วัฒนธรรมการสวดมนต์ และ ตร พระปริ ในวัฒนธรรมไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทพพร มังธานี
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทพพร มังธานี วัฒนธรรมการสวดมนต์และพระปริตรในวัฒนธรรมไทย. - กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง, 2556. 272 หน้า. พิ มพ์ครั้งที่ 1 1 กุมภาพันธ์ 2556 ISBN 978-616-268-085-4
ลิขสิทธิ์ . ผลิต . จำหน่ายปลีก-ส่ง
0-2872-9898
สาขา ราษฎร์บูรณะ-ทุ่งครุ
0-2221-1050 สาขา สำราญราษฎร์
๑๐๕/๗๕ ถนนประชาอุทิศ ซอย ๔๕ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทร. ๐-๒๘๗๒-๙๘๙๘, ๐-๒๘๗๒-๕๙๗๕-๙ แฟกซ์ ๐-๒๔๒๗-๙๕๘๖ Email : LC2YOU@GMAIL.COM, LC2YOU@HOTMAIL.COM WWW.LC2U.COM
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ๒๒๓ ถนนบำรุงเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๑-๑๐๕๐, ๐-๒๒๒๑-๔๔๔๖, ๐-๒๒๒๓-๘๙๗๙
เทพพร มั ง ธานี 3
คำอุทิศ
ความดีที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา และน้อมเป็นกตเวทิตาคุณแด่ บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน เทพพร มังธานี
4
วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
คำนำสำนักพิมพ์ การสวดมนต์ ถื อ เป็ น วั ฒ นธรรมอย่ า งหนึ่ ง ที่ ฝั ง รากลึ ก อยู่ ใ นวิ ถี ชี วิ ต ของชาวพุ ท ธมาตั้ ง แต่ ส มั ย พุ ท ธกาล สื บ ทอด ยาวนานมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น ทั้ ง ในรู ป แบบของพิ ธี ก รรมที่ มี ย บและขั้ น ตอนที่ ต้ อ งทำให้ ถู ก ต้ อ ง เช่ น การเจริ ญ ระเบี ทธมนต์ในงานทำบุญต่างๆ การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น พระพุ นหมู่คณะ และในรูปแบบที่ไม่ใช่พิธีกรรม คือการสวดมนต์ เป็ สระไม่มีกฎระเบียบหรือขั้นตอนตายตัว เช่น การสวดมนต์ แบบอิ ก่ อนนอน สวดมนต์ขณะขับรถ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของการสวดมนต์นั้น แบ่งได้เป็น ๒ ระดับ คื อ เป้าหมายระดับโลกิยะ คือเป็นเป้าหมายระดับชาวบ้านทั่วไป ที ่ มุ่ ง สวดมนต์ เ พื่ อ ขจั ด ปั ด เป่ า สิ่ ง อั ป มงคล เสนี ย ดจั ญ ไร ป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน และเสกสร้างสิ่งอันเป็น มงคลให้ชีวิตมีความสุข สมหวัง มีความเจริญรุ่งเรือง ส่วนอีก เป้าหมายหนึ่งคือเป้าหมายระดับโลกุตระ ถือเป็นเป้าหมายใน ระดับที่สูงขึ้นไป คือใช้บทสวดมนต์เป็นบาทฐานในการอบรมศีล สมาธิ ปั ญ ญา เพื่ อ ก้ า วไปสู่ ค วามหลุ ด พ้ น คื อ พระนิ พ พาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื้ อ หาของบทสวดมนต์ ที่ ส วดกั น ในปั จ จุ บั น บางบท เป็ น พระธรรมคำสอนที่ อ อกจากพระโอษฐ์ ข องพระพุ ท ธเจ้ า โดยตรง ซึ่งคัดมาจากพระไตรปิฎกโดยตรง ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า ผู้ ส วดหรื อ ผู้ ฟั ง ได้ ศึ ก ษาพระธรรมคำสอนจากพระพุ ท ธเจ้ า โดยตรง และพระธรรมคำสอนเดียวกันนี้ที่ทำให้มีผู้บรรลุธรรม
เทพพร มั ง ธานี 5
ม ากมายเมื่ อ ครั้ ง พุ ท ธกาล ดั ง นั้ น บทสวดมนต์ ทุ ก บทไม่ ว่ า จะเป็ น พระสู ต รที่ เ ป็ น คำสอนของพระพุ ท ธเจ้ า โดยตรง หรื อ บทสวดที่ครูบาอาจารย์แต่งขึ้นภายหลัง ทุกตัวอักษร ทุกประโยค ย่อมแฝงไว้ด้วยธรรมรสที่ทรงคุณค่า สามารถยังผู้สวดให้ได้รับ ประโยชน์ อั น สู ง สุ ด ได้ หากผู้ ส วดสวดและศึ ก ษาจนเข้ า ใจถึ ง แก่นแท้ของบทสวดนั้น และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เป็น สุจริตธรรม หนั ง สื อ วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และพระปริ ต ร ในวัฒนธรรมไทย เล่มนีเ้ ป็นหนังสือสวดมนต์เชิงวิชาการทีผ่ เู้ ขียน คื อ ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ เ ทพพร มั ง ธานี คณะมนุ ษ ยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาบทบาทและคุณค่าของการ สวดมนต์ ร่ ว มกั น ฟื้ น ฟู แ ละอนุ รั ก ษ์ ไ ว้ มิ ใ ห้ สู ญ หาย ภายใต้ กระแสสังคมที่นับวันผันผวนเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงไว้ ซึ่ ง ความดี ง ามแห่ ง วั ฒ นธรรมและสรรค์ ส ร้ า งสั น ติ สุ ข ใน สังคมสืบไป หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จั ก เอื้ อ ประโยชน์ แก่ท่านเป็นอย่างดี ด้วยความปรารถนาดี สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
6
วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
สารบัญ ่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรม บทที 1.1 ความสำคัญของวัฒนธรรม 1.2 ความหมายของวัฒนธรรม 1.3 ระดับของวัฒนธรรม 1.4 องค์ประกอบของวัฒนธรรม 1.5 ประเภทของวัฒนธรรม 1.6 ลักษณะร่วมของวัฒนธรรม 1.7 แนวทางการศึกษาการสวดมนต์ โดยใช้ทฤษฎีทางวัฒนธรรม 1.8 วัฒนธรรมกับการพัฒนาจริยธรรม บทที่ 2 วัฒนธรรมการสวดมนต์ 2.1 ความสำคัญของการสวดมนต์ 2.2 ความหมายของการสวดมนต์ 2.3 ท่วงทำนอง ท่าทาง และรูปแบบการสวดมนต์ 2.4 การสวดมนต์ในศาสนา 2.5 วัตถุประสงค์ของการสวดมนต์ 2.6 การสวดมนต์ในกระแสวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง บทที ่ 3 การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบริบทวัฒนธรรมไทย 3.1 การสวดมนต์ตามคติทางพระพุทธศาสนา 3.2 รูปแบบการสวดมนต์ ของชาวพุทธในวัฒนธรรมไทย 3.3 ทำนองสวดมนต์ 3.4 การสวดมนต์ในวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ
๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๘ ๑๙ ๒๑ ๒๒ ๒๔ ๒๗ ๓๑ ๓๑ ๓๓ ๓๔ ๓๙ ๕๑ ๖๓ ๖๗ ๖๗ ๗๖ ๘๐ ๘๒
เทพพร มั ง ธานี 7
บทที่ 4 พระปริตรในวัฒนธรรมไทย ๘๙ 4.1 ความสำคัญของพระปริตร ๘๙ 4.2 ความหมายของพระปริตร ๙๐ 4.3 ความเป็นมาของพระปริตร ๙๖ 4.4 จำนวนพระปริตร ๑๐๔ 4.5 จำนวนพระปริตรที่จัดอยู่ในเจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน ๑๐๗ 4.6 ความเป็นมาของพระปริตรแต่ละบท ๑๑๓ 4.7 ประโยชน์ของการสวดพระปริตร ๑๒๗ 4.8 คุณสมบัติของผู้สวดพระปริตร ๑๓๔ 4.9 การสวดพระปริตรในวัฒนธรรมไทย ๑๓๖ 4.10 พิธีกรรมในพระปริตร ๑๕๓ 4.11 พระปริตรกับบทสวดในท้องถิ่นของไทย ๑๕๗ 4.12 วัฒนธรรมทางคติธรรมในพระปริตร ๑๖๑ 4.13 พระปริตรที่ผสมผสานกับความเชื่อในลัทธิอื่น ๑๖๖ 4.14 พระปริตรกับความเชื่อดั้งเดิมของไทย และการสร้างโลกทัศน์แบบพุทธ ๑๖๗ 4.15 พระปริตรกับวิถีชีวิตและท่าทีต่อสรรพสิ่ง ๑๗๐ 4.16 พระปริตรกับเป้าหมายทางจริยธรรมของสังคม ๑๗๓ 4.17 พระปริตรในการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน ๑๘๐ 4.18 แนวทางการฟื้นฟูคุณค่าพระปริตร เพื่อสังคมไทยร่วมสมัย ๑๘๖ บทที่ 5 บทสรุป ๑๘๙ บรรณานุกรม ๑๙๒ ภาคผนวก สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ๑๙๗
8
วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
บทคัดย่อ
การสวดมนต์เป็นวัฒนธรรมที่งอกงามในวิถีชีวิตมนุษย์ เป็นการแสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กบั สิง่ ทีเ่ หนือธรรมชาติ และยั ง เป็ น องค์ ป ระกอบพื้ น ฐานสำคั ญ ของประเพณี ศิ ล ปะ และวั ฒ นธรรมอั น เกี่ ย วข้ อ งกั บ จิ ต วิ ญ ญาณของมนุ ษ ยชาติ การสวดมนต์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ อ ยู่ เ หนื อ ข้ อ จำกั ด ของเวลาและสถานที่ ดั ง นั้ น เราจึ ง สามารถสวดมนต์ ไ ด้ ทุ ก สถานที่ แ ละทุ ก ครั้ ง ตามที่ เราต้องการจะสวด ยิ่งกว่านั้นการสวดมนต์ยังเป็นสิ่งที่ทุกๆ คน สามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพและอายุ การสวดมนต์มหี ลายรูปแบบและมีการใช้เพือ่ วัตถุประสงค์ ที่ ห ลากหลาย ในด้ า นรู ป แบบจะเห็ น ว่ า การสวดมนต์ มี ทั้ ง ที่ เป็นการสวดส่วนบุคคลและการสวดเป็นหมู่คณะ ส่วนในด้าน การนำไปใช้นั้น ก็ขึ้น อยู่กับความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้น ผู้ ค นจึ ง สวดมนต์ เ พื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ต่ า งๆ ตามความต้ อ งการ เช่ น สวดเพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ต นเองและสวดเพื่ อ ผู้ อื่ น วิ ธี ห นึ่ ง ในการทำความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การสวดมนต์ ก็ คื อ ตระหนั ก ว่ า การสวดมนต์ นั้ น เป็ น เครื่ อ งมื อ ทางวั ฒ นธรรม ซึ่ ง พบได้ ใ น ทุกวัฒนธรรม
เทพพร มั ง ธานี 9
ในบริ บ ททางวั ฒ นธรรมของชาวพุ ท ธนั้ น นิ ย มใช้ ก าร สวดมนต์ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ นำไปสู่ ส มาธิ แ ละวิ ปั ส สนาหรื อ การ พิ จ ารณาธรรมที่ ลึ ก ซึ้ ง ในประเทศที่ นั บ ถื อ พระพุ ท ธศาสนา แบบเถรวาทเช่นประเทศไทย มีพระสูตรและคำสอนต่างๆ ใน พระพุ ท ธศาสนา ที่ นิ ย มนำมาสวดเป็ น ประจำในปั จ จุ บั น ซึ่ ง เรี ย กว่ า พระปริ ต ร การสวดพระปริ ต รที่ เ ป็ น ภาษาบาลี นั้ น มิ ใ ช่ เ ป็ น การสวดเพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ต นเองและผู้ อื่ น เท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น การสวดเพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด อกุ ศ ลจิ ต หรื อ ภาวะ ด้านลบทางจิต และขณะเดียวกันก็เป็นการสวดเพื่อทำให้กุศลจิตหรือภาวะด้านบวกของจิตใจเพิ่มขึ้นด้วย
10 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
Abstract
Prayer is the culture that flourished in the way of life of humanity. Prayer is expression of relationship between human being and supernatural beings and is fundamental component to many spiritual traditions, arts, and cultures. Prayer is beyond the confines of space or time, thus, it is something we can access anywhere, anytime. Moreover it is accessible to everyone, regardless of health status and age. There are many forms and functions to prayer. The forms to prayer may be either individual or communal. The functions to prayer depends upon purposes. Thus, people pray for many purposes, such as for personal benefit or for the sake of others. One way of understanding prayer is as cultural means that found in all cultures.
เทพพร มั ง ธานี 11
In a Buddhist cultural context, prayer is often used as a vehicle for meditation and contemplation. In Theravadan countries such as Thailand there are Suttas or discourses in the Buddhism called Paritta, continue to be pray daily today. The Paritta prayer in the Pali language is not only for personal benefit or for the sake of others but also for protection against negative spiritual influences, as well as for increasing positive spiritual conditions.
12 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
เทพพร มั ง ธานี 13
บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาของวัฒนธรรมการสวดมนต์ ผู้เขียน จะนำเสนอความหมายและลักษณะทั่วไปของวัฒนธรรมโดย สังเขป พร้อมทั้งวิเคราะห์ประเด็นที่ว่าด้วยวัฒนธรรมกับการ พั ฒ นาจริ ย ธรรมในตอนท้ า ย เพื่ อ ให้ เ ห็ น ความเชื่ อ มโยง ระหว่ า งวั ฒ นธรรมกั บ จริ ย ธรรม ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ เ ห็ น ว่ า การ สวดมนต์ นั้ น มี เ ป้ า หมายทางจริ ย ธรรมด้ ว ย โดยเฉพาะการ นำเสนอเรื่ อ งพระปริ ต รในวั ฒ นธรรมไทยนั้ น ส่ ว นหนึ่ ง เป็นการนำเสนอกุศโลบายในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม โดยสร้างให้เป็นวัฒนธรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ
14 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
1.1 ความสำคัญของวัฒนธรรม
วิถีชีวิตมนุษย์กับสังคมและวัฒนธรรม นับเป็นสามสิ่ง ที่แยกออกจากกันไม่ได้ เริ่มจากการมีปัจจัยหลายอย่างทั้งทาง ด้านชีวะและด้านจิตวิทยาที่ทำให้มนุษย์อยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม จนได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น สั ต ว์ สั ง คม ดั ง นั้ น เมื่ อ มนุ ษ ย์ อ ยู่ กั น เป็ น กลุ่มก้อนสังคมก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดสังคมขึ้นวัฒนธรรมก็เกิดขึ้น ตามมาด้ ว ย ถ้ า มนุ ษ ย์ ข าดวั ฒ นธรรมแล้ ว การดำรงอยู่ ข อง มนุษย์อย่างมีความหมายในชีวิตก็เป็นไปไม่ได้ วัฒนธรรมยัง เป็ น สิ่ ง ค้ ำ จุ น ชี วิ ต มนุ ษ ย์ เพราะวั ฒ นธรรมมี ร ะบบต่ า งๆ ที่ เกื้ อ หนุ น การดำรงอยู่ ข องมนุ ษ ย์ ทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจ อนึ่ ง เมื่ อ มนุ ษ ย์ อ ยู่ ร วมตั ว กั น เป็ น สั ง คมแล้ ว สิ่ ง ที่ จ ะแยก สังคมหนึ่งออกจากสังคมหนึ่งก็คือวัฒนธรรม และวัฒนธรรม ก็ จ ะเป็ น ตั ว ประสานผู ก พั น มนุ ษ ย์ ใ นสั ง คมเดี ย วกั น ให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและช่วยให้โครงสร้างของสังคมนั้นๆ ดำรงอยู่ ได้ ส่ ว นการแยกวั ฒ นธรรมหนึ่ ง ออกจากวั ฒ นธรรมหนึ่ ง นั้ น จะต้ อ งลงไปศึ ก ษาแนวคิ ด หลั ก ปรั ช ญาและความเชื่ อ ต่ า งๆ ในวัฒนธรรมนั้นๆ อย่างละเอียดก่อน เราจึงจะสามารถแยก วัฒนธรรมหนึ่งออกจากวัฒนธรรมหนึ่งได้
เทพพร มั ง ธานี 15
1.2 ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม เป็นคำที่สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า Culture มี ร ากศั พ ท์ ม าจากภาษาละติ น ว่ า cultura แปลว่ า การ เพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในทวีป ยุ โ รปใช้ ม าแต่ เ ดิ ม ต่ อ มาได้ เ ปลี่ ย นเป็ น ความเจริ ญ ด้ า นต่ า งๆ ของมนุษย์ โดยในประเทศไทย พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น นราธิ ป พงศ์ ป ระพั น ธ์ ทรงใช้ ค ำว่ า วั ฒ นธรรมโดยนำคำบาลี รวมกั บ คำสั น สกฤต คื อ วั ฒ น แปลว่ า เจริ ญ งอกงาม และ ธรรม แปลว่ า สภาพที่ เ ป็ น อยู่ จ ริ ง รวมความแล้ ว หมายถึ ง สภาพที่ แ สดงถึ ง ความเจริ ญ งอกงามหรื อ ความมี ร ะเบี ย บวิ นั ย นำมาใช้ ใ นทางราชการครั้ ง แรกในพระราชบั ญ ญั ติ บ ำรุ ง วัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2483 และนิยมใช้สืบต่อมา จนถึงทุกวันนี้ (สนธยา พลศรี, 2545) พจนานุ ก รมศั พ ท์ สั ง คมวิ ท ยา อั ง กฤษ-ไทย ฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน (2524) อธิบายว่า วัฒนธรรม เป็นชื่อรวม สำหรั บ แบบอย่ า งของพฤติ ก รรมทั้ ง หลายที่ ไ ด้ ม าจากสั ง คม และที่ ถ่ า ยทอดกั น ไปทางสั ง คม โดยอาศั ย สั ญ ลั ก ษณ์ ป กติ วั ฒ นธรรมจึ ง เป็ น ชื่ อ สำหรั บ สั ม ฤทธิ ผ ลที่ เ ด่ น ชั ด ทั้ ง หมดของ กลุ่ ม มนุ ษ ย์ รวมทั้ ง สิ่ ง ทั้ ง หลายเหล่ า นี้ เช่ น ภาษา การทำ เครื่องมือ อุตสาหกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย การ ปกครอง ศี ล ธรรมและศาสนา รวมถึ ง อุ ป กรณ์ ที่ เ ป็ น วั ต ถุ หรื อ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ซึ่ ง แสดงรู ป แบบแห่ ง สั ม ฤทธิ ผ ลทาง
16 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
วั ฒ นธรรม และทำให้ ลั ก ษณะวั ฒ นธรรมทางปั ญ ญาสามารถ ยั ง ผลเป็ น ประโยชน์ ใ ช้ ส อยได้ เช่ น อาคาร เครื่ อ งมื อ เครื่องจักรกล เครื่องมือสื่อสาร ศิลปวัตถุ เป็นต้น คำว่า “วัฒนธรรม” เป็นคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและ สั น สกฤต แปลว่ า ธรรมเป็ น เหตุ ใ ห้ เ จริ ญ หรื อ ธรรมคื อ ความเจริ ญ ซึ่ ง พระราชบั ญ ญั ติ วั ฒ นธรรมแห่ ง ชาติ พุ ท ธศั ก ราช 2485 ได้ ใ ห้ ค วามหมายของวั ฒ นธรรม หมายถึ ง “ลั ก ษณะที่ แ สดงถึ ง ความเจริ ญ งอกงาม ความเป็ น ระเบี ย บ เรี ย บร้ อ ย ความกลมเกลี ย วก้ า วหน้ า ของชาติ แ ละศี ล ธรรม อันดีงามของประชาชน” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2538) พัทยา สายหู (2544) ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรม ไว้ ว่ า วั ฒ นธรรม คื อ แบบอย่ า งลั ก ษณะชี วิ ต ของแต่ ล ะกลุ่ ม ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยอุ ป กรณ์ แ ละวิ ธี ก ารต่ า งๆ ที่ ส มาชิ ก ของกลุ่ ม ยึ ด ถื อ ร่ ว มกั น ในการดำเนิ น ชี วิ ต ตราบเท่ า ที่ ยั ง เป็ น สมาชิ ก ของ กลุ่ ม เช่ น พู ด จาภาษาสำเนี ย งเดี ย วกั น หรื อ เครื อ เดี ย วกั น กินอยู่อย่างเดียวกัน ปลูกบ้านเรือนแบบเดียวกัน ใช้ขนบธรรม- เนียมประเพณีเดียวกัน มีปรัชญาและศาสนาอย่างเดียวกัน ฯลฯ สมศั ก ดิ์ ศรี สั น ติ สุ ข (2542) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของ วั ฒ นธรรม หมายถึ ง “วิ ถี แ ห่ ง การดำรงชี พ ที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น ตามที่ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ มนุ ษ ย์ มนุ ษ ย์ กั บ สั ง คมและมนุ ษ ย์ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง เป็ น ทั้ ง ระบบความรู้ ความคิดหรือความเชื่อ จนมีการยอมรับปฏิบัติกันมาเป็นวิธีการ หรื อ แบบแผน มี ก ารอบรมและถ่ า ยทอดไปสู่ ส มาชิ ก รุ่ น ต่ อ มา
เทพพร มั ง ธานี 17
ตลอดจนมี ก ารเปลี่ ย นแปลงให้ เ ข้ า กั บ สภาพสิ่ ง แวดล้ อ มของ มนุษย์” งามพิ ศ สั ต ย์ ส งวน (2543) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของ วัฒนธรรมว่า คือ สิ่งที่ได้มาจากรากฐานความเป็นจริงที่เกี่ยวกับ มนุษย์ นั่นคือ มันเป็นพฤติกรรมของมนุษย์และผลผลิตที่เกิด จากการกระทำของมนุ ษ ย์ วั ฒ นธรรมไม่ ใ ช่ ปั จ จั ย ที่ เ ป็ น อิ ส ระ ไปจากมนุ ษ ย์ แม้ ว่ า มั น จะถู ก ศึ ก ษาเหมื อ นกั บ ว่ า เป็ น ตั ว ของ ตัวเองหรือมันมีชีวิตจิตใจ เพราะวัฒนธรรมเป็นผลหรือระบบ การจั ด ระเบี ย บพฤติ ก รรมที่ เ กิ ด จากการเรี ย นรู้ ซึ่ ง รวมถึ ง ค่านิยมความคิดที่มีหน้าที่สำคัญในสังคม วัฒนธรรมกำหนด สถานการณ์ จุดมุ่งหมาย ทัศนคติ คุณค่า ความเชื่อ รวมทั้ง กำหนดพฤติ ก รรมสำหรั บ ปั จ เจกบุ ค คล เพื่ อ เขาเหล่ า นั้ น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ โดยการทดลองที่เรียกว่าลองผิดลองถูก แต่ ส ามารถประพฤติ ป ฏิ บั ติ ไ ปตามแบบแผนที่ ไ ด้ ว างไว้ แ ล้ ว และที่ ก ำหนดโดยวั ฒ นธรรม บุ ค คลในสั ง คมต่ า งๆ มองเห็ น ให้ความหมายของสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ถูกกำหนด โดยวั ฒ นธรรมของเขา ดั ง นั้ น วั ฒ นธรรมมี ห น้ า ที่ มี อิ ท ธิ พ ล มี อ ำนาจบั ง คั บ และเข้ า ควบคุ ม พฤติ ก รรมคนโดยตรงและยั ง เข้าควบคุมชีวิตของปัจเจกชนอย่างมากด้วย แม้ จ ะมี ผู้ ใ ห้ ค วามหมายของวั ฒ นธรรมไว้ ม าก แต่ ความหมายของวั ฒ นธรรมที่ เ ข้ า ใจได้ โ ดยทั่ ว ไป คื อ ความ เจริ ญ งอกงามที่ ม นุ ษ ย์ ท ำให้ เ กิ ด ขึ้ น หรื อ ที่ เ รี ย กกั น ว่ า มรดก ทางสั ง คม และเป็ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอดมาจาก บรรพบุรุษและถ่ายทอดไปยังอนุชน
18 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
1.3 ระดับของวัฒนธรรม
หากแบ่ ง ระดั บ ของวั ฒ นธรรมตามพื้ น ที่ ห รื อ บริ เ วณ ทางภู มิ ศ าสตร์ ซึ่ ง มี ลั ก ษณะเด่ น เป็ น เอกลั ก ษณ์ ร่ ว มกั น อาจแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1) ระดั บ ซี ก โลกหรื อ ทวี ป โดยในระดั บ ซี ก โลก แบ่ ง เป็ น วั ฒ นธรรมตะวั น ตก (Euro-American Cultural Area) และวัฒนธรรมตะวันออก (Oriental Cultural Area) ซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใน ซี ก โลกตะวั น ตก ได้ แ ก่ ชาวยุ โ รปและอเมริ ก าเหนื อ และ วั ฒ นธรรมตะวั น ออกเป็ น วั ฒ นธรรมของมนุ ษ ย์ ที่ อ าศั ย อยู่ ใ น ซีกโลกตะวันออก ได้แก่ ชาวเอเชียและแอฟริกา 2) ระดั บ ทวี ป แบ่ ง ตามทวี ป ต่ า งๆ เช่ น วั ฒ นธรรม เอเชีย วัฒนธรรมยุโรป เป็นต้น 3) ระดับกลุ่มเชื้อชาติหรือภาษา เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรมกรีก วัฒนธรรมอังกฤษ เป็นต้น 4) ระดั บ ย่ อ ยภายในประเทศ เช่ น วั ฒ นธรรมอี ส าน วัฒนธรรมล้านนา วัฒนธรรมชนบท เป็นต้น นักสังคมวิทยาท่านหนึ่งได้กล่าวถึงระดับของวัฒนธรรม ไว้ว่า วัฒนธรรมในระดับที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่นิยมยึดถือกัน คื อ วั ฒ นธรรมของระดั บ กลุ่ ม เชื้ อ ชาติ ห รื อ ภาษา เราจึ ง พู ด ถึ ง วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน วัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรม
เทพพร มั ง ธานี 19
กรีก วัฒนธรรมอังกฤษ ฯลฯ แต่บางครั้งเราก็พูดกว้างออกไป เป็นวัฒนธรรมเอเชีย วัฒนธรรมยุโยป ฯลฯ คือรวมทั้งทวีป หรือเอาทั้งซีกโลกเป็นวัฒนธรรมตะวันตก วัฒนธรรมตะวันออก บางครั้งเรากลับพูดให้แคบเข้าเป็นวัฒนธรรมอีสาน วัฒนธรรม ล้ า นนา วั ฒ นธรรมชาวใต้ ฯลฯ คื อ หมายถึ ง ท้ อ งถิ่ น หรื อ ภู มิ ภ าค บางที เ ราพู ด ถึ ง วั ฒ นธรรมชาวเมื อ ง หรื อ วั ฒ นธรรม ชาวชนบท โดยแบ่งลักษณะตามการทำมาหากินและที่อยู่อาศัย (พัทยา สายหู, 2544) จะเห็ น ได้ ว่ า วั ฒ นธรรมมี ห ลายระดั บ เราสามารถพู ด ทั้งในระดับที่กว้างและแคบได้ตามวัตถุประสงค์
1.4 องค์ประกอบของวัฒนธรรม
ในการศึกษาด้านองค์ประกอบของวัฒนธรรม เราอาจ แยกได้ดังนี้ 1) วัตถุ (material) ทั้งที่เป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์ หมายถึ ง วั ฒ นธรรมในด้ า นวั ต ถุ ที่ มี รู ป ร่ า งสามารถจั บ ต้ อ งได้ เช่น ภาพเขียน เครื่องมือจับปลา อาคารสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัด โบสถ์ บ้านเรือน สวนสาธารณะ สนามกีฬา โรงหนัง ฯลฯ รวมถึงภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือที่แสดงออกในการ สื่อสาร เป็นต้น 2) องค์ ก รหรื อ สมาคม (organization or association) หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบ
20 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
เป็ น องค์ ก รหรื อ สมาคม มี โ ครงสร้ า งที่ ส ามารถมองเห็ น ได้ มี ระเบี ย บแบบแผนหรื อ กฎเกณฑ์ ข้ อ บั ง คั บ รวมทั้ ง ระเบี ย บวิ ธี ปฏิ บั ติ ข องสมาชิ ก เช่ น สถาบั น ทางศาสนา สภาวั ฒ นธรรม และสหประชาชาติ เป็ น ต้ น องค์ ก รทางวั ฒ นธรรมอาจเป็ น ทางการหรือ ไม่เ ป็น ทางการก็ได้ เช่น ชาวบ้านที่รวมตัวกัน ทำ กิ จ กรรมต่ า งๆ โดยธรรมชาติ นั้ น ก็ ถื อ ว่ า เป็ น องค์ ก รทาง วัฒนธรรมได้ 3) พิ ธี ก าร (usage or ceremony) หมายถึ ง วั ฒ นธรรมในส่ ว นของพิ ธี ก ารหรื อ พิ ธี ก รรมต่ า งๆ ที่ ก ำหนด รูปแบบการปฏิบัติเป็นขั้นตอนต่างๆ เช่น พิธีบวช ต้องมีการ โกนผม บวชนาค แห่ น าค ก่ อ นจะเข้ า ทำพิ ธี ข ออุ ป สมบทใน โบสถ์ พิธีการรับประทานอาหารมักลำดับขั้นของการจัดเตรียม ชุดอาหาร การนั่งร่วมวงอาหาร การเริ่มรับประทาน ฯลฯ ซึ่ง มนุ ษ ย์ ใ นทุ ก วั ฒ นธรรมได้ ส ร้ า งพิ ธี ก ารต่ า งๆ นั บ ตั้ ง แต่ ก าร เริ่ ม ต้ น ของชี วิ ต คื อ ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตาย มี ทั้ ง พิ ธี ก ารทางศาสนา และธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ เช่ น พิ ธี รั บ ขวั ญ เด็ ก พิ ธี โ กนจุ ก พิ ธี บวชนาค พิธีแต่งงาน พิธีศพ มารยาททางสังคม การแต่งกาย เป็นต้น 4) มโนทั ศ น์ ห รื อ แนวคิ ด (concepts) หมายถึ ง วัฒนธรรมในด้านความคิดความเชื่อและอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่ง เป็ น พื้ น ฐานของการสร้ า งวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น วั ต ถุ องค์ ก ร หรื อ พิ ธี ก ารต่ า งๆ ในการศึ ก ษาวั ฒ นธรรมสามส่ ว นแรกจึ ง สะท้ อ น แนวคิ ด ที่ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง วั ฒ นธรรมเหล่ า นั้ น ด้ ว ย มโนทั ศ น์ ข อง
เทพพร มั ง ธานี 21
วั ฒ นธรรมส่ ว นใหญ่ ไ ด้ รั บ มาจากคำสอนและความเชื่ อ ทาง ศาสนา อุ ด มการณ์ ตลอดจนหลั ก ปรั ช ญา เช่ น ความเชื่ อ บาป-บุ ญ กฎแห่ ง กรรม ความเชื่ อ ในพระเจ้ า อุ ด มการณ์ สังคมนิยม เป็นต้น
1.5 ประเภทของวัฒนธรรม
หากว่ า กั น โดยประเภทแล้ ว เราอาจแบ่ ง วั ฒ นธรรม ออกเป็น 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ อาคาร สถานที่ บ้ า นเรื อ น วั ด โบสถ์ วิ ห าร ศิ ล ปกรรมและ ประติมากรรมต่างๆ รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่สังคม นั้นใช้กันเป็นประจำ และวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งไม่อาจ แตะต้องได้ แต่เป็นสิ่งบ่งบอกวัฒนธรรมและประเพณีได้อย่าง ดี ได้แก่ ภาษา ระบบความเชื่อ แนวคิดหรือโลกทัศน์ ตลอดจน กิริยามารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ การแบ่ ง ดั ง กล่ า ว อาจจะยั ง ไม่ ค รอบคลุ ม การศึ ก ษา ทางด้ า นวั ฒ นธรรมทั้ ง หมด ดั ง นั้ น จึ ง มี ผู้ น ำเสนอการแบ่ ง วัฒนธรรมเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาไว้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) วั ฒ นธรรมทางวั ต ถุ (material culture) ได้ แ ก่ วัฒนธรรมทางด้านวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ ศิลปวัตถุ สิ่งก่อสร้าง ตลอดจนวัตถุที่ผลิตขึ้นภายในกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม 2) วัฒนธรรมทางคติธรรม (moral culture) ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับคุณธรรม คติธรรม ตลอดจนสิ่งยึดเหนี่ยว
22 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
จรรโลงจิ ต ใจให้ ค นในกลุ่ ม นั้ น ๆ รู้ สึ ก ถึ ง ความเป็ น อั น หนึ่ ง อันเดียวและรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน 3) วัฒนธรรมทางสหธรรม (social culture) ได้แก่ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน หลักมนุษยสัมพันธ์ การ เกี่ ย วข้ อ งกั น ในเครื อ ญาติ ตลอดจนสั น ทนาการต่ า งๆ เช่ น การกีฬา การดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ เป็นต้น 4) วัฒนธรรมทางกฎหมาย (legal culture) ได้แก่ วั ฒ นธรรมที่ บ่ ง บอกถึ ง กฎเกณฑ์ ใ นการอยู่ ร่ ว มกั น ของกลุ่ ม อาจจะเป็นกฎหมาย กฎหมู่ กฎแห่งความเชื่อ ซึ่งยึดถือกันอยู่ ในสั ง คมเพื่ อ ความเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ยในสั ง คมของตน (อุดม บัวศรี, 2540)
1.6 ลักษณะร่วมของวัฒนธรรม
ในส่ ว นของลั ก ษณะร่ ว มของวั ฒ นธรรมต่ า งๆ นั้ น เราอาจพิจารณาได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) วั ฒ นธรรมเป็ น สิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งเรี ย นรู้ เนื่ อ งจาก วั ฒ นธรรมเป็ น ผลรวมทางด้ า นความคิ ด ของมนุ ษ ย์ ใ นแต่ ล ะ สั ง คม ไม่ ใ ช่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ มี อ ยู่ โ ดยสั ญ ชาตญาณหรื อ โดย พั น ธุ ก รรม ดั ง นั้ น มนุ ษ ย์ จ ะต้ อ งเรี ย นรู้ ค วามคิ ด ทางด้ า น วัฒนธรรม ซึ่งอาจเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วได้รับการ ยอมรับจากสังคมนั้นๆ มาใช้เป็นกฎเกณฑ์กำหนดพฤติกรรม ของเพื่อนมนุษย์ในสังคมเดียวกัน
เทพพร มั ง ธานี 23
โ ด ย ป ก ติ แ ล้ ว ม นุ ษ ย์ เ ริ่ ม เ รี ย น รู้ วั ฒ น ธ ร ร ม จ า ก ครอบครั ว ครอบครั ว จึ ง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ในการเรี ย นรู้ ท าง วั ฒ นธรรมของมนุ ษ ย์ ต่ อ มามนุ ษ ย์ เ ริ่ ม เรี ย นรู้ วั ฒ นธรรมจาก เพื่ อ นเล่ น ในวั ย เด็ ก เพื่ อ นบ้ า น กลุ่ ม เพื่ อ นต่ า งๆ และจาก สถาบันทางสังคมต่างๆ เช่น โรงเรียน วัด เป็นต้น รวมถึงการ เรี ย นรู้ วั ฒ นธรรมจากการประกอบอาชี พ ต่ า งๆ ในสั ง คมด้ ว ย กล่ า วได้ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ว่ า มนุ ษ ย์ เ รี ย นรู้ วั ฒ นธรรมโดยการ สื บ ทอดจากบรรพบุ รุ ษ และสามารถสร้ า งสรรค์ วั ฒ นธรรมขึ้ น มาใหม่จากการเรียนรู้ดังกล่าวได้ 2) วั ฒ นธรรมเป็ น มรดกทางสั ง คม ถึ ง แม้ วั ฒ นธรรม อาจจะเกิ ด ขึ้ น จากการริ เ ริ่ ม ของบุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง แต่ เ มื่ อ กลายเป็ น วั ฒ นธรรมแล้ ว ก็ ไ ม่ ใ ช่ ส มบั ติ ข องบุ ค คลใดบุ ค คล หนึ่ ง โดยเฉพาะ วั ฒ นธรรมจึ ง เป็ น มรดกทางสั ง คม (social heritage) ซึ่ ง อาจจะอยู่ในรูปแบบของความคิด องค์ความรู้ หรือภูมิปัญญาต่างๆ ทั้งในด้านศีลธรรมจรรยา การดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม รวมถึงวิธีการจัดการแบ่งปันทรัพยากร ในธรรมชาติ ต่ า งๆ ที่ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ เ รี ย นรู้ จ ากบรรพบุ รุ ษ และ สืบทอดกันมาอย่างไม่ขาดสาย 3) วัฒนธรรมเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงได้ โดยที่วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดสร้างขึ้นเอง มิใช่สิ่งที่ติดตัวมาจากธรรมชาติ วั ฒ นธรรมจึ ง อาจเปลี่ ย นแปลงได้ ต ามความเหมาะสมของ ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม ท า ง ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ ส ภ า พ ท า ง สั ง ค ม ที่ เปลี่ ย นแปลงไป บางวั ฒ นธรรมอาจเปลี่ ย นแปลงช้ า บาง
24 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
วั ฒ นธรรมอาจเปลี่ ย นแปลงเร็ ว ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ การปะทะ ประสานกับวัฒนธรรมอื่นๆ และสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรม นั้นๆ มีลักษณะอย่างไร อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลง ไปในทางบวกหรือก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปในทางลบหรือ นำไปสู่การสิ้นสุดของวัฒนธรรมนั้นก็ได้ 4) วั ฒ นธรรมก็ มี จุ ด จบหรื อ ตายได้ จากการศึ ก ษา พบว่ามีสังคมหลายสังคมที่ล่มสลายหรือตายได้ ทั้งในแง่ของ ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละในแง่ ข องการเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน สั ง คมนั้ น ๆ ในปั จ จุ บั น วั ฒ นธรรมของสั ง คมนั้ น ๆ ก็ เ ช่ น เดี ย วกั น กล่ า วคื อ มี ก ารล่ ม สลายหรื อ ตายไปพร้ อ มกั บ สั ง คม นั้ น ๆ ด้ ว ย หรื อ ระบบสั ง คมอาจจะยั ง อยู่ แ ต่ วั ฒ นธรรม บางอย่างอาจจะเสื่อมสลายไปแล้วก็ได้
1.7 แนวทางการศึกษาการสวดมนต์ โดยใช้ทฤษฎีทางวัฒนธรรม
สำหรั บ การศึ ก ษาการสวดมนต์ โ ดยใช้ ท ฤษฎี ท าง วั ฒ นธรรมนั้ น มี แ นวทางที่ ส ามารถศึ ก ษาได้ ห ลากหลาย ประเด็น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแนวคิดหรือทฤษฎีที่อาจนำมาใช้ ในการศึกษาการสวดมนต์ได้ ดังนี้ การสวดมนต์เป็นวัฒนธรรมที่มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
เทพพร มั ง ธานี 25
1) ด้ า นวั ต ถุ (material) จะเห็ น ได้ ว่ า ในพิ ธี ก าร สวดมนต์ มี สิ่ ง ที่ ต้ อ งเตรี ย มเป็ น เบื้ อ งต้ น ทำให้ เ ห็ น ภาพและ บรรยากาศของความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เช่ น การเตรี ย มขั น น้ ำ มนต์ หรือบาตรน้ำมนต์ 2) ด้านองค์กร (organization) การสวดมนต์นั้นเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ของการเผยแผ่ แ ละการเข้ า ถึ ง ชุ ม ชนขององค์ ก ร คณะสงฆ์ โดยมีการจัดระเบียบ มีโครงสร้างที่ชัดเจน 3) ด้านพิธีกรรม (ceremony) พิธีกรรมการสวดมนต์ เป็ น พิ ธี ท างศาสนาที่ สั ง คมคุ้ น เคยและถื อ ปฏิ บั ติ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในวิ ถี ชี วิ ต และสั ง คม บางพิ ธี ก รรมได้ ก ลายเป็ น แบบแผนทาง วั ฒ นธรรมหรื อ ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ ที่ เ ป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรม ไทย เช่น พิธีเจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดพระปริตร เป็นต้น 4) ด้านมโนทัศน์หรือแนวคิด (concepts) มโนทัศน์ หรื อ แนวคิ ด ที่ ม าพร้ อ มกั บ การสวดมนต์ นั้ น คื อ ความคิ ด ความเชื่ อ และอุ ด มการณ์ ท างศาสนา ซึ่ ง วิ เ คราะห์ จ ากความหมายของเนื้อหาในการสวดมนต์ จากองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน จะเห็นได้ว่าการสวดมนต์นั้นสามารถศึกษาในเชิงวัฒนธรรมได้ สำหรับวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชาวบ้าน สามารถอธิบายได้ ว่ า การเข้ า ถึ ง ความหมายของศาสนาในระดั บ โลกุ ต ระนั้ น ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก ดังนั้น การที่ประชาชนส่วนหนึ่ง นำสิ่ ง ที่ มี อ ยู่ ใ นศาสนา ในที่ นี้ คื อ การสวดมนต์ มาตอบสนอง ความต้ อ งการและแก้ ไ ขปั ญ หาในชี วิ ต ประจำวั น โดยไม่ ไ ด้ มุ่ ง ไปที่ ผ ลในระดั บ โลกุ ต ระ แต่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ผลในระดั บ
26 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
โลกิ ย ะหรื อ ปั ญ หาชาวบ้ า นทั่ ว ไป ไม่ ว่ า จะเป็ น เรื่ อ งเศรษฐกิ จ เช่ น เรื่ อ งโชคลาภ การค้ า ขาย เรื่ อ งสุ ข ภาพ ตลอดจนความ อยู่ ร อดปลอดภั ย จากอั น ตรายต่ า งๆ แม้ ก ระทั่ ง ใช้ เ พื่ อ ความ เสน่ ห า มี ส ง่ า ราศี เป็ น ที่ เ กรงขามของผี ส างรวมทั้ ง คนทั่ ว ไป ด้ ว ย นั บ เป็ น การประยุ ก ต์ เ อาความเชื่ อ ทางศาสนามาผสม ผสานกับความเชื่อท้องถิ่น ในด้านกระบวนการสร้างรูปแบบของการสวดมนต์นั้น สามารถอธิ บ ายตามหลั ก การที่ ว่ า ข้ อ ค้ น พบรู ป แบบการ สะท้อนระบบการวิเคราะห์ที่เชื่อมกัน 4 มุมมอง คือ มุมมอง ด้านรูปแบบ (Form) มุมมองด้านเนื้อหา (Matter) มุมมอง ด้ า นกระบวนการ (Process) และมุ ม มองด้ า นความหมาย (Meaning) ทำให้ ส ามารถเข้ า ใจชี วิ ต และสั ง คมอย่ า งเป็ น เอกภาพ การบูรณาการทั้งสี่มุมมอง คือ การตระหนักว่าแต่ละ มุ ม มองนั้ น มี ค วามสำคั ญ ที่ จ ะช่ ว ยให้ เ ข้ า ใจปรากฏการณ์ ท าง สั ง คมและวั ฒ นธรรมที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น และดำรงอยู่ ด้ ว ยเครื อ ข่ า ย ของการสื่ อ สาร (รู ป แบบ) ที่ ซึ่ ง ความหมายจะก่ อ เกิ ด ขึ้ น มา (เนื้อหา) การแฝงฝังวัฒนธรรมลงในวัตถุ (กระบวนการ) รวมถึง เครื่องมือเครื่องใช้และข้อเขียน โดยผ่านสิ่งเหล่านี้ ความหมาย ที่ แ ฝงอยู่ ใ นวั ฒ นธรรมจะถู ก ส่ ง ผ่ า นจากคนรุ่ น หนึ่ ง ไปยั ง คน อี ก รุ่ น หนึ่ ง อย่ า งมี ค วามหมาย จะเห็ น ได้ ว่ า หากใช้ แ นวคิ ด นี้ การศึกษาการสวดมนต์ที่อยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นวิธีหนึ่ง ที่จะเข้าใจความหมาย คุณค่าชีวิตและสังคมอย่างบูรณาการ
เทพพร มั ง ธานี 27
มุ ม มองของสั ญ ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรม (Cultural Symbols) การสวดมนต์ถือว่าเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อความหมาย ในทางปรัชญา ซึ่งสามารถแทนด้วยสัญลักษณ์ได้ นอกจากนัน้ การสวดมนต์ยังสามารถศึกษาได้ตามแนวคิดแบบ Syncretism ซึ่งหมายถึงการผสมผสานลักษณะทางวัฒนธรรมหรือหลายๆ ความเชื่ อ เข้ า ด้ ว ยกั น ตรงกั น ข้ า มกั บ Anti syncretism ที่ หมายถึงการทำให้บริสุทธิ์ หรือการกลับไปหารากเหง้าดั้งเดิม และการขจั ด สิ่ ง ที่ เ ป็ น เปลื อ กนอกออกไปเพื่ อ พบกั บ แก่ น แท้ แนวคิ ด นี้ อ าจพบในกลุ่ ม ที่ เ คร่ ง พิ ธี ก รรมทางศาสนา โดยมุ่ ง เอาความหมายดั้ ง เดิ ม มากกว่ า ความหมายอื่ น ๆ ที่ ส อดแทรก เข้ามาภายหลัง
1.8 วัฒนธรรมกับการพัฒนาจริยธรรม
การนำเสนอวั ฒ นธรรมการสวดมนต์ ใ นที่ นี้ ส่ ว นหนึ่ ง มุ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ มี ส่ ว นในการ พั ฒ นาจริ ย ธรรมของมนุ ษ ย์ จึ ง นำเสนอประเด็ น ที่ ว่ า ด้ ว ย วั ฒ น ธ ร ร ม กั บ ก า ร พั ฒ น า จ ริ ย ธ ร ร ม ทั้ ง นี้ ส ม ม ติ ฐ า น (Assumption) อย่างน้อย 4 ข้อที่วัฒนธรรมควรเป็นพื้นฐาน ของการพัฒนาจริยธรรม กล่าวคือ 1) วั ฒ นธรรมไม่ ไ ด้ มี ฐ านอยู่ ที่ วั ต ถุ ธ รรมอย่ า งเดี ย ว แต่มีฐานอยู่ที่นามธรรมเป็นสำคัญเช่นเดียวกับจริยธรรม 2) การพัฒนาวัตถุธรรมในทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ
28 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
นำไปสู่การพัฒนาทางจริยธรรม 3) วั ฒ นธรรมเป็ น สิ่ ง แสดงออกของระบบคุ ณ ค่ า ซึ่ ง มี หลายระดับ 4) วั ฒ นธรรมมี ค วามเป็ น บู ร ณาการด้ า นชี วิ ต จิ ต ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละชุมชนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน อธิบายที่มาของสมมติฐานทั้ง 4 โดยสังเขป ดังนี้ สมมติฐานข้อหนึ่งและข้อสอง มาจากการตระหนักถึง การพัฒนาที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐาน มีข้อจำกัดสัมผัสรับรู้และ วัดผลได้เฉพาะวัตถุธรรม ลดทอนความจริงไปสู่สิ่งที่พิสูจน์ได้ ด้วยวิธีของตนเองเท่านั้น เป็นการพัฒนาที่มุ่งเอาชนะธรรมชาติ จึงมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ขาด การเข้าถึงมิติทางจิตใจซึ่งเป็นฐานที่สำคัญในการพัฒนามนุษย์ การพั ฒ นาที่ ข าดมิ ติ ท างด้ า นจิ ต ใจจึ ง ส่ ง ผลต่ อ ภาวะทาง จริยธรรมของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมมติ ฐ านข้ อ ที่ ส ามมาจากการปะทะประสานทาง วัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถี ชี วิ ต ของผู้ ค นในสั ง คม ปรากฏการณ์ ดั ง กล่ า วยั ง ผลให้ เ กิ ด ความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม เพราะระบบคุณค่าถูกผูกติด อยู่กับวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมทุนนิยมที่ยกย่อง ลั ท ธิ ปั จ เจกบุ ค คลและลั ท ธิ บ ริ โ ภคนิ ย ม ซึ่ ง วางอยู่ บ นการ แสวงหาผลประโยชน์ ส่ ว นตั ว และละเลยระบบคุ ณ ค่ า อื่ น ๆ การให้ความสำคัญต่อคุณค่าส่วนบุคคล (Individual Values) ไม่ ใ ช่ สิ่ ง เลวร้ า ยถ้ า ไม่ ล ะเลยคุ ณ ค่ า ทางวั ฒ นธรรม
เทพพร มั ง ธานี 29
(Cultural Values) หรื อ คุ ณ ค่ า ทางสั ง คม มี ก ารผสมผสาน ระหว่ า งกั น ระหว่ า งคุ ณ ค่ า ของแต่ ล ะวั ฒ นธรรมประเพณี ท้องถิ่น ซึ่งบางอย่างผ่านการไตร่ตรองมาอย่างยาวนานจนเกิด การยอมรับ/เลือกในช่วงเวลาหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่สร้างและดำรงไว้ ซึ่ ง ระเบี ย บของสั ง คมที่ ส ะท้ อ นอยู่ ใ นความคิ ด และพฤติ ก รรม ของคนที่ สั ง คมยอมรั บ และละเลยคุ ณ ค่ า สากล (Universal Values) เป็นคุณค่าที่เปิดเผยให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงของ มนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายด้วยพันธุกรรมและสังคม เป็นสิ่งที่ มนุษย์เข้าถึงได้ด้วยประสบการณ์ ไม่ใช่จากความเข้าใจ แต่ ที่ ผ่ า นมาการขั บ เคลื่ อ นวั ฒ นธรรมที่ ห ลากหลาย มี วั ฒ นธรรมทุ น นิ ย มเป็ น ตั ว นำ ทำให้ ล ะเลยระบบคุ ณ ค่ า ทาง สั ง คมและคุ ณ ค่ า สากล การละเลยคุ ณ ค่ า ที่ ฝั ง ตั ว อยู่ ใ น วั ฒ นธรรมที่ ห ลากหลายจึ ง เป็ น การทำลายวั ฒ นธรรมเหล่ า นั้ น ทางอ้อม สมมติ ฐ านข้ อ ที่ สี่ ม าจากการพั ฒนาที่ ข าดการเชื่ อ มโยง โดยเฉพาะการเชื่ อ มโยงวั ต ถุ ธ รรมไปสู่ น ามธรรมที่ ลึ ก ซึ้ ง วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ สั ง คมท้ อ งถิ่ น ใช้ เ ป็ น ฐานในการพั ฒ นา นั้ น มี ก ระบวนทั ศ น์ ที่ เ ป็ น องค์ ร วม เชื่ อ มโยงทุ ก สิ่ ง เข้ า ด้ ว ยกั น มองสิ่งต่างๆ ในฐานะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยของกันและกัน และ แสวงหาความสมดุ ล แห่ ง ความสั ม พั น ธ์ ข องสิ่ ง ต่ า งๆ ตลอด เวลา วั ฒ นธรรมประเพณี ข องชุ ม ชนจึ ง แสดงออกถึ ง ความ เกื้ อ กู ล กั น ระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ มนุ ษ ย์ มนุ ษ ย์ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม และมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ
30 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
การพัฒนาจริยธรรมที่มีวัฒนธรรมเป็นแกนนั้น ไม่ได้ เป็นการเอาวัฒนธรรมหนึ่งไปครอบงำหรือชี้นำวัฒนธรรมหนึ่ง เพราะการครอบงำทางวั ฒ นธรรม เป็ น การครอบงำทาง ภู มิ ปั ญ ญาและเป็ น การรุ ก รานวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ให้ ล่ ม สลาย ไปด้ ว ย ดั ง ที่ วั ฒ นธรรมทุ น นิ ย มพยายามครอบงำวั ฒ นธรรม อื่นๆ การพั ฒ นาจริ ย ธรรม (รวมทั้ ง การพั ฒ นาด้ า นอื่ น ๆ) ที่ มี วั ฒ นธรรมเป็ น แกน มี จุ ด สำคั ญ อยู่ ที่ ก ารยอมรั บ ความ หลากหลายทางวั ฒ นธรรมว่ า ทุ ก วั ฒ นธรรมล้ ว นมี ภู มิ ปั ญ ญา และมี คุ ณ ค่ า ในตั ว เอง การประสานภู มิ ปั ญ ญาที่ มี อ ยู่ ใ น วัฒนธรรมต่างๆ เข้าด้วยกันก็จะเกิดการพัฒนาทางภูมิปัญญา ของมนุษยชาติ
เทพพร มั ง ธานี 31
บทที่ 2
วัฒนธรรมการสวดมนต์
2.1 ความสำคัญของการสวดมนต์
การสวดมนต์ เป็ น วั ฒ นธรรมที่ ง อกงามในวิ ถี ชี วิ ต มนุ ษ ย์ สั ง เกตได้ จ ากวิ ถี ชี วิ ต ทางสั ง คม และกิ จ กรรมการ แสดงออกในวิ ถี ชี วิ ต ประจำวั น ของมนุ ษ ย์ วั ฒ นธรรมการ สวดมนต์ มี อ งค์ ป ระกอบของวั ฒ นธรรมที่ มี ทั้ ง ลั ก ษณะเฉพาะ และเป็ น ลั ก ษณะสากล มี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปตามยุ ค สมั ย วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ ข องแต่ ล ะวั ฒ นธรรมต่ า งก็ มี ร ากฐาน และคุณค่าจากศาสนาและความเชื่อในท้องถิ่นของตนเอง การสวดมนต์เป็นการแสดงออกถึงการเชื่อมโยงตัวเอง กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องมนุ ษ ยชาติ เป็ น มรดกทางศิ ล ปะด้ า น การเปล่ ง เสี ย ง และการแสดงท่ า ทางประกอบทางกายที่ มี ม า คู่ กั บ อารยธรรมทางความเชื่ อ และศาสนาของมนุ ษ ย์ เพราะ ในการสวดมนต์นอกจากจะต้องอาศัยเสียงซึ่งต้องสวดให้ถูกต้อง
32 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ตามทำนองที่ ก ำหนดแล้ ว ในบางลั ท ธิ ค วามเชื่ อ ยั ง มี ก าร ประดิษฐ์ท่าทางประกอบอีกด้วย การสวดมนต์จึงเป็นการรวม เอาศิลปะหลายอย่างไว้ในเรื่องเดียวกัน มนุษย์แสดงท่าทางที่ เรี ย กกั น ว่ า สวดมนต์ พ ร้ อ มกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารพั ฒ นา อารยธรรมของมนุษยชาติอย่างน้อยก็กว่า 5000 ปีล่วงมาแล้ว ดังนั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนในโลกนี้ส่วนหนึ่ง จึงเกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ การสวดมนต์ ที่ เ ป็ น พิ ธี ก รรมทางศาสนาและความเชื่ อ ในท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ จะมี อ งค์ ป ระกอบตามแต่ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง การสวดพิ ธี ก รรมนั้ น ๆ มี ข้ อ กำหนดขั้ น ตอน กำหนดบุ ค คล และกำหนดสถานที่รวมทั้งเวลาไว้อย่างเป็นระเบียบอยู่ในส่วน ที่ เ รี ย กว่ า ศาสนพิ ธี อั น เป็ น องค์ ป ระกอบสำคั ญ ของศาสนา ส่ ว นการสวดมนต์ ส ำหรั บ คนทั่ ว ไปไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งมี อ งค์ ประกอบอื่ น นอกจากความตั้ ง ใจ ก็ ส ามารถสวดได้ ทั น ที ทุ ก ที่ ทุ ก เวลาที่ ต้ อ งการ และทุ ก ๆ คนยั ง สามารถสวดมนต์ ด้ ว ยภาษาของตนเองได้ เพราะไม่ มี ภ าษาใดที่ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จะไม่ เ ข้ า ใจหรื อ รั บ รู้ ไ ม่ ไ ด้ จึ ง จะเห็ น ได้ ว่ า การสวดมนต์ เ ป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ท างศาสนาที่ พ บบ่ อ ย หรื อ เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ท างศาสนา ที่ผู้คนทั่วไปปฏิบัติกันมากที่สุด ความเคลื่ อ นไหวในวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารสวดมนต์ ใ น ปั จ จุ บั น นอกจากจะเป็ น การสวดมนต์ ภ าวนาเพื่ อ ความ แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ และประสบโชคลาภ ตามปรารถนาแล้ว ยังมีการสวดมนต์เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ในมวลมนุษย์ด้วย
เทพพร มั ง ธานี 33
2.2 ความหมายของการสวดมนต์
การสวดมนต์ มาพร้ อ มกั บ ความเชื่ อ ของมนุ ษ ยชาติ ที่ ว่ า มี สิ่ ง สู ง (Holy) และสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ (Sacred) ที่ อ ยู่ เ หนื อ โลกสามั ญ การสวดมนต์ จึ ง เริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ มนุ ษ ย์ มี ค วามเชื่ อ ดังกล่าว เพื่อเป็นการสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยมีวัตถุประสงค์ ที่ แ ตกต่ า งกั น การสวดมนต์ จึ ง เป็ น รู ป แบบของความคิ ด ที่แสดงออกมาเป็นเสียงอันศักดิ์สิทธิ์ (John Woodroffe, 1994) ความหมายของคำว่ า “มนต์ ” โดยทั่ ว ไปหมายถึ ง ถ้ อ ยคำที่ ข ลั ง หรื อ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ สามารถทำให้ เ กิ ด ผลที่ มุ่ ง หมาย บางอย่ า งด้ ว ยอานุ ภ าพของมนต์ นั้ น (สุ ชี พ ปุ ญ ญานุ ภ าพ, 2540) การสวดมนต์ ใ นกลุ่ ม ศาสนาที่ เ ป็ น เทวนิ ย ม หมายถึ ง วิ ธี ก ารที่ ศ าสนิ ก ชนใช้ ติ ด ต่ อ สื่ อ สารและแสดงออกต่ อ สิ่ ง ที่ เหนื อ ธรรมชาติ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ พระเป็ น เจ้ า โดยมี ก าร สวดมนต์ ต ามความเชื่ อ และความนิ ย มในแต่ ล ะศาสนา การสวดมนต์ในศาสนาแบบอเทวนิยม เป็นรูปแบบอย่างหนึ่ง ของการศึกษา ทรงจำคำสอน เป็นวิธีหนึ่งในการปฏิบัติธรรม และเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ท ำให้ ผู้ ป ฏิ บั ติ เ ข้ า ถึ ง ความจริ ง สู ง สุ ด หรื อ ความว่าง ความหมายทั่ ว ไปของการสวดมนต์ คื อ การสร้ า ง ความเชื่อมโยงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในนามต่างๆ ตามลัทธิ ความเชือ่ และประเพณี ส่วนความหมายเชิงปรัชญา การสวดมนต์ หมายถึง การสร้างสัมพันธภาพระหว่างตนเอง ผู้อื่น และสิ่งที่
34 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
เป็นนามธรรมสูงสุดในอนันตจักรวาล การสวดมนต์ยังเป็นการ ทำให้ ผู้ ส วดมี สั ม พั น ธภาพกั บ ตนเองมากขึ้ น และมี ก าร เชื่อมโยงตนเองกับคนอื่นมากขึ้น จากแนวคิดของการสวดมนต์ สามารถให้ความหมาย ของการสวดมนต์ ไ ด้ ว่ า การสวดมนต์ คื อ การแสดงออกถึ ง กระบวนการคิ ด การพู ด และการกระทำ อั น เกี่ ย วข้ อ งกั บ จิ ต ใจที่ มี ค วามศรั ท ธาต่ อ สิ่ ง ที่ เ หนื อ ธรรมชาติ แ ละมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะ เชื่อมโยงตนเองเข้ากับภาวะดังกล่าว มีการแสดงออกทางวาจา โดยการเปล่ ง เสี ย งสวดและอาจมี ท่ า ทางกายประกอบการ สวดมนต์ด้วย
2.3 ท่วงทำนอง ท่าท่าง และรูปแบบการสวดมนต์
2.3.1 ท่วงทำนองการสวดมนต์ การสวดมนต์ นั้ น มี ทั้ ง การสวดออกเสี ย งและการสวด ในใจ แต่ ก ารสวดในใจจะถู ก เปรี ย บเที ย บว่ า เหมื อ นกั บ ความคิ ด ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ พู ด ออกมา จึ ง ไม่ มี อิ ท ธิ พ ลมากเท่ า กั บ ความคิ ด ที่ แ สดงออกมา เช่ น เดี ย วกั บ การสวดในใจที่ จ ะไม่ มี อิ ท ธิ พ ลเท่ า กั บ การสวดออกเสี ย ง เมื่ อ มี ก ารออกเสี ย งจึ ง มี ทำนองในตัวมันเองกลายเป็นเพลงสวด เช่น แชนท์ (Chants) เป็ น เพลงสวดของศาสนาคริ ส ต์ ใ นศาสนกิ จ ต่ า งๆ ในสมั ย ต้ น คริสตศตวรรษ เพื่อสรรเสริญสดุดีและขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อมากำหนดให้มีดนตรีและท่าทางประกอบด้วย
เทพพร มั ง ธานี 35
ในทางตะวั น ตกช่ ว งศตวรรษที่ 11 การศึ ก ษาทำนอง ดนตรีเริ่มขึ้นในโบสถ์ โดยเริ่มจากทำนองเดียว (Monophony) เป็ น หลายทำนอง (Polyphony) ต่ อ มานั ก บวชชาวอิ ต าเลี ย น ได้ น ำเอาเฉพาะตั ว แรกของบทสวดมาเรี ย งกั น เป็ น ตั ว โน้ ต โดยสังเกตบทสวดดั้งเดิมที่เป็นภาษาลาติน ดังนั้น ทำนองการ สวดมนต์ จึ ง เป็ น ต้ น กำเนิ ด ของทำนองดนตรี ต ะวั น ตก ดนตรี ในยุคแรกๆ เรียกว่า เพลงวัด (Church music) เป็นเพลงที่ มีจุดมุ่งหมายโน้มน้าวผู้ฟังให้ศรัทธาในพระเจ้า ผู้แต่งจะต้อง มีความรู้ความสามารถในดนตรีอย่างดีจนสามารถผสานดนตรี เข้ากับบทสวดได้อย่างกลมกลืนและประณีต (สุมาลี นิมมานุภาพ, 2534) ทางตะวันออกการสวดมนต์ก็เป็นต้นกำเนิดศิลปะด้าน ขั บ ร้ อ งและดนตรี บ างประเภทด้ ว ย บทสวดบู ช าเทพเจ้ า ต่ า งๆ ในศาสนาพราหมณ์ ก็ มี จั ง หวะท่ ว งทำนอง และบางพิ ธี ก รรม การสวดก็ ก ำหนดให้ มี ด นตรี ป ระกอบด้ ว ย การสวดมนต์ ที่ มี ดนตรี ป ระกอบนี้ เ ป็ น วั ฒ นธรรมที่ สื บ ทอดกั น มาในประเพณี ทางศาสนาด้ ว ย เช่ น ประเพณี ก ารสวดมนต์ ใ นพระพุ ท ธศาสนาแบบวัชรยาน ที่มีเครื่องดนตรีประกอบในการสวดมนต์ และเป็นสื่อถึงการปฏิบัติธรรม โดยใช้กระดิ่งเป็นตัวแทนของ ปัญญาและวัชระเป็นตัวแทนของความกรุณา ในประเพณีทางพระพุทธศาสนาบางนิกายนอกจากจะ ใช้ เ สี ย งสวดและเสี ย งดนตรี เ พื่ อ ถวายเป็ น เครื่ อ งบู ช าแด่ พระพุ ท ธเจ้ า แล้ ว การสวดมนต์ ที่ มี ด นตรี ป ระกอบยั ง เป็ น
36 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
อุ บ ายในการปฏิ บั ติ ธ รรมเพื่ อ กำหนดสภาวะของจิ ต ใจตนเอง เป็ น ต้ น โดยที่ ผู้ ส วดจะตามรู้ ส ภาพจิ ต ใจของตนเองใน ขณะนั้น ผู้ที่พบเห็นก็จะสนใจเสียงดนตรีที่ใช้ประกอบในการ สวด และทำให้สนใจการสวดมนต์ขึ้นมาได้ ประเพณีการสวด ของชาวตะวั น ออกในลั ก ษณะดั ง กล่ า วที่ เ ด่ น ชั ด คื อ ประเพณี ทางพุทธศาสนาในทิเบต จะเห็นได้ว่าการสวดมนต์เกี่ยวข้องกับการขับร้องและ ดนตรี และเป็ น พลั ง ผลั ก ดั น ผลงานสร้ า งสรรค์ ใ นศิ ล ปะด้ า น ขับร้องและดนตรีทางตะวันตกในยุคเริ่มต้น ในทางตะวันออก การสวดมนต์ที่มีดนตรีประกอบยังคงได้รับการปฏิบัติสืบทอด กั น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และเป็ น สิ่ ง สนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ธ รรมใน พระพุทธศาสนาบางนิกายด้วย 2.3.2 ท่าทางประกอบการสวดมนต์ การสวดมนต์ ที่ ถื อ เป็ น พิ ธี ก รรมทางศาสนา มั ก จะ กำหนดท่ า ทางประกอบที่ ชั ด เจนแตกต่ า งตามวั ฒ นธรรม ในแต่ ล ะศาสนา อย่ า งไรก็ ต ามยั ง ไม่ มี ก ารสำรวจใดที่ ส ำรวจ รู ป แบบหรื อ ท่ า ทางประกอบการสวดมนต์ ที่ ม นุ ษ ยชาติ ส วด ตามประเพณีและความเชื่อว่ามีกี่รูปแบบ ดังนั้น รูปแบบที่เป็น ท่ า ทางจึ ง มี ม ากมายตามลั ท ธิ ค วามเชื่ อ ในท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ การ สวดมนต์ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ของคนทั่ ว ไปไม่ มี ข้ อ จำกั ด หรื อ ผูกมัดว่าจะต้องเป็นท่าใดท่าหนึ่งเท่านั้น
เทพพร มั ง ธานี 37
สำหรั บ ท่ า ทางประกอบการสวดมนต์ โ ดยทั่ ว ไปจะเห็ น ได้ว่ามีทั้งท่ายืน ท่านั่ง คุกเข่า นอนราบกับพื้น อยู่ในท่าพนม มือ ประสานมือเข้าหากัน ถ้าสวดเป็นกลุ่มก็อาจจะมีการจับมือ กับผู้อื่นหรือประสานมือกัน อาจจะหลับตาสวดหรือลืมตาสวด ก็ ไ ด้ การสวดมนต์ ใ นบางลั ท ธิ ค วามเชื่ อ ก็ ก ำหนดให้ มี สิ่ ง ของ ประกอบ เช่น ลูกประคำ ระฆังหรือกระดิ่ง รวมทั้งมีการจุด ธู ป เที ย นประกอบเพื่ อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง การสวดบู ช า บาง พิ ธี ก รรมอาจจะมี ก ารทาน้ ำ มั น เผากระดาษ หรื อ วั ต ถุ สิ่ ง ของ อื่ น ๆ ตามลั ท ธิ ค วามเชื่ อ และประเพณี นิ ย ม ท่ า ทางประกอบ การสวดมนต์ จึ ง สามารถศึ ก ษาได้ จ ากประเพณี ก ารสวดมนต์ ในแต่ละวัฒนธรรม 2.3.3 รูปแบบการสวดมนต์ เนื่องจากการสวดมนต์เป็นกิจกรรมที่มนุษย์แสดงออก ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ตามความเชื่อทางศาสนาและความ เชื่ อ ของแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ในที่ นี้ จ ะกล่ า วถึ ง รู ป แบบโดยรวมที่ ถื อ เอาจำนวนคนเป็นหลัก โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การสวดมนต์ ส่ ว นบุ ค คล (Personal prayer) เนื่ อ งจากการสวดมนต์ เ ป็ น ปฏิ กิ ริ ย าที่ ม นุ ษ ย์ แ ต่ ล ะคน แสดงออกต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองเชื่อถือ การสวดมนต์จึงเริ่ม จากการสวดส่ ว นบุ ค คลที่ แ ต่ ล ะคนมี ค วามเชื่ อ ต่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต่ า งๆ ต่ อ มาเมื่ อ พั ฒ นาการมาเป็ น ความเชื่ อ ทางศาสนา จึ ง มี การพั ฒ นาการสวดมนต์ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ ศาสนาได้ น ำเอา
38 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
การสวดมนต์มาเป็นพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ตาม การสวดมนต์ ส่ ว นบุ ค คลก็ ยั ง มี ค วามสำคั ญ และยั ง เป็ น การ สวดมนต์ ที่ ถื อ ปฏิ บั ติ กั น ทั่ ว ไปในปั จ จุ บั น บางศาสนาก็ มี บทสวดสำหรั บ แต่ ล ะบุ ค คลเพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของ แต่ละบุคคล 2) การสวดมนต์ แ บบเป็ น หมู่ ค ณะ (Corporative inclusive prayer) เป็นการสวดมนต์แบบรวมหมู่ซึ่งเริ่มจาก กลุ่ ม คนผู้ มี ค วามเชื่ อ อย่ า งเดี ย วกั น ทำให้ เ กิ ด ประเพณี ก าร สวดมนต์ ร่ ว มกั น โดยเฉพาะเมื่ อ พั ฒ นามาเป็ น ความเชื่ อ ทาง ศาสนา ทำให้ เ กิ ด ประเพณี ก ารสวดร่ ว มกั น ระหว่ า งศาสนิ ก ที่ เ ป็ น สมาชิ ก ของชุ ม ชนเดี ย วกั น และเกิ ด การจั ด ตั้ ง เป็ น หมู่ คณะขึ้นมาในบางชุมชน การสวดมนต์เป็นหมู่คณะถูกกำหนด ให้ เ ป็ น พิ ธี ก รรมการสวดมนต์ ใ นศาสนาสำคั ญ ของโลก ไม่ ว่ า จะเป็นศาสนาฝ่ายเทวนิยมหรืออเทวนิยมต่างก็มีพิธีกรรมการ สวดมนต์ เ ป็ น หมู่ ค ณะ ซึ่ ง มี ทั้ ง แบบที่ ท ำกั น เป็ น ประจำในชี วิ ต ประจำวั น และที่ ท ำกั น ในวาระหรื อ โอกาสสำคั ญ เช่ น วันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น 3) การสวดมนต์ ที่ ก ำหนดผู้ เ ข้ า ร่ ว มพิ ธี แ ละไม่ เ ปิ ด โอกาสให้ ค นนอกเข้ า ร่ ว ม (Corporative exclusive prayer) การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ เ ป็ น การสวดที่ เ ริ่ ม จากมี กลุ่มคนที่จำกัดการทำพิธีกรรมการสวดมนต์ของตนเองให้อยู่ ในกลุ่ ม ของตนเองเท่ า นั้ น การสวดประเภทนี้ ม าจากพิ ธี ก รรม ของชนเผ่ า ที่ มี ข้ อ กำหนดตั ว บุ ค คลผู้ ที่ จ ะเข้ า ร่ ว มพิ ธี แ ละมี
เทพพร มั ง ธานี 39
กระบวนการคั ด เลื อ กผู้ ที่ จ ะเข้ า ร่ ว มพิ ธี ก รรม ซึ่ ง อาจเป็ น พิธีกรรมเพื่อเปลี่ยนผ่านในแต่ละช่วงของชีวิต และพิธีกรรมที่ ลึ ก ลั บ มุ่ ง ให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก เกรงกลั ว ต่ อ อำนาจเหนื อ ธรรมชาติ การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ จ ะไม่ ใ ห้ ผู้ ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งหรื อ ไม่ ไ ด้ รั บ การคัดเลือกหรือผู้ที่อยู่นอกกลุ่มเข้าร่วมด้วย ศาสนาส่วนใหญ่ จะมี ก ารสวดมนต์ ที่ จ ำกั ด ผู้ เ ข้ า ร่ ว มในพิ ธี ซึ่ ง ถื อ ว่ า ผู้ ที่ ผ่ า น พิ ธี ก รรมจะเป็ น สมาชิ ก ของศาสนาโดยสมบู ร ณ์ เช่ น พิ ธี บ วช ในศาสนาต่ า งๆ ซึ่ ง พิ ธี ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า วมี เ หตุ ผ ลตาม ความเชื่ อ ของกลุ่ ม และเหตุ ผ ลในการคั ด เลื อ กสมาชิ ก ของ ศาสนานั้นๆ เป็นตัวรองรับ
2.4 การสวดมนต์ในศาสนา
2.4.1 ความสำคัญของศาสนา หากเรายอมรั บ ว่ า มนุ ษ ย์ มี สิ่ ง จำเป็ น หรื อ สิ่ ง ที่ ต้ อ งการ อยู่ 3 อย่าง ได้แก่ 1) ความต้องการทางร่างกาย (physical needs) 2) ความต้ อ งการทางสั ง คม (social needs) และ 3) ความต้ อ งการทางจิ ต วิ ญ ญาณ (spiritual needs) สองอย่างแรกวางอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ส่วน ข้ อ ที่ 3 เราสามารถค้ น หาได้ จ ากศาสนา เช่ น นี้ แ ล้ ว นั บ ว่ า ศาสนาเป็ น สิ่ ง จำเป็ น สำหรั บ มนุ ษ ย์ แม้ จ ะมี ผู้ โ ต้ แ ย้ ง ว่ า เรา สามารถแสวงหาความต้ อ งการทางจิ ต วิ ญ ญาณได้ จ ากศาสตร์
40 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
อื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ศ าสนา แต่ สิ่ ง ที่ ศ าสตร์ อื่ น ๆ ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ศาสนาให้แก่จิตวิญญาณของเรา คือ ปรัชญาชีวิต หลักความ ดีงาม และที่พึ่งทางใจในเบื้องต้น ซึ่งยังไม่ใช่โอสถหรืออาหาร ชั้ น เลิ ศ ของจิ ต วิ ญ ญาณ ผู้ ค นส่ ว นใหญ่ ใ นโลกต่ า งยอมรั บ กันว่าคุณค่าทางจิตวิญญาณขั้นสูงสุด ความดีขั้นสูงสุด ที่พึ่ง อั น สู ง สุ ด ความสมบู ร ณ์ แ ละความหลุ ด พ้ น แห่ ง จิ ต วิ ญ ญาณ ที่แท้จริงนั้นเกิดจากการปฏิบัติตามหลักศาสนา ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นที่รวมของอาหารทางจิตวิญญาณ ของมนุษย์ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสุด และ มี ข้ อ ยื น ยั น ว่ า มี ม นุ ษ ย์ นั บ ไม่ ถ้ ว นได้ พั ฒ นาตนเองตามหลั ก ศาสนาจนบรรลุ ถึ ง ความดี สู ง สุ ด ตามที่ ศ าสนาสอนไว้ การที่ มนุ ษ ย์ มี ศ าสนาจึ ง ทำให้ ม นุ ษ ย์ มี ค วามสมบู ร ณ์ โ ดยรอบด้ า น และศาสนายั ง เป็ น คุ ณู ป การแก่ ศ าสตร์ อื่ น ๆ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ก่ ม นุ ษ ย์ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ดั ง ที่ อั ล เบิ ร์ ต ไอน์ ส ไตน์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ถ้าขาดศาสนาก็เหมือนกับคนขากะเผลก และศาสนาถ้าขาดวิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด นอกจากนั้น ศาสนายั ง มี บ ทบาทในสั ง คมมนุ ษ ย์ อี ก มาก เช่ น เป็ น แหล่ ง กำเนิ ด วั ฒ นธรรมประเพณี วิ ถี ชี วิ ต ความเชื่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ต่ า งๆ ของประชาชนในสั ง คม เป็ น แรงบั น ดาลใจให้ เ กิ ด การ สร้ า งสรรค์ ท างศิ ล ปวั ฒ นธรรม เช่ น จิ ต รกรรม หั ต ถกรรม สถาปั ต ยกรรม นาฏกรรม ดนตรี ตลอดจนงานทางด้ า น วรรณคดี ต่ า งๆ สถาบั น ทางศาสนาจึ ง เป็ น แหล่ ง รวมความรู้ ประเภทต่างๆ ของชุมชนและสังคม
เทพพร มั ง ธานี 41
2.4.2 ความหมายของศาสนา หากว่ า กั น ตามรู ป ศั พ ท์ ใ นภาษาบาลี คำว่ า ศาสนา หรือ สาสนํ หมายถึง คำสั่งสอน, การฝึกหัด, การปกครอง (ตน) เช่น พุทธศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ส่วน คำว่ า religion ในภาษาอั ง กฤษ ที่ แ ปลว่ า ศาสนานั้ น มี ผู้ สั น นิ ษ ฐานว่ า มาจากคำว่ า religis ในภาษาลาติ น หมายถึ ง การปฏิ บั ติ ต่ อ , การเกี่ ย วข้ อ งหรื อ การผู ก พั น อย่ า งระมั ด ระวั ง กั บ สิ่ ง ที่ เ หนื อ ธรรมชาติ คื อ พระเจ้ า , เทพองค์ ใดองค์หนึ่ง ความกลัวหรือความยำเกรงในพระเจ้า ในพจนานุกรมภาษาอั ง กฤษของ Webster ให้ ค วามหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ การรับใช้และบูชาพระเจ้า องค์เดียวหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งแสดงออกในรูปของการ กราบไหว้ บู ช า เชื่ อ ฟั ง ในข้ อ บั ญ ญั ติ ข องพระองค์ อั น เป็ น การ แสดงออกซึ่ ง วิ ถี ชี วิ ต ที่ ถื อ เสมื อ นเป็ น หน้ า ที่ ข องผู้ ศ รั ท ธา อย่างแท้จริง ส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุ ษ ย์ อั น มี ห ลั ก แสดงกำเนิ ด และสิ้ น สุ ด ของโลกเป็ น ต้ น อั น เป็ น ไปในฝ่ า ยปรมั ต ถ์ ป ระการหนึ่ ง แสดงหลั ก ธรรมเกี่ ย ว กั บ บุ ญ บาปอั น เป็ น ไปในฝ่ า ยศี ล ธรรมประการหนึ่ ง พร้ อ มทั้ ง ลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อ นั้นๆ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525)
42 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
นอกจากนี้ ยั ง มี ผู้ ใ ห้ ค วามหมายของศาสนาไว้ โ ดยมี แง่มุมต่างๆ อีกมาก ซึ่งทั้งในเชิงปรัชญาและในเชิงวัฒนธรรม พอสรุ ป ได้ ก ว้ า งๆ ว่ า เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ เ รากล่ า วถึ ง ชี วิ ต ในด้ า น จิตวิญญาณ ความศรัทธาในสิ่งดีงามสูงสุด จุดศูนย์รวมแห่ง ศรัทธา สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้า จิตวิญญาณ ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติทั้งมวล การหยั่งรู้ที่ทำให้ปัจเจกบุคคล เปลี่ ย นแปลงอย่ า งลึ ก ซึ้ ง ที่ สุ ด ข้ อ งดเว้ น และข้ อ ปฏิ บั ติ ต าม คำสอน ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ที่ผูกพันวิถีชีวิตมนุษย์เข้ากับ คำสอน นั่นแสดงว่าเรากำลังกล่าวถึงศาสนา 2.4.3 องค์ประกอบของศาสนา หากมองในแง่ อ งค์ ป ระกอบของศาสนา ศาสนาทั่ ว ไป มีองค์ประกอบ 6 ข้อ ได้แก่ 1) ศาสดาหรือผู้ตั้ง (founder or prophet) ศาสดา คื อ ผู้ ก่ อ ตั้ ง ศาสนา ในฝ่ า ยเทวนิ ย มหมายถึ ง องค์ อ วตารหรื อ ศาสนทู ต ของพระเป็ น เจ้ า ซึ่ ง แสดงองค์ ใ นฐานะต่ า งๆ คื อ 1) ในฐานะเป็ น เทพอวตาร (divine Incarnation) เป็ น ศาสดาที่ แ บ่ ง ภาคจากพระเจ้ า ในสวรรค์ ม าในร่ า งของมนุ ษ ย์ เมื่อทำหน้าที่ตามพระประสงค์แล้วก็กลับคืนสู่สวรรค์อย่างเดิม 2) ในฐานะเป็นผู้พยากรณ์ (prophets) เป็นศาสดาผู้ประกาศ ข่ า วดี ห รื อ วรสารของพระเจ้ า เป็ น ผู้ น ำเทวโองการมาประกาศ ให้ ม นุ ษ ย์ ไ ด้ ท ราบ และทำนายเหตุ ก ารณ์ ต่ า งๆ ในโลกมนุ ษ ย์
เทพพร มั ง ธานี 43
3) ในฐานะนักบวชหรือฤาษี (seers) เป็นศาสดาที่บำเพ็ญตบะ อย่างแรงกล้า จนสามารถได้ยินเสียงทิพย์จากพระเจ้า และนำ มาจารึกเป็นคัมภีร์ทางศาสนาขึ้น ศาสดาในฝ่ า ยอเทวนิ ย ม หมายถึ ง มนุ ษ ย์ ผู้ ค้ น พบ สั จ ธรรมด้ ว ยตนเองหรื อ รวบรวมหลั ก ธรรมคำสอนต่ า งๆ แล้วเผยแพร่แก่คนอื่น แยกได้ 3 ประเภท คือ 1) แบบสัมมาสัม พุทธเจ้า คือ ตรัส รู้ชอบด้วยพระองค์เอง เป็น ศาสดาของ เทพและมนุ ษ ย์ ทั้ ง ปวง 2) แบบมหาพรต คื อ เป็ น ศาสดาที่ บำเพ็ ญ พรตที่ ยึ ด หลั ก อหิ ง สาอย่ า งยิ่ ง ยวด และ 3) แบบ นั ก ปราชญ์ คื อ เป็ น ศาสดาที่ ด ำเนิ น ชี วิ ต อย่ า งผู้ ค รองเรื อ น ทั่วไป แต่เข้าใจสัจธรรมอย่างแตกฉานและรวบรวมหลักธรรม ต่างๆ ไว้มากแล้วเผยแพร่คนอื่น นอกจากนั้น ในคัมภีร์ของ แต่ ล ะศาสนายั ง ได้ ก ล่ า วถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะพิ เ ศษของศาสดาไว้ อีกมาก 2) หลั ก คำสอนหรื อ ศาสนธรรม (teachings) และ คั ม ภี ร์ ที่ ร องรั บ หลั ก คำสอนในศาสนาแบบเทวนิ ย ม คั ม ภี ร์ เป็นที่รองรับพระวจนะหรือคำสอนของพระเป็นเจ้า ส่วนในฝ่าย อเทวนิ ย ม เป็ น ที่ จ ารึ ก คำสอนของศาสดา และคั ม ภี ร์ ท าง ศาสนายั ง เป็ น สิ่ ง บั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ข องมวลมนุ ษ ยชาติ ที่ สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง 3) นั ก บวชหรื อ สาวก (priest or disciples) ใน ศาสนาฝ่ายเทวนิยม นักบวชจัดเป็นตัวแทน (intermediary) ผู้ เ ป็ น สื่ อ กลางระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ เทพเจ้ า เป็ น ผู้ ป ระกอบพิ ธี
44 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
บูชา ประกาศเทวโองการ เป็นผู้อุทิศตนแก่พระเจ้า และเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณของมนุษย์ เช่น นักบวชในศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ เป็ น ต้ น ส่ ว นในศาสนาฝ่ า ยอเทวนิ ย ม นั ก บวชคื อ ผู้ ที่ ส ละชี วิ ต ฆราวาสโดยผ่ า นพิ ธี ก รรมทางศาสนา ทำหน้ า ที่ ส องอย่ า ง คื อ 1) ทำตนให้ บ รรลุ เ ป้ า หมายที่ ศ าสดา สอนไว้ และ 2) สั่งสอนประชาชนเพื่อสืบทอดศาสนา 4) ศาสนิ ก ชน (followers) คื อ ผู้ ที่ นั บ ถื อ ศาสนา มี ศรั ท ธาต่ อ ศาสนา ยึ ด เอาหลั ก คำสอนมาปฏิ บั ติ เ ป็ น แนวทาง ในการดำเนินชีวิต และทำนุบำรุงศาสนา 5) ศาสนสถาน ปูชนียวัตถุ (sacred places) ได้แก่ สถานที่ ป ระกอบพิ ธี ก รรมทางศาสนา เป็ น สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ศาสนิกต้องให้ความเคารพยำเกรง 6) พิ ธี ก รรมหรื อ ศาสนพิ ธี (ritual performance) และสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ เ ป็ น เครื่ อ งหมายของศาสนา พิ ธี ก รรมและ สั ญ ลั ก ษณ์ ท างศาสนาเป็ น สิ่ ง ที่ ใ ช้ คู่ กั น เสมอ นอกจากนั้ น พิธีกรรมเองก็เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาด้วย และเป็นหนทาง เข้าสู่จุดสูงสุดของแต่ละศาสนา เช่น เริ่มจากการปฏิญาณตน การรับศีลมาประพฤติปฏิบัติ ฯลฯ ความสำคัญของพิธีกรรม นอกจากจะเป็ น กิ จ กรรมของศาสนิ ก ยั ง เป็ น จุ ด นั ด พบของ ชุ ม ชนเพื่ อ ทำสิ่ ง ดี ง ามตามอุ ด มคติ ข องศาสนาร่ ว มกั น และ เป็ น การเริ่ ม ต้ น กิ จ กรรมอื่ น ๆ อย่ า งมี คุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจ พิ ธี ก รรมและสั ญ ลั ก ษณ์ ยั ง เป็ น ตั ว เชื่ อ มระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เป็ น ตั ว สร้ า งศรั ท ธาในสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ และชั ก จู ง
เทพพร มั ง ธานี 45
อารมณ์ให้เกิดความสบายใจ อิ่มเอิบใจ เป็นต้น ลักษณะของ พิธีกรรมมีหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือเป็นการกระทำที่สัมพันธ์ กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แม้ จ ะเป็ น สิ่ ง เหนื อ ธรรมชาติ แ ต่ ก็ เ ป็ น สิ่ ง สั ม ผั ส ได้ ด้ ว ยจิ ต โดยมุ่ ง สร้ า งอารมณ์ ที่ จ รรโลงจิ ต ใจ ก่ อ ให้ เกิ ด ความมั่นใจ ความสบายใจ โดยมีรูปแบบและสัญลักษณ์ ต่างกันตามวิธีการของศาสนานั้นๆ 2.4.4 การสวดมนต์ในศาสนา การสวดมนต์ ข องมนุ ษ ยชาติ นั้ น ไม่ อ าจมองแยกจาก ศาสนาได้ เพราะการสวดมนต์เป็นพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา มี ม าพร้ อ มกั บ การปฏิ บั ติ กิ จ กรรมทางศาสนาของมนุ ษ ย์ ใน แต่ละศาสนาจึงมีเรื่องของการสวดมนต์มากมาย มีการพัฒนา ระเบี ย บแบบแผนการสวดมนต์ ต่ า งๆ อย่ า งเป็ น ระบบ การ สวดมนต์ทางศาสนาจึงมีหลายวัตถุประสงค์และหลายรูปแบบ การสวดมนต์ในกลุ่มศาสนาที่เป็นเทวนิยมทางตะวันตก เช่ น ศาสนาคริ ส ต์ ศาสนายู ด าย มี ค วามหมายที่ มุ่ ง เน้ น การสร้ า งจิ ต วิ ญ ญาณที่ มุ่ ง เข้ า ใจพระเป็ น เจ้ า รวมถึ ง พลั ง แห่ ง การสร้ า งสรรค์ ข องพระเจ้ า ด้ ว ย ทำให้ ม นุ ษ ย์ มี เ หตุ ผ ลในการ เข้ า ใจพระเจ้ า และเข้ า ใจความหมายที่ แ ท้ จ ริ ง ของอาณาจั ก ร สวรรค์ ทั้งนี้ศาสนาแบบเทวนิยมเชื่อว่าจิตวิญญาณของมนุษย์ นั้ น อาจถู ก บิ ด เบื อ นทำให้ ห ลงผิ ด ได้ การสวดมนต์ จ ะช่ ว ยให้ จิ ต วิ ญ ญาณของมนุ ษ ย์ ฉ ลาดขึ้ น และไม่ ถู ก บิ ด เบื อ นไปจาก พระเจ้าได้ โดยการสวดมนต์จะต้องเป็นการกระทำด้วยความรัก
46 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ต่ อ พระเป็ น เจ้ า และเป็ น การสวดเพื่ อ ตอกย้ ำ ความมั่ น คงใน ความรักที่มีต่อพระเป็นเจ้าอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ในศาสนาอิ ส ลาม การสวดมนต์ ถื อ เป็ น สิ่ ง สำคั ญ เพื่ อ แสดงออกถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ พระอั ล เลาะห์ โดยการนมัสการวันละ 5 ครั้ง คือ ในเวลาเช้าตรู่ เวลาบ่าย เวลาเย็ น เวลาพลบค่ ำ และเวลากลางคื น การนมั ส การ ดั ง กล่ า วนี้ เ รี ย กว่ า การละหมาด เพื่ อ แสดงออกถึ ง ความ อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตนและความยำเกรงต่ อ พระเจ้ า ดั ง นั้ น การ สวดมนต์ ที่ มุ่ ง ต่ อ พระเจ้ า หรื อ การละหมาดนี้ จึ ง เป็ น ข้ อ ปฏิ บั ติ ในชีวิตประจำวัน เป็นเอกลักษณ์ของชาวอิสลามอย่างโดดเด่น นอกจากนั้ น ความหมายของคั ม ภี ร์ อั ล กุ ร อานที่ ห มายถึ ง การอ่าน การท่องบ่น ซึ่งในแต่ละบทได้วางจังหวะในการอ่าน การสวดไว้ โ ดยผู้ อ่ า นจะต้ อ งอ่ า นด้ ว ยการเปล่ ง เสี ย งตาม จังหวะและทำนองที่กำหนดไว้ (เดือน คำดี, 2545) การสวดมนต์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันเป็นศาสนา ที่ เ ก่ า แก่ ใ นโลกตะวั น ออกและเป็ น ศาสนาที่ แ พร่ ห ลาย มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ประเพณี ก ารสวดมนต์ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ คำสวด ที่ เ ป็ น คำศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คื อ คำว่ า โอม เป็ น คำแรกในคั ม ภี ร์ แ ละ ใช้นำหน้าคำสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งปวง คำว่า โอม มาจาก อักษร 3 ตัว คือ อ อุ ม อักษร อ กับ อุ เมื่อออกเสียงเร็วๆ จะรวมเสียงเป็นโอ เมื่อผสมกับ ม ก็เกิดเสียง โอม เดิมหมายถึง ไตรเพท คือ ฤคเวท สามเวท และยชุรเวท ต่อมาใช้หมายถึง ตรีมูรติ คือ มหาเทพทั้ง 3 องค์ คือ อ หมายถึงพระวิษณุ อุ
เทพพร มั ง ธานี 47
หมายถึ ง พระศิ ว ะ และ ม หมายถึ ง พระพรหม คั ม ภี ร์ ฉานโทคยอุปนิษัทกล่าวว่า คำว่า โอม หมายถึงคำพูดทั้งปวง หรื อ คำที่ เ ป็ น คำรวมของคำทั้ ง ปวง ต่ อ มาพระพุ ท ธศาสนา มหายานในทิเบตใช้คำว่า โอม นี้ เป็นเสียงที่สื่อถึงความว่างเปล่า และเป็นเสียงประจำพระไวโรจนพุทธเจ้า (เดือน คำดี, 2545) สำหรั บ ศาสนาที่ เ ป็ น อเทวนิ ย ม เช่ น พระพุ ท ธศาสนา การสวดมนต์ เ กิ ด จากการต้ อ งการศึ ก ษา ทรงจำคำสอนของ ศาสนาเป็นหลัก ดังนั้น การสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นเรื่องของปริยัติแขนงหนึ่งที่มีรูปแบบ เนื้อหา และมี ทำนองการสวดที่ ถู ก กำหนดไว้ อ ย่ า งเป็ น ระเบี ย บแบบแผน การสวดมนต์ ถื อ เป็ น การศึ ก ษาคำสอนในรู ป แบบหนึ่ ง และ เป็ น การทบทวนความหมายของหลั ก ธรรม การสวดมนต์ ใ น พระพุ ท ธศาสนาจึ ง ไม่ ไ ด้ มุ่ ง ไปที่ ก ารอ้ อ นวอนและร้ อ งขอต่ อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเทพเจ้ า ต่ า งๆ แต่ ก ารสวดมนต์ ไ ด้ พั ฒ นามา เป็นระบบการศึกษาทรงจำคำสอนต่างๆ เพื่อสืบทอดศาสนา ในแง่ ข องความหมายในเชิ ง ปฏิ บั ติ การสวดมนต์ เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการทำจิต ให้ เ ป็ น สมาธิ และบางสำนั ก ก็ มี ก ารสร้ า งบทสวดสั้ น ๆ ขึ้ น มา เพื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการปฏิ บั ติ ส มาธิ การสวดมนต์ ที่ ถู ก ต้ อ ง ในทางพระพุ ท ธศาสนาจึ ง เป็ น การส่ ง เสริ ม การปฏิ บั ติ ธ รรม เมื่ อ ผู้ ส วดมี จิ ต ใจสงบก็ จ ะสามารถบรรลุ ธ รรมได้ ต ามบุ ญ บารมี ที่ สั่ ง สมไว้ การสวดมนต์ ข องชาวพุ ท ธในนิ ก ายต่ า งๆ ล้วนเป็นอุบายหรือเครื่องสนับสนุนในการปฏิบัติธรรม
48 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
อย่างไรก็ตามรูปแบบการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา แต่ ล ะนิ ก ายก็ มี ค วามแตกต่ า งกั น และเมื่ อ พระพุ ท ธศาสนา เผยแผ่ ไ ปยั ง นานาประเทศ รู ป แบบการสวดมนต์ ก็ พั ฒ นาไป ตามความเชื่อและประเพณีท้องถิ่นต่างๆ ทำให้เกิดการสวดมนต์ ที่ ห ลากหลายรู ป แบบ เช่ น การสวดมนต์ ใ นพระพุ ท ธศาสนา ของกลุ่ ม ประเทศเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ก็ จ ะมี ป ระเพณี ก าร สวดมนต์ ที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น แต่ ใ นรายละเอี ย ดของรู ป แบบและ ประเพณี จ ะมี ค วามแตกต่ า งกั น ตั ว อย่ า งเช่ น การสวดมนต์ ใ น พระพุ ท ธศาสนาแบบเถรวาทในประเทศไทย ก็ จ ะปรากฏใน รู ป ของการสวดพระปริ ต ร มี ก ารสวดแบบเจ็ ด ตำนานและ สิบสองตำนาน เป็นต้น กระนั้นการสวดมนต์ในประเพณีทาง พระพุทธศาสนาก็ยังรักษาความหมายของการสวดมนต์ที่เป็น ปริยัติเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมไว้ได้ด้วย พัฒนาการของการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา ทำให้ เกิ ด นิ ก ายที่ ใ ช้ เ สี ย งสวดมนต์ เ ป็ น สื่ อ เพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจหลั ก การทาง ศาสนาและเป็นเครื่องสักการบูชาในศาสนา ซึ่งเรียกว่ามนตรยาน (Mantrayana) เป็ น นิ ก ายที่ ป ฏิ บั ติ กั น ในพระพุ ท ธศาสนาแบบทิ เ บต ในคั ม ภี ร์ ตั ต วรั ต นาวลี อธิ บ ายไว้ ว่ า หลั ก การของมนตรยานนั้ น ลึ ก ซึ้ ง ยากที่ ส ามั ญ ชนจะเข้ า ถึ ง ได้ แม้ ว่ า จะมี จุ ด ประสงค์ เ หมื อ นกั บ พระพุ ท ธศาสนานิ ก ายอื่ น แต่ นิ ก ายนี้ ถื อ ว่ า มนตรยานสู ง กว่ า นิ ก ายอื่ น สามารถเข้ า ถึ ง ได้ เฉพาะผู้ มี ปั ญ ญาสู ง เท่ า นั้ น ข้ อ สำคั ญ ถื อ ว่ า ผู้ ป ฏิ บั ติ ส ามารถ บรรลุพระนิพพานได้แม้ในชาตินี้ มนตรยานเน้นความเชื่อของ
เทพพร มั ง ธานี 49
อำนาจศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นเสี ย งแห่ ง คำ และคำที่ ม าร้ อ ยเข้ า ด้ ว ยกั น นั้นถือว่ามีพลังแฝงอยู่ในมนต์นั้นๆ มนต์ต่างๆ เหล่านี้จะไม่มี ความหมายของคำให้ปรากฏ พระวสุ พั น ธุ ซึ่ ง เป็ น พระเถระที่ ส ำคั ญ รู ป หนึ่ ง ของ มหายานได้ อ ธิ บ ายไว้ ใ นคั ม ภี ร์ โ พธิ สั ต วภู มิ ว่ า เพราะมนต์ นี้ ไม่ มี ค วามหมายจึ ง ทำให้ ยิ่ ง ขลั ง ยิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ม ากขึ้ น การสวด มนต์ ที่ ไ ม่ รู้ ค วามหมายหรื อ ปราศจากความหมายนี้ ทำให้ จิ ต สงบเร็ ว ขึ้ น และสามารถเข้ า ใจในสภาพปรมั ต ถ์ แ ห่ ง ธรรมะว่ า ไร้ ค วามหมายโดยสิ้ น เชิ ง ในสภาพที่ ไ ร้ ค วามหมายนั้ น มี ธรรมชาติ เ ป็ น สุ ญ ตา การสวดมนต์ ใ นนิ ก ายนี้ จึ ง เป็ น ขั้ น ตอน หรือวิธีที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงสุญตา มนตรยานจะมี วิ ธี ก ารสวดมนต์ ก ำกั บ แต่ ล ะจุ ด ของ ร่ า งกายตามแนวยื น ที่ เ รี ย กว่ า จั ก ร เมื่ อ ทำสมาธิ ก ำหนดจิ ต ให้ หยุ ด นิ่ ง ที่ แ ต่ ล ะจั ก ร โดยมี ม นต์ ส วดกำกั บ เฉพาะแต่ ล ะจั ก ร ต่างกันไป นอกจากมนต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของมนตรยานในการรวมเอาความลั บ ของพลั ง แห่ ง เสี ย งแล้ ว ก็ ยั ง มี มุ ท ราซึ่ ง รวมเอาความลั บ ของพลั ง แห่ ง ผั ส สะ แสดงออกใน ท่าของมือและนิ้วต่างๆ กันไป องค์ประกอบที่ 3 คือ มณฑล ซึ่ ง เป็ น วงแห่ ง ความลี้ ลั บ ที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ จ ะทำสมาธิ ก ำหนดจิ ต เข้ า สู่ มณฑลหลั ง จากที่ ไ ด้ รั บ การอภิ เ ษกแล้ ว (ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน, 2548) นอกจากนั้น แนวคิดเรื่องอำนาจแห่งเสียงสวดมนต์นี้ ยั งเชื่ อ มโยงไปสู่ ธยานิพุ ทธะ 5 พระองค์ โดยแต่ ล ะพระองค์
50 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
นอกจากจะเป็นใหญ่เหนือขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็จะมีเสียงสวดมนต์ ประจำพระองค์ กล่าวคือ พระไวโรจนพุทธเจ้า มีเสียงประจำ พระองค์คือเสียง “โอม” ซึ่งเกิดจากศูนย์ลมบริเวณพระเศียร พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า มีเสียงประจำพระองค์ คือ “ตรัม” ซึ่ง เป็ น เสี ย งที่ เ กิ ด จากศู น ย์ ล มที่ ส ะดื อ พระอมิ ต าภพุ ท ธเจ้ า มี เ สี ย งประจำพระองค์ คื อ เสี ย ง “หรี หฺ ” เปล่ ง มาจากศู น ย์ ล ม บริ เ วณลำคอ พระอโมฆสิ ท ธิ พุ ท ธเจ้ า มี เ สี ย งประจำพระองค์ คือ “อาหฺ” เป็นเสียงที่ออกจากศูนย์ลมที่ร่างกายช่วงล่าง และ พระอั ก โษภยพุ ท ธเจ้ า มี เ สี ย งประจำพระองค์ คื อ เสี ย ง “ฮั ม ” ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากศูนย์ลมที่หัวใจ (ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ษัฏเสน, 2538) เกี่ยวกับเรื่องมนต์ประจำเฉพาะองค์ของเทพต่างๆ นั้น ตามคติ ค วามเชื่ อ ของศาสนาพราหมณ์ ซึ่ ง เป็ น ลั ท ธิ ค วามเชื่ อ เก่ า แก่ ที่ มี ม าก่ อ นความเชื่ อ อื่ น ๆ ในตะวั น ออก ก็ มี ค วามเชื่ อ เรื่องมนต์ประจำองค์ของเทพเจ้าต่างๆ เช่น มนต์ประจำพระวิษณุ เรียกว่า วิษณุมนต์ หรือวิษณุเวท มนต์ประจำพระศิวะ เรี ย กว่ า ศิ ว มนต์ หรื อ ศิ ว เวท ซึ่ ง การสวดมนต์ ป ระจำเทพ แต่ ล ะองค์ นี้ ต้ อ งอาศั ย ผู้ เ ชี่ ย วชาญเทพแต่ ล ะองค์ เ ปล่ ง เสี ย ง สวดและเพ่ ง ถึ ง เทพองค์ นั้ น ๆ เพื่ อ เป็ น การสื่ อ สารกั บ เทพเจ้ า ด้วยการสวดมนต์ประจำเทพแต่ล ะองค์ และเป็น การเชื้อเชิญ เทพเจ้ า องค์ นั้ น มาเพื่ อ ขอร้ อ งให้ ช่ ว ยทำการตามที่ ต้ อ งการ หรื อ เป็ น สั ก ขี พ ยานในกิ จ กรรมต่ า งๆ ตลอดจนขอร้ อ งให้ เทพเจ้าช่วยคุ้มครองปกป้องภยันตรายต่างๆ ด้วย
เทพพร มั ง ธานี 51
จะเห็นได้ว่า การสวดมนต์ทางศาสนานั้นมีข้อแตกต่าง จากการสวดมนต์ทั่วไป กล่าวคือ นอกจากจะเป็นการสื่อสาร กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ อ ยู่ เ หนื อ ธรรมชาติ แ ล้ ว บางศาสนายั ง มี จุ ด มุ่ ง หมายในการศึ ก ษาและทรงจำคำสอนเพื่ อ เผยแพร่ ศาสนาด้ ว ย รวมทั้ ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ในการปฏิ บั ติ ธ รรมอั น จะ ทำให้ เ ข้ า ถึ ง ความจริ ง ทางศาสนา พิ ธี ก รรมการสวดมนต์ ท าง ศาสนาจะมี ร ะเบี ย บแบบแผนและบั น ทึ ก ไว้ ใ นคั ม ภี ร์ เ ป็ น หลั ก ฐาน ในขณะที่ ก ารสวดมนต์ โ ดยทั่ ว ไปมี จุ ด มุ่ ง หมายตาม ความประสงค์ ข องแต่ ล ะบุ ค คล และการสวดก็ เ ป็ น อิ ส ระ สำหรับแต่ละบุคคล ไม่มีระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ตายตัว
2.5 วัตถุประสงค์ของการสวดมนต์
การสวดมนต์มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เพื่อเป็นการปลดปล่อยตนเองให้มีอิสระ (หรือบรรลุเป้าหมาย สูงสุดทางศาสนา) เพื่อเป็นการบูชาความจริงสูงสุดที่แสดงออก ในรู ป แบบของเทพเจ้ า เพื่ อ บู ช าเทพทั้ ง หลายที่ มี บ ทบาทและ หน้าที่ต่างกัน เพื่อการสื่อสารกับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อ ให้ ไ ด้ รั บ พลั ง อำนาจจากสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ อำนาจเหนื อ ปกติ ธรรมชาติ เพื่ อ บวงสรวงดวงวิ ญ ญาณบรรพบุ รุ ษ เพื่ อ ติ ด ต่ อ สื่อสารกับภูตผีปีศาจ เพื่อปกป้องจากอำนาจชั่วร้ายต่างๆ เพื่อ ขับไล่ผีหรือวิญญาณชั่วร้าย เพื่อรักษาความเจ็บป่วย เพื่อขจัด สารพิ ษ ออกจากร่ า งกาย เพื่ อ ทำให้ ร่ า งกายและจิ ต ใจสะอาด
52 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
บริ สุ ท ธิ์ เพื่ อ ทำน้ ำ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ น้ ำ มนต์ เพื่ อ ให้ มี ผ ลต่ อ การ เปลี่ยนแปลงความคิดของผู้อื่น เพื่อควบคุมมนุษย์ สัตว์ และ ภู ต ผี ปี ศ าจให้ อ ยู่ ใ นอำนาจ การท่ อ งบ่ น บทสวดมนต์ แ ละสวด มนต์ ท ำนองต่ า งๆ เป็ น การสร้ า งความสงบให้ แ ก่ จิ ต ใจ เสี ย ง สวดมนต์ ส ามารถสร้ า งผลสั่ น สะเทื อ นที่ จ ะปลุ ก เอาศั ก ยภาพ ภายในของมนุษย์ให้ปรากฏได้อย่างเต็มที่ (John Woodroffe, 1994) ปัจจุบัน มนุษย์ใช้ก ารสวดมนต์เ พื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ มากมาย หากจะว่ า กั น ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องปั จ เจกบุ ค คลที่ สวดมนต์แล้ว เราไม่อาจพรรณนาวัตถุประสงค์ทั่วไปของผู้คน ในโลกที่ ส วดมนต์ ไ ด้ เพราะแต่ ล ะบุ ค คลก็ มี ค วามต้ อ งการ แตกต่ า งกั น และความต้ อ งการของมนุ ษ ย์ ก็ เ ปลี่ ย นแปลงไป ตามยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อให้เห็นภาพรวมของวัตถุประสงค์การสวดมนต์ ใน ที่ นี้ จ ะกล่ า วถึ ง การสวดมนต์ ที่ แ บ่ ง ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ป รากฏ ให้พบเห็นได้ทั่วไป ดังต่อไปนี้ 1. การสวดมนต์เพื่อสรรเสริญ เมื่ อ มนุ ษ ย์ เ ริ่ ม แสวงหาความมั่ น คงทางจิ ต ใจหรื อ ที่ พึ่ ง ทางใจ และมี ก ารยอมรั บ นั บ ถื อ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละอำนาจเหนื อ ธรรมชาติ ก็ เ ริ่ ม มี ก ารสวดมนต์ เ พื่ อ สรรเสริ ญ และยกย่ อ ง สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละเทพเจ้ า ต่ า งๆ ที่ ต นนั บ ถื อ เมื่ อ ความเชื่ อ เรื่ อ งเทพเจ้ า พั ฒ นามาเป็ น ความเชื่ อ แบบมี พ ระเจ้ า องค์ เ ดี ย ว
เทพพร มั ง ธานี 53
อั น เป็ น พื้ น ฐานของความเชื่ อ ของศาสนาแบบเทวนิ ย ม การ สวดมนต์ เ พื่ อ สรรเสริ ญ พระเป็ น เจ้ า ถู ก จั ด ให้ เ ป็ น ระบบและ กลายเป็นบทสวดมนต์หลักในศาสนาแบบดังกล่าว ในศาสนา ที่ไม่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธา เช่น พระพุทธศาสนา ก็มีการสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัยอย่างเป็นระบบ คือ มี บทสวดสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ โดยมี ชุ ด ข้ อ ความที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ข องพระพุ ท ธศาสนา ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ผู้ ส วดและผู้ ฟั ง ได้ ซึ ม ซั บ รั บ ทราบคุ ณ ของพระรั ต นตรั ย ผ่ า น บทสวดมนต์ 2. การสวดมนต์เพื่อขอพร การคุ้มครอง และ
โชคลาภจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การสวดมนต์ ใ นศาสนากลุ่ ม เทวนิ ย ม มั ก เป็ น การ ขอพรและขอการคุ้ ม ครองจากสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นศาสนาที่ ต น นับถือ โดยมักจะแสดงออกในรูปของการอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่เหนือธรรมชาติ เพื่อขอพร ขอการคุ้มครอง ขอ ให้ ไ ด้ โ ชคลาภ ขอให้ ส มบู ร ณ์ ด้ ว ยทรั พ ย์ สิ น เงิ น ทอง หรื อ สมบู ร ณ์ ด้ ว ยโภคสมบั ติ ทั้ ง ปวง รวมทั้ ง สวดเพื่ อ ขอให้ พ้ น จาก ความทุ ก ข์ ย ากที่ ก ำลั ง ประสบอยู่ การสวดเพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ดังกล่าวเป็นที่รู้จักและปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรม ต่างๆ
54 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
3. การสวดมนต์เพื่อสารภาพและขอขมา
จุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งของการสวดมนต์ในศาสนา คือ การสวดเพื่อสารภาพและขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะใน ศาสนาที่เป็นเทวนิยมซึ่งมีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจ สู ง สุ ด จะมี ก ารสวดมนต์ เ พื่ อ สารภาพและแสดงออกถึ ง ความ ศรั ท ธาและความเคารพสู ง สุ ด ที่ มี ต่ อ พระเจ้ า และองค์ ศ าสดา เมื่อศาสนิกมีความเกรงกลัวว่าตนเองจะละเมิดต่ออำนาจของ พระเจ้ า และสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จึ ง มี ก ารขอขมาและมี ก ารสารภาพ ในความผิ ด บาปที่ ต นเองได้ ท ำในสิ่ ง ที่ ผิ ด จากเทวโองการหรื อ คำสอนของศาสนา เช่ น การสวดมนต์ เ พื่ อ สารภาพความผิ ด บาปในศาสนาคริสต์ การสวดมนต์ ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า วปรากฏมี ใ นทุ ก ๆ ศาสนา แม้ ใ นพระพุ ท ธศาสนาซึ่ ง เป็ น ศาสนาที่ เ ป็ น อเทวนิ ย ม ก็ มี ก ารสวดมนต์ ใ นลั ก ษณะดั ง กล่ า ว เช่ น เนื้ อ หาของการ สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ในประเพณีของชาวพุทธในประเทศ ไทย จะพบว่าเนื้อหาบางส่วนเป็น การแสดงออกถึงศรัทธาที่มี ต่ อ พระรั ต นตรั ย การมอบกายถวายชี วิ ต ต่ อ พระรั ต นตรั ย และการแสดงออกถึ ง การขอขมาต่ อ พระรั ต นตรั ย อั น เป็ น สิ่ ง เคารพสูงสุดของชาวพุทธ 4. การสวดมนต์เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับ
ตนเองและวัตถุสิ่งของ
การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ เ ป็ น การสวดเพื่ อ ให้ ต นเอง
เทพพร มั ง ธานี 55
อยู่ ร อดปลอดภั ย ไปมาสะดวกสบายปราศจากภั ย อั น ตราย ต่ า งๆ การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ มี รู ป แบบมากมาย เช่ น ใน ประเทศไทยจะเห็ น ว่ า มี พั ฒ นาการให้ มี ก ารสวดมนต์ ป ระจำ วั น เกิ ด และมี ค าถาต่ า งๆ มากมาย เพื่ อ สวดให้ ต นเองศั ก ดิ์ สิทธิ์ตามประสงค์ นอกจากจะทำให้ตนเองศักดิ์สิทธิ์แล้ว การ สวดมนต์ ยั ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ ค นอื่ น หรื อ สิ่ ง อื่ น ๆ บั ง เกิ ด ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ด้ ว ย การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ จ ะเห็ น ได้ จ าก การสวดปลุ ก เสกวั ต ถุ ม งคลต่ า งๆ โดยเฉพาะในสั ง คมที่ มี การบู ช าวั ต ถุ ม งคลหรื อ วั ต ถุ ที่ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ทนความเชื่ อ ในพิ ธี ก รรมการทำให้ วั ต ถุ ต่ า งๆ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นั้ น จะต้ อ งมี ก าร สวดมนต์ประกอบ 5. การสวดมนต์เพื่อสมาชิกในครอบครัว ครอบครัวซึ่งเป็นสังคมหน่วยเล็กๆ แต่มีความสำคัญ มากสำหรั บ มนุ ษ ย์ เพราะครอบครั ว เป็ น พื้ น ฐานสำคั ญ ในการ สร้ า งสั ง คมที่ ดี ง าม การสวดมนต์ ใ นครอบครั ว นั้ น มี ม าตั้ ง แต่ มนุ ษ ย์ อ ยู่ ร วมกั น เป็ น เผ่ า เริ่ ม จากหั ว หน้ า เผ่ า รู้ จั ก วิ ธี ก าร สวดมนต์ เ พื่ อ ปกป้ อ งคนในเผ่ า และเมื่ อ มนุ ษ ย์ อ ยู่ กั น เป็ น ครอบครั ว หั ว หน้ า ครอบครั ว บางครอบครั ว จึ ง เรี ย นรู้ วิ ธี สวดมนต์เพื่อคุ้มครองสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้การสวดมนต์ ในยุ ค เริ่ ม ต้ น ยั ง เป็ น การสวดมนต์ ต่ อ เทพเจ้ า ต่ า งๆ และสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นธรรมชาติ ต่ อ มาเมื่ อ ความเชื่ อ ดั ง กล่ า วพั ฒ นามา เป็ น ศาสนา ในวั ฒ นธรรมแต่ ล ะศาสนาก็ จ ะมี บ ทสวดมนต์
56 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ประจำบ้านหรือบทสวดมนต์ประจำครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์ สำคั ญ เพื่ อ ให้ ส มาชิ ก ในครอบครั ว สวดเพื่ อ อธิ ษ ฐานขอพรให้ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คุ้ ม ครอง และอำนวยลาภยศและผลประโยชน์ ต่ า งๆ ในโลกี ย วิ สั ย ลั ก ษณะการสวดในครอบครั ว มั ก จะ เป็ น การสวดโดยมี หั ว หน้ า ครอบครั ว เป็ น ผู้ น ำสวด หรื อ อาจมี สมาชิ ก คนอื่ น ที่ ส ามารถเป็ น ผู้ น ำนำสวดก็ ไ ด้ และบทสวด แต่ ล ะครอบครั ว ก็ อ าจแตกต่ า งกั น แล้ ว แต่ ว่ า ครอบครั ว ใด จะเลือกบทสวดบทใดเป็นบทสวดประจำครอบครัว 6. การสวดมนต์เพื่อผู้ล่วงลับ การสวดมนต์สำหรับผู้ล่วงลับ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อย่ า งหนึ่ ง ที่ อ ยู่ คู่ กั บ สั ง คมอย่ า งเหนี ย วแน่ น และมี พั ฒ นาการ ตามวิวัฒนาการของสังคม ศาสนาและความเชื่อต่างๆ ล้วนมี การกำหนดบทสวดมนต์ ส ำหรั บ ผู้ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว เพื่ อ ตอบ สนองความเชื่ อ ในเรื่ อ งโลกหลั ง ความตาย แต่ ล ะศาสนาและ ความเชื่ อ ต่ า งก็ มี รู ป แบบและวิ ธี ก ารที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป สำหรั บ สั ง คมชาวพุ ท ธการสวดมนต์ เ พื่ อ ผู้ ล่ ว งลั บ นั้ น เป็ น ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ ที่ แ พร่ ห ลายและมี ร ะเบี ย บแบบแผน แตกต่ า งกั น ไปตามความนิ ย มในท้ อ งถิ่ น เช่ น ในสั ง คมไทย พุ ท ธ รู ป แบบการสวดมนต์ เ พื่ อ ผู้ ล่ ว งลั บ นั้ น เป็ น พิ ธี ก รรมทาง ศาสนาที่สำคัญ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ ชาวพุทธ ในแต่ ล ะภาคของไทยต่ า งก็ มี ธ รรมเนี ย มปฏิ บั ติ ก ารสวดมนต์ งานดังกล่าวแตกต่างกันไป
เทพพร มั ง ธานี 57
7. การสวดมนต์เพื่อศึกษาและทรงจำคำสอน แต่ ล ะศาสนาต่ า งก็ มี คั ม ภี ร์ ที่ บ รรจุ ห ลั ก ธรรมคำสอน ของศาสดา เพื่ อ ให้ ศ าสนิ ก ได้ ศึ ก ษาและปฏิ บั ติ ต ามคำสอน คั ม ภี ร์ จึ ง ดู เ หมื อ นเป็ น สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นวั ฒ นธรรมของศาสนา นั้ น ๆ ด้ ว ย การสวดมนต์ โ ดยยกเอาคำสอนในคั ม ภี ร์ ม าเป็ น บทสวด เพื่อให้เรียนรู้และทรงจำ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ จึงเป็นที่นิยมกันในหลายศาสนา ในศาสนา ที่ เ ป็ น อเทวนิ ย มเช่ น พระพุ ท ธศาสนา การสวดมนต์ เ พื่ อ ศึ ก ษา และทรงจำคำสอน เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของประเพณี ก ารสวดมนต์ ในศาสนาที่ พั ฒ นาเข้ า กั บ วั ฒ นธรรมประเพณี แ ละวิ ถี ชี วิ ต ของ ผู้คนที่นับถือในท้องถิ่นนั้นๆ 8. การสวดมนต์เพื่อทำให้จิตใจสงบและเป็นสมาธิ ในประเพณี ก ารปฏิ บั ติ ข องหลายๆ ศาสนา จะพบว่ า มี ก ารสวดมนต์ เ พื่ อ ให้ จิ ต ใจสงบเป็ น สมาธิ และสามารถอยู่ ในภาวะแห่ ง สมาธิ ไ ด้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยอาศั ย บทสวดมนต์ เป็ น หลั ก ตั ว อย่ า งเช่ น ประเพณี ข องชาวพุ ท ธในประเทศไทย จะเห็ น ได้ ว่ า ในการฝึ ก สมาธิ จ ะมี ก ารกำหนดให้ บ ริ ก รรมหรื อ ท่องบ่นคำสวดสั้นๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ เช่น บางสำนักนิยม ให้ บ ริ ก รรมว่ า พุ ท โธ บางสำนั ก นิ ย มให้ บ ริ ก รรมว่ า สั ม มา อะระหั ง ซึ่ ง การสวดบริ ก รรมดั ง กล่ า วมั ก จะเชื่ อ มโยงกั บ ลมหายใจเป็นหลัก และพบมากในประเพณีการปฏิบัติธรรมใน พระพุทธศาสนา
58 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
9. การสวดมนต์ เ พื่ อ ความเป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ พระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การสวดมนต์ประเภทนี้ผู้สวดจะต้องก้าวล่วงความหมาย ของบทสวดไปสู่ ก ระแสแห่ ง ศรั ท ธาที่ มุ่ ง สู่ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ โดย ผู้ ส วดจะเกิ ด ประสบการณ์ ที่ ก้ า วออกไปจากตนเองสู่ สิ่ ง ศักดิ์สิทธิ์ที่มุ่งถึงในขณะที่สวดนั้น ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นการ รวมตั ว เองเข้ า กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ต นเองนั บ ถื อ บทสวดมนต์ จะเป็ น เพี ย งเครื่ อ งมื อ ในการเข้ า สู่ ป ระสบการณ์ ดั ง กล่ า ว อย่ า งสมบู ร ณ์ และผู้ ที่ เ ข้ า ถึ ง ประสบการณ์ ดั ง กล่ า วจะไม่ รั บ รู้ สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตั ว เองในขณะนั้ น ไม่ ว่ า จะเป็ น ภาวะหนาว ร้ อ น อ่ อ น แข็ ง ก็ ไ ม่ ส ามารถทำให้ ผู้ เ ข้ า ถึ ง ภาวะดั ง กล่ า วรั บ รู้ แ ละ เกิดการตอบสนองภาวะเหล่านั้นได้ การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ จ ะพบมากในศาสนาที่ นั บ ถื อ พระเจ้ า และยอมรั บ การมี อ ยู่ ข องพระเจ้ า ในฐานะเป็ น ความ จริงสูงสุด รวมทั้งพบในการนับถือเทพเจ้าต่างๆ ของกลุ่มชน ในท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ ซึ่ ง พบทั้ ง ในความเชื่ อ ทางตะวั น ออกและ ตะวั น ตก แนวคิ ด การสวดมนต์ ดั ง กล่ า วเป็ น พื้ น ฐานหนึ่ ง ใน การอ้างถึงการเป็นตัวแทนของเทพเจ้าต่างๆ ของผู้สวดมนต์ 10. การสวดมนต์เพื่อให้พร การสวดมนต์ น อกจากจะเป็ น การขอพรและขอให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองแล้ว ยังมีการสวดมนต์เพื่อให้พรสำหรับ ศาสนิ ก ด้ ว ย การสวดมนต์ ดั ง กล่ า วมั ก ปรากฏในศาสนา
เทพพร มั ง ธานี 59
ประเภทเทวนิ ย ม ศาสนาประเภทเทวนิ ย มที่ เ ก่ า แก่ เช่ น ศาสนาพราหมณ์มีธรรมเนียมการสวดให้พรแก่ศาสนิกซึ่งเป็น พรที่ ม าจากเทพเจ้ า ต่ า งๆ โดยเชื่ อ กั น ว่ า พราหมณ์ ที่ ท รง พระเวทสามารถร่ า ยพระเวทเพื่ อ ให้ เ กิ ด สิ ริ ม งคล และให้ ประสบผลสำเร็จในชีวิตด้านต่างๆ ได้ ส่วนการสวดมนต์ให้พร ในศาสนาที่เป็นอเทวนิยม เช่น พระพุทธศาสนา เกิดขึ้นจาก ความต้ อ งการของประชาชนที่ เ ห็ น ว่ า นั ก บวชในศาสนาอื่ น ให้ พรแก่ศาสนิก จึงอยากให้พระสงฆ์ให้พรบ้าง พระพุทธเจ้าจึง อนุญาตให้พระภิกษุให้พรแก่ประชาชนได้ตามความเหมาะสม ต่ อ มาจึ ง มี ก ารแต่ ง บทสวดมนต์ เ พื่ อ ให้ พ รโดยเฉพาะ และ กลายเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชน รู้ จั ก มากอี ก ประเพณี ห นึ่ ง เนื่ อ งจากเป็ น ประเพณี ที่ ไ ด้ พ บเห็ น และปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันเสมอ 11. การสวดมนต์ เ พื่ อ เปลี่ ย นสถานภาพของ
บุคคลและวัตถุสิ่งของ
การสวดมนต์ ป ระเภทนี้ คล้ า ยกั บ การสวดมนต์ เ พื่ อ ทำตนเองและวั ต ถุ ใ ห้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แต่ ใ นหั ว ข้ อ นี้ จ ะเน้ น การ สวดมนต์ ที่ ถื อ เป็ น พิ ธี ก รรมทางศาสนา และลั ท ธิ ค วามเชื่ อ ต่ า งๆ ที่ เ มื่ อ มี ก ารยอมรั บ นั บ ถื อ หรื อ เข้ า รี ต ในลั ท ธิ นั้ น ๆ แล้ ว จะมี พิ ธี ก รรมต่ า งๆ ที่ ต้ อ งปฏิ บั ติ เ ป็ น ลำดั บ สื บ ต่ อ กั น ไป พิธีกรรมบางอย่างเป็นพิธีกรรมที่มีการสวดมนต์ประกอบเพื่อ เปลี่ ย นสถานภาพของบุ ค คล โดยเฉพาะในศาสนาเมื่ อ มี
60 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ความเลื่อมใสต้องการที่จะเข้าเป็นสมาชิกของศาสนิกในระดับ ต่ า งๆ เพื่ อ ปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ศาสนาแล้ ว จะมี พิ ธี ก รรมที่ ท ำให้ บุ ค ค ล ผู้ นั้ น เ ป็ น ส ม า ชิ ก แ ล ะ เ ป ลี่ ย น ส ถ า น ภ า พ ห รื อ ย ก สถานภาพของบุ ค คลให้ สู ง ขึ้ น เช่ น ในศาสนาพุ ท ธ การที่ จ ะ เปลี่ ย นสถานภาพจากศาสนิ ก ชนทั่ ว ไปเป็ น นั ก บวชในศาสนา นั้ น จะต้ อ งผ่ า นพิ ธี ก รรมที่ มี บ ทสวดมนต์ เ ป็ น องค์ ป ระกอบ สำคั ญ จึ ง จะเป็ น นั ก บวชได้ อ ย่ า งสมบู ร ณ์ หากมี ก ารสวด ไม่ถูกต้อง ผิดพลาด หรือบกพร่องไปด้วยการเปล่งวาจาสวด ไม่ ถู ก ต้ อ ง พิ ธี ก รรมการเปลี่ ย นสถานภาพหรื อ พิ ธี อุ ป สมบท นั้นก็จะไม่สมบูรณ์ 12. การสวดมนต์เพื่อรักษาโรคและความเจ็บป่วย วั ต ถุ ป ระสงค์ ห นึ่ ง ของการสวดมนต์ ซึ่ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก กั น อย่างแพร่หลายในสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ คือ การสวดมนต์ เพื่อรักษาความเจ็บป่วย การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งการ ฟื้ น ฟู สุ ข ภาพจากความเจ็ บ ป่ ว ยต่ า งๆ ด้ ว ย ในแต่ ล ะ วั ฒ นธรรมมี รู ป แบบการสวดมนต์ ป ระเภทนี้ แ ตกต่ า งกั น ไป ตามความเชื่อ ผู้ที่ทำหน้าที่สวดมนต์เพื่อรักษาโรคในประเพณี ท้ อ งถิ่ น เป็ น เหมื อ นหมอรั ก ษาโรคทางกายและพระรั ก ษาโรค ทางใจในเวลาเดี ย วกั น มั ก จะเป็ น ที่ เ กรงขามและได้ รั บ การ ยกย่องในสังคมอดีต การรักษาโรคด้วยการสวดมนต์ดังกล่าวยังไม่มีผลการ วิจัยถึงประสิทธิภาพในการรักษาโดยตรง แต่มีการยอมรับผล
เทพพร มั ง ธานี 61
ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น โดยอ้ อ มแก่ ผู้ ส วดมนต์ เนื่ อ งจากการสวดมนต์ ช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล ทำให้ผู้สวดมนต์มองโลก ในแง่ ดี มี ก ำลั ง ใจและมี ศ รั ท ธาที่ จ ะมี ชี วิ ต อยู่ ต่ อ ไป ภาวะ ดั ง กล่ า วจะส่ ง ผลโดยอ้ อ มต่ อ สุ ข ภาพทั้ ง ทางกายและทางใจ เมื่อผู้สวดมนต์มีจิตใจเข้มแข็ง โรคภัยต่างๆ ก็อาจบรรเทาลงได้ 13. การสวดมนต์ เ พื่ อ สาปแช่ ง และให้ ร้ า ยแก่
ปรปักษ์
การสวดมนต์ประเภทนี้เป็นการเอาอานุภาพที่เกิดจาก การสวดมนต์ ที่ เ ชื่ อ ว่ า บทสวดมนต์ ที่ แ ต่ ง ขึ้ น มี พ ลั ง อำนาจ ในตั ว เองของแต่ ล ะบท เพื่ อ ให้ ท ำลายศั ต รู คู่ แ ข่ ง ผู้ ที่ ต น จงเกลียดจงชัง หรือผู้ที่เป็นปรปักษ์ในด้านต่างๆ การสวดมนต์ ประเภทนี้ มี ค วามเชื่ อ ว่ า เสี ย งสวดที่ เ กิ ด จากลมภายในมี ฤ ทธิ์ มี เ ดชสามารถดลบั น ดาลให้ เ กิ ด สิ่ ง ต่ า งๆ ตามความต้ อ งการ ของผู้ ส วดได้ การสวดมนต์ เ พื่ อ สาปแช่ ง และให้ ร้ า ยนี้ มี ก าร สร้างสัญลักษณ์ประกอบในพิธีสวดด้วย เช่น สร้างหุ่นที่สมมติ ว่าเป็นคู่ปรปักษ์ แล้วมีการสวดและพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นว่า หุ่นนั้นได้รับผลกระทบทางร้ายต่างๆ หรืออาจจะมีวัตถุอื่นๆ ที่ ใช้ ป ระกอบในการสวดมนต์ เ พื่ อ สาปแช่ ง สุ ด แต่ ผู้ ป ระกอบ พิธีกรรมจะคิดขึ้น การสวดมนต์ เ พื่ อ สาปแช่ ง นี้ ยั ง ถู ก นำมาใช้ เ พื่ อ เป็ น หลั ก ประกั น ความจงรั ก ภั ก ดี เพื่ อ เป็ น เครื่ อ งมื อ หนึ่ ง ในการ ปกครอง ที่ รู้ จั ก กั น ในชื่ อ ว่ า โองการแช่ ง น้ ำ ซึ่ ง นำมาจากพิ ธี
62 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ทางศาสนาพราหมณ์ โดยมี ก ารประกาศสรรเสริ ญ พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ตามลำดับ แล้วตามด้วย คำสาปแช่ ง ในโองการแช่ ง น้ ำ ซึ่ ง มี เ นื้ อ หาที่ มุ่ ง ให้ ผู้ ที่ ไ ม่ จ งรั ก ภั ก ดี ไม่ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต พิ น าศฉิ บ หายตายไปด้ ว ยภั ย พิ บั ติ ต่างๆ ภายในสามวันเจ็ดวัน การสวดมนต์ เ พื่ อ สาปแช่ ง นี้ เป็ น แนวคิ ด ที่ ไ ด้ รั บ อิทธิพลจากวรรณคดีต่างๆ ทางฝ่ายพราหมณ์ ซึ่งในเรื่องราว มักจะปรากฏว่าเทพเจ้า ฤษีต่างๆ ต่างก็มีเวทมนตร์ขลังและมี วาจาศักดิ์สิทธิ์ สามารถสาปสรรให้ผู้อื่นมีอันเป็นไปต่างๆ จน เป็นที่น่าหวาดกลัวและเกรงขาม (ธนิต อยู่โพธิ์, 2537) อนึ่ง การสวดมนต์เพื่อให้ร้ายผู้อื่นหรือทำลายปรปักษ์ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของมนต์ฝ่ายดำ (black magic) เป็ น การสวดประกอบพิ ธี ไ สย์ ฝ่ า ยดำ ซึ่ ง ตรงกั น ข้ า มกั บ ฝ่ า ย ขาว (white magic) การกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการสวดมนต์ข้างต้น ยัง ไม่ ค รอบคลุ ม ถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการสวดมนต์ ที่ ส วดตาม วัตถุประสงค์ต่างๆ ของปัจเจกบุคคล ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยเฉพาะเมื่ อ สั ง คมมี ค วามเปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งรวดเร็ ว รู ป แบบวิ ถี ชี วิ ต ของผู้ ค นก็ มี ค วามเปลี่ ย นแปลงไปตามการ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ภาย ใต้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ย่อมมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิ ม ด้ ว ย ในขณะเดี ย วกั น ความเชื่ อ ทางศาสนาก็ ยั ง คง อยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ดังนั้น การสวดมนต์ซึ่งเป็น
เทพพร มั ง ธานี 63
กิ จ กรรมทางศาสนาและความเชื่ อ ที่ ผู้ ค นปฏิ บั ติ กั น มากกว่ า กิ จ กรรมด้ า นอื่ น ๆ รู ป แบบและวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการสวดมนต์ ในปัจจุบันจึงมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วย
2.6 การสวดมนต์ในกระแสวัฒนธรรมทีเ่ ปลีย่ นแปลง เมื่ อ ศาสนาผนวกเข้ า กั บ วิ ถี ชี วิ ต และชุ ม ชนแล้ ว การสวดมนต์ ที่ ป รากฏในพิ ธี ก รรมต่ า งๆ นั บ ว่ า มี ค วามสำคั ญ เป็ น อย่ า งยิ่ ง เพราะประเพณี พิ ธี ก รรมใดๆ ก็ ต ามที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กั บ ศาสนาจะต้ อ งมี ก ารสวดมนต์ ด้ ว ยเสมอ การสวดมนต์ จึงกลายเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆ จะเห็น ได้ ว่ า พิ ธี เ กี่ ย วกั บ การเกิ ด การตาย การแต่ ง งาน ความเจ็ บ ป่วย ซึ่งเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิต ก็จะมีบทสวดต่างๆ ที่ นิยมสวดในพิธีกรรมนั้นๆ รวมทั้งเมื่อมีการประกอบพิธีกรรม เกี่ ย วกั บ การประกอบอาชี พ ต่ า งๆ ก็ จ ะมี ก ารสวดมนต์ เ ข้ า มา เกี่ยวข้องเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วยเสมอ การสวดมนต์ ท ำให้ เ กิ ด เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมและ ประเพณี ข องแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น และเป็ น การสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ของผู้ ที่ มี ค วามศรั ท ธาในรู ป แบบต่ า งๆ โดยผ่ า นการ สวดมนต์ การสวดมนต์ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะตาม บริบทและความเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย จะเห็น
64 วั ฒ นธรรมการสวดมนต์ และ พระปริตรในวัฒนธรรมไทย
ได้ ว่ า ในบางวั ฒ นธรรม การสวดมนต์ จ ะถู ก ปลู ก ฝั ง ในทั้ ง ปั จ เจกบุ ค คลทุ ก เพศทุ ก วั ย ในครอบครั ว ในชุ ม ชน และใน ประเทศชาติ ซึ่งมีการแต่งบทสวดมนต์ให้เข้ากับความต้องการ ของแต่ละบุคคล แต่ละครอบครัว และมีการแต่งบทสวดมนต์ เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อตามตำนานในท้องถิ่น ตลอดจน มีการแต่งบทสวดมนต์เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของ คนในชาติ หรือกำหนดให้มีบทสวดในวันสำคัญของชาตินั้นๆ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าการสวดมนต์ถูกนำมาใช้ในการเมืองการ ปกครอง ที่ ผู้ ป กครองใช้ เ ป็ น กุ ศ โลบายในการสร้ า งชาติ แ ละ ความรู้สึกร่วมในความเป็นชาติเดียวกันของประชาชนด้วย การที่ บ ทสวดใดๆ จะเป็ น ที่ นิ ย มและปฏิ บั ติ กั น อย่ า ง กว้ า งขวางนั้ น ส่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากจุ ด มุ่ ง หมายของบทสวดนั้ น สอดคล้องกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่ ง การเปลี่ ย นแปลงทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น ไปในลั ก ษณะพลวั ต สั ม พั น ธ์ กั บ การเปลี่ ย นแปลงด้ า นเศรษฐกิ จ และสั ง คมในขณะ นั้ น ดั ง นั้ น เมื่ อ เศรษฐกิ จ และสั ง คมเปลี่ ย นแปลงไป ความ นิ ย มในบทสวดบางบทก็ เ ปลี่ ย นแปลงตามไปด้ ว ย โดยจะมี พัฒนาการและเนื้อหาใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและ สังคมในขณะนั้น ลั ก ษณะการเปลี่ ย นแปลงทำนองนี้ เ กิ ด ขึ้ น ทั้ ง กั บ บท สวดมนต์ ที่ เ ป็ น แบบชาวบ้ า น (Popular Prayer) และการ สวดมนต์ ท างพิ ธี ก รรมของศาสนาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ รั ฐ เช่ น ใน การเปลี่ ย นแปลงไปสู่ สั ง คมแบบบริ โ ภคนิ ย ม ทำให้ รู ป แบบ
เทพพร มั ง ธานี 65
และเนื้ อ หาการสวดมนต์ เ ปลี่ ย นแปลงไปตามเป้ า หมายของ กระแสสั ง คมที่ มี บ ริ โ ภคนิ ย มเป็ น ฐานความคิ ด ดั ง นั้ น ใน สั ง คมลั ก ษณะนี้ จ ะไม่ นิ ย มการสวดเพื่ อ เป้ า หมายที่ สู ง กว่ า เป้าหมายทางด้านการประสบความสำเร็จในชีวิตปัจจุบัน (เช่น นิ พ พาน การเข้ า ถึ ง พระเจ้ า ) แต่ นิ ย มการสวดมนต์ เ พื่ อ การ เข้าถึงการบริโภคสินค้าต่างๆ ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ และทุนนิยมเสรีแทน ท่ า มกลางกระแสโลกปั จ จุ บั น การสวดมนต์ ข อง มนุ ษ ยชาติ ค วรนำไปสู่ ก ารฝึ ก ฝนตนเอง การขั ด เกลาจิ ต ใจ ให้ มี กิ เ ลสเบาบาง และการพั ฒ นาคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมให้ มี มากกว่ า ที่ เ ป็ น อยู่ โดยเฉพาะคุ ณ ธรรมด้ า นความยุ ติ ธ รรม ความเมตตากรุ ณ า และความอดทนอดกลั้ น ต่ อ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ด้วยกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด