วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 274

Page 1

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๗ (ปีที่๖) โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ในปีที่ ๖ นี้ เป็นกิจกรรมการสานต่อแนวความคิดและการด�ำเนินการ ของปีที่ผ่านมา โดยขยายผลและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมในการสร้างความรัก ความ สามัคคีของคนในชาติ ด้วยการก�ำหนดหัวข้อการประกวดที่เป็นประเด็นสังคม หรือสถานการณ์บ้านเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิตของคนไทย โดยในปีนี้ได้ก�ำหนดแนวคิดภายใต้หัวข้อ “การทุจริตคอรัปชั่น” ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่า เป็นเรื่องที่ควรด�ำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นต่อ กลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนในสถาบันการศึกษา ด้วยการปลูกฝังแนวคิด ตลอดจนการสร้างส�ำนึกรับผิดชอบและ การมีส่วนร่วมทางสังคมของเยาวชนให้แสดงออกผ่านกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗

การประกวดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถในการถ่ายภาพ งานออกแบบ กราฟิก หรือผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ได้ถ่ายทอดความคิด และมุมมองผ่านผลงานสื่อโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่าง สร้างสรรค์

การประกวดสปอตโทรทัศน์ประชาสัมพันธ์ (ความยาว ๑ นาที)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงออกถึงมุมมอง และแนวคิดในการท�ำสิ่งดี ๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคม

การประกวดสร้างสรรค์บทเพลง

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสและสร้างการรวมตัวของกลุ่มเยาวชนที่มีความสนใจและ มีความสามารถทางด้านดนตรี ได้ร่วมแสดงออกถึงแนวคิดผ่านการสร้างสรรค์บทเพลง

เพราะเยาวชนคือพลังที่ยิ่งใหญ่และส�ำคัญของชาติในอนาคต สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โทร./โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ หรือคลิกไปที่ www.จิตส�ำนึกรักเมืองไทย.com

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗

www.lakmuangonline.com


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก่ประชาชนชาวไทย เนือ่ งในโอกาสขึน้ ปีใหม่ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากล สีน�้ำเงินเข้ม ทรงผูกเนคไทสีเขียวอ่อน มีลวดลายเข้าชุดกับผ้าปักรัดกระเป๋า ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ฉลองพระบาท สีด�ำ ประทับพระเก้าอี้สีขาว หน้าพระแกล หรือ หน้าต่าง ณ พระต�ำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน ทรงฉายกับคุณทองแดง สุนัขที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ สวมเสื้อสีเหลือง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา ด้านขวาบนมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้ายมีผอบทองประดับ ด้านล่างของผอบทองมีตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๗ และตัวอักษร สีสม้ ข้อความว่า สวัสดีปใี หม่ ด้านขวาใต้ตราพระมหาพิชยั มงกุฎ มีขอ้ ความภาษาไทย พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีฟ้าว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ และข้อความภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเขียวเข้มว่า HAPPY NEW YEAR 2014 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีเขียวเข้ม มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 060931 ธ.ค. 56 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาภายในส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พร้อมทั้งจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ให้กับก�ำลังพลของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัด ให้มีกิจกรรมกีฬาเชื่อมความสามัคคีและกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ ศูนย์กีฬาส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในบริเวณอาคาร ที่พักอาศัยของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่แขวงบางจาก เมื่อ ๒๕ ธ.ค.๕๖


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.วันชัย  เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช  จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์  เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช  มีเพียร พล.อ.ธวัช  เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์  บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด  เบื้องบน พล.อ.สิริชัย  ธัญญสิริ พล.อ.วินัย  ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต  เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์  เกษโกวิท พล.อ.เสถียร  เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส  รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน

พล.ต.ณภัทร  สุขจิตต์

รองผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ณัฐวุฒิ  คล้ายโอภาส พ.อ.คงชีพ  ตันตระวาณิชย์

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย  รักประยูร

ประจำ�กองจัดการ

น.อ.กฤษณ์  ไชยสมบัติ น.ท.วิษุวัติ แสนคำ� ร.น.  ร.อ.ไพบูลย์  รุ่งโรจน์

ญญิก ที่ปรึกษา เหรั พ.ท.พลพัฒน์  อาขวานนท์

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม ร.น. พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.สิรวุฒิ สุคันธนาค พล.อ.อภิชาต แสงรุ่งเรือง พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต พล.ท.ยุทธนา กล้าการยุทธ พล.ท.พันลึก สุวรรณทัต พล.ท.บรรเจิด เทียนทองดี พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร พล.ท.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ต.ทวี พฤกษาไพรบูลย์ พล.ต.สังสิทธิ์ วรชาติกุล

ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช  บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย

น.ท.สุรชัย  สลามเต๊ะ

ฝ่ายพิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ  วรวิศิษฏ์ธำ�รง ร.อ.หญิง กัญญารัตน์  ชูชาติ ร.น. ร.ท.หญิง ประภาพันธ์  มูลละ

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ

น.อ.พรหมเมธ  อติแพทย์ ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ทวี  สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ  ศิริสรณ์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

พ.อ.หญิง ใจทิพย์  อุไพพานิช

ประจำ�กองบรรณาธิการ น.ท.วัฒนสิน  ปัตพี ร.น. น.ท.ณัทวรรษ  พรเลิศ พ.ท.หญิง ณิชนันทน์  ทองพูล พ.ต.หญิง สิริณี  ศรประทุม พ.ต.หญิง สมจิตร  พวงโต ร.อ.หญิง อัญชลีพร  ชัยชาญกุล ร.ท.หญิง ลลิดา  ดรุนัยธร ร.ต.หญิง พัชรี  ชาญชัยพิชิต ร.ต.วัชรเทพย์  ปีตะนีละผลิน จ.ส.อ.หญิงปาลดา สมพงษ์ผึ้ง ส.อ.ธีร์นริศวร์  ขอพึ่งธรรม

น.ท.หญิง รสสุคนธ์  ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์  สมไร่ขิง พ.ท.ชาตบุตร  ศรธรรม น.ต.ฐิตพร  น้อยรักษ์ ร.น. ร.อ.หญิง ณิชาภา  กุหลาบเพ็ชร์ ร.อ.ยอดเยี่ยม  สงวนสุข ร.ต.ศุภกิจ  ภาวิไล ร.ต.จิรวัฒน์  ถนอมธรรม จ.ส.อ.สมหมาย  ภมรนาค ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา  กาญจนโรจน์


บทบรรณาธิการ ปีใหม่ ๒๕๕๗ เป็นปีใหม่ที่แปลกไปกว่าเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาส�ำหรับประเทศไทยหลายคนต้องปฏิบัติ หน้าที่โดยเฉพาะกับปัจจัยและสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศที่ไม่เป็นปกติ และเชื่อแน่ว่าคนไทย ทุกคนจะฉลองปีใหม่ไปพร้อม ๆ กับความวิตกกังวลว่าเมื่อผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่จะเกิดอะไรขึ้นกับชาติ บ้านเมือง ก็ขอเป็นก�ำลังใจให้กับทุกคน ซึ่งหวังว่าเหตุการณ์ต่างๆ คงจะคลี่คลายไปในทางที่ดี มีทางออก ที่เหมาะสมและรับได้กับทุก ๆ ฝ่าย ปี ๒๕๕๔ มหาอุทกภัยเกิดขึ้นกับประเทศไทย ประชาชนชาวไทยทุก ภาคส่วน ทุก ๆ ภูมิภาคต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกันท�ำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๗ ถ้าพวกเราคนไทยมีสติและมีความรัก รับผิดชอบกับบ้านเกิดเมืองนอน ก็ขอให้ใช้สติและมีเหตุผล เพื่อ น�ำพาประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตและสามารถยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างสมภาคภูมิ ท้ายนี้ขอน�ำธรรมะแห่งสติบางตอนของ ท่านเจ้าคุณ พระราชญาณกวี รองเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก มาน�ำเสนอให้ผู้อ่านเพื่อแบ่งปันและเตือนสติ ในฐานะที่เราเป็นคนไทยด้วยกัน “...ตอนนี้ถ้าเปรียบประเทศไทยเป็นใครสักคน กายก็บอบช�้ำ จิตก็ระส�่ำระส่าย อารมณ์แปรปรวนมาก ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า ประเทศไทยเป็นโรคอะไร คนอาสาเข้ามาเยียวยาก็เปรียบเสมือนกับหมอที่ไม่รู้ว่า คนไข้เป็นโรคอะไรกันแน่ หมอเองก็ยังงงๆ อยู่ว่า ตัวเองจะท�ำอย่างไรต่อไป อย่าลืมว่า เราพูดถึงคอร์รัปชั่น เป็นหลัก แต่วิธีที่เราพูด เราใช้วจีทุจริตนะ พระพุทธเจ้าพูดเรื่องคอร์รัปชั่น หรือการท�ำชั่ว สามอย่าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต ไว้อย่างละเอียด แต่ละฝ่ายที่ก�ำลังต่อสู้เพื่อความถูกต้องในทัศนะของ ตัวเอง ต่างก็ไม่พูดถึงเลยในสามประเด็นนี้ ... เพราะฉะนั้น เราจะท�ำอย่างไร ควรมานั่งคุยกันว่า จะเอา อย่างไร ตั้งสติให้ดี คุยกันให้เรียบร้อย อันไหนที่มันคุยกันได้ ประนีประนอมเพื่อบ้านเมืองก็ยอมกันบ้าง จริง ๆ แล้วทุกคนก็คือกลุ่มเดียวกัน คือบอกว่า รักชาติ รักบ้านรักเมือง รักสุดขั้วสุดหัวใจ แต่ในขณะที่กลุ่ม ตนบอกว่า รัก ก็บอกอีกฝ่ายหนึ่งถูกกล่าวหาว่าไม่รัก พออีกฝ่ายหนึ่งขึ้นก็พูดค�ำเดียวกัน แล้วที่ร้ายไปกว่า นั้นคือ มีเรื่องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาด้วย ก็ท�ำให้เราไปโหนฟ้า ไปโหนด้วยความรักเป็น อะไรที่อันตรายมาก เพราะมันเป็นเครื่องบ่งบอกว่า เราไม่เข้าใจความรักที่แท้จริง” “...ในโลกนี้ไม่มีสิทธิและเสรีภาพที่แท้จริง มันมีแต่ภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบเล็ก ๆ ที่มีต่อชาติ บ้านเมือง ที่ท�ำให้เรา มีสิทธิเสรีภาพที่แท้จริง ถ้าเราโยนสิทธิเสรีภาพไม่ถูกทางก็จะเป็นปัญหา... แล้วสิทธิ เสรีภาพคืออะไร คือการรับภาระหน้าที่ คุณไม่ฆ่าใคร ไม่เบียดเบียนใคร คุณก็มีเสรีภาพอยู่นอกคุก แต่ถ้า คุณท�ำ คุณก็ถูกจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพ...”

2


ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗

๓๐

พรปีใหม่ ๒๕๕๗ พระราชทาน... ดลบันดาลมวลสยามสุข

Call from the Desert ณ ที่เกือบจะสิ้นหวัง

๓๔

ในหลวง ในมุมมองของ ชาวต่างชาติ

การเปลี่ยนแปลง ประเทศไทย ในปี ๒๕๕๗

สารอวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้น ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม

หลักการของ นายพลแพตตัน (ตอนที่ ๑๘)

๑๐

๓๘ ๔๒

คองบองกับความ วุ่นวายปลายราชวงศ์

๑๑

สารอวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้น ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ จากปลัดกระทรวง กลาโหม

๑๔

เที่ยวใกล้ตัวกับวัด หลังเหรียญใน สกุลเงินของไทย

๑๔

๑๘

๕๐ ๕๒

๒๒

๒๖

๓๐

สาระน่ารู้ทางการ แพทย์ “เรียนรู้และ เข้าใจเด็กสมาธิสั้น”

๕๔ วันเด็กแห่งชาติ ๖๒ ๓๔

๔๒

๔๖

๕๐

๕๒

๕๔

๒๖

ดุลยภาพทางทหาร ของประเทศอาเซียน แนะน�ำเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙

ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา การลดความเครียด ในที่ท�ำงาน

๑๘ วันกองทัพไทย ๒๒

กลไกด้านการบรรเทา ภัยพิบัติ ของประชาคมอาเซียน

๔๖

กิจกรรมสมาคม ภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร  กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

3


พรปีใหม่ ๒๕๕๗

พระราชทาน...ดลบันดาลมวลสยามสุข พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

“ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุก ๆ คน ให้มีความสุข ความเจริญ และความ ส�ำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา ความปรารถนาของทุกๆ คนคงไม่แตกต่างกันนัก คือ ต้องการให้ตนเองมีความสุข ความเจริญ และให้บ้านเมืองมีความ สงบ ร่มเย็น ในปีใหม่นี้ ขอให้ท่านทั้งหลายรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ได้เต็มก�ำลัง ข้อส�ำคัญ จะคิด จะท�ำสิ่งใด ให้นึกถึงส่วนรวม และความเป็นไทยไว้เสมอ งานของตน และงานของชาติ จะได้ ด�ำเนินก้าวหน้าไปโดยถูกต้อง เที่ยงตรง ไม่ติดขัด และบรรลุถึงประโยชน์ เป็นความสุข ความเจริญ และความสงบร่มเย็น  ดังที่ทุกคนตั้งใจปรารถนา ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครอง รักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย  ให้มีความสุขกาย สุขใจ ตลอดศกหน้านี้ โดยทั่วกัน” พระราชด�ำรัส พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ 4

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ข้ อ ความอั น เป็ น มิ่ ง มหามงคลข้ า งต้ น นี้ คือ พระราชด�ำรัสขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ พ ระราชทานแก่ ป ระชาชน ชาวไทยในโอกาสขึน้ ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่ ง นั บ เป็ น พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ล้ น เกล้ า ล้ น กระหม่อม และเป็นสรรพสิริมหามงคลให้แก่ ปวงพสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิง่ ทีไ่ ด้มโี อกาส รับพระราชทานความปรารถนาดีจากองค์พระ ประมุขของประเทศ จึงเป็นปฐมมหามงคลของ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่ประชาชนชาวไทย พึงอัญเชิญไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมและ ยึดถือปฏิบัติเพื่อความสุข ความเจริญ และ ความสงบร่ ม เย็ น ของตนเองและครอบครั ว กอปรกับเพื่อความเจริญรุ่งเรือง และความ ส�ำเร็จสมประสงค์ของประเทศชาติเป็นส่วน รวม หากท่ า นพิ จ ารณาถึ ง เนื้ อ หาสาระของ พระราชด� ำ รั ส พระราชทานข้ า งต้ น อย่ า ง ถ่องแท้แล้ว ท่านจะเห็นได้ว่าพระราชด�ำรัส ดังกล่าวประกอบไปด้วยภาษาไทยทีส่ ละสลวย อบอวลไปด้วยถ้อยค�ำทีง่ ดงามบ่งบอกให้ทราบ ถึงพระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณต่อ พสกนิกรและสังคมไทย ซึง่ ถ้าแยกพิจารณาแล้ว สามารถอรรถาธิบายความได้เป็นเป็นวรรค ประกอบด้วย ๓ วรรคส�ำคัญ ดังนี้

วรรคที่สอง :

วรรคแห่งคุณธรรมความดี

ซึ่งในวรรคนี้ประกอบด้วยสาระส�ำคัญ ๒ ประการ โดย ประการแรก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชด�ำรัสให้ พสกนิกรชาวไทยของพระองค์รักษาสุขภาพ กาย และสุขภาพจิต ให้มคี วามสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งจะเป็นรากฐานส�ำคัญให้พสกนิกรชาวไทย สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็ม ก� ำ ลั ง ความสามารถ และสามารถสร้ า งคุ ณ ประโยชน์ให้แก่สังคม ประเทศชาติได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ส�ำหรับ ประการทีส่ อง เป็นการพระราชทาน พระราชด�ำรัสย�้ำเตือนให้พสกนิกรชาวไทยมี ความตระหนักในคุณธรรมความดีที่พึงกระท�ำ ในปัจจุบัน กล่าวคือ ให้ประชาชนชาวไทยทุก คนต่างมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการคิด ดี และเลือกกระท�ำความดี โดยที่ส�ำคัญที่สุด การคิดและการท�ำการสิ่งใดก็ตามควรค�ำนึงถึง ประโยชน์สุขของสังคมและประเทศชาติเป็น ส่วนรวม เพราะสังคมและประเทศชาติเป็น ที่รวมของคนหมู่มากที่มีสัญชาติไทย ดังนั้น หากประชาชนชาวไทยคิดดีและหมั่นกระท�ำดี ย่อมเป็นการบ�ำเพ็ญกรณียกิจเพื่อประโยชน์ และความสุขของคนในชาติและยังสร้างความ เป็ น ปึ ก แผ่ น ให้ แ ก่ ป ระเทศไทยอั น เป็ น ที่ รั ก ของเราเป็นส่วนรวม อย่างไรก็ตาม สิ่งส�ำคัญ วรรคแห่งความปรารถนาดี อีกประการหนึ่งคือการคิดและการกระท�ำการ ประ ก อบ ด้ ว ย สา ร ะส� ำ คั ญคื อ กา ร สิ่งใดควรตระหนักและส�ำนึกในความเป็นไทย พระราชทานความปรารถนาดีให้แก่พสกนิกร ไว้เสมอ ซึ่งคุณธรรมในข้อนี้เป็นการน�ำเอาจุด ชาวไทย เนือ่ งในวาระดิถขี นึ้ ปีใหม่ พุทธศักราช เด่นและค่านิยมพื้นฐานของประชาชนชาวไทย ๒๕๕๗ โดยพระราชทานพรให้ พ สกนิ ก ร ที่มีความตระหนักในความรัก ความเอื้ออาทร ชาวไทยทุกคน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ ปราศจากอคติในเรือ่ งต่าง ๆ รวมทัง้ การแบ่งปัน และความส�ำเร็จสมตามความปรารถนา ทั้งนี้ น�้ำใจต่อกันและกัน ซึ่งเป็นคุณธรรมพื้นฐาน ทรงมีพระราชดาริที่เป็นมงคลว่า สิ่งที่พสก ของความสามัคคี ความกลมเกลียว และสมัคร นิกรชาวไทยทุกคนต่างปรารถนาในทิศทาง สมานของคนในชาติ ตลอดจนต้องไม่ลืมราก เดี ย วกั น คื อ ปรารถนาที่ จ ะให้ ต นเองและ เหง้าและภูมิปัญญาของบรรพชน ทั้งในเรื่อง ครอบครัว ประสบแต่ความสุขและความเจริญ ของความภาคภูมิใจในความงดงามของภาษา ตลอดปีใหม่นี้ รวมทั้งยังมีความปรารถนาร่วม ไทย สุนทรียภาพของศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ กัน คือ มุ่งหวังที่จะเห็นบ้านเมืองและประเทศ เคยสร้างชื่อเสียง สร้างความศรัทธาให้โด่งดัง ชาติของเรา ประสบแต่ความสงบสุข ความ ไปทั่วโลก สมบูรณ์ และความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งจะส่งผล ให้ ป ระเทศชาติ อั น เป็ น ที่ รั ก ของเราอบอวล ไปด้วยรอยยิ้ม มีความเมตตา และปรารถนา ดีต่อกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตลอดจนเกิดเป็น สังคมที่มีความมุ่งมาดปรารถนาดีต่อกันอย่าง ไม่มีวันเสื่อมคลาย

วรรคที่หนึ่ง :

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมี พระราชด�ำรัสอรรถาธิบายว่าหากประชาชน ชาวไทยสามารถด�ำเนินกิจตามคุณธรรมทั้ง ๒ ประการข้างต้นแล้ว ย่อมน�ำมาสู่ความส�ำเร็จ ประโยชน์ในงานของตน และงานของประเทศ ชาติ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศชาติสามารถด�ำเนิน ไปในทิศทางที่ก้าวหน้าโดยถูกต้อง เที่ยงตรง ไม่ติดขัด และสามารถบรรลุถึงประโยชน์ ก่อ ให้เกิดความสุข ความเจริญ และความสงบ ร่มเย็น สมดังทีป่ ระชาชนชาวไทยทุกคนมีความ หวังตัง้ ใจและสมดังความปรารถนาทุกประการ

วรรคที่สาม :

วรรคแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ประกอบด้วยสาระส�ำคัญคือ พระราชทาน พระราชด�ำรัสอัญเชิญอานุภาพแห่งคุณพระ ศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง ได้โปรด คุ ้ ม ครองและรั ก ษาพสกนิ ก รชาวไทยของ พระองค์ จงปราศจากทุกข์และปราศจากภัย ประสบแต่ความสมบูรณ์พูนเพิ่มไปด้วยความ สุขกาย ความสุขใจ ตลอดปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นการพระราชทานความปรารถนาดีแก่ พสกนิกรชาวไทย ปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ประชาชนชาว ไทยได้รบั พระราชทานพรอันประเสริฐจากองค์ พระประมุขของประเทศ จึงเป็นสิ่งประเสริฐ สุดของประชาชนและประเทศไทยในเวลานี้ จึงใคร่ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยทุกท่าน ร่ ว มกั น แสดงความจงรั ก ภั ก ดี ถ วายแด่ อ งค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยการน้อม อั ญ เชิ ญ พระราชด� ำ รั ส พระราชทานมาเป็ น แนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนเพื่ออ�ำนวย ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และ ประเทศชาติต่อไป พร้อมกับร่วมกันเทิดพระเกียรติและถวาย พระพรชั ย มงคลแด่ อ งค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว

ขอจงทรงพระเจริญ

5


ในหลวง

Ever since I saw the face of this man The king of Thailand, The king of Siam I felt in love with his soul loves this land It's in his eye, it's in his heart, it's in his hand He is the husband, the father and the king A great photographer, musician so many things The way he lives his life is something to behold His grace, his wisdom, an example to the world Long live the king of Thailand Long live the king of Siam And in the time when the rain came flooding down He saved the city with a building of the dam In time of conflicts, he has always been there To stop the fighting just like the father who really cares Long live the king of Thailand Long live the king of Siam I'm watching wonder at the things he understands His love for his people, his love for this land His working a great culture, he is one of a kind His vision for the future way ahead of their time Long live the king of Thailand Long live the king of Siam

ในมุมมองของ ชาวต่างชาติ นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


นื้อเพลงข้างต้นนี้คือ เพลง Long live The King of Thailand ซึ่งนางเคลลี นิ ว ตั้ น (Kelly Newton) นั ก ร้ อ ง นั ก แต่ ง เพลงชาวออสเตรเลี ย ซึ่ ง ได้ เ ดิ น ทาง ร้ อ งเพลงมาแล้ ว ทั่ ว โลกเป็ น ต้ น เสี ย งเป็ น ผู ้ เ ขี ย นเนื้ อ เพลง และท� ำ นองด้ ว ยตนเอง โดยเนื้อหาในเพลงนางเคลลีกล่าวว่า ตนเป็น ชาวต่างชาติแต่ได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและรู้สึก ประหลาดใจว่า ผู้ชายคนนี้ได้ท�ำให้ประเทศ ชาติมากมายขนาดนี้ ทรงเป็นสามี เป็นพ่อที่ดี ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงมีพระอัจฉริยภาพ หลายด้าน ทางด้านการแต่งเพลงดนตรี หรือ การเกษตร พระองค์ทรงเป็นนักแต่งเพลงและ ดนตรีที่แต่งเพลงและทรงดนตรีได้เยี่ยมยอด มาก ซึ่ ง ตนก็ ชื่ น ชอบเพลงที่ พ ระองค์ แ ต่ ง ทุกเพลง ส�ำหรับแรงบันดาลใจส�ำคัญที่น�ำมา ซึ่งเนื้อหาในบทเพลงนี้เริ่มต้นมาจากตนได้นั่ง เครื่องบินของการบินไทยและได้เห็นวีทีอาร์ พระราชกรณียกิจในหลวง ซึ่งตอนแรกไม่รู้ว่า เป็ น พระองค์ ท ่ า น ก็ ป ระหลาดใจว่ า ผู ้ ช าย คนนี้ เ ป็ น ใคร ท� ำ ไมถึ ง ได้ ท� ำ อะไรมากมาย ขนาดนี้ เมื่อลงจากเครื่อง จึงได้สอบถามเพื่อน และทราบว่าเป็นพระองค์ท่าน แรงบันดาลใจ ส�ำคัญจึงมาจากพระองค์เอง ทั้งนี้ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ ทรงมีความรัก ความเมตตาให้แก่ ประชาชนของพระองค์ทุกคน ซึ่งตนสามารถ เห็นและสัมผัสได้ พระองค์ท่านทรงเป็นแบบ หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

7


อย่างของผู้น�ำที่ดีของโลกนี้ ที่ผู้น�ำทุกคนควร จะเป็น นางเคลลีกล่าวด้วยว่า ตนกับสามีท�ำฟาร์ม อยู่ที่ออสเตรเลีย โดยไม่ใช้สารเคมี มา ๒๐ ปี แล้ว ซึง่ พอทราบว่าพระองค์ทา่ นมีพระราชด�ำริ เกี่ยวกับการเกษตร ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปลูกพืช ปลอดสารพิษ ก็ยิ่งรู้สึกประทับใจในพระองค์ ท่าน คิดว่าเป็นบุคคลที่หาได้ยากที่สุดในโลก แล้ว และเมื่อได้มาประเทศไทย ก็ถามคนที่นี่ ว่า ทุกคนรู้สึกอย่างไรกับในหลวง ต่างก็บอก เป็นเสียงเดียวกันว่า เรารักในหลวง ซึ่งตน ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนในโลกว่า ความรักที่ ประชาชนมีต่อผู้น�ำประเทศจะมากมายขนาด นี้ และเมือ่ ทราบจากเพือ่ นว่า พระองค์ประชวร จากเพื่อนจึงได้เดินทางมาถวายพระพร ด้วย การร้องเพลงที่แต่งเอง ซึ่งได้แต่งเพลงนี้เมื่อ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ ใช้เวลา ๑๕ นาที ก็ได้เพลงนี้ออกมา เมื่อนางเคลลีได้น�ำเด็กๆ ในเครือข่ายร้อง เพลงนี้บริเวณด้านหน้าศาลา ๑๐๐ ปี ศิริราช ก็มีประชาชนให้ความสนใจ โดยเมื่อถึงท่อน ฮุก Long live the king Long live of Siam ประชาชนทีอ่ ยูใ่ นบริเวณก็รว่ มร้องท่อนฮุกนีไ้ ป พร้อม ๆ กัน “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ” เคลลี น�้ำเสียงตื้นตัน “พระองค์ทรงมอบพระเมตตา ให้แก่ประชาชนของพระองค์ทุกคน ซึ่งดิฉัน สามารถเห็นและสัมผัสได้ พระองค์ท่านทรง เป็ น แบบอย่ า งของผู ้ น� ำ ที่ ดี ข องโลกที่ ผู ้ น� ำ ทุกคนควรจะเป็น” 8

ราชย์ยาวนานกว่า ๖๘ ปี พระองค์ทรงได้รับ ความชื่นชมและความจงรักภักดีจากพสกนิกร ของพระองค์ในแบบอย่างที่ชาวตะวันตกยาก จะอธิบายได้ พระองค์ทรงมีบทบาทเฉพาะใน สังคมไทยในอันที่ทรงด�ำรงตนเป็นแบบอย่าง แก่ ป ระชาชนทั้ ง ประเทศ ทั้ ง ในฐานะที่ทรง เป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นลุงผู้อารีผู้ส่งเสริมให้ ก� ำ ลั ง ใจประชาชนทั้ ง ในยามสุ ข และในยาม ทุกข์ยาก เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็น ผู ้ น� ำ ทางจิ ต ใจในการประกอบพิ ธี ก รรมทาง ศาสนา หรื อ มาร์ ติ น วี ล เลอร์ แห่ ง สหราช อาณาจั ก รได้ แ สดงความคิ ด เห็ น ว่ า คนไทย นี่เป็นมุมมองของชาวต่างประเทศคนหนึ่ง โชคดีมาก ๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้น�ำ พระองค์ ที่มีความรู้สึกประทับใจต่อพระราชกรณียกิจ ท่ า นเป็ น คนที่ ท� ำ งานหนั ก มากเพื่ อ ช่ ว ยให้ และพระอั จ ฉริ ย ภาพของพระบาทสมเด็ จ คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ใน พระเจ้าอยู่หัวซึ่งมิใช่แค่ในฐานะพระประมุข ประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทย ของประเทศเท่านั้นแต่ยังทรงเป็นแบบอย่าง ส่ ว นมากนั บ ถื อ ในหลวง แต่ ไ ม่ ย อมปฏิ บั ติ ในเรื่องต่าง ๆ ให้กับประชาชนของพระองค์ ตามค�ำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอก อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีอีกหลากหลายความ มา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ คิดของชาวต่างชาติที่มีต่อพระองค์ท่าน อาทิ ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ เช่น Darryl N. Johnson จาก LATIMES ในหลวง แต่เวลาด�ำรงชีวติ ไม่ได้ท�ำตามในหลวง สหรั ฐ อเมริ ก าได้ ก ล่ า วถึ ง พระบาทสมเด็ จ ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่าไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเป็น พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชฯ ว่ า ทรงมี เสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุก ๆ คนเริ่ม บทบาทในการปกครองประเทศ อันที่จริงแลัว คิดจริง ๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงใช้อ�ำนาจ ประเทศไทยอยูไ่ ด้ เพราะความคิดของในหลวง ในการปกครองและมิทรงเลือกข้างทางการ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน เมือง เฉกเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีอังกฤษ ท�ำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น พระราช ที่อื่นท�ำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มี อ�ำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น ทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย นอกจากนีแ้ ล้วสมาคมผูส้ อื่ ข่าวต่างประเทศ เพียงสัญลักษณ์และมีหลักธรรมาภิบาล มิได้ เป็ น อ� ำ นาจเพื่ อ การเมื อ งการปกครอง แม้ ออกหนังสือ "พระมหากษัตริยแ์ ห่งประเทศไทย ในครั้ ง ที่ พ ระองค์ ท รงเข้ า แทรกแซงในการ ในสายตาโลก" เผยแพร่พระบรมฉายาลักษณ์ เผชิ ญ หน้ า ทางการเมื อ ง ดั ง เช่ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ทรงท�ำเพื่อมิให้เกิดการ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่คนไทยน้อยคน นองเลื อ ดและเพื่ อ ให้ เ กิ ด การรอมชอมและ จะได้เห็น พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาท ความสมัครสมานสามัคคีของคนในประเทศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ แต่มิได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่าให้ด�ำเนิน พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จพระราชด�ำเนิน นโยบายอย่างไรหรือผู้ใดควรเป็นผู้ปกครอง เยือนประเทศสหรัฐอเมริกา และเสด็จฯ ไป ประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เยี่ยมสตูดิโอของสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในปี เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนาน ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นหนึ่งในพระบรมฉายาลักษณ์ ที่ สุ ด ในโลกที่ มี พ ระชนมชี พ ในปั จ จุ บั น และ ที่ ห าชมได้ ย ากยิ่ ง ซึ่ ง สมาคมผู ้ สื่ อ ข่ า วต่ า ง ยาวนานที่ สุ ด ในโลกทั้ ง หมด จากการครอง ประเทศแห่งประเทศไทย หรือ เอฟซีซีที ได้น�ำ นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


มาตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ The King of Thailand in World Focus หรือ "พระมหากษัตริย์ แห่ ง ประเทศไทยในสายตาโลก" พระบรม ฉายาลั ก ษณ์ ดั ง กล่ า วเป็ น ภาพที่ เ สด็ จ ฯ ไป เยี่ ย มชมสตู ดิ โ อของสถานี โ ทรทั ศ น์ ซี บี เ อส ขณะก� ำ ลั ง ถ่ า ยท� ำ ภาพยนตร์ โ ทรทั ศ น์ เ รื่ อ ง Have Gun, Will Travel โดยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงรับบทเป็นนายอ�ำเภอ และ จับพระเอกชื่อดัง โรเบิร์ต บูน ขณะที่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แย้มพระ สรวลด้วยส�ำราญพระราชหฤทัย หนังสือเล่ม ดังกล่าวยังเต็มไปด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เคยออกเผย แพร่ในสือ่ ต่างประเทศ รวมทัง้ บทพระราชทาน สัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ เมื่อปี ๒๕๒๒ ในหัวข้อ "ศูนย์รวมจิตใจของ ประเทศ" ฉบับปรับปรุง ซึ่งมีการใส่ค�ำถาม ของผู้สื่อข่าว และพระราชด�ำรัสของพระองค์ อย่างเต็มรูปแบบ มีคำ� ถาม ๒๙ ค�ำถามเกีย่ วกับ มุ ม มองของการที่ ท รงเป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

และการทรงงาน ขณะที่อีก ๒๘๐ หน้าที่เหลือ ก็เต็มไปด้ว ยบทความที่ ร ายงานพระราชพิ ธี ต่าง ๆ ของพระองค์จนกระทัง่ ถึงเดือนมกราคม ปีนี้ นายโดมินิค ฟอลเดอร์ ผู้ท�ำหนังสือเล่มนี้ อธิบายว่า หลังจากที่ท�ำหนังสือชุดที่ ๒ ออก วางขาย ทางสมาคมได้ตัดสินใจที่จะท�ำหนังสือ ชุดที่ ๓ ต่อทันที โดยหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วย เอกสารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวบรวม บทความจากทีต่ า่ ง ๆ ทัว่ โลกมาให้ประชาชนได้ อ่านว่า ต่างประเทศเขียนถึงพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวไว้อย่างไรบ้าง โดยเล่มนี้เป็นเล่ม ที่เพิ่งมีการปรับปรุงครั้งล่าสุด ซึ่งดีกว่า และมี พระบรมฉายาลักษณ์ที่ตราตรึงใจมากกว่า ใน หนังสือชุดใหม่นี้ ทางสมาคมได้เพิ่มหน้าจาก เดิมอีก ๒๐ หน้า พร้อมบทความใหม่อีก ๙ ชิ้น และพระบรมฉายาลักษณ์ที่หายาก ซึ่งต้อง ใช้นักข่าวและช่างภาพจากทั่วโลกถึง ๑๕๘ คน รวมคนไทย ๒๒ คน ในการเก็บรวบรวม หนังสือประวัตศิ าสตร์เล่มนี้ ซึง่ มีการตีพมิ พ์การ สืบเชื้อสายราชวงศ์จักรี และล�ำดับเหตุการณ์

เกี่ยวกับพระองค์ ทั้งยังมีบทความที่เกี่ยวข้อง กับส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และแนวพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียงของ พระองค์ด้วย และขอปิดท้ายด้วยความรูส้ กึ ชาวไอร์แลนด์ คนหนึ่งที่เคยมาเมืองไทยว่าเขารัก King of Thailand เขาบอกว่า เขาไม่ได้เคารพเพราะ ความเป็ น King ของประเทศไทย เพราะ ไอร์ แ ลนด์ ก็ มี ก ษั ต ริ ย ์ ป กครอง มี Queen Elizabeth ให้เคารพ แต่ว่าเปล่าเลยในหลวง ของไทยนั้นเป็นมากกว่า King ท่านท�ำอะไร หลาย ๆ อย่างที่กษัตริย์ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำก็ได้ ท่ า นท� ำ ให้ ค นไทยในแต่ ล ะภาคผสานน�้ ำ ใจ กัน (เขาพูดเรื่องชายแดนใต้) และที่ส�ำคัญคือ ประชาชนทุกคนรักท่านเพราะทุกสิ่งที่ท่านท�ำ ท�ำเพื่อประชาชนไม่ได้ท�ำเพื่อตนเองนอกจาก นี้ ยั ง รู ้ สึ ก ดี ใ จมาก ๆ ที่ ไ ด้ เ ห็ น ร้ า นอาหาร ทุกร้าน บ้านทุกบ้าน จะมีรูปภาพของในหลวง นี่ คื อ สิ่ ง ที่ ไ ม่ ต ้ อ งอธิ บ ายท�ำ ให้ เ ข้ า ใจแล้ ว ว่ า คนไทยทุกคนรักในหลวง 9


สารอวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เนื่องในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดิฉันขอส่งความระลึกถึง ความห่วงใย และความ ปรารถนาดีมายังข้าราชการทหาร ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกท่านพร้อมทั้ง ครอบครัวมา ณ โอกาสนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดิฉันมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับพี่น้องทหารทุกหมู่เหล่าใน การร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษาเอกราชอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ พิทักษ์ปกป้องเทิดทูนและรักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รักษาผลประโยชน์ของชาติ ช่วยเหลือประชาชน รวมถึงการปฏิบัติภารกิจในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยให้ความส�ำคัญกับบทบาทของกระทรวงกลาโหมในประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศ สมาชิกอาเซียน เพื่อพร้อมรับมือกับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในโอกาสวันขึน้ ปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ นี้ ดิฉนั ขออัญเชิญคุณพระศรีรตั นตรัย และอ�ำนาจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ในสากลโลก ตลอดจนเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ โปรดดลบันดาลประทานพรให้ข้าราชการทหาร ลูกจ้าง และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวง กลาโหมทุกท่านพร้อมทั้งครอบครัว จงประสบแต่สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลในสิ่งอันพึงปรารถนา ทุกประการโดยทั่วกัน

( นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

10


สารอวยพร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ จาก ปลัดกระทรวงกลาโหม ในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ ผมขอส่งไมตรีจิต ด้วยความรัก และความปรารถนาดี มายัง ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนครอบครัวทุกท่าน ในรอบปีที่ผ่านมาเป็นปีมหามงคล ที่ปวงชนชาวไทยมีความปลาบปลื้มยินดี เนื่องในวโรกาสที่ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๖ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นับเป็นโอกาสดีที่ พวกเราทุกคนในฐานะทีเ่ ป็นทหารและข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ได้นอ้ มเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายความจงรักภักดี เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาคุณ ด้วยการท�ำงานตามรอยพระยุคลบาท น้อมน�ำพระราชด�ำรัสและพระบรมราโชวาทที่ทรงแนะน�ำสั่งสอนไว้ในวโรกาสต่าง ๆ มาเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติตน ทั้งในด้านการรู้รักสามัคคี ความมีวินัย รู้จักหน้าที่ ยึดมั่นและเคารพในกฎระเบียบ มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรม ขอให้ปีนี้เป็นปีแห่งการท�ำความดี มีจิตส�ำนึกที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูล มีความรักความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างดีที่สุด รวมทั้งยึดมั่นในคุณธรรม ร่วมกันปลุก จิตส�ำนึกเรื่องอุดมการณ์ความรักชาติและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งร่วมกันพัฒนา ระบบราชการของกระทรวงกลาโหมให้มีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เจตนารมณ์ทผี่ มประกาศไว้ คือ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจะต้องเป็น “ หน่วยทหารชัน้ ดี ก�ำลังพล มีประสิทธิภาพ ” ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อีกทั้งเดชะพระบารมีอันแผ่ไพศาล แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดดลบันดาล พระราชทานพรให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการในสังกัดส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมทุกท่าน ตลอดจนครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ เพียบพร้อมด้วยพลังกาย พลังใจ และมีสติปัญญา ใน การปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เพื่อน�ำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ทั้งแก่ตนเองและประเทศชาติ อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคนตลอดไป

พลเอก ( นิพัทธ์ ทองเล็ก ) ปลัดกระทรวงกลาโหม

“ คนส�ำราญ งานส�ำเร็จ ”

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

11


สวัสดีปีใหม่


๒๕๕๗


เที่ยวใกล้ตัวกับวัดหลังเหรียญ ในสกุลเงินของไทย แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สวัสดีครับท่านผูอ้ า่ นทุกท่าน เข้าสูก่ ารเริม่ ต้นศักราชใหม่กนั ในเดือนนี้ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลรับปีใหม่ วันนีเ้ ลยขออนุญาต ท่านผู้อ่านน�ำข้อมูลดี ๆ มาเผยแพร่ให้ได้ทราบพร้อมทั้งเชิญชวนทุกท่านไปท�ำบุญกันครับ เพื่อความสุขกายสบายใจ เพื่อน ๆ เคยสังเกต "เหรียญกษาปณ์" ต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันกันหรือไม่ เชื่อว่าบางคนอาจจะไม่เคย และหลายคนเคย สังเกตแล้วปล่อยผ่านไป จึงท�ำให้ไม่เคยรู้ว่าข้างหลังเหรียญกษาปณ์ ตั้งแต่เหรียญ ๒๕ สตางค์, ๕๐ สตางค์, ๑ บาท, ๒ บาท, ๕ บาท และเหรียญ ๑๐ บาท มีภาพสถานที่ส�ำคัญปรากฏอยู่ โดยเหรียญแต่ละชนิดราคา จะมีวัดส�ำคัญ ๆ แตกต่าง กันไป พูดมาถึงตอนนี้หลายคนคงก�ำลังควานหาเหรียญในกระเป๋าขึ้นมาดู ว่าด้านหลังแต่ละเหรียญนั้นคือสถานที่ไหน วันนี้ จึงขอรวบรวมเอาสถานที่ส�ำคัญต่าง ๆ มาให้ได้ทราบกัน ส่วนจะมีที่ไหนบ้างนั้นตามเราไปดูกันเลย 14

แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


๑. พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร (เหรียญ ๒๕ สตางค์)

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร คือ ภาพนูนต�่ำที่พิมพ์อยู่บริเวณหลังเหรียญ ๒๕ สตางค์ เป็ น พระอารามหลวงชั้ น เอก ชั้ น วรมหาวิ ห าร เดิ ม ชื่ อ วั ด พระบรมธาตุ ปัจจุบนั กรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัด พระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนีย สถานที่ส�ำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ รวม ทั้งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราช ที่รู้จักกันดีในทุกภาคของประเทศไทยตลอด ถึงต่างประเทศ เพราะถือเป็นมิ่งขวัญของชาว พุทธทั้งมวล ส�ำหรับ พระบรมธาตุเจดีย์ มีส่วนยอดเจดีย์ เป็นทองค�ำ เป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธา ของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุ เพื่อ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันต ธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ตามต�ำนาน พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชาย ธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้น�ำเสด็จ พระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว และสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมา ในปี ม หาศั ก ราช ๑๐๙๘ (พ.ศ. ๑๗๑๙) พระเจ้ า ศรี ธ รรมาโศกราช ทรงสร้ า งเมื อ ง นครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบ ศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง ๕๕.๗๘ เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองค�ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ จากฐานบัวคว�่ำบัวหงาย ถึงปลียอด ๖.๘๐ เมตร ใช้ทองค�ำเนื้อสิบหุ้ม โดยรอบ ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง ๒๒ ซุ้ม แต่ละซุ้ม มีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์ ประหนึง่ เป็นสัญลักษณ์แห่งการค�ำ้ จุนพระพุทธ ศาสนาให้มั่นคง นอกจากนี้ ยังมีปริศนาธรรม ให้คน้ หาและสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิอ์ กี มากมาย ทัง้ นี้ ผูม้ า เยือนที่นี่นิยมน�ำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุ เจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

๒. พระธาตุดอยสุเทพ

นาคหลวงทั้ง ๒ ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไป สั ก การะได้ ส ะดวกขึ้ น และกระทั่ ง ถึ ง สมั ย วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนน ที่สร้างนี้มีความยาวถึง ๑๑.๕๓ กิโลเมตร เดิน (เหรียญ ๕๐ สตางค์) ทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรี พระธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ภายใน วัดพระ วิชยั ไปตามทางคดเคีย้ วขึน้ เขา ระหว่างทางจะ ธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร เป็นพระอาราม มองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะ หลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นภาพนูนต�่ำ ทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ที่ พิ ม พ์ อ ยู ่ บ ริ เ วณหลั ง เหรี ย ญ ๕๐ สตางค์ ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนา เป็นพระอาราม สุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับ หลวง ๑ ใน ๔ ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย ตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่ (พระอารามหลวง หมายถึง วัดที่อยู่ในความ จังหวัดนีจ้ ะต้องขึน้ ไปนมัสการพระบรมธาตุกนั อุ ป ถั ม ภ์ ข องพระเจ้ า อยู ่ หั ว ) ชาวเชี ย งใหม่ ทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือ เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ มาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน มาแต่โบราณกาล พระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้า เวลา ๐๕.๓๐-๑๙.๓๐ น. กือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรล้านนา ที่อยู่ : ถนนศรีวิชัย ต�ำบลสุเทพ ราชวงศ์ มั ง ราย ซึ่ ง พระองค์ ท รงได้ อั ญ เชิ ญ พระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง ๑๓ ปี น� ำมา โทรศัพท์ : ๐ ๕๓๒๙ ๕๐๐๐ บรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้าง เว็บไซต์ : doisuthep.com มงคลเพือ่ เสีย่ งทายสถานทีป่ ระดิษฐาน พอช้าง มงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสาม ครั้ง พร้อมกับท�ำทักษิณาวัตรสามรอบแล้วล้ม ลง พระองค์จงึ โปรดเกล้าฯ ให้ขดุ ดินลึก ๘ ศอก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กว้าง ๖ วา ๓ ศอก หาแท่นหินใหญ่ ๖ แท่น (เหรียญ ๑ บาท) มาวางเป็น รู ป หี บ ใหญ่ ใ นหลุ ม แล้ ว อั ญ เชิ ญ พระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระศรีรัตน พระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้น ศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดพระ ถมด้ ว ยหิ น แล้ ว ก่ อ พระเจดี ย ์ ส ู ง ๕ วา ครอบ เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน บนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไป แก้ว" เป็นภาพนูนต�่ ำที่พิมพ์อยู่บริเวณหลัง เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๓๐ น. นมัสการสวมรองเท้าในบริเวณพระธาตุ และ เหรี ย ญ ๑ บาท เป็ น พระอารามหลวงชั้ น ที่อยู่ : ถนนราชด�ำเนิน ต�ำบลในเมือง  มิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น พิ เ ศษ เป็ น เจดี ย ์ ท รงลั ง กา ตั้ ง อยู ่ ด ้ า นหลั ง ขององค์พระพุทธปรางค์ปราสาท พระบาท ในปี พ.ศ. ๒๐๘๑ สมั ย พระเมื อ งเกษเกล้ า อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ได้โปรดฯ ให้เสริมพระเจดีย์ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โทรศัพท์ : ๐ ๗๕๓๒ ๔๔๗๙ ให้สงู กว่าเดิม เป็นกว้าง ๖ วา สูง ๑๑ ศอก พร้อม โปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งขึ้ น เมื่ อ พ.ศ. ๒๓๙๘ เว็บไซต์ : thai.tourismthailand. ทั้ ง ให้ ช ่ า งน� ำ ทองค� ำ ท� ำ เป็ น รู ป ดอกบั ว ทอง เพื่ อ ประดิ ษ ฐานพระบรมสารี ริ ก ธาตุ ที่ ใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายค�ำ ทรงได้ ม าจากลั ง กา โดยสร้ า งตามรู ป แบบ org/วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ราชโอรสได้ ท รงให้ ตี ท องค� ำ เป็ น แผ่ น ติ ด ที่ ของพระมหาเจดี ย ์ ใ นวั ด พระศรี ส รรเพชญ์ พระบรมธาตุในปี ๒๑๐๐ พระมหาญาณมงคล พระนครศรีอยุธยา โพธิ์ วัดอโศการาม เมืองล�ำพูนได้สร้างบันได หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

๓. พระศรีรัตนเจดีย์

15


เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ น.   (ชาวไทยไม่เสียค่าเข้าชม ส่วนชาว  ต่างชาติเสียค่าเข้าชม ๒๐๐ บาท/คน) ที่อยู่ : เขตพระราชฐานชั้นนอก   ทางทิศตะวันออก ติดท้องสนามหลวง   แขวงพระบรมมหาราชวัง   เขตพระนคร กรุงเทพฯ เว็บไซต์ : palaces.thai.net

๔. พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (เหรียญ ๒ บาท)

พระบรมบรรพต ตั้งอยู่ภายในวัดสระเกศ ราชวรมหาวิ ห าร ซึ่ ง ปรากฏเป็ น ภาพพิ ม พ์ นูนต�่ำที่เหรียญ ๒ บาท โดย บรมบรรพต นาม พระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเดิมคือ "พระเจดีย์ภูเขาทอง" แต่ ช าวไทยนิ ย มเรี ย กง่ า ย ๆ กั น ว่ า เจดี ย ์ ภูเขาทอง พระเจดีย์องค์นี้นับเป็นพุทธสถาน ที่ ส� ำ คั ญ ของวั ด สระเกศราชวรมหาวิ ห าร สร้างขึ้นตามพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ในวาระที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดสระเกศครัง้ ใหญ่นนั้ ทรงมีพระราชประสงค์ จะสร้างพระเจดีย์เหมือนอย่างวัดภูเขาทอง ที่กรุงศรีอยุธยา มีคลองมหานาคล้อมรอบวัด และเป็นคลองที่ชาวพระนครจัดเป็นที่ชุมนุม รื่นเริงลอยเรือเล่นสักวากันครั้งสมัยรัชกาล ที่ ๑ เหมื อ นอย่ า งการละเล่ น ของชาวกรุ ง ศรีอยุธยาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) เป็นแม่กอง ในการสร้าง แรกสร้างพระเจดีย์ภูเขาทองนั้น รูปแบบ เป็นปรางค์องค์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมแบบย่อไม้ สิบสอง อันเป็นพุทธศิลป์ สถาปัตยกรรมที่ นิ ย มสร้ า งในสมั ย ปลายกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาและ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ฐานกว้าง ๕๐ วา หรือ ๑๐๐ เมตร สูง ๙ วา หรือ ๑๘ เมตร โดยขุด รากลึกลงไปในดิน (ริมคลองเป็นดินโคลน) วางท่อนซุงเรียงเป็นแพอัดแน่น อันเป็นวิธี การสร้ า งฐานรากเหมื อ นตอกเสาเข็ ม แล้ ว ถมดินและหินศิลาแลง จากนั้นก่ออิฐถือปูน ครอบไว้ชั้นนอก ปรากฏว่าส่วนฐานล่างองค์ พระเจดีย์รับน�้ำหนักดิน หิน และศิลาแลงที่ ถมไม่ได้ ส่วนบนยอดเจดีย์จึงทรุดลงจนไม่ สามารถแก้ไขได้และมิได้สร้างต่อให้แล้วเสร็จ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า 16

เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) เป็นแม่กองซ่อมสร้างพระเจดีย์ ภูเขาทองที่ทิ้งค้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อ โดยซ่อมแปลงแก้ไขพระปรางค์องค์ใหญ่ท�ำ เป็นภูเขาทอง ท�ำบันไดเวียนสองข้างจนถึง ยอดมีส่วนหนึ่งท�ำบันไดทอดตรงลงมา ครั้นถึง เดือน ๖ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ รัชกาลที่ ๔ โปรด เกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์ทรงระฆังไว้บนยอดเขา หนึ่งองค์ ได้เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์และโปรด เกล้าฯ ให้มี "ละครใน" (ละครที่ผู้หญิงแสดง ล้วน เป็นมหรสพในราชส�ำนัก) เป็นมหรสพ ฉลอง เมื่อแล้วเสร็จพระราชทานนามใหม่ว่า "บรมบรรพต" การบูรณะซ่อมพระเจดีย์ภูเขาทองครั้งที่ สองในสมัยรัชกาลที่ ๕ อันเป็นการซ่อมเสริม ในส่วนที่ยัง ไม่ เ รี ย บร้ อ ยต่ อ จากสมั ย รั ช กาล ที่ ๔ เมื่อแล้วเสร็จในวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑ ค�่ำ ปี ฉ ลู พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินประกอบพระราช พิ ธี อั ญ เชิ ญ พระบรมสารี ริ ก ธาตุ ที่ บู ช าไว้ ใ น พระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานในพระเจดีย์ ภูเขาทองเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โปรด เกล้ า ฯ ก� ำ หนดให้ มี ง านนั ก ขั ต ฤกษ์ ฉ ลอง พระเจดีย์ภูเขาทองและพระอารามหลวงวัด สระเกศ ระหว่างขึ้น ๘-๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๒ เป็น ประจ�ำทุกปี ต่อมาวันอาทิตย์ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า อั ษ ฎางค์ เ ดชาวุ ธ กรมขุ น นครราชสี ม า เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น แทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอินเดีย และน�ำ มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วพระองค์โปรดให้ อัญเชิญมาประดิษฐานในพระเจดีย์ภูเขาทอง เป็นครั้งที่สอง การพระราชพิธีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้มพี ธิ ฉี ลองทัง้ กลางวันกลางคืน ๓ วัน พระสงฆ์ สวดพระพุ ท ธมนต์ แ ละถวายภั ต ตาหาร แด่พระสงฆ์จ�ำนวน ๑๐๐ รูป ตั้งบายศรีแก้ว เงิน ทอง และเวียนเทียนสมโภช กลางคืนจัด

มหรสพสมโภช มีโขน หุ่น งิ้ว หนัง และจุด ดอกไม้เพลิงตามธรรมเนียมโบราณ จากการพระราชพิ ธี ฉ ลองใหญ่ ใ นสมั ย รัชกาลที่ ๕ แล้วนานถึง ๕๐ ปีต่อมา สมัย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทย มหาเถร ครั้ ง ด� ำ รงสมณศั ก ดิ์ เ ป็ น พระธรรม วโรดม เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ทรงมีบัญชา ให้ ก รมชลประทานเป็ น แม่ ก องท� ำ การซ่ อ ม ครั้งใหญ่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๗ โดย ให้ ห ยุ ด งานนั ก ขั ต ฤกษ์ ป ระจ� ำ ปี ไ ว้ ชั่ ว คราว การซ่อมใหญ่ ได้แก่ องค์พระเจดีย์ภูเขาทอง ที่ ท รุ ด เอี ย งซ่ อ มเสริ ม เหล็ ก คานคอนกรี ต ซ่อมก�ำแพงรอบนอกและบันได ตัดโค่นต้นไม้ ที่รกทึบให้โล่งเตียน เมื่อแล้วเสร็จพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลปั จ จุ บั น เสด็ จ พระราชด�ำเนินยังมณฑลพิธี ณ บรมบรรพต ทรงบรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุในพระเจดียย์ อด พระมณฑป ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ และเปิดให้มงี านเทศกาลนมัสการ ตามประเพณีโบราณฉลองกันตลอดมา ทั้งนี้ บรมบรรพต ปัจจุบันมีขนาดสูงจาก ฐานถึงยอด ๖๓.๖ เมตร ฐานโดยรอบมีเส้น ผ่าศูนย์กลางกว้าง ๑๕๐ เมตร ฐานโดยรอบ ยาว ๓๓๐ เมตร มีบันไดทอดขึ้นเป็นบันได เวียน ๓๔๔ ขั้น

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน   เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.   (ชาวไทยไม่เสียค่าบริการ   ส่วนชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม   ๑๐ บาท ต่อ ๑ คน)  ที่อยู่ : ๓๔๔ ถนนจักรพรรดิพงษ์   แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : ๐ ๒๖๒๑ ๒๒๘๐ เว็บไซต์ : watsraket.com

แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


๕. พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร (เหรียญ ๕ บาท)

วัดเบญจมบพิตร หรือชื่อทางการ คือ วัด เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่ง พระอุ โ บสถของวั ด ได้ ป รากฏเป็ น ภาพพิ ม พ์ นู น ต�่ ำ ที่ อ ยู ่ ด ้ า นหลั ง ของเหรี ย ญ ๕ บาท เป็ น วั ด ที่ รู ้ จั ก ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั่ ว โลกว่ า "The Marble Temple" เพราะ พระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจาก ประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความ วิ จิ ต รงดงามด้ ว ยศิ ล ปะสถาปั ต ยกรรมไทย โบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศสนใจเข้าชมจ�ำนวนมาก พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๔๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรด เกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสน เพือ่ สร้างทีป่ ระทับพักผ่อน พระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทาน นามว่า "สวนดุสติ " (พระราชวังดุสติ ในปัจจุบนั ) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ ๒ แห่ง คือ วัดดุสิต ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูก ใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่ง จ�ำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัด ส�ำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงท�ำผาติกรรม คือ การสร้างวัด แห่งใหม่ เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรง สถาปนา ตามพระราชด�ำริว่า การสร้างวัด ใหม่หลายวัดยากต่อการบ�ำรุงรักษา ถ้ารวม เงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และท�ำโดย ฝีมือประณีตดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระ อุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราช สงคราม เป็นนายช่างก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ พระราชด�ำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรม ราชโองการประกาศพระบรมราชูทศิ ถวายทีด่ นิ ให้เป็นเขตวิสุงคามสีมา (เขตที่พระราชทาน แก่ ส งฆ์ ส� ำ หรั บ สร้ า งพระอุ โ บสถ) ของวั ด พร้ อ มทั้ ง พระราชทานนามวั ด ใหม่ ว ่ า "วั ด เบญจมบพิตร" อันหมายถึง วัดของพระเจ้า แผ่ น ดิ น รั ช กาลที่ ๕ และเพื่ อ แสดงล� ำ ดั บ รัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ต่อมา พระองค์ ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า "ดุสิต วนาราม" ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัด เบญจมบพิตร และโปรดให้เรียกนามรวมกันว่า หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

"วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" เมื่อมีการจัด ระเบียบพระอารามหลวง ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ถูกจัดให้เป็นพระอารามหลวง ชัน้ เอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนัน้ ชือ่ วัดจึงมีสร้อย นามต่อท้ายด้วย "ราชวรวิหาร" กลายเป็นชื่อ "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร" ในปัจจุบัน

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ที่อยู่ : ๖๙ ถนนนครปฐม   แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๘๒ ๒๖๖๗,   ๐ ๒๒๘๑ ๗๘๒๕ เว็บไซต์ : watbencha.net

๖. พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (เหรียญ ๑๐ บาท)

พระปรางค์ วั ด อรุ ณ ราชวราราม ราช วรมหาวิหาร หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัด อรุณฯ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา รวม ทั้งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราช วรมหาวิหาร เป็นวัดประจ�ำรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็น ภาพพิมพ์นูนต�่ำที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเหรียญ ๑๐ บาท ที่ใช้กันในปัจจุบัน พระปรางค์ เป็ น ศิ ล ปกรรมที่ ส ง่ า งาม และโดดเด่นทีส่ ดุ ในวัดอรุณฯ ตัง้ อยูห่ น้าวัดทาง ทิศใต้ พระปรางค์องค์นี้เดิมทีสร้างมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีหลักฐาน มีลักษณะ เป็ น แบบใด นอกจากกล่ า วว่ า สู ง ประมาณ ๘ วา เป็นปูชนียสถานทีส่ ร้างขึน้ พร้อมกับโบสถ์ และวิหารน้อยหน้าพระปรางค์ โดยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงมีพระราชศรัทธาจะเสริมสร้างให้สูงใหญ่ เป็นมหาธาตุประจ�ำพระนคร แต่ทรงกระท�ำ ได้ เ พี ย งโปรดเกล้ า ฯ ให้ ก ะที่ ขุ ด รากเตรี ย ม ไว้เท่านั้น เนื่องจากสวรรคตเสียก่อน เมื่อถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ เป็นการใหญ่อีกครั้ง และทรงมีพระราชด�ำริที่ จะสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรม ชนกนาถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เสริมสร้างพระ ปรางค์องค์ใหญ่สูงถึง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว (สูง ๖๗ เมตร) ฐานพระ ปรางค์กลมโดยรอบ ๕ เส้น ๑๗ วา (๒๓๔ เมตร) โดยรัชกาลที่ ๓ เสด็จพระราชด�ำเนิน

มาก่อพระฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค�่ำ พ.ศ. ๒๓๘๕ ส�ำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ใช้ เวลาสร้างถึง ๙ ปี และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อยอด นพศูลพระปรางค์ ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ เมื่อยกยอด พระปรางค์ ซึ่ ง เดิ ม ท� ำ เป็ น ยอดนพศู ล ตาม พระปรางค์แบบโบราณ แต่ครั้นใกล้วันฤกษ์ กลั บ โปรดให้ ยื ม มงกุ ฎ ที่ ห ล่ อ ส� ำ หรั บ พระ พุ ท ธรู ป ทรงเครื่ อ ง ที่ จ ะเป็ น พระประธาน ในวั ด นางนองมาติ ด ต่ อ บนยอดนภศู ล เมื่ อ การก่อสร้างส�ำเร็จแล้วยังไม่ทันมีงานฉลอง ก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔

เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา ๐๗.๓๐-๑๗.๓๐ น. ที่อยู่ : ๑๕๘ ถนนวังเดิม   แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๙๑ ๒๑๘๕ เว็บไซต์ : watarun.org เป็ น อย่ า งไรบ้ า งครั บ กั บ สถานที่  ท่องเที่ยวใกล้ตัว ที่เราเพียงแค่พลิก  เหรียญกษาปณ์มาดู เราก็ได้ไปเที่ยว  ศาสนสถานที่ส�ำคัญถึง ๖ แห่งกันแล้ว  เรียกได้ว่าเป็นความรู้ใกล้ตัวที่เราไม่ ควรพลาดเลยนะครับ ใครสะดวกที่ใด  ก็ขอเชิญนะครับ ขอความเจริญในธรรม  จงมีแด่ท่าน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก thaifolk.com, watarun.org, doisuthep.com, watsraket.com, bangkokgoguide.com และ watbencha.net

17


วันกองทัพไทย เรือโท สมนึก พุฒซ้อน

อ งทั พ ไทย มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ การต่ อ สู ้ เ คี ย งข้ า งกั บ การสร้ า ง ประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และเจริญรุง่ เรืองมายาวนาน นับตัง้ แต่ครัง้ กรุง สุ โ ขทั ย เป็ น ราชธานี ที่ พ ่ อ ขุ น ศรี อิ น ทราทิ ต ย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ได้รวบรวมชาวไทย ตั้ง ราชอาณาจักรโดยยึดหลัก ในการสร้างกองทัพ เพื่อป้องกันประเทศว่า “ชายฉกรรจ์ทุกคน ต้องเป็นทหาร เพื่อจะ ได้ป้องกันบ้านเมืองให้ปลอดภัย” ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ปีพุทธศักราช ๑๙๙๑ ซึ่ ง ตรงกั บ รั ช สมั ย สมเด็ จ พระบรม ไตรโลกนาถ ได้ มี ก ารแบ่ ง กิ จ การทหารกั บ พลเรือนแยกออกจากกัน ในส่วนราชการทหาร ทรงแต่งตั้งสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา มี การจัดแบ่งก�ำลังออกเป็น ๔ เหล่า ได้แก่ ราบ (เดินเท้า) ม้า รถ ช้าง หรือที่เรียกกันว่า “จตุ รงคเสนา” เมือ่ ปีพทุ ธศักราช ๒๐๘๑ ในรัชสมัย พระชัยราชาธิราช ได้มีการมีใช้อาวุธที่ทันสมัย ในกองทัพ โดยใช้ปืนไฟในการรบกับพม่าเป็น ครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน อีก ๑๑๘ ปี ต่อมา คือ ปีพุทธศักราช ๒๑๙๙ กองทัพไทย ได้ริเริ่ม 18

สร้างปืนไฟขึ้นใช้เอง ประเทศไทยของเรานั้น เป็นประเทศที่มี อาณาเขตจรดทะเลและดินแดนของประเทศ เพือ่ นบ้าน จึงมีความจ�ำเป็นต้องมีกำ� ลังทางเรือ และก�ำลังทางบกไว้เพื่อปกป้องราชอาณาจักร ให้มั่นคงและปลอดภัยจากอริราชศัตรู โดยใน ระยะแรก นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้น มายังไม่มีการแบ่งแยกทหารบก และทหาร เรือ คงใช้กองทัพในลักษณะรวมการปกป้อง ประเทศชาติไม่ว่าจะมีภัยรุกรานมาจากทางใด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงริเริ่ม ให้มีการปรับปรุงก�ำลัง (พล) ทหารให้ทันสมัย ขึ้น เป็นครั้งแรก ต่อมาไม่นาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรง ได้ ใ ห้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง กิ จ การทหารแบบสมั ย ใหม่อย่างจริงจัง โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง กรมยุทธนาธิการขึ้น เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๐ เพื่อบังคับบัญชาทหาร บก ทหารเรื อ อย่ า งใกล้ ชิ ด ยิ่ ง ขึ้ น และได้ ก�ำหนดให้วันที่ ๘ เมษายน ของทุกปี เป็น

วัน “กลาโหม” และต่อมาได้ถือว่าเป็น “วัน กองทัพไทย” ในปัจจุบันวันกองทัพไทย ตรง กับวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปี โดยได้ถือเอา วันส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยคือ วันทีส่ มเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระท�ำ ยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวัน จันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค�่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ซึ่ง ตรงกับ วันจันทร์ที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๑๓๕ เป็นจุดเริ่มต้นของ “วันกองทัพไทย” กองทั พ ไทย ได้ ผ ่ า นการพั ฒ นาและมี วิ วั ฒ นาการก้ า วหน้ า อย่ า งต่ อ เนื่ อ งมาโดย ตลอด ปัจจุบันนี้ ท� ำให้สามารถมั่นใจได้ว่า กองทัพบกเป็นก�ำลังหลักที่ส�ำคัญของชาติ ใน การปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติได้อย่าง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเช่ น เดี ย วกั บ กองทั พ เรื อ ที่ สามารถปกป้องราชอาณาจักรทางทะเลและ กองทัพอากาศได้ท�ำหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าไทย ได้อย่างเข้มแข็งทุกกองทัพ ต่างปฏิบัติหน้าที่ ร่วมกันในการป้องกันอธิปไตยของชาติ โดยมี กองบัญชาการทหารสูงสุด ท�ำหน้าที่ควบคุม บังคับบัญชาและประสานงานระหว่างเหล่าทัพ ทั้งสาม เรือโท สมนึก พุฒซ้อน


แม้ว่าประเทศไทยของเรา ยังคงความเป็น ปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานานนับร้อยปี แล้ว กองทัพไทย ก็ยังคงปฏิบัติภารกิจส�ำคัญ และทรงเกียรติต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งไม่ว่าจะ เป็นภารกิจป้องกันการรุกรานจากภายนอก ประเทศหรื อ ภารกิ จ เพื่ อ ความมั่ น คงภายใน ประเทศ การต่อต้านการก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ ความเจริญและความสงบสุขในทุก ๆ ด้าน ให้ แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป ดังเพลงมาร์ช สามัคคี ๔ เหล่า ดังนี้

“เราเชื้ อ ชาติ ไ ทยทหารบกไทย เก่งกาจชาญฉกรรจ์..........ทหารบก เป็นรั้วคุ้มครองชาติไทย.........ราชนาวี ชาติไทย เรือแล่นไปในสายน�้ำ ฝั่งทะเล ของไทยไม่ยอมให้ใครรุกล�้ำทหารเรือ ทุกล�ำ (ทุกคน) ยอมสู้ตาย.........ท้อง นภาของไทย ใครรุกใครรานอธิปไตย ทหารอากาศของไทย ขอไว้ลาย เสือ อากาศไทย............”

เตือนสติคนไทยของ ล้นเกล้า ร.๖ “ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงต้องบังคับขับไส เคี่ยวเข็ญเย็นค�่ำ กร�ำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ จะนับถือพงศ์พันธ์ุนั้นอย่าหมาย ไหนจะต้องเหนื่อยยากล�ำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา” พระราชกรณี ย กิ จ ล� ำ ดั บ แรกที่ พ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด�ำเนินการ จึงเป็นการขยับ แบบค่อยเป็นค่อยไป เลือก เรื่องที่เล็กก่อนเรื่องที่ใหญ่ โดยเริ่มจากการ เสด็จประพาสเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ ปัตตาเวีย และชวา เป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ โดยเรือปืน พิทยัมรณยุทธ์ และ เสด็จกลับเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๔ หลั ง จากเสด็ จ กลั บ จากการประพาสโปรด หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ให้ข้าราชการแต่งกาย แต่งผ้าคอเสื้อผูกคอ ตามอย่างธรรมเนียมฝรั่งนอก เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ ในปีเดียวกัน โปรด ให้เลือกไว้ผมทรงมหาดไทยหรือผมหลักแจว ที่ นิ ย มกั น มากแต่ ค รั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเปลี่ ย น เป็นทรงอย่างฝรั่ง ผมยาวเป็นรองทรงแทน พร้อมกับมีแบบเสื้อราชปแตน ซึ่งมาจากภาษา อังกฤษว่า ราชาแพทเทอน หรือแบบเสื้อของ พระราชา การที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ประพาสเพื่ อ นบ้ า น ท� ำ ให้ เ กิ ด การเปลี่ยนแปลงการแต่งกายการไว้ผมทรง รองทรง น�ำแบบอาคารตึกแถวของสิงคโปร์ มาปลูกข้าวถนนบ� ำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และเริ่ ม ท�ำ เขื่ อ นริ ม คลองหลอด สร้ า งถนน ขนานเหมือนถนนในปัตตาเวีย นอกจากนี้ยัง ได้โปรดให้จัดตั้งโรงเรียน พระต�ำหนักสวน กุหลาบ และจัดการกองทัพตามอย่างประเทศ เพื่อนบ้านด้วย เมื่อทรงมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงสละราชสมบัติ ออกผนวช เป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ทรงผนวช ๑๕ วัน และลาผนวช เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๔๑๖ นับเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์แรกแห่ ง กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ ที่ เ สด็ จ ออกผนวชในระหว่ า งครองราชสมบั ติ และ เมื่อทรงลาผนวชแล้วจึงโปรดให้มีพระราชพิธี

พระบรมราชาภิเษก เป็นการเสด็จกลับสู่การ ครองบัลลังก์ใหม่ หลั ง จากที่ ท รงสละราชสมบั ติ แ ละออก ผนวช จึงทรงตระหนักว่าทรงบรรลุนิติภาวะ แล้ว ทรงปกครองแผ่นดินด้วยพระองค์เอง โดยสมบู ร ณ์ ไม่ ต ้ อ งมี ผู ้ ส�ำ เร็ จ ราชการแทน พระองค์ต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด�ำริว่า “ราชการผลประโยชน์ ของบ้ า นเมื อ ง สิ่ ง ใดที่ เ กิ ด ขึ้ น และการที่ ยั ง รกร้างมาแต่เดิมมากนั้น ก็จะทรงจัดการแต่ พระองค์เดียวก็จะไม่ส�ำเร็จไปได้ ถ้ามีคนช่วย กันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่ เดิมก็จะได้ปลดเปลื้องไปที่ละน้อย ๆ ความดี ความเจริญก็จะบังเกิดแก่บ้านเมือง” จากพระ ราชปรารภดังนี้จึงได้โปรดให้ตั้งสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดินขึ้น เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๑๗ เรียกทับศัพท์ว่า เคาน์ซิล ออฟสเตท ประกอบด้ ว ยสมาชิ ก ขุ น นางสามั ญ ต�่ ำ กว่ า เสนาบดี ๑๒ ท่าน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระราชประสงค์จะให้ข้าราชการเข้ามาติดต่อ กั บ พระองค์ ไ ด้ โ ดยตรงแทนที่ พ ระองค์ จ ะ ต้องทรงถูกแวดล้อมและรับฟังแต่ความเห็น ของเสนาบดีเท่านั้น ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ พระองค์จึงทรงตั้งสภาที่ปรึกษา ราชการส่วนพระองค์ หรือสภาองคมนตรีขึ้น เรียกว่า ปรีวี เคาน์ซิล มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา 19


ราชการส่วนพระองค์และช่วยปฏิบัติราชการ อื่น ๆ ตามแต่ที่พระองค์จะทรงมอบภารกิจให้ สมาชิกสภาในชุดแรกมีจ�ำนวน ๔๙ ท่าน ทรง มีพระราชด�ำริว่า “การสิ่งใดจะให้มีความเจริญแก่บ้านเมือง จริง ๆ ก็จะต้องอาศัยปรึกษาพร้อมกัน จึงได้ ติดต่อเคาน์ซิล ๒ พวกนี้ขึ้น ฉันก็ได้ยอมหย่อน ยศลดอ�ำ นาจลงมานั่ ง ในที่ เ คาน์ ซิ ล ยอมให้ รักษาโต้ตอบไปมาได้ไม่ถือตัวว่า เป็นคนสูงต�่ำ เพราะจะให้เป็นการเจริญ” แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ต้องทรงใช้วิธีทำ� งานด้วยพระองค์เอง ไม่ได้ หวังเอาสภาที่ปรึกษาเป็นที่พึ่ง เมื่อทรง มีข้อบกพร่องอย่างใด จะมีพระหัตถเลขาและ พระด�ำริไปถึงเป็นกรณี ๆ ไป การปฏิ รู ป ประเทศในรั ช สมั ย พระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ด�ำ เนิ น การในทุกด้านทุกมิติ แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพ อันลึกซึ้ง มิใช่หักด้ามพร้าด้วยเข่า แต่ทรงท�ำ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เคยถึงขนาดท�ำความ ขุ่นเคืองใจให้ กับสมเด็จเจ้าพระยามหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ทรงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม พระยาเทววงศ์ ว โรปการ พระน้ อ งยาเธอ เสด็จไปศึกษาระเบียบประเพณีการปกครอง ของยุ โ รป และทรงมี พ ระบรมราชโองการ ประกาศตั้ ง กระทรวงใหม่ทั้งหมด เมื่อวันที่

20

๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั่ น หมายความว่ า ทรง ยกเลิกต�ำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในลักษณะ พลิกแผ่นดิน ซึ่งมีน้อยประเทศจะส�ำเร็จโดย ราบคาบปราศจากการจลาจล ทรงก่ อ ตั้ ง กระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง โปรดให้มีการ จั ด การด้ า นสาธารณู ป โภคหลายประการ โดยเฉพาะการปรั บ ปรุ ง การคมนาคมและ พัฒนาความเจริญในทุกด้าน ในรัชสมัยนี้ยังมีการขุดคลองจ�ำนวนมาก สร้างทางรถไฟสายกรุ ง เทพถึ ง นครราชสี ม า เปิดเดินในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ การรถไฟสายกรุงเทพถึงพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๔๓ ทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพ ถึง เพชรบุรี พ.ศ. ๒๔๔๖ ทางรถไฟสายตะวันออก จากกรุงเทพถึงฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๔๔๙ รวม ทั้งสิ้น ๙๒๘ กิโลเมตร และยังพระราชทานให้ บริษัทวิสาหกิจส่วนบุคคล สร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ - ปากน�ำ้ เปิดเดินเมือ่ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ทางรถไฟสายธนบุ รี ถึ ง ท่ า จั น เปิดในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ และ ทางรถไฟ สายพระบาทถึงสระบุรี พ.ศ. ๒๔๔๕ หลังจากการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ เดียวกันนี้อีกเลย แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการ

ปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์มา สู่ประชาธิปไตย แต่ไม่เคยมียุคใดที่บ้านเมือง จะได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง เฉกเช่น ในยุคของพระพุทธเจ้าหลวง สาเหตุที่เป็นเช่น นั้นนอกจากเป็นเพราะการเมืองอยู่ในสภาพ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาตลอดในช่วงรัชกาลที่ ๗ ถึง ปัจจุบัน ยังเกิดจากความกล้าในการตัดสินใจ ของผู้บริหารบ้านเมือง รั ฐ บาล นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรั ฐ มนตรี ได้ ใ ช้ โ อกาสในการบริ ห าร ประเทศมาเป็นปีที่ ๓ น�ำเสนอโครงการสร้าง อนาคตไทย ๒๐๒๐ โดยออกเป็ น พ.ร.บ. กู้เงิน ๒ ล้านล้านบาท เพื่อน�ำมาด�ำเนินการ โครงสร้างพืน้ ฐานการคมนาคมขนส่ง ซึง่ ในงาน แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า นับตั้งแต่การด�ำเนินกิจการรถไฟสายแรกของ ประเทศไทย เมื่อ ๑๑๗ ปีก่อน ซึ่งพระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ท รง ประกอบพิธี เปิดการเดินรถไฟสายแรกของ ประเทศไทยขบวนกรุงเทพ - อยุธยา เป็น ระยะทางประมาณ ๗๑ กิโลเมตร ถือว่าเป็น ครั้งแรกที่เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับ ประเทศไทยเป็นการกระจายความเจริญจาก กรุงเทพสู่จังหวัดต่าง ๆ หลังจากนัน้ มีการพัฒนาระบบการคมนาคม มาตลอด เพราะหากไม่พฒ ั นาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศจะลดลง แต่ในช่วง หลัง เนื่องจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลใหม่บ่อยครั้ง ท�ำให้เราขาดการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานมาเป็นเวลานาน จึงเชื่อว่า สิ่งที่ต้องท�ำเพื่อให้ประเทศสามารถพัฒนาขีด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ก็ คื อ การลงทุ น ครั้ ง ใหญ่ ข องประเทศ ดั ง นั้ น งบประมาณ ๒ ล้านล้านบาทกับการสร้างประเทศไทยใน อนาคตจึ ง เป็ น เรื่ อ งที่ คุ ้ ม ค่ า โดยเล็ ง เห็ น ว่ า การด�ำเนินการโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ คมนาคม ทั้งทางบกทางน�้ำ และทางอากาศ รวมถึงเรื่องการสร้างสัมพันธไมตรีจะท�ำให้เกิด การเชื่อมโยงประเทศภูมิภาคในอาเซียนเข้า ด้วยกัน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อม ระหว่างประเทศไทยไปสู่เมืองต่าง ๆ นอกจาก ท�ำให้เกิดความเจริญ ลดความเหลื่อมล�้ำใน สังคมเมืองกับชนบท ยังท�ำให้คนในครอบครัว สามารถไปมาหากั น ได้ เ ร็ ว ขึ้ น สุ ข ภาพชี วิ ต ดี ขึ้ น และเป็ น การใช้ เ วลาต่ อ เนื่ อ งด� ำ เนิ น โครงการ ๗ ปี โครงการสร้างอนาคตไทย ๒๐๒๐ ซึ่งคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม วาดพิ ม พ์ เ ชี ย วเอาไว้ จ ะประกอบ ด้วยโครงการหลัก ๕๓ โครงการ เน้นระบบ รางเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก ๑๐ ปี ที่ผ่านมา เรือโท สมนึก พุฒซ้อน


ประเทศไทยลงทุนเพียง ๒ หมื่นล้านบาท ขณะ ที่การลงทุนด้านถนนมีมากถึง ๖ แสนล้านบาท และ รถไฟเป็นระบบที่ต้นทุนในการขนส่งถูก มลภาวะน้อย ความปลอดภัยสูง น่าพัฒนา ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ร้อยละ ๘๐ ของเงิน ๒ ล้านล้าน บาท จะเป็นการลงทุนในระบบราง แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ รถไฟความเร็วสูง ๔ สายได้แก่ กรุงเทพ - เชียงใหม่ กรุงเทพ - หนองคาย กรุงเทพ - ระยอง และกรุงเทพ - ปาดังเบซาร์ คิดเป็นร้อยละ ๓๙ รถไฟในกรุงเทพคิดเป็น ร้อยละ ๒๐ และรถไฟรางคู่ทั่วประเทศคิดเป็น ร้อยละ ๒๐ เช่น กรุงเทพ - หนองคาย กรุงเทพ - อุ บ ลราชธานี นอกจากนี้ จ ะมี ก ารขยาย ถนนเป็น ๔ เลน สร้างถนนมอเตอร์เวย์ ถนน เชื่อมระหว่างเพื่อนบ้านและถนนเลียบชายฝั่ง รวมถึงการสร้างศูนย์กระจายสินค้าตามสถานี รถไฟ รัฐบาลได้ก�ำหนดห้วงเวลาสร้างความเข้าใจ แก่พี่น้องประชาชนเพื่อให้คนไทยทุกคนมีส่วน ร่วม รวมทั้งสิ้น ๑๒ จังหวัด เร่มต้นที่จังหวัด หนองคาย นครราชสี ม า ชลบุ รี ขอนแก่ น นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และปิด ท้ายที่สงขลา โครงการสร้ า งอนาคตไทย ๒๐๒๐ จึ ง เป็ น การลงทุ น ที่ จ ะปฏิ รู ป ระบบการขนส่ ง คมนาคมของประเทศอย่างครบวงจร อันจะน�ำ มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งส�ำหรับ บ้านเมืองของเราและเป็นการสืบสาน พระ ราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงวางรากฐานการคมนาคม ขนส่ง อันเป็นการน� ำความเจริญมาสู่สยาม ประเทศตราบจนทุกวันนี้

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

21


กลไกด้านการบรรเทาภัยพิบัติ ของประชาคมอาเซียน พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

นขณะที่ ก ลุ ่ ม ประเทศสมาชิ ก ของ ส ม า ค ม ป ร ะ ช า ช า ติ แ ห ่ ง เ อ เ ชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ห รื อ อาเซี ย น (ASEAN : Association of South East Asian Nations) ก�ำลังจะก้าวเข้าสู่ความเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือ ค.ศ. ๒๐๑๕ นี้ จะ เห็ น ได้ ว ่ า มี ก ลไกด้ า นเศรษฐกิ จ จ� ำ นวนมาก ที่ท�ำหน้าที่ในการผลักดันให้การรวมตัวทาง ด้ า นเศรษฐกิ จ ของอาเซี ย นหรื อ ที่ เ รารู ้ จั ก คุ้นเคยกันในชื่อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น กลไกด้ า นอั ต ราภาษี ที่ มี ก ารลดลงเหลื อ 22

ร้อยละ ๐ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ในกลุ่ม ประเทศสมาชิ ก ดั้ ง เดิ ม คื อ ไทย มาเลเซี ย อิ น โดนี เ ซี ย ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ สิ ง คโปร์ แ ละบรู ไ น ดารุสซาลาม อีกทั้งประเทศสมาชิกที่เหลืออีก ๔ ประเทศก็จะลดอัตราภาษีในอัตราเดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เช่นเดียวกัน ในส่วนของประชาคมการเมืองและความ มั่นคงอาเซียนหรือ APSC (ASEAN Political and Security Community) ก็เช่นเดียวกัน ที่มีกลไกเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัย ความมั่ น คงด้ า นต่ า ง ๆ ของอาเซี ย น ทั้ ง ที่ เป็นภัยความมั่นคงรูปแบบเดิม (Traditional Security) และภั ย ความมั่ น คงรู ป แบบใหม่ (Non-Traditional Security) เช่น ความขัดแย้ง

ด้านการทหาร ภัยด้านการก่อการร้าย ภัย ด้านความมั่นคงของมนุษย์ และสาธารณภัย หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ดูเหมือน ว่าก�ำลังจะกลายเป็นภัยคุกคามที่มีศักยภาพ และความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่ม ประเทศอาเซียนทัง้ นีเ้ นือ่ งจากสภาพภูมอิ ากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการ ท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติที่ด�ำเนินไปอย่าง ไร้ขีดจ�ำกัด ดังเช่นล่าสุดที่เกิดพายุไต้ฝุ่น "ไห่ เยียน" พัดเข้าถล่มประเทศฟิลิปปินส์จนได้รับ ความเสียหายอย่างมหาศาล เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน จึงได้มีการก�ำหนดกลไกในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


เตรียมการรับมือกับภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติทนี่ บั วันจะสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนในภูมิภาคแห่งนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ส�ำหรับกลไกหลักด้านการบรรเทาสาธารณภัย ของอาเซียนประกอบด้วย ๑. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน หรือ เอดีเอ็มเอ็ม (ADMM = ASEAN Defense Minister Meeting)

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

๒. คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการ ภัยพิบัติ หรือ เอซีดีเอ็ม (ACDM = ASEAN Committee on Disaster Management) ๓. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมัน่ คงในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟิค หรือ เออาร์เอฟ (ARF = ASEAN Regional Forum) ส�ำหรับรายละเอียดของกลไกต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นนั้นมีดังนี้ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน หรือ ADMM นับเป็นกลไกด้านความมั่นคงระดับ สูงสุด (highest defense mechanism) ของ กลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ถือก�ำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นเวทีการประชุมของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศ สมาชิกอาเซียนในการแลกเปลีย่ นความคิดเห็น เกี่ยวกับด้านความมั่นคงของอาเซียน โดยมี วัตถุประสงค์ประกอบด้วย ๑. ส ่ ง เ ส ริ ม ใ ห ้ เ กิ ด ค ว า ม เ ชื่ อ มั่ น (Confidence) และความเชื่อใจ (Trust) ด้าน ความมั่นคงและการป้องกันประเทศระหว่าง ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ๒. เ ป ็ น ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม โ ป ร ่ ง ใ ส (Transparency) และเปิดเผย (Openness) ในนโยบายด้ า นความมั่ น คงของประเทศ สมาชิกอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนหรือ ADMM ครั้งที่ ๖ เมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒) ณ กรุ ง พนมเปญ ประเทศ กัมพูชา ได้ลงความเห็นให้ลดความห่างของช่วง เวลาในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา หรือ เอดีเอ็มเอ็ม พลัส (ADMM-Plus : ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน มีทั้งหมด ๘ ประเทศคือ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน

อินเดีย ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) โดยนั บ ตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็ น ต้ น ไป รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา จะประชุมพบปะกันทุกๆ ๒ ปี โดยอาเซียน ปรารถนาที่ จ ะมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น กั บ ประเทศคู่เจรจา ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแลก เปลี่ยนข้อมูล การปรึกษาหารือกันในระดับ รั ฐ มนตรี ใ นด้ า นสั น ติ ภ าพ ความมั่ น คงและ เสถียรภาพภายในภูมิภาค นอกจากนี้รัฐมนตรี กลาโหมอาเซียนได้เน้นย�้ำถึงความส�ำคัญที่จะ ต้องรักษาสถานะของอาเซียนให้เป็นศูนย์กลาง ในการประชุ ม กั บ ประเทศคู ่ เ จรจาทั้ ง หลาย อั น ประกอบด้ ว ย ประเทศออสเตรเลี ย จี น อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียนได้ลงนามในค�ำประกาศร่วมกันเพื่อ เพิ่ ม ความเป็ น เอกภาพส� ำ หรั บ ประชาคม แห่งความปรองดองและความมั่นคง (Joint Declaration on Enhancing ASEAN Unity for a Harmonized and Secure Community) โดยจะมุ่งเน้นในประเด็นการ แก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้อย่างสันติภาพ ส�ำหรับ การประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหมอาเซี ย นหรื อ ADMM ครั้งที่ ๗ จัดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) ณ กรุงบันดาเสรีเบกา วัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีสาระส�ำคัญ คือการลงนามในปฏิญญาร่วมว่าด้วยการรักษา ความปลอดภั ย และประชาชนของอาเซี ย น และอนาคตร่วมกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ ร่วมกันสร้างความสงบสุขในภูมิภาคและให้ ประชาชนด�ำรงชีวิตอย่างปลอดภัย นอกจากนี้การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม อาเซี ย นหรื อ ADMM ยั ง มี ก ลไกอื่ น ๆ เป็ น เครื่องมือในการขับเคลื่อนให้การด�ำเนินงาน มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น กลไกเหล่ า นั้ น ประกอบด้วย ๑. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ (ADMM Retreat = ASEAN Defense Minister Meeting Retreat) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และ ความมุ่งมั่นร่วมกันของอาเซียนในการส่งเสริม ความร่วมมือด้านกลาโหม เพื่อช่วยจรรโลง สั น ติ ภ าพและเสถี ย รภาพทั้ ง ในภู มิ ภ าคและ ของโลก ๒. การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงกลาโหม อาเซี ย น (ADSOM = ASEAN Defense Senior Official Meeting) เป็นอีกกลไกหนึ่ง ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมหรือ ADMM โดยปกติเป็นการประชุมระดับปลัดกลาโหม หรือเทียบเท่า ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ รัฐมนตรี กระทรวงกลาโหมกั ม พู ช าเป็ น ประธานการ ประชุมดังกล่าว 23


๓. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพกลุ่มประเทศ สมาชิกอาเซียน (ACDFIM = ASEAN Chief of Defense Forces Informal Meeting) ในส่ ว นของการปฏิ บั ติ ก ารด้ า นมนุ ษ ยธรรม และบรรเทาภัยพิบตั นิ นั้ ในปัจจุบนั การประชุม รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนหรือ ADMM ก�ำลัง ร่ ว มมื อ กั น พั ฒ นาบทที่ ๖ หรื อ Chapter ๖ ของ ASEAN SASOP* ว่ า ด้ ว ยการใช้ ยุ ท โธปกรณ์ ท างทหารในภารกิ จ การปฏิ บั ติ ด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (The Facilitation and Utilization of Military Asset and Capacities in HADR) โดยบทที่ ๖ ดังกล่าวระบุถึงการใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหาร ในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทา ภัยพิบัติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดท�ำ สาเหตุที่ ล่าช้าเนื่องจากติดขัดปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย ระหว่างประเทศเรื่องการใช้ก�ำลังทหารของ ประเทศผู้เสนอความช่วยเหลือในดินแดนและ อธิปไตยของประเทศผู้ประสบภัยพิบัติ * ASEAN SASOP = ASEAN Standard Operating Procedures for Regional

24

เมือ่ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) โดยกองทัพสิงคโปร์และกองทัพอินโดนีเซีย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยเชิญผู้แทนกองทัพ ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมฝึกแก้ปัญหา บนโต๊ะ (TTX : Table Top Exercise) ณ ฐานทัพอากาศชางกี ประเทศสิงคโปร์ และฝึก ภาคสนาม (FTX : Field Training Exercise) ซึง่ เป็นการฝึกเฉพาะกองทัพสิงคโปร์และกองทัพ อินโดนีเซียเพียงสองชาติ ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ส� ำ หรั บ การฝึ ก AHX ครั้งที่ ๒ มีขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) ที่ผ่านมา ณ ประเทศบรูไน นอกจากนี้ ก ารประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหม อาเซียนยังมีการขยายกรอบความร่วมมือไป ยังประเทศคู่เจรจา ๘ ประเทศ ประกอบด้วย Standby Arrangements and Coordination สหรัฐฯ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ of Joint Disaster Relief and Emergency ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เรียกว่า การประชุม Response Operations (มาตรฐานวิธีปฏิบัติ รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา เพือ่ เตรียมความพร้อมและประสานงานในการ (ADMM Plus = ASEAN Defense Minister ปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในการบรรเทาภัย Meeting Plus) จัดประชุมครั้งแรกเมื่อ ๑๒ พิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ตุ ล าคม ๒๕๕๓ ณ กรุ ง ฮานอย ประเทศ ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า "ระเบียบปฏิบัติประจ�ำใน เวียดนาม มีการก�ำหนดกรอบความร่วมมือ การบรรเทาสาธารณภัยของอาเซียน” เป็นการ ไว้ ๕ ด้าน เพื่อรองรับการเข้าสู่ความเป็น ปฏิบัติภายใต้กรอบ AADMER ซึ่งระเบียบ ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ ปฏิบัติประจ�ำดังกล่าวนี้ ระบุในบทที่ ๖ ว่าด้วย ๑. ด้านความมั่นคงทางทะเล (Maritime การใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหารในการบรรเทา Security) สาธารณภัย) ๒. การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peaceนอกจากนี้ ก ารประชุ ม รั ฐ มนตรี ก ลาโหม keeping Operations) อาเซียนหรือ ADMM ยังได้ก�ำหนดให้มีการ ๓. การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ฝึ ก การปฏิ บั ติ ก ารด้ า นมนุ ษ ยธรรมและการ และการบรรเทาภั ย พิ บั ติ (Humanitarian บรรเทาภัยพิบัติของกองทัพอาเซียนทั้ง ๑๐ Assistance and Disaster Relief) ประเทศภายใต้ ร หั ส เอเอชเอ็ ก ซ์ (AHX : ๔. การแพทย์ทหาร (Military Medicine) ASEAN Militaries HADR Exercise) ขึ้นเพื่อ และ เตรียมความพร้อมส�ำหรับก�ำลังพลของกองทัพ ๕. การต่อต้านการก่อการร้ายสากล (Counter ประเทศสมาชิกให้สามารถปฏิบัติภารกิจใน -Terrorism) การบรรเทาสาธารณภั ย ร่ ว มกั น ได้ อ ย่ า งมี ส�ำหรับกลไกส�ำคัญของการประชุมรัฐมนตรี ประสิทธิภาพ โดยการฝึก AHX ครั้งที่ ๑ จัดขึ้น กลาโหมอาเซียนและประเทศคู่เจรจา หรือ

พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ


ADMM Plus คือ คณะท� ำงานผู้เชี่ยวชาญ (EWG = Experts' Working Group) ซึง่ ก�ำเนิด ขึ้นจากการประชุม ADMM-Plus ครั้งแรกเพื่อ เป็นกลไกขับเคลือ่ นแผนงานของ ADMM-Plus และรายงานผลการด�ำเนินงานต่อ ADMMPlus ผ่าน ADSOM-Plus คณะกรรมการอาเซี ย นด้ า นการจั ด การ ภัยพิบัติ หรือ เอซีดีเอ็ม (ACDM) เป็นกรอบ ความร่วมมือหลักด้านการบรรเทาสาธารณภัย ของกลุ่มประเทศอาเซียน ถือก�ำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓) โดยมีองค์กรผู้รับ ผิดชอบด้านการบรรเทาสาธารณภัยของกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศเป็น หน่วยงานภายใต้คณะกรรมการชุดนี้ (ในส่วน ของประเทศไทย คือ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย) เพื่อบริหาร จัดการด้านภัยพิบัติร่วมกัน โดยมีส�ำนักงาน เลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ท�ำ หน้าที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการชุดนี้ คณะกรรมการอาเซี ย นด้ า นการจั ด การ ภั ย พิ บั ติ หรื อ ACDM ได้จัดท�ำ "ข้อตกลง อาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการ บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินว่าด้วยการจัดการ ภัยพิบัติของอาเซียน" ขึ้น มีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า AADMER (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response) ส่งผลให้เกิดความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การจัดตั้งศูนย์ประสานความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมอาเซียน หรือ AHA Center (ASEAN Cooperation Center on Humanitarian Assistance) ตั้ ง อยู ่ ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเป็น ศูนย์กลางในการประสานงานการปฏิบัติการ ด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติของกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ๒. การจัดท�ำมาตรฐานวิธีปฏิบัติเพื่อเตรียม ความพร้อมและประสานงานในการปฏิบตั ริ ว่ ม กั น ของอาเซี ย นในการบรรเทาภั ย พิ บั ติ แ ละ การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ASEAN SASOP (ASEAN Standard Operating Procedures for Regional Standby Arrangements and Coordination of Joint Disaster Relief and Emergency Response Operations) เพื่ อ ใช้ เ ป็ น มาตรฐานในการ ปฏิ บั ติ ก ารด้ า นมนุ ษ ยธรรมและบรรเทาภั ย พิบัติร่วมกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ๓. การจั ด การฝึ ก แผนภั ย พิ บั ติ ร ะดั บ อาเซียน หรือ อาร์เด็กซ์ (ARDEX : ASEAN Regional Disaster, Emergency Response Exercise) ในกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิด ความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบตั ทิ กุ รูปแบบ การประชุ ม อาเซี ย นว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมัน่ คงในภูมภิ าคเอเชียหลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

แปซิฟิค หรือ เออาร์เอฟ (ARF) ถือก�ำเนิดขึ้น เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) โดยเริม่ ต้นจาก แนวความคิดในการต่อต้านการก่อการร้ายร่วม กันระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศอาเซียน (United States of America – ASEAN) ภายหลังจากทีเ่ กิดเหตุการณ์กอ่ การร้าย ๙/๑๑ ในสหรัฐฯ ท�ำให้ในช่วงแรกนั้น การประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมัน่ คงในภูมภิ าคเอเชีย-แปซิฟคิ หรือ ARF มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑. เพื่อส่งเสริมความเชื่อใจซึ่งกันและกัน ๒. การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน ๓. การป้องกันความขัดแย้ง ปัจจุบันการประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่ ว มมื อ ด้ า นการเมื อ งและความมั่ น คงใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคหรือ ARF ได้ขยายตัว จนกลายเป็ น กรอบความร่ ว มมื อ ด้ า นความ มั่ น คงของประเทศในภู มิ ภ าคอาเซี ย นและ ประเทศคู่เจรจา ๒๗ ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ และ ประเทศคู่เจรจา ๑๐ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จี น สหภาพยุ โ รป อิ น เดี ย ญี่ ปุ ่ น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมทั้ง ประเทศผู้สังเกตการณ์ของกลุ่มอาเซียนอีก ๗ ประเทศ คื อ ปาปั ว นิ ว กิ นี มองโกเลี ย ปากีสถาน ติมอร์เลสเต บังคลาเทศ ศรีลังกา เกาหลีเหนือ อีกทั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่ ว มมื อ ด้ า นการเมื อ งและความมั่ น คง ในภู มิ ภ าคเอเชี ย -แปซิ ฟ ิ ค ได้ เ ริ่ ม มี บ ทบาท ในด้านการบรรเทาสาธารณภัยมากขึ้น ภาย หลั ง จากที่ ภู มิ ภ าคแห่ ง นี้ ไ ด้ เ กิ ด ภั ย พิ บั ติ ท าง ธรรมชาติ ขึ้ น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและทวี ค วาม รุนแรงมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการก�ำหนด ให้มีการฝึกบรรเทาสาธารณภัย หรือ ไดเร็กซ์ (DiREx : Disaster Relief Exercise) ขึ้น โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ในการประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนกับ ฝ่ายทหารในการบรรเทาภัยพิบัติ รวมทั้งแลก เปลี่ยนความเชี่ยวชาญและแนวปฏิบัติที่เป็น เลิศในการจัดการและบรรเทาภัยพิบัติระหว่าง ผู้เข้าร่วมการฝึก การฝึกบรรเทาสาธารณภัย หรือ DiREx ประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการ การแก้ ปัญหาบนโต๊ะ การฝึกภาคสนามและการปฏิบตั ิ การด้านการแพทย์ โดยการฝึก DiREx ๒๐๐๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) เป็นการฝึกครั้งแรก จัดขึ้นที่ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ การฝึก DiREx 2011 (พ.ศ. ๒๕๕๔) จัดขึ้นเมืองมานาโด สุลา เวสีเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยเป็นการจัด ร่วมกันระหว่างประเทศอินโดนีเซียและญี่ปุ่น เป็ น การฝึ ก จ� ำ ลองสถานการณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหว ขนาด ๘.๙ ริกเตอร์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิตนับหมื่นคน

ส�ำหรับการฝึก DiREx 2013 (พ.ศ. ๒๕๕๖) จัดขึ้นในประเทศไทย โดยประเทศไทยและ เกาหลีใต้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ในพื้นที่จังหวัด เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งการจัดการ ฝึกซ้อม ARF DiREx 2013 เป็นการแสดง เจตนารมณ์ แ ละความมุ ่ ง มั่ น ของไทยที่ จ ะ พัฒนาศักยภาพในด้านการจัดการภัยพิบตั ิ รวม ทั้งการสร้างเครือข่ายกับประเทศและองค์การ ระหว่างประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าด้านการ บริหารจัดการภัยพิบัติ โดยมีหน่วยงานรับผิด ชอบหลัก ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย และกระทรวงกลาโหม จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า อาเซียน ได้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การปฏิ บั ติ ก ารด้ า น มนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติเป็นอย่าง มาก โดยจัดให้มีกลไกหลักที่รับผิดชอบถึง ๓ กลไกด้วยกัน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับ นานาชาติ ทั้ ง นี้ เ พราะกลุ ่ ม ประเทศสมาชิก อาเซียนต่างมีความเชื่อมั่นตรงกันว่า แม้ภัย พิบัติทางธรรมชาติจะไม่สามารถคาดการณ์ ได้ ว ่ า จะเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ใด แต่ ก ารเตรี ย มความ พร้อมในระดับสูงสุดขององค์กรผู้รับผิดชอบ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับ ภูมิภาค ตลอดจนความพร้อมของประชาชน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ จะ สามารถลดระดับความรุนแรงของผลกระทบ และลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั ง ค� ำ กล่ า วที่ ว ่ า "การรั บ มื อ กั บ ภั ย พิ บั ติ ที่ มี ประสิทธิภาพที่สุด คือการเตรียมความพร้อม ในระดับสูงสุด" นั่นเอง 25


ดุลยภาพทางทหารของประเทศอาเซียน

แนะน�ำเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

26

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


อ งทั พ อากาศฟิ ลิ ป ปิ น ส์ (PAF) จั ด ซื้ อ เครื่ อ งบิ น เฮลิ ค อปเตอร์ รุ ่ น ใหม่ เอดั บ เบิ้ ล ยู เอ-๑๐๙ (AW A-109) จ�ำนวน ๘ เครื่อง จากประเทศ อิตาลี เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ภารกิจลาดตระเวนติดอาวุธ, สนับสนุนโดย ใกล้ชิด และป้องกันดินแดน เป็นเครื่องบิน เฮลิ ค อปเตอร์ ช นิ ด สองเครื่ อ งยนต์ มี ใ บพั ด ชนิ ด สี่ ก ลี บ เป็ น เครื่ อ งบิ น เฮลิ ค อปเตอร์ ขนาดเบาอเนกประสงค์ ใ ช้ ง านได้ ใ นหลาย ภารกิจ เช่น ค้นหาและกู้ภัย (SAR) โจมตี เบา ทั้งยังสามารถใช้ในภารกิจทางนาวี (มี สองเครื่ อ งยนต์ ) เนื่ อ งจากเป็ น เครื่ อ งบิ น เฮลิคอปเตอร์ขนาดเบามีค่าใช้จ่ายต่อปีที่ไม่ สูงมากนัก (น�้ำหนัก ๓ ตัน แต่เครื่องบินทหาร มาตรฐานขนาด ๑๐ ตัน) เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องบินแบบเดียวกันขนาดใหญ่กว่าก่อนนั้น กองทัพเรือฟิลิปปินส์ (PN) ได้จัดซื้อเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙ จ�ำนวน ๓ เครื่องเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ แต่ มี เ งื่ อ นไขที่ จ ะสามารถจั ด ซื้ อ เพิ่ ม เติ ม อีก ๒ เครื่อง กองทัพเรือฟิลิปปินส์จะใช้ใน ภารกิจ ลาดตระเวนทางทะเล, ค้นหาและกู้ภัย (SAR) และป้องกันเขตเศรษฐกิจเฉพาะ (EEZ) สามารถใช้ ไ ด้ จ ากฐานบิ น ชายฝั ่ ง ทะเลและ ฐานบินจากเรือรบในทะเล (จะช่วยให้เพิ่มรัศมี ท�ำการบินได้ไกลยิง่ ขึน้ จากรัศมีท�ำการบินปกติ) การจัดซือ้ เครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิล้ ยู เอ-109 (AW A-109) ทั้งสองสัญญาจะท�ำให้ กองทัพฟิลิ ป ปิ น ส์ ป ระจ�ำ การด้ ว ยเครื่ อ งบิ น เฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิล้ ยู เอ-๑๐๙ (AW A-109) รวม ๑๑ เครื่อง (เมื่อจัดซื้อตามเงื่อนไขอีก ๒ เครื่อง จะมีเครื่องบินรวม ๑๓ เครื่อง) พร้อม ทั้งการศึกษาส�ำหรับนักบินและเจ้าหน้าที่ภาค พื้นดิน ช่างซ่อมบ�ำรุง และระบบส่งก�ำลังบ�ำรุง เมื่ อ กองทั พ ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ไ ด้ รั บ มอบเครื่ อ งบิ น เฮลิคอปเตอร์ เอ-๑๐๙ แล้วจะช่วยให้มีขีด ความสามารถปฏิบตั กิ ารทางทะเลด้านหมูเ่ กาะ สแปรตลีย์ (SpratlyIslands) มากยิ่งขึ้น

เครือ่ งบินเฮลิคอปเตอร์ชนิดสองเครือ่ งยนต์ แบบอกุสต้าเวสแลนด์เอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙ (Agusta Westland AW A-109) สร้างเครื่อง ต้ น แบบและท� ำ การขึ้ น บิ น ครั้ ง แรกเมื่ อ วั น ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เริ่มต้นท�ำการผลิต ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ใช้ในภารกิจ ขนส่ง ขนาดเบา การส่ ง กลั บ พยาบาลทางอากาศ และการค้นหากู้ภัย พร้อมทั้งสามารถใช้ใน ภารกิ จ ทางทหารในภารกิ จ การโจมตี ร ถถั ง (ติดตั้งจรวดน�ำวิถีโทว์) โจมตีเบา และปฏิบัติ การทางนาวี เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอ ดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙ มีข้อมูลส�ำคัญคือนักบิน ๒ นาย บรรทุกผู้โดยสาร ๖ - ๗ ที่นั่ง ขนาด ยาว ๑๓.๐๔ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด ๑๑.๐๐ เมตร (ชนิดสี่กลีบ) สูง ๓.๕๐ เมตร น�ำ้ หนักปกติ ๑,๕๙๐ กิโลกรัม (๓,๕๐๕ ปอนด์) น�้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๒,๘๕๐ กิโลกรัม (๖,๒๘๓ ปอนด์ ) เครื่ อ งยนต์ เทอร์ โ บชาฟท์ ข นาด ๕๗๑ แรงม้า ความเร็ว ๒๘๕ กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง เพดานบินสูง ๕,๙๗๔ เมตร (๑๙,๖๐๐ ฟุ ต ) และพิ สั ย บิ น ๙๓๒ กิ โ ลเมตร (ติ ด ตั้ ง ถั ง น�้ ำ มั น อะไหล่ ) ภารกิ จ โจมตี ติ ด ตั้ ง อาวุ ธ ได้ตามภารกิจบินประกอบด้วยปืนกลขนาด ๗.๖๒ มิลลิเมตร, ปืนกลอากาศขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร, จรวดขนาด ๒.๗๕ นิ้ว (กระเปาะละ ๑๒ ท่อยิง ชนิดไม่นำ� วิถหี รือปืนกลขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร แบบกระเปาะ พร้อมด้วยลูกกระสุน ๒๐๐ นัด) เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙ ผลิตออกมาหลายรุ่นที่ส�ำคัญคือ รุ่น เอ-๑๐๙เอ (A109A EOA) กองทัพบกอิตาลี, รุ่น เอ-๑๐๙อี (A109E) กองทัพอากาศอังกฤษ ติดตัง้ ระบบต่าง ๆ ตามมาตรฐานทีท่ นั สมัย, รุน่ เอ-๑๐๙แอลยูเอช (A109LUH) เป็นรุ่นที่ได้รับ การผลิตขึ้นเป็นจ�ำนวนมากประจ�ำการกองทัพ อัฟริกาใต้, กองทัพไนจีเรีย, กองทัพสวีเดน, กองทัพนิวซีแลนด์ และกองทัพบกมาเลเซีย, รุ ่ น เอ-๑๐๙เอ็ ม (A109M), รุ ่ น เอ-๑๐๙ เคเอ็น (A109KN), รุน่ เอ-๑๐๙ซีเอ็ม (A109CM) และรุ่นเอ-๑๐๙บีเอ (A109BA) กองทัพบก เบลเยียมมียอดผลิตทั้งสิ้นกว่า ๓๐๐ เครื่อง

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู เอ-๑๐๙แอลโอเอช (AW A-109LOH: Light Observation Helicopter) กองทัพบก มาเลเซี ย ประจ� ำ การฝู ง บิ น ๘๘๑ ฐานทั พ ที่รัฐยะโฮร์ (Johor) หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

27


ภาพกราฟิกส์แผนที่กลุ่มประเทศอาเซียนและทะเลจีนใต้ พร้อมทั้งประเทศ ที่อ้างกรรมสิทธิ์เข้าครอบครองและเกิดพื้นที่ทับซ้อน เ ค รื่ อ ง บิ น เ ฮ ลิ ค อ ป เ ต อ ร ์ เ อ - ๑ ๐ ๙ (A-109LOH) กองทั พ บกมาเลเซี ย พร้ อ ม ด้ ว ยกระเปาะอาวุ ธ โดยทางด้ า นขวาเป็ น กระเปาะจรวด และทางด้ า นซ้ า ยเป็ น ปื น กล อากาศแบบกระเปาะ (สามารถที่จะถอดออกได้)

28

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ภาพกราฟิกส์บริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์ ใกล้กับชายฝั่งทะเลประเทศฟิลิปปินส์เป็น ความขั ด แย้ ง ขนาดใหญ่ ร ะดั บ ภู มิ ภ าค ประกอบด้ ว ย เวี ย ดนาม มาเลเซี ย บรู ไ น สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น ไต้ ห วั น และ ฟิลิปปินส์ เป็นผลให้ประเทศที่ขัดแย้งได้เพิ่ม ขีดความสามารถทางทหารโดยเฉพาะเรือรบ และอากาศยาน

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบ เอดับเบิ้ล ยู เอ-๑๐๙ ประจ� ำ การ ๒๐ ประเทศคื อ อัลบาเนีย (๑), เบลเยียม (๒๐), บัลกาเรีย, อิตาลี (๒๒), ลัธเวีย (๒), สโลวีเนีย, สวีเดน (๒๐), อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา (หน่วยยามฝั่ง ๘ เครื่อง), อาร์เจนติน่า (๑๐), ชิลี, เปรู (๑), เวเนซูเอล่า (๑๐),อัลจีเรีย, อัฟริกาใต้, ไนจีเรีย (๑๕), นิวซีแลนด์ (๕), บังคลาเทศ, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ กองบินทหารบกมาเลเซียประจ�ำการเครื่อง บินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิล้ ยู เอ-๑๐๙ แอล โอเอช (AW A-109LOH) รวม ๑๑ เครื่องได้รับ มอบเครื่องบินชุดแรกเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ประจ�ำการฝูงบิน ๘๘๑ ฐานทัพที่ รัฐยะโฮร์ (Johor) กองบินทหารบกมาเลเซีย ได้ แ ยกออกมาจากกองทั พ อากาศเมื่ อ วั น ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

ความขัดแย้งในปัญหาหมู่เกาะสแปรทลีย์ ที่บริเวณทะเลจีนใต้ ประกอบด้วย เวียดนาม บรู ไ น มาเลเซี ย สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น ไต้หวันและฟิลิปปินส์ ที่ต่างก็อ้างสิทธิในการ ครอบครองหมู่เกาะเหล่านี้จึงกลายเป็นพื้นที่ ทั บ ซ้ อ น หมู ่ เ กาะสแปรทลี ย ์ ไ ด้ รั บ การคาด หมายว่าเป็นแหล่งน�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็ น จ� ำ นวนมากซึ่ ง จะเป็ น แหล่ ง พลั ง งาน แห่ ง ใหม่ ข องเอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก เมื่ อ ได้ รั บ การ พัฒนา ฟิลิปปินส์อ้างสิทธิด้วยเหตุผลทางด้าน ภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กับฟิลิปปินส์มากที่สุดโดย เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพาลาวัน (Palawan) จากปัญหาการอ้างสิทธิที่ทับซ้อนนี้จึงได้เกิด การละเมิดเขตแดนทางทะเลเป็นประจ�ำ และ บางครั้ ง ได้ เ กิ ด ความตึ ง เครี ย ดขึ้ น เป็ น ข่ า ว โด่งดังไปทัว่ โลก แม้วา่ ประเทศทีอ่ า้ งกรรมสิทธิ์ ในการครอบครองหมู ่ เ กาะสแปรทลี ย ์ ไ ด้ พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิธีสันติภาพ แต่ ก็ มี ค วามคื บ หน้ า ไม่ ม ากนั ก เป็ น ผลให้ ประเทศเหล่านี้ต่างก็ได้เพิ่มขีดความสามารถ ทางทหารทางด้านเรือรบและอากาศยาน ตาม สภาวะด้านเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่จะ สนับสนุนได้

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู ๑๐๙ (AW 109LOH) กองทัพบกมาเลเซีย ขณะท�ำการบินหมู่ เป็นฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ทางทหารที่ทันสมัยฝูงหนึ่งของกองทัพกลุ่มประเทศอาเซียน

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

29


Call from the Desert

ณ ที่เกือบจะสิ้นหวัง

From : Air Force Magazine, Feb 2011 Writer : Peter Grier ผู้เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

อินทรีเวหา Bill Andrews นักบิน F-16 นั่ ง คลุ ก ทรายในท่ า ที่ แ สน เจ็ บ ปวด ท่ า มกลางทะเลทรายแห่ ง สงคราม ในอิรกั และจวนแจจะถูกจับตัว เขารอดชีวติ จาก เครื่ อ งบิ น ตก แต่ อ าจจะเสี ย ชี วิ ต จากการถู ก ยิงของทหารอิรัก การติดต่อวิทยุฉุกเฉินของ เขาก่อนถูกจับตัว ยังช่วยนักบินและเครื่องบิน USAF ไว้ได้อีกมาก” เรื อ อากาศเอก William F.Andrews ไม่ ส ามารถพยุ ง ตั ว ลุ ก ขึ้ น ยื น เพื่ อ แสดงการ ยอมจ� ำ นนต่ อ ทหารอิ รั ก กลางทะเลทรายได้ เนื่องจากกระดูกขาข้างขวาทั้งสองท่อนหัก เขา ได้แต่โบกมืออย่างพอที่จะมีความหวังเพื่อไม่ให้ ทหารอิรักที่ก�ำลังรุกคืบเข้ามาหาพร้อม AK-47 ที่จ้องมาที่เขาตลอดเวลายิงเขา ท่าทีอันนี้มัน ช่วยชีวิตเขาไว้ได้ เขาถูกควบคุมตัวเคลื่อนที่ ไปอย่างระมัดระวังและเชื่องช้า เขาสังเกตเห็น กลุ่มควันและทางยาวสีขาวของจรวดขีปนาวุธ ซึ่งหน่วยทหารต่อสู้อากาศยานก�ำลังยิงขับเคี่ยว กับ F-16 ที่ก�ำลังบินวนอยู่เหนือบริเวณ นั่นคือ 30

ลูกหมู่บินมิตรบนอากาศที่รอดจากการถูกยิง และพยายามที่จะช่วยเหลือเขา เหตุ ก ารณ์ ร ะทึ ก นี้ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ ๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๙๑ หมู่บิน 2F-16s โดย มี เ ขาเป็ น หั ว หน้ า หมู ่ ก่ อ นถึ ง สนามบิ น สิ บ

นาทีเครื่องของเขาถูกยิงจากขีปนาวุธแบบพื้น สู่อากาศ เกิดระเบิดลุกไหม้ขึ้นทันที ตัวเขาถูก ตรึงติดแน่นภายใต้ Canopy ด้วย Negative G-Force มหาศาล มั น มี เ วลาเพี ย งแค่ เ ศษ เสี้ยววินาทีที่จะจับและดึงคันบังคับดีดตัวออก จากเครื่องบิน เขารู้ว่าเขาต้องตายแน่ ๆ ถ้า คว้ามันไม่ได้ แต่ตอนนี้เขากลับนอนอย่างทุกขเวทนาบน พื้นทราย ขาขวาแตกหัก อินทรีเหล็ก F-16 ที่ แหลกละเอียดกองอยู่ให้เห็นในระยะสายตา ตอนนี้เขาอยู่ในโลกของความเจ็บปวดและไม่ ต้องการให้ใครมาช่วยเขาในสถานการณ์ที่มี การต่อสู้เช่นนี้ เขาเร่งรีบแค่ไม่เกินสองวินาที ใช้วิทยุฉุกเฉินประจ�ำตัวบอกลูกหมู่ให้เลี้ยวฉีก ไปทางขวาอย่างรวดเร็วพร้อมกับแนะน�ำให้ ปล่อย Flare ลูกหมู่ท�ำตามค�ำแนะน�ำทันที ตอนนั้นเขานึกว่าตัวเขาเองต้องเสียสติแน่ ๆ เพราะใช้วิทยุในจังหวะที่ทหารอิรักรุกกันเข้า มาหาเขา แต่เขาก็รีบปล่อยปุ่มกดวิทยุทันที พร้อมกับยกมือขึน้ โบกอย่างเนือย ๆ ทหารอิรกั นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


กรูเข้าล้อมรอบและยิงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ตัว วิทยุ หมวกบิน ชุดปฐมพยาบาลและแพยาง Andrews ไม่เข้าใจเลยว่าท�ำไมทหารอิรกั ไม่ ยิงเขาเสียเลย และก็ไม่รู้ด้วยว่าจะมีเครื่องบิน ของสหรั ฐ ฯจ� ำ นวนเท่ า ไรที่ ไ ด้ รั บ ทราบการ แจ้งเตือนทางความถีฉ่ กุ เฉิน ข้อเท็จจริงในเรือ่ ง นี้คือ นักบินของสหรัฐอเมริกาทุกคนในรัศมี ๕๐ ไมล์ที่ได้ยินเสียง “Break right, Flare Flare Flare!” จากระบบเครือข่ายฉุกเฉิน พวก เขาล้วนแล้วแต่ปฏิบัติตามทั้งสิ้น สถานการณ์ในขณะนั้นทหารอิรักมีทีท่าว่า กลัวตายอยู่มากเหมือนกัน เขาถูกจับพยุงตัว ขึ้นรถจี๊บพาไปที่กองบัญชาการ ที่นั่นเขาถูก รุมซ้อมซ�้ำเข้าไปอีก แต่ซักพักเมื่อหน�ำใจแล้ว ก็ถูกห้ามปรามจากผู้บังคับหน่วยซึ่งน่าจะอยู่ ในวัยสี่สิบกว่าปี หลังจากที่เห็นแล้วว่าน่าจะ พอสมควร ขืนปล่อยต่อไป อาจจะตายคาบาทา ทหารคลั่งพวกนี้แน่ ๆ และก็จะไม่ได้อะไรเลย แม้กระทั่งความลับทางทหาร ในห้วงเวลานั้นเขาและนายทหารอิรักจ้อง มองกั น หากแต่ ส ายตาของนายทหารผู ้ นั้ น ดุดันกว่าและมองกันด้วยความคิดคนละอย่าง

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

Andrews สมัครเข้ารับการศึกษาที่ USAF Academy, Colorado Springs, Colo. และต่อมาในปี ๑๙๗๖ Corolado ตอบรับ ความประสงค์ นั้ น Andrews ตื่ น เต้ น และ กระตื อ รื อ ร้ น อย่ า งมาก กั บ การรอคอยการ มาถึงของวันที่จะตอบความเป็นตัวตนของเขา คือ การได้เป็นนักเรียนนายเรืออากาศสหรัฐฯ แห่ง Colorado Springs Andrews ส�ำเร็จการศึกษาในปี ๑๙๘๐ เขา และเพื่อน ๆ หลงใหลชื่นชอบการบินมาก เขา ร�ำลึกความทรงจ�ำที่ประทับใจมิรู้ลืม จากการ บินปล่อยเดี่ยวกับเครื่องบินไอพ่นในวงจรการ บินรอบหอบังคับการบิน ในช่วงที่เขาเป็นศิษย์ การบินชั้นประถม ก่ อ นจบศิ ษ ย์ ก ารบิ น ชั้ น มั ธ ยมเขาไม่ผ่าน การตรวจสอบบางประการ แต่มนั เป็นเรือ่ งเล็ก นายทหารอิรักคิดว่าจะบริหารจัดการกับเชลย น้อยที่ไม่เป็นปัญหาด้านการบิน เมื่อจบศิษย์ นักบินอเมริกันคนนี้อย่างไรดี Andrews ได้แต่ การบินชั้นมัธยมเขาถูกส่งไปเป็นครูการบินกับ ตั้งค�ำถามมากมายในกระแสความคิดของเขา เครื่อง T-37 อยู่สามปีครึ่ง เขาเป็นครูการบิน จะท�ำอย่างไรดี จะขัดขืนหรือสารภาพและ ที่เรียนรู้เทคนิคการสอนโดยไม่เคร่งเครียดได้ดี สุดท้ายคือไม่ท�ำอะไรทั้งสิ้น อีกทั้งยังคิดว่าจะ แต่อย่างไรก็ตามเขายังมีความปรารถนาที่จะ ท�ำอย่างไรที่จะปลอบประโลมตัวเองให้รู้สึก ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในการบินแต่เพียงผู้เดียว ไม่ ต้องการนั่งท�ำการบินในต�ำแหน่งที่เขาท�ำอะไร ดีขึ้นจากสภาพที่คล้ายนรกแห่งนี้ Andrews ใฝ่ฝันในเรื่องการบินมาตั้งแต่ ได้ไม่เต็มที่มากนัก Andrews ทบทวนแรงขับ เด็ก ๆ โดยเฉพาะการบินในห้วงอวกาศอัน ภายในของเขา ในที่สุดจึงคิดวางแผนชีวิตที่จะ ไกลโพ้น เพราะเขาเป็นเด็กในยุคทีม่ กี ารแข่งขัน เดินทางไปที่ Tactical Air Command แม้ว่าเขาจะมีอาการเจ็บปวดอยู่บ้างเมื่อ ด้านอวกาศสูง เขาค้นหาเรื่องราวเหล่านี้จาก ห้องสมุดอยู่อย่างเสมอ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของ ท�ำการบิน แต่ความก้าวหน้าในอาชีพแล้วมัน นักบินอวกาศที่มีภูมิหลังเป็นนักบินของ USAF เป็นเรื่องที่ต้องแข่งขัน การจะก้าวขึ้นมาเป็น เขายิง่ โปรดปรานมากเป็นพิเศษ “ท่านสามารถ นักบินรบนั้น เขาต้องอยู่ระดับแนวหน้าของ เข้าไปดูสถิติการใช้บริการห้องสมุดของผมได้ กลุ่มครูการบินให้ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรื่อง มันต้องมีมากกว่าสิบครั้งครับ” นี่คือส่วนหนึ่ง แบบนี้ส�ำหรับครูการบินทุกคนคงไม่มีใครยอม ของการให้สัมภาษณ์ถึงประวัติตัวเขาเองจาก ใครแน่ ๆ และแล้ววันหนึง่ ช่วงกลางทศวรรษที่ ๑๙๘๐ สถาบันทางทหารเวอร์จิเนีย ผู ้ บ ังคับฝูงบินได้คัดเลือกเขาให้ไปท�ำการบิน เมื่อศึกษาในระดับมัธยมปลาย เขาสมัคร เรียนการบินกับโรงเรียนการบินพลเรือน ด้วย ต่อกับ EF-111 ที่ Tactical Air Command เงินห้าร้อยเหรียญที่เก็บออมได้จากการขาย เขาตื่นเต้นมากทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่า EF-111 นั้น หนั ง สื อ พิ ม พ์ และเมื่ อ ขึ้ น อยู ่ ใ นระดั บ ๑๑ เป็น บ.ขับไล่หรือ บ.ทิ้งระเบิด เหมือนฝันที่ใกล้ สมปรารถนาส�ำหรับ Andrews เครือ่ งบินไอพ่น ฝึก T-37 เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก หากแต่กับ EF-111 นัน้ มันมีนำ�้ หนักถึง ๔๓ ตัน ปีกลูห่ ลังได้ พร้อมกับติดตั้งระบบป้องกันและรบกวนทาง อิเล็คทรอนิกส์ มันเป็นความท้าทายที่มากขึ้น Andrews มีความสุขกับการบินและเขา ก็บินกับ EF-111 อย่างต่อเนื่อง ตอนปลาย ทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ยุ ค ของประธานาธิ บ ดี เรแกน และเป็นยุคที่รุ่งโรจน์ที่สุดของการบิน มีเครื่องบินใหม่ ๆ ออกจากสายการผลิตมาก ความต้องการในการฝึกเพื่อความสมจริงสมจัง มีมากขึ้น อัตราความพร้อมรบจึงอยู่ในระดับ ที่สูงอย่างที่ไม่เคยสูงมากกว่านี้มาก่อน USAF เองก็มีความต้องการ EF-111 มากขึ้นเช่นกัน ส่วนตัวเขานัน้ เมือ่ ถึงตอนนีท้ ำ� การบินใน USAF 31


มามากกว่าสี่ปีเข้าไปแล้ว และเคยน�ำ EF-111 เข้าร่วมการฝึก 11 Red Flag ซึง่ มันเป็นการฝึก ที่ต้องดึงเอาทักษะด้านการบินมาใช้อย่างมาก แต่ความต้องการในความเป็น Single Seat Fighter ยังคงมีอยู่ในตัวเขา ฝู ง บิ น ที่ เ ขาสั ง กั ด อยู ่ จ ะต้ อ งมี นั ก บิ น หนึ่ ง คนเปลี่ยนแบบไปบินกับ F-16 ทุกปี พวกเขา เรียกมันว่า “Constant Carrot” คือมีแน่ ๆ แต่เป็นใครไม่รู้ที่ต้องไปบินกับเครื่องบินรบที่ เหนือชั้นคือ F-16 และมันก็เป็นแรงดึงดูดใจ อันยอดเยีย่ มส�ำหรับนักบินทุกคนในฝูง ในทีส่ ดุ “Constant Carrot” อันนั้นก็เป็นของเขา สี่ปีเต็มที่บินอยู่กับ F-16 และเป็นเวลาทั้งหมด ที่อยู่ใน USAFเกือบแปดปี เมื่อถึงตอนนี้เขา มี ย ศเป็ น เรื อ อากาศเอก เขาเชี่ ย วชาญและ รู้เห็นเกือบทุกอย่างของ F-16 เครื่องบินรบ ชั้นน�ำของ USAF เขารู้สึกวิตกอยู่บ้างว่าเขา จะมีโอกาสบินต่อไป อยู่กับสิ่งที่เขารัก สูงสุด เพียงแค่ถึงระหว่างปี ๑๙๘๘ – ๒๐๐๒ เท่านั้น ปี ๑๙๘๙ ที่เกิดการท�ำลายแนวกั้นความ ขัดแย้งทางการเมืองคือก�ำแพงเบอร์ลินนั้น นับ ได้ว่าเป็นภารกิจยุทธการครั้งแรกของเขาใน USAF เขาถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจในเยอรมัน ตะวันตก ที่นั่นน่านฟ้าและห้วงอวกาศคับคั่ง มาก มีถึง ๑๗ ฝูงบินรบจากชาติพันธมิตรเข้า ร่วมปฏิบตั กิ ารอยูใ่ นประเทศทีม่ ขี นาดใกล้เคียง กับรัฐ Oregon ของอเมริกา ในช่วงนี้มีการสูญ เสียชีวิตนักบินชาติพันธมิตรหนึ่งคน เนื่องจาก อุบัติเหตุเครื่องชนกันกลางอากาศ เดือนสิงหาคม ๑๙๙๐ ซัดดัม ฮุสเซน สั่ง ก�ำลังทหารบุกคูเวต ก�ำลังทางอากาศเปลี่ยน ความสนใจจากยุโรปกลางไปทีต่ ะวันออกกลาง ทั น ที เข้ า สู ่ เ ดื อ นกั น ยายนซึ่ ง เป็ น เดื อ นสิ้ น ปีงบประมาณ แผนการบินต่าง ๆ เริ่มปิดตัว ลง เขาและเพื่ อ นนั ก บิ น อี ก แปดคนไม่ อ าจ ท�ำการบินได้อีกมากนักเพื่อซักซ้อมเตรียมตัว ในสมรภูมิที่ใกล้เข้ามา Flight Commander บอกพวกเขาว่ า คงจะเป็ น เวลาอี ก หลาย สัปดาห์ที่จะไม่มีการบิน ระหว่างนี้ให้ศึกษา ถึ ง ระบบการป้ อ งกั น ตนเองของอิ รั ก รวมถึ ง กลยุทธ์เหนือสมรภูมิกลางทะเลทราย และ บอกทางบ้ า นด้ ว ยว่ า มั น อาจจะเป็ น ภารกิ จ ปฏิ บั ติ ก ารนอกบ้ า นที่ ย าวนาน (A Long Deployment)

32

10th Tactical Fighter Squadron (10th TFS) ที่เขาสังกัดอยู่ต้องเข้าร่วมปฏิบัติการ กับอีกสองฝูงบินลักษณะเดียวกันจาก Shaw AFB,S.C.ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 363rd Tactical Fighter Wing มีภารกิจภายใต้รหัส “Desert Shield” พวกเขาบิน F-16 Block 25 เหมือน กัน โดยมีฐานบินปฏิบตั กิ ารอยูท่ ฐี่ านทัพอากาศ Al Dhafra ใน United Arab Emirates ห่าง ออกไปทางใต้ของคูเวต ๕๐๐ ไมล์ การยุ ท ธการทางอากาศครั้ ง แรกของ เขาเริ่ ม ขึ้ น ในวั น ที่ ส องของ“Operations Desert Storm” โดยมีฐานทัพอากาศอิรักเป็น เป้าหมายการทิ้งระเบิด สภาพอากาศแย่มาก จึงต้องใช้เรดาร์พิสูจน์ทราบเป้าหมายเพื่อทิ้ง ระเบิด ภารกิจยุทธการทางอากาศครั้งที่สาม หมู่บินของเขามุ่งสู่ตะวันตกของอิรักเพื่อล่า และท�ำลายฐานยิงขีปนาวุธ Scud หมู่บินถูก ระดมยิ ง จากขี ป นาวุ ธ ต่ อ สู ้ อ ากาศยานแบบ SA-2 เขาเลี้ยวฉีกหนีเปลี่ยนทิศทางบินอย่าง รวดเร็ว พร้อมกับเหลียวหลังกลับมาดู เขาถึง กับตกตะลึงรู้สึกอึดอัดติดต่ออะไรไม่ได้อยู่ชั่ว ครู่ เมื่อเห็นกลุ่มควันและเปลวล�ำไอพ่นสีเพลิง ของมันพุง่ มาทีเ่ ขาด้วยความเร็วอย่างเหลือเชือ่ ถึง ๓ มัค แต่โชคดีที่มันระเบิดในความสูงที่ต�่ำ กว่าใต้ท้องเครื่องเขาเท่านั้นเอง หลังจากนั้นสองถึงสามสัปดาห์ หมู่บินของ เขาปฏิบัติภารกิจสนับสนุนก�ำลังภาคพื้น เพื่อ ช่วยเหลือทหารอเมริกันหน่วย US Special Force จ�ำนวน ๘ นายที่ติดอยู่หลังแนวทหาร อิ รั ก เขาตระหนั ก ดี ว ่ า ถ้ า ท� ำ ส� ำ เร็ จ ทหาร อเมริกันจะรอดชีวิต แต่ถ้าไม่ส�ำเร็จพวกเขา คงต้องตายจากการถูกสังหารโดยทหารอิรัก หรือจากการทิ้งระเบิดแบบ Cluster Bomb ของฝ่ า ยเดี ย วกั น หมู ่ บิ น ของเขาบิ น วนอยู ่ เหนือกลุ่มทหารอเมริกันเกือบ ๒๐ นาที เขา ทิ้งระเบิดหลายเที่ยวรอบ ๆ บริเวณอันกว้าง ลู ก ระเบิ ด ตกลงสู ่ เ ป้ า หมายตามที่ บ.ชี้ เ ป้ า ต้องการ ในเวลาพลบค�่ำเฮลิคอปเตอร์ค้นหา และช่วยชีวิตจึงได้ช่วยทหารอเมริกันหน่วย US Special Force ทั้ง ๘ นายออกมาได้ อย่างปลอดภัย ในวันที่ F-16 ของ Andrews ถูกยิงตก ตัวเขาถูกน�ำตัวมาควบคุมที่หน่วยบัญชาการ ทหารอิรัก ในเวลาที่จ้องมองกับผู้บังคับการ หน่วยทหารอิรัก เพื่อรอกระบวนการสอบสวน จิตใต้ส� ำนึกบอกตัวเขาเองว่าจะสามารถท� ำ อะไรได้ บ ้ า งในช่ ว งเวลาแห่ ง ความกดดั น นี้ เนื่องจากมีจิตวิญญานของเสืออากาศ USAF ในอดีตคอยดลใจช่วยเขาอยู่ Andrews ล�ำดับ เรื่องราวในอดีตของเสืออากาศ USAF ขึ้นใน สมอง Frank Luke เสืออากาศยุคสงครามโลก ครั้งที่หนึ่งยิงต่อสู้การจับกุมจนตัวตาย Lance Sijan ใช้ เ วลาหลบหนี ห ลี ก เลี่ ย งออกจาก

เวียดนามเหนือถึง ๔๕ วัน และอัศวินเวหา Bud Day นักบิน F-100 ปฏิเสธการตอบค�ำถามหรือ ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้นตลอดช่วงเวลา ๖ ปีที่ถูกคุมขังในเวียดนามเหนือ ความรู้สึกอัน นี้เกิดขึ้นตั้งแต่ร่มชูชีพกางออก เขามั่นใจด้วย จิตวิญญานของความเป็นเสืออากาศรุ่นพี่เหล่า นี้ จะช่วยให้เขาท�ำในสิง่ ทีส่ มควรโดยไม่กระทบ ต่อภารกิจของประเทศ Andrews ตัดสินใจที่จะไม่โต้ตอบใด ๆ ทั้ง สิ้น รวมถึงไม่ให้ความร่วมมือทุกกรณี เขาได้ แต่หวังว่าอาจจะมีโอกาสรอดเปิดเผยออกมา บ้าง หลังจากนั้นในคืนเดียวกัน เขาถูกส่งตัว ไปที่ Basra มอบตัวเขาให้แก่ จนท.ข่าวกรอง อิรัก ในรถจี๊บบนถนนที่มืดมิด มีเพียงเขา พล ขับ นายทหาร ๑ คน และผู้คุมที่ใช้ปืน AK47 จ่อศีรษะเขาอยู่ ระหว่างทางเครื่องยนต์มี อาการกระตุกอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่ถึง กับดับ จนครั้งสุดท้ายพวกเขาตัดสินใจจอดรถ เพือ่ ทีจ่ ะลงไปตรวจสอบดู แต่ทนั ทีทพี่ ลขับก้าว ลงจากรถเท่านั้น เสียงระเบิดแบบ GPU-87 ดังสะนั่นกึกก้องไปทั่วบริเวณ จุดตกระเบิดมัน อยู่ห่างออกไปข้างหน้าด้านขวา ซึ่งจุดนั้นเป็น จุดที่ควรจะอยู่ของรถจี๊บถ้ารถไม่ขัดข้องเสีย ก่อน Andrews รู้ทันทีว่ารถจี๊บถูกติดตามด้วย F-16 Block 40 จากระยะไกล เรดาร์ที่ท�ำงาน ด้วยระบบ Ground Moving Target Track จับเป้าหมายและค�ำนวณการปล่อยระเบิดให้ สัมพันธ์กับความเร็ว ๔๐ ไมล์ต่อชั่วโมงของรถ จี๊บอย่างแม่นย�ำ ทุกคนปลอดภัยแต่แน่นิ่งด้วย อาการตกตะลึงไปชั่วขณะ เมื่อตั้งสติได้พลขับ กระโดดพรวดเดียวขึ้นรถประจ�ำที่พลขับทันที แม้ว่านายทหารที่นั่งควบคุมมาด้วยยังไม่ได้สั่ง การก็ตาม พร้อมกับหักรถออกนอกถนนเข้าสู่ ทะเลทรายตีวงเลี้ยวกลับฐานที่ตั้งเดิม เขาขับ รถโดยไม่มีความประณีตเอาเสียเลยและไม่ สนใจกับอาการสะดุดอีกต่อไปเช่นกัน นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ภายหลังจากรอดชีวิตจากการถูกโจมตีของ มิตรบนอากาศฝ่ายเดียวกัน เขาถูกลากตัวมาที่ หลุมหลบภัยทหาร Republican Guard ของ อิรักเขาได้รับอาหารเล็กน้อย พร้อมกับตรึงขา ขวาของเขาให้ด้วยไม้ไผ่ และทุกคนก็หลับใหล กันไป Andrews สะดุง้ ตืน่ ขึน้ มากลางดึกพร้อม กับเสียงอื้ออึงอึกทึกตะโกนอย่างบ้าคลั่งจาก ทหารอิรักที่ก�ำลังวิ่งอยู่ทั่วไปรอบ ๆ ตัวเขา มัน ชุลมุนมากและดูเหมือนทุกคนก�ำลังเอาตัวรอด ทหารอิรักลากตัวเขาออกมาวางข้างรถยนต์ ดู ท่าทางพวกเขาคงจะเหนื่อยมากเพราะตัวเขา เองหนักถึง ๒๐๐ ปอนด์ ในขณะที่ทหารอิรัก ที่ลากเขาน่าจะหนักแค่ ๑๓๐ ปอนด์ พวกเขา มอง Andrews เหมือนพิจารณาว่าในสภาพที่ บอบช�้ำเช่นนี้ ไม่น่าจะสร้างปัญหาให้กับพวก เขาได้ หรือไม่ก็ปล่อยให้ตายจากการถูกโจมตี อีกระลอกของพวกเดียวกันเองเสียเลย ดังนั้น ทหารอิรักจึงเลิกสนใจเฝ้าระวังในตัวเขาและ หนีไปท�ำอย่างอื่น Andrews จึงค่อย ๆ คลาน ไปซ่อนตัวใต้ผนื ผ้าใบในหลุมหลบภัยทีไ่ ร้ทหาร อิรัก เขาได้ยินเสียงทหารอิรักขับรถหนีออกไป และมั่นใจว่าไม่มใี ครอีกแล้วนอกจากตัวเขา จึง ออกจากที่หลบซ่อน ถึงตอนนี้ท่ามกลางความ มืดมิดในทะเลทราย ความปวดร้าวของขาขวา ที่แตกหัก เขาได้แต่ครุ่นคิดว่าจะท�ำอะไรต่อไป เขาต้องหาน�้ำดื่มและถ้าเขาเจอมัน เขาคง ท�ำได้แค่นั่งรอคอยความช่วยเหลือจากก�ำลัง ภาคพื้นของกองทัพบกสหรัฐฯ เขารู้ว่าตอนนี้ เขาอยู่ในเขตที่ไม่มีผู้คนอยู่เลย เพราะว่าตลอด ทั้ ง คื น ได้ ยิ น แต่ เ สี ย งจรวดและปื น ใหญ่ ข อง สหรัฐฯที่ยิงไปในทิศทางที่ทหาร Republican Guard ของอิรักล่าถอยไป เขาท�ำธงสีขาวจาก เศษผ้าเท่าที่หาได้ แต่แล้วเสรีภาพที่แสนสั้นก็จบลง เช้าวันรุ่ง ขึ้นทหารอิรักกลับเข้ามาอีกครั้ง เพื่อค้นหาผู้ที่ หลงเหลืออยู่หรือไม่ก็ค้นหาตัวเขาเอง แน่นอน ว่าทหารอิรักต้องเจอเขาเพราะเขาไปไหนไม่ได้ ในครั้งนี้ทหารอิรักส่งตัวเขาไปที่ Basra โดย ไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นอีก จนท.แพทย์ ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน Basra ได้เข้าเฝือก ขาขวาของเขาอย่างมืออาชีพ หลังจากนั้นจึง ส่งตัวเขาต่อไปยัง Baghdad ซึ่งเขารู้อยู่เต็มอก ว่าต้องเผชิญกับการสอบสวนอย่างหนักหน่วง ทหารควบคุ ม ตั ว เขาจาก Basra ไปยั ง Baghdad เดินทางโดยรถบัสทหารที่ต้องจอด รับผู้โดยสารพิเศษอื่น ๆ อีก แม้ว่าเขาจะถูก ปิดตาและห้ามพูดอะไรทั้งสิ้น แต่เขาก็แอบ มองผ่านใต้ขอบผ้าปิดตาได้ เขาเห็นประกาย แวบของเครื่องแบบทหารสหรัฐฯที่อยูใ่ นรถคัน เดียวกับเขา เขารู้สึกทันทีว่าเขาต้องหาวิธีบอก คนอื่นว่าเขาคือใคร เมื่อโอกาสมาถึง ทันทีที่ผู้คุมเปิดหน้าต่าง รถออก อากาศเย็นพุ่งปะทะหน้าเขา เขาพูด หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ออกไปด้วยเสียงอันดังว่า “โปรดกรุณาเถอะ ครับ ผมเรืออากาศเอก วิลเลียม แอนดรูว์ แห่ง กองทัพอากาศสหรัฐฯ อากาศข้างนอกเย็น มาก ช่วยกรุณาปิดหน้าต่างด้วยครับ” ผู้คุมที่ เป็นทหารอิรักท�ำเสียงฮึดฮัดท่าทางไม่พอใจ ที่เขาขัดค�ำสั่งห้ามพูดอะไรออกไป พร้อมกับ ปิดหน้าต่างทันที เขาตอบกลับขอบคุณอย่าง สุภาพ “ในนามกองทัพอากาศสหรัฐฯ ผมขอ ขอบพระคุณมากครับ” “Airborne” เขาได้ยินเสียงยินเสียงพึมพัม เบา ๆ จากผู้ที่นั่งตอนหลัง เขามารู้ในภายหลัง ว่าเสียงนัน้ คือเสียงของ Sgt.Troy Dunlap จาก หน่วย 101st Airborne Division เขาคือหนึ่ง ในทีมค้นหาและช่วยชีวิตบนเฮลิคอปเตอร์ที่ เปลี่ยนเส้นทางบินมาเพื่อช่วยเหลือเขาตอนที่ ถูกยิงตก และยังมีอีกสองคนจากทีมเดียวกัน ที่อยู่ในรถโดยสารด้วย หนึ่งในนั้นคือ Maj. Rhonda Cornum แพทย์อากาศแห่งกองทัพ บกสหรั ฐ ฯ เป็ น เรื่ อ งโศกนาฏกรรมอั น เลวร้ายที่เฮลิคอปเตอร์ล�ำนั้นถูกยิงตก จนท. ค้นหาและช่วยชีวิตเสียชีวิต ๕ คน Dunlap และจนท.ที่ เ หลื อ ได้ รั บ บาดเจ็ บ Andrews รู้สึกเศร้าเสียใจอย่างที่สุดที่มีคนมากมายต้อง เสียชีวิตเพราะความพยายามที่จะช่วยตัวเขา เพียงคนเดียวให้รอดชีวิต เมื่อถึงกองบัญชาการหน่วยข่าวกรองอิรัก ในแบกแดด เขาถูกเค้นสอบถามจากหน่วย ข่าวอิรักทันที โดยมีผู้โดยสารพิเศษเหมือนเขา ที่เดินทางมาด้วยและบาดเจ็บร่วมฟังอยู่ เขา ปฏิเสธที่จะตอบค�ำถามทุกอย่าง เมื่อไม่มีความ คืบหน้าใด ๆ เขาจึงถูกเข็นแยกไปอีกห้อง พวก เขาบอกว่า ตอนนี้ไม่ต้องกังวลกับชาวอเมริกัน คนอืน่ อีกแล้ว แต่เขายังยืนกรานไม่ตอบค�ำถาม ใด ๆ เช่นเดิม พวกเขารู้แต่เพียงว่าเขาเป็น นักบิน F-16 เท่านั้น เมื่ อ สงครามสงบทุ ก อย่ า งก็ เ ปลี่ ย นแปลง เขาได้รับการปล่อยตัวออกมา หลังวันสุดท้าย หนึ่ ง วั น ของ Operation Desert Storm

Gen.H.Norman Schwarzkopf, US Supreme Central Command ทักทาย กับเขาอย่างเป็นกันเองและถามอย่างเอ็นดู ว่า “ทหารผ่านศึกที่ผ่านสงครามมาในสภาพ ที่สมบูรณ์ จะมีสภาพชีวิตที่สมบูรณ์หลังจาก นี้อย่างไร” Andrews และอดีตเชลยสงครามอีกหลาย คน เดินทางออกจากแบกแดดโดยเครื่องเช่า เหมาล�ำของกาชาดสากล ตอนที่เครื่องวิ่งขึ้น พวกเขานัง่ นิง่ เงียบไม่ปริปากพูดคุยกันเลย และ เมื่อกัปตันประกาศว่าเครื่องพ้นเขตน่านฟ้า อิรักแล้ว บรรยากาศในห้องผู้โดยสารกลับยิ่ง เงียบสงบวังเวงยิ่งกว่าเดิม ทันใดนั้น 2F-15s โผโฉบเข้าบินคุ้มกันทั้ง ปีกซ้ายและปีกขวาของ Red Cross Charter Flight เป็ น การต้ อ นรั บ การกลั บ บ้ า นเยี่ ย ง วีรบุรุษในห้วงนภากาศครั้งแรกจาก USAF พวกเขาทุ ก คนแสดงออกให้ เ ห็ น ถึ ง ความ ปลาบปลืม้ ปีตเิ ป็นล้นพ้น ในอกมันจุกแน่นด้วย ความภาคภูมิใจ ในดวงตามันเนืองนองไปด้วย น�้ำตาแห่งชีวิตแท้ของชาติทหาร Andrews ได้รบั เหรียญกล้าหาญ Air Force Cross จากวีรกรรม “Break right, Flare Flare Flare!” ที่ได้มีส่วนให้ Nail 51 และ OV-10 รอดพ้นจากการยิงของ SA-2 หลังจาก ที่ F-16 ของเขาถูกยิงตก แม้ว่าขณะนั้นเขาจะ ได้รับบาดเจ็บขาขวาหักและใกล้จะถูกทหาร อิรักสังหารก็ตาม Andrews กลั บ เข้ า ไปท�ำ งานในอิ รั ก อี ก ครั้งหนึ่งในปี ๒๐๐๑ - ๒๐๐๒ กับภารกิจ ใหม่คือการควบคุมในเขตห้ามบิน ที่นี้เขาเป็น ผู้บังคับการหน่วย 366th Operation Group หลั ง จากนั้ น เข้ า ท� ำ งานใน Joint Staff ที่ Pentagon ควบคู่ไปกับเป็นครูทหารอีกครั้ง ในระดับศาสตราจารย์ที่ National Defence University ท�ำหน้าที่จนถึงเดือน มิถุนายน ปี ๒๐๑๐ ซึ่งเขาขอลาออกจาก USAF ในชั้นยศ นาวาอากาศเอก (Group caption)

33


การเปลี่ ย นแปลงประเทศไทย ในปี ๒๕๕๗ จุฬาพิช มณีวงศ์

34

จุฬาพิช มณีวงศ์


ความพยายามในการเปลี่ยนประเทศเกิด ขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย ในบรรดาเหตุการณ์ ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทย การ ปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นับเป็นเหตุการณ์ ส�ำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง เพราะถือเป็นการ เริ่มศักราชใหม่ของการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทย แต่ ๘๑ ปีที่ ผ่านมามีบทพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า เส้น ทางของการพัฒนาประชาธิปไตยต้องประสบ กั บ ความลุ ่ ม ดอน จนน� ำ มาสู ่ ป ระชาภิ วั ฒ น์ อันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงโดยประชาชน จ�ำนวนมหึมา ที่กลายเป็นศัพท์ขนานนามว่า มวลมหาประชาชน นั่นเอง เมื่อเราย้อนไปทบทวนนิยามของวิธีการอัน น�ำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงประเทศ คนไทยจะ คุ้นเคยกับศัพท์ อาทิ ปฏิรูป ปฏิวัติ พัฒนาการ รัฐประหาร และวิวฒ ั นาการ ซึง่ มีความแตกต่าง กันออกไป ดังต่อไปนี้ ปฏิรูป มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อเป็น ค�ำวิเศษณ์วา่ สมควร เหมาะสม และเมือ่ เป็นค�ำ กริยาว่า ปรับปรุงให้สมควร ค�ำนี้เมื่อใช้เป็นค�ำ นาม แปลว่า การแปลงรูปใหม่ การดัดแปลงให้ ดีขึ้น ค�ำนี้ใช้กับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ปฏิรูปการท�ำงาน ปฏิรูปการ ศึกษา ปฏิรปู เศรษฐกิจ ปฏิรปู การปกครอง การ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโดยวิธีปฏิรูปนี้ปกติมัก เป็นการปรับปรุงเปลีย่ นแปลงทางรูปแบบ โดย ไม่ได้เปลี่ยนเนื้อหาอันเป็นพื้นฐานของระบอบ เช่น การปฏิรปู การปกครองแผ่นดินของไทยใน สมัยรัชกาลที่ ๕ หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

โดยทั่วไปเรามักคิดว่า การปฏิรูปคือการ เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ในความ เป็นจริงแล้วการปฏิรูปอาจมีผลในทางดีขึ้น หรือเลวลงก็ได้ เช่นกรณีของการปกครองของ คณะปฏิรูปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ตามความเห็น ของผู้ใฝ่นิยมเผด็จการขวาจัด มองว่าเป็นเรื่อง ดี แต่ความเห็นของพวกประชาธิปไตยมอง การปฏิรูปเป็นการถอยหลังเข้าคลอง เป็นการ ท�ำลายล้างระบอบประชาธิปไตย ปฏิวัติ มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า การ หมุ น กลั บ การผั น แปรเปลี่ ย นหลั ก มู ล การ เปลี่ยนแปลงระบบ การเปลี่ยนแปลงระบอบ บริหารบ้านเมือง ค�ำว่า ปฏิวัติ ตรงกับภาษา อังกฤษว่า revolution ซึ่งพจนานุกรมฉบับ เวบสเตอร์ให้นิยามว่า การล้มล้างรัฐบาล หรือ รูปการปกครอง หรือระบบสังคม โดยฝ่ายผู้ถูก ปกครองนั้น ๆ ตามปกติจะเป็นการล้มล้างด้วย การใช้ก�ำลังบังคับแล้วก่อตั้งรัฐบาลใหม่หรือ ระบบใหม่ขึ้นมาแทนที่ ในประเทศไทย ค�ำว่า ปฏิวัติ เป็นค�ำที่เกิด ใหม่ภายหลั ง การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ก่อนหน้านี้ใช้ค�ำว่า Revolution จาก ภาษาอังกฤษโดยตรง ดร.ปรีดี พนมยงค์ ชี้แจงถึงค�ำว่า ปฏิวัติ ว่ า ภายหลั ง การเปลี่ ย นแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แล้วประมาณ ๑ – ๒ เดือน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพันธ์ ขณะด�ำรงฐานันดรศักดิ์ หม่อมเจ้า วรรณไวทยากร ได้แสดงปาฐกถาทีจ่ ฬุ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย เกี่ ย วกั บ การเปลี่ ย นแปลง

ดังกล่าว แปลงหลักข้อมูลของการปกครอง แผ่นดิน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Revolution และได้ทรงบัญญัติศัพท์ไทยว่าปฏิวัติ อย่ า งไรก็ ต ามในเวลาต่ อ มา ดร.ปรี ดี พนมยงค์ ได้เสนอค�ำใหม่ว่า อภิวัฒน์ ซึ่งยังตรง กับภาษาอังกฤษว่า revolution แต่มีความ หมายว่า ความงอกงามอย่างยิ่งหรืออย่างวิเศษ เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบเก่าตามแนวทาง กู ้ อิ ส รภาพของมนุ ษ ย์ ที่ ถู ก กดขี่ เ บี ย ดเบี ย น เป็นการเปลี่ยนที่ก้าวหน้า ซึ่งเป็นการเปลี่ยน อย่างวิเศษ นอกจากนี้ อภิวัฒน์ ยังน�ำมาใช้ กับการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ายิ่งใหญ่ในทาง วิทยาศาสตร์และการผลิตทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ แม้ว่า อภิวัฒน์ จะเป็นค�ำที่มีความหมาย ถูกต้องและเหมาะสมมาก แต่คนส่วนใหญ่ได้ ใช้คำ� ปฏิวตั ิ จนเคยชิน เลือกทีจ่ ะใช้คำ� นีม้ ากกว่า ในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงที่นับว่า เป็นการปฏิวัติ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงที่นับ ว่าเป็นการปฏิวัติ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงการ ปกครองแผ่นดิน น�ำโดยคณะราษฎร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึงแม้คณะราษฎรจะไม่ใช้ค�ำว่า ปฏิวัติโดยตรงก็ตาม ต่อมาในระยะหลังก็มักใช้ ค�ำนี้ หมายถึงการใช้กำ� ลังล้มล้างแย่งยึดอ�ำนาจ ในวงแคบ ๆ โดยมิได้กอ่ ผลทางการเปลีย่ นแปลง ที่ก้าวหน้าในตัวระบอบแต่อย่างใด แม้ ก ระนั้ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญได้ อ ธิ บ ายถึ ง กระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบสังคมที่เข้า ข่ายปฏิวัติ จะประกอบด้วยขั้นตอนส�ำคัญ คือ การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจรัฐจากผู้กุม อ� ำ นาจรั ฐ ในระบอบเก่ า โดยชนชั้ น ใหม่ ที่ มี อุดมการณ์ก้าวหน้ากว่า มี ก ารสถาปนากลไกอ� ำ นาจรั ฐ ของ ระบอบใหม่ขึ้นแทนกลไกอ�ำนาจรัฐระบอบเก่า

35


การใช้ก�ำลังต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

ภายในประเทศ มั ก มี ๒ รู ป แบบคื อ การ รัฐประหาร และการท�ำสงครามภายใน หรือ สงครามกลางเมือง ซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้ก�ำลังมัก เป็นผู้น�ำทางทหารที่คุมก�ำลังอยู่ในมือ ส�ำหรับ ค�ำว่าวิวัฒนาการ โดยทั่วไปแล้ว จะใช้กับการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนาน แต่เป็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ ภาวะทีด่ ขี นึ้ หรือเจริญขึน้ แบบค่อยเป็นค่อยไป ย้อนไปพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีข้อ ที่น่าสนใจว่า เจตนารมณ์ของการปฏิวัติได้รับ การแสดงออกอย่างชัดแจ้ง ๖ ประการคือ หลักประการที่ ๑ จะต้องรักษาความเป็น เอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ของประเทศไว้ให้ มั่นคง หลักประการที่ ๒ จะต้ อ งรั ก ษาความ ปลอดภัยในประเทศให้การประทุษร้ายต่อกัน ลดน้อยลงให้มาก หลักประการที่ ๓ จะต้องบ�ำรุงความสุข ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะ หางานให้ราษฎรทุกคนท�ำ จะวางโครงการการ เศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก หลักประการที่ ๔ จะต้ อ งให้ ร าษฎรได้ สิทธิเสมอภาคกัน หลักประการที่ ๕ จะต้องให้ราษฎรได้มี เสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เพื่อเสรีภาพไม่ขัด ต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

36

หลักประการที่ ๖ จะต้ อ งให้ ก ารศึ ก ษา อย่างเต็มที่แก่ราษฎร แม้กระนั้น คณะราษฎรก็ไม่อาจบรรลุการ เปลี่ยนแปลงประเทศ เนื่องจากมิได้ท�ำตามที่ ให้ค�ำมั่นไว้ อันน�ำมาซึ่งความขัดแย้ง และต่อ มาพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว มี พระราชหัตถเลขาสละราชบัลลังก์ มีบทวิเคราะห์มากมายที่แสดงทัศนะเกี่ยว กับความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ประเทศไทยได้ผ่านกาลเวลามา ๘๑ ปี การ ปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตยก็ ยั ง อยู ่ ใ น ภาพลุ่มๆ ดอนๆ พลเอก สายหยุด เกิดผล และ ดร.สมชัย รักวิจิตร ให้ทัศนะไว้ดังนี้ “คณะราษฎรอาจจะยึดอ�ำนาจการปกครอง ไว้ได้ส�ำเร็จ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แต่คณะราษฎรต้องประสบปัญหาใหญ่หลาย ประการ ประการแรก การร่ ว มมื อ กั น ของ บุ ค คลต้ อ งการเห็ น เมื อ งไทยมี ร ะบบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเห็นว่าระบบ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ เหมาะสมกั บ ประเทศไทยอี ก ต่ อ ไป แต่ เ มื่ อ ท�ำการยึดอ�ำนาจการปกครองไว้ได้ ปัญหาที่ ไม่ได้คดิ แก้ไว้ให้ละเอียดก่อนการเข้ายึดอ�ำนาจ ก็ตามมาเช่น ผู้ยึดอ�ำนาจจะปกครองประเทศ อย่างไร ประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนควรจะ ให้อย่างสมบูรณ์ทันที หรือให้ทีละขั้น นอกจาก นี้ ยั ง มี ป ั ญ หารั ฐ บาลควรจะมี น โยบายทาง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างไร การแย่งอ�ำนาจ

และการแตกแยกกันของคณะราษฎร ท�ำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชั้นบน และโครงสร้างพื้นฐานของสังคม เพื่อน�ำสังคม ไปสู่คุณภาพใหม่อย่างเป็นขั้นตอนตามความ เหมาะสมแก่กรณี กระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการ วางแผน จัดตั้ง และด�ำเนินการ เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างชั้นบนก่อนอย่างฉับ พลัน ไม่รอให้เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงแบบเป็น ไปเอง ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน ของสั ง คม จะต้ อ งใช้ เ วลามากกว่ า และมี ขั้นตอนที่สลับซับซ้อนกว่าการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างชั้นบน ด�ำเนินการปฏิวัติ จึงเป็น กระบวนการที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างเป็น ขั้นตอน มิใช่การกระท�ำที่ส�ำเร็จรูปลงตัวเพียง ด้วยการกระท�ำครั้งเดียว การปฏิวัติเป็นการสร้างคุณภาพใหม่ จากสิ่งที่มีอยู่แล้วในสังคมเก่า ดังนั้นมันจึงมี ลักษณะสองด้านอยู่ในตัวมันเอง คือด้านหนึ่ง เป็ น การช� ำ ระล้ า งคุ ณ ภาพเก่ า ที่ เ สื่ อ มโทรม และเป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าของ สังคม และอีกด้านมีการคุ้มครองรักษาและ ปรับปรุงของที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นมรดกตกทอด ทางอารยธรรมของสังคมยุคต่าง ๆ พร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสนองความ ต้องการของสังคมในคุณภาพอันใหม่นั้น พัฒนาการ เป็นค�ำที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า development พจนานุกรมระบุว่า หมายถึง

จุฬาพิช มณีวงศ์


การท�ำความเจริญ การเปลี่ยนแปลงในทาง เจริญขึ้น การคลี่คลายไปในทางดี ในความ หมายอย่างกว้าง หมายถึง การคลี่คลายขยาย ตัวของเหตุการณ์หรือสภาพของสิง่ หนึง่ สิง่ ใดใน ระยะยาว โดยไม่จ�ำกัดว่า การคลี่คลายขยาย ตัวนั้นจะเกิดจากการกระท�ำของมนุษย์หรือ เกิดจากการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ส่วนใน ความหมายเฉพาะ หรือความหมายอย่างแคบ หมายถึงการกระท� ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการวางแผน ซึ่งหมายถึงการกระท�ำของ มนุษย์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ ค�ำว่าการพัฒนา ยังหมายรวมถึงกระบวนการปฏิรูปที่ต่อเนื่อง กันเป็นขั้นตอน มิใช่การเปลี่ยนแปลงที่ท�ำให้ เป็นผลในการเปลี่ยนระบอบการปกครอง แต่ เป็นไปในทางการปรับปรุงตัวเองเพื่อยืดอายุ ระบอบที่ด�ำรงอยู่แล้ว เป็นส�ำคัญ รั ฐ ประหาร เป็ น ค� ำ ที่ แ ปลมาจากภาษา ฝรั่งเศสว่า coupdetat แปลว่า การตัด หรือ พันรัฐ ซึ่งหมายถึงการล้มล้างรัฐบาลโดยใช้ ก�ำลัง ผู้ที่คิดศัพท์ค�ำนี้เป็นภาษาไทยก็คือ พระ เจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ขณะด� ำ รงฐานั น ดรศั ก ดิ์ หม่ อ มเจ้ า วรรณ ไวทยากร

ลักษณะของรัฐประหาร จะประกอบด้วย การใช้ก�ำลังล้มล้างรัฐบาลโดยฉับพลัน

โดยไม่ต้องค�ำนึงว่าจะน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อื่น ๆ อย่างไรหรือไม่ เช่น เมื่อมีการใช้ก�ำลังล้ม หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

รัฐบาลลงไปแล้ว ผู้ชนะก็ตั้งรัฐบาลของตนขึ้น แล้วด�ำเนินการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ไปตามเดิมเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลโดยใช้ก�ำลัง บังคับ และที่ส�ำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่คือ คณะ ราษฎรเข้ามาในรูปของกลุ่มบุคคลเล็ก ๆ ที่ ไม่มีองค์การที่มั่นคง และรัดกุมเป็นของตนเอง ขณะทีส่ ถาบันการบริหารประเทศ และสถาบัน ทางการทหารได้วิวัฒนาการมาก่อนแล้ว เป็น เวลายาวนาน คณะราษฎรจึงต้องอาศัยก�ำลัง จากกองทั พ ซึ่ ง ในระยะหลั ง ในการรั ก ษา อ�ำนาจต้องการการสนับสนุนจากกองทัพเกือบ ตลอดเวลา ส� ำ หรั บ ประชาธิ ป ไตยที่ อ ยู ่ ใ นลั ก ษณะ ลุ่ม ๆ ดอนๆ ของประเทศไทย จนมีค�ำกล่าว ว่าไว้ ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เริ่มขึ้นเป็น ครัง้ แรกในสมัยรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจร ปี ๒๕๑๐ และสมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีลักษณะคือ ๑. มีรัฐธรรมนูญที่เอื้ออ� ำนวยต่อระบอบ เผด็จการเป็นแม่บท ๒. การมีรัฐบาลที่มีข้าราชการประจ�ำเป็น ผู้กุมนโยบายและอ�ำนาจตัดสินชี้ขาดโดยอ้าง ความมั่ น คงของชาติ และความผาสุ ก ของ ประชาชน ๓. มี ส ภาแต่ ง ตั้ ง ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ ม าจาก ข้าราชการ และนายทุนที่มีผลประโยชน์ร่วม กับข้าราชการ เป็นส่วนประกอบส�ำคัญ ส�ำหรับ สภาที่มาจากการเลือกตั้ง บางเวลาก็ไม่จ�ำเป็น ต้องมี หรือถ้าจ�ำเป็นต้องมีเพื่อให้ประชาชน ยอมรั บ ก็ ใ ห้ มี ส ภาที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่เป็นเครื่องมือ

ของระบอบเผด็จการ โดยประธานสภาแต่งตั้ง เป็นประธานรัฐสภา สภาเป็นเพียงตราประทับ รับรองทางพิธีการแก่การกระท� ำของรัฐบาล เผด็จการ ๔. มีอ�ำนาจที่เกิดจากผู้อยู่เหนือและนอก รั ฐ บาล และรั ฐ สภา สามารถบั น ดาลการ เปลี่ยนแปลงในรัฐบาลและรัฐสภาได้ โดยอ้าง สาเหตุจากสถานการณ์ที่พวกตนสร้างขึ้นใน และนอกรัฐบาล และรัฐสภา ๕. สาเหตุที่น�ำมาอ้างมักได้แก่ความมั่นคง แห่ ง ชาติ ซึ่ ง ที่ แ ท้ ก็ คื อ ความมั่ น คงของกลุ ่ ม เผด็จการ ผู้กุมอ�ำนาจนั่นเอง รัฐบาลที่จะมารับหน้าที่ในการบริหารบ้าน เมืองชุดต่อไป มีภารกิจส�ำคัญที่ทุกองคาพยพ จั บ ตารอคอยด้ ว ยความหวั ง คื อ การเดิ น หน้าปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเคยวาดฝันและมี พิมพ์เขียวออกมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว แต่เสียงเรียก ร้องเรื่องนี้ก็ยังคงด�ำรงอยู่และไม่มีใครยืนยัน ได้ว่า พิมพ์เขียวที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในเวลา อันไม่นาน เพื่อน�ำไปสู่รัฐบาลดรีมทีม ที่ทั้งดี ทั้งเก่ง ปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น จะเป็น ไปได้ดังหวัง ๘๑ ปีที่ผ่านมา ไม่มีหนทางที่ดีเต็มร้อยใน การเปลี่ยนแปลงประเทศไทย แต่พิสูจน์แล้ว ว่ า รั ฐ บาลที่ ม าจากการเลื อ กตั้ ง ในระบอบ ประชาธิ ป ไตย โดยมี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ เ ป็ น ประมุข เป็นการปกครองที่มีการตรวจสอบ ได้ดีที่สุด

37


หลั ก การของ

นายพลแพตตั น (ตอนที่ ๑๘) พลเอก เด่นดวง ทิมวัฒนา

ากใช้ค�ำว่า ถ้า บางที อาจจะ มาก เกินไปก็จะไม่มีทางชนะสงคราม นายพลแพตตันได้ท�ำให้ฝ่ายเสนาธิการของ ท่านใช้ความสามารถทุกวิถีทางที่จะรวบรวม ข้อมูลความจริงทั้งหมดก่อนที่จะท�ำการตกลง ใจ อีกนัยหนึ่ง ท่านมักจะก�ำหนดเวลาสิ้นสุด ของขั้นตอนรวบรวมข้อมูลเสมอ เมื่อชั่วโมง แห่งการตกลงใจมาถึง จะไม่มกี ารยืดเวลา หรือ การลังเลใจใด ๆ เมื่อข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่หา ได้ถูกรายงานแล้ว ท่านก็จะให้ประโยคง่าย ๆ สองสามประโยคซึ่งท่านเคยใช้บ่อย ๆ ในการ เน้นย�้ำพวกเราถึงความจ�ำเป็นในการตัดสินใจ ว่าจะท�ำอะไรต่อไป ท่านจะกล่าวว่า “ถึงแม้ว่า จะไม่ใช่การตัดสินใจที่ดีที่สุด แต่เราก็จะท�ำใน สิ่งที่เราได้เตรียมการเรียบร้อยแล้ว เราจะเดิน หน้าต่อไปในสิ่งที่เราหามาได้”

38

เมื่ อ ทางวอชิ ง ตั น ส่ ง ค� ำ สั่ ง มา นายพล แพตตั น อาจจะคั ด ค้ า นโต้ แ ย้ ง และพยายาม เปลี่ยนแปลงค�ำสั่งที่ท่านเชื่อว่าไม่ถูกต้อง แต่ พอทางโน้นชี้แจงมา ท่านจะพูดว่า “ไม่ว่าพวก เราจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม แต่มันก็ต้องเป็น ไปตามนั้น เราจะด�ำเนินงานตามค�ำสั่ง” ผมจ�ำพันเอกท่านหนึ่งได้ ที่มาจากหน่วย รักษาดินแดน ซึ่งนายพลแพตตันปลดออกไป โดยไม่มีค�ำว่า บางที หรือ อาจจะ ผมได้ใช้ เวลากับการดูระเบียบกองทัพบก พยายามทีจ่ ะ ตัดสินใจว่าผมควรจะท�ำอย่างไรดีกับพันเอก รั ก ษาดิ น แดนผู ้ นี้ ปั ญ หาถู ก ส่ ง มาให้ ผ มใน ฐานะทีเ่ ป็นนายทหารพระธรรมนูญโดยผูบ้ งั คับ กองร้อยสารวัตรทหาร พั น เอกรั ก ษาดิ น แดนผู ้ นี้ เ ป็ น นายทหาร สัญญาบัตรใหม่ที่มาได้ด้วยการเมือง เป็นผู้ซึ่ง

ต้องการเข้าสู่สงคราม แต่เขาต้องการตามแบบ ของเขา! เขาต้องการสิทธิพิเศษทั้งหมดตาม ชั้นยศ โดยไม่ต้องการความล�ำบากใด ๆ เลย ข้อเท็จจริงคือพันเอกผู้นี้ใช้เวลาของเขาตอน กลางคืนในโมเต็ลที่อินดิโอ แคลิฟอร์เนีย และ เดิ น ทางไปท� ำ งานทุ ก ๆ วั น ด้ ว ยรถประจ� ำ ต�ำแหน่งของกองทัพบก ไม่มกี ารรายงานต�ำหนิ ถู ก เสนอไปยั ง หน่ ว ยรั ก ษาดิ น แดนของเขา นายทหารและก�ำลังพลทุกนายเป็นผู้ที่ได้รับ การฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี มันแย่หน่อยตรง ที่ผู้ว่าการรัฐลงนามแต่งตั้งเพื่อนนักการเมือง ของตนให้ อ ยู ่ ใ นต�ำ แหน่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ทางทหาร นี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังเหตุการณ์อ่าวเพิร์ล ทุกคนก็อยากเป็น พันเอกกันทั้งนั้น! พลเอก เด่นดวง ทิมวัฒนา


ก�ำลังพลในหน่วยรักษาดินแดนพยายามที่ จะโอนอ่อนผ่อนตามค�ำสั่งทุกค�ำสั่งของนาย พันเอก พวกเขายังคงให้รถพ่วงปรับอากาศของ นายพันเอกจอดอยู่ ซึ่งรถพ่วงคันนี้อยู่ห่างจาก กองบัญชาการของเรา พวกเขาน�ำอาหารไปให้ ผู้หญิงในรถพ่วง และคิดว่าเธอคือภรรยาของ นายพันเอก เนื่องจากรูปร่างของเธอสวยงาม และก็เป็นหญิงสาวที่มีเสน่ห์ จึงไม่มีก�ำลังพล คนใดเลยลั ง เลใจที่ จ ะไปยั ง รถพ่ ว งของนาย พันเอก ขณะที่ความร้อนจากดวงอาทิตย์ใน ทะเลทรายก�ำลังแผดเผา พันเอกผู้นี้ใช้เวลา ของเขากับผู้หญิงคนนี้ในรถพ่วง เอกสารและ งานราชการทุกอย่างจะถูกน�ำมาที่รถพ่วงคันนี้ ในเวลากลางคื น พั น เอกผู ้ นี้ จ ะขั บ รถเข้ า ไป อินดิโอและใช้เวลาตอนกลางคืนกับภรรยาคน ที่สอง ไม่มีใครรู้ว่าคนไหนกันแน่ที่เป็นภรรยา ที่ถูกต้องจริง ๆ ! พั น เอกผู ้ นี้ ไ ด้ บ อกกั บ ผู ้ ร ่ ว มงานของเขา ว่า เขาจะอยู่ในทะเลทรายทั้งวันเลย หากเขา แน่ใจว่าทุก ๆ เช้าเขาจะได้รับนมหนึ่งควอร์ท และหนังสือพิมพ์ฉบับเช้าวางบนบันไดรถพ่วง! นมนั้ น ต้ อ งเย็ น จั ด ด้ ว ย! ก� ำ ลั ง พลในหน่ ว ย รักษาดินแดนสามารถบอกรับนมเย็นจัดได้ แต่ หนังสือพิมพ์ฉบับเช้าเป็นปัญหาที่ไม่สามารถ แก้ ไ ด้ พวกเราอยู ่ ห ่ า งจากอิ น ดิ โ อเจ็ ด สิ บ ไมล์กว่า ๆ และห่างจากลอสแอนเจลิสกว่า หนึ่งร้อยไมล์

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

39


ผมได้รับทราบปัญหา เมื่อสารวัตรทหาร พบว่ามีรถพ่วงพลเรือนจอดอยู่ในพื้นที่ด�ำเนิน กลยุทธ์ของเรา นอกจากนั้นสารวัตรทหารยัง ตรวจพบรถราชการของกองทัพบกจอดอยู่ใน อินดิโอตลอดคืน ทุก ๆ คืน มันร้อนในทะเล ทราย ทั้ง ๆ ที่ร้อนอย่างนั้นแต่ไม่มีใครติด เครื่องปรับอากาศ เต็นท์ของนายพลแพตตัน ก็ร้อนเท่า ๆ กับเต็นท์ของก�ำลังพลทุกหลัง ผูบ้ งั คับกองร้อยทหารสารวัตรปรึกษากับผมว่า ท�ำอย่างไรเขาถึงจะสามารถเคลื่อนย้ายผู้หญิง ที่อยู่ในรถพ่วงคันนั้นได้ เพราะเขาเกรงในเรื่อง ความปลอดภัยของผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในรถพ่วง คนเดียวในเวลากลางคืน เราได้เรียกรวมนายทหารจากหน่วยรักษา ดินแดนเพื่อมาประชุมกันในเรื่องนี้ พวกเขา จงรักภักดีต่อผู้บังคับบัญชาของพวกเขา แต่ ก็แสดงออกมาว่าพวกเขาไม่ได้ภาคภูมิใจใน มาตรฐานความเป็นอยู่ของนายพันเอกของ พวกเขาเลย พวกเขายืนยันว่าเป็นเรื่องจริงที่ มีค�ำสั่งเรื่อง นมสด และหนังสือพิมพ์ ผมได้แนะน�ำสารวัตรทหารไปว่า ข้อกล่าว หาเพี ย งประการเดี ย วที่ ผ มสามารถใช้ ไ ด้ นั้นเป็นข้อกล่าวหาทั่วไปอย่างกว้าง ๆ คือ “ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นสุภาพ 40

บุรุษนายทหาร” เราก็ยังสงสัยว่าพันเอกผู้นี้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ผู ้ ห ญิ ง คนใด หรื อ จะทั้ ง สองคน แต่ข้อพิสูจน์ก็ได้จากพวกเธอ โดยดูว่า คนใดได้รับการ “เอาใจใส่เป็นพิเศษ” ไม่มีค�ำสั่งใดระบุว่า นายทหารทุกนายต้อง อาศัยอยู่ในทะเลทราย ผมไม่สามารถกล่าวหา พันเอกผู้นี้ว่าไม่เชื่อฟังค�ำสั่ง บรรดานายทหาร รักษาดินแดนได้รับการคัดเลือก และสัญญา บั ต รยศโดยผู ้ ว ่ า การรั ฐ ก� ำ ลั ง พลและนาย ทหารจากหน่วยรักษาดินแดนจะอยูภ่ ายใต้การ ควบคุมของกองทัพบกสหรัฐฯ ก็ต่อเมื่อก�ำลัง พลนั้นถูกบรรจุให้เป็นทหารประจ� ำการโดย ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ เท่านั้น และหน่วย รักษาดินแดนหน่วยนี้ก็ถูกเกณฑ์ให้มีหน้าที่ ประจ�ำการกับกองทัพบกสหรัฐฯ ซะด้วย ผม ได้น�ำปัญหานี้มาถกแถลงกับเสนาธิการผู้ซึ่งมี ต�ำแหน่งเป็นรองจากนายพลแพตตันเท่านั้น ก่อนที่พวกเราจะต้องตัดสินใจท� ำอะไรลงไป ตามแผนใดแผนหนึ่ง ผู้บังคับกองพันบางคน ได้ถามนายพลแพตตันว่า ถ้าเขาจะน�ำรถพ่วง ปรับอากาศพร้อมกับภรรยามาที่แคมป์แห่งนี้ บ้าง ท่านจะอนุมัติไหม “ระย�ำ ไม่ได้!” นั่นเป็นการโต้ตอบในทันที ของนายพลแพตตัน

“งั้นภรรยาใครล่ะที่อยู่ในรถพ่วงห่างจาก ที่นี่ประมาณยี่สิบไมล์ อยู่ด้านหลังติดกับฐาน ที่ ส นามฝึ ก ภู เ ขาชอคโกแลต (Chocolate Mountain)?” นายพลแพตตั น ไม่ เ คยเห็ น รถพ่ ว งคั น นี้ เสนาธิ ก ารบอกให้ ผู ้ บั ง คั บ กองร้ อ ยทหาร สารวั ต รรายงานข้ อ เท็ จ จริ ง ทั้ ง หมด เมื่ อ รายงานจบ นายพลแพตตันได้สั่งการว่า “วิ ล เลี ย มสั น คุ ณ คื อ นายทหารพระ ธรรมนูญ จัดการให้ไอ้ลูกหมานั่นขึ้นศาล!” ผมต้องตอบ “ท่านนายพล เราไม่เคยพิมพ์ค�ำสั่งว่าทุก คนต้องอยู่ในทะเลทรายโดยปราศจากภรรยา เราไม่สามารถกล่าวหาเขาในเรื่องไม่เชื่อฟัง ค�ำสั่ง ข้อกล่าวหาประการเดียวที่ผมสามารถ เขียนได้ก็คือ ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการ เป็นสุภาพบุรุษนายทหาร” มีนายทหารจากทางด้านหลังห้องพูดขึ้นว่า “ผมว่ า ไอ้ ลู ก หมาคนนี้ ป ระพฤติ ต นเป็ น สุภาพบุรุษทีเดียว!” นายพลแพตตั น ไม่ ไ ด้ หั ว เราะตามฝ่ า ย เสนาธิการ เสนาธิ ก ารได้ แ นะน� ำ ว่ า “บรรดานาย พั น เอกจากหน่ ว ยรั ก ษาดิ น แดนคื อ ปั ญ หา พลเอก เด่นดวง ทิมวัฒนา


เนื่องจากพวกนี้มีความผูกพันทางการเมืองกับ ผู้ว่าการรัฐซึ่งมีอิทธิพลต่อวอชิงตัน” “เราแน่ใจแล้วรึว่ามีข้อเท็จจริงทั้งหมด? คุณแน่ใจรึว่าผู้หญิงในทะเลทรายคนนี้จะไม่ใช่ น้องสาวของเขา? เป็นไปได้ไหมทีเ่ รือ่ งการบอก รับหนังสือพิมพ์และนมสดนัน่ เป็นเรือ่ งทีล่ อื กัน ในห้องน�้ำเท่านั้น?” “ท่านนายพล เราไม่สามารถตรวจสอบได้วา่ หญิงคนใดเป็นภรรยาและหญิงคนใดเป็นน้อง สาว แต่เรารู้แน่ ๆ ว่าเขาใช้เวลาตอนกลางคืน ในอินดิโอกับหญิงคนหนึ่ง และใช้เวลาตอน กลางวันในรถพ่วงกับหญิงอีกคนหนึ่ง เขาไม่ เคยอยู่ในสนามกับก�ำลังพลของเขาเลย” ผู ้ บั ง คั บ กองร้ อ ยสารวั ต รทหารได้ ต อบ ค�ำถามเหล่านั้น “วิลเลียมสัน แล้วเรื่องการไม่มีสิทธิ์ใช้รถ ราชการล่ะ?” นายพลแพตตันถามขึ้น “หน่วยรักษาดินแดนมาอยู่หน่วยนี้พร้อม กับรถราชการของพวกเขาเอง มันเป็นพาหนะ ส�ำหรับพันเอก เขาสามารถท�ำอะไรกับมันก็ได้ ตามที่เขาต้องการ จนกว่าเราจะออกค�ำสั่งใน ทางตรงกันข้าม มันไม่ใช่เรื่องที่จะท�ำได้ง่าย ๆ ครับ” ผมตอบ นายพลแพตตันถามอีกว่า “เราจะมีปัญหาอะไรไหม ถ้าเราจะลาก รถพ่วงและผู้หญิงคนนั้นไปยังอินดิโอ?” ก็เช่นเคย ผมต้องตัดสินใจฉับพลัน “ไม่มีปัญหาทางกฎหมาย เว้นแต่จะเกิด

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

อุบตั เิ หตุขนึ้ ระหว่างทาง และมีใครนัง่ ในรถพ่วง ขณะที่มันอยู่บนถนน” “งั้นผมก็จะปลดไอ้ลูกหมานั่น!” นายพลแพตตันได้เปล่งเสียงออกมา “ผูก้ อง พ่วงรถพ่วงคันนัน้ กับรถจีป๊ ให้ผหู้ ญิง นั่งรถพยาบาลไป จัดรถฉลามบกสองคันพร้อม ไฟแวบและแตรไซเรน คันหนึ่งเปิดไซเรนน� ำ หน้า อีกคันปิดท้ายรถพยาบาล เพื่อป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุใด ๆ เราจะให้พันเอกผู้นี้ และ น้องสาวของเขาเข้าสู่เมืองในแบบที่เขาเคยใช้ ชีวิตกันมา อย่าขับเร็วเกินสี่สิบไมล์ จัดการ มันเดี๋ยวนี้” นายร้อยเอกถามว่า “ผมจะบอกกับพันเอกผู้นี้ ยังไงดี?” “ไม่ต้องบอกอะไรเขา! ผมต้องการไปพบ ไอ้ลูกหมานั่นด้วยตัวเอง ผมจะจับเขายัดใส่รถ พยาบาล! เมื่อจัดการกับเขาเรียบร้อยแล้ว เขา จะถูกปลดจากหน่วยรักษาดินแดนเนื่องจาก ทุพพลภาพ เมื่อผมจัดการกับเขาเสร็จแล้ว เขา อาจจะมีสาเหตุที่พิการทางร่างกายได้คือ ผม อาจจะเตะให้ไอ้ตัวระย�ำออกจากตัวเขาเลย!” ไม่มีค�ำว่า ถ้า อาจจะ หรือ บางที ในการ ตั ด สิ น ใจของนายพลแพตตั น ท่ า นได้ ท� ำ ใน สิ่งที่ต้องท�ำ การตัดสินใจรวดเร็วมากแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่กระท�ำต่อนายทหารรักษา ดินแดนที่ได้รับการคัดเลือกมาจากการเมือง มีหน่วยต่าง ๆ หลายหน่วยที่มีนายทหารยศ สูงเข้าฝึกการด�ำเนินกลยุทธ์พร้อมด้วยรถพ่วง

ปรับอากาศสีฉูดฉาด และภรรยา เพื่อดับความ ร้อนหลังจากฝึกหนักตลอดวัน ! ผมจ�ำได้ว่า ฝ่ายเสนาธิการได้ถกเถียงกันในพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมนี้ระหว่างการฝึกที่หลุยส์เซียนา การ ถกเถียงนี้มักจะจบด้วยค�ำพูดที่ว่า “ถ้ามันเป็น เรื่องที่เลวมาก เราก็ควรท�ำอย่างอื่นดีกว่า” นายพลแพตตั น ไม่ ถ ่ ว งเวลาเลย ถ้ า การ กระท�ำนั้นต้องเกิดขึ้น บ่อยครั้งที่นายทหาร ใหม่บางคนแนะน�ำให้เลื่อนเวลาออกไปก่อน โดยกล่าวว่า “ดูเหมือนว่า เวลานี้จะไม่ใช่เวลาที่ถูกต้อง ที่......” นายพลแพตตันจะขัดจังหวะโดยกล่าวว่า “ไม่ มี เ วลาที่ ถู ก ต้ อ งส� ำ หรั บ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่าง.....! เราจะท�ำในสิ่งที่เราต้องท�ำ!” หลังจากนายพลแพตตันได้เสร็จภาระใน การเล่นงานพันเอกจากหน่วยรักษาดินแดน แล้ว พันเอกผู้นี้ก็ตัดสินใจลาออกจากชีวิตรับ ราชการทหาร พวกเราไม่เคยได้รับการต่อต้าน จากภรรยาของเขา ผูว้ า่ การรัฐ หรือนักการเมือง คนใดในวอชิงตันเลย

41


คองบองกับความวุ่นวาย ปลายราชวงศ์ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ปลายราชวงศ์คองบอง (Konbaung Dynasty) หรือราชวงศ์อลองพญา การพ่ า ยแพ้ ใ นสงครามกั บ อั ง กฤษ ทั้งสองครั้งมีผลกระทบอย่างมากต่อ อาณาจักรพม่า จากที่อาณาจักรพม่า ก้ า วขึ้ น สู ่ จุ ด สู ง สุ ด ของอ�ำนาจก็ เ ริ่ ม เสื่อมลงเป็นล�ำดับ จากความขัดแย้ง กับมหาอ�ำนาจทางทหารแห่งยุโรปคือ อั ง กฤษที่ ไ ด้ เ ข้ า ปกครองอาณาจั ก ร อิ น เดี ย และอั ฟ กานิ ส ถาน ก�ำลั ง จะ ขยายดิ น แดนมาทางด้ า นตะวั น ออก มากยิ่ ง ขึ้ น อาณาจั ก รพม่ า เป็ น ดิ น แดนที่ มี ค วามสมบู ร ณ์ อ ย่ า งมาก ทั้ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละแร่ ธ าตุ  .............บทความนี้ กล่ า วถึ ง ความ วุ ่ น วายปลายราชวงศ์ ค องบองหรื อ  อลองพญา 42

๑. สถานการณ์ทั่วไป พระเจ้ามินดง (Mindon Min) ทรงขึน้ ครอง ราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นกษัตริย์ล�ำดับที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์อลอง พญา เริ่มรั ช กาลใหม่ พ ระเจ้ า มิ น ดงประสบ ปัญหาอย่างมากในการปกครองอาณาจักร ต้อง สูญเสียดินแดนของพม่าตอนล่างให้กับอังกฤษ (สงครามครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๖๙ ได้เสีย ดินแดนคือ ยะไข่, ตะนาวศรี, มะริด และอัสสัม และในสงครามครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้เสีย ดินแดนคือ เมาะตะมะ, ย่างกุ้ง, พะสิม, แปร และหงสาวดี) เป็นดินแดนที่มีความสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติ และการเก็บภาษีจาก เมืองท่าชายฝั่งทะเลที่ส�ำคัญในการค้าขายกับ ต่างอาณาจักร เป็นผลให้มีงบประมาณในการ บริหารอาณาจักรอย่างจ�ำกัดซึง่ ลดลงอย่างมาก จากที่เคยได้รับมาในอดีต แม้ว่าพระองค์ทรง มีความตั้งใจจะปฏิรูปอาณาจักรให้มีความทัน สมัยอย่างทวีปยุโรป ตลอดจนไม่สามารถจะ จัดซื้ออาวุธใหม่ (ปืนยาวและปืนใหญ่ พร้อม กระสุน) จากยุโรปส�ำหรับประจ�ำการในกองทัพ

เนื่องจากการขนส่งจะต้องผ่านดินแดนพม่า ตอนล่างทีอ่ งั กฤษเข้ายึดครองอยู่ พระเจ้ามินดง ทรงใช้นโยบายประนีประนอมหรือแนวสันติ กับอังกฤษเพื่อให้อาณาจักรพม่ายังคงอยู่รอด (เพื่อจะลดเงื่อนไขสงครามที่จะเกิดขึ้นใหม่ ซึ่ง พม่าไม่พร้อมที่จะให้เกิดสงครามใหม่เป็นครั้ง ที่สาม) เหตุการณ์ทั่วไปในภูมิภาคของเอเชีย ทุกอาณาจักรต้องพยายามปฏิรูปการปกครอง พร้อมทั้งส่งเสริมการค้าขายกับต่างอาณาจักร และให้มีความทันสมัยเพื่อความอยู่รอดของ อาณาจักร แต่จะมีอุปสรรคอย่างมากเช่นกัน

๒. ความวุ่นวาย ปลายราชวงศ์ พระเจ้ า มิ น ดงมี อั ค รมเหสี คื อ พระนาง เสกขรเทวี และมเหสีคือพระนางอเลนันดอ (มีแต่พระธิดา) ทรงมีพระราชโอรสคือเจ้าชาย มยินกัน (พระสนมเอกตองชเวเยที่ ๑), เจ้าชาย มยินกอนเดียง (พระสนมเอกตองชเวเยที่ ๑), เจ้าชายนยองยาน (พระสนมเอกมยอกชเวเย พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


แม่ น�้ ำ อิ ร ะวดี เ ป็ น แม่ น�้ ำ สายหลั ก ของ อาณาจั ก รพม่ า มาตั้ ง แต่ ยุ ค โบราณ  มีความยาว ๒,๑๗๐ กิโลเมตร (ตามลูกศร) จึงเป็นเส้นทางคมนาคมทางเรือที่ส�ำคัญยิ่ง ตลอดมา และแม่น�้ำอิระวดีไหลลงทะเลที่อ่าว เมาะตะมะ หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ที่ ๒), เจ้าชายตอนเช (เจ้าจอมมารดากอนิทวา) และเจ้าชายธีบอหรือเจ้าชายสีป่อ (เจ้าหญิง สีป่อ) พระเจ้ามินดงได้พัฒนาอาณาจักรให้มี ความเจริญด้านเศรษฐกิจ มีการตัง้ โรงงานหลาย ประเภท เช่น โรงงานผลิตน�้ำตาล, โรงงาน หลอมเหล็ก, โรงงานผลิตแก้ว พร้อมทั้งมีการ ท� ำ เหมื อ งทั บ ทิ ม และเหมื อ งหยก และการ

ผลิตผ้าไหม จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ เจ้าชายคะนองซึ่งเป็นพระอนุชา นอกจากนี้ ยังมีการค้าขายกับอาณาจักรจีนทางตอนเหนือ นับว่าการค้าขายเติบโตอย่างมาก พระเจ้ามินดงทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายคะนอง พระอนุชาเป็นรัชทายาท เนื่องจากทรงมีพระ ปรี ช าสามารถ มี ค วามรู ้ ใ นหลายสาขาโดย 43


แม่ น�้ ำ อิ ร ะวดี เ ป็ น แม่ น�้ ำ สายหลั ก ของ อาณาจักรพม่า เมืองหลักที่ส�ำคัญจะตั้งอยู่ ริมฝั่งแม่น�้ำ กรุงมัณฑะเลย์ (ตามลูกศรด้าน บน) ที่พระเจ้ามินดงทรงสร้างขึ้นเพื่อจะเป็น ศูนย์กลางของอาณาจักรพม่า มีทตี่ งั้ อยูใ่ กล้ กับแม่น�้ำอิระวดี (ตามลูกศรด้านล่าง)

44

เฉพาะความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการสมัย ใหม่ รวมทั้งด้านการทหารสมัยใหม่ และเป็น แม่ทัพโดยมีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมจะขึ้น ครองราชย์สบื ต่อจากพระเจ้ามินดง แต่ได้สร้าง ความไม่พอใจให้แก่พระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าชายมยินกัน พระเจ้ามินดงทรงทราบข้อ ขัดแย้งนี้แต่ไม่คิดว่าพระราชโอรสจะคิดการ ใหญ่ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เกิดการกบฏขึ้นโดย มีเจ้าชายมยินกันเป็นผู้น�ำร่วมกับพระอนุชา

คือเจ้าชายมยินกอนเดียงโดยเสด็จเข้าไปใน สภาลุตดอร์ ขณะที่มีการประชุมอยู่ครบองค์ ประชุมแล้วได้สังหารรัชทายาทพร้อมทั้งคณะ ที่ประชุมทั้งหมด และได้จัดส่งก�ำลังทหารไป สังหารพระราชบิดาที่ทรงประทับอยู่นอกเมือง แต่ไม่ส�ำเร็จ พระเจ้ามินดงสามารถส่งก�ำลัง ทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็ น ผลให้ เ จ้ า ชายทั้ ง สองต้ อ งเสด็ จ หลบหนี ลงใต้ ไปกับเรือกลไฟของบริษทั เดินเรืออังกฤษ พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


พระเจ้ามินดง จะให้เจ้าชายธีบอ (Thibaw) ขึ้ น เป็ น กษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ ใ หม่ ซึ่ ง เป็ น ห้ ว ง ที่ พ ระเจ้ า มิ น ดงใกล้ จ ะสวรรคต พระเจ้ า มินดงสวรรคตในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ พระองค์ ท รงอยู ่ ใ นราชสมบั ติ น าน ๒๕ ปี กับอีก ๒๒๕ วัน

พระเจ้ามินดงทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กรุงมัณฑะเลย์ เพื่อจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร พม่า เป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรพม่า ก่อนจะสิ้นสุดราชวงศ์คองบองหรือราชวงศ์ อลองพญา ตามแม่น�้ำอิระวดี จนถูกทหารอังกฤษจับกุม และน�ำตัวไปไว้ที่เมืองย่างกุ้ง อังกฤษได้ส่งตัว เจ้าชายทั้งสองไปยังเมืองกัลกัตตา ต่อมาเจ้า ชายมยินกอนเดียงได้ทิวงคตลง เวลาต่อมา อังกฤษได้ส่งตัวเจ้าชายมยินกันต่อไปยังเมือง พาราณสี อาณาจักรอินเดีย การเกิดกบฏในครั้งนี้น�ำมาสู่ความขัดแย้ง มากยิ่งขึ้น เนื่องจากฝ่ายพม่าคิดว่าอังกฤษ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ฝ่ า ยกบฏแต่ ไ ม่ มี ห ลั ก ฐาน ยืนยัน แต่การสูญเสียเจ้าชายคะนองพระอนุชา ที่เป็นรัชทายาทและสมาชิกสภาลุตดอร์ ที่เป็น บุคลากรที่ส�ำคัญยิ่งของอาณาจักร เป็นการ สู ญ เสี ย ครั้ ง ใหญ่ ที่ สุ ด และมีผลกระทบอย่าง มากต่ออาณาจักรเนื่องจากเป็นข้าราชการที่ มีความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นก�ำลัง ส�ำคัญของพระเจ้ามินดง เป็นผลให้พระเจ้า มินดงจ�ำเป็นต้องเรียกข้าราชการที่ได้เกษียณ ไปแล้วกลับเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อ แต่นับได้

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ว่าในสมัยของพระเจ้ามินดงอาณาจักรพม่าเป็น ยุคที่มีความสงบมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาใน สองแผ่นดิน (มีสงครามกับอังกฤษ รวม ๒ ครั้ง และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้) พร้อมทัง้ ยังมีพระราชพิธี แรกนาขวัญ ปี พ.ศ. ๒๔๐๕ พม่าได้ส่งคณะทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรีทที่ วีปยุโรปประกอบด้วย อังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส จากเหตุ ก ารณ์ เ กิ ด กบฏโดยมี เ จ้ า ชาย มยินกันเป็นผู้น�ำ เป็นผลให้พระเจ้ามินดงยังไม่ สามารถที่จะทรงตั้งรัชทายาทใหม่ขึ้นมา ทรง เกรงว่ า หากตั้ ง รั ช ทายาทจากพระราชโอรส พระองค์ใดพระองค์หนึ่งแล้วจะถูกลอบปลง พระชนม์เสียก่อน จึงก่อให้เกิดความยุ่งยาก ในกองทั พ เนื่ อ งจากก� ำ ลั ง ทหารบางส่ ว นยั ง จงรักภักดีต่อเจ้าชายมยินกัน พระเจ้ามินดง ทรงปฏิรูปกองทัพครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พ.ศ. ๒๔๒๑ พระมเหสีคือพระนางเมียงดามินจีและ เสนาบดีกินหวุ่นมินจีได้วางแผนยึดอ�ำนาจจาก

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) ทรงปฏิรูป ให้อาณาจักรพม่ามีความทันสมัย พระองค์ อยู่ในราชสมบัตินาน ๒๕ ปี

๓. บทสรุป ปลายราชวงศ์คองบองหรือราชวงศ์อลอง พญาราชส�ำนักเกิดความวุ่นวายเกิดขึ้น เพื่อ ต้องการที่จะแย่งราชสมบัติ พระเจ้ามินดงมี ความยุ่งยากในการบริหารแผ่นดินพร้อมทั้งยัง มีความกดดันจากอังกฤษทีต่ อ้ งการครอบครอง อาณาจักรพม่าตอนบน แม้วา่ จะทรงปฏิรปู การ ปกครองแต่ก็ไม่ราบรื่นในการปกครอง การ สูญเสียดินแดนพม่าตอนล่างเป็นการสูญเสีย งบประมาณเป็นจ�ำนวนมากจากภาษีของเมือง ท่าต่างๆ แต่ความยุ่งยากของอาณาจักรก็ยังคง เกิดขึ้น พระเจ้ามินดงทรงด�ำเนินการได้เพียง จะยืดเวลาที่จะเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น

45


ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

วังว่าคงไม่สายที่จะกล่าวสวัสดี ปี ใ หม่ ใ นปี พุทธศักราช ๒๕๕๗ ส�ำหรับผู้อ่านทุกท่านในวารสาร หลั ก เมื อ ง ฉ บั บ เดื อ นมกราคมซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น เดือนแห่งปฐมฤกษ์ของปี ที่เราจะถือโอกาส นี้ปรับปรุง พัฒนาตนเองเพื่อเริ่มต้นรองรับ สิ่งใหม่ ๆ คิดใหม่ ท�ำใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคล ต่อชีวิตของเราให้ประสบแต่ความส�ำเร็จทั้งใน หน้าที่การงานและน�ำความสุขมาสู่ครอบครัว และองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนมกราคม นี้ เ ป็ น เดื อ นแห่ ง วั น ครู ซึ่ ง ตรงกั บ วั น ที่ ๑๖ มกราคมของ ทุกปี การที่ได้ระลึกถึงบุญคุณ ครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ท�ำให้เราเจริญเติบโตมาจนถึงวันนี้ ก็ยิ่งท�ำให้ เรามีจิตใจที่เบิกบาน พร้อมที่จะมุ่งมั่นพัฒนา ตนเองและน�ำความรู้ที่ได้รับจากท่านทั้งหลาย มาพัฒนาประเทศชาติต่อไป สมัยเด็ก ๆ เมื่ออ่านบทไหว้ครูที่เริ่มต้นจาก “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” นั้น เราก็ยังไม่เข้าใจว่าแปลว่าอะไร อาจารย์ให้ 46

กระดาษมาอ่าน เราก็อ่านตามไปงั้น ๆ หากผู้ เขียนไม่ได้ประกอบอาชีพครู ก็คงยังไม่เข้าใจ อย่างลึกซึ้งว่า บทไหว้ครูนี้ มีเนื้อหาที่ซาบซึ้ง กิ น ใจขนาดไหน กล่ า วคื อ ประโยคที่ ขึ้ น ต้ น ด้วย “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” แปลว่า ครู อาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ยิ่ง เป็นผู้พร�่ำสอนศิลปวิทยาการ และท้ายบท ก็กล่าวว่าปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมา มิหัง แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ ให้โอวาท ผู้ท�ำให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอก ราบไหว้ครู อาจารย์เหล่านั้น ด้วยความเคารพ ค�ำว่า ครู หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถให้ ค�ำแนะน�ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน ส�ำหรับนักเรียน หรือนักศึกษาในสถาบันการ ศึกษาต่าง ๆ ทัง้ ของรัฐและเอกชน มีหน้าทีห่ รือ มีอาชีพในการสอนนักเรียน เกีย่ วกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและ แนวทางในการท�ำงาน โดยวิธีในการสอนจะ แตกต่างกันออกไปโดยค�ำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้ า หมายของนั ก เรี ย น พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


แต่ละคน (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) ใน ภาษาอังกฤษ ค�ำว่า ครู มีหลายค�ำขึ้นอยู่กับ ลักษณะงานที่สอนจะเป็นแบบไหน เช่น เป็น ครูในห้องเรียน เป็นครูฝึก หรือเป็นติวเตอร์ ค�ำว่า Teacher จะหมายถึงค�ำทั่วไป เช่น A teacher or schoolteacher is a person who provides education for pupils (children) and students (adults). (ครูคือ ผู้ที่ให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียนและนักศึกษา) บางคนได้ขยายค�ำตามอักษรได้ เช่น T means Talented. (หมายถึง ปฏิภาณ) E means how she makes it Easy to learn. (หมายถึง ง่าย ครูสอนอย่างไรที่ให้นักเรียน เข้าใจได้ง่าย) A means the grade she wants you to get. (หมายถึง เกรดเอ ครูจะ ต้องจนนักเรียนได้คะแนนดีมาก) C means how she Cheers you on. (หมายถึง ร่าเริง ให้ก�ำลังใจ) H means how Happy you both are when you understand what she says. (หมายถึง มีความสุข ) E means หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

how she Encourages you. (หมายถึ ง ส่งเสริม กระตุน้ ) R means Repetition helps to learn things. (หมายถึง การท�ำซ�้ำ เช่น ไม่เข้าใจก็อธิบายซ�้ำ ๆ จนเข้าใจ) นอกจากค� ำ ว่ า Teacher แล้ ว ยั ง มี ค� ำ อื่ น ๆ ที่ มี ค วามหมายแปลว่ า ครู ไ ด้ เ ช่ น กั น เช่น assistant, coach, educator, faculty member, instructor, lecturer, professor, scholar, schoolteacher, teach supervisor, tutor, adviser, disciplinarian, guide, mentor, pedagogue, preceptor, pundit trainer และเมื่อกล่าวถึงบทบาทของครูในยุค ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ได้ เ สนอทั ก ษะที่ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ ครู ไ ทยใน อนาคต (C-Teacher) ไว้น่าสนใจ ๘ ประการ คือ ๑. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะ ในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี หากไม่แม่นในเรื่อง ที่สอนหรือถ่ายทอดแล้ว ก็ยากที่นักเรียนจะมี ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ 47


๒. Computer (ICT) Integration ครู ต ้ อ งมี ทั ก ษะในการใช้ เ ทคโนโลยี เ ข้ า มา ช่ ว ยในการจั ด การเรี ย นการสอน เนื่ อ งจาก กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะ ช่วยกระตุน้ ความสนใจให้กบั นักเรียน และหาก ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมความรูแ้ ละทักษะ ที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ๓. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจ แนวคิดที่ว่า ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ ขึ้นเองได้จากภายในตัวของผู้เรียนเอง โดย เชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการ ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งครูสามารถ น�ำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรม การเรี ย นรู ้ เ พื่ อ ให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ความรู ้ แ ละ ทักษะที่ต้องการได้ ๔. Connectivity ครู ต ้ อ งสามารถจั ด กิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ผู้เรียนกับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกัน หรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา และ สถานศึกษากับชุมชน เพือ่ สร้างสภาพแวดล้อม ในการเรียนรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงให้กับ นักเรียน

48

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


๕. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบ ร่วมมือกันระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียน กับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการท�ำงาน เป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะที่ ส�ำคัญอื่น ๆ ๖. Communication ครูต้องมีทักษะการ สื่อสาร ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การ เลือกใช้สอื่ การน�ำเสนอสือ่ รวมถึงการจัดสภาพ แวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอด ความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม ๗. Creativity ในยุ ค สมั ย หน้ า ครู ต ้ อ ง ออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จัด สภาพแวดล้อม ให้เอือ้ ต่อการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ของผู้เรียนมากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ โดยตรงเพียงอย่างเดียว ๘. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่าง จริงใจต่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความ เชือ่ ใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรูต้ นื่ ตัวแบบ ผ่อนคลาย ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ ดีที่สุด ท้ า ยนี้ ผู ้ เ ขี ย นในฐานะที่ เ ป็ น ครู ค นหนึ่ ง มีความภาคภูมิใจในอาชีพครูตลอดมา โดย เฉพาะอย่างยิ่งการเป็นครูสอนทหารผู้ซึ่งเป็น ก�ำลังพลส�ำคัญในการปกป้องอธิปไตยของชาติ แต่กว่าทีผ่ เู้ ขียนจะประสบความส�ำเร็จจนมาถึง ทุกวันนี้ได้ ก็ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณ แม่ เป็นคุณครูคนแรกที่ให้ทั้งชีวิตและความ รู้ที่มีค่า ตลอดจน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา และอบรมสั่งสอน ผูเ้ ขียนมาจนถึงทุกวันนี้ และขอถืงโอกาสนีเ้ ป็น ตัวแทนศิษย์ กล่าวบทไหว้ครูเพื่อระลึกถึงท่าน ทั้งหลาย มา ณ โอกาสนี้

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

บทไหว้ครู (แปลโดย ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง)

ข้าฯ ขอประณตน้อมสักการ I humbly pay homage บูรพคณาจารย์ to my former teachers ผู้ก่อเกิดประโยชน์ศึกษา who have initiated me to the benefit of education ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา I also pay my respect to teachers อบรมจริยา who educate me both intellectually แก่ข้าฯ ในกาลปัจจุบัน and morally at present ข้าฯ ขอเคารพอภิวันท์ with great admiration ระลึกคุณอนันต์ and humility in my heart ด้วยใจนิยมบูชา I feel eternally in debt to them ขอเดชกตเวทิตา May the power of gratitude อีกวิริยะพา and perseverance ปัญญาให้เกิดแตกฉาน bring me insight and wisdom ศึกษาส�ำเร็จทุกประการ which will enable me to complete my education อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี to lead a long, ethical ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี honorable ประโยชน์ทวี and constructive existence แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ for the benefit of our nation, Thailand. 49


ก�ำลังพยายามเล่าให้ฟัง .. ไม่ว่าจะเครียดเพียง ใด อย่าลืมสายสัมพันธ์และความใกล้ชิดกับ คนในครอบครัว ๒. จั ด สรรเวลาเพื่ อ ออกก� ำ ลั ง กายบ้ า ง เพราะการออกก� ำ ลั ง กายไม่ เ พี ย งแต่ ท� ำ ให้ สุ ข ภาพร่ า งกายแข็ ง แรงเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ปรั บ สภาพจิ ต ใจให้ มี ค วามพร้ อ มที่ จ ะรั บ มื อ กั บ ความเครี ย ดได้ บางครั้ ง การออกก� ำ ลั ง กาย เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างพักเที่ยงด้วยการเดิน ขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ก็สามารถช่วยใน การผ่อนคลายอิรยิ าบถและความเครียดได้เป็น อย่างดีเช่นกัน ๓. หลายคนต้องเผชิญกับความเครียดตัง้ แต่ เดินทางไปท�ำงาน เพราะต้องฝ่าการจราจรที่ ติดขัด ลองหลีกเลี่ยงปัญหาความเครียดจาก การจราจรติดขัดเหล่านั้น หากที่พักของท่าน อยู่ใกล้ที่ท�ำงาน หาเวลาขี่จักรยานหรือเดินไป ท�ำงานดูบ้าง โดยออกจากบ้านแต่เช้าตรู่ แล้ว คุณจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว โลกยังเต็มไปด้วยความ สวยงามและสดใสเพี ย งใด หากไม่ ส ามารถ ท�ำได้ในวันธรรมดา ลองหาโอกาสออกก�ำลัง กายด้วยการขี่จักรยานหรือวิ่งออกก�ำลังกาย ในวันเสาร์ อาทิตย์ดูบ้าง ๔. ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยการให้เกียรติ และความเคารพตามความเหมาะสม โดยไม่ ค�ำนึงถึงชั้นยศ ระดับของหน้าที่การงาน หรือ ฐานะทางเศรษฐกิ จ รวมทั้ ง จงพร้ อ มที่ จ ะ ช่วยเหลือบุคคลอื่นอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส

การลดความเครียด ในที่ท�ำงาน

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

น ปั จ จุ บั น ความเครี ย ดในที่ ท� ำ งาน ได้ ก ลายเป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ อย่ า งหนึ่ ง ในชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของ บุคคลโดยทั่วไป ที่ต้องด�ำเนินชีวิตในยามที่โลก เต็มไปด้วยการแข่งขันนานัปการ ความเครียด ส่งผลให้ชีวิตของผู้คนจ�ำนวนมากประสบกับ อุปสรรค ทั้งหน้าที่การงาน สุขภาพอนามัย วิ ถี ชี วิ ต และความเป็ น อยู ่ ข องครอบครั ว ทิม ไฮน์เดิล (Tim Hindle) ได้แนะน�ำหนทาง ในการลดความเครียดเหล่านั้นในหนังสือของ เขาชื่อ “การลดความเครียด” (Reducing Stress) ซึ่งมีใจความส�ำคัญพอสรุปได้ดังนี้ 50

๑. ครอบครัวมีส่วนส�ำคัญอย่างมากในการ ช่วยลดความเครียด ดังค�ำกล่าวที่ว่า “.. เมื่อ เห็นหน้าลูก ก็หายเหนือ่ ยเป็นปลิดทิง้ ..” ดังนัน้ พึงให้เวลากับครอบครัวบ้าง รอยยิ้มและเสียง หัวเราะของคนที่คุณรักจะช่วยลดความเครียด ได้ อ ย่ า งมาก นอกจากนี้ พ ยายามอย่ า น� ำ ความเครียดจากที่ทำ� งาน ไปบ่อนท�ำลายความ สุขในครอบครัว รู้จักแบ่งเวลาให้กับครอบครัว อย่างสม�่ำเสมอ หากมีความจ�ำเป็นต้องหอบ งานที่คั่งค้างกลับมาท�ำที่บ้าน พยายามแยก พื้นที่การท�ำงานออกจากพื้นที่ใช้สอยทั่วไป ที่ ส�ำคัญอย่าโหมงานจนลืมรับฟังสิ่งที่ลูกของคุณ พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


๕. จั ด ระเบี ย บโต๊ ะ ท� ำ งานให้ เ รี ย บร้ อ ย สะอาดตา เพราะโต๊ะท�ำงานที่ปลอดโปร่งจะ ช่วยลดความเครียดลงได้อย่างมาก พยายาม เจี ย ดเวลาท� ำ ความสะอาดหรื อ ทิ้ ง เอกสาร ต่าง ๆ ที่ไม่จ�ำเป็นออกไปบ้างอย่างน้อยเดือน ละหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ควรจัดเก้าอี้นั่งให้ถูก สุขลักษณะ นั่งสบาย ไม่ส่งผลให้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อเมื่อต้องนั่งนาน ๆ รวมทั้งจัดแสง ไฟให้เหมาะสม เพราะแสงไฟที่ไม่พอเพียงจะ ก่อให้เกิดความล้าของสายตาและส่งผลไปถึง ความเครียดของจิตใจและสุขภาพ ควรจัดวาง แจกันดอกไม้ที่สดใสเพื่อความสดชื่นบนโต๊ะ

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

พร้อมภาพของครอบครัวหรือภาพแห่งความ ประทับใจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความ สุขในขณะท�ำงาน ๖. พยายามสื่ อ สารพู ด คุ ย กั บ เพื่ อ นร่ ว ม งาน โดยเฉพาะการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ เช่น การดื่มกาแฟยามเช้าในห้องพักผ่อน การ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน เพื่อหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาและความเครียด ของตนเอง ตลอดจนเพือ่ รับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของเพื่อนร่วมงาน ๗. พัฒนาตัวเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ เสมอ พยายามอย่ า หยุ ด นิ่ ง หรื อ จมปลั ก อยู ่ กับที่ เช่น เรียนรู้การใช้อุปกรณ์สื่อสารหรือ โปรแกรมตลอดจนแอพพลิเคชั่นที่มีความทัน สมัยแบบ ไลน์ วีแชตหรือแทงโก้ หรือเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนติดตามข้อมูลข่าวสาร ที่ทันสมัยต่าง ๆ รอบตัว เพราะความรู้ใหม่ ๆ เหล่านี้จะท�ำให้เกิดหนทางในการแก้ไขปัญหา และความเครียดต่าง ๆ ได้ ๘. จั ด วางระบบการท� ำ งานของตนเอง อย่างเป็นระบบ ด้วยความเป็นมืออาชีพและ ความรับผิดชอบ ใส่ใจในรายละเอียดของงาน ความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ มักเกิดขึ้นเสมอ แต่หากใช้ความระมัดระวังแล้ว ความผิดพลาด เหล่านั้นก็อาจไม่เกิดขึ้นได้ จงรีบสะสางงานที่

ได้รับมอบหมายและค้างคาอยู่ให้เสร็จสิ้น ไม่ หมักหมมงาน เพราะสิ่งเหล่านี้คือสาเหตุของ ความเครียดในที่ท�ำงาน ๙. เมื่อต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง หรือ การสั่ ง การที่ ต ้ อ งการผลเร่ ง ด่ ว น พยายาม ควบคุมอารมณ์และความเครียด อย่าตีโพย ตีพาย หรืออย่าเคร่งเครียด จดจ�ำส�ำนวนจีนบท หนึ่งที่ว่า “.. หากเมื่อยามแสงเทียนดับลง จง อย่าวิ่ง เพียงรอให้สายตาคุ้นเคยกับความมืด เสียก่อน เพียงเท่านั้นความมืดดังกล่าวก็จะไม่ เป็นอุปสรรคเลย ..” และที่ส�ำคัญ พึงระลึกไว้ ว่าในสถานการณ์เช่นนี้ จงพิจารณาทุกอย่าง อย่างรอบคอบ และอย่าตัดสินใจเร็วเกินไปนัก ๑๐. สร้ า งสายสั ม พั น ธ์ กั บ เพื่ อ นร่ ว ม งานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ปลีกเวลาไป รั บ ประทานอาหารกลางวั น กั น บ้ า ง เสาร์ อาทิตย์ลองหาเวลาพบปะ สังสรรค์ระหว่าง ครอบครั ว และเพื่ อ นร่ ว มงาน เพื่ อ ลด ความเครียดเมื่อต้องเผชิญหน้ากันในที่ท�ำงาน ๑๑. รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ เป็นประจ�ำ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องออกจากบ้านแต่ เช้า เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด ต้องรับ ประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าอย่างสม�่ำเสมอ การงดอาหารเช้านอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพ แล้วยังส่งผลต่อความเครียดอีกด้วย ๑๒. รู้จักการปล่อยวางและอย่าใส่ใจกับ ทุกสิ่งรอบข้างมากจนเกินไป เพราะไม่มีสิ่งใด ที่ ส มบู ร ณ์ แ บบ พยายามคิ ด ในมุ ม บวกและ มองโลกในแง่ดีเสมอ อีกทั้งควรมีทัศนคติที่ ยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ และหากเกิดความเครียดมาก ๆ อย่ากังวล ที่ จ ะหลบมุ ม นั่ ง พั ก กั บ เครื่ อ งดื่ ม แก้ ว โปรด (ไม่ ค วรมี แ อลกอฮอล์ อาจเป็ น ชา กาแฟ น�้ำผลไม้ที่ชื่นชอบ) ฟังเพลงบรรเลงเบา ๆ หรือ สงบจิตใจเงียบ ๆ เพียงล�ำพัง วิธีการเหล่านี้เป็นหนทางส่วนหนึ่งในการ ลดความเครียดในที่ท�ำงาน ที่น่าทดลองน�ำไป ปฏิบัติดู แต่เหนือสิ่งอื่นใด วิธีลดความเครียด ที่ได้ผลดีที่สุดข้อหนึ่ง คือ “การปล่อยวาง” นั่นเอง

51


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“เรียนรู้และเข้าใจเด็กสมาธิสั้น” ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เรียน ดูฉลาดคล่องแคล่วแต่ผลการเรียนไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจท�ำให้เพื่อนไม่ค่อยอยากเล่น ด้วยเพราะเล่นแรง หรือก่อให้เกิดความร�ำคาญ แก่คนรอบข้างอย่างมาก ก็สงสัยได้ว่าเด็กอาจ จะเป็นสมาธิสั้น ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพือ่ ตรวจยืนยัน และหาแนวทางดูแลช่วยเหลือ ต่อไป

ท�ำไมเด็กจึงเกิดสมาธิสั้น ?

สาระน่ารู้ประจ�ำเดือนนี้ ส�ำนักงาน แพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักและ เข้าใจถึงหัวอกผูป้ กครองหรือก�ำลังพล  ในสั ง กั ด ส�ำนั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหม ทีม่ บี ตุ รหลานเป็นเด็กสมาธิสนั้   จึงขอน�ำเสนอสาระน่ารู้ทางการแพทย์ เพื่อเรียนรู้เข้าใจเด็กสมาธิสั้น รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น ? เด็กสมาธิสั้น สั้นแค่ไหนถึงเป็นโรค หรือ ความผิดปกติ ที่จะต้องพาไปหาหมอ แล้วจะรู้ ได้อย่างไรว่าลูกเป็นสมาธิสั้น เป็นค�ำถามที่พ่อ แม่หลายท่านสงสัยกัน การทีจ่ ะบอกว่าเด็กเป็น สมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากอาการของ สมาธิสั้นคล้าย ๆ กับอาการของปัญหาอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ก่อนอื่นควรมาท�ำความรู้จัก กับ “สมาธิสั้น” บางคนอาจเรียกว่าเด็กสมาธิสั้น บางคน อาจเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ ก็คืออย่างเดียวกัน นะครับ อย่าไปสับสน มาจากชื่อภาษาอังกฤษ ค�ำเต็มว่า Attention Deficit Hyperactivity 52

Disorder หรื อ ที่ เ รี ย กย่ อ ว่ า ADHD เป็ น ลั ก ษณะที่ ท� ำ ซ�้ ำ แล้ ว ซ�้ ำ เล่ า จนกลายเป็ น ลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบด้วยปัญหา หลักใน ๓ ด้านคือ ๑. สมาธิสั้น ๒. ซนอยู่ไม่นิ่ง ๓. หุนหันพลันแล่น เด็กมักจะท�ำอะไรได้ไม่นาน จะวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่ก�ำลังท�ำ ได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย ในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของ เล่นไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นเด็กโตมักท�ำงานไม่เสร็จ ตามที่สั่ง ท�ำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด เด็กมักซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เหลียวซ้าย แลขวา แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ปีนป่าย นั่งไม่ ติดที่ ชอบคุย ส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง นอกจากนีเ้ ด็กยังมีความหุนหันพลันแล่น ยับยัง้ ตัวเองไม่ค่อยได้ มักท�ำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ ไม่ อยู่ในกติกา ท�ำอะไรค่อนข้างรุนแรง พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง ไม่รอคอยให้คนอืน่ พูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน ถ้าเด็กมี ลักษณะอาการอยู่ในข่ายข้างต้น จนท�ำให้เกิด ผลเสียต่อตัวเด็กอย่างมาก เช่น ท�ำงานไม่ทัน เพื่อน ท�ำการบ้านไม่เสร็จ กระทบต่อผลการ

โรคสมาธิสั้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุป ได้อย่างชัดเจนว่าสาเหตุคืออะไร แต่ก็มีงาน วิจัยจ�ำนวนมากในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมาชี้ว่า สาเหตุมาจากความผิดปกติของสารเคมีบาง ชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสมาธิ นอกจากนี้ยังมี ความผิดปกติในการท�ำงานของวงจรที่ควบคุม สมาธิ และการตื่นตัว ซึ่งอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex) และยังพบอีกว่ามีปัจจัย ด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยพบว่า เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นสมาธิสั้นจะมีโอกาส ที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กอื่น ๆ ถึง ๖ เท่า แต่ก็ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าลูกคนไหนจะ เป็นหรือไม่เป็น ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าการถ่ายทอดทาง พันธุกรรมของโรคนี้ ว่าอยู่ที่ความผิดปกติของ ยีนตัวใด และถ่ายทอดแบบไหน ถ้าได้ค�ำตอบ นี้จะท�ำให้เราเข้าใจโรคนี้มากขึ้น นอกจากนี้ การที่สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น พ่อ - แม่ เสพ สารเสพติด ติดเหล้า บุหรี่ ก็มีรายงานว่าเป็น สาเหตุได้เช่นกัน สิ่งส�ำคัญที่จะต้องท�ำความ เข้าใจคือ สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของ พ่อแม่ทเี่ ลีย้ งดูลกู ผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือ ปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิด ของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การ ท�ำงานของสมองทีค่ วบคุมเรือ่ งสมาธิของเด็ก มี ปัญหาบางอย่างจนท�ำให้สมาธิไม่ดี อยูไ่ ม่นงิ่ ถึง แม้วา่ เด็กจะพยายามแล้ว ก็ท�ำได้ไม่ดตี ามทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่คาดหวังไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะเราสามารถปรับ วิธีการดูแล และเพิ่มการฝึกฝนเด็กให้มีสมาธิ ดีขึ้นได้ สามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น และ ปัจจุบันยังมียาที่ช่วยเพิ่มสมาธิอีกด้วย

ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ช่วยลูกเพิ่มสมาธิได้อย่างไร ? ถ้าเด็กสมาธิสั้น ท�ำอะไรก็มักไม่ส�ำเร็จ และ ส่งผลเสียมากมายทั้งต่อตัวเด็กเอง และคน รอบข้าง ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กให้มีสมาธิจึง ส�ำคัญมาก แนวทางเพิ่มสมาธิจะท�ำควบคู่กัน ๓ แนวทาง คือ ๑. การใช้ยาเพิ่มสมาธิ ๒. การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง ๓. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม การใช้ ย าเพิ่ ม สมาธิ ในปั จ จุ บั น ถื อ เป็ น มาตรฐานการรักษา ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมี สมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์กับ คนรอบข้ า งดี ขึ้ น ในการฝึ ก ฝนการควบคุ ม ตนเองของเด็ก พ่อแม่ควรจัดกิจวัตรประจ�ำ วันของเด็กให้เป็นไปอย่างสม�่ำเสมอตามเวลา ที่ก�ำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาตื่นนอน เวลา รับประทานอาหาร อาบน�้ำ ไปโรงเรียน ท�ำการ บ้าน หรือเข้านอน นอกจากนี้ควรฝึกฝนให้ เด็กมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ก�ำลังท�ำได้ต่อ เนื่อง ประมาณ ๒๐ - ๓๐ นาที โดยเน้นให้ เด็กนั่งอยู่กับที่ ท�ำงานจนเสร็จ โดยไม่ลุกเดิน ไปไหน ซึ่งในช่วงแรกพ่อแม่ควรควบคุมอย่าง ใกล้ชิด และคอยช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กท�ำได้ ส�ำเร็จ แทนที่จะให้ความสนใจ ดุว่า เมื่อลูก ท�ำผิด เช่นรบกวนผู้อื่น พ่อแม่ควรเปลี่ยนมา ให้ความสนใจเมื่อลูกท�ำตัวดี หรือเข้ามาช่วย เหลืองานบางอย่าง โดยให้ค�ำชม กอดลูก หรือ ให้รางวัลเป็นพิเศษตามความเหมาะสม แต่ ต้องไม่มากจนเกินไป เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็ก เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง การตีอาจแก้ไข ปัญหาได้ชั่วขณะ แต่ไม่คงทนถาวรโดยเฉพาะ กับเด็กสมาธิสั้น ควรใช้วิธีการลงโทษแบบอื่น ที่จะได้ผลมากกว่า เช่น หากลูกซนมาก ก็ให้หา กิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจเขา แต่ถ้า มากจนพ่อแม่หงุดหงิด ร�ำคาญใจ พ่อแม่ก็ควร เดินไปท�ำอย่างอืน่ แทน ไม่ให้ความสนใจในช่วง นั้น หากลูกตีหรือกัดให้จับมือและต้านแรงไว้ แยกออกมาให้ลูกนั่งอยู่เงียบ ๆ คนเดียวสักพัก จนกว่าจะสงบลงก่อน แล้วค่อยพูดถึงสิ่งที่ท�ำ ไม่ถูกต้องรวมทั้งผลของมันเมื่อลูกสงบลงแล้ว หรืออาจลงโทษโดยงดท�ำบางอย่างที่ลูกชอบ ชั่วคราว การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะ สม ทัง้ ทีบ่ า้ นและทีโ่ รงเรียนถือว่ามีความส�ำคัญ มาก โดยสิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจน เกินไป ควรจัดเก็บของเล่นต่าง ๆ เข้าที่ ให้พ้น จากสายตาเด็ก โดยใส่ตู้ ลิ้นชัก หรือตะกร้า เพื่อไม่ให้เด็กวอกแวก หรือเปลี่ยนความสนใจ ง่าย เวลาท�ำการบ้าน ควรจัดมุมที่สงบ ห้อง ต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมาตลอด และไม่ควรเปิดทีวีไปด้วยท�ำการบ้านไปด้วย พร้อมกัน หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

การเสริมสร้างความภูมิใจแก่เด็ก สมาธิสั้นมีความส�ำคัญอย่างไร ? เด็ ก สมาธิ สั้ น มั ก จะท� ำ งานไม่ ค ่ อ ยส� ำ เร็ จ ท�ำให้ถกู ดุถกู ว่าเป็นประจ�ำ จนหมดความมัน่ ใจ และมีภาพลักษณ์ของตนเองทีไ่ ม่คอ่ ยดีนกั มอง ว่าตนเองเป็นเด็กไม่ดี ท�ำอะไรก็ไม่ส�ำเร็จ ท�ำให้ เริ่มขาดแรงจูงใจในการเรียน ไม่อยากเรียน ไม่ท�ำการบ้าน และเริ่มเสาะแสวงหาช่องทาง อื่น ๆ ที่จะเสริมความมั่นใจอย่างไม่เหมาะสม เทคนิคการสื่อสารกับลูกสมาธิสั้น เช่น แกล้งเพื่อน เถียงพ่อแม่และคุณครู ฝ่าฝืน ลูกที่เป็นสมาธิสั้น มักจะไม่ค่อยสนใจฟัง กฎเกณฑ์ และในที่ สุ ด ก็ ก ลายเป็ น เด็ ก เกเร ว่าจะให้ท�ำอะไรบ้าง จนไม่สามารถท�ำได้เสร็จ ก้าวร้าว รุนแรง การสร้างเสริมความภูมิใจให้ หรื อ ครบตามที่ บ อก และถู ก ลงโทษในที่ สุ ด เด็กจึงมีความส�ำคัญมาก ที่จะดึงเขากลับสู่เส้น ปัญหาเรื่องการสื่อสารจึงเป็นปัญหาใหญ่ของ ทางที่เหมาะสม สามารถท�ำได้โดยเริ่มจากการ เด็กสมาธิสั้น หลักในการพูดคุยสื่อสารกับลูก สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเด็กเอง ให้มีภาพ ที่เป็นสมาธิสั้น ควรสังเกตว่าลูกอยู่ในภาวะที่ การท�ำงานที่ส�ำเร็จเสร็จตามมอบหมาย โดย พร้อม หรือมีสมาธิ ที่จะให้ความสนใจสิ่งที่คุณ ต้องคอยประกบ ให้ค�ำแนะน�ำ และช่วยเหลือ พ่อคุณแม่ก�ำลังจะพูดอยู่หรือไม่ ควรมีภาษา อย่างใกล้ชิดในช่วงแรก แบ่งงานออกเป็นขั้น ท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูด ตอนย่อย ๆ และติดตามเป็นระยะ ให้ก�ำลัง คุย เช่น การแตะไหล่ สัมผัสมือ เพื่อให้เด็กมี ใจ ให้ค�ำชม และให้รางวัลตามความเหมาะสม เมื่ อ เด็ ก ควบคุ ม ตั ว เองไม่ ไ ด้ ก่ อ ความ สมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เราก�ำลังพูดมากขึ้น แทน เสี ย หาย ไม่ควรต�ำหนิว่าเด็กนิสัยไม่ดี แต่ควร การบอกปากเปล่าอย่างเดียว ซึ่งลูกอาจตอบ ว่าครับ แต่ไม่รู้ว่าให้ท�ำอะไร เพราะไม่ได้ตั้งใจ จะเตือนและสอนอย่างสม�่ ำเสมอว่าอะไรไม่ ฟัง ถ้าไม่แน่ใจว่าลูกฟังสิ่งที่เราบอกหรือไม่ ให้ เหมาะสม และสิ่งที่ควรท�ำคืออะไร เพื่อเปิด เขาลองทบทวนให้ฟังอีกครั้งว่าเราบอกอะไร โอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง ถ้าเห็นว่าควร ควรพูดกับลูกโดยใช้คำ� พูดทีก่ ระชับ ได้ใจความ ท�ำโทษ ก็ท�ำโทษอย่างเหมาะสม ไม่ใช้อารมณ์ ชัดเจน หากลูกก�ำลังเหม่อ วอกแวก หรือไม่ และความรุนแรง นอกจากนี้ ควรมองหาจุดเด่น และความ สนใจ ควรเรียกหรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้ เด็กรู้สึกตัว และหันมาสนใจเสียก่อน จึงค่อย สามารถของเด็ ก ในด้ า นอื่ น ๆ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความภาคภู มิ ใ จ เช่ น ดนตรี กี ฬ า พูดคุยกับเด็ก ในบางครั้ ง เพี ย งใช้ ก ารบอก เรี ย ก หรื อ หรื อ ศิ ล ปะ หรื อ ส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก ได้ มี โ อกาส อธิ บ ายอย่ า งเดี ย ว ลู ก อาจไม่ ฟ ั ง หรื อ ไม่ ท� ำ แสดงออกในสิ่งที่ดี ๆ เช่น มีน�้ำใจช่วยเหลือ ตาม ควรเข้าไปหาลูกและใช้การกระท�ำร่วม ผูอ้ นื่ ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดาน หรืองาน ด้วย เช่น จูงลูกให้ไปท�ำการบ้าน จะได้ผลดี มอบหมายพิเศษอื่น ๆ โดยสรุปคือ พยายามเพ่งเล็งหาสิ่งที่ดีในตัว กว่าเรียกอย่างเดียว ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการฝึกให้ ลูกรับฟังและปฏิบัติตามผู้ใหญ่ได้ดีขึ้นในเวลา เด็ก และแสดงให้เขารู้ว่าเราเห็นและชื่นชมใน ต่อมา ในกรณีทมี่ หี ลายอย่างให้ลกู ท�ำ ควรบอก สิ่งที่เขามี ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่คอยจับผิด ทีละอย่าง ให้เสร็จทีละอย่าง แล้วค่อยบอกสิง่ ที่ หรือต�ำหนิในสิ่งที่เขาท�ำไม่ดี แต่ควรแนะน�ำว่า จะให้ท�ำต่อไป อย่าบอกทีเดียวหลาย ๆ อย่าง เขาควรแก้ไขใหม่อย่างไร ควรช่วยเหลือสร้าง เพราะลูกอาจฟังได้ไม่ครบและไม่ได้ท�ำในที่สุด ภาพลักษณ์แห่งความส�ำเร็จให้มีในตัวเด็ก สิ่ง ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน ควรมีการเข้าไป เหล่านี้จะสร้างความภูมิใจในตัวเด็ก และเป็น ติดตาม คอยแนะน�ำและให้ก�ำลังใจเป็นระยะ จุดเริ่มต้นที่เด็กจะพยายามแก้ไข และควบคุม แต่ไม่ใช่เข้าไปจับผิด ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถ ตนเองในหนทางที่เหมาะสม สื่อสารกับลูกที่เป็นสมาธิสั้นได้ถูกวิธี ลูกก็จะ สามารถท�ำตามสิ่งที่บอกได้มากขึ้น และช่วย ลดความขัดแย้งลงได้มาก ไม่ท� ำให้หงุดหงิด ร�ำคาญใจ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ อยากให้คุณพ่อ คุณแม่คดิ ไว้กอ่ นเสมอว่า การทีล่ กู ไม่ได้ทำ� ตาม สิง่ ทีเ่ ราบอก อาจเป็นเพราะเขาไม่มสี มาธิฟงั สิง่ ที่เราบอก จึงไม่รู้ว่าต้องท�ำอะไร ดังนั้นควรมา ปรับเปลี่ยนที่วิธีการสื่อสารกับลูกก่อน ก่อนที่ จะไปต�ำหนิเขา 53


วันเด็กแห่งชาติ พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต

54

พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต


ถื

อเป็นประเพณีทุกปีนะคะส�ำหรับ วันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคม ทีร่ ฐั บาลได้กำ� หนดให้เป็น “วันเด็ก แห่งชาติ” เด็กหรือเยาวชนถือเป็นทรัพยากร บุคคลที่ส�ำคัญของชาติ เป็นพลังส�ำคัญที่จะ พัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็ ก ๆ ทุ ก คนจึ ง ต้ อ งขยั น ศึ ก ษาหาความรู ้ ประพฤติตนเป็นคนดี ตระหนักถึงความรับผิด ชอบที่ตนมีและตั้งใจท�ำให้ดีที่สุด เพื่ออนาคต ของตนเองและอนาคตของชาติ ที่ผ่านมารัฐบาลจัดงานวันเด็กให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนครั้ ง แรก ในวั น จั น ทร์ แ รกของ เดือนตุลาคม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ ซึ่ง เป็ น ไปตามมติ ค ณะรั ฐ มนตรี ขณะเดี ย วกั น นายวี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์ เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ก็ได้เสนอ ต่อกรมประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดงานวันเด็ก ขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เห็น ถึงความส�ำคัญของตนเอง ด้วยเหตุนี้การจัด กิ จ กรรมในวั น เด็ ก จึ ง ได้ ป ฏิ บั ติ ติ ด ต่ อ กั น มา

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ คณะกรรมการ มีความเห็นพ้องต้องกันว่าวันเสาร์ที่ ๒ ของ เดื อ นมกราคมมี ค วามเหมาะสมส� ำ หรั บ การ จัดงานมากกว่า เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ ดังนั้นในปี ๒๕๐๘ รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้จัด งานวันเด็กแห่งชาติขึ้นในวันเสาร์ที่ ๒ ของ เดือนมกราคม และได้ถือเอาวันเสาร์ที่ ๒ ของ เดือนมกราคมของทุกปีเป็น “วันเด็กแห่งชาติ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ส� ำ หรั บ ค� ำ ขวั ญ วั น เด็ ก ได้ เ ริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ ครั้ ง สมั ย ของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ช ต์ ด� ำ รง ต�ำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยค�ำขวัญแรก มี ใ จความว่ า “ขอให้ เ ด็ ก ในสมั ย ปฏิ วั ติ ข อง ข้าพเจ้า เป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า” จาก นั้นในเวลาต่อมานายกรัฐมนตรีจึงมีค� ำขวัญ มอบให้กับเด็ก ๆ เป็นประจ�ำทุกปี นอกจากนี้ ในทุก ๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท และสมเด็จ พระสังฆราชทรงโปรดพระราชทานคติธรรม ส่วนกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ จะเป็นความ ร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาค รัฐ ภาคเอกชน ร่วมกันจัดงานเพื่อให้ทั้งความรู้

ความบันเทิงแก่เด็ก ๆ และเยาวชน ตามสถาน ที่ต่าง ๆ จนเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา กองทัพถือเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ การจั ด งานวั น เด็ ก แห่ ง ชาติ โดย เปิ ด สถานที่ ส� ำ คั ญ ๆ ให้ เ ด็ ก ๆ ได้ เ ข้ า ชม ฟรี นอกจากนี้ยังมีการน�ำอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ทันสมัยมาแสดงให้เด็ก ๆ และเยาวชนได้ รับชม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความฝันและ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ เห็นถึง ความส�ำคัญของตนเองว่าเมื่อพวกเขาเหล่านั้น เติบโตขึ้นแล้วจะมีส่วนในการพัฒนาประเทศ ในอนาคตอย่างไร ส�ำหรับส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้มีการจัดกิจกรรมวันเด็กภายในอาคารที่พัก อาศั ย ของส�ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดยให้ เ ด็ ก ๆ ร่ ว มสนุ ก กั บ กิ จ กรรมที่ จั ด ขึ้ น เป็ น ประจ� ำ ทุ ก ปี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ เดียวกันคือให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงความส�ำคัญของ ตนเอง รู้ถึงระเบียบ สิทธิ หน้าที่ ความรับ ผิดชอบของตนเอง มีความยึดมั่นในสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ท�ำตัวให้เป็น ปัญหาของสังคม ท้ายนี้รายการข่าวส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม จึ ง ขอฝากค� ำ ขวั ญ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ “กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง” ให้เด็ก ๆ และ เยาวชนน�ำไปเป็นแนวทางในการปฏิบตั ติ นเพือ่ จะได้เติบโตเป็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติ สืบต่อไป

55


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ไปในงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยในการนี้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมพร้อมภริยา ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ณ สนามหญ้าหน้าตึก ไทยคู่ฟ้า ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๗ ธ.ค.๕๖

56


พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ทันตแพทย์ หญิ ง รั ต นาวดี ทองเล็ ก นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมพร้อมภริยา ร่วมงาน พระราชพิ ธี เ ฉลิ ม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ณ ท้องพระโรง ศาลาประชาสมาคม วังไกล กังวล อ�ำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ ๕ ธ.ค.๕๖

นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรั ฐ มนตรี แ ละรั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงกลาโหม น�ำคณะข้าราชการทหารและต�ำรวจ ประกอบด้วย พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก นิ พั ท ธ์ ทองเล็ ก ปลั ด กระทรวงกลาโหม รองผู ้ บั ญ ชาการ ทหารสู ง สุ ด ผู ้ บั ญ ชาการเหล่ า ทั พ ผู ้ บั ญ ชาการต� ำ รวจแห่ ง ชาติ ร ่ ว ม บั น ทึ ก เ ท ป โ ท ร ทั ศ น ์ อ า เ ศี ย ร ว า ท ถ ว า ยพระพร ชั ย ม ง ค ล พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ ้ า อ ยู ่ หั ว เนื่ อ งในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก เมื่อ ๒๘ พ.ย.๕๖

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

57


พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี เปิดงานแสดงพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ “ดวงประที ป พราวนภา เทิ ด ราชาราชิ นี บารมีศรีแผ่นดิน” จัดโดยกระทรวงกลาโหม ณ ชายหาดภายในสวนหลวงราชินี ๑๙ ไร่ อ�ำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม และ คณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมร่วมงาน เมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๖

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงวงโยธวาทิตเฉลิมพระเกียรติฯ “๑ คีตมหาราชาในดวงใจ ๑ โยธวาทิตไทยสู่สากล” จัดโดยกระทรวงกลาโหม ณ สนามกีฬากองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อ ๑๗ ธ.ค.๕๖ 58


พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมให้ความรู้และบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญจากส�ำนักงาน ป.ป.ส. มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปัญหายาเสพติดภัยร้ายในที่ท�ำงานและครอบครัว” ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายใน ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ ธ.ค.๕๖

พลเอก นิ พั ท ธ์ ทองเล็ ก ปลั ด กระทรวงกลาโหม เป็ น ประธานในพิ ธี ม อบธงประจ� ำ กองร้ อ ยฝึ ก ให้ กั บ กรมเสมี ย นตราตามนโยบาย หน่วยทหารชั้นดี ก�ำลังพลมีประสิทธิภาพ โดยมี พลเอก ชัชวาลย์ ข�ำเกษม เจ้ากรมเสมียนตรา พร้อมก�ำลังพลกรมเสมียนตรา ร่วมประกอบพิธี ณ ลานอเนกประสงค์ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๖ ธ.ค.๕๖

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

59


ศู น ย์ อ� ำ นวยการสร้ า งอาวุ ธ ศู น ย์ ก าร อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งาน ทหาร ได้จัดเจ้าหน้าที่และรถพยาบาล ร่วมกับ เทศบาลเมืองเขาสามยอด ตัง้ จุดอ�ำนวยความ สะดวกให้กับประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน เพื่อ เป็ น การป้ อ งกั น และลดอุ บั ติ เ หตุ ท างถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๗ ณ บริเวณสี่แยก โรงพยาบาลอานันทมหิดล ระหว่าง ๒๗ ธ.ค. ๕๖ - ๒ ม.ค. ๕๗

โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ตั้งจุดบริการประชาชนที่เดินทางกลับ ภูมิล�ำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยบริการน�้ำดื่ม กาแฟ ผ้าเย็น ห้องน�้ำ และตรวจเช็คยานพาหนะเบื้องต้น ให้กับประชาชนที่สัญจรผ่านไป-มา โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้พักระหว่างเดินทางและลดความเหนื่อยล้า ในการขับรถ ซึ่งจะช่วยลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง ณ บริเวณสวนสุขภาพ บึงฤาษีเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ๒๗ – ๒๙ ธ.ค.๕๖ 60


ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จัดงานวันพร้อมญาติทหารใหม่ รุ่นปี ๒๕๕๖ ผลัดที่ ๒ เพื่อให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองทหารใหม่ ได้มีโอกาสเยี่ยมเยียนบุตรหลาน โดยจัดให้มีการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของหน่วยและการแสดงของ ทหารใหม่ ณ ศาลาอเนกประสงค์ สนามหน้ากองบัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เมื่อ ๒๖ ธ.ค.๕๖

พลตรี ด�ำรงศักดิ์ วรรณกลาง รองเจ้ากรม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ก ลาโหม เป็ น ประธานในพิธีเปิดการจัดอบรมและสัมมนา เพื่อให้ก�ำลังพลได้รับความรู้ความเข้าใจและ รับทราบบทบาทและเตรียมความพร้อมเมื่อ ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ณ โรงแรมสวนบวกหาดชะอ�ำ จังหวัด เพชรบุรี เมื่อ ๑๒ – ๑๓ ธ.ค.๕๖

หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมบันทึกแถบวีดิทัศน์อาศิรพาท ร่วมกับสมาคมแม่บ้านเหล่าทัพ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธาน เพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๖

ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยอุปนายกสมาคมฯ น�ำคณะ กรรมการสมาคมฯ บันทึกเทปอาเศียรวาท ถวายพระพรพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ สถานีวิทยุ โทรทัศน์กองทัพบก เมื่อ ๒๘ พ.ย.๕๖

62


ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานวัน คล้ายวันสถาปนาสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการกองทัพไทย ครบรอบปีที่ ๒๖ ณ บ้านพักรับรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ภายในศูนย์รักษาความ ปลอดภัย ถนนลาดปลาเค้า เมื่อ ๒๖ พ.ย.๕๖

สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกิจกรรมเดินริว้ ขบวนอัญเชิญเครือ่ งราชสักการะและถวายราชสดุดเี ฉลิมพระเกียรติ งาน ๕ ธันวามหาราช ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อ ๕ ธ.ค.๕๖ หลักเมือง มกราคม ๒๕๕๗

63


สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร มอบผ้าห่มกันหนาว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ให้กับ ชาวบ้านใน ๑๕ หมู่บ้านที่ขาดแคลนเครื่องกันหนาว และยังได้มอบ ถังเก็บกักน�้ำขนาด ๒,๐๐๐ ลิตร จ�ำนวน ๑๐ ถัง ให้กับชาวบ้าน ใน ๕ หมู่บ้าน ในต�ำบลบ้านแม่คะ อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่ อ ๑๑ ธ.ค.๕๖ เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาการขาดแคลนน�้ ำ อุ ป โภคบริ โ ภค ในช่วงฤดูแล้ง พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน จ� ำนวน ๕ โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เล่นกีฬาและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริ ย าฯ ได้ ร ่ ว มกั บ หน่ ว ยแพทย์ เ คลื่ อ นที่ โ รงพยาบาล ค่ายกาวิละ มณฑลทหารบกที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลฝาง ตรวจรักษาให้กับชาวเขาและชาวบ้านอีกด้วย

64


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก่ประชาชนชาวไทย เนือ่ งในโอกาสขึน้ ปีใหม่ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากล สีน�้ำเงินเข้ม ทรงผูกเนคไทสีเขียวอ่อน มีลวดลายเข้าชุดกับผ้าปักรัดกระเป๋า ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ฉลองพระบาท สีด�ำ ประทับพระเก้าอี้สีขาว หน้าพระแกล หรือ หน้าต่าง ณ พระต�ำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน ทรงฉายกับคุณทองแดง สุนัขที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ สวมเสื้อสีเหลือง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา ด้านขวาบนมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้ายมีผอบทองประดับ ด้านล่างของผอบทองมีตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๗ และตัวอักษร สีสม้ ข้อความว่า สวัสดีปใี หม่ ด้านขวาใต้ตราพระมหาพิชยั มงกุฎ มีขอ้ ความภาษาไทย พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีฟ้าว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ และข้อความภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเขียวเข้มว่า HAPPY NEW YEAR 2014 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีเขียวเข้ม มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 060931 ธ.ค. 56 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาภายในส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พร้อมทั้งจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ให้กับก�ำลังพลของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัด ให้มีกิจกรรมกีฬาเชื่อมความสามัคคีและกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ ศูนย์กีฬาส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในบริเวณอาคาร ที่พักอาศัยของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่แขวงบางจาก เมื่อ ๒๕ ธ.ค.๕๖


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ประจ�ำปี ๒๕๕๗ (ปีที่๖) โครงการจิตส�ำนึกรักเมืองไทย ในปีที่ ๖ นี้ เป็นกิจกรรมการสานต่อแนวความคิดและการด�ำเนินการ ของปีที่ผ่านมา โดยขยายผลและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมในการสร้างความรัก ความ สามัคคีของคนในชาติ ด้วยการก�ำหนดหัวข้อการประกวดที่เป็นประเด็นสังคม หรือสถานการณ์บ้านเมือง ที่ส่งผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิตของคนไทย โดยในปีนี้ได้ก�ำหนดแนวคิดภายใต้หัวข้อ “การทุจริตคอรัปชั่น” ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่า เป็นเรื่องที่ควรด�ำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นต่อ กลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนในสถาบันการศึกษา ด้วยการปลูกฝังแนวคิด ตลอดจนการสร้างส�ำนึกรับผิดชอบและ การมีส่วนร่วมทางสังคมของเยาวชนให้แสดงออกผ่านกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗

การประกวดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถในการถ่ายภาพ งานออกแบบ กราฟิก หรือผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ได้ถ่ายทอดความคิด และมุมมองผ่านผลงานสื่อโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การรณรงค์ต่อต้านการทุจริตอย่าง สร้างสรรค์

การประกวดสปอตโทรทัศน์ประชาสัมพันธ์ (ความยาว ๑ นาที)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงออกถึงมุมมอง และแนวคิดในการท�ำสิ่งดี ๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคม

การประกวดสร้างสรรค์บทเพลง

มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสและสร้างการรวมตัวของกลุ่มเยาวชนที่มีความสนใจและ มีความสามารถทางด้านดนตรี ได้ร่วมแสดงออกถึงแนวคิดผ่านการสร้างสรรค์บทเพลง

เพราะเยาวชนคือพลังที่ยิ่งใหญ่และส�ำคัญของชาติในอนาคต สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โทร./โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ หรือคลิกไปที่ www.จิตส�ำนึกรักเมืองไทย.com

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗

www.lakmuangonline.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.