วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 291

Page 1

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

ม่วงเทพรัตน์ Exacum affine Balf.f. ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ชื่อสามัญ German violet, Persian violet วงศ์ Gentianaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุสั้น หรือ ๒ ปี ล�ำต้นเป็นพุ่มกะทัดรัด ใบรูปไข่แกมรี ปลายมน ขอบใบห่อเล็กน้อย ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกเดียวหรือออกเป็นช่อขนาดเล็กตามปลายยอด มีกลีบ ๕ กลีบ สีม่วง ตัดกับเกสรเพศผู้สีเหลือง ช่วงเวลาออกดอกและติดผล ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นไม้ปลูก มีถิ่นก�ำเนิดในเกาะโซโกตรา หมู่เกาะเยเมน มหาสมุทรอินเดีย ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง หรือไม้ประดับแปลง การปลูกและขยายพันธุ์ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น ดินปลูกชุ่มชื้นสมบูรณ์ดี ระบายน�ำ้ ดี แสงแดดเต็มวัน ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๖๙ ปี ทรงเสด็จขึ้นครอง ไอศูรย์สิริราชสมบัติ

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ประชาธิปไตย ทางเลือกแบบไหนส�ำหรับสังคมไทย

การพึ่งพาในอนาคต : แนวคิดในการพัฒนาก�ำลังรบ ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


เสาหมุดประชาธิปไตยคือ หมุดที่คณะราษฎรได้ปักลงไปในผืนแผ่นดินไทยเพื่อ ประกาศว่าแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินประชาธิปไตย อยู่บริเวณด้านข้างลานพระรูปทรงม้า ฝั ่ ง สนามเสื อ ป่ า ซึ่ ง เป็ น จุ ด เดี ย วกั บ จุ ด ที่ พ ระยาพหลพลพยุ ห เสนายื น อ่ า นประกาศ คณะราษฎร ฉบับที่ ๑ เสาหมุดประชาธิปไตย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “หมุดประชาธิปไตย” หล่อด้วย ทองเหลือง มีค�ำว่า “เวลาย�่ำรุ่ง” อยู่ตรงกลางระหว่างกระจังสามเหลี่ยมด้านบนและล่าง ทีล่ ดทอนรายละเอียดจากแบบประเพณี จนเหลือให้เห็นเค้าลางภายใต้ขอบของสามเหลีย่ ม ส่วนค�ำว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ก่อก�ำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความ เจริญของชาติ” จะวนอยู่ตามขอบวงกลมโดยรอบ เสาหมุดประชาธิปไตยคือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า “อ�ำนาจนั้นไม่ได้เป็นของใครหรือ กลุ่มใด” หมุดนี้ จึงเป็นเสมือนการฝังตรึงเจตนารมณ์ทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยผ่าน หลัก ๖ ประการ หรือ เจตนารมณ์ตามมาตรา ๑ ของธรรมนูญการปกครองชั่วคราว อันเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ต้องมีสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมบนผืนแผ่นดิน ไทยสยามแห่งนี้

พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ปิด โครงการ “ปณิ ธ านความดี ปี ม หามงคล” ของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดยมี นายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๒ พ.ค.๕๘


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.วันชัย  เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช  จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์  เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช  มีเพียร พล.อ.ธวัช  เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์  บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด  เบื้องบน พล.อ.สิริชัย  ธัญญสิริ พล.อ.วินัย  ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต  เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์  เกษโกวิท พล.อ.เสถียร  เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส  รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์

พล.ต.ณภัทร  สุขจิตต์

รองผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ณัฐวุฒิ  คล้ายโอภาส พ.อ.ยุทธนินทร์ บุนนาค

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย  รักประยูร

ประจำ�กองจัดการ

น.อ.กฤษณ์  ไชยสมบัติ น.ท.วิษุวัตร์ แสนคำ� ร.น.  พ.ต.ไพบูลย์  รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.ท.พลพัฒน์  อาขวานนท์

ที่ปรึกษา พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ผู้ช่วยเหรัญญิก

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น. พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.นพดล ฟักอังกูร พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต พล.ท.ดำ�รงศักดิ์ วรรณกลาง พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.อดุลย์ศักดิ์ บุญวัฒนะกุล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.เดชา บุญญปาล พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ พล.ต.ชวลิต สาลีติ๊ด

ร.ท.เวช  บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย

น.ท.สุรชัย  สลามเต๊ะ

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ  วรวิศิษฏ์ธำ�รง

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ

น.อ.พรหมเมธ  อติแพทย์ ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ทวี  สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ  ศิริสรณ์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

พ.อ.หญิง ใจทิพย์  อุไพพานิช

ประจำ�กองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ  พรเลิศ น.ท.วัฒนสิน  ปัตพี ร.น. พ.ท.ชาตบุตร  ศรธรรม พ.ต.หญิง สิริณี  ศรประทุม พ.ต.จิโรตม์  ชินวัตร ร.อ.หญิง ลลิดา  กล้าหาญ ร.ต.หญิง พัชรี  ชาญชัยพิชิต ร.ต.วัชรเทพย์  ปีตะนีละผลิน จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง จ.อ.หญิง สุพรรัตน์  โรจน์พรหมทอง

น.ท.หญิง รสสุคนธ์  ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์  สมไร่ขิง น.ต.ฐิตพร  น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สมจิตร  พวงโต ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.ต.ศุภกิจ  ภาวิไล ร.ต.จิรวัฒน์  ถนอมธรรม ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก จ.ส.อ.สมหมาย  ภมรนาค ส.อ.ธีร์นริศวร์  ขอพึ่งธรรม


บทบรรณาธิการ

วารสารหลักเมือง ฉบับประจ�ำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นเดือนที่ ๖ หรือเดือนสุดท้ายของครึ่งปีแรก คณะผู้จัดท�ำยังคงพิจารณาคัดสรรสาระน่ารู้ในด้านต่าง ๆ มาน�ำเสนอให้กับผู้อ่านเช่นเคย อาทิ เรื่องที่เป็นที่สนใจ และมีผลกระทบต่อความมั่นคงในระดับโลก คือ เรื่องของกลุ่มไอเอส (IS) หรือ ไอซิส (ISIS) ในตะวันออกกลาง ที่ก�ำลังพยายามส่งออก “แนวความคิด” ที่มุ่งต่อต้านอ�ำนาจรัฐ และต้องการก้าวไปสู่การจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วย หลักศาสนา ซึ่งวารสารหลักเมืองฉบับนี้ น�ำเสนอเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ใกล้ตัว คือ เรื่อง จับตากลุ่ม “ไอเอส” ในมาเลเซีย นอกจากเรื่องที่กล่าวมาในฉบับนี้ยังมีบทความที่น่าสนใจ เช่น เรื่อง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน และรักษาฝั่ง กับความจ�ำเป็นต้องพึ่งพาแนวคิดในการพัฒนาก�ำลังรบในลักษณะป้องกัน, ดุลยภาพทางการทหาร ของประเทศเพื่อนบ้าน และเรื่องเปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นต้น นอกจากสาระน่ า รู ้ ใ นหลั ก เมื อ งฉบั บ นี้ แ ล้ ว ส�ำ นั ก งานเลขานุ ก ารส� ำนั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม มีเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบถึงโครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ซึ่งส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม โดยส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดท�ำวารสาร หลักเมือง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการด�ำเนินโครงการฯ ดังกล่าว โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย เป็นโครงการซึ่งด�ำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๗ มีวัตถุประสงค์ส�ำคัญ ในการสร้างจิตส�ำนึกในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคง โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ซึง่ ถือเป็นพลัง ส�ำคัญต่อการสร้างและพัฒนาประเทศชาติในอนาคต โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนได้สะท้อนแนวคิดมุมมอง ที่มีต่อสถานการณ์บ้านเมือง รวมตลอดถึงสภาวะ สังคมผ่านกิจกรรมการประกวด การแสดง ภายใต้หัวข้อ “SHOW TIME SHOW THAI” โดยน�ำค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ของนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในข้อที่ ๕ คือ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณีไทยอันงดงาม เป็นหัวข้อหลักเพื่อให้เยาวชนได้น�ำเสนอแนวคิด การแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และการเล่าเรือ่ งผ่านศิลปะการแสดงและดนตรีผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทยและความร่วมสมัยของสังคมไทย โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย คาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและสร้างจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ให้กับเด็กและเยาวชนของชาติรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการโดยเฉพาะเด็กและ เยาวชนได้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีจิตส�ำนึกดีมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ปลุกจิตส�ำนึกของความเป็นไทยสู่เป้าหมายคือผลประโยชน์และความ รับผิดชอบต่อประเทศชาติร่วมกัน ท่านผูอ้ า่ นสามารถรับทราบและติดตามความเคลือ่ นไหวของโครงการได้ทาง www.จิตส�ำนึกรักเมืองไทย.com สวัสดีครับ

2


ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

๖๙ ปี ทรงเสด็จขึ้นครอง ไอศูรย์สิริราชสมบัติ

๙ แผ่นดิน ของการ ปฏิรูประบบราชการ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ตอนที่ ๓) ตอนจบ

วิวัฒนาการของการ โจมตีด้วยอาวุธ ความแม่นย�ำสูง ในทศวรรษต่อไป

วิสาขบูชา วันส�ำคัญของโลก

๑๔

ข่าวกรองยุทธศาสตร์ สถานการณ์ราคา พลังงาน

๑๒

๔๔

๑๔

ประชาธิปไตย ทางเลือกแบบไหน ส�ำหรับสังคมไทย

๔๘

๑๘

จับตากลุ่ม "ไอเอส" ในมาเลเซีย

เทคโนโลยี เซลล์แสงอาทิตย์

อาณาจักรตองอูหลัง พระเจ้านันทบุเรง ทรงสวรรคต ๒๑๔๓

๒๔ ๕๒

๒๒

๒๒

๒๔

หลักสูตรค่ายภาษา ภาคฤดูร้อน ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘

๑๘ ๓๒

๕๔

๓๖

สาระน่ารู้ทางการแพทย์ "โรคไบโพล่าร์หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว"

๒๘

พลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก

๓๒

ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ ของกองทัพอากาศจีน Meet the new PLAAF

ดุลยภาพทางการทหาร ของประเทศเพื่อนบ้าน ฝูงบินเตือนภัยล่วงหน้า ทางอากาศกองทัพ อาเซียน

๔๐

๑๒

การพึ่งพาในอนาคต แนวคิดในการพัฒนา ก�ำลังรบในลักษณะ ป้องกัน

๓๖

๔๐ ๔๔

๕๒

๖๒

กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม

๖๒ ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร  กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

3


4


๖๙ ปี ทรงเสด็จขึ้น ครองไอศูรย์สิริราชสมบัติ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ก�ำลังจะเวียนมาบรรจบในเวลา อันใกล้นปี้ ระชาชนชาวไทยจะได้มโี อกาสร่วมกันเฉลิมฉลองในมิง่ มหามงคลกาลทีพ ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงเสด็จขึน้ ครอง ไอศูรย์สิริราชสมบัติ เป็นเวลา ๖๙ ปี ซึ่งนับเป็นปีมหามงคลแห่ง ประชาชนชาวไทยอีกค�ำรบหนึ่ง ขอเรียนว่ายังมีประชาชนจ�ำนวนไม่น้อย ทีย่ งั มีความเข้าใจว่าวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ เนือ่ งเพราะ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ดังกล่าวเป็นวันที่ทางราชการประกาศให้เป็น วันร�ำลึกถึงพระราชพิธบี รมราชาภิเษกขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีประชาชน ส่วนน้อยทีท่ ราบถึงวันเป็นมิง่ มหามงคลวันแรก ที่ทรงเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระมหา กษัตริย์ไทยคือ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ผู้เขียนใคร่ขอเรียนให้ท่านได้กรุณาทราบ ถึงพระราชพิธีของการเสด็จขึ้นครองสิริราช สมบั ติ แ ละพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษกเพื่ อ ความกระจ่างชัด ดังนี้ การเสด็จขึน้ ครองสิรริ าชสมบัติ หมายถึง กาลส�ำคัญที่พระมหากษัตริย์ขึ้นครองสิริราช สมบัติต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ทั้ ง นี้ เ พราะประเทศจะขาดองค์ พ ระประมุ ข ไม่ได้ ซึง่ เป็นไปตามหลักของความต่อเนือ่ งในการ ครองสิ ริ ร าชสมบั ติ ซึ่ ง หากพระมหากษั ต ริ ย ์ พระองค์ใหม่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือยัง ไม่ทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ยังทรง พระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และยัง ไม่ใช้นพปฎลมหาเศวตฉัตรหรือฉัตร ๙ ชั้น อันเป็นเครือ่ งหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก หมายถึง พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหา กษั ต ริ ย ์ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ หรื อ พิ ธี ที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ รั บ รองฐานะความเป็ น ประมุ ข ของรั ฐ อย่ า ง เป็นทางการ หลังจากนั้น จึงทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ภายหลัง เหตุ ก ารณ์ ส� ำ คั ญ คื อ พระบาทสมเด็ จ พระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่าง กะทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน และใน เวลา ๒๑.๐๐ น.ของวันเดียวกัน รัฐสภาได้ลง มติถวายราชสมบัติให้ แก่สมเด็จพระอนุชา ธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า ภู มิ พ ล อดุลยเดช ขึ้นสืบราช สมบั ติ เป็ น สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ล อดุ ล ยเดช รั ช กาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ต่อไป แต่ เ นื่ อ งจากในเวลา ดั ง กล่ า ว องค์ ส มเด็ จ พระ เจ้ า อยู ่ หั ว ยั ง มิ ไ ด้ ท รงบรรลุ นิ ติ ภ าวะ ทั้ ง ยั ง ทรงมี พ ระ ราชกิจด้านการศึกษา จึงทรง อ�ำลาประชาชนชาวไทย เสด็จ พระราชด� ำ เนิ น ไปศึ ก ษาต่ อ 5


ณ มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่ทรงเปลี่ยนสาขาวิชาที่ทรงศึกษาจากเดิม คือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ไปเป็น สาขา วิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งมีความจ�ำเป็น ส� ำ หรั บ การด� ำ รงพระราชสถานะองค์ พ ระ ประมุขของประเทศ ซึ่ ง ภายหลั ง จากทรงส� ำ เร็ จ การศึ ก ษา แล้ว จึงได้เสด็จนิวัติพระนครในเดือนมีนาคม ๒๔๙๓ และยั ง เป็ น วโรกาสที่ ท รงบรรลุ นิ ติ ภ าวะแล้ ว รั ฐ บาลไทยจึ ง ได้ จั ด ให้ มี พ ระ ราชพิธบี รมราชาภิเษกขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ 6

ตลอดระยะเวลา ๖๙ ปี แห่งการทรงเสด็จ ขึ้นครองไอศูรย์สิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชทรงมี พ ระ มหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดย ตลอด ทรงบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ พระองค์มิได้เคยทรงละเลยต่อการสอดส่อง ดูแลทุกข์สุขของราษฎร มิเคยทรงดูดายกับ ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน ทรง ไม่เคยว่างเว้นจากการศึกษาวิจัยเพื่อคิดค้นหา หนทางปฏิบตั แิ ละวิธกี ารในการพัฒนาประเทศ การสร้างความกินดีอยู่ดีของพสกนิกร ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชปณิธานอย่าง แรงกล้าที่จะสร้างน�ำให้ราษฎรได้รับประโยชน์

สุขสมดังพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม“ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา ทรงแสดงให้ ประจักษ์ผ่านโครงการพระราชด�ำริมากมาย นานั ป การและทรงปฏิ บั ติ พ ระองค์ ใ ห้ เ ป็ น แบบอย่างของผู้ที่มุ่งมั่นท�ำงานเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวมในการปฏิบัติจนบังเกิดผลเป็น รู ป ธรรม นอกจากนี้ พระราชด� ำ รั ส ที่ ท รง ตรัสอยู่เสมอว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยัง ยากจน พระองค์จึงต้องทรงต่อสู้กับศัตรูคือ ความยากจนของราษฎร ดังนั้น สิ่งที่ประชาชน ชาวไทยและทัว่ โลกได้เห็นจนชินตาคือ พระองค์ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ทรงแสวงหาวิ ธี การทุ ก ประการเพื่อต่อสู้กับ ความทุกข์ยากอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ประชาชน ของพระองค์ชนะความยากจนให้ได้ ทั้งยังทรง สอน ทรงสาธิต ให้ราษฎรเห็นกระบวนการ และวิธีการที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตเพื่อความอยู่ดีมีสุขดังจะเห็นได้จากหลัก การด�ำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมในรูปแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกทั้ง ยังทรงสอนให้ พสกนิกรชาวไทยต่างตระหนักในคุณธรรมและ หลักการด�ำเนินชีวติ ด้วยการทรงเป็นแบบอย่าง ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานหัวข้อธรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อาทิ คุณธรรม ๔ ประการในการรักษา สัจจะหรือความสัตย์ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ความจริง ทมะหรือการรู้จักข่มใจ ขันติหรือ การรู้จักอดทน อดกลั้นและอดออมและการ รู้จักละวางความชั่ว และ จาคะหรือความเสีย สละ ความเผื่อแผ่ แบ่งปัน เพื่อพัฒนาคุณภาพ จิ ต ใจให้ เ จริ ญ ขึ้ น และหยั่ ง รากลึ ก ในจิ ต ใจ พสกนิกรของพระองค์ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลที่ จะเวียนมาบรรจบถึงกาลในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ และเป็ น วโรกาสที่ บ รรจบครบรอบ ๖๙ ปี แห่งการเสด็จขึ้นครองไอศูรย์สิริราช สมบัติขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ผู้เขียนใคร่ขอเรียนเชิญมวล มหาชนชาวไทยทั้ ง ที่ อ ยู ่ ใ นประเทศและอยู ่

ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ร่วมกันกระท�ำคุณงาม ความดี บ�ำเพ็ญกรณียกิจอันประกอบไปด้วย ความถูกต้องทั้งทางกาย วาจา และใจ ถวาย เป็ น พระราชกุ ศ ลน้ อ มเกล้ า น้ อ มกระหม่ อ ม ถวายพระพรชั ย ขอให้ อ งค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระเจริญ ยิ่ ง ยื น นานสถิ ต เป็ น มิ่ ง ขวั ญ ของพสกนิ ก ร ชาวไทยตราบจิรัฐิติกาล

7


แผ่นดิน

ของการปฏิรูประบบราชการ

พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ตอนที่ ๓) ตอนจบ ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

8

ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


หน้าที่ดูแลรักษาความสงบ บรรดาข้าราชการระดับเจ้า ระดับขุนนางต่างมีหน้าที่ต้องดูแล รักษาความสงบของพระนครดังปรากฏในข้อความ “...ในแผ่นดินนั้นเจ้าแลขุนนาง แต่งข้าไปเที่ยวซ่องสุมผู้คน อยู่ในป่าส�ำหรับหาของป่าต่าง ๆ มาส่งส่วย ทาศลูกนี่ผู้ใดหนี เข้าซ่องแล้วก็เอาตัวไม่ได้ เพราะในซ่องมีเจ้านายมีอ�ำนาจแขงแรง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด�ำรงราชสมบัติมา ตั้งแต่ ปีมเสง เอกศก...” นอกจากนีพ้ ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงบริหารด้วยหลักยุตธิ รรมสามัคคี น�ำ้ หนึง่ ใจเดียว โปรด ฯ ให้ขา้ ราชการออกไปติดตามดูแลความเรียบร้อยของการปกครองหัวเมือง ประเทศราช เพื่อให้เกิดความสงบสุขเรียบร้อย ดังปรากฏในข้อความว่า “...ให้พระยาอภัยภูเบศ พระยาจักรี พระวิเศษสุนทร ปรึกษาหารือว่า ราชการบ้านเมืองให้เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียว จงพร้อมมูลกัน ตามฉันผู้ใหญ่ ผู้น้อย อย่าให้ถือเปรียบ แก่งแย่งกัน ไพร่บ้านเมืองจะได้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป...”

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

หน้ า ที่ ท างอั ก ษรศาสตร์ ข้ า ราชการที่ มี ค วามสามารถทางอั ก ษรศาสตร์ ถึ ง ระดั บ ที่เรียกว่ากวี จะทรงสนับสนุนท�ำให้มีความ เป็ น ปึ ก แผ่ น และความรุ ่ ง เรื อ งในวรรณคดี โดยทรงให้ ก วี ไ ด้ มี โ อกาสแสดงฝี มื อ ด้ ว ยใน รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลัย ต�ำแหน่ง สุนทรโวหาร จึงน่าจะเริ่มขึ้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยนี้เอง กวีคนแรกที่ได้รับพระราชทาน ต�ำแหน่ง สุนทรโวหาร คือ กวีที่ชื่อ ภู่ และได้ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ระดับ ขุน เป็น ขุนสุนทรโวหาร และนิยมเรียกว่า สุนทรภู่ การมี ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถระดับกวี และขุนนางที่มีความสามารถย่อมสะท้อนให้ เห็นถึงความเจริญทางการศึกษาของไทยใน สมัยนั้นด้วย หน้าที่ด้านกฎหมาย นอกจากกฎหมาย ตราสามดวงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัยทรงจัดให้ขา้ ราชการในพระองค์ ที่ทรงเห็นว่ามีความเหมาะสมในเวลานั้น คือ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอกรมหมื่ น เจษฎาบดิ น ทร์ ให้ดูแลด้านความยุติธรรม หน้ า ที่ ทู ต คณะทู ต ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด ฯ ให้เดินทางไป เจริ ญ สั ม พั น ธมิ ต รไมตรี กั บ ประเทศอื่ น มักประกอบด้วย ต�ำแหน่งราชทูต อุปทูต ตรีทตู เช่น “...จึงแต่งทูตานุทูต...ถ้าแลราชทูตอุปทูต ตรีทูตข้าหลวงมีชื่อมาถึงเมื่อใด...” ส่วนทูต ต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยในระยะนี้ ได้แก่ ทูตกับชาวยุโรปอีกครั้งหนึ่ง หลังจาก 9


ที่ ค วามสั ม พั น ธ์ ไ ด้ ห ยุ ด ชะงั ก ไปในสมั ย กรุ ง ศรีอยุธยาตอนปลาย เริ่มจากเจ้าเมืองมาเก๊า แห่งโปรตุเกสได้แต่งตั้งให้คาร์โลส เดอ ซิล เวรา (Carlos de Silveira) เป็นทูตคุมเครื่อง บรรณาการเข้ า มาถวาย เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๖๑ และต่อมาอีก ๒ ปี ได้รับแต่งตั้งให้เป็น กงสุลโปรตุเกสประจ�ำไทยอีกด้วย ต่อมาได้ รั บ พระราชทานบรรดาศั ก ดิ์ เ ป็ น หลวงอภั ย พาณิ ช เมื่ อ พุ ท ธศั ก ราช ๒๓๖๔ มาควิ ส เฮสติงส์ (Marquis Hastings) ผู้ส�ำเร็จราชการ อินเดียของอังกฤษได้ส่ง จอห์น ครอว์ฟอร์ด (John Crawford) มาเจรจา แต่ ไ ม่ เ ป็ น ผลส�ำเร็จเพราะฝ่ายไทยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง วิธีค้าขาย คือ การผูกขาดสินค้าของพระคลัง

10

และการเสียภาษีหลายชั้นให้เป็นไปตามความ ต้องการของอังกฤษ การด�ำเนินการด้านเศรษฐกิจ รายได้ของ ประเทศเกิดจากการเก็บภาษีอากร การค้า กับต่างประเทศดังปรากฏในหนังสือพระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ด้ า นนาฏยศาสตร์ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ทรงได้ เ จ้ า ฟ้ า กรม หลวงพิ ทั ก ษ์ ม นตรี ช ่ ว ยเหลื อ ในการทดสอบ ท่าร�ำในละครในเรื่องอิเหนาจนงดงามและเข้า จังหวะอย่างดีจนได้รับการยกย่องว่าเป็นยอด แห่ ง ละครร� ำ และเป็ น บ่ อ เกิ ด แห่ ง ระเบี ย บ

แบบแผนการร�ำที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึง ปัจจุบัน และอาจกล่าวได้ว่าการมีบทละครที่ สวยงามในด้านท่าร�ำ มีเพลงทีไ่ พเราะและฉากที่ สวยงามนับว่าเป็นหลักการทางด้านนาฏยศาสตร์ ที่ ส� ำ คั ญ มาจนถึ ง ปั จ จุ บั น จนมี ผ ลท� ำ ให้ โรงเรี ย นนาฏศิ ล ป์ แ ละกรมศิ ล ปากรตลอด จนประเทศไทยได้มีต้นฉบับของการฟ้อนร�ำ และมีศิลปะการแสดงประจ�ำชาติที่สวยงาม อ่อนช้อยหาที่ติมิได้ นอกจากนี้ กระบวนการทางนาฏยศิลป์ ยังก่อให้เกิดงานศิลป์ด้านช่างเขียนภาพด้วย ดังจะเห็นได้จากภาพตัวละครต่าง ๆ ทีส่ วยงาม มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ เช่น ภาพอิเหนา นาง บุ ษ บา จากเรื่ อ งอิ เ หนา ภาพนางพิ ม จาก เรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น นักเขียนภาพ ดังกล่าวน่าจะได้แรงบันดาลใจจากตัวละคร ฉากและท่าร�ำจากบทละครและงานนาฏยศิลป์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั่นเอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับงานทางพุทธศิลป์ พระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิ ศ หล้ า นภาลั ย ทรงท� ำ นุ บ� ำ รุ ง ส่ ง เสริ ม ด้ า น การศาสนาตามขัตติยราชประเพณีในฐานะที่ ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภก ตั้งแต่ทรงเริ่ม ศึกษาที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อทรงขึ้น ครองราชย์พระองค์ทรงท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธ ศาสนาโดยทรงสร้างวัด บูรณปฏิสังขรณ์วัด ส�ำคัญ ๆ และสร้างพุทธเจดีย์ ด้วยฝีพระหัตถ์ พระองค์เองหลายแห่ง ดังนี้

ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


๑) พระอุ โ บสถวั ด อรุ ณ ราชวราราม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรง ปฏิสังขรณ์วัดนี้มาก พระองค์สร้างพระอุโบสถ รวมทั้งโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธธรรมมิศรราช โลกธาตุดิลกขึ้นเป็นพระประธาน โดยทรงปั้น หุ่นในส่วนพระพักตร์ พระปฏิมาประธาน ด้วย ฝีพระหัตถ์ ลักษณะทรวดทรงเป็นอย่างใหม่ซึ่ง ประดิษฐ์ขนึ้ ในรัชกาลที่ ๒ รวมทัง้ ทรงสร้างพระ ระเบียงที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ ได้รับค�ำกล่าวถึงว่า “ทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงทีไ่ หนหมด เป็น ศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่ ๒ ควรชมอย่างยิ่ง” ๒) พระวิ ห ารวั ด สุ ทั ศ นเทพวราราม พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ทรงสร้ า งวั ด สุ ทั ศ นเทพวรารามสื บ ต่ อ จาก ที่พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก มหาราชทรงเริ่มไว้ และทรงจ�ำหลักบานประตู กลางพระวิหาร พระศรีศากยมุนี วัดสุทศั นเทพ วรารามด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง ทรงแกะ สลักลวดลายซับซ้อน ๔ ชั้น งดงามเป็นเยี่ยม ๓) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) พระพุทธ ปฏิมาประธานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธ จุฬารักษ์ เป็นฝีพระหัตถ์ปั้นหุ่นพระพักตร์ที่ งดงามยิ่ง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัยได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดส�ำคัญ

อื่ น ๆ อี ก หลายวั ด เช่ น วั ด พุ ท ไธสวรรค์ วัดดุสิดาราม วัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) วัดระฆัง พระมณฑป วัดพระพุทธบาท สระบุรี ส่วนการ สร้างพุทธเจดียท์ รงสร้างไว้ครบ ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ พระธรรมเจดีย์ และ อุทเทสิกเจดีย์ การสร้างวัดในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ ย่อมชี้ให้เห็นแนวคิดส�ำคัญคือวัดเป็นสถานที่ ให้การศึกษาแก่ประชาชนการที่ทรงบ�ำรุงวัด จึงเป็นการบ�ำรุงการศึกษาส�ำหรับประชาชน ประการหนึ่งด้วย บทสรุ ป พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธ เลิศหล้านภาลัยทรงบริหารราชการ โดยการ กระจายอ�ำนาจการบริหารไปสู่บุคคลที่มีความ สามารถในด้านต่าง ๆ ทรงมอบอ�ำนาจการ บริหารราชการแผ่นดินแก่เจ้านายและขุนนาง ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ทรงส่งเสริมให้ ข้ า ราชการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร าชการตามความ สามารถและความถนัดของบุคคลนั้น ๆ การ ปกครองหัวเมืองประเทศราช ทรงใช้นโยบาย สร้างดุลอ�ำนาจของขุนนางในการบริหารการ ปกครองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทรงใช้นโยบายการทหาร การทูต และการค้า ควบคู่กันไป ตามแต่สถานการณ์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ยังผลให้บ้านเมืองมีความสงบสุข นอกจากนี้ พสกนิกรไทยปัจจุบนั ต่างตระหนัก ถึงพระบารมีปกเกล้าด้านพุทธศาสนา อักษร ศาสตร์ ศิลปะ และนาฏยศิลป์ อันเป็นต้นแบบ แห่งศาสตร์และศิลป์นานัปการ 11


วิสาขบูชา วันส�ำคัญของโลก นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

วั

น วิ ส าขบู ช า หรื อ วั น เพ็ ญ เดื อ น ๖ ได้ รั บ การยกย่ อ งจาก พุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวัน ส�ำคัญที่สุดในทางพระพุทธศาสนาเนื่องจาก เป็ น วั น ที่ บั ง เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ส� ำ คั ญ ถึ ง สาม เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและ เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ ทั้ ง หมดได้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ ๒,๕๐๐ กว่ า ปี ก ่ อ น ณ ดิ น แดนที่ เ รี ย กว่ า ชมพู ท วี ป ในสมั ย พุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ ๘๐ ปี ก่อน พุ ท ธศั ก ราชเป็ น “วั น ประสู ติ ข องเจ้ า ชาย สิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราช อุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาล ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ บ รรลุ พ ระสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณตรั ส รู ้ เ ป็ น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่ม โพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น�้ำเนรัญชรา ต�ำบลอุรุ เวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียใน ปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ ๑ ปี ก่อน พุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพาน 12

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้รม่ สาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน เมืองกุสนิ ารา (อยู่ ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบนั ) โดยเหตุการณ์ ทั้ ง หมดล้ ว นเกิ ด ตรงกั บ วั น เพ็ ญ เดื อ น ๖ หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่า วันเพ็ญเดือน ๖ นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันที่ เกิดเหตุการณ์สำ� คัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มาก ทีส่ ดุ จึงมีคำ� เรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า "วันพระพุทธ เจ้า” และได้นิยมประกอบพิธีบ�ำเพ็ญบุญกุศล และประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการ ถวายสักการะร�ำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน ส� ำ หรั บ วั น วิ ส าขบู ช าในประเทศไทย ได้ปรากฏตามหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุง สุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้ แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมือ่ ประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่ง กรุงลังกา ได้ประกอบพิธวี สิ าขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาล ต่อ ๆ มา ก็ทรงด�ำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยัง

ถือปฏิบัติอยู่ และสมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทย กับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธ ศาสนาใกล้ชดิ กันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้ เ ดิ น ทางเข้ า มาเผยแพร่ พ ระพุ ท ธศาสนา และเชื่ อ ว่ า ได้ น� ำ การประกอบพิ ธี วิ ส าขบู ช า มาปฏิ บั ติ ใ นประเทศไทยด้ ว ย ในหนั ง สื อ นางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธี วิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ ว่ า “เมื่ อ ถึ ง วั น วิ ส าขบู ช า พระเจ้ า แผ่ น ดิ น ข้าราชบริพาร ทัง้ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทัง้ ประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกต�ำบล ต่างช่วยกันท�ำความสะอาด ประดับตกแต่ง พระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่ว พระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็น เวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรม วงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบ�ำเพ็ญพระราช กุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ด�ำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และ นางสนองพระโอษฐ์ ต ลอดจนข้ า ราชการ ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระอารามหลวง นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


เพื่ อ ทรงเวี ย นเที ย นรอบพระประธาน ส่ ว น ชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหาร บิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์ แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนก�ำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่ อ ยสั ต ว์ ๔ เท้ า ๒ เท้ า และเต่ า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะท�ำให้ คนอายุยืนยาวต่อไป" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุ ง รั ตนโกสิ น ทร์ ต อนต้ น เนื่องจากอ�ำนาจ ของศาสนาพราหมณ์ มีอิทธิพลสูงกว่าอ�ำนาจ ของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จน มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลั ย รั ช กาลที่ ๒ แห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐) ทรงด�ำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ส�ำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้น ใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ ทรงท�ำขึน้ เป็นครัง้ แรกในวันขึน้ ๑๔ ค�ำ่ ๑๕ ค�ำ่ และวั น แรม ๑ ค�่ ำ เดื อ น ๖ พ.ศ.๒๓๖๐ และให้ จั ด ท� ำ ตามแบบอย่ า งประเพณี เ ดิ ม หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชน ประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญ อายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศก โรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้ น การประกอบพิ ธี ใ นวั น วิ ส าขบู ช าใน ประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย รัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจน กระทั่งปัจจุบันและมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ในวัน วิสาขบู ช าที่ ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า ทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย คือการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน "ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ" ตัง้ แต่วนั ที่ ๑๒ - ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วั น โดยได้ จั ด งานส่ ว นใหญ่ ขึ้ น ที่ ท้องสนามหลวง และได้มีการปฏิบัติธรรมอัน ยิ่งใหญ่อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย นอกจากนี้ วันวิสาขบูชายังถูกก�ำหนด ให้เป็นวันส�ำคัญของโลกด้วย เริ่มจากผู้แทน ของประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ คือ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฏาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากี ส ถาน และไทย ได้ ร ่ า งข้ อ มติ ร ่ ว มกั น และขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ที่จะ ประกาศให้ วั น วิ ส าขบู ช า เป็ น วั น หยุ ด ของ สหประชาชาติ ในการประชุม International Buddhist Conference ณ กรุ ง โคลั ม โบ เมื อ งหลวงของประเทศศรี ลั ง กา ระหว่ า ง วันที่ ๙ - ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑ แต่ ต่ อ มาคณะผู ้ แ ทนจากศรี ลั ง กา ได้ เ ปลี่ ย น เป็นการเสนอข้อมติให้ประกาศวันวิสาขบูชา เป็น "วันส�ำคัญสากล" แทนเนื่องจากวันหยุด ของสหประชาชาติมีมากแล้ว และจะกระทบ ต่ อ การด� ำ เนิ น งานของสหประชาชาติ และ ได้ ด� ำ เนิ น การให้ ค ณะผู ้ แ ทนถาวรประจ� ำ สหประชาชาติ จ� ำ นวน ๑๖ ประเทศ คื อ ศรีลงั กา บังคลาเทศ ภูฎาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์

มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครนให้ ร่ ว มลงนามในหนั ง สื อ ถึ ง ประธานที่ ป ระชุ ม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพื่อน�ำเรื่องนี้ เข้าสูร่ ะเบียบวาระของการประชุมใหญ่ฯ จนเมือ่ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ประชุมใหญ่ สมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครัง้ ที่ ๕๕ จึ ง ได้ พิ จ ารณาระเบี ย บวาระที่ ๑๗๔ ว่ า ด้วยการยอมรับวันวิสาขบูชาในระดับสากล (International recognition of the Day of Visak) โดยการเสนอของศรีลังกา ประธาน ที่ ป ระชุ ม ได้ ใ ห้ ผู ้ แ ทนจากศรี ลั ง กาเสนอร่ า ง ข้อมติ และเชิญให้ผู้แทนจาก ไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฎาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดีย ขึ้นแถลง สรุปความได้ว่า “วั น วิ ส า ข บู ช า เ ป็ น วั น ส� ำ คั ญ ของ พุ ท ธศาสนิ ก ชนทั่ ว โลก เพราะเป็ น วั น ที่ พระพุ ท ธเจ้ า ประสู ติ ตรั ส รู ้ เสด็ จ ดั บ ขั น ธ ปริ นิ พ พาน พระพุ ท ธเจ้ า ทรงสั่ ง สอนให้ มวลมนุ ษ ย์ มี เ มตตาธรรมและขั น ติ ธ รรมต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ด ้ ว ยกั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด สั น ติ สุ ข ใน สั ง คม อั น เป็ น แนวทางของสหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับ เป็นการรับรองความส�ำคัญของพุทธศาสนาใน องค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าว เป็นที่ส�ำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และที่ท�ำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสม” นายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูตคณะผู้แทน ถาวรไทยประจ�ำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ให้เหตุผลในถ้อยแถลงมีใจความตอนหนึ่ง ว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็น มหาบุ รุ ษ ผู ้ ใ ห้ ค วามเมตตาต่ อ หมู ่ ม วลมนุ ษ ย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษา พุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดย ไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และ ทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิด ค่าตอบแทน” ในทีส่ ดุ องค์การสหประชาชาติได้ ก�ำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็น “วันส�ำคัญสากล” (ด้วยชื่อวันว่า “Visak”) โดยการเสนอของ ประเทศศรีลังกาดังกล่าว ด้วยมติเอกฉันท์ในที่ ประชุ ม สมั ช ชาใหญ่ แ ห่ ง สหประชาชาติ เ มื่ อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ 13


ข่าวกรองยุทธศาสตร์ สถานการณ์ราคาพลังงาน นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์

นห้ ว งเวลาตั้ ง แต่ เ ดื อ นมิ ถุ น ายน ๒๕๕๗ เกือบครบรอบหนึ่งปี ที่ราคา น�้ ำ มั น ดิ บ ตลาดโลกตกลงอย่ า ง รวดเร็ ว กว่ า ร้ อ ยละ ๕๐ ได้ มี ป ระเด็ น ที่ น่าสนใจส�ำหรับไทยได้แก่

ความต้องการพลังงานของโลกได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มกว่าร้อยละ ๓๐ ในปี ๒๐๔๐ โดยเฉพาะกับประเทศเศรษฐกิจ เกิดใหม่ เช่น จีน อินเดีย และอาเซียน และ แม้จะมีความพยายามพัฒนาพลังงานทางเลือก มากขึน้ แต่ดว้ ยประสิทธิภาพ และความสะดวก พลังงานจากฟอสซิลจะยังคงมีความส�ำคัญใน อันดับต้น โดยเฉพาะจากน�้ำมันกับภาคขนส่ง กับเครื่องบิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในชีวิต ประจ�ำวัน 14

ส่วนปัจจัยพื้นฐานในการก�ำหนดราคา น�ำ้ มัน คือปริมาณความต้องการหรือ Demand จากกลุ ่ ม ผู ้ น� ำ เข้ า ซึ่ ง ได้ แ ก่ กลุ ่ ม ประเทศ เศรษฐกิ จ พั ฒ นาแล้ ว หรื อ Organization for Economic Cooperation and Development : OECD และประเทศก�ำลัง พัฒนา หรือ Non-OECD เช่น จีน อินเดีย และ อาเซียน เปรียบเทียบกับปัจจัยเรื่องปริมาณ การผลิต หรือ Supply จากกลุ่มผู้ส่งออกซึ่ง ได้แก่กลุ่ม Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC ที่น�ำโดย ซาอุดิอาระเบีย และกลุ่ม Non-OPEC ที่น�ำ โดยรัสเซียแต่ที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบีย ในนาม OPEC จะถูกมองว่าเป็น Swing Producer คือ จะปรับเพิ่มหรือลด Supply ตามยุทธศาสตร์

เพื่ อ ให้ ส ่ ง ผลต่ อ ราคาน�้ ำ มั น ดิ บในตลาดโลก อาทิ เมื่อปี ๑๙๗๓ มีความร่วมมือกับอิยิปต์ ปรับลดก�ำลังการผลิต และงดการส่งออกไป ยังสหรัฐฯ จากความไม่พอใจสหรัฐฯ ที่ให้การ สนั บ สนุ น อิ ส ราเอลต่ อ ต้ า นประเทศมุ ส ลิ ม ท�ำให้ราคาน�้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นถึง ๔ เท่าตัว อย่ า งไรก็ ต ามซาอุ ฯ ก็ เ คยได้ รั บ ประสบการณ์ ก ารถู ก กดดั น ให้ ล ดก� ำ ลั ง การ ผลิตมาแล้วในห้วงปี ๑๘๘๐ – ๑๙๘๕ ซึ่งแม้ จะท�ำให้ราคาน�้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นแต่ในภาพ รวม GDP ของซาอุฯ หายไปถึงร้อยละ ๒๐ เนื่องจากเสียสัดส่วนการตลาดให้กลุ่ม Non OPEC โดยเฉพาะสหรัฐฯ ทีไ่ ม่ลดก�ำลังการผลิต นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์


แต่ในห้วงหลายปีมานี้ ราคาน�้ำมันดิบ ตลาดโลกได้สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นการ ดึ ง ดู ด การลงทุ น ในขณะเดี ย วกั น ก็ มี ผ ลต่ อ ความมั่นคงของชาติด้วย จึงท�ำให้เริ่มสังเกต เห็นการปรับยุทธศาสตร์ทางพลังงานของชาติ ต่างๆ อาทิ สหรัฐฯ ในฐานะประเทศน�ำเข้า สุทธิ ได้คิดค้นเทคโนโลยีในการแสวงหาแหล่ง น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติต่างจากรูปแบบเดิม หรือ Unconventional oil and gas โดย เป็ น การขุ ด เจาะจากหิ น ดิ น ดานที่ เ รี ย กว่ า Shale Technology, จากทราย หรือ Oil Sand และจากทะเลลึก หรือ Deep Oilfield จนเริ่มเปลี่ยนจากผู้น�ำเข้าเป็นผู้ส่งออกและ น่าจะสามารถเป็นผู้ส่งออกสุทธิในปี ๒๐๓๕ นอกจากนั้น แคนาดา ออสเตรเลียและบราซิล ก็ ล ้ ว นใช้ เ ทคโนโลยี ดั ง กล่ า ว และสามารถ ส่งออกพลังงานสู่ตลาดได้แล้วเช่นกัน

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ส่ ว นจี น ที่ มี ค วามต้ อ งการพลั ง งานอย่ า ง มาก นอกจากการมีนโยบายแข็งกร้าวเรื่องแหล่ง พลังงานในทะเลจีนแล้ว จีนก�ำลังฟันฝ่าอุปสรรค เรื่ อ งพื้ น ที่ เ ขาสู ง กั บ แหล่ ง น�้ ำ ในการลงทุ น เทคโนโลยี Shale ของสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน ทั้งยัง มีการสร้างเครือข่ายการขนส่งพลังงานทางบก จากเอเชียกลางถึงไซบีเรีย การควบคุมการขนส่ง ทางทะเลจากทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้สู่จีน ในยุทธศาสตร์การค้าเส้นทางสายไหมใหม่หรือ New Silk Road Strategy ที่ได้ฟื้นฟูขึ้น และจีน ยังมีการกระจายความเสี่ยงจากความไม่มั่นคง ในตะวันออกกลางด้วยการปรับยอดการสั่งซื้อ มายังรัสเซีย

และส่งผลให้ Supply น�้ำมันดิบในตลาดโลก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากแต่ในปีที่แล้ว Demand กลับไม่ได้ มากตามคาดการณ์ จากภาวะเศรษฐกิจโลก ชะลอตัว ดังนั้นเมื่อ Supply เกิน Demand ราคาจึงตกลง แต่ครั้งนี้ซาอุฯ ในนาม OPEC ได้ยืนยันไม่ลด Supply ท�ำให้มองได้ว่าการที่ ซาอุฯ ใช้ยุทธศาสตร์ราคาต�่ำ และยอมสูญเสีย รายได้ น่าจะเพือ่ ประโยชน์อนื่ อันได้แก่ ต้องการ ให้ มีผ ลกระทบต่ อ เศรษฐกิ จ ของรัส เซียและ อิหร่าน คู่แข่งและมีรายได้หลักจากการส่งออก พลังงาน ทั้งยังเป็นผู้ให้การสนับสนุนส�ำคัญแก่

โดยได้ ท� ำ สั ญญาซื้ อ ก๊ า ซธรรมชาติ จ าก รัสเซียมูลค่ า ถึ ง ๔ แสนล้ า นเหรี ย ญ ระยะ เวลาถึง ๓๐ ปี ซึ่งเป็นจังหวะที่ลงตัวส�ำหรับ รัสเซีย ที่ต้องการคืนความเป็นชาติมหาอ�ำนาจ ด้วยศักยภาพทางพลังงานเช่นกัน โดยรัสเซีย มีการเพิม่ ก�ำลังการผลิต และได้เข้าผนวกไครเมีย ซึ่งมีแหล่งพลังงานของยูเครน จนถูกต่อต้าน และคว�่ำบาตรการส่งออกพลังงานไปยังชาติ ตะวั น ตกจึ ง ท� ำ ให้ รั ส เซี ย ประกาศเน้ น การ ส่ ง ออกพลั ง งานมายั ง เอเชี ย มากขึ้ น ท� ำ ให้ ในภาพรวมแล้วนักวิเคราะห์มองว่าโลกก�ำลัง เข้าสูก่ ระบวนการปรับสมดุลการผลิตน�ำ้ มันหรือ Rebalancing of Global Oil Production

รัฐบาลมุสลิมชีอะห์ของ ประธานาธิบดี Assad แห่งซีเรีย ที่ซาอุฯ ต้องการโค่นล้ม เนือ่ งจาก ประธานาธิบดี Assad ได้ขดั ขวาง ค� ำ ขอของกาตาร์ ในการสร้ า งท่ อ แก๊ ส ผ่ า น ซี เ รี ย ไปยั ง ยุ โ รป แต่ ก ลั บ ท� ำ ข้ อ ตกลงเรื่ อ ง ดังกล่าวกับอิหร่าน (ปี ๒๐๑๑ อิหร่าน อิรัก ซีเรีย ท�ำข้อตกลงสร้างท่อแก๊สจากอิหร่าน ผ่านอิรักไปซีเรีย เพื่อโครงการต่อเนื่องไปยัง ยุโรป) ซึ่งหากโครงการประสบผลส�ำเร็จ และ ผนวกกับการยกเลิกมาตรการคว�่ำบาตรกรณี นิวเคลียร์อิหร่าน นอกจากจะหมายถึงการเสีย สัดส่วนการตลาดพลังงานของกลุ่มประเทศ 15


รอบอ่ า วแล้ ว ยั ง จะหมายถึ ง การเพิ่ ม ความ เข้มแข็งให้อาณาจักรรัฐชีอะห์ หรือ Shiite axis คู่ขัดแย้งเรื่องนิกายศาสนาของซาอุฯ อีกด้วย แม้ ผ ลลบทางเศรษฐกิ จ ต่ อ รั ส เซี ย และ อิหร่าน จะตรงกับความต้องการของสหรัฐฯ หากแต่ซาอุฯ ก็น่าจะมีเป้าหมายเพื่อจ�ำกัด Supply จากกลุ่ม Unconventional โดย เฉพาะจากแหล่ ง ผลิ ต ใหญ่ ใ นสหรั ฐ ฯ ด้ ว ย เนือ่ งจากมีตน้ ทุนการผลิตทีค่ อ่ นข้างสูง ซึง่ หาก บังเกิดผลดังกล่าว ก็นา่ จะท�ำให้ OPEC คงความ เป็ น ผู ้ ผ ลิ ต รายส� ำ คั ญ และคงศั ก ยภาพการ ก�ำหนดราคาต่อไป ส� ำ หรั บ ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น จากราคา น�้ำมันตกต�่ำครั้งนี้แล้วคือ เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออก โดยเฉพาะ 16

อิหร่านและรัสเซีย ซึ่งแนวทาง ความร่วมมือในการแก้ปญ ั หาของ ทั้งสองประเทศ อาจท�ำให้ภาพ การแบ่งขั้วกลุ่มประเทศมีความ ชัดเจนมากขึ้น ส่วนผลกระทบ ต่อกลุ่มผู้ผลิต Unconventional คื อ มี ร ายงานการลดก� ำ ลั ง การ ผลิ ต ลงและบางแห่ ง ต้ อ งปิ ด กิ จ การเนื่ อ งจากไม่ ส ามารถทน ต่อภาวะขาดทุนได้​ แต่ผลต่อประเทศผู้ น�ำเข้า ราคาน�้ ำ มั น ที่ ต ก ท� ำ ใ ห้ GDP เติบโตขึ้น โดยอินเดี ย และจีน ได้รับประโยชน์มากที่ สุด อินเดีย มีการริเริม่ ขบวนการส�ำรองน�ำ้ มัน ทางยุทธศาสตร์หรือ Stra tegic Petroleum Reserve : SPR เพิม่ การ ลงทุนขยายโรงกลั่น เพื่อผลก�ำไร การส่งออกน�้ำมันส�ำเร็จรูป ส่วน จีนได้เพิ่ม SPR เพื่อควา มมั่นคงทางพลังงาน มากขึ้นเช่นกัน แต่ส�ำหรับ EU บางประเทศ และญี่ปุ่น ระบบเศรษฐกิจ มีความซับซ้อน ราคาน�้ ำ มั น ที่ ล ดลง สิ น ค้ า ที่ ร าคาถู ก ลง ท�ำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต�่ำ ก ลับไม่เป็นผลดี ต่อระบบเศรษฐกิจ ส่วน AEC ในป ลายปีนี้

ทีร่ วมทัง้ ไทย ราคาน�ำ้ มันทีถ่ กู ลง จะช่วยส่งเสริม การเติบโตของ GDP เช่นกัน แต่ไ ทยก็จะเสีย รายได้ภาษีสรรพสามิต, รายได้กา รส่งออก ไปยังตะวันออกกลางและรัสเซีย ที่ก�ำลังซื้อ ลดลง, รายได้ ก ารท่ อ งเที่ ย วในจั งหวั ด ที่ มี นักท่องเที่ยวชาวรัสเซียมาก เช่น พัทยาและ ภูเก็ต และยังอาจท�ำให้ช่องว่าง ทางเศรษฐกิจ ระหว่างคนเมืองทีไ่ ด้ประโยชน์จากการใช้นำ�้ มัน ราคาถูกกับเกษตรกรในชนบทกว้างขึ้น จาก ราคายางพาราที่มีส่วนที่ตกต�่ำตา มราคายาง สังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโ ตรเคมี รวมถึง ผู้ปลูกพืชพลังงานอาจได้รับผลกระ ทบจาก ความต้องการใช้พลังงานทดแทนจากพืชลดลง ​ส่วนสถานการณ์ราคาน�้ำมันในห้วงต่อไป ที่อาจผันผวนยากต่อการคาดการณ์ แต่มีการ ประเมินว่า ราคาที่ตกลง ส่วนหนึ่งมาจากการ เสนอข่าวของสือ่ เรือ่ ง supply ล้นตลาด ทีโ่ ดย ความเป็นจริง supply เริ่มลดลงแล้ว และการ ทีน่ ำ�้ มันราคาถูก น่าจะดึงดูด Demand รวมทัง้ Demand ในช่วงฤดูหนาวปลายปี โดยธรรมชาติ จะมีมากขึ้น ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าวอาจจะได้ เห็นราคาน�้ำมันปรับตัวขึ้นต่อเนื่องอีกครั้ง แต่ ราคาไม่น่าจะถึงระดับร้อยเหรียญต่อบาร์เรล เนือ่ งจากแหล่ง Supply Shale Oil แหล่งใหญ่ ของสหรัฐฯ จะสามารถฟืน้ ตัวกลับมาให้ผลผลิต ได้ในเวลาไม่นาน หากราคาปรับตัวสูงขึ้น

ข้อพิจารณา​

สถานการณ์ราคาน�้ำมันตกต�่ำในครั้งนี้ น่าจะเป็นหนึง่ ในภาพสะท้อนยุทธศาสตร์ ทีม่ ี ความซับซ้อนของประเทศต่างๆ ซึ่งไทยจ�ำเป็น นาวาอากาศเอกหญิง สุมล จงวรนนท์


ต้ องท�ำความเข้าใจกับพลวัตที่ก�ำลังเกิดขึ้น เพือ่ การก�ำหนดมาตรการรองรับอย่างเหมาะสม ที่ได้แก่ ๑. ในฐานะประเทศน�ำเข้าพลังงาน ควร ศึกษาโครงสร้างราคาพลังงานทีอ่ าจเปลีย่ นแปลง ตามยุทธศาสตร์ของผู้ส่งออก ทั้งจากรัสเซียและ กลุม่ Unconventional รวมทัง้ การเฝ้าติดตาม สถานการณ์ทมี่ ผี ลต่อราคาพลังงาน อาทิ การสู้ รบในเยเมน การเจรจานิวเคลียร์อิหร่าน หรือ สถานการณ์ความขัดแย้งเรือ่ งพลังงานของชาติ ต่ างๆ ซึ่งฝ่ายความมั่นคงน่าจะมีมาตรการใน หลักประกันเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน หาก สถานการณ์ขบั เคลือ่ นสูค่ วามขัดแย้งทางทหาร และมีผลต่อการน�ำเข้าพลังงานของไทย ๒. ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน ASEAN Main Land ทีม่ ศี กั ยภาพการเป็นพืน้ ทีเ่ ชือ่ มโยง น่าจะ ได้ศึกษาแนวทางให้ไทยเป็นพื้นที่เชื่อมโยง การขนส่งพลังงาน อาทิ การศึกษาถึงความ เป็นไปได้ และความท้าทายต่างๆ จากอดีตถึง ปัจจุบัน กับโครงการให้คอคอดกระ เป็นพื้นที่ เชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ที่ จี น เคยให้ ค วามสนใจ ที่ อ าจเชื่ อ มโยงกั บ ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมใหม่ได้ ๓. ในฐานะที่ ต ้ อ งแสวงหาแนวทาง ใน การพึ่งพาพลังงานในประเทศ ซึ่งนับเป็น ห้ วงเวลาที่ดีที่ประชาชนก�ำลังตื่นตัวกับการ ปฏิรูประบบพลังงานไทย โดยประเด็นที่อยู่ใน ความสนใจได้แก่ การส�ำรวจแหล่งพลังงานใหม่ และการท�ำให้ไม่วา่ จะเป็นระบบการให้สมั ปทาน หรือการแบ่งปันผลประโยชน์ มีความโปร่งใส

เพื่อให้ชาติได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการ แสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือกลุม่ ด้อยโอกาส ทางพลังงาน ทีน่ อกเหนือจากการอุดหนุนราคา ที่อาจน�ำมาซึ่งการแสวงประโยชน์ สร้างความ ไม่เป็นธรรมและเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง ในสังคม อย่างไรก็ตามข้อมูลด้านพลังงานนับ ว่ ามีความซับซ้อน ซึ่งประชาชนอาจถูกชี้น�ำ ด้ วยอคติต่างๆ ให้มองผ่านข้อมูลเพียงด้าน เดียวได้โดยง่าย ฝ่ายความมั่นคงจึงน่าจะมี มา ตรการเชิงรุก เพื่อให้การปฏิรูปพลังงาน ในครั้งนี้ ปราศจากการใช้อคติมาน�ำแนวทาง การแก้ปญ ั หา และยังหมายรวมถึงปัญหาแหล่ง พลังงานในพืน้ ทีท่ บั ซ้อนกับประเทศเพือ่ นบ้าน ที่แนวทางการแก้ไข ต้องมองอย่างครอบคลุม แล ะต้องค�ำนึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกรอบความร่วมมือ AEC ด้วย 17


จับตากลุ่ม “ไอเอส” ในมาเลเซีย พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ปั

จ จุ บั น ป ร ะ เ ท ศ ใ น ภู มิ ภ า ค เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ห ลาย ประเทศ ก�ำลังประสบกับปัญหา การก่อการร้ายที่มุ่งต่อต้านอ�ำนาจรัฐ และ ต้องการก้าวไปสู่การจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วย หลักศาสนาเช่นเดียวกับความพยายามของ กลุ ่ ม ไอเอส (IS) หรื อ “ไอซิ ส ” (ISIS) ใน ตะวันออกกลาง ทีก่ ำ� ลังส่งออก “แนวความคิด” ดั ง กล่ า วไปยั ง ภู มิ ภ าคต่ า งๆ ทั่ ว โลก ผ่ า น กองก�ำลังที่เดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ และ ภายหลังจากจบภารกิจในซีเรียหรืออิรักแล้ว นักรบเหล่านีต้ า่ งก็พากันแยกย้ายกลับประเทศ ของตน พร้อมกับแนวความคิดในการสร้าง ประเทศของตนให้ เ ป็ น ดิ น แดนบริ สุ ท ธิ์ ท าง ศาสนาผ่านกระบวนการ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” เป็นที่น่าสังเกตว่าสงครามศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่ม ไอเอสนัน้ มีความแตกต่างจากสงครามศักดิส์ ทิ ธิ์ 18

ของกลุม่ อัลกออิดะห์อยูบ่ างส่วน เพราะสงคราม ของพวกไอเอส คือการสูร้ บภายในศาสนาอิสลาม ด้วยกันเอง (war within Islam) ในขณะที่ สงครามของอัลกออิดะห์คือการสู้รบกับต่าง ศาสนา ในห้วงเวลาทีผ่ า่ นมา ประเทศในภูมภิ าคนี้ มี พ ลเมื อ งของตนเดิ น ทางเข้ า ร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ไอเอสอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ทางการ อินโดนีเซียพบว่ามีชาวอินโดนีเซียจ�ำนวน ๕๑๔ คน เดินทางเข้าร่วมกับกลุม่ ไอเอสในอิรกั และซีเรีย แต่เชื่อกันว่าตัวเลขนี้น้อยกว่าความ เป็นจริงอยู่มาก ล่าสุดพบว่ามีครอบครัวชาว อินโดนีเซียจ�ำนวน ๓ ครอบครัว รวม ๑๖ คน มีทั้งชาย หญิง ผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กทารก เดินทางออกจากอินโดนีเซียเพือ่ ไปท่องเทีย่ ว ตุรกี ก่อนที่จะขาดการติดต่อกับคณะท่อง เทีย่ วหลังจากเดินทางถึงทีห่ มายได้เพียง ๒ วัน

ในเวลาใกล้เคียงกันทางการตุรกีก็สามารถจับกุม ชาวอินโดนีเซียได้อีกนับสิบคน ขณะก�ำลังจะ หลบหนีข้ามพรมแดนเข้าไปในประเทศซีเรีย ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้เป็นกลุ่มครอบครัวอีก เช่นเดียวกัน นับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า การ เกณฑ์พลพรรคเข้าร่วมกลุ่มไอเอสและเข้าร่วม กลุ่มอัลกออิดะห์นั้น มีลักษณะที่แตกต่างกัน อีกประการหนึ่งคือ ผู้เข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส จะอพยพครอบครัวตามมาด้วยเพื่อตั้งถิ่นฐาน ถาวร ในขณะทีก่ ารเข้าร่วมกับกลุม่ อัลกออิดะห์ นั้น จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวบุคคล มิได้น�ำ ครอบครัวติดตามมาด้วยแต่อย่างใด ทางด้านฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ มี ก ารต่ อ สู ้ เ พื่ อ แบ่ ง แยกดิ น แดนในเกาะ มิ น ดาเนา (Mindanao) ซึ่ ง อยู ่ ท างตอนใต้ ของประเทศ นับเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดน ที่ ย าวนานที่ สุ ด ในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


โดยเฉพาะการสูร้ บกับกลุม่ แนวร่วมปลดปล่อย อิ ส ลามโมโร (MILF : Moro Islamic Liberation Front) ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะ มินดาเนาดังกล่าวมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๖ จนกระทั่งมีการเจรจาสันติภาพเมื่อเดือน ตุ ล าคม พ.ศ.๒๕๕๕ โดยรั ฐ บาลและกลุ ่ ม แนวหน้ า ปลดปล่ อ ยอิ ส ลามโมโรตกลงที่ จ ะ ก�ำหนดกรอบเจรจาสันติภาพโดยให้มีการจัด ตั้งเขตปกครองตนเองบนเกาะมินดาเนาในปี พ.ศ.๒๕๕๙ แต่กระแสนิยมกลุ่มไอเอส ได้ส่ง สัญญาณบางประการถึงการเจรจาสันติภาพ ทีเ่ กิดขึน้ ดังกล่าว เนือ่ งจากมีกระแสข่าวว่ากลุม่ แนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร ก�ำลังน�ำแนว ความคิดในการจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วยหลัก ศาสนาบริสุทธิ์ตามแบบฉบับของกลุ่มไอเอส มาใช้ในเกาะมินดาเนาซึ่งมีผู้คนนับถือศาสนา อิสลามเป็นจ�ำนวนมาก ความวิตกกังวลของ ฟิลิปปินส์ต่อการขยายตัวของกลุ่มไอเอสใน เกาะมินดาเนาแสดงออกมาให้เห็นด้วยการ เพิ่มก�ำลังทหารกว่า ๑,๕๐๐ นาย ในเกาะ โดยเฉพาะพื้ น ที่ เ สี่ ย ง เช่ น เมื อ งซั ม บวงกา บาสิ ลั น ซู ลู และเกาะตาวี - ตาวี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สกั ด กั้ น การขยายตั ว ของกลุ ่ ม ไอเอส และ เพื่ อ รวบรวมข้ อ มู ล ข่ า วสารเกี่ ย วกั บ ความ เคลื่อนไหวของกลุ่มในพื้นที่ดังกล่าว แต่ที่น่าจับตามองมากที่สุด น่าจะเป็น ความเคลื่อนไหวของกลุ่มไอเอสในประเทศ มาเลเซีย ทีม่ ปี ระชาชนเดินทางเข้าร่วมกับกลุม่ ไอเอสเป็นจ�ำนวนมาก แม้จะมีตวั เลขอย่างเป็น ทางการว่ามีจ�ำนวนเพียงประมาณ ๒๐๐ คน แต่แหล่งข่าวต่างๆ ก็เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงมี จ�ำนวนมากกว่าหลายเท่าตัว อีกทั้งยังมีทหาร และอดี ต ทหารผ่ า นศึ ก ในกองทั พ มาเลเซี ย เดิ น ทางเข้ า ร่ ว มหรื อ แม้ แ ต่ เ ป็ น แนวร่ ว ม หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

อยู่ภายในประเทศ เพื่อท�ำหน้าที่ในการเกณฑ์ ชาวมาเลเซียเข้าร่วมกับกลุม่ ไอเอส ทัง้ นีเ้ พราะ ประชากรมาเลเซียบางส่วน มีแนวความคิด ต่อต้านโลกตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และ ยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นเกี่ยวกับ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ เป็นชนวน ท�ำให้ชาวมาเลเซียบางส่วนมอง สหรัฐฯ และโลกตะวันตกในแง่ลบเช่นเดียวกับ กลุม่ ไอเอส ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เครือ่ งบิน สายการบิ น มาเลเซี ย แอร์ ไ ลน์ เที่ ย วบิ น ที่ เ อ็ ม เอช-๑๗ ถู ก ยิ ง ตกในยู เ ครนเมื่ อ เดื อ น มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา สื่อกระแสหลัก ในมาเลเซีย เช่น หนังสือพิมพ์ “นิวสเตรทส์ ไทม์” ได้เสนอข่าวว่าผู้โจมตีเครื่องบินโดยสาร ล�ำดังกล่าวคือเครือ่ งบินรบของ “กองทัพยูเครน” ทีเ่ ป็นผูย้ งิ อาวุธปล่อยน�ำวิถแี บบอากาศสูอ่ ากาศ ใส่เครื่องบินของมาเลเซีย พร้อมทั้งกล่าวหา ว่าสหรัฐฯ และยุโรปตะวันตกคือผู้สนับสนุน กองทัพยูเครนมาโดยตลอด แม้กระแสข่าว อีกด้านหนึ่งจากสหรัฐฯ และโลกตะวันตกจะ ระบุว่าผู้ลงมือยิงคือ “กลุ่มกบฎ” ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากรัสเซียก็ตาม ดังนั้นแนวความคิด ของชาวมาเลเซี ย บางส่ ว นจึ ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิดต่อต้านตะวันตกของกลุ่มไอเอส ซึ่ง ท�ำให้ง่ายต่อการโน้มน้าวจิตใจให้คล้อยตาม ต่อการชักน�ำเข้าร่วมกลุ่ม จึงไม่น่าแปลกใจที่ปรากฏข่าวการเข้า ร่วมของพลเรือนและทหารมาเลเซียกับกลุ่ม ไอเอสอย่างไม่ขาดสาย เช่น เว็บไซต์ “อินเตอร์ เนชั่นแนล บิสเนส ไทม์” (International Business Times) ที่ได้น�ำเสนอข่าวเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ผ่านมา โดยเปิด เผยค�ำให้สมั ภาษณ์ของนายอับดุล ราฮิม บากรี (Abdul Rahim Bakri) รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงกลาโหมของมาเลเซียว่า มีกำ� ลังพล หรือทหารผ่านศึกของกองทัพมาเลเซียจ�ำนวน อย่างน้อย ๗๐ นาย เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่ม ไอเอสในซี เ รี ย และอิ รั ก หรื อ ท� ำ การติ ด ต่ อ สื่อสารข้ามโลกกับกลุ่มไอเอสผ่านเครือข่าย สังคมออนไลน์ เพื่อท�ำหน้าที่ในการจัดหาชาว มาเลเซียไปร่วมการสูร้ บในตะวันออกกลาง จน ส่งผลให้ชาวมาเลเซียกลายเป็นนักรบในระดับ แนวหน้าของกลุ่มไอเอส โดยเฉพาะการเป็น มือระเบิดพลีชีพ (suicide bomber) หนังสือพิมพ์เดอะ สเตรท ไทม์ (The Straits Times) ของมาเลเซียฉบับวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ ได้เสนอข่าวการจับกุม ทหารมาเลเซีย ๒ นาย ที่ต้องสงสัยว่าเชื่อมโยง กั บ กลุ ่ ม ไอเอสในตะวั น ออกกลาง ผลการ สอบสวนท� ำ ให้ ท ราบว่ า ขณะนี้ ก ลุ ่ ม ไอเอส ก�ำลังพุ่งเป้าไปที่ก�ำลังพลของกองทัพมาเลเซีย เพื่อที่จะชักน�ำให้เข้าร่วมเป็นนักรบของกลุ่ม เนื่องจากทหารของมาเลเซียนั้นถือได้ว่าเป็น นั ก รบที่ ผ ่ า นการฝึ ก ฝนมาอย่ า งดี และเป็ น จักรกลสงครามชั้นยอดที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้อง เสียเวลาในการฝึกฝนใหม่ สามารถทุ่นเวลา ในการสร้างนักรบของกลุ่มไอเอส ซึ่งปัจจุบัน ก�ำลังประสบความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง และ ขาดการทดแทนก�ำลังพลที่มีขีดความสามารถ ในระดับสูงอย่างเพียงพอ ดร.บิลเวียร์ ซิงฮ์ (Dr.Bilveer Singh) ผูซ้ งึ่ ศึกษาเกีย่ วกับการก่อการร้ายในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้มานานกว่า ๓๐ ปี ได้กล่าว แสดงความวิตกกังวลถึงกรณีที่ทหารมาเลเซีย หันไปเข้าร่วมกับกลุม่ ไอเอสว่า เมือ่ บุคลากรของ กองทัพมาเลเซีย ผูซ้ งึ่ ควรจะเป็นผูป้ กป้องอ�ำนาจ อธิปไตยของประเทศ ได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วม กับองค์กรก่อการร้าย เช่น กลุม่ ไอเอสและกลุม่ อัลกออิดะห์ในซีเรียและอิรกั สิง่ นีจ้ งึ ไม่เพียงแต่ เป็นความกังวลที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น หากแต่มันยัง เป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงที่ยิ่งใหญ่ของ มาเลเซียอีกด้วย เมื่อปีที่แล้วมีรายงานข่าวว่า กลุ่มนักรบ ไอเอสจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ได้ร่วมกัน จัดตัง้ หน่วยรบของตนขึน้ ในซีเรีย โดยมีสมาชิก จากกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษามลายูในการติดต่อ สื่อสาร มีชื่อหน่วยว่า “กาติบาฮ์ นูซันตารา ลิด ดัวลาฮ์ อิสลามิยา” (Katibah Nusantara Lid Daulah Islamiyyah) หรือแปลเป็นไทย ว่า “หน่วยภูมิภาคมาเลย์เพื่อไอซิส” ประกอบ ด้วยชาวอินโดนีเซียมากกว่า ๕๐ คน และชาว มาเลเซียอีกจ�ำนวนหนึ่ง เป็นการจัดตั้งขึ้นด้วย เหตุผลด้านการใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร ทั้ ง นี้ เ พราะนั ก รบไอเอสจากมาเลเซี ย และ อินโดนีเซียมีอุปสรรคอย่างมากเกี่ยวกับภาษา 19


อังกฤษและภาษาอารบิกที่กลุ่มไอเอสใช้กัน อยู่ในซีเรียและอิรัก นอกจากนี้หน่วยดังกล่าว ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะชักน�ำและอ�ำนวยความ สะดวกให้ กั บ ชาวมาเลเซี ย และอิ น โดนี เ ซี ย ที่ ต ้ อ งการจะเดิ น ทางไปร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ไอเอส ในตะวันออกกลาง รวมทั้งยังต่อต้านรัฐบาล มาเลเซียและอินโดนีเซียที่ก�ำลังท�ำการจับกุม กวาดล้างสมาชิกในประเทศอีกด้วย ความกั ง วลของมาเลเซี ย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน ขณะนี้ คือการเดินทางกลับสู่ภูมิล�ำเนาของ นักรบเหล่านั้นภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจใน ตะวันออกกลาง ความวิตกกังวลเหล่านีม้ ใิ ช่สงิ่ ที่ ไม่เคยเกิดขึน้ มาก่อน เพราะเมือ่ ประมาณ ๓๐ ปี ที่ ผ ่ า นมา สมาชิ ก กลุ ่ ม เจไอหรื อ เจ๊ ะ มาฮ์ อิ ส ลามิ ย าฮ์ จากมาเลเซี ย สิ ง คโปร์ แ ละ อินโดนีเซีย ก็เคยเดินทางไปร่วมกับกลุ่มนักรบ มูจาฮิดีนในอัฟกานิสถานเพื่อต่อสู้กับสหภาพ โซเวี ย ตมาแล้ ว และเมื่ อ จบภารกิ จ บุ ค คล เหล่านี้ก็ได้น�ำแนวความคิดและยุทธวิธีการรบ กลับมายังประเทศของตน ต่อมานักรบเหล่านี้ บางคนได้กลายเป็นแกนน�ำของกลุม่ ก่อการร้าย ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย หน่วยไอเอส “กาติบาฮ์ นูซันตารา ลิด ดัว ลาฮ์ อิสลามิยา” ดังกล่าว ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มเป็น นักรบจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย จึงกลายเป็น ความกั ง วลและเป็ น ภั ย คุ ก คามที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ส�ำหรับภูมิภาคนี้ เพราะเมื่อพวกเขาเดินทาง กลับมายังภูมิล�ำเนาแล้ว ก็จะยังคงด�ำรงการ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน รวมทั้งยังสถาปนา การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มก่อการร้ายดั้งเดิม ในภูมิภาค เช่น กลุ่มเจไอ กลุ่มอาบู ไซยาฟ กลุ่มสุลต่านซูลู และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อย อิสลามโมโร เป็นต้น ขณะนี้มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ก�ำลังด�ำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัว 20

ของประชาชน คอยดู แ ลและสอดส่ อ งบุ ต ร หลานไม่ให้ติดต่อสื่อสาร หรือถูกโน้มน้าวจาก กลุ่มไอเอสร่วมชาติพันธ์ุเดียวกัน เพื่อป้องกัน การเติบโตของภัยคุกคามจากกลุ่มดังกล่าวใน ประเทศของตน แต่ทุกอย่างก็ดูเหมือนก�ำลัง จะก้าวเข้าสู่จุดวิกฤติ เพราะพลเมืองมาเลเซีย ที่เข้าร่วมกลุ่มไอเอสได้ถูกแปรเปลี่ยนให้เป็น นั ก รบและเป็ น “มื อ ระเบิ ด พลี ชี พ ” ที่ น ่ า สะพรึงกลัวไปแล้ว จากข้อมูลในเว็บไซต์ “เดอะ สตาร์ออนไลน์” (The Star online) เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗ ได้น�ำเสนอข้อมูล ของนายอาหะหมัด ทาร์มิมี มาลิกิ (Ahmad Tarmimi Maliki) วัย ๒๖ ปี มือระเบิดพลีชีพ ชาวมาเลเซียคนแรกของกลุ่มไอเอสว่า นาย มาลิกิเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในรัฐ เซลังงอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนที่จะเดิน ทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอสและได้ขับรถยนต์ ตรวจการณ์ บ รรทุ ก ระเบิ ด จ� ำ นวนหลายตั น เข้าโจมตีกองบัญชาการหน่วยสวาท (SWAT) ของอิรักที่เมืองอัล อันบาร์ (al-Anbar) เมื่อ วั น ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ก่ อ นที่ จะกดระเบิดจนกองบัญชาการดังกล่าวกลาย เป็ น จุ ล ไปในพริ บ ตา สามารถสั ง หารหน่ ว ย รบพิเศษของอิรักได้เป็นจ�ำนวนถึง ๒๕ นาย ผลงานในครั้ ง นี้ ท างกลุ ่ ม ไอเอสได้ ตี พิ ม พ์ ผลงานลงในเว็บไซต์ของกลุม่ โดยขนานนามเขา ว่า “นักรบมูจาฮิดิน มาเลเซีย” ทางด้ า นครอบครั ว ของนายมาลิ กิ ซึ่ ง ตกตะลึงจากเหตุการณ์ทไี่ ม่คาดฝันครัง้ นี้ ได้เปิด เผยว่านายมาลิกิเดินทางไปยังตะวันออกกลาง เพื่อศึกษาต่อในวิชาการทางด้านศาสนา และ ไม่ ท ราบมาก่ อ นเลยว่ า ลู ก ชายของพวกตน ได้ ก ลายเป็ น มื อ ระเบิ ด พลี ชี พ ชาวมาเลเซี ย คนแรกของกลุม่ ไอเอส ทุกคนต่างกล่าวเป็นเสียง เดียวกันว่า ก่อนหน้านี้นายมาลิกิเป็นเหมือน คนปกติทั่วไป ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นคนเงียบ

ขรึมและดูมีความลับอยู่เสมอ จากข้อมูลใน เฟซบุ๊คของนายมาลิกิ แสดงให้เห็นว่าเขาเดิน ทางออกจากมาเลเซียไปยังประเทศตุรกีและ ผ่ า นเข้ า ประเทศซี เ รี ย เพื่ อ เข้ า ร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ไอเอส ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศอิรัก จนจบชีวิตลงด้วยการเป็นมือระเบิดพลีชีพของ กลุ่มไอเอสในที่สุด ส� ำ หรั บ มื อ ระเบิ ด พลี ชี พ ของมาเลเซี ย คนทีส่ องนัน้ หนังสือพิมพ์ “เดอะ สเตรท ไทม์” ฉบับวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ได้เปิดเผยว่า เป็นชายหนุม่ อายุ ๒๗ ปีจากรัฐกลันตัน ชือ่ นาย อาหะหมัด อับดุล มานาฟ (Ahmad Abdull Manaff) ซึ่งเป็นผู้ขับรถบรรทุกดินระเบิดบุก เข้าไปถล่มฐานปฏิบัติการของทหารซีเรียใน เมือง “ฮอมส์” (Homs) เมื่อวันที่ ๘ หรือ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ ส่งผลให้ทหารซีเรียเสีย ชีวิตเป็นจ�ำนวนกว่า ๕๐ นาย โดยนายมานาฟ ได้เดินทางเข้าไปในประเทศซีเรียเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ และเข้าร่วมกับกลุม่ ไอเอส โดยใช้ชื่อว่า “อาบู ซากาเรีย” (Abu zakaria) ในขณะเดี ย วกั น ส� ำ นั ก งานต� ำ รวจแห่ ง ชาติของมาเลเซียก็ได้เผยแพร่รายงานว่า มี ชาวมาเลเซียจ�ำนวนอย่างน้อย ๑๐ คนที่เสีย ชีวิตจากการเป็นมือระเบิดพลีชีพให้กับกลุ่ม ไอเอส แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ รายงานข่าว ในเว็บไซต์ “ทูเดย์” (Today’s) ของสิงคโปร์ได้ อ้างค�ำให้สมั ภาษณ์ของนายอายุบ ข่าน มายดิน (Ayub Khan Mydin) ผู้อ�ำนวยการองค์การ ต่อต้านการก่อการร้ายของมาเลเซีย ซึ่งกล่าว ว่ามีหลักฐานยืนยันว่า ชาวมาเลเซียที่เคยเดิน ทางไปร่วมรบกับกลุม่ ไอเอสในตะวันออกกลาง ได้ ท ยอยเดิ น ทางกลั บ ประเทศพร้ อ มกั บ จั ด ตั้งกลุ่มไอเอสในมาเลเซียขึ้น เพื่อเตรียมการ โจมตีสถานที่ส�ำคัญในประเทศ โดยพวกเขา กล่าวว่า การโจมตีมาเลเซียนั้นเป็นการกระท�ำ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


เพื่อลงโทษมาเลเซียในฐานะที่เป็น “ประเทศ ผู้ละทิ้งศรัทธา” (apostate) ในหลักศาสนา โทษของการกระท�ำดังกล่าวคือการหลั่งเลือด ของชาวมาเลเซีย ในขณะนี้ รั ฐ บาลมาเลเซี ย ก� ำ ลั ง จะ ออกกฎหมายในการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่ อ ให้ อ� ำ นาจรั ฐ บาลในการควบคุ ม คุ ม ขั ง ลงโทษและยึดเอกสารการเดินทางของผู้ต้อง สงสั ย ที่ อ าจจะเป็ น แนวร่ ว มของกลุ ่ ม ไอเอส โดยในปี ที่ ผ ่ า นมามี ก ารจั บ กุ ม แนวร่ ว มของ กลุ ่ ม ไอเอสในมาเลเซี ย ได้ ห ลายครั้ ง พร้ อ ม ทั้งมีสัญญาณบอกเหตุว่า กลุ่มเหล่านี้ก�ำลัง วางแผนทีจ่ ะโจมตีมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิง่

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

การโจมตีห ้ า งสรรพสิ น ค้ า และสถานบั น เทิ ง ต่ า งๆ นอกจากนี้ ผ ลการจั บ กุ ม กลุ ่ ม ผู ้ ต ้ อ ง สงสั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ กลุ ่ ม ไอเอสในมาเลเซี ย ครั้งล่าสุดจ�ำนวน ๑๒ คนได้ให้การว่า พวกเขา ก� ำ ลั ง วางแผนที่ จ ะโจมตี อ าคารรั ฐ สภาของ มาเลเซียในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยกลุ่มไอเอส ในมาเลเซียลงความเห็นว่า รัฐสภาของมาเลเซีย คือ “ศูนย์กลางแห่งความชั่วร้าย” หรือใน ภาษามลายู เ รี ย กว่ า “กาวาซั น มั ค เซี ย ท” (kawasan maksiat : Center of Vice) ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่ากลุ่มผู้ต้อง สงสัยทั้ง ๑๒ คนนั้น จ�ำนวนกว่าครึ่งมีอายุต�่ำ กว่า ๔๐ ปีลงมา และทัง้ หมดเป็นนักเรียนทีผ่ า่ น การศึกษาจากโรงเรียนทางศาสนาหรือที่เรียก ว่า “ปอเนาะ” (pondok) นอกจากนีเ้ จ้าหน้าที่ ต�ำรวจมาเลเซียยังพบว่า แรงจูงใจที่ท�ำให้ชาว มาเลเซียเข้าร่วมขบวนการกับกลุ่มไอเอสนั้น มีอยู่ ๓ ประการคือ แรงจูงใจจากครอบครัว แรง จูงใจจากปัญหาการเงินและแรงจูงใจจากเพือ่ น โดยในห้วงเวลาที่ผ่านมา ทางการมาเลเซีย สามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม ไอเอสได้จ�ำนวน ๑๐๗ คน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่

มาจากครอบครัวที่แตกแยก และมีความเชื่อว่า พวกเขาจะเดินทางสู่สรวงสวรรค์โดยการสู้รบ ร่วมกับกลุ่มไอเอส การวางแผนจัดตั้งรัฐที่ปกครองด้วยหลัก ศาสนาบริสทุ ธิข์ องกลุม่ ไอเอสในมาเลเซียนัน้ ไม่ เพียงแต่ครอบคลุมประเทศมาเลเซียเท่านัน้ หาก แต่ยงั ครอบคลุมไปถึงประเทศสิงคโปร์ดว้ ย ซึง่ ใน เรื่องนี้ ศาสตราจารย์ โรฮาน กูนารัตนา (Rohan gunaratna) ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายและภัยคุกคามทางการเมืองระหว่าง ประเทศของสิงคโปร์ได้ยืนยันถึงข้อมูลของฝ่าย มาเลเซียว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยศาสตราจารย์ กู น ารั ต นา ได้ ก ล่ า วว่ า องค์ ก รไอเอส ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก�ำลังวางแผนที่จะ โจมตีภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ยั ง มี ร ายงานข่ า วว่ า มี ช าว สิ ง คโปร์ จ� ำ นวนหนึ่ ง ได้ เ ดิ น ทางเข้า ร่วมกับ กลุ่มไอเอสในซีเรีย เช่น นายฮาจา ฟัคกูรูดิน อุสมาน อาลี (Haja Fakkurudeen Usman Ali) ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่ได้น�ำภรรยา และลู ก อี ก ๓ คนเดิ น ทางเข้ า ร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ไอเอสในซีเรีย พร้อมทั้งยังมีสตรีชาวสิงคโปร์ ซึ่งสมรสกับชาวต่างชาติ ได้เดินทางเข้าไปใน ซีเรียพร้อมด้วยลูกชายของเธออีก ๒ คน รวมทัง้ ทางการสิงคโปร์ยังสามารถจับกุมนาย อับดุล บาเชียร์ อับดุล คาเดอร์ (Abdul Basheer Abdul Kader) ทนายความหัวรุนแรงในข้อหา ให้ ก ารสนั บ สนุ น ทางการเงิ น แก่ ก ลุ ่ ม ไอเอส ในตะวันออกกลาง และท�ำการคุมตัวนายซากาเรีย รอสดาน (Zakaria Rosdan) และนายไครุล โซฟรี ออสมาน (Khairul Sofri Osman) ซึ่ง ต้องสงสัยว่าพัวพันกับกลุ่มไอเอส โดยห้าม บุคคลทั้งสองเดินทางออกนอกประเทศอย่าง เด็ดขาด จะเห็นได้ว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ไอเอสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย เฉพาะในมาเลเซียนั้น เป็นสิ่งที่ต้องจับตามอง เป็นอย่างยิง่ เพราะมีสญ ั ญาณบอกเหตุวา่ เหล่า นักรบที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง ก�ำลังมีความพยายามในการรวมตัวจัดตั้งกลุ่ม ไอเอสในประเทศของตนขึ้น เพื่อท�ำการต่อสู้ และน� ำ พาประเทศก้ า วไปสู ่ ค วามเป็ น รั ฐ ที่ ปกครองด้วยหลักศาสนาบริสทุ ธิ์ ซึง่ เต็มไปด้วย ความรุนแรงและความโหดร้ายทารุณ อันเป็น สิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะต้องร่วมมือร่วมใจกัน ต่อต้าน การรวมตัวของกลุ่มไอเอส มิให้ลุกลามขยาย ตัวออกไป จนกลายเป็นภัยคุกคามของภูมิภาค ในที่สุด

21


การพึ่งพาในอนาคต : แนวคิดในการพัฒนา

ก�ำลังรบในลักษณะป้องกัน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

ก่

อนสงครามมหาเอเชี ย บู ร พา กองทัพเรือได้วางแนวทางในการ ป้องกันฐานทัพทีค่ าดว่าจะถูกโจมตี ทางอากาศ กองทัพเรือจึงได้จัดตั้ง “หน่วยต่อสู้ อากาศยาน” โดยใช้กำ� ลังพลจาก เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงชลบุรี และเรือหลวงสงขลา มาเข้ารับ การอบรม เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม จึงจัดตั้ง เป็น “กองต่อสู้อากาศยาน” เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๕ โดยสังกัดกองเรือรบ (ปั จ จุ บัน คื อ กองเรื อ ยุ ท ธการ) กองทัพเรือ ได้ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยต่ อ สู ้ ป ้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศ ให้แก่ฐานทัพเรือ และที่ตั้งส�ำคัญทางทหาร และใน พ.ศ.๒๕๒๔ จั ด ตั้ ง “กรมต่ อ สู ้ อากาศยานและรั ก ษาฝั ่ ง ” ขึ้ น ตรงต่ อ ฐาน ทัพเรือสัตหีบ โดยรับผิดชอบป้องกันภัยทาง อากาศ และภัยทางทะเล ในพื้นที่เศรษฐกิจ ที่ สั ต หี บ ต่ อ มาได้ รั บ การขยายหน่ ว ยเป็ น “หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษา ฝั ่ ง ” ขึ้ น ตรงต่ อ กองทั พ เรื อ เมื่ อ วั น ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๓ มีชื่อย่อว่า “สอ.รฝ.” จะเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถก�ำลัง รบในมิ ติ ป ้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศและรั ก ษา ฝั ่ ง เพื่ อ รองรั บ ภั ย คุ ก คามรู ป แบบใหม่ ใ น ลักษณะ POINT Defence (เคลื่อนที่ป้องกัน ตามจุ ด พิ กั ด ต่ า งๆ) และสภาวะแวดล้ อ มที่ เปลี่ยนแปลงไปตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และเป็นก�ำลังรบส�ำคัญของกองทัพเรือในอีก มิติหนึ่ง จึงจ�ำเป็นต้องจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่เหมาะสมในลักษณะ SURFACE - AIR เพื่อ ป้องกันภัยทางอากาศในระยะประชิดแนวเชิงลึก ในห้วงอากาศ เพื่อรักษาพื้นที่ส�ำคัญต่างๆ และ ภารกิจของกองทัพเรือต่อไป บทความนี้ ข อน� ำ เสนอแผนป้ อ งกั น ประเทศในอีกมิติหนึ่ง ของกองทัพเรือ คือแผน ป้องกันประเทศทางทะเลตามหลักยุทธศาสตร์ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เมื่อใดที่ประเทศไทยของเราต้องอยู่ในสภาวะ 22

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง


รถปล่อยอาวุธน�ำวิถี

รูปภาพ ขีปนาวุธมินติ แมน ๓ ณ ฐานทัพ อากาศ Vadenberg U.S.A. สงคราม การใช้ก�ำลังในการรบร่วมระหว่าง กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ก็จะมีความส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิง่ นอกจาก นั้นสงครามที่จะมีขึ้นในศตวรรษหน้าจะไม่มี ความรุนแรงเนื่องจากการเข้าสู่ AEC แต่ก�ำลัง รบจะเป็นในลักษณะป้องปรามและป้องกัน อาณาเขตทางทะเลตามแนวชายฝั่งและเกาะ ที่ เ ป็ น พื้ น ที่ ยุ ท ธศาสตร์ ส� ำ คั ญ ต่ า งๆ ดั ง นั้ น การป้องกันประเทศทางทะเลด้วยก�ำลังสมุทธา นุภาพของกองทัพเรือจะยังไม่เพียงพอ อาจมี ความจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการรบด้วย ก� ำ ลั ง เรื อ มาเป็ น วิ ธี ป ้ อ งกั น ตั ว เองด้ ว ยอาวุ ธ ปล่ อ ยน� ำ วิ ถี พิ สั ย ไกลแทน แต่ โ อกาสที่ เ รา จะท� ำ การรบทางเรื อ ในลั ก ษณะสงคราม การยุทธนาวีระหว่างประเทศเป็นไปได้น้อย หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) จะเป็นไปในลักษณะความร่วมมือทางทะเล และบริหารมั่นคงทางทะเลร่วมกัน แต่จะใช้ อุปกรณ์ที่ทันสมัยติดตั้งบริเวณชายฝั่งทะเล และพื้นที่เกาะที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ต่างๆ อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย อาณาเขตไหล่ทวีป ๒๐๓,๖๑๙.๓๗๕ ตาราง กิ โ ลเมตร ความยาวชายฝั ่ ง ทะเลอ่ า วไทย ระยะทาง ๑,๘๔๐ กิ โ ลเมตร หรื อ เท่ า กั บ ๙๙๔ ไมล์ทะเล พื้นที่อาณาเขตไหล่ทวีปด้าน อั น ดามั น ๑๑๒,๔๙๘.๘๖ ตารางกิ โ ลเมตร ความยาวชายฝั ่ ง ทะเลอั น ดามั น ระยะทาง ๘๖๕ กิโลเมตร หรือเท่ากับ ๔๖๗ ไมล์ทะเล เป็นระยะทางค่อนข้างยาว ยากต่อการป้องกัน หากมีภัยคุกคามรูปแบบใหม่เกิดขึ้น จ�ำเป็น ต้องจัดเตรียมแผนป้องกันประเทศทางทะเล และตามแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ก�ำลังรบของกองทัพไทยมีความพร้อมรบ แต่ ยั ง ขาดความพร้ อ มในการสั่ ง การและ ยังไม่เป็นเอกภาพ ตามหลักสงคราม อาจจะยัง ไม่มีช่องว่างของส่วนใดส่วนหนึ่งของก�ำลังรบ ร่วมขาดเอกภาพในการสั่งการและการบังคับ บัญชาที่ซับซ้อน การใช้ก�ำลังร่วมสามเหล่าทัพ ในการปฏิบัติภารกิจไม่เป็นเอกภาพตามแผน ยุทธการ แต่อาจเกิดข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนได้ เพื่อให้การรบร่วมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมี ค วามพร้ อ มมากที่ สุ ด หรื อ ให้ เ หลื อ จุดอ่อนน้อยที่สุด จึงควรจัดให้มีการซ้อมรบ ในภาคปฏิบัติทั้งสามเหล่าทัพอย่างต่อเนื่อง จนแน่ใจว่าจะไม่มีข้อบกพร่อง เพื่อรองรับภัย คุกคามรูปแบบใหม่ บทบาทของกองทัพเรือ มีหน้าที่เตรียม ก�ำลังรบทางเรือ ป้องกันราชอาณาจักรด�ำเนิน การตามอ�ำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มี ผู ้ บั ญ ชาการทหารเรื อ เป็ น ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา

รั บ ผิ ด ชอบ ก� ำ ลั ง ป้ อ งกั น ประเทศทางบก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และนาวิกโยธิน จะปฏิบัติการรบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามแผนยุทธศาสตร์แบบ Point Defence (เคลื่อนที่ป้องกันตามจุดพิกัดต่างๆ) การป้ อ งกั น ประเทศให้ เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ ตามวัตถุประสงค์นนั้ อาจจะต้องใช้ชายฝัง่ ทะเล หรื อ เกาะเป็ น สถานที่ ติด ตั้ ง อุ ปกรณ์ป ้องกัน ประเทศ จึงจ�ำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน ประเทศทีท่ นั สมัย คืออาวุธน�ำวิถี หรือขีปนาวุธ ที่มีระบบตรวจจับและพิสูจน์การรบเต็มระบบ ร่ ว มกั บ ก� ำ ลั ง ทางเรื อ ก� ำ ลั ง นภานุ ภ าพและ นาวิกนุภาพของกองทัพเรือไทย เพื่ อ ทดแทนก� ำ ลั ง ทางเรื อ ที่ มี อ ยู ่ เ ดิ ม การน�ำเทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับก�ำลังนาวิก นุภาพต่างๆ ของกองทัพเรือไทย ในทางปฏิบัติ แบบเต็มพิกัด ส่วนก�ำลังทางเรือนั้นใช้ปฏิบัติ ภารกิจรอง ตามที่ได้รับมอบหมาย และให้ เรือรบบางส่วนหรือเครื่องบินคอยท�ำหน้าที่ ตรวจจับการเคลือ่ นไหวของข้าศึกแล้วส่งข้อมูล ที่ตรวจพบให้ศูนย์ควบคุมอาวุธปล่อยน�ำวิถี พิ สัย ไกล (จั ด ตั้ ง ขึ้ น ใหม่ ) โดยให้อยู่ภายใต้ การควบคุมบังคับบัญชาของหน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เพื่อวิเคราะห์ และประเมินผลก่อนที่จะท�ำการปล่อยอาวุธ น� ำ วิ ถี เ ข้ า ต่ อ ตี เ ป้ า หมายข้ า ศึ ก ในลั ก ษณะ รองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ สภาวะแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป

สรุป

ไม่ ว ่ า เพื่ อ นบ้ า นจะเป็ น มิ ตรสักแค่ไหน และภัยคุกคามรูปแบบใหม่จะเกิดขึ้นหรือไม่ กองทั พ เรื อ ของเรามี ค วามพร้ อ มที่ จ ะจั ด หา เครื่ อ งมื อ และอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ อุ ป กรณ์ ต่างๆ เพื่อใช้ในการป้องกันประเทศในระดับ ต่างๆ เรามีงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์เรือรบ เรือด�ำน�้ำ อย่างเพียงพอ หรือไม่ อยู่ที่ก�ำลังพลของเรามีความพร้อม ในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อแสดงศักยภาพให้ กองทัพเรือเราดูสง่างามน่าเกรงขาม ในสายตา ประชาคมโลก เพื่อความมั่นคงของประเทศ ชาติต่อไป ข้อมูลอ้างอิง บทความแผนป้ อ งกั น ประเทศทางทะเลตามหลักยุท ธศาสตร์ นามปากกา “ ธันนาเวทย์” วารสาร นาวิกธิปัตย์สาร ฉบับที่ ๗๘ อนาคตศึกษา (๒) (ต.ค. ๒๕๕๒ – ม.ค.๒๕๕๓) http// dict.longdo.com http// th.wikipedio.org http// vovworld .vn/uploaded/tranly2012 http// www 2 manager.co.th http// www. coldwar.org www. ahlulbait.org www thaifighter club.org

23


เทคโนโลยี เซลล์แสงอาทิตย์ พันเอก สุรัตน์ ปราชญากุล

ลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เป็ น พลั ง งานจากธรรมชาติ ที่ มี ความสะอาดปราศจากมลพิษ ซึ่งปัจจุบันถูกน�ำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง สามารถ น�ำมาใช้อย่างไม่หมดสิ้นโดยเฉพาะการผลิต ไฟฟ้ า ด้ ว ยเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ (solar cell) เนื่องจากมีจุดเด่นที่ส�ำคัญแตกต่างจากการ ผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีอื่นหลายประการ ได้แก่ ไม่มี ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงท�ำให้ ไม่มีมลภาวะทางเสียง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า มีการบ�ำรุง รักษาน้อยมาก และใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย สามารถผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาดและทุกที่โดย ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด ที่ส�ำคัญคือ แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ได้มาฟรีและ มีไม่สิ้นสุดโดยมีข้อจ�ำกัดเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ความเข้มของพลังงานขาเข้าต�่ำ และปริมาณ ไฟฟ้ า ที่ ไ ด้ จ ะแปรผั น ตามสภาพอากาศและ ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป 24

เซลล์ แสงอาทิ ต ย์ (Solar Cell) เป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น ในกระบวนการผลิ ต ไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มี ความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็น พลั ง งานไฟฟ้ า ได้ โ ดยตรงจากปรากฏการณ์ โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic Effect) ซึ่งเกิด จากความต่างศักย์ไฟฟ้าภายในสารกึ่งตัวน�ำ ที่ มี ค ่ า แตกต่ า งกั น โดยเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ที่ นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ใหญ่ๆ คือกลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ท�ำจากสาร กึ่งตัวน�ำประเภทซิลิคอน ซึ่งเป็นสารชนิดเดียว กั บ ที่ ใ ช้ ท� ำ ชิ พ ในคอมพิ ว เตอร์ แ ละอุ ป กรณ์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซิลิคอนเป็นสารที่ไม่เป็น พิษ มีมากที่สุดบนโลกชนิดหนึ่ง มีราคาถูก คงทน และเชื่อถือได้ แต่มีข้อเสียคือ การท�ำให้ บริสุทธิ์และอยู่ในรูปสารที่พร้อมจะท�ำเซลล์ แสงอาทิตย์มีราคาแพง และแตกหักง่ายใน ขบวนการผลิต สามารถแบ่งตามลักษณะของ ผลึกที่เกิดขึ้นได้เป็น ๒ แบบคือ แบบที่เป็น รูปผลึก (Crystalline) และแบบที่ไม่เป็นรูป ผลึก (Amorphous) โดยแบบที่เป็นรูปผลึก

จะแบ่งย่อยเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ แบบผลึก เดี่ยว (Mono Crystalline) ซึ่งเป็นเซลล์แสง อาทิตย์ชนิดแรกๆ ที่มีการผลิต และจ�ำหน่าย ในเชิ ง พาณิ ช ย์ มี ลั ก ษณะเป็ น แผ่ น ซิ ลิ ค อน หนาประมาณ ๓๐๐ ไมครอน หรือที่เรียกว่า เวเฟอร์ และแบบผลึกรวม (Poly Crystalline) ซึ่ ง เป็ น เซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ ที่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นา ขึ้น เพื่อลดต้นทุนของแบบผลึกเดี่ยว โดยยัง คงคุณสมบัติและประสิทธิภาพการใช้งานใกล้ เคียงกับแบบผลึกเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะนิยมใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ ส่วนแบบที่ ไม่เป็นรูปผลึก ได้แก่ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัส ซิลิคอน ( Amorphous หรือ Thin Film) เป็น เทคโนโลยีใหม่ทไี่ ด้รบั การคิดค้นและพัฒนาขึน้ เพื่อประหยัดต้นทุนและเวลาในการผลิต เนื่อง จากเป็นฟิล์มบางเพียง ๐.๕ ไมครอน เคลือบ ลงบนแผ่นกระจกหรือแผ่น Stainless Steel ที่งอโค้งได้ จึงมีน�้ำหนักเบามาก และมีความ ยืดหยุ่นกว่าแบบผลึก แต่มีประสิทธิภาพต�่ำ กว่า และเสื่อมสภาพในใช้งานเร็วกว่าแบบที่ พันเอก สุรัตน์ ปราชญากุล


ส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นรูปผลึกอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ ท� ำ จากสารกึ่ ง ตั ว น� ำอื่ น ๆ เช่ น แกลเลี ย ม อาร์เซไนต์ (GaAs) แคดเมียมเทลลูไรด์ (CdTe) และ คอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนต์ ( CIS) มีทั้ง ชนิดผลึกเดีย่ ว และผลึกรวม ซึง่ มีประสิทธิภาพ สูงถึง ร้อยละ ๒๕ ขึน้ ไป โดยแกลเลียมอาร์เซไนต์ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง ที่ สุ ด แต่ มี ร าคาสู ง มาก จึ ง น� ำ ไปใช้ ง านส� ำ หรั บ ดาวเที ย มและระบบ รวมแสงเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนา กระบวนการผลิตสมัยใหม่จะท�ำให้เซลล์แสง อาทิตย์กลุ่มนี้มีราคาถูกลง และสามารถน�ำมา ใช้มากขึ้นในอนาคต แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากเซลล์แสง อาทิตย์เพียงเซลล์เดียวจะมีค่าต�่ำมาก การน�ำ มาใช้งานจะต้องน�ำหลายๆ เซลล์ มาต่อกัน แบบอนุกรมเพื่อเพิ่มค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้สูง ขึ้น เซลล์ที่น�ำมาต่อกันในจ�ำนวนและขนาดที่ เหมาะสมเรียกว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module หรือ Solar Panel) โดยด้านหน้าของ แผงเซลล์ ประกอบด้วย แผ่นกระจกที่มีส่วน หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ผสมของเหล็กต�่ำ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยอม ให้แสงผ่านได้ดี และยังเป็นเกราะป้องกันแผ่น เซลล์อีกด้วย แผงเซลล์จะต้องมีการป้องกัน ความชืน้ ทีด่ มี าก เนือ่ งจากจะต้องอยูก่ ลางแดด กลางฝนเป็นเวลายาวนาน ในการประกอบจะ ต้องใช้วสั ดุทมี่ คี วามคงทนและป้องกันและต้อง ท�ำกรอบด้วยวัสดุทมี่ คี วามแข็งแรง เพือ่ ป้องกัน แผ่นกระจกด้านบนของแผงเซลล์ ยกเว้นมีการ เสริมความแข็งแรงของแผ่นกระจกให้เพียงพอ ดั ง นั้ น แผงเซลล์ จึ ง มี ลั ก ษณะเป็ น แผ่ น เรี ย บ (laminate) ซึ่งสะดวกในการติดตั้ง โครงสร้างทีส่ ำ� คัญของเซลล์แสงอาทิตย์มี ลักษณะเหมือนกับไดโอดทั่วไป โดยโครงสร้าง ที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่ง ตัวน�ำ (P-N Junction) ประกอบด้วยรอยต่อ ระหว่างวัสดุสารกึ่งตัวน�ำต่างชนิดกันสองชั้น ได้แก่ สารกึ่งตัวน�ำชนิดพี เป็นขั้วบวก และสาร กึ่งตัวน�ำชนิดเอ็นเป็นขั้วลบ ซึ่งสารกึ่งตัวน�ำที่ นิยมใช้ คือ ซิลิคอน โดยน�ำมาถลุง และผ่าน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตให้เป็นแผ่น

บางบริสุทธิ์ แล้วท�ำให้เป็นผลึก จากนั้นน�ำมา ผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้าง รอยต่อพีเอ็น โดยเมื่อเติมสารเจือโบรอน เพื่อ ท�ำให้เป็นวัสดุขาดอิเล็กตรอนอิสระ ท�ำให้เกิด ช่องว่างเรียกว่า โฮล และการขาดอิเล็กตรอน ท�ำให้ส่วนนี้เทียบได้กับอนุภาคประจุบวก จะ เป็นสารกึ่งตัวน�ำชนิดพี (เพราะน�ำไฟฟ้าด้วย โฮลซึ่ ง มี ป ระจุ บ วก) และเมื่ อ เติ ม สารเจื อ ฟอสฟอรัส เพื่อท�ำให้เกิดอิเล็กตรอนส่วนเกิน จะเป็นสารกึ่งตัวน�ำชนิดเอ็น (เพราะน�ำไฟฟ้า ด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) ดังนั้น เมื่อน�ำ สารกึ่งตัวน�ำชนิดพีและเอ็นมาต่อกัน จะเกิด รอยต่อพีเอ็นขึ้น เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ เซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะน�ำ ไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอน และ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะท�ำหน้าที่ สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ มีลกั ษณะเหมือน กับสนามไฟฟ้าสถิต เพื่อแยกพาหะน�ำไฟฟ้า ชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะน�ำไฟฟ้า ชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่ง ตัวน�ำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก 25


ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวน�ำชนิดเอ็น ขั้ว ไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ท�ำให้เกิดแรงดันไฟฟ้า แบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึน้ และ จะให้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่า ที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์ ทั้งนี้ก�ำลัง ไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต้องอาศัยทั้งแรง ดันและกระแสไฟฟ้า โดยที่กระแสไฟฟ้าเกิด ขึ้นเมื่อมีการไหลของอิเล็กตรอน และแรงดัน ไฟฟ้าเป็นผลมาจากสนามไฟฟ้าภายในบริเวณ รอยต่อพีเอ็น ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสง อาทิตย์ นอกจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว ยัง มีอปุ กรณ์ประกอบทีส่ ำ� คัญ ได้แก่เครือ่ งควบคุม การประจุ (Charge Controller) ท�ำหน้าที่ ประจุ ก ระแสไฟฟ้ าที่ ผ ลิ ตได้เข้าสู่แ บตเตอรี่ รวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ ด้ ว ย แบตเตอรี่ (Battery) ท� ำ หน้ า ที่ เ ก็ บ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ท�ำ หน้ า ที่ แ ปลงพลั ง งานไฟฟ้ า จากกระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแส สลับ (AC)

26

การท�ำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ การติดตั้งแผงเซลล์อาทิตย์ในการผลิต กระแสไฟฟ้าทีน่ ยิ มใช้กนั อยูเ่ วลานีม้ ี ๒ ประเภท ได้แก่ การติดตั้งแบบอยู่กับที่ (Fixed system) ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงแบบระบุต�ำแหน่งชัดเจน โดยการค� ำ นวณจากข้ อ มู ล เฉลี่ ย ของระดั บ ความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อก�ำหนด องศาของการติดตั้งแผงเพื่อรับแสงอาทิตย์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด มีจุดด้อย คือได้รับ

ค่าพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ดีเพียงบางช่วง เวลา เนื่องจากดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่อยู่ ตลอดจึ ง ท� ำ ให้ ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้งานของ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เต็มศักยภาพ แต่มี ข้อดี คือต้นทุนในการติดตั้งไม่สูงมากนัก อีก ทั้งดูแลรักษาง่าย และการติดตั้งแบบหมุนตาม ดวงอาทิตย์ (Tracking system) เพื่อให้แผง เซลล์อาทิตย์สามารถเคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ พันเอก สุรัตน์ ปราชญากุล


ด้วยกระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน ที่ ต ้ อ งการลดปริ ม าณการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ น กระจก ประกอบกับประเทศไทยต้องการลด การพึ่งพาการน�ำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อี ก ทั้ ง ศั ก ยภาพการผลิ ต ไฟฟ้ า จากพลั ง งาน แสงอาทิตย์ของประเทศไทยมีค่อนข้างมาก ด้วยภูมิประเทศที่อยู่ในเส้นศูนย์สูตร ท�ำให้ ได้ รั บ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ โ ดยเฉลี่ ย ทั้ ง ปี สู ง กว่าเขตอื่นๆ ของโลก แต่เนื่องจากที่ผ่านมา ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสง อาทิตย์มีราคาสูง ต่อมาระยะหลังเทคโนโลยีมี การพัฒนามากขึ้น ต้นทุนการก่อสร้างจึงลดลง มาก ท�ำให้การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศไทยมีอนาคตสดใสแน่นอน ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อรับความเข้มของแสง ได้สูงสุดตลอดวัน โดยการหมุนจะถูกควบคุม ด้ ว ยระบบเซ็ น เซอร์ ห รื อ การตั้ ง เวลา โดย ตัวแปรส�ำคัญที่มีส่วนท�ำให้เซลล์แสงอาทิตย์มี ประสิทธิภาพการท�ำงานในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และใช้ในการพิจารณาน�ำไปใช้ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการค�ำนวณระบบหรือจ�ำนวนแผงที่ ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ความเข้มของแสง เนื่องจากกระแสไฟ (Current) จะเป็นสัดส่วน หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

โดยตรงกับความเข้มของแสง ในขณะที่แรงดัน ไฟฟ้าแทบจะไม่แปรไปตามความเข้มของแสง มากนัก และอุณหภูมิ โดยกระแสไฟไม่แปรตาม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป แต่แรงดันไฟฟ้าจะ ลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ ๑ องศาที่เพิ่มขึ้น จะท�ำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง ร้อยละ ๐.๕ ซึง่ มีผลท�ำให้กำ� ลังไฟฟ้าสูงสุดของ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงด้วย

ที่มา www.egat.co.th/re/solarcell/solarcell.htm www.egco.com/th/energy_knowledge_solar2.asp www.eppo.go.th/vrs/VRS49-09-Solar.html www.leonics.co.th/html/th/aboutpower/solar_ knowledge.php www.chumphon.kmitl.ac.th/me/images/stories/km/ km002.pdf h.wikipedia.org/wiki/เซลล์แสงอาทิตย์

27


พลังงานทดแทน

และพลังงานทางเลือก นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ 28


จากการที่ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนํา เข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก ทีผ่ า่ นมา พบว่ า กว่ า ร้ อ ยละ ๖๐ ของความต้ อ งการ พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นมาจากการนําเข้า โดยมี สั ด ส่ ว นการนํ า เข้ า น�้ ำ มั น สู ง ถึ ง ร้ อ ยละ ๘๐ ของปริมาณการใช้น�้ำมันทั้งหมดภายใน ประเทศและยังมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีกเพราะ ไม่ ส ามารถเพิ่ ม ปริ ม าณการผลิ ต ปิ โ ตรเลี ย ม ในประเทศได้ ทั น กั บ ความต้ อ งการใช้ ง าน การพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังจะช่วยลด การพึ่งพาและการนําเข้าน�้ำมันเชื้อเพลิงและ พลังงานชนิดอื่น และยังช่วยกระจายความ เสี่ยงในการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้า ของประเทศ ซึ่งเดิมต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ เป็นหลักมากกว่าร้อยละ ๗๐ โดยพลังงาน ทดแทน ถือเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงเป้าหมายที่ คาดว่าจะสามารถนํามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ทดแทนก๊ า ซธรรมชาติ ไ ด้ อ ย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แบบทุ ่ ง กั ง หั น ลม พลั ง น�้ ำ ขนาดเล็ ก ชี ว มวล ก๊ า ซชี ว ภาพ และขยะ และหากเทคโนโลยี พลังงานทดแทนเหล่านี้มีต้นทุนถูกลงและได้ รับการยอมรับอย่างกว้างขวางก็อาจสามารถ พัฒนาให้เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า สําหรับประเทศไทยได้ในอนาคต

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ในกลางศตวรรษที่ ๒๐ จนถึงปัจจุบัน พลังงานหลักที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ล้วนมา จากน�้ำมัน และแก๊ ส ธรรมชาติ แต่ เ นื่ อ งจาก น�้ำมันถือเป็นทรัพยากรที่จ�ำกัด และมีแต่จะ หมดไป ซึ่งมีการพยากรณ์ไว้ว่าประมาณ ๕๐ ปี น�้ำมันจะเป็นพลังงานราคาแพง จนไม่คุ้มที่จะ เป็นพลังงานหลักในการผลิตสินค้าอีกต่อไป ท�ำให้ตอ้ งหาแหล่งพลังงานใหม่ทมี่ รี าคาถูกกว่า น�้ำมันมาทดแทนน�้ำมัน

ปัญหาการใช้พลังงานใน ประเทศไทย ในช่วงเวลา ๔๐ ปีที่ผ่านมา การผลิต ไฟฟ้าด้วยน�้ำมันและพลังน�้ำมีสัดส่วนลดลง โดยล�ำดับเนือ่ งจากข้อจ�ำกัดของแหล่งพลังงาน และราคาที่สูงขึ้น ประเทศไทย มีอัตราการเจริญเติบโตการ ใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูง จากการพยากรณ์ความ ต้องการไฟฟ้า ในปี ๒๕๔๙ – ๒๕๖๔ จะเพิม่ ขึน้ เฉลี่ยร้อยละ ๕.๕ หรือ ๑,๕๐๐ – ๒,๐๐๐ เมกกะวั ต ต์ ต ่ อ ปี ท� ำ ให้ มี ก ารน� ำ พลั ง งาน ทดแทนและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านพลังงาน ทดแทนเข้ามาใช้ในประเทศต่อไป โดยค�ำนึงถึง

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากจะจ�ำแนก ประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้

พลังงานลม ลมเป็ น ปรากฏการณ์ ท างธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความ กดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุน ของโลก การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็น สาเหตุให้เกิดลม พลังงานลมจัดเป็นพลังงาน หมุนเวียน ซึ่งใช้ไม่มีวันหมด ในปัจจุบันมนุษย์ จึงได้ให้ความส�ำคัญและน�ำพลังงานจากลม มาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลม มีอยู่ทั่วไป เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิด มลพิษต่อสภาพแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยี กังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมโดยเฉพาะใน ยุโรปเนื่องจากลมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ท�ำให้ มนุษย์พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ จากกระแสลม

29


ตารางการคาดการณ์พลังงานส�ำรอง

ต้องการพลังงานไฟฟ้าประมาณ ๒๕๐ ล้าน กิโลวัตต์ - ชั่วโมงต่อวัน เราสามารถใช้พื้นที่ ประมาณ ๑,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ร้อยละ ๐.๓ ของพื้นที่ประเทศไทย ก็จะผลิตไฟฟ้าได้ ตามที่ต้องการ

พลังงานน�้ำ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานลมและจ่ายเข้าระบบสายส่งใน ปริมาณที่น้อยมากหากเทียบกับแหล่งพลังงาน อื่ น ๆ โดยมี ก ารติ ด ตั้ ง กั ง หั น ลมผลิ ต ไฟฟ้ า ขนาด ๑๕๐ กิโลวัตต์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท นอร์ด แทงก์ ประเทศเดนมาร์ก ในพื้นที่สถานีผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิต ณ แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่ อ สาธิ ต การผลิ ต ไฟฟ้ า จาก กังหันลมร่วมกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ อิทธิพลของลมที่มีศักยภาพในการผลิต ไฟฟ้ า ของประเทศไทย ประเทศไทยแบ่ ง ทิศทางของลมออกได้เป็น ลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือในช่วงเดือน พฤศจิกายน – เมษายน 30

และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม

พลังงานแสงอาทิตย์ แสงอาทิ ต ย์ เ ป็ น พลั ง งานที่ ไ ด้ ฟ รี จ าก ดวงอาทิตย์และมีการน�ำมาใช้ประโยชน์มาแต่ สมั ย โบราณ เช่ น การตาก หรื อ อบสิ น ค้ า เกษตร การท�ำให้น�้ำอุ่น เป็นต้น ได้พยายามน�ำ พลังงานแสงอาทิตย์มาท�ำให้เกิดกระแสไฟฟ้า แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลก เฉลี่ยประมาณ ๔ – ๕ กิโลวัตต์ - ชั่วโมง ต่อตารางเมตรต่อวัน ถ้ า เซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการ แปลงพลังงานร้อยละ ๑๕ แสดงว่าเซลล์แสง อาทิตย์ ๑ ตารางเมตรสามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าได้ประมาณ ๖๕๐ – ๗๕๐ วัตต์ - ชั่วโมง ต่ อ ตารางเมตรต่ อ วั น ประเทศไทยมี ค วาม

เราสามารถสร้างเขื่อนที่กักเก็บน�้ำไว้ ในที่ สู ง ปล่ อ ยให้ น�้ ำ ไหลลงมาตามท่อเข้า สู่ เครื่องกังหันน�้ำ ผลักดันใบพัดให้กังหันน�้ำหมุน เพลาของเครื่องกังหันน�้ำ ที่ต่อเข้ากับเพลา ของเครื่ อ งก� ำ เนิ ด ไฟฟ้ า ที่ จ ะหมุ น ตาม เกิ ด การเหนี่ยวน�ำขึ้นในเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า ท�ำให้ เกิดพลังงานไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้าจาก พลังงานน�้ำ อาจจะผลิตจากเขื่อนขนาดใหญ่ เขือ่ นขนาดกลาง หรือเขือ่ นขนาดเล็ก เพือ่ ผลิต กระแสไฟฟ้า ส�ำหรับใช้ในชุมชนขนาดเล็ก ซึง่ ปี ๒๕๔๗ โรงไฟฟ้าพลังงานน�้ำในประเทศไทย มีก�ำลังผลิตติดตั้งรวม ๒,๙๗๓ เมกกะวัตต์

พลังงานชีวมวล ชีวมวลคือสิ่งที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ อ้อย ถ่าน ฟืน แกลบ วัชพืชต่าง ๆ หรือ แม้กระทั่งขยะและมูลสัตว์ การน�ำชีวมวลมาใช้ เป็นพลังงานนั้นสามารถท�ำได้ ๒ ลักษณะคือ ๑. กระบวนการที่ให้ความร้อน เช่น การน� ำ ถ่ า นไม้ หรื อ ฟื น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความ ร้ อ น ส� ำ หรั บ น� ำ ไปใช้ เ พื่ อ ประโยชน์ ใ นด้ า น ต่าง ๆ ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีดังนี้ การ พัฒนาและผลิตเตาที่ใช้กันอยู่ท่ัวไปให้เป็นเตา นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ


พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ประสิทธิภาพสูง (เตาซูเปอร์องั โล่) จุดไฟติดเร็ว ให้ความร้อนสูง มีควันน้อย ประหยัดเชื้อเพลิง และพั ฒ นาเตาประสิ ท ธิ ภ าพสู ง ส� ำ หรั บ อุตสาหกรรมชนบทขนาดเล็ก เช่น เตานึ่งเมี่ยง เตานึ่งปอสา เตาเผาอิฐ ส่วนด้านเชื้อเพลิงนั้น ได้ คิ ดค้ น และผลิ ต ก้ อ นอัด ชีว ภาพ หรือเชื้อ เพลิ ง เขี ย ว โดยน� ำ พื ช หรื อ วั ช พื ช มาสั บ แล้ ว อัดแท่งตากแดด และอบให้แห้ง ก้อนอัดชีว มวลที่ได้จะจุดติดไฟง่าย ให้ความร้อนสูง นอกจากนี้ ยั ง ได้ น� ำ ผลผลิ ต หรื อ ผลพลอยได้ ข องพื ช จ� ำ พวกแป้ ง และน�้ ำ ตาล เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย กากน�้ำตาล มาผลิต เอทธิลแอลกอฮอล์ รวมทั้งน�ำมันส�ำปะหลังมา เผาโดยควบคุมความร้อน เพือ่ ให้ได้แก๊สชีวมวล เพื่อน�ำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่อไป ๒. กระบวนการทางชีวภาพ เป็นการน�ำ มูลสัตว์ ขยะ น�้ำเสียมาหมักในที่ที่ไม่มีอากาศ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ปล่ อ ยให้ เ กิ ด กระบวนการย่ อ ยสลายสาร อิ น ทรี ย ์ ซึ่ ง จะได้ แ ก๊ ส ชี ว ภาพส� ำ หรั บ เป็ น เชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาหุงต้ม ตะเกียง เครื่องยนต์ หรือเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า

พลังงานนิวเคลียร์ นับตั้งแต่อ๊อตโต ฮาฮ์น (Otto Hahn) และฟริทซ์สตรัสส์มันน์ (Fritz Strassmann) ค้ น พบการแตกตั ว ของยู เ รเนี ย มด้ ว ยการยิ ง ยู เ รเนี ย มด้ ว ยนิ ว ตรอนจากต้ น ก� ำ เนิ ด รั ง สี เรเดียม - เบริลเลียม ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ ความ หวั ง ของมนุ ษ ย์ ที่ จ ะก้ า วสู ่ ยุ ค ปรมาณู ไ ด้ เ ริ่ ม เป็นจริง ปัจจุบนั มนุษยชาติได้ใช้ประโยชน์จาก พลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ ผลิตพลังงานไฟฟ้าและในอุตสาหกรรม รวมทัง้ พลังงานในการขับเคลื่อนเรือเดินสมุทรและ เรือด�ำน�้ำที่เคลื่อนไหวในมหาสมุทรต่างๆ

พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงาน ธรรมชาติเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือก โลกเกิดแนวรอยเลื่อนแตก ท�ำให้น�้ำบางส่วน จะไหลซึมลงไปใต้ผิวโลก ไปสะสมตัวและรับ ความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนสูง กลาย เป็นน�้ำร้อนและไอน�้ำที่พยายามแทรกตัวมา ตามรอยเลื่อนแตกของชั้นมาบนผิวดิน อาจจะ เป็นในลักษณะของน�ำ้ พุรอ้ น ไอน�ำ้ ร้อน โคลนเดือด และแก๊ส น�้ำร้อนจากใต้พื้นดินสามารถน�ำมา ถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลว หรือสารที่ มี จุ ด เดื อ ดต�่ ำ ง่ า ยต่ อ การเดื อ ดและการเป็ น ไอน�้ำ แล้วน�ำไอร้อนที่ได้ไปหมุนกังหัน เพื่อขับ เคลื่อนเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า แนวโน้ ม พลั ง งานทดแทนในอนาคต ปัจจุบันได้มีความพยายามศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวก และ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยประหยั ด พลังงาน และช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยตั้งอยู่บน พื้นฐานของการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งใน ท้ อ งถิ่ น และภายในประเทศ สามารถผลิต และใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นหนทาง หนึ่ ง ที่ ช ่ ว ยลดการท� ำ ลายทรั พ ยากรที่ ก� ำ ลั ง เกิดขึ้นอย่างมากมาย และรุนแรงในปัจจุบัน ช่ ว ยรั ก ษาสมดุ ล ของธรรมชาติ อั น เป็ น ภั ย คุกคามอย่างร้ายแรงต่อโลก และมนุษยชาติ เชื่ อ ว่ า พลั ง งานทดแทนจะเป็ น หนทางหนึ่ ง ของการแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน และ สิ่งแวดล้อมของโลกได้ 31


ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ของ

กองทัพอากาศจีน Meet the new PLAAF Air Force Magazine,Jan 2013 Author : Rebecca Grant ผู้เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

ากรายงานประจ�ำปี ๒๐๑๐ ของ US Air Force’s National Air and Space Intelligence Center หรือเรียกกันว่า NASIC รายงานว่า ช่ ว งหลายปี ที่ ผ ่ า นมา กองทั พ อากาศจี น ได้ พัฒนาขีดความสามารถของก�ำลังทางอากาศ ให้ ขึ้ น มาอยู ่ ใ นระดั บ แนวหน้ า เป็ น คู ่ แ ข่ ง ที่ ส�ำคัญของประเทศชั้นน�ำของก�ำลังทางอากาศ ทั่ ว โลก โดยที่ ก องทั พ อากาศจี น มี แ ผนการ พั ฒ นาก� ำ ลั ง ทางอากาศให้ ทั น สมั ย และเป็ น กองทัพอากาศชั้นยอดในปี ๒๐๒๐ กองทัพอากาศจีนได้เริม่ แสดงนภานุภาพ ให้เห็นถึงความก้าวหน้า โดยการเปิดตัวเครื่อง บินรบ ล่องหน J-20 เมื่อเดือนมกราคม ๒๐๑๑ ซึ่ ง กองทั พ อากาศจี น ซื้ อ ใบอนุ ญ าตการผลิ ต จากรัสเซีย และสร้างโดยบริษัทยักษ์ใหญ่สอง บริษัทคือ Shenyang Aircraft Corp. และ Chengdu Aircraft Industry Group. การพั ฒ นาก� ำ ลั ง ทางอากาศของกองทั พ อากาศจีน ไม่ใช่เน้นเฉพาะเครือ่ งบินรบอย่างเดียว หากแต่เป็นทุกด้านของก�ำลังทางอากาศอย่าง เช่ น อาวุ ธ จรวดน� ำ วิ ถี , เครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด ยุทธศาสตร์ H-6, เครือ่ งบินแจ้งเตือนทางอากาศ 32

(EWA : Early Warning Aircraft), ระบบ ป้องกันภัยทางอากาศ และเรือบรรทุกเครื่อง บิน ซึ่งเมื่อคิดแบบบูรณาการของการพัฒนา ก�ำลังทางอากาศของกองทัพอากาศจีนแล้ว อาจกล่าวได้ว่า พวกเขาก�ำลังไล่ล่าความเป็น เจ้าอากาศ “The Hunt for Control of the Air”

Geopolitical Response

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ครั้งนั้นท�ำให้จีน ต้องหันมามองกองทัพของตนเอง ซึ่งก็เป็นการ จุดประกายแนวความคิดในการพัฒนาก�ำลัง ทางทหารของจี น ให้ ทั น สมั ย และแข็ ง แกร่ ง ทัดเทียมกับมหาอ�ำนาจอย่างสหรัฐฯ ในเวลา ต่อมา เพื่อต่อกรกับสหรัฐฯ ในกรณีข้อพิพาท ไต้หวันที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพราะ จุดยืนที่มั่นคงของจีนคือการรวมไต้หวันเข้า เป็นส่วนหนึ่งของจีน และหนทางที่จะเสริม ความเป็ น ไปได้ ใ นการรวมไต้ ห วั น ทางหนึ่ ง คือ การสร้างความแข็งแกร่งทางทหาร เพื่อ ครอบครองความแข็งแกร่งทางภูมิศาสตร์และ ภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาค

อิทธิพลทางความคิดในการพัฒนาก�ำลัง ทางอากาศของกองทัพอากาศจีน มาจากวิกฤต ช่องแคบไต้หวันเมื่อปี ๑๙๙๖ โดยจีนข่มขู่ หรือคุกคามไต้หวันทางอ้อมโดยการทดสอบ ขี ป นาวุ ธ ระยะใกล้ แ ละซ้ อ มรบทางทหาร ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่มีผลในการ China’s Fighter Modernization บี บ บั ง คั บ ไต้ ห วั น เนื่ อ งจากกองเรื อ รบและ : เครื่ อ งบิ น รบ ยุ ค ใหม่ ที่ ทั น สมั ย ของ เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมี กองทัพอากาศจีน กองทั พ อากาศจี น ได้ เ ริ่ ม พั ฒ นาก� ำ ลั ง เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ B-2 ที่เตรียม พร้อม ณ ที่ห่างไกล ได้เคลื่อนย้ายก�ำลังเข้า ทางอากาศจากการเปลี่ ย นแปลงก� ำ ลั ง ทาง มาช่องแคบไต้หวัน เพื่อเป็นการแสดงก�ำลัง อากาศขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องบินที่ค่อนข้างเก่า หรือป้องปรามจีนด้วยเช่นเดียวกัน จึงท�ำให้ ตั้งแต่ในปี ๑๙๖๐ มาเป็นก�ำลังทางอากาศที่มี จีนท�ำอะไรได้ไม่สะดวกดีนัก เนื่องจากเห็น ขนาดเล็กลงแต่เพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้น ว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเอาชนะก�ำลังทางเรือ โดยในปัจจุบันแนวความคิดการพัฒนาแบบ และทางอากาศที่ แข็ ง แกร่ ง ของสหรั ฐฯ แต่ ก้าวกระโดดนี้ เริ่มจากการสั่งซื้อเครื่องบินรบ นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ที่ทันสมัยจากรัสเซียรวมถึงการซื้อสิทธิบัตร ในการเปิดสายการผลิตเอง โดยสองบริษัท สร้างเครื่องบินใหญ่สกุลจีนเองสองบริษัทคือ Shenyang Aircraft Corp. และ Chengdo Aircraft Industry Group. จนกระทั่งยุคปี ๒๐๑๓ กองทัพอากาศจีนมีเครือ่ งบินทีท่ นั สมัย ตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่พัฒนาแล้วรวมถึง ระบบอาวุธชัน้ ยอดเป็นเขีย้ วเล็บติดตัวมากกว่า ๔๐๐ เครื่องเลยทีเดียว ซึ่งอยู่ในระดับที่เกือบ ใกล้เคียงกับก�ำลังทางอากาศของสหรัฐฯ โดย เปรียบเทียบข้อมูลจากรายงานของเพนตากอน ในปี ๒๐๑๒ เกี่ ย วกั บ พลั ง อ� ำ นาจทางทหาร ของจี น ซึ่ ง รายงานว่ า กองทั พ อากาศจี น มี เครื่ อ งบิ น รบ ๑,๕๗๐ เครื่ อ ง, เครื่ อ งบิ น ทิ้งระเบิด ๕๕๐ เครื่อง, เครื่องบินล�ำเลียง ๓๐๐ เครื่อง และเครื่องบินเก่าๆ ที่จอดทิ้ง หรือรอซ่อมหรืออาจใช้งานได้อยู่อีก ๑,๔๕๐ เครื่อง โดยภาพรวมที่เข้าใจกันง่ายๆ ของผู้ที่ เข้าใจในก�ำลังทางอากาศ สามารถบอกได้ว่า กองทัพอากาศจีนได้ก้าวเข้าสู่ก�ำลังทางอากาศ ในยุ ค ที่ สี่ ท่ี ทั น สมั ย ในปั จ จุ บั น แล้ ว อี ก ทั้ ง ยั ง มี ก ารคาดการณ์ จ าก The International Assessment and Strategy Center ไว้ว่า เครือ่ งบินในยุคทีส่ ขี่ องกองทัพอากาศจีนจะเพิม่ มากขึ้นอีกเป็นกว่า ๑,๐๐๐ เครื่องในปี ๒๐๒๐ ซึง่ พระเอกหลักๆ ของเครือ่ งบินรบยุคทีส่ ขี่ องจีน ที่ติดจรวดน�ำวิถีที่พัฒนาอย่างสุดๆ แล้วเช่นกัน ทัง้ Short-Medium and Long Range Guided Missile คือ J-8, J-10, J-11 และ SU-30 หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

Stealth Competition : การแข่งขันใน สหรั ฐ ฯ ซึ่ ง กองทั พ อากาศจี น ประกาศว่ า เทคโนโลยีเครื่องบินล่องหน เครื่ อ งบิ น ล่ อ งหนของกองทั พ อากาศจี น ก� ำ ลั ง ทางอากาศที่ ทั น สมั ย ในยุ ค ที่ สี่ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีเทคโนโลยีเพื่อการ ยากต่อการตรวจจับเครื่องบินหรือ เครื่องบิน ล่องหน (Stealth) กองทัพอากาศจีนภายใต้ การสนับสนุนของ AVIC (China’s Aviation Industry Corp.) ได้พัฒนาและทดสอบ J-20 และ J-31 แข่งขันกับสหรัฐฯ ของ Lockheed Martin ซึ่งมี X-35 และ Boeing X-32 เป็น เครือ่ งบินล่องหนต้นแบบในยุคทีส่ ี่ โดย Lockheed Martin เริ่มโครงการตั้งแต่ปี ๒๐๐๑ “Mighty Dragon” หรือ J-20 เริ่มบิน ทดสอบเมื่อปี ๒๐๐๙ และเปิดตัวอย่างเป็น ทางการเมื่อเดือนมกราคม ๒๐๑๑ ในช่วงการ เยือนจีนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

จะเริ่มเข้าประจ�ำการในอีก ๘ - ๑๐ ปีข้าง หน้า ซึ่งก็ตรงกับการคาดการณ์ ของ The International Assessment and Strategy Center ที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น The Chengdu J-20 : Mighty Dragon มีทรวดทรงทางอากาศพลศาสตร์เหมือน F-22 ของสหรัฐฯ มาก ใช้เครื่องยนต์ทรงพลังค่าย รั ส เซี ย แบบ AL-315F ท� ำ ความเร็ ว ได้ เ กิ น 1 Mach โดยที่ไม่ต้องใช้สันดาปท้าย (After Burner) เพื่อเพิ่มแรงขับ อีกทั้งยังเพิ่มความ น่ากลัว โดยสามารถติดตัง้ Long Range Cruise Missile, Air to Air Missile และ Anti-Ship Missile ที่พัฒนาแล้วอีกด้วย

33


The Shenyang J-31 ซึ่งยังไม่มีนาม เรี ย กขาน เป็ น เครื่ อ งบิ น ล่องหนที่อยู่ในขั้น ก้ า วหน้ า ที่ สุ ด ของกองทั พ อากาศจี น โดย รูปลักษณ์เหมือน F-35 ของสหรัฐฯ ซึ่งนัก วิเคราะห์เทคโนโลยีทางทหารมีความเห็นว่า J-31 นั้ น ออกแบบมาเพื่ อ เป็ น เครื่ อ งบิ น รบ ประจ�ำบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งจีนก็ก�ำลัง พัฒนาและสร้างกองเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย เช่นเดียวกัน ส�ำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพ อากาศจีนนั้น ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ ก็ เ ป็ น ก� ำ ลั ง ทางอากาศที่ ป ระมาทไม่ ไ ด้ เหตุ ผ ลส่ ว นหนึ่ ง ที่ ไ ม่ มี ก ารพั ฒ นานั้ น มาจาก ก�ำลังทางอากาศทัว่ โลกโดยส่วนใหญ่แล้ว มีหลัก นิยมที่เปลี่ยนไปของเครื่องบินทิ้งระเบิด ดังนั้น กองทัพอากาศจีนจึงเป็นเพียงก�ำลังทางอากาศ ไม่ กี่ ป ระเทศที่ ยั ง มี ฝู ง บิ น ทิ้ ง ระเบิ ด อยู ่ ซึ่ ง เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศจีนแบบ H-6 เป็นเครื่องบินที่ได้รับการพัฒนามาจาก TU-16 (Badger) ของรัสเซีย และในปัจจุบัน นี้กองทัพแห่งชาติจีนมี H-6 อยู่มากถึง ๑๕๐ เครือ่ งมีใช้กนั อยูท่ งั้ กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ จีน และมี H-6 บางส่วนถูกดัดแปลงเป็น เครือ่ งบิน เติ ม น�้ ำ มั น กลางอากาศในกลางทศวรรษที่ 34

๑๙๙๐ แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาเครือ่ งบินทิง้ ระเบิดสายพันธ์ุนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจคือกองทัพ อากาศจีนพัฒนาให้ติดขีปนาวุธแบบ Cruise Long Range Missile เพื่อการไล่ล่า เครื่องบิน แจ้งเตือนทางอากาศของสหรัฐฯ โดยเฉพาะ เช่น E-3C (AWACS) และ E-2C/D (Hawkeye) เป็ น ต้ น รวมไปถึ ง การติ ด ตั้ ง ขี ป นาวุ ธ แบบ Anti-Ship ด้วย ในส่ ว นของ Long Range Cruise Missile แบบ DH-10 ทีม่ ฐี านยิงจากภาคพืน้ ดิน นั้น คาดการณ์กันว่าในปัจจุบันจีนมีประมาณ ๒๐๐ - ๕๐๐ หน่วยยิง ซึ่งรัศมีการยิงนั้นไปได้ ไกลกว่า ๙๓๐ ไมล์ คืออยู่ในระดับข้ามทวีป กันเลยทีเดียว ด้ ว ยก� ำ ลั ง ทางอากาศขนาดนี้ ข อง กองทัพอากาศจีน โดยเฉพาะ H-6 และ DH10 สามารถคุกคามกองก�ำลังของสหรัฐฯ ที่ GUAM และทุกที่ในย่านแปซิฟิก ในเรือ่ งของระบบ AWACS หรือเครือ่ งบิน แจ้งเตือนทางอากาศนั้น เดิมทีในปี ๒๐๐๐ จีน มีความพยายามจะซือ้ ระบบนีจ้ ากอิสราเอล แต่ ถูกสหรัฐฯ ขัดขวาง จึงต้องล้มเลิกไป และหัน กลับมาศึกษาพัฒนาด้วยตนเอง จนสามารถ

สร้ า ง Airborne Radar KJ-2000 ส� ำ เร็ จ โดยติดตั้งกับเครื่องบินแบบ II-76 นอกจาก นั้น กองทัพอากาศจีนก็ก�ำลังพัฒนา Boeing 737-800 ให้ เ ป็ น เครื่ อ งบิ น แจ้ ง เตื อ นทาง อากาศอีกด้วย ระบบป้องกันภัยทางอากาศภาคพื้นดิน นั้น นอกเหนือจากจรวดแบบ SA-2 ที่มีมา ตัง้ แต่ปี ๑๙๕๘ และได้พฒ ั นามาเรือ่ ยๆ จนเป็น ตระกูล SAM อีกหลายรุ่น และตอนนี้ กองทัพ อากาศจี น มี จ รวดต่ อ สู ้ อ ากาศยานที่ พั ฒ นา ขึ้นมาเองคือ HQ-9 ซึ่งคาดการว่าจรวดต่อสู้ อากาศยานแบบล่าสุดนี้มีประจ�ำการประมาณ ๑๙๒ ชุดยิง และอีก ๔๙๐ ชุดยิงนั้นเป็น SAM รัศมีการยิงอยู่ระหว่าง ๕๐-๑๒๔ ไมล์ แล้ว แต่จะเป็นแท่นยิงแบบใด แท่นยิงหรือฐานยิง เหล่านี้ไม่ได้อยู่ประจ�ำที่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะมี การเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ซึ่งกองทัพแห่งชาติจีน มีความเชีย่ วชาญการฝึกในเรือ่ งของการเคลือ่ นย้าย แท่นยิงในเวลากลางคืนเป็นอย่างดี กองทัพเรือจีนได้พัฒนา HQ-9 เป็นแบบ ยิงจากฐานในทะเลซึง่ ก็คอื จากเรือประจัญบาน (Destroyer) นัน่ เองเรียกว่า HHQ-9 มีระยะยิง ประมาณ ๔๗ - ๙๓ ไมล์ ถ้าคิดระยะจาก นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


แผ่นดินใหญ่แล้ว ก็อยูท่ วี่ า่ กองทัพเรือจีนจะไปได้ ไกลแค่ไหน

เมือ่ ทุกอย่างเรียบร้อยตามแผนงาน เรือบรรทุก เครื่องบินล�ำนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า Liaoning และ Carrier Aviation Prospects : ความ จัดพิธีปล่อยเรืออย่างเป็นทางการเมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๐๑๒ โดยมีประธานาธิบดี Hu คาดหวังในกองเรือบรรทุกเครื่องบิน Jintao เป็นประธานในพิธี ควบคูไ่ ปกับการพัฒนา เครือ่ งบินล่องหน ครั้ น เมื่ อ เดื อ นพฤศจิ ก ายน ๒๐๑๒ กองทัพเรือจีนก็ได้พัฒนาก�ำลังทางอากาศที่มี ฐานจากเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย จีนได้ซื้อเรือ เครื่องบินรบ 2J-15 ประสบความส�ำเร็จในการ บรรทุกเครือ่ งบินเก่าระวางขับน�ำ้ ๖๕,๐๐๐ ตัน ทดสอบการบินขึ้น/ลง บนเรือบรรทุกเครื่อง จากอดีตสหภาพโซเวียตคือ Varyage ซึง่ เป็นเรือ บิน Liaoning ส�ำหรับ J-15 นี้ก็เป็นเครื่อง ล�ำทีส่ องของเรือในชัน้ Kuznetsov ในปี ๑๙๙๘ บินรบ ที่จีนพัฒนามาจาก SU-33 (Upgrade โดยลากจู ง จากทะเลด� ำ น� ำ มาปรั บ ปรุ ง ใหม่ จาก SU-27) ซึ่งซื้อจากยูเครนในปี ๒๐๐๑ ซึ่ง ในจีน แล้วกลับลงทะเลเพือ่ ทดสอบระบบครัง้ ใหม่ ออกแบบหรือพัฒนาเพื่อเป็นเครื่องบินประจ�ำ หลังจากปรับปรุงแล้วในเดือนสิงหาคม ๒๐๑๑ เรือบรรทุกเครื่องบินโดยเฉพาะ ส่วน J-15 นั้น หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

จีนวางแผนจะเข้าสู่สายการผลิตอย่างเต็มที่ใน ปี ๒๐๑๕ - ๒๐๑๗ ตามแผนการณ์ที่จะให้เรือ บรรทุกเครื่องบินสามารถบรรทุกเครื่องบินรบ ได้ ๓๐ เครื่องและเฮลิคอปเตอร์ด้วยบางส่วน ความส�ำเร็จของการสร้างเรือบรรทุก เครื่องบินและก�ำลังทางอากาศบนเรือบรรทุก เครื่องบินครั้งนี้ท�ำให้ กองทัพเรือจีนและก�ำลัง ทางอากาศบนเรือบรรทุกเครื่องบิน สามารถ ปฏิบัติภารกิจได้กว้างขวางมากขึ้น ครอบคลุม ทั้งภูมิภาค Asia-Pacific หรือน่านน�้ำสากล ทั่วโลก แม้วา่ ความพยายามของจีนในการพัฒนา ก�ำลังทางอากาศจะประสบความส�ำเร็จเป็น ล�ำดับด้วยดีกต็ าม แต่จนี ก็มจี ดุ อ่อนอยูท่ ยี่ งั ไม่มี นักบินรบทีม่ ปี ระสบการณ์จากสมรภูมใิ ดๆ เลย ที่จะถ่ายกองทัพอากาศกลยุทธ์ต่างๆ ที่ส�ำคัญ ในกลุ่มของนักบินเอง สมรภูมิล่าสุดที่นักบิน จีนมีคือ สงครามเวียดนาม ซึ่งนักบินรุ่นนั้นก็ ร่วงโรยไปแล้ว อีกทั้งก็ยังเป็นการใช้ก�ำลังทาง อากาศกันคนละยุค รวมไปถึงการฝึกร่วมแลก เปลี่ยนกันระหว่างมิตรประเทศของจีนก็ยังมี ไม่มากนัก จะมีเพียงแค่การฝึกร่วมกับตุรกีใน ปี ๒๐๑๐ เท่านั้น NASIC ได้ ส รุ ป เป็ น ภาพรวมของการ พัฒนาศักยภาพทางทหาร โดยเฉพาะก�ำลัง ทางอากาศของจีนไว้ว่า เทคโนโลยีทางทหาร สหรัฐฯ ยังน�ำหน้าจีนอยู่ ๑๕ ปี แต่ถ้าจีน ก้าวหน้าได้รวดเร็วในเทคโนโลยี เครื่องบิน ล่องหนแล้ว ทุกอย่างคงต้องกลับมาทบทวน กันใหม่ 35


ดุลยภาพทางการทหาร ของประเทศเพื่อนบ้าน

ฝูงบินเตือนภัยล่วงหน้า

ทางอากาศกองทัพอาเซียน พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

36

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


องทั พ อากาศสิ ง คโปร์ ( RSAF) พร้อมจะปฏิบัติการด้วยเครื่อง บินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ รุ่นใหม่แบบ จี-๕๕๐ (G-550) รวม ๔ เครื่อง เป็นเงิน ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จัดซือ้ จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งฝูงบินในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ประจ�ำการฝูงบิน ๑๑๑ ฐานทัพ อากาศเต็งกาฮ์ (Tengah Air Base) ได้รับ มอบเครื่องบินชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๑ เป็น เครื่องบินไอพ่นแบบจี-๕๕๐ (G-550/C-37B) สองเครื่ อ งยนต์ นั ก บิ น ๒ นาย บรรทุ ก ผูโ้ ดยสาร ๑๔ - ๑๙ ทีน่ งั่ , ขนาดยาว ๒๙.๘ เมตร, ช่วงปีก ๒๘.๕ เมตร, สูง ๘.๓ เมตร, น�้ำหนัก ๒๑,๙๐๐ กิโลกรัม, น�ำ้ หนักบินขึน้ สูงสุด ๔๑,๓๐๐ กิ โ ลกรั ม , เครื่ อ งยนต์ เทอร์ โ บแฟน บี อ าร์ ๗๑๐ (BR710) ให้แรงขับขนาด ๑๕,๓๘๕ ปอนด์ (๒ เครื่อง), ความเร็วสูงสุด ๙๔๑ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, ความเร็วเดินทาง ๙๐๔ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, พิสัยบินไกล ๒๑,๕๐๐ กิโลเมตร, เพดานบินสูง ๑๒,๕๐๐ เมตร (๔๑,๐๐๐ ฟุต), ท�ำการบินได้นาน ๙ ชั่วโมง และนักบิน ๒ นาย เพื่อจะประจ�ำการทดแทนเครื่องบินเตือนภัย รุ่นเก่าแบบอี-๒ซี ฮอร์คอาย (E-2C Hawkeye) จ�ำนวน ๔ เครื่อง ประจ�ำการมานานกว่า ๒๓ ปี ท�ำการติดตั้งระบบเรดาร์ที่ประเทศอิสราเอล เป็นแบบฟัลคอน (Phalcon/IAI EL/W-2085) มีชื่อเรียกใหม่ว่า จี-๕๕๐ เออีดับเบิ้ลยู (G-550 AEW) เรดาร์จะติดตามเป้าหมายได้พร้อมกัน กว่า ๑๐๐ เป้าหมาย ได้ไกลกว่า ๓๗๐ กิโลเมตร ฝูงบิน ๑๑๑ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ประจ�ำการด้วยเครื่องบินเตือนภัยแบบอี-๒ซี ฮอร์คอาย (E-2C Hawkeye) จัดซื้อมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นเครื่องบิน ที่ ทั น สมั ย มากในยุ ค นั้ น เป็ น ประเทศที่ ส อง แห่งเอเชียแปซิฟิกที่ประจ�ำการด้วยเครื่องบิน เตื อ นภั ย ต่ อ จากประเทศญี่ ปุ ่ น (JAFSDF) เพื่ อ ใช้ เ ตื อ นภั ย ทางอากาศจากฝู ง บิ น ขั บ ไล่ อดี ต สหภาพโซเวี ย ตจากฐานทั พ อากาศใน ไซบีเรียห้วงสงครามเย็น ที่มีความตึงเครียด ในหลายภูมิภาคของโลกรวมทั้งเอเชียแปซิฟิก (เครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยคือ MiG-25 Foxbat ความเร็วสูงสุด ๓.๒ มัค) ที่ละเมิดน่านฟ้าเพื่อ ที่จะทดสอบระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ญี่ปุ่นว่ามีความรวดเร็วเพียงใดที่จะส่งเครื่อง บินขับไล่แบบเอฟ-๑๕เจ จากฐานทัพอากาศ ชิโตเซ เกาะฮอกไกโด ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เข้ า สกั ด กั้ น ทั น ที เ มื่ อ ผ่ า นเข้ า น่ า นฟ้ า ญี่ ปุ ่ น (นักบินอดีตสหภาพโซเวียตคือ วิคเตอร์ บาเลนโก้ ได้น�ำเครื่องบินขับไล่ MiG-๒๕ หลบระบบ ตรวจจั บ เรดาร์ ม าลงจอดที่ ฐ านทั พ อากาศ ฮาโกดาเตะ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๙ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

37


เครือ่ งบินเตือนภัยแบบจี-๕๕๐ (G-550 AEW) รวม ๔ เครือ่ ง พร้อมปฏิบตั กิ ารทัง้ ฝูงบิน ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ฝูงบิน ๑๑๑ ฐานทัพอากาศเต็งกาฮ์ (Tengah Air Base) ปฏิบัติการทาง อากาศได้นาน ๙ ชั่วโมง นักบิน ๒ นายและเจ้าหน้าที่ประจ�ำระบบเรดาร์ ๖ นาย

เครื่องบินเตือนภัยแบบจี-๕๕๐ เออีดับเบิ้ลยู (G-550 AEW) ขนาดยาว ๒๙.๘ เมตร, ช่วงปีก ๒๘.๕ เมตร, สูง ๘.๓ เมตร, น�ำ้ หนัก ๒๑,๙๐๐ กิโลกรัม, น�ำ้ หนักบินขึน้ สูงสุด ๔๑,๓๐๐ กิโลกรัม, เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน ๑๕,๓๘๕ ปอนด์ (๒ เครื่อง), ความเร็ว ๙๔๑ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง, พิสัยบิน ๑๒,๕๐๐ กิโลเมตร และเพดานบินสูง ๑๒,๕๐๐ เมตร (๔๑,๐๐๐ ฟุต)

เครื่องบินเตือนภัยรุ่นเก่าแบบ อี-๒ซี ฮอร์คอาย (E-2C Hawkeye) รวม ๔ เครื่อง น�ำเข้าประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๓๐ ฝูงบินที่ ๑๑๑ ฐานทัพอากาศเต็งกาฮ์ (Tengah Air Base) ปัจจุบนั ถูกทดแทนด้วยเครือ่ งบินเตือนภัยรุน่ ใหม่แบบจี-๕๕๐ เออีดบั เบิล้ ยู (G-550 AEW) ปัจจุบันเครื่องบินเตือนภัยรุ่น อี-๒ซี ฮอร์คอาย (E-2C Hawkeye) ยังคงประจ�ำการอยู่ หลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก 38

ได้แสดงถึงจุดอ่อนของระบบป้องกันภัยทาง อากาศญี่ปุ่นซึ่งเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) น�ำเครื่อง บินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศแบบจี-๕๕๐ (G-550 AEW) ท�ำการฝึกในรหัส โคป ไทเกอร์ ๒๐๑๓ (Cope Tiger 2013) ที่ประเทศไทย ร่วมกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ซี/ดี, เอฟ๑๕เอสจี, เอฟ-๕เอส/ที และเคซี-๑๓๐ รวมทัง้ สิน้ ๒๔ เครือ่ ง โดยท�ำการฝึกทีฐ่ านทัพอากาศโคราช ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ นับว่าเป็นการฝึกทางอากาศขนาดใหญ่ที่สุด ของกองทัพอากาศกลุ่มประเทศอาเซียน เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศในเชิงรับแต่ เป็นระบบที่มีค่าใช้จ่ายที่แพง (ทั้งระบบ และ ตลอดห้วงระยะเวลาการใช้งาน พร้อมด้วย บุคลากรที่มีความรู้) ช่วยให้มีเวลาแจ้งเตือน ส� ำ หรั บ ระบบป้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศ ให้ ทั น รั บ การโจมตี จ ากเครื่ อ งบิ น รบฝ่ า ยคุ ก คามที่ จะเกิดขึ้น เป็นผลให้กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) มีระบบป้องกันภัยทางอากาศทันสมัย ที่ สุ ด ของกองทั พ อากาศอาเซี ย นในขณะนั้ น ระบบเรดาร์ฟัลคอน (Phalcon) เป็นระบบ เรดาร์รุ่นใหม่ที่ทันสมัยแบบหนึ่งของโลก ที่ได้ น�ำเข้าประจ�ำการในกองทัพอิสราเอล และ อิตาลี (๒ ระบบ) กองทัพอากาศไทย (RTAF) ประจ�ำการ ด้วยเครื่องบินเตือนภัยแบบซ๊าบ ๓๔๐ เออี ดับเบิล้ ยู (Saab 340 AEW/S 100 Argus) ผลิต จากประเทศสวีเดน ประจ�ำการฝูงบิน ๗๐๒ ฐานทัพอากาศสุราษฎร์ธานี ข้อมูลที่ส�ำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ประจ�ำเครื่อง ๖ นาย, ช่วงปีก ๒๑.๔๔ เมตร, ยาว ๒๐.๕๗ เมตร, สูง ๖.๙๗ เมตร, น�้ำหนัก ๑๓,๑๕๕ กิโลกรัม, เครื่องยนต์ เทอร์โบพร็อพ จีอี (GE, CT7-9B) ขนาด ๑,๗๕๐ แรงม้า (๒ เครื่อง), ใบพัดชนิดสี่กลีบ ความเร็ว เดินทาง ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, ปฏิบัติการ ได้นาน ๗ ชั่วโมง และเพดานบินสูง ๗,๖๒๐ เมตร (๒๕,๐๐๐ ฟุต) ติดตั้งระบบเรดาร์อีรี่อาย (Erieye) เป็นระบบเรดาร์เตือนภัยที่ประจ�ำ การในหลายประเทศ ประกอบด้วย สวีเดน (๖ ระบบ), กรีซ (๒ ระบบ), สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (๒ ระบบ), บราซิล (๕ ระบบ), เม็กซิโก (๑ ระบบ) และปากีสถาน (๔ ระบบ) ข้ อ มู ล ที่ ส� ำ คั ญ ของเรดาร์ อี รี่ อ าย (Erieye) น�้ ำ หนั ก ๙๐๐ กิ โ ลกรั ม , ระบบเรดาร์ อ ยู ่ เหนื อ ล� ำ ตั ว ของเครื่ อ งบิ น ยาว ๙ เมตร ตรวจจับเป้าหมายทางอากาศได้ไกล ๓๕๐ กิ โ ลเมตร สามารถจะติ ด ตั้ ง กั บ เครื่ อ งบิ น โดยสารได้หลายแบบตามความต้องการของ ประเทศลูกค้าที่ได้สั่งซื้อ (แบบ Saab 2000 พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินเตือนภัยแบบซ๊าบ ๓๔๐ เออีดับเบิ้ลยู (Saab 340 AEW) เครื่องบินเตือนภัยแบบซ๊าบ ๓๔๐ เออีดับเบิ้ลยู (Saab 340 ฝูงบิน ๗๐๒ ฐานทัพอากาศสุราษฎร์ธานี เรดาร์อีรี่อาย (Erieye) AEW) ฝูงบิน ๗๐๒ พร้อมด้วยเครื่องบินขับไล่แบบกริเพ่น เจเอ มีนำ�้ หนัก ๙๐๐ กิโลกรัม ระบบเรดาร์อยูเ่ หนือล�ำตัวเครื่องบินยาว ๙.๐ เอส-๓๙ (Gripen JAS-39) ฝูงบิน ๗๐๑ กองทัพอากาศไทย เมตร ตรวจจับเป้าหมายทางอากาศได้ไกล ๓๕๐ กิโลเมตร ขณะปฏิบัติการร่วมกันเหนือน่านฟ้าไทย กองทัพปากีสถาน และแบบ R-99/MB-145 กองทัพบราซิล/เม็กซิโก/กรีซ) เครื่องบินใช้ เครื่องยนต์แบบเทอร์โบพร็อพ (turbopop) จะมี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยประหยั ด กว่ า เครื่ อ งบิ น ที่ ใ ช้ เครื่ อ งยนต์ เ ทอร์ โ บแฟน (turbofan) เมื่ อ เปรียบเทียบกับชั่วโมงบินที่ใช้งานเท่ากันหรือ ตลอดห้วงอายุการใช้งาน เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ แบบ ซ๊าบ ๓๔๐ (Saab 340 AEW) กองทัพ อากาศไทย (RTAF) ช่วยให้ระบบป้องกันภัย ทางอากาศเชิงรับมีขดี ความสามารถเพิม่ มากขึน้ อย่างรวดเร็ว สามารถจะใช้เรดาร์ตรวจการณ์ ทางอากาศได้ไกลกว่าในอดีต รวมทั้งควบคุม สั่ ง การเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบเอฟ-๑๖เอ (รุ ่ น ปรับปรุงใหม่) และเครื่องบินขับไล่แบบกริเพ่น (Gripen JAS-39C/D) เข้ า ปฏิ บั ติ ก ารทาง อากาศต่อเป้าหมายที่เป็นภัยคุกคามได้อย่าง รวดเร็วและได้เปรียบทางยุทธวิธี พร้อมทั้ง ยังสามารถจะให้ข้อมูลที่ส�ำคัญในพื้นที่ปฏิบัติ การกับเรือรบหลักคือ เรือรบหลวงนเรศวร (FFG-441, ระวางขับน�้ำขนาด ๒,๙๘๐ ตัน), เรือรบหลวงตากสิน (FFG-442, ระวางขับน�้ำ ขนาด ๒,๙๘๐ ตัน), เรือรบหลวงจักรีนฤเบศร (CV-911, ระวางขับน�้ำขนาด ๑๑,๕๔๐ ตัน) และเรือฟรีเกตจรวดน�ำวิถีล�ำใหม่ (ก�ำลังต่ออยู่ ที่ประเทศเกาหลีใต้ชั้น KDX-I ระวางขับน�้ำ ขนาด ๓,๙๐๐ ตัน ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๖๑ ติดตั้งระบบ Tactical Datalink รวมทั้งเรือรบ ที่ได้ติดตั้งระบบนี้ไปแล้วสามล�ำ) ระบบเตือน ภั ย ทางล่ ว งหน้ า ทางอากาศจากเครื่ อ งบิ น มี ความส�ำคัญยิ่งในด้านความมั่นคงของประเทศ ในยุคปัจจุบัน และในอนาคต หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

เครือ่ งบินเตือนภัยแบบซ๊าบ ๒๐๐๐ (Saab 2000) กองทัพอากาศปากีสถาน (ฝูงบิน ๑๓) พร้อมด้วยเรดาร์แบบอีรี่อาย (Erieye) ที่ติดตั้งเหนือล�ำตัวเครื่องบิน สามารถจับเป้าหมาย ทางอากาศได้ไกล ๓๕๐ กิโลเมตร

เครือ่ งบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศแบบ จี-๕๕๐ กองทัพอากาศสิงคโปร์ขณะท�ำการ ฝึกในรหัสโคบไทเกอร์ (Exercise Cope Tiger 2013) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย (ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖) 39


เปิดประตู

สู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ วิวัฒนาการของการโจมตีด้วยอาวุธ ความแม่นย�ำสูงในทศวรรษต่อไป อาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ (Short-Range Missiles)

ทวิ เ คราะห์ เ รื่ อ งนี้ เป็ น การ ศึ ก ษา วิ เ คราะห์ และสรุ ป ข้ อ มู ล จากบทวิ เ คราะห์ ข อง ศู น ย์ ป ระเมิ น ยุ ท ธศาสตร์ แ ละงบประมาณ ( The Center for Strategic and Budgetary - CSBA) เรื่อง “The Evolution of Precision Strike” โดย Barry D. Watts. โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มการ ใช้งานของอาวุธความแม่นย�ำสูงตามแบบ จะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสงคราม ใน ๑ - ๒ ทศวรรษหน้า 40

อาวุธน�ำวิถีเริ่มมีบทบาทส�ำคัญอย่างเด่น ชัดในการโจมตีทางอากาศ ตั้งแต่สงครามอิรัก ครั้งที่ ๑ (สงครามอ่าวเปอร์เซีย) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๑ จนกระทัง่ ถึงการโจมตีทางอากาศในยุค ปัจจุบนั การเปลีย่ นแปลงทีเ่ ห็นได้ชดั เจนตัง้ แต่ สงครามทีเ่ กิดขึน้ ในปี ค.ศ.๑๙๙๙, ๒๐๐๑-๒๐๐๒ และ ๒๐๐๓ คือ การลดจ�ำนวนการใช้งานอาวุธ ไม่น�ำวิถี เช่น ลูกระเบิดอเนกประสงค์แบบ Mark 82 เป็นต้น ดังทีแ่ สดงในรูปที่ ๑ ในสงคราม อ่าวเปอร์เซียนั้น กองทัพอากาศสหรัฐฯ ใช้อาวุธ ไม่น�ำวิถีจ�ำนวนมากกว่า ๒๑๐,๐๐๐ ลูก แต่ใน

ขณะทีส่ งครามอิรกั ในปี ค.ศ.๒๐๐๓ อาวุธไม่นำ� วิถที ใี่ ช้ในการโจมตีมนี อ้ ยกว่า ๑๐,๐๐๐ ลูก หรือ น้อยกว่า ๕ เปอร์เซ็นต์ของอาวุธไม่นำ� วิถที ใี่ ช้ใน สงครามอ่าวเปอร์เซียครัง้ แรก ในขณะทีจ่ ำ� นวน อาวุธน�ำวิถีกลับเพิ่มขึ้นมาก จากที่ใช้น้อยกว่า ๘ เปอร์เซ็นต์ในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก เป็นใช้มากกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ในสงครามอิรัก ครั้งที่ ๒ จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า การ โจมตีทางอากาศทัง้ จากกองทัพอากาศ กองทัพ เรือ และนาวิกโยธิน จะเป็นการใช้งานอาวุธ น�ำวิถีที่มีความแม่นย�ำสูง ข้อสังเกตที่เด่นชัดในการโจมตีด้วยอาวุธ น�ำวิถีในสงครามทั้ง ๔ ครั้งที่ผ่านมา ดังแสดง ในรู ป ที่ ๒ ได้ แ ก่ อั ต ราส่ ว นของการโจมตี ด้ ว ยอาวุ ธ น� ำ วิ ถี พิ สั ย ใกล้ แ ละอาวุ ธ น� ำ วิ ถี พิสัยไกลมีความแตกต่างกันอย่างมาก อาวุธน�ำ วิถีพิสัยไกลแบบ CALCM (Conventional Air Launch Cruise Missile) และ TLAM (Tomahawk Land Attack Missile) ถูกน�ำ มาใช้งานเพียงแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์ ของอาวุธน�ำ วิถีที่ใช้ไปมากกว่า ๕๓,๗๐๐ ลูก ในขณะที่ลูก ระเบิดน�ำวิถีที่ไม่ต้องการก�ำลังขับเคลื่อนแบบ JDAM (Joint Direct Attack Munition) และ LGB (Laser-guided Bomb) กลับถูกน�ำมาใช้ มากกว่า ๗๘ เปอร์เซ็นต์ของอาวุธที่ใช้ทั้งหมด จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ อย่างชัดเจนว่า อาวุธน�ำวิถีความแม่นย�ำสูงมี บทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งในการโจมตีทางอากาศ อาวุธน�ำวิถีส่วนใหญ่ที่ใช้ในการโจมตีเป็นอาวุธ น�ำวิถีพิสัยใกล้ รวมทั้งทิศทางการพัฒนาอาวุธ น� ำ วิ ถี ใ นตลาดโลกปั จ จุ บั น ก็ ยั ง คงเป็ น อาวุ ธ น�ำวิถีพิสัยใกล้ เช่น JDAM, SDB, LGB ฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


น�ำวิถพี ิสยั ใกล้ และมีขดี ความสามารถในความ เป็นประเทศผู้ผลิต เช่น สหรัฐอเมริกา, จีน, รัสเซีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สวีเดน, เกาหลีใต้, อิสราเอล, อินเดีย และอิหร่าน จึงท�ำให้เกิดการ แข่งขันในท้องตลาดสูง ราคาต่อหน่วยลดลง ประเทศผู ้ ใ ช้ ง านมี ท างเลื อ กและสามารถ ครอบครองอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ได้มากยิ่งขึ้น รูปที่ ๑ เปรียบเทียบจ�ำนวนอาวุธน�ำวิถี และอาวุธไม่น�ำวิถี ที่สหรัฐอเมริกาใช้ในการ โจมตีทางอากาศ ในขณะที่อาวุธน�ำวิถีพิสัยไกล เช่น JASSM (Joint Air-to-Surface Standoff Missile), Tomahawk ฯลฯ มีเฉพาะประเทศมหาอ�ำนาจ บางประเทศเท่านั้นที่ยังคงด�ำเนินการพัฒนา อยู่ สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้ จะเป็นการวิเคราะห์ถึง สาเหตุที่อาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้เป็นวิวัฒนาการ ของการโจมตี ด ้ ว ยอาวุ ธ ความแม่ น ย� ำ สู ง ใน ทศวรรษต่อไป

เทคโนโลยีในปัจจุบัน : ปัจจัยที่ส่งผลบวก ต่อการพัฒนาอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้

อาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ เป็นอาวุธที่มีความ แม่นย�ำในระยะใกล้ สามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องการข้อมูลเป้าหมาย ล่วงหน้า หรือระบบเครือข่ายในพื้นที่การรบ โดยเฉพาะเมื่อใช้งานโจมตีเป้าหมายอยู่กับที่ หรือกองก�ำลังภาคพื้นดินที่สามารถตรวจจับ ได้ในสถานที่ที่คุ้นเคย อาวุธแบบนี้ส่วนใหญ่ ใช้การน�ำวิถโี ดยใช้หลักการน�ำวิถดี ว้ ยแรงเฉือ่ ย (Inertial Navigation) โดยการช่วยเหลือของ ระบบดาวเทียมบอกต�ำแหน่ง น�ำร่อง และ เวลา (Positioning, Navigation and Time :PNT) ซึ่งในปัจจุบันมีความแม่นย�ำในเกณฑ์ ที่น่าพอใจและมีให้บริการหลายระบบ เช่น ระบบ Global Positioning System (GPS) ของสหรั ฐ ฯ, ระบบ Global Navigation Satellite System (GLONASS) ของรัสเซีย, ระบบ Baidou ของจีน และระบบ Galileo ของยุโรป ซึ่งจะท�ำงานอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ นอกจากนี้ประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย และญี่ปุ่น อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ ดังกล่าว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ ข้อมูลจากดาวเทียม PNT ที่อาวุธน�ำวิถีพิสัย ใกล้ต้องการใช้ในการน�ำวิถีจะมีอยู่ทุกหนแห่ง ของโลก นอกจากนี้เทคโนโลยีการน�ำวิถีอื่นๆ เช่น Laser, Infrared, Millimeter Wave, LADAR (Laser Detection and Ranging) ฯลฯ ใน ปัจจุบันมีอยู่อย่างแพร่หลายและสามารถเข้า ถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น อุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไป

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ความแตกต่างด้านสมรรถนะของอาวุธ รูปที่ ๒ จ�ำนวนอาวุธน�ำวิถีที่ใช้ ในการ น�ำวิถีพิสัยไกลและใกล้ที่ไม่ชัดเจน

โจมตีทางอากาศในสงครามทั้ง ๔ ครั้ง ที่ ผ่านมา

ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศ ผูผ้ กู ขาดการโจมตีอย่างแม่นย�ำด้วยอาวุธน�ำวิถี พิสัยไกล แต่ก็ยังคงใช้งานอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ ตามท้ อ งตลาด (Commercial-Off-The- เป็นจ�ำนวนมาก ความแตกต่างส�ำคัญทางด้าน Shelve Products) มีประสิทธิภาพสูงมาก สมรรถนะของอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้และอาวุธ เพี ย งพอที่ จ ะน� ำ มาใช้ ใ นการพั ฒ นาระบบ น�ำวิถีพิสัยไกลที่ควรจะเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ควบคุมและน�ำวิถี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวส่วน ระยะทางจากต�ำแหน่งที่อาวุธแม่นย�ำสูงถูก ใหญ่จะน�ำมาใช้ในการน�ำวิถีในขั้นตอนสุดท้าย ปล่อยหรือยิงไปยังเป้าหมาย แต่ดว้ ยเทคโนโลยี ก่อนที่อาวุธจะท�ำลายเป้าหมาย เพื่อท�ำให้เกิด ที่ก้าวหน้าในปัจจุบันท�ำให้ความแตกต่างเรื่อง ความแม่นย�ำเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ระยะจากเป้าหมายน้อยลง ในอดีตการโจมตี ด้ ว ยขี ด จ� ำ กั ด ด้ า นเทคโนโลยี ที่ ล ดลง ด้วยอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ นักบินต้องมองเห็น ท�ำให้หลายประเทศได้ด�ำเนินการพัฒนาอาวุธ และโจมตีเป้าหมายที่มองเห็นได้ด้วยสายตา

รูปที่ ๓ Small Diameter Bomb (SDB)

รูปที่ ๔ Laser Guided Bomb (LGB) 41


รูปที่ ๕ Joint Air-to-Surface Standoff Missile (JASSM)

รูปที่ ๖ Tactical Tomahawk Land Attack Missile ดังตัวอย่างเช่น ในสงครามเวียดนามระหว่าง ปฏิบัติการ Linebacker I (พฤษภาคม ถึง ตุลาคม ๑๙๗๒) ลูกระเบิดน�ำวิถีด้วยเลเซอร์ (Laser Guided Bomb; LGB) ได้สร้างผลงาน อย่างน่าตื่นเต้น ลูกระเบิดนี้เป็นอาวุธพิสัยใกล้ มาก ถูกทิง้ จากเครือ่ งบิน F-4D โดยการทิง้ แบบ Dive-Bomb นักบินต้องครอบครองเป้าหมาย ด้วยสายตาโดยการชี้เป้าด้วยแสงเลเซอร์ และ นักบินหน้าเป็นผูท้ งิ้ ลูกระเบิดโดยเล็งเป้าหมาย ผ่านศูนย์เล็งปืน แต่ในปัจจุบัน เครื่องบิน F-22 บินทีค่ วามเร็ว ๑.๕ มัค ทีค่ วามสูง ๕๐,๐๐๐ ฟุต สามารถทิ้งระเบิด Small Diameter Bomb (SDB) ที่ระยะห่างจากเป้าหมายที่ ๗๐ ไมล์ ทะเล ทั้ง LGB และ SDB เป็นอาวุธที่ไม่มีก�ำลัง ขับเคลื่อนในตัวเอง เมือ่ เทียบกับอาวุธพิสยั ไกลและโจมตีทาง ลึกในอดีต เช่น อาวุธน�ำวิถี T-16 ของ Martin Marietta หรือ T-22 ของ Vought ซึ่งพัฒนา ในโครงการ Assault Breaker ของ Defense Advanced Research Projects Agency 1 (DARPA) ในปลายปี ค.ศ.๑๙๗๐ อาวุธทั้ง สองแบบมีระยะน้อยกว่าระยะไกลสุดของ SDB ๑

DARPA เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ.๑๙๘๕ มี ภารกิจหลักในการสร้างนวัตกรรมใหม่ส�ำหรับ งานด้านความมั่นคงของประเทศ 42

ดังนั้นจึงเป็นหลักการที่เข้าใจกันโดยทั่วไปใน ปัจจุบันว่า ความแตกต่างในเรื่องระยะในการ โจมตีเป้าหมายระหว่างอาวุธพิสยั ใกล้และพิสยั ไกลในปัจจุบันจึงไม่มีความชัดเจนมากมายนัก นอกจากนั้น สมรรถนะในเรื่องอ�ำนาจ การท�ำลายเป้าหมายก็เป็นสิ่งส�ำคัญ อาวุธน�ำ วิถีพิสัยใกล้ เช่น ลูกระเบิดน�ำวิถีด้วยเลเซอร์ เป็นอาวุธแบบไม่ต้องการก�ำลังขับเคลื่อนจึง สามารถบรรทุกหัวรบ (Warhead) ขนาดเกือบ เท่าน�้ำหนักของอาวุธ ในขณะที่อาวุธพิสัยไกล จ�ำเป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการขับ เคลื่อนระยะไกล ดังนั้น ถ้าจ�ำนวนหรือขนาด ของหั ว รบที่ เ ท่ า กั น อาวุ ธ น� ำ วิ ถี พิ สั ย ไกลจึ ง ต้องมีขนาดใหญ่กว่าอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ ซึ่ง เมื่ออาวุธมีขนาดใหญ่ขึ้นการน�ำใช้งานก็ย่อม มีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น จากที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น สมรรถนะที่ ส�ำคัญของอาวุธน�ำวิถีพิสัยไกลและใกล้ ไม่มี ความแตกต่างอย่างชัดเจนจึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ ท� ำ ให้ อ าวุ ธ น� ำ วิ ถี พิ สั ย ใกล้ ไ ด้ ถู ก มาใช้ ง าน อย่างแพร่หลายทั้งในสงครามที่ผ่านมาและ ในอนาคต

ราคาต่อหน่วย : ความคุ้มค่าในการใช้ งานอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ ในอดีตที่ผ่านมา ระยะของเป้าหมายจาก ต�ำแหน่งยิงหรือปล่อยอาวุธน�ำวิถี เป็นขีดจ�ำกัด ที่ส�ำคัญในเรื่องความแม่นย�ำ ด้วยเทคโนโลยี

การน�ำวิถีอย่างถูกต้องแม่นย�ำในปัจจุบันท�ำให้ สามารถลดขีดจ�ำกัดในเรื่องนี้ ความแม่นย�ำใน การใช้งานอาวุธน�ำวิถีความแม่นย�ำสูงจึงไม่ได้ ขึ้นอยู่กับระยะเป้าหมายจากต�ำแหน่งปล่อย, ยิง หรือทิ้ง อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ราคา ต่อหน่วยของอาวุธน�ำวิถีความแม่นย�ำสูงที่มี ความทันสมัยยังคงขึ้นอยู่กับระยะทางในการ โจมตีเป้าหมายของอาวุธน�ำวิถี ดังที่แสดงรูปที่ ๗ อาวุธน�ำวิถพี สิ ยั ไกล เช่น JASSM ของกองทัพ อากาศสหรั ฐ ฯ ที่ ส ามารถโจมตี เ ป้ า หมาย ที่ระยะประมาณ ๕๐๐ ไมล์ทะเล และอาวุธ น�ำวิถี Tomahawk ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ สามารถโจมตีเป้าหมายที่ระยะประมาณ ๙๐๐ ไมล์ทะเล มีราคาแพงกว่า SDB และ JDAM กล่าวโดยสรุป JASSM มีราคาต่อหน่วยแพง มากกว่า JDAM ถึง ๕๐ เท่า ด้วยราคาต่อหน่วยของอาวุธน�ำวิถีพิสัย ไกลที่แพงกว่าอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้เป็นอย่าง มาก แม้ แ ต่ ป ระเทศที่ มี ค วามร�่ ำ รวยอย่ า ง สหรั ฐ อเมริ ก าและจี น ก็ ยั ง มี ป ั ญ หาในเรื่ อ ง งบประมาณในการจัดหา อาวุธน�ำวิถพี สิ ยั ใกล้จงึ ได้รับการจัดหาเพื่อคงคลังและถูกน�ำมาใช้งาน เป็นจ�ำนวนมากในสงครามที่ผ่านมา

ระบบอากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ : การ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการโจมตี เ ป้ า หมาย ระยะไกลด้วยอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้

ในสงครามอัฟกานิสถานและอิรัก มีการ พัฒนาการโจมตีอย่างแม่นย�ำที่ส�ำคัญอีกอย่าง หนึ่ง โดยการใช้อากาศยานไร้คนขับควบคุม จากระยะไกลติดอาวุธ สหรัฐอเมริกาได้เริ่ม พัฒนาอากาศยานทีใ่ ช้นกั บินควบคุมจากระยะ ไกล หรือที่เรียกว่า Remote Pilot Vehicle (RPV) ส�ำหรับภารกิจการข่าวในตอนต้นของ ทศวรรษที่ ๑๙๖๐ RPV ในยุคแรกๆ เช่น Ryan Fire Fly ในปี ค.ศ.๑๙๗๕ มีการเสนอแนวความ คิดที่จะติดอาวุธให้กับ RPV ส�ำหรับภารกิจ การโจมตีเป้าหมาย โดยจะต้องติดตั้งอาวุธ ความแม่ น ย� ำ สู ง ยิ ง จากระยะไกล เพื่ อ ที่ จ ะ ทะลุทะลวงระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ข้าศึก และในกรณีของเป้าหมายหลัก เช่น โรงกลั่นน�้ำมัน ให้ท�ำการโจมตีแบบ “คะมิกะ เซะ” (การโจมตีแบบพลีชีพ) ต่อเป้าหมาย นั้น อากาศยานไร้คนขับแบบแรกของสหรัฐฯ ที่ ติ ด อาวุ ธ ได้ แ ก่ อากาศยานไร้ ค นขั บ ทาง ยุทธวิธบี นิ นานแบบ Tier II ซึง่ พัฒนาขึน้ ในช่วง กลางทศวรรษที่ ๑๙๙๐ และต่อมามีชื่อเรียก ว่า RQ-1/MQ-1 Predator ติดตั้ง Synthetic Aperture Radar (SAR) ซึ่งสามารถมองเห็น ภาพพืน้ ดินทีม่ เี มฆปกคลุมได้ ด้วยการใช้ระบบ GPS อากาศยานไร้คนขับแบบ Predator ท�ำให้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


รูปที่ ๗ ราคาต่อหน่วยและปริมาณของอาวุธน�ำวิถีที่สหรัฐฯวางแผนจัดหา

รูปที่ ๘ MQ-9 Reaper เกิดความแม่นย�ำสูงในการก�ำหนดพิกัด และ เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบแรกที่ท�ำให้เกิด การควบคุมแบบนอกสายตา ด้วยการเชื่อมโยง ข้อมูลผ่านดาวเทียม ในปี ค.ศ.๑๙๙๖ จากประสบการณ์การ ใช้อากาศยานไร้คนขับในบอสเนีย กองทัพ อากาศสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งฝูงบินลาดตระเวน ทางอากาศที่ ฐ านทั พ อากาศอิ น เดี ย นสปริ ง (Indian Springs Air Force Base) เพือ่ ควบคุม การท�ำงานของ Predator การพัฒนาติดตั้ง อาวุธน�ำวิถี AGM-114 กับอากาศยานไร้คน หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ขับแบบ Predator ได้เริ่มต้นก่อนเหตุการณ์ ๙/๑๑ แต่ ก ารใช้ ง านที่ แ ท้ จ ริ ง เริ่ ม ขึ้ น ในปี ค.ศ.๒๐๐๗ หลังจากที่กลุ่มอัลกออิดะฮ์โจมตี ในเหตุการณ์ดังกล่าว กองทั พ อากาศสหรั ฐ ฯ ได้ เ ริ่ ม ประจ� ำ การอากาศยานไร้ ค นขั บ ที่ ใ หญ่ ก ว่ า และเร็ ว กว่า แบบ MQ-9 Reaper อากาศยานไร้คน ขับแบบนี้สามารถบรรทุกอาวุธน�ำวิถีพิสัยใกล้ แบบ Hellfire ๑๔ ลูก หรือ ลูกระเบิดน�ำวิถี ด้วยเลเซอร์ขนาด ๕๐๐ ปอนด์แบบ GBU-12 Paveway II จ�ำนวน ๒ ลูก หรือ ลูกระเบิดน�ำวิถี

ด้วย GPS แบบ GBU-38 Joint Direct Attack Munition (JDAM) จ�ำนวน ๒ ลูก พร้อมกับ อาวุธน�ำวิถี Helfire จ�ำนวน ๔ ลูก ระบบอากาศยานไร้ ค นขั บ ติ ด อาวุ ธ ควบคุมการท�ำงานจากระยะไกล ติดตั้งอาวุธ น�ำวิถีพิสัยใกล้ความแม่นย�ำสูง สามารถตอบ สนองการโจมตี ท างอากาศต่ อ เป้ า หมายใน สงครามยุคปัจจุบันและในทศวรรษต่อไป ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นสงครามระหว่างรัฐ กับกอง ก�ำลังที่ไม่ใช่รัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สงคราม การก่อการร้าย สหรัฐอเมริกาประสบความ ส� ำ เร็ จ ในปฏิ บั ติ ก ารโจมตี ท างอากาศด้ ว ย อากาศยานไร้ นั ก บิ น ต่ อ เป้ า หมายส� ำ คั ญ ทั้ ง ในอั ฟ กานิ ส ถาน อิ รั ก และปากี ส ถาน ใน ปัจจุบันหลายประเทศจึงได้มีการพัฒนาระบบ อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ ซึ่งอาวุธน�ำวิถี พิสัยใกล้เป็นองค์ประกอบส�ำคัญของการโจมตี ทางอากาศในลักษณะนี้ จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งในประเด็น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ความ ไม่แตกต่างทางด้านสมรรถนะ ราคาต่อหน่วย และอากาศยานไร้ ค นขั บ ติ ด อาวุ ธ จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ อ าวุ ธ น� ำ วิ ถี พิ สั ย ใกล้ (Short-Range Missiles) เป็นวิวัฒนาการ ของการโจมตี ด ้ ว ยอาวุ ธ ความแม่ น ย� ำ สู ง ใน ทศวรรษต่อไป ประเทศผู้ผลิตอาวุธน�ำวิถีพิสัย ใกล้ในปัจจุบัน ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอาวุธ ดังกล่าวให้มีสมรรถนะสูงยิ่งขึ้น ได้แก่ การเพิ่ม ระยะของเป้าหมาย ความสามารถในการน�ำ วิถีใด้หลากหลายรูปแบบ (การใช้ระบบน�ำวิถี หลายระบบในอาวุธแบบเดียวกันหรือแม้แต่ลกู เดียวกัน) ความสามารถในการติดตั้งได้ทั้งกับ อากาศยานแบบปกติและอากาศยานไร้คนขับ เป็นต้น นอกจากนีป้ ระเทศหลายประเทศทีเ่ ริม่ มีศักยภาพก็สนใจที่จะท�ำการวิจัยและพัฒนา อาวุ ธ น� ำ วิ ถี พิ สั ย ใกล้ โ ดยอาศั ย องค์ค วามรู้ที่ แพร่หลายมากขึ้นและขีดจ�ำกัดของเทคโนโลยี ที่น้อยลง ทั้งเพื่อการพึ่งพาตนเองและความ ก้าวหน้าในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ดังนัน้ ใน ๑ - ๒ ทศวรรษต่อจากนี้ อาวุธน�ำวิถพี สิ ยั ใกล้ จะมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกประเทศ และจะ ถูกน�ำมาใช้ในการโจมตีทางอากาศในสงคราม หรือความขัดแย้งในทุกภูมิภาคของโลกต่อไป เอกสารอ้างอิง Barry D. Watts, “The Evolution of Precision Strike”, The Center for Strategic and Budgetary, 2013. Barry D. Watts, “Six Decades of Guided Munitions and Battle Networks: Progress and Prospective”, The Center for Strategic and Budgetary, 2007.

43


ประชาธิปไตย ทางเลือกแบบไหน ส�ำหรับสังคมไทย

จุฬาพิช มณีวงศ์ 44

จุฬาพิช มณีวงศ์


ภายหลังจากคณะราษฎรได้เข้ายึดอ�ำนาจ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ตลอดระยะ เวลากลับมีเสียงสะท้อนว่า ประชาธิปไตยนั้น เป็นประชาธิปไตย แบบไทยไทย และปัจจุบันเสียงสะท้อนที่รุนแรงกว่านั้นถึงขั้นว่า บางทีประชาธิปไตยอาจไม่เหมาะกับสังคมไทยก็เป็นได้ ย้ อ นหลั ง ไปในช่ ว งที่ บ ้ า นเมื อ งประสบ กับภาวะเปลี่ยนผ่านเมื่อกว่า ๘๐ ปี ก่อนนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระ ราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ แก่ประชาชนคนไทย ทรงเตรียมการพร้อมกับ สอบถามความคิ ด เห็ น จากขุน นางชั้น ผู้ใหญ่ และนั ก วิ ช าการต่ า งประเทศ แต่ ค� ำ ถามก็ คล้ายๆ กับวันนีท้ มี่ คี นถามกัน คือ คนไทยยังไม่ พร้อมต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเป็นเพียงการคิดผ่านคนที่เป็นกลุ่มชนชั้น น�ำเท่านั้น ในวันที่ประเทศไทยก�ำลังเดินหน้า สู ่ ก ารปฏิ รู ป คนไทยเข้ า ใจประชาธิ ป ไตย ตรงกันหรือไม่ เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจมาก เสียกว่าค�ำถามที่ว่า คนไทยเหมาะกับระบอบ ประชาธิปไตยหรือไม่เสียด้วยซ�้ำ การปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิด ขึ้นในสังคมตะวันตก มีจุดเริ่มต้นที่นครเอเธนส์ ในยุ ค กรี ก โบราณ เมื่ อ กว่ า ๒,๐๐๐ ปี ม า แล้ ว ค� ำ ว่ า ประชาธิ ป ไตยมาจากภาษากรี ก

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ว่า Demokratia แปลว่ า การปกครองโดย ประชาชน ปัจจุบันเป็นศัพท์ที่ใช้กันอย่างแพร่ หลายและใช้กันในความหมายที่เป็นบวก แต่ ในอดีตประชาธิปไตยมีความหมายในแง่ลบ มาตลอด นักคิดนักปรัชญาคนดังในอดีตส่วนใหญ่ ไม่มีใครชื่นชอบประชาธิปไตยนัก เพลโต้ และ อริสโตเติล ต่างมองว่า ประชาธิปไตยเป็นการ ปกครองโดยมวลชน ที่ ท� ำ ให้ สั ง คมสู ญ เสี ย โอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากกลุ่มคนที่ทรง ภูมิปัญญาและทรัพย์สิน จาโคแบง แกนน�ำ ปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส และแจ็กสัน ประธานาธิบดี คนที่ ๗ ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้เห็นดีเห็นงาม กับประชาธิปไตยเช่นกัน จนถึงศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา มุมมองเกี่ยวกับประชาธิปไตยจึง เปลี่ยนไป การอ้างถึงประชาธิปไตยกลายเป็น แต้มบวกให้กับการปกครองของตนเอง วิลเลียม เอช ไลเกอร์ นักรัฐศาสตร์ชาว อเมริ กั น ได้ ท� ำ การศึ ก ษาเอกสารส� ำ คั ญ ทาง

ประวัติศาสตร์ ๕ ชิ้น เพื่อค้นหาสาระส�ำคัญ ของแนวคิดประชาธิปไตย เขาได้ข้อสรุปว่า “ประชาธิปไตย คือการปกครองรูปแบบหนึ่งที่ ผู้ปกครองมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อผู้ใต้ การปกครอง เพื่อท�ำให้ผู้อยู่ใต้การปกครองทุก คนสามารถบรรลุถึงเงื่อนไขการเคารพตัวเอง” ขณะที่ แ อนดรู เฮย์ วู ด นั ก รั ฐ ศาสตร์ ชาวอั ง กฤษได้ ร วบรวมนิ ย ามประชาธิ ป ไตย จากผู้รู้และนักวิชาการหลายส�ำนัก สรุปได้ ว่า “ประชาธิปไตยคือระบบการปกครองโดย คนจนและคนที่ด้อยโอกาส คือรูปแบบการ

45


ปกครองประเภทหนึ่ ง ที่ ป ระชาชนปกครอง ตนเองโดยตรงและต่ อ เนื่ อ ง โดยไม่ มี ค วาม จ� ำ เป็ น ต้ อ งอาศั ย นั ก การเมื อ งอาชี พ และ พนั ก งานประจ� ำ ประชาธิ ป ไตยคื อ สั ง คมที่ ตั้งอยู่บนหลักการของความเสมอภาคกันใน โอกาสและความมีคุณธรรมของปัจเจกบุคคล มากกว่าหลักการในเรื่องชนชั้นและสิทธิพิเศษ คือระบบสวัสดิการและการจัดสรรที่มีจุดมุ่ง หมายเพื่อลดความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน ทางสังคมให้แคบลง ประชาธิปไตยคือระบบ การตั ด สิ น ใจที่ ตั้ ง อยู ่ บ นหลั ก การทางการ 46

โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตย มัก คิดว่ามีรูปแบบเดียวเหมือนกันหมดทั้งโลกแต่ ประชาธิปไตยมีหลายแบบแตกต่างกัน ลองมา วิเคราะห์รูปแบบของประชาธิปไตยสัก ๔ แบบ ได้แก่ ประชาธิปไตยแนวดั้งเดิม ประชาธิปไตย แนวปกป้อง ประชาธิปไตยแนวพัฒนาและ ประชาธิปไตยของประชาชน ซึ่งมีคุณลักษณะ ปลีกย่อยที่ไม่เหมือนกัน เริ่ ม จาก ประชาธิ ป ไตยแบบดั้ ง เดิ ม ของนครเอเธนส์ ถือเป็นตัวแบบการปกครอง ประชาธิ ป ไตยที่ บ ริ สุ ท ธิ์ แ ละสมบู ร ณ์ แ บบ มากที่สุด แต่แม้จะมีอิทธิพลส�ำหรับนักคิดรุ่น หลัง เช่น รุสโซ่และมาร์กซ ลักษณะเด่นคือ เป็นการปกครองโดยประชาชนโดยตรง แต่ น�ำมาประยุกต์ใช้ได้จ�ำกัดมากในโลกสมัยใหม่ เน้นการท�ำกิจกรรมหรือการมีสว่ นร่วมทางการ ปกครองโดยเสี ย งข้ า งมาก คื อ ระบบการ เมืองของประชาชน ขณะเดียวกันประชาชนยัง ปกครองที่ให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและผล ต้องแบกรับตามหน้าที่และรับผิดชอบในการ ประโยชน์ของฝ่ายเสียงข้างน้อย โดยการยับยั้ง ปกครองบ้านเมือง และตัดสินใจในประเด็น อ�ำนาจของฝ่ายเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยคือ สาธารณะอีกด้วย วิธกี ารบรรจุบคุ คลเข้าสูต่ ำ� แหน่งสาธารณะด้วย ประชาธิปไตยแนวปกป้อง เป็นแนวคิด วิธีการแข่งขันต่อสู้เพื่อให้ได้คะแนนเสียงของ ที่เน้นการให้ประชาชนมีกลไกหรือเครื่องมือ ประชาชน และประชาธิปไตยคือระบบการ ในการปกป้ อ งตนเองจากการล่ ว งละเมิ ด ปกครองที่ท�ำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ของรัฐบาล จึงเป็นแนวคิดที่ดึงดูดนักคิดแนว โดยไม่ต้องค�ำนึงว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมใน เสรี นิ ย มในยุ ค แรกๆ การสร้ า งพื้ น ที่ ใ ห้ กั บ ระบบการปกครองนั้นหรือไม่ เสรี ภ าพของปั จ เจกบุ ค คลให้ ก ว้ า งที่ สุ ด เพื่ อ จุฬาพิช มณีวงศ์


และเชื่อมั่นในระบบปกครอง เช่น ในยุโรป ตะวันตก อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ส่ ว นประเทศประชาธิ ป ไตยกลางเก่ า กลาง ใหม่ ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย ประเทศ ประชาธิปไตยสมัยใหม่ เช่น ประเทศในยุโรป กลางและยุโรปตะวันออก ประเทศในแอฟริกา มี ค วามผั น ผวนทางการเมื อ งสู ง และหลาย ประเทศถูกท้าทายด้วยระบอบอ�ำนาจนิยมหรือ ระบบเผด็จการอย่างรุนแรง ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเหล่านี้ยัง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ระบบรัฐสภา ระบบ ประธานาธิบดีและระบบผสม ระบบรัฐสภา มาจากการเลือกตั้งของประเทศ อ�ำนาจสูงสุด เป็นของรัฐสภา รัฐบาลจะอยู่ในอ�ำนาจขึ้นอยู่ กับความไว้วางใจของรัฐสภา เมื่อรัฐบาลไม่ ได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาก็จะขาดความ ชอบธรรมที่จะอยู่ในอ�ำนาจต่อไป ระบบนี้มี อังกฤษเป็นต้นแบบ ระบบประธานาธิบดีให้ ความส�ำคัญกับฝ่ายบริหารเป็นการออกแบบ ป้องกันการล่วงละเมิดของรัฐบาลที่มีอ�ำนาจ ด�ำเนินชีวิตของตนเอง ต่อมา สจ๊วตมิลล์ มา ให้ความเข้มแข็งแก่ฝ่ายบริหาร ไม่ต้องถูกขัด ล้นพ้น จึงมีความส�ำคัญ จอห์นล็อกถือเป็นหัว ต่อยอดความคิดนี้ โดยเห็นว่าคุณค่าส�ำคัญ ขวางโดยฝ่ายนิติบัญญติ มีการแบ่งแยกอ�ำนาจ หอกส�ำคัญของนักคิดกลุ่มนี้ เขาอ้างว่า รัฐบาล ของประชาธิปไตยช่วยส่งเสริมการพัฒนาความ ออกจากกัน ระบบนี้มีสหรัฐอเมริกาเป็นต้น เผด็จการเลวร้ายกว่าสภาวะธรรมชาติที่ไร้รัฐ สามารถของปัจเจกบุคคลได้สูงสุดและก่อให้ แบบ และระบบผสม คงโครงสร้างของระบบ ประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่มาจาก เกิดความปรองดอง โดยการเข้าร่วมทางการ รัฐสภา และคงอ�ำนาจหน้าที่บางประการของ ความยินยอมของผูถ้ กู ปกครอง ด�ำเนินการผ่าน เมือง โดยมิลล์เสนอให้ขยายการมีส่วนร่วม ระบบประธานาธิ บ ดี คิ ด ขึ้ น ในสมั ย รั ฐ บาล ทางสภาผู้แทนหรือการเลือกตั้ง ตามก�ำหนด ของประชาชนโดยการออกเสี ย งเลื อ กตั้ ง ซึ่ ง ชาร์ลสเดอโกล ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. ๑๙๕๘ เวลาและที่มีการแข่งขัน แนวคิดเกี่ยวกับการ ควรไปถึงประชาชนทุกคนรวมถึงสตรี และยัง หลายประเทศน� ำ ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ได้แก่ จีน เลือกตั้งได้รับการสนับสนุนอย่างมีพลังในช่วง ได้สนับสนุนให้มีการปกครองท้องถิ่นที่เข้มแข็ง เกาหลี ไต้หวัน รัสเซีย ยูเครน ท้ายของศตวรรษที่ ๑๘ เช่น เจเรมี เบนแธม ซึง่ และเป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะเป็นการขยาย ผู ้ ที่ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บการปกครองใน เชื่อว่า สิทธิเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเป็นหนทาง โอกาสให้กับประชาชนในการด�ำรงต�ำแหน่ง ระบอบประชาธิปไตยและประเทศต่าง ๆ ทัว่ โลก เดียวที่จะส่งเสริมความสุขมากที่สุดส�ำหรับคน สาธารณะ ต่ า งสรุ ป ตรงกั น ว่ า การปกครองระบอบ จ�ำนวนมากที่สุด ประชาธิปไตยของประชาชน มีที่มาจาก ประชาธิปไตยคือความพยายามปรับเปลี่ยน ประชาธิ ป ไตยแนวพั ฒ นา ได้ รั บ การ ระบบมาร์กซิสต์ ต้นแบบคือโซเวียตในช่วง ระบบการปกครองเดิมให้ประชาชนได้มีส่วน พัฒนาขึ้นโดย รุสโซ่ ซึ่งเห็นว่าประชาธิปไตย สงครามโลกครั้งที่ ๒ มาร์กซเชื่อว่า การโค่นล้ม มีเสียงในการก�ำหนดทิศทางการปกครองและ คื อ เครื่ อ งมื อ ที่ ท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ ส ามารถบรรลุ ระบบทุนนิยมจะก่อให้เกิดปฏิกริยาที่จะเปิด ตั ว บุ ค คลที่ ท� ำ หน้ า ที่ ป กครองประเทศ อาจ ถึงเสรีภาพหรือความเป็นอิสระ ประชาชนมี ทางให้ประชาธิปไตยที่แท้จริงเจริญงอกงาม เกิดขึ้นในระยะไล่เลี่ยกันหรือต่างยุคกัน ขึ้น เสรีภาพก็ต่อเมื่อเข้าร่วมโครงการโดยตรงและ เป็ น รู ป แบบประชาธิ ป ไตยที่ จั ด ขึ้ น ส� ำ หรั บ อยู่กับเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ ต่อเนื่องในการก�ำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ประเทศคอมมิวนิสต์ในศตวรรษที่ ๒๐ อุดมการณ์ และการเมืองของแต่ละประเทศ และครอบครัว ตลอดจนชุมชน เป็นแนวคิด จากสถิ ติ ข อง The Journal of ความเป็นสถาบันของระบอบประชาธิปไตย ที่ ไ กลกว่ า แนวคิ ด ดั้ ง เดิ ม ของประชาธิ ป ไตย Democracy สหรัฐอเมริกา ประเทศทีป่ กครอง ของแต่ละประเทศจึงไม่เท่าเทียมกัน แต่เกณฑ์ โดยการเลื อ กตั้ ง และเป็ น การสนั บ สนุ น ในระบอบประชาธิปไตยมีเพิ่มขึ้นตามล�ำดับ ๒ ประการที่จะวัดความเป็นประชาธิปไตยอัน ประชาธิปไตยโดยตรงทีร่ นุ แรงมากกว่ารูปแบบ จากปี ค.ศ. ๑๙๗๒ มี ๔๐ ประเทศ ปี ค.ศ. เป็นหัวใจส�ำคัญที่ต้องไม่ลืมก็คือ ตามอุ ด มคติ ในทั ศ นะของรุ ส โซ่ ที่ ไ ม่ เ พี ย ง ๑๙๙๕ หลังจักรวรรดิโซเวียตล่มสลาย พุ่งเป็น หนึง่ สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการ ต้องการความเสมอภาคทางการเมืองเท่านั้น ๑๑๗ ประเทศ ส่วนสถิติของ The Freedom แต่ต้องการความเสมอภาคทางเศรษฐกิจด้วย House สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ ๒๐๐๘ มี เลือกตั้ง สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิใน เขาเสนอว่า ไม่มปี ระชาชนคนใดรวยถึงขนาดที่ ประเทศประชาธิปไตย ๙๐ ประเทศ ประเทศ การจัดตั้งพรรคการเมือง สอง เสรีภาพของพลเมือง ได้แก่ เสรีภาพ จะซื้ออีกคนหนึ่งได้ และไม่มีใครจนถึงขนาดให้ กึ่งประชาธิปไตย ๖๐ ประเทศ และประเทศที่ ในการพู ด เขียน อ่าน สือ่ สาร ตีพมิ พ์ การชุมชน ถูกบังคับต้องขายตนเอง แนวคิดนี้นักคิดซ้าย ไม่เป็นประชาธิปไตยมีเพียง ๔๓ ประเทศ ใน ใหม่ยึดถือ โดยยกย่องคุณความดีของสังคม จ�ำนวนประเทศที่ เ ป็ น ประชาธิ ปไตยและกึ่ ง ในที่สาธารณะ แบบมีส่วนร่วม เป็นสังคมที่ประชาชนแต่ละ ประชาธิปไตยจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดี มี ถึ ง วั น นี้ ค นไทยคงตั ด สิ น ใจได้ แ ล้ ว ว่ า คนสามารถบรรลุถึงการพัฒนาตนเองโดยการ เสถียรภาพมัน่ คง ประชาชนทัว่ ไปมีความพอใจ ต้องการประชาธิปไตยแบบใด เข้าร่วมในการตัดสินใจที่ก�ำหนดแนวทางการ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

47


อาณาจักรตองอู หลังพระเจ้านันทบุเรง ทรงสวรรคต ๒๑๔๓ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง เป็นอาณาจักรที่มี ความเข้มแข็งทางทหาร เริ่มต้นราชวงศ์จากเมือง ตองอู ก ้ า วขึ้ น สู ่ ก ารมี อ� ำ นาจทางทหารที ล ะน้ อ ย พระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung) กษัตริย์ ล�ำดับที่สาม แห่งราชวงศ์ตองอู ทรงมีการวางแผน ยุทธศาสตร์ทดี่ ขี ยายอาณาจักรสูเ่ พือ่ นบ้าน หลังจาก ตั้งราชวงศ์ ได้ ๔๐ ปี อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง ก้าวขึน้ สูอ่ ำ� นาจทางทหารอย่างรวดเร็วในเวลาอันสัน้ อาณาจักรที่กว้างใหญ่ขึ้นกว่าในอดีตอย่างที่ไม่เคย มีมาก่อน พระองค์อยูใ่ นราชสมบัตนิ าน ๓๐ ปี ขยาย อ� ำ นาจทางทหารก้ า วขึ้ น สู ่ จุ ด สู ง สุ ด ของการเป็ น มหาอ�ำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์ มีอาณาจักร ขนาดใหญ่ บทความนี้ กล่ า วถึ ง เหตุ ก ารณ์ ห ลั ง การสวรรคตของพระเจ้านันทบุเรง (King Nanda Bayin) ยุคแห่งความวุ่นวายของอาณาจักรพม่า พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอู (พระเจ้าชนะสิบทิศ King of the Ten Directions) มหาราช พระองค์ที่สองแห่งอาณาจักรพม่า พระองค์ทรงน�ำอาณาจักร ตองอูขึ้นสู่จุดสูงสุดของอ�ำนาจทางทหารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต

กล่าวทั่วไป

กองทัพสยามล้อมเมืองตองอู (Toungoo) นานประมาณ ๒ เดือน เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๓ แต่ เมืองตองอูมีป้อมปราการแน่นหนาพร้อมทั้งมี คูน�้ำล้อมรอบจึงยากที่จะตีหักให้ได้และรุกเข้า สู่ตัวเมืองในเวลารวดเร็ว ประกอบกับไม่ได้ เตรียมเสบียงอาหารเพื่อมาท�ำศึกที่เมืองตองอู กองทัพสยามเตรียมท�ำศึกกับพม่าทีก่ รุงหงสาวดี แต่กองทัพสยามต้องเดินทัพขึ้นมาทางเหนือ อีกประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร เพื่อจะติดตาม พระเจ้านันทบุเรง จึงต้องสูญเสียเสบียงอาหาร 48

เป็นจ�ำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในแผนการทัพ ใน ที่สุดจอมทัพสยามคือสมเด็จพระนเรศวรทรง ตัด สิน ใจให้ ถ อนกองทั พ สยามกลั บคื น สู ่ ก รุ ง ศรีอยุธยาเมื่อแรม ๖ ค�่ำ เดือน ๖ แต่สภาพของ เมืองตองอู (Toungoo) หลังศึกใหญ่กับสยาม ได้รับความเสียหายและต้องสูญเสียมากเช่น กัน ทั้งสภาพบ้านเมืองสูญเสียก�ำลังทหาร และ ประชาชน รวมทั้งเสบียงอาหารจ�ำนวนมาก การเมื อ งของราชวงศ์ ต องอู แห่ ง พม่ า น�ำมาสู่เจ้าชายนัดจินหน่อง (Natshinnaung) เป็นรัชทายาทของพระเจ้าตองอู (เมงเยสีหตู/

Minye Thi Hathu) กับพระนางเมงกอสอ (พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระนางตะขิน่ จี หรือพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนอง) ทรง ตกลงใจที่ จ ะลดความยุ ่ ง ยากในการปกป้ อ ง พระเจ้ า นั น ทบุ เ รง โดยการลอบวางยาพิ ษ เพื่ อ จะปลงพระชนม์ พ ระเจ้ า หงสาวดี นั น ท บุ เ รง กษั ต ริ ย ์ ล� ำ ดั บ ที่ สี่ แห่ ง ราชวงศ์ ต องอู (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๔๒) พระองค์ทรง สิ้นพระชนม์ในวัย ๖๔ พรรษา ทรงอยู่ครอง ราชสมบัตินานถึง ๑๘ ปี (พ.ศ.๒๑๒๔-๒๑๔๒, พระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เมืองตองอูจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ตองอู (ลูกศร ด้านบน) และเมืองสิเรียม (ลูกศร ด้านล่าง) ชาวโปรตุเกสได้เป็นเจ้าเมืองพร้อม ทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลของ พม่าตอนใต้

เมืองอังวะ (ลูกศร ด้านบน) เริ่มต้นขยายอ�ำนาจหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้า นันทบุเรง เมืองตองอู (ลูกศร ด้านล่าง) จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ และจุดเริ่มต้นของการ ล่มสลายของอาณาจักร (ภาพกราฟิกส์หว้ งปี พ.ศ.๒๑๓๓ ยุคสูค่ วามยิง่ ใหญ่หรือรุง่ โรจน์) ๒๐๗๘ พระราชมารดาคือพระอัครมเหสีอดุล สิริมหาราชเทวี พระนามเดิมพระนางตะขิ่นจี ทรงเป็นพระพี่นางในพระเจ้าตะเบงชะเวตี้)

ความวุ ่ น วายในราชวงศ์ ต องอู ห ลั ง สิ้ น พระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง

เจ้าชายนะยองยานเป็นพระอนุชาของ พระเจ้านันทบุเรง (พระราชโอรสองค์เล็ก ของ พระเจ้าบุเรงนอง) เมื่อทราบข่าวสิ้นพระชนม์ เจ้าชายจึงได้เข้ายึดเมืองตั้งอยู่ใกล้กับเมือง อังวะ และได้เป็นเจ้าเมืองอังวะ (Ava) เรียก ว่าพระเจ้าอังวะ (ชาวพม่าให้การสนับสนุน เนื่องจากเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าบุเรง นอง) ทรงท�ำพิธรี าชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พม่าทรงพระนามสีหสุธรรมราชา เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์คิดทรง ขยายอาณาเขตขึ้นไปทางเหนือเข้าโจมตีไทย ใหญ่ แต่ความประสงค์ของพระองค์ยังไม่ทัน

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

ทีจ่ ะได้บรรลุเป้าหมายทรงวางไว้กส็ นิ้ พระชนม์ พระเจ้าตองอูพระองค์ใหม่ แทนพระราชบิดา) ลงเสียก่อนขณะท�ำศึก เมือ่ วันที่ ๕ พฤศจิกายน และพระเจ้าอังวะ (พระเจ้าอนันกะเพตลุน) พ.ศ.๒๑๔๘ ขณะทีม่ พี ระชนมายุได้ ๔๙ พรรษา ทรงขยายอ�ำนาจขึ้นไปทางเหนือของพม่าคือ (ประสูติเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๐๙๘) ไทยใหญ่จึงมีอ�ำนาจเพิ่มมากขึ้น แต่พระองค์ พระราชโอรสของพระองค์ คื อ พระเจ้ า มหา ทรงหลีกเลี่ยงการขยายอ�ำนาจลงมาทางใต้ ธรรมราชาทรงครองราชย์ต่อ คือเมืองแปรและเมืองตองอู ซึ่งเป็นพระญาติ แผ่นดินพม่าแห่งราชวงศ์ตองอูที่ยิ่งใหญ่ และพม่าด้วยกัน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี ทางตอนใต้ของอาณาจักรพม่าที่ติดกับ ปี พ.ศ.๒๐๙๔ ระยะเวลา ๓๐ ปี อาณาจักร ชายฝั่งทะเลมีชาวโปรตุเกสได้เป็นเจ้าเมือง ตองอูก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอ�ำนาจแห่งอุษา สิเรียม (Syriam) ชื่อว่า ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต คเนย์ เมื่อเวลาผ่านมา ๑๘ ปี แผ่นดินมีความ (Philip de Brito Nicote) ท�ำการปรับปรุง แตกแยกและวุ่นวาย ทุกเมืองต่างก็พยายาม เมื อ งสิ เ รี ย มให้ ป ้ อ งกั น ตั ว เองด้ ว ยการสร้ า ง สร้างอ�ำนาจให้เมืองตนเองมีอ�ำนาจสูงสุดเพื่อ ก� ำ แพงเมื อ ง และได้ ขุ ด คู ร อบเมื อ งเป็ น ผล ความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น ให้เมืองมีความแข็งแรงอย่างมาก (เป็นเมือง พระญาติกับพระเจ้าบุเรงนองทั้งสิ้น เมืองที่ ท่ า ที่ ส� ำ คั ญ เป็ น ดิ น ดอนสามเหลี่ ย มตั้ ง อยู ่ พอจะมีก�ำลังทหารหรือมีอ�ำนาจประกอบด้วย บริเวณที่ปากแม่น�้ำอิระวดี แม่น�้ำมีความยาว พระเจ้าตองอู (เจ้าชายนัดจินหน่อง ขึ้นเป็น ๒,๑๗๐ กิโลเมตร ไหลผ่านอาณาจักรจากทาง 49


ด้านเหนือไหลลงสู่ด้านใต้) เป็นกองทัพที่มี อาวุธทันสมัยเมื่อเปรียบเทียบกับก�ำลังทหาร ของกองทัพท้องถิ่นที่เป็นชาวพม่า โดยมีทหาร โปรตุเกสเป็นก�ำลังส�ำคัญพร้อมด้วยทหารชาว มอญ เมื่อกรุงหงสาวดีถึงกาลล่มสลายแล้วจึง ขาดอ�ำนาจการปกครองจากศูนย์กลาง เป็นผล ให้เมืองสิเรียม (Syriam) มีบทบาทมากยิ่งขึ้น กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าของพม่าทาง ตอนใต้เมืองจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นแทน กรุงหงสาวดี เมืองยะไข่และเมืองตองอูเห็นว่า เจ้าเมืองสิเรียมก�ำลังคิดการใหญ่ กองทัพเรือยะไข่เข้าโจมตีเมืองสิเรียม (Syriam) แต่ก็ต้องพ่ายแพ้และสามารถจับตัว แม่ทัพเรือยะไข่ไว้ได้ (เป็นเจ้าชายเมืองยะไข่) เป็นผลให้กองทัพยะไข่และตองอูต้องถอยทัพ และต้องเสียเงินค่าไถ่ตัวแม่ทัพเรือยะไข่ ใน เวลาต่ อ มาได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากอุ ป ราช เมืองกัว (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย) ได้รับ เรือรบอีก ๖ ล�ำพร้อมด้วยทหาร ๓,๐๐๐ นาย ท�ำให้เจ้าเมืองสิเรียมมีอ�ำนาจเพิ่มมากขึ้นมี อ�ำนาจสูงสุดในพม่าตอนล่าง (เมืองต่างๆ ทีเ่ ป็น ชาวมอญก็ได้มาขึ้นกับเมืองสิเรียม) พ.ศ.๒๑๕๑ พระเจ้าอังวะ (พระเจ้า อนันกะเพตลุน/Anaukpetlun) ทรงสามารถ ยึดครองภาคเหนือของพม่าได้ทั้งหมดมีก�ำลัง ทหารและอาวุธเพิ่มมากขึ้น ทรงขยายอ�ำนาจ ลงมาทางใต้ ที่ เ ป็ น พม่ า ด้ ว ยกั น สามารถ ยึดครองเมืองแปรได้ส�ำเร็จในปี พ.ศ.๒๑๕๑ อี ก สองปี ยึ ด ได้ เ มื อ งตองอู และทรงแต่ ง ตั้ ง เจ้าเมืองตองอูคนใหม่ (นัดจินหน่อง) ในฐานะ เมืองขึน้ ของกรุงอังวะ (ก่อนนัน้ เป็นเอกราช) เป็น ผลให้พระเจ้ากรุงอังวะทรงมีอ�ำนาจทางทหาร เพิ่มมากขึ้นเป็นด�ำลับ พระเจ้ากรุงอังวะเสด็จ กลับไปแล้ว (ทรงน�ำพระเขี้ยวแก้วและบาตร ศักสิทธิ์กลับไปด้วย) เจ้าเมืองตองอูก็ไม่พอใจ ที่ถูกลดฐานะต�่ำลง ก็ได้ส่งสาส์นให้เจ้าเมือง สิเรียม (ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต) ให้ยกกองทัพ เข้ายึดเมืองตองอู ต่อมากองทัพเมืองสิเรียม ทางตอนใต้ปากแม่น�้ำอิระวดี (Irrawaddy) ก็ยกกองทัพขึ้นเหนือเข้าล้อมเมืองตองอู แต่ พระอนุชาของเจ้าเมืองตองอูไม่ทรงยินยอม ทรงยกกองทัพมาต่อต้านอย่างเข้มแข็ง ในทีส่ ดุ กองทัพเมืองสิเรียม (Syriam) ก็สามารถยึด ได้เมืองตองอูส�ำเร็จ พร้อมทั้งได้เผาเมืองตองอู เสียหายเป็นจ�ำนวนมาก ไม่ต่างกับเมื่อครั้งที่ พระองค์เชิญพระเจ้านันทบุเรงเสด็จจากกรุง หงสาวดีเสด็จประทับที่เมืองตองอู พร้อมทั้ง กรุงหงสาวดีกถ็ กู เผาโดยกองทัพยะไข่ทรี่ ว่ มมือ กับกองทัพตองอูกอ่ นทีก่ องทัพสยามมาถึงชาน พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนอง 50

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะทรงม้าศึก ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม พ.ศ.๒๑๓๓ - ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ นาน ๑๕ ปี พระองค์ทรงท�ำศึกกับอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง แห่งราชวงศ์ตองอู สมัยพระเจ้านันทบุเรง เป็นผลให้ราชวงศ์ ตองอูอ่อนแอและเกิดศึกภายในราชวงศ์ติดตามมา กรุงหงสาวดีไม่เคยกลับมายิ่งใหญ่อีกเลย

กรุงหงสาวดี ๘ วัน และเจ้าเมืองตองอู (นัดจิน หน่อง) ได้ด่ืมน�้ำสาบานเป็นพี่น้องกับเจ้าเมือง สิเรียม (ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต) พร้อมทั้งได้ ติดตามไปที่เมืองสิเรียม (Syriam) พ.ศ.๒๑๕๕ พระเจ้าอังวะ (พระเจ้าอนัน กะเพตลุน/Anaukpetlun) ทรงยกกองทัพลง มาทางด้านใต้ด้วยก�ำลังทหาร ๑๒๐,๐๐๐ คน พร้อมด้วยเรือรบ ๔๐๐ ล�ำ ได้เข้าล้อมเมือง สิเรียม (Syriam) แต่ก�ำแพงเมืองสิเรียมมีความ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

มั่นคง (ได้รับการปรับปรุงใหม่) อย่างมาก จึง เป็นการยากที่กองทัพอังวะจะตีหักเข้าไปใน เมืองให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

บทสรุป

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันท บุเรงที่เมืองตองอู เมืองต่างๆ แห่งลุ่มแม่น�้ำ อิระวดีตา่ งก็ได้แย่งชิงความเป็นใหญ่ ศูนย์กลาง อ� ำ นาจของอาณาจั ก รหงสาวดี จ ากราชวงศ์ ตองอู เ ริ่ ม ที่ จ ะอ่ อ นก� ำ ลั ง ลง จึ ง กลายเป็ น

สงครามกลางเมืองของพม่าในยุคที่สอง พร้อม ทั้งมีชาวโปรตุเกสเข้ามามีส่วนร่วมทางด้าน การเมื อ งของพม่ า ทางตอนใต้ การแย่ ง ชิ ง อ�ำนาจเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาณาจักรพม่า แห่งหงสาวดี (Hanthawaddy) ในยุคที่สอง ก็ล่มสลายลงตามกาลเวลา

51


หลักสูตรค่ายภาษาภาคฤดูร้อน ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลาโหม ได้กรุณามอบหมายให้ พลตรี ณรัตน์ ศรีรตั น์ รองเจ้ากรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการ อบรม เมื่อ ๒๗ เม.ย.๕๘ ณ ห้องประชุมส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ชั้น ๙ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)

นช่วงภาคฤดูรอ้ นของทุกปี ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยศูนย์ภาษาต่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้จัดอบรมหลักสูตรค่ายภาษาภาคฤดูร้อน ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ให้แก่บุตรหลานข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน ถึงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม ส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ชั้น ๙ (ศรีสมาน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ของปลัดกระทรวงกลาโหมในการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุตรหลานของข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคฤดูร้อน และเป็นการเพิ่มพูนความ รู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และเสริมสร้างการท�ำงานในหมู่คณะ รูปแบบการอบรมเป็นการบรรยายในชัน้ เรียน เน้นความรูด้ า้ นภาษาอังกฤษและภาษาจีน สอดแทรก กิจกรรมในชั้นเรียนโดยเนื้อหาที่เน้นจะฝึกให้เด็กๆ ได้ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เช่น 1. A ออกเสียงสระเป็น เอ เช่น say อ่านว่า เซย์ (พูด) bacon อ่านว่า เบคอน (เนื้อหมู) bay อ่านว่า เบย์ (อ่าว) 2. A ออกเสียงสระเป็น แอ เช่น arrow อ่านว่า แอโร่ว์ (ลูกศร) area อ่านว่า แอเรีย (พื้นที่) 3. A ออกเสียงเป็น อา, อะ เช่น amount อ่านว่า อะเม้าท์ (จ�ำนวน) basket อ่านว่า บาสเก็ต (ตะกร้า) 4. A ออกเสียงสระเป็น ออ เช่น also อ่านว่า ออสโซ (เช่นกัน) war อ่านว่า วอร์ (สงคราม) 5. E ออกเสียงสระเป็น เอ เช่น general อ่านว่า เยนเนอรัล (ทั่วไป) bed อ่านว่า เบ็ด (เตียง) 6. E ออกเสียงเป็น อี เช่น key อ่านว่า คีย์ (กุญแจ) era (อีรา) ศักราช 7. E ออกเสียงสระเป็น อิว อูว เช่น new อ่านว่า นิว (ใหม่) blew (บลูว) (ผิวปาก) 8. I ออกเสียงสระเป็น ไอ เช่น violin อ่านว่า ไวโอลิน (เครื่องดนตรีไวโอลิน) high อ่านว่า ไฮ (สูง) 9 O ออกเสียงสระเป็น โอ เช่น low อ่านว่า โลว์) ต�่ำ ocean อ่านว่า โอเชี่ยน 10. U ออกเสียงสระเป็น อุ หรือ อู เช่น full อ่านว่า ฟูล (เต็ม) put อ่านว่า พุท (วาง) กิจกรรมแนะน�ำตัวเอง เปิดหลักสูตรด้วย 11. การฝึกนับเลขหนึ่งถึงล้าน เช่น 1,234,567 อ่านว่า One million two hundred and การท�ำความรู้จักกัน โดยให้แนะน�ำตัวเป็น thirty-four thousand, five hundred and sixty-seven. ภาษาอังกฤษ 12. การทักทาย เช่น Good morning, Good afternoon, Good evening, Good night. 13. ค�ำศัพท์เกีย่ วกับอาหารไทย เช่น ข้าวเหนียว ( sticky rice), บะหมี่ (Egg noodle) โจ๊ก (porridge) น�้ำปลา (fish sauce) ปาท่องโก๋ (Chinese donut) น�้ำเต้าหู้ (Soybean milk) ข้าวผัด (Fried rice) ไข่ลวก (Soft boiled egg) ไข่ดาว (Fried egg) ไข่เจียว (Omelette) เป็นต้น 52

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


จากนั้นฝึกให้มีการสนทนา เช่น Suda : I am hungry. Let ’s go to the canteen. Tony: That’s a good idea. What do you want to eat ? Suda: Well, I don’t like any spicy food. I prefer omelette and fried vegetable and how about you? Tony: I like spicy food such as Fried chicken with chilies and cat fish spiced ragout.Suda; Do you drink some orange juice? แบ่งกลุม่ ท�ำกิจกรรม Tony: Yes, please. กิจกรรมนอกสถานที่ โดยได้จัดให้ผู้เรียน ท� ำ กิ จ กรรม ๕ ฐาน ณ สวนสมเด็ จ พระ ศรีนครินทร์ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เด็กๆ ได้เปลี่ยนบรรยากาศด้วยการท�ำงานเป็น ฐาน ได้เรียนรู้ ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาจีน และการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการช่วย เพิ่มพูนการเรียนรู้และทักษะทางด้านภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา กันเก็บขยะ บริเวณสวนสมเด็จฯ นอกจากนี้ ยังได้วาดรูปสวยๆ ตามสไตล์ของแต่ละคน ในวันปิดหลักสูตร เด็กๆ ฝากขอบคุณ ผูใ้ หญ่ใจดีทไี่ ด้กรุณาสนับสนุนงบประมาณและ จัดกิจกรรมค่ายภาษาภาคฤดูร้อนให้กับเด็กๆ หลายคนบอกว่า ได้ทงั้ ความรู้ ความเพลิดเพลิน และที่ส�ำคัญช่วยประหยัดเงินให้กับพ่อแม่ด้วย See you next summer. กิ จ กรรมนอกสถานที่ กิ จ กรรม ๕ ฐานการเรี ย นรู ้ น อกสถานที่ ณ สวนสมเด็ จ พระศรีนครินทร์ จ.นนทบุรี

ผลงานของ ผู้เข้ารับการอบรม

พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้กรุณามอบหมายให้ พลตรี ณรัตน์ ศรีรัตน์ รองเจ้ากรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดการอบรม เมื่อ ๑ พ.ค.๕๘ ณ ห้องประชุมส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ชั้น ๙ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

โรคอย่างนี้ก็มีด้วย “โรคไบโพล่าร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว” ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

“ โรคไบโพล่าร์ (Bipolar)”

เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่อง อารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า คือ โรค อารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรค ไบโพลาร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะ มีลักษณะรื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง โรคนี้ มี ห ลายชื่ อ เช่ น โรคอารมณ์ แปรปรวน, manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรค ไบโพล่าร์ (bipolar disorder) ลักษณะส�ำคัญ ของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิด ขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้ 54

โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลาง คน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี แต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ ๔๐ ปีได้ โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรม มาเกี่ยวข้องค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลอง ถามประวั ติ ใ ห้ ดี ๆ มั ก จะพบว่ า มี ค นอื่ น บาง คนในวงศ์ญาติป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ และลูก หลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่ จะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ได้มากกว่าคนทั่วไป

อาการของโรค

* อารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติ ที่ควรจะเป็นและมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สม เหตุสมผล อาจจะมีปัญหากระทบกระเทือน ต่อหน้าที่การงาน อารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจ

ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูด ช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และ ไม่ชอบให้ใครมาขัด จะเกิดอารมณ์หงุดหงิด แล้วถึงขั้นใช้อารมณ์ ก้าวร้าวได้ * ผู้ป่วยบางคนกลางคืนไม่ยอมหลับ ไม่ ยอมนอน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก มี อ ารมณ์ ท างเพศมากขึ้ น ส� ำ ส่ อ นทางเพศ อารมณ์ดีที่มากเกินปกติและไม่สมเหตุสมผล ที่เป็นมากขึ้น ต่อเนื่องยาวกว่าหนึ่งอาทิตย์ แล้ ว ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาคื อ จุ ด ที่ ค วรสงสั ย ว่ า คนนั้นอาจเป็นโรคไบโพล่าร์ ความหมายของ ไบโพล่าร์ไม่จ�ำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้า บางคนเป็นโรคนี้ อยู่ช่วงหนึ่งอาจจะประมาณ ๔ – ๖ เดือนอาจจะสามารถกลับคืนเป็นปกติ ได้เองโดยไม่ต้องรักษา ท�ำให้คนรอบข้างจะไม่

ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


รู้สึกว่าเป็นปัญหา ถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อปกติแล้วเขาจะด�ำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึง ช่วงหนึง่ จะรืน่ เริงอีก หรืออาจจะสลับไปขัว้ ตรง ข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่ แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากท�ำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อๆ เข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ที่ส�ำคัญที่สุดคือการฆ่าตัวตาย * โรคนี้ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึม เศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือร้อยละ ๑๕ ๒๐ เพราะฉะนั้น หนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิด ปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย ช่วงที่ร่ืนเริง มากๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัวตายได้ด้วยเช่น กัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า คนไข้ทจี่ ะป่วย เป็นโรคนี้ จากการวิจยั พบว่า จะเริม่ เกิดอาการ ของโรคนี้ในช่วงวัยรุ่น แต่อาการจะไม่ปรากฏ ชัด ซึ่งบางทีวัยรุ่นเป็นโรคนี้อยู่แต่ไม่ปรากฏ อาการที่ รุ น แรง คนรอบข้ า งจะไม่ ส ามารถ สังเกตได้ อาจเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น อาจจะเที่ยวกลางคืน อยากไปเตร็ดเตร่ ไม่มีสมาธิในการเรียนท�ำให้ผลการเรียนตกลง อาจจะมี ป ั ญ หาเรื่ อ งของพฤติ ก รรมที่ ส ร้ า ง ปัญหา เช่น ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้ใกล้ชิด เห็นแค่ปรับเปลี่ยนไปนิดหน่อย เหมือนกับไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย

แนวทางในการรักษาโรค

ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจาก การท�ำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสาร สื่อ น� ำ ประสาท ที่ ไ ม่ ส มดุ ล คื อ มี ส ารซี โ รโทนิ น (serotonin) น้ อ ยเกิ น ไปและสารนอร์ เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไปดังนั้น เราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้ รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุม อารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้ โ รคซึ ม เศร้ า (antidepressants) ๑. การรักษาในปัจจุบันนี้ ใช้ยาไปช่วย ในการปรับสารสื่อน�ำประสาทตรงให้กลับมา ท�ำงานได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่ม ปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่ง จะมียาเฉพาะไม่กี่ตัวที่จะใช้ในการรักษาที่จะ ช่วยอาการนี้ได้ ช่วงระยะการรักษา ช่วงแรก จะเป็นการคุมอาการให้กลับมา เป็นปกติที่สุด ภายใน ๑ สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า ๑ เดือน หลังจากนั้น จะเป็นการรักษาต่อเนื่องอาจต้อง ใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับ อาการคนไข้เป็นส�ำคัญ ในคนไข้บางราย ๑ ปี อาจมาพบหมอแค่ ๒ - ๔ ครั้งเท่านั้น ไม่ต้อง อยู่โรงพยาบาลตลอด ๒. ยาหลั ก ที่ นิ ย มใช้ รั ก ษาและได้ ผ ลดี คือ lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมาก แต่ ผู ้ ป ่ ว ยอาจต้ อ งใช้ ย าเป็ น ระยะเวลานาน หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

เนื่องจากโรคนี้อาจเป็นๆ หายๆ ได้ ตัวยา ยังสามารถป้องกันได้ทั้งอาการ mania และ อาการซึ ม เศร้ า ยาอื่ น ๆ ที่ ไ ด้ ผ ลดี ได้ แ ก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin ๓. ส�ำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อ ยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และ ziprasidone ๔. สิ่งส�ำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจ ในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเอง ก็ ต ้ อ งด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในทางสายกลาง ควบคุ ม เวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ ๖ – ๘ ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและ ลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสาร มึนเมา เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง ๕. ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัว ต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วง ก่อนโรคก�ำเริบรุนแรงเพราะว่ามีโอกาสกลับไป

เป็นซ�้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์ แปรปรวนมากที่สุด คือ ๑๕ – ๒๕ ปี กลุ่มนี้ จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียก ว่า “ไฮเปอร์แอคทีฟ”ต่อมา บางช่วงของการ เจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมากๆ อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย

โรคนี้ รั ก ษาได้ ญาติ ค วรน� ำ ผู ้ ป ่ ว ยส่ ง แพทย์โดยด่วน หากพบว่าอาการเริม่ เพิม่ ชั้นความรุนแรง ปัจจุบันมียาที่ใช้ปรับอารมณ์ให้คงที่ปกติ สามารถให้ผปู้ ว่ ยด�ำเนินได้อย่างปกติเหมือนคน ทั่วไป และลดซึ่งความสูญเสียทางด้านหน้าที่ การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่ง อาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้

55


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออกแทนพระองค์ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ น ายทหารชั้ น นายพลและนายต� ำ รวจ ชัน้ นายพล ทีไ่ ด้รบั พระราชทานยศสูงขึน้ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ เฝ้าทูลละออง พระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณ โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหั ว หน้ า คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ พลเอก ประวิ ต ร วงษ์ สุ ว รรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมพิธี ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร เมื่อ ๒ พ.ค.๕๘

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและภริยา พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบ รัฐบาล เมื่อ ๕ พ.ค.๕๘ 56


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ด� ำ เนิ น ในการจั ด งานมหกรรมดนตรี ไ ทยเฉลิ ม พระเกี ย รติ ฯ “สังคีตสามัคคีเฉลิมบรมราชกุมารี ๖๐ พรรษา เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘” ซึ่ ง จั ด โดย กองบัญชาการกองทัพไทย ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยมี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และนายทหารชั้ น ผู ้ ใ หญ่ ข องส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม เฝ้ารับเสด็จฯ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๒๖ เม.ย.๕๘

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พลอากาศเอก สวี่ ฉีเลี่ยง รองประธานคณะกรรมาธิ ก ารทหารกลางแห่ ง ชาติ สาธารณรั ฐ ประชาชนจีนและคณะ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็น ทางการในฐานะแขกของกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๘

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

57


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธรี บั มอบอากาศยานไร้นกั บินขนาดเล็ก หรือ Mini UAV จากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) เพือ่ น�ำไปใช้ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ และส่งมอบให้กบั พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อสนับสนุนหน่วยงานด้านความมั่นคง ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้อง ภาณุรังษี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๙ เม.ย.๕๘

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานในนามรัฐบาลในการจัด รายการพิเศษ เพื่อการกุศล “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” ร่วมกับ ทุ ก ภาคส่ ว นเพื่ อ เร่ ง ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ผู ้ ป ระสบภั ย โดยมี พลตรี รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและ แผนกลาโหมเป็นผู้มอบเงินบริจาคในนามของกระทรวงกลาโหมและ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อ ๒๗ เม.ย.๕๘

58


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเททองหล่อ และพิธีพุทธาภิเษก “พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์” โดยมี นางพรพิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาดโหม รองปลัดกระทรวง กลาโหม และนายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ มณฑล พิธีวัดปริวาส (ราชสงคราม) ถ.พระราม ๓ เขตยานนาวา เมื่อ ๗ พ.ค.๕๘

พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม รับมอบ เครื่องแต่งกายเหล่าทหารอากาศ พร้อมเครื่องหมายยศ จาก พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหาร อากาศ ในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมพระราชทานยศ พลอากาศเอก โดยมี รองปลัด กระทรวงกลาโหมและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องสนามไชย ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๙ เม.ย.๕๘

พลเอก ศิรชิ ยั ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง กลาโหม เป็นประธานในการรับฟังการ บรรยายสรุปจากกรมการอุตสาหกรรม ท ห า ร แ ล ะ เ ยี่ ย ม ช ม นิ ท ร ร ศ ก า ร โรงงานแบตเตอรี่ ท หารและโรงงาน วั ต ถุ ร ะเบิ ด ทหาร ฯ โดยมี รองปลั ด กระทรวงกลาโหม และ นายทหารชั้น ผู ้ ใ หญ่ ข องส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหมร่วมพิธี ณ กรมการอุตสาหกรรม ทหาร ศู น ย์ ก ารอุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลังงานทหาร เขตดุสิต เมื่อ ๑๑ พ.ค.๕๘

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

59


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Scot Marciel รองผูช้ ว่ ยรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ด้านเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ในโอกาสเข้าเยี่ยม ค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๒ เม.ย.๕๘

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายมาร์ก เคนต์ (Mark Kent) เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลา ว่าการกลาโหม เมื่อ ๖ พ.ค.๕๘

60


พลเอก นพดล ฟั ก อั ง กู ร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นประธาน ในพิ ธี เ ปิ ด “อาคารกี ฬ าอเนก ประสงค์” ศูนย์กีฬาส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม แขวง บางจาก เมื่อ ๒๗ เม.ย.๕๘

ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม จั ด การ อบรมภาษาอังกฤษระยะสั้น เพื่อ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับ ข้าราชการ และลูกจ้างในสังกัด ณ ห้องหลักเมือง ๑ ภายในศาลาว่าการ กลาโหม เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๘

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมอุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ถวายแจกันดอกไม้สด และลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันคล้ายวันราชาภิเษก ณ ศาลาศิริราช ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลศิริราช เมื่อ ๒๘ เม.ย.๕๘

นางพรวิ ม ล ดิ ษ ฐกุ ล นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหมเป็ น ประธาน การจั ด โครงการ “วั น ดี ดี ทีเ่ ขาดินวนา” โครงการกองทุนเพือ่ การช่วยเหลือบุตรและคูส่ มรสทีม่ คี วามต้องการพิเศษของก�ำลังพลในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา) เมื่อ ๒๒ เม.ย.๕๘ 62


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดการอบรม “โครงการ ประสานงาน ประสานใจ” โครงการกองทุนเพือ่ การช่วยเหลือบุตรและคูส่ มรสทีม่ คี วามต้องการพิเศษของก�ำลังพลในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ ห้องประชุมส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ชั้น ๖ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) เมื่อ ๒๐ เม.ย.๕๘

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรูท้ กั ษะภาษาอังกฤษให้พดู ได้ เหมือนเจ้าของภาษา ณ ห้องประชุมส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ชั้น ๖ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) เมื่อ ๑๐ พ.ค.๕๘ หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๕๘

63


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดงานเลีย้ งขอบคุณ การจัดงานกาชาด ประจ�ำปี ๒๕๕๘ ให้กับหน่วยงาน และข้าราชการในส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๘ พ.ค. ๕๘ 64


เสาหมุดประชาธิปไตยคือ หมุดที่คณะราษฎรได้ปักลงไปในผืนแผ่นดินไทยเพื่อ ประกาศว่าแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินประชาธิปไตย อยู่บริเวณด้านข้างลานพระรูปทรงม้า ฝั ่ ง สนามเสื อ ป่ า ซึ่ ง เป็ น จุ ด เดี ย วกั บ จุ ด ที่ พ ระยาพหลพลพยุ ห เสนายื น อ่ า นประกาศ คณะราษฎร ฉบับที่ ๑ เสาหมุดประชาธิปไตย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “หมุดประชาธิปไตย” หล่อด้วย ทองเหลือง มีค�ำว่า “เวลาย�่ำรุ่ง” อยู่ตรงกลางระหว่างกระจังสามเหลี่ยมด้านบนและล่าง ทีล่ ดทอนรายละเอียดจากแบบประเพณี จนเหลือให้เห็นเค้าลางภายใต้ขอบของสามเหลีย่ ม ส่วนค�ำว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ก่อก�ำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความ เจริญของชาติ” จะวนอยู่ตามขอบวงกลมโดยรอบ เสาหมุดประชาธิปไตยคือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า “อ�ำนาจนั้นไม่ได้เป็นของใครหรือ กลุ่มใด” หมุดนี้ จึงเป็นเสมือนการฝังตรึงเจตนารมณ์ทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยผ่าน หลัก ๖ ประการ หรือ เจตนารมณ์ตามมาตรา ๑ ของธรรมนูญการปกครองชั่วคราว อันเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่ต้องมีสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมบนผืนแผ่นดิน ไทยสยามแห่งนี้

พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธเี ปิด โครงการ “ปณิ ธ านความดี ปี ม หามงคล” ของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดยมี นายทหารชัน้ ผูใ้ หญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๒ พ.ค.๕๘


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

ม่วงเทพรัตน์ Exacum affine Balf.f. ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ชื่อสามัญ German violet, Persian violet วงศ์ Gentianaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก อายุสั้น หรือ ๒ ปี ล�ำต้นเป็นพุ่มกะทัดรัด ใบรูปไข่แกมรี ปลายมน ขอบใบห่อเล็กน้อย ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกเดียวหรือออกเป็นช่อขนาดเล็กตามปลายยอด มีกลีบ ๕ กลีบ สีม่วง ตัดกับเกสรเพศผู้สีเหลือง ช่วงเวลาออกดอกและติดผล ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ เป็นไม้ปลูก มีถิ่นก�ำเนิดในเกาะโซโกตรา หมู่เกาะเยเมน มหาสมุทรอินเดีย ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง หรือไม้ประดับแปลง การปลูกและขยายพันธุ์ ชอบอากาศค่อนข้างเย็น ดินปลูกชุ่มชื้นสมบูรณ์ดี ระบายน�้ำดี แสงแดดเต็มวัน ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๖๙ ปี ทรงเสด็จขึ้นครอง  ไอศูรย์สิริราชสมบัติ

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ประชาธิปไตย ทางเลือกแบบไหนส�ำหรับสังคมไทย

การพึ่งพาในอนาคต : แนวคิดในการพัฒนาก�ำลังรบ ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.