นะโม ๑ บทสวดสั้นๆ เก็บซ่อนปาฏิหาริย์เกินคาดคิด
พร้อมบทสวดมนต์ พาหุงมหากาฯ กรรมและการแก้กรรม ๔๐ ประการ บรรณาธิการ/เรียบเรียง : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชิต คำ�ซองเมือง, ออกแบบรูปเล่ม : เสาวณีย์ เที่ยงตรง ภาพประกอบเรื่อง : อนันต์ กิตติกนกกุล พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์
คำ�นำ� เมื่อเอ่ยถึงบทสวด นะโม แล้วไม่มีชาวพุทธคนไหนไม่รู้จัก และท่องไม่ได้ ถึงจะเป็นคนห่างวัดแต่ก็ยังเชื่อว่าสามารถท่องบทนะโม ได้แม้จะผิดเพี้ยนไปบ้างก็ตาม เหตุที่ชาวพุทธทุกคนสามารถท่องบท นะโมได้ นั่นก็เพราะว่าบทนะโมนี้เป็นบทสวดมนต์ที่เราได้ยินได้ฟังและ คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก จากการที่พระสวดให้ฟงั บ้าง ปูย่ า่ ตายายพ่อแม่พาสวดบ้าง ไหว้พระสวดมนต์ทห่ี น้าเสาธงบ้าง จาก การไปร่วมงานบุญต่างๆ บ้าง เมื่อสวดแต่ละครั้งต้องว่าถึง ๓ รอบ จึงทำ�ให้ติดหูและจำ�ขึ้นใจได้ง่าย ถึงแม้ว่าเราท่านทั้งหลายจะมีความคุ้นเคยกับบทสวดบทนี้ มานาน สามารถท่องได้แปลได้อย่างคล่องแคล่วก็จริง แต่เชือ่ หรือไม่วา่ มีชาวพุทธไม่กค่ี นเท่านัน้ ทีเ่ ข้าใจถึงความหมายของบทสวด นะโม อย่าง ลึกซึ้ง และยิ่งถ้ามีใครมาบอกว่า นะโมนี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ด้วยแล้ว หลายๆ คนก็จะนึกไม่ออกว่าบทสวดนี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์อย่างไร หรือ บางคนอาจตัง้ คำ�ถามเชิงแปลกใจเสียด้วยซ�ำ้ ว่า บทนะโมมีความศักดิส์ ทิ ธิ์ ด้วยหรือ หนังสือ นะโม ศักดิ์สิทธิ์ เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้น โดย มีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากการสวด ๓ ด้านด้วยกัน ๑. ได้ความรู้ คือ รู้ว่าบทสวดนะโมนั้นมีความเป็นมาอย่างไร มีความหมายที่ลึกซึ้งอะไรแอบแฝงอยู่บ้าง รวมถึงเกร็ดความรู้อื่นๆ เกีย่ วกับนะโม เช่น ทำ�ไมต้องสวดนะโม ๓ จบ, ก่อนสวดมนต์ อาราธนา ศีล หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทำ�ไมต้องสวดนะโมก่อน เป็นต้น
๒. ได้ความขลัง คือ ผู้เขียนได้แนะนำ�วิธีสวดนะโมอย่างไร ให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์ สามารถเกิดฤทธิ์บันดาลผลป้องกันภัย และให้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ ๓. ได้ความพ้นทุกข์ คือ ผู้เขียนได้ให้แนวทาง ข้อคิดจากการ สวดนะโมที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน และก้าวผ่านสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จักเอื้อประโยชน์ให้กับผู้อ่าน ทุกท่านได้เป็นอย่างดี ความดีทั้งหมดที่เกิดจากหนังสือเล่มนี้ ขอยก ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และน้อมเป็นกตเวทิตาคุณแด่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน อนึ่ง บุญกุศลอันใดที่ จะพึงมี ส่วนหนึง่ ขอยกให้กบั ทีมงานผูร้ ว่ มสร้างสรรค์ทกุ ท่าน อีกส่วนหนึง่ ขอยกให้ แ ก่ ผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นที่ ช่ ว ยอุ ด หนุ น เลี่ ย งเชี ย งและร่ ว มเผยแผ่ พระพุทธศาสนาด้วยดีเสมอมา
าตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำ�รงอยู่สิ้นกาลนาน
ขออนุโมทนา ขอบพระคุณ
ที่ร่วมเผยแผ่ พุทธธรรม
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ (น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ.) บรรณาธิการ/เรียบเรียง
สารบัญ นะโม ตัสสะ
๕-๔๘ นะโม พุทธายะ
๔๙-๘๐ สวดมนต์ ขจัดทุกข์ สร้างสุขแก่สัตว์ ๓๑ ภูมิ
๘๑-๑๐๔
กรรม และ การแก้กรรม
๑๐๕-๑๒๖
คิดสิบหน
อ่านสิบรอบ
ช่วยกันอ่าน ช่วยกันคิด ปัญญางอกงาม ความสุขงอกเงย
นะโม ตัสสะ ฝึกฝนปัญญา
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
นะโม คืออะไร ? ก่อนทีจ่ ะหาคำ�ตอบว่า นะโม คืออะไร และมีความศักดิส์ ทิ ธิ์ อย่างไรนั้น อยากจะทบทวนความจำ�ท่านผู้อ่านสักนิดหนึ่งว่า ท่าน ท่องนะโมได้เมือ่ ไร อาจมีบางคนทีพ่ อจำ�ได้วา่ ตนเองท่องนะโมได้เมือ่ ไร แต่ส่วนมากแล้วมักจะตอบว่าไม่รู้ คือจำ�ไม่ได้ว่าท่องได้ตั้งแต่เมื่อไร บางคนอาจจะท่องได้ตอนเข้าเรียนอนุบาล บางคนอาจท่องได้ตอน บวช บางคนอาจท่องได้เพราะพ่อแม่พาสวดมนต์ สำ�หรับตัวผู้เขียนเท่าที่จำ�ได้น่าจะท่องได้เมื่อสมัยเข้าเรียน ชั้นประถม เพราะที่โรงเรียนคุณครูจะให้นักเรียนทั้งหมดเข้าแถว เคารพธงชาติ และสวดมนต์หน้าเสาธงทุกวัน แต่ในตอนนั้นก็เป็น เพียงการสวดตามๆ กัน พอจบชั้นประถมและบวชเป็นสามเณร จึงมารู้ทีหลังว่าบทนะโมที่ตนสวดได้นั้นออกเสียงคำ�ท้ายผิด คือ สวดว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทตัสสะ ซึ่งที่ถูกต้องออกเสียงเป็น สัมมาสัมพุทธัสสะ จึงจะถูก และในปัจจุบันนี้คาดว่ายังมีผู้สวดออกเสียงผิดแบบนี้อยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้นอาจเป็นตัวท่านเองก็เป็นได้ นะโม ตัสสะ
นะโม...
6
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ทีนก้ี ม็ าถึงคำ�ถามทีต่ ง้ั ไว้ตง้ั แต่ตน้ ว่า นะโม คืออะไร ? ฟังดู เหมือนเป็นคำ�ถามทีง่ า่ ยๆ ซึง่ ถ้าตอบแบบง่ายๆ ก็อาจตอบได้วา่ นะโม ก็คือบท นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ซึ่งเป็นบทสวดแสดงความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้านั่นเอง ตอบอย่างนีถ้ อื ว่าไม่ผดิ และถูกต้องดีดว้ ย แต่ยงั ไม่ถกู ทัง้ หมด เพราะบทสวดที่ขึ้นด้วย นะโม นั้นไม่ได้มีเฉพาะบท นะโม ตัสสะฯ เท่านัน้ ยังมีบทนะโมอืน่ อีก เช่น นะโม พุทธายะ, นะโมการัฏฐกถา (นะโม ๘), นะโม พุทธัสสะ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าจะตอบให้ถูกต้อง แยกตอบว่า นะโมที่ว่านั้นหมายถึง นะโม ตัสสะฯ หรือ นะโม พุทธายะ หรือนะโมบทอื่น ซึ่งอาจแยกตอบได้ดังนี้
๑. นะโม ตัสสะฯ เป็นบทสวดแสดงความนอบน้อมในคุณ
ของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และ พระปัญญาคุณ
๒. นะโม
พุทธายะ เป็นบทสวดแสดงความเคารพต่อ พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่เกิดในภัทรกัปนี้ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งบทนี้นิยมใช้บริกรรมผสมผสานคาถาอาคมต่างๆ
๓. นะโมการัฏฐกถา (นะโม ๘) เป็นบทสวดแสดงความ
เคารพต่อพระรัตนตรัย ๘ บรรทัด ซึ่งแต่ละบรรทัดจะขึ้นต้นด้วย คำ�ว่า นะโม จึงมักเรียกว่า นะโม ๘ เป็นบทพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
7
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๔. นะโม
พุทธัสสะ บทนี้เป็นบทสวดแสดงความเคารพ ต่อพระพุทธเจ้า เป็นบทสวดที่มีปรากฏในหนังสือธัมมปทัฏฐกถา กล่าวถึงเด็กคนหนึ่งที่ถูกปีศาจคุกคามแล้วสวดคาถาบทนี้ ทำ�ให้ ปีศาจไม่อาจเข้าใกล้และทำ�อันตรายได้ มาถึงตรงนี้ ท่านทั้งหลาย คงได้ทราบกันแล้วว่า คำ�ว่า นะโม นั้น ไม่ได้มีเฉพาะบท นะโม ตัสสะฯ เท่านั้น ยังมีบทนะโมอย่างอื่นอีก
นะโม พุทธายะ นะโม ตัสสะ
นะโม ๘ นะโม มีเยอะมากจริงๆ
นะโม เม
8
นะโม พุทธัสสะ
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
นะโม ความพิเศษด้านภาษา คำ�ว่า นะโม เป็นภาษาบาลีหรือภาษามคธ๑ ซึ่งเป็นภาษา ที่พระพุทธเจ้าเลือกใช้ในการประกาศพระศาสนา เนื่องจากเป็น ภาษาที่มีคนรู้จักอย่างแพร่หลายทุกชนชั้นวรรณะในสมัยนั้น คำ�ว่า นะโม เขียนอย่างภาษาบาลีได้ว่า นโม มาจาก รากศัพท์คือ นม (นะมะ) ธาตุ แปลว่า นอบน้อม เป็นคำ�ที่ใช้ แสดงความเคารพในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนนับถือบูชา นม (นะมะ) ธาตุ นี้ นอกจากประกอบศัพท์เป็น นะโม ที่ แปลว่า ความนอบน้อม แล้วยังมีการประกอบรูปศัพท์เป็นกิริยา ศัพท์อื่นๆ เช่น นมามิ (นะมามิ), นมสฺสามิ (นะมัสสามิ) ดัง ปรากฏในบทกราบพระธรรม และพระสงฆ์ว่า ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ. ข้าพเจ้า นมัสการพระธรรม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ. ข้าพเจ้า นอบน้อมพระสงฆ์ คำ�ว่า นะโม ก็ดี นะมัสสามิ ก็ดี นะมามิ ก็ดี ล้วนเป็นคำ� ทีม่ าจากรากศัพท์เดียวกันคือ นะมะ ธาตุ ทีแ่ ปลว่า นอบน้อม หรือ นมัสการ อ่านว่า มะ-คด เป็นชื่อของแคว้นที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากในสมัยพุทธกาล เป็นศูนย์รวม ความเจริญ ภาษามคธ จึงเป็นภาษาที่คนในยุคนั้นใช้กันอย่างแพร่หลาย ๑
9
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
}
นะโม นะมัสสามิ มาจากรากศัพท์เดียวกันคือ นะมะ ธาตุ นะมามิ
ความพิเศษของ นะมะ ธาตุ อีกอย่างหนึง่ ก็คอื จะใช้เป็น คำ�ที่แสดงความเคารพในสิ่งที่มีคุณความดีสูงสุดเท่านั้น ซึ่งใน พระพุทธศาสนาคำ�ว่า นะโม หรือ นะมะ ธาตุนี้จะใช้เป็นคำ�กล่าว แสดงความเคารพเฉพาะกับพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เท่านั้น ส่วนการแสดงความเคารพต่อสิ่งที่ควรเคารพอื่นๆ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ เทพเทวา หรือสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิจ์ ะใช้ค�ำ ว่า วันทามิ (ข้าพเจ้าขอไหว้), ปูเชมิ (ข้าพเจ้าขอบูชา) แทน จะไม่ใช้คำ�ที่ มาจากนะมะ ธาตุ ถึงใช้ก็มีน้อยมาก ดังนั้น คำ�ว่า นะโม, นะมัสสามิ, หรือ นะมามิ จึงถือเป็นคำ�ศักดิ์สิทธิ์เฉพาะ ที่ชาวพุทธใช้กล่าวแสดงความเคารพ สิ่งล้ำ�ค่าสูงสุดคือ พระรัตนตรัย เท่านั้น
นะโม 10
ขอสงวนสํำ�หรับ พระรัตนตรัย
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
นะโม ในความหมายว่า นอบน้อม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า นะโม นั้นเป็นคำ�บาลี เมื่อ นำ�มาแปลเป็นไทยก็แปลได้ว่า ความนอบน้อม เป็นคำ�ที่แสดงถึง ความเคารพบูชาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเลื่อมใสศรัทธาในฐานะเป็น สิ่งที่มีคุณความดีเหนือตนและเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ คำ�ว่า นอบน้อม ตามพจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า อาการแสดงความเคารพอย่างสูง เช่น นอบน้อมพระรัตนตรัย นี่เป็นความหมายโดยรวม แต่เมื่อแยกคำ�ทั้ง ๒ ออกจากกันแล้ว จะได้ความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนี้ นอบ หมายถึง กิริยาที่ส่งจิตนาบไป หรือทาบไปถึงความดี ของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ เหมือนกับบุคคลยืนอยูฝ่ ง่ั ข้างหนึง่ แล้วใช้แผ่นกระดาน พาดไปยังอีกฝั่งข้างหนึ่งเพื่อใช้เป็นสะพานข้ามไปยังอีกฝั่ง กิริยาที่ แผ่นกระดานแตะกับผิวน้ำ�เชื่อมไปจนถึงฝั่งข้างหนึ่ง เรียกว่านาบไป พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คอื การส่งใจไปถึง หรือการระลึกถึงด้วยความ เคารพในคุณความดีของสิ่งๆ นั้น ส่วนคำ�ว่า น้อม หมายถึง กิริยาที่ถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งกลับ คืนมาใส่ตน
นอบส่งไปถึง พระพุทธเจ้า
น้อมเอาความดีของ พระพุทธเจ้ากลับคืนมาสู่ใจ
11
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
นอบ คือกิริยาที่ส่งจิตออกไปถึงสิ่งภายนอก น้อม คือกิริยาที่นำ�เอาสิ่งภายนอกเข้ามาหาตน ดังนั้น เมื่อนำ�คำ�ทั้งสองมาประกอบกัน “นอบน้อม” จึง หมายถึงการส่งจิตไปถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนเคารพนับถือแล้วน้อมเอา คุณความดีที่มีอยู่ในสิ่งนั้นเข้ามาใส่ตัว เช่นเรากล่าวคำ�ว่า นะโม ต่อพระพุทธเจ้านั่นก็หมายความ ว่าเราได้สง่ ใจไปแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า เคารพในคุณงาม ความดีของพระองค์ จากนั้นเราก็น้อมเอาคุณความดีของพระองค์ นั้นมาใส่ตน หรือสร้างให้เกิดมีในตน เมื่อทำ�ได้อย่างนี้แล้วจึงจะได้ ชื่อว่ากล่าวนะโมได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
นะโม ความศักดิ์สิทธิ์ ในทัศนะของหลวงปู่มั่น นะโม นอกจากจะแปลว่าความนอบน้อมแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ยังได้อธิบายถึงความหมายของนะโมไว้อย่างลึกซึ้งว่า “ที่จริงแล้ว คำ�ว่า นะโม นั้น แยกได้เป็น ๒ ศัพท์คือ นะ กับ โม
12
นะ
หมายถึง
ธาตุ น้ำ�
โม
หมายถึง
ธาตุ ดิน
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ในบรรดาธาตุทั้ง ๒ นั้น ธาตุน้ำ� เป็นธาตุที่ได้มาจากมารดา ส่วนธาตุดินเป็นธาตุที่ได้มาจากบิดา ซึ่งธาตุทั้ง ๒ นี้ถือเป็นธาตุ ตั้งต้นหรือแม่ธาตุที่ก่อเกิดร่างกายคน อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เลือด เป็นต้น เมื่อธาตุ ทั้ง ๒ นี้ประกอบกันแล้ว ธาตุไฟและธาตุลมจึงเข้าไปผสมผสาน เป็นพลังงานทำ�ให้ร่างกายเคลื่อนไหว เติบโตภายหลัง ดังนั้นนะโม จึงได้แก่รา่ งกายของคน และเมื่อนำ�ตัว น หนู กับ ม ม้า มาสลับที่กันจากคำ�ว่า นะโม ก็จะกลายเป็นคำ�ว่า มะโน ที่แปลว่า ใจ หรือจิตใจ และเมื่อนำ�เอาความหมายของ นะโม ทั้งที่เป็นส่วนร่างกาย และจิตใจมารวมกันเข้าก็จะเท่ากับหนึ่งชีวิต”
นะ
โม นะ โม
ธาตุ น้ำ� ธาตุ ดิน
มะ
โน
ร่างกาย จิตใจ
ชีวิต 13
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ตามความหมายที่หลวงปู่มั่นได้อธิบายไว้นี้ เห็นได้ชัดว่า “นะโม” ที่เราสวดกันอยู่ทุกวัน ที่แปลว่าความนอบน้อมนั้น มี ความหมายลึกซึ้งไปถึงต้นธาตุและจิตวิญญาณที่ก่อกำ �เนิดตัวเรา ขึ้นมาทีเดียว ดังนั้น พึงรู้ในเบื้องต้นว่า นะโม นั้นนอกจากเป็นคำ�แสดง ความนอบน้อมต่อสิ่งที่ตนเคารพแล้ว ยังใช้หมายถึงตัวตนของเราที่ ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณด้วย เมื่อนำ�เอาความหมาย ทัง้ ๒ ประการมารวมกัน นะโมจึงหมายถึงการเอาชีวติ จิตใจของตน แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าหรือสิ่งที่ตนเคารพ เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เรากล่าวคำ�ว่า นะโม ไม่ว่าจะเป็นนะโมบทไหนก็ตาม พึงทราบว่า เรากำ�ลัง แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า หรือต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยชีวิตและจิตวิญญาณทั้งหมดของเรานั่นเอง นะโม = ร่างกาย มะโน = จิตใจ
14
กาย ใจ ยกถวาย พระพุทธเจ้า
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
คำ�สวดและคำ�แปล นะโม ตัสสะฯ ในเบื้องต้นนั้นเราได้ทราบแล้วว่านะโมมีหลายนะโมด้วยกัน รวมถึงได้ทราบถึงความหมายและความสำ�คัญของคำ�ว่า นะโม มา พอสมควรแล้ว ต่อไปจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในส่วนลึกของนะโม แต่ละบทว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีนัยอะไรซ่อนอยู่ ซึ่งจะ ขอเริ่มจากบท นะโม ตัสสะฯ หรือบทนอบน้อมพระพุทธเจ้าเป็น อันดับแรก บท นะโม ตัสสะฯ นี้มีเนื้อความและคำ�แปลดังนี้ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (เขียนแบบบาลี) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (เขียนแบบคำ�อ่านไทย) (คำ�แปล) ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แปลแบบยกศัพท์หรือแปลแบบคำ�ต่อคำ�ได้ว่า นะโม ขอนอบน้อม ภะคะวะโต แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตัสสะ พระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
15
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ประวัติความเป็นมา ในหนังสือ ฎีกานะโม๑ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ บท นะโม ตัสสะฯ เอาไว้คอ่ นข้างพิสดารว่า บทสวดนะโม ตัสสะฯ นี้ เกิดจากการนำ�คำ�สรรเสริญของบุคคล ๕ ท่าน ที่กล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้าคนละคำ� รวม ๕ คำ� มาร้อยเรียงเป็นประโยคได้ หนึ่งประโยคพอดี โดยมีประวัติเล่าไว้ดังนี้
สาตาคิรียักษ์กล่าวคำ�ว่า “นะโม” มีเรื่องเล่าว่า สมัยหนึ่งเทวดา ๕ องค์ได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าตามลำ�ดับกล่าวคือ ท่านแรกทีเ่ ข้ามาเฝ้าคือ สาตาคิรยี กั ษ์ ซึ่งเป็นเทพเหล่าภุมเทวดา อาศัยอยู่ที่เทือกเขาสาตาคิรี ณ แดน หิมวันตประเทศ มีหน้าทีเ่ ฝ้าทางเข้า-ออกป่าหิมพานต์ทางทิศเหนือ และเป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าแล้วได้ทูลถามปัญหา ครั้นได้สดับพระธรรมเทศนาจาก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็บังเกิดความ นะโม เลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงได้เปล่ง ว้าว..! วาจากล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “นะโม” ๑
คัมภีร์กัจจายนเภทนวฎีกา
16
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
อสุรินทราหูกล่าวคำ�ว่า “ตัสสะ” เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้และแสดงธรรม ตัสสะ โปรดเหล่าเทวดาและมนุษย์ให้ บรรลุธรรมจำ�นวนมาก จนเป็น ทีก่ ล่าวขานไปทัว่ ทัง้ เทวโลกและ มนุษยโลก ทีน่ น้ั อสุรนิ ทราหูกไ็ ด้ยนิ กิตติศพั ท์ของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า เช่นกัน และมีความประสงค์จะไปเข้าเฝ้าฟังธรรมเหมือนกับเทพ องค์อน่ื แต่ตดิ อยูท่ ม่ี คี วามถือตัวว่าตนนัน้ เป็นเทพทีม่ ฤี ทธานุภาพมาก ครั้นจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็เกรงจะเสียศักดิ์ศรี อีกอย่างร่างกาย ของตนกับพระพุทธเจ้านัน้ เมือ่ เทียบกันแล้วตนเองก็เปรียบเหมือน กับภูเขา ส่วนพระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนมดตัวเล็กๆ จะเทศนาให้ ได้ยนิ อย่างไร เมือ่ คิดเช่นนีจ้ งึ ได้ยบั ยัง้ ชัง่ ใจอยู่ พอนานไปเสียงร�ำ่ ลือ ถึงพระกิตติศพั ท์ของพระพุทธเจ้าเริม่ หนาหูขน้ึ ทุกที ทำ�ให้อสุรนิ ทราหู ทนไม่ได้ ตัดสินใจเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ครั้นทรงทราบว่าอสุรินทราหูผู้มีกายใหญ่โต จะมาเข้าเฝ้า จึงได้เนรมิตพระวรกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูเป็น ร้อยเท่าในท่าไสยาสน์ (นอนตะแคงขวา) รออสุรนิ ทราหูทพ่ี ระคันธกุฎี ครัน้ อสุรนิ ทราหูกา้ วผ่านธรณีประตูเข้าไปเห็นพระวรกายพระพุทธเจ้า ใหญ่โตยิ่งกว่าตนจนต้องแหงนคอตั้งบ่าดูเช่นนั้นก็ตกใจ ทิฐิความ ถือตัวทีเ่ คยมีกพ็ ลันมลายหายไปสิน้ ณ บัดนัน้ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสัทธรรมชำ�ระจิตอันหยาบกระด้างของอสุรินทราหู
17
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
บังเกิดความเลื่อมใสจึงแสดงตนเป็นอุบาสกรับเอาพระรัตนตรัยเป็น ที่พึ่งตลอดชีวิต ก่อนจากได้กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ตัสสะ”
ท้าวจตุมหาราชกล่าวคำ�ว่า “ภะคะวะโต” ครัน้ อสุรนิ ทราหูกลับไปแล้ว ท้าวจตุมหาราชผูเ้ ป็นใหญ่บนสวรรค์ ชั้ น จาตุ ม หาราชิ ก าพร้ อ มบริ ว าร พากั น เข้ า เฝ้ า และทู ล ถามปั ญ หา ทีค่ า้ งคาใจมานาน พระบรมศาสดา ทรงวิสชั นาปัญหาพร้อมแสดงธรรม โปรด ทำ�ให้ทา้ วมหาราชทัง้ ๔ พร้อม บริวารได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดความ ปีติยินดี มีความเลื่อมใสศรัทธาใน พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พากันกล่าวคำ�สรรเสริญว่า “ภะคะวะโต” ต่อจากคำ�ของสาตาคิรียักษ์และอสุรินทราหู
ท้าวสักกะกล่าวคำ�ว่า “อะระหะโต” เมือ่ ท้าวจตุมหาราชพร้อมบริวารกลับไปแล้ว ท้าวสักกมหาราช จอมเทพผูเ้ ป็นใหญ่ในสวรรค์ชน้ั ดาวดึงส์ หลังได้ทราบกิตติศพั ท์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าจากเหล่าเทพ จึงมาเข้าเฝ้าและทูลถามปัญหา
18
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ที่พระองค์สงสัยหลายประการ ซึ่ ง แต่ ล ะคำ � ถามนั้ น พระผู้ มี พระภาคเจ้าทรงวินจิ ฉัยได้อย่าง แจ่มแจ้ง และได้แสดงธรรมโดย อเนกปริยายโปรด เมือ่ จบพระธรรมเทศนาท้าวสักกเทวราช ได้ดวงตาเห็นธรรม สำ�เร็จเป็น พระอริ ย บุ ค คลชั้ น โสดาบั น จากนัน้ ทรงเปล่งวาจาสรรเสริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำ�ว่า “อะระหะโต”
อะระหะโต
ท้าวมหาพรหมกล่าวคำ�ว่า “สัมมาสัมพุทธัสสะ”
สัมมา สัมพุทธัสสะ
เมือ่ ท้าวสักกเทวราชเข้า ทู ล ถามปั ญ หาและสดั บ พระธรรมเทศนาจนได้ บ รรลุ ธ รรม เป็นพระโสดาบันและกลับไปสู่ วิมานแห่งตนแล้ว ทีนั้นท้าว มหาพรหมได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า เพื่อทูลถามปัญหา เกีย่ วกับข้อทีพ่ ระองค์ทรงเทศนา สัง่ สอนสัตว์ทง้ั หลายว่า สรรพสิง่
19
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นเป็นจริงหรือเท็จ ประการใด เพราะตัง้ แต่ทท่ี า้ วมหาพรหมได้เกิดเป็นพรหมยังไม่เคย เห็นความเปลี่ยนแปลงอันใดเกี่ยวกับตนเลย ซึ่งท้าวมหาพรหม ค่อนข้างแน่ใจว่าตัวตนของพระองค์นน้ั เทีย่ งแท้แน่นอนและเป็นอัตตา ถ้าเป็นอย่างนั้นคำ�สอนของพระพุทธองค์ที่ว่าสรรพสิ่งทุกอย่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นน่าจะผิด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมชี้แจงด้วยเหตุและผล จนท้าวมหาพรหมคลายข้อสงสัย และเห็นว่าแท้ทจ่ี ริงตัวตนของท่าน ที่เห็นว่าเที่ยงนั้นจะต้องแตกสลายไปตามกฎธรรมชาติอย่างแน่แท้ จนเกิดดวงตาเห็นธรรม แสดงตนเป็นผูน้ บั ถือพระรัตนตรัยเป็นทีพ่ ง่ึ จนตลอดชีพ จากนัน้ ได้เปล่งวาจากล่าวสรรเสริญพระผูม้ พี ระภาคเจ้า ด้วยคำ�ว่า “สัมมาสัมพุทธัสสะ” และเมื่อนำ�คำ�กล่าวสรรเสริญของเทพทั้ง ๕ มารวมกัน ก็ จะได้หนึง่ ประโยคทีแ่ ปลได้ความหมายและแสดงออกถึงความเคารพ ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ควรที่จะได้นำ�มากล่าวเป็นบท สรรเสริญ คือ
นะโม
ตัสสะ
ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมสัพุมทมา ธัสสะ
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
20
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
สวดนะโมแต่ละครั้ง ต้องได้ความขลัง ๓ ประการ เมือ่ อ่านประวัตคิ วามเป็นมาของบทสวด นะโม ตัสสะฯ แล้ว อาจจะฟังดูพิสดารและเหลือเชื่ออยู่บ้างสำ�หรับคนยุคปัจจุบัน แต่ ไม่วา่ ท่านจะมีความคิดต่อเรือ่ งทีเ่ ล่ามานีอ้ ย่างไร ก็ถอื เป็นสิทธิสว่ นตัว ของแต่ละท่านก็แล้วกัน ที่ผู้เขียนยกขึ้นมาเล่านี้ก็เล่าตามตำ�ราที่ ท่านอาจารย์รุ่นหลังได้แต่งไว้ ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนั้น ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ไม่สำ�คัญ ที่ส�ำ คัญคือ เมื่อเราสวด นะโม ตัสสะฯ ทุกครั้ง เราควรรู้ว่าสวดเพื่ออะไร และได้ประโยชน์อะไร จากการสวดบ้าง ผู้เขียนเชื่อว่ามีคนจำ�นวนไม่น้อยหรือมากกว่า ๙๐% ที่ สวดนะโมโดยไม่รู้ความหมาย ถึงแม้ปัจจุบันจะมีผู้ที่สวด นะโม ตัสสะฯ แปลเป็นภาษาไทยได้มีจำ�นวนมากก็ตาม แต่น้อยคนนักที่ จะเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง และสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ซึ่งประโยชน์ที่ว่านี้อาจแบ่งเป็น ๓ ส่วน ด้วยกัน คือ
๑. ได้ความรู้เสริมสร้างพลังศรัทธา ๒. ได้ความขลัง ป้องกันภัย ๓. ได้บุญ ได้ความพ้นทุกข์ 21
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๑. ได้ความรู้เสริมสร้างพลังศรัทธา ดังที่กล่าวมาแล้วว่าชาวพุทธส่วนมากหรืออาจกล่าวได้ว่า แทบทั้งหมดสวด นะโม ตัสสะฯ ได้ แต่ไม่รู้ความหมายที่ลึกซึ้ง ทีแ่ อบแฝง โดยมากก็เข้าใจเพียงแต่วา่ เป็นบทกล่าวแสดงความเคารพ นอบน้อมต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น หรือที่ยิ่งกว่านั้นบางคน บางท่านสวดทัง้ ๆ ทีย่ งั มีขอ้ สงสัย เช่น สงสัยว่าทำ�ไมต้องสวดนะโม ๓ จบ ทำ�ไมต้องสวดนะโมก่อนอาราธนาศีล ก่อนถวายทาน หรือ ก่อนประกอบพิธีกรรมต่างๆ ข้อสงสัยและความไม่รู้ถึงความหมาย ทีล่ กึ ซึง้ เหล่านี้ ทำ�ให้เราท่านทัง้ หลายกล่าวนะโมด้วยความไม่ซาบซึง้ จริงใจเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อขจัดข้อสงสัยและสร้างความเข้าใจใน บท นะโม ตัสสะฯ อย่างลึกซึง้ ปลุกจิตให้เลือ่ มใสศรัทธาในการสวด มากขึ้น จึงขอหยิบยกประเด็นสำ�คัญที่ควรรู้เกี่ยวกับ นะโม ตัสสะฯ มาอธิบายเป็นลำ�ดับไป
ประเด็นที่ ๑ : นะโม ตัสสะฯ สวดเพื่ออะไร ? บท “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” ทีเ่ ราสวดกันอยูป่ ระจำ�นัน้ เมือ่ แปลเป็นภาษาไทยจะได้ ความว่า “ขอนอบน้อม แด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้าพระองค์นน้ั ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” เมื่อพิจารณาดูตามคำ�แปลข้างต้นนี้ ก็คงพอจะทราบได้ว่า บท นะโม ตัสสะฯ นัน้ เป็นบทกล่าวคารวะหรือแสดงความนอบน้อม
22
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
แด่พระผูม้ พี ระภาคเจ้า หรือพระพุทธเจ้าของเรานัน่ เอง ซึง่ การแสดง ความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเคารพ ต่อตัวตนของพระพุทธเจ้าเท่านัน้ ทีล่ กึ ซึง้ กว่านัน้ หมายถึงการส่งจิต น้อมรำ�ลึกถึงพระพุทธคุณหรือคุณงามความดีทม่ี อี ยูใ่ นตัวพระองค์วา่ พระองค์มีความดีอย่างไรบ้าง แล้วน้อมเอาความดีเหล่านั้นมาเป็น หลักหรือเป็นแบบอย่างในการดำ�เนินชีวิตสำ�หรับตน ซึ่งคุณความดี ของพระพุทธเจ้านัน้ มีรวมอยูใ่ นบท นะโม ตัสสะฯ ทีเ่ ราสวดอยูเ่ ป็น ประจำ�นี้เอง พระคุณของพระพุทธเจ้านั้น ท่านกล่าวว่ามีมากมายหลาย ประการสุดจะพรรณนา แต่ถ้าจะกล่าวโดยย่อก็มี ๙ ประการ ดังที่ปรากฏในบทสวดอิติปิโส และที่ย่อกว่านี้ก็มีเพียง ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ คุณของ พระพุทธเจ้าไม่วา่ จะมีกห่ี มืน่ กีพ่ นั ประการ ก็จดั รวมลงในพระคุณทัง้ ๓ ประการนี้ ดังนั้น พระคุณทั้ง ๓ จึงถือเป็นหัวใจของพระพุทธคุณ ทั้งหมด และพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการนี้มีอยู่ในบทสวด นะโม ตัสสะฯ นี้นั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อเรากล่าว นะโม ตัสสะฯ ๑ จบ ก็เท่ากับว่าเรากล่าวบูชาคุณของพระพุทธเจ้าทัง้ หมดทัง้ มวลทีจ่ ะพึงมี ในพระองค์ พระคุณทั้ง ๓ มีอยู่ในบทนะโมอย่างไร จำ�แนกได้ ดังนี้ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต คำ�นี้บ่งถึง พระกรุณาคุณ อะระหะโต คำ�นี้บ่งถึง พระวิสุทธิคุณ สัมมาสัมพุทธัสสะ คำ�นี้บ่งถึง พระปัญญาคุณ
23
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ภะคะวะโต คือ พระกรุณาคุณ อย่างไร ภะคะวะโต ในบท นะโม ตัสสะฯ นัน้ ท่านแปลว่า แด่พระผูม้ ี พระภาคเจ้า ซึ่งคำ�ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นเป็นสมญานามที่ ใช้เรียกแทนพระองค์ แปลว่า พระผู้จำ�แนกแจกธรรมสั่งสอนสัตว์ สมญานามนีไ้ ด้มาเพราะความทีพ่ ระองค์ทรงมีพระกรุณาต่อสรรพสัตว์ ทั้งหลาย เมื่อแรกที่พระองค์ตรัสรู้ทรงมีพระทัยน้อมไปในอันที่จะ ไม่แสดงธรรมประกาศพระศาสนา เพราะทรงพิจารณาเห็นว่าธรรม ทีพ่ ระองค์ตรัสรูน้ น้ั มีความลึกซึง้ ยากทีส่ ตั ว์ผหู้ นาด้วยกิเลสจะรูแ้ จ้ง ตามได้ แต่ด้วยนำ�้ พระทัยที่ ประกอบด้วยพระมหากรุณา หยุดก่อน ต่อสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในห้วง แห่งทุกข์ ซึง่ ถ้าหากพระองค์ ไม่ทรงช่วยเหลือ สรรพสัตว์ ก็ จ ะจมอยู่ ใ นกองแห่ ง ทุ ก ข์ อย่างนี้ตลอดไป ครั้นทรงดำ�ริเช่นนี้แล้ว จึงเสด็จเที่ยวจาริกไปยังที่ต่างๆ แสดงธรรมโปรดโดยไม่แยกชนชั้น วรรณะ นับตั้งแต่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ เศรษฐี มหาเศรษฐี ชาวนา มหาโจร คนขอทาน หรือแม้แต่คนบ้าก็ทรงให้ความเมตตาเสมอภาคกัน บางครัง้ ทรงเสด็จไปสูถ่ น่ิ ทุรกันดาร ณ ทีห่ า่ งไกล ใช้เวลาเดินทางเป็น แรมเดือนเพือ่ ทีจ่ ะไปโปรดบุคคลเพียงคนเดียวก็มี แม้ในนาทีสดุ ท้าย ก่อนปรินพิ พานก็ยงั ทรงมีพระกรุณาแสดงธรรมโปรดสุภทั ทปริพาชก จนสำ�เร็จเป็นพระอรหันตสาวกองค์สดุ ท้าย รวมเวลาในการประกาศ ศาสนาทั้งสิ้น ๔๕ ปี
24
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ด้วยน�ำ้ พระทัยทีเ่ ปีย่ มด้วยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์เช่นนี้ พระองค์จงึ ได้สมญานามว่า ภควา หรือ พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ซึง่ แปล ได้ความว่า พระผู้จำ�แนกแจกธรรมสั่งสอนสัตว์ ซึ่งเป็นสมญานาม ที่สะท้อนถึงความมีพระกรุณาคุณเปี่ยมล้นของพระองค์และด้วย ผลแห่งพระกรุณาของพระองค์นั้นจึงทำ�ให้เรามีพระพุทธศาสนาไว้ เป็นที่พึ่งของชีวิต มีหลักธรรมคำ�สอนที่คอยเตือนสติให้รู้จักละเว้น การทำ�ชั่ว ประกอบกรรมดี และมีหลักในการพัฒนาใจให้ก้าวสู่ ความพ้นทุกข์จนถึงทุกวันนี้ ดังนัน้ เมือ่ เราสวด นะโม ตัสสะฯ มาถึงคำ�ว่า ภะคะวะโต นี้ ขอให้น้อมนึกถึงความดี คือพระกรุณาของพระพุทธองค์ให้ซึมซาบ เข้าสูใ่ จ น้อมนึกถึงความสุขความสงบของชีวติ ทีเ่ ราได้รบั ในปัจจุบนั นี้ เป็นเพราะพระกรุณาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เมื่อน้อม นึกจนจิตซาบซึ้งแล้วก็น้อมเอาความดีคือความกรุณานั้นเข้ามาสู่ตน พระพุทธเจ้าทรงเปีย่ มด้วยพระกรุณาฉันใด เราในฐานะเป็นศิษย์ ทีใ่ ห้ความเคารพนับถือในพระองค์กต็ อ้ งมีจติ ทีเ่ ปีย่ มด้วยกรุณาต่อ เพื่อนมนุษย์ สัตว์ โดยไม่มีแบ่งแยกเช่นเดียวกับพระองค์ให้จงได้ เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ก็จัดว่าได้เข้าถึงแก่นแท้ของการกล่าว นะโมอย่างแท้จริง
อะระหะโต คือ พระวิสุทธิคุณ อย่างไร คำ�ว่า อะระหะโต ทีแ่ ปลว่า ผูห้ า่ งไกลจากกิเลส หรือทีม่ กั แปลทับศัพท์ว่า พระอรหันต์ เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชื่อว่า
25
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
พระอรหันต์หรือผูห้ า่ งไกลจากกิเลสนัน้ เป็นเพราะ พระองค์สามารถชำ�ระล้างกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ออกจากจิ ต ใจได้ อ ย่ า งหมดจดด้ ว ยกำ � ลั ง แห่ ง อริยมรรค มีใจผ่องแผ้วดุจดวงจันทร์ วันเพ็ญที่สาดส่องรัศมีเจิดจ้าไร้เมฆา มาบดบัง ด้วยความที่พระองค์มีพระทัย หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองนี้ บริสุทธิ์ดุจดอกบัวพ้นน้ำ� จึงได้สมญานามว่า “พระอรหันต์ ผู้ ห่างไกลจากกิเลส” เพราะเหตุที่พระพุทธองค์ ทรงมี พ ระทั ย ที่ ใ สสะอาดไม่ แ ปดเปื้ อ นด้ ว ยมลทิ น กิ เ ลสแม้ เ พี ย ง เล็กน้อยเช่นนี้ คำ�ว่า อะระหะโต นี้จึงเป็นเครื่องสะท้อนถึงความ บริสุทธิ์ของพระองค์ ซึ่งจัดเป็นพระคุณข้อที่ ๒ คือ วิสุทธิคุณ คุณคือความสะอาดหมดจดนั่นเอง ดังนั้น การสวดนะโมแต่ละครั้งเมื่อสวดมาถึง อะระหะโต ผู้สวดทั้งหลายก็พึงทราบว่าขณะนั้นเรากำ�ลังยกย่องความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสของพระพุทธเจ้าอยูน่ น่ั เอง ขณะน้อมนึกถึงพระคุณ ข้อนีใ้ ห้นอ้ มจิตจินตนาการถึงแสงสว่างทีเ่ ปล่งออกจากพระวรกาย ของพระพุทธเจ้า จากนั้นให้น้อมเอาแสงสว่างนั้นเข้ามาสู่ตัวเรา ทำ�ให้กายสว่างโพลงขึ้นมา การน้อมนึกเช่นนี้จะทำ�ให้ใจเกิดปีติสุข อย่างน่าอัศจรรย์
26
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
แต่ลำ�พังการน้อมนึกถึงความบริสุทธิ์อย่างเดียวไม่อาจทำ�ให้ เข้าถึงสุขอันแท้จริงได้ เพราะการน้อมนึกเป็นปีตสิ ขุ เพียงชัว่ ครูช่ ว่ั คราว ถ้าอยากได้รับสุขที่ถาวร ผู้นั้นต้องสร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นเอง ดังพุทธดำ�รัส “ผู้ทำ�บาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง ผู้ไม่ท�ำ บาปเอง ย่อม บริสทุ ธิเ์ อง ความบริสทุ ธิแ์ ละไม่บริสทุ ธิเ์ ป็นของเฉพาะตน บุคคลอืน่ ไม่สามารถยังผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้” ตามพุทธดำ�รัสจะเห็นได้ว่าความบริสุทธิ์จะพึงมีได้ก็ด้วย การไม่ทำ�บาป กระทำ�แต่ความดี และความบริสุทธิ์นี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการกระทำ�ของตัวเองเท่านั้น คนอื่นไม่สามารถช่วยได้ นั่น หมายความว่า เมือ่ เราสวด นะโม ตัสสะฯ เอาจิตน้อมระลึกถึงความ บริสทุ ธิข์ องพระพุทธเจ้าแล้ว เราต้องหมัน่ ประกอบความดี ละเว้น ความชั่ว และพยายามฝึกหัดชำ�ระกิเลสในใจเพื่อยังตนให้เป็น ผู้บริสุทธิ์ตามรอยของพระพุทธเจ้าให้จงได้ เมื่อทำ�ได้อย่างนี้ก็จะ ได้ชอ่ื ว่าเป็นผูไ้ ด้รบั ประโยชน์สงู สุดจากการสวด นะโม ตัสสะฯ อย่าง แท้จริง
อาบน้�ำ ชำ�ระกาย
สวดนะโมชำ�ระใจ
27
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
สัมมาสัมพุทธัสสะ คือ พระปัญญาคุณ อย่างไร คำ�ว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ ที่แปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วย พระองค์เอง หรือทีม่ กั แปลทับศัพท์วา่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำ�นี้ มีความหมายว่าพระองค์ทรงค้นพบธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ด้วยตัว พระองค์เองโดยไม่มีผู้ใดกล่าวสอนหรือให้ค�ำ ชี้แนะ สะท้อนให้เห็น ถึงความเฉียบแหลมแห่งพระปัญญาคุณ ทีย่ ากจะหาผูใ้ ดเสมอเหมือน เพือ่ ยกย่องพระคุณข้อนีข้ องพระองค์จงึ ได้ยกคำ�ว่า สัมมาสัมพุทธัสสะ มาประกอบไว้ในบท นะโม ตัสสะฯ นี้ด้วย ดังนัน้ เมือ่ สวดมาถึงบทสัมมาสัมพุทธัสสะนี้ ผู้สวดพึงตระหนักรู้ว่า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงประสบผลสำ � เร็ จ เอาชนะปัญหาทุกอย่างและอยู่เหนือ ทุกข์ทั้งปวงได้ก็ด้วยทรงอาศัยปัญญา เป็นเครือ่ งนำ�ทาง ฉันใด เราท่านทัง้ หลาย ในฐานะที่เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า เมือ่ เกิดปัญหาหรือความทุกข์ขน้ึ ก็ควร ใช้สติปญ ั ญาแก้ไขปัญหา นำ�พาตนให้พน้ จากทุกข์ทก่ี �ำ ลังประสบอยู่ ให้จงได้ และพัฒนาสติปัญญาให้สูงยิ่งขึ้นไปจนถึงระดับที่สามารถ ดับทุกข์ได้อย่างหมดจดเฉกเช่นกับพระพุทธเจ้า เมื่อทำ�ได้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้รับประโยชน์จากการสวดนะโมอย่างสูงสุดแล้ว
28
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ประเด็นที่ ๒ : ทำ�ไมต้องสวด ๓ จบ หลายคนมีขอ้ สงสัยเกีย่ วกับการสวด นะโม ตัสสะฯ นีม้ ากว่า ทำ�ไมต้องสวด ๓ จบ บทอื่นก็เห็นสวดจบเดียว จะมีพิเศษก็แต่ บทนะโมนี้ที่ไม่ว่าจะสวดเมื่อไรก็ต้องสวด ๓ จบ ถ้าไม่สวด ๓ จบ จะสวดจบเดียวเหมือนกับบทอื่นได้ไหม ใครเป็นผู้ก�ำ หนดให้สวด ๓ จบ ข้อสงสัยนี้ ผู้เขียนเคยถูกถามเมื่อครั้งบรรยายธรรมให้กับ พนักงานสำ�นักพิมพ์เลีย่ งเชียง ในงานกิจกรรมไตรสิกขา จันทร์และ เสาร์ (08.30-10.00 น.) ในวันนั้นผู้เขียนได้ให้คำ�ตอบไปว่า เหตุที่ ท่านให้สวด ๓ จบนั้นก็เพื่อ ๑. ให้จิตแนบแน่นใน พุทธคุณ ๕. บูชาพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท
๔. เพื่อทำ�การบูชาให้ ครบทวาร ๓
๒. เตรียมจิต ให้พร้อม ๓. บูชาพุทธคุณให้ ครบ ๙ ประการ
29
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๑. เพื่อให้จิตแนบแน่นในพุทธคุณ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า บท นะโม ตัสสะฯ นัน้ เป็นบทสวดแสดงความเคารพในพระคุณของ พระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระมหากรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ เมื่อเราสวดและน้อมใจระลึกถึงคุณทั้ง ๓ ของ พระองค์ จิตของผู้สวดย่อมมีความเลื่อมใสศรัทธา และเมื่อได้ กล่าวซ้ำ�ถึง ๓ ครั้ง จิตย่อมมีความเลื่อมใสอย่างแนบแน่นยิ่งขึ้น อีกอย่างหนึ่งยังเป็นเครื่องยืนยันถึงความจริงใจของผู้สวดที่มีต่อ พระพุทธองค์อีกด้วย
๒. เพื่อเตรียมจิตให้พร้อม
กล่าวคือในการประกอบ พิธกี รรมต่างๆ เช่น สมาทานศีล ถวายทาน สวดมนต์ หรือเสกเป่า คาถาต่างๆ ท่านกำ�หนดให้กล่าวนะโม ๓ จบก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็น การแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูก่อน อีกอย่าง ก็เพื่อเป็นอุบายขจัดความฟุ้งซ่าน เคลียร์ใจให้สะอาด เตรียมจิต ให้ตั้งมั่นพร้อมที่จะทำ�กิจนั้นๆ ต่อไป
๓. เพื่อบูชาพระพุทธคุณให้ครบ ๙ ประการ ตามปกติ
พุทธคุณจะมี ๙ ประการ เรียกว่า นวหรคุณ พระพุทธคุณทัง้ ๙ นัน้ เมื่อว่าโดยย่อรวมลงเป็น ๓ คือ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และ พระปัญญาคุณ ซึ่งพระคุณทั้ง ๓ มีครบในนะโม ดังนั้น เพื่อให้ การสวด นะโม ตัสสะฯ เป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธคุณ ทัง้ ๙ จึงได้กล่าวนะโม ๓ จบ เพราะนะโม ๑ จบ เท่ากับพุทธคุณ ๓ เมื่อสวด ๓ รอบจึงเท่ากับจำ�นวนพระพุทธคุณ ๙ (๓ X ๓ = ๙)
30
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๔. เพือ่ ให้ครบ ๓ ทวาร กล่าวคือ ในตัวของเรานัน้ ประกอบ
ด้วยทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ กรรมหรือการกระทำ�ทุกอย่าง ของเราล้วนเกิดจากทวารทั้ง ๓ นี้ ดังนั้น เพื่อให้ผู้สวดได้ทำ� ความดีด้วยการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าให้ครบทั้ง ๓ ทวารจึงต้องกล่าว ๓ จบ โดยจบที่ ๑ แสดงความเคารพด้วยกาย, จบที่ ๒ แสดงความเคารพด้วยวาจา, จบที่ ๓ แสดงความเคารพ ด้วยใจ, ๓ จบ ครบ ๓ ทวารพอดี ๕. เพือ่ บูชาพระพุทธเจ้า ๓ ประเภท หลายคนอาจจะยัง ไม่เคยทราบว่าพระพุทธเจ้าที่ทรงอุบัติขึ้นในโลกตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันนั้นมีจำ�นวนมากมายมหาศาล๑ ว่าโดยสรุปมี ๓ ประเภท จำ�แนกตามคุณสมบัติและระยะเวลาในการบำ�เพ็ญบารมี ดังนี้ ๑) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วย ความเพียร ต้องบำ�เพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับอีกแสนกัป จึงได้ตรัสรู้ ๒) พระสัทธาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วย ศรัทธา ต้องบำ�เพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับอีกแสนกัป จึงได้ตรัสรู้ ๓) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ยิ่ง ด้วยปัญญา ต้องบำ�เพ็ญบารมี ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัปจึงได้ตรัสรู้ เมือ่ ว่าตามนีแ้ ล้ว จะเห็นได้วา่ การกล่าว นะโม ตัสสะฯ นัน้ ไม่ ไ ด้ จำ � กั ด อยู่ เ ฉพาะการแสดงความเคารพต่ อ พระพุ ท ธเจ้ า องค์ปจั จุบนั เท่านัน้ แต่หมายถึงการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ในอดีตทั้งหมดบรรดาที่เคยอุบัติขึ้นแล้วในโลก ในบทสวด สัมพุทเธ ระบุไว้ว่ามีมากถึง ๓,๕๘๔,๑๙๒ พระองค์ : หนังสือมนต์พิธีชาวพุทธ แปล : สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ หน้า ๙๐ ๑
31
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
ประเด็นที่ ๓ : ทำ�ไมต้องสวดนะโมก่อน บท นะโม ตัสสะฯ นี้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ปุพพภาคนมการ (อ่านว่า ปุบ-พะ-ภา-คะ-นะ-มะ-กาน) แปลว่า บทสวด กระทำ�ความเคารพเป็นอันดับแรก นั่นหมายความว่า ก่อนจะทำ� อะไรอย่างอืน่ เช่น เจริญพระพุทธมนต์ เสกเป่าคาถา อาราธนาศีล เป็นต้น จะต้องว่านะโมก่อน เหตุทต่ี อ้ งว่าก่อนก็เพราะว่าบทนะโมนี้ ถือเป็นบทไหว้ครู นักมวยก่อนจะชกมวยก็ต้องไหว้ครูก่อนฉันใด ชาวพุทธทัง้ หลายก่อนทำ�กิจอันใด หรือก่อนประกอบพิธกี รรมอันใด ก็ตอ้ งแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ผูเ้ ป็นบรมครูสงู สุดเสียก่อน กิจที่ทำ�หรือพิธีการนั้นๆ จึงจะมีมนต์ขลัง อีกนัยหนึง่ การกล่าว นะโม ก่อนยังเป็นการแสดงออกถึง ความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าด้วย เพราะการกล่าวนะโมก่อนทำ�กิจอย่างใด อย่างหนึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็น นะโม การให้ความยกย่องเทิดทูนต่อพระองค์ อนึง่ การกล่าวนะโม เป็นการอาศัย อำ�นาจแห่งพระพุทธคุณเป็นใบเบิกทาง ให้ทำ�กิจนั้นๆ สำ�เร็จ หรือมีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น เช่น ช่วยให้ พระพุทธมนต์ท่สี วดหรือมนต์คาถาที่เสก เกิดฤทธานุภาพดังประสงค์เป็นต้น
32
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๒. ได้ความขลังป้องกันภัย เป้าหมายของการสวดมนต์ไม่ว่าบทใดก็ตามผู้สวดย่อมมี จุดมุ่งหมายแตกต่างกันไป บางคนสวดเพื่อจดจำ�คำ�สอน บางคน สวดเพราะเชื่อว่าจะทำ�ให้เกิดปาฏิหาริย์ บางคนสวดเพราะเชื่อว่า จะได้บุญ บางคนสวดเพื่อแก้ไขกรรม บางคนสวดเพราะอยากให้ ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า บางคนสวดเพื่อเป็นอุบายทำ�จิตให้เป็น สมาธิช�ำ ระกิเลสเหตุท�ำ จิตให้เศร้าหมอง หรือบางคนสวดเพื่อขจัด อารมณ์ที่เป็นทุกข์ในใจ เช่น ความฟุ้งซ่าน ความเครียด วิตกกังวล แต่ไม่ว่าจะสวดด้วยจุดประสงค์อันใด ผลที่คนส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด จากการสวดมนต์ก็คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ความศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถป้องกันและกํำ�จัดภัยอันตรายที่จะเกิดมี และบันดาลผลในสิ่งที่ตนปรารถนา
นะโม ขอให้เกิดปาฏิหาริย์ ทีเถอะ
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล มีครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง สาวัตถี มีอาชีพหาฟืนขาย และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ลูกชายคนเล็กของครอบครัวนี้มีปกติสวดมนต์บูชาพระพุทธเจ้า อยู่เป็นประจำ� บทสวดมนต์ที่เขาสวดเป็นบทแสดงความเคารพต่อ พระพุทธเจ้าซึง่ มีเพียง ๒ คำ�เท่านัน้ คือ นะโม พุทธัสสะ ซึง่ ไม่วา่
33
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
เขาจะทำ�อะไร ไปทีไ่ หนเขาก็จะบริกรรมมนต์บทนีใ้ นใจเสมอ แม้กอ่ น ทีจ่ ะลงแข่งขันกีฬาเขาก็บริกรรม ซึง่ ทำ�ให้เขาชนะการแข่งขันอยู่เสมอ วันหนึ่ง เด็กชายคนนี้ติดตามพ่อออกไปหาเก็บฟืนในป่า นอกเมือง เมื่อเก็บฟืนได้เต็มเกวียนแล้ว ปรากฏว่าวัวที่ลากเกวียน ได้หายไป พ่อของเขาให้ลกู ชายอยูเ่ ฝ้าเกวียน แล้วออกติดตามหาวัว จนกระทัง่ เข้าไปในพระนครจึงพบ นะโม พุทธัสสะ ่ แต่กว่าจะพบก็มืดคำ�แล้ว ประตู เมืองถูกปิดไม่สามารถออกจาก เมืองได้ ส่วนลูกชายทีอ่ ยูน่ อกเมือง ได้ น อนคอยพ่ อ อยู่ ใ ต้ เ กวี ย นและเผลอหลั บ ไป ตกดึกคืนนัน้ มีอมนุษย์สองตนผ่านมาพบเด็กคนนีเ้ ข้า คิดจะจับกินเป็นอาหาร จึงเข้าไปจับขากระชาก ออกจากใต้เกวียน เด็กชายคนนั้นสะดุ้งตื่นด้วยความตกใจ จึง ประณมมือกล่าวคำ�บูชาพระพุทธเจ้าว่า นะโม พุทธัสสะๆๆๆ ด้วยอานุภาพแห่งมนต์ทำ�ให้มืออมนุษย์ร้อนดั่งไฟเผาจำ�ต้องถอย ห่างออกไปไม่กล้าเข้าใกล้ ภายหลังมีผู้นำ�เรื่องนี้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ลำ�พังเพียง การกล่าวความเคารพพระพุทธองค์เพียง ๒ คำ� เหตุใดจึงมีอานุภาพ สามารถป้องกันภัยขับไล่อมนุษย์ได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานุภาพ แห่งพระพุทธคุณนัน้ มีก�ำ ลังแผ่ไปทัว่ อนันตจักรวาล ผูใ้ ดน้อมระลึกถึง ด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง ผู้นั้นย่อมได้รับการคุ้มครองให้รอด ปลอดภัย
34
บริษัท สำ�นักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำ�กัด
๕ องค์ประกอบที่ทำ�ให้มนต์เกิดความขลัง เรื่องที่เล่ามาข้างต้นนั้นยืนยันได้ว่าการกล่าวคำ�นมัสการ หรือคำ�แสดงความเคารพนบน้อมต่อพระพุทธเจ้านั้น แม้ว่าจะเป็น บทสั้นๆ เพียง ๒-๓ คำ�ก็ก่อให้เกิดฤทธานุภาพหรือเกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่ปัญหาก็คือจะสวดอย่างไรจึงจะเกิดผลดังที่ กล่าวมา การสวดมนต์จะให้เกิดปาฏิหาริยน์ น้ั ท่านว่าต้องมีองค์ประกอบ ๕ ประการ ได้แก่
[
ว [
ส
[
[
ป
[
ศ
จํำ�ให้ดี ศวสสป
ส
๑. ศ = ศรัทธา ความเชือ่ คือ ผูส้ วดต้องมีความเลือ่ มใส
ศรัทธาและมีความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง คือเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นผูม้ บี ญ ุ ญาธิการ และมากด้วยฤทธานุภาพเหนือ สรรพสิ่งทั้งปวง สามารถให้การคุ้มครองป้องกันภัยและเป็นที่พึ่ง ของสรรพสัตว์ทง้ั หลายทัง้ ปวงได้ หมายความว่าขณะทีส่ วดนัน้ ผูส้ วด ต้องมีความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าและสวดด้วยความจริงใจ ไม่สวด แบบทำ�เล่น
35