หนังสือมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

Page 1

มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทย

ผ่านศัสตราวุธ





มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทย

ผ่านศัสตราวุธ

จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕


พิมพ์ครั้งที่ ๑ ลิขสิทธิ์ จัดพิมพ์โดย ISBN

พุทธศักราช ๒๕๕๕ จำ�นวน ๕๐๐ เล่ม สำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำ�กัด 978-974-9752-52-4








ค�ำน�ำ ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำ�รัสแก่บุคคลคณะต่างๆ ที่ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ ณ ศาลาดุสดิ าลัย พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสติ มีความตอนหนึง่ ทีท่ รงห่วงใยในการให้การศึกษา แก่เยาวชนเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์ไทยว่า ...ท่านคงจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้ในหลักสูตรของเราก็ไม่มีทั้งหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ มีแต่วิชาการสมัยใหม่...ถือว่าเป็นของล้าสมัยเชย แต่ความจริงไม่เลย และวิชาประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน ข้าพเจ้า อยู่โรงเรียนประจำ�ที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ต้องเรียนประวัติศาสตร์ของสวิต ก็คิดว่า เอ๊ะ! ประวัติศาสตร์ของแต่ละ ชาติทกุ ชาติเขาก็ทะนุถนอมและเขาก็เรียนของเขากัน แม้แต่คนต่างประเทศไปเรียนในประเทศเขา ก็ตอ้ งเรียน ประวัติศาสตร์ของเขาด้วย อันนี้ก็แปลกที่เราไม่มีประวัติศาสตร์ชาติไทยเหมือนอย่างว่าแผ่นดินนี้ได้มาอย่าง ง่ายๆ ไม่ต้องคิดถึงพระเดชพระคุณของปู่ย่าตายายที่บุกบั่นฝ่าฟันมา แม้แต่ชีวิตจะสละให้เพื่อที่จะเป็นหลัก ประกันของคนไทย... พระราชดำ�รัสดังกล่าวนี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่การศึกษาของชาติอย่างยิ่ง เพราะทำ�ให้ เยาวชนไทยจะได้โอกาสศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย เมื่อสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ น้อมเกล้าฯ รับพระราชเสาวนีย์ นำ�มาพัฒนาหลักสูตรกำ�หนดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย รวมทั้งให้มีการเสริมหลักสูตรโดยใช้สื่อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น การทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ การไปชม พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ สำ�นักงานปลัดกระทรวง กลาโหมขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคลด้วยการจัดทำ�หนังสือสนองพระราชดำ�ริ เรื่อง “มองประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านศัสตราวุธ” เพื่อให้เยาวชนมีทางเลือกในการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบด้านว่า ยังมีหลักฐานข้อมูลที่นำ�ไปสู่การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์ต่อไป สำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

9



สารบัญ ค�ำน�ำ มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ รู้จักอาวุธครั้งบรรพกาล ศัสตราวุธครั้งสร้างบ้านแปลงเมือง : กรุงสุโขทัย • ศัสตราวุธและการยุทธ์ • การสู้รบบนหลังช้าง “ยุทธหัตถี” ประวัติศาสตร์เปลี่ยนศัสตราวุธ ศัสตราวุธเปลี่ยนประวัติศาสตร์ที่กรุงศรีอยุธยา • ที่ตั้งกรุงในทางยุทธศาสตร์ • ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีเมื่อคบชาติตะวันตก • ความเป็นจริงและจินตนาการจากความทรงจ�ำ • วิทยาการป้อมปราการ • ปืนต่างๆ ในประวัติศาสตร์ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา • ปืนใหญ่ยุโรปสมัยกรุงศรีอยุธยา • ปืนใหญ่ ปืนหลังช้าง ปืนเล็ก • อาวุธฟันแทง • กริช ศัสตราวุธ ยุทธวิธี น�้ำพระราชหฤทัยนักรบกอบกู้บ้านเมืองสมัยธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์พระนครแห่งใหม่ ศัสตราวุธอย่างเก่า ศัสตราวุธอย่างใหม่ • กรุงเทพฯ เมืองป้อมปราการ • การจัดหาศัสตราวุธแบบต่างๆ ส�ำหรับไว้ป้องกันบ้านเมือง

๑๕ ๑๗ ๒๓ ๒๓ ๓๒ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๔๓ ๔๓ ๕๑ ๕๙ ๗๗ ๘๔ ๙๗ ๑๐๑ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๐๘

11



• ศัสตราวุธเฉลิมพระเกียรติยศ พระบรมเดชานุภาพ และแสนยานุภาพ • การเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคในสมัยรัชกาลที่ ๒ • กระบวนคเชนทรัศวสนาน หรือ แห่สระสนานเดิม • การรับรองแขกเมือง รับทูต • ศัสตราวุธใช้ส�ำหรับพระราชพิธี • กระบวนแห่พระยาช้าง • ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์อย่างใหม่ • พระราชหัตถเลขาถึงองค์พระนโรดม และองค์พระหริราชดไนยแห่งกรุงกัมพูชา • พระราชหัตถเลขาถึง Mr. Adamson ผู้จัดการสาขาบริษัท บอร์เนียว จ�ำกัด ที่สิงคโปร์ • รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยแห่งการปฏิรูป • เหตุการณ์ส�ำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการทหาร และอาวุธทหารราบของไทย • ระบบการปกครองล้าสมัยไม่สามารถมีกองทัพประจ�ำการจ�ำนวนมากได้ • กองทัพขาดเอกภาพและอาวุธไม่มีมาตรฐาน • กองทัพขาดเงินที่จะน�ำไปสรรหาอาวุธ • วิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ. ๒๔๑๗ • สงครามปราบฮ่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และ พ.ศ. ๒๔๒๘ • วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) • บทส่งท้าย “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” • ส�ำนึกทางประวัติศาสตร์เนื่องด้วยพระแสงราชศัสตราของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคผนวก : ต�ำราพิไชยสงครามไทย

๑๓๑ ๑๓๒ ๑๓๒ ๑๓๔ ๑๓๖ ๑๓๙ ๑๔๑ ๑๔๑ ๑๔๒ ๑๔๙ ๑๕๔ ๑๕๘ ๑๕๘ ๑๕๙ ๑๕๙ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๗ ๑๗๕ ๑๗๙

13



มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทย ผ่านศัสตราวุธ ชาติไทยก็เหมือนชาติต่างๆ ทั่วโลกที่มีประวัติศาสตร์การก่อตั้ง การสร้างชาติ การสั่งสมภูมิปัญญาวิชาความรู้จากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลัง จนเป็นชาติที่มีความเจริญไป พร้อมกับนานาอารยประเทศ มีเกียรติภูมิที่เราภาคภูมิใจร่วมกันมาจนทุกวันนี้ หากเราย้อนมองประวัติศาสตร์ชาติไทย ย่อมมีหลักฐานที่เล่าเรื่องของบรรพชน มากมายที่ล้วนน่าศึกษาหาความรู้ในแง่มุมต่างๆ อย่างเช่น เรื่องของศัสตราวุธ คือ อาวุธ นานาชนิด ทีใ่ ช้ทงั้ ป้องกันตัวเอง และปกป้องคุม้ ครองความปลอดภัยความมัน่ คงของคนใน สังคมในชาติให้อยู่รอดร่วมกัน การมองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ จึงเป็นการเสนอทางเลือกเพื่อ ชี้ชวนคนรุ่นใหม่ว่า เราอาจศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยหลักฐานที่ท้าทาย ชวนคิดชวน ถกเถียงหาเหตุผลได้อย่างรอบด้าน เพราะสิง่ นีค้ อื หัวใจของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ เรามา ร่วมเรียนรูไ้ ปด้วยกัน โดยย้อนเวลาไปตัง้ แต่แผ่นดินนีย้ งั มีมนุษย์ถำ�้ ในยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ เรื่อยมาจนเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์รวมกันเป็นชุมชน เป็นบ้านเป็นเมือง มีการ ติดต่อรับอารยธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมผสานเกิดลักษณะประจ�ำชาติ มีการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จนถึงสมัยแห่งการปฏิรูปครั้งส�ำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์

15



รูจ้ กั อาวุธครัง้ บรรพกาล สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่กินเนื้อ ล้วนเป็นนักล่าและพยายามสังหารสิ่งมีชีวิตอื่นเป็น อาหาร เพือ่ ให้สามารถยังชีพอยูไ่ ด้ สิง่ มีชวี ติ ทุกชนิดจึงมีทงั้ อวัยวะส�ำหรับการล่าและป้องกัน ตัวที่มีติดตัวมาแต่ก�ำเนิด ซึ่งจัดเป็น “อาวุธ” ตามธรรมชาติ ตามความหมายในสากลแล้ว “อาวุธ” มีความหมายอย่างน้อยใน ๓ นัยยะ ดังนี้ ๑. อวัยวะส่วนใดส่วนหนึง่ ในร่างกายทีส่ ามารถใช้ทงั้ ท�ำร้ายผูอ้ นื่ หรือปกป้องตัวเอง ๒. เครือ่ งมือ หรือ ประดิษฐกรรม หรือสือ่ ส�ำหรับใช้ในการท�ำร้าย หรือป้องกันตัว ในการสู้รบ การต่อสู้ หรือการสงคราม ๓. สรรพสิง่ ทีใ่ ช้ตอ่ กร ทัง้ ในด้านป้องกันตัว หรือท�ำร้ายคูต่ อ่ สู้ ปรปักษ์ ฝ่ายตรงข้าม หรือเหยื่อ อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจาก “อาวุธ” ในร่างกายของมนุษย์ประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ส�ำหรับการต่อกรกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่แข็งแรงกว่า จึงจ�ำเป็นต้องสร้าง “อาวุธ” ขึ้นจากวัตถุ นอกกาย เพื่อใช้รับมือกับผู้ที่แข็งแรงกว่า ทั้งนี้ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่สามารถ น�ำวัสดุอนื่ ๆ ทีม่ ไิ ด้ตดิ ตัวแต่ก�ำเนิด มาประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์เป็นเครือ่ งมือและอุปกรณ์ที่ ช่วยในการล่าและป้องกันตัว นอกเหนือจากอวัยวะทีม่ ใี นร่างกายมาแต่ก�ำเนิด โดยสามารถ สร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ประเภทนี้ได้ตั้งแต่นับแสนๆ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย อีกทั้งยัง ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในการล่าและป้องกันตัว หรือ “อาวุธ” มาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน อาวุธรุ่นแรกๆ ของบรรพบุรุษมนุษย์ นักวิชาการที่ศึกษาพฤติกรรมของชิมแปนซีได้พบว่า ในบางครั้งที่จวนตัว ชิมแปนซีพยายามใช้ก้อนหินหรือท่อนไม้ขว้างหรือเหวี่ยงไปยังศัตรู เพื่อป้องกันตนเอง จึง เสนอความเห็นว่า บรรพบุรุษรุ่นแรกๆ ของมนุษย์ เมื่อกว่า ๑ ล้านปีมาแล้ว ซึ่งยังไม่ได้ พัฒนาลักษณะกายภาพเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์นั้น อาจใช้วัตถุธรรมชาติที่สามารถหยิบ ฉวยได้รอบตัวเป็นอาวุธแก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วครั้งชั่วคราว เมื่อถูกคุกคามหรือต้องการ ท�ำร้ายหรือล่าสัตว์อื่น เช่น ใช้กิ่งไม้เป็นกระบองและแหลน ใช้ก้อนหินขว้างศัตรูหรือสัตว์ ที่ต้องการไล่และล่า 17


อาวุธที่มนุษย์รุ่นแรกๆ ประดิษฐ์ขึ้นมาที่เก่าสุด คือ หอกไม้ (wooden spear) มีปลายแหลมลักษณะคล้ายแหลนที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาพุ่งแหลนสมัยปัจจุบัน จ�ำนวน ๓ ชิน้ และไม้ชว่ ยพุง่ หอก (throwing stick) ๑ ชิน้ ของสมัยหินเก่า อายุประมาณ ๓ แสนปีมา แล้ว พบทีเ่ หมืองลิกไนท์ใน SchÖningen county, Helmstedt district, Lower Saxony state, ประเทศเยอรมนี เมื่อระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ เรียกกันว่า “SchÖningen Spears” นักโบราณคดีมีความเห็นว่า อาวุธไม้ ที่เก่าที่สุดชุดนี้ ใช้ส�ำหรับล่าสัตว์มาเป็น อาหาร ทั้งนี้เพราะในชั้นทับถมทางโบราณคดีชั้นเดียวกับที่พบ หอกไม้ ดังกล่าวได้พบ กระดูกสัตว์ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ชิน้ และแยกได้วา่ เป็นกระดูกของม้าป่าไม่นอ้ ยกว่า ๒๐ ตัว โดยกระดูกม้าป่าจ�ำนวนมากมีรอยถูกเครือ่ งมือหินมีคมสับหรือเฉือน กระดูกเชิงกรานของ ม้าป่าชิน้ หนึง่ ยังมี หอกไม้ ติดอยูด่ ว้ ย กระดูกของสัตว์ชนิดอืน่ ได้แก่ กวางแดง (red dear) และควายไบซันสายพันธุ์ยุโรป (european bison) เมื่อประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ได้พัฒนาวิธีการท�ำ เครือ่ งมือสะเก็ดหินปลายแหลม ทีท่ �ำด้วยวิธกี ารกะเทาะหินอย่างประณีต เรียกว่า เทคนิค แบบเลอวัลลัว (Levallois technique) และได้ใช้สะเก็ดหินปลายแหลมชนิดนีต้ ดิ ทีป่ ลาย ด้ามไม้ ท�ำเป็นอาวุธส�ำหรับแทงหรือพุ่งเพื่อล่าสัตว์ ในช่วงประมาณ ๖๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้ปรากฏหัวลูกศรปลายแหลมท�ำจาก กระดูก แสดงถึงการเริ่มใช้ ธนู เป็นอาวุธ พบที่แหล่งโบราณคดี Sibudu Cave ประเทศ South Africa อย่างไรก็ตาม คันธนู ที่เก่าที่สุดนั้น พบที่ประเทศเดนมาร์ก มีอายุประมาณ ๑๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส่วน หน้าไม้ นั้นเป็นอาวุธที่อาจเริ่มปรากฏเมื่อประมาณ ๒,๔๐๐ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว หลังจากประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว การท�ำ เครื่องมือสะเก็ดหินปลายแหลม และสะเก็ดหินมีคม ส�ำหรับท�ำอาวุธและเครื่องมือใช้สอย มีพัฒนาการมากขึ้นเรื่อยๆ ดัง เห็นได้จาก เครื่องมือสะเก็ดหินปลายแหลม ของวัฒนธรรม โซลูเทรียน (Solutrean) ในทวีปยุโรป อายุประมาณ ๑๗,๐๐๐ - ๒๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และสมัยหลังจากนั้น ซึ่งท�ำ ด้วยความประณีตมาก อาวุธของคนมีรูปแบบและประเภทหลากหลายมากยิ่งขึ้น เมื่อมีพัฒนาการของ สังคมแบบซับซ้อนระดับแว่นแคว้นและรัฐยุคโบราณ รวมทั้งมีพัฒนาการของเทคโนโลยี การโลหกรรมด้านการท�ำโลหะส�ำริดเกิดขึน้ ด้วย เมือ่ ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว อาวุธที่มนุษย์สร้างขึ้นมากมายหลายชนิดตั้งแต่ช่วงเวลานี้ เป็นรากฐานที่ได้รับการพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อๆ กันมาโดยตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน

18


๑ ๒ ๓ ๔ ๕

ตัวอย่าง สะเก็ดหินปลายแหลมแบบเลอวัลลัว ประติมากรรมขนาดเล็ก รูปชนเผ่าไซเธียนส์กำ�ลังใช้ธนู พบในประเทศยูเครน อายุกว่า ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว ประติมากรรมขนาดเล็ก รูปทหารกำ�ลังใช้หน้าไม้ ประดับบนฝาภาชนะทรงกลองมโหระทึกที่ใช้บรรจุของมีค่า พบที่แหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมเตียน ในมณฑลหยุนหนาน ประเทศจีน อายุกว่า ๒,๓๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ตัวอย่าง สะเก็ดหินปลายแหลม ของวัฒนธรรมโซลูเทรียน มีดสั้น ใบมีดทำ�จากหินเหล็กไฟ (Flint) ด้ามทำ�จากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีชาตาลฮุยุค ประเทศตุรกี อายุประมาณ ๘,๒๐๐ - ๗,๔๐๐ ปี

19


อาวุธของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย รองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุ นักโบราณคดีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ของไทย ให้ค�ำอธิบายว่า เครื่องใช้ที่จัดได้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นทั้งอาวุธส�ำหรับล่าสัตว์และป้องกันตัว ของคนสมัยโบราณที่พบในประเทศไทยนั้น กลุ่มที่เก่าที่สุดเป็นของยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย พบที่แหล่งโบราณคดีจ�ำนวนมาก ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือ ปลายแหลมส�ำหรับต่อกับด้ามไม้ ใช้เป็น หอก หรือ แหลน และลูกธนู อาวุธปลายแหลม รุ่นแรกๆ มักท�ำด้วยกระดูกสัตว์และเขาสัตว์ ต่อมาเมื่อเกิดพัฒนาการด้านโลหกรรม จึงนิยมท�ำด้วยส�ำริดและเหล็ก ตามล�ำดับ

๖ ๗ ๘

เครื่องมือปลายแหลมทำ�จากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำ�เภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ ๓,๗๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว เครื่องมือปลายแหลมยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำ�จากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำ�เภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว อาวุธปลายแหลมทำ�จากเขากวาง พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำ�เภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว

20


๑๐

๑๒ ๑๑

๙ ใบหอก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ท�ำด้วยส�ำริด พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อายุไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ - ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ๑๐ ใบหอก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ท�ำด้วยส�ำริด พบที่แหล่งโบราณคดีอ่างเก็บน�้ำนิลก�ำแหง ในศูนย์การบินทหารบก อ�ำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อายุไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว ๑๑ ใบหอก ท�ำด้วยเหล็ก พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว ๑๒ แม่พิมพ์ท�ำด้วยดินเผา ส�ำหรับหล่อ หัวลูกศรส�ำริด ครั้งละ ๓ ชิ้นพร้อมกัน พบที่แหล่งโบราณคดีเนินคลองบ�ำรุง อ�ำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี อาจมีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

21


๑๓

๑๓ ภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาที่บริเวณส�ำนักสงฆ์เขาจันทร์งาม บ้านเลิศสวัสดิ์ อ�ำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีภาพคนก�ำลังยิงธนู หรืออาจเป็นคันกระสุน ส�ำหรับยิงด้วยลูกกระสุนกลม และมีสุนัขอยู่ใกล้ๆ อาจเป็นภาพเล่าเรื่องนายพรานที่ออกล่าสัตว์ โดยมีสุนัขไปด้วย

22


ศัสตราวุธครัง้ สร้างบ้านแปลงเมือง : กรุงสุโขทัย หลักฐานการสร้างบ้านแปลงเมืองที่ชัดเจนสมัยแรกๆ ที่ตกทอดให้เราศึกษาได้ คงต้องยกกรุงสุโขทัยและเมืองบริวารเป็นหลัก เรื่องราวที่บันทึกผ่านจารึกหลักต่างๆ ให้ภาพของชุมชนที่ก่อร่างสร้างตัวจากการท�ำการเกษตร ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับ ชุมชนภายนอก จนถึงพัฒนาฝีมือการท�ำเครื่องถ้วยระดับอุตสาหกรรมส่งออกไปไกลนอก แว่นแคว้นในช่วงที่ต่อเนื่องกับอาณาจักรแห่งใหม่เจริญขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ซากโบราณสถานโบราณวัตถุที่ถาวรคงทน ยังบอกเล่าการรับพระพุทธศาสนาเถรวาท อย่างลังกาวงศ์มาเป็นรากฐานทางศีลธรรมของสังคมอย่างเหนียวแน่น

ศัสตราวุธและการยุทธ์

ในสมัยสุโขทัยเราคุ้นกับเหตุการณ์ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ว่า ...เมื่อกูใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมือง ตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชน เกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกูหนีญญ่ายพายจแจ้ - น กูบ่หนี กูขี่ช้าง เบกพล กูขบั เข้าก่อนพ่อกู กูตอ่ ช้าง ด้วยขุนสามชน ตนกูพงุ่ ช้างขุนสาม ชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกู ชื่อพระราม ค�ำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน...

นีค่ อื เหตุการณ์รบกันด้วยช้างตัวต่อตัว ระหว่างขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดกับพ่อขุน ศรีอนิ ทราทิตย์ แม้ในช่วงแรกจะเป็นฝ่ายถอย แต่พอ่ ขุนรามค�ำแหงก็เข้าช่วยจนมีชยั ความ รู้ที่ได้คือ ภาพของวิธีการต่อสู้ที่เรียกว่า ชนช้างหรือยุทธหัตถี ช้างเชือกไหนหนีไม่สู้ก็เป็น ฝ่ายปราชัย แต่การชนช้างครั้งนี้ไม่ได้พรรณนาอาวุธของนักรบบนหลังช้างไว้ การต่อสูก้ นั บนหลังช้างดูจะเป็นแบบธรรมเนียมในสมัยสุโขทัย ยังมีตวั แทนของ นักสูส้ โุ ขทัยผูเ้ ชีย่ วชาญทัง้ เชิงรบและการใช้อาวุธบนหลังช้างอีกคือ เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬา มณี ซึง่ ภายหลังทรงเบือ่ หน่ายทางโลกออกทรงผนวชได้เป็น สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า

23


จารึกวัดศรีชมุ พบในอุโมงค์วดั ศรีชมุ เล่าวีรกรรมของเจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณี โอรสพระยาก�ำแหงพระราม หลานพ่อขุนผาเมือง ว่า เมือ่ ทรงพระเยาว์ได้เรียนวิชาการต่อสูบ้ นหลังช้าง หลังม้า และการใช้อาวุธนานา ชนิด ทั้ง ธนู หน้าไม้ และ ปืน ได้ทรงท�ำยุทธหัตถีกับขุนจังเพื่อช่วยพระบิดาเช่นเดียวกับ ที่พ่อขุนรามค�ำแหงช่วยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่รายละเอียดการต่อสู้ของเจ้าศรีศรัทธา ราชจุฬามณีในจารึกวัดศรีชุมนั้น ดูเหมือนจะดุเดือดเห็นภาพชัดเจน ดังนี้ ...เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณีนนั้ เจ็บใจต่างพ่อตนหนักหนา เสมอ ดังเอาค้อนตีหางนาคราชนั้น... เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณี หันหน้าไม้ ปักปืนปากจอบ ยิงถูกรู นำ�้ มัน ช้างสรายนัน้ เดินเจ็บหนักหนา คนหนดินก็ยงั ช่อยแทงช้างสราย นัน้ จึงยักเพลียกมุดป่าพงหนี เจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณีจงึ ขับแม่ชา้ งไล่ ตามตีบห่ ย่าค้าน บ่ทาน เมือตามตีควาญช้างวิง่ หนีตกป่าแขมเงือดค�ำรบ สองคาบสามคาบเขาทั้งหนดินนั้นวิ่งหนีเลย ช้างนั้นตามตี บ่หย่า จึงได้ ช้างสรายนั้นให้มาแล... การใช้แม่ช้าง (ช้างพัง) สู้กับช้างสารตกน�้ำมันได้ชัยชนะครั้งนี้ นับเป็นวีรกรรม ของเจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณีที่ต้องบันทึกไว้ แต่ตอนนี้มีโจทย์ใหม่ให้ศึกษา คือ ปืนปากจอบ ที่ท่านใช้ยิงถูกรูน�้ำมันอย่าง แม่นย�ำว่า คือปืนอะไรกันแน่ ตรงนี้ต้องยกหน้าที่ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านปืนโบราณ เป็นผู้ให้ค�ำอธิบาย ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ผู้สนใจใฝ่รู้เรื่องปืนใหญ่สืบต่อจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ส�ำราญ วังศพ่าห์ สันนิษฐานว่า ...ปืนปากจอบ น่าจะเป็นปืนไฟแบบหนึ่งที่มีเพลาซ้ายและ ขวายื่นออกมาจากล�ำกล้องมีเหล็กรูปตัว Y โดยที่ขาด้านบนทั้ง ๒ ข้าง คล้องเพลาซ้ายและขวาไว้ ท�ำให้ปืนตั้งยิงได้ค่อนข้างมั่นคง ส่วนค�ำ ว่า ปากจอบ น่าจะหมายถึงลักษณะปากล�ำกล้องที่ตัดตรงลงมาคล้าย จอบ หรืออาจจะเป็นปืนไฟแบบที่ไม่มีเพลามัดติดไว้กับหลักเพื่อให้มี ความมั่นคงขณะยิ่งก็เป็นได้ แต่เป็นที่น่าสนใจเพราะค�ำว่า “ปืน” อาจ จะหมายถึง “ธนู” ได้เช่นกันจากเหตุผลที่ว่า เสียงของธนูขณะยิงเสียง ดัง ปรื๋น น่าจะเป็นเหตุให้ผู้คนสมัยนั้นพากันเรียกธนู เป็น ปืน สังเกต ได้จากรูปหล่อพระนารายณ์ทรงธนู ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ก็เรียกว่า พระนารายณ์ทรงปืน 24


ถึงแม้ยงั ไม่มหี ลักฐานการใช้ปนื ไฟครัง้ กรุงสุโขทัยทีแ่ น่ชดั เมือ่ พิจารณา ค�ำว่า ปากจอบ ก็ยังไม่พบว่า ธนูปากจอบ มีลักษณะเช่นใดจึงอาจ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นค�ำเรียกปืนไฟที่ปากกระบอกตัดลงคล้ายรูป จอบ และเนือ่ งจากมี ปืนมกร ทีเ่ ชือ่ กันว่ามีอายุสมัยปลายกรุงสุโขทัยถึง ต้นกรุงศรีอยุธยาปากล�ำกล้องตัดลงคล้ายจอบเช่นกัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ส�ำราญ วังศพ่าห์ ได้ศกึ ษาปืนกระบอกนีไ้ ว้วา่ มีปากกระบอก กว้าง ๑.๓ นิ้ว ล�ำกล้องยาว ๒๓ นิ้ว ตัวปืนเป็นรูปทรงกระบอก ท้าย ปืนหล่อเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามารถใส่ไม้คัดปืนได้ อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ (ราชบัณฑิต ส�ำนักศิลปกรรม) ได้กรุณาให้ความรู้เรื่อง ลายที่ประดับบนปืนว่า ปากกระบอกปืนเป็นรูปหน้ากาล หรือ บางที เรียกว่า เกียรติมุข อ้าปากอยู่ ปากของตัวกาล คือ ส่วนปากล�ำกล้อง ปืน ระหว่างตาของตัวกาล มีดงั้ จมูกเป็นสัน ปากมีเขีย้ วโค้งออกสองข้าง ท้ายปืนหล่อเป็นรูปเจดียโ์ ดยฐานเจดียต์ ดิ อยูก่ บั ตัวปืน รูปทรงของเจดีย์ คล้ายกับเจดีย์จ�ำลององค์เล็ก องค์ระฆัง คล้ายกับที่วัดศรีโคมค�ำ และ วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา จากเพลาไปจนถึงรังเพลิง มีการหล่อ เป็นตัวกาล หรือ มกร อมปืนไว้อีกทีหนึ่ง ปากมกร อมบริเวณเพลาปืน และบริเวณรูชนวนเป็นเกล็ดของตัวมกร ลายด้านข้างของเกล็ดมกรผูก เป็นกระจังรักร้อยและขอสร้อย ลายที่พบบนตัวปืนสันนิษฐานว่าเป็น ลายสมัยกรุงสุโขทัย ลายแบบนี้พบที่วัดนางพญา อ�ำเภอศรีสัชนาลัย และรูปหางกระเบื้อง สมัยปลายกรุงสุโขทัย พบที่วัดสวนแก้วอุทยาน น้อย และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ลายแบบนี้เลยมาถึงตอนต้นสมัย กรุงศรีอยุธยา แต่ไม่เกินรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)

25


๑๕

๑๖

๑๔

๑๔ รูปนารายณ์ทรงปืน หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๕ ปืนปากจอบ มีหลักไว้ปักปืนเวลายิง ปากกระบอกตัดตรงลงมาคล้ายรูปจอบ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๖ ปืนมกร มีอายุในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน

26


๑๗

๑๘

๑๗ ปากมกร อมบริเวณเพลาปืน และบริเวณรูชนวนเป็นเกล็ดของตัวมกร ลายด้านข้างของเกล็ดมกรผูกเป็นกระจังรักร้อยและขอสร้อย ๑๘ รูปหน้ากาลหรือเกียรติมุขปากล�ำกล้องของปืนมกร

27


ลักษณะของช้างศึกและบรรดาอาวุธครั้งกรุงสุโขทัยยังมีเค้ารอยให้เห็นได้บ้าง เช่น ประติมากรรมรูปช้างรายรอบฐานพระเจดีย์ช้างล้อม ช้างรอบ และเครื่องสังคโลกรูป ช้างศึกพร้อมจตุลังคบาท และภาพชาดกสลักลายเส้นบนศิลาในอุโมงค์วัดศรีชุม มีภาพ อาวุธหลายชนิด เช่น ภาพที่ ๒๓ เรือ่ ง กัณฑินชาดก พระโพธิสตั ว์เป็นเทพดาในป่า มีรปู นายพราน โก่งธนู ยิงเนื้อคู่หนึ่ง ธนู ในภาพน่าจะมีรูปและลักษณะการใช้ ยิงที่ใกล้เคียงกับ ธนูที่ใช้อยู่จริงในสมัยนั้น ภาพที่ ๖๓ เรื่อง มหาสีลวชาดก พระโพธิสัตว์เป็นพระมหาสีลวชาดก ในพาราณสี มีภาพบุรุษนั่งมือถือ พระขรรค์ ภาพที่ ๗๗ เรื่อง สังขธัมมชาดก พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนเป่าสังข์ มีรูปบุรุษยืน มือขวาถือจักร มือซ้ายถือ ดาบไทย

28


๑๙

๒๐

๑๙, ๒๐ ภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย สลักลายเส้นบนศิลามีภาพธนู ดาบไทย ปรากฏอยู่

29


แม้จะไม่สามารถยืนยันอย่างชัดเจนได้ว่า มีการใช้ปืนไฟในสมัยสุโขทัยหรือไม่ ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ได้ให้ความรู้เรื่องก�ำเนิดของปืนไฟไว้ว่า หลังจากจีนคิดค้นสูตรของดินด�ำ ได้เป็นผลส�ำเร็จ ชาวจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๕๐) ได้บรรจุดินด�ำในประทัด และดอกไม้ไฟเพื่อจุดในเทศกาลรื่นเริงต่างๆ อีกราว ๕๐ ปีต่อมา ตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓ - ๑๘๒๒) ดินด�ำได้ถูกน�ำมาใช้ในการรบเป็นครั้งแรกในรูปของธนูเพลิงที่ใช้ แรงระเบิดของดินด�ำเป็นตัวขับเข้าหาเป้าหมาย ต่อมาราวปี พ.ศ. ๑๖๗๓ ชาวจีนก็ประดิษฐ์ อาวุธที่มีรูปร่างคล้ายปืนท�ำจากกระบอกไม้ไผ่ จนถึงราว พ.ศ. ๑๘๐๒ ปืนแบบแรกที่มี ลูกเหล็กและดินด�ำขับกระสุน (Houch lang) ก็ประดิษฐ์เป็นผลส�ำเร็จ ย้อนดูทางฝั่งยุโรปบ้าง มีบันทึกว่า นายโรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) คิด สูตรดินด�ำได้เมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๕ และอีกราว ๑๐๐ ปีต่อมา บาทหลวงชาวเยอรมันนาม ว่า เบอร์นาร์ด สวอซ (Bernard Swatz) ก็คิดสูตรของดินด�ำได้ส�ำเร็จ ส่วนปืนไฟแบบ แรกของยุโรปที่มีรูปทรงขวดและลูกกระสุนเป็นลูกศรนั้น ประดิษฐ์ขึ้นก็ราว พ.ศ. ๑๘๖๘ ดูเหมือนว่าชาวตะวันออกอย่างพวกเราเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากดินด�ำเพื่อการรื่นเริง และการท�ำสงครามก่อนชาวตะวันตกหลายทศวรรษ แต่กลับเป็นชาวตะวันตกทีส่ ามารถใช้ ประโยชน์จากดินด�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพจนน�ำไปสูก่ ารสร้างปืนใหญ่นอ้ ยทีม่ อี านุภาพสูง มาจนถึงปัจจุบนั อนึง่ มีบนั ทึกเก่าแก่เกีย่ วกับการใช้ปนื ไฟในสงครามระหว่างสยามกัมโพช กับพวกมัชปาหิต เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๘๕๗ ในครั้งนั้นพวกชวาเก็บปืนใหญ่ของสยามกัมโพช ได้ ๒ กระบอก ชื่อ Guntar Geni และ Jagur เป็นหลักฐานที่ยกเป็นข้อสังเกตไว้ แต่ ปืนไฟอีกกระบอกหนึ่งที่เชื่อกันว่า เก่าที่สุด ในประเทศไทย ปากล�ำกล้องเป็นรูปเหรา บรรจุลูกกระสุนด้านท้ายล�ำกล้อง มีรังเพลิงส�ำรองบรรจุดินด�ำและล่ามสายชนวนไว้ เมื่อ จะยิงจึงบรรจุลูกกระสุนบริเวณรังเพลิง วางรังเพลิงส�ำรองดันปลายที่บรรจุดินด�ำเข้าใน ล�ำกล้อง ขัดรังเพลิงส�ำรองไว้กับตัวปืนโดยใช้ไม้เสียบขวางไว้ แล้วจึงจุดชนวนที่รังเพลิง ส�ำรอง ดินด�ำที่อยู่ในรังเพลิงส�ำรองระเบิดขับกระสุนออกไป รังเพลิงส�ำรองที่ใช้แล้วจะถูก ยกขึ้นและเปลี่ยนรังเพลิงอันใหม่แทน ท�ำให้มีอัตราการยิงที่รวดเร็วแต่มีอานุภาพในการ ท�ำลายและความแม่นย�ำน้อย ปืนล�ำกล้องรูปเหรานี้ ผู้รู้ด้านศิลปะว่าลวดลายเก่าถึงสมัยอยุธยายุคต้นที่น่า ศึกษาคือ เป็นปืนไฟที่อาจจะมีใช้อยู่ก่อนที่ชาวยุโรปตะวันตกชาติแรก คือชาวโปรตุเกสจะ เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาหรือไม่ ?

30


๒๑

๒๒

๒๓

๒๔

๒๕

๒๑ ปืนไฟแบบแรกของยุโรปรูปขวด ๒๒ ปืนเหรา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๒๓ รังเพลิงแบบของปืนเหรา ปืนใหญ่บรรจุท้ายอย่างเก่า ๒๔ รังเพลิงส�ำรองไว้วางในรังเพลิงของปืน ๒๕ แสดงขั้นตอนการยิงปืนบรรจุท้ายอย่างเก่า ใส่ดินด�ำในรังเพลิงส�ำรองต่อชนวน บรรจุลูกกระสุนในล�ำกล้อง วางหมอน แล้ววางรังเพลิงส�ำรองลงในรังเพลิงปืน ขัดไม้ จุดชนวนรังเพลิงส�ำรอง ยิงกระสุนไปยังเป้าหมาย

31


การสู้รบบนหลังช้าง “ยุทธหัตถี” แม้การใช้ช้างเข้าร่วมการรบ และการสู้รบกันบนหลังช้างสมัยสุโขทัยจะมีอยู่ ต่อมาในสมัยอยุธยา แต่ก็ต้องนับว่า การยุทธหัตถีครั้งสมัยสุโขทัยได้เริ่มเปิดฉากให้เราได้ ศึกษากัน จึงน่าจะอธิบายกระบวนยุทธวิธีบนหลังช้างว่าเป็นอย่างไร ในหนังสือ ที่ระลึกวันสถาปนากระทรวงกลาโหมครบ ๖๖ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ อธิบายเกีย่ วกับ พลช้าง (หรือทหารช้าง) หนึง่ ใน “จตุรงคเสนา” ตามต�ำราพิชยั สงครามไว้ ว่า การฝึกหัดช้างให้เข้าร่วมการยุทธ เข้าชนช้าง และการขับขีช่ า้ งนัน้ เป็นศาสตร์ชนั้ สูงทีค่ น ไทยสามารถท�ำได้อย่างดีเยีย่ ม เนือ่ งจากผูท้ จี่ ะเรียนต�ำราพระคชศาสตร์ได้ตอ้ งเป็นตระกูล ขัตติยะ หรือชายชาติทหารที่สืบตระกูลต่อกันมาแต่โบราณ และยังมีคตินิยมว่า ผู้ทรงช้าง ได้ คือ พระมหากษัตริย์ หรือผู้ที่เป็นแม่ทัพนายกองขี่ช้างศึกตามเสด็จ การรบเมื่ออยู่บน คอช้างด้วยพระแสงของ้าวจนได้ชัยชนะ ถือว่าเป็นเกียรติยศชั่วกาลนาน ความรู้ในเรื่อง “พลช้าง” ในหนังสือเล่มเดียวกัน ยังอธิบายการจัดระเบียบ และหน้าที่ของกรมช้างไว้ด้วยว่า สมัยโบราณนิยมจัดขบวนช้างเข้ากองช้างทั้งเข้าสู้ศึก และขนเสบียงอาหาร ตั้งเป็น กรมช้างกัน ได้แก่ช้างที่มีคชลักษณะถูกต้องตามลักษณะ ที่เป็นคุณ เช่น ช้างเผือกตระกูลต่างๆ หรือช้างสีประหลาด และช้างกองนอก คือขบวน ช้างจัดไว้ส�ำหรับรับศึก เช่น ช้างดั้ง ช้างกัน ช้างแซก ช้างแซง ช้างล้อมวัง ช้างค�้ำ ช้างค่าย ช้างพังค่า ช้างพระไชย ช้างพระคชาธาร ช้างพระที่นั่งกระโจมทอง ช้างโคตรแล่น คือ ช้างซับมันอยู่ท้ายกระบวนสุดกันอาละวาด ช้างแต่ละต�ำแหน่งมีพลประจ�ำช้างครบครัน ตั้งแต่กลางช้าง ควาญช้าง เท้าช้าง ส่วนพลช้างในกองทัพฮินดูแต่โบราณตามทีอ่ ธิบายในหนังสือเล่มนี้ มีชา้ งแต่งตัว ด้วยเครือ่ งป้องกันอาวุธ มีสปั คับและกูบ บนหลังช้างมีพลถือธนู และอาวุธยิงอืน่ ๆ กับหอก บนหลังช้างส�ำหรับแทงข้าศึก เช่น เมือ่ เวลาจะเข้าโจมตีตอ่ พวกปัจจามิตร ช้างนัน้ ก็ตอ่ สูร้ บ ศึกด้วย และใช้ชว่ ยเป็นก�ำลังในการจะหักโหมแทงทลายประตูเมือง ข้าศึกนายทหารผูใ้ หญ่ มักจะขี่ช้างออกรบโดยมาก

32


๒๖

๒๗

๒๖ ภาพจิตรกรรมแสดงการรบบนหลังช้างด้วยของ้าว ๒๗ ประติมากรรมรูปช้างศึกมีจตุลังคบาทประจ�ำต�ำแหน่ง

33


ความรู้เรื่องพลช้าง การใช้อาวุธรวมทั้งการสู้รบบนหลังช้างตามที่อธิบายนี้ ดู เหมือนจะสอดคล้องกับภาพวาดจิตรกรรมที่เกี่ยวกับยุทธหัตถี น่าจะเป็นเพราะช่างเขียน ได้เคยพบเห็นด้วยประสบการณ์จริงและความรู้ตามต�ำราประกอบกัน ยังได้พบเครื่องสังคโลก ผลิตจากเตาบ้านเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัยท�ำเป็นรูป ช้างศึกชุดหนึง่ มีคนขีอ่ ยูท่ คี่ อ น่าจะเป็นคนส�ำคัญ เพราะมีรปู ทหารถือดาบเขนประจ�ำสีเ่ ท้า ช้างเป็นจตุลังคบาท อีกชุดหนึ่งมีควาญช้าง สัปคับกลางช้าง และท้ายช้าง น่าจะเป็นหลักฐานช้างศึก สุโขทัยทีน่ า่ ศึกษาอย่างยิง่ โดยเฉพาะชุดแรก รูปบุคคลอมเมีย่ งแก้มตุย่ เหมือนทีพ่ บในตุก๊ ตา เสียกบาลทั่วไป

๒๘

๒๘ สังคโลกสุโขทัย ท�ำเป็นประติมากรรมรูปช้างศึก มีผู้ขี่อยู่ที่คอ และพลประจ�ำรักษาสี่เท้าช้าง ๒๙ สังคโลกรูปช้างศึก มีควาญช้าง สัปคับกลางช้าง และท้ายช้างประจ�ำหน้าที่ พบจากเตาเมืองศรีสัชนาลัยทั้ง ๒ รูป

34

๒๙


ประวัตศิ าสตร์เปลีย่ นศัสตราวุธ

ศัสตราวุธเปลีย่ นประวัตศิ าสตร์ทกี่ รุงศรีอยุธยา การเกิดศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่ลุ่มน�้ำเจ้าพระยาในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ คือ กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา หรือ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีที่มีความเจริญ มัง่ คัง่ มัน่ คงยัง่ ยืนต่อมานานถึง ๔๑๗ ปี ย่อมมีประวัตศิ าสตร์ทเี่ นือ่ งด้วยการจัดการปกครอง การควบคุมผู้คน การท�ำมาหากินประกอบอาชีพของราษฎร ท�ำมาค้าขายกับบ้านเมือง ภายใน ภายนอก การติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นใกล้ไกลและการช่วงชิง ความเป็นผู้น�ำ น�ำไปสู่ความขัดแย้งประลองก�ำลัง จนถึงท�ำศึกทั้งเป็นฝ่ายปกป้องและเป็น ฝ่ายรุก เรื่องราวเหล่านี้ย่อมมีความเกี่ยวเนื่องกับศัสตราวุธ ที่ชาวอยุธยาต้องสรรค์สร้าง ฝึกปรือให้ใช้อย่างแคล่วคล่องยามที่ต้องใช้ และยังมีความรู้เชิงวัฒนธรรมที่ศัสตราวุธเป็น ส่วนหนึ่งของการพระราชพิธีต่างๆ เช่น ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี ถือน�้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นเครื่องยศและเป็นเครื่องมงคลบรรณาการทางพระราชไมตรี ประเด็นข้อวิเคราะห์ทางประวัตศิ าสตร์เรือ่ ง พระเจ้าอูท่ องไม่ได้เสด็จมาจากเมือง อู่ทอง เป็นข้อมูลที่ยอมรับกันแล้ว ส่วนข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองมาจากไหนก่อนจะ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งบ้างก็ว่ามาจาก เมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งอยู่ทาง ฝัง่ ตะวันออกใกล้กนั และบ้างก็ให้ขอ้ สังเกตว่ามิได้ทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษก คงเป็นเพราะได้ทรงครองเมืองใดอยูก่ อ่ นแล้ว สันนิษฐานว่าอาจเสด็จมาจาก เมืองพระนคร ก็เป็นได้ เหตุผลสนับสนุนทีน่ า่ ฟังก็คอื การมีความสัมพันธ์กบั เขมรในยุคต้น เช่นการทีโ่ ปรด ให้ไปตีพระนครธมให้ส�ำเร็จเพราะขอมแปรพักตร์ และทรงเฉลิมพระนามจาก พระเจ้าอูท่ อง ขึ้นเป็น สมเด็จพระรามาธิบดี รวมทั้งการมีประเพณีราชส�ำนักอย่างพระนครหลวง สาระ ที่น่าศึกษาเชิงลึกเหล่านี้ขอเว้นไว้ให้นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันต่อไป จะขอน�ำเข้าสู่ เรื่องของประวัติศาสตร์ผ่านศัสตราวุธในประเด็นต่างๆ ดังนี้

35


ที่ตั้งกรุงในทางยุทธศาสตร์ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑล อยุธยา ซึง่ เอาใจใส่โบราณคดีกรุงศรีอยุธยาอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น ท�ำค�ำอธิบายแผนทีก่ รุง ศรีอยุธยา อธิบายภูมสิ ถานเมือ่ แรกสถาปนากรุงว่า ทีต่ งั้ นัน้ เป็นแผ่นดินแหลมของแม่นำ�้ ลพบุรี ด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันตกจดแม่น�้ำ ด้านตะวันออกเป็นคูเมืองขุดแยกจาก แม่นำ�้ ลพบุรที ตี่ �ำบลหัวรอไปบรรจบแม่นำ�้ เจ้าพระยาทีบ่ างกระจะเรียกว่า คูขอื่ หน้า เดิม คงจะแคบ สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้ขุดขยายให้กว้างเพราะมีประสบการณ์ที่ กองทัพหงสาวดีถมคูข้ามเข้าตีกรุงได้ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช พลโทด�ำเนิน เลขะกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ทหาร เขียนไว้ในเรื่อง การ ทหารสมัยอยุธยา มองที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาในด้านยุทธศาสตร์ว่า การที่ตั้งอยู่ในจุดรวม ของแม่น�้ำต่างๆ ที่ไหลลงมาจากเหนือ ท�ำให้สะดวกที่จะส่งก�ำลังรบและเสบียงอาหาร โดยทางเรือขึ้นไปป้องกันดินแดนในภาคเหนือได้สะดวกรวดเร็ว และยังอยู่บนฝั่งแม่น�้ำ เจ้าพระยาไม่ใกล้ปากน�้ำมากจนกระทั่งถูกข้าศึกต่างชาติที่ยกมาทางเรือขนาดใหญ่เข้า จู่โจมโดยไม่ทันรู้ตัว ไม่ห่างเกินไปจนไม่อาจใช้เรือล�ำเลียงทหารไปป้องกันดินแดนบน แหลมมลายูได้ นอกจากนี้การที่เป็นที่ลุ่มมีแม่น�้ำหลายสายมารวมกัน ในปีหนึ่งๆ จะมี น�้ำหลากลงมาท่วมบริเวณนี้ถึง ๔ เดือน ตั้งแต่เดือน ๑๐ ถึงเดือนอ้าย ระหว่างนี้รอบๆ กรุงศรีอยุธยาจะถูกน�ำ้ ท่วมเป็นบริเวณกว้างขวาง ล�ำบากแก่การเดินทางไปมาของผูค้ น และสัตว์พาหนะ ทุกบ้านช่องจะต้องมีเรือไว้ใช้เป็นประจ�ำ ลักษณะเช่นนี้ย่อมบังคับให้ ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสมาล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ ๘ เดือนเท่านัน้ เมือ่ ล้อมอยูถ่ งึ หน้า น�้ำหลากก็จ�ำต้องยกทัพกลับไป ก�ำแพงเมือง ก�ำแพงเมือง นอกจากบอกขอบเขตพระนครแล้ว ยังเป็นเครื่องป้องกันความ ปลอดภัยชั้นในสุดของบ้านเมืองที่ต้องดูแลความปลอดภัยด้วยวิธีต่างๆ อย่างสุดก�ำลัง พระยาโบราณฯ ศึกษาตรวจสอบแล้วอธิบายว่า ก�ำแพงพระนครเมื่อแรกสร้างกรุงเป็น เชิงเทิน โดยขุดดินทางริมน�้ำกับข้างในขึ้นถม ส่วนก�ำแพงอิฐมาก่อภายหลัง เพราะพบ รากก�ำแพงอิฐบนเชิงเทินดินที่สูงกว่าระดับดินธรรมดา

36


ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีเมื่อคบชาติตะวันตก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นักประวัติศาสตร์ เชื่อถือความถูกต้องมากที่สุดฉบับหนึ่ง บันทึกว่า ศักราช ๘๘๐ (พ.ศ. ๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างพระศรีสรรเพชญ เสวยราชสมบัติ แรกต�ำราพิชัยสงคราม และแรกท�ำสารบาญชี พระราชสัมฤทธิทุกเมือง ปีศักราชและเหตุการณ์ที่โปรดให้ท�ำต�ำราพิชัยสงครามและท�ำสารบาญชี คือ โปรดให้ตั้งกรมพระสุรัสวดี มีหน้าที่ท�ำบัญชีก�ำลังพลทั่วพระราชอาณาเขตน�ำมาเก็บไว้ใน ราชธานี เมื่อมีศึกสงครามจะได้เรียกก�ำลังพลตามบัญชีจากเจ้าเมือง ข้าหลวงเมืองต่างๆ ได้ครบถ้วนถูกต้อง มีข้อควรสังเกตคือ ในปีเดียวกันนี้ได้มีชาติตะวันตกชาติแรกเข้ามาถึง การมีชาวผิวขาวผมแดงจมูกโด่งเดินทางเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาเป็นคราวแรกใน ครัง้ นัน้ คิดว่าเป็นเรือ่ งประหลาดน่าตืน่ เต้นส�ำหรับชาวอยุธยาหรือไม่ เราไม่อาจจินตนาการ ได้ แต่ที่แน่ๆ คือชาวอยุธยานั้นคงไม่ตื่นกับชาวต่างชาติเท่าใดนัก เพราะก่อนหน้านี้ก็มี บรรดาแขกชาติตา่ งๆ ทัง้ อาหรับ เปอร์เซีย อินเดีย มลายู จีน ไปมาค้าขายเป็นประจ�ำจนถึง ได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ร่วมกับชาวอยุธยาบ้างแล้ว ชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาถึงครั้ง แรกๆ ก็โดยสารเรือส�ำเภาจีนซึ่งมาเป็นประจ�ำอยู่ก่อน ภาพการที่ผู้แทนจากอุปราชโปรตุเกส Duarte Fernandes เข้าเฝ้าสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ พรรณนาไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือ The Commentaries of the Great Afonso Dalboquerque ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา ถ่ายถอดความไว้ในหนังสือเรื่อง ประวัติการค้าไทย ว่า ...พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงทราบว่า อัฟฟอนโสดัลโบเกิก แม่ทพั เรือโปรตุเกสมาที่เมืองมะละกา มีหนังสือมาถึงพระองค์ ก็โปรดให้น�ำ เฝ้าทันที ท่านข้าราชการไทยน�ำเฟอนันเดกับนายส�ำเภาจีนลงเรือขึ้น มาตามล�ำแม่นำ�้ จนถึงกรุงศรีอยุธยาขึน้ จากเรือแล้วก็พาเฟอนันเดไปยัง พระราชวัง พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาคอยอยู่ในท้องพระโรงใหญ่ ซึ่งแขวน ม่านลายทอง รอบๆ มีเบาะหมอนงามวิจิตร พระองค์ประทับบนเก้าอี้ สูง เบือ้ งซ้ายขวามีพระมเหสี พระราชธิดานัง่ อยูใ่ กล้ ๆ แต่งพระองค์ดว้ ย ผ้ายกทอง ตาดทอง และแพร สอดสวมเครื่องประดับทองค�ำและเพชร นิลจินดาพราว ถัดออกไปทัง้ สองข้างเป็นหมูน่ างพระก�ำนัลแต่งตัวอย่าง เดียวกัน มองดูมโหฬารตระการตาเป็นอย่างยิ่ง สตรีไทยออกจะเตี้ยไป หน่อย แต่กระนั้นก็สวยนัก นอกจากนี้ก็มีขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหมดแต่งตัว ล้วนงดงามทุกคน 37


เมื่อดวตเตเฟอนันเดเข้าไปในท้องพระโรงกระท�ำความเคารพ พระเจ้าแผ่นดินอย่างฮินดูแล้ว ก็เข้าไปถวายหนังสือของอัฟฟอนโสดัลโบ เกิก พร้อมกับ ดาบ อันเป็นเครือ่ งราชบรรณาการ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา มีพระด�ำรัสตอบขอบใจ ครัน้ แล้วมีพระราชปฏิสนั ฐานถามถึงเหตุการณ์ ทีเ่ มืองมะละกา ถามถึงพระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกส ถามถึงอาณาจักรและ พระราชอ�ำนาจของพระเจ้าแผ่นดินนั้น ซึ่งเฟอนันเดได้กราบทูลตอบ อย่างดี... และต่อมาก็ได้มกี ารท�ำสัญญาทางพระราชไมตรีตอ่ กัน ตามสัญญานี้ มีขอ้ หนึง่ ที่ กรุงศรีอยุธยาให้โปรตุเกสจัดหา ปืน และ กระสุน มาขายให้ราชส�ำนักสยาม ชาวโปรตุเกสทีเ่ ข้ามาตัง้ แต่รชั สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นี้ นอกจากน�ำสินค้า ยุทธปัจจัยอย่างใหม่ คือ ปืน กระสุนปืน เข้ามาแล้ว กรุงศรีอยุธยายังได้รับเข้าเป็นทหาร รับจ้างประจ�ำกองทัพ เพื่อถ่ายทอดวิชาการใช้อาวุธแก่ก�ำลังพลของไทยตั้งเป็น กรมฝรั่ง แม่นปืน ตามความช�ำนิช�ำนาญ พิจารณาตามหลักฐานนี้ ชวนให้เกิดจินตนาการว่า น่าจะมี ปืนใหญ่โปรตุเกส เข้ามาในสมัยอยุธยาจ�ำนวนหนึ่งทั้งในกรุงและหัวเมือง แต่กลับพบหลงเหลือน้อยมาก ศิรริ จั น์ วังศพ่าห์ ศึกษาสอบค้นพบกระบอกหนึง่ ทีห่ น้าพิพธิ ภัณฑ์ทหารเรือ สมุทรปราการ เป็นปืนหล่อจากเหล็ก ตัวปืนยาว ๑๑๒.๖ นิ้ว ล�ำกล้องยาว ๙๖.๒ นิ้ว ใช้ลูกกระสุนขนาด ๔.๘ นิ้ว ล�ำกล้องด้านในเรียบ บรรจุลูกกระสุนทางปากล�ำกล้อง สัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ว่า เป็น ปืนของโปรตุเกส คือรูปนูนตราอาร์มมีโล่ซ้อนกัน ๒ โล่ ในโล่ขนาดเล็กมีโล่สีฟ้า ๕ โล่ (five quinas) หรือ small blue shield เรียงกันคล้ายรูปไม้กางเขน ภายในโล่สีฟ้า ยัง มีสัญลักษณ์ five white bezants หรือ the five wounds of Christ แสดงถึงความเจ็บ ปวด ความเสียสละของพระเยซู ทั้ง ๕ ได้แก่ การถูกตอกมือซ้ายขวา ขาซ้ายขวาติดตรึง กับไม้กางเขน และหอกที่ทิ่มแทงไปยังร่างของพระองค์ ตราอาร์มนี้กษัตริย์อัลฟองโซ ทรงสร้างเพื่อแสดงความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณแห่งพระเยซูที่ประทานพรให้มีชัยชนะ ต่อกองทัพแขกมัวร์ ๕ แคว้น ในการรบที่ Ourique เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๖๒๘ ส่วนรูปโล่ขนาดใหญ่มีปราสาท ๗ หลัง หมายถึงป้อม ๗ แห่งที่กษัตริย์อัลฟอง โซที่ ๓ ยึดได้จากชัยชนะเหนือแขกมัวร์ ที่เหนือตราอาร์มมีรูปมงกุฎประดับอยู่ นอกจากนี้รูปลักษณะปืนและหูจับยกปืนยังเป็นลักษณะเฉพาะที่บอกได้ว่า เป็นปืนใหญ่หล่อจากบริษัทหล่อปืนที่มีชื่อเสียงของโปรตุเกส คือ The Boccaro Gun Founders มีส�ำนักงานในอินเดียและจีน แม้พบเพียงกระบอกเดียวก็บอกเล่าเรื่องราวได้ คุ้มค่า 38


๓๐

๓๑

๓๐ ปืนใหญ่เหล็กสมัยอยุธยาของโปรตุเกสมีอายุราว ๔๐๐ ปี ขุดได้แนวป้อมเก่าที่ปากน�้ำ พบเพียงกระบอกเดียวในประเทศไทย ปัจจุบันตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ๓๑ หูจับยกปืนเป็นลักษณะเฉพาะของปืนที่หล่อมาจากโรงหล่อ The Boccaro Gun Founders ที่มีส�ำนักงานอยู่ที่เมือง Gua ประเทศอินเดีย และประเทศจีน

39


๓๒

๓๒ ตราอาร์มของประเทศโปรตุเกส พบในปืนใหญ่โปรตุเกสที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ๓๓ ตราอาร์มของประเทศโปรตุเกสตราอาร์มมีโล่ซ้อนกัน ๒ โล่ ในโล่ขนาดเล็กมีโล่สีฟ้า ๕ โล่ (five quinas) หรือ small blue shield เรียงกันคล้ายรูปไม้กางเขน โล่สีฟ้ามีสัญลักษณ์แสดงถึงความเจ็บปวดและ ความเสียสละของพระเยซูทั้ง ๕ ได้แก่ การถูกตอกมือซ้ายขวา ขาซ้ายขวาติดตรึงกับไม้กางเขน และหอกที่ทิ่มแทงไปยังร่างของพระองค์ ตราอาร์มนี้กษัตริย์อัลฟองโซ ทรงสร้างเพื่อแสดงความซาบซึ้งใน พระกรุณาธิคุณแห่งพระเยซูที่ประทานพรให้มีชัยชนะต่อกองทัพแขกมัวร์ ๕ แคว้น ราวปี พ.ศ. ๑๖๒๘ รูปโล่ขนาดใหญ่ที่มีปราสาท ๗ หลัง หมายถึงป้อม ๗ แห่งที่กษัตริย์อัลฟองโซที่ ๓ ยึดได้จากชัยชนะ เหนือแขกมัวร์ ที่เหนือตราอาร์มมีรูปมงกุฎประดับอยู่

40

๓๓


เหตุผลที่พบ ปืนโปรตุเกส น้อย ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ยังมีความเห็นว่า อาจเป็น เพราะในเวลาต่อมามี ปืนใหญ่ส�ำริดของฮอลันดาที่มีคุณภาพสูงกว่าเข้ามาแทน จึงไม่ได้ สั่งอาวุธของโปรตุเกสเข้ามาเพิ่มเติม นอกจากนี้ ปืนของโปรตุเกสเป็นปืนเหล็ก หากขาด การบ�ำรุงรักษาก็อาจเกิดสนิม เหล็กผุกร่อนช�ำรุดไปตามกาลเวลา จึงอาจมีการน�ำปืนเหล็ก ไปหลอมใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็เป็นได้ ชาวโปรตุเกสและปืนของโปรตุเกสจึงเป็นที่มาของ การท�ำต�ำราพิชัยสงคราม การตั้งท�ำบัญชีพล รวมทั้งการได้รับผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อาวุธ ปืนอย่างใหม่ทสี่ งั่ เข้ามาไว้ให้ฝกึ ฝนถ่ายทอดวิทยาการการใช้ การหล่อปืน จนถึงการรับเข้า เป็นทหารเข้าร่วมรบไปในกองทัพ เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่มีชาวตะวันตกเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับบ�ำเหน็จความชอบพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน ตั้งวัดใน คริสต์ศาสนาส�ำหรับปฏิบัติศาสนกิจได้ หลังจากโปรตุเกสเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกในรัชสมัยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๒ แล้วก็มชี าติตะวันตกชาติอนื่ ๆ ทีเ่ ป็นคูค่ า้ คูแ่ ข่งทางการเมือง การค้าในยุโรป ทยอยตามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ชิงความได้ เปรียบซึง่ กันและกันเกือบ ๒๐๐ ปี จนสิน้ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับเป็นช่วง แห่งความเปลีย่ นแปลงทีก่ รุงศรีอยุธยา หรือสยามได้กา้ วเข้าสูส่ งั คมนานาชาติ ทัง้ ทางการค้า และวัฒนธรรม กรุงศรีอยุธยาได้ด�ำเนินวิเทโศบายประสานประโยชน์ ท่ามกลางการแข่งขัน ของประเทศเหล่านี้จนอยู่รอดปลอดภัยมาได้โดยไม่ถูกยึดครองดังเช่นประเทศอื่นๆ แต่การอยู่ท่ามกลางชนต่างชาติทั้งหลายก็ใช่ว่าจะประมาทขาดการระมัดระวัง ดังมีกฎหมายลักษณะอาญาหลวงประกาศไว้ให้ตระหนักร่วมกัน เช่น

41


...มาตราหนึ่ง แขกพราหมณ์ ญวน ประเทศฝรั่ง อังกฤษ จีน จาม วิลันดา ชวา มลายู กวย ขอม พม่า รามัญ เข้ามาสู่โพธิสมภารก็ดี เข้ามาค้าขายทางบกทางเรือก็ดี ให้ชาวพระทวารด่านคอยเจ้าพนักงาน ตรวจตราดูดรี า้ ย เก็บเครือ่ งสาตราวุธไว้อย่าให้เทีย่ วเตร่ลอบลักซือ้ ขาย กฤษณา ฝาง ดีบกุ ถ้าลูกค้าจะต้องการสิง่ ใดให้บอกแก่ลา่ มพนักงาน ถ้า ต่างประเทศลูกค้าจะยาตราไปทางบกก็ดี เมือ่ ส�ำเภาจะยาตราก็ดี ให้เจ้า พนักงานตรวจตราดูสิ่งของต้องห้ามผู้คนซึ่งลอบลักซุ่มซ่อนพาไปนั้น... ...มาตราหนึ่ง ราษฎรข้าแผ่นดินชายหญิงไทยมอญ บ่มิย�ำบ่มิ กลัวพระราชอาญาพระราชก�ำหนดกฎหมาย เห็นพัศดุเข้าของ เงินทอง ของมิจฉาทิฐิอันมาค้าขายแต่นานาประเทศ นอกด่านต่างแดน แลยก ลูกสาว ยกหลานสาวให้เปนเมียฝรั่ง อังกฤษ วิลันดา ชวา มลายู อัน ต่างศาสนา แลให้เข้ารีตถืออย่างมิจฉาทิฐินอกพระศาสนา ท่านว่าผู้นั้น เป็นเสีย้ นหนามในแผ่นดิน แลมันเอาใจไปแผ่เผือ่ แก่ปจั จามิตรข้าศึกศัตรู หมู่ร้าย ท่านให้ลงโทษ ๖ สถาน... อย่าให้ดูเยี่ยงกัน เหตุใดจึ่งกล่าวดั่งนี้ เหตุว่าพ่อมันดั่งพืชหว่านลงเหนือแผ่นดิน จะเป็นพืชผลสืบไป ฝ่ายพ่อ มัน ลูกมัน จะเอากิจการบ้านเมืองไปแจ้งแก่นานาประเทศ ๆ มันรู้แล้ว มันจะคิดมาเบียดเบียนพระนครธานี ขอบขัณฑเสมา พระพุทธศาสนา ก็จะพลอยเศร้าหมองไป... นอกจากนี้ในส่วนที่ทางการจะควบคุมศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ที่เข้ามาในราชธานี กรุงศรีอยุธยาได้ใช้ระบบพระคลังสินค้าผูกขาดการค้า โดยก�ำหนดว่าบรรดาพ่อค้าที่น�ำ สินค้าเข้ามาจ�ำหน่ายโดยเฉพาะอาวุธปืนและวัสดุทใี่ ช้ประกอบท�ำกระสุนทัง้ หลายจะต้อง ซื้อขายกับพระคลังสินค้าเท่านั้น เรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาช่วงเกือบ ๒๐๐ ปี หลังจากชาวโปรตุเกส มาเปิดฉากของ ฝรั่งแม่นปืน แล้วยังมีประเด็นที่ควรศึกษาอีกหลายด้าน

42


ความเป็นจริงและจินตนาการจากความทรงจ�ำ วิทยาการป้อมปราการ พระยาโบราณราชธานินทร์ ส�ำรวจขุดตรวจป้อมก�ำแพงเมืองอยุธยาในสมัย รัชกาลที่ ๕ ได้พบในตอนนั้น ๑๖ ป้อม แต่เข้าใจว่าจะมีมากกว่า ท่านตั้งข้อสังเกตว่า ป้อม ที่สร้างอยู่ตรงแม่น�้ำหรือทางร่วมเป็นป้อมใหญ่ก่ออย่างแข็งแรง เช่น ป้อมเพชร เป็นป้อม ใหญ่ส�ำหรับป้องกันข้าศึกทีจ่ ะมาทางนำ�้ ตรงมุมพระนครด้านใต้ การก่อสร้างก่อยืน่ ออกไป จากแนวก�ำแพงหนา ๓ วาเศษ กลางป้อมเป็นพืน้ ดินว่าง มีบนั ไดอิฐขึน้ เชิงเทินในป้อม ตาม เหลี่ยมป้อมที่พื้นดินมีประตูคูหาก่อเป็นรูปโค้ง กว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก มีรอยติดบานใช้ เปิดปิดเข้าออกได้ หลังคูหามีช่องกลวงตลอดขึ้นไปถึงเชิงเทิน เมื่อมีข้าศึกมาติดพระนคร คงจะลากปืนใหญ่ออกตัง้ ยิงป้องกันตามช่องคูหา แต่ถ้าเมื่อเห็นจะเสียท่วงทีก็คงลาก ถอย ปืนใหญ่ไปในป้อม เอาไม้แก่นปักลงในช่องว่างเป็นระเนียดปิดช่องคูหากันหน้าบานประตู ส่วนบนป้อมก็คงจะ ตั้งปืนใหญ่ ได้ด้วยมีที่กว้าง ค�ำให้การขุนหลวงหาวัด พรรณนาลักษณะป้อมเพชรนี้ เช่นกันว่า ... เป็นป้อม ปืนใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงมัน่ คงแข็งแรง สูง ๓ วา ๒ ศอก สูงกว่าก�ำแพงเมือง ๒ ศอก มีชาลา ล้อมป้อมกว้าง ๓ วา มีก�ำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีปืนแทรกตามช่อง ๘ กระบอก ชั้น ล่างปืนใหญ่รางเกวียนบรรจุช่อง ๑๖ กระบอก ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ และปริญญา สัญญะเดช ผู้เชี่ยวชาญอาวุธโบราณได้ส�ำรวจ แล้วให้ความเห็นว่า ป้อมปืนแห่งนี้พบคูหาวางปืนใหญ่มีรูปโค้ง ภายในคูหาด้านซ้ายขวามี ร่องสีเ่ หลีย่ มทอดยาวท�ำหน้าทีค่ ล้ายกับรางเป็นทีส่ �ำหรับผูกเชือกยึดด้านซ้ายและขวาของ ปืนใหญ่รางเกวียน (เหมือนอย่างกระบอกที่ตั้งประดับหน้าศาลาว่าการกลาโหม) เพื่อรับ แรงสะท้อนถอยหลังทีเ่ กิดขึน้ ขณะยิงปืนใหญ่ เหนือคูหามีชอ่ งไว้ระบายความร้อนและควัน ที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ นับเป็นป้อมที่ทันสมัยมาก ป้อมที่มีศักยภาพแข็งแรงจนได้ชื่อว่า ป้อมเพชรนี้ ประทีป เพ็งตะโก นัก โบราณคดี กรมศิลปากร ซึ่งท�ำการขุดแต่งบูรณะป้อมเพชรได้ศึกษาหลักฐานจากภาพวาด กรุงศรีอยุธยาของชาวฮอลันดาพบว่า ป้อมนีเ้ คยเป็น รูปกลมมน แบบป้อมทีโ่ ปรตุเกสนิยม สร้าง ภายหลังมีภาพแผนที่ที่เขียนโดยชาวฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ป้อมเพชรเป็นป้อม รูปหกเหลีย่ ม เป็นข้อมูลทีต่ รงกับหลักฐานในการขุดแต่งทีพ่ บว่ามีการ สร้างทับซ้อนกันอยู่ ๒ สมัย ครั้งแรก เป็นป้อมรูปกลมมน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเมื่อ คราวขยายก�ำแพงเมืองไปถึงริมแม่น�้ำเจ้าพระยาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาเมื่อ ราว พ.ศ. ๒๑๒๓ ส่วนการสร้างขยายป้อมจาก รูปกลมมนเป็น รูปหกเหลี่ยม น่าจะเป็น ผลงานการออกแบบของวิศวกรชาวฝรัง่ เศสทีเ่ ข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

43


๓๔

๓๕

๓๔ ป้อมเพชร ป้อมปืนใหญ่รักษากรุงศรีอยุธยา ทางมุมพระนครด้านใต้ ๓๕ คูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร ส�ำหรับวางปืนใหญ่รางเกวียน

44


๓๖

๓๗

๓๖ ภายในคูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร ทางด้านซ้ายและขวามีร่องส�ำหรับร้อยเชือกยึดรับแรงสะท้อนถอยหลัง ๓๗ ปืนใหญ่รางเกวียน หรือ ปืนใหญ่รางล้อ สมัยรัตนโกสินทร์ มีชื่อ มุหงิดทะลวงฟัน ตั้งประดับด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม

45


๓๘

๓๙

๓๘, ๓๙ ภาพวาดสีน�้ำมันทิวทัศน์เมืองอยุธยา (Iudia) จิตรกรชาวฮอลันดา ชื่อ Johannes Virgboors เป็นผู้วาดเมื่อ ค.ศ. ๑๖๖๕ เห็นป้อมเพชรเดิมยังเป็นรูปกลมมน

46


๔๐

๔๑ ๔๐, ๔๑ แผนที่อยุธยาแสดงสถานที่ส�ำคัญ ป้อม ประตู ก�ำแพงเมือง วาดโดยชาวฝรั่งเศส เห็นป้อมเพชรก่อแปลงใหม่เป็นรูปหกเหลี่ยมแล้ว

47


ทัง้ ป้อมรูปกลมมนและรูปหกเหลีย่ ม ล้วนเป็นวิทยาการจากชาติตะวันตกทีก่ รุง ศรีอยุธยารับมาปรับใช้ตามยุทธศาสตร์ปอ้ งกันเมือง และพลานุภาพของอาวุธยุทธภัณฑ์ ที่มีอยู่ ยังมีป้อมใหญ่ที่ตั้งอยู่ในทางร่วมของล�ำน�้ำ ตั้งตรงมุมพระนครเช่นเดียวกับ ป้อมเพชรอีก คือ ป้อมมหาไชย อยูต่ รงมุมพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ ตลาดหัวรอไม่เห็นร่องรอยของป้อมแล้ว อีกป้อมหนึ่งคือ ป้อมซัดกบ หรือท้ายกบ อยู่ มุมพระนครด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณหัวแหลม ไม่พบร่องรอยของซาก ป้อมเช่นกัน ทั้ง ๓ ป้อม เป็นป้อมปืนตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญเช่นเดียวกัน แต่จะมี รูปร่างเดียวกับ ป้อมเพชรที่เหลืออยู่หรือไม่ ไม่สามารถยืนยันได้ ป้อมเหล่านี้ล้วนเป็น ป้อมทีม่ เี หตุการณ์ประวัตศิ าสตร์บนั ทึกไว้ เช่น ปืนใหญ่ประจ�ำป้อมมหาไชย น่าจะเป็น ปืนทีม่ ขี นาดใหญ่มกี �ำลังแรงพอทีจ่ ะยิงป้องกันข้าศึกทีเ่ ข้ามาทางแม่นำ�้ ลพบุรที างด้านนี้ เมื่อครั้งเกิดกบฏธรรมเถียรในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งกรมพระราชวังบวร ต่อ มาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเสือได้โปรดให้เอา ปืนใหญ่ป้อมแห่งนี้ ยิงปราบกบฏทั้ง ๘ กระบอก ส่วน ป้อมซัดกบ หรือท้ายกบได้ท�ำหน้าที่เมื่อคราวมีศึกประชิดกรุง พ.ศ. ๒๓๐๙ พระยาศรีสุริยพาห เจ้าหน้าที่รักษาป้อมซัดกบน�ำปืนชื่อ มหากาฬมฤตยู ประจุ ดินปืนอัดเป็นสองเท่าเพื่อที่จะยิงให้ถึงค่ายพม่าที่วัดภูเขาทอง แม้ยิงได้เพียงนัดเดียว ปืนก็ร้าวราน แต่ก็ยังจมเรือรบพม่าได้ถึง ๒ ล�ำ ป้อมปืน ปืนและพลประจ�ำป้อมในความทรงจ�ำและจิตส�ำนึกของช่างเขียน ภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ทัง้ ภาพฝาผนัง ภาพลายรดนำ�้ ตัง้ แต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมา เขียนเล่าเรื่องในพระพุทธศาสนาเป็นภาพพระพุทธประวัติ หรือภาพชาดก แต่ภาพที่เกี่ยวกับการสู้รบ ภาพบ้านเมืองมีก�ำแพงป้อมปราการ ช่างเขียนจะเขียนภาพ ชนต่างชาติ คือ ฝรั่งบ้าง แขกบ้าง อยู่ประจ�ำป้อมพร้อมด้วยอาวุธปืนใหญ่น้อย ยิงต่อสู้ ป้องกันเสมอ ส่วนไพร่พลคนพื้นถิ่นที่เข้าเป็นผู้ช่วย ก็มีอาวุธประจ�ำกายพื้นๆ คือ ดาบ หอก ธรรมดา ที่เป็นขุนนางก็นุ่งผ้าตามยศสวมลอมพอก หรือหมวกแบบต่างๆ ถือ ดาบ เหน็บกฤช ก็มี ภาพเขียนเหล่านี้ได้สะท้อนสภาพสังคมที่ช่างเขียนได้เห็นได้รับรู้ มาถ่ายทอดไว้ต่อเนื่องกันมา แม้ช่างในสมัยหลังจะไม่เคยเห็นด้วยตาตนเองแล้วก็ตาม เป็นความทรงจ�ำและจินตนาการทีเ่ ป็นประโยชน์แก่คนรุน่ หลังมาศึกษาตีความท�ำความ เข้าใจได้

48


๔๒

๔๓

๔๒, ๔๓ ภาพจิตรกรรม มีพลประจ�ำป้อมเป็นชาวตะวันตกที่เรียกว่า ฝรั่งแม่นปืน และอาวุธที่ใช้ทั้งปืนเล็ก (คาบชุด หรือ คาบศิลา) และปืนใหญ่

49


๔๔

๔๕

๔๖

๔๗

๔๔ - ๔๖ ภาพจิตรกรรม มีพลประจ�ำป้อมเป็นชาวต่างชาติทั้งชาวตะวันตก และแขก อาวุธทีใ่ ช้มีทั้งปืนเล็ก (คาบชุด หรือ คาบศิลา) และปืนใหญ่ ๔๗ ผังป้อมของฝรั่งเศสที่เมืองบางกอก

50


ปืนต่างๆ ในประวัติศาสตร์ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ เขียนเล่าเรื่องไว้ว่า ...จ�ำนวนปืนใหญ่น้อยที่มีไว้ป้องกันกรุง ศรีอยุธยาคงจะมีเป็นจ�ำนวนมาก สังเกตได้จากจ�ำนวนปืนที่ใช้ในการรบแต่ละครั้ง เช่น การรบป้องกันพระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๘ มีปืนใหญ่ใช้ในกองทัพราว ๔,๐๐๐ กระบอก ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ในคลังมีปืนใหญ่น้อย ๓,๐๐๐ กระบอก กระสุน ๕๐,๐๐๐ นัด ปืนเหล่า นี้บางส่วนถูกท�ำลาย ถูกฝังดิน ถูกน�ำกลับไปเป็นสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งผู้ชนะ และซ่อนจากข้าศึกโดยฝังดินหรือเข็นทิ้งลงน�้ำไม่ให้ตกไปเป็นของข้าศึกได้ ดังมีรายงาน การงมได้ปืนใหญ่ในแม่น�้ำรอบกรุงศรีอยุธยาอยู่บ่อยครั้ง เรามาตามรอยปืนใหญ่ทมี่ ชี อื่ ใช้ในงานราชการครัง้ กรุงศรีอยุธยา ตามทีป่ รากฏ ในค�ำให้การชาวกรุงเก่า รวมทั้งศึกษาลักษณะปืนของชาติตะวันตกที่น�ำเข้ามาในสมัยนี้ ปืนใหญ่ชอื่ มหาเริก (มหาฤกษ์) มหาชัย เป็นปืนใหญ่ยงิ เอาฤกษ์เอาชัยยาม เคลือ่ นทัพ เช่นคราวสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๒๐๕ มีเจ้าพระยาโกษาธิบดี หรือโกษาปาน เป็นแม่ทัพใหญ่ พระองค์เสด็จยกกองทัพ หลวงตามไป ค�ำให้การชาวกรุงเก่าพรรณนาไว้ว่า ...ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์แล้วขุนโหรก็ ลั่นฆ้องชัยประดาตีดังโครมครื้น ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาไชยสองนัด แล้วพลไกรก็โห่ร้อง ก้องกึกไปทั้งแม่น�้ำ... ปืนใหญ่ชื่อ มหากาล (มหากาฬ) หรือ มหากาฬมฤตยูราช หรือ พระกาล มฤตยูราช เป็นปืนใหญ่ที่มีความยาวถึง ๓๐ ฟุต ยิงลูกกระสุนน�้ำหนัก ๑๐๐ ปอนด์ ปืน ใหญ่กระบอกนี้มีประวัติกล่าวอยู่ในพระราชพงศาวดาร คราวสมเด็จพระนเรศวรและ สมเด็จพระเอกาทศรถสู้ศึกพระเจ้าหงสาวดีล้อมกรุง พ.ศ. ๒๑๒๙ ได้โปรดให้เอาปืน พระกาลมฤตยูราชใส่ส�ำเภาขึ้นไปยิงค่ายข้าศึกที่ขนอนปากคู ข้าศึกต้องเลิกทัพไปตั้งที่ ป่าโมกใหญ่ และอีกครั้งหนึ่งได้น�ำไปใช้ที่ ป้อมซัดกบ เมื่อคราวศึกประชิดกรุงใน พ.ศ. ๒๓๐๙ ปืนร้าวร้านเสียไปเพราะกร�ำศึกมามาก ปืนใหญ่ชื่อ พินาศหงสา น่าจะเป็นกระบอกเดียวกับปืนใหญ่ชื่อ ปราบหงสา ปืนใหญ่กระบอกนี้มีประวัติทั้งในพงศาวดารและเรื่องที่เล่ากันมา สมเด็จฯ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพทรงอ้างไว้ใน “ไทยรบพม่า” ว่า เป็นอุทธาหรณ์ของความเสื่อมทราม ในครั้งนั้น เพราะเมื่อเอาปืนนี้ขึ้นตั้งบน ป้อมมหาชัยจะยิงพม่า แต่แรกเจ้าหน้าที่ไม่ กล้ายัดดินด�ำให้เต็มขนาด กลัวแก้วหูแตกด้วยเสียงปืน ลดดินด�ำแล้วยังมีคนขอให้ ลดลงอีก จนทีส่ ดุ ยิงไปกระสุนไปตกไม่ถงึ คูเมือง เป็นได้ถงึ อย่างนี้ ก็ตรงกับความในพระ ราชพงศาวดารเมื่อพม่าล้อมกรุงว่า พม่ายกมาตั้งค่ายวัดศรีโพธิ์ ... ฝ่ายข้างในกรุงให้ใช้ ปืนปราบหงสาออกไปตั้งริมท่าทราย กระสุนแรกประจุดินน้อยต�่ำไปถูกตลิ่ง ครั้นประจุ ดินมากขึ้นโด่งข้ามวัดศรีโพธิ์ไป... 51


ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ได้วิเคราะห์การยิงปืนใหญ่ปราบหงสาจากบันทึกฝั่งพม่าที่ บอกว่า มีน�้ำสีด�ำไหลออกมาจากล�ำกล้องขณะยิงเหมือนทางฝั่งพม่าบอก เป็นนัยว่าฝ่าย ไทยดูเหมือนไม่ดูแลเอาใจใส่ต่ออาวุธปืนแม้แต่น้อย ปืนใหญ่ชอื่ มานพินาศ คงเป็นปืนทีม่ คี วามส�ำคัญมากกระบอกหนึง่ ในสมัยอยุธยา มีข้อควรสังเกตว่า ปืนที่เหลือเพียงส่วนปากล�ำกล้องที่เชื่อว่าคือ ปืนมานพินาศ มีลวดลาย คล้ายกับปืนใหญ่ มารประไลย ที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งรัชกาลที่ ๑ ส่วนปืนใหญ่สมัยอยุธยาที่มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นใหม่ในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ได้แก่ปืนชื่อ นารายณ์สังหาร ปืนกระบอกนี้มีประวัติส�ำคัญในเหตุการณ์ หลังจากสมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้โปรดให้คิดเอา ปืนใหญ่ยงิ ค่ายข้าศึก ดังความในพระราชพงศาวดารบันทึกไว้วา่ ... จึง่ ให้เชิญ ปืนนารายณ์ สังหาร ลงส�ำเภาฉ้อขึ้นไปทางบ้านป้อม แต่งทัพปกป้องกันสองฝั่งมากขึ้นไปถึงขนอน ปากคู... ชาวพระนครยิง ปืนนารายณ์สังหารไป กระสุนตกลงในค่ายใกล้พลับพลาสมเด็จ พระเจ้าหงสาวดี... หลังจากทัพพระเจ้าหงสาวดีถอยที่ตั้งค่ายหลวงออกไปก็โปรดให้เอา ปืนนารายณ์สังหารลงใส่ส�ำเภาไม้รักแม่นางไอ ขึ้นไปยิงค่ายสมเด็จพระเจ้าหงสาวดี ... ปืนถีบท้ายส�ำเภาจมลงกระสุนปืนขึ้นไปถูกกิ่งพระมหาโพธิ์ ๓ ก�ำเศษ ขาดตกลงใกล้ชา้ งพระทีน่ งั่ สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีประมาณ ๓ วา ขณะนัน้ ชาวป้อมมหาชัย ก็ยิงปืนใหญ่ระดมมาต้องพลหงสาวดีตายมาก จะปล้นเอาพระนครก็ไม่ได้... นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ ปืนนารายณ์สังหาร รับใช้บ้านเมืองครั้งส�ำคัญคราวหนึ่ง ปืนใหญ่ชอื่ พิรณ ุ หรือ พระพิรณ ุ เป็นปืนใหญ่ทมี่ เี รือ่ งราวในประวัตศิ าสตร์สมัย อยุธยาทีน่ า่ ตืน่ เต้นอยูม่ าก เช่น ครัง้ หนึง่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ใช้ทดสอบสติ ปัญญาเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เพือ่ ให้ขา้ ราชการผูใ้ หญ่ผนู้ อ้ ยได้ประจักษ์และยอมรับขุนนาง ฝรั่งผู้นี้ โดยให้แข่งขันหาวิธีชั่งน�้ำหนักปืน พระพิรุณ ว่ามีน�้ำหนักเท่าใด เหตุการณ์ชงั่ ปืนพระพิรณ ุ ครัง้ นัน้ น่าจะเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีอ่ ยูใ่ นความทรงจ�ำของ ผูค้ นต่อมา เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมือ่ โปรดให้ประกวดการเขียนภาพพระราชพงศาวดาร พร้อมแต่งโคลงประกอบเพื่อประดับพระเมรุท้องสนามหลวงให้ประชาชนชม เหตุการณ์นี้ ได้รบั คัดเลือกให้เขียนไว้พร้อมโคลงพรรณนาประกอบภาพ ของขุนโอวาทวรกิจ (แก่น) ดังนี้

52


๔๘

๔๙

๔๘ ปืนใหญ่ชื่อ มหาชัย ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี ๔๙ ล�ำกล้องด้านหน้าของปืนใหญ่สมัยอยุธยา สันนิษฐานว่ามีชื่อ มานพินาศ ที่ในอดีตได้เคยส�ำแดงเดชจนเป็นที่ครั่นคร้ามของพระเจ้าหงสาวดี

53


จึ่งตรัสให้ท่านเจ้า ฝรั่งรับลากปืนมา เรือเพียบเท่าใดตรา ชั่งศิลาลงต้อง ก็แจ้งโดยเล่ห์ล�้ำ ปืนพระพิรุณหนัก กราบทูลพระจอมจักร ข้าราชการคิดขยั้น

พระยา ชั่งเฮย ถ่วงท้อง ทึกลาก ขึ้นแฮ เทียบน�้ำแนวเดิม แหลมหลัก เท่านั้น พรรดิทราบ บาทเฮย ขยาดคร้ามเชิงเฉลียว ฯ

ปืนพระพิรุณ ยังมีความปรากฏในเหตุการณ์หลังเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่า เนเมียวแม่ทัพใหญ่กับแม่ทัพนายกองให้ขนปืนใหญ่น้อยในพระนครไปด้วย พระราช พงศาวดารว่า ได้ปืนใหญ่น้อยพันสองร้อยเศษ ปืนนกสับหลายหมื่น เอาลงบรรทุกเรือ เมื่อ ไปถึงตลาดแก้ว...เห็นว่า ปืนพระพิรุณนั้นใหญ่นักเหลือก�ำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะ จึงให้ เข็นชักขึ้นจากเรือเอาขึ้นที่วัดเขมา ให้เอาดินด�ำประจุเต็มกระบอกจุดเพลิงระเบิดเสีย... แต่บ้างก็ว่า ฝ่ายไทยได้เอาลงจมไว้ในสระแก้ว พระราชวังกรุงเก่า มีผู้ไปขุดค้น กันเมือ่ ในรัชกาลที่ ๔ เรือ่ งจริงจะเป็นอย่างไรไม่แน่ชดั แต่หลักฐานทีบ่ าทหลวงเดอชัวซีแห่ง ฝรั่งเศสได้เคยเห็นกับตาตัวเองว่า ปืนพระพิรุณ มีขนาดใหญ่ ปากล�ำกล้องมีความกว้าง ถึง ๑๔ นิ้ว ลูกกระสุนมีน�้ำหนักราว ๓๐๐ ปอนด์เศษ ปืนพระพิรุณ ได้จบสิ้นภารกิจไป พร้อมกับกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวของปืนใหญ่ส�ำคัญ และปืนชนิดต่างๆ ที่บันทึกอยู่ในเอกสาร ที่ยังเหลือ ปรากฏของจริงอยู่ต่อมา คือ ปืนใหญ่อีกชุดหนึ่ง ที่ไปปรากฏอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถาน เมืองมัทราส ประเทศอินเดีย พิพธิ ภัณฑ์ได้รบั จากคลังแสงทีป่ อ้ มเซนต์จอร์จ เมือ่ ครัง้ อังกฤษ ขนไปจากเมืองมัณฑเลใน พ.ศ. ๒๔๒๘ ปืนใหญ่ทั้ง ๔ กระบอก นี้มีจารึกภาษาไทยและ ภาษาพม่า ให้ความรู้ขยายความไปจากพระราชพงศาวดารที่น่าสนใจยิ่ง พ.ต.อ.ทวยหาญ ยมนาค เขียนบทความเรื่อง ปืนใหญ่กับวัดท่าการ้อง ใน หนังสือสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ซึ่งได้น�ำมารวมพิมพ์ไว้กับปาฐกถางานอนุสรณ์อยุธยา ๒๐๐ ปี ระหว่างวันที่ ๗ - ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ในบทความนี้ ผู้เขียนได้อ้างถึงเรื่อง “จดหมายเหตุเรื่องปืนโบราณของไทยบางกระบอก” ของ นายซี. เอ. ซีย์เมอร์ ซีเวลล์ มีสาระที่ส�ำคัญมาก เพราะมีจารึกที่ปืนบอกให้รู้ว่า เป็นปืนของกรมพระต�ำรวจ ดังต่อไปนี้

54


๕๐

๕๐ โคลงภาพพระราชพงศาวดารเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เป็นเหตุการณ์ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้ข้าราชส�ำนักแข่งกันชั่งปืนพระพิรุณหรือปืนพิรุณ ด้วยสติปัญญาอันเฉียบแหลมของ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ได้ให้เข็นปืนลงเรือนางเป็ดหลายล�ำ เรือจมเท่าใดให้ท�ำเครื่องหมายไว้ แล้วให้น�ำกรวด เศษอิฐใส่ในเรือให้เท่ากับเครื่องหมายที่ท�ำไว้และน�ำมาบวกรวมกัน จนได้เป็นน�้ำหนักของปืน

55


กระบอกที่ ๑ มีค�ำว่า ในซาย (น่าจะเป็นในซ้าย) และในทับหลวง (น่าจะเป็น ทัพหลวง) ต่อด้วย ไดวงแลว (ไม่สามารถแปลความแน่นอนได้) กระบอกที่ ๒ มีค�ำว่า ใหญ่ซาย (น่าจะเป็นใหญ่ซ้าย) และตัวเลขซึ่งพระยา โบราณราชธานินทร์ สันนิษฐานว่า อาจจะหมายถึงนำ�้ หนักดินปืนทีใ่ ช้เป็นดินชนวน ในการ บรรจุปืนโดยล�ำดับ แต่ก็ว่ายังไม่ใช่ข้อสันนิษฐานที่ถูกต้องนัก กระบอกที่ ๓ มีค�ำว่า ในขวา และยังมีค�ำจารึกอักษรไทยเรียงรายอยู่ในรูปกึ่ง วงกลม คือ กูกอหล่อในวันพุฒเดือนหก ขึ้นสิบสามค�่ำ วอก ส (ม) ฤ (ทธิ) ศก เพลารุ่งแล้วสองนิลิกาหก บาท จุลศักราช ๑๐ (๙๐) พ.ต.อ.ทวยหาญ ยมนาค ได้ขยายความเกี่ยวกับจารึกนี้ พร้อมกับข้อสันนิษฐาน ของ นายซีเวลล์ ว่า ตามวัน เดือน ปี ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ จุลศักราช ๑๐๖๘ - ๑๐๙๔ (พ.ศ. ๒๒๐๙ - ๒๒๙๐) ค�ำว่า กู เป็นสรรพนามหมายถึง พระเจ้าท้ายสระ ปืน กระบอกนี้น่าจะหล่อในโอกาสพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินประทับเป็น ประธานอยู่ด้วย จึงน่าจะเป็นปืนที่ยกย่องกันเป็นพิเศษ เมื่อตกอยู่ในมือของพม่าจึงจารึก เป็นความหมายที่มีชัยชนะอย่างงดงาม กระบอกที่ ๔ มีค�ำว่า ในขวา ปืนใหญ่ทั้งหมดนี้ ยกเว้นกระบอกที่ ๓ ที่มีหลักฐานว่าเป็นปืนหล่อของกรุง ศรีอยุธยาชัดเจน ส่วนกระบอกที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ มีตราของราชวงศ์ออราเบียแสดงว่า ปืนใหญ่ท�ำในยุโรปสมัยโบราณ ส่วนจารึกภาษาพม่าซึ่งแน่นอนว่า เป็นจารึกเพิ่มขึ้นในภายหลัง มีความอย่าง เดียวกันว่า จับได้ ณ กรุงทวาราวดีในปีจุลศักราช ๑๑๒๘ (พ.ศ. ๒๓๐๘) เฉพาะกระบอก ที่ ๔ มีความละเอียดเพิ่มขึ้นว่า จับได้ ณ กรุงทวาราวดีในภายหลัง ๙ นาฬิกา ในคืนวัน อังคาร ขึ้น ๙ ค�่ำ เดือนตาคู (เดือน ๕) จุลศักราช ๑๑๒๘ (วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๐๘) วันทีจ่ ารึกนีเ้ ป็นเวลาก่อนกรุงแตกเกือบ ๑ ปี นายซีเวลล์ สันนิษฐานว่า ปืนเหล่า นีค้ งจะตีได้จากป้อมชัน้ นอกของพระนคร หรือขณะทีท่ างกรุงออกตีโต้ แต่ตามวันเวลานีย้ งั ขัดกับหลักฐานในพงศาวดารทั้งของไทยและพม่า เพราะไม่ได้มีการรบพุ่งกัน ประเด็นนี้ พ.ต.อ.ทวยหาญ ยมนาค มีความเห็นว่าระยะเวลาใกล้เคียงกับเดือน ๕ มีคราวหนึ่งคือ ใน เวลาทีช่ าวบ้านบางระจันก�ำลังรวมก�ำลังต่อสูร้ บชนะหลายครัง้ ทางในกรุงดีใจจัดก�ำลังไปตี ค่ายพม่าที่ปากน�้ำพระประสบข้างฝ่ายเหนือแต่เสียทีแตกพ่าย จึงน่าจะเป็นเหตุการณ์ตาม ที่จารึกไว้บนปืนใหญ่ที่ยึดไปได้คราวนั้น 56


๕๑

๕๒

๕๑, ๕๒ ปืนใหญ่ของอยุธยาที่ถูกยึดไปยังเมืองพม่า ภายหลังอังกฤษได้เมืองพม่า น�ำไปไว้ที่อินเดีย มีจารึกภาษาไทยบอกต�ำแหน่งหน้าที่ของปืน และจารึกภาษาพม่าบอกวัน เดือน ปีที่ได้ปืนไป

57


นอกจากชื่อปืนใหญ่หลายกระบอกที่มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา แล้ว ศิรริ จั น์ วังศพ่าห์ ยังให้ความรูช้ อื่ ปืนหลักประจ�ำเรือพระทีน่ งั่ ของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชที่ควรกล่าวไว้ด้วย ได้แก่ ปืนปราบเมืองลุ และปรุบาดาล ว่าน่าจะเป็นปืนยาวมี เพลาขนาดเล็กยืน่ ออกมาจากล�ำกล้องทัง้ ๒ ข้าง มีหลักเป็นเหล็กรูปตัววาย (Y) ขาซ้ายและ ขวาคล้องอยู่ที่เพลา ขาด้านล่างปักลงบนขาหยั่งท�ำหน้าที่เป็นหลักยึดปืนและช่วยเปลี่ยน ทิศทางการยิงได้รวดเร็ว ปืนหลักนี้ใช้ติดตั้งบนหลังช้างบนสัปคับ มีเสาปักขาหยั่งตั้งปืนได้ เช่นกัน

๕๓

๕๔

๕๓ ช้างปืนในขบวนแห่พระราชพิธีโสกันต์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ๕๔ สัปคับช้างมีเสาและมีปืนหลักหลังช้างปักอยู่ ตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

58


ปืนใหญ่ยุโรปสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการศึกษาตรวจค้นอย่างจริงจัง ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ พบว่า ปืนยุโรปที่เข้ามา ในกรุงศรีอยุธยา และที่มีอายุตรงกับสมัยอยุธยา พบมากที่หัวเมืองทางภาคใต้ เช่น ที่ นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ภูเก็ต ฯลฯ ปืนใหญ่ประจ�ำตามหัวเมืองต่างๆ มีบางส่วนที่ ส่งตรงจากพระนคร หรือทางกรมการเมืองอาจจะสั่งซื้อจากพ่อค้าฝรั่งที่ท�ำการค้าขายอยู่ บริเวณนัน้ การจัดส่งปืนใหญ่กค็ งกระท�ำได้ไม่ยากนัก เพราะมีสถานีการค้าของพวกเขาอยู่ ใกล้เคียง เช่น สถานีทางการค้าของชาวฮอลันดาที่ริมคลองตาสัก จังหวัดนครศรีธรรมราช ท�ำให้พบปืนฮอลันดาสมัยอยุธยาเป็นจ�ำนวนมากที่จังหวัดนั้น ปืนใหญ่ฮอลันดา ฮอลันดาเป็นชาวตะวันตกชาติที่สองต่อจากโปรตุเกสที่เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยา และพ�ำนักอยู่นานจนเสียกรุงแล้วจึงกลับออกไป ดังมีบันทึกของหัวหน้าสถานีการค้า ฮอลันดาที่เก็บสาระเรื่องราวของสังคมอยุธยาจนถึงกับเขียนพงศาวดารได้ที่เรียกว่า พงศาวดารฉบับวันวลิต ซึ่งบางช่วงบางตอนกล่าวเรื่องชาวฮอลันดาเป็นชาติหนึ่งที่จัดหา อาวุธให้กับอยุธยาผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ปืนใหญ่ฮอลันดา ที่ส�ำรวจพบมีทั้งหล่อด้วยส�ำริด และเหล็ก มีความสวยงาม มาก ลักษณะโดยทั่วไป ปากกระบอกเป็นรูปดอกทิวลิป หูจับยกปืนเป็นรูปปลาโลมา (ปืน เหล็กไม่มีหูจับ) รูชนวนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน บนล�ำกล้อง มีตราของบริษัท คือ V O C เหนือตราบริษัทมีตัวอักษรบอกเมืองที่หล่อปืน R A H M Z E มีความหมายดังนี้ R = Rotterdam A = Amsterdam H = Hoorn M, Z = Middleburg แคว้น Zeeland E = Enkhuizen และยังมีชื่อช่างผู้หล่อปืน ปีที่หล่อปืน จารึกอยู่ด้วย เช่น กระบอกที่ตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กองพลต่อสู้อากาศยาน บนล�ำกล้องมีจารึกรูปนูนตราบริษัท V O C เหนือตราบริษัท V O C มีอักษรตัว R และ ปี 1678 หมายความว่าหล่อที่เมือง Rotterdam ใน ค.ศ. 1678 ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๗๑ อยู่ในรัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราช แต่จะ เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อใดไม่อาจระบุได้ 59


กระบอกที่อยู่ในกองบัญชาการ กองทัพภาคที่ ๑ มี ๒ กระบอก มีตรา V O C และตัวอักษร Z ตอนบน M ตอนล่าง และปี 1759 ถอดความได้ว่า เป็นปืนของบริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดา หล่อขึ้นในปี ค.ศ. 1759 (พ.ศ. ๒๓๐๒) ส�ำนักงานที่หล่อปืนคือ Middleburg แคว้น Zeeland แต่มีข้อสังเกตว่า ตราบริษัทและชื่อเมืองไม่มีความนูนในตัวเอง มีการจารึกภายหลัง จึงอาจ หล่อจากที่อื่นก็ได้ ส่วนปีที่หล่อตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยาสอมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) กระบอกที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา มีจารึกข้อความที่ควรศึกษาว่า Amsterdam lighthouse หรือ Amsterdam proof mark หมายความว่า ปืนกระบอกนี้ได้ผ่านการทดสอบยิงที่โรงงาน แห่งเมือง Amsterdam กระบอกทีอ่ ยูห่ น้าตึกไทยคูฟ่ า้ ท�ำเนียบรัฐบาล ๒ กระบอกคูก่ นั ปืนใหญ่ ๒ กระบอกนี้ มีสญ ั ลักษณ์ ทีน่ า่ สนใจยิง่ คือ จารึกนูนรูปเรือใบสามเสา (Three masted full ridge ship) คล้ายกับลวดลายในป้ายหมูบ่ า้ น ฮอลันดาที่พระนครศรีอยุธยา และยังมีจารึก 2610A บอกน�้ำหนักราว ๒ ตัน ปืนกระบอกนี้ จึงน่ามีความหมายถึงหมู่เรือฮอลันดาที่เดินทางไปขายโพ้นทะเล กระบอกทีต่ งั้ อยูใ่ นค่ายวชิราวุธ นครศรีธรรมราช กระบอกนีม้ คี วามส�ำคัญมากเช่นกัน ทีเ่ หนือตรา บริษัท VOC มีค�ำว่า Batavia แสดงว่า หล่อขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย ส�ำนักงานใหญ่ของบริษัทประจ�ำอาณานิคม แห่งนี้ และยังมีปีที่หล่อตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กระบอกทีเ่ สาธงหน้าโรงเรียนประจ�ำจังหวัดพัทลุง จ�ำนวน ๒ กระบอก เป็นปืนเหล็กของฮอลันดา มีตรา V O C แกะลงในเนื้อล�ำกล้อง อักษร F หล่อนูนหมายถึงชื่อโรงงานที่ Finspang เมือง Ostergotland ประเทศสวีเดน ที่บริษัทจ้างให้หล่อขึ้น นอกจากนี้ยังมีตรา Proof mark บอกการผ่านทดสอบยิง ณ โรงงาน แห่งเมือง Amsterdam แสดงว่าแม้จะว่าจ้างให้สวีเดนหล่อแต่บริษัท VOC ก็ได้น�ำมาทดสอบคุณภาพโดย ทดลองยิงให้มั่นใจเสียก่อน ปืนเหล็กของฮอลันดานี้ ในอดีตมีชื่อในตลาดค้าอาวุธว่า Finbanker of Dutch Pattern

60


๕๕

๕๖

๕๗

๕๘ ๕๕ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา มีอายุราว ๓๘๔ ปี ตั้งประดับภายในกองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ๕๖ จารึกแสดงว่า ปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หล่อขึ้นที่เมือง Rotterdam ปี ค.ศ. 1628 ตรงกับปี พ.ศ. ๒๑๗๑ ๕๗ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา มีอายุราว ๒๕๓ ปี ตั้งประดับภายในกองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๑ ๕๘ จารึกแสดงว่าปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ที่มีส�ำนักงานที่เมือง Middleburg แคว้น Zeeland หล่อปี ค.ศ. 1759 ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๐๒

61


๕๙

๖๐

๕๙ ตราปรู๊พมาร์ค Amsterdam light house จารึกบนล�ำกล้องปืนแสดงว่า ปืนได้ผ่านการทดสอบแล้วที่โรงงานเมือง Amsterdam คล้ายกับตรา Tower ของประเทศอังกฤษ ๖๐ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา มีอายุราว ๓๗๑ ปี ตั้งประดับด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ท�ำเนียบรัฐบาล

62


๖๑

๖๒

๖๑ จารึกรูปเรือใบสามเสากระโดง (Three masted full ridge ship) แสดงถึงการเดินทางค้าขายไปยังทวีปอันไกลโพ้นของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ๖๒ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา มีอายุราว ๓๔๕ ปี ตั้งประดับภายในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช

63


๖๓

๖๓ จารึกแสดงว่าปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หล่อขึ้นปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ที่เมือง Batavia ที่ตั้งส�ำนักงานใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ปัจจุบันคือเมือง Jakarta ประเทศอินโดนีเซีย

64


๖๔

๖๕

๖๔ ปืนใหญ่เหล็กสมัยอยุธยาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา มีชื่อว่า Finbanker of Dutch pattern ปัจจุบันตั้งประดับภายในโรงเรียนประจ�ำจังหวัดพัทลุง ๖๕ เพลาปืนหล่อนูนตัวอักษร F แสดงว่าปืนกระบอกนี้หล่อมาจากที่ Finspang เมือง Ostergotland ประเทศสวีเดน

65


ปืนใหญ่อังกฤษ ชาวอังกฤษเข้ามาเปิดสถานีการค้าแห่งแรกทีป่ ตั ตานีใน พ.ศ. ๒๑๕๕ มีบนั ทึกว่า กัปตันโทมัส เอสซิงตัน เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นของ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปิดสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา ปืนใหญ่ของอังกฤษตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยามีจ�ำนวนไม่มาก แต่มตี ราสัญลักษณ์ ที่ศึกษาได้ชัดเจน เช่น ปืนใหญ่แบบ Rose and Crown Pattern มีจารึกรูปนูนรูปดอก กุหลาบภายใต้มงกุฎ ซึง่ เป็นตราพระราชลัญจกรของสมเด็จพระราชินแี อน (Queen Ann) ครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๒๐๓ - ๒๒๕๗ ปัจจุบันพบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาลากลางจังหวัดตรัง หน้าสโมสรค่ายกาวิละ เชียงใหม่ หน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ (ตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่า บาง กระบอกอาจน�ำเข้าสมัยธนบุรี หรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์)

๖๖

๖๖ ปืนใหญ่เหล็กสมัยอยุธยาของอังกฤษ แบบ โรส แอนด์ คราวน์ มีอายุราว ๓๕๐ ปี ตั้งประดับภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ๖๗ พระราชลัญจกร มงกุฎ ประดับเหนือดอกกุหลาบ ของสมเด็จพระราชินีแอน (Queen Ann) แห่งประเทศอังกฤษ ครองราชย์ปี พ.ศ. ๒๒๐๓ - ๒๒๕๗

66

๖๗


ปืนใหญ่สเปน บทความเรื่อง กรุงศรีอยุธยากับความสัมพันธ์สามเส้าตามเอกสารหลักฐาน สเปน The Philippine Islands, 1493 - 1893 ให้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง กรุงศรีอยุธยากับสเปน ซึ่งได้ปกครองฟิลิปปินส์มีลักษณะที่ไม่ราบรื่น และข้อมูลจากการ ส�ำรวจดินแดนของกรุงศรีอยุธยา ก็เพื่อแสวงหาทรัพยากร ซึ่งหวังจะเข้าพิชิตและเผยแผ่ คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก แต่ความสัมพันธ์ครั้งนี้ ก็ประสบปัญหาโดยมีกรุงกัมพูชาเข้า มาเกีย่ วข้องด้วย เพราะกรุงกัมพูชาก็มงุ่ หวังให้สเปนคุม้ ครองตนจากกรุงศรีอยุธยา จึงเป็น ความสัมพันธ์สามเส้าที่มีปัญหาอยู่มาก กล่าวเฉพาะสาระเรื่องปืน มีเหตุการณ์ที่ท้าทายพระราชอ�ำนาจสมเด็จพระ นเรศวรคราวหนึ่ง เมื่อ นายฟรานซิสโก เด เตโย เด กูซมัน (Francisco de Tello de Guzman) ผู้ว่าราชการฟิลิปปินส์ แต่งตั้ง ฆวน เตโย (Joan Tello) เป็นราชทูตมาเจริญ ทางพระราชไมตรีกบั กรุงศรีอยุธยา เดินทางถึงอยุธยาก่อนวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๕๙๘ ราชทูตผูน้ ี้ ทีจ่ ริงเป็นพ่อค้ามีธรุ กิจทีก่ รุงศรีอยุธยา เมือ่ เดินทางมาก็มงุ่ จะด�ำเนินการค้าและ ธุรกิจของตน จึงระมัดระวังประหยัดถ้วนถี่ในการถวายเครื่องราชบรรณาการ ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งคือ การที่เขาเป็นพ่อค้ามากกว่านักการทูต ทั้งๆ ที่ ทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงพอพระราชหฤทัย ปืนใหญ่ประจ�ำเรือ เขากลับน�ำถ่วงน�้ำ ไว้ คงเหลือเพียงปืน ๑ กระบอก และปืนคาบศิลาอีกเล็กน้อยผ่านเข้ามาถึงพระนคร เมื่อ ด�ำเนินธุรกิจแล้วเห็นว่ามีผลก�ำไรน้อยและดูเหมือนสมเด็จพระนเรศวรไม่โปรดเท่าใดนัก จึงลอบเดินทางกลับโดยไม่เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาตามธรรมเนียมทางการทูต อีกทั้ง ยังลักลอบน�ำบุคคลต้องโทษออกนอกพระราชอาณาจักร ทางการไทยจึงสั่งให้กองเรือไล่ ติดตาม ได้ยิงต่อสู้กันด้วยปืนใหญ่และปืนคาบศิลา ภายหลังกองเรือทูตของสเปนได้กู้ปืน ใหญ่ที่แอบซุ่มซ่อนไว้กลับไปได้ นับเป็นเรื่องราวของปืนใหญ่ประจ�ำเรือที่ได้น�ำถ่วงน�้ำซ่อน ไว้แล้วกู้กลับขึ้นได้อย่างพิสดาร ศิรริ จั น์ วังศพ่าห์ ได้ศกึ ษาพบ ปืนสเปน ทีม่ อี ยูใ่ นสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒ กระบอก ตั้งแสดง ณ ห้องอาวุธไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีชื่อจารึกไว้ว่า พลายเพ็ชร และ เกล็ดนาค หล่อใน พ.ศ. ๒๑๕๓ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีข้อควร สังเกตว่า เมื่อนายเทาน์เซนด์ แฮรีส (Townsend Harris) ทูตอเมริกา เดินทางเข้ามาใน พ.ศ. ๒๓๙๙ เขาบันทึกไว้ว่า ได้เห็น ปืนสเปน หล่อขึ้นราว ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว อยู่บนหลัง ช้างในกระบวนรับทูต ก็น่าจะเป็น ปืนสเปน สมัยกรุงศรีอยุธยาที่ตกทอดมา แต่จะอยู่ ณ ที่ใดในปัจจุบันยังคงเป็นค�ำถามที่รอหาค�ำตอบอยู่

67


ปืนเดนมาร์ก การได้พบ ปืนใหญ่เดนมาร์ก ที่สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยา แม้มีจ�ำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าศึกษาเช่นเดียวกับปืนใหญ่ของชาติอื่นๆ เพราะบริษัท เดนิช อีสต์อินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๙ ตามค�ำแนะน�ำของฮอลันดาได้มีความสัมพันธ์กับผู้ส�ำเร็จราชการ เมืองตะนาวศรีซงึ่ ขึน้ กับกรุงศรีอยุธยา ออกญาไชยาธิบดีแห่งเมืองตะนาวศรี ได้มศี ภุ อักษร อนุญาตให้กัปตันครัปเป ชาวเดนมาร์ก ตั้งสถานีการค้าอยู่ทางภาคใต้ของอินเดียเข้ามา ค้าขาย ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยาได้ พ่อค้าเดนมาร์กเป็นชาติหนึ่งที่จัดหาปืนใหญ่ให้ กรุงศรีอยุธยาโดยได้ช้างซึ่งเป็นสินค้าจากอยุธยากลับไป ปืนใหญ่เดนมาร์ก ได้พบอยูท่ คี่ า่ ยวชิราวุธ นครศรีธรรมราช ทีส่ ถานีต�ำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช และสถานีต�ำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต มีจารึกนูนรูปมงกุฎเหนืออักษร C และ เลข 5 เกี่ยวกัน และตัวอักษร OSTINDSCHE COMPAGNIE และ 1696 ซึ่งเป็น ตราของบริษัทและปีที่สร้างปืน ปี พ.ศ. ๒๒๓๙ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา

68


๖๘

๖๙

๗๐ ๖๘ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของสเปนมีชื่อ พลายเพ็ชร มีอายุราว ๔๐๒ ปี ปัจจุบันตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๖๙ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของเดนมาร์ก มีอายุราว ๓๑๖ ปี ปัจจุบันตั้งประดับภายในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๗๐ จารึกแสดงว่า ปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของเดนมาร์ก หล่อในปี 1696 ตรงกับ พ.ศ. ๒๒๓๙

69


ปืนฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส เริ่มขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชด้วยบทบาทของคณะมิชชันนารี เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาคาทอลิก ซึ่ง เชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ศุภอักษรของพระสันตปาปาเคลมองต์ที่ ๙ และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายเพื่อขอบพระทัยที่ทรงอุปการะมิชชันนารีให้ได้รับ ความร่มเย็น หลังจากนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งห้างค้าขายในกรุง ศรีอยุธยา และยังได้รับพระราชานุญาตให้ไปค้าขายดีบุกที่เมืองถลาง รวมทั้งทรงยกเมือง สงขลาให้บริษทั สร้างป้อมปราการได้ การติดต่อระหว่างกันมีเรือ่ งราวให้ศกึ ษามาก จากการ ส่งคณะราชทูตไปมาเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี แต่ภายหลังได้มีข้อสงสัยในกลุ่มขุนนาง ไทยในเรื่องการโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนา และยังมีความหวาดระแวงเรื่องการเข้ามามีอิทธิพลทางการเมือง การทหาร ซึ่งเชื่อกันว่า มีเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์อยูเ่ บือ้ งหลัง มุง่ หาผลประโยชน์ทางการค้าและการเมืองไปพร้อม กัน สุดท้ายฝรั่งเศสก็หมดบทบาทไปคงเหลือแต่เพียงหลักฐานบันทึกไว้มากมายทั้งของ มิชชันนารี คณะทูต พ่อค้า และทหาร การที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสนพระราชหฤทัยวิทยาการตะวันตก เช่น โปรดให้วิศวกรสร้างป้อมปราการในเมืองต่างๆ และสร้างหอดูดาวเพื่อทรงศึกษา ดาราศาสตร์ ในส่วนของอาวุธยุทธภัณฑ์ ได้มีข้อตกลงในสัญญาทางการค้าที่อนุญาตให้ น�ำของต้องห้าม เช่น อาวุธปืน ดินปืน ฯลฯ แต่ต้องขายให้แก่ทางการ เชื่อกันว่าคงมี ปืนฝรัง่ เศสเข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม กลับมีเหตุการณ์ทที่ �ำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย เพราะคณะราชทูตได้สงั่ ห้ามไม่ให้แพร่งพรายเกีย่ วกับ ปืนใหญ่ แบบใหม่และลูกแตกที่ทันสมัยที่น�ำเข้ามาด้วยในเวลานั้น ความจริงเรื่องฝรั่งเศสมี ปืนใหญ่และกระสุนลูกแตกนี้ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ หรือ ฟอลคอน เป็นผู้รู้ก่อนและขอดู แต่ถูกราชทูตปฏิเสธ ถึงแม้เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ จะอ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะทอดพระเนตร เซเบเรต์ก็อ้าง เหตุผลบ่ายเบี่ยงต่างๆ นานาว่า การบรรทุกอาวุธใหม่มายังลพบุรีมีความยากล�ำบากมาก เซเบเรต์ดูเหมือนจะเข้าใจท่าทีของฝ่ายไทยที่ต้องการจะได้อาวุธใหม่ไว้ เขาจึงกล่าวต่อ ไปว่า ปืนและลูกแตกยังต้องอยู่ในความดูแลของทหารฝรั่งเศสตามพระราชประสงค์ของ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แต่ในที่สุดนายพลเดฟาช์จได้มอบ ปืนใหญ่ ๑ กระบอก และ กระสุน ลูกแตกจ�ำนวน ๓ ลูกแก่ไทยเพื่อสาธิตการยิงที่ละโว้ อย่างไรก็ดี เมื่อออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูตไปฝรั่งเศสได้มีโอกาสดูป้อมเมืองต่างๆ หลายเมือง รวมทั้งป้อม แซงต์ฟรังซัวส์ท่ีเมืองแอร์ซึ่งเป็นป้อมส�ำคัญที่แปลกกว่าป้อมอื่นๆ ชมการยิงปืนใหญ่ โรงหล่อปืนใหญ่ โรงเรียนการทหาร ฯลฯ ได้ท�ำรายงานกลับมาทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชให้ทรงทราบอย่างละเอียด 70


มีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับอาวุธปืนที่บันทึกอยู่ในบัญชีเครื่องมงคลบรรณาการ ทั้งส่วนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระราชวงศ์ โปรดให้ราชทูตเชิญมาถวายสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช รวมทัง้ พระราชทานเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์และสมเด็จพระนารายณ์ โปรดให้จัดไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เช่น ในส่ ว นที่ พ ระเจ้ า หลุ ย ส์ ที่ ๑๔ พระราชทานมายั ง มองซิ เ ออร์ ค อนซตั น ซ์ (เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์) ได้แก่ ดาบฝักทองค�ำ ๑ เล่ม ที่มือจับท�ำอย่างแบบของไทย ฝักฝังพลอย ส่วนปืนมีหลายชนิด ปืน ๓ กระบอก สลักลายดุน ลายภาพ ฝังลวดทอง ปืนพก ๒ คู่ และปืนด้ามงา ศีรษะรูปราชสีห์สลักลายอีก ๑ คู่ และยังมีอานม้าของหลวง อย่างงาม ๒ เครื่อง พื้นก�ำมะหยี่แดงและเขียวปักลายทอง เครื่องพร้อมทั้งโกลนปิดทอง ซองส�ำหรับใส่ปืนพก อาวุธพร้อมเครื่องประกอบที่พระราชทานฟอลคอนนี้ ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับ ภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณี ที่มีรูปภาพฝรั่งชาติตะวันตกขี่ม้า แต่งกายสง่างามพก อาวุธทันสมัยได้ชัดเจนขึ้น สิง่ ของบรรณาการแก่ฟอลคอน ยังมีของจากมาควิสเดเซเนเล เป็นปืนจากเมือง คานาดา ๑ กระบอก ท�ำด้วยฝีมืออย่างประณีตใส่ถุงท�ำด้วยหนังแดงปิดลายดอกไม้ทอง นอกจากนี้ยังมี ปืนแบบต่างๆ ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระราชทานแก่ราชทูต ไทย ๓ คนรวมถึง ๓๐ กระบอก เป็นอันว่ามีปนื ฝรัง่ เศสซึง่ ไม่ใช่สนิ ค้าเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาจ�ำนวนไม่นอ้ ยในรูป ของเครื่องบรรณาการ ส่วนเครื่องบรรณาการจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่โปรดให้จัดไปถวาย ตอบแทนแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระราชวงศ์ มีสิ่งของล�้ำค่าไม่แพ้กันทั้งเครื่อง ราชูปโภคทองค�ำ ของมีค่าจากญี่ปุ่น จีน พรมฮินดูซตัน ล้วนท�ำด้วยฝีมือช่างงดงาม มีปืน ใหญ่ ๒ กระบอก มีบันทึกว่า ยาว ๖ ฟุต กลึงด้วยมือเอาไฟเข้าหล่อมีปลอกเงินตั้งบนแท่น มีล้อ ฝังลายเงิน ที่น่าสนใจยิ่งคือ ในเวลาต่อมาได้มีส่วนในการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ ด้วย Thomas Carlyle เขียนไว้ในหนังสือ The French Revolution บทที่ ๖ ว่าด้วย Strom and Victory July 14th 1789 ว่า ...จอร์เจต์ (Georget) นายทหารเรือที่เพิ่งเดินทางจากเมือง เบรสต์ (Brest) ก�ำลังสาละวนอยูก่ บั ปืนใหญ่ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ซึ่งต่างฝ่ายก็ไม่ได้คุ้นเคยกันมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปืนใหญ่ซึ่งได้ มาอยูท่ นี่ ี่ (ประเทศฝรัง่ เศส) เป็นเวลาร้อยปีผา่ นมาแล้ว และในเวลาต่อ มาพวกเขา (จอร์เจต์ และปืนใหญ่) ได้เข้าร่วมในการต่อสูด้ ว้ ยกัน และ ได้น�ำไปใช้ยงิ ประตูคกุ บาสติล (the Bastille) เมือ่ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๑๗๘๙ (พ.ศ. ๒๓๓๒) 71


ปืนใหญ่สยาม ทั้ง ๒ กระบอก ปัจจุบันยังตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศฝรั่งเศส เรื่องของ ปืนฝรั่งเศส ที่มอบให้ราชส�ำนักสยามคงสูญหายไปหมด เหลือไว้เพียง ปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช บนล�ำตัวปืนมีตรา Fleur de lis หรือ Flower of the lily ตราพระราชลัญจกรของพระมหากษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส กรอบรูชนวนคล้ายรูปขวด อย่างไรก็ตาม ปืนฝรัง่ เศส ผูเ้ ชีย่ วชาญปืนและช่างหล่อปืนฝรัง่ เศสได้มบี ทบาท ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อกล่าวถึงปืนในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ต้องพูดถึง ปืนใหญ่ในประวัติความสัมพันธ์ไทยกับญี่ปุ่นในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถในสมัยกรุง ศรีอยุธยาไว้ด้วย พระราชสาส์นจากโชกุนอิเอยาสุ ส่งมาเจริญทางพระราชไมตรีกับสมเด็จ พระเอกาทศรถใน พ.ศ. ๒๑๔๘ มีความตอนหนึ่งว่า ...ย่อมเป็นธรรมดาอยู่ว่าประเทศทั้งปวงถ้าได้สัมพันธไมตรีต่อ เนือ่ งกันอยูแ่ ล้ว ถึงประเทศนัน้ จะตัง้ อยูห่ า่ งไกลกันก็อาจจะด�ำรงความ ไมตรีตดิ ต่อกันโดยสนิทสนมเหมือนกับอยูใ่ กล้กนั ถ้าประเทศไม่มที าง พระราชไมตรีกันอยู่แล้ว แม้จะอยู่ใกล้ชิดกัน ก็ประดุจกับห่างไกลกัน นับตั้ง ๔๐๐ โยชน์ ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะใคร่ได้ปืนใหญ่ และไม้ หอมอย่างดี ในประเทศอันรุง่ เรืองของพระองค์ ถ้าพระองค์จะมีรบั สัง่ ให้จัดหาและส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเป็นพระคุณอันล้นพ้น ข้าพเจ้า ได้ส่งเกราะ ๓ ส�ำรับๆ หนึ่งมี ๓ ชิ้น กับ ดาบญี่ปุ่นอย่างยาว ๑๐ เล่ม มาถวายเป็นราชบรรณาการ... ตามพระราชสาส์นนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า กรุงศรีอยุธยาจัดหา ปืนใหญ่ไป พระราชทานโชกุนหรือไม่ แต่ในจดหมายเหตุความสัมพันธ์ตา่ งประเทศในปลายสมัยเอโดะ ว่า มีส�ำเภาอยุธยาเดินทางมาถึง นายเรือส�ำเภาได้มอบหนังปลาฉลามแก่โชกุนโตกุงาวะ อิเอยาสุ ใน พ.ศ. ๒๑๕๕ และอีก ๔ ปีต่อมา ทูตอยุธยาน�ำสาส์นจากพระยาพระคลัง ถึงเจ้าเมืองชิคุเชน มอบกฤษณาให้ แต่คณะทูตที่ไปยังปราสาทเอโดะใน พ.ศ. ๒๑๖๔ ได้พบโชกุนทาดาฮิเดะ แห่ง โตกุงาวะ คนที่ ๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีสิ่งของเครื่องราชบรรณาการ มอบไปหลายสิ่งเช่น ดาบสั้น ดาบยาว อย่างละเล่ม รวมทั้ง ปืนยาว ๒ กระบอก นับว่าได้ ส่ ง ปื น ใหญ่ ไ ปในคราวนี้ ด ้ ว ย ซึ่ ง มี ก ารถกเถี ย งกั น ต่ อ มาว่ า น่ า จะเป็ น ปื น ยุ โรป ที่ กรุงศรีอยุธยาซื้อไว้ แต่บ้างก็ว่าน่าจะเป็น ปืนใหญ่ฝีมือช่างหล่อของอยุธยา 72


๗๑

๗๒

๗๑ ลูกกระสุนแตกของฝรั่งเศส แบบที่มีใช้งานช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ลูกแตกภายในกลวงอัดดินด�ำไว้แน่นแล้วล่ามสายชนวนออกมา วิธีการยิงลูกแตกจะจุดชนวนที่ลูกแตกก่อนแล้วบรรจุไปในล�ำกล้องแล้วยิงออกมา อีกวิธีหนึ่งบรรจุลูกแตกในล�ำกล้องเมื่อยิงปืนใหญ่ประกายไฟที่เกิดจากการระเบิด ของดินด�ำจะติดชนวนถ่วงเวลาที่ปักไว้ที่ลูกแตก แล้วจะไประเบิดเมื่อพ้นล�ำกล้องออกไป รัศมีการท�ำลายจะเป็นวงกว้าง ๗๒ ลูกกระสุนแตกสมัยรัตนโกสินทร์ ขุดพบเป็นจ�ำนวนมากคราวปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ กรมศิลปากร

73


๗๓

๗๓ ภาพแสดงสิ่งของต่างๆ รวมทั้ง ปืนใหญ่ ๒ กระบอก ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้น�ำไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๙

74


๗๔

๗๕

๗๔ ปืนใหญ่แบบที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศฝรั่งเศส ๗๕ ปืนใหญ่แบบที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ภายหลังกลุ่มปฏิวัติฝรั่งเศสได้น�ำไปใช้ยิงประตูคุกบาสติล พุทธศักราช ๒๓๓๒ ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศฝรั่งเศส

75


๗๖

๗๗

๗๖ ปืนใหญ่ของฝรั่งเศสสมัยอยุธยา ปัจจุบันตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ๗๗ ตรา Fleur de lis หรือ Flower of the lily ตราพระราชลัญจกรของพระมหากษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส

76


ปืนใหญ่ ปืนหลังช้าง ปืนเล็ก

นอกจากความรูเ้ รือ่ งปืนใหญ่กระบอกส�ำคัญๆ ทีม่ ชี อื่ ในประวัตศิ าสตร์ใช้ประจ�ำ ป้อมบ้าง ใช้รกั ษาบ้านเมืองบ้างแล้ว การเรียกชือ่ ปืนใหญ่ตามชนิดและขนาด เป็นความรูท้ ี่ ควรบอกเล่าไว้ดว้ ย เพราะหากต้องอ่านเอกสารโบราณ หรือพระราชพงศาวดาร จะได้เห็น ภาพและเข้าใจได้ เช่น ปืนใหญ่ ปืนบะเหรียม หรือบะเรียม เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ท้ายปืนมน ปากกระบอก เรียวและแคบ ปืนจ่ารงค์ ปืนใหญ่ทหารราบใช้ลาก อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเล ว่ามีล�ำกล้อง ๒ ก�ำเศษ ยาว ๒ ศอก ลูกเท่าลูกส้ม ไม่มีไก มีแต่รูชนวน ปืนมณฑก เป็นปืนใหญ่ทหารราบใช้ลาก ปืนนกสับ ปืนใหญ่ทหารราบ ขนาดเล็ก มีขาหยั่ง ๒ ขา คล้ายขานกยาง บางแห่งจึงเรียก ปืนขานกยาง จัดอยู่ในประเภทปืนเล็ก ปืนจินดา ปืนใหญ่ทหารราบ ภายหลังใช้ยิงในพิธีตรุษ ปืนหามแล่น ปืนใหญ่ขนาดเบา ใช้รบบนภูเขา ปืนตะแบงแก้ว ปืนใหญ่ของกรมพระต�ำรวจ ใช้ยิงตระแบงไปข้างหน้า ปืนหลังช้าง ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ อธิบายไว้ว่า ช้างปืนใหญ่ แต่ละตัว (เชือก) สวมเกราะตลอด มีปืนใหญ่หันปลายออกข้างขวา ๑ กระบอก ซ้าย ๑ กระบอก กรุงศรีอยุธยาสั่งปืนใหญ่ หลังช้างจากฮอลันดา ลูกปืนที่ใช้ยิงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ฝ่ามือ นอกจากนี้ยังมีปืน ขอช้าง ปลายล�ำกล้องมีขอคล้ายขอที่ควาญช้างใช้ ปืนเล็ก มีทั้งที่ท�ำขึ้นใช้เองและสั่งซื้อเข้ามาใช้ในราชการ เช่น ปืนคาบชุด หรือ ปืนนกคุม่ (The matchlock) เป็นปืนขัน้ พืน้ ฐาน มีนำ�้ หนักเบา มีไกปืนติดตัง้ อิงอยูก่ บั กระเดือ่ งนกปืน แทนไกปืนแบบยก ไกปืนเล็กๆ ตัง้ ภายในโกร่งไกปืน (Trigger guard) ช่วยป้องกันการปล่อยประจุที่ผิดพลาด หมอบรัดเล อธิบายไว้ใน อภิธาน ศรับท์ว่า ปืนนี้มีนกสับลงกับหน้าเพลิงเอาชุดจุดไฟใส่ไว้ในปากนกลั่นลง เป็นค�ำอธิบายที่ สั้นกระชับชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย 77


ปืนคาบศิลา (Flint Arms) ปืนที่ใช้กลไกง่ายๆ ท�ำให้เกิดประกายไฟด้วยการตี หินเหล็กไฟให้โดนแผ่นประกายไฟในทางเดียว เครื่องลั่นไกของปืนชนิดนี้ คือ หินเหล็กไฟ อยู่ในปากประกับ ตรงปลายของแขนแกนเรียกว่า นกปืน แผ่นประกายไฟอยู่บนแขนแกน อีกข้างหนึ่งตรงข้ามกับนกปืน จานอยู่ต�่ำลงไปตรงกันกับแผ่นประกายไฟ เมื่อลั่นไกปืน แหนบคัน ผลักนกปืนอันใหญ่จะเหวี่ยงนกปืนไปเป็นช่วงโค้งสั้นๆ เพื่อให้หินเหล็กไฟไปตี บนแผ่นประกายไฟ ท�ำให้เกิดประกายไฟลงไปในจาน ปืนคาบศิลา ชนิดแรกมาจากภาษาดัทช์ อธิบายการปฏิบัติงานของนกปืน คือ ค�ำ Snaphaan หมายถึง snapping cock คือ นกปืนที่คาบ (หิน) อภิธานศรับท์ของหมอ บรัดเล อธิบายง่ายๆ ว่า มีนกสับกับหน้าเพลิงแต่เอาศิลาใส่ไว้ที่ปากนกลั่นลง นอกจาก ปืนคาบชุด ปืนคาบศิลา ที่มีใช้กันมาตลอดสมัยอยุธยา และต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ ยังมีชื่อปืนเล็กอื่นๆ เช่น ปืนนกโพรง ปืนทองปราย หรือ บรันเดอร์บัส มีปากกว้างเป็นปากล�ำโพง หรือประดิษฐ์เป็นรูปมังกร ปากเหมือนปืนใหญ่อย่างฝรั่ง

78


๗๘

๘๐

๗๙

๗๘ ปืนบะเรียมอังกฤษแบบ บลูมฟิลด์ ด้านท้ายปืนมีห่วงไว้สอดเชือกเพื่อยึดกับหลักเพื่อรับแรงสะท้อนเมื่อยิง ปัจจุบันตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ๗๙ ปืนบะเรียมฝรั่งเศส งมได้ที่ปากน�้ำแหลมสิงห์ ปัจจุบันตั้งแสดง ณ ตึกแดง แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ๘๐ จารึกนูนรูปนกอินทรีคาบงู เป็นตราสัญลักษณ์ของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte)

79


๘๑

๘๒

๘๑ ปืนบะเรียมสหรัฐอเมริกาแบบ ดาร์ลเกลน ปัจจุบันตั้งประดับบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ ๘๒ จ่ารงค์ เป็นค�ำโบราณที่ใช้เรียกปืนใหญ่เหล็กหล่อขึ้นในประเทศ ดินด�ำที่ใช้มีขนาดเพียง ๑ ชั่ง ปืนจ่ารงค์รักษาพระศาสนากระบอกสั้น ปัจจุบันตั้งแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

80


๘๓

๘๔

๘๕

๘๓ ปืนหามแล่นเป็นปืนใหญ่สนามขนาดเล็ก ตั้งบนขา ๓ ขา ขาคู่หน้าตั้งเหมือนท่ายืนของนกกระยาง จึงเป็นที่มาของชื่อ ปืนขานกยาง ๘๔ ปืนหามแล่นแต่ละกระบอกมีพลประจ�ำ ๓ คน ๘๕ เวลาเคลื่อนย้ายปืนหามแล่น พลปืน ๒ คนสอดไม้หรือเหล็กใต้ห่วงที่ยึดอยู่ที่เพลาของตัวปืนและ ยกด้านปลายไม้หรือเหล็กด้านซ้ายและขวา พลยิง ๑ คน อยู่ด้านหลังยกขาหยั่งด้านหลัง การกระท�ำเช่นนี้น่าจะเป็นที่มาของชื่อ ปืนหามแล่นก็เป็นได้

81


๘๖

๘๗

๘๖ ช้างปืนใหญ่ จิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า ในโบสถ์วัดบวรสถานสุทธาวาส ๘๗ ปืนขอ มีขอยื่นออกมาบริเวณปากล�ำกล้องคล้ายกับปฏักที่ควาญช้างถือ สามารถใช้ต่อสู้และ บังคับช้างได้ในเวลาเดียวกัน ปรากฏหลักฐานว่ามีใช้งานมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระแสงขอปืนกระบอกนี้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศในพระราชพิธีตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ขึ้นเป็นสมเด็จฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ พุทธศักราช ๒๔๑๘

82


๘๘

๘๙

๘๘ ระบบจุดระเบิดแบบคาบชุด ของพระแสงปืนข้ามแม่น�้ำสะโตง สร้างใหม่สมัยรัชกาลที่ ๑ ๘๙ ระบบจุดระเบิดแบบคาบศิลา

83


แม้กรุงศรีอยุธยาจะมีอาวุธปืนสมัยใหม่เข้ามาใช้ในราชการ แต่ก็ยังคงมีอาวุธ พื้นฐานใช้ต่อสู้ป้องกันตัวแต่โบราณใช้คู่กันสืบมา จนสมัยหลังเมื่อหมดหน้าที่การใช้เป็น อาวุธยุทธภัณฑ์แล้ว ก็ยังใช้ในกระบวนแห่งานพระราชพิธี งานพิธีเป็นเกียรติยศ และน�ำ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่นเดียวกับในนานาอารยประเทศที่ มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนาน จึงขอน�ำอาวุธพื้นฐานของไทยแต่โบราณมา อธิบายโดยสังเขป จ�ำแนกเป็น อาวุธฟันแทง ใช้ต่อสู้ในระยะประชิดตัว ขั้นตะลุมบอน หรือประจัญบาน เป็นอาวุธประจ�ำตัว คู่กาย ใช้ตามความถนัดมือของแต่ละคน เช่น ดาบ อาวุธส�ำหรับฟันและแทงก็ได้ ท�ำด้วยเหล็กกล้าตีขึ้นเป็นรูปดาบ ประกอบ ด้วย กระบังดาบ เป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ถือมิให้ดาบฝ่ายตรงข้ามฟันถึงนิ้วมือได้ ส่วน บนกระบังดาบท�ำด้วยหนังหรือด้ายถัก ด้ามดาบ สวมติดกับกั่นดาบให้จับดาบฟันแทงได้ ถนัดแม่นย�ำ ฝักดาบ เป็นปลอกส�ำหรับเก็บดาบด้านนอกท�ำด้วยโลหะ หนัง หรือไม้ ด้าน ในมีหนังหรือไม้อ่อนรองป้องกันเสียง รับการเสียดสีระหว่างฝักกับตัวดาบ การใช้ดาบมีทั้งดาบสองมือ คู่กับเขนเรียก ดาบเขน คู่กับดั้งเรียก ดาบดั้ง ใช้กับ โล่เรียก ดาบโล่ และดาบทีไ่ ม่วจิ ติ รมากนักเป็นของส่วนตัวหรือเอกชนเรียก ดาบเชลย หรือ เป็นดาบทีแ่ ปลกกว่าดาบอืน่ ๆ และยังมีดาบสกุลช่างพืน้ เมืองทีม่ รี ปู ลักษณะเฉพาะถิน่ เช่น ดาบไทยภาคกลาง ดาบสกุลช่างล้านนา สกุลช่างล้านช้าง สกุลช่างเมืองนครศรีธรรมราช ฯลฯ

84


๙๐

๙๑

๙๐ ลักษณะดาบไทยภาคกลาง ด้ามดาบสร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างอันประณีต โดยใช้วัสดุโลหะมีค่าซึ่งแสดงถึงศักดิ์ของผู้ใช้ ๙๑ ดาบศิลปะสกุลช่างล้านนา ด้ามหุ้มเงินดุนลาย ฝักดาบท�ำขึ้นด้วยวิธีการเขียนลายเช่นเดียวกับแบบ “เครื่องเขิน”

85


๙๒

๙๓

๙๒ ดาบศิลปะสกุลช่างล้านช้าง ๙๓ ดาบศิลปะสกุลช่าง “เมืองนครศรีธรรมราช” ด้ามถมทอง

86


๙๔

๙๕

กระบี่ ใช้ฟนั แทง คล้ายดาบ ตัวกระบีท่ �ำด้วยเหล็กตีรปู ตรงปลายแหลม นำ�้ หนัก ไม่มากเหมาะส�ำหรับถือมือเดียว มีความแคล่วคล่องว่องไว มีส่วนประกอบ คือ ตัวกระบี่ ด้าม โกร่ง และฝัก กั้นหยั่น หรือ กระบี่จีน เป็นดาบจีน ลักษณะเหมือนดาบไทย แต่เล็กและ เบากว่า มีคมสองข้าง

๙๔ กระบี่จากยุโรป ที่สั่งเข้ามาใช้ในราชการสยาม ๙๕ กระบี่แบบอินเดียซึ่งปรากฏใช้ในราชการสยามในสมัยโบราณเช่นกันในกลุ่มขุนนางสายอินเดียและเปอร์เซีย

87


๙๖

๙๘

๙๗

๙๖, ๙๗, ๙๘ กระบี่ “ฝรั่ง” สั่งท�ำขึ้นเป็นพิเศษในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ เพื่อใช้ในราชการ ที่โกร่งกระบี่ประดับรูปตราแผ่นดินสยาม และช้างอันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งราชอาณาจักรสยามเช่นกัน

88


๙๙

๑๐๐

๙๙ กั้นหยั่น แบบพิเศษ หรือกั้นหยั่นแบบแฝดคือมีสองเล่มในฝักเดียวกัน ในการต่อสู้สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับดาบสองมือของไทย ๑๐๐ กั้นหยั่นแฝดเมื่อเก็บเข้าฝัก

89


๑๐๑

๑๐๒

หอก เป็นอาวุธส�ำหรับพลราบ ใช้เฉพาะแทงอย่างเดียว มีทั้งแบบมีกระบัง และไม่มีกระบัง ตัวหอกท�ำด้วยเหล็กกล้า มีเหลี่ยมสี่เหลี่ยม คันหอกรูปกระบอกท�ำด้วย เหล็กกล้า หรือไม้ หรือหวาย หอกที่ดีต้องมีน�้ำหนัก ความยาวพอเหมาะแก่การใช้ เช่น ปลายแหลมต้องอยู่ให้ตรงกับแนวแกนทางยาว หอกมีหลายชนิด เช่น หอกซัด หอกใบ ข้าว หอกใบพาย ฯลฯ ทวน เป็นอาวุธยาวส�ำหรับพลม้าเป็นส่วนใหญ่ คล้ายกับหอก ไม่มีกระบัง และ มีพู่ผูกเป็นพวงที่คอใช้ได้ทั้งบนหลังม้า หลังช้างและพื้นราบ ทวนทั่วไปมักมีความยาวกว่า หอก คอทวนมีลูกแก้ว ปลายทวนมีเหล็กหุ้มเป็นหัวเม็ด ใบทวนแหลมมีคมสองด้าน ง้าว และของ้าว เป็นอาวุธประเภทเดียวกัน ต่างแต่ของ้าวมีขอส�ำหรับช้างติด รวมอยู่ด้วย ใช้ส�ำหรับรบบนหลังช้าง

๑๐๑ ใบหอกไทยทรง “ใบข้าว” ๑๐๒ ภาพเต็มของหอก ซึ่งเป็นหอกที่มีลักษณะพิเศษคือ ด้ามหอกท�ำขึ้นด้วยเหล็กทั้งชิ้น มีความแข็งแรงมาก หอกชนิดนี้ใช้ได้ทั้งในรูปแบบถือต่อสู้และซัดพุ่ง

90


๑๐๓

๑๐๔

๑๐๕

๑๐๓ ลักษณะง้าวอย่างไทย ๑๐๔ ลักษณะง้าวอย่างไทย ๑๐๕ ลักษณะง้าวจีน ที่คอด้ามง้าวหล่อเป็นรูปมังกรคาบใบง้าว

91


โตมร หรือหอกใบโพธิ์ เป็นอาวุธใช้พุ่ง โตมรท�ำด้วยเหล็กรูปใบโพธิ์มีคมแหลม มีฝักรูปใบโพธิ์เช่นเดียวกันสวมอยู่ แหลนและหลาว แหลนเป็นเหล็กแหลมยาวเรียว คอมักเป็นสีเ่ หลีย่ ม ด้ามเหมือน อย่างหอกใช้พุ่งและแทง ส่วนหลาวเป็นไม้รวกเสี้ยมปลายเป็นปากฉลามใช้พุ่ง มีด ใช้ฟันเช่นเดียวกับดาบและกระบี่ แต่สั้นกว่า ตามปกติสวมอยู่ในฝักท�ำด้วย หนังหรือไม้ อาวุธตี ได้แก่ พลอง ท�ำด้วยไม้เหนียวไม่หักง่าย บางอันท�ำด้วยโลหะยาว ไม่มีหัว มีท้ายเท่า กันตลอด วิธีจับพลอง จับตรงส่วนกลางด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้ปลายข้างไหนตีก็ได้แล้วแต่ ถนัด ไม้สั้น เป็นท่อนไม้ไทรรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านในท�ำโค้งเป็นร่องเพื่อติดแนบกับ ปลายแขนได้สนิท ด้านนอกโค้งเล็กน้อย ตอนปลายฝังไม้กลมเล็กแข็งแรงรูปเสาดั้ง ๑ คู่ เจาะรูร้อยเชือกขนาดนิ้วก้อยท�ำเป็นห่วงส�ำหรับสอดมือ เพื่อปลอกรัดแขนใต้ศอกใช้มือ จับและก�ำไม้อันที่หนึ่ง อันที่สองมีไว้ป้องกัน นิ้วมือ ไม้สั้นใช้สวมกับแขนท่อนปลายทั้งสอง ต่อสู้กับพลอง

92


๑๐๖

๑๐๗

๑๐๘

๑๐๖ การประดับอาวุธภายในอาคารจากซ้าย ดาบเชลย หอกขวาน ง้าว ทวน ง้าว หอกขวาน ดาบเชลย ๑๐๗ ง้าวส�ำหรับพลเดินเท้า ๑๐๘ ซ้ายขวาคือปังกั๊ก ตรงกลางคือ สามง่ามแบบไทย

93


๑๐๙

๑๑๐

๑๑๑

๑๐๙ ทวนทองใช้ในขบวนพระราชพิธีเพื่อประกอบพระราชอิสริยยศ ๑๑๐ อาวุธยาวประเภท สามง่ามทรงอย่างไทยหรือตรีด้ามยาว ๑๑๑ หอกขวานเครื่องศัสตราวุธประกอบขบวนพระราชพิธีในสมัยโบราณ

94


อาวุธยิง ได้แก่ หน้าไม้ คล้ายธนู แต่มบี นั้ ท้าย และโกร่งไกคล้ายปืนใช้ยงิ ระยะไกลได้แม่นย�ำกว่า ธนู คันหน้าไม้มกั ท�ำด้วยก้านต้นลานแก่จดั มีความยืดหยุน่ ดี ลูกหน้าไม้มลี กั ษณะอย่างเดียว กับลูกศรแต่ท�ำด้วยไม้ไผ่ ปลายมักอาบยาพิษคือ ยางน่อง หางลูกหน้าไม้ท�ำด้วยใบลานแก่ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือขนมเปียกปูน หน้าไม้แบบจีนเรียก เกาทัณฑ์ ธนู คันธนูท�ำด้วยไม้ไผ่แก่ สายธนูมกั ท�ำด้วยเชือกป่าน หรือเอ็นสัตว์ ลูกศรมักท�ำ ด้วยไม้ไผ่เสีย้ มปลายหุม้ โลหะ ส่วนหางมักท�ำด้วยขนนกหรือขนไก่ ท้ายลูกศรมักตรงกับข้อ ไม้ไผ่บากเป็นร่องส�ำหรับพาดสายธนู ซึ่งมีจ�ำนวนส�ำรองส�ำหรับใช้ มีซองหรือกระบอกใส่ นอกจากอาวุธยิงประเภทต่างๆที่ได้กล่าวถึงแล้วยังมีอาวุธสมัยอยุธยาอีกชนิด หนึ่ง คือ กริช ซึ่งมักใช้ประดับเป็นเกียรติยศเจ้านาย ขุนนาง มากกว่าใช้จริง ดังที่เห็นได้ จากภาพจิตรกรรมเสมอ เช่น ภาพลายเส้นราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ราชส�ำนัก ฝรั่งเศส พระยาวิสุทธสุนทร (โกศาปาน) และคณะทูตแต่งกายสวยงามเหน็บ กริช กันโดย ถ้วนหน้า แต่ก็พบหลักฐานการใช้เป็นอาวุธประจ�ำใกล้ตัว หยิบจับใช้ได้ทันท่วงที จึงควร อธิบายเกี่ยวกับ กริช ไว้ด้วย

95


๑๑๒

๑๑๓

๑๑๔

๑๑๖

๑๑๕

คณะทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส ๑๑๒, ๑๑๓ ออกพระวิสุทธสุนทร (โกศาปาน) ราชทูต ๑๑๔ ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต ๑๑๕ ออกขุนศรีวิศาลวาจา ตรีทูต ๑๑๖ คณะทูตเหน็บกริชเป็นเครื่องยศทุกคน

96


กริช

กริช จัดเป็นอาวุธประเภทมีดสั้น ใช้ป้องกันตัวระยะใกล้ ใช้กันทั่วไปในหัวเมือง ภาคใต้ครั้งโบราณ รวมถึงมาเลเซีย ชวา และประเทศใกล้เคียง ในสารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ อธิบายเรื่อง กริช ไว้โดยละเอียดว่าเป็นสิ่งแสดงความเป็นชายชาตรี ฐานะทาง สังคม ฐานะของผู้เป็นเจ้าของ หรือตระกูล รูปแบบของกริช พัฒนาตามกลุ่มวัฒนธรรม จนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว อาจแบ่งตามลักษณะของรูปด้ามเป็น กริชแบบบาหลีและ มดูรา แบบชวา แบบคาบสมุทรส่วนเหนือ แบบบูกิส แบบสุมาตรา แบบปัตตานี และ แบบซุนดัง ทั้งนี้ กริชที่ใช้กันในภาคใต้ของไทยเป็น กริชแบบปัตตานี รูปแบบของตัวกริช มี ๒ ลักษณะ คือ แบบใบปรือ และกริชคด ส่วนประกอบ ต่างๆ ของตัวกริชล้วนเสริมให้เห็นความมีชีวิต และวิญญาณอยู่ในตัว เช่น กั่น คอ ท้อง หัวจิ้งจก คาง ลอนช้าง งวง ฟัน หู เครา ตา ท้อง กิ่วหวาย หาง ปลายหาง โกร่ง เครา แพะ กระดูก ฯลฯ และยังมีหวั กริช ปลอกสวมกัน่ ฝักกริชซึง่ มีรปู แบบการตกแต่งประดับประดา อย่างวิจิตรสวยงามด้วย

๑๑๗

๑๑๗ กริช ที่พบในประเทศไทย

97


๑๑๘

๑๑๙

๑๒๐

๑๑๘ - ๑๒๐ กริชรูปแบบต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

98


๑๒๑

พระแสงกริชในประวัตศิ าสตร์องค์หนึง่ มีความส�ำคัญในการช่วยกอบกูช้ าติบา้ น เมือง คือ พระแสงกริชประจ�ำพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงใช้ในคราว ท�ำลายประตูเมืองจันทบูร ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ บันทึกไว้ดังนี้ ...ณ วัน ๑ ฯ ๗ ค�่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุร นพศก (พ.ศ. ๒๓๑๐) เพลา ๓ ยาม เป็นยามเสาร์ปลอดห่วง ตรัสให้ยกทัพบ่ายหน้าเข้าทิศ อิสาน แล้วจัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจ�ำด้านอยูท่ กุ ด้าน เพลาจะเข้า ให้สัญญาณ์กันร้องขึ้นจงทุกด้านว่าด้านนี้เข้าได้แล้ว โห่ร้องขึ้นพร้อมๆ กัน จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งพังคิรีกุญชรฉัททันต์ เข้าทะลายประตู ใหญ่ เหล่าทหารซึ่งรักษาประตูและป้อมเชิงเทินนั้นก็ยิงปืนใหญ่น้อย ดุจห่าฝน แลจะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้ กระสุนปืนลอดท้อง ช้างพระที่นั่งไป ควาญช้างจึงเกี่ยวไว้ให้ช้างพังคิรีกุญชรถอยออกมา พระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระโกรธเงือ้ พระแสงจะลงพระราชอาชญานายควาญ ช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกฤชแทงพังคิรีกุญชรขับ เข้าทะลายประตูพังลง... เหตุการณ์ตอนนีเ้ ป็นช่วงทีก่ รุงศรีอยุธยาล่ม และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรวมก�ำลังตีฝ่าวงล้อมออกไปทางหัวเมืองตะวันออก จนถึงได้ตั้งมั่นจัดหาอาวุธ ยุทธภัณฑ์ต่อเรือ รวบรวมก�ำลังผู้คนที่เมืองจันทบุรีกลับเข้ากู้กรุงศรีอยุธยา และได้ทรง สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีที่ฝั่งขวาแม่น�้ำเจ้าพระยาภายในเวลาเพียง ๗ เดือน ดังจะ ได้ศึกษาเรื่องของ ศัสตราวุธ ในสมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์จนถึงก่อนการปฏิรูปในสมัย รัชกาลที่ ๕ โดยล�ำดับ ๑๒๑ ภาพจิตรกรรมเทียบลักษณะกองก�ำลังสมเด็จพระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองป้อมปราการที่แข็งแรง

99



ศัสตราวุธ ยุทธวิธี

น�ำ้ พระราชหฤทัยนักรบกอบกูบ้ า้ นเมืองสมัยธนบุรี ช่วงเวลา ๑๕ ปี แห่งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงแห่งความ ยากล�ำบากที่ต้องทรงกอบกู้พลิกฟื้นบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถของนักรบอย่างสุด ก�ำลัง พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี บันทึกเหตุการณ์ที่ทรงรวบรวมก�ำลังไพร่พลไทย จีน ศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ และยึดหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเป็นฐานก�ำลังเตรียมพร้อมกลับ มากู้กรุงศรีอยุธยา ได้ทรงตั้งพระนครใหม่ที่กรุงธนบุรี เป็นเมืองป้อมขนาดพอเหมาะแก่ ก�ำลังที่จะรักษาได้ และยังต้องทรงรวบรวมบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยที่ตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อ เสียกรุงพร้อมกับท�ำศึกให้ข้าศึกเข็ดขยาด ปลุกน�้ำใจทหาร ให้ก�ำลังใจราษฎร ให้กลับมา ช่วยกันสร้างบ้านรักษาเมืองร่วมกัน อีกทั้งยังต้องทรงดูแลทุกข์สุขจัดหาเสบียงให้เพียงพอ ในยามก่อร่างสร้างตัวอีกด้วย พระราชกรณียกิจอันหนักยิ่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงท�ำได้ส�ำเร็จ ลุล่วงทุกประการ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และน�้ำพระราชหฤทัยแห่ง ความเป็นนักรบ ดังนี้ การรวบรวมจัดหาศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ ทรงเริม่ ต้นจากก�ำลังพลและศัสตราวุธ ประจ�ำกายตามหน้าที่ ตั้งแต่ออกจากกรุงผ่านไปบ้านเมืองใด ตีได้ชัยชนะได้ไพร่พล และ อาวุธมากขึ้น ดังมีความในพระราชพงศาวดารว่า มี ปืนใหญ่น้อย ทรงใช้ตลอดเส้นทาง เช่น ทรงใช้พระแสงปืนต้นรางแดง ที่บ้านนาเกลือ พระราชทาน ปืนคาบศิลา แก่ผู้รั้ง เมืองระยองเป็นบ�ำเหน็จความชอบ เมื่อทรงตีได้เมืองจันทบุรีแล้วทรงได้สรรพาวุธเพิ่มขึ้น จ�ำนวนมาก เช่น ปืนจ่ารงค์ มณฑก นกสับ และคาบศิลา

101


๑๒๒

๑๒๒ ภาพเขียนโคลงภาพพระราชพงศาวดารชื่อ “จลาจลสมัย” สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อยังเป็นพระยาวชิรปราการ ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกไปทางหัวเมืองตะวันออก

102


๑๒๓

๑๒๔

๑๒๓ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี ตอนทรงรวบรวมก�ำลังพล ศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ เพื่อกอบกู้ชาติ ๑๒๔ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ทรงเข้าโจมตีมีชัยชนะแล้วสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่

103


จะเห็นได้ว่า อาวุธปืนในระยะแรกที่ทรงรวบรวมได้ เป็นของที่มีอยู่ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา หลังจากทรงตัง้ กรุงธนบุรแี ล้ว ได้มผี มู้ าอ่อนน้อมน�ำปืนต่างๆ เข้ามาถวาย เช่น ในพ.ศ. ๒๓๑๔ แขกเมืองตรังกานู แขกเมืองยักกตรา น�ำปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง ๒ พัน กว่ากระบอก และเมื่อทรงตีได้เมืองต่างๆ เช่น คราวตีเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ นั้น ได้ปืนใหญ่ปืนน้อยกว่า ๒ พันกระบอกอีกเช่นกัน ในครั้งนี้ได้พระราชทานอาวุธที่ยึดมา ได้พร้อมเสื้อผ้า เป็นบ�ำเหน็จความชอบแก่ท้าวพระยาให้ปกครองเมืองต่างๆ เช่น พระยา จ่าบ้านได้เป็นพระยาวิเชียรปราการ โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า พระยากาวิละได้ครองนครล�ำปาง โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระแสงปืน ยาว พระแสงหอก พระยาล�ำพูนได้เป็นพระยาอัยวงศ์ครองนครหริภุญชัย โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า ฯลฯ และพระราชทานพระแสง ปืนคาบศิลา ๑๐๐ กระบอกไว้ส�ำหรับเมืองระแหงใช้ป้องกันข้าศึกด้วย เสร็จศึกบางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงได้ปืน หอก จากฝ่ายข้าศึกเพิ่มขึ้นอีกจ�ำนวนมาก ในหมายรับสั่งโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้านครศรีธรรมราช จ.ศ. ๑๑๓๘ (พ.ศ. ๒๓๑๙) เครื่องยศพระราชทานมี พระแสงกระบี่ พระแสงดาบญี่ปุ่น พระแสงหอกปลอกทอง พระแสงปืนยาว พระแสงปืนสั้นท้ายหอยโข่งอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีด้วยพระวิจารณญาณของนักการทหารผู้ผ่านศึกใหญ่น้อย สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชก็มิได้ทรงหวังพึ่งแต่เพียงศัสตราวุธจากผู้อื่น ซึ่งไม่มีความแน่นอน ทั้งปริมาณและคุณภาพ มีหลักฐานว่าได้โปรดให้จัดหา และหล่อปืนขึ้นใช้หลายชนิด ดังมีชื่อปืนปรากฏในยุทธภูมิต่างๆ เช่น ในศึกบางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๗ มีรับสั่งให้เตรียมปืน มหาเศวตรัตน์ ปืนจ่ารงค์ ปืนหน้าเรือ ปืนขวากเหล็ก คราวโปรดให้ยกทัพไปตีเมือง เหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘ โปรดให้ไปน�ำ ปืนพระราชปักษี ปืนฉัตรชัย ที่เมืองนนทบุรี และ ปืนใหญ่รางเกวียน ไปในกองทัพ และยังมีหลักฐานการหล่อ ปืนพระพิรุณ ณ สวนมังคุด ซึ่งมีชื่อเหมือนกับ ปืนพระพิรณ ุ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วน ปืนมหาเศวตรัตน์ มีค�ำอธิบาย อยูใ่ นพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรวี า่ ทรงพระราชด�ำริให้ท�ำ ปืนมหาเศวตรัตน์ ในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๑๗ ได้เสด็จฯ ออกทอดพระเนตรปั้นหุ่นปืนบนป้อม มีรับสั่งให้แก้ไขส่วนต่างๆ จากปืนครูให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดป้อม สันนิษฐานว่ามีจ�ำนวนหลายร้อยกระบอก เป็นทั้งปืนใหญ่ประจ�ำป้อม และปืนใหญ่สนาม ต่อมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ บัญชี กรมกลาโหมรายงานว่า ได้ย่อยทองปืนมหาเศวตรัตน์ ไปบุหลังคามณฑปพระพุทธบาท ๒๙๐ กระบอก ท�ำการส�ำหรับวัดพระแก้ว คือ หล่อเสาเม็ด ๒๒ กระบอก หล่อเสมา ๖๑ กระบอก หล่อเม็ดราวเทียน ๓ กระบอก หล่อระฆังใหญ่ ๑๔ กระบอก ฐานพระนาก ๖ กระบอก บุหลังคาพระมณฑป ๘๐ กระบอก ท�ำเครื่องช้าง ๔ กระบอก และหล่อครก สากบานประตูรอบพระราชวัง ๖ กระบอก รวมทั้งสิ้น ๓๘๖ กระบอก

104


๑๒๕

๑๒๖

ส�ำหรับ ปืนขวากเหล็กที่เพิ่งปรากฏ ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ศึกษาพบว่า ขวากเหล็ก มีลักษณะเป็นเหล็กหลายชิ้นๆ ที่มีคมเชื่อมติดกันไว้คล้ายหอยเม่น สันนิษฐานว่าใช้ท�ำร้าย ข้าศึก ช้าง ม้า คล้ายกับกระสุนลูกแตก ซึ่งมีอานุภาพท�ำลายได้ในวงกว้าง ปืนใหญ่ขวาก เหล็ก อาจเป็นปืนใช้ในการยิงลูกขวากเหล็ก แต่ยงั ไม่พบปืนชนิดนี้ พบเพียงลูกขวากเหล็ก เท่านั้น ถึงแม้จะมีศัสตราวุธที่มีอานุภาพจ�ำนวนมากมายเพียงใดก็ตามย่อมไม่ส�ำคัญ เท่ากับความสามารถน�ำมาใช้ได้ตามหลักยุทธวิธี และจิตใจที่หาญกล้าของผู้ใช้ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากทรงเชี่ยวชาญในการวางแผนการรบ การเลือกใช้สรรพ อาวุธตามต�ำราพิชัยสงครามแล้ว พระคุณลักษณะที่ส�ำคัญยิ่ง คือ การตัดสินพระทัยเฉียบ ขาดมั่นคงและแม่นย�ำ ดังพระราชด�ำรัสพระราชทานก�ำลังใจแก่แม่ทัพนายกองคราวรบที่ ปากพิง พ.ศ. ๒๓๑๙ เมื่อฝ่ายข้าศึกตั้งค่ายประชิดถึง ๔ ค่ายว่า ... มันท�ำลวงอย่ากลัวมัน ตัง้ รับอย่าตัง้ ตรงเข้าไป ให้ตงั้ รายเรียง ออกไป ถ้ามันตั้งตามไป ให้ตั้งรายแผ่กันออกไปจงมาก ให้คนรักษา ค่ายละ ๕๐ คน แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสีย มันจะตีค่ายไหนให้มัน ตีเข้า อันทหารแล้วองอาจอย่ากลัวตาย ตั้งใจอาษาพระรัตนตรัย แล พระมหากษัตริย์ เดชะผลกตัญญูนั้นจะช่วยอภิบาลรักษา ก็จะหา อันตรายมิได้ ถ้าใครย่อหย่อนให้ประหารชีวติ เสีย สงครามจึงจะแก่กล้า ขึ้นได้ชัยช�ำนะ ... ๑๒๕ ภาพทหารก�ำลังยิงปืนครก ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า ๑๒๖ ปืนครก หรือ ปืนมหาเศวตรัตน์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในกองบัญชาการทหารเรือ พระราชวังเดิม

105



กรุงรัตนโกสินทร์พระนครแห่งใหม่ ศัสตราวุธอย่างเก่า ศัสตราวุธอย่างใหม่ การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์บนฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยาแต่เพียงฝั่ง เดียวแทนอยู่ทั้ง ๒ ฟากฝั่งเหมือนอย่างในสมัยกรุงธนบุรี พระนครแห่งใหม่จึงมีชัยภูมิที่ เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม นับเป็นความคิดที่ถูกต้องของผู้มีประสบการณ์ในการป้องกันดูแล บ้านเมืองมาแต่ครั้งกรุงเก่า ดังมีความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ที่ควรยกกล่าวไว้เป็นหลักฐาน คือ ...ทรงพระราชด�ำริวา่ เมืองธนบุรนี ฝี้ ง่ั ฟากตะวันออกเป็นชัยภูมิ ดีกว่าฟากฝั่งตะวันตก โดยเป็นที่แหลมมีล�ำแม่น�้ำเป็นขอบเขตอยู่ กว่าครึ่ง ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้นข้าศึกยกมาติดถึงชาน พระนครก็จะต่อสูป้ อ้ งกันได้งา่ ยกว่าอยูข่ า้ งฝัง่ ตะวันตก ฝัง่ ตะวันออก นั้นเสียแต่เป็นที่ลุ่ม... พระนครแห่งใหม่ทพี่ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือก ชัยภูมิอย่างเหมาะสมไว้ในเบื้องต้นแล้วนี้ ยังโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองที่เจริญมั่นคงและ มั่งคั่งโดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นแบบตามอุดมการณ์ของผู้เคยเป็นชาวกรุงเก่ามาแต่ก่อน ดังนั้นในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุทธศาสตร์การป้องกันพระนคร จึงมีทั้งการรื้อฟื้น เสาะหาต�ำรับต�ำราที่กระจัดพลัดพรายมารวบรวมช�ำระขึ้นใหม่ ทั้งต�ำราพิชัยสงคราม กฎหมายเก่า พระไตรปิฎก วรรณกรรม ถ่ายทอดทั้งจากจีน เปอร์เซีย อินเดีย มอญ ชวา ฯลฯ เป็นประโยชน์แก่การรู้เขารู้เราอย่างรอบด้าน นอกเหนือไปจากเพื่อบ�ำรุงสติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมจรรยาของพลเมือง ซึ่งต้องท�ำไปพร้อมกับการสร้างความมั่นคง ความ ปลอดภัย ให้ราษฎรให้ได้ประกอบชีพได้ตามความช�ำนิช�ำนาญของแต่ละกลุม่ แต่ละชนชาติ ที่เข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นชาวกรุงเทพฯ

107


กรุงเทพฯ เมืองป้อมปราการ การสร้างพระนครแห่งใหม่เป็นเมืองป้อมปราการ ในสมัยแรกได้ใช้ประโยชน์จาก สิง่ ทีม่ อี ยูเ่ ดิม เช่นรือ้ อิฐก�ำแพงเมืองกรุงเก่ามาใช้รวมกับอิฐทีท่ �ำขึน้ ใหม่ รือ้ ป้อมก�ำแพงเมือง ธนบุรฝี ง่ั ตะวันออกเพือ่ ขยายพืน้ ทีพ่ ระนครใหม่ให้กว้างขึน้ ขุดคลองคูพระนครโอบล้อมไป บรรจบกับแม่น�้ำเจ้าพระยา ขุดรากก่อก�ำแพงพระนคร ก�ำแพงพระราชวังเช่นเดียวกับครั้ง กรุงศรีอยุธยา ยุทธศาสตร์การป้องกันพระนครด้วย คูเมือง ก�ำแพงป้อมปราการ ประตูหอรบ เช่นนี้ได้ไช้มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีการปรับเปลี่ยนรื้อลง ก�ำแพง ป้อมที่ได้รับการ อนุรักษ์ไว้ต่อมา คือ ป้อมพระสุเมรุ ที่มุมก�ำแพงเมืองด้านเหนือเป็นป้อมใหญ่ มีหอรบสูง คล้ายป้อมเพชรที่กรุงศรีอยุธยา และ ป้อมมหากาฬ ที่ก�ำแพงเมืองด้านตะวันออก หน้าวัดราชนัดดาราม การสถาปนาพระนครแห่งใหม่ ประกอบด้วยพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถาน ทั้งพระราชวังหลวง พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดในพระราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรเช่นเดียวกับวัด พระศรีสรรเพชญของกรุงเก่า โปรดให้บรู ณะและปฏิสงั ขรณ์พระอารามเก่าใกล้พระนคร เช่น วัดสลัก วัดโพธิ์ วัดสะแก เพื่อเป็นที่สถิตของพระสงฆ์ พระราชาคณะ ฯลฯ เมื่อแล้วเสร็จ ได้ทรงประกอบพระราชพิธบี รมราชาภิเษกประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จกั รี แล้วจึงสมโภช พระนคร ส่วนการจัดเตรียมศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ การเตรียมก�ำลังไพร่พลให้พร้อมเพือ่ รักษา พระนครแห่งใหม่ ก็เป็นภารกิจอันหนักที่ต้องด�ำเนินการไปพร้อมกัน ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานในจดหมายเหตุ หมายรับสั่ง พระราช พงศาวดาร ฯลฯ ให้ความรู้ในเรื่อง การจัดหาศัสตราวุธแบบต่างๆ ส�ำหรับไว้ปอ้ งกันบ้านเมือง ยังคงทีเ่ ป็น แบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ขอความร่วมมือพ่อค้าวานิชที่เข้ามาค้าขาย ให้จัดหาอาวุธเข้ามาจ�ำหน่าย แก่ทางราชการ (เพราะเป็นของต้องห้าม) พ่อค้าคนส�ำคัญที่เป็นที่รู้จักและยอมรับมาแต่ สมัยธนบุรี คือ ฟรานซิส ไลท์ หรือ กัปตันเหล็ก ที่เกาะหมาก (ปีนัง) ได้รับพระราชทาน บ�ำเหน็จความชอบเป็นพระยาราชกปิตัน ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ เรียก พระกปิตัน พบว่ายังมีบทบาทส�ำคัญ เช่น ใบบอกพระยานคร จ.ศ. ๑๑๗๑ (พ.ศ. ๒๓๕๒) แจ้งเรื่อง การที่พระกปิตันจัดหาอาวุธให้โดยให้เชื่อไว้ก่อน โดยมีเงื่อนไขให้จัดซื้อสินค้าที่ต้องการไป ให้เป็นการทดแทน บัญชีอาวุธที่พระกปิตันให้เชื่อ บ้างก็ไม่คิดราคา เช่น ปืนมะเรียมทอง (น่าจะ เป็นปืนบะเรียม) ปืนมะเรียมเหล็ก ปืนจินดาทอง ปืนเหล็กทอง ปืนหลักทอง ปืนทอง 108


ปรายทอง ปืนทองปรายเหล็ก มีดปลายปืน กระสุนดินเผามีดินใน กระสุนดอกศร ที่ไม่ คิดราคา คือ กระสุนกลางหลายขนาด เหล็กขาปืน เหล็กท้ายปืน ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังมี กัปตันแฮน อีกผู้หนึ่งที่รู้ว่าไทยก�ำลังต้องการปืน ได้หา ปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง ๕๐๐ กระบอก ได้รับพระราชทานของตอบแทนคุ้มราคาปืน เช่นยกภาษีจังกอบ และยังโปรดตั้งให้เป็น หลวงภักดีราช ด้วย ยังมีเรื่องศัสตราวุธที่อนุญาตให้จัดหาไว้ใช้ในราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เพราะเป็นหัวเมืองส�ำคัญในภาคใต้มีหน้าที่ดูแลหัวเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งมี ท�ำเลที่ตั้งสามารถจัดหาอาวุธยุทธภัณฑ์ได้สะดวก สมุหพระกลาโหมซึ่งมีหน้าที่ก�ำกับดูแล สั่งการให้ดูแลเอาใจใส่ให้มากเพราะเป็นยุทธภัณฑ์ของทางราชการ ดังความในสารตรา เจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม ถึงพระยานครศรีธรรมราช มีความตอน หนึ่งว่า ...อนึง่ เรือรบไล่ ค่ายคูประตูเมือง พ่วงรอหอรบศาลากลาง จวน ท�ำเนียบคุกตะรางส�ำหรับใส่ผู้ร้าย โรงปืนใหญ่น้อยส�ำหรับเมือง สิ่ง ใดไม่มแี ลช�ำรุดปรักหักพังอยู่ ก็ให้พระยานครศรีธรรมราชว่ากล่าวตัก เตือนกรมการเจ้าพนักงาน ...คุมเรือรบเรือไล่สรรพไปด้วยปืนใหญ่นอ้ ย กระสุนดินประสิว เครื่องศาสตราอาวุธ...ให้พระยานครศรีธรรมราชจัดแจงหา ปืนใหญ่ น้อย กระสุนดินประสิว ไว้ส�ำหรับเมืองให้ได้จงมาก ขุกมีราชการมา ประการใด จะได้เอาจ่ายราชการทันท่วงทีไม่ขดั สน แจ้งให้วา่ กล่าวตัก เตือนกรมการเจ้าพนักงานให้เอาปืนใหญ่น้อยออกขัดสีโชลมน�้ำมัน เอาดินประสิวออกตากแดดจงเนืองๆ อย่าให้เป็นสนิมคร�่ำคร่า แล ดินอับราเสียไปได้ ปืนใหญ่นนั้ ให้มรี างล้อรางเกวียนใส่ แลปืนน้อย นั้นให้มีบันไดแก้ววางจงทุกบอก... หากพิจารณาท�ำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชแต่กอ่ นมา จะพบว่ากรม การ ขุนหมืน่ ล้วนมีอาวุธเป็นเครือ่ งประกอบยศตามหน้าทีท่ กุ ต�ำแหน่ง โดยเฉพาะอาวุธปืน มีทั้งปืนกระสุนขนาดต่างๆ เรียกชื่อว่า ปืนนกสับบรรดาศักดิ์ ปืนนกสับเชลยศักดิ์ ปืนนก สับหลังช้าง ฯลฯ ศัสตราวุธที่รวบรวมได้จากการท�ำศึกได้ชัยชนะ เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกัน ในทุกชาติทุกภาษา ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถาน มงคลได้ปืนใหญ่ ศัสตราวุธต่างๆ จากเมืองตานี น�ำมาน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระบรม เชษฐาธิราช โปรดให้แก้ไขปืนใหญ่ตกแต่งลวดลายท้ายสังข์ขัดสีใหม่ จารึกนามไว้บอก ประวัติที่มาว่า พระยาตานี แล้วท�ำโรงไว้ที่หน้าศาลาลูกขุน 109


ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปราชการทัพเมือง เวียงจันท์ พ.ศ. ๒๓๗๐ ได้ปืนใหญ่เมืองเวียงจันท์ แต่ทรงเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายเทียน พรรษา บรรทุกช้างลงมาก็ไม่ได้ ชักลากก็ไม่สะดวก เพราะเป็นฤดูฝนจึงขอพระราชทาน ย่อยเอาทอง ลงมาเพือ่ น�ำมาหล่อถวายใหม่ทกี่ รุงเทพฯ วิธกี ารย่อยปืนเช่นนี้ ท�ำให้รเู้ หตุผล ว่า เพราะเหตุใดปืนเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เคยใช้กันจึงเหลืออยู่ไม่มากนัก เรื่องศัสตราวุธได้จากการท�ำศึกชัยชนะ แต่หากปราชัยก็ต้องถูกยึดไปเช่นเดียว กับคราวเสียกรุง ในรัชกาลที่ ๓ มีเหตุทกี่ องทัพไทยแตกทีเ่ มืองโจฎก ไทยต้องเสีย ปืนคาบ ศิลา ๑๐๕ กระบอก ปืนหามแล่น ๑๐ กระบอก ปืนกระสุน ๔ นิ้ว ๕ นิ้ว ๘ กระบอก ดาบยาว ๑ เล่ม พร้าประกัด ๑ เล่ม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วมาก มี รับสัง่ ว่า ...การทีย่ กลงไปก็ไม่ได้นดั หมายให้พรักพร้อมกันไปท�ำก็ไม่เป็นราชการได้ ตืน่ ข่าว คราวเลิกถอนเสียก่อนกองทัพบกมายังเข้าประชิดติดพันอยู่ ฝ่ายทัพบกไพร่พลก็มมี าก...ไป ตัง้ เก้อๆ อยูไ่ ม่เป็นการ เหมือนจะคอยแตกคอยวิง่ เล่นสนุก ไม่ระวังรักษาตัว หมิน่ ประมาท ต่อราชการสงคราม...ทรงเข็ดสติปัญญานายทัพนายกองเสียแล้ว

๑๒๗

๑๒๗, ๑๒๘ ภาพเขียนโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอนได้ปืนใหญ่จากเมืองตานี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

110

๑๒๘


ศัสตราวุธที่ได้จากเครื่องบรรณาการ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีบ้านเมือง ใหญ่น้อยเข้ามาอ่อนน้อมบ้าง มาเจริญสัมพันธไมตรีบ้าง แต่ละชาติได้น�ำศัสตราวุธเข้ามา ถวายจ�ำนวนมาก เช่น สมัยรัชกาลที่ ๑ ในพ.ศ. ๒๓๔๑ เจ้าอนัมก๊กจัดต้นไม้เงินทอง สิง่ ของ มีค่ามาถวาย พร้อมกับปืนทองเหลือง ๔ กระบอก ปืนกระสุนเหล็ก ๑๖ กระบอก ในปี ต่อมามีศุภอักษรถวายปืนบาเหรี่ยม เข้ามาอีก ๑๐ กระบอก แล้วขอพระราชทานเหล็ก หล่อกระสุนปืน โปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่ขอ พระราชทานดินประสิวตอบแทนไป ด้วยอีก ๕๐๐ หาบ ส่วนชาติตะวันตกทีเ่ คยจัดหาอาวุธมาให้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้กลับมาอีก เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มาร์ควิส เหสติงส์ ผูส้ �ำเร็จราชการอังกฤษทีอ่ นิ เดียส่ง จอห์น ครอว์เฟิด เป็นทูตเข้ามาเพือ่ ขอท�ำสัญญาทางการค้าตามทีเ่ คยมีตอ่ กันมาแต่กอ่ น ครัง้ นัน้ ได้สง่ เครือ่ ง ราชบรรณาการเป็นสิง่ ประดิษฐ์สมัยใหม่มาถวายด้วย เช่น เครือ่ งแต่งตัวหญิงฝรัง่ เครือ่ งโต๊ะ แก้วเจียระไน หนังสือพงศาวดารอังกฤษ ฯลฯ รวมทั้ง ปืนคาบศิลาปลายหอก ถึง ๓๐๐ กระบอก ปืนคาบศิลาแฝด ๑ กระบอก เป็นต้น ศัสตราวุธที่สร้างขึ้นใหม่ แม้การจัดหาศัสตราวุธจากภายนอกจะได้มาจ�ำนวน มาก แต่กย็ งั ไม่เป็นสิง่ แสดงเกียรติยศส�ำหรับบ้านเมือง เมือ่ สถาปนาพระนครจึงยังคงรักษา ธรรมเนียมให้สร้างปืนใหญ่ขึ้นใหม่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อแสดงถึงพลานุภาพในการ รักษาเมืองให้เป็นที่ปรากฏ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อได้ปืนใหญ่พญาตานี มาสู่พระนครในพ.ศ. ๒๓๒๙ ได้ โปรดให้หล่อปืนอีกกระบอกหนึง่ คูก่ นั มีความในพระราชพงศาวดารว่า โปรดให้เกณฑ์ทอง เหลือง ทองแดง จากข้าราชการตามเบี้ยหวัดดังนี้ ...ตั้งกองรับทองส่งทองที่โรงละครใหญ่ ที่หล่อปืนนั้น หล่อที่ หน้าโรงละครข้างทิศตะวันตก ริมถนนประตูวเิ ศษไชยศรี เมือ่ สุมพิมพ์ เวลาบ่ายนั้น โปรดให้จัดพวกโขนข้าหลวงเดิม กับพวกละครสมทบ เข้าบ้างให้เล่นโขนละครกลางแปลงตั้งแต่เวลาบ่ายจนค�่ำ เสด็จ ทอดพระเนตรอยู่จนโขนละครเลิก รุ่งขึ้นเวลาเช้าจึงหล่อปืน ครั้งนั้น หล่อทีเดียวก็ได้บริสุทธิ์ พระราชทาน ชื่อ นารายณ์สังหาร คู่กับ พระยาตานี แล้วโปรดให้หล่อขึ้นอีก ๖ บอก ชื่อ มารปะไลย ๑ ไหววรนพ ๑ พิรุณแสนห่า ๑ พลิกพสุธาหงาย ๑ พระอิศวรปราบ จักรวาฬ ๑ พระกาฬผลาญโลก ๑ ท�ำโรงขึ้นไว้เป็นคู่ๆ กันข้างถนน ประตูวิเศษไชยศรี...

111


๑๒๙

๑๒๙ ปืนพญาตานี สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้มาคราวศึกหัวเมืองภาคใต้ พุทธศักราช ๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขัดแต่งท้ายสังข์ขัดสีเสียใหม่ พระราชทานชื่อว่า พญาตานี พงศาวดารเขียน พระยาตานี

112


๑๓๐

๑๓๐ ปืนพญาตานี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

113


๑๓๑

ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ อธิบายถึงปืนใหญ่ที่หล่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้ง ๗ กระบอกว่า กระบอกที่ ๑ ปืนนารายณ์สังหาร ท้ายปืนรูปสังข์เป็นเอกลักษณ์ส�ำคัญของปืน ใหญ่ไทย กระบอกที่ ๒ ปืนมารประไลย มีรูปทรงและลายประดับงดงาม มีรูปหน้าคน สวมเทริดประดับบนปืนคล้ายกับที่พบในปืนใหญ่สมัยอยุธยาที่เหลือเพียงปากล�ำกล้อง จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม แสดงถึงพระราชนิยมที่ทรงน�ำศิลปะ แบบอยุธยามาสร้างไว้บนปืนใหญ่สมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนของรูชนวนรูปหนุมาน ซึง่ เหมือน กับรูปหนุมานทีโ่ ครงปืนพระแสงปืนต้นข้ามแม่นำ�้ สะโตง (สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑) ถือเป็น สัญลักษณ์ของปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นในสมัยนี้

๑๓๑ ปืนนารายณ์สังหาร ท้ายรูปสังข์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้หล่อคู่กับปืนพญาตานี เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

114


๑๓๒

๑๓๒ ปืนมารประไลย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

115


๑๓๓

๑๓๔

๑๓๓ ลวดลายประดับบนปืนมารประไลย ๑๓๔ ครอบรูชนวนของปืนมารประไลย หล่อเป็นรูปหนุมาน คล้ายกับที่พบในพระแสงปืนต้นข้ามแม่น�้ำสะโตง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่

116


กระบอกที่ ๓ ปืนไหวอรณพ พงศาวดารเขียนไหววรณพ ลวดลายคล้ายกับปืนใหญ่ ฝรั่งเศสชื่อ Le Corisic ที่เป็นเช่นนี้ชวนให้คิดว่า อาจมีช่างหล่อชาวฝรั่งเศสเข้ามารับ ราชการ ดังทีม่ ปี นื ฝรัง่ เปิดหมวกอย่างใหญ่ มีตราราชวงศ์ฝรัง่ เศสและชือ่ หลวงบรรจงรจนา นายช่างปรากฏอยู่ คิดว่าอาจเป็นช่างชาวฝรัง่ เศสคือ M. Berrenger ควบคุมการหล่อปืนได้ รับความดีความชอบให้มบี รรดาศักดิเ์ ป็นหลวงบรรจงรจนา เป็นข้อสันนิษฐานทีค่ วรรับฟัง กระบอกที่ ๔ พลิกพสุธาหงาย มีล�ำกล้องกว้าง มีห่วงจับยกปืน ๔ ห่วงท้ายปืน รูปลูกแก้ว รูชนวนเป็นรูปขวดเหมือนปืนใหญ่ฝรั่งเศสสมัยอยุธยาและปืนบะเรียม ฝรั่งเศส หล่อโดย M. Berrenger

๑๓๕

๑๓๖

๑๓๗

๑๓๕ ปืนไหวอรณพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ๑๓๖ ปากกระบอกปืน ไหวอรณพ มีลวดลายประดับคล้ายกับที่พบในปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่มีชื่อ Le corisic ๑๓๗ ปากกระบอกปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่มีชื่อ Le corisic หล่อขึ้นราวปี พ.ศ. ๒๒๑๓

117


๑๓๘

๑๓๘ ปืนพลิกพสุธาหงาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

118


๑๓๙

๑๔๐

๑๓๙ รูชนวนรูปขวดของปืนพลิกพสุธาหงาย คล้ายกับที่พบในปืนใหญ่สมัยอยุธยาของฝรั่งเศส ๑๔๐ รูชนวนรูปขวดในปืนใหญ่สมัยอยุธยาของฝรั่งเศส

119


กระบอกที่ ๕ พิรุณแสนห่า คล้ายกับปืนพลิกพสุธาหงาย มีชื่อเหมือนกับ ปืนพระพิรุณในประวัติศาสตร์อยุธยาและ สมัยธนบุรี การหล่อขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อาจมี ความหมายเช่นเดียวกับการสร้างพระแสงปืนข้ามแม่น�้ำสะโตง เพื่อสืบทอดความส�ำคัญ ในประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ กระบอกที่ ๖ และกระบอกที่ ๗ พระอิศวรปราบจักรวาล พระกาฬผลาญโลก มีหูจับยกปืนบนล�ำกล้องมีลวดลายหน้าคล้ายคนหรือสิงโต เหมือนปืนฝรั่งเปิดหมวกอย่าง ใหญ่ที่เป็นของฝรั่งเศส

๑๔๑

๑๔๑ ปืนพิรุณแสนห่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม

120


๑๔๒

๑๔๔

๑๔๓

๑๔๒ ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล พงศาวดารเขียนพระอิศวรปราบจักรวาฬ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ๑๔๓ รูปคล้ายหน้าคนหรือสิงโต ในปืนใหญ่ พระอิศวรปราบจักรวาล ๑๔๔ รูปคล้ายหน้าคนหรือสิงโต ในปืนใหญ่ พระเพลิงแผ้วราตรี ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายกับปืน พระอิศวรปราบจักรวาล

121


การหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้ในบ้านเมืองนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นอีกจ�ำนวนมาก สอดคล้องกับพระบรมราโชบายในการป้องกัน พระนครทีท่ รงระแวดระวัง และคาดการณ์วา่ อาจมีราชการศึกด้านชายทะเล ดังทีพ่ ระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเอาพระราชหฤทัยใส่มาตั้งแต่แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จนตลอดรัชกาล คือการสร้างเมืองป้อมปราการที่ปากน�้ำต่างๆ เช่น ที่เมืองสมุทรปราการ ทีบ่ างจะเกร็ง ทีเ่ มืองสมุทรสาคร เมืองจันทบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองนครเขือ่ นขันธ์ รวมทัง้ เมืองหน้าด่านทางตะวันตกที่กาญจนบุรี เมืองหน้าด่านเขมรที่พระตะบองและเสียมราฐ ป้อมปืนประจ�ำเมืองเหล่านี้ มีทหารรักษาประจ�ำป้อมอย่างแข็งขัน นอกจากนี้ยังโปรดให้ เจ้าพระยานครฯ คิดต่อเรือรบเป็นตัวอย่าง ซึ่งเจ้าพระยานครฯ ได้ต่อเรือปลาท้ายก�ำปั่น แปลง ถวาย พระราชทานชือ่ ว่า เรือมหาพิไชยฤกษ์ พระราชทานทุนให้ตอ่ เพิม่ ขึน้ อีก ๓๐ ล�ำ ต่อมาโปรดให้ต่อเรือป้อมอย่างญวน เพิ่มอีก ๘๐ ล�ำ ได้ใช้ในราชการป้องกันพระนคร พร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวเฉพาะปืนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ส�ำราญ วังศพ่าห์ เขียนไว้ในสารานุกรมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ มีความ โดยสรุป ว่าเป็นปืนใหญ่ส�ำริดและเหล็กที่มีมาจากรัชกาลก่อนบ้าง โปรดให้ซื้อหามาบ้าง ทีโ่ ปรดให้หล่อขึน้ ใช้เอง เฉพาะใน พ.ศ. ๒๓๖๘ ปืนใหญ่ทใี่ ช้ในการรักษาพระนครมีจ�ำนวน ถึง ๒๗๗ กระบอก ปืนใหญ่ที่โปรดให้หล่อขึ้นใช้เองในรัชกาลที่ ๓ นี้ โปรดให้ช่างชาวจีนซึ่งมีความ สามารถในการถลุงเหล็กและหล่อปืนใหญ่ให้ด�ำเนินการ จึงมีปนื ใหญ่ไว้ใช้ในราชการจ�ำนวน มาก ที่มีชื่อปรากฏต่อมา เช่น ปืนใหญ่เจ้าพระยาสัมมาทิษฐิ ปืนใหญ่เจ้าพระยารักษาพระศาสนา ปืนใหญ่ ๒ กระบอกนี้ มีลวดลายประดับสวยงาม ใช้กระสุนขนาด ๗ นิ้ว เดิมตั้งอยู่ชาลาหน้าพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท อีกกระบอกหนึ่งชื่อ ปืนใหญ่เจ้าพระยาปราบอังวะ และยังมีชื่อปืนที่ คล้ายกัน หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ คือ ปืนสัมมาทิษฐิ และปืนจ่ารงค์รักษาพระศาสนา ค�ำว่า จ่ารงค์ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นค�ำเรียกปืนเหล็กที่หล่อในเมืองไทย ใช้กระสุนตั้งแต่ ๕ นิ้ว ๔ นิ้ว ๓ นิ้ว ส่วนใหญ่ใช้ดินเพียง ๑ ชั่ง

122


๑๔๕

๑๔๖

๑๔๕ ปืนใหญ่เจ้าพระยารักษาพระศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวจีนหล่อขึ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน จังหวัดลพบุรี ๑๔๖ จารึกอ่านได้ว่า เจ้าพระยารักษาพระศาสนา กระสุน ๗ นิ้ว ดินหนัก ๔ ชั่ง

123


ปืนรักษาพระศาสนา เป็นปืนหลักบรรจุกระสุนทางปากกระบอกประเภทลูกโดด ใช้ดินด�ำเป็นดินขับ กระสุนขนาด ๔ นิ้ว มีลวดลายงดงามแบบไทยที่เพลา รังเพลิงและฝา ปิดท้าย ส่วนท้ายปืนเป็นรูปดอกบัวคว�่ำ เหตุผลที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปืนใหญ่ว่า รักษาพระศาสนา มีความปรากฏอยูใ่ นเพลงยาวยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า เจ้าอยู่หัว น่าประทับใจยิ่ง ศิรริ จั น์ วังศพ่าห์ ได้ศกึ ษาต่อมาพบว่า ปืนเจ้าพระยารักษาพระศาสนา มีขนาด ใหญ่กว่าปืนรักษาพระศาสนา หรือ ปืนจ่ารงค์รักษาพระศาสนา มีความปรากฏคราว พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) คือเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติในเวลาต่อมา ไปราชการหัวเมือง ปักษ์ใต้ หลวงอุดมสมบัตผิ รู้ บั หน้าทีส่ บื ฟังข้อราชการในกรุงเทพฯ ในเรือ่ งกองทัพบอกไปให้ ทราบ มีความแจ้งไปว่า กองทัพทีจ่ ะยกตามไปเมืองสงขลานัน้ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า เจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ...ปืนหน้าเรือ ปืนท้ายเรือ เอาปืนอะไรไป พระนรินทร์ กราบทูล ว่า ปืนทองยางไซ รับสั่งว่า คิดเอาปืนใหญ่จ่ารงค์รักษาพระศาสนา ออกไปดี การอย่างนี้ถึงจะมีรี้พลน้อย มีแต่ปืนมากๆ อยู่แล้ว มันจะ เข้ามาท�ำไม่ได้ เอารายๆ กันเข้า ยิงประเคนมันออกไป มันจะอยู่สู้ทน ที่ไหน มันจะมีปืนใหญ่มากี่มากน้อยนักหนา มันมามันก็มาทางบก อย่างนี้ โดยจะมีปืนใหญ่มาก็มีแต่กระสุน ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว เท่านั้น มันจะ สู้ปืนจ่ารงค์ได้ที่ไหน มันคงพากันเลิกไปสิ้นฯ...

๑๔๗

๑๔๗ ปืนรักษาพระศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวจีนหล่อขึ้นในพ.ศ. ๒๓๖๘

124


๑๔๘

๑๔๙ ๑๔๘ ปืนรักษาพระศาสนา ขนาดล�ำกล้องต่างๆ กัน ๔ ศอก และ ๓ ศอก ปัจจุบันตั้งที่วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๑๔๙ ลายแบบพรรณพฤกษาประดับด้านท้ายล�ำกล้องปืนรักษาพระศาสนา ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พระราชวังบ้านปืน (อยู่ในความดูแลของจังหวัดทหารบกเพชรบุรี กองพันที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์)

125


ปืนที่มีใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังมีปืนชนิดต่างๆ อีกตามที่นายแพทย์ส�ำราญ วังศพ่าห์ เขียนไว้ในสารานุกรมฯ เช่น ปืนหามแล่น ปืนขานกยาง ปืนใหญ่ขนาดเล็ก ใช้ทั้งทางบก ทางน�้ำ เคลื่อนย้าย ง่าย โปรดให้หล่อขึ้นใช้จ�ำนวนมาก ปืนเล็กยาว เช่น ปืนคาบศิลาตรามงกุฎ ผลิตในประเทศอังกฤษ ทีต่ ดิ หอกปลาย ปืน เรียก ปืนปลายหอก ปืนคาบศิลาใบโพ เป็นของบริษทั อีสต์อนิ เดีย คัมปะนี มีส�ำนักงาน ในอินเดีย ใบโพเป็นค�ำที่คนไทยเรียกตรารูปหัวใจ หรือเครื่องหมายการค้าของบริษัทอีสต์ อินเดีย คัมปะนี

๑๕๐

๑๕๑

๑๕๐ โครงปืนคาบศิลา ตรามงกุฎ และอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้ายอร์ชที่ ๓ (GR) แห่งประเทศอังกฤษ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปืนตรามงกุฎ มีราคากระบอกละ ๘ บาท ๑๕๑ โครงปืนคาบศิลาใบโพ ใบโพ เป็นค�ำที่ใช้เรียก ตรารูปหัวใจ เครื่องหมายการค้าของ บริษัทอินเดียตะวันออก ของอังกฤษ หรือ บริษัทอีสต์ อินเดีย คัมปะนี ของ อังกฤษ

126


ปืนทองปราย ท�ำจากทองเหลือง หรือเหล็ก ใช้ส�ำหรับยิงลูกปราย คือ ลูกเหล็ก เล็ก ๆ บรรจุในห่อ เวลายิงลูกปรายเล็กค่อย ๆ กระจายออก เมือ่ พ้นล�ำกล้องสามารถท�ำลาย วัตถุได้ในวงกว้าง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีกรมรักษาพระองค์ปนื ทองปราย ทหารกรมนีส้ ะพาย ปืนปากมังกร ปืนปากล�ำโพง ปืนปากเหมือนปืนใหญ่อย่างฝรั่ง อย่างละคู่ถวายอารักขา เวลาเสด็จพระราชด�ำเนิน เฮนรี่ เบอร์นี ราชทูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีใน พ.ศ. ๒๓๖๙ ได้น�ำปืนทองปรายมาถวาย ราว ๕๐ กระบอก

๑๕๒

๑๕๓

๑๕๒ ปืนทองปราย ปากมังกร ประจ�ำกรมรักษาพระองค์ปืนทองปราย ๑๕๓ ปืนทองปราย ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

127


๑๕๔

๑๕๕

๑๕๔ ปืนทองปราย ปากแตร หรือ ปากล�ำโพง ประจ�ำกรมรักษาพระองค์ปืนทองปราย ๑๕๕ ปืนทองปราย ปากเหมือนปืนใหญ่อย่างฝรั่ง

128


ปืนตับ มีล�ำกล้องวางขนานกันเป็นตับ สามารถท�ำลายเป้าหมายได้จ�ำนวนมาก ด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว ผลิตโดยบริษัทอีสต์ อินเดีย คัมปะนี ราว พ.ศ. ๒๓๖๐ เป็นปืนที่ เฮนรี่ เบอร์นี น�ำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เช่นกัน สันนิษฐาน ว่า หลังจากนั้นน่าจะได้สั่งมาใช้ในราชการอีกจ�ำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ยั ง มี ป ื น ที่ ป รากฏชื่ อ ใน บั ญ ชี พ ระแสงปื น ต้ น จ� ำ หน่ ายและคง จุลศักราช ๑๑๘๗ (พ.ศ. ๒๓๖๘) อีกจ�ำนวนมาก

๑๕๖

๑๕๗

๑๕๘ ๑๕๖ ปืนตับ มีล�ำกล้องวางขนานกันหลายล�ำกล้อง เป็นต้นแบบของปืนกลและปืนแก๊ตลิ่ง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑๕๗ ตราสิงห์อัญเชิญมงกุฎพบที่โครงปืนตับ แสดงว่า ปืนตับกระบอกนี้เป็นของ บริษัท อีสต์อินเดีย คัมปะนี ของอังกฤษ ๑๕๘ ตราสิงห์อัญเชิญมงกุฎพบที่โครงปืนเล็กยาว ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระแสงปืนและปืนโบราณชั้นใต้ต�่ำ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

129


๑๕๙

๑๖๐

๑๖๑

๑๕๙, ๑๖๐ ภาพจิตรกรรมสะท้อนการรบสมัยโบราณ ๑๖๑ ภาพลายรดน�้ำศิลปะสมัยอยุธยา มีภาพขุนศึกสะพายปืนขี่ม้าในขบวนทัพ ๑๖๒ ภาพทหารฝรั่งใช้ปืนในการออกรบ

130

๑๖๒


๑๖๓

ศัสตราวุธเฉลิมพระเกียรติยศ พระบรมเดชานุภาพ และแสนยานุภาพ สรรพอาวุธซึง่ มีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากใช้เพือ่ ป้องกันรักษาพระนคร แล้ว ยังเป็นสิง่ เฉลิมพระเกียรติยศ และแสดงซึง่ พระบรมเดชานุภาพให้เป็นทีป่ ระจักษ์ อาวุธ เหล่านี้จึงมีการน�ำออกแห่แหนในการเสด็จพระราชด�ำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทาง ชลมารค ทางสถลมารค เช่น เมื่อมีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปถวายผ้าพระกฐิน การรับแขกเมืองหรือรับราชทูต และในพระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน คือการตระเตรียมความพรักพร้อมด้วยสรรพศัสตราวุธและก�ำลังพลให้พร้อม คล้ายกับการ สวนสนามของทหารรักษาพระองค์ในเวลาต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีหลักฐานว่าห้าม น�ำอาวุธจริงมาใช้แห่ ให้ท�ำไม้เทียมของจริง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชด�ำริให้ จัดท�ำอาวุธจริง หลังจากแห่เสร็จแล้ว โปรดให้เก็บไว้ที่โรงแสง ถ้ามีการทัพศึกจะได้เอา ไปใช้ได้ พระบรมราโชบายเช่นนี้ท�ำให้ข้าราชการขุนนางพากันสร้างอาวุธเมื่อเข้าประจ�ำ กระบวนแห่เป็นเกียรติยศ ใช้แห่แหนในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น

๑๖๓ พระแสงราชศัตราส�ำคัญเชิญถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เช่น พระแสงอัษฎาวุธ ฯลฯ

131


การเสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคในสมัยรัชกาลที่ ๒

ศัสตราวุธชนิดต่างๆ ทีน่ �ำออกใช้แห่เป็นแบบแผนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น ทหารอาสา ๖ เหล่า ตัง้ กองจุกช่องรายทางเสด็จ ตัง้ ปืนคูข่ านกยางทุกแพรกถนน กระบวนหน้าปลายริ้วฝรั่งแม่นปืน ลากปืนจ่ารง รางเกวียน กระบวนนายม้าต้นขี่ม้าถือธง ขัดดาบ อาสาเกณฑ์หัดแต่ละกอง ถือปืนคาบศิลาปลายหอก ถือธนู ถือทวน อาสาญี่ปุ่น ถือง้าว พลอาสา ถือดาบสองมือ ถือดาบเขน พลล้อมวง ถือดาบโล่ ถือดั้งทอง อาสาจาม ถือหอกซัดคู่ เหน็บกริช ขุนหมื่นต�ำรวจ ๘ กรม สะพายดาบ เจ้ากรมปลัดกรม สะพายกระบี่ มหาดเล็ก เชิญพระแสงส�ำคัญเดินหว่างเครื่อง มีพระแสงดาบเขน พระแสงหอกชัย กรมพระต�ำรวจสนมทหารซ้ายขวา ถือปืน นายควาญช้างพระที่นั่ง ถือขอช้าง เชิญพระแสงของ้าว ขุนหมื่นกรมทวนทอง ถือทวนผูกพู่ ฝรั่งโปรตุเกสเดิม ถือหวายเทศ (รักษาปืนล้อประตูวเิ ศษไชยศรี) ไพร่หลวงกรมวังนอก ถือตะบอง พระแสงดาบคาบค่าย พระแสงดาบใจเพชร พระแสงหอกชวา คู่เคียงพระราชยาน สะพายดาบ มหาดเล็ก เชิญพระแสงง้าว (พระแสงตรี) พระแสงหอกง่าม พระแสงปืน พระแสงทวน พระแสงง้าว พระแสงหอก กระบวนอาสาฝรั่งแม่นปืน ลากปืนจ่ารง รางเกวียน ๒ กระบอก สุดท้ายกระบวน กระบวนคเชนทรัศวสนาน หรือ แห่สระสนานเดิม กระบวนคเชนทรัศวสนาน หรือ การแห่สระสนานอย่างใหญ่ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้อาวุธจริงออกแห่แทนอาวุธจ�ำลองของสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นคราวแรก ใน พ.ศ. ๒๓๗๒ มีจดหมายเหตุวา่ ด้วยการจัดริว้ กระบวน ซึง่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงอธิบายอยูใ่ นบทพระราชนิพนธ์เรือ่ ง พระราชพิธสี บิ สองเดือน ว่า ถือธนูหางไก่ ถือทวนเป็นหลัก ส่วนอาวุธบอกแต่เพียงอาวุธต่างๆ ไม่ได้แจงว่าเป็น อาวุธประเภทใด 132


๑๖๔

๑๖๔ ภาพลายรดน�้ำศิลปะสมัยอยุธยา มีเหล่าขุนนาง แต่งกายในเครื่องแบบพร้อมทั้งเครื่องศัตราวุธเข้าร่วมในขบวนแห่ เป็นแบบแผนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

133


การรับรองแขกเมือง รับทูต เมื่อครั้งที่ เอิร์ล แอมเฮิร์สต์ ผู้ส�ำเร็จราชการของอังกฤษที่อินเดียได้แต่งตั้งให้ กัปตันหันตรีบารนี หรือ เฮนรี่ เบอร์นี (Henry Burney) ทูตอังกฤษเข้ามาท�ำสัญญาทาง ไมตรี และการค้าใน พ.ศ. ๒๓๖๙ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้เสด็จออกรับแขก เมือง ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ เจ้าพนักงานเชิญพระแสงประดิษฐานใน พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขุนนางฝ่ายต่างๆ ประดับอาวุธตามยศ รวมทั้งขุนหมื่นผู้มีหน้าที่ ถืออาวุธตามธรรมเนียม ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี เฉพาะอาวุธทีเ่ ชิญออกตัง้ และแหนแห่โดยสรุป มีดงั นี้ พระที่นั่งเศวตฉัตรที่เสด็จออก ทอดพระแสงง้าว แนวพระวิสูตร เชิญพระแสงทวนขวา ปืนคาบศิลา กรมพระต�ำรวจ (เจ้ากรม ปลัดกรม) สะพายดาบตามยศ กรมเกณฑ์หัดแสงปืน เชิญพระแสงปืนปลายหอกรางแดง กรมรักษาพระองค์ ถือปืนทองปราย ขุนหมื่นกรมพระต�ำรวจ ถือหอก กรมเกณฑ์หัดแสงปืน ถือปืนคาบศิลานั่งกลาบาต ขุนหมื่นสารวัตร สะพายกระบี่ฝักหนัง กรมพระต�ำรวจในซ้าย ถือปืน กรมพระต�ำรวจสนมทหารซ้ายขวา ถือปืน นายควาญช้างพระที่นั่ง ถือขอช้าง เชิญพระแสงของ้าว ขุนหมื่นกรมทวนทอง ถือทวนผูกพู่ ฝรั่งโปรตุเกสเดิม ถือหวายเทศ (รักษาประตูพิมานไชยศรี รักษาโรงปืน รักษาปืนล้อประตูวเิ ศษไชยศรี ไพร่หลวงกรมวังนอก ถือตะบอง

134


๑๖๕

๑๖๖

๑๖๗

๑๖๕ - ๑๖๗ กระบวนเกียรติยศรับราชทูต ทูตที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาวุธที่น�ำออกใช้แห่แหนประจ�ำตัวข้าราชการฝ่ายต่างๆ มีทั้งอย่างเก่าและอย่างใหม่

135


136

ศัสตราวุธใช้ส�ำหรับพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีตรุษสงกรานต์ (ใน จ.ศ. ๑๑๔๕ พ.ศ. ๒๓๒๖) มีหมายรับสั่ง เกณฑ์ปืนใหญ่น้อยยิงอาฏานา ได้แก่ ปืนคาบชุด ๘๕ กระบอก ยิงทีป่ ระตูพระราชวัง ประตูละ ๕ กระบอก พร้อมกัน ๓ นัด ปืนคาบศิลา ที่โรงพระราชพิธี ๓๐ กระบอก ปืนคาบชุด ยิงที่ศาลาลูกขุน ๕๐๐ กระบอก ปืนคาบศิลา ยิงที่ศาลาลูกขุน ๓๐ กระบอก ปืนคาบชุด ๕๘๕ กระบอก ปืนใหญ่ ประตูละ ๒ กระบอก รวม ๗๖ กระบอก ปืนตั้งยิงบนป้อม ป้อมละ ๒ กระบอก ๑๓ ป้อม รวม ๒๖ กระบอก ยิงที่ถนนหน้าโรงช้าง ๒ กระบอก ยิงที่ถนนหลังโรงช้าง ๒ กระบอก ยิงที่หน้าโรงเสื้อเมืองทรงเมือง ๒ กระบอก ยิงที่หน้าบ้านเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (ถนนท้ายวัง) ๒ กระบอก ยิงที่หน้าโรงพระแก้ว (พระราชวังเดิม) ปืนคาบชุด ๒๐๐ กระบอก ปืนใหญ่ ยิงที่ตะแลงแกง ๒ กระบอก ยิงที่ต้นสะพานกฎีแขก ๒ กระบอก ที่ฉางเกลือ ๒ กระบอก ที่วัดบางว้าน้อย ๒ กระบอก รวมปืนที่ใช้ยิงในพิธีนี้ ปืนใหญ่ ๑๑๘ กระบอก ปืนเล็ก ๘๒๕ กระบอก


๑๖๘

พระราชพิธีฝังอาถรรพณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดให้ตงั้ การพระราชพิธฝี งั อาถรรพณ์ยกเสาประตูตงั้ ป้อม ที่ปากลัด พ.ศ. ๒๓๕๘ และ ฝังอาถรรพณ์ป้อมประตูหลักเมือง ที่เมืองสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๓๖๕ มีหลักฐานในหมายรับสั่งว่า ให้กรมกลาโหมเอาลูกกระสุนปืนใหญ่ ๔ นิ้ว ๙ ลูก ไป ส่งโรงพิธีพราหมณ์ ส่วนปืนใหญ่ ที่ใช้ยิงตามฤกษ์ ปรากฏชื่อว่า ปืนใหญ่แสงอาทิตย์กล้า ปืนใหญ่มัจจุราชสังหาร ปืนใหญ่จ่ารง ปืนเลกมิหลอ (ปืนเหล็กมีล้อ) ให้ยิงกระบอกละ ๑ นัด

๑๖๘ ภาพลายรดน�้ำแสดงภาพขบวนทหารและการถืออาวุธเข้าร่วมขบวน

137


๑๖๙

๑๗๐

๑๖๙ ปืนลูกปราย ปราบพระนคร แบบเดียวกับปืนมัจจุราชสังหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ๑๗๐ ปืนลูกปราย ราหูทะลวงขว้างจักร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ

138


กระบวนแห่พระยาช้าง ใน พ.ศ. ๒๓๕๕ ได้มีการรับและสมโภชพระยาเศวตกุญชร ช้างเผือกพบที่เมือง โพธิสัตว์ กรมการเมือง ได้ตั้งกระบวนแห่พระยาช้าง จากเมืองปัตบอง (พระตะบอง) ผ่าน มาตามเมืองต่างๆ กระบวนแห่พระยาช้างมีผู้ถืออาวุธเรียงล�ำดับกันดังนี้ กระบวนหน้า ปืนคาบศิลา ปืนคาบชุด ๓๐ คู่ ตะบอง ๑๐ คู่ ทวน ๔๐ คู่ ดาบสะพายแล่ง ๘ คู่ กระบวนหลัง ปืนคาบศิลา ปืนคาบชุด ๑๐ คู่ ดาบสะพายแล่ง ๗ คู่ ทวน ๑๕ คู่ ปืน ๔๐ คู่ ตะบอง ๑๐ คู่ อนึ่ง การมีอาวุธปืนเข้ามาใช้ในราชการบ้านเมืองตั้งแต่โบราณมาจนถึงสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ จ�ำเป็นต้องมีการก�ำกับดูแล มีเจ้าหน้าที่ควบคุม ทั้งการใช้ การดูแลรักษา ให้อยู่ในกฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพราะเป็นยุทธปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคง ปลอดภัย มีอุทาหรณ์เตือนใจที่ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการ ฉลองวัดประยุรวงศ์ ของเจ้าพระยาพระคลัง หรือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ เมือ่ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๓๗๙ วันนัน้ พระสงฆ์ ในวัดไปเก็บได้ปืนช�ำรุดทิ้งอยู่ในวัดกระบอกหนึ่ง เป็นปืนบะเรียมกระสุน ๕ นิ้ว เอามาท�ำ ไฟพะเนียงจุด ปรากฏว่าปืนแตกกระจายถูกพระสงฆ์ ชาวบ้าน ศิษย์วัด แม่ครัว เสียชีวิต ๗ คน บาดเจ็บอีกหลายคน พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รชั กาลที่ ๓ พรรณนาภาพ เหตุการณ์ไว้ว่า ที่หลุมปักพะเนียง ปืนแตกตีแปลงเป็นหลุมกว้างประมาณ ๔ ศอก ในหลุม ไม่มเี หล็กปืนแตกหลงเหลืออยูเ่ ลย แต่มเี ศษชิน้ ใหญ่ ๆ กระจายไปตกไกลถึงสะพานหน้าวัด ราชบูรณะ ถึงปากคลองหลอดก็มี แต่โชคดีที่ไม่ถูกผู้คนเป็นอันตราย เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจจากอุบัติเหตุครั้งนั้น วัดประยุรวงศ์ได้น�ำปืนมาตกแต่ง ท�ำเป็นรั้วให้ร�ำลึกถึงด้วยความไม่ประมาทและยังเป็นสิ่งบ่งบอกว่า ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้ เรื่องของศิลปวิทยาการสมัยใหม่กันอย่างจริงจัง

139


๑๗๑

ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงมีบุคคลชั้นน�ำสนใจศึกษาวิชาการใหม่ๆ หลาย สาขาโดยมี ทูลกระหม่อมพระ วชิรญาณภิกขุ หรือ เจ้าฟ้ามงกุฎ คือพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงครองสิรริ าชสมบัตติ อ่ มา เป็นผูน้ �ำทรงสืบสานพระราชภารกิจ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการไว้อย่างเหมาะสมแก่กาลสมัย พระราชด�ำรั ส สุ ด ท้ า ยที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงห่ ว งใย บ้านเมืองและเป็นจริงตามที่ทรงคาดการณ์ไว้ คือ ...การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็ แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของ เขาทีด่ ี ควรจะร�ำ่ เรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นบั ถือเลือ่ มใส ไปทีเดียว...

๑๗๑ อนุสาวรีย์ที่ระลึกแห่งปืนใหญ่ระเบิดฯ ที่วัดประยุรวงศ์ ฯ ๑๗๒ ป้ายจารึกเล่าเรื่องการสร้างอนุสาวรีย์ เป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ปืนใหญ่ระเบิดในงานฉลองพระอาราม

140

๑๗๒


ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการสมัยใหม่ ยุทธศาสตร์อย่างใหม่

ความตืน่ ตัวในการเรียนรู้ รับความรูศ้ ลิ ปวิทยาการสมัยใหม่ซงึ่ เริม่ มาแต่ปลายรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นสิง่ ทีส่ งั คมไทยได้ตระหนักถึงความจ�ำเป็นว่า จะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญกับมหาอ�ำนาจตะวันตก ที่ก�ำลังแข่งขัน กันเข้ามายึดครองด้วยแสนยานุภาพทีเ่ หนือกว่าในทุกด้าน ผูน้ �ำสยามประเทศยุคนัน้ ได้เลือก ที่จะใช้วิธีการที่ผ่อนปรน คือใช้นโยบายการเปิดประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับนานา ประเทศพร้อมไปกับการพัฒนาบ้านเมืองภายในให้เจริญทัดเทียมกัน เพื่อไม่ให้ถูกคุกคาม ด้วยข้ออ้างว่าเป็นชาติที่ยังล้าหลัง ยุทธศาสตร์ในการป้องกันรักษาพระนครอย่างใหม่ จึงใช้ทั้งทางการทูต การเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และการจัดการฝึกหัด ทหารตามแบบยุโรป โดยมีศึกเชียงตุงในตอนต้นรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเปรียบเสมือนการซ้อมรบ ครั้งใหญ่ มีบทสรุปให้ต้องตระหนักว่าต้องปรับปรุงในทิศทางใด ดังความในจดหมายเหตุ เรื่องทัพเชียงตุง พรรณนาไว้ว่า ...ปืนใหญ่ฝ่ายเราต้องเอาเข้าไปยิงพ้นจากน่าค่าย ๒๐ เส้นบ้าง ๓๐ เส้นบ้าง แต่กระนั้นกระสุนก็ไม่ใคร่จะตกเข้าไปในเมืองได้ ครั้นใส่ ดินให้มากเหลือพิกดั จะให้ขบั กระสุนให้แรง ปากกระบอกก็รา้ วออกไป รางปืนเอาขึ้นบรรทุกช้างไป ช้างเขย่านัก เดือยก็หลวมโยกคลอนง่อน แง่นเข้าก็ช�ำรุดต้องเอาไม้ทาบผูกรัดไว้ พอใช้ได้คราวหนึ่งๆ ไม่แน่น หนา ยิงสัก ๒ นัด ๓ นัด เพลาก็หักต้องเปลี่ยนเพลาใหม่ จะเอาเข้าไป ยิงให้ใกล้ให้กระสุนปืนตกเข้าไปในเมืองทุกนัดๆ จะอาไศรยรางลากไป มาว่องไวก็ไม่ได้ ต้องถอดออกจากรางให้คนหามไปหามมาทุกคราว... ยังมีหลักฐานในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปถึงบุคคลต่างๆ เป็นหลักฐานว่า ทรงเข้าพระราชหฤทัย ความส�ำคัญในการจัดเตรียมศัสตราวุธที่ทันสมัยด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เช่น

พระราชหัตถเลขาถึงองค์พระนโรดม และองค์พระหริราชดไนยแห่ง กรุงกัมพูชา

มูลเหตุที่ทรงพระมหากรุณามีพระราชหัตเลขาไปครั้งนั้น เนื่องจากขณะนั้น อังกฤษ ฝรั่งเศส เข้ามาค้าขายตามเมืองท่า ทรงเล่าความหลังว่าได้ เคยรักใคร่สนิทกันมา แต่ก่อนตั้งแต่สมัยพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี พระบิดา ทรงอธิบายว่า ...ธรรมเนียมมนุษย์ทุกวันนี้ในเมืองใด ปืนใหญ่น้อยกระสุน ดินด�ำรวบรวมมีอยู่มากเป็นก�ำลังใหญ่แล้ว เมืองนั้นก็เป็นเมืองหลวงมี อ�ำนาจแผ่ทั่วทิศไกลไปร้อยโยชน์สองร้อยโยชน์ จนถึงนานาประเทศที่ ใกล้เคียง ซึ่งมีก�ำลังน้อยกว่า... อันนี้เป็นธรรมดามนุษย์ในแผ่นดิน... 141


ครัง้ นัน้ ได้ทรงจัดของไปพระราชทานเป็นก�ำลัง คือ กระสุนปืนคาบศิลา ๑๐,๐๐๐ ศิลาปากนก ๑,๐๐๐ ชนวนปืนใหญ่ ๒๐๐ แก๊ป ๓,๐๐๐ ดินด�ำเม็ดใหญ่ ๒ หีบ ดินด�ำ เม็ดเล็ก ๑ หีบ

พระราชหัตถเลขาถึง Mr. Adamson ผู้จัดการสาขาบริษัท บอร์เนียว จ�ำกัด ที่สิงคโปร์

ระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๖๐ - ๑๘๖๓ (พ.ศ. ๒๔๐๔ - ๒๔๐๖) มีความซึ่งทรงสน พระทัยและเอาพระราชหฤทัยใส่ให้ชว่ ยจัดหาอาวุธปืนอย่างใหม่ เป็นตัวอย่างให้ทรงศึกษา ให้ถ่องแท้ก่อนที่จะสั่งเข้ามาใช้ในราชการบ้านเมือง เช่น พระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๖๐ ...ข้าพเจ้าก็ได้ความคิดอันถูกต้องเกี่ยวกับขนาดของปืนนิด แดมปาเตน (guns of Needham’s patent) ที่ต้องการ และได้น�ำ เอากระสุนปืนขนาดต่างๆ มาตรวจดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ข้าพเจ้าก็สรุปได้ ว่า กระสุนปืนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง ๒ นิ้วนั้นดูจะใหญ่เกินไป ปืนที่ต้องการให้ออกแบบเพื่อจะติดตั้งบนชั้นบนของที่ประทับ เพื่อ ต้องการให้ยิงเป็นสัญญาณมีเสียงต่างกับปืนทั้งสี่ที่ประจ�ำป้อมภายใน พระราชวัง ... นอกจากนี้ ข้าพเจ้าคิดว่า การสร้างปืนขนาดใหญ่ โดยเอาแบบ เช่นปืนชนิดเล็ก ชนิดแดมปาเตน คงจะต้องเป็นงานชิ้นแรก ถ้าหากว่า บริษัทผู้ผลิตยอมรับท�ำโดยไม่ปฏิเสธ ก็จะเป็นการดีมาก เพราะฉะนั้น ถ้าจะสั่งเพียงกระบอกเดียวก่อน เป็นปืนขนาดเล็ก ซึ่ง (ล�ำกล้อง) ใช้ กระสุนเพียงขนาด ๑ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว เท่านั้น ... ข้าพเจ้า มีความปรารถนาในขณะนี้เพียงกระบอกเดียว ในโอกาสที่สั่งปืนอย่าง ใหม่เพื่อเอามาเป็นตัวอย่าง... พระราชหัตถเลขาฉบับต่อๆ มา ทรงสั่งแก๊ปของปืนใหญ่แบบนิดแดมจ�ำนวน ๔,๐๐๐ อัน (๔,๐๐๐ caps of Needham’s cannon) รายละเอียดของปืนใหญ่อามสตรอง (cannon called Armstrong) เพื่อทรงศึกษารายละเอียดความถูกต้องของปืนก่อนที่จะ ทรงสัง่ ซือ้ และทรงสอบถามข้อมูลเกีย่ วกับปืนใหญ่บรรจุขา้ งท้ายแบบอามสตรอง ที่ Rajah Sir James Brook ประกาศจะขายว่ามีราคาทุนและราคาที่จะขายเท่าใดด้วย นอกจากทรงหาความรูเ้ รือ่ งปืนแบบต่างๆ ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังทรงได้รบั ปืน ของมงคลราชบรรณาการ เช่น ปืนทองใหญ่ เครื่องใช้พร้อมหีบปืนหันซั่น (ปืนรีวอลเวอร์ บรรจุกระสุนได้ ๕ นัด) จากพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ และเจ้า 142


หมื่นไวยวรนารถ อุปทูตที่ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ กรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ก็ได้เสาะหาซื้อปืน อามสตรอง ปืนใหญ่บรรจุข้างท้ายมาถวายด้วย การสั่งปืนเข้ามาใช้ในราชการนี้ มีหลักฐานเป็นทางการในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ดังนี้ ...จึงโปรดฯ ให้พณหัวเจ้าท่านเจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์สงั่ ปืนกระสุน ๘ นิว้ ๑๒ นิว้ เข้ามาอีก พณหัวเจ้าท่านจึงสัง่ นายทหารกุมปันนีวา่ ราคา ตกลงกัน กระสุน ๑๒ นิ้ว บอกละ กระสุน ๘ นิ้ว ราคาบอกละ ก็ได้ปืน เข้ามาเป็นอันมาก กับปืนเฟาลิงปิด ๔ บอก มีรูปช้างคร�่ำทองค�ำราคา บอกละ ๓ ชัง่ ๑๘ ต�ำลึง ๒ บาท ปืนอามสตรอง กระสุนหนัก ๔๐ ปอนด์ ๒ บอก คิดทั้งเครื่องส�ำหรับปืนแลส่งถึงกรุงบอกละ ๖๑ ชั่ง ๑๕ ต�ำลึง ๑ สลึง ปืนอามสตรองกระสุนหนัก ๔๐ ปอนด์ ๒ บอก คิดทั้งเครื่อง ส�ำหรับปืนแลค่าส่งถึงกรุงบอกละ ๔๗ ชัง่ สลึง ปืนทองเหลือง ๖๐ บอก บอกละ ๒ ชั่ง ๑๔ ต�ำลึง ๓ บาท สลึงเฟื้อง ปืนหลังช้าง ๔๐ บอก บอกละ ๖ ต�ำลึงบาท แลปืนคาบศิลา ปืนไรเฟล ฉนวนทองแดง เข้ามารักษาพระนครอีกเป็นอันมาก... อนึ่ง การติดต่อกับชาติตะวันตกซึ่งส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในรัชกาลนี้ หลายประเทศได้มีธรรมเนียมการยิงสลุตเป็นเกียรติยศ พระองค์ทรงห่วงใยเกรงว่าราษฎร จะไม่เข้าใจ จึงโปรดให้ประกาศให้ทราบทั่วกัน รวมทั้งประกาศไม่ให้คนตื่นข่าวเรื่องเรือรบ ไปมาและการประพฤติต่อฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกันที่มาอยู่ในเมืองไทย ฯลฯ เป็นต้น ความส�ำเร็จในการจัดการป้องกันรักษาบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทัง้ ทางการทูต การเตรียมความพร้อมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ลุล่วงด้วยดีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมี พระราชวงศานุวงศ์เป็นก�ำลังโดยเฉพาะอย่างยิง่ คือ พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั สมเด็จพระอนุชาธิราช ซึ่งทรงรับราชการมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงบัญชาการ กรมทหารแม่นปืนหน้า แม่นปืนหลัง กองญวนอาสารบ และแขกอาสาจาม ทรงเป็น แม่ทัพไปราชการศึกด้านหัวเมืองชายทะเล เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวจึงทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ทรงบัญชาการและพัฒนาการทหาร ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล ซึ่งได้ทรงเอาพระทัยใส่ต่อเรือรบ หล่อปืนใหญ่ ทรงพระราช นิพนธ์แปลต�ำราปืนใหญ่ใช้เป็นคู่มือการฝึกทหารร่วมกับครูฝึกชาวตะวันตก ในตอนปลาย พระชนม์ชพี โปรดการเสด็จประพาสหัวเมือง โดยเฉพาะทีบ่ า้ นสีทา สระบุรี พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้มพี ระราชหัตถเลขาถึงกรมหมืน่ บวรวิไชยชาญ พระโอรสซึง่ ตาม เสด็จพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไปประทับที่พระราชวังสีทา มีความทรงเตือน ให้ระวังรักษาศัสตราวุธที่ทรงสะสมไว้ที่วังหน้าว่า 143


...อนึ่ง ที่จะเสด็จไปรักษาพระองค์อยู่ที่เขาคอกที่บ้านสีทานั้น มีปืนอยู่กี่กระบอก มีหอกอยู่กี่เล่ม มีเงินอยู่กี่เฟื้องกี่สลึงเล่า ปืนใหญ่ ปืนน้อยสาตราวุธเงินทองกองแก้วที่วังทิ้งไว้ท�ำไม เมื่อจะเกิดเหตุ เภทภัยดังเช่นตื่นกันแล้ว มิเป็นอันตรายเสียหมดฤา จะเอาอะไรเป็น ทุนรักษาแผ่นดินต่อไป... นับได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ คือพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย เจ้านาย ขุนนาง ราษฎร ชาวไทยทุกชาติทกุ ภาษาทีเ่ ข้ามาอยูใ่ ต้รม่ พระบรมโพธิสมภารต่าง ก็ได้ช่วยกันรักษาแผ่นดินไว้โดยไม่พลาดพลั้งเสียทีแก่ชาติมหาอ�ำนาจใด ส่งผ่านต่อมายัง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสมรภูมิจริงในเหตุการณ์กระทบ อธิปไตยของสยามประเทศ น�ำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ก่อเกิดความเป็นรัฐชาติอย่างสมบูรณ์ รวมทัง้ ได้มกี ารปฏิรปู ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธกี ารป้องกัน บ้านเมืองครั้งส�ำคัญด้วย

144


๑๗๓

๑๗๔

๑๗๕

๑๗๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงน�ำสยามประเทศสู่ยุคสมัยก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการ ๑๗๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่สอง ทรงร่วมน�ำสยามประเทศสู่ยุคสมัยก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการ ๑๗๕ คณะราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าฯ ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม

145


๑๗๖

๑๗๘

๑๗๗

๑๗๖ - ๑๗๘ คณะทูตไทยอัญเชิญพระสาส์น และเครื่องมงคลราชบรรณาการไป ณ ราชส�ำนักอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐

146


๑๗๙

๑๘๐

๑๘๑

๑ ๗๙, ๑๘๐ กระบวนเกียรติยศรับราชทูตฝรั่งเศส ๑๘๑ ทางเข้าพระที่นั่งอนันตสมาคมตั้งปืนใหญ่ ๒ ข้าง ในบทพระราชนิพนธ์พระราชพิธี ๑๒ เดือน เรียกปืนนี้ว่า ปืนครกหัน

147


๑๘๒

๑๘๔

๑๘๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แม่ทัพไปราชการทัพเชียงตุง ๑๘๓, ๑๘๔ ศัสตราวุธ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เขียนไว้ในจิตรกรรมฝาผนังวัดปทุมวนาราม

148

๑๘๓


รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยแห่งการปฏิรูป เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในพ.ศ. ๒๔๑๑ ยังทรงพระเยาว์มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา มีสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังจากทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ จึงทรงบริหาร ราชการบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ช่วงเวลา ๖ ปี ที่ยังทรงว่างพระราชกิจนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ในพระนิพนธ์ความทรงจ�ำ ว่า “...เมือ่ เจ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์แรกได้เป็นผูส้ �ำเร็จ ราชการแผ่นดิน พวกกงศุลต่างประเทศ มีมิสเตอร์นอกส์ กงศุลเยเนอราลอังกฤษ เป็นต้น ถามท่านว่าจะคิดอ่านให้พระเจ้าแผ่นดินทรงศึกษาวิธปี กครองบ้านเมืองด้วยประการอย่าง ใด (ระลึกถึงพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ยังค้างอยู่) ตอบว่า คิดจะให้เสด็จไปทอดพระเนตรวิธีปกครองบ้านเมืองต่างประเทศที่เมืองสิงคโปร์และ เมืองบะเตเวีย พวกกงศุลพากันซ้องสาธุการและรับจะบอกไปถึงรัฐบาลของตนให้รบั เสด็จ ให้สมพระเกียรติ...” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้เสด็จประพาสต่างประเทศในตอน ต้นรัชกาล ๒ ครั้ง คือสิงคโปร์ ปัตตาเวีย ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ และอินเดีย ในพ.ศ.๒๔๑๔ ภาย หลังได้เสด็จประพาสยุโรป ในพ.ศ.๒๔๔๐และ พ.ศ.๒๔๕๐ อีกสองคราว การเสด็จพระราชด�ำเนินไปทอดพระเนตรความเจริญแผนใหม่ที่เกิดขึ้นในชาติ ตะวันตก กิจการที่ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ประการหนึ่ง คือ กิจการทหาร ทั้งการจัดการ และความก้าวหน้าของอาวุธยุทธภัณฑ์ รวมทั้งการเตรียมพร้อมด้านบุคลากรด้วยการส่ง พระราชโอรส ขุนนาง ข้าราชการออกไปศึกษาในประเทศต่างๆ ในช่วงต้นรัชสมัยจึงเป็น เวลาที่ทรงเตรียมความพรักพร้อมด้านความมั่นคงของสยามประเทศ ท่ามกลางปัญหา นานัปการที่จะต้องทรงฝ่าฟันอุปสรรคให้ผ่านพ้นด้วยพระวิริยอุตสาหะอย่างยิ่ง

149


๑๘๕

๑๘๖

๑๘๗

๑๘๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรเมืองสิงคโปร์ของอังกฤษ และเมืองบะเตเวีย (ปัตตาเวีย) ของฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ๑๘๖ ศาลาหทัยสมาคมสร้างตามแบบหอคองคอเดีย ๑๘๗ หอคองคอเดีย หรือสโมสรคองคอเดีย ที่เมืองปัตตาเวีย

150


๑๘๘

๑๘๙

๑๙๐

๑๙๑

๑๘๘, ๑๘๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๔ ๑๙๐, ๑๙๑ จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งทรงผนวช เขียนพระราชประวัติ ตอนเสด็จประพาสอินเดีย

151


๑๙๒

๑๙๓

๑๙๔

๑๙๕

๑๙๒ - ๑๙๕ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งทรงผนวช เขียนพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพตอนนี้เป็นเหตุการณ์ทรงรับทูตออสเตรีย มีกองทหารเกียรติยศแบบใหม่ถืออาวุธผสมผสานทั้งอย่างเก่าและอย่างใหม่

152


๑๙๖, ๑๙๗ ๑๙๘, ๑๙๙

๑๙๖

๑๙๗

๑๙๘

๑๙๙

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งทรงผนวช (ปัจจุบันอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) เป็นภาพเหตุการณ์เสด็จพระพุทธบาทโดยช้างพระที่นั่ง เพื่อทรงสักการะตามประเพณี มีกองทหารถวายอารักขาแบบใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดของไปร่วมแสดง ในงานฉลองรัฐหลุยส์เซียนา สหรัฐอเมริกา มีศัสตราวุธแบบต่างๆ ไปตั้งแสดงให้ชมในงานด้วย

153


เหตุการณ์ส�ำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการทหารและ อาวุธทหารราบของไทย พันต�ำรวจโท วรประสิทธิ์ นิยมาภา และ ยุทธดนัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนโบราณและสมัยใหม่ได้ศึกษาและตั้งข้อสังเกตว่า ความพยายาม ปฏิรูปการทหารแท้จริงแล้วได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ จนประสบผลส�ำเร็จ เมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายนอกประเทศทั้งสิ้น เช่น ภัยคุกคามจากลัทธิล่าเมืองขึ้น ซึ่งเดิมยังอยู่ชายพระราชอาณาเขตชั้นนอก เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาประชิดพระราชอาณาเขตชั้นในทั้งด้านตะวันออกและ ตะวันตก กล่าวคือ ทางตะวันออก หลังจากเสียสิทธิการปกครองเหนือกัมพูชาส่วนใหญ่ ให้แก่ฝรั่งเศสๆ ก็ได้ทะยอยเข้าครอบครองเวียดนามภาคใต้ จนช่วงกลางสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนสงครามปราบฮ่อ จึงยึดครองฮานอยไว้ได้แล้วก็เริม่ หาทางครอบครองลาวและดินแดน ทั้งสองฝั่งแม่น�้ำโขงจากไทยต่อไป ทางด้านตะวันตก หลังจากอังกฤษได้มลายูและภาคใต้ของพม่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งมีศึกปราบฮ่อ อังกฤษได้รบชนะพม่าส่วนที่เหลือทั้งหมด และเชิญพระราชวงศ์ของพม่าไปประทับในอินเดีย ดังนั้นเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ กองทัพ ชาติยโุ รปทีท่ นั สมัยมีอาวุธเหนือกว่าได้มาประชิดเขตแดนชัน้ ในของไทยทุกด้าน จึงมีความ จ�ำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปการปกครองและการทหารให้ทันสมัย วิวัฒนาการอาวุธปืนเล็กทหารราบในโลกเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในช่วง เวลาเพียง ๕๐ ปี ระหว่างค.ศ. ๑๘๕๐ – ๑๙๐๐ ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ และ รัชกาลที่ ๕ นั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ท�ำให้อาวุธปืนเล็กยาว สามารถยิงได้ไกลขึ้น แม่นย�ำขึ้น และสามารถยิงซ�้ำได้รวดเร็วจนท้ายที่สุดสามารถยิง กลอัตโนมัติได้

154


๒๐๐

๒๐๑

๒๐๐ ปืนปลายหอกชนวนทองแดง ๒๐๑ ปืนชนวนทองแดง แบบ เอ็นฟิลด์ ขนาด .๕๘ นิ้ว

155


๒๐๒

๒๐๓

๒๐๒ ปืนโคลท์ รีวอลเวอร์ คาร์ไบน์ ๒๐๓ ปืนโคลท์ ลูกโม่ หกนัด ชนวนทองแดง

156


๒๐๔

๒๐๕

๒๐๖ ๒๐๔ ปืนวินเชสเตอร์ แบบ ๑๘๗๓ ๒๐๕ ระบบคานเหวี่ยง (สิบสองลิ้นทอง) ๒๐๖ ระบบคานเหวี่ยง (สิบสองลิ้นทอง)

157


เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในอเมริกา อาวุธใหม่ๆ ตั้งแต่ปืนเล็กยาว มีเกลียว ล�ำกล้อง ปืนประเภทบรรจุท้าย ใช้กระสุนปลอกโลหะ และปืนมีแม็กกาซีนยิงซ�้ำ ได้ถูกน�ำ มาทดลองใช้เป็นผลส�ำเร็จ เกิดอาวุธปืนหลายประเภทจากผู้ผลิตที่แข่งขันกันเพื่อหวังหา ตลาด การพัฒนาปืนเล็กนี้มีผลต่อยุทธวิธีมาก จนแม้แต่ปืนใหญ่ซึ่งหยุดนิ่งขาดการพัฒนา มานานกว่าสองร้อยปีกย็ งั ต้องเร่งปรับให้มขี ดี ความสามารถสูงกว่าเดิม เพราะปืนเล็กยาวที่ มีเกลียวล�ำกล้องได้ขยายระยะยิงมาคุกคามทีต่ งั้ ปืนใหญ่ในสนามรบเสียแล้ว ดังนัน้ กองทัพ ชาติตะวันตกจึงพากันพัฒนาเปลี่ยนอาวุธประจ�ำกายทหารของตน มิให้เสียเปรียบแก่ชาติ ข้างเคียง จากปัจจัยข้างต้น สยามประเทศจึงจ�ำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับปรุงกองทัพ สรรหาอาวุธปืนมาทดแทนปืนแก็ปชะนวนทองแดงล�ำกล้องผิวเรียบที่ล้าสมัยให้เพียงพอ หากแต่ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ยังมีอุปสรรคท�ำให้การปฏิรูปเกิดความล่าช้าดังนี้

ระบบการปกครองล้าสมัยไม่สามารถมีกองทัพประจ�ำการ (Standing Army) จ�ำนวนมากได้

การบริหารระบบจตุสดมภ์ และการควบคุมพลเมืองเพื่อใช้ในราชการด้วย ระบบไพร่หลวง ไพร่สม โดยให้เลกขึ้นสังกัดส่วนราชการต่างๆ ผลัดเวียนมาท�ำงาน เข้า รับราชการปีละ ๓ เดือน คนที่ถูกเรียกตัวอาจหลบเลี่ยง หรือเจ้านายต้นสังกัดไม่เต็มใจ ปล่อยมา หรือจ่ายเงินทดแทนหรือจ้างให้ผู้อื่นมาแทนตน ล้วนเป็นสาเหตุให้กองทัพใน สมัยรัชกาลที่ ๕ มีสภาพเป็นเพียงกองทัพของพลเรือนที่มีแต่ชื่อในบัญชี มีคนไม่ครบและ ขาดการฝึกฝน ดังนั้นในยุคต้นรัชกาล แม้จะทรงขยายหน่วยรบที่ฝึกอย่างฝรั่ง แต่ก็พบ ปัญหาส�ำคัญคือ กองทัพไม่มีคน

กองทัพขาดเอกภาพและอาวุธไม่มีมาตรฐาน เนื่องจากส่วนราชการยังแบ่งงานป้องกันประเทศในความรับผิดชอบของสมุห กลาโหม และสมุหนายก โดยแบ่งเขตพืน้ ทีก่ ารปกครองปกป้องอธิปไตยจากกันเป็นหัวเมือง ฝ่ายเหนือและหัวเมืองภาคใต้ชายฝั่งทะเล ส่วนราชการเหล่านี้มีอิสระในการจัดฝึก จัดหา อาวุธ เนื่องจากสามารถเก็บภาษีในพื้นที่ของตนมาด�ำเนินการเองได้ จึงเป็นธรรมดาที่ปืน เล็กยาวของส่วนราชการต่าง ๆ จะถูกจัดหากันโดยอิสระ ไม่มีมาตรฐาน ยากต่อการสับ เปลี่ยน ซ่อมบ�ำรุง และการฝึก จะเห็นได้ชัดว่าปืนแก็ปชะนวนทองแดงคงคลังมีคละกัน ทั้งยาวสองปลอก สามปลอก ปืนหลังม้า ของเอนฟิลด์จากอังกฤษ สปริงฟิลด์จากอเมริกา บางส่วนจากฝรัง่ เศส หรือทีผ่ ลิตกันขึน้ เองมีกระสุนหลายขนาด การทีข่ นุ นางมีอ�ำนาจจัดหา อาวุธได้เอง ท�ำให้เสีย่ งต่อพระราชอ�ำนาจ เช่น ปืนกลแก็ตลิง่ นัน้ ภายหลังกรณีวงั หน้าถึงกับ ต้องมีระเบียบห้ามผู้ใดสั่งซื้อเข้ามาอีกต่อไป 158


กองทัพขาดเงินที่จะน�ำไปสรรหาอาวุธ ในช่วงต้นรัชสมัยนัน้ ยังไม่มีระบบการคลังทีร่ วมเงินภาษีมาไว้ยงั ส่วนกลาง ไม่มี การท�ำงบประมาณประจ�ำปีวา่ จะเป็นงบประมาณทหารสักกีส่ ว่ น เงินในท้องพระคลังหลวง แทบไม่มีพอส�ำหรับใช้จ่ายส่วนพระองค์ เพราะจะต้องรอเงินภาษีคงเหลือจากขุนนางส่วน ราชการต่าง ๆ ที่เก็บแล้วหักส่ง ดังนั้นในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ แม้จะทรงขยายก�ำลังทหาร มหาดเล็กและทหารหน้าให้ทันสมัยขึ้น แต่ก็ยังไม่มีเงินพอที่จะหาซื้ออาวุธได้เพียงพอ อุปสรรคทั้งสามประการนี้ ทรงแก้ไขด้วยการรวมอ�ำนาจสู่ส่วนกลางและปฏิรูป การบริหารแผ่นดินทุกด้าน กระนัน้ กระแสการต่อต้านจากกลุม่ ขุนนางทีไ่ ด้รบั ผลกระทบต่อ ผลประโยชน์และอ�ำนาจอาจเสีย่ งทีจ่ ะเกิดความแตกแยก ความส�ำเร็จในการปฏิรปู กองทัพ จึงมิใช่วา่ ท�ำได้อย่างเร็ว แต่ตอ้ งอาศัยจังหวะและความสุขมุ ของพระองค์เป็นหลักจึงส�ำเร็จ ได้ ซึ่งในระหว่างนั้นก็ได้มีเหตุการณ์ที่น�ำไปสู่การปฏิรูปอย่างจริงจังและรวดเร็วขึ้น ดังนี้ วิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ. ๒๔๑๗ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เป็นต�ำแหน่งอุปราช และพระเจ้า แผ่นดินพระองค์ที่สองในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีข้าราชการในสังกัดกรมกองท�ำหน้าที่เช่น เดียวกันกับวังหลวงหรือส่วนกลางเป็นอันมาก มีก�ำลังเงินภาษีที่ได้รับถึง ๑ ใน ๓ ของ เงินแผ่นดิน ท�ำให้สรรหาอาวุธที่ทันสมัยไว้ใช้ ในส่วนของก�ำลังทหารนับว่ามีมากและ เข้มแข็งกว่าทหารหลวงหน่วยอืน่ ๆ ซึง่ เป็นผลจากความสนพระทัยในกิจการทหารแบบฝรัง่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้าจึงสามารถต่อเรือรบกลไฟใช้เอง มีทหารปืนใหญ่ที่ลือชื่อ ดังนัน้ วังหน้าจึงอาจเป็นปัญหาในการปฏิรปู กองทัพอยูบ่ า้ งในเรือ่ งของการบังคับ บัญชา นับเป็นโชคดีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลี่ยงการใช้ก�ำลังจน คลายความขัดแย้งภายในลงได้ ทรงยุบเลิกกรมกองต่าง ๆ ลง อาวุธถูกรวบรวบมาไว้ในที่ เดียวกัน ท�ำให้ลดกระแสคัดค้านด้านต่าง ๆ ในช่วงต้น จนสามารถด�ำเนินนโยบายการคลัง การเลิกทาส และเริ่มปรับปรุงกองทัพได้ตามพระราชประสงค์

159


สงครามปราบฮ่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และ พ.ศ. ๒๔๒๘ นั บ เป็ น สงครามครั้ ง แรกในรั ช สมั ย ที่ ต ้ อ งไปท�ำการปราบปรามโจรฮ่ อ ใน ประเทศราชที่ห่างไกล กองทัพที่ไปใน พ.ศ. ๒๔๑๘ นั้น เป็นกองทัพที่ยังมีการจัดเช่นเดียว กับสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คือมีการเกณฑ์เลกไพร่จากหัวเมือง อาวุธที่ใช้เป็นปืนแก็ปที่ ล้าสมัย แม้จะมีปืนแก็ตลิ่งจากกรุงเทพฯ ไปด้วย นอกจากนี้ การส่งก�ำลังบ�ำรุง เสบียงและ สิง่ จ�ำเป็นก็ยงั จัดโดยส่วนราชการต่างๆ ทีม่ ใิ ช่ทหาร จึงขาดความพร้อมเพรียงกัน ในขณะที่ ยุคนัน้ อังกฤษมีปนื แบบมาตินี่ เฮนรีอ่ นั ทันสมัย มีทหารประจ�ำการและทหารพืน้ เมืองทีฝ่ กึ อย่างดีในอินเดียเป็นจ�ำนวนมาก สามารถเคลือ่ นพลด้วยกองเรือกลไฟเข้ายึดพม่า กองทัพ สยามที่ส่งไปอีกครั้ง ๑๐ ปีให้หลัง โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เมือ่ ยังเป็นเจ้าหมืน่ ไวยวรนาถก็ยงั ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะแม้จะมีกองทหารหน้า ใช้ปืนบรรจุท้ายชไนเดอร์ (Snider) และปืนใหญ่อาร์มสตรองแล้ว แต่ก็เป็นส่วนน้อย ทหารส่วนใหญ่ยงั ต้องเกณฑ์ไพร่สมจากหัวเมือง ซึง่ มิใช่ทหารประจ�ำการใช้รบแทบไม่ได้เลย ถ้าไม่นับความสับสนในสายการบังคับบัญชาของส่วนราชการอื่นๆ ในการส่งเสบียงและ ยารักษาโรค การปราบฮ่อได้สอนบทเรียนให้เห็นว่า จ�ำเป็นจะต้องเปลี่ยนระบบราชการ จตุสดมภ์ให้มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารและจัดกองทัพขนาดใหญ่โดยเร็ว วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นเหตุการณ์ที่สยามประเทศต้องพบกับทหารฝรั่งเศสที่ใช้อาวุธปืนเล็กยาว กระสุนไร้ควันมีแม็กกาซีนจุหลายนัดแบบ Label M1886 ที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป (ขณะนั้นทหารสยามเพิ่งได้รับปืนแบบใหม่ ปลย. ๓๓ มานนลิเคอร์จากออสเตรีย) แม้มี ปืนทีด่ แี ต่ปญ ั หาก�ำลังพลยังมิได้ถกู แก้ไข ยังคงใช้ระบบเลกไพร่ จึงมีกำ� ลังทหารประจ�ำการ ไม่เพียงพอที่จะรักษาพระนคร จนถึงกับต้องเรียกทหารที่เคยไปปราบฮ่อและปลด ประจ�ำการแล้วมาช่วย เหตุการณ์ครั้งนี้ยังความตื่นตัวแก่เหล่าขุนนางและน�ำไปสู่การ ยกเลิกระบบบริหารแบบจตุสดมภ์ โปรดให้เลิกทาส โดยสมบูรณ์ และมีพระราชบัญญัติ เกณฑ์ทหารเพื่อให้มีทหารประจ�ำการ (Standing Army) ได้ไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ นาย พร้อมกับมีงบประมาณจัดหาปืน รศ. ๑๒๑ หรือ ปลย. ๔๖ (Siamese Mauser M1903) จากญี่ปุ่น ได้ในจ�ำนวนเดียวกัน ในด้านปืนใหญ่ก็ได้จากพันธมิตรในยุโรป คือ เยอรมนี เป็นปืนใหญ่กรุ๊ป แบบ ๔๙ และแบบ ๕๑ ที่ทันสมัยมาได้ทันก่อนสิ้นรัชกาล

160


๒๐๗

๒๐๘

๒๑๐

๒๐๙

๒๐๗ - ๒๑๐ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เมื่อยังเป็นนายพันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนารถ เป็นแม่ทัพไปปราบฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ราชการทัพอัญเชิญธงชัยเฉลิมพลไปทุกแห่ง แม่ทัพขี่พลายน่าน ท�ำหน้าที่หมอควาญถือของ้าว ช้างบรรทุกปืนใหญ่ เดินเข้ากระบวนทัพ

161


๒๑๑

๒๑๒

๒๑๓

๒๑๔

๒๑๑ แม่ทัพ นายทหารที่ไปราชการทัพปราบฮ่อ ๒๑๒ พลทหารมีโพล่บรรจุสัมภาระเสบียงอาหารในกองทัพ ๒๑๓, ๒๑๔ แหย่งช้างที่นายพันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนารถคิดขึ้นใช้บรรทุกของไปในราชการทัพครั้งนี้

162


๒๑๕

๒๑๖

๒๑๗

๒๑๘

๒๑๙

๒๑๕ ปืน ร.ศ. ๑๒๑ แบบเมาเซอร์ สั่งมาจากญี่ปุ่น ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์พระแสงปืน และปืนโบราณ ชั้นใต้ต�่ำ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ๒๑๖ ตราของปืน ร.ศ. ๑๒๑ ๒๑๗ เลข ๑ แสดงปืน ร.ศ. ๑๒๑ กระบอกที่หนึ่งในรายการผลิต ๒๑๘, ๒๑๙ ศูนย์เล็งปืนเลขไทย

163


๒๒๐

๒๒๑

๒๒๒

๒๒๓

๒๒๐ ทหารถือปืนชไนเดอร์ ๒๒๑ ทหารถือปืนกรีน ๒๒๒ ทหารถือปืนกรีน ๒๒๓ หมู่ช้างบรรทุกปืน คราวปราบฮ่อ

164


๒๒๔

๒๒๕

๒๒๖

๒๒๔ ทหารถือปืนกรีน ๒๒๕ ช้างตัวที่ ๒ ทางขวา บรรทุกปืนแก๊ตลิ่ง ๒๒๖ ทหารถือปืนกรีน

165



บทส่งท้าย “รูไ้ ว้ใช่วา่ ใส่บา่ แบกหาม” ปริญญา สัญญะเดช ผู้เชี่ยวชาญอาวุธโบราณให้ความรู้โดยสรุปว่า ในอดีต ศัสตราวุธเป็นทั้งเครื่องมือต่อสู้ในยามศึก เป็นเครื่องเคียงอาภรณ์ประดับกายในยามสงบ เพือ่ เสริมศรีสร้างเดชให้แก่ตน เป็นเครือ่ งแสดงยศศักดิห์ รือสถานะทางสังคมของผูป้ กครอง อาวุธจึงเป็นเสมือนตัวแทนของบุคคลด้วยเช่นกัน น�ำมาซึ่งธรรมเนียมกฎเกณฑ์การปฏิบัติ อาทิ พระแสงศัสตราวุธของพระมหากษัตริย์ ผู้รักษาต้องรู้วิธีอัญเชิญ รับ และถวายอย่าง ถูกวิธี ต้องดูแลรักษา จัดเปลี่ยนทอดพระแสง ณ พระที่นั่งที่ประทับ การพระราชพิธีใด จะอัญเชิญพระแสงส�ำคัญองค์ใด

๒๒๗

๒๒๗ ประติมากรรมนูนต�่ำศิลปะสมัยทวารวดี แสดงภาพเหล่านักรบสะพายดาบไว้ด้านหลัง

167


๒๒๘

๒๓๐

๒๒๙

๒๓๑

๒๒๘ ภาพลายเส้นรูปเทวดาถือพระขรรค์ ศิลปะสมัยสุโขทัย ๒๒๙ ประติมากรรมสมัยสุโขทัย รูปขุนศึก ผู้เป็นหนึ่งในจตุลังคบาท รักษาเท้าช้างยามออกศึกในมือถือดาบและโล่ ๒๓๐, ๒๓๑ ภาพการเชิญอาวุธ “ดาบ” ตามธรรมเนียมอย่างโบราณส�ำหรับเจ้านายหรือขุนนางผู้มีศักดิ์สูง มีข้อสังเกตุว่า ผู้เชิญหรือผู้ถือดาบต้องหันคมอาวุธเข้าหาตน

168


เครื่องอาวุธของขุนนาง ข้าราชการ มีธรรมเนียมการเก็บรักษาอย่าให้ต�่ำถึง ระดับพืน้ ทางเดิน ยิง่ หากเป็นอาวุธหลวงหรือของพระราชทาน ต้องมีพานรองให้เหมาะสม กับศักดิ์ศรีของอาวุธนั้นๆ ตามต�ำแหน่งของผู้ครอบครอง มีแท่นรับประดับอย่างเหมาะสม ตามต�ำแหน่งหน้าที่ของตน เมื่อต้องเข้าร่วมงานพระราชพิธี การถือ การสะพาย การคาด การขัด เครื่องอาวุธ ต้องประดับให้เข้ากับเครื่องแบบอย่างถูกวิธี ในงานบุญหรือวันส�ำคัญ ทางศาสนา ต้องท�ำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับเทวดาผู้รักษาอาวุธเพื่อความเจริญรุ่งเรือง

๒๓๒

๒๓๓

๒๓๔

๒๓๕

๒๓๒, ๒๓๓ ดาบไทยอย่างโบราณ พระราชทานแก่ผู้ที่มีศักดิ์หรือต�ำแหน่งสูง ๒๓๔, ๒๓๕ ศิลปะงานถมทองบนด้ามดาบ บริเวณคอดาบและท้ายดาบรูปดอกบัว เป็นสัญลักษณ์มงคลซึ่งเป็นที่นิยมใช้กับดาบในราชการ

169


ในส่วนของชาวบ้าน ก็เน้นที่ต้องวางอาวุธในที่เหมาะควรอย่าให้ใครข้ามได้ ต้องท�ำพิธีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลตามสมควร พกพาอาวุธตามกาลเทศะ รู้โทษ รู้ที่ห้าม ที่ไป เป็นต้น โดยทั่วไปศัสตราวุธของไทยแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ศัสตราวุธท�ำขึน้ ใช้ในราชการ ใช้ทงั้ ในการรักษาระเบียบความมัน่ คงภายใน และ การศึกสงคราม รวมถึงการประกอบพระราชพิธี ซึ่งมีรูปแบบหลากหลาย อาทิ หอก ดาบ แหลนหลาว ง้าว ทวน ตรี ส้อมส้าว ศรเกาทัณฑ์ บังกรี ปังกั๊ก ชนัก เชลย ขอ เป็นต้น บาง ชนิดสั่งน�ำเข้าจากต่างชาติ เช่น ปืนยาว ปืนใหญ่ ฯลฯ

๒๓๖

๒๓๖ ดาบเชลย (ซ้ายสุด) และง้าวไทยแบบต่างๆ

170


๒๓๗

๒๓๘

๒๓๗ ทวนแบบที่ใช้ในสมัยโบราณประดับด้วยโลหะมีค่าและอัญมณีสีต่างๆ เพื่อแสดงต�ำแหน่งที่อยู่ของทวนในเวลาเข้ารูปขบวนและแสดงศักดิ์ของผู้ถือ ๒๓๘ หอกรูปแบบต่างๆ

171


ศัสตราวุธท�ำขึ้นโดยชาวบ้านหรือบุคคลผู้ต้องการท�ำเป็นสมบัติของตนเอง มีรูปแบบหลากหลายและคุณภาพที่ไม่แพ้กัน มีเพียงสัญลักษณ์และงานช่างบางประการ ที่เป็นข้อก�ำหนดห้าม เช่น ห้ามท�ำงานดุน งานหล่อ ลายคร�่ำ ทองค�ำลงยาตามแบบขนบ ของราชการ หรือท�ำให้เสมือนเป็นพระแสงถือว่าเป็นสิ่งเกินศักดิ์ของตน ศัสตราวุธโบราณไม่วา่ จะเป็นชนิดใด หากสร้างขึน้ ด้วยเจตนาทีด่ มี ฝี มี อื พิธกี รรม และด้วยใจอันประณีตแล้ว จะก่อให้เกิดคุณลักษณะที่ดี ๔ ประการ คือ ๑. มีน�้ำหนักพอดีเหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไปตามความถนัดของผู้ใช้ ๒. ความแข็งแรง คมดี แหลมดี เมื่อใช้งานไม่หักเปราะ ยับยู่ บิ่นง่าย ๓. มีสัดส่วนรูปทรงลงตัว มีองค์ประกอบงดงามเป็นศรีแก่เจ้าของ ๔. เป็นมงคลอาวุธ ใครได้เห็นได้สัมผัสแล้วเกิดพลังใจ ชักน�ำจิตผู้นั้นไปสู่ความ เป็นธรรม ผดุงความดีขับไล่ความชั่ว มีเรื่องเล่าถึงความยากล�ำบากในการสร้างอาวุธให้ต้องตามต�ำรา หรือตาม พิธีกรรมโบราณของคนในอดีตว่า เมื่อต้องการจะสร้างดาบประจ�ำตัวขึ้นสักเล่มหนึ่ง ต้อง ออกรวบรวมโลหะและมวลสารประกอบการตีดาบขึ้นให้พร้อมสรรพ นายช่างผู้ตีจึงจะ ยอมตีดาบให้ตามฤกษ์ทคี่ �ำนวณไว้ แล้วจึงผูกดวงชะตาของคนกับดาบให้เป็นหนึง่ เดียวกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลเสริมส่งเจ้าของดาบ การรวบรวมวัตถุดิบ ส่วนผสมโลหะต่างๆ ที่มี คุณสมบัตคิ วามกล้าแข็ง ยืดหยุน่ คงทนโดยธรรมชาติ ให้ถกู ต้องตามต�ำราโลหะศาสตร์(แบบ โบราณ) รวมถึงโลหะต้องมีนามหรือภูมิเกิดอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนมิได้ท�ำ โดยง่าย เช่น เหล็กเทศ หรือเหล็กที่ผสมมาเป็นอย่างดี น�ำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น เหล็ก ญี่ปุ่น เหล็กฮอลันดา เหล็กอังกฤษ ซึ่งมีคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ในเนื้อสูง เหล็กนภากาศ เหล็กฟ้า หรืออุกกาบาตทีม่ เี นือ้ โลหะปนอยู่ (Iron meteorite) เป็นเหล็กคุณภาพดีหายาก ถือกันว่าเป็นของเทพเทวดาประทานลงมาให้ เหล็กหลวง หรือเหล็กบ่อเหล็กเถื่อน (ป่า) ที่เคยประกอบพิธีบวงสรวงใหญ่ น�ำไปใช้ท�ำราชาอาวุธ หรือพระแสงส�ำคัญของพระมหากษัตริย์ เป็นเหล็กคุณภาพดีโดย ธรรมชาติ มีฤทธิ์มาก มีเหล่าเทวดาคอยตามคุ้มครองปกปักรักษาเช่นกัน เช่น เหล็กน�้ำพี้ บ่อพระแสง เมืองพิชยั จังหวัดอุตรดิตถ์ เหล็กน�ำ้ พีเ้ มืองก�ำแพงเพชร เหล็กท่าซุง เมือง อุทยั ธานี เหล็กสัณฐาน หรือก้อนโลหะที่มีรูปร่างคล้ายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิเป็นแท่งคล้าย ศิวลึงค์ เป็นสามง่ามคล้ายตรีศลู เป็นแผ่นกลมแบนคล้ายจักร ถือเป็นตัวแทนอาวุธของเทพ เหล็กสถาน หรือโลหะจากสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เช่น ศาสนสถานทีส่ วดมนต์ประกอบ พิธีกรรม ปราสาท วัง วัด โลหะที่น�ำมาใช้ต้องขอ หรือผาติกรรมมาอย่างถูกต้อง เชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก สามารถขับไล่อัปมงคลออกจากอาวุธและผู้ใช้ได้ 172


เหล็กคนดง คือโลหะที่ได้มาจากผู้มีวิชาคงกระพันชาตรี ผู้ทรงศีล อุปัชฌาย์ ครู อาจารย์ เป็นต้น ท�ำให้อาวุธนั้นมีฤทธิ์ของท่านสถิตอยู่ เหล็กน�้ำนมหรือเหล็กแม่ คือโลหะที่ได้มาจากมารดาเจ้าของอาวุธ หรือจาก หญิงแม่ลูกอ่อนซึ่งยังมีน�้ำนมอยู่ มีคุณค่าทางเมตตามาก จะคุ้มครองผู้ใช้ไปตลอดดุจดังแม่ เป็นต้น ถึงแม้วิชาโลหะศาสตร์โบราณของไทยจะดูไม่สอดคล้องกับหลักวิชาปัจจุบัน เท่าใดนัก แต่ก็ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมโดยผ่านการทดลอง ส่วนผสม ชนิด ปริมาณ อุณหภูมิความร้อนมาอย่างยาวนาน จนได้เนื้อโลหะที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้ขึ้นรูป เป็นอาวุธชัน้ ดีทไี่ ม่ดอ้ ยไปกว่าดินแดนอาณาจักรใดในยุคเดียวกัน การอธิบายทีม่ า คุณวิเศษ ของโลหะชนิดต่างๆ ก็เป็นไปตามมูลเหตุแห่งลัทธิความเชื่อต่างๆ ที่รุ่งเรืองอยู่ในขณะนั้น เพื่อสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่ผู้สร้าง เช่นการออกเดินทางดั้นด้นแสวงหามวลสาร เที่ยวไป ยังดินแดนต่างๆ ตามสายทางเหล็กทุกทิศทุกทางที่มี ทั้งทางบกและทางน�้ำ ที่ราบป่าเขา บ้านเก่าเมืองใหม่ ท�ำให้ได้พบปะผู้คนเรียนรู้อุปนิสัย ได้มิตร ได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูเป็น เครื่องทดสอบสติการยับยั้งชั่งใจตน ได้พบครู อาจารย์ ได้เรียนวิชาได้ข้อคิดค�ำสอน ได้พร มงคลชีวิต ได้รู้คุณมารดาบิดา ความรักความห่วงใย ล้วนเป็นประสบการณ์ที่ว่า “กว่า จะได้โลหะครบถ้วนมาหลอมหล่อเข่นคมให้สมใจ ก็ละลายตนเป็นคนไปโดยสมบูรณ์” ความเชือ่ ดัง้ เดิมในเรือ่ ง “ผีสางเทวดา” ความเชือ่ เรือ่ งเล่าในท้องถิน่ ได้พบว่า มีการสร้างรูปให้เห็นอยู่ในอาวุธด้วย เช่น รูปดวงตา รูปยักษ์ รูปงู รูปนก เป็นความเชื่อ ในอาวุธที่มีความเก่าแก่ดั้งเดิมมากที่สุดสืบเนื่องกันมานับพันปี พบมากในอาวุธของกลุ่ม ชนชาวเขาและผู้ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่าซึ่งปัจจุบันพบได้น้อยลงทุกที บ้างเชื่อในเทพเจ้าฮินดู ดังมีภาพหรือสัญลักษณ์ของเทพในอาวุธ เช่น พระศิวะ พระอุมา และ พระพิฆเนศ ซึ่งพบ ได้อย่างเด่นชัดในวัฒนธรรมกริชของทางภาคใต้ ในกลุ่มวัฒนธรรมมลายู ความเชื่อดั้งเดิม ในอดีตหลายร้อยปี ในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน วัชรยาน (ตันตระ) มีสัญลักษณ์ของ วัชระหรือสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์เทพผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา วัชระ เป็นสัญลักษณ์ที่มีปรากฏมากที่สุดในกลุ่มเครื่องศัสตราวุธของไทยและอีกหลายประเทศ ในเอเชีย เกิดจากการยอมรับคติธรรมลัทธิเดียวกัน และบ้างก็สะท้อนความเชื่อแบบ ผสมผสานสร้างสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับคติความเชื่อของท้องถิ่น เช่นในพื้นที่แถบลุ่ม แม่น�้ำโขง นิยมใส่รูปลวดลายของ พญานาคควบคู่ไปกับสัญลักษณ์ของ วัชระ ท�ำลวดลาย หน้ากาลหรือ ลายราหู เชื่อว่าจะน�ำมาซึ่งความรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ ความไม่ตาย เป็น อมตะของผูค้ รอบครอง ลายทีเ่ ป็นเรือ่ งราว วานรสิบแปดมงกุฎ หรือพลพรรคเสนาลิงของ พระรามซึ่งมีฤทธิ์มาก เป็นผู้ช่วยพระราม สัญลักษณ์ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเพิ่มพลังความ ศักดิ์สิทธิ์ให้อาวุธมากยิ่งขึ้น เป็นเจตนาอันบริสุทธิ์ มั่นคง แน่วแน่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม อยู่ใน ศัสตราวุธทั้งปวงที่ขอฝากไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้กันสืบไป 173


๒๓๙

๒๔๐

๒๔๑

๒๓๙ นพศูล ส่วนประกอบของยอดพระปรางค์ ศิลปะสมัยอยุธยา เป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงอาวุธเทพ “ตรีศูล”ของพระศิวะ ๒๔๐ งานจ�ำหลักไม้ ชิ้นส่วนหน้าบันพระอุโบสถสมัยอยุธยา แสดงภาพยักษ์ถือกระบองเพื่ออารักขาพระนารายณ์ และพระพุทธศาสนา ๒๔๑ พลวานรถืออาวุธ

174


สุดท้ายขอน�ำส�ำนึกทางประวัติศาสตร์เนื่องด้วยพระแสงราชศัสตราของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ความทรงจ�ำของชาวกรุงเก่าที่สืบเนื่องมาจนถึงชาวกรุงเทพฯยุคต้นเนื่องด้วย พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากมีความปรากฏอยู่ในเอกสาร บันทึก ความทรงจ�ำ พระราชพงศาวดาร วรรณกรรมยอพระเกียรติแล้ว ยังมีการสืบทอดด้วยการ สถาปนาพระแสงราชศัสตราขึน้ ใหม่ มีนามตามพระแสงส�ำคัญทีท่ รงใช้ในวีรกรรมครัง้ ต่างๆ ส�ำหรับเป็นเครื่องสิริมงคลราชูปโภค ประกอบพระบรมขัตติยราชอิสริยยศในการพระราช พิธีบรมราชาภิเษกมาแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นส�ำนึกทางประวัติศาสตร์ที่ ก่อให้เกิดความภาคภูมใิ จในเกียรติภมู ขิ องบรรพชนร่วมกัน แม้เวลาจะผ่านมาเนิน่ นานนับ หลายร้อยปี พระแสงราชศัสตราและสิง่ พระบรมราชานุสรณ์เนือ่ งด้วยวีรกรรมของสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ในหนังสือค�ำให้การชาวกรุงเก่ามีดังนี้ พระแสง ทีท่ รงฟันพระมหาอุปราชา ได้รบั นามพระราชทานว่า เจ้าพระยาแสน พลพ่ายหรือเจ้าพระยาพระแสง พระมาลา ซึ่งบิ่นเรียกว่า พระมาลาเบี่ยง ช้างทรง ได้ชื่อว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ พระแสง ทรงคาบปีนค่าย เรียกว่าพระแสงขึ้นค่าย มีความต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ พรรณนาเกี่ยวกับเครื่องมงคล ราชูปโภคที่ เชิญประดิษฐาน ณ เตียงมณฑล ประกอบด้วย พระแสงของ้าวเจ้าพระยา แสนพลพ่าย พระแสงขอตีชา้ งล้ม พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นำ�้ สะโตง พระมาลาเบีย่ ง และพระแสงดาบคาบค่าย นอกจากพระแสงราชศัสตราและสิ่งพระบรมราชานุสรณ์เนื่องด้วยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ ได้มกี ารเขียนเป็นภาพ จิตรกรรมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อยู่ในหอพระราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โคลงภาพพระราชพงศาวดารประดับในงานพระเมรุ และภาพพระราชประวัตใิ นพระวิหาร วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา เป็นส�ำนึกทางประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้รบั การสืบทอดไว้

175


๒๔๒

๒๔๓

๒๔๒ ภาพจิตรกรรมประกอบโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตอนสมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนต้นข้ามแม่น�้ำสะโตง (เป็นพระแสงปืนคาบชุด) ๒๔๓ ประติมากรรมเหตุการณ์เดียวกันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (แต่เป็นพระแสงปืนคาบศิลา)

176


๒๔๔

๒๔๕

๒๔๖

๒๔๗

๒๔๔ ภาพจิตรกรรมทรงพระแสงดาบปีนค่ายข้าศึก ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ๒๔๕ ภาพจิตรกรรมตอนทรงพระแสงทวนสู้กับลักไวท�ำมู เขียนอยู่ในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๗ ๒๔๖ ภาพจิตรกรรมเหตุการณ์ทรงกระท�ำยุทธหัตถี ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ๒๔๗ ภาพเขียนทรงกระท�ำยุทธหัตถี ในพระวิหารวัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา เขียนในสมัยรัชกาลที่ ๗

177


การศึกษาประวัตศิ าสตร์ผา่ นศัสตราวุธตัง้ แต่สมัยโบราณจนเข้าสูส่ มัยการปฏิรปู บ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ ๕ ยังมีเรื่องราวควรรู้อีกมากมาย ซึ่งเป็นยุคของการก้าวเข้าสู่การ พัฒนาแบบใหม่อกี หลายระดับ เรือ่ งราวของศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ รวมทัง้ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ที่ผู้คนในอดีตได้ใช้ปกป้องรักษาบ้านเมืองสืบมานี้ อาจเป็นทางเลือกใหม่ๆ ในการศึกษา การเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์อกี แนวทางหนึง่ หากจะเป็นแรงบันดาลใจให้อนุชนรุน่ หลังค้นคว้า ผ่านสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป ก็นับได้ว่า เป็นความส�ำเร็จของการจัดท�ำหนังสือเรื่องนี้ จึงขอเชิญชวนให้รว่ มกันศึกษาด้วยวิธใี หม่ๆ เพือ่ ให้ความรูเ้ หล่านีย้ งั ตอบค�ำถาม แก่คนร่วมสมัยที่ยังต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง อย่างรอบด้าน

178


ภาคผนวก



ต�ำราพิไชยสงครามไทย

พันเอก อ�ำนาจ พุกศรีสุข

ต�ำราพิไชยสงคราม มีความหมายตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ค�ำอธิบายไว้ว่า “พิชย, พิชัย, น.ความชนะ (ปส, วิชย) พิชัยสงคราม น.ต�ำราว่าด้วยกลยุทธ์, ต�ำราว่าด้วยการเอาชนะในสงคราม” ส่วนในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ขยายความของต�ำราพิชัย สงครามไว้ว่า “พิชัยสงคราม - ต�ำรา เป็นต�ำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึก ในสงคราม ซึ่ ง นั ก ปราชญ์ ท างทหารสมั ย โบราณ ได้ แ ต่ ง ขึ้ น จาก ประสบการณ์ และจากการทดลอง เพือ่ ให้แม่ทพั นายกองใช้ศกึ ษา และ เป็นคู่มือในการอ�ำนวยการรบให้หน่วยทหารมีชัยชนะแก่ข้าศึก” ที่มาของต�ำราพิไชยสงคราม กล่าวกันว่า เป็นวิชาที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด มาจากต้นแบบเดียวกันคือ อินเดีย ต่อมาได้ประสมประสานความเป็นท้องถิ่นโดยอาศัย ภูมปิ ญ ั ญาของปราชญ์ ทักษะจากการสูร้ บในการท�ำศึกสงครามแต่ละครัง้ มาประมวลรวมไว้ พัฒนามาเป็นวิชาการรบที่ยิ่งใหญ่เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาเอกราชของบ้านเมือง พิจารณาคัมภีรพ์ ไิ ชยสงครามอินเดียโบราณทีต่ กทอดมา ได้แก่ อัคนีปรุ าณะ ปัญจตรันตระ มณูธรรมศาสตร์ ศุกระนิติศาสตร์ นิติประกาศิกา อรรถศาสตร์ และนิติสาระ แล้วพบว่า มีคัมภีร์ทั้งหลายของอินเดียแต่ละเล่มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ได้มีการพัฒนาการต่อเนื่อง กันมาจึงไม่น่าจะถูกน�ำมาดัดแปลงเป็นต�ำราพิไชยสงครามไทยโดยตรง แต่อาจมีอิทธิพล ทางอ้อมในวัฒนธรรมการเมือง การปกครอง และการสงคราม เพราะต�ำราพิไชยสงคราม ไทยมีแนวคิดและหลักการในด้านต่างๆ ทีส่ อดคล้องกับสภาพภูมปิ ระเทศ สภาวะแวดล้อม ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสอดคล้องกับสภาพจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทย บรรพบุรุษไทยได้ใช้ต�ำราพิไชยสงครามในการบริหารบ้านเมืองท�ำให้ชาติไทยรอดพ้นจาก หายนะจากการรุกรานทุกรูปแบบมาตลอด มีร่องรอยการใช้ต�ำราพิไชยสงครามมาแล้ว ตั้งแต่สมัยทวารวดี สุโขทัย และอยุธยา ก่อนที่จะมีการ “แรกท�ำ” ในรัชสมัยสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๒

181


“แรกท�ำต�ำราพิชยั สงคราม” ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นัน้ น่าจะให้มี การรวบรวมขึน้ จากหลักการสงครามและวิชาต่างๆ ทีใ่ ช้อยูก่ อ่ นหน้านัน้ ดังมีความปรากฏใน ยวนพ่ายโคลงดัน้ ซึง่ เป็นเรือ่ งราวของการท�ำสงคราม ระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ แห่งอโยธยา กับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา ความว่า “เชิงแก้ศึกใหญ่ให้ เชิงรายรอบพลซุก เชิงศึกสั่งแสวงเชิง เชิงชั่งเสียได้รู้

หายแรง รวจแฮ ซุ่มไว้ ลาลาศ ก็ดี รอบการย์”

ความตอนนีม้ คี วามหมายว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีความช�ำนาญในการ รบทัพจับเชลย ทรงช�ำนาญกลการยุทธ์ การลาดตระเวน ยุทธวิธีซุ่มโจมตีข้าศึก การบังคับ บัญชา ตลอดจนการประมาณการประมาณสถานการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ต�ำราการยุทธ์ หรือการรบนั้นมีมานานแล้ว คงมีอยู่และใช้กันอย่างกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๒ จึงโปรดให้ “แรกท�ำต�ำราพิชัยสงคราม” คือทรงให้มีการรวบรวมคัดลอก ท�ำเป็นต�ำราส�ำหรับศึกษา และใช้ในการราชการ ยังคงเหลือต้นฉบับต�ำราพิไชยสงคราม (ฉบับตัวเขียน) ทั้งที่เป็น สมุดไทยด�ำ สมุดไทยขาว ใบลาน และสมุดฝรั่ง ที่เก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น ๒๑๒ ฉบับ ต้นก�ำเนิดทีแ่ ท้จริงของต�ำราพิไชยสงครามไทย จึงยังไม่สามารถยืนยันได้วา่ ใคร เป็นคนแต่ง และแต่งขึน้ เมือ่ ใด แต่หากพิจารณาความในต�ำราพิไชยสงครามค�ำกลอน ฉบับ รัชกาลที่ ๑ ที่ถอดความโดยกรมศิลปากรมีความว่า “ต�ำราวรวากย์ไว้ พิชัยสงครามการ จงหาที่พิสดาร จงอย่าฟังกลสิ้น สมเด็จจักรพรรดิรู้ ชื่อว่านามกามมนทกี พิชัยสงครามศรี ยี่สิบเบ็ดกลแล้

182

วิถาร ศึกสิ้น เติมต่อ เล่ห์เลี้ยวจ�ำความ คัมภีร์ กล่าวแก้ สูรราช เลิศให้เห็นกล”


ข้อสังเกตโคลงสี่สุภาพที่ยกมาจากต�ำราพิไชยสงครามนี้มี “สมเด็จจักรพรรดิ์” ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครกันแน่ เป็นผู้แต่งเพื่อใช้เป็นหลักในการท�ำศึกของพระราชา แก้หลักการ ท�ำศึกของต�ำราพิไชยสงครามฉบับของ “กามันทกี” โดยเขียนเป็น กลศึก ๒๑ ประการ ข้อ สันนิษฐานนีอ้ าจท�ำให้เกิดข้อโต้แย้งขึน้ มากมาย เพราะไม่ปรากฏว่ามีใครเคยเสนอ หรือท�ำ มาก่อน เพราะชื่อ “กามันทกี” ซึ่งเขียนเป็นภาษาโบราณว่า “กามมนทกี” นั้นเป็นชื่อต้น ของคัมภีร์ “นิตสิ าระ” มีชอื่ เต็มว่า “กามันทะกะ นิตสิ าระ (The Kamandaka Nitisara)” เป็นคัมภีรพ์ ไิ ชยสงครามทีเ่ ขียนขึน้ ในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ (Chandragupta II) โดย สิคคารา (Sikhara) มหาเสนาบดีของพระเจ้าจันทรคุปต์ ซึ่งบางที่ใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “Mamandakiya Nitisara” มีความหมายว่า “The Element of Polity”คัมภีร์เล่มนี้มี ใช้อยูใ่ นพม่าเป็นฉบับแปลเป็นภาษาบาลี มีชอื่ ทีแ่ ปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Kamandaki’s aphorisms” ผู้เขียนจึงเชื่อว่า “ต�ำราพิไชยสงครามไทย” ฉบับที่รู้จักกันอยู่นี้ “สมเด็จ จักรพรรดิ์” ทรงแต่งขึ้นเพื่อแก้ต�ำราพิไชยสงครามที่ข้าศึกใช้อยู่ ในขณะเดียวกันก็ได้ รับอิทธิพลโดยตรงจากต�ำราพิไชยสงครามของอินเดียที่ได้แก่มหากาพย์ ๒ เรื่อง คือ รามายณะ และ มหาภารตะ ต�ำราพิไชยสงครามไทย เท่าที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นฉบับไหน เห็นได้ชัดว่ามีลักษณะ เป็นคัมภีร์ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนแรก เป็นต�ำราพิไชยสงครามหลักมีลักษณะ เป็นคู่มือราชการสนามอันประกอบด้วย บทอาศิรวาท กล่าวถึงความส�ำคัญของต�ำรา พิไชยสงคราม การเตรียมพล การจัดทัพ การยกทัพ นิมิตดีร้ายต่างๆ ลมที่พัดในร่างกาย ส่วนที่ ๒ เป็นต�ำรากลศึก ๒๑ ประการ และส่วนที่ ๓ เป็นผนวกเรื่องอื่นๆ ที่จ�ำเป็น ต้องใช้ทั้งหมดซึ่งเขียนเพิ่มขึ้น การศึกษาต�ำราพิไชยสงครามภาคสนามนัน้ ไม่ยากนัก ผูศ้ กึ ษาอาจใช้วธิ กี ารศึกษา เปรียบเทียบกับการปฏิบตั จิ ริง โดยใช้ระเบียบวิธวี จิ ยั ทางประวัตศิ าสตร์ แต่สว่ นทีย่ ากทีส่ ดุ คือการศึกษาและประยุกต์ใช้กลศึก ๒๑ ประการ

183


กลศึก ๒๑ ประการ กลศึก ถือเป็นหลักและแนวทางการรบทีส่ �ำคัญยิง่ ของต�ำราพิไชยสงคราม เพราะ เป็นทั้งยุทธศาสตร์ยุทธวิธี ทั้งการเมือง การทหารที่สามารถน�ำไปใช้ได้อย่างดียิ่งในทุก สถานการณ์ กลศึกในต�ำราพิไชยสงครามมี ๒๑ กล และกลเสริมช่วยอื่นๆ ที่ใช้เสริมช่วยใน สถานการณ์ต่างๆ กันไป ผู้เป็นแม่ทัพจ�ำเป็นจะต้องเรียนอย่างกระจ่างแจ้ง แล้วเลือกปรับ ใช้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เผชิญอย่างรอบคอบ ผู้เขียนเริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ขณะนั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๑ ในขั้นแรกได้รับการถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ พันเอก ชอบ ภักดิ์ศรีวงค์ ท่านอาจารย์ ได้บอกว่า คนไทยนับเลขแค่ ๙ แต่ถ้ามีเลขที่มากกว่านั้น เมื่อเอาเลขในกลุ่มนั้นรวมกันก็ จะได้เลขไม่เกิน ๙ ต�ำรา ๒๑ กลศึกนั้น ถ้าพิจารณาจริงๆ แล้วมีเพียง ๙ กลยุทธ์หลัก มี กลยุทธ์ที่เหลืออีก ๑๒ กลยุทธ์ เป็นส่วนที่ท�ำให้กลยุทธ์ทั้ง ๙ พลิกแพลงเป็นกลยุทธ์ ๑๐๘ ได้ ผู้เขียนจึงเริ่มทดลองเรียงกลศึกตามที่ท่านอาจารย์บอกได้ดังนี้ ๑. ฤทธี ๑๐. ฟ้าง�ำดิน ๑๙. ฟ้าสนั่นเสียง ๒. สีหจักร ๑๑. อินทพิมาน ๒๐. เรียงหลักยืน ๓. ลักษณส้อนเงื่อน ๑๒. ผลานศรัตรู ๒๑. ปืนพระราม ๔. เถื่อนก�ำบัง ๑๓. ชูพิศแสลง ๕. พังภูผา ๑๔. แขงให้อ่อน ๖. ม้ากินสวน ๑๕. ยอนภูเขา ๗. พวนเรือโยง ๑๖. เย้าให้ผอม ๘. โพงน�้ำบ่อ ๑๗. จอมปราสาท ๙. ฬ่อช้างป่า ๑๘. ราชปัญญา จากการศึกษาอย่างลองผิดลองถูกมาตลอดในที่สุดก็ได้พบว่าการศึกษากลศึก ๒๑ กล ต้องจัดกลุ่มใหม่เพื่อการศึกษาออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มการปฏิบัติหลัก คือ ๙ กลยุทธ์ที่เรียงอยู่ด้านบน ได้แก่

๑. ฤทธี ๒. สีหจักร ๓. ลักษณส้อนเงื่อน

๑๐. ฟ้าง�ำดิน ๑๑. อินทพิมาน ๑๒. ผลานศรัตรู

๑๙. ฟ้าสนั่นเสียง ๒๐. เรียงหลักยืน ๒๑. ปืนพระราม

ในกลุ่มการปฏิบัติหลักนี้ มีการปฏิบัติอยู่ ๓ กลุ่มคือ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ ความ เป็นผู้น�ำ กลุ่มงานยุทธวิธี และลักษณะของการปฏิบัติการสงคราม กลุม่ งานแรก ยุทธศาสตร์และความเป็นผูน้ ำ� ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ชาติ คือ กลที่ ๑ “ฤทธี” ยุทธศาสตร์ทหาร คือ กลที่ ๑๐ “ฟ้าง�ำดิน”ยุทธศาสตร์ในยุทธบริเวณ คือ กลที่ ๒ “สีหจักร”และข้อควรปฏิบัติของผู้น�ำคือกลที่ ๒๑ “ปืนพระราม” 184


๑. กลฤทธี ความเดิม กลศึกอันหนึ่งชื่อว่าฤทธี นั้น ชั้นทนงองอาจ ผกผาดกล่าวเริงแรง ส�ำแดงแก่ข้ากล้าหาญ ชวนท�ำการสอนสาตร อาจเอาบ้านเอาเมือง ช�ำนานเนืองณรงค์ ยงใจผู้ใจคน อาษาเจ้าตนทุกค�่ำเช้า จงหมั่นเฝ้าอย่าคลา ภักตราชื่นเทียมจันทร์ ท�ำโดย ธรรม์จงภักดิ์ บันเทิงศักดิจงสูง จูงพระยศยิ่งหล้า กลศึกอันนี้ชื่อว่า กลชื่อฤทธี ฯ ความหมาย กลศึกชื่อฤทธีนั้น ผู้ใหญ่จะต้อง - มีความองอาจ กล้าหาญ มี วาทศิลป์ - แสดงความกล้าหาญให้ปรากฏ - จัดให้มกี ารศึกษาศิลปศาสตร์ตา่ งๆ - เชีย่ วชาญ ทางด้านรัฐประศาสน์ - เชี่ยวชาญทางด้านการทหาร - เป็นผู้น�ำในดวงใจผู้น้อย - ปฏิบัติ โดยธรรม ผู้น้อยจะต้อง - มีความจงรักภักดี - หมั่นเข้าพบผู้ใหญ่ - ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอด เวลา - เชิดชูและยกย่องผู้ใหญ่ ให้มีชื่อเสียงเกียรติยศ เกริกไกร สรุปหลักการ ยุทธศาสตร์ชาติ รัฐทีม่ ฤี ทธิจ์ ะต้องมีผนู้ �ำหรือผูป้ กครองดี มีความ สามัคคีกนั ระหว่างผูป้ กครองและประชาราษฎร์ ผูน้ �ำรักประชาราษฎร์ ประชาราษฎร์เชิดชู และยกย่องผูน้ �ำ มีการจัดการปรึกษาทีด่ ภี ายในชาติ มีขา้ ราชการดี มีกองทัพทีเ่ กรียงไกร มี การเตรียมพร้อมทางด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ๑๐. กลฟ้าง�ำดิน ความเดิม กลศึกอันนีช้ อื่ ว่าฟ้าง�ำดิน หมัน่ ส�ำเนียกพลพฤนทรามาตย์ - ให้ใจอาจ ใจหาญ - ช�ำนาญช้างม้ากล้ารณรงค์ - หมั้นคงชี้ฉับเฉียว - เหลือบเหลียวน่าซ้ายขวา - ไป มาผับฉับไว - ใช้สอยยอดยวดยง จงช�ำนาญแล่นแว่นไว - ปืนไฟน่าไม้พิศ - สนิทธนูดาบ ดั้งแพน - แสนเสโลห์โตมร - กรไวพุ่งเชี่ยวชาญ - ช�ำนาญศิลป์ทั้งปวง - ถลวงฟันรันรุม ชุมพลสิบพลร้อย - อย่าให้คล้อยคลายกัน - ทั่วพลพันพลหมื่น - หื่นพลแสนพลล้าน - จร เดียวดาลเด็ดมา - แปรงาช้างบ่ายตาม - ฟังความตามบังคับ - กับสเบียงเรียงถุง - ประดุง ไพร่พลช้างม้า กลศึกอันนี้ว่า ชื่อฟ้าง�ำดิน ฯ ความหมาย กลศึกชื่อฟ้าง�ำดิน ท�ำการจัดเตรียมก�ำลังฝ่ายเรา - ให้มีความ พร้อมรบ ขวัญและก�ำลังใจ - ช�ำนาญการบังคับช้างม้า กล้าหาญในการรบ - เคลื่อนไหว คล่องแคล่วมั่นคง - ไม่ว่าจะเป็นการเหลียวซ้าย แลขวา - รุกหน้าถอยหลังต้องกระท�ำได้ อย่างคล่องแคล่วฉับไว - ปืนไฟ หน้าไม้พิษ - ธนู ดาบ ดั้ง แพน - เสโล่ห์ โตมรไว้ให้พร้อม สรรพ เชี่ยวชาญศิลปะในการใช้อาวุธทุกประเภท การฝึก - หน่วยทะลวงฟันต้องเข้ารบพุ่ง อย่างเป็นปึกแผ่นอย่าให้คลาดกันไม่วา่ จะเป็นพลสิบ พลร้อย พลพัน พลหมืน่ พลแสนหรือ พลล้าน การข่าว - พบก�ำลังฝ่ายข้าศึกให้จับมาซักข่าว - เตรียมเคลื่อนก�ำลังตามข่าวกรอง ที่ได้ - เตรียมเสบียงใส่ถุงเรียงรายไว้ - บ�ำรุงไพร่พลช้างม้าให้สมบูรณ์

185


สรุปหลักการยุทธศาสตร์ทหารของชาติ จึงได้แก่ ๑. เตรียมก�ำลังพล ควบคุมไม่ให้พบสิ่งที่ชั่ว ฝึกฝนขัดเกลา ฝึกอบรมให้การ ศึกษา สร้างขวัญและก�ำลังใจแก่ก�ำลังพล ๒. เตรียมเครื่องมือรบ เตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ และฝึกให้ช�ำนาญในการรบ อาวุธยิง - อาวุธฟันแทง - เครื่องป้องกัน ๓. การฝึก ฝึกการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ การฝึกปฏิบัติทางยุทธวิธี ๔. การบังคับบัญชาและการควบคุม ๕. การข่าว ๖. การส่งบ�ำรุง ๒. กลสีหจักร ความเดิม กลหนึง่ ชือ่ ว่าสีหจักร - ให้บริรกั ษ์พวกพล - ดูก�ำลังตนก�ำลังท่าน - คิด คะเนการแม่นหมาย - ยักย้ายพลเดียรดาษ - พาษไคลคลีก่ รรกง - ตัง้ พลลงแปดทิศ - สถิตย ช้างม้าอย่าไหว - ต้งงพระพลาไชยจงสรรพ - จงต้งงทับโดยสาตร - ฝังนพบาทตรีโกน - ให้ ฟังโหรอันแม่น - แกว่นรู้หลักมีคลาด - ให้ผู้อาจทะลวงฟัน - ให้ศึกผันแพ้พ่าย - ย้ายพล ใหญ่ให้ไหว - ไสพลศึกให้หนี กลศึกอันนี้ ชื่อว่าสีหจักร ความหมาย กลศึกชื่อว่าสีหจักร - ให้บ�ำรุงรักษาก�ำลังพล - เปรียบเทียบก�ำลัง ฝ่ายเรากับข้าศึก - ท�ำประมาณการและประมาณสถานการณ์ - เคลื่อนทัพ - จัดก�ำลังพล เข้าทางการรบ - ตัง้ ทัพโดยระวังป้องกันรอบตัว - ปลงทัพ - ตัง้ พลับพลาชัย ตัง้ ทัพตามหลัก นิยม - ฝังนพบาทตรีโกนเพื่อกันภัย - คอยฟังโหรให้ฤกษ์ในการยกทัพ - ออกรบให้ถูกต้อง ตามหลักวิชา - ยกทัพออกรบโดยใช้หน่วยทะลวงฟันกล้าตายเข้ารบพุง่ ให้ได้ชยั ชนะ - ท�ำให้ ข้าศึกแพ้พ่าย - โดยเคลื่อนทัพหลวง - เพื่อให้ข้าศึกเกรงกลัวและถอยไปเอง หลักการ ของยุทธศาสตร์ในยุทธบริเวณ ๑. เตรียมก�ำลังรบ ๒. ประเมิน สถานการณ์ (รู้เขารู้เรา) ๓. ท�ำประมาณการ ๔. เคลื่อนก�ำลัง - จัดก�ำลังเข้าท�ำการ - ระวัง ป้องกัน - รักษาความลับ ๕. เลือกพื้นที่การรบ ๖. หลักนิยม - บ�ำรุงขวัญ - การข่าว - รุก ๗. เอาชนะข้าศึกโดย - ท�ำลายขวัญ - มีก�ำลังเหนือกว่า ณ จุดปะทะ กลุ่มงานยุทธวิธี มี ๓ กล ได้แก่ กลที่ ๑๙ ฟ้าสนั่นเสียง กลที่ ๑๑ อินทพิมาน ฉ,ธ กลที่ ๓ ลักษณซ่อนเงื่อน

186


๑๙. กลฟ้าสนั่นเสียง ความเดิม กลชื่อฟ้าสนั่นเสียง เรียงพลพยุหก�ำหนด กฎประกาศถึงตาย หมาย ให้รู้ถ้วนตน ปรนปันงานณรงค์ ยวดยงกล่าวองอาจ ผาดก�ำหนดกดตรา ยามล่าอย่าลืมตน ท�ำยุบลสีหนาท ดุจฟ้าฟาดสายแสง ส�ำแดงการรุกร้น ปล้นปลอมเอาชิงช่วง ลวงเอาบุรรี าช เสมา ตรารางวันเงินทอง ปองผ้าผ่อนแพรพรรณ์ ยศอนันต์ผายผูก ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน การ ช้างม้าพลหาญ ให้ช�ำนาญการรบ สบได้แก้จงรอดราศฎร์ ดุจฟ้าฟาดเผาผลาญ แต่งทหาร รั้งรายเรียง สียงคะเครงคะคฤ้าน ทั้งพื้นป่าคะครัน สนั่นฆ้องกลองไชย สรในสรัพแตรสังข์ กระดึงดังฉานฉ่า ง่อนงาช้างรายเรียง เสียงบันฦๅคร้ามครัน่ กล่าวกลศึกนัน้ ชือ่ ฟ้าสนัน่ เสียง ความหมาย กลศึกชื่อฟ้าสนั่นเสียง - จัดวางขบวนตามรูปพยู่หะที่ก�ำหนดไว้ ประกาศอัยการศึก - แบ่งงานในการท�ำสงครามให้ทุกคนรู้หน้าที่การงานของตนประกาศ แผนการ ย�้ำระเบียบวินัย เมื่อถอยทัพอย่าลืมตัว - ต้องท�ำให้เกิดแสงแปลบปลาบเหมือน ดังฟ้าผ่า - ท�ำให้ข้าศึกเห็นว่าเราจะท�ำการรุกอย่างหนัก - จัดพลออกปล้นเมืองและปลอม ทัพเข้าเผาเมือง - ลวงเอาเมืองข้าศึก - ก�ำหนดบ�ำเหน็จรางวัลให้ชัดเจนทั้ง ผ้าผ่อนแพร พรรณ เงินทอง ยศถาบรรดาศักดิ์ ให้กินไปชั่วลูกชั่วหลาน - ฝึกช้างม้าพลให้ช�ำนาญการ รบ เมื่อต้องใช้แก้ศึก จะได้ช่วยให้ราษฎรรอดตายดุจดังฟ้าผ่าเผาผลาญ - จัดก�ำลังทหาร ไว้รั้งหน่วงเป็นระยะ พร้อมท�ำให้เกิด - เสียงครื้นเครงขึ้นทั้งผืนป่า มีทั้งเสียงฆ้องกลองชัย สรนัย แตรสังข์ ดังสนั่นป่า เสียงกระดึงที่คอสัตว์ดังกระหึ่ม - เรียงรายช้างงาม - ท�ำให้เกิด เสียงเล่าลือต่างๆ นานา ให้ข้าศึกคร้ามกลัว ไม่กล้าเข้ามารบแล้วถอยหนีไปเอง หลักการน�ำก�ำลังเข้าท�ำการรบ ๑. จัดกระบวนทัพ ๒. ประกาศอัยการศึก ๓. ออกค�ำสั่งยุทธการ แผนการ ข้อเน้นย�้ำ แนวความคิดในการปฏิบัติ - การรบเมื่อถอย การปล้นเมืองข้าศึก - การลวงเอาเมืองข้าศึก ๔. ก�ำหนดบ�ำเหน็จรางวัล ๕. การแก้ศึก จัดทหารรั้งศึกเป็นระยะ เตรียมทัพม้า เตรียมทัพช้าง ประโคมดนตรีบ�ำรุงขวัญฝ่ายเรา และท�ำลายขวัญข้าศึก ๑๑. กลอินทพิมาน ความเดิม กลหนึ่งชื่อว่าอินทพิมาน ให้อาจารย์ผู้รู้ เทพยาครูฝังนพบาท แต่ง สีหนาทข่มนาม ตามโบราณผู้แม่น อันชาญแกว่นเหนประโยชน์ - บันเทาโทษโดยสาตร ยุรยาตรโดยอรรถ - ให้ประหยัดซึ่งโทษ - อย่าขึ่งโกรธหังกา มนตราคมสิทธิ์ศักดิ์ พ�ำนักนิ์ ในโบราณ บูรรพาจารยพิไชย โอบเอาใจพลหมู่ ให้ดูสกุณนิมิตร พิศโดยญาณุประเทศ พิเศศราชภักดี ศรีสุริยศักดิ์มหิมา แก่ผู้อาษานรนารถ เทพาสาธุการ โดยด�ำนานดังนี้ ชื่อ ว่าอินทพิมาน

187


ความหมาย กลศึกชื่ออินทพิมาน ให้บรรดาโหราจารย์ - ฝังนพบาทเพื่อกันภัย - แต่งทัพข่มนามทัพข้าศึก ท�ำตามหลักนิยม (แบบอย่างโบราณ) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ ใช้ศาสตร์เพื่อลดการสูญเสีย - เคลื่อนไหวเมื่อเห็นประโยชน์ - ปฏิบัติการให้มีข้อเสียหาย น้อยทีส่ ดุ - อย่าใช้โทสจริตโกรธแค้นหรือหยิง่ ยโส รักษาความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละมนต์คาถา ตาม แบบอย่างโบราณ บูรพาจารย์มีชัยโดย - รักษาขวัญและก�ำลังใจไพร่พล - ดูสกุณนิมิต - ใช้ ประโยชน์จากภูมิประเทศ - จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ - ให้เกียรติยศแก่ผู้อาสาศึก เทพยาดาสรรเสริญ หลักการน�ำก�ำลังเข้ารบ ๑. บ�ำรุงขวัญและอ�ำนาจการรบที่ไม่มีตัวตน ๒. เลือก ยุทธภูมิที่ได้เปรียบข้าศึก ๓. ปฏิบัติตามหลักนิยม - อ่อนตัวในการด�ำเนินกลยุทธ์ - ระวัง ป้องกัน - ควบคุมอารมณ์ ๔. ขวัญและอ�ำนาจก�ำลังรบทีไ่ ม่มตี วั ตน ๕. หลักนิยมแห่งชัยชนะ - บ�ำรุงขวัญ - จังหวะเวลา - ใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศ - มีความสมานฉันท์ - ผู้น้อยมี ความจงรักภักดี - ผู้ใหญ่ให้เกียรตินักรบ

๓. กลลักษณส้อนเงื่อน ความเดิม กลหนึ่งลักษณส้อนเงื่อน เตือนก�ำหนดกฎหมายตรา แยกปีกกาอยู่ สรรพ นับทหารผู้แกล้ว แล้วก�ำหนดจงคง แต่งให้ยงยั่วเย้า ลากศึกเข้าในกล แต่งคนแต่ง ช้างม้า เรียงหน้าหลังโจเจ รบโยเยแล้วหนี ศึกติดตีตามติด สมความคิดพาดฆ้องไชย ยก พลในสองข้าง ยกช้างม้ากระทบ ยอหลังรบสองข้าง จึงบ่ายช้างอันหนี คระวีอาวุทธโห่ร้อง ส�ำทับก้องส�ำคัญ ยืนยันรบทั้งสี่ คลี่พลออกโดยสั่ง สัตรูต้งงพังฉิบหาย อุบายศึกอันนี้ ชื่อว่า ลักษณส้อนเงื่อน ความหมาย กลศึกชื่อลักษณส้อนเงื่อน แจ้งเตือนและประกาศอาญาศึก จัดรูป ขบวนรบ แยกปีกกาถึงกันทั้งซ้ายขวา เข้าท�ำการรบ เลือกทหารที่แกล้วกล้าให้ออกไปรบ ยัว่ เย้าหลอกล่อข้าศึกโดยเข้าตีหลอกข้าศึก แล้วถอยให้ขา้ ศึกตามตี แต่งก�ำลังพลพร้อมช้าง ม้า ซุ่มซ่อนไว้ทั้งหน้าและหลัง เมื่อข้าศึกตามตีให้ลั่นฆ้อง สั่งให้ก�ำลังพลที่ซุ่มซ้อนอยู่นั้น ให้โอบทางปีกเข้ามา พร้อมยกก�ำลังทัพช้าง ทัพม้า เข้าปะทะยอศึกทั้งทางด้านหน้าและ ด้านข้าง ผ่อนไว้เฉพาะด้านหลัง เมื่อข้าศึกบ่ายช้างหนีให้ไพร่พล กวัดแกว่งอาวุธโห่ร้อง ให้กึกก้อง เข้ารบทั้งสี่ทิศ ท�ำการเป็นเบี้ยบน โดยสั่งเคลื่อนก�ำลัง ออกด�ำเนินกลยุทธตาม สถานการณ์ ให้ศัตรูพินาศลง หลักการของยุทธวิธีการรบ ๑. ระเบียบวินัย ๒. จัดรูปขบวนเข้าท�ำการรบ ระวังป้องกันปีก ๓. ยุทธวิธีรุก - เข้าตีลวงชักน�ำข้าศึกมาติดกับ - วางก�ำลังซุ่มซ่อนไว้ เป็นกับดัก - เข้าตีโอบ - โอบสองปีก - ล้อมตี ๔. ด�ำเนินกลยุทธ์ ลักษณะของการปฏิบัติการสงคราม ประกอบไปด้วย กลที่ ๒๐ เรียงหลักยืน เป็นหลักการปฏิบัติการสงครามพิเศษ และกลที่ ๑๒ ผลานศรัตรู เป็นหลักการปฏิบัติการ สงครามตามแบบ 188


๒๐. กลเรียงหลักยืน ความเดิม กลศึกชื่อเรียงหลักยืน ให้ชมชื่นรุกราน ผลาญให้ครอบทั่วพัน ผัน เอาใจให้ชื่น หื่นสร้างไร่สร้างนา หาปลาล่วงแดนต่าง โพนเถื่อนช้างล่วงแดนเขา เอาเปน พีเ่ ปนน้อง พร้องตัง้ ค่ายตัง้ เวียง บ้านถิน่ เรียงรายหมัน้ เร่งกระชัน้ เข้าเรียงราย เกาะเอานาย เอาไพร่ ไว่ใจไภยใจถึง ระวังพึงใจให้ ใส่ไคล้เอาเปนเพื่อน ใครแขงกล่นเกลื่อนเสีย ให้เมีย ผูกรัดรึง ให้เปนจึงม่ามสาย รายรอบเอาจงหมั้น จงเอาชั้นเปนกล กลให้เขาลอบปล้น ปล้น บ้านถิ่นเถื่อนไปมา ระอาเพศแทบเวียง กลศึกอันนี้ ชื่อว่าเรียงหลักยืน ความหมาย กลศึกชือ่ เรียงหลักยืน ให้ชนื่ ชมในการรุกรานข้าศึกโดย - ล้างผลาญ ข้าศึกให้รอบด้านเพื่อให้แม่ทัพนายกองและนายพลฝ่ายข้าศึกเปลี่ยนใจมาเข้ากับฝ่ายเรา แล้วฝ่ายเราท�ำการเลี้ยงดูให้มีความสุข - สร้างไร่นา - หาปลาล่วงแดนข้าศึก - จับช้างป่าใน แดนข้าศึก นับกันเป็นญาติ ร่วมกันตัง้ ค่ายและตัง้ เมือง ตัง้ เวียงวังขึน้ ให้เป็นบ้านเมืองมัน่ คง เรียงรายไว้ เร่งเข้าเกาะเพื่อชิงทั้งนายไพร่โดย - ต้องใจถึงไม่กลัวอันตราย - คอยสังเกตผู้มี ใจฝักใฝ่ฝ่ายเรา - ใส่ไคล้ฝ่ายข้าศึกบางคน แต่เอาข้าศึกบางคนเป็นเพื่อน - ใครแข็งขืนให้ ฆ่าเสีย - แต่งเมียให้เพื่อผูกมัดจิตใจ และเป็นสายใยเชื่อม สร้างสัมพันธ์ให้รอบเพื่อชิงบ้าน เมืองข้าศึก แล้วแต่งกลขึ้นอีกหลายชั้น - ลอบปล้นบ้านเมืองข้าศึก - ปล้นบ้านในถิ่นป่าเขา ให้คนอพยพมาอยู่ฝ่ายเรา หลักการท�ำสงครามนอกแบบในการรุกรานข้าศึก คือกระท�ำโดยท�ำการรุก รานศรัตรู ด้วยการล้างผลาญรอบด้าน ทั้งการรุกรานทางเศรษฐกิจ การผูกมิตร (สร้าง พันธมิตร) การท�ำให้กำ� ลังพลข้าศึกแปลพรรคการท�ำสงครามกองโจร - ปล้นบ้าน -โอน เมือง ๑๒. กลผลานศรัตรู ความเดิม กลหนึง่ ชือ่ ว่าผลานศรัตรู ข้าศึกดูองอาจ บ่พลาดราษฎรกระท�ำ น�ำพล พยัคฆปะเมือง พลนองเนืองแสนเต้า แจกเล่าเข้าชาวเรา เอาอาวุธจงมาก ลากปืนพิศพาด ไว้ ขึ้นน่าไม้ธนู กรูปืนไฟจุกช่อง ส่องจงแม่นอย่าคลา ชักสารพาบันทุก อย่าอุกลุกคอยฟัง อย่าประนังตนเด็ด เล็ดเลงดูที่หมั้น กันที่พลจงคง คนหนึ่งจงอย่าฉุก ปลุกใจคนให้หื่น ให้ ชื่นในสงคราม ฟังความสั่งส�ำคัญ ฆ้องกลองพรรณแตรสังข์ ประนังโรมรันรุม เอาจุมพล ดาศึก พิฦกคะเปนนาย ครั้นถูกกระจายพ่ายพัง พลเสริดสั่งฤๅอยู่ บ่เปนหมู่เปนการ โดย สารโสลกดั่งนี้ ชื่อว่าผลานศรัตรู ความหมาย กลศึกชือ่ ผลานศรัตรู หากข้าศึกดูองอาจน�ำพลมากมายสักห้าหมืน่ เข้าล้อมเมือง โดยมิได้ท�ำร้ายประชาชนฝ่ายเรา ฝ่ายเราให้แจกเหล้า ข้าวปลา และเสบียง อาหาร แก่ก�ำลังพล ให้ก�ำลังพลอิ่มหน�ำส�ำราญ น�ำอาวุธทุกชนิดมาใช้ให้มากที่สุด - ลาก ปืนใหญ่เข้าประจ�ำที่ - ขึ้นหน้าไม้และธนู - พลแม่นปืนไฟเข้าประจ�ำที่ ลากรถบรรทุก 189


ยุทโธปกรณ์เข้าประจ�ำที่ และบรรทุกสิ่งของต่างๆ ให้พร้อม อย่าอึกทึกคอยฟังเหตุการณ์ อย่าไปออปะนังกันอยู่ที่ใดๆ ให้เตรียมพร้อมอยู่ในที่มั่นของตนอย่าท�ำฉุกละหุกตื่นเต้น ปลุกใจไพร่พลฝ่ายตนให้ฮึกเหิม อยากเข้าท�ำการรบ ปฏิบัติตามค�ำสั่ง ฆ้อง กลอง แตรสังข์ เมือ่ ได้รบั ค�ำสัง่ ให้เข้าโรมรันข้าศึกให้แตกกระจายพ่ายพังไป โจมตีขา้ ศึกอย่างไม่คาดฝัน ให้ เข้ารบพุ่งด้วยชั้นเชิงที่พิสดารพันลึกให้ข้าศึกพ่ายแพ้ไป หลักการท�ำสงครามตามแบบในการป้องกันเมือง หากข้าศึกมีก�ำลังมาก เข้าล้อมเมืองโดยมิได้ท�ำร้ายประชาชน ให้ตั้งรับโดย - เลี้ยงดูไพร่พล - แจกเสบียงอาหาร แจกอาวุธยุทโธปกรณ์ - เข้าทีต่ งั้ พร้อมรบ เตรียมการด้านก�ำลังส่งบ�ำรุง รักษาระเบียบวินยั รักษาหน้าที่ บ�ำรุงขวัญและก�ำลังใจไพร่พล การบังคับบัญชา อ่อนตัวและพลิกแพลง ในการด�ำเนินกลยุทธ์ กลุ่มที่สองกลุ่มการปฏิบัติเพื่อพลิกแพลงกลยุทธ์ในสนามรบ กลุ่มการปฏิบัติเพื่อพลิกแพลงกลยุทธ์ในสนามรบ มี ๖ กลุ่มย่อย ๑๒ กลยุทธ์ ดังตารางข้างล่าง ทั้ง ๑๒ กลยุทธ์ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการพลิกแพลงการรบเพื่อสนับสนุน กลุม่ งานปฏิบตั งิ านหลักข้างต้น เมือ่ น�ำกลุม่ งานปฏิบตั งิ านหลักและกลุม่ การปฏิบตั เิ พือ่ พลิก แพลงกลยุทธ์เข้ามาใช้งานร่วมกันจะก่อให้เกิดกลยุทธ์พลิกแพลงมากมาย ซึง่ แต่ละกลยุทธ์ มีความหมายและรายละเอียดของการปฏิบัติรวมทั้งหลักการดังนี้

๔. เถื่อนก�ำบัง ๕. พังภูผา ๖. ม้ากินสวน ๗. พวนเรือโยง ๘. โพงน�้ำบ่อ ๙. ฬ่อช้างป่า

๑๓. ชูพิศแสลง ๑๔. แขงให้อ่อน ๑๕. ยอนภูเขา ๑๖. เย้าให้ผอม ๑๗. จอมปราสาท ๑๘. ราชปัญญา

๔. กลเถื่อนก�ำบัง ความเดิม กลหนึ่งชื่อว่าเถื่อนก�ำบัง รั้งรับพลตนน้อย ชักคนคล้อยแฝงป่า - แต่ง พลหล้าแล่นวง ทั้งกงนอกกงใน - ไว้ช้างม้าให้แฝง แทงให้ร้องทรหึง - มี่อึงฆ้องกลองไชย ให้ไว้เสียงส�ำทับ - ปืนไฟกับธนู น่าไม้กรูกันมา - ดาบทะลวงฟันดาหลัง ประดังช้างม้าเรี่ย ชายไพร - ลูกหาบในป่าโห่ เกราะเสโลห์นี่นั่น - ให้ศึกงันร่าถอย ครั้นศึกคล้อยเหนผู้ห้าว กลเสือคราวครึมป่าแล้วออกล่าแล่นฉาว - ท�ำส�ำหาวซ่อนเล็บ - เกบแต่เตียนกินรก - ลอบ ฉวยฉกเอาจงเนือง ให้ศึกเคืองใจหมอง คล่องยุบนดังนี้ ชื่อว่าเถื่อนก�ำบัง

190


ความหมาย กลศึกชื่อเถื่อนก�ำบัง ตั้งรับด้วยก�ำลังพลน้อย - ให้ซุ่มซ่อนคนใน ป่า - จัดก�ำลังพลให้ออกเคลื่อนไหวทั้งชั้นนอกและชั้นใน - ซ่อนช้างม้าไว้ในป่าแล้วตีแทง ให้ร้องอึกทึกครึกโครม - เมื่อข้าศึกเข้ามาให้ตีฆ้องกลองเป็นสัญญาณ - หน่วยปืนไฟ ธนู และหน้าไม้กรูกันเข้าที่มั่น - หน่วยทะลวงฟันตั้งไว้หลัง แล้วซุ่มก�ำลังช้างม้าไว้แนวชาย ป่า - ให้ลูกหาบที่อยู่ในป่าโห่ร้องพร้อมตีเกราะเคาะโล่ขึ้นทุกที - ข้าศึกจะตลึงงันแล้วล่า ถอย เมื่อข้าศึกถอยให้เร่งแสดงความห้าวหาญประดุจดังเสือแฝงตัวในป่า ยกก�ำลังออก ตีโต้โดย - ใช้กับดักซ่อนไว้ - ลากข้าศึกเข้าท�ำลายในที่ลับ - ลอบสังหารท�ำลายข้าศึกอย่าง เนืองนิจ ท�ำลายขวัญข้าศึก หลักการตั้งรับใช้ก�ำลังน้อยเอาชนะก�ำลังมาก ๑. ตั้งรับโดย - การวางก�ำลัง ตั้งรับ - ซ่อนเร้น - ลวง ๒. การรบในพื้นที่ตั้งรับ - การควบคุมบังคับบัญชา - ใช้อาวุธยิง ใช้อาวุธฟันแทง - ใช้อาวุธที่มีก�ำลังชน - ท�ำลายขวัญข้าศึก - ท�ำให้ข้าศึกตะลึงงัน ๓. การ รุกโต้ตอบ - รุก - ลิดรอนก�ำลัง - การรบพลิกแพลง ๔. ท�ำลายขวัญ

๑๓. กลชูพิศแสลง

ความเดิม กลหนึง่ ว่าชูพศิ แสลง ข้าศึกแรงเรืองฤทธิ์ คิดไฝ่ไภยเอาเรา เคยเขามาก มาก ภาคที่แคบที่คับ สลับรี้พลช้างม้า เคยคลาปล้นรุกราน ผลานฬ่อลวงบ้านเมือง เนือง เนืองมาเพื่อนตน ให้ใส่กลปราไศรย ฝากของไปฝากรักษ์ ลักลอบให้เงินทอง รังวันปองขุน ใหญ่ หัวเมืองไพร่ข้าศึก ให้ตฤกจงลับแล้ง แข่งอุบายเล่ห์คิด ไปมาสนิทเปนกล ให้เขาฉงน สนเท่ห์ เพราะเปนเล่ห์ภายใน บไว้ใจแก่กัน ผันใจออกกินแหนง แยงให้ผิดด้วยกัน ชูพิศ ผรรแปรพิศ ให้ผิดกันเองโจกเจก บเปนเอกใจเดียว บเปนเกี่ยวเปนการ เพราะพิศผลาน ศัตรู กลศึกอันนี้ ชื่อว่าชูพิศแสลง ความหมาย กลศึกชือ่ ชูพศิ แสลง ข้าศึกมีก�ำลังเข้มแข็งยกมารุกรานอยูเ่ ป็นประจ�ำ - ข้าศึกรู้ภูมิประเทศ ว่าที่ใดควรใช้ก�ำลังช้างม้าอย่างไร - ข้าศึกได้เข้าปล้นรุกรานท�ำลาย บ้านเมืองต่างๆ เป็นเมืองขึ้นอยู่เนืองๆ แต่ฝ่ายเราไม่สามารถรับมือได้ ให้ฝ่ายเราแต่งพล เข้าเจรจาและน�ำเงินทองของฝากไปให้เจ้าหัวเมืองและแม่ทัพนายกองฝ่ายศัตรู ให้กระท�ำ งานนี้อย่างเร้นลับ แต่งกลอุบายใช้ - ความสนิทสนมเป็นกล เพื่อให้ฝ่ายข้าศึกไม่ไว้ใจกัน และกินแหนงแคลงใจกัน - ยุแยงให้แตกแยกผิดใจกัน ท�ำให้แตกความสามัคคีทะเลาะกัน วุ่นวายไม่เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน หลักการตัง้ รับโดยใช้กำ� ลังน้อยเอาชนะก�ำลังมาก ข้าศึกมีก�ำลังมากเข้ารุกราน และข้าศึกช�ำนาญภูมิประเทศ ให้ใช้การลวงทางการทูตโดย - การเจรจา - การให้สินบน - การให้ของฝาก ท�ำการรักษาความลับของแผน และแต่งอุบายหลายอย่าง - ให้ข้าศึก แตกความสามัคคีกัน - ท�ำให้ข้าศึกแตกจากภายใน 191


๕. กลพังภูผา

ความเดิม กลนีช้ อื่ พังภูผา แม้ศกึ มาปะทะ อย่าเพ่อระเริงแรง ส�ำแดงดุจเหนน้อย ชักม้าคล้อยแฝงป่าเขา ศึกเหนเราดูถูก ผูกช้างม้าออกไล่ ยอพลใหญ่กระทบ ผิรบเขาบ่ไหว ให้ช้างม้าโรมรุม กลุ้มกันหักอย่าคลา อย่าช้าเร่งรุมตี ศึกแล่นหนีตามต่อย ให้ยับย่อยพราย พรัด ตัดเอาหัวโห่เล่น เต้นเริงร�ำส�ำแดงหาร ให้ศึกคร้านคร้ามกลัว ระรั้วระเสิดสัง กลศึก อันนี้ ชื่อว่าพังภูผา ความหมาย กลศึกชื่อพังภูผา เมื่อข้าศึกเข้าประชิด - อย่าแสดงว่ามีก�ำลังมาก - ให้แสร้งท�ำดุจมีก�ำลังน้อย แยกก�ำลังเป็นหน่วยย่อยๆ เข้าซ่อนตัวในป่า เมื่อศัตรูดูถูกเรา ยกก�ำลังช้างม้าออกมาไล่แล้วเคลือ่ นก�ำลังหลักเข้าตี เมือ่ เห็นทีวา่ รบตรงๆ ไม่ไหวก็ให้ใช้ทพั ช้างทัพม้าเข้าโรมรันร้องตีเอาชนะศัตรู เมื่อทัพศึกถอยหนี ก็ให้ตามตีกระหน�่ำซ�้ำเติม - ตัด เอาหัวข้าศึกมาโห่แห่เล่น เต้นร�ำส�ำแดงความกล้าหาญ ท�ำให้ศัตรูเกรงกลัวและถอยไปเอง หลักการตั้งรับมีก�ำลังมากแสดงว่ามีก�ำลังน้อย เมื่อข้าศึกเข้าตีด้วยก�ำลังมาก ตัง้ รับโดย - ปกปิดก�ำลังและซ่อนพรางก�ำลังพลให้ขา้ ศึกประมาทเข้าตี - หากก�ำลังทัพหน้า เห็นศัตรูหา้ มไม่ให้ใช้ก�ำลังทัง้ หมด ล้อมตีศตั รูอย่างดุเดือดให้ขา้ ศึกถอยหนี บ�ำรุงขวัญก�ำลัง ฝ่ายตนแล้วไล่ติดตามไล่ก�ำลังศัตรูอย่างห้าวหาญ ท�ำลายขวัญข้าศึกให้ถอยหนีเอง ๑๔. กลแขงให้อ่อน ความเดิม กลหนึ่งแขงให้ออ่ น ผ่อนเมื่อศัตรูยก ให้ดบู กดูนำ�้ ซ�ำ้ ดูเข้ายาพิศ พินิต พิศจงแหลก ตัดไม้แบกเบือ่ เมา เอาไปทอดในนำ�้ ทับซ�ำ้ หนามขวาก แต่งจงมากท่าทาง วาง จาวห้าวแหลนเล่ห์ บ่อด่านทางเข้าที่ขัน กันหลายแห่งที่คับ แต่งสนับไว้จ่อไฟ ไล่เผาคลอก ป่าแขม แนมขวากหนามหว่างน�้ำค่าม ตามเผาป่าแทบทัพ ยับไม้เผาเปนถ่าน หว่านไฟไว้ รายเรียง รอเผาเสบียงจงสิ้น อย่าให้กินเปนอาหาร แต่งคนชาญหลอกทัพ ให้เสียหับเสีย หาย ท�ำลายคาบเนืองเนือง เปลืองสเบียงเปล่าเฉาแรง กลชื่อแขงให้อ่อน ความหมาย กลศึกชื่อแขงให้อ่อน เมื่อข้าศึกยกมาให้ท�ำการรบหน่วงเวลา ส�ำรวจภูมิประเทศทั้งทางบกและทางน�้ำ - เลือกพื้นที่ที่จะวางยาพิษ แล้วพิจารณาตัดไม้ เบือ่ เมาเอาไปวางทดในนำ�้ - ท�ำหลุมขวากอย่างมากมาย - จัดวางจังห้าวแหลนเล่ห์ ตามบ่อ ด่านหรือทางคับขัน - กันพืน้ ทีค่ บั ขันทีเ่ ป็นป่าแขมหลายแห่งไว้เพือ่ จุดไฟเผาครอกศัตรู- วาง ขวางหนามตรงท่าข้ามน�้ำ เมื่อข้าศึกยกมาให้ท�ำการรบหน่วงเวลา - เผาป่าที่อยู่ติดกับค่าย ศัตรู - ตัดไม้เผาถ่านหว่านไว้ในทีต่ า่ งๆ เพือ่ จะเผาเสบียงข้าศึกอันเป็นเหตุให้ขา้ ศึกอดอยาก แต่งผู้ช�ำนาญการหลอกล่อข้าศึกให้ไปติดกับดักอยู่เนืองๆ จะท�ำให้ข้าศึกเสียก�ำลังพลและ ก�ำลังรบ

192


หลักการตั้งรับเมื่อมีก�ำลังมากแสดงว่ามีก�ำลังน้อย ๑. อ่อนตัวในการด�ำเนิน กลยุทธ์ ๒. ใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศ ๓. ใช้เครื่องมือที่หาง่าย - วางยาพิษในน�้ำ - ท�ำ หลุมขวาก - วางจังห้าว แหลนหลาว - ใช้ไฟครอกทัพศึก - เผาเสบียง

๖. กลม้ากินสวน ความเดิม กลหนึ่งชื่อว่าม้ากินสวน ให้หาผู้ควนหารห้าว ลาดเอาเย่าเอาเรือน บ้านถิ่นเถื่อนอยู่ใกล้ จับกุมได้เอามา นานาเลศเทศกาล ปันพนักงานจงขาด ปรนไปลาด เนืองเนือง ให้ศึกเคืองใจแค้น แม้นจะอยู่บ่มีสุข บุกขับกันทุกเดือน เตือนใจตื่นไปมา กล ขับปลาให้ห้อม ด้อมดักสักสุ่มเอา ให้ศึกเหงาใจถอย ค่อยเกบนอกเข้ามา ให้ระอาใจอ่อน ผ่อนผู้คนให้หนี กลอนกล่าวกลศึกนี้ ชื่อว่าม้ากินสวน ความหมาย กลศึกชื่อว่าม้ากินสวน ให้แต่งคนที่มีความห้าวหาญออกลาด ตระเวนรบตีเอาบ้านเมืองข้าศึกทีอ่ ยูใ่ กล้แดนเราอย่าให้วา่ งเว้น เมือ่ จับประชาชนฝ่ายข้าศึก ได้ให้เอามาสอบสวนหาข่าวสารฝ่ายข้าศึก จัดก�ำลังออกไปลาดตระเวนรบอยู่เนืองนิตย์ ในทุกฤดูกาล ท�ำให้ข้าศึกต้องล�ำบากใจอยู่ไม่เป็นสุข เกิดความปั่นป่วน ต้องเตรียมรบอยู่ ตลอดเวลา เหมือนกับกลการจับปลาให้ล้อมวง เข้าไปทีละน้อยแล้วแทงหรือสุ่มเอา ท�ำให้ ข้าศึกเสียขวัญและก�ำลังใจแล้วยึดทีละขั้น ตั้งแต่ชายขอบเข้าไปท�ำให้ประชาชนของข้าศึก อิดหนาระอาใจ ย้ายครอบครัวถอยหนีไป หลักการรบตามแบบเมื่อรุกรานข้าศึก ๑. การหาข่าว - การลาดตระเวนหา ข่าว - การหาข่าวจากประชาชน - การซักข่าวจากเชลยศึก ๒. การเข้าตีรบกวนข้าศึกเพื่อ ลิดรอนก�ำลังข้าศึก ๓. ท�ำให้ขา้ ศึกเตรียมพร้อมโดยไม่จ�ำเป็น ๔. กลล้อมจับปลา ๕. ท�ำลาย ขวัญและก�ำลังใจของข้าศึกให้ถอยหนีไปเอง ๑๕. กลยอนภูเขา ความเดิม กลหนึง่ ยอนภูเขา ข้าศึกเนาประชิด ให้รดิ ชู อ่ งชอบ ทีจ่ ะขอบจะขัง แต่ ระวังยักย้าย ฝ่ายพลเขาเอาสเบียง เรียงงานในเมืองเรา เอาใจไพร่ใจพล คนอยประจ�ำการ พนักงานใครใครรบ แต่งบันจบพลแล่น ให้ท�ำแกว่นชวนกัน แต่งทลวงฟันบุกทัพ คอยฟัง ศัปทส�ำคัญ หาที่ยันที่อ้าง เอาม้าช้างเป็นตีน ปีนคูหักค่ายเข้า รบรุกเร้ารุมแทง อย่าคลาย แคลงพรายพรัด ตัดไม้ม้วยด้วยกัน ให้ส�ำคัญจงแม่น แล่นช้างม้าวางขวาก เขาตามยาก เอาเรา เท่าทิศที่ตนหมาย ฆ่าให้ตายกลากลาด ต้องบาดเจบป่วยการ ศัตรูดาลระทด ขด ด้วยเสียงปืนไฟ ในเมืองเร่งโห่ร้อง ให้มี่ก้องนิรนาท มีปี่พาทย์เสียงสรวญใน ชมชื่นใจขับร�ำ ซ�้ำทนงองอาจ ปืนไฟพาดประนัง กลชื่อยอนภูเขา

193


ความหมาย กลศึกชื่อหนึ่งยอนภูเขา ข้าศึกเข้าประชิดเมือง - พิจารณา ภูมิประเทศเพื่อที่จะ - เป็นทางเคลื่อนย้ายของฝ่ายเรา - เป็นทางตันที่จะกักขังข้าศึก - ให้ ระวังการเคลื่อนย้าย ถ้าหากฝ่ายข้าศึกจัดเตรียมเสบียงในเมืองเราให้ฝ่ายเรา - บ�ำรุงขวัญ ก�ำลังพล - จัดคนอยู่ประจ�ำการ- แบ่งหน้าที่ในการรบ - จัดหน่วยลาดตระเวนหาข่าวและ ลาดตระเวนรบ - แต่งหน่วยทะลวงฟันเพื่อเป็นหน่วยจู่โจม รักษาการบังคับบัญชา หาที่ ตั้งรบให้เหมาะสม ใช้ช้างม้าเข้ารบหรือปีนเข้าท�ำลายข้าศึกอย่างเป็นกลุ่มก้อน ขี่ช้างม้าไป วางขวาก เมื่อข้าศึกไล่ติดตามในทิศทางที่เราคาดไว้ก็เข้ารบพุ่งฆ่าฟันหรือท�ำให้ข้าศึกบาด เจ็บให้มาก จะท�ำให้ข้าศึกเสียขวัญและก�ำลังใจ ใช้เสียงข่มขวัญ อันประกอบด้วยเสียงปืน ไฟ เสียงคนในเมืองโห่รอ้ งอย่างกึกก้องกัมปานาท เสียงจากการบรรเลงดนตรีปพ่ี าทย์ และ มหรสพ และมีความทรนงองอาจ พาดปืนไฟเตรียมพร้อมไว้เสมอ หลักการรบตามแบบด้วยการตัง้ รับป้องกันเมืองเมือ่ ข้าศึกรุกราน ให้ตงั้ รับโดย - ใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศ - บ�ำรุงขวัญก�ำลังพล - เตรียมพร้อมรบ และแบ่งหน้าที่รบ โดย - จัดหน่วยลาดตระเวนหาข่าว - จัดหน่วยลาดตระเวนรบ - จัดหน่วยทะลวงฟันเตรียม การบังคับบัญชา, ใช้ภูมิประเทศที่ได้เปรียบ, ปล้นค่ายศัตรู, ใช้ฉากขัดขวาง ชักน�ำให้ข้าศึก มาติดกับและท�ำลายข้าศึกเสีย, ท�ำลายขวัญข้าศึก ระวังป้องกันโดยเตรียมพร้อมน�ำอาวุธยิง เข้าที่ตั้ง

๗. กลพวนเรือโยง ความเดิม กลศึกอันหนึ่งชื่อว่าพวนเรือโยง ประดุจผะโองปีนตาล ท�ำจงหวาน แช่มชิด ผูกเปนมิตรไมตรี สิ่งใดดียกให้ ละไล่ต่อย่าเสีย แต่งลูกเมียให้สนิจ ติดต่อต้งงยัง กล ยุบลช้างเถื่อนตามโขลง โยงเบ็ดราวคลาวเหยื่อยาม ค่อยลากก้ามเอามา ด้วยปัญญา พิษฎาร กลการศึกอันนี้ ชื่อว่าพวนเรือโยง ความหมาย กลศึกชื่อว่าพวนเรือโยง ท�ำเหมือนผะอง (บันได) ขึ้นต้นตาล ท�ำจง หวานแช่มชิด ท�ำใจดีผูกมิตรไมตรี ยกของดีให้ เพื่อผูกใจข้าศึกไว้กับใจเรา จัดหาหญิงฝ่าย เราไปตบแต่งเป็นเมียข้าศึก เพื่อเป็นคนเกลี้ยกล่อม ท�ำกลดั่งการต้อนจ่าโขลงเพื่อจับช้าง ป่า ท�ำกลเหมือนการท�ำเบ็ดราว ซึ่งต้องค่อยๆ ลากเหยื่อเอาปลามา ใช้สติปัญญาเอาชนะ ข้าศึกโดยพิศดารแยบคาย หลักการ ท�ำให้ข้าศึกพ่ายแพ้เอง (เอาชนะด้วยการทูต ) ๑. การทูต - ผูกมิตร ให้ของรัก - ให้หญิงงาม ๒. กลอุบาย - จับช้างจับจ่าโขลง - ตกเบ็ด ๓. ใช้ความพลิกแพลง

194


๑๖. กลเย้าให้ผอม ความเดิม กลหนึ่งเย้าให้ผอมนั้น บั่นเมื่อเธอลีลา พาธาอริราช ให้พินาศศัตรู หมั่นตรวจดูก�ำลัง ช้างม้าทั้งรี้พล ปรนกันเปลี่ยนไปลาด ผาดจู่เอาแต่ได้ หนังสือไว้หมาย หมก ว่าจะยกพลหลวง ลวงใส่กลเปนเขต ดูในเทศการ ให้ป่วยงานท�ำนา แสวงตรวจตรา พลแกล้ว ให้แผ้วถางแส้งท�ำ คคึกค�ำแรงรณ ครั้นหลงกลยกเล่า ลากพลเข้าเนืองเนือง แยง ให้เปลืองไปมา ดุจกลกาลักไข่ จะไล่ไล่ก็มีทัน วันคืนปีป่วยการ ข้าศึกต้านยืนอยาก ให้เข้า ยากหมากแพง สิ่งเปนแรงให้แรงถอย ร่อยร้อนไข้ใจหิว ตีนมือปลิวพลัดพราย ไพร่หนีนาย นายเปลี่ยว บเปนเรี่ยวเปนแรง ใครใครแขงมิได้ ใครใครไม่มีลาภ ถ้ารูปงามเสาวภาพย์ ก็จะเศร้า กลอุบายนี้เล่า ชื่อว่าเย้าให้ผอม ความหมาย ท�ำลายเมือ่ ข้าศึกเคลือ่ นไหว เบียดเบียนปรปักษ์ให้พงั พินาศลงโดย - ตรวจดูก�ำลังช้างม้าลี้พล - เปลี่ยนกันไปลาดตระเวนเข้าไปในแดนข้าศึกโดยซ่อนเอกสาร ปลอมว่าจะยกทัพหลวงไปโจมตี - ลวงเป็นพื้นที่ - ลวงในเวลาเพาะปลูกมิให้ราษฎรท�ำนา ได้ - ท�ำให้ข้าศึกหลงกลตรวจพล เกณฑ์พล และแผ้วถางเส้นทางที่จะยกทัพมารับทัพศึก เราเป็นจ�ำนวนมากครัง้ สิน้ เปลืองก�ำลังพลไปเปล่าๆ กลนีเ้ หมือนกลกาลักไข่ จะไล่เอาไข่คนื ก็เสียเวลาเปล่า ข้าศึกที่มาต้านทัพนั้นต้องยืนอดอยากปากแห้งเพราะเกิดข้าวยากหมาก แพง เนื่องจากมิได้ท�ำนา สิ่งที่เป็นพละก�ำลังศึกก็จะถดถอยลงเนื่องจากก�ำลังพลป่วยและ หิวโหย มืออ่อน ตีนอ่อน ไพร่จะหนีนายให้นายเปลี่ยวไม่มีก�ำลังที่จะท�ำสิ่งใดได้ ไม่มีใคร แข็งแรงและได้ลาภ ได้ผลประโยชน์ แม้ผู้มีรูปงามก็จะทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว หลักการ ท�ำให้ข้าศึกพ่ายแพ้เอง (เอาชนะด้วยการลิดรอนก�ำลัง) ๑. เอาชนะ ด้วยการลิดรอนก�ำลังข้าศึกโดย - เตรียมก�ำลังพลและยานพาหนะ (เตรียมก�ำลังรบ) - ลาด ตระเวนหาข่าว - ลาดตระเวนรบ - ลวงให้ข้าศึกเตรียมพร้อมในทุกสถานที่ทุกเวลาท�ำให้ เศรษฐกิจข้าศึกเสียหาย ทหารอ่อนแอลง ๒. กลกาลักไข่ ๓. ท�ำลายระบบค�้ำจุลชีพของ กองทัพข้าศึก ๔. ท�ำลายก�ำลังรบข้าศึก ๕. ท�ำลายวินัยทัพข้าศึก ๖. ท�ำให้ทัพข้าศึกอ่อน ก�ำลังโดยสิ้นเชิง

๘. กลโพงน�้ำบ่อ

ความเดิม กลหนึ่งชื่อว่าโพงน�้ำบ่อ คิดต่ดต่อข้าศึก ฝ่ายเขานึกดูแคลน ใครรุก แดนรุกด้าว เลียบเลียมกล่าวข่มเหง ชะนะเลงดูหมิ่นเรา โอนอ่อนเอาอย่าขวาง ข้างเราท�ำ ดุจน้อย ค่อยเจรจาพาที ลับคดีชอบไว้ อ่อนคือใครตามใจ น�้ำไหลลู่หลั่งหลาม พูดงามก้าน กิ่งใบ อัทยาไศรถ่อมถด อดค�ำกล่าวท่าวเอา ครั้นว่าเขาดูหมิ่น ผินผันพลดูแคลน แดนพัง พลดูถูกประดุจลูกหลานตน ครั้งสบสกลเราไซ้ จึ่งยกได้เขาคืน เราลุกยืนผูกเอา ได้เขาท�ำ สง่าเงย เตยหน้าตาโอโถง ดุจหนึ่งโพงไต้น�้ำ ค�ำคดีติดต่อ ชื่อว่าโพงน�้ำบ่อแล 195


ความหมาย กลศึกนี้ชื่อว่าโพงน�้ำบ่อ - แกล้งติดต่อกับข้าศึก เป็นธรรมชาติของ ฝ่ายข้าศึกจะนึกดูถูกฝ่ายเรา ข้าศึกมักพยายามล�้ำเขตแดนและเจรจาในเชิงข่มเหง อย่าถือ โทษให้ยอมตามไปเรื่อยๆ อย่าขัดขวาง เหมือนไหลตามน�้ำไป - ฝ่ายเราท�ำดุจมีก�ำลังน้อย ค่อยๆ เจรจาพาทีท�ำความดีความชอบ โอนอ่อนผ่อนตามข้าศึกประดุจดังกิง่ ไม้ ทีต่ อ้ งลูต่ าม สายน�ำ้ ไปเมือ่ น�ำ้ หลาก เจรจากับข้าศึกอย่างเอาอกเอาใจดัง่ ต้นไม้ทกี่ �ำลังงอกงามมีอธั ยาศัย ถ่อมตน แม้อยากจะพูดสิ่งใดก็ต้องอดทนไว้ เมื่อศัตรูดูหมิ่นเรา ให้จูงใจไพร่พลให้รู้สึกว่า ยอมให้เขาดูถกู หรือดุดา่ ว่ากล่าวเหมือนเราเป็นลูกหลานของเขาไม่ได้อกี แล้ว เมือ่ สบโอกาส ให้ยกทัพไปตีข้าศึกคืนเมื่อยึดเมืองข้าศึกได้แล้วจึงแสดงความสง่าผ่าเผยเชิดหน้าชูตาได้ หลักการท�ำให้ขา้ ศึกตกอยูใ่ นความประมาท (ลวงทางการทูต) ลวงทางการทูต แกล้งอ่อนน้อมถ่อมตนติดต่อกับข้าศึกก่อนโอนอ่อนผ่อนตามข้าศึก มีก�ำลังมากแสดงว่า มีก�ำลังน้อย ท�ำความชอบให้ข้าศึกพอใจ เจรจา เอาอกเอาใจถ่อมตนอดทนท�ำให้ข้าศึก ดูหมิ่น ปลุกขวัญทหารฝ่ายเรา รุกโต้ตอบ

๑๗. กลจอมปราสาท ความเดิม กลหนึ่งชื่อจอมปราสาท องอาจมุ่งมาทดู คูหอคอยเวียงวัง ตั้งไชยภูม จงผับ รู้ตั้งทัพพระพลาไชย อย่าได้ไหวได้หวั่น หมั่นดูฉบับธรรมเนียม เตรียมปูนปั้นเปน กอง น่าหลังสองตราบข้าง รอบไว้ช้างม้ารถ ห้วยธารคชโยธา ให้รักษาจงรอบ ทุกคันขอบ นอกใน อย่าได้ไหวปั่นป่วน อย่าได้ด่วนค่อยฟัง คอยดูหลังดูน่า จัดช้างม้ารี้พล ปรนกันกิน กันนอน อย่ายอหย่อนอุส่าห์ ให้หมั่นว่าหมั่นตรวจตรา ทังกระลากระแลงแกง อย่าได้แฝง นายไพร่ ไภยรักษาจงมาก อย่าให้ยากใจพล อย่าท�ำกลดุจเสือ บกเรือจงช�ำนาญ ชาญทั้ง ที่โดยกระบวน คิดควรรู้จงผับ นับหน้าดูผู้อาษา หาคนดีเปนเพื่อน อย่าเลื่อนถ้อยให้เสียค�ำ ท�ำอันใดท�ำโดยสาตร์ ตามฉบับราชโบราณ กระท�ำการให้รอมชอม กลศึกนี้ชื่อว่าจอม ปราสาทฯ ความหมาย กลศึกชื่อจอมปราสาท ให้เตรียมพร้อม ระวังป้องกันค่ายครูหอรบ และเวียงวัง ให้ตงั้ ทัพ ณ ชัยภูมิ ให้ตงั้ พลับพลาชัย อย่าหวัน่ ไหว ดูหลักนิยม เตรียมบ�ำเหน็จ รางวัล ตัง้ ทัพในสนามรบ ตัง้ ทัพทัง้ หน้าหลังซ้ายขวา ไว้ชา้ งม้ารถ โดยรอบ ไว้ชา้ งและก�ำลัง พลใกล้ห้วยธาร จัดการระวังป้องกันโดยรอบ อย่าได้มีความปั่นป่วน อย่าด่วนตัดสินใจ ต้องคอยฟังค�ำสั่งและดูเหตุการณ์ทั้งหน้าหลัง จัดช้างม้าลี้พลผลัดกันพักและเตรียมพร้อม รักษาวินัยอย่าหย่อนยาน ให้หมั่นตรวจตราทั้งสถานที่ และถนนหนทางต่างๆ อย่าได้ไป ซ่อนเร้นอยูข่ า้ งในไพร่ ป้องกันอย่าให้เกิดภัยอันตราย เกิดความเสียหายและความเดือดร้อน อันมาก อย่าให้ไพร่พลล�ำบากใจ ต้องช�ำนาญการรบทั้งทางบกและน�้ำ เชี่ยวชาญทั้งการตั้ง ทัพและเคลือ่ นทัพว่าทีใ่ ดควรปฏิบตั อิ ย่างไร จัดท�ำทะเบียนผูอ้ าสาไว้ คบคนดีเป็นเพือ่ น อย่า เสียค�ำพูด ท�ำการต่างๆ ตามหลักวิชาการที่มีมาแต่โบราณ ท�ำการทุกอย่างต้องปรองดอง เข้าหากันด้วยความสามัคคี 196


หลักการเตรียมพร้อมไม่ประมาทศัตรู (สร้างความเกรียงไกรให้กับฝ่ายตน) ๑. ป้องกันเมือง ๒. การตั้งทัพ - ตั้งในชัยภูมิ - ตั้งพลับพลาชัย - รักษาความปลอดภัยโดย วางก�ำลังรอบตัว ๓. การบังคับบัญชา ๔. การรักษาความปลอดภัย - จัดเวรยาม - ตรวจ เวรยาม ๕. รักษาระเบียบวินัย ๖. เตรียมแผนรบไว้ตั้งแต่ยามปรกติ ๗. สร้างพันธมิตร ๘. รักษาความสัตย์ ๙. ท�ำตามหลักนิยม ๑๐. รู้รักสามัคคี

๙. กลฬ่อช้างป่า ความเดิม กลศึกอันหนึง่ ชือ่ ว่าฬ่อช้างป่า ผีศ้ กึ มาคะคึก ศึกครัน้ หนีครัน้ ไล่ บค่อย ไต่ค่อยตาม ลามปามแล่นไล่มา ให้แทงหาขุมขวาก พากที่เหวที่ตม แต่งให้ล้มหลุมขุม ซุ่ม ซ่อนตนสองปราด แต่งให้ลาดเบื้องน่า คอยอยู่ถ้าที่ดี ถ้าไพรีเหนได้ ศึกเหนใคร่ใจคด ค่อย ถอยถดฝ่ายเรา ฝ่ายเขาขามบไล่ ฝ่ายเราไปล่รี้พล ไว้เปนกลหลายถาน ปันการตามหน้า หลัง ระวังยอหลายแห่ง สบที่แต่งเนืองเนือง พลเขาเปลืองด้วยกล ยุบลฬ่อช้างเถื่อน แล้ว แต่งเตือนน่าหลัง ทั้งไปหน้าก็บได้ ถอยหลังไปก็บรอด ทอดตนตายกลางช่อง คลองยุบล ดังนี้ ชื่อว่าฬ่อช้างป่า ความหมาย กลศึกนี้ชื่อว่าฬ่อช้างป่า เมื่อข้าศึกเข้าตีด้วยจ�ำนวนมาก ฝ่ายเรา ถอยข้าศึกก็ยงิ่ เร่งไล่ตดิ ตามตีฝา่ ยเรามาโดยมิได้มคี วามระมัดระวัง ให้ฝา่ ยเราท�ำกับดักหลุม ขวา ปกปิดซ่อนไว้ ล่อหลอกให้ข้าศึกมาติด หลุมพรางนั้นเหมือนการล่อช้างป่า ฝ่ายเราให้ ซุ่มซ่อนพลไว้ทั้งสองข้างทาง แล้วแต่งหน่วยออกลาดตระเวนคอยดูท่าทีข้าศึก เมื่อข้าศึก เห็นเราแล้วเริม่ เข้าตีให้ถอยก�ำลังกลับ ข้าศึกจะไม่กล้าติดตามอีกเนือ่ งจากคิดว่าเป็นกลลวง ฝ่ายเราไม่มลี พี้ ลพอทีจ่ ะตัง้ เป็นกลได้หลายแห่งจึงให้แบ่งงานกัน ระหว่างหน่วยในแนวหน้า และกองหนุน เตรียมทีต่ งั้ รบหน่วงเวลาไว้หลายแห่งโดยแต่งทีเ่ ป็นกับดักหลุมพรางไว้ตลอด ให้ข้าศึกสิ้นเปลืองก�ำลังด้วยกลต่างๆ ท�ำดั่งล่อช้างป่าแล้วแต่งทัพปิดหน้าหลังข้าศึกจะรุก หรือถอยก็มิได้เลยต้องทอดตนตายเกลื่อนกลาดตามสนามรบ หลักการตั้งรับศึกด้วยก�ำลังน้อยเมื่อข้าศึกเข้าตีด้วยก�ำลังมาก ข้าศึกเข้าตี ด้วยก�ำลังมากไล่ตามตีฝ่ายเราอย่างบุ่มบ่าม ๑. ฝ่ายเราตั้งกลเพื่อต่อต้านข้าศึกโดย - วาง กับดัก - ซ่อนเร้นก�ำลังพล แต่งก�ำลังพลออกลาดตระเวนรบตลอดเวลา แล้วให้วางตัวอยู่ ณ ที่ข้าศึกเห็นได้ - ข้าศึกเห็นว่าเป็นกลลวงไม่กล้าเข้าตี ๒. ฝ่ายเรามีก�ำลังน้อยต้องรบ โดย - ออมก�ำลัง - รวมก�ำลัง - พลิกแพลงแผน - วางกับดัก - ล้อมตีข้าศึกทุกด้าน

197


๑๘. ราชปัญญา ความเดิม กลหนึง่ ชือ่ ว่าราชปัญญา พร้อมเสนาทัง้ สองข้าง ช้างม้ารถเสมอกัน หา นักธรรม์ผู้ฉลาด อาจไส่กลไปปลอม ด้อมดูที่ดูทาง วางต้นหนคนใช้ ไว้กังวลแก่เขา เอาสิน ให้หฤหรรษ์ ให้คิดผันใจออก ทั้งภายนอกภายใน หวั่นไหวใจไปมา แต่งโยธาหัดกัน หลาย หมู่พรรค์หลายกอง จองนายหนึ่งไพร่สี่ ทวีนายหนึ่งไพร่หก ยกนายหนี่งไพร่เก้า เคล้านาย ห้าจองพล ซ้ายขวาคนน่าหลัง ทั้งอาวุธท่าทาง ถอยพึงกางกันรบ ทบเท้าอย่าหนีกัน คอย ยืนยันรบพลาง ไส่ยาวางเรียเด็จ นายไพร่เล็ดลอดตาม ให้ฟงั ความสัง่ ส�ำคัญ ฆ้องกลองพรรณ ธงไชย กดให้ไล่ให้หนี ลีลาลาดศึกเข้า ในพลเคล้า เปนกล สองกองพลซ้ายขวา ดูมรรคา ชอบกล เอาพลตั้งสองข้าง กองกลางง้างพลถอย ศึกตามลอยแล่นไล่ ครั้นศึกไปล่ออกข้าง คอยดูช้างดูม้า ดูทวยคลารี้พล สบสกลโดยส�ำคัญ จึ่งกระทบกันเข้ารบ สบส�ำเนียกเสียกสา อย่าให้คลาให้คลาด ผาดเอาคงเอาวัน หยิบเอาพลันจงได้ ไว้ก�ำหนดนายกอง ช้างปองปูน จงสับ นับอ่านเร่งตรวจตรา กลศึกอันนี้ชื่อว่า กลราชปัญญา ความหมาย กลยุทธ์นี้ชื่อราชปัญญา ให้แบ่งเสนาบดีออกเป็นสองฝ่ายโดยแบ่ง ช้าง ม้า รถ เป็นฝ่ายเท่าๆ กัน ให้หานักธรรมผู้เฉลียวฉลาดปลอมตนในพื้นที่ฝ่ายศัตรูเพื่อ ส�ำรวจภูมิประเทศ วางคนเอาไว้ดูต้นทาง เช่น ปลอมเป็นคนใช้ข้าศึก ให้ข้าศึกเกิดความ วิตกกังวล เอาทรัพย์สินให้แม่ทัพในกองข้าศึกให้เอาใจออกห่าง ให้มีใจหวั่นไหวกัน ทั้งใน เมืองหลวงและหัวเมือง จัดการฝึก ฝึกหลายเหล่า ฝึกหน่วยหลายขนาด ตั้งแต่ นายหนึ่ง ไพร่สี่นายหนึ่งไพร่หกนายหนึ่งไพร่เก้า ฝึกหน่วยขนาดใหญ่โดยจัดก�ำลังออกเป็นกอง โดย ให้จดั นายห้าคนไว้ตรงกลางข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ฝึกการใช้เครือ่ งศาสตราวุธ ต่างๆ เมื่อเวลาถอยให้ช่วยกันรบอย่างเหนียวแน่น ไม่หนีแตกแยกกัน ขณะรบพลางถอย พลางให้วางยาพิษข้าศึกก่อนจะถอยหนีทั้งนายไพร่ ในการรบให้ฟังค�ำสั่งอาณัติสัญญาณ ฆ้องกลองและธงว่าจะให้ไล่หรือให้หนี เมื่อหน่วยลาดตระเวนรายงานว่ามีข้าศึกเข้ามา ให้ แต่งกลอุบาย โดยแบ่งก�ำลังออกเป็นสองกองพล ซ้าย ขวา แล้วให้ไปวางไว้สองข้างของ เส้นทางทีเ่ หมาะสม ทีค่ าดว่าข้าศึกจะเข้ามา ให้กองกลางรบพลาง ถอยพลาง เมือ่ ข้าศึกรีบ ตามไล่ตี เมื่อข้าศึกได้น�ำก�ำลังไปตามเส้นทางที่วางก�ำลังซุ่มไว้ให้ฝ่ายเราตรวจก�ำลังช้างม้า ไว้ให้ดี เมือ่ สบกลให้ยกพลทัง้ สองข้างเข้าตีขนาบข้าศึกทัง้ ซ้ายขวา ตามแผนทีว่ างไว้อย่าให้ ผิดพลาด ท�ำการรบอย่างรวดเร็ว แล้วริบทรัพย์จบั เชลย ให้เร่งนับจ�ำนวนช้างม้าเงินทองและ ทรัพย์สินที่ยึดได้พร้อมปูนบ�ำเหน็จ รางวัลแก่แม่ทัพนายกองและไพร่พล

198


หลักการตั้งรับการเข้าตีของข้าศึก ๑. แบ่งก�ำลังออกเป็นสองกองทัพ ๒. หา ข่าว - ส�ำรวจภูมิประเทศ - ใช้จารชน - วางสายลับไว้ - วางไส้ศึกไว้ ๓. ซื้อตัวแม่ทัพในกอง ข้าศึก ๔. จัดการฝึกทางยุทธวิธี ๕. วางระบบควบคุมผู้บังคับบัญชา ๖. เมื่อข้าศึกรุกรานตั้ง รับโดย - แบ่งพลเป็นสองกองทัพไว้ริมทางที่เหมาะสม - ให้กองกลางถอยเพื่อลวงให้ข้าศึก ไล่ตาม - เมือ่ ข้าศึกเข้ามาในทางในพืน้ ทีท่ กี่ �ำหนดไว้ ให้ยกพลสองข้างเข้ารบข้าศึก ๗. ท�ำการ รบโดยพลัน ๘. ริบทรัพย์จับเชลย “จงหาที่พิศฎารเติมต่อ จงอย่าฟังกลลิ้น เล่ห์เลี้ยวจ�ำความ”

199



ค�ำสั่งส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๒๙๑ /๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอ�ำนวยการ คณะกรรมการด�ำเนินงาน และคณะบรรณาธิการ จัดท�ำหนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ----------------------------------- ด้วย ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จะด�ำเนินการจัดท�ำหนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรื่อง “มองประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านศัตราวุธ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ เพือ่ ให้การจัดท�ำหนังสือดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตัง้ คณะคณะกรรมการอ�ำนวยการ คณะกรรมการด�ำเนินงาน และคณะบรรณาธิการจัดท�ำหนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีองค์ประกอบ และอ�ำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการอ�ำนวยการ ๑.๑ ประธาน พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ๑.๒ รองประธานกรรมการ พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก รุ่งรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ไมตรี โอสถหงษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๑.๓ กรรมการ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ผู้อ�ำนวยการส�ำนักนโยบายและแผนกลาโหม พลเอก พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตรา พลเอก ชัยรัตน์ ชีระพันธุ์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ พลเอก อภิชาติ ทิมสุวรรณ ผู้อ�ำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร 201


พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ พลโท วุฒิชัย สิริสัมพันธ์ พลโท ทรงพล ไพนุพงศ์ พลโท เรืองปัญญา โคปาละสุต พลโท ยุทธชัย พันธุ์งาม พลโท คณิศ ทศวัฒน์ พลโท สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ พลโท อภิชาต แสงรุ่งเรือง พลโท สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พลโท สิรวุฒิ สุคันธนาค พลโท กฤษพงศ์ แก้วจินดา พลตรี ศุภจิตร ศุภมานพ พลตรี กอบปัญญา วงศ์วิเศษกิจ พลตรี นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พลตรี กฤษฎา เต็มบุญเกียรติ พลตรี วีรศักดิ์ มูลกัน 202

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงบประมาณกลาโหม หัวหน้าส�ำนักปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าส่วนประสานงานการพัฒนา ระบบราชการกลาโหม เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และอวกาศกลาโหม เจ้ากรมการเงินกลาโหม เจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ผู้บัญชาการศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร เจ้ากรมการสรรพก�ำลังกลาโหม ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้อ�ำนวยการส�ำนักโยธาธิการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ผู้อ�ำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานตรวจสอบภายใน กลาโหม


๑.๔ กรรมการและเลขานุการ พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑.๕ ผู้ช่วยเลขานุการ พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑.๖ อ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอ�ำนวยการ อ�ำนวยการและก�ำกับดูแล เพือ่ ให้การด�ำเนินงานจัดท�ำหนังสือเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ ๒. คณะกรรมการด�ำเนินงาน ๒.๑ ที่ปรึกษา พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี ศาสตราจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ ดร.ณัฐณิชาช์ เพิ่มทองอินทร์ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ พันเอก อ�ำนาจ พุกศรีสุก ๒.๒ ประธาน พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒.๓ รองประธาน พันเอก สุรชาติ จิตต์แจ้ง รองเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พันเอก ณภัทร สุขจิตต์ รองเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม ๒.๔ กรรมการ นาวาเอก พรหมเมธ อติแพทย์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจ�ำส�ำนักงาน เลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม พันโท สุทธิชัย ศรลัมพ์ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ พันต�ำรวจโท วรประสิทธิ์ นิยมาภา สารวัตรอ�ำนวยการสถานีต�ำรวจภูธร ละหานทราย นางสาวบุหลง ศรีกนก นักอักษรศาสตร์ช�ำนาญการพิเศษ (บ�ำนาญ) กรมศิลปากร 203


นายปริญญา สัญญะเดช นายพิชัย แก้วขาว นายปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง นายพรชัย ตุ้ยดง นายภุชชงค์ จันทวิช นายสิงห์คม บริสุทธิ์ นางสาวอรทัย บุณยรัตน์พันธ์ ๒.๕ กรรมการและเลขานุการ พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ๒.๖ ผู้ช่วยเลขานุการ พันเอก แรงภูมิ เหมะทัพพะ

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ อาจารย์ประจ�ำแผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี อดีตข้าราชการกรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นักวิชาการอิสระ ศึกษาอาวุธโบราณ จ�ำพวกปืนเล็กยาวและปืนใหญ่ แผนกวิชาภาษาตะวันออก คณะบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ผู้เชี่ยวชาญงานช่างโบราณ ศิลปะการต่อสู้และศาสตราวุธล้านนา อดีตข้าราชการกรมศิลปากร อดีตข้าราชการกรมศิลปากร ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถาน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม รองผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม

๒.๗ อ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการด�ำเนินงาน ๒.๗.๑ วางแผน ประสานงานและด�ำเนินงานให้การจัดท�ำหนังสือเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ๒.๗.๒ ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและบุคคลภายนอก เพื่อขอความอนุเคราะห์ ข้อมูลรูปภาพประกอบการจัดท�ำหนังสือ

204


๓. คณะบรรณาธิการ ๓.๑ บรรณาธิการ พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ๓.๒ กองบรรณาธิการ ๓.๒.๑ ฝ่ายรวบรวมข้อมูลและภาพ พันเอก แรงภูมิ เหมะทัพพะ พันเอก ทวี สุดจิตต์ นาวาอากาศโท บรรยงค์ หล่อบรรจง นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ นาวาโท วัฒนสิน ปัตพี พันโท ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง พันตรี ชาตบุตร ศรธรรม พันตรีหญิง สิริณี ศรประทุม นาวาตรี ฐิตพร น้อยรักษ์

ผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม รองผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม รองผู้อ�ำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม หัวหน้าแผนกสื่อสารมวลชน กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าแผนกผลิตสื่อโสตทัศน์ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หัวหน้าแผนกแผนและโครงการ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจ�ำแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจ�ำแผนกแผนและโครงการ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจ�ำแผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 205


ร้อยเอกหญิง สมจิตร พวงโต ประจ�ำแผนกสื่อสารมวลชน กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยเอก จิโรตม์ ชินวัตร ประจ�ำแผนกผลิตสื่อโสตทัศน์ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยเอกหญิง สายตา อุปสิทธิ์ ประจ�ำแผนกสื่อสารมวลขน กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยเอกหญิง ภัทรภรณ์ ศิริสรณ์ ประจ�ำแผนกแผนและโครงการ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยโท ศักดิ์ชัย ทองนุช ประจ�ำแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยโท ยอดเยี่ยม สงวนสุข ประจ�ำแผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยโทหญิง ลลิดา ดรุนัยธร ประจ�ำแผนกแผนและโครงการ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ว่าที่เรืออากาศตรีหญิง พุทธพร โอสถหงส์ ประจ�ำแผนกสื่อสารมวลชน กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จ่าสิบเอกหญิง ธิดารัตน์ ทองขจร เสมียนแผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สิบเอก ธีระยุทธ ขอพึ่งธรรม เสมียนแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๓.๒.๒ ฝ่ายพิสูจน์อักษร พันเอกหญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง ประจ�ำส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 206


พันเอกหญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช ประจ�ำส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เรือเอกหญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ นายทหารสารบรรณและธุรการ กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้อยตรีหญิง ประภาพันธ์ มูลละ นายทหารคนสนิทเลขานุการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๓.๓ อ�ำนาจหน้าที่ของคณะบรรณาธิการ ๓.๓.๑ ประสานการด�ำเนินงานในการจัดท�ำหนังสือให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๓.๓.๒ พิจารณาจัดท�ำและตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลก่อนการจัดพิมพ์ ๓.๓.๓ จัดท�ำโครงร่าง รูปเล่ม และจัดพิมพ์หนังสือ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ (ลงชื่อ) พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ (เสถียร เพิ่มทองอินทร์) ปลัดกระทรวงกลาโหม

207


คณะผู้เขียน พันเอก อ�ำนาจ พุกศรีสุก รองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุ อาจารย์ปริญญา สัญญะเดช นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ พันต�ำรวจโท วรประสิทธิ์ นิยมาภา นางสาวบุหลง ศรีกนก ถ่ายภาพ สิงห์คม บริสุทธิ์ และคณะ อนุเคราะห์การถ่ายภาพ ส�ำนักพระราชวัง ส�ำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ออกแบบรูปเล่ม / พิมพ์ที่ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด





มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

มองประวัตศิ าสตร์ชาติไทย

ผ่านศัสตราวุธ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.