สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์

Page 1


เรียบเรียงสาระ : ไพยนต กาสี ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา

บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง รูปเลม/จัดอารต : วันดี ตามเที่ยงตรง


ÃдÁ¸ÃÃÁ à¾×è͹ÓÊѹµÔÊØ¢¤×¹ÊÙ‹Êѧ¤Á

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เป็นสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ ๑๐๐% เช่น หนังสือเรียนนักธรรม ธรรมศึกษา บาลี หนังสือสวดมนต์ ตลอดจนหนังสือธรรม ประยุกต์ที่บรรจุคำสอนพร้อมคำสวดเป็นฉบับการ์ตูน ๔ สีสวยสดใส ราคาถูกใจผู้ซื้อหา ไม่ว่าจะซื้ออ่านเองหรือพิมพ์แจกจ่ายในงานบุญวาระพิเศษต่างๆ จึงไม่หยุดยั้งการ พัฒนา สร้างสรรค์สื่อธรรม รังสรรค์สังคมอุดมปัญญา เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ เป็นมรดกธรรมตกทอดถึงลูกหลานสืบไปตราบนานเท่านาน กราบขอบพระคุณท่านผู้มีอุปการคุณทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมสืบสานพุทธศาสน์ โดยให้การสนับสนุนหนังสือสื่อธรรมของสำนักพิมพ์ทุกเล่มด้วยดีเสมอมา

กิจกรรมไตรสิกขา ชาว LCP (Liang Chiang Purity)

ทุกวันจันทร์ และวันเสาร์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๐.๐๐ น. พนักงานสำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียงทุกคน ขอโอกาสร่วมกันสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา เพิ่มพลังศีล สมาธิ ปัญญา แก่ตนเอง เพื่อเร่งให้มีพลังกาย พลังใจ พลังสติปัญญา ไว้สร้างสรรค์หนังสือ สื่อธรรมดีดี ไว้บริการผู้มีอุปการคุณทุกท่าน และน้อมนำกุศลความดีที่เกิดจากการ ปฏิบัติกิจกรรมไตรสิกขานี้มอบแด่ทุกท่านโดยทั่วกัน จึงขอเชิญชวนทุกท่านตั้งจิตเป็น กุศลอนุโมทนารับบุญร่วมกัน สาธุ พวกเราชาว LCP ขออภัยในความไมสะดวกในการใหบริการ ตอผูมีอุปการคุณทุกทาน ในวันและเวลาดังกลาวไว ณ โอกาสนี้


ÁѤ¤Øà·È¡ ¸ÃÃÁ¡‹Í¹¹ÓÊÇ´

ในยามที่สูญเสียข้าวของเงินทองอันเป็นทรัพย์ภายนอกไป เรายังใช้ ความขยันหมั่นเพียรสร้างขึ้นใหม่ แต่ถ้าสูญเสียกำลังใจอันเป็นทรัพย์ภายใน จะ ใช้อะไรสร้างเพื่อเรียกขวัญกำลังใจกลับคืนมา ถ้าตอบตามภูมิปัญญาของชาวพุทธ ก็ต้องเร่งรุดปลูกจิตศรัทธาในคุณของพระรัตนตรัย เพราะเมื่อใจสนิทแนบแน่นใน สิ่งดีงาม ทำให้สภาพจิตกลับมาเข้มแข็ง เป็นแรงผลักดันให้เกิดพลังกาย-ใจ ในการ ประกอบกิจน้อยใหญ่ให้สำเร็จด้วยดี หนังสือ สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์ เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้น ด้วย หวังที่จะสร้างพลังกาย-ใจให้เกิดแก่ผู้สวด โดยอิงหลักอิทธิปาฏิหาริย์อันศักดิ์สิทธิ์ จากอำนาจของพระปริตร, หลักความสัมฤทธิผลด้วยอำนาจของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ความอัศจรรย์ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมในพระปริตร) ซึ่งเนื้อหาในเล่มมีด้วยกัน ๔ พุทธฤทธิ์ คือ ๑. พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู ๒. พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร ๓. พุทธฤทธิ์ ชินบัญชร ๔. พุทธฤทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล พุทธฤทธิ์ทุกบททุกตอนในเล่มนี ้ มีเนื้อหาพรรณนาถึงคุณความดีของ พระรัตนตรัยที่คนธรรมดาสามัญทั้งหลายเข้าถึงได้ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าเพื่อ นำมาพัฒนาศักยภาพของจิตใจให้เข้มแข็ง เป็นแรงผลักดัน เพื่อให้พร้อมสำหรับ การสร้างความดีงามให้เกิดมีในตน เฉกเช่นที่พระพุทธองค์หรือพระอรหันตสาวก ได้กระทำเป็นแบบอย่างมาแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักก่อเกิดคุณค่า นำพาชีวิตพบแต่ความเกษมสำราญ เบิกบานอยู่ในธรรม พ้นเคราะห์กรรมด้วยกัน ทุกท่านเทอญ. น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ. เรียบเรียงในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


ÊÒúÑÞ สวดมนต์ รู้ความหมาย ขยายศรัทธา เป็นฐานของปัญญาต่อไป ๗ ความหมายของคำว่า “สวด” ๙ ความหมายของคำว่า “มนต์” ๑๐ ความหมายของคำว่า “พุทธ” ๑๑ ความหมายของคำว่า “ฤทธิ์” ๑๒ สวดมนต์เพื่ออะไร ๑๔ สวดมนต์ดลพบประโยชน์ ความสุขโรจน์รุ่ง ๑๖ สวดมนต์อย่างไร จึงจะได้กำไรบุญ ๑๘ แนะนำวิธีสวดเฉพาะในเล่มนี้ ๒๑ ๒๓ พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู ก่อนทำอะไร ให้นึกถึงครู ๒๔ บูชาพระรัตนตรัยอย่างไร ให้เกิดผลดี ๒๖ ๑. บทบูชาพระรัตนตรัย ๒๗ กราบพระให้ถึงพระ ๒๘ ๒๙ ๒. บทกราบพระรัตนตรัย ภาวนา นะโมฯ เป็นประจำ ทำให้ใจสงบเย็น ๓๐ ๓. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า ๓๑ ผู้ดูหมิ่นพระรัตนตรัย ย่อมไม่เจริญ ๓๒ ๔. บทขอขมาพระรัตนตรัย ๓๓ อุ่นใจทุกครา เมื่อพึ่งพาพระรัตนตรัย ๓๔ ๕. บทไตรสรณคมน์ ๓๕ เปลี่ยนจากการสวดด้วยวาจามาเป็นการสร้างพุทธภาวะให้มีในตน ๓๖ ๖. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ๓๗


จำหนึ่งคำ ทำหนึ่งคุณ ก็เกื้อหนุนชีวิตให้เจริญ ๗. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ ความสามัคคีของหมู่ชน ก่อผลเป็นประโยชน์ และความสุขของหมู่คณะ ๘. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

๓๘ ๓๙ ๔๐

พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร บทนำก่อนสวด - การค้นพบบทสวดของหลวงพ่อจรัญ - กำหนดจิตด้วยกรรมฐาน นอนไม่ฝันฟุ้งซ่าน - อัศจรรย์ใจ พบคัมภีร์ใบลานตามนิมิต - สิ้นใจเพราะบังคับให้เล่าเรื่องพระป่า - อย่าดูหมิ่นความรู้พระสงฆ์ไทย - ความดีเป็นเกราะป้องกันภัยให้ชีวิต พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) - ความอดทน นำผลคือความสำเร็จมาให้ - เมตตา คือ คาถามหาเสน่ห์ - ความอิจฉา นำพาสู่ความพินาศ - ภาพพจน์โปร่งใส ใครๆ ก็เชื่อถือ - แม้มีปัญญา ก็อย่ายกตนข่มผู้อื่น - ภาวะผู้นำ ต้องมีธรรมประจำจิต - ว่างจากอัตตา นำพาพ้นทุกข์ - มารบ่มี บารมีบ่เกิด - เหงื่อ คือ น้ำมนต์วิเศษสุด บทชัยปริตร (มหากา) - ทำดีเมื่อใด เป็นอุดมมงคลฤกษ์เมื่อนั้น - มงคลเสก หรือจะสู้มงคลสร้าง

๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๔ ๕๖ ๕๘ ๖๐ ๖๒ ๖๔ ๖๖ ๖๘ ๖๙ ๗๐ ๗๒

๔๑


สัพพมงคลคาถา - พ้นเคราะห์ เพราะพุทธคุณ บทอิติปิ โส เท่าอายุ + ๑

พุทธฤทธิ์ ชินบัญชร บทนำก่อนสวด - ปลุกใจให้ศรัทธา ก่อนสวดภาวนาชินบัญชร - การเริ่มต้นและวิธีสวด พระคาถาชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร (ย่อ) หัวใจพระคาถาชินบัญชร

พุ ทธฤทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล

- ฝึกใจให้มีฤทธิ์ เพื่อพิชิตเคราะห์กรรม - เมตตาตน ด้วยการเป็นคนดี บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง - เมตตาผู้อื่นได้ผลแน่ แต่ต้องไม่เลือกที่รัก ผลักที่ชัง บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ - กรวดน้ำอุทิศบุญอย่างไรให้เป็นกุศล บทกรวดน้ำอุทิศบุญกุศล - พ้นเคราะห์ เพราะอโหสิกรรมกัน บทอธิษฐานอโหสิกรรมต่อกัน - เวรระงับ เพราะดับการจองเวร บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร - ทำดีแล้วอธิษฐาน ไม่ใช่การทำบุญแฝงความโลภ บทอธิษฐานจิต

๗๓ ๗๔ ๗๕ ๗๗ ๗๘ ๗๙ ๘๐ ๘๑ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๓ ๑๑๔ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๑๘ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๑ ๑๒๒ ๑๒๓ ๑๒๔ ๑๒๕ ๑๒๖ ๑๒๗


ÊÇ´Á¹µ ÃÙŒ¤ÇÒÁËÁÒ ¢ÂÒÂÈÃÑ·¸Ò ໚¹°Ò¹¢Í§»˜ÞÞÒµ‹Íä» การไหว้พระสวดมนต์เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาล แม้ในปัจจุบันพุทธศาสนิกชนก็ยังให้ความนิยมสวดกันอยู่โดยทั่วไป ไม่ว่าจะ เป็นสวดมนต์ตอนเช้าก่อนก้าวออกจากบ้านไปทำงาน ครั้นกลับถึงบ้านตอนเย็น ก็สวดมนต์ก่อนนอนอีกรอบหนึ่ง เป็นต้น บางท่านมีจิตศรัทธาในการสวดมนต์ มาก อยากให้ผู้อื่นได้หันมาสวดมนต์เหมือนกับตน เพราะได้เห็นผลอัศจรรย์ บางอย่าง ถึงกับจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกจ่ายเป็นธรรมทานก็มีให้เห็นอยู่ ทั่วไป นับเป็นบุญกิจอันยิ่งใหญ่ของผู้ให้ธรรมะเป็นทาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

7


ผู้เรียบเรียงอยากเล่าถึงประสบการณ์ ที่พบเห็นจากการได้ไปเยือนดินแดนพุทธภูมิ ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะที่สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ชาวพุทธทุกคนที่ไปถึงที่นั่น นอกจาก ก้มกราบกรานสักการะแล้ว กิจวัตรอีกอย่างหนึ่ง ที่พบเห็น คือการร่วมกันสวดมนต์ คิดดูว่าคน แต่ละชาติแต่ละภาษา ต่างเปล่งเสียงสวดมนต์ ออกมาจนดังระงมไปทั่วบริเวณนั้น แต่กลับ ไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดรู้สึกรำคาญใจ หรือ บ่นว่าหนวกหูแม้แต่คนเดียว แต่ละคนต่างมุ่งมั่นเปล่งพลังเสียงสวดมนต์ ด้วยจิตใจที่เปยมล้นไปด้วยพลังศรัทธา ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความรู้สึก อิ่มอกอิ่มใจอย่างยากจะบรรยายหมด แม้ขณะนั่งในรถไปตามจุดต่างๆ ก็ยัง สวดมนต์กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจในการเดินทางว่าจะมีแต่ ความปลอดภัย ที่เล่ามาข้างต้นนั้น เป็นประสบการณ์ที่พบเห็นด้วยตาเนื้อ เพื่อให้ท่าน ทั้งหลายเห็นว่า การไหว้พระสวดมนต์ เป็นกิจเบื้องต้นอย่างหนึ่งที่ควรทำ แต่เพื่อนำใจให้เกิดศรัทธาเป็นฐานพัฒนาสู่ปัญญาต่อไป ดังนั้น ใน การสวดมนต์ด้วยตนเองก็ดี หรือเวลาฟังพระหรือผู้อื่นสวดมนต์ให้ฟังก็ดี จึง ควรจะทราบเป็นเบื้องต้นเสียก่อนว่า สวดมนต์นั้นคืออะไร มนต์ของใคร และสวดไปเพื่อจุดมุ่งหมายใด เพราะเมื่อได้รับรู้อย่างถูกต้องแล้ว ทำให้เกิด ความเข้าใจอย่างประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ไม่ใช่สักแต่ว่าสวดไปด้วยความไม่รู้ หรือสวดไปเพราะดูตัวอย่างจากที่เขาทำตามๆ กันมา เพราะว่าการทำอะไรด้วย ความรู้นั้น จะทำให้เกิดความรู้สึกสบายอกสบายใจ เป็นสุขในขณะที่ทำ และ เป็นพละกำลังสำคัญที่จะก่อเกิดปัญญามากยิ่งขึ้นต่อไป จึงขอขยายความของ ชื่อหนังสือ สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ ์ ทีละศัพท์ดังต่อไปนี้ 8

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


¤ÇÒÁËÁÒ¢ͧ¤ÓÇ‹Ò “ÊÇ´” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำนิยามว่า “สวด เป็นคำกริยา คือ การว่าอย่างเป็นทำนองอย่างพระสวดมนต์” พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ราชบัณฑิต ให้คำนิยามไว้ใน หนังสือตำนานสวดมนต์ว่า “สวด นั้น ได้แก่ กิริยาที่ตั้งใจกล่าวมนต์ด้วยจิต กุศล มีเสียงดังพอประมาณ ไม่ใช่เสก เพราะเสกไม่ต้องใช้เสียง และต่าง จากบ่น ซึ่งเป็นการกล่าวซ้ำๆ เพื่อให้จำได้” จากคำนิยามที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้ให้ไว้ พอสรุปเป็นใจความได้ว่า สวด ก็คือ การเปล่งวาจากล่าวคำอย่างมีจังหวะจะโคน ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ให้มีวรรคตอนพอดีๆ เพื่อให้เกิดความสงบสบายใจในเวลาสวด เทคนิคการสวดนั้น ผู้เรียบเรียงมีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณ อาจารย์พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งท่านมีเมตตามอบผลงานให้สำนักพิมพ์จัดพิมพ์เผยแผ่หลายเล่ม โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ท่านได้ให้ข้อคิดว่า การสวดมนต์นั้น ควรสวดเป็นขั้นตอน ดังนี้ ๑) สวดให้ช้ำ คือ สวดบ่อยๆ เพื่อจะได้จดจำบทสวดได้อย่างแม่นยำ, ๒) สวดให้ชัด คือ ต้องสวดออกเสียงอักขระของบทสวดนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนตามฐานกรณ์ของอักขระ, ๓) สวดให้ชิน คือ ต้องฝึกหัดสวดอยู่เป็น ประจำ จนทำให้กลายมาเป็นความเคยชิน หากทำได้ตามนี้ การสวดของท่าน ไม่ว่าผิดๆ ถูกๆ แต่จะ µŒÍ§ÊÇ´ãˌ䴌 ปลูกนิสัยรักการสวดมนต์ขึ้นมาแทน Í‹ҧ¹Õé ÂÔ¹´Õ ªÔ¹ ãËŒ¡Ô¹¹éÓËÇÒ¹

ªéÓ

ªÑ´ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

9


¤ÇÒÁËÁÒ¢ͧ¤ÓÇ‹Ò “Á¹µ ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำนิยามไว้ว่า “มนต์ คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล” พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ว่า “มนตร์ คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวด” พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ อานุภาพพระปริตรว่า “มนต์ หมายถึง คำที่ศักดิ์สิทธิ ์ คำเหล่านี้พระสงฆ์ คัดเลือกมาจากพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพุทธพจน์ จึงเรียกว่า “พุทธมนต์” คือ คำศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธองค์ ซึ่งผู้สวดมีสมาธิจิตอันแน่วแน่สวดพร้อมๆ กัน เพื่อให้สัมฤทธิ์ตามความหมายแห่งถ้อยคำพุทธพจน์ที่นำมาสวดนั้น” จากคำนิยามที่ท่านนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายได้ให้ไว้ จึงพอสรุป เป็นใจความได้ว่า มนต์ หมายถึง คำที่มีความศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจช่วยให้พบ ความสำเร็จหรือพ้นจากภยันตรายได้ แต่ต้องอาศัยการสวดหรือการบริกรรม จึงจะทำให้เกิดอานุภาพ และมนต์ที่นำมาสวดโดยมากก็เป็นของพระพุทธเจ้า หรือเหล่าพระสาวก จึงนิยมเรียกว่า “พระพุทธมนต์” ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด มิต้องเร่งอ่านให้จบ หนังสือเล่มนี้อยู่ในมือท่าน โปรดอ่านแล้วอ่านอีก จักเข้าใจทีละนิด อีกไม่นานท่านจักเชื่อมโยงสรรพความคิด สัมมาทิฏฐิ สรรพธรรม ที่ท่านได้สั่งสมมาจากการศึกษาและปฏิบัติ จักนำท่านสู่ความพ้นทุกข์ได้ทีละนิด

10

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


¤ÇÒÁËÁÒ¢ͧ¤ÓÇ‹Ò “¾Ø·¸” พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้คำนิยามไว้ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ว่า “พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ อย่างถ่องแท้” พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ราชบัณฑิต ให้คำนิยามไว้ในหนังสือคำวัดว่า “พุทธะ แปลว่า พระพุทธเจ้า, ผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ผู้สอนให้คนอื่นรู้, ผู้ปลุกคนอื่นให้ตื่น, ผู้ทำให้คนอื่นให้เบิกบาน” จากคำนิยามข้างต้น จึงประมวลผลความหมาย ตามใจความได้ว่า พุทธะ ก็คือ พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ อริยสัจธรรมด้วยพระองค์เอง แล้วนำธรรมที่รู้นั้น มาสั่งสอนให้พวกเราได้ประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งยังทรงเป็นบุคคลตัวอย่างที่ยืนยันถึง ความสามารถในการพัฒนาสิ่งดีงามอันสูงสุด ที่สามารถนำตนให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนให้เป็น อย่างพระพุทธองค์ได้ หากว่าตั้งใจทำจริง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

11


¤ÇÒÁËÁÒ¢ͧ¤ÓÇ‹Ò “Ä·¸Ôì” Á¹µ ã´æ ¡çäÃŒ¼Å ËÒ¡¤¹äÁ‹·Ó´Õ Á¹µ ¨Ð´Õ µŒÍ§ÁÕ¤ÇÒÁ´Õã¹µ¹

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้คำนิยามไว้ในหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ว่า “ฤทธิ์ อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความ เจริ ญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม” พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ราชบัณฑิต ให้คำนิยามไว้ใน หนังสือคำวัดว่า “ฤทธิ์ หมายถึง อำนาจศักดิ์สิทธิ์, อานุภาพ, พลังอำนาจ ตรง กั บคำบาลีว่า อิทธิ ที่แปลว่า ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง” จากความหมายที่พระเดชพระคุณทั้งสองท่านว่าไว้ อาจขยายความ ได้ว่า ฤทธิ ์ หมายถึง สิ่งอัศจรรย์อันเกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังอำนาจ ผลั กดันผู้ทำตนให้มีฤทธิ์ก้าวไปสู่ความสำเร็จอันดีงามได้ พระพุทธศาสนา แบ่งประเภทของฤทธิ์ไว้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑. อามิสฤทธิ์ หมายถึง ความสำเร็จหรือความเจริญรุ่งเรืองที่อาศัย ปัจจัยภายนอกมาบันดาลให้ เช่น ความศักดิ์สิทธิ์ของมนต์ วัตถุมงคล หรือ เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นต้น 12

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


๒. ธรรมฤทธิ์ หมายถึง ความสำเร็จหรือความเจริญรุ่งเรืองที่อาศัย ปัจจัยภายใน คือ คุณความดีต่างๆ ซึ่งเราสร้างขึ้นเอง ดังเช่นการสวดมนต์ หากเราปฏิ บัติตนตามเนื้อหาในบทที่สวด ก็จักพบแต่สิ่งดีงามในชีวิต การสร้างฤทธิ์ทั้ง ๒ ประเภท จากการสวดมนต์ จะเป็นผลได้ด้วย พลั ง ๒ อย่าง คือ ๑. พลังศรัทธา สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในพระรัตนตรัย ว่าเป็น ที่พึ่งเป็นที่กำจัดภัยได้จริง เพราะบทสวดส่วนใหญ่ก็เป็นคำกล่าวสรรเสริญ คุณพระรัตนตรัยนั่นเอง การตระหนักในคุณค่านี้มีผลทำให้เกิดพลังศรัทธา ที่ ภาษาพระเรียกว่า “สัทธาพละ” ทำให้ไม่เบื่อหน่าย ยิ่งสวดบ่อยเข้า จิตของเรา ก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินี่เองจะเบ่งบานเป็นอามิสฤทธิ์ บันดาลให้ พิชิตความสำเร็จได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. พลังปัญญา เพราะว่าการสวดมนต์ ก็คือการบริกรรมหลักคำสอน ของพระพุทธองค์อย่างหนึ่ง การท่องบ่นอยู่ซ้ำๆ จนจำได้ มีผลให้เราได้นำ ข้อธรรมนั้นไปคิดพิจารณาจนสามารถนำมาใช้อย่างชาญฉลาด กระบวนการนี้ เป็นการพัฒนาปัญญาให้เกิดมีในตน ภาษาพระเรียกว่า “ปัญญาพละ” มีผล ทำให้เราเกิดทักษะในการแก้อุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ อย่างมีเหตุผล สามารถ ดำรงตนในสังคมได้อย่างปลอดภัย เพราะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องบาปบุญ คุ ณโทษ เรื่องที่เป็นประโยชน์และเปล่าประโยชน์ เป็นต้น ดังนั้น ความศรัทธาในสิ่งดีงาม มีผลช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในการ ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และทำให้เกิดปัญญาช่วยขจัดปัญหาที่เกิดแก่ชีวิตได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม การสวดมนต์ด้วยความรู้ความเข้าใจเช่นนี้ จึงไม่ใช่ เรื่องเหลวไหลไร้สาระอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นการเสกกายให้มีฤทธิ์ เสกจิต ของตนให้ก้าวขึ้นสู่ความดีได้มากยิ่งขึ้น จึงมีผลให้พ้นเคราะห์จากสิ่งชั่วร้ายได้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

13


ÊÇ´Á¹µ à¾×èÍÍÐäà คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตต้องรู้จักตั้งเป้าหมาย การสวดมนต์ เช่นกันก็ต้องรู้จุดมุ่งหมายก่อนว่า สวดมนต์ไปเพื่ออะไร โดยจุดมุ่งหมายใหญ่ ของการสวดมนต์ อาจจัดได้เป็น ๓ ประการ คือ ๑. สวดเพื่อจดจำคำสอน การสวดลักษณะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เป็นวิธีเรียนอย่างหนึ่งซึ่งต้องท่องด้วยปาก ภาษาพระเรียกว่า “มุขปาฐะ” ดังที่ พระพุทธองค์โปรดให้พระอุบาลีสวดทรงจำพระวินัย โปรดให้พระอานนท์สวด ทรงจำพระสูตร เป็นต้น ซึ่งมีผลดีในคราวที่มีการทำสังคายนาครั้งแรก พระ เถระทั้งสองได้สวดสาธยายคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน การสวดมนต์ จึงเป็นการจดจำคำสอนให้ขึ้นใจด้วยตนเอง ก่อนนำไป สอนผู้อื่นต่อไป ๒. สวดเพื่อขจัดกิเลสนิวรณ์ การสวดมนต์ที่เกิดจากบริกรรมคำสวด จนจดจำได้ จะส่งผลให้ผู้สวดมีจิตใจเป็นสมาธิ ดังมีพุทธดำรัสตรัสรับรองไว้ ในพระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอได้แสดงธรรม... สอนธรรม สาธยายธรรม ตามที่ได้ยินได้ฟังมา แก่ผู้อื่นได้โดยพิสดาร จะทำให้เธอทั้งหลายได้รู้ทั่วถึงอรรถ ทั่วถึงธรรม เมื่อรู้ แล้วย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปติ เมื่อมีปติ กายย่อม สงบ เมื่อกายสงบ ย่อมได้ความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น” จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธินี่เอง สามารถกำจัดกิเลสนิวรณ์ คือ สิ่งที่กั้น ขวางไม่ให้จิตก้าวขึ้นสู่ความดี ให้ออกไปจากจิตใจของเราได้ ๓. สวดเพื่อขอพรให้ตนเอง การสวดมนต์ จากเดิมที่เริ่มด้วยการ สวดเพื่อรักษาคำสอนไว้ ได้พัฒนามาเป็นการสวดเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆ เข้ามาด้วย ดังเช่นทรงอนุญาตให้ภิกษุสวดขันธปริตร เพื่อป้องกันอันตรายจาก 14

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


อสรพิษ สวดธชัคคปริตร เพื่อพิชิตความสะดุ้งหวาดกลัว เป็นต้น จึงนิยม เรียกอีกอย่างว่า สวดพระปริตร เฉพาะคำว่า “ปริตร” มีความหมายว่า ความ ต้านทาน, เครื่องปองกัน การสวดมนต์ที่มุ่งผลให้เกิดผลในการต้านทานปองกัน หากมุ่งมั่น สวดด้วยกุศลเจตนา มีเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์ ท่องบ่นบริกรรมไปด้วย ใจที่เป็นสมาธิ ย่อมก่อให้เกิดอานุภาพการปองกันภยันตรายต่างๆ ได้ ทั้งยัง ช่วยอำนวยอวยพรชัยให้พบแต่ความสุขสำเร็จสมหวังดังใจปรารถนา แต่ใช่ว่าการสวดมนต์นั้น จะช่วยแก้ไขป้องกันได้ทุกอย่างเสมอไป ซึ่ง เป็นไปตามเหตุปัจจัย ๓ ประการ ดังที่ท่าน พระนาคเสนเถระ กล่าวเป็น คำอุปมาเปรียบเทียบไว้ในหนังสือมิลินทปัญหาว่า “อาหาร ตามปกติแล้วเป็นสิ่งรักษาชีวิต แต่หากทานเข้าไปเกินขนาด และธาตุไฟหย่อนไม่ย่อยเผาผลาญแล้ว เป็นเหตุให้ถึงตายได้ อาหารจึงรักษา ชีวิตไว้ไม่ได้เสมอไป พระปริตรที่สวดก็เช่นกัน บางทีก็ปองกันรักษาภยันตรายต่างๆ ได้ บางทีก็ปองกันรักษาไม่ได้ เพราะมีสาเหตุ ๓ ประการ คือ ๑) ถูกแรงกรรม ปิดกั้น, ๒) ถูกกิเลสปิดกั้น, ๓) มีจิตไม่เชื่อในพระปริตร” เมื่อรู้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการสวดมนต์ จึงขอกล่าวถึงผลดี หรือ ประโยชน์ที่จะได้รับเป็นลำดับสืบไป ¨Ö§äÁ‹ä´Œ´Ñè§ã¨

áç¡ÃÃÁ » ´¡Ñé¹

¡ÔàÅÊ » ´¡Ñé¹

¨ÔµäÁ‹ ÈÃÑ·¸Ò สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

15


ÊÇ´Á¹µ ´Å¾º»ÃÐ⪹ ¤ÇÒÁÊØ¢âè¹ ÃØ‹§ ในยุคปัจจุบัน ที่มีการคิดค้นสารพัดวิธีบำบัดทุกข์โศกโรคภัย เช่น แนะนำให้ออกกำลังกาย หรือรับประทานอาหารชีวจิต เพื่อรักษาชีวิต รักษา สุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น แล้วการสวดมนต์ จะเกิดผลในทางบำบัด อย่างไร นี่ก็เป็นเรื่องน่าคิด น่าติดตามไม่น้อยเช่นกัน เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่ นั้นมีความคุ้นเคยกับการสวดมนต์อยู่แล้ว ซึ่งหากทราบว่าการสวดมนต์มีผล เป็นมนตราบำบัดรักษาสุขภาพทางกาย - ใจได้ จะทำให้มีความสนใจในการ สวดมนต์ มากยิ่งขึ้น ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา มีหลักฐานว่า พระพุทธองค์ทรงใช้ พระพุ ทธมนต์บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่เหล่าพุทธบริษัทอยู่หลายครั้ง เช่น ในคราวที่พระมหากัสสปเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ อาพาธ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปเยี่ยม ก็ทรงสวดสาธยาย โพชฌังคปริตรให้ฟัง ยังผลให้พระเถระทั้งสองรูปหายจาก อาพาธความเจ็บไข้ไปได้ หรือแม้ในคราวที่เมืองไพศาลีเกิดเหตุการณ์ร้าย ๓ อย่าง พร้อมกัน คือ เกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง (ทุพภิกขภัย), ภูตผีปศาจร้ายสิงสู่ มนุษย์จนล้มตาย (อมนุสสภัย), โรคห่าระบาดไปทั่วเมือง (โรคภัย) พระองค์ ทรงโปรดให้พระอานนทเถระ เรียนเอารัตนปริตร แล้วให้นำไปสวดบริกรรม ทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมไปทั่วพระนคร ปรากฏว่าภัยร้ายทั้ง ๓ ได้สงบ ระงับดับหายไปพลันอย่างน่าอัศจรรย์ใจ 16

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้แสดงพระธรรม เทศนาเรื่องอานิสงส์ของการสวดมนต์ ที่บ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็ก ตามคำนิมนต์มีใจความว่า “ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก หรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้ว การสวดมนต์นั้นมีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึง คุณงามความดีขององค์สมเด็จ- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์ มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์ อรหันต์อริยเจ้ามีคุณเช่นไร ดูก่อนท่านเจ้าพระยา และอุบาสกอุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์ เป็น การระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อจิตมีที่พึ่ง คือคุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใดๆ ก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์แล”

จิตมีที่พึ่งจึงไม่กลัวภัย ตั้งใจทำตามคำสวดจึงรวยทรัพย์ ปญญาฉลาดดี มีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ ได้เพื่อนดีๆ มากมาย ความเลวร้ายจางหายไป และไม่เข้ามาง่ายหรือมาก สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

17


ÊÇ´Á¹µ Í‹ҧäà ¨Ö§¨Ðä´Œ¡ÓäúØÞ การทำสรรพกิจการงานน้อยใหญ่ใดๆ ก็ตาม มักมีระเบียบวิธีปฏิบัติ หรือที่เรียกว่าการวางแผนงานก่อนเสมอ กิจธุระนั้นๆ ถึงจะสำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดี การไหว้พระสวดมนต์ก็เช่นกัน หากมีการกำหนดเวลาตั้งใจว่าจะทำเป็น กิจวัตรไว้ล่วงหน้า ย่อมเอื้อประโยชน์ต่อการลำดับกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ตาม ไปด้วย นอกจากนั้น ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ถ้าที่บ้านมีโตะหมู่บูชา ก็ยิ่งเป็นการดีที่จะมีพระพุทธรูปไว้ช่วยประคับประคองจิตให้เข้าสู่ความสงบได้ เร็วยิ่งขึ้น พระอาจารย์มหาปสัณห์ ปสนฺโน วัดพระมหาชนก เมืองกริฟฟน รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ได้เมตตามาที่สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เป็นประจำ ท่าน แนะนำข้อควรปฏิบัติในเวลาสวดมนต์ เพื่อให้เกิดผลทางจิตมากยิ่งขึ้นไว้ใน หนังสือมนต์ชีวิต และอนุญาตมอบลิขสิทธิ์ให้สำนักพิมพ์ฯ จัดพิมพ์เผยแผ่ ว่า ๑. ปรับใจให้มีความเชื่อ ความศรัทธาในพระคาถาให้มากที่สุด ว่า พระคาถาที่จะสวดนี้เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นของศักดิ์สิทธิ์จริง ไม่นำความเดือดร้อน มาสู่ตน และคนอื่น เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด สำหรับชีวิตเรา ๒. ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน มีแต่ อุปสรรค มีแต่ปัญหา มีแต่ความทุกข์มากมายเกิดขึ้นอยู่เสมอ บุญมีจริง บาป มีจริง ทุกชีวิตล้วนต้องการความสุข ความสำเร็จ ความสมหวังกันทั้งนั้น การ สวดมนต์เป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งความสุข ความสำเร็จมาสู่ชีวิต เราได้ คนไม่รู้จักสวดมนต์ จะมีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนเกิดขึ้นกับชีวิต อย่างไม่มีที่สิ้นสุด 18

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


๓. จงมีความอดทน เพียรพยายามสวดให้ได้ทุกวัน อย่าให้ขาด มากน้อยขอให้สวด การสวดมนต์นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มักมีอุปสรรคเกิดขึ้น ขัดขวางต่อผู้สวดมนต์ ยิ่งถ้าเป็นคนมีกรรม มีเวรมากยิ่งลำบาก แต่เป็นการ ลำบากแต่ในช่วงสองสามอาทิตย์แรกเท่านั้น ผ่านไปได้ก็จะดี รู้สึกสบาย ไม่ อึดอัด ไม่ทรมาน ขอจงอดทน มีสัจจะให้มากไว้ เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า เราต้ องทำได้ เพื่อชีวิตของเรา ๔. ไม่ต้องอธิษฐาน หรือปรารถนาอะไรทั้งสิ้น การสวดมนต์ไม่ใช่ การอ้อนวอนต่อรองเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการสร้างบุญ สร้างบารมีเพิ่ม พลังบุญ พลังความศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง การสวดมนต์เป็นการ ทำเหตุปัจจัยจัดระบบชีวิตให้ดี ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนผลนั้นจะเกิดขึ้นเอง โดยอั ตโนมัติ ๕. จะสวดเวลาไหน ที่ไหนก็ได้ (ยกเว้นในห้องน้ำ) จะอยู่ในอิริยาบถ ไหนก็ได้เช่นเดียวกัน ขอให้ใจเราพร้อมและมีเวลาสะดวก จะสวดวันละกี่ครั้ง ก็ได้ จงสวดเถิดไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีห้องพระในบ้าน ก็สวดในห้อง พระ จัดเครื่องสักการบูชามีดอกไม้ ธูป เทียนตามสมควรได้ ยิ่งเป็นสิ่งที่ดี ๖. จะสวดในใจหรือสวดออกเสียงก็ได้ แล้วแต่กาลเวลาและสถานที่ จะพนมมือหรือไม่พนมมือก็ได้ อาจจะยกมือไหว้สักครั้งก่อนสวดก็ได้ เป็น การดี ถ้าอยู่ในบ้าน ในสถานที่พร้อม ควรพนมมือสวด ควรตั้งนะโม ๓ จบ ก่ อนทุกๆ ครั้งที่มีการสวดมนต์ ๗. จะถือหนังสือดูก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดี ควรพยายามท่องจำให้ได้ใน แต่ละบท หรือบทหนึ่งบทใดก็ได้ที่ตนเองชอบ เป็นสิ่งที่ดีมาก จะได้เป็น สมบัติชีวิต สมบัติสมองติดตัวไว้ และสมองก็จะได้จดจำพระคาถาไว้ แทนที่ จะจดจำแต่ปัญหา แต่เรื่องที่ไม่ดีเก็บไว้ให้รกสมองเปล่าๆ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

19


๘. หากมีปัญหาชีวิตเกิดขึ้น ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ห้ามนึกโทษ น้อยใจ เสียใจ ตำหนิบ่นว่าการสวดมนต์ไม่เห็นช่วยอะไร พระคาถาไม่เห็น ศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาด ให้นึกเสียว่ากรรมเวรเรายังมี บารมีความเพียรเรายังน้อย แยกให้ออกว่านี่คือปัญหา นี่คือบุญ จงปักใจเชื่อเถิดว่า ปัญหาที่มีอยู่ย่อม หมดไป เราจะต้องพบทางออกที่ดีแน่นอน จงตั้งสติให้ดีแล้วสวดไป อย่าได้ ท้อแท้ ๙. อาจมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับการสวดมนต์ของเราก็ไม่ควรกล่าวร้าย นึกเกลียดชังโกรธเขาเป็นอันขาด ใช้ปัญญาพิจารณามองให้เห็นถึงสัจธรรม ความจริงของโลกว่า คนเรามีบุญมีบารมี มีสติปัญญา มีเวรมีกรรมต่างกัน จงแผ่เมตตาให้เขาเถิด ให้เขาได้มีโอกาสทำเช่นเราบ้าง การทำแต่ละอย่างนั้น จะให้มีคนเห็นดีด้วยไปหมดนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ๑๐. เรื่องความหมายหรือคำแปลนั้น ถ้ารู้ได้ก็ดี ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไร อย่าวิตกกังวลหรือสนใจกับคำคนมักกล่าวว่า “สวดแบบนกแก้ว นกขุนทอง” เพราะคนสวดกับนกสวดย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง การสวดมนต์ขอให้มีจิตจดจ่อ มีความเชื่ออยู่ที่อักขระพระคาถา อานิสงส์ย่อมมีมาก เพราะขณะนั้นสภาพจิต ย่อมเป็นบุญกุศลตลอด จากคำสอนของท่านอาจารย์ปสัณห์ ทุกท่านคงจะเห็นว่า การสวดมนต์ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย เพียงแค่เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเท่านั้น และ การสวดมนต์เป็นการทำบุญด้วยใจ ไม่ต้องลงทุนด้วยเงินทองอะไร แต่ได้ ความสุขเป็นกำไรมหาศาล เพราะการสวดมนต์ช่วยให้จิตสงบเย็น เป็นฐาน ให้เกิดสติปัญญา และมีฤทธานุภาพแห่งพระพุทธคุณอยู่ในตัว โปรดสวดด้วย ความเชื่อมั่น แล้วท่านจะรู้เอง เห็นเองว่า สวดมนต์นี้ดีจริงๆ 20

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


á¹Ð¹ÓÇÔ¸ÕÊǴ੾ÒÐã¹àÅ‹Á¹Õé บทสวดมนต์ในเล่มนี้มีด้วยกัน ๔ พุทธฤทธิ์ คือ ๑. พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู ๒. พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร ๓. พุทธฤทธิ์ ชินบัญชร ๔. พุทธฤทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล และเพื่อง่ายต่อการสวดจึงได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ดังนี้ บทสวดมนต์ บทที่ ๑ พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู และ บทที่ ๔ พุทธฤทธิ ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล ถือเป็นบทสวดพื้นฐานที่ต้องสวด ทุ กวัน คือ หากมีเวลาน้อยก็อาจจะสวดเฉพาะ ๒ หมวดนี้ แต่ถ้ามีเวลามาก จะเลือกสวดบทอื่นๆ ตามจุดประสงค์ที่อยากให้ อำนาจพระปริ ตรคุ้มครองป้องกันภัย เช่น สวดเพื่อพิชิตหมู่มารอุปสรรคปัญหาที่เข้าผจญ ให้สวดบทพื้นฐาน บทที่ ๑ พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู ต่อด้วยบทที่ ๒ พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร ปดท้าย ด้วยบทสวดพื้นฐานบทที่ ๔ พุทธฤทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญ กุ ศล สวดเพื่อเสริมมงคลชีวิต มีแต่ชัยชนะ ให้สวดบทพื้นฐานบทที่ ๑ พุทธฤทธิ ์ คาถาบูชาครู ต่อด้วยบทที่ ๓ พุทธฤทธิ ์ ชินบัญชร ปดท้ายด้วย บทสวดพื้นฐานบทที่ ๔ พุทธฤทธิ์ เจริญสมาธิภาวนา แผ่เมตตา อุทิศบุญกุศล สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

21


แต่ถ้าท่านมีอิทธิบาทธรรม (ธรรมที่นำสู่ความสำเร็จ) คือ ฉันทะ มีใจรัก, วิริยะ พากเพียร, จิตตะ ตั้งใจ, วิมังสา เข้าใจ ในการสวดมนต์มาก จะสวดทุกบทตามลำดับที่จัดวางไว้ตั้งแต่บทที่ ๑ ถึงบทที่ ๔ ก็ได้ ยิ่งเป็นการดี เพราะอิทธิบาทธรรมนี้ พระพุทธองค์ตรัสก่อนที่พญามารจะมาทูลเชิญให้เสด็จ ดับขันธปรินิพพานว่า “อานนท์ บุคคลใดเจริญอิทธิบาทภาวนาทั้ง ๔ ประการ แล้ว มีความปรารถนาจะดำรงชีวิตอยู่ตลอดกัป หรือมากกว่านั้น ก็สามารถ ดำรงอยู่ได้ดังใจปรารถนา” ในการสวด ๑๐ ครั้งแรก อยากให้ท่านได้สวดคำแปลความหมายของ บทสวดด้วย เพื่อจดจำสารธรรมที่มีอยู่ในบทสวดจักเป็นประโยชน์ในการนำไป ใช้ได้จริง ดังคำอาเฉินเสริมธรรม แนะนำไว้ในหนังสือของสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ดังนี้ “อ่านสิบรอบ คิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีมหาสติ จิตรู้ทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เป็นนิพพานในปัจจุบัน” หลังจากนั้นจะสวด คำแปลด้วยหรือไม่ก็ได้ เพราะคิดว่าท่านสามารถนึกถึงความหมายของสารธรรม ในบทสวดได้ครบถ้วนขึ้นใจแล้ว

“ฤทธิ์อะไร ก็สู้ฤทธิ์แห่งความจริง ความดี และความบริสุทธิ์ไม่ได้ ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด มาสูงสุดที่ความบริสุทธิ์ ปัญญา และคุณธรรม เราสร้างพระพุทธรูปเป็นมนุษย์ธรรมดา นั่งสง่างามด้วยธรรมะ ไม่ต้องแผลงฤทธิ์ สงบเย็นมีเมตตา ยิ้มแย้มให้คนอุ่นใจ สบายใจ มีความสุข นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ที่แท้” โอวาทธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คัดจากหนังสือ “ชีวิตหนึ่งเท่านี้ สร้างความดีได้อนันต์”

22

สวดมนต์พ้นเคราะห์ เพราะพุทธฤทธิ์


เรียนรู้คำสอนพร้อมคำสวด : เพื่อน้อมอัญเชิญพระรัตนตรัยมาประทับไว้ในจิต บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขออำนาจฤทธิ์คุ้มครอง เรียบเรียงโดย : ไพยนต กาสี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) ในนามคณาจารยสำนักพิมพเลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน


¡‹Í¹¨Ð·ÓÍÐäà ãËŒ¹Ö¡¶Ö§¤ÃÙ อุปนิสัยดีงามอย่างหนึ่งของชาวไทย คือ ความกตัญูรู้คุณคน ยิ่ง เมื่อรู้ว่าใครมีบุญคุณต่อตนก็ยิ่งดิ้นรนขวนขวายหาวิธีตอบแทนคุณนั้น เป็นต้น ว่าให้ความรัก ความเคารพนับถือ หรือคอยปรนนิบัติรับใช้ ผลจากความเป็น ผู้รู้คุณคนนี้ ทำให้บรรพชนไทยได้คิดค้นจารีตประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของ ชาติได้อย่างมากมาย เช่นพิธี “ไหว้ครู” การไหว้ครู เป็นสัญลักษณ์ของการ บูชาคุณอย่างหนึ่ง พิธีกรรมนี้มีผลต่อ การสร้างศรัทธา ความเชื่อ, ปสาทะ ความเลื่อมใส ในตัวครู ของบุคคล ผู้ปวารณาตนว่าเป็นศิษย์อยู่ไม่น้อย และพิธีดังกล่าวก็มิใช่เรื่องเหลวไหล ไร้สาระ แต่เป็นเรื่องของการสร้างขวัญความมั่นใจ ให้เกิดมีแก่ตัวผู้เป็นศิษย์ เพราะเมื่อศิษย์มีความเคารพเลื่อมใสในตัวของครู ก็จะเกิดความเชื่อมั่นในสิ่ง ที่ท่านนำมาสอน และก็พร้อมที่จะทำตามในเรื่องที่ท่านสั่ง ตอนผู้เรียบเรียงเป็นเด็ก เวลาที่บ้านเชิญหมอขวัญมาทำพิธีสู่ขวัญ เห็นพ่อหมอเขาจะยกขันที่มีข้าวตอกดอกไม้ขึ้นเหนือหัวทำปากขมุบขมิบก่อน ทำพิธี ก็ได้แต่สงสัยว่าทำไปเพื่ออะไร เมื่อถามก็ได้รับคำตอบว่า เป็นการบูชา ครูก่อนทำพิธี มาบัดนี้จึงได้เข้าใจว่า การที่พ่อหมอเขากล่าวคำบูชาครูก่อน นอกจากจะเป็นการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาหมอ ทำขวัญแล้ว ยังมีผลช่วยให้ใจของเขามีสมาธิก่อนทำพิธีกรรมลงไปอีกด้วย 24

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


กล่าวเฉพาะพุทธศาสนิกชน นอกจากเราจะมีคุณพ่อคุณแม่และครู อาจารย์ที่คอยแนะนำสั่งสอนแล้ว เรายังยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าทรงเป็นครูผู้จุดแสงสว่างทางปัญญา และทรงเป็นครูผู้สามารถ นำพาชีวิตให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังคำที่เราสวดสรรเสริญ พระคุณของพระองค์ว่า “สัตถา เทวะมะนุสสานัง ทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุ ษย์ทั้งหลาย” หลวงปูพุทธทาส ท่านแนะนำการบูชานับถือพระพุทธเจ้าในฐานะเป็น ครู ของชีวิตไว้ในหนังสือพระพุทธคุณบรรยายอย่างน่าคิดว่า “พุทธคุณข้อ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ คือผู้สอนที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนับถือท่านเป็นครู จะเคลื่อนไหว อะไรทางกาย ทางวาจา ทางจิต ก็ต้องนึกถึงท่านก่อน มันก็ไม่มีทางที่จะผิดได้ แล้วมันเป็นเรื่องของสติ จะเรียกว่ามีพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ มาเป็ นเพื่อนคุ้มครอง เป็นผู้แนะนำ” การที่ผู้เรียบเรียงจัดบทสวดมนต์พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครูไว้เป็นบทแรก ก็ด้วยเหตุผลว่า เมื่อเราจะอาศัยพลังพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ และ พระสังฆานุภาพ ให้มาเป็นที่พึ่งที่กำจัดภัยในชีวิต ก็ควรจะได้บูชาคุณของท่าน ก่อน และบทนี้เป็นบทสวดพื้นฐานที่พุทธศาสนิกชนควรสวดและกำหนดจดจำ ให้คล่องปากขึ้นใจ จะได้ไม่เคอะเขินเวลาไปสวดมนต์ร่วมกับผู้อื่น ร่วมสำนึกรักบ้านเกิด เทิดทูนสถาบันที่ให้การศึกษา บูชาพระคุณ ครูผู้สอนวิชา ด้วยการมอบหนังสือธรรมะดีๆ แก่น้องๆ นักเรียนในปจจุบัน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี สนใจโครงการนี้ โปรดติดต่อสอบถาม โทร. 02-872-8228, 02-872-9191 สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

25


ºÙªÒ¾ÃÐÃѵ¹µÃÑÂÍ‹ҧäà ãËŒà¡Ô´¼Å´Õ บูชา หมายถึง การยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือในคุณความดี การบูชาบุคคลผู้ควรบูชา เป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิตอย่างหนึ่ง วิธีบูชาพระรัตนตรัย ที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คือ ธูป ๓ ดอก, เทียน ๒ เล่ม, ดอกไม้ หรือพวงมาลัย จุดมุ่งหมายที่ท่านกำหนดวัตถุเหล่านี้ ไว้บูชาพระรัตนตรัย อาจอธิบายได้ตามคติธรรมที่แฝงอยู่ในวัตถุเหล่านั้น เช่น จุดธูป ๓ ดอก ก็เพื่อบูชาพระคุณทั้ง ๓ ของพระพุทธองค์ คือ พระ ปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ ในเวลาที่จุดธูป กลิ่นของธูป จะลอยคลุ้งทั่วบริเวณนั้น กลิ่นหอมเช่นนี้ก่อให้เกิดความเย็นอกเย็นใจยิ่งนัก ต่างจากกลิ่นหอมอื่นที่มีผลยั่วยุกามารมณ์ แต่กระนั้นกลิ่นหอมของธูปก็มิอาจ สู้กลิ่นความดีของพระพุทธองค์ ที่คงทนถาวรอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ จุดเทียน ๒ เล่ม ก็เพื่อบูชาพระธรรมและพระวินัย ซึ่งถือว่าเป็น ศาสดาแทนพระพุทธองค์ ในเวลาที่เราจุดเทียนแสงสว่างก็จะปรากฏขึ้น แต่ แสงสว่างนี้ก็ให้ความสว่างทางตาแก่เราเท่านั้น ต่างจากแสงของพระธรรมที่ สามารถส่องสว่างถึงกลางใจของผู้ปฏิบัติตามได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดอกไม้ พวงมาลัย เป็นเครื่องหมายของการบูชาพระสงฆ์ ดอกไม้ที่ เราปักแจกัน หรือร้อยพวงมาลัยอย่างเป็นระเบียบ ดูมีความสวยสดงดงาม ฉันใด คนเราแม้จะมาจากต่างถิ่นต่างฐาน เมื่อมาอยู่ร่วมกันจะดูสวยงามได้ ก็ต้องอาศัยระเบียบวินัย กฎ กติกา มารยาท เป็นเครื่องร้อยรัดไว้ ฉันนั้น

26

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


ñ. º·ºÙªÒ¾ÃÐÃѵ¹µÃÑ ¡ÃÒº¾Ãоط¸ ÃÙŒ¾ÃиÃÃÁ ¿˜§¾ÃÐʧ¦

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ.

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ.

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้. ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้.

ข้าพเจ้า ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้. การสวดพุทธฤทธิ์บทนี้มีอานุภาพดังโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า “พุทธะปูชา มะหาเตชะวันโต ธัมมะปูชา มะหาปัญโญ สังฆะปูชา มะหาโภคะวะโห” แปลเป็นใจความว่า “ผู้ใดมีจิตคิดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็น ประจำ ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนประเสริฐ จักบังเกิดเป็นผู้มีเดชานุภาพมาก มีปัญญา มาก มีทรัพย์สมบัติมาก และยังอาจกำจัดกิเลสตัวสำคัญ คือความโลภ โกรธ หลง ออกจากใจ และหลังจากสิ้นใจแล้วก็จักไปเกิดในเทวโลก” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

27


¡ÃÒº¾ÃÐãËŒ¶Ö§¾ÃÐ คำโบราณท่านสอนเอาไว้ว่า “กราบพระพุทธ อย่าสะดุดอยู่ที่ทองคำ กราบพระธรรม อย่าขยำเพียงแค่ใบลาน กราบพระสงฆ์ อย่าหลงไปถูกลูก ชาวบ้าน” นั่นเป็นปริศนาธรรมที่ท่านพยายามจะบอกกับเราว่า กราบพระพุทธ อย่าสะดุดอยู่ที่ทองคำ คือ เวลาเรากราบพระพุทธรูป ระวังอย่าหลงยึดติดกับทองคำ ทองเหลืองที่เขานำมาหล่อเป็นองค์พระเท่านั้น แต่ควรกราบให้ถึงเนื้อแท้ขององค์พระ ได้แก่ ความสะอาด (ศีล) ความสงบ (สมาธิ) ความสว่าง (ปัญญา) และน้อมนำพระพุทธคุณให้มีในตนให้ได้ กราบพระธรรม อย่าขยำเพียงแค่ใบลาน คือ สมัยโบราณเขาจาร จารึกหลักธรรมคำสอนลงในใบลาน เพียงแต่ไหว้คัมภีร์เทศน์ แต่ไม่เคยเปด อ่าน มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะคัมภีร์ใบลานหรือหนังสือธรรมะ จะมี ประโยชน์ได้ต่อเมื่อเราอ่านศึกษาจนเข้าใจนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน กราบพระสงฆ์ อย่าหลงไปถูกลูกชาวบ้าน คือ เวลากราบพระสงฆ์ ขอให้ระลึกนึกถึงท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ใช่กราบเพียงเพราะว่าเป็นลูก คนนั้น เป็นหลานของคนนี้ การสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ มีอานุภาพรวมจิตใจของเรามิให้ว้าวุ่นขาดที่พึ่ง แต่ช่วยตรึงใจมิให้หลงใหลใฝ่ต่ำไปทางชั่ว ทำตัวให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี เพราะ เมื่อเราเคารพกราบไหว้สิ่งดี ก็ย่อมต้องอยากทำตัวดีให้เป็นที่น่าเคารพตาม กราบพระพุทธ ผู้มีลูกศิษย์มากที่สุดในจักรวาล กราบพระธรรม อันเป็นคำสอนครอบคลุมจักรวาล กราบพระสงฆ์ ผู้อบรมตนและผู้อื่นให้ปฏิบัติตามพระธรรม

28

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


ò. º·¡ÃÒº¾ÃÐÃѵ¹µÃÑÂ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,

พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ.

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สังฆัง นะมามิ.

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว; ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ) สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

29


ÀÒÇ¹Ò ¹ÐâÁÏ à»š¹»ÃÐ¨Ó ·ÓãËŒã¨Ê§ºàÂç¹

คำว่า “นะโม” แปลว่า ความนอบน้อม หมายถึง การกล่าวคำบูชา เพื่อแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระพุทธเจ้า และความอ่อนน้อม เป็น มงคลสูงสุดอย่างหนึ่ง ส่วนในจูฬกัมมวิภังคสูตร ได้แสดงอานิสงส์ของความ อ่อนน้อมถ่อมตนไว้ว่า บุคคลใดประพฤติอยู่เป็นประจำ ในชาติหน้าจะได้เกิด ในตระกู ลสูงศักดิ์

สวดภาวนานะโมฯ อยู่เป็นประจำ ทำให้ใจสงบเย็นอย่างไร โดยเฉพาะ ในเวลามีเรื่องทำให้โกรธเคือง เราคงเคยได้ยินผู้ใหญ่แนะนำมาว่าให้นับ ๑-๑๐ ในใจจะช่วยให้หายโกรธ วิธีที่ท่านสอนนั้น เป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง เรียกว่า “อานาปานสติ ” คือ สติกำหนดนับลมหายใจเข้า-ออก

ในที่นี้ อยากแนะนำให้สวดภาวนานะโมฯ ระงับความโกรธของใจ เพราะในบทนี้มี พุทธคุณ ๓ ประการ ที่จะทำให้เราหายโกรธได้ คือ ๑. กรุณาคุณ (ภะคะวะโต) จะช่วยให้มีสติฉุกคิดได้ว่า เราทุกคน ควรมีเมตตากรุณาต่อกัน, ๒. บริสุทธิคุณ (อะระหะโต) จะช่วยให้มีสติฉุกคิดได้ว่า ความโกรธ เป็นกิเลสที่ทำใจให้เศร้าหมอง ถ้าโกรธคนอื่นอยู่เราก็ไม่เป็นผู้มีใจบริสุทธิ์ได้ ๓. ปัญญาคุณ (สัมมาสัมพุทธัสสะ) จะช่วยให้มีสติฉุกคิดได้ว่า ความโกรธนี้ไม่มีผลดีกับใคร แม้แต่ตัวเองก็ต้องเร่าร้อนใจตลอดเวลา คน มีปัญญาต้องรู้จักระงับความโกรธ ให้ดับมอดมิดได้อย่างฉับพลัน ดังคำที่ พระพยอมท่านว่า “โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่า จะได้ไม่บ้า ไม่โง่” 30

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


ó. º·¹Íº¹ŒÍÁ¾Ãоط¸à¨ŒÒ (สวด ๓ จบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น; อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส; สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

การสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ ด้วยใจที่รำลึกถึงพระพุทธคุณอย่างแน่วแน่ มีอานุภาพช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ได้ ดังในครั้งอดีตกาล สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมี ก็ได้อาศัยการน้อม นึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ให้มาช่วยคุ้มครองป้องกันภัย เช่น สมัยเสวยพระชาติเป็นนกคุ่ม ได้กล่าวคำสัจกิริยาขอพึ่งพาพระพุทธคุณช่วยให้ รอดพ้นจากไฟป่าที่กำลังไหม้ใกล้จะถึงรัง เป็นต้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

31


¼ÙŒ´ÙËÁÔè¹¾ÃÐÃѵ¹µÃÑ ‹ÍÁäÁ‹à¨ÃÔÞ คนโบราณท่านสอนไว้ว่า “สิ่งใดมีคุณค่าอนันต์ สิ่งนั้นมักมีโทษ มหันต์ หากระวังไม่ดี” เหมือนถ่านไฟที่ใช้หุงต้มมันมีความหมายด้านให้คุณ ประโยชน์ แต่ถ้าเผลอไปเหยียบเข้าก็ไหม้เท้าเราได้

พระรัตนตรัยก็เช่นกัน มีคุณคุ้มครองป้องกันมิให้ตกไปสู่ที่ชั่ว นำตัว นำใจให้ตั้งมั่นในความดี แต่ก็อาจมีบางครั้งที่เราไม่ได้ระมัดระวัง พลาดพลั้ง ปรามาสพระรั ตนตรัย ก่อผลให้มีเวรกรรมติดตามโดยไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว

คำว่า “ปรามาส” หมายถึง การดูถูก การลบหลู่ดูหมิ่นในทางเสียหาย อาจแสดงออกทางกายด้วยการกระทำ ทางวาจาด้วยคำที่พูด ทางใจด้วยเรื่องที่ คิ ด กิริยาอาการเหล่านี้ เรียกว่า ปรามาส หรือสบประมาทด้วยกันทั้งสิ้น

การปรามาสลบหลู่พระรัตนตรัย หลายท่านอาจคิดว่าเกิดขึ้นได้ยาก เพราะเป็นสิ่งเคารพบูชาสูงสุด แต่พุทธบริษัททั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า ในฐานะ อย่างเราท่านยังมิได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน ที่จะทำให้ศรัทธาไม่หวั่นไหว ย่อม มี โอกาสเผลอไผลสติคิดไม่ดีต่อพระรัตนตรัยได้

ตัวอย่างง่ายๆ เวลาที่ทำความดีอย่างหนึ่ง แล้วคนอื่นไม่เห็นความดี บางครั้งก็มีอกุศลจิตเห็นผิดเป็นชอบ ประกอบกับความน้อยเนื้อต่ำใจจนถึง กับคิดหรือพูดออกมาว่า “คนทำดีได้ดีมีที่ไหน คนทำชั่วได้ดีมีถมไป” ใครเคย คิดหรือพูดเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการปรามาสพระรัตนตรัย เพราะไม่มีความ เชื่อมั่นในตถาคตโพธิสัทธา คือ ไม่เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ที่ตรัสสอนว่า “ทำดีย่อมได้ด ี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว” ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาต้องสังวรระวังให้ดี จะได้ไม่มีเวรกรรมติดตัว 32

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


ô. º·¢Í¢ÁÒ¾ÃÐÃѵ¹µÃÑÂ

วันทามิ พุทธัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระพุทธเจ้า, ขอพระพุทธองค์ โปรดทรงยกโทษ ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระธรรม, ขอพระธรรม โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

ข้าพเจ้า ขออภิวาทพระสงฆ์, ขอพระสงฆ์ โปรดยกโทษทั้งปวง ที่ข้าพเจ้าทำล่วงเกินด้วยเทอญ.

วันทามิ ธัมมัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต. วันทามิ สังฆัง, สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต.

การสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ มีอานุภาพช่วยลดวิบากกรรมที่อาจเผลอทำ ต่อพระรัตนตรัยได้ มีผลให้การสร้างบารมีใหม่ไม่ติดขัด ขจัดความยุ่งยาก ลำบากกาย-ใจให้มลายหายไปพลัน เสียงธรรมจากวิทยุคลื่นไทธรรม FM 95.25 MHz. เขตทุ่งครุ กทม. หรือฟังทาง www.fm9525radio.org มีท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร แนะนำวิธีขอขมาฯ ไว้ว่า “คนที่ปรามาสพระรัตนตรัย ปฏิบัติธรรมไม่สำเร็จ การขอขมาฯ ด้วยใจ ควรทำต่อหน้าพระประธานในโบสถ์ หรือเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ สามารถทำได้ แต่เมื่อขอขมาแล้ว ต้องไม่ละเมิดอีก” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

33


ÍØ‹¹ã¨·Ø¡¤ÃÒ àÁ×è;Ö觾ҾÃÐÃѵ¹µÃÑ คำว่า “ไตรสรณคมน์” แปลว่า การถึงที่พึ่ง ๓ อย่าง หมายถึง การ ยอมรับนับถือรัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของชีวิต จิตใจ ให้สังเกตว่า วัสดุอุปกรณ์ของใช้อะไรที่เขาทำที่จับที่ถือไว้ ทำให้จับได้ ถนัดมือ ใช้ก็ง่าย สะดวกสบาย เช่น กระเปาที่มีหูมีสาย ถือก็สบาย สะพาย ก็สะดวก หม้อข้าวหม้อแกงที่มีหู ยกขึ้นยกลงก็ง่าย ไม่ร้อนมือ เป็นต้น คนเรา ก็เช่นกัน ต้องมีสิ่งให้ยึดถือเป็นที่พึ่ง จึงจะได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระพุทธดำรัส ที่ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้อยู่อย่างไร้ที่พึ่ง” ที่พึ่งอันสูงสุด ของชาวพุ ทธก็คือพระรัตนตรัยนั่นเอง พระรัตนตรัย ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะสามารถทำลาย ขจัด ปัดเป่า บรรเทาทุกข์ภัย ความสะดุ้งหวาดกลัว และความเศร้าหมองของผู้นับถือที่ ลงมื อปฏิบัติตามได้ พระพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะกำจัดภัยให้ผู้นับถือด้วยการให้ถึง สิ ่งที่เป็นประโยชน์ (ความดี) นำออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ (ความชั่ว) พระธรรม ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะคุ้มครองผู้ปฏิบัติมิให้ตกลงสู่ที่ชั่ว ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงบรรลุมรรคผลนิพพาน พระสงฆ์ ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นผู้ปฏิบัติชอบตามพระพุทธเจ้า แล้ วสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม การพึ่งพาพระรัตนตรัยจะเป็นผลให้พ้นเคราะห์ได้ ก็ด้วยนำคำสอน ของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ เพราะพระพุทธองค์ทรงเพียงแต่ชี้แนะเท่านั้น การสร้างที่พึ่งจึงเป็นหน้าที่ของเราโดยตรง 34

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


õ. º·äµÃÊó¤Á¹

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,

ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง;

ทุติยัมป พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมป ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมป สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,

แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง;

ตะติยัมป พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมป ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมป สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ. แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

35


à»ÅÕ蹨ҡ¡ÒÃÊÇ´´ŒÇÂÇÒ¨Ò ÁÒ໚¹¡ÒÃÊÌҧ¾Ø·¸ÀÒÇÐãËŒÁÕã¹µ¹ พุทธคุณ แปลว่า พระคุณความดีของพระพุทธเจ้า มี ๙ ประการ เบื้องต้นนับแต่ทรงบรรลุอรหัตผล จนถึงทรงจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์เป็น ที่สุด ทำให้ชาวพุทธเคารพนับถือพระองค์เสมอมา และการสวดมนต์จะเกิด ผลดี ก็ด้วยนำคำที่สวดด้วยวาจา มาแปรเปลี่ยนเป็นการกระทำด้วยตนให้ได้ ในพระพุทธคุณ ๙ เมื่อว่าโดยย่อ ก็สรุปเป็นพระพุทธคุณ ๓ คือ ทรงมีพระปัญญาตรัสรู้ธรรม แล้วนำมาสั่งสอนเวไนยสัตว์ ตัวเราใน ฐานะเป็นพุทธบริษัทของพระองค์ท่าน ก็จักต้องมีพัฒนาการทางปัญญา ให้รู้ แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งหลาย และในการดำเนินชีวิตจักใช้ปัญญาหาเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกมาตัดสินปัญหา ทรงมีพระหฤทัยบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสที่เป็นเหตุให้ใจเศร้าหมอง เราก็ต้องครองตนครองใจให้ห่างไกลจากกิเลสสิ่งยั่วยวนต่างๆ รวมกระทั่งถึง ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง ทรงมีพระกรุณาต่อสรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า เราก็จะทำใจให้มีเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ต่อเพื่อนร่วมโลกทุกเชื้อชาติศาสนา พระพุทธคุณทั้ง ๓ นี้ ใครสามารถทำให้เกิดมีในตนได้ ก็จักเป็นคุณ ประโยชน์มากมายนัก แม้จักไม่อาจทำให้ครบทั้ง ๓ คุณ ก็ตาม แค่ทำให้มีใน ตนสัก ๑ คุณ ก็ดีนักหนา เพราะบางคราเขาก็สรรเสริญความมีปัญญาของเรา ถ้าคิดว่าตนปัญญาไม่ดี ก็ให้มีใจเมตตากรุณาผู้อื่น หยิบยื่นแบ่งปันกันไป ถ้าว่าตนยากไร้ขัดสนไม่อาจให้ได้ ก็จงรักษาใจ รักษาความประพฤติให้บริสุทธิ์ เข้าไว้ ผู้ใดทำได้เช่นนี้ มีหรือที่ใครๆ จักไม่รักใคร่สรรเสริญ 36

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


ö. º·ÊÃÃàÊÃÔÞ¾Ãоط¸¤Ø³

อิติป โส ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น; อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส;

สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; วิชชาจะระณะสัมปนโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ; สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี; โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง; อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า; สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย; พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม; ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์. เวลาสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ จะมีกำลังใจเข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว ดังใจความ ที่กล่าวไว้ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงตถาคตเจ้า อาการ ขนพองสยองเกล้าเพราะความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

37


¨Ó˹Öè§¤Ó ·Ó˹Ö觤س ¡çà¡×éÍ˹عªÕÇÔµãËŒà¨ÃÔÞ พระธรรมคุณ แปลว่า พระคุณความดีของพระธรรม หมายถึง คุณค่าและความดีงามของพระธรรม ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย มี ๖ ประการ เบื้องต้นนับแต่เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จนถึงเป็นธรรมที่จะรู้ได้ด้วยตนเองเป็นที่สุด พุทธศาสนิกชนจึงเคารพและ ปฏิบัติตามพระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าด้วยดีเสมอมา พฤกษานานาพรรณในโลกนี้ ยังมีหลากหลายให้ได้เลือกไปประดับ ประดา ความงามของพระพุทธศาสนา ก็อยู่ตรงที่มีความหลากหลายของ หลักธรรม ให้ผู้สนใจนำไปปฏิบัติได้ตามต้องการ แต่พระธรรมนั้นมีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สามัญชนคงจดจำกันไม่ไหว จึงใคร่แนะว่า จำสัก หนึ่งคำ ให้ขึ้นใจ ทำสักหนึ่งคุณ ไว้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิต เช่น เครื่องหมาย ของคนดี ต้องกตัญูกตเวทีต่อผู้มีคุณ เป็นต้น หรือจะจำหัวใจแห่งพระพุทธธรรมทั้งหลาย คือ พระปัจฉิมโอวาท ที่ ตรัสก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่า “สังขารทั้งหลาย มีความสิ้นไป เสื่อมไป เป็นธรรมดา จะทำประโยชน์ตน หรือคนอื่น จงทำด้วยความไม่ประมาทเถิด” คนที่ทำอะไรด้วยความไม่ประมาท โอกาสผิดพลาดแทบจะไม่มี การดำเนินชีวิต ที่คล้อยตามหลักธรรมเช่นนี้ ย่อมไม่มีการก่อเวรก่อกรรมกับใคร ภยันตราย ของชีวิตย่อมไม่มีในทุกอิริยาบถ ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า ธมฺมจารี สุขํ เสติ ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข 38

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


÷. º·ÊÃÃàÊÃÔÞ¾ÃиÃÃÁ¤Ø³

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว; สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง; อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล; เอหิปสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด; โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว; ปจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูหีติ.๑ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน. เวลาสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ จะมีกำลังใจในการต่อสู้อุปสรรคปัญหา มี สติปัญญารอบคอบในการคิดแก้ไข ไม่ขวัญหนีดีฝ่อกับเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้น ดังใจความที่กล่าวไว้ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงพระธรรม อาการขนพองสยองเกล้าเพราะความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี” ๑

อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ แปลว่า ผู้รู้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

39


¤ÇÒÁÊÒÁѤ¤Õ¢Í§ËÁÙ‹ª¹ ¡‹Í¼Å໚¹»ÃÐ⪹ áÅФÇÒÁÊØ¢¢Í§ËÁÙ‹¤³Ð สังฆคุณ แปลว่า คุณความดีของพระสงฆ์ หมายถึง คุณค่าและ ความดีงามของพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้า ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของ พระรัตนตรัย มี ๙ ประการ เบื้องต้นนับแต่เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว จนถึงเป็น เนื้อนาบุญของโลกเป็นที่สุด คำว่า สงฆ์ แปลว่า หมู่ หมายถึง หมู่ชนผู้มีความเป็นอยู่เสมอกัน ทั้งทางด้านความเห็น ภาษาธรรมเรียกว่า ทิฏฐิสามัญญตา และด้านความ ประพฤติ ภาษาธรรมเรียกว่า สีลสามัญญตา จึงเป็นที่มาของความสามัคคี มีความสงบสุขของหมู่คณะ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความ พร้อมเพรียงของหมู่ชน บันดาลผลคือความสุข แนวทางการดำเนินชีวิตร่วมกันของพระสงฆ์ เป็นข้อเตือนใจเราได้ว่า สังคมใดมีความร้าวฉาน มันผลาญประโยชน์ แต่ในทางปฏิบัติ ความประพฤติ หรือความเห็น จะให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็คงจะยากสักนิด จึงขอนำ พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้พระราชทาน ไว้ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตตาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ ความตอนหนึ่งว่า “ความสามัคคี หรือการปรองดองกัน ไม่ได้หมายความว่า คนหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน แม้จะขัดกันบ้าง แต่ ต้องสอดคล้องกัน” 40

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


äËÇŒ¾ÃÐà¶Ô ´Ë¹Ù àÃÕ¹ࡋ§æ ¹Ð

ä¡‹¢Ñ¹¡ŒÍ§ ÌͧºÍ¡ÁÒ ã¤ÃÍÂ‹Ò¡ÅŒÒ ÂÖ´ÍÐäà änj໚¹µ¹

áÁ‹ä¡‹¾Ù´á·¹ ËÅǧ»Ù†¾Ø·¸·Òʤ‹Ð

ø. º·ÊÃÃàÊÃÔÞ¾ÃÐÊѧ¦¤Ø³ สุปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;

อุชุปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;

ญายะปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่อง ออกจากทุกข์แล้ว;

สามีจิปะฏิปนโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว; สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

41


ยะทิทัง,

ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,

คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

อาหุเนยโย,

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;

ปาหุเนยโย,

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;

ทักขิเณยโย,

เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;

อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. เวลาสวดพุทธฤทธิ์บทนี้ จะมีกำลังใจเข้มแข็งไม่หวั่นไหว ในการทำดี ตามแบบอย่างที่พระสงฆ์ปฏิบัติ ทั้งเสริมกำลังใจไม่ให้หวาดหวั่น ดังใจความ กล่าวไว้ในธชัคคสูตรว่า “คราใดเธอทั้งหลายระลึกถึงพระสงฆ์ อาการขนพอง สยองเกล้าเพราะความสะดุ้งตกใจ จักไม่มี” คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

42

พุทธฤทธิ์ คาถาบูชาครู


เรียนรู้คำสอนพร้อมคำสวด : เพื่อพิชิตหมู่มารร้ายที่เข้ามาผจญ

เรียบเรียงโดย : ไพยนต กาสี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) ในนามคณาจารยสำนักพิมพเลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน ภาพประกอบ : โดยทีมงานเลี่ยงเชียง ขอขอบคุณเปนพิเศษแด...  อาจารยเทพพร มังธานี ผูเขียนหนังสือมนตเสกตัว  คณาจารยสำนักพิมพเลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน ผูเขียนหนังสือ พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร ที่ทำใหผูเรียบเรียงมีแนวคิดนำมาตอยอดในบทนี้


º·¹Ó¡‹Í¹ÊÇ´ บทสวดมนต์ พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร หรือที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พุทธชัยมงคลคาถา แปลว่า คาถาว่าด้วยชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า ซึ่งเรามักจะจำกันง่ายๆ ตามคำขึ้นต้นว่า “คาถาพาหุง” เป็นบทสวดที่เราได้ยิน ได้ฟังบ่อยครั้ง เพราะในการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ พระท่านจะสวดบทนี้เป็น ประจำ และเชื่อกันว่าเป็นสวดที่มีอานิสงส์มากสามารถนำสรรพสิริมงคลมาให้ ทั้งแก่ผู้ฟังและผู้สวด เนื่องจากเป็นคาถาที่ท่านผู้แต่งได้นำเหตุการณ์สำคัญๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร ๘ ครั้งมารวมลงไว้ในคาถาบทนี้ จะว่าไปแล้ว ความเข้มขลังของพลังพุทธมนต์บทนี้ หากพิจารณาดู ให้ดีอยู่ที่สารธรรม คือพุทธวิธีที่ทรงใช้เอาชนะมารแต่ละครั้งต่างหาก เพราะ ชัยชนะแต่ละครั้งพระองค์มิได้ทรงใช้กำลังทางกายเข้าห้ำหั่นให้แต่ละฝ่ายต้อง เสียเลือดเนื้อ แต่ทรงใช้พระคุณธรรมของพระองค์เอง คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ จึงเป็นชัยชนะที่ไม่มีก่อเวรภัยกับใคร ส่งผลให้ผู้แพ้มายอมรับนับถือพระองค์ด้วยใจจริง ความเป็นมาของผู้แต่งพระคาถาบทนี้ มีผู้รู้กล่าวไว้หลายความเห็น เช่น แต่งโดยพระมหาพุทธสิริเถระ ผู้รจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ประมาณป พ.ศ. ๒๐๐๖, แต่งโดยพระเถระชาวลังกา เพราะพระลังกาก็สวดคาถานี้ได้ แต่ตำนาน ที่ชาวไทยให้ความเลื่อมใสพร้อมใจนำไปสวด คือตำนานที่หลวงพ่อจรัญกล่าวว่า แต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว จึงขอนำเรื่องที่หลวงพ่อจรัญท่านเล่าไว้ มาใช้อ้างอิงดังต่อไปนี้ (หน้า ๔๕-๔๙)

* ภาพถ่ายหน้า ๔๕-๔๙ โดยทีมงานเลี่ยงเชียง 44

พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร


¡Ò䌹¾ºº·ÊÇ´¢Í§ËÅǧ¾‹Í¨ÃÑÞ ที่มาของบทสวดมนต์พุทธชัยมงคลคาถา หรือพาหุง มหากา อาตมาได้ ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคล คาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาตมาทราบและได้ตำรานี้ เกิดจากนิมิต ที่อาตมากำหนดจิตอยู่ในพระกรรมฐานอยู่เสมอแม้แต่ในเวลานอน คืนหนึ่ง อาตมานอนหลับแล้วฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่ แห่งหนึ่ง พบพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำคร่า สมณสารูปเรียบร้อย น่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าท่านเป็นพระอาวุโสผู้รู้รัตตัญูจึงน้อมนมัสการท่าน ท่านหยุด ยืนอยู่ตรงหน้าของอาตมา แล้วกล่าวว่า...

“ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดปาแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอ ได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติ แด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากกรุงหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

45


¡Ó˹´¨Ôµ´ŒÇ¡ÃÃÁ°Ò¹ ¹Í¹äÁ‹½˜¹¿Ø‡§«‹Ò¹ ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอน ตอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝัน นึกอยู่ในใจว่า... “เราเองนั้นกำหนดจิต ด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุงซ่านเป็นไม่มี” อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า กรมศิลปากรทำการบูรณปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์ใหญ่วัดชัยมงคล และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิต หมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเป็นการเสร็จพิธี อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปดยอดบัว ไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่จะได้นำพระซุ้ม เสมาชัย ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้ สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิม ที่พบใน เจดีย์ใหญ่ ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่ง พังลงน้ำ กงเหล็งเป็นคนรวบรวม เอามาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มพัฒนา วัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปบ อาตมาเอามาสร้างเป็น องค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอด พระเจดีย์บ้าง 46

พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร


ÍÑȨÃà㨠¾º¤ÑÁÀÕà ãºÅÒ¹µÒÁ¹ÔÁÔµ วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันได แล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้ พอไต่ลงไป ภายในตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปครานี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้าน ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาด้วยเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่งเวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปแล้วก็พบคัมภีร์ ดั งที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือบทสวดที่เรียกว่า พาหุง มหาการุณิโก

พาหุง มหากา ก็คือ บทสวดสรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุง อันเริ่มด้วย พาหุงสะหัสสะ... ไปจนถึง ทุคคาหะทิฏฐิ... เรื่อยไปจนถึง มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ... และจบลงด้วย ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา... สัพพะธัมมา... สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต อาตมารวมกัน เรียกว่า พาหุง มหากา

อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไป ใช้เวลาเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า “หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั้นมาหรือ ?” แต่อาตมาไม่ตอบ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

47


ÊÔé¹ã¨à¾ÃÒкѧ¤ÑºãËŒàÅ‹ÒàÃ×èͧ¾Ãл†Ò จึงขอฝากผู้ยังมีความสงสัยที่มาของบทสวด พาหุง มหากา ด้วยว่า คัมภีร์ใบลานทองคำจารึกบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถานั้น อาตมาให้สัญญา สมเด็จพระพนรัตน์มาไม่ให้ใครดู ถ้าไปให้ใครดู อาตมาก็สิ้นชีวิตแน่ๆ เหมือน อาจารย์ ปถัมภ์ เรียนเมฆ ที่ให้อาตมาเล่าเรื่องพระในปาให้ฟัง อาตมาบอกว่า ถ้าเล่าแล้วอาจารย์ต้องตายนะ เขาบอกว่า ตายให้ตาย เพราะพระในปาบอกว่า ตายไปแล้ว ๓ เดือน จะฟ น และบอกว่า วันนี้จะมาสาวไส้หลวงพ่อวัดอัมพวันให้หมด เลยบอกว่า เอ้าตกลง โยมต้องตายนะ เลยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังที่ ร้านกวยเตี๋ยวปากบาง เขาอัดเทปไว้ ๕-๖ ม้วน ถ่ายรูปด้วย ขณะเล่ามีงูใหญ่ โผล่ ขึ้นมา ไม่มีรู หลานเขยจะตี ก็ห้ามไว้ นึกว่าอาจารย์ปถัมภ์ต้องตายแน่ พอเล่าเหตุการณ์เรียบร้อย อาจารย์ปถัมภ์เอาพระเกศพระที่หล่อ ที่หอประชุมภาวนากรศรีทิพามาขอถ่าย กลับไปเทปก็ไม่ติด รูปก็ถ่ายไม่ติด อาจารย์ ปถัมภ์ก็แน่นที่หัวใจ รุ่งเช้าถึงแก่กรรม ภรรยาอาจารย์ปถัมภ์ มาถามอาตมาว่า อาจารย์ปถัมภ์ จะฟนหลัง ๓ เดื อนแล้วจริงหรือไม่ อาตมาบอกว่า โยมไปดูเสียให้ดี เลือดออกทางหู ตา ปาก หรือเปล่า ถ้าออกแล้วไม่มีฟน ถ้าทวาร ๙ เปดไม่มีฟนนะ อาจารย์ปถัมภ์จึงถึงแก่ความ ตาย อย่าลืมนะ คนอื่นเขาขึ้นไปบนยอดเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลกัน แต่อาตมา โดดลงบ่อ ถ้าขึ้นไม่ได้ก็ขอตายที่นี่ ที่สมเด็จพระพนรัตน์ท่านมาเข้าฝันบอก และได้พบคัมภีร์ตามที่ฝันนั้นด้วย 48

พุทธฤทธิ์ พิชิตมาร


Í‹ҴÙËÁÔ蹤ÇÒÁÃÙŒ¾ÃÐʧ¦ ä·Â อาตมาถึงยืนยันว่า พระสงฆ์ไทยเรานี้มีความรู้ในพระพุทธศาสนา ลึกซึ้ง กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี พระอุบาลีที่ไปประกาศศาสนาที่ประเทศ ศรีลังกา ท่านแปลพระไตรปฎกจบ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดปาแก้ว ท่านเป็นผู้รจนาฉันท์บาลีว่าด้วย ชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘ บท ที่เรียก พาหุง มหากา ขึ้นมา ถวายพระพร ชัยมงคลแด่สมเด็จพระนเรศวร แต่นั้นมา อาตมาจึงสอนให้สวดบทพาหุง มหากา เป็นประจำ ถ้าเด็ก มีศรัทธา สอบได้ที่หนึ่งเลย ถ้าสวดไปซังกะตาย ไม่มีศรัทธา รับรองไม่ได้ผล

บทสวด พาหุง มหากา เป็นจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดปาแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา ท่านเอาประวัติที่พระพุทธเจ้าผจญมาร มารจนาขึ้น แล้วท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เอาไปเผยแผ่ที่ประเทศศรีลังกา จนได้รับยกย่องมาจนทุกวันนี้

ใครไม่เชื่อไม่เป็นไร อาตมาเชื่อหมื่นเปอร์เซ็นต์ เพราะเราฝันของ เราเอง และโดดลงบ่อได้คัมภีร์นี้มา คนอื่นๆ ขึ้นข้างบน อัญเชิญพระธาตุไป บรรจุและนำพระเครื่องเมืองพรหมนคร พระเสมาชัย พระเสมาขอ ไปบรรจุไว้ ที่เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลด้วย นี่คือความเป็นมาของคาถาพาหุง ที่หลวงพ่อจรัญท่านว่าไว้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

49


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.