ระวังจะเป็นเปรต

Page 1

น์

์เล ่ ยี ง w เชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

ิมพ

นัก พ

สาํ


ขอน้อมถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขออุทิศบุญทั้งหมดแก่เปรตทุกตัวตน ขอมอบแด่ ........................................................................ ........................................................................ ด้วยปรารถนาดีจาก ........................................................................ ........................................................................

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

หากหนังสือเล่มนี้ หมดประโยชน์แก่ท่านแล้ว กรุณาส่งมอบให้ ผู้อื่นได้อ่านต่อๆ ไป เพื่อเป็นการเสริมสร้างธรรมทานบารมีแก่ตน และ ช่วยเผยแผ่รักษาพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาว สืบต่อไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่อันจะก่อให้เกิด ประโยชน์สุขแก่ตน ครอบครัว สังคม โลกและสัตว์โลก ๓๑ ภูมิสืบไป


อานิสงสการสรางหนังสือ เป็นธรรมทาน

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

อานิสงส์การชักชวนผู้อื่นถวายทาน แบบฟอร์ ม è¶ÇÒÂ˹ѧÊ×͸ÃÃÁÐ ËÃ×;ÔÁ¾ ˹ѧÊ×͸ÃÃÁÐᨡ໚¹¸ÃÃÁ·Ò¹ ·‹Ò¹·Õ ¢ÍãËŒ·‹Ò¹¨§à¡Ô´¤ÇÒÁÀÒ¤ÀÙÁÔã¨à¶Ô´Ç‹Ò ·‹Ò¹ä´Œ·ÓÊÔ觷ÕèÁդس¤‹Ò ù Á§¤Å ´Ñ§µ‹Í仹Õé ñ. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃÃÑ¡ÉҾط¸ÈÒʹÒãËŒÁÕ¤ÇÒÁÂÑè§Â×¹ ÇѲ¹Ò¶ÒÇà ò. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒºÓà¾çÞ·Ò¹ºÒÃÁÕ·ÕèÂÍ´àÂÕèÂÁ ¤×Í ¸ÃÃÁ·Ò¹ºÒÃÁÕ ó. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃà¼Âá¾Ã‹ËÅÑ¡¸ÃÃÁ¤ÓÊ͹¢Í§¾Ãоط¸à¨ŒÒ ô. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃÊÌҧ¤ÇÒÁàËç¹·Õè¶Ù¡µŒÍ§ (ÊÑÁÁÒ·Ô¯°Ô) õ. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃÊ‹§àÊÃÔÁ¡Òû¯ÔºÑµÔ¸ÃÃÁ¡ÃÃÁ°Ò¹ ö. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃàÊÃÔÁÊÌҧÊѹµÔÀÒ¾áÅÐÊѹµÔÊآᡋªÒÇâÅ¡ ÷. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÁÕʋǹËÇÁ㹡ÒÃÊ‹§àÊÃÔÁáÅоѲ¹Ò¤Ø³¸ÃÃÁ¨ÃÔ¸ÃÃÁÍѹ´Õ§ÒÁ ø. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒÊ‹§àÊÃÔÁ㹡ÒÃàÅ×Í¡ÊÃÃÊÔ觷Õè´Õãˌᡋ¼ÙŒÃѺ (໚¹¼ÙŒãËŒ·Õè´Õ) ù. ä´Œª×èÍÇ‹Ò໚¹¼ÙŒáÊ´§ÍÍ¡¶Ö§¹éÓã¨Íѹ´Õ§ÒÁ¢Í§¡ÑÅÂÒ³ÁԵà (ÁԵ÷Õè´Õ) ·‹Ò¹·Õèä´ŒºÓà¾çÞ¸ÃÃÁ·Ò¹ºÒÃÁմѧ¡Å‹ÒÇÁÒáÅŒÇ Â‹ÍÁ»ÃÐʺᵋ¤ÇÒÁÊØ¢ ¤ÇÒÁà¨ÃÔÞÃØ‹§àÃ×ͧ ·Ñé§ã¹ªÒµÔ¹ÕéáÅЪҵÔ˹ŒÒ áÅÐ໚¹¼ÙŒ»ÃÒȨҡ·Ø¡¢ âÈ¡ âäÀÑ ·Ñ駻ǧ อกฺขรา เอก เอกฺจ พุทฺธรูป สม สิยา*

สาํ

นัก พ

ิมพ

สรางอักขรธรรมหนึ่งอักษร เทากับสรางพระพุทธรูปหนึ่งองค *(ที่มา : ศาสนวงศ ฉบับพระปญญาสามี, ๒๔๐๔)


์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

พันธนาการแห่งบาปที่ไม่ต้องรอบทพิสูจน์ และไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง

สาํ

นัก พ

ิมพ

บรรณาธิการสาระ / เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์, อรทัย คำแพง ออกแบบปก/รูปเล่ม : จิระพัฒน์ ยังโป้ย


คำนำ

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอกาลิโก ไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา และเป็นสันทิฏฐิโก คือทนต่อการพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์จริง ด้วยตัวเอง ด้วยเหตุทั้ง ๒ นี้ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า เปรตมีจริง นรก สวรรค์มีจริง แม้โลกปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว ก็ตาม เพราะข้าพเจ้าเลือกที่จะเชื่อพระพุทธเจ้ามากกว่าที่จะเชื่อตาม กระแสของคนในโลกปัจจุบัน ที่เลือกเชื่อและบูชาในสิ่งที่ตนสามารถ กอบโกยได้เท่านั้น ความจริงกับความเชื่อของคนปัจจุบันมักเดินสวนทางกันอยู่ เสมอ จะเห็นได้ว่าคนในปัจจุบันเลือกเชื่อในสิ่งที่จะทำให้ตนทำสิ่งไม่ดี ได้สะดวกใจแทนที่จะเลือกเชื่อความจริง ดังเช่นใครหลายๆ คนเลือก จะเชื่อว่านรก-สวรรค์ไม่มี เปรตไม่มี ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำอะไรได้สะดวก ขึ้นโดยไม่ต้องกลัวนรกหรือบาปกรรมแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อความเชื่อใน ลักษณะนี้แผ่ขยายออกไป ก็ทำให้สังคมเราเต็มไปด้วยเปรตเดินดิน สัตว์นรกในคราบมนุษย์มากยิ่งขึ้น หนังสือ ระวังจะเป็นเปรต เล่มนี้ ได้เขียนขึ้นเพื่อจะปลุกและ กระตุ้นเตือนจิตสำนึกความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งจะนำให้ เราท่านหันมาดำเนินบนทางสายบุญ ละทางสายบาป ละความโลภ โกรธ หลง นำพาชีวิตให้เป็นสุขด้วยความดีสืบไป ความดีที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ ขอถวายบูชาแด่พระรัตนตรัย คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ทุกท่าน และขอขอบคุณทีมงานทุกคน ที่ช่วยกันคิดสร้างสรรค์ ลงมือทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จด้วยดี าตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจงดำรงอยู่สิ้นกาลนาน


สารบัญ

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

“เปรต” เรื่องไกล แต่ใกล้ตัว “ไม่เชื่อ” คือข้ออ้างบังหน้าในการทำชั่ว เปรตมีจริง ยืนยันได้ เชื่อพระพุทธเจ้าไว้ไม่เสียหาย เชื่อหรือไม่ไม่สำคัญ สำคัญที่ “ต้องทำดี” ความหมายของคำว่า “เปรต” ภูมิของเปรต ความเป็นอยู่ของเปรต ประเภทของเปรต ภพภูมิของเปรตตั้งอยู่ที่ใด เปรตติดต่อขอส่วนบุญ เปรต ภพภูมิเดียวที่สามารถรับส่วนบุญได้ ทำบุญอย่างไรเปรตถึงจะได้รับ บุญเกิดมีได้ด้วยตัวเอง มิใช่คนอื่นให้ บาปกรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเปรต เปรตในพระไตรปิฎก เปรต เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของครูบาอาจารย์ แก้เคราะห์กรรมตามวันเกิด

๗ ๘ ๙ ๑๑ ๑๒ ๑๔ ๑๕ ๑๗ ๒๐ ๒๔ ๒๕ ๒๗ ๓๐ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๑๐๙ ๑๔๙


์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

“อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำยังเต็มได้ คนพาลสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้ วยความชั่ว”

ิมพ นัก พ สาํ

พุทธพจน์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๑๙


เรื่องไกล แต่ใกล้ตัว เมื่ อ เอ่ ย ถึ ง เปรต เชื่ อ เหลื อ เกิ น ว่ า เราท่ า นทั้ ง หลายที่ มี คุ ณ ปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพ่อ คุณแม่ นับถือศาสนาพุทธ คงเคยได้ยิน ได้ฟังหรือรับรู้เรื่องเกี่ยวกับเปรตมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเมื่อ เราทำอะไรไม่ดี อาทิ แอบขโมยกินของที่ท่านเตรียมไว้ใส่บาตร หรือพูด คำไม่ดีกับพ่อแม่ มักจะถูกขู่อยู่เสมอว่า ระวังจะเป็นเปรตปากเท่ารูเข็ม หรือเปรตมือใหญ่เท่าใบตาล ซึ่งเป็นคำขู่ที่ใช้ได้ผล ทำให้เราไม่กล้าทำ อย่างนั้นอีกไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลัง เหตุที่คำขู่นั้นได้ผลก็เพราะว่า เมื่อตอนเป็นเด็กเราเชื่อว่าเปรตนั้นมีจริง และคนที่ทำบาปด่าพ่อตีแม่ เมื่อตายไปจะต้องไปเกิดเป็นเปรตจริง แต่เมื่อเราโตขึ้น มีความรู้มีการศึกษามากขึ้น อยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น ความเชื่อที่ว่าเปรตมีจริงนั้น ก็กลับกลายเป็นเรื่องหลอกเด็ก เรื่องงมงาย ที่สุดความเชื่อเรื่องเปรตก็ค่อยๆ มลายหายไป พร้อมๆ กับความรู้สึกเกลียดชั่วกลัวบาป ก็ค่อยๆ ขาดหายไปจากจิตสำนึก ของเราลงไปทุกทีเช่นกัน ความฉลาด ความเจริญก้าวหน้า ความทันสมัยของเทคโนโลยี ทำให้คนปัจจุบันถอยห่างจากความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ การตายแล้ว เกิด ชาตินี้ชาติหน้า รวมถึงเรื่องของเปรต แต่ในขณะที่เราถอยห่าง

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

“เปรต”

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 7


จากความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์ เรื่องเปรตนั้น ในทางตรงกันข้ามเรา กลับขยับเข้าไปหานรก ก้าวเข้าใกล้เปรตภูมิเข้าไปทุกที เหมือนดั่งว่า เราจงใจที่จะไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ เรื่องเปรตมีจริง เพียงเพื่อเป็นโล่ กำบังให้ทำกรรมชั่วได้สะดวกใจ คือข้ออ้างบังหน้าในการทำชั่ว นั่นหมายความว่า การที่เราปฏิเสธว่านรกไม่มี ชาติหน้าไม่มี คนทำชั่วแล้วไปเกิดเป็นเปรตเป็นเรื่องโกหก เหล่านี้เป็นคำพูดปลอบใจ ตัวเองของคนที่ทำชั่วแล้วไม่กล้ายอมรับผลกรรมที่จะตามมา หรือเป็น ข้ออ้างเพื่อให้ตนทำกรรมชั่วได้โดยไม่กระดากอายมากนัก ซึง่ ถือเป็น เรื่องธรรมดาของคนที่พยายามจะหาเหตุผลมาสนับสนุนหรือเข้าข้าง ตัวเองไม่ให้ผิด ทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดก็ตาม ดังนั้น คนที่พูดว่าตนไม่เชื่อเรื่องเปรต เรื่องนรก-สวรรค์ มีจริงนั้น บาปกรรม แท้ที่จริงก็เชื่ออยู่ แต่เมื่อหักห้ามตัวเอง นรก สวรรค์ อะไร โกงวัด ผมไม่เชื่อหรอก ไม่ให้ทำความชั่วนั้นไม่ได้ หรือ บาปนะโยม พลาดท่าทำกรรมนั้นไปแล้ว ก็คิดหาเหตุผลที่จะทำให้ตนสบายใจ หลายๆ คนจึงเลือกที่จะไม่เชื่อ และพยายามถอยห่างออกจาก ความเชื่อที่ว่านี้ให้ไกลตัวที่สุด

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

“ไม่เชื่อ”

สาํ

นัก พ

8 ระวังจะเป็น เปรต


เมื่อความเชื่อเรื่องบุญ-บาป เรื่องนรก-สวรรค์ เรื่องโลกนี้ โลกหน้าไม่มี เปรตไม่มี ก็เปิดทางให้ทำกรรมชั่ว ได้ง่ายขึ้น และรุนแรงยิ่งขึ้น เหมือนกับการกระทำของคนในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งแทบไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นการกระทำของมนุษย์ เรือ่ งเปรตแม้จะเป็นเรือ่ งไกลตัวทีใ่ ครหลายคนปฏิเสธว่าไม่มจี ริง หรือบางคนอาจเชื่อว่ามีจริงแต่นั่นก็เป็นเรื่องของเปรตไม่เกี่ยวกับเรา เพราะอยู่ ค นละภพกั น แต่ ห ารู้ ไ ม่ ว่ า กรรมบางอย่ า งที่ เราทำอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นกรรมอย่างเดียวกับที่เปรตบางตนเคยทำและกำลังได้รับ ผลกรรมอยู่ ณ ขณะนี้ หลวงพ่ อ ชา สุ ภั ท โท แห่ ง วั ด หนองป่าพง เคยอธิบายเรื่องโลกหน้า มีจริงหรือไม่ คนตายแล้วเกิดจริงหรือไม่ ให้ กั บ ลู ก ศิ ษ ย์ ฟั ง ว่ า “การที่ ถ ามว่ า โลกหน้ามีจริงไหม ก็เหมือนกับถามว่า พรุ่งนี้มีจริงไหม ซึ่ ง คำตอบที่ ไ ด้ ก็ คื อ พรุ่ ง นี้ มี จ ริ ง แต่ ถ้ า ให้ ห าหลั ก ฐาน มาแสดงให้ดูว่าพรุ่งนี้มีอย่างไรนั้น ก็ สุดปัญญาที่จะหามาแสดงได้”

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

นัก พ

ิมพ

หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุ​ุบลราชธานี

สาํ

เปรตมีจริง ยืนยันได้

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 9


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ในทำนองเดียวกันกับคำถามที่ว่า เปรตมีจริงไหม คนที่ทำบาป จะไปเกิดเป็นเปรตจริงหรือไม่ คำตอบก็คือ จริง แต่ครั้นจะให้หา หลั ก ฐานมาแสดงต่ อ หน้ า หรื อ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น เปรตตั ว เป็ น ๆ ยื น อยู่ ต่อหน้า เช่นนี้ก็เป็นเรื่องเกินวิสัยที่จะทำได้ เหมือนกับให้ไปเอาวัน พรุ่งนี้มาแสดงให้ดู ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ว่าแม้ ไม่สามารถจะแสดงหลักฐาน ที่เป็นตัวเปรตให้เห็นได้ แต่หลักฐานที่เป็นพยานบุคคลและเอกสาร ที่สามารถยืนยันได้ว่า “เปรตมีจริง” นั้น ก็มีมากมาย และมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ พยานสำคัญบุคคลแรกที่ยืนยันว่า “เปรตมีจริง” ก็คือ “พระพุทธเจ้า” มีหลักฐานเป็นพระพุทธพจน์ที่จารึกไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔๕ เล่ม และ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ (สังยุตตนิกาย นิทานวรรค) มีพระสูตรที่ บันทึกเรื่องราวบุพกรรมของเปรตเอาไว้ ๒๑ เรื่อง และในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ (ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา) ได้ บันทึกเรื่องราวบุพกรรมของเปรตต่างๆ เอาไว้ ๕๑ เรื่อง นอกจากนี้ยังมี เรื่องราวของเปรตที่กระจัดกระจายในพระไตรปิฎกเล่มอื่นอีกมากมาย เช่น ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ (ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต) ได้กล่าวถึงบุพกรรมของเปรตงู และ เปรตกา เป็นต้น คำภีร์เหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันได้

สาํ

นัก พ

10 ระวังจะเป็น เปรต


เชื่อพระพุทธเจ้า ไว้ ไม่เสียหาย

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

การที่ยกอ้างเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักอ้างอิงเพื่อยืนยันการ มีอยู่จริงของเปรตนี้ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ มากที่สุดในโลก เป็นธรรมดาอยู่ว่าเมื่อเราจะเดินทางเข้าป่าลึกที่ไม่เคย เข้าไปมาก่อน จำต้องมีผู้ชำนาญพื้นที่เป็นผู้นำทางเพื่อเราจะได้ไม่หลง ป่า สิ่งสำคัญที่เราต้องมอบให้กับผู้นำทางก็คือความศรัทธาเชื่อมั่นใน ตัวผู้นำทางและพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของเขาทุกอย่าง ถึงแม้เรา จะไม่รู้ว่าทางที่เขานำไปนั้นจะถูกทางหรือไม่ก็ตาม ความเชื่อเรื่องเปรต นี้ก็เช่นเดียวกัน เราไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยตนเองว่าเปรตมีจริง หรือไม่ อย่างไร เชื่อไว้หน่อย ก็ดีนะโยม ไม่ ! แต่ ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ นับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งสูงสุด เราก็ควรที่จะเชื่อพระพุทธเจ้าไว้ก่อน เพื่อที่เราจะได้ ไม่หลงเดินทางผิด เพราะอย่างไรเสียการเลือกที่จะเชื่อพระพุทธเจ้าเอาไว้ก่อน เราก็มีแต่ได้ไม่มีเสีย กล่าวคือ ถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้า หมั่นสร้างความดี เอาไว้ ไม่ประกอบกรรมที่จะทำให้ไปเกิดเป็นเปรต สมมติว่าถ้าเปรตภูมิ ไม่มีจริง เราก็ไม่เสียหายอะไร ความดีที่เราทำก็มิได้สูญหายไปไหน เพราะเมื่ อ เราทำดี ความดี ย่ อ มตอบแทนให้ เรามี ชี วิ ต ที่ เ ป็ น สุ ข ใน บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 11


ปัจจุบัน และถ้าหากว่าชาติหน้ามีจริง เปรตภูมิมีจริง ก็เป็นอันแน่ใจได้ ว่ า เราจะไม่ ไ ปเกิ ด เป็ น เปรตแน่ น อน ซึ่ ง ตรงข้ า มกั บ คนที่ ไ ม่ เชื่ อ แล้วประกอบกรรมไม่ดีด้วยไม่เกรงกลัวต่อบาป เขาย่อมประสบกับ ความทุ ก ข์ เ ดื อ ดร้ อ นเพราะกรรมของตนในปั จ จุ บั น และถ้ า หาก ชาติ ห น้ า มี จ ริ ง เปรตมี จ ริ ง เขาก็ จ ะต้ อ งไปรั บ ผลของกรรมชั่ ว ใน ชาติหน้า ไปเกิดเป็นเปรตชดใช้กรรมต่อไป เรียกว่า “ซวยสองต่อ” เชื่อหรือไม่ไม่สำคัญ สำคัญที่ ดังนั้น สิ่งที่เราควรปฏิบัติในเรื่องนี้ก็คือ ให้ถือหลักปลอดภัยไว้ ก่อน คือ ไม่ว่าท่านจะเชื่ออย่างไร ก็ขออย่าได้ทำความชั่วใดๆ ให้หมั่น ประกอบกรรมดีเอาไว้ เพราะไม่ว่าจะเกิดในภพไหนภูมิใด คนทำดี ย่อมมีชีวิตที่ปลอดภัยและเป็นสุขเสมอ ในโลกนี้มีสิ่งที่เรายังไม่รู้ไม่เห็นอีกมากมาย การที่เราไม่เห็น หรือไม่รู้สิ่งใดแล้วป่าวประกาศว่าสิ่งนั้นไม่มี ถือว่าผู้นั้นเป็นคนหลงผิด เปรี ย บเหมื อ นคนตาบอดมองไม่ เ ห็ น ดวงอาทิ ต ย์ แล้ ว เหมาเอาว่ า ดวงอาทิ ต ย์ ไ ม่ มี เช่ น นี้ ถื อ ว่ า เป็ น ความคิ ด ความเห็ น ที่ ผิ ด จากความ เป็นจริง ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “มิจฉาทิฏฐิ” ความเชื่ อ ของคนเราบางครั้ ง ก็ ไ ม่ ต รงกั บ ความเป็ น จริ ง เช่ น บางคนเชื่อว่าเปรตมีจริง บางคนไม่เชื่อ แต่ความจริงแท้ๆ นั้น ไม่มีใคร รู้ว่ามีจริงหรือไม่อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรหาทางออกในเรื่องนี้ ให้ปลอดภัยที่สุด นั่นคือ “อย่าทำชั่ว ให้ทำแต่ความดี” นั่นเอง

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

“ต้องทำดี”

สาํ

นัก พ

12 ระวังจะเป็น เปรต


ไม่ทุกข์เดือดร้อนทั้งปัจจุบันและอนาคต

นัก พ

ิมพ

รักแผ่นดินไทย ส่งเสริมเด็กไทยให้ได้ใกล้ชิดธรรมะ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ แจกเป็นธรรมทานแก่เด็ก โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุด สถานพยาบาล ร้านค้า โรงแรม สถานสงเคราะห์ ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้อ่านเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม

สาํ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เพราะที่สุดแล้ว ความเชื่อก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิต เข้าถึงความพ้นทุกข์ แต่กรรมหรือการกระทำต่างหากที่จะเป็นตัวชี้วัด ความสุขความทุกข์ของคน ในปัจจุบนั คนทีเ่ ชือ่ เรือ่ งเปรต เรือ่ งนรก-สวรรค์มจี ริง ก็มไี ม่นอ้ ย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าชาวพุทธทั้งหมดเชื่อในเรื่องนี้ แต่จะมีชาวพุทธ สักกี่คนเกรงกลัวต่อนรก ต่อความเป็นเปรต แล้วละเว้นความชั่วได้ อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่เชื่อเรื่องกรรม เรื่องนรก เรื่องเปรตนี้ส่วนใหญ่ก็ อดที่จะก่อกรรมทำชั่วไม่ได้ในปัจจุบัน และอาจเป็นไปได้ว่าผู้ที่ไม่เชื่อ เรื่ อ งนรก-สวรรค์ เ สี ย อี ก ที่ ป ระกอบกรรมดี แ ละละอายที่ จ ะทำบาป มากกว่าคนที่เชื่อนรก-สวรรค์ ดังนั้น ไม่ว่าจะเชื่อว่านรกมีหรือไม่มี เปรตมีหรือไม่มีก็ตาม ไม่ถือเป็นประมาณ แต่สิ่งที่ต้องใส่ ใจก็คือการกระทำของตนเอง ขออย่าได้ประกอบกรรมชั่วใดๆ และขอให้ฝักใฝ่ ในการประกอบกรรมดี ทำดี พูดดี คิดดี แต่ฝ่ายเดียวเถิด ชีวิตจะได้เป็นสุข มีความสงบ เย็นกาย เย็นใจ

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 13


“เปรต”

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

เปรตในความหมายของคนไทยทั่วไปก็คือ ผีชนิดหนึ่ง จึงมักเรียกเปรตว่า ผีเปรต มีอาจารย์บางท่านได้จัดผีบางจำพวก เช่น ผีกระสือ ผีกระหัง ผีปอบ เป็นต้น ว่าแท้ที่จริงผีเหล่านั้นก็คือเปรต แต่บางท่านก็กล่าวแย้งว่า บรรดาผีๆ ที่คนไทยรู้จักนั้นน่าจะเป็นอสุรกาย มากกว่าจะเป็นเปรต

น์

ความหมายของคำว่า เมื่อพูดถึง เปรต เราทั้งหลายมักนึกถึงวิญญาณเร่ร่อนที่มีรูปร่าง สูงใหญ่ อดอยากผอมโซ เที่ยวขอส่วนบุญตามวัดวาอารามต่างๆ คำว่า เปรต มาจากคำสันสกฤตว่า เปรฺต ตรงกับคำบาลีว่า เปตะ แปลได้ ๒ ความหมาย คือ ๑. เปรต แปลว่า ผู้ละไปแล้ว หรือผู้ที่ตายจากโลกนี้ไปแล้ว หมายถึง ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษหรือญาติผู้ที่ตายไปแล้ว ดังเช่นคำ ในประโยคว่า นาย ก ได้ทำบุญอุทิศให้กับเปตชน คำว่า เปตชน ในที่นี้ หมายถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้วของนาย ก นั่นเอง ซึ่งอาจจะไปผุดไปเกิด แล้ว หรือยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดก็ตามที ๒. เปรต แปลว่ า ผู้ ห่ า งไกลจากความสุ ข หมายถึ ง ปี ศ าจ จำพวกหนึ่งที่เคยก่อกรรมเอาไว้ และต้องมารับใช้ผลกรรมนั้นอย่าง ทุกข์ทรมาน โดยแต่ละตนจะมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวและเสวย ผลกรรมในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนได้ทำไว้

สาํ

นัก พ

14 ระวังจะเป็น เปรต


เปรต

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ภูมิของ ในทางพระพุ ท ธศาสนาได้ จั ด ภพภู มิ ที่ ส รรพสั ต ว์ ผู้ มี กิ เ ลส ทั้งหลายจะต้องเวียนว่ายตายเกิดว่ามีทั้งหมด ๓๑ ภพภูมิ เรียกว่า “วัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ” ดังต่อไปนี้ ภพภูมิทั้ง ๓๑ นั้น ท่านแบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ยังแสวงหาความสุขจากกามคุณ ๕ คื อ รู ป เสี ย ง กลิ่ น รส สั ม ผั ส ที่ น่ า พอใจ มี ทั้ ง หมด ๑๑ ภู มิ คื อ อบายภูมิ ๔, มนุสสโลก ๑, และสวรรค์ ๖ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 15


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้เสพสุขจากการเข้ารูปฌาน ๔ ตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงจตุตถฌาน มีทั้งหมด ๑๖ ภูม ิ นับตั้งแต่พรหมปาริสัชชาขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐพรหม ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของผู้เจริญสมาธิจนถึงระดับ อรู ป ฌาน ๔ เป็ น ผู้ เ สพสุ ข ที่ เ กิ ด จากการเข้ า อรู ป ฌาน มี ๔ ภู มิ ตามลำดับของอรูปฌานมีอากาสานัญจายตนภูมิ เป็นต้น สัตว์ผู้ยังมีกิเลสทั้งหลายเกิดใน ๓๑ ภูมินี้เท่านั้น ไม่มีนอกเหนือจากนี้ ส่วนใครจะไปเกิดในภพภูมิ ใด ขึ้นอยู่กับกรรมเป็นตัวกำหนดจัดสรรให้ ใครทำดีย่อมเกิดในภพภูมิที่ดี ใครทำชั่วย่อมไปเกิด ในภพภูมิที่ชั่ว ตามกรรมที่ตนได้สร้างไว้ ภพภูมิของเปรตจัดเป็นหนึ่งในอบายภูมิ ๔ และจัดเป็นภพภูมิ สำหรับลงโทษผู้ที่กระทำบาป ที่ถือว่าหนักเป็นอันดับ ๒ รองจากนรก กล่าวกันว่าผู้ที่เกิดในนรกนั้นจะถูกลงโทษให้ทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีผ่อนหนักผ่อนเบา ไม่มีหยุดพักแม้เสี้ยววินาที ส่วนผู้ที่เกิดในภูมิ ของเปรตแม้ จ ะต้ องรับกรรมเช่นเดียวกับสัต ว์ น รก แต่ ก็ มี ผ่ อ นหนั ก ผ่อนเบาบ้างในบางครั้งบางครา เช่น เปรตปากเท่ารูเข็ม มีความหิวโหย อย่างแรง แต่ก็มีผ่อนปรนให้หากินประทังความหิวได้ เป็นต้น แต่ถึง กระนั้ น ก็ ยั ง ทุ ก ข์ ท รมานแสนสาหั ส นั บ เป็ น ร้ อ ยเป็ น พั น ปี หรื อ อาจ มากกว่านั้นเป็นกัปเป็นกัลป์ก็ม ี

สาํ

นัก พ

16 ระวังจะเป็น เปรต


ความเป็นอยู่ของ ชีวิตความเป็นอยู่ของเปรตมีมากมายหลายรูปแบบ สุดแล้วแต่ ว่าตนได้ทำกรรมในลักษณะเช่นไรไว้ และกรรมที่ทำนั้นหนักเบาแค่ไหน ท่านอาจารย์ภาสกร ภูริวฑฺฒโน ได้กล่าวถึงความแตกต่างของสัตว์ใน แต่ ล ะภพภู มิ เ อาไว้ สั้ น ๆ เมื่ อ ครั้ ง รั บ นิ ม นต์ ม าบรรยายธรรมในงาน กิจกรรมไตรสิกขามหาบุญ* ที่ลานธรรมช่อระกา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ว่า มนุษย์-กล้า, เดรัจฉาน-กลัว, เปรต-หิวกระหาย, อสุรกาย-ลามก, นรก-เร่าร้อน มนุ ษ ย์ - กล้ า หมายถึง บรรดาสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมินั้น มนุษย์ได้ชอื่ ว่าเป็นผูก้ ล้าในการทำความดีและความชัว่ มากทีส่ ดุ กล่าวคือ ในการทำความดี มนุษย์ก็กล้าทำความดีแบบสุดๆ ดังเช่น พระเวส- สันดรโพธิสัตว์กล้าให้บุตรเป็นทาน เพื่อบำเพ็ญบารมีธรรมเป็นพระพุทธเจ้า ในส่วนของความชั่ว มนุษย์ก็กล้า ทำความชั่วแบบสุดๆ ได้เหมือนกัน เช่น บางคนค้าขายได้แม้กระทั่ง มนุษย์ด้วยกัน หรือบางคนฆ่าได้ แม้กระทั่งพ่อแม่ของตน เป็นต้น ชั่วสุด ดีสุด ก็อยู่ที่มนุษย์นี่เอง

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรต

สาํ

นัก พ

ิมพ

* กิจกรรมไตรสิกขามหาบุญ จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน เปิดโอกาส ให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปเข้าร่วมฟังการบรรยายธรรม ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ มูลนิธจิ ติ อิม่ บุญบารมี โทร. ๐๒-๔๒๘-๑๗๑๗, ๐๒-๔๒๘-๗๗๖๖ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 17


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เดรัจฉาน-กลัว หมายความว่า ในโลกของสัตว์เดรัจฉานนั้น เต็ ม ไปด้ ว ยการเบี ย ดเบี ย น เข่ น ฆ่ า กั น และกั น สั ต ว์ ใ หญ่ ล่ า สั ต ว์ เ ล็ ก เป็นอาหาร นอกจากจะต้องระวังภัย ตาย ! จากสัตว์ด้วยกันแล้ว ยังต้องระวังภัย จากมนุษย์อีกด้วย โลกของสัตว์ เดรัจฉานจึงเต็มไปด้วย ความหวาดระแวง ความเกรงกลัวต่อภัยอันตราย เปรต-หิ ว กระหาย คำว่าหิวกระหายนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นอยู่ของเปรตได้เป็นอย่างดี หิวๆๆๆ โลกของเปรตเป็นโลกแห่งความอดอยาก หิวกระหาย อยากกินไม่ได้กิน แม้ได้กิน ก็กนิ แต่ของสกปรก ยิง่ กินก็ยงิ่ หิวกระหาย เป็นโลกทีท่ กุ ข์ทรมานด้วยความหิว เปรตบางตนหิวหนักจนต้องฉีกเนื้อตัวเองกิน ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิวได้เลย อสุรกาย-ลามก ลามก คำนี้ แปลเป็นไทยได้ว่า ต่ำช้า, เลวทราม, น่ารังเกียจ หมายความว่า โลกของอสุรกายนั้นเต็มไปด้วย พฤติกรรมแบบต่ำช้า เลวทราม และ เป็นที่น่ารังเกียจ เช่น อสูรที่ชอบกิน เครื่องเซ่นไหว้ประเภทเหล้ายา เนื้อดิบ

สาํ

นัก พ

18 ระวังจะเป็น เปรต


สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ของสดของคาว และหมกมุ่นอยู่แต่เรื่องเสพกาม ท่านอาจารย์ภาสกร ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ชอบกินเนื้อดิบๆ ชอบอาหารแบบเปิบพิสดาร ประเภทกิ น สมองลิ ง เป็ น ๆ กิ น อุ้ ง ตี น หมี อวั ย วะเพศหมี เพื่ อ เสริ ม สมรรถภาพทางเพศ หรือผู้ที่ชอบมีเซ็กส์แบบวิตถาร พวกนี้ชาติก่อน เคยเกิดเป็นอสุรกายและติดอุปนิสัยของอสุรกายมา นรก-เร่าร้อน นรกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านกล่าว ไว้ว่า มีทั้งหมด ๔๕๖ ขุม รวมกับโลกันตนรกอีก ๑ เป็น ๔๕๗ ขุม๑ ซึ่ง นรกแต่ละขุมนั้นจะมีสภาพเหมือนกัน คือเต็มไปด้วยเปลวไฟที่ร้อนแรง ขนาดที่คนยืนอยู่ห่างร้อยโยชน์แล้วมองด้วยตาเปล่า เปลวไฟยังทำให้ ตาบอดได้ ร้อนแรงถึงขนาดโยนก้อนหินขนาดเท่าภูเขาเข้าไปในนรก ก็จะสลายหายไปชั่วพริบตา ดังนั้น โลกแห่งนรกจึงได้ชื่อว่า โลกแห่ง ความเร่าร้อน ผลกรรมชั่วที่ตัวทำ จะนำสู่นรก ๑ ดูรายละเอียดนรกแต่ละขุมได้ในหนังสือ สวดมนต์พ้นนรก โดย ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ : บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 19


เปรต

ประเภทของ ดั ง ที่ ก ล่ า วมาแล้ ว ว่ า เปรตนั้ น มี ม ากมายหลายชนิ ด ด้ ว ยกั น ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำจะส่งผลให้ได้รับกรรมในลักษณะใด แต่เมื่อว่าโดย ที่มาและลักษณะของการเสวยผลกรรมแล้ว พอจำแนกได้ดังนี้

จำแนกตามที่มา มี ๒ ประเภท คือ

๑. เปรตที่มาจากนรก ๒. เปรตที่ไปจากโลกมนุษย์

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

๑. เปรตที่มาจากนรก ได้แก่ ผู้ที่ทำกรรมหนักเอาไว้เมื่อครั้ง ยังมีชีวิตอยู่ หลังจากตายไปแล้วก็ไปชดใช้กรรมนั้นในนรกขุมต่างๆ ตามน้ำหนักของกรรม เมื่อใช้กรรมในนรกหมดแล้ว แต่ยังมีเศษกรรม ติดตัวอยู่ ก็จะมาเกิดเป็นเปรตเพื่อชดใช้เศษกรรมที่เหลืออยู่

ิมพ

๒. เปรตที่ไปจากโลกมนุษย์ ได้แก่ เปรตจำพวกที่ทำกรรม ไม่หนักพอจะไปรับโทษในนรก ทำกรรมที่มีโทษพอเหมาะพอสมจะไป เกิ ด ในภู มิ ข องเปรต พอตายไปก็ ไ ปเกิ ด เป็ น เปรตชดใช้ ก รรมทั น ที ไม่ต้องลงนรกก่อน

สาํ

นัก พ

20 ระวังจะเป็น เปรต


จำแนกตามลักษณะการเสวยผลกรรม มี ๕ ประเภท คือ

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ภาพจากหนังสือ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี : หอสมุดแห่งชาติ ๑. ขุปปิปาสิกเปรต (เปรตหิวกระหาย) ได้แก่ เปรตที่เสวย ผลกรรมด้ ว ยความอดอยากหิ ว โหย มี รู ป ร่ า งผอมโซ เที่ ย วแสวงหา ของกินไปยังที่ต่างๆ แต่ก็ไม่พบสิ่งที่เป็นอาหารใดๆ เปรตบางจำพวก วิบากกรรมบันดาลให้พบแม่น้ำ ข้าวปลาอาหารวางอยู่ตรงหน้า ด้วย ความหิ ว กระหายเปรตเหล่ า นั้ น ก็ วิ่ ง เข้ า หาหมายจะกิ น ให้ อิ่ ม หนำ แต่เมื่อจะเอาเข้าปาก น้ำ อาหารเหล่านั้นก็กลายเป็นหิน เป็นทราย เป็นแกลบ ไม่สามารถจะกินจะดื่มได้ เปรตเหล่านั้นก็ได้แต่คร่ำครวญ ร้องไห้อย่างน่าเวทนา เปรตบางตนมีปากเท่ารูเข็ม จะกินอะไรก็กินได้ที ละน้อย ไม่อาจกินให้สาแก่ความหิวได้ ที่เป็นดังนี้เพราะผลกรรมที่เกิด จากความตระหนี่ถี่เหนียว หวงแหนในทรัพย์ของตน ไม่เคยทำบุญ ทำทาน แม้ทำก็ทำด้วยความเสียดาย บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 21


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

๒. วันตาสเปรต (เปรต กิ น ของสกปรก) ได้ แ ก่ เปรต ที่เสวยผลกรรมด้วยการกินของ สกปรกเป็ น อาหาร เช่ น กิ น อุจจาระ ซากศพ น้ำลาย เสลด น้ ำ เลื อ ด น้ ำ หนอง กิ น ลู ก ของ ตัวเอง เป็นต้น เป็นผลมาจากกรรม ที่พูดจาไม่ดี โกหกมดเท็จ พูดสบถสาบาน พูดคำหยาบ ดูถูกดูหมิ่นผู้มี พระคุณหรือผู้ทรงศีล เป็นต้น ๓. ปรทั ต ตู ป ชี วี เ ปรต (เปรตขอส่วนบุญ) ได้แก่ เปรต ที่ มี ค วามหิ ว โหยแต่ ไ ม่ ส ามารถ จะกินอาหารอย่างอืน่ ได้ นอกจาก รอรั บ ส่ ว นบุ ญ จากญาติ อุ ทิ ศ ให้ เปรตจำพวกนี้จะมีโทษเบาบาง คื อ ไม่ ไ ด้ ส ร้ า งเวรสร้ า งกรรมที่ หนักหนาสาหัส ถ้าเปรียบเหมือนนักโทษก็คือนักโทษที่ก่อคดีไม่ร้ายแรง พร้อมที่จะให้ญาติประกันตัว อีกส่วนหนึ่งคือ เปรตที่ทำกรรมหนักแต่ได้ ชดใช้จนกรรมนั้นเบาบางหรือเหลือน้อยเต็มที เมื่อได้รับการอุทิศบุญ จากญาติก็จะพ้นจากความเป็นเปรตทันที เปรียบเหมือนนักโทษคดี ร้ายแรง แต่มีความประพฤติดีเมื่อรับโทษใกล้ครบแล้ว หากได้รับการ อภัยโทษก็จะได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนด * ภาพจากหนังสือ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี : หอสมุดแห่งชาติ

สาํ

นัก พ

22 ระวังจะเป็น เปรต


์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

๔. ณิชฌามตัณหิกเปรต (เปรตไฟเผา) ได้แก่เปรตที่เสวย ผลกรรมด้วยการถูกไฟแผดเผา ร่ า งกาย โดยมากเป็ น ผลกรรม จากการใช้ไฟเผาทรัพย์สิน หรือ ใช้ไฟเผาทำร้ายคนอื่น เปรตประเภทที่ ๑-๔ นี้ มีกล่าวไว้ในหนังสือพระสูตรและอรรถกถา แปล เล่มที่ ๓๙๑ (ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่มที่ ๑) หน้า ๒๙๙ และยังมีเปรตอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาคือ ๕. เวมานิกเปรต (เปรตมีวมิ าน) ได้แก่ เปรตทีม่ วี มิ านหรือทีอ่ ยู่ เป็นหลักแหล่งของตนเอง เปรตจำพวกนี้เกิดจากการทำกรรมชั่วและ ความดีประกอบกัน เช่น นางเปรตตนหนึ่งเคยเป็นอุบาสิการักษาศีล อุโบสถ แต่ ไ ด้ เ ล่นชู้นอกใจสามี เมือ่ ตายไปเกิดเป็นเปรตมีรา่ งกาย สวยงาม และได้อยู่ในวิมานทิพย์ หลังใหญ่ ด้วยอานิสงส์แห่งศีลที่ ตนเคยรักษา แต่พอตกกลางคืน ต้ อ งลงจากวิ ม านให้ สุ นั ข รุ ม กั ด ด้ ว ยผลแห่ ง กรรมเล่ น ชู้ และ โกหกสามี (อ่ า นรายละเอี ย ด หน้า ๘๑ ) ๑ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช ๒๕๒๕

สาํ

นัก พ

ิมพ

หมายเหตุ : ภาพจากหนังสือ สมุดภาพไตรภูมฉิ บับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี : หอสมุดแห่งชาติ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 23


ภพภูมิของเปรตตั้งอยู่ที่ใด

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ภพภูมิหรือที่อยู่ของเปรตนั้น ท่านกล่าวว่าอยู่ในโลกของมนุษย์ นี้เอง เพียงแต่ว่าอยู่คนละมิติ ไม่อาจมองเห็นหรือติดต่อสื่อสารกันได้ โดยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ นอกจากผู้ที่มีญาณวิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถ เห็นหรือติดต่อกับเปรตผ่านมิติได้ หรืออีกทางหนึ่งคือเปรตเป็นผู้ติดต่อ เราเอง โดยเปรตปรากฏเป็นกายหยาบจนเราสามารถมองเห็นหรือรับรู้ ด้วยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง แหล่งที่อยู่ของเปรตกำหนดแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเปรต ตนนั้ น ทำกรรมที่ ผู ก พั น กั บ สถานที่ ใ ดไว้ เช่ น เปรตบางตนมี ค วาม หวงแหนในทรัพย์สมบัติในวัดวาอารามที่ตนได้สร้างไว้ หรือเคยเป็น เจ้าอาวาสปกครองก็มักจะเกิดในวัดหรือสถานที่นั้นๆ คอยเฝ้าหวงแหน ทรัพย์ของตน หรือเปรตบางตนสมัยเป็นคนเคยใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านนี้ มีความเกี่ยวพันกับญาติพี่น้อง ก็มักจะไปเกิดในที่ใกล้หมู่บ้านแห่งนั้น เปรตบางตนได้ทำดีเอาไว้ผลบุญส่งให้ได้วิมานทิพย์ เมื่อตายไปก็ไปอยู่ ในวิมานของตน ซึ่งวิมานนั้นอาจตั้งอยู่ในป่า ในเขา ในถ้ำ แต่ ส่ ว นมากมั ก จะอยู่ ไ ม่ เ ป็ น หลั ก แหล่ ง จะเที่ ย วสั ญ จรแสวงหา ส่วนบุญไปเรื่อยๆ ที่ใดมีคนไปทำบุญ มากๆ เปรตก็มักจะไปรวมตัวกันอยู่ ในที่นั้นๆ เพื่อรอรับส่วนบุญที่เขาอุทิศ ให้ ดั ง นั้ น เราจึ ง มั ก เห็ น เปรตในวั ด มากกว่าที่อื่น

สาํ

นัก พ

24 ระวังจะเป็น เปรต

วัดป่าหลักร้อย จ.นครราชสีมา : ถ่ายโดยทีมงานเลี่ยงเชียง


เปรตติดต่อ ขอส่วนบุญ

สมัยทีผ่ เู้ ขียน (ศักดิส์ ทิ ธิ์ พันธุส์ ตั ย์) บวชเป็นสามเณรทีว่ ดั ธรรมบวร บ้ า นคำบิ ด จั ง หวั ด สกลนคร หลวงพ่ อ พระครู บ วรธรรมพิ นิ จ เคยเล่าเรื่องเปรตที่วัดร้างกลางหมู่บ้านให้ฟัง ซึ่งตอนที่ฟังนั้นรู้สึกกลัว มาก และจำได้แม่นจนถึงทุกวันนี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ที่วัดร้างกลางหมู่บ้าน เมื่อหลายสิบปีก่อนมีเปรตตนหนึ่งอาศัย อยู่ คืนหนึ่งราว ๓ ทุ่มกว่า มีเด็กชายในหมู่บ้าน อายุประมาณ ๑๐ ขวบ ไปซื้อบุหรี่ให้พ่อ ซึ่งเส้นทางจากบ้านไปหาร้านค้านั้นต้องเดินผ่านวัด ร้าง และที่วัดร้างนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ่ต้นหนึ่งอายุราวร้อยปี มีกิ่งโพธิ์ใหญ่ กิ่งหนึ่งยื่นออกมาทางถนน ผู้ที่เดินสัญจรไปมาต้องผ่านใต้กิ่งโพธิ์นั้นไป เด็กชายเมื่อไปถึงร้านค้าและซื้อบุหรี่ให้พ่อเรียบร้อยแล้วก็เดิน กลับ สมัยนั้นไฟฟ้าเพิ่งเริ่มเข้าหมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ไม่กี่หลังคาเรือน แม้จะ หัวค่ำอยู่แต่หมู่บ้านก็เงียบมาก เมื่อเดินมาถึงวัดร้างจะผ่านต้นโพธิ์ ทั น ใดนั้ น กิ่ ง โพธิ์ ที่ ยื่ น ออกมาก็ มี เ สี ย งคล้ า ยกั บ มี ค นขย่ ม อย่ า งแรง เด็กชายจึงแหงนหน้าขึ้นดู ตามเสี ย ง ปรากฏว่ า สิ่ ง ที่ เขาเห็ น คื อ ร่ า งดำทะมึ น ของเปรตที่ สู ง ใหญ่ เ กื อ บ เท่าต้นโพธิ์ นั่งห้อยขา ขย่ม กิง่ โพธิ์ ตาแดงก่ำ เท่านัน้ เอง เด็กน้อยก็ไม่อาจยับยั้งสติ ไว้ได้ วิ่งเตลิดเปิดเปิงพร้อมกับ วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี : ถ่ายโดยทีมงานเลี่ยงเชียง ร้องว่า ช่วยด้วย!...ผีหลอกๆๆ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 25


์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

กระทั่งผู้ใหญ่ในหมู่บ้านแตกตื่น พากันวิ่งไล่จับตัวเอาไว้ การที่เปรตปรากฏตัวให้เห็นนั้น หลวงพ่อพระครูบวรธรรมพินิจ ท่านบอกว่ามีเหตุอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. ต้องการขับไล่ไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ตนหวงแหน ๒. ต้องการมาส่งข่าวหรือบอกกล่าวอะไรบางอย่าง ๓. ต้องการมาขอส่วนบุญ แต่เท่าที่ได้อ่านประวัติของเปรตแต่ละตนจากพระไตรปิฎกและ จากหนังสืออัตชีวประวัติของพระเกจิอาจารย์หลายๆ ท่าน เปรตที่ ปรากฏให้เห็นนั้น ส่วนใหญ่จะมาขอส่วนบุญ หรือฝากข่าวถึงญาติให้ ช่วยทำบุญไปให้มากกว่าจุดประสงค์อื่น ลักษณะการติดต่อสื่อสารของเปรต ถ้าสื่อสารกับพระผู้มีญาณ วิเศษมักปรากฏให้เห็นตัวกันจะๆ แต่ถ้าต้องการสื่อสารกับบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีญาณวิเศษอะไร โดยมากจะไม่ปรากฏตัวให้เห็น แต่จะติดต่อทาง ความฝัน หรือส่งเสียงให้ได้ยิน เช่น เปรตที่เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารมาส่งเสียงให้พระองค์ได้ยิน เพื่อเตือนให้พระองค์อุทิศบุญให้กับ พวกตน เป็นต้น ดังนัน้ เมือ่ ท่านได้รบั การติดต่อจากเปรตหรือจากญาติทลี่ ว่ งลับ ไปแล้ว พึงตั้งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาต้องการส่วนบุญจากท่าน และ ท่านก็ควรทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เขา เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่ญาติ และเสริมสร้างบุญแก่ตัวเองในอีกทางหนึ่ง หนังสือเล่มนี้มีไว้เพื่อส่งเสริมการอ่าน สร้างความสุขสวัสดีแก่ตน อ่านแล้วอย่าลืมมอบความสวัสดีแก่คนที่รัก ด้วยการพิมพ์แจกเป็นธรรมทานสานสุขสู่ใจ

ิมพ

หรือพิมพ์ถวาย ๙ วัด จะเป็นสิริมงคลพบสุขมหาศาล สาธุ

สาํ

นัก พ

26 ระวังจะเป็น เปรต


่ ญได้ ภพภูมิเดียวที่สามารถรับสวนบุ ในบรรดาสัตว์ทั้ง ๓๑ ภูมินั้น มีเพียงสัตว์ที่เกิดในภูมิของเปรต เท่านั้นสามารถรับเอาส่วนบุญที่ญาติทั้งหลายอุทิศไปให้ได้ ถ้าเกิดใน ภพภู มิ น อกนี้ ก็ จ ะไม่ ไ ด้ รั บ ดั ง พระพุ ท ธดำรั ส ตรั ส แก่ พ ราหมณ์ ที่ ชื่ อ ชานุสโสณิ ความว่า “ดู ก่ อ นพราหมณ์ บุ ค คลบางคนในโลกนี้ เป็ น ผู้ ฆ่ า สั ต ว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น หลังจากตายไปแล้ว หากไปเกิดในนรก เขาย่อมมีชีวิตอยู่ ดำรงอยู่ใน นรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด ในกาม พูดเท็จ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นหลังจากตายไปแล้ว หากไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เขาย่อมมีชีวิตอยู่ ดำรงอยู่ในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ดิรัจฉาน บุ ค คลบางคนในโลกนี้ เว้ น ขาดจากการฆ่ า สั ต ว์ ลั ก ทรั พ ย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นหลังจาก ตายไปแล้ว หากเข้าถึงความเป็นมนุษย์ เขาเลีย้ งชีวติ ดำรงอยูใ่ นมนุษยโลกนั้นด้วยอาหารของมนุษย์

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรต

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 27


์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

บุ ค คลบางคนในโลกนี้ เว้ น ขาดจากการฆ่ า สั ต ว์ ลั ก ทรั พ ย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้น หลังจาก ตายไปแล้ว หากเข้าถึงความเป็นเทวดา เขาย่อมเลี้ยงชีวิต ดำรงอยู่ใน เทวโลกนั้นด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์ เหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับส่วนบุญที่อุทิศ ให้ ผลทานที่ญาติอุทิศให้ย่อมไม่สำเร็จแก่เขาเหล่านั้น ส่ ว นว่ า บุ ค คลบางคนในโลกนี้ เป็ น ผู้ ฆ่ า สั ต ว์ ลั ก ทรั พ ย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นหลังจาก ตายไปแล้ว ไปเกิดในกำเนิดของเปรต เขาย่อมเลี้ยงชีวิตอยู่ ดำรงอยู่ใน กำเนิดของเปรตนั้น ด้วยอาหารของเปรตนั้น หรือว่าด้วยผลแห่งทาน ที่พวกมิตร อำมาตย์ หรือพวกญาติสายโลหิตของเขาอุทิศเพิ่มให้จาก มนุษยโลกนี้ ดูก่อนพราหมณ์ เปรตทั้งหลายจึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับส่วนบุญ ที่อุทิศให้ ผลทานที่ญาติอุทิศให้ย่อมสำเร็จแก่เปรตเหล่านั้น”๑ ดังนั้น การที่เราทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย อาทิ ทำบุญ ๕๐ วัน, ๑๐๐ วัน, ทำบุญถวายสังฆทาน หรือทำบุญอื่นๆ เพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตาย นั้น จึงเป็นการทำบุญแบบเผื่อไว้ก่อน หรือจะเรียกว่าเป็นการทำบุญ แบบสุ่มไปก่อนก็ว่าได้ เพราะเราไม่อาจทราบแน่ว่า ญาติของเราที่ตาย ไปนั้นไปเกิดในภพภูมิใด แต่เราก็ทำบุญอุทิศไปให้เผื่อว่าญาติของเรา ๑

ิมพ

เก็บความจาก พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๒๕ (อังคุตตรนิกาย ทสก เอกทสกนิบาต) : ๒๕๓๙ ข้อ ๓๒๕

สาํ

นัก พ

28 ระวังจะเป็น เปรต


ไปเกิดเป็นเปรต เมื่อเป็นเช่นนั้นเขาจะได้รับส่วนบุญจากเราแล้วจะพ้น จากความเป็นเปรตไปเกิดในสุคติภูมิต่อไป การทำบุญอุทิศให้กับผู้ตายที่เราทำกันเป็นประเพณี เช่น การทำบุญ “ชิงเปรต” ของทางภาคใต้, ทำบุญสารทเดือน ๑๐ ของภาคกลาง, การทำบุญแจกข้าวหรือทำบุญข้าวสาก

ของภาคอีสาน, การทำบุญตานก๋วยสลาก ของภาคเหนือ ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ แม้จะเป็นการทำบุญให้ผู้ตาย ก็พึงทราบว่ามีเพียง ผู้ตายที่เป็นเปรตเท่านั้นจึงจะได้รับส่วนบุญที่เราทำไปให้

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

สาํ

นัก พ

ิมพ

ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก อ่านแล้วคิด คิดให้เข้าใจ เข้าใจแล้วลงมือทำ ทำด้วยสติสัมปชัญญะ ทำวันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่ารอช้า อย่าผัดวัน อย่าประมาท คิดเร็ว สุขเร็ว ทำช้า ทุกข์มาก ทุกข์ยาวนาน

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 29


ทำบุญอย่างไร ถึงจะได้รับ บุคคลใดก็ตามเมื่อไปเกิดเป็นเปรตแล้ว ย่อมได้รับความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัสสมแก่กรรมที่ตนได้สร้างไว้ มีเพียง ๒ ทาง เท่านั้น ที่เขาเหล่านั้นจะพ้นจากสภาพของความเป็นเปรตได้ คือ ๑. ก้มหน้าก้มตารับกรรมไปจนกว่าจะหมด ๒. ได้รับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้ เปรตที่ได้รับส่วนบุญจากการที่ญาติอุทิศให้แล้ว บาปอกุศลที่ หนักก็จะกลายเป็นเบา ที่เบาอยู่แล้วก็จะหมดสิ้นไป เปรตบางตนที่มี ร่างกายน่าเกลียดน่ากลัว ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ ผอมแห้ง อดอยาก หิวโซ ระเหเร่ร่อนอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง เมื่อได้รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้แล้ว ร่างที่เคยน่าเกลียดน่ากลัวก็จะผ่องใส มีเนื้อหนังสมบูรณ์ ไม่อดอยาก มีเสื้อผ้าสวมใส่ บางตนมีวิมานเป็นของตนเอง ที่ยิ่งกว่านั้นคือ เปรต บางตน เมื่ อ ได้ รั บ การอุ ทิ ศ บุ ญ แล้ ว เปลี่ ย นสถานะจากเปรตไปเป็ น เทวดาก็มี นี่คือความมหัศจรรย์ของบุญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำบุญอุทิศต้องทำให้ถูกต้อง และครบตาม องค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ๑. ทายกทำบุญอุทิศให้

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรต

๒. ปฏิคคาหกมีศีล

ิมพ

๓. เปรตอนุโมทนา

สาํ

นัก พ

30 ระวังจะเป็น เปรต


น์

๑. ทายก ผู้ถวายทานต้องมีจิตที่เป็นบุญเป็นกุศล มีความ ตั้งใจอันดีในการที่จะทำบุญถวายทาน และให้จัดเตรียมของที่จะถวาย ทานเอาไว้ ซึ่งของที่จะถวายทานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้าวของที่มี ราคาแพง มียี่ห้อ หรือมีจำนวนมากมายก่ายกอง เพราะเพียงข้าวหนึ่ง ทัพพี แกงหนึ่งอย่าง ผลไม้หนึ่งผล น้ำหนึ่งขวด ผ้าเช็ดหน้าหนึ่งผืน ย่ อ มมี ผ ลสำเร็ จ ยิ่ ง ใหญ่ แ ก่ เ ปรตได้ เช่ น พ่ อ ค้ า คนหนึ่ ง มี ค วามห่ ว ง ในทรัพย์ตายไปเกิดเป็นเปรต ภายหลังบุตรสาวได้ทำบุญถวายข้าวต้ม หนึ่งถ้วยกับมะม่วงสุกหนึ่งผล อุทิศบุญไปให้ ด้วยอานิสงส์ผลบุญนั้น ทำให้เปรตมีผิวพรรณผ่องใส ได้วิมานที่ล้อมรอบด้วยสวนมะม่วง มีสระ โบกขรณี พร้อมด้วยทิพยสมบัติมากมาย (อ่านรายละเอียดหน้า ๑๐๑ ) ผู้ถวายทานเมื่อถวายทาน ทำบุญแล้วต้องอุทิศบุญให้กับเปรต ที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าไม่อุทิศ บุญก็ จะไม่สำเร็จผลแก่เปรต การอุทิศ ส่วนกุศลนัน้ นิยมกรวดน้ำควบคูไ่ ปด้วย แต่ถ้าไม่มีน้ำกรวด จะตั้งจิตอุทิศ ส่วนบุญไปให้ก็ได้ คำอุทิศนิยมใช้ว่า

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

“อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข”

สาํ

นัก พ

ิมพ

คำอุทิศบุญนี้ เราสามารถใช้ถ้อยคำอย่างอื่นได้ ไม่มีรูปแบบ ตายตัว เช่น “ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญที่ทำแล้วนี้ แก่ (......ออกชื่อ.......) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าทั้งหมดทั้งสิ้น ขอท่านเหล่านั้นจงพ้นจาก ทุกข์และมีสุขตลอดไปเทอญ” บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 31


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

๒. ปฏิคคาหก หมายถึง ผู้รับทาน ทานที่ถวายจะมีผลมาก หรือไม่ ขึน้ อยูก่ บั ผูร้ บั ทาน ถ้าผูร้ บั เป็นผูม้ ศี ลี มาก ทานทีใ่ ห้ยอ่ มมีผลมาก แต่ถ้าผู้รับเป็นคนมีศีลน้อย ทานที่ให้ย่อมมีผลน้อย เปรียบเหมือนการ ปลูกพืชในดิน ถ้าปลูกในดินดีพืชผลย่อมได้ผลดี แต่ถ้าปลูกในดินที่ไม่ดี พืชที่ปลูกก็ไม่เจริญงอกงามและให้ผลตอบแทนน้อย ดังนั้น การให้ทาน ทำบุญอุทิศควรให้แก่ผู้มีศีล และผู้มีศีลที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นนาบุญอันสูงสุด คือ พระสงฆ์ แต่ถ้าหากเราไม่มั่นใจว่าพระสงฆ์ที่รับทานของเรานั้นจะมีศีล บริ สุ ท ธิ์ ห รื อ ไม่ ท่ า นให้ เ ลื อ กถวายเป็ น สั ง ฆทานแทน การถวาย สั ง ฆทานนั้ น เป็ น การถวายแด่ พ ระสงฆ์ ทั่ ว โลก รวมไปถึ ง พระ- พุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกที่ดับขันธ์ไปแล้วด้วย ส่วนพระที่รับ ทานนั้ น เป็ น เพี ย งตั ว แทนของสงฆ์ เ ท่ า นั้ น ด้ ว ยเหตุ นี้ พระพุ ท ธเจ้ า จึงทรงสรรเสริญและสนับสนุนการถวายสังฆทาน

สาํ

นัก พ

32 ระวังจะเป็น เปรต


๓. เปรตผู้รับส่วนบุญ ส่วนบุญที่ญาติอุทิศไปให้กับบรรดา

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรตที่เป็นญาติพี่น้องของตนนั้น ใช่ว่าเปรตเหล่านั้นจะได้รับส่วนบุญ เลยทีเดียว เปรตเหล่านั้นต้องอนุโมทนายินดีรับเอาส่วนบุญนั้นด้วย จึงจะได้รับผล เปรตบางตนทำความชั่วเอาไว้มาก คุ้นชินอยู่แต่การ ทำความชั่ว เมื่อญาติทั้งหลายทำบุญอุทิศไปให้ก็ไม่รู้จักอนุโมทนายินดี บางครั้งก็กลับรู้สึกหวงแหนทรัพย์แทนลูกหลานที่ต้องสิ้นเปลืองไปกับ การทำบุญ เมื่อเป็นดังนี้แทนที่จะได้บุญก็เป็นบาปแก่ตนเพิ่มขึ้นอีก แต่ ถ้าหากเปรตตนใดได้เคยทำความดีมาบ้าง ใจมีเชื้อแห่งความดีอยู่บ้าง เมื่อเห็นญาติทั้งหลายกำลังทำบุญก็จะร่วมอนุโมทนารับเอาส่วนบุญ ส่วนกุศล ชีวิตก็จะเป็นสุขพ้นจากสภาพความอดอยากทันที

วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี : ถ่ายโดยทีมงานเลี่ยงเชียง

สาํ

นัก พ

ิมพ

การทำบุญให้ผู้ตาย ถ้าผู้ตายไม่ได้รับส่วนบุญ บุญที่ทำไปจะสูญเปล่าหรือไม่ ตอบว่าไม่สูญเปล่า บุญที่ทำย่อมตกเป็นของผู้ทำบุญนั่นเอง

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 33


ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

บุญเกิดมีได้ด้วยตัวเอง มิใช่คนอื่นให้ ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตา- หิ อัตตะโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นั้นเป็นคำพูดที่จริงแท้ แน่นอน เปรตทั้งหลายแม้ว่าญาติจะทำบุญไปให้มากมายแค่ไหน แต่ ถ้ า หากเขาไม่ อ นุ โ มทนารั บ เอาส่ ว นบุ ญ ก็ ไ ม่ อ าจจะเสวยผลบุ ญ ได้ เปรียบเหมือนญาติพี่น้องจัดอาหารอย่างดีไว้เต็มโต๊ะ แต่ถ้าเขาไม่ลงมือ เคี้ยวกินเองก็ไม่มีทางที่จะอิ่มได้ ฉันใด บุญแม้ญาติจะส่งไปให้มากมาย กองอยู่ ต รงหน้ า แต่ ถ้ า เปรตเหล่ า นั้ น ไม่ ป รารถนาที่ จ ะรั บ ก็ เ ปล่ า ประโยชน์ บุ ญ ไม่ ใช่ สิ่ ง ที่ จ ะหยิ บ ยื่ น ให้ กั น เพราะบุ ญ ไม่ ใช่ สิ่ ง ของ ผู้ ที่ ปรารถนาอยากได้บุญต้องสร้างด้วยตัวเอง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (วิธี การทำบุญ ๑๐ อย่าง) วิธีทำบุญข้อที่ ๗ ว่า ปัตตานุโมทนามัย แปลว่า บุ ญ สำเร็ จ ด้ ว ยการอนุ โ มทนาส่ ว นบุ ญ คื อ บุ ญ เกิ ด ขึ้ น เพราะการ อนุ โ มทนาในการทำบุ ญ ของคนอื่ น ดั ง นั้ น การที่ เ ปรตทั้ ง หลาย อนุโมทนาในส่วนบุญที่ญาติทำบุญอุทิศไปให้นั้น แท้ที่จริงก็คือ เป็น การทำบุญด้วยตัวเอง ยิ่งเขามีจิตยินดีในการทำบุญของญาติมาก เท่าไร บุญของเขาก็ยิ่งเพิ่มทวี เปรตบางตนเมื่ออนุโมทนารับเอาส่วน บุญแล้วถึงกับพ้นจากสถานะความเป็นเปรตกลายเป็นเทวดามีวิมาน เป็นของตน และมียศศักดิ์สูงกว่าเทวดาบางองค์ด้วยซ้ำไป ลดกรรมร้าย ขยายกรรมดี ด้วยการพิ มพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน เพื่อฝึกจิตให้เบิกบาน และเป็นการสร้างสมบุญบารมี เพิ่มกรรมดีแก่ตน ร่วมเผยแผ่ เป็นธรรมทาน โทร ๐๒-๘๗๒-๙๑๙๑, ๐๒-๘๗๒-๘๑๘๑, ๐๒-๒๒๑-๑๐๕๐ สาํ

นัก พ

34 ระวังจะเป็น เปรต


บาปกรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเปรต

๓. พูดคำหยาบ

สาํ

นัก พ

ิมพ

๓. เห็นผิดทำนอง คลองธรรม

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ดังที่กล่าวมาแล้ว เปรตนั้นมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน ซึ่ง เปรตชนิ ด ไหนจะมี รู ป ร่ า งและมี ค วามเป็ น อยู่ อ ย่ า งไรนั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ บาปกรรมที่ตนได้กระทำ ซึ่งบาปกรรมที่ว่านั้นอาจเป็นเศษกรรมที่หลง เหลือจากนรก หรือเป็นบาปกรรมที่ทำไว้ในโลกมนุษย์ที่ส่งผลให้ไปเกิด เป็นเปรตโดยตรง ในโลกของเปรตแม้ จ ะเป็ น โลกที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความอดอยาก หิวโหย แต่ใช่ว่าเปรตทุกตัวจะต้องรับกรรมด้วยความหิวโหยเสมอไป เพราะเปรตที่รับกรรมด้วยถูกไฟเผาไหม้ร่างกายก็มี ถูกสุนัขกัดก็มี ถูก หนอนเจาะตามร่างกายก็มี ถูกหอกดาบทิ่มแทงก็มี และยังมีรูปแบบอื่น อีกมากมาย เปรตตนไหนจะรับกรรมอย่างไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบของกรรมที่ ทำ ซึ่งท่านจำแนกไว้ ๑๐ อย่าง เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ แยกเป็น กายทุจริต ๓, วจีทุจริต ๔, มโนทุจริต ๓ ดังนี้ มโนทุจริต ๓ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ๑. คิดโลภอยากได้ของเขา ๑. พูดเท็จ ๑. ฆ่าสัตว์ ๒. พูดส่อเสียด ๒. ลักทรัพย์/มิจฉาชีพ ๒. คิดพยาบาททำลาย ๓. ประพฤติผิดในกาม

๔. พูดเพ้อเจ้อ

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 35


นัก พ

สาํ

น์

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

ิมพ

เปรต

ในพระไตรปิฎก


เปรตในลักขณสังยุต วรรคที่ ๑

น์ ์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

ิมพ นัก พ สาํ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ มี ๑๐ ตน


๑. เปรตโครงกระดูก

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ในเช้ า มื ด วั น หนึ่ ง พระมหาโมคคั ล ลานะกำลั ง ลงจากเขา คิชฌกูฏพร้อมด้วยพระลักขณะเพื่อรับบิณฑบาต ทันใดนั้นท่านเห็น เปรตตนหนึ่ง เป็นโครงกระดูกลอยไปลอยมาอยู่ในอากาศ สูงประมาณ ๓ โยชน์ ถูกฝูงนกแร้ง นกกาขนาดใหญ่เท่าวัวเท่าควาย มีปากเป็นเหล็ก แหลม บินโฉบเข้ารุมจิก เจาะ รุมทึ้ง กลายเป็นฝีหนองพองขึ้นเต็มตัว ส่งเสียงร้องครวญครางโอดโอยด้วยความเจ็บปวด น่าสลดสังเวชใจ พระเถระได้ เข้ า เฝ้ า พระพุทธเจ้า แล้วทูลถามถึง บุ พ กรรมของเปรตตนนั้ น พ ร ะ พุ ท ธ อ ง ค์ ต รั ส เ ล่ า ว่ า เมื่อก่อนเปรตตนนั้น เคยเกิด เป็นพ่อค้า มีอาชีพฆ่าวัวและ ชำแหละเนื้อไปขาย เขาฆ่าวัว และชำแหละเนื้อจนเหลือแต่ กระดูก แล้วนำกระดูกมากอง รวมกันไว้ราวกับภูเขา ด้วยผล แห่งปาณาติบาต ส่งเขาไปเกิด ในนรกหลายแสนปี เมื่ อ พ้ น จากนรก ด้ ว ยเศษกรรมที่ ยั งเหลื อ ทำให้ เขาต้อ งมาเกิด เป็นเปรตโครงกระดูก ทนทุกข์ ทรมานจนกว่าจะสิ้นกรรม

สาํ

นัก พ

38 ระวังจะเป็น เปรต


๒. เปรตร่ า งชิ้ นเนื้อ

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ผู้ ที่ พ บเห็ น เปรตตนนี้ คื อ พระมหาโมคคั ล ลานะ เปรตตนนี้ มีลักษณะที่แปลกประหลาดมาก คือ มีรูปร่างเหมือนกับชิ้นเนื้อสดๆ ที่ เพิ่งถูกเฉือนออกมา มีเลือดไหลเยิ้ม หยดเป็นทางอยู่ตลอดเวลา เปรต ชิ้นเนื้อนี้มีขนาดเท่าแผ่นหินใหญ่ มีไฟลุกไหม้ ลอยไปมาในอากาศ ถูก พวกฝูงกา ฝูงแร้ง รุมจิกรุมทึ้งฉีกเนื้อกิน จะหลบหลีกอย่างไรก็หนี ไม่พ้น ได้แต่กรีดร้องครวญคราง ร้องไห้ไปทางโน้นทีทางนี้ที น่าเวทนา ยิ่งนัก พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุพกรรมของเปรตตนนี้ว่า แต่ก่อนเขาเคย เกิดเป็นพ่อค้าขายเนื้ออยู่ในเมืองราชคฤห์ เขาฆ่าโคทุกวันและชำแหละ เนื้อหั่นเป็นชิ้นๆ เพื่อทำเป็นเนื้อแดดเดียวขาย เขาฆ่าโคไปเป็นจำนวน มาก หลังจากตายไปได้ไปชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลายาวนาน หลังจาก ใช้กรรมในนรกแล้ว ด้วยอำนาจของเศษกรรมจึงมาเกิดเป็นเปรตชิน้ เนือ้

บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 39


๓. เปรตร่ า งก้ อ นเนื้อ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรตตนนี้มีรูปร่างหน้าตาที ่แปลกประหลาดพิลึกพิลั่น คือ มี กายเป็นก้อนเนื้อกลมๆ เหมือนกับนกที่ถูกถอนขนและถลกหนังออก เหลือแต่โครง ลอยไปลอยมาในอากาศ ถูกฝูงแร้ง ฝูงกาปากเหล็ก ขนาดมหึมา บินโฉบเข้ารุมจิกรุมทึ้งจิกกินเนื้อ ได้รับความทุกข์ทรมาน แสนสาหัส ร้องครวญครางโหยหวนปานจะขาดใจ พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุพกรรมของเปรตตนนี้ว่า เมื่อก่อนเปรต ตนนี้เคยเกิดเป็นนายพรานนก ประกอบอาชีพจับนกขาย นกที่เขาจับ มาได้จะถูกถอนขนและถลกหนังออกแล้วจึงส่งขาย เขาประกอบกรรม ทำปาณาติบาตอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหลายสิบปี ด้วยผลกรรมที่ทำกับนก ส่งผลให้เขาตายไปตกนรกแสนปี เมื่อสิ้นกรรมในนรกแล้ว ร่างนกที่เขา ถลกหนังมาปรากฏเป็นนิมิต จึงทำให้มาเกิดเป็นเปรตก้อนเนื้อชดใช้ เศษกรรมที่ยังเหลือ ภาพจากหนังสือ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี : หอสมุดแห่งชาติ

สาํ

นัก พ

40 ระวังจะเป็น เปรต


๔. เปรตไร้ ผิ วหนัง

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรตตนนี้พระมหาโมคคัลลานะพบเห็นขณะที่กำลังลงจากเขา คิชฌกูฏ เพื่อบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ มีรูปร่างใหญ่โตสูงประมาณ ๓ โยชน์ ลอยอยู่ในอากาศ ถูกนก แร้ง กา รุมจิกทึ้งกินเนื้อ ร่างกายของ เปรตตนนี้ไม่มีหนังหุ้มตัวเลย มองเห็นเนื้อในสดๆ มีแผลและเลือดไหล โซมกาย กรีดร้องโหยหวนปานจะขาดใจ ช่างน่าเวทนา พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุพกรรมของเปรตตนนี้ไว้ว่า ในอดีตชาติ เปรตตนนีเ้ คยเกิดเป็นคนฆ่าแกะและถลกหนังขาย เขาประกอบอาชีพนี้ เลี้ยงชีพอยู่หลายปี ได้ฆ่าแกะและถลกหนังไปเป็นจำนวนมาก เมื่อตาย ได้ไปเกิดในนรกชดใช้กรรมเป็นเวลานับแสนปี ครัน้ พ้นจากนรกได้มาเกิด เป็นเปรตไม่มีผิวหนังชดใช้เศษกรรมที่เหลือตราบนานเท่านาน เรื่ อ งนี้ เ ป็ น อุ ท าหรณ์ สำหรั บ ผู้ ที่ ป ระกอบอาชี พ ที่ ต้ อ งฆ่ า สั ต ว์ ตั ด ชี วิ ต ได้ เ ป็ น อย่ า งดี หากเป็ น ไปได้ อ ยาก จะขอให้ เ ลิ ก หรื อ หลี ก เลี่ ย ง อาชีพที่ต้องฆ่าสัตว์เสีย แล้ว หันไปประกอบอาชีพอย่างอื่น ที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์แทน เพราะ อาชีพดังกล่าวอาจทำให้ท่าน ร่ ำ รวยในชาติ นี้ แต่ ต้ อ งไป เกิ ด เป็ น เปรตชดใช้ ก รรม ดังเช่นเปรตไร้ผิวหนังตนนี้ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 41


๕. เปรตขนดาบ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

บาปกรรมที่เราทำนั้น ย่อมให้ผลแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน กล่าว คือ เราฆ่าคนอื่นด้วยอาวุธอย่างไร กรรมก็มักจัดสรรให้ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกทรมานด้วยอาวุธอย่างนั้น ดังเช่น เปรตขนดาบตนนี้ ในอดี ต เปรตตนนี้ เ คยเกิ ด เป็ น พ่ อ ค้ า หมู ใช้ ด าบฆ่ า หมู เ ป็ น จำนวนมาก เมื่อตายไปได้ไปเกิดในนรกจากนั้นด้วยเศษกรรมที่ยังเหลือ ได้มาเกิดเป็นเปรตมีขนเป็นดาบ เพราะจิตของเขาน้อมนึกถึงดาบที่ใช้ ฆ่าหมูขณะจุติจากนรก วิบากกรรมที่เปรตตนนี้ได้รับคือ เกิดมามีร่างกายเป็นหมู แต่ ศีรษะเป็นมนุษย์ ขนทุกเส้นในร่างของเขางอกออกมาเป็นดาบพุ่งออก จากผิวหนังแล้ววกกลับเข้าทิ่มแทง เชือดเฉือนร่างกายจนเกิดเป็นแผล เหวอะหวะเลือดไหลโซมกาย กรีดร้องด้วยความเจ็บปวด แต่ละวัน เขาถูกขนดาบทิ่มแทงอยู่อย่างนี้ไม่มีหยุดพัก แม้อยากจะตายก็ตาย ไม่ได้ ต้องทนทุกข์ทรมานกรีดร้องเหมือนหมูถูกเชือด ตกอยู่ในสภาพ เยี่ยงนี้จนกว่าจะสิ้นกรรม คนที่ ฆ่ า เขาด้ ว ยปื น วางระเบิด ทำลายชีวติ คนอืน่ โปรดระวั ง จะตายไปเป็ น เปรตขนกระสุน ขนระเบิด ที่ ถูกยิง ถูกระเบิด ให้ต้องทุกข์ ทรมานดังเช่นเปรตตนนี้

สาํ

นัก พ

42 ระวังจะเป็น เปรต

ฆ่าเขาด้วยอาวุธ อาวุธนั้นย่อมคืนสนอง


๖. เปรตขนหอก

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรตตนนี้อาศัยอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ มีรูปร่างสูงเท่า ภูเขา ผอมแห้ง ลอยไปลอยมาอยู่ในอากาศ ส่งเสียงกรีดร้องไปทั่ว ท้องฟ้าด้วยความเจ็บปวดเหลือคณา เพราะร่างของเขาถูกหอกที่เกิด จากขนของตนเองพุ่งเข้าทิ่มแทง เป็นแผลเหวอะหวะ เลือดโซมทั่ว ร่างกาย เป็นอยู่อย่างนี้หลายร้อยหลายพันปี พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุพกรรมของเปรตตนนี้ว่า แต่ก่อนเขาเคย เกิดเป็นนายพรานในเมืองราชคฤห์นี้ ประกอบอาชีพด้วยการล่าเนื้อ ประเภทเก้ง กวางมาขาย เขาล่าด้วยการเอาเนื้อตัวเมียไปผูกไว้ในป่า ล่อให้เนื้อตัวผู้เข้ามา เมื่อเนื้อตัวผู้มาเขาก็จะซัดหอกไปเสียบที่ลำตัวบ้าง ที่คอบ้าง เนื้อตัวใดที่ถูกหอกเสียบแล้วยังไม่ตาย พยายามดิ้นรนหนี เขาก็จะเอาหอกเล่มอืน่ เข้าเสียบ แทงจนตาย หรือเนื้อตัวใดถูก หอกเสี ย บแล้ ว ไม่ ล้ ม ลงทั น ที พยายามวิ่งหนี เขาก็จะวิ่งตาม ล่ า เอาหอกทิ่ ม แทงจนตาย เขาประกอบอาชี พ ล่ า เนื้ อ อยู่ จนตลอดชี วิ ต ฆ่ า เนื้ อ ไปเป็ น จำนวนมาก เมื่อตายไปได้ไป เกิดในนรก ถูกไฟนรกแผดเผา อยู่แสนปี พอพ้นจากนรกก็มา เกิ ด เป็ น เปรตมี ข นเป็ น หอก ทิ่ ม แทงด้ ว ยอำนาจของเศษ กรรมชั่วอาจให้สุขในชาตินี้ แต่ให้ผลเผ็ดร้อนในชาติหน้า กรรมที่ยังเหลือ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 43


๗. เปรตขนลู กธนู มี ข้ อ สงสั ย ที่ ห ลายคน

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

ยังหาคำตอบไม่ได้วา่ การทีค่ นเรา ฆ่ า คนอื่ น ตามหน้ า ที่ นั้ น จะเป็ น บาปหรือไม่ เช่น ทหารยิงข้าศึกตาย เพื่ อ ปกป้ อ งประเทศ ตำรวจ วิสามัญคนร้าย หรือเพชฌฆาต ประหารชีวติ นักโทษจะมีบาปติดตัว หรื อ ไม่ เรื่ อ งเปรตขนลู ก ธนู นี้ มีคำตอบ เปรตตนนี้ อดีตชาติเคย เกิ ด เป็ น ผู้ คุ ม นั ก โทษมี ห น้ า ที่ ลงโทษผู้ ที่ คิ ด ร้ า ยต่ อ พระราชา นั ก โทษที่ ถู ก จั บ มาจะถู ก เขาทรมานด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ แต่ วิ ธี ที่ เขา โปรดปรานมากที่สุดคือเอาลูกศรแทงเข้าไปตามร่างกายของนักโทษ บางครั้ ง ก็ เ สี ย บเข้ า ไปที่ ช่ อ งหู ท ะลุ ไ ปอี ก ข้ า งหนึ่ ง หรื อ ไม่ ก็ ใช้ ลู ก ธนู ทิ่มแทงเข้าที่ดวงตา นักโทษที่ถูกเขาลงโทษต่างก็ส่งเสียงร้องโอดโอย ด้วยความเจ็บปวดก่อนสิ้นใจตาย เขาทำหน้าที่นี้อยู่หลายปีจนเกษียณ ครั้นตายไปได้ไปเกิดในนรก พ้นจากนรกก็มาเกิดเป็นเปรตมีขนเป็น ลูกธนูทิ่มแทงตนเอง การฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่นไม่ว่าจะทำด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมเป็นบาปทั้งสิ้น แต่จะบาปมากหรือบาปน้อยขึ้นอยู่กับเจตนา ของผู้ฆ่า ถ้าฆ่าด้วยความแค้นหรือฆ่าด้วยอำนาจโทสะที่มาก ก็บาป มาก ถ้าฆ่าด้วยอำนาจโทสะน้อยก็บาปน้อย

สาํ

นัก พ

44 ระวังจะเป็น เปรต


๘. เปรตขนปฏัก

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เรื่ อ งนี้ จ ะเป็นอุทาหรณ์อย่างดีสำหรั บ ท่ า นที่ มี ห น้ า ที่ ฝึ ก สั ต ว์ เพื่อเอาไปใช้งานหรือทำการแสดง การฝึกนั้นผู้ฝึกต้องมีความรู้ความ เข้าใจในอุปนิสัยของสัตว์เป็นอย่างดี และมีเทคนิควิธีที่จะฝึกสัตว์นั้นๆ ให้เชื่อฟังและทำในสิ่งที่ต้องการ ที่สำคัญคือต้องมีเมตตาต่อสัตว์ ไม่ทำ ทารุณกรรมต่อเขา เพราะหากทำทารุณกรรมต่อเขา นอกจากจะสร้าง ความชิงชังให้กับสัตว์แล้วยังเป็นบาปติดตัวไปถึงชาติหน้าด้วย ดังเช่น เรื่องของเปรตขนปฏักนี้ที่แต่ก่อนเคยเป็นครูฝึกม้า เป็นคนขี้โมโห เจ้า โทสะ เวลาฝึกม้าเขามักใช้ปฏักทิ่มไปที่หลังม้า ยิ่งถ้าม้าตัวใดพยศมากๆ ก็จะถูกทิ่มแทงเป็นแผลทั่วตัว ม้าบางตัวถูกเขาแทงได้รับความเจ็บปวด จนตาย ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเขาตายได้ไปเกิดในนรกหลายแสนปี เมื่อพ้นจากนรกแล้ว ด้วยอำนาจ ของเศษกรรมที่ยังเหลือจึงมาเกิด เป็นเปรตมีขนเป็นปฏักทิ่มแทง ตามร่ า งกาย เจ็ บ ปวดทนทุ ก ข์ ทรมาน ลอยไปมาในอากาศ การรั ง แกหรื อ ทรมาน สัตว์ แม้สัตว์นั้นไม่ถึงตาย แต่ก็ จั ด ว่ า เป็ น บาปมหั น ต์ มี ผ ลใน ชาติหน้าเช่นกัน กรรมชั่วไม่เคยปรานีคนบาป บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 45


๙. เปรตขนเข็ม

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

สมัยหนึ่งพระมหาโมคคัลลานะ เห็นเปรตตนหนึ่งมีขนเป็นเข็ม ลอยอยู่ในอากาศ ขนทุกเส้นในร่างกายของเขาเป็นเข็มแหลมคมแทง ทะลุผิวหนังพุ่งออกข้างนอก แล้ววกกลับมาพุ่งเสียบเข้าไปที่อวัยวะส่วน ต่างๆ แล้วทะลุออกไปอีกด้าน จากนั้นก็วกกลับมาเสียบทะลุร่างกายอีก วนอยู่อย่างนี้ เข็มบางเล่มเจาะเข้าที่ช่องหูด้านหนึ่งพุ่งออกอีกด้านหนึ่ง แล้ววกกลับมาเสียบเข้าที่กระหม่อมทะลุปาก เข็มเป็นร้อยเป็นพันพุ่ง ทะลุเข้าร่างของเปรตตนนี้อยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาได้รับความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานแสนสาหัส พระพุทธเจ้าตรัสบุพกรรมของเปรตตนนี้ว่า แต่ก่อนเปรตตนนี้ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ มีปกติกล่าวคำเสียดแทงผู้อื่นให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจ และมักกล่าวคำส่อเสียดยุยงคนอื่นให้เขาแตกสามัคคีกัน เพื่อนที่เคยรัก กัน สามีภรรยาที่เข้าใจกัน ต่างก็แตกแยกชิงชังกันและเกิดความระทม ทุกข์เพราะคำพูดของเขาเป็นเหตุ ด้วยบาปกรรมทิ่มแทงคนอื่นด้วย คำพู ด ทำให้ เขาไปตกนรกและ มาเกิดเป็นเปรตถูกเข็มแทงอยูเ่ ช่นนี้ บาปทางคำพูดถือเป็นบาป ที่ทำได้ง่ายที่สุด แต่มีประสิทธิ- ภาพในการทำลายมากที่ สุ ด ดั ง นั้ น ก่ อ นพู ด เจรจาสิ่ ง ใดกั บ ใคร จงสำรวมให้ ดี มิ ฉ ะนั้ น จะต้องมีชะตากรรมเหมือนกับ เปรตตนนี้ พูดทิ่มแทง เข็มทิ่มตำ

สาํ

นัก พ

46 ระวังจะเป็น เปรต


๑๐. เปรตไข่ โต

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

เปรตไข่โต หรือจะเรียกว่า เปรตทุจริตคอรัปชั่น ก็ได้ เพราะ วิบากกรรมที่เปรตตนนี้ได้รับเกิดจากการรับสินบนและใช้อำนาจหน้าที่ ที่ตนรับผิดชอบแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ลักษณะ ของเปรตตนนี้จะมีลูกอัณฑะที่ใหญ่โตขนาดเท่าโอ่งมังกร เวลาจะเดิน ไปไหนก็ จ ะแบกอั ณ ฑะไปด้ ว ย และเวลาจะนั่ ง ก็ นั่ ง ทั บ บนอั ณ ฑะ จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนก็ลำบาก แถมยังมีฝูงแร้งฝูงกาไล่จิกไล่ทึ้ง อีกด้วย พระพุทธเจ้าตรัสถึงบุพกรรมของเปรตตนนี้เอาไว้ว่า แต่ก่อน เปรตตนนี้เคยเป็นผู้พิพากษา มีหน้าที่ตัดสินคดีความด้วยความยุติธรรม แต่ เขาเป็ น คนโลภเห็ น แก่ สิ น บน รั บ เอาสิ น บนแล้ ว ตั ด สิ น คดี ค วาม เข้าข้างคนผิด ทำคนผิดให้ถูกทำคนถูกให้ผิด สร้างความทุกข์เดือดร้อน ให้กบั ผูอ้ นื่ เป็นจำนวนมาก ด้วยผลกรรมทีอ่ าศัยยศตำแหน่งทีไ่ ด้มาอย่าง เปิดเผยไปทำเรื่องชั่วแบบลับๆ ที่น่าอาย เขาจึงต้องมารับกรรม ด้ ว ยการเอาของลั บ ที่ น่ า อาย ออกมาโชว์ ใ นที่ แจ้ ง ผู้มีตำแหน่งหน้าที่ พึง สังวรระวังอย่าใช้ตำแหน่งอำนาจ ที่มีอยู่ไปก่อกรรมทำชั่ว เพราะ มิ ฉ ะนั้ น อาจต้ อ งตายไปเป็ น เปรตไข่โต หนักไข่ เพราะไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 47


เปรตในลักขณสังยุต วรรคที่ ๒ น์ ์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

ิมพ นัก พ สาํ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ มี ๑๑ ตน


๑. เปรตหลุ มขี้

สาํ

นัก พ

ิมพ

์เล ่ ยี w งเชีย w ง w เพ .L ียร C เพ 2U อื ่ พ .c ุทธ om ศา ส

น์

(วิบากกรรมมั่วกาม) สมัยหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเห็นเปรตตนหนึ่ง โผล่ศีรษะ ขึ้นมาจากหลุมขี้ ศีรษะ ใบหน้า และปากเต็มไปด้วยอุจจาระ ไม่นานก็ มุดกลับลงไปในอุจจาระดังเดิม พระเถระทูลถามบุพกรรมของเปรตกับ พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่าเมื่อก่อนเปรตตนนี้เกิดเป็นชายหนุ่ม รูปงามในเมืองราชคฤห์ เขาอาศัยความหล่อเหลาหลอกล่อหญิงและ กระทำการร่วมประเวณีกับพวกนาง โดยไม่สนใจว่าหญิงผู้นั้นจะเป็น ญาติ พี่น้อง หรือภรรยาของใคร เพราะความที่เขาเป็นคนมักมากใน กาม ด้วยผลแห่งกรรมที่เกิดจากการไม่สำรวมในกาม หลังจากตายไป เขาได้ไปเกิดในนรกหลายปี พ้นจากนรกแล้วด้วยอำนาจของเศษกรรม จึงมาเกิดเป็นเปรตจมอยู่ในหลุมขี้ กามกิจ เป็นกิจที่เกลือกกลั้วด้วยของสกปรกทั้งคราบน้ำลาย และน้ำกามที่เน่าเหม็น ผู้ที่ทำตัวหมกมุ่นในเรื่องกามจึงเป็นผู้ที่ยินดี ในของสกปรก ดังนั้น กรรมจึงจัดสรรผู้ที่มัวเมาในกามให้ต้องมาคลุกเคล้ากับของสกปรกโสโครก บ้า กาม บ้ากิ๊ก ระวังจะเป็นเปรตหลุมขี้ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด 49


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.