พุทธมนต์
โดย...เทพพร มังธานี ป.ธ. ๙ บรรณาธิการ : ไพยนต์ กาสี น.ธ. เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. ปก/รูปเล่ม : สุกัญญา ศรีสงคราม ภาพประกอบ : อนันต์ กิตติกนกกุล พิสูจน์อักษร : มานิตย์ กองษา
ชีวิตไม่ติดหลุมอบาย หากได้แบบแผนดำ�เนินชีวิตที่ดี หลังรับประทานอาหารกลางวัน บางครัง้ ได้แวะเวียนดูนอ้ งๆ พนักงานพักผ่อน หย่อนใจด้วยการเล่นหมากรุก จากทีส่ งั เกตดูกเ็ ห็นว่า กว่าจะเดินแต่ละตา ดูเหมือน ต่างฝ่ายต่างช่างคิดลึกนึกนานกันเสียจริง ก็เลยถามว่าทำ�ไมถึงเล่นช้าอย่างนั้น น้องก็ตอบว่า นอกจากวางแผนการเล่นของตน ยังต้องอ่านหมากกลของคู่แข่ง ล่วงหน้ากันเหนียวอีกสักชั้น เลยทำ�ให้คิดว่า นี่แค่เกมกีฬายังต้องวางแผนการเล่นกันขนาดนี้ แล้วเกม ชีวิตตัวเราที่ยังเป็นๆ อยู่ คู่ต่อสู้คือกิเลสก็มีมากหน้าหลายตา มีทั้งที่ปรากฏตัว ให้เห็น และทีซ่ อ่ นเร้นอยูใ่ นกมลสันดาน เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้วจะใช้หลักธรรมอะไร มาวางแผนดำ�เนินชีวิต คิดแล้วก็สรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่า หลักธรรมใน พระพุทธศาสนาทุกบทนัน้ นำ�มาวางแผนงานชีวติ ได้หากรูจ้ กั เลือกสรรนำ�มาใช้ แต่ในจำ�นวนนั้นมีบทหนึ่ง ซึ่งพระพุทธองค์แสดงวิธีวางแผนงานชีวิตที่ ครอบคลุมทุกๆ ด้านไว้อย่างครบถ้วนนั่นคือบท มงคลสูตร เพราะเนื้อหาสาระ ตามพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นถึงการดำ�เนินชีวิตตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ด้วยการไม่คบคนพาล เรื่อยไปจนกระทั่งถึงการชำ�ระจิตสันดานตนให้ผ่องใส จากกิเลสตัณหา เพื่อนำ�พาชีวิตให้อยู่เหนือการเกิดแก่เจ็บตาย ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านเนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้ อย่างน้อย ท่านก็รแู้ นวทางการดำ�เนินชีวติ ทีถ่ กู ต้องดีงามต่อไป จะอย่างไรก็ตาม สูตรทุกสูตร ไม่ว่าเป็นสูตรอะไรก็คงจะใช้ไม่ได้ผล หากทุกคนเพียงแค่อ่านให้ผ่านตาแต่ว่า ไม่ลงมือปฏิบัติ เพราะมงคลชีวิตไม่มีขาย อยากได้ต้องลงมือทำ�เอาเอง ด้วยความปราราถนาดีจากใจ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๖, พธ.บ., น.บ. บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ แอล ซี พี เด็กดีมีบุญ
อารัมภกถา ตามหลักพระพุทธศาสนา เมือ่ ถามว่า “อะไรเป็นมงคลในชีวติ ” เท่ากับ ตัง้ คำ�ถามว่า “อะไรคือสิง่ ทีด่ งี ามในชีวติ ดำ�เนินชีวติ อย่างไรจึงถือว่าถูกต้อง เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น” หากท่านเคยตั้งคำ�ถามเช่นนี้กับตน มงคล ๓๘ ประการ จะเป็นทัง้ คำ�ตอบ และเกณฑ์ตดั สินว่า ดำ�เนินชีวติ อย่างไร จึงถูกต้องดีงาม อย่างไรไม่ถูกต้อง โดยมีคำ�ตอบที่ลุ่มลึกไปโดยลำ�ดับและ อิงอาศัยกัน ทั้งในระดับโลกิยะ และระดับโลกุตระ ฉะนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา มงคลจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเสก เป่าเพียงอย่างเดียวก็หาไม่ เพราะหนทางแห่งการพัฒนาชีวิตให้ก้าวหน้า ตามหลักมงคล จะสัมฤทธิ์ผลได้ต้องลงมือปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง (ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าพิธีกรรมเสกเป่า เป็นต้น ที่ทำ�ด้วยจิตเลื่อมใสและเห็น คุณค่าไม่เป็นมงคล แต่ในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติฝึกฝนตนเองตามคำ �สอน ของพระพุทธเจ้าเป็นมงคลสูงสุดในชีวติ ) อันเป็นพลังสร้างสรรค์ชวี ติ ให้เจริญ รุ่งเรือง มีความสงบสุขและดีงาม หากผูห้ วังความเจริญก้าวหน้า แต่กดี กัน้ คุณธรรมจริยธรรมออกไป และ พร้อมที่จะละเมิดข้อห้ามทางศีลธรรมเพราะความหลงผิด หนทางแห่งความ ก้าวหน้าของเขาจะเต็มไปด้วยเวรภัย ในทีส่ ดุ วิบากกรรมก็จะพรากเขาไปจาก ความก้าวหน้าโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น การพัฒนาชีวิตตามหลักมงคล ถึงแม้จะต้อง ฝืนความเคยชินเดิมๆ ก็เป็นสิง่ ทีผ่ หู้ วังความเจริญในชีวติ ควรเร่งปลูกฝังพัฒนา ให้มีในตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ มงคลชีวติ พร้อมทัง้ คำ�อธิบายในเล่มนี้ จะเป็นดังกัลยาณมิตรทีแ่ นะนำ�ให้ ผู้อ่านรู้จักวิธีพัฒนาชีวิตตามหลักมงคล เพื่อเป็นหนทางแห่งการศึกษา และ ปฏิบตั ิ โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ก้าวข้ามสิง่ ทีเ่ ป็นอัปมงคล เข้าสูว่ ถิ แี ห่งการดำ�เนิน ชีวิตที่ดีงาม ทั้งทางโลกและทางธรรม อันเป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตสืบไป เทพพร มังธานี ป.ธ.๙
คุณค่าแห่งมงคล ต้องปฏิบัติ มงคล หมายถึง เหตุ ที่ นำ � ความ หลวงปู่เจ้าขา ตามหลัก โตขึ น ้ หนูอยากประสบ สุ ข ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า มาให้ แ ก่ ชี วิ ต มงคลชีวิต ความสําเร็จต้องทํา อย่างไรเจ้าคะ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ไว้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งชีวิตโดยตรง โดยทรงแสดงวิธีการและเป้าหมายของ การพัฒนาชีวิตสู่ความก้าวหน้าดีงามไว้ อย่างละเอียด เริม่ ตัง้ แต่การวางรากฐานให้ กับชีวิตโดยให้ละเว้นสิ่งไม่ดีและเลือกสรร สิง่ ดีงามให้แก่ชวี ติ ในมงคลหมวดแรก และ ตรัสมงคลสูงสุดในหมวดสุดท้ายว่าด้วย จิตใจที่หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ระหว่างนี้ ทรงแสดงเป้าหมายชีวิตที่ดีงามฝ่ายโลกิยะสัมพันธ์กับ ข้อปฏิบตั อิ นั นำ�ไปสูเ่ ป้าหมายชีวติ เป็นโลกุตระในฐานะทีอ่ งิ อาศัยกัน โดยแสดง วิธีการปฏิบัติต่อบุคคลรอบข้างและสังคม ตลอดถึงการฝึกฝนตนเองทำ�ให้ ใจปราศจากธุลี คือ กิเลส บรรลุบรมสุข คือ พระนิพพาน อันเป็นเป้าหมาย สูงสุดของชีวิต (โลกุตระ) กล่าวได้ว่า วิถีแห่งความดีงามทุกอย่างของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ถูกนำ�มาร้อยเรียงไว้อย่างงดงามเหมาะสมกลมกลืน ภายใต้ชื่อว่า มงคลชีวิต ๓๘ ประการ ดังมีตำ�นานในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ตรัส ไว้ในมงคลสูตร ดังต่อไปนี้
นิทานกถา เหตุเกิดมงคล ณ กาลครั้ ง หนึ่ ง ประชาชนชาวชมพู ท วี ป จั บ กลุ่ ม กั น เป็ น พวกๆ ถามปัญหากันและกันว่า “อะไรเป็นมงคล ?” ได้รับคำ�ตอบที่หลากหลาย แต่ไม่มีท่าทีที่จะได้ข้อยุติ คำ�ถามนี้แพร่ออกไปยังที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว จากมนุษย์ก็ถึงเทวดาบนสวรรค์ในที่สุดก็ไปถึงพรหมโลก และครอบคลุมไป ทั่วจักรวาล พระอิ น ทร์ ผู้เ ป็นจอมเทพเจ้า บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงสืบสาว เรื่องราวดังกล่าว ได้ความว่า เดิมทีปัญหานี้เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ และผู้ที่ โต้ตอบกันไปมานั้นแบ่งได้เป็น ๓ พวก คือ
๑. พวกแรก เห็นว่า สิง่ สวยงาม กลมกลืนลงตัว สามารถมองเห็นได้
และชวนให้ เ กิ ด จิ น ตนาการถึ ง ความงดงามในชี วิ ต นั่ น แหละ เป็ น มงคล ในชีวิต ส่วนสิ่งอื่นซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แม้จะดีหรือสูงส่ง เพียงใดก็ตาม ไม่ถือว่าเป็นมงคล เพราะไม่แน่ว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ และสิ่งที่ ยังตัดสินไม่ได้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่มี ไม่อาจถือเอาเป็นมงคลได้เลย พวกนี้ เรียกว่า ทิฏฐมังคลิกะ ถือเอาสิ่งที่เห็นว่าเป็นมงคล
๒. พวกที่สอง มีความเห็นว่า เสียงที่ได้ฟังทำ�ให้รับรู้ถึงความดีงาม
ความบันเทิงใจเป็นมงคลในชีวิต พวกนี้ปฏิเสธสิ่งที่เห็นได้ว่าไม่ใช่มงคล ที่แท้จริง โดยให้เหตุผล ว่าในโลกนี้มีสิ่งที่เลวร้ายไม่สวยงามมากกว่าสิ่งที่ สวยงาม ฉะนั้น จะถือเอาสิ่งที่เห็นเป็นมงคลไม่ได้ เพราะในชีวิตประจำ�วัน
เรามักได้เห็นสิ่งที่เลวร้ายมากกว่าสิ่งดีงาม ส่วนเสียงที่ได้ฟังนั้น จะดีหรือร้าย ก็มองไม่เห็น ถ้าร้ายก็ถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนที่ มองเห็นได้ จึงไม่น่าจะก่อโทษภัยให้ได้ ผิดกับสิ่งที่เห็นซึ่งมีตัวตน ฉะนั้น เราจึงสามารถรับฟังแต่สิ่งที่ดีและยึดเอาเป็นมงคลในชีวิตได้ พวกนี้เรียกว่า สุตมังคลิกะ ถือเอาเสียงที่ฟังว่าเป็นมงคล
๓. พวกที่ ส าม ปฏิเสธสิ่งที่เห็นและเสียงที่ได้ยินว่าไม่ใช่มงคลที่
แท้จริง โดยให้เหตุผลว่า พวกแรกและพวกที่สองหลงผิดยึดถือเอาสิ่งไกล ตั ว ว่ า เป็ น มงคล เพราะตา และหู ส ามารถรั บ รู้ สิ่ ง ต่ า งๆ แม้ ที่ อ ยู่ ไ กลได้ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ก่อประโยชน์แก่ผู้รับรู้อย่างแท้จริง เมื่อไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้รับรู้ได้อย่างแท้จริง จะเป็นมงคลได้อย่างไร พวกนี้เสนอว่าสิ่งที่รับรู้ ใกล้ตัว เช่น ได้ลิ้มรสที่อร่อย ดอมดมกลิ่นหอมละมุนของดอกไม้ สัมผัสกับ ทีน่ งั่ ทีน่ อนอันอ่อนนุม่ สวมเสือ้ ผ้าใหม่สสี ดใส และตรงกับสีประจำ�วัน จับต้อง เครื่องเพชรเครื่องประดับที่เลอค่า ฯลฯ รวมความว่า สิ่งที่เราได้สัมผัสกับมัน มากที่สุดและก่อประโยชน์ให้เรามากที่สุด (อย่างน้อยก็มากกว่าสิ่งที่สอง พวกแรกถือ) เป็นมงคลในชีวิต พวกนี้เรียกว่า มุตมังคลิกะ ถือเอาสิ่งที่รับรู้ ได้ด้วยการสัมผัส (อารมณ์ที่ถูกต้อง) ว่าเป็นมงคล นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเรื่องมงคลอื่นๆ อีกมากแต่ก็สามารถสรุปลงได้ ใน ๓ พวกข้างต้น พระอินทร์ ครั้นทราบเรื่องดังกล่าว จึงปรารภกับเหล่าเทวดาว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราไม่สงสัยเลยว่าทำ�ไมปัญหาดังกล่าวจึง ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะทั้ง ๓ พวก ความจริงแล้วเป็นพวกเดียวกัน แต่เห็นแตกต่างกันในเรื่องเดียวกัน รวมความแล้วทั้ง ๓ พวกมองเห็นแต่ สิ่งภายนอกตัวที่รับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เท่านั้นว่าเป็นมงคล ไม่มีใครกล่าวถึงคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง
ว่าเป็นมงคลเลย ท่านทัง้ หลายเห็นเหมือนกับเราไหมว่า เมือ่ คนทัว่ ไปกล่าวถึง มงคลมั ก จะคิ ด ถึ ง แต่ สิ่ ง ภายนอกตั ว เหมื อ นกั บ ๓ พวกข้ า งต้ น ซำ้ � ยั ง พยายามเปลี่ยนแปลงวัตถุภายนอกให้เข้ากับความต้องการของตนและใช้ ช่วงเวลาแห่งชีวิตสิ้นเปลืองไปมากกับความพยายามดังกล่าว บางคนตลอด ชีวติ เลยก็วา่ ได้ พวกท่านดูสิ มนุษย์สว่ นมากพยายามเปลีย่ นแปลงสิง่ ภายนอก แต่ไม่มใี ครคิดเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมตนเองเลย อย่างไรก็ตาม เราเองก็ไม่อาจ ชี้แจงแก่พวกท่านได้ว่าสิ่งใดบ้างเป็นมงคล” ขณะนั้ น มี ข่ า วจากพรหมชั้ น สุ ท ธาวาสแจ้ ง ให้ ช าวโลกทราบว่ า “นับแต่นี้ไปอีก ๑๒ ปี จักมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสมงคล” ครั้นล่วงไป ๑๒ ปี พระอินทร์ จึงพาเอาเทวดาที่เป็นบริวารเสด็จไป ยังเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีอนั เป็นสถานทีป่ ระทับของพระพุทธเจ้า แล้ว มอบหมายให้เทวดาองค์หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ทูลถามเรื่องมงคล
ความสงสัยเรื่องมงคล เรียกว่า โกลาหล คือ ความเอิกเกริก อลหม่านในหมื่นโลกธาตุ อันเกิดจากความสงสัยสับสน มี ๕ ประการ เรียกว่า ปัญจโกลาหล คือ ๑. พุทธโกลาหล ก่อนพระพุทธเจ้าอุบัติ ๑ แสนปี ๒. กัปปโกลาหล เกิดก่อนกัปพินาศ ๑๐,๐๐๐ ปี ๓. จักกวัตติโกลาหล เกิดก่อนพระเจ้าจักรพรรดิอบุ ตั ิ ๑๐๐ ปี ๔. มงคลโกลาหล เกิดก่อนพระพุทธเจ้าตรัสมงคล ๑๒ ปี ๕. โมไนยโกลาหล เกิดก่อนมีผู้ถามโมไนยปฏิบัติ ๗ ปี
คาถามงคลสูตร พหู เทวา มนุสฺสา จ อากงฺขมานา โสตฺถานํ
มงฺคลานิ อจินฺตยํุ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ ฯ
อเสวนา จ พาลานํ ปูชา จ ปูชนียานํ
ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ปฏิรูปเทสวาโส จ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ
ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ สุภาสิตา จ ยา วาจา
วินโย จ สุสิกฺขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
มาตาปิตุอุปฏฺานํ อนากุลา จ กมฺมนฺตา
ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห เอตมฺมงฺคลมุตตฺตมํ ฯ
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคล ทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดทรงเทศนามงคลอันสูงสุดด้วยเถิด. ความไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ ความบูชา บุคคลที่ควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำ�แล้วใน กาลก่อน ๑ ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความบำ�รุงมารดาบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑ การงาน ทั้งหลายอันไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ าตกานญฺจ สงฺคโห อนวชฺชานิ กมฺมานิ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑ ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ กรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
อารตี วิรตี ปาปา อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ
มชฺชปานา จ สญฺโม เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
คารโว จ นิวาโต จ กาเลน ธมฺมสฺสวนํ
สนฺตุฏฺี จ กตญฺญุตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ขนฺตี จ โสวจสฺสตา กาเลน ธมฺมสากจฺฉา
สมณานญฺจ ทสฺสนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ
อริยสจฺจาน ทสฺสนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ อโสกํ วิรชํ เขมํ
จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ
ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำ�รวมจากการดื่มน้ำ�เมา ๑ ความ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑ ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำ�แล้วแก่ตน ๑ ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑ ความเห็นอริยสัจ ทั้งหลาย ๑ ความทำ�พระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด. จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ ฯ
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำ�มงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนั้นเป็นมงคล อันสูงสุด ของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.
มงคลหมวดที่ ๑ ผูห้ วังความเจริญก้าวหน้า ควรแสวงหาสูตรพัฒนาตน ในทางทีถ่ กู ต้องเป็นดีทสี่ ดุ ในเบือ้ งต้น พระพุทธองค์ทรงวาง หลักพืน้ ฐานสำ�หรับการพัฒนาชีวติ ให้เจริญรุง่ เรือง โดยเน้นไปที่ บุคคลใกล้ชิดซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตเรา เพราะตัวเรามักจะมี แนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับบุคคลที่เราคบหา สมาคมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา และทางความคิด ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะชั่วหรือดี ดังมีพระพุทธดำ�รัสตรัสไว้ว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส เป็นต้น อันเป็นมงคลธรรมที่เตือนใจเราว่า คบหาคนเช่นไร โอกาสที่จะมีอุปนิสัยคล้ายคนเช่นนั้นก็เป็นไปได้มาก ฉะนั้น มงคลหมวดแรกที่เราต้องศึกษาและนำ�มา ปฏิบัติ เพื่อเป็นการวางพื้นฐานให้แก่ชีวิต คือ ไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาบุคคลที่ควรบูชา
10
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
อเสวนา จ พาลานํ
นิสัยไม่ดี มีเชื้อพาล
เอามานี่ แง้...แง้
คนพาล หมายถึ ง ผู้ ไ ม่ ดำ � เนิ น ชี วิ ต ด้ ว ยปั ญ ญา ดำ � เนิ น ชี วิ ต ไม่ ถูกต้อง มีใจขุ่นมัวด้วยอำ�นาจมิจฉาทิฐิ ยังผลให้เห็นผิดเป็นชอบ ยึดค่านิยม ที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร
จะรู้จักคนพาลได้อย่างไร
สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นคนพาล หรือลักษณะแห่งคนพาล สามารถ วิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมทางการคิด พูด ทำ� ดังต่อไปนี้ ๑. ชอบคิดชั่ว คือ คิดละโมบทรัพย์สินของผู้อื่น คิดร้ายต่อผู้อื่น คิดไม่ถูกต้องตามทำ�นองคลองธรรม ๒. ชอบพูดชั่ว คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำ�หยาบ และพูด เพ้อเจ้อเหลวไหล 11
๓. ชอบทำ�ชั่ว คือ ทำ�ร้ายเบียดเบียนล้างผลาญชีวิตคนและสัตว์
ทัว่ ไป ถือเอาทรัพย์ของผูอ้ นื่ โดยมิชอบ ประพฤติผดิ ในกามล่วงละเมิดบุคคล ที่เป็นที่รักที่หวงแหนของผู้อื่น พาลลักษณะอาจเห็นได้ทั้งในบุคคลทั่วไป ต้องรู้จักทำ �ตัวออกห่าง ไม่เข้าไปคบหา และลักษณะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นภายในใจเรา ขณะที่มี ความคิดชั่ว เป็นต้น ต้องรีบละวางความคิดที่ชั่วนั้น ฝึกสติให้มีความรู้สึกตัว ไม่ให้ความชั่ว ทางความคิด คำ�พูด และการกระทำ�เกิดขึ้น นอกจากนั้น การที่จะทราบลักษณะของคนพาลชัดเจนขึ้นอาจสังเกต ได้จากการกระทำ� ดังต่อไปนี้ ๑. คนพาลชอบแนะนำ�สิง่ ทีไ่ ม่ควรแนะนำ� เช่น แนะนำ�อบายมุข คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำ�เมา เที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน เป็นต้น ๒. คนพาลชอบทำ�ในสิ่งที่มิใช่ธุระ คนพาลไม่ท�ำ ในสิ่งที่ถูกต้องที่ควร ทำ� แต่มักทำ�ในสิ่งที่ไม่ควรทำ� ไม่ใช่ธุระ ไม่ใช่หน้าที่ ๓. คนพาลมีความเห็นผิดและมีคำ�สอนที่ผิด คนพาลมีมิจฉาทิฐิ แนะนำ � ในสิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง ไม่ ส อดคล้ อ งกั บ ความเป็ น จริ ง เช่ น สอนว่ า บุญกุศลไม่มีอยู่จริง ทำ�ชั่วได้ดี ทำ�ดีได้ชั่ว พ่อแม่ไม่มีบุญคุณจริง จงทำ� ตามใจอยาก อย่าฝืนอำ�นาจแห่งตัณหา ฯลฯ นี้เป็นคำ�สอนของคนพาล โดยแท้ ๔. คนพาลเมื่อถูกแนะนำ�ดีกลับโกรธเคือง คนพาล เมื่อพูดดีๆ เพื่อ ให้มีคุณธรรมประจำ�จิต กลับโกรธไม่เห็นด้วย โต้แย้งด้วยความเห็นผิด ๕. คนพาลไม่รู้จักอุบายสำ�หรับแนะนำ� ไม่รู้จักระเบียบวินัย ที่สร้าง สังคมให้เป็นระเบียบ สะอาด เช่น ทิ้งขยะในที่สาธารณะ ไม่ข้ามถนนตรง ทางม้าลาย เป็นต้น 12
โทษของการคบคนพาล
การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนพาลทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตผิดพลาด เพราะถูกชักชวนไปในทางที่ผิด อาจถูกใส่ความเพราะมีเพื่อนเป็นคนพาล ไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป มักมีภัยต่างๆ เกิดขึ้นเสมอ สุดท้ายเมื่อ ละโลกนี้ไปก็ตกนรกเพราะมีความเห็นผิดและประพฤติผิดตามคนพาล
อานิสงส์ของการไม่คบคนพาล
เมื่อหลีกเลี่ยงคนพาลได้ย่อมเกิดมงคล คือ เหตุที่ท�ำ ให้ชีวิตเจริญ ดังนี้ ปิดโอกาสถูกชักนำ�ให้ทำ�อกุศลกรรม รักษาความดีงามเดิมไว้ได้ มีโอกาสสร้างความดีงามใหม่ คนพาลไม่มีโอกาสเข้าใกล้ตัว ภาพพจน์ไม่มัวหมอง ได้รับความยกย่องไว้วางใจ ไม่ถูกตำ�หนินินทาว่าร้าย ห้ามใจจากการทำ�ชั่วได้ ฯลฯ
อุปมาการคบคนพาล
ใบไม้ที่ห่อปลาเน่า ย่อมพลอยแปดเปื้อนและเหม็นฟุ้งไปด้วย ฉันใด การคบคนพาล ก็ทำ�ให้ผู้คบพลอยได้รับโทษเสียชื่อเสียงเดือดร้อนไปด้วย ฉันนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การไม่คบคนพาล เป็นมงคลสูงสุดในชีวิต ทุกชีวติ ต่างมีเชือ้ ดีในตัวเป็นทุนเดิม ยิง่ ถ้ารูจ้ กั เพิม่ ดีใหม่ดว้ ย ไม่คบคนชั่ว ตัวท่านก็จะเจริญเร็วขึ้นไป ดังคำ�กลอนที่ท่านกล่าวไว้ว่า อย่าคบมิตรที่พาลสันดานชั่ว จะพาตัวเน่าดิบจนฉิบหาย แม้ความคิดชั่วช้าอย่ากลำ�้ กราย เป็นมิตรร้ายภายในทุกข์ใจครัน
13
มงคลที่ ๒ การคบบัณฑิต
ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ใกล้สอบแล้ว ต้องอ่านหนังสือ เยอะๆ นะ
บัณฑิต หมายถึง ผู้ดำ�เนินชีวิตด้วยปัญญา คือ คนผู้มีจิตใจสะอาด ผ่องใส มีความเห็นถูกต้องเป็นสัมมาทิฐิ มีค่านิยมถูกต้อง สามารถรู้จักและ แยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ ทำ�ให้ไม่คิดผิด พูดผิด และทำ�ผิด
จะรู้จักบัณฑิตได้อย่างไร ลักษณะของบัณฑิต หรือเครื่องหมายที่แสดงออกให้ทราบว่าผู้นั้น เป็นบัณฑิต สามารถวิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมทางความคิด ทางคำ�พูด และทางการกระทำ� ดังนี้ 14
๑. คิดดี คือ ไม่คิดโลภในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
มีความเห็นชอบ คือ เห็นบุญ เห็นบาป เห็นบุญคุณของพ่อแม่ ว่ามีจริง เป็นต้น ๒. พูดดี คือ พูดคำ�จริง พูดสมานไมตรี พูดไพเราะ พูดสิ่งที่มี สาระมีประโยชน์สามารถนำ�ไปเป็นข้อคิดในชีวิตได้ ๓. ทำ�ดี คือ เว้นจากการเบียดเบียน ทำ�ลายชีวิตคนและสัตว์ มี การงานสุจริต เลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม ไม่ประพฤติผิดในกาม นอกจากนั้น อาจสังเกตกันได้จากการกระทำ�ดังต่อไปนี้ ๑. แนะนำ�สิ่งที่เป็นประโยชน์ บัณฑิตย่อมไม่แนะนำ�สิ่งที่ไม่ถูกต้อง แนะนำ�แต่สิ่งที่ดีงาม เช่น ให้ละเว้นอบายมุข เป็นต้น ๒. ทำ�ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ทอดธุระในสิ่งที่ได้รับมอบหมายและ ทำ�หน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ ๓. มีค�ำ สอนทีถ่ กู ต้อง บัณฑิตย่อมแนะนำ�ให้บ�ำ เพ็ญทานศีลภาวนาสอน ให้เชื่อกรรมและผลของกรรม บุญกุศลมีผลจริง ทำ�ดีได้ดีทำ�ชั่วได้ชั่ว เป็นต้น ๔. เมื่อถูกแนะนำ�ในสิ่งที่ดี ย่อมไม่โกรธ บัณฑิตรู้จักรับฟังในสิ่งที่ดี งาม เมือ่ ถูกสัง่ สอนในเรือ่ งศีลธรรมคุณธรรมย่อมไม่โกรธเคือง ยินดีรบั ฟังด้วย ความเคารพ ๕. รู้จักระเบียบวินัยของสังคม บัณฑิตรู้จักอุบายสำ�หรับแนะนำ�เพื่อ ให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ทำ�ลายระเบียบประเพณี อันดีงามของสังคม ลักษณะของบัณฑิต สามารถศึกษาและพบได้ในบุคคลภายนอก ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว และภายในตัวเรา ขณะที่มีความคิด คำ�พูดและ การกระทำ�ที่ถูกต้องพึงรักษาความดีงามของตน และปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปจะ ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตตลอดกาล 15
อานิสงส์ของการคบบัณฑิต การเลือกคบคนดี ทำ�ให้ได้รับอานิสงส์มากมายดังต่อไปนี้ มีแบบแผนการดำ�เนินชีวิตที่ดี มีปัญญาเพราะคบบัณฑิต รู้ผิด-ถูก ตามที่เขาแนะนำ� ได้รับความดีงามตามเขาไป ได้รับความไว้วางใจจากผู้คน ชีวิตส่วนตนก็มีความสุข ฯลฯ ด้วยผลแห่งการคบบัณฑิต ทำ�ให้บำ�เพ็ญความดีได้มากมาย เมื่อละ โลกนี้ไปแล้วย่อมบังเกิดในสวรรค์ ทั้งเป็นปัจจัยให้ได้มรรคผลนิพพานด้วย
อุปมาการคบบัณฑิต ใบไม้ทหี่ อ่ ของหอม ย่อมพลอยหอมฟุง้ ไปด้วย ฉันใด การคบบัณฑิต ย่อมทำ�ให้ผู้คบได้รับความดีงามมีเกียรติไปด้วย ฉันนั้น พระพุทธเจ้าจึง ตรัสว่า การคบบัณฑิต เป็นมงคลสูงสุดในชีวิต
สร้างบ้านอยูอ่ าศัยยังต้องใช้แบบแปลน จะดำ�เนินชีวติ อย่าง มีแบบมีแผนต้องคบคนดีไว้เป็นเพือ่ น ดังคำ�กลอนเตือนใจทีท่ า่ นกล่าว ไว้วา่ ควรคบหาบัณฑิตเป็นมิตรไว้ จะช่วยให้พ้นทุกข์สบสุขสันติ์ ความคิดดีเลิศล้ำ�ยิ่งสำ�คัญ ควรคบกันอย่าเขวทุกเวลา
16
มงคลที่ ๓
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ปูชา จ ปูชนียานํ
ขอให้ มีความสุข ความเจริญนะหนู สาธุ
บูชา หมายถึง การแสดงความเคารพเทิดทูนด้วยความนับถืออย่าง จริงใจ ด้วยความเลื่อมใสในความรู้ความสามารถและคุณธรรมจริยธรรม ของบุคคลนั้นๆ
ประเภทของการบูชา การบูชามี ๒ ประเภท คือ ๑. อามิสบูชา หมายถึง การบูชาด้วยวัตถุสงิ่ ของดอกไม้ธปู เทียนและ สิง่ ทีจ่ �ำ เป็นแก่การดำ�รงชีวติ เช่น เสือ้ ผ้า อาหาร ทีอ่ ยูอ่ าศัย ยารักษาโรคเป็นต้น ๒. ปฏิบัติบูชา หมายถึง การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำ�สอนของ บัณฑิต ฝึกฝนตนเองตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา ปฏิบัติ กัมมัฏฐาน ๒ คือ สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้กาย วาจา และใจ สะอาด สงบ และรู้แจ้งเห็นจริงตามบัณฑิต 17
ลักษณะของการบูชา การบูชาสามารถแสดงออกได้ ๓ ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ คือ แสดงความเคารพนอบน้อมด้วยกาย สรรเสริญคุณความดี ของท่านด้วยวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง และหมั่นระลึกถึงพระคุณและ คำ�สอนของท่านด้วยใจ
บุคคลที่ควรบูชา บุคคลทีค่ วรบูชา คือ ผูม้ คี วามดีท�ำ ประโยชน์เกือ้ กูลแก่เราและสังคม มีจริยาวัตรน่าเคารพน่าเลื่อมใส ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น บิดา มารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์
การบูชาในชีวิตประจำ�วัน ในวันหนึ่งๆ เพื่อให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง พึง กราบไหว้บูชาให้ได้ ๕ ครั้งเป็นอย่างน้อย คือ กราบครั้งที่ ๑ บูชาพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยคำ�ว่า อรหัง สัมมาสัมพุทโธ ภควา พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมิ. กราบครั้งที่ ๒ บูชาพระคุณของพระธรรม ด้วยคำ�ว่า ส๎วากขาโต ภควาตา ธัมโม ธัมมัง นมัสสามิ กราบครั้งที่ ๓ บูชาพระคุณของพระสงฆ์ ด้วยคำ�ว่า สุปฏิปนั โน ภควโต สาวกสังโฆ สังฆัง นมามิ กราบครั้งที่ ๔ บูชาพระคุณของบิดามารดา ด้วยคำ�ว่า อนันตคุณสัมปั นนา ชเนตติ ช นกา อุโ ภ มัยหัง มาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาทรัง 18
กราบครั้งที่ ๕ บูชาพระคุณของครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ด้วยคำ�ว่า ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา ปัญญาวุฑฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง
อานิสงส์ของการบูชาบุคคลที่ควรบูชา สามารถทำ�ความเห็นถูกให้เกิดขึ้นได้ ป้องกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้น ได้แบบอย่างของการประพฤติที่ดีงาม มีจิตใจเลื่อมใสในสิ่งดีงาม ทำ�ให้ใจมั่นคง มีความสำ�รวมระวังมากขึ้น เชิดชูคุณความดีของสัตบุรุษให้สูงส่งขึ้น ฯลฯ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคล สูงสุดในชีวิต
การบูชาบุคคลทีค่ วรบูชา ย่อมนำ�ความเจริญก้าวหน้ามาสูช่ วี ติ เพราะจิตใจของเราจะซึมซับเอาความดีของท่านไปปฏิบตั ติ าม ความดีงาม ในมงคลธรรมข้อนี้ จึงเป็นสิง่ ทีค่ วรทำ� ดังคำ�กลอนทีท่ า่ นกล่าวสอนว่า ควรบูชาไตรรัตน์ขัตติเยศร์ ผู้วิเศษก่อเกื้อเหนือเกศา ครูอาจารย์เจดีย์ที่สักการ์ ด้วยบุปผาปฏิบัติสวัสดิ์การ
19
มงคลหมวดที่ ๒ การที่จะให้ชีวิตก้าวหน้าได้ด้วยดีนั้น นอกจากการ เลือกบุคคลทีค่ วรคบและน่าบูชาแล้ว ต้องมีสภาพแวดล้อม ทางกายและทางใจที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมทางกายทีส่ �ำ คัญ คือ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ส่วนสภาพแวดล้อมทางใจ คือ หมัน่ ปลูกศรัทธา บำ�เพ็ญบุญบารมีในจิตใจ และการสมาทานศีล คือ รับ เอาสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติมาปฏิบัติในชีวิต ประจำ�วัน ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานสำ�คัญ ในการพัฒนาชีวิต หลักการดังกล่าว ได้แก่ มงคลดังต่อไปนี้ อยู่ในประเทศที่เหมาะสม มีบุญที่เคยทำ�ไว้ก่อน ตั้งตนไว้ชอบ
20
มงคลที่ ๔
การอยู่ในประเทศ ที่เหมาะสม ปฏิรูปเทสวาโส จ
ประเทศที่ เ หมาะสม หมายถึ ง ประเทศถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยทีม่ สี ภาพแวดล้อม ที่ดี เหมาะสมแก่การพัฒนาจิตใจ และ ร่างกาย หรือประเทศที่น่าอยู่ เพราะ เหมาะแก่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อชีวิตที่ดีงาม
ลักษณะของประเทศที่เหมาะสม ประเทศที่เหมาะสมนั้น ครอบคลุมถึงสถานที่ที่อยู่อาศัยทุกระดับ ที่มี สิ่งเกื้อกูลแก่การดำ�รงชีวิตทั้งด้านกายและจิตใจ ได้แก่ ๑. ที่ อ ยู่ ที่ เ หมาะสมสามารถป้ อ งกั น อั น ตรายทางกายได้ เรี ย กว่ า อาวาสสัปปายะ คือ อาวาสเป็นที่สบาย ๒. สถานทีท่ สี่ ามารถจัดหาอาหารทีเ่ ป็นประโยชน์แก่รา่ งกายไม่มพี ษิ ภัย มีระบบเกษตรกรรมทีด่ สี ามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอ เรียกว่า อาหารสัปปายะ คือ อาหารเป็นที่สบาย ๓. บุคคลที่อาศัยในที่นั้นเป็นผู้มีศีลธรรม รักสงบ มีระเบียบวินัย เป็นกัลยาณมิตร เรียกว่า บุคคลสัปปายะ คือ บุคคลเป็นที่สบาย 21
๔. สถานที่ที่มีการประกาศเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา อยู่เป็นประจำ� เรียกว่า ธรรมสัปปายะ คือ ธรรมเป็นที่สบาย สัปปายะทั้ง ๔ นั้น ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิตให้เจริญ ก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่หากจัดลำ�ดับความสำ�คัญจัดได้ ดังนี้ ธรรมสัปปายะ มีความสำ�คัญมากที่สุดเป็นที่หนึ่ง บุคคลสัปปายะ มีความสำ�คัญเป็นที่สอง อาหารสัปปายะ มีความสำ�คัญเป็นที่สาม อาวาสสัปปายะ มีความสำ�คัญเป็นที่สี่
อานิสงส์ของการอยู่ในประเทศที่เหมาะสม การได้รับสิ่งเกื้อกูลแก่การพัฒนาชีวิตโดยเฉพาะการอยู่ในสถานที่ ที่เหมาะสมนั้น มีอานิสงส์ดังต่อไปนี้ ได้รับความสุขกาย เมื่อกายเป็นสุข ใจก็เป็นสุขด้วย มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม ทำ�ให้ได้พบกับพระรัตนตรัย ได้บำ�เพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาและปฏิบัติในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การอยูใ่ นประเทศทีเ่ หมาะสม เป็นมงคล สูงสุดในชีวิต การได้อยูใ่ นถิน่ เหมาะสมนัน้ เป็นการเสริมสร้างวาสนาบารมีเป็น มงคลแก่ชวี ติ ประการหนึง่ ทีส่ �ำ คัญ ดังท่านประพันธ์เป็นคำ�กลอนไว้วา่ เป็นเมืองกรุงทุ่งนาหรือป่าใหญ่ ทางมา-ไปครบครันธัญญาหาร มีคนดีที่ศึกษาพยาบาล ปลอดภัยพาลควรอยูก่ นิ ถิน่ นัน้ แล 22
มงคลที่ ๕ เคยทำ�บุญไว้ก่อน ปุพฺเพ จ กตปุญ ฺ ตา เพราะมีทุน คือบุญเก่า
เกิดมาดี
ครอบครัวเรา ไม่ลืมเติมบุญใหม่ ด้วยครับ
ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำ�ไว้ก่อนในมงคลธรรมข้อนี้ มีความหมายว่า บุญที่ได้ทำ�ไว้ในชาติก่อนที่ผ่านมา และบุญบารมีที่ได้บำ�เพ็ญให้เป็นไปใน วันก่อนๆ ของชาตินี้ ใครมีบุญที่ท�ำ ไว้ครบทั้ง ๒ ความหมาย จึงย่อมมีมงคล ในชีวิต เพราะ บุญ หมายถึง คุณงามความดี กุศล ความสุข สิ่งที่ช่วย ชำ�ระสันดานของมนุษย์ให้ดีงามให้สะอาด และเป็นที่พึ่งของมนุษย์ทั้งใน โลกนี้และโลกหน้า ดุจเสบียงทางของคนเดินทาง ฉะนั้น
คุณสมบัติของบุญ นำ�ความสุขมาให้ l เป็นเสบียงทางแห่งชีวิต l เป็นทรัพย์ที่ติดตามตนไปได้ l เป็นคุณสมบัติที่สั่งสมภายในจิตใจ l เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร l ทำ�ให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ l เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ช่วยให้บรรลุมรรคผลนิพพาน l
23
บุญกิริยาวัตถุ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ที่ตั้งแห่งการทำ�บุญ ทางแห่งการทำ�ความดี เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ชีวิตดีงามขึ้นเรื่อยๆ คือ ๑. ทานมัย ทำ�บุญด้วยการให้สิ่งของ ๒. สีลมัย ทำ�บุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี ทางกายและวาจา ๓. ภาวนามัย ทำ�บุญด้วยการเจริญภาวนาอบรมจิตใจ ๔. อปจายนมัย ทำ�บุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ๕. เวยยาวัจจมัย ทำ�บุญด้วยการขวนขวายรับใช้กจิ ทีเ่ ป็นกุศล ๖. ปัตติทานมัย ทำ�บุญด้วยการแบ่งปันความดีให้ผู้อื่น ๗. ปัตตานุโมทนามัย ทำ�บุญด้วยการร่วมยินดีในความดีของผูอ้ นื่ ๘. ธัมมัสสวนมัย ทำ�บุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ ๙. ธัมมเทสนามัย ทำ�บุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ทำ�บุญด้วยการทำ�ความเห็นให้ตรง ให้ถกู ต้อง
การสั่งสมบุญ การสัง่ สมบุญเป็นการสัง่ สมความพร้อมในการทีจ่ ะเผชิญต่อชะตาชีวติ ซึ่งต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร เสบียงที่สำ�คัญที่มีพร้อม อยู่ภายในตน คือ บุญ จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เราสามารถเผชิญกับปัญหา ชีวติ ได้อย่างไม่เดือดร้อน สามารถเปลีย่ นแปลงสถานการณ์ทเี่ ลวร้ายให้กลาย เป็นดีได้ด้วยอำ�นาจของบุญ การสั่งสมบุญที่มีอานิสงส์มากนั้น ต้องกระทำ�ไว้กับพระพุทธศาสนา การสละทรัพย์ตนเองในพระพุทธศาสนาเหมือนกับการตัง้ ทุนนิธไิ ว้เพือ่ ประกัน ชี วิ ต ให้ ร าบรื่ น มั่ น คง ทั้ ง ในโลกนี้ แ ละโลกหน้ า เพราะพระพุ ท ธศาสนา 24
เป็ น ที่ ร วมแห่ ง พระอริ ย บุ ค คลทุ ก ระดั บ ชั้ น คื อ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน และสาวก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน
อานิสงส์ของการเคยทำ�บุญไว้ก่อน
บุญคอยค้ำ�ชูชีวิตไม่ให้ตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย l ทำ�ให้ถึงพร้อมด้วยปัจจัยที่จ� ำ เป็นในการดำ�รงชีวิต l มีความสุขอันเกิดจากผลบุญ l สามารถเผชิญกับปัญหาชีวิตได้ดี เพราะมีบุญคอยเกื้อหนุน l เป็นเสบียงทางทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การเคยทำ�บุญไว้ก่อน เป็นมงคลสูงสุด ในชีวิต l
คนทีม่ บี ญ ุ วาสนาเก่ามาดีแล้วรูว้ ธิ เี พิม่ เติมบุญใหม่อยูป่ ระจำ� ทำ� ให้ชวี ติ จะมีแต่ความก้าวหน้า ดังคำ�กลอนทีท่ า่ นกล่าวไว้วา่ กุศลบุญคุณล้ำ�เคยทำ�ไว้ จะส่งให้สวยเด่นเช่นดวงแข ทั้งทรัพย์ยศไมตรีมีเย็นแด เพราะกระแสบุญเลิศประเสริฐนัก
25
มงคลที่ ๖ การตั้งตนไว้ชอบ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ จะตั้งตนได้ดี ต้องมีใจเป็น สัมมาทิฐิครับ
การตัง้ ตน หมายถึง การรูจ้ กั กำ�หนดแนวทางแห่งชีวติ กำ�หนดเป้าหมาย ของชีวิต และปฏิบัติตนตามวิธีการที่จะทำ�ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งคนเรา ทั้งหลายจะทำ�เช่นนี้ได้ ก็ด้วยการตั้งจิตหรือใจของตนให้เป็นสัมมาทิฐิ
วิธีการตั้งตนไว้ชอบ ในการดำ�เนินชีวติ เราต้องหมัน่ ตรวจตราวิถแี ห่งการดำ�เนินชีวติ ของเรา เสมอเพือ่ สำ�รวจตัวเองว่าเรามีเป้าหมายของการดำ�รงชีวติ อย่างไร ได้ตงั้ ตนอยู่ ในวิถที างทีจ่ ะบรรลุเป้าหมายนัน้ หรือไม่ หลักพระพุทธศาสนาสอนให้กลับตน ถ้าดำ�เนินทางผิด และตั้งตนอยู่ในคุณธรรมต่างๆ ดังนี้ เมื่อรู้ว่าตนเองยังมีความตระหนี่ ก็ให้ตั้งตนอยู่ในทาน เมื่อรู้ว่าตนเองยังไม่มีศรัทธา ก็ให้ตั้งตนอยู่ในศรัทธา เมื่อทราบว่าตนเองยังไม่มีศีล ก็ให้สมาทานตั้งมั่นอยู่ในศีล 26
เมือ่ ทราบว่าตนเองยังไม่มสี มาธิ ก็ให้ตง้ั ตนเองอยูใ่ นสมาธิ (สมถกัมมัฏฐาน) เมือ่ ทราบว่าตนเองยังไม่มปี ญ ั ญา ก็ให้ตงั้ ตนเองอยูใ่ นปัญญา (วิปสั สนา กัมมัฏฐาน)
อานิสงส์ของการตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบทำ�ให้ปรับเปลี่ยนตนเองจากการใช้ชีวิตที่ผิดพลาด มาตั้งอยู่ในหลักศีลธรรม มีอานิสงส์ดังนี้ l ทำ�ให้รู้จักกลับร้ายให้กลายเป็นดี l ทำ�ให้เป็นผู้ไม่ประมาท l ทำ�ให้เป็นผู้รู้จักเตรียมเพื่อพัฒนาตนเองในอนาคต l สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางโลกและทางธรรม l ทำ�ให้ตนตั้งอยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา l ทำ�ให้ตนเป็นคนดีได้อย่างแท้จริง ฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การตัง้ ตนไว้ชอบ เป็นมงคลสูงสุดในชีวติ การได้เกิดมาในถิ่นที่เหมาะอาจเป็นเพราะมีบุญได้ทำ�ไว้ แต่ ใครประพฤติตัวดีในปัจจุบันอันเป็นส่วนของบุญวาสนาที่สร้างขึ้นใหม่ มงคลชีวติ ก็เกิดแก่ทา่ นได้อย่างแน่นอน ดังคำ�กลอนทีท่ า่ นกล่าวว่า ต้องตั้งตนกายใจในทางถูก เร่งฝังปลูกตนไว้ ให้ถูกหลัก เมื่อตัวตนยังมีเป็นที่รัก ควรพิทักษ์ให้งามตามเวลา
27
มงคลหมวดที่ ๓ ในวิถีชีวิตของคนนั้น กล่าวกันว่าไม่อาจอยู่อย่างโดดเดี่ยว เดียวดาย หรือแม้กระทั่งในเรื่องการงานบางครั้งก็จำ�ต้องอาศัย ผู้อื่นช่วยจึงจะสำ�เร็จลุล่วงไป แต่จะอย่างไรก็ตาม คำ�สอนในทาง พระพุทธศาสนานั้น ท่านมุ่งสอนให้รู้จักการช่วยเหลือตัวเองก่อน เป็นหลักใหญ่ เพราะผู้ใดไม่ได้ฝึกหัดในเรื่องการพึ่งพาตนเองให้ มากไว้ เวลามีภยั อุปสรรคปัญหาถาโถมเข้ามา มักจะเดือดเนือ้ ร้อนใจ อย่างแสนสาหัสสากรรจ์ บางคนนัน้ ถึงกับฆ่าตัวตายหนีปญ ั หาไปก็มี ดังนั้น พระพุทธองค์ จึงทรงสอนวิธีการทำ�ตนให้มีคุณค่า สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีวิต (ทั้งที่อยู่ในวัยที่พึ่ง ตัวได้) รูจ้ กั การวางระเบียบในการงาน และการใช้ค�ำ พูดทีเ่ หมาะสม ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวมีส่วนสำ�คัญในการพัฒนาชีวิตให้ก้าวหน้า โดยให้ฝึกฝนตนเองตามมงคลต่อไปนี้ เป็นพหูสูต มีศิลปะ มีวินัย มีวาจาสุภาษิต
เป็นพหูสูต
มงคลที่ ๗
พาหุสจฺจญฺจ วันนี้จะสอน วิชาศีลธรรม อ่านตาม
ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว
พหูสตู หมายถึง ผูไ้ ด้ยนิ ได้ฟงั มามาก ทรงจำ�ธรรมะมาก รูศ้ ลิ ปวิทยา มาก ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมาก ผู้คงแก่เรียน ลักษณะของพหูสูต คือ รู้ลึกซึ้งถึงหลักการ รู้รอบทุกแง่ทุกมุม และ รู้กว้างครอบคลุมเขตแดนแห่งความรู้ในสาขาต่างๆ
พหูสูตมีองค์ ๕ องค์ประกอบที่ทำ�ให้บุคคลเป็นพหูสูตมี ๕ อย่าง คือ ๑. พหุสสุตา คือ ได้ฟังมาก ได้เล่าเรียนมามาก ๒. ธตา คือ สามารถจดจำ�เนื้อหารายละเอียด และหลักการหรือ สาระได้อย่างแม่นยำ� 29