สุขใขในยามป่วย

Page 1


ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติ หากเข้าใจ ย่อมแก้ ไขและป้องกันได้

ธรรมะสร้างกำลังใจในยามป่วย พร้อมบทสวดมนต์พาหุงมหากา, โพชฌังคปริตร พุทธฤทธิ์พิชิตโรค สมุนไพรรักษาโรค และวิธีกดจุดหยุดโรคตามภูมิปัญญาไทย เรียบเรียง : กฤษดา รามัญศรี ออกแบบปก : จิระพัฒน์ ยังโป้ย รูปเล่ม/จัดอาร์ต : จิระพัฒน์ ยังโป้ย

บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา, ชิชกาน ทองสิงห์


ขอเชิญร่วมสร้าง

เพื่อจรรโลงสังคมไทย

ในโมงยามที่สังคมกำลังเกิดความสับสนวุ่นวาย อ่านข่าว ในหนังสือพิมพ์หรือฟังข่าวตามโทรทัศน์ก็มักจะได้ยินหรือได้ เห็นข่าวประเภทการก่ออาชญากรรม การทำแท้ง การฆ่าตัวตาย หรือการทุจริตอยู่บ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้เกิดจากสังคมของเราขาด เชื้อ “DNC” หรือเชื้อธรรมะนิวเคลียร์ นั่นเอง เราจะเติมเชื้อธรรมะนิวเคลียร์ ได้อย่างไร? การพิมพ์ หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะเติมเชื้อ ธรรมะได้ เพราะเป็นการเผยแพร่ธรรมะให้คนในสังคมได้ศึกษา ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ดังคำที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านกล่าวไว้ว่า “คำว่า ธรรมะ เพียงคำเดียว มีความหมายหลายประการ แต่ ป ระการที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด นั้ น ธรรมะ คื อ หน้ า ที่ ที่ ม นุ ษ ย์ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ ทุกขั้นทุกตอน แห่งวิวฒั นาการของเขา เพือ่ ความมีชวี ติ อยูอ่ ย่างผาสุก ทัง้ โดย ส่วนตัวและส่วนรวม หรือทั้งโลก การพิมพ์หนังสือธรรมะขึ้น เป็นธรรมทาน ในสมัยที่โลกกำลังขาดแคลนธรรมะอย่างยิ่ง เช่นนี้ เป็นสิ่งที่มีเหตุผลและควรแก่การอนุโมทนา” ร่วมกันเติมเชือ้ “DNC” โดยการแจกหนังสือเป็นธรรมทาน เพื่อสร้างบุญแก่ตนเอง และยังเป็นการสร้างสรรค์สังคมให้เป็น สุขสงบเย็น


คำนำ “ความเจ็บป่วย มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” เป็นคำสอนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ สามารถตีความเบือ้ งต้นได้วา่ ความเจ็บป่วย ก็เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ ที่คนเราจะต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา เมื่อเราป่วย ถ้าสามารถวางความเป็นตัวตนของเรา คิดว่าความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจก็จะสบาย มี กำลังใจเพิ่มมากขึ้นในการที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ โรคที่ เป็นก็จะหายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “กาย ป่วย ใจไม่ป่วย” เพราะร่างกายของเราแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนกาย และส่วนใจ ถ้าเรารักษาใจให้แข็งแกร่ง ไม่วิตก กังวลยามเจ็บป่วยได้ โรคร้ายที่คุกคามเราก็จะทุเลาเบาบาง ลงได้ ดังคำสอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “เดี๋ยวนี้เรามีความเจ็บความไข้แล้วเราไม่รู้จักรักษา อย่างไร ไม่รู้จักกำจัดโรคนั้นออกไปได้โดยวิธีใด เพราะไม่รู้ ธรรมะ เพราะไม่รู้จักหน้าที่ หารู้ไม่ว่า โรคภัยทั้งหลายเกิด จากความวิตกกังวล แล้วก็ไม่ได้กำจัดความวิตกกังวล ตัวเป็นโรคกระเพาะอาหาร เพราะมีความวิตกกังวล เป็นต้นเหตุ แต่แล้วก็ไม่สนใจที่จะรักษาโรคกระเพาะอาหาร ด้วยการทำลายความวิตกกังวล กลับไปสร้างความวิตกกังวล ในด้านกิจการงาน การเงิน การอะไรต่างๆ ให้มากขึน้ อีกทางหนึง่


มันก็ไม่มีทางจะหายได้ โรคทั้งหลายมีมูลมาจากความไม่เป็นปกติของส่วน ประกอบของร่ายกายซึ่งเป็นธรรมชาติ และเป็นไปตามกฎ ธรรมชาติทั้งนั้น ไม่ว่าโรคอะไร ฉะนั้น ถ้าผู้ ใดได้เข้าถึงความจริงข้อนี้ มีธรรมะกัน จริงๆ ในข้อนี้แล้ว ก็ยากที่จะเจ็บไข้หรือยากที่จะตายได้” หนังสือ “สุขใจในยามป่วย” เล่มนี้ เนือ้ หาประกอบด้วย ๑. บทธรรมบรรยายเรื่อง “ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้” ของพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ๒. บทสวดมนต์ประจำวัน (ก่อนนอน) ๓. สมุนไพรไทยรักษาโรค ๔. วิธีกดจุดเพื่อรักษาและบรรเทาโรค หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างประโยชน์และ ความสุขแก่ผอู้ า่ นทุกท่าน และได้แนะนำหนังสือเล่มนีแ้ ก่ผอู้ นื่ ต่อไป

โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


สุ ข ใจในยามป่ ว ย* ตถตา หัวใจพระพุทธศาสนาที่ควรใส่ใจ อาตมาเห็นว่า หัวใจของพระพุทธวจนะทั้งหมดจะมี ประโยชน์ แ ก่ ความเจ็ บ ไข้ จึ ง อยากจะมาพู ด กั น สั ก หน่ อ ย ด้วยเรื่องหัวใจของพระพุทธวจนะ โดยคิดว่าก็ทราบอยู่แล้ว แต่อาจจะลืมไปก็ได้ เพราะความเจ็บไข้ครอบงำอาจจะเฟือน ไปก็ได้ จึงอยากจะมาพูดด้วยเรื่องนี้ เพื่อเป็นการซักซ้อมที่มี ประโยชน์ที่สุดในเวลาเช่นนี้ หัวใจของพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธวจนะนั้น อาจจะกล่าวได้หลายๆ อย่าง แต่ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุด ก็คือคำกล่าวสั้นๆ ว่า “สิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง” ๑ ซึ ง ่ โดยบาลี ก ค ็ อ ื คำว่ า “ตถตา ” อาตมายังจำได้ว่า ได้เคยพูดถึงเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้ว ลองรำลึกดูว่าได้พูดอย่างไร * เดิมชื่อ “ธรรมะสำหรับคนเจ็บไข้” ๑ ตถตา แปลว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นไปเช่นนั้นเอง เกิดเอง ตั้งอยู่เอง ดับเองตามกฎของธรรมชาติ

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

5


สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเช่นนั้นเอง ตถตา ว่า เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง ทุกสิ่งเป็นเช่นนั้น เอง ทั้งสิ่งที่มีเหตุ มีปัจจัย หรือสังขารทั้งปวง มันก็เป็น เช่นนั้นเอง ตามแบบของสังขาร แม้สิ่งที่มิใช่สังขาร แต่เป็น วิสังขาร๑ เป็นอสังขตะ๒ มันก็มีความเป็นเช่นนั้นเองตามแบบ ของวิสังขาร ถ้าเราเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง จะเป็นอย่างไร ? ข้อนี้ เคยพูดกันแล้ว เพียงแต่ย้อนระลึกนึกถึงใจความเหล่านั้น ก็ควรจะพอ ทบทวนกันได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่า พวกที่มีเหตุ มีปัจจัย สังขารที่มีเหตุ มีปัจจัย มันก็มีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป การ เกิดขึน้ ก็เป็นเช่นนัน้ เอง การตัง้ อยูก่ เ็ ป็นเช่นนัน้ เอง การดับไป ก็เป็นเช่นนั้นเอง ดังนั้นความเกิด ก็คือความเป็นเช่นนั้นเอง การแก่ชรามันก็เป็นเช่นนั้นเอง ความเจ็บไข้ก็เป็นเช่นนั้นเอง กระทั่งความตายก็เป็นเช่นนั้นเอง ๑ วิสังขาร แปลว่า สิ่งที่ปราศจากการปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ๒ อสังขตะ แปลว่า สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง หรือไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น 6

สุขใจในยามป่วย พุทธทาสภิกขุ


เจ็บไข้หรือหายป่วย เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยเช่นนั้นเอง ขอให้ดูให้ดี จนรู้สึกในความจริงเช่นนี้ว่า การที่เราอยู่สบาย มันก็คือเช่นนั้นเอง การที่เราต้องเจ็บไข้มันก็เช่นนั้นเอง ถ้าหายมันก็คือความเป็นเช่นนั้นเอง คือมีปัจจัยที่ถูกต้อง ถ้าไม่หายมันก็เป็นเช่นนั้นเอง เพราะมีปัจจัยที่ไม่ถูกต้อง เจ็บป่วย เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ ถ้าสมมติว่าจะต้องตายมันก็คือเช่นนั้นเอง ถ้าไม่ตาย มันก็คือเช่นนั้นเอง ดั ง นี้ ทั้ ง หมดนี้ ล้ ว นแต่ เ ป็ น เรื่ อ งของ เช่นนัน้ เอง เป็นความเป็นเช่นนัน้ เองของสังขารทัง้ หลายทัง้ ปวง บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

7


เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย จักพ้นได้เมื่อเข้าถึงธรรม แต่พระองค์ได้ตรัสว่า “ถ้าได้อาศัยพระองค์มาเป็นกัลยาณมิตรแล้ว พวกสัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ก็จะพ้นจากความเกิด ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็จะพ้นจากความแก่ ที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็จะพ้นจากความตาย” ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ? ข้อนี้หมายความว่า เมื่อ เราได้อาศัยพระพุทธองค์เป็นกัลยาณมิตรแล้ว ก็คือได้ฟัง ธรรมของพระองค์ ได้เข้าใจธรรมของพระองค์จนกระทั่งเห็น ธรรมะสู ง สุ ด ที่ เ ป็ น เช่ น นั้ น เอง สู ง สุ ด คื อ ความไม่ มี ตั ว ตน ความไม่มีของตน มีแต่ธรรมชาติของความเป็นเช่นนั้นเอง ทุกอย่างเป็นเช่นนัน้ เอง ไม่มคี วามหมายแห่งตัวตนของมันเลย 8

สุขใจในยามป่วย พุทธทาสภิกขุ


ไม่หลงสมมติ ก็ยุติทุกข์เพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมองเห็นความเป็นอนัตตา ไม่มีสิ่งที่ควรถือว่าเป็นตัวตน สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันจึงไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย มีแต่สังขารทั้งหลายเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยของมันเท่านั้น นี่เรียกว่า เห็นความจริงเป็นเช่นนั้นเองของสังขาร ทั้งปวง ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่สังขารทั้งหลาย ปรุ ง แต่ ง ไปตามกฎของอิ ทั ป ปั จ จยตา ๑ กฎอิ ทั ป ปั จ จยตา บันดาลให้สังขารเป็นไป เราสมมติเอาอาการนั้นๆ ว่าเป็น ความเกิดบ้าง เป็นความแก่บ้าง เป็นความเจ็บบ้าง เป็นความ ตายบ้าง ถ้าหลงในสมมตินี้ ก็จะต้องเป็นทุกข์เพราะความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ๑ อ่านว่า อิ-ทับ-ปัด-จะ-ยะ-ตา เป็นคำสอนที่เป็นหลักสำคัญทางพุทธศาสนา กล่าวถึงความเกีย่ วเนือ่ งกันของเหตุและผล เมือ่ มีเหตุยอ่ มมีผล และเมือ่ เหตุดบั ผลก็ดบั คือเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

9


เข้าใจ “ความเป็นเช่นนั้นเอง” ก็ ไม่ต้องเกรงกลัวทุกข์

เมือ่ ได้อาศัยพระพุทธองค์เป็นกัลยาณมิตร เห็นความจริง แล้ว ก็เห็นว่า ไม่มีใครๆ ไม่มีสัตว์ บุคคลใด มีแต่สังขารล้วนๆ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ นี้เรียกว่าเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ของสิ่งที่เป็นสังขาร คือมีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ ทีนี้มาดูพวกที่ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เป็นธรรมะประเภท อสังขตธรรม อสังขตธรรมไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง พวกนี้ ไม่เป็นเหตุไม่เป็นผลของอะไร มีแต่สภาพเช่นนั้นเองของ ธรรมะส่วนนี้ ซึ่งเรียกว่า “วิสังขาร” เป็นที่ดับแห่งสังขาร ทั้งปวง เราเรียกกันโดยภาษาธรรมดาๆ ว่า “พระนิพพาน” ธรรมประเภทนี้ว่างจากการปรุงแต่ง จึงว่างจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

10 สุขใจในยามป่วย พุทธทาสภิกขุ


ว่างจากตัวตนเมื่อใด ก็หมดเหตุปัจจัยให้ต้องทุกข์ แม้ว่าสังขารทั้งหลาย จะมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าบุคคลมองเห็นวิสังขาร หรือภาวะของการไม่ปรุงแต่งแล้ว สิ่งที่มีการปรุงแต่ง ก็จะหมดความหมายไปเอง เพราะว่ามันว่างจากสิ่งที่เป็นตัวเป็นตน ปล่อยวางได้ ใจก็เป็นสุข เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ให้พิจารณาดูว่า ในที่ทุกแห่งไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตน ที่เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ก็เพราะเราเข้าใจเอาเอง เรา สมมติกันเอง เพราะเราไม่รู้ เมื่อได้อาศัยพระพุทธองค์เป็นกัลยาณมิตร จึงได้รู้ว่า สังขารทั้งปวงเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย มีอาการต่างๆ กัน ถูกเอามาสมมติยึดถือให้เป็นเกิด เป็นแก่ เป็นเจ็บ เป็นตาย แล้ ว ก็ เ ข้ า ใจตั ว เองว่ า เป็ น สั ตว์ เป็ น บุ ค คล เป็ น เจ้ า ของ ผู้กระทำความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

11


ว่างจากความเป็นตัวตนเมื่อใด ก็ไม่มีอะไรน่าเอา น่าเป็น ถ้าเข้าใจถึงหัวใจของพระธรรม หรือของพระพุทธวจนะ แล้ว ย่อมไม่เกิดความรู้สึกว่ามีอะไรที่เป็นตัวเป็นตน ไม่มี อะไรทีน่ า่ เป็น ด้วยความยึดถือว่าเราเป็นหรือใครเป็นนัน่ เป็นนี ่ นี้เรียกว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง แล้วก็ไม่น่าเอา ไม่น่านำมาเป็นของเรา ถ้าเห็นอย่างนี้จิตก็ไม่จับฉวยอะไร เกิด แก่ เจ็บ ตาย กรี้ด...ฉัน เป็นเรื่องธรรมดานะครับ จะต้องแก่เหรอนี่ ไม่จับฉวยเอาอะไรมาเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของตน ไม่จับฉวยเอาความเกิด แก่ เจ็บ ตาย มาเป็นของตน ไม่มี อะไรที่จะต้องจับฉวยเอามาเป็นตัวตน ของตน และจับฉวย เอามาเป็นตัวตน ของตนก็ไม่ได้ มันทำไม่ได้ เพราะว่ามัน ว่างจากความเป็นตน หรือของตน มันเป็นเพียงกิรยิ าแห่งการ เปลี่ยนแปลงของสังขารที่มีการเปลี่ยนแปลง 12 สุขใจในยามป่วย พุทธทาสภิกขุ


จิตโง่ไปยึดถือเอากิริยา จึงนำพาให้เกิดกรรม + ผลกรรม สังขารล้วนๆ ตามธรรมชาติ โดยกฎของธรรมชาติมันก็เปลี่ยนแปลง นี้เราเรียก “กิริยา” แต่ถ้าจิตมันโง่ไปเอากิริยานั้นมาเป็นของตน มันก็กลายเป็น “กรรม” แล้วก็จะมี “ผลกรรม” สำหรับจิตที่หลงยึดถือเช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดคำกล่าวที่ว่า เรามีกรรมเป็นของตน จะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ถ้ า เราเห็ น ความเป็ น เช่ น นั้ น เองเสี ย แล้ ว มั น ก็ ต้ อ ง ไม่เป็นการทำกรรม มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของสังขาร จึงเรียกว่าเป็นกิริยาเท่านั้น เห็นอย่างนี้แล้วก็ ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ จิตก็น้อมไปเพื่อนิพพาน อันเป็นความดับ ไม่มีอะไรเหลือสำหรับเวียนมาเกิดอีก ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

13


จิตยินดี ในนิพพานก่อนตาย ตัดการเวียนว่าย ตาย เกิด ทีนเี้ มือ่ ถึงคราวทีส่ งั ขารร่างกายนี้ มันจะดับของมันเอง ตามธรรมชาติ ให้จิตนี้สมัครดับไม่เหลือ สมัครใจดับไม่เหลือ มีความรู้อยู่แก่ใจว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเพียงกิริยาของสังขารตามธรรมชาติ ก็จะสมัครดับไปไม่เหลือ หรือจะถึงกับพอใจที่จะดับไม่เหลือ คือพอใจในพระนิพพาน ถ้ายังเหลืออยู่ ก็มีการเวียนว่ายไปในวัฏสงสาร๑ ถ้าดับ ไม่เหลือก็เป็นนิพพาน จึงควรจะสมัครนะ ดับไม่เหลือ อย่าให้ ต้องน้อยหน้าอนาถบิณฑิกเศรษฐี เศรษฐีคนนี้ ได้ยินได้ฟัง เรือ่ งอนัตตา เรือ่ งดับไม่เหลือในวาระสุดท้ายก็ยงั เอาตัวรอดได้ ดังที่ปรากฏเรื่องในพระบาลีนั้นๆ เป็นไงบ้างจ๊ะ ใจเป็นสุขชั่วคราว เท่ากับนิพพานชั่วขณะ ร่างกายพอไหว จิตสุใจยัขครังบเป็ น ๑ ฏสงสาร มาจากคำว่า วัฏฏะ (วน, วังวน) + สงสาร (การท่องเที่ยวไป) วัหมายถึ ง การเที่ยวไปในวังวนของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย 14 สุขใจในยามป่วย พุทธทาสภิกขุ


พุทธบริษัท ต้องดับสังขารโดยไม่เหลือให้ได้ นีเ่ ราก็เป็นพุทธบริษทั มานาน เข้าใจธรรมะนีจ้ งึ สามารถ ที่จะดับไม่เหลือ โดยไม่ต้องน้อยหน้ากัน โดยกระทำในใจให้ ถูกต้องว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงมันเป็นเช่นนั้นเอง สังขารที่ มี ปั จ จั ย ปรุ ง แต่ ง ก็ เ ป็ น เช่ น นั้ น เอง ตามลั ก ษณะของการ ปรุงแต่ง หรือสังขาร การปรุงแต่งนี้เราเรียกกันว่า สังขาร พวกที่เป็นสังขารก็เช่นนั้นเอง ไปตามแบบของสังขาร พวกที่เป็นวิสังขาร มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ไปตามแบบของวิสังขาร จึงกล่าวได้ว่า ธรรมทั้งปวง ทั้งสังขารและวิสังขาร มันเป็นเช่นนั้นเอง

สังขารทั้งหลาย ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่ายึดมั่นนะครับ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

15


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.