พระประวัติและหนึ่งร้อยรอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
น้อมถวายอภิสัมมานสักการะ
สมเด็ จ พระญาณสั ง วร สมเด็ จ พระสั ง ฆราช สกลมหาสั ง ฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัด บวรนิเวศวิหาร ทรงดำ�รงตำ�แหน่งเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประสูติเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๑๐๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทรงมีพระชนมายุมากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๙ ที่สำ�คัญ ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวม ๒๔ ปี ซึง่ ถือว่ายาวนานทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตทีผ่ า่ นมา ทรงเป็นพระมหาเถระที่เปี่ยมด้วยศีลาจารวัตรที่งดงาม พระเมตตาแผ่ไปกว้างไพศาลดุจห้วงสายธาราที่ฉ่ำ�เย็น ทรงปฏิบัติภารกิจ ในฐานะสังฆบิดรได้อย่างบริบูรณ์และงดงาม ทรงได้รับยกย่องให้เป็น “ผู้นำ�คณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลก” เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ในการประชุมสุดยอดผูน้ �ำ ชาวพุทธโลกจาก ๓๒ ประเทศ ซึง่ หนึง่ ในนัน้ คือ องค์ดาไลลามะ องค์ที่ ๑๔ แห่งทิเบตด้วย เป็นการทูลถวายตำ�แหน่ง พระเกียรติยศอันสูงสุด แสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณที่ได้รับการแซ่ซ้อง จากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก สมเด็ จ พระญาณสั ง วรฯ ประชวรและเสด็ จ ประทั บ รั ก ษา พระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตามคำ�ทูลเชิญของคณะแพทย์ ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้มีแถลงการณ์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ฉบับที่ ๙ รายงานการประชวรของพระองค์ว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ-
สังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอาการโดยรวมทรุดลง และสิน้ พระชนม์ เมื่อเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ยังความโศกเศร้าและสุดอาลัยยิ่งแก่ผู้ที่ได้รับรู้ข่าว นี่ เ ป็ น สั จ ธรรมความจริ ง แท้ ข องโลกที่ ไ ม่ อ าจหนี พ้ น แม้ แ ต่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประสบเช่นกัน สังขารทั้งปวงมีอันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่เกินร้อยปีก็แตกสลาย แต่ ชี วิ ต นี้ สำ � คั ญ นั ก หากไม่ ห ลงประมาทมั ว เมาย่ อ มสามารถสร้ า ง ประโยชน์และคุณค่าแก่ตนและผู้อื่นได้มากมาย และคุณค่าที่ว่านี้จะอยู่ เป็นอมตะไม่มีวันตาย หนังสือ “หนึ่งร้อยรอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” เล่มนี้จัดพิมพ์ข้ึนเพื่อให้ท่าน ทั้งหลายทราบถึงพระประวัติและพระจริยาวัตรอันงดงามของสมเด็จพระญาณสังวรฯ และเผยแผ่คำ�สอนของพระองค์ให้เราท่านทั้งหลาย ได้อ่านและน้อมนำ�ไปปฏิบัติเพื่อเป็นการบูชาที่ยิ่งกว่าการบูชาด้วยธูป เทียนดอกไม้ สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ และมูลนิธิจิตอิ่มบุญ บารมี ขออนุโมทนากับพุทธศาสนิกชนผู้ใจบุญทุกท่านที่ได้ร่วมทำ�บุญ พิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ถวายเป็นพระราชกุศล น้อมส่ง ดวงจิตที่สว่างไสวบริสุทธิ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อันเป็นที่รักและเคารพยิ่ง ให้รุ่งเรืองสว่างไสว บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น สถิตเสวยสันติสุขตราบนิรันดร์
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ มูลนิธิจิตอิ่มบุญบารมี
ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ขอถวายบุญกุศลทั้งปวงที่บำ�เพ็ญมา
ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ณ วินาทีนี้ แด่เจ้าประคุณฯ สมเด็จพระสังฆราช
ขอรวมกุศลทั้งปวงเป็นแสงสว่างไสวใสบริสุทธิ์ ถวายจิตแห่งพระองค์ท่าน
ให้ยิ่งสว่างไสวผ่องแผ้วยิ่งๆ ขึ้นไป
สิ่งใดทางกาย วาจา ใจ ที่อาจมีล่วงเกินทั้งรู้และไม่รู้ตัว ข้าพเจ้ากราบขอขมากรรมทั้งหมด
ขออนุโมทนากุศลทุกสิ่งที่ทรงปฏิบัติมา
และจะทรงบำ�เพ็ญต่อไป ไม่ว่าจะอยู่ในพระสังขารใดๆ ขอพระรัตนตรัยโปรดชี้นำ�และเปิดทางสว่างให้ ข้าพเจ้าขอปฏิบัติธรรม เดินจิตได้ถูกธรรม
เพื่อให้สมเป็นผู้เดินตามรอยธรรมของพระผู้ประเสริฐ และงดงามพระองค์นี้ด้วยเทอญ
พระประวัติ พระยาพิพิธภักดี + จีน เล็ก คชวัตร +
เฮงเล็ก + ทองคำ� แซ่ตัน
แดงอิ่ม
น้อย คชวัตร
+
กิมน้อย (ดวงแก้ว) แซ่ตัน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ชาติภูมิ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ตรงกับขึ้น ๔ ค่ำ� เดือน ๑๑ ปีฉลู ที่บ้าน หญ้าแพรก ตำ�บลบ้านเหนือ เมืองกาญจนบุรี หัวเมืองตะวันตกของสยาม ในขณะนั้น เป็นบุตรคนโตของนายน้อยและนางกิมน้อย คชวัตร ปู่ทวดของท่านคือพระยาพิพิธภักดี เป็นชาวกรุงเก่าเข้ารับราชการที่ กรุงเทพฯ ต่อมาได้แต่งงานกับนางจีน และลาออกจากราชการ ย้าย ถิ่นฐานไปอยู่เมืองกาญจนบุรี มีบุตรสี่คน คนหนึ่งชื่อเล็กต่อมาสมรส กับภรรยาชื่อแดงอิ่ม ได้ลูกชายชื่อน้อย คชวัตร ซึ่งต่อมาได้สมรสกับ นางกิมน้อย แซ่ตัน และได้ให้ก�ำ เนิด ด.ช.เจริญ คชวัตร ในเวลาต่อมา
วัยเยาว์ เมื่อเด็กชายเจริญอายุได้ ๒ ขวบ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ที่เมืองกาญจนบุรี ขณะที่ ประทับที่วัดเหนือโปรดให้ชาวบ้านนำ�บุตรหลานเข้าเฝ้า หนึ่งในเด็กที่ ได้เข้าเฝ้าก็คือเด็กชายเจริญ นั่นถือเป็นครั้งแรกที่เด็กในหัวเมือง ชนบทได้พบกับสมเด็จพระสังฆราช ประมุขสูงสุดแห่งคณะสงฆ์ไทย การพบปะกันครัง้ นัน้ ถือเป็นการพบปะครัง้ ประวัตศิ าสตร์ เพราะ ๗๔ ปี ต่อมาเด็กชายวัย ๒ ขวบในวันนั้นได้กลายเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ท่ี ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นเดียวกัน ต่ อ มาบิ ด าได้ ย้ า ยไปรั บ ตำ � แหน่ ง ปลั ด อำ � เภอที่ อั ม พวา ซึ่ ง มารดากับน้องชายสองคนได้ติดตามไปด้วย ยกเว้นเด็กชายเจริญ ยังคงอยู่กับป้ากิมเฮงที่บ้านเกิด ด้วยเหตุที่ป้ากิมเฮงเป็นคนมีศรัทธา เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ได้พาหลานทำ�บุญใส่บาตรและไป ฟังเทศน์ที่วัดทุกวัน ทำ�ให้เด็กชายเจริญมีอุปนิสัยชอบทำ�บุญ และ ชอบการฟังเทศน์ บางครั้งก็เอาผ้าขาวม้ามาห่ม ทำ�ท่าทำ�ทางเหมือน พระกำ�ลังเทศน์ หรือบิณฑบาต ขณะที่เด็กชายเจริญมีวัย ๙ ขวบ บิดาป่วยเป็นโรคเนื้องอก ต้องกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด และเสียชีวิตลงในวัยเพียง ๓๘ ปี หลังจากนั้น เด็กชายเจริญก็ตกอยู่ในความดูแลของแม่และป้ากิมเฮง อย่างเต็มตัว
บรรพชาและอุปสมบท เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ ฯ ขณะยั ง ทรงพระเยาว์ ท รงเจ็ บ ป่ ว ย ออดๆ แอดๆ อยู่ เ สมอ มี อ ยู่ ค ราวหนึ่ ง ที่ ท รงป่ ว ยหนั ก จนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวช เพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้วก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบ ชั้นประถม ๕ แล้วจึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ขณะมีพระชันษา ๑๔ ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระครูนวิ ฐิ สมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล ภายหลั ง บรรพชาแล้ ว ได้ จำ � พรรษาอยู่ ที่ วั ด เทวสั ง ฆาราม ในพรรษานั้นหลวงพ่อดีได้ต่อคำ�เทศน์เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการให้ โดยวิ ธี ส อนแบบโวหาร คื อ อ่ า นให้ ฟั ง แล้ ว ให้ ท่ อ งตามที ล ะวรรค คืนละตอน จนสามเณรสามารถจำ�ได้ทั้งหมด และสามารถเทศน์ ปากเปล่าให้ญาติโยมฟัง ซึ่งต่างก็พากันซาบซึ้งปลื้มปีติกันทั่วหน้า
การศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อดีเห็นว่าสามเณรเจริญเป็นผู้ ใฝ่เรียนและมีสติปัญญาดี จึงเอ่ยปากชวนให้ไปศึกษาบาลีที่วัดเสน่หา เมื อ งนครปฐม ฝากศิ ษ ย์ ไว้ กั บ พระครู สั ง วรวิ นั ย (อาจ ชุ ติ นฺ ธ โร) เจ้ า อาวาส โดยมี พ ระมหาภั ก ดิ์ ศั ก ดิ์ เ ฉลิ ม พระมหาเปรี ย ญจาก วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นอาจารย์สอน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น สุจิตฺโต) เสด็จในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัย (อาจ ชุตินฺธโร) หลวงพ่อดีได้กราบขอโอกาสฝากสามเณรเจริญในวัย ๑๗ ปี ให้เข้าเรียนทีว่ ดั บวรนิเวศวิหาร ซึง่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ก็ทรง เมตตารับไว้ในพระอุปการะ หลังจากศึกษาอยู่ท่ีวัดบวรฯ ได้ไม่นาน ด้วยความที่สามเณร เจริญปฏิบตั ติ นตามระเบียบของวัดโดยสมบูรณ์ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ จึงประทานนามให้วา่ “สุวฑฺฒโน” ซึง่ มีความหมายว่า “ผูเ้ จริญดี”
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี และสอบได้ นั ก ธรรมชั้ น โทและเปรี ย ญธรรม ๓ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ทรงบรรยายความรู้สึกในตอนนั้นว่า “ไม่มีปีใดที่ให้ความสุขกาย สุขใจมากเท่าคราวที่สอบเปรียญธรรม ๓ ได้” ปีต่อมาทรงสอบตก เปรียญธรรม ๔ ประโยค และมาสอบได้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ขณะอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สามเณรเจริญ ได้เดินทางกลับบ้านและเข้าพิธอี ปุ สมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาส เป็นพระอุปชั ฌาย์ พระครูนวิ ฐิ สมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุง่ สมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในวันที่ ๑๒ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รบั ฉายาว่า “สุวฑฺฒโน” หลังจากอุปสมบทได้อยู่สอนหนังสือพระปริยัติธรรมต่อที่วัด เทวสั ง ฆารามหนึ่ ง พรรษา ออกพรรษาแล้ ว จึ ง กลั บ มาพำ � นั ก ที่ วั ด บวรนิเวศวิหารตามเดิม และรับญัตติอุปสมบทใหม่เป็นพระธรรมยุต โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) ขณะดำ�รงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรัตนธัชชมุนี (จู อิสฺสราโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และในปีนี้ทรงสอบเปรียญธรรม ๕ ประโยคได้ ระหว่างนีย้ งั คงกลับไปช่วยสอนพระปริยตั ธิ รรมทีว่ ดั เทวสังฆาราม อยู่เสมอ และยังศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสอบ ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉายภาพหมู่ ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวผนวช
พระราชาคณะ ด้วยอุปนิสัยที่รักในการศึกษา หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่ ง เป็ น ชั้ น สู ง สุ ด ของการศึ ก ษาพระปริ ยั ติ ธ รรมแล้ ว พระมหาเจริญได้ศึกษาหาความรู้ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย สามารถ พูดเขียนได้หลายภาษา ทั้งอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และสันสกฤต นอกจากนี้ยังสนใจศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่พระมหาเจริญเป็นพระที่มีความรู้ความสามารถทั้งทาง คดี โ ลกและคดี ธ รรม เป็ น สมณะที่ มี จ ริ ย าวั ต รงดงามน่ า เลื่ อ มใส แตกฉานในพระไตรปิฎก และทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต)
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ พระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน ได้รบั พระราชทาน สมณศั ก ดิ์ เ ป็ น พระราชาคณะชั้ น สามั ญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์ ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำ�หรับพระราชทานแด่พระมหาเจริญ โดยเฉพาะ และได้รับหน้าที่เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำ�นวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำ�ราของมหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชโศภณคณาภรณ์ และเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชัน้ เทพที่ พระเทพโศภณคณาภรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จากนัน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รบั เลือ่ นสมณศักดิเ์ ป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ และในปีนี้พระธรรมวราภรณ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่อันสำ�คัญยิ่งอย่างหนึ่ง คือการเป็นพระอภิบาลใน พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ทรงผนวชและ พำ � นั ก ที่ วั ด บวรนิ เวศวิ ห าร นั บ แต่ วั น ที่ ๒๒ ตุ ล าคม ถึ ง วั น ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระธรรมวราภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัย ๔๘ ปี ๒๘ พรรษา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ ต่อจากพระพรหมมุณี (ผิน สุวโจ) และ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ในปีเดียวกัน
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัด บวรนิ เวศวิ ห าร กรรมการมหาเถรสมาคม ก็ ไ ด้ รั บ พระราชทาน สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่ง พระราชทินนามนีพ้ ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงให้ ตั้ ง ขึ้ น สำ � หรั บ พระราชทานสถาปนาพระญาณสั ง วร (สุ ก ) ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสมเด็จ ซึ่งต่อมาก็ไม่ปรากฏว่ามีพระเถระ รู ป ใดได้ รั บ พระราชทานสถาปนาตำ � แหน่ ง สมเด็ จ พระญาณสั ง วร อีกเลย เป็นเวลากว่า ๑๕๐ ปี
ดำ�รงตำ�แหน่งพระสังฆราชา เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ทำ�ให้ตำ�แหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ต่อมาในวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ลอดุ ล ยเดชจึ ง มี พ ระบรมราชโองการ โปรดเกล้ า ฯ สถาปนาสมเด็ จ พระญาณสั ง วร (เจริ ญ สุ ว ฑฺ ฒ โน)
ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนาม เดิม คือ “สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ เพราะสำ � หรั บ สมเด็ จ พระสั ง ฆราชที่ เ ป็ น สามั ญ ชน ปกติ จ ะใช้ ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ จะมีเพียงสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเชื้อพระวงศ์เท่านั้นที่จะมีนามพิเศษเฉพาะ ดังนั้น การใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็น พระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ นับเป็นสมเด็จพระสั ง ฆราชที่ เ ป็ น สามั ญ ชนพระองค์ แรกของประเทศไทยที่ ไ ด้ รั บ ราชทินนามพิเศษนี้
ปฏิบัติศาสนกิจ หลังจากที่ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสัง ฆปริณายกแล้ว สมเด็จพระญาณสังวรก็ทรงวางพระองค์ เหมือนดังปกติ ไม่อวดอ้างตนเหนือผู้อื่น ตรงข้ามกลับทรงอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ทรงเอาใจใส่และปฏิบัติภารกิจในฐานะ สมเด็จพระสังฆราชโดยบริบูรณ์อย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เจ้าประคุณสมเด็จฯ เสด็จปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ อยู่เสมอ ทรงเป็นพระมหาเถระรูปแรกที่ดำ�เนินงานพระธรรมทูต ในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ริเริ่มงานศาสนสัมพันธ์กับนานา ประเทศ เจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ ฯ เสด็ จ พร้ อ มด้ ว ยคณะสงฆ์ ไ ทยไปเป็ น ประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งประเทศเนปาล ณ กรุงกาฐมาณฑุ
ตามคำ�อาราธนาของคณะสงฆ์ประเทศเนปาล ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เสด็จเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็น ทางการ ตามคำ�กราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นประมุข ทางศาสนจักรพระองค์แรกทีร่ ฐั บาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกราบทูล ให้เสด็จเยือนอย่างเป็นทางการ ผลจากการเสด็จเยือนครั้งนั้นทำ�ให้ เกิดความตืน่ ตัวในการฟืน้ ฟูพระพุทธศาสนาในประเทศจีนเป็นอย่างมาก ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เสด็จประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์วัดไทยลุมพินี ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศเนปาล และทรงผลักดันให้มีการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จ การทรงงานของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นับได้ว่าช่วยค้�ำ จุนพระพุทธศาสนาและสร้างความตื่นตัวให้กับชาวพุทธทั่วโลกให้เห็นความ สำ�คัญและร่วมกันศึกษาเผยแผ่พระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นที่เคารพและยกย่องจากผู้นำ� พระพุทธศาสนาทั่วโลก และยกย่องให้พระองค์เป็นผู้นำ�สูงสุดแห่ง พระพุทธศาสนา กระทั่งองค์ดาไลลามะที่ ๑๔ แห่งทิเบตก็ตรัสเรียก พระองค์ว่า “พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”
สิ้นพระชนม์ ในราวปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประชวรและได้ประทับ อยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มาโดยตลอด ตามคำ�ทูลเชิญของคณะแพทย์ กระทั่ ง วั น ที่ ๒๔ ตุ ล าคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ นาฬิ ก า พระองค์ ไ ด้ สิ้ น พระชนม์ เนื่ อ งจากติ ด เชื้ อ ในกระแสพระโลหิ ต ยังความโศกเศร้าเสียใจและเกิดธรรมสังเวชแก่พทุ ธศาสนิกชนชาวไทย และพุทธศาสนิกชนทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้ ว ยทรงเศร้ า พระราชหฤทั ย ยิ่ ง นั ก จึ ง โปรดเกล้ า ฯ ให้ ใว้ ทุ ก ข์ ในพระราชสำ�นักเป็นเวลา ๓๐ วัน และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน พระศพไว้ที่ตำ�หนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ และถวาย พระเกียรติยศตามพระราชประเพณีทุกประการ สิ ริ ร วมพระชนม์ ม ายุ ๑๐๐ พระชั น ษา ๒๑ วั น นั บ เป็ น พระสั ง ฆราชาที่ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ยาวนานที่ สุ ด และมี พ ระชนม์ ชี พ ยาวนานกว่าสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์
๑๐๐ รอยธรรม คำ�สอนใน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๑ คนเรามีพื้นปัญญาสูงกว่าสัตว์ดิรัจฉานมากมาย สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดี ความชั่ว ความควรทำ�ไม่ควรทำ� รู้จักละอาย ถึงดังนั้นก็ยังมีความมืดที่มากำ�บังจิตใจ
ให้เห็นผิดเป็นชอบ ความมืดที่สำ�คัญนั่นก็คือ กิเลสในจิตใจและกรรมเก่าทั้งหลาย
๒ คำ�ว่า ชีวิต มิได้มีความหมายเพียง แค่ความเป็นอยู่แห่งร่างกาย แต่หมายถึง
ความสุข ความทุกข์ ความเจริญ ความเสื่อม ของบุคคลในทางต่างๆ ด้วย 17
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๓ ตัณหาและกรรม เป็นตัวอำ�นาจ หรือผู้สร้างให้เราเกิดมา ใครเล่าเป็นผู้สร้างอำ�นาจนี้ ตอบได้ว่าคือ ตัวเอง เพราะตนเองเป็นผู้อยากเอง และเป็นผู้ท�ำ กรรม ฉะนั้น ตนนี้เองแหละเป็นผู้สร้างให้ตนเองเกิดมา
๔ ตนรักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด สัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ ฉันนั้น จึงไม่ควรสร้างความสุข ให้ตนเอง ด้วยการก่อความทุกข์ ให้แก่คนอื่น
18
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๕ “ทุกข์” เป็นความจริง ที่โลกหรือทุกชีวิตต้องเผชิญ
๖ ชีวิตคนเราเติบโตขึ้นมาดำ�รงชีวิตอยู่ได้ ด้วยความเมตตากรุณา จากผู้อื่นมาตั้งแต่เบื้องต้น คือเมตตากรุณาจากบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติสนิท มิตรสหาย ถ้าไม่ได้รับความเมตตา ก็อาจจะสิ้นชีวิตไปแล้ว เพราะถูกทิ้ง
เมื่อเราเติบโตมาจากความเมตตากรุณา ก็ควรมีความเมตตากรุณาต่อชีวิตอื่นต่อไป
19
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๗ ไม่มีใครเกิดมาในโลกนี้ จะหนีพ้นความแก่ ความตาย แต่คนโดยมากพากันประมาท เหมือนอย่างว่าไม่แก่ ไม่ตาย น่าที่จะรีบทำ�ความดี แต่ก็ไม่ท�ำ กลับไปทำ�ความชั่ว ก่อความเดือดร้อนให้แก่กันและกัน ต่างต้องเผชิญทุกข์ เพราะกรรมที่ต่างก่อให้แก่กัน
น่าจะนึกถึงความแก่ ความตายกันบ้าง เพื่อจะได้ลดความมัวเมาและทำ�ความดี
๘ การแก้ปัญหาของคนเรา ถ้าป้องกันไว้ก่อนแก้ ไม่ทัน ก็ให้แก้เมื่อปัญหายังเล็กน้อย จะง่ายกว่า เหมือนอย่าง ดับไฟกองเล็กง่ายกว่าดับไฟกองโต 20
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๙ ความคิดเป็นเหตุแห่ง “ความทุกข์” และความคิดก็เป็นเหตุแห่ง “ความสุข” ได้
พึงรอบคอบในการใช้ความคิด คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ แล้วชีวติ ในชาตินก้ี จ็ ะงดงาม สืบเนือ่ งไปถึงภพชาติใหม่ได้ดว้ ย
๑๐ มารดา บิดา เป็นทิศเบือ้ งหน้า ครู อาจารย์ เป็นทิศ เบือ้ งขวา บุตร ภรรยา เป็นทิศเบือ้ งหลัง มิตรสหาย เป็น ทิศเบือ้ งซ้าย คนรับใช้หรือผูใ้ ต้บงั คับบัญชา เป็นทิศเบือ้ งต่�ำ สมณพราหมณ์ เป็นทิศเบือ้ งบน
ถ้าทิศทั้งหลายดังกล่าวไม่ดีเสียโดยมาก ก็ยากที่จะให้ใครๆ ที่อยู่ระหว่างกลาง ดีอยู่ฝ่ายเดียว 21
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๑๑ เป็นผู้ใหญ่ก็อย่าทำ�กรรมไม่ดี เป็นเด็กหรือหนุ่มสาวก็อย่าทำ�กรรมไม่ดี แม้รักตัวเองก็อย่าทำ�กรรมไม่ดี
จงทำ�แต่กรรมดี
หรือแม้รักพ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลาน ก็อย่าทำ�กรรมไม่ดี ผลไม่ดีที่ผู้ทำ�ได้รับนั้น จะทำ�ให้บรรดาผูท้ ร่ี กั ตนพลอยกระทบกระเทือนได้ดว้ ย
๑๒ การเลี้ยงดูเด็กให้เติบโต
ควรทำ�ความเข้าใจว่ามี ๒ อย่าง คือ เลี้ยงร่างกาย เลี้ยงดูจิตใจ เพราะความเติบโตของเด็กมีทง้ั ทางร่างกายและทางจิตใจ
จะมุ่งเลี้ยงร่างกาย ทอดทิ้งทางจิตใจ ย่อมเป็นความบกพร่องอย่างสำ�คัญ 22
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๑๓ สำ�หรับเด็กหรือเยาวชนนั้น ยังเป็นผู้เยาว์สติปัญญา จำ�ต้องอาศัยทิศรอบตนที่ดี ซึ่งผู้ใหญ่จ�ำ ต้องทำ�ตนให้เป็นทิศของเด็ก และช่วยสร้างทิศที่ดีให้แก่เด็ก
๑๔ คนวัยรุ่น กำ�ลังเจริญด้วยพลัง กำ�ลังทะยานกายทะยานใจ
เหมือนน้�ำ ตกแรง เมื่อไม่สมหวัง มักจะทำ�อะไรแรงจึงมักพลาดได้งา่ ย และเมือ่ พลาดลงไปในห้วงอะไรทีแ่ รงๆ แล้วก็อันตรายมาก 23
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๑๕ ไม่ควรเชื่อใจตนเองเกินไป เพราะอาจไม่มีเหตุผล ถ้าใจนั้นถูกบังคับหรือท่วมทับเสียแล้ว ควรหารือกับท่านผู้สามารถให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ ทั้งเมื่อสนใจในพระธรรมอยู่ พระธรรมอาจให้เหตุผล แก่ตนได้กระจ่าง พร้อมทั้งชี้ทางปฏิบัติได้ถูกต้อง
๑๖ ผู้ที่มีความคิดน้อย ย่อมนิยมชมชื่นในปัญญาแห่งมนุษย์ในปัจจุบัน และเหยียดดูถูกบรรพชนของตนเอง
แต่ผู้ที่มีวิจารณญาณ
ย่อมพินิจนับถือบูรพชนหรือโบราณชนเป็นอย่างดี โดยฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อกำ�เนิดศิลปวิทยา และประดิษฐ์วัตถุหรือในศิลปวิทยานั้นๆ ได้
24
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๑๗ เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล เมื่อทำ�เหตุ ย่อมได้รับผล
และผลย่อมตรงตามเหตุเสมอ ผู้ใดทำ� ผู้นั้นจักเป็นผู้ได้รับผล เที่ยงแท้แน่นอน
๑๘ เมื่อประมาทเสียแล้ว ก็เป็นคนหลงอย่างเต็มที่ ไม่รู้จักเหตุผล ความควรไม่ควร ไม่รู้จักดีชั่ว ผิดถูก
จะพูดชี้แจงอะไรกับคนเมาหาได้ไม่ 25
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๑๙ คนที่ถือกำ�เนิดเป็นคนนั้น ยังไม่จัดเป็นคนโดยสมบูรณ์ เพราะเหตุเพียงเกิดมามีรูปร่างเป็นคน ต่อเมือ่ มีการปฏิบตั ปิ ระกอบด้วยความรูส้ กึ ผิดชอบชัว่ ดี สมกับความเป็นคน จึงเรียกว่าเป็นคนโดยธรรม
เมื่อมีธรรมของคนสมบูรณ์ จึงจะชื่อว่า เป็นคนโดยสมบูรณ์
๒๐ การกิน การนอน ความกลัวและการสืบพันธุ์ ของคนและดิรัจฉานเสมอกัน แต่ธรรมของคนและดิรัจฉานเหล่านั้นแปลกกว่ากัน
เว้นจากธรรมเสีย คนก็เสมอกับดิรัจฉาน
26
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๒๑ สัตว์ดิรัจฉานอ่านง่าย ส่วนมนุษย์อ่านยาก เพราะมีชั้นเชิงมากนัก เหมือนอย่างป่ารกชัฏ ไม่รู้ว่าสิงสาราสัตว์ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง
๒๒ คนที่มุ่งประโยชน์เฉพาะตนเท่านั้น ไม่เกื้อกูลใคร เห็นแก่ตนโดยส่วนเดียว คับแคบ ไม่ประพฤติการเป็นคุณประโยชน์แก่ใคร อาจเจริญด้วยประโยชน์ปัจจุบัน มีทรัพย์เฉพาะตน แต่เป็นคนไม่มีประโยชน์แก่คนอื่นหรือแก่หมู่คณะ
เรียกว่า เป็นคนมีความคิดแคบสั้น 27
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๒๓ เมื่อมีไมตรี มีมิตร ก็ชื่อว่ามีผู้สนับสนุน ทำ�ให้ได้รับความสะดวกในกิจที่พึงทำ� ผู้ขาดไมตรี ขาดมิตร ก็เท่ากับขาดผู้สนับสนุน
แม้จะมีทรัพย์ มีความรู้ความสามารถ แต่ก็คับแคบเหมือนอย่างมีแต่ตนผู้เดียว ยากที่จะได้รับความสะดวกในกิจการ
๒๔ ถ้าทุกคนไม่มีอนาคตภายหน้า ก็ไม่จ�ำ เป็นต้องศึกษาเล่าเรียน แต่เพราะทุกคนต่างมีอนาคต
จึงต้องพากันศึกษาเล่าเรียนและทำ�กิจการต่างๆ เพื่อมีความสุขความเจริญในอนาคต 28
๑๐๐ รอยธรรม สมเด็จพระญาณสังวรฯ
๒๕ คนหนึ่งๆ มีหน้าที่หลายอย่าง เมื่อเรารู้จักหน้าที่ของตนดีอยู่
และปฏิบัติให้เหมาะแก่หน้าที่ ก็จะรักษาไว้ได้ ทั้งบ้าน ทั้งเมือง ทั้งศาสนา ทั้งตนเอง ทั้งผู้อื่น
๒๖ ไม่ควรมองออกไปแต่ภายนอก แต่ควรมองเข้ามาดูภายในด้วย
๒๗ ชีวิตนี้เท่านั้น ที่จะนำ�ไปสู่ความสวัสดี มีสุขได้อย่างแท้จริง เพราะชีวิตนี้เท่านั้น
ที่พร้อมสำ�หรับการบำ�เพ็ญบุญกุศลทุกประการ 29
สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์