มุมมองแห่งความสุข

Page 1


ธรรมบรรยาย โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) สรรค์สาระ : มนิจ ชูชัยมงคล บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง รูปเล่ม/จัดอาร์ต : วันดี ตามเที่ยงตรง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา พิสูจน์อักษร : อรัญ มีพันธ์


คำนำ ความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ หรือความ ทุกข์ใดๆ ก็ตาม ไม่มีใครไหนเลยที่ต้องการจะประสบพบเจอ หรือ อยากมีความทุกข์ แต่ก็ต้องพบเจอกับความทุกข์ด้วยกันทุกคน ไม่มี ใครหนีพ้น มากบ้างน้อยบ้างตามเหตุปัจจัยแห่งการกระทำของแต่ละ ชีวิตที่ได้สร้างกันมา ทุกคนต่างต้องการพ้นจากความทุกข์ แต่เมื่อ ต้องอยู่กับความทุกข์ ทำอย่างไรจึงจะอยู่กับความทุกข์ได้นั้น หนังสือ เล่มนี้มีคำตอบ แนวทางการพิจารณาตนให้พ้นจากความทุกข์ ตามคำสอน ของพระพรหมมั ง คลาจารย์ (หลวงพ่ อ ปั ญ ญานั น ทภิ ก ขุ ) ใน หนังสือเล่มนี้ จะเป็นทางออกจากความทุกข์ ผ่านตัวหนังสือที่คณะ ทำงานได้จัดวรรคตอน ทอนย่อหน้า และสรรค์สร้างภาพประกอบ เพื่อความเข้าใจในธรรมมากยิ่งขึ้น ขอเชิญท่านทั้งหลายเข้าสู่บรรยากาศการแสดงปาฐกถาธรรม อันจะนำทุกท่านสู่หนทางแห่งการปลดความทุกข์ออกจากจิตใจ ด้วยใจปรารถนาให้ทุกท่านพบแต่ความสุข โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ

อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข


มุมมอง แห่ง ความสุข

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟัง ปาฐกถาธรรมอันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ ทุกคนอยู่ในอาการอันสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์ อันเกิดขึ้นจากการฟังตามสมควรแก่เวลา สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง ตั้งใจฟังให้ดีๆ นะญาติโยม แล้วจะได้ปัญญา นำพาตนให้พ้นทุกข์

ฤดูนี้เรียกว่าฤดูหนาว แต่ความจริงไม่ได้หนาวเท่าใด แต่ก็

ดีกว่าฤดูร้อน เพราะฤดูร้อนอากาศร้อนมาก ฤดูนี้ร้อนน้อยไปหน่อย ก็เรียกว่าเป็นฤดูหนาว ความจริงมันไม่มีหนาว มีแต่ร้อนมาก ร้อน น้อย ถ้าร้อนมากก็เรียกว่าเป็นฤดูร้อน ถ้าร้อนน้อยก็เรียกว่าเป็นฤดู หนาว ถ้าฝนตกก็เรียกว่าฤดูฝน บ้านเมืองเรานั้นมี ๓ ฤดูกาล คือ ร้อน หนาว ฝน สับเปลี่ยนกันตามวันเวลาที่โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไป บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

3


ดูแลกายใจให้ดี ชีวีจะไม่มีทุกข์ ฤดูร้อนก็อึดอัดขัดใจบ้าง ฤดูร้อนน้อยค่อยสบายใจหน่อย แต่ก็ต้องระวังเพราะโรคภัยอาจจะเกิดได้ง่ายเหมือนกัน โดยมาก เป็นหวัด ปอดบวม เพราะว่าเราไม่ได้ระวังตัว เวลานอนไม่ใส่เสื้อ

ไม่ห่มผ้าให้มันอุ่นๆ ไว้ เวลาหัวค่ำไม่ค่อยหนาวเท่าใด แต่พอตอนดึก หนาวมาก ไม่ได้ห่มผ้าก็อาจจะเป็นหวัดได้ง่าย จึงต้องระวังตัวเพื่อ รักษาสุขภาพร่างกายของเราไว้ให้เป็นปกติ ไม่ให้เกิดอาการผิดปกติ อากาศก็ร้อนพอแล้ว คนยังอิจฉาตาร้อนอีก ใจ ๑๗ นาฬิกาเพื่อน

อะไร ใจ ๑๗ นาฬิกา น่ะ

มันบังอาจ มาจีบเด็กข้า

ใจเย็นๆ ไง

ถ้าเกิดอาการผิดปกติ เราก็จะเป็นทุกข์ไม่สบายกายแล้วก็จะ ไม่สบายใจ แต่ถ้ามันเป็นไปตามปกติก็มีความสบาย ทำงานอะไร

ก็สะดวก ไม่ขัดข้องเรื่องสุขภาพอนามัย ใครๆ ก็ต้องการสุขภาพดี อนามัยดีด้วยกันทั้งนั้น เพราะว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ประสงค์อย่างนั้น ความมีสุขภาพไม่ดีเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการเพราะมันสร้างปัญหา ด้วยประการต่างๆ 4

มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


ทุกข์เนื่องจากกาย คือ กายิกทุกข์ ๑ ก็บอกแล้วไงว่า ถ้านายรู้จักพ่อเรา แล้วจะหนาว งั่ก...งั่ก...งั่ก

ว่าไงเด็กๆ ไปแอบอะไร ตรงนั้น

งั่ก...งั่ก...งั่ก พ่อนายทำโรงน้ำแข็ง นี่เอง... นึกว่าเป็น ผู้มีอิทธิพลซะอีก

ความทุกข์นั้นมี ๒ แบบ เรียกว่า ทุกข์ทางกาย และ ทุกข์ ทางใจ คำว่า ทุกข์ทางกาย หมายความว่า ร่างกายเป็นเหตุให้เกิด ความทุกข์ แล้วก็ ทุกข์ทางใจ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในใจของเราเอง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกาย เพราะร่างกายมันผิดปกติ ไม่อยู่ในสภาพที่ปกติ เราก็มีความทุกข์ทางกาย ความจริงมันทุกข์อย่างเดียว มันทุกข์อยู่ที่ใจ เพราะว่าใจเข้าไปยึดถือกับกาย เมื่อใจเข้าไปยึดถือกาย ก็เลยเป็นทุกข์อันเนื่องมาจากกาย เขาเรียกว่า กายิกทุกข์ แปลว่า ทุกข์เนื่องจากกาย ๑

อ่านว่า กา-ยิ-กะ-ทุก แปลว่า ทุกข์ทางกาย หรือทุกข์เกิดทางกายสัมผัส บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

5


ทุกข์เนื่องจากจิต คือ เจตสิกทุกข์ ๑ เจตสิกทุกข์ ทุกข์เนื่องด้วยจิต คือจิตมันคิดมันสร้างอารมณ์ ให้เกิดขึ้น เช่น ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ความระแวงต่างๆ เมื่อเกิดขึ้นในใจของเราก็ทำให้เราไม่สบายใจ มีความทุกข์ เป็นความ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะการสร้างของจิต นั่นเป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง เป็นโรค โลหิตจาง แฟนนาย ป่วยเป็นอะไร เพื่อน

ส่วนข้าเป็น โรคทรัพย์จาง มี ให้ยืม สักสองพันไหม ?

ทุกข์เพราะความยึดถือ ความทุกข์อย่างหนึ่งเกิดจากการ เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย เช่น เราเกิดไม่สบายทางร่างกาย เป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย หรือเป็นอะไรต่างๆ ตามที่มันเป็นอยู่

ใจก็เข้าไปเป็นทุกข์ด้วย ที่ใจเข้าไปเป็นทุกข์ด้วยก็เพราะใจนึกว่า ร่างกายของฉัน อะไรของฉัน ? ความยึดถือนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เราจึงพูดว่า ขันธ์ ๕ เป็นความทุกข์ ทุกข์เพราะเข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ เป็นตัว ตัวเป็นขันธ์ แล้วก็มีความทุกข์เพราะเรื่องนั้น ถ้าเราไม่เข้าไป ยึดมั่นถือมั่น มันก็ไม่มีความทุกข์อะไร ๑

อ่านว่า เจ-ตะ-สิ-กะ-ทุก แปลว่า ทุกข์ทางใจ หรือทุกข์เกิดจากสัมผัสทางใจ

6

มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


พิจารณาขันธ์ห้าเป็นนิจ ชีวิตไม่ติดทุกข์ สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมสั่งสอนสาวก ส่วนมากดังนี้ คือสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ (รูปัง อะนิจจัง) รูปไม่เที่ยง, เวทนา อนิจฺจา (เวทะนา อะนิจจา) เวทนาไม่เที่ยง, สญฺา อนิจฺจา (สัญญา อะนิจจา) สัญญาไม่เที่ยง, สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารา อะนิจจา) สังขารไม่เที่ยง, วิญฺาณํ อนิจฺจํ (วิญญาณัง อะนิจจัง) วิญญาณไม่เที่ยง... แล้วก็สอนต่อไปว่า รูปํ อนตฺตา (รูปัง อะนัตตา) รูปไม่ใช่ตัวตน, เวทนา อนตฺตา (เวทะนา อะนัตตา) เวทนาไม่ใช่ตัวตน, สญฺา อนตฺตา (สัญญา อะนัตตา) สัญญาไม่ใช่ตัวตน, สงฺขารา อนตฺตา (สังขารา อะนัตตา) สังขารไม่ใช่ตัวตน, วิญฺาณํ อนตฺตา (วิญญาณัง อะนัตตา) วิญญาณไม่ใช่ตัวตน, สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สัพเพ สังขารา อะนิจจา) สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (สัพเพ ธัมมา อะนัตตา) ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน. บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

7


ยึดมั่นในตัวตน ต้นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นคำสอนที่สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา ที่ให้เราได้ พิจารณา ให้เราได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ คำสอนนี้มันก็อยู่ที่ตัวเรา นั่นแหละ ตัวที่สมมติขึ้น คือร่างกายกับจิตใจ กายกับใจรวมกัน

ก็เรียกว่าเป็นตัวขึ้นมา เป็นคนขึ้นมา มันเป็นเรื่องธรรมชาติที่มันเป็นอย่างนั้น กายก็เป็นของ ธรรมชาติ จิตใจก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ว่าเราไม่มีปัญญา

ในเรื่องนั้น ไม่เข้าใจเรื่องนั้นให้ถูกต้อง เลยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายของฉัน อะไรของฉัน ของฉันมันมากเต็มบ้านเต็มเรือนแล้ว ยังออกไปถึงนอกบ้าน ชาติของฉัน ประเทศของฉัน อะไรๆ เป็น

ของฉันไปเสียหมด การเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน นั่นแหละ เป็นตัวเหตุให้เกิดความทุกข์ ทำให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ

แน่ ใจนะว่า เป็นตีนกา

เป็นเรื่องธรรมดา อายุมากขึ้น ตีนกาขึ้นหน้า มันเป็นเรื่องธรรมชาติ จำไว้ เมียพูดอะไร ก็ต้องฟัง

8


พิจารณาขันธ์ห้าในกาย คือทางพ้นทุกข์ เอ้กอี๊เอ้กเอ้ก

อันนี้ก็เรียกว่าขัน แต่คนละความหมาย นะครับ

พระผู้มีพระภาคทรงสอนแนวทางเพื่อให้เราได้พิจารณา เพื่อ ไม่ให้เกิดความทุกข์ ไม่ให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ ในเรื่องนั้นก็สอน ให้พิจารณา ให้รู้จักแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่าเป็น ขันธ์ คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง ให้แยกออกเป็นกองๆ ไป คือถอดออกมาเสียให้หมด อย่ารวมไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้ารวมกันก็เห็นว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขาขึ้นมา ถ้าเราแยกออกไปหมดแล้ว ตัวมันก็จะหายไป ทีนี้เราไม่ค่อยได้แยก มักมองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เขาเรียกว่า ฆนสัญญา ฆน (ฆะนะ) แปลว่า ก้อน, สัญญา คือ ความหมายมั่น หมายมั่นว่าเป็นก้อนเป็นกลุ่ม เช่น ร่างกายของเรานี้ ถ้าแยกออกได้ มันก็ไม่มีตัวอะไร แต่เราไม่แยก เรามองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัว เป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล แล้วก็เป็นของเรา ของเขาขึ้นมา บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

9


แยกขันธ์ห้าได้ ก็ไม่มีตัวตนของตน พระพุทธเจ้าท่านสอนให้แยก... แยกออกเป็นส่วนๆ ชั้นแรก ก็ให้แยกออกไปเป็นกอง ๕ กอง เรียกว่า กองรูป, กองเวทนา, กอง สัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ขันธ์ก็แปลว่า กอง นั่นเอง เมื่อแยกออกเป็นกองๆ ได้ ๕ กอง เอารูปไปวางไว้ที่หนึ่ง เอาเวทนาไปไว้อีกที่หนึ่ง สัญญาไปวางไว้ที่หนึ่ง สังขารไปวางไว้ที่หนึ่ง วิญญาณไปวางไว้ที่หนึ่ง... แยกออกไป เมื่อแยกออกไปแล้ว ตัวเนื้อมันก็ไม่มี ไม่มีตัว ไม่มีตน เปลี่ยนหน้าเมียเรา ให้ได้แบบนี้จะดีมาก อิอิ...

คนเป็นทาสของกิเลส จึงวุ่นวาย เป็นทุกข์ อย่างรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว

สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เชิญชวนทุกท่านร่วมกันช่วยเพื่อนมนุษย์ ให้เอาชนะกิเลส พบสุขได้ ด้วยการพิมพ์หนังสือเล่มนี้แจกเป็นธรรมทาน ยิ่งมาก บุญยิ่งทวี อย่างไม่โลภเมาบุญ รู้ว่าเป็นหน้าที่ช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (โปรดใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้)

10 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


แยกชิ้นส่วนออกได้ ก็ไร้ตัวตนให้ยึดถือ ร่างกาย เป็นเพียงขันธ์ห้า รวมกันเท่านั้นเอง ไม่มีตัวตน...

เหมือนกับวัตถุสิ่งหนึ่ง เช่น ตะกร้า หรือชะลอมสำหรับ

ใส่ข้าวใส่ของที่เราใช้กันอยู่ทุกวันๆ นั้น ถ้าเราถอดออกหมด คำว่า ตะกร้ามันก็หายไป มันไม่มีตัว เก้าอี้ที่เรานั่งมันมีส่วนประกอบกันเข้า ก็กลายเป็นเก้าอี้ขึ้นมา ถ้าเราถอดออกจากกันหมด ตัวเก้าอี้นั้นก็จะ หายไป โต๊ะที่เราใช้ ถ้าถอดออกหมด โต๊ะมันก็หายไป อะไรๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราแยกออกไปแล้ว มันก็ไม่มีเนื้อแท้ ไม่มีตัวปรากฏ ถอดออกได้หมด ทุกอย่างเป็นของรวมกันเข้า ไหลไปตามอำนาจของการปรุงการแต่ง ถ้าเราถอดออกเมื่อไร สิ่งนั้นมันก็ไม่มี เราส่วนมากไม่ค่อยได้เรียนการถอด เรียนแต่รวมไว้เป็นกลุ่ม เป็นก้อน แล้วเข้าไปยึดถือว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉันอยู่ตลอดเวลา บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

11


แยกรูป-นามได้ ก็ไม่มีส่วนใดให้ยึดติด เหมือนอาคารหลังนี้ ถ้าทุบทิ้งเสียแล้ว มันก็ไม่มี ทุบออกไป แล้วก็เอาไปกองเป็นเศษๆ ไป เป็นเศษปูน เศษไม้ เศษเหล็ก เศษ กระเบื้อง เอากองๆ ไว้ แล้วเศษๆ นั้นถ้าแยกออกไปอีกก็จะไม่เหลือ อะไร ในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนวิธีแยกรูป-นามออกไป ร่างกาย กับจิตใจนี้แบ่งออกเป็น ๒ เรื่องก่อน เรียกว่า เป็นรูป กับ เป็นนาม เมื่อแยกรูป กับ นาม ได้ ร่างกายก็ไม่มีอะไรให้ยึดติดเลย

รูป คือ สิ่งที่สัมผัสด้วยประสาท ทั้ง ๕ ตาได้ดู หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น

ลิ้นได้รส กายถูกต้องได้ สิ่งนั้นเรียกว่า เป็นรูป อะไรๆ ที่เราสัมผัสด้วยประสาท ทั้ง ๕ ได้ เรียกว่าเป็นรูปขึ้นมา

รูปประกอบขึ้นด้วยอะไร รูปประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ธาตุทั้ง ๔ มาผสมกันถูกส่วนก็เกิดเป็นรูปร่างขึ้นมา ถ้าเราแยกออกไป เอาธาตุทั้ง ๔ ออกไปเสีย แยกออกเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนนั้นก็หายไปเหมือนกัน เรียกว่า ตัวหายไป 12 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


ร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน สิ่งที่ประกอบด้วย ธาตุ นั้น ในร่างกายของเรานี้ ของใดเป็น ของแข็ง ก็เรียกว่าเป็น ธาตุดิน, ของเหลวก็เป็น ธาตุน้ำ, ของที่ให้ ความอบอุ่นก็เรียกว่าเป็น ธาตุไฟ, ของที่เลื่อนไปมาได้ก็เรียกว่าเป็น ธาตุลม ลมก็คือแก๊สที่อยู่ในร่างกายของเรา มันหมุนเวียนเปลี่ยนไป เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมในท้อง ลมในไส้ ลมที่พัดไปใน ที่ต่างๆ ที่มีช่องว่าง เรียกว่ามีลมหรือมีแก๊สในร่างกาย ส่วนของแข็ง เป็นตัวประกอบสำคัญ มีน้ำเป็นเครื่องประกอบ มีไฟเป็นเครื่อง ประกอบ ในร่างกายของเรานี้มีครบทั้ง ๔ อย่าง มีดินคือของแข็ง มีน้ำคือของเหลว มีไฟคือความร้อน แล้วก็มีแก๊สคือมีลมอยู่ในร่างกาย ถ้าส่วนทั้ง ๔ นี้ ประชุมพร้อมเพรียงกันอยู่ ร่างกายก็เป็นปกติ ถ้าทั้ง ๔ อย่างนี้ประชุมกันไม่พร้อม ร่างกายก็ผิดปกติ คือมีความเจ็บไข้ได้ป่วย ความเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นจากความผิดปกติของร่างกาย เมื่อร่างกายผิดปกติมันก็จะเป็นอย่างนั้น หนังสือเล่มนี้ เมื่ออ่านแล้วโปรดแนะนำแบ่งปันให้ผู้อื่นได้อ่าน เพื่อบำเพ็ญทานบารมีแก่ตนเองให้มีสุข ตัดเวรกรรมให้หมดสิ้นโดยเร็ว...สาธุ บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

13


รักษาด้วยยา เรียกว่า เติมธาตุให้ร่างกาย ความผิดปกติก็เกิดจากธาตุไม่สมบูรณ์ เครื่องประกอบ

ไม่สมบูรณ์ พวกหมอแผนโบราณเขาจึงค้นว่า คนป่วยนี้เพราะขาด ธาตุอะไร เขามีหลักมีวิธีการที่จะค้นคว้าตามหลักคำนวณว่าคนเรานี้ ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง แล้วมันขาดธาตุอะไร เขาก็เติมธาตุนั้น ลงไป การให้กินยา คือการเติมธาตุ ขาดธาตุดินก็เติมยาที่จะให้ เกิดธาตุดิน ขาดธาตุน้ำก็ให้ยาที่ทำให้เกิดธาตุน้ำ ขาดธาตุไฟก็เติม ยาประเภทให้เกิดธาตุไฟ คือยาร้อนๆ พวกขิงข่า พวกชรา พวกโกฏิ พวกอะไรต่างๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนเป็นพวกเครื่องเทศ ทำให้เกิด ความร้อนขึ้นในร่างกาย เขาเติมธาตุความร้อนลงไป ถ้าขาดธาตุลม ก็เติมธาตุลมลงไป มียาเป็นเครื่องประกอบเรียกว่าเติมธาตุให้ร่างกาย แข็งแรงและฟื้นสภาพเป็นปกติต่อไป เวลาใดมันสบายก็ไม่ต้องเติม ถ้าขาดก็ต้องเติม นี้เป็นแผนโบราณ ยาแผนใหม่เขาก็มีการเติมวัตถุบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เช่นว่า ขาดวิตามิน เครื่องหล่อเลี้ยงร่างกาย เมื่อขาดวิตามินใดก็ เติมวิตามินนั้นลงไป ให้กินวิตามินนั้น ให้กินวิตามินรวม ก็เป็นการ เติมธาตุเข้าไปในร่างกาย ให้ร่างกายของเราอยู่ในสภาพปกติ

14 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


แยกอาการ ๓๒ ส่องดูกาย ร่างกายประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ อย่างนี้ ถ้าแยกออกไป มันก็หมด เช่น เราสวดอาการ ๓๒ ในร่างกาย สวดว่า... อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย... ในร่างกายนี้มี เกสา ผมทั้งหลาย, โลมา ขน, นะขา เล็บ, ทันตา ฟัน, ตะโจ หนัง, มังสัง เนื้อ, นะหารู เอ็น... กระดูก เยื่อในกระดูก ปอด ไต ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

จนสุดท้าย เยื่อมันสมองในกะโหลกศีรษะ รวม ๓๒ อย่าง ใน ๓๒ อย่างนี้ ก็แบ่งส่วนออกไปได้เป็นธาตุ ๔ ส่วนใดแข็ง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี่ก็เป็นธาตุดิน, ส่วนใดที่เป็นน้ำเอิบอาบ ซึมซาบในร่างกาย ก็เป็นธาตุน้ำ, ส่วนใดที่ให้ความร้อน ก็เรียกว่า เป็นธาตุไฟ, ส่วนใดที่พัดไปพัดมาเคลื่อนไหวอยู่ในท้องในไส้ ก็เรียก ว่าธาตุลม ธาตุลมนี่เราเห็นได้ว่ามันพัดไปในร่างกาย เช่น บางคราว ท้องก็ลั่นแสดงว่าลมมันเคลื่อนไหวอยู่ บางทีท้องอืดเพราะลมมาก ท้องแฟบลมก็หายไป มันมีอยู่ในร่างกาย ถ้าแยกส่วนเหล่านี้ออกเป็นส่วนๆ ตัวร่างกายมันก็ไม่มี มันหายไป หายไปแล้ว เราจะไปยึดตัวใดว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของเรา เพราะไม่มีตัวที่จะให้ยึด ท่านสอนให้แยกให้พิจารณาออกเป็นส่วนๆ อย่างนี้ ก็เพื่อจะไม่ให้ไปหลงติดอยู่กับร่างกาย บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

15


ไม่หลงในสิ่งสมมติ ก็ยุติเหตุแห่งทุกข์ คนเราโดยทั่วไปจะนึกว่าร่างกายเป็นก้อนเป็นกลุ่มอยู่ตลอด เวลา เรียกว่า ฆนสัญญา คือ ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นตัว เป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา นั่นเอง ที่สอนให้แยกออกเพื่อทำลายสิ่งนั้นให้หมดไป เมื่อแยกออก แล้วตัวนั้นก็จะหายไป ชื่อ นี่เป็นของสมมติ ตั้งชื่อว่าเป็นสัตว์ เป็นคน เราเรียก

คนเป็นสัตว์ก็ได้ สัตว์เป็นคนก็ได้ เรียกสมมติช้างให้เป็นม้าก็ได้

ม้าให้เป็นช้างก็ได้ แต่มันสมมติกันมาอย่างนั้นเสียแล้ว สมมติว่าสัตว์ อย่างนั้นเรียกว่าม้า สัตว์อย่างนั้นเรียกว่าช้าง สัตว์อย่างนี้เรียกว่าสุนัข สัตว์อย่างนั้นว่าเป็นแมว สัตว์อย่างนั้นว่าเป็นวัวเป็นควาย นั่นเป็น เรื่องสมมติที่เราตั้งชื่อให้มัน ถ้าเราจะสมมติเป็นอย่างอื่น เช่น สมมติ ว่าช้างเป็นม้าก็ได้ ยอมรับกัน ยอมรับสมมติ เมื่อสมมติอันใดแล้ว

ก็ยอมรับว่ามันเป็นสมมติ ไอ้ตัวสมมตินั้นเป็นความจริงอย่างหนึ่งเหมือนกัน เขาเรียกว่า สมมติสัจจะ มันเป็นความจริงแบบสมมติ แต่ไม่เป็นความจริงโดยปรมัตถ์ โดยอรรถอันลึกซึ้ง ไม่เป็นความจริงอย่างนั้น ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ คิด พิจารณา คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด ทำจิตให้สงบ จักพบทางออก

16 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


ทุกสรรพสิ่งถูกมนุษย์สมมติขึ้นมา เราเรียกว่าช้าง มันก็เป็นคำสมมติขึ้นมา เรียกว่าเป็นม้า เป็น แมว เป็นสุนัข เป็นอะไรต่างๆ มันเป็นคำสมมติ แล้วก็สมมติว่าคน คนเดินตามส่วนสูงของโลก สัตว์เดรัจฉานนั้นมันเดินแบบขวางโลก เดรัจฉาน แปลว่า ขวาง คือมันเดินขวางเส้นของโลก ส่วนเราเดิน ตรงตามเส้นของโลก เรียกว่าส่วนสูงของโลก สัตว์เดรัจฉานมันไป ตามส่วนกว้าง เราก็สมมติเรียกว่าสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานมีอยู่หลายชนิด เพราะฉะนั้นต้องตั้งชื่อสมมติมันลงไปว่า ไอ้นี่เป็นแมว นี่เป็นหมา นั่นเป็นไก่ นั่นเป็นหนู นั่นเป็นช้าง นี่เป็นม้า ก็สมมติกันขึ้น คนที่เห็นคนแรกเรียกสิ่งนั้นว่าเป็นอะไร แล้วก็ตั้งชื่อติดต่อกันมาเป็นอย่างนั้น ทำไมนายถึง ได้ชื่อว่าควาย

ไม่รู้เหมือนกัน นายไปถามคนดูสิ เขาเป็นคนตั้งให้

ทุกสิ่งถูกสมมติ เพื่อให้มนุษย์ เข้าใจตรงกัน เท่านั้นเอง

17


สิ่งสมมติทั้งหลาย เป็นเพียงเครื่องหมายรู้ ในตัวคนเรานี่ก็เหมือนกัน เราออกมาจากท้องแม่ก็เรียกว่า เป็นคน คนนั้นมีเยอะแยะ ต้องสมมติลงไปอีกสักอย่างหนึ่ง คือตั้งชื่อ ให้ผู้หญิงอย่างหนึ่ง ผู้ชายอีกอย่างหนึ่ง เช่น ชื่อแก้ว ชื่อจันทร์ ขวัญ มี ชื่อสี ชื่อสา ก็เป็นชื่อที่คนสมมติตั้งให้ แล้วคนถูกตั้งก็ติดในชื่อนั้น ถ้าเขาเรียกว่า “แก้ว” แก้วก็ขานรับทันที เรียกว่า “จันทร์” ก็ขานรับ เรียกว่า “มี” ก็ขานรับ เรียกสี เรียกสา ก็ขานรับ การขานรับนั้น เป็นการยอมรับสมมติ รับว่าเราชื่อนั้น เราชื่อนี้ ความจริงที่ตั้งไว้นั้น เป็นเครื่องหมายสำหรับเรียกร้องกัน เพื่อทำความเข้าใจในการพูด การจา สวัสดีครับ ผมแมลงวันครับ

สวัสดีครับ ผมเป็น แมลงกลางคืน ครับ

แล้วเราก็สมมติวันเวลา เช่น สมมติว่าสว่าง มืด สว่างว่าเป็น กลางวัน มืดว่าเป็นกลางคืน แล้วก็มีกลางวันกลางคืนมาก เราไม่รู้จะ เรียกอย่างไร เลยจัดเป็น “วัน” ขึ้นมา วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันศุกร์ วันเสาร์ เราตั้งชื่อให้ เป็นเรื่องสมมติชื่อทับลงไปในวันคืน นั่นเอง 18 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


วัน เดือน ปี ไม่มีดี-ร้าย วันนี้ฤกษ์ไม่ดีเลย อุตส่าห์ลงทุนไปซื้อ สีแดงมาทา ยังขอได้ ไม่เท่าไหร่เลย

เฮ้อ ! มือเท้าก็ดี ไม่ไปหางานอย่างอื่นทำ มานั่งขอทาน ทำลายศักดิ์ศรีตัวเองอยู่ได้

เมื่อหลายๆ วันเข้าก็ลำบากอีก ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ก็เรียก ว่าเป็นเดือน สี่สัปดาห์ก็เป็นเดือนหนึ่ง เดือนก็มีชื่ออีก ถ้าไม่มีชื่อ

ก็เรียกกันไม่ได้ เรียกกันไม่รู้ภาษา เลยตั้งชื่อว่าเดือนนั้นเดือนนี้ เดือนมันก็หลายเดือนก็ตั้งให้เป็นปีเสีย จะได้สะดวกแก่การคำนวณ เลยเป็นปี เป็นปีไม่มีชื่อก็ลำบาก เลยตั้งชื่อชวด ฉลู ขาล เถาะ

เป็นต้น เป็นชื่อของปีสมมติกันขึ้น คนก็ไปติดชื่อที่สมมติว่าปีนั้นปีนี้ สมมติว่าคนเกิดปีนั้นดี เกิดปีนั้นไม่ดี เกิดวันนั้นดี เกิดวันนั้นไม่ดี วันนั้นเป็นวันมงคล วันนั้น ไม่เป็นมงคล อันนี้เป็นการตั้งขึ้นตามแบบ “ไสยศาสตร์” มันไม่ใช่ ความจริงอะไร วัน เดือน ปีที่แท้จริงนั้นไม่ดีและก็ไม่ชั่ว ไม่มีอะไร อยู่ไปตามธรรมชาติเพราะอาศัยโลกหมุนไป โลกหมุนไปแล้วก็เกิด กลางวัน เกิดกลางคืน ส่วนใดที่รับแสงอาทิตย์ก็เป็นกลางวัน ส่วนใด ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ก็เป็นกลางคืน แล้วโลกก็หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป อย่างนั้น จึงตั้งชื่อวันขึ้น เป็นวันนั้น เป็นเดือนนั้น ปีนั้นขึ้นมา บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

19


ยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิด ชีวิตมีแต่ทุกข์ มันเป็นเรื่องสมมติกันทั้งนั้น มันไม่ใช่ตัวความจริง ตัวความ จริงนั้นมันไม่มีชื่อ มันเป็นแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอยู่ตลอดเวลา ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ธรรมชาติทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมชาติทั้งหลายเป็นทุกข์ ธรรมชาติทั้งหลายไม่มีเนื้อแท้ที่เป็นตัวเป็นตน เราต้องพิจารณาให้มันละเอียด การพิจารณาเรื่องนี้ เพื่ออะไร ? เพื่อถอนความยึดมั่นถือมั่นอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เรามารู้ว่ามันเกิดจากอะไร เกิดจากความยึดถือ เช่นว่าปัจจัย ในธนบัตรหรือว่าเหรียญบาท มันก็เป็นอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อคน เข้าไปยึดว่าเงินของฉัน ทอง ของฉัน เสื้อผ้าของฉัน บ้าน เงินของฉัน ! ของฉัน ไอ้ของฉัน...ของฉัน บ้านของฉัน ! รถของฉัน ! ยึดมาก นั่นแหละ มันเป็นตัวให้เกิด ทุกข์มาก นะเจ้านาย ความทุกข์ขึ้นมา และสร้าง ปัญหา สร้างความทุกข์ ความ เดือดร้อนให้เกิดขึ้นในจิตใจ ของเรา เราก็เป็นทุกข์ 20 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


สรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คุณพี่ ดูกี่ปีๆ ก็ไม่แก่ เลยนะคะ

งั่กๆๆ... แหมๆ... คุณน้องก็ยังสวยปิ๊ง เหมือนเดิมนะคะ ก็ว่ากันไป... ความสวยไม่คงที่หรอก มีแต่ความดีที่คงทน

ความทุกข์นั้นเกิดจากความยึดถือ ในภาษาธรรมะเรียกว่า อุปาทาน ถ้าลำพังแต่ขันธ์มันก็ไม่มีอะไร มันเปลี่ยนแปลงไปตาม ธรรมชาติ เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอะไรมันก็เปลี่ยนอยู่ทั้งนั้น ต้นหมากรากไม้ที่เราเห็นมันก็ไม่คงที่ เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนขึ้น แล้วก็เปลี่ยนลง เป็นเรื่องของธรรมดา คนเรานี่ก็เหมือนกัน ร่างกายก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนขึ้นก็เรียกว่า เจริญขึ้น แล้วก็เปลี่ยนลงเราก็เรียกว่า ความแก่ ไม่ได้อยู่นิ่ง เราเห็นคนบางคนแล้วทักว่า “ดูท่านไม่แก่” อันนี้พูด

ไม่จริง พูดไม่ถูก พูดตามแบบมายา ไม่ได้พูดตามแบบสัจธรรม หรือ ความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ความจริงสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ เปลี่ยนตั้งแต่เราจับ ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา แล้วก็เปลี่ยนมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเรา เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วก็จะเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ ไป ไม่รู้จักหยุด

ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้นจนกว่ามันจะแตกดับถึงที่สุด บริษัท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จำกัด

21


เมื่อมีเกิด ย่อมมีดับ เป็นธรรมดา ความแตกดับนั้น ก็เป็นเรื่องธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งหลาย เมื่อมีเกิดแล้วก็ต้องมีการแตกดับจากจุดเกิด แล้วมันก็เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไปจนถึงมันหยุดเปลี่ยน มันก็ดับไป เหมือนกับล้อ ที่มันหมุน เราทำให้ล้อหมุน เรากลิ้งไป มันก็หมุนไปตามแรงที่เรากลิ้ง พอหมดแรงกลิ้งมันก็หยุด ล้มไปบนแผ่นดินก็เรียกว่าเป็นจุดจบของ สิ ่งนั้น

ชีวิตของคนเรานี้ก็เหมือนกัน มันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนถึงจุดจบ คือล้มทับแผ่นดิน ก็เรียกว่า “ตาย” มันก็จบไปฉากหนึ่ง แล้วตัวสังขารร่างกาย ธาตุ ๔ มันก็ไปผสมปรุงแต่งอะไรต่อไป เกิดเป็นอะไรขึ้นได้ อาจจะผสมเป็นต้นไม้ก็ได้ หรือเป็นอะไรๆ ก็ได้ มันก็เป็น ของธรรมชาติหมุนเวียนอยู่ในโลกนี้ เราจะไปจับเอาตอนใดตอนหนึ่ง ว่าเป็นตัวเราก็ไม่ได้ เป็นของเราก็ไม่ได้ หมั่นทำความดี เพราะถ้าไปจับเข้ามันก็เป็นทุกข์ จะได้ไม่ต้องทุกข์ ใจ

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่อง ธรรมดา สังขารเป็นเพียงธาตุ ๔ รวมกันเท่านั้นเองหนอ

ในภายหน้านะจ๊ะ

22 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


คน สัตว์ สิ่งของ ย่อมมีทุกข์ตามสภาพ ไม่ว่าอะไร เราลองเข้าไปยึดถือ พอเข้าไปยึดถือปั๊บมันเป็น ห่วง เป็นกังวลกับสิ่งเหล่านั้น เข็มเล่มหนึ่งถ้ายึดถือว่าเป็นของเรา เราก็เป็นทุกข์เป็นกังวล ต้องเก็บตรงนั้น ต้องวางตรงนี้ ถ้าหายไป

ก็เป็นทุกข์ แล้วก็ไปเที่ยวหาวัตถุใหญ่ก็ทำให้ทุกข์ วัตถุเล็กก็ทำให้ เป็นทุกข์ จิตใจเป็นทุกข์ สภาพของมันธรรมดา ก็เป็นทุกข์ตามสภาพอยู่แล้ว เรียกว่า เป็นทุกข์ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น แต่ว่าเราไปยึดถือก็เป็นทุกข์อีกทีหนึ่ง เรียกว่าทุกข์ด้วยความยึดถือด้วยอุปาทาน ถ้าเราไม่เข้าไปยึดถือ ทุกข์เพราะอุปาทานก็ไม่มี แต่มันก็เป็นทุกข์ตามธรรมชาติของมัน ต้นหมากรากไม้ วัตถุสิ่งของ มันก็เป็นทุกข์ตามสภาพ ไปอยู่ที่ ศูนย์อพยพเถอะ สมบัติเป็นเพียง สิ่งนอกกาย

ไม่ไปไหนทั้งนั้น ฉันจะอยู่ดูแลบ้าน ฉันห่วงบ้านของฉัน

สังขารไม่เที่ยง แต่เที่ยงนี้เราอิ่มแน่ ฮ่าๆๆ

23


ยึดถือสิ่งใด ก็เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น คำว่า ทุกข์ แปลว่า ทนไม่ได้ คือมันต้องเปลี่ยนไปตามสภาพ ของมัน หรืออีกอย่างหนึ่งแปลว่า น่าเกลียด ไม่น่าดู เพราะว่าไม่คงที่ ไม่ถาวร มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจึงเรียกว่ามันเป็นทุกข์ นั่นมันของธรรมชาติ ต้นหมากรากไม้ก็เป็นทุกข์ตามธรรมชาติของ ต้นหมากรากไม้ แผ่นดินที่เราอาศัยมันก็เป็นทุกข์ตามธรรมชาติของ แผ่นดิน ทีนี้มันเกิดเป็นทุกข์ซ้อนขึ้นมาเพราะเราเข้าไปยึดถือว่า ดิน ของฉัน ต้นไม้ของฉัน บ้านเรือนของฉัน เสื้อผ้าของฉัน ลูกของฉัน หลานของฉัน อะไรของฉันมันเยอะแยะที่เกิดขึ้น เป็นความยึดถือ ขึ้นมาในใจ ความยึดถือเหล่านั้นมันจะสร้างปัญหาขึ้นในใจของเรา สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นในใจของเราด้วยประการต่างๆ แต่เราไม่รู้ว่าทุกข์เพราะอะไร ไม่รู้เหตุของความทุกข์ เพราะคนเราไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้ ไม่เข้าใจเรื่องนี้ ไม่รู้ว่าเราเป็นทุกข์ แล้วไม่รู้ว่าเราเป็นทุกข์เพราะอะไร อะไรเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เราก็ไม่รู้ แล้วก็ไม่รู้ว่าทุกข์เป็นเรื่องดับได้ แก้ได้ แก้ได้ด้วยวิธีใด เราต้องปฏิบัติตามวิธีนั้น ร่วมสร้างสายใยสัมพันธ์รักแห่งครอบครัวให้อบอุ่น ด้วยการมอบหนังสือเล่มนี้ให้คนที่รัก โรงเรียน ห้องสมุด เยาวชน เพื่อสานสุขให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น

24 มุมมองแห่งความสุข ...พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)...


ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า จักก้าวสู่ความดับทุกข์ อันนี้พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ เวลาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ก็รู้เรื่องนี้ รู้เรื่องของความทุกข์ของสัตว์โลก รู้เหตุของความทุกข์

รู้ว่าทุกข์เป็นเรื่องแก้ได้ แล้วจะแก้ได้โดยวิธีใด ก็สอนแนวทางไว้ให้ คือ อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางดับทุกข์ เราก็ปฏิบัติตามทางนั้น เราก็จะดับทุกข์ได้ ใครอยากจะดับทุกข์ก็ต้องเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าชี้ให้ เดิน ถ้าใครไม่อยากจะดับทุกข์ก็ไม่ว่าอะไร พระองค์ไม่ได้บังคับ อยากจะทรมานตนต่อไป ให้ธรรมชาติมันกัดเราเจ็บต่อไป ท่านก็

ไม่ได้ว่า แต่ว่าท่านสงสารชาวโลกที่กำลังเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ จึงได้บอกทางให้ว่า เดินทางนี้แล้ว ท่านจะพ้นจากทุกข์ด้วยตัว ของท่านเอง ทีนี้ถ้าเราดื้อ ไม่เดิน ก็ไม่พ้น... แต่ถ้าไม่ดื้อ พยายาม เดินไปตามเส้นทางที่พระพุทธเจ้าท่านชี้ไว้ให้เราเดิน เราก็จะพ้นจาก ความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำวัน ไปทางไหนดีนะเรา...

ความดีง่ายต่อคนรักดี ยากต่อคนไม่รักดีนะจ๊ะ

25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.