วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 273

Page 1



ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผู้อำ�นวยการ

พล.อ.วันชัย  เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช  จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์  เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช  มีเพียร พล.อ.ธวัช  เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์  บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด  เบื้องบน พล.อ.สิริชัย  ธัญญสิริ พล.อ.วินัย  ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต  เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์  เกษโกวิท พล.อ.เสถียร  เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส  รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน

พล.ต.ณภัทร  สุขจิตต์

รองผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ณัฐวุฒิ  คล้ายโอภาส พ.อ.คงชีพ  ตันตระวาณิชย์

ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย  รักประยูร

ประจำ�กองจัดการ

น.อ.กฤษณ์  ไชยสมบัติ น.ท.วิษุวัติ แสนคำ� ร.น.  ร.อ.ไพบูลย์  รุ่งโรจน์

ญญิก ที่ปรึกษา เหรั พ.ท.พลพัฒน์  อาขวานนท์

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม ร.น. พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์ พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ พล.อ.ชัชวาลย์ ขำ�เกษม พล.อ.สิรวุฒิ สุคันธนาค พล.อ.อภิชาต แสงรุ่งเรือง พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต พล.ท.ยุทธนา กล้าการยุทธ พล.ท.พันลึก สุวรรณทัต พล.ท.บรรเจิด เทียนทองดี พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำ�ไพ พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร พล.ท.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ต.ทวี พฤกษาไพรบูลย์ พล.ต.สังสิทธิ์ วรชาติกุล

ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช  บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย

น.ท.สุรชัย  สลามเต๊ะ

ฝ่ายพิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ  วรวิศิษฏ์ธำ�รง ร.อ.หญิง กัญญารัตน์  ชูชาติ ร.น. ร.ท.หญิง ประภาพันธ์  มูลละ

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ

น.อ.พรหมเมธ  อติแพทย์ ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ทวี  สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ  ศิริสรณ์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

พ.อ.หญิง ใจทิพย์  อุไพพานิช

ประจำ�กองบรรณาธิการ น.ท.วัฒนสิน  ปัตพี ร.น. น.ท.ณัทวรรษ  พรเลิศ พ.ท.หญิง ณิชนันทน์  ทองพูล พ.ต.หญิง สมจิตร  พวงโต ร.อ.หญิง สายตา  อุปสิทธิ์ ร.อ.หญิง อัญชลีพร  ชัยชาญกุล ร.ท.หญิง ลลิดา  ดรุนัยธร ร.ต.หญิง พัชรี  ชาญชัยพิชิต ร.ต.วัชรเทพย์  ปีตะนีละผลิน จ.ส.อ.หญิงปาลดา สมพงษ์ผึ้ง ส.อ.ธีร์นริศวร์  ขอพึ่งธรรม

น.ท.หญิง รสสุคนธ์  ทองใบ ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์  สมไร่ขิง พ.ต.หญิง สิริณี  ศรประทุม น.ต.ฐิตพร  น้อยรักษ์ ร.น. ร.อ.หญิง ณิชาภา  กุหลาบเพ็ชร์ ร.อ.ยอดเยี่ยม  สงวนสุข ร.ต.ศุภกิจ  ภาวิไล ร.ต.จิรวัฒน์  ถนอมธรรม จ.ส.อ.สมหมาย  ภมรนาค ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา  กาญจนโรจน์


บทบรรณาธิการ เดือนธันวาคมของปวงชนชาวไทย ถือเป็นเดือนมหามงคลที่ทุกภาคส่วนจะจัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติและเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว “พ่อของแผ่นดิน” ในส่วนของกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติที่กระทรวงกลาโหม โดยส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมได้รับมอบหมายให้ด�ำเนินการจัดกิจกรรม ๒ กิจกรรม คือกิจกรรมแสดงวงโยธวาทิต เฉลิมพระเกียรติฯ ใช้ชอื่ กิจกรรม “๑ คีตมหาราชาในดวงใจ ๑ โยธวาทิตไทยสูส่ ากล” ก�ำหนดจัด ในวันอังคารที่ ๑๗ ธันวาคม ๕๖ ระหว่าง ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ สนามกีฬากองทัพบก ถ.วิ ภ าวดี รั ง สิ ต เพื่ อ เผยแพร่ พ ระอั จ ฉริ ย ภาพทางด้ า นการดนตรี ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นการแสดงวงโยธวาทิตของสามเหล่าทัพ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ และวงโยธวาทิตของโรงเรียนระดับมัธยมที่มีชื่อเสียง ๙ โรงเรียน ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในระดับนานาชาติ และอีกกิจกรรมหนึ่งคือกิจกรรมแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติฯ ชื่อกิจกรรมว่า “ดวงประทีบพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน” ครัง้ นีถ้ อื ว่าเป็นการจัดครัง้ ที่ ๖ ก�ำหนด จัดในวันเสาร์ที่ ๒๑ ธ.ค.๕๖ ระหว่าง ๑๗๐๐ - ๒๑๓๐ น. ณ บริเวณชายหาดหน้าสวนหลวง ราชินี อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นการแสดงพลุประกอบดนตรีจากสามเหล่าทัพ ชมรมพลุแห่งประเทศไทย พลุจากประเทศญี่ปุ่น และสมาพันธ์รัฐสวิส ส่วนหนึง่ ของก�ำหนดการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ๒ กิจกรรมนีแ้ ล้ว ปวงชนชาวไทย น่าจะ มีความสุข มีความปีตยิ นิ ดี เป็นการจัดกิจกรรมเพือ่ น้อมส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ แสดงออก ถึงความจงรักภักดีและความกตัญญูกตเวทีถวายเป็นราชสักการะ แต่ในเดือนมหามงคลของปีนี้ กลับมีเหตุการณ์ที่ต้องการเอาชนะกันทางการเมืองที่สร้างความกังวล รวมถึงเหตุการณ์ที่ หมิ่นเหม่ต่อการที่จะเรียกว่า “จลาจล” จากความต่างกันของมุมมองและแนวความคิด แบบที่ เรียกว่าไม่เคยเกิดเงื่อนไขทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลา มหามงคล ๕ ธันวาคมมาก่อน หลายคน นึกเบาใจว่าเหตุการณ์น่าจะจบลงด้วยดี ก่อน วันมหามงคลแต่ครัง้ นีก้ ลับไม่เป็นอย่างทีค่ าดหวัง ต่างชาติตา่ งวิเคราะห์ถงึ เหตุการณ์ในเมืองไทย ไปต่างๆ นานา แต่โดยส่วนใหญ่สรุปว่า ประเทศไทยก�ำลังสะดุดขาตัวเอง จากความต้องการ เอาชนะกันทางการเมือง มีการเปรียบเทียบประชาธิปไตยของประเทศไทยว่าล้าหลังใกล้เคียง กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน แล้วอย่างนี้ต้องเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคนว่า ในการแสดงออกทางการเมือง ในทุกๆ ด้านจะต้องมี “สติ” ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและ ความถูกต้องเป็นจริง

2


ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๗๓ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

๓๔

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม... พระราชปณิธานแห่ง องค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ ๑๖ เทคโนโลยีการตรวจจับ วัตถุระเบิด และเทคโนโลยี การบรรเทาผลกระทบ จากวัตถุระเบิด

น�้ำพระราชหฤทัยจากฟ้า มาสู่ดิน

๓๘

Women in combat

๑๒

๔๒

อากาศยานไร้นักบิน

พระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์อลองพญา

๑๖

หลักสูตร การพัฒนาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน เพื่อ ความมั่นคงของชาติ

๔๖

หลักการของ นายพลแพตตัน (ตอนที่ ๑๗)

๒๐

ทีวีดิจิตอล คืออะไร

๒๔

๑๒

๑๖

๕๐

English is a must

ประเทศไทยบนจอโลก Thailand is back

๕๒

๒๘

๕๔

กระทรวงกลาโหม จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเนื่องใน โอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖

เอทีเอ็ม ATM

๒๐

๒๔

สาระน่ารู้ทางการแพทย์ “โรคตาแห้ง Dry eye”

๓๐ ๕๖

ประมวลภาพกิจกรรม

๖๒

๓๐

ดุลยภาพทางทหาร ของประเทศอาเซียน รถถังเบาสกอร์เปี้ยน

๓๔

๓๘

๔๒

๔๗

๕๒

๖๒

กิจกรรมสมาคมภริยา ข้าราชการส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุนส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

3


การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม... พระราชปณิธานแห่งองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

“...วันก่อนนีเ้ ราพูดถึงปัญหาว่าเมืองไทยนี้ อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มนี ำ�้ เหลือ จะต้องไปซือ้ น�้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถ้าค�ำนวณดู  น�้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว  มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลข ของคาร์บอนน�้ำนั้น ในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน�้ำที่มีอยู่  อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน�้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น�ำ้ นัน้ มีคณ ุ อย่างทีเ่ ราใช้นำ�้ ส�ำหรับบริโภค น�ำ้ ส�ำหรับการเกษตร น�ำ้ ส�ำหรับอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้ ต้องใช้น�้ำที่ดี หมายความว่า น�้ำที่สะอาดน�้ำมีมากในโลก เป็นน�้ำทะเลเป็นส่วน ใหญ่ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้ แล้วนอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่ก�ำลังมีมากขึ้น ก็คือ น�้ำเน่า จะต้อง ป้องกันไม่ให้มีน�้ำเน่า น�้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น�้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้น นี่เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ถ้าไม่จัดการโดยเร็ว เราก็จะนอนอยู่ใน น�้ำเน่า น�้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน�้ำจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน�้ำเน่าหมด เพราะว่า เอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวัง ถ้าเรามีน�้ำ แล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุม น�ำ้ ทีเ่ สียอย่างไรอีกข้อหนึง่ ก็อยูไ่ ด้เพราะว่าภูมปิ ระเทศของประเทศไทย "ยังให้" ใช้ค�ำว่า   "ยังให้" ก็หมายความว่ายังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ไม่ใช่ไม่เหมาะ ที่ๆ เหมาะ มากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ ไม่ท�ำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลาย เป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้ ท�ำได้พูดกันว่า ถ้าหากไปท�ำโครงการไฟฟ้าพลังน�้ำก็จะไป ท�ำลายป่า ท�ำให้เสียหายกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผู้ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็พูด  อย่างนัน้ อันนีเ้ ป็นความจริง ถ้าไปท�ำลายป่าแล้ว สิง่ ทีต่ ามมาก็คอื สนามกอล์ฟ หรือการ ท่องเที่ยว หรือการลักลอบตัดป่า เป็นต้น ดังนี้ข้อเสียมันเพิ่มขึ้นได้จริง แต่ว่าถ้าหากไป ท�ำในที่ที่เหมาะสม ค�ำนวณได้ว่าผลเสียในการตัดไม้ส่วนหนึ่งจะคุ้มกับผลได้ คือ เช่นที่ บอกว่าตัดต้นไม้นั้น ท�ำให้คาร์บอนขึ้นไปในอากาศเป็นจ�ำนวนเท่านั้นๆ ท�ำให้เกิดความ ระเหยของน�้ำเท่านั้นๆ เราก็จะต้องมาเลือกดูว่าจะรักษาป่าไว้ หรือจะต้องการใช้พลังงาน ไฟฟ้าเพิม่ ขึน้ เมือ่ ใช้พลังงานไฟฟ้าเพิม่ ขึน้ เราจะต้องใช้อย่างหนึง่ อย่างใด อย่างมีผเู้ สนอ ให้ไปซือ้ ถ่านหินจากออสเตรเลีย มาสร้างโรงไฟฟ้าใช้ไอน�้ำ คือใช้ถ่านหินมาเผา เพือ่ ทีจ่ ะ ท�ำความร้อนและขับเทอร์ไบน์ให้เป็นไฟฟ้า ค�ำนวณดู ทีเ่ ราจะต้องซือ้ ถ่านหินจากประเทศ ออสเตรเลียมา ก็เสียเงินเสียทองเท่าไหร่ มาเผาแล้วจะออกมาเป็นคาร์บอน เวลามาเผา ส�ำหรับหมุนกังหันจะต้องเกิดคาร์บอนขึ้นไปเท่าไหร่ เปรียบเทียบกับที่จะเสียพลังการ ก�ำจัดคาร์บอนจากต้นไม้สัก ๓ - ๔ ต้น นั้น มันคุ้มหรือเปล่า ถ้าท�ำไฟฟ้าด้วยพลังน�้ำที่ ไม่ต้องตัดต้นไม้ เพียงแต่ตัดต้นหญ้าก็คงไม่เสียหาย...”

4

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ข้ อ ความดั ง ที่ ป รากฏอยู ่ ข ้ า งต้ น นั้ น เป็ น ส่วนหนึ่งของพระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทานแก่คณะบุคคล ต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลใน โอกาสวั น เฉลิ ม พระชนมพรรษา ณ ศาลา ดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวัน ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒ ซึ่งหากพิจารณาให้ลึก ลงไปถึง นัยแห่งพระราชด�ำรัสนี้ ก็จะทราบถึง พระราชวิสัยทัศน์และน�้ำพระราชหฤทัยที่ทรง มีตอ่ ประเทศไทยและ พสกนิกรชาวไทยในเรือ่ ง ของการเผชิ ญ ปั ญ หาและการอนุ รั ก ษ์ รั ก ษา สภาพแวดล้อมเป็นอย่างยิง่ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ทรงอรรถาธิ บ ายปั ญ หาและชี้ แ จงตั ว อย่ า ง ของความเสียหายกับสภาพแวดล้อมทางน�้ ำ และป่าไม้อันเกิดจากการขาดจิตส�ำนึกและ กระบวนการทางความคิ ด ที่ ม องประโยชน์ เพี ย งด้ า นเดี ย วของการพั ฒ นาที่ ข าดความ ระมัดระวังในเรื่องสภาพแวดล้อมและความ ตระหนั ก ในมวลปั ญ หาที่ ต ามมา เพื่ อ ให้ พสกนิ ก รชาวไทยที่ เ ป็ น ผู ้ รั บ ผลกระทบของ ปัญหาได้รบั ทราบถึงสิง่ ทีอ่ าจเกิดขึน้ และพร้อม เผชิญปัญหาหรือตระเตรียมแนวทางส�ำหรับ แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที หลายท่ า นคงยั ง ไม่ ท ราบว่ า นั บ ตั้ ง แต่ วั น ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ซึ่ ง เป็ น วั น ที่ มี พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงด�ำเนินพระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสภาพแวดล้อม การ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันประกอบด้วย การอนุรักษ์น�้ำ ดิน หรือป่าไม้ มาโดยตลอด และอย่างต่อเนื่อง โดยที่ พระราชกรณียกิจ นานั ป การเหล่ า นี้ เกิ ด ขึ้ น มาจากพระราช ปณิ ธ าน พระอั จ ฉริ ย ภาพ และพระปรี ช า สามารถ ใ นการคิ ด อย่ า งเป็ น ระบบ เป็ น วิ ท ยาศาสตร์ ที่ ส อดรั บ กั บ สภาพแวดล้ อ ม ของประเทศไทยทั้ ง ในเชิ ง ภู มิ ศ าสตร์ เ ชิ ง อุ ตุ นิ ย มวิ ท ยา เชิ ง เศรษฐกิ จ และเชิ ง สั ง คม โดยทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ในการค้นคว้า ศึกษา ทดลอง ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไขทฤษฎี แนวคิดและวิธีการต่างๆ เพื่อให้การด� ำเนิน การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของ พสกนิกรชาวไทย และสอดรับกับระบบนิเวศ อันเหมาะสมที่จะน�ำไปสู่แนวทางการพัฒนา ที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ของ ประเทศ และที่ ส�ำ คั ญ ที่ สุ ด อี ก ประการหนึ่ ง แนวคิ ด ในการพั ฒ นาประเทศในเรื่ อ งต่ า งๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ในอนาคตในลักษณะของการลากพิษตามหลัง อั น จะเป็ น การบั่ น ทอนความแข็ ง แรงของ ประเทศในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศ ต้องเผชิญในห้วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ เกิ ด ขึ้ น จากการท� ำ ลายป่ า ไม้ ป่ า ต้ น น�้ำ ซึ่ ง เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเกิดความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชนในพื้นที่ หรือ

เกิ ด จากการพั ฒ นาระบบโครงข่ า ยพื้ น ฐาน ของประเทศ และที่ร้ายไปกว่านั้นคือเกิดจาก การแสวงประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ที่ ไม่ค�ำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคม และประเทศชาติ ส่งผลให้เกิดความเสียหาย แก่สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของประเทศ อย่างร้ายแรง ซึ่ ง นานาปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ทรั พ ยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มนี้ มิ ไ ด้ ร อดพ้ น ไปจากสายพระเนตร อั น กว้ า งไกลขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระ ราชด�ำริพระราชทานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจาก ปัญหาดังกล่าว ได้อัญเชิญไปปฏิบัติเพื่อให้เกิด ผลเป็นรูปธรรม จนเกิดเป็นแนวพระราชด�ำริใน การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการอนุรักษ์ ป่าต้นน�ำ้ ล�ำธาร ด้วยการพระราชทานแนวทาง หลักในการด�ำเนินงาน ประกอบด้วย การสร้างก�ำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต ด้วย การปลูกหญ้าแฝกเพื่อคลุมดิน ด้วยการปลูก ตาม แ นวบนพื้ น ที่ ล าดชั น เพื่ อ ช่ ว ยชะลอ ความเร็วของกระแสน�้ำที่ชะล้างหน้าดินและ ปลูกเพื่อทลายดินที่แข็งเป็นดานให้สามารถ ใช้ประโยชน์ได้ การสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดิน ด้วย การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในลักษณะการ สร้าง ฝายแม้ว (Check dam) โดยการน�ำวัสดุ 5


๔. ระบบป่าเปียก เนื่องจากน�้ำบางส่วนที่ ไหลลงมาจากระบบภูเขาป่าเข้ามาที่แนวฝาย ชะลอความชุ่มชื้น ดังนั้นหน่วยงานรับผิดชอบ หรือประชาชนในพื้นที่ก็จะกระจายน�้ำโดยใช้ ท่อไม้ไผ่ ท่อสายยางหรือท่อพีวีซีเจาะรูต่อ ขยายไปทางด้ า นข้ า งให้ น�้ ำ กระจายออกไป เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ แล้วจึงท�ำการ ปลูกป่าเสริม ๕. ป่ า ชายเลน เนื่ อ งจากปริ ม าณน�้ ำ ที่ ไหลจากพื้นที่ตอนบน จะไหลเข้าสู่ระบบฝาย ชะลอ ความชุ่มชื้น กับคันดินกั้นน�้ำและคันดิน เบนน�้ำ ซึ่งน�้ำส่วนที่เหลือก็จะไหลลงสู่แหล่งน�้ำ ตอนล่างแล้วออกสู่ทะเล ดังนั้น พื้นที่สุดท้าย ที่ต้องก�ำกับดูแลก็จะมีสภาพเป็นป่าชายเลน และป่าชายหาด และนอกจากการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มด้ ว ยการปลู ก ป่ า เพื่ อ ฟื ้ น ฟู ป่าไม้ให้กลับสมบูรณ์ดังเดิม สามารถปลูกพืช นานาชนิดได้ สิ่งที่ต้องด�ำเนินการควบคู่กันไป คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ด้วย การจัดระเบียบราษฎรที่เข้ามาอยู่อาศัยและ ท�ำกินในพื้นที่อย่างถูกต้องตามหลักวิชาและ ตามธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ปิดกั้น ปลูกต้นไม้ไว้รอบพืน้ ที่ ซึง่ วิธกี ารนีท้ ำ� ให้พนั ธุไ์ ม้ สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยให้ราษฎรเข้าร่วม ทางน�ำ้ ร่องเขาและพืน้ ทีท่ มี่ คี วามลาดชันซึง่ อยู่ มีอัตราการรอดตายค่อนข้างสูง เป็นการปลูก ดูแลรักษา และได้อาศัยผลผลิตจากป่า จาก ตอนบนของภูเขาเพือ่ ช่วยชะลอการไหลของน�้ำ ป่าจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง การเพาะปลูกพืชโดยไม่ต้องบุกรุกท�ำลายป่า ให้ช้าลงและดักตะกอนไว้ และการท�ำคันดิน ๓. การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ซึ่งเป็นผล อีกต่อไป โดยการ ซึ่งสามารถท�ำได้ ๒ ลักษณะคือ คันดินกั้นน�้ำ ที่ได้รับจากการสร้างระบบภูเขาป่า เนื่องจาก การส่ ง เสริ ม อาชี พ โดยส่ ง เสริ ม ให้ (Terracing) ซึ่งเป็นการสร้างคันดินขวางพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่รอดตายและสามารถเจริญเติบโตได้ เกษตรกรประกอบอาชีพยึดหลักการตามแนว ลาดเอียง ในบริเวณ ที่ราบเชิงเขา เพื่อเก็บกัก จะผลิดอกออกผล หลังจากนั้นเมล็ดหรือผล พระราชด�ำริ อาทิ การท�ำเกษตรทฤษฎีใหม่ น�้ำไว้ในพื้นที่ และคันดินเบนน�้ำ (Diversion) ที่แก่จะร่วงหล่น ท�ำให้เกิดการเจริญเติบโต เกษตรผสมผสาน และระบบวนเกษตร ซึ่งเป็นการขุดดินให้เป็นร่องหรือบางส่วนยก เป็ น ต้ น ใหม่ หรื อ เมื่ อ ไม่ มี ก ารบุ ก รุ ก พื้ น ที่ สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อผลิต ระดับคันดินให้สูงขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับคันดินกั้น ปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติในระยะเวลาหนึ่ง สินค้า เสริมรายได้ให้กับครอบครัว น�้ำ ดังนั้น เมื่อมีฝนตกและปริมาณมากน�้ำก็จะ พืชพรรณก็สามารถแตกหน่อและเจริญเติบโต การส่งเสริมให้ชุมชนได้รับความรู้ด้าน สามารถ ไหลกระจายได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ เป็นต้นใหม่ ไ ด้ มี พื ช พั น ธุ ์ ไ ม้ ขึ้ น เต็ ม ร่ อ งเขา สุ ข ภาพอนามั ย จั ด ให้ มี ก ารตรวจสุ ข ภาพ คันดินทัง้ สองแบบยังสามารถใช้เป็นถนนสัญจร เป็นการคืนป่าตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องปลูก เบื้องต้น การวางแผนครอบครัว ไปมา และเป็นแนวป้องกัน ไฟป่าได้อีกด้วย สามารถประหยัดงบประมาณได้ด้วย การฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ด้วยการด�ำเนินการ ใน ๕ ลักษณะ กล่าวคือ ๑. ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ด้วย การปลูกไม้โตเร็ว ไม้ดั้งเดิม และไม้เศรษฐกิจ หรือ ไม้ผล โดยมีประโยชน์ ๔ อย่าง กล่าวคือ ประโยชน์ที่ ๑ การปลูกไม้โตเร็วเพื่อพัฒนา และสร้างหน้าดินขึ้นใหม่ รวมทั้งยังสามารถ น� ำ มาใช้ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง ได้ ประโยชน์ ที่ ๒ การปลูกไม้ดั้งเดิมที่มีความแข็งแรงและทนต่อ สภาพดินฟ้าอากาศ ประโยชน์ที่ ๓ การปลูกไม้ เศรษฐกิจหรือไม้ผล เพื่อน�ำไม้มาใช้ในอนาคต ประโยชน์ที่ ๔ คือการอนุรักษ์ดินและน�้ำ ช่วย สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ๒. ระบบภู เ ขาป่ า ด้ ว ยการน�ำ พลั ง งาน แสงอาทิตย์ สูบน�้ำจากอ่างเก็บน�้ำขึ้นไปใส่ถัง พักน�้ำ ที่ก่อสร้างไว้บนภูเขาให้น�้ำล้นและปล่อย ไหลกระจายไปตามพืน้ ทีโ่ ดยรอบถังพักน�ำ้ แล้ว 6

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ส่งเสริมการศึกษา ด้วยการสนับสนุน วิทยากรให้กับโรงเรียนในพื้นที่ การสนับสนุนให้ราษฎรในชุมชนมีส่วน ร่วม และมีบทบาทหน้าที่ในชุมชนของตนเอง การแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการก�ำหนด ความจ�ำเป็นพื้นฐานของท้องถิ่น เพื่อให้การ พัฒนาท้องถิ่นสอดรับกับความต้องการของ ชุมชน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือพระอัจฉริยภาพ ขององค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ พระราชทานให้สังคมไทยได้น้อมน�ำไปปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นแนวพระราชด�ำริที่มี ความสมบูรณ์ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้อย่าง เป็ น รู ป ธรรม เป็ น ระบบที่ ส อดรั บ กั น อย่ า ง สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ เพือ่ อนุรกั ษ์รกั ษาไว้ซงึ่ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความ ยั่ ง ยื น ไปสู ่ รุ ่ น ลู ก รุ ่ น หลานในอนาคต จึ ง นั บ เป็นบุญของแผ่นดินไทยที่เรามีองค์พระมหา กษัตริย์ที่ทรงตรากตร�ำพระวรกายด้วยพระ ราชปณิธานมุ่งมั่นที่จะแสวงหาแนวทางแก้ไข ปัญหา เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ของพระองค์ ทรงริเริ่มและทรงเพียรพยายาม ที่ จ ะพลิ ก ฟื ้ น ผื น ดิ น หลายพื้นที่ในประเทศที่ เคยเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่ความสมดุลอย่าง สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์สุขของ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

มหาชนชาวสยามดังที่ได้พระราชทานไว้ตาม ปฐมบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ และเนื่ อ งในวโรกาสที่ เ ป็ น มิ่ ง มหามงคล วั น เฉลิ ม พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นี้

ขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยร่วมกันประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นประชาชนที่ดี และตระหนัก รู้ในความส�ำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ ส มดั ง พระราชปณิ ธ านแห่ ง องค์ พ ระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อประเทศชาติ ตลอดมา 7


น�้ำพระราชหฤทัยจากฟ้ามาสู่ดิน นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

“คนที่ไปดูได้เห็นว่า เริ่มต้นด้วยไม่มีอะไรเลย แต่ว่าต่อมาภายในวันเดียว ทุกคน  ที่อยู่ในท้องที่นั้นก็เข้าใจว่า ต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้เราต้องร่วมมือ กันท�ำ เพราะถ้าไม่มีการร่วมมือกันไม่มีความก้าวหน้า ฉะนั้น การที่ท่านได้ท�ำแล้ว มีความก้าวหน้านี้ เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อ ให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ท�ำมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งท�ำแล้ว ก็ท�ำให้ก้าวหน้า แต่ อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหน่ึ่ง มันท้ั้งหมดร่วมกันท�ำและมีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็ เป็นส่ิงที่มหัศจรรย์และเป็นสิ่งที่ท�ำให้มีความหวังว่าประเทศชาติจะก้าวหน้าจะมี ความส�ำเร็จ” 8

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


ระราชด� ำ รั ส พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว เม่ื่ อ วั น ที่ ๒๑ สิ ง หาคม ๒๕๕๒ ครั้ ง เสด็ จ พระราชด�ำเนินไปยังโครงการชั่งหัวมันตาม พระราชด� ำ ริ บ้ า นหนองคอกไก่ ต� ำ บลเขา กระปุก อ�ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โครงการในพระราชด�ำรินมี้ ชี อื่ ว่า “โครงการ ชั่งหัวมัน” อยู่ในที่ดินจากพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ซื้ อ เอาไว้ เ พื่ อ หลบหนี ค วาม วุ่นวายในเมืองหลวง หรือใช้ตากอากาศ แต่คือ ที่ดินเพื่อใช้เป็นโครงการในพระราชด�ำริล่าสุด คุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ที่ ป ระสานงานเรื่ อ งการขอซื้ อ ที่ ดิ น บริ เ วณ ต�ำบลเขากระปุกจ�ำนวน ๒๕๐ ไร่ ได้เล่าว่า เมื่ อ เจ้ า ของที่ ดิ น ซึ่ ง เป็ น เจ้ า สั ว ใหญ่ ค นหนึ่ ง ของเมื อ งไทยทราบว่ า ผู ้ ข อซื้ อ ที่ ดิ น ต่ อ คื อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าสัวท่านนี้ จึงขอทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินให้ แต่ทรงมีพระ กระแสรับสั่งว่า มีคนถวายที่ดินฟรีแก่พระองค์ ท่ า นเยอะแล้ ว พระองค์ อ ยากซื้ อ ที่ ดิ น เป็ น ของตนเองบ้ า ง เมื่ อ การซื้ อ ขายเสร็ จ สิ้ น ก็ เกิดปัญหาว่าที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างสอง ต�ำบล นายก อบต.ของสองต�ำบลดังกล่าวเลย พิพาทกันเพื่อขอเป็นผู้ดูแล เพราะนอกจาก เป็นเกียรติเป็นศรีกับต�ำบลแล้ว ยังหมายถึง งบประมาณที่ จ ะมาถึ ง ต� ำ บลในอนาคตด้ ว ย

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

9


คุณดิสธรไกล่เกลีย่ โดยเรียกทัง้ สองมาตกลงกัน เมื่อตกลงกันไม่ได้เสียที ท่านเลยถามว่า เอาล่ะ ใครเอาเอกสารโอนที่มา คนนั้นได้ไป เพราะจะ ท�ำเรื่องเดี๋ยวนี้เลย นายราม นายก อบต.หนึ่ง ในนั้น ปกติแล้วไม่เคยพกเอกสารใดๆ แต่ก่อน ออกจากบ้านวันนั้น ไม่รู้นึกอย่างไร ฉวยหอบ เอกสารกองหนึ่งติดมือมาด้วย ขณะที่ อบต. อีกคน ปกติจะมีเอกสารติดรถเสมอ แต่วันนั้น กลับเอาทิ้งไว้บ้าน กลายเป็นว่านายรามได้เป็น ผู้ดูแลที่ดินผืนนี้ ครั้งหนึ่ง นายรามได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ตรัส เรียกนายรามว่า ศรราม ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้น นายรามไปที่ว่าการอ�ำเภอและเปลี่ยนชื่อเป็น นายศรรามนับแต่นั้นมา ส่ ว นชื่ อ ของโครงการนั้ น ตอนที่ ใ นหลวง เสด็จมาทีท่ ดี่ นิ นีค้ รัง้ แรกๆ มีชาวบ้านเอาหัวมัน มาถวาย ทรงน� ำ มั น ไปวางไว้ บ นตาชั่ ง แบบ โบราณ แต่ยังไงไม่รู้ทรงลืมเอาหัวมันกลับไป ด้วย พอเสด็จกลับมาที่ที่ดินนี้อีกที หัวมันนั้น ใบก็เริ่มงอกขึ้นมาเป็นต้น จึงรับสั่งให้น�ำหัวมัน นั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้ว ทรงมีพระราชด�ำรัสให้หาพืน้ ทีเ่ พือ่ ทดลองปลูก มันเทศ เมื่อถึงเวลาก็พระราชทานชื่อโครงการ นี้ว่า “โครงการชั่งหัวมัน”แรกๆ ทุกคนพากัน สงสั ย มากเกี่ ย วกั บ ชื่ อ โครงการ ชาวบ้ า น ตีความตามชื่อโครงการพอสมควรตามความ เห็นต่างๆ ว่าคงเกี่ยวกับการเมืองว่า พระองค์ ท่านเบื่อแล้วหรือ ท�ำไมพระองค์ท่านถึงต้อง มาซื้อที่ดินที่นี่ ซึ่งแห้งแล้งมาก จะปลูกอะไร ก็ล�ำบาก มีแต่ยูคาลิปตัส ติดปัญหาเรื่องน�้ำก็ ไม่ค่อยมี ก็ต้องชี้แจงท�ำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ อย่างนั้น เหตุผลจริงๆ คือ “หัวมันบนตาชั่งยัง ขึ้นได้แล้ว ที่แห้งแล้งขนาดไหน มันก็ต้องขึ้น ได้” จึงมีพระราชด�ำริว่ามันอยู่ที่ไหนก็งอกได้ จึงให้จดั โครงการนีเ้ ป็นพืน้ ทีเ่ พาะปลูกพืชต่างๆ โดยเน้นที่พืชท้องถิ่น เช่น มะพร้าว, มะนาว, กะเพรา, ชมพู่, สับปะรด, ข้าวไร่พันธุ์ต่างๆ และทรงมีพระราชด�ำริให้ปลูกแปลงทดลอง มันเทศในที่ดินด้วย เป้าหมายในโครงการนี้ต้องการให้เป็นศูนย์ รวมพืชเศรษฐกิจของอ�ำเภอท่ายาง จังหวัด เพชรบุ รี โดยเลื อ กพั น ธุ ์ พื ช ท้ อ งถิ่ น ที่ ดี ที่ สุ ด เข้ามาปลูกโดยให้ภาครัฐกับชาวบ้านร่วมกัน ดูแลเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด เช่น กรมที่ดิน ได้ ใ ห้ ห มอดิ น ที่ มี ค วามช� ำ นาญมาส� ำ รวจ พื้ น ที่ เ พื่ อ ปรั บ ปรุ ง ดิ น ขณะที่ ช าวบ้ า น ซึ่ ง มี ค วามรู้ ใ นการปลู ก หน่ อ ไม้ ฝ รั่ ง ก็ เ ข้ า มา ร่วมคิดกับเกษตรจังหวัด พืชที่ปลูกแบ่งเป็น พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริ ก กะเพรา โหระพา มะนาวแป้ น ผั ก ชี ผลไม้ ได้แก่ สับปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกด�ำ มะพร้าวน�ำ้ หอม มะพร้าวแกง 10

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน�้ ำว้า กล้วยหักมุก ส่วนพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อยโรงงาน มันเทศ ญี่ ปุ ่ น มั น เทศออสเตรเลี ย มั น ต่ อ เผื อ ก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ชิวแม่จัน ข้ า วเจ้ า พั น ธุ ์ ข ้ า วหอม ข้ า วเจ้ า พั น ธุ ์ ลี ซ อ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่ เพชร ขณะเดี ย วกั น ยั ง ใช้ วิ ก ฤติ เ ป็ น โอกาส ด้วยการติดตั้งกังหันลม ๑๐ ตัวเพราะพื้นที่ บริ เ วณนี้ เ ป็ น ช่ อ งเขามี ล มพั ด ผ่ า น แม้ จ ะมี ความแห้งแล้ง โดยปลายปีนี้จะติดตั้งกังหันลม เพิ่มอีกเป็น ๒๐ ตัว ราคาต้นละล้านกว่าบาท ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ๕ กิโลวัตต์ต่อต้น ซึ่ง ไฟฟ้าที่ได้หากเหลือจากการใช้หมุนเวียนใน โครงการฯ การไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคจะมารั บ ซื้ อ ไปโดยจะให้ ผ ลตอบแทนจากการลงทุ น ๒๐% ต่อปี จนท�ำให้ที่แห่งนี้มีกังหันลมมาก ที่สุดในประเทศ ขณะเดียวกันสิ่งที่ชาวบ้านใน ละแวกใกล้เคียงได้คือ ไฟฟ้าจะไม่ตกเพราะ พลังงานสะอาดที่ได้จากกังหันลมส่วนใหญ่มัก อยู่ใกล้กับทะเล ที่เป็นต้นทางท�ำให้เวลาจ่าย กระแสไฟฟ้าไปยังชาวบ้านที่ห่างไกลก�ำลังไฟ จะต�่ำลง แต่หากมีการตั้งกังหันลมการผลิต ไฟฟ้าบริเวณปลายทางจะท�ำให้กระแสไฟฟ้า มี ก� ำ ลั ง สู ง กว่ า รายได้ จ ากการขายกระแส ไฟฟ้า หากเทียบกับราคาต้นทุนที่ซื้อกังหัน แล้ ว ถื อ ว่ า ไม่ คุ ้ ม ทุ น อย่ า งยิ่ ง เคยมี ค นทู ล ถามพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ว่ า ท� ำ ไม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ต้องลงทุนติดตั้งกังหัน พระองค์ตรัสตอบว่า ต่อไปวันข้างหน้า ถ้าพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ขาดแคลน ที่โครงการฯนี้ และชาวบ้านแถวนี้ จะยังมีไฟฟ้าใช้ตลอด และโครงการฯ ยังจะมี รายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าอีกด้วย นับว่า พระองค์มีสายพระเนตรยาวไกลมาก โครงการ นี้จึงเป็นโครงการที่เกิดจากพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ ที่ทรงเล็งเห็นที่ดินที่แห้งแล้งจ�ำนวน ๒๕๐ ไร่ น�ำมาเพื่อประโยชน์เพื่อการพัฒนา รากเหง้าของชาวบ้ า นที่ แ ท้ จ ริ ง ไม่ ต ้ อ งเอา ตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น แต่ดูที่รากเหง้า ของที่เมืองไทยเรามีคือการเกษตรมาพัฒนา ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานน�้ำมันตามตลาดโลก พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงปลู ก พระราชตํ า หนั ก ไว้ ก ลางไร่ “ในโครงการ ชั่ ง หั ว มั น ” ไว้ สํ า หรั บ ทรงพั ก ผ่ อ นในยาม ที่ พ ระองค์ ท รงเสด็ จ เข้ า มาทรงงานใน โครงการ โดยที่ ห น้ า พระราชตํ า หนั ก ได้ ทรงปลู ก หน่ อ ไม้ น�้ ำ ด้ า นหลั ง ทรงปลู ก พื ช ผั ก สวนครั ว ด้ า นขวาทรงปลู ก สั บ ปะรด และด้ า นซ้ า ยทรงปลู ก ข้ า วโพด พระราช ตํ า หนั ก จึ ง ล้ อ มรอบไปด้ ว ยต้ น ไม้ ป ระเภท รับประทานได้ นอกจากนั้นได้ทรงปรับปรุง อ่ า งเก็ บ น�้ ำ หนองเสื อ ท่ี่ เ ป็ น โครงการ ชลประทานขนาดเล็ ก โดยการซ่ อ มแซมหิ น ทิ้ง ซ่อมแซมทางระบายน�ำ้ ล้น พร้อมขุดลอก อ่างเก็บน�้ำใหม่ ทําให้เก็บกักน�้ำได้เพิ่มขึ้นจาก

๒๓๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร เป็น ๒๘๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร โครงการชั่งหัวมันจึงเป็นโครงการที่บริหาร ทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากรที่ มีอยูใ่ ห้คมุ้ ค่ามากทีส่ ดุ ขณะเดียวกันก็พยายาม เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยคาดว่าอนาคต จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไป ได้เข้าชมซึ่งแม้ชื่อโครงการ ชั่งหัวมัน ถือได้ ว่าเป็นชื่อโครงการที่แปลก ชวนให้คิดตีความ ได้หลายอย่างว่ามีความหมายว่าอะไร แม้น แต่ถ้าตีความหมายตามส�ำนวนไทย ชั่งหัวมัน (ช่างหัวมัน) ก็หมายถึง ไม่ต้องไปสนใจ อะไร จะเกิดก็เกิด ปล่อยให้มันเกิด ใครจะท�ำอะไร ก็ท�ำไป เราไม่ต้องไปใส่ใจ แต่ด้วยความที่ทรง เป็นนักปราชญ์ที่มีความคิดลึกซึ้งและมีสาย พระเนตรยาวไกล ชื่อชั่งหัวมันจึงเป็นชื่อที่สื่อ อะไรที่มีความหมายลึกซึ้งมากยิ่งกว่าแค่เอา หัวมันมาชั่ง ดังจะเห็นได้จากป่ายูคาลิปตัส ที่รกร้าง มะนาวแป้นที่ยืนต้นเหี่ยวแห้งไร้คน ดูแลเพราะอ่างเก็บน�้ำหนองเสือแห้งขอดมา แรมปีท�ำให้ชาวบ้านต้องกุมขมับเกือบทุกครั้ง ที่ฤดูแล้งมาถึงกลับถูกพลิกฟื้นด้วยน�้ำพระราช หฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรง มอบให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จน สามารถพึ่งพาตนเองได้ คงไม่ต้องบอกแล้วว่า ท�ำไมคนไทยจึงพูดเต็มปากเต็มค�ำว่า “เรารัก ในหลวง” ของเรามากแค่ไหน 11


วิวัฒนาการยุทโธปกรณ์ฝีมือคนไทย

อากาศยานไร้นักบิน

แบบขึ้น-ลง ทางดิ่ง

VTOLUAV สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

12

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ลโท พัชราวุธ วงษ์เพชร เจ้ากรม การอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การ อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศ และพลังงานทหาร ได้ให้สัมภาษณ์ทางสถานี โทรทั ศ น์ สี ก องทั พ บกช่ อ ง ๗ เมื่ อ วั น ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เกี่ยวกับ "อากาศยาน ไร้นักบิน ขึ้นลงทางดิ่ง" ผลงานนักวิจัยจาก สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวง กลาโหม โดยอากาศยานต้ น แบบล� ำ นี้ ถู ก พัฒนามาจากงานวิจัยสู่การใช้งานจริง เพื่อ ประจ� ำ การบนเรื อ ตรวจการลาดตระเวน ตรวจจับเป้าหมายจนถึงการข่าวกรอง ช่วย ในการด�ำเนินกลยุทธ์ทางทหารโดยไร้ความ เสี่ยงต่อชีวิต เป็นอีกหนึ่งเขี้ยวเล็บที่กองทัพ พัฒนาขึ้นมาเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน อธิปไตย ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพระยะทางบินให้มากกว่าเดิม

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ผลงานความภาคภูมิใจของทหารไทยชิ้นนี้ ได้ จัดแสดงให้ผู้ชมในงานแสดงยุทโธปกรณ์และ ความปลอดภัยระดับเอเชีย ปี ๒๕๕๖ (๔ – ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖) ที่เมืองทองธานี ซึ่งผลงานวิจัยนี้ สถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ ได้ ร ่ ว มกั บ ส� ำ นั ก งานวิ จั ย และ พัฒนาการทหาร กองทัพเรือ และภาคเอกชน ในการวิ จั ย และพั ฒ นาอากาศยานไร้ นั ก บิ น ขึ้น–ลง ทางดิ่ง หรือเรียกว่า “VTOL UAV” เพื่อใช้ประจ�ำการบนเรือตรวจการณ์ในการ ลาดตระเวน การตรวจจับเป้าหมาย จนถึงการ ข่าวกรอง ช่วยในการด�ำเนินกลยุทธ์ทางทหาร ได้อย่างถูกต้องโดยไม่ต้องใช้กำ� ลังทหารให้เกิด ความเสีย่ งกับชีวติ อากาศยานไร้นกั บิน“VTOL UAV” จึงช่วยยกระดับขีดความสามารถและ ความคล่ องตัว ในการปฏิบั ติก ารทางยุทธวิธี ของเหล่าทัพ

13


อากาศยานไร้นักบิน เป็นอากาศยานที่ถูก ควบคุมจากระยะไกลจากสถานีควบคุมที่อยู่ ห่างไกลออกไป เหมาะกับภารกิจทีม่ คี วามเสีย่ ง สู ง หรื อ มี ร ะยะเวลาปฏิ บั ติ ก ารยาวนานและ ต่อเนือ่ ง ถูกน�ำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทัว่ โลก ในด้านของการปฏิบัติการข่าวสาร ด้วยการ บินลาดตระเวน เฝ้าตรวจ พิสูจน์ทราบ ค้นหา และชี้ เ ป้ า หมาย ด้ ว ยอุ ปกรณ์ ตรวจจับ หรือ Payload ที่หลากหลาย ช่วยเพิ่มศักยภาพใน การท�ำงาน อีกทั้งใช้ระยะเวลาในการเตรียม การขึ้นบินต�่ำ นอกจากนั้นแล้วอากาศยานไร้ นักบินยังมีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ด้านความมั่นคงในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับภัย คุกคามมากมายที่พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ทั้งทาง บกและทางทะเล เช่น การค้าน�้ำมันและสินค้า เถื่อน ยาเสพติด โจรสลัด การก่อการร้าย การ ลั ก ลอบเข้ า ประเทศอย่ า งผิ ด กฎหมายตาม แนวชายแดน ในการปฏิบัติภารกิจทางทหาร จึงต้องยกระดับขีดความสามารถ โดยเฉพาะ การลาดตระเวนและการตรวจการณ์ทงั้ ทางบก และทางทะเล ซึ่งปัจจุบันอากาศยานไร้นักบิน สามารถใช้สนับสนุนภารกิจการตรวจการณ์ เพื่อช่วยการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยใน การพิสูจน์ทราบเป้าหมายที่ได้ภาพสมบูรณ์ และครบทุกมิติ อากาศยานไร้ นั ก บิ น แบบขึ้ น ลงทางดิ่ ง หรือ “Vertical Take Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle” เป็นอากาศยาน ไร้นักบินประเภทหนึ่งที่ก�ำลังได้รับความสนใจ อย่ า งกว้ า งขวาง เนื่ อ งจากสามารถขึ้ น บิ น และลงจอดได้ในบริเวณพื้นที่ที่จ�ำกัดและยัง บิ น อยู ่ เ หนื อ บริ เ วณพื้ น ที่ เ ป้ า หมายได้ อ ย่ า ง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงท�ำให้มีหน่วยงานทั้ง ภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศที่ให้ความ ส�ำคัญกับระบบอากาศยานไร้นักบินแบบขึ้น ลงทางดิ่ง (VTOL UAV) ดังเช่นกองทัพเรือ และกองทั พ บกสหรั ฐ ได้ ร ่ ว มมื อ กั บ บริ ษั ท Northrop Grumman ดัดแปลงเฮลิคอปเตอร์ รุ่น Schweizer 330 ให้เป็นอากาศยานไร้ นักบินแบบ Fire Scout ขึ้นมา ซึ่งขับเคลื่อน ด้ ว ยเครื่ อ งยนต์ ข นาด ๔๒๐ แรงม้ า และ ท�ำความเร็วได้สูงถึง ๒๑๐ กม./ชม. และมี เพดานบินสูงถึง ๖ กม. ในปัจจุบัน อากาศยาน ระบบยานที่ใช้คนขับ ซึ่งมีขีดจ�ำกัดส�ำคัญคือ ไร้นักบินแบบขึ้นลงทางดิ่งแบบ Fire Scout ขีดจ�ำกัดของคนในการปฏิบัติภารกิจในบาง ได้ รั บ การเสริ ม สร้ า งแสนยานุ ภ าพให้ ติ ด ตั้ ง ลักษณะ อย่างไรก็ตามในการปฏิบตั ภิ ารกิจของ ด้วยอาวุธปล่อยทั้งแบบที่ไม่น�ำวิถีและน�ำวิถี ระบบยานไร้คนขับส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ยังคง เพื่อใช้ท�ำการโจมตีเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ต้องใช้คนในการควบคุม ซึ่งมีสาเหตุส� ำคัญ จากความคุ้นเคยในการปฏิบัติงานและความ และแม่นย�ำ ในภาพรวม อาจกล่าวได้ว่าระบบยานไร้คน ก้าวหน้าของเทคโนโลยีทยี่ งั ไม่เพียงพอ ภารกิจ ขับ เป็นระบบทีม่ คี วามเหมาะสมเป็นอย่างมาก 3D สามารถอธิบายพอเป็นสังเขป ได้ดังนี้ ภารกิจที่น่าเบื่อ (Dull) หมายถึง ภารกิจที่ กับภารกิจ ที่เรียกว่า ภารกิจ 3D หรือ Dull, Dirty, Dangerous โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ ต้องปฏิบัติซ�้ำ ๆ หรือที่ต้องใช้เวลานานมาก ๆ 14

อาจท�ำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ภารกิจที่สกปรก (Dirty) หมายถึง ภารกิจ ที่ ต ้ อ งเข้ า ไปปฏิ บั ติ ใ นบริ เ วณที่ มี ม ลภาวะ เป็นพิษ เช่น การเก็บกู้วัตถุหรือการถ่ายภาพ ในพื้ น ที่ มี ก ารปนเปื ้ อ นสารชี ว ะ เคมี หรื อ กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น ภารกิจที่อันตราย (Dangerous) หมายถึง ภารกิ จ ที่ ต ้ อ งเสี่ ย งอั น ตราย เช่ น การลาด ตระเวนตรวจการณ์ ในสนามรบหรือในพื้นที่ ของข้าศึก สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ถึ ง แม้ ว ่ า ในปั จ จุ บั น ระบบอากาศยาน ไร้ นั ก บิ น แบบขึ้ น ลงทางดิ่ ง ขนาดใหญ่ จ ะมี จ�ำหน่ายก็ตาม แต่ด้วยมูลค่าที่สูง ท�ำให้ไม่ สามารถจัดหามาใช้ราชการได้ จึงท�ำให้เกิด แนวความคิ ด ในการวิ จั ย และพั ฒ นาระบบ VTOL UAV ขึน้ มาภายในประเทศ ภายใต้ความ ร่วมมือระหว่าง สทป. กองทัพเรือ และภาค เอกชน โดยได้มุ่งเน้นการวิจัยออกเป็นระบบ ย่อย ได้แก่ ระบบตัวอากาศยาน ระบบควบคุม การบิน ระบบสือ่ สาร ระบบควบคุมภาคพืน้ ดิน ระบบปฏิบัติการและการฝึก และระบบกล้อง ตรวจการณ์ ซึ่งตลอดห้วงระยะเวลาของการ ด�ำเนินโครงการได้ช่วยให้คณะท�ำงานได้สั่งสม

อากาศยานไร้นักบิน เนื่องจากต้องท�ำหน้าที่ ในการประมวลผลข้ อ มู ล จากอุ ป กรณ์ ต รวจ วัดต่าง ๆ อาทิ ทิศทาง ระดับความสูง และ ความเร็ว โดยจะน�ำข้อมูลที่ได้มาท�ำการหลอม และสังเคราะห์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะถูกส่งต่อไป ยังระบบควบคุมการบิน เพื่อปรับอัตราการ เร่งของเครื่องยนต์และระบบควบคุมทิศทาง รวมถึงภาคพื้นบังคับและ Servo Actuators ชุดฐานล้อและเบรค ระบบขับเคลื่อนและการ ควบคุมทิศทาง เครื่องยนต์ ใบพัด ระบบเชื้อ เพลิง ระบบไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับเส้นทางการ บิน ภารกิจ และยุทธวิธีที่ได้ก�ำหนดไว้ และ อุปกรณ์ที่ท�ำหน้าที่ในการบันทึกภาพมุมสูงที่

และบ่มเพาะองค์ความรู้และประสบการณ์ อัน เป็นต้นทุนที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถ น�ำไปประยุกต์และต่อยอดเพื่อพัฒนาระบบ VTOL UAV ทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ามารถปฏิบตั กิ าร ได้ไกลและนานขึ้นได้ต่อไปในอนาคต ในด้ า นของคุ ณ ลั ก ษณะและขี ด ความ สามารถของระบบ VTOL UAV นั้น ประกอบ ไปด้วยโครงสร้างตัวอากาศยานที่ได้รับการ ผลิตวัสดุผสม หรือ Composite ที่นอกจาก จะมีคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนทานแล้ว ยังมี น�้ำหนักเบา อีกทั้งยังสะดวกต่อการซ่อมบ�ำรุง เป็นเทคโนโลยีด้านวัสดุที่สามารถหาวัตถุดิบ ได้ในท้องตลาดและหน่วยงานทีม่ คี วามช�ำนาญ ในการออกแบบและผลิตได้ภายในประเทศ ส�ำหรับองค์ประกอบส�ำคัญของอากาศยานไร้ นักบินทุกประเภทคือ ระบบควบคุมการบิน หรือ Flight Control System (FCS) ซึ่งได้ รับการออกแบบและพัฒนาโดยนักวิจัยจาก โรงเรี ย นนายเรื อ อากาศ โดยระบบควบคุ ม การบินนี้จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพด้านการบิน และประสิทธิภาพในการควบคุมอากาศยาน อันเป็นการช่วยลดภาระของผู้ควบคุมได้เป็น อย่ า งมาก และดั ง ที่ ก ล่ าวมาแล้วข้างต้นว่า ระบบควบคุมการบินเปรียบเสมือนสมองของ

ติดตั้งกับระบบ VTOL UAV ได้แก่ กล้องแบบ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในการพัฒนาเขี้ยวเล็บ Electro Optic Infrared ที่สามารถท�ำงานได้ กองทัพ และ "รถหุ้มเกราะ" นวัตกรรมใหม่ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน สามารถตรวจ ล่าสุดจากฝีมอื คนไทยอีกชิน้ ทีไ่ ด้รบั การการันตี จับและติดตามเป้าหมายได้จากระยะไกล คุ ณ ภาพและถู ก ส่ ง ไปใช้ จ ริ ง ใน ๓ จั ง หวั ด ด้ ว ยคุ ณ ลั ก ษณะและความอ่ อ นตั ว ของ ชายแดนใต้ เฟริส วิน อี เป็นรถหุ้มเกราะ ระบบ VTOL UAV โดยเฉพาะในด้านของ ล�ำเลียงพลที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ล�ำเลียงพล ระยะเวลาเตรี ย มการสั้ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการ และลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยง ไม่เพียงจะกัน ใช้งานต่อชั่วโมงต�่ำ ค่าซ่อมบ�ำรุงน้อย จึงมี กระสุน ยังทนต่อแรงระเบิดจากพื้นราบด้วย ความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจสูง จึงท�ำให้ พร้ อ มทั้ ง ยั ง ประสบความส� ำ เร็ จ ในการผลิ ต เหมาะที่จะใช้ในภารกิจภาคพลเรือนได้ด้วย สายพานล�ำเลียงและอะไหล่ เป็นที่ยอมรับของ เช่น การส�ำรวจพื้นที่ถ่ายภาพเพื่อการอนุรักษ์ กองทัพทั่วโลก โดยเฉพาะ ล้อยางเฟริสลิฟ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบิน ที่ เ ห็ น อยู ่ นี้ ไ ม่ เ พี ย งจะช่ ว ยส่ ง เสริ ม การใช้ ตรวจติดตามในพืน้ ทีโ่ ครงการพระราชด�ำริ การ ยางพาราจากเกษตรกรไทย ล้อยางที่ผลิตยัง ค้นหาช่วยชีวติ ผูป้ ระสบภัยในสภาวะเหตุการณ์ สามารถวิ่งได้นาน ๒ ชั่วโมง แม้จะถูกของมีคม และภู มิ ป ระเทศที่ เ สี่ ย งภั ย และยากต่ อ การ หรือเหยียบตะปูเรือใบ เข้าถึง การตรวจโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ท่อ ขณะทีก่ รมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การ ล�ำเลียง เขื่อน เสาส่งสายไฟฟ้าแรงสูง เส้น อุ ต สาหกรรมป้ อ งกั น ประเทศและพลั ง งาน ทางรถไฟ เป็นต้น ทหาร ก็ไม่น้อยหน้า ส่งยุทธภัณฑ์ทางทหาร ระบบอากาศยานไร้ นั ก บิ น ขึ้ น ลงทางดิ่ ง ที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็น ชุดเกราะ (VTOL UAV) ของ สทป. นี้เป็นความส�ำเร็จ กั น กระสุ น , แบตเตอรี่ ท างทหาร รวมถึ ง อันเกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่าง กระสุนปืนเล็กไปจนถึงหัวจรวด มาจัดแสดง หน่ ว ยงานของกระทรวงกลาโหมและภาค ให้ชมอย่างใกล้ชิด เป็นอีกความส�ำเร็จเขี้ยว เอกชน เพื่อช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถ เล็ บ ทหารไทย ที่ ทั่ ว โลกยอมรั บ อย่ า งเต็ ม ในการปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของ ภาคภูมิ

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ประเทศชาติแล้ว ยังเป็นการพึ่งพาตนเองด้าน เทคโนโลยีปอ้ งกันประเทศเพือ่ ความมัน่ คงของ ประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังก่อให้เกิดองค์ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ กองทัพสามารถน�ำไปต่อยอดและพัฒนาต่อไป ได้ มีมาตรฐานในระดับสากล เพือ่ ช่วยประหยัด งบประมาณของกองทัพ ตามทิศทางของการ วิ จั ย และพั ฒ นายุ ท โธปกรณ์ เ พื่ อ ตอบสนอง ความต้องการของกองทัพตามที่ผู้บัญชาการ ทหารบก ได้มอบแนวทางไว้ นอกจากอากาศยานไร้นักบินแล้ว ยังมีการ แสดงเทคโนโลยีการปฏิบัติงานทางทหารอีก มากกว่า ๒๗๐ บริษัทจาก ๓๖ ประเทศชั้นน�ำ

15


หลักสูตรการพัฒนาสัมพันธ์สื่อสารมวลชน

เพื่อความมั่นคงของชาติ พันโทหญิง ณิชนันทน์ ทองพูล

ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม โดยส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม ได้ จั ด หลั ก สู ต รการพั ฒ นาสั ม พั น ธ์ สื่ อ สารมวลชน เพื่อความมั่นคงของชาติขึ้นเมื่อ ๑๙ ถึง ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ด้ ว ยตระหนั ก ถึ ง ความส�ำ คั ญ ในบทบาทของ สื่อมวลชน ในการท�ำหน้าที่ด้วยจรรยาบรรณ วิชาชีพสื่อสารมวลชนและขีดความสามารถ ในการให้ ข ้ อ มู ล ข่ า วสารแก่ ป ระชาชนเป็ น จ�ำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการอบรม หลั ก สู ต รดั ง กล่ า ว ส� ำ นั ก งานเลขานุ ก าร ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม ได้ จั ด บรรยายให้ความรู้และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหั ว ข้ อ “บทบาทของวิ ท ยุ ชุ ม ชนในการ สนับสนุนและมีส่วนร่วมต่องานสาธารณะและ งานด้านความมั่นคงและการฝึกอบรมครั้งนี้ มีการด�ำเนินการให้ความรู้ ความเข้าใจ ใน บทบาท หน้าที่ของประชาชน ตลอดจนการ ปลุ ก จิ ต ส� ำ นึ ก และจรรยาบรรณวิชาชีพที่ดี แก่สื่อมวลชน ตลอดจนยังได้ทราบถึงภารกิจ และบทบาทของส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวง กลาโหมและกระทรวงกลาโหม และเมื่อผู้เข้า รับการอบรม ได้ผ่านการอบรมไปแล้วสามารถ ประสานความร่วมมือกับองค์กรส่วนท้องถิ่น หน่วยงานทหาร และหน่วยราชการในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและมีส่วน ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมสาธารณะที่เป็น ประโยชน์ต่อท้องถิ่นต่อไป 16

พันโทหญิง ณิชนันทน์ ทองพูล


“บ้านเมืองเราทุกวันนี้ ก�ำลังทะเลาะ กันทางความคิด เราต้องมาร่วมถักทอ  ตาข่ า ยแห่ ง ความดี ให้ มี แ ต่ ค นดี ใ น สังคม และขจัดคนไม่ดีให้หมดไป” พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

การฝึกอบรมสัมมนานั้น ใช้เวลารวม ๔ วัน ๓ คืน โดยการฝึกอบรมเป็นการฝึกการ ปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหาร เพื่อให้ผู้เข้า รับการอบรมได้ทราบถึงระเบียบปฏิบัติประจ�ำ ตลอดจนวิถชี วี ติ ความเป็นอยูแ่ บบทหาร ควบคู่ ไปกั บ การรั บ ฟั ง การบรรยายจากวิ ท ยากร รับเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรั ต น์ รองปลั ด กระทรวงกลาโหม นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตรองปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ นางสาวมณี รั ต น์ ก�ำจรกิจการ วิทยากรจากคณะกรรมการกิจการ กระจายเสี ย ง กิ จ การโทรทั ศ น์ แ ละกิ จ การ โทรคมนาคมแห่ ง ชาติ พั น เอก คงชี พ ตันตระวาณิชย์ รองเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม ร้อยตรี สุรชา พระพลศรี และวิทยากรจากบริษัทแปซิฟิก อินเตอร์คอม มิวนิเคชัน่ จ�ำกัด การอบรมมีทงั้ การฟังบรรยาย การเข้ากลุ่มสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และมีการ แถลงผลการสัมมนาท้ายหลักสูตร

“สื่อ เป็นกระบอกเสียงของประชาชน จงท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อประเทศชาติของเรา” พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม/ผู้อ�ำนวยการฝึกอบรม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

17


“ถ้ า เราทุ ก คนท�ำสิ่ ง ใด โดยยึ ด ผล ประโยชน์ของชาติเป็นส�ำคัญ ท้ายที่สุด แล้วปลายทางเราก็จะเดินทางมาบรรจบ พบกัน และท�ำให้เราทุกคนในชาติเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในที่สุด” พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ รองเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม/ รองผู้อ�ำนวยการฝึกอบรม

“เราเป็ น สื่ อ ของประชาชน เราต้ อ ง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม และเพื่อความมั่นคงของชาติ นอกจากนั้น สื่อ ยังถือได้ว่าเป็นผู้น�ำ ทางความคิด เพราะฉะนั้น เราจะต้อง รักษาจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้ เราเป็นสื่อที่ดีค่ะ” นางสุวรรณา ทองเกิด  วิทยุชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 18

พันโทหญิง ณิชนันทน์ ทองพูล


“ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้ารับการ อบรมครัง้ นี้ ท�ำให้เราได้ทราบถึงมิตใิ หม่ ในการท�ำรายการวิทยุ ได้เจอเพื่อนๆ  ทีห่ ลากหลาย ได้รบั ความรูจ้ ากวิทยากร มืออาชีพ นอกจากนัน้ การได้มาใช้ชวี ติ แบบทหารท�ำให้ทราบถึงความมีระเบียบ วิ นั ย การอยู ่ ง ่ า ยกิ น ง่ า ย ฝึ ก ความ อดทน ท�ำให้เราได้ทราบถึงการน�ำเสนอ ข่าวสารไปสู่กลุ่มเป้าหมายของเราที่มี จ�ำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และวัยรุน่ โดยค�ำนึงถึงความมัน่ คงและ ผลประโยชน์ของชาติเป็นส�ำคัญ” คุณวิชัย ทับทอง วิทยุชุมชน จังหวัดชัยภูมิ

การอบรมในครั้ ง นี้ ทางส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า จะเป็นการกระตุ้นและปลุกจิตส�ำนึกของสื่อ ให้ เ ป็ น สื่ อ มวลชนของประชาชน มุ ่ ง เสนอ ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเพื่อ ความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

19


ทีวีดิจิตอล คืออะไร กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ถ้

า พู ด ถึ ง "ที วี ดิ จิ ต อล" หรื อ ที วี ดิจทิ ลั (Digital TV) หลายคนอาจ เคยผ่านตากับกระแสที่ก�ำลังเป็น ข่าวครึกโครมกันอยู่ในช่วงนี้ ว่าวงการทีวีไทย ในบ้านเราจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่ง ค�ำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเจ้าทีวีดิจิตอล คือ อะไร? แล้วทีวีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า อะไร? ท�ำไมจึงต้องเปลี่ยน มองแบบง่ า ย ๆ ก็ เ หมื อ นเมื่ อ ครั้ ง ที่ มี การเปลี่ ย นแปลงจากที วี ข าวด� ำ มาเป็ น ที วี สี นั่ น เอง เพี ย งแต่ ใ นยุ ค นั้ น การใช้ ที วี ในแต่ ล ะครั ว เรื อ นยั ง มี จ� ำ นวนไม่ ม ากนั ก การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะคนที่ ซื้ อ ที วี เ ครื่ อ งใหม่ ก็ จ ะเลื อ กซื้ อ แต่เครื่องทีวีสี จนกระทั่งทีวีขาวด�ำค่อย ๆ หาย ออกไปจากท้องตลาดในที่สุด ส�ำหรับระบบทีวีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เรียกว่าทีวีอนาล็อก (Analog) เป็นการน�ำเอา สัญญาณภาพมาผสมกับสัญญาณวิทยุ โดยใช้ สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นตัวส่งสัญญาณ ซึ่ ง ตามบ้ า นก็ จ ะใช้ เ สาอากาศรั บ สั ญ ญาณที่ เรียกกันว่า "เสาก้างปลา" หรือ "เสาหนวดกุ้ง" นั่ น เอง ซึ่ ง ข้ อ เสี ย ของสั ญ ญาอนาล็ อ กคื อ 20

ถูกสัญญาณรบกวนได้ง่าย อาจท�ำให้รับภาพ เสียงไม่ชัด ทีวีดิจิตอล (Digital TV) คือทีวีที่รองรับ การออกอากาศในรู ป แบบดิ จิ ต อล ให้ สัญญาณภาพและเสียงที่มีคุณภาพดีกว่าแบบ อนาล็อก และใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยดิจิตอลทีวี จะใช้ สั ญ ญาณดิ จิ ต อลที่ ถู ก บี บ อั ด และเข้ า รหั ส ที่มีค่าเป็น "๐" กับ "๑" เท่านั้น ซึ่งในหนึ่ง ช่วงคลื่นความถี่จะสามารถน�ำมาส่งได้หลาย รายการโทรทัศน์ พร้อมสัญญาณภาพและเสียง ที่มีความละเอียดคมชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ในต่างประเทศทั้งในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ได้เริ่มเปลี่ยนมาใช้สัญญาณโทรทัศน์แบบทีวี ดิจิตอลแล้วมากกว่า ๓๘ ประเทศ ข้อดีของทีวีดิจิตอล นอกจากคุณภาพของ สัญญาณภาพและเสียงที่คมชัดขึ้นเนื่องจาก สามารถส่งสัญญาณ FULL HD TV ได้เสถียร และไกลมากขึ้นแล้วนั้น ยังมาพร้อมกับช่องฟรี ทีวีที่เพิ่มขึ้นจ�ำนวนมากเป็น ๔๘ ช่อง แบ่งเป็น ๒๔ ช่องบริการในกลุ่มธุรกิจ, ๑๒ ช่องบริการ สาธารณะ และ ๑๒ ช่องกิจการบริการชุมชน ซึง่ เพิม่ การแข่งขันในวงการโทรทัศน์ได้มากเลย

ทีเดียว ซึ่งต้องมารอลุ้นกันว่ารายละเอียดช่อง หลังจากการประมูลนั้นจะเป็นอย่างไร ฟังแบบนีแ้ ล้วหลายคนอาจมีคำ� ถามว่า แล้ว จะต้องซื้อทีวีเครื่องใหม่ที่เป็นทีวีดิจิตอลหรือ เปล่า?? ค�ำตอบคือ..นั่นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ส�ำหรับผู้ที่ก�ำลังมองหาทีวีเครื่องใหม่อยู่พอดี การเลือกซื้อทีวีดิจิตอลก็สามารถตอบโจทย์นี้ ได้ แต่ส�ำหรับผู้ที่มีทีวีเดิมอยู่แล้ว บางคนบอก ว่าเพิ่งจะถอยมาใหม่ไม่กี่เดือนนี้เอง หรือยัง ไม่พร้อมที่จะทุ่มทุนเปลี่ยนทีวีทั้งเครื่องแบบ นั้น ก็ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยส�ำคัญที่เรียกว่า กล่อง รับสัญญาณ "Set Top Box" ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะท�ำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณดิจิตอล แล้วส่ง ภาพและเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่ทีวีอนาล็อก เครื่องเดิมรับได้ โดยผ่านสาย HDMI, AV, หรือ RG6 เพียงเท่านี้ก็สามารถรับชมทีวีในระบบ ดิจิตอลได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความ จ�ำเป็นกันได้แล้ว ส่วนท่านที่ก�ำลังจะซื้อทีวีเครื่องใหม่เร็วๆ นี้ รออีกสักนิดซื้อทีวีที่มีสัญลักษณ์ "DVB-T2" ซึ่งรับสัญญาณดิจิตอลได้เลยน่าจะคุ้มกว่าค่ะ

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ ระบบ Digital ของประเทศไทย ดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน คือ (What is terrestrial Digital TV?) กิจการโทรทัศน์มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอย่างสูงมาก เนื่องจาก เป็นรากฐานที่สําคัญของระบอบประชาธิปไตย มีอทิ ธิพลอย่างสูงต่อความคิด พฤติกรรม รวมถึง คุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชน เพราะการที่ ประชาชนสามารถรั บ รู ้ แ ละเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ ห ลากหลาย จะทํ า ให้ มี โ อกาสใน การพัฒนาความคิด ความเป็นอยู่และการมี ส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ กิ จ การโทรทั ศ น์ ข องประเทศไทยเริ่ ม ขึ้ น ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ในระบบโทรทัศน์ ขาวด�ำและได้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบโทรทัศน์สี ในปี ๒๕๑๐ และได้ขยายโครงข่ายครอบคลุม ทั่วทั้งประเทศในเวลาต่อมา กิจการโทรทัศน์ โดยเฉพาะระบบภาคพื้นดินถือเป็นบริการขั้น พื้นฐานที่มีความหลากหลายและประชาชน ทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ปัจจุบันระบบการรับ ส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยยังคงใช้ ระบบอนาล็อก ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ทรัพยากร คลื่นความถี่วิทยุซึ่งเป็นสาธารณสมบัติที่มีอยู่ อย่างจ�ำกัดอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทําให้มี ข้อจํากัดในการเพิ่มจํานวนช่องรายการและ คุณภาพการให้บริการ การพั ฒ นาเทคโนโลยี โ ทรทั ศ น์ ร ะบบ Digital ถือได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของกิจการ โทรทั ศ น์ ค รั้ ง สํ า คั ญ เพราะเป็ น การพั ฒ นา ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรคลืน่ ความถีว่ ทิ ยุ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัวด้วย ขนาดคลืน่ ความถีว่ ทิ ยุทเี่ ท่ากัน โทรทัศน์ระบบ อนาล็อกสามารถส่งช่องรายการได้เพียงช่อง เดียว แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีระบบ Digital จะ สามารถออกอากาศได้มากถึง ๘ - ๒๕ ช่อง รายการด้ ว ยคุ ณ ภาพที่ ดี ก ว่ า เดิ ม สามารถ รองรับการให้บริการมัลติมีเดียใหม่ๆ และยัง ช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศ เนื่องจาก ระบบส่งสัญญาณและเครื่องรับโทรทัศน์ระบบ Digital จะประหยั ด การใช้ พ ลั ง งานไฟฟ้ า มากกว่าระบบอนาล็อกหลายเท่าตัว นอกจากนี้ ยั ง สามารถใช้ ท รั พ ยากรโครงสร้ า งพื้ น ฐาน และโครงข่ายการส่งสัญญาณร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพอีกด้วย ในส่วนของประชาชนจะได้รบั โอกาสในการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทีม่ คี วามหลาก หลายจากผลของจํานวนช่องรายการที่เพิ่มขึ้น หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ด้วยคุณภาพที่ดีกว่าเดิม อันจะนํามาซึ่งการ พัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจของ ประเทศโดยตรง

เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรองรับดิจิตอล ทีวี How to watch? ๑. ถ้าท่านใช้โทรทัศน์ระบบอนาล็อก หรือ โทรทัศน์ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ Smart TV หรือโทรทัศน์จอแบน ต่าง ๆ ล้วนเป็นโทรทัศน์รุ่นเก่าระบบอนาล็อก ท่านไม่ต้องเปลี่ยนโทรทัศน์ใหม่ ท่านสามารถ รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลได้ ง่าย ๆ เพียงน�ำโทรทัศน์เครื่องเดิมที่ใช้อยู่เชื่อม ต่อกับ Set Top Box (STB) หรือกล่องแปลง สัญญาณ กล่องตัวนี้จะช่วยเปลี่ยนสัญญาณ จากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอลโดยท่าน ไม่ต้องซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ โดยมีหนวดกุ้ง หรือเสาก้างปลาเป็นตัวรับสัญญาณ

๒. ถ้าท่านต้องการซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ เป็นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งเป็น โทรทัศน์ที่มีดิจิตอลจูนเนอร์ในตัวรับสัญญาณ (integrated Digital Television หรือ iDTV) ซึ่งสามารถรับสัญญาณดิจิตอลได้โดยไม่ต้อง ใช้กล่องแปลงสัญญาณหรือ Set Top Box เพียงท่านต่อโทรทัศน์ iDTV กับเสาก้างปลา หรือหนวดกุ้ง ท่านสามารถรับชมโทรทัศน์ภาค พื้นดินในระบบดิจิตอลได้แล้ว ซึ่งวิธีนี้ผู้รับชม จะสามารถรับชมจ�ำนวนช่องได้ทั้งหมด ๔๘ ช่องพร้อมกั บ คุ ณ ภาพความคมชั ด ปกติ SD (Standard Definition) และความคมชัดสูง HD (High Definition)

โทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

จานดาวเทียม

๓. ถ้าท่านรับชมโทรทัศน์ดว้ ยจานดาวเทียม หรือผ่านเคเบิล ท่านสามารถรับชมรายการได้ ทั้งหมด ๓๖ ช่อง ซึ่งไม่รวมช่องบริการชุมชน ทั้ง ๑๒ ช่อง เนื่องจากช่องบริการชุมชนจะให้ บริการแปรผันไปตามภูมิภาคที่รับชม ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึง่ ระบบจาน ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีไม่สามารถดึงสัญญาณ ภาพไปให้บริการได้ แต่คุณภาพความคมชัด อาจจะไม่เท่ากับการต่อสัญญาณผ่านเครื่อง แปลงสัญญาณหรือ Set Top Box (STB) เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถรับชมโทรทัศน์ ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลได้แล้ว

เสาก้างปลา หรือ หนวดกุ้ง 21


เนื้อหารายการ (Content) และบริการแบบ ใหม่ๆ (Interactive services) ช่ ว ยลดการใช้ พ ลั ง งานของประเทศ เนือ่ งจากเครือ่ งส่งและเครือ่ งรับโทรทัศน์ระบบ Digital ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าเครื่องส่ง โทรทัศน์ระบบอนาล็อกมาก

ค�ำถามที่มักถามกันบ่อย

หากมีปัญหาหรือสงสัยเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ เบอร์ ๑๒๐๐ ต่อกลุ่มงานขับเคลื่อนกิจการ โทรทัศน์และวิทยุในระบบดิจิตอล

ประโยชน์ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ โทรทัศน์ระบบ Digital การปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากระบบ อนาล็อกไปสู่ระบบ Digital นอกจากจะเป็น สิ่งที่กฎหมายก�ำหนดให้ดําเนินการแล้ว ยัง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศใน หลายด้านดังนี้ สามารถเพิ่มช่องรายการโทรทัศน์ภาค พื้นดินของไทยจาก ๖ ช่องในปัจจุบัน เพิ่มมาก ขึ้นเป็น ๔๘ ช่อง โดยที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม ท� ำ ให้ ป ระชาชนมี ท างเลื อ กในการรั บ รู ้ แ ละ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น - หมวดรายการทั่วไป (HD) จ�ำนวน ๗ ช่อง - หมวดรายการทั่วไป (SD) จ�ำนวน ๗ ช่อง - หมวดข่ า วสารและสารประโยชน์ (SD) จ�ำนวน ๗ ช่อง - หมวดรายการเด็กและเยาวชน (SD) จ�ำนวน ๓ ช่อง มีอัตราส่วนของภาพเป็น ๑๖ : ๙ ตาม รูปร่างของจอภาพที่เป็น wide screen ซึ่ง คล้ายคลึงกับอัตราส่วนของจอในโรงภาพยนตร์ คุณภาพเสียงสูงขึ้น เป็น multichannel programs ด้ า นการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ การปรั บ เปลี่ยนโทรทัศน์สู่ระบบ Digital ของประเทศ จะนําไปสู่การลงทุนโครงข่ายระบบ Digital การผลิ ต อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งรั บ และการพั ฒ นา อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น 22

ค�ำถาม : โทรทัศน์ระบบอนาล็อก และ โทรทัศน์ระบบดิจิตอล แตกต่างกันอย่างไร ค�ำตอบ : โทรทัศน์ระบบดิจิตอลมีคุณภาพ สัญญาณภาพและเสียงที่ดีกว่าระบบอนาล็อก และเป็ น การน� ำ ทรั พ ยากรคลื่ น ความถี่ วิ ท ยุ มาใช้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพโดยสามารถ ออกอากาศได้ ห ลายช่ อ งเมื่ อ เที ย บกั บ แบบ อนาล็อกที่ใช้ออกอากาศได้เพียงช่องเดียว ซึ่ง สามารถน�ำเสนอได้คมชัดขึ้นด้วยมาตรฐาน ความคมชัดสูง (High Definition) หรืออาจ จะแบ่ ง ได้ เ ป็ น หลายช่ อ งรายการมาตรฐาน ความคมชั ด ปกติ (Standard Definition) ด้ ว ยกระบวนการที่ เ รี ย กว่ า Multicasting นอกจากนี้ยังรองรับบริการมัลติมีเดียใหม่ๆ และประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า ระบบอนาล็อกหลายเท่าตัว รวมถึงสามารถใช้ ทรัพยากรโครงข่ายพื้นฐานและโครงข่ายการ ส่งสัญญาณร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ค�ำถาม : ราคา Set top box ค�ำตอบ : ราคาของ STB จะอยู่ที่ราวๆ ๑,๐๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ บาทเท่านั้น ขึ้นกับสเป็ค และลูกเล่นต่างๆ ตอนนี้ราคาในต่างประเทศ อยูท่ ปี่ ระมาณ ๔๕ USD หรือประมาณ ๑,๓๕๐ บาทเท่านั้น ค� ำ ถาม : ถ้ า เราไม่ มี ที วี ที่ มี Built-in Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB เราจะสามารถรับชมฟรีทีวีช่อง ๓, ๕, ๗, ๙, NBT และ สทท. ได้อยู่หรือไม่ ค�ำตอบ : ยังสามารถรับชมได้อยู่เพราะ รั ฐ บาลจะยั ง ส่ ง สั ญ ญาณการแพร่ ภ าพแบบ Analog ไปจนถึงปี ๒๕๖๓ ตามข้อตกลงของ อาเซียน โดยระหว่างนี้ก็จะท�ำการแพร่ภาพ สัญญาณแบบ Digital คู่ไปกับ Analog ด้วย ซึ่งหลังจากปี ๒๕๖๓ ก็จะท�ำการตัดสัญญาณ แบบ Analog ซึ่งถ้าผู้ใช้งานไม่มีทีวีที่มี Builtin Digital Tuner แบบ DVB-T2 หรือ STB ก็ จะไม่สามารถรับสัญญาณได้อีกต่อไป (ตอนที่ ประเทศเกาหลีเปลีย่ นสัญญาณการออกอากาศ จากแบบเดิมเป็น Digital TV แบบ ATSC ใช้ เวลาถึง ๑๐ ปี จึงตัดสัญญาณแบบ Analog) ค�ำถาม : เมืองไทยจะเริ่มส่งสัญญาณแบบ Digital TV เมื่อไหร่ และจะมีช่องรายการ ประมาณกี่ช่อง

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ค�ำตอบ : มีช่องบริการสาธารณะ (SD) จ� ำ นวน ๑๒ ช่ อ ง ช่ อ งบริ ก ารชุ ม ชน (SD) จ�ำนวน ๑๒ ช่อง และช่องบริการธุรกิจ (SD, HD) จ�ำนวน ๒๔ ช่อง ค�ำถาม : จ�ำเป็นต้องใช้กับ Smart TV หรือไม่ ค�ำตอบ : ไม่จ�ำเป็น จะรับสัญญาณได้หรือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Tuner ไม่ใช่ว่าทีวีรุ่นนั้นเป็น Smart TV ค�ำถาม : ข้อแตกต่างระหว่าง Terrestrial Digital TV , Cable TV และ Sattlelite TV ค�ำตอบ : การรับสัญญาณของ Terrestrial Digital TV นั้นการรับสัญญาณสามารถกระท�ำ ได้โดยใช้สายอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบ ธรรมดาที่ ใ ช้ กั น อยู ่ ต ามบ้ า นเรื อ นทั่ ว ไปซึ่ ง ประหยัดกว่าการใช้จานรับสัญญาณดาวเทียม หรือการเป็นสมาชิกเคเบิลทีวี ถึงแม้การรับ ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอาจจะส่ง สัญญาณได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างมากและเข้าถึง พื้นที่ทุรกันดาร เช่น เกาะต่าง ๆ แต่เนื่องจาก การส่งสัญญาณดาวเทียมเป็นการส่งสัญญาณ แบบ line of sight ดั ง นั้ น เมื่ อ อยู ่ ใ นช่ ว ง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

สภาพอากาศไม่ปลอดโปร่ง หรืออยู่ในพื้นที่ อับสัญญาณ เช่น มีตึกสูงบัง หรือมีสิ่งกีดขวาง ทางเดิ น ของสั ญ ญาณ จะไม่ ส ามารถรั บ สัญญาณได้ ซึ่งก็รวมถึงการที่ไม่สามารถวาง อุปกรณ์รับสัญญาณภายในอาคารได้ ต้องติด จานรับสัญญาณบนที่สูง หรือหลังคาตึก โดย ไม่ให้มีอะไรบัง ในกรณีของ cable TV ที่ต้องส่งสัญญาณ ผ่าน cable line ที่ผ่านไปตามบ้านเรือน ถึง แม้จะไม่มีข้อจ�ำกัดในเรื่องของสภาพอากาศ และการถูกบดบังของสัญญาณ แต่กม็ คี า่ ใช้จา่ ย สูงในการเดินสาย cable ที่โดยทั่วไปมักจ�ำกัด พื้นที่อยู่ในเขตเมืองไม่ค่อยมีการกระจายออก ไปในแถบชนบทหรือนอกเมือง ซึ่งต่างจาก Terrestrail TV ที่ส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นวิทยุ ส่งสัญญาณในลักษณะ broadcast กระจาย รอบทิศทาง ซึง่ สามารถแพร่กระจายได้ในระยะ ทางทีไ่ กล และสามารถเดินทางผ่านสิง่ กีดขวาง ได้ ไม่ จ� ำ กั ด ในเรื่ อ งการถู ก ก� ำ แพงหรื อ ถู ก ตึกสูงบัง และยังไม่ถูกข้อจ�ำกัดในเรื่องของการ เดินสายสัญญาณ สามารถส่งสัญญาณไปนอก เขตเมืองได้ด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก กสทช. 23


ประเทศไทยบนจอโลก Thailand is back จุฬาพิช มณีวงศ์

นั

บจากรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงน�ำ สยามประเทศสู่ความเป็นสากล จนอารยประเทศทางตะวั น ตกผู ้ แ สวงหา อาณานิคมมิอาจครอบครองดินแดนของไทย เหมือนเช่นทีท่ ำ� กับประเทศต่าง ๆ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รวม สิริราชสมบัติ ๔๒ ปี ๒๒ วัน อันเป็นช่วง เวลาที่ ต รงกั บ ยุ ค ที่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ โ ลกเรี ย ก ว่า ยุคจักรวรรดินิยมใหม่ซึ่งพอดีกับที่บรรดา ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญกับการคุกคามและ ครอบง�ำจากมหาอ�ำนาจรวม ๑๒ ประเทศ อั น เป็ น ผลมาจากข้ อ ตกลงในการประชุ ม ร่วมกันที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ราวปี พ.ศ. ๒๔๒๗ – ๒๔๒๘ หมายความว่ า ประเทศมหาอ� ำ นาจทั้ ง ๑๒ ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก ฮอลันดา เบลเยียม โปรตุเกส สเปน อิตาลี และสวีเดน - นอรเวย์ (ออสเตรีย - ฮังการี และ สวีเดน นอรเวย์ เวลานั้นเป็นประเทศเดียวกัน) จะร่วม กันจัดระเบียบแบ่งสรรทรัพยากร แล้วเข้ายึด ครองประเทศเอกราชทัง้ หลายในทวีปแอฟริกา และเอเชียได้ตามอ�ำเภอใจ 24

ในห้วงเวลานั้นอันเป็นการยากที่จะหลีก เลี่ยงการเข้ามาก้าวก่ายและครอบง�ำ จนถึง ยึ ด ครองของมหาอ� ำ นาจ พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงด� ำเนินพระ ราโชบายโดยหลั ก สั ม พั น ธไมตรี ผ ่ อ นหนั ก เป็นเบา คือ เอาแต่สารประโยชน์เป็นส�ำคัญ จึงทรงสามารถระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เป็น อย่างดี ทรงมีความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ทรงมีพระราชไมตรีกับประเทศออสเตรียและ ฮังการี รัสเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ทรงรักษาความ สัมพันธ์กับประเทศที่มีไมตรีกันมาแต่ก่อนแล้ว ให้ยืนยง มีราชการไปมาต่อกันมากขึ้น แม้จะมี ข้อบาดหมางกับบางประเทศด้วยสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งต่างก็รักษาผลประโยชน์ของตน แต่ยังทรง มุ่งหวังผลแห่งการประนีประนอมยอมตกลง กันโดยไมตรีท�ำให้พระเกียรติยศแผ่กว้างขวาง ออกไป เมื่อมีการประชุมนานาชาติด้วยกิจการ ใด จึงทรงได้รับการทูลเสด็จอยู่เนื่อง ๆ ในรัชกาลของพระองค์ มีพระมหากษัตริย์ ตลอดจนเจ้านายต่างประเทศเสด็จมาเยือน ไทยหลายครั้ง อาทิ สมเด็จซาร์นิโคลัสที่ ๒ พระเจ้ากรุงรัสเซีย ครั้นด�ำรงพระอิสริยยศเป็น มกุฎราชกุมาร เจ้าชายวัลติมาร์ และเจ้าชาย แอกเซว แห่งเดนมาร์กเป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเจริญสัมพันธไมตรีกบั ต่างประเทศทีส่ �ำคัญ ประการหนึง่ ในรัชสมัยนีค้ อื การเสด็จประพาส

ยังต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะยังประโยชน์ใน การเจริญสัมพันธไมตรีแล้วยังได้มีโอกาสทอด พระเนตรแบบอย่างอันดีของประเทศนั้น ๆ เพื่อน�ำกลับมาปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองตาม ความเหมาะสมอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ ทรงเสด็จพระราชด�ำเนิน ไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรง เลือกที่จะเสด็จพระราชด�ำเนินไปในประเทศ เพื่อนบ้านใกล้เคียง คือประเทศสิงคโปร์และ ประเทศชวาเพือ่ เจริญสัมพันธไมตรีกบั ประเทศ จุฬาพิช มณีวงศ์


ในแถบอินโดจีน และเพื่อเรียนรู้การปกครอง เนื่องจากทั้ง ๒ ประเทศต่างเป็นเมืองขึ้นของ มหาอ�ำนาจตะวันตกเป็นจ�ำนวนมาก แม้แต่ ประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับสภาวะล่อแหลม อยู ่ ห ลายครั้ ง แต่ ด ้ ว ยสายพระเนตรที่ ย าว ไกล พระองค์จึงตั้งพระทัยจะเสด็จประพาส ยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และร่วมปรึกษา หารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองกับประเทศ มหาอ�ำนาจเหล่านั้น ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเสด็จประพาสยุโรป เป็นครั้งแรก ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยียม อิตาลี ออสเตรียฮังการี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์ และเยอรมัน โดยได้รับการต้อนรับอย่างยิ่ง ใหญ่สมพระเกียรติในฐานะพระมหากษัตริย์ ไทย ทั้งนี้ นับเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชีย หรื อ บู ร พาทิ ศ พระองค์ แรกที่เสด็จประพาส ยุโรป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ยังทรงเสด็จ ประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ การเสด็จประพาส ครั้ ง นี้ ไ ด้ น� ำ ความเจริ ญ มาสู ่ บ ้ า นเมื อ งเป็ น อันมาก โดยมีพระราชประสงค์ที่จะพัฒนา ประเทศไทยให้ ไ ด้ รั บ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ท�ำให้ในยุด ของพระองค์กลายเป็นยุคทองของบ้านเมืองที่ มีการปฏิรปู ประเทศไปสูค่ วามเจริญในทุกด้าน พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ล อดุ ล ยเดช ทรงน� ำ วิ เ ทโศบายในการสร้ า ง สัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ จากพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาด�ำเนิน รอยตาม ดังจะเห็นได้จากการเสด็จประพาส ต่างประเทศในระยะแรกของการเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ และยังคงด�ำรงความสัมพันธ์ อันงดงามตลอดมา แม้ในกาลปัจจุบนั พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จะทรงมีพระราชสาส์นไป หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

25


ยังนานาประเทศ ทั้งในโอกาสทรงร่วมแสดง ความยินดี และในโอกาสทรงแสดงความเสีย พระราชหฤทัย อันเป็นประดุจเครื่องยึดเหนี่ยว สายสัมพันธ์ของมิตรประเทศ ทั้งในยามทุกข์ และยามสุข การเดิ น ทางไปต่ า งประเทศของรั ฐ บาล ภายใต้การน�ำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม เป็ น นโยบายที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การฟื้นฟูการเชื่อมสัมพันธไมตรี และเปิดสู่ ทางการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หลัง จากที่ในระยะหลังความขัดแย้งทางการเมือง และปั ญ หาเศรษฐกิ จ ในประเทศ ส่ ง ผลให้ ประเทศไทยเกือบจะห่างหายไปจากเวทีโลก มายาวนาน จากรายงานของส�ำนักนายกรัฐมนตรี ระบุ ว่าในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชิ น วั ต ร นายกรั ฐ มนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เดินทางไปต่างประเทศทั้ง สิน้ ๔๒ ครัง้ ใน ๔๐ ประเทศ และกว่า ๒๐ ทริป ใน ๓๑ ประเทศ ได้เปิดโอกาสให้นักธุรกิจร่วม คณะเดินทางไปด้วย ทั้ ง เพื่ อ พบปะกั บ ผู ้ น� ำ และเจรจาการค้ า ส่งเสริมการลงทุนร่วมกับนักธุรกิจชั้นน�ำของ ประเทศเหล่านั้น ซึ่งเป็นการฟื้นฟูความเป็น ผู ้ น� ำ ของไทยในการเจรจาการค้ า และการ ลงทุนตลอดจนเปิดตลาดการค้าใหม่ ๆ โดยที่ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้น� ำคณะเจรจา ซึ่งถือ เป็นประโยชน์ในกาสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ นักธุรกิจระหว่างประเทศ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวง การต่างประเทศ ถึงกับบอกว่า การเดินทาง ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ไปหลาย 26

ประเทศ ได้ ช ่ ว ยตอกย�้ ำ สร้ า งความเชื่ อ มั่ น ให้ แ ก่ ป ระเทศไทย สร้ า งภาพลั ก ษณ์ ข อง ประเทศไทยกลับคืนมา ผูน้ �ำของหลายประเทศ ถึงกับบอกว่า Thailand is back หมายความ ว่ า ประเทศไทยได้ ก ลั บ มาแล้ ว อธิ บ ายได้ ว่ า ประเทศไทยได้ ห ายไปจากจอเรดาร์ ม า นานแล้ว แต่ขณะนี้ได้กลับมาสู่จอเรดาร์แล้ว ท�ำให้ประเทศไทยได้กลับมาเป็นประเทศที่มี ศักยภาพที่น่าสนใจในสายตาของผู้น�ำประเทศ และผู้น�ำภาคธุรกิจในประเทศต่าง ๆ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม ให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ การเดิ น ทางไปเยื อ นต่ า งประเทศ อย่างมาก โดยแต่ละครั้งจะมีการเตรียมการ เป็นระยะเวลาไม่ต�่ำกว่า ๑ เดือน ต้องเตรียม ทั้งภารกิจที่จะเดินทางไป และคณะนักธุรกิจที่ จะร่วมเดินทาง ซึ่งการไปทุกครั้งต้องไม่ให้ซ�้ำ หน้ากัน ขึ้นอยู่กับจุดหมายในแต่ละประเทศที่ ไป และความเป็นไปได้ของประเภทธุรกิจที่จะ ไปท�ำการค้าและการลงทุนในปะเทศนัน้ ๆ เช่น ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางจะเป็นธุรกิจ บริ ก ารโดยเฉพาะบริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพ หรื อ เมดิคัลฮับ ธุรกิจส่งเสริมความงามและธุรกิจ สปา ขณะที่การไปอิตาลีจะเป็นธุรกิจสิ่งทอ เสื้อผ้า ประเทศแถบแอฟริกาจะเป็นกลุ่มธุรกิจ พลังงาน อัญมณี เกษตร ท่องเที่ยว เป็นต้น ตลอด ๒ ปีของการเดินทางไปต่างประเทศ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม ช่ ว ยให้ ป ระเทศไทยสามารถเปิ ด ตลาดใหม่ด้านการค้าและการลงทุนเป็นอย่าง มาก ท�ำให้นักธุรกิจไทยได้มีโอกาสจับคู่ธุรกิจ ในประเทศต่าง ๆ ที่เดินทางไป ประกอบกับ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมาย เอกอัครราชทูตและกงสุลของไทยที่ประชากร

อยู ่ ใ นประเทศต่ า ง ๆ ชู น โยบายเชิงรุกเพิ่ม จากภารกิจงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ได้แก่ การเป็นกลไกส� ำคัญที่ช่วย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ใน ลั ก ษณะเป็ น ที ม ไทยแลนด์ ประสานงาน ร่วมกันกับฝ่ายต่าง ๆ ทั้งกระทรวงพาณิชย์ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงแรงงาน จึงท�ำให้การเดินทาง ไปเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี เป็น ประโยชน์อย่างมาก แต่ละครั้งมีผลทางธุรกิจ ที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน นั บ เป็ น ที่ น ่ า ยิ น ดี ว ่ า ในสายตาของต่ า ง ชาติ ประเทศไทยมี Country Brand และ Country Image หลายด้ า น ทั้ ง ในเชิ ง ภู มิ ศ าสตร์ ที่ เ ห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า ไทยเป็ น จุฬาพิช มณีวงศ์


ประเทศศูนย์กลางของอาเซียน และประเทศ ผู ้ ส ่ ง ออกอาหารที่ มี คุ ณ ภาพ เวลาซื้ อ สิ น ค้ า ไทยเขาจะมี ค วามเชื่ อ มั่ นในคุณภาพ ท� ำให้ นั ก ธุ ร กิ จ ที่ มี โ อกาสร่ ว มคณะไปกั บ นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับการตอบรับ เป็นอย่างดี แม้ว่าดูเหมือนสถานการณ์ทางการ เมืองในประเทศจะเป็นปัญหา แต่ส่วนใหญ่ หลายประเทศที่มีการติดต่อท�ำสัญญาการค้า ร่วมกันยืนยันว่า การเมืองของไทยยังดีกว่า อีกหลายประเทศ และในระยะหลังพวกเขามี ความเข้าใจการเมืองไทยมากขึ้น ความเชื่อมั่น จึงกลับคืนมา หากย้อนวันเวลากลับไปในระยะแรกเริ่ม ของรั ฐ บาลยิ่ ง ลั ก ษณ์ ซึ่ ง ได้ แ ถลงนโยบาย ต่อรัฐสภาก่อนการบริหารประเทศ ก�ำหนด นโยบายการต่ า งประเทศและเศรษฐกิ จ ระหว่างประเทศไว้อย่างชัดเจนรวม ๗ ด้านคือ ๑. เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่ อ เสริ ม สร้ า งความเข้ า ใจอั น ดี แ ละความ ใกล้ชดิ ระหว่างกันอันจะน�ำไปสูก่ ารขยายความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคม ขนส่งและความร่วมมือด้านอืน่ ๆ ภายใต้กรอบ ความร่วมมืออนุภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความเป็น เพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ๒. สร้างความสามัคคี และส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและ ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ กั บ ประเทศอื่ น ๆ ใน เอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการ เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้ง ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และ ความมั่นคง

และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติใน ทางบวกต่อประชาชนคนไทยและประเทศไทย ๖. ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของ ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพรมแดนและ การเปลี่ ย นแปลงในโลกที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการ ก� ำ หนดนโยบายและด� ำ เนิ น นโยบายต่ า ง ประเทศ ๗. สนั บ สนุ น การทู ต เพื่ อ ประชาชน คุ้มครอบผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทย และแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะ คนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่าง ประเทศ ส่งเสริมบทบาทและความแข็งแกร่ง ของชุ ม ชนไทยในการรั ก ษาเอกลั ก ษณ์ ข อง ความเป็นไทย นโยบายด้านต่างประเทศทั้ง ๗ ข้อ ของ รัฐบาลยิง่ ลักษณ์ ได้ทำ� แล้วเสร็จทุกประการ ใน

๓. เสริ ม สร้ า งบทบาทที่ ส ร้ า งสรรค์ แ ละ ส่ ง เสริ ม ผลประโยชน์ ข องชาติ ใ นองค์ ก าร ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติ และองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษา สันติภาพและความมัน่ คง ส่งเสริมกระบวนการ ประชาธิ ป ไตย สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน มนุ ษ ยธรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจน ความร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้าม ชาติทุกด้านที่ส่งผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ ๔. กระชั บ ความร่ ว มมื อ และความเป็ น หุ ้ น ส่ ว นทางยุ ท ธศาสตร์ กั บ ประเทศ กลุ ่ ม ประเทศ และองค์ ก ารระหว่ า งประเทศที่ มี บทบาทส�ำคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความ เชื่ อ มั่ น ในประเทศไทย พร้ อ มกั บ การสร้ า ง ภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้เศรษฐกิจไทย ๕. สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชน ของนานาประเทศ พร้ อ มทั้ ง ส่ ง เสริ ม ภาพ ลักษณ์ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับ ประเทศก�ำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล

ช่วง ๒ ปีกว่ามานี้ และจะด�ำเนินการต่อเนื่อง ต่อไปเพื่อให้ Thailand is back คงอยู่ในความ รู้จักของผู้น�ำประเทศต่าง ๆ ตลอดไป ดั ง นั้ น จึ ง ไม่ น ่ า เป็ น ห่ ว งในคดี พ ระวิ ห าร ที่ ศ าลโลกตั ด สิ น เมื่ อ วั น ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกนี้ นางสาวยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต ร นายก รั ฐ มนตรี และรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวง กลาโหม และสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรี กั ม พู ช า ต่ า งประกาศเจตนารมณ์ ร ่ ว มกั น แล้ ว ว่ า จะรั ก ษาความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ความ ร่วมมือที่ก�ำลังเป็นไปด้วยดีระหว่างกัน และ ความสงบสุ ข บริ เ วณชายแดนของประเทศ ทั้งสอง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ผู้น�ำทั้งสองยึดมั่น ในแนวสันติมาตลอด ไม่มีวิเทโศบายใดจะดีไปกว่า การสร้างมิตร กับประเทศเพื่อนบ้าน และผูกสัมพันธไมตรีกับ มหาอ�ำนาจ ตามรอยพระบาทพระพุทธเจ้า หลวง ผู ้ ท รงเล็ ง เห็ น การณ์ ไ กล น� ำ พา ประเทศไทยฝ่ า วิ ก ฤติ ลั ท ธิ ไ ล่ ล ่ า อาณานิ ค ม จนด�ำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้ 27


กระทรวงกลาโหมจัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖

พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต

นื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ รัฐบาลได้ก�ำหนด จัดกิจกรรม เฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อให้ ประชาชนชาวไทยทุ ก หมู ่ เ หล่ า ได้ ร ่ ว มกั น ถวายราชสดุ ดี เทิ ด พระเกี ย รติ แ สดงออก ถึ ง ความจงรั ก ภั ก ดี แ ละน้ อ มระลึ ก ในพระ มหากรุณาธิคุณ โดยบรรจุการจัดกิจกรรมการ แสดงพลุและกิจกรรม การแสดงวงโยธวาทิต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ ซึ่งกระทรวงกลาโหม โดย ส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยรับผิดชอบ ด� ำ เนิ น การประสานงานให้ เ ป็ น โครงการ เฉลิมพระเกียรติของรัฐบาล ทั้งการแสดงวงโยธวาทิตเฉลิมพระเกียรติ ก� ำ หนดจั ด ขึ้ น ในวั น อั ง คารที่ ๑๗ ธั น วาคม ๒๕๕๖ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา ณ สนามกีฬากองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต โดยใช้ชื่อว่า “๑ คีตมหาราชา ๑ โยธวาทิต ไทยสู ่ ส ากล” ซึ่ ง จะเป็ น การเผยแพร่ พ ระ อัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคณ ุ ด้านดนตรี ของพระองค์ท่าน โดยภายในงานประกอบ ด้วย นิทรรศการแสดงพระอัจฉริยภาพและ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ด้ านดนตรี การแสดง วงโยธวาทิตของเยาวชนไทย ๙ โรงเรียนที่ได้ 28

พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต


รับรางวัลจากการแข่งขันวงโยธวาทิต ระดับ โลก ประกอบด้ ว ย โรงเรี ย นสุ ร ศั ก ดิ์ ม นตรี โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนวัดเขมาภิรตา ราม โรงเรียนสตรีวัดระฆัง โรงเรียนวัฒนโนทัย พายัพ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา โรงเรียน บุ ญ วั ฒ นา โรงเรี ย นวชิ ร ธรรมสาธิ ต และ โรงเรี ย นเมื อ งพั ท ยา ซึ่ ง นั บ เป็ น การจั ด การ แสดงครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกันนี้ยัง มีวงโยธวาทิตจาก ๔ เหล่าทัพ และศิลปิน ชื่อดังมากมาย อาทิ คุณสันติ ลุนเผ่, คุณเบน ชลาทิศ, คุณพัดชา AF4 ส� ำ หรั บ การแสดงพลุ เ ฉลิ ม พระเกี ย รติ ก� ำ หนดจั ด ขึ้ น ในวั น เสาร์ ที่ ๒๑ ธั น วาคม ๒๕๕๖ ตั้ ง แต่ เ วลา ๑๗.๓๐ ถึ ง ๒๐.๓๐ นาฬิกา ณ สวนหลวงราชินี (๑๙ ไร่) อ�ำเภอ

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้ชื่อว่า “ดวง ประทีปพราวนภา เทิดราชา ราชินี บารมีศรี แผ่นดิน (เรารักในหลวง)” ซึ่งเป็นการแสดง พลุนานาชาติครัง้ ยิง่ ใหญ่เพือ่ ถวายราชสดุดเี ทิด พระเกียรติ แสดงออกถึงความจงรักภักดีและ น้อมระลึก ในพระมหากรุณาธิคุณพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในงานประกอบด้วย การแสดงพลุจากสมาคมพลุ แห่งประเทศไทย และการแสดงพลุ จ ากประเทศญี่ ปุ ่ น และ สมาพั น ธรั ฐ สวิ ส พร้ อ มด้ ว ยศิ ล ปิ น ชื่ อ ดั ง มากมาย

29


ดุลยภาพทางทหารของประเทศอาเซียน

รถถังเบาสกอร์เปี้ยน พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

รถถังเบาสกอร์เปี้ยนขนาดยาว ๕.๒๘ เมตรกว้าง ๒.๑๓ เมตร สูง ๒.๑๐ เมตร น�้ำหนัก ๘.๐๗ ตัน เครื่องยนต์เบนซิน จากัว (J60) ขนาด ๔.๒ ลิตร ความเร็ว ๗๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ ๗๕๖ กิโลเมตร ปืนหลักขนาด ๗๖ มิลลิเมตร ปืนกลร่วมแกน ขนาด ๗.๖๒ มิลลิเมตร เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ๒ ชุด และพลประจ�ำรถ ๓ นาย

30

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


อ งทั พ บกฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ป รั บ ปรุ ง ร ถ ถั ง เ บ า แ บ บ ส ก อ ร ์ เ ป ี ้ ย น (Scorpion) จ� ำ นวน ๑๒ คั น เป็นเงิน ๔.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ ทั น สมั ย ยิ่ ง ขึ้ น ที่ ส� ำ คั ญ คื อ การ เปลี่ยนจากเครื่องยนต์เบนซินของจากัวร์ เป็น เครื่องยนต์แบบดีเซลของคัมมินส์หรือเปอร์ กิ้นส์ รถถังเบาสกอร์เปี้ยนผลิตโดยประเทศ อั ง กฤษ รถถั ง สกอร์ เ ปี ้ ย นได้ รั บ การพั ฒ นา และสร้างรถถังต้นแบบขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ท� ำ การทดสอบในภู มิ ป ระเทศหลายสภาพ อากาศ ประกอบด้ ว ยอากาศหนาวที่ มี หิ ม ะ ปกคลุมที่ประเทศนอรเวย์และสภาพอากาศที่ ร้อนระอุพร้อมทั้งฝุ่นทรายละเอียดที่ประเทศ ดูไบและประเทศออสเตรเลีย สภาพอากาศทั้ง สองแบบนี้มีผลกระทบอย่างมากในการท�ำงาน ของระบบเครื่องยนต์เมื่อผ่านการทดสอบทั้ง ทางเทคนิคและทางยุทธวิธีแล้วน�ำเข้าประจ�ำ การในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ รถถังเบาสกอร์เปี้ยน ขนาดยาว ๕.๒๘ เมตร กว้าง ๒.๑๓ เมตร สูง ๒.๑๐ เมตร น�้ำหนัก ๘.๐๗ ตัน เครื่องยนต์ เบนซิน จากัว (J60) ขนาด ๔.๒ ลิตร ความเร็ว ๗๒ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ ๗๕๖ กิโลเมตร ปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร (L23A1พร้อมลูกกระสุนปืน ๔๐ นัด) ปืนกล

ร่วมแกน ๗.๖๒ มิลลิเมตร (L43A1 พร้อม ลูกกระสุน ๓,๐๐๐ นัด) เครือ่ งยิงลูกระเบิดควัน ๒ ชุด (ชุดละสามท่อยิงอยู่ทางด้านข้างของ ปืนหลัก) พลประจ�ำรถ ๓ นายปืนใหญ่รถถัง (L43A1) ขนาด ๗๖ มิลลิเมตร อัตราการยิง ๖ นัดต่อนาที และระยะยิงหวังผล ๒,๒๐๐ เมตร กองทัพบกอังกฤษจัดหาเข้าประจ�ำการครั้ง แรกจ�ำนวน ๒๗๕ คัน ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ต่อมา ได้เพิ่มจ�ำนวนเป็น ๓๑๓ คัน ได้พัฒนาให้มีขีด ความสามารถมากยิ่งขึ้นเป็นรุ่นใหม่เรียกว่า สกอร์เปี้ยน ๒ หรือรุ่นสกอร์เปี้ยน ๙๐ (ติดตั้ง ปืนใหญ่รถถังรุ่นใหม่แบบ Cockerill Mk3 ขนาด ๙๐ มิลลิเมตรล�ำกล้องปืนยาว ๓,๒๔๘ มิลลิเมตร) ซึ่งเป็นรุ่นเพื่อการส่งออกขายให้ กับประเทศพันธมิตร (สามารถจะเลือกแบบ ของปืนใหญ่รถถัง) รถถั ง เบาสกอร์ เ ปี ้ ย นใช้ ใ นภารกิ จ ลาด ตระเวนเป็ น หลั ก ประกอบกั บ มี ข นาดเล็ ก และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงใน ภู มิ ป ระเทศสามารถท� ำ การเคลื่ อ นย้ า ยทาง อากาศได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ ในเขตหน้าใกล้กับพื้นที่การรบมากที่สุด ด้วย เครื่ อ งบิ น ขนส่ ง ทางทหารแบบมาตรฐาน ของกองทั พ สหรั ฐ อเมริ ก าที่ ป ระจ� ำ การ แพร่หลายคือเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบ

รถถังเบาแบบสกอร์เปี้ยนกองทัพบกอินโดนีเซีย ได้ติดตั้งปืนใหญ่รถถังแบบ Cockerill Mk3 ขนาด ๙๐ มิลลิเมตร โดยล�ำกล้องปืนยาว ๓,๒๔๘ มิลลิเมตร หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

31


รถถังเบาสกอร์เปี้ยนกองทัพบกมาเลเซีย ได้ติดตั้งปืนใหญ่รถถังรุ่นใหม่แบบ Cockerill Mk3 ขนาด ๙๐ มิลลิเมตร ในภาพเป็นพิธีสวนสนามประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ (ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดควันต่างจากรุ่นมาตรฐาน)

ซี-๑๓๐ เฮอร์คิวลิสซึ่งจะมีความคล่องตัวใน การด�ำเนินกลยุทธ์อย่างมาก โดยสามารถจะ เคลื่อนที่ทางอากาศไปยังจุดที่ส�ำคัญเร่งด่วน ทางยุทธการ และมีอ�ำนาจการยิงที่เชื่อถือได้ รถถังเบาแบบสกอร์เปี้ยนน�ำออกปฏิบัติ การทางทหารที่ ส� ำ คั ญ คื อ สงคราม อิ ห ร่ า น - อิรัก (น�ำเข้าปฏิบัติโดยกองทัพบกอิหร่าน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๓๑ ประจ�ำการ ๑๓๐ คัน ต่อมาทั้งสองฝ่ายได้ยุติการต่อสู้), สงครามเกาะฟอร์คแลนด์ (น�ำเข้าปฏิบัติการ โดยกองทัพบกอังกฤษห้วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ จ�ำนวน ๒ คัน ท�ำการยิงลูกกระสุน ปืนใหญ่ขนาด ๗๖ มิลลิเมตร รวม ๖๐ นัด กองทัพอังกฤษเป็นฝ่ายชนะ) และในสงคราม อ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๑ (น�ำเข้าปฏิบัติการโดย กองทั พ บกอั ง กฤษโดยกองพลยานเกราะ ที่ ๑ หน่วยรองหลักคือ หน่วยกองพลน้อย ยานเกราะที่ ๔ และกองพลน้อยยานเกราะ ที่ ๗ ห้วงปฏิบัติการรุกใหญ่ทางภาคพื้นดิน

รถถังเบาแบบสกอร์เปี้ยนของกองทัพบกฟิลิปปินส์ ประจ�ำการเป็นรุ่นติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๔๑ คัน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ 32

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


รถถังเบาแบบสกอร์เปี้ยนของกองทัพบกไทยมีชื่อเรียกใหม่ว่ารถถังเบาแบบ ๒๑ ประจ�ำการใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ติดตั้งปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร ประจ�ำการที่หน่วยกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน

เข้าสู่ประเทศคูเวตระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ หรือที่โลกรู้จักในชื่อ สงครามหนึ่งร้อยชั่วโมงกองทัพพันธมิตรเป็น ฝ่ า ยชนะ) นั บ ว่ า รถถั ง เบาแบบสกอร์ เ ปี ้ ย น ประจ� ำ การมาเป็ น เวลานานและได้ น� ำ ออก ปฏิบัติการทางทหารในหลายภูมิภาคของโลก ทีม่ สี ภาพแวดล้อมของอากาศทีแ่ ตกต่างกัน รถ ถังเบาแบบสกอร์เปี้ยน ประจ�ำการในกองทัพ รวม ๒๑ ประเทศ มียอดการผลิตทั้งสิ้นกว่า ๓,๐๐๐ คัน (ครึ่งหนึ่งประจ�ำการในกองทัพ บกอังกฤษ) ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่น�ำเข้า ประจ�ำการ ประกอบด้วย กองทั พ บกอิ น โดนี เ ซี ย ประจ� ำ การด้ ว ย รถถังเบาสกอร์เปี้ยนรุ่นติดตั้งปืนใหญ่รถถัง ขนาด ๙๐ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๘๐ คัน (ประจ�ำ การชุดแรก ๔๕ คัน ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ และประจ�ำการชุดที่สอง ๓๕ คัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐) ประจ�ำการหน่วยกองพลที่ ๑ (Kostrad) ที่ชวาตะวันตก ต่อมาได้ท�ำการ ปรับปรุงใหม่โดยการเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ ใหม่จากเครื่องยนต์แบบเบนซินของจากัวร์ ให้ เป็นเครื่องยนต์ใหม่แบบดีเซลของเปอร์กิ้นส์ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

กองทั พ บกฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ป ระจ� ำ การด้ ว ย รถถังเบาสกอร์เปี้ยนปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๔๑ คัน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ต่อมาได้ทำ� การปรับปรุงใหม่ให้ทนั สมัย จ�ำนวน ๑๒ คัน กองทัพบกบรูไนประจ�ำการด้วยรถถังเบา สกอร์เปี้ยนปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๑๖ คัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ กองทั พ บกมาเลเซี ย ประจ� ำ การด้ ว ย รถถังเบาสกอร์เปี้ยนปืนใหญ่รถถังขนาด ๙๐ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๒๖ คัน เป็นรถถังแบบ แรกของกองทัพบกมาเลเซีย ต่อมาได้ท�ำการ ปรับปรุงใหม่โดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก เบนซิ น เป็ น เครื่ อ งยนต์ ใ หม่ แ บบดี เ ซลของ เปอร์กิ้นส์ กองทัพบกไทยประจ�ำการด้วยรถถังเบา สกอร์เปี้ยนปืนใหญ่รถถังขนาด ๗๖ มิลลิเมตร จ�ำนวน ๑๕๔ คัน โดยมีชื่อเรียกใหม่ว่ารถ ถังเบาแบบ ๒๑ น�ำเข้าประจ�ำการในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ประจ�ำการที่หน่วยกองร้อยทหารม้า ลาดตระเวน ในขณะนั้นถือว่าเป็นรถถังเบาที่ มีความทันสมัยมาก เนื่องจากได้ประจ�ำการ

มานานถึงสามสิบปีเป็นผลให้ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มี โ ครงการปรั บ ปรุ ง ใหม่ ร ถถั ง เบา แบบสกอร์เปี้ยนเป็นรถถังเบาที่ได้ประจ�ำการ ในกองทั พ บกกลุ ่ ม ประเทศอาเซี ย นรวม ๕ ประเทศ จึงเป็นอาวุธทีป่ ระจ�ำการแพร่หลาย อย่างมากชนิดหนึ่ง

33


เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๑๖

เทคโนโลยีการตรวจจับ วัตถุระเบิด และการบรรเทา ผลกระทบจากวัตถุระเบิด 34

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม


เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุระเบิด (ตอนที่ ๑) เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุระเบิด แบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ Trace detection และ Bulk detection โดยที่ Trace detection จะเป็นการ ตรวจจั บ ร่ อ งรอยของสารเคมี ที่ เ ป็ น ส่ ว นประกอบของระเบิ ด ด้ ว ยการ รวบรวมและวิ เ คราะห์ ส ารดั ง กล่ า ว  ในจ�ำนวนน้อย ๆ จากสารตัวอย่าง ใน ขณะที่ Bulk detection จะเป็นการ ตรวจสอบสารระเบิ ด จ�ำนวนมาก โดยอยู่บนพื้นฐานของชนิดของวัตถุ ระเบิด การวิเคราะห์ด้วยสายตา และ การตรวจสอบด้ ว ยการสแกนภาพ วัตถุภายในกล่องบรรจุได้ ซึ่งสามารถ แยกแยะยุ ท โธปกรณ์ด้ า นการตรวจ จับและค้นหาวัตถุระเบิดแบบต่าง ๆ ได้ ดังภาพ

TRACE TECHNOLGOY Trace technology เป็นเทคโนโลยี ๑. Electronic / Chemical คื อ การ ที่ใช้การพิสูจน์ทราบทางเคมีต่อสาร  เทคโนโลยี พิสูจน์ทราบสารระเบิดโดยการใช้ ระเบิดจ�ำนวนน้อย เช่น สารระเหย เป็นต้น  คุณสมบัติทางเคมี หรือ คุณสมบัติทางโมเลกุล ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ เทคโนโลยี ของสาร ๑.๑ Ion Mobility Spectrometry ดังนี้ • Electrical/Chemical Technologies - Ion Mobility Spectrometry (IMS) - Thermal Redox - Chemiluminescence - Colorimetric - Surface Acoustic Wave (SAW) - Fluorescence • Biosensor - สุนัข - Antibody

(IMS) คือเทคนิคการตรวจจับสารระเบิดด้วย การตรวจจั บ การเคลื่ อ นตั ว ของไอออน ซึ่ ง ถู ก กระตุ ้ น ด้ ว ยสนามแม่ เ หล็ ก (ด้ ว ยแหล่ ง พลังงาน) และเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศไปสู่ อุปกรณ์ตรวจจับไอออน (Ion Detection) ซึ่งห้วงเวลาการเคลื่อนที่ของไอออนของสาร

ปนเปื ้ อ นดั ง กล่ า วเป็ น สั ด ส่ ว นโดยตรงกั บ อัตราส่วนมวลต่อประจุของไอออนของสาร ปนเปื้อน รูปร่าง และขนาดของไอออน ซึ่ง นั้ น เป็ น คุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะที่ ส ามารถใช้ ในการพิสูจน์ทราบสารระเบิดได้ อุปกรณ์ IMS ต้องการตัวอย่างสารระเหย หรือ แก๊สในการ วิเคราะห์ ดังนั้น ในกรณีที่สารตัวอย่างเป็น ของเหลว ต้องด�ำเนินการเปลี่ยนให้มีสถานะ เป็นสารระเหย หรือ เป็นไอ ก่อน ดังตัวอย่าง อุปกรณ์ SABRE 4000

Figure 1 SABRE 4000, Smiths Detection หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

35


๑.๒  Thermal-Redox คือเทคนิคการ ตรวจจั บ ด้ ว ยการสลายโครงสร้ า งโมเลกุ ล สารระเบิ ด ด้ ว ยความร้ อ น และตรวจจั บ สารประกอบในกลุ่มของไนเตรท (NO 2) ซึ่ง สารประกอบตัวอย่างในรูปของสารระเหย จะ ถูกใส่เข้าในเครื่องวัดด้วยอัตรา 1.5 ลิตร/นาที โดยประมาณ ผ่านไปยังขดท่อที่ถูกเคลือบด้วย สารเฉพาะที่คุณสมบัติในการดักจับไอระเบิด เทคนิคนีไ้ ม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง สารระเบิดต่าง ๆ กับสารอืน่ ๆ ทีม่ สี ว่ นประกอบ ของไนเตรท รวมทั้งไม่สามารถตรวจจับสาร ระเบิ ด ที่ ไ ม่ มี ส ่ ว นประกอบของสารไนเตรท ด้วย หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เทคนิคนี้ ตรวจจับสารที่มีส่วนประกอบของสารไนเตรท เท่านั้น โดยมีข้อดีที่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่าง ได้ ทั้ ง ที่ เ ป็ น ไอ และเป็ น ของแข็ ง อุ ป กรณ์ ตัวอย่างเช่น EVD-3000 ของ Scintrex Trace Corp.

๑.๓  Chemiluminescence คือ เทคนิค การพิสูจน์ทราบวัตถุระเบิดด้วยการตรวจจับ แสดงอินฟราเรด ที่แพร่รังสีออกมาเนื่องจาก การเสื่ อ มสลายของโมเลกุ ล ไนเตรท (NO2) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระเบิด โดย ขั้นต้น จะท�ำการสลายโมเลกุลระเบิดให้ผลิต องค์ประกอบ ไนเตรท ออกไซด์ (NO) ซึ่ง จะถูกน�ำไปท�ำปฏิกิริยากับ โอโซน (O3) ใน ห้องควบคุมความดัน ก่อให้เกิดสารที่ให้แสง โครโมฟอร์ ประเภท NO2 ซึ่งจะถูกตรวจจับ ด้วยท่า Photomultiplier tube (PMT) ผล สัญญาณของ PMT จะเป็นสัดส่วนโดยตรง กับจ�ำนวนการแพร่รังสี NO2 ที่ท�ำปฏิกิริยา ในห้องควบคมความดัน และใช้ในการพิสูจน์ ทราบสารระเบิดนั้นเอง อย่างไรก็ตามการใช้ เทคนิคนีเ้ พียงอย่างเดียวไม่สามารถให้คา่ ความ ชัดเจนในการพิสจู น์ทราบสารระเบิด เนือ่ งจาก มีนำ�้ หอม และปุย๋ บางประเภททีม่ สี ว่ นประกอบ ที่ให้ NO เมื่อเกิดการเสื่อมสลายเช่นกัน ดังนั้น โดยปกติแล้ว เทคนิคนี้จะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ a front-end gas chromatograph (GC) ๑.๔  Colorimetric คือ เทคนิคการตรวจ สอบสารระเบิ ด ด้ ว ยการฉี ด สารเคมี ไ ปท� ำ ปฏิกิริยากับวัตถุระเบิด ซึ่งสารเคมีแต่ละชนิด 36

Figure 2 EVD-3000 Handheld Explosives Detectors, Scintrex Trace Corp.

Figure 3 E-3500 Portable Advance Explosive Detector, Scintrex Trace Corp.

Figure 4 ExprayTM Field Test Kit, Mistral Group

จะให้สีที่แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของระเบิด เช่น Nitro aromatic เช่น TNT และ สาร ระเบิด TNB (Trinitrobenzene) จะให้องค์ ประกอบของสีเมื่อท�ำปฏิกิริยากับด่าง เป็นต้น สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม


๑.๕  Surface Acoustic Wave (SAW) คือ ระบบการตรวจจับที่ใช้เทคนิคการวัดค่า ความถี่ของการสั่นที่เกิดจากการกระตุ้นทาง สั ญ ญาณอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ซึ่ ง มี อ งค์ ป ระกอบ ๒ ส่วน ได้แก่ Piezoelectric crystals และ สารเคลือบ Polymetric film ระบบ SAW จะประกอบไปด้วยแท่งแก้ว Piezoelectric ๒ - ๖ แท่ง ซึ่งแต่ละแท่งถูกเคลือบด้วยฟิล์ม โพลิเมอร์ที่แตกต่างกัน และจะท�ำปฏิกิริยากับ สารระเบิดแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ต้องมีการเก็บ ค่าอ้างอิงเพือ่ ใช้ในการเปรียบเทียบการสัน่ ของ สารระเบิดก่อนการน�ำไปใช้งาน

Figure 5 zNose Model 4200, Electronic Sensor Technology

Figure 6 Fido XT Portable Explosive Detectior, ICx Nomadics

Figure 7 Biosen 600

๑.๖  Fluorescence คื อ เทคนิ ค การ พิ สู จ น์ ท ราบวั ต ถุ ร ะเบิ ด ด้ ว ยการใช้ วั ด ค่ า ความยาวคลื่ น ของโมเลกุ ล ที่ ป ล่ อ ยออกมา เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นช่วง หนึ่งๆ อุปกรณ์ตรวจจับ Fido XT Portable Explosive Detectior ของบริ ษั ท ICx Nomadics เป็นตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคนิค นี้ในการตรวจจับหาสารระเบิด ๒. Biosensor คือ เทคโนโลยีการพิสูจน์ ทราบสารระเบิดด้วยอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวะ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ เทคนิค ได้แก่ การตรวจจับ โดยการใช้สุนัข และ การตรวจจับโดยการใช้ สารต่อต้านที่ท�ำจากสัตว์ ๒.๑  การตรวจจั บ โดยใช้ สุ นั ข เป็ น วิ ธี การที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง อย่ า งยิ่ ง โดยในประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก า สุ นั ข ถู ก ฝึ ก เพื่ อ การดมกลิ่ น หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

สารประกอบระเบิดได้ ๙ ชนิดด้วยกัน ซึ่ง เชื่อกันว่าสุนัขมีความสามารถในการดมกลิ่น สารประกอบระเบิดได้ถึง ๑๔ ชนิด ๒.๒  Antibody based Detection Kits คื อ อุ ป กรณ์ ต รวจจั บ ที่ ใ ช้ ส ารจ� ำ พวกโปรตี น หรือ สารต่อต้านยีนส์ ที่ได้จากสัตว์มาพัฒนา ให้มีปฏิกิริยาทางเคมีกับสารประกอบระเบิด ตัวอย่างอุปกรณ์ประเภทนี้คือ เครื่อง Biosens ของบริษัท Biosensors Application, AB ติดตามเรื่อง Bulk Technology ได้ใน ฉบับต่อไป

37


Women in combat BY : Amy McCullough From : Air Force Magazine, Aug 2013 Composed by : นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

บทบาททหารหญิงในสมรภูมิ กับ ก�ำลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่” ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์หรือ ๒๐๐,๐๐๐ คนของก�ำลังพลในกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็น ทหารหญิง และพวกเธอก็ตรากตร�ำเสี่ยงภัย ในประเทศที่อันตรายและหาความสงบไม่ได้ ทุกเช้าค�่ำอย่างอัฟกานิสถาน ภารกิจที่เธอท�ำ ล้วนแต่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น ตั้งแต่การกู้และ ปลดชนวนระเบิดของระเบิดแสวงเครื่อง (IED : Improvised Explosive Device) ที่มีอยู่ ชุกชุม หลบหลีกวิถีกระสุนเพื่อปฐมพยาบาล ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ บ าดเจ็ บ หรื อ แม้ ก ระทั่ ง เป็ น นักบินรบกับ บ.ไอพ่น เข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อ เป้าหมายในพื้นที่ทุรกันดารและสลับซับซ้อน ของภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา 38

เป็ น เวลากว่ า สิ บ ปี ตั้ ง แต่ ส งคราม ต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ยเกิ ด ขึ้ น ในอิ รั ก และ อั ฟ กานิ ส ถาน มี เ รื่ อ งราวอยู ่ ส องประการ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ประการแรกคือ ความ คลุมเครือและไม่แน่นอนในแนวหน้าของการ รบทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ประการสุดท้าย คือ ความชัดเจนที่พิสูจน์ว่าทหารหญิงมีความ กล้าหาญและแข็งแกร่ง ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่า ทหารชายในสนามรบที่เต็มไปด้วยอันตราย ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในเรื่องที่ไม่คาดฝันและ สถานการณ์อยู่ในยามที่ยากล�ำบาก บทบาท ของพวกเธอมีความส�ำคัญมากทั้งยามสงคราม และไม่ใช่ส งคราม อี ก ทั้ ง ยั ง จะเป็ น บทบาท ส�ำคัญยิ่งอันหนึ่งในกลไกของภารกิจทางทหาร ของสหรัฐอเมริกาต่อไป นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ด้วยวีรกรรมเชิดชูเกียรติที่มากมายของ เหล่าทหารหญิง มีผลท� ำให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมสหรั ฐ อเมริ ก า Leon E.Panetta และ Martin E.Dempsey ประธาน เสนาธิการทหารสหรัฐ ได้ลงนามเมือ่ Jan 2013 ยกเลิ ก กฎ “The 1994 direct ground exclusion rule” ที่ ห ้ า มไม่ ใ ห้ ท หารหญิ ง เข้ามีส่วนในการรบในแนวหน้า บทบาทของ ทหารหญิ ง ได้ เ ปิ ด กว้ า งมากขึ้ น ในสงคราม ยุ ค ใหม่ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเทคโนโลยี แ ละขุ ม พลั ง ทางสมอง และอนาคตอั น ใกล้ กระทรวง กลาโหมสหรั ฐ อเมริ ก า ยั ง จะเปิ ด โอกาสให้ ทหารหญิงเข้าสู่ต�ำแหน่งที่ส�ำคัญ รวมไปถึง การเป็นส่วนหนึ่งของกองก�ำลังที่ต้องใช้ความ สามารถพิเศษแบบสุดๆ ทั้งร่างกายหรือสติ ปัญญา เช่น Air Force specialty career fields, Army Rangers และ Navy Seals ซึ่ง โดยรวมแล้ ว หมายถึ ง การก้ า วข้ า มขี ด จ�ำ กั ด หรื อ การแบ่ ง แยกทางเพศโดยสิ้ น เชิ ง และ เป็ น ไปตามหลั ก ความทั ด เที ย มและความ สามารถอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ พิจารณาจากข้อเท็จจริงของแต่ละเหล่าทัพ ของสหรั ฐ อเมริ ก าแล้ ว กองทั พ อากาศ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

39


สหรั ฐ อเมริ ก าเป็ น เหล่ า ทั พ ที่ เ ปิ ด มากที่ สุ ด ส�ำ หรั บ หลั ก การอั น นี้ แ ละก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ เกิ ด ขึ้ น ในกองทั พ อากาศสหรั ฐ อเมริ ก าเลย จะเห็ น ได้ จ ากต� ำ แหน่ ง ต่ า งๆ ที่ ส� ำ คั ญ ซึ่ ง อยู่ภายใต้การดูแลของ The Air Combat Command ซึ่งมีทหารหญิงกระจัดกระจาย ด�ำรงต�ำแหน่งอยู่พอสมควร อีกทั้งในปี ๑๙๗๑ กองทั พ อากาศสหรั ฐ อเมริ ก าก็ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง นายพลอากาศหญิ ง คนแรกด้ ว ย ถั ด มาใน ปี ๑๙๙๔ กองทั พ อากาศสหรั ฐ อเมริ ก า ก็มีนักบินรบหญิงคนแรก ซึ่งเธอรับราชการ

มาจนกระทั่งในปัจจุบันปี ๒๐๑๓ เธอก้าวเข้า สู่่ต�ำแหน่งส�ำคัญของความเป็นนักบินรบคือ เป็นผู้บังคับการกองบินที่ The 4th Fighter Wing at Seymour Johnson AFB, N.C. ภาพรวมของการบริหารจัดการก�ำลังพล ในกองทัพสหรัฐอเมริกานั้น SOCOM (The US Special Operations Command) ได้ ท� ำ การทบทวนงานบริ ห ารก� ำ ลั ง พลใหม่ ใ ห้ สอดคล้องกับนโยบายเพือ่ เอือ้ ต่อทหารหญิงให้ ครอบคลุมทุกด้าน เช่น การจัดองค์กร การฝึก การศึกษาและการพัฒนาการความเป็นผู้น� ำ ในการนี้ SOCOM กล้าหาญที่จะเน้นย�้ำถึง ความเป็นไปได้ในการพัฒนาขีดความสามารถ ของทหารหญิง พวกเขาถึงกับกล่าวว่า “A new dynamic, the day of Rambo are over.” ในส่วนของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกานั้น นโยบายนี้จะมีผลในการปฏิบัติอย่างทั่วถึงใน ปี ๒๐๑๕ อีกประการหนึง่ ทีเ่ ป็นเหตุผลของการ เปลี่ยนแปลงคือ ความต้องการด้านทักษะหรือ 40

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ความช�ำนาญในโลกปัจจุบันถูกเปลี่ยนแปลง ไปอย่างสิ้นเชิง เป็นโลกของเทคโนโลยีล้วนๆ ถ้ า เป็ น กองทั พ อากาศสหรั ฐ อเมริ ก าก็ คื อ ยุคของ F-22 : Raptor Stealth Fighter บทเรี ย นหรื อ เรื่ อ งจริ ง ของสงครามยุ ค ปัจจุบัน ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิบัติการ สงครามต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ยในอิ รั ก และ อั ฟ กานิ ส ถาน มี วี ร กรรมที่ โ ดดเด่ น ที่ ท หาร หญิงผู้กล้ามีส่วนส�ำคัญในการปฏิบัติการทาง ทหารอยู่มากมาย จนถึงขั้นได้รับเหรียญเชิดชู เกียรติ “The Purple Heart” เป็นบทบาท ที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันเป็นอย่างดี ของกองทัพสหรัฐอเมริกา โลกภายหน้าจะเป็น โลกทีข่ บั เคลือ่ นด้วยเทคโนโลยีและก้าวข้ามข้อ จ�ำกัดในเรื่องเพศ แม้ในยามสงครามที่โหดร้าย “A new dynamic, the day of Rambo are over.” หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

41


พระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์อลองพญา พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

อาณาจั ก รพม่ า ยุ ค ราชวงศ์ อ ลอง พญาหรือคองบองเป็นมหาอ�ำนาจทาง ทหารในภูมิภาค มหาอ�ำนาจทางทหาร แห่งอุษาคเนย์  ห้วงหนึ่งของราชวงศ์ ทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก การท�ำสงครามกั บ อาณาจั ก รเพื่ อ น บ้ า นเพื่ อ รวมให้ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย วได้ ทั้ ง  ดิ น แดนและประชาชน  นั บ ได้ ว ่ า  อาณาจั ก รพม่ า ก้ า วขึ้ น สู ่ จุ ด สู ง สุ ด  ของอ�ำนาจหรื อ สู ่ ค วามยิ่ ง ใหญ่ ท าง ทหารอย่ า งแท้ จ ริ ง   เมื่ อ มุ ่ ง ขยาย  ดิ น แดนไปทางด้ า นตะวั น ตกของ  อาณาจั ก ร  จึ ง เป็ น การเริ่ ม ต้ น สู ่  ค ว า ม ขั ด แ ย ้ ง ค รั้ ง ส�ำ คั ญ กั บ มหาอ�ำนาจทางทหารแห่ ง ยุ โ รปคื อ อังกฤษ  ที่ได้เข้าปกครองอาณาจักร อินเดีย.............บทความนี้  กล่าวถึง พระเจ้ามินดง แห่งราชวงศ์อลองพญา

42

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


สถานการณ์ทั่วไป

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) เป็นโอรสของพระเจ้าแสรกแมง ทรงเป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์ อลองพญา ล�ำดับที่ ๑๐ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์ อลองพญาหรื อ คองบองแห่ ง พม่ า เริ่ ม ต้ น ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๕ ได้ขยายดินแดนให้มี อาณาเขตกว้างใหญ่ขึ้นเพื่อเทียบเท่าราชวงศ์ ตองอู ใ นอดี ต จึ ง เกิ ด สงครามกั บ อาณาจั ก ร เพื่อนบ้านหลายครั้ง กษัตริย์องค์ต่อมายังคงมี ความมุง่ มัน่ ในการขยายดินแดน เมือ่ ไม่ประสบ ความส�ำเร็จการขยายดินแดนมาทางตะวันออก ก็ได้มุ่งขยายดินแดนมาสู่ด้านตะวันตก น�ำมา สู่สงครามกับอังกฤษ แต่ด้วยเทคโนโลยีทาง ด้านอาวุธที่แตกต่างกันมากเป็นผลให้กองทัพ พม่าต้องพ่ายแพ้ในการรบ พร้อมทั้งสูญเสีย ก�ำลังทหารและอาวุธเป็นจ�ำนวนมาก ในสมัย

ของพระเจ้าบาจีดอ (Bagyidaw) พม่าต้องแพ้ สงครามที่เรียกว่า พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๖๙ จ�ำต้องลงนามในสนธิสัญญา ยันดาโบ (Yandabo) ที่ส�ำคัญคือจะต้องชดใช้ ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจ�ำนวนเงิน ๒ ล้าน ปอนด์ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ และในสมัยพระเจ้าพุกามแมง (Pagan Min) พม่าต้องแพ้สงครามพม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๕ ต้องสูญเสียดินแดนพม่าตอน ล่างซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ชายฝั่งทะเลเป็นเมืองที่ ส�ำคัญทางด้านการค้าขายกับต่างชาติ ระยะ เวลาห่างกันของสงครามทั้งสองครั้ง ๒๖ ปี 43


พระเจ้ามินดง (Mindon Min) พระเจ้ามินดงทรงขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๘ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ. ๒๓๙๖ (ยึ ด อ� ำ นาจ จากพระเชษฐา) เป็ น กษั ต ริ ย ์ ล� ำ ดั บ ที่ ๑๐ ราชวงศ์ อ ลองพญา ต่ อ จากพระเจ้ า พุ ก าม แมง (Pagan Min) ครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๘๙ ครองราชสมบัติ นาน ๗ ปี พระเจ้ามินดงเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าแสรกแมง (พระเจ้าสารวดี) กับพระ นางแมนู มเหสีต�ำหนักใต้ พระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ที่เมืองอมร ปุระ ทรงมีพระอัครมเหสีคือพระนางชเวพญา คยี (และพระสนมอีก ๖๒ พระองค์ ทรงมีพระ ราชโอรสและพระธิดารวม ๑๑๐ พระองค์ แต่ พระโอรสที่ส�ำคัญคือ เจ้าชายมยินกัน และ เจ้าชายมยินกอนเดียง) พระเจ้ามินดงประสบ ปัญหาอย่างมากในการปกครอง มีความขัดแย้ง กับอังกฤษต้องสูญเสียดินแดนของพม่าตอน ล่าง ซึ่งอาณาจักรพม่าจะไม่มีดินแดนที่ติดต่อ กับทะเล พระเจ้ามินดงทรงพยายามพัฒนา เศรษฐกิจแม้ว่ามีทรัพยากรอย่างจ�ำกัด (เมือง ที่มีรายได้หลักจากการเก็บภาษีตกอยู่ภายใต้ การยึดครองของอังกฤษแล้ว เช่น เมืองเมาะ ตะมะ และเมืองย่างกุ้ง จึงไม่สามารถจะหา รายได้เข้าสู่ท้องพระคลังของอาณาจักรได้มาก นัก) พระองค์ทรงน�ำระบบเงินตราเข้ามาใช้ ทดแทนระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของ และใช้ ทองแท่งเป็นมาตรฐานกลางในการแลกเปลีย่ น พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อท�ำการ ผลิตเหรียญ มีเครื่องหมายนกยูงสลักอยู่บน เหรียญ ยังโปรดให้ตั้งมาตราชั่งตวงวัด และตั้ง ผู้ตรวจราชการให้มีหน้าที่เดินทางไปยังต�ำบล ต่ า งๆ ดู แ ลว่ า มาตราชั่ ง ตวงวั ด ใช้ กั น อย่ า ง ถูกต้องทุกแห่ง พร้อมทั้งโปรดให้ปรับปรุงการ คมนาคมทั้งทางบกและแม่น�้ำ พระเจ้ามินดงทรงซื้อเรือกลไฟจ�ำนวนมาก ไว้ใช้ในพระราชอาณาจักร พร้อมทั้งได้ให้ทุน นักศึกษาจ�ำนวนหนึ่งไปศึกษาวิชาวิศวกรรม ไปรษณี ย ์ โ ทรเลขที่ เ มื อ งย่ า งกุ ้ ง และเมื อ ง กัลกัตตา เมื่อส�ำเร็จกลับมาให้ช่วยจัดตั้งระบบ คมนาคมโทรเลขขึ้นทั่วพระราชอาณาจักรและ เชื่อมกับระบบของอังกฤษในพม่าตอนล่าง แม่ น�้ ำ อิ ร ะวดี (Irrawaddy หรื อ Ayeyarwady) เป็ น แม่ น�้ ำ สายหลั ก ของ อาณาจักรพม่ามาตั้งแต่ยุคโบราณ มีความยาว ๒,๑๗๐ กิโลเมตร ต้นแม่น�้ำอยู่ในมณฑลยูนาน (เรียกว่าแม่น�้ำเมข่า เมื่อไหลมารวมกับแม่น�้ำ มะลิข่าที่เมืองมิตจีน่า จึงมีชื่อใหม่ว่าแม่น�้ำ อิระวดี) ประเทศจีน ไหลผ่านกลางอาณาจักร พม่า จึงเป็นเส้นทางคมนาคมทีส่ ำ� คัญมาในอดีต 44

พระเจ้ามินดงโปรดให้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ ใช้เวลาก่อสร้างนาน ๔ ปี

แม่น�้ำอิระวดี (ตามลูกศรชี้) เป็นแม่น�้ำสายหลักของอาณาจักรพม่า มาตั้งแต่ยุคโบราณ มีความยาว ๒,๑๗๐ กิโลเมตร ไหลผ่านเมืองหลักที่ส�ำคัญของอาณาจักร พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


รูปปั้นพระเจ้ามินดงที่วัดกุโสดอ (Kuthodaw) ที่เมืองมัณฑะเลย์

รูปปั้นพระเจ้ามินดงที่พระราชวังมัณฑะเลย์ เมืองหลวงที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นใหม่

พระเจ้ามินดงโปรดให้สร้างเมืองหลวงขึ้น ใหม่ (เมืองหลวงเดิมอยู่ที่กรุงอมรปุระ) ที่เมือง มัณฑะเลย์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยการสร้าง ก�ำแพงเมืองขึ้นมาก่อนโดยการขุดคูถมดินเป็น คันสูงจากที่ดินเดิมประมาณ ๑๐ ฟุต บริเวณ พระราชวังทั้งหมดมีพื้นที่ประมาณ ๕๐ ไร่ มี ประตูรอบพระราชวัง ๑๒ ประตู ตัวพระราชวัง เป็นหมู่อาคารไม้และตึก ประกอบด้วยท้อง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

พระโรง พระที่นั่ง และพระต�ำหนักต่างๆ สร้าง เสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๔ ใช้เวลาก่อสร้างนาน ๔ ปี แต่พระองค์ทรงเสด็จย้ายมาประทับที่เมือง หลวงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑ ทั้งที่เริ่มท�ำการ ก่อสร้าง พระองค์ทรงต้องการจะให้ราชธานี เป็ น ศู น ย์ ก ลางทางการเมื อ งในดิ น แดนแห่ ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังเช่นมหาราชที่ยิ่ง ใหญ่ในอดีต โดยเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม และศาสนา (พระองค์ทรงเตรียมการสังคายนา พุทธศาสนาครั้งที่ ๕ ขึ้นที่กรุงมัณฑะเลย์ ซึ่ง ต่ อ มาพระองค์ ไ ด้ รั บ การยกย่ อ งเป็ น ผู ้ จั ด ประชุมสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่ ๕) เมือง มัณฑะเลย์อยู่ตอนกลางของอาณาจักร ตั้งอยู่ ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำอิระวดี อยู่ ห่างจากเมืองย่างกุ้ง ประมาณ ๗๑๖ กิโลเมตร

บทสรุป

ปลายราชวงศ์ อ ลองพญาหรื อ ราชวงศ์ คองบองภายในราชส�ำนักมีความวุ่นวายเกิด ขึ้นมากมาย รวมทั้งดินแดนต่างๆ ก็มีความ วุ่นวายเช่นกัน แต่ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้ได้ ลดความเข้มแข็งของอาณาจักรลงพร้อมทั้ง สูญเสียก�ำลังพลที่มีความสามารถ เป็นผลให้ อาณาจั ก รอ่ อ นแอลงเป็ น ล� ำ ดั บ แม้ ว ่ า พระ เจ้ามินดงทรงพยายามที่จะพัฒนาอาณาจักร ให้ มี ค วามทั น สมั ย เพี ย งใดก็ ต าม เป็ น เพี ย ง การยืดเวลาที่จะเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่ขึ้น ในอนาคตเท่านั้น เมื่อพระองค์สวรรคตต่อมา ราชวงศ์ อ ลองพญาก็ เ กิ ด โศกนาฏกรรมครั้ ง ใหญ่น�ำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์

45


46

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา


หลั ก การของนายพลแพตตั น

(ตอนที่ ๑๗) พลเอก เด่นดวง ทิมวัฒนา

อย่าท�ำการตกลงใจเร็ว หรือช้าเกินไป ในการประชุมฝ่ายเสนาธิการครั้งหนึ่ง นาย ทหารที่มาใหม่บางคนพูดขึ้นว่า “ผมขอเสนอ ให้หน่วยกองพลรักษาดินแดนหน่วยนี้ร่วมฝึก กับพวกเราในสนามด้วย” หลังจากอดทนฟัง นายพลแพตตันก็ถาม “คิดว่ากองพลนัน้ จะมาถึงทะเลทรายเมื่อไรล่ะ คุณพันเอก?” “ผมไม่แน่ใจครับ” “แล้วท� ำไมพวกเราจะท� ำการตกลงใจใน เรื่องการฝึกของพวกเราเดี๋ยวนี้ล่ะ? มันเป็นไป ได้ที่พวกเขาอาจไม่มาก็ได้” “มันน่าจะเป็นนโยบายมาตรฐานของเรา ครับ!” พันเอกท่านนี้อธิบาย หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

นายพลแพตตั น จะบรรยายเรื่ อ งการ แสวงหาข้อตกลงใจ “มีเวลาที่ถูกต้องในการหาข้อตกลงใจทุก ครั้ง การพยายามเลือกเวลาที่ถูกต้องเป็นสิ่ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ส� ำ หรั บ การตกลงใจทุ ก ครั้ ง มั น เป็นความผิดพลาดที่ตกลงใจเร็วเกินไป และ มันก็ผิดอีกที่ตกลงใจช้าเกินไป สาวทึนทึกทุก คนต้องเห็นด้วยกับผมแน่! การตกลงใจนั้นถ้า สามารถถ่วงให้นานขึ้นเท่าไร เราก็สามารถ รวบรวมข้อมูลได้มากเท่านั้น เพื่อหาข้อตกลง ใจที่ดีที่สุด เมื่อเวลาถูกต้องและเมื่อเรามีข้อมูล เราก็ไม่ควรลังเลใจ การตกลงใจเร็วเกินไปจะมี ผลท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป การ ตกลงใจช้าเกินไปจะมีผลให้เกิดสถานการณ์

ฉุกเฉินหลายอย่างเกินไป เราไม่ต้องการสร้าง สถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น ใดๆ ซึ่ ง ข้ า ศึ ก สามารถ ใช้ ต อบโต้ พ วกเราได้ ถ้ า เราวางแผนอย่ า ง ระมัดระวังเราจะไม่พบกับความฉุกเฉินเลย” นั่นเป็นปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) หรือ ราวๆ ยี่สิบปีก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญทางการบริหาร จะค้นพบกรรมวิธีในการแสวงหาข้อตกลงใจ ที่ถูกเรียกว่า “PERT” ซึ่งหมายถึง Program Evaluation (ขัน้ ตอนการวางแผนการประเมิน ผลงาน) และ Review Techniques (เทคนิค การตรวจสอบ) ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) นายพลแพตตันได้ทำ� วิธกี ารเช่นนีอ้ ย่างสมบูรณ์ ด้วยค�ำของท่านเพียงสี่ตัวอักษร! 47


ผมสามารถคาดได้ ว ่ า นายพลแพตตั น จะ พูดถึงการค้นพบใหม่ซึ่งเรียกว่า “MBO” หรือ Management by Objectives (การบริหาร โดยมุ่งเป้าหมาย) อย่างไร ท่านจะระเบิดว่า “ไอ้ พ วกผู ้ เ ชี่ ย วชาญทางการบริ ห ารมั น บริ ห ารประสาห่ า เหวอะไรล่ ะ ก่ อ นที่ จ ะมา บริหารโดยมุ่งเป้าหมายน่ะ? พวกเขาท�ำงาน ให้บริษัทโดยไม่มีจุดหมายเลยหรืออย่างไร? ไม่มีหางเสืออะไรเลยรึ? พวกเขาไม่รู้ เลยรึว่า ก�ำลังมุ่งไปสู่นรกขุมไหน? ทุกคนต้องรู้จุดมุ่ง หมายตลอดเวลา” นายพลแพตตันบรรยายเรื่อง MBO ก่อน ที่ค�ำย่อนี้จะเกิดขึ้นเสียอีก ผมจ�ำที่ท่านพูดได้ “ไม่มีใครที่สามารถท�ำอะไรโดยที่ไม่รู้ว่า เขาก�ำลังท�ำอะไรอยู่! พวกเราต้องให้ทหาร อเมริกันรู้ว่าเขาก�ำลังต่อสู้เพื่ออะไรและท�ำไม เมือ่ เราให้เขารูว้ า่ อะไรควรท�ำให้สำ� เร็จ เขาก็จะ 48

พลเอก เด่นดวง ทิมวัฒนา


ท�ำตามนัน้ ไม่มที หารทีไ่ หนในโลกทีจ่ ะมาเทียบ กับทหารอเมริกันในเรื่องการท�ำงานให้ส�ำเร็จ ได้ นายพลและฝ่ายเสนาธิการเอาชนะสงคราม ไม่ ไ ด้ พลทหารสิ ถึ ง จะเอาชนะสงครามได้ พลทหารต้องรู้ว่าเขาก�ำลังพยายามท�ำอะไร เขาต้องรู้ภารกิจ!” ภารกิ จ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด และต้ อ งบรรลุ ค วาม ส�ำเร็จในเป้าหมายให้ได้ไม่ว่าจะต้องเสียอะไร ไป หรือแม้กระทัง่ เสียชีวติ ก็ตาม นายพลแพตตัน จะเน้นว่า “มันเป็นเรื่องปกติที่จะกลับจากการสู้รบ ในแนวหน้า” ท่านจะหยุดชั่วขณะโดยไม่มีรอยยิ้ม ก่อน จะกล่าวว่า “แต่ถ้าจะให้ดีละก็ คุณควรจะกลับมาบน เปลสนามโดยมีเท้าน�ำมาก่อน ผมจะยิงทุกคนที่ หันหลังให้ข้าศึกเว้นแต่เขาจะถูกยิงจากด้าน หลัง ผมได้เหรียญจากการพูดว่าผมจะยิงทุก คนที่หันหลังกลับ นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในสงครามโลกครั้งที่ ๑” นายพลแพตตั น จะไม่ ถ ่ ว งเวลาในการ แสวงหาข้อตกลงใจ เมื่อถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจ ท่านจะเตือนว่า “เมือ่ ต้องตัดสินใจก็จงกระท�ำเสียเถอะ ไม่มี เวลาที่เหมาะสมโดยสิ้นเชิงส�ำหรับทุกๆ สิ่ง มัน มีเหตุผลที่ดีเสมอในการถ่วงเวลา แต่อย่าถ่วง การตั ด สิ น ใจโดยหวั ง ว่ า มั น จะผ่ า นไปด้ ว ยดี เอง จงรวบรวมข้อมูลความจริงทั้งหมด และจง ตัดสินใจเมื่อต้องท�ำ”

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

(อ่านต่อฉบับหน้า)

49


English is a must. พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

ค�ำว่า Must เป็นค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ เมื่อใช้เป็นกริยาช่วย [aux.] จะแปลว่า ต้อง, จ�ำเป็นต้อง, จำ� ต้อง, จะต้อง หรือแปลว่า น่าจะ, ควรจะ หากใช้เป็นค�ำนาม [n.] จะแปลว่า สิ่ง จ�ำเป็น สิ่งที่จ�ำเป็นต้องท�ำ หรืออาจจะแปลว่า เหล้าไวน์ใหม่ น�้ำองุ่นที่เพิ่งคั้นจากองุ่นใหม่ๆ ก็ได้ ดังนั้นหัวข้อ “English is a must” ในฉบับนี้จึงมาเชิญชวนข้าราชการส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหมและผู ้ อ ่ า นทั้ ง ใน กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ถีงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความส�ำคัญในการ เรียนภาษาอังกฤษแบบจริงจังเสียทีเพื่อรองรับ การเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และที่ส�ำคัญเพื่อรองรับนโยบายของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ตัวอย่างที่ส�ำคัญในที่นี้ส�ำหรับข้าราชการ กระทรวงกลาโหม คื อ การสนองตอบตาม นโยบายของ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัด กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะอย่างยิง่ นโยบาย เฉพาะในข้อ ๔ เรื่อง การสร้างความร่วมมือ ด้ า นความมั่ น คงกั บ ต่ า งประเทศ อาทิเช่น ข้อ ๔.๑ กล่าวถึงการสนับสนุนการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ บทบาทของกระทรวงกลาโหมใน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคง เสริมสร้างและธ�ำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค การสร้างสภาพ แวดล้ อ มที่ เ หมาะสมทั้ ง ในเรื่ อ งการแก้ ไ ข ปัญหาความขัดแย้งและพัฒนาพื้นที่ตามแนว ชายแดน การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การ พั ฒ นาความร่ ว มมื อ กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น และประเทศสมาชิกอาเซียน และประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และในข้อ ๔.๓ กล่าวถึงการพัฒนาศักยภาพของก�ำลังพลและ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สามารถรองรับ งานอาเซียนและงานความร่วมมือด้านความ มั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาขีดความ สามารถด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศ สมาชิกอาเซียนให้แก่ก�ำลังพลของส�ำนักงาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม ใช้ ศั ก ยภาพของ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในการเป็น จุดประสานงานด้านการต่างประเทศระหว่าง หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ รวม ทั้ ง หน่ ว ยงานราชการ ภาคเอกชนและภาค ประชาสังคมอื่นๆ ในการด�ำเนินการเสริมสร้าง ความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ 50

ที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมได้จัดงานระดับ นานาชาติทสี่ ำ� คัญอย่างเช่น การจัดนิทรรศการ ป้ อ งกั น ประเทศ Defence & Security 2013 ที่ได้ต้อนรับรัฐมนตรีกลาโหม ผู้บังคับ บัญชาทางทหาร ตลอดจนเจ้าหน้าที่ทางด้าน ความมั่นคงจากมิตรประเทศทั่วโลก ที่ได้มา ร่วมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ใ นเนื้อ หาสาระที่เ กี่ย วกั บทาง ด้านความมั่นคงทั้งในส่วนภูมิภาคและทั่วโลก ดังนัน้ การเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา อังกฤษและภาษาอาเซียนจึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับผู้บริหารระดับสูง จนถึงระดับผู้ปฏิบัติที่จะต้อง ฝึ ก ฝนเรี ย นรู ้ ท างด้ า นภาษาอย่ า ง ต่อเนื่อง หลายท่านมักจะมีข้ออ้างว่า สนใจอยากเรียนภาษาอังกฤษนะ แต่ ไม่มีเวลา ให้ท�ำงานนี้เสร็จก่อนแล้วจะเริ่มเรียน ภาษาอังกฤษเสียที - ผมฟังรู้เรื่องนะ แต่ไม่กล้า พูด ผมพูดได้นะ แต่พอเขาพูดเร็วๆ แล้วตอบ ไม่ได้ ผมอ่านหนังสือและดูหนังฝรัง่ ประจ�ำเลย แต่ยังไงก็ยังไม่กล้าพูด ผมเห็ น บางคนพู ด ภาษาอั ง กฤษไม่ ไ ด้ เรื่องเลย ยังกล้าพูด ส่วนผม ถ้าพูดได้ไม่ดี ไม่พูดดีกว่า อายเขา ผมไม่ใช้ภาษานานแล้ว ลืมหมด ที่กล่าวมานี้ อาจารย์วันดีได้ยินเป็นประจ�ำ แต่ ไ ม่ ท ราบจะแนะน�ำ อย่ า งไรดี เพราะคน ส่วนใหญ่ที่พูดลักษณะนี้จะไม่มีความพยายาม และดูเหมือนจะยอมแพ้กับการเรียนรู้ภาษา ส่วนบางคนที่ดูท่าทางจะพัฒนาได้ มักจะพูด ท�ำนองว่า ตอนแรกๆ ก็ฟังไม่รู้เรื่อง หลังๆ พอ ชินส�ำนวนก็เริ่มดีขึ้น หรือบางคนจะพูดว่า ผม ตั้งใจจะต้องสอบภาษาอังกฤษไปเมืองนอกให้ ได้ คนกลุ่มนี้แหละจะเห็นถึงความตั้งใจ ฉบับนี้ เลยขอมากระตุ้นให้ผู้อ่านเปิดใจที่ จะศึกษาภาษาอังกฤษด้วยการอ่านบทความ ที่มีสาระเกี่ยวข้องกับภารกิจทางทหาร เช่น ประวัติกระทรวงกลาโหม ปัญหาด้านชายแดน ปั ญ หาทางการเมื อ ง และพยายามจ� ำ ค� ำ ศัพท์และส�ำนวนเหล่านี้ไปใช้ค่ะ แต่ค�ำไหน ไม่เข้าใจ ต้องขอให้ใช้ความพยายามในการ เปิดพจนานุกรมจากโทรศัพท์มือถือหรือถามๆ ผู้รู้บ้างก็ได้ค่ะ จะได้มีการพัฒนาระบบความ คิดคะ

เนื้อหาที่น่าสนใจ ๑. ประวัติกระทรวงกลาโหม The Ministry of Defence is a Cabinet level government department of the Kingdom of Thailand. The Ministry controls and manage the Royal Thai Armed Forces, as well as maintaining national security, territorial integrity and national defence. The Armed Forces of Thailand is made up of three main branches: Royal Thai Army, Royal Thai Navy and Royal Thai Air Force. Initially the Ministry was called "Samuha Kalahom" (Thai: สมุหกลาโหม) or Kalahom Department, and was charged with the protection the Southern border. It was founded in the late Ayutthaya period and was retained in the Rattanakosin period. The Ministry in its current form was formed in 1887, under the orders of King Chulalongkorn the Great, to create a permanent military command. This was a result of the increasing threat Western powers were having on the country.The actual Ministry was housed in an old horse and elephant stable, opposite the Grand Palace. A new European style building was however build to house it. At first the Ministry only commanded the Army (founded in 1847), it then incorporated the Navy (founded in 1887) and finally the Air Force (founded in 1913).

๒. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) The Association of Southeast Asian Nations, or ASEAN, was established on 8 August 1967 in Bangkok, Thailand, with the signing of the ASEAN Declaration (Bangkok Declaration) by the Founding Fathers of ASEAN, namely Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand. Brunei Darussalam then joined on 7 January 1984, Viet Nam on 28 July 1995, Lao PDR and Myanmar on 23 July 1997, and Cambodia on 30 April 1999, making up what is today the ten Member States of ASEAN. พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


๓. ปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย – กัมพูชา The Cambodian–Thai border dispute began in June 2008 as the latest round of a century-long dispute between Cambodia and Thailand involving the area surrounding the 11thcentury Preah Vihear Temple, located in the Dângrêk Mountains between the Choam Khsant district in the Preah Vihear province of northern Cambodia and the Kantharalak district in the Sisaket province of northeastern Thailand.

๔. ปัญหาทางด้านการเมือง Thai politics has long been characterized by shows of popular force; mass Yellow Shirt protests led to the 2006 coup, and a Red Shirt rally that swarmed over central Bangkok in 2010 was violently crushed with more than 80 civilians killed and around 2,000 injured. Tanks rolled into popular shopping districts of the Thai capital and snipers, widely assumed to be backed by the military, picked off victims from rooftops amid carnage a world away from the Land of Smiles portrayed on popular tourist brochures. But now these grassroots political groups have formed an unholy alliance against the amnesty bill. The Yellow Shirts — generally urban royalists and nationalists joined under the banner of the People’s Alliance for Democracy (PAD) — fear the return of their nemesis Thaksin. The Red Shirts — rural poor known as the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) — want those responsible for the 2010 bloodshed to be held accountable.

๕. ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่  สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ In late January, 2012, an unknown number of insurgents ambushed a thahan pran base before retreating. The rangers chased the insurgents and were fired upon from a pick up truck. The rangers fired back in self-defence หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

resulting for dead civilians in the truck with others wounded. Peace talks were also started in Kuala Lumpur in February at the behest of Malaysia. Barisan Revolusi Nasional's Hassan Taib led the talks, while the Thai government's team was led by Secretary-General of the National Security Council Lieutenant General Paradon Pattanatabut, tasked by Prime Minister Yingluck Shinawatra. However, the exiled leader of the Pattani United Liberation Organisation, Kasturi Mahkota, said attacks by his group would continue if they were not invited to the talks. For his part, Pattanatabut said that Thailand would not agree to independence or any contravention of the constitution of Thailand, but would seek to discuss degress of autonomy and an amnesty with the rebels. ค�ำแนะน�ำท้ายนี้ ต้องบอกว่า พยายามอ่าน ออกเสียงให้ได้ทุกวันนะคะ และมาอ่าน กฎ ๑๑ ข้อ ของ คุณแอนดรูว์ บิ๊กส์ ผู้ช�ำนาญการ ด้านภาษาอังกฤษกันคะ ๑.  FORGET THE RULES (ลืมกฎซะ เถอะ) การพูด ไม่ใช่การเขียน ถ้าคุณจดจ่ออยู่ กับเรือ่ งไวยากรณ์มากเกินไป คุณจะลืมเรือ่ งอืน่ ไปทันที การพูดคือ การสือ่ สาร ดังนัน้ กฎข้อแรก คือ ให้ลืมกฎ แล้วพูดไปเลย ๒.  MAKE MISTAKES (จงพูดผิด) การ พูดผิดคือบทเรียนที่เยี่ยมมาก ควรจะท�ำบ่อย และปล่อยให้เป็นธรรมชาติ เมื่อฝรั่งฟังใครพูด ผิด เขามักจะแก้ให้ทันที เหมือนกับคนไทย เมื่อ ได้ยินฝรั่งพูดภาษาไทยผิด ก็จะบอกค�ำที่ถูกให้ ถ้าค�ำที่พูดผิดมันชวนข�ำ ใครก็ต้องหัวเราะ แต่ เชื่อเถอะว่ามันไม่ใช่การหัวเราะเยาะ มันแค่ ข�ำเท่านั้น คุณควรจะหัวเราะตามไป ครั้งต่อไป คุณจะจดจ�ำได้และไม่พูดผิดอีกเลย ๓.  DON'T TRANSLATE (ห้ามแปลตรง ตัว) เมื่อคุณพูดภาษาไทย คุณคิดเป็นภาษา ไทย เมื่อคุณพูดอังกฤษ ให้คิดเป็นอังกฤษ แต่ ถ้ากลัวว่าท�ำอย่างนั้นแล้วจะพูดผิด ๔.  KEEP IT SIMPLE (ใช้ภาษาแบบ ง่ายๆ) จุดประสงค์การพูดคือ ต้องการสือ่ ความ หมายให้เข้าใจกัน เพราะฉะนั้น ต้องใช้ศัพท์ที่ อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ยิ่งง่ายยิ่งดีครับ ๕.  COULD YOU PLEASE SLOW DOWN? (กรุณาพูดช้าๆ หน่อย) เป็นเรือ่ งจริง ที่ว่า ฝรั่งบางคนพูดเร็ว บางคนพูดไม่ชัดอีก ต่างหาก ปัญหานี้ควรท�ำอย่างไร ท่องประโยค นี้ให้ขึ้นใจเลยครับ "Excuse me. Could you please slow down?" ข้อสังเกตในการออก

เสียง โปรดระวัง ถ้าไม่ชัดเจน ฝรั่งจะฟังเป็น Kiss me วิธีง่ายๆ ให้นึกถึงตัว X กับตัว Q ก็ จะได้ X-Q-SMEE = Excuse me ออกเสียง ตอนสุดท้ายเป็น "หมี" และ "ด๋าว" ๖. RELAX (ท�ำตัวสบายๆ) หายใจให้ลึก แล้วนึกว่าตัวเองลอยได้และยิ้ม เมื่อร่างกาย ของคุณรูส้ กึ สบาย คุณจะพูดได้คล่อง คิดได้งา่ ย ๗. LISTEN AND COPY (ฟังแล้วเลียน แบบ) เปิดหูให้กว้าง ฟังวิธีที่ฝรั่งออกเสียงค�ำ แต่ละค�ำ เช่น Island ที่แปลว่า "เกาะ" มีตัว s แต่ฝรั่งไม่ออกเสียง คนไทย 90.5 % ชอบ ออกเสียง s ในค�ำนี้ ซึ่งผิด ที่ถูกต้องออกเสียง ว่า "ไอ-แลนด์" ๘. GUESS (เดา) ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเข้าใจ ทุกค�ำที่คุณได้ยินในภาษาอังกฤษ ฟังเพียงค�ำ ส�ำคัญๆ ในแต่ละประโยค เพื่อจับประเด็น หลักก็พอแล้ว ส่วนที่เหลือมักจะเป็นค�ำสั้นๆ หยุมๆ หยิมๆ ที่ไม่ค่อยมีความหมายมากนัก เราสามารถเดาได้ ถ้าหากจะถามว่า "แล้ว เมื่อไรจะเก่งพอที่จะเข้าใจได้ทุกค�ำเสียทีล่ะ" ค�ำตอบอยู่ที่กฎข้อต่อไป ๙. GIVE YOURSELF TIME (ต้องให้ เวลากับตัวเอง) อย่าท้อใจเด็ดขาด อย่าแม้แต่ คิด คุณต้องยอมให้ภาษาอังกฤษเข้าไปในชีวิต ประจ�ำวันของคุณ และใช้มันทุกวัน ถ้าชอบ วิทยุก็ฟังวิทยุ ถ้าชอบดูหนังก็ดูหนังดูทีวี ครั้ง แรกอาจเข้าใจไม่เกิน ๑๐ % ต่อไปจะดีขึ้น เรื่อยๆ ทุกเช้าคุณควรยืนหน้ากระจก ส่องดู หน้าตัวเอง ส่งยิ้มไปพร้อมพูดว่า "I'm getting better and better at English" วันละ ๕ ครั้ง พูดเหมือนว่าคุณเชื่ออย่างนั้นจริงๆ ๑๐. READ READ READ (อ่าน อ่าน และ อ่าน) การอ่านเป็นวิธีการที่ดีมากที่จะช่วยให้ คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่ต้องเป็นสิ่งที่คุณ อยากอ่าน ไม่ใช่ถูกบังคับให้อ่าน ชอบแฟชั่น ชอบกีฬา ชอบท�ำอาหาร เลือกอ่านในสิ่งที่เรา ชอบ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ จะมีบางส่วนที่ เราชืน่ ชอบอยูด่ ว้ ยแน่นอน เมือ่ คุณอ่าน ไม่ตอ้ ง เปิดพจนานุกรมทุกครั้งที่เจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจ ให้อ่านทั้งวลี ทั้งประโยค หรือย่อหน้า แล้ว ลองเดาความหมายดู แต่เมื่อเจอค�ำศัพท์ยาก นั้นบ่อยครั้งขึ้น อนุญาตให้เปิดพจนานุกรมได้ ๑๑. FIND A FOREIGN FRIEND (หา เพื่อนฝรั่ง) ถ้าคุณมีเพื่อนเป็นฝรั่ง คุณสามารถ ฝึกหัดภาษาอังกฤษได้ทุกวัน ใช้โทรศัพท์คุย กับเพื่อนฝรั่ง คุณเสียแค่ ๓ บาทเท่านั้น และ คุณยังจะได้เข้าใจวัฒนธรรมของคนต่างชาติ ดียิ่งขึ้นอีกด้วย จากการที่มีเพื่อนที่ไม่ใช่คน ชาติเดียวกัน ถ้าหาเพื่อนฝรั่งไม่เจอ ก็คุยกับ อาจารย์ วั น ดี โตสุ ว รรณ ผ่ า น facebook Wandee Tosuwan ก็ได้ค่ะยินดีเสมอค่ะ 51


เอที เ อ็ ม ATM

หลังดัดแปลงติด ATM Skimming แล้ว

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ในระยะที่ ผ ่ า นมาเกิ ด ปั ญ หาโจร ผู ้ ร ้ า ยลั ก ลอบติ ด ตั้ ง เครื่ อ งสกิ ม มิ่ ง  ไว้กับตู้เอทีเอ็ม  เพื่อโจรกรรมข้อมูล ไปใช้ในการปลอมแปลงบัตรเอทีเอ็ม และบัตรเครดิต น�ำไปกดเงินสดออก จากบั ญ ชี ข องประชาชนจ�ำนวนมาก แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายาม หาทางแก้ไขและป้องกัน แต่ก็ยังท�ำได้ อย่างยากล�ำบาก อย่างไรก็ตาม วันนี้ มีวิธีการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมา ฝากกันค่ะ... นายพล ธนโชติ ประธานชมรมธุรกิจเอทีเอ็ม กล่าวว่า การคัดลอกข้อมูลเอทีเอ็มพบมีการ กระท�ำมา ๒ - ๓ ปีแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีคัดลอก แม่เหล็กจะท�ำเฉพาะตัว เครื่องสกิมมิ่งระบาด เข้ามาโดยแก๊งต่างชาติ สีสันเหมือนของจริง เมื่อลูกค้ามากดก็จะได้โค้ดรหัสไป ซึ่งการกด รหัสบัตร ข้อมูลจะมี ๒ ชุด อยูต่ รงแถบแม่เหล็ก ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจทางชมรมได้ให้ทุกธนาคาร ซึ่ ง มี ป ระมาณ ๓ หมื่ น กว่ า ตู ้ ติ ด ตั้ ง เครื่ อ ง ป้องกันการคัดลอกแม่เหล็ก คาดว่าจะเสร็จ 52

เร็วๆ นี้ ช่วยให้มิจฉาชีพที่จะเอาตัวสกิมมิ่ง มาครอบจะกระท�ำการไม่ได้ ท�ำให้การเสียบ บัตรไม่สุดหากมีอะไรมาครอบ โดยจะติดอยู่ที่ เสียบบัตร หากเครื่องใดติดเครื่องป้องกันแล้ว ก็จะมีข้อความติดเอาไว้ว่าเครื่องนี้ได้ติดเครื่อง ป้องกันการคัดลอก ซึ่งเครื่องนี้มีต้นทุน ๗ - ๘ พันบาท ส่วนสกิมมิ่งไม่ทราบว่าต้นทุนเท่าไหร่ แต่ทราบว่าผลิตไม่เยอะเฉพาะสี ๔ - ๕ เครื่อง คนร้ า ยที่ มี พ ฤติ ก ารณ์ ใ นการลั ก ลอบ โจรกรรมข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิต มักจะท�ำงานกั น เป็ น ขบวนการ มี เ ครื อ ข่ า ย อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีทั้งในกลุ่ม

สภาพเครื่อง ATM ก่อนโดนดัดแปลง

ประเทศเอเชียและยุโรป ซึ่งมีมากที่สุดคือใน ประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ คนร้ายจะน�ำเครื่อง สกิมมิ่งมาติดตั้งไว้ตามตู้เอทีเอ็มต่างๆ เพื่อดูด ข้อมูลจากบัตรแล้วน�ำข้อมูลนั้นไปปลอมแปลง บัตรใบใหม่ แล้วน�ำไปใช้ในการกดเงินสด ขณะ ที่บัตรเครดิตจะมีปัญหามากกว่าบัตรเอทีเอ็ม เพราะนอกจากคนร้ายจะน�ำไปใช้ในการกด เงินสดแล้วก็จะน�ำไปใช้รูดซื้อสินค้าด้วย ขณะเดียวกัน ผู้ใช้บริการตู้เอทีเอ็มจะต้อง ระมัดระวัง ก่อนใช้บริการทุกครัง้ จะต้องสังเกต ให้รอบคอบว่าตู้เอทีเอ็มที่เลือกใช้มีสิ่งแปลก ปลอมหรือไม่ และทุกครั้งที่จะกดรหัสบัตรก็ให้ ใช้มอื บัง สังเกตให้ดวี า่ มีใครจ้องมองดูอยูห่ รือไม่ ส่วนกรณีบตั รเครดิตก็ตอ้ งระวัง ทุกครัง้ ทีน่ �ำไป ใช้ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด หากน�ำบัตรไปใช้รูด ซื้อสินค้าก็ต้องสังเกตไม่ให้คลาดสายตา ส�ำหรับการกดรหัสบัตรเอทีเอ็มนั้น ข้อมูล จะมี ๒ ชุด อยู่ตรงแถบแม่เหล็ก ดังนั้น ลูกค้า ที่ใช้บริการต้องระมัดระวังรหัส ๔ ตัว เวลากด บัตรต้องใช้มือซ้ายบังเพื่อป้องกันการแอบดู หรือการแอบดูโดยกล้องวงจรปิด ถ้าเขาไม่รู้ รหัสก็ท�ำอะไรไม่ได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่ามีคนแอบ ดูหรือไม่ก็เปลี่ยนรหัสบ่อยๆ ส่วนการใช้กล้อง เล็กนั้น มิจฉาชีพจะติดเหนือเครื่องเป็นรูเล็กๆ เท่าปลายเข็ม ถ้าเอามือบังก็จะมองไม่เห็น อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนร้ายพัฒนา รูปแบบและวิธีการอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระท�ำ ความผิดให้ได้ท�ำให้ป้องกันได้ยาก ส่วนวิธีการ สังเกตว่าเครื่องเอทีเอ็มเครื่องไหนติดตั้งเครื่อง ป้องกันการดูดข้อมูลแล้วหรือไม่นั้น ให้สังเกต ไฟกะพริบ หากเห็นมีไฟสีเขียวกะพริบตรงช่อง เสียบบัตรก็แสดงว่า เครื่องเอทีเอ็มดังกล่าวได้ ติดตั้งเครื่องป้องกันไว้แล้ว ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรขอ ให้สบายใจได้ว่า หากถูกโจรกรรมข้อมูลจาก บัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตไป ความเสียหายที่ เกิดขึ้นทั้งหมดทางธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกลวงทางโทรศัพท์ ให้ไปกดเงินที่เอทีเอ็ม ซึ่งไม่มีใครสามารถ สั่งให้เราท�ำการใดที่ตู้เอทีเอ็มได้ ธนาคารทุก ธนาคารไม่มีนโยบายสั่งการให้ลูกค้าไปท� ำ ธุรกรรมใดๆ ที่ตู้เอทีเอ็ม

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


แป้นกดมันเล่นท�ำอันใหม่มาทับ สุดยอด !

ส�ำหรับการเตรียมพร้อมก่อนกดเอทีเอ็ม มีข้อแนะน�ำ สรุปได้ดังนี้ เดี๋ยวนี้นอกจากต้องระวังตัวจะถูกแอบดู รหัสเอทีเอ็มในขณะกดเงินแล้ว ยังต้องระวัง ตัวเองไม่ให้ถูกท�ำร้ายในขณะที่คุณก�ำลังกด เงินด้วย เหมือนกรณีของชายผู้โชคร้ายราย หนึ่งที่กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งหลังเขาถูกโจร เอทีเอ็มท�ำร้าย เพราะไม่ยอมบอกรหัสกดเงิน แล้วคุณล่ะมีวิธีป้องกันตัวยังไงหากจะไปใช้ บริการตู้เอทีเอ็ม •  หากต้องการกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม ควร เลือกตู้ที่อยู่ในสถานที่สว่าง เป็นย่านที่ผู้คน สัญจรไปมา โดยหลีกเลี่ยงจุดที่คิดว่าเป็นจุด เสี่ยงหรือจุดอับที่อาจก่อให้เกิดเหตุร้ายได้ •  เปลี่ยนเวลากดเอทีเอ็ม จากเวลามืดค�ำ่ เป็นเวลากลางวันก็จะช่วยลดความเสีย่ งได้มาก ขึ้น แต่หากจ�ำเป็นต้องกดเงินในเวลากลางคืน ควรหาใครสักคนมาเป็นเพื่อนด้วยก็ดี •  ควรสั ง เกตสภาพแวดล้ อ มรอบๆ ตู ้ เอที เ อ็ ม ที่ คุ ณ จะใช้ บ ริ ก าร หากพบคนที่ มี พฤติกรรมน่าสงสัยก็ควรรอดูท่าทีของเขาว่า ก�ำลังเฝ้ามองคุณอยู่หรือเปล่า ถ้าใช่จริงๆ ควร เปลี่ ย นไปใช้ ตู ้ เ อที เ อ็ ม ที่ ป ลอดภั ย กว่ า เพื่ อ สวัสดิภาพของตัวคุณเอง •  หากต้องการท�ำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม ที่ใช้เวลามากกว่าการถอนเงิน เช่น โอนเงิน ควรเตรียมข้อมูลไปให้พร้อม จะได้ไม่ต้องใช้ เวลาอยู่หน้าตู้นานๆ หรือเมื่อกดเงินได้แล้ว ไม่ต้องยืนรีรอนับเงินหน้าตู้ เพราะจะเป็นจุด สนใจของคนทีผ่ า่ นไปมาได้ รวมถึงเป็นช่องโหว่ ให้พวกมิจฉาชีพฉวยโอกาสกับคุณได้ •  อย่าชะล่าใจกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มตู้เดียว เป็นประจ�ำ โดยเฉพาะในช่วงเงินเดือนออก เผื่ อ ว่ า พวกมิ จ ฉาชี พ จะคอยจั บ ตาดู ค วาม เคลื่อนไหวของคุณอยู่ •  ระวังคนร้ายในคราบคนดี อาจท�ำทีมาตี สนิทในระหว่างที่คุณกดเอทีเอ็ม เช่น ขอความ ช่วยเหลือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก่อนจะยกพรรค พวกมารุมท�ำร้ายแล้วปล้นเงินของคุณไปดื้อๆ •  หากคุณโชคร้ายประสบเหตุ ควรแจ้ง ต� ำ รวจทั น ที อย่ า ปล่ อ ยทิ้ ง ไว้ อย่ า งน้ อ ยๆ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ช่องเสียบบัตรดูมันท�ำ ใครจะสังเกต ?

ดูชัดๆ จะๆ หลอกกันเห็นๆ

•  ส่วนผู้ใช้บริการ e-banking ผ่านทาง ต�ำรวจจะได้เพิ่มความกวดขันดูแลในจุดเสี่ยง เว็บไซตควรตรวจสอบว่ามีความปลอดภัยแบบ เหล่านี้ให้มากขึ้น กรณีการท�ำธุรกรรมออนไลน์ ทัง้ คอมพิวเตอร์ เข้ารหัส https:// หรือสัญลักษณ์แม่กุญแจ และมือถือ ปรากฏบริเวณที่อยู่เว็บไซต์ (URL) •  ไม่ ค วรท� ำ ธุ ร กรรมการเงิ น บน wi-fi •  ควรเช็คยอดเงินในบัญชีสม�่ำเสมอ และ สาธารณะ หรือคอมพิวเตอร์สาธารณะ (แนะน�ำ ควรเปลี่ยนรหัสผ่านธุรกรรมการเงินทุกครั้ง ท�ำผ่าน 3G ผ่าน Personal Hotspot ส่วนตัว ) ด้ ว ย และการตั้ ง รหั ส ควรตั้ ง ให้ ย ากต่ อ การ •  ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของคุณ คาดเดา หรือมือถือของคุณก่อนว่ามีมัลแวร์ โทรจัน •  ไม่ควรคลิกลิงค์ที่แนบมาจากเมลที่อ้าง หรือไม่ หากมีต้องรีบจัดการ scanvirus เพื่อ ว่าเป็นของธนาคาร ควรเข้าเว็บไซต์ธนาคาร ลบมัลแวร์และโทรจันด่วน ด้วยการพิมพ์บน URL เอง •  ใครใช้ซอฟต์แวร์ปลอม ใส่ Crack หรือ •  ควรอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและสแกน keygen หรือมือถือคุณท�ำ Jail Break ลงแอพ ตรวจสอบไวรัสมัลแวร์บนเครื่องสม�่ำเสมอ แปลก มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนขโมยข้อมูลผ่าน •  หากพบการท�ำธุรกรรมที่ผิดปกติ ควร ทางโทรจัน มัลแวร์ ที่ติดมากับพวกโปรแกรม โทรหา call center แจ้งระงับบริการ และแจ้ง คอมพิวเตอร์ หรือแอพปลอม ไปยังธนาคาร และรวบรวมหลักฐานแจ้งความ •  การโหลดแอพ ไม่ควรโหลดแอพผ่าน ต�ำรวจและธนาคารรับทราบ ทาง SMS เพราะธนาคารไม่มีนโยบายนี้และ ถ้ามีลิงค์แปลกๆ เป็นไปได้ว่าเป็นแอพปลอม เพื่อขโมยเงิน username และ password ควรโหลดด้วยตนเองผ่านทาง AppStore หรือ PlayStore หรือติดต่อที่ทางธนาคารโดยตรง ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก, iT 24 Hrs และ www.oknation.net ด้วยตนเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงแอพให้

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“โรคตาแห้ง Dry eye” ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ร ค ต า แ ห ้ ง ( D r y e y e ห รื อ Xerophthalmia) เป็ น ภาวะที่ ฟิล์มน�้ำตา หรือ Tear film (อ่าน เพิ่มเติมในบทความ กายวิภาคและสรีรวิทยา ของตา หัวข้อ กายวิภาคและสรีรวิทยาของ ระบบน�้ ำ ตา) ที่ ฉ าบอยู ่ บ ริ เ วณผิ ว /เนื้ อ เยื่ อ ส่ ว นหน้ า ของลู ก ตา (Ocular surface) มีจ�ำนวนหรือคุณภาพไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่น ผิว/เนื้อเยื่อส่วนหน้าของลูกตา จึงก่อให้ผิว/ เนือ้ เยือ่ ส่วนหน้าของลูกตาเกิดการระคายเคือง จึงก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแห้ง ระคาย เคืองตา ไม่สบายตา ในภาวะปกติ ฟิล์มน�้ำตาที่ผิว/เนื้อเยื่อส่วน หน้าของลูกตามีด้วยกัน ๓ ชั้น จากชั้นนอกสุด ไปถึงชั้นในสุด ได้แก่ ๑. ชั้ น ไขมั น สร้ า งจากต่ อ มที่ เ รี ย กว่ า Meibomian gland ที่อยู่ภายในเปลือกตา/ หนังตา ๒. ชั้นสารน�้ำ สร้างจากต่อมน�้ำตาที่เรียก ว่า Lacrimal gland ๓. ชั้นน�้ำเมือก สร้างจากเซลล์ที่เรียกว่า Globlet cell ในเยื่อบุตาและในกระจกตา 54

ตาแห้งมีสาเหตุ /   ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร? สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของตาแห้ง ได้แก่ ๑. มี ก ารสร้ า งน�้ ำ ตาน้ อ ยกว่ า ปกติ จาก พยาธิสภาพของต่อมต่างๆ ที่สร้างน�้ำตา (อ่าน เพิ่มเติมในบทความ กายวิภาคและสรีรวิทยา ของตา หัวข้อ กายวิภาคและสรีรวิทยาของ ระบบน�้ำตา) ๒. ส่วนประกอบของน�ำ้ ตาผิดปกติ เนือ่ งจาก น�้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ท�ำให้น�้ำตาค่อนข้าง Hypertonic มีความเข้มข้นมากเกินไป (บาง คนใช้ค�ำว่า เค็มเกินไป = too salt) น�้ำตาชนิด นี้จะท�ำลายปลายประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุตา และกระจกตา ท�ำให้ท�ำงานไม่ได้สมดุล จึงมี การสร้างน�้ำตาน้อยลง ๓. อายุมากขึ้น เซลล์ต่อมน�้ำตาจะเสื่อม เช่นเดียวกับเซลล์ทุกชนิดของร่างกาย การ สร้างน�้ำตาจึงน้อยลง ๔. เป็นโรคเบาหวาน เพราะจะส่งผลให้เกิด การอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อของเซลล์ต่อม น�้ำตา จึงสร้างน�้ำตาลดลง

๕. ท�ำเลสิก (Lasik) มา ซึ่งการท�ำเลสิก จะมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา (Corneal nerve) ท�ำให้ไม่มีตัวกระตุ้นให้สร้าง น�้ำตา ๖. ใ ช ้ ค อ น แ ท ค เ ล น ส ์ / เ ล น ส ์ สั ม ผั ส (Contact lens) พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของ ผู้ใช้ที่มีภาวะตาแห้ง ๗. ตาที่ได้รับอุบัติเหตุทำ� ให้หนังตาไม่แนบ กับผิวลูกตา น�้ำตาจึงระเหยได้ง่าย ตาจึงแห้ง ง่าย ๘. การใช้ยาบางชนิดประจ�ำ เช่น ยาหยอด ตารักษาต้อหิน ยารับประทานทีม่ ฤี ทธิต์ า้ นการ ท�ำงานของระบบประสาท (Anticholinergic drug) รวมทั้งประสาทต่อมน�้ำตา จึงลดการ สร้างน�้ำตา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาคลาย เครียด ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยา รักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) ยาบรรเทาโรคหวัด ยารักษาโรคภูมิแพ้ในกลุ่ม แอนติฮีสตามีน (Antihistamine) เป็นต้น

ตาแห้งมีอาการอย่างไร? อาการที่เข้ากับโรคตาแห้ง ได้แก่ มี ค วามรู ้ สึ ก ฝื ด ในตาเหมื อ นไม่ มี น�้ ำ หล่อเลี้ยง ระคายเคืองตา ไม่สบายตา เหมือนมีสงิ่ แปลกปลอมในตา ตาพร่า แพ้แสง ตามัวลง อาจเห็นภาพๆ เดียวซ้อนเป็น ๒ ภาพได้ ทั้งนี้ อาการต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น จะเป็น มากขึ้นเมื่อ ใช้ ส ายตามากขึ้ น เช่ น อ่ า นหนั ง สื อ ขับรถ ท�ำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือดูทีวี อยู่ในสิ่งแวดล้อมบางภาวะ เช่น ที่มีลม พัดแรง อยูบ่ นเครือ่ งบิน อยูใ่ นห้องแอร์ เป็นต้น

ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


รักษาภาวะตาแห้งอย่างไร? แนวทางการรักษาภาวะตาแห้ง คือ ๑. ปรั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม หลี ก เลี่ ย งปั จ จั ย เสี่ ย งต่ า งๆ หลี ก เลี่ ย งสถานที่ มี ฝุ ่ น ละออง ควันบุหรี่ ที่เป่าผมไม่ให้ใกล้ตา หลีกเลี่ยงการ ใช้พัดลม หรืออยู่ในห้องแอร์นานๆ หากจ�ำเป็น ต้องท�ำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ควรจัดโต๊ะและ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการใช้แว่นตาที่ เหมาะสม ๒. รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เปลือกตา/ หนั ง ตาอั ก เสบ ท� ำ ให้ มี ก ารท� ำ ลายต่ อ ม Meibomian ซึ่งหากมีภาวะหนังตาอักเสบ ควรรักษาความสะอาดขอบตา ลดการใช้ยา ต่างๆ ที่ท�ำให้มีการสร้างน�้ำตาน้อยลง ดังได้ กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น ๓. การชดเชยน�้ำตา ด้วยน�้ำตาเทียม ๔. ภาวะตาแห้ง ขาดความสมดุลของผิวตา มักจะก่อให้เกิดการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อได้ จึงอาจต้องให้ยาหยอดตาในกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อได้ ซึ่งต้องใช้ อย่างระมัดระวัง ภายใต้การดูแลและควบคุม ของแพทย์ ๕. ปัจจุบนั มีการใช้ยากดภูมคิ มุ้ กันต้านทาน โรค (Immunosuppressant) บางชนิด เช่น ยา Cyclosporine ชนิดหยอด เพื่อลดการ อักเสบชนิดไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อของลูกตา และของต่อมน�้ำตา เป็นต้น ๖. อาหารที่มี โอเมกา ๓ (Omega 3 fatty acid) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วย ลดการอั ก เสบ ในบางคนอาจช่ ว ยให้ ภ าวะ ตาแห้งดีขึ้นได้

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

ป้องกันตาแห้งได้อย่างไร? การป้องกันภาวะตาแห้ง คือ การหลีกเลี่ยง งด เลิ ก และการป้ อ งกั น รั ก ษา ควบคุ ม สิง่ ต่างๆ ทีเ่ ป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสีย่ ง ดังกล่าวแล้ว ในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่นเดียวกับที่ได้ กล่าวแล้วในหัวข้อ การดูแลตนเอง ทีส่ �ำคัญ คือ กินอาหารมีประโยชน์ ๕ หมูใ่ ห้ครบถ้วน ในทุกวัน ร่วมกับการออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ของภาวะตาแห้ง

รู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้คอนแทคเลนส์ เมื่อจะใช้คอนแทคเลนส์ เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ รู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้งานคอมพิวเตอร์ รู้จักใช้แว่นตาเพื่อปกป้องลูกตา ข้อแนะน�ำ หากเกิดปัญหาทางด้านสายตา อย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านสายตา ซึง่ ส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงาน สนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้บริการตรวจรักษาทางด้านสายตา โดยจักษุ แพทย์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ในศาลาว่ า การกลาโหม ทุกวันอังคารที่ ๑ และ ๓ ของสัปดาห์ และ อาคารส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม แจ้งวัฒนะ ทุกวันอังคารที่ ๒ และ ๔ ของ สัปดาห์

55


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา เป็นประธานงานวันราชวัลลภ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ณ กองบังคับการ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๖

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม เป็ น ประธานในการประชุ ม คณะหั ว หน้ า ส่ ว นราชการระดั บ ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ ๙/๒๕๕๖ โดยมี พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมประชุม ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๑๕ พ.ย.๕๖ 56


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก พร้อมด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพและภริยา ร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรง หายจากพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๖

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

57


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก นิพทั ธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยผูแ้ ทนเหล่าทัพ ร่วมรายการพิเศษ คนไทยส่งก�ำลังใจช่วยเหลือฟิลปิ ปินส์ เพือ่ น�ำเงินและของบริจาคไปช่วยเหลือประชาชน ชาวฟิลิปปินส์ที่ประสบภัยจาก “พายุไห่เยี่ยน” ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง ๑๑) กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อ ๑๓ พ.ย.๕๖

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมี พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมพิธี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๘ พ.ย.๕๖

58


กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพในพิธีสวดอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมี พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี และ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ต�ำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การ ต้อนรับ นาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐ สิงคโปร์ ท่านที่ ๒ ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๓ พ.ย.๕๖ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

59


พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย HASAN KEMAL YARDIMCI รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมตุรกี ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือ ข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๕ พ.ย.๕๖

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Desmond D. Walton เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ผู้ช่วยทูตทหารสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมค�ำนับ และหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๘ พ.ย.๕๖

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Sung Woo - Young ผู้ช่วยทูตทหารสาธารณรัฐเกาหลีประจ�ำประเทศไทย ในโอกาส เข้าเยี่ยมค�ำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๘ พ.ย.๕๖ 60


พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นประธานในวันคล้ายวันสถาปนาส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม ครบรอบ ๓๐ ปี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมื่อ ๑ พ.ย.๕๖

พลเอก อภิชาต แสงรุ่งเรือง ผู้อ�ำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ให้การต้อนรับและเป็นประธานในการบรรยายสรุปฯ เกี่ยวกับภาพรวมของอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศของไทย การด�ำเนินงานของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร และ ส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหมได้บรรยายสรุปเกีย่ วกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้แก่คณาจารย์ และนักศึกษา วสท.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จ�ำนวน ๔๕ นาย ซึ่งเดินทางมาศึกษาดูงาน ณ ประเทศไทย ระหว่าง ๓ - ๙ พ.ย.๕๖ ณ ห้องสยามปฐพีพิทักษ์ ชั้น ๑๐ อาคารส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) เมื่อ ๖ พ.ย.๕๖ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดพิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยมี ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยอุปนายกสมาคมฯ และ คณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมพิธี เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมฯ ครบรอบปีที่ ๒๓ ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๘ พ.ย.๕๖ 62


ทั น ตแพทย์ ห ญิ ง รั ต นาวดี ทองเล็ ก นายกสมาคมภริ ย าข้ า ราชการส� ำ นั ก งาน ปลั ด กระทรวงกลาโหม พร้ อ มด้ ว ย อุ ป นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการ สมาคมฯ จั ด กิ จ กรรมบริ จ าคโลหิ ต เพื่ อ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายใน ศาลาว่ า การกลาโหม เนื่ อ งในวั น คล้ า ย วันสถาปนาสมาคมฯ ครบรอบปีที่ ๒๓ โดยมี พลเอก นิพทั ธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวง กลาโหมเข้าร่วมพิธี เมื่อ ๘ พ.ย.๕๖

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๖

63


ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยอุปนายกสมาคมฯ และ คณะกรรมการสมาคมฯ เข้าเยีย่ มคารวะอดีตนายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่งนายกสมาคมฯ และแนะน�ำคณะกรรมการสมาคมฯ ชุดใหม่

คุณหญิงจวบ จิรโรจน์

ณ บ้านพักเมืองทองธานี เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๖

คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา ณ บ้านพัก ถ.สุโขทัย เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๖

พลโทหญิง วรนุช เบื้องบน

ณ บ้านพัก ซ.สวนผัก ๖๐ เมื่อ ๑ พ.ย.๕๖

นางพรทิพย์ เพ็ญกิตติ

ณ บ้านพัก ซ.สวรรค์วิถี เมื่อ ๒๘ ต.ค.๕๖ 64

พันเอกหญิง บุบผา สารฤทธิ์ ณ โรงแรมมิราเคิล เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๖

คุณหญิงกรกช มีเพียร

ณ บ้านพัก ซ.มหาดไทย เมื่อ ๒๘ ต.ค.๕๖

นางศศิณี ภัททิยกุล

ณ บ้านพัก ซ.พหลโยธิน ๔๔ เมื่อ ๓๑ ต.ค.๕๖

นาวาอากาศเอกหญิง แพทย์หญิงเพ็ญศรี เกษโกวิท ณ รพ.รามค�ำแหง เมื่อ ๑ พ.ย.๕๖




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.