รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง

Page 1

รายงานฉบับสมบูรณ์

เรื่อง

มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง Legal Measures for Controlling Light Pollution

ผู้วิจัย อาจารย์ ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสานักงานประสานงานโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

กุมภาพันธ์ 2562


รายงานฉบับสมบูรณ์

เรื่อง

มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง Legal Measures for Controlling Light Pollution

ผู้วิจัย อาจารย์ ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสานักงานประสานงานโครงการวิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

กุมภาพันธ์ 2562


บทคัดย่อ

แสงประดิษฐ์เป็นสิ่งจำเป็นต่อกำรดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน กำรใช้งำนแสงประดิษฐ์ในเวลำ กลำงคืนได้กลำยมำเป็นสิ่งสำคัญต่อกำรคมนำคม กำรรักษำควำมปลอดภัยและควำมมั่นคงสำธำรณะทั้งใน ประเทศพัฒนำแล้วและประเทศกำลังพัฒนำ แสงประดิษฐ์สิ่งส่องสว่ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืนได้ ถูกนำเอำมำใช้ให้แสงสว่ำงบริเวณภำยนอกอำคำร เพื่อควำมปลอดภัยและควำมมั่นคง เพื่อเพิ่มเวลำในกำร ใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืน และเพื่อให้ควำมสว่ำงกับสิ่งปลูกสร้ำงทำงธุรกิจ และพำณิชย์กรรมยำมค่ำคืน อย่ำงไรก็ดี กำรใช้งำนแสงสว่ำงภำยนอกอำคำรในลักษณะที่ส่องไปยังพื้นที่ที่ ไม่ต้องกำรใช้งำนแสงสว่ำงหรือแสงสว่ำงส่องรุกล ้ำเข้ำไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องกำรให้มีแสงสว่ำงย่อมอำจ ก่อให้เกิดมลภำวะทำงแสงตำมมำ กำรใช้งำนแสงสว่ำงที่เพิ่มมำกขึ้นก็สำมำรถเป็นเหตุแห่งปัญหำด้ ำนสิ่งแวดล้อม ที่อำจนำไปสู่กำร สร้ำงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลำกลำงคืน โดยกำรแสงสว่ำงภำยนอกอำคำรในเวลำกลำงคืนอำจไป ทำลำยวงจรควำมสว่ำงตำมธรรมชำติในเวลำกลำงวันและควำมมืดตำมธรรมชำติในยำมค่ำคืน กำรใช้งำน แสงสว่ำงภำยนอกอำคำรที่ไม่เหมำะสมและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อ มในเวลำกลำงคืนย่อมเป็นปัจจัยที่มี อิทธิผลต่อควำมมืดตำมธรรมชำติในเวลำกลำงคืนและก่อให้เกิดควำมสว่ำงไสวบนท้องฟ้ำในยำมค่ำคืน อีก ทั้งทำลำยสมดุลแบบแผนควำมมืดควำมสว่ำงตำมธรรมชำติและสร้ำงผลกระทบต่อระบบนิเวศในเวลำ กลำงคืนอีกด้วย อนึ่ง มลภำวะทำงแสงไม่เพียงส่งผลกระทบต่ อสิ่งแวดล้อมในเวลำกลำงคืนเท่ำนั้น หำกแต่ ยังอำจสร้ำงผลกระทบต่อกำรปฏิบัติงำนของนักดำรำศำสตร์ เพรำะควำมสว่ำงไสวบนท้องฟ้ำในยำมค่ำคืน จำกบริเวณพื้นที่ที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐำนอยู่นั้นย่อมส่งผลให้เกิดควำมสว่ำงไสวเหนือบริเวณพื้นที่ดังกล่ำว ควำม สว่ำงไสวบนท้องฟ้ำในยำมค่ำคืนได้ไปบดบังทัศนียภำพกำรมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้ำ ด้วยเหตุนี้ ในหลำยประเทศจึงได้มีกำรจัดทำนโยบำยด้ำนมลภำวะทำงแสงที่มุ่งลดผลกระทบจำก กำรใช้งำนแสงสว่ำงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่ำนกำรสร้ำงมำตรฐำนทำงเทคนิคเชิงบังคับและเชิงสมัคร ใจเพื่อก่อให้เกิดกำรลดมลภำวะทำงแสง โดยเครื่องมือทำงกฎหมำยที่สำคัญจำกประเทศเหล่ำนี้ประกอบไป ด้วยหลักเกณฑ์ทำงกฎหมำยเพื่อจำกัดกำรปล่อยแสงสว่ำงที่มำกจนเกินไปหรือกำรปล่อยแสงสว่ำงที่ส่องรุก


ข ล้ำเข้ำไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องกำรใช้งำนแสงสว่ำง แหล่งกำเนิดมลภำวะทำงแสงเช่นว่ำนี้อำจก่อให้เกิดแสงเรือง ขึ้นไปบนท้องฟ้ำ แสงบำดตำและแสงที่ส่องรุกล ้ำ อันถือเป็นปัญหำหลักที่อำจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในเวลำกลำงคืนได้ นอกจำกนั้นอีกหลำยประเทศยังได้ตะหนักถึงเหตุรำคำญจำกแสงประดิษฐ์ที่ อำจส่งผลกระทบต่อสิทธิในกำรใช้ประโยชน์ทรัพย์สินและสิทธิที่อยู่อำศัยในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภำพ อนำมัย แต่สิทธิในกำรติดตั้งใช้งำนแสงสว่ำงผิดสถำนที่ผิดเวลำจนก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกล้ำอำจเป็นเหตุให้ เกิดผลกระทบต่อสิทธิต่อสิทธิที่อยู่อำศัยในสิ่งแวดล้อมที่สะอำดและเอื้อต่อสุขภำพอนำมัย ในขณะที่ กฎหมำยต่ำงประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์บำงอย่ำงกำหนดให้มีกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง อันเกิดจำก กิจกรรมกำรใช้งำนแสงสว่ำงภำยนอกอำคำร รวมไปถึงข้อยกเว้นของหลักเกณฑ์ดังกล่ำว หำกแต่ประเทศ ไทยยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทำงกฎหมำยเพื่อบังคับใช้ร่วมกันทั่วทั้งประเทศ งำนวิจัยฉบับนี้มุ่งเปรียบเทียบและวิเครำะห์มำตรกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงจำกประเทศต่ำงๆ พร้อมกับวิเครำะห์หลักกำรพื้นฐำนของมำตรกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง กำรจัดกำรเหตุรำคำญจำกแสง ประดิษฐ์ และหลักเกณฑ์ที่ได้รับกำรพัฒนำขึ้นมำใหม่เพื่อควบคุมมลภำวะทำงแสง งำนวิจัยชิ้นนี้ระบุ หนทำงพัฒนำกฎหมำยควบคุมมลภำวะทำงแสงของประเทศไทยในอนำคต งำนวิจัยฉบับนี้สรุปว่ำประเทศไทยควรกำหนดมำตรกำรทำงกฎหมำยที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนให้เกิด กำรควบคุมมลภำวะทำงแสง รวมทั้งควรมีกำรพัฒนำนโยบำยกำรควบคุมมลภำวะทำงแสง กำรระบุ แนวทำงบูรณำกำรเพื่อลดผลกระทบจำกมลภำวะทำงแสง กำรประยุกต์หลักกำรสำคัญของกำรควบคุม มลภำวะทำงแสงมำใช้ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับมำตรฐำนกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงในระดับ นำนำชำติ กำรเสนอนโยบำยกระตุ้นจูงใจให้เกิดกำรควบคุมมลภำวะทำงแสงแบบทันสมัย และกำรนำเอำ กฎหมำยมลภำวะทำงแสงเปรียบเทีย บมำเป็นแนวทำงบังคับใช้กฎหมำยควบคุมมลภำวะทำงแสงใน ประเทศไทย


ค

Abstract

Artificial light is necessary in the modern society. Artificial lighting at night is a significant mode of visibility at night in order to support transportation, public safety and public security in both developed and developing countries. Artificial light in the outdoor environment has many uses including illumination of outdoor areas; for safe and security lighting; to increase the hours of usage for outdoor facilities at night, to enhance the appearance of business and commercial premises at night. However, any form of artificial light shining outside the area it needs to illuminate and intruding upon areas not intended to be lit is considered light pollution. The increasing use of outdoor lighting at night can cause problems. It disrupts the nocturnal environment, which, for billions of years has evolved to rely on the natural rhythm of 24-hour day-brightness/night-darkness cycle. Non-environmentally friendly and inappropriate lighting at night overpowers the natural darkness and atmospheric brightness at night, disrupting the natural day-night pattern and shifting the delicate balance of the nocturnal ecosystems. Light pollution not only impacts on the nocturnal environment, but also disrupts the work of astronomers because the increase in the brightening of the night sky over inhabited areas caused by district brightness above the urban settlements is enough to make it difficult to see dim objects in the sky in urban areas. In many different countries, therefore, the main focus of light pollution policy is on non-environmentally friendly light abatement through the use of both mandatory and voluntary technical standards for controlling key elements of light pollution. The key legal tools from different jurisdictions consist of a set of regulatory requirements establishing excessive or obtrusive light emission limits for main sources of light pollution: sky glow, glare, and trespassing light. In addition, in many jurisdictions, legal aspects of artificial light


ง nuisance have for a long time been considered as a subsidiary component of a neighbour’s right to enjoy his/her property and a right to the healthy environment, a right to use obtrusive artificial light in the wrong place at the wrong time often being dependant on the existence of the neighbour’s right to live in clean and healthy environment. While many pieces of foreign regulatory requirements are concerned with the control of ambient environmental light pollution caused by a broad range of outdoor lighting activities which includes means of outdoor lighting for transportation, safety and security reasons, Thailand has not officially sought to establish a common basis for addressing light pollution problems across country. This research identifies compares and analyses approaches to light pollution control in different jurisdictions, and examines their approaches to access to key elements of light pollution control, artificial light nuisance and other new developments in light pollution control. It also identifies a number of themes about the ways Thailand’s government establishes new legal frameworks for controlling light pollution. This study concludes that Thailand should take necessary legal measures to promote light pollution control, including developing a policy on light pollution control, identifying an integrated approach to mitigate light pollution effects, applying key principles of light pollution control to meet international dark-sky standards, introducing modern incentive-based policies for regulatory light pollution control, and adopting a comparative law approach as a guideline to enforce the light pollution law in Thailand.


สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ สารบัญ สารบัญภาพ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทนํา 1.1 หลักการและเหตุผล 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.3 สมมุตฐิ านของการวิจัย 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 1.5 วิธีดําเนินการศึกษา 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 แนวความคิดพืน้ ฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสง 2.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง 2.1.1 นิยามความหมายของมลภาวะทางแสง 2.1.2 ประเภทของมลภาวะทางแสง 2.1.2.1 แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า 2.1.2.2 แสงบาดตา 2.1.2.3 แสงทีส่ ่องรุกลํ้า 2.1.2.4 การรวมกลุ่มของแสง

ก ค จ ซ ฎ 1 1 5 6 7 7 7 9 9 13 21 22 23 24 25


2.1.3 ผลกระทบของมลภาวะทางแสง 2.1.3.1 ผลกระทบดาราศาสตร์ 2.1.3.2 ผลกระทบต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน 2.1.3.3 ผลกระทบต่อการใช้พลังงาน ภาวะโลกร้อนและการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.1.3.4 ผลกระทบต่อความปลอดภัย 2.2 แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสง 2.2.1 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสง 2.2.2 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร 2.2.3 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดพื้นที่ใช้งานแสงสว่างให้สอดคล้องกับ การใช้ประโยชน์ที่ดิน 2.2.4 แนวความคิดเกี่ยวกับการระงับเหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง บทที่ 3 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ 3.1 ประเทศอังกฤษ 3.2 สาธารณรัฐฝรั่งเศส 3.3 สาธารณรัฐอิตาลี 3.4 สาธารณรัฐสโลวีเนีย 3.5 เครือรัฐออสเตรเลีย 3.6 ราชอาณาจักรสเปน 3.7 ประเทศญีป่ ุ่น 3.8 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทาง แสงในต่างประเทศ บทที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงใน ประเทศไทย 4.1 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 4.1.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 4.1.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 4.1.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

28 28 30 33 34 39 41 46 49 53 55 56 59 61 65 68 71 75 77 81 81 82 85 89


ช 4.1.4 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 4.1.5 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 5.1 บทสรุป 5.2 ข้ อเสนอแนะ บรรณานุกรม

91 94 96 96 102 106


สารบัญภาพ

ภาพที่ ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

ภาพที่ 4

ภาพที่ 5

ภาพที่ 6

หน้า ภาพแสดงการเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (sky glow) ที่ ทําลายบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติ (natural darkness) ที่ จําเป็นต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน (nocturnal ecosystem) ภาพแสดงการเกิดแสงสว่างจ้าจากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น ไฟถนน ไฟ หน้ารถยนต์ และไฟจากป้ายโฆษณา) ทีส่ ่องเข้ามายังนัยน์ตาของมนุษย์ โดยตรง แสงสว่างจ้าเช่นว่านี้สามารถทําให้มนุษย์สญ ู เสียการมองเห็น จนเป็นปัจจัยสําคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายบนท้องถนน ภาพแสดงการส่องรุกลํ้าของแสง (light trespass) เข้าไปยังบริเวณ อาคาร เคหะสถานหรือพื้นที่ส่วนบุคคลของเพื่อนบ้าน การส่องของแสง ในลักษณะเช่นว่านี้เกิดจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม จนอาจไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับเพื่อนบ้านหรือชุมชน โดยรอบ ภาพแสดงการรวมกลุ่มแสง (light clutter) ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง หรือย่านพาณิชกรรมที่มีปริมาณการติดตั้งใช้งานแสงสว่างอย่าง หนาแน่น แผนภาพแสดงการเกิดของมลภาวะทางแสงประเภทแสงเรืองขึ้นไปบน ท้องฟ้า (sky glow) แสงบาดตา (glare) และแสงที่ส่องรุกลํ้า (trespassing light) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน สุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ภาพแสดงพื้นที่ปราศจากสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าทําให้พื้นที่ ดังกล่าวสามารถการมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลา

22

24

25

26

27

29


ภาพที่ 7

ภาพที่ 8 ภาพที่ 9

ภาพที่ 10

ภาพที่ 11

ภาพที่ 12

ภาพที่ 13

กลางคืน (ซ้าย) ภาพพื้นที่เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าจนบดบัง ทัศนวิสัยการมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน (ขวา) ภาพแสดงการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ผ่านการออกแบบ ติดตั้งแสงสว่างให้บังคับทิศทางการส่องพุ่งตํ่าลงไม่เกินไปกว่าแนว จํากัดแสง (cut-off fixtures) ย่อมเป็นเทคนิคด้านวิศวกรรมส่องสว่างที่ สามารถลดการเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าได้ เมื่อปราศจาก สภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้ว นักดาราศาสตร์หรือบุคคลทั่วไปก็ สามารถมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืนได้ แผนภาพแสดงผลกระทบด้านมลภาวะทางแสงต่อสัตว์ สิ่งมีชีวิตและ ระบบนิเวศในเวลากลางคืน ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาจนทําให้ ผู้คนไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่ปรากฎอยู่ตรงหน้าในเวลากลางคืน (ซ้าย) ภาพแสดงการใช้มือบังแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ปิดกั้นการส่องของ แสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) เข้ามายังนัยน์ตา ทําให้ผู้คนสามารถมองเห็น วัตถุที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า (ขวา) ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาจนของผู้ขับ ขี่รถยนต์หรือผูส้ ัญจรบนท้องถนน ทําให้ผู้ขบั ขี่รถยนต์หรือผู้สัญจรบน ท้องถนนไม่อาจมองเห็นวัตถุที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าบนเส้นทางสัญจรได้ อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้อง ถนนได้ ภาพแสดงข้อมูลรณรงค์ให้นานาชาติหันมาปฏิบัติการควบคุมมลภาวะ ทางแสง โดยสมาคมอนุรักษ์ความมืดบนท้องฟ้านานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA) ผ่านการกําหนด มาตรฐานแหล่งกําเนิดแสงกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคาร ภาพแสดงคุณภาพความมืดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าและสภาวะแสง เรืองขึ้นไปบนท้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินในย่านชุมชนเมือง ชานเมือง ชนบทและพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาพจากสถานีสํารวจโลกองค์การนาซา (NASA's Earth Observatory) แสดงปริมาณการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่หนาแน่นในบริเวณ ใจกลางเมืองแซนแอนโทนีโอ มลรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

30

33 35

36

43

51

52


ภาพที่ 14 ภาพที่ 15

ภาพที่ 16

ในขณะทีใ่ นบริเวณชานเมืองดังกล่าวมีการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่ไม่หนาแน่น เหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง (แสงประดิษฐ์) อาจนําไปสู่การ เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านที่มีอาณาบริเวณรั้วติดกัน ภาพบรรยายหลักเกณฑ์ภายใต้กฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อลดมลภาวะ ทางแสงและก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอาคาร ภาพบรรยายสาระสําคัญภายใต้กฤษฏีกา Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética ของแคว้นอันดาลูเซีย ประเทศ สเปน

54 61

73


สารบัญตาราง

ตารางที่ ตารางที่ 1

หน้า ตารางจําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร (environmental zonesfor exterior lighting control) ของ สถาบันผู้ประกอบวิชาชีพแสงสว่างแห่งสหราชอาณาจักรหรือ ILP ได้ จําแนกเป็น 4 เขต ได้แก่ (1) เขต E1 หรือเขตพื้นที่ปลอดการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) (2) เขต E2 หรือเขต พื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างตํ่า (Low district brightness) (3) เขต E3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารระดับปานกลาง (Medium district brightness) และ (4) เขต E4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสูง (High district brightness

52


บทที่ 1 บทนํา

1.1 หลักการและเหตุผล การขยายตัวของเมือง (urban expansion)1 ย่อมทําให้ต้องมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย สิ่งอํานวย ความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆ มารองรับการดําเนินกิจกรรมในชีวิตประจําวันของมนุษย์ และรองรับความสะดวกสบายในการดํารงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์เองก็ย่อมที่จะต้องใช้ประโยชน์จากที่อยู่ อาศั ย สิ ่ ง อํ า นวยความสะดวกและสาธารณู ป โภคขั ้ น พื ้ น ฐานเหล่ า นี ้ ท ั ้ ง ในเวลากลางวั น (day) ใน ขณะเดียวกันมนุษย์ก็พยายามใช้ประโยชน์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่ออํานวยความสะดวกและ ประกอบกิจกรรมในเวลากลางคืน (night) อีกด้วย เมื่อมีการพัฒนาที่อยู่อาศัย สิ่งอํานวยความสะดวกและ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆ ก็ย่อมจะต้องมีการติดตั้งหรือใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor lights) สําหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น (visibility) ของมนุษย์ทําให้สามารถมองเห็นวัตถุได้ใน บริเวณภายในและรอบนอกที่อยู่อาศัย2 สิ่งอํานวยความสะดวกและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ในทํานอง เดียวกันมนุษย์ก็สามารถยืดเวลาการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารออกไปได้ เช่น การดําเนินการผลิต ของภาคอุตสาหกรรมในเวลากลางคืน การค้าขายของร้านค้าปลีกริมถนนในยามคํ่าคืนและการเดินรถ โดยสารสาธารณะในเวลากลางคืน เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ในที่ดิน (land use)3 สําหรับประกอบกิจกรรมของมนุษย์หรือกิจกรรม อนุรักษ์การปฏิสัมพันธ์ตามธรรมชาติระหว่างพืช สัตว์และสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ รวมไปถึง

1

Gaston, K. J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912-927. 2 Goldman, A. (2012). 'Light Pollution in Central and Southern Arizona: A Runaway Problem with an Achievable Solution', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 3, pp. 1029-1033. 3 Luginbuhl, C., Lockwood, G. W. Davis, D. R., Pick, K. & Selders, J. (2016). 'From The Ground Up I: Light Pollution Sources in Flagstaff, Arizona', Astronomical Society of The Pacific, 121, pp. 185-203.


2 กิจกรรมบางอย่างที่ต้องการการความคุมความสว่างภายนอกอาคารในบริเวณพื้นที่ 4 ก็ย่อมที่จะต้องมีการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในที่ดินในรูปแบบที่ แตกต่างกันออกไป โดยจํานวนความหนาแน่นของแสงสว่างภายนอกอาคารภายนอกอาคารย่อมสัมพันธ์ กับการเพิ่มปริมาณจํานวนอาคาร สิ่งปลูกสร้างและเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ การใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับดําเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์มักมีจํานวนอาคาร สิ่งปลูกสร้างและเส้นทางคมนาคมอย่างหนาแน่น ก็มักจะมีปริมาณที่ดินที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารอย่างหนาแน่นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม การใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับประกอบเกษตรกรรม ในชนบท ก็มักจะมีปริมาณที่ดินที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารไม่หนาแน่นหรือมีการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารไม่มากนัก การออกแบบและติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor light fixtures and design) 5 จึงถือ เป็นการสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองหรือพื้นที่อื่นๆ ที่ต้องการแสง สว่างในการประกอบกิจกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์6 เช่น การติดตั้งไฟถนน (street light) และไฟรักษาความปลอดภัย (security light) 7 โดยภาครัฐหรือท้องถิ่น ย่อมมีส่วนช่วยให้การดําเนิน กิจกรรมบริหารสาธารณะด้านคมนาคมขนส่งและกิจกรรมด้านรักษาความปลอดภัย ดําเนินไปอย่างอย่าง ต่อเนื่องในเวลากลางคืน เพราะการออกแบบหรือติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคาร ย่อมส่งผลให้ประชาชน ทั่วไปมีแสงสว่างอย่างพอเพียงที่ต่อการมองเห็นเพื่อทํากิจกรรมต่างๆ และดูแลรักษาความปลอดภัยในยาม คํ่าคืน8 อย่างไรก็ตาม การติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light fixtures) และการออกแบบแสงสว่ า งภายนอกอาคารที ่ ไ ม่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ ม (non-environmentally friendly light design) 9 ย่อมเป็นที่มาของปัญหาและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อระบบนิเวศใน 4

Yu, S. (2016). 'Arizona’s Night Lighting Regulations Facilitating Astronomical Observation', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 6, pp. 1077-1080. 5 Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3. 6 Dark Sky Society. (2009). Guidelines for Good Exterior Lighting Plans. Long Island, NY: Dark Sky Society. pp. 1-6. 7 Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p 3. 8 Lyytimäki, J. (2015). Towards eco-efficient and enjoyable lighting. https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/5520Light%20pollution_rev.pdf accessed 1 July 2016. 9 Scottish Executive. (2007). Guidance Note Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 8-9.


3 เวลากลางคืน (nocturnal ecosystem) และสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน (night environment) จนอาจ อาจทําให้สภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติเสียสมดุลความสว่างตามธรรมชาติในเวลากลางวันและความมืด มิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน ตัวอย่างเช่น การใช้งานแสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองย่อมก่อให้เกิด ผลกระทบต่อวัฏจักรการดํารงชีพในเวลากลางคืน (night-time ciecadian cycle) ของสัตว์และสิ่งมีชีวิต ที่ต้องการความมืดมิดตามธรรมชาติสําหรับประกอบกิจกรรมกับดํารงชีวิตในยามคํ่าคืน ไม่ว่าจะเป็นการ อพยพ (migration) การออกหากิน (foraging) การผสมพันธุ์ (reproduction) การวางไข่ (nesting) และ การฟักไข่ (hatching)10 เป็นต้น นอกจากนี้ การติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมและการออกแบบแสงสว่างภายนอก อาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็อาจนําไปสู่ใช้พลังงานอย่างสูญเปล่าได้ (waste of energy) 11 เพราะหากใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ที่ไม่คํานึงถึงการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การเปิดไฟในเวลาที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่างแล้ว การใช้งานหลอดไฟในบริเวณที่มีความสว่างมากเกิน ความจําเป็น และการขาดการบํารุงรักษาอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารอย่างสมํ่าเสมอ ปราศจาก การทําความสะอาดเป็นประจํา ก็ย่อมทําให้เกิดระบบแสงสว่างที่ทําให้เกิดการสูญเสียพลังงาน การพัฒนา ระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายนอกอาคารโดยอาศัยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการประหยัดพลังงาน ย่อมสามารถ ทําให้การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมีประสิทธิภาพ (energy efficiency) 12 และสอดคล้องต่อการ ประหยัดพลังงาน (energy saving) 13 มากยิ่งขึ้น เช่น การนําอุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อเปิดและ ปิดไฟอัตโนมัติ (motion sensing outdoor lighting) สําหรับพื้นที่ภายนอกอาคารที่ไม่มีการใช้สอยพื้นที่ ดังกล่าวตลอดเวลาหรือพื้นที่ภายนอกอาคารที่ไม่มีผู้คนอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว14 เป็นต้น ดังนั้น การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมและ การออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้งานแสงสว่างภายนอก 10

Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', 2 (4), Frontires in Ecology and the Environment, pp. 191-198. 11 Shaflik, c. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Retrieved July 1, 2016, from http://www.shaflik.com/documents/LIGHT%20POLLUTION%20TECHNICAL%20PAPER.pdf 12 Kyba, C.C.M., Hanel, A. & Holker, F. (2014). 'Redefining efficiency for outdoor lighting', Energy & Environmental Science, http://userpage.fuberlin.de/~kyba/publications/2014_Kyba_Redefining_Efficiency.pdf accessed 1 July 2016. 13 Alberta Dark Sky Association. (2007). Light Pollution – Energy Production and Air Pollution – 1/2. Retrieved July 1, 2016, from http://www.rasc.ca/sites/default/files/LightPollutionEffectsonEnergyConsumption.pdf 14 Batinsey, J. (2006). Outdoor Lighting Ordinance Guide. Eatontown, NJ: Eatontown Environmental Commission, pp. 1-17.


4 อาคารโดยก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงาน ก็ย่อมที่จะทําให้แสงสว่างกลายมาเป็นมลภาวะประเภทหนึ่งที่ ถูกเรียกว่า มลภาวะทางแสง (light pollution) ได้เฉกเช่นเดียวกันกับมลภาวะประเภทอื่นๆ มลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงประดิษฐ์ (artificial light) ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกําเนิดแสง เช่น หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้15 และอาจหมายความรวมถึงเหตุ รําคาญ (nuisance) อื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสงอีกด้วย16 มลภาวะทางแสงสามารถก่อให้ปัญหาและผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศได้ เฉกเช่นเดียวกันกับมลภาวะประเภทอื่นๆ แต่ทว่าปัจจุบันรัฐบาลไทยและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการสิ่งแวดล้อมและผังเมือง ก็ไม่ได้กําหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทาง แสงเป็นการเฉพาะ เพราะแม้ว่าแสงสว่างที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสง สามารถก่อให้เกิดหรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนได้ แสงสว่างที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสงที่มีทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมกับแหล่งกําเนิด แสงที่มีความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงอาจถือเป็นมลพิษตาม มาตรา ๔ พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ อีกนัยหนึ่ง การใช้งานแสงสว่างที่มีทิศทางการส่อง ของแสงที่ไม่เหมาะสมหรือมีความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็อาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญ ตามมาตรา ๒๕ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กล่าวคือ การใช้งานแสงสว่างใดๆ จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงนั้น ก็ ย่อมเป็นเหตุรําคาญอันสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนประการหนึ่ง แม้ว่าแสงสว่างจากการใช้งานแสงสว่างที่มีทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมกับการออกแบบ แสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะส่งผลให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนกับ เหตุเดือดร้อนรําคาญต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่ที่มีการปล่อยแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง เป็นการเฉพาะในปัจจุบัน กล่าวคือ บทบัญญัติของกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองของประเทศไทยยัง ไม่ได้กําหนดนิยามความหมายของมลภาวะทางแสง (light pollution definition) หลักเกณฑ์การควบคุม การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (regulatory requirements governing exterior light pollutants) และวิธีการควบคุมเหตุเดือดร้อนรําคาญที่เกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (nuisance of 15

Royal Astronomical Society of Canada. (2012). Environmental Impact of Light Pollution and its Abatement. Etobicoke, ON: Royal Astronomical Society of Canada, pp.1-36. 16 Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide.. Retrieved July 1, 2016, from file:///C:/Users/Veriton/Downloads/light-pollution-as-a-statutorynuisance-a-how-to-guide.pdf


5 outdoor lighting) จึงจําเป็นที่จะต้องมีการวางแนวทางพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองในส่วนที่ เกี ่ ย วข้อ ง รวมไปถึ ง นํ า มาตรการควบคุ ม มลภาวะทางแสงที ่เ หมาะสมและได้ ส ั ดส่ วน มาควบคุม ให้ ประชาชนใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่ง รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพึงตอบสนองต่อปัญหามลภาวะทางแสงโดยอาศัยมาตรการควบคุม มลภาวะทางแสงภายใต้หลักกฎหมายที่จําเป็นต่อการควบคุมมลภาวะ เช่น หลักการระวังภัยล่วงหน้า (Precautionary Principle) หลักการป้องกันล่วงหน้า (Prevention Principle) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็น ผู้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP) และหลักความร่วมมือ (Cooperative Principle) รวมไปถึงรัฐ พึงสร้างเครื่องมือหรือกลไกอื่นๆ (เช่น เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์) เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการผลิตอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น ผู้ผลิต ผู้จัดจําหน่าย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคสินค้าประเภทหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารและหรือเพื่อจูงใจให้ลดการ ปล่อยมลภาวะทางแสงและหันมาใช้แหล่งกําเนิดแสงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาและทบทวนแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสง 1.2.2 เพื ่ อ ศึ ก ษา ทบทวนและวิ เ คราะห์ ม าตรการทางกฎหมายควบคุ ม มลภาวะทางแสงใน ต่างประเทศและประเทศไทย 1.2.3 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 1.2.4 เพื่อจัดทําบทสรุปและวิเคราะห์ผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง 1.2.5 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง สําหรับการบริหารจัดการการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 1.2.6 เพื่อนําองค์ความรู้ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง มาขับเคลื่อนการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนําไปสู่การยกระดับความปลอดภัยคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ ดีของประชาชน 1.2.7 เพื่อลดความสูญเสียสมดุลความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ และสามารถคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในยามคํ่าคืนไว้อย่างยั่งยืน 1.2.8 เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางแสง ตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ งานแสงสว่างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 1.2.9 เพื่อสร้างความร่วมมือกับนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม


6 1.2.10 เพื่อดําเนินกิจกรรมการจัดประชุมให้หน่วยงานหลักเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อนําไปสู่ การร่างกฎหมายต่อไป 1.3 สมมุติฐานของการวิจัย แสงสว่างที่ถูกปล่อยจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคาร สามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสภาวะแวดล้อมที่มืดมิด ตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน แสงสว่างอันมีทิศทางการส่องของแสงหรือแสงสว่างที่มีความสว่างอันก่อเป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ รวมถึงเหตุรําคาญอื่นๆ อันเกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคาร แสงสว่างโดยประการเช่นว่านี้เองย่อมถือเป็นมลภาวะทางแสง ซึ่งมลภาวะเช่นว่านี้เกิด ขึ้นมาจากการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือการออกแบบไฟ ส่องสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินและระบบนิเวศในเวลากลางคืน ก็ยังสามารถจะสร้างความเสียหายต่อดุลย ภาพของธรรมชาติในเวลากลางคืนหรือสามารถทําลายสมดุลวัฏจักรความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นยังมีความจําเป็น ต่อการดํารงชีพของมนุษย์และมนุษย์ก็ยังจําต้องใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อประกอบกิจกรรม ต่างๆ ในยามคํ่าคืน ในทางตรงกันข้าม หากแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารได้รับการ ออกแบบหรือติดตั้งติดตั้งในลักษณะที่ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงรุกลํ้าไปยังบริเวณพื้นที่ที่ไม่ ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือก่อให้เกิดความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีความจําเป็นที่ จะต้องกําหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงขึ้นมาเพื่อสร้างหลักเกณฑ์และวิธีการ ป้องกันมลภาวะทางแสงจากการติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือออกแบบ แสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อมในยามคํ่าคืน ควบคู่ไปกับสร้างกลไก สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร การติดตั้งแหล่งกําเนิดแสง สว่างภายนอกอาคารและการออกแบบไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่นําไปสู่การลดผลกระทบ ต่อสภาวะแวดล้อมในยามคํ่าคืนและระบบนิเวศในเวลากลางคืน บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแค่วางกรอบของกฎหมาย สิ่งแวดล้อมพื้นฐานสําหรับควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมเอาไว้เป็นการทั่วไปและวางหลักเกณฑ์อย่างกว้างๆ ของกฎหมายสาธารณสุขเพื่อกําหนดลักษณะของเหตุรําคาญ อํานาจในการควบคุมดูแลเหตุรําคาญของเจ้า พนักงานท้องถิ่น ขั้นตอนการดําเนินการต่อเหตุรําคาญและกําหนดโทษความผิดของผู้ก่อเหตุรําคาญ แต่ บทบัญญัติดังกล่าวที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งยังมิใช่มาตรการทางกฎหมายที่ ระบุหลักเกณฑ์และกลไกเฉพาะเพื่อควบคุมมลภาวะทางแสงไว้เป็นพิเศษ เมื่อมลภาวะทางแสงอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศในยามคํ่าคืน จึงเห็นว่าประเทศไทยควรกําหนด


7 มาตรการทางกฎหมายที่จะให้ความคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศในเวลากลางคืนจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปจะต้องระวังภัยล่วงหน้า อันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีแสงสว่างภายนอกอาคารที่อาจส่งผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสมควรที่จะต้องกําหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหามลภาวะทาง แสงในปัจจุบันกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการกําหนดมาตรการทางกฎหมายควบคุ ม มลภาวะทางแสงเอาไว้เป็นการเฉพาะและนําหลักสากลกําหนดหลักเกณฑ์ควบคุมการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารและสร้างเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบทั้งในด้านดาราศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและพลังงาน 1.4 ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยฉบับนี้ ได้ทําการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง โดยขอบเขตของ การศึกษาวิจัยนี้ ได้เริ่มจากแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะ ทางแสง แล้วศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ เพื่อนํามาศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศ ไทยว่ามีข้อดี ข้อเสีย จุดแข็ง และจุดด้อยแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนําไปสู่การแสวงหาแนวทางในการ พัฒนาปฏิรูปกฎหมายไทยในอนาคต 1.5 วิธีดําเนินการศึกษา งานวิจัยฉบับนี้ทําการศึกษาและวิเคราะห์ในเชิงเอกสาร ผ่านการค้นคว้าหลักการ แนวคิดและ ทฤษฏีเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมรวบรวมสาระสําคัญจากบทบัญญัติทางกฎหมาย เกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสง ทั้งจากในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเน้นศึกษาวิเคราะห์ สาระสําคัญเกี่ยวกับมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงภายนอกอาคาร จากหนังสือ ตํารา บทความ วิทยานิพนธ์ รวมไปถึงเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนํามาศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ทํา ให้ทราบถึ งแนวความคิด พื ้นฐานว่ าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ ยวกั บการควบคุ ม มลภาวะทางแสง 1.6.2 ทําให้ทราบถึงมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศและประเทศ ไทย 1.6.3 ทําให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย 1.6.4 ทําให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงสําหรับประเทศไทยใน อนาคต


8 1.6.5 ทําให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง สําหรับการบริการ จัดการการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 1.6.6 ทําให้สามารถนําองค์ความรู้ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง มาขับเคลื่อนการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนําไปสู่การยกระดับความปลอดภัยคุณภาพชีวิตและ สุขภาพที่ดีของประชาชน 1.6.7 ทําให้สามารถลดความสูญเสียสมดุลความมืดและความสว่างตามธรรมชาติ และสามารถ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในยามคํ่าคืนไว้อย่างยั่งยืน 1.6.8 ทําให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางแสง ตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ งานแสงสว่างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


บทที่ 2 แนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ การควบคุมมลภาวะทางแสง

2.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง แสงประดิษฐ์ (artificial light) ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้การ ดํารงชีพและขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรมของผู้คนในยามคํ่าคืน แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ภายนอกอาคารถือเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้การดําเนินวีถีชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมหลากประเภทของ ผู้คนดํารงชีพในยามคํ่าคืน เพราะแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารย่อมช่วยเพิ่ม ความสามารถมนุษย์สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ในเวลากลางคืนได้ (ability to see objects)1 แสงสว่างที่ ปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้ ในรูปแบบของ คลื่นที่มีช่วงความยาวของคลื่นระหว่าง 380-760 นาโนเมตร (nanomater หรือ nm)2 ซึ่งช่วงความยาว ของคลื่นเช่นว่านี้เป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ อีกทั้งแสงสว่างเองก็มี คุณสมบัติเฉพาะของตนเฉกเช่นเดียวกับคลื่นตามขวางทั่วๆไป เช่น การเดินทางเป็นเส้นตรง (rectilinear propagation) การเลี้ยวเบน (diffraction) การหักเห (refraction) การสะท้อน (reflection) การแทรก สอด (interference) และการโพราไลเซชั่น (polarization) เป็นต้น มนุ ษ ย์ ย ั ง ได้ ส ร้ า งกระบวนการของการนํ า ความรู ้ ท างวิ ศ วกรรมส่ อ งสว่ า ง (illuminating engineering) และผลของการวิเคราะห์จากศาสตร์ดังกล่าว ตลอดจนพัฒนาประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาสถาปัตยกรรม แสงสว่ า ง (lighting architecture) สาขาวิ ช าดาราศาสตร์ (astronomy) และสาขาวิ ช านิ เ วศวิ ท ยา (ecology) มาจัดทําเป็นเกณฑ์สําหรับสร้างมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor 1

Lichfield District Council. (2018). Environmental Health Technical Planning Guidance: External Artificial Lighting. Lichfield District Council: Lichfield District Council, pp. 1-12. 2 Luoa, Y. R. (1999). 'Why is the human visual system sensitive only to light of wavelengths from approximately 760 to 380 nm? An answer from thermochemistry and chemical kinetics', Biophysical Chemistry, 83, pp. 179-184.


10 lighting standards) ที่จะนําไปสู่ใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของมนุษย์3 จนก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตหรือการทํากิจกรรมภายนอกอาคาร ความคุ้มค่าในการใช้งานพลังงานแสงสว่าง ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศาสตร์ว่าด้วยแสงสว่าง (light experts) และการใช้งานแสงสว่าง (lighting experts) ได้ร่วมกันสร้างกรรมวิธีในการสร้างมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมา (standardisation on lights and lighting) เพื่อใช้พิจารณาความเหมาะสมบางประการของแหล่งกําเนิด แสงกับการใช้งานแสงสว่างโดยเฉพาะ ภายใต้เกณฑ์บางอย่างที่สร้างความเข้าใจให้ผู้ปฏิบัติงานด้านแสง สว่างทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากแสงสว่างสูงสุดตาม สภาพของกิจกรรมและตามลักษณะของสถานที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร4 กล่าวอีกนัย หนึ่ง กรรมวิธีดังกล่าวได้สร้างมาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่าง (standards of lights and lighting) ในรูปแบบระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศกําหนดไว้เป็นพื้นฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร (units) เช่น หน่วยแคนเดลาสําหรับวัดความเข้มของการส่องสว่าง (Candela หรือ cd) และหน่วย ลักซ์ที่ใช้วัดความสว่างต่อพื้นที่ (Lux หรือ lx)5 และในรูปแบบของวิธีการใช้งานแสงสว่างที่สอดคล้องกับ กิจกรรมที่กระทํา ลักษณะการทํางานและชนิดของพื้นที่ มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างไม่ว่า จะเป็นมาตรฐานภายใต้กฎที่ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (soft law) หรือกฎที่มีผลผูกพันให้ผู้คนปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด (hard law) หรือขั้นตอนในการติดตั้ง ออกแบบและใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ประเภทต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งยังบรรลุเป้าหมายการใช้งานแสงสว่างให้สอดรับ กับรสนิยมของผู้ใช้งานหรือกิจกรรมภายนอกอาคารที่กําหนดเอาไว้ เช่น เกณฑ์แสงสว่างสําหรับอาชีวอนา มัยและความปลอดภัยในการทํางาน เกณฑ์แสงสว่างสําหรับการคมนาคมขนส่งทางบกและเกณฑ์แสงสว่าง สําหรับมุ่งผลประหยัดและเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างยังได้ถูกนําเอามาเป็นเครื่องมือวัดระดับ (level) การใช้ งานแสงสว่างที่มากจนเกินไปกว่าความต้องการการใช้งานแสงสว่างในแต่ละพื้นที่หรือมากจนทําให้เกิด อันตรายต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ หากมีแหล่งกําเนิดแสงสว่าง ได้สร้างแสงสว่างในระดับที่อยู่ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือในระดับที่ทําให้คุณภาพของ 3

U.S. Department of Veterans Affairs Office of Construction & Facilities Management. (2015). Lighting Design Manual. Washington DC: U.S. Department of Veterans Affairs, pp. 1.2-1.3. 4 E-street. (2018). Intelligent Road and Street lighting in Europe. Retrieved March 31, 2018, from https://ec.europa.eu/energy/intelligent/projects/sites/iee-projects/files/projects/documents/estreet_e_street_publishable_report_en.pdf 5 National Optical Astronomy Observatory. (2018). Recommended Light Levels (Illuminance) for Outdoor and Indoor Venues. Retrieved March 31, 2018, from https://www.noao.edu/education/QLTkit/ACTIVITY_Documents/Safety/LightLevels_outdoor+indoor.pd f


11 สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงนั้นก็อาจจะกลายมาเป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อมได้ กล่าวคือ หากมีการใช้งาน (use) ออกแบบ (design) และติดตั้ง (install) แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคาร จนเกินไปกว่าระดับมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานภายใต้กฎที่ไม่มีผลผูกพันตาม กฎหมายก็ดีหรือกฎที่มีผลผูกพันให้ผู้คนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็ตาม โดยประการที่ก่อให้เกิดหรืออาจ ก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light direction) หรือความสว่างที่ไม่ เป็ น มิ ต รต่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ ม (non-environmentally friendly light) จนสร้ า งผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้6 รวมถึงไปถึงเหตุรําคาญ เนื่องจากการใช้งานแสงสว่าง (artificial light nuisance) ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสง สว่างภายนอกอาคาร ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารด้วย7 นอกจากแสงประดิษฐ์กับความสว่างจากแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นมาจะมีส่วนช่วยสร้าง ประโยชน์ให้กับมนุษยชาติแล้ว ความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน (natural darkness at night) ก็ ยังถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับธรรมชาติและอารยะธรรมของมวลมนุษยชาติมาช้านาน8 มนุษย์เองก็ต้องอาศัย บรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติในการนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน อีกทั้งมนุษย์ยังสามารถ มองเห็นดวงดาวในยามคํ่าคืนได้ด้วยตาเปล่า (naked eye observation) และสังเกตปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ (observing with the telescopes) อีก ประการหนึ่งในบรรยากาศสภาวะแวดล้อมของท้องฟ้าที่มืดมิดตามธรรมชาติ (dark-sky environment) ในยามคํ่าคืนก็อาจมีแสงธรรมชาติจากดวงดาว (starlight) เช่น แสงสว่างจากดาวฤกษ์ส่องระยิบระยับบน ท้องฟ้าและแสงสว่างจากดวงจันทร์ ซึ่งมนุษย์อาศัยแสงธรรมชาติจากดวงดาวมาเอื้อประโยชน์ต่อการ สัญจรทางบกและต่อการเดินเรือมาเป็นเวลาช้านาน เช่น นักเดินเรือทะเลจะอาศัยตําแหน่งของดาว เคราะห์ ดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์บนท้องฟ้ามาใช้ดูเพื่อบอกเวลา ทิศทางของเรือและตําแหน่ง ของเรือ อีกประการหนึ่ง มนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตก็ย่อมต้องอาศัยสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในยามคํ่า คืน (night environment) ที่ ประกอบด้วยความมืดมิดตามธรรมชาติ บนท้องฟ้าและความสว่ างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน ทําให้สามารถประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนได้9 เช่น การนอนหลับ

6

Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4. 7 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-5. 8 State of Utah's Rural Planning Group (2018). Guidance & Best Practices on Dark Sky Planning: An Introduction for Local Leaders. Salt Lake City, UT : State of Utah's Rural Planning Group, pp. 4-7. 9 Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', Frontires in Ecology and the Environment, 2 (4), pp. 191-198.


12 (sleep pattern) การเกี้ยวพาราสี (courtship) การสืบพันธุ์ (reproduction) การผสมพันธุ์ (breeding) การอพยพ (migration) การหาอาหาร (foraging) และการหลีกหนีผู้ล่า (predator avoidance) เป็นต้น มาตรฐานแสงสว่างและการใช้งานแสงสว่างยังได้ถูกนําเอามาเป็นเครื่องมือวัดระดับมาตรฐาน คุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน (natural darkness) กับสภาวะความสว่างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน (natural night-time brightness) ความมืดมิดตามธรรมชาติย่อมเอื้อประโยชน์ หรือเป็นคุณต่อการประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ สัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืนและ สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยความมืดมิดตามธรรมชาติในดํารงชีพ ทั้งนี้ หากต้องการจะทราบว่าพื้นที่ใดปราศจาก ความสว่างจากแสงประดิษฐ์หรือพื้นที่ใดที่ยังคงความมืดมืดตามธรรมชาติไว้ พื้นที่ดังกล่าวก็จะต้องมีระดับ การใช้งานแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในปริมาณที่ตํ่ามากหรือแทบจะปลอดจาก การใช้งานแสงสว่างในพื้นที่ดังกล่าวเลย10 จากที่กล่าวมาในข้างต้น แสงประดิษฐ์จากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารที่มนุษย์ที่ได้สร้าง ขึ ้ น มาถื อ เป็ น สิ ่ ง จํ า เป็ น สํ า หรั บ การประกอบกิ จ กรรมภายนอกอาคารของมนุ ษ ย์ ใ นยุ ค ปั จ จุ บ ั น ใน ขณะเดียวกัน ความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนก็ถือเป็นปัจจัยที่สําคัญที่จะทําให้มนุษย์ สัตว์และ สิ่งมีชีวิตสามารถทํากิจกรรมตามธรรมชาติหรือดํารงชีพในระบบนิเวศได้ในเวลากลางคืน หากมีการใช้งาน แสงสว่างในระดับที่เหมาะสม (appropriate light levels) อันประกอบด้วยทิศทางการส่องของแสงกับ ระดับความสว่างในระดับที่ปกติ ทําให้เกิดการมองเห็นในเวลากลางคืนอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งานของพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งมีชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ระดับแสงสว่างที่เหมาะสมเช่นว่านี้เองย่อมเหมาะสม แต่ถ้าหากมีการใช้งาน แสงสว่างในระดับที่ไม่เหมาะสม (inappropriate light levels) อันประกอบด้วยทิศทางการส่องของแสง ที่อาจส่องไปรุกลํ้าพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือส่องไปรุกลํ้ายังพื้นที่ที่ต้องการความมืดตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน รวมไปถึงแสงสว่างอันมีทิศทางการส่องของแสงและแสงสว่างที่มีระดับความสว่าง สูงสว่างระดับที่เหมาะสมเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งมีชีวิตและ ทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับการ ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ด้วยเหตุนี้เอง แสงสว่าง จากการใช้งานแสงสว่างในระดับที่ไม่เหมาะสมก็ย่อมจะกลายมาเป็นมลภาวะ (pollution) ที่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เฉกเช่นเดียวกับมลภาวะประเภทอื่นๆ เช่น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทาง เสียง และมลภาวะทางนํ้า ทั้งนี้ แสงสว่างที่ถูกปล่อยจากแหล่งกําเนิดแสง ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ รวมไปถึง เหตุรําคาญอื่นที่เกิดจากแหล่งกําเนิดแสงด้วย 10

Campaign to Protect Rural England. (2016). Night Blight: Mapping England’s light pollution and dark skies. London: Campaign to Protect Rural England, pp. 4-5.


13 เมื่อมีการใช้งานแสงสว่างโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมหรือ เกิดความสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการขยายตัวพื้นที่ที่มีการใช้งานแสง ประดิษฐ์ในยามคํ่าคืนกับการใช้งานพลังงานแสงสว่างอย่างไร้ขีดจํากัด ก็ย่อมอาจทําให้เกิดปัจจัยที่นําไปสู่ ผลกระทบในด้านลบต่อมนุษยชาติได้ มนุ ษย์ สัตว์และสิ ่งมีชีวิตมีการพึ่งพาสภาวะความมืดมิดตาม ธรรมชาติเพื่อการทํากิจกรรมตามธรรมชาติในระบบนิเวศ แต่ในทางกลับกัน มนุษย์เองก็ต้องพึ่งพาแสง ประดิษฐ์กับบริโภคพลังงานแสงสว่างเพื่อการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืน การใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ปราศจากการวางแผนย่อมทําลายสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนไป ทุกขณะ ซึ่งหากจะทําความเข้าใจขอบเขตกับบริบทของปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ภายนอกอาคารได้ดียิ่งขึ้น ก็ย่อมต้องศึกษากําหนดนิยามความหมาย (definition) ที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 นิยามความหมายของมลภาวะทางแสง การใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งในสังคมและได้แพร่ ขยายออกไปตามรูปแบบของการตั้งถิ่นฐาน (settlements) กับตามลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use) ในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป11 ในการใช้แสงสว่างในครัวเรือนไปจนถึงการใช้งานแสงสว่างใน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในยามคํ่าคืน ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนได้ แม้ว่าการใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารจะเป็นสิทธิประการหนึ่ง เพราะการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารถือเป็นสิทธิที่จะใช้แสงประดิษฐ์ในยามคํ่าคืน (right to enjoy the artificial light at night) อัน เป็นอํานาจอันชอบธรรมที่บุคคลหนึ่งจะสามารถที่จะติดตั้งแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์กับสามารถใช้งาน แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ โดยอํานาจดังกล่าวกฎหมายรับรองคุ้มครองให้บุคคลผู้ที่ใช้งาน ออกแบบหรือ ติดตั้งแสงประดิษฐ์ รวมไปถึงบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ย่อมมีอํานาจหยุด ระงับ และยับยั้งการใช้งานแสงสว่าง จากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในบริเวณอาคารหรือเคหะสถานของตน แต่หากกระทําการอันเป็นสิ่งที่ กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจหรือไม่มีกฎหมายรับรองคุ้มครองให้ใช้งานไฟแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะ ที่อาจก่อความรําคาญหรือสร้างอันตรายต่อผู้อื่นหรือในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อ สิ่งแวดล้อม ก็อาจถือเป็นการแทรกแซงสิทธิของบุคคลอื่นหรืออาจถือเป็นการกระทําอันล่วงละเมิดสิทธิที่ พึ่งจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมดีของบุคคลอื่น (right to a health environment)12 การบัญญัติขอบเขต ความหมายและหลักเกณฑ์สําคัญเกี่ยวกับการปล่อยแสงสว่างออกมาจาก แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นกับการใช้งานแสงสว่างจนก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบ 11

Cooke, K. (2005). Light Pollution, A Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residents of Strathfield. Retrieved March 31, 2018, from http://www.cooke.id.au/Vision_2020_Submission_small.pdf 12 Bratspies, B. (2015). 'Do We Need a Human Right to a Healthy Environment?’, Santa Clara Journal of International Law,1 (13), pp. 31-69.


14 ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ก็ย่อมจะทําให้เราทราบว่าอะไรคือนิยาม ความหมาย (definitions) ของคําว่ามลภาวะทางแสง เมื่อทราบว่าอะไรคือความหมายของมลภาวะทาง แสงแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ผู้ออกแบบหรือติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ผู้ค้าส่งผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร ผู้ค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ให้แสงสว่างภายนอกอาคารและประชาชนทั่วไปที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็จะทราบว่า อะไรคือมลภาวะทางแสงและเข้าใจถึงหลักเกณฑ์สําคัญของคําว่ามลภาวะทางแสง กล่าวคือ หากผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตระหนักรู้และเข้าใจถึงความหมายที่แน่นอนของ แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มีความสว่างเกินค่ามาตรฐาน จนไปก่อให้เกิดความรําคาญ สร้างความรบกวน สร้างการเปลี่ยนแปลงสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน ก็ย่อมจะทําให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และท้องถิ่นสามารถหาแนวทางการประเมินความเสี่ยงและกําหนดมาตรการลดผลกระทบของมลภาวะ ทางแสงที่เกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกล่าวถึงสาเหตุ ปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง จากการ ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือการติดตั้งไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็อาจเกิดความคลุมเครือในการตีความหรือระบุว่าอะไรคือมลภาวะทางแสงได้ นั้นก็ เพราะเอกสารทางวิชาการด้านมลภาวะทางแสงหรือเอกสารของสถาบันทางการเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง อาจไม่ได้ระบุชี้ชัดว่าอะไรคือนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงที่จะนําเอามาใช้กําหนดขอบเขต สําหรับคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งอาจไม่ได้กําหนดกรอบการ แก้ไขปัญหาการใช้งานแสงสว่างที่ก่อให้เกิดความถดถอยเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมในเวลาคํ่าคืน เช่น เอกสารภาษาอังกฤษบางฉบับระบุว่า “light pollution” กับ “obtrusive light” เป็นคําไวพจน์หรือคําที่ มีความหมายเหมือนกัน (synonym)13 แต่หากพิเคราะห์ถึงความหมายภายใต้ฐานแนวว่าด้วยการควบคุม มลภาวะทางแสง ก็อาจพบได้ว่ามีนิยามความหมายที่แตกต่างกัน (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อ 2.1.2) เป็นต้น ในส่วนนี้จะกล่าวถึงนิยามความหมายของมลภาวะทางแสง โดยจะนําเสนอที่มา ขอบเขตและบริบท ของความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง อันมีที่มาจากองค์กร สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้ เคยพรรณนาหรือบรรยายความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงเอาไว้แล้ว การศึกษาวิเคราะห์นิยาม ความหมายของมลภาวะทางแสงมีส่วนช่วยให้ทราบว่าการให้ความหมายคําเฉพาะที่ใช้ในการศึกษาหรือ กําหนดขอบเขตของการเรียนรู้ปัญหามลภาวะทางแสง มีที่มา ขอบเขตและบริบทอย่างไรบ้าง อันเป็นที่มา ที่ทําให้หน่วยงานแต่ละหน่วยงานหรือเอกสารแต่ละฉบับได้ให้นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง ที่อาจคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันออกไป การให้ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงเช่นว่านี้เอง ก็ย่อม 13

Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4.


15 ประกอบด้วยการให้ความหมายของมลภาวะทางแสงในลักษณะทั่วไปหรือการให้ความหมายของมลภาวะ ทางแสงตามเอกสารอันเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเป็น การเฉพาะ ซึ่งจะขอกล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้ สมาคมอนุรักษ์ความมืดบนท้องฟ้านานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA)14 ได้ระบุนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงเอาไว้ว่า มลภาวะทางแสง หมายถึง การใช้งานแสง ประดิ ษ ฐ์ ใ นลั ก ษณะที ่ ไ ม่ เ หมาะสมหรื อ เกิ น สมควรแก่ เ หตุ (inappropriate or excessive use of artificial light) โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ป่าและสภาพ ภูมิอากาศ มลภาวะเช่นว่านี้เป็นผลข้างเคียงมาจากความเจริญรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรม (side effect of industrial civilization) อันมีแหล่งกําเนิดมาจากการใช้งานแสงสว่างภายในและภายนอกอาคาร การใช้ ไฟโฆษณา อาคารสิ่งปลูกสร้างทางพาณิชย์ สํานักงานและโรงงานที่มีการใช้งานแสงสว่าง ไฟถนน และ การใช้งานแสงสว่างเพื่อการกีฬา สมาคมวิ ศ วกรรมสว่ า งแห่ ง อเมริ ก าเหนื อ (Illuminating Engineering Society of North America หรื อ IES) และสมาคมต่ อ ต้ า นมลภาวะทางแสงนานาชาติ (International Dark-Sky Association หรื อ IDA)15 ได้ ก ํ า หนดนิ ย ามของมลภาวะทางแสงเอาไว้ มลภาวะทางแสง หมายถึ ง ผลกระทบในด้านลบต่างๆ อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ รวมไปถึงแสงสว่างจ้า (glare) การรุก ลํ้าของแสง (light trespass) แสงเรืองไปบนท้องฟ้า (sky glow) การสิ้นเปลืองพลังงานจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ (energy waste) รวมไปถึงการใช้งานแสงสว่างที่ส่งผลเสียต่อการรักษาความปลอดภัยและความ ปลอดภัย รวมไปถึงสภาวะแวดล้อมในเวลากลางคืน (nocturnal environment) กรมชุ ม ชนและท้ อ งถิ่ น สหราชอาณาจั ก ร (Department for Communities and Local Government)16 ได้กําหนดนิยามความหมายทั่วไปของมลภาวะทางแสง หมายถึง ผลกระทบจากการใช้ งานแสงสว่างมากจนเกินไป อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างที่ได้รับการออกแบบมาอย่างไม่เหมาะสม (poorly designed lighting schemes) และมีระดับที่มากเกินต่อความจําเป็นในการใช้งาน (excessive levels of light)

14

International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/ 15 Illuminating Engineering Society of North America & International Dark-Sky Association. (2011). Model Light Ordinance. New York, NY: Illuminating Engineering Society of North America, p. 13. 16 Department for Communities and Local Government. (2006). Lighting in the Countryside: Towards Good Practice - Main document. London: Department for Communities and Local Government, p. 17.


16 กลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อมสหราชอาณาจักร (Environmental Protection UK)17 ได้ให้นิยาม ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงประดิษฐ์ที่ส่องไปยังหรือส่องรุกลํ้าไปยังพื้นที่ที่ไม่ต้องการ ให้มีการใช้งานแสงสว่าง (areas not intended to be lit) โครงการรณรงค์พิทักษ์ชนบทอังกฤษ (Campaign to Protect Rural England)18 ได้กําหนด นิยามความหมายทั่วไปของมลภาวะทางแสง หมายถึง แสงประดิษฐ์ที่ส่องไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการให้มี แสงสว่างหรือไม่ปรารถนาให้มีแสงสว่าง สถาบันวิศวกรรมแสงสว่างของสหราชอาณาจักร (Institution of Lighting Engineers)19 ได้ กําหนดคําจํากัดความของนิยามความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง ได้แก่ แสงสว่างที่ส่องรุกลํ้าเข้ามายัง หน้าต่างห้องนอนหรือแสงสว่างที่ส่องจนไปขัดขวางการมองทิวทัศน์บนท้องฟ้าในยามคํ่าคืน โดยแสงสว่าง ที่กลายมาเป็นมลภาวะเช่นว่านี้พึงจะต้องได้รับการลดปริมาณ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ไปรบกวน การใช้งานแสงสว่างที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน คณะกรรมาธิ ก ารมลภาวะสิ่ ง แวดล้ อ มของสหราชอาณาจั ก ร (Royal Commission on Environmental Pollution)20 ได้กําหนดนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงเอาไว้ว่า มลภาวะทาง แสง หมายถึง แสงสว่างที่ถูกใช้งานผิดสถานที่ (light in the wrong place) หรือแสงสว่างที่ถูกใช้ผิดเวลา ( light at the wrong time) ซึ ่ ง อาจจํ า แนกได้ อ อกเป็ น หลายประเภท (forms) และอาจเกิ ด จาก แหล่งกําเนิดแสงเพียงแหล่งเดียวหรือเกิดจากหลายๆ แหล่งกําเนิดแสงพร้อมๆ กัน ภาควิ ช าฟิ สิ ก ส์ มหาวิ ท ยาลั ย ฮ่ อ งกง (Department of Physics of The University of Hong Kong)21 ได้ให้นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง กล่าวคือ มลภาวะทางแสง หมายถึง รูปแบบหนึ่งของความเสื่อมทางสิ่งแวดล้อม (a form of environmental degradation) ที่เกิดขึ้นมาจาก แสงสว่างที่มนุษย์ภายนอกอาคารที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น แหล่งกําเนิดแสงดังกล่าวส่องไปยังท้องฟ้า โดยตรงหรือแสงดังกล่าวได้ตกกระทบวัตถุอื่นใดก่อนสะท้อนไปยังท้องฟ้า สิ่งบ่งชี้ของระดับมลภาวะทาง แสงอาจขึ้นอยู่กับระดับมลภาวะทางแสงที่อยู่บนท้องฟ้า 17

Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p. 4. 18 Campaign to Protect Rural England. (2014). Shedding Light; A survey of local authority approaches to lighting in England. London: Campaign to Protect Rural England, p. 4. 19 Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4. 20 Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4. 21 Department of Physics of The University of Hong Kong. (2018). What is light pollution?. Retrieved April 1, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php


17 จากที่กล่าวมาในข้างต้น นิยามของคําว่ามลภาวะทางแสงอาจประมวลลักษณะสําคัญร่วมกันของ ความหมายคําว่ามลภาวะทางแสงหลายประการด้วยกัน ประการแรก นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักอธิบายถึงบริบทที่เป็นส่วนหนึ่งของ แหล่งกําเนิดแสง (sources of light) ที่ปล่อยแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ไม่ว่าจากแหล่งกําเนิด แสงเดียวหรือแหล่งกําเนิดแสงจํานวนมาก) หรือการใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร (lighting) ใน ลักษณะที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม นิยามความใน ลักษณะนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าแสงสว่างเท่าที่จําเป็นกับมลภาวะทางแสงมีความแตกต่างกันเช่นไรในเบื้องต้น เพราะการปล่อยแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานแสงสว่างที่ เหมาะสมล้วนแล้วแต่ไม่ถือเป็นมลภาวะ ในทางกลับกันการปล่อยแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงที่ไม่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมจึงถือได้ว่าเป็นมลภาวะ ประการที่สอง นิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักอธิบายบริบทเกี่ยวกับเวลา (time) และพื้นที่ (areas) ที่ต้องการให้ปลอดจากมลภาวะทางแสง โดยอธิบายในบริบทที่เป็นส่วนหนึ่งของ พฤติกรรมการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ เพราะหากพิจารณาในบริบทของพื้นที่ ก็ย่อมจะ ทําให้ทราบว่าการใช้งานแสงประดิษฐ์จนก่อให้เกิดทิศทางของแสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ไม่ต้องการใช้ งานแสงสว่าง (artificial light that is allowed to illuminate, or intrude upon, areas not intended to be lit) หรือก่อให้เกิดปริมาณความสว่างที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละพื้นที่ (purposes of areas) ย่อมเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดหรือนําไปสู่การเกิดแสงไม่พึงประสงค์ แล้วหาก พิจารณาในบริบทของเวลา ก็ย่อมทําให้ทราบว่าการใช้งานแสงสว่างผิดเวลา (shining at the wrong time) ก็ย่อมอาจทําให้เกิดแสงที่ไม่พึงประสงค์ได้เช่นเดียวกัน ประการที่สาม ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงมักมีบริบทที่รวมความไปถึงสาเหตุ (causes) ของการเกิดมลภาวะทางแสง อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดสภาวะ ที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือระบบการทํางานของร่างกายมนุษย์ตามปกติเปลี่ยนแปลงโดยการใช้งาน แสงประดิษฐ์ซึ่งทําให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงหรือความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เสื่อมถอยลงไป เพราะไม่ว่าจะเป็นเหตุอันเนื่องมาจากทิศทางการส่องของแสงที่ไม่เหมาะสมและความสว่างที่ไม่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมก็ย่อมเป็นเหตุที่นําไปสู่ผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในเวลา กลางคืนได้ อีกทั้งบางนิยามความหมายยังกําหนดในส่วนของบริบทของนิยามความหมายคําว่ามลภาวะ ทางแสงให้กว้างยิ่งขึ้น โดยได้ผนวกเอาขอบเขตของเหตุรําคาญ (nuisance) เอาไว้ในนิยามความหมายของ คําว่ามลภาวะทางแสงด้วย กล่าวคือ การให้ความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงนั้นอาจกินความไปถึง บริบทของการใช้งานแสงประดิษฐ์จากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่มีทิศทางการส่องหรือความสว่างใน ประการที่เกิดการรบกวนความเป็นอยู่อย่างปกติสุขของผู้อาศัยอยู่โดยรอบแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์หรือ เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานรอบแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์นั้น


18 ประการที ่ ส ี ่ การกํ า หนดนิ ย ามของคํ า ว่ า มลภาวะทางแสงมั ก กล่ า วถึง หรื อมี บ ริ บ ทรวมไปถึ ง ผลกระทบ (effects) และผู้ที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ด้วย การให้นิยามความหมายที่กล่าวถึงผลกระทบของ มลภาวะทางแสงเอาไว้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงสภาวะที่สาธารณชนหรือปัจเจกชนจะต้องเผชิญวิกฤติจากการ ใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบระดับต่างๆ เช่น ปัจเจกชน (individuals) ที ่ ไ ด้ ร ั บ ความเดื อ ดร้ อ นรํ า คาญจากการใช้ ง านแสงสว่ า งของเพื ่ อ นบ้ า น ชุ ม ชน (communities) ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างจากลานจอดรถศูนย์การค้าและสาธารณะชน (public) ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างที่สร้างสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ทําให้คุณภาพ ของความมืดมิดในยามคํ่าคืนถูกทําลายลงหรือระบบนิเวศในเวลากลางคืนเสื่อมโทรมลง การกําหนด ผลกระทบและผู้ที่ได้รับผลกระทบเอาไว้ในนิยามความหมายย่อมแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของสถาบัน ทางการหรือสถาบันการศึกษา รวมไปถึงนักวิชาการที่ตระหนักและตื่นตัวกับโทษภัยอันเนื่องมาจาก ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประการต่อมา นิยามคําว่ามลภาวะทางแสงมักมีบริบทที่ตรงกันประการหนึ่ง นั้นคือหากมีการใช้ งานแสงสว่างเกินไปกว่าระดับใดระดับหนึ่ง (level) ก็จะทําให้แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์นั้น กลายมาเป็นมลภาวะที่ส่งผลกระทบสุขภาพมนุษย์ สัตว์และระบบนิเวศในเวลากลางคืน กล่าวคือ นิยาม ความหมายของมลภาวะทางแสงอาจถูกเป็นเครื่องมือชี้นําว่าการใช้งานแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงใน ระดับใดระดับหนึ่งจึงจะถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจกรรมของมนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิตและอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศในเวลากลางคืน อย่างไรก็ดี อาจจะต้องมีกรอบมาตรฐานอื่นๆมาพิจารณาว่าการใช้งานแสงสว่างในระดับใดระดับหนึ่งจึงจะ ถือเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจในการประกอบกิจกรรม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีกรอบใน การพิจารณากําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างที่ไม่ก่อมลภาวะทางแสงอยู่หลายด้านด้วยกัน เช่น ระยะเวลาการใช้งานแสงสว่าง ความสว่าง ทิศทางการส่องของแสง และพฤติกรรมการใช้งานแสงสว่าง เนื่องจากระดับมาตรฐานของการการใช้งานแสงสว่างที่เป็นมลภาวะอาจจะออกมาในรูปของปริมาณการใช้ พลังงานแสงสว่างที่สิ้นเปลือง ผลที่ตามมาย่อมทําให้เพิ่มต้นทุนพลังงานไฟแสงสว่าง ในขณะที่มาตรฐาน บางประเภทอาจอยู่ในรูปของคุณภาพแสงสว่างที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่หรืออาจอยู่ใน รูปของปริมาณแสงโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์กับไม่ส่งผล กระทบต่อต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน ประการสุดท้าย การกําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง ย่อมทําให้ผู้ปฏิบัติงาน ด้านแสงสว่าง (light practitioners) ทราบความหมาย ขอบเขต หรือคําจํากัดความของคําว่ามลภาวะทาง แสง จะได้ปฏิบัติการป้องกันและลดผลกระทบจากแหล่งกําเนิดแสงกับการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งการกําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงย่อมทําให้ประชาชนทั่วไปได้ เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับบริบทของมลภาวะทางแสง ถ้อยคําที่สื่อความหมายภายใต้นิยามของคําว่ามลภาวะ


19 ทางแสง ที่ไม่เป็นข้อความที่คลุมเครือหรือไม่กํากวม สื่อความความชัดเจนให้สาธารณชนได้เข้าใจตรงกัน จนเห็นพ้องต้องกันว่ามลภาวะทางแสงเป็นปัญหาที่อาจกระทบได้ทั้งปัจเจกบุคคลและสาธารณชน จากที่กล่าวมาในข้างต้น การสร้างนิยามความหมายของมลภาวะทางแสงของสถาบันทางการหลาย แห่งอย่างเป็นลากลักษณ์อักษร มักนําเสนอบริบทของมลภาวะทางแสงที่ล้วนกล่าวถึงเหตุและพลที่เกิดขึ้น จากมลภาวะทางแสง ซึ่งเมื่อนําเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะทราบถึงบริบทของ มลภาวะทางแสง เพื่อก่อให้เกิดการตระหนักรู้ จนนําไปสู่การเฝ้าระวัง ป้องกันและร่วมมือร่วมใจไม่ให้ มลภาวะทางแสงก่อผลกระทบในด้านลบต่อมนุษย์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ การสร้างนิยามใน ลักษณะที่เป็นทางการจากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรของเอกสารที่เป็นทางการย่อมนําไปสู่การสร้าง ความรู้ที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง (explicit knowledge of light pollution) อย่างไรก็ตาม การอธิบายนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงที่แตกต่างกันออกไป รวมไป ถึงนิยามความหมายอันมาจากแหล่งที่มาแตกต่างกัน ทําให้เกิดสภาวะการกระจัดกระจายของนิยาม ความหมายคําว่ามลภาวะทางแสง ย่อมเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งทําให้ปัจเจกบุคคลหรือสาธารณชนอาจ รับทราบข้อมูลหรือรับรู้บริบทของคําว่ามลภาวะทางแสงในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จนอาจนําไปสู่ อุปสรรคต่อการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันหรือบูรณาการความร่วมมือในจัดการมลภาวะทางแสง อีกทั้ง ปัจเจกชนและสาธารณชนอาจไม่ได้รับทราบพื้นฐานความรู้สําหรับตัดสินใจเลือกใช้งานแสงสว่างใน ลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกับไม่สามารถมีข้อมูลอย่างพอเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งานแสงสว่างโดย ประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญต่อเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบแหล่งกําเนิดแสง อนึ่ง มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจ หากสาระสําคัญเกี่ยวกับบริบทของนิยามศัพท์มลภาวะทาง แสงกับสาระสําคัญว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใต้ความรุดหน้าของพัฒนาการเทคโนโลยีแสง สว่าง อีกทั้งความไม่แน่นอนของของสถานการณ์การใช้งานแสงสว่างในอนาคต ที่อาจสร้างผลกระทบต่อ มนุษย์และความเสียหายต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน ภาครัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นในฐานะที่ เป็นสถาบันทางการพึงต้องบัญญัติหรือกําหนดบทบัญญัติ กฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยควบคุม มลภาวะทางแสง ไปพร้อมกับระบุนิยามความหมายในทางกฎหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง (legal definition) หรือไม่ นอกจากนี้ยังอาจตั้งคําถามเพิ่มเติมได้ว่าการสร้างนิยามศัพท์อย่างเป็นทางการของคํา ว่ามลภาวะทางแสง (official definition) จะต้องเป็นนิยามความหมายที่สอดรับกับการสร้างกระบวนการ ระบุผลกระทบของการใช้งานแสงสว่างที่กลายมาเป็นมลภาวะของรัฐ การวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของ ปัญหาการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานของรัฐ การประเมินโอกาสที่จะเกิด มลภาวะทางแสง (likelihood) อันจะนําไปสู่การรับรู้ผลกระทบของมลภาวะทางแสงที่ท้องถิ่นกําลังเผชิญ อยู่หรือไม่ แล้วนิยามศัพท์ทางการเช่นว่านี้ควรจะเอามาระบุในบทบัญญัติกฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับ ว่าด้วยควบคุมมลภาวะทางแสงหรือไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้วปัจเจกชนและสาธารณชนก็พึ่งจะมีสิทธิที่จะได้


20 รับทราบว่าตนเอง ชุมชนที่ตนอยู่ หรือเมืองที่ตนอาศัยจะต้องเผชิญผลกระทบจากมลภาวะทางแสงใน ระดับใด เช่น สูงมาก สูง ปานกลาง ตํ่าหรือปราศจาก เป็นต้น อีกประการหนึ่ง เมื่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแสงสว่างได้ เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการเจริญเติบโตของพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน อย่างไม่หยุดยั้ง รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่น ก็อาจต้องมีการสร้างนิยามศัพท์ของคําว่ามลภาวะทาง แสง ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ผลกระทบของมลภาวะทางแสงในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับ จะต้องกําหนดขอบเขตของการจัดการกับการใช้งานแสงสว่างให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อผลกระทบในด้านลบ ต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการแสวงหานโยบายและมาตรการทางกฎหมาย ที่สร้าง หลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการควบคุมความเสี่ยงและผลกระทบจากมลภาวะทางแสง เพื่อนําไปสู่การ แก้ปัญหาร่วมกันของภาครัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นร่วมกันในอนาคต หากแต่การสร้างนิยามศัพท์ ของมลภาวะทางแสงภายใต้กฎเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยควบคุมมลภาวะทางแสง ย่อมจะทําให้ รัฐ หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่น (รวมไปถึงสถาบันทางการอื่นๆ) ได้ตระหนักรู้ว่าอะไรคือมลภาวะทางแสง แล้วต่อสู้กับปัญหามลภาวะทางแสงผ่านมุมมองเดียวกันภายใต้การสร้างนิยามศัพท์คําว่ามลภาวะทางแสง อย่างเป็นทางการ เช่น การบัญญัตินิยามศัพท์ของมลภาวะทางแสงภายใต้กฎหมาย ก็ย่อมทําให้เจ้าหน้าที่ กระทํากิจกรรมทางกายภาพหรือปฏิบัติการใดๆ เกี่ยวกับการใช้งาน ออกแบบหรือติดตั้งไฟส่องสว่าง ภายนอกอาคาร โดยประการที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางแสง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ด้วยความซับซ้อนและพัฒนาการที่รุดหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีแสงสว่าง ประกอบกับอาจเกิดความไม่แน่นอนของผลกระทบต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารได้ในอนาคต การตีกรอบของนิยามความหมายอย่างตายตัวและแน่นอน ก็อาจเป็นหนทาง ที่ปิดกั้นไม่ให้มีการขยายความบริบทของมลภาวะทางแสงที่หลากหลายหรืออาจทําให้เกิดการยึดติดกับ บริบทเดิมๆ ของคําว่ามลภาวะทางแสง ในการที่รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นต้องดําเนินการใดๆ ที่ลด ความเสี่ยงจากเทคโนโลยีแสงสว่างและผลกระทบในด้านลบจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร หาก รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นก็อาจจะต้องการบัญญัติศัพท์คําว่ามลภาวะทางแสงให้สอดรับกับการการ ป้องกันภัยจากการใช้งานแสงสว่างเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้ปัจเจกชนและสาธารณชนจะได้รับ ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างให้น้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบเลย ทั้งนี้ รัฐ หน่วยงานของรัฐหรือ ท้องถิ่นก็อาจต้องกําหนดนิยามที่ครอบคลุมรองรับเหตุการณ์อันเกิดจากความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยี แสงสว่างภายนอกอาคารหรืออาจต้องกําหนดนิยามที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ตีความในเชิงสนับสนุนการป้องกันภัยล่วงหน้าไม่ให้เกิด ผลร้ายขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีแสงสว่างภายนอกอาคาร ในส่วนของผู้เขียนมีความเห็นว่าความหมายหรือนิยามศัพท์ของคําว่ามลภาวะทางแสงที่เป็นทางการ นั้นควรเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเป้าประสงค์แ ละกลไกของการควบคุมมลภาวะทางแสงของรั ฐ


21 หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่น ซึ่งสถาบันเหล่านี้อาจใช้อํานาจออกกฎหมายหรืออนุบัญญัติวางหลักการ ยอมรั บ ว่ า แหล่ ง กํ า เนิ ด แสงกั บ การใช้ ง านแสงสว่ า งในประการที ่ ป ล่ อ ยแสงประดิ ษ ฐ์ ม ากระทบต่ อ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ พร้อมกับกําหนดนิยามความหมายเอาไว้โดยเฉพาะจะทําให้ผู้ปฏิบัติงานด้าน แสงสว่างภายใต้กฎหมายหรืออนุบัญญัติตระหนักถึงคําจํากัดความที่แน่นอนสําหรับปกป้องคุ้มครอง ผลประโยชน์ของมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน เพราะหากการให้คํานิยามศัพท์คําว่า มลภาวะทางแสงในปัจจุบันยังมิได้สะท้อนจุดร่วมกันในการที่จะลดมลภาวะทางแสงให้ส่งผลกระทบต่อ มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็จะทําให้ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานด้าน แสงสว่างไม่ ทราบว่าลั กษณะพฤติกรรมพื้นฐานของการใช้งานแสงสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมแตกต่างจากลักษณะพฤติกรรมพื้นฐานของการใช้งานแสงสว่างในลักษณะที่ไม่สร้างผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง 2.1.2 ประเภทของมลภาวะทางแสง ปัญหาแสงอันมีทิศทางการส่องที่ไม่เหมาะสมหรือแสงที่มีความสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะก่อให้เกิดความรําคาญแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนได้ ใน ปัจจุบันมลภาวะทางแสง ได้มีการขยายตัวตามการพัฒนาสาธารณูปโภคและการกระจายของอาคารสิ่ง ปลูกสร้าง สาเหตุประการสําคัญเกิดจากการขยายตัวของเมือง (urban expansion)22 การใช้งานไฟส่อง สว่างภายนอกอาคารที่แออัดหนาแน่นมีที่มาจากการใช้งานแสงสว่างตามเส้นทางคมนาคมขนส่ง การใช้ แสงสว่างภายนอกอาคารอย่างหนาแน่น ตลอดจนการใช้งานสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องการแสงสว่าง ภายนอกอาคารมาทําให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องในเวลากลางคืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพอนามัยของประชาชน ระบบนิเวศโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงหรือผู้ที่สัญจรไปมาในยามคําคืน ก็ยัง นําไปสู่ผลเสียหายเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะที่มีการเติบโตของการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร มลภาวะทางแสงก็มีแนวโน้มที่จะ เกิดขึ้นและสร้างปัญหาให้กับสาธารณะชน อาจเริ่มมาจากการใช้งานแสงสว่างของปัจเจกไปจนถึงการใช้ งานแสงสว่างสาธารณะ23 เมื่อจะต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะทางแสงแล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จะต้องหัน มาเรียนรู้ว่าอะไรคือมลภาวะทางแสง อีกทั้งพึงจะต้องเรียนรู้ว่ามลภาวะทางแสงมีกี่ประเภท เพื่อทําให้ สามารถป้องกันและจัดการกับมลภาวะทางแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มลภาวะทางแสงอาจจําแนกได้หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ 22

Chalkias, C., Petrakis, M. & Lianou, M. (2006). 'Modelling of light pollution in suburban areas using remotely sensed imagery and GIS', Journal of Environmental Management, 79, pp. 57–63. 23 Pun, C. S. J. & So, C. W. (2011). Night-sky brightness monitoring in Hong Kong - a city-wide light pollution assessment. Hong Kong: The University of Hong Kong Department of Physics, pp. 1-33.


22 2.1.2.1 แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (Sky Glow) ได้แก่ แสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องพวยพุ่งตรงขึ้นไปบน ท้องฟ้า (direct upward light) หรือแสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องสะท้อนวัตถุผิวมันแล้วส่องพวยพุ่งขึ้น ไปบนท้องฟ้า (upward reflected light)24 จนก่อให้เกิดสภาวะที่ท้องฟ้าถูกปกคลุมไปด้วยแสงสว่างหรือ สภาวะที่เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าเช่นว่านี้ย่อมเป็นเหตุให้บริเวณท้องฟ้า เหนือชุมชนเมืองถูกปกคลุมไปด้วยความสว่างไสว สภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าดังกล่าวมักเกิดใน บริเวณท้องฟ้าเหนือพื้นที่ชุมชนเมือง (urban areas) และพื้นที่ชานเมือง (suburban areas) สาเหตุ เกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างอย่างหนาแน่นในบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่าง หนาแน่น (densely populated areas) และในบริเวณย่านการค้า (densely commercialised areas)25 ทําให้ต้องมีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารในชุมชนเมือง อีกทั้ง การพัฒนาโครงข่ายถนนภายในเมืองและเชื่อมระหว่างเมืองก็อาจเป็นเหตุให้เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า ได้ เพราะการพัฒนาโครงข่ายถนนนั้นย่อมต้องมีการติดตั้งใช้งานไฟถนนคู่ขนานกับเส้นทางถนน ไฟถนนก็ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าหากไฟถนนได้รับการติดตั้งเป็นจํานวนมาก จนอาจทํา ให้แสงจากไฟถนนส่องเล็ดลอดขึ้นไปบนท้องฟ้าทําให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในยามคํ่าคืน

ภาพที่ 1: ภาพแสดงการเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (sky glow) ที่ทําลายบรรยากาศความมืดมิดตาม ธรรมชาติ (natural darkness) ที่จําเป็นต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน (nocturnal ecosystem)26

24

Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is sky glow?. Retrieved April 3, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php 25 Lechner, S. C. M. & Arns, M. C. E. (2017). Light Pollution. Groningen: Hanze University of Applied Sciences, pp. 1-5. 26 lightED. (2018). Sky Glow: Closing the Gap Between Differing Views, Part I. Retrieved April 3, 2018, from http://lightedmag.com/sky-glow-closing-the-gap-between-differing-views-part-i/


23 2.1.2.2 แสงบาดตา แสงบาดตา (Glare) ได้แก่ แสงสว่างจ้าจากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น ไฟถนน ไฟหน้ารถยนต์ และไฟ จากป้ายโฆษณา) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาของมนุษย์โดยตรงหรือแสงสะท้อนแล้วส่องเข้ามายังนัยน์ตา ทําให้ สู ญ เสีย การมองเห็ น ชั ่ ว คราว (temporary vision loss) หรือ เกิด ภาวะตาบอดชั ่ วคราว (temporary blindness)27 รวมไปถึงอาจทําให้ลดทอนสภาพแวดล้อมต่อการมองเห็นในเวลากลางคืน (degradation of the nighttime visual environment)28 (จนรบกวนการมองเห็นในสภาพแวดล้อมที่มืดในยามคํ่าคืน) กล่าวอีกนัยหนึ่ง แสงบาดตาอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของผลกระทบต่อการมองเห็นดังที่ได้ กล่าวมา นั้นคือ (ก) แสงบาดตาที่ก่อให้เกิดความไม่สบายตา (discomfort glare) หรือแสงบาดตาที่เป็น สาเหตุของความไม่สบายตาในระหว่างที่มองวัตถุ และ (ข) แสงบาดตาที่ทําให้มองเห็นวัตถุไม่ได้ (disable glare) หรือแสงบาดตาที่เป็นสาเหตุของการมองไม่เห็นวัตถุใดๆ29 แสงบาดตาสามารถก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อผู้ที่สัญจรบนท้องถนน (roadway glare) (เช่น ผู้สัญจรบนทางเท้า ผู้สัญจรบนท้องถนน และผู้ขับขี่ ยานพาหนะบนท้ องถนนอื่นๆ) รวมไปถึงผู ้ท ี่ สัญจรบนทางนํ้าและทางอากาศ (เช่น แสงบาดตาจาก ประภาคาร (lighthouses ‘glare) ที่ส่องมาบาดตาผู้ควบคุมเรือและแสงบาดตาจากพื้นที่ลานจอดอากาศ ยาน (glare on all apron service areas) ที ่ ส ่ อ งมาบาดตานั ก บิ น เจ้ า หน้ า ที ่ ป ระจํ า เครื ่ อ งบิ น และ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นต้น)

27

Lystrup, D. E. (2017). 'The Dark Side of The Light: Rachel Carson, Light Pollution, And A Case For Federal Regulation', Jurimetrics Journal , 57, pp. 505–528. 28 Lamoureux, B., Li, M., Smith, J. & Watson, G. (2018). Identifying the economic, environmental, and social impacts of overnight, indoor lighting on Dalhousie University’s Studley campus. Halifax: Dalhousie University, pp. 14-16. 29 Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is glare?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/glare.asp


24

ภาพที่ 2: ภาพแสดงการเกิดแสงสว่างจ้าจากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น ไฟถนน ไฟหน้ารถยนต์ และไฟจากป้าย โฆษณา) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาของมนุษย์โดยตรง แสงสว่างจ้าเช่นว่านี้สามารถทําให้มนุษย์สูญเสียการมองเห็น จนเป็นปัจจัยสําคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายบนท้องถนน30

2.1.2.3 แสงที่ส่องรุกล้ํา แสงที่ส่องรุกลํ้า (intrusive light) ได้แก่ แสงสว่างที่มีทิศทางการส่องรุกลํ้าเข้าไปยังอาคาร เคหะ สถาน สิ่งปลูกสร้างหรือบริเวณพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลอื่น31 แสงสว่างที่มีทิศทางการส่องรุกลํ้าก่อให้เกิด ความเดือดร้อนของเพื่อนบ้านหรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงแหล่งกําเนิดแสง ไม่เพียงแต่อาจ เป็นเหตุให้เสื่อมหรือก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเพื่อนบ้านหรือประชาชนที่อยู่ บริเวณโดยรอบแหล่งกําเนิดแสงดังกล่าว หากแต่การส่องรุกลํ้าของแสงยังเป็นการกระทําอันล่วงละเมิดต่อ สิทธิ ที ่จะอาศัยอยู ่ใ นอาคารหรื อเคหสถานของตนอย่ างปกติส ุ ข (right to peaceful enjoyment of property) กับสิทธิที่จะมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (rights to health and wellbeing) เพราะแม้ว่าทุก คนมีสิทธิที่จะติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ แต่ในขณะเดียวกันการใช้สิทธินั้นก็จะต้องไม่สร้าง แสงที่ส่องรุกลํ้าไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่บุคคลอื่นหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

30

Lowenthal, J. (2019). Light Pollution. Retrieved April 3, 2018, from http://www.science.smith.edu/~jlowenth/lightpollution/lightpollution.html 31 Alberta Dark Sky Association. (2017). Light Pollution – The Problem of Light Trespass. Alberta: Alberta Dark Sky Association, pp. 1-2.


25

ภาพที่ 3: ภาพแสดงการส่องรุกลํ้าของแสง (light trespass) เข้าไปยังบริเวณอาคาร เคหะสถานหรือพื้นที่ส่วน บุคคลของเพื่อนบ้าน การส่องของแสงในลักษณะเช่นว่านี้เกิดจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม จนอาจไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบ32

2.1.2.4 การรวมกลุ่มของแสง การรวมกลุ่มแสง (light clutter) ได้แก่ สภาวะที่เกิดการรวมกลุ่มของแสงสว่าง (abundance of light groups) ประกอบกับการรวมกลุ่มของแสงสว่างนั้นมีเป็นจํานวนมาก (excessive groupings of lights) เนื่องมาจากการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารในปริมาณหนาแน่นบริเวณใจ กลางเมือง โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีการติดตั้งใช้งานไฟถนนภายนอกอาคารเป็นจํานวน มากหรือการรวมกลุ่มของแสงจากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ในชุมชนเมือง33 สภาวะการวมกลุ่มของแสงสว่าง มักเกิดจากการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมจนอาจสร้างผลกระทบในด้านความ ปลอดภัยในการสัญจรบนท้องถนนกับอาจทําลายทัศนวิสัยในการมองเห็นสําหรับการบิน34

32

Astrophotography Telescope. (2017). How to reduce light pollution with 4 easy tricks ?. Retrieved April 3, 2018, from http://astrophotography-telescope.com/how-to-reduce-light-pollution-with-4-easy-tricks/ 33 Maine State Planning Office & Hancock County Planning Commission. (2010). Lighting Manual: Promoting Quality Outdoor Lighting in Your Community. Augusta, ME: Maine State Planning Office, p. 3. 34 Rajkhowa, R. (2012). 'Light Pollution and Impact of Light Pollution', International Journal of Science and Research, 3 (10), pp. 861-867.


26

ภาพที่ 4: ภาพแสดงการรวมกลุ่มแสง (light clutter) ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองหรือย่านพาณิชกรรมที่มี ปริมาณการติดตั้งใช้งานแสงสว่างอย่างหนาแน่น35

จากที่กล่าวมาในข้างต้น อาจเห็นได้ว่ามลภาวะทางแสงในแต่ละประเภทถือเป็นต้นเหตุ (causes of light pollution) ให้เกิดสภาวะที่สมดุลระยะเวลาความมือในเวลากลางคืนและความสว่างในเวลากลางวัน ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป จนอาจทําให้คุณภาพสภาวะแวดล้อมของความมืดตามธรรมชาติในเวลา กลางคืนลดลง เพราะมีความสว่างจากแสงประดิษฐ์ (เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอก อาคาร) เข้ามาแทนที่ความมืดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน อีกทั้งมลภาวะทางแสงประเภทต่างๆ ยังอาจทํา ให้ระบบนิเวศในเวลากลางคืนที่ต้องพึ่งพิงความมืดมิดตามธรรมชาติเสื่อมโทรมลงหรือเสียสมดุลได้ รวมไป ถึงการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมยังอาจก่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ โดยรอบบริเวณพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารลดลง เหล่านี้เองล้วนแล้วแต่เป็น ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตราย ต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชน ซึ่ง การรับรู้ถึงผลกระทบเช่นว่านี้ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการกําหนดหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมกิจกรรมการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อนึ่ง นักดาราศาสตร์และผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมส่องสว่างจากหลายสถาบันทางการ ต่างก็ได้ พยายามสร้างมาตรฐานวัดคุณภาพความมืดมิดบนฟากฟ้าที่เหมาะสม (dark-sky quality standards) เป็นการกําหนดมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าที่ง่ายต่อความเข้าใจของนัก สิ่งแวดล้อม นักดาราศาสตร์และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบถึงมลภาวะทางแสงจาก การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด แล้วระดับดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อ 35

Dark Skies Awareness. (2009). Light pollution—what is it and why is it important to know?. Retrieved April 3, 2018, from http://www.darkskiesawareness.org/faq-what-is-lp.php


27 สุขภาพอนามัยหรือไม่ รวมไปถึงอาจเกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายนอก อาคารได้หรือไม่ ซึ่งนักดาราศาสตร์และผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างก็ได้นําเอาหน่วยวัดด้านวิศวกรรมส่อง สว่างมาประยุกต์ใช้เป็นหน่วยวัดมลภาวะทางแสง (light pollution metric) ที่ใช้กันแพร่หลายในทั่วโลก ตัวอย่างเช่น (ก) การวัดอัตราแสงพุ่งขึ้นไปบนจากการติดตั้ง (Upward Light Ratio of the Installation) ตามฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous flux) ถูกนําเอามาใช้กับการวัดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (ข) การวัดค่าความส่องสว่างแนวดิ่งวัด (Vertical Illuminance) โดยใช้หน่วยลักซ์ (Lux) ถูกนําเอามาใช้กับ การวัดแสงสว่างภายนอกอาคารที่ส่องรุกลํ้าเข้ามายังภายในอาคาร (ค) การวัดความเข้มของแสง (Light Intensity) ในหน่วยแคนเดลา (แรงเทียน) (candela หรือ cd) ระหว่างช่วงเวลาก่อน (Pre-curfew) และ หลังจาก (Post-curfew)การจํากัดระยะเวลาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน และ (ง) การวัดความส่องสว่าง (luminance) ต่อตารางเมตรในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร (candela per square metre หรือ cd/m2) มาใช้กับการวัดความสว่างบริเวณรอบอาคาร (building luminance) เป็น ต้น

ภาพที่ 5: แผนภาพแสดงการเกิดของมลภาวะทางแสงประเภทแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (sky glow) แสงบาดตา (glare) และแสงที่ส่องรุกลํ้า (trespassing light) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน สุขภาพอนามัยและ ความปลอดภัย36

36

Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is light pollution?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/lightpollution.asp


28 2.1.3 ผลกระทบของมลภาวะทางแสง แสงสว่างที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ เช่น หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร สามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อดุลยภาพของธรรมชาติในเวลากลางคืน อันได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยความมืดในยามคํ่าคืนเพื่อประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติกับระบบนิเวศในเวลา กลางคืน หรือภาวะที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนได้ รวมไปถึงสภาวะที่มีความสว่างจากแสงประดิษฐ์มากเกินกว่าปกติหรือแสงสว่างที่มีทิศ ทางการส่องมารบกวนความเป็นอยู่อย่างปกติสุข จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญจนไปรบกวนการ พักผ่อนของมนุษย์หรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ผลกระทบของมลภาวะทางแสง (effects of light pollution) ได้แก่ ผลเสียหายอันเกิดขึ้นจากการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือผลเสียหายอันเกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นผลในด้านลบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต การจําแนก แยกแยะผลกระทบจากมลภาวะทางแสงให้เห็นอย่างชัดเจน ย่อมสะท้อนต้นเหตุปัญหาของมลภาวะทาง แสง ตลอดจนอาจนํ าไปสู ่ ก ารแสวงหามาตรการสํา หรับ ลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงได้อย่ า ง เหมาะสม 2.1.3.1 ผลกระทบดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์ (astronomy) ถือเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบน ท้องฟ้า ความเป็นไปของวัตถุบนท้องฟ้า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้า ระบบสุริยะจักรวาล ความ แปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งการศึกษาดาราศาสตร์อาจถูกนําเอามาใช้ในการพยากรณ์ความเป็นไปของ มนุษยชาติ การดูดาวหรือสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนสามารถกระทําได้ ด้ว ยตาเปล่ า (naked eye) และกล้ อ งโทรทรรศน์ (telescope)37 รวมไปถึ งกล้อ งโทรทรรศน์ ใ นฐาน สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ (astronomical observatory bases)38 ในบริเวณพื้นที่ที่มีความมืดมิดตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืน ความมืดตามธรรมชาติจึงเป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่สร้างทัศนวิสัยที่เหมาะกับ การดูดาวด้วยตาเปล่าหรือสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติด้วยกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตาม สภาวะ แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าอาจลดทอนประสิทธิภาพในการดูดาวด้วยตาเปล่าหรือสังเกตปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน นั้นก็เป็นเพราะแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร อาจส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า อันก่อให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าทําให้ทําให้ดวงดาวหรือวัตถุ 37

Bortle, J. E. (2006). Gauging Light Pollution: The Bortle Dark-Sky Scale. Retrieved April 1, 2018, from https://www.skyandtelescope.com/astronomy-resources/light-pollution-and-astronomy-thebortle-dark-sky-scale/ 38 International Astronomical UnionOffice for Astronomy Outreach & National Astronomical Observatory of Japan. (2018). Light Pollution. Paris: International Astronomical Union, p. 2.


29 บนท้องฟ้าจางหายไปพร้อมกับแสงสว่างที่เรืองอยู่บนท้องฟ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งมีปริมาณการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่หนาแน่นมาก ก็ย่อมจะมีแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าอันบดบังทัศนวิสัยการมองเห็น วัตถุบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน39 นอกจากนี้ แสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคารบาง ประเภท ก่อให้เกิดแสงที่มีคุณสมบัติบางประการ อันกระทบต่อกลไกการทํางานและคุณภาพของอุปกรณ์ ดาราศาสตร์ เช่น หลอดแสงจันทร์หรือ หลอดไฟไอปรอท (mercury vapor lamps) ให้สเปกตรัมของ คลื่นของแสงสว่างที่อาจไปรบกวน (interfere) การทํางานของอุปกรณ์ดาราศาสตร์อันเนื่องมาจากรังสี อัลตราไวโอเลต (ultraviolet) และรังสีอินฟราเรด (infrared) เป็นต้น อนึ่ง สภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้ายังอาจกระทบต่อพื้นที่ที่ถูกสงวนเอาไว้สําหรับทํากิจกรรม ดาราศาสตร์เป็นการเฉพาะ (dark-sky parks) เพราะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถทําลายบรรยากาศ สภาวะแวดล้อมความมืดมิดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน (natural dark-sky environment) ที่เป็นมิตรต่อการประกอบกิจกรรมดูดาวหรือกิจกรรมศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้า

ภาพที่ 6: ภาพแสดงพื้นที่ปราศจากสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าทําให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถการมองเห็นวัตถุ บนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน (ซ้าย) ภาพพื้นที่เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าจนบดบังทัศนวิสัยการ มองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน (ขวา)40

39

Luginbuhl, C., Walker, C. & Wainscoat, R. (2009). 'Lighting and astronomy', Physics Today, 62, pp. 32-37.

40

The Planetary Society. (2008). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from http://www.planetary.org/multimedia/space-images/earth/light-pollution_ida_20030800.html


30

ภาพที่ 7: ภาพแสดงการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ผ่านการออกแบบติดตั้งแสงสว่างให้บังคับทิศ ทางการส่อง พุ่งตํ่าลงไม่เกินไปกว่าแนวจํากัดแสง (cut-off fixtures) ย่อมเป็นเทคนิคด้านวิศวกรรมส่องสว่างที่สามารถ ลดการเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้าได้ เมื่อปราศจากสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้ว นักดาราศาสตร์หรือ บุคคลทั่วไปก็สามารถมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืนได้41

2.1.3.2 ผลกระทบต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืน ระบบนิเวศในเวลากลางคืน (nocturnal ecosystems) ได้แก่ หน่วยพื้นที่อันประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพในยามคํ่าคืน (nocturnal life) พื้นที่มืดในเวลากลางคืน (dark areas) และการทํา หน้าที่รวมกันภายใต้สังคมของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนเดียวกัน ซึ่งต้องอาศัยความมืดมิด ตามธรรมชาติในเวลากลางคืน (natural darkness) และช่วงเวลากลางคืน (nighttime) เป็นปัจจัยที่ทําให้ การสร้างความสัมพันธ์และการทําหน้าที่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขนาดเล็กก็ดีหรือ กลุ่มขนาดใหญ่ก็ตาม42 อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาระบบนิเวศในเวลากลางคืนเท่ากับเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพหรือประกอบกิจกรรมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและ สิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน อนึ่ง มีข้อสังเกตบางประการว่าสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบในระบบนิเวศเช่นว่า นี้ จะต้องพึงพาอาศัยภูมิทัศน์ที่มืดมิด (dark landscapes) ในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการ ดําเนินกิจกรรมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในเวลากลางคืน และเป็นปัจจัยที่ทําให้สภาวะตามธรรมชาติของ ระบบนิเวศในช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืนแตกต่างกันออกไป กิจกรรมระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต อาจต้องการแสงสว่างตามธรรมชาติเป็นส่วนช่วยให้สามารถดําเนินกิจกรรมได้ในเวลากลางวัน แต่ทว่า 41

Astrophotography Telescope. (2017). How to reduce light pollution with 4 easy tricks ?. Retrieved April 3, 2018, from http://astrophotography-telescope.com/how-to-reduce-light-pollution-with-4-easy-tricks/ 42

Gaston, K. J., Bennie, J. Davies, T. W. & Hopkins, J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912–927.


31 สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจต้องการความมืดตามธรรมชาติเป็นส่วนช่วยให้ดําเนินกิจกรรมในช่วงเวลา กลางคืน43 ทั้งยังมีข้อสังเกตอีกบางประการว่าสมดุลความสว่างและความมืดตามธรรมชาติ (natural light-dark balance) ย่อมสร้างสภาวะของการมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพในเวลากลางคืนหรือ สิ่งมีชีวิตที่ดํารงชีพในเวลากลางคืนกับสภาวะแวดล้อมอื่นที่ไม่มีชีวิต ในบริเวณพื้นที่ที่ยังคงแบบแผนของ ความสว่างและความมืดตามธรรมชาติ (natural day-night pattern) อันจะทําให้เกิดการรักษาสมดุลของ ระบบนิเวศ ทําให้ระบบนิเวศนั้นธํารงอยู่ต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเมืองอย่างไม่เป็น ระบบหรือการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ปราศจากการวางแผนอย่างเหมาะสม ย่อมสามารถ ก่อให้เกิดการขยายตัวของการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารจนไปทําลายบรรยากาศความมืดมิด ตามธรรมชาติ ท ี ่ ม ี อ ยู ่ แ ละทํ า ลายสมดุ ล ความสว่ า งและความมื ด ตามธรรมชาติ ซึ ่ ง ความสว่ า งจาก แหล่ ง กํ า เนิ ด แสงภายนอกอาคารอาจทํ า ให้ บ ริ เ วณระบบนิ เ วศที ่ อ ยู ่ โ ดยรอบได้ ร ั บ ความสว่ า งจาก แหล่งกําเนิดแสงไปด้วย ในขณะเดียวกันแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารก็อาจส่องรุกลํ้าเข้า ไปยังระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง แสงสว่างภายนอกอาคาร ที่มนุษย์ได้เอามาติดตั้งใช้งานนั้นถือ เป็นสภาพแวดล้อมทางภายภาพที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อจํานวนและชนิดของสิ่งมีชีวิต เพราะแม้ว่า สิ่งมีชีวิตบางอย่างจะอาศัยแสงสว่างตามธรรมชาติในการประกอบพฤติกรรมบางอย่างในการดํารงชีพ44 ไม่ ว่าจะเป็นการสื่อสาร (communication) การนอนหลับ (sleeping) การผสมพันธุ์ (breeding) การจับคู่ ผสมพันธุ์ (mating) การสร้างรัง (nesting) การอพยพ (migration) และการหาอาหาร (foraging) เป็นต้น ตั ว อย่ า งเช่ น การใช้ ง านไฟส่ อ งสว่ า งภายนอกอาคารบริ เ วณพื ้ น ที ่ ร ิ ม ชายหาด (beachfront lighting) ที่เกิดขึ้นเพราะการพัฒนาอาคารสิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งทะเล (coastal development)45 เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัยและแสงสว่างจากอาคารสิ่งปลูกสร้าง สามารถทําให้เกิดแสงที่ส่องรุก ลํ้าไปยั งบริเวณริม ชายหาดในเวลากลางคื น จนไปทําลายบรรยากาศความมื ดตามธรรมชาติในเวลา กลางคื น ที ่ จ ํ า เป็ น ต่ อ พฤติ ก รรมการสร้ า งรั ง (nesting habits) และพฤติ ก รรมการวางไข่ (hatching habits) ของแม่เต่าทะเล เพราะแม่เต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่บนชายหาด หรือแม้กระทั้งลูกเต่าทะเลฟัก ออกมาจากไข่ จะต้องอาศัยแสงสว่างตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนสําหรับนําทางไปเคลื่อนที่ลงไปสู่ท้องทะเล (sea-finding behavior) โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกเต่าทะเลฟักออกมาจากไข่มักมีพฤติกรรมที่เป็นมาแต่ 43

Davies, T. W. , Duffy, J. P., Bennie, J. & Gaston, K. J. (2014). 'The nature, extent, and ecological implications of marine light pollution', Frontiers in Ecology and the Environment, 12 (6), pp. 347– 355. 44 International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Can Harm Wildlife. Tucson, AZ: International Dark-Sky Association, pp. 1-2. 45 Kamrowski, R. L., Limpus, C., Moloney, J. & Hamann, M. (2012). 'Coastal light pollution and marine turtles: assessing the magnitude of the problem', Endangered Species Research, 19 (1), pp. 85–98.


32 กําเนิดที่จะเคลื่อนที่ไปสู่ทิศทางที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนที่สว่างที่สุด (inborn tendency to move in the natural brightest direction) แต่ทว่าแสงประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ ติ ดตั้ งใช้ ง านบริเ วณพื ้ นที ่ ร ิ ม ชายหาดได้ ท ํา ให้ ล ู ก เต่ าทะเลฟั ก ออกมาจากไข่เ กิ ด อาการหลงทิ ศ ทาง (disorientation from artificial lighting) เพราะแทนที่ลูกเต่าทะเลฟักออกมาจากไข่จะใช้แสงสว่างตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืนที่สว่างที่สุดเพื่อชี้ทิศหรือนําทางไปสู่ท้องทะเลในเวลากลางคืน หากแต่ลูกเต่าทะเล ฟักออกมาจากไข่อาจใช้แสงประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสงที่มนุษย์ได้ติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่ริมชายหาด เพื่อชี้ทิศหรือนําทางการเคลื่อนที่ จึงอาจทําให้ลูกเต่าเคลื่อนที่หลงทิศทางมาสู่บริเวณพื้นที่ที่มีอาคารสิ่ง ปลูกสร้างหรือท้องถนนบริเวณชายฝั่งทะเล จนอาจเป็นสาเหตุที่ทําให้ลูกเต่าทะเลไม่อาจลงสู่ทะเลได้ ผลที่ ตามมานั้นก็คือลูกเต่าทะเลอาจเกิดภาวะอ่อนเพลีย (exhaustion) เกิดภาวะขาดนํ้า (dehydration) หรือ อาจถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร (predation) นอกจากนี้ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น (humanbuilt structures) หรือแสงสว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น (human-built windows) ก็ ถ ื อ เป็ น ปั จจั ย สํ าคั ญ ที ่ ท ํ า ให้ เกิ ด การตายของนกอพยพในเวลากลางคื น (deaths of nocturnal migratory birds)46 เหตุ ท ี ่ เ ป็ น เช่ น นี ้ ก ็ เ พราะนกบางสายพั น ธุ ์ ม ั ก อาศั ย แสง ธรรมชาติ เช่น แสงสว่างจากดวงจันทร์ แสงสว่างจากดวงดาว เพื่อชี้ทิศทางการเดินทางอพยพจากสถานที่ แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตาม แสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองอาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อนกอพยพในเวลากลางคืนสองประการด้วยกัน ได้แก่ ประการแรก แสงสว่างใน บริเวณชุมชนเมืองอาจทําให้นกอพยพในเวลากลางคืนเกิดอาการหลงทิศ ซึ่งแทนที่นกอพยพในเวลา กลางคืนจะบินอพยพโดยอาศัยแสงธรรมชาติ แต่นกอพยพในเวลากลางคืน แต่นกอพยพอาจอาศัยแสง สว่างที่ติดตั้งใช้งานในบริเวณอาคารสิ่งปลูกสร้างในชุมชนเมืองเป็นเครื่องชี้ทิศหรือนําทางการอพยพ ผลที่ ตามมานั้นก็คือนกอพยพในเวลากลางคืนจะบินไปวนเวียนตามแสงสว่างในบริเวณชุมชนเมืองจนเสมือน ว่านกเหล่านี้ได้ติดกับดัก (trapping) ไม่สามารถบินอพยพย้ายถิ่นตามธรรมชาติได้ ประการที่สอง แสง สว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในบริเวณชุมชนเมืองอาจทําให้ นกอพยพในเวลากลางคืนอาจบินไปตามแสงสว่างที่เล็ดลอดหรือส่องออกมาจากหน้าต่างของอาคารจน อาจไปชนหน้าต่าง (coalition) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าต่างของอาคารสูง (tall buildings) เป็นต้น

46

University of Delaware. (2018). How light pollution lures birds into urban areas during fall migration. Retrieved April 5, 2018, from https://phys.org/news/2018-01-pollution-lures-birds-urbanareas.html


33

ภาพที่ 8: แผนภาพแสดงผลกระทบด้านมลภาวะทางแสงต่อสัตว์ สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในเวลากลางคืน47

2.1.3.3 ผลกระทบต่อการใช้พลังงาน ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น ไฟส่องสว่างรอบอาคารบ้านเรือน ไฟถนน และไฟรักษา ความปลอดภัย ล้วนแล้วแต่มีความจําเป็นและมีความสัมพันธ์ต่อการดําเนินกิจกรรมภายนอกอาคารใน เวลากลางคื น แต่ ก ารใช้ บ ริ โ ภคพลั ง งานแสงสว่ า ง (light energy consumption) เพื ่ อ ให้ แ สงสว่ า ง ภายนอกอาคารในปริมาณมหาศาลและไร้ขีดจํากัด ก็ย่อมเป็นเหตุที่ทําให้เกิดการบริโภคกระแสไฟฟ้า (electricity consumption) ในปริมาณที่มาก หากมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้ามาสร้างกระแสไฟฟ้าที่ ก่อให้เกิดพลังงานแสงสว่างก็อาจทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลก ที่ส่งผลให้ อุณ หภู ม ิเฉลี ่ยของอากาศบนโลกสูงขึ ้น (average increase in the Earth's temperature)48 ซึ ่งเป็ น สาเหตุประการสําคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (global warming) เพราะเมื่อมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารสําหรับดําเนินกิจกรรมภายนอกอาคารในยามคํ่าคืนอย่างไร้ขีดจํากัด ก็จะสามารถทําให้ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases)49 ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น อันนําไปสู่การทําลายสมดุล ภาวะเรือนกระจก (greenhouse effect)50 อุณหภูมิของธรรมชาติ วัฎจักรนํ้า อากาศ และฤดูกาลต่างๆ ก็ ดําเนินต่อไปอย่างไร้สมดุลหรือปราศจากสมดุลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ สัตว์และสิ่งมีชีวิต หากแต่ความ 47

Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', Frontires in Ecology and the Environment, 2 (4), pp. 191-198. 48 Plymouth Marine Laboratory. (2017). Light pollution impacts sealife as much as climate change. Retrieved April 5, 2018, from https://www.pml.ac.uk/News_and_media/News/Light_pollution_impacts_sealife_as_much_as_climate 49 Hölker, F., et al. (2010). ‘The Dark Side of Light A Transdisciplinary Research Agenda for Light Pollution Policy’, Ecology and Society, 15, pp. 1-11. 50 Davis, S. (2008). Light Pollution. Retrieved April 5, 2018, https://yosemite.epa.gov/sab/sabproduct.nsf/CD5C8191E82D937D8525741F006252FD/$File/Attachmen t+to+Comments+from+Stephen+Davis+EPEC+4-9-08.pdf


34 ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงสว่างอย่างไร้ขีดจํากัด รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีแสงสว่าง ภายนอกอาคารที ่ ไ ม่ ค ํ า นึ ง ถึ ง การประหยั ด พลั ง งานและไม่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ มเพื ่ อ สร้ า งความ สะดวกสบายในการดํารงชีวิตในยามคํ่าคืนของมนุษย์ย่อมทําให้ก๊าซเรือนกระจกเกิดสะสมในชั้นบรรยากาศ ในปริมาณที่มากจนเกินไป จนไปทําลายสมดุลภาวะเรือนกระจกที่ดีและสร้างสภาวะการไร้สมดุลของเรือน กระจก อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 2.1.3.4 ผลกระทบต่อความปลอดภัย แหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคารบางอย่างอาจก่อแสงบาดตาได้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งกําเนิดแสง ที่ก่อแสงบาดตาที่สร้างความไม่สบายตาในระหว่างที่มองวัตถุหรือแหล่งกําเนิดแสงที่ก่อแสงบาดตาที่เป็น สาเหตุ ข องการมองไม่ เ ห็ น วั ต ถุ ใ ดๆ ย่ อ มก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบในด้ า นความปลอดภั ย ต่ อ การจราจร (transportation safety) อีกทั้งการออกแบบไฟรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสมหรือการติดตั้งใช้งาน แสงสว่างในลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังอาจสร้างแสงจ้าจนเกินไป (overly bright light)51 ไม่ เพียงไปบดบังการมองเห็นด้วยตาเปล่าของเจ้าหน้าที ่ของรัฐและเจ้าของเคหะสถานเพื่อการสังเกต พฤติกรรมผู้กระทําความผิดหรือผู้ที่พยายามบุกรุกเข้ามายังเคหะสถาน แต่แสงจ้าเช่นว่านี้ยังอาจไปลด ประสิทธิภาพการทํางานของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยภายนอกอาคารบางอย่าง เช่น โทรทัศน์วงจรปิด (closed circuit television หรือ CCTV)52 เป็นต้น ประการแรก การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารสําหรับรักษาความปลอดภัยบริเวณภายนอก อาคารหรือรอบนอกอาคาร เช่น ไฟรักษาความปลอดภัย สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยสามารถตรวจตราความเรียบร้อยหรือสอดส่องอาชญากรรมในเวลากลางคืน รวมไป ถึงช่วยทําให้เจ้าของอาคารหรือเคหะสถานสามารถระแวดระวังเหตุร้ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจ เกิดขึ้นในบริเวณโดยรอบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในยามคํ่าคืน แต่ทว่าการติดตั้งใช้งานไฟรักษาความ ปลอดภัยในลักษณะที่สร้างแสงจ้าจนเกินไป ก็อาจทําให้เกิดส่วนตัดกันระหว่างความสว่างจากไฟรักษา ความปลอดภัยกับความมืดมิดในพื้นที่โดยรอบ (sharp contrast between light and darkness)53 ซึ่ง อาจทําให้เกิดมุมอับแสง (มุมมืด) จนไม่สามารถมองเห็นการกระทําความผิดของอาชญากรหรือสังเกตผู้ที่ บุกรุกเข้ามายังอาคารหรือเคหะสถานได้ชัดเจน กล่าวอีกนัยหนึ่งแหล่งกําเนิดแสงที่สร้างแสงจ้าจนเกินไป ก็ อาจไปบดบังทัศนวิสัยของการสังเกตพฤติกรรมของอาชญากรหรือผู้ที่บุกรุกเข้ามาในอาคารหรือเคหะ 51

Florida Atlantic University Department of Physics. (2018). Light Pollution Endangers Our Security and Our Safety. Retrieved April 5, 2018, http://cescos.fau.edu/observatory/lightpol-security.html 52 Axis Communications. (2012). Night lessons - Lighting for network cameras A summary report from Axis and Raytec regional test nights Winter 2011–2012 - England, Scotland, Denmark. Lund: Axis Communications, pp. 1-12. 53

International Dark-Sky Association. (2015). Lighting, Crime and Safety. Retrieved April 5, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/lighting-crime-and-safety/


35 สถาน รวมไปถึงอาจทําให้ไม่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ที่อยู่โดยรอบอาคารอย่าง ชัดเจน แหล่งกําเนิดที่สร้างแสงจ้าจนเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะก่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้คนใน เวลากลางคืน ในทางตรงกันข้ามหากปราศจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมแล้ว ก็ อาจทําให้เจ้าหน้าที่ ของรัฐ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและประชาชนทั่วไปไม่สามารถสอดส่อง อาชญากรรมหรือสังเกตความปลอดภัยภายนอกอาคารด้วยตาเปล่าได้ในเวลากลางคืน

ภาพที่ 9: ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาจนทําให้ผู้คนไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่ ปรากฎอยู่ตรงหน้าในเวลากลางคืน (ซ้าย) ภาพแสดงการใช้มือบังแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ปิดกั้นการส่องของ แสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) เข้ามายังนัยน์ตา ทําให้ผู้คนสามารถมองเห็นวัตถุที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า (ขวา)54

ประการที่สอง แสงสว่างจ้าที่ส่องมาจากยวดยานพาหนะ55 เช่น ไฟหน้ารถยนต์ (headlights) หรือ แสงสว่างจ้าที่เกิดจากการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างในบริเวณสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟถนน (street lights)ไฟสัญญาณ (signal light) สามารถส่องเข้ามายังนัยน์ตาของผู้ขับขี่รถยนต์ (drivers) หรือผู้ สัญจรบนทางเท้า (pedestrians) ได้ ซึ่งอาจส่องเข้ามายังนัยน์ตาโดยตรงหรือสะท้อนแล้วส่องเข้ามายัง นัยน์ตา จนให้สูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือเกิดภาวะตาบอดชั่วคราว ผลที่ตามมานั้นคือการสูญเสีย 54

Florida Atlantic University Department of Physics. (2018). Light Pollution Endangers Our Security and Our Safety. Retrieved April 5, 2018, http://cescos.fau.edu/observatory/lightpol-security.html 55 Shaflik, C. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Vancouver: University of British Columbia Department of Civil Engineering, pp. 10-11.


36 ความปลอดภัยและเกิดอุบัติเหตุในการสัญจรของผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้สัญจรบนทางเท้าและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและความสะอาดบนท้องถนน เช่น ตํารวจจราจร พนักงานรักษาความ สะอาด อีกทั้งการจัดสภาพแวดล้อมในการสัญจรที่ไม่เหมาะสม เช่น การติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างบนท้อง ถนนที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและ ทรั พ ย์ ส ิ น ของผู ้ ข ั บ ขี ่ ร ถยนต์ แ ละสั ญ จรบนท้ อ งถนน และเกิ ด ค่ า ใช้ จ ่ า ยเนื ่ อ งจากการเกิ ด อุ บ ั ต ิ เ หตุ เนื่องมาจากแสงสว่างจ้า

ภาพที่ 10: ภาพแสดงแสงบาดตา (แสงสว่างจ้า) ที่ส่องเข้ามายังนัยน์ตาจนของผู้ขับขี่รถยนต์หรือผู้สัญจรบน ท้องถนน ทําให้ผู้ขับขี่รถยนต์หรือผู้สัญจรบนท้องถนนไม่อาจมองเห็นวัตถุที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าบนเส้นทางสัญจร ได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้56

ประการที่สาม การติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่างบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่ง (transport infrastructure lighting) เพื่อสนับสนุนให้การคมนาคมทางบก ทางนํ้าและ ทางอากาศ สามารถดําเนินได้ในเวลากลางคืน โดยอาศัยแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ติดตั้งใช้ งานบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่องสว่างจากเส้นทางสัญจร ต่างก็ช่วยให้ เกิดการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างสะดวกและปลอดภัยในยามคํ่าคืน อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ติดตั้งใช้งานบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่อง สว่างจากเส้นทางสัญจร เช่น สนามบิน (airports) ท่าเรือ (harbors) สถานีรถไฟ (rail stations) และ สถานีรถประจําทาง (bus stations) อาจก่อให้เกิดแสงสว่างที่ส่องไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับผู้ที่ 56

Sheffield Hallam University. (2014). What is Light Pollution?. Retrieved April 5, 2018, https://gdblogs.shu.ac.uk/b2001260/2014/03/15/what-is-light-pollution/


37 อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่โดยรอบหรืออาจก่อให้เกิดแสงที่ทําลายความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งการพัฒนา โครงข่ายสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งย่อมที่จะสร้างความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การ ประกอบธุรกิจและการดําเนินอุตสาหกรรม แต่การติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่ไม่เหมาะสมหรือออกแบบไฟ ส่องสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ในบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือบริเวณ แนวเส้นทางสัญจร) ก็อาจเป็นการทําลายความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนที่มนุษย์จําเป็นต้อง พึ่งพิงอาศัยเพื่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี รวมไปถึงกรณีที่มีการใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่าง (ใน บริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือบริเวณแนวเส้นทางสัญจร) อาจก่อให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือไฟส่องสว่างจากเส้นทาง สัญจร57 ยิ่งไปกว่านั้นการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างหรือแสงสว่างบริเวณโดยรอบโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งในลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น อาจก่อให้เกิดการรบกวน (disturbance) ที่ส่งผลกระทบไปถึงการปฏิบัติงานของผู้ควบคุมยานพาหนะหรือผู้สัญจรบนเส้นทาง คมนาคม ความสว่างของแสงกับทิศทางการส่องของแสงจากแหล่งกําเนิดแสงที่ติดตั้งใช้งานบริเวณ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือเส้นทางคมนาคมที่มีระดับความสว่างสูงไปกว่าระดับความสว่าง พื้นฐานที่จําเป็นต่อการคมนาคมขนส่งหรือมีทิศทางการส่องของแสงที่รบกวนการมองเห็นตามปกติของผู้ ควบคุมยานพาหนะ ก็ย่อมกลายมาเป็นมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง โดยระดับ การรบกวนของมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมเช่นว่านี้ ได้แก่ ค่าความแตกต่างระหว่าง ระดับแสงสว่างที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งและผู้สัญจรในวิธีการต่างๆ กับระดับความสว่างที่สร้างการรบกวนต่อการปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลทั่วไปที่ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งหรือเส้นทางสัญจร ด้วยวิธีการต่างๆ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าการติดตั้งใช้งานแสงสว่างบริเวณพื้นที่รอบสนามบิน (airport lighting) จะนํา ความปลอดภัยทางการบินและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการการบิน แต่แหล่งกําเนิดแสง สว่างบริเวณโดยรอบหรือในบริเวณพื้นที่สนามบินอาจให้แสงสว่างในลักษณะที่อาจไปกระทบต่อความ ปลอดภัยทางการบินได้ เพราะหากมีการติดตั้งไฟใช้งานแหล่งกําเนิดแสงบางประเภทในลักษณะที่ไม่ เหมาะสม (เช่น เสาไฟสูงเคลื่อนที่ (mobile lighting tower) หรือไฟบอกตําแหน่งของสนามบินในเวลา กลางคื น (aerodrome beacon) เป็น ต้น 58) ก็อ าจก่อ ให้ เกิ ดแสงบาดตาที่ ล ดทอนประสิท ธิ ภ าพการ มองเห็นของนักบินในเวลากลางคืนระหว่างระหว่างการเตรียมตัวร่อนลงจอดของอากาศยาน ซึ่งนําไปสู่ 57

Scottish Executive. (2007). Guidance Note: Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 2-7. 58 Luxsolar. (2017). Aeronautical beacons - identification beacon. Retrieved April 5, 2018, from https://www.luxsolar.com/en/products/aeronautical-beacons/icao/aeronautical-beaconsidentification-beacon


38 การเกิดอุบัติเหตุระหว่างการลงจอดของอากาศยานได้ หรือหากมีการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ภายนอกอาคารในปริมาณหนาแน่นพื้นที่โดยรอบบริเวณสนามบิน ก็อาจก่อให้เกิดการรวมกลุ่มแสง (clutter of lights)59 ที่สร้างความสับสน (confuse) ให้กับนักบิน เพราะเมื่อนักบินต้องการลงจอดอาจ ต้องการบรรยากาศความมืดมิดในระดับที่เหมาะสมสําหรับช่วยให้นักบินมองเห็นไฟช่วยเดินอากาศ (aeronautical ground lights) หรือไฟทางวิ่ง (runway lights) ในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน แต่การ รวมกลุ่มของแสงจากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของสนามบินอาจทําลายทัศนวิสัยในการมองเห็นไฟช่วย เดินอากาศหรือไฟทางวิ่งของนักบิน จากที่กล่าวมาในข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากมลภาวะทางแสงหลากประการ ล้วนอาจสะท้อนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนหันมาร่วมกันพัฒนาเครื่องมือทางกฎหมายที่สําคัญ สําหรับใช้บรรลุวัตถุประสงค์ในการกําหนดมาตรการทางกฎหมายภายในประเทศในอนาคต การบัญญัติ กฎหมายควบคุมมลภาวะที่คํานึงถึงผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมทําให้การควบคุมมลภาวะมี ประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผลกระทบในวงกว้างไม่ให้ส่งผลร้ายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง การพัฒนากฎหมายโดยคํานึงถึงความแปรปรวนไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดจากการติดตั้งใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนากฎระเบียบเกี่ยวกับ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมก็ย่อมจะทําให้เป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่มี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ กฎหมาย ควบคุมมลภาวะทางแสงสามารถนําไปสู่การจัดการผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกนั้น คือการสร้างโอกาส (opportunity) สําหรับส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอก อาคารอย่างยั่งยืนที่คํานึงทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ในด้านลบนั้นคือการลดความ เสี่ยง (risk) ที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ทําให้การใช้งานแสงสว่างส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังเห็นว่าการทบทวนผลกระทบที่ได้กล่าวมาทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับพยายามแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยอาศัยกฎหมายวางหลักในการ จัดระเบียบการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ควบคู่ไปกับการดําเนินกิจกรรมบางอย่างของรัฐสําหรับ ควบคุมผลกระทบดังกล่าวไม่ให้ เกิดขึ้น ซึ่ งกฎหมายวางหลักในการจัดระเบียบการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารอาจประกอบด้วยบรรดาหลักเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดหรืองดเว้นกระทําการอย่าง

59

Civil Aviation Authority of New Zealand. (2016). Advisory Circular AC139-6. Wellington: Civil Aviation Authority, pp. 88-132.


39 หนึ่งอย่างใดให้สอดรับกับเป้าหมายที่มุ่งไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบรรดา หลักเกณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมมีรากฐานมาจากแนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสง 2.2 แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสง การศึกษาปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากมลภาวะประเภทใดให้เข้าใจอย่างแท้จริงนั้น ก็มี ความจําเป็นที่จะต้องค้นหาแนวคิดพื้นฐานและความเป็นมาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับ มลภาวะประเภทนั้นๆ เสียก่อน อันจะเป็นรากฐานสําคัญทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจถึงมาตรการทาง กฎหมายควบคุมมลภาวะประเภทต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้60 หากย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ.1970 แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงก็เช่นเดียวกันที่มีพัฒนาการและแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการ หยิบยกประเด็นปัญหาอันเกิดจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่อาจส่งผลกระทบต่อนักดารา ศาสตร์ (astronomers)61 โดยนักดาราศาสตร์ถือเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ได้หยิบยกประเด็นปัญหาจาก ผลกระทบของมลภาวะทางแสงอันมีต่อการดําเนินกิจกรรมทางดาราศาสตร์62 เพราะหากเกิดมลภาวะทาง แสงประเภทแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้ว สภาวะดังกล่าวก็จะลดคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติบน ท้องฟ้าในยามคํ่าคืน (degradation of the night sky) อันเป็นผลมาจากแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ปก คลุมทั่วท้องฟ้าทําให้ท้องฟ้าขาดบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติที่เอื้อต่อการดูดาวด้วยตาเปล่าหรือ การสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ในเวลากลางคืน63 ทั้งนี้ สภาวะที่ท้องฟ้าถูกปกคลุมไปด้วยแสงสว่างหรือสภาวะที่เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในเวลา กลางคืน (ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 2.1.2.1) ที่ส่งผลกระทบต่อนักดาราศาสตร์ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจาก การเจริญเติบโตของเมือง (urban growth) การเจริญเติบโตเป็นของเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพิ่มมากขึ้นสําหรับเอื้อต่อการประกอบกิจกรรมทาง ในด้านบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมในเวลากลางคืน อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแสง

60

Hampshire Astronomical Group. (2017). Lighting Myths: Light Pollution only affects astronomers. Retrieved April 7, 2018, https://hantsastro.org.uk/projects/lightpollution/09myths.php 61 Taylor, S. (2017). ‘Light pollution A case study in framing an environmental problem’, Ethics, Policy & Environment, 20(3), pp. 1-28. 62 The Curious Team. (2014). How does light pollution affect astronomers? (Intermediate). Retrieved April 7, 2018, http://curious.astro.cornell.edu/about-us/116-observationalastronomy/stargazing/professional-observers/712-how-does-light-pollution-affect-astronomersintermediate 63 Astronomical Society of South Australia. (2018). Light Pollution. Retrieved April 7, 2018, from https://www.assa.org.au/lightpollution


40 สว่างภายนอกอาคารที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องไม่ได้คํานึงถึงหลักการออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor lighting design) ที่เหมาะสมหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีแสงสว่างที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรม ดาราศาสตร์เท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบในด้านอื่นๆอีกด้วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม เหตุนี้เองผู้คนใน แวดวงต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานและการพัฒนาเทคโนโลยีแสงสว่างจึงได้พยายามพัฒนา หลักเกณฑ์ร่วมกันสําหรับควบคุมมาตรฐานการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารให้เป็นไปใน แนวทางเดียวกัน ภายใต้ฐานแนวคิดร่วมกันว่าการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารจะต้องก่อให้เกิด ผลกระทบในด้านลบทั้งต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและให้มีการใช้พลังงานแสงสว่าง อย่างคุ้มค่ากับพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไป อนึ่ง แนวคิดพื้นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงส่วนหนึ่งถูกพัฒนามาจากองค์กรวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกา เหนือ (Illuminating Engineering Society of North America หรือ IES) และสถาบันผู้ประกอบวิชาชีพ แสงสว่างแห่งสหราชอาณาจักร (Institution of Lighting Professionals หรือ ILP) อีกส่วนหนึ่งแนวคิด พื ้ นฐานในการควบคุมมลภาวะทางแสงอีกส่วนหนึ่งได้ร ับการพัฒนามากจากองค์กรวิ ชาชี พที่ได้ร ับ ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่าง เช่น สมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากล (International DarkSky Association หรื อ IDA) และสมาคมดาราศาสตร์ แ ห่ ง สหราชอาณาจั ก ร (British Astronomical Association หรือ BAA) โดยในปัจจุบันองค์กรเหล่านี้ได้มีการจัดพิมพ์เอกสารสําคัญหลายฉบับอันมี จุดประสงค์สําคัญสนับสนุนให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลภาวะทางแสงจาก การใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคารในระดั บ ชาติ แ ละนานาชาติ รวมไปถึ ง การสร้ า งความรั บ รู ้ ต ่ อ สาธารณชนเกี่ยวกับความสําคัญของการพัฒนาแนวคิดว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงที่เกิดจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานของรัฐและท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างเช่น สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากลได้ ร่วมกันจัดทํากฎหมายแม่แบบว่าด้วยการใช้งานแสงสว่าง (Model Lighting Ordinance หรือ MLO) ขึ ้ น มา 64 กฎหมายแม่ แ บบว่ า ด้ ว ยการใช้ ง านแสงสว่ า งเป็ น กฎหมายต้ น แบบ (Model Law) บรรจุ สาระสําคัญว่าด้วยการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ซึ่ง ประกอบด้วยสาระสําคัญที่มุ่งนําเสนอให้มลรัฐ (State) หรือท้องถิ่น (Municipality) กําหนดหลักเกณฑ์ให้ ผู้ที่ใช้งานแสงสว่างทําพฤติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมุ่งไปสู่การ

64

Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3.


41 ลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นได้65 กฎหมายแม่แบบนี้เองได้ถูกใช้เป็นแนวทางให้มลรัฐ หรือท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกานําไปพัฒนาให้เป็นบทบัญญัติทางกฎหมายของตน กฎหมายแม่แบบถือเป็น ต้ น แบบในการบู ร ณาการทางกฎหมายร่ ว มกั น ระหว่ า งท้ อ งถิ ่ น กั บ ท้ อ งถิ ่ น และมลรั ฐ กั บ มลรั ฐ ของ สหรัฐอเมริกา66 กล่าวคือ หากท้องถิ่นหรือมลรัฐนําหลักการภายใต้กฎหมายต้นแบบดังกล่าวไปบัญญัติเป็น กฎหมายในแนวทางที่คล้ายคลึงกันหรือเป็นไปในแนวทางเดียวกันแล้ว ก็จะสร้างมาตรฐานการควบคุมแสง สว่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ที่มุ่งควบคุมมลภาวะทางแสงจากการติดตั้งใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม67 แม้ว่ามลรัฐหรือท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกาจะ สามารถเลือกที่จะบัญญัติกฎหมายหรือเลือกที่จะไม่บัญญัติกฎหมายตามหลักเกณฑ์ในกฎหมายแม่แบบ ดังกล่าวได้ แต่ก็ถือว่ากฎหมายต้นแบบดังกล่าวเป็นทางเลือกที่สําคัญอย่างหนึ่งที่จะทําให้มลรัฐหรือท้องถิ่น สามารถปรับปรุงกฎหมายและนโยบายของตนว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงให้มีมาตรฐานสากลได้ เพราะการสร้างกฎหมายต้นแบบถือเป็นการนําเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายของสมาคมวิศวกรรมส่อง สว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความมืดแห่งท้องฟ้าสากลให้แก่มลรัฐหรือท้องถิ่นไปบัญญัติหรือ ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างของมลรัฐหรือท้องถิ่นของตน หากมลรัฐหรือท้องถิ่นไม่ได้ จัดทําหรือปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือและสมาคมพิทักษ์ความ มืดแห่งท้องฟ้าสากลก็ไม่มีอํานาจหรือหน้าที่ไปควบคุมให้ มลรัฐหรือท้องถิ่นออกกฎหมายแต่ประการใด งานวิจัยฉบับนี้นําเสนอแนวคิดที่ถูกนํามาใช้ควบคุมมลภาวะทางแสงอย่างแพร่หลาย โดยแนวคิด เหล่านี้ได้ถูกนําเอามาบัญญัติเป็นมาตรการสากล ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่เล็งเห็น ความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงต่างก็ยอมรับให้แนวคิดเหล่านี้ พร้อมกับนําเอาแนวคิดเหล่านี้มา กําหนดเป็นมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงแนวคิดเหล่านี้ประกอบด้วย 2.2.1 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสง การติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ (artificial light sources) วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ในแต่ละสถานที่ที่เปิดทําการในยามคํ่าคืนหรือตามเป้าหมายของกิจกรรมที่ต้องการใช้งานแสงสว่างในเวลา กลางคืน ตัวอย่างเช่น การใช้ไฟถนน (street lighting) การใช้ไฟส่องสว่างจ้าทั่วสนามกีฬาหรือบริเวณ รอบนอกอาคาร (floodlighting of sports pitches and buildings) การใช้ไฟในสํานักงาน ร้านค้าและ 65

U.S. Green Building Council. (2018). Model Lighting Ordinance User's Guide. Retrieved April 7, 2018, from https://www.usgbc.org/resources/model-lighting-ordinance-users-guide 66 International Dark-Sky Association. (2018). Model Lighting Laws & Policy. Retrieved April 7, 2018, from https://www.darksky.org/our-work/lighting/public-policy/model-lighting-laws-policy/ 67 Pennsylvania Land Trust Association. (2011). Model Lighting Ordinance with User's Guide Model Lighting Ordinance with User's Guide. Retrieved April 7, 2018, https://conservationtools.org/library_items/1415-Model-Lighting-Ordinance-with-User-s-Guide


42 สถานที ่ ต ่ า งๆ (night-time lighting of offices, shops and other premises) การใช้ ไ ฟรั ก ษาความ ปลอดภัย (security lighting) การใช้ป้ายไฟโฆษณา (illuminated signs) การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ (advertisements lighting) การใช้ไฟประดับในโอกาสต่างๆ (decorative lighting) และการใช้ไฟลาน จอดรถ (car park lighting) ย่อมอํานวยประโยชน์ต่อการใช้สถานที่และการประกอบกิจกรรมในเวลา กลางคืนในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป การเลือกติดตั้งใช้งานงานแหล่งกําเนิดแสงในศตวรรษที่ 21 ไม่ เพียงต้องคํานึงถึงการประหยัดพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและบรรลุเป้าหมายของกิจกรรม หากแต่ ยังต้องคํานึงว่าถึงปัญหาด้านมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงประเภท ต่างๆ อีกด้วย แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่มีวางขายในท้องตลาดสากล เช่น หลอดไอปรอทความดันสูง (หรือ หลอดแสงจั น ทร์ ) (High-Pressure Mercury หรื อ หลอด HPM) หลอดโซเดี ย มความดั น ตํ ่ า (LowPressure Sodium หรือหลอด LPS) หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide หรือหลอด MH) หลอดฟลูออ เรสเซนต์ (Fluorescent) และหลอดไดโอดเปล่ ง แสง (Light Emitting Diode หรื อ LED) ถื อ เป็ น เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ถูกนําเอามาใช้สําหรับทําหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้กลายมาเป็นพลังงานแสงสว่าง ซึ่ง หลอดไฟแต่ละประเภทก็จะมีประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ ประโยชน์ใช้สอยกับความต้องการในการใช้งาน เพราะฉะนั้นผู้บริโภคในท้องตลาดสามารถเลือกติดตั้งใช้ งานแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ที่วางขายในท้องตลาดมาใช้งานให้สอดคล้องกับชนิดกิจกรรมภายนอก อาคารที่ต้องการใช้งานแสงสว่างหรือสอดรับกับงบประมาณที่ตนมี รวมไปถึงผู้บริโภคเองสามารถเลือก ออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคารตามความต้องการหรือรสนิยมของแต่ละบุคคล ซึ่งแหล่งกําเนิดแสง ประดิ ษ ฐ์ แ ต่ ล ะประเภทที ่ ว างขายในท้ อ งตลาดสากลต่ า งก็ ม ี ข ้ อ ดี แ ละข้ อ ด้ อ ยตามลั ก ษณะและขี ด ความสามารถเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา แหล่งกําเนิดแสงบางประเภทก็เหมาะกับลักษณะงาน บางอย่างและไม่เหมาะกับลักษณะงานบางอย่าง เช่น หลอดไอปรอทความดันสูง (หรือหลอดแสงจันทร์) มักถูกนําเอามาติดตั้งใช้งานกับไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัยหรือไฟสาธารณะ (ภายนอกอาคาร) เป็นต้น


43

ภาพที่ 11: ภาพแสดงข้อมูลรณรงค์ให้นานาชาติหันมาปฏิบัติการควบคุมมลภาวะทางแสง โดยสมาคมอนุรักษ์ ความมืดบนท้องฟ้านานาชาติ (International Dark-Sky Association หรือ IDA) ผ่านการกําหนดมาตรฐานแหล่งกําเนิด แสงกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร68

แหล่งกําเนิดแสงที่วางขายในท้องตลาดในแต่ละประเภทจะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันออกไป69 แหล่งกําเนิดแสงทุกประเภทก็อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลภาวะทางแสงได้ แต่ทว่าแหล่งกําเนิดแสงดังกล่าว เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและทรัพย์สินของ ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงหรือผู้ใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่วางขายในท้องตลาด70 รวมไปถึง แหล่งกําเนิดแสงบางอย่างก็อาจก่อให้เกิดมีอัตราการใช้พลังงานหรือไม่ก่อให้การสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายใน ระยะยาว71 ตัวอย่างเช่น ไฟถนนที่ไร้กําบังไฟในตัว (unshielded street lights) หรือไฟถนนที่มีกําบังไฟ ไร้ประสิทธิภาพ (ineffective shielded street lights)72 สามารถก่อให้เกิดการแสงกระจายกว้างเป็น บริเวณกว้าง แบบไร้ทิศทางหรือกระจายแสงพวยพุ่งเหนือแนวระนาบ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะทาง 68

International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Solution Postcard. Retrieved April 7, 2018, https://www.darksky.org/our-work/grassroots-advocacy/resources/public-outreach-materials/ 69 Smith, L. (2010). The phasing out of incandescent light bulbs. London: House of Common Science and Environment Section, pp. 1-7. 70 Howarth, N. A. A. & Rosenow, J. (2014). ‘Banning the bulb: institutional evolution and the phased ban of incandescent lighting in Germany’, Energy Policy, 67, pp. 737-746. 71 Association of Lighting Designers. (2018). The Proposed 2020 EU Lighting Regulations – A Primer. Southsea: Association of Lighting Designers, pp. 1-8. 72 Kyba, C.C.M., Hänel, A. & Hölker, F. (2014) Redefining efficiency for outdoor lighting. Energy & Environmental Science, 7, 1806–1809.


44 แสงประเภทแสงบาดตา แสงส่ อ งรุ ก ลํ ้ า และสภาวะแสงเรื อ งขึ ้ น ไปบนท้ อ งฟ้ า รวมไปถึ ง หลอดไร้ ประสิทธิภาพพลังงานบางประเภทที่อาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นเปลืองพลังงาน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เดือนกันยายน 2018 เป็นต้นไป กฎระเบียบของสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) เกี่ยวกับการห้ามวางจําหน่ายหลอดไร้ประสิทธิภาพพลังงานบางประเภท (ban on inefficient energy bulbs) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ ทําให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในท้องตลาดการค้าอุปกรณ์ ไฟฟ้าในภูมิ ภาคยุโรป ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกจะต้องพยายามหันมาผลิ ต ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาวางจําหน่ายในท้องตลาดแทนสินค้าเดิมที่สามารถก่อปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงาน กับปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้งานหลอดไฟที่ไร้ประสิทธิภาพบางประเภทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนําไปสู่การเกิดภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ภาครัฐ ท้องถิ่นภาคธุร กิจและประชาชนทั่วไปก็ต้องหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหั นมายกเลิ กติดตั้งใช้งาน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ สงสว่ า งที ่ ส ิ ้ น เปลื อ งพลั ง งาน 73 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท ี ่ ส หภาพยุ โ รปห้ า มวางจํ า หน่ า ยหลอดไร้ ประสิทธิภาพ74 เช่น หลอดฮาโลเจน (Halogen lamp) หรือหลอดไฟที่อาศัยการความร้อนโดยการให้ กระแสไฟไหลผ่านไส้หลอดทังสเตนจนเกิดความร้อนที่ทําให้เกิดแสงสว่าง(หลอดฮาโลเจนบางประเภท)75 โดยการห้ามติดตั้งใช้งานหลอดไฟที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานเช่นว่านี้ ย่อมมีส่วนช่วยให้เกิดการลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้พลังงานแสงสว่างในแต่ละหน่วย พร้อมกับ ทําให้อายุวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่วางขายในท้องตลาดยาวนานขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศในโลก ก็ยังได้กําหนดมาตรการห้าม วางขายหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา (ban on the sale) ในท้องตลาดและกําหนดมาตรการยกเลิกการใช้ งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา (phased out)76 เช่น รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศยุติการใช้งานหลอดไส้ 73

Publication Office of European Union. (2012). Commission Regulation (EU) No 1194/2012 of 12 December 2012 implementing Directive 2009/125/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for directional lamps, light emitting diode lamps and related equipment Text with EEA relevance. Retrieved April 7, 2018, https://eurlex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX%3A32012R1194 74 European Commission. (2009). FAQ: phasing out conventional incandescent bulbs. Retrieved April 7, 2018, http://europa.eu/rapid/press-release_MEMO-09-368_en.htm 75 Publication Office of European Union. (2009). Commission Regulation (EC) No 244/2009 of 18 March 2009 implementing Directive 2005/32/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for non-directional household lamps (Text with EEA relevance). Retrieved April 7, 2018, https://publications.europa.eu/en/publication-detail//publication/390e2b74-1e4f-4c95-a0b1-2468f880e7ca/language-en 76 Waide, P. (2010). Phase out of incandescent lamps: Implications for international supply and demand for regulatory compliant lamps. Paris: International Energy Agency, pp. 20-42.


45 ร้อนแบบธรรมดาที่ ม ีกํ าลั งไฟฟ้าตํ ่ากว่า 150 วัตต์ (incandescent light bulbs under 150 watts) ตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลอิสราเอลได้ประกาศยุติการใช้งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาที่มีกําลังไฟฟ้าตํ่ากว่า 60 วัตต์ (incandescent light bulbs under 150 watts) ตั้งแต่ปี 2012 และรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศยุติ การใช้งานหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาทุกประเภทให้หมดไปจากท้องตลาดภายในปี 2020 เหตุที่หลาย ประเทศกําหนดเป็นเช่นนี้ก็เพราะหลอดไฟฟ้าแบบอื่นที่ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพมากกว่าได้ ค่อย ๆ เข้ามาแทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อีกทั้งหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดายังก่อให้เกิด การสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าหลอดไฟฟ้าจําพวกอื่นๆ การห้ามวางขายหรือการยกเลิกการใช้งานหลอดไฟบางประเภทในท้องตลาดภายในประเทศและ ภู ม ิภาคเป็นการส่งเสริม ให้ท ้องตลาดในประเทศและภูม ิภาคหั นมานํ าเข้ า จัดจําหน่ ายและวางขาย ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า พร้อมกับสนับสนุนให้ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งกําเนิด แสง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ภาครัฐ ท้องถิ่นและภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาติดตั้งใช้งานผลิตภัณฑ์ อย่างอื่นทดแทน หลอดไฟแบบใหม่ที่ปล่อยความร้อนน้อยลงกับลดการสิ้นเปลืองพลังงานกําลังจะถูก นํามาใช้ทดแทนหลอดไฟแบบเดิมที่ปล่อยความร้อนมากกว่ากับก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานเท่านั้น รวมไปถึงสร้างทางเลือกใหม่สําหรับผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมใน ท้องตลาดและใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากว่าหลอดไฟแบบเดิมกําลังจะหมดไปจากท้องตลาด ในหลายประเทศและภูมิภาคในอนาคตอันใกล้นี้หรือเพราะเป็นต้นเหตุของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอัน ถือเป็นบริบทหนึ่งของปัญหามลภาวะทางแสง และนํามาซึ่งภาวะปัญหาโลกร้อน หลอดไฟแบบใหม่ที่ถูก นํามาติดตั้งใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคารในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นหลอดไดโอดเปล่งแสง (lightemitting diode หรือหลอดไฟ LED) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดบัญญัติกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการวาง จําหน่ายและการใช้ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่าง อันมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฉลากให้คําแนะนําการใช้ งานบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างหรือคู่มือแจ้งวิธีการลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสง บนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างที่วางจําหน่ายอยู่ในท้องตลาดและเพื่อรับรองความ ปลอดภัยให้กับสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม หรือยังไม่มีประเทศใดกําหนดมาตรการบังคับให้ผู้นําเข้า ผู้ จัดจําหน่าย ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าปลีกต้องหันมานําเข้า จัดจําหน่าย ค้าส่งและวางขายผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิด แสงที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงเท่านั้น กล่าวโดยสรุปแนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสงไม่มีการให้ความสําคัญ ของการให้ข้อมูลการติดตั้งใช้งานแก่ผู้ติดตั้งใช้งานผลิตภัณฑ์กําเนิดแสงสว่างหรือผู้บริโภคผลิตภัณฑ์หลอด ไฟฟ้าในท้ องตลาดภายในประเทศหรือระดับภูม ิภาคเอาไว้ โดยตรง เพียงแต่มีการห้ามติดตั ้งใช้งาน ผลิตภัณฑ์แหล่งกําเนิดแสงสว่างบางประเภทที่ล้าสมัยหรือไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมมาตรการประหยัด พลังงานในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยเห็นว่าการห้ามในลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาในบริบทหนึ่งจาก


46 หลายบริบทเกี่ยวเนื่องกับมลภาวะทางแสงจากแหล่งกําเนิดแสง และแท้ที่จริงแล้วควรมีกําหนดมาตรการ ให้ครอบคลุมทุกบริบทเกี่ยวกับมาตรฐานแหล่งกําเนิดแสง แต่การการไม่แจ้งรายละเอียดทางเทคนิคหรือ ข้อมูลความเสี่ยงของมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นมาจากผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่วางขายใน ท้องตลาด ก็อาจเป็นช่องโหว่ในการสร้างความตระหนักและป้องกันปัญหามลภาวะทางแสงไม่ให้ส่งผล กระทบต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดภายในประเทศและภูมิภาค 2.2.2 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ในปัจจุบันมีการขยายการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีแสงสว่างสมัยใหม่สําหรับอํานวยความสะดวกใน ชีวิตประจําวัน ทําให้เกิดการขยายเวลาในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในเวลากลางคืนออกไปและยัง ส่งเสริมให้เกิดการขับเครื่องทางบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมได้ในยามคํ่าคืน ซึ่งความต้องการใน การประกอบกิจกรรมในยามคํ่าคืนกับความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยในเวลากลางคืน ทําให้มี การติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการติดตั้งใช้งานหลอด ไฟฟ้าหรือโคมไฟในปัจจุบันทําให้เกิดแสงสว่างในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ใน ปั จ จุ บ ั น มี ก ารขยายการติ ด ตั ้ ง ใช้ ง านเทคโนโลยี แ สงสว่ า งสมั ย ใหม่ ส ํ า หรั บ อํ า นวยความสะดวกใน ชีวิตประจําวัน ทําให้เกิดการขยายเวลาในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในเวลากลางคืนออกไปและยัง ส่งเสริมให้เกิดการขับเครื่องทางบริการสาธารณะ เศรษฐกิจและสังคมได้ในยามคํ่าคืน ซึ่งความต้องการใน การประกอบกิจกรรมในยามคํ่าคืนกับความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัยในเวลากลางคืน ทําให้มี การติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการติดตั้งใช้งานหลอด ไฟฟ้าหรือโคมไฟย่อมให้เกิดแสงสว่างส่องลงมาในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (areas to be lit) เพื่อให้แสงสว่างในการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคาร แต่ในทางกลับกันการติดตั้งใช้ งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในก็อาจทําให้เกิดแสงสว่างส่องลงมานอกบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสง สว่างหรือส่องไปยังบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่าง (areas not intended to be lit) รวมไปถึง อาจก่อให้เกิดแสงสว่างที่ส่องเล็ดลอด (spill light) ไปยังบริเวณที่อยู่อาศัย อาคารหรือเคหะสถานของ เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง อันอาจทําให้เพื่อนบ้านประสบเหตุรําคาญจากแสงสว่าง นอกจากนี้ แสงสว่างที่ ส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าโดยตรง (direct upward light) และแสงสว่างที่ส่องสะท้อนกับวัตถุจนพวย พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า (upward reflected light) เป็นตัวการสําคัญที่ทําให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบน ท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความสว่างเรืองบนท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศ จนทําลายความมืดมิด ตามธรรมชาติดั่งเดิมเป็นเวลา นานพอที่จะทําให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์และระบบนิเวศ สภาวะแสง เรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคาร ให้ความสว่างมากเกินความจําเป็น (excessive outdoor lighting) หรือปราศจากการควบคุมทิศทางการ


47 ส่องของแสง (misdirected outdoor lighting) ซึ่งเป็นต้นเหตุประการสําคัญทําให้เกิดการส่องรุกลํ้าของ แสงและสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้า77 ในทวีปอเมริกาเหนือ องค์กรวิชาชีพการปฏิบัติงานด้านแสงสว่างและองค์กรวิชาชีพด้านดารา ศาสตร์ ได้แก่ สมาคมวิศวกรรมส่องสว่างแห่งอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America หรือสมาคม IES) กับสมาคมอนุรักษ์ความมืดบนท้องฟ้านานาชาติ (International DarkSky Association หรื อ สมาคม IDA) ต่ า งก็ ไ ด้ ร ่ ว มกั น พยายามพั ฒ นากฎหมายต้ น แบบของท้ อ งถิ ่ น สหรัฐอเมริกา (Model Law) สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่ เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ได้แก่ กฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่าง ท้องถิ่น (Model Lighting Ordinance หรือ MLO) กฎหมายต้นแบบฉบับนี้มีลักษณะเป็นร่างกฎหมาย หรือคู่มือในการจัดทํากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงภายนอกอาคาร ไม่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายแต่ อย่างใด หากท้องถิ่นในมลรัฐต่างๆ สามารถรับเอาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารของกฎหมายต้นแบบฉบับนี้มาปรับใช้หรือมาบรรจุอยู่ในกฎหมายท้องถิ่นของ ตน ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและความตระหนักถึงความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นในแต่ละ ท้องถิ่น กฎหมายแม่แบบฉบับนี้ยังมุ่งให้เกิดเอกภาพในการจัดทํามาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารท้องถิ่น (unification of municipal outdoor lighting standards) ให้แต่ละท้องถิ่นในอเมริกา เหนือมีกฎระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารท้องถิ่นเป็นไปในแนวทาง เดียวกันหรือยอมรับนับถือกฎเกณฑ์ร่วมกัน เพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงและอนุรักษ์พลังงาน78 เช่นเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร องค์กรวิชาชีพการปฏิบัติงานด้านแสงสว่าง ได้แก่ สถาบันผู้ ประกอบวิชาชีพด้านแสงสว่าง (Institution of Lighting Professionals หรือสถาบัน ILP) ได้กําหนดคู่มือ สําหรับลดผลกระทบจากแสงที่ส่องรุกลํ้า (Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN 01:2011) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างภายนอกอาคารและท้องถิ่นของประเทศอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือได้ใช้เป็นแนวทางในการขจัดปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจาก มลภาวะทางแสง79

77

British Astronomical Association Campaign for Dark Skies. (2009). Blinded by the Light?. London: British Astronomical Association, pp. 33-35. 78 Papke, N. (2008). Outdoor Lighting Report. Salem, OR: Oregon Department of Energy, pp. 1-9. 79 Institution of Lighting Professionals. (2011). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN01:2011. Rugby: Institution of Lighting Professionals, 1-10.


48 กฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างท้องถิ่นก็ดีและคู่มือสําหรับลดผลกระทบจากแสงที่ ส่องรุกลํ้าได้กําหนดแนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็ตาม ต่างได้วางหลักเกณฑ์แนวคิดการสากลว่าด้วยมาตรฐานการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารดังต่อไปนี้80 ประการแรก แนวคิดเกี่ยวกับการติดตั้งและออกแบบแสงสว่างภายนอกอาคาร (outdoor light fixtures and design) ได้แก่ แนวคิดสนับสนุนให้เกิดการติดตั้งใช้งานและการออกแบบแสงสว่างที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมในยามคํ่าคืน ควบคู่ไปกับสนับสนุนให้เกิดการบังคับทิศทางของแสงสว่างให้ส่องไปยัง พื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการการติดตั้งใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ที่มีการติดตั้งโล่ไฟแนวตัด (full cut-off shield) สําหรับควบคุมทิศทางการส่องของแสง โล่ไฟแนวตัดที่ ติดตั้งบนหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจะคอยควบคุมให้แสงสว่างมีทิศทางส่องเล็ดลอดไปยังบริเวณพื้นที่ที่ ต้องการใช้งานแสงสว่างและป้องกันไม่ให้แสงสว่างส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งถือเป็นป้องกันสภาวะ แสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า โล่ไฟแนวตัดที่ติดตั้งบนหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟยังมีส่วนช่วยบังคับทิศทางการ ส่องของแสงสว่าง ไม่ทําให้แสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังบริเวณที่อยู่อาศัย อาคารหรือเคหะสถานของเพื่อนบ้าน หรือส่องรุกลํ้าเข้าไปยังบริเวณพื้นที่ชุมชนโดยรอบ อีกทั้งแนวคิดดังกล่าวยังสนับสนุนให้มีหลอดไฟฟ้าหรือ โคมไฟภายนอกอาคารในลักษณะองศาแบบแคบ (outdoor lights with narrower angles) ทําให้แสง สว่างไม่ส่องพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและไม่สองเล็ดลอดออกนอกพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างได้อีกทาง หนึ่ง ประการที่สอง แนวความคิดเกี่ยวกับการนําอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีมาช่วยควบคุมการใช้งานแสง สว่าง ได้แก่ แนวคิดสนับสนุนให้นําเอาอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ควบคุมการเปิดปิดไฟส่อง สว่างภายนอกอาคารเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานแสงสว่างจากไฟส่องสว่างภายนอกอาคารเท่านั้น (using lighting controls to automatically turn lights on and off as needed) เพราะหากปลอด ให้มีการใช้งานแสงสว่างในช่วงเวลาที่ไม่ต้องการให้มีการใช้งานแสงสว่างหรือในบริเวณพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้ มีแสงสว่าง ก็ย่อมทําให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้เหตุ ทั้งยังเป็นการเปิดใช้แสงสว่างโดยเปล่า ประโยชน์ ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่นําเอามาติดตั้งใช้งานสําหรับช่วยควบคุมการใช้งานแสงสว่าง เช่น สวิตซ์ หรี ่ แ สงอั ต โนมั ต ิ (dimmable lights หรื อ dimmers) เซนเซอร์ ต รวจจั บ ความเคลื ่ อ นไหว (motion sensor) เซนเซอร์ตรวจจับการใช้งาน (occupancy sensor control) และตัวตั้งเวลา (timer control) เป็นต้น 80Illuminating

Engineering Society & International Dark-Sky Association, op.eit., pp. 1-17. และโปรดดู เอกสารสรุปย่อกฎหมายแม่แบบ MLO ของสหรัฐอเมริกา (ฉบับร่าง) (จํานวน 17 หน้า) ได้ใน Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA – IES Model Lighting Ordinance Lite (Draft). Retrieved April 7, 2018, https://static1.squarespace.com/static/57af6be3d1758effdeaacefb/t/59036f5a46c3c4f6a774b0d2/1493 397338610/MLO_Lite_v3.pdf


49 ประการที่สาม แนวความคิดเกี่ยวกับการจํากัดระยะเวลาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน (outdoor light curfew regime) ได้แก่ การห้ามใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลา กลางคืนตามระยะเวลาที่รัฐบาลหรือท้องถิ่นได้กําหนดเอาไว้ หรือเรียกว่าเคอร์ฟิว (curfew) รัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลท้องถิ่นอาจออกกฎ ระเบียบและข้อบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผู้ใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร เช่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป ให้ปิดใช้งาน แสงสว่างภายตามเวลาที่กําหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการห้ามไม่ให้มีการใช้งานแสงสว่างในระยะเวลาที่ กําหนด ซึ่งเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อป้องกันการใช้งานแสงสว่างในเวลาที่มีผู้คนสัญจรอยู่บริเวณรอบนอก อาคารน้อยหรือในเวลาที่แทบจะไม่มีผู้คนอยู่บริเวณรอบนอกอาคาร (มักเป็นเวลากลางคืนหรือยามวิกาล) โดยมากท้ อ งถิ ่ น ต่ า งๆ มั ก กํ า หนดให้ ช ่ ว งเวลาตั ้ ง แต่ ห ้ า ทุ ่ ม ถึ ง หกโมงเช้ า (from 11 pm to 6 am) นอกจากนี้ท้องถิ่น (หรือรัฐบาล) บางแห่งยังมีการกําหนดช่วงเวลาที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ค่อนข้างหนาแน่นหรือเรียกว่าช่วงเวลาก่อนเคอร์ฟิว (pre-curfew) และมีการกําหนดช่วงเวลาที่มีการใช้ งานแสงสว่ างภายนอกอาคารค่อนข้างน้อยหรือเรียกว่ าช่วงเวลาหลังเคอร์ฟิว (post-curfew) เอาไว้ ต่างหาก การกําหนดช่วงเวลาก่อนเคอร์ฟิวและช่วงเวลาหลังเคอร์ฟิวเอาไว้เป็นเช่นนี้ ก็เพราะท้องถิ่นอาจ ต้องการจําแนกช่วงเวลาในการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เพื่อให้ทราบว่าช่วงเวลาใดมีการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารในอย่างหนาแน่นหรือไม่ มีความสว่างมากน้อยเพียงใด และเวลาใดพึงเตือนให้ ประชาชนทั่วไปยุติหรือหยุดการใช้งานแสงสว่าง 2.2.3 แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดพื้นที่ใช้งานแสงสว่างให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวความคิดเกี่ยวกับการกําหนดมาตรการการใช้งานแสงสว่างให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ ที่ดิน ได้แก่ การจําแนกประเภทพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้ ประโยชน์ที่ดิน (land use) การจําแนกพื้นที่ในลักษณะเช่นว่านี้ รัฐบาล หน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นต้อง จําแนกพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับบริบทของวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดิน สําหรับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อทําให้สามารถดําเนินการวางแผนการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อมในอนาคต อีกประการหนึ่ง การขยายตัวของเมือง (urban expansion) ย่อมต้องมีการพัฒนาให้เกิดความเป็น เมือง (urbanization) มากขึ้น ประชากรย่อมโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทํากิจการงาน ประกอบอาชีพหรือ ทํากิจกรรมต่างๆ ในเมืองมากขึ้น จึงต้องมีความเจริญด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ อาคาร ที่พัก อาศัยและสิ่งปลูกสร้างสําหรับจัดทําบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรและ สอดคล้องกับการทํากิจกรรมของประชากร ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินของประชากรทั้งในเวลา กลางวันและเวลากลางคืน ในทางตรงกันข้ามก็มีความกังวลว่าการขยายตัวของเมืองอาจเป็นปัจจัยที่ให้เกิด การขยายตัวของพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมากขึ้น จนแสงสว่างภายนอกอาคารมา


50 เข้ามารุกคืบพื้นที่มืดตามธรรมชาติยามคํ่าคืน โดยเฉพาะแสงสว่างภายนอกอาคารอาจส่องเข้ามาทําบาย บรรยากาศความมืดตามธรรมชาติในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม81 ด้วยเหตุนี้จึงมีความจําเป็นที่รัฐและ ท้องถิ่นต้องวางแผนจัดทําผังการใช้ประโยชน์แสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน ที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อสร้างหรือพัฒนาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืนให้เป็นระเบียบ ผ่านการจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามประเภทการใช้ ที่ดิน82และสอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น83 ตัวอย่างเช่น กฎหมายต้นแบบ MLO ของสมาคม IES และ IDA ได้จําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุม การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารออกเป็น 4 เขตด้วยกัน84 ได้แก่ (1) เขต LZ-0 หรือเขตพื้นที่ที่ปลอด การส่องแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ (No ambient lighting) เช่น พื้นที่สงวนเอาไว้ทํา กิจกรรมทางดาราศาสตร์และพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เขต LZ-1 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่าง โดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับตํ่า (Low ambient lighting) เช่น พื้นที่ชนบท พื้นที่อยู่ อาศัยเพียงหนึ่งหรือสองครอบครัวและใจกลางเมืองชนบทขนาดเล็ก (3) เขต LZ-2 หรือเขตพื้นที่ที่มีการ ส่องแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับปานกลาง (Moderate ambient lighting) เช่น พื้นที่อยู่อาศัยของหลายครอบครัว พื้นที่การค้า พื้นที่ธุรกิจ พื้นที่โบสถ์ โรงเรียน โรงแรมและพื้นที่ใช้ ประโยชน์ผสมผสาน (4) เขต LZ-3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่างโดยรอบจากแหล่งกําเนิดแสง ประดิษฐ์ในระดับค่อนข้างสูง (Moderately high ambient lighting) เช่น พื้นที่ระเบียงการค้า พื้นที่ชาน เมืองที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น พื้นที่ใจกลางเมืองเล็ก พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่ขนส่งสินค้า พื้นที่สถานี รถรางและพื้นที่ศูนย์การค้าภูมิภาค และ (5) เขต LZ-4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการส่องแสงสว่างโดยรอบจาก แหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ในระดับสูง (Moderately high ambient lighting) เช่น พื้นที่ใจกลางเมือง พื้นที่ย่านสถานบันเทิง พื้นที่อุตสาหกรรมหนักและพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างในระดับสูง เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบัน ILP ได้จําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ออกเป็น 4 เขตด้วยกัน ได้ แก่ (1) เขต E1 หรือเขตพื้ นที่ปลอดการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ศึกษาดาราศาสตร์ และพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เขต E2 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างตํ่า (Low district brightness) เช่น พื้นที่ชนบท หมู่บ้านขนาดเล็ก และพื้นที่ชานเมือง (3) เขต E3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่าง 81

Hale, D. J., et al. (2013). ‘Mapping Lightscapes: Spatial Patterning of Artificial Lighting in an Urban Landscape’, PLoS One, 8(5), pp. 361–375. 82 Dunnett, O. (2015). ‘Contested landscapes: the moral geographies of light pollution in Britain’, Cultural Geographies, 22(4), 619-636. 83 London Borough of Richmond upon Thames. (2018). River & Light Pollution. London: London Borough of Richmond upon Thames, pp. 1-2. 84 Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association, op.eit., pp. 6-7.


51 ภายนอกอาคารระดับปานกลาง (Medium district brightness) เช่น เมืองขนาดเล็กและเขตปริมณฑล และ (4) เขต E4 หรื อ เขตพื ้ น ที ่ ท ี ่ ม ี ก ารใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคารระดั บ สู ง (High district brightness) เช่น พื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่และพื้นที่ที่มีการประกอบกิจกรรมตลอดช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น การจําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเช่น ว่านี้ ย่อมทําให้รัฐหรือท้องถิ่นสามารถทราบได้ว่าพื้นที่ใดมีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในระดับใด รัฐและท้องถิ่นจะได้จัดทําแผนที่ระบุความเสี่ยงจากมลภาวะทางแสง พร้อมจัดทํามาตรการพัฒนาการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและระมัดระวังภัยจากมลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นทั้งในเมือง ชานเมือง และชนบท ตลอดจนทําให้สามารถระวังภัยและระบุความเสี่ยงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อ ควบคุมมลภาวะทางแสงในเขตพื้นที่เฉพาะแห่ง เพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศยามคํ่าคืน

ภาพที่ 12: ภาพแสดงคุณภาพความมืดตามธรรมชาติบนท้องฟ้าและสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องตาม วัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินในย่านชุมชนเมือง ชานเมือง ชนบทและพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม85

85

U.S. Department of the Interior National Park Service. (2018). Dark Skies. Retrieved April 8, 2018, https://www.nps.gov/yell/learn/nature/dark-skies.htm


52

ภาพที่ 13: ภาพจากสถานีสํารวจโลกองค์การนาซา (NASA's Earth Observatory) แสดงปริมาณการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารที่หนาแน่นในบริเวณใจกลางเมืองแซนแอนโทนีโอ มลรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ใน บริเวณชานเมืองดังกล่าวมีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่หนาแน่น86

ตารางที่ 1: ตารางจําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (environmental zones for exterior lighting control) ของสถาบันผู้ประกอบวิชาชีพแสงสว่างแห่งสหราชอาณาจักรหรือ ILP ได้จําแนกเป็น 4 เขต ได้แก่ (1) เขต E1 หรือเขตพื้นที่ปลอดการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (Intrinsically dark) (2) เขต E2 หรือเขต พื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารค่อนข้างตํ่า (Low district brightness) (3) เขต E3 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับปานกลาง (Medium district brightness) และ (4) เขต E4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสูง (High district brightness)87 86

City of San Antonio. (2009). Dark Sky Policy Evaluation. Retrieved April 8, 2018, https://www.sanantonio.gov/sustainability/DarkSkyPolicyEvaluation

87

Institution of Lighting Professionals. (2011). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN01:2011. Retrieved April 8, 2018, http://www.wiltshire.gov.uk/guidance-notes-for-the-reduction-of-obtrusive-light.pdf


53 2.2.4 แนวความคิดเกี่ยวกับการระงับเหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน (neighbour) ผู้อยู่อาศัยบริเวณ ใกล้เคียงหรือผู้ต้องประสบกับเหตุนั้นอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (artificial light) ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญอันเกิดจากแสงสว่าง (artificial light nuisance)88 การกระทําใดๆ อัน เป็นเหตุให้เกิดการส่องรุกลํ้าของแสงหรือความสว่างในลักษณะอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ย่อมเป็นบ่อเกิดของเหตุรําคาญดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารอันเกิดจากการ ใช้งานอย่างไม่สมเหตุสมผล (unreasonably) กับการใช้งานที่เกินกว่าความจําเป็น (substantially) จน ทําให้แสงส่องไปรุกลํ้า (interfere) จนรบกวนการใช้สอยอาคารหรือรบกวนการพักผ่อนในเคหสถานของ เพื่อนบ้าน อาจนําไปสู่อันตรายต่อสุขภาพหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพในอนาคต อย่างไรก็ ตามมีแนวความคิดเกี่ยวกับการระงับเหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง นั้นก็คือ การควบคุมการส่อง รุกลํ้าของแสง (light trespass) และการป้องกันไม่ให้เกิดแสงที่ส่องออกนอกพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสง สว่าง (spill light) จนไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญให้กับเพื่อนบ้านหรือผู้ที่อยู่อาศัยชุมชนโดยรอบ แนวความคิดดังกล่าวอยู่ภายใต้หลักการทางวิศวกรรมส่องสว่างและสถาปัตยกรรมแสงสว่างที่ว่าจะต้องมี การควบคุมการติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่ทําให้เกิดแสงสว่างที่ส่องไปยังบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน เท่านั้น (area to be lit) ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการออกแบบ ติดตั้งและใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่สามารถ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงได้ พร้อมกับมีการออกแบบแหล่งกําเนิดแสงสว่างที่ไม่ก่อให้เกิดแสงสว่าง จ้ าส่ องไปยั งที ่อยู ่ อาศั ย อาคาร เคหะสถานและพื้นที่ส ่วนตัวของเพื่อนบ้าน89 เช่น การติดตั้งโล่ ไฟ (shielded fixtures) และการปรับมุมทิศทางการส่องของแสงกับจัดแสงให้ส่องตกกระทบไปยังพื้นที่ที่ ต้องการใช้งานแสงสว่าง (adjusting the angle and aim of the light) เป็นต้น

88

Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide. Retrieved April 8, 2018, file:///C:/Users/Veriton/Downloads/light-pollution-as-a-statutorynuisance-a-how-to-guide.pdf 89 Morgan-Taylor, M.P. (2006). ‘Light Pollution and Nuisance: The Enforcement Guidance for Light as a Statutory Nuisance’, Journal of Planning & Environmental Law, August, pp. 1114-1127.


54

ภาพที่ 14: เหตุรําคาญอันเกิดจากใช้งานแสงสว่าง (แสงประดิษฐ์) อาจนําไปสู่การเกิดความขัดแย้งระหว่าง เพื่อนบ้านที่มีอาณาบริเวณรั้วติดกัน90

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณสถานที่ของเอกชน (private premises) หรื อ การติ ด ตั ้ ง แสงสว่ า งจากโคมไฟที ่ ต ิ ด ตั ้ ง บริ เ วณสถานที ่ ส าธารณะ (public premises) ก็พึงจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนและวิธีการที่ชัดเจนสําหรับเยียวยาความเสียหายจากเหตุ รําคาญจากแสงประดิษฐ์แก่เพื่อนบ้านผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณข้างเคียงหรือยุติเหตุรําคาญจากแสงประดิษฐ์แก่ ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่โดยรอบ จนสามารถป้องกันความเสื่อมหรือลดผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพได้

90

Pennsylvania Outdoor Lighting Council. (2017). Residential. Retrieved April 8, 2018, http://polcouncil.org/polc2/residential.htm


บทที่ 3 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ

ในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้นําเสนอแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสง ที่กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงสากล ก็เพื่อให้เห็น หลักการพื้นฐานและภาพรวมของผลกระทบที่สําคัญ ซึ่งแนวคิดพื้นฐานเหล่านี้เองได้นําเอามาประยุกต์ใช้ กับการควบคุมมลภาวะทางแสง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และระบบนิเวศในเวลา กลางคืน รวมไปถึงป้องกันผลกระทบอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการอนุรักษ์พลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมใน เวลากลางคืน จากแนวคิดการควบคุมมลภาวะทางแสงที่กําเนิดมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคาร อันมีวัตถุประสงค์จะลดผลกระทบหรือจํากัดการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม กล่าวคือปัญหามลภาวะทางแสงได้รับการยอมรับให้เป็นปัญหาระดับประเทศและระดับ นานาชาติ โดยหลายประเทศได้นําแนวคิดที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 มาบรรจุเอาไว้ในกฎหมายภายใน หรือกฎหมายท้องถิ่นของตน แต่กฎหมายภายในของแต่ละประเทศมีระดับหรือมาตรฐานในการควบคุม มลภาวะทางแสงที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในหลายประเทศก็ให้ความสําคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในบริบทหรือมิติที่แตกต่างกันออกไป ดังที่จะได้กล่าวเอาไว้ในบท ที่ 3 การศึกษาค้นคว้ากฎหมายต่างประเทศในบทที่ 3 นี้ ย่อมทําให้สามารถเปรียบเทียบมาตรการทาง กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจากหลายประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนําเอามาเปรียบเทียบกับ กฎหมายของประเทศไทย เพื่อนําเอามาตรการทางกฎหมายจากต่างประเทศ มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นหลักเกณฑ์และสาระสําคัญของกฎหมายในการควบคุมมลภาวะทางแสง ในบทที่ 3 นี้ผู้วิจัยจึงทําการศึกษากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจากต่างประเทศ พร้อมหยิบยกกฎหมายของ ประเทศต่างๆ เหล่านี้มาทําการศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ


56 3.1 ประเทศอังกฤษ หากจะกล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศอังกฤษ ในประการแรกต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษและพื้นฐานของกฎหมาย อังกฤษที่เกี่ยวกับมลภาวะทางแสงในเบื้องต้นเสียก่อน แม้ประเทศอังกฤษจะอาศัยระบบกฎหมายจารีต ประเพณี (Common Law) แต่ประเทศอังกฤษก็มีบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ1 กล่าวคือก่อนปี 2005 กฎหมายลายลักษณ์ อักษรที่สําคัญอันเกี่ยวเนื่องกับการควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอังกฤษ ได้แก่ พระราชบัญญัติ Environmental Protection Act 1990 และพระราชบั ญ ญั ต ิ Pollution Prevention and Control Act 1999 อันเป็นกฎหมายแม่บทในการควบคุมปกป้องสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมมลภาวะที่กระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม2 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับมีหลักการที่สําคัญบนฐานแนวคิดในการให้อํานาจรัฐและท้องถิ่น ลดผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมกับควบคุมมลภาวะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสาธารณชน3 หากแต่ กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมมลภาวะทางแสงเอาไว้เป็นการ เฉพาะ4 ในเวลาต่อมาเมื่อปัญหาและบริบทของปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเริ่มมี ความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารก็อาจสร้างความรําคาญจนอาจ กลายเป็นเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (artificial light nuisance)5 หลั ง จากปี 2005 รั ฐ บาลอั ง กฤษได้ ต ราบทบั ญ ญั ต ิ เ กี ่ ย วกั บ การก่ อ เหตุ เ ดื อ ดร้ อ นรํ า คาญอั น เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (Statutory nuisance from artificial light) เอาไว้เป็นการเฉพาะ โดยกําหนดบทบัญญัติว่าด้วยเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ พระราชบัญญัติ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005 พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เพิ่มเติมเนื้อความในพระราชบัญญัติ Environmental Protection Act 19906 กําหนดเอาไว้ว่าเหตุ 1

Watson, M. (2005). ‘The enforcement of environmental law: civil or criminal penalties?’, Environmental Law and Management. 17 (1), pp. 3-6. 2 Dunkley, J. (1997). ‘Contaminated land, statutory nuisances and dual liability', Mountbatten Journal of Legal Studies, 1 (1), pp. 79-85. 3 Malcolm, R. (2006). `Statutory Nuisance: the Sanitary Paradigm and Judicial Conservatism', Journal of Environmental Law. 1 (18), pp. 37-54. 4 Malcolm, R. (1999). ` Statutory Nuisance Law in England and Wales’, Interdisciplinary Environmental Review. 2 (1), pp. 162 - 176. 5 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-7. 6 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2011). Artificial light statutory nuisance – continued utility of the current exemptions for certain premises Section 79(5B) Environmental Protection Act 1990. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 3-5.


57 รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ถือเป็นเหตุรําคาญเหตุหนึ่งที่สามารถสร้างความเดือดร้อน รําคาญให้กับเพื่อนบ้านและอาจสร้างผลกระทบในด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมได้ นิยามความหมายของเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายใต้บทบัญญัติที่ได้รับการแก้ไขฉบับนี้ กล่าวคือ มาตรา 79 (1)(fb) ได้วางหลักเกณฑ์นิยามของเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เอาไว้ว่าแสง ประดิษฐ์ที่ส่องมาจากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพและสร้างความรําคาญต่อ เพื ่ อ นบ้ า นได้ (Artificial light emitted from premises so as to be prejudicial to health or a nuisance)7 การที่มีการเพิ่มเติมเนื้อความบทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์เอาไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าวในปี 2005 ส่งผลในทางกฎหมายหลายประการด้วยกัน8 ประการแรก ผู้เผชิญกับเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างของเพื่อนบ้านสามารถยื่นข้อ ร้องเรียนการก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (complaints about artificial light) ต่อองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการตามข้อร้องเรียนของผู้เผชิญกับเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ของเพื่อนบ้าน ประการที่สอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Authorities) มีอํานาจดําเนินการทางกฎหมาย แก่เอกชนรายหนึ่งรายใดหรือธุรกิจร้านค้าที่เป็นผู้ก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศอังกฤษมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและหลักฐานการก่อเหตุรําคาญจากผู้ เผชิญกับความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างของเพื่อนบ้าน หลักฐานที่แนบมากับ ข้อร้องเรียนอาจเป็นตารางบันทึกช่วงเวลาการเกิดของเหตุรําคาญ (log sheets) ภาพถ่าย (photographs) และภาพเคลื่อนไหว (video evidence) รวมไปถึงหลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแสดงว่าแสงสว่าง นั ้ น กระทบต่ อ สิ ท ธิ ท ี ่ จ ะอยู ่ ใ นที ่ อ ยู ่ อ าศั ย อาคารหรื อ เคหะสถานของตนอย่ า งเป็ น สุ ข (a right of enjoyment of their property) โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะตัดสินว่าการใช้งานแสงสว่างดังกล่าว ถือว่าสร้างเหตุรําคาญขึ้นมาหรือไม่ (determination of a statutory nuisance) ต้องพิจารณาปัจจัย หลักๆ เช่น ระยะเวลาการใช้งานแสงสว่าง (duration) ความถี่จากการใช้งานแสงสว่าง (frequency) ผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างต่อการใช้ทรัพย์สินกับสุขภาพอนามัยที่ดี (impact) สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (local environment) แรงจูงใจในการก่อเหตุรําคาญ (motive) และความไวต่อเหตุรําคาญของผู้เผชิญ กับเหตุรําคาญ (ผู้ร้องเรียน) (sensitivity of complainant) เป็นต้น 7

West Lindsey District Council. (2018). Statutory nuisance: Lighting. Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/my-community/environment/pollutioncontrol/statutory-nuisance-lighting/ 8 Ares, E. & Adcock, A. (2018). Briefing Paper Nuisance complaints Number CBP 8040. London: House of Commons Library,p. 14.


58 ประการที่สาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งหนังสือแจ้งเตือน (letter) ไปยังเจ้าของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างที่สร้างความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวยังสร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่เพื่อนบ้านอยู่ โดย ปราศจากการแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ให้แสงสว่างส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัวหรือเคหะสถานของเพื่อน บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ (pre-arranged visit by officers) ใน บริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างในทํานองที่เกิดหรืออาจจะเกิดเหตุรําคาญต่อ เพื่อนบ้านจากการใช้งานแสงสว่าง และในบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่กําลังเผชิญกับเหตุรําคาญ ดังกล่าวอยู่ ประการที่สี่ หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สร้างความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการ ใช้งานแสงประดิษฐ์ ไม่ได้ทําการแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ให้แสงสว่างส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัวหรือเคหะ สถานของเพื่ อนบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจส่งหมายประกาศให้จ ัดการกั บเหตุรํ าคาญอัน เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (abatement notice) หากเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่สร้าง ความเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ยังเพิกเฉย ไม่ยอมปฏิบัติตามหมายประกาศ ดั งกล่าวภายในระยะเวลาที่ระบุ เอาไว้ ก็ จะถือว่าเจ้าของอาคารหรือสิ่งปลู กสร้ างได้ กระทําผิดตาม บทบัญญัติ เกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้ อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ (statutory offence) แล้ว ก็อาจต้องรับโทษปรับเป็นจํานวนถึง 50,000 ปอนด์ (facing fines of up to £50,000) อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติเกี่ยวกับการก่อเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิ ษ ฐ์ ไ ด้ ก ํ า หนดข้ อ ยกเว้ น (exemptions) 9 เอาไว้ ใ นมาตรา 79(5B) ของพระราชบั ญ ญั ต ิ Environmental Protection Act 1990 (ถู ก เพิ ่ ม เติ ม เนื ้ อ ความดั ง กล่ า วโดยพระราชบั ญ ญั ต ิ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005) ซึ่งวางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่าสถานที่บางแห่งที่มีการ ติ ด ตั ้ ง ใช้ ง านแสงสว่ า งเพื ่ อ เหตุ ผ ลในด้ า นความปลอดภั ย และความมั ่ น คง (safety and/or security reasons) ได้แก่ ท่าอากาศยาน (Airports) สถานีเดินรถประจําทางและสาธารณูปโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Bus stations and associated facilities) จุดจอด/ขนถ่าย/พักของรถบรรทุกสินค้า (Goods vehicle operating centres) ประภาคารชายฝั ่ ง ทะเล (Harbours Lighthouses) สถานี ร ถไฟ (Railway premises) สถานี ร ถราง (Tramway premises) ทั ณ ฑสถาน (เรื อ นจํ า ) (Prisons) สถานี ร ถบริ ก าร สาธารณะอื่นๆ (Public service vehicle operating centres) และอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของกองทัพ

9

Bath & North East Somerset Council. (2015). How to prevent Artificial light Nuisance, Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/mycommunity/environment/pollution-control/statutory-nuisance-lighting/


59 (Premises occupied for Defence premises)10 นั้ นหมายความว่าองค์ กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ อังกฤษไม่มีอํานาจดําเนินการทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานบริการสาธารณะที่เป็นผู้ก่อ เหตุรําคาญจากแสงประดิษฐ์ในสถานที่บางแห่งที่ถูกระบุเอาไว้ในข้อยกเว้นของพระราชบัญญัติดังกล่าว อนึ่ง กฎหมายอังกฤษยังได้กําหนดภาระการพิสูจน์ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลย ในคดีรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ต้องพิสูจน์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือศาล ยุติธรรมเห็นว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การใช้งานแสงสว่างอย่างดีที่สุดแล้ว (statutory defence of best practicable means) กล่าวคือผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลยในคดี เหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทางการค้า ธุรกิจและ อุ ต สาหกรรม (artificial light emitted from industrial, trade or business premises) และผู ้ ถ ู ก กล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุรําคาญหรือจําเลยในคดีรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์จาก สาธารณูปโภคหรือสิ่งปลูกสร้างเกี่ยวกับกิจกรรมกีฬาภายนอกอาคาร (artificial light emitted by lights used for the purpose of illuminating an outdoor relevant sports facility) ต้องพิสูจน์ว่าตนเอง มีโอกาสกระทําการหยุดยั้ง (stop) หรือกระทําการอันหนึ่งอันใดเพื่อลดผลกระทบ (reduce) ตามความ เหมาะสม11 จึงไม่ต้องรับผิดในผลของเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ข้อต่อสู้ให้ตนเอง ไม่ ต้ อ งรั บ ผิ ด เช่ น ว่ า นี ้ ย่ อ มทํ า ให้ ผ ู ้ ถ ู ก กล่ า วหาว่ า เป็ น ผู้ ก ่ อ เหตุ ร ํา คาญหรือ จํ า เลยในคดี ร ํ า คาญอั น เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์พ้นจากความรับผิด 3.2 สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ประเทศฝรั่งเศส) ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของปัญหาและผลกระทบอัน เนื่องมาจากมลภาวะทางแสง (pollution lumineuse) ที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยและความ เป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์แล้ว การใช้งานแสงสว่างที่เปล่าประโยชน์ยังก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์หลายล้านตันจากกิจกรรมการบริโภคพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงสว่ างจาก ครัวเรือนและจากธุรกิจร้านค้า ในวันที่ 25 มกราคม 2513 ประเทศฝรั่งเศสได้บัญญัติกฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie12 ขึ้นมา กฎหมายฝรั่งเศสฉบับนี้มี 10

North Kesteven District Council, (2018). Light Nuisance. Retrieved May 3, 2018, from https://www.nkesteven.gov.uk/residents/living-in-your-area/environmental-protection/pollution-and-nuisance/lightnuisance/ 11 Everett, T. (2018). Statutory Nuisance – Question and Answer List. London: Chartered Institute of Environmental Health, pp. 1-10. 12 Legifrance. (2013). Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie. Retrieved May 5, 2018, from https://www.legifrance.gouv.fr/affichTexte.do?cidTexte=JORFTEXT000027003910


60 เป้าหมายให้สาธารณชนทั่วไปลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของภาคธุร กิจ 13และมี วัตถุประสงค์ เฉพาะให้ ประชาชนทั่วไปควบคุมการใช้งานแสงสว่างของตนไม่ก่อเกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์จากอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทางการค้า ธุรกิจและอุตสาหกรรม14 ผ่านการลดมลภาวะทางแสง จากร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช้เป็นอาคารที่มีผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงร้านค้าที่มีการ ติดตั้งไฟแสดงสินค้าบริเวณหน้าร้าน โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2013 กฎหมายฝรั่งเศสยังกําหนดให้ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ปิดไฟหรืองดใช้งานแสง สว่างภายในอาคารหลังจากที่พนักงานคนสุดท้ายได้ออกไปสถานที่ดังกล่าวแล้วหนึ่งชั่วโมง การปิดไฟใน อาคารหรืองดใช้งานแสงสว่างในอาคารเมื่อไม่มีคนทํางานอยู่ภายในร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคาร พาณิชย์เช่นว่านี้ ย่อมทําให้ลดการสิ้นเปลืองพลังงานอาคารโดยใช่เหตุและเป็นการประหยัดพลังงาน อาคารด้วยอีกทางหนึ่ง อีกทั้งกฎหมายฝรั่งเศสฉบับนี้ยังกําหนดให้อาคารที่ไม่มีผู้อาศัยอยู่ เช่น ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์ จําต้องปิดไฟภายนอกอาคารหรืองดใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ตั้งแต่เวลาตี 1 จนถึง 7 โมงเช้า เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงานและลดมลภาวะทางแสงในเวลาที่มีผู้คนทํา กิจ กรรมบริ เวณภายนอกอาคารค่ อนข้ างน้ อยหรื อ แทบจะไม่ม ี ผ ู้ค นอยู่ บริเ วณรอบนอกอาคารเวลา กลางคืน15 ในขณะเดียวกันก็เป็นการลดการเกิดแสงเรืองไปบนท้องฟ้าและแสงส่องรุกลํ้าไปยังอาคารหรือ เคหะสถานของบุคคลอื่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม กฎหมายฝรั่งเศสฉบับดังกล่าวยังได้กําหนดข้อยกเว้นเอาไว้ ในกรณีที่ร้านค้า อาคารสํานักงานหรืออาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการเปิดไฟหรือใช้งานแสงสว่างด้วย เหตุผลด้านความปลอดภัย อีกทั้งกฎหมายฝรั่งเศสฉบับดังกล่าวไม่บังคับใช้กับไฟแสงสว่างที่ติดตั้งระบบ ตรวจจับความร้อนหรือระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว ซึ่งไฟแสงสว่างนี้จะทํางานเปิดหรือปิดอัตโนมัติด้วย เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนหรือเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว อีกประการหนึ่งกฎหมายฝรั่งเศสนี้ยังได้ กําหนดข้อยกเว้นไม่บังคับใช้มาตรการที่กล่าวมาในข้างต้นกับการติดตั้งใช้งานไฟประดับเทศกาลเฉลิม ฉลองตามประเพณีฝรั่งเศส (เช่น ไฟประดับเทศกาลคริสต์มาส) และไฟประดับสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญ (เช่น หอไอเฟล) ด้วยเหตุผลด้านการเฉลิมฉลองเทศกาลและการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาจับจ่ายใช้สอยใน ท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส

13

Myles, R. (2013). 'Lights out' in France as big switch-off becomes law. Retrieved May 5, 2018, from http://www.digitaljournal.com/article/342542 14 Ngarambe, J. & Kim, G. (2018). 'Sustainable Lighting Policies: The Contribution of Advertisement and Decorative Lighting to Local Light Pollution in Seoul, South Korea', Sustainability, 10, Retrieved May 5, 2018, from file:///C:/Users/Administrator/Downloads/sustainability-10-01007%20(2).pdf 15 Roucous, (2018). Eclairage nocturne, le Conseil d'Etat condamne l'Etat à le mettre en Veilleuse. Retrieved May 5, 2018, from https://www.humanite.fr/eclairage-nocturne-le-conseil-detatcondamne-letat-le-mettre-en-veilleuse-652895


61

ภาพที่ 15: ภาพบรรยายหลักเกณฑ์ภายใต้กฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อลดมลภาวะทางแสงและก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอาคาร16

3.3 สาธารณรัฐอิตาลี การขยายตัวของเมืองและการขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบก การพัฒนาท่าอากาศยานและ การปรับปรุงท่าเรือให้ทันสมัย รวมไปถึงการ การกระจุกตัวของประชากรที่แออัดหนาแน่นในบริเวณชุมชน เมืองของสาธารณรัฐอิตาลี (ประเทศอิตาลี) ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งใช้ งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารหรือออกแบบแสงสว่างบริเวณรอบนอกอาคารเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ของการดําเนินกิจกรรมของผู้คนในเมืองต่างๆ ช่วงเวลากลางคืน ย่อมเป็นเหตุสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพมนุษย์ ระบบนิเวศในเวลากลางคืนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงยังนําไปสู่การสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ของประเทศอิตาลีโดยสูญเปล่าอีกด้วย17 16

EclairagePublic, (2013). Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels. Retrieved May 5, 2018, from http://eclairagepublic.forum-pro.fr/t141-arrete-du-25-janvier-2013-relatif-a-l-eclairage-nocturne-desbatiments-non-residentiels

17

Cinzano, P. (1998). The Propagation of Light Pollution in Diffusely Urbanised Areas. Retrieved May 7, 2018, from https://arxiv.org/pdf/astro-ph/9811293.pdf


62 ประเทศอิตาลีจึงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ตระหนักและเล็งเห็นความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสง ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนและระบบนิเวศในเวลากลางคืน ปัญหาอันเนื่องมาจาก การใช้งานแสงสว่างบริเวณรอบนอกอาคารหรือไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในประเทศอิตาลี นอกจากจะ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียและทําลายสมดุลความสว่างตาม ธรรมชาติในเวลากลางวันและความมืดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน เพราะการใช้งานแสงสว่างบริเวณรอบ นอกอาคารหรือไฟส่องสว่างภายนอกอาคารย่อมไปทําลายบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่า คืน ในอดีตที่ผ่านมาปัญหามลภาวะทางแสงในประเทศอิตาลีได้กระจายไปตามเมืองสําคัญที่มีการใช้งานไฟ ส่องสวางภายนอกอาคารอย่างกระจุกตัวและหนาแน่น อีกทั้งปัญหามลภาวะทางแสงยังขยายตัวไปยังหัว เมืองตามแคว้นทางการปกครองทั่วไป (Administrative Regions of Italy) กับแคว้นทางการปกครอง ตนเอง (Autonomous Regions with Special Statute of Italy) ที่สําคัญ18 ตัวอย่างเช่น แคว้นลอม บาร์เดีย (Region of Lombardia) แคว้นมาร์เค (Region of Marche) แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา (Region of Emilia-Romagna) แคว้นอาบรุซโซ (Region of Abruzzo) แคว้นปุลยา (Region of Puglia) แคว้น อุมเบรีย (Region of Umbria) แคว้นปกครองตนเองฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย (Region of Friuli-Venezia Giulia) และแคว้นลีกูเรีย (Region of Liguria) เป็นต้น ดังนั้น แคว้นทางการปกครองทั่วไปกับแคว้นทางการปกครองตนเองในประเทศอิตาลีก็ได้บัญญัติ กฎหมายระดับแคว้น (Legge Regionale) หลายฉบับ เพื่อควบคุมมลภาวะทางแสงไม่ให้สร้างเหตุรําคาญ และสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน อีกทั้งยังสร้างการประหยัดไฟฟ้าให้กับครัวเรือน ภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น เมืองและแคว้น สําหรับในส่วนของกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอิตาลี ผู้วิจัยขอกล่าวถึงความ เป็นมาและพัฒนาการของกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศอิตาลีอย่างสั้นๆ ซึ่งการรับรู้และ ตระหนักในความสําคัญของปัญหามลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมีจุดเริ่มต้นใน ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ในระหว่างช่วงปี 1990 นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและอาชีพ จาก องค์กรดาราศาสตร์ในประเทศอิตาลีได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ส่งผลให้เกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า อันบดบังทัศนียภาพบนท้องฟ้าในยามคํ่า คืน นักดาราศาสตร์สมัครเล่นและอาชีพต่างก็ไม่อาจมองเห็นวัตถุทางธรรมชาติบนท้องฟ้าและไม่อาจ สั ง เกตการเปลี ่ ย นแปลงทางธรรมชาติ บ นท้ อ งฟ้ า อย่ า งชั ด เจน (รวมไปถึ ง ดาราจั ก รทางช้ า งเผื อ ก) ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ย่อมสร้างอุปสรรคต่อการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้าและไม่อาจ มองเห็นดวงดาวเพื่อสร้างสุนทรียภาพในชีวิต 18

Cinzano, P. (2002). Light pollution and the situation of the night sky in Europe, in Italy and in Veneto. Retrieved May 7, 2018, from http://www.lightpollution.it/download/cinzano_nightskyeurope.pdf


63 แต่เดิมประเทศอิตาลีมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้า (consumption of electrical energy) จากการ ใช้งานแสงสว่างในเมือง (urban lighting) ค่อนข้างมาก ประกอบกับมีความวิตกกังวลจากนักดาราศาสตร์ สมัครเล่นและนักดาราศาสตร์อาชีพเกี่ยวกับปัญหาสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในบริเวณชุมชนเมือง และชานเมือง ดังนั้น ในปี 1990 สมาคมดาราศาสตร์อิตาลี (Italian Astronomical Society หรือ SAIt) จึงได้พยายามผลักดันและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ท้องถิ่น) ของประเทศอิตาลีจัดทําเทศ บัญญัติท้องถิ่นของตนสําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ นั้นก็ คือ ต้องการระงับยับยั้งไม่ให้มีแสงส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า (upward lighting) ที่ก่อให้เกิดสภาวะแสงเรือง ขึ้นไปบนท้องฟ้า และสมาคมดังกล่าวได้จัดทําข้อแนะนํา สําหรับการออกแบบ การก่อสร้าง การปฏิบัติการ และการบํารุงรักษาไฟส่องสว่างที่ถูกติดตั้งใช้งาน นอกจากนี ้ คณะกรรมการศึ ก ษามลภาวะทางแสงแห่ ง สมาคมดาราศาสตร์ อ ิ ต าลี (SALt Committee for the Study of light pollution) ก็ยังได้นําเสนอร่างกฎหมายระดับชาติ (National Bill) ได้แก่ ร่างกฎหมาย Bill No. 751 ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกนําเสนอให้รัฐบาลและรัฐสภาอิตาลี เพื่อ นําเสนอแนวทางหลีกเลี่ยงไม่ใช้งานแสงสว่างให้เกิดแสงส่องขึ้นไปบนท้องฟ้าโดยไม่จําเป็น (unnecessary upward illumination) กับลดการเกิดแสงจ้า (glare) บนท้องถนน19 ร่างกฎหมายระดับชาติฉบับนี้ได้บรรจุหลักการสําคัญหลายประการด้วยกัน ได้แก่20 (ก) แสงสว่างที่ส่องจากโคมไฟถนนนั้น แสงสว่างจะต้องได้รับการออกแบบติดตั้งให้พุ่งตํ่าลงไม่ เกินไปกว่าแนวจํากัดแสง (cut-off fixtures) หรือแสงสว่างที่ออกจากโคมไฟแสงพุ่งตํ่าต้องแสดงแนวจํากัด แสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าไม่เกิน 0 แคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ข) แสงสว่างจากไฟประดับ (ornamental lighting) และแสงสว่างที่เปิดใช้งาน (open lighting) ต้องแสดงแนวจํากัดแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าตํ่ากว่า 15 แคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ค) แสงสว่างบริเวณพื้นที่ขนาดใหญ่ (lighting of large areas) ต้องแสดงแนวจํากัดแสงเหนือกว่า แนวระนาบอันมีค่าตํ่ากว่า 10 แคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ง) แสงสว่ า งจากอนุ ส าวรี ย ์ (monumental lighting) หรื อ แสงสว่ า งจากอาคาร (building lighting) ต้องไม่ได้รับการติดตั้งใช้งานให้มีทิศทางแสงส่องขึ้นไปบนท้องฟ้าหรือชั้นบรรยากาศโดยตรง

19

Zitelli, V., di Sora, M., & Ferrini, F. (2001). 'Local and National Regulations on Light Pollution in Italy', Preserving the Astronomical Sky, Proceedings of IAU Symposium 196, held 12-16 July 1999, in Vienna, Austria. Edited by Cohen, R. J. and Sullivan, W.T., p.111-116. 20 Ibid, p.111-116.


64 (จ) ไฟป้ายสัญญาณ (Luminous signs) หรือไฟป้ายโฆษณา (Luminous banners) พึงเปิดใช้ได้ เพียงเท่าที่จําเป็นสําหรับการประกอบกิจกรรมในเวลากลางคืน (nocturnal activities) บริเวณอาคารที่ ต้องเปิดทําการในเวลากลางคืน (เช่น โรงแรม โรงพยาบาล และสถานีตํารวจ เป็นต้น) อีกทั้งป้ายสัญญาณ อื่นๆ (other signs) นอกเหนือจากนี้ต้องปิดใช้งานในเวลา 23 นาฬิกา (11pm) ตลอดช่วงฤดูหนาวและ ต้องปิดใช้งานในเวลาเที่ยงคืน (0 pm) ตลอดช่วงฤดูร้อน (ฉ) ห้ามไม่ให้ติดตั้งไฟหมุนได้ (rotating beams) หรือไฟค้นหาที่มีความสว่างสูงและมีลําแสงที่ส่อง ไปได้ไกล (searchlighting-type beams) เพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวได้บรรจุกฎเกณฑ์และกําหนดกรอบกติกาว่าด้วยการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและนําเสนอให้ใช้กับภาครัฐและภาคเอกชน แต่เมื่อรัฐสภาอิตาลีไม่ให้ความ เห็นชอบกับร่างดังกล่าว ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป ในปัจจุบันร่างกฎหมายดังกล่าวคงมีสถานะ เพียงเป็นเอกสารความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการควบคุมมลภาวะทางแสงจากการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารและนําเสนอมาตรการที่จําเป็น เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อมใน เวลากลางคืน ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงมีคุณค่าในฐานะที่เป็นต้นแบบในการจัดทํากฎหมายสําหรับแคว้น เมืองและท้องถิ่นที่กําลังตระเตรียมจัดทําหรือกําลังพัฒนากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมกับเป็น เอกสารสําคัญสําหรับผู้สนใจใครรู้ที่จะศึกษาหลักเกณฑ์และโครงสร้างของกฎหมายควบคุมมลภาวะทาง แสงในลักษณะที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร จนมาถึงในปี 1997 แคว้ นเวเนโต (Region of Veneto) เป็ นแคว้นแรกที่บัญ ญัติและบังคับใช้ กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง ได้แก่ กฎหมาย Legge Regionale n. 22/1997 จากนั้นอีกเพียงไม่กี่ปี หลายแคว้นในประเทศอิตาลีก็ได้ดําเนินรอยตามแคว้นเวเนโตในการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร สํ า หรั บ ควบคุ ม มลภาวะทางแสงจากการใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคาร 21 เช่ น แคว้ น ตอสคานา (Toscana) และ แคว้นปีเยมอนเต (Piemonte) เป็นต้น อนึ่ง แสงสว่างเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญต่อการทํากิจกรรมในเวลากลางคืนของแคว้นต่างๆ (Italian Regions) แต่เนื่องจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารโดยปราศจากการควบคุมและใช้ พลังงานแสงสว่างอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ซึ่งตั้งแต่ปี 1997 (ตั้งแต่แคว้นเวเนโตเป็นแคว้นแรกในประเทศอิตาลีที่ออกกฎหมาย) จนมาถึงปัจจุบัน แคว้นต่างๆ จึงหันมาออกบทบัญญัติของตนเองให้ตอบสนองต่อความต้องการควบคุมการใช้งานแสงสว่าง ไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งก่อให้เกิดการใช้ประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

21

Cinzano, P. (2000). Laws against light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://www.inquinamentoluminoso.it/cinzano/en/page95en.html


65 ในทางหนึ่งอีกด้วย มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงที่บังคับใช้ในหลายแคว้นในประเทศอิตาลีนั้น ผู้วิจัย ได้รวบรวมมาดังจะได้กล่าวเอาไว้พอสังเขปต่อไปนี้22 (ก) มาตรการบังคับให้มีการติดตั้งใช้งานโล่ไฟครอบหลอดไฟฟ้า (fully shielded lights) สําหรับ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ติดตั้งใช้งานภายนอกอาคาร ทําให้เกิดการ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงไปสู่พื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างอย่างแท้จริงหรือพื้นที่ที่ต้องการใช้ ความสว่างจากแหล่งกําเนิดแสง (areas to be lit) ทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดแสงส่องพวยพุ่งขึ้นไปบน ท้องฟ้าจนเกิดสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในอีกทางหนึ่ง ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดแสงเรืองขึ้นไปบน ท้องฟ้า ภายใต้การดําเนินการตามมาตรการนี้ประสงค์ให้เกิดอัตราส่วนแสงออกมาด้านบน (upward light output ratio หรื อ ULOR) คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 0 (0 %) ทั ้ ง แสงที ่ ส ่ อ งออกมาจากไฟสาธารณะ (public luminaires) และไฟเอกชน (private luminaires) (ข) มาตรการควบคุมปริมาณฟลักซ์การส่องของแสง (Luminous Flux หรือ F) หรือปริมาณแสง ทั้งหมดที่แผ่กระจายลงมาจากแหล่งกําเนิดแสงในทุกทิศทาง (โดยมีหน่วยเป็นลูเมน (Lumen หรือ lm)) จากป้ายโฆษณาทั่วไปกับควบคุมเวลาการเปิดปิดแสงสว่างที่ติดตั้งใช้งานบริเวณป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (ค) แม้ว่าหลายแคว้นจะกําหนดมาตรการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเอาไว้ แต่ก็ กําหนดข้อยกเว้นของการดําเนินมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสง (exceptions) เอาไว้ ตัวอย่างเช่น การ กํา หนดข้ อ ยกเว้ น ให้ ก ารใช้ ง านแสงสว่ า งจากโบราณสถานหรื ออาคารทรงคุ ณ ค่ าและแสงสว่ างจาก อนุสาวรีย์ที่ไม่จําต้องเข้าหลักเกณฑ์ทั่วไปว่าด้วยเรื่องการควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เป็น ต้น (ง) โคมไฟอุณหภูมิสีสูง (high colour temperature lamps) ที่มีค่าองศาเคลวิน (Kelvin หรือ K) อุณหภูมิสีสูงได้รับการอนุญาตให้ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอุณหภูมิสีสูงในบางกรณีเท่านั้น 3.4 สาธารณรัฐสโลวีเนีย สาธารณรัฐสโลวีเนีย (ประเทศสโลวีเนีย) เป็นอีกประเทศหนึ่งที่บัญญัติกฎหมายควบคุมมลภาวะ ทางแสงขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ด้วยประเทศสโลวีเนียมีสภาพเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ประกอบกับมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารสอดคล้องกับสภาวะ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามไปด้วย ทําให้การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารแพร่ขยายออกไป ในวงกว้าง จนกระทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร เช่น นักดาราศาสตร์กับนักสิ่งแวดล้อม ต่างก็ได้ออกมาเคลื่อนไหว นําเสนอและสร้างความตระหนัก เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางแสงในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 22

Falchi, F. (2011). The control of light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/falchi_2011.pdf


66 ในช่ ว งปี 1990 นาย Herman Mikuž ผู ้ อ ํ า นวยการสถานี ศ ึ ก ษาดาราศาสตร์ Črni Vrh Observatory ในฝากตะวันตกของประเทศสโลวีเนีย ได้ทําการหยิบยกประเด็นว่าด้วยปัญหามลภาวะทาง แสงที่กระทบต่อกิจการดาราศาสตร์ของประเทศสโลวีเนีย โดยการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาอภิปราย ถกเถียงก็เพื่อให้รัฐสโลวีเนียมุ่งไปที่การควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารแล้วก่อให้เกิดผล กระทบต่อการศึกษาดาราศาสตร์หรือสภาวะแวดล้อมในท้องถิ่น23 แม้ต่อมาในปี 1993 รัฐสภาสโวลีเนีย (National Assembly of the Republic of Slovenia หรือ Državni zbor Republike Slovenije) ได้ผ่านกฎหมายและบังคับใช้รัฐบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ค.ศ. 1993 (Environmental Protection Act 1993 หรือ Zakon o varstvu okolja 1993 หรือ ZVO) อันมี สาระสําคัญเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างๆ แต่ไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์และวิธีการบางอย่างขึ้นเพื่อ ควบคุมปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเป็นการ เฉพาะ จนกระทั้งในปี 1995 นักดาราศาสตร์ได้รวมตัวกันจัดทําเอกสารข้อริเริ่มเพื่ออนุรักษ์อนุรักษ์ความ มืดบนท้องฟ้า ค.ศ. 1995 (Dark-sky Innitative 1995) ประกอบกับภาควิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์แห่ง มหาวิทยาลัยลูบลิยานา (University of Ljubljana หรือ Univerza v Ljubljani) ได้จัดทําเอกสารรายงาน ฉบับแรกเกี่ยวกับสภาพการณ์ของมลภาวะทางแสงในประเทศสโลวีเนีย (First report about the state of light pollution in Slovenia)24 อย่างไรก็ดี เอกสารทั้งสองฉบับที่ถูกนําเสนอปัญหาด้านมลภาวะทาง แสงในประเทศสโลวีเนียก็ไม่ใช่ร่างกฎหมายที่จะถูกนําเสนอแก่รัฐสภาสโลวีเนียหรือบทบัญญัติทาง กฎหมายซึ่งมีสภาพบังคับในประเทศสโลวีเนียแต่อย่างใด คงเป็นเพียงกรอบการนําเสนอทางวิชาการอย่าง กว้างๆ ชี้ให้เห็นถึงปัญหามลภาวะทางแสงที่อาจกระทบต่อสาธารณชนได้เท่านั้น จนกระทั ้ ง ในปี 1999 กระทรวงสิ ่ ง แวดล้ อ มและผั ง เมื อ งแห่ ง สโลวี เ นี ย (Ministry of the Environment and Spatial Planning หรือ Ministrstvo za okolje in prostor หรือ MOP) ได้ จั ดทํ า ร่างระเบียบว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง ค.ศ. 1999 (Draft regulations regarding reduction of light pollution 1999) ขึ ้ น มา 25 วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องร่ า งระเบี ย บฉบั บ นี ้ ม ุ ่ ง ลดการรบกวนจากแสง ประดิษฐ์ (artificial light interference) ต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตบางชนิดในระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคุ้มครองนกและแมลงบางสายพันธุ์ที่อาจสูญพันธุ์จากการใช้งานแสงประดิษฐ์ของมนุษย์ ซึ่งการ ควบคุ ม แสงสว่ า งนี ้ ค วรถู ก ได้ ร ั บ การควบคุ ม เป็น พิ เ ศษในบริ เ วณพื ้ นที ่ อ นุ ร ั กษ์ ท รัพ ยากรธรรมชาติ (preserved areas of outstanding beauty) อีกทั้งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังนําเสนอการลดการบริโภค พลั ง งานไฟฟ้ า (electric energy consumption) และอนุ ร ั ก ษ์ พ ื ้ น ที ่ บ ริ เ วณศู น ย์ ศ ึ ก ษาดาราศาสตร์ (astronomical observatories) ให้อยู่รอดปลอดภัยจากมลภาวะทางแสง ถึงกระนั้นก็ตาม ร่างกฎหมาย 23

Mikuž, H. (2003). Activities Against the Light Pollution in Slovenia. Ljubljana: University of Ljubljana, pp. 1-8. 24 Ibid, p.2. 25 Ibid, p. 3.


67 ฉบับนี้ได้ถูกนํามาทบทวน (revised) อีกหลายครั้ง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนได้ทราบโทษภัย และตระหนักถึงความสําคัญของผลกระทบจากมลภาวะทางแสงต่อประเทศสโลวีเนีย ในมาถึงปี 2007 รัฐสภาสโลวีเนียได้ออกกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ ได้แก่ กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 (OG RS, No 81/2007) กฤษฎี ก าฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ จัดตั้ งขึ ้นเพื ่อตอบสนองปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศ สโลวีเนียกําลังเผชิญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งกฤษฎีกาฉบับนี้ยังได้กําหนดให้ภาครัฐและภาคเอกชนนําการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ เหมาะสมเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารพึงปฏิบัติตาม กฤษฎี ก า Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 บรรจุมาตรการสําคัญที่นําเสนอการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เหมาะสมเอาไว้หลายมาตรการด้วยกัน อาทิ26 (ก) ไฟส่องสว่างภายนอกอาคารต้องได้รับการออกแบบติดตั้งให้พุ่งตํ่าลงโดยอาศัยเทคนิคการติดตั้ง ใช้งานโล่ไฟ (fully shielded luminaires) ไม่เกินไปกว่าแนวจํากัดแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าไม่ เกิน 0 แคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) (ข) กําหนดให้มีการจํากัดการใช้พลังงานไฟฟ้ารายปี (annual electricity consumption limit) ทั้งในระดับเมืองและระดับเทศบาล การใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดทําบริการสาธารณะของเทศบาลต่างๆ (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย) ต้องไม่เกิน 44,5 kWh/yr/capita (ต่อปี) และการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการจัดทําบริการสาธารณะของเมืองต่างๆ (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย) ต้องไม่เกิน 5,5 kWh/yr/capita (ต่อปี) (ค) การใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารของอาคารจําพวกโรงงาน (factories) ไฟอาคารธุรกิจ (business buildings) และสถาบันต่างๆ (institutions) ต้องถูกจํากัดความสว่างแสงเหนือกว่าแนวระนาบ อันมีค่าไม่เกินไปกว่าที่กฎหมายจํากัดเอาไว้ (upper limits for illumination) คิดคํานวณโดยหน่วยวัตต์ ต่อตารางเมตร (watt per square meter หรือ W/m2) (ง) การใช้งานไฟส่องสว่างที่ติดตั้งบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (billboards) (เช่น ป้ายโฆษณาที่มี ขนาดมากกว่า20 ตารางเมตร (> 20 m2)) ต้องถูกจํากัดความสว่างแสงเหนือกว่าแนวระนาบอันมีค่าไม่ เกินไปกว่าที่กฎหมายจํากัดเอาไว้ (upper limits for illumination) คิดคํานวณโดยหน่วยวัตต์ต่อตาราง เมตร (watt per square meter หรือ W/m2) และต้องถูกจํากัดระยะเวลาการปิดใช้งานไฟส่องสว่างที่ 26

Vertačnik, G. (2011). Slovenian Light Pollution Legislation. Retrieved May 9, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/slovenian-light-pollution-legislation.pdf และโปรดดู เพิ่มเติมใน Dark Skies Awareness. (2007). Slovene Light Pollution Law—adopted on 30 August 2007 An unofficial, shortened summary of the final version (prepared by Andrej Mohar on 9 September 2007). Retrieved May 9, 2018, from http://www.darkskiesawareness.org/slovene-law.php


68 ติดตั้งบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (switched off time) ระหว่างระยะเวลาเที่ยงคืนจนถึงตีห้า (12 pm - 5 am) (จ) โคมไฟฟลัดไลท์ (sports ground floodlights) ต้องได้รับการออกแบบติดตั้งโล่ไฟที่ยังคับทิศ ทางการส่องของแสงให้พุ่งตํ่าลงไม่เกินไปกว่าแนวจํากัดแสง (fully-shielded) โดยแสงสว่างที่ออกจากโคม ไฟฟลัดไลท์อาจส่องเหนือกว่าแนวระนาบได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของแคนเดลาต่อกิโลลูเมน (cd/Klm above 90°) พร้อมกับกฎหมายดังกล่าวอนุญาตให้สนามกีฬาใช้งานโคมไฟฟลัดไลท์และแสงสว่างภายนอกอาคาร อื่นๆ ไม่เกินสี่ทุ่ม (10 pm) และกําหนดให้ให้สนามกีฬาต้องเปิดใช้งานโคมไฟฟลัดไลท์และแสงสว่าง ภายนอกอาคารอื่นๆ ภายในหนึ่งชั่วโมงนับแต่เกมการแข่งขันหรือกิจกรรมเสร็จสิ้นหรือดําเนินการ เรียบร้อยแล้ว (ฉ) มาตรการต่างๆ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้มีข้อยกเว้น (exceptions) ไม่ใช้บังคับกับ การใช้งานแสง สว่ า งภายในอาคาร (interior lighting) ไฟส่อ งสว่า งทางการทหาร (military premises) ไฟช่ วยชีวิ ต (rescue operations) ไฟถนน (traffic lights) ไฟจัดแสดงคอนเสิร์ตและเทศการรื่นเริงต่างๆ (Concerts and festivities) และไฟประดับตกต่างอาคารในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ (decorative lighting from December 1 through January 15) 3.5 เครือรัฐออสเตรเลีย เครือรัฐออสเตรเลีย (ประเทศออสเตรเลีย) เป็นประเทศที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร อย่างแพร่หลายเพื่อให้แสงสว่างในการทํากิจกรรมภายนอกอาคารในยามคํ่าคืน ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ของบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือติดชายทะเลของประเทศออสเตรเลีย ได้ดึงดูดผู้อพยพเข้ามายังประเทศ ดังกล่าวหันมาจับจองพื้นที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือบริเวณแถบชายทะเล จนสามารถพัฒนาให้ พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นเมืองชายทะเล (coastal cities) พื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร อย่างหนาแน่นและพื้นที่ที่มีจํานวนไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืนปริมาณมากในประเทศ ออสเตรเลีย มักเป็นพื้นที่หรือสถานที่อันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนบริเวณเมืองที่ติดกับชายทะเล การ พัฒนาเมื องบริเวณริม ฝั่ งทะเล (urban coastal development) ควบคู่ไปกับการเติบโตของจํานวน ประชากร (population growth) อันเป็นกระแสหลักที่ก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสง สว่างในยามคํ่าคืนตามการพัฒนาชุมชนเมืองและมีการใช้ประโยชน์แสงสว่างภายนอกอาคารตามลักษณะ การใช้ ป ระโยชน์ ใ นที ่ ด ิ น ตามบริ เ วณพื ้ น ที ่ ช ายฝั ่ ง ของประเทศออสเตรเลี ย (trends in coastal development and land use)27 27

Cooke,K. (2005). Light Pollution, a Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residents of Strathfield. Strathfield: Strathfield Council, pp. 1-16.


69 นอกจากนี้ ปัญหามลภาวะทางแสงนอกจากจะถือเป็นเหตุที่สร้างความรําคาญให้กับประชาชนหรือ ชุมชนได้แล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อระบบนิเวศในเวลากลางคืนหรือทําลายสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อการศึกษาดาราศาสตร์ในยามคํ่าคืน ในปัจจุบันปัญหามลภาวะทางแสงสามารถสังเกตได้อย่าง ชัดเจน และกระจายไปตามมหานครขนาดใหญ่ และเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากชายทะเล สาเหตุ ประการสําคัญ เกิดจากการพัฒนาเมือง การตั้งถิ่นฐานที่ต้องใช้ไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในบริเวณเมือง อย่างแออัดหนาแน่น ตลอดจนการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างเพื่อให้ สาธารณูปโภคสามารถใช้ได้ในเวลากลางคืนอย่างต่อเนื่อง มลภาวะทางแสงเช่นว่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผล กระทบต่อประชาชนและระบบนิเวศในบริเวณใกล้เคียงแหล่งกําเนิดแสง ยังนําไปสู่ผลกระทบในด้านลบต่อ ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับแต่ละชนิดงานหรือสอดรับกับลักษณะของพื้นที่ ใช้สอย ก็จําเป็นที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นหลักการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามหลักสากลหรื อกฎเกณฑ์การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่พึง ประสงค์ในระดับชาติ ด้วยเหตุนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน ประเทศออสเตรเลี ย (เช่ น สมาคมวิ ศ วกรที ่ ป รึ ก ษาแห่ ง ออสเตรเลี ย (Association of Consulting Engineers Australia) สมาคมดาราศาสตร์ แ ห่ ง ออสเตรเลี ย (Astronomical Society of Australia) สมาคมผู ้ ผ ลิ ต อุ ป กรณ์ อ ิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละเครื ่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ออสเตรเลี ย (Australian Electrical and Electronic Manufacturers Association) และสมาคมวิ ศ วกรรมส่ อ งสว่ า งแหงออสเตรเลี ย และ นิ ว ซี แ ลนด์ (Illuminating Engineering Society of Australia and New Zealand) เป็ น ต้ น ) จึ ง มา รวมตัวกันในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการ Committee LG/10 เพื่อจัดทําประมวลหลัก ปฏิ บ ั ต ิ ก ารใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคาร (outdoor lighting practice) ขึ ้ น มาเป็ น แนวทางให้ ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่าง (เช่น วิศวกร สถาปนิก และประชาชนทั่วไป) ยึดถือเป็นแบบอย่างในการ ออกแบบ การติดตั้งและการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่สําคัญ และเหมาะสม รวมไปถึงได้มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านแสงสว่างแบบสากล ประมวลหลักปฏิบัติการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ได้แก่ เอกสาร Australian Standard AS 4282-1997 Control of the obtrusive effects of outdoor lighting28 เอกสารดังกล่าวบรรจุหลักการสําคัญเอาไว้หลายประการ ตัวอย่างเช่น การควบคุมทิศทางทิศทางการส่องออกนอกพื้นที่ใช้สอย (spill light control) จนเป็นเหตุให้ เกิดผลกระทบในด้านลบต่อสภาพแวดล้อมในเวลาการคืนและการควบคุมแสงสว่างจ้า (glare) ที่อาจส่ง ผลร้ายต่อทัศนวิสัยการมองเห็นเส้นทางหรือยวดยานพาหนะในเวลากลางคืน เป็นต้น

28

Committee LG/10. (1997). Control of the obtrusive effects of outdoor lighting. Homebush: Standards Australia, p. 2.


70 นอกจากนี ้ ผู ้มีส ่ วนได้ ส ่วนเสี ย (ภายใต้ความร่ วมมือระหว่างผู ้ม ีส ่วนได้ส ่วนเสียจากประเทศ ออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์) เกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในประเทศออสเตรเลียก็ ได้มารวมตัวกันในรูปคณะกรรมการ ซึ่งเรียกว่าคณะกรรมการ Committee LG/2 เพื่อจัดทําเอกสาร AS/NZS 1158 - Road Lighting Standards (General)29 ขึ้นมาสําหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติสําหรับการ ออกแบบแสงสว่างบนท้องถนน โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวได้กําหนดสาระสําคัญ เช่น ขอบเขตและข้อกําหนด มาตรฐานทั่วไป (Scope and General) เป้าหมายและลักษณะทางเทคนิคของแสงสว่าง (Objectives and light technical parameters) วิ ธ ี ก ารออกแบบติ ด ตั ้ ง ใช้ ง านและข้ อ กํ า หนดอื ่ น ๆที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง (Installation design methods and requirements) และเกณฑ์ ท ี ่ พ ึ ง ปฏิ บ ั ต ิ ว ่ า ด้ ว ยความสว่ า งและ ข้อมูลการติดตั้งใช้งาน (Provision of luminaire and installation data) เป็นต้น รัฐ หรือท้องถิ่นในออสเตรเลียอาจละเลยหรือเพิกเฉย (default) ไม่ยอมปฏิบัติตามกรอบมาตรฐาน การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารและการติดตั้งใช้งานไฟถนนที่ระบุเอาไว้เอกสาร Australian Standard AS 4282-1997 Control of the obtrusive effects of outdoor lighting และเอกสาร AS/NZS 1158 - Road Lighting Standards (General) เนื่องจากไม่มีเอกสารมาตรฐานดังกล่าวไม่มี สภาพบังคับเฉกเช่นเดียวกับกฎหมาย เนื่องจากกรอบมาตรฐานดังกล่าวไม่ถือเป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างต้องปฏิบัติตาม แต่อาจกําหนดแบบแผน อันเป็นที่ยอมรับขึ้นเอาไว้เพื่อเอาไว้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารหรือไฟถนนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียได้กําหนดกฎหมาย Environment Protection Act 199730 ขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้สาธารณชนและปัจเจกบุคคลไม่ให้ได้รับผลกระทบจากมลภาวะ อีกทั้งยังประสงค์ จะควบคุมห้ามปรามไม่ให้ประชาชนก่อมลภาวะขึ้นมา มลภาวะทางแสงก็ถือเป็นมลภาวะชนิดหนึ่งภายใต้ กฎหมายฉบั บ นี ้ ด ้ ว ย ประชาชนทั ่ ว ไปจึ ง ต้ อ งมี ห น้ า ที ่ ใ นด้ า นสิ ่ ง แวดล้ อ มโดยทั ่ ว ไป (general environmental duty) ที่จะไม่สร้างอันตรายอย่าหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งแวดล้อม (environmental harm) หรื อ ในขณะเดี ย วกั น ประชาชนทั ่ ว ไปก็ ต ้ อ งไม่ ส ร้ า งเหตุ ร ํ า คาญทางสิ ่ ง แวดล้ อ ม (environmental nuisance) ซึ่งอาจรวมความไปถึงอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนและเหตุรําคาญจากการใช้งาน แสงประดิษฐ์ แม้ว่าประเทศออสเตรเลียได้กําหนดกฎหมายขึ้นมาเพื่อประสงค์จะควบคุมมลภาวะทางแสงในฐานะ ที่เป็นมลภาวะประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้เฉกเช่นเดียวกันมลภาวะจําพวกอื่นๆ 29

Committee LG/2. (1999). Road lighting Part 3.1: Pedestrian area (Category P) lighting— Performance and installation design requirements. Homebush: Standards Australia, p. 2. 30 Clarence Valley Council. (2016). Light pollution fact sheet. Retrieved May 9, 2018, from file:///C:/ Documents%20and%20Settings/User/My%20Documents/Downloads/Light_Pollution.pdf


71 แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าการใช้งานแสงสว่างในความสว่างระดับเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นเหตุ รําคาญ (no fixed level which constitutes a statutory nuisance) ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของท้องถิ่นและ ศาลยุติธรรมของออสเตรเลียที่จะตีความว่าการใช้งานแสงสว่างในลักษณะใดหรือในกรณีไหนจึงจะถือเอา ว่าเป็นเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น ปริมาณของแสงที่ถูกปล่อยออกมาจาก แหล่ ง กํ า เนิ ด (amount of light being emitted) ระยะเวลาและอั ต ราการปล่ อ ยของแสงสว่ า งจาก แหล่ ง กํ า เนิ ด แสง (duration and rate of emission) สมบั ต ิ ข องแสงและคุ ณ ภาพของแสงจาก แหล่งกําเนิดแสง (light’s characteristics and qualities) ความอ่อนไหวเปราะบางต่อสภาพแวดล้อม ของโจทก์ (sensitivity of the environment) ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นจากแสงสว่างที่ ปล่อยออกมาจากแหล่งกําเนิดแสง (impact that the light has had or may have) บรรยายฟ้องของ เพื่อนบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนรําคาญหรือผู้ร้องเรียนเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงสว่าง (views of any other neighbours or complainants) และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (other relevant criteria) เป็น ต้น 3.6 ราชอาณาจักรสเปน ราชอาณาจักรสเปน (ประเทศสเปน) แบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้นต่างๆ อันประกอบด้วย แคว้นปกครองตนเอง (autonomous communities หรือ comunidades autónomas) จํ านวน 17 แคว้น และมีเมือง (นคร) ปกครองตนเอง (autonomous cities หรือ ciudades autónomas) 2 เมือง โดยในแต่ละแคว้นจะแบ่งออกเป็นจังหวัด (provinces หรือ provincias) มีจํานวนถึง 50 จังหวัด ในปัจจุบันแคว้นต่างๆ ในประเทศสเปนทั้ง 17 แคว้นมีสิทธิในการปกครองตนเองและมีอํานาจใน การออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมและผังเมืองสําหรับบังคับใช้ภายในแคว้นของตนเองได้ โดยเฉพาะหากแคว้น ใดประสบปัญหาหรือเผชิญผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นพิเศษ หรือแคว้นใดกําลังประสบต่อความ ท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในบางประเด็นเป็นพิเศษ แคว้นนั้นก็สามารถออกกฎหมายระดับแคว้นมาบริหาร จัดการกับความเสี่ยงหรือควบคุมผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมบางอย่างได้ ด้วยเหตุนี้ บางแคว้นของประเทศสเปนที่ตระหนักและเล็งเห็นว่าการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารอย่างไร้ทิศทางและไร้การควบคุมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบในด้านลบในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อมและการประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์ (ในบริเวณพื้นที่รัฐสงวนเอาไว้จัดกิจกรรมทางดารา ศาสตร์หรือจัดตั้งหอดูดาวเพื่อจัดทําบริการสาธารณะด้านดาราศาสตร์) จึงได้จัดทํากฎหมายหลักของแต่ละ แคว้นที่วางกรอบพื้นฐานว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและเพื่อ ควบคุมสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป โดยบางแคว้นได้กําหนดมาตรการส่งเสริมให้ลดการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน และ ให้จังหวัดและส่วนราชการของจังหวัดในแคว้นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย


72 ของแคว้นว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง31 ตัวอย่างเช่น แคว้นอันดาลูซิอา (Andalucía) ได้ออก กฤษฎีกาของแคว้นด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงมาในเวลาต่อมา ได้แก่ กฤษฎีกา Decree 357/2010 of August 3rd, approving the Night Sky Quality Protection Regulations against light pollution (Decreto 3 5 7 / 2 0 1 0 , de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética) 32 และแ คว ้ น กาตาลุ ญ ญ า (Cataluña) ได้ออกกฎหมายของแคว้นด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสง ได้แก่ กฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment และกฤษฎีกา Catalonian Decree 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno)33 ซึ่งกฤษฎีกาที่จัดทําขึ้นโดยทั้งสองแคว้นนี้ ได้วางหลักเกณฑ์และกําหนดสาระสําคัญเอาไว้ในเรื่องของการห้ามติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ในบางลักษณะกับการห้ามใช้งานแหล่งกําเนิดแสงบางประเภทที่ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ และไร้ประสิทธิภาพ (เมื่อเทียบกับแหล่งกําเนิดแสงชนิดอื่นที่สามารถประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ มากกว่า) รวมไปถึงการวางและจัดทําผังเมืองที่มีวัตถุประสงค์สําหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและดํารงรักษาสภาพแวดล้อมในเวลากลางคืนและความมืดมิดตามธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ที่รัฐสงวนเอาไว้ประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์ อีกทั้งยังเป็น การกําหนดการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน จะต้องสอดคล้องกับการใช้ ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันกําหนดการใช้ประโยชน์จากแสงสว่าง ภายนอกอาคารในเวลากลางคืนก็ต้องคํานึงถึงการอนุรักษ์ความมืดมิดตามธรรมชาติและการสร้างสมดุล ระยะเวลาความสว่างตามธรรมชาติในเวลากลางวันกับระยะเวลาความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนไป ในคราวเดียวกัน 31

GUAIX. (2015). Light Pollution in Spain. Retrieved May 11, 2018, from https://guaix.fis.ucm.es/lightpollutioninspain 32 Junta de Andalucía. (2010). Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética. Retrieved May 11, 2018, from https://www.juntadeandalucia.es/boja/2010/159/2 33 Pérez, F. L. (2015). Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno de Cataluña. Retrieved May 11, 2018, from http://www.actualidadjuridicaambiental.com/en/legislacional-dia-cataluna-contaminacion-luminica/


73 กฤษฎีกาที่ออกโดยบางแคว้นในประเทศสเปนได้วางมาตรการทางกฎหมายควบคุมการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคาร ก็ย่อมเป็นเครื่องสะท้อนถึงปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะและวาง แนวทางในการแก้ไขปัญหา ทั้งในระดับแคว้น (และส่งผลให้ท้องถิ่นในแคว้นต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม) เพื่อ เป็นการนําเสนอมุมมองในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางแสงในบางแคว้นของประเทศสเปน ทําให้เล็งเห็น ถึงสภาพของปัญหามลภาวะทางแสงอาจสร้างผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมใน เวลากลางคืน และเป็นการหยิบยกตัวอย่างของกฎหมายประเทศสเปน ทําให้สามารถเปรียบเทียบและ วิเคราะห์ถึงแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายกฎหมายประเทศไทย จึงจําเป็นที่จะต้องหยิบยก พระราชกฤษฎีกาจากบางแคว้นในประเทศสเปน มาเป็นตัวอย่างในการศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ถึง แนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย

ภาพที่ 16: ภาพบรรยายสาระสําคัญภายใต้กฤษฏีกา Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia energética ของแคว้นอันดาลูเซีย ประเทศสเปน34

ตัวอย่างแรก กฤษฎีกาของแคว้นอันดาลูซีอาว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงหรือ Anulación Decreto 357/2010 ได้วางหลักเกณฑ์สําคัญเกี่ยวกับการการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อลด 34

Junta de Andalucia. (2007). Protección del Cielo Nocturno. Retrieved May 11, 2018, from http://ciudadcivitas.blogspot.com/2010/10/evitar-la-contaminacion-luminica.html


74 ผลกระทบจากมลภาวะทางแสง (contaminación lumínica) เอาไว้หลายประการด้วยกัน อาทิ ข้อจํากัด สําหรับการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารที่ติดตั้งขึ้นมาใหม่ (restricciones aplicables a nuevas instalaciones) ได้แก่ ข้อห้ามที่กําหนดให้ผู้ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่มีการติดตั้งใช้ งานอยู่ในปัจจุบัน และผู้ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่กําลังจะทําการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารในอนาคต ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ตามที่กฤษฎีกาของแคว้นอันดาลู ซีดาว่าด้วยการควบคุม มลภาวะทางแสงวางหลักเกณฑ์เอาไว้ เช่น ปริมาณแสงเปล่งออกมา (มีหน่วยเป็นฟลักซ์ส่องสว่าง) ที่ส่องขึ้นไปบนท้องฟ้า (Flujo Hemisférico Superior Instalado de la Luminaria - FHSinst) ต้องตํ่ากว่าร้อยละ 1 (1 %) และป้ายโฆษณาที่มีการ ติดตั้งใช้งานแสงสว่างพึงต้องได้รับการออกแบบแสงสว่าง ให้มีทิศทางการส่องของแสงสว่างของพุ่งลง (luminarias que emitan luz de arriba hacia abajo) ที่ไม่ก่อให้เกิดแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า เป็นต้น ตั ว อย่า งที ่ ส อง แคว้ น กาตาลุ ญ ญาได้ ต รากฎหมายขึ ้ น มา ได้ แ ก่ กฤษฎี ก า Catalonian Law 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (ออกโดยอาศั ย อํ า นาจตามกฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment) กฎหมายฉบั บ นี ้ มี วัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมในเวลากางคืนจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ผ่านการวางมาตรการ สําคัญหลายมาตรการด้วยกัน อาทิ การคงสภาวะตามธรรมชาติในเวลากลางคืนเอาไว้ (maintaining natural night-time conditions) การสนั บ สนุ น การใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (promoting energy efficiency) การป้ อ งกั น การส่ อ งรุ ก ลํ ้ า ของแสงเข้ า มายั ง อาคาร บ้ า นเรื อ นหรื อ เคหะสถาน (preventing light intrusion on domestic setting) และการป้องกันผลกระทบอันเนื่องมาจากมลภาวะ ทางแสงต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์บนท้องฟ้าในเวลากลางคืน (preventing effects of light pollution on the night observation of the sky) กฤษฎีกาฉบับนี้ได้กําหนดมาตรการสําคัญเอาไว้ 4 มาตรการด้วยกัน ได้แก่ (1) มาตรการควบคุมคุณภาพของแสงสว่าง (light quality) ได้แก่ มาตรการ ควบคุ ม คุ ณ ลั ก ษณะของผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ สงสว่ า งที ่ ถ ู ก นํ า มาติ ด ตั ้ ง ใช้ ง านอ่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง (high efficiency) ผ่านการอนุญาตให้มีการติดตั้งใช้งานแสงที่ตามองเห็นในลักษณะคลื่นความถี่ตํ่ากว่า 440 nm (nanometer) รวมไปถึงการห้ามติดตั้งใช้งานหลอดไอปรอทความดันสูงหรือหลอดแสงจันทร์ (High Pressure Mercury Lamp) ทุกประเภทและห้ามติดตั้งใช้งานหลอดโซเดียม (Sodium Vapour Lamp) ในบางประเภท (2) มาตรการควบคุมปริมาณแสงสว่าง (light amount) ได้แก่ การกําหนดระบุความส่อง สว่าง (Luminance) (มีหน่วยเป็นแคนเดลาต่อตารางเมตรหรือ cd/m2)สําหรับการใช้งานไฟส่องสว่าง ภายนอกอาคารในบางประเภท ที่แคว้นกาตาลุญญาประสงค์จะให้ท้องถิ่นของตนควบคุมค่าความส่องสว่าง หรือสภาพการส่องสว่างของแหล่งกําเนิดแสงบางประเภทเอาไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ไฟถนน ไฟติดตั้ง บริเวณอนุสาวรีย์ ป้ายไปอิเล็กทรอนิกส์ และป้ายหน้าต่างแสดงสินค้าหน้าร้าน รวมไปถึงกําหนดค่า ปริ ม าณแสงสะท้ อ นออกมาจากพื ้ น ผิ ว ใดๆ (Unified Glare Rating System หรื อ UGR) สํ า หรั บ


75 แหล่งกําเนิดแสงบางประเภทที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแสงจ้า (3) มาตรการจํากัดพื้นที่ใช้งานแสงสว่าง (spatial light confinement) ได้แก่ การจํากัดพื้นที่ใช้งานแสงสว่างให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างให้ ความสว่างในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการใช้งานแสงสว่างเท่านั้น โดยกฎหมายฉบับนี้ห้ามไม่ให้มีการติดตั้งใช้ งานแสงสว่างโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดการส่องของแสงพวยพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้าและห้ามไม่ให้มีการ ส่องของแสงไปยังบริเวณพื้นที่ที่ได้รับการคุ้มครองเฉพาะเพื่อการประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์และการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และ (4) มาตรการจํากัดการใช้แสงสว่างชั่วคราว (temporary light confinement) ได้แก่ แสงสว่างที่เปิดใช้งานในเวลากลางคืน ต้องเป็นแสงสว่างที่ติดตั้งใช้งานด้วย เหตุผลเพื่อการรักษาความปลอดภัย การจัดการจราจรให้สาธารณชน และการทํากิจกรรมบางอย่างของ มนุษย์ ในระหว่างระยะเวลาช่วงกลางคืน ป้ายไฟส่องสว่างควรได้รับการปิดใช้งาน เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการ ใช้ประโยชน์ตามความจําเป็น 3.7 ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายระดับชาติที่ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและป้องกันภาวะมลภาวะทาง แสง เพื่อรักษาคุณภาพความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนที่ดีให้ปลอดจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นเองจะมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารอย่างหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ก็ตาม แต่เป็นที่น่าสนใจว่าประเทศ ญี่ปุ่นได้มีการจัดทําเอกสารสําคัญหลายอย่างที่บ่งชี้ว่ามลภาวะทางแสงเป็นภัยต่อการประกอบกิจกรรม ดาราศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ เช่น คําแนะนําเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสง ค.ศ. 2006 (Light Pollution Control Guidelines 2006) คู่มือการวางผังเมืองท้องถิ่นเพื่อจัดสภาวะแวดล้อม แสงสว่าง ค.ศ. 2000 (Manual for Local Planning of Lighting Environment 2000) และคู่มือการ กําหนดมาตรการป้องกันมลภาวะทางแสง ค.ศ. 2001 (Guidebook on Light Pollution Preventive Measures 2001) เป็นต้น เอกสารสําคัญเหล่านี้ได้นําเสนอแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบอันเนื่ องมาจาก มลภาวะทางแสง หลายประการด้วยกัน (ก) การจัดแบ่งพื้นที่สําหรับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ ที่ดิน (control by zoning) ได้แก่ การจัดแบ่งพื้นที่สําหรับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดย จําแนกพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ พื้นที่ภูมิทัศน์อัน มื ด มิ ด ในยามคํ ่ า คื น (intrinsically dark landscape) พื ้ น ที ่ ช านเมื อ งที ่ ม ี ผ ู ้ ค นอาศั ย อยู ่ (rural and suburban residential area) พื้นที่ในชุมชนเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ (urban residential area) และพื้นที่ ใจกลางเมืองที่มีความหนาแน่นของจํานวนการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในระดับสูง (urban core which allows high density of lighting fixtures in the area)


76 (ข) การควบคุมการบริโภคพลังงาน (control of energy consumption) รัฐ หน่วยงานรัฐและ ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น พึ่งสร้างความตระหนักให้ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างหันมาใช้ งานแหล่งกําเนิดแสงที่ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟประหยัดพลังงาน ได้ผ่านการ รับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Japan Industrial Standard - JIS) (ค) การควบคุมการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ (control of lighting fixtures) รัฐ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น พึงจูงใจและสร้างความตระหนักให้ประชาชนใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ ที ่ ม ี ป ริ ม าณความเข้ ม ของแสง(luminous intensity) และประสิ ท ธิ ภ าพของหลอดไฟฟ้ า (energy efficient) สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ (ง) การจํากัดชั่วโมงการเปิด-ปิดไฟส่องสว่าง (restriction on lighting hours) รัฐ หน่วยงานรัฐ และท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นควรเปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในชั่วโมงที่ประชาชนมีความต้องการใช้ งานแสงสว่างอย่างมากและปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในชั่วโมงที่ประชาชนมีความต้องการใช้งานแสง สว่างน้อยหรือแทบจะไม่มีผู้คนเดินทางหรือสัญจรในชั่วโมงดังกล่าว (จ) การควบคุมความเข้มของแสง (control of light intensity) รัฐ หน่วยงานรัฐและท้องถิ่นของ ประเทศญี่ปุ่นพึงต้องควบคุมความเข้มของแสงให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของพื้นที่และการใช้ ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนพึงรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปและท้องถิ่นติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ที่ไม่ก่อให้เกิดแสงบาดตา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถยนต์หรือสัญจรบนท้องถนน (ฉ) การควบคุมการรุกลํ้าของแสง (regulation of light trespass) ได้แก่ รัฐ หน่วยงานรัฐและ ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจําต้องควบคุมทิศทางการส่องของแสง ที่ไม่ก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกลํ้าไปอาคาร เคหะสถานหรือพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลอื่น อันอาจนําไปสู่การเกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ แม้เอกสารเหล่านี้ไม่มีผลผูกพัน (non-legally binding force) ให้ประชาชนและท้องถิ่นปฏิบัติ ตามเฉกเช่นเดียวกับบทบัญญัติทางกฎหมาย แต่ในบางท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นกลับออกอนุบัญญัติ (Subordinate local legislation) ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ได้แก่ เทศบาลเมืองไบเซอิ (Bisei-cho Town) ตําบลโอดะ (Oda District)เมืองโอกายามา (Okayama Prefecture) เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมืองไบเซอิ ถูกใช้เป็นพื้นที่ศึกษาและปฏิบัติการทางดาราศาสตร์ของรัฐ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมดารา ศาสตร์ ส ํ า หรั บ เยาวชนและประชาชนทั ่ ว ไป โดยมี ส ถานี ด าราศาสตร์ ไ บเซอิ (Bisei Astronomical Observatory -BAO) เป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ตั้งอยู่ในเมืองดังกล่าวด้วย35

35

Ministry of the Environment. (2006). Guidance for light pollution. Retrieved May 11, 2018, from http://www.env.go.jp/air/life/hikari_g_h18/full.pdf


77 เทศบาลเมืองไบเซอิจึงได้ตราอนุบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ เทศบัญญัติเมืองไบเซอิว่าด้วยการป้องกัน มลภาวะทางแสง ค.ศ. 1989 (Light Pollution Prevention Ordinance in the Town of Bisei 1989) ประกอบด้วยข้อห้ามหลายประการเพื่อช่วยป้องกันปัญหาและลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงต่อพื้นที่ ศึกษาดาราศาสตร์ดังกล่าว36 เช่น ข้อห้ามเปิด-ปิดไฟส่องสว่างภายนอกอาคารในช่วงเวลาที่ท้องถิ่นกําหนด (ตั้งแต่สี่ทุ่มจนถึงหกโมงเช้า) (external lighting curfew) ข้อห้ามใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ ก่อให้เกิดแสงสว่างพุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า (ban on outdoor light emissions above the horizontal level) ข้อห้ามติดตั้งไฟบริเวณป้ายโฆษณาบริเวณส่วนบนของป้าย (ban on sign lighting to come from the top of signboard) ข้ อ ห้ า มติ ด ตั ้ ง โคมไฟความดั น ไอปรอทตํ ่ า (ban on low-pressure sodium lamps) และข้อ ห้ า มใช้ ง านไฟเลเซอร์ ส ่ องไปยั งบริ เ วณชั้ น บรรยากาศ (ban on all use of upward laser beam displays) เป็นต้น กล่าวโดยสรุป ประเทศญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายระดับชาติสําหรับควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ คงมีเพียงแต่อนุบัญญัติท้องถิ่นของเมืองไบเซอิ ได้แก่ เทศบัญญัติเมืองไบเซอิว่าด้วยการป้องกันมลภาวะ ทางแสง ค.ศ. 1989 ที่กําหนดข้อห้ามที่ประกอบด้วยสาระสําคัญเพื่อการอนุรักษ์บรรยากาศความมืดมิด ตามธรรมชาติและรักษาสภาวะความมืดตามธรรมชาติที่จําเป็นต่อการศึกษาวิจัยดาราศาสตร์ในเวลา กลางคืน 3.8 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ จากที่กล่าวมาในข้างต้น ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาทบทวนกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงจาก ต่างประเทศ พร้อมหยิบยกกฎหมายของประเทศต่างๆ เหล่านี้มาทําการศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อสามารถที่จะวิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างกฎหมายควบคุม มลภาวะทางแสงจากประเทศต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงมาตรการกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงที่กล่าวมา ในข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆ ได้ตอบสนองต่อปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากมลภาวะทาง แสง ผ่านการจัดทําบทบัญญัติทางกฎหมายเป็นการเฉพาะสําหรับวางมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะ ทางแสงกับควบคุมผลกระทบอันเนื่องมาจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะที่ไม่ เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอันนําไปสู่การเกิดมลภาวะทางแสง ซึ่งมาตรการจากประเทศที่ถูก หยิบยกเอามาเป็นตัวอย่างเหล่านี้มี ลักษณะที่คล้ายคลึงหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งการที่บัญญัติ หรือกําหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นว่านี้ ย่อมนําไปสู่การสร้างความตื่นรู้และ ตระหนักให้ประชาชนผู้ใช้งานแสงสว่างทั่วไปหรือผู้ปฏิบัติทางด้านแสงสว่าง พร้อมกับสร้างมาตรการให้ ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างจะต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ก็ 36

Bisei Astronomical Observatory. (2003). A brief introduction to BAO. Retrieved May 11, 2018, from http://www.bao.go.jp/eng/


78 อาจต้องได้รับโทษจากการฝ่าฝืนไปกระทําการหรืองดเว้นอย่างหนึ่งอย่างใดที่ก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิด ผลกระทบอย่างหนึ่งอย่างใดต่อร่างกาย อนามัยและทรัพย์สิน มาตรการที่คล้ายคลึงกันและหลายประเทศก็ได้นํามาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ไปในแนวทาง เดียวกัน มีอยู่ 3 มาตรการสําคัญอันประกอบด้วย (1) มาตรการควบคุมเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์ ได้แ ก่ การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดแสง ประดิษฐ์ที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย การใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารจะกลายมาเป็นเหตุรําคาญได้หรือไม่นั้นต้องเป็นการใช้งานแสงสว่างอย่างเป็น ประจําจนเกิดการส่องรุกลํ้าของแสงที่กระทบต่อการดํารงชีพ จนเกิดสภาวะที่กระทบต่อการดํารงชีพหรือ ทําให้เพื่อนบ้านหรือผู้ที่อาศัยในบริเวณพื้นที่โดยรอบอยู่อย่างไม่ปกติสุข บางประเทศได้กําหนดมาตรการ ควบคุ ม เหตุ ร ํ า คาญอั น เนื ่ อ งมาจากการใช้ ง านแสงประดิ ษ ฐ์ ม าแล้ ว เช่ น พระราชบั ญ ญั ต ิ Clean Neighbourhoods and Environment Act 2005 ของประเทศอังกฤษ กฎหมาย Arrêté du 25 janvier 2 0 1 3 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie ของประเทศฝรั ่ ง เศส และกฎหมาย Environment Protection Act 1997 ของประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น (2) มาตรการควบคุมการติดตั้ง ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ได้แก่ หลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่สร้างมาตรฐานการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารให้มีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสง พร้อมกับสร้างเกณฑ์การปฏิบัติให้กับ ผู้ปฏิบัติงานด้านแสงสว่างและประชาชนทั่วไปในการเลือกติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่มี ประสิทธิภาพด้านพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการติดตั้งใช้งานและออกแบบแสง สว่างภายนอกอาคาร เพื่อสอดรับกับการควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมลภาวะทางแสง บางประเทศ ได้กําหนดมาตรการควบคุมการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น กฎหมาย Legge Regionale n. 22/1997 ของแคว้ น เวเนโต ประเทศอิ ต าลี กฤษฎี ก า Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 (OG RS, No 81/2007) ของประเทศสโลวีเนีย และกฤษฎีกา ของแคว้นอันดาลูซีอาว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงหรือ Anulación Decreto 357/2010 ของ ประเทศสเปน เป็นต้น (3) มาตรการกําหนดพื้ นที่ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลา กลางคืน ที่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินสําหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ การจําแนกพื้นที่ที่มี ความหนาแน่นของการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร โดยพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควบคู่ไปกับการจําแนกความหนาแน่นของปริมาณการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารหรือจํานวน ของไฟส่องสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน รัฐบาล (หรือท้องถิ่น) อาจ กําหนดการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผ่านการแบ่ง เขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการแบ่งเขต เช่นว่านี้ย่อมทําให้รัฐบาล (หรือท้องถิ่น) สามารถสร้างผังการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเมือง ชาน เมือง ชนบทและพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ สําหรับบางประเทศที่มีมาตรการควบคุมการติดตั้งใช้งานแสง


79 สว่างภายนอกอาคาร ก็มักกําหนดให้มีมาตรการกําหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน ที ่ส อดคล้องกับการใช้ ประโยชน์ในที่ดินสําหรับวัตถุประสงค์ ต่างๆควบคู่ไปด้วย เช่น กฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment แ ล ะ ก ฤ ษ ฎ ี ก า Catalonian Decree 8 2 / 2 0 0 5 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno) ของแคว้นกา ตาลุญญา ประเทศสเปน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การกําหนดหลักเกณฑ์มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในต่างประเทศ ซึ่งจะกําหนดเป็นหลายมาตรการด้วยกัน บางมาตรการก็สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมาตรการด้านอื่นๆ อาทิ มาตรการด้านเศรษฐศาสตร์และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาวิเคราะห์ในข้างต้น มาตรการ ของหลายประเทศที่เกี่ยวข้องกับการการควบคุมมลภาวะทางแสงทําให้เห็นว่า มาตรการที่ประเทศต่างๆ นํามาใช้หรือนําเอามาบังคับใช้ในปัจจุบันยังมีจุดอ่อน ช่องว่าง และอาจไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลอดจนความรับรู้และความตระหนักรู้ของปัญหาและผลกระทบที่ เกิดจากมลภาวะทางแสง ดังนั้น จึงอาจมีการพัฒนามาตรการการควบคุมมลภาวะทางแสงประเภทใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและแนวโน้มทิศทางการขยายตัวของพื้นที่ที่มีการติดตั้ง ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในอนาคต ตัวอย่างเช่น ควรมีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน (cost benefit analysis) จากการแบ่งเขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ประโยชน์ที่ดิน สําหรับนําไปสู่การประกอบการตัดสินใจในการกําหนดความหนาแน่นแออันของปริมาณ แสงสว่างภายนอกอาคารที่จะต้องมีการติดตั้งใช้งานในแต่ละเขตพื้นที่ ผ่านการศึกษาความเชื่อมโยง ระหว่างโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินกับการปรับเปลี่ยนวิธีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่ ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสง เป็นต้น แม้มาตรการสําคัญทั้ง 3 ที่ได้ถูกหยิบยกมาในข้างต้น เป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายประเทศ ได้ร่วมกันหาแนวทางให้กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงมีความสอดคล้องกับปัญหาเนื่องจากการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารที่ตนเองได้ตระหนักรู้และสร้างให้มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทาง แสงภายในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนในการลดปัญหาและผลกระทบจาก มลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม แต่ในหลายประเทศก็ไม่ได้มีการจัดทํา กฎหมายเฉพาะหรือนํามาตรการเหล่านี้ไปปรับใช้แต่อย่างใด โดยมาตรการที่กล่าวมาในข้างต้นยังไม่เป็นที่ ยอมรับและยังไม่ได้รับการนําไปปรับใช้ในหลายประเทศ ซึ่งบางประเทศกลับมีเพียงการจัดทําคู่มือแนว ปฏิบัติเกี่ยวกับเกณฑ์การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในประเด็นต่างๆ เท่านั้น


80 กล่าวโดยสรุปแล้ว มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงย่อมมีบทบาทสําคัญต่อการ ประหยัดพลังงาน ทําให้เกิดการรักษาสมดุลระบบนิเวศ และป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน และเกิดการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ สําคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงกับการอนุรักษ์พลังงานควบคู่กันไป ข้อดีของการ สร้างมาตรการดังกล่าวเป็นเอกภาพในรูปแบบของมาตรการที่บรรจุเอาไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ ความผูกพันของกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารย่อมมีความ ชัดเจนกว่าแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอื่นๆ ภาครัฐ (หรือท้องถิ่น)สามารถออก กฎหมายภายในประเทศ (หรือกฎหมายท้องถิ่น) เพื่อตอบสนองต่อปัญหาและผลกระทบบางอย่างจาก มลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ ที่สอดคล้องกับการลดผลกระทบจากปัญหามลภาวะทางแสงเป็นการ เฉพาะและบริบทด้านการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละประเทศ (รวมถึงท้องถิ่น) อีกทั้งสามารถปรับเปลี่ยน มาตรการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ในทางตรงกันข้าม ข้อเสียของมาตรการ ทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงย่อมไม่มีความยืดหยุ่น เพราะกฎหมายย่อมก่อให้เกิดผลผูกพัน ในทางกฎหมายให้ภาครัฐ (หรือท้องถิ่น) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมมลภาวะทาง แสง หากแต่ข้อแนะนํา ข้อเสนอและ แนวปฏิบัติที่ดีและคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติการเพื่อลดมลภาวะทาง แสงย่อมมีลักษณะเป็นการกําแนวปฏิบัติให้ภาครัฐ ท้องถิ่น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป นําไป ปฏิบัติและปรับใช้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนปฏิบัติการลดมลภาวะทางแสงให้มีความสอดคล้องกับบริบท อื่นๆในแต่ละประเทศและท้องถิ่น


บทที่ 4 วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง ในประเทศไทย

ในบทที่ 3 ผู้วิจัยได้นําเสนอการศึกษาค้นคว้ากฎหมายต่างประเทศเพื่อรวบรวมสาระสําคัญของ มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสง พร้อมกับวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อยของมาตรการต่างๆ ซึ่งการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (กฎหมายเปรียบเทียบ) ย่อมเป็นประโยชน์ในการนําเอากฎหมายของ ประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ทราบแนวทางการนําเอามาตรการทาง กฎหมายจากต่างประเทศ มาเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาตรการทางกฎหมาย ของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลภาวะทางแสงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบทที่ 4 นี้จึงกล่าวถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทยที่ บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบว่าในปัจจุบันกฎมายประเทศไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาพปัญหามลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร พร้อมวิเคราะห์ปัญหา ดังกล่าว ทั้งนี้ ประเด็นที่จะต้องหยิบยกนําเอามาพิจารณาเป็นอันดับแรกในการวิเคราะห์ปัญหาตามกฎหมาย ของประเทศไทย นั้นคือ การหยิบยกกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวกับมลภาวะทางแสง รวมไปถึงบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือเกณฑ์ทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินและกิจกรรมของมนุษย์ อันเนื่องมาจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้คน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ในบทนี้ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายในประเทศไทย พร้อมหยิบยกกฎหมาย แม่บทของประเทศไทยมาทําการศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ 4.1 มาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทย เมื่อเกิดสภาวะที่มีแสงประดิษฐ์ที่มีความสว่างในระดับที่สูงกว่าระดับปกติ (ระดับที่เพียงพอต่อการ มองเห็น การรักษาความปลอดภัยและการทํากิจกรรมต่างๆ) หรือเกิดสภาวะที่มีการส่องของแสงรุกลํ้าเข้า


82 มายังพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืน ในระยะเวลานานพอที่จะรบกวนการดํารงชีวิตของ มนุษย์หรือทําให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่างๆ ตลอดจนถึงส่งผลร้ายต่อระบบนิเวศ ในเวลากลางคืน จึงจําเป็นที่จะต้องมีการกําหนดมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลา กลางคืนหรือระดับการใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัยและการ ทํากิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืน สําหรับกําหนดเป้าหมายว่าคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ควรมี มาตรฐานระดับใด เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปทําให้เกิดการส่งเสริมสนับสนุนการรักษาคุณภาพความ มืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนและรักษาสมดุลการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนกับการอนุรักษ์ ดุลยภาพความมืดตามธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ต่อมนุษยชาติในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเฉพาะที่ใช้ควบคุมมลภาวะทางแสงและผลกระทบที่ เกิดขึ้นจากมลภาวะทางแสง มาตรการด้านปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรการด้านสาธารณสุขยังมี ความล้าหลังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาจากมลภาวะทางแสงในมิติต่างๆ ผู้วิจัยจึงทําการศึกษาวิเคราะห์ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเหตุรําคาญของประเทศไทย เพื่อให้ ทราบถึงปัญหาทางกฎหมายและทราบแนวทางในการปรับปรุงพั ฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม มลภาวะทางแสงให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 4.1.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25351 ถือเป็นกฎหมายแม่บท ที่กําหนดมาตรการในการควบคุมมลภาวะ เช่น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียง และมลภาวะอื่นๆ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้จัดทํามาตรการเท่าที่จําเป็นขึ้นมาเพื่อ (1) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มี ส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (2) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ เป็นไปตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อกําหนด อํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการประสานงานและมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและกําหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง (4) กําหนดมาตรการ ควบคุมมลพิษด้วยการจั ดให้มีระบบบําบัดอากาศเสียระบบบํ าบั ดนํ้าเสี ย ระบบกํ าจั ดของเสีย และ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ (5) กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน และ (6) กําหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุน และความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม 1

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_envi.html


83 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กําหนด นิยามความหมายของ (1) "คุณภาพสิ่งแวดล้อม" ให้หมายความ “ดุลยภาพของธรรมชาติ อันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทําขึ้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อการดํารงชีพของ ประชาชนและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ” ในส่วนของคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายฉบับนี้ อาจหมายความรวมถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ที่จําเป็นที่จะต้องมีดุลยภาพความสว่างตาม ธรรมชาติในเวลากลางวันกับความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน ที่เป็นประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตของ ผู้คนอย่างยั่งยืนหรือทําให้ระบบนิเวศสามารถสร้างสมดุลได้ตามธรรมชาติสืบไป (2) "มาตรฐานคุณภาพ สิ่งแวดล้อม" ให้หมายความว่า “ค่ามาตรฐานคุณภาพนํ้า อากาศ เสียง และสภาวะอื่น ๆ ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งกําหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไปสําหรับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” โดยมาตรฐานคุณภาพ สิ่งแวดล้อมครอบคลุมถึงการกําหนดมาตรฐานคุณภาพสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในยามคํ่าคืน ที่พึงมี ความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนหรือระดับการใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมสอดคล้องกับสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัยและการทํากิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืน (3) "มลพิษ" ให้หมายความว่า “ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจาก แหล่งกําเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม หรื อ ภาวะที ่ เ ป็ น พิ ษ ภั ย อั น ตรายต่ อ สุ ข ภาพอนามั ย ของประชาชนได้ และให้ หมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรําคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูก ปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดมลพิษด้วย” การกําหนดนิยามหมายความหมายมลพิษตามพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ที่วางกรอบอย่างกว้างให้มลภาวะ (หรือมลพิษ) หมายความรวมถึงของแสงประดิษฐ์ที่ถูกปล่อยทิ้ง จากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ) ที่สามารถก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ รวมไปถึงเหตุ รําคาญจากแสงประดิษฐ์ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ด้วย (4) "ภาวะมลพิษ" ให้ หมายความว่า “สภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือปนเปื้อนโดยมลพิษซึ่งทําให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อม เสื่อมโทรมลง เช่น มลพิษทางนํ้า มลพิษทางอากาศ มลพิษในดิน” ในการให้คํานิยามเช่นว่านี้ อาจ ตีความหมายรวมไปถึงสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงโดยมลภาวะทางแสง โดยประการที่ทําให้คุณภาพ สภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในเวลากลางคืนเสื่อมโทรมลง เช่น มลภาวะทางแสง กฎหมายฉบับนี้จึง กล่าวถึงภาวะมลพิษที่ไม่เพียงจะเกิดขึ้นได้จากมลพิษทางนํ้า มลพิษทางอากาศ และมลพิษในดินเท่านั้น หากแต่อาจเกิดจากมลภาวะทางแสง ทําให้การให้ความหมายของภาวะมลพิษสามารถครอบคลุมถึงปัญหา และผลกระทบจากมลภาวะทางแสงด้วย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 32 ได้วาง หลั ก เกณฑ์ เ อาไว้ ว ่ า เพื ่ อ ประโยชน์ ใ นการส่ ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ มให้ ค ณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่อง ต่ อไปนี ้ (1) มาตรฐานคุ ณภาพนํ้าในแม่นํ ้าลํ าคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ อ่างเก็บนํ ้า และแหล่ งนํ้ า


84 สาธารณะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในผืนแผ่นดิน โดยจําแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ลุ่มนํ้าในแต่ ละพื้นที่ (2) มาตรฐานคุณภาพนํ้าทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่นํ้า (3) มาตรฐานคุณภาพนํ้า บาดาล (4) มาตรฐานคุ ณ ภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั ่ ว ไป (5) มาตรฐานระดั บ เสี ย งและความ สั่นสะเทือนโดยทั่วไป และ (6) มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่น ๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติย่อมมีอํานาจตามมาตรา 32 (6) ที่สามารถประกาศกําหนดมาตรฐานการใช้ระดับการใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการประกอบกิจกรรมภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ประโยชน์ที่ดิน หากแต่ในปัจจุบันยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่เคยออกประกาศกําหนด มาตรฐานระดั บ การใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคาร (ambient lighting level standards) สํ า หรั บ ควบคุมผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารหรือควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรําคาญจากการ ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เมื่อไม่มีมาตรฐานคุณภาพความมืดมิดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนหรือ มาตรฐานความสว่างที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละพื้นที่ ก็ย่อมไร้ซึ่งการกําหนดเป้าหมาย คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนที่เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละ พื้นที่ รวมไปถึงไร้ซึ่งการกําหนดเป้าหมายคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนของเขตอนุรักษ์หรือเขต พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 55 ได้ให้อํานาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะจาก แหล่งกําเนิด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษและโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอํานาจประกาศในราช กิจจานุเบกษากําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิด สําหรับควบคุมการระบายนํ้าทิ้ง การปล่อย ทิ้งอากาศเสีย การปล่อยทิ้งของเสีย หรือมลพิษอื่นใดจากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมมีอํานาจกําหนดมาตรฐานควบคุม มลภาวะทางแสง (มลพิษทางแสง) จากแหล่งกําเนิด (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ และแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ประเภทอื่นๆ) สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืด มิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐาน คุณภาพ สิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้ใช้อํานาจตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะทางแสง (มลพิษทาง แสง) จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติใน ยามคํ ่ า คื น และระดั บ การใช้ ง านแสงสว่ า งในเวลากลางคื น ให้ ไ ด้ ม าตรฐานแต่ อ ย่ า งใด นอกจากนี ้ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 58 ยังได้ให้อํานาจผู้ว่า ราชการจังหวัดกําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิดสูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจาก


85 แหล่งกําเนิดที่กําหนดตาม มาตรา 55 ด้วยประการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอาจประกาศกําหนดมาตรฐาน สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม หากว่ามีกําหนดมาตรฐานควบคุม มลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืดมิดตาม ธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐานเอาไว้แล้ว หากไม่เคย มีการกําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษา คุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้ มาตรฐานมาก่อน ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมไม่มีตาม มาตรา 58 แต่อย่างใด เมื่อไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนจากที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ผลที่ตามมานั้นคือ ประการแรก ประเทศไทยยังปราศจากการ บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เพื่อนําไปสู่การใช้อํานาจออกบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงและไร้ บทบัญญัติอันประกอบด้วยสาระสําคัญเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะ คงมีเพียงการ กําหนดกรอบหรือขอบเขตนิยามความหมายคําว่ามลพิษ (มลภาวะ) เอาไว้อย่างกว้าง โดยอาจได้ว่ามลพิษ ทางแสง (มลภาวะทางแสง) ถือเป็นบริบทหนึ่งในนิยามความหมายคําว่ามลพิษ ภายใต้พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ซึ่งรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใน ประเทศไทยก็ไม่ได้กําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสงในบทบัญญัติทางกฎหมายเอาไว้ อย่างชัดเจน ประการที่สอง ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการลงโทษผู้ที่กระทําการปล่อยมลภาวะทางแสง จนอาจ ก่อให้เกิดหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินของผู้อื่น ตลอดจนก่ออันตรายต่อ ระบบนิเวศในบริเวณพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึงไม่มีมาตรการลงโทษผู้ที่ก่อเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ ติดตั้งใช้งานแหล่งกําเนิดแสงที่ปล่อยแสงส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัว อาคารหรือเคหะสถาน ของเพื่อนบ้านเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบ ทําให้เพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนรําคาญ แม้ว่าจะมีแนวคิดสากล (แนวคิดนานาชาติ) ที่มีต่อการกระทําการปล่อยมลภาวะทางแสงที่สร้างความ เสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน โดยมองว่าควรมีบทบัญญัติของรัฐที่ถือว่าการกระทําการดังกล่าว เป็นความผิด (mala probibita) ส่งผลกระทบต่อร่างกาย อนามั ย ทรัพย์สิ นและระบบนิเวศในเวลา กลางคืน ผลจากการปล่อยมลภาวะทางแสงไปก่ออันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมนี้เอง ย่อมทําให้ เกิดความเสียหายในทางหนึ่งทางใด ผู้กระทําพึงต้องได้รับการลงโทษตามกฎหมาย (เช่น โทษปรับ) แต่ กลับพบว่ายังไม่มีมาตรการลงโทษผู้ที่กระทําการปล่อยมลภาวะทางแสงเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด 4.1.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของสังคม จําต้องมีการควบคุมกํากับดูแล กิจกรรมต่างๆ หรือการกระทําของประชาชนที่อาจส่งผลกระทบต่อเอกชนรายหนึ่งรายใดหรืออาจกระทบ ต่อสาธารณชน ก็ย่อมต้องมีการควบคุมผลกระทบให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี


86 ย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกันกับการสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด กฎหมายแม่บทด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 25352 จึงได้กําหนดมาตรการกํากับดูแลและป้องกัน เกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม (environmental health) เอาไว้ โดยมาตรการภายใต้กฎหมายแม่บท ฉบับนี้ไม่เพียงสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพกายและใจดีที่ และสามารถใช้ชีวิตในสังคมโดยปราศจาก โรคภัยและปราศเหตุอื่นๆที่อาจกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดี แต่ยังมุ่งให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการดําเนินชีวิตและดํารงชีวิตประจําวัน ไม่ให้ เกิดผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยและทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้งานใช้ประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสง (เช่น หลอดไฟฟ้า โคมไฟ) โดย ประการที่จะเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบแล้ว ก็อาจ ถือได้ว่าเป็นเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบเหตุนั้น เหตุที่เกิดขึ้นดังกล่าวย่อมถือเป็นเหตุรําคาญตามมาตรา 25 (4) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่ภาครัฐหรือภาคเอกชน รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ได้ติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารโดยประการที่อาจก่อหรือได้ก่อให้เกิดแสงประดิษฐ์ที่ส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนบุคคล อาคารหรือเคหะสถานของผู้อื่น (เช่น การติดตั้งใช้งานไฟถนนในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทําให้เกิดแสงส่อง รุกลํ้าเข้าไปในห้องนอนของผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เป็นต้น) จนเป็นเหตุให้กระทบต่ออนามัยหรือเป็น อันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารต้องมีการเปิดใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่ก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกลํ้าเป็นประจําสมํ่าเสมอ (เหตุประจํา) จนไปกระทบต่อสุขภาพอนามัย วิธีการดําเนินชีวิตประจําวันและความเป็นอยู่อย่างปกติสุข นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 ได้ให้กําหนดให้เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอํานาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรําคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการ ระงับเหตุรําคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บํารุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางนํ้า รางระบายนํ้า คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรําคาญ โดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 26 ยังได้ให้อํานาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและ ควบคุมเหตุรําคาญต่าง ๆ ได้ ดังนี้แล้วเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอํานาจห้ามไม่ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดก่อ เหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ทั้งที่เป็นแหล่งกําเนิดแสงจากสถานที่สาธารณะและแหล่งกําเนิด แสงจากเส้นทางคมนาคมขนส่ง (เช่น ไฟถนน ไฟสวนสาธารณะ และไฟสถานีขนส่ง) หรือแหล่งกําเนิดแสง จากสถานที่ของเอกชน (เช่น ไฟรักษาความปลอดภัย ไฟที่จอดรถศูนย์การค้า ไฟป้ายโฆษณา และไฟ 2

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://laws.anamai.moph.go.th/main.php?filename=1HLaws2016


87 ประดับตามเทศกาล) พร้อมกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและ ควบคุมเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ได้อีกด้วย อนึ่ง ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องจําแนกประเภทสถานที่ ที ่เกิ ดเหตุ ร ํ าคาญจากการใช้งานแสงประดิษ ฐ์ข ึ้น และปฏิ บัติต ามหลักเกณฑ์ ท ี ่พระราชบัญ ญั ติก าร สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กําหนดเอาไว้สําหรับสถานที่ที่เกิดเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์แต่ละ ประเภท ให้มีความสอดคล้องหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กําหนดเอาไว้ใน มาตรา 27 และมาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 27 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมี อํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญ จากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญดังกล่าวภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์นั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นอีก ในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้ (มาตรา 27 วรรคแรก) นอกจากนี้ หากปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้า พนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้น และอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อ ป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับ การก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการ นั้น (มาตรา 27 วรรคสอง) ในกรณีที่มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นในสถานที่เอกชน พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็น หนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายในเวลาอัน สมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรําคาญจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์นั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ เกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้ (มาตรา 28 วรรคแรก) อีกทั้งในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์นั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ เกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นจากการกระทํา การละเลย หรือการ ยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสีย ค่าใช้จ่ายสําหรับการนั้น (มาตรา 28 วรรคสอง) แต่ถ้าปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรําคาญจากการ


88 ใช้งานแสงประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบ ต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคําสั่งเป็น หนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์นั้น แล้วก็ได้ (มาตรา 28 วรรคสาม) หากบุคคลใดไม่ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 22 มาตรา 27 หรือมาตรา 28 โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 74 วาง หลักเกณฑ์ให้บุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าหน้าที่หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ โดยเจ้า พนักงานท้องถิ่นมีอํานาจตามมาตรา 85 วรรคสามในการเปรียบเทียบปรับโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ กล่าวโดยสรุป กรณีที่มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้น ผู้ที่เผชิญกับเหตุรําคาญจาก การใช้งานแสงประดิษฐ์ย่อมสามารถใช้สิทธิร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องไป ตรวจสอบข้อเท็จจริง ถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่เผชิญกับเหตุรําคาญได้รับผลกระทบจากการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารของผู้หนึ่งผู้ใด เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจให้คําแนะนําและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคาร ถ้าผู้ก่อเหตุรําคาญดังกล่าวไม่ยอมปฏิบัติตามคําแนะนําและข้อเสนอแนะของเจ้า พนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอํานาจออกคําสั่งให้ผู้ก่อเหตุรําคาญปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการ ติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ถ้าผู้ก่อเหตุรําคาญไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขตามคําสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่นได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอํานาจเปรียบเทียบปรับได้ แต่ถ้าผู้ก่อเหตุรําคาญไม่ยอมให้ ปรับ เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถแจ้งความต่อพนักงานตํารวจเพื่อให้ดําเนินคดีทางศาลต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการกําหนดบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์เป็นการเฉพาะ ประเทศไทยไม่ได้มีการกําหนดบทบัญญัติว่าด้วยการจัดการเหตุรําคาญจากการใช้ งานแสงประดิษฐ์เอาไว้เป็นการเฉพาะหรืออาจเรียกว่าไม่มีการกําหนดบทบัญญัติเอาไว้เป็นพิเศษในระบบ กฎหมายไทยแต่ประการใด ทั้งๆ ที่การกําหนดหลักเกณฑ์และการจัดการเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์เป็นสิ่งควรกําหนดเอาไว้และเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยป้องกันและลดผลกระทบในด้านลบต่อ สุขอนามัยของเพื่อนบ้านหรือชุมชนโดยรอบ ซึ่งหากกล่าวถึงเหตุรําคาญภายใต้พระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในระบบกฎหมายไทย กลับไม่ได้มีการกําหนดหลักการทั่วไปและข้อยกเว้น เกี่ยวกับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เฉกเช่นเดียวกับระบบกฎหมายอื่นๆ (เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส) ทั้งนี้เห็นได้ว่าการที่ปราศจากหลักเกณฑ์และการจัดการเหตุรําคาญจากการใช้งาน แสงประดิษฐ์เป็นการเฉพาะย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี ได้แก่ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.


89 2535 ในระบบกฎหมายไทยย่อมเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและศาลยุติธรรมตีความว่าการใช้งาน แสงสว่างในลักษณะใดถือเป็นเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ จนอาจสร้างหรือได้สร้างความ เสียหายแก่ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิประการหนึ่งประการใดของผู้เผชิญกับเหตุรําคาญหรือผู้ต้อง เสียหายจากเหตุรําคาญเช่นว่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อการใช้งานแสงประดิษฐ์ที่ก่อความเดือดร้อนรําคาญแก่ บุ ค คลหนึ่ ง บุ ค คลใดแล้ ว เจ้ า พนั ก งานท้ อ งถิ ่ น ก็ ม ี ห น้ า ที ่ ต ้อ งใช้ บ ทบั ญ ญั ต ิ ตามพระราชบัญ ญั ติ ก าร สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาเป็นเครื่องมือในการจัดการกับความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ งานแสงสว่ า งที ่ ก ่อ ให้ เกิ ด ความเดื อ นร้ อ นรํ า คาญแก่ เพื ่ อ นบ้ า น จากการศึ ก ษาพระราชบั ญ ญั ต ิ ก าร สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในข้างต้น ก็จะพบว่าการกําหนดให้มีการตีความแบบยืดหยุ่นให้ครอบคลุมเหตุ รําคาญที่อาจเกิดขึ้นได้จากมลพิษที่หลากหลาย (รวมทั้งมลภาวะทางแสง) ย่อมเปิดโอกาสให้นําหลักเกณฑ์ และบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยเหตุรําคาญมาใช้กับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ด้วย ข้อเสีย คือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ไม่ได้บัญญัติหลักการทั่วไปและข้อยกเว้นเกี่ยวกับเหตุรําคาญ จากการใช้งานแสงประดิษฐ์เอาไว้ การกําหนดให้มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะในการจัดการกับเหตุรําคาญ ดังกล่าวและปัญหาที่เกี่ยวข้องก็จะพบว่าเป็นการกําหนดให้มีมาตรการที่แน่นอน ซึ่งลักษณะการกําหนด หลักทั่วไปและข้อยกเว้นเป็นที่แน่นอนอย่างเคร่งครัดและเหมาะสมกับการรองรับความเสี่ยงที่จะเกิด ปัญหาจากการติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร ก็ย่อมเป็นการสอดรับกับปัญหามลภาวะทางแสงที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งการนําหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้มาตีความในเรื่องเหตุรําคาญจากการ ใช้งานแสงประดิษฐ์ในบางกรณีอาจไม่เอื ้อต่อการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารเพื่อจัดทําบริการ สาธารณะและความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ จากการศึกษาตัวอย่างของกฎหมายในระบบกฎหมายอื่น เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ก็จะพบว่ามีการกําหนดข้อยกเว้นที่เอื้อต่อการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารเพื่อจัดทําบริการสาธารณะและความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ 4.1.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลทั่วไปย่อมมีสิทธิติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น ไฟรักษาความปลอดภัย ไฟสนาม หญ้า รวมไปถึงแหล่งกําเนิดแสงเพื่อประโยชน์ประการต่างๆ ทั้งไฟส่องสว่างเพื่อดําเนินกิจกรรมบริการ สาธารณะและไฟส่องสว่างเพื่อดําเนินกิจกรรมทางธุรกิจกับการพาณิชย์ เช่น ไฟถนน ป้ายโฆษณาขนาด ใหญ่ และไฟประดับในช่วงเทศกาล อย่างไรก็ดี เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดได้ใช้สิทธิติดตั้งใช้งานแสงสว่าง จนก่อให้เกิด แสงที่ส่องรุกลํ้าเข้าไปในบริเวณพื้นที่ส่วนบุคคลของเพื่อนบ้านหรือเมื่อผู้หนึ่งผู้ใดจงใจติดตั้งใช้งานแสง สว่าง ในลักษณะไปกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแก่ฝ่ายเดียวแล้ว ผลที่ตามมาอาจทําให้เพื่อนบ้าน ไม่อาจอยู่ได้อย่างปกติสุขหรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัยของเพื่อนบ้าน เช่นนี้แล้วถือว่าเป็นการใช้


90 สิทธิของตนอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4213 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่าการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้ เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย มาตรานี้ได้วางหลักการเอาไว้อย่าง ชัดเจนว่าบุคคลย่อมมีสิทธิติดตั้งใช้งานแสงสว่างอย่างหนึ่งอย่างใด แต่การติดตั้งใช้งานแสงสว่างนั้นต้องไม่ ไปกระทบสิทธิของบุคคลอื่น ถ้าการติดตั้งใช้งานแสงสว่างไปกระทบสิทธิของบุคคลอื่นแล้ว ย่อมถือได้ว่า เป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าบุคคลใดติดตั้งใช้งานไฟส่องสว่างในลักษณะที่มุ่งก่อให้เกิดความ เสียหายแก่บุคคลอื่น เช่นว่านี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ในประเด็นของการใช้สิทธิเกินส่วนตามมาตรา 421 ผู้วิจัยของตั้งประเด็นข้อสังเกตเอาไว้ 2 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก การใช้สิทธิติดตั้งใช้งานแสงสว่างซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายนั้น อาจเป็นการจงใจ ติดตั้งใช้งานแสงสว่างในลักษณะกลั่นแกล้งให้เพื่อนบ้านหรือผู้อาศัยอยู่บริเวณรอบแหล่งกําเนิดแสงนั้น ได้รับความเสียหายแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเจตนามุ่งจะให้เพื่อนบ้านหรือผู้อาศัยอยู่บริเวณรอบแห่งกําเนิดแสง นั้นเสียหาย เช่น ผู้ใดจงใจแกล้งเพื่อนบ้าน ติดตั้งไฟสนามหญ้าให้มีทิศทางส่องไปยังห้องนอนของเพื่อน บ้าน ถือเป็นการจงใจกลั่นแกล้งเพื่อนบ้านเดือดร้อนรําคาญแต่ฝ่ายเดียว แต่ถ้าการติดตั้งใช้งานไฟสนาม หญ้ากระทําไปโดยไม่ได้จงใจกลั่นแกล้ง แม้ว่าแสงสว่างจากไฟสนามหญ้าดังกล่าวจะเล็ดลอดไปยังบริเวณ ห้องนอนหรือพื้นที่ส่วนตัวของเพื่อนบ้านไปบ้าง เช่นว่านี้ก็หาเป็นการกระทําละเมิดต่อเพื่อนบ้านไม่ ประการที่สอง ผู้หนึ่งผู้ใดได้ติดตั้งใช้งานแสงสว่าง จนก่อให้เกิดแสงที่ส่องรุกลํ้าเข้าไปในบริเวณพื้นที่ ส่วนบุคคลของเพื่อนบ้าน เช่นว่านี้ย่อมถือเป็นการใช้สิทธิเกินส่วน อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความ เสียหายแก่เพื่อนบ้าน ถือเป็นการกระทําละเมิด ผู้ใช้สิทธิอันมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายต้องชดใช้ ค่าเสียหายแก่เพื่อนบ้านที่เผชิญกับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ การใช้สิทธิเกินส่วนนอกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 แล้ว ยังมีประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 อันเป็นมาตราสําคัญที่บัญญัติในเรื่องของการใช้สิทธิเป็นเหตุให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหาย ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์คล้ายคลึงกับมาตรา 421 เอาไว้ว่าบุคคลใดใช้สิทธิ ของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตําแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคํานึงประกอบ ไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน กล่าวอีกนัยหนึ่งหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ใช้สิทธิติดตั้งไฟส่อง สว่างภายนอกอาคารเพื่อให้แสงสว่างในบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของตน แต่กลับกลายเป็นเหตุให้ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่งรายใดได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่า 3

สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก https://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB03/%BB03-20-9999-update.pdf


91 จะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ในเมื่อเอาสภาพและตําแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคํานึงประกอบ เช่น เจ้าของบ้านหลังหนึ่งอาจติดตั้งไฟรักษาความปลอดภัย แล้วไฟรักษาความปลอดภัยดังกล่าวมีทิศทาง ส่องรุกลํ้าเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัว อาคารหรือเคหะสถานของเพื่อนบ้าน จนทําให้เพื่อนบ้านประสบเหตุ รําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ไม่อาจดําเนินกิจกรรมในชีวิตประจําวันตามปกติหรือทําให้เสื่อมสุขภาพ อนามัย เพื่อนบ้านที่เผชิญเหตุรําคาญจากการใช้แสงประดิษฐ์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเดือดร้อน รําคาญนั้นหมดสิ้นไป โดยไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนได้ กล่าวโดยสรุป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337 อาจถูกนํามาปรับ ใช้เพื่อให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนรําคาญจากเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ใช้สิทธิเรียกร้องค่า สินไหมทดแทนจากการถูกกระทําละเมิดจากการใช้สิทธิเกินส่วน อันเนื่องจากการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารในลักษณะจงใจกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ดีหรือการใช้งานแสงสว่างซึ่ง มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ดี อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังไม่มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่ สามารถหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในเรื่องของการใช้สิทธิเกินส่วนเกี่ยวกับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ 4.1.4 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 การวางผังเมืองย่อมเป็นประโยชน์ต่อทําให้การพัฒนาเมืองให้เจริญเติบโตอย่างมีระเบียบแบบแผน และสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะต้องใช้มีการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สัมพันธ์กันการ วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองในอนาคต รวมไปถึงการกําหนดเขตการใช้ ประโยชน์ที่ดินหรือการจําแนกประเภทการแบ่งเขตการจัดการพื้นที่มีการจําแนกหลายลักษณะแตกต่างกัน ออกไป อีกทั้งการวางผังเมืองจําต้องคํานึงถึงการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของคนในเมืองและชุมชนที่จะต้อง ดํารงชีพทั้งในช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืน ให้มีความปลอดภัยในการอยู่อาศัยหรือทํากิจกรรม ต่างๆ แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลากลางคืนก็ตาม ตลอดจนต้องมีการวางผังเมืองที่คํานึงถึงการประกอบธุรกิจและ อุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง โดยเฉพาะในบริเวณย่านใจกลางเมืองอันเป็นแหล่ง ศูนย์การธุรกิจและพาณิชยกรรม อีกทั้งการวางผังเมืองก็ต้องคํานึงถึงที่ตั้งสถานที่ของสาธารณูปโภคเพื่อ รองรับการจัดทําบริการสาธารณะและกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในเวลา กลางคืน ดังนั้น การวางผังเมืองย่อมต้องคํานึงถึงการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในบริเวณ ตําแหน่งต่างๆ หรือในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ในบริเวณเมืองควบคู่ไปด้วย เนื่องจากแสงสว่างภายนอกอาคาร ย่อมทําให้มนุษย์ปลอดภัย (หรือรู้สึกปลอดภัย) ใช้ชีวิตได้ในเวลากลางคืน (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความ ปลอดภัย) และแสงสว่างภายนอกอาคารยังอํานวยประโยชน์ต่อการทํากิจกรรมต่างๆ ในบริเวณย่านหนึ่ง ย่านใดหรือพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดในชุมชนเมือง (เช่น ไฟสนามเด็กเล่น ไฟสวนสาธารณะ) ซึ่งการติดตั้งใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารย่อมมีส่วนสําคัญที่จะทําให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถดําเนินหรือขับเคลื่อน ต่อไปได้ (เช่น ไฟป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ไฟประดับประดาร้านค้า) แม้จะเป็นยามคํ่าคืนก็ตาม


92 อย่างไรก็ตาม การขาดการวางผังเมืองที่ดีจนทําให้เมืองเกิดกระจายตัวอย่างไร้ระเบียบแบบแผน (urban sprawl) ย่อมส่งผลให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่าง ไร้ ระเบียบแบบแผนไปด้วย อั นเป็นผลมาจากการขยายตัวของการพั ฒนาอาคาร สิ ่งปลูก สร้ างและ สาธารณูปโภคที่จะต้องมีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างประเภทต่างๆ ภายนอกอาคารในบริเวณอาคาร สิ่งปลูก สร้างและสาธารณูปโภคดังกล่าวด้วย หากไม่ได้มีการวางแผน การควบคุมและกําหนดแนวทางในการ จําแนกเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารแล้ว ก็อาจเกิดการขยายตัวของพื้นที่ที่ มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างไร้ทิศทางและไร้ขีดจํากัด ที่ส่งผลให้เกิดการลดลงของ พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยความมืดตามธรรมชาติและเกิดการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยความสว่างจากแสง ประดิษฐ์ หากพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยความสว่างจากแสงประดิษฐ์ไม่ได้มีการวางแผนและรณรงค์ให้ติดตั้งใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดสภาวะแสงเรือง ขึ้นไปบนท้องฟ้า อีกทั้งการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างหนาแน่นในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในเมืองแล้ว ก็อาจทําให้เกิดสภาวะที่เกิดการรวมกลุ่มของแสงสว่างในบริเวณพื้นที่ เมือง การส่งเสริมให้มีการวางแผนการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการวางผังเมืองและ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ย่อมสนับสนุนการกําหนดเขตพื้นที่สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคาร ให้มีการพัฒนาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอยของแต่ละพื้นที่ ในเมือง อีกทั้งยังเป็นการกําหนดขอบเขตของการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ ของการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่เมือง โดยเชื่อมโยงกับการอนุญาตให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารในบางพื้นที่ (เช่น พื้นที่เขตอุตสาหกรรม ธุรกิจและการพาณิชย์) เพื่อประโยชน์ทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม ในขณะเดียวกันก็มีการห้ามไม่ให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในบาง พื้นที่ (เช่น พื้นที่ที่รัฐสงวนเอาไว้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับพื้นที่ที่รัฐสงวนเอาไว้ทํา กิจกรรมศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์) เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กฎหมายแม่บทว่าด้วยผังเมืองซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 25184 ที่กําหนดหลักเกณฑ์และสาระสําคัญเกี่ยวกับการวางและจัดทําผังเมือง รวมไปถึงกําหนดมาตรการควบคุม ทั่วไป เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกําหนดแนวทางพัฒนา ควบคู่ไปกับกําหนดแนวทางดํารงรักษาเมือง ปริมณฑล และชนบท ทั้งในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคม การขนส่ง การสาธารณูปโภค การจัดทํา บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการวางผังเมืองที่ตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสําคัญ พระราชบัญญัติดังกล่าวกําหนดหลักเกณฑ์และสําคัญหลายประการเกี่ยวกับการวางผังเมือง เช่น การสํารวจเพื่อวางและจัดทําผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ การวางและจัดทําผังเมืองรวม การใช้บังคับผัง 4

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2560). พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://www.codi.or.th/downloads/laws/law/Law_Construction-3.pdf


93 เมืองรวม การวางและจัดทําผังเมืองเฉพาะ การใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ และการรื้อ ย้าย หรือดัดแปลง อาคาร อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันไม่พบว่ามีการจัดทําผังเมือง ที่ประกอบด้วยแผนผัง นโยบายหรือโครงการ อั น เป็ น การวางแนวทางกํ าหนดขอบเขตของการติ ด ตั ้ง ใช้ ง านแสงสว่ า งภายนอกอาคารเป็ น ไปตาม วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เมือง ชานเมือง ชนบทและพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังไม่ พบอนุบัญญัติอื่นๆ ได้ที่ได้กําหนดพื้นที่อนุญาตให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารหรือห้าม ไม่ให้มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน อีกประการหนึ่ง หน่วยงานของรัฐด้านผังเมือง (เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง) ยังไม่ได้ริเริ่มการ จัดทําข้อมูลข่าวสารด้านมลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการวางผังเมือง (หรือผังการใช้งานแสง สว่างในเวลากลางคืน) ในเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ทราบถึงปัญหาดังกล่าว พร้อม อธิบายความเสี่ยงจากปัญหามลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร อย่ า งไร้ ร ะเบี ย บแบบแผน อี ก ทั ้ ง ไม่ ม ี ก ารโฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ท้ อ งถิ ่ น และ สาธารณชน ให้ทราบถึงแนวทางการลดปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารในชุมชนเมืองอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการที่ชัดเจน คงมีเพียงเอกสารของหน่วยงาน รัฐบางฉบับเท่านั้น ที่กล่าวถึงข้อมูลข่าวสารด้านอื่นๆ ที่กล่าวถึงแนวทางการติดตั้งไฟส่องสว่างควบคู่ไปกับ การวางโครงข่ายเส้นทางคมนาคมทางบกบริเวณ เมือง ชานเมืองและชนบท เช่น มาตรฐานไฟสาธารณะ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ข้อกําหนดและมาตรฐานทั่วไปงานติดตั้งไฟฟ้าแสง สว่างบนทางหลวง กรมทางหลวง และคู่มือแนะนําการออกแบบงานไฟฟ้าแสงสว่างถนน และไฟสัญญาณ จราจร กรมทางหลวงชนบท อย่างไรก็ดี ยังมีเอกสารของหน่วยงานเอกชนบางฉบับ ที่กล่าวถึงแนวทางการ ติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคาร พร้อมกับแนะแนวความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมลภาวะทางแสง เช่น คู่มือ แนวทางการออกแบบการส่องสว่างภายนอกอาคาร สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย เป็นต้น การปราศจากการวางผังการใช้งานแสงสว่างในเมืองที่ดีย่อมเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทําให้มีการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารและมีพื้นที่แสงสว่างภายนอกอาคารกระจายตัวอย่างไร้ระเบียบแบบแผน และมีปริมาณการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างไรขีดจํากัด ซึ่งการวางผังเมืองกําหนดเขตพื้นที่ สําหรับควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างชัดเจน เช่น เขต E1 หรือเขตพื้นที่ปลอดการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ศึกษาดาราศาสตร์ และพื้นที่อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม) และเขต E4 หรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารระดับสูง (เช่น พื้นที่ใจกลาง เมืองขนาดใหญ่และพื้นที่ที่มีการประกอบกิจกรรมตลอดช่วงเวลากลางคืน) อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือควบคุม ให้มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมให้ การติดตั้งใช้งานและวางตําแหน่งแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างเหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ โดยคํานึงถึง การสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืนและการประหยัดพลังงานแสงสว่างไปในคราวเดียวกัน


94 การใช้การวางผังเมืองมาเป็นเครื่องมือลดมลภาวะทางแสง ด้วยการจัดทําผังการใช้งานแสงสว่างใน เมื อ งรวม (Comprehensive Outdoor Lighting Plan) และผั ง การใช้ ง านแสงสว่ า งในเมื อ งเฉพาะ (Special Outdoor Lighting Project Plan) สําหรับกําหนดขอบเขตของพื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารอย่างหนาแน่นและลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสง หาตําแหน่งของพื้นที่ที่มีการใช้งาน แสงสว่างอย่างหนาแน่นและมีสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าปรากฏ ในขณะเดียวกันรัฐหรือท้องถิ่นอาจ นําเอาการวางผังการใช้งานแสงสว่างในเมืองมาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อมในประเทศ พร้อมกับวางตําแหน่งของพื้นที่ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหา มลภาวะทางแสงระดับเมืองได้ในระยะยาว ซึ่งผู้วิจัยจะกล่าวถึงข้อเสนอแนะการนํากฎหมายผังเมืองมา เป็นเครื่องมือในการลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงในบทต่อไป 4.1.5 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 แสงบาดตาจากไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์ เมื่อส่องเข้ามายังนัยน์ตาของมนุษย์โดยตรงหรือแสง สะท้อนแล้วส่องเข้ามายังนัยน์ตา อาจเป็นสาเหตุทําให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน สูญเสียการมองเห็น ชั่วคราวหรือเผชิญสภาวะตาบอดชั่วคราว รวมไปถึงอาจทําให้ลดทอนสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการมองเห็นใน เวลากลางคืน แสงบาดตาจากไฟหน้าและไฟท้ายรถยนต์ย่อมก่อให้เกิดความไม่สบายตาในขณะขับขี่ ยานพาหนะบนท้องถนน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน อีกทั้งยังทําให้มองไม่เห็นวัตถุบน เส้ น ทางสั ญ จรในเวลากลางคื น ไม่ ว ่ า จะเป็ น ผู ้ ส ั ญ จรบนทางเท้ า ผู ้ ส ั ญ จรบนท้ อ งถนน และผู ้ ข ั บ ขี่ ยานพาหนะบนท้องถนนอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบจากแสงบาดตาได้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการดัดแปลงโคมไฟหน้าและโคมไฟท้ายรถยนต์สาธารณะ ได้แก่ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 25225 หากมีการดัดแปลงโคมไฟหน้าและโคมไฟท้ายรถยนต์ ให้มีแสงสว่างจ้าที่มากจนเกินความจําเป็นต่อการใช้งาน รวมไปถึงการติดตั้งใช้งานแสงสว่างในลักษณะอื่น ใดที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้สัญจรบนท้องถนนอื่นๆ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ได้ให้อํานาจกรมขนส่งทางบกในการตรวจสอบการติดตั้งใช้งานแสงสว่างบนรถยนต์ หากพบว่ารถ โดยสารสาธารณะฝ่าฝืนดัดแปลงอุปกรณ์ส่องสว่างในลักษณะดังกล่าว ย่อมถือเป็นความผิดตามตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 71 อันเข้าลักษณะเป็นการใช้รถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบ ไม่ถูกต้องตามที่กําหนด ต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และอาจถูกสั่งระงับการใช้รถ จนกว่าจะดําเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว อีกประการหนึ่ง หากรถยนต์ที่จดทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร สาธารณะก็ดีหรือรถยนต์ส่วนบุคคลก็ตาม หากดําเนินการแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีต่างๆ หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทําให้แสงสว่างจ้ามากที่จนเกินความ 5

กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2559). พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก https://www.dlt.go.th/th/dlt-knowledge/view.php?_did=114


95 จําเป็นต่อความปลอดภัยและการใช้งานบนท้องถนน ย่อมถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 อันเป็นความผิดฐานเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป จนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือ จิตใจของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม หากบุคคลใดดําเนินการแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีต่างๆ หรือดัดแปลง อุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทําให้แสงสว่างจ้ามากที่จนเกินความจําเป็นต่อ ความปลอดภัยและการใช้งานบนท้องถนน แล้วแสงสว่างจ้าดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับความ เสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน จะถือเป็นการกระทําการโดยประมาทเลินเล่อได้หรือไม่ เพราะ แม้ว่าผู้กระทําการแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีต่างๆ หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติม ส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทําให้แสงสว่างจ้ามากที่จนเกินความจําเป็นอาจไม่ได้จงใจให้เกิดความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน แต่การแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีต่างๆ หรือดัดแปลงอุปกรณ์ ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไปก็ถือว่าผู้กระทําการดังกล่าวไม่ได้ใช่ความระมัดระวัง ซึ่งบุคคล ในภาวะเช่นนั้นจัดต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําการดังกล่าวหาได้ใช่เพียงพอไม่ อีกทั้งความ เสียหายที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลโดยตรงจากการแก้ไขดัดแปลงโคมไฟหน้าให้เป็นแสงสีต่างๆ หรือดัดแปลง อุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป กล่ า วโดยสรุป แม้ ป ั จ จุ บั น มี ก ฎหมายแม่ บ ทหลายฉบั บ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ปั ญ หาสิ ่ ง แวดล้ อ มอั น เนื่องมาจากการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารกับผลกระทบจากมลภาวะทางแสง ได้แก่ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีวัตถุประสงค์และสิ่งที่กฎหมายประสงค์จะคุ้มครองในลักษณะที่แตกต่าง กั นออกไป แต่กระนั ้ นก็ ตามยังคงมีความไม่ครอบคลุมของกฎหมายของประเทศไทยต่อปัญ หาและ ผลกระทบจากมลภาวะทางแสง ที่มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารให้อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม จึงจําเป็นต้องนํา มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงอย่างสากล มาปรับใช้เพื่อป้องกันและระมัดระวังภัยล่วงหน้าจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้รวบรวมประเด็นปัญหา ของความไม่ครอบคลุมของกฎหมายของประเทศไทยต่อปัญหาและผลกระทบจากมลภาวะทางแสงดังที่ได้ กล่าวมาแล้วในข้างต้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารและประชาชนทั่วไป ได้เข้าใจประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้อาจนําไปสู่ข้อเสนอแนะ สําหรับการพัฒนามาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศไทยในอนาคต


บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

สําหรับโครงการวิจัยมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสง มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวม ข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์มาตรทางกฎหมายการควบคุมมลภาวะทางแสงที่มีอยู่ในต่างประเทศและ กฎหมายแม่บทของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลภาวะทางแสง อันนําไปสู่การแสวงหา แนวทางที่เหมาะสมต่อการแก้ไขหรือจัดทํากฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของประเทศไทยในอนาคต อีกทั้งการเติบโตของพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารและการขยายตัวของพื้นที่ที่มีความ สว่างในเมือง มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้พื้นที่ที่มีการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง เคหะสถาน ย่านอุตสาหกรรม และย่าน พาณิชยกรรม รวมไปถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐได้จัดให้มีขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะทั้งในเวลา กลางวันและเวลากลางคืน ซึ่งการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมอาจเข้าข่ายในลักษณะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย กระทบต่อความปลอดภัยและ สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ หากไม่ได้จัดให้มีมาตรการทางกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงแล้ว ก็อาจ เป็นการสร้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย ผลการวิจัย ครั้งที่ย่อมเป็นประโยชน์ต่อรัฐ หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจใช้ผลการวิจัยเป็นแนว ทางการแก้ ไ ขกฎหมายเกี ่ ย วกั บ การควบคุ ม มลภาวะทางแสง งานวิ จ ั ย ฉบั บ นี ้ จ ึ ง ได้ ม ี บ ทสรุ ป และ ข้อเสนอแนะดังจะนําเสนอเป็นลําดับต่อไป 5.1 บทสรุป ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายแม่บทที่สามารถนํามาปรับใช้สําหรับควบคุมมลภาวะทางแสงหรือ มาประยุกต์ใช้สําหรับจัดการกับเหตุรําคาญจากแสงประดิษฐ์ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ ่งแวดล้อมแห่ งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบั ญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่กฎหมายแม่บทดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมต่อสภาพการณ์มลภาวะทางแสง ต่างๆ ที่สามารถก่อปัญหาทางสุขภาพและทําลายสมดุลความสว่างกับความมืดตามธรรมชาติ ซึ่งความ


97 สว่างที่มากเกินไปจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารอาจทําให้บริเวณระบบนิเวศที่อยู่โดยรอบเผชิญกับ ความสว่างเกินความเหมาะสมต่อสมดุลระบบนิเวศ แม้ว่ามีการแพร่หลายของการใช้งานเทคโนโลยีแสงสว่างอย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับมีการติดตั้งใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างแพร่หลายจนทําให้มีการกระจุกตัวอย่างหนาแน่นของพื้นที่ที่มีการติดตั้ง ใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในบริเวณชุมชนเมืองและการขยายตัวของพื้นที่ที่มีการติดตั้งใช้งานแสง สว่างภายนอกอาคารไปยังบริเวณปริมณฑลกับพื้นที่ชนบท แต่กฎหมายไทยบางกรณียังไม่ได้กําหนด มาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงในทุกกรณีและยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าทันกับความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้นจากมลภาวะทางแสง หากพิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลภาวะทางแสงใน ประเทศไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 4) ก็จะพบได้ว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการ บางอย่างหรือไม่มีมาตรการที่เหมาะสมมารองรับการใช้งานแสงสว่างที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงได้ ซึ่งความที่จะกล่าวต่อไปนี้จะกล่าวถึงข้อสรุปว่าประเทศไทยควรจะนําเอาบทบัญญัติของต่างประเทศที่ได้ ศึกษามาแล้ว (ในบทที่ 3) มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อนําไปสู่การพัฒนากฎหมายต่อไปในอนาคต เริ่มจากประเด็นการกําหนดนิยามความหมายของคําว่ามลภาวะทางแสง (มลพิษทางแสง) เอาไว้ใน กฎหมายหรือนโยบายของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมในหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ได้ให้ความหมาย ของมลภาวะทางแสงในลั ก ษณะทั ่ ว ไปหรื อ การให้ ค วามหมายของมลภาวะทางแสงตามเอกสารอั น เกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเป็นการเฉพาะ ซึ่งทําให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ ท้องถิ่น รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารได้ ทราบว่ามลภาวะทางแสงคืออะไร แล้วมลภาวะทางแสงมีบริบทอย่างไร การกําหนดนิยามความหมายของ คําว่ามลภาวะทางแสงย่อมทําให้ผู้ปฏิบัติงานด้านผังเมืองและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงประชาชนทั่วไปได้ เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับบริบทของมลภาวะทางแสง ถ้อยคําที่บ่งบอกถึงบริบทภายใต้นิยามของคําว่ามลภาวะ ทางแสง พึงจะต้องสื่อความความชัดเจนให้สาธารณชนได้เข้าใจตรงกัน จนเห็นพ้องต้องกันว่ามลภาวะทาง แสงเป็นปัญหาที่อาจกระทบได้ทั้งปัจเจกบุคคลและสาธารณชน นอกจากนี้ การกําหนดขอบเขตว่าอะไรถือเป็นเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ใน หลายประเทศ (เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น) ที่มีเครื่องมือทางกฎหมายจัดการกับเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์โดยเฉพาะ ย่อมทําให้ปัจเจกบุคคลและสาธารณชนได้ทราบ ถึงเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ พร้อมกับกระทําการป้องกันไม่ให้ตนเองใช้งานแสง สว่างจนไปกระทบต่อบุคคลอื่นหรือสาธารณะชน รวมไปถึงระงับยังยั้งไม่ให้ตนเองไปก่อความเดือดร้อน รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์แก่บุคคลอื่น หากฝ่าฝืนไม่กระทําตามที่กฎหมายบัญญัติ เอาไว้ ก็จะมีโทษตามที่กฎหมายกําหนดเอาไว้ เช่น โทษทางแพ่ง (ค่าเสียหาย) โทษทางอาญา (ค่าปรับ) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเอกสารทางการหรือไม่มีบทบัญญัติกฎหมายมานิยามศัพท์คํา ว่ามลภาวะทางแสงและเหตุรําคาญจากการใช้แสงประดิษฐ์เอาไว้เป็นการเฉพาะ คงมีเพียงการกําหนด


98 นิยามความหมายของคําว่ามลพิษอย่างกว้างเอาไว้ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และกําหนดบริบทของเหตุรําคาญอย่างกว้างเอาไว้ใน มาตรา 25 (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เท่านั้น ประเด็ น ที ่ ส อง การวางหลั ก เกณฑ์ เ อาไว้ เ กี ่ ย วกั บ เหตุ ร ํ า คาญภายใต้ มาตรา 25 (4) แห่ ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กลับไม่ได้มีการกําหนดหลักการเฉพาะและข้อยกเว้นเกี่ยวกับ เหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เฉกเช่นเดียวกับกฎหมายบางประเทศ (เช่น ประเทศอังกฤษและ ประเทศฝรั่งเศส) นั้นหมายความว่ากฎหมายไทยไม่มีหลักการเฉพาะและข้อยกเว้นในกรณีการก่อเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ในบริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อเหตุผลทางด้านบริการ สาธารณะคมนาคมขนส่งหรือเพื่อเหตุผลทางด้านความมั่นคงความปลอดภัย ด้วยเหตุนี้หากมีเหตุรําคาญ อันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ว่าแสงสว่างดังกล่าวจะถูกติดตั้งใช้งานใน สถานที่ใดหรือด้วยเหตุผลประการใดแล้ว ก็ย่อมถือเป็นเหตุรําคาญ หากเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 25 (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น โดยปราศจากข้อยกเว้นอย่างหนึ่ง อย่างใด ซึ่งการปราศจากข้อยกเว้นในกรณีการก่อเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ ด้วย เหตุผลทางด้านบริการสาธารณะคมนาคมขนส่งหรือด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงความปลอดภัยนั้น ย่อมมีข้อเสีย คือ รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่และภารกิจจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับ ความมั่นคงปลอดภัยหรือจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับการคมนาคมชนส่ง อาจประสบปัญหาจากถูกข้อ ร้องเรียนจากปัจเจกบุคคลหรือสาธารณะชนที่ได้รับผลกระทบจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างหรือไฟส่อง สว่างภายนอกอาคาร รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่และภารกิจจัดทําบริการสาธารณะ เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับการคมนาคมชนส่ง อาจต้องเผชิญกับ ความวิตกกังวลเกี ่ยวกับข้ อร้องเรี ยนหรือการฟ้องร้องคดีในกรณีเหตุร ําคาญ จากปัจเจกบุคคลหรือ สาธารณะชนที่ได้รับผลกระทบจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างหรือไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ก่อเหตุ รําคาญได้ตามมาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตบางประการที่แม้ว่าจะได้กําหนดเหตุรําคาญทั่วไปเอาไว้ในมาตรา 25 (4) แต่หาก ปราศจากการกําหนดข้อยกเว้นในกรณีการก่อเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นใน บริเวณอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อเหตุผลทางด้านบริการสาธารณะคมนาคมขนส่งหรือเพื่อเหตุผล ทางด้านความมั่นคงความปลอดภัยเอาไว้แล้ว อาจทําให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่และ ภารกิจจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับการ คมนาคมชนส่งไม่กล้าตัดสินใจในการปฏิบัติการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารเท่าที่ควร จึงอาจต้อง กําหนดข้อยกเว้นเฉพาะในกรณีเหตุรําคาญเอาไว้ในกฎหมาย เมื่อเป็นการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับการ คมนาคมชนส่งเท่านั้น และให้แบ่งแยกสถานที่อันเป็นที่มาของแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคารใดบ้างที่พึง


99 ได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการจัดทําบริการสาธารณะ เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือจัดทําบริการสาธารณะเกี่ยวกับการคมนาคมชนส่ง ประเด็นที่สาม การที่กฎหมายแม่บทเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและผังเมืองของประเทศ ไทยนั้น ไม่ได้บัญญัติถึงมาตรการต่างๆ หรือกําหนดเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ในทางกฎหมาย รองรับในกรณีเกิดการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอาจก่ออันตรายหรือส่งผลกระทบ ด้านลบต่อมนุษย์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน ย่อมอาจก่อให้เกิดหรือได้ก่อให้เกิดปัญหา การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้งานแสงสว่างที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จน แสงสว่างดังกล่าวได้กลายมาเป็นมลภาวะทางแสง หากต้องการให้เกิดการคลี่คลายหรือลดผลกระทบจาก การใช้ง านแสงสว่างภายนอกอาคาร ประเทศไทยก็จ ําเป็นต้องบรรจุมาตรการที่ จําเป็นเพื่อป้ องกัน ผลกระทบจากมลภาวะทางแสงอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการใช้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่กฎหมายไทยไม่ได้บัญญัติถึงมาตรการต่างๆ รองรับและสนับสนุนการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่า กรณีใดก็ตาม ย่อมทําให้ประเทศไทยปราศจากมาตรฐานขั้นตํ่า (minimum standard) สําหรับการใช้งาน แสงสว่างภายนอกอาคารอันเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมาตรฐานขั้นตํ่าเช่นว่านี้ต้องเป็นมาตรฐานที่ สอดคล้องกับระดับมาตรฐานการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอันเป็นที่ยอมรับกันโดยสากล ใน ขณะเดียวกันการนําเอาหลักมาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการมลภาวะทางแสง ที่กําหนดโดยองค์การ มาตรฐานแสงสว่างระหว่างประเทศหรือองค์การมาตรฐานต่อต้านมลภาวะทางแสงระหว่างประเทศ เพื่อ สร้ า งเกณฑ์ม าตรฐานสากลในการกํ าหนดคุ ณ ภาพความมื ด มิ ด ตามธรรมชาติ ใ นเวลากลางคื น และ มาตรฐานการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับเทคนิคทางวิศวกรรมส่องสว่างสําหรับ ลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงหรือประเภทของกิจกรรมที่จะต้องใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน แต่ละพื้นที่ โดยมาตรฐานเช่นว่านี้จะครอบคลุมถึงเกณฑ์ขั้นตํ่าสําหรับการใช้งานแสงสว่างที่เหมาะสมหรือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้ข้อผูกพันทางกฎหมาย (compliance obligation) ซึ่งในหลายประเทศได้ พยายามนําเอาเกณฑ์มาตรฐานสากลดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในกฎหมายระดับชาติ กฎหมายระดับภูมิภาค และกฎหมายท้องถิ่นของตน ตัวอย่างเช่น (ก) กฎหมายระดับชาติ เช่น กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค.ศ. 2007 (OG RS, No 81/2007) ของประเทศ สโลวีเนีย (ข) กฎหมายระดับภูมิภาค เช่น กฎหมาย Catalonian Law 6/2001 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment ของแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน (ค) กฎหมายท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ Light Pollution Prevention Ordinance in the Town of Bisei 1989 ของเทศบาลไบเซอิ ตําบลโอดะ เมืองโอกายามา ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น อีกประการหนึ่ง การขาดการศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการภายใต้กฎหมาย ระเบียบและ ข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอย่างเป็นระบบในประเทศไทย โดยไม่มีการรวบรวม สารบัญญัติว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ไฟส่องสว่างภายนอกอาคารที่ไม่มี


100 ประสิทธิภาพ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืนที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ปัจจัยประการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินกิจกรรมภายนอกอาคารที่ต้องใช้งานแสงสว่าง รวมถึง กฎหมายท้องถิ่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ย่อมทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้าน สิ่งแวดล้อมและผังเมือง ปราศจากทิศทางการวางแผนหรือไร้หลักเกณฑ์การวางแผนต่อต้านมลภาวะทาง แสง ตัวอย่างเช่น หากปราศจากนโยบายและกฎหมายของรัฐมารองรับการจัดการปัญหามลภาวะทางแสง แล้ว ผู้ตัดสินใจนโยบายหรือผู้จัดทํากฎหมาย ก็ไม่อาจปฏิบัติการวางแผนและสร้างกลไกปฏิบัติการควบคุม มลภาวะทางแสงได้อย่างเป็นระบบในทางปฏิบัติ คงมีเพียงจัดทําโครงการเชิงรณรงค์ในลักษณะที่มลภาวะ ทางแสงเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือจัดทําโครงการศึกษาวิจัยมลภาวะทางแสงกับผลกระทบ ในทางหนึ่งทางใดเท่านั้น ประเด็นที่สี่ หลายประเทศได้มีการนําเอาเทคนิคด้านวิศวกรรมส่องสว่างมาจัดทําเป็นมาตรการทาง กฎหมายสําหรับควบคุมทิศทางการส่องของแสงสว่างกับคุณภาพแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสง เช่น (ก) มาตรการบังคับให้มีการติดตั้งใช้งานโล่ไฟครอบหลอดไฟฟ้า สําหรับควบคุมทิศทางการส่องของแสง จากหลอดไฟฟ้าหรือบังคับให้ออกแบบแสงสว่างที่ออกจากโคมไฟให้พุ่งตํ่าลงไม่เกินไปกว่าแนวจํากัดแสง หรือแสงสว่างที่ออกจากโคมไฟแสงพุ่งตํ่าต้องแสดงแนวจํากัดแสงเหนือกว่าแนวระนาบภายใต้กฤษฎีกา Decree on Limit Values due to Light Pollution of Environment ค . ศ . 2007 (OG RS, No 81/2007) ของประเทศสโลวีเนีย (ข) มาตรการควบคุมคุณภาพของแสงสว่างมาบรรจุเอาไว้ในกฎหมาย ของตน สําหรับควบคุมคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่ถูกนํามาติดตั้งใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูง ผ่ า นการอนุ ญ าตให้ ม ี ก ารติ ด ตั ้ ง ใช้ ง านแสงที ่ ต ามองเห็ น ในลั ก ษณะคลื ่ น ความถี ่ ต ํ ่ า กว่ า 440 nm (nanometer) ภายใต้กฤษฎีกา Catalonian Law 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment ของแคว้นคาตาลัน ประเทศสเปน เป็น ต้น ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยกลับปราศจากมาตรการในลักษณะดังกล่าวมานี้ กฎหมายของ ประเทศไทยให้ สิทธิและเสรีภาพแก่รัฐ หน่วยงานของรัฐ ท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและ ประชาชนในการออกแบบติดตั้งแสงสว่างภายนอกอาคารตามความต้องการหรือความประสงค์ของตน ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยยังไม่มีการกําหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในลักษณะเช่นว่านี้สําหรับ ควบคุมทิศทางการส่องของแสงสว่างกับคุณภาพแสงสว่างจากแหล่งกําเนิดแสงสว่าง ประเด็นที่ห้า หลายประเทศได้จัดให้มีมาตรการจํากัดระยะเวลาเวลาการใช้แสงสว่างภายนอก อาคาร (ในบางตําราเรียกว่า curfew hours) เอาไว้ในกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงของตน เพื่อให้มี การดําเนินการเปิดใช้งานแสงสว่างในยามคํ่าคืนเพื่อเหตุผลในด้านความปลอดภัย ความมั่นคงและการ ดําเนินกิจกรรมบริการสาธารณะในเวลากลางคืน โดยรัฐหรือท้องถิ่นกําหนดระยะเวลาการปิดใช้งานไฟ ส่องสว่างสาธารณะที่ติดตั้งบนเส้นทางคมนาคมหรือไฟส่องสว่างที่ติดตั้งบนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เช่น


101 ระหว่างระยะเวลาเที่ยงคืนจนถึงตีห้า แต่ทว่าประเทศไทยยังไม่มีการนําเอามาตรการจํากัดระยะเวลาเวลา การใช้แสงสว่างภายนอกอาคารเช่นว่านี้ มากําหนดไว้ในกฎหมายระดับชาติหรือกฎหมายท้องถิ่นแต่อย่าง ใด ประเด็นที่หก ในปัจจุบันกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในหลายประเทศยังได้ผนวกหลักเกณฑ์ ทางกฎหมายผังเมืองเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน ที่ต้อง สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งสอดรับกับการอนุรักษ์ ความมืดมิดตามธรรมชาติกับการสร้างสมดุลระยะเวลาความสว่างตามธรรมชาติในเวลากลางวันกับ ระยะเวลาความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืนไป ซึ่งการกําหนดหลักเกณฑ์เช่นว่านี้ย่อมทําให้รัฐ หน่วยงานของรัฐ และท้องถิ่นสามารถการจําแนกพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคาร โดยพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควบคู่ไปกับการจําแนกความหนาแน่นของปริมาณ การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารหรือจํานวนของไฟส่องสว่างภายนอกอาคารตามเป้าหมายของ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในหลายประเทศได้กําหนดการใช้ประโยชน์จาก แสงสว่างภายนอกอาคารให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผ่านการแบ่งเขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตัวอย่างเช่น กฎหมาย Catalonian Law 6 / 2 0 0 1 on Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment และกฤษฎีกา Catalonian Decree 82/2005 on the Environmental Regulation of Lighting for the Protection of the Nocturnal Environment (Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6 / 2 0 0 1 , de 3 1 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno) ของแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน การ แบ่งเขตพื้นที่การใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารอาจนําไปสู่การจําแนกที่ดินที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารน้อย (เช่น พื้นที่ชนบทหรือชานเมืองห่างไกล) ที่ดินที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารปานกลาง (เช่น พื้นที่ใจกลางเมืองขนาดเล็ก พื้นที่ปริมณฑลและย่านที่อยู่อาศัยชุมชนเมือง) และ ที่ดินที่มีการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารมาก (เช่น พื้นที่ย่านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม บริเวณใจกลางมหานคร) รวมไปถึงที่ดินที่ปลอดจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (เช่น พื้นที่ ที่รัฐสงวนเอาไว้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมดาราศาสตร์) แต่ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติหลักเกณฑ์ทางกฎหมายผังเมืองเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแสงสว่าง ภายนอกอาคารในเวลากลางคืนตามลักษณะของวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทต่างๆ ประเด็นที่เจ็ด เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงในหลายประเทศ ได้มุ่งเน้นให้ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหามลภาวะทางแสงโดยตรง ผ่านการที่รัฐให้อํานาจท้องถิ่นใน การออกอนุบัญญัติมาควบคุมมลภาวะทางแสงภายในท้องถิ่น เมื่อมีการจัดทําอนุบัญญัติท้องถิ่นเช่นว่านี้ แล้ว ย่อมทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนสามารถปฏิบัติตนได้ตามกรอบที่อนุบัญญัติท้องถิ่นได้ กําหนดเอาไว้กับสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศในเวลากลางคืนให้ปลอด


102 จากมลภาวะทางแสง ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมใน เวลากลางคืนในพื้นที่ที่รัฐสงวนเอาไว้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ที่รัฐสงวน เอาไว้ประกอบกิจกรรมดาราศาสตร์ในท้องถิ่นของตน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องปลอดจากมลภาวะทางแสงที่ อาจทําลายบรรยากาศความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนหรือส่งผลร้ายต่อสมดุลทางธรรมชาติในเวลา กลางคืนของพื้นที่ดังกล่าวได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป (เช่น องค์การ บริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาลเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตําบล) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (เช่น กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ใช้อํานาจออกอนุ บัญญัติว่าด้วยการควบคุมมลภาวะทางแสงขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อควบคุมปัญหามลภาวะทางแสงที่ เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตน เว้นแต่กรณีปัญหาเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ในประเทศไทยที่มี พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 27 และมาตรา 28 วางหลักเกณฑ์ให้อํานาจเจ้า พนักงานท้องถิ่นสามารถระงับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ภายในเวลาอันสมควรหรือจัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นอีก จึง อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535) ให้อํานาจท้องถิ่นจัดการกับเหตุรําคาญจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ได้ภายใต้หลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ กฎหมายกําหนด แต่ประเทศไทยไม่มี อนุบัญญัติท้องถิ่นหรือไม่มีท้องถิ่นใดตราอนุบัญญัติควบคุมมลภาวะ ทางแสงเป็นการเฉพาะ เช่นว่านี้แล้วท้องถิ่นย่อมสามารถจัดการกับปัญหามลภาวะทางแสงได้บางประเภท เช่น เหตุรําคาญจากแสงสว่างจ้าหรือแสงส่องรุกลํ้าเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคล อาคารหรือเคหะสถานของ บุคคลอื่น แต่กลับไม่มีอํานาจจัดการกับสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าในท้องถิ่นของตน ประเด็นที่แปด กฎหมายควบคุมมลภาวะทางแสงหลายประเทศ (เช่น ประเทศอิตาลี) ได้ห้ามไม่ให้มี การติดตั้งใช้ไฟค้นหาที่มีความสว่างสูง (ที่หมุนได้) และไฟที่มีมีลําแสงที่ส่องไปได้ไกล (ที่หมุนได้) เพื่อ วัตถุประสงค์ในการโฆษณาหรือเพื่อติดตั้งใช้งานบริเวณป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (เช่น ไฟสปอตไลท์ แสง เลเซอร์ และไฟดิสโก้เธค เป็นต้น) เพราะไฟส่องสว่างในลักษณะเช่นว่านี้สามารถก่อสภาวะแสงเรืองขึ้นไป บนท้องฟ้าได้ ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยไม่มีมาตรการหรือแนวคิดห้ามไม่ให้มีการติดตั้งใช้งาน แหล่งกําเนิดแสงในลักษณะเช่นว่านี้ 5.2 ข้อเสนอแนะ ผู้ วิ จั ยมีประเด็นเกี ่ ยวกับข้ อเสนอแนะเพิ่ มเติม เพื่อประโยชน์ ในการแสวงหาหลั กเกณฑ์แ ละ มาตรการที่เหมาะสมมาปรับใช้กับการควบคุมมลภาวะทางแสงในประเทศไทยดังต่อไปนี้ 1. ปัจจุบันประเทศไทยนั้น มีการติดตั้งใช้งานแสงประดิษฐ์บริเวณพื้นที่ที่มีอาคาร สิ่งปลูกสร้างหรือ เส้นทางสัญจรตามลักษณะของการพัฒนาเมืองและการขยายตัวของเมือง แต่แสงประดิษฐ์ภายนอกอาคาร ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคาร (เช่น ไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย ไฟสนามกีฬา และป้ายไฟโฆษณา เป็นต้น) ก็อาจกลายมาเป็นมลภาวะประเภทหนึ่ง ที่สามารถก่อให้เกิดหรืออาจ


103 ก่อ ให้ เกิดผลกระทบต่ อคุ ณภาพสิ ่ ง แวดล้ อมหรือภาวะที ่เป็นพิ ษ ภัยอันตรายต่อสุข ภาพอนามัย ของ ประชาชนได้ รวมไปถึงเหตุรําคาญจากแสงประดิษฐ์ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดแสงประดิษฐ์ ด้วย จากการศึกษาวิจัยพบว่าหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐอิตาลี สาธารณรัฐสโลวีเนีย เครือรัฐออสเตรเลีย ราชอาณาจักรสเปน และประเทศญี่ปุ่น ได้บัญญัติกฎหมาย ควบคุมมลภาวะทางแสงในระดับประเทศ ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยกฎหมายต่างประเทศเหล่านี้ได้บรรจุ มาตรการสํ า คั ญ เอาไว้ ใ นกฎหมายควบคุ ม มลภาวะทางแสง ตั ว อย่ า งเช่ น (ก) เกณฑ์ ค ุ ณ ภาพของ แหล่งกําเนิดแสงภายนอกอาคาร (หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟ) (ข) เกณฑ์การติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอก อาคารที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค) เกณฑ์กําหนดเวลาใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารใน เวลากลางคืน (ง) เกณฑ์ผังเมืองว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน ให้ สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และ (จ) เกณฑ์เหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์กับข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ด้านบริการสาธารณะ ความ ปลอดภัยและความมั่นคง แต่ประเทศไทยยังมีมาตรการที่เหมาะสมมารองรับการใช้งานแสงสว่างที่อาจ ก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงได้ เพราะแม้ว่าประเทศไทยมีกฎหมายแม่บทที่กําหนดมาตรการในการควบคุม มลภาวะ (เช่น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางเสียง และมลภาวะอื่นๆ รวมไปถึงเหตุรําคาญอื่น ๆ ที่เกิด หรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกําเนิดมลพิษ) แต่นั้นก็หาใช่มาตรการที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะที่กําหนดขึ้นเพื่อ สร้ า งหลั ก เกณฑ์ แ ละกํ า หนดวิ ธ ี ก ารควบคุ ม มลภาวะทางแสง ด้ ว ยเหตุ น ี ้ ประเทศไทยจึง สมควรนํ า หลักเกณฑ์ กลไกและมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงที่จําเป็น มาบัญญัติเป็นกฎหมายระดับชาติ 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอาจใช้อํานาจตามมาตรา 55 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดมาตรฐานควบคุม มลภาวะทางแสง (มลพิษทางแสง) จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะ ความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐาน ผู้ว่า ราชการจัดหวัดอาจใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 58 กําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิดสูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจาก แหล่งกําเนิดที่กําหนดตาม มาตรา 55 ด้วยประการนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอํานาจประกาศกําหนด มาตรฐานสําหรับควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม หากว่ามีกําหนดมาตรฐาน ควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืด มิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลากลางคืนให้ได้มาตรฐานเอาไว้แล้ว แต่ ในกรณีที่ไม่เคยมีการกําหนดมาตรฐานควบคุมมลภาวะทางแสง จากแหล่งกําเนิดแสงสว่างภายนอกอาคาร สําหรับรักษาคุณภาพสภาวะความมืดมิดตามธรรมชาติในยามคํ่าคืนและระดับการใช้งานแสงสว่างในเวลา กลางคืนให้ได้มาตรฐานมาก่อน ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมไม่มีอํานาจตาม มาตรา 58 3. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 58 ให้อํานาจ ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิดสูงกว่ามาตรฐานควบคุมมลพิษจาก


104 แหล่งกําเนิดที่กําหนดตาม มาตรา 55 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้อํานาจตามมาตราดังกล่าว ในการ ออกประกาศกําหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสําหรับการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารกับมาตรฐานผังเมือง ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากแสงสว่างภายนอกอาคารในเวลากลางคืน ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน ที่ดินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมในการจํากัด ผลกระทบและขอบเขตปัญหามลภาวะทางแสงที่จังหวัดเผชิญอยู่ ซึ่งจะต้องมีการคํานึงว่ามลภาวะทางแสง ก็อาจสร้างผลร้ายต่อสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยหรือระบบนิเวศต่อจังหวัดได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า มลภาวะประเภทอื่นๆ 4. รัฐบาล หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานด้านผังเมืองของประเทศไทย ควรร่วมกันจัดทํา กฎหมายแม่แบบหรือ Model Law ว่าด้วยการใช้งานแสงสว่างสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมา นํามาเป็นต้นแบบของอนุบัญญัติท้องถิ่นของประเทศไทย เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย (เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตําบล เทศบาลเทศบาล นคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตําบล) อาศัยเป็นแนวทางนําไปพัฒนาให้เป็นอนุบัญญัติว่าด้วยการควบคุม มลภาวะทางแสงในท้องถิ่นของตน หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทยนําหลักการภายใต้ กฎหมายต้นแบบไปบัญญัติเป็นอนุบัญญัติในแนวทางที่คล้ายคลึงกันหรือเป็นไปในแนวทางเดียวกันแล้ว ก็ จะสร้างมาตรฐานการควบคุมแสงสว่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งให้เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ที่มุ่งควบคุมมลภาวะทางแสงจากการติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร ที่เหมาะสมหรือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 5. หากท้องถิ่นใดมีแนวโน้มที่จะเผชิญหรือกําลังเผชิญกับปัญหาอันเนื่องมาจากการติดตั้งใช้งานแสง สว่างจนเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะทางแสง ท้องถิ่นดังกล่าวอาจตราอนุบัญญัติท้องถิ่นที่ครอบคลุมการ ป้องกันมลภาวะทางแสงและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเวลากลางคืน รวมไปถึงการควบคุมการติดตั้งใช้ งานไฟส่องสว่างในลักษณะไม่ก่อให้เกิดเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ นอกจากนี้ยัง อาจจัดทําอนุบัญญัติให้สอดคล้องกับปัญหาเฉพาะที่สามารถใช้ควบคุม และป้องกันภาวะมลภาวะทางแสง ที่ท้องถิ่นกําลังเผชิญเป็นพิเศษก็ได้ 6. ประเทศไทยควรมีการคิดค้นกลไก เครื่องมือและมาตรการใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในความสว่างที่มากพอและเป็นระยะเวลานาน พอที่จะทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัยของมนุษย์ สัตว์ พืชและระบบนิเวศในเวลา กลางคืน โดยกลไก เครื่องมือและมาตรการดังกล่าวต้องตอบสนองต่อการแก้ปัญหามลภาวะทางแสงที่ สามารถกระทบต่อสาธารณะชน พร้อมควบคุมแหล่งกําเนิดมลภาวะทางแสงไม่ให้ขยายผลกระทบไปได้ทั่ว ทั้งชั้นบรรยากาศและระบบนิเวศใกล้เคียง เช่น การจัดทําการประเมินความเสี่ยงจากสภาวะแสงเรืองขึ้น ไฟบนท้องฟ้า (Preliminary Sky Glow Assessment) การจัดทําแผนที่ระบุตําแหน่งบริเวณที่มีการใช้งาน แสงสว่างอย่างหนาแน่นจนมีสภาวะแสงเรืองขึ้นไฟบนท้องฟ้า (Sky Glow Map หรือ Urban Brightness


105 Map) และการจัดทําแผนแม่บทควบคุมสภาวะแสงเรืองขึ้นไปบนท้องฟ้า (Sky Glow Control Plans) เป็นต้น 7. ประเทศไทยควรศึกษาตัวอย่างของกฎหมายจัดการเหตุรําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสง ประดิษฐ์ในประเทศอื่นๆ (เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส) แล้วนํามาพัฒนาหลักเกณฑ์เฉพาะว่า ด้วยมาตรฐานในการพิจารณาว่าการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารในลักษณะใดจึงถือเป็นเหตุรําคาญอัน เนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ พร้อมกับพัฒนาข้อยกเว้นที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานแสงสว่าง ภายนอกอาคารสํ าหรับการจั ดทําบริการสาธารณะของภาครัฐ ความปลอดภัยและความมั ่นคงของ สาธารณชน ตัวอย่างเช่น การกําหนดข้อยกเว้นของการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เข้าลักษณะเหตุ รําคาญอันเนื่องมาจากการใช้งานแสงประดิษฐ์จากแหล่งกําเนิดแสง เช่น ท่าอากาศยาน สถานีเดินรถ ประจําทางและสาธารณูปโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จุดจอด/ขนถ่าย/พักของรถบรรทุกสินค้า ประภาคาร ชายฝั่งทะเล สถานีรถไฟ สถานีรถราง ทัณฑสถาน (เรือนจํา) สถานีรถบริการสาธารณะอื่นๆ และอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างของกองทัพ เป็นต้น 8. ประเทศไทยควรสร้างความตระหนักให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบถึงปัญหาและผลกระทบของ มลภาวะทางแสงที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ อนามัย ความปลอดภัยของมนุษย์ สัตว์ พืชและระบบนิเวศใน เวลากลางคืน รวมไปถึงการศึกษาดาราศาสตร์ เมื่อสาธารณชนได้รับทราบว่ามลภาวะทางแสงคืออะไรแล้ว ก็ย่อมจะเกิดการรับรู้ การรับสัมผัสและความคิดรวบยอด ที่จะสร้างความตระหนักให้ประชาชนทั่วไปได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาติดตั้งใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคารที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ควรสร้างความตระหนักให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงาน เช่น รณรงค์ให้ปิดโคมไฟภายนอกอาคารที่ไม่จําเป็นต่อการใช้งานและรณรงค์ให้ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเลิก ใช้งาน เป็นต้น


บรรณานุกรม

Alberta Dark Sky Association. (2007). Light Pollution – Energy Production and Air Pollution – 1/2. Retrieved July 1, 2016, from http://www.rasc.ca/sites/default/files/LightPollutionEffectsonEnergyConsumption.pdf Alberta Dark Sky Association. (2017). Light Pollution – The Problem of Light Trespass. Alberta: Alberta Dark Sky Association, pp. 1-2. Ares, E. & Adcock, A. (2018). Briefing Paper Nuisance complaints Number CBP 8040. London: House of Commons Library, p. 14. Association of Lighting Designers. (2018). The Proposed 2020 EU Lighting Regulations – A Primer. Southsea: Association of Lighting Designers, pp. 1-8. Astronomical Society of South Australia. (2018). Light Pollution. Retrieved April 7, 2018, from https://www.assa.org.au/lightpollution Axis Communications. (2012). Night lessons - Lighting for network cameras A summary report from Axis and Raytec regional test nights Winter 2011–2012 - England, Scotland, Denmark. Lund: Axis Communications, pp. 1-12. Bath & North East Somerset Council. (2015). How to prevent Artificial light Nuisance, Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/mycommunity/environment/pollution-control/statutory-nuisance-lighting/ Batinsey, J. (2006). Outdoor Lighting Ordinance Guide. Eatontown, NJ: Eatontown Environmental Commission, pp. 1-17. Bisei Astronomical Observatory. (2003). A brief introduction to BAO. Retrieved May 11, 2018, from http://www.bao.go.jp/eng/


107 Bortle, J. E. (2006). Gauging Light Pollution: The Bortle Dark-Sky Scale. Retrieved April 1, 2018, from https://www.skyandtelescope.com/astronomy-resources/light-pollutionand-astronomy-the-bortle-dark-sky-scale/ Bratspies, B. (2015). 'Do We Need a Human Right to a Healthy Environment?’, Santa Clara Journal of International Law, 1 (13), pp. 31-69. British Astronomical Association Campaign for Dark Skies. (2009). Blinded by the Light?. London: British Astronomical Association, pp. 33-35. Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide.. Retrieved July 1, 2016, from file:///C:/Users/Veriton/Downloads/lightpollution-as-a-statutory-nuisance-a-how-to-guide.pdf Campaign to Protect Rural England. (2014). Light pollution as a Statutory Nuisance: A 'how to' guide. Retrieved April 8, 2018, file:///C:/Users/Veriton/Downloads/light-pollutionas-a-statutory-nuisance-a-how-to-guide.pdf Campaign to Protect Rural England. (2014). Shedding Light; A survey of local authority approaches to lighting in England. London: Campaign to Protect Rural England, p. 4. Campaign to Protect Rural England. (2016). Night Blight: Mapping England’s light pollution and dark skies. London: Campaign to Protect Rural England, pp. 4-5. Chalkias, C., Petrakis, M. & Lianou, M. (2006). 'Modelling of light pollution in suburban areas using remotely sensed imagery and GIS', Journal of Environmental Management, 79, pp. 57–63. Cinzano, P. (1998). The Propagation of Light Pollution in Diffusely Urbanised Areas. Retrieved May 7, 2018, from https://arxiv.org/pdf/astro-ph/9811293.pdf Cinzano, P. (2000). Laws against light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://www.inquinamentoluminoso.it/cinzano/en/page95en.html Cinzano, P. (2002). Light pollution and the situation of the night sky in Europe, in Italy and in Veneto. Retrieved May 7, 2018, from http://www.lightpollution.it/download/cinzano_nightskyeurope.pdf


108 City of San Antonio. (2009). Dark Sky Policy Evaluation. Retrieved April 8, 2018, https://www.sanantonio.gov/sustainability/DarkSkyPolicyEvaluation Civil Aviation Authority of New Zealand. (2016). Advisory Circular AC139-6. Wellington: Civil Aviation Authority, pp. 88-132. Clarence Valley Council. (2016). Light pollution fact sheet. Retrieved May 9, 2018, from https://www.clarence.nsw.gov.au/cp_themes/metro/page.asp?p=DOC-EFA-75-67-72 Committee LG/10. (1997). Control of the obtrusive effects of outdoor lighting. Homebush: Standards Australia, p. 2. Committee LG/2. (1999). Road lighting Part 3.1: Pedestrian area (Category P) lighting— Performance and installation design requirements. Homebush: Standards Australia, p. 2. Cooke, K. (2005). Light Pollution, A Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residents of Strathfield. Retrieved March 31, 2018, from http://www.cooke.id.au/Vision_2020_Submission_small.pdf Cooke,K. (2005). Light Pollution, a Growing Environmental, Safety and Health Hazard for Residentsof Strathfield. Strathfield: Strathfield Council, pp. 1-16. Dark Sky Society. (2009). Guidelines for Good Exterior Lighting Plans. Long Island, NY: Dark Sky Society. pp. 1-6. Davies, T. W. , Duffy, J. P., Bennie, J. & Gaston, K. J. (2014). 'The nature, extent, and ecological implications of marine light pollution', Frontiers in Ecology and the Environment, 12 (6), pp. 347–355. Davis, S. (2008). Light Pollution. Retrieved April 5, 2018, https://yosemite.epa.gov/sab/sabproduct.nsf/CD5C8191E82D937D8525741F006252FD /$File/Attachment+to+Comments+from+Stephen+Davis+EPEC+4-9-08.pdf Department for Communities and Local Government. (2006). Lighting in the Countryside: Towards Good Practice - Main document. London: Department for Communities and Local Government, p. 17.


109 Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-5. Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2006). Statutory Nuisance from Insects and Artificial Light. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 4-7. Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2011). Artificial light statutory nuisance – continued utility of the current exemptions for certain premises Section 79(5B) Environmental Protection Act 1990. London: Department for Environment, Food and Rural Affairs, pp. 3-5. Department of Physics of The University of Hong Kong. (2018). What is light pollution?. Retrieved April 1, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php Dunkley, J. (1997). ‘Contaminated land, statutory nuisances and dual liability', Mountbatten Journal of Legal Studies, 1 (1), pp. 79-85. Dunnett, O. (2015). ‘Contested landscapes: the moral geographies of light pollution in Britain’, Cultural Geographies, 22(4), 619-636. Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p 3. Environmental Protection UK. (2007). Light Pollution. Brighton: Environmental Protection UK, p. 4. E-street. (2018). Intelligent Road and Street lighting in Europe. Retrieved March 31, 2018, from https://ec.europa.eu/energy/intelligent/projects/sites/ieeprojects/files/projects/documents/e-street_e_street_publishable_report_en.pdf European Commission. (2009). FAQ: phasing out conventional incandescent bulbs. Retrieved April 7, 2018, http://europa.eu/rapid/press-release_MEMO-09-368_en.htm Everett, T. (2018). Statutory Nuisance – Question and Answer List. London: Chartered Institute of Environmental Health, pp. 1-10. Falchi, F. (2011). The control of light pollution in Italy. Retrieved May 7, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/falchi_2011.pdf


110 Florida Atlantic University Department of Physics. (2018). Light Pollution Endangers Our Security and Our Safety. Retrieved April 5, 2018, http://cescos.fau.edu/observatory/lightpol-security.html Gaston, K. J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912-927. Gaston, K. J., Bennie, J. Davies, T. W. & Hopkins, J. (2013). 'The ecological impacts of nighttime light pollution: a mechanistic appraisal', Biological Reviews, 88, pp. 912–927. Goldman, A. (2012). 'Light Pollution in Central and Southern Arizona: A Runaway Problem with an Achievable Solution', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 3, pp. 1029-1033. GUAIX. (2015). Light Pollution in Spain. Retrieved May 11, 2018, from https://guaix.fis.ucm.es/lightpollutioninspain Hale, D. J., et al. (2013). ‘Mapping Lightscapes: Spatial Patterning of Artificial Lighting in an Urban Landscape’, PLoS One, 8(5), pp. 361–375. Hampshire Astronomical Group. (2017). Lighting Myths: Light Pollution only affects astronomers. Retrieved April 7, 2018, https://hantsastro.org.uk/projects/lightpollution/09myths.php Hölker, F., et al. (2010). ‘The Dark Side of Light A Transdisciplinary Research Agenda for Light Pollution Policy’, Ecology and Society, 15, pp. 1-11. Howarth, N. A. A. & Rosenow, J. (2014). ‘Banning the bulb: institutional evolution and the phased ban of incandescent lighting in Germany’, Energy Policy, 67, pp. 737-746. Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3. Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA-IES Model Lighting Ordiancnce (MLO) with User's Guide. New York, NY: Illuminating Engineering Society (IES), pp. 2-3. Illuminating Engineering Society & International Dark-Sky Association. (2011). Joint IDA – IES Model Lighting Ordinance Lite (Draft). Retrieved April 7, 2018,


111 https://static1.squarespace.com/static/57af6be3d1758effdeaacefb/t/59036f5a46c3c4f 6a774b0d2/1493397338610/MLO_Lite_v3.pdf Illuminating Engineering Society of North America & International Dark-Sky Association. (2011). Model Light Ordinance. New York, NY: Illuminating Engineering Society of North America, p. 13. Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4. Institution of Lighting Engineers. (2005). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light. Rugby: Institution of Lighting Engineers, pp. 1-4. Institution of Lighting Professionals. (2011). Guidance Notes for the Reduction of Obtrusive Light GN01:2011. Rugby: Institution of Lighting Professionals, 1-10. International Astronomical UnionOffice for Astronomy Outreach & National Astronomical Observatory of Japan. (2018). Light Pollution. Paris: International Astronomical Union, p. 2. International Dark-Sky Association. (2015). Lighting, Crime and Safety. Retrieved April 5, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/lighting-crime-and-safety/ International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Can Harm Wildlife. Tucson, AZ: International Dark-Sky Association, pp. 1-2. International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution Solution Postcard. Retrieved April 7, 2018, https://www.darksky.org/our-work/grassroots-advocacy/resources/publicoutreach-materials/ International Dark-Sky Association. (2018). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from https://www.darksky.org/light-pollution/ International Dark-Sky Association. (2018). Model Lighting Laws & Policy. Retrieved April 7, 2018, from https://www.darksky.org/our-work/lighting/public-policy/model-lightinglaws-policy/ Junta de Andalucía. (2010). Decreto 357/2010, de 3 de agosto, por el que se aprueba el Reglamento para la Protección de la Calidad del Cielo Nocturno frente a la contaminación lumínica y el establecimiento de medidas de ahorro y eficiencia


112 energética. Retrieved May 11, 2018, from https://www.juntadeandalucia.es/boja/2010/159/2 Kamrowski, R. L., Limpus, C., Moloney, J. & Hamann, M. (2012). 'Coastal light pollution and marine turtles: assessing the magnitude of the problem', Endangered Species Research, 19 (1), pp. 85–98. Kyba, C.C.M., Hänel, A. & Hölker, F. (2014) Redefining efficiency for outdoor lighting. Energy & Environmental Science, 7, 1806–1809. Kyba, C.C.M., Hanel, A. & Holker, F. (2014). 'Redefining efficiency for outdoor lighting', Energy & Environmental Science, http://userpage.fuberlin.de/~kyba/publications/2014_Kyba_Redefining_Efficiency.pdf accessed 1 July 2016. Lamoureux, B., Li, M., Smith, J. & Watson, G. (2018). Identifying the economic, environmental, and social impacts of overnight, indoor lighting on Dalhousie University’s Studley campus. Halifax: Dalhousie University, pp. 14-16. Lechner, S. C. M. & Arns, M. C. E. (2017). Light Pollution. Groningen: Hanze University of Applied Sciences, pp. 1-5. Legifrance. (2013). Arrêté du 25 janvier 2013 relatif à l'éclairage nocturne des bâtiments non résidentiels afin de limiter les nuisances lumineuses et les consommations d'énergie. Retrieved May 5, 2018, from https://www.legifrance.gouv.fr/affichTexte.do?cidTexte=JORFTEXT000027003910 Lichfield District Council. (2018). Environmental Health Technical Planning Guidance: External Artificial Lighting. Lichfield District Council: Lichfield District Council, pp. 1-12. London Borough of Richmond upon Thames. (2018). River & Light Pollution. London: London Borough of Richmond upon Thames, pp. 1-2. Longcore, T. & Rich, C. (2004). 'Ecological light pollution', 2 (4), Frontires in Ecology and the Environment, pp. 191-198. Luginbuhl, C., Lockwood, G. W. Davis, D. R., Pick, K. & Selders, J. (2016). 'From The Ground Up I: Light Pollution Sources in Flagstaff, Arizona', Astronomical Society of The Pacific, 121, pp. 185-203.


113 Luginbuhl, C., Walker, C. & Wainscoat, R. (2009). 'Lighting and astronomy', Physics Today, 62, pp. 32-37. Luoa, Y. R. (1999). 'Why is the human visual system sensitive only to light of wavelengths from approximately 760 to 380 nm? An answer from thermochemistry and chemical kinetics', Biophysical Chemistry, 83, pp. 179-184. Luxsolar. (2017). Aeronautical beacons - identification beacon. Retrieved April 5, 2018, from https://www.luxsolar.com/en/products/aeronautical-beacons/icao/aeronauticalbeacons-identification-beacon Lystrup, D. E. (2017). 'The Dark Side of The Light: Rachel Carson, Light Pollution, And A Case For Federal Regulation', Jurimetrics Journal , 57, pp. 505–528. Lyytimäki, J. (2015). Towards eco-efficient and enjoyable lighting. https://sustainabledevelopment.un.org/content/documents/5520Light%20pollution_r ev.pdf accessed 1 July 2016. Maine State Planning Office & Hancock County Planning Commission. (2010). Lighting Manual: Promoting Quality Outdoor Lighting in Your Community. Augusta, ME: Maine State Planning Office, p. 3. Malcolm, R. (1999). ` Statutory Nuisance Law in England and Wales’, Interdisciplinary Environmental Review. 2 (1), pp. 162 - 176. Malcolm, R. (2006). `Statutory Nuisance: the Sanitary Paradigm and Judicial Conservatism', Journal of Environmental Law. 1 (18), pp. 37-54. Mikuž, H. (2003). Activities Against the Light Pollution in Slovenia. Ljubljana: University of Ljubljana, pp. 1-8. Ministry of the Environment. (2006). Guidance for light pollution. Retrieved May 11, 2018, from http://www.env.go.jp/air/life/hikari_g_h18/full.pdf Morgan-Taylor, M.P. (2006). ‘Light Pollution and Nuisance: The Enforcement Guidance for Light as a Statutory Nuisance’, Journal of Planning & Environmental Law, August, pp. 1114-1127. Myles, R. (2013). 'Lights out' in France as big switch-off becomes law. Retrieved May 5, 2018, from http://www.digitaljournal.com/article/342542


114 National Optical Astronomy Observatory. (2018). Recommended Light Levels (Illuminance) for Outdoor and Indoor Venues. Retrieved March 31, 2018, from https://www.noao.edu/education/QLTkit/ACTIVITY_Documents/Safety/LightLevels_ou tdoor+indoor.pdf Ngarambe, J. & Kim, G. (2018). 'Sustainable Lighting Policies: The Contribution of Advertisement and Decorative Lighting to Local Light Pollution in Seoul, South Korea', Sustainability, 10, Retrieved May 5, 2018, from file:///C:/Users/Administrator/Downloads/sustainability-10-01007%20(2).pdf North Kesteven District Council, (2018). Light Nuisance. Retrieved May 3, 2018, from https://www.n-kesteven.gov.uk/residents/living-in-your-area/environmentalprotection/pollution-and-nuisance/light-nuisance/ Papke, N. (2008). Outdoor Lighting Report. Salem, OR: Oregon Department of Energy, pp. 1-9. Pennsylvania Land Trust Association. (2011). Model Lighting Ordinance with User's Guide Model Lighting Ordinance with User's Guide. Retrieved April 7, 2018, https://conservationtools.org/library_items/1415-Model-Lighting-Ordinance-with-Users-Guide Pennsylvania Outdoor Lighting Council. (2017). Residential. Retrieved April 8, 2018, http://polcouncil.org/polc2/residential.htm Pérez, F. L. (2015). Decreto 190/2015, de 25 de agosto, de desarrollo de la Ley 6/2001, de 31 de mayo, de ordenación ambiental del alumbrado para la protección del medio nocturno de Cataluña. Retrieved May 11, 2018, from http://www.actualidadjuridicaambiental.com/en/legislacion-al-dia-catalunacontaminacion-luminica/ Plymouth Marine Laboratory. (2017). Light pollution impacts sealife as much as climate change. Retrieved April 5, 2018, from https://www.pml.ac.uk/News_and_media/News/Light_pollution_impacts_sealife_as_ much_as_climate Publication Office of European Union. (2009). Commission Regulation (EC) No 244/2009 of 18 March 2009 implementing Directive 2005/32/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for non-directional


115 household lamps (Text with EEA relevance). Retrieved April 7, 2018, https://publications.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/390e2b74-1e4f4c95-a0b1-2468f880e7ca/language-en Publication Office of European Union. (2012). Commission Regulation (EU) No 1194/2012 of 12 December 2012 implementing Directive 2009/125/EC of the European Parliament and of the Council with regard to ecodesign requirements for directional lamps, light emitting diode lamps and related equipment Text with EEA relevance. Retrieved April 7, 2018, https://eur-lex.europa.eu/legalcontent/EN/TXT/?uri=CELEX%3A32012R1194 Pun, C. S. J. & So, C. W. (2011). Night-sky brightness monitoring in Hong Kong - a city-wide light pollution assessment. Hong Kong: The University of Hong Kong Department of Physics, pp. 1-33. Rajkhowa, R. (2012). 'Light Pollution and Impact of Light Pollution', International Journal of Science and Research, 3 (10), pp. 861-867. Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is sky glow?. Retrieved April 3, 2018, from http://nightsky.physics.hku.hk/what-is-light-pollution.php Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is glare?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/glare.asp Rensselaer Polytechnic Institute Light Research Centre. (2007). What is light pollution?. Retrieved April 3, 2018, from https://www.lrc.rpi.edu/programs/nlpip/lightinganswers/lightpollution/lightpollution.asp Roucous, (2018). Eclairage nocturne, le Conseil d'Etat condamne l'Etat à le mettre en Veilleuse. Retrieved May 5, 2018, from https://www.humanite.fr/eclairage-nocturnele-conseil-detat-condamne-letat-le-mettre-en-veilleuse-652895 Royal Astronomical Society of Canada. (2012). Environmental Impact of Light Pollution and its Abatement. Etobicoke, ON: Royal Astronomical Society of Canada, pp.1-36. Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4.


116 Royal Commission on Environmental Pollution. (2009). Artificial Light in the Environment. Norwich: Her Majesty’s Stationery Office, pp. 1-4. Scottish Executive. (2007). Guidance Note Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 8-9. Scottish Executive. (2007). Guidance Note: Controlling Light Pollution and Reducing Lighting Energy Consumption. Edinburgh: Scottish Executive, pp. 2-7. Shaflik, c. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Retrieved July 1, 2016, from http://www.shaflik.com/documents/LIGHT%20POLLUTION%20TECHNICAL%20PAPER. pdf Shaflik, C. (1995). Light Pollution: Environmental Effects of Roadway Lighting. Vancouver: University of British Columbia Department of Civil Engineering, pp. 10-11. Smith, L. (2010). The phasing out of incandescent light bulbs. London: House of Common Science and Environment Section, pp. 1-7. State of Utah's Rural Planning Group (2018). Guidance & Best Practices on Dark Sky Planning: An Introduction for Local Leaders. Salt Lake City, UT : State of Utah's Rural Planning Group, pp. 4-7. Taylor, S. (2017). ‘Light pollution A case study in framing an environmental problem’, Ethics, Policy & Environment, 20(3), pp. 1-28. The Curious Team. (2014). How does light pollution affect astronomers? (Intermediate). Retrieved April 7, 2018, http://curious.astro.cornell.edu/about-us/116-observationalastronomy/stargazing/professional-observers/712-how-does-light-pollution-affectastronomers-intermediate The Planetary Society. (2008). Light Pollution. Retrieved April 1, 2018, from http://www.planetary.org/multimedia/space-images/earth/lightpollution_ida_20030800.html U.S. Department of the Interior National Park Service. (2018). Dark Skies. Retrieved April 8, 2018, https://www.nps.gov/yell/learn/nature/dark-skies.htm


117 U.S. Department of Veterans Affairs Office of Construction & Facilities Management. (2015). Lighting Design Manual. Washington DC: U.S. Department of Veterans Affairs, pp. 1.21.3. U.S. Green Building Council. (2018). Model Lighting Ordinance User's Guide. Retrieved April 7, 2018, from https://www.usgbc.org/resources/model-lighting-ordinance-users-guide University of Delaware. (2018). How light pollution lures birds into urban areas during fall migration. Retrieved April 5, 2018, from https://phys.org/news/2018-01-pollutionlures-birds-urban-areas.html Vertačnik, G. (2011). Slovenian Light Pollution Legislation. Retrieved May 9, 2018, from http://darkskyparks.splet.arnes.si/files/2011/09/slovenian-light-pollution-legislation.pdf และโปรดดูเพิ่มเติมใน Dark Skies Awareness. (2007). Slovene Light Pollution Law— adopted on 30 August 2007 An unofficial, shortened summary of the final version (prepared by Andrej Mohar on 9 September 2007). Retrieved May 9, 2018, from http://www.darkskiesawareness.org/slovene-law.php Waide, P. (2010). Phase out of incandescent lamps: Implications for international supply and demand for regulatory compliant lamps. Paris: International Energy Agency, pp. 20-42. Watson, M. (2005). ‘The enforcement of environmental law: civil or criminal penalties?’, Environmental Law and Management. 17 (1), pp. 3-6. West Lindsey District Council. (2018). Statutory nuisance: Lighting. Retrieved May 3, 2018, from https://www.west-lindsey.gov.uk/my-services/mycommunity/environment/pollution-control/statutory-nuisance-lighting/ Yu, S. (2016). 'Arizona’s Night Lighting Regulations Facilitating Astronomical Observation', Arizona Journal of Environmental Law and Policy, 6, pp. 1077-1080. Zitelli, V., di Sora, M., & Ferrini, F. (2001). 'Local and National Regulations on Light Pollution in Italy', Preserving the Astronomical Sky, Proceedings of IAU Symposium 196, held 12-16 July 1999, in Vienna, Austria. Edited by Cohen, R. J. and Sullivan, W.T., p.111116. กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2559). พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก https://www.dlt.go.th/th/dlt-knowledge/view.php?_did=114


118 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_envi.html กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://laws.anamai.moph.go.th/main.php?filename=1HLaws2016 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2560). พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก http://www.codi.or.th/downloads/laws/law/Law_Construction3.pdf สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2561 จาก https://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB03/%BB03-20-9999-update.pdf


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.