กายป่วยใช้ยารักษา แต่ถ้าใจป่วยธรรมะช่วยได้
ธ ร ร ม ะใ จ ส มุ น ไตั พ วร รักษา
รักษา โดย...
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) รวบรวม/เรียบเรียง : สุภาพ หอมจิตร ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : วันดี ตามเที่ยงตรง พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์ ภาพประกอบ : ชิชกาน ทองสิงห์, สมควร กองศิลา
ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่ ธรรมะนิวเคลียร์ เป็นธรรมทาน เพื่อเป็นแสงสว่างทางพุทธิปัญญานำพาชีวิตให้งอกงาม หนังสือนี้มีคุณค่าอย่าโยนทิ้ง อ่านให้จริงจนจบครบเนื้อหา แจกเป็นธรรมทานสานปัญญา เพื่อสร้างศรัทธาบารมีชี้ทางบุญ ไม่ฉีกขาดราดเลอะหรือเปรอะเปื้อน อักษรเลือนลางไปอย่าให้สูญ หนังสือธรรมล้ำเลิศจงเทิดทูน แหล่งเพิ่มพูนความรู้สู่สังคม ฯ เมื่อท่านอ่านเล่มนี้จบแล้ว หากไม่ต้องการเก็บรักษาไว้ กรุณามอบให้ห้องสมุด หรือมอบให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ ต่อไป จักเป็นกุศลอย่างยิ่ง
อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ พุทฺธรูปํ สมํ สิยา. สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์ (ศาสนวงศ์ ฉบับพระปัญญาสามี ๒๔๐๔)
คำนำ
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นมี ๒ อย่าง คือ ทุกข์กายกับทุกข์ใจ ทุกข์กาย แก้ได้ด้วยปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่สำหรับทุกข์ใจนั้นท่านว่าต้องแก้ด้วยธรรมะ เพราะธรรมะเป็นยาแก้ทุกข์ ทางใจ เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ เป็นที่พึ่งทางใจ คนเราเมื่อมีทุกข์ทางกาย
ได้ปัจจัย ๔ มารักษาก็หาย แต่ทุกข์ทางใจต้องใช้ธรรมะมารักษา คนที่ไม่เห็นความจริงในข้อนี้ เมื่อมีทุกข์ทางใจก็จะทุกข์หนักยิ่งขึ้น มีอาการว้าเหว่ เศร้าสร้อย เพ้อพร่ำรำพัน และโวยวายโทษนั่นโทษนี่ ส่วน คนมีธรรมะและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ จะมีภูมิต้านทานความทุกข์ทาง ใจได้ดีกว่าคนปกติ ถึงแม้จะเผชิญกับความทุกข์ก็บรรเทาทุกข์ได้เอง และ สามารถหาความสุขได้แม้ยามทุกข์เข็ญ หนังสือ ธรรมะรักษาใจ สมุนไพรรักษาตัว เล่มนี้ ประกอบด้วย เนื้อหา ๓ ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นพระธรรมเทศนาของพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) แสดงวิธีการรักษาความทุกข์ทางใจโดยใช้ธรรมะ ส่วนที่สอง สมุนไพรรักษาตัว แนะนำสรรพคุณและวิธีใช้สมุนไพรพื้นบ้าน รักษาโรคต่างๆ และ ส่วนที่สาม เป็นบทสวดมนต์รักษาโรค แนะนำวิธีการ สวดมนต์เพื่อรักษาโรคและให้เกิดความสวัสดีแก่ชีวิต หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อได้อ่านและปฏิบัติตามหลักธรรมในหนังสือ เล่มนี้แล้ว จะช่วยให้ท่านทั้งหลายที่มีทุกข์ทั้งทางกายและใจ ได้เกิดนึกคิด พิจารณาเห็นความเป็นจริง แล้วเอาชนะความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงได้อย่าง ถาวรตลอดไป โดยกตัญญูกตเวทิตาธรรม สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ธ ร ร ม ะ
รักษา ใจ
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังธรรม ปาฐกถา อันเป็นหลักคำสอนในทาง พระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ท่านอยู่ใน อาการอันสงบและตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการ ฟังตามสมควรแก่เวลา
การที่เราท่านทั้งหลาย ได้มาประชุมกันเพื่อฟังปาฐกถาข้อธรรมะ ในวันอาทิตย์เป็นประจำนั้น ก็มีจุดหมายสำคัญอยู่ที่ต้องการ นำธรรมะไปใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับแก้ไขปัญหาชีวิตของเรา * ชื่อเดิมคือ ยาจรรโลงจิต แสดงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 4
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
คิดดี มีสุข ทุกข์จางหาย เพราะว่า... ในชีวิตของเราแต่ละคนนั้นล้วนมีปัญหา มีเรื่องที่จะ ต้องขบคิดกันตลอดเวลา ในบางครั้งบางคราวปัญหามันเกิดขึ้นแล้วสะสาง ยาก เป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ทำให้เกิดความทุกข์ในชีวิตประจำวัน
เรื่องของความทุกข์ความเดือดร้อนนั้น เป็นสิ่งที่ ไม่มี ใครต้องการ เราต้องการแต่ความสุขใจ เย็นใจ แต่ทั้งๆ ที่เราไม่ต้องการทุกข์นั่นแหละ ความทุกข์ความเดือดร้อนก็เกิดขึ้นแก่เราได้ในบางโอกาส เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าสมมติว่าเราไม่มีการแก้ไข ความทุกข์ก็จะตั้งอยู่ในตัวเรานาน ทำให้เรามีความทุกข์อยู่หลายๆ วัน อันนี้เป็นเรื่องอาจจะเกิดขึ้น แก่ใครก็ได้ ถ้าหากผู้นั้นขาด “ยา” สำหรับเป็นเครื่องรักษาใจ
สายอีกแล้วเรา โดนหักเงินอีกแล้ว
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 5
ธรรมะเป็นยา...รักษาโรคทางใจ ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคทรงสอนไว้นี้ ความจริงแล้วก็เป็นยา ชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องรักษาจิตใจให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน
พระพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็เป็นนายแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค พระองค์เป็นผู้รักษาโรคทางใจ อันเกิดขึ้นแก่บุคคลทั่วๆ ไป เป็นนายแพทย์เคลื่อนที่ คล้ายๆ กับเป็นหมอเท้าเปล่า ที่เขาพูดกันในหนังสือพิมพ์นั่นแหละ แล้วก็เท้าเปล่าจริงๆ ด้วย
เพราะว่าพระองค์ไม่ได้สวมรองเท้าเดินทั่วไปตามท้องถิ่น เมื่อรู้ว่า ใครเป็นทุกข์ มีโรคทางใจ พระองค์ก็เสด็จไปหาบุคคลนั้น 6
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
พระพุทธเจ้าคือผู้ปรุงยาวิเศษ โดยปกติในชีวิตของพระองค์ ทุกวันจะทรงตื่นแต่ก่อนรุ่ง คือ ประมาณตีสี่ เมื่อตื่นแล้วก็แผ่พระญาณ เรียกว่า ญาณพิเศษ เป็นญาณ แห่งความเมตตาปรานีส่งไปยังทิศทั้งสี่เพื่อตรวจดูว่าวันนี้ใครมีความทุกข์ อยู่บ้าง ใครมีความเดือดร้อนใจอยู่ด้วยปัญหาอะไรต่างๆ บ้าง ถ้าได้ทราบว่าใครมีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ พระองค์ก็จะเสด็จไปสู่ที่นั้น ทำใจให้สงบ เรียกว่า ไปโปรดสัตว์๑ จะพบความสุขนะ เอาบาตรไปด้วย บิณฑบาตไปตามทาง หรือว่าไปบ้านนั้นก่อน สาธุ แล้วจึงจะไปบิณฑบาตต่อไป
เวลาพระองค์เสด็จไปอย่างนั้น เสมือนกับหมอไปหาคนไข้ เพื่อนำยาคือธรรมะไปแจกแก่เขา ให้เขาได้กินแล้วคลายจากความเป็นทุกข์ความเดือดร้อน ๑
หมายถึง การออกบิณฑบาต เป็นหนึ่งในพุทธกิจ คือกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ ประจำวัน ๕ อย่าง คือ ๑) เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์, ๒) เวลาเย็น
ทรงแสดงธรรม, ๓) เวลาค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุ, ๔) เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบ ปัญหาเทวดา, ๕) เวลาเช้ามืด ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่ควรเสด็จไปโปรด พระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ๕ ประการนี้เป็นกิจวัตรประจำวันมิได้ว่างเว้นตลอด ๔๕ พรรษา บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 7
พระพุทธองค์ทรงคุณยิ่งใหญ่ ไม่มี ใครเท่า ในบางครั้งบางคราวเราจะพบว่าพระราชานิมนต์พระองค์ไปฉัน ที่ในวัง แต่ว่าในกระท่อมริมทุ่งโน้นมีคนกำลังเป็นทุกข์ หรือกำลังน้ำตา นองหน้าอยู่ พระองค์จะตัดการนิมนต์ไปฉันในวัง แต่ว่าจะไปที่กระท่อม น้อยนั้นก่อน เพื่อเอาธรรมะไปเช็ดน้ำตาคนที่กำลังเศร้าโศกให้หายจาก ความทุกข์ความโศก ถ้าเราอ่านพบเรื่องอย่างนี้ของพระพุทธเจ้า ก็จะ เห็นว่า ตถาคตเป็นเพียง ผู้บอกทางพ้นทุกข์ การปฏิบัติต้องทำ ด้วยตนเอง
พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วย ความกรุณาปรานี ต่อชาวโลกทั้งหลาย เราจึงได้เรียกพระองค์ว่า มหาการุณิโก นาโถ๑ พระองค์เป็นผู้ยิ่งด้วยความกรุณา ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลกทั้งหลาย
๑
หมายถึงพระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาคุณและเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ซึ่งเป็นหนึ่ง ในพุทธคุณ ๓ ข้อ ได้แก่ ๑) พระมหากรุณาคุณ ๒) พระบริสุทธิคุณ ๓) พระปัญญาคุณ บทนมัสการที่ว่า นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นั้นเป็นการบ่งบอก ถึงพระคุณ ๓ ประการนี้ คือ ภควโต บ่งถึงพระมหากรุณาคุณ อรหโต บ่งถึงพระ-
บริสุทธิคุณ สัมมาสัมพุทธัสสะ บ่งถึงพระปัญญาคุณ
8
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ธรรมะคือยาแก้ทุกข์ขนานแท้ สาธุ เจ้าค่ะ
มีทุกข์ที่ไหน ก็แก้ไขที่นั่น นะโยม
ธรรมะที่พระองค์นำไปแสดงนั้น เป็นยาแท้ๆ สำหรับแก้โรคทางวิญญาณ คือโรคที่ให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนในชีวิตนั่นเอง
ในพระสูตรมีอยู่ไม่ใช่น้อยที่พระผู้มีพระภาคได้ไปแก้ไขปัญหา ดับความทุกข์ความเดือดร้อนของประชาชนให้หมดสิ้นไป ในสมัยนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าที่จะไปช่วยแก้ไขเราในรูปอย่างนั้น เราต้องเรียนยาเอาเอง เรียนสรรพคุณของยา ตัวยา แล้วเราก็เอายานั้น ไปใช้ในเวลาที่เรามีความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ ยาที่เราเอาไปใช้นั้นจะเป็นยาชนิดที่ประเสริฐ อาจช่วยแก้ปัญหา ชีวิตของเราได้อย่างแท้จริง มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยในสังคมยุคปัจจุบัน ที่มีความทุกข์ความเดือดร้อนเกิดขึ้นในใจ แล้วก็ได้เข้าหาธรรมะ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 9
เกิดทุกข์ทางใจ แก้ไขด้วยธรรมะ เมื่อได้ศึกษาธรรมะ ธรรมะก็ได้ช่วยบรรเทาเบาบางความทุกข์ ความเดือดร้อนอันนั้นให้หายไป อันนี้จึงเรียกว่าเป็นยาช่วยชุบชีวิตจิตใจ ของคนให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อน
ยา คือธรรมะที่อยู่ในที่ใกล้ หยิบฉวยได้ง่ายๆ แต่ว่าบางทีเราทำเฉยเมย ไม่สนใจที่จะหยิบเอายานั้น มาใช้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิต
เพราะโดยปกติของคนเราทั่วๆ ไปนั้น มีความประมาทในชีวิต ประจำวัน ไม่ค่อยจะคิดถึงเรื่องความทุกข์ความเดือดร้อนไว้ล่วงหน้า
ไม่ค่อยจะคิดถึงปัญหาอันจะเกิดขึ้นในกาลต่อไป ไม่ได้สมมติตัวเอง
เสียบ้างว่าถ้าเราเป็นอย่างนั้น เราจะทำอย่างไร ทั้งนี้ต้องรู้จักคิดนึกให้ถูกธรรมด้วย เช่น สมมติว่าเราอยู่กันใน ครอบครัว เรามีเงินมีทองใช้อย่างอุดมสมบูรณ์ มีความสุขความสบาย ถ้าสมมติขึ้นในใจว่าเกิดไฟไหม้บ้าน บ้านเรือนที่เราอยู่ถูกไฟไหม้หมดไป เราจะทำใจอย่างไร 10
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ทำใจให้ได้ ปรับความคิดให้ถูก ถ้าคิดไว้ล่วงหน้าเสียบ้างอย่างนี้ ก็พอจะมีทาง เพราะว่าเราได้ เตรียมตัวไว้ต่อสู้กับปัญหาเหล่านั้น หรือว่าเราอยู่กันด้วยความรัก สามี ภรรยาอยู่กันด้วยความสงบสุขในครอบครัว ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกัน เราอาจจะไม่นึกว่าวันหนึ่งใครคนหนึ่งจะจากกันไป ไม่พ่อบ้านก็แม่บ้าน อาจจากกันไปก่อนสักคนหนึ่ง
เพราะความจากกันนั้น มันเป็นกฎธรรมดา๑อันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตของทุกคน คนเราเมื่อมีพบกันแล้ว ก็ต้องมีการพรากจากกัน มีแล้วก็อาจไม่มีได้ อันนี้เป็นกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มีอยู่ตลอดเวลา
มีพบก็ต้องมีพราก เป็นธรรมดา อย่าเสียใจเลย
เราจึงสมมติตั้งปัญหาขึ้นเสียบ้างว่า ถ้าอยู่ๆ เราจากกันไปสัก คนหนึ่ง นี่แหละ อีกคนหนึ่งจะเป็นอย่างไร ควรจะเกิดคิดนึกอย่างไร
ในเรื่องปัญหาอย่างนี้ ๑
คำว่า กฎธรรมดา ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะ ที่มีเสมอกันในสังขารทั้งปวง มี ๓ ประการ คือ ๑) อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์, ๓) อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 11
ฝึกจิต คิดดี ไม่มีทุกข์ ถ้าเรามีบุตรหญิงบุตรชายที่น่ารักน่าเอ็นดู เราเลี้ยงดูเขา ถนอม เขา เอาอกเอาใจเขา เราเคยนึกบ้างไหมว่า เออ ! ถ้าลูกมันเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าเดินไปบนถนนรถชนตาย หรือว่ามีอุบัติเหตุอันใดเกิดขึ้นแก่ลูก ของเรา เราจะทำใจอย่างไร อันนี้คนไม่ค่อยได้คิดไว้ล่วงหน้า หรือว่าเกี่ยวกับความเจ็บไข้
ได้ป่วย เช่น เราอยู่ดีๆ เราไม่เคยนึกถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าสมมติว่า มันเกิดเจ็บไข้ขึ้นมา เราจะคิดอย่างไร เราจะทำใจของเราอย่างไร
ภาษาธรรมะเขาเรียกว่า โยนิโสมนสิการ๑ หมายถึง การคิดอย่างแยบคาย คิดอย่างละเอียด ซอยปัญหานั้นให้มันถี่ยิบลงไป เพื่อให้เห็นปัญหานั้นชัดตามที่มันเป็นจริง ๑
อ่านว่า โย-นิ-โส-มะ-นะ-สิ-กาน แปลว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การ พิจารณาโดยแยบคาย คือความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรอง สาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงราก ถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควร หรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นต้น โยนิโสมนสิการเป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรม สำหรับกลั่นกรอง แยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าวอีกชั้นหนึ่ง และเป็นบ่อเกิดแห่ง สัมมาทิฐิ ทำให้มีเหตุผล ไม่งมงาย
12
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
เมาเหล้าอย่าเสียหลัก เมารักอย่าเสียใจ โดยมากเราไม่ค่อยได้คิดไว้ เพราะว่าปกติของคนเรานั้นมีความ เมาอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เมาเหล้า เมากัญชา เมาเฮโรอีนอะไร เมาเหล่านั้น มันมีวันจะหายได้ ที่สุนทรภู่กล่าวว่า “เมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่ เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน” ทำไม
เมาในดวงใจมันเหลือเกิน เมาในความมั่งมี เมาในสิ่งนั้นในสิ่งนี้ ลืมคิดไปเสียว่า สิ่งนี้มันอาจจะเปลี่ยนแปลง ไปเสียเมื่อไรก็ได้ อาจจะไม่คงทนถาวร อยู่ในสภาพเช่นนี้เสมอไป
ต้องทิ้งฉัน ฮือๆๆ
จะทำร้ายตัวเอง เพื่อคนที่ไม่รักเราทำไม เจ้านาย
ความคิดอย่างนี้ไม่ค่อยมีอยู่ในจิตใจของคนเราทั่วๆ ไป จึงใคร่จะ ขอแนะนำไว้ล่วงหน้า สำหรับเราผู้ไม่ต้องการความทุกข์ความเดือดร้อน ในจิตใจ ในเมื่อไม่มีอะไรๆ เกิดขึ้นในชีวิตจิตใจของเรา เช่น มีความเจ็บไข้ มีความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่เรามีเราได้ หรือมีอะไรๆ เป็นปัญหา เกิดขึ้น เราก็จะไม่ทุกข์ร้อนในเรื่องนั้นมากเกินไป บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 13
หมั่นพิจารณาความจริง ทุกสิ่งแก้ไขได้ การที่จะไม่เป็นทุกข์ ไม่เดือดร้อนเกินไปในปัญหาเหล่านั้น ก็ต้อง อาศัยการที่เราคิดไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติสะกิดใจให้ได้สำนึก ในเรื่องอย่างนี้ เพราะว่าเรื่องอย่างนี้ถ้าพูดกันไปแล้วมันก็เป็นกฎธรรมดา ที่จะเกิดขึ้น สิ่งทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นอะไรในโลกนี้ เช่น เป็นคน เป็นสัตว์ ต้นไม้ มันก็ถูกกฎธรรมดาครอบงำทั้งนั้น สิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิตที่มีอยู่ในโลกนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับ กฎธรรมดา หนีกฎธรรมดาไปไม่ได้
กฎธรรมดาเราเรียกกันว่า สัจธรรม๑ เป็นธรรมะอันหนึ่งที่พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เราได้รู้ได้เข้าใจไว้ เพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องมือ สำหรับแก้ไขปัญหาชีวิต อันจะไม่ทำให้เราต้องวุ่นวายใจมากเกินไป ในเมื่อต้องประสบกับสิ่งเหล่านั้น ๑
อ่านว่า สัด-จะ-ทำ แปลว่า ธรรมที่จริงแท้ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็น สัจธรรม คือเป็นหลักความจริงไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เช่น ความเกิด แก่ เจ็บ และตาย
14
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
คิดดีล่วงหน้า ชักช้าอาจไม่ทันการ เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่ควรจะคิดกันไว้หน่อย แต่บางคนไม่ค่อย ชอบคิดปัญหาอย่างนี้ เพราะมีความเชื่อประเภทที่เหลวไหลอยู่ในใจ เช่น ถ้านึกถึงความเจ็บไข้ ก็นึกไปเสียว่าเป็นการแช่งตัวเองให้เจ็บไข้
ถ้านึกไปถึงความตาย ก็อาจจะนึกไปเสียว่าเป็นการแช่งตัวเองเกี่ยวกับ ความตาย หรือว่าจะนึกถึงความพลัดพรากจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็นึกไปถึง ว่าไม่เป็นมงคลแก่ตัวเอง อันนี้ไม่ใช่ เราอย่าไปเชื่อในรูปอย่างนั้น แต่ควรจะเชื่อเสียใหม่ ว่า
การคิดถึงเรื่องกฎธรรมดาอันมีอยู่ตามธรรมชาตินั้น เป็นการคิดที่เป็นมงคล เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา เป็นการคิดที่ให้เตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เพื่อต้อนรับสถานการณ์เช่นนั้น อันจะเกิดขึ้นในชีวิตของเราต่อไป พระพุทธเจ้าตรัสว่า “การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก” โดย เฉพาะเป็นหนี้สงฆ์ หรือศาสนา วิธีชำระหนี้สงฆ์นอกจากทำบุญ บริจาคแล้ว การมอบหรือถวายหนังสือธรรมะต่างๆ เช่น หนังสือ สวดมนต์ หนังสือเรียนนักธรรมบาลี เพื่อให้ท่านได้ศึกษาก็เป็นอีก
วิธีหนึ่งที่ปฏิบัติกัน เชิญร่วมพิมพ์หนังสือแจกจ่าย ถวายพระ และ มอบให้บุคคลทั่วไป สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ สาธุ... บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 15
นึกถึงโลกธรรมเพื่อเตือนใจ จักได้รู้จักวาง ใช่ครับ สุข ทุกข์ เป็นของคู่กัน
น้ำท่วมคราวนี้ ก็ได้เห็นความมีน้ำใจ ของเพื่อนมนุษย์นะคะ
เพราะสถานการณ์เช่นนั้นเราต้องพบ เราหนีไม่พ้น เราเกิดมา อยู่ในโลก เราจะต้องเจอปัญหาดังกล่าวนี้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นใคร ต้องมีปัญหาอย่างนี้เกิดขึ้นในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง อาจจะเร็วก็ได้ช้าก็ได้ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่เราหนีไม่พ้น เราจึงควรจะคิดเตือนจิตสะกิดใจไว้ บอกตัวเองไว้ว่าเราอาจเป็น อย่างนั้นอย่างนี้ อาจมีสิ่งนี้เกิดขึ้นในชีวิตของเราก็ได้ และเมื่อสิ่งนั้น
เกิดขึ้นจริงๆ เราก็พอมีทางปลอบโยนใจตัวเองได้ เพราะเราเคยคิด
ไว้ก่อนแล้ว ถึงมันจะมีความทุกข์ มันก็ไม่หนักเกินไป พูดตามภาษา
ชาวบ้านว่า
“พอปลง พอวาง” รู้จักปลง รู้จักวางลง วางไม่ลง เพราะไม่ได้นึกว่ามันจะเป็นเช่นนั้น 16
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมย่อมดีกว่า
คำพูดคำหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันบ่อยๆ คือ พูดว่า
“ไม่นึกเลยว่าจะเป็นอย่างนั้น ไม่นึกเลยว่าลูกจะตายจากไป ไม่นึกเลยว่าภรรยาจะตายจากไป สามีจะตายจากไป ไม่นึกเลยว่าจะถูกจี้เอาแหวนเพชรไป หรือไม่นึกเลยว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้”
คำพูดที่ออกมาในรูปเช่นนั้น เป็นการประกาศให้ผู้อื่นรู้ว่าเรา เป็นคนไม่เคยนึกคิดในกฎธรรมดา ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อต่อสู้ เหตุการณ์ หรือเป็นการพูดที่ให้คนอื่นรู้ว่า เราเป็นผู้ไม่เคยคิดถึงธรรม อันเป็นกฎความจริง เราจึงได้พูดออกมาอย่างนั้น สมมติว่าขับรถไปชนกัน แต่ว่าตัวไม่ตาย ไม่เจ็บ ก็พูดว่าไม่นึก เลยว่าจะชนเอา เพราะไม่นึกนั่นแหละจึงถูกชนเข้าให้ ทีนี้ถ้าเรานึกไว้เสียก่อน ล่วงหน้า พอขึ้นนั่งจับพวงมาลัย ก็นึกว่าน่ากลัวว่าใครจะชนแล้ว สั ก รายหนึ่ ง เราก็ ร ะมั ด ระวั ง หรือน่ากลัวว่าเรานี่จะไปชนใคร เข้าบ้าง เราก็เกิดความระมัดระวัง รถมันก็ไม่ชนเอา
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 17
“วันพระ” มีไว้เพื่อให้พิจารณาตัวเอง แต่ถ้าเราไม่นึกเสียเลยว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิด แล้วสิ่งนั้นมันก็เกิดขึ้น แก่เรา อันนีเ้ ป็นเรื่องของความประมาทโดยแท้
พระพุทธเจ้าสอนให้เราอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือให้คิดนึกเตือนตนเองไว้เสมอ ในเรื่องอย่างนี้ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาชีวิต
เพราะตากฝน
จึงเป็นหวัด ไม่น่าประมาท ลืมร่มเลยเรา
เวลาอะไรเกิดขึ้นเราจะได้ ไม่ทุกข์ร้อนมากเกินไป ทีนี้มีข้อเสีย อยู่อย่างหนึ่งก็คือว่า ตามหลักทาง ศาสนาทั่วไปนั้น ผู้ที่นับถือศาสนา ควรไปสู่ศาสนสถานเพื่อฟังคำสอน ในทางศาสนา เช่นพวกเราชาวพุทธ ก็มีวันพระเดือนหนึ่งสี่ครั้งสี่วัน วัน พระเขามีไว้ทำไม มีไว้สำหรับให้คน ไปวัด ให้คนไปศึกษาธรรมะ ให้คนไปพิจารณาตัวเอง ในเรื่องเกี่ยวกับ อะไรต่างๆ
18
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ฟังธรรมวันละนิดจิตแจ่มใส เพราะมนุษย์ ทำลายธรรมชาติมาก ธรรมชาติจึงทำลาย มนุษย์บ้าง
มนุษย์ทำร้ายตัวเอง ใช่ไหมครับพ่อ
แต่ว่าในสมัยนี้เราก็ละเลยเพิกเฉย ไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องการ ไปวัด ไม่สนใจในเรื่องการที่จะฟังธรรม อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่ชีวิตโดยแท้ อันนี้เป็นความผิดพลาดในชีวิตประจำวันที่ไม่ได้ สนใจในเรื่องอย่างนั้น
เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น มันก็ถูกธรรมชาติลงโทษ คือทำให้เราเป็นทุกข์มากในเรื่องปัญหานั้นๆ การที่เราเป็นทุกข์มากนั้น เรียกว่าธรรมชาติลงโทษเราแล้ว
ลงโทษก็นับว่าดีแล้วล่ะ ไม่สนใจอ่านหนังสือ ไม่สนใจฟังธรรมเทศนาที่พระท่านแสดง ก็ถูกลงโทษให้ระทมตรมใจ จึงใคร่ขอแนะนำว่า ถ้าเรามีเพื่อนฝูงมิตรสหายที่คุ้นเคยรู้จักกัน เราจงช่วยเหลือวิญญาณของคนเหล่านั้น ให้ได้รับแสงสว่างทางธรรมะ ด้วยการแนะนำชักจูงให้เขาได้มาวัดเพื่อฟังธรรมปาฐกถาเสียบ้าง หรือ ชักจูงให้เขาอ่านหนังสือประเภทธรรมะเสียบ้าง
บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 19
ให้ธรรมะเป็นทาน ช่วยสานสุขแก่สังคม หรือว่าเราได้พบเขามีปัญหาอะไรๆ เกิดขึ้นในชีวิตครอบครัว เรามีธรรมะเป็นของแจก เราก็ควรจะแนะแนวทางแก่คนเหล่านั้น เรียก ว่า แนะวิถีชีวิต หนังสือธรรมะดีๆ
เพื่อปรับปรุงชีวิตของคนเหล่านั้น ให้เกิดความสำนึก รู้สึกตัวในหน้าที่ อันตนจะต้องปฏิบัติในความรู้ อันตนจะต้องมีไว้เพื่อนำไปแก้ไข ปัญหาชีวิตของตนต่อไป
แจกฟรีที่นี่จ้า
ถ้าเรามีเพื่อนฝูงมิตรสหายแล้ว เราได้ช่วยแนะนำชักจูงเขามา ในรูปอย่างนั้น นั่นแหละ คือการกระทำที่เป็นมหากุศลต่อบุคคลที่เรา เคารพรักใคร่นับถือกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ” การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ไม่มีทานใดจะยิ่งใหญ่และ มีอานิสงส์มากเท่า เพราะการให้ทานด้วยธรรมะเป็นการช่วยคนให้
มีปัญญา ให้เป็นคนดี พ้นทุกข์ มีสุข จึงควรให้ธรรมทาน 20
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
รักกันจริงต้องไม่ทิ้งทางดี คนบางคนรักเพื่อน แต่ชวนเพื่อนไปในทางต่ำ ชวนเพื่อนไปเที่ยว ไปดื่มน้ำเมา ไปสนุกสนานอะไรต่างๆ อย่างนี้เรียกว่า ดึงเพื่อนลงนรก
ไปทำบุญ ด้วยกันนะที่รัก ไปสิครับ
การดึงเพื่อนลงนรกอย่างนั้น ไม่ชื่อว่ารักกันจริง แล้วไม่ชื่อว่า
จะช่วยให้พ้นจากความวุ่นวายทางด้านจิตใจ จึงไม่ควรจะส่งเสริมชักจูง ในเรื่องอย่างนั้น เราเป็นเพื่อน เป็นมิตร เป็นญาติ เป็นอะไรกับใคร ก็ควรจะได้ แนะนำเขาในทางดีทางงาม ไปนั่งใกล้ใครก็ควรจะจุดแสงสว่างส่องให้ เขาเห็น และแสงสว่างนั้นก็คือธรรมะอันเป็นดวงประทีปนำทางชีวิต ของทุกคน มีโอกาสใดที่จะส่องแสงไปถึงใครก็ได้ เราก็ควรเอาแสงนั้น ไปให้เขา หรือเรารู้ว่าใครมีอะไรเป็นเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ เราก็แนะนำ ชักจูงให้คนเหล่านั้นได้เข้าหาธรรมะ อย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยกันในทาง จิตวิญญาณ เป็นการช่วยด้านใน เป็นการช่วยที่เกิดประโยชน์แก่ชีวิต ของสังคมอย่างแท้จริงประการหนึ่ง บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 21
“ธรรมะ” คือแสงสว่างส่องทางชีวิต ทีนี้อีกประการหนึ่ง ปกติวันพระไม่ได้หยุดงาน แต่ว่าวันอาทิตย์ เขาหยุด ทีนี้หยุดวันอาทิตย์เป็นวันพระได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องประหลาด อะไร มันเป็นเรื่องสมมติ พระพุทธเจ้าสมมติว่าวันพระเป็นวันหยุดงานหยุดการ เพราะ คนในสมัยนั้นเขาถือวันทางจันทรคติ๑ เป็นเกณฑ์ ถ้าสมมติพระพุทธเจ้า มีอายุยืนมาจนถึงสมัยนี้ พระองค์คงจะบอกว่า มีธรรมในใจ ที่ไหนๆ ก็ทำดีได้นะครับ
“อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราอนุญาตให้ท่าน มาถืออุโบสถในวันอาทิตย์ได้ ให้มาฟังธรรมในวันอาทิตย์ได้ ให้ถือว่าวันอาทิตย์นั่นแหละ เป็นวันสำหรับทำความงามความดีต่อไป”
๑
หมายถึงการเดินทางของดวงจันทร์, การโคจรของดวงจันทร์ ใช้เรียกวิธีนับวันและ เดือน โดยถือเอาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็นหลัก คือ นับเป็นวันขึ้น-แรม แบ่งเป็นข้างขึ้น ๑๕ วัน ข้างแรม ๑๕ วัน (ในเดือนขาดจะมี ๑๔ วัน) โดยเรียกว่า ขึ้น ๑ ค่ำ, ขึ้น ๘ ค่ำ, แรม ๑ ค่ำ, แรม ๘ ค่ำ เป็นต้น และนับเดือนเป็น ๑๒ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนอ้าย (เดือน ๑), เดือนยี่ (เดือน ๒), เดือน ๓, เดือน ๔ ไปตาม ลำดับจนถึงเดือน ๑๒ นับอย่างนี้เรียกว่า นับวันนับเดือนตามจันทรคติ
22
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
มีปัญหาชีวิต พิชิตได้ด้วยธรรมะ วันนี้วันหยุด พวกเราอยากศึกษาธรรมะ ครับพระอาจารย์
อนุโมทนา นะโยม
พระพุทธเจ้าท่านอนุมัติตามโลกเหมือนกัน ไม่ใช่ฝืนโลกตลอดไป ทรงฝืนในเรื่องที่มันจะทำโลกให้เสื่อม แต่ถ้าสิ่งใดมันเป็นสิ่งที่ทำโลกให้ เจริญก้าวหน้า พระองค์ก็ไม่ได้ขัดขืนอะไร เห็นว่าเป็นทางดีก็อนุโลมตาม เพราะฉะนั้น เมื่อเราหยุดงานในวันอาทิตย์ วัดใดมีการแสดง ธรรมในวันอาทิตย์ เราก็ควรจะไปฟังกันที่นั่น วัดวาอารามนี้ก็เหมือนกัน ควรจะหมุนให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ ชาวบ้านเขาหยุดงานในวันอาทิตย์ เราก็เปิดโบสถ์ในวันอาทิตย์ แสดงธรรมในวันอาทิตย์ ทำกิจกรรมทาง ศาสนากันในวันอาทิตย์ คนที่สนใจก็จะไปฟังธรรมได้ ไม่ต้องลำบาก ยากเข็ญอะไร
อันนี้เป็นเรื่องมีประโยชน์แก่สังคมในปัจจุบัน เมื่อเราหยุดงานในวันอาทิตย์ วัดใดมีการเทศน์สอนธรรมะ เราก็ไปนั่งฟัง จดจำหัวข้อธรรมะที่ท่านแสดง เอามาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตของเราต่อไป อันนี้เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์แก่เราทุกคนถ้วนหน้า บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 23
หยุดงานเมื่อใด ให้หยุดจิตพักใจด้วย การทำงานทำการก็เหมือนกัน เช่น คนที่ทำการค้าขาย ความจริง ควรจะทำสักหกวันก็พอแล้วสัปดาห์หนึ่ง วันที่เขาหยุดกันทั่วไป เช่น งานหยุดราชการ เราก็ควรจะหยุดเสียบ้าง เช่น วันอาทิตย์ก็ปิดร้านเสีย ถ้าร้านทั้งหลายปิดในวันอาทิตย์หมด ก็ช่วยประหยัดเหมือนกัน คนก็
ไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องไปไดมารู ไม่ต้องไปเซ็นทรัล เพราะเขาหยุด วันอาทิตย์กัน เราไม่ต้องไปซื้อข้าวของกันในวันนั้น สตางค์ก็ไม่ต้องจ่าย ค่า
น้ำมันก็ไม่ต้องจ่ายมาก จ่ายเฉพาะมาวัดฟังเทศน์เท่านั้น เสร็จแล้วเราก็ กลับบ้านไปพักผ่อน เด็กๆ ก็ไม่ต้องออกนอกบ้านซื้อนั่นซื้อนี่ กรรมกร
ก็จะได้หยุดงาน เถ้าแก่ก็จะได้หยุดงานด้วยเหมือนกัน พักผ่อนเสียบ้าง
เพราะว่าถึงเราจะทำไป มีเพียงบุญกับบาป เท่านั้น จะติดตามเรา มากมายสักเท่าใด ไปได้ทุกที่ ก็เท่านั้นแหละ เมื่อถึงเวลาเข้าจริงๆ ก็เอาอะไรไปไม่ ได้ แม้แต่สักชิ้นเดียว เราต้องทิ้งไว้ในโลกนี้ทั้งนั้น จึงควรจะมีการพักผ่อน 24
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
พักกาย อย่าลืมพักใจ ออกกำลังกายเสร็จ ไปฟังธรรมกันไหม
ไปสิจ๊ะ เป็นการผ่อนคลายจิตใจ ดีเหมือนกัน
ทีนี้การพักผ่อนทางกายอย่างเดียวมันก็ไม่พอ ต้องมีการพักผ่อน ทางด้านจิตใจด้วย
การพักผ่อนทางด้านจิตใจ ก็ต้องอาศัยธรรมะเป็นเวทีสำหรับพักผ่อน เป็นสถานที่สำหรับเราให้ใจเข้าไปอาศัย ให้ใจเข้าไปอยู่ในห้องคือธรรมะ ไปกินอาหารคือธรรมะ ไปสูดลมหายใจเป็นธรรมะ ให้เลือดเนื้อชีวิตจิตใจของเราเป็นธรรมะไปหมด เราก็จะมีความสุข ความกระปรี้กระเปร่าว่องไว
พอถึงวันจันทร์เราก็ไปทำงาน ทำงานด้วยอารมณ์สดชื่นแจ่มใส เบิกบาน ถ้าเราทำงานหนักทุกวันๆ สมองก็หนัก ร่างกายก็หนัก ไม่มี เวลาพักผ่อน รถยนต์เรายังเอาเข้าอู่ซ่อม รถจักรยานรถอะไรก็ต้องซ่อม ด้วยกันทั้งนั้น แล้วคนทำไมไม่เข้าอู่ซ่อมกันเสียบ้าง ซ่อมแต่รถ เจ้าของ เองไม่ได้ซ่อม บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 25
หากอยู่บ้านวุ่นวาย ให้บ่ายหน้าเข้าวัด เพราะเหตุนั้นเวลาเป็นทุกข์มันก็ทุกข์หนัก เพราะไม่ได้เข้าอู่ ซ่อมเสียบ้าง
เราควรจะเข้าอู่ซ่อม อย่างน้อยเจ็ดวันก็เข้าอู่กันเสียวันหนึ่ง เพื่อพักผ่อน ทำจิตใจให้สงบสบาย ไม่วุ่นวายด้วยปัญหาอะไรๆ
อยู่ที่บ้านมันก็อาจมีปัญหาวุ่นวาย หนวกหู เราก็มาพักตามวัด ตามวาที่ร่มรื่น นั่งพักตามใต้ต้นไม้ ทำจิตใจให้สงบ นึกถึงชีวิตที่ผ่านมา และความเป็ น อยู่ ใ น ปัจจุบัน นึกถึงเรื่องที่ อาจจะเกิดขึ้นในชีวิต ของเราในอนาคตต่อไป ข้างหน้า ถ้าเราได้มานั่ง พิจารณาเสียบ้าง ใน เรื่องปัญหาดังกล่าวนี้ ก็จะช่วยให้จิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยสิ่งที่มา กระทบ 26
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
ความจริงทั้ง ๕ หมั่นพิจารณาอย่าขาด แต่ถ้าเราไม่ได้เตรียมตัวไว้เสียเลย ดังที่กล่าวแล้วว่า ไม่นึกเลยว่าจะเป็นอย่างนั้น เราก็ต้องมีความทุกข์ไปหลายวัน เพราะปัญหาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ในทางธรรมะ พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราพิจารณา ด้วยหลัก ๕ ประการ เรียกว่า “อภิณหปัจจเวกขณ์๑” คือให้พิจารณา บ่อยๆ ในเรื่องต่อไปนี้ ให้พิจารณาว่า
เราหนีความแก่ ไม่พ้นจริงๆ
เรามีความแก่เป็นธรรมดา หนีความแก่ ไปไม่พ้น เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา หนีความเจ็บไปไม่พ้น เรามีความตายเป็นธรรมดา หนีความตายไปไม่พ้น เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจเป็นธรรมดา เราหนีจากกฎเกณฑ์ข้อนี ไปไม่พ้น เราทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราจะหนีจากผลที่เราได้ทำไว้ไม่ ได้เป็นอันขาด ๑
อ่านว่า อะ-พิน-หะ-ปัด-จะ-เวก-ขะ-หนะ แปลว่า การพิจารณาสิ่งที่ควรพิจารณา อยู่เนืองๆ มี ๕ อย่าง ได้แก่ ความแก่, เจ็บ, ตาย, พลัดพราก และทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 27
ทุกสรรพสิ่งล้วนมีการเปลี่ยนแปลง อันนี้เป็นหลักให้เราได้พิจารณาล่วงหน้า เพื่อจะได้เป็นเครื่อง ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้น เราจึงควรจะได้นำหลักเหล่านี้มาใช้เป็น แนวพิจารณาเสียบ้าง อย่างน้อยวันหนึ่งพิจารณาเสียสักครั้งหนึ่ง เช่น พิจารณาเรื่องความแก่ของร่างกาย ความแก่นี้ทุกร่างกายมีเหมือนกัน ไม่ว่าคน สัตว์ ต้นไม้ หรือวัตถุที่เขาก่อสร้างก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไป เข้าถึงสภาพที่ชรา คร่ำคร่า ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา บ้านเรือนสร้างใหม่ๆ ก็มีสีสดงดงามดี แต่ว่าต่อไปมันชักจะเก่า เปลี่ยนแปลงไป คร่ำคร่าไป ดูแล้วไม่มีอะไรที่จะหนีพ้นภาวะนี้ไปได้
สิ่งเหล่านี้ มันเป็นเครื่องเตือนใจเรา ให้รู้ว่าสิ่งภายนอกมีอาการฉันใด ตัวเราเองก็มีสภาพเช่นนั้น ความสุขอยู่ที่ใจ ไม่ใช่วัตถุนะลูก
เมื่อเริ่มเกิด ก็เริ่มแก่ ร่างกายของคนเรานี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแก่อยู่ตลอด เวลา เริ่มต้นด้วยการแก่ขึ้น เมื่อเริ่มปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาเราก็มี การแก่ขึ้น ที่เขาเรียกว่า “เติบโต” ความจริงก็เป็นความแก่นั่นเอง ค่อยเจริญขึ้นโดยลำดับ เป็น เด็กน้อยรู้จักคว่ำ รู้จักคลาน พูดจาได้ ไปโรงเรียนได้ แล้วก็เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เมื่อเจริญถึงที่สุดแล้วไม่เจริญอีกต่อไป มีแต่ว่าจะลงแล้ว
ทีนี้เดินลง ชีวิตเหมือนกับการขึ้นสะพานโค้ง เราเดินขึ้นไปถึงกลางสะพาน พอถึงแล้วก็ยืนชมวิวเสียนิดหน่อย มองด้านโน้นด้านนี้ เหนือน้ำใต้น้ำดูหญ้า มันน่าดูอยู่
ให้เจ้าเติบโต เป็นคนดีนะลูก
เสร็จแล้วเราจะไปยืน อาบแดดอยู่ตรงนั้นไม่ได้ เราก็เดินลงไปทางสะพานด้านโน้น ถ้าไม่เดินไปข้างโน้น ก็กลับมาลงฝั่งนี้ ตามแต่บ้านเราอยู่ฝั่งไหน ไม่มีใครจะไปอยู่กลางสะพานได้ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 29
ชีวิตเหมือนสะพาน อย่าสร้างบ้านบนนั้น ชีวิตก็เหมือน เดินขึ้นสะพานนะลูก ขึ้นจากฝั่งหนึ่งเพื่อข้ามไป อีกฝั่งหนึ่งเท่านั้น
ชาวจีนเขาจึงตั้งภาษิตเตือนใจว่า “ชีวิตเหมือนสะพาน อย่าไป สร้างบ้านลงบนนั้น” เขาว่า ชีวิตเหมือนสะพาน หมายความว่า ขึ้นไปแล้วก็ต้องลง
ไม่ให้ไปสร้างบ้าน คือไม่ให้ไปสร้างความยึดถือในชีวิตในร่างกายนี้ว่าเป็น ของแข็งแรง คงทน ถาวร หรือว่าเป็นตัวเราเป็นของเราขึ้นมา
เพราะสิ่งทั้งหลายมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเรื่องของธรรมชาติ ใครไปแอบยึดถือเข้าว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราขึ้นมาแล้ว ผู้นั้นก็ต้องมีความทุกข์ เพราะเรื่องการไปยึดถือนั้น ฉะนั้นจึงต้องพิจารณาเสียบ้าง 30
รักษา
รักษา
...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)