บุคคลสำคัญ แตพากันมองขามไป แมจะรูทั้งรูวาใครคือผูใหกำเนิดชีวิต
โดย...
พระธรรมกิตติวงศ ไพยนต กาสี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., นบ.) รวบรวมในนามคณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ ออกแบบปก/รูปเลม จัดอารต : อนุชิต คำซองเมือง
(ทองดี สุรเตโช)
บรรณาธิการศิลปะ : อรทัย จิตงาม ภาพประกอบ : สมชาย ศรีคำขลิบ
â»Ã´ãªŒË¹Ñ§Ê×ÍàÅ‹Á¹Õé ãËŒ¤ØŒÁ·ÕèÊØ´ & Í‹Ò¹áÅŒÇ áº‹§¡Ñ¹Í‹Ò¹ Í‹Ò¹ÊÔºÃͺ ¤Ô´ÊԺ˹ ½ƒ¡½¹»˜ÞÞÒ ©ÅҴ㪌 à©ÅÕÂǤԴ ªÕÇµÔ Ê¹Ø¡ ÊØ¢ ʧº àÂç¹
´ŒÇ¡µàÇ·ÔµÒ¸ÃÃÁ¨Ò¡... Êӹѡ¾ÔÁ¾ àÅÕè§àªÕ§ à¾ÕÂÃà¾×è;ط¸ÈÒʹ
พระคุณของพ่อแม่นี้ ไม่มีวันลบให้สูญ เวลาเราตกทุกข์ได้ยาก หากมีใครให้เงินใช้สักร้อยบาท ให้ข้าวทานสักมื้อ เราก็ยกย่องว่าเขาเป็นคนดี แต่ถ้าใครคิดจะมาซื้อเอาหัวใจของเราไป แม้จะเอาทรัพย์
หมดทั้งโลกมาให้คงจะไม่มีใครยอม เพราะนั่นหมายถึงว่าเราต้องสิ้นชีพไปด้วย ฉะนั้น คนอื่นแค่เอาเงินทองให้ใช้ ให้ข้าวเรากิน เราก็ยังนิยมยกย่องว่าเขาเป็นคนดี แต่พ่อแม่
ซึ่งเป็นผู้ให้ชีวิต อันถือว่าเป็นยอดแห่งทรัพย์ เราควรจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อผู้ให้ ในสิ่งที่ใครอื่นก็ให้แก่เราไม่ได้ หนังสือ “พระในบ้าน” เล่มนี้ เป็นผลงานการเขียนของพระเดชพระคุณ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โดยพระเดชพระคุณท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของบุคคลผู้ทำ
หน้าที่ให้กำเนิดเกิดกายบุตรชายหญิง นอกจากนั้น ความกตัญญูกตเวที ก็เป็นอีกเรื่อง หนึ่งที่ท่านกล่าวย้ำเสมอ ว่าเป็นสิ่งที่ลูกหลานไทยควรประพฤติปฏิบัติ ดังมีคำที่ท่าน บรรยายไว้เป็นตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ว่า
“การบำรุงพระในบ้านที่สำคัญเป็นอันดับแรก ที่เราควรทำเป็นอย่างยิ่งก็คือ การเลี้ยงดูท่านให้เป็นสุข เพราะการเลี้ยงดู การปรนนิบัติพ่อแม่ เป็นการต่อเติมชีวิตของ ท่านให้อยู่นานๆ เท่ากับเป็นการเพิ่มเติมพลังกายพลังใจให้ท่านนั่นเอง และเป็นการสนอง พระคุณท่านในขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ทั้งเป็นการแสดงน้ำใจของเราให้ท่านได้เห็นด้วย”
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเชิดชู พระคุณของพ่อแม่ให้ปรากฏแผ่ไพศาล และช่วยปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีให้เกิดใน จิตสำนึกของลูกหลานไทย จากงานเขียนพระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ ด้วยศรัทธาและปรารถนาดี (น.ธ.เอก, ป.ธ.๖, พธ.บ., น.บ.) รวบรวมในนามคณาจารย์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
คำนำ พ่อแม่นั้น ชาวโลกทุกชาติศาสนา ยอมรับกันว่า เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิต
ของคนเรา เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดมนุษยชาติ ธำรงรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไว้ และเป็น “ผู้ให้
ทุกสิ่ง” แก่ลูก การรู้จักความดีของพ่อแม่ รู้ซึ้งถึงจิตใจ รู้ถึงความต้องการของพ่อแม่
และรู้ว่าตนควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อพ่อแม่นั้น
เป็นเรื่องที่ลูกทุกคนจำต้องมี ความรู้นั้นจัดเป็น “กตัญุตาธรรม” การปฏิบัติตนตามที่รู้นั้นได้จัด เป็น “กตเวทิตาธรรม” ธรรมสองประการนี้ เป็นฐาน
รองรับความดีงาม ความเจริญรุ่งเรืองของผู้รู้ และผู้ปฏิบัตินั้น หนังสือ “พระในบ้าน” นี้ เขียนขึ้นเมื่อป พ.ศ. ๒๕๒๑ เพื่อแสดงถึงฐานะของ พ่อแม่ในแง่มุมต่างๆ และข้อที่ลูกทุกคนควรจะได้สำนึกรู้ ควรจะได้มองเห็นตามความ เป็นจริง โดยแสดงไปตามแนวทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่ ต่างๆ เป็นแต่ประมวลมาให้อ่านง่ายขึ้น แต่โปรดทราบว่าทุกตัวอักษรในหนังสือนี้ มุ่ง ให้ผู้อ่านได้รู้จักพ่อแม่ของตนตามเป็นจริง เพราะอาจมีบางคนที่ไม่รู้ ไม่เห็น และไม่เคย คิดถึงความดีงาม ความเสียสละ ความมีน้ำใจ ความต้องการที่แท้จริงของพ่อแม่ว่า เป็นอย่างไร หนังสือนี้ต้องการเป็นกระจกสะท้อนให้รู้ ให้เห็น และให้คิดในแง่มุมนั้น
ถ้าพ่อแม่เป็น “พระในบ้าน” ที่ดีของลูก และลูกเข้าใจในความเป็น “พระในบ้าน” ของพ่อแม่ สังคมของเรา โลกของเรา ก็จะเยือกเย็นอบอุ่นขึ้นกว่านี้ ความวังเวงว้าเหว่ ความท้อแท้ผิดหวังและน้ำตา จะไม่มีให้เห็นและจะไม่ประสบกันเลย
หวังว่าหนังสือนี้จะสามารถสะท้อนภาพบางอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นตามสมควร
พระธรรมกิตติวงศ
วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
สารบัญ
หน้า
๑. พระในบ้านคือใครกัน
÷ ñò óù ôô ô÷ õø หน้า
๒. ตำแหน่งพ่อแม่
๓. ความเป็นพระในบ้านของ พ่อแม่ จะมีสักกี่คนที่รู้จริง
หน้า
หน้า
๔. การบำรุงพระในบ้าน
หน้า
๕. การเลี้ยงพ่อแม่
๖. คนใจบอดย่อมมองไม่เห็น บุญคุณพ่อแม่
บันทึกกตเวที ทำดีเพื่อพ่อแม่ เรื่องที่ทำสนองคุณ 1........................................................................................................ 2........................................................................................................ 3........................................................................................................ 4........................................................................................................ 5........................................................................................................
หน้า
วันที่ทำ ......./....../...... ......./....../...... ......./....../...... ......./....../...... ......./....../......
ชีวิตนี้สั้นนัก อยาผัดวันทำกรรมดี พิมพหนังสือเลมนี้แจกเปนธรรมทาน ไดบุญคุมครองตนและคนรัก
๗. บูชาพระในบ้าน
๘. สลักรูปผู้บังเกิดเกล้าไว้บูชา
หน้า
öõ ÷ð ÷ñ ÷ó ÷õ ÷ö หน้า
หน้า
๙. พระที่ถูกมองข้าม ๑๐. เนรคุณต่อบุพการี ชาตินี้ตกนรกทั้งเป็น ๑๑. บาปกรรมที่ทำกับพ่อแม่ แน่แท้ตายไปเป็นเปรต ๑๒. สวดมนต์ก่อนนอน เพื่อระลึกถึงคุณบิดรมารดา หนังสือส่งเสริมการอ่าน สานใยรักครอบครัวให้อบอุ่น • ยามเหงาเปล่าเปลี่ยวใจ คิดถึงพ่อแม่ • ยามรู้สึกแย่ที่ตัวเองเคยทำผิดต่อท่าน • ยามอยากสอนลูกหลานให้เป็นคนดีรู้คุณ หนังสือเล่มนี้ ช่วยท่านได้ อ่านแล้วอย่าลืมสั่งสมบุญ เพิ่มบุญ เพื่อส่งบุญให้พ่อแม่ต่อไป
หน้า
หน้า
หน้า
กี่ร้อยพันความดี กตัญูกตเวทีมาเป็นที่หนึ่ง กี่ล้านสุขก็พึงหวังได้ ถ้ายึดมั่นในกตัญูกตเวที
๑. พระในบ า นคื อ ใครกั น ? “พระ” หมายถึง ผู้ประเสริฐ ผู้ยอดเยี่ยม เพราะเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ประเสริฐ
ยอดเยี่ยมอยู่ในตัว และทำความดีต่อผู้อื่นโดยมิได้มุ่งหวังการตอบแทน ทำด้วยดวงใจ อันเปยมล้นด้วยความรัก ความปรารถนาดี และความสงสารเป็นที่ตั้ง หากผู้ใดทำได้ดังนี้ ไม่ว่าผู้นั้นจะครองเพศแบบไหน และอยู่วัยไหน ชาวโลก ย่อมแซ่ซ้องสรรเสริญผู้นั้นว่าเป็น “พระ” ในสายตาของเขา และพร้อมที่จะยกมือทั้งสอง ขึ้นไหว้บูชา ยอมก้มศีรษะ หรือยอมน้อมกายลงหมอบกราบกรานด้วยความเต็มใจ โดยมิได้ตะขิดตะขวง หรือลังเลใจเลยแม้สักน้อย เพราะมาเห็นแล้วว่า ผู้นั้นคือเนื้อนา บุญอันหาได้ยากของเขาอย่างแท้จริง “ความเป็นพระ” อย่างที่ว่ามานั้น มิใช่จะเป็นได้เฉพาะกับนักบวชในศาสนาใด ศาสนาหนึ่งตามความเข้าใจของคนทั่วไปเท่านั้น ความจริงเราท่านทุกคนต่างก็เคย ประสบพระ หรือมีพระผู้ประกอบด้วยคุณความดีดังกล่าวมาแล้วด้วยกันทุกคน ทั้งมิได้ พบในปาถ้ำลำเนาเขา หรือในแดนบุญสถานนักบวชอื่นใดเลย
หากพบกันอยู่ที่บ้าน มีอยู่แล้วในบ้านของเรานั่นเอง มิพักต้องไปหาที่อื่นเสียให้ยาก เพราะพระดังกล่าวนี้หาได้ในบ้าน จึงเรียกในที่นี้ว่า “พระในบ้าน” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
พระในบานคือใครกัน
7
พ่อแม่นั้น เปนพระในบ้านของลูก หากจะบอกในตอนต้นนี้เสียเลยว่า “พระในบ้าน” นั้นคือ “พ่อ” กับ “แม่” ของ เรา ก็คงจะทำให้คลายสงสัยไปได้เปลาะหนึ่ง เพราะเมื่อได้ยินคำนี้เข้า บางทีเราอาจเกิด ความแคลงใจขึ้นมาได้ว่า เหตุใดพระจึงไปอยู่ในบ้าน ดูออกจะขัดๆ หูอยู่ ด้วยตามปกติ แล้วเรามักจะเห็นพระท่านอยู่แต่ในวัด หรืออยู่ในถ้ำในเขากันเท่านั้น แม้หากท่านจะเข้า บ้านบ้างในบางคราว ก็อยู่ชั่วระยะเวลาที่มีกิจเท่านั้น เสร็จกิจแล้วท่านจะกลับวัดอย่าง เดิม และก็คงไม่มีใครออกมาคัดค้านหรือปฏิเสธว่า “พ่อแม่” ไม่ได้เป็น “พระ” หาก ว่าผู้นั้นเป็นคนดี มีความคิด และความยุติธรรม ทั้งเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ในแง่ที่ ถูกต้องตามความเป็นจริง
เหตุที่ท่านทั้งสองได้นามว่าเป็นพระนั้น เพราะท่านมี “ความเป็นพระ” คือ มีคุณธรรม มีความดีอยู่ในตัวและได้ปฏิบัติภารกิจ อันเป็นหน้าที่ของท่าน มาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ทั้งในด้านจิตใจก็เปยมล้นด้วยความรัก ความปรารถนาดี และความสงสาร อันเป็นเหตุชักจูงให้ท่านได้เอื้อเฟอเผื่อแผ่ เสียสละ ยอมเป็น “ผู้ให้” อยู่ตลอดมาอย่างไม่เสื่อมคลาย à ÑÇ Ê ¤Ãͺ¤ Ø¢Êѹµ à¾ÃÒФ¹ã¹
แน่แล้ว พ่อแม่ คือ พระในบ้าน !
8
พระในบานคือใครกัน
Õè... ºŒÒ¹Ãٌ˹ŒÒ·
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
พระที่มักถูกลืมเอาใจใส่ โดยปกติเรามักจะไปแสวงหาพระหรือไปกราบไหว้พระกันตามวัด ตามถ้ำ ตาม
ปา หรือแม้อยู่บนยอดเขาก็ดั้นด้นไปกัน ด้วยความมุ่งมั่นว่าจะเป็นมงคลแก่ตัว แม้จะ ต้องไปค้างอ้างแรมกัน หรือใช้เวลาเดินทางกันไปเป็นวันๆ เราก็ยังยอมลงทุนหอบหิ้ว สังขารไปจนกระทั่งถึงท่านจนได้ พอได้เห็นท่าน ได้กราบไหว้บูชาท่านแล้วก็กลับ เพียง เท่านี้ก็เกิดความรู้สึกว่าอิ่มเอิบใจหายเหน็ดหายเหนื่อย โอกาสหน้ายังแวะเวียนไปหา ท่านได้อีกบ่อยๆ ไปเล่าทุกข์สุขให้ท่านฟัง ให้ท่านช่วยปลอบใจ ให้ท่านช่วยแก้ไขปัญหา ชีวิตซึ่งมันคับอกคับใจให้ เป็นต้น “พระนอกบ้าน” ที่ว่ามานี้ เราไปหาได้ไปบูชาได้และทำ กันได้บ่อยๆ เสียด้วยซ้ำไป แต่ในเราทั้งหลายนี่
áÁ‹ÍÕ˹Ù... àÁ×èÍäËË ÅÙ¡¨ÐÁÒ¹Ð
จะมีสักกี่คนกันเล่าที่นึกถึง “พระในบ้าน” กัน พระในบ้านที่ใจจดใจจ่อรอท่า ที่บรรดา “ลูกๆ” จะมาหามากราบไหว้บูชา หรืออย่างน้อย
มาพอให้เห็นหน้าก็ชื่นใจถมไปแล้ว
โดยมากเราต่างก็มักจะเอื้อบำรุงอุดหนุนกันแต่พระนอกบ้าน หรือดั้นด้นไปเช่า พระนอกบ้าน ซึ่งปราศจากลมหายใจเข้ามาไว้ในบ้านด้วยราคาแพงๆ ทำที่ประดิษฐาน ไว้ในห้องที่หรูๆ ราคาแพงลิบ
แต่พระในบ้านซึ่งยังมีลมหายใจอยู่ เรากลับปล่อยให้อดอยากปากแห้ง ปล่อยให้ ใจแล้งอับเฉา ปล่อยให้อ้างว้างว้าเหว่และเศร้าใจอยู่ตามลำพัง เพราะปราศจากน้ำใจของ
ลูกๆ มาหล่อเลีย้ งให้ชมุ่ ชืน่ พ่อแม่ทรี่ อน้ำใจจากลูกๆ นัน้ อาจยิง่ กว่า “ข้าวคอยฝน” อย่าง ที่เราชอบเปรียบกันเสียอีก
ท่านคงจะมิใช่เป็นผู้หนึ่งในจำนวน “โดยมาก” นั้นนะท่าน !
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
พระในบานคือใครกัน
9
พระผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ คนเก่าเล่ากันมาให้รวู้ า่ อันพ่อแม่นั้นมีพระคุณยิ่งใหญ่มหาศาลยากทีจ่ ะพรรณนา ให้หมดสิ้นได้ ถึงกับเปรียบเทียบไว้ว่า
แม้จะเอาท้องฟาอันหาขอบเขตมิได้สมมติเป็นแผ่นกระดาษ เอายอดเขา พระสุเมรุอันเป็นยอดหนึ่งของภูเขาหิมาลัยสมมติเป็นปากกา เอาน้ำในมหาสมุทรทุกแห่ง ในโลกสมมติเป็นน้ำหมึก จดจารจารึกพระคุณของท่านทั้งสองว่ามีต่อลูกอย่างนั้นๆ และ
จารึกว่าท่านได้ทำอะไรไว้ให้ลูกบ้าง จนกระทั่งท้องฟาเต็มไปด้วยตัวอักษร จนกระทั่ง ยอดเขาพระสุเมรุสึกหรอไปจนสิ้น และน้ำในมหาสมุทรถูกใช้จดจารจนแห้งขอดไป ถึง
ขนาดนี้ก็ยังพรรณนาพระคุณของพ่อแม่ได้ไม่หมดสิ้นเลย
และการที่จะทดแทนพระคุณของท่านทั้งสองให้หมดสิ้นไปนั้น ก็ยากนักยากหนา ถึงกับยกเปรียบไว้ว่า หากลูกจะยกพ่อไว้บนบ่าซ้าย ยกแม่ไว้บนบ่าขวาของตน ประคับประคองให้ท่านทั้งสอง อยู่บนบ่านั่นแหละ
ให้ท่านอาบน้ำ ให้ท่านกิน ท่านนอน และจนกระทั่ง
ให้ถ่ายอุจจาระปสสาวะ อยู่บนบ่าของลูกนั่นเอง
แม้ลูกจะทำอยู่อย่างนี้ จนกระทั่งพ่อแม่หมดลมหายใจไป
ก็ยังไม่อาจจะทดแทนข้าวปอนน้ำนม และอุปการคุณที่ท่านได้ทำไว้ต่อลูกเลย 10
พระในบานคือใครกัน
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ยากจะหาสิ่งใดมาทดแทนคุณ
ตัวอย่างทั้งสองนี้ ท่านยกมากล่าวไว้เพื่อแสดงให้เห็นเพียงว่า พระคุณของท่านมีมากมาย จนไม่อาจจะทำตอบแทนชดใช้ ให้หมดสิ้นได้ด้วยการกระทำเล็กๆ น้อยๆ หรือเป็นครั้งคราวเท่านั้น
และมิใช่จะหมายความว่า จะต้องให้ลูกทำใหญ่โตปานดังเปรียบตามที่บางคน
เข้าใจแล้วเอะอะโวยวายกันว่า
ใครกันจะสามารถ ยกเขาพระสุเมรุมาเขียน และลูกคนใดเล่า จะแบกพ่อแบกแม่
¹¡¡ÒàËÇ‹Òà͎ 䢋äÇŒ ãËŒáÁ‹¡Ò¿˜¡...
ไว้ได้ตั้งเป็นสิบเป็นร้อยป หรือพ่อแม่คนใดเล่า จะทนทุกข์ทรมาน กินนอนบนบ่าของลูกได้ ไม่รำคาญ ไม่สงสารลูกบ้าง หรืออย่างไรกัน
อะไรทำนองนี้ เรื่องนี้ต้องเข้าใจเจตนารมณ์ของคนเก่าเขา เพราะคำเปรียบก็ตอ้ งเป็นคำเปรียบ
อยู่วันยังค่ำ คือ ต้องนึกเอาไปเปรียบ มิใช่ให้ทำอย่างที่เขาเปรียบ หรือ ทำให้เหมือนเปรียบ เรื่องเปรียบอย่างนี้จะถือเป็นจริงจังใหญ่โตอย่างนั้นไม่ได้ ต้องตีความหมาย หรือเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้คิดเปรียบเท่านั้นเป็นหลักสำคัญ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
พระในบานคือใครกัน
11
๒. ตำแหน ง พ อ แม ศูนยรวมของความเปนพระ เพราะเหตุใดหรือท่านจึงเปรียบพ่อแม่ หรือ “พระในบ้าน” เสียใหญ่โตปานนั้น ก็เพราะท่านเป็น “บุพการีชน” คือ ผู้ทำให้ก่อน ได้สะสมบุญคุณแก่ลูกมาตั้งแต่ลูก อยู่ในครรภ์จนกระทั่งตายจากกันไป หรือจนกระทั่งทำให้ไม่ไหว อันนับกันว่าเป็นบุคคลที่ หาได้ยากนัก เพราะตามปกติคนเรามักจะมีความเห็นแก่ตัว ใจไม่กว้างและใจไม่ถึงพอ ที่จะยอมเสียสละเอื้ออารี ต่อผู้อื่น แต่พ่อแม่ท่านทำได้และทำได้อย่างดีเสียด้วย และเป็นบุญวาสนาของลูกอย่างหนึ่ง คือ ลูกเป็น “ผู้รับ” ความรัก ความ ปรารถนาดี และความเอื้อเฟอเผื่อแผ่ที่พ่อแม่ “ให้” นั้นทั้งหมด ด้วยเหตุดังกล่าวมานี่เอง ตำแหน่ง “พระในบ้าน” จึงเป็นตำแหน่งที่สมควร อย่างยิ่งแล้วสำหรับมอบเป็นของขวัญอันบริสุทธิ์ให้ท่านทั้งสอง จะมีใครเหมาะกับ ตำแหน่ง “พระ” เท่ากับพ่อแม่อีกเล่า และพ่อแม่นั้นยังเป็นพระที่ยิ่งกว่าพระใดๆ ในโลก ประเสริฐกว่าพระใดๆ ในโลก เท่าที่ลูกจะพึงมีและพึงหาได้อีกด้วย ทั้งนี้ เพราะพ่อแม่เป็นศูนย์รวมแห่งความเป็น “พระ” ไว้ในตัวมากมาย คือ ท่านเป็นหลายพระนั่นเอง ตำแหน่งพระของพ่อแม่ คือ
๑. พ่อแม่ เป็น พระพรหม ๒. พ่อแม่ เป็น พระเทพ ๓. พ่อแม่ เป็น พระอาจารย์ ๔. พ่อแม่ เป็น พระอรหันต์ 12
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
พระพรหม คือใคร ? “พระพรหม” ตามความรู้สึกของเราก็คือ พระเจ้าผู้สร้างโลกตามคติของศาสนา พราหมณ์ ส่วนตามคติของศาสนาพุทธ พระพรหมก็คือ ผู้ประกอบด้วยรูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้วจุติจากอัตภาพมนุษย์ไปเกิดเป็นพรหม มีที่อยู่ของตัวเองเป็นสัดส่วนเรียก ว่า “พรหมโลก” แต่ความหมายที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา คำว่า “พรหม” นี้ ท่านใช้เรียก บุคคลผู้มีคุณธรรมที่เรียกว่า “พรหมวิหารธรรม” ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ
หมายถึง คนเราธรรมดาๆ นี้เอง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ÍÂҡ໚¹¾ÃËÁ มีเพศพรรณ ¾ÃŒÍÁ¼ÁäËÁ ¢ÍÃѺ หรือตระกูลใดก็แล้วแต่ ก็มีสิทธิที่จะเป็นพรหมได้ ด้วยกันทั้งนั้น และก็เป็นได้ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ร่วมกับชาวโลกอื่นๆ นี่แหละ เพียงแต่มีข้อแม้ว่า ต้องมีพรหมวิหารธรรมนี้ ครบถ้วนเท่านั้น
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
13
อะไรทำให้คนกลายเปนพรหม
อันพรหมวิหารธรรมที่ว่านั้น มี ๔ ประการด้วยกัน คือ ๑. เมตตา ความจริงใจ ความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ดู
ได้จากสีหน้าที่บ่งบอก คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส และดูจากการกระทำที่มุ่งหวังให้ผู้อื่นมีดีได้ดี ยิ่งๆ ขึ้นไป ๒. กรุณา ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ยามผู้อื่นมี ความลำบากก็ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแสดงออกมาด้วยการเข้าช่วยเหลือเจือจุนด้วยความเต็ม ใจเสมอ ในทำนองยามสุขก็สุขด้วย ยามทุกข์ก็ทุกข์ด้วยนั่นเทียว ๓. มุทิตา ความชื่นชมยินดีในความสำเร็จสมหวังของผู้อื่น ไม่แสดงความอิจฉา ริษยา เพราะทนดูทนเห็นที่เขาได้ดีกว่าตัวไม่ได้ ดูได้จากการไปแสดงไมตรีจิตต่อบุคคล อื่น หรือชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบังคับใจ ๔. อุเบกขา ความวางเฉยในเมื่อไม่อาจจะช่วยเหลือเขาได้ ไม่ทับถม ไม่ซ้ำ เติมเมื่อผู้อื่นผิดพลาดหรือได้รับความวิบัติไป ไม่แสดงอาการสมน้ำหน้าสะใจเมื่อเขา ผิดหวังพลั้งพลาด เป็นต้น
ผู้ใด มีคุณธรรม ๔ ประการนี้ ในหัวใจ และแสดงออกมา ให้ปรากฏได้ ผู้นั้นท่านเรียกว่า “พระพรหม” ทั้งนั้น ¤Ø³¸ÃÃÁ ô ¹Õéàͧ ·Õè·ÓãËŒ ã¨àÃÒÊ٧ʋ§... ໚¹¾ÃËÁä´ŒäÁ‹ÂÒ¡àÅ 㪋äËÁÅÙ¡
14
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
พ่อแม่ เปนพระพรหมของบุตรธิดา พ่อแม่ หรือ พระในบ้าน ของเรา เป็นบุคคลแรกที่มีคุณธรรม ทั้งหมดนี้อย่างเปยมล้น
โดยเฉพาะมีต่อเราผู้เป็นลูก ท่านทั้งคู่จึงควรได้รับ การขนานนามว่าเป็น
“พระพรหม” ของลูกอย่างแท้จริง
¾ÃоÃËÁ á·Œ¨ÃÔ§ÍÂÙ‹ 㹺ŒÒ¹¢Í§àÃÒ
คุณธรรมเหล่านี้ มีประจำอยู่ในจิตใจ ของพ่อแม่ทั้งหมด เป็นแต่ท่านมิได้แสดงออกมา พร้อมกันทีเดียว ท่านแสดงในต่างวาระกัน
แต่เนื่องจากท่านแสดงออกบ่อยครั้งเสียจนลูกๆ เกิดความรู้สึกเคยชิน จนมอง ข้ามความสำคัญหรือไม่เห็นความสำคัญไปเสีย แล้วก็มาบ่นว่า ไม่เห็นท่านมีอย่างที่ว่า
มาสักหน่อย อะไรทำนองนี้
ลองทบทวนดูให้ละเอียดเถิด จะเห็นได้ชัดเจนว่า ท่านได้แสดงอะไรออกมาบ้าง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
15
ทำไมพระพรหมต้องมีสี่หน้า มีปริศนาข้อหนึ่งที่คนเก่าเขาทำไว้ จะทำเพื่อสอนใจคนรุ่นหลังหรือให้คนรุ่นหลัง ได้คิดกัน เพื่อทดสอบภูมิปัญญาหรืออย่างไรไม่ทราบได้ คือ เวลาท่านเขียนหรือปนรูป “พระพรหม” ท่านจะทำให้พระพรหมมี ๔ หน้าทุกครั้งไป ที่ว่าทำเป็นปริศนานั้นก็เพราะ
ว่า เหตุใดท่านจึงทำเป็นรูปพระพรหม ๔ หน้า จะทำให้มีหน้าเดียวเหมือนเทวดา ประเภทอื่นๆ มิได้หรือ ข้อนี้ต้องมีความหมายแน่นอน แล้วท่านก็ตีความ และบอกเล่ากันต่อมาว่า ที่ทำให้มี ๔ หน้านั้น ก็เพราะว่าผู้ที่จะเป็นพระพรหมนั้นต้องแสดงได้ ๔ หน้า หรือต้อง แสดงสีหน้าได้ ๔ สีหน้า คือ
สีหน้าเมตตา สีหน้ากรุณา สีหน้ามุทิตา และสีหน้าอุเบกขา แสดงได้เพียง สีหน้าเดียว ยังไม่ถือว่า เป็นพระพรหมแท้
µŒÍ§»˜œ¹ãËŒ¤Ãº·Ñé§ ô ˹ŒÒ (໚¹»ÃÔȹÒãËŒ¤¹ÃØ‹¹ËÅѧ)
ข้อนี้ก็น่าคิดอยู่ แต่การเข้าใจความหมายดังกล่าวมานี้ดูชักจะลางเลือนไป ทุกขณะแล้วในเวลานี้ เพราะเรามักจะคิดว่า “พระพรหม” นั้นเป็นเทพเจ้าพวกหนึ่ง ที่ อยู่บนสรวงสวรรค์ไปเสีย ทำให้มองข้ามพระพรหมที่แท้จริงคือพ่อแม่ไป พอมองข้ามก็ เลยมองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็น ก็ไม่รู้ถึงความสำคัญของพระพรหมในบ้าน พระพรหม ในบ้านก็เลยเกือบจะหมดหรือไม่ก็หมดความหมายไปเลย ด้วยประการฉะนี้
16
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ปริศนาธรรมชวนให้คิด ที่คนโบราณท่านเขียนหรือปันรูปพระพรหมมี ๔ หน้าไว้นั้น ท่านคงไม่ได้ หมายถึงเทพเจ้าหรือผู้วิเศษที่ไหน ท่านคงจะบอกให้เราทราบถึงพระพรหมจริงๆ ของ มนุษย์ และมีอยู่ในโลกที่เราเห็นๆ กันอยู่ คือ พ่อแม่ นี่เอง เพราะผู้ที่จะแสดงสีหน้าทั้ง ๔ แบบนี้ได้ครบ ก็เห็นมีแต่พ่อกับแม่เท่านั้น ทั้งแสดงได้คล่อง และไม่ต้องเสแสร้งบังคับใจเท่าไรนัก ท่านแสดงออกได้ในโอกาสต่างๆ กัน มากบ้าง น้อยบ้างตามเหตุการณ์ บางครั้งท่านก็นำหน้าเมตตาออกแสดง บางคราว ก็นำหน้ามุทิตาออกอวด บางขณะท่านก็ทำทีตีสีหน้าอุเบกขาวางเฉยเสีย นานๆ จึงจะแสดง “หน้าพิเศษ” หรือ “หน้าจร” ออกมาสักครั้งหนึ่ง หน้าที่ว่า นั้น คือ “หน้ายักษ์” นั่นไง แต่หน้านี้ถือเป็นหน้าประจำไม่ได้ เพราะนานๆ จึงจะได้เห็น กันสักครั้ง !
เรามีพระพรหมนั่งอยู่ที่บ้านตั้ง ๒ องค์ ลองๆ สังเกตสีหน้าท่านบ้างเป็นไร หรือหากท่านเป็นพระพรหมของลูกๆ อยู่ ก็ลองนึกย้อนหลังดูทีหรือว่าเคยแสดงหน้าไหนให้ลูกเห็นบ่อยๆ หรือว่าเคยแสดง “หน้าพิเศษ” ให้ลูกเห็นบ้างไหม ?
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
17
เปนเพราะพรหมลิขิต มีคำกล่าวและเชื่อถือกันมาแต่โบราณแล้วว่า ทุกคนเกิดมาตามอำนาจ “พรหมลิขิต”
ชีวิต จะดีจะเลวหรือจะสมหวังผิดหวังอย่างไร ก็แล้วแต่พระพรหมท่านจะลิขิตให้เป็นไป
เราจะไปฝนพระพรหมท่านไม่ได้
เพราะท่านขีดให้เราเดินมา ตั้งแต่อ้อนแต่ออกเลยแล้ว
เพราะเชื่อถือและกระพือข่าวบอกเล่ากัน สืบๆ มา คำนี้ก็เลยติดปากคนทั่วไป และทำท่าว่า จะยึดถือกันเป็นจริงเป็นจังเสียด้วยซ้ำ แม้ในดง ผ้าเหลืองเองความคิดความยึดถือเรื่องพรหมลิขิต เช่นนี้ก็ยังระบาดเข้าไปถึง !
เพราะเชื่อและถือกันมาอย่างนี้
ทุกคนจึงฝากชีวิตไว้กับความปรานีของพระพรหม ผู้เป็นเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ตามที่เชื่อถือกัน แล้วแต่ ท่านจะลิขิตชีวิตให้เป็นไป จนถึงกับมีการติดสินบน เทพเจ้าองค์นี้กันให้เกลื่อนไป ถึงกับยอมลงทุนบวงสรวงอ้อนวอนด้วยเครื่องบัตรพลี นานาประการ สรรหาแต่ละสิ่งละอย่างมาเสนอให้เพื่อให้ถูกใจท่าน ทั้งที่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าท่านจะชอบหรือไม่ ก็ต้องเดาใจท่านกันไปจนกว่าจะเดาไม่ไหว หรือจนกว่าจะมี “คนกลาง” มาช่วยเดาให้อีกที ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อให้ท่านโปรดปรานประทานเมตตาลิขิตชีวิตให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ แม้จะสักนิดก็ยังดี ที่มีทุกข์ก็อ้อนวอนให้พ้นทุกข์ ที่มีโรคก็อ้อนวอนให้หมดโรค ที่มีภัยก็ อ้อนวอนให้พ้นภัย จะเสียเครื่องบัตรพลีเท่าไรเป็นไม่อั้น
ขออย่างเดียวให้ท่าน “กลับลิขิตเดิม” ของท่านเท่านั้นเป็นพอใจ
18
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
หรือใครลิขิตชีวิตให้เลว-ดี จะว่ามนุษย์เราชอบไปชวนพระพรหม “คอรัปชั่น” คำลิขิตของท่านเอง ก็คงจะ ได้กระมัง พระพรหมท่านก็ดีเหลือใจ ทั้งที่รู้ทั้งที่เห็นก็ไม่เคยห้ามปราม ไม่เคยออกปาก
สักหน ว่าสิ่งที่มนุษย์สรรมากองไว้เป็นเครื่องเซ่นสรวงนั้น จะโปรดหรือไม่โปรดประการ ใด ยอมรับเอาทั้งนั้น ไม่ว่าของนั้นจะดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นของสดของแห้ง หรือแม้ แต่ของนั้นเจ้าของเขาจะได้มาด้วยการทุจริตคิดมิชอบอย่างไร แต่ท่านจะ “คอรัปชั่น” ตัวเองหรือไม่นั้น ยังพิสูจน์กันไม่ได้ แต่ก็พอมีอยู่บ้างหรอกที่เมื่อได้เซ่นสรวงอ้อนวอน ขอกันแล้ว ก็ได้รับความสมหวังกัน ก็คงจะบังเอิญมากกว่ากระมัง เพราะถ้าไม่บังเอิญ แล้ว ก็อาจจะตีความไปได้ว่า พระพรหมท่านก็ชอบ “สินบน” เหมือนกัน ! ความจริงยกเอาเรื่องนี้มาเขียน มิใช่จะตั้งตัวเป็นปฏิปกษ์กับพระพรหม หรือ มิใช่จะว่ากระทบพระพรหมท่านหรอก เพียงแต่อยากฝากไว้ให้คิดเป็นการบ้านเท่านั้น แม้จะนำไปคิดเป็นการวัดบ้างก็ไม่เสียหายอะไร ด้วยเหตุนี้ คำว่า “พรหมลิขิต” ที่คนโบราณท่านว่าไว้ น่าจะไม่ใช่หมายถึง “พระพรหม” ดังที่เราทั่วไปเข้าใจกันเสียแล้ว เพราะหากว่าพระพรหมท่านมีคุณธรรมสูง ส่ง เป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์อาจดลบันดาลให้ใครดีใครชั่วได้จริงแล้วไซร้ ไยท่านจึงไม่ลิขิต ชีวิตคนทุกคนให้เป็นคนดี ให้ทุกคนเป็นคนรวย มีฐานะมั่งคั่ง มีรูปร่างสมประกอบ ไม่มี
โรค มีอายุยืนและให้มีรูปร่างสวยงาม โดยไม่ต้องมาเสริมเติมแต่งกันให้วุ่นวาย ในภายหลังเล่า แต่นี่คนเรากลับแตกต่างกันอย่างมากมาย ทั้งรูปร่าง ฐานะและ ความเป็นอยู่ ทีส่ ขุ ก็สขุ เหลือล้น ทีจ่ นก็จนเหลือแสน ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ หรือ “พระพรหมเกเร” ก็มีเหมือนกัน จึงได้เที่ยวแกล้งลิขิตชีวิตคนให้เปรอะไปหมด
บันทึกกตเวที ทำดีเพื่อพ่อแม่ เรื่องที่ทำสนองคุณ 1........................................................................................................ 2........................................................................................................ 3........................................................................................................ 4........................................................................................................ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
วันที่ทำ ......./....../...... ......./....../...... ......./....../...... ......./....../......
ตำแหนงพอแม
19
พ่อแม่ คือผู้ชี้ชะตาชีวิต เมื่อไม่ใช่พระพรหมเช่นว่ามาลิขิตแล้ว จะเป็นพระพรหมที่ไหนมาลิขิตเล่า ท่านคงมองออกได้ลางๆ แล้วว่า ผู้ลิขิตชีวิตคนให้ดีเลวแตกต่างกันตัวจริงนั้นก็คือ “พระพรหมในบ้าน” หรือพ่อแม่นี่เอง
เพราะพระพรหมในบ้าน คือ พ่อแม่นั้น ที่เป็นพระพรหมเฉยๆ โดยไม่ปรากฏ หน้าก็มี เป็นพระพรหมที่ดีที่บริสุทธิ์ก็มี เป็นพระพรหมที่เกเรก็มี พรหมเหล่านี้แหละ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตคน โดยเฉพาะต่อชีวิตของลูก เรียกว่า เป็นพรหมของใครของมัน ลิขิตชีวิตลูกใครลูกมัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกันมากนักว่างั้นเถอะ
เพราะพ่อแม่นั้นมีส่วนให้ลูก ได้ดี ได้เสีย อย่างเหลือคณา ลูกจะดีก็เพราะพ่อแม่ จะเสียก็เพราะพ่อแม่ สุดแล้วแต่ว่า พ่อแม่จะลิขิตให้เป็นไป
อนาคตของลูกฝากไว้กับ “ประกาศิต” ของพ่อแม่เท่านั้น ขอให้มอง ด้วยใจเป็นธรรม จะเห็นจริง และเมื่อลูกไม่ดีดังที่คิดไว้ ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ อย่าได้ไปโทษลูกฝายเดียว ว่าไม่รักดีเลย 20
ตำแหนงพอแม
´Õ... ¤Ãͺ¤ÃÇÑ ÍºÍ¹Ø‹ à¾ÃÒмٌÁÕ¾ÃФسÅÔ¢Ôµ พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ผู้ลิขิตชีวิตลูกตั้งแต่เกิด ชีวิตของเราฝากไว้กับการตัดสินใจของพ่อแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มาแล้ว พอเราปฏิสนธิมาในท้องท่าน หากแม่เกิดความไม่พอใจขึ้นมา
โดยคิดว่าเราเป็น “ส่วนเกิน” หรือเป็น “มารหัวขน” แล้วลิขิตว่า “เอามันออกเสียเถอะ” เท่านี้ เราก็หมดหวังที่จะได้ลืมตา มามองโลก
หรือพอคลอดออกมาแล้ว
พ่อลิขิตว่า “ไม่ใช่ลูกฉัน” เท่านี้เรา ก็จะขาดพ่อ มีปมด้อยไปตลอดชาติ
หรือแม่ลิขิตว่า “แม่เลี้ยงเจ้า ไม่ได้แล้วลูกเอย ไปตามยถากรรมเถอะ” ลิขิตแล้วนำไปทิ้งเสียตามถนนหนทาง หรือตามกองขยะ หรือตามโรงพยาบาลที่ตนไป คลอดนั่นเอง เท่านี้ก็เพียงพอที่จะให้เราคิดกันได้ว่า เมื่อถูกลิขิตเช่นนี้ลูกจะมีชีวิตรอดอยู่ได้สักกี่ราย หรือรอดแล้วอนาคตจะเป็นเช่นไรไม่รู้ หรือหากเมื่อเราเติบโตแล้วถูกพ่อแม่ลิขิตโดยวิธีไม่เอาใจใส่ ไม่ดูแล ไม่เลี้ยงดูให้ ดีเท่าที่ควรนักเพียงแค่เลี้ยงเราให้โตไปวันๆ เท่านั้น ส่วนความประพฤติและสติปัญญา ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ทำให้เรากลายเป็นอาชญากรไปก่ออาชญากรรมเป็นบุคคลที่
เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมก็ได้ หรือไม่ส่งเสียให้เรามีการศึกษาเหมือนคนอื่นๆ เขา เท่านี้ เราก็แย่แล้ว
เรารอดตัวรอดตายมาได้ถึงขนาดนี้ เพราะพ่อแม่ลิขิตมา จริงหรือเปล่า ! สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
21
โปรดเถิดอย่าลืมบูชาพระพรหมในบ้าน ใครถูกพ่อแม่ลิขิตมาแล้วอย่างไรโปรดคิดดูเองเถิด หรือใครลิขิตชีวิตลูกไว้ อย่างไรก็ลองทบทวนดู ด้วยประการฉะนี้ คนในสังคมจึงแตกต่างกันมากมายอย่างที่เห็นๆ กันอยู่
ความเป็นคนดีหรือไม่ดีของคนในสังคม ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนเริ่มต้นก็มาจากลิขิตของพ่อ แม่ซึ่งเป็นพระพรหมดังกล่าว หาใช่พระพรหมที่เป็นเทพเจ้าผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์อย่างที่เรา เคยเชื่อกันไม่ Í
Å ‹Í  ã ËŒ· ‹Ò ¹ Í ´Í ‹һ
แต่ก็น่าแปลกอยู่ พระพรหมในบ้าน ซึ่งมีลมหายใจทั้งคู่ ซึ่งเคยลิขิตชีวิตตนมา สมควรจะได้รับ เครื่องบัตรพลีบูชา อย่างท่วมท้น แต่เรากลับไม่แยแสกันเสียนี่ ปล่อยให้ท่านอดๆ อยากๆ ก็มีถมไป
ÂÒ¡
ÍÂÒ‹ »ÅÍ‹ Âã Ë·Œ Ò‹ ¹ÅÓºÒ¡à¾Õ§ÅӾѧ
และบางครั้งจะนำเครื่องบัตรพลีไปให้ท่านบ้างก็กลับเสียดายของเสียอีกทีนำไป บวงสรวงเทพเจ้าซึ่งก็มิได้ต้องการและไม่รู้ไม่ชี้ด้วย เรากลับยอมเสียกันได้ เรื่องนี้ก็แปลก อยู่ และจะแปลกต่อไปอีกเท่าไรก็ไม่มีใครบอกถูก
â»Ã´ãªŒË¹Ñ§Ê×ÍàÅ‹Á¹Õé ãËŒ¤ØŒÁ·ÕèÊØ´ & Í‹Ò¹áÅŒÇ áº‹§¡Ñ¹Í‹Ò¹ Í‹Ò¹ÊÔºÃͺ ¤Ô´ÊԺ˹ ½ƒ¡½¹»˜ÞÞÒ ©ÅҴ㪌 à©ÅÕÂǤԴ ªÕÇµÔ Ê¹Ø¡ ÊØ¢ ʧº àÂç¹
22
´ŒÇ¡µàÇ·ÔµÒ¸ÃÃÁ ¨Ò¡... Êӹѡ¾ÔÁ¾ àÅÕè§àªÕ§ à¾ÕÂÃà¾×è;ط¸ÈÒʹ พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ตำแหนงพอแม
พ่อแม่ ผู้เปนยิ่งกว่าท้าวโลกบาล ความเชื่อถือของคนโบราณมีว่า โลกนี้มีเทพชื่อนั้นๆ เป็นใหญ่ คอยกำกับ คุ้มครองมนุษย์ไว้ เรียกว่า “ท้าวโลกบาล” มี ๔ ท่าน คือ
๑. ท้าวธตรฐ ๒. ท้าววิรุฬหก ๓. ท้าววิรูปกษ์ ๔. ท้าวกุเวร
ประจำทิศตะวันออก ประจำทิศใต้ ประจำทิศตะวันตก ประจำทิศเหนือ
ท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นเทพเจ้าเหล่านี้ ทำหน้าที่ปกปองผองภัยให้ชาวโลกอย่างไร พ่อแม่ก็มีหน้าที่ปกปองผองภัย ให้แก่เลือดในอกของตน คือ ลูก อย่างนั้น
และท่านก็ทำเช่นนี้มาก่อนใครทั้งหมด แม้ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ นั้น จะเผลอไผล ไปบ้าง หรือไม่ยอมปกปองเราก็ตาม แต่พ่อแม่ไม่เคยลืม ไม่เคยเผลอไผล และไม่เคย ทอดทิ้ง ท่านปกปองเราตลอดมา
ท่านปกปองอย่างไร ? ข้อนี้เห็นจะต้องสาธยายกันยาวหน่อย เพราะเป็นเรื่อง จริงที่มองเห็นได้ แต่เรื่องจริงอย่างนี้นี่แหละ ที่เรามักจะมองข้ามความสำคัญไป หรือ ทำเป็นไม่รู้เสียเฉยๆ ก็มี เรื่องปกปองลูกนี่ พ่อรู้สึกจะทำได้น้อยกว่าแม่ และทำได้ไม่ค่อยสนิทนักเท่าแม่ แม่เท่านั้นท่านว่าทำสิ่งที่ทำได้ยากได้ แม่ต้องอดทนอดกลั้นทุกอย่างนับแต่รู้ว่าลูก มาเกิดแล้ว เคยทานเผ็ดก็ต้องงด เคยทานร้อนก็ต้องเว้น กลัวลูกจะลำบาก เคยกระโดด โลดเต้นก็ต้องหยุด กลัวพลาดพลั้งหกล้มไปจนเป็นอันตรายต่อลูกในท้อง จะทำงานหนัก ก็กลัวลูกจะกระทบกระเทือน สารพัดที่จะกลัว คลอดออกมาแล้วยิ่งไม่ให้ห่างหูห่างตาได้ เลยสักนาทีเดียว คอยประคบประหงมยิ่งกว่าไข่ในหินเสียอีก ชนิดที่เรียกว่า “ยุงไม่ให้ไต่ ไรไม่ให้ตอม” นั่นเชียวละ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
23
เทพผู้คุ้มครองปองกันภัยทั้งกาย-ใจ ดึกๆ ดื่นๆ จะง่วงจะเพลีย จะหนาวจะร้อนอย่างไร หากลูกร้องขึ้นมา แม่เป็นต้องสะดุ้งตื่นและรีบลุกขึ้นมาดูลูก หาสาเหตุว่าลูกร้องทำไม ลูกพูดไม่ได้สักคำ
บอกไม่ได้สักนิดว่าเป็นอะไรจึงร้อง แม่ก็ต้องเดาเอาว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้ว สาละวนแก้ไขไปจนกว่าลูกจะหายร้อง หากยังไม่หายก็ต้องคอยปลอบ คอยเอาใจกัน อยู่นั่นแหละ แม้ว่าลูกจะหลับคาอกไปแล้ว แต่แม่ก็ยังหาหลับลงได้ไม่
แม่ทำให้ลูกยิ่งกว่านี้ ปกปองลูกยิ่งกว่านี้ และทำมานับเป็นสิบป คือ ตั้งแต่ลูกมี
“เท้าเท่าฝาหอย” อย่างที่พูดกันจริงๆ
พอลูกเติบใหญ่มีวัยอันสมควร
แล้ว ความต้องการของลูกเพิ่มขึ้น ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ยามหิว พ่อแม่ก็หามาปอน ยามเจ็บไข้ ก็พยายามเยียวยารักษา ยามร้องไห้ก็ใช้อ้อมอก และอ้อมแขนนั่นแหละเป็นเครื่อง ปลอบประโลมให้หายเศร้าโศก
คอยเอาตาดูเอาหูใส่ทั้งในเวลาลูกกิน ยืน เดิน นั่ง นอน เล่น ไม่ว่าลูกจะไป
ทางไหนเป็นต้องชำเลืองตามองตาม เสมอ กลัวลูกจะพลัดตกหกล้ม
กลัวลูกจะเป็นอันตราย กลัวไปเสียทุกอย่าง
กว่าจะปกปองรักษาอวัยวะต่างๆ ของลูกให้อยู่ครบมาได้จน โตนี่ พ่อแม่ต้องเหนื่อยยากเหลือเกิน กว่าลูกจะรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ พ่อแม่ต้องลงทุนลงแรงมากเหลือเกิน “พระเทพ” ได้อย่างไร
24
ตำแหนงพอแม
แล้วอย่างนี้จะไม่สมควรเรียกท่านว่าเป็น
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
เทพองค ใด จะให้ความปลอดภัยได้ตลอดกาล แต่ก็ประหลาดใจอยู่เหมือนกัน พ่อแม่น่ะหวงแหนอวัยวะแขนขาของลูกขนาด ไหน จะตีลูกสักแปะก็ต้องคิด กลัวลูกจะเจ็บ ปกปองมามิให้มีรอยด่างพร้อย มิให้ถูกขีด ข่วนเป็นบาดแผลในร่างกายของลูก แต่ลูกสิกลับนำอวัยวะร่างกายส่วนนั้นๆ ไป สังเวยหรือรองรับคมมีดคมกระบอง หรือลูกปนของผู้อื่นโดยง่ายดายเหลือเกิน ทีเวลาพ่อแม่ตี ชอบโวยวายร้องไห้ให้ลั่นบ้าน แต่ทีไปถูกเขาตีหรือ เตะต่อยมาหน้าตาเขียวปูด ทำไมกลับชอบทำ ทำไมไม่เสียดาย
อวัยวะที่พ่อแม่อุตส่าห์ปกปองมาและเลี้ยงดูมา จนเติบโต แข็งแกร่งกันเสียบ้างเลย ทำไมจึงเป็นกันอย่างนี้ก็ไม่รู้ น่าประหลาดนัก มิใช่เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่พ่อแม่ ปกปองให้ลูก แม้ชื่อเสียงของลูกพ่อแม่ก็คอย
ปองกันไว้ให้เสมอ กลัวลูกจะเสียชื่อเสียเสียง กลัวลูกจะไม่ดีเท่าเขา จะดูได้จากเวลาที่มีใครมาด่าว่า
ลูกของตัวว่าไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้ ไปทำเสียอย่าง นั้นอย่างนี้ หรือมาว่าลูกแบบเสียๆ หายๆ อย่างอื่น พ่อแม่เป็นต้องออกรับแทนลูกก่อนทุกครั้งไป จะ ปฏิเสธเป็นพัลวันทันทีทีเดียวว่าไม่จริง เป็นไปไม่ได้ ลูกตัวไม่เป็นอย่างนั้นแน่ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็ยังไม่ได้ สืบสาวราวเรื่องเลยว่า ที่เขาพูดน่ะเท็จจริงแค่ไหน แต่ก็ปองกันชื่อเสียงลูกไว้ก่อนล่ะ จะว่าเข้าข้างลูกก็ย่อมได้
นี่แหละ “พระเทพ” ของลูกล่ะ จะหาใครที่ไหนทำได้เช่นนี้ นอกจาก “พระในบ้าน” ของเราเอง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
25
พ่อแม่ เปนพระอาจารยของลูก อาจารย์ คือ ผู้ดูแลเรื่องจริยามารยาท ความประพฤติและการกระทำของศิษย์ พร้อมทั้งเป็นผู้คอยแนะนำชี้แจงศิษย์ให้รู้จักโลก ให้มีหูตากว้างขวาง ให้มีทัศนวิสัยที่
ยาวไกล และประสิทธิ์ประสาทความรู้ความชำนาญให้เครื่องมือพร้อมมูล เพื่อศิษย์จะได้ นำไปต่อสู้เผชิญชีวิตในโลกกว้างทัดเทียมคนอื่นได้บางครั้งเราเรียกท่านว่า “อาจารย์” เรียกว่า “ครู” หรือเรียกรวมกันว่า “ครูอาจารย์” ก็มี จะเรียกอย่างไร ก็หมายถึงผู้ ให้ความรู้ผู้ดูแลมารยาททั้งสิ้น หากคนเราปราศจากครูอาจารย์อย่างชนิดทีเ่ ป็น “ศิษย์ไม่มีครู” แล้ว อย่าหวัง เลยว่าจะมีความก้าวหน้าในชีวิตทัดเทียมเขาได้ คนเราจึงต้องมีครูอาจารย์คอยให้ แบบอย่างไว้สำหรับเลียนหรือลอก ไม่ว่าจะเป็นเพียงอาจารย์ชั่วครั้งคราวหรือเป็น อาจารย์ประจำก็ตาม ดังนั้น คนเราจึงมีครูอาจารย์กันมากมายหลายคนหลายสำนัก ในจำนวนนั้น “พ่อแม่” ก็ติดอันดับว่าเป็น “ครู” เป็น “อาจารย์” ด้วย และเป็น ครูอาจารย์ที่อยู่ในอันดับหนึ่งชั้นแนวหน้ากว่าอาจารย์ทั้งหลาย โดยเป็นมาก่อนอาจารย์ ทั้งหมด ทั้งดูเหมือนว่าจะสำคัญกว่าครูอาจารย์อื่นใดด้วย ขนาดพอจะยกขึ้นเรียกว่าเป็น “พระครู” หรือเป็น “พระอาจารย์” ได้โดยไม่กระดากปาก เพราะท่านเป็นครูอาจารย์ ตลอดชีพ
¤ÃÙ¤¹áá¢Í§ªÕÇÔµ
ศิษย์ของพระครูอาจารย์ หรือพ่อแม่นั้น ก็คือ เราท่านผู้เป็นลูกนั่นเอง 26
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ครูผู้ปลูกฝงความรู้เดียงสา พ่อแม่นั้น อาจจัดเป็นครูที่ยอดเยี่ยมกว่าครูอื่นทั้งหมด ถึงขั้นเป็น “พ่อครู” และ “แม่ครู” ก็ได้ เพราะครูธรรมดาก็สอนกันแค่วิชาการในหลักสูตรเป็นพื้น แต่พ่อแม่ท่านสอนเราทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร สอนทั้งในแง่ของทฤษฎี และภาคปฏิบัติในชีวิตจริง ทั้งสอนโดยไม่ต้องมีตารางสอนไม่มีเวลาจำกัดว่าต้องสอนใน ชั่วโมงนั้นชั่วโมงนี้เหมือนครูอาจารย์ทั่วๆ ไปที่สำคัญ ครูอาจารย์ทั่วไป เขาสอนแบบมี เงินเดือน ได้รับผลตอบแทน แต่พ่อครูแม่ครูที่สอนลูก นอกจากจะไม่ได้รับเงินเดือน ตอบแทนแล้ว ยังต้องเสียเงินทองให้ลูกผู้เป็นศิษย์เสียอีก จะหาครูอาจารย์ที่ไหนเหมือน
พ่อแม่อีกเล่า เราต้องยอมรับความจริงกันว่า เวลาเราเกิดใหม่ๆ นั้น เราอาศัยตัวเองหรือ พึ่งตัวเองไม่ได้เลย โลกนี้ช่างมืดมนเสียเหลือเกินสำหรับเรา เราไม่รู้อะไรทั้งสิ้น เข้า ทำนองที่ว่า “ไม่รู้เดียงสา” นั่นแหละ ต่อมาเราจึงค่อยรู้อะไรต่อมิอะไร รู้จักโลกดีขึ้นทีละ เล็กทีละน้อย จนกระทั่งกว้างไกลออกไปจากตัวเองเรื่อยๆ “ความรู้เดียงสา” นั้น ค่อยๆ มาหาเราตามลำดับ
ความรู้เดียงสานั่น พ่อแม่ท่านให้เรา เรารับมาจากพ่อแม่เป็นอันดับแรก
ä»àŌ äÁ‹µŒÍ§¡ÅÑǹÐÅÙ¡
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
27
ครูผู้ทำหน้าที่ด้วยใจรักและเมตตา พ่อแม่สอนเรามาทุกอย่างตั้งแต่เริ่มจำความได้ สอนตั้งแต่เรื่องกิน เรื่องนอน เดิน นั่ง การขับถ่าย การใช้ผ้านุ่งผ้าห่ม ไปจนกระทั่งเรื่องสูงสุด คือ เรื่องที่ควรทำหรือ
ควรเว้น เรียกว่า ท่านสอนให้เราจนกระทั่งเราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ จนกระทั่งเรามี ความรู้ทันโลกและทันคนอื่นนั่นแหละ
ความจริง การสอนคนนี่มิใช่จะทำกันได้ง่ายๆ หากไม่รักจริงหรือไม่เมตตาจริงๆ แล้ว ก็ไม่มีใครอยากจะสอนกันให้เมื่อยปากดอก แต่สำหรับพ่อแม่แล้วดูเหมือนว่าท่านจะ
ไม่ค่อยเบื่อหน่าย ย่อท้อต่อการอบรมสั่งสอนลูกของตนเลย
ทั้งที่ต้องปากเปยกปากแฉะอยู่ทุกวันก็ตาม ทั้งนี้มิใช่เพราะเป็นหน้าที่เท่านั้น
หากแต่ท่านทำด้วยดวงใจ ที่เปยมล้นด้วยเมตตา ด้วยความรัก ความเอ็นดู ต้องการให้ลูกทุกคนเป็นคนดี
»ÅÙ¡´Í¡äÁŒ µŒ¹äÁŒ ·Ñé§ÊǧÒÁ ·Ñé§ÁÕ»ÃÐ⪹ àÅ¹Ш Ð
ให้ทำดีหนีชั่ว พาตัวให้รอดพ้น จากความลำบาก นานาประการ ในอนาคตให้ได้
หากพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ในเรื่องสั่งสอนอบรมเสียอย่างเดียว เราก็คงจะไม่เห็น ทางเดินที่ถูกที่ควรแน่ หากเราเลือกทางเดินเองจะเป็นเช่นไรลองนึกวาดภาพหรือมองดู
คนที่เขาขาดพ่อขาดแม่ หรือคนที่พ่อแม่ไม่ค่อยเอาใจใส่ดูก็ได้ จะเห็นภาพเด็กเกเรเหลือขอ
ไม่มีการศึกษา ด้อยทั้งความคิด ด้อยทั้งปัญญา มีแต่จะก่อปัญหาให้แก่สังคมท่าเดียว
ท้ายสุดอนาคตก็จะฝากไว้กับสิ่งเสพติดสารพัดชนิด บรรดามี เช่น สุรา บุหรี่ ฝน เฮโรอีน ซึ่งบั้นปลายของชีวิต ถ้าไม่จบลงด้วยคุกตะราง ก็จบลงด้วยคมมีด คมกระสุนปน หรือไม่
งั้นก็ตายทั้งเป็นด้วยความทรมาน เพราะฤทธิ์สิ่งเสพติดเหล่านั้น
28
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ครูผู้มีวาจาต่างกับใจ ขึ้นชื่อว่าพ่อแม่ย่อมมองเห็นลูกเป็นเด็กอยู่ร่ำไปในสายตา แม้ว่าลูกจะโตถึง มีเหย้ามีเรือนเป็นฝงเป็นฝาไปแล้ว หรือมียศมีศักดิ์มีหน้ามีตาในสังคมไปแล้วก็ตามที
หรือบางทีลูกเป็นครูบาอาจารย์ของคนทั่วเมืองเสียด้วยซ้ำไป แต่พ่อแม่ก็ยังมองเห็น เป็นเด็กอยู่ร่ำไป คอยเตือนคอยอบรมลูกอยู่นั่นแล้ว ระวังเนื้อระวังตัวนะลูกนะ ลูกเป็น เจ้าคนนายคนแล้ว สิ่งนั้นสิ่งนี้อย่าทำนะลูกนะ สารพัดที่พ่อแม่จะสรรหามาอบรมลูก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พ่อแม่ไม่คำนึงหรอกว่าลูกจะโตใหญ่สักปานใด ท่านคิดแต่เพียงว่าเป็นลูกของ ท่าน ท่านก็ยังห่วงใยอยู่วันยังค่ำ และตั้งตัวเป็นพระอาจารย์ของลูกอยู่ร่ำไป
คำสอนของพ่อแม่นั้นย่อมมีค่าอยู่เสมอ
แม้ว่าคำสอนบางคำบางตอน จะออกมาปะปนกับถ้อยคำ ที่ฟงดูหยาบคาย
และภายใต้สีหน้าอันบึ้งตึง ก็ยังจัดเป็นคำสอน อันประเสริฐอยู่นั่นเอง
เพราะว่าคำสอนนั้น ได้กลั่น ออกมาจากน้ำใจอันประเสริฐบริสุทธิ์ ต่อลูกของท่าน กลั่นมาจากความรัก ความปรารถนาดีที่จะเห็นลูกเป็นคนดีต่อไป ในอนาคต กลั่นมาจากความห่วงใยในลูกของตน คำพูดที่หยาบคายหรือสีหน้าอันบึ้งตึงนั้นเป็นส่วนประกอบต่างหาก เป็นเปลือกนอกที่ จะถือเอาเป็นอารมณ์ไม่ได้ หากจะพูดอย่างยุติธรรมแล้ว เราผู้เป็นลูกนั่นแหละ ก็มีส่วนที่ทำให้ท่านต้องพูด หรือแสดงสีหน้าเช่นนั้นออกมา ลองใคร่ครวญกันดูเถิด สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
29
บุญยิ่งใหญ่ ที่มีพ่อแม่อยู่เปนครูสั่งสอน ลูกที่มีพ่อแม่คอยอบรมตักเตือนอยู่เสมอนั้น นับเป็นบุญอย่างล้นเหลือแล้ว
ลูกที่ยังมีพ่อแม่คอยแนะนำ หรือคอยเข้มงวดกวดขันอยู่ร่ำไปนั่นแหละ ต่อไปภายหน้าจะเอาตัวรอดได้เสมอ หากสิ้นพ่อแม่เสียแล้ว
อย่าหวังเลยว่าใครอื่นเขาจะมาคอย เป็นพี่เลี้ยง เป็นกระจกเงา หรือ เป็นผู้คอยจ้ำจี้จ้ำไช
บอกทางเดินให้เรา ด้วยความรักอันบริสุทธิ์ เหมือนพ่อเหมือนแม่ ดังนั้น แม้ว่าคำสอนของท่าน จะรุนแรงไปบ้าง ก็น่าที่จะได้จดได้จำไว้ น้อมรับ
ฟังด้วยความเต็มใจเท่ากับว่าพ่อแม่ได้ฝากขุมทรัพย์อันมหาศาลที่จะกินที่จะใช้ไม่มีวัน หมดไว้ให้ ดีกว่าท่านมอบมรดกเป็นเงินเป็นทองให้เสียอีก เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจหมด ไปเมื่อไรก็ได้ ส่วนคำสอนนั้นย่อมมีประโยชน์ใช้ได้ไม่มีวันหมด อย่างน้อยก็นำไปอบรมลูก หลานของตัวต่อไปได้ มีพ่อแม่ไม่น้อยเหมือนกันที่ไม่รู้จะอบรมลูกของตนให้ดีได้อย่างไร มันจนแต้มจน ปัญญา ที่จะหาคำสอนมาว่ากล่าวแนะนำลูกได้ ที่เป็นดังนี้ก็เพราะตอนที่ตัวเอง ยังเป็นเด็กเป็นลูกของพ่อแม่นั้น ไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อนบ้าง หรือได้รับการอบรม มาเหมือนกัน แต่ไม่เคยสนใจที่จะฟัง ไม่เคยสนใจที่จะจดจำรับรู้บ้าง จึงพอถึงคราวที่จะ ต้องมาอบรมลูกของตัวบ้างก็เลยจนแต้ม อึดอัดใจด้วยบอกไม่ถูกสอนไม่ได้ หนักเข้า
ก็เลยปล่อยลูกไปตามเรื่องตามราว ยกให้เป็นเรื่องของเวรของกรรมไป
เลยเป็นเวรกรรมของลูกไปเสียจริงๆ ! 30
ตำแหนงพอแม
พระในบาน : พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช)
ครูผู้มีแต่ความอาทรห่วงใย พ่อแม่มีสถานะเป็นพระอาจารย์ของลูก ลูกอยู่ในสถานะเป็นทั้งลูกเป็นทั้งศิษย์
ซึ่งรวมเรียกว่า “ลูกศิษย์” หรือเป็นศิษย์ในฐานะ เป็นลูกอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ ระหว่างศิษย์กับอาจารย์คู่นี้ จึงมีอย่างแน่นแฟน ล้ำลึกและสนิทแน่น กว่าศิษย์กับอาจารย์อื่นๆ เพราะมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดปนอยู่ด้วย หรือจะพูดอีกทีก็คือ มีเลือดอย่างเดียวกันนั่นเอง
พ่อแม่นอกจากจะเป็นอาจารย์ประจำบ้าน ประจำชีวิต และประจำวันแล้ว พ่อแม่ยังหาพอใจเพียงแค่ให้ลูกรู้จักโลกเท่าที่ตนอบรมสั่งสอนเท่านั้นไม่ ยังใจกว้าง พอที่จะส่งลูกให้ไปศึกษาหาความรู้จากอาจารย์อื่น ให้อาจารย์อื่นช่วยอบรมลูกของตน
ต่อ ในสิ่งที่ตนไม่อาจจะสอนให้ได้ โดยส่งให้เข้าโรงเรียนจนกว่าจะจบการศึกษาตาม หลักสูตร หรือจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนหรือสถาบันนั้นๆ พ่อแม่บางคนให้ลูกเรียนในบ้านในเมืองของตนยังไม่พอใจ ยังยอมให้ลูกไป เรียนต่อถึงเมืองนอก แม้จะรักจะห่วง และสิ้นเปลืองอย่างไรก็ยอมให้ลูกไป ตัวเองยอม ทนนอนคิดถึงลูกรอวันรอคืนที่ลูกจะได้รับความสำเร็จกลับมาให้ชื่นใจ
นี่คือน้ำใจ “พระอาจารย์” ของลูกล่ะ
ขอเชิญ ร่วมปลูกฝงคุณธรรม คือ ความกตัญูกตเวที ด้วยการมอบหนังสือเล่มนี้ แก่โรงเรียน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทย ได้สร้างความดี ไปเสริมความเก่ง แล้วเป็นสุขกันทุกคน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ตำแหนงพอแม
31