พุทธทาสภิกขุ.
Dhamma Guide : D.G. ณัฐพันธ ปนทวีเกียรติ บรรณาธิการสาระ : ศักดิ์สิทธิ์ พันธุสัตย ออกแบบปก : อนุชิต คำซองเมือง บรรณาธิการศิลปะ : อนุชิต คำซองเมือง ภาพประกอบ : สมควร กองศิลา รูปเลม/จัดอารต : วันดี ตามเที่ยงตรง
คำนำสำนักพิมพ์ หนังสือ “คู่มือมนุษย์” เป็นคำบรรยายของพระเดชพระคุณ พระอาจารย์ท่านเจ้าคุณพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ) หรือท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี นั้นได้รับการยอมรับ และเป็นที่นิยมชมชอบจากชาวพุทธ อย่างกว้างขวางจนมีการนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ในหลายประเทศ ทั้งนี้ ก็เพราะว่าท่านพุทธทาสได้บรรยายเรื่องที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ทุกคนควร จะต้องรู้ และควรจะต้องปฏิบัติตามให้จงได้ เพื่อความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง เนื้อหาของหนังสือ “คู่มือมนุษย์” ฉบับสมบูรณ์ เป็นคำบรรยาย อบรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงแก่ผู้ที่จะรับการโปรดเกล้าฯ เป็น ตุลาการ รุ่นปี ๒๔๙๙ ณ ห้องบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา อยู่ในช่วง วันที่ ๒ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙ แสดงจำนวน ๑๐ ครัั้ง แบ่งเป็น ๑๐ หัวเรื่อง ตามลำดับดังนี้ ครั้งที่ ๑ : ใจความสำคัญของพุทธศาสนา (พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร) ครั้งที่ ๒ : ไตรลักษณ์ (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) ครั้งที่ ๓ : อุปาทานสี่ (อำนาจของความยึดติด) ครั้งที่ ๔ : ไตรสิกขา (ขั้นของการปฏิบัติศาสนา) ครั้งที่ ๕ : เบญจขันธ์ (คนเราติดอะไร) ครั้งที่ ๖ : สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ)
ครั้งที่ ๗ : สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค (การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา) ครั้งที่ ๘ : อริยบุคคลกับการละกิเลส (ลำดับแห่งความหลุดพ้นจากโลก) ครั้งที่ ๙ : พุทธศาสนากับคนทั่วไป (พุทธศาสนาสอนศิลปะการเป็นคน) ครั ้งที่ ๑๐ : ตุลาการตามอุดมคติแห่งพระพุทธศาสนา (ภาคสรุปความ)
ดังนี้แล้ว สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ จึงได้นำคำ บรรยายอันเปี่ยมคุณค่าของท่านพุทธทาสภิกขุมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์ ใหม่ เป็นฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย โดยแยกเป็นหัวเรื่องละ ๑ เล่ม เพื่อ ความสะดวกแก่ผู้อ่าน เพิ่มภาพประกอบพร้อมคำการ์ตูน ชูคำเด่น เน้น ข้อความ สร้างหัวข้อหน้า แบ่งวรรคตอน ซอยขึ้นบรรทัดใหม่ หน้าใหม่ ใส่สีสัน เสริมธรรม ให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เมื่ออ่านไปทีละเล่ม ทีละหัวเรื่องแล้ว จะทำให้เราเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนและหลักปฏิบัติ ที่ถูกต้องทางพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้นทีละขั้นในที่สุด ในหนังสือ “คู่มือมนุษย์ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เล่มที่ ๒” นี้ มีชื่อหัวเรื่องที่สำคัญว่า “ไตรลักษณ์” (ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง) เป็นการนำเสนอใจความสำคัญโดยย่อของพุทธศาสนาอย่างเรียบง่ายและ ชัดแจ้งที่สุดแก่บุคคลทั่วไปทุกประเภท ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า... “การพิจารณาให้เห็นว่าสิ่งทั้งปวงว่างจากความหมาย หรือ สาระที่ควรเข้าไปยึดถือนั้นเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนาแท้” ดังนั้นจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยเป็นคู่มือชี้ทาง ให้เราทุกคนได้พบเจอแสงสว่างแห่งชีวิตเพื่อมุ่งสู่เส้นทางแห่งการดับทุกข์ อย่างสิ้นเชิง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในที่สุด
ขออนุโมทนา สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
กราบนมัสการและกราบสวัสดี ผู้มีบุญทุกท่าน “มนุษย์จำต้องมี ‘คู่มือมนุษย์’ ด้วยหรือ ??” หลายๆ ท่านอาจจะเกิดความสงสัยขึ้นมาในใจ เมื่อได้เห็นหนังสือ ชื่อแปลกๆ เล่มนี้นะครับ “เอ๊ะ!! แล้ว มนุษย์ คืออะไร ??” “แล้วเราเป็น มนุษย์ หรือเปล่า ??” “เราไม่ใช่ มนุษย์ หรือ??” “คนคือมนุษย์ ?? มนุษย์ก็คือคนนี่ ??” หากคุณเข้าใจง่ายๆ แบบนี้แล้วล่ะก็... “หนังสือคู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ฉบับอ่านง่ายเข้าใจง่าย โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ที่คุณถืออยู่ในมือเล่มนี้จะทำให้คำตอบของคุณได้รับความกระจ่าง ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุณต้องอุทานออกมาว่า... “เราต้องกลับไปเป็น มนุษย์ ให้ได้ !!” ในที่สุด
โปรดใช้เล่มนี้ให้คุ้มสุดคุ้ม & อ่านแล้ว -> แบ่งกันอ่านหลายท่านนะจ๊ะ
อ่านสิบรอบ ระดมสมองคิดสิบหน ฝึกฝนปัญญา พัฒนาการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จิตมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันสรรพสิ่ง ฉลาดใช้ เฉลียวคิด ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น เฉกเช่นพระนิพพาน สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ ปรารถนาให้ทุกครอบครัวมีความสุข
เจริญในธรรมครับ ทุกๆ ท่าน
๑. ศีลธรรม กับ ศาสนา มีขอบเขตต่างกัน ๒. หลักคำสอนของพุทธศาสนาอย่างง่ายที่สุด คือ สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ๓. รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คือ รู้ “ไตรลักษณ์” ๔. รู้ “สุญญตา” เท่ากับรู้ไตรลักษณ์ทั้ง ๓ ๕. ไม่มีอะไรน่าเอา น่าเป็น คือที่สุดแห่งพุทธศาสนา ๖. “วัฏสงสาร” วังวนแห่งกิเลส กรรม วิบาก มากทุกข์ ๗. ๓ อยาก ต้นตอก่อทุกข์ สุขจางหาย ๘. เห็นแจ้งไตรลักษณ์ คือทางขจัด ๓ อยาก ขจัดทุกข์ ๙. อยู่ด้วยสติปัญญา พาสิ้นทุกข์ สุขอนันต์ แวะเล่าชาดก : โลภมาก ลาภหาย สวดมนต์รักษากายใจในยามเจ็บป่วย
๖ ๑๑ ๑๓ ๒๓ ๒๘ ๓๓ ๓๘ ๔๓ ๔๙ ๖๔ ๗๓
๑.
*
ศีลธรรม กับ ศาสนา มีขอบเขตต่างกัน
ธรรมะจะทำให้จิตใจของเรา สว่าง สะอาด สงบ เข้าใจไหม ?
ท่านที่จะเป็นผู้พิพากษาทั้งหลาย อาตมาได้กล่าวแล้วในการ บรรยายครั้งก่อนว่า... “ศีลธรรม” กับ “ศาสนา” นั้นมีขอบเขตต่างกัน ข้อนี้เป็นสิ่งที่จะต้องกำหนดไว้ให้ดี มิฉะนั้น จะเข้าใจไปว่ามีอะไร ซึ่งขัดกันหรือปนกัน * บรรยาย อบรมผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษา ณ ห้องบรรยาย ของ เนติบัณฑิตยสภา
๔ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระอริยนันทมุนี.
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
ศีลธรรม มุ่งความผาสุก ศาสนา มุ่งความพ้นทุกข์
ศีลธรรม ขจัดกิเลสหยาบ
ศาสนา ขจัดกิเลสละเอียด
ขอย้ำในที่นี้อีกว่า “ศีลธรรม” นั้นเป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อจะกำจัดความทุกข์ ความยุ่งยาก ความระส่ำระส่าย ในชั้นแรกๆ ที่เป็นเรื่องโลกๆ เป็น เรื่องของสังคมหรือเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ผาสุกกันในชั้นต่ำๆ ส่วน บุคคล ส่วนหน้าที่ของ “ศาสนา” นั้นไปไกลจนถึงกับสามารถกำจัด ความหม่นหมองทุกชนิด ที่เหลือวิสัยที่ศีลธรรมจะกำจัดได้ เช่น ความ ยุ่งยากใจเป็นส่วนตัว ความทุกข์ในใจอันเกิดมาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และกิเลสชั้นละเอียดเหล่านี้ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ “ศีลธรรม” ทั้งหลาย จะช่วยกำจัดให้ได้ แต่ว่าอยู่ในวิสัยหรือเป็นหน้าที่ของสิ่งที่เราเรียกกันว่า “ศาสนา” จะช่วยกำจัดให้โดยตรง เพราะฉะนั้นจึงมีขอบเขตที่ต่างกัน แม้ว่าเราจะรวมเอาศีลธรรม เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาก็ตาม ศีลธรรม เป็นสิ่งที่มีขอบเขตจำกัด อยู่ในวงจำกัดวงหนึ่ง มีหน้าที่เพียงเท่านั้น ไม่ครอบคลุมกว้างไปเท่ากับ ขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า ศาสนา เลย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
ขอบเขตของ ศีลธรรม สรุปลงใน เบญจศีล-เบญจธรรม หมั่นทำบุญ รักษาศีล และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คอยตามรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวัน แล้วเราจะพบกับความสุขอย่างแท้จริงนะโยม
สาธุเจ้าค่ะ
เรื่องของ ศีลธรรม นั้น เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็ไม่มีอะไร มากไปกว่าหลักแห่ง ศีล และ ธรรม ๕ คู่ ของพุทธศาสนา หรือ ศาสนาอื่นๆ ที่เป็นเครือเดียวกัน หลัก ๕ ประการนั้น คือ... การไม่เบียดเบียน พยาบาทปองร้าย ริษยากัน ทั้งทาง กาย ทางวาจา และทางจิต ทุกวิถีทาง แต่กลับมีการกระทำที่ตรงข้าม คือมีเมตตาปรานี ไม่เหยียดหยาม ดูหมิ่นกัน สมัครสมานสามัคคีกัน มีความประพฤติและความคิดเห็นไม่ขัดแย้งกัน มีความกตัญญูกตเวที โดยถือว่าสัตว์ทั้งปวงที่อยู่ร่วมโลกกัน ล้วนแต่เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกัน ทั้งมนุษย์และเดรัจฉานต่างมีบุญคุณที่สัมพันธ์กันสนิทอย่างที่จะ หลีกเลี่ยงไม่ได้
๑.
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
๒.
การไม่ลักขโมยแย่งชิงกัน ไม่เอาเปรียบบุคคลและสังคม ทั้งซึ่งหน้าและลับหลัง แต่กลับมีการแสวงหาและเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้ปันกันในสิ่งของ ความรู้และความดี ขวนขวายช่วย ผู้อื่นในกิจที่ควรช่วย มีความพากเพียรเพื่อความเจริญก้าวหน้า ประหยัด มัธยัสถ์ บูรณะซ่อมแซม ขยันขันแข็งในหน้าที่การงานของตน เพื่อไม่ต้อง เป็นขโมย เพื่อตั้งตัวและดำรงวงศ์สกุล และเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ปฏิบัติตามสัญญาประชาคมอย่างเคร่งครัด
๓.
ไม่ล่วงละเมิดของรัก และบุคคลเป็นที่รักของคนอื่น ทุกชนิด ไม่ปล่อยตัวตามกระแสตัณหา แต่กลับมีความสันโดษยินดีใน ของรักหรือประโยชน์ของตนที่ได้มาหรือมีอยู่โดยชอบธรรม ไม่อยาก ใหญ่ในกาม เป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่โลภจนผิดธรรม
๔.
การไม่กล่าวเท็จ ทางกาย ทางวาจา หรือทางตัวอักษร ทุกวิถีทาง แต่กลับเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้ มีประโยชน์ควรแก่การฟังของ ผู้อื่น มีสัตย์ มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง ไม่มีมายาสาไถย และ
ศีลธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ดีที่ชอบ ซึ่งก็ได้แก่ เบญจศีล
เบญจธรรม ๕ คู่ คือ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ คู่กับมีเมตตา ๒. ไม่ลักทรัพย์
คู่กับเลี้ยงชีพชอบ ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม คู่กับสทารสันโดษ (ยินดี ในคู่ครองของตน) ๔. ไม่พูดปด คู่กับมีสัจจะ ๕. ไม่ดื่มสุรา คู่กับมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
๕.
การไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขทุกชนิด หรือสิ่งมึนเมา เสพติด ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม อันเป็นทางแห่งความประมาท มัวเมา เสียความปรกติแห่งสติสมปฤดีทุกประการ แต่กลับเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ เห็นถูกเชื่อถูก ไม่งมงาย มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่สะเพร่าเลินเล่อ มีความอดกลั้นอดทนในการศึกษา ในการบังคับตัวเอง ปฏิบัติถูกทั้งต่อมิตร และศัตรู รู้จักฐานะและประมาณ รู้จักกาลเทศะ รู้จักสังคมและบุคคล มีการสำรวม มีมารยาทดี ไม่ดื้อกระด้าง มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวบาปได้โดยลำพังตนเอง มีการศึกษาดี มีเพื่อนดี มีความใคร่ในทางดี ไม่เปิดโอกาสให้ใครดูหมิ่นได้ รู้จักเลือกใช้คนและคบคน
ศีล และ ธรรม ทั้งหมดนี้ มีความมุ่งหมายผลเพียงความเป็นอยู่ อย่างสงบเรียบร้อยของสังคมทั่วไป และเป็นความผาสุกขั้นต้นๆ อันเป็นวิสัยของปุถุชน มิได้หมายสูงพ้นขึ้นไปถึงการดับทุกข์ หรือตัดกิเลสเด็ดขาดสิ้นเชิงจนเป็นพระอริยเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ โดยตรงของตัวศาสนา แม้ข้อนี้ก็เป็นหลักที่ควรกำหนดไว้ให้ตายตัว
ศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนที่เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัจธรรม 10
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
๒.
หลักคำสอนของพุทธศาสนาอย่างง่ายที่สุด คือ สอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ต่อจากนั้นอาตมาได้กล่าวให้ทราบว่า
สิ่งที่เรียกว่า พุทธศาสนา นั้น อาจจะจำกัดความลงไปสั้นๆ ว่า ได้แก่ วิชาหรือระเบียบปฏิบัติ ที่จะทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างถูกต้องเท่านั้น
คำจำกัดความข้อนี้ก็เหมือนกัน เป็นสิ่งที่ควรกำหนดไว้ให้แม่นยำ เพราะเป็นวิธีหรืออุบายอันหนึ่ง ที่จะทำให้ท่านทั้งหลายเข้าใจพุทธศาสนา ได้ง่ายที่สุด พุทธศาสนาที่ใครๆ เห็นกันว่ามีเรื่องอะไรมากมาย หลายสิบ หลายร้อยเรื่องนั่นแหละ เราอาจเข้าใจได้ง่ายๆ โดยหลักที่ว่าเป็นวิชา ที่บอกให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไรเท่านั้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
11
หลักสำคัญมีอยู่ว่า ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องแท้จริง แล้ว แม้ไม่ต้องมีใครมาสอนเรา เราก็สามารถปฏิบัติถูกต่อสิ่งเหล่านั้น ได้เอง ถ้าเรายังไม่สามารถปฏิบัติถูกต่อสิ่งเหล่านั้น ก็แปลว่าเรายังไม่รู้จัก ว่าสิ่งเหล่านั้นคืออะไรโดยสมบูรณ์ ข้อนี้ขอให้ถือเป็นหลักทั่วๆ ไปว่า...
ถ้าเรารู้จักว่า อะไรเป็นอะไรจริงๆ แล้ว หมายความว่าเราต้องรู้ว่า เราจะพึงปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ อย่างไรด้วย เช่น เรารู้จักว่าชีวิตนี้คืออะไร รู้จักหน้าที่การงานของชีวิตดีว่าคืออะไร รู้จักที่มาและที่ไปในเบื้องสุดท้ายของชีวิตดี อย่างนี้เป็นต้น เราก็สามารถจะปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี จนกระทั่งลุถึงสิ่งที่เรียกว่า พระนิพพาน อันเป็นที่หมายปลายทางเป็นที่สุดที่จบของหน้าที่ ที่ชีวิตทั้งหลายจะพึงกระทำ
เพราะฉะนั้น จึงสรุปไว้ในคำสั้นๆ ว่า การรู้ว่าอะไรเป็นอะไร นั่นแหละ เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ เมื่อเรารู้ว่าความทุกข์คืออะไร หรือชีวิตคืออะไรโดยสิ้นเชิง แล้ว ก็สามารถดับความทุกข์ หรือทำชีวิตนี้ให้ปราศจากความทุกข์ได้ นั่นคือ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 12
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
๓.
รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คือ รู้ “ไตรลักษณ์”
อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา
บัดนี้ อาตมาอยากจะกล่าวต่อไปถึงข้อที่ว่า...
ที่ว่ารู้ว่าอะไรเป็นอะไรนั้น ถ้ากล่าวตามหลักแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว ก็คือรู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิ่งที่ประกอบอยู่ ด้วยลักษณะอันเรียกว่า “ไตรลักษณ์” หรือลักษณะ ๓ ประการ
เพราะฉะนั้นอาตมาจะได้บรรยายเรื่องลักษณะ ๓ ประการนั้น ในวันนี้ ลักษณะ ๓ ประการนั้น ท่านทั้งหลายอาจได้ยินได้ฟังกันอยู ่
ทั่วๆ ไปเป็นส่วนใหญ่แทบทุกคนก็ว่าได้ นั่นคือคำที่คนเฒ่าคนแก่พูดกัน ติดปากว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
13
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเน้นรู้ให้เข้าใจ
อนิจจังลักษณะหนึ่ง, ทุกขังลักษณะหนึ่ง, อนัตตาลักษณะหนึ่ง, แต่ความหมายของคำทั้งสามนี้ออกจะลึกซึ้งซับซ้อน ยากที่จะเข้าใจ หรือ ถึงกับเห็นแจ้งสำหรับคนทั่วไปได้ เราจึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกัน ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะถ้าจะตอบคำถามที่ว่าอะไรเป็นอะไร ให้ถูก ตรงกันจริงๆ แล้ว มันตอบได้ง่ายเหลือเกินว่า
ทุกๆ อย่าง ทุกๆ สิ่ง เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นแหละคือ ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง
ทำไมทุกคนเกิดมา ต้องแก่ ต้องเจ็บ ด้วยคะ เพราะมันเป็นกฎของธรรมชาติ ที่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง จากเด็กเป็นสาว จากสาวเป็นแก่ เป็นเรื่องธรรมดา อนิ จจัง = ไม่เที่ยง
“อนิจจัง” แปลว่า ไม่เที่ยง มีความหมายว่าสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงประเภทที่เป็นสังขาร คือมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งนั้น มีลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีความคงที่ตายตัว 14
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
ขอธรรมคุ้มครอง คุณยายนะคะ ชีวิตของคนเรานี้ เป็นทุกข์ น่ากลัวจริงหนอ
“ทุกขัง” แปลว่า เป็นทุกข์ มีความหมายว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ประเภทสังขาร มีลักษณะที่เป็นทุกข์ มองดูแล้วน่าสังเวชใจ นำให้เกิด ความทุกข์ใจแก่ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ “อนัตตา” แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน มีความหมายว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งประเภทที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร ไม่มีความหมาย หรือลักษณะแห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีความหมาย หรือลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือเป็นหลักได้ว่า มันเป็นตัวเป็นตน ถ้าเราเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่าไม่มีตัวไม่มีตน จะเกิดขึ้นมาเอง ในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราหลงไปเห็น หรือหลงสำคัญ ว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น เพราะความไม่รู้ไม่เห็น อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง ว่าอะไรเป็นอะไรนั่นเอง สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
15
ทรงสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มากกว่าเรื่องอื่นใด
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สรรพสิ่งในโลก ต้นไม้ ก้อนหิน ภูเขา ตัวตนของเธอ ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแจ้งเช่นนี้ เธอจักพ้นทุกข์
สาธุ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ขอให้ทราบว่า ลักษณะ ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ เป็นคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากที่สุด กว่าคำสั่งสอนทั้งปวง จนถึงกับเรียกว่า พหุลานุสาสนี * คือ พระโอวาทที่ทรงสั่งสอนมากที่สุด บรรดาคำสั่งสอนทั้งหลายจะนำมารวบยอดอยู่ที่ การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ทั้งนั้น
บางทีก็กล่าวตรงๆ ด้วยคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บางทีก็พูด ด้วยคำหรือโวหารอย่างอื่น แต่ใจความแสดงความจริงอย่างเดียวกันทั้งนั้น คือแสดงให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา * อ่านว่า พะ-หุ-ลา-นุ-สา-สะ-นี แปลว่า คำสอนที่สอนมาก มาจากคำว่า พหุละ (มาก) + อนุสาสนี (คำสอน)
16
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
อนัตตา มีสอนเฉพาะในพระพุทธศาสนา
“อนิจจัง” ที่แปลว่าไม่เที่ยง คือเปลี่ยนแปลงเสมอ ข้อนี้พอจะ เข้าใจได้ไม่ยากนัก ยิ่งมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันอันกล่าว ด้วยสภาพที่แท้จริงของสสารและกำลังงานด้วยแล้ว ยิ่งช่วยได้มาก คือช่วย ให้เข้าใจได้ ช่วยให้เห็นชัดแจ้งได้ว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจริงๆ คำสอนข้อนี้เป็นคำสอนที่สอนกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ เป็นแต่ ไม่ได้ขยายความของความไม่เที่ยงให้ลึกซึ้งเหมือนพระพุทธองค์เท่านั้น “ทุกขัง” ซึ่งแปลว่า ดูแล้วสังเวชใจ นี้ก็เหมือนกัน มีการสอน มาแล้วแต่ก่อนพระพุทธเจ้า แต่ไม่ลึกซึ้งถึงที่สุด ไม่ประกอบไปด้วยเหตุ ด้วยสมุฏฐาน และไม่ชี้วิธีดับที่สมบูรณ์จริงๆ ให้ได้ เพราะยังไม่รู้จักตัว ความทุกข์อย่างเพียงพอเท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ส่วนคำสั่งสอนเรื่อง “อนัตตา” ซึ่งมีความหมายว่า ไร้ตัวตนอันแท้จริงนั้น มีสอนแต่ในพุทธศาสนา คือจะสอนเรื่องอนัตตาแต่เฉพาะพระพุทธเจ้า หรือบุคคลประเภทพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ข้อนี้เป็นเครื่องรับรอง หรือเป็นเครื่องบ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ร ู้
ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดเท่านั้น ที่จะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา เหตุนั้นจึงมีสอนแต่โดยพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ได้ถึงที่สุดเท่านั้น สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
17
เห็นทุกสิ่งไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น = เห็นไตรลักษณ์
คำสั่งสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ มีวิธีที่จะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เห็นแจ้งมากมาย หลายอย่างหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเอาผลของ การปฏิบัติจนเห็นแจ้งในสิ่งเหล่านี้เป็นหลักแล้ว เราจะพบว่ามีข้อสังเกต ได้ง่ายๆ ข้อหนึ่ง คือ
การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น ต้องเป็นการเห็นจนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ ไม่มีอะไรที่น่าอยากน่าปรารถนา ในทางที่จะเอา จะได้ จะมี จะเป็น
ทำไมหลวงปู่ถึงสอน ว่าทุกอย่างไม่น่ายึดถือ เป็นของเราจ๊ะพี่
แม้กระทั่งร่างกายของเรา สุดท้ายก็ต้องทิ้งไป
้ไม่มีอะไร เพราะทุกอย่างในโลกนี ที่จะยึดถือเป็นของเราได้จริงๆ นะสิ
ทิ้ง เหมียว..ว..ว !
ซึ่งอาตมาจะขอสรุปสั้นๆ ว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น” นี้ เป็นความหมายที่กะทัดรัด ที่สุดของการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 18
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
ไตรลักษณ์ ไม่อาจเห็นแจ้งด้วยการฟังหรือคิดคำนวณ แม้คนที่ไม่เคยได้ยินคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาแต่กาล ก่อน อย่างท่านทั้งหลายบางท่านเป็นต้นนี้ ก็อาจเห็นตัว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ได้หรืออยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว คือ
เมื่อท่านได้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ก็ตาม หรือในความมีความเป็นอย่างใดก็ตาม ว่าเป็นความหลอกลวง เป็นมายา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ด้วยการมองชีวิตจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ ดังนี้แล้ว นั่นแหละคือ การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถูกต้องของท่าน
ส่วนคนที่ท่องบ่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทั้งเช้าเย็นกลางวัน กลางคืนหลายร้อยครั้งหลายพันครั้งมาแล้ว ก็ไม่อาจเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ เพราะไม่ใช่เป็นวิสัยที่จะเห็นได้ด้วยการฟัง ด้วยการท่อง หรือแม้ด้วยการคำนึงคำนวณตามหลักเหตุผล
การคำนึงคำนวณตามหลักแห่งเหตุผลนั้น ไม่ใช่ “การเห็นแจ้ง” อย่างที่เรียกว่า “เห็นธรรม”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ไม่มีทานใดจะยิ่งใหญ่และมีอานิสงส์มากเท่า เพราะการให้ทาน ด้วยธรรมะเป็นการช่วยคนให้มีปัญญา ให้เป็นคนดี พ้นทุกข์ มีสุข จึงควรให้ธรรมทาน
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
19
เห็นแจ้งด้วยใจ จึงจัดว่า “เห็น” อย่างแท้จริง เมื่อรู้ว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ควรทำยังไง
ก็ทำใจให้ยอมรับความจริง ไม่เข้าไป ครอบครอง ยึดมั่น ถือมั่น
มีสติ เห็นจริง ไม่ถือมั่น
การคำนวณตามเหตุผลนั้น ต้องอาศัยอยู่กับเหตุผล เมื่อเหตุผล เปลี่ยนแปลง เพราะความไม่เที่ยง เป็นต้น สิ่งนั้นก็พลอยเลือนไปด้วย เลือนไปตามเหตุผล หรือโยกเยกไปตามอำนาจแห่งเหตุผล
การเห็นธรรม จึงไม่อาจจะเห็นได้ ด้วยการคำนวณตามเหตุผล แต่ต้องเห็นแจ้งด้วยความรู้สึกในใจแท้จริง คือเห็นด้วยใจจริง
ขอยกตัวอย่างเช่น บุคคลที่พิจารณาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ทำความ เจ็บปวดให้แก่ตนผู้เข้าไปหลงรักอย่างสาสมกันแล้ว ดังนี้เป็นต้น นี้เห็น ได้ว่าเป็นการเห็นที่ไม่ต้องอาศัยเหตุผล แต่อาศัยการที่ได้กระทบกันจริงๆ และเกิดผลเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริงๆ จนเกิดเป็นความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความสลดสังเวชขึ้นมาจริงๆ อย่างนี้ จึงเรียกว่าเห็นธรรม หรือเห็นแจ้ง การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมายถึง การเห็นโดยวิธีนั้น 20
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
มองเป็น ก็เห็น ไตรลักษณ์ ในทุกสรรพสิ่ง
เพราะฉะนั้นจึงเชื่อว่าคนทุกคนที่มีสติปัญญาตามปรกติ เมื่อได้ ผ่านสิ่งต่างๆ ในโลกมาพอสมควรแล้ว ย่อมจะมีโอกาสใดโอกาสหนึ่ง ซึ่งได้ผจญกับอารมณ์ต่างๆ ในโลก จนเกิดผลเป็นความรู้จักสิ่งเหล่านั้น อย่างถูกต้องว่าเป็นเพียงมายา เป็นความหลอกลวงดังนี้แล้วเกิดความรู้สึก ที่ทำให้ถอยหลัง ไม่หลงใหลพัวพันในสิ่งนั้นอีกต่อไป
การเห็นแจ้งทำนองนี้อาจเลื่อนสูงขึ้นไปได้ตามลำดับๆ จนกว่าจะถึงอันดับสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายหรือเรื่องใหญ่ที่สุด ที่ทำให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงได้ นี้เรียกว่า เป็นการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของบุคคลผู้นั้นอย่างแท้จริง
ส่วนผู้ที่แม้จะท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอย่างนั้น อย่างนี้อยู่ทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าไม่เกิดความรู้สึกถอยหลังต่อสิ่งทั้งปวง คือ ไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากยึดถือในอะไรแล้ว ก็เรียกว่า ยังไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่นั่นเอง ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิด คราคิดติดขัด หยุดพักสักนิด มิต้องเร่งอ่านให้จบ หนังสือเล่มนี้อยู่ในมือท่าน โปรดอ่านแล้วอ่านอีก จักเข้าใจทีละนิด อีกไม่นานท่านจักเชื่อมโยงสรรพความคิด สัมมาทิฏฐิ สรรพธรรม ที่ท่านได้สั่งสมมาจากการศึกษาและปฏิบัติ จักนำท่านสู่ความพ้นทุกข์ได้ทีละนิด สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
21
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงสรุปความ ของการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลงไว้ที่คำว่า...
เห็นจนเกิดความรู้สึกว่า
ไม่มีอะไรที่ น่าเอา น่าเป็น
และอาตมาจึงได้พยายามชี้แจงหรืออธิบายในส่วนนี้ เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้เข้าใจคำว่า “ไตรลักษณ์” หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พร้อมทั้งวิธีปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งไปในตัว
๔.
รู้ “สุญญตา” เท่ากับรู้ไตรลักษณ์ทั้ง ๓
พุทธศาสนามีคำอยู่คำหนึ่ง เป็นคำรวมยอด คือคำว่า...
“สุญญตา” ซึ่งแปลว่า ความเป็นของว่าง คำว่า “ว่าง” ในที่นี้ ก็คือ ว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน คำๆ นี้ กินความรวมยอดไปถึงหมดทั้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ว่า ว่างจากตัวตนนี้ หมายถึง ว่างจากสาระที่เราควรเข้าไปยึดถือเอา ด้วยกำลังใจทั้งหมดทั้งสิ้นว่า “ของเรา” สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
23
รู้สุญญตา เท่ากับรู้พุทธศาสนาถึงที่สุดแล้ว
นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง
พระนิพพาน คือ ความว่างอย่างยิ่ง การพิจารณาให้เห็นว่า สิ่งทั้งปวงว่างจากความหมายหรือสาระ ที่ควรเข้าไปยึดถือนั้น เป็นตัวพุทธศาสนาแท้ เป็นหัวใจหรือใจความ สำคัญที่เป็นจุดศูนย์กลางของการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา
เมื่อรู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่าง “ว่างจากตัวตน” แล้ว ก็เรียกว่ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุด คือรู้ว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุด
ถ้าเราจะถอยมารวมไว้ที่คำว่า “ว่างจากตัวตน” คำเดียวก็เป็น การเพียงพอ เพราะจะรวบเอาคำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาไว้ด้วย เสร็จ 24
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
อนิจจัง
เห็น สุญญตา อย่างเดียว = เห็นไตรลักษณ์ทั้ง ๓
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป สูญสลายเป็นผุยผง คืนสู่ธรรมชาติ
ทุกขัง
เมื่อมันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีส่วนไหนยั่งยืนถาวร ก็เรียกว่าว่างได้เหมือนกัน
อนัตตา
เมื่อเต็มไปด้วยลักษณะที่พิจารณาดูแล้วน่าสังเวชใจ ก็แปลว่า ว่างจากส่วนที่เราควรจะเข้าไปยึดถือเอา
เมื่อพิจารณาดูไม่มีลักษณะไหนที่จะคงทนถาวรเป็นตัวของมัน เองได้ เป็นเพียงสักว่าเป็นธรรมชาติที่เป็นไป หรือตั้งอยู่ตามลักษณะ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คือไม่มี หรือไม่ควรเรียกว่าตัวตนของมันเอง ดังนี้ ก็เรียกว่าว่างจากตัวตนได้ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
25
เห็นสุญญตา นำพาจิตพ้นความเป็นทาสกิเลส เพราะเห็นทุกอย่าง เป็นตัวตน จึงเป็นทาสกิเลส เห็นสุญญตาเมื่อไหร่ ก็พ้นจากทุกข์เมื่อนั้น
ความเห็นว่ามีตัวตน คือต้นเหตุของทุกข์นี่เอง
ความ
หลงผิดมาตั้งนาน
ว่าง
รวมความว่า ลักษณะที่เห็นว่าว่างจากความเป็นตัวตน หรือว่าง จากความหมายที่สมควรแก่การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมอบกายถวาย ชีวิตจิตใจเข้าไปยึดถือเอา นี้เรียกว่า “เห็นความว่าง” ที่เป็นใจความสำคัญ ของพุทธศาสนา
ถ้าบุคคลใดเห็น “ความว่าง” ของสิ่งทั้งปวงดังนี้แล้ว จะเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ในสิ่งต่างๆ ขึ้นมาทันที
26
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
ความรู้สึกที่ไม่อยากเอา - ไม่อยากเป็น นี่แหละมีอำนาจเพียงพอ ที่จะคุ้มครองคนเรา ไม่ให้ตกเป็นทาสของกิเลส หรือของอารมณ์ทุกชนิด และทุกประการ
บุคคลชนิดนี้จึงไม่สามารถที่จะทำความชั่วอะไรได้ ไม่สามารถ จะหลงใหลพัวพันอยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเอนเอียงไปตามสิ่งยั่วยวนใดๆ ได้ ย่อมมีจิตใจเป็นอิสระอยู่เสมอ ซึ่งเป็นลักษณะ ที่เหมาะสมที่สุดที่อาตมา เห็นว่าจำเป็นสำหรับบุคคล ผู้จะดำรงตนเป็นตุลาการ ถ้ามีวิถีทางใดทางหนึ่ง ที่จะทำให้จิตใจเป็นอิสระที่สุด ก็ควรจะเป็นวิถีทางนั้น ที่เหมาะที่สุดสำหรับการศึกษาฝึกฝน ของบุคคลผู้จะเป็นตุลาการ ซึ่งอาตมาจะถือโอกาสบรรยายในคราวหน้า สักคราวหนึ่ง* ถึงลักษณะนั้นโดยเฉพาะ * คู่มือมนุษย์ ๖ “สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ” บรรยายวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๙. คู่มือมนุษย์ ๗ “สมาธิและวิปัสสนาตามหลักวิชาในรูปเทคนิค” บรรยายวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๙. สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
27
๕.
ไม่มีอะไรน่าเอา น่าเป็น คือที่สุดแห่งพุทธศาสนา สุญญตา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น อะไรคือที่สุดของ พระพุทธศาสนา ครับหลวงพ่อ
ส่วนสำหรับวันนี้นั้น จะบรรยายเฉพาะหัวข้อที่ว่า ความรู้สึกที่ รู้สึกว่า “ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น” นั้นเป็นอย่างไร ? และเราจะมีวิธีปฏิบัติ ได้อย่างไร ? ความรู้สึกที่ว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา - น่าเป็น” นี้ เป็นสำนวน โวหารอยู่หน่อยหนึ่ง
คำว่า “เอา” และ “เป็น” ในที่นี้ หมายถึงการเอาหรือการเป็นด้วยจิตที่หลงใหล ด้วยจิตใจที่ยึดถือด้วยจิตใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ
28
คู่มือมนุษย์ ๒ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง “ไตรลักษณ์” : พุทธทาสภิกขุ
อยากได้
เอาไปเลย พ่อแม่พี่น้อง เอาอีกๆ เอามาเยอะๆ เลย
ะ อยากได้ความดี มีความดีมาแจกไหมจ๊ มิได้หมายความว่า คนเราจะอยู่ได้โดยไม่มีอาการที่เรียกว่าเอา อะไรเป็นอะไรเสียเลย ตามปรกติ คนเราจะต้องเอาอะไรเป็นอะไรอยู่เป็นประจำ เช่น จะต้องมีทรัพย์สมบัติเงินทอง มีบุตรมีภรรยา เรือกสวนไร่นา เหล่านี้เป็นต้น ถ้าผมได้เป็น ส.ส. พวกคุณอยากได้ อยากเป็นอะไร บอกมาได้เลย ผมอยากเป็นเศรษฐี มีเมียเยอะๆ
อยากเป็นไฮโซ แต่งตัวสวยๆ เจ้าค่ะ ไม่มีใครอยากเป็นคนดีบ้างหรือจ๊ะ
หรือว่าเราจะต้องเป็น เช่นเป็นคน เป็นคนดี หรือเป็นตุลาการ หรือเป็นอย่างอื่นๆ เช่นเป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ เป็นผู้เอาเปรียบ เป็นผู้ถูก เอาเปรียบเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะต้องมี ความเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เสมอตามที่รู้กันอยู่ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
29