ง ประเทศไทย เขตห้ ว ยขวาง เมื่อ ๙ ก.ค.๕๘ 56
พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายก รั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม ให้การต้อนรับ ดร.โรแลนด์ บุช (Roland Busch) กรรมการบริหารบริษัท ซีเมนส์ จ�ำกัด (มหาชน) ส�ำนักงานใหญ่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสเข้า เยี่ยมค�ำนับ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๗ มิ.ย.๕๘
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Shiro Sadoshima (ชิโระ ซะโดะชิมะ) เอกอัครราชทูตญีป่ นุ่ ประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเยีย่ มค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Thierry Viteau (ตีแยรี วีโต) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
57
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเบิกเนตร “ พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์” โดยมี นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ หอสวดมนต์ วัดปริวาสราชสงคราม เมื่อ ๖ ก.ค.๕๘
พลอากาศเอก ศิ ริ ชั ย ดิ ษ ฐกุ ล ปลั ด กระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวง กลาโหมและคณะ เดินทางเยี่ยมชมกิจการกองบิน ๗ และร่วม ท�ำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ ก (GRIPEN 39 D) โดยมี พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ รองผู้บัญชาการ ทหารอากาศให้การต้อนรับ ณ ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ จังหวัด สุราษฎร์ธานี เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๕๘ 58
พลโท ดอกเตอร์ เดชา เหมกระศรี เลขาธิการสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ น�ำคณะนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย ที่เดินทางไปเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เข้าพบพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อรายงาน ผลการแข่งขัน ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ มิ.ย.๕๘
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม มอบเครื่องหมายแสดงความสามารถทางการกีฬาชั้น ๑ เสื้อแบบเบลเซอร์และเงินรางวัล ให้กับ ร้อยโทหญิง จันทร์เพ็ง นนทะสิน นักกีฬาจักรยานที่ได้รับเหรียญเงินประเภทถนน ไทม์ไทรอัล บุคคลหญิง ระยะทาง ๒๙.๔๕ กม. สังกัด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับมอบ และสิบโทหญิง วิชชุดา ไพจิตรกาญจนกุล นักกีฬายิงปืน ได้รับเหรียญทองจากประเภท ปืนยาวท่านอน (ทีมหญิง) สังกัด พลสารวัตร หมวดสารวัตรทหารหญิง กองร้อยสารวัตรทหารที่ ๒ กองสารวัตรทหาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๖ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ณ ห้องยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๕๘ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
59
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายกมล นาคคง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท SK AVANCE ENERGY ในโอกาสเข้าพบปะหารือ โดยมี รองปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘
พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายอาเมียร์ คายน์ ( Amir Kain) รองปลัดกระทรวงกลาโหม และเจ้ากรมรักษาความปลอดภัยหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหมรัฐอิสราเอล ในโอกาสเข้าเยีย่ มค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสราญรมย์ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๘ 60
พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นประธานใน พิธีเปิดกิจกรรมปฏิบัติธรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรม วงศานุวงศ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร เขตคลองสาน เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๕๘
พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุ ก ารส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม และ คณะ เดินทางไปเยี่ยมสถานี วิ ท ยุ เ ครื อ ข่ า ยส� ำ นั ก งาน ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ณ อ�ำเภอสันป่าตอง จังหวัด เชี ย งใหม่ พร้ อ มเสวนา โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ปีที่ ๗ ในหัวข้อการประกวด “Show Time Show Thai” จากค่านิยม หลัก ๑๒ ประการ ข้ อ ที่ ๕ “รั ก ษาวั ฒ นธรรม ประเพณีไทยอันงดงาม” ณ โรงแรมโลตั ส ปางสวนแก้ ว จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เมื่ อ ๑๐ มิ.ย.๕๘
หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
61
กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าและตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ ณ วัดอาวุธวิกสิตารามเขตบางพลัด กทม. เมื่อ ๒๖ มิ.ย.๕๘ นางพรวิ ม ล ดิ ษ ฐกุ ล นายก สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม อุปนายกสมาคมฯ และกรรมการสมาคมฯ ร่วม เข้าเฝ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทิ นั ด ดามาตุ ถวายเงิ น รายได้จากการจ�ำหน่ายสินค้าในงาน เพื่ อ นพึ่ ง (ภาฯ) ประจ� ำ ปี ๕๗ ณ วังสวนกุหลาบ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๕๘
62
นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมแม่บ้านองค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ณ ห้องประชุมชั้น ๕ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๕๘
นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมจัดกิจกรรม “โครงการปล่อยเต่าคืนสู่ทะเล” ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ และร่วมวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน จังหวัดชลบุรี เมื่อ ๗ ก.ค.๕๘ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘
63
นางพรวิ ม ล ดิ ษ ฐกุ ล นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม เฝ้ า ฯ รั บ เสด็ จ สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก เธอ เจ้ า ฟ้ า จุ ฬ าภรณวลั ย ลั ก ษณ์ อั ค รราชกุ ม ารี และร่ ว มเป็ น เกี ย รติ ชมการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๔๒ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ราชนาวี เพือ่ หารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบ�ำรุงสภากาชาดไทย ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อ ๙ ก.ค. ๕๘
64
อาศิรวาท ๑๒ สิงหามหาราชินี ธ ทรงเป็น มิ่งขวัญ รังสรรค์ชาติ ทรงนิยาม สยามรัฐ ชัชวาล กลาโหม ประโคมชัย ในทั่วหล้า นิรมิต ฤทธาฤกษ์ อันเกริกไกร
เกื้อกูลราษฎร์ บ�ำรุงไทย ให้ไพศาล สุขสราญ ทุกทิศา นภาลัย เชิญเทวา พรประพรม สมสมัย น้อมเทิดไท้ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานใน พิธีเปิดหอพระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์ โดยมี นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ข องส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมร่ ว มพิ ธี ณ ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จังหวัดลพบุรี เมื่อ ๑๕ ก.ค.๕๘
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่ โครงการฝนหลวง
ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
www.lakmuangonline.com